Ct magazine 47

Page 1

สิงหาคม 2556 ปที่ 4 | ฉบับที่ 11 แจกฟร�

THE SUBJECT Lost Generation?

CREATIVE CITY ฮองกง

THE CREATIVE Very Kind Invention


งานชุมนุมไอเดียสรางสรรคระดับโลก ณ เชียงใหม International Creativity and Idea Forum in Chiang Mai

พบกับ 20 วิทยากรและศิลปนมากความสามารถจากทั่วโลก ที่จะสรางแรงบันดาลใจใหคุณเตรียมความพรอม สำหรับการขับเคลื่อนสังคมสรางสรรค ในอนาคต Explore breakthrough ideas and creativity with 20 world-class speakers & performers and join in our drive towards “smart societies”

เสารที่14 กันยายน 2556 / 08.45 – 18.00 Saturday 14 September 2013

หองคอนเวนชั่น ฮอลล, โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม The Convention Hall, Le Meridien Chiang Mai อานรายละเอียดไดที่ tedxchiangmai.com Read detail at ซื้อบัตร*ไดแลววันนี้! ทาง amiando.com/tedxchiangmai Buy ticket* now via *บัตรเขางานรวมอาหารกลางวัน ของวาง เครื่องดื่ม เอกสารประกอบ ของที่ระลึก งานเลี้ยงมื้อเย็น *The ticket includes access to the event, lunch, snacks, drinks, printed program, free gifts, and an entry to after party.


If I don't have red, I use blue. ถาไมมีสีแดง ผมก็ใชสนี ํ้าเงิน Pablo Picasso ศิลปนสเปน ผูริเริ่มศิลปะคิวบิสม


สารบัญ The Subject

6

The Object

7

Creative Resource

8

Lost Generation?

Kickstarter: ผสานกำลังสตารทธุรกิจ

Database/ Magazine/ DVD/ Book

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Dream Destination, Career Destination

Matina Amanita

Hong Kong: A Vantage Point City

Matter

10

Classic Item

11

Cover Story

12

ไทยนำโชค เท็กซไทล เปนมากกวาธุรกิจสิ่งทอ

Bartender

Timeless Skill: เมื่อ 'ผูประกอบการ' เทากับ 'นักผสมผสาน'

Very Kind Invention / Very Kind Mixture

The School of Excellence

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l สุชัญญา อมรนพรัตนกุล จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร ผูออกแบบปก l Very Kind Invention 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 สตูดิโอนักวางคอนเซ็ปตและออกเเบบประสบการณ โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ที่หลงใหลการผสมผสานสิ่งตางๆ เพื่อสรางใหเกิด พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม สิ่งใหมๆ ตั้งเเตดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร ไปจนถึงวัฒนธรรมทองถิ่น นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ผลงาน : www.verykindinvention.com และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

Multi-skilled People Make Multisolution ทุกสิ้นปีการศึกษา สถาบันสอนการออกแบบอุตสาหกรรม อองซี - เลส์ อาเทเลียส์ (ENSCI - Les Ateliers) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงปารีส จะได้ต้อนรับแขกคนสำ�คัญอย่างแอปเปิล (Apple Inc.) บริษัท สัญชาติอเมริกันผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ ซึ่งจะส่งแมวมองมาเยี่ยมชม ผลงานของนักศึกษาเพื่อเฟ้นหาเลือดใหม่เข้าร่วมงาน โดยนักศึกษาที่แอปเปิลมองหานั้น ต้องไม่ใช่ ผู้ที่มีแค่มุมมองด้านการออกแบบที่โดดเด่น แต่จะต้องมีวิสัยทัศน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้คน และรู้จัก แก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้วยกลศาสตร์ วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ กระทั่งทักษะช่างฝีมือ และ สาเหตุที่สถาบันแห่งนี้ผลิตคนเหล่านี้ได้ ก็เพราะหลักสูตรการเรียนซึ่งเน้นที่การฝึกฝนอย่างหนักกับ การทำ�งานจริงของสายพานการผลิตในโรงงาน ห้องปฏิบัติการเคมี หรืองานฝีมือช่างไม้ที่เป็นเลิศ ในประวัตศิ าสตร์ของการสัง่ สมทุนทางสังคมนัน้ ได้แสดงถึงผลลัพธ์อนั หลากหลายผ่านสิง่ ประดิษฐ์ สร้างสรรค์มากมายของมนุษย์ ตั้งแต่เครื่องแต่งกายจนถึงระบบงานวิศวกรรม ขณะที่ความ หลากหลายของทักษะช่างฝีมือก็ได้เป็นฐานของการสร้างจินตนาการให้เป็นไปได้ จวบจนเมื่อระบบ การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้กรุยทางสู่การอุปโภคบริโภครูปแบบใหม่ให้กับประชากรโลกด้วยสินค้าที่ หน้าตาเหมือนกัน จากวัสดุที่เหมือนกัน และโดยแรงงานที่ไหนก็ได้ในโลก ความหลากหลายของ ทักษะและการผลิตทีผ่ า่ นการผสมผสานเอกลักษณ์และคุณค่าเพือ่ สร้างความพิเศษเหล่านี้ จึงค่อยๆ ถูกบดบังลงไปในที่สุด แต่ในวันนี้ ระบบการอุปโภคบริโภคและระบบการผลิตของโลกได้เดินทางมาถึงจุดที่แวดวง นักเศรษฐศาสตร์ นักอุตสาหกรรม หรือแม้แต่นักการตลาดตระหนักกันดีแล้วว่า อนาคตไม่ได้เป็น อย่างที่มักถูกพรรณนาไว้ วิถีชีวิตที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องกว่าครึ่งศตวรรษนั้นเข้ากันไม่ได้กับสิ่งที่ โลกกำ�ลังเดินไป ทักษะแบบเดียวกัน ความรู้ชุดเดียวกัน และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมือนกัน ไม่ได้ ช่วยเยียวยาอาการทรุดตัวของระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นความ ต้องการของตลาดผู้บริโภคก็ดูจะซับซ้อนขึ้น และมีความต้องการในสินค้าและบริการที่มากกว่าแค่ ตอบสนองปัจจัยพื้นฐานแบบเดิมๆ ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลง่ายๆ ว่า ทำ�ไมแอปเปิลจะต้องเดินทางไปหานักรังสรรค์หน้าใหม่ที่ กรุงปารีสทุกปี เพราะแอปเปิลคือผู้สร้างสินค้าที่เชื่อมต่อกับการบริการที่ง่ายสำ�หรับลูกค้า แต่ความ ง่ายนี้มีเบื้องหลังที่ซับซ้อนและต้องระดมทักษะที่หลากหลายเพื่อนำ�ไปสู่การใช้งานอันไร้ที่ติ ขณะที่ อองซี - เลส์ อาเทเลียส์ ก็ผลิตคนที่เป็นนักผสมผสานความรู้ได้อย่างลงตัว ปรากฏการณ์ผลิตและ ระดมความรู้แบบสหสาขาเพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างตรงจุดจึงกำ�ลัง ดำ�เนินไป ทั้งในฝั่งของหน่วยผลิต “คน” คือภาคการศึกษา และฝั่งของหน่วยที่นำ� “คน” ไปใช้ คือ ภาคธุรกิจ ตั้งแต่บริษัทยักษ์ใหญ่และสตูดิโอขนาดเล็ก พร้อมๆ กับที่สังคมจะต้องส่งเสริมและสร้าง ให้เกิด “คน” ที่เป็นแกนกลางของแรงดึงดูด เพื่อเสาะหาและรวบรวมทักษะตลอดจนความรู้พิเศษ ต่างๆ มาเป็นองค์ประกอบของการรังสรรค์ผลผลิตใหม่ๆ ด้วย เพราะความสามารถจากการแสวงหาของพวกเขา นอกจากจะช่วยสร้างสินค้าและบริการใหม่ ทีห่ นีจากปัญหาการแข่งขันด้วยกลไกราคาตลาดและการลอกเลียนแบบแล้ว ยังก่อให้เกิดการจ้างงาน ที่จะช่วยพยุงระบบเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นอีกครั้งด้วยนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l5


© Simona Hassan/Demotix/Corbis

THE SUBJECT ลงมือคิด

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

มาร์ทินาและจีเนวรา สองพี่น้องจากโบโลญญ่า อิตาลี หนึ่งในตัวอย่างเยาวชนยุโรปที่ประสบปัญหาการว่างงาน ทั้งต้องละทิ้งความฝันในการเป็นนักข่าวและนักกีฬาฟันดาบ

นับเป็นเรื่องน่าตกใจ เมื่อสำ�นักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หนุ่มสาวเกือบทุกประเทศของสหภาพยุโรป ราว 6 ล้านคน ใน ช่วงอายุ 18-25 ปี ไม่มีงานทำ� โดยเฉพาะในประเทศที่เศรษฐกิจ เข้าขั้นหายนะอย่างกรีซ อิตาลี และสเปน ที่พบว่ากว่าครึ่งของ กลุ่มอายุดังกล่าวต้องตกงาน

วิกฤตการณ์ดังกล่าว ทำ�ให้รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและแรงงานจาก กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ถึงกับนั่งไม่ติดและต้องเร่งหารือข้อเสนอสำ�หรับการประชุมกลุ่มสหภาพ ยุโรปเมือ่ มิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา โดยเรียกร้องให้มกี ารอนุมตั งิ บประมาณเกือบ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมาตรการช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่ม ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยแก้ปัญหาการว่าง งานในกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งภาวะการณ์เช่นนี้ นับเป็น เรื่ อ งที่ ส วนทางกั บ ความนิ ย มของนั ก ศึ ก ษาทั่ ว โลกที่ มี ต่ อ สถานภาพ ทางการประสิทธิ์ประสาทปัญญาของทวีปยุโรป เพราะพวกเขาข้ามนํ้า ข้ามทะเลมาเพื่อให้ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาชั้นสูงทั้งหลายซึ่งช่วย รับประกันความก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงานเมือ่ กลับไปยังบ้านเกิด แต่ส�ำ หรับ หนุ่มสาวยุโรปแล้ว สิ่งนี้กลับไม่ใช่หลักประกัน อังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งเยอรมนี ได้เรียกสถานการณ์อนั น่าสะพรึงนีว้ า่ "ลอสต์ เจเนอเรชัน่ (lost generation)" 6l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

เนื่องจากคนหนุ่มสาวรุ่นนี้มีอัตราว่างงานสูงเกินกว่าครึ่งของประชากร วัยเดียวกัน จนกลายเป็นคนรุ่นเคว้งคว้าง หมดคุณค่า และเป็นความ ยากลำ�บากยิ่งขึ้นเมื่อโครงสร้างประชากรของยุโรปนั้นเต็มไปด้วยคนชรา การว่างงานของหนุ่มสาวผนวกกับการดูแลคนสูงอายุจึงอาจเป็นสูตรแห่ง ความหายนะแบบสำ�เร็จรูปของยุโรปอย่างแท้จริง แต่นายกรัฐมนตรีหญิงได้เสนอตัวอย่างของเยอรมนีเพื่อเป็นทางออก ของคนหนุ่มสาวรุ่นนี้ เพราะเยอรมนีเคยประสบปัญหาการว่างงานอย่าง รุนแรง เมื่อครั้งรวมเยอรมนีตะวันตกเข้ากับตะวันออก และเพื่อแก้ปัญหา ระยะยาว เยอรมนีได้ปฏิรูประบบการศึกษาอย่างสิ้นเชิง โดยเน้นระบบ การศึกษาที่ให้นักเรียนนักศึกษาได้ "ฝึกและทดลองงาน" ไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่เรียนโดยไม่คำ�นึงถึงฝีมืองานช่างหรือความชำ�นาญงาน และเพราะ ผลจากการปฏิรูปการศึกษาเมื่อราวยี่สิบปีก่อน ทำ�ให้วันนี้ คนหนุ่มสาว ของเยอรมนียังคงมีอัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ซึ่งนับว่าตํ่ากว่าอัตรา ว่างงานของหนุ่มสาวในกรีซ อิตาลี และสเปน ที่รวมกันแล้วมากเกือบ ร้อยละ 50 “มันเป็นบทเรียนที่เราชาวเยอรมนีได้จากความเจ็บปวด และ เราพร้อมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้จริงของเรา” เธอกล่าวเช่นนั้น ถ้าคนรุน่ หนุม่ สาวคือความหวังแล้วละก็… บางทีความหวังครัง้ นีอ้ าจจะ ต้องถูกจัดการให้ถูกที่ถูกทางเสียแล้ว ที่มา: บทความ “The pain of southern Europe's unemployed” (2 เมษายน 2556) โดย Gavin Hewitt จาก bbc.co.uk, matichon.co.th


THE OBJECT คิดแล้วทำ�

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

เมื่อ “เงินทุน” เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการสร้างธุรกิจ เรื่อง ราวของคนที่ “ฝันไกลแต่ไปไม่ถึง” เพราะขาดเงินทุนตั้งต้นจึง เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเชื่อมโยงผู้คนเข้า ด้วยกันอย่างในปัจจุบัน รูปแบบของการระดมทุนจึงได้ถูกฉีก ออกจากกฎเกณฑ์เดิมๆ และยังช่วยตอบโจทย์พร้อมเปิดทาง ให้ธุรกิจยุคใหม่ที่มีความหลากหลายได้มีโอกาสลองสานฝัน ให้เป็นจริงมากขึ้น

Kickstarter.com เป็นบริการเพือ่ การระดมทุนในรูปแบบ 'Crowd Funding' ทีเ่ ปิดกว้างให้ผทู้ ม่ี แี นวคิดดีๆ แต่ยงั ขาดเงินทุนในการนำ�ไปต่อยอด ได้เข้า มาเสนอโปรเจ็กต์สร้างสรรค์เพื่อขอระดมเงินสนับสนุนจากผู้ที่สนใจผ่าน ทางหน้าเว็บไซต์ โดยแบ่งโปรเจ็กต์ออกเป็น 13 ประเภท เช่น ศิลปะ งาน ออกแบบ แฟชัน่ ภาพยนตร์ ภาพถ่าย อาหาร เกม หนังสือ เทคโนโลยี ฯลฯ การเข้ า ถึ ง ผู้ ค นในวงกว้ า งคื อ ความพิ เ ศษของการระดมทุ น จาก มวลชนอย่าง Kickstarter เพราะไม่ว่าเจ้าของโปรเจ็กต์จะเป็นใคร วงเงิน ทีต่ อ้ งการจะมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถใช้บริการระดมทุนนีไ้ ด้เหมือนกัน ในขณะที่ผู้สนับสนุนเองจะให้เงินสนับสนุนเท่าไหร่ก็ได้ เริ่มตั้งแต่หนึ่ง เหรียญสหรัฐฯ เป็นต้นไป โดยปัจจุบันผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่อยู่ใน สหรัฐอเมริกามากที่สุดที่ร้อยละ 52.9 ตามมาด้วยอินเดีย ร้อยละ 4.7 และออสเตรเลีย ร้อยละ 2.9

รูปแบบการเสนอโปรเจ็กต์ใน Kickstarter เป็นการผสมผสานศิลปะ การโน้มน้าวให้ผู้ที่เห็นคุณค่าของไอเดียนั้นๆ ตกลงใจ “ลงขัน” สนับสนุน ให้โปรเจ็กต์เกิดขึ้นจริง โดยมีลักษณะคล้ายกับการทำ�ข้อเสนอโครงการ ทั่วไป นั่นคือต้องระบุวัตถุประสงค์ จำ�นวนเงินที่ต้องการ ระยะเวลา ระดมทุน และผลตอบแทนที่ผู้สนับสนุนจะได้รับตามความมากน้อยของ จำ�นวนเงินทีส่ นับสนุน ซึง่ จะอยูใ่ นรูปของ “ตัวงาน” ทีเ่ กีย่ วข้องกับโปรเจ็กต์ โดยจะต่ า งจากการระดมทุ น ในลั ก ษณะของการร่ ว มทุ น ที่ จ ะได้ รั บ ผลตอบแทนเป็น “ตัวเงิน” หรือสัดส่วนการเป็นเจ้าของกิจการ ขณะที่ การจำ�ลองชิ้นงานและการนำ�เสนอความคิดด้วยรายละเอียดที่ชัดเจน ประกอบกับคลิปวิดีโอสั้นๆ พร้อมด้วยระบบแสดงตัวเลขผู้สนับสนุน และจำ�นวนเงินที่ได้รับแบบเรียลไทม์ ก็ทำ�ให้การระดมทุนใน Kickstarter มีความน่าดึงดูดใจมากขึ้น เพราะผู้สนับสนุนสามารถเห็นความคืบหน้า และรู้สึกมีส่วนร่วมกับโครงการที่สนใจได้ตลอดเวลา ยิง่ ไปกว่านัน้ คือ เจ้าของโปรเจ็กต์จะได้รบั เงินทุนก็ตอ่ เมือ่ มีผสู้ นับสนุน เงินครบตามจำ�นวนที่ตั้งเป้าหมายเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุน ตามจำ�นวนทีต่ ง้ั ไว้ภายในเวลาทีก่ �ำ หนด ก็จะไม่มกี ารเรียกเก็บเงินสนับสนุน ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งตั้งแต่ Kickstarter เริ่มดำ�เนินการในปี 2009 มีโปรเจ็กต์ที่ ได้รับเงินทุนแล้วประมาณ 45,000 โปรเจ็กต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44 ของโปรเจ็กต์ทง้ั หมด และในปี 2012 โปรเจ็กต์ทไ่ี ด้รบั เงินทุนตามเป้าหมาย มากที่สุดคือโปรเจ็กต์ในหมวดดนตรี จำ�นวน 5,067 โปรเจ็กต์ ในขณะที่ หมวดเกมเป็นหมวดทีม่ ผี ใู้ ห้เงินสนับสนุนมากทีส่ ดุ คือ 83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Kickstarter จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่า ไม่ว่าฝันอยากจะทำ�อะไร การวางแผนอย่างจริงจังและรัดกุมก็ยังคงเป็นสิ่งสำ�คัญที่ผู้ประกอบการ จะต้องให้ความสำ�คัญ เพือ่ ให้แน่ใจได้วา่ ฝันทีค่ ดิ จะสานนัน้ จะเป็นจริงได้ ไม่ใช่แค่ฝันกลางวัน

ที่มา: appappeal.com kickstarter.com สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา

FEATURED DATABASE

HOMEBUILDLIFE โดย WGSN

‘เทรนด์ (Trend)’ เป็นคำ�ทีเ่ ราได้ยนิ กันคุน้ หูเมือ่ พูดถึงกระแสของสี แฟชั่น รูปแบบการใช้ชีวิต ทีเ่ ป็นการคาดคะเนล่วงหน้าในระยะเวลาปีตอ่ ปี ฤดูกาลต่อฤดูกาล ปกติเราแทบไม่เคยคิดว่าจะ สามารถนำ�เสื้อผ้าที่หวือหวาหรือมีสีร้อนแรงมา ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำ�วันได้อย่างไร หรือ แม้แต่คิดการณ์ไกลไปกว่านั้นว่า ฐานข้อมูลที่ สำ�นักเทรนด์ตา่ งๆ สรุปมาว่าเป็นเทรนด์นนั้ เขา เก็บข้อมูลและวิเคราะห์กันอย่างไร ถึงจะสรุป ออกมาเป็นตัวอย่างสี 10 สีในนิตยสารเพือ่ เลือก ใช้ในฤดูร้อนหรือฤดูหนาวของปีนั้นๆ ได้อย่าง แม่นยำ� การผสมผสานคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ของนักวิจัยในสำ�นัก Trend Forecaster จึงเป็น สิ่งจำ�เป็นที่ผู้กำ�หนดเทรนด์จะต้องมี เพื่อให้ผล การทำ�นายที่จะเผยแพร่ออกไปนั้นถูกต้องและ ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด ดังนัน้ นักวิจยั ในสำ�นักเทรนด์จงึ ประกอบด้วยนัก ออกแบบจากทุกแขนง นักการตลาด นักสังคม วิทยา นักปรัชญา นักโฆษณา และผูป้ ระกอบการ ผลการศึ ก ษาเทรนด์ ไ ม่ ไ ด้ จำ � กั ด อยู่ แ ค่ วงการแฟชัน่ เทรนด์ยงั ถูกเลือกนำ�ไปใช้กบั สินค้า 8l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

ที่ได้รับการออกแบบทุกประเภท เป็นผลงาน ออกแบบที่มีวงจรผูกพันกับการเปลี่ยนแปลง ของเวลา Homebuildlife เป็นหนึง่ ในฐานข้อมูล รายย่อยของบริษัท WGSN ที่ให้รายละเอียด เรื่องเทรนด์และแรงบันดาลใจในการออกแบบ ซึ่งครอบคลุมถึง 18 สาขา ทั้งการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ แสงสว่าง ลวดลายและลายพิมพ์ เครื่องนอน เครื่องครัว อุปกรณ์ตกแต่งห้องนํ้า อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เครือ่ งใช้ในสำ�นักงาน ของ ขวัญตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ส�ำ หรับเด็ก อุปกรณ์ ทำ�สวน กระดาษและบรรจุภณั ฑ์ ของใช้ส�ำ หรับ สัตว์เลี้ยง อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงข้อมูล เจาะลึกของแต่ละผลิตภัณฑ์และตัวอย่างผลงาน อันโดดเด่นที่ได้รับการคัดเลือกจากงานแสดง สินค้า รวมทัง้ งานดีไซน์จากทัว่ ทุกมุมโลก ผูใ้ ช้จงึ สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Homebuildlife ไปใช้ได้ ตั้งแต่การสร้างและออกแบบพื้นที่ รูปแบบใหม่ๆ การสร้าง Mood Board สำ�หรับ อธิบายอารมณ์และความรูส้ กึ ให้กบั ลูกค้า ตลอด จนการใช้ขอ้ มูลเพือ่ ประกอบการทำ�วิจยั ด้านการ ออกแบบ

รายละเอียดหัวข้อต่างๆ ใน Homebuildlife แบ่งเป็น 7 ส่วนเท่าๆ กัน ได้แก่ แรงบันดาลใจ จากยุ ค วิ น เทจ บทวิ เ คราะห์ จ ากเวที แ ฟชั่ น แคตวอล์กกว่า 80 ประเทศทั่วโลก พัฒนาการ ของสินค้าทำ�มือ เทรนด์ของงานศิลปะและ วั ฒ นธรรม ห้ อ งสมุ ด รู ป เพื่ อ แรงบั น ดาลใจ การพัฒนารูปแบบงานตกแต่งภายใน รวมถึง โปรไฟล์ของนักเรียนนักศึกษาด้านการออกแบบ ก็ถูกรวมรวบไว้ในฐานข้อมูลนี้ แม้แต่ตัวอย่าง ไฟล์ CAD ที่ทำ�ขึ้นมาเป็นเทมเพลตสำ�หรับใช้ ในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์และสินค้าก็มีพร้อม ให้ดาวน์โหลดเพือ่ เป็นการประหยัดเวลาและค่า ใช้จ่าย Homebuildlife จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ของฐานข้อมูลด้านศิลปะและการออกแบบด้วย เนือ้ หาทีก่ ระชับและเข้าใจง่าย ซึง่ จะช่วยประมวล ผลความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความเป็นมาเป็นไป และเหตุการณ์สำ�คัญต่างๆ ที่กำ�ลังเกิดขึ้นใน วงการนักออกแบบที่มีความเคลื่อนไหวและ ตื่นตัวตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถ หยิบจับไปใช้กับสินค้าของตัวเองได้ทันที


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

MAGAZINE

KINFOLK Kinfolk เปรียบเสมือนโลกใบเล็กที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้เหล่าศิลปิน นักเขียน ดีไซเนอร์ ผู้ที่ ชื่นชอบการถ่ายรูป และผู้ที่รักในการทำ�อาหาร ได้มาพบปะสังสรรค์กนั ตามความสนใจใน ‘เรือ่ ง เล็กๆ’ แบบเดียวกันและมีมมุ มองทีอ่ ยากจะจับ สิ่งของต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เป็น ‘ของใหม่’ อยู่เสมอ การได้มาชุมนุมกัน พูดคุยเรื่องอาหาร หรือสนทนาเรือ่ งสัพเพเหระทีต่ า่ งคนต่างพบเจอ ในชีวติ ประจำ�วันจึงเปรียบเสมือนการผ่อนคลาย ทีช่ ว่ ยเติมพลังให้ชวี ติ สดชืน่ และกระปรีก้ ระเปร่า Kinfolk ถ่ายทอดเรือ่ งราวทีม่ ี ‘เนือ้ หาเบาๆ’ ผ่านรูปแบบการจัดวางทีเ่ รียบง่าย ทุกองค์ประกอบ ของนิตยสาร ไม่วา่ จะเป็นเนือ้ หาหลักภายในเล่ม ภาพถ่าย หรือความสวยงามของการจัดองค์ ประกอบ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘การมอบความสนุกสนานเพลิดเพลิน’ กล่าวคือ ให้ความรู้สึกสบาย สนุกสนาน ไม่เร่งรีบ และ มีส่วนร่วม Kinfolk จึงเป็นนิตยสารที่ดึงกลุ่ม คนที่ มี ค วามสนใจทางด้ า นศิ ล ปะและการ ออกแบบมารวมตัวกัน แบ่งปันสูตร เคล็ดลับ ไอเดียดีๆ ของแต่ละคนไปพร้อมกับความสุข สนุกที่แผ่ล้น

DVD

HEART AND CRAFT: The People That Make Herme`s

BOOK

กำ�กับโดย Frederic Laffont และ Isabelle Dupuy-Chavanat

The Sartorialist Closer

“Contemporary artisan since 1837” คือธีม หลั ก ในการเฉลิ ม ฉลองความยิ่ ง ใหญ่ แ ละ ยาวนานของแบรนด์ดังอย่าง Herme`s ประจำ�ปี 2011 ภายใต้ภาพยนตร์สนั้ 47 นาทีในชือ่ Heart and Craft ซึ่งผู้กำ�กับได้บอกเล่าถึงเบื้องหลัง การผลิตชิ้นงานซึ่งมาจากแรงงานต่างที่มาที่ไป เช่น ไมเคิล นักร้องดนตรีคลาสสิกที่เบนเข็ม สู่งานผลิตหนังและพบว่าเป็นงานที่สร้างความ หลงใหลและจิตวิญญาณได้ไม่ต่างจากการร้อง เพลง มาเกอโลน นักศึกษาสาววัย 20 ซึ่งหัน หลังให้กับรั้วมหาวิทยาลัยและมุ่งหน้าสู่งานทำ� กระเป๋า อาลี หนุ่มหูหนวกผู้รักงานจิวเวลรี่จาก ตูนิเซีย ผู้ลบคำ�ปรามาสว่าเขาคงทำ�ได้เพียง อาชีพคนทำ�ความสะอาด หรือเอลีส หญิงสาว ชาวม้งที่เติบโตในเมืองลียง ซึ่งค้นพบประตูสู่ อิ ส รภาพจากการผสมสี เ ส้ น ด้ า ยสำ � หรั บ การพิมพ์ผ้า ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ทำ�ให้เห็นว่า แบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Herme`s หาใช่เพียงพื้นที่ จัดวางชิ้นงานคุณภาพดีเท่านั้น แต่ทุกชิ้นงาน ล้วนเต็มไปด้วยความแตกต่างที่กลมกลืนบน ต้นทุนทีเ่ หมือนกัน คือความหลงใหล หัวใจ และ ความตั้งใจจริง

The Sartorialist หนึ่งในบล็อกยอดนิยมของผู้ที่ หลงใหลในสตรีทแฟชั่นทั้งในนิวยอร์ก ปารีส มิลาน โตเกียว ฯลฯ สกอตต์ ชูมาน ผู้ก่อตั้ง และช่างภาพประจำ�บล็อกได้จบั สุนทรียภาพของ คนทั่วไปซึ่งไม่ได้สะท้อนแค่ความสวยงาม แต่ ยังเผยถึงการแต่งกายอันกลมกล่อมและเหมาะ สมทัง้ กับเวลาและสถานที่ บล็อกทีเ่ ขาเริม่ ต้นทำ� ตั้งแต่ปี 2005 นี้ ยังช่วยลดช่องว่างระหว่างนาย แบบหรือนางแบบกับบุคคลทั่วไปทีละน้อย ทั้ง ยังสามารถสือ่ สารกับกลุม่ คนทีเ่ สพสินค้าแฟชัน่ ได้ ดี ก ว่ า เนื่ อ งจากเป็ น คนในกลุ่ ม เดี ย วกั น นอกจากนี้ สตรีทแฟชัน่ ยังช่วยลดทอนความเป็น สาวกแบรนด์อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการสร้างค่า นิ ย มความเท่ แ ละสมาร์ ท ผ่ า นวิ ธี มิ ก ซ์ แ อนด์ แมตช์ ซึ่งเน้นความฉลาดเลือกในการหยิบชิ้น เก่าและชิ้นใหม่ ทั้งจากแบรนด์ไฮเอนด์ แบรนด์ ระดับกลาง และเสื้อผ้าวินเทจ มาผสมกัน หนังสือเล่มนีจ้ งึ ช่วยแสดงถึงบทบาทของสกอตต์ ชูมาน ในการแสวงหาบุคคลผู้เปี่ยมด้วยสไตล์ ได้อย่างดีเยีย่ ม ด้วยการรวบรวมและจัดระเบียบ รูปภาพในการนำ�เสนอตามบุคลิกที่หลากหลาย ของแต่ละบุคคลไว้อย่างน่าสนใจ สิงหาคม 2556 l Creative Thailand l 9

โดย Scott Schuman


MATTER วัสดุต้นคิด

ไทยนำ�โชค เท็กซ์ไทล์

เป็นมากกว่าธุรกิจสิ่งทอ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ซุ่นฮั่วหลี การทอ คือหนึ่งในผู้ผลิตสิ่งทอซึ่งมีลูกค้าเหนียวแน่น มาอย่างยาวนาน ผ่านการปรับ ประยุกต์ และพัฒนารูปแบบ การดำ�เนินธุรกิจ โดยยังให้ความสำ�คัญจากต้นทุนความรูเ้ ดิม ซึ่งตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม สิ่งทอซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังได้เพิ่มกลุ่มสินค้าใหม่ ภายใต้ชอ่ื บริษทั ไทยนำ�โชค เท็กซ์ไทล์ จำ�กัด ซึง่ หันมาจับกระแส ความต้องการของผูบ้ ริโภคโดยเฉพาะ ผ่านการวิจยั วัสดุธรรมชาติ ที่มีอยู่ภายในประเทศ รวมทั้งผลิตในระบบการทอและย้อมสีที่ คำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด ทั้งในและต่างประเทศ

เพือ่ ให้สนิ ค้าเป็นทีย่ อมรับทัง้ ตลาดในประเทศและระดับสากล ไทยนำ�โชค เท็กซ์ไทล์ จึงพยายามมองหาจุดเด่นและสร้างจุดขายในตลาดเฉพาะกลุม่ ด้วยการปักธงด้านการบริหารจัดการและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ รวมทั้ง พัฒนาและทำ�วิจยั เส้นใยจากธรรมชาติ เป็นผลให้ไม่ตอ้ งกังวลกับมาตรการ กีดกันทางการค้าที่เกี่ยวกับสารเคมีในตลาดต่างประเทศ โดยได้ทำ�วิจัย และพั ฒ นาการย้ อ มผ้ า ด้ ว ยสี ธ รรมชาติ ร่ ว มกั บ สำ � นั ก งานพั ฒ นา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และยังพัฒนาการนำ� เส้นใยธรรมชาติในประเทศ เช่น เส้นใยจากกล้วย สับปะรด ปอ ใบตาล ข่า เป็นต้น มาผสมกับเส้นใยฝ้ายร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิง่ ทอ ทดแทนการลงทุนซื้อเทคโนโลยี แต่สามารถเลือกใช้ของดีที่มีอยู่ในมือ มาปรับกระบวนการผลิตให้ผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมและควบคุม คุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ทำ�ให้ได้สินค้าใหม่ที่เบิกทางสู่ตลาดสากลได้เป็น อย่างดี หนึ่งในสินค้าใหม่ของบริษัท คือผ้าทอจากฝ้ายและใยจากต้นกล้วย ที่ผลิตโดยใช้เส้นด้ายที่ปั่นด้วยมือ ประกอบด้วยเส้นใยฝ้ายร้อยละ 85 และใยกล้วยร้อยละ 15 (MC# 6650-01) โดยลูกค้าสามารถสั่งปริมาณ ของเส้นใยกล้วยผสมได้มากถึงร้อยละ 50 ซึง่ มีคณุ สมบัตเิ ด่นในการดูดซับ ความชื้นและระบายอากาศได้ดี ทั้งยังสามารถย้อมสีเส้นด้าย ย้อมสีผ้า 10 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

หรือพิมพ์ลวดลายบนผ้าได้โดยใช้สยี อ้ มธรรมชาติหรือสีเคมี เพือ่ สร้างสรรค์ เป็นเครื่องแต่งกายแฟชั่น ผ้าตกแต่งบ้าน และงานออกแบบภายใน นอกจากนี้ การวิจัยและค้นหาสีย้อมจากธรรมชาติ ยังเกิดเป็นผ้า ใยธรรมชาติที่ย้อมสีด้วยใบชาและสารสกัดจากหมาก (MC# 6650-03) โดยเมื่อนำ�ใบชาหรือหมากไปต้มนํ้าจะเกิดผลพลอยได้เป็นแทนนินซึ่งอยู่ ในรูปสารสกัดที่มีสีเทาและสีนํ้าตาลเอิร์ธโทนสามารถนำ�มาย้อมผ้าได้ รวมถึงผ้าฝ้าย 100% ที่ใช้เส้นด้ายย้อมสีด้วยครามโดยปราศจากการใช้ สารเคมีทั้งในกระบวนการย้อมและการตกแต่งผิว สามารถกำ�หนดสีสัน และผิวสัมผัสของผ้าได้ตามต้องการ เหมาะสำ�หรับทำ�เป็นเครื่องแต่งกาย ผ้าตกแต่งบ้าน และงานออกแบบภายใน ผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาส ทางธุรกิจด้วยการนำ�ต้นทุนทักษะเดิมมาผสมผสานกับการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ ผนวกเข้ากับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเทคโนโลยีใหม่ ย่อม สามารถสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ รู้ช่องทางการแข่งขัน และ สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณค่าและราคาในสายตาผู้บริโภคได้ในที่สุด ดูตัวอย่างวัสดุและขอข้อมูลวัสดุเพิ่มเติมได้ที่ Material ConneXion® Bangkok โทร. 02-664-8448 ต่อ 225 ที่มา: fabricwoven.com, materialconnexion.com


CLASSIC ITEM คลาสสิก

BARTENDER เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล และ นันท์นรี พานิชกุล

‘บาร์เทนเดอร์’ ไม่ได้เป็นเพียงนักสร้างสรรค์ เครื่องดื่มผู้เชี่ยวชาญ แต่ยังเป็นผู้ที่สามารถ หยิบยืมศาสตร์หลายแขนงทั้งการประกอบ อาหาร การออกแบบ กระทั่งการแสดงมา ปรั บ ใช้ กั บ วัตถุดิบหลากชนิดที่อยู่ตรงหน้า กระบวนการทำ � งานที่ ต้ อ งอาศั ย การหยิ บ นู่ น ฉวยนี่ ม ารวมกั น ให้ ไ ด้ อ ย่ า งลงตั ว นี้ นอกจากจะมอบประสบการณ์การดื่มอย่าง ออกรสให้แก่ผู้ที่ได้ลิ้มลองแล้ว ยังแสดงถึง การผสมผสานทั ก ษะเข้ า กั บ วั ต ถุ ดิ บ เพื่ อ สร้างสรรค์เป็นสินค้าและบริการได้อย่างดี

• นอกจากรู้ จั ก เลื อ กภาชนะแต่ ล ะประเภทมาใช้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ วั ต ถุ ดิ บ บาร์เทนเดอร์ยังต้องคำ�นึงถึงผิวและรสสัมผัส สีและกลิ่น ตลอดจนอุณหภูมิของ เครื่องดื่มในแต่ละเสิร์ฟ ทักษะการปรุงเมื่อบวกเข้ากับการแสดง การหยิบจับ และ ลีลาท่าทาง ทำ�ให้ภาพลักษณ์ของบาร์เทนเดอร์เป็นที่จดจำ� ช่วยสร้างสีสันและชีวิต ชีวาให้กับบาร์ •เจอร์รี่ โทมั ส (Jerry Thomas) เป็นที่นับ ถือกันในนาม “บิด าแห่งการปรุง ค็อกเทล” เขาคือบาร์เทนเดอร์ชาวอเมริกันคนแรกที่รวบรวมสูตรการปรุงค็อกเทล ไว้ในหนังสือ How to mix drinks ในปี 1862 โดยช่วงเวลาที่โทมัสทำ�งานที่บาร์ใน โรงแรมอ๊อกซิเดนทัล (Occidental Hotel) ซาน ฟรานซิสโก เขาโด่งดังจนถึงขีดสุด และสามารถทำ�รายได้มากถึงสัปดาห์ละ 100 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าตำ�แหน่ง รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นเสียอีก • ก่ อ นหน้ า ที่ เ ทคโนโลยี ใ นการกลั่ น เหล้ า บริ สุ ท ธิ์ จ ะพั ฒ นามาไกลถึ ง ปั จ จุ บั น บาร์เทนเดอร์คือผู้ที่นำ�นํ้า นํ้าตาล และบิตเตอร์ส์ (Bitters) มาปรุงเข้ากับเหล้า (Spirits) เพื่อกลบกลิ่นฉุน ปรับเพิ่มลดอัตราส่วนเพื่อความหวานและรสสัมผัส จนเกิดเป็นค็อกเทลนานาชนิดให้ลูกค้าสามารถดื่มได้ง่ายขึ้น บาร์เทนเดอร์ที่ดีนั้น จะต้องสามารถตอบสนองถึงความต้องการของลูกค้าที่อยู่หน้าบาร์ได้ภายใต้เครื่อง ปรุงที่มีอยู่อย่างจำ�กัด •ในแต่ละปี จะมี 50 บาร์ทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบาร์ที่ดีที่สุดในโลก (World’s 50 Best Bars) และเครื่องดื่มที่บาร์เทนเดอร์ออกแบบเฉพาะสำ�หรับบาร์ แต่ละแห่งนั้นจะถูกเรียกว่า ‘Signature Cocktails’ ซึ่งเปรียบเหมือนลายเซ็นของ บาร์เทนเดอร์แต่ละคน

•ภาพยนตร์ซีรีย์ เจมส์ บอนด์ (James Bond) ทำ�ให้คนทั่วโลกรู้จักค็อกเทลอย่าง วอดก้า มาร์ตินี่ (Vodka Martini) เวสเปอร์ (Vesper) และอเมริกาโน (Americano) แต่หากพูดถึงภาพยนตร์ที่ทำ�ให้หนุ่มสาวแห่งทศวรรษ 1980 อยากเป็นบาร์เทนเดอร์ ก็คงหนีไม่พน้ Cocktails (1988) ทีบ่ าร์เทนเดอร์หนุม่ ในเรือ่ งนำ�แสดงโดย ทอม ครูซ (Tom Cruise) •นอกจากเขย่า คน และปั่น เพื่อการสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่ง ความรู้และทักษะ ในครั ว จึ ง ถู ก บาร์ เ ทนเดอร์ ผู้ ช อบทดลองเปลี่ ย นจากค็ อ กเทลในรู ป ฟอร์ ม ของ ของเหลวให้กลายเป็นของแข็ง โฟม หรือฟองอากาศ และแต่งกลิ่นโดยการรมควัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ‘โมเลกูลา ค็อกเทลส์ (Molecular Cocktails)’ • ศิลปะการตัง้ ชือ่ ค็อกเทลแต่ละชนิด ล้วนมาจากแรงบันดาลใจในการปรุง หลายครัง้ มักตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นหรือแหล่งกำ�เนิด เช่น ‘เบลลินี่ (Bellini)’ ที่คิดขึ้นใน เวนิสช่วงทศวรรษ 1940 ตั้งชื่อตามจิตรกรเวนีเซีย จิอันวานี่ เบลลินี่ (Giovanni Bellini) ‘คอลลินส์ (Collins)’ เรียกตาม จอห์น คอลลินส์ (John Collins) บาร์เทนเดอร์ ชาวลอนดอนที่ทำ�ให้เครื่องดื่มนี้เป็นที่นิยมตั้งแต่ต้นศตววรษที่ 19 หรือ ‘สิงคโปร์ สลิง (Singapore Sling)’ ที่คิดค้นโดยบาร์เทนเดอร์ เหงียม ตง บุน (Ngiam Tong Boon) ที่โรงแรมราฟเฟิลส์ (Raffles Hotel) ในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 1915

ที่มา: Ultimate Bar Book (2006) โดย Mittie Hellmich บทสัมภาษณ์ ชานนท์ บุรานนท์ โดย ศุภมาศ พะหุโล สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

TIMELESS SKILL เมื่อ 'ผู้ประกอบการ' เท่ากับ 'นักผสมผสาน'

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

เมื่อปี 2010 โรงเรียนสอนการออกแบบชั้นนำ�ของ อังกฤษอย่างเซ็นทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ จัดทำ�โครงการ “กระบวนการผลิ ต และการบริ โ ภคแห่ ง อนาคต” เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาโทได้ทดลองค้นหา แนวทางการผลิตสินค้าแบบใหม่ที่สามารถตอบสนอง ความต้องการระดับบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาส การเริม่ ต้นธุรกิจแทนการตกงาน ดังเช่นผูป้ ระกอบการ รุ่ น ใหม่ จำ � นวนไม่ น้ อ ยที่ ส ามารถตั้ ง ตั ว ได้ จ ากการ ค้นพบวิธกี ารนำ�ส่วนผสมจากทีต่ า่ งๆ มาช่วยให้ธรุ กิจ สามารถท่องไปตามกระแสการบริโภคที่ซับซ้อนและ

แยกย่อยนี้

12 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

1CNC ย่อมาจากคำ�ว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการ ทำ�งานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน โดยการสร้าง รหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ ที่เรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำ�งานของเครื่องจักรกล เพื่อช่วยให้ ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเที่ยงตรง


untothislast.co.uk

COVER STORY เรื่องจากปก

Craft at Mass Price

โดยปกติแล้ว คุณค่าของงานฝีมือมักจะมาควบคู่กับสินค้าราคา สูง ทำ�ให้ผู้ที่มีโอกาสชื่นชมผลงานมีอยู่อย่างจำ�กัด แต่สำ�หรับ ‘อันทู ดิส ลาสต์ (Unto This Last)’ ของโอลิเวียร์ เจฟฟรอยย์ (Olivier Geoffroy) นั้น ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของเฟอร์นิเจอร์ ที่มีกลิ่นอายของงานฝีมือท้องถิ่นได้โดยไม่ต้องหนักใจเรื่องราคา

เมื่อลูกค้าเดินเข้ามาในร้านอันทู ดีส ลาสต์ พวกเขาจะพบเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างน้อยชิ้นกับแคตตาล็อกที่มีแบบสินค้ามากกว่า 2,000 รายการให้ เลือก และในขณะที่เลือกแบบนั้น ก็อาจจะได้ยินเสียงและกลิ่นของไม้อัด จากต้นเบิร์ช (Birch Plywood) ที่กำ�ลังถูกเลื่อยเป็นชิ้นส่วนสำ�หรับ เฟอร์นิเจอร์ของลูกค้าที่มาสั่งก่อนไว้หน้านี้ เสียงนั้นดังมาจากบริเวณ ข้างหลังร้านที่เป็นห้องเวิร์กช็อป ซึ่งมีพนักงานและเครื่องจักรที่ควบคุม ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Numerical Control)1 เพือ่ ให้การเลือ่ ย และตัดไม้นั้นได้ขนาดและสัดส่วนที่แม่นยำ�ที่สุด เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ ร้านนี้จะถูกจัดส่งในรูปแบบของชิ้นส่วนเพื่อให้ผู้ซื้อประกอบเองที่บ้าน

แนวคิดของอันทู ดิส ลาสต์ มาจากการหยิบส่วนดีของร้านขาย เฟอร์นิเจอร์สองแบบ คือเฟอร์นิเจอร์งานช่างฝีมือจากอิตาลีที่ให้ความ รู้สึกพิเศษแต่ต้องยินยอมจ่ายทั้งค่าทักษะและค่าขนส่ง และเฟอร์นิเจอร์ ของอีเกีย (IKEA) ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อการขนส่งที่ง่ายและ ให้ลกู ค้าเป็นผูป้ ระกอบเองเพือ่ ลดต้นทุนลง โอลิเวียร์อธิบายว่างานออกแบบ และกระบวนการผลิตของเขาสะท้อนเรื่องต้นทุนการขนส่งและการจัด เก็บสินค้าเนื่องจากเป็นการผลิตขึ้นตามคำ�สั่งซื้อจึงไม่มีต้นทุนจากการ สต็อกสินค้า ด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องมีหน้าร้านที่ใหญ่โตและสามารถตั้งอยู่ บนถนนบริกเลน (Brick Lane) ใจกลางกรุงลอนดอนได้ ขณะเดียวกัน เฟอร์นิเจอร์ที่ถูกจัดส่งเป็นชิ้นส่วนนั้นย่อมช่วยลดต้นทุนการขนส่ง (จัดส่ง เฉพาะในลอนดอน) และทำ�ให้เฟอร์นิเจอร์แบบสั่งทำ�สามารถขายได้ ในราคาเดียวกับสินค้าที่ผลิตจากโรงงาน ขณะที่กระบวนการผลิตซึ่งโอลิเวียร์เป็นผู้ออกแบบเองนี้ จะเริ่มจาก การเลือกใช้วสั ดุที่มที ั้งความสวยงามและสามารถใช้งานได้นาน อย่างเช่น ไม้อัดต้นเบิร์ชที่ไม่หดตัว สามารถผลิตได้ในปริมาณมาก และมีรูปทรง เป็นแผ่น จึงทำ�ให้การตัดชิ้นส่วนทั้งส่วนหลักและข้อต่อทำ�ได้ง่ายกว่าไม้ ตามธรรมชาติ ซึง่ การตัดทีเ่ ทีย่ งตรงนีจ้ ะช่วยลดต้นทุนของเสียและการจ่าย ค่าขยะต่อกิโลกรัมตามกฎหมายในลอนดอนได้ นอกจากนี้ ยังสามารถที่ จะออกแบบผิวด้านนอกของเฟอร์นเิ จอร์ให้มคี วามหลากหลายจากแผ่นไม้ ที่มีอยู่แล้ว เช่น โอ๊ค วอลนัท เมเปิล รวมไปถึงการทดลองทำ�ผิวสัมผัส ใหม่จากผ้า หนัง และกระดาษ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ไม้จริงเหมือนเฟอร์นิเจอร์ชั้นสูงทั่วไป แต่ทว่าร้าน เฟอร์นิเจอร์จากห้องเวิร์กช็อปกลางกรุงลอนดอนแห่งนี้ก็ได้รับการตอบ รับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้าที่นิยมสินค้าที่ผลิตขึ้นจำ�นวนไม่มากชิ้นและได้ ชื่อว่าทำ�โดยฝีมือคนท้องถิ่น โอลิเวียร์กล่าวว่าร้อยละ 40 ของลูกค้ามา จากการแนะนำ�จากลูกค้าเก่า ส่วนอีกร้อยละ 40 นั้นเป็นคนที่เดินผ่านมา และพบว่าร้านของเขาน่าสนใจมากพอที่จะเดินเข้ามา สิงหาคม 2556 l Creative Thailand l 13


blanklabel.com

COVER STORY เรื่องจากปก

Tailor Made on Delivery

ไม่ ใ ช่ แ ค่ ลู ก ค้ า ของโอลิ เ วี ย ร์ เ ท่ า นั้ น ที่ พึ ง ใจกั บ สิ น ค้ า ตามสั่ ง ที่ ไม่แพงเกินไปนัก แต่ลกู ค้าของฝาน ปี (Fan Bi) วัย 23 ปีกเ็ ช่นกัน ความกล้าและพืน้ เพของครอบครัวในเมืองเซีย่ งไฮ้ ช่วยทำ�ให้ฝาน ปี เป็นเจ้าของธุรกิจทีม่ ยี อดขาย 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (30 ล้านบาท) ในปี 2011

ฝาน ปี เติบโตในออสเตรเลีย ครอบครัวของเขาย้ายมาจากเซี่ยงไฮ้ เขา เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยในสาขาการเงินทีซ่ ดิ นีย์ ก่อนจะมาเป็นนักเรียน แลกเปลี่ยนที่บอสตัน สหรัฐฯ สถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยาก จะเป็นเจ้าของกิจการเสื้อเชิ้ตสั่งตัดคุณภาพดี เพราะแวดวงการเงินที่เขา ฝึกงานอยู่นั้นได้ให้ข้อคิดกับเขาว่า “เสื้อเชิ้ตที่ดีที่สุดจะต้องเป็นเสื้อสั่งตัด แต่นน่ั หมายถึงราคาทีแ่ พงลิบลิว่ เขาน่าจะหาหนทางทีจ่ ะขายสินค้าสุดหรู นี้ในราคาที่พอจ่ายไหว” ในที่สุด ฝาน ปีตัดสินใจละทิ้งปีสุดท้ายของการเรียน ใช้เงินเก็บจาก การทำ�งานพิเศษที่สะสมมาจำ�นวน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3 แสนบาท) และชวนแดเนียล หว่อง (Daniel Wong) เพื่อนวัย 19 ปีจาก ต่างมหาวิทยาลัยมาเปิดร้านขายเสื้อออนไลน์ภายใต้ชื่อ ‘แบลงก์ เลเบิล (Blank Label)’ โดยเบื้องต้น เขาคิดแต่เพียงว่าเสื้อผ้าที่พวกเขานำ�เสนอ จะทำ�ให้ลูกค้าวัยใกล้เคียงกับเขาสนใจ ด้วยราคาที่ถูกลง และแนวทาง การนำ�เสนอไอเดียใหม่ในการแต่งกายแบบไม่ตอ้ งตามเทรนด์ แต่หลังจาก ธุรกิจเริ่มต้นได้ไม่นาน เขากลับพบว่าลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาส่วนใหญ่เป็น กลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไป ผู้ให้ไอเดียสำ�คัญในการพัฒนาเว็บไซต์ซึ่งเป็น เครื่องมือสำ�คัญที่ทำ�ให้กิจการของเขาไปได้สวย 14 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

ฝาน ปี เล่าว่าช่วงแรกที่เปิดให้บริการ พวกเขาต้องการข้อมูลจาก ลูกค้าอย่างมากเพือ่ นำ�มาปรับปรุงเว็บไซต์ เขาถึงกับตัง้ โปรแกรมในเว็บไซต์ ให้ขึ้นข้อความว่า “โทรหาพวกเรา เราต้องการคุย” ดังนั้นพวกเขาจึงต้อง คุยกับลูกค้าวันละหลายๆ ชั่วโมงเพื่อให้ได้ข้อมูลสำ�หรับการตัดเสื้อและ การปรับปรุงเว็บไซต์ จนสามารถให้บริการเลือกเนื้อผ้าที่มีภาพคมชัด สามารถมองเห็นเนื้อผ้าได้ชัดเจน ทั้งแบบ กระดุม ปกเสื้อ รวมถึงรูปทรง และขนาดที่บ่งบอกถึงความเอาใจใส่ในรายละเอียด อย่างเช่น การถาม ถึงรสนิยมในการใส่นาฬิกาเรือนใหญ่และการเล่นกีฬาของลูกค้า ซึ่งจะส่ง ผลต่อการเพิ่มขนาดความกว้างของแขนเสื้อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก และ ที่สำ�คัญถ้าหากเสื้อที่ได้รับไม่ตรงกับความต้องการก็สามารถส่งคืนได้ นับเป็นกลยุทธ์ที่สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขายสินค้าได้ อย่างชำ�นาญนั้น นับเป็นเรื่องทั่วไปสำ�หรับเด็กยุคใหม่ทเ่ี กิดและเติบโตมา ในช่วงอินเทอร์เน็ตบูม แต่สิ่งที่ทั้งฝาน ปี และแดเนียลสามารถนำ�มา เชือ่ มต่อกับธุรกิจแบบข้ามโลกของเขา ก็คอื การค้นหาและควบคุมคุณภาพ ของช่างตัดเสื้อในเมืองเซี่ยงไฮ้ให้ตัดเสื้อได้ตามสั่งและส่งถึงมือลูกค้า ภายในเวลา 4 สัปดาห์ ในราคาเฉลี่ยตัวละ 100-140 เหรียญสหรัฐฯ (3,000-5,000 บาท) ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ฝาน ปี ต้องติดตามพ่อแม่ กลับไปเยีย่ มบ้านเกิด ซึง่ นัน่ ทำ�ให้เขาเกิดความคิดในเชือ่ มโยงความประณีต ของช่างท้องถิ่นในเซี่ยงไฮ้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่ชื่นชอบเสื้อ สั่งตัด ซึ่งแม้ว่าจะสั่งครั้งละจำ�นวนไม่มาก แต่เมื่อรวมลูกค้าทั่วโลกเข้า ด้วยกันจำ�นวนกว่า 20,000 รายแล้ว ก็พูดได้ว่าธุรกิจของเด็กหนุ่มสองคน นี้ได้ก้าวขึ้นแท่นระดับเศรษฐีน้อยไปแล้ว


COVER STORY เรื่องจากปก

เก้าอี้จากคุณปู่

facebook.com/fatcatfurniture

ความรู้ของช่างเซี่ยงไฮ้นอกจากจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญให้เด็กหนุ่มสองคนทำ�ธุรกิจจนประสบความสำ�เร็จแล้ว ยังช่วย ให้เด็กสาวในเมืองไทยเริ่มกิจการของตัวเองเช่นกัน ‘แฟตแคท (FATCAT)’ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่ของศิศีร เที่ยงธรรมเจริญ ที่จบการศึกษาด้านการออกแบบกราฟิกแล้วเข้ามารับช่วงต่อกิจการทำ�เฟอร์นิเจอร์ของที่บ้าน โดยนำ�ความรู้เกี่ยวกับกราฟิกมาใช้ในการออกแบบลายผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ แต่ยังคงไว้ซึ่งวิธีการทำ�เฟอร์นิเจอร์ไม้ แกะสลักแบบเก่าที่ปู่ของเธอรํ่าเรียนมาจากเซี่ยงไฮ้ให้เป็นจุดขายทางด้านคุณภาพ โซฟาตัวแรกที่เธอผลิตขึ้นจึง เริ่มต้นด้วยการควานหาช่างที่มีความผูกพันกับงานในแบบยุคของคุณปู่และกล้าสู้ราคาฝีมือให้กับพวกเขา เพื่อให้ ได้โครงสร้าง วัสดุ และวิธีการบุผ้าในแบบดั้งเดิมให้มากที่สุด ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากคนที่ชื่นชอบและยอม จ่ายในราคาที่แพงกว่าเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

What‘s the Next Box? คำ�อธิบายเรื่อง ‘เดอะ ลองเทล (The Long Tail)’ ของคริส แอนเดอร์สัน (Chris Anderson) ทำ�ให้เราเข้าใจโอกาสอันมหาศาลในตลาดที่มาจากการหลอม ด้วยอินเทอร์เน็ต กว่าทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีธุรกิจถือกำ�เนิดขึ้นจากการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในแบบเจาะลึก ผนวกกับความสามารถในการหา สินค้าและการจัดการระบบการจัดส่งที่น่าเชื่อถือ ทำ�ให้เว็บไซต์ขายสินค้าเฉพาะกลุ่มแบบรายเดือนเหล่านี้มีทีท่าว่าจะเพิ่มจำ�นวนขึ้นเรื่อยๆ

Tackel Grab อุปกรณ์ตกปลาสำ�หรับ สมาชิกนักตกปลา 2,500 คน

ManPacks ผู้ชายกว่า 10,000 คน ได้รับมีดโกนหนวด และกางเกงใน

Panty Fly ผู้หญิงกว่า 10,000 คน สั่งซื้อชุดชั้นใน แบรนด์เนมทั้งแบบ เซ็กซี่และสปอร์ต

Boink Box เซ็กซ์ทอยสำ�หรับ นักช้อปขี้อาย

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน

360-480 บาท

450 บาท

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน

BarkBox สุนัข 45,000 ตัว ได้รับผลิตภัณฑ์ดูแล และของเล่น

KnitCrate สาวนักถัก 400 คน สมัครสมาชิก เพื่อรับเส้นด้ายและ แพตเทิร์น

Birchbox จัดส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อความงามให้กว่า 3 แสนครอบครัว

KlutchClub จัดส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพและความงาม ให้กับสมาชิก 10,000 คน

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน

570-870 บาท

16 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

330-1,950 บาท

270 บาท

300 บาทสำ�หรับผู้หญิง 600 บาทสำ�หรับผู้ชาย

750-1,500 บาท

เริ่มต้นที่ 540 บาท


©REUTERS/Robert Galbraith

COVER STORY เรื่องจากปก

Shaping Economy

ทัง้ โอลิเวียร์ ฝาน ปี รวมถึงเจ้าของเว็บไซต์ตา่ งๆ เป็นภาพสะท้อน ของธุรกิจสมัยใหม่ที่คาดว่าจะมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น โดยจาก รายงาน ‘อนาคตของธุรกิจขนาดเล็ก (Future of Small Business)’ โดยสถาบันเพื่ออนาคต (Institute for the Future) คาดการณ์ว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ทยอยเกิดขึ้น นับจากนี้ไปอีก 10 ปี จะมีจำ�นวนมากขึ้นถึงขั้นส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และโลก โดยส่วนหนึ่งเป็น ผู้ ป ระกอบการที่ เ ป็ น กลุ่ ม ผู้ อ พยพที่ ส ามารถนำ � ความรู้ จ าก ตลาดต่างประเทศและวัฒนธรรมของตัวเองมาใช้ในการนำ�เสนอ ไอเดียใหม่และช่วยผลักดันกระแสใหม่ให้เกิดขึ้นในโลกนี้

นอกจากนี้ ลักษณะของผู้ประกอบการในอีก 10 ปีข้างหน้ายังเป็นกลุ่มคน ที่มีความรู้ระดับปริญญาตรีที่มีการฝึกฝนด้านการค้าและวิชาชีพคล้ายกับ ช่างฝีมือในอดีตที่มีทั้งความรู้และทักษะ ไม่เฉพาะการผลิตสินค้าเท่านั้น แต่พวกเขายังรู้จักวิธีการที่จะจับเอากลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตส่วนต่างๆ มารวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต เพียงแต่ความลึกซึ้งของวิธี การเหล่านั้นถูกลดบทบาทจากเทคโนโลยีการผลิตภายใต้สภาพเศรษฐกิจ ในยุคหนึ่งที่ต้องการสินค้าปริมาณมากเป็นหลัก จนมาถึงในปัจจุบัน เมื่อ ผู้บริโภคที่มองหาสินค้าจากต้นกำ�เนิดหรือความพิเศษเฉพาะบุคคลกำ�ลัง เพิม่ จำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการ ที่เปี่ยมพลังขนาดเล็กเหล่านี้ได้กลับมามีบทบาทในการกำ�หนดรูปร่าง ของเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก dante.lu

Natural Force Entrepreneur เศรษฐกิจตกตํ่าในสหรัฐฯ และยุโรปทำ�ให้ยอดคนตกงานเพิ่มจำ�นวนมากขึ้น เด็กที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่จึงต้องเผชิญกับความยากลำ�บากในการแข่งขัน หางาน เพราะไม่ได้แข่งกับเฉพาะเพื่อนรุ่นเดียวกัน แต่ยังต้องแข่งขันกับ คนที่มีประสบการณ์การทำ�งานมาแล้วที่มีอยู่เต็มตลาดแรงงาน การปลด คนงานของบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ทำ�ให้เส้นทางในการจ้างงานตามปกติ แทบจะเป็นไปได้ยาก หนทางที่รัฐบาลหลายประเทศเลือกใช้ในการกอบกู้ สถานการณ์ว่างงาน คือการอัดฉีดเงินทุนสนับสนุนการเริ่มกิจการ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ใช้เงินงบประมาณถึง 30 ล้าน ปอนด์ (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) สำ�หรับโครงการของรัฐที่คาดว่าจะทำ�ให้ เกิดธุรกิจใหม่และส่งผลให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับและการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับการผสมเข้ากับทัศนคติของกลุ่มคนหนุ่มสาววัย 2030 ปีที่เติบโตมากับเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างโอกาสใหม่รอบตัว แต่ขาดศรัทธา ในการทำ�งานและเติบโตในองค์กรใหญ่ ส่งผลให้อาชีพการเป็น “ผูป้ ระกอบการ” กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง จากรายงานโดยนิตยสารอิงค์ (Inc. Magazine) ยังระบุว่าร้อยละ 50 ของผู้จบการศึกษาใหม่เชื่อว่าการเป็นเจ้าของกิจการ เล็กๆ มีความเสี่ยงน้อยกว่าทำ�งานบริษัท จึงไม่น่าแปลกใจว่าผลการศึกษา ของคัฟแมนน์ ฟาวน์เดชั่น (Kaufmann Foundation) จะพบว่าแทนที่ในปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงิน จะถูกบันทึกว่าเป็นปีที่ตกตํ่าที่สุดและมีสถิติการว่างงานสูงสุด แต่กลับเป็นที่ น่าจดจำ�ว่า เป็นปีที่มีการเริ่มต้นกิจการสุงที่สุดในรอบ 14 ปี ซึ่งมากกว่าช่วง ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 1999-2000 เสียอีก

Network Management งาน ‘เวนทูรา ลัมบราเต้ 2013 (Ventura Lambrate 2013)’ ที่มิลาน คือ เวทีสำ�คัญสำ�หรับการเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ที่ตั้งขึ้นได้เพียงหนึ่งปีอย่าง ‘ดันเต้ กู้ด แอนด์ แบดส์ (DANTE Good and Bads)’ ของนักออกแบบ อุตสาหกรรม คริสโตเฟอร์ เดอ ลา ฟอนเทน (Christophe de la Fontaine) และศิลปินสาว อายลิน แลงเกวเทอร์ (Aylin Langreuter) สำ�หรับ คอลเล็กชั่น ‘แอดมิท วัน เจนเทิลแมน (Admit One Gentleman)’ ซึ่ง เป็นเก้าอีแ้ ละรถเข็นเครือ่ งดืม่ ทีด่ ลู า้ํ สมัย แต่ให้ความรูส้ กึ ของความประณีต แบบงานฝีมือ ที่นำ�มาจัดแสดงในงานครั้งนี้ คริสโตเฟอร์ได้เล่าให้ฟังถึง ทีม่ าว่า ภรรยาของเขาที่เป็นนักออกแบบชาวดัตช์ได้แนะนำ�ให้เขาทำ�งาน ร่วมกับ ชาร์ลส์ ชูมานน์ (Charles Schumann) อดีตตำ�รวจชาวเยอรมัน ที่ผันตัวเองมาเป็นบาร์เทนเดอร์ชื่อดังในมิวนิค และอีกสองนักออกแบบ จาคอบ แซค (Jacob Zack) และพิเอโตร รุสโซ (Pietro Russo) ผู้ร่วม เปลีย่ นแนวคิดของเขาไปเป็นงานออกแบบ ในส่วนของการผลิตนัน้ มาจาก โรงงานเล็กๆ ทีม่ ที กั ษะพิเศษมากมายในอิตาลีทเ่ี ขารูจ้ กั จากการได้ท�ำ งาน ร่วมกับแพทริเซีย อูร์ควิโอลา (Patricia Urquiola) เจ้าแม่งานออกแบบ ของมิลานมาเป็นเวลานาน ดังนั้นเมื่อองค์ประกอบทุกอย่างพร้อม ตัวเขา ซึ่งเป็นชาวอังกฤษจึงเข้ามารับหน้าที่ในการเขย่าส่วนผสมทั้งหมดนี้ให้ ออกมาเป็นคอลเล็กชั่นสุดพิเศษที่สร้างความประทับใจ ที่มา: บทสัมภาษณ์คริสโตเฟอร์ เดอ ลา ฟอนเทน โดย มนฑิณี ยงวิกุล

© REUTERS/Robert Galbraith

ที่มา: บทความ “Putting Customers in Charge of Design” จาก nytimes.com บทความ “Artisan or Indie: Is Entrepreneurship a Gen Y Trait or Necessity?” จาก cnn.com บทความ “Future of Small Business” จาก iftf.com บทความ “The Next Great Entrepreneurial Generation Just Might Be Millennials” จาก business.financialpost.com บทความ “The Start-Up of You” จาก nytimes.com บทความ “Unto This Last–Local Craftsmanship at Mass Production Prices” จาก no-retro.com บทความ “30 Under 30” จาก inc.com บทความ “Investing in the Next Generation of Entrepreneurs and Innovators” จาก blogs.fco.gov.uk facebook.com/fatcatfurniture untothislast.co.uk

18 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย for education USA • Book Re:public • ทรู คอฟฟ • 94 Coffee • Little Cook Café • รานกาแฟวาวี • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • Sweets Café • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • วีวี่ คอฟฟ • Kanom • The meeting room art café • แมคคาเฟ • รานมองบลังค • Things Called Art • Babushka • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • มิลลเครป • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • ก.เอย ก.กาแฟ • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • อะเดยอินซัมเมอร • Minimal • บรรทมสถาน • ชีสเคกเฮาส • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • The Salad Concept • Hallo Bar • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • ไอเบอรรี่ • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • Take a Seat • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • Greyhound (Shop and Café) • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • รานกาแฟบางรัก • เวียง จูม ออน บายนิตา • Acoustic Coffee • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • I Love Coffee Design • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Caffé D’Oro • อิฐภราดร ลําปาง • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน โรงภาพยนตร / โรงละคร แอนด มอร • โรงภาพยนตรเฮาส • เพลินวาน • Egalite Bookshop • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ภัทราวดีเธียเตอร • ทรู คอฟฟ หัวหิน • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ หองสมุด • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ แอนดคาเฟ ภูเก็ต • หองสมุดมารวย • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • ศูนยหนังสือ สวทช. • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • SCG Experience • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel • The Reading Room สปา เลย พิพิธภัณฑ / หอศิลป • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • มิวเซียม สยาม • บานชานเคียง • อุทยานการเรียนรู (TK park) • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • หอศิลปวัฒนธรรม • บานใกลวงั แหงกรุงเทพมหานคร • Hug Station Resort • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานจันทรฉาย ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • รานเล็กเล็ก • ลู น า  ฮั ท รี ส อร ท • HOF Art • ราน all about coffee • The Rock โรงแรม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น • หลับดีโฮสเทล สีลม (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม โรงพยาบาล • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลศิริราช อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลปยะเวท • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลกรุงเทพ • โรงพยาบาลเกษมราษฎร หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น ประชาชื่น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

THE ENTREPRENEURIAL MINDSET

today, 90% of people think entrepreneurship

is a mindset (rather than starting a company)

characteristics

companies beware! of those still at “regular” jobs

72 %

want to quit to be entirely independent

• • • •

risk-taker self-starter visionary opportunity-seeker

say they’re likely to % 61 quit within 2 years

DREAM DESTINATION, CAREER DESTINATION แต่ในความเป็นจริงบนทางเลือกด้านอาชีพที่มีอยู่อย่างจำ�กัด รายได้ที่ มีเ พดานขั ้ น ตํ ่ า กำ � หนด วันหยุดน้อย เวลาเข้า -ออกงานเดิ มๆ และ สวัสดิการที่เริ่มไม่เพียงพอต่อการดำ�รงชีวิต ทำ�ให้เมื่อนานไป หลายคน ต้องตกอยู่ในสภาวะจำ�ยอมด้วยเพราะความจำ�เป็นจากปัจจัยหลายด้าน และต้องก้มหน้าทำ�งานต่อไปแบบเช้าชามเย็นชามโดยไม่คาดหวังถึงการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ในชีวิต ขณะที่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เลือกหาทางออก ให้ชีวิตด้วยการมุ่งมั่นกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ด้วยการเริ่มต้นทำ�ธุรกิจ เป็นเจ้าของกิจการ และเป็นนายตัวเอง โดย พร้อมจะแบกภาระความเสี่ยงมากมายไว้บนบ่า เพื่อเป้าหมายในการ ปลดเปลื้องพันธนาการที่ครอบงำ� และใช้ความฝันรวมถึงแรงบันดาลใจ เป็นเข็มทิศชี้นำ�ไปสู้เป้าหมายนั้นๆ ได้อย่างมีความสุข Millennial: The Wave of Freedom

แนวโน้มและกระแสการทำ�งานแบบเป็นนายตัวเองนีก้ �ำ ลังได้รบั ความนิยม อย่างสูงในหมู่พนักงานบริษัท ลูกจ้างของรัฐ และนักศึกษาจบใหม่ และ แม้กระทั่งนักศึกษาที่ยังไม่สำ�เร็จการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ โดยจากผลสำ � รวจความคิ ด เห็ น ของคนรุ่ น ใหม่ ที่ ถู ก เรี ย กว่ า กลุ่ ม Millennials ในหัวข้อ “Millennials and the Future of Work Survey” 20 l Creative Thailand l สิงหาคม 2556

โดยเว็บไซต์ www.oDesk.com สังคมและพื้นที่ของคนรักงานอิสระ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอเมริกาซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลกพบว่า ร้อยละ 90 ของกลุ่มผู้ถูกสำ�รวจซึ่งมีอายุ 19-30 ปี คิดว่าการเป็น “ผู้ประกอบการ” คือระบบความคิดในการทำ�งานมากกว่าการต้องมีบริษัทเป็นของตนเอง จริงๆ ในขณะทีร่ อ้ ยละ 72 ต้องการลาออกจากงานเพื่อมาประกอบอาชีพ อิสระ และร้อยละ 61 นั้นมีแผนจะลาออกภายใน 2 ปี ซึ่งเหตุผลสำ�คัญ ทีท่ �ำ ให้พวกเขาคิดว่าควรลาออกจากงานประจำ�ก็คอื การแสวงหา “อิสรภาพ” อันหมายถึงอิสระที่จะทำ�งานที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ และอิสระในการเลือก งานทีพ่ งึ พอใจโดยมีโบนัสประจำ�ปีเป็นการได้ท�ำ งานในระหว่างการท่องเทีย่ ว ระบบเศรษฐกิจทีถ่ ดถอยจนกระทบกันไปทัว่ โลก การลงทุนทีช่ ะลอตัว การขยายตัวของเศรษฐกิจทีอ่ ยูใ่ นเกณฑ์ตกตํา่ ทำ�ให้ผคู้ นเริม่ มองหาแหล่ง รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องการทำ�งานที่เพิ่มมวลดัชนี ความสุขให้กบั ชีวติ ได้ดว้ ยนัน้ จึงเป็นปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ และสอดรับกับ วิถชี วี ติ ตลอดจนวิธคี ดิ ของคนรุน่ ใหม่อย่าง Millennial หรือ Generation Y ผู้ไม่ชอบทำ�สิ่งซํ้าๆ เดิม ไม่ติดอยู่กับกรอบ เป็นนักเสพและผลิตสื่อ นักสร้างสรรค์ นักแสวงหา กล้าเผชิญหน้ากับความเสีย่ ง และเป็นนักบุกเบิก วิถีการทำ�งานอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นนายตัวเองอย่างจริงจัง เพือ่ ก้าวสูค่ วามสำ�เร็จ


INSIGHT อินไซต์

FREEDOM

(87%) Other generations prefer to work during the morning

millennials prefer to work late at night

FREELANCERS AGREE THEY HAVE MORE FREEDOM TO...

work on what interests them

(69%)

35%

work wherever (92%)

work whenever

Agree Strongly

1%

34%

25%

5%

Agree

NeutraL

disagree

disagree strongly

56%

home

20%

an office open work space

11%

drop-in co-work space

11%

Millennials are jumpstarting independent, entrepreneurial careers entrepreneur!

me too!

travel while working

(64%) vs.

their preference taking vacation time

of millennials classified themselves as entrepreneurs

58% 21%

of all freelancers were still enrolled at a university

ธุรกิจออนไลน์: คลื่นลูกใหม่ของ Thai Millennial

เมื่อมองตลาดอาชีพและแนวโน้มความสนใจด้านอาชีพของบ้านเรา หาก ย้อนกลับไปในช่วง 10-15 ปีก่อนนี้ แนวโน้มอาชีพอิสระของคนรุ่นใหม่ นั้ น เริ่ ม ชั ด เจนตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กเรี ย นในสาขาที่ ต นเองถนั ด และสนใจ อาทิ กราฟิกดีไซเนอร์ โปรแกรมเมอร์ นักเขียน นักแปล ช่างภาพ เชฟ บาริสต้า ซึ่งล้วนเป็นอาชีพที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนรุ่นก่อนหน้านี้ เท่าใดนัก และในยุคปัจจุบันที่ทุกๆ คนมีตัวตนอยู่ในสังคมแห่งการ สื่อสารออนไลน์ จึงกลายเป็นพื้นที่สำ�คัญอีกพื้นที่หนึ่งให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ แสดงความสามารถ ได้รวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในสายอาชีพเดียวกัน ได้พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยความสนใจในเรื่องต่างๆ ทั้งยังเป็นพื้นที่ทาง ธุรกิจเล็กๆ เพื่อหารายได้เสริมระหว่างการเรียน หรือรายได้พิเศษจาก การทำ�งาน หรือสำ�หรับบางคนทีก่ า้ วหน้าจนถึงสามารถยึดเป็นรายได้หลัก จากการสำ�รวจความคิดเห็นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยนิด้า โพล แห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ถึง “อาชีพในฝัน” พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามต้องการประกอบอาชีพส่วนตัวหรือมีธุรกิจ ส่วนตัวมากที่สุดถึงร้อยละ 25.92 เพราะรายได้ดีและไม่ต้องเป็นลูกจ้าง ของใคร สอดคล้องกับการวิเคราะห์ทางการตลาดของภาคเอกชนที่มอง ว่าโมเดลการประกอบอาชีพของคนรุ่นใหม่ในบ้านเราจะเริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกาะกระแสเทคโนโลยีในธุรกิจแบบ 'สตาร์ตอัพ (Startup)' ทีก่ �ำ ลังอยูใ่ นความสนใจของกลุม่ คนรุน่ ใหม่และคนรักงานอิสระ จากบทสัมภาษณ์ของปรีดา ยังสุขสถาพร ผู้อำ�นวยการศูนย์เศรษฐกิจ

สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า กระแสของสตาร์ตอัพเป็น แนวโน้มธุรกิจที่ลงทุนตํ่าแต่ทำ�กำ�ไรได้สูง โดยที่คนหนุ่มสาวอายุตั้งแต่ 20-30 ตอนปลาย จะใช้เวลาทำ�งานในร้านกาแฟหรือร้านอาหารผ่าน เครื่องมือสื่อสารกับโลกออนไลน์ เพื่อสร้างธุรกิจเล็กๆ ของตนเอง เช่น ร้านขายกาแฟ ร้านเสื้อผ้า และร้านขายเฟอร์นิเจอร์ เมื่อธุรกิจติดตลาดก็ ขายต่อให้กับกลุ่มทุนไปทำ�กำ�ไรอีกต่อหนึ่ง ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอิสระของคนรุ่นใหม่ สิ่งที่น่าชื่นชมคือการต่อยอดความคิด ความชื่นชอบส่วนตน และความ กล้าที่จะลงทุนลงแรงเพื่อสร้างความฝันของตัวเองให้เป็นอาชีพในฐานะ คลื่นลูกใหม่ที่มีส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งพลังงานเหล่านี้ย่อมแข็งแกร่งขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนทั้ง จากภาครัฐและเอกชนที่จะคอยให้คำ�แนะนำ�หรือสนับสนุนให้พื้นที่ที่พวก เขาจะได้เริ่มลงมือสร้างและกรุยทางสู่ความสำ�เร็จอย่างยั่งยืน ที่มา: บทความ “เทรนด์นักธุรกิจรุ่นใหม่ เกาะไอที ลงทุนตํ่า กำ�ไรสูง" โดย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ จาก prachachat.net บทความวิชาการ “Differentiating Entrepreneurs from Small Business Owners: A Conceptualization” โดย James W. Carland, Frank Hoy, William R. Boulton และ Jo Ann C. Carland จาก jstor.org ผลสำ�รวจ “อาชีพในฝัน” โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จาก nidapoll.nida.ac.th odesk.com สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 21

ข้อมูล: oDesk.com

THE TOP REASON THEY WANT TO QUIT IS


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

Matina Amanita เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

จากอัตราการขยายตัวการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ของไทย ทั้งที่ท�ำ จากเพชร เงิน ทองคำ� หรืออัญมณีสงั เคราะห์ สูต่ ลาดนานาชาติ1 ทัง้ ในสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และอินเดีย ทีเ่ พิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับปีทผ่ี า่ นมา ทิศทางขาขึน้ นี้ กำ�ลังจะบ่งชี้ว่า ผู้ประกอบการหน้าใหม่กำ�ลังมีโอกาสอันดี ในการส่งออกสินค้าเครื่องประดับที่มีต้นทุนเป็นความรํ่ารวย จากทรัพยากรเหล่านี้ ให้เป็นธุรกิจที่ตรงใจกับรสนิยมของ ผู้บริโภคที่นับวันยิ่งหลากหลายมากขึ้น แต่ท่ามกลางผู้เล่นในสนามการส่งออกที่มีจำ�นวนมาก มทินา สุขะหุต (แอ้) กลับเลือกเส้นทางในการนำ�ความรู้ด้าน การออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไปผสมผสานเข้ากับ ทักษะการเล่าเรือ่ ง แทนทีจ่ ะเลือกนำ�อัญมณีมคี า่ มาออกแบบ อย่างตรงไปตรงมาเพื่อรองรับต่อความต้องการของกลุ่ม คนส่วนใหญ่ จนเกิดเป็น 'Matina Amanita' แบรนด์เครือ่ ง ประดับสำ�หรับหญิงสาวเฉพาะกลุ่มผู้หลงใหลในความฝัน และความมหัศจรรย์ที่ซ่อนเร้นอยู่ในชีวิตประจำ�วัน

ประดับด้วยการเล่าเรื่อง

นอกจากจะมีโอกาสเป็นนักเรียนเเลกเปลี่ยนที่ เซ็นทรัล เซ็นต์ มาร์ตนิ ประเทศอังกฤษ มทินา ยังได้มุ่งศึกษาด้านการออกแบบเต็มตัวจาก พาร์สัน เดอะ นิว สคูล ฟอร์ ดีไซน์ (Parsons The New School for Design) จากนิวยอร์ก เพือ่ นำ�ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เข้ากับโอกาส ในการออกแบบเครื่ อ งประดั บ ให้ กั บ แบรนด์ เสื้อผ้าของพี่สาวอีก 2 คนอย่าง Sretsis ซึ่งได้ กลายเป็นเวทีท่เี ปิดทางให้เธอได้แสดงออกถึง ความสามารถที่มี แต่ความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอด เรือ่ งราวถึงผูค้ นให้ได้ไม่ตา่ งกับจิตรกรที่สอ่ื ความ รูส้ กึ ผ่านงานประติมากรรม หรือนักแต่งเพลง ที่ ถ่ า ยทอดความรู้สึกลงบนเนื้อเพลงที่ฟังแล้ว 1

ประทับใจ ก็ยังเป็นเหตุผลเบื้องหลังที่ทำ�ให้ มทินาเลือกการออกแบบเครื่องประดับภายใต้ ชื่อ Matina Amanita ทีป่ จั จุบนั มีอายุครบ 7 ปี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบอกเล่าเรื่องราว ที่เป็นแรงบันดาลใจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นแหวน ยูนิคอร์นที่กำ�ลังโอบกอดเพชรสีรุ้ง หรือนกฮูกที่ ประดับปีกด้วยพลอยสีฟ้าคราม “กระบวนการ ทำ�งานของแอ้เป็นเชิงศิลปะ แอ้จะมีภาพทีช่ ดั เจน อยู่ในหัว และใช้เครื่องประดับเป็นการเล่าเรื่อง เพราะเราไม่ได้มองเครื่องประดับว่าจะต้องใช้ เพือ่ สวมใส่อย่างเดียว เรามองว่ามันมีความหมาย ลึกซึ้งและอยากให้เรื่องราวในตัวงานของเรา เป็นสิ่งที่มีคุณค่า”

อัตราการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยในปี 2555 มีการขยายตัวร้อยละ 15.19 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554

22 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

แต่ความรวดเร็วของรูปแบบการบริโภคใน ยุคปัจจุบัน ก็ส่งผลให้ผลงานเสื้อผ้าหรือเครื่อง ประดับจากดีไซเนอร์กลายเป็นแฟชั่นจานด่วน อายุการใช้งานสั้นลงกว่าแต่ก่อน แต่สำ�หรับ มทินาแล้ว เธอไม่อยากให้ Matina Amanita กลายเป็นสินค้าอายุสั้นสำ�หรับผู้บริโภค ดังนั้น การรู้ จั ก ใส่ ใจกั บ ฝี มือ การผลิ ต จึ ง เป็ น เรื่ องที่ ละเลยไม่ได้ และเมื่อนำ�มาจับคู่เข้ากับงาน ออกแบบทีผ่ า่ นกระบวนการคิดมาอย่างรอบด้าน จึ ง เป็ น แนวทางที่ สำ � คั ญ สำ � หรั บ การดำ � เนิ น ธุรกิจให้ยาวนานของมทินาจนถึงทุกวันนี้


ผลิตด้วยทักษะ

ไม่ใช่ทำ�หน้าที่เป็นเพียงนักออกแบบเท่านั้น แต่ มทินายังตั้งต้นแบรนด์ Matina Amanita ด้วย การลงมือเองทุกขัน้ ตอน ตัง้ แต่ออกแบบ ค้นหา ช่างฝีมือดี เสาะหาโรงงานผลิตที่ตอบสนองต่อ มาตรฐานการผลิตที่ดีเยี่ยม ด้วยการลงพื้นที่ ค้นหาสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเองในประเทศที่ถือได้ว่า เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับฝีมือดีอันดับต้นๆ ของโลกอย่างในประเทศไทย “ตอนทีเ่ พิง่ กลับมา จากเมืองนอกใหม่ๆ ก็ไปเดินตามย่านที่มีการผลิต เครื่องประดับมากๆ อย่างสีลมหรือบ้านหม้อ แอ้คิดว่าต้องเสาะหาช่างฝีมือให้เจอ เพราะแอ้ ไม่ได้โตมากับธุรกิจครอบครัวที่ทำ�งานด้านนี้ ไม่เคยมีอะไรเกี่ยวข้อง ไม่มีเครือข่ายอยู่เลย สิ่ ง ที่ ต้ อ งทำ � คื อ แอ้ ต้ อ งเอาตั ว เองเข้ า ไปอยู่ ตรงนั้น” เมื่อความมุมานะให้ผลลัพธ์กับมทินา มาเป็นช่างฝีมือที่กลายมาเป็นช่างแกะแว็กซ์ ผู้รู้ใจ และยังเป็นบุคคลทีส่ ามารถสานต่อภาพใน จินตนาการของเธอให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ อย่างชัดเจน ด้วยเข้าใจในความหมายของชิ้น งานนัน้ อย่างแท้จริง เพราะขัน้ ตอนการแกะแว็กซ์ นี่เองที่เป็นกระบวนการที่สำ�คัญที่สุดก่อนจะส่ง ไม้ตอ่ สูโ่ รงงานผลิต และในส่วนของโรงงานก็เป็น ผลมาจากการสอบถามแบบปากต่อปากในครัง้ ที่ เธอลงพื้นที่ที่บ้านหม้อ ซึ่งยังคงทำ�งานร่วมกัน อยู่จนถึงในวันนี้

สะสมเรื่องราวด้วยการเรียนรู้

เอกลั ก ษณ์บนเครื่องประดั บ ของ Matina Amanita ไม่ว่าจะเป็นความลึกลับน่าค้นหา ประสบการณ์จากการเดินทาง เรื่องราวชวนฝัน จากเทพนิยาย ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำ�ให้ใคร หลายคนตกหลุมรัก Matina Amanita เข้า อย่างถอนตัวไม่ขึ้น ระยะเวลาทีผ่ า่ นมาบ่มเพาะ ให้มทินาเรียนรู้วิธีการทำ�ธุรกิจไปพร้อมกับการ เรี ย นรู้ ที่ จ ะพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ดี แ ละรั ก ษา มาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพอยู่เสมอ การ พิ สู จ น์ ตั ว เองผ่ า นเส้ น ทางแห่ ง การเป็ น ผู้ ประกอบการที่มีวิถีการทำ�ธุรกิจแตกต่างจาก ยุคพ่อแม่ บทเรียนสำ�คัญทั้งการบริหารจัดการ การรูจ้ กั เลือกใช้ทกั ษะให้เหมาะสม และการศึกษา ถึ ง พฤติ ก รรมของลู ก ค้ า ได้ อ ย่ า งเท่ า ทั น ก็สามารถทำ�ให้มทินาเป็นผู้ประกอบการยุค ใหม่ที่ประสบความสำ�เร็จทั้งด้านของการเป็น ดี ไ ซเนอร์ แ ละการทำ � ธุ ร กิ จ อย่ า งครบถ้ ว น “อย่างตอนที่แอ้เริ่มทำ�แบรนด์เมื่อ 7 ปีที่แล้ว มันยากมากถ้าเราไม่มีหน้าร้านเพื่อจัดจำ�หน่าย ของให้ถงึ ลูกค้า แต่ดว้ ยเทคโนโลยีวนั นีช้ ว่ ยเหลือ เราในหลายๆ อย่าง คนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจใน วันนี้อาจไม่ต้องมีหน้าร้านเหมือนแต่ก่อน แต่ ขายตรงผ่านสื่อออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊กหรืออินสตา แกรมได้เลย ไม่ต้องหาเงินลงทุนมากเท่ารุ่นพ่อ แม่ของเรา สื่อออนไลน์อาจทำ�ให้มีปัญหาเรื่อง

การก๊อปปีผ้ ลงานบ้าง แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็น สื่อกลางที่สร้างดีไซเนอร์ที่มีคุณภาพใหม่ๆ ให้ เกิดขึ้นเยอะเช่นเดียวกัน” ปัจจุบัน Matina Amanita มีวางจำ�หน่ายอยู่ตามซีเล็กต์ ชอป (Select Shop) ทัว่ ทุกมุมโลกและยังมีเหล่าเซเล บริตร้ี นุ่ ใหม่อย่าง เทย์เลอร์ สวิฟต์ (Taylor Swift) แมรี่ เคท โอลเซ็น (Mary Kate Olsen)และ เอมม่า สโตน (Emma Stone) ที่เคยสวมใส่ลง ในนิตยสารชั้นนำ� การสร้ า งสรรค์ เ ครื่ อ งประดั บ ให้ ต รงใจกั บ ผู้ บ ริ โ ภคที่ มี ค วามหลากหลายมากยิ่ ง ขึ้ น ใน ปัจจุบันนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แม้แหล่งของ วั ต ถุ ดิ บ หรื อ ทั ก ษะฝี มื อ ช่ า งจะมี ใ ห้ เ ลื อ ก หลากหลาย แต่ก็ต้องรู้จักสร้างความโดดเด่น ให้เป็นทีจ่ ดจำ� ซึง่ Matina Amanita ได้พสิ จู น์ ให้เป็นจริงผ่านการสร้างความหมายใหม่และ เปลีย่ นแปลงคุณค่าของเรือ่ งราวต่างๆ ที่พบเจอ ทัง้ ประสบการณ์ตลอดจนแรงบันดาลใจ มาเป็น กระบวนการที่ทำ�ให้เครื่องประดับของเธอเอง เต็มไปด้วยคุณค่าที่ส่องประกายระยิบระยับ และเป็นผลลัพธ์ที่พิสูจน์อย่างชัดเจนถึงความ สามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวลงในสิ่งที่เธอ รักได้อย่างแท้จริง Matina Amanita: matinaamanita.com

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

HONG KONG เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ฮ่องกง เคยได้รบั ฉายาว่า “หินไร้คา่ ” เพราะเต็มไปด้วย ภูเขาหินและไร้ซง่ึ ทรัพยากรสำ�คัญ แต่ทว่าการตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษและจิตวิญญาณพ่อค้าในสาย เลือดของชาวจีนที่หลั่งไหลมาอาศัยอยูน่ น้ั ทำ�ให้เกาะที่ ไม่มคี วามพิเศษแห่งนีก้ ลายเป็นศูนย์กลางที่กุมการค้า และบริการของทวีปเอเชียไว้ในมือ

24 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

พ่อค้าผู้โชกโชน

นับตั้งแต่ปี 1842 เกาะที่แทบจะหาทรัพยากรธรรมชาติไม่เจอแม้กระทั่ง นํ้าจืดนี้ ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและเริ่มบทบาทพ่อค้าคนกลางให้ กับจีนแผ่นดินใหญ่อย่างจริงจัง จนกระทั่งเข้าสู่ยุคสงครามเย็นในช่วง ทศวรรษ 1950 ที่ทำ�ให้การค้าระหว่างโลกเสรีและคอมมิวนิสต์หดหายไป แต่ก็เป็นโอกาสที่ทำ�ให้นักธุรกิจชาวฮ่องกงได้ผันตัวเองมาเป็นผู้ผลิตเป็น ครั้งแรก ฮ่องกงเริ่มบทบาทในการเป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้ไม่ ยากนัก เพราะผลจากสงครามกลางเมืองภายในจีนทำ�ให้มีพ่อค้าและนัก ลงทุนจำ�นวนไม่น้อยตัดสินใจอพยพไปต่างประเทศ และส่วนหนึ่งก็ย้าย


bambootheatre.wkcda.hk

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ฐานการผลิตมายังฮ่องกง ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยจากการอยู่ ภายใต้การปกครองของอังกฤษที่ได้วางโครงสร้างที่ดีในด้านต่างๆ ให้กับ ฮ่องกง โดยเฉพาะระบบกฎหมาย ระบบการคมนาคม ระบบราชการ และระบบการศึกษา ดังนัน้ เมือ่ ผนวกกับทุนและแรงงานทีย่ า้ ยเข้ามาจึงเกิด เป็นนิคมอุตสาหกรรมผลิตสินค้าทีใ่ ช้แรงงานเป็นสำ�คัญ และทำ�ให้ฮอ่ งกง โด่งดังในฐานะเสือตัวที่สี่ของเอเชียที่เป็นผู้ส่งออกสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น และเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นฐานส่วนใหญ่มี จุดพลิกผันไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่เมื่อเศรษฐกิจเติบโตถึงระดับหนึ่ง

ค่าแรงและค่าเช่าพื้นที่ก็ขยับสูงขึ้นถึงในระดับที่ไม่ส่งผลดีต่อต้นทุนการ ผลิตของอุตสาหกรรมอีกต่อไป นักธุรกิจฮ่องกงผูอ้ ยูร่ ะหว่างสองวัฒนธรรม คือตะวันออกและตะวันตกจึงตัดสินใจเช่นเดียวกับบริษัทข้ามชาติในการ ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศต่างๆ ทีม่ คี า่ แรงตํา่ กว่าโดยเฉพาะในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งแผ่นดินใหญ่ ณ บริเวณปากแม่นํ้าไข่มุก (Pearl River Delta) ส่วนอุตสาหกรรมที่หลงเหลือในฮ่องกงมักเป็นสินค้าที่มี มูลค่ามากพอที่จะสู้ค่าแรงได้ สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 25


© Uden Graham / Redlink/Redlink/CORBIS

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

บทบาทของพ่อค้าคนกลางในการส่งออกต่อ (Re-Export) จึงกลับ มาสูช่ าวฮ่องกงอีกครัง้ พร้อมๆ กับการเติบโตของภาคบริการทีไ่ ด้รบั ผลดี จากระบบการค้าเสรี อัตราภาษีรายได้บุคคลและนิติบุคคลที่ตํ่า (ไม่เกิน ร้อยละ 17.5) และรัฐบาลทีม่ เี สถียรภาพมาอย่างยาวนานภายใต้การปกครอง ของอังกฤษก่อนที่ฮ่องกงจะถูกส่งคืนให้จีนในปี 1997 ตึกระฟ้าในฮ่องกงจึงผุดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกิจการด้านบริหาร จัดการ การเงิน ไอที และที่ปรึกษาธุรกิจ ทั้งที่เป็นบริษัทในฮ่องกงเอง และสำ�นักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติที่ขยายกิจการมายังเอเชียแปซิฟิก จนในปัจจุบันภาคบริการมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และสกุลเงินฮ่องกงมีการปริมาณค้าขายใน ตลาดเงินโลกมากเป็นอันดับ 8 ในปี 2010 นอกจากนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงยังถูกจัดเป็นอันดับหนึ่ง ในการบริหารสินค้าที่มีปริมาณการขนส่งมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยในปี 2010 มียอดการขนส่ง 4.17 ล้านตัน ขณะที่ท่าเรือฮ่องกงแม้ว่า จะเพิ่งเสียอันดับหนึ่งในการขนส่งทางเรือให้กับนครเซี่ยงไฮ้และสิงคโปร์ แต่ก็ยังคงเป็นด่านการค้าสำ�คัญที่ต้องรับมือกับปริมาณสินค้าในปี 2012 ถึง 23.10 ล้านตู้คอนเทนเนอร์

26 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

ดินแดนนักเสี่ยงโชค ฮ่องกงเป็นเกาะทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทร เกาลูน และดินแดนที่เรียกว่า นิว เทอร์ริทอรี่ส์ ซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับชายแดนจีน รวม ถึงเกาะเล็กๆ อีก 235 เกาะ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะลันเตา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สนามบินนานาชาติฮ่องกงและดิสนีย์แลนด์) รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1,103 ตารางกิโลเมตร โดยหลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น เกาะฮ่องกงและเกาลูนจึงถูกครอบครองโดย อังกฤษในปี 1842 และปี 1860 ตามลำ�ดับ ต่อมาภายหลัง ในปี 1898 อังกฤษได้ทำ� สัญญา ‘เช่าซื้อ’ พื้นที่ทางตอนใต้ของลำ�นํ้าเซินเจิ้น เป็นเวลา 99 ปี ซึ่งปัจจุบันเรียก ว่านิว เทอร์ริทอรี่ส์ รวมทั้งเกาะรอบข้าง ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าเมื่อครั้ง อังกฤษเข้ายึดครองในสมัยสงครามฝิน่ เกือบสิบเท่า ก่อนจะได้ท�ำ พิธสี ง่ คืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 และถูกเรียกว่าเป็นเขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึง่ ทำ�ให้นกั ธุรกิจทัง้ หลายพากันหวาดกลัวเรือ่ งการถูก ลิดรอนสิทธิ และมีการโอนย้ายสัญชาติและที่อยู่ไปยังแคนาดาจำ�นวนมาก ทั้งนี้เพราะในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ยังเปิดเศรษฐกิจอย่างเต็มตัวดังเช่นใน ปัจจุบนั ฮ่องกงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการค้าและความทันสมัยทีเ่ กิดจากกฎระเบียบ ทีส่ นับสนุนระบบทุนนิยมอย่างสุดขัว้ นักธุรกิจฮ่องกงจึงมีความกล้าในการริเริม่ ธุรกิจ และเน้นการสร้างเครือข่ายมากกว่าการพึ่งพารัฐ และทำ�ให้เกิดมหาเศรษฐีขึ้นหลาย คนในทศวรรษ 1980 โดยหนึ่งในนั้นคือลี กา-ชิง (Li Ka-shing) เจ้าพ่อโทรคมนาคม ที่เติบโตจากการเป็นนักพัฒนาที่ดินที่กลายเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้คน หนุม่ สาวมุมานะเป็นผูป้ ระกอบการ และทำ�ให้คา่ นิยมของการเก็งกำ�ไรเป็นเรือ่ งปกติ ตลาดหุ้นและสนามแข่งม้าจึงเป็นทั้งสถานที่สำ�หรับการหย่อนใจและเป็นสนาม ฝึกฝนสำ�หรับนักเก็งกำ�ไรรุ่นเยาว์ ซึ่งทำ�ให้ฮ่องกงเป็นดินแดนที่มีทั้งพ่อค้าหัวใสและ นักเสี่ยงโชคหนาแน่นที่สุด


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์ wkcda.hk

เจ้าของห่านไข่ทองคำ�

ในสายตาของชาวตะวันตก ฮ่องกงถูกเรียกว่า “เสน่ห์แห่งตะวันออก” เพราะนอกจากจะเป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมผสมผสานที่เปิดรับชาว ต่างชาติในฐานะคู่ค้าและผู้อาศัยมาช้านาน ปัจจุบันฮ่องกงไม่เพียงคง เสน่หด์ ง้ั เดิม แต่ยงั เพิม่ ความเย้ายวนด้วยแผนการของรัฐบาลในการดึงดูด ให้ฮ่องกงเป็นสถานที่ที่น่าลงทุนที่สุดในเอเชีย สถานที่ตั้งของฮ่องกงที่เชื่อมต่อกับจีน ซึ่งกำ�ลังเป็นบ่อเงินบ่อทอง สำ�หรับนักลงทุนต่างชาตินั้น ถูกเติมความน่าสนใจด้วยโครงการรถไฟ ความเร็วสูงทีเ่ ชือ่ มต่อระหว่างเกาลูนฝัง่ ตะวันตกไปยังเซินเจิน้ และกวางโจว เขตเศรษฐกิจและแหล่งผลิตสำ�คัญในจีนด้วยเวลาในการเดินทางที่เหลือ เพียง 48 นาที อย่างไรก็ตาม แรงดึงดูดมหาศาลที่ฮ่องกงจัดเตรียมไว้ตั้งแต่ปี 2003 คือข้อตกลงหุน้ ส่วนการค้า Closer Economic Partnership Arrangement (CEPA) ระหว่างจีนและฮ่องกงที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยนักลงทุนต่าง ชาติที่เข้าไปลงทุนในฮ่องกงจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการค้าและการ ลงทุนต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษีศุลกากรในการค้าขายกับตลาดจีน นอกจากนี้ฮ่องกงยังเป็นเหมือนสถานที่ทดสอบและสร้างความคุ้นเคยให้ กับสินค้าต่างๆ ก่อนเข้าสู่ตลาดจีนอย่างเต็มตัว เนื่องจากนักท่องเที่ยว 48 ล้านคนที่เดินทางมาฮ่องกงในปี 2012 นั้น ร้อยละ 70 เป็นชาวจีน ในทางกลับกัน ข้อตกลงดังกล่าวก็เอื้อให้กับนักลงทุนจีนที่ต้องการ ออกสู่ตลาดโลกให้สามารถใช้ฮ่องกงเป็นที่เปิดตัวและสร้างความเป็น สากลให้กบั ธุรกิจด้วยบริการด้านบัญชี กฎหมาย เทคโนโลยี การออกแบบ และการสร้างแบรนด์ที่มีอยู่อย่างมากมายในฮ่องกง สายสัมพันธ์อนั ดี ภูมศิ าสตร์ทเ่ี อือ้ อำ�นวย และพ่อค้ามากประสบการณ์ ปัจจัยเหล่านี้ทำ�ให้ฮ่องกงเป็นเหมือนเจ้าของห่านที่ออกไข่เป็นทองคำ� เพราะไม่เพียงนั่งรอเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่จะวิ่งผ่านประตูทางเชื่อมนี้ แต่ ยั ง มองเห็ น ความหลากหลายและสามารถเลื อ กหยิ บ ส่ ว นผสม จากจีนและโลกเข้ามาใช้เติมเต็มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ของฮ่องกงไว้ไม่ให้จางหายไปตามกาลเวลา

ทรงเสน่ห์ด้วยศิลปะ ผู้บริหารฮ่องกงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงด้านการค้าจนละเลยศิลปวัฒนธรรม เพราะเมือง ใหญ่หลายแห่งต่างพากันสร้างจุดขายด้วยพืน้ ทีด่ า้ นศิลปวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ดังนัน้ พื้นที่เกาลูนฝั่งตะวันตกที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังแผ่นดินใหญ่จึงถูกพัฒนาให้เป็นเขต วัฒนธรรมเกาลูนฝั่งตะวันตก (The West Kowloon Cultural District: WKCD) การเกิดขึน้ ของโครงการสร้างอาคารและพัฒนาพืน้ ทีม่ ลู ค่า 21.6 พันล้านเหรียญ ฮ่องกง (ประมาณ 86,400 ล้านบาท) เพื่อการสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการส่งเสริมด้านการออกแบบเพื่อสนับสนุนนักออกแบบและอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ อันเป็นสาขาบริการที่จำ�เป็นสำ�หรับการแข่งขันทางธุรกิจ คือโครงการที่ ขยายความการให้ความสำ�คัญด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของฮ่องกง ขณะเดียวกันโครงการนี้ยังเป็นการสร้างคุณภาพชีวิต ด้วยการคืนพื้นที่สาธารณะ เปิดโล่งให้กับชาวฮ่องกงที่ต้องอาศัยอยู่บนอาคารสูงซึ่งมีความหนาแน่นเสียมากเสีย จนทำ�ให้ทางเดินสกายวอร์กเชื่อมระหว่างอาคารกลายเป็นเส้นทางสัญจรที่หนา แน่นไม่แพ้ถนน ได้รู้สึกผ่อนคลายกับพื้นที่กว้างขวางที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาแห่งนี้ ภายในโครงการประกอบด้วยพื้นที่แสดงงานศิลปะและวัฒนธรรม 15 แห่ง รวมถึงโรงงิ้วที่ทันสมัยแต่สร้างจากวัสดุดั้งเดิมอย่างไม้ไผ่ และพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดง งานศิลปะและงานออกแบบร่วมสมัยจากในท้องถิ่นและทั่วโลก เพื่อสะท้อนบทบาท ของฮ่องกงจากอดีตจนถึงปัจจุบันในการเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค ซึ่งโครงการ ดังกล่าวนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2018 wkcda.hk

ที่มา: บทความ “By People / In Cities: Hong Kong” จาก culture360.org บทความ “Hong Kong - A Success Story” จาก fee.org บทความ “Hong Kong's SME Success Story” โดย Karen E Thuermer จาก fdiintelligence.com บทความ “Horse-Racing, Stocks Keeps Vitality in HK” จาก english.people.com.cn บทความ “Intermediaries in Entrep t Trade: Hong Kong Re-Exports of Chinese Goods“ จาก econ.ucdavis.edu บทความ “Mainland and Hong Kong Closer Economic Partnership Arrangement (CEPA)” จาก tid.gov.hk บทความ “What’s New” จาก wkcdauthority.hk ข้อมูลภาพ "Asia export hubs in fierce rivalry" และ “Port rankings by container transaction volume” จาก facebook.com/nikkeiasianreview Ô

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

VERY KIND MIXTURE เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: พิชญ์ วิซ

ในวันที่ใครๆ ก็อยากแตกต่างไปจากกระแสหลักของสังคม และการคิดต่างอย่างสร้างสรรค์กลายเป็นแนวคิดสำ�เร็จรูปที่ใช้ใน การตลาดและโฆษณาอย่างแพร่หลาย ยังมีคนกลุม่ หนึง่ ทีม่ คี วามคิดความถนัดไม่เหมือนกัน แต่มรี สนิยมทีค่ ล้ายๆ กัน มารวมตัวใน นามของ “Very Kind Invention” เพื่อคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมิตร พวกเขาไม่ได้ยืนกรานว่าจะ ต้องยืนในจุดที่แตกต่างจากคนอื่นเสมอไป ไม่กำ�หนดรูปแบบผลงานตายตัว เพราะสนใจในความหลากหลายมากกว่า

ย้อนกลับไปประมาณ 6-7 ปีก่อน นักศึกษา 4 คน จาก 4 มหาวิทยาลัย เพชรพิสุทธิ์ อัศรัสกร (เบียร์) จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ อรรถนนท์ วงศ์เหลือง (กัน) จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลิสา นันทเทิม (นิกิ) จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ฐิญาภรณ์ ปาณิกบุตร (นิว) จากคณะนิเทศศาสตร์ 28 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เรียงจากซ้ายไปขวา จากรูป) ได้ลองทำ�โปรเจ็กต์เล็กๆ ด้วยกัน โดย ใช้ชอ่ื ว่า “โคโคนัท โปรเจ็กต์ (Coconut Project)” เพื่อใช้เป็นพื้นที่แสดงความสามารถแลกเปลี่ยน ไอเดียสร้างสรรค์ ก่อนทีจ่ ะแยกย้ายกันเดินทาง ไปเรียนต่อระดับปริญญาโทและกลับมาทำ�งาน ร่วมกันอย่างจริงจังในโปรเจ็กต์แฟชั่นที่กรุง ลอนดอน ด้วยสัดส่วนเคมีที่แตกต่างแต่ลงตัว ทำ�ให้ทั้ง 4 คน ตัดสินใจมาทำ�งานด้วยกัน

อย่างจริงจังในนาม Very Kind Invention สิ่งที่น่าสนใจก็คือพวกเขามีวิธีการคัดสรร ดึงเอาความแตกต่างหลากหลายของทีมงาน แต่ละคนมาใช้เป็นจุดเด่นและผสมผสานเข้า ด้วยกันจนเกิดเป็นผลงานที่มีรสกลมกล่อมและ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตลอดจนสามารถ ทลายข้อจำ�กัดของทักษะที่มีอยู่ ด้วยการหยิบ ยืมเครื่องมือของผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงต่างๆ มาใช้เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ที่สุดได้อย่างไร


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

พวกเราวางตัวเองเป็นนักวางคอนเซ็ปต์และออกแบบประสบการณ์ เพราะเราไม่อยากจำ�กัดว่าผลลัพธ์หรือรูปแบบการทำ�งานจะต้อง ออกมาเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น พวกคุณทัง้ 4 คนมารวมตัวกันในงาน “โคโคนัท โปรเจ็กต์” ได้อย่างไร

เบียร์: ตอนนัน้ พวกเรายังเด็กมาก ประมาณปี 2 ปี 3 และคิดว่าในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีพื้นที่ งานแสดงดนตรีหรือศิลปะแนวทดลองที่เปิด โอกาสให้ทกุ คนได้เข้าไปมีสว่ นร่วมกับงานจริงๆ เราก็เลยคิดทำ�ซะเอง ซึง่ นัน่ กลายเป็นจุดเริม่ ต้น ของโคโคนัท โปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม สำ�หรับจัดแสดงงานศิลปะ งานดีไซน์ ดนตรี แฟชั่น ซึ่งไม่ได้จำ�กัดว่าจะต้องทำ�ออกมาใน รูปแบบงานอีเวนท์เท่านัน้ มันเหมือนกับคอมมูนติ ้ี เล็กๆ มากกว่า ศิลปินที่มาร่วมงานก็จะมีเพื่อน และคนที่รู้จักจากการทำ�งานด้วย นิกิ: แต่ก็จะมีคนที่เราไม่รู้จักเลย แล้วสนใจ ชอบ อยากทำ�บ้างก็มี ซึ่งเราก็เปิดกว้าง เบียร์: เราเริ่มต้นจากการหาสถานที่ที่ไม่ใช้งาน แล้วมาทำ�เป็นสนามทดลอง เช่น ดาดฟ้าของ ร้านอาหารที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อทดลองเปิดร้าน อาหารและบาร์ (Pop-up Bar & Restaurant) ประมาณ 1 เดือน ให้คนเข้ามานั่ง มาเล่นใน พื้นที่ที่ถูกออกแบบให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ในทุกวันเพื่อรองรับกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น แล้วมารวมตัวกันอีกครั้งเป็น Very Kind Invention ได้อย่างไร

เบียร์: หลังจากเริ่มงานโคโคนัท โปรเจ็กต์ พวกเราก็เดินทางไปเรียนต่อที่อังกฤษ เรียนกัน คนละที่ คนละคณะ แต่ก็ได้จัดงานแฟชั่นโชว์ ผ้าไทยด้วยกัน โดยมีศูนย์ศิลปาชีพระหว่าง

ประเทศ (SACICT) เป็นสปอนเซอร์หลัก ตอนนัน้ เราอยากลองฉีกภาพลักษณ์และบริบทเดิมๆ ของผ้าทอไทย ก็เลยเชิญคนในวงการแฟชัน่ จาก ทางอังกฤษมา ทัง้ นักข่าวและแขกรับเชิญต่างๆ ในระดับอินเตอร์ จนได้มาเจอกับพี่คนหนึ่งที่ ชวนเราไปทำ�โปรเจ็กต์ “Film on the Rocks” หลังจากที่ทำ�งานด้วยกันมามากแล้ว สเกลของ งานก็เริม่ ใหญ่ขน้ึ เลยคิดว่าคงจะต้องเปิดบริษทั อย่างเป็นทางการ ส่วนเรื่องชื่อ พวกเราค่อนข้างพิถีพิถันกับ การเลือกชื่อมากๆ พยายามเลือกชื่อที่สามารถ บ่งบอกสิ่งที่เราอยากจะทำ� เวลาทำ�งานอะไร ก็ตาม เราขอให้มีเนื้อหาที่ดี “kind” ในที่นี้ หมายถึง “การคิดรอบด้าน (thoughtful)” จริงๆ แล้วการทำ�งานมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งในแง่ ลูกค้า ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และสังคม ถ้าเรา ใส่ใจสิ่งเหล่านี้ ใส่ใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เราก็จะรูส้ กึ ภูมใิ จกับผลงานของเราทีไ่ ม่ไปกระทบ กระเทือนใคร เพราะถ้าเราไม่ได้สร้างสรรค์อะไร ให้ดขี น้ึ ก็เลือกทีจ่ ะไม่ท�ำ สิง่ ทีท่ �ำ ร้ายคนอืน่ ดีกว่า ส่วนคำ�ว่า “invention” ก็คือการสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ๆ ตลอดเวลา สร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ๆ ให้กบั ลูกค้า โดยมีเนือ้ หาทีด่ แี ละผ่านกระบวนการ คิดอย่างรอบด้าน

เบียร์: พวกเราวางตัวเองเป็นนักวางคอนเซ็ปต์ และออกแบบประสบการณ์ (Concept and Experience Designer) เพราะเราไม่อยาก จำ�กัดว่าผลลัพธ์หรือรูปแบบการทำ�งานจะต้อง ออกมาเป็นสิง่ ใดสิง่ หนึง่ เท่านัน้ สมมติวา่ ลูกค้า มีโจทย์มาให้ แต่เขาอาจจะไม่มไี อเดียว่าผลผลิต ของงานนั้นๆ คืออะไร จะเป็นวิดีโอ อีเวนท์ หรือออกแบบบูธ เราก็จะทำ�หน้าทีใ่ ห้ค�ำ ปรึกษา ช่วยกันคิดว่าเขาควรจะทำ�อะไรเป็นอันดับแรก จากนั้นก็เสนอคอนเซ็ปต์ไปให้ ถ้าเขาชอบงาน เราและต้องการให้เราผลิต เราก็จะรับมาผลิต ต่อไป แต่ถา้ เขาต้องการแค่งานดีไซน์ในลักษณะ ของแบบฟอร์ม โครงสร้าง เขาก็จะซื้อแบบไป แล้วเอาไปผลิตเองได้เหมือนกัน เราไม่ได้ยดึ ว่า เราเป็นคนทำ�งานผลิตงานกราฟิกหรือออกแบบ งานนิทรรศการ ที่ผ่านมา มีงานชิ้นไหนที่ทำ�แล้วรู้สึกมีพลัง มากๆ หรือชอบมากเป็นพิเศษไหม

เบียร์: คงเป็นเพราะเราไม่ได้จำ�กัดว่าสิ่งที่จะ สร้างสรรค์ให้ลูกค้าคืออะไร ทุกงานคือการทำ� สิ่งใหม่ ซึ่งทำ�ให้ต้องไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ และ คิดหาวิธีการสร้างสรรค์ที่แตกต่างไปจากเดิม ทำ�ให้เราสนุกตื่นเต้นตลอดเวลา และภูมิใจกับ ทุกๆ งานที่ทำ� แต่งานที่รู้สึกภูมิใจสุดๆ ก็คือ ในขณะที่เอเจนซี่และสตูดิโอหลายๆ แห่งจะมี งานเทศกาลภาพยนตร์ “Film on the Rocks” จุดยืนหรือจุดเด่นที่ชัดเจน เช่น กราฟิกดีไซน์ ที่เกาะยาวน้อย พังงา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พวกเรา ดิจิทัลมีเดีย แล้ว Very Kind Invention มอง ทำ�กันในนามของ Very Kind Invention โดยมีพี่เจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) กับ จุดยืนของตนเองว่าเป็นใคร สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

บางงานเราต้องการความสดใหม่ เราก็จะไปหาเด็กนักศึกษา แต่เมื่อไรที่เราต้องการความเก๋า เราก็จะไปหาคนรุ่นเก่า

ทิลด้า สวอนตัน (Tilda Swinton) เป็นคิวเรเตอร์ ประจำ�งาน สิง่ ที่น่าประทับใจมากๆ คือเราได้ ทำ�งานร่วมกับคนในแวดวงการออกแบบและ ครีเอทีฟจากทัว่ ทุกมุมโลก ได้เห็นมุมมองวิธกี าร ทำ�งานที่เปลี่ยนโลกทัศน์ ได้เจอกับกลุ่มคนที่มี ความถนัดเหมือนกับพวกเรา เช่น นิว ซึ่งจบ ทางด้านศิลปะก็ได้จัดเวิร์กช็อปให้กับศิลปิน ต่างๆ เช่น อาร์โต ลินเซย์ (Arto Lindsay: นักดนตรี โปรดิวเซอร์ และคอมโพสเซอร์ชาว อเมริกัน) พี่ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช (ศิลปินไทย แนวคอนเซ็ปต์ชวล) และวาริส อัลลูวาเลีย (Waris Anluwalia: นักออกแบบเครื่องประดับ ชาวอินเดียน-อเมริกัน) ส่วนเบียร์ก็มีโอกาสได้ เป็นผู้ช่วยของลูเครเซีย มาร์เทล (Lucrecia Martel) ผู้กำ�กับชาวอาร์เจนตินาที่เดินทาง มาถ่ายทำ�หนังที่เกาะยาวน้อย ภูเก็ต แต่เขา ไม่เคยมาเมืองไทย ไม่เคยรู้จักเกาะยาวน้อย มาก่อน เราก็เลยเข้ามาช่วยสื่อสารกับเด็กๆ ที่ อยู่ที่นี่ หน้าที่ของเราไม่ใช่แค่การประสานงาน แต่ เ ป็ น การประสานความเข้ า ใจของทั้ ง สอง ฝ่ายมากกว่า โดยที่เราเป็นคนกลางระหว่าง 2 ฝ่ายที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกันสุดขั้ว ถือเป็นความ 30 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

ท้าทายอย่างหนึ่ง การทำ�งานนี้ทำ�ให้เราได้ สำ � รวจ ได้เรี ย นรู้พื ้ น เพของวั ฒ นธรรมไทย ท้องถิ่นและต่างชาติมากขึ้น ส่วนอีกงานเราได้ทำ�สารคดีให้กับองค์กร เพื่อสังคม iCare ภายใต้โปรเจ็กต์ “ครีเอทีฟ อาสา (iCare Award 2012)” และได้ไป สัมภาษณ์ 4 กิจการเพือ่ สังคมในหลายๆ จังหวัด เช่น จันทบุรี กรุงเทพฯ อุดรธานี แต่ละคนจะ ทำ�งานแตกต่างกัน แต่จะมีพลังและความคิด สร้างสรรค์อยูใ่ นตัวเขาเยอะมาก นอกเหนือจาก นั้นคือ เขาพยายามผลักดันไอเดียของตนเอง เพื่อช่วยเหลือสังคมของเขาจริงๆ อย่างน้อย เขาก็ไม่ได้หยุดนิ่ง แต่เริ่มจากช่วยเหลือคนใน สังคมของเขาเอง เช่น มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร คนในพืน้ ทีเ่ ขาขาดโอกาสอะไรบ้าง แล้วพยายามใช้สิ่งที่มีหรือความรู้ที่เขาเคยได้ เรียนมาตอนอยู่ที่กรุงเทพฯ เอากลับไปพัฒนา เช่น ทำ�ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ การเกษตร ใช้พลังงานทดแทน สิ่งที่ประทับใจกันมากที่สุด คือเขามีพลังงานและพลังชีวิตที่สุดยอดจริงๆ กัน: เขาเป็น Very Kind Invention ของจริง เขาคิดและทำ�เพือ่ ช่วยแก้ปญั หาจริงๆ มันก็เลย

กลายเป็นพลังที่ติดตัวเรามาด้วยและคิดว่านี่ แหละคือสิ่งที่เราอยากทำ� ผลงานของ Very Kind Invention ค่อนข้าง มีความหลากหลายมาก ทำ�ไมพวกคุณถึง เลือกที่จะทำ�งานหลายรูปแบบโดยใช้ทักษะ และความถนัดของแต่ละคนเป็นหลัก

เบียร์: เรารูส้ กึ ว่าการแก้ปญั หามันไม่ได้มวี ธิ เี ดียว การออกแบบประสบการณ์คือการรวมทักษะ ความชำ�นาญ และความสนใจต่างๆ ที่เรามีอยูแ่ ละ เข้าใจอย่างรอบด้าน การวางตนเองเป็นนักออกแบบ ประสบการณ์ก็ต้องเข้าใจ สนใจ ทั้งในเรื่อง กราฟิกดีไซน์ การสือ่ สารด้วยภาพ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน ว่าสิง่ เหล่านี้จะสามารถเชื่อมโยงเข้ากับผูบ้ ริโภคได้ อย่างไร และพยายามทำ�งานให้รอบด้านมากที่สุด พอเราต้องคิดและมองหลากหลายก็ไม่จ�ำ เป็น ต้องจำ�กัดความว่า “เราต้องเป็นแบบนีแ้ บบนัน้ ” ถ้าเช่นนัน้ แล้ว คุณเริม่ แต่ละโปรเจ็กต์อย่างไร

นิว: หลังจากได้รับโจทย์ ก็จะมาตีโจทย์กันว่า เราทำ�แบบไหนได้บ้าง สมมติว่าลูกค้าอยากได้


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

วิดโี อ แต่ถา้ เราลองทำ�ออกมาเป็นอีเวนท์ ลูกค้า อาจจะได้ประสบการณ์มากกว่า ได้ใกล้ชิดกับ คนมากขึน้ หรือเปล่า เราก็อาจจะเสนอทางเลือก อื่นให้เขาด้วย ผลลัพธ์มันก็อาจจะออกมาเป็น อีกแบบ เพราะฉะนัน้ งานของเราเลยดูหลากหลาย แต่ทั้งหมดก็มาจากคอนเซ็ปท์และไอเดียที่ผ่าน การคิดมาแล้ว กัน: จริงๆ แล้วในการแก้ปญั หา มันมีเครือ่ งมือ เยอะมากเลย แต่เราต้องหยิบให้มนั เหมาะสมกัน แล้วมันจะกลายเป็นเครือ่ งมือทีส่ ามารถตอบโจทย์ วัตถุประสงค์ของงานได้ เช่น เราจัดงานอีเวนท์ ขึน้ มาและต้องการให้คนไปทางซ้าย เราจะไม่ท�ำ กราฟิก บอกว่า “กรุณาไปทางซ้าย” แต่เราจะ ใช้วิธีอื่นที่แนบเนียนกว่าโดยที่เราไม่ต้องบอก หรือยัดเยียดข้อมูล ขายของ หรือบังคับเขา เรา อาจจะเปิดเพลงไว้ทางซ้ายแล้วให้เขาเดินตามไป เบียร์: เราสามารถออกแบบเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของคนที่มาร่วมงานไปในทิศทาง ต่างๆ ได้ โดยใส่การคิดอย่างรอบด้านเข้าไป เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้ที่เข้ามาร่วมงาน อย่างละเมียดละไม เช่น งานโคโคนัท โปรเจ็กต์ ทีเ่ ราสร้างประสบการณ์ทท่ี �ำ ให้คนมาร่วมงานรูส้ กึ ว่ามันเป็นช่วงเวลา เป็นความทรงจำ� มากกว่า การจัดอีเวนท์ธรรมดาทั่วไปที่จบไปแล้วคนลืม ถ้าในกรณีทง่ี านนัน้ เป็นสิง่ ทีไ่ ม่ถนัด พวกคุณมี วิธกี ารจัดการแก้ไขปัญหาอย่างไร หรือมองหา คนที่มีศักยภาพมาทำ�งานร่วมกันได้อย่างไร

เบียร์: เราอาจจะวางคอนเซ็ปต์หลักไว้ว่านี่คือ เนื้อเรื่องที่อยากจะเล่า ทีนี้ พอเราคิดได้แล้วว่า ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร จากนั้นเราก็จะ เริ่มเห็นว่าใครเหมาะสมที่จะมาทำ�งานกับเรา บางงานเราต้องการความสดใหม่เราก็จะไปหา เด็กนักศึกษา แต่เมื่อไรที่เราต้องการความเก๋า เราก็จะไปหาคนรุน่ เก่า เราว่าคนไทยไม่ได้เก่งแค่ งานช่างหรืองานโฆษณา แต่งานปั้น งานทำ�มือ งานทอ เขาก็เก่งมากจริงๆ หรืองานอีเวนท์ บางประเภทก็ต้องใช้การจัดเวที การออกแบบ แสงสีด้วย แต่เราไม่มีความรู้ ก็จะไปชวนเพื่อน หรือคนรู้จักมาช่วย ยืมมือเขาทำ� หรืออาจเป็น

คนที่เราเคยเห็นผลงานในสื่อมาก่อนและรู้สึก ว่าเขาน่าจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ บางทีเรา อยากได้ชา่ งทำ�กระดาษเก่งๆ เราก็จะไปหาตาม ที่ต่างๆ เช่น แถวบ้านหม้อ ไม่เคยมีงานอะไรที่ เราถามเขาไปแล้วเขาทำ�ไม่ได้ นักศึกษาช่าง หรือ ช่างไม้เก่าๆ ช่างเพ้นท์เก่าๆ ซึ่งอาจจะรู้จักมา จากทางครอบครัวของพวกเรา เช่น คุณลุงคนนี้ มีฝีมือในการเพ้นท์โปสเตอร์หนังเก่า เจ๋งมาก เลย เราก็ไปชวนเขามาร่วมงาน เมื่อก่อนคนใน วงการโฆษณาก็จะไม่ได้ท�ำ โปสเตอร์ในคอม เขา ขึน้ เพลตด้วยมือของเขาเอง เราก็จะไปดูเทคนิค ว่าเขาทำ�กันอย่างไร วิธีการวาดการเล่าเรื่องใน สตอรีบ่ อร์ดของเขาจะละเอียดมาก พอเราได้ไป เรียนรู้ เราก็เอาเทคนิคกลับมาใช้ บางทีเราก็ ขอให้เขาทำ�ให้ เพราะเรารูส้ กึ ว่ามันไม่มคี นใหม่ๆ ทีส่ ามารถทำ�แบบนีไ้ ด้ มันจะต้องเป็นคนรุน่ เก่าๆ เท่านั้น ด้วยความที่เราสนใจในผู้คน สนใจสาย อาชีพต่างๆ ด้วย พอเราได้ไปเจอ ไปเห็น เรา ก็รสู้ กึ ว่ามันเป็นใครทำ�ไม่ได้แล้วล่ะ ต้องเป็นคน กลุม่ นีเ้ ท่านัน้ มันก็เปิดโลกทัศน์ให้เราด้วย ทำ�ให้ เราได้เจอคนเยอะขึ้น ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีเอเจนซี่โฆษณาและ สตูดิโอด้านดีไซน์ขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นจำ�นวน มาก คิดว่าทำ�ไมคนรุน่ ใหม่ถงึ เลือกทีจ่ ะออกมา ทำ�ธุรกิจเอง ไม่ได้ทำ�งานให้กับบริษัทใหญ่ๆ

เบียร์: เราคิดว่าตอนนี้ มนุษย์เราอยากที่จะทำ� ในสิ่งที่ตัวเองเชื่อและทำ�ในสิ่งที่ตนเองรักมาก ที่สุด อยากที่จะทำ�ในสิ่งที่รู้สึกว่าตื่นเช้ามาแล้ว ภูมิใจในสิ่งที่ทำ�อยู่ นี่คือสิ่งที่ฉันรักและเคารพ กับมัน เรารู้สึกว่าตอนนี้หลายๆ คนรู้สึกแบบนี้ อยากจะเป็น “นักสร้างสรรค์ในแบบของตนเอง (Creator in their own way)” ก็เลยต้อง พยายามหาแนวทางวิธีการต่างๆ ที่ไม่เหมือน คนอืน่ ในการสร้างวิธกี ารใหม่ๆ ให้กบั ตนเองและ สังคม แต่กไ็ ม่ได้หมายความว่าคนทีท่ �ำ งานบริษทั ผิดแปลกจากคนอื่น เราก็เชื่อว่าเขามีเหตุผล ของเขา อาจจะเป็นเพื่อความมั่นคงหรือตอบ โจทย์ความต้องการของเขาได้ แต่เราเชื่อว่า เอเจนซี่หรือสตูดิโอที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

น่าจะมีจุดประสงค์คล้ายๆ กันว่าเราอยากจะ เป็นคนสร้างสรรค์ในแบบของเราเองมากกว่า แสดงว่ า พวกคุ ณ เชื่ อ ว่ า พลั ง ของกลุ่ ม คน เล็กๆ ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้

ทุกคน: เชื่อมาก (หัวเราะ) เบียร์: เรารู้สึกว่าคนๆ เดียวแค่หยิบขยะมาทิ้ง ก็เปลี่ยนแล้ว ไม่ต้องรอให้คนอื่นทำ�ก่อนหรอก เรารู้สึกว่าทำ�ไปเถอะ อย่ารอ ถ้ารู้สึกว่ามันมี ปัญหา ไม่เป็นไปตามที่เราคิด ถ้าเราเห็นทาง แก้ไขก็ทำ�ไปเถอะ อย่าพูดว่ากล่าวอะไรต่างๆ ตลอดเวลา แทนที่จะเอาเวลาและพลังงานใน การว่ากล่าวไปทำ�อย่างอืน่ ไหม เริม่ จากสิง่ เล็กๆ ก็ได้ แค่เราลองเปลี่ยนมุมมองความคิด ของ ตนเองหรือหยุดตำ�หนิคนอื่นก็เป็นการจรรโลง โลกอย่างหนึ่งแล้ว อย่างการบ่นในเฟซบุ๊กก็คือ การทำ�ร้ายคนอืน่ เหมือนกัน มันคือการถ่ายทอด พลังงานทีเ่ ป็นด้านลบให้กบั คนอืน่ ทำ�ให้คนอืน่ หงุดหงิดรำ�คาญไปด้วย เริม่ ง่ายๆ ทีค่ วามคิดตัวเอง ตอนนี้พวกคุณก็ยังทำ�โคโคนัท โปรเจ็กต์กัน อยู่ใช่ไหม เพราะอะไรคุณถึงสนใจและอยาก ให้ เ ด็ ก รุ่ น ใหม่ ไ ด้ มี พื้ น ที่ ใ นการแสดงความ สามารถของตนเอง

เบียร์: เพราะเราเคยเป็นเด็กทีไ่ ม่มสี นามมาก่อน ตอนนัน้ เราก็รสู้ กึ ว่าต้องดิน้ รนมากๆ เพราะไม่มี สถานทีส่ �ำ หรับแสดงผลงาน เราก็รสู้ กึ ว่าต้องทำ� และเราก็รวู้ า่ เด็กๆ ในช่วงวัยนีน้ า่ จะคิดเหมือนกัน นิว: เรารู้สึกว่าคอมมูนิตี้แบบนี้ยังต้องการพื้นที่ อยู่ และคนเก่งมีอยูท่ กุ ยุคสมัย แต่เขาไม่มโี อกาส ออกมาโชว์ พอมาถึงตอนนีเ้ ราโตแล้ว ก็ยงั อยาก จะรักษาให้โปรเจ็กต์น้ยี ังเป็นพื้นที่สำ�หรับน้องๆ มหาวิทยาลัยทีอ่ ยูใ่ นช่วงวัยเดียวกับเราในตอนนัน้ ในงานรุ่นน้องจะได้เจอรุ่นพี่ท่เี ป็นแรงบันดาลใจ ส่วนรุ่นพี่ก็ได้เห็นความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ ทีส่ ามารถสร้างอะไรไม่มากก็นอ้ ยให้กบั สังคม แต่ เราก็จะพยายามทำ�ให้ตอ่ เนือ่ งให้เป็นแพลตฟอร์ม ของน้องๆ ต่อไป

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ถึงพวกเราจะโตมากันคนละแบบ เรียนคนละสาย แต่ว ่า สิง่ ที่ พ วกเราจั บ มาผสมผสานไม่ใ ช่แ ค่ เรื่องการศึกษาหรือทักษะอย่างเดียว แต่มนั คือทุก สิง่ ทุกอย่างที่พวกเราเคยรับรู้มาทั้งหมด คิดอย่างไรถ้าเราจะขอเรียกพวกคุณว่าเป็น “นักผสมผสานทักษะ” และคิดว่าการผสมผสาน ทักษะในความหมายของพวกคุณคืออะไร

เบียร์: เราเห็นโอกาส คอนเทนต์ หรือแม้แต่ ทักษะต่างๆ แล้วเราก็พยายามจับนูน่ ผสมนีโ่ ยน เข้ามาผสมด้วยกัน แล้วก็พยายามตบให้มนั กลม มากที่สุด สร้างเป็นเครื่องมือหนึ่งขึ้นมา เอา จริงๆ มันก็คอื วิธกี ารทำ�งานของพวกเรานีแ่ หละ ถึงพวกเราจะโตมากันคนละแบบ เรียนคนละสาย แต่ ว่ า สิ่ ง ที่ พ วกเราจั บ มาผสมผสานไม่ ใ ช่ แ ค่ เรื่องการศึกษาหรือทักษะอย่างเดียว แต่มันคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเราเคยรับรู้มาทั้งหมด จะ เห็นได้ว่าข้าวของใน Very Kind Invention มี หลายประเภทมาก ตั้งแต่หนังสือดีไซน์ หนังสือ ศิลปะ แผ่นเสียง หนังสือแฟชั่น หนังสือที่เกี่ยว กับวัฒนธรรมไทยก็มี วัฒนธรรมจีนก็มี เราสนใจ หลายอย่างมากมาย เราก็เลยมิกซ์สิ่งต่างๆ เหล่านีเ้ ข้ามาในเนือ้ งานด้วย นอกจากการผสม ผสานทักษะแล้ว เราต้องเห็นก่อนและเข้าใจใน สิ่งต่างๆ พอเราเข้าใจก็จะรู้แล้วว่าเราจะหยิบ อะไรมา โยนอะไรใส่ลงไป และเราจะมิกซ์อะไร ในงานนี้ จะเอาสไตล์ไหน เทคนิคไหน วัสดุ ไหนมาเล่น เพราะฉะนัน้ เราเลยต้องดูเยอะมาก อ่านเยอะมาก ฟังเยอะมาก เพื่อที่จะได้เห็นได้ เยอะที่สุดและเข้าใจกับมันให้มากที่สุด เบียร์และนิว: อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเสริมก็คือ นักผสมผสานทักษะจะต้องมีความเข้าใจใน หลายๆ อย่าง โดยไม่ตัดสินหรือยึดติดกับ อุดมคติ วิธกี ารคิดแบบเดิมๆ เราต้องเปิดกว้าง ให้มากที่สุด 32 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2556

CREATIVE INGREDIENTS กิจกรรมยามว่าง

เบียร์: พวกเราชอบเล่นละครกัน เพราะการที่เราจะผสมผสานอะไรสักอย่าง เราต้องทำ�ความ เข้าใจสิ่งๆ นั้น เราต้องเห็น เข้าใจ เอาตัวเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้น นี่คือวิธีการออกแบบ ประสบการณ์ สถานที่ที่ชอบไป

นิว: เวลามีกิจกรรมอะไร พวกเราก็ไปทุกงาน เช่น ไปงานฉายหนังใต้สะพาน งานดนตรีใน สวนสาธารณะ อย่างน้อยเราได้เรียนรู้ เปิดหูเปิดตา ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ พยายามใช้ชีวิต ให้มากที่สุด เบียร์: พวกเราชอบไปงานเอ็กซ์โป ไปดูคนว่าเขาทำ�อะไรกัน ไม่ใช่แค่ในเมืองไทย เมืองนอก ด้วย ดูว่างานที่มันเกิดขึ้นในโลกมันมีอะไรบ้าง อย่างงานโอท็อป พวกเราก็ชอบไปมาก เพราะ เราได้เจอช่างทอผ้าจากหมู่บ้านที่เราไม่ได้เคยได้ยินชื่อ แต่งานสวยมาก อย่างงานล่าสุดที่ไป เราได้ไปเจอนักวิจัยเกี่ยวกับผ้าไหม ไม่ใช่แค่ผ้าไหมไทย แต่เขาจะเดินทางไปตามที่ต่างๆ สรรหาผ้าตามหมู่บ้านต่างๆ เช่น ลาว เวียดนาม เราก็จะไปดูวิธีการเล่าเรื่องเชิงวัฒนธรรม ต่างๆ ออกมา ได้รู้ว่าคนไทยมีอะไรมากกว่าที่เราคิด กัน: สิ่งหนึ่งที่พวกเราชอบมากๆ คือการไปเที่ยว ไม่ว่าจะต่างจังหวัด นอกประเทศ ไกลหรือ ใกล้ แล้วเวลาไปเราต้องลงไปให้ลึกที่สุด ต้องไปที่ๆ เขาอยู่กันจริงๆ ต้องไปเที่ยวไปดูทั้งหมด นิว: เราว่าการไปเที่ยวทำ�ให้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น เวลาเราเจออะไรใหม่ๆ ก็จะมาทำ�ความ เข้าใจกันว่า เขาทำ�แบบนี้เพราะเมืองมันเป็นแบบนี้ นั่งวิเคราะห์กัน เบียร์: เราจะไม่ตัดสินแบบเหมารวม แต่จะพยายามทำ�ความเข้าใจกับเขา เราเคยไปเรียนต่าง ประเทศก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนไทยน้อยลง เราก็ยังสนใจความเป็นไทยหรือ วัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ หรือแม้กระทั่งแมสสุดๆ เราก็ต้องเข้าใจมันให้ได้ เพราะว่าอย่างที่บอก “Good Mixer” คือ คุณเห็นสิ่งๆ หนึ่ง คุณก็ต้องพยายามทำ�ความเข้าใจกับมัน ยิ่งคุณเห็นได้ มากที่สุดและพยายามทำ�ความเข้าใจกับมันได้มากที่สุด คุณก็จะมีความสามารถในการผสม ผสานสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกล่อมมากที่สุดเช่นกัน


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

สิงหาคม 2556

l

Creative Thailand

l 33


altascuolapelletteria.it

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

The School of Excellence garethlewisaccessories.wordpress.com

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

ทักษะช่างฝีมือที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นนั้น เปรียบเสมือนวัฒนธรรมและมรดกที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยแนวคิดและความสามารถของ คนรุ่นก่อน โรงเรียนช่างจึงเป็นเหมือนสถานที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาศึกษา เพื่อเรียนรู้วิธีการ รักษาคุณค่า และฝึกฝนทักษะ ต่างๆ ให้ชำ�นาญเพื่อนำ�ทักษะเหล่านั้นไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากประเภทที่รองรับและมีความต้องการความเชี่ยวชาญในเชิงช่าง เพื่อเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการผลิตที่ต้องอาศัยความประณีตเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าของชิ้นงานเป็นสำ�คัญ

โทมัส ไมเออร์ (Tomas Maier) ดีไซเนอร์และ ครีเอทีฟของแบรนด์เครื่องหนังอย่าง บอตเตกา เวเนตา (Bottega Veneta) เคยกล่าวไว้ว่า “ทักษะช่างฝีมือชาวอิตาลีคือจุดเริ่มต้น จนถึง ในวันนี้ก ารทำ � งานร่ ว มกั น ระหว่า งดีไซเนอร์ และช่างฝีมือก็ยังเป็นหัวใจสำ�คัญในทุกสิ่งที่เรา ทำ�” แต่ในขณะที่มีผู้คนมากมายซึ่งมีคุณสมบัติ พร้ อ มต้ อ งการทำ � งานในตำ � แหน่ ง ดี ไ ซเนอร์ ความต้องการทำ�งานในตำ�แหน่งช่างฝีมือกลับ สวนทางอย่างสิ้นเชิง และยิ่งหนักข้อขึ้นเมื่อ ตำ�แหน่งช่างฝีมือไม่ได้กลายเป็นอาชีพในฝัน ของเหล่าเจเนอเรชั่นรุ่นใหม่ๆ ความไม่สมดุล เหล่ า นี้ ส่ ง ผลให้ จำ � นวนช่ า งฝี มื อ ลดลงอย่ า ง มากเมื่อเทียบกับทศวรรษก่อนหน้า ด้วยเหตุน้ี บอตเตกา เวเนตา จึงต้องพลิกมุมมองที่เกิดขึ้น จากปัญหานี้เสียใหม่ แต่แทนที่จะเลือกมองหา ฐานการผลิตจากพืน้ ทีท่ ค่ี า่ จ้างแรงงานถูกกว่าเพือ่ 34 l Creative Thailand l สิงหาคม 2556

ประหยัดต้นทุนในการผลิต บอตเตกา เวเนตา กลับตัดสินใจลงทุนกับอนาคต โดยสนับสนุน เงินทุนการศึกษาสำ�หรับหลักสูตรการตัดเย็บ และออกแบบเครือ่ งหนัง 3 ปี สำ�หรับนักเรียนใน ช่วงอายุ 18-25 ปี ภายใต้โครงการ 'La Scuola della Pelletteria Bottega Veneta' ตัง้ แต่ปี 2006 ร่วมกับสถาบันศิลปะและงานฝีมือแห่ง วิเชนซา (School of Art and Crafts of Vicenza) สถาบันการศึกษาเก่าแก่ที่เปิดสอน มาตั้งแต่ปี 1838 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวไม่ได้ ครอบคลุมเฉพาะวิชาชีพด้านฝีมือช่างพื้นฐาน อย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการผลิต เครื่องหนังตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง ภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และ ประวัติศาสตร์แฟชั่น เพื่อเสริมสร้างรากฐาน

ที่ มั่ น คงในการประกอบอาชี พ และความ สามารถในการเข้าถึงการผลิตและการเป็นส่วน หนึ่งของตลาดแรงงานแบบยั่งยืนให้เป็นหนึ่ง เดียวกันต่อไปในอนาคต ในวันที่ “ทักษะ” และ “เทคโนโลยี” เดิน ทางมาบรรจบกัน ช่างฝีมือจึงต้องปรับตัวตาม พัฒนาการของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนไปข้าง หน้าอย่างทันท่วงที ทักษะช่างฝีมือดั้งเดิมที่ถูก ส่ ง ต่ อ จากมื อ สู่ มื อ อาจไม่ เ พี ย งพอต่ อ ความ ต้องการช่างที่มีคุณสมบัติครบครันทั้งทักษะ และความสามารถที่ทันสมัย โรงเรียนช่างฝีมือ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการฝึกฝนเพื่อเตรียม ความพร้อมให้กบั ผูศ้ กึ ษา เพือ่ วันหนึง่ พวกเขาจะ กลายเป็นส่วนผสมชัน้ เลิศ สำ�หรับธุรกิจทีพ่ ร้อม เปิดรับและให้โอกาสในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ คุณภาพระดับดีเยี่ยมต่อไป ที่มา: altascuolapelletteria.it




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.