Bangkae Urban Renewal : Landscape Architecture Thesis 2020

Page 1

BANGKAE : URBAN RENEWAL

FRIENDLY DISTRICT

โครงการฟื้นฟูเมือง ย่านบางแค : ย่านเป็นมิตร

NAURAMON WONGNIYOM


พื้นที่ย่านบางแค ตั้งอยู่ในเขตต่อเมืองฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครในฝั่งธนบุรี เป็นพื้นที่เขตชั้นกลางหรือเขตต่อเมือง(Urban Fringe) ซึ่งเป็นเขตที่มีการ ขยายตัวของประชากร รวมทั้งกิจกรรมทางการค้าและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในรัศมีระหว่าง 10-20 กิโลเมตรจากศูนย์กลางเมือง ซึ่งในปัจจุบันเป็น บริเวณที่มีการพัฒนาอย่างกระจัดกระจาย (Urban Sprawl) อย่างไร้ทิศทาง แม้ว่าบทบาทของพื้นที่ย่านบางแคจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตของเมืองในแต่ละช่วงเวลา แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านบางแคยังคงมีวิถีชีวิตแบบเพื่อน บ้าน ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีความเป็นกันเองและเรียบง่าย ในปัจจุบันย่านบางแคเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่กำ�ลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากการให้บริการของ รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดลงในพื้นที่ย่านบางแค จึงทำ�ให้พื้นที่ในย่านนี้กลายเป็นจุดที่น่าจับตามองของคนทำ�งานในเขต CBD อย่างสีลม สาทร สยาม ด้วยเหตุผลว่า พื้นที่ในย่านบางแคเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่ชานเมืองในฝั่งธนบุรีนั้น ทำ�ให้บทบาทของพื้นที่ในย่านบางแคกลายเป็นประตูสู่ชานเมืองที่ ผู้คนชาวฝั่งธนต้องสัญจรผ่านพื้นที่ในบริเวณนี้เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ในระดับเมือง ย่านบางแคนับว่าเป็นย่านที่สามารถเข้าถึงพื้นที่เมืองชั้นในได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีถนนสายหลัก และมีระบบขนส่งสาธารณะที่หลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นทางบก ทางน�ำ้ รวมไปถึงรถไฟฟ้า ที่ทำ�ให้ย่านบางแคกลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงพื้นที่ย่านอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยแต่ละสถานีมีระยะห่าง ที่คนในย่านบางแคสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินทั้งหมด แต่ผู้คนกลับเลือกที่จะเดินน้อยมาก เนื่องจากความไม่สะดวกสบายในการเดิน และขาดแรงดึงดูดที่จะเลือกใช้การเดินเป็นหลัก ทางผู้วิจัยจึงนำ�เสนอแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยมีแนวคิดที่จะสร้างพื้นที่ที่มีความเป็นมิตร โดนนิยามออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. พื้นที่ที่มีความเป็นมิตรกับผู้คน คือพื้นที่ของเมืองสามารถเดินได้และเอื้อต่อการเดินได้ดี 2. พื้นที่ที่ส่งเสริมความเป็นมิตรของผู้คน คือพื้นที่ที่สร้างโอกาสให้เกิดกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน เพื่อส่งเสริมความเป็นมิตรของผู้คน โดยแบ่งโซนนิ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. พื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร โดยอยู่ในบริเวณต้นและปลายของโครงการ 2. พื้นที่การค้า อยู่ในบริเวณใจกลางของย่าน 3. พื้นที่ชุมชน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดจะแทรกไปด้วยพื้นที่สาธารณะที่มีเอกลักษณ์และการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของพื้นที่ โดยทั้งหมดจะถูกเชื่อมด้วย เส้นทาง Park line และในโซนพื้นที่การค้าจะถูกเชื่อมด้วยเส้นทาง Commercial line


INDEX

1

40

04 VISION OF THE SITE 04-1 vision 41 04-2 visoin plan 44 04-3 planting concept 49

02

01 INTRODUCTION 01-1 ประวัติบางแค 04

50

05 THE DESIGN 05-1 บางหว้า 51 05-2 เพชรเกษม48 56 05-3 บางแค 60 05-4 บางแค 64

06

02 THIS IS BANGKAE 02-1 macro analysis 08 02-2 micro analysis 18 02-3 ปัญหาที่เกิดขึ้น 30

70

06 REFLECTION

34

03 POTENTAIL OF BANHKAE

71

07 REFERENCE


2

01 INTRODUCTION

กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมด้านต่างๆ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนรูปแบบวิถีชีวิต รวมไปถึงการปรับตัวของพื้นที่ย่านชุมชน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ หรือหากไม่สามารถ ปรับตัวก็อาจเสื่อมโทรมลง และล่มสลายไป ในปัจจุบันกรุงเทพฯกลายเป็นมหานครที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 15 ของโลก ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้งการเป็นศูนย์บริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม รวมถึงเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจการค้าและการบริการ และยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตที่กระจุกตัวบริเวณศูนย์กลางเมืองส่งผลให้กรุงเทพฯ เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอันเกิดจากแรงงาน อพยพ ประกอบกับสถานการณ์ราคาที่ดินสูงขึ้นจึงส่งผลให้ผู้คนเริ่มย้ายออกจากศูนย์กลางเมือง (Decentralize) ไปยังชานเมืองในลักษณะของการครอบ ครองที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่เนื่องจากผู้คนยังคงต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจหรือแหล่งงานจากศูนย์กลางเมือง ทำ�ให้ต้องเดินทางเข้าศูนย์กลางเป็นประจำ� กรุงเทพมหานครจึงมีการวางแผนเส้นทางขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าออกไปยังชานเมืองตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในอนาคต เพื่อกระจายความหนาแน่นออกจากศูนย์กลางเมืองและเพื่อลดปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้นโดยมีการนำ�ร่องเปิดให้บริการเส้นทางแรกโดยเป็นส่วน ต่อขยายจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ซึ่งมีสถานีบางหว้าเป็นสถานีปลายทางเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2556 และต่อมาในปี 2562 มีการเปิดให้บริการส่วน ต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งมีสถานีหลักสองเป็นสถานีปลายทาง


3


4

บางแคที่เปลี่ยนไป กับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกรุงเทพฯ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 1976 - 2394 สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัย รัชกาลที่ 3 พื้นที่ย่านบางแค ยังไม่เกิดการตั้งถิ่นฐาน

สมัยกรงุศรีอยุธยา ชุมชนที่เรียกกันว่าบางกอก เป็นชุมชนสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นชุมชนที่เชื่อว่ามีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ.1893 การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติต้องอาศัยแม่น�้ำ เจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำ�คัญ โดยจะต้องผ่านชุมชนบางกอก ซึ่งเป็นย่านที่พักสินค้าที่ดที่สุดเพราะเส้นทางที่จะผ่านต่อไปต้องเสียเวลาเดินทางนานเนื่องจากระยะทางไกลและแม่น�้ำคดเคี้ยวมาก ยิ่งทำ�ให้ ย่านบางกอกมีความสำ�คัญมากยิ่งขึ้น และชุมชนมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นตามไปด้วย โดยในการติดต่อค้าขายนั้นต้องอาศัยทางเรือเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นแม่น�้ำเจ้าพระยามีความคดเคี้ยวไปมา ทำ�ให้ การเดินทางต้องใช้เวลานานมาก จนมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่คอดที่สุด ซึ่งคลองที่ขุดปัจจุบันคือแม่นำ�้ เจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย จนถึงปากคลองบางกอกใหญ่และแม่น�้ำเจ้าพระยาเดิมเปลี่ยนไปเป็นชื่อคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ คลองลัดดังกล่าวเรียกโดยทั่วไปว่าคลองลัดบางกอก

ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2394 - 2467 สมัย รัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 6 พื้นที่ย่านบางแค เริ่มมีการตั้งถิ่นฐาน

ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง รัฐบาลไทยจึงเปิดขายข้าวอย่างไม่จำ�กัด ทำ�ให้พื้นที่อยู่อาศัยในธนบุรีขยายตัวกว้างออกไปมากกว่าเดิม โดยที่ต่อมาการค้าน�้ำตาลเจริญขึ้นมาก มีความต้องการอ้อยและ น�ำ้ ตายจากแหล่งผลิตใหญ่ แต่การขนส่งทางน�้ำเดิมค่อนข้างลำ�บากเนื่องจากแนวคลองคดเดี้ยว จึงมีการขุดคลองภาษีเจริญขึ้น นอกจากที่คลองภาษีเจริญจะเชื่อมระหว่างแม่น�้ำเจ้าพระยากับแม่นำ�้ ท่าจีนแล้ว ยัง เชื่อมกับคลองดำ�เนินสะดวกและแม่น�้ำแม่กลอง เมื่อคลองเป็นเส้นทางในการสัญจรหลัก จึงเกิดการ "นัด" เแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างกันบนท้องน�้ำ เกิดตลาดน�้ำตามปากคลองสำ�คัญๆ หรือจุดตัดคลองซอยต่างๆ ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลา ที่ย่านบางแคเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ตามสองฟากฝั่งคลอง เพื่อความสะดวกในการดำ�รงชีวิตทั้งอุปโภคบริโภคตลอดจนการคมนาคม จากการตั้งถิ่นฐานและด้วยความเป็นเส้นทางสัญจรหลัก จึงเกิดความหนา แน่นทางการค้าทางน�ำ้ เกิดเป็นชุมชนการค้าสองฝั่งคลองราชมนตรี และเกิดชุมชนบางแค รวมถึงเป็นย่านส่งสินค้าเกษตรไปยังที่อื่นๆ จนกลายเป็นท่าเกษตร

ช่วงที่3 พ.ศ. 2468 - 2529 สมัย รัชกาลที่ 7 - รัชกาลที่ 9 พื้นที่ย่านบางแค มีบทบาทที่สำ�คัญด้านศูนย์กลางพาณิชยกรรมชานเมืองของฝั่งธนบุรี

ขณะที่ฝั่งธนบุรีเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลง ฝั่งพระนครก็พัฒนาไปอย่างมาก มีการสร้างถนนเพิ่มขึ้นมากมาย การคมนาคมหลักเปลี่ยนจากทางน�้ำมาเป็นการสัญจรทางบกซึ่งทำ�ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น เพื่อการขยายตัวของเมืองจึงได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า ในปี พ.ศ.2475 ส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงการดำ�เนินชีวิตของผู้คน วิถีชีวิตของชาวสวน โดยการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากเขตชั้นใน บริเวณที่สะพานตัดมาถึง เช่นย่านบ้านสมเด็จ ย่านวงเวียนเล็ก และยังมีการสร้างถนนใหม่ขึ้นอีก 11 สายในฝั่งธนบุรี ในระยะแรกย่านบางแคยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง จนปี พ.ศ. 2500 มีการสร้างถนนเพชรเกษม และมีซอยต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดชุมชนตามสายนี้ เช่นชุมชนบางแค ชุมชนบางหว้า ชุมชนย่านถนนเทอดไทย ชุมชนซอยแสงเพชรเป็นต้น เมื่อการคมนาคมทางบกมีความสำ�คัญมากขึ้น ความหนาแน่นและบทบาทของชุมชนริมถนนก็มีมากขึ้น กิจกรรมการค้าก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่บทบาทของการค้า บริเวณปากคลองราชมนตรี และริมคลองภาษีเจริญก็เริ่มลดลง กลายเป็นเพียงชุมชนอยู่อาศัย ย่านการค้ามากระจุกตัวบริเวณถนนเพชรเกษม ในปี พ.ศ. 2518-2520 มีการจัดระเบียบเมืองและย้ายร้านค้า แผงลอยต่างๆมารวมกันที่ตลาดใหม่บางแค ทำ�ให้ย่านบางแคมีความหลากหลายของสินค้าและบริการ และจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-5 ที่มุ่งเน้นลดความหนาแน่นของเขตชั้นใน จึง กระจายอุตสาหกรรมออกไปยังชานเมือง ทำ�ให้ย่านบางแคกลายเป็นย่านอุตสาหกรรมแรกสุด ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงและศ฿นย์กลางของการคมนาคมทั้งทางบกและทางน�้ำ ระหว่างเมืองปริมณฑลในท้องถิ่น ประกอบกับการอพยพเข้ามาของแรงงานจำ�นวนมาก ส่งผลให้ย่าน บางแคกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญของชานเมืองธนบุรี ณ ช่วงเวลานั้น

ช่วงที่4 พ.ศ. 2530 - 2555 สมัย ปลายรัชกาลที่ 9 พื้นที่ย่านบางแคลดบทบาทลง ประสบปัญหาต่างๆ และเริ่มเสื่อมลง ตั้งแต่มีโรงงานอุตสาหกรรมในย่านบางแค คลองภาษีเจริญและคลองสาขาก็ประสบปัญหามลภาวะทางน�้ำ ส่งผลที่เห็นได้ชัดคือพื้นที่เกษตรลดลง ตลาดน�้ำย่านการค้าเสื่อมลง และเลิกไปในที่สุด รวมถึง

การที่ความสำ�คัญของการคมนาคมทางบกที่มีมากขึ้น จึงมีการก่อสร้างถนนขนาดใหญ่หลายสายเพื่อการเดินทางที่สะดวกสบาย รองรับความแออัดของเมือง และการสร้างถนนพระราม 2 ซึ่งส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเส้นทางการเดินรถที่มุ่งลงภาคใต้ เกิดเป็นศูนย์การค้าใหม่ตามแนวถนนได้แก่ ย่านปิ่นเกล้า-ตลิ่งชัน และย่านพระราม2 ประกอบกับการใช้ที่ดินในย่านบางแคที่หนาแน่น ทำ�ให้เกิดความแออัด การ จราจรติดขัด ประชาชนไม่อยากเข้ามา ส่งผลให้ย่านบางแคถูกลดบทบาทจากศูนย์กลางการค้าชานเมืองฝั่งธนบุรีลง


5

ช่วงที่5 พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน สมัย รัชกาลที่ 10 พื้นที่ย่านบางแคกลับมาเป็นที่สนใจ ในฐานะย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง

จากการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่มีสถานีปลายทางเป็นสถานีบางหว้า ทำ�ให้การเดินทางจากพื้นที่ฝั่งธนบุรีเข้าสู่ตัว เมืองสะดวกสบายยิ่งขึ้น และที่ดินยังมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับพื้นที่ในเมืองเขตชั้นใน ทำ�ให้พื้นที่ย่านบางหว้า-บางแค ได้รับความสนใจด้าน อสังหาริมทรัพย์เป็นจำ�นวนมาก มีการสร้างอาคารประเภทคอนโดมิเนียม และมีประชาชนทยอยย้ายเข้ามาอยู่อาศัยจนราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นถึง 14% ภายในช่วงระยะเวลา 5ปี ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมดอยู่ที่ 8.5% ส่งผลให้ย่านบางแคกลับมาได้รับ ความนิยมอีกครั้ง


6

02 THIS IS BANGKAE

ความเจริญที่อยู่ในศูนย์กลางเมือง กับบางแค ประตูสู่ตัวเมืองของชาวฝั่งธน พื้นที่ย่านบางแค ตั้งอยู่ในเขตต่อเมืองฝั่งตะวันตก ของกรุงเทพมหานคร ในฝั่งธนบุรี เป็นพื้นที่เขตชั้นกลางหรือเขตต่อเมือง (Urban Fringe) ซึ่ง เป็นเขตที่มีการขยายตัวของประชากร กิจกรรมทางการค้า และที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในรัศมีระหว่าง 10-20 กิโลเมตร จากศูนย์กลาง เมือง ซึ่งในปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการพัฒนาอย่างกระจัดกระจาย (Urban Sprawl) โดยที่บทบาทของพื้นที่นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตของเมืองในแต่ละช่วงเวลา ในปัจจุบันย่านบางแคเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่กำ�ลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก จากการให้บริการของรถไฟฟ้าที่สิ้นสุดลงในพื้นที่ย่านบางหว้า - บางแค จึงทำ�ให้พื้นที่ในย่านนี้กลายเป็นจุดที่น่าจับตามอง ของคนทำ�งานในเขต CBD อย่างสีลม สาทร สยาม และด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นที่ในย่านบางแคเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่ ชานเมืองในฝั่งธนบุรีนั้น ทำ�ให้บทบาทของพื้นที่ในย่านบางแคกลายเป็นประตูสู่ชานเมืองที่ผู้คนชาวฝั่งธนต้องสัญจรผ่านพื้นที่ในบริเวณนี้เพื่อเข้าสู่ ตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ในระดับเมือง ย่านบางแคนับว่าเป็นย่านที่สามารถเข้าถึงพื้นที่เมืองชั้นในได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากมีถนนสายหลัก และมีระบบขนส่งสาธารณะ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน�ำ้ รวมไปถึงรถไฟฟ้า ที่ทำ�ให้ย่านบางแคกลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงพื้นที่ย่านอื่น ๆ ได้อย่าง รวดเร็ว โดยแต่ละสถานีมีระยะห่างที่คนในย่านบางแคสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินทั้งหมด แต่ผู้คนกลับเลือกที่จะเดินน้อยมาก เนื่องจากความไม่ สะดวกสบายในการเดิน และขาดแรงดึงดูดที่จะเลือกใช้การเดินเป็นหลัก


7

พื้นที่ย่านบางแค ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมือง โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการเติบโต ของกรุงเทพมหานคร จากอดีตในย่านบางแคมีการตั้งถิ่นฐานบริเวณจุดตัดคลองราชมนตรีกับคลองภาษีเจริญ ซึ่งขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2415 เชื่อมต่อแม่น�้ำท่าจีน กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อใช้เป็นเส้น ทางการคมนาคมขนส่งสินค้า ระหว่างหัวเมืองในลุ่มแม่น�้ำท่าจีนกับกรุงเทพฯ มีการนำ�สินค้าเกษตรและสินค้าพื้น เมืองออกมาจำ�หน่ายจำ�นวนมาก จนหนาแน่นและกลายเป็นตลาดน�ำ้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 มีการก่อสร้าง ถนนเพชรเกษม เพื่อเป็นเส้นทางหลักมุ่งสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้บทบาทย่านบางแคมี ความสำ�คัญมากขึ้น จนมีชื่อเรียกว่า “ตลาดท่าเกษตร” เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าทางการเกษตรที่มาจากชานเมือง และปริมณฑลฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร มีพ่อค้า แม่ค้า ประชาชนมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันอย่างคับคั่ง เนื่องจากความได้เปรียบของที่ตั้งที่สามารถเข้าถึงได้ทั้งทางน�ำ้ ทางบก และเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองกับ ชานเมือง รวมถึงปริมณฑล กลายเป็นแหล่งตลาดการค้าทีสำ่ �คัญของฝั่งธนบุรี

ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่ส่งผลให้ย่านตลาดบางแคมีการขยายตัวอย่างมาก โดยมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 3 แห่ง ศูนย์การค้าขนาดกลาง 3 แห่ง ร้านค้าแผงลอยอีกจำ�นวนมาก โรงภาพยนต์ ท่ารถและท่าเรือโดยสาร และส่วนที่สำ�คัญที่สุดคือ ตลาดสด ที่มีมากถึง 5 ตลาด ทำ�ให้พื้นที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองทีสำ่ �คัญของฝั่งธนบุรี จากสภาพการเติบโตอย่างรวดเร็วของย่าน โดยขาดการวางแผนควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการแออัดทางกายภาพของพื้นที่ เกิดปัญหาต่างๆตามมา ในปัจจุบันย่านตลาดบางแคที่เคยมีกิจกรรมการค้าที่หนา แน่นกลับมีสภาพที่เสื่อมโทรมลง อาคารถูกทิ้งร้าง ตลาดสด ร้านค้าบางแห่งไม่มีผู้ซื้อ ผู้ขาย จนต้องปิดตัวลง ชุมชนริมน�้ำที่เคยคึกคักกลับเงียบเหงามีแต่บ้านร้างไร้ผู้คน การจราจรติดขัด ความไม่เป็นระเบียบของ การสัญจรบนทางเท้า ปัญหาขยะ การระบายน�ำ้ การใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ที่ไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพ และการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิต และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในย่านบางหว้า-บางแค การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาสภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น และนำ�เสนอแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม ตามศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมกิจกรรมที่ตอบสนองบทบาทหน้าที่ และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมของพื้นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น โดยจะส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรวมของเมือง และสามารถรองรับปัญหาต่างๆ ภายในเมืองได้ เพื่อให้ย่านบางแค-บางหว้าเป็นย่านการค้าที่สำ�คัญของฝั่งธนบุรี และสามารถดำ�รงอยู่ได้ต่อไปอย่างยั่งยืน


8

MACRO ANALYSIS

CITY PLAN

DISTRICTS

NODES & LANDMARKS

PATHS

NATURAL CONTEXT


CITY PLAN

9

ศ.1-ศ.2 ที่ดินประเภทอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมไทย

ส. ที่ดินประเภท สถาบันราชการ

ก.1-ก.3 ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบท และเกษตรกรรม

ย.5-ย.7 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

ย.8-ย.10 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

พ.1-พ.5 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม

ย.5-ย.7 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

ย.1-ย.4 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ก.4-ก.5 ที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรม

พ.1-พ.5 ที่ดินประเภท พาณิชยกรรม

ย.8-ย.10 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

อ.1-อ.2 ที่ดินประเภท อุตสาหกรรม พ.1-พ.5 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม

*จากแผนผังกำ�หนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้จำ�แนกประเภท ท้ายกฏกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ในพื้นที่เขตบางแคและเขตภาษาีเจริญ


10

Districts

พื้นที่ฝั่งธนมีความหลากหลายของรูปแบบยานในบริเวณ ใกลเคียงกัน โดยยานตางๆสามารถไปมาหาสูกันไดงายดวยถนน เสนตางๆ ซึ่งกอใหเกิดความเชื่อมโยง และความสัมพันธของแตละยาน โดยมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละย่าน โดยอิงจากผังเมืองข้างต้น

ย่านพาณิชยกรรม หรือ CBD จะอยู่ในพื้นที่เขต เมืองชั้นใน (Inner City) มี ความเข้มข้นของการใช้ที่ดิน สูง ประกอบด้วยร้านค้าและร้าน บริการต่างๆ อาคารสำ�นักงาน เกาะกลุ่มกัน บ้างก็กระจายตัว ปะปนกับที่อยู่อาศัย มักเป็น ศูนย์รวมของแหล่งงาน ซึ่ง ย่านประเภทนี้ต้องพึ่งพาความ สะดวกในการเข้าถึงด้วยระบบ โครงข่ายคมนาคมถนน และ บริการพื้นฐานที่สามารถเชื่อม โยงติดต่อกับบริเวณอื่นๆได้ดี

ย่านพาณิชยกรรมและที่อยู่ อาศัย มีการใช้งานที่ปะปนกันทั้ง อาคารสำ�นักงาน ร้านค้าและ ที่พักอาศัย รวมไปถึงอาคาร สูงเพื่อพักอาศัย มีการใช้งาน ควบคู่ไปทั้งด้านพาณิชยกรรม และการพักอาศัย เป็นศู​ูนย์รวม ของผู้ที่อยู่อาศัยในย่านและย่าน โดยรอบ

ย่านที่อยู่อาศัย

ย่านที่อยู่อาศัยแบบชานเมือง

ย่านประวัติศาสตร์

ย่านอุตสาหกรรม

มักเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด เป็น ส่วนใหญ่ ความสูงประมาณ 1-3 ชั้น ซึ่งในปัจจุบันเขต ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพ เสื่อมโทรมของผู้มีรายได้ น้อย บริเวณถนนส่วนใหญ่ เดิมเป็นบ้านแถว ตึกแถว แต่ เริ่มลดบทบาทลงอาจถูกรื้อ ถอน แทนที่ด้วยอาคารประเภท คอนโดมิเนียม

มักอยู่ในพื้นที่ที่ถูกกำ�หนด ให้เป็นพื้นที่ประเภทชนบท และเกษตรกรรม โดยเดิม มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้พื้นที่ เกษตรกรรมเป็นพื้นที่สีเขียว (Buffer Zone) ของชุมชน เมือง เพื่อป้องกันการขยายตัว ของเมือง จึงประกอบไปด้วย สวน ไร่นา และการอยู่อาศัยที่ กระจายตัวตามพื้นที่ มีความ เป็นชุมชนอย่างบางเบา

เป็นย่านเก่าโบราณที่มี เอกลักษณ์ชัดเจน ถูกพัฒนา เพื่อให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวดั้งเดิมทาง ประวัติศาสตร์ และแหล่งท่อง เที่ยวใหม่ที่เกิดขึ้นในภายหลัง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ปะปนกันไปในพื้นที่

ประกอบด้วยพื้นที่อุตสาหกรรม และคลังสินค้า มักถูกจัดให้อยู่ นอกเมืองและมีพื้นที่กันชน เพื่อ ป้องกันผลกระทบต่อชุมชน ย่านประเภทนี้มักให้ความสำ�คัญ กับเรื่องที่ตั้งที่ควรอยู่ห่างจาก ชุมชนพักอาศัยเป็นสำ�คัญ


DISTRICTS

11

ย่านที่อยู่อาศัย

ย่านประวัติศาสตร์

ย่านที่อยู่อาศัย ชานเมือง ย่านประวัติศาสตร์ ย่านพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย

ย่านที่อยู่อาศัย

ย่านที่อยู่อาศัย

ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่อยู่อาศัย ชานเมือง

ย่านที่อยู่อาศัย

ย่านพาณิชยกรรม


12

Nodes

node ศาสนา

node การศึกษา

node พาณิชยกรรม

node การคมนาคม

node ราชการ

จะเห็นได้ว่ามีการกระจายตัวของ node หรือจุดศูนย์รวมชนิดต่างๆ ทั้งทางศาสนา ทางการศึกษา ทางพาณิชยกรรม ทางการคมนาคม และราชการ node ทางศาสนาจะกระจายตัวอยู่ตามจุดตัดระหว่างคลองหลักและคลองสาขาเป็นส่วนมาก เนื่องจากมีการก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคสมัยที่สัญจรทางน�ำ้ เป็นหลัก ทำ�ให้อยู่พื้นที่ที่สัญจรได้สะดวก และใกล้กับละแวก ชุมชนในยุคสมัยนั้น node ทางการศึกษานั้นมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ตั้งอยู่ติดกับ node ทางศาสนา จะเป็นจุดที่มีมาแต่เดิม และประเภทที่ตั้งอยู่ในละแวกชุมชนในปัจจุบัน จะเป็นประเภทที่เกิดขึ้นหลังจากประเภทแรก node พาณิชยกรรมในปัจจุบัน กระจายตัวตามแนวถนนใหญ่ จุดตัดของการคมนาคมประเภทต่างๆ และย่านที่พักอาศัย มีจำ�นวนมากในเขตบางกอกน้อย คลองสาน และบางแค node การคมนาคม ในย่านที่มี node หลากหลาย ส่งผลให้มีความต้องการ node ของการคมนาคมในย่านนั้นๆ ส่วนมากมักเป็นพื้นที่ย่านพาณิชยกรรม พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ย่านพักอาศัยเข้มขน รวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นจุดตัดที่ส่งผลให้มีผู้เดินทางเข้ามาใช้งานหรือสัญจรผ่านเยอะกว่าพื้นที่อื่นๆ node ราชการ ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของย่านนั้นๆ ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้สะดวก มีรัศมีการให้บริการในระดับเขต

Landmarks จุดที่เป็นแลนด์มาร์กของฝั่งธนนั้นมีหลากหลายประเภท ทั้งแลนด์มากเดิมแต่โบราณ และแลนด์มาร์กใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศูนย์การค้าหรือพื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร ไปจนถึงพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมและเชื้อเชิญให้ผู้คนมารวมตัวกัน โดยที่เกือบทั้งหมดนั้นจะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณพื้นที่เมืองชั้นในของฝั่งธนบุรี และส่วนมากจะติดกับทางน�้ำ รวมไปถึงสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสั​ัญจรทางน�้ำ ไม่ว่าจะเป็น วังหลัง วัดอรุณราชวรารามฯ ย่านกุฎี จีน ล้ง1919 เดอะแจมแฟคทอรี่ ไอคอนสยาม ชุมชนบางคลองหลวง แยกท่าพระ ตลาดพลู และปากน�้ำคลองภาษีเจริญ โดยจะมีเพียงเดอะมอลล์บางแค และตลาดบางแคเท่านั้นที่เป็นแลนด์มาร์กนอกพื้นที่ชั้นใน ของฝั่งธนบุรี ซึ่งอยู่ในบริเวณรอยต่อของกรุงเทพฯ ชั้นนอก และกรุงเทพฯ ชั้นใน


NODES

13

วังหลัง

วัดอรุณฯ ย่านกุฎีจีน ชุมชนบางคลองหลวง

แยกท่าพระ

ปากน�้ำคลองภาษีเจริญ

ตลาดบางแค

node ศาสนา

node การศึกษา

node พาณิชย์

node คมนาคม

node ราชการ

the Jam factory วงเวียนใหญ่

ตลาดพลู เดอะมอลล์บางแค

LHONG 1919

ICONSIAM


14

Paths

การสัญจรทางน�้ำ

ถนนสายประธาน

ถนนสายหลัก

รถไฟฟ้า

ทางจักรยาน

การสัญจรทางน�ำ้ เป็นลักษณะการสัญจรแต่เดิมของพื้นที่ย่านบางแค ในปัจจุบันเหลือเพียงการสัญจรผ่านแม่น�้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองภาษีเจริญเท่านั้น ถนนสายประธานประกอบด้วย ถนนราชพฤกษ์ เป็นถนน 12 ช่องทาง ใช้สัญจรจากถนนสาทรถึงอำ�เภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร รูปแบบการเดินทางประกอบด้วย รถ โดยสารประจำ�ทาง 3 สาย รถศาลาลิ้งค์ รถตู้ แท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคล แต่มีระบบขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องรอนาน ทำ�ให้ผู้คนมักใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและใช้บริการรถ แท็กซี่มากกว่ารถประจำ�ทาง ถนนเพชรเกษม เป็นถนน 6 ช่องทาง มุ่งหน้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทยและมีเส้นทางยาวที่สุดในประเทศไทย รูปแบบการเดินทางประกอบไปด้วย รถโดยสารประจำ�ทาง 17 สาย เจแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ จากการมีรถเมล์จำ�นวนมาก ทำ�ให้ผู้คนใช้รถประจำ�ทางมาก แต่ก็ยังมีผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่ากัน ถนนกาญจนาภิเษก เป็นถนน 8 ช่องทาง เริ่มตั้งแต่ถนนพระราม2 ตัดผ่านฝั่งธนบุรี ไปสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการเดินทางประกอบ ด้วย รถโดยสารประจำ�ทาง 4 สาย รถตู้ รถแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนบุคคล ระบบขนส่งยังขาดประสิทธิภาพ ผู้คนจึงนิยมใช้รถส่วนตัว ใช้บริการแท็กซี่ และใช้บริการรถตู้ มากกว่าการใช้บริการรถประจำ�ทาง ถนนสายหลัก ที่อยู่โดยรอบย่านบางแคประกอบไปด้วยถนนพุทธมณฑลสาย 1 และถนนกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำ�หน้าที่เชื่อมต่อจากถนนสายประธาน แจกจ่ายสู่ถนนสายรองและถนนสายย่อยลงไปตามลำ�ดับ รถไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ซึ่งมีสถานีบางหว้าเป็นสถานีปลายทางเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งมีสถานีบางหว้าเป็นจุดเชื่อมต่อของทั้งสองสาย และมีสถานีหลักสองเป็นสถานีปลายทาง โดยมีสถานีที่ให้บริการใน พื้นที่ย่านบางแคทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง ตามลำ�ดับ ทางจักรยาน จากข้อมูลของสำ�นักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร พบว่ามีทั้งสิ้น 30 เส้นทาง รวมระยะทางไปกลับราว 228.84 กิโลเมตร โดยที่บริเวณย่านบางแคนั้นไม่มีทางจักรยาน แต่เส้นทางที่ใกล้ ที่สุดเริม่ ต้นที่ทางแยกถนนกาญจนาภิเษกสู่ปลายทางสุดเขตกรุงเทพมหานคร ในลักษณะร่วมบนทางเท้า มีระยะทาง 16.00 กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าในย่านบางแคและโดยรอบ มีเส้นทางการสัญจรและการเข้าถึงที่หลากหลาย แต่โดยรวมยังขาดประสิทธิภาพ และขาดการพัฒนาให้ต่อเนื่องกัน


PATHS

15


16

Natural context ในพื้นที่ย่านบางแคและย่านโดยรอบ มีคลองต่างๆเป็นจำ�นวนมาก ประกอบด้วย คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น�้ำท่าจีนที่ตำ�บลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร มีการเดินสัญจรทางน�ำ้ ตั้งแต่ สมัยก่อตั้งกรุงธนบุรี แต่เสื่อมโทรมไป ในปี พ.ศ.2557 ได้มีการทดลองการเดินเรือในคลองภาษีเจริญ จากท่าเรือวัดปากน�้ำภาษีเจริญ ถึงท่าเรือเพชรเกษม69 ทำ�ให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ริมน�ำ้ คลองภาษีเจริญได้ บ้างเป็นบางช่วง และจากการศึกษาปัญหาคุณภาพน�ำ้ ในทางน�้ำชลประทานตามมาตตรา 8 คลองภาษีเจริญ พบว่าตลอดแนวคลองภาษีเจริญมีลักษณะน�ำ้ เน่าเสียค่อนข้างวิกฤติ สะสมมาอย่างยาวนาน เนื่องจาก โรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก สาเหตุรองคือหมู่บ้านจัดสรร และน้อยที่สุดคือชุมชนเดิม คลองบางจาก เริ่มต้นที่คลองบางกอกใหญ่ที่ฝั่งซ้ายเขตภาษีเจริญ และไปบรรจบคลองทวีวัฒนาที่เขตหนองแขม มีความกว้าง 9-13 เมตร ลักษณะคดเคี้ยว มีการสัญจรผ่านคลองบางจากอยู่บ้างด้วยเรือ ส่วนบุคคล แทบไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ริมคลองบางจากได้เลย อาคารที่ตั้งติดกับคลองบางจากในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดหันหลังให้กับคลองบางจาก และสร้างกำ�แพงกั้น ปัจจุบันสภาพน�้ำที่ไหลผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ ค่อนข้างสะอาดกว่าพื้นที่อื่นๆ แต่ตั้งแต่พื้นที่เขตบางแคเป็นต้นไปมีลักษณะเน่าเสีย คลองสาขาต่าง ๆ ตัดผ่านคลองบางจากและคลองภาษีเจริญ ได้แก่ คลองยายเทียม คลองราชมนตรี คลองบางหว้า คลองโรงยาว และคลองสวนเลียบ ทั้งหมดมีลักษณะน�ำ้ เน่าเสีย แทบไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ ริมคลองได้ เนื่องจากถูกปิดกั้นด้วยอาคารต่างๆ ไม่มีการใช้งานทางการสัญจรทางน�ำ้ ปัจจุบันใช้เพียงเพื่อการระบายน�้ำเท่านั้น ในส่วนของพื้นที่สีเขียวนั้น จากการที่กรุงเทพขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงมีการทำ� โครงการจัดทำ�ผังแม่บทโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มี การพัฒนาพื้นที่สีเขียว 2 ประเภท 1. พื้นที่ ล.1.1 (ใส่ลีเจนด์) พื้นที่สวนสาธารณะหลัก 2. พื้นที่ ล.12 (ใส่ลีเจนด์ด้วย) พื้นที่โล่งว่างเพื่อกิจกรรมนันทนาการ ของหน่วยรัฐอื่น โดยมีการแสดงขอบเขตการให้บริการในระยะใกล้และไกล

1. การเชื่อมต่อ (Connectivity)

2. การบริการโครงสร้างพื้นฐาน (Green Infrastructure Service)

3. ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Benefit)

ทำ�ให้เห็นว่าพื้นที่ในย่านบางแคเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ อย่างเร่งด่วน โดยมีแนวคิดในการพัฒนาดังนี้

4. ความงามดึงดูดของเมือง (Urban Attractiveness)

5. ความเป็นไปได้ (Possibility)

6. การอนุรักษ์วัฒนธรรม (Cultural Preservation)

7. การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (Private Sector Corporation)


NATURAL CONTEXT

17


18

MICRO ANALYSIS

EXISITING

BUILDINGUSE

ACCESSIBILITY

USERS


19


20

มีอะไรในบางแค? ศูนย์กลางชุมชนย่านบางแค ตั้งอยู่บริเวณเขตต่อเมืองตะวันตกของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งหมด โดยมีแนวลำ�คลองไหลผ่าน เชื่อมโยงเป็นโครงข่าย ใช้ประโยชน์เป็นเส้นทางคมนาคมและใช้ประโยชน์ในการ ระบายน�ำ้ เป็นหลัก โดยมีลำ�คลองทีสำ่ �คัญ ได้แก่ คลองภาษีเจริญ คลองบางหว้า คลองบางแค และคลองราชมนตรี โดยพื้นที่ย่านบางแคที่เลือกเป็นพื้นที่ศึกษามีขนาด 3350 ไร่ โดยมีถนนเพชรเกษมเป็นแกนกลาง เริ่มต้นจากจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษมกับถนนราชพฤกษ์ ตลอดไปจนถึงจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษมกับถนน กาญจนาภิเษก เป็นระยะทาง 5.4 กิโลเมตร โดยกำ�หนดขอบเขตทางทิศเหนือด้วยคลองบางจาก และขอบเขตทางทิศใต้ด้วยคลองภาษีเจริญ รวมเป็นพื้นที่ 3350 ไร่ หรือ 5.36 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมสถานี MRTบางหว้า, เพชรเกษม48, ภาษีเจริญ, บางแค และหลักสอง

- ทิศเหนือ จรดแนวคลองบางจาก

- ทิศใต้ จรดแนวคลองภาษีเจริญ

- ทิศตะวันออก จรดถนนราชพฤกษ์

- ทิศตะวันตก จรดถนนกาญจนาภิเษก

แต่เดิมย่านนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของเขตภาษีเจริญ ต่อมาในปีพ.ศ.2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2540 จัดตั้งเขตใหม่เรียกว่าเขตบางแค โดย การแบ่งพื้นที่บางส่วนของเขตภาษีเจริญ ทำ�ให้ย่านนี้อยู่คนรอยต่อของพื้นที่เขตการปกครอง 2 เขต ได้แก่เขตบางแค (แขวงบางแค และแขวงบางแคเหนือ) กับเขตภาษีเจริญ (แขวงบางหว้า และแขวงบางด้วน) อาคารบริเวณริมน�ำ้ เป็นอาคารชุมชนดั้งเดิม ส่วนมากเป็นบ้านเรือนริมน�้ำ เกิดขึ้นในช่วงสมัยที่ย่านบางแคเพิ่งเริ่มตั้งถิ่นฐาน โดยมีอิทธิพลจากคลองภาษีเจริญเป็นหลัก ส่วนอาคารที่ติดพื้นที่ริมถนนเพชรเกษมและ อาคารที่อยู่ในซอยเป็นอาคารประเภทตึกแถวเป็นส่วนมาก และบางส่วนเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาคารประเภทตึกแถวส่วนมากเป็นอาคารพาณิชยกรรมในชั้นล่าง และเป็นที่อยู่อาศัยในชั้นบน โดยเฉพาะอาคารที่ ติดกับถนนเพชรเกษมจะเป็นอาคารประเภทพาณิชยกรรมในชั้นล่างทั้งหมด หลังจากรถไฟฟ้ามีอิทธิพลต่อพื้นที่ย่านบางแค ทำ�ให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงถึง 14% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของค่าที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าถึง 5.5% เนื่องจากพื้นที่ย่านบางแคกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกจับตามองในการ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ในปัจจุบันเริ่มมีการลงทุนสร้างคอนโดตามพื้นที่ในย่านบางแค โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนเพชรเกษม และมีการคาดการว่าในอีกไม่เกิน3-5 ปีข้างหน้า จะมี การลงทุนสร้างคอนโดเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ย่านบางแคมี node ที่โดดเด่นหลายจุด ทั้ง ด้านพาณิชยกรรม ด้านการศึกษา ด้านศาสนา และ ด้านพื้นที่สาธารณะ โดยมีระีะยะการเข้าถึงได้ด้วยทางการเดินเท้า 500 เมตร โดยรอบ โดยจะเห็นได้ว่าสามารถเข้าถึง node ด้านพาณิชยกรรมได้จากทุกบริเวณของพื้นที่ในย่าน สามารถเข้าถึง node ด้านการศึกษาได้บางส่วน และแทบไม่สามารถเข้าถึง node ด้านพื้นที่ สาธารณะได้เลย


EXISTING

21

ถนนกาญจนาภิเษก

์ กษ พฤ

าช นร ถน สนามกีฬาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม โรงเรียนจันทรประดิษฐาราม

คลองบางจาก โรงเรียนบางแคเหนือ เดอะมอลล์บางแค

คล

ิญ

ร่

0ไ 5 3 3

ถนนเพชรเกษม 5.4 km

โลตัสบางแค

ิดไท

เท ถนน

ซีคอนบางแค วัดนิมมาน

ษีเจร า ภ ง อ

ซอยเพชรเกษม48 วัดอ่างแก้ว

ตลาดบางแค

สวนเพชรกาญจนารมย์

พื้นที่นันทนาการใต้ทางด่วน

วัดรางบัว


22

มีอาคารประเภทไหนบ้าง?

ย่านบางแคมีการใช้ประโยชน์ที่ดินหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน มีการใช้ประโยชน์รูปแบบที่อยู่อาศัยเป็นหลัก มีรูปแบบเป็นทาวน์เฮาส์โดยส่วนมาก กระจายย่อยตามซอยที่เชื่อมต่อกับถนนเพชรเกษม มีรูปแบบ การกระจายตัวของอาคารตามแนวเส้นทางที่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนอาคารพาณิชยกรรมและอาคารที่อยู่อาศัยผสมพาณิชย์กรรมมักตั้งอยู่ติดริมถนน และอาคารอุตสาหกรรมมักอยู่ลึกเข้ามาในซอยย่อย โดยมีราย ละเอียดของการใช้ประโยชน์อาคารรูปแบบที่โดดเด่นต่าง ๆ ดังนี้ ประเภทที่อยู่อาศัย มีจำ�นวน 18,248 หลัง คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งเป็นรูปแบบหลักของพื้นที่ในย่านนี้ และมักมีรูปแบบ เป็นทาวน์เฮาส์หรือห้องแถว รองลงมาเป็นรูปแบบอพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีความหนาแน่น ของอาคารมาก จึงส่งผลให้มีรูปแบบที่อยู่อาศัยในแนวดิ่งมากว่า และมีการกระจายตัวตามซอยย่อยตลอด แนวเส้นทางถนนเพชรเกษม

ประเภทพาณิชยกรรม จำ�นวน 1,103 หลัง คิดเป็นร้อยละ 5 มักจะมีลักษณะเป็นร้านอาหาร ตลาดนัด ร้าน สะดวกซื้อ ร้านที่ประกอบธุรกิจด้านบริการต่างๆ และห้างสรรสินค้า โดนร้านค้ามักมีลักษณะเป็นร้าน ค้าที่ขายของใช้สำ�หรับอุปโภคหรือบริโภคในชีวิตประจำ�วัน โดยอาคารรูปแบบนี้มักกระจุกตัวตามแนว ริมถนนเพื่อเอื้อต่อการประกอบอาชีพเช่นเดียวกับอาคารรูปแบบผสม

ประเภทผสม มีจำ�นวน 2,210 หลัง คิดเป็นร้อยละ 10 อาคารรูปแบบผสมหลักๆในพื้นที่นั้นมี 2 ประเภทดังนี้ รูปแบบที่มีมากที่สุดคืออาคารที่อยู่อาศัยผสมกับร้านค้าหรือการบริการ มักจะมีลักษณะเป็นร้านขายของใน ชีวิตประจำ�วัน เช่นร้านขายอาหาร ร้านทำ�ผม เป็นต้น รูปแบบที่รองลงมาคือที่อยู่อาศัยผสมอุตสาหกรรม โดยมักจะเป็นอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานคน เช่นอู่ซ่อม รถ โรงงานเย็บผ้า โดยอาคารรูปแบบนี้มักกระจุกตัวตามแนวริมถนนเพื่อเอื้อต่อการประกอบอาชีพ

ประเภทอุตสาหกรรม จำ�นวน 830 หลัง คิดเป็นร้อยละ 4 มักมีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงคน เช่นโรงงานเย็บ ผ้า โรงงานทำ�บานประตูหน้าต่างและงานจำ�พวกช่างศิลป์ มีทั้งตั้งอยู่ตามแนวริมถนนหลัก และอยู่ลึก เข้าไปในซอย

การใช้ประโยชน์อาคารประเภทที่อยู่อาศัย ตึกแถว

บ้านเดี่ยว

บ้านริมน�ำ้

คอนโด

หมู่บ้านจัดสรร

ส่วนมากเป็นตึกแถว ซึ่งเป็นอาคารประเภทพาณิชยกรรมและ ประเภทผสม ส่วนอาคารประเภทบ้านริมน�ำ้ จะอยู่ในบริเวณชุมชน ดั้งเดิมที่ตั้งบริเวณริมคลองต่างๆ ที่ตัดผ่านเข้ามาในย่านบางแค

การใช้ประโยชน์อาคารประเภทอื่นๆ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารราชการ วัด มหาวิทยาลัย

จะพบว่ามีอาคารประเภทพาณิชยกรรมตลอดแนวถนนเพชรเกษม และโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึง ได้ง่ายจากทางถนน และสามารถเข้าถึงทางน�ำ้ ได้ด้วย


BUILDING USE

23


24

เดินทางกันยังไง? การคมนาคมในบริเวณพื้นที่มุ่งเน้นไปที่สภาพปัจจุบันของระบบต่างๆ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบและความสัมพันธ์กับพื้นที่โครงการ รวมถึงคาดการณ์ถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งจะเป็นตัวกำ�หนดทิศทางในการออกแบบ โดยแบ่งได้ 3 ประเภทคือ ระบบขนส่งมวลชน ระบบถนน และระบบการเดินทางบนทางเท้า ระบบขนส่งมวลชน การศึกษาระบบขนส่งมวลชนและสาธารณะ ได้ศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของระบบดังกล่าวทางด้านที่ตั้ง ระยะการให้บริการของขนส่งมวล ชนใ นรูปแบบต่างๆ และความหนาแน่นของการใช้งาน โดยระบบขนส่งในโครงการประกอบไปด้วย

ป้ายรถเมล์และระยะที่เข้าถึงได้ด้วยการเดิน (500เมตรและ300เมตร)อ

รถเมล์และรถประจำ�ทาง พื้นที่โคงการมีป้ายรถเมล์กระจายตัวอยูสำ่ �หรับการใช้ในการสัญจรของคนในชุมชนโดยรอบ ตลอดแนวถนนเพชรเกษม ซึ่งมีการใช้งานทั้งรถเมล์และรถสองแถวร่วมกันหลายสาย ซึ่งมีการใช้งานประมาณ 27% และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ถึง38% ในอนาคต ประกอบไปด้วยสาย 7 7ก 80 80ก 84 84ก 91 91ก 101 146ร 147ร 157ร รถไฟฟ้ามหานคร MRT และ รถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS ประกอบไปด้วยสถานี BTS บางหว้า สถานี MRT บางหว้า, เพชรเกษม48, ภาษีเจริญ, บางแค และหลักสอง เรือด่วนในคลองภาษีเจริญ ปัจจุบันมีการให้บริการ 10 ลำ� แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา รอบเช้าระหว่างเวลา 06:00 - 09:00น. ซึ่งเรือจะออกจาก ท่าเทียบเรือทุกๆ 15 นาที ซึ่งการเดินทางโดยเรือเป็นอีกทางที่ช่วยเลี่ยงการสัญจรบนถนน

รถไฟฟ้าและระยะที่เข้าถึงได้ด้วยการเดิน (500เมตร)

ระบบถนน มีการใช้งานถนนด้วยรถยนต์ส่วนตัวเป็นหลัก ร่วมกันกับรถเมล์และรถสองแถว รวมไปถึงการให้บริการรถแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีปัญหาการจราจรติดขัดเป็นประจำ� เนื่องจากซอยในย่านบางแคต่อมาจากถนนเพชรเกษมซึ่งเป็นถนนสายประธาน โดยไม่มีถนนสาย รองเกิดขึ้นก่อนการเข้าถึงถนนระดับซอย ระบบการเดินทางบนทางเท้า มีการใช้งานทั้งการเดินเท้าและการขึี่จักรยาน ซึ่งมีการใช้งานอย่างสม�ำ่ เสมอ โดยมักจะใช้เดินทางในระยะเดินทั่วไป (500 - 800เมตร) และระยะการขี่จักรยาน (800เมตร - 1 กิโลเมตร) ในระยะเดินที่เหมาะสมนั้น สามารถเข้าถึงรถเมล์ได้ด้วยการเดินในทุกพื้นที่ และ สามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าด้วยการเดินได้เป็นส่วนมาก แต่ยังเข้าถึงท่าเรือด้วยการเดินได้เป็นส่วนน้อย

ท่าเรือและระยะที่เข้าถึงได้ด้วยการเดิน (500เมตร)


ACCESSIBILITY

25

จะเห็นได้ว่าการขนส่งสาธารณะครอบคลุมพื้นที่ของบางแคทั้งหมด ในพื้นที่สีเหลือง คือพื้นที่ที่เข้าถึงระบนขนส่งสาธารณะได้ 1 ประเภท ในพื้นที่สีส้ม คือพื้นที่ที่เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ 2 ประเภท และในพื้นที่สีแดง คือพื้นที่ที่เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ทั้ง 3 ประเภท


26

มีใครบ้างที่บางแค? ในพื้นที่ย่านบางแค มีผู้คนในพื้นที่ตามทะเบียนบ้านทั้งหมด 38,314 คน โดยยังไม่ รวมประชากรแฝง และมีผู้ใช้งานสถานี BTS บางหว้า เฉลี่ย 15,107 คน/วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับสถานีหมอชิต ซึ่งมีบริบทเป็นสถานีปลายทาง โดยมีความหนาแน่นของ พื้นที่เขตไม่ต่างกันมาก พบว่าสถานีหมอชิตมีผู้ใช้งานเฉลี่ยถึง 39,937 คน/วัน

เดิน

พ่อค้า - แม่ค้า

แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าออกไปยังชานเมืองที่ยังไม่ สามารถดึงดูดจำ�นวนคนมาใช้บริการได้ ซึ่งเกิดจากข้อจำ�กัดที่ไม่สามารถขนส่งผู้ โดยสารจนถึงหน้าประตูได้ จึงเกิดการสำ�รวจรูปแบบการเดินทางของผู้คนในย่านบางแค โดยพบว่าสามารถแบ่ง ผู้คนออกหลักๆออกได้ 5 ประเภท และการเดินทาง 6 รูปแบบ

พนักงานโรงงาน

1. พ่อค้า-แม่ค้า ใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นหลัก มีการเดินเท้า ขี่จักรยาน และใช้งานวิน มอเตอร์ไซค์เป็นปกติ เดินทางด้วยรถเมล์บ้าง และเดินทางด้วยรถไฟฟ้าน้อยที่สุด 2. พนักงานโรงงาน ใช้การเดินเท้าจากที่พักไปโรงงานเป็นหลัก มีการเดินทางด้วยจักรยาน วิน มอเตอร์ไซค์ และรถเมล์เป็นปกติ และเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถไฟฟ้าน้อย ที่สุด 3. พนักงานบริษัท เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถไฟฟ้าเป็นหลัก มีการใช้งานรถเมล์ วินมอ เตอร์ไซค์เป็ฯปกติ เดินเท้าบ้าง และมีการขี่จักรยานน้อยที่สุด 4. นักเรียน-นักศึกษา เดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และวินมอเตอร์ไซค์เป็นหลัก และเดินทาง ด้วยการเดินทางประเภทอื่นๆเล็กน้อย 5. ผู้คนขาจร เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถไฟฟ้าเป็นหลัก มีการใช้งานรถเมล์ วินมอ เตอร์ไซค์เป็ฯปกติ เดินเท้าบ้าง และมีการขี่จักรยานน้อยที่สุด

พนักงานบริษัท

นักเรียน - นักศึกษา

ผู้คนขาจร

จักรยาน

วินมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ส่วนบุคคล

รถเมล์

รถไฟฟ้า


61%

เดินทางจากในไซต์ - ในไซต์

27% เดินทางจากในไซต์ - นอกไซต์

12%

เดินทางจากนอกไซต์ - ในไซต์

27

นอกจากการแบ่งรูปแบบการเดินทางตามประเภทของยานพาหนะแล้ว ยังมีการแบ่งรูป แบบการเดินทางตามประเภทของจุดหมายปลายทางอีกด้วย 1. เดินทางภายในบริเวณย่านบางแค คิดเป็น 61% ของการเดินทางทั้งหมด ส่วนมากเป็น แม่ค้า-พ่อค้า พนักงานโรงงาน และนักเรียน-นักศึกษา เป็นการเดินทางภายในย่าน เนื่องจากมีที่พักอาศัยและจุดหมายในชีวิตประจำ�วัน อยู่ภายในย่านบางแค เช่นพ่อค้า-แม่ค้าที่อาศัยอยู่ในย่านบางแค และมีร้านค้าภายในย่าน บางแค จึงมีการเดินทางในชีวิตประจำำ�วันอยู่เพียงในบริเวณย่านบางแค เช่นเดียวกันกับ พนักงานโรงงานที่ส่วนมากมักจะพักอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งงาน และนักเรียน-นักศึกษาที่ เข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน 2. เดินทางจากย่านบางแคสู่ภายนอกย่าน คิดเป็น 27% ของการเดินทางทั้งหมด ส่วนมากเป็น พนักงานบริษัท และนักเรียนนักศึกษา เป็นการเดินทางจากภายในย่านบางแคออกสู่ย่านอื่น เนื่องจากพักอาศัยในย่าน บางแค แต่มีแหล่งงานหรือเป้าหมายอยู่ภายนอกย่านบางแค เช่นพนักงานบริษัทที่พัก อาศัยอยู่ภายในย่านบางแค แต่ต้องเดินทางไปยังศูนย์กลางเมืองหรือแหล่งงานเป็น ประจำ� รวมถึงนักเรียน-นักศึกษาที่เดินทางไปเรียนในย่านอื่นๆ 3. เดินทางจากย่านอื่นๆสู่ย่านบางแค คิดเป็น 12% ของการเดินทางทั้งหมด ส่วนมากเป็น พนักงานโรงงาน นักเรียน-นักศึกษา และผู้คนขาจร เป็นการเดินทางจากย่านอื่นๆสู่ภายในย่านบางแค เนื่องจากพักอาศัยในพื้นที่ย่า นอื่นๆ แต่มีสาเหตุให้ต้องเดินทางเข้ามาในย่านบางแค เช่นมีแหล่งงานอยู่ภายในย่าน บางแค หรือศึกษาอยู่ภายในย่านบางแค รวมไปถึงผู้คนขาจรที่เดินทางเพื่อเข้ามาจับ จ่ายซื้อของในพื้นที่พาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ภายในย่านบางแค

อ้างอิง ทรายงาม นิมิตหุต, การพัฒนาระบบขนส่งรองเพื่อเอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา สถานีบางหว้า (สารนิพนธ์การผังเมืองบัณฑิต สาขาวิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559)


28

ทำ�อะไรบ้างที่บางแค?

จึงได้มีการลงสำ�รวจพื้นที่ย่านบางแค เพื่อเก็บข้อมูลทางกายภาพของย่าน บางแค รวมไปถึงเพื่อสังเกตพฤติกรรมและการใชีชีวิตในชีวิตประจำ�วันของ ผู้คนที่พักอาศัยและใช้ชีวิตในพื้นที่ย่านบางแคอีกด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่าทุกพื้นที่ของย่านบางแค มี การค้าขายแทรกอยู่เสมอ ทั้งร้านค้าในรูปแบบของ ตึกแถวที่มีบ้างประปรายในซอย ร้านค้าที่เรียงราย ตามซอยที่ขึ้นชื่อ ซึ่งจะมีร้านค้าอยู่อย่างหนาแน่นใน พื้นที่ซอยที่เชื่อมไปยังภายนอกย่าน (ซอยวัดรางบัว และซอยวัดอ่างแก้ว) บางส่วนเป็นแผงขายของหน้าบ้าน ร้านค้าริม ทาง ร้านอาหารริมทาง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากจากผู้คนในย่านบางแค ไม่ว่าจะเป็นร้านที่อยู่ใน พื้นที่ชุมชน หรืออยู่ลึกเข้าไปในซอย และร้านที่อยู่ติด กับถนนใหญ่ เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นร้านค้าที่กระจายตัวอยู่ในพื้น ที​ี่ชุมชนของย่านบางแค ยังไม่รวมร้านค้าที่ตั้งขึ้น อย่างหนาแน่นในพื้นที่ย่านการค้าของย่านบางแค หรือในบริเวณโดยรอบตลาดบางแค ที่มีทั้งร้านค้าใน ตึกแถว ร้านค้าริมทาง และตลาดสด ซึ่งมีผู้คนเข้าไป จับจ่ายใช้สอยในย่านดังกล่าวอย่างเนืองแน่น

จากการสังเกตุพบว่าผู้คนในพื้นที่ย่านบางแคมีการเดินเท้าเป็นปกติ โดยเดินทางจากบ้านไปยังขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ภายในย่าน เพื่อเดินทางต่อออกไปยังจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ยังมีการใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางเป็นจำ�นวน มาก ในระดับที่มีที่จอดจักรยานทุกๆ 300 เมตร พบว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะส่งเสริมการเดินเท้าและการใช้จักรยานภายในย่านให้ มากยิ่งขึ้น


29

ซึ่งทั้งหมดนี้ทำ�ให้เห็นถึงวิถีความเป็นอยู่ของผู้คน ที่อาศัยอยู่ในย่านบางแค ทั้งการเดินเท้า การปั่นจักรยาน ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด แม้ว่าทางเท้าหรือเส้นทางในย่าน บางแคอาจจะยังไม่เอื้ออำ�นวยให้กับการเดินเท้าและการ ปั่นจักรยานตามที่เหมาะสมและควรเป็นก็ตาม รวมไปถึง วิถีชีวิตที่มีการพูดคุยในแบบเพื่อนบ้าน ความเป็นกันเอง ต่างๆ

HOW WAS THIER DAILY LIFE? และที่น่าสนใจคือวิถีชีวิตของชาวบางแคคือการใช้ ชีวิตในแบบสังคมเพื่อนบ้าน เรียบง่าย และมีความเป็น กันเองอยู่สูง ผู้คนในย่านบางแคออกมาพบปะ พูดคุย กัน ทั้งตามร้านอาหารริมทาง แวะทักทายเพื่อนบ้าน พูด คุยกับพ่อค้าแม่ค้าภายในย่าน ทุกคนล้วนดูเป็นคนรู้จักกัน จากการพบเจอ เห็นหน้าค่าตากันในทุกๆวัน นอกจากนั้นยังมีการจับกลุ่มพูดคุยตามที่ว่าง ต่างๆ พื้นที่ริมคลองภาษีเจริญบ้าง ตามที่นั่งริมทางบ้าง แม้ว่าจะยังขาดพื้นที่ที่สร้างโอกาสให้ผู้คนได้พบเจอกัน หรือเกิดกิจกรรมเชิงสังคม ตั้งแต่การพบปะขนาดเล็ก ไปจนถึงกิจกรรมเชิงสังคมขนาดใหญ่ รวมไปถึงความ ต้องการพื้นที่ให้ผู้คนได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย

นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการพื้นที่ สาธารณะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านบางแค ทั้งพื้นที่ สาธารณะที่เหมาะสมกับกิจกรรมเชิงสังคม ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่พบปะสังสรรค พื้นที่ชุมนุมของผู้คนในชุมชนย่าน บางแค พื้นที่สำ�หรับการแสดง พื้นที่โล่งที่ยืดหยุ่นต่อ กิจกรรมที่แตกต่าง พื้นที่ในการเล่นกีฬา แม้แต่พื้นที่สวน สาธารณะที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจในแบบ passive


30

แล้วอะไรบ้างที่เป็นปัญหา? เราจึงแบ่งปัญหาที่พบออกเป็น 3 ระดับ

ปัญหาระดับโครงสร้าง

ปัญหาระดับเมือง และมองหาโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัญหา

ปัญหาระดับชุมชน


31

ปัญหาระดับโครงสร้าง ปัญหารถติด ปัญหาหลักในกรุงเทพ ที่ไม่ว่าจะย่านไหนก็ต้องเจอ

รถติดดูจะเป็นปัญหาหลักที่คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างยอมรับว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นลำ�ดับต้นๆ คุณภาพชีวิตของชาว กรุงเสียไปเพราะการใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน 3-4 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ซึ่งเกิดจากอัตราส่วนของถนนกับอาคาร เนื่องจากกรุงเทพที่เต็มไป ด้วยตึกมากมาย แต่กลับมีอัตราส่วนของถนนอยู่เพียง 4% เท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเมืองที่ดีควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 30% จึงเป็นสาเหตุ ทีทำ่ �ให้รถมีจำ�นวนมากกว่าที่ถนนจะสามารถรองรับได้ มีการแก้ปัญหารถติดภายในกรุงเทพมหานครในเชิงนโยบายถูกเสนอไว้มากมาย ภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการ ลดจำ�นวนรถยนต์บนท้องถนนให้น้อยลง หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวนั่นเอง

แต่การแก้ปัญหาเชิงนโยบายในปัญหาระดับโครงสร้างนี้ นำ�มาสู่ ปัญหาถัดไปในระดับเมืองกับคำ�ถามที่ว่า

แล้วเมืองของเรามีการเข้าถึงขนส่ง สาธารณะที่ดีแล้วหรือยัง? และ

LESS THAN 500m

หากเดินทางระยะไกล

เช่นจากเขตหนึ่งสู่อีกเขตหนึ่งในกรุงเทพ หลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัวด้วยการใช้ขนส่งสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ ฯลฯ

หากเดินทางระยะใกล้

เช่นระหว่างซอย ระหว่างช่วงตึก หรืออยู่ในระยะที่เดินได้ เช่น 500 ถึง 800 เมตร ควรเดินทางด้วยการเดินเท้าหรือขี่จักรยานแทน

เมืองที่เราอยู่ เป็นเมืองที่เดินได้ดีแล้วหรือยัง? เพราะถ้าขนส่งสาธารณะเข้าถึงได้ง่าย และพื้นที่ในเมื​ืองสมารถเดิน ได้ดีจริง ปัญหาขนาดใหญ่นี้คงถูกแก้ไขได้โดยง่าย แต่ในความเป็น จริงแล้วกรุงเทพแทบจะเป็นเมืองที่เดินไม่ได้เลย ยิ่งส่งผลให้ปัญหานี้ แย่ลงไปกว่าเดิม แล้วบางแคล่ะ เป็นเมืองที่เดินได้ในระดับไหน?


32

ปัญหาระดับเมือง

จึงใช้ข้อมูลจาก Goodwalk.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์เพื่อเผย แพร่ผลการดำ�เนินโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ทีดำ่ �เนิน การโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้การ สนับสนุนของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพ (สสส.) GoodWalk Score ถูกคำ�นวณจากสถานที่ดึงดูดการ เดิน มีทั้งสิ้น 33 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ แหล่งงาน สถานศึกษา แหล่งจับจ่ายใช้สอย พื้นที่ นันทนาการ สถานที่บริการสาธารณะและธุรกรรม สถานที่ ขนส่งสาธารณะ คะแนนเดินได้ของแต่ละจุดหรือพื้นที่ได้ถูกคำ�นวณจากที่ตั้ง ของสถานที่ดึงดูดการเดิน ที่อยู่รายรอบจุดหรือพื้นที่นั้นๆ โดยมีการคิดคำ�นวณจากประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ GoodWalk Score ของแต่ละจุดหรือพื้นที่ สามารถ แปลผลโดยวิธีการแบ่งกลุ่มตามค่าของข้อมูล (Natural Breaks) ได้ดังนี้ 0-15 ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดิน 16-32 เข้าถึงด้วยการเดินได้ลำ�บาก 33-48 เข้าถึงด้วยการเดินได้เล็กน้อย 49-65 เข้าถึงด้วการเดินได้ปานกลาง 66-100 เข้าถึงด้วยการเดินได้ดี พบว่าย่านบางแคมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 คะแนน คือ สามารถเข้าถึงด้วยการเดินได้เล็กน้อยเท่านั้น เป็นหนึ่งใน สาเหตุททำี่ �ให้ผู้คนในย่านบางแคเลือกวิธีการสัญจรในรูปแบบ อื่นมากกว่าการเดิน

อย่างที่เรากล่าวถึงไปในก่อนหน้านี้ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ย่านบางแคเดินทางกันด้วยการเดินเท้าและขี่จักรยานไม่น้อยเลย ทีเดียว แต่ลักษณะทางกายภาพของทางเท้าและพื้นที่ในย่านกลับไม่เหมาะสมกับการเดิน จึงกลายเป็นย่านที่สามารถเข้าถึง ได้ด้วยการเดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากอุปสรรคมากมายไม่ว่าจะเป็น แสงแดดที่สาดลงมาโดยตรงและไม่มีร่มเงาใดๆ พื้นทางเท้าที่ไม่สม�่ำเสมอ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ มลพิษจากท้องถนนที่เข้าถึงคนที่เดินบนทางเท้าโดยตรง หรือแม้แต่ สายไฟฟ้าที่ไม่เป็นระเบียบ ชวนให้รู้สึกอันตราย

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนย่าน บางแคให้เป็นย่านที่เป็นมิตรกับ คนที่เดินทางด้วยการเดินเท้า และขี่จักรยาน!


33

ปัญหาระดับชุมชน ผู้คนในย่านบางแค กับความเป็นกันเอง ก่อให้เกิด กิจกรรมเชิงสังคมมากมาย แต่ในทางกลับกัน

ในย่านบางแค กลับไม่มีพื้นที่สาธารณะเลย ผู้คนจึงใช้ที่ว่างเล็กๆ น้อยๆ ของเมือง ทดแทน พื้นที่สาธารณะที่ขาดไป

นำ�มาสู่โอกาสในการเติมเต็ม ย่านด้วยพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการหาพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้งาน เพื่อสร้างเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยมีลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของบริบท โดยรอบพื้นที่ชิ้นนั้นๆ

หรือพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่ถูกทิ้งให้เสียเปล่า และยังมีโอกาสให้เกิดเป็น พื้นที่อาชญากรรม หรือใช้งานในทางที่ไม่ดีได้ ก็นำ�กลับมาปรับปรุงเป็นพื้นที่ สาธารณะได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชิ้นเล็กแค่ไหน ก็มีโอกาสที่จะสร้าง ความเปลี่ยนแปลงได้

และทีสำ่ �คัญ อย่ามองว่าทางเท้าเป็นเพียงแค่ทางเท้า เพราะทางเท้าก็คือพื้นที่เช่นเดียวกัน! พื้นที่บนทางเท้าเองก็มีโอกาสในการเป็นพื้นที่สาธารณะ ทั้งยังเป็นพื้นที่ ที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดอีกด้วย การมองทางเท้าเป็นเพียงเส้นทางเพื่อเชื่อมระหว่างจุดไปยังอีกจุด หนึ่ง ทำ�ให้ทางเท้าถูกลดบทบาทของการเป็นพื้นที่ลง เป็นเพียงเส้นทาง เท่านั้น และทำ�ให้ถูกละเลยไป


34

03 POTENTIAL OF BANGKAE


35

พื้นที่พาณิชยกรรม การค้าขายนับเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ดั้งเดิมของบางแคเลยก็ว่าได้ โดยที่ในปัจจุบันพื้นที่ย่านบางแคยังคงมีพื้นที่พาณิชยกรรมตลอดแนวถนนเพชรเกษม ซึ่งพื้นที่พาณิชยกรรมเหล่านี้ช่วยดึงดูดผู้คนให้ออกมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองมากขึ้น และยังเป็นโอกาสในการสร้างพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น


36

รถไฟฟ้า

ในปี 2020 รถไฟฟ้าช่วยลดปริมาณรถยต์บนถนน ได้ถึง 10% และคาดการณ์ว่า หลังจากเสร็จโครงการรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพในปี 2025 จะช่วยลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนนได้ถึง 25%


37

สู่โอกาสที่จะลดขนาดถนน และเพิ่มขนาดของทางเท้า จากเดิมที่ทางเท้ามีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 6 เมตร และถนน (3 เลน) ที่มีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 9 เมตร สามารถลดถนนลง 1 เลน (3 เมตร) เพื่อนำ�มาเพิ่มขนาดของทางเท้าแทน เป็นทางเท้าขนาด 9 เมตร และถนน (2 เลน) ขนาด 6 เมตร


38

สถานีรถไฟฟ้า ยิ่งใกล้สถานี ยิ่งเพิ่มโอกาส

พื้นที่ในระยะใกล้สถานีรถไฟฟ้า เป็นพื้นที่ที่มีโอกาสทางการค้าสูง รวมไปถึงโอกาสที่จะสร้างพื้นที่เพื่อรองรับโอกาสทางการค้าด้วย

ยิ่งไกลสถานี ก็ยิ่งเพิ่มโอกาส

ในขณะเดียวกัน พื้นที่ที่ห่างจากสถานีออกมา ก็มีโอกาสใการสร้างพื้นที่ที่จะดึงดูดผู้คนเข้ามา หรือพื้นที่สำ�หรับชุมชน ซึ่งจะมีความวุ่นวายน้อยลงจากพื้นที่โดยรอบสถานี


39

ป้ายรถเมล์-ท่าเรือ ระยะการเข้าถึงรถเมลล์และท่าเรือด้วยการเดิน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของย่านบางแค

ซึ่งป้ายรถเมล์ตั้งอยู่ในทุกระยะเฉลี่ย 250เมตร เป็นตัวแทนของแต่ละชิ้นส่วนย่อยในย่านบางแค และยังเป็นจุดที่เป็นเป้าหมายของผู้คนในย่าน สู่โอกาสในการสร้างพื้นที่สาธารณะในแต่ละระยะที่เหมาะสม


40

04 VISION OF THE SITE


41

RESIDENTIAL COMMERCIAL COMMERCIAL RESIDENTIAL RESIDENTIAL COMMERCIAL DISTRICT DISTRICT DISTRICT DISTRICT DISTRICT BANGKAE BANGKAEDISTRICT

BANGKAE

= + =

เอกลักษณ์ของบางแค คือความเป็นย่านการค้าที่รวมกันกับย่านที่อยู่อาศัย รวมไปถึงอัตลักษณ์ในของย่านที่มีวิถีชีวิตแบบชุมชน และมีความเป็นกันเองอยู่สูง นำ�มาสู่วิสัยทัศน์และแนวคิดในการออกแบบ

ย่านที่เป็นมิตร

=

+ +

=

+

โดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของ

พื้นที่ และ ผู้คน โดยแบ่งความสัมพันธ์ ของพื้นที่และผู้คน ออกเป็น 2 ประเภท 1. พื้นที่ที่เป็นมิตรกับกับผู้คน 2. พื้นที่ที่ส่งเสริมความเป็นมิตรของผู้คน


42

พื้นที่ที่ส่งเสริมความเป็นมิตรระหว่างผู้คน PUBLIC REALM

พื้นที่ที่ส่งเสริมความเป็นมิตรระหว่างผู้คน เน้นไปที่พื้นที่สาธารณะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงสังคม และกิจกรรมในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะ เป็นกิจกรรม active หรือกิจกรรม passive ก็ตาม โดยมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่โอกาสที่เกิดขึ้นและบริบทของพื้นที่โดย รอบพื้นที่สาธารณะชิ้นนั้นๆ รวมไปถึงความเป้นพื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นในบริเวณทางเท้าด้วย

&

POCKET PARKS WITH DIFFERENT ACTIVITIES

ในพื้นที่ที่มีความ active สูง ใช้การออกแบบพื้นที่ในรูปแบบของการเปิดออก เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับรอบข้าง

ส่วนในพื้นที่ที่มีความ passive สูง ใช้การออกแบบพ้นที่ในรูปแบบของการล้อมเข้า เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันภายในพื้นที่


43

พื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้คน พื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้คน พูดถึงพื้นที่ที่เดินได้ และเดินดี รวมไปถึงเอื้อให้กับการขี่จักรยานได้ดีด้วย โดยจะต้องมีขนาดที่เหมาะสม ทำ�ให้เดินได้สะดวก พื้นผิวที่มีคุณภาพ มีบัฟเฟอร์กั้นจากถนนเพื่อความปลอดภัย มีร่มเงาที่ เหมาะสม และเฟอร์นิเจอร์ริมทางที่มีคุณภาพ เชื่อมต่อได้ดี และมีสิ่งที่ดึงดูดใจของผู้คน

WALKABLE CITY

&

ANCHOR GOOD SHADING BUFFER FOR SAFETY!

BIKEABLE CITY

QUALITY STREET FURNITURES

ENOUGH SPACE FOR GOOD FLOW

BIKECYCLE SERVICES QUALITY PAVEMENTS

CONNECT FROM ONE PLACE TO OTHERS


44

นำ�มาสู่วิชันแปลน BANGKAE: FRIENDLY DISTRICT BECOME

WITH

GREEN PATH AND POCKET PARK

โดยแบ่งโซนนิ่งของพื้นที่ออกเป็น 3 โซน 1. เริ่มและจบด้วย INTERCHANGE ZONE 2. ในส่วนกลางของย่านเป็น COMMERCIAL ZONE 3. พื้นที่ชุมชนโดยรอบเป็น COMMUNITY ZONE


45

โดยมีพื้นที่สาธารณะที่ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโซน FLEA MARKET

PICNIC AREA

PERFORMANCE AREA

MEETING AREA

INTERCHANGE PARK

GARDEN

PLAYGROUND

CAFE PARK

URBAN FARM

SPORT AREA

ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่สาธารณะแต่ละชิ้นด้วย PARK LINE ในส่วน commercial zone เชื่อมต่อด้วย COMMERCIAL LINE และเชื่อมต่อพื้นที่ริมน�้ำด้วย HISTORIC LINE

SEACON BANGKAE

K PAR

LOTUS BANGKAE

E COMMERCIAL LIN

LAKSONG TRANSPORTATION HUB BANGKAE MARKET

SEACON BANGKAE

LINE

SOI WAT RANGBUA

KLONG RATCHAMONTRI

E

LIN ORY T S I H

SOI WAT ANGKAEW


46

PARKS IN INTERCHANGE ZONE ทำ�หน้าที่เชื่อมต่อและเปลี่ยนถ่ายการเดินทางในรูปแบบต่างๆ และยังสามารถรองรับการใช้งานจากผู้คนจำ�นวนมากได้ PERFORMANCE SPACE

ประกอบไปด้วยพื้นที่ประเภท interchange park, garden, performance space เป็นต้น PERFORMANCE SPACE

GARDEN

INTERCHANGE PARK GARDEN

INTERCHANGE PARK

INTERCHANGE PARK

GARDEN

GARDEN

INTERCHANGE PARK


47

PARKS IN COMMERCIAL ZONE พื้นที่ในโซนประกอบไปด้วยห้องแถวที่เป็นร้านค้า และตลาด ประกอบไปด้วย flea market, garden, meeting area, cafe park

GARDEN FLEA MARKET

MEETING AREA

FLEA MARKET

FLEA MARKET

CAFÉ PARK


48

PARKS IN COMMUNITY ZONE พื้นที่สาธารณะเพื่อกิจกรรมเชิงสังคม ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบ active และ passive

MEETING AREA CAFÉ PARK PERF SPACE

PLAYGROUND PERFORMANCE SPACE

URBAN FARM

SPORT COURT

GARDEN CAFÉ

SPORT COURT

CAFÉ PARK

URBAN FARM

GARDEN PICNIC AREA

MEETING AREA

MEETING AREA


49

URBAN PLANTING CONCEPT เนื่องจากพื้นที่โครงการอยูติดริมที่มีรถยนตสัญจรผาน อยูตลอดเวลา และอยูใจกลางเมือง พืช พรรณที่เลือกใชโดยสวนใหญ ของโครงการคือ พืชที่ดูดซับมลพิษ และมีสวนชวยในการฟอกอากาศ เชน จำ�พวก อินทนิล ตะแบกเสลา ขอย ชงโค จามจุรี วาสนา โมก คริสตินา แกว เปนตน

เสลา

Lagerstroemia speciosa

จามจุรี

Samanea saman

ตะแบก

Lagerstroemia floribunda

วาสนา

Dracaena fragrans (L.) Ker .Gawl

อินทนิล

Lagerstroemia loudonii

โมกข์

Wrightia religiosa

ข่อย

Streblus asper

คริสติน่า

Syzygium australe (J.C.Wendl. ex Link) B.Hyland

ชงโค

Phanera purpurea

แก้ว

Murraya paniculata


50

05 THE DESIGN PARK LINE AT PETCHKASEM 48

INTERCHANGE PARK AT BANGWA

COMMERCIAL LINE AT BANGKAE


51

INTERCHANGE PARK AT BANGWA เชื่อมต่อระหว่างการเดินทางหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า รถยนต์ จักรยาน เรือด่วน และการเดินเท้า

K

E N I L

อ ข น ้ ิ่มต

ุดเ จ ะ ล

AR P ง

เชื่อมต่อ สถานีรถไฟฟ้า กับท่าเรือ

PIER BUS

WALKING BIKE

MRT CAR

และเชื่อมกับ ถนนเทิดไท


52

INTERCHANGE PARK AT BANGWA

PERSPCTIVE VIEW 1

PERSPCTIVE VIEW 2

โดยมีพื้นที่ performance space เพื่อจัด กิจกรรมเชิงสังคมและรองรับผู้คนจำ�นวนมาก รวมพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทาง ที่มี picnic area และ flea market อยู่ในพลาซ่าด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับผู้ที่ สัญจรโดยใช้จักรยาน โดยยั​ังมีพื้นที่จอดจักรยาน เพื่อรองรับการใช้งานอีกด้วย

BIKE PARK DROP OFF

CROSSWALK

BUFFER

SPACE

PATH


53

ซึ่งพื้นที่ในส่วนนี้ ประกอบไปด้วย performance spcae ที่ยกสูงขึ้น เพื่อให้สามารถ มองเห็นลานกลางตรงกลางได้ทุกคน และยังมี flea market ขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุน การค้าขายของผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ย่านบางแค ประกอบไปกับเฟอร์นิเจอร์ถนน ที่ส่งเสริมความเป็นมิตรระหว่างผู้คนที่เข้ามาใช้งานและสัญจรผ่านในบริเวณนี้

ในขณะที่พื้นที่ในส่วนของ interchange park นั้น เชื่อมต่อระหว่าง การ สัญจรด้วยการเดินเท้า การสัญจรทางจักรยาน รถไฟฟ้า รถเมล์ รถยนต์ส่วน ตัว และเรือโดยสาร โดยพื้นที่ลานกว้างนั้นรองรับผู้คนที่ลงมาจากสถานีบางหว้า ทั้งสถานี BTS และ MRT รวมทั้งยังส่งต่อไปยังท่าเรือบางหว้า และถนนเทิด ไทในฝั่งตรงข้ามของคลองภาษีเจริญ (ทางทิศใต้) นอกจากนี้ยังส่งต่อไปยังป้าย รถเมล์ จุดจอดรถชั่วคราวใต้สถานี BTS บางหว้า (ทางทิศตะวันตก) อีกด้วย

+1.05 +0.90 +0.75 +0.60 +0.45 +0.30 +0.15

+0.00


54

ไปท่าเรือบางหว้า

ไป park line


55

ไปถนนเทิดไท

ไปท่าเรือบางหว

้า


56 DROP OFF

BUS STOP

PARK LINE AT PETCHKASEM 48

BIKE PARK BUFFER CROSSWALK

PERSPCTIVE VIEW

SPACE

PATH


57

TYPICAL OF

PARK LINE

ส่วนหนึ่งของ Park line ที่ผ่านบริเวณ เพชรเกษม 48 ประกอบไปด้วยที่พื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก กระจายตัวตามทางเท้า และพื้นที่สาธารณะขนาดกลางในช่องว่างระหว่​่างอา คาร หรือบนพื้นที่โล่งที่ไม่เกิดการใช้งาน โดยพื้นที่โล่งที่พบในส่วนใต้บริเวณสถานีรถไฟฟ้า MRT เพชรเกษม 48 นั้น มีบริบทโดยรอบเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ และล้อมด้วยอาคารที่อยู่อาศัย จึงนำ�มาสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่พบปะพูดคุย หรือ meeting area และ cafe park โดยส่วนของ TYPICAL DESIGN ของ PARK LINE นั้น จากเดิมฟุตบาทขนาด 6 เมตร ได้ขยายขนาดทางเท้า จากขนาดเฉลี่ย 6เมตร เป็น 9เมตร และลดขนาดถนนลง 1 เลน (3เมตร) โดยมีบัฟเฟอร์ขนาดเฉลี่ย 2.5 เมตร เพื่อความปลอดภัยของผู้คนที่ใช้งานบนทางเท้า

SPACE

BUFFER WALKWAY

3.5m

3m 9m

+0.20

+0.10

+0.10 -0.35 -0.80 -1.25

MEETING AREA

2.5m

6m

5


58

SPACE

x

NATURE

x

PEOPLE

ในส่วนของ park line นั้น คือพื้นที่ ธรรชาติ และผู้คน โดยเริ่มจาก organic form หรือเส้นสายในแบบธรรมชาติ เป็น ตัวควบคุมเส้นทางเดิน โดยมีองค์ประกอบที่สื่อถึงธรรมชาติ ประกอบไปด้วยพืชพรรณ และ water feature นอกจากนั้นยัง สอดแทรกไปด้วยพื้นที่ที่มีความเป็น geometric form เพื่อ สร้างการรับรู้พื้นที่ในเชิงที่ต่างออกไปจากเส้นทางหลัก สุดท้ายเมื่อ เกิดพื้นที่ เกิดการใช้งาน ก็เกดความมีชีวิตขึ้นบนเส้นทางนี้

+0.10 WL +0.15 BL +0.10

WL +0.00 BL -0.05

-0.05 WL -0.15 BL -0.20

-0.20 WL -0.30 BL -0.35

-0.35

-0.50

WL -0.45 BL -0.50

-0.05

FOUNTAIN PARK +0.10

+0.05

+0.00


59


60 BIKE PARK

COMMERCIAL LINE AT BANGKAE

BUS STOP

KIOSK

CROSSWALK DROP OFF

PERSPCTIVE VIEW

BUFFER

SPACE

PATH


61

SPACE

x

x

COMMERCE

x

PEOPLE ในส่วนของ commercial line นั้น คือพื้นที่ พาณิชยกรรม และผู้คน พื้นที่ที่มีร้านค้า มักจะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน โดยสอดแทรกไปด้วยพื้นที่สา ธารณะเล็กๆ เพื่อให้เกิดการหยุดพัก แต่ยังคงความคล่องตัวของการสัญจรบนเส้นทาง commercial line เอาไว้ และสร้างบรรยากาศที่แตกต่างของโซนด้วย overhead plane ทรงกลม ที่ถอดแบบมาจากการใช้ร่มในการตั้งร้านค้าของตลาดบางแคดั้งเดิม

SHOPPING & CHILL


62

ส่วนหนึ่งของ Commercial line ที่ผ่านบริเวณ บางแค ประกอบไปด้วยที่พื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก กระจายตัวตามทางเท้า และพื้นที่สาธารณะขนาดกลางในช่อง ว่างระหว่​่างอาคาร หรือบนพื้นที่โล่งที่ไม่เกิดการใช้งาน โดยพื้นที่โล่งมีบริบทโดยรอบเป็นร้านอาหาร ร้าน กาแฟ และร้านค้า จึงนำ�มาสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่ตลาดขนาดย่อม รวมทั้งพื้นที่พบปะของคนในชุมชน และ cafe park โดยส่วนของ TYPICAL DESIGN ของ PARK LINE นั้น จากเดิมฟุตบาทขนาด 6 เมตร ได้ขยาย ขนาดทางเท้าจากขนาดเฉลี่ย 6เมตร เป็น 9เมตร และลดขนาดถนนลง 1 เลน (3เมตร) โดยมีบัฟเฟอร์ ขนาดเฉลี่ย 2 เมตร เพื่อความปลอดภัยของผู้คนที่ใช้งานบนทางเท้า ส่วนพื้นที่การเดินอยู่ที่ 5 เมตรโดย เฉลี่ย เพื่อความคล่องตัว

TYPICAL OF

COMMERCIAL LINE OVERHEAD PLANE

BUFFER WALKWAY

CHILLED AREA

KIOSK

2m

5m 9m

+0.55

+0.40 +0.25

+0.10

+0.55

2m

6m


63


64

DETAILS

DROP OFF

BUS STOP

BIKE PARK

CROSSWALK


65

พื้นที่ Drop off สำ�หรับรถยนต์ส่วนบุคคล จะอยู่บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากพื้นที่ ใต้สถานีนั้นไม่สามารถปลูกต้นไม้ในบริเวณขอบทางเดินได้ จึงเปิดออกเพื่อทำ�เป็นพื้นที่ Drop off โดยมีความกว้างอยู่ที่ 20-40เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะเข้ามาจากถนน 2.5 เมตร และมีทางลาดเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ดี

DROP OFF


66

ส่วนของพื้นที่หยุดรถเมล์ มีขนาดเฉลี่ยที่ 25เมตร เพื่อรองรับรถเมล์มากกว่า 1 คัน โดยกินพื้นที่เข้ามา 2.5 เมตร เช่นเดียวกับ drop off

BUS STOP


67

ที่นั่งรอรถเมล์มีลักษณะเฉียงไปในทิศทางที่สามารถมองเห็น รถเมล์ทกำี่ �ลังมาถึงได้ ทำ�ให้สะดวกต่อการมอง และยังมอง เห็นได้โดยทุกคนอีกด้วย


BIKE PARK มีพื้นที่จอดจักรยาน ทุกๆระยะเฉลี่ย 300 เมตร ติดกับขอบบัฟเฟอร์ริมทาง ส่วนมากอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือ pocket park


พื้นที่สำ�หรับข้ามถนน ปรับถนนให้แตกต่าง ด้วยการขยับออด 1เมตร ทำ�ให้ รถยนต์ต้องชะลอลง และเปลี่ยนพื้นผิวในบริเวณที่ใช้ข้ามถนนเพื่อให้ดูโดดเด่น มองเห้นได้ง่าย ทั้งสำ�หรับผู้ที่เดินข้ามถนน และผู้ที่ขับขี่รถยนต์

CROSSWALK


70

01 02

03 04

05

06 REFLECTION

ปัญหาการเดินในเมือง การเข้าถึงขนส่งสาธารณะ และการขาดพื้นที่เพื่อกิจกรรม เชิงสังคมยังคงเกิดขึ้นในทุกๆย่านของกรุงเทพมหานคร โดยที่ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับ ความสนใจเท่าที่ควร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับการขยายตัวของ เมืองอย่างไม่มีการวางแผนและไร้ทิศทาง ทำ�ให้มีย่านที่เสื่อมโทรมลงอีกมากมาย บางแค เองก็เป้นหนึ่งในย่านที่ประสบปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ย่านบางแคมีศักยภาพมาก ทั้งในฐานะย่านการค้าและย่าน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งผู้คนในย่านบางแคมีความพร้อมที่จะใช้งานเมืองในรูปแบบของการ เดินและการขี่จักรยาน รวมไปถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ จึงมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงเมือง ในย่านบางแคเพื่อตอบสนองประเด็นดังกล่าว เพื่อให้พื้นที่ในย่านบางแคถูกใช้งานอย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง และการเติบโตของย่านที่เกิดขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดในปัจจุบัน อีกทั้งยังเพื่อรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตอีกด้วย โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ ในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับย่านทีนำ่ �มาสู่ บทวิเคราะห์ก่อนการออกแบบนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นที่ ในย่านที่ทันสมัยค่อนข้างน้อย โดยส่วนมากนั้นเป็นข้อมูลที่มีอายุเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยส่วนมากแล้วควรวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพฤติกรรมของประชากร เพื่อนำ�มาสังเคราะห์ ตีความ และสร้างสรรค์ให้เหมาะสมกับโครงการ เพื่อที่จะพัฒนาให้พื้นที่ให้มีความเหมาะสม กับเป้าหมายของโครงการ และเหมาะสมกับบริบทโดยรอบ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจยังมีความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นที่อย่างไม่ชัดเจนเท่าที่ควร การมีเวลาที่เพียงพอในการทำ�วิทยานิพนธ์จึงส่งผล ต่อการพัฒนารายละเอียดโครงการ และพัฒนาการออกแบบโครงการ เวลาและความรับ ผิดชอบจึงเป็นปัจจัยสำ�คัญอย่างมากในการทำ�วิทยานิพนธ์


71

07 REFERENCE กรุงเทพฯ250. 2561. โครงการกรุงเทพฯ 250. [ระบบออนไลน์]. http://bangkok250.org/ about/. (18 สิงหาคม 2562) กองวางผังเมือง สำ�นักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. 2556. แผนผังกำ�หนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้ จำ�แนกประเภทท้ายกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2556. กรุงเทพ. สำ�นักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

สุภา รุจิรกุล. 2545. แนวทางการฟื้นฟูที่ศูนย์กลางเก่า กรณีศึกษย่านวงเวียนใหญ่. กรุงเทพฯ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำ�นักยุทธศาสตร์และประเมินผล. 2556. จำ�นวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสรายสถานีเฉลี่ยต่อวัน ในปี พ.ศ. 2557. [ระบบออนไลน์]. https://www.bangkok.go.th/upload/user/ 00000130/Logo/statistic/stat2557(thai). (4 กันยายน 2562)

บริษั​ัท กรุงเทพธนาคม จำ�กัด. 2557. โครงการเดินเรือในคลองภาษีเจริญ. [ระบบออนไลน์]. http://www.thanakom.co.th/thanakom/boat.html (7 ตุลาคม 2562)

Amanda Pimenta. 2560. The Global Cities With the Worst Traffic Problems. [ระบบออนไลน์]. https://www.archdaily.com/870192/the-global-cities-with-the worst-traffic-problems. (8 ตุลาคม 2562)

ปานปั้น รองหานาม. 2558. วิวัฒนาการการผังเมืองของประเทศไทย. ขอนแก่น. ภาควิชาการวางแผนภาค และเมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Goodwalk. 2562. คะแนนเมืองเดินดี. [ระบบออนไลน์]. http://goodwalk.org/score. (4 ตุลาคม 2562)

ทรายงาม นิมิหุต. 2559. การพัฒนาระบบขนส่งรองเพื่อเอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา บางหว้า. กรุงเทพฯ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Jan Gel. 2559. เมืองของผู้คน. กรุงเทพฯ. ลายเส้น.

ภาวินี อินชมภู. 2556. การพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ. คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศุภชัย ชัยจันทร์. 2559. ภาพสะท้อนความเป็นสาธารณะบนพื้นที่สาธารณะในเมือง. กรุงเทพฯ. คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมชาติ วิจิตราการลิขิต. 2548. แนวทางการพัฒนาย่านการค้าฝั่งธนบุรี กรณีศึกษา ย่านบางแค. กรุงเทพฯ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลั​ัย. สิทธิพล กุสุมอรัญญา. 2556. โครงการจัดทำ�ผังแม่บทโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ. สำ�นักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.

Jan Gehl. 2556. เมืองมีชีวิต. กรุงเทพฯ. ลายเส้น. Knight Frank. 2562. ส่องร่าง ผังเมืองกทมเปิดพื้นที่พัฒนารองรับระบบราง. [ระบบออนไลน์]. https://thailand-property-news.knightfrank.co.th/2019/05/13/ผังเมืองกทมเปิด พื้นที่/. (11 กันยายน 2562) TOD Standard. 2560. This is What Urban Equity Looks Like. [ระบบออนไลน์]. https://www.itdp.org/library/standards-and-guides/tod3-0/. (8 ตุลาคม 2562)

Urban Creature. 2561. NEW CITY EDGE : บางหว้า จุดเชื่อมคนกรุงกับวิถีฝั่งธนฯ. [ระบบออนไลน์]. https://urbancreature.co/new-city-edge-ap-bangwa/. (4 กันยายน 2562)


NAURAMON WONGNIYOM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.