BAAN SAKLA PORIFAUNA COHABIT ECOLOGICAL PROJECT

Page 1

1


INTRODUCTION PROJECT AREA BAAN SAKLA HYDROLOGY SYSTEM GROUNDCOVER EXISTING

MASTER PLAN DETAILS

2

PATCH EDGE CORRIDOR ECOSYSTEM SERVICE CLIMATE POPULATION HOUSEHOLD FLOOD

SCHEMATIC CIRCULATION MATERIAL PLANTING CHOICE

FRAMEWORK ECOLOGICAL

SITE SURVEY CONSTRAINT OPPORTUNITY SITE POTENTIAL SITE INSPIRATION DESIGN STRAGIGIES VISION PLAN

CONCLUSION RESTORATION PLAN

REFERENCE

3


4

5


INTRODUCTION สาขลา

ช่องว่างระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติกว้างขึ้นทุกวัน กว่าเราจะรู้ตัวหลายๆอย่างก็ถูกละเลยไป ระบบนิเวศจึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การหวงแหน

6

ซึ่งในเเต่ละพื้นที่ก็มีปัญหาเชิงนิเวศที่แต่ต่างกันไป โดยที่พื้นที่ที่เราเลือก มีวิถีชีวิตที่เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง บางสิ่งยังคงอยู่ และบางอย่างหายไป ซึ่งผลกระทบที่เด่นชัด คือระดับน้ำ�ขึ้น-น้ำ�ลงที่เแตกต่างกันมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่นจนไม่เหลือช่องว่างให้พื้นที่สีเขียว รวมถึงแหล่งที่อยู่ของสัตว์ตา่งๆ เพื่อให้เราอยู่ด้วยกันได้อย่างสมดุล ECOLOGICAL PROJECT เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถหาคำ�ตอบได้ อย่างเหมาะสมสำ�หรับพื้นที่นี้

7


PROJECT AREA รู้จักกับสาขลา ชุมชนชาวประมง ที่เเตกต่างจากชุมชนเมือง มีวิถีชีวิตเรียบง่าย แบบชนบทดั้งเดิม

อาชีพดั้งเดิมของชุมชนคือการทำ�นาข้าว เเต่ต่อมาเกิดการเปลี่ยนเเปลง ของสภาพเเวดล้อมซึ่งเกิดจากน้ำ�ทะเลหนุนเข้ามาเเทนที่น้ำ�จืด ทำ�ให้ไม่สามารถทำ�นาข้าวได้ ต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นนาเกลือ เเต่ชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนอาชีพอีกครั้ง หลังจากเกิดปัญหาน้ำ�ท่วม จึงทำ�ให้ระดับความเค็มในน้ำ�ลดลงไม่สามารถทำ�นาเกลือได้อีกต่อไป และการทำ�นากุ้งธรรมชาติได้กลายมาเป็นอาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน

ในช่วงปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้มีการขุดสันดรปากแม่น้ำ�เจ้าพระยา เพื่อเปิดเเส้นทางเดินเรือทะเลทำ�ให้ทางน้ำ�เริ่มเปลี่ยน 40 ปีให้หลังจาก การขุดสันดรปากแม่น้ำ�เจ้าพระยา ลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้านสาขลา เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก พื้นที่ราบถูกเปลี่ยนเป็นแอ่งน้ำ�ที่เกิดจาก การชักน้ำ�ทะเลเข้ามาทำ�นาเกลือ พื้นที่สีเขียวลดลง เดิมคลองที่เคยคดเคี้ยว ถูกขุดใหม่ให้เป็นเส้นตรง ผลกระทบจากทั้ง

“น้ำ�จืดเเละน้ำ�เค็ม

ที่นี่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ�มากว่า 200 ปี ล้อมรอบด้วยคลองหลายสาย และอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ�เจ้าพระยา ทำ�ให้ได้รับอิทธิพลจากน้ำ�ทะเลหนุน ก่อให้เกิดน้ำ�ท่วมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน เเละ เกิดปัญหาการทรุดตัวของอาคาร พื้นที่ของหมู่บ้านตั้งอยู่ท่ามกลางป่าชายเลน ชาวสาขลาประกอบอาชีพที่พึ่งพิงกับ สภาพแวดล้อมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ส่งผลให้เกิดระดับน้ำ�ขึ้น-น้ำ�ลงที่เแตกต่างกันมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำ�ให้บ้านประสบปัญหาตะกอนดินที่ทับถมมากเกินไป และ น้ำ�ท่วมบ่อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลให้บ้านมีการพัฒนาโดยการดีดบ้านหนีน้ำ� ซึ่งการดีดบ้านหนีน้ำ�ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดและยั่งยืน จิงเกิด PROJECT การพัฒนาพื้นที่สาขลาโดยศึกษาวิถีชีวิตชุมชนของชาวสาขลาที่เข้าใจพื้นที่ เเละปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

8

9


BAAN SAKLA บ้านสาขลา หมู่บ้านสาขลามีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ราวสมัยอยุธยาตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจของหมู่บ้านสาขลา คือ

วิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวบ้านแบบชนบทดั้งเดิม

างระหว่างชุมชนเมือง “ ความแตกต่ และ

เดิมทีชาวบ้านหมู่บ้านสาขลานั้นมีอาชีพหลักคือการทำ�นา รองลงมาคืออาชีพเกษตรกร ต่อมีน้ำ�ทะเลหนุนขึ้นมาจากด้านล่างหมู่บ้าน ทำ�ให้ เกิดผลกระทบกับการทำ�นาและการเกษตรเนื่องจากความเค็มของน้ำ�เพิ่มขึ้น ชาวบ้านส่วนมากจึงเปลี่ยนอาชีพไปเป็นการทำ�นาเหลือ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่งมีการตัดเส้นคลองที่เข้ามาจากคลองสรรพาสามิต เพื่อทำ�ให้เป็นทางลัด สะดวกต่อการคมนาคม แต่การกระทำ�นี้ทำ�ให้น้ำ�จืดหนุนเข้ามามากจนเกินไปจนเกิดผลกระทบกับการทำ�นาเกลือ ความ เค็มของน้ำ�ถูกเจือจางจนไม่สามารถทำ�นาเกลือได้อีก แต่ผลพลอยได้จากการที่มีน้ำ�จืดหนุนเข้ามาคือ สัตว์ทะเล วิถีชีวิตชาวบ้านสาขลาจึงกลายเป็นชุมชนชาวประมง อาชีพส่วนใหญ่ทำ�การประมงและทำ�ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทะเล เช่น กะปิ กุ้งแห้ง กุ้ง เหยียดฯลฯ แต่การคลองที่ขุดเพื่อเป็นทางลัดคมนาคมนั้นทำ�ให้น้ำ�ไหลเร็วและยังนำ�พาตะกอนต่างๆเข้ามาในหมู่บ้าน พร้อมทั้งยังมีน้ำ�หนุน จากทะเลและน้ำ�จืดจากคลองสรรพสามิตเพิ่มขึ้นทุกๆปี เกิดน้ำ�ท่วมหลายจนทำ�ให้ชาวสาขลาดีดบ้านขึ้นเพื่อหนีปัญหานี้

10

11


BAAN SAKLA พื้นที่สาขลาเดิม

เส้นทางการเข้าถึง พื้นที่สาขลาเดิมมีเส้นทางการเข้าถึงสองทาง เส้นทางหลักคือเส้นทางที่เข้าสู่หมู่บ้านสาขลาไปถึงวัด เส้นทางนี้สำ�หรับชาวบ้านในหมู่บ้านและนักท่องเที่ยวเพราะเป็นถนนคอนกรีต ส่วนเส้นทางรองคือเส้นทางด้านหลัง เส้นทางนี้ส่วนมากถูกใช้ในด้านบริการเช่น การขนส่งสินค้า เป็นต้น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าทางหลัก แต่ถนนยังไม่ได้รับการพัฒนาและยังไม่เป็นที่รู้จักสำ�หรับนักท่องเที่ยว

พื้นที่บริเวณวัด

วัดเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เดิมเป็นศูนย์รวมจิตใจและสถานที่พักผ่อนของชาวบ้าน แต่พอมีการพัฒนาของวัดนั้น เกิดการใช้พื้นที่ผิดประเภทและทำ�ให้อัตลักษณ์เด่นของสาขลาอย่างเช่นพระปรางค์ไม่ใช่จุดเด่นอีกต่อไป การใช้พื้นที่ผิดประเภททำ�ให้ชาวบ้านสามารถใช้เป็นพื้นที่รวมตัวหรือผักผ่อนได้น้อยลง และทำ�ให้กิจกรรม ทางศาสนาหรือประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาลดลงจนหายไปเพราะไม่มีพื้นที่ทำ�กิจกรรมประเพณี ท่าเรือใหญ่บริเวณหน้าวัดถูกใช้น้อยลงจนกลายเป็นท่าเรือที่ไม่ได้รับการดูแล

พื้นที่ชุมชนหลังคาเรือนใหม่

เป็นบริเวณที่มีบ้านถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นจำ�นวนมาก เพื่อการขยับขยายตัวพื้นที่นี้มีความหนานแน่นขึ้นเรื่อยๆ บวกกับมีการขยายตัวของบ้านมากขึ้น เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่สูง ยากต่อการท่วมถึงที่เกิดจากเหตุปรากฏการน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง

พื้นที่ชุมชุนหลังคาเรือนเก่า

EXPANDED AREA

เป็นบริเวณที่มีการอยู่อาศัยมานานจึงมีการขยับขยายบ้านจนเต็มพื้นที่แทบไม่มีพื้นที่ว่างสำ�หรับพื้นที่สีเขียว เมื่อมีความหนาแน่นของครัวเรือนเป็นจำ�นวนมากทำ�ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกและแสงแดดไม่สามารถส่องเข้าถึงลึก แต่ถึงอย่างนั้นพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้มานานจึงมีบ้านเรือนไทยเก่าฉบับชาวสาขลา มีคุณค่าที่ควรเก็บเอาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

พื้นที่ชุมชนขยายตัว

พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่สำ�หรับรองรับการขยายตัวของชุมชน ไม่ได้เป็นพื้นที่แรกสำ�หรับตั้งถิ่นฐานของชุมชนเพราะบริเวณนี้เป็นพื้นที่ต่ำ� ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง มีบริเวณที่ถูกน้ำ�ท่วมเป็นบริเวณกว้าง แต่เพราะมีการตั้งชุมชนเบาบางจึงมีพื้นที่ว่างสำ�หรับ พื้นที่สีเขียวมาก ทำ�ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องเข้าถึง จึงทำ�ให้มีระบบนิเวศดีกว่าบริเวณแออัด

12

13


HYDROLOGY SYSTEM ผังการเดินทางของน้ำ�

“เส้นทางน้ำ�สำ�คัญมาจากคลองสรรพสามิต

คลองสรรพสามิตนำ�ทั้งน้ำ�จืดและน้ำ�เค็มเข้ามาภายในหมู่บ้าน ริมแม่น้ำ�เจ้าพระยาตลอดจนมาถึงต้นคลองสรรพสามิตมีการใช้พื้นที่เป็นพื้นโรงงานของโรงงานจึง มีสารเคมีและน้ำ�เสียไหลเข้ามาในหมู่บ้าน ตลอดคลองสรรพสามิตมีพื้นที่ทำ�เกษตรกรรม ทำ�ให้เกิดสารพิษ ตกค้างในดินรวมถึงในน้ำ�ที่ไหลผ่านด้วย นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองสรรพสามิต จึงมีขยะไหลมารวมกับน้ำ�

ปรากฏการณ์น้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง

ส่งผลต่อระดับน้ำ�ของคลองภายในหมู่บ้าน ในช่วงเช้ามีน้ำ�ไหลเข้ามาในหมู่บ้านสองทางคือ จากคลองสรรพสามิตและจากคลองเส้นเล็กที่เชื่อมต่อกับทะเล ทำ�ให้เกิดน้ำ�ขึ้นสูงในหมู่บ้าน ส่วนในช่วงบ่ายน้ำ�เข้าเพียงจากคลองสรรพสามิต และน้ำ�จะไหลผ่านคลองเล็กลง สู่ทะเล

14

15


GROUNDCOVER พื้นที่โดยรอบ สภาพโดยทั่วไปของชุมชนบ้านสาขลาเป็นป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศน์ของป่าเขตร้อน พืชที่เกิดอยู่บริเวณป่าชายเลนจะเป็นสังคมพืชที่เกิดอยู่บริเวณปากแม่น้ำ�บนดินเลน หรือเลนปนทรายที่มีน้ำ�ท่วมถึงอยู่เสมอ ป่าชายเลนจะเป็นแนวทอดยาวขนานไปตามแนวคลอง ระยะหลังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไป เพราะบริเวณส่วนมากถูกแบ่งไปเป็นวังกุ้งและพื้นที่ทางการเกษตร

16

17


EXISTING SITE ตลอดสองข้างทางเข้ามาในหมู่บ้านสาขลานั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก นากุ้งและพื้นที่ทำ�การเกษตร หลังจากเข้ามาในเขตหมู่บ้านสาขลาจะเป็น บ้านของชาวหมู่บ้านที่พัฒนาแล้ว บ้านบริเวณนี้มีลักษณะเหมือนบ้านในเมืองทั่วไปคือ บ้านมีลักษณะก่อสร้างด้วยคอนกรีต มีร้าน ค้าขายอาหารและร้านสะดวกซื้อ พื้นที่บริเวณนี้น้ำ�ไม่สามารถท่วมถึงได้ ถัดมาเป็นกลุ่มบ้านที่มีโครงสร้างเป็นไม้ผสมคอนกรีต ส่วนมาก บริเวณนี้มาการขายผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของหมู่บ้านสาขลาอย่างเช่นกุ้งเหยียด บริเวณนี้มีน้ำ�ท่วมเนื่องจากฝนตกหนักไม่สามารถระบาย ออกได้ ช่วงเวลาท่วมจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียง 1-2ชั่วโมงเท่านั้น การเดินทางโดยเข้าทางด้านหน้าวัดนั้นสำ�หรับรถที่ไม่ใหญ่มากนัก เพราะสะพานทางเข้ามีขนาดเล็ก มีทางโค้งหักศอกยากต่อการเลี้ยว รถใหญ่ สะพานข้ามน้ำ�มุ่งไปสู่วัด รถสามารถเดินทางได้เพียงสองเลน ตัววัดมีบริเวณด้านหน้าเป็นพื้นที่กว้างมีโดมใหญ่ป้องกันแสงแดด บริเวณใช้เป็นบริเวณสำ�หรับประกอบพิธีทางศาสนาด้านซ้ายเป็น ศาลา ด้านหน้าเป็นเมรุ ถัดไปด้านขวาจากเมรุเป็นอุโบสถ ด้านหลังของพื้นที่กว้างนี้เป็นศาลาและพิพิธภัณฑ์บ้านสาขลาและสวนพัก ผ่อนหย่อนใจ ติดกับสวนนี้เป็นเรือนหมู่ของกุฏิพรพะ ถัดไปทางซ้ายจากบริเวณกว้างหน้าวัดเป็นลานกว้างสำ�หรับจอดรถ ถัดจากลาน จอดรถเป็นพระปรางค์เอียงและเรือนไทยสำ�หรับกราบไหว้พระ ติดกับตัววัดเป็นโรงเรียนสาขลา ด้านหน้าโรงเรียนสาขลาเป็นจากเส้นทางน้ำ�เป็นต้นมาคือท่าเรือที่ถูกใช้งานน้อยลง มีตลาดที่ไม่ได้ใช้ทุกวันเนื่องจากอยู่ไกลจากตัวหมู่บ้าน เมื่อเข้ามาในรั้วโรงเรียน จะพบเป็นลานคอนกรีตกว้างสำ�หรับ จอดรถรวมไปถึงเป็นลานกิจกรรมของโรงเรียนด้วย ตัวโรงเรียนบ้านสาขลามีสามอาคารล้อมรอบสนามกีฬาในร่มตรง กลาง

18

ด้านหลังของโรงเรียนบ้านสาขลาเป็นลานกว้างขนาดใหญ่ไม่มีต้นไม้หรือพื้นที่ให้ร่มเงา ด้านหลังของลานกว้างนี้เป็นวัง กุ้งของชาวบ้าน ลานกว้างเชื่อมต่อกับสนามกีฬาหมู่บ้าน สนามกีฬาหมู่บ้านนี้ไม่ได้ถูกใช้งานบ่อยนักเพราะอยู่ไกลจาก ตัวหมู่บ้านจนเกินไป ข้างสนามกีฬาเป็นเส้นทางการเดินทางอีกเส้นหนึ่ง เดิมทีเส้นทางนี้ไว้สำ�หรับนักท่องเที่ยวและ ลานกว้างนี้ไว้สำ�หรับจอดของนักท่องเที่ยว ถึงเส้นทางนี้จะสะดวกและใช้เวลาน้อยกว่าแต่การเดินทางเส้นทางนี้เดินทาง ลำ�บาก สะพานทางเข้าหมู่บ้านต้องข้ามสะพานทางเข้าวัดมาก่อนถึงจะถึงสะพานเข้าหมู่บ้านนี้ สะพานทางเข้าหมู่บ้านด้านในนี้ สามารถผ่านได้แค่คน จักรยาน และจักรยานยนตร์ หมู่บ้านบริเวณแรกที่พบเป็นบริเวณที่หนาแน่น ส่วนมากเป็นร้าน อาหารและร้านขายของชำ� ถัดเข้าไปด้านในจะมีความหนาแน่นของครัวเรือนเพราะน้ำ�ท่วมถึงมากกว่าบริเวณด้านหน้า

19


EXISTING PLANT สภาพโดยทั่วไปของชุมชนบ้านสาขลาเป็นป่าชายเลน กลุ่มของสังคมพืชที่เกิดอยู่บริเวณป่าชายเลนจะเป็น สังคมพืชที่เกิดอยู่บริเวณปากแม่น้ำ�บนดินเลน หรือเลนปนทราย ที่มีน้ำ�ท่วมถึงอยู่เสมอ ลักษณะโดย ทั่วไปของป่าชายเลนจะเป็นแนวทอดยาวขนานไปตามชายฝั่งทะเล และตามแนวคลอง ระยะหลังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปบ้าง เพราะบางบริเวณถูกแบ่งไปเป็นนากุ้ง พันธุ์ไม้โดยทั่วไปที่ขึ้นอยู่มีไม้แสมขาว ขึ้นสลับกับแสมดำ� ไม้โกงกาง ไม้ลำ�พูและจาก ถัดเข้าไปจะเป็นบริเวณที่มีน้ำ�ทะเล ท่วมถึงบ้างเป็นครั้งคราวจะพบต้นโพทะเล และมีเหงือปลาหมอ ขึ้นตามพื้นที่ว่างในบริเวณชุมชน รวมไปถึงต้นจากที่ขึ้นเป็นแนวริมน้ำ�

การมีพืชพรรณที่แตกต่างออกไปจากพื้นที่อื่นๆ ทำ�ให้การ เลือกใช้พืชพรรณของชาวบ้านสาขลาแตกต่างไปจากที่อื่น บ้าง ครั้งเราอาจเห็นกำ�แพงต้นไม้จากต้นชาฮกเกี้ยนปลูกเป็นแนว บริเววณบ้าน แต่ที่สาขลากลับใช้กำ�แพงจากต้นโกงกางที่ตัด แต่งในรูปแบบเดียวกับชาฮกเกี้ยน รวมถึงการใช้ใบจากในชีวิต ประจำ�วัน เช่นใช้ในการกันขอบตลิ่งพังเป็นต้น

20

21


EXISTING BIRDSS BIRDS สัตว์ปีกที่มีอยู่จำ�นวนมากในชุมชน ทั้งนกกา นกยางกรอก นกพิราบ และนกอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งนกเหล่านี้อยู่ร่วมกับ ชาวบ้านชุมชนเป็นมิตร กระจายตัวอยู่ตามชุมชน ที่เห็นได้ชัดคือนกยางที่มักจะอยู่ตามพื้นที่ริมน้ำ� แต่มีนกกาน้ำ�เป็นนกชนิดหนึ่งที่อพยพมาจากจีน ซึ่งเป็นปัญหากับชุมชน ทั้งลักขโมยของที่ชาวบ้านตากแห้งไว้ ส่งกลิ่นเหม็น ส่งเสียงรบกวน และอื่นๆ โดยที่พวกเขาอาศัย และทำ�รังอยู่บนต้นแสม และต้นลำ�พู

22

23


EXISTING ANIMALS สัตว์ในพื้นที่มีทั้งสัตว์บก สัตว์ปีกและสัตว์น้ำ� ที่โดดเด่นคงจะหนีไม่พ้นนก และสัตว์น้ำ�นานาชนิด ซึ่งสัตว์น้ำ�ต่างๆเป็นทรัพยากรสำ�คัญในชุมชน เนื่องจากอาชีพหลักของชาวบ้านสาขลาก็คือการทำ�ประมง ทั้งจับกุ้ง จับปู จับหอย จับปลา ไม่ว่าจะเป็นกุ้งตะกาด กุ้งกุลาดำ� ปูแสม ปูทะเล หอยแครง ปลาหมอเทศ และปลาทะเลทั่วไป โดยที่สัตว์เหล่านี้อาศัยตามพื้นที่ชายน้ำ�ธรรมชาติบ้าง ไหลเข้าไปอยู่ในวังกุ้งของชาวบ้านบ้าง บางส่วนก็ถูกซื้อ ตัวอ่อนมาจากที่ต่างๆเพื่อนำ�มาเลี้ยงในวังกุ้ง

สัตว์ต่างๆในชุมชนอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย บางชนิดอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ควรอยู่ สัตว์น้ำ�ถูกกักขังในวังกุ้ง เตรียมตัวเป็นวัตถุดิบ สัตว์ปีกอาศัยอยู่ทั่วไป แต่ด้วยจำ�นวนต้นไม้ใหญ่ที่ควรจะเป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีไม่เพียงพอต่อจำ�นวนสัตว์ปีก ทำ�ให้หลายๆตัวต้องสร้าง รังในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม อาศัยตามหลังคาบ้าน ซอกเสา และอื่นๆ เช่นเดียวกันกับสัตว์บก

24

25


26

27


PATCH EDGE CORRIDOR

การวิเคราะห์ด้านนิเวศน์ของชุมชนมาจากการวิเคราะห์นิเวศน์บริการ โดยที่จะแบ่งพื้นที่โดยรอบชุมชนออกเป็น Patch และ Corridor ตามบริบทของพื้นที่ (เช่น อาคาร พื้นที่โล่ง น้ำ� ต้นไม้)

Corridor มี2เส้นที่เห็นได้ชุด คือลำ�น้ำ� และถนน โดยที่น้ำ�เป็น Corridor ที่มีฟังก์ชันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต(Habitat) เป็นทางสัญจรผ่าน สำ�หรับสัตว์ต่างๆ และมนุษย์(Conduit) มีหน้าที่ช่วยให้เกิดในการตกตะกอนของตะกอนต่างๆที่ไหลมาตามน้ำ�(Sink) รวมไปถึงเป็นแหล่งกำ�เนิดและเพาะพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ ที่เกิดและ เติบโตในน้ำ� ก่อนที่จะขึ้นไปเป็นตัวเต็มวัยต่อไป(Source) นอกจากนี้ยังเป็นตัวกรองของสารหรือสิ่งมีชีวิตบางชนิด บางอย่างข้ามผ่านไปได้ บาง อย่างไม่สามารถทำ�ได้(Filter)

ในขณะที่ถนนเป็น Corridor ที่มีความหลากหลายของฟังก์ชันต่ำ� โดยเป็นทางสัญจรของมนุษย์(Conduit) และเป็นส่วนที่ปิดกั้นระบบนิเวศน์จากอีกฝั่งหนึ่งสู่อีกฝั่งหนึ่ง(Barrier)

28

29


ECOSYSTEM SERVICE นิเวศน์บริการ คือแนวคิดที่ว่า

ระบบนิเวศเปรียบเสมือนเครื่องจักรซับซ้อน ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้มนุษย์ หมายถึงประโยชน์ที่ธรรมชาติส่งมอบให้กับมนุษย์ นิเวศบริการที่เราคุ้นเคยที่สุดได้แก่ อาหาร น้ำ�สะอาด และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ แต่ยังมีบริการอีกมากมายที่เรามักไม่ค่อยนึกถึง เช่น การดูดซับคาร์บอนและบรรเทาภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ การกรองและทำ�น้ำ�ให้สะอาดของพื้นที่ชุ่มน้ำ� ฯลฯ โดยที่ ES จะแบ่งเป็น 4 อย่าง ได้แก่ Supporting Service, Regulating Service, Provisioning Service และ Cultural Service โดยที่ในแต่ละพื้นที่หรือในแต่ละ Patch ไม่ได้มีการบริการเกิดขึ้นเพียงหนึ่งด้าน ต่อหนึ่งพื้นที่ อาจมีการบริการหลายๆด้านเกิดขึ้นบนพื้นที่เดียวกัน สาขลาเองก็เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศป่าชายเลนซึ่งผลิตบริการทั้งสี่ประเภท ตั้งแต่เป็นแหล่งไม้เพื่อ ใช้ทำ�ถ่าน (บริการด้านเป็นแหล่งผลิต) ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (บริการด้านการ ควบคุม) เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมธรรมชาติ (บริการด้านวัฒนธรรม) และเป็นพื้นที่ปลอดภัย สำ�หรับสัตว์น้ำ�วัยอ่อน (บริการด้านการสนับสนุน)

30

31


ECOSYSTEM SERVICE บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต (provisioning services) หมายถึง การให้บริการวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ำ�สะอาด แร่ธาตุ แหล่งอาหาร และไม้ เป็นต้น บนพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่ที่ให้บริการนี้กับระบบนิเวศน์ เนื่องจากต้นไม้เป็นผู้ผลิต และส่งผลให้กับทุกๆส่วนในระบบนิเวศน์ และในส่วนของวังกุ้งมีหน้าที่ผลิตอาหาร ให้กับมนุษย์

บริการด้านการสนับสนุน (supporting services)

หมายถึง การควบคุมปรากฏการณ์และกระบวนการทางธรรมชาติของระบบนิเวศ เช่น การควบคุมสภาพภูมิอากาศ การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การป้องกันน้ำ�ท่วม และ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น บ้านเรือนเป็นพื้นที่อาศัย และสนับสนุนการใช้ชีวิตของมนุษย์ และพื้นที่สีเขียวเอง ทั้งป่าและพืชชายน้ำ�ก็เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ต่างๆ รวมถึงมีธาตุ อาหารที่เกิดจากการ ผลิตหรือมาตกตะกอนอยู่ในบริเวณนั้น

32

บริการด้านวัฒนธรรม (cultural services) หมายถึง กระบวนการทางธรรมชาติที่สนับสนุนบริการอื่นๆ เช่น เป็นแหล่งธาตุอาหาร เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร และเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์วัยอ่อน เป็นต้น ็คือพื้นที่อาคารบ้านเรือน และพื้นที่ที่มนุษย์ใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ ก่อให้เกิดสังคม วัฒนธรรมประเพณี เช่นวัด

บริการด้านการควบคุม (regulating services) หมายถึง ประโยชน์ทางนามธรรมที่ดำ�รงคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ประเพณี การพัก ผ่อนหย่อนใจ ความเพลิดเพลินจากความงดงามของธรรมชาติ เป็นต้น ในพื้นที่สีเขียวช่วยในการลดการกัดเซาะหน้าดิน ควบคุมการตกตะกอนของดิน ควบคุมการไหลของน้ำ� และพื้นที่วังกุ้งที่ควบคุมจำ�นวนประชากรของสัตว์น้ำ� ควบคุมปริมาณน้ำ�ในชุมชน และมีผลต่อสภาพภูมิอากาศ

33


CLIMATE ชุมชนสาขลา เป็นระบบนิเวศน์ของป่าเขตร้อน มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม มีความชื้นสูง มี ปริมาณน้ำ�ฝนมาก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงสุด 35.1 องศาเซลเซียส และต่ำ�สุด 20.4 องศาเซลเซียส โดยที่จะได้รับอิทธิพลจากลม 2 ประเภท ประเภทแรกคือลมประจำ�ฤดูกาล (ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมฤดูร้อน ในช่วงพ.ค.-พ.ย. และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมมรสุมฤดูหนาว ในช่วง พ.ย.-ก.ค.) ส่วนประเภทที่สองคือลมประจำ�เวลา (ลมบกในช่วงเวลา22.00น.-10.00น. และลมทะเลใน ช่วงเวลา10.00น.-21.00น.)

จากสถิติ ปริมาณน้ำ�ฝนจะมีมากในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และมีน้อยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงสภาวะน่าสบาย(22-27องศาเซลเซียส) ในเดือนธันวาคม-มกราคม ในเดือนอื่นๆจะมีอุณภูมิเฉลี่ยที่สูงกว่า27องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน (อยู่ในช่วง29-30องศา เซลเซียส) และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยที่ยังอยู่ในช่วงสภาวะน่าสบาย(20-80%) ตลอดทั้งปี โดยมีช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมที่ต่ำ�กว่าช่วงอื่นๆของปี คือต่ำ�กว่า70% และสุดท้ายคือช่วงเวลายาวนานของแสงดวงอาทิตย์ในแต่ละเดือน โดยที่ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม จะมีช่วงเวลาที่สั้นกว่า(ต่ำ�กว่า200ชั่วโมงต่อเดือน)

ในพื้นที่ที่อยู่ติดริมน้ำ� มีป่าชายเลนและพืชชายน้ำ�ดูดซับความร้อน มีความชื้นถูกพัดพาเข้ามา ในขณะที่ในส่วนชุมชนหนาแน่นลมไม่สามารถแทรกผ่านเข้าไปได้ ทำ�ให้อากาศอบอ้าว ถ่ายเทไม่สะดวก ทำ�ให้ต้องแก้ปัญหาอีกต่อไป

34

35


POPULATION POPULATION บ้านสาขลา ตำ�บลนาเกลือ อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ มีหมู่บ้านจำ�นวน 8 หมู่บ้าน 2,020 ครัวเรือน จำ�นวนประชากร 9,974 คน (จากผลการสำ�รวจปีพ.ศ.2543) ประชากรส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นคนไทย นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นภายในชุมชนบ้านสาขลาจึงไม่มีศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ ตั้งอยู่

แบ่งจำ�นวนประชากรตามเพศจะมีประชากรเพศหญิงมากกว่าประชากรเพศชาย หากแบ่งตามช่วงอายุ ของประชากร ส่วนมากนั้นเป็นวัยชรา (ช่วงอายุ60ปีขึ้นไป) อันดับรองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี อันดับต่อมาคือช่วงอายุ 20-40 ปี ส่วนอัตราน้อยที่สุดคือวัยเด็กและวัยรุ่น นับเป็นช่วงอายุ 20 ปีลง ไป การประกอบอาชีพของชุมชนบ้านสาขลา ในอดีตนั้นประชากรส่วนมากทำ�อาชีพเกี่ยวกับประมงและ เกษตรกรรมรองลงมา แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในหมู่บ้านสาขลาทำ�ให้การประกอบอาชีพเกี่ยว กับการประมงของชาวสาขลาลดลง ปัจจุบันนี้ประชากรส่วนมากเปลี่ยนอาชีพมาเป็นการรับจ้างทั่วไป รองลงมาคือ เกษตรกร ค้าขาย อื่น และผู้ให้เช่านากุ้งตามลำ�ดับ ด้านรายได้ของประชากรคิดเป็นครัวเรือน ส่ว

ด้านรายได้ของประชากรคิดเป็นครัวเรือน ส่วนมากมีรายได้อยู่ที่ 3,000-5,000 บาทต่อครัวเรือน ด้านการศึกษาของประชากร ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ทั้งนี้เนื่องจากบ้านสาขลามีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร โดยสามารถเดินทางไปเช้ากลับเย็นได้เพราะการคมนาคมสะดวกขึ้น

36

37


HOUSEHOLD DENSITY

การทับถมของตะกอนจากน้ำ�ท่วม

และ ทำ�ให้ใต้ถุนต่ำ�ลง ส่วนอาคารรูปแบบสมัยใหม่มักสร้างขึ้นใหม่ หลายอาคารเป็นแบบผสมกัน ซึ่งมักเป็นการต่อเติมจากเรือนเดิม ลักษณะรูปแบบของเรือนจั่วแฝดพบได้ทั่วไปเนื่องจากเป็น เรือนที่ไม่มีแบบแผนตายตัว เจ้าของบ้านปลูกโดยการประยุกต์ตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ส่วนมากเป็นแบบสองชั้น มีหลังคาจั่วที่มีความลาดชันน้อย วัสดุที่ใช้ทั้งหมดเป็นวัสดุในเชิงอุตสาหกรรม แต่ยังใช้เสาไม้หรือพื้นไม้ ฝาผนังนิยมตีไม้ซ้อนเกล็ดตามนอน ชั้นล่างอาจเป็นฝาไม้เช่นเดียวกับชั้นบนหรือก่ออิฐฉาบปูน หน้าต่างเป็นหน้าต่างสำ�เร็จรูป

38

เรือนพื้นถิ่นชุมชนบ้านสาขลา มีปัญหาคล้ายกัน มุ่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อม คือสภาพการทรุดตัวของแผ่นดิน แต่เดิมนิยมสร้างเป็นเรือนไทย ใต้ถุนสูง เมื่อเวลาผ่านไปทำ�ให้ใต้ถุน เรือนต่ำ�ลงเพราะการทรุดตัวของแผ่นดินและการทับถมของดินตะกอน อันเกิดจากน้ำ�ท่วม ประกอบกับเป็นพื้นที่ชายทะเล จึงมี

เรือนพักอาศัย หากแบ่งตามรูปแบบของรูปทรงหลังคาได้ ๓ รูปแบบ ได้แก่ รูปจั่วทรงไทย ทรงปั้นหยาและจั่วแบบรูปทรงสมัยใหม่ ซึ่งมีความลาดชันน้อยกว่าจั่วทรงไทย มีทั้งที่ปลูกสร้างแบบรูปทรงสมัยใหม่และเรือนไทย ที่เป็นเรือนไทยจะเป็นรูปแบบดั้งเดิม มีรูปแบบเรือนไทยภาคกลางทั่วไป ยกใต้ถุนสูง เดินรอดได้ ต่อมามีการทรุดตัวของแผ่นดิน

น้ำ�ขึ้น น้ำ�ลง

อยู่ทุกวัน

เมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำ�นวยจึงมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย บ้างรื้อของ เก่าทิ้งหรือขายไป ปลูกสร้างเป็นแบบสากลนิยมขึ้นใหม่ ใช้วัสดุก่อสร้าง ชนิดใหม่ บางเรือนก็ต่อเติมเป็นร้านค้าเพื่อความอยู่รอดตามความผันแปรของ สภาพเศรษฐกิจ บ้างเป็นลูกหลานรับมรดกมา แต่ตนเองไม่ได้อยู่อาศัย และเห็นคุณค่าของเรือนโบราณก็ช่วยกันซ่อมแซมรักษาให้คงอยู่ บ้างก็ ดัดแปลงให้เหมาะกับอาชีพของตน และก็มีอยู่เป็นจำ�นวนมากที่ทนแรง รบเร้าต่อความอยากได้เรือนงามๆ แบบตะวันตก ก็รื้อขายแยกย้ายออก จากที่เดิม ปรับเปลี่ยนเป็นเรือนหลังใหม่ ใช้วัสดุอุตสาหกรรมแทนวัสดุพื้นถิ่น นับว่ายังมีอาคารบ้านเรือนบางส่วนที่แสดงให้เห็นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผู้คน ชาวบ้าน ตาม

สภาพพื้นที่หมู่บ้านสาขลา ตำ�บลนาเกลือ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าชายเลน มีความแปลกกว่าที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด บ้านเรือนในชุมชนมีการกระจุกตัวกันของหลังคาเรือนที่อยู่กันอย่างหนาแน่นและค่อยๆกระจายออกรอบด้าน จากการพิจารณาควบคู่กันไปกับพื้นที่ที่มีน้ำ�ท่วมถึง จะพบว่าพื้นที่ที่มีน้ำ�ท่วมถึงมากจะมีความหนาแน่น ของหลังคาเรือนต่ำ�กว่าพื้นที่ที่มีน้ำ�ท่วมถึงน้อย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุในการเลือกพื้นที่ในการสร้างบ้านของชาวบ้าน

วิถีชีวิตของคนชนบทชายทะเล

และความเป็นอยู่ของคน ความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีประจำ�ถิ่น ตาม สภาพดินฟ้าอากาศ แสดงให้เห็นการแก้ปัญหาและความเหมาะสมของ สภาพเศรษฐกิจ

39


40

41


ถัดมาคือ

FRAMEWORK

การจัดการน้ำ�

ในที่นี้เราคิดถึงปัญหาน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงที่มีความสูงแตกต่างกันมากเกินไป ซึ่งการแก้ปัญหาทำ�ได้ด้วยการเพิ่มสาขาของลำ�น้ำ� เพื่อเพิ่มพื้นที่การ ไหลของน้ำ� และช่วยผันน้ำ�ออกให้เร็วขึ้นในช่วงเวลาที่น้ำ�ขึ้น ทำ�ให้ระดับของน้ำ�แตก ต่างน้อยลง

กรอบแนวคิดของโครงการอยู่ภายใต้ 3 หัวข้อ คือ Fishery หรือการประมง, Water Management หรือการจัดการน้ำ� และ Recreation หรือสุนทรียภาพ โดยที่ประเด็นหลักที่คำ�นึงถึง สุดท้ายคือ

การประมง เนื่องจากเป็นอาชีพหลักของชุมชน

และมีผลต่อระบบนิเวศน์ ทั้งการควบคุมและเพิ่มจำ�นวนประชากรสัตว์น้ำ� การทำ�ประมงโดยรบกวนระบบนิเวศให้น้อยที่สุด ฯลฯ

42

การพักผ่อนหย่อนใจ

ที่มีหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายฟังก์ชัน ตอบสนองทั้ง ความต้องการ ของผู้คนในชุมชนและบุคคลภายนอกที่เข้ามาในชุมชน ซึ่ง สอดคล้องกับบริบท และพื้นที่ในส่วนต่างๆของชุมชน

43


ECOLOGICAL ท่ามกลางภัยพิบัติหลากหลายที่คุกคามความปรกติสุข ของโลกใบนี้ ภัยจากความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมเป็นภัยหนึ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ เ ราทุกคนในสังคมมักจะรู้สึกสิ้นหวังจนปัญญากับข่าวร้าย เรื่องขนาดรูรั่ว ของชั้นบรรยากาศที่ขยายใหญ่ขึ้น กับข่าวอุณหภูมิที่ร้อนเพิ่มขึ้นทุกปี หรือแม้แต่กับข่าวที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใด พันธุ์หนึ่งกำ�ลังจะสูญพันธุ์ไป เพราะการตัดไม้ทำ�ลายป่า ทั้งนี้เพราะเราคิดว่ามันเป็นสิ่งยุ่งยากซับซ้อน ที่โลกทั้งโลกต้องช่วยกัน แก้ หารู้ไม่ว่าการที่โลกทั้งโลกจะช่วยกันแก้ได้ หน่วยย่อยๆ ของโลกซึ่งคือแต่ละปัจเจกหรือครัวเรือน คือองค์ประกอบพื้นฐานที่สำ�คัญที่สุดต่อความสำ�เร็จ ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกทัศน์หรือไลฟ์สไตล์ที่แต่ละปัจเจกหรือ ครัวเรือนเลือกในฐานะผู้บริโภคจะ ส่งผลโดยตรงต่อสภาพแวดล้อม หากโลกทัศน์หรือไลฟ์สไตล์นั้น ตั้งอยู่บนสำ�นึกที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ครัวเรือนนั้นก็ย่อมที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า สำ�หรับสิ่งแวดล้อม เมื่อโลกทัศน์นั้นเป็นที่ยอมรับของชุมชน จากหนึ่งครัวเรือนก็จะขยายเป็นพัน เป็นหมื่น เมื่อนั้นผลของการบริโภคดังกล่าวย่อมลด ป้องกัน และแม้แต่ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับดีขึ้นมาได้ ซึ่งโครงการนี้มีพื้นฐานของแนวคิดอยู่ภายใต้กรอบของแนวคิดเชิงนิเวศน์ ที่คำ�นึงถึงการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน และระบบนิเวศน์ทั้งภายในและโดยรอบชุมชน มุ่งเน้นความเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ออกแบบพื้นที่ใหม่ให้มีความคล้ายคลึงและสอดคล้อง ไปกับพื้นที่ธรรมชาติเดิม อยู่บนหลักการพึ่งพาอาศัยกัน และดำ�รงอยู่ได้อย่างยั่งยืนเป็นสำ�คัญ เพื่อคงความอุดมสมบูรณ ์ของทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป

44

45


46

47


48

49


ในการวิเคราะห์พื้นที่ เราคำ�นึงถึง 3 อย่าง คือ Opportunity หรือโอกาสที่พื้นที่นี้สามารถเป็นไปได้ หรือเอื้ออำ�นวย Constrain หรืออุปสรรคของพื้นที่ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขและ ปรับปรุง สุดท้ายคือ Site Potential ที่จะได้มาจากการวิเคราะห์ Opportunity และ Constrain เพื่อให้เล็งเห็นว่าพื้นที่มีศักยภาพด้านใดบ้างที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป 50

51


SITE POTENTIAL POTENTIAL (ป่าชายเลน)

น้ำ�ที่เข้ามาในพื้นที่เป็นน้ำ�ที่ผ่านมาทั้งอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนอื่นๆ ซึ่งทำ�ให้น้ำ�มีสารปนเปื้อนๆต่าง บางครั้งมีความเข้มข้นมาก เกินไป จนส่งผลให้สัตว์น้ำ�ตาย ชาวบ้านเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีผลผลิตในปีนั้น พื้นที่ชายน้ำ�ในบริเวณนี้เป็นป่าจาก ป่าแสม และป่าโกงกาง ที่มีโอกาสที่จะพัฒนาต่อให้เป็นป่าชายเลนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยในการกรอง น้ำ� และเจือจางสารปนเปื้อนในน้ำ� ตามทฤษฎีบำ�บัดน้ำ�ด้วยป่าชายเลน และทฤษฏีน้ำ�ดีไล่น้ำ�เสีย ควบคู่ไปกับการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำ�ในการเพิ่มขอบ น้ำ�

“ น้ำ�ดีไล่น้ำ�เสีย

การใช้น้ำ�คุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำ�เน่าเสีย หรือที่เรียกกันว่า นั้น ได้แก่ การใช้น้ำ�ที่มีคุณ ภาพดีช่วยผลักดันน้ำ�เน่าเสียออกไป และช่วยให้น้ำ�เน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ในที่นี้คือการใช้น้ำ�ทะเลที่หนุนขึ้น มาช่วยเจือจางน้ำ�เสียจากคลองสรรพสามิต ช่วยให้คุณภาพน้ำ�ดีขึ้น และป่าชายเลนที่จะดักตะกอนทั้งของดีและของเสียไว้ตามราก เป็นสาร อาหารของพืชชายน้ำ�และพืชในป่าชายเลน ซึ่งจะเติบโตเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆต่อไป

52

53


SITE POTENTIAL POTENTIAL (การค้า)

ชุมชนสาขลามีพื้นที่ที่มีบ้านที่เปิดเป็นร้านขายสินค้าหลายหลัง ซึ่งส่วนมากมักจะรวมตัวกันในส่วนด้านหน้าของชุมชน แต่ การวางตัวของอาคารกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งถ้าหากมีการจัดระเบียบชุมชนในส่วนนี้ให้มีศูนย์รวมและระบบที่ ชัดเจนขึ้นของส่วนค้าขาย จะทำ�ให้การค้าขายเป็นระบบมากขึ้น และทำ�ให้บุคคลภายในนอกที่ต้องการเข้ามาติดต่อค้าขายเข้า ถึงได้ง่าย ไม่รบกวนชุมชนภายใน

POTENTIAL (ทางเข้าสาขลา) ส่วนทางเข้าชุมชนมีความซับซ้อนและซ้ำ�ซ้อนในการเข้าถึง ไม่ให้ความรู้สึกเชื้อเชิญ ทั้งๆที่พื้นที่มีศักยภาพที่จะเป็น Approach ที่ดี และเป็นแกนเดียวกับวัดที่สามารถเชื่อมเส้นในการมองจากทางเข้าไปสู่วัดได้เลย

54

55


SITE POTENTIAL POTENTIAL (ความแออัด)

พื้นที่ในหมู่บ้านมีความความหนาแน่นของครัวเรือนสูง ทำ�ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แสงแดดไม่สามารถเข้าถึง แต่ในความ หนาแน่นแออัดของหลังคาเรือนยังมีบ้านไทยเก่าฉบับชาวสาขลาที่สืบทอดกันทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาเก็บไว้อยู่ จำ�นวนไม่มากไม่น้อย จึงเลือกที่จะจัดระเบียบครัวเรือนใหม่เพื่ออากาศที่ถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง แต่ยังคงเก็บรักษาบ้านไทยเก่าน้ำ�ไว้เพื่อเป็น มรดกทางวัฒนธรรมต่อไป

POTENTIAL (เพิ่มพื้นที่สีเขียว)

หมู่บ้านที่ต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว บริเวณนี้มีจำ�นวนครัวเรือนเบาบางเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ�ทำ�ให้น้ำ�ท่วมถึงบ่อย และพื้นที่นี้ยังมีความต่างระดับของน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงมาก แต่เพราะพื้นที่นี้มีความ เบาบางของครัวเรือนจึงมีพื้นที่สำ�หรับพื้นที่สีเขียวมาก ทำ�ให้อากาศถ่ายเท ได้สะดวกและแสงแดดเข้าถึง หลังจากมีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ�ขึ้นนำ�ลงในบริเวณอื่นแล้ว พื้นที่นี้จึงสามารถกลายเป็นพื้นที่สำ�หรับรองรับการขยายตัวของชุมชนได้

56

57


SITE POTENTIAL เส้นทางการเข้าถึง พื้นที่สาขลาเดิมมีเส้นทางการเข้าถึงสองทาง เส้นทางหลักคือเส้นทางที่เข้าสู่หมู่บ้านสาขลาไปถึงวัด เส้นทางนี้สำ�หรับชาวบ้านในหมู่บ้านและนักท่องเที่ยวเพราะเป็นถนนคอนกรีต ส่วนเส้นทางรองคือเส้นทางด้านหลัง เส้นทางนี้ส่วนมากถูกใช้ในด้านบริการเช่น การขนส่งสินค้า เป็นต้น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าทางหลัก แต่ถนนยังไม่ได้รับการพัฒนาและยังไม่เป็นที่รู้จักสำ�หรับนักท่องเที่ยว

พื้นที่บริเวณวัด วัดเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เดิมเป็นศูนย์รวมจิตใจและสถานที่พักผ่อนของชาวบ้าน แต่พอมีการพัฒนาของวัดนั้นเกิดการใช้พื้นที่ผิดประเภทและทำ�ให้อัตลักษณ์เด่น

พระปรางค์ไม่ใช่จุดเด่นอีกต่อไป

ของสาขลาอย่างเช่น การใช้พื้นที่ผิดประเภททำ�ให้ชาวบ้านสามารถใช้เป็นพื้นที่รวมตัวหรือผักผ่อนได้น้อยลง และทำ�ให้กิจกรรมทางศาสนาหรือประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาลดลงจน หายไปเพราะไม่มีพื้นที่ทำ�กิจกรรมประเพณี ท่าเรือใหญ่บริเวณหน้าวัดถูกใช้ น้อยลงจนกลายเป็นท่าเรือที่ไม่ได้รับการดูแล

58

59


SITE POTENTIAL POTENTIAL (ดักขยะ)

น้ำ�ที่ไหลผ่านชุมชนสาขลาพาขยะต่างๆในชุมชนไหลตามมาด้วย ซึ่งจะทำ�ให้น้ำ�ที่ออกสู่ทะเลเป็นน้ำ�ที่คุณภาพแย่ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่สา ขลาและยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต่อๆไป จึงควรจัดเตรียมการดักขยะในน้ำ�ที่ผ่านชุมชนและกำ�ลังจะผ่านออกไป

POTENTIAL (สัตว์น้ำ�)

ในขณะเดียวกันน้ำ�ทะเลที่หนุนขึ้นมานำ�พาความเค็มขึ้นมาด้วย รวมไปถึงสัตว์น้ำ�ต่างๆทีมากับน้ำ�ทะเล ถ้ามีพื้นที่ที่รองรับสัตว์น้ำ�เหล่านี้ได้ อาจจะส่งผลดีกับระบบนิเวศน์ภายในและโดยรอบชุมชน ที่มีปริมาณและความหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้น

60

61


SITE SITE INSPIRATION INSPIRATION && TRANSFORMATION TRANSFORMATION “

เพราะชีวิตของ ชาวสาขลา ผูกติดอยู่กับทะเล

เราจึงเลือกสองสิ่งเป็นแรงบันดาลใจ คือ ลอบที่เป็นอุปปกรณ์จับปลาดั้งเดิมของชาว สาขลา และ Porifera(ฟองน้ำ�) ที่เป็นสัตว์น้ำ�ทะเล ลอบ เราใช้ฟอร์มของลอบบวกกับ Structure Hyperboloid เพื่อนำ�มาออกแบบเป็น ฟอร์มของเรือน Porifera(ฟองน้ำ�) ลักษณะของฟองน้ำ�คือ มีการน้ำ�เชื่อมต่อของน้ำ�แบบซึมผ่านกันได้ นำ�มาใช้เป็นแนวทางในการผันน้ำ�โดยการเชื่อมต่อกันด้วยน้ำ� และนำ�วิธีการทำ�งานของ ฟองน้ำ�มาเป็นแนวคิดในการออกแบบฟอร์มของเส้นสายของน้ำ� และฟองน้ำ�นี้มีหน้า ที่ในการกรองน้ำ� โดยเส้นขนเล็กๆของมันจะคอยดักจับสิ่งสกปรกในน้ำ� จึงนำ�ความ สามารถของฟองน้ำ�นี้มาเป็นแนวคิดในการใช้พื้นที่ชายน้ำ�และป่าชายเลน โดยใช้ราก พืชนี้ดักจับตะกอนต่างๆ เปรียบเสมือนขนของฟองน้ำ� นอกจากนี้ฟองน้ำ�ยังเป็นที่อยู่ อาศัยและอนุบาลของสัตว์น้ำ� ป่าชายเลนเองก็เช่นเดียวกัน

62

63


ยุทธวิธีการออกแบบ การทำ�ความเข้าใจพื้นที่ ศึกษาค้นหาประวัติความเป็นมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น บุคคลภายในพื้นที่ รวมไปถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ�กัดและยืดหยุ่น เข้าไปสำ�รวจพื้นที่จริง มีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเปิดใจรับฟังปัญหา เสมือนปัญหานี้เกิดขึ้นจริงกับตัวเรา คล้ายสำ�นวน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เพื่อที่จะทำ�ให้เราเข้าถึงความเป็นไปในพื้นที่ได้มากขึ้น เลือกหัวข้อปัญหาและข้อดีที่เด่นชัด น่าสนใจ นำ�มาสร้างไอเดียหรือต่อยอดไอเดียต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียที่มีวิธีการตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหานั้นๆ พัฒนาไอเดีย สร้างต้นแบบหรือตัวอย่างงานเพื่อถ่ายถอดความคิดและวิธีการต่างๆนั้นออกมา ขั้นตอนนี้เป็นวิธีการที่ทำ�ซ้ำ�ไปซ้ำ�มาเพื่อพัฒนาและแก้ไขจนออกมาเป็นกลยุทธในการออกแบบ

64

65


เรือน เรือนเป็นจุดศูนย์กลางของพื้นที่ต่างๆใน หมู่บ้านที่มีหน้าที่หลากหลายและแตกต่างกัน ตามพื้นที่ เรือนทำ�หน้าที่เชื่อมต่อทางเดินร้อยปี และเชื่อมต่อระหว่างทางเดินร้อยปีกับทางเดิน สิบปีเข้าด้วยกัน เรือนตามจุดต่างๆได้แก่ เรือน ท่า เรือนสินค้า เรือนสาขลา เรือนสต๊าฟ เรือน ป่า เรือนนก เรือนอู่ และเรือนประมง

การจัดระเบียบหลังคาเรือน แบบเดิมตามการจัดวางระเบียบ หลังคาเรือนมีความแออัด มี พื้นที่ว่างสำ�หรับพื้นที่สีเขียวน้อย ทำ�ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกและ แสงแดดส่องไม่ถึง จึงเกิดการจัดระเบียบหลังคาเรือน แบบใหม่โดยกระจายหลังคาเรือน ไปยังพื้นที่ว่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่าง สำ�หรับพื้นที่สีเขียว ส่งผลให้เกิด การถ่ายเทของอากาศได้สะดวก ขึ้นและยังสามารถทำ�ให้แสงแดด เข้าถึงได้โดยง่าย

66

ทางเดินสองระดับ ทางเดินสองระดับได้แก่ ทางเดินร้อยปี และทาง เดินสิบปี ทางเดินสองทางเดินนี้ได้ชื่อมาจาก การวิเคราะห์ระดับน้ำ�ท่วมในรอบร้อยปี และรอบ สิบปีในพื้นที่นี้ ทางเดินทั้งสองมีโครงสร้างเป็น โครงสร้างไม้เพื่อสะดวกต่อการเปลี่ยนเมื่อหมด อายุใช้งานของวัสดุ นอกจากทางเดินร้อยปีมีหน้าที่เป็นทางเดินและ ทางลัดในหมู่บ้านแล้ว ทางเดินนี้ยังทำ�หน้าที่เป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์อีกด้วย คือ ด้านใต้พื้น ทางเดินถูกเสริมสร้างไม้ประกอบกันคล้ายเป็น กิ่งไม้บนต้นไม้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของนก ส่วน เสาด้านล่างที่ติดตั้งอยู่กับพื้นน้ำ�

การเจือจางน้ำ�และลดสารปนเปื้อนน้ำ� รากของป่าโกงกางจำ�นวนมาบวกกับบ่อทรง ฟองน้ำ�หลายบ่อทำ�หน้าที่ในการดูดซับสารปนเปื้อน ในน้ำ� ก่อนไหลเข้าสู่หมู่บ้าน น้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงในปริมาณปานกลาง-มากเป็นการทำ� หน้าที่เจือจางน้ำ�วิธีธรรมชาติ โดยใช้หลักการน้ำ�ดี ไล่น้ำ�เสีย ที่อยู่อาศัยของนก เนื่องจากมีนกที่ไม่เป็นมิตรต่อประชากรในหมู่บ้าน ทำ�ให้เกิดเกาะที่อยู่อาศัยของนกและเพิ่มเส้นทางการ ใช้ชีวิตของนกใหม่ขึ้นอีกเส้นทางหนึ่งสำ�หรับนกที่ไม่ เป็นมิตรโดนเฉพาะ

พื้นที่รองในการทำ�การประมง บ่อน้ำ�ทรงฟองน้ำ�เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ�มีพืชชายน้ำ� และโกงกางช่วยทำ�ให้ระบบนิเวศสมบูรณ์มาก ขึ้นเพื่อทำ�หน้าที่เป็นอนุบาลสัตว์น้ำ� บ่อน้ำ�นี้ เชื่อมต่อกันโดยด้านใต้ดินสามารถควบคุม ทรัพย์ยากรสัตว์น้ำ�ได้จากผลกระทบของน้ำ�ขึ้น น้ำ�ลง

พื้นที่หลักในการทำ�การประมง เปลี่ยนจากการทำ�ประมงเชิงเดี่ยวที่ทำ�ให้ เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศมาเป็นการทำ� ประมงในพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางระบบ นิเวศ เปลี่ยนพื้นที่ที่มีเจ้าของผูกขาดเป็น พื้นที่ทำ�การประมงส่วนรวม พื้นที่ทำ�การ ประมงนี้เป็นส่วนสำ�คัญในการค้าขายของ ชาวบ้านเพราะถือเป็นอาชีพหลักของชาว บ้าน

67


68

69


่บ้านสาขลา “ หมูล้อมรอบด้ วย พื้นที่สีเขียว และน้ำ�

ด้านล่างของหมู่บ้านมีพื้นที่การ และมีพื้นที่สีเขียวของป่าชายเลนเพราะรากของ

ป่าชายเลนช่วยชะลอตะกอนดิน ที่จะเข้าไปภายในหมู่บ้าน

เส้นทางน้ำ�จาก คลองสรรพสามิต ถูกเปลี่ยนเป็นคลองไส้ไก่

ใหญ่ๆสามที่ และ รอบๆหมู่บ้านมี

บ่อน้ำ�ทรงฟองน้ำ� กระจายอยู่มากมาย

ส่วนพื้นที่บริการคือ บางแห่งของเกาะที่มี เส้นทางการไหลของน้ำ� จากหมู่บ้านลงไปสู่ด้านล่าง

เพื่อชะลอน้ำ� พื้นที่ด้านบนรวมถึงด้านข้างเป็น

70

ทำ�ประมง

พื้นที่สีเขียว สำ�หรับเป็น ที่อยู่อาศัย ของนกและสัตว์ต่างๆ

พื้นที่ดักขยะ

จะมี จากหมู่บ้าน

71


DEMOLISH PLAN

ระหว่างเปลี่ยนแปลง

แบบใหม่

มีการจัดกลุ่มบ้านใหม่ เเละ มีการเพิ่มเรือนซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนถ่ายระดับ เเละทางเดิน 100 ปี และ 10 ปีที่ปรากฎในแปลน

แบบเก่า

บ้านมีความแออัดไม่เป็นระเบียบ ทางเดินไม่ชัดเจน เส้นทางวัดและการจัดวางไม่เรียบร้อย

72

73


74

75


MASTER PLAN ทางเข้าหลักกลายเป็นเส้นทางด้านหน้าหมู่บ้าน ทางเข้าหลักนี้ถนนถูกหยุดไว้ก่อนข้ามคลองเข้าไปในหมู่บ้าน มีพื้นที่จอดรถเปลี่ยนระดับป้องกันการน้ำ�ท่วมเชื่อมไปยังเรือนท่า เปลี่ยนการคมนาคมทางบกเป็นทางน้ำ� นอกจากการเดินทางโดยเรือสามารถเลือกเส้นทางการเดินเท้าด้วยสะพานข้ามไปยังเรือนสินค้า เมื่อการเดินทางโดยเรือถูกนำ�กลับมาให้เป็นการคมนาคมทางหลัก จึงมีท่าเรือขนาดกลางตามแต่ละพื้นที่ที่ทำ�ให้ชาวบ้านสะดวกต่อการเดินทาง มีท่าเรือขนาดเล็กที่ยื่นออกมาจาก ทางเดินสิบปี และบ้านที่ติดริมน้ำ�นั้นมีท่าเรือส่วนตัวเป็นของตัวเองภายหน้าบ้านอยู่แล้ว เส้นทางการเดินทางหากแบ่งตามผู้ใช้งานสามารถเป็นสองเส้นทางคือ สำ�หรับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในหมู่บ้าน เส้นทางสำ�หรับนักท่องเที่ยวได้แก่ เรือนท่า – เรือนสินค้า – เรือนสต๊าฟ – เรือนป่า – เรือนนก ส่วนเส้นทางของชาวบ้านไปได้ทั่วทั้งหมู่บ้าน มีเส้นทางหลักคือ เรือนสินค้า – เรือนสาขลา – เรือนอู่ – เรือนประมง เรือนสินค้าตั้งถัดมากจากเรือนท่าโดยการข้ามคลองเส้นหนึ่ง เรือนสินค้าเป็นพื้นที่เกี่ยวกับค้าขาย สะพานข้ามคลองจากเรือนท่าเชื่อมผ่านมายังเรือนสินค้าส่งต่อไปยังสะพานสา ขลาที่แยกออกเป็นสองทาง ทางหนึ่งเชื่อมต่อไปถึงวัดสาขลาอีกทางเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านสาขลา สะพานสาขลาเป็นสะพานเปลี่ยนระดับทางลาด มีด้านหนึ่งสูงกว่าอีกด้านหนึ่งเพื่อการชมทิวทัศน์สองด้านแบบต่างระดับของการใช้ชีวิตกับน้ำ�ของชาวบ้านสาขลาเด่นชัดขึ้น มี จุดรวมระดับทั้งสองก่อนที่จะแยกเป็นสองเส้นทาง วัดสาขลามีพื้นที่ด้านหน้าเป็นสวน ลานทราย และลานเปลือกหอย ลานพวกนี้ช่วยทำ�ให้พระปรางค์เอียงซึ่งเป็นอัตลักษณ์ ถัดจากวัดคือโรงเรียนสาขลา มีสวนธรรมะใกล้กับท่าน้ำ�ที่ สามารถประกอบกิจกรรมทางศาสนา ต่อไปคือสนามเด็กเล่นและสนามกีฬาที่ถูกย้ายเข้ามาให้ใกล้ชุมชนมากขึ้น ท่าเรือหลักถูกนำ�กลับมาใช้ ด้านหลังที่เป็นพื้นที่โล่งถูกจัดเป็นพื้นที่ คัดแยกขยะของหมู่บ้าน ส่วนเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่อยู่หลังวัดถูกเปลี่ยนเป็นเส้นทางสำ�หรับบริการ เรือนท่าเป็นเรือนสำ�คัญเรือนหนึ่งเพราะเป็นเรือนเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมจากทางบกไปเป็นทางน้ำ� อีกทั้งยังทำ�หน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้านสาขลาอีกด้วย เรือนสินค้าติดริมน้ำ�หันหน้าไปทางหมู่บ้านทำ�ให้สามารถเห็นทิวทัศน์การใช้ชีวิตของคนในหมู่บ้าน เรือนสาขลา เป็นพื้นที่สำ�หรับพูดคุยแลกเปลี่ยนและป็นศูนย์รวมของชา

76

77


DETAIL CLUSTER เดิมทีการจัดวางบ้านแต่ละหลังคาเรือนมีพื้นที่ว่างสำ�หรับพื้นที่สีเขียวแต่เมื่อแต่ละหลังคาเรือนต้องการสร้างต่อเติมบ้านสำ�หรับลูกหลาน ทำ�ให้บริเวณชุมชนกลายเป็นพื้นที่แออัด เนื่องจากพื้นที่ว่างสำ�หรับพื้นที่สีเขียวถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่บ้าน ชุมชนแออัดนี้ทำ�ให้แสงแดดเข้าไม่ถึง ลมถ่ายเทไม่สะดวก ทางเดินภายในหมู่บ้านเป็นทางเดินโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางเดินนี้ผุพังไปตามกาลเวลาทำ�ให้ต้องสร้างทางเดิน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทับลงไปลดความแออัดลงโดยการกระจายครัวเรือนแต่ละหลังไปบริเวณที่มีพื้นที่ว่าง โดยเว้นพื้นที่ว่างระหว่าง ครัวเรือนแต่ละหลัง เพื่อสร้างอากาศถ่ายเทสะดวกและทำ�ให้แสงแดดเข้าถึงได้โดยง่าย มีการเปลี่ยนทางเดินคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นโครงสร้าง ไม้มีชานยื่นสำ�หรับหลบหลีกการจราจร และถ้าชานนี้อยู่ใกล้ริมน้ำ�สามารถเป็นท่าเรือขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้นและ เพิ่มชานไม้เพื่อเป็นพื้นที่พบปะพูดคุยของชาวบ้านในหมู่บ้าน

ภาพประกอบ PERSPECTIVE แสดงการวางบ้านภายใน หมู่บ้านที่ประกอบด้วย บ้าน - ทางเดิน - ชานไม้ เเละการจัดพื้นที่ใหม่ ทำ�ให้เกิดพื้นที่สีเขียวมากยิ่งขึ้น ในพื้นที่สีเขียวยังก่อให้เกิดการปลูกพืชไว้บริโภคเองใน อนาคตอีกด้วย

78

79


DETAIL SAKLA TEMPLE วัดเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เดิมเป็นศูนย์รวมจิตใจและสถานที่พักผ่อนของชาวบ้าน แต่พอมีการพัฒนาของวัดนั้นเกิดการใช้พื้นที่ผิด ประเภทและทำ�ให้อัตลักษณ์เด่นของสาขลาอย่างเช่นพระปรางค์ไม่ใช่จุดเด่นอีกต่อไป การใช้พื้นที่ผิดประเภททำ�ให้ชาวบ้านสามารถใช้ เป็นพื้นที่รวมตัวหรือผักผ่อนได้น้อยลง และทำ�ให้กิจกรรมทางศาสนาหรือประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาลดลงจนหายไปเพราะ ไม่มีพื้นที่ทำ�กิจกรรมประเพณี ท่าเรือใหญ่บริเวณหน้าวัดถูกใช้น้อยลงจนกลายเป็นท่าเรือที่ไม่ได้รับการดูแล มีการย้ายศาลาทำ�พิธีและเมรุเข้าไปด้านหลังอุโบสถ์ใกล้กับเรือนกุฏิแทนที่สวนพักผ่อนที่ชาวบ้านไม่ค่อยได้เข้าไปใช้บริการ จากนั้นจึง เปลี่ยนพื้นที่บริเวณเดิมและบริเวณลานกว้างโดยรอบนั้นให้เป็นสวน ลานทรายและและลานเปลือกหอยเพื่อกิจกรรมทางศาสนา และ ยังเป็นการเพิ่มจุดเด่นให้พระปรางค์อีกด้วย ส่วนสวนนั้นถูกปรับปรุงเป็นสวนธรรมมะและย้ายมาอยู่บริเวณติดริมน้ำ�ข้างพิพิธภัณฑ์ สาขลา ท่าเรือหน้าวัดถูกขยายให้ยาวขึ้นเพื่อรองรับคนมากขึ้น ท่าเรือถูกแบ่งส่วนเป็นบริเวณเปลี่ยนถ่ายคนและบริเวณจอดเรือ

สรุป มีการจัดพื้นที่ในวัดให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เเละมีความสวยงามมากขึน เพื่อให้สิ่งที่เป็นจุดเด่ยของสาขลา น่าสนใจเเละเด่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วย ใหิคนทั้งในและนอกหมูบ้านเข้าไปใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า

80

81


DETAIL RUAN STAFF

เรือนท่าเป็นเรือนแรกสุดที่พบของหมู่บ้าน สาขลา เปรียบเหมือนประตูสู่สาขลา เรือน ท่าเป็นเรือนที่เชื่อมต่อลานจอดรถและท่าเรือ เข้าหมู่บ้านไว้ด้วยกัน ซึ่งรถจะสามารถเข้า มาได้ถึงเพียงที่จอดรถ หมู่บ้านสาขลา เเละเปลี่ยนถ่ายเป็นการนั่งเรือ อีกทั้งยัง เป็นเรือนประชาสัมพันธ์อีกด้วย ผู้คนที่เข้า มาสามารถมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสา ขลาได้ที่เรือนท่า

เดิมในหมู่บ้านมีบ้านสต๊าฟเป็นที่ให้ความรู้เรื่อง สัตว์สต๊าฟ แต่เป็นเพียงบ้านที่ถูกเปลี่ยนเป็น พื้นที่เก็บสัตว์สต๊าฟต่างๆ และบ้านหลังนี้ไม่มี พื้นที่สำ�หรับการทำ�สัตว์สต๊าฟ วิธีการทำ�สต๊าฟ คือการเปลี่ยนบ้านอีกหลังเป็นพื้นที่ทำ�สัตว์ สต๊าฟ ซึ่งบ้านสต๊าฟและบ้านทำ�สัตว์สต๊าฟนั้น อยู่ไกลกันมาก การสร้างเรือนสต๊าฟขึ้นมานี้ เพื่อทำ�ให้เป็นพื้นที่ บริเวณให้ความรู้สำ�หรับทั้งคนในหมู่บ้านและ คนนอกหมู่บ้าน โดยเฉพาะเด็กๆ เรือนสต๊าฟ นี้มีพื้นที่แสดงสัตว์สต๊าฟและพื้นที่การทำ�สัตว์ สต๊าฟ พื้นที่บริเวณนี้ยังมีห้องสมุดให้ความรู้ และ ชานอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ

82

DETAIL RUAN THA

83


เรือนสินค้าถือเป็นศูนย์รวมของการค้าขาย ทั้งการค้าขายภายใน หมู่บ้านระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง และภายนอกหมู่บ้านระหว่าง ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณรอบเรือนคือชานต่างระดับ สำ�หรับพื้นที่ตลาด และบ้านโดยรอบหรือใกล้เรือนสินค้าส่วนมาก จะเป็นบ้านที่เปิดเป็นร้านค้า

84

DETAIL RUAN SIN KHA

85


DETAIL RUAN SAKLA เดิมในหมู่บ้านมีบ้านสต๊าฟเป็นที่ให้ความรู้เรื่องสัตว์สต๊าฟ แต่เป็นเพียงบ้านที่ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ เก็บสัตว์สต๊าฟต่างๆ และบ้านหลังนี้ไม่มีพื้นที่สำ�หรับการทำ�สัตว์สต๊าฟ วิธีการทำ�สต๊าฟคือการ เปลี่ยนบ้านอีกหลังเป็นพื้นที่ทำ�สัตว์สต๊าฟ ซึ่งบ้านสต๊าฟและบ้านทำ�สัตว์สต๊าฟนั้นอยู่ไกลกันมาก การสร้างเรือนสต๊าฟขึ้นมานี้ เพื่อทำ�ให้เป็นพื้นที่บริเวณให้ความรู้สำ�หรับทั้งคนในหมู่บ้านและ คนนอกหมู่บ้าน โดยเฉพาะเด็กๆ เรือนสต๊าฟนี้มีพื้นที่แสดงสัตว์สต๊าฟและพื้นที่การทำ�สัตว์สต๊าฟ พื้นที่บริเวณนี้ยังมีห้องสมุดให้ความรู้และ ชานอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ

86

87


เรือนป่าและเรือนกเป็นหนึ่งในเส้นทางการเดินทางของนักท่อง เที่ยว ด้านในเรือนป่าเป็นพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน พื้นที่ สีเขียวภายในหมู่บ้านและพื้นที่ชายน้ำ� มีทางเดินที่เชื่อมเปลี่ยน ระดับเพื่อชมธรรมชาติของป่าชายเลน ทางเชื่อมนี้เชื่อมต่อไปยัง เรือนนก เช่นเดียวกับเรือนนกมีพื้นที่ภายในเรือนเป็นพื้นที่ให้ความ รู้เกี่ยวกับนกที่อาศัยอยู่ในหมู่และรอหมู่บ้านสาขลา

DETAIL DETAIL RUAN RUAN NOK NOK -- RUAN RUAN PHA PHA

มีทางเดินเปลี่ยนระดับไม่ยาวมากนักยื่นไปในทิศทางของเกาะที่ เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด นอกจากนี้โครงสร้างของทาง เดินเชื่อมเปลี่ยนระดับบริเวณ ด้านใต้ทางเดินมีการเสริมให้เป็นที่ อยู่อาศัยของนก และเสาทางเดินติดตั้งอยู่กับดินของป่าชายเลน นั้นมีการเสริมโครงสร้างให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ�

88

89


DETAIL RUAN AUU แต่เดิมทีหมู่บ้านสาขลาใช้การเดินทางทางน้ำ�เป็นหลัก แต่ไม่มีหลักแหล่งของการ ซ่อมบำ�รุงเรือหรือเติมแก๊ส วิธีการซ่อมบำ�รุงเรือและเติมแก๊สคือการโทรเรียกช่าง ซ่อมมาที่บ้าน การมีเรือนอู่เพื่อเป็นพื้นที่ศูนย์รวมการซ่อมบำ�รุงเรือเป็นหลักแหล่งนั้นเพื่อความ สะดวกสบายต่อช่างซ่อมและชาวบ้านที่ไม่มีความรู้เรื่องเรือ นอกจากนี้ยังเป็น พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรือ

90

91


DETAIL PRAMONG แต่เดิมทีการทำ�ประมงของชาวบ้านสาขลา เป็นการทำ�ประมงแบบแบ่งแยกพื้นที่การ ทำ�ประมงเป็นของตัวเอง การดูแลพื้นที่จึง เป็นการดูแลพื้นที่การทำ�ประมงของตัวเอง เท่านั้น ทำ�ให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อระบบ นิเวศรอบนอกหมู่บ้าน และขั้นตอนวิธีการทำ� ผลิตภัณฑ์แปรรูปนั้น ครัวเรือนแต่ละครัวเรือน นั้นแยกกันทำ�และต่างคนต่างขาย เมื่อพื้นที่การทำ�ประมงเปลี่ยนเป็นพื้นที่ใช้ ร่วมกันแล้ว พื้นที่การทำ�ผลิตภัณฑ์แปรรูปจึง กลายเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันเช่นกัน เรือนประมง เป็นอีกเรือนที่มีความสำ�คัญต่อหมู่บ้านเป็น อย่างมากเพราะหมู่บ้านสาขลาเน้นการทำ� ประมง ค้าขายสัตว์น้ำ�และผลิตภัณฑ์แปรรูป เรือนประมงนี้มีพื้นจอดเรือและพื้นที่กว้าง สำ�หรับการคัดเลือกสัตว์น้ำ� มีพื้นที่สำ�หรับ การทำ�ผลิตภัณฑ์แปรรูปขึ้นชื่อของชาวสาขลา และมีโรงบำ�บัดน้ำ�เสียขนาดเล็กที่เกิดจากการ แปรรูปผลิตภัณฑ์

92

93


DETAIL SAKLA BRIDGE สะพานข้ามน้ำ�นี้เชื่อมต่อตั้งแต่บริเวณเรือนสินค้าไปยังบริเวณวัดสาขลา โดยมีทางเดินไม้น้ำ�ไปสู่สะพานสาขลา สะพานทางเข้าสาขลานี้เป็นตัวดึง ดูดสายตาไปสู่วัดสาขลา ซึ่งมองไปเห็นพระปรางค์เอียง สะพานทางเข้าสาขลามีการเปลี่ยนระดับทางเป็นทางลาดเพื่อเปิดมุมมอง ให้เห็นทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ยาวตลอดเรียบเส้นทางน้ำ� เเละ มุมมองการ มองวัดสาขลาหลากหลายมุมมอง อีกทั้งยังเป็นตัวชี้ที่ทำ�ให้เห็นระดับน้ำ� ขึ้น-ลงของชุมชนบ้านสาขลาอีกด้วย

94

95


96

97


SCHEMATIC &BUBBLE DIAGRAM ทางเข้าของชุมชน มี

“แกนนำ�สายตาไปยังวัด

ที่เป็นจุดเด่นของสาขลา และเชื่อมโยงไปที่ Commercial Zone ซึ่งทางเข้าทำ�ให้ทุกส่วนในชุมชน เชื่อมต่อกันมากขึ้น ทั้งชุมชนด้านหน้า วัด และชุมชนด้านใน โดยด้านทิศเหนือของชุมชนจะเป็นพื้นที่ป่าชายเลนและ Habitat เนื่องจากเป็นพื้นที่กรองและลดน้ำ�เสียก่อนเข้าถึงพื้นที่ ในขณะที่ด้านใต้เป็นส่วนของการประมง ทั้งหลักและรอง ซึ่งเป้นอิทธิพลจากการหนุนขึ้นของน้ำ�ทะเลที่จะทำ�ให้ พื้นที่ส่วนนี้มีความเค็มมากกว่า และเอื้อต่อการเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ�มากกว่า

98

99


CIRCULATION & NODE ทางสัญจร มีทั้งหมด 3 รูปแบบ

- ทางเดินที่รองรับน้ำ�ท่วมสูงสุดในรอบ 100 ปี (ทางเดิน100ปี) - ทางเดินที่รองรับน้ำ�ท่วมสูงสุดในรอบ 10 ปี (ทางเดิน10ปี) - ทางเรือ

ทางเดิน100ปี ทางเดิน 10 ปี

จะเป็นทางเดินที่เชื่อมต่อบ้านเรือนแต่ละหลังในชุมชน เชื่อมต่อพื้นที่เปิด เชื่อมต่อท่าเรือ และเชื่อมต่อเข้ากับเรือนต่างๆ

จะเชื่อมต่อเรือนต่างๆในชุมชน ที่เป็นศูนย์รวมของแต่ละโซนของชุมชน และแบ่งเส้นทาง Public – Semi Public ของชุมชน โดยจะเปลี่ยนระดับของทางเดินที่เรือน ต่างๆ

การสัญจรทางเรือ 100

ที่จะทำ�การสัญจรและการขนส่งภายในชุมชนสะดวกขึ้น เข้าถึงทุกโซนของชุมชนในทางน้ำ� มีบางจุดเปลี่ยนถ่ายระดับของการสัญจรที่เรือนและท่าเรือ

101


MATERIAL CHOICE ไม้

ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยั่งยืน ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อวัสดุผุพังไปตามกาลเวลา ต้องเกิดการซ่อมแซม ไม้เป็นตัวเลือกหนึ่งเพราะเป็นวัสดุที่ซ่อมง่าย เปลี่ยนใหม่ได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากการใช้ไม้ในการสร้างเรือนสมัยก่อนของคนไทยเพราะง่ายต่อการซ่อมแซมและเปลี่ยนใหม่

ทราย

ทรายถูกใช้กับพื้นที่บริเวณลานหน้าวัดเพื่อสร้างพื้นที่โล่งและเพิ่มจุดเด่นให้พระปรางค์ และยังเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพราะเดิมทีลานประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาสมัยก่อนเป็นลานทราย ง่ายต่อการจัดงานและการเก็บงาน

เปลือกหอย

เปลือกหอยเป็นวัสดุท้องถิ่นที่ถูกนำ�มาใช้ในบริเวณลานหน้าวัดเพื่อกั้นพื้นที่หรือบอก เส้นทางการเดินบางส่วน เพราะเปลือกหอยเป็นวัสดุหาได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเป็นวัสดุที่มีความสวยงามอีกด้วย

102

103


การเลือกพืชพรรณมาใช้ในโครงการคำ�นึงถึง หลายๆด้าน ทั้งความเหมาะสมกับพืนที่ บริบท และความสวยงาม โดยที่ใช้พืชใน 3 หมวดคือ พืช พรรณในป่าชายเลน พืชท้องถิ่นอื่นๆที่นอกเหนือ จากพืชในหมวดหมู่

พืชในป่าชายเลน และพืชคลุมดินทนเค็ม

ป่าชายเลนประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด เรา สามารถพบเห็นได้ทั้งไม้ยืนต้น พืชกาฝาก เถาวัลย์ และสาหร่าย พรรณไม้ในป่าชายเลนเกือบทั้งหมด เป็นไม้ไม่พลัดใบ และพืชเหล่านี้มีความทนทานต่อ สภาพความเค็มได้ดี ประเทศไทยมีพรรณไม้ในป่าชายเลน 74 ชนิด ซึ่ง พรรณไม้ที่เด่นและเป็นไม้ที่สำ�คัญในป่าชายของไทย นั้น ได้แก่ โกงกาง แสม โปรง ถั่ว ลำ�พู ลำ�แพน และ ตะบูน เป็นต้น พรรณไม้เหล่านี้มีความสำ�คัญอย่าง ยิ่งต่อสมดุลของระบบนิเวศป่าชายเลน เอกลักษณ์ของป่าชายเลนที่ทำ�ให้แตกต่างจากป่าบก อย่างชัดเจน คือ การแพร่กระจายของพืชพรรณที่มี ลักษณะแบ่งออกเป็นแนวเขต (zonation)โดยพรรณ ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเขตหรือเป็นโซน ค่อนข้าง แน่นอน

104

การแบ่งเขตของพรรณไม้ (species zonation) ในป่าชายเลน • โซนแรก เป็นพวก ไม้ลำ�แพน แสมขาว โกงกางใบเล็ก เล็บมือนาง แสมดำ� และ โกงกางใบใหญ่ • โซนที่สอง เป็นพวก โกงกางใบเล็ก เล็บมือนาง แสมดำ� และโกงกางใบใหญ่ • โซนที่สาม เป็นพวก โกงกางใบเล็ก แสมขาว ตะบูนดำ� ตะบูนขาว และโกงกาง ใบใหญ่ • โซนที่สี่ เป็นพวก โกงกางใบเล็ก แสมดำ� แสมขาว ตะบูนดำ� ตะบูนขาว ถั่วขาว พังกาหัวสุม และโปรงขาว

105


106

107


CONCLUSION

หลังจากทื่วางแผนโครงการให้เป็นโครงการเชิงนิเวศ ภายใต้กรอบการทำ�งานด้านประมง – การจัดการน้ำ� – การพักผ่อนหย่อนใจ ได้มีการแก้ปัญหาและพัฒนาเกิดขึ้นในหลายๆจุด

“ด้านการประมง”

ปรับเปลี่ยนวิถีที่เป็นอยู่ของชุมชน จากการทำ�ประมงในพื้นที่ของตัวเอง วังกุ้งที่กักเก็บสัตว์น้ำ�จากทะเล และสัตว์น้ำ�ที่ต้องไปซื้อตัวอ่อนมาเพื่อนำ�มาเลี้ยง ก่อนที่จะเก็บขายทั้งหมด เมื่อถึงฤกาลใหม่ต้องไปหาซื้อมาใหม่ วนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นการผืนน้ำ�ร่วมกัน ไม่มีการกำ�หนดพื้นที่อย่างตายตัว ซึ่งเหมือนกับการทำ�ประมงในรูปแบบดั้งเดิม ชาวบ้านออกไปจับปลาในทะเลหรือแม่น้ำ� ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึง ผนวกกับพื้นที่ในการประมงเปลี่ยน จากการเลี้ยงสัตว์แบบเดี่ยวๆ วังกุ้งเลี้ยงกุ้ง วังหอยเลี้ยงหอย เป็นการอยู่ร่วมกันของสัตว์ต่างๆ ให้พืช, สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตได้เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ใช้ชีวิตร่วมกันในระบบนิเวศอย่างอิสระ มีการควบคุมการประมงให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ และพัฒนาสืบต่อไปเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

“ด้านการจัดการน้ำ�”

ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ�มีสองหัวข้อที่เห็นได้ชัด คือปัญหาน้ำ�เสียและปัญหาการขึ้นลงของน้ำ�ที่มีความแตกต่างกันมากเกินไป ซึ่งปัญหาน้ำ�เสียถูกเจือจางด้วย แนวคิดของน้ำ�ดีไล่น้ำ�เสีย และการดักตะกอนด้วยป่าชายเลน ที่นำ�มาใช้ในบริเวณป่าชายเลนและ Sponge wetland โดยที่ไม่ใช่แค่ขยายป่าชายเลน แต่ต้องเพิ่มพื้นที่ชายน้ำ� และเพิ่มเส้นขอบน้ำ�ด้วย ซึ่งการเพิ่มเส้นขอบน้ำ�ทำ�ได้ด้วยการเพิ่มลำ�น้ำ� จึงส่งผลไปยังปัญหาที่มีน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงที่แตกต่าง กันมากเกินไป ที่น้ำ�จะถูกผันออกมากขึ้นจากสาขาของน้ำ�ที่เพิ่มขึ้นมา และเพิ่มพื้นที่ในการไหลของน้ำ�อีกด้วย

“ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ”

เพื่อประสิทธิภาพในการพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน เราไม่ได้สร้างพื้นที่พักผ่อนเป็นจุดๆ แต่เราสร้างชุมชนให้สามารถรู้สึกผ่อนคลายได้ในทุกๆพื้นที่ เริ่มจากการจัดระเบียบชุมชน คลี่คลายพื้นที่ที่มีความแออัดของหลังคาเรือนที่มากเกินไปให้เกิดพื้นที่เปิดโล่ง เพิ่มโอกาสในการเกิดพื้นที่สีเขียวที่แทรก ตัวอยู่ในชุมชน เกิดการอยู่ร่วมกันของชาวบ้านและธรรมชาติ ถัดมาคือความสัมพันธ์ของคนในชุมชนถูกกระชับให้แน่นแฟ้นขึ้น จากส่วนเล็กๆคือในแต่ละ กลุ่มของหลังคาเรือนจะมีชานไม้ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานพื้นที่ สู่ส่วนใหญ่ๆคือเรือนที่ชาวบ้านสามารถไปทำ�กิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีความยืดหยุ่นในการใช้งานในวงกว้าง และมีฟังก์ชันหลักที่เหมาะสมกับพื้นที่

108

ทั้งหมดนี้คือบทสรุปของผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ โดยที่ในฐานะภูมิสถาปัตย์เราเองก็มีเพียงบทบาทส่วนหนึ่งในการฟื้นคืนระบบนิเวศน์ที่ดี

109


สาขลาในอนาคต ชุมชน มีประมาณ500-600หลังคาเรือน น้ำ�ที่ดี จากการกรองของป่าชายเลน การตกตะกอน ตามทฤษฎีน้ำ�ดีไล่น้ำ�เสีย พื้นที่สีเขียว เริ่มจากป่าชายเลนและพืชชายน้ำ� การกระจายพันธุ์ เริ่มจากแมลงต่างๆที่ช่วยกระจายพันธุ์ออกไป พื้นที่ชายน้ำ� เตรียมพื้นที่สำ�หรับพืชชายน้ำ� พื้นที่สำ�หรับการประมง หลัก เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ�ในท้องถิ่น รอง เตรียมพร้อมสำ�หรับการเป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำ� เส้นทางของนก จากถิ่นอาศัยฝั่งหนึ่งสู่อีกฝั่ง ผ่านชุมชนบ้าง ผ่านป่าชายเลนบ้าง

110

111


สาขลาในอนาคต ชุมชน ค่อยๆขยายตัวออกในพื้นที่ที่รองรับ น้ำ�ที่ดีขึ้น จากการกรองของป่าชายเลนที่กระจายตัวเพิ่มขึ้น พื้นที่สีเขียว เพิ่มขึ้นจากการกระจายพันธุ์ และแผ่ออกตามพื้นที่ชายน้ำ�ตามแนวลำ�น้ำ� การกระจายพันธุ์ ยังคงกระจายพันธุ์ต่อออกไป พื้นที่ชายน้ำ� แผ่ออกตามแนวลำ�น้ำ� และเป็นแหล่งอาศัยรวมถึงอนุบาลของสัตว์น้ำ� พื้นที่สำ�หรับการประมง หลัก มีชนิดของสัตว์น้ำ�เพิ่มขึ้นจากน้ำ�ทะเล ซึ่งมาจากในช่วงน้ำ�ทะเลหนุน รอง เป็นพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำ� เส้นทางของนก นอกจากนกในพื้นที่แล้วยังมีนกอพยพที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่เป็นครั้งคราว

112

113


สาขลาในอนาคต ชุมชน ขยายตัวขึ้นจากเดิมประมาณ 100-150 หลังคาเรือน น้ำ�ที่ดีขึ้น จากการกรองของป่าชายเลนที่ยังคงกระจายตัวเพิ่มขึ้น พื้นที่สีเขียว เพิ่มขึ้นจากการกระจายพันธุ์ และแผ่ออกตามพื้นที่ชายน้ำ�ตามแนวลำ�น้ำ� การกระจายพันธุ์ ยังคงกระจายพันธุ์ต่อออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่โดยรอบ พื้นที่ชายน้ำ� แผ่ออกตามแนวลำ�น้ำ� และเป็นแหล่งอาศัยรวมถึงอนุบาลของสัตว์น้ำ� พื้นที่สำ�หรับการประมง หลัก มีความสมบูรณ์ด้านนิเวศน์ของระบบนิเวศน์ในน้ำ� ทั้งพืชน้ำ� พืชชายน้ำ� และสัตว์น้ำ� รอง มีความสมบูรณ์เช่นเดียวกับพื้นที่การประมงหลัก เส้นทางของนก มีทั้งนกในพื้นที่ นกอพยพ และเมื่อพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อกัน ทำ�ให้เพิ่มเส้นทางของสัญจรของนกมากขึ้น

114

115


116

117


118

119


120


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.