TBANK: Annual Report 2014

Page 1

POWER OF SUCCESS รายงานประจ� ำปี 2557

ธนาคารธนชาต จ� ำ กั ด (มหาชน)


สารบัญ 002 010 014 016 030 049 061 074 084 086 087 094 115 122 125 126 128 129 272 286

ข้ อ มู ล ทางการเงินที่ส� ำคัญ สารจากคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการ ธนาคารธนชาต จ� ำกัด (มหาชน) ค� ำอธิ บ ายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ลั ก ษณะการประกอบธุรกิจ ปั จ จั ย ความเสี่ยง ความรั บ ผิ ดชอบต่อสังคม การก�ำกั บ ดูแลกิจการ การควบคุ มภายในและการบริหารจัดการความเสี่ ย ง รายงานจากคณะกรรมการสรรหาและก� ำ หนดค่ า ตอบแทน โครงสร้ า งการก� ำ กับดูแลและการบริหารจัดการ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ข้ อ มู ล ทั่ ว ไป ผู ้ ถื อ หุ ้ น และนโยบายการจ่ายเงินปันผล รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่ อ รายงานทางการเงิ น รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบการเงิ น และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ท� ำ เนี ย บเครือข่ายบริการ สรุ ป ต� ำ แหน่งของรายการที่ก� ำ หนดตามแบบ 56-2 ในรายงานประจ� ำปี 2557

“ผู ้ ล งทุ น สามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรั พ ย์ เ พิ่ ม เติ ม ได้ จ ากแบบแสดงรายการข้ อ มู ล ประจ� ำ ปี (แบบ 56-1) ของธนาคารที่ แ สดงไว้ใน www.sec.or.th หรือเว็บไซต์ ข องธนาคาร www.thanachartbank.co.th”


ความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ 4 ประการ ในการด�ำเนินธุรกิจ ปี 2558

1. เรามุ่งมั่นจะเสนอผลิตภัณฑ์เงินออมและการลงทุนด้วยแนวคิดใหม่ ๆ และคุณภาพบริการที่เป็นเลิศ ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ และรักษาลูกค้าเดิมไว้ 2. เรามุ่งมั่นจะเสนอและแนะน�ำผลิตภัณฑ์คุ้มครองภัยและความเสี่ยงในทรัพย์สิน ชีวิต และธุรกิจ ที่เหมาะสมแก่ลูกค้าแต่ละประเภท แต่ละราย เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ทางการเงินที่เพิ่มขึ้น 3. เรามุง่ มัน่ จะเสนอผลิตภัณฑ์สนิ เชือ่ และเงินกูย้ มื ทีเ่ หมาะพอดี ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุม่ แต่ละประเภท ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ทางการเงินและทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น 4. เรามุง่ มัน่ จะอ�ำนวยความสะดวกให้ลกู ค้าสามารถท�ำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผ่านธนาคารได้โดยง่าย ทุกที่ ทุกเวลา และทุกวิธกี าร ตามแต่ที่ลูกค้าต้องการผ่านระบบเทคโนโลยีที่ดี ปลอดภัย และทันสมัยที่สุด

วิสัยทัศน์กลุ่มธนชาต เป็นสถาบันการเงินทีด่ ที สี่ ดุ ในการให้บริการทางการเงินทีค่ รบและครอบคลุม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ด้วยบริการและค�ำแนะน�ำที่เป็นเลิศ


ข้อมูลทางการเงินที่ส� ำคัญ ณ วันที่ หรือส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

2557

งบการเงินรวม 2556 2555

2554

2553

2557

งบการเงินเฉพาะธนาคาร 2556 2555 2554

2553

ผลการด�ำเนินงาน (ล้านบาท) 52,445 24,884 27,561 11,750 39,311 19,515

53,879 27,290 26,589 24,948 51,537 20,408

48,736 25,556 23,180 12,098 35,277 21,660

44,052 19,636 24,416 9,465 33,881 20,747

34,781 11,566 23,216 8,695 31,911 16,062

49,102 23,920 25,182 8,643 33,825 17,029

50,542 26,489 24,053 22,079 46,132 17,692

46,331 25,371 20,959 10,902 31,861 19,522

29,386 14,797 14,589 6,454 21,042 12,953

21,397 7,375 14,022 3,322 17,344 8,053

7,122 9,922

11,497 15,385

2,980 8,354

2,504 7,671

2,149 8,777

7,181 7,918

11,110 14,113

4,680 6,855

1,422 6,668

1,280 5,719

1.80

2.79

1.52

1.39

1.92

1.44

2.56

1.24

1.21

1.25

0.98

1.51

0.90

0.89

1.23

0.82

1.46

0.78

1.13

1.31

9.92

16.99

10.72

10.61

15.52

8.60

16.91

9.55

9.42

10.70

2.68

2.62

2.48

2.92

3.33

2.61

2.55

2.58

2.99

3.63

49.64

39.60

61.40

61.24

50.33

50.34

38.35

61.27

61.56

46.43

754,370 790,017 754,063 1,008,890 1,038,349 1,018,620 787,189 811,308 776,521 902,726 941,109 934,435 104,977 96,218 83,330

635,220 886,060 690,336 810,526 74,848

606,851 873,203 707,605 800,809 72,183

714,436 967,216 773,578 871,614 95,602

750,494 990,724 799,186 901,572 89,152

723,023 953,209 769,677 875,708 77,501

616,713 878,053 729,121 807,169 70,884

326,549 482,063 374,883 415,327 66,737

รายได้ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รายได้รวม(1) ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ   และขาดทุนจากการด้อยค่า(2) ก�ำไรสุทธิ(3)

อัตราส่วนผลการด�ำเนินงาน ก�ำไรต่อหุ้นพื้นฐาน (บาท) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลีย่   (ROAA) (ร้อยละ) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของ   ผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) (ร้อยละ) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(4)   (Interest Spread) (ร้อยละ) อัตราส่วนต้นทุนจากการด�ำเนินงาน   ต่อรายได้รวม(5) หลังหักค่าใช้จ่ายจากการ   รับประกันภัยและประกันชีวิต (Cost to income ratio net   insurance premium income)   (ร้อยละ)

ข้อมูลเกี่ยวกับงบแสดงฐานะ   การเงิน (ล้านบาท) เงินให้สินเชื่อ สินทรัพย์รวม เงินฝากและเงินกู้ยืม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น(6)

ค�ำนิยามและสูตรการค�ำนวณ

002

(1) รายได้รวม

= รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ + รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย

(2) รวมขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้

(3) ไม่รวมส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม (4) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย

= อัตราผลตอบแทน - ต้นทุนทางการเงิน อัตราผลตอบแทน = รายได้ดอกเบี้ย/สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ย สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินเฉพาะที่มีดอกเบี้ย หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน เงินลงทุนสุทธิ และเงินให้สินเชื่อ ต้นทุนทางการเงิน = ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย/หนี้สินที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย หนี้สินที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ได้แก่ เงินฝากรวม รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินเฉพาะที่มีดอกเบี้ย หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน และเงินกู้ยืมรวม (5) อัตราส่วนต้นทุนจากการด�ำเนินงานต่อรายได้รวม = ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย/รายได้รวม (6) ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่รวมส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม

รายงานประจำ�ปี 2557


ณ วันที่ หรือส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

2557

งบการเงินรวม 2556 2555

2557

งบการเงินเฉพาะธนาคาร 2556 2555 2554

2554

2553

2553

95.83

97.38

97.11

92.02

85.76

92.35

93.91

93.94

84.58

87.11

4.09

4.36

4.17

5.68

5.63

2.97

3.07

2.65

2.74

2.26

2.07

2.25

2.05

2.62

2.45

1.59

1.66

1.35

1.44

0.56

85.52 133.38

83.36 127.87

73.65 124.50

69.10 106.10

71.28 111.14

90.64 138.16

89.18 138.38

108.46 134.94

72.61 113.07

97.66 107.02

32,761

36,377

33,047

38,311

37,054

22,595

24,394

20,036

17,989

7,648

10.70

9.47

8.49

9.28

11.71

15.83 14.80 13.99 13.72 14.75 724,209 747,992 724,801 664,103 609,277

5,514 5,514 19.04

5,514 5,514 17.45

5,514 5,514 15.11

5,514 5,514 13.58

4,563 5,514 13.09

5,514 5,514 17.34 0.45

5,514 5,514 16.17 0.45

5,514 5,514 14.06 0.37

5,514 5,514 12.86 0.35

4,563 5,514 12.10 0.40

14,806

15,358

15,765

16,298

16,846

12,675 617 51

13,286 621 54

13,642 630 55

14,152 676 79

7,871 256 89

คุณภาพสินทรัพย์ เงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากรวม   เงินกู้ยืม (ร้อยละ) สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้   (NPL-Gross) ต่อเงินให้สินเชื่อ   (ร้อยละ) สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ   (NPL-Net) ต่อเงินให้สินเชื่อ   (ร้อยละ) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมด   ต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้   (ร้อยละ) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อ   ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์   ธนาคารแห่งประเทศไทย   (ร้อยละ) สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้   (ล้านบาท)

ความเพียงพอของเงินกองทุน อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1   (ร้อยละ) อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น   (ร้อยละ) สินทรัพย์เสี่ยง

ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นสามัญ   (เฉพาะธนาคาร) จ�ำนวนหุ้นสามัญคงเหลือ (ล้านหุ้น) - จ�ำนวนเฉลี่ย - ณ สิ้นปี มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (บาท)

ข้อมูลอื่น พนักงาน สาขา ส�ำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

003


สารจากคณะกรรมการธนาคาร

(นายบันเทิง ตันติวิท) ประธานกรรมการ

เรียน ผู้ถือหุ้น ภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงปีที่ผ่านมามีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยปัจจัยหลักที่เกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะการจ้างงานทีม่ กี ารปรับตัวดีขนึ้ ส่งผลให้ธนาคารกลาง สหรัฐยกเลิกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing Program) และเริ่ ม ด� ำ เนิ น นโยบายการเงิ น ในภาวะปกติ (Policy Normalization) แต่เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น กลับแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการถดถอยทาง เศรษฐกิจและภาวะเงินฝืด ที่เห็นได้จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระดับต�ำ่ และอัตราการว่างงานทีค่ อ่ นข้างสูง แม้วา่ จะมีการด�ำเนินการ ผ่อนคลายนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปและการด�ำเนินมาตรการ ฉุกเฉินกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกตามนโยบายเศรษฐกิจ “อาเบะโนมิกส์” ของญี่ปุ่นแล้วก็ตาม ทางด้านกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่และ ประเทศก�ำลังพัฒนา แสดงให้เห็นการเติบโตทีต่ ำ�่ กว่าทีค่ าดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ประกอบกับ วิกฤตทางเศรษฐกิจของรัสเซียจากผลของสถานการณ์ราคาน�้ำมันตกต�่ำ และมาตรการคว�่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียจากเรื่องวิกฤตยูเครน

ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยดังกล่าวจึงส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย ในปี 2557 โดยเฉพาะสินเชือ่ เช่าซือ้ รถยนต์ทปี่ รับตัวลดลงตามภาวะการ เติบโตของเศรษฐกิจทีค่ อ่ นข้างจ�ำกัดและการสิน้ สุดของโครงการรถยนต์ คันแรก ซึ่งแม้ว่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (“NPL”) ในกลุ่มสินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้างก็ตามแต่ยังคงอยู่ในระดับที่ สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ เนื่องจากฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งและมีแนวปฏิบัติในการตั้งส�ำรองหนี้ ที่เข้มแข็ง โดยธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการออกตราสารด้อยสิทธิ เพื่อนับเป็นเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel III โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้แข็งแกร่งขึ้น ส�ำหรับภาพรวม เงินฝากของอุตสาหกรรมในช่วงระหว่างปี 2557 ยังคงมีการขยายตัว อย่างต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรง (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงครึ่งหลังของปี) นอกจากนั้น ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ภายในประเทศต้องปฏิบัติตามแนวทางและกฎระเบียบต่าง ๆ เพิ่มมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการบังคับใช้กฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (“FATCA”) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557

ส�ำหรับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ถึงแม้ว่าจะเผชิญความ ท้าทายจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทีย่ ดื เยือ้ ในช่วงครึง่ ปีแรก รวมทั้งรายได้ที่ลดลงจากผลผลิตทางการเกษตรและความกังวลต่อหนี้ ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยยังคงมีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากภาวะการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่มีการเติบโตแบบ ค่อยเป็นค่อยไป แต่การเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงถูกจ�ำกัดจากการ ใช้จา่ ยของภาครัฐทีต่ ำ�่ กว่าประมาณการ ประกอบกับการส่งออกทีอ่ อ่ นแอ ซึ่งเป็นไปตามภาวะอุปสงค์ ในตลาดโลกที่ซบเซา

ส�ำหรับผลการด�ำเนินงานของธนาคารธนชาตในรอบปี 2557 ที่ผ่านมา ธนาคารได้รับรางวัลเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย อาทิ ได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองการเป็นสมาชิกโครงการ “แนวร่วมปฏิบัติของ ภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)” รางวัลความร่วมมือ ในการปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รางวัลสุดยอดด้านไอซีที ปี 2557 รางวัล “The Most Innovative Prepaid Program 2014” และโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรที่มีผลงาน ดีเด่นด้านการยึดทรัพย์คดียาเสพติด

010

รายงานประจำ�ปี 2557


(นายศุภเดช  พูนพิพัฒน์) ประธานกรรมการบริหาร

ปี 2557 ถือเป็นปีแห่งการ “Execute and Deliver” เพื่อให้ ธนาคารสามารถพัฒนาศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ธนาคารมีการพัฒนาระบบงานโครงสร้างพื้นฐาน ต่าง ๆ (Strategic Infrastructure and Optimization Initiatives) ที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนจากธนาคารแห่งโนวา สโกเทีย (“สโกเทียแบงก์”) ซึง่ ช่วยเสริมสร้างรากฐานทีม่ นั่ คงให้สามารถ ด�ำเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้ด้วยดี โดยในปีที่ผ่านมา ธนาคารมีการทยอยใช้ระบบงานและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่พัฒนา ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ระบบงานพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (Loan Origination) ซึ่งช่วยปรับปรุงระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรายย่อย ระบบ การจัดอันดับเครดิต (Credit Scoring) และระบบ FATCA ทีใ่ นช่วงแรก ได้มกี ารขึน้ ระบบและเริม่ ใช้งานแล้ว ระบบโทรศัพท์อตั โนมัติ (Predictive Dialer) ซึ่งได้น�ำไปใช้ทั้งที่ธนาคารและบริษัทในเครือต่าง ๆ แล้ว และได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนัน้ ธนาคารได้ดำ� เนินการพัฒนาปรับปรุง กระบวนการท�ำงานที่ส�ำคัญต่าง ๆ โดยครอบคลุมทั้งในส่วนของธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ การประเมินราคาทรัพย์สิน ระบบการจัดเก็บ เอกสารสินเชือ่ และการดูแลเก็บรักษาทรัพย์สนิ (Custodian and Credit Filing) การด�ำเนินงานทางด้านกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วย พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธนาคารและสร้างประสบการณ์ ที่เหนือกว่าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ด้วยความตระหนักถึงภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ที่อาจส่งผลให้การผิดนัดช�ำระหนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงได้ เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการความเสี่ยง ด้วยการ ปรับปรุงนโยบายการพิจารณาสินเชื่อ ดูแลติดตามสถานะของลูกค้า อย่างใกล้ชิด พัฒนาทีมงานบริหารติดตามหนี้ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งจ�ำหน่ายสินเชื่อด้อยคุณภาพตามความเหมาะสม เพื่อลดและ

ป้องกันการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ NPL ธนาคารให้ความส�ำคัญการบริหาร จัดการสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยธนาคารได้ดำ� เนินการตามนโยบายการ ด�ำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกใน ภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio – LCR) ปัจจุบนั ธนาคารได้เตรียม ความพร้ อ มเพื่ อ รองรั บ หลั ก เกณฑ์ ดั ง กล่ า วตามเกณฑ์ Basel III ที่จะเริ่มใช้ ในเดือนมกราคม ปี 2559 นอกจากนั้น ธนาคารยังได้มุ่งเน้น การด�ำเนินมาตรการการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic Sourcing Initiatives) ในหลากหลายด้าน ซึ่งช่วยพัฒนากระบวนการจัดซื้อ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านคุณภาพและต้นทุนของสินค้า รวมทั้งบริการต่าง ๆ ที่ธนาคารจะได้รับอีกด้วย ในช่วงระหว่างปี ธนาคารได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ใหม่ต่าง ๆ อาทิ “ธนชาตบัญชีฟรีเว่อร์” “บัตรเงินฝาก (NCD) 5 ให้” “บัตรเดบิต ชัวร์” “ธนชาตการ์ดอุน่ ใจ” “ประกันชีวติ เพือ่ คุม้ ครองวงเงิน สินเชือ่ บัตรเครดิต” ซึง่ ล้วนถูกออกแบบมาเพือ่ ตอบสนองความต้องการ ทางการเงินของลูกค้า อย่างไรก็ตาม ความส�ำเร็จทัง้ ในด้านการให้บริการ ลูกค้าและเป้าหมายทางการเงินจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากทีมงาน ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีและมีแรงจูงใจอย่างเต็มเปี่ยมในการ ปฏิบัติงาน ดังนั้น ธนาคารจึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการและการลงทุนใน ทรัพยากรบุคคลของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความพร้อม ทีจ่ ะบรรลุเป้าหมายในการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบ ครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคาร ยังได้มีการให้รางวัล “Thanachart Top Star Award” ส�ำหรับสาขา และพนักงานที่มีผลการด�ำเนินงานที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ด้านผลการด�ำเนินงานในปี 2557 การเติบโตของยอดสินเชื่อ รายย่อยได้รับผลกระทบจากการลดลงของยอดขายรถยนต์ ใหม่และ ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

011


(นายสมเจตน์  หมู่ศิริเลิศ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

รถยนต์ ใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงได้ปรับกลยุทธ์ ไปมุ่งเน้นการ เติบโตของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น เช่น สินเชื่อเคหะ รวมทั้งสินเชื่อ ธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อทดแทน รวมทั้งให้ความส�ำคัญในการพัฒนาการบริหารเงินส�ำรองและควบคุม สินเชือ่ NPL อย่างต่อเนือ่ ง ธนาคารประสบความส�ำเร็จในการเพิม่ ปริมาณ ธุรกรรมทางการเงิน มีสัดส่วนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีกระแส รายวันและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น การมุ่งเน้นนโยบาย ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องท�ำให้ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงานปรับตัว ลดลงและประสิทธิผลในการท�ำงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารและ บริษัทย่อยมีก�ำไรจากการด�ำเนินงานก่อนหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ในปี 2557 จ�ำนวน 19,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 884 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.67 จากปีที่ผ่านมา (เปรียบเทียบโดยไม่รวมก�ำไรพิเศษในปี 2556) ในด้านก�ำไรสุทธิของธนาคารและบริษัทย่อยในปี 2557 มีจ�ำนวน 9,922 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.77 จากปีทผี่ า่ นมา (เปรียบเทียบ โดยไม่รวมก�ำไรพิเศษในปี 2556) ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66 จากปีที่ผ่านมา ในขณะที่ รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 7.71 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการ ลดลงของเงินปันผลรับจากเงินลงทุนในกองทุนวายุภักษ์ที่ครบก�ำหนด ในปีที่ผ่านมา ในส่วนของสินเชื่อ NPL ลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญประมาณ 3,600 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนสินเชื่อ NPL ปรับตัวดีขึ้น จากร้อยละ 4.36 เป็นร้อยละ 4.09 ในขณะที่สัดส่วนสินเชื่อ NPL ของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อัตราส่วนส�ำรองต่อสินเชือ่ NPL (Coverage Ratio) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 85.52 เป็นผลมาจากการลดลงของสินเชื่อ NPL และมีการตั้งส�ำรองที่เหมาะสม เช่นเดียวกันกับอัตราส่วนส�ำรอง ที่มีต่อส�ำรองพึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (Reserves to 012

รายงานประจำ�ปี 2557

Required Reserves Ratio) ที่ปรับตัวดีขึ้น อัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ของธนาคารปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ สะท้อนถึงเงินกองทุนและฐานะการเงินที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับการ เติบโต ในเดือนมิถุนายน 2557 ได้มีเหตุการณ์ส�ำคัญของธนาคาร เกิดขึ้น 2 เหตุการณ์ ได้แก่ การขาย บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ให้แก่ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) ในราคารวม 900 ล้านบาท โดยธนาคารแห่ง ประเทศไทยเห็นชอบให้ธนาคารท�ำรายการดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคาร เป็นรายแรกในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ประสบความส�ำเร็จในการออก และเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพือ่ นับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 ภายใน ประเทศ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้าง ความมั่นคงทางการเงินและเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งส�ำหรับรองรับ การขยายตัวในอนาคตต่อไป ในปี 2558 ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยคาดว่าจะมีการเติบโตของ สินเชือ่ ไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับปี 2557 โดยมีปจั จัยสนับสนุนหลัก จากการใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการสาธารณูปโภค อย่างไรก็ตาม ปริมาณหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม อย่างต่อเนื่อง ในภาพรวมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ไทยจะเผชิญความ ท้าทายในหลากหลายด้าน อาทิ นโยบายของภาครัฐในการพัฒนา เศรษฐกิจดิจิตอล การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การลดเพดานการคุ้มครองเงินฝากลงเหลือ 25 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก (ต่อธนาคารพาณิชย์ 1 แห่ง) ซึ่งอาจส่งผลให้ สภาพคล่องในระบบตึงตัว รวมทั้งการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ และทางเลือกการลงทุนอืน่ จะยิง่ ทวีความรุนแรงขึน้ นอกจากนี้ ธนาคาร ยังคาดการณ์ว่า การบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องการค�้ ำประกันและจดจ�ำนอง


(นายปีเตอร์ เบสซี่) รองประธานกรรมการบริหาร และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

จะส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการด�ำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อย่าง กว้างขวาง รวมทั้งประเด็นในเรื่องของความรับผิดของผู้ค�้ำประกัน เพือ่ เตรียมพร้อมรองรับความท้าทายนานัปการดังกล่าวข้างต้น ธนาคารธนชาตได้มีการก�ำหนดกลยุทธ์และนโยบายที่ชัดเจนเพื่อสร้าง ความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารได้มีการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์และ บริการแบบครบวงจรของธนาคาร บริษัทในเครือต่าง ๆ และพันธมิตร ทางธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยความมุ่งมั่นของ ผู้บริหารและพนักงานของธนาคารธนชาตทุกคนในกลยุทธ์ 4 ประการ (4 Strategic Intents) ได้แก่ (1) รักษาฐานลูกค้าเก่าและสร้างลูกค้า ใหม่ ด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝาก ประกัน และผลิตภัณฑ์ดา้ นการลงทุนใหม่ ๆ (2) เสริมพลังทางการเงินให้แก่ลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์คุ้มครองภัยและ ความเสี่ยงที่หลากหลายและตรงใจ (3) เสนอเงินกู้ยืมแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม เพื่อสนองความต้องการทางการเงินทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (4) ก้าวสู่การเป็นธนาคารดิจิตอลที่พร้อมให้บริการลูกค้าทุกที่ ทุกเวลา ทุกความต้องการ ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธนาคารจะได้รับความส�ำเร็จจากการ ด�ำเนินการตามความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ 4 ประการดังกล่าวข้างต้น จึงมีการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการและ ภาวะผูน้ ำ� ขององค์กรในกลุม่ ธุรกิจทางด้านสินเชือ่ เช่าซือ้ รถยนต์ สินเชือ่ รายย่อย และสินเชื่อธุรกิจขนาดย่อม โดยยังคงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการ บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่ม ความแข็งแกร่งของอัตราส่วนส�ำรองต่อสินเชือ่ NPL (Coverage Ratio) ไปในขณะเดียวกัน ทัง้ นี้ ธนาคารจะยังคงยึดมัน่ ปรัชญาในการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย ความเชื่อมั่นในบุคลากรของธนาคาร การอุทิศตน เพื่อความเป็นเลิศ และความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม

ด้านการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารรายใหม่ในช่วง ระหว่างปี 2557 คณะกรรมการมีความยินดีและขอต้อนรับคุณปีเตอร์ เบสซี่ (Mr. Peter Bessey) ในการด�ำรงต�ำแหน่งรองประธานกรรมการ บริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสืบแทนคุณเบรนดอน คิง (Mr. Brendan King) คณะกรรมการธนาคารมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า คุ ณ ปี เ ตอร์ จ ะเป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ที่ ส นั บ สนุ น ให้ ธ นาคารสามารถบรรลุ เป้าหมายทีว่ างไว้ได้อย่างดี ซึง่ จะเป็นประโยชน์กบั ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่าย ส�ำหรับผลการด�ำเนินงานของบริษทั ย่อยในปี 2557 อยู่ในระดับ ที่ดี บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) มีผลก�ำไรสุทธิจากการ ด�ำเนินการปี 2557 จ�ำนวน 1,047 ล้านบาท เติบโตจากปีกอ่ นหน้าในอัตรา ร้อยละ 9.88 รวมทั้งมียอดขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในอัตราร้อยละ 4.28 ซึง่ สูงกว่าค่าเฉลีย่ ของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยทีอ่ ยูท่ รี่ อ้ ยละ 1 ในด้านบริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด มีก�ำไรสุทธิในปี 2557 จ�ำนวน 121 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าทุนจดทะเบียนที่ 100 ล้านบาท ในขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการ กองทุน ธนชาต จ�ำกัด มีผลก�ำไรสุทธิจ�ำนวน 561 ล้านบาท และ 290 ล้านบาท ตามล�ำดับ ในนามของคณะกรรมการธนาคาร ขอขอบคุ ณ ลู ก ค้ า ผู ้ มี อุปการคุณส�ำหรับความไว้วางใจและความเชือ่ มัน่ ทีม่ ตี อ่ ธนาคารเสมอมา ขอบคุณพนักงานทุกคนที่มุ่งมั่นท�ำงานร่วมกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รวมทัง้ ขอขอบคุณผูถ้ อื หุน้ ทุกท่านส�ำหรับความเชือ่ มัน่ และการสนับสนุน เพื่อความส�ำเร็จของธนาคาร ธนาคารมีความภาคภูมิใจในความมั่นคง และความแข็งแกร่งของธนาคารธนชาต และเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งการบริหารจัดการด้วยความ เป็นมืออาชีพ ผ่านทางกลยุทธ์และแผนการด�ำเนินงานต่าง ๆ ที่วางไว้ จะสามารถสร้ า งความเติ บ โตและความส� ำ เร็ จ ให้ กั บ ผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ทุกฝ่ายต่อไป ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

013


คณะกรรมการ ธนาคารธนชาต จ� ำ กัด (มหาชน)

1. นายบันเทิง ตันติวิท

2. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์

ประธานกรรมการ

รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร

3. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ

014

รายงานประจำ�ปี 2557

กรรมการ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่


4. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ กรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

5. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป

7. นายณรงค์ จิวังกูร

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน

กรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร

6. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ

8. นายสถาพร ชินะจิตร

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ

9. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ

10. นายร็อด ไมเคิล เรโนลด์

11. นายกอบศักดิ์ ดวงดี

12. นายอัลแบรโต ฮารามิวโญ

กรรมการ กรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน

กรรมการ

กรรมการ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

015


ค�ำอธิบายและการวิเคราะห์ฐ านะการเงิ น ภาวะเศรษฐกิ จ ไทยและการแข่งขันในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิ ช ย์ ในช่วงครึง่ แรกของปี 2557 เศรษฐกิจไทยได้รบั ผลกระทบทัง้ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ภายในประเทศ ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยโดยรวม ในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ถึงแม้ว่าการส่งออกยังคงหดตัวในอัตราชะลอลง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัวเล็กน้อยอยูท่ รี่ อ้ ยละ 0.70 เมือ่ เทียบกับปี 2556 ทีข่ ยายตัวร้อยละ 2.90 โดยการบริโภคภาคเอกชนเติบโต ร้อยละ 0.30 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.90 เนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจน จากสถานการณ์ทางการเมือง เช่นเดียวกับการส่งออกลดลงร้อยละ 0.30 ตามการลดลงของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักจากการฟืน้ ตัว ที่ยังไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ส�ำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากปีก่อน โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.89 เนื่องจากราคาน�้ำมัน เชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศโดยเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่องตามราคาน�ำ้ มันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.59 อย่างไรก็ตาม จากความผันผวนของตัวแปรส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคาร แห่งประเทศไทย มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.00 ในไตรมาสแรกของปี 2557 และ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 เพื่อสนับสนุนภาวะเศรษฐกิจไทยให้เกิดการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สินเชือ่ ระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2557 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเมือ่ เทียบกับปีกอ่ น โดยเป็นการชะลอตัวทัง้ สินเชือ่ ธุรกิจและสินเชือ่ อุปโภค บริโภคอย่างต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่ตน้ ปีตามภาวะเศรษฐกิจไทยทีเ่ ติบโตลดลงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาระหนีค้ รัวเรือนทีอ่ ยู่ในระดับสูง ประกอบกับการอนุมตั สิ นิ เชือ่ ของธนาคารพาณิชย์ทมี่ คี วามเข้มงวดมากขึน้ ขณะทีก่ ารแข่งขันทางด้านเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2557 ปรับตัวลดลง ตามการชะลอลงของสินเชือ่ ในช่วงครึง่ ปีแรก ถึงแม้วา่ มีการระดมเงินฝากในช่วงปลายปีเพิม่ ขึน้ บ้างเพือ่ รองรับการฟืน้ ตัวของสินเชือ่

รายการส�ำคั ญ ในระหว่างปี 2557 • ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ได้ท�ำการขายบริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) (“ประกันชีวิต นครหลวงไทย”) ให้แก่บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ทุนธนชาต”) กับ บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) (“เอ็มบีเค”) ในราคารวม 900 ล้านบาท และธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) เห็นชอบให้ธนาคารท�ำรายการดังกล่าวทุนธนชาตกับเอ็มบีเค ได้ช�ำระค่าหุน้ สามัญประกันชีวติ นครหลวงไทยและรับโอนหุ้นดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 • เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 ธนาคารได้ท�ำการออกและเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2 ตามเกณฑ์ Basel III ครัง้ ที่ 1/2557 ครบก�ำหนดไถ่ถอนปี 2567 ซึง่ ผูอ้ อกตราสารมีสทิ ธิไถ่ถอนก่อนก�ำหนด มูลค่ารวมทัง้ สิน้ 13,000 ล้านบาท อัตราดอกเบีย้ คงที่ร้อยละ 6.00 ต่อปี โดยตราสารด้อยสิทธิดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ A จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จ�ำกัด และได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ทั้งจ�ำนวน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคาร โดยธนาคารเป็นรายแรก ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่สามารถท�ำการออกและเสนอขายตราสารด้อยสิทธิฯ ตามเกณฑ์ Basel III ในประเทศได้ส�ำเร็จ

งบการเงิ น รวมของธนาคาร รวมผลการด�ำเนิ น งานของบริ ษั ท ย่ อ ย ดั ง นี้ บริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้นโดยตรง บริษัท สคิบ จ�ำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ “ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน)”) บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน)

016

รายงานประจำ �ปี 2557


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด บริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด บริษัท ธนชาตกรุ๊ป ลีสซิ่ง จ�ำกัด บริษัท ธนชาตแมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) (จ�ำหน่ายออกไประหว่างปี) บริษัท สคิบ เซอร์วิส จ�ำกัด บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้นโดยอ้อม บริษัท เนชั่นแนล ลีซซิ่ง จ�ำกัด

ภาพรวมของผลการด�ำเนินงาน (บทวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการด�ำเนินงานตามงบการเงินรวม ปี 2557 เปรียบเทียบกับปี 2556) (หน่วย : ล้านบาท)

งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

รายได้ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายได้จากการด�ำเนินงานอื่น ๆ (1) ค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ (2) ก�ำไร (ขาดทุน) ก่อนหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ   และขาดทุนจากการด้อยค่า หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการด้อยค่า ก�ำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ ก�ำไรส�ำหรับปีจากการด�ำเนินงานต่อเนื่อง ก�ำไรส�ำหรับปีจากการด�ำเนินงานที่ยกเลิก ก�ำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของธนาคาร ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม   ของบริษัทย่อย ก�ำไรต่อหุ้น (บาท) จ�ำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน�้ำหนัก (ล้านหุ้น) หมายเหตุ

เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 เพิ่ม/(ลด) ร้อยละ

2557

2556(3)

52,445 24,884 27,561 5,927 5,823 19,515

53,879 27,290 26,589 6,115 6,262 20,408

(1,434) (2,406) 972 (188) (439) (893)

(2.66) (8.82) 3.66 (3.07) (7.01) (4.38)

19,796 7,122 12,674 2,479 10,195 0 10,195 9,922

18,558 6,117 12,441 2,478 9,963 354 10,317 10,101

1,238 1,005 233 1 232 (354) (122) (179)

6.67 16.43 1.87 0.04 2.33 (100.00) (1.18) (1.77)

273 1.80 5,513.66

216 1.83 5,513.66

57

26.39

(1)

รายได้จากการดำ�เนินงานหักค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย/ประกันชีวิต ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย/ประกันชีวิต (3) ไม่รวมรายการพิเศษ (2)

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

017


เนือ่ งจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ธนาคารได้ดำ� เนินการขายหุน้ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งสามารถรับรู้ก�ำไรจาก เงินลงทุนได้เป็นจ�ำนวน 12,216 ล้านบาท และได้ดำ� เนินการตัง้ ส�ำรอง เพิม่ เติมเป็นจ�ำนวน 5,380 ล้านบาท ซึง่ การขายหุน้ และการตัง้ ส�ำรอง ดังกล่าวถือเป็นรายการพิเศษที่มีสาระส�ำคัญในไตรมาส 2 ปี 2556 ดังนั้น จึงขอน�ำรายการพิเศษดังกล่าวออกจากผลการด�ำเนินงาน ปี 2556 เพื่อเปรียบเทียบกับผลการด�ำเนินงานปี 2557 ให้ได้เห็น ผลการด�ำเนินงานที่แท้จริงของธนาคารและบริษัทย่อย ธนาคารและบริษัทย่อยมีก�ำไรสุทธิส�ำหรับปี 2557 จ�ำนวน 10,195 ล้านบาท โดยก�ำไรสุทธิสว่ นทีเ่ ป็นของธนาคารมีจำ� นวน 9,922 ล้านบาท ลดลง 179 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.17 เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา โดยมีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนี้ • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Spread) เพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ร้อยละ 2.68 จากปีที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.62 โดยอัตรา ผลตอบแทน (Yield on earning asset) เท่ากับร้อยละ 5.57 ลดลงจากร้อยละ 5.79 เป็นผลจากการปรับอัตราดอกเบีย้ นโยบายจาก ร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.00 ในระหว่างไตรมาส 1 ของปี 2557 ขณะที่ต้นทุนทางการเงิน (Cost of fund) เท่ากับร้อยละ 2.89 ลดลงจากร้อยละ 3.17 เป็นผลจากการบริหารต้นทุนและสภาพคล่อง อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อให้เหมาะสมตาม ภาวะการแข่งขัน นอกจากนี้ ต้นทุนทางการเงินลดลงจากปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังรายละเอียด ที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (ไม่รวมรายการพิเศษ) ลดลง ร้อยละ 7.71 จากรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่วนแบ่งก�ำไรจากเงินลงทุนในบริษทั ร่วม และรายได้เงินปันผลทีล่ ดลง ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากธุรกรรมปกติมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยอัตราส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้จากการด� ำเนินงาน สุทธิ (Non-interest income ratio) ในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 29.89 และหากพิจารณาอัตราส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Non-interest income to average asset) เพื่อลดผลกระทบปัจจัย ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 1.17

018

รายงานประจำ �ปี 2557

• การควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินการ ภายใต้นโยบายการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ มีจ�ำนวน 19,515 ล้านบาท ลดลง 894 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.38 จากปีกอ่ น โดยอัตราส่วนต้นทุน จากการด�ำเนินงานต่อรายได้จากการด�ำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) ในปี 2557 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 49.64 ลดลงจากร้อยละ 51.90 หากพิ จ ารณาอั ต ราส่ ว นต้ น ทุ น ต่ อ สิ น ทรั พ ย์ เ ฉลี่ ย (Operating expense to average asset) อัตราส่วนดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 1.94 • ค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม (Credit cost) ส�ำหรับปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.94 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี ที่ผ่านมาที่ร้อยละ 0.77 เป็นผลจากการขาดทุนการขายรถยึดซึ่งเป็น ผลกระทบจากอุปสงค์ ในตลาดรถมือสองที่ลดลง และการบริหาร สินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารและ บริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีจ�ำนวน 32,761 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีที่ผ่านมาที่จ�ำนวน 36,377 ล้านบาท จากการบริหาร จัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าภาวะตลาด และภาวะเศรษฐกิจทีช่ ะลอตัวลง และแนวโน้มสินเชือ่ ด้อยคุณภาพใน อุตสาหกรรมมีทศิ ทางทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ธนาคารและบริษทั ย่อยได้วางแผน บริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยอัตราส่วนสินเชือ่ ด้อยคุณภาพต่อสินเชือ่ รวม (NPL to total loan) มาอยู่ที่ร้อยละ 4.09 เปรียบเทียบกับร้อยละ 4.36 ณ สิ้นปีที่ผ่านมา • ความเพียงพอของเงินกองทุน ธนาคารมีเงินกองทุนรวม ตามเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จ�ำนวน 114,636 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 (ได้แก่ Common Equity Tier I และ Additional Tier I) จ�ำนวน 77,510 ล้านบาท และเงินกองทุน ชั้นที่ 2 จ�ำนวน 37,126 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยงเท่ากับร้อยละ 15.83 ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 10.70 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ร้อยละ 5.13 เมื่อเทียบกับ สิ้นปี 2556 ที่ร้อยละ 14.80 โดยในปี 2557 ธนาคารได้ท�ำการไถ่ถอน หุ้นกู้ด้อยสิทธิเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 17,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันได้ ออกตราสารด้อยสิทธิชดุ ใหม่จำ� นวน 13,000 ล้านบาท อัตราดอกเบีย้ ร้อยละ 6.00 ต่อปี อายุ 10.5 ปี


รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

รายได้ดอกเบี้ย รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนและธุรกรรมเพื่อค้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินให้สินเชื่อ การให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าทางการเงิน ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย เงินรับฝาก รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน เงินนำ�ส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตราสารหนี้ที่ออก ค่าธรรมเนียมในการกู้ยืม รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

(หน่วย : ล้านบาท)

2557

2556

เปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนแปลง ร้อยละ

52,445

53,879

(1,434)

(2.66)

1,894 238 4,106 20,320 25,887

1,870 457 3,861 21,239 26,452

24 (219) 245 (919) (565)

1.28 (47.92) 6.35 (4.33) (2.14)

24,884

27,290

(2,406)

(8.82)

16,224 1,092 3,556 4,003 9

17,862 1,519 3,598 4,302 9

(1,638) (427) (42) (299) -

(9.17) (28.11) (1.17) (6.95) -

27,561

26,589

972

3.66

ในปี 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจ� ำนวน 27,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 972 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายได้ดอกเบี้ยจ�ำนวน 52,445 ล้านบาท ลดลง 1,434 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.66 ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมีจ�ำนวน 24,884 ล้านบาท ลดลง 2,406 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.82 ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Spread) ในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.68 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ร้อยละ 2.62

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

019


รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย

(หน่วย : ล้านบาท)

2557

2556**

เปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนแปลง ร้อยละ

รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ก�ำไรสุทธิจากธุรกรรมเพือ่ ค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ก�ำไรสุทธิจากเงินลงทุน ส่วนแบ่งก�ำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ก�ำไรจากทรัพย์สินรอการขายและทรัพย์สินอื่น รายได้จากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ* รายได้เงินปันผล รายได้อื่น ๆ ***

5,927 859 769 151 240 2,091 305 1,408

6,115 531 865 415 79 2,282 562 1,882

(188) 328 (96) (264) 161 (191) (257) (474)

(3.07) 61.77 (11.10) (63.61) 203.80 (8.37) (45.73) (25.19)

รวมรายได้จากการด�ำเนินงานอื่น

5,823

6,616

(793)

(11.99)

11,750

12,731

(981)

(7.71)

รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย * ไม่รวมบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) ** ไม่รวมก�ำไรจากการขายบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) *** รวมก�ำไรส�ำหรับปีจากการด�ำเนินงานที่ยกเลิกในปี 2556 จ�ำนวน 354 ล้านบาท

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ประกอบด้วย รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายได้จากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ และรายได้ จากการด�ำเนินงานอื่น ๆ มีจ�ำนวน 11,750 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 981 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.71 โดยอัตราส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อ รายได้จากการด�ำเนินงานสุทธิ (Non-interest income ratio) ในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 29.89 และหากพิจารณาอัตราส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Non-interest income to average asset) เพื่อลดผลกระทบปัจจัยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 1.17 โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิในปี 2557 มีจ�ำนวน 5,927 ล้านบาท ลดลง 188 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.07 จากรายได้คา่ นายหน้าจากการซือ้ ขายหลักทรัพย์ลดลงตามมูลค่าการซือ้ ขายหลักทรัพย์ ซึง่ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ทปี่ รับตัว ลดลงในครึ่งปีแรก โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจ�ำนวน 8,693 ล้านบาท ลดลง 100 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.14 ในขณะที่ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและบริการมีจ�ำนวน 2,766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 88 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.29 • รายได้จากการด�ำเนินงานอื่น ๆ รายได้จากการด�ำเนินงานอื่น ๆ ได้แก่ ก�ำไร (ขาดทุน) สุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ก�ำไรสุทธิจาก เงินลงทุน ส่วนแบ่งก�ำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย รายได้จากเงินปันผล ก�ำไรจากทรัพย์สินรอการขายและทรัพย์สินอื่น รายได้จากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ และรายได้อื่น โดยในปี 2557 มีจ�ำนวน 5,823 ล้านบาท ลดลง 793 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.99 จากปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้เงินปันผลที่ลดลง 257 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.73 เนื่องจากในปี 2556 ธนาคารได้รับเงินปันผล จากกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งได้ครบก�ำหนดไปแล้วในปีที่ผ่านมา ประกอบกับส่วนแบ่งก�ำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ลดลง 264 ล้านบาท หรือร้อยละ 63.61 เป็นผลจากการรับรู้รายได้พิเศษจากบริษัทร่วม และรายได้อื่น ๆ ที่ลดลง 474 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.19 จากก�ำไรจาก การด�ำเนินงานที่ยกเลิกส�ำหรับงวดในปี 2556 (จากการจ�ำหน่ายบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน))

020

รายงานประจำ �ปี 2557


ค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ

(หน่วย : ล้านบาท)

2557

2556

เปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนแปลง ร้อยละ

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ และอุปกรณ์ ค่าภาษีอากร ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าใช้จ่ายอื่น

10,780 2,928 849 43 4,915

10,466 3,013 889 38 6,003

314 (85) (40) 5 (1,088)

3.00 (2.82) (4.50) 13.16 (18.12)

รวมค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ

19,515

20,409

(894)

(4.38)

ค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ

ในปี 2557 ค่าใช้จ่ายจากการด�ำเนินงานอื่น ๆ มีจ�ำนวน 19,515 ล้านบาท ลดลง 894 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.38 จากปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากค่าใช้จ่ายการส่งเสริมการขายและการตลาดที่ลดลงตามปริมาณธุรกิจ ประกอบกับความส�ำเร็จในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายของธนาคารอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนจากการด� ำเนินงานต่อรายได้จากการด�ำเนินงานสุทธิ (cost to income ratio) ในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 49.64 ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 51.90 หากพิจารณาอัตราส่วนต้นทุนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (operating expense to average asset) อัตราส่วนดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 1.94 ลดลงจากร้อยละ 2.00 ในปีก่อน

ค่าใช้จ่ายหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า ภายใต้การชะลอตัวของเศรษฐกิจและสภาวะตลาดรถมือสองที่ยังคงซบเซาในปี 2557 ธนาคารจึงมุ่งเน้นการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,005 ล้านบาท เป็น 7,122 ล้านบาท และ Credit Cost ในปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.94 เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นทีร่ อ้ ยละ 0.77 ซึง่ ส่วนหนึง่ นัน้ เป็นผลจากการขาดทุนการขายรถยึดซึง่ เป็นผลกระทบจากอุปสงค์ ในตลาดรถมือสองทีล่ ดลง

ฐานะการเงิ นของธนาคารและบริษัทย่อย งบแสดงฐานะการเงิน

สินทรัพย์ เงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ เงินลงทุน-สุทธิ เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ-สุทธิ ทรัพย์สินรอการขาย-สุทธิ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ ค่าความนิยม สินทรัพย์อื่น รวมสินทรัพย์

(หน่วย : ล้านบาท)

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

16,605 65,433 149,609 755,150 6,507 7,934 17,951 (10,299) 1,008,890

17,940 69,697 138,825 791,026 6,291 8,037 17,951 (11,418) 1,038,349

เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 เพิ่ม/(ลด) ร้อยละ

(1,335) (4,264) 10,784 (35,876) 216 (103) 0 1,119 (29,459)

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

(7.44) (6.12) 7.77 (4.54) 3.43 (1.28) 0.00 (9.80) (2.84)

021


ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จ�ำนวน 1,008,890 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2556 จ�ำนวน 29,459 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.84 ส่วนใหญ่ลดลงจากเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิจ�ำนวน 35,876 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.54 เป็นการลดลง จากสินเชื่อจากธุรกิจเช่าซื้อที่มีการหดตัวถึงร้อยละ 9.27 จากสิ้นปีที่ผ่านมา ตามภาวะตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ธนาคารได้มุ่งเน้น การขยายตัวของสินเชื่อประเภทอื่น เช่น สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จึงส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยต่อสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ที่ร้อยละ 69 : 31 (หน่วย : ล้านบาท)

งบแสดงฐานะการเงิน

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น เงินฝาก รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม ประมาณการหนี้สิน หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต หนี้สินอื่น รวมหนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคาร ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 เพิ่ม/(ลด) ร้อยละ

696,992 80,270 1,655 90,198 2,800 4,698 26,113 902,726 104,977 1,187 1,008,890

719,079 81,082 3,219 92,229 3,146 15,019 27,335 941,109 96,218 1,022 1,038,349

(22,087) (812) (1,564) (2,031) (346) (10,321) (1,222) (38,383) 8,759 165 (29,459)

(3.07) (1.00) (48.59) (2.20) (11.00) (68.72) (4.47) (4.08) 9.10 16.14 (2.84)

ธนาคารและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เท่ากับ 902,726 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2556 จ�ำนวน 38,383 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.08 โดยมีสาเหตุหลักมาจาก • เงินฝากจ�ำนวน 696,992 ล้านบาท ลดลง 22,087 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.07 จากสิ้นปี 2556 โดยเป็นการปรับโครงสร้างเงินฝาก และการบริหารต้นทุนทางการเงินให้เป็นไปตามกลยุทธ์การบริหารสภาพคล่อง • รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินมีจ�ำนวน 80,270 ล้านบาท ลดลง 812 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.00 เป็นผลจากการบริหาร สภาพคล่องของธนาคาร • ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืมจ�ำนวน 90,198 ล้านบาท ลดลง 2,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.20 จากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ 17,000 ล้านบาท และท�ำการออกและเสนอขายตราสารด้อยสิทธิมาทดแทนจ�ำนวน 13,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคารและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีจ�ำนวน 104,977 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 8,759 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.10 จากสิน้ ปี 2556 ส่วนใหญ่เพิม่ ขึน้ จากก�ำไรจากการด�ำเนินงานในปี 2557 ขณะทีไ่ ด้มกี ารจ่ายเงินปันผลจากก�ำไรสุทธิของปี 2556 ในอัตราหุ้นละ 0.45 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 2,481 ล้านบาท

022

รายงานประจำ �ปี 2557


คุณภาพสินทรัพย์ การพิจารณาคุณภาพสินทรัพย์ พิจารณาจากสินทรัพย์ตามงบการเงินรวม

1. เงินให้กู้ยืม ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับจ�ำนวน 755,150 ล้านบาท ลดลงจาก สิ้นปีก่อนจ�ำนวน 35,876 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.54 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อตามภาวะตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัวลง โดยสินเชื่อเช่าซื้อลดลงร้อยละ 9.27 ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.66 จากการเพิ่มปริมาณสินเชื่อด้านอื่น ๆ โดยสัดส่วนเงินให้สินเชื่อรายย่อยต่อสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดย่อมอยู่ที่ ร้อยละ 69 : 31 รวมถึงการบริหารจัดการสินเชือ่ ด้อยคุณภาพให้ปรับตัวลดลง โดยในระหว่างปี 2557 ธนาคารและบริษทั ย่อยได้ท�ำสัญญาปรับปรุง โครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการช�ำระหนี้ การโอนสินทรัพย์และ/หรือหุ้นทุนและ/หรือเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขการช�ำระหนี้ รวมกันเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 3,825 ราย ซึ่งมียอดคงค้างตามบัญชีก่อนการปรับโครงสร้างหนี้เป็นจ�ำนวนประมาณ 6,752 ล้านบาท ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีลูกหนี้ที่ได้มีการท�ำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วจ�ำนวน 32,848 ราย จากจ�ำนวนลูกหนี้ ของธนาคารทัง้ หมด จ�ำนวน 1,814,792 ราย บัญชีลกู หนีท้ ปี่ รับโครงสร้างดังกล่าว มียอดเงินต้นและดอกเบีย้ คงค้างเป็นจ�ำนวน 23,220 ล้านบาท การกระจายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2557 สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 52.94 รองลงมา ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมร้อยละ 30.92 สินเชื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 11.55 และอื่น ๆ ร้อยละ 4.58 สัดส่วนเงินให้สินเชื่อ 31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

4.58%

4.80%

11.55%

10.74% 30.92%

52.94%

สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อื่น ๆ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจจากขนาดกลางและขนาดย่อม

28.77%

55.69%

สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อื่น ๆ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจจากขนาดกลางและขนาดย่อม

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

023


2. เงินให้สินเชื่อจัดชั้นตามประกาศของ ธปท. ของธนาคารและบริษัทย่อยที่เป็นสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยที่เป็นสถาบันการเงินมีเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ จัดชั้นตามเกณฑ์ที่ ธปท. ก�ำหนด จ�ำนวน 722,911 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนจ�ำนวน 36,852 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.85 โดยได้ท�ำการส�ำรองค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญที่บันทึกตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จ�ำนวน 25,704 ล้านบาท และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อและ ดอกเบี้ยค้างรับคิดเป็นร้อยละ 3.56

สรุปลูกหนี้จัดชั้นตามเกณฑ์ ธปท. (หน่วย : ล้านบาท)

มูลหนี้(1) เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

จัดชั้นปกติ จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ จัดชั้นต�่ำกว่ามาตรฐาน จัดชั้นสงสัย จัดชั้นสงสัยจะสูญ

657,326 34,484 5,722 4,124 21,255

689,679 34,903 6,133 9,324 19,724

5,832 4,342 2,392 1,703 11,141

7,163 4,217 2,705 5,125 9,022

รวม

722,911

759,763

25,410

28,232

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญส่วนที่ตั้งเพิ่มเติม

294

8

รวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมด

25,704

28,240

สัดส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ (ร้อยละ)

3.56

3.72

หมายเหตุ

(1)

มูลหนี้/มูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้จัดชั้นปกติ และลูกหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ

3. สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans) แม้ว่าภาวะตลาดและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และแนวโน้มสินเชื่อด้อยคุณภาพในอุตสาหกรรมมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น ธนาคาร และบริษทั ย่อยได้วางแผนบริหารจัดการหนีด้ อ้ ยคุณภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ท�ำให้เงินให้สนิ เชือ่ ด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีจ�ำนวน 32,761 ล้านบาท ลดลง 3,616 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.94 จากสิ้นปีก่อน อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รวม (NPL Ratio) ของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 2.97 ลดลงจากสิ้นปี ก่อนที่ร้อยละ 3.07 จากการบริหารจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างปรับตัวลดลง และเมื่อพิจารณา อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รวม (NPL Ratio) ของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ร้อยละ 4.09 ลดลงจากสิ้นปี ก่อนที่ร้อยละ 4.36 อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (coverage ratio) ของธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 90.64 เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ร้อยละ 89.18 ในขณะธนาคารมีสำ� รองส่วนเกินตามเกณฑ์ ธปท. จ�ำนวน 5,657 ล้านบาท และมีอัตราส่วนส�ำรองต่อส�ำรองพึงกันตามเกณฑ์ ธปท. (Reserve to Required Reserve) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 138.16 ใกล้เคียงกับสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ร้อยละ 138.38

024

รายงานประจำ �ปี 2557


โดยอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณ ภาพ (coverage ratio) ของธนาคารและบริษัทย่อย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 85.52 เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ร้อยละ 83.36 ธนาคารและบริษัทย่อยมีส�ำรองส่วนเกิน ตามเกณฑ์ ธปท.จ�ำนวน 7,012 ล้านบาท อัตราส่วนส�ำรองต่อส�ำรองพึงกันตามเกณฑ์ ธปท. (reserve to required reserve) ณ สิน้ เดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 133.38 เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ร้อยละ 127.87

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans) ธนาคาร

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (ล้านบาท) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมด* (ล้านบาท) เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL-gross)   ต่อเงินให้สินเชื่อรวม (ร้อยละ) เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL-net)   ต่อเงินให้สินเชื่อรวม (ร้อยละ) อัตราส่วนส�ำรองต่อส�ำรองพึงกันตามเกณฑ์ ธปท. (ร้อยละ) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อ   ด้อยคุณภาพ (ร้อยละ)

ธนาคารและบริษัทย่อย

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

22,595 20,480

24,394 21,755

32,761 28,017

36,377 30,323

2.97

3.07

4.09

4.36

1.59 138.16

1.66 138.38

2.07 133.38

2.25 127.87

90.64

89.18

85.52

83.36

* รวมค่าเผื่อปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (ล้านบาท) และ NPL Ratio (ร้อยละ)

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้วยคุณภาพ (ร้อยละ)

ธนาคาร

ธนาคาร 90.64% 25,329

24,394

3.25%

25,552

89.18%

3.22%

3.24%

2Q14

3Q14

3.07%

4Q13

1Q14

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ

NPL ratio

87.47%

87.12%

24,793

85.69% 22,595 2.97% 4Q14

4Q13

1Q14

2Q14

3Q14

4Q14

Coverage ratio

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

025


เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (ล้านบาท) และ NPL Ratio (ร้อยละ)

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้วยคุณภาพ (ร้อยละ)

ธนาคารและบริษัทย่อย

ธนาคารและบริษัทย่อย

36,377

37.210 4.55%

37,290

85.52% 36,371

83.36%

4.53%

4.48%

4.36%

82.54%

82.19%

82.32%

1Q14

2Q14

3Q14

32,761 4.09%

4Q13

1Q14

2Q14

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ

3Q14

4Q14

4Q13

NPL ratio

4Q14

Coverage ratio

4. เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ในปี 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์รวมทั้งสิ้น 149,609 ล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุน ในหลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจประมาณร้อยละ 57.48 รองลงมาคือ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29.82 ของเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ของธนาคาร หลังจากบวก (หัก) ค่าเผื่อการปรับมูลค่าและค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีเงินลงทุนสุทธิ 138,825 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ปี 2557 ดังนี้ ตารางแสดงการจ�ำแนกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ จ�ำแนกตามประเภทของตราสาร (หน่วย : ล้านบาท)

ประเภทของเงินลงทุน

ตราสารหนี้ หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ • เพื่อค้า • เผื่อขาย • ถือจนครบกำ�หนด ตราสารหนี้ภาคเอกชน • เพื่อค้า • เผื่อขาย • ถือจนครบกำ�หนด ตราสารหนี้ต่างประเทศ • เพื่อค้า • เผื่อขาย • ถือจนครบกำ�หนด ตราสารทุน หลักทรัพย์จดทะเบียน • เพื่อค้า • เผื่อขาย เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนมา • ถือจนครบกำ�หนด เงินลงทุนทั่วไป รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ บวก (หัก) ค่าเผื่อการปรับมูลค่า ค่าเผื่อการด้อยค่า รวมเงินลงทุน - สุทธิ 026

รายงานประจำ �ปี 2557

31 ธันวาคม 2557

ร้อยละ

31 ธันวาคม 2556

ร้อยละ

5,978 67,685 10,983

4.06 45.96 7.46

5,150 71,398 10,986

3.73 51.64 7.95

2 43,598 311

0.00 29.60 0.21

5,266 25,480 352

3.81 18.43 0.25

0 11,766 0

0.00 7.99 0.00

0 14,691 0

0.00 10.63 0.00

198 2,850

0.13 1.94

17 987

0.01 0.71

1 0.00 3,895 2.64 147,267 100.00 2,423 (81)

2 3,925 138,254 594 (23)

0.00 2.84 100.00

149,609

138,825


สภาพคล่อง ณ สิ้นปี 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมด�ำเนินงานจ�ำนวน 16,158 ล้านบาท และใช้ไปในกระแสเงินสด จากกิจกรรมลงทุนจ�ำนวน 8,689 ล้านบาท ขณะที่กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจ�ำนวน 8,803 ล้านบาท ท�ำให้ธนาคารและบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิลดลงจ�ำนวน 1,335 ล้านบาท โดย ณ สิน้ ปี 2557 ธนาคารมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เป็นจ�ำนวน 16,605 ล้านบาท โดยมีรายการหลักที่ส�ำคัญ ดังนี้ - กระแสเงินสดได้มาจากกิจกรรมด�ำเนินงาน ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของเงินฝากจ�ำนวน 22,088 ล้านบาท หักกลบกันกับเงิน ให้สินเชื่อที่ลดลงจ�ำนวน 18,107 ล้านบาท - ส่วนกระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุน ส่วนใหญ่เกิดจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 13,326 ล้านบาท ในขณะที่กระแสเงินสดเพิ่มขึ้นจากเงินสดรับจากดอกเบี้ยของเงินลงทุนจ�ำนวน 4,400 ล้านบาท - ส�ำหรับกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินใช้ไปในการจ่ายคืนเงินกู้ยืมจ�ำนวน 98,627 ล้านบาท ในขณะที่กระแสเงินสดรับจาก การกู้ยืมจ�ำนวน 96,596 ล้านบาท

(หน่วย : ล้านบาท)

รายการการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ

ปี 2557

ปี 2556

เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมด�ำเนินการ

16,158 (8,689) (8,803)

(9,526) 4,495 7,790

เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสด ณ วันต้นงวด

(1,335) 17,940

2,759 15,181

เงินสด ณ วันปลายงวด

16,605

17,940

ความสัมพันธ์ของแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน ในปี 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีแหล่งที่มาของเงินทุนจากเงินฝากและเงินกู้ยืมจ�ำนวน 696,992 และ 90,198 ล้านบาท ตามล�ำดับ ในขณะที่แหล่งใช้ไปของเงินทุนจะใช้ไปในเงินให้สินเชื่อจ�ำนวน 754,370 ล้านบาท และเงินลงทุนก่อนค่าเผื่อการปรับมูลค่าจ�ำนวน 147,267 ล้านบาท โดยรายการของแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหลัก ๆ ตามวันที่ครบก�ำหนดของแต่ละรายการนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังนี้ ประเภท

แหล่งที่มา เงินฝาก เงินกู้ยืม

เมื่อทวงถาม ล้านบาท ร้อยละ

น้อยกว่า 1 ปี ล้านบาท ร้อยละ

มากกว่า 1 ปี ล้านบาท ร้อยละ

ไม่มีก�ำหนด ล้านบาท ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

249,440 1,052

413,679 36,717

52.55 4.67

33,873 45,299

4.30 5.76

0 7,130

0.00 0.90

696,992 90,198

88.54 11.46

31.82 450,396

57.22

79,172

10.06

7,130

0.90

787,190 100.00

รวมแหล่งที่มา 250,492

31.69 0.13

รวม

แหล่งใช้ไป เงินให้สนิ เชือ่ (1) 58,105 เงินลงทุน 1

6.45 0.00

228,452 37,281

25.34 467,813 4.13 103,098

51.88 11.44

0 6,887

0.00 0.76

754,370 147,267

รวมแหล่งใช้ ไป 58,106

6.45 265,733

29.47 570,911

63.32

6,887

0.76

901,637 100.00

หมายเหตุ

(1)

83.67 16.33

ยอดคงเหลือของเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้เมื่อทวงถามรวมเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่หยุดรับรู้รายได้ ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

027


เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนตามวันที่ที่ครบก�ำหนดของเครื่องมือทางการเงิน นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะ การเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 แล้ว จะเห็นว่าจ�ำนวนเงินจากแหล่งที่มาของเงินทุนส่วนใหญ่จะได้มาจากเงินรับฝากที่มีระยะเวลาคงเหลือ น้อยกว่า 1 ปี ประมาณร้อยละ 52.55 และเงินรับฝากเมื่อทวงถามร้อยละ 31.69 ของแหล่งที่มาของเงินทุนทั้งหมด ในขณะที่แหล่งใช้ไปของ เงินทุนส่วนใหญ่จะเป็นเงินให้สินเชื่อที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.88 และเงินให้สินเชื่อที่มีระยะเวลาคงเหลือน้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 31.79 ของแหล่งใช้ไปของเงินทุนทั้งหมดตามล�ำดับ อย่างไรก็ดี ความไม่สัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนดังกล่าว เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้ โดยปกติในธุรกิจธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทั่วไป เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าเงินฝากส่วนใหญ่ มักจะมีการต่ออายุเงินฝากเมื่อครบก�ำหนด อีกทั้งธนาคารได้ด�ำเนินนโยบายในการที่จะจัดหาแหล่งเงินทุนให้สัมพันธ์กับการใช้ไปของเงินทุน ให้ได้มากทีส่ ดุ ผ่านเครือ่ งมือทางการเงินในการบริหารความเสีย่ งทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ซึง่ จะสามารถส่งสัญญาณเตือนให้ทราบถึงผลกระทบต่อแหล่ง ที่มาและใช้ไปของเงินทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า

ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าทั้งสิ้น 56,681 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท (ร้อยละ 0.02) จากจ�ำนวน 56,672 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 การเพิ่มขึ้นของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากปีก่อน ส่วนใหญ่ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตตามที่ได้แสดงในตารางด้านล่าง (หน่วย : ล้านบาท)

31 ธันวาคม 2557

31 ธันวาคม 2556

เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 เพิ่ม/(ลด) ร้อยละ

การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินค่าสินค้าเข้าที่ยังไม่ครบก�ำหนด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น วงเงินเบิกเกินบัญชีที่ลูกค้ายังไม่ได้ถอน อื่น ๆ

256 509 4,796

665 646 4,067

(409) (137) 729

(61.50) (21.21) 17.92

28,170 22,950

27,984 23,310

186 (360)

0.66 (1.54)

รวม

56,681

56,672

9

0.02

การด�ำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารมีเงินกองทุนรวมทั้งสิ้น 114,636 ล้านบาท แบ่งออกได้เป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 จ�ำนวน 77,510 ล้านบาท และเงินกองทุนชั้นที่ 2 จ�ำนวน 37,126 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเท่ากับร้อยละ 15.83 เพิ่มขึ้นจาก สิ้นปี 2556 ที่ร้อยละ 14.80 โดยแบ่งเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 10.70 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 เท่ากับร้อยละ 5.13 โดยเงินกองทุน ของธนาคารเพิ่มขึ้นจากการรวมก�ำไรจากการด�ำเนินงานส�ำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2557 ขณะที่เงินกองทุนได้รับผลกระทบจากการจ่ายปันผล ในระหว่างเดือนเมษายน 2557 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนเงินกองทุนของธนาคารยังคงสูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. ก�ำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ด�ำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยงคือ ไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 8.50 โดยมีรายละเอียดอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ดังนี้

อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 31 ธันวาคม 2557 ล้านบาท ร้อยละ

เงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนทั้งหมด

028

รายงานประจำ �ปี 2557

77,510 114,636

10.70 15.83

31 ธันวาคม 2556 ล้านบาท ร้อยละ

70,818 110,683

9.47 14.80


บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ในปี 2557 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันผ่าน บล. ธนชาต เท่ากับ 3,745 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ที่เท่ากับ 4,074 ล้านบาท และส่วนแบ่งการตลาดในปีนี้เป็นสัดส่วนร้อยละ 4.51 มูลค่าการ ซือ้ ขายดังกล่าวสอดคล้องกับภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ทปี่ รับตัวลดลง โดยมูลค่าการซือ้ ขายหลักทรัพย์แบ่งเป็นลูกค้ารายย่อยร้อยละ 72.38 ลูกค้าสถาบันร้อยละ 15.25 และลูกค้าต่างประเทศร้อยละ 12.37 ก�ำไรสุทธิส�ำหรับปี 2557 มีจ�ำนวน 561 ล้านบาท ลดลง จากปีก่อนจ�ำนวน 240 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.95 โดย รายได้รวมเท่ากับ 2,047 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.81 ทั้งนี้ รายได้หลักประกอบด้วย รายได้ค่านายหน้า จ�ำนวน 1,574 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการจ�ำนวน 110 ล้านบาท ดอกเบีย้ เงิน ให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์เท่ากับ 187 ล้านบาท ส�ำหรับต้นทุน ทางการเงินและค่าใช้จา่ ยด�ำเนินงานมีจ�ำนวนเท่ากับ 1,354 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน สอดคล้องกับปริมาณธุรกิจและรายได้ที่ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บล.ธนชาต มีอัตราการด�ำรงเงิน กองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) เท่ากับร้อยละ 64.79 ซึง่ สูงกว่าเกณฑ์ ขัน้ ต�ำ่ ทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ก�ำหนดไว้ คือไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 7.00

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด ณ สิน้ ปี 2557 บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ธนชาต จ�ำกัด มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวม (Asset under Management) จ�ำนวน 164,128 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2556 จ�ำนวน 29,725 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.12 เป็นการเพิ่มขึ้นจากกองทุนตลาดเงิน และกองทุนตราสารหนี้ ส�ำหรับสัดส่วนสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร แบ่งเป็นสัดส่วนของกองทุนรวม ร้อยละ 83.13 กองทุนส่วนบุคคล ร้อยละ 9.69 และกองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพ ร้อยละ 7.18 โดยสิน้ ปี 2557 ในธุรกิจกองทุนรวม บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 8 คิดเป็น ร้อยละ 3.58 เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2556 มาจากขนาดสินทรัพย์ที่เติบโต เพิม่ ขึน้ ของกองทุนตราสารหนี้ ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลมีสว่ นแบ่งการ ตลาดเป็นอันดับ 10 คิดเป็นร้อยละ 2.76 และธุรกิจกองทุนส�ำรอง เลี้ยงชีพมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 13 คิดเป็นร้อยละ 1.40 ส่วนผลการด�ำเนินงานในปี 2557 บริษัทมีก�ำไรสุทธิ จ�ำนวน 290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จ�ำนวน 5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.69 โดยมีสาเหตุจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.15

บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) มีผลก�ำไรสุทธิ ส� ำ หรั บ ปี 2557 จ� ำ นวน 1,047 ล้ า นบาท เพิ่ ม ขึ้ น จากปี ก ่ อ น จ�ำนวน 94 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.86 โดยปัจจัยส�ำคัญที่มีผลต่อ

การด�ำเนินงาน ได้แก่ รายได้จากการรับประกันภัยจ�ำนวน 5,641 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.11 จากการเน้น ผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุม่ เป้าหมาย เช่น ประกันภัยรถยนต์ 2 บวก และการประกันภัยอุบตั เิ หตุสว่ นบุคคล และในปี 2557 บริษัทมีรายได้จากการลงทุนจ�ำนวน 414 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น จ�ำนวน 42 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.29 ในขณะทีม่ ี ค่าสินไหมทดแทน จ�ำนวน 2,775 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 19 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.65 และค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน จ�ำนวน 654 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.68

บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด ในปี 2557 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด ได้ด�ำเนิน การปรับปรุงโครงสร้างหนีต้ ามนโยบายและแผนธุรกิจของกลุม่ ธนชาต อย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษทั มีสนิ ทรัพย์ รวมจ�ำนวน 7,649 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนจ�ำนวน 1,409 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.56 จากการบริหารจัดการสินเชื่อด้อย คุณ ภาพและทรัพย์สินรอการขายอย่างมีประสิทธิภาพของบริษัท ส�ำหรับผลประกอบการในปี 2557 บริษัทมีก�ำไรสุทธิจ�ำนวน 320 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการช�ำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่อจ�ำนวน 558 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ�ำนวน 118 ล้านบาท รายได้จาก การขายสินทรัพย์รอการขายและรายได้อื่น ๆ จ�ำนวน 144 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด�ำเนินงานจ�ำนวน 164 ล้านบาท ส�ำรองด้อยค่าทรัพย์สิน รอการขายจ�ำนวน 22 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษทั สามารถปรับปรุง โครงสร้างหนีไ้ ด้รวมทัง้ สิน้ 175 ราย รายได้จากการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้จ�ำนวน 505 ล้านบาท

บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) ยั ง คงมี โ ครงสร้ า งทางการเงิ น ที่ แ ข็ ง แกร่ ง ท่ า มกลาง เศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีสินทรัพย์รวมจ�ำนวน 27,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนจ�ำนวน 571 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.09 โดย บริษทั มีสนิ เชือ่ เช่าซือ้ จ�ำนวน 27,026 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.99 ของสินทรัพย์รวม ในขณะทีห่ นีส้ นิ รวม และส่วนของผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั มีจ�ำนวน 23,985 ล้านบาทและ 3,879 ล้านบาท ตามล�ำดับ ก�ำไรสุทธิส�ำหรับปี 2557 มีจ�ำนวน 704 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อน จ�ำนวน 50 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.65 โดยรายได้รวมส�ำหรับ ปี 2557 มีจ�ำนวน 2,754 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 357 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14.88 มาจากการที่บริษัทพยายามรักษาฐานสินเชื่อเช่าซื้อ ในขณะทีค่ า่ ใช้จา่ ยทางการเงินมีจำ� นวน 1,072 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 155 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.86 จากการจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อรองรับ การปล่อยของสินเชื่อระหว่างปี 2557 ทั้งนี้ บริษัทมีค่าใช้จ่ายหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญจ�ำนวน 432 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.66 ส่วนหนึง่ เกิดจากการตัง้ ส�ำรองเพิม่ เติมเพือ่ รองรับ ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัวลง

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

029


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร” หรือ “ธนาคารธนชาต”) เริ่มประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีบริษัทเงินทุน ธนชาติ จ�ำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน คือ “บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)” หรือ “ทุนธนชาต”) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มาตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2545 โดยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ธนาคารและทุนธนชาตได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) ให้จัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์การก�ำกับแบบรวมกลุ่มโดยมีทุนธนชาตเป็นบริษัทแม่ ต่อมาในปี 2550 ได้มีธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย (“สโกเทียแบงก์”) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในประเทศแคนาดาเข้าร่วม ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 24.98 ก่อนที่จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ 48.99 จึงท�ำให้ปัจจุบันธนาคารมีผู้ถือหุ้นหลัก 2 กลุ่ม คือ ทุนธนชาต และสโกเทียแบงก์ และต่อมาในปี 2554 ธนาคารรับโอนกิจการทั้งหมดจากธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคารนครหลวงไทย”) ธนาคารได้ขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโครงสร้างกลุ่มธุรกิจของธนาคารที่มีทุนธนชาตเป็นบริษัทแม่ แบ่งการประกอบธุรกิจ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจทางการเงิน และ 2 ) กลุ่มธุรกิจสนับสนุน สามารถให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร ผ่านเครือข่าย และช่องทางการบริการของธนาคารเป็นหลัก ตามแนวทางการส่งเสริมของทางการที่ก�ำกับดูแล

กลุ่มธุรกิจทางการเงิน 1. บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ทุนธนชาต”) ประกอบธุรกิจการลงทุน (Holding Company) โดยเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจ ทางการเงินธนชาต 2. ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคารธนชาต” หรือ “ธนาคาร”) ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจอืน่ ที่ ธปท. อนุญาต ได้แก่ การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย การเป็นนายหน้าประกันชีวติ รวมถึงธุรกิจตัวแทนสนับสนุนการจ�ำหน่ายหน่วยลงทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของ กองทุนรวมและผูร้ บั ฝากทรัพย์สนิ ของกองทุนส่วนบุคคล การค้าและจัดจ�ำหน่ายหลักทรัพย์อนั เป็นตราสารแห่งหนี้ การให้บริการเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ และการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในธุรกรรมที่เกี่ยวกับทองค�ำ 3. บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“บล. ธนชาต”) ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังและส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ส�ำนักงาน ก.ล.ต.”) ให้ประกอบธุรกิจ ดังนี้ 3.1 ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก (Full License) โดยประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ การเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (ในประเทศและต่างประเทศ) การจัดจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน กิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 3.2 ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 โดยประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง 4. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด (“บลจ. ธนชาต”) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารธนชาต (ถือหุ้นในอัตรา ร้อยละ 75) กับธนาคารออมสิน (ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 25) ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม ธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล กองทุนส�ำรอง เลี้ยงชีพ และธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ให้บริการค�ำแนะน�ำได้อย่างครบวงจร 5. บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนชาตประกันภัย”) ประกอบธุรกิจให้บริการประกันภัย โดยครอบคลุมถึงการบริการ รับประกันวินาศภัย ได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด และธุรกิจ การลงทุน 6. บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) (“ประกันชีวิตนครหลวงไทย”) ประกอบธุรกิจประกันชีวิต โดยจะเน้นการท�ำ ตลาดส�ำหรับลูกค้ารายบุคคลที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป (Middle-Upper Income) ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทออมทรัพย์และสุขภาพ ส�ำหรับ ช่องทางการขายของบริษัท ประกอบด้วย ช่องทางการขายทางโทรศัพท์ (Telesales) และช่องทางการขายผ่านนายหน้านิติบุคคล (Broker) ที่ไม่ใช่ช่องทางการขายผ่านธนาคาร

030

รายงานประจำ �ปี 2557


7. บริษทั ธนชาตกรุป๊ ลีสซิง่ จ�ำกัด (“ธนชาตกรุป๊ ลีสซิง่ ”) ประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภท 8. บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) (“ราชธานี ลิสซิ่ง”) ประกอบธุรกิจการให้บริการสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อและสินเชื่อ สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) โดยมุ่งเน้นไปที่รถยนต์ มือสองประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ได้แก่ รถกระบะ รถแท็กซี่ รถหัวลาก และรถบรรทุกสิบล้อ เป็นต้น 9. บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จ�ำกัด (“บบส. เอ็น เอฟ เอส”) ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยรับซือ้ หรือรับโอน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินในกลุ่มธนชาตมาบริหาร 10. บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จ�ำกัด (“บบส. แม๊กซ์”) ประกอบธุ ร กิ จ บริ ห ารสิ น ทรั พ ย์ โดยรั บ ซื้ อ หรื อ รั บ โอนสิ น ทรั พ ย์ ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินมาบริหาร 11. บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด (“บบส. ทีเอส”) ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยรับโอนสินทรัพย์ดอ้ ยคุณภาพจาก ธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารธนชาต ทั้งสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้และทรัพย์สินรอการขาย มาบริหาร

กลุ่มธุรกิจสนับสนุน 1. บริษัท ธนชาต แมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด (“ธนชาตแมเนจเม้นท์ฯ”) ให้บริการพนักงานในส่วนพนักงานบริการ 2. บริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด (“ธนชาตโบรกเกอร์”) ให้บริการติดตามลูกค้าเช่าซือ้ ของกลุม่ ธนชาตให้มกี ารจัดท�ำประกันภัย รถยนต์กับบริษัทประกันภัยต่าง ๆ รวมถึงการเป็นนายหน้าส�ำหรับ ประกันภัยรถยนต์ ให้กับธนชาตประกันภัย 3. บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (“ธนชาตเทรนนิ่งฯ”) ให้บริการงานฝึกอบรมแก่บุคลากรของบริษัท ในกลุ่มธนชาต 4. บริษัท สคิบ เซอร์วิส จ�ำกัด (“สคิบ เซอร์วิส”) ประกอบ ธุรกิจด้านงานบริการต่าง ๆ ให้แก่ธนาคารธนชาตและบริษัทในกลุ่ม อาทิ บริการท�ำความสะอาด รักษาความปลอดภัย รับ-ส่งเอกสาร ให้เช่ารถ และจัดหาพนักงาน Outsource เป็นต้น

กลยุ ท ธ์ ใ นการด�ำเนินธุรกิจของกลุ่มธนชาต ในปี 2558 กลุ่มธนชาตได้ก�ำหนดกลยุทธ์องค์กร โดยมุ่งเน้น การด�ำเนินธุรกิจภายใต้กลุ่มธุรกิจการเงินครบวงจร ที่พร้อมด้วย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารที่ ห ลากหลายและมี คุ ณ ภาพเพื่ อ เติ ม เต็ ม ทุกความต้องการทางการเงินของลูกค้า ภายใต้วสิ ยั ทัศน์ทไี่ ด้ก�ำหนดไว้ คือ “เป็นสถาบันการเงินที่ดีที่สุดในการให้บริการทางการเงิน ที่ครบและครอบคลุม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างเหมาะสม ด้วยบริการและค�ำแนะน�ำที่เป็นเลิศ”

โดยวิสัยทัศน์ดังกล่าว ได้ถูกสร้างขึ้นจาก 3 แนวคิดหลัก คือ การเป็นกลุ่มธุรกิจที่ให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร (Universal Banking) และการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม (Customer Centric) ตลอดจนการร่วมมือและร่วมใจกันของทุก หน่วยงานเพื่อส่งมอบบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้า (Collaboration) ความพยายามและความส�ำเร็จภายใต้ 3 แนวคิดหลักนี้ ไม่เพียงแต่ ท�ำให้กลุ่มธนชาตเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินครบวงจรที่ประสบความ ส�ำเร็จในการแข่งขัน แต่ยังเป็นพลังส�ำคัญในการที่จะท�ำให้ธนาคาร เป็ น ธนาคารระดั บ ชั้ น น� ำ ของอุ ต สาหกรรมธนาคารพาณิ ช ย์ ข อง ประเทศได้ ในอีก 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ภายใต้ความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง กลุ่มธนชาตและสโกเทียแบงก์ กลุ่มธนชาตได้น�ำความเชี่ยวชาญ และนวัตกรรมของสโกเทียแบงก์ มาพัฒนาระบบงานให้ทนั สมัยอย่าง ต่อเนื่อง เช่น ระบบงานของงานขายและงานบริการ (CRM Tools for Sales & Service) ซึง่ เป็นระบบงานส�ำคัญทีจ่ ะเพิม่ ความสามารถ ในการให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของลูกค้า, ระบบ LEAP for Internet Banking และ Mobile Banking ซึง่ เป็นระบบงานทีจ่ ะช่วยผลักดันให้ธนาคารธนชาตก้าวเข้า สู่การเป็นธนาคารดิจิตอล เพื่อเข้าถึงและตอบสนองไลฟ์สไตล์ของ ลูกค้าในปัจจุบนั และระบบ LOS System (Loan Origination System) เป็นระบบงานอนุมัติสินเชื่อที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพการอนุมัติ สินเชือ่ ของธนาคารให้ถกู ต้อง รวดเร็ว และลดความเสีย่ งจากการเป็น หนีด้ อ้ ยคุณภาพ โดยใช้ระบบ Credit Scoring ทีน่ า่ เชือ่ ถือตอบสนอง และสร้ า งความพึ ง พอใจให้ กั บ ลู ก ค้ า รวมถึ ง เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ในการบริ ห ารความสั ม พั น ธ์ กั บ ลู ก ค้ า อั น น� ำ มาซึ่ ง ความพึ ง พอใจ และประสบการณ์ ที่ ดี ใ ห้ แ ก่ ลู ก ค้ า ตลอดจนเพิ่ ม จ� ำ นวน การถือครองผลิตภัณฑ์และรายได้ ให้แก่ธนาคาร ทั้งนี้ กลุ่มธนชาตได้สื่อสารกลยุทธ์ ในการด�ำเนินธุรกิจให้กับ พนักงานทุกระดับ เพือ่ ให้พนักงานทุกคน ทุกหน่วยธุรกิจ มีความมุง่ มัน่ เดียวกัน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้เกิดผลส�ำเร็จตามเป้าหมายทางกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยในปี 2558 นี้ กลุ่มธนชาตได้ก�ำหนดความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ (Strategic Intents) 4 ประการ ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็น กลุ่มสถาบันการเงินที่จะน�ำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้า ในทุกช่วงเวลาของชีวิต ดังนี้ 1. เรามุ ่ ง มั่ น จะเสนอผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ งิ น ออมและการลงทุ น ด้วยแนวคิดใหม่ ๆ และคุณภาพบริการที่เป็นเลิศ ทั้งเพื่อขยายฐาน ลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเดิมไว้ 2. เรามุ่งมั่นจะเสนอและแนะน� ำผลิตภัณฑ์คุ้มครองภัย และความเสี่ยง ในทรัพย์สิน ชีวิต และธุรกิจ ที่เหมาะสมแก่ลูกค้า แต่ละประเภท แต่ละราย เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ทางการเงิน ที่เพิ่มขึ้น

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

031


3. เรามุ ่ ง มั่ น จะเสนอผลิ ต ภั ณ ฑ์ สิ น เชื่ อ และเงิ น กู ้ ยื ม ทีเ่ หมาะพอดีตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุม่ แต่ละประเภท ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ทางการเงิน และทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น 4. เรามุ่งมั่นจะอ�ำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถท� ำ ธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผ่านธนาคารได้ โดยง่าย ทุกที่ ทุกเวลา และ ทุกวิธกี าร ตามแต่ทลี่ กู ค้าต้องการ ผ่านระบบเทคโนโลยีทดี่ ี ปลอดภัย และทันสมัยที่สุด อีกทั้ง กลุ่มธนชาตได้ก�ำหนดแผนปฏิบัติการ CEO’s Focus Agenda 6 ประการ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยให้เป้าหมายที่วางไว้ ประสบความส�ำเร็จอย่างมีคุณภาพและเป็นระบบดังนี้ 1. ผลด�ำเนินงานของธนาคารมีก�ำไรสุทธิ การขยายตัว ทางด้านสินเชื่อ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และอัตราส่วนต้นทุนจากการ ด�ำเนินงานต่อรายได้จากการด�ำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) บรรลุตามเป้าหมายหรือเกินเป้าหมายที่ก�ำหนด (Financial Target) 2. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักและกระบวนการ ท�ำงานตั้งแต่ต้นจนถึงการส่งมอบบริการให้ลูกค้า รวมถึงเครื่องมือ ส�ำหรับสนับสนุนการขายให้ทมี งานทุกช่องทางการขายและหน่วยงาน สนั บ สนุ น การท� ำ งานเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (Customer Growth Initiatives) 3. ด�ำเนินการรวมศูนย์งานสนับสนุน พัฒนาเทคโนโลยี ให้ ทั น สมั ย ปรั บ ปรุ ง กระบวนการท� ำ งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ บริหารจัดการความเสี่ยงและบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมี ประสิทธิผล (Operational Improvement) 4. พัฒนาระดับหัวหน้างานและทีมงานให้แข็งแกร่ง โดย มุ ่ ง เน้ น การพั ฒ นาความเป็นผู้น� ำ การกระจายอ� ำ นาจหน้าที่ความ รับผิดชอบ การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อเพิ่ม ความรู ้ แ ละทั ก ษะในการปฏิ บั ติ ง านของพนั ก งาน (Enhancing Human Capital Capabilities) 5. ยึ ด มั่ น ในการก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การให้ เ ป็ น ไปตามหลั ก ธรรมาภิ บ าล ด้ ว ยมาตรฐานสู ง สุ ด เพื่ อ ดู แ ลผลประโยชน์ ข อง ผู ้ ถื อ หุ ้ น ทุ ก ระดั บ และสื่ อ สารให้ ผู ้ บ ริ ห ารและพนั ก งานทุ ก ระดั บ ถือปฏิบัติตามนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการ (Good Corporate Governance) 6. เพิ่มความตระหนักและรับรู้ ในภาพลักษณ์ของธนาคาร และสร้างการจดจ�ำการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ รวมถึงพัฒนา การสือ่ สารภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ (Public Relations and Communications) และเพื่อให้ทุกความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ ทุกเป้าหมาย และ ให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้องค์กรขับเคลื่อนไป ในทิศทางเดียวกัน กลุม่ ธนชาตได้มกี ารสือ่ สารปรัชญาในการท�ำธุรกิจ (Business Philosophy) 3 ประการ ดังนี้

032

รายงานประจำ �ปี 2557

1. เชื่อมั่นในบุคลากรของเรา : ธนชาตมีความเชื่อว่า บุคลากรเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่ามากที่สุด และตระหนักว่าการ เติ บ โตของธนาคารเป็ น ผลงานที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความสามารถและ ความซื่อสัตย์ของบุคลากรของธนาคาร 2. อุทิศตนเพื่อความเป็นเลิศ : ธนาคารธนชาตให้ความ ส�ำคัญกับการบรรลุถึงความเป็นเลิศอย่างจริงจัง เรามีการพัฒนา และปรับปรุงอย่างสม�่ำเสมอ โดยผ่านการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในด้านเทคโนโลยี 3. ใส่ ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม : ธนาคารธนชาต มีความใส่ใจอย่างมาก ในการรับผิดชอบต่อสังคม

โครงสร้ า งการถื อ หุ ้ น ของกลุ ่ ม ธนชาต นโยบายการแบ่งการด�ำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ธนชาต ทุนธนชาตเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนชาต ที่ถือหุ้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนชาตในระดับที่มีอ�ำนาจ ควบคุมกิจการ (มากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนช�ำระแล้ว) โดยมีแนวทางบริหารจัดการบริษัทในกลุ่ม ดังนี้

นโยบายการประกอบธุรกิจ ทุนธนชาตและธนาคาร จะเป็นผู้ก�ำหนดนโยบายหลักใน การด�ำเนินธุรกิจของกลุ่มธนชาตเป็นประจ�ำทุกปี และจัดให้บริษัทลูก ทุกบริษทั จัดท�ำแผนงานธุรกิจและงบประมาณระยะ 3 – 5 ปี เสนอให้ บริษัทแม่พิจารณาว่า มีแนวทางด�ำเนินธุรกิจสอดคล้องกับนโยบาย หลักหรือไม่ โดยจะมีการประเมินผล ทบทวน ปรับแผนธุรกิจ และ งบประมาณเป็นประจ�ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขัน ของธุรกิจ

การดูแลการประกอบธุรกิจบริษัทลูก ทุนธนชาตและธนาคาร จะส่งกรรมการหรือผูบ้ ริหารระดับสูง ร่วมเป็นกรรมการในบริษัทลูก เพื่อร่วมก�ำหนดนโยบายและทิศทาง การด�ำเนินธุรกิจ รวมทั้งสามารถก�ำกับดูแลการประกอบธุรกิจของ บริษทั ลูกได้อย่างใกล้ชดิ และจัดให้กรรมการผูจ้ ดั การบริษทั ลูกรายงาน ผลการด�ำเนินงานเป็นประจ�ำทุกเดือนต่อคณะกรรมการบริหาร และ มีการน�ำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร


การรวมศูนย์งานสนับสนุน การรวมศูนย์งานสนับสนุน เป็นการรวมงานสนับสนุนทีแ่ ต่ละ บริษทั ในกลุม่ ต้องใช้บริการไว้ ณ บริษทั ใดบริษทั หนึง่ แล้วให้บริการแก่ บริษัทในกลุ่มทั้งหมด เพื่อเป็นการจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านความเชี่ยวชาญของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ และความประหยัดในเรื่องอัตรา พนักงาน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรวมศูนย์งานสนับสนุนในกลุ่มธนชาต เช่น งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบุคลากร งานพัฒนาระบบงาน และระเบียบค�ำสัง่ งานตรวจสอบภายใน งานก�ำกับดูแลการปฏิบตั งิ าน เป็นต้น

การควบคุ ม ภายใน ตรวจสอบ การก�ำกั บ ดู แ ลกิ จ การ บริษัทแม่ และบริษัทในกลุ่มธนชาต กลุ ่ ม ธนชาตให้ ค วามส� ำ คั ญ ด้ า นการควบคุ ม ภายในเป็ น อย่างยิ่ง โดยยึดหลักการให้มีการควบคุมภายในที่เพียงพออย่าง เหมาะสม โดยก�ำหนดขั้นตอนการด�ำเนินธุรกิจ การบริการ และการ ปฏิบตั งิ าน รวมถึงแบ่งแยกหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน เพื่ อ ให้ มี ก ารตรวจสอบซึ่ ง กั น และกั น รวมทั้ ง มี ก ารสอบยั น และ ถ่วงดุลอ�ำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) และจัดให้มี ประกาศ ค�ำสั่ง ระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร ครอบคลุม ธุรกิจที่ด�ำเนินการและการปฏิบัติที่ส�ำคัญ เปิดเผยให้พนักงานทุกคน สามารถศึกษาท�ำความเข้าใจได้ตลอดเวลา โดยมีหน่วยงานกลาง ทีธ่ นาคารเป็นหน่วยงานในการพิจารณาจัดท�ำและเสนอประกาศ ค�ำสัง่ ระเบียบการปฏิบัติของทุกบริษัทในกลุ่ม ด้านการตรวจสอบภายใน สายงานตรวจสอบ เป็นหน่วยงาน ทีท่ ำ� การตรวจสอบการปฏิบตั งิ านของบริษทั ในกลุม่ ธนชาต ทุกบริษทั ให้มี การปฏิบตั งิ านถูกต้องตามระเบียบ ระบบงานทีก่ ำ� หนด การตรวจสอบ ความผิ ด พลาดบกพร่ อ งในการปฏิ บั ติ ง าน พร้ อ มเสนอข้ อ แก้ ไ ข ปรับปรุงเพือ่ ให้มกี ารควบคุมทีด่ ยี งิ่ ขึน้ นอกจากนี้ ยังจัดให้มหี น่วยงาน ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance) เป็นหน่วยงานติดตาม ศึกษากฎหมาย ประกาศ ค�ำสั่งที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและ การปฏิบัติงานของธุรกิจที่กลุ่มด�ำเนินการอยู่ เผยแพร่ให้พนักงาน ท�ำความเข้าใจ ตลอดจนก�ำกับดูแลให้บริษัทในกลุ่มมีการประกอบ ธุรกิจและการปฏิบัติงานโดยถูกต้อง

การก�ำกับดูแลการควบคุมภายในและการตรวจสอบของ แต่ละบริษทั ในกลุม่ นัน้ จะมีคณะกรรมการตรวจสอบของแต่ละบริษทั ท�ำหน้าที่ก�ำกับ ดูแล ควบคุม และตรวจสอบ เพื่อให้ฝ่ายตรวจสอบ สามารถปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละแสดงความเห็นได้อย่างอิสระจากฝ่ายจัดการ ของแต่ละบริษัท เพื่อให้แต่ละบริษัทมีระบบการควบคุมภายในและ การตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสอบทานให้มีรายงาน ทางการเงินที่ถูกต้อง ในส่วนของการก�ำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทแม่ และบริษัทในกลุ่มให้ความส� ำคัญกับการก�ำกับดูแลกิจการ ทั้งใน ระดับคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย โดยจัดโครงสร้าง ให้มีการถ่วงดุลระหว่างกรรมการอิสระกับกรรมการที่เป็นผู้บริหาร ตลอดจนก� ำ หนดขอบเขตหน้ า ที่ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามหลั ก ธรรมาภิ บ าล ทีท่ างการประกาศก�ำหนด นอกจากนี้ ยังได้ก�ำหนดนโยบายการก�ำกับ ดูแลกิจการและจรรยาบรรณ ประกาศให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานในกลุ่มธนชาตถือปฏิบัติ โดยยึดหลักความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และไม่ท�ำการที่เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์

การบริหารจัดการความเสี่ยง

ทุ น ธนชาตจะดู แ ลให้ บ ริ ษั ท ในกลุ ่ ม มี ก ารวิ เ คราะห์ แ ละ ประเมินความเสี่ยงในการด�ำเนินธุรกิจ รวมถึงการจัดให้มีการจัดการ ความเสี่ยงตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการก�ำกับ ดูแลของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทุนธนชาตจะมี การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่ส�ำคัญ ๆ ของบริษัทในกลุ่มที่ อาจต้องการการสนับสนุนทางการเงินหรือการจัดการจากทุนธนชาต โดยตรง ทัง้ นี้ นโยบายการบริหารความเสีย่ งของกลุม่ ธุรกิจทางการเงิน ธนชาตได้จัดท�ำตามแนวทางที่ ธปท. ก�ำหนด

ความสั ม พั น ธ์ กั บ กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ของผู ้ ถื อ หุ ้นใหญ่ สโกเที ย แบงก์ เ ป็ น สถาบั น การเงิ น ชั้ น น� ำ ระดั บ สากลที่ มี เครือข่ายในการด�ำเนินธุรกิจกว่า 50 ประเทศทัว่ โลก โดยถือหุน้ ธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 48.99 ของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ผ่านสโกเทีย เนเธอร์แลนด์ โฮลดิง้ บีวี ซึง่ เป็นนิตบิ คุ คลทีจ่ ดทะเบียน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สโกเทียแบงก์นับเป็นพันธมิตรส�ำคัญทาง ธุรกิจที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธนาคารทั้งในด้านเงิน กองทุนและการบริหารจัดการ โดยได้มีการถ่ายทอดความรู้ความ เชี่ยวชาญทางธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง เทคโนโลยีสารสนเทศใน ด้านต่าง ๆ รวมถึงการขยายการให้บริการของธนาคารไปสูต่ า่ งประเทศ ผ่านเครือข่ายของสโกเทียแบงก์ ทั้งนี้ ได้มีการส่งผู้แทนเข้ามาด�ำรง ต�ำแหน่งในคณะกรรมการตามสัดส่วนการถือหุน้ และการด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ ของธนาคารตามความเหมาะสม

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

033


แผนภาพโครงสร้ างการถือหุ้นของกลุ่มธนชาต ข้ อ มู ล ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2557 บริษัท ทุนธนชาต จำ�กัด (มหาชน) สโกเทีย เนเธอร์แลนด์ โฮลดิ้ง บีวี ธุรกิจธนาคารพาณิชย์

48.99%

ธุรกิจประกัน

50.96% ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

ธุรกิจบริหารสินทรัพย์

53.50% บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำ�กัด (มหาชน)

100.00% บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำ�กัด

83.44% บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม๊กซ์ จ�ำกัด

ธุรกิจทางการเงิน

ธุรกิจสนับสนุน 100.00% 100.00%

บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

ธุรกิจหลักทรัพย์

บริษัท ธนชาต แมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด

75.00% บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด

100.00% บริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด

100.00% ธุรกิจประกัน

บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน)

100.00%

บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด

100.00% ธุรกิจบริหารสินทรัพย์

บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด

100.00% บริษัท ธนชาตกรุ๊ป ลีสซิ่ง จ�ำกัด

ธุรกิจลีสซิ่ง

100.00%

100.00% บริษัท สคิบ เซอร์วิส จ�ำกัด

บริษัท เนชั่นแนล ลีซซิ่ง จ�ำกัด

65.18% บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ 1. ร้อยละการถือหุ้นที่แสดงนับรวมการถือหุ้นโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ธปท. อนุญาตให้สโกเทียแบงก์เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในธนาคาร โดยถือหุ้นร้อยละ 48.99 ของจำ�นวนหุ้น ที่จำ�หน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคาร ผ่านสโกเทีย เนเธอร์แลนด์ โฮลดิ้ง บีวี ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์

034

รายงานประจำ �ปี 2557


โครงสร้ า งรายได้ของธนาคารและบริษัท ย่ อ ย โครงสร้างรายได้ของธนาคารและบริษัทย่อยจากงบการเงินรวม ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 และ 2555 ดังนี้ ตารางแสดงโครงสร้างรายได้ของธนาคารและบริษัทย่อย ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 2556 2555 ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ

รายได้ดอกเบี้ย รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนและธุรกรรมเพื่อค้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินให้สินเชื่อ การให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าการเงิน

1,894 238 4,106 20,320 25,887

1,870 457 3,861 21,239 26,452

3.65 2,294 0.89 480 7.55 3,606 41.50 21,200 51.68 21,156

6.73 1.41 10.58 62.23 62.11

รวมรายได้ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย

52,445 133.41 53,879 24,884 63.30 27,290

105.27 48,736 53.32 25,556

143.06 75.02

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

27,561

70.11 26,589

51.95 23,180

68.04

15.08 2.18 1.96 0.38 5.32 0.78 4.19

11.95 1.04 25.55 0.81 4.46 1.10 3.14

5,070 664 312 150 2,147 397 2,146

14.88 1.95 0.92 0.44 6.30 1.17 6.30

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ กำ�ไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ กำ�ไรสุทธิจากเงินลงทุน ส่วนแบ่งกำ�ไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย รายได้จากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ รายได้เงินปันผล รายได้จากการดำ�เนินงานอื่น ๆ

5,927 859 769 152 2,091 305 1,647

4.82 0.60 10.45 51.69 65.85

6,115 531 13,081 415 2,282 562 1,607

รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย

11,750

29.89 24,593

48.05 10,886

31.96

รายได้จากการดำ�เนินงานสุทธิ

39,311 100.00 51,182

100.00 34,066

100.00

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

035


การประกอบธุ ร กิ จของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธนาคารประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน และประกาศ ธปท. ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ ประกอบ กิจการเป็นผู้แนะน�ำซื้อขายหน่วยลงทุน แนะน�ำเปิดบัญชีซื้อขาย หลักทรัพย์ นายหน้าประกัน ภัย/ประกันชีวิตที่ปรึกษาทางการเงิน บริการเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้และดูแลรักษาหลักทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารมีสาขารวม 617 สาขา ส�ำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคาร มีจ�ำนวน 51 แห่ง แบ่งเป็น ส�ำนักงานแลกเปลี่ยนเงินภายในที่ท�ำการสาขา หรือ Booth in Branch จ�ำนวน 27 แห่ง และส�ำนักงานแลกเปลี่ยน เงินภายนอกที่ท�ำการสาขา หรือ Stand Alone จ�ำนวน 24 แห่ง เครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine: ATM) จ�ำนวน 2,100 เครือ่ ง เครือ่ งฝากและถอนเงินสดอัตโนมัติ (Recycling Machine) จ�ำนวน 2 เครื่อง เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ (Cash Deposit Machine) จ�ำนวน 44 เครือ่ ง และเครือ่ งบันทึกรายการสมุด คู่ฝากอัตโนมัติ (Passbook Update Machine) จ�ำนวน 122 เครื่อง

กลุ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ ธนาคารได้ ด� ำ เนิ น การปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ให้ ส ามารถตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการที่ ห ลากหลายของลู ก ค้ า ได้ดียิ่งขึ้น โดยมีผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่มหลัก ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บริการด้านเงินฝาก ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้บริการด้านเงินฝากกับกลุม่ ลูกค้าทัง้ ประเภทบุคคลธรรมดา และนิตบิ คุ คล แบ่งบริการด้านเงินฝากออกเป็น 6 ประเภท คือ เงินฝาก ออมทรัพย์ (Saving Deposit) เงินฝากประจ�ำ (Fixed Deposit) บัตร เงินฝาก (Negotiable Certificate of Deposit) เงินฝากปลอดภาษี (Tax Free Deposit) เงินฝากกระแสรายวัน (Current Deposit) และ เงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit) การตลาดและการแข่งขัน ในปี 2557 ธนาคารยั ง คงมุ ่ ง เน้ น การขยายฐานลู ก ค้ า ขนาดเล็กและกลาง ทัง้ ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ เพือ่ เพิม่ จ�ำนวน ลูกค้าให้มาใช้บริการของธนาคารเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายผ่านช่องทางการขายที่มีประสิทธิภาพ ของธนาคาร ท่ามกลางการแข่งขันระดมเงินฝากที่รุนแรง โดย เฉพาะอย่างยิ่ง จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specific Financial

036

รายงานประจำ �ปี 2557

Institutions: SFIs) และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ รวมถึงการ แข่งขันอื่น ๆ ในรูปผลิตภัณฑ์ทดแทนเงินฝาก อาทิ กองทุนรวม หุ้นกู้เอกชน ที่มีการเติบโตอย่างมีนัยส�ำคัญ โดยในปีนี้ ธนาคารได้นำ� เสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ บัญชีฟรีเวอร์ (Free-Ver Savings Account) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมจากการท�ำรายการ ถอน โอน จ่ายบิล เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการท� ำธุรกรรม ผ่านตู้ ATM ทุกธนาคาร ทั่วประเทศ กลุ่มที่ 2 บริการด้านเงินให้สินเชื่อ 2.1 สินเชื่อธุรกิจ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ สิ น เชื่ อ ธุ ร กิ จ เป็ น วงเงิ น สิ น เชื่ อ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น ในการประกอบธุรกิจ หรือใช้เสริมสภาพคล่องหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้หลากหลายประเภทสินเชื่อ 1) กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ (Corporate Banking) ธนาคารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ตอบสนอง ต่อความต้องการของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่วา่ จะเป็นเงินให้สนิ เชือ่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินให้กู้ที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการ ของลูกค้า (Flexible Loan) บริการหนังสือค�้ำประกัน (Letter of Guarantee) เพื่อค�้ำประกันการประมูลงาน สัญญา ผลงาน และ การช�ำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น เงินให้สินเชื่อโครงการ (Project Finance) เงินให้สนิ เชือ่ เพือ่ การน�ำเข้าและส่งออก (Trade Finance) รวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีต้นทุน ทางการเงินอย่างเหมาะสม (Financial Advisory Service) ทั้งทาง ด้านตลาดตราสารหนี้และตลาดทุน (Debt and Capital Market) เช่น การออกหุ้นกู้ การระดมทุนเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบริหาร ความเสี่ยงแก่ลูกค้า อาทิ Interest Rate SWAP (IRS) เพื่อช่วย ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย หรือป้องกัน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็น Forward Contract, Foreign currency SWAP เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารยังช่วย อ�ำนวยความสะดวกแก่ลกู ค้าในการบริหารจัดการด้านการเงิน (Cash Management) โดยเสนอผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารเงินสดที่ช่วย ตอบสนองความต้องการอย่างหลากหลายอีกด้วย 2) กลุม่ ลูกค้าธุรกิจลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม (Commercial Banking) ส�ำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมนั้น ธนาคารมุ่งเน้นบริการสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่นหลาก หลายโดยจะพิจารณาให้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย อาทิ สินเชื่อเติมเต็ม (Top Up Facilities) ซึ่งเป็นวงเงินพิเศษเพิ่มเติม


ส�ำหรับลูกค้า วงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) เพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ หนังสือค�้ำประกัน (Letter of Guarantee) ส�ำหรับลูกค้าธุรกิจ หรือ ลู ก ค้ า บุ ค คลที่ มี ค วามต้ อ งการใช้ ว งเงิ น ค�้ ำ ประกั น สิ น เชื่ อ ในการ ค�้ำประกันการด�ำเนินงานให้กับหน่วยงานบริษัท ทั้งจากภาครัฐและ ภาคเอกชน เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้บริการแก่ลูกค้าในการ บริหารเงินสด (Cash Management) อีกด้วย 3) กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก (SME S) ส�ำหรับ กลุ่มลูกค้า SME ขนาดเล็ก ธนาคารมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME-S ซึง่ เป็นสินเชือ่ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท เน้นการอนุมตั ทิ รี่ วดเร็ว โดยจะเน้นการขายผ่านช่องทางสาขาของธนาคารเป็นหลัก การตลาดและการแข่งขัน ธนาคารมุ ่ ง ขยายธุ ร กิ จ ไปยั ง กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ธุ ร กิ จ ลู ก ค้ า ขนาดเล็กทีม่ คี วามต้องการวงเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท เนือ่ งจาก เป็นกลุม่ ลูกค้าทีม่ คี วามต้องการการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร เป็นพิเศษ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME-S” ส�ำหรับ กลุ่มลูกค้าธุรกิจที่มีความต้องการสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งเน้นการอนุมัติที่รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการเงิน ลงทุนหรือเงินหมุนเวียนแก่ลูกค้า อีกทั้ง ธนาคารได้ร่วมกับบรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (“บสย.”) ในการค�้ำประกัน สินเชื่อ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพแต่อาจมีข้อจ�ำกัด ด้านหลักประกัน ท�ำให้มโี อกาสเข้าถึงสินเชือ่ ได้มากขึน้ พร้อมเสริมสร้าง สภาพคล่ อ งให้ แ ก่ ธุ ร กิ จ นอกจากนี้ ยั ง เน้ น การประชาสั ม พั น ธ์ และจัดโครงการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นยอด สินเชื่อและขยายฐานลูกค้า ส�ำหรับกลุม่ ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และกลุม่ ลูกค้าธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาความ สัมพันธ์อนั ดีกบั ลูกค้า และน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินทีค่ รบวงจร ทั้งผลิตภัณฑ์สินเชื่อ บริการด้านการค้าต่างประเทศ บริการบริหาร จัดการด้านการเงิน ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

2.2 สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเกี่ยวกับรถยนต์ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ

บริ ก ารสิ น เชื่ อ เพื่ อ ผู ้ ป ระกอบการเกี่ ย วกั บ รถยนต์ ที่มีความต้องการวงเงินกู้ ประเภทวงเงินกู้ระยะสั้น เพื่อใช้เป็น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นและเสริ ม สภาพคล่ อ งในกิ จ การ และวงเงิ น กู ้ ระยะยาวเพื่อใช้ ในการขยายธุรกิจ หรือลดต้นทุนทางการเงิน รวมถึง เสนอบริการทางการเงินด้านอื่น ๆ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อเพื่อใช้ ในธุรกิจ (Fleet) และการให้สญ ั ญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) เป็นต้น

การตลาดและการแข่งขัน มุ่งเน้นการให้บริการด้านสินเชื่อกับกลุ่มผู้ประกอบการ ทีเ่ ป็นพันธมิตรอันดีในธุรกิจสินเชือ่ เช่าซือ้ รถยนต์กบั ธนาคารเสมอมา โดยธนาคารใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่พัฒนาเครื่องมือส�ำหรับพิจารณา และกลั่ น กรองการอนุ มั ติ สิ น เชื่ อ ภายใต้ เ กณฑ์ ก ารควบคุ ม ความ เสี่ยงที่เหมาะสม (Credit Scoring) นอกจากนี้ ธนาคารยังมุ่งเน้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่สอดคล้องกับรูปแบบและ ช่องทางความสัมพันธ์กบั กลุม่ ลูกค้าแต่ละกลุม่ ไม่วา่ จะเป็นกลุม่ ลูกค้า ที่ธนาคารติดต่อผ่านช่องทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ กลุ่มลูกค้ารถยนต์ ใหม่ และผู้ประกอบการรถยนต์ ใช้แล้วที่ธนาคารติดต่อผ่านช่องทาง ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ หรือกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรถยนต์ ใช้แล้วที่ธนาคารติดต่อผ่านช่องทางบริษัทผู้ ให้บริการประมูลรถยนต์ เป็นต้น ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อประเภท Fleet และธุรกิจ การให้เช่าทางการเงิน (Financial Lease) ธนาคารมุ่งเน้นการ ให้บริการบนฐานกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีศักยภาพและมีความมั่นคงทาง การเงินสูง โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ช่องทางการขายให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ 2.3 สินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นการให้บริการครบวงจรในด้านการค้าต่างประเทศ เช่น การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อน�ำเข้าสินค้า (Import L/C issuance) และการให้สินเชื่อเพื่อการน�ำเข้าแบบทรัสต์รีซีท (Trust Receipt) การเป็นตัวแทนในการช�ำระเงินค่าสินค้าตามเอกสาร เรียกเก็บ D/P, D/A ให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ การให้สินเชื่อเพื่อ การส่งออกแบบแพคกิ้งเครดิต (Packing Credit) การรับซื้อและ ซื้อลดเอกสารส่งออก (Export Bill Purchased/Discounted) การบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารส่งออก (Export Bill for Collection) การออกหนังสือค�้ำประกันในประเทศและต่างประเทศ (Letter of Guarantee, Stand-by L/C) การบริการเงินโอนไปต่างประเทศ และการบริการรับเงินโอนจากต่างประเทศ การตลาดและการแข่งขัน การบริการที่ถูกต้องแม่นย�ำ สะดวกรวดเร็ว อัตรา ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ถือเป็นตัวแปรส�ำคัญในการส่งเสริม ให้ลูกค้ามาใช้บริการด้านธุรกรรมการค้าต่างประเทศ โดยธนาคาร ค�ำนึงถึงการตอบสนองความต้องการและการส่งเสริมการท�ำธุรกรรม ของลูกค้าในภาพรวม ธนาคารมีเป้าหมายการขยายฐานลูกค้าทั้งที่ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารได้ สนับสนุนวงเงินสินเชือ่ เพือ่ การน�ำเข้า สินเชือ่ เพือ่ การส่งออก เพือ่ เป็น เงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องให้แก่ลูกค้า รวมทั้งให้คำ� แนะน�ำ

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

037


เกี่ยวกับเอกสารการค้าต่างประเทศจากผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งธนาคาร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการค้าต่างประเทศให้มีความ หลากหลาย และตรงตามความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดย ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่มีครอบคลุมอยู่ ใน ทุกทวีป เพือ่ บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เพือ่ ให้ลกู ค้ามีความพึงพอใจ ในผลิตภัณฑ์และบริการจากธนาคาร 2.4 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ธนาคารให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ใหม่ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ใช้แล้ว และ สินเชือ่ Sale and Lease Back ภายใต้ชอื่ ผลิตภัณฑ์ “สินเชือ่ ธนชาต รถแลกเงิน” ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการเงินสด ด้วยวงเงินอนุมัติที่สูงกว่าสินเชื่อเงินสดส่วนบุคคล และมีระยะเวลาการผ่อนช�ำระนานกว่าสินเชื่อบุคคลทั่วไป ผู้บริโภค จึงสามารถเลือกระยะเวลาและค่างวดที่สอดคล้องกับความสามารถ ในการผ่อนช�ำระ โดยมีจุดขายคือ การอ�ำนวยความสะดวกลูกค้าผ่าน ช่องทางสาขาที่มีอยู่กว่า 600 สาขาของธนาคาร การตลาดและการแข่งขัน จากสภาวะการขายรถยนต์ ในประเทศที่หดตัวลงกว่า ร้อยละ 35 รวมถึงภาวะการแข่งขันในตลาด ซึ่งปัจจุบันกลุ่ม OEM Captive Finance ได้มีบทบาทในการแข่งขันการตลาดมากขึ้น ในขณะทีภ่ าวะเศรษฐกิจและระดับของหนีค้ รัวเรือนส่งผลโดยตรงต่อ คุณภาพหนี้ สถาบันการเงินผู้ ให้บริการธุรกิจเช่าซื้อจึงต้องมีการปรับ กลยุทธ์การด�ำเนินงานเพือ่ คงความสามารถในการแข่งขันและด�ำเนิน ธุรกิจเช่าซื้อ ในปี 2557 ธนาคารจึงเริ่มโครงการ Hire Purchase End-to-End ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาระบบและขั้นตอนการท�ำงาน ตั้งแต่การขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เช่าซื้อ กลยุทธ์ราคา นโยบาย และกระบวนการควบคุมความเสี่ยง การพิจารณาเครดิต ฯลฯ จนถึง งานบริการหลังการขายและกระบวนการติดตามการช�ำระหนี้ เพื่อ ปรับการด�ำเนินธุรกิจการให้บริการและการขาย การควบคุมต้นทุนการ ด�ำเนินงาน และคุณภาพหนี้ นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการให้ บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศผ่านการสร้างความสัมพันธ์กับ ผู้แทนจ�ำหน่ายรยนต์และงานบริการทางสาขา ธนาคารยังมีนโยบาย ส่งเสริมความสัมพันธ์และเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายในระดับ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์อีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่ง ทางการตลาดด้านเช่าซื้อรถยนต์และส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็น ผู้น�ำด้านเช่าซื้อรถยนต์

038

รายงานประจำ �ปี 2557

2.5 สินเชื่อบุคคลที่มีหลักประกัน ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ได้ แ ก่ บริ ก ารสิ น เชื่ อ เพื่ อ ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ภายใต้ ชื่ อ ผลิตภัณฑ์ธนชาต Home Loan บริการสินเชื่ออเนกประสงค์ ภายใต้ชอื่ ผลิตภัณฑ์สนิ เชือ่ ธนชาตบ้านแลกเงิน (Cash Your Home) และสินเชื่อโฮมพลัส (Home Plus) การตลาดและการแข่งขัน ธนาคารมุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และน�ำเสนอบริการที่ครบวงจร ครอบคลุมทุกความต้องการของ ลูกค้า รวมถึงมีการส่งเสริมการตลาดตามสถานการณ์และภาวะการ แข่งขัน โดยมีสายงาน Retail Banking เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนอัตราดอกเบี้ย โดยลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ลูกค้าที่ต้องการซื้อบ้าน และลูกค้าที่ต้องการ สินเชื่ออเนกประสงค์ โดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ ธนาคารจัดให้ มีช่องทางการให้บริการ โดยเจ้าหน้าที่ทีมขายลูกค้าผู้บริโภค และ เครือข่ายสาขาดูแลการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดใน แผนธุรกิจ และท�ำการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ ผ่านเครือข่าย สาขา 2.6 สินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ การให้บริการด้านสินเชื่อบุคคลโดยไม่มีหลักประกัน ประเภทสิ น เชื่ อ อเนกประสงค์ ที่ ไ ม่ ร ะบุ วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละระบุ วัตถุประสงค์ เพื่อเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้หลากหลายและครอบคลุมทุกความต้องการ ตามเงื่อนไขสินเชื่อ ที่ก�ำหนด ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1) สินเชื่อส่วนบุคคล FLASH Loan เป็นสินเชื่อ อเนกประสงค์ ส�ำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ที่ต้องการเงินก้อน โดย ลูกค้าสามารถผ่อนช�ำระเป็นรายเดือนเท่า ๆ กันทุกเดือนตามก�ำหนด ระยะเวลา ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 60 เดือน ด้วยวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท 2) สิ น เชื่ อ สารพั ด นึ ก เป็ น สิ น เชื่ อ อเนกประสงค์ วงเงินกู้เพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารที่มีประวัติ การผ่อนช�ำระดี โดยลูกค้าสามารถผ่อนช�ำระเป็นรายเดือนเท่า ๆ กัน ทุกเดือน ตามก�ำหนดระยะเวลา 3) สิ น เชื่ อ ส� ำ หรั บ พนั ก งานในโครงการพิ เ ศษ (Welfare Loan) เป็นสินเชื่อที่ให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าของบริษัท ที่เข้าร่วมโครงการกับธนาคาร


4) สินเชื่อเพื่อการศึกษา (Scholar Loan) เป็น สินเชือ่ ทีร่ ะบุวตั ถุประสงค์ชดั เจนเพือ่ ช�ำระค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จา่ ย ในการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 5) สิ น เชื่ อ บ� ำ เหน็ จ ค�้ ำ ประกั น เป็ น สิ น เชื่ อ อเนกประสงค์ โครงการพิเศษส�ำหรับกลุม่ ลูกค้าข้าราชการผูร้ บั บ�ำนาญ รายเดือนผ่านกรมบัญชีกลาง 6) บัตรสินเชื่อบุคคล (FLASH Card) เป็นสินเชื่อ หมุ น เวี ย นส่ ว นบุ ค คล ซึ่ ง ให้ บ ริ ก ารในรู ป แบบบั ต รสิ น เชื่ อ บุ ค คล ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “FLASH Card” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นความ สะดวกและรวดเร็วในการเบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้ทั่วโลก โดยลูกค้าสามารถที่จะเลือกจ่ายขั้นต�่ำ (3%) ได้ ในแต่ละรอบบัญชี เหมาะส�ำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้เงินเป็นระยะเวลาสั้น ๆ 7) สิ น เชื่ อ บุ ค คล FLASH O/D (Unsecured FLASH O/D) เป็นวงเงินเบิกเกินบัญชี (Over Draft) ทีไ่ ม่มหี ลักทรัพย์ ค�้ำประกัน ธนาคารจะให้บริการส�ำหรับลูกค้าคนส�ำคัญของธนาคาร เพื่อน�ำวงเงินไปใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการลงทุนในธุรกิจ 8) บัตรเครดิต เป็นวงเงินสินเชือ่ ในบัตรส�ำหรับใช้ซอื้ สินค้าและบริการแทนเงินสด หรือสามารถเบิกถอนเงินสดได้ ธนาคาร มีบัตรเครดิตร่วมกับ VISA และ Master Card เพื่อให้บริการบัตร เครดิตหลากหลายประเภท โดยแบ่งตามคุณสมบัติของลูกค้าและ ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการใช้บริการบัตรเครดิต ภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ดังนี้ - บัตรเครดิตธนชาต Drive ส�ำหรับกลุ่มลูกค้า ทั่วไปที่ต้องการมีบัตรเครดิต โดยมีสิทธิประโยชน์หลักในการรับ ส่วนลดในรูปแบบเป็นการจ่ายคืนเงินบางส่วน (Cash Back) ส�ำหรับ การเติมน�้ำมัน - บัตรเครดิตธนชาต MAX Platinum ส�ำหรับ ลูกค้าทีต่ อ้ งการอภิสทิ ธิ์ และสิทธิประโยชน์ ในรูปแบบของความหรูหรา สะดวกสบายในฐานะผูถ้ อื บัตร และยังได้รบั ส่วนลดในรูปแบบของจ่าย คืนเงินบางส่วน (Cash Back) ส�ำหรับทุก ๆ ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร - บัตรเครดิตธนชาต LIVE Platinum เป็นบัตร เครดิตที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้ถือบัตรรุ่นใหม่ที่สนใจการผ่อนช�ำระ และสิทธิ ประโยชน์ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต�่ำกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตทั่วไป โดยจะ ยังคงได้รับสิทธิพิเศษระดับ Platinum การตลาดและการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Lending Product) ให้ก�ำหนดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน บนพืน้ ฐานความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าเป้าหมายเป็นส�ำคัญ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์การน�ำเสนอแคมเปญทางการตลาด ช่องทางการบริการ และวิธกี ารให้บริการทีเ่ หมาะสมกับลูกค้า ซึง่ ได้จดั ให้มผี ลิตภัณฑ์ทหี่ ลากหลาย โดยให้ลกู ค้าเลือกได้ตามความเหมาะสม ตามช่วงอายุ (Life Stage) และวิธีการด�ำเนินชีวิต (Life Style) โดย เน้นการสือ่ สารทีเ่ ข้าใจได้งา่ ย สามารถใช้ได้ตามเงือ่ นไขจริง ไม่ยงุ่ ยาก

และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ทัง้ นี้ เพือ่ การ เข้าถึงลูกค้าในฐานะผลิตภัณฑ์ ในชีวิตประจ�ำวัน (Everyday Needs) กลยุทธ์การแข่งขันหลักส�ำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ 1. สินเชือ่ ส่วนบุคคล จัดให้มผี ลิตภัณฑ์ทหี่ ลากหลาย ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่าง ชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของลูกค้า 2. บัตรสินเชื่อหมุนเวียน เป็นวงเงินส�ำรองในการ ใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกเวลา ซึ่งลูกค้าสามารถ เบิกเงินสินเชื่อได้ตามความต้องการจากเครื่อง ATM ทั่วโลก 3. บัตรเครดิต เน้นการใช้ ในชีวิตประจ�ำวันที่ลูกค้า ผู้ถือบัตรสามารถใช้ ได้จริงไม่ยุ่งยาก และได้รับผลประโยชน์จาก การใช้บัตรตรงตามความต้องการ นอกจากนี้ ธนาคารได้ขยายการ ให้บริการบัตรเครดิตส�ำหรับลูกค้าธุรกิจ ได้แก่ บัตรเครดิต ธนชาต คอร์ปอเรท เพือ่ เพิม่ ความสะดวกในการบริหารจัดการด้านการเบิกจ่าย ส�ำหรับลูกค้าธุรกิจ กลุ่มที่ 3 บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ รองรับการท�ำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าผ่านช่องทาง ต่าง ๆ ของธนาคาร ให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย บริการโอนเงิน (Fund Transfer) บริการโอนเงิน รายย่อยอัตโนมัติ (ATS) บริการโอนเงินรายใหญ่ระหว่างธนาคาร (BAHTNET) บริการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (Bulk Payment System) บริการรับช�ำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ (Bill Payment) บริการบัตรเดบิต นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบการให้บริการผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้แก่ - บริการ Thanachart i-Net - บริการ Thanachart SMS Alert - ผลิตภัณฑ์บัตรเดบิตแคชแบ็ก การตลาดและการแข่งขัน สามารถน�ำเสนอได้ทงั้ บริษทั ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเน้น กลยุทธ์ ในการขายผ่านช่องทางสาขาแบบ Cross selling และ Up-selling ส�ำหรับกลุ่มลูกค้าบุคคลที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ในการท� ำ ธุ ร กรรม และต้ อ งการความปลอดภั ย ในการโอนเงิ น เพิ่มรายการส่งเสริมการขายให้ดึงดูดใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น เน้นการเข้า ถึง ความง่าย และสะดวกรวดเร็วของการให้บริการ และสามารถรับ เงินได้ภายในวันเดียวกับวันที่สั่งโอน โดยมีสาขาตั้งอยู่ในศูนย์การค้า หรือบริเวณใกล้เคียงอาคารส�ำนักงานเพื่อพร้อมให้บริการ ธนาคาร ได้เปิดให้บริการ ดังนี้

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

039


1. บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กงิ้ ส�ำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น สอบถามยอด คงเหลือในบัญชี โอนเงินภายในและระหว่างธนาคาร ตลอดจนช�ำระ ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง 2. บริการแจ้งข้อมูลการเงินผ่านระบบ SMS แจ้งผลการท�ำ รายการไปยังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการฝาก ถอน โอน ตลอด 24 ชั่วโมง 3. มอบบริการทีเ่ ป็นเอกลักษณ์พเิ ศษของบัตรเดบิตแคชแบ็ก ทั้งความคุ้มค่าจากการบริการรับเงินคืนเข้าบัญชีทุกยอดการใช้จ่าย ผ่านบัตร และความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ถือบัตรด้วยเทคโนโลยีชิพ EMV ที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูลบัตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มที่ 4 บริการด้านอื่น ๆ 4.1 บริการธุรกิจปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้ บ ริ ก ารซื้อ ขายธนบั ต รต่างประเทศ Travellers’ cheques รวมถึงการซือ้ ขายเงินตราต่างประเทศทันที และการซือ้ ขาย เงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อธุรกรรมของลูกค้าทางด้านการค้า ต่างประเทศ และเพื่อการโอนเงินตราต่างประเทศเข้า/ออก ส�ำหรับ การรับและช�ำระค่าสินค้าและบริการเพื่อบุคคลธรรมดา รวมถึง การเปิดบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (FCD) เป็นต้น การตลาดและการแข่งขัน ธนาคารได้มีการขยายเครือข่ายสาขาและส�ำนักงาน แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ครอบคลุมการให้บริการแก่ธุรกิจ และนักท่องเที่ยวไปยังทั่วประเทศ รวมถึงการปรับอัตราแลกเปลี่ยน เงิ น ตราต่ างประเทศ โดยอิงกับการเคลื่อนไหวของเงินตราต่าง ประเทศในตลาดโลกเป็นส�ำคัญ ท�ำให้ลกู ค้าของธนาคารได้ราคาทีท่ นั ต่อเหตุการณ์และเป็นธรรม 4.2 ธุรกิจบริการงานสนับสนุนธุรกิจหลักทรัพย์ ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้บริการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) เป็น ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน (Fund Supervisor) เป็นผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ (Bondholder Representative) และเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์และตัวแทนช�ำระเงิน (Registrar and Paying Agent)

040

รายงานประจำ �ปี 2557

การตลาดและการแข่งขัน เพื่ อ เติ ม เต็ ม ธุ ร กิ จ ให้ ส ามารถให้ บ ริ ก ารครอบคลุ ม ทุกความต้องการของลูกค้า ในส่วนของการให้บริการเป็นผู้รับฝาก ทรัพย์สินและผู้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารใช้ผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารการเงินและการลงทุนแก่กองทุน ต่าง ๆ ที่มาใช้บริการ เช่น ผลิตภัณฑ์ด้าน Cash Management เป็นต้น ส่วนบริการผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และนายทะเบียนหลักทรัพย์และ ตัวแทนช�ำระเงิน ธนาคารอาศัยเครือข่ายธุรกิจและความสัมพันธ์ อันดีกับฐานลูกค้าของธนาคารในการขยายการบริการดังกล่าว

ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ โอกาสหรื อ ข้ อ จ�ำกั ด ในการ ประกอบธุรกิจ ในปี 2557 ทีผ่ า่ นมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 0.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่าในช่วง 5 เดือนแรก ท�ำให้เศรษฐกิจไทย ในช่วงครึ่งปีแรกไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงระยะเดียวกันของ ปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังกลับมาขยาย ตัวร้อยละ 1.4 โดยเศรษฐกิจในไตรมาสสี่ของปี 2557 ขยายตัว ร้ อ ยละ 2.3 ปรั บ ตั ว ดี ขึ้ น อย่ า งชั ด เจนจากที่ ห ดตั ว ร้ อ ยละ 0.5 ในไตรมาสแรก การขยายตัว ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสสอง และร้อยละ 0.6 ในไตรมาสสาม โดยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 การลงทุน ภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่องแม้จะเป็นระดับต�่ำที่ร้อยละ 4.1 เพิ่มขึ้น เล็กน้อยจากร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสาม การใช้จา่ ยของภาครัฐฟืน้ ตัว ต่อเนือ่ งจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสสาม เป็นร้อยละ 5.5 ในไตรมาสสี่ การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากรายได้ ภาคเกษตรที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรมีราคาตกต�่ำ ในตลาดโลกต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ราคาข้าว น�้ำมันปาล์มและ ราคายางพารา ภาคการส่งออกทีเ่ ผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมถึง มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ด้ า นเทคโนโลยี ก ารผลิ ต ท� ำ ให้ เ กิ ด ข้ อ จ� ำ กั ด ทางด้ า น การแข่งขัน (Competitiveness) ไม่สามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนอง ความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้มากนัก ท�ำให้การส่งออก ในปี 2557 เฉลี่ยหดตัวลงร้อยละ 0.2 ต่อปี จากที่เคยขยายตัว ร้อยละ 0.1 ในปี 2556 เช่นเดียวกับการน�ำเข้าในปีที่ผ่านมา หดตัว เฉลี่ยร้อยละ 9.5 จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2556 โดยเป็น การหดตัวจากทุกโครงสร้างของการน�ำเข้า ไม่ว่าจะเป็นการน�ำเข้า วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค พลังงาน เป็นต้น เมื่อพิจารณาด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้าน ในประเทศและด้านต่างประเทศ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต�ำ่ อย่าง ต่อเนื่อง และราคาน�้ำมันโลกที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้อัตรา เงินเฟ้อลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนือ่ ง ส�ำหรับดุล เงินทุนเคลือ่ นย้ายขาดดุลจากการช�ำระคืนเงินกูต้ า่ งประเทศระยะสัน้ ของสถาบันรับฝากเงิน และการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของ นักลงทุนไทย โดยภาพรวมดุลการช�ำระเงินใกล้สมดุล ขณะที่เงิน ส�ำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง


ภาพรวมเงินเฟ้อปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปเฉลีย่ ทัง้ ปีอยู่ใน ระดับต�ำ่ ทีร่ อ้ ยละ 1.9 ขยายตัวในอัตราทีช่ ะลอลง เนือ่ งจากราคาน�ำ้ มัน เชื้อเพลิงในประเทศปรับลดลงต่อเนื่องตามราคาน�ำ้ มันในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.59 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2556 ซึ่งยังถือว่าอยู่ในกรอบ เงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินใน ธปท. ได้ปรับเป้าหมายเงินเฟ้อ จากเดิมทีม่ กี ารพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อพืน้ ฐาน มาเป็นการพิจารณา อัตราเงินเฟ้อแบบทัว่ ไปโดยเริม่ ใช้ตงั้ แต่ปี 2558 โดยให้อตั ราเงินเฟ้อ ทั่วไปเคลื่อนไหวเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 2.5±1.5 ทั้งนี้ ธปท. คาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลีย่ ของไทยในปี 2558 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.2 ซึง่ เป็นการ ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ต�่ำ ทัง้ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 นั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบีย้ นโยบายไว้ทรี่ อ้ ยละ 2.00 ต่อปี โดย 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยมีความเห็นว่า นโยบายการเงินปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ผ่อนปรน เพียงพอต่อการสนับสนุนการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี กรรมการ 2 รายเห็นว่า นโยบายการเงินควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพิม่ เติม ในช่วงทีค่ วามเสีย่ งจากเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมีมาก ขึ้น แรงกระตุ้นจากภาคการคลังยังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต�่ำมากไปอีกระยะหนึง่ ซึง่ จะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการนโยบาย การเงิน ยังคงเห็นพ้องถึงความจ�ำเป็นที่นโยบายการเงินควรอยู่ใน ระดับผ่อนปรนต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยจะมีการติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินของไทย อย่างใกล้ชดิ และพร้อมที่จะด�ำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมต่อไป ในปี 2558 การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว ต่อเนื่อง อัตราการขยายตัวอยู่ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 3.5 - 4.0 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นการเบิกจ่ายจากภาครัฐที่ล่าช้า ท�ำให้ การลงทุน ภาคเอกชนล่าช้าออกไป เนื่องจากภาคธุรกิจส่วนใหญ่ รอความชัดเจนของการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์การ ขยายตัวในปี 2558 การใช้จ่ายจากภาครัฐถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ดีขึ้น ด้านการส่งออกที่ฟื้นตัวช้า ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต�่ำกว่าการคาดการณ์ รวมถึงมี ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ขณะที่การ ท่ อ งเที่ ย วคาดว่ า จะทยอยปรั บ ตั ว ดี ขึ้ น แต่ ก็ ยั ง ต�่ำ กว่ า ระดั บ ปกติ การบริโภคสินค้าคงทนของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟืน้ ตัวช้า ส่วนหนึง่ มาจากรายได้ภาคเกษตรที่ตกต�่ำ ภาวะหนี้ ภาคครัวเรือนที่ทรงตัว ในระดับสูง แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจาก รายได้นอกภาคเกษตร รวมทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และราคาน�้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง

จากภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ธนาคาร จั ด ท� ำ แผนงานในการติ ด ตามและทบทวนสถานการณ์ แ วดล้ อ ม (Landscape) ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ อย่าง ใกล้ชดิ ไม่วา่ จะเป็นการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ระยะเวลา ของการเบิกจ่ายงบประมาณจากภาครัฐ โครงการลงทุนจากทัง้ ภาครัฐ และเอกชน การใช้จ่ายของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากหนี้ ภาคครัวเรือนทีอ่ ยู่ในระดับสูง การเปลีย่ นแปลงภายนอกประเทศ อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2558 การด�ำเนินมาตรการผ่อนคลาย นโยบายการเงินพิเศษของธนาคารกลางยุโรป เพือ่ แก้ไขปัญหาเงินฝืด และกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนให้เกิดการฟื้นตัว เช่นเดียวกับ ประเทศญีป่ นุ่ ทีม่ กี ารใช้มาตรการการผ่อนคลายทางการเงินพิเศษเพือ่ ไม่ให้เกิดปัญหาเงินฝืดในประเทศ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ที่ชะลอลงจากการปฏิรูปภายในประเทศจีน ซึ่งปัจจัยภายนอกเหล่านี้ อาจกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้และอาจส่งผลกระทบต่อ อุปสงค์ ในประเทศซึ่งเป็นแรงผลักดันส�ำคัญของการขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณเงิน ในตลาด สภาพคล่องของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ ความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน และการปรับดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. การติดตามความคืบหน้าของโอกาส (Opportunity) ใน การประกอบธุรกิจ จากกระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) ท�ำให้การขยายตัวอย่างต่อเนือ่ งของ กิจกรรมการค้าชายแดนกับประเทศเพือ่ นบ้าน (พม่า ลาว กัมพูชา และ มาเลเซีย) ทีย่ งั คงเติบโตขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ในทุกด่านการค้าชายแดน จะช่วยผลักดันให้ไทยยังคงเกินดุลจากการค้าชายแดนภายใต้ด่าน การค้าชายแดนต่าง ๆ รอบประเทศ จากประเทศเพื่อนบ้าน นับเป็น ตลาดศักยภาพส�ำหรับสินค้าส่งออกอีกแห่งหนึง่ ทีอ่ ยูใ่ กล้ตวั โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เมื่อก�ำแพงภาษีระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มนี้จะลดน้อยลงในช่วงที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึง่ โอกาสในการประกอบธุรกิจจะ เกิดขึน้ จากการเข้าถึงและการน�ำเสนอธุรกรรมทางการเงินต่อผูบ้ ริโภค และผู้ประกอบการในพื้นที่การค้าชายแดน และการให้การสนับสนุน ผู้บริโภคและผู้ประกอบการทางด้านเงินทุน การบริการ และการเป็น ทีป่ รึกษาทางการเงิน ทัง้ นี้ เพือ่ ให้สอดรับกับแผนพัฒนาระบบสถาบัน การเงินระยะที่ 3 ที่จะเริ่มมีขึ้นในปี 2558 ในอันที่จะให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการและผู้ออมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการท�ำธุรกรรม และการกระจายความเสีย่ งในการลงทุนได้มากขึน้ อีกทัง้ ให้สอดรับกับ แผนกลยุทธ์ระบบการช�ำระเงิน ปี 2555 - 2559 (Payment System Roadmap) ในการทีจ่ ะส่งเสริมการท�ำธุรกรรมและการเข้าถึงการช�ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การเตรียมความพร้อมและการลดความเสี่ยง ในระบบการช�ำระเงิน นอกจากการติดตามความคืบหน้าของโอกาสแล้ว การสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน โดยการบริหารจัดการ ต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ ทางการเงิ น จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

041


ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มการแข่งขัน จากผลประกอบการทางการเงิ น ของของระบบธนาคาร ในปี 2557 พบว่า ผลก�ำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 223,875 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 4.20 จากปี 2556 โดยธนาคาร พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของก�ำไรสุทธิ ร้อยละ 5.38 ในขณะที่สาขาธนาคารต่างประเทศมีอัตราเติบโตที่ หดตัวลงทีร่ อ้ ยละ 7.79 อันสะท้อนถึงความสามารถในการปรับตัวของ กลุ่มธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจและการเมืองที่ผันผวน ในปี 2557 กลยุทธ์หลักในการ แข่งขันของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มุ่งเน้นกลยุทธ์การเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินครบวงจร (Universal Banking) กลยุทธ์ ในการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง (Customer Centricity) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าสู่ระบบธนาคาร ดิจิตอล (Digital Banking) โดยการน�ำเทคโนโลยีอันทันสมัยมา พัฒนาเพือ่ ประสิทธิภาพในการให้บริการและเข้าถึงลูกค้า ผ่านการให้ บริการธนาคารดิจติ อลผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) ธนาคาร ดิจิตอลผ่านมือถือ (Mobile Banking) เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่าง ทั่วถึงในทุกที่ ทุกเวลา ทุกความต้องการ รวมทั้งยังได้ ให้ความส�ำคัญ กับการขยายเครือข่ายสาขาและส�ำนักแลกเปลี่ยนเงินตราที่พร้อม ให้บริการแก่ประชาชนและนักธุรกิจ ในการตอบรับการเข้าสูป่ ระชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในจังหวัดทีอ่ ยูใ่ นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Specialized Economic Zone: SEZ) การจัดตั้งสาขาธนาคารเต็มรูปแบบหรือ ส�ำนักงานสาขาธนาคารในกลุ่มประเทศอาเซียน (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam: CLMV) เพื่อเป็นการสนับสนุนการขยายธุรกิจ ของลูกค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกทางหนึ่ง

พาณิชย์1

สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 2557 เท่ากับ 12,872,862 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.30 หรือประมาณ 530,769 ล้านบาท จากปี 2556 โดยธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ มีสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94 ในขณะที่สาขาธนาคารต่างประเทศ มีสินเชื่อหดตัวลงร้อยละ 2.04 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม สินเชื่อ โดยรวมที่มีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นผลเนื่องมาจากผลกระทบจาก ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ปริมาณหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ใน ระดับสูง ธนาคารพาณิชย์ขยายฐานลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมและสินเชื่อรายย่อยอย่างรอบคอบรัดกุม และยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อที่อยู่ อาศัยและสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งสะท้อนความระมัดระวังของสถาบัน การเงินที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

1 ระบบธนาคารพาณิชย์

042

ความส�ำเร็จของธนาคารธนชาตในปี 2557 ในปี 2557 ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการปรับ โครงสร้างสินเชือ่ เพือ่ สร้างความสมดุล โดยการใช้กลยุทธ์ ในการขยาย สินเชื่อประเภทอื่นนอกเหนือจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ผ่านการน�ำ เสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อธุรกิจลูกค้า รายใหญ่ สินเชื่อธุรกิจลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อที่อยู่ อาศัย และสินเชือ่ ลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปรับกลยุทธ์ ในการมุ่งเน้นสินเชื่อที่มีผลตอบแทนสูง ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินเชือ่ ธุรกิจขนาดย่อม (SME-S) สินเชือ่ บัตรเครดิต และสินเชือ่ ส่วน บุคคล ซึ่งในปี 2557 ธนาคารประสบผลส�ำเร็จในการขยายธุรกิจและ ฐานลูกค้าของสินเชือ่ ทัง้ ภาคธุรกิจและรายย่อย เพือ่ บรรลุจดุ มุง่ หมาย ในการเพิม่ รายได้คา่ ธรรมเนียมในระยะยาวและปรับโครงสร้างรายได้ ของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารได้เล็งเห็นความส�ำคัญและ มุง่ เน้นการขายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์รว่ มกันกับบริษทั ในเครือผ่าน การน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้นวัตกรรมใหม่ของธนาคารควบคู่ไปกับ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือ อาทิ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ผลิตภัณฑ์หลักทรัพย์ และผลิตภัณฑ์กองทุนรวม เป็นต้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ธนาคารได้ร่วมเป็นพันธมิตรทาง ธุรกิจกับพรูเด็นเชียลประกันชีวิต อันน�ำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทาง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ที่ ส ามารถตอบสนองความต้ อ งการที่ ห ลากหลาย ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ท�ำให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความ ต้องการและได้รับการพัฒนาจากสถาบันการเงินชั้นน� ำระดับโลก โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา ธนาคารได้สร้างผลงานทางด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาลูกค้า องค์กรภายนอก และ สาธารณชน ได้แก่ รางวัล “The most Innovative Prepaid Program 2014” จากมาสเตอร์การ์ด เป็นรางวัลอันทรงเกียรติ ที่ยืนยัน ความเป็นอันดับหนึ่งในการเป็นผู้สนับสนุนการออกบัตร Prepaid ด้วยความร่วมมือกับบริษัทในเครือของผู้ ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ มือถือยักษ์ ใหญ่ทั้งสามเครือข่าย (Advanced mPAY, PAYSBUY และ TrueMoney) เป็นสิ่งยืนยันว่า ธนาคารมีความเชี่ยวชาญใน การออกบัตร Prepaid ทัง้ ในรูปแบบบัตรเสมือน (Virtual Prepaid Card) บนแอพพลิเคชั่นในสมาร์ตโฟนและแท็ปเล็ต และบัตรพลาสติก เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่นิยมการชอปปิงผ่านร้านค้าออนไลน์และ ร้านค้ารับบัตรทั่วไปให้ ใช้บริการอย่างปลอดภัยสูงสุดไร้ขีดจ�ำกัด ธนาคารมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การด�ำเนินงานของธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ ระบบ ปรับปรุงกระบวนการท�ำงานให้มคี วามรวดเร็วมากยิง่ ขึน้ ระบบการจัด เก็บหนี้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมหนี้ด้วยคุณภาพและการตั้ง เงินส�ำรองของธนาคาร การพัฒนาเครื่องมือที่จะสนับสนุนพนักงาน ในการดูแลลูกค้า คือ ระบบ Customer Relationship Management

หมายถึง ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศและสาขาธนาคารต่างประเทศรวม 30 ธนาคาร

รายงานประจำ �ปี 2557


ทัง้ ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ทีจ่ ะช่วยให้พนักงานของเราน�ำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ภายใต้ความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง กลุม่ ธนชาตและสโกเทียแบงก์ กลุม่ ธนชาตได้นำ� ความเชีย่ วชาญและ นวัตกรรมของสโกเทียแบงก์ มาพัฒนาระบบงานให้ทันสมัยอย่าง ต่อเนื่อง เช่น ระบบ Loan Origination System เป็นระบบงาน อนุมตั สิ นิ เชือ่ ทีท่ นั สมัย มายกระดับคุณภาพการอนุมตั สิ นิ เชือ่ รายย่อย ทุกประเภทของธนาคาร อาทิ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ บัตรเครดิต และบัตรเงินสด ให้ถูกต้อง รวดเร็ว และลดความเสี่ยง จากการเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ โดยใช้ข้อมูล Scoring ที่น่าเชื่อถือ ตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้า รวมถึงเพิม่ ประสิทธิภาพ ในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า อันน�ำมาซึ่งความพึงพอใจ และประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า ตลอดจนเพิ่มจ�ำนวนการถือครอง ผลิตภัณฑ์และรายได้ ให้แก่ธนาคาร โดยในปี 2557 ทีผ่ า่ นมา ธนาคาร ได้สร้างผลงานทางด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยี ให้เป็นที่ประจักษ์ แก่บรรดาลูกค้า องค์กรภายนอก และสาธารณชน ได้แก่ รางวัลสุดยอด ด้านไอซีที “ICT Best Practice Awards 2014” จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ บริษัท เออาร์ไอพี จ�ำกัด (มหาชน) โดยพิจารณาจากการที่ธนาคาร มีการรักษาสมดุลในการใช้เทคโนโลยีอย่างโดดเด่น โดยสามารถรักษา สมดุลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยและอ�ำนวยความสะดวก ให้กับผู้ ใช้บริการได้อย่างเต็มที่ และมีการน�ำระบบ ICT มาต่อยอด ธุรกิจได้อย่างประสบความส�ำเร็จ นอกจากนี้ ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญบุคลากรที่เป็น ทรัพยากรส�ำคัญขององค์กร โดยการเพิม่ พูนความรู้บคุ ลากรผ่านการ ฝึกอบรมทัง้ ในและต่างประเทศ การสอนงาน (Coaching) การพัฒนา ภาวะผู้น�ำ เพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีภาวะผู้น�ำที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ และ มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่รับผิดชอบ ให้เกิดการด�ำเนินงาน ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรธุรกิจชั้นน�ำที่ประสบ ความส� ำ เร็ จ สามารถสร้ า งมู ล ค่ า ระยะยาวให้ แ ก่ ผู ้ ถื อ หุ ้ น และผู ้ มี ส่วนได้เสีย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ธนาคารจึงมุ่งมั่น ด�ำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ เี ป็นแนวทางและให้ ความส�ำคัญกับการมีจรรยาบรรณในการด�ำเนินธุรกิจ ธนาคารได้มกี าร ประกาศนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณอย่างต่อเนือ่ ง ผ่านทางระบบ e-Learning เพือ่ เป็นกรอบความประพฤติทสี่ ะท้อนถึง คุณค่าองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้มี การพัฒนาตนเอง ส�ำนึกในหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของตนในการปฏิบตั ิ หน้าที่ของตนด้วยความถึงพร้อมซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของธนาคารสามารถน�ำแนวทาง ดั ง กล่ า วไปประยุ ก ต์ ใช้ ให้ เ หมาะสม โดยยึ ด มั่ น ในคุ ณ ธรรม ความซือ่ สัตย์ สุจริต และปฏิบตั สิ อดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ธนาคารเชื่อมั่นว่าการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ จะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสร้างความส�ำเร็จสูงสุดในการด�ำเนินธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อมั่นจากสังคมและสะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดี ของธนาคาร โดยในปี 2557 ทีผ่ า่ นมา ธนาคารได้สร้างผลงานทางด้าน ธรรมาภิบาลและจรรยาบรรณในการด�ำเนินธุรกิจ ให้เป็นทีป่ ระจักษ์แก่ บรรดาลูกค้า องค์กรภายนอก และสาธารณชน ดังนี้ - ในปี 2557 กลุม่ ธนชาตรวม 11 บริษทั ได้รบั ประกาศนียบัตร รับรองการเป็นสมาชิกโครงการ “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชน ไทยในการต่อต้านการทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC) ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือของ 8 องค์กรที่ส�ำคัญ ได้แก่ หอการค้าไทย หอการค้านานาชาติ สมาคมบริษทั จดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุ ร กิ จ ตลาดทุ น ไทย สภาอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศ สภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) - โล่รางวัลจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ทีธ่ นาคารให้ความร่วมมือในการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ส�ำคัญของประเทศว่าด้วยการป้องกันการปราบปรามการฟอกเงิน กรณีตรวจสอบการท�ำธุรกรรมที่ผิดปกติ จนน�ำไปสู่การยับยั้งความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้าได้ - โล่ประกาศเกียรติคุณ “องค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการ ยึดทรัพย์คดียาเสพติด” จากส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด (ส�ำนักงาน ป.ป.ส.) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพการ เป็นธนาคารชัน้ น�ำทีพ่ ร้อมน�ำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและการบริการ ที่ตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งยังค�ำนึงถึงความปลอดภัยทางการเงินของลูกค้าและหลักธรรมา ภิบาลอีกด้วย อี ก ทั้ ง ธนาคารได้ มี ก ารเน้ น ย�้ ำ ให้ ผู ้ บ ริ ห ารในทุ ก ภาคส่ ว น ตระหนักถึงการสื่อสารภายในองค์กรผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ พนักงานในทุกระดับชั้นเข้าใจถึงเป้าหมายที่ธนาคารมุ่งมั่นจะไปถึง และเพื่อสะท้อนออกไปสู่การบริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ทั้งนี้ ในปี ที่ผ่านมา มีการสื่อสารภายนอกเพื่อสร้างการจดจ�ำและความประทับ ใจผ่านหลากหลายช่องทางเพื่อเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในปัจจุบัน อาทิ Social Media ต่าง ๆ รวมทั้งผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม (CSR) อย่างต่อเนื่อง

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

043


คู่แข่ง

ความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเปรียบเทียบกับ

หากเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์อนื่ ธนาคารนับได้วา่ เป็น ธนาคารหนึ่งที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว โดยในปี 2557 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 1,008,890 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.02 ของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศไทย โดยธนาคารมีสินเชื่อทั้งหมด 754,370 ล้านบาท เปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศไทย คิดเป็น ร้อยละ 5.86 ถึงแม้ว่าสินเชื่อโดยรวมของธนาคารจะลดลงเล็กน้อย จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากกลยุทธ์ ในการปรับโครงสร้างสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ โดยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มีสัดส่วนลดลงร้อยละ 10 ขณะที่ สินเชื่อประเภทอื่นมีการเติบโตเป็นล�ำดับ อาทิ สินเชื่อลูกค้าธุรกิจ ขนาดใหญ่ สินเชือ่ เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และสินเชือ่ บัตรเครดิต มีอตั ราส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7, 2.8 และ 2.3 ตามล�ำดับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการ กระจายโครงสร้างของสินเชือ่ แต่ละประเภทให้สมดุลอันเป็นประโยชน์ ต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างสินเชื่อของธนาคาร ในระยะยาว นอกจากนี้ ในปี 2557 ธนาคารมีเงินฝากและเงินกู้ยืม ทัง้ หมด 787,189 ล้านบาท อันเป็นผลจากการขยายฐานลูกค้ารายย่อย ในผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์เพื่อขยายฐานลูกค้ารายย่อยให้กว้าง ขวางมากขึ้น โดยสัดส่วนเงินฝากของธนาคารต่อเงินฝากทั้งหมด ของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 6.55 ธนาคารได้ ว างเป้ า หมายในการด� ำ เนิ น งานของธนาคาร นอกเหนือจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการบริการอันดีเยีย่ ม ให้แก่ลูกค้าแล้ว ธนาคารยังได้พัฒนาและเพิ่มคุณภาพของช่องทาง ในการให้บริการในหลากหลายรูปแบบให้กบั ลูกค้า ไม่วา่ จะเป็นจ�ำนวน สาขาทั้งหมด 617 สาขา นับเป็นล�ำดับที่ 5 ของอุตสาหกรรมธนาคาร พาณิชย์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.89 ของสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด การก้าวเข้าสู่ระบบธนาคารดิจิตอล (Digital Banking) โดยการให้ บริการทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านตู้เอทีเอ็มจ�ำนวน 2,100 ตู้ ธนาคารออนไลน์หรือ “Thanachart i-Net” การให้บริการ ทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์หรือ Interactive Voice Response (IVR) การเสริ ม สร้ า งการพั ฒ นาบุ ค ลากรให้ มี ค วามเชี่ ย วชาญ มีความรู้ความสามารถมีความพร้อมในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการ ให้ค�ำปรึกษาลูกค้าเพื่อที่จะน�ำเสนอบริการทางการเงินที่ดีที่สุดให้แก่ ลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ ภายใต้การเป็นพันธมิตรและ ความร่วมมือกันกับสโกเทียแบงก์ธนาคารยังมีแนวทางในการที่จะน�ำ และปรับใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการให้บริการแบบใหม่ทไี่ ด้รบั การยอมรับในระดับสากล และการ เชื่อมโยงเครือข่ายส�ำนักงานและสาขาของสโกเทียแบงก์ ในภูมิภาค อาเซียนและเอเชีย เพือ่ รองรับการให้บริการลูกค้าทีค่ รอบคลุมภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการ แข่งขันเพื่อให้ธนาคารเกิดความได้เปรียบจากคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน

044

รายงานประจำ �ปี 2557

ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ให้บริการโดยบริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“บล. ธนชาต”) ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แบบ ก (Full License) ได้แก่ การเป็นนายหน้าซือ้ ขายหลักทรัพย์ (ในประเทศ และต่างประเทศ) การจัดจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ การเป็นทีป่ รึกษาทางการ ลงทุน กิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ และได้ประกอบธุรกิจสัญญาซือ้ ขายล่วงหน้า แบบ ส-1 ได้แก่ การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ บล. ธนชาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 สายงานหลัก ได้แก่ สายงานธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ และ สายงานธุรกิจวาณิชธนกิจและทีป่ รึกษาการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บล. ธนชาต มีส�ำนักงานสาขาทั้งหมด 38 สาขา โดยประกอบ ไปด้วยธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้ 1. นายหน้าซือ้ ขายหลักทรัพย์ ให้บริการเป็นนายหน้าซือ้ ขาย หลักทรัพย์ รวมทัง้ ให้บริการข้อมูลวิเคราะห์หลักทรัพย์แก่ลกู ค้าเพือ่ ใช้ ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ลูกค้าของ บล. ธนชาต มีทงั้ บุคคล ธรรมดา นิติบุคคล และลูกค้าสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ บริษทั ได้ดำ� เนินธุรกิจการเป็นนายหน้าซือ้ ขายหลักทรัพย์ ในต่างประเทศ โดยเริ่มให้บริการในปี 2552 ทั้งนี้ บริษัทมีแนวคิด ที่จะเปิดโอกาสในการลงทุนต่างประเทศ ส�ำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และสถาบัน เพื่อให้นักลงทุนมีทางเลือกที่หลากหลาย และสามารถกระจายความเสีย่ งจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทได้ ให้บริการระบบส่งค�ำสั่งซื้อขายแบบ Direct Market Access: DMA เพือ่ ซือ้ ขายหลักทรัพย์ในประเทศต่าง ๆ ได้ โดยตรงเกือบ ทั่วทุกมุมโลก ดังนี้ ทวีปเอเชีย : ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน โดยในปี 2557 ได้เปิดให้บริการเพิ่มในประเทศเวียดนาม ทวีปอเมริกา : สหรัฐอเมริกา แคนาดา ทวีปยุโรป : เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส ฝรัง่ เศส เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ออสเตรีย และสาธารณรัฐเช็ก 2. การเป็นตัวแทนซือ้ ขายสัญญาซือ้ ขายล่วงหน้า ให้บริการ เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารอนุพันธ์


3. การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending: SBL) ให้บริการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ส�ำหรับ ลูกค้าที่มีความประสงค์ต้องการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ 4. การเป็นผูอ้ อกและเสนอขายใบส�ำคัญแสดงสิทธิอนุพนั ธ์ (Derivative Warrant: DW) เพือ่ เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกในการลงทุนให้ กับลูกค้าในการเพิม่ สภาพคล่อง และกระจายความเสีย่ งในการลงทุน 5. ตั ว แทนสนั บ สนุ น การขายและรั บ ซื้ อ คื น หน่ ว ยลงทุ น ให้บริการเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายและให้ข้อมูลกองทุนรวม ของบริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุนต่าง ๆ ที่ บล. ธนชาต เป็นตัวแทน 6. ที่ปรึกษาทางการเงินและจัดจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ ให้ บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ และเป็น ผูจ้ ดั จ�ำหน่ายและรับประกันการจ�ำหน่ายหลักทรัพย์ทงั้ ตราสารหนีแ้ ละ ตราสารทุน ทั้งในบทบาทของผู้จัดการการจัดจ�ำหน่ายและรับประกัน การจ�ำหน่าย ผู้ร่วมจัดการการจัดจ�ำหน่ายและรับประกันการจ�ำหน่าย ผู้จัดจ�ำหน่ายและรับประกันการจ�ำหน่าย 7. นายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้บริการใน 3 ลักษณะ คือ งานบริการนายทะเบียนหลักทรัพย์ผอู้ อกหลักทรัพย์ นายทะเบียนผูถ้ อื หลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ โครงการการเสนอขายหลักทรัพย์ทอี่ อกใหม่แก่กรรมการหรือพนักงาน หรือบริษัทย่อย (Employee Stock Option Program: ESOP) 8. การเป็นผู้ออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ (Structured Notes) เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการลงทุนที่หลากหลาย ให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นเครื่องมือทางเลือกในการกระจาย ความเสี่ยงในการลงทุน การตลาดและการแข่งขัน 1. ปี 2557 ถือเป็นปีที่สร้างความท้าทายให้กับภาพตลาด โดยรวม ทั้งปริมาณการซื้อขายและดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (SET Index) ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 นั้น ถูกผลักดันด้วยปัจจัยจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปัจจัยภายนอกประเทศ ส่งผลสืบเนือ่ งต่อจากช่วงปลายปี 2556 ที่นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินทุนไหลออกจาก ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) โดยเฉพาะภูมภิ าคเอเชีย กลับไป ยังสหรัฐอเมริกา (“สหรัฐฯ”) แต่ความกังวลดังกล่าวได้ผ่อนคลายลง เนื่องจากสหรัฐฯ ด�ำเนินมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงยังไม่ กระทบตลาดเกิดใหม่มากเท่าที่นักลงทุนกังวล ตลาดเกิดใหม่จึงคง สภาวะค่อนข้างทรงตัวได้ ในครึ่งปีแรก นักลงทุนส่วนใหญ่ยังมองว่า ตลาดเกิดใหม่นั้นได้ผ่านจุดต�่ำสุดไปแล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่มี ความผันผวนอีกครัง้ ในครึง่ ปีหลัง โดยปัจจัยส�ำคัญเพิม่ เติมคือ การปรับ ลดลงอย่างมีนัยส�ำคัญและต่อเนื่องของราคาน�้ำมัน ส่งผลต่อรัสเซีย ซึง่ เป็นประเทศผูส้ ง่ ออกน�้ำมันรายใหญ่รายหนึง่ ของโลก ท�ำให้คา่ เงิน ของรัสเซียอ่อนค่าลงอย่างมาก และภาวะราคาน�้ำมันที่ลดลงอย่าง รุนแรงนี้ ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นไทยซึ่งมีน�้ำหนักของกลุ่มพลังงาน ค่อนข้างสูง ซึ่งเผชิญแรงขายหุ้นกลุ่มน�้ำมันฉุดดัชนีลงลงในปลายปี

ปัจจัยภายในประเทศ ทีม่ ผี ลกระทบต่อธุรกรรมในตลาดทุน มากที่สุด คือ ประเด็นความตึงเครียดด้านการเมืองจากการชุมนุม ต่อต้านรัฐบาลโดยกลุม่ การเมืองต่าง ๆ ซึง่ ยืดเยือ้ มาตัง้ แต่ปลายปี 2556 ท�ำให้นักลงทุนชะลอการซื้อขายหลักทรัพย์ จนกระทั่งเหตุการณ์การ เข้าควบคุมสถานการณ์ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (“คสช.”) ในช่วงเดือนพฤษภาคม ท�ำให้เกิดความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้น ส่งผลบวกในด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ต่อมา คสช. ได้จัดตั้งรัฐบาลรักษาการในเดือนสิงหาคม และประกาศนโยบาย ต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ อาทิ นโยบาย เยียวยาเกษตรกร และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่งผลบวก ให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงปลายไตรมาส 2 จากนักลงทุนประเภท สถาบั น และบั ญ ชี บ ริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ ปั จ จั ย ภายในประเทศและ การฟืน้ ตัวทางเศรษฐกิจทีม่ ที ศิ ทางทีด่ ขี นึ้ เป็นล�ำดับ ส่งผลเชิงบวกต่อ ตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องในไตรมาส 3 และ 4 ด้วยปัจจัย ทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจอย่าง ต่อเนือ่ ง รวมถึงการลงทุนของรัฐบาล ท�ำให้ผลู้ งทุนนัน้ มีความเชือ่ มัน่ เพิ่มมากขึ้น ส�ำหรับมูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) ของ SET ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2556 ถึงร้อยละ 20.94 อยู่ที่ 13.86 ล้านล้าน บาท เช่นเดียวกับตลาด MAI ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 215 อยู่ที่ 383,075 ล้านบาท ด้านการระดมทุน มีมูลค่าในการระดมทุนรวม ทั้งใน ตลาดแรกและตลาดรองทัง้ สิน้ 276,538 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 18.87 โดยมูลค่าการระดมทุนนัน้ สามารถแบ่งออกได้เป็น ตลาดแรก 131,131 ล้านบาท และตลาดรอง 145,047 ล้านบาท จากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 36 บริษัท กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 9 กอง ทั้งนี้ ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นปี ปิดที่ 1,497.67 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.32 จากสิ้นปี 2556 ที่ 1,298.71 จุด อยู่ 198.96 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 45,466 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจาก ปี 2556 ที่ร้อยละ 9.66 ส�ำหรับ บล. ธนชาต มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 4.51 เป็นอันดับที่ 6 จากจ�ำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 33 บริษัท ในปี 2557 ภาวะการแข่ ง ขั น ยั ง คงมี ม ากขึ้ น โดยเป้ า หมายคื อ กลุ่มนักลงทุนทั่วไป (Retail) จากบริษัทหลักทรัพย์ ใหม่ 3 บริษัท คือ บล. เออีซี (AEC) บล. แอพเพิล เวลธ์ (Apple Wealth) และ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHSEC) โดยในอุตสาหกรรมเกิดการดึง ผู้แนะน�ำการลงทุน (Investment Consultant) ระหว่างกันอย่าง ต่อเนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อดึงฐานลูกค้า ขณะที่บริษัท หลักทรัพย์ต่างประเทศสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น และยังคงเห็นความร่วมมือกันในการสร้างธุรกิจระหว่างธนาคารและ บริษัทหลักทรัพย์ ในเครือในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

045


2. สมาชิกในตลาดอนุพันธ์ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 42 ราย ในปี 2557 มีปริมาณการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 36,021,150 สัญญา คิดเป็น ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 147,025 สัญญาต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 116 จากปี 2556 ทีม่ จี �ำนวน 68,017 สัญญาต่อวัน โดยปริมาณการซือ้ ขาย ส่วนใหญ่มาจาก Single Stock Futures (ร้อยละ 54), SET50 Index Futures (ร้อยละ 40) Gold Futures (ร้อยละ 4) และ USD Futures (ร้อยละ 2) ตามล�ำดับ โดยในปี 2557 นั้น ตลาดอนุพันธ์ ได้สร้างสถิติยอดการซื้อขายสูงสุดนับตั้งแต่ตลาดเปิดท�ำการได้ที่ ระดับ 864,479 สัญญาในช่วงเดือนธันวาคม 2557 โดยจ�ำนวนบัญชี ซื้อขายตลาดอนุพันธ์ของผู้ลงทุน ณ สิ้นปี 2557 มีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 100,650 บัญชี เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากจ�ำนวนบัญชีซื้อขาย ณ สิ้นปี 2556 ส�ำหรับ บล. ธนชาต มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 2.40 หรืออันดับที่ 17 จากจ�ำนวนสมาชิกในตลาดอนุพันธ์ทั้งหมด 3. ปัจจุบัน ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจ�ำหน่าย หลักทรัพย์ ยังมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในส่วนของ ธุรกรรมของการรวมกิจการ การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ การระดมทุนที่เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าการแข่งขันด้านราคาจะมีสูงขึ้น แต่ศักยภาพการแข่งขันหลักด้านคุณภาพของการให้บริการ ความ เชี่ยวชาญของบุคลากร ทั้งด้านการให้ค�ำแนะน�ำที่ตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าและการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า การมีเครือข่ายของ ผู้ ให้บริการ ตลอดจนการสร้างสรรค์และน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและประโยชน์ ให้กับลูกค้าได้ อันจะท�ำให้ ลูกค้าเลือกใช้บริการของบริษัทเพิ่มมากขึ้น

ธุรกิจจัดการลงทุน ธุรกิจจัดการลงทุน ให้บริการโดยบริษัท หลักทรัพย์จัดการ กองทุน ธนชาต จ�ำกัด (“บลจ. ธนชาต”) ประกอบธุรกิจจัดการ กองทุนรวม ธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ และธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ บลจ. ธนชาต ให้บริการจัดการลงทุน ในรูปแบบทีห่ ลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนรายย่อย ผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้ลงทุนสถาบัน โดยเสนอขายหน่วยลงทุนผ่านช่องทางการจัด จ�ำหน่ายหลายช่องทาง ได้แก่ สาขาของธนาคาร และผู้สนับสนุน การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอื่นที่เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับ ความเห็นชอบจากส�ำนักงาน ก.ล.ต. ภายใต้การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี โดยจัดให้มบี คุ ลากรทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ ามทีส่ ำ� นักงาน ก.ล.ต. ก�ำหนดในการ ให้บริการที่เกี่ยวกับการลงทุน โดยควบคุมดูแลให้พนักงานปฏิบัติ ตามกฎหมายและกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องอย่างเคร่งครัดเพือ่ สร้างความ มั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน

046

รายงานประจำ �ปี 2557

การตลาดและการแข่งขัน ณ สิน้ เดือนธันวาคม 2557 มีบริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ทั้งสิ้น 21 บริษัท มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิจากการจัดการกองทุนรวม ที่เสนอขายประชาชนทั่วไปทั้งสิ้น 3,368,609.66 ล้านบาท (ไม่รวม กองทุนรวมวายุภักษ์ กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง) ซึ่งมีมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 25.98 และในปี 2557 มีกองทุนที่จัดตั้งใหม่จ�ำนวน 888 กองทุน รวมมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ทั้งสิ้น 1,813,637.19 ล้านบาท โดยกองทุนที่จัดตั้งใหม่ส่วนใหญ่เป็น กองทุนประเภทตราสารหนี้ที่ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ จ�ำนวน 697 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,678,997.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.58 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่จัดตั้ง ในปี 2557 ส�ำหรับกองทุนที่ บลจ. ธนชาต เสนอขายในปี 2557 ร้อยละ 96.17 เป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นไปตามอุตสาหกรรม กองทุนรวม ณ เดือนธันวาคม 2557 บลจ. ธนชาต มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ภายใต้การจัดการรวม 164,128.42 ล้านบาท แบ่งเป็น ธุรกิจกองทุน รวม 136,443.05 ล้านบาท กองทุนส่วนบุคคล 15,905.18 ล้านบาท และกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ 11,780.19 ล้านบาท

ธุรกิจประกัน ด�ำเนินการโดยบริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนชาตประกันภัย”) ให้บริการประกันวินาศภัยทุกประเภท ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้บริการประกันภัยโดยครอบคลุมถึง การบริการรับประกัน วินาศภัย ได้แก่ การประกันอัคคีภยั การประกันภัยรถยนต์ การประกัน ภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด และธุรกิจการลงทุน การตลาดและการแข่งขัน ในเดือนมกราคม – กันยายน ของปี 2557 ธุรกิจประกัน วินาศภัยของไทยยังคงมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยมีอัตราการเจริญเติบโต ที่ระดับร้อยละ -0.06 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 149,274 ล้านบาท โครงสร้างตลาดประกันวินาศภัยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน ของปี 2557 การประกันภัยรถยนต์ยังคงมีส่วนแบ่งตลาด สูงสุดถึงร้อยละ 59 ของมูลค่าตลาดรวม รองลงมาคือ การประกัน ภัยเบ็ดเตล็ด มีส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 33 ส่วนการประกันอัคคีภัย และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5 และร้อยละ 3 ตามล�ำดับ


ธนชาตประกันภัยมุ่งเน้นมาตรฐานการให้บริการที่ดี รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และซื่อสัตย์ ตลอดจนได้พัฒนาสายผลิตภัณฑ์ และ น�ำเสนอกรมธรรม์ประเภทใหม่ ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของกลุ่มลูกค้า ค�ำนึงถึงอัตรา เบี้ยประกัน ภัยที่ยุติธรรมต่อลูกค้า รวมทั้งการปรับแผนเชิงรุกทาง การแข่งขัน ให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพิ่มช่องทางการ จัดจ�ำหน่าย ขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ และรักษากลุ่มลูกค้าเดิม กลุ่มลูกค้าหลักส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 95 ของจ�ำนวนลูกค้า ทั้งหมด ได้แก่ กลุ่มลูกค้ารายย่อยที่มีทุนประกันของทรัพย์สินเอา ประกันอยู่ในช่วงไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยประเภทผลิตภัณฑ์ประกัน วินาศภัยที่ลูกค้าเลือก ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ และการประกัน อัคคีภัยบ้านอยู่อาศัย กลุ่มลูกค้าดังกล่าวมาจากลูกค้าสินเชื่อของ ธนาคารและการท�ำการตลาดของธนชาตประกันภัย ส�ำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีทุนประกันของทรัพย์สินเอาประกัน ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปนั้น ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มสถาบันองค์กรเอกชน ที่ ด� ำ เนิ น กิ จ การธุ ร กิ จ ในหลากหลายสาขา ทั้ ง การพาณิ ช ย์ แ ละ อุตสาหกรรม โดยผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มนี้ คือ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด และการประกันอัคคีภัย จากลักษณะของ ฐานลู ก ค้ า ที่ ไ ด้ กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ตั้งแต่ธนชาต ประกันภัยได้เริม่ ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย มิได้มกี ารพึง่ พิงลูกค้า รายหนึ่งรายใดเกินร้อยละ 30 ของรายได้รวมของธนชาตประกันภัย นอกจากนี้ ได้เปิดด�ำเนินการให้บริการรับประกัน ภัยเฉพาะลูกค้า ภายในประเทศเท่านั้น ภาวะอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยไทยจากประมาณการเบี้ย ประกันภัยรับโดยตรงของปี 2558 ของสมาคมประกันวินาศภัย คาดว่า ในปี 2558 อัตราการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัยจะมีอัตรา การเติบโตที่ประมาณร้อยละ 12 โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 236,823 ล้านบาท

ธุรกิจบริหารสินทรัพย์

ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด (“บบส. ทีเอส”) ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณ ภาพที่รับโอนจากธนาคาร นครหลวงไทย ทั้ ง สิ น เชื่อ ที่ ไม่ ก่ อ ให้ เกิด รายได้ และทรัพย์ สิน รอ การขาย โดยด�ำเนินการติดตามลูกหนีเ้ พือ่ ท�ำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ลกู หนีส้ ามารถช�ำระหนีไ้ ด้ตามความสามารถทีแ่ ท้จริง และกลับเป็น สินเชื่อที่มีคุณภาพ

การตลาดและการแข่งขัน บบส. ทีเอส มีวัตถุประสงค์และนโยบายหลักในการบริหาร หนี้ด้อยคุณ ภาพและฟื้นฟูคุณ ภาพลูกหนี้ที่รับโอนมาจากธนาคาร นครหลวงไทย เพื่อน�ำมาบริหารหรือจ�ำหน่ายจ่ายโอน รวมทั้งการ ขายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ให้แก่บุคคลภายนอกที่สนใจทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้การขายทรัพย์สินกระท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้ บริษัทจึงได้ ว่าจ้างทีป่ รึกษาพิเศษด้านทรัพย์สนิ รอขายไว้เป็นการเฉพาะ เพือ่ ท�ำหน้าที่ ก�ำหนดราคาขายและบริหารทรัพย์สนิ ขนาดใหญ่ทมี่ มี ลู ค่าสูง พร้อมทัง้ ศึกษาความเป็นไปได้ของทรัพย์สิน จัดท�ำแผนและน�ำเสนอขาย ต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งแต่งตั้งนายหน้าหรือตัวแทนระดับ มืออาชีพในการขายทรัพย์สินเหล่านั้นเพื่อจัดท�ำรูปแบบ (Package) ของทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่ม (Value-Added) โดยประสานความ ร่วมมือกับกลุม่ บริษทั ในเครือและเพิม่ ช่องทางในการจัดจ�ำหน่าย เช่น ผ่านนายหน้าหรือตัวแทนจัดหาและติดต่อกับบริษทั ทีด่ ำ� เนินการประมูล ขายทรัพย์สิน หรือผ่านเว็บไซต์ของกลุ่มธนชาต รวมถึงการจัดหาสื่อ ที่มีประโยชน์ต่อการจ�ำหน่าย เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด

ธุรกิจลีสซิ่ง

ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) (“ราชธานีลิสซิ่ง”) ด�ำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อเช่าทาง การเงิน โดยมุง่ เน้นตลาดรถยนต์ทงั้ ใหม่และเก่า โดยเฉพาะรถยนต์เพือ่ การพาณิชย์ ซึ่งได้แก่ รถกระบะ รถแท็กซี่ รถหัวลาก และรถบรรทุก ขนาดใหญ่ เป็นต้น และประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ทั้งนี้ บริษัท มีเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ใหม่และรถยนต์เก่า คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 60 และ 40 ตามล�ำดับ ของยอดเงินให้สินเชื่อทั้งหมด และ มีสดั ส่วนเงินให้สนิ เชือ่ เช่าซือ้ ส�ำหรับรถบรรทุก และรถยนต์ประเภทอืน่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 75 และ 25 ตามล�ำดับ การด�ำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสองนั้น ถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงเมื่อเทียบกับการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ ใหม่ บริษัทจึงต้องค�ำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงหลายด้านในการ พิจารณาปล่อยสินเชือ่ ซึง่ ได้แก่ สภาพการใช้งานของรถ ราคาอ้างอิง ในตลาดรถยนต์มือสอง การตรวจสอบหลักฐาน ทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงต้องมีทีมงานที่มีประสบการณ์ ในการ ตรวจสอบสภาพและราคาตลาดของรถยนต์มือสอง

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

047


นอกจากนี้ บริษัทยังมีการให้บริการหลังการขาย เช่น การให้ บริการต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ประจ�ำปี การต่ออายุกรมธรรม์ประกัน ภัย รวมทั้งการน�ำรถยนต์ไปตรวจสภาพเพื่อต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ ซึ่ ง นอกจากจะเป็ น การอ�ำ นวยความสะดวกให้ กั บ ลู ก ค้ า แล้ ว ยั ง เป็นการเสริมรายได้ ให้กับบริษัท รวมทั้งเอื้อประโยชน์ ให้กับบริษัท ในแง่ของการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าและป้องกันความเสียหาย ให้แก่บริษัทด้วย การตลาดและการแข่งขัน ในปี 2557 สภาพเศรษฐกิจของโลกมีความผันผวนอย่าง ต่อเนือ่ ง ถึงแม้วา่ เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีเงินเฟ้ออยู่ใน ภาวะที่ผ่อนคลาย ประกอบกับแนวโน้มของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่กลุ่ม ประเทศเศรษฐกิจหลักอืน่ ทัง้ ในกลุม่ ยุโรป ญีป่ นุ่ และจีนยังอยู่ในภาวะ ชะลอตัว และรวมถึงประเทศไทยซึ่งอยู่ในภาวะชะลอตัวจากปัญหา ภายในประเทศเอง ส่งผลให้ภาพรวมของการแข่งขันในธุรกิจลิสซิ่ง และเช่าซือ้ ในประเทศ ยังคงมีการแข่งขันทีร่ นุ แรงโดยสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารพาณิ ช ย์ ธุ ร กิ จ ลิ ส ซิ่ ง และเช่ า ซื้ อ ของผู ้ ผ ลิ ต และ ตัวแทนจ�ำหน่ายรถยนต์ ซึ่งมุ่งเน้นการท�ำตลาดสินเชื่อรถยนต์ ใหม่ ส่วนบุคคลเป็นหลัก มีการปรับตัวและขยายสัดส่วนไปยังการให้ สินเชื่อส�ำหรับรถยนต์มือสอง ทั้งในกลุ่มรถยนต์และกลุ่มรถยนต์ เพือ่ การพาณิชย์ เพือ่ รักษาอัตราการเติบโตและส่วนแบ่งทางการตลาด อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีแผนการรักษาสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่บริษัทมีความช�ำนาญโดยเฉพาะใน กลุ่มรถบรรทุก ทั้งรถบรรทุกใหม่และรถบรรทุกมือสองตามกลยุทธ์ ทางธุรกิจของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันในตลาดที่ รุนแรง โดยยังคงเป้าหมายสัดส่วนที่ร้อยละ 70 - 75 ของพอร์ต สินเชื่อเช่าซื้อของบริษัท เนื่องจากบริษัทคาดว่าลูกค้ากลุ่มดังกล่าว จะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและให้ผลตอบแทนในด้านอัตรา การท�ำก�ำไรที่สูงกว่า อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่ต�่ำกว่ารถยนต์นั่งส่วน บุคคล ซึ่งจะท�ำให้บริษัทสามารถเลี่ยงการแข่งขันกับสถาบันการเงิน ขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนการด�ำเนินงานที่ต�่ำกว่า และสามารถเพิ่มโอกาส ในการแข่งขันทางธุรกิจได้มากขึ้น จากประสบการณ์อันยาวนานและความช�ำนาญทางธุรกิจ การให้บริการที่รวดเร็ว รวมถึงการรักษาความสัมพันธ์และการให้ ผลตอบแทนที่ ดี แ ก่ ผู ้ จ� ำ หน่ า ยรถยนต์ มื อ สอง ท� ำ ให้ บ ริ ษั ท ยั ง คง สามารถแข่งขัน และสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้ ภาย ใต้สถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน

048

รายงานประจำ �ปี 2557

การจั ด หาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห รื อ บริ ก าร

แหล่งที่มาของเงินทุน

แหล่งที่มาของเงินทุนของธนาคารและบริษัทย่อย นอกจาก จะได้จากเงินกองทุน ซึ่งได้แก่ ทุนที่ออกและเรียกช�ำระแล้ว โดยใน ปี 2557 มีจ�ำนวน 55,137 ล้านบาท รวมถึงส�ำรองตามกฎหมายและ ก�ำไรสะสมแล้ว แหล่งเงินทุนทีส่ ำ� คัญของธนาคารยังได้จากแหล่งทีม่ า ที่ส�ำคัญอีก 2 แห่ง คือ 1. เงินรับฝาก ณ สิ้นปี 2557 มีจ�ำนวน 696,992 ล้านบาท 2. เงินกูย้ มื จ�ำนวน 90,198 ล้านบาท แบ่งเป็น แหล่งเงินทุน ที่ได้จากหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ชัน้ ที่ 1 จ�ำนวน 7,130 ล้านบาท หุน้ กูด้ อ้ ยสิทธิเพือ่ นับเป็นเงินกองทุน ชั้นที่ 2 จ�ำนวน 36,516 ล้านบาท หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิจ�ำนวน 15,271 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะสั้นจ�ำนวน 30,180 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงิน จ�ำนวน 1,052 ล้านบาท และอื่น ๆ จ�ำนวน 49 ล้านบาท

การจั ด หาเงิ น ทุ น หรื อ ให้ กู ้ ยื ม ผ่ า นบุ ค คลที่ เกี่ยวข้องกับผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ธนาคารได้ ให้กู้ยืมแก่บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทที่ เกี่ยวข้องกันเฉพาะในกลุ่มธนชาต โดย ณ สิ้นปี 2557 ธนาคารได้ ให้ กูย้ มื แก่บริษทั บริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด (บริษทั ย่อยของธนาคาร) เพือ่ ใช้ ในการบริหารสินทรัพย์ดอ้ ยคุณภาพตามนโยบายธุรกิจของกลุม่ ธนชาต โดยในปี 2557 มียอดเงินกู้คงค้างจ�ำนวน 2,902 ล้านบาท ลดลงจาก 4,555 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2556 ยอดเงินกูย้ มื คงค้างดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 0.41 ของยอดเงิน ที่ให้กู้ยืมทั้งหมด ณ สิ้นปี 2557 โดยทั้งหมดเป็นการให้กู้ยืมเงิน ภายใต้การอนุญาตจาก ธปท.


ปัจจัยความเสี่ยง

ภาพรวมบริหารความเสี่ยง

ในปี 2557 เศรษฐกิจไทยเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความไม่แน่นอน ทางการเมืองภายในประเทศ ภาระหนีค้ รัวเรือนทีอ่ ยู่ในระดับสูง และปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2556 และจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ข้างต้น ธนาคารพาณิชย์จึงมีความระมัดระวังในการด�ำเนินธุรกิจ มีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ประกอบกับบริษัทขนาดใหญ่หันมาระดมเงินทุนโดยการออกหุ้นกู้มากขึ้น ท�ำให้เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ในปี 2557 ขยายตัวในอัตรา ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งในส่วนของสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่การแข่งขันทางด้านเงินฝากลด ความร้อนแรงลงตามการชะลอตัวของสินเชื่อเช่นกัน ส�ำหรับในปี 2558 แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดยมีการใช้จ่ายและการลงทุนจากภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่ส�ำคัญ แต่ก็ยังคงมีความเปราะบาง และมีปัจจัยเสี่ยงที่ธนาคารและบริษัทย่อยจะต้องท�ำการติดตามอย่างใกล้ชิดในหลายด้าน ซึ่งอาจส่ง ผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้ ทั้งความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เป็นต้น ทัง้ นี้ ธนาคารและบริษทั ย่อยตระหนักและให้ความส�ำคัญกับการบริหารความเสีย่ งอย่างต่อเนือ่ ง ธนาคารมีการประเมินความเพียงพอของ เงินกองทุน (ICAAP) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ตามมาตรการก�ำกับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ด้วยหลักเกณฑ์ Basel III ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) ก�ำหนด ท�ำให้ธนาคารและบริษัทย่อยบริหารจัดการเงินกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีฐานะเงินกองทุน ที่แข็งแกร่ง สามารถรองรับการขยายธุรกิจได้อย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารยังคงมีการก�ำกับดูแล ติดตามและพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการต่าง ๆ ยังคงมีความสอดคล้องและทันต่อปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารได้ ก�ำหนดโครงสร้างองค์กรเพือ่ สนับสนุนการบริหารจัดการความเสีย่ งให้เป็นไปตามกรอบนโยบายผ่านการก�ำกับดูแลของคณะกรรมการต่าง ๆ ดังนี้

คณะกรรมการในระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการบริหาร มีบทบาทในการก�ำหนดนโยบายและแนวทางดูแลการบริหารความเสี่ยงในลักษณะ ภาพรวม (Enterprise-Wide Risk) ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการด�ำเนินงานของธนาคาร โดยจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อเป้าหมาย การด�ำเนินงานและฐานะการเงินของธนาคาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) มีบทบาทในการก�ำหนดกลยุทธ์และพัฒนากระบวนการบริหาร ความเสี่ยง รวมทั้งกลั่นกรองนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการ ธนาคารพิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) มีบทบาทในการก�ำหนดแนวทางการก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามข้อบังคับ ของทางการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจสอบประสิทธิผลและความเพียงพอของกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายใน

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

049


คณะกรรมการในระดับปฏิบัติการ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย (Asset and Liability Management Committee) มีบทบาทในการก�ำกับดูแล โครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน (Investment Portfolio Committee) มีบทบาทในการก�ำกับดูแลการลงทุนใน ตราสารทางการเงิน ต่าง ๆ ของธนาคาร ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดของธนาคาร คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (Credit Committee) มีบทบาทในการก�ำกับดูแลการให้สินเชื่อธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การให้เครดิตให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคาร คณะกรรมการบริหารความปลอดภัยระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี (IT Security Management Committee) มีบทบาทในการก�ำหนด นโยบายความปลอดภัยระบบสารสนเทศ น�ำเสนอมาตรการป้องกันความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดจากระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี รวมทัง้ ติดตาม ดูแล และควบคุมการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สายงานตรวจสอบ (Audit Division) มีบทบาทหน้าที่ในการสอบทานระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง กระบวนการ จัดท�ำและเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน การด�ำเนินงาน การรายงานและกระบวนการก�ำกับดูแลการปฏิบตั ทิ สี่ อดคล้องกับนโยบาย แผนงาน ระเบียบ ปฏิบัติของธนาคารและบริษัทย่อย และกฎเกณฑ์ของทางการที่เกี่ยวข้อง การด�ำเนินธุรกิจภายใต้การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) รวมทั้งการให้ค�ำปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาและการควบคุมภายในระบบงานต่าง ๆ ของธนาคารและบริษัทย่อย

ภาพแสดงโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง หน่วยงานบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหาร

หน่วยงานตรวจสอบ หน่วยงานก�ำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ

หน่วยงานนโยบายความเสี่ยงและตลาดทุน

หน่วยงานวิเคราะห์ความเสี่ยงเครดิต 1

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย

หน่วยงานวิเคราะห์ความเสี่ยงเครดิต 2

คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน

หน่วยงานควบคุมความเสี่ยง

คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ส�ำนักประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

050

รายงานประจำ �ปี 2557

คณะกรรมการบริหารความปลอดภัย ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี


• การด�ำเนินงานต่าง ๆ อยู่ภายใต้ โครงสร้างองค์กรที่มี การสอบยันและถ่วงดุลอ�ำนาจ (Check and Balance) มีหน่วยงาน ทีท่ ำ� หน้าทีค่ วบคุมติดตามความเสีย่ ง (Middle office) ได้แก่ หน่วยงาน ควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) และหน่วยงานที่บันทึก รายการ (Back office) แยกออกจากหน่วยงานที่ท�ำธุรกรรม (Front office) • ธนาคารก� ำ หนดนโยบายและแนวทางการบริ ห าร ความเสีย่ งอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อกั ษร ซึง่ ได้ก�ำหนดหน้าทีค่ วาม รับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงานได้ถือ ปฏิบัติตาม และยังได้ก�ำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ถือเป็น แนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุถึงลักษณะของความ เสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยง 2) การพัฒนาเครื่องมือและแบบจ�ำลอง (Model) ที่เหมาะสมส�ำหรับวัดค่าความเสี่ยง 3) การควบคุมความ เสีย่ งให้อยู่ในระดับทีย่ อมรับได้ และ 4) การติดตามสถานะความเสีย่ ง เพื่อจัดการความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น • การก� ำ หนดขนาดและสั ด ส่ ว นตามค่ า ความเสี่ ย งที่ แตกต่างกัน โดยเครื่องมือที่ใช้วัดความเสี่ยงหรือแบบจ�ำลอง ท�ำให้ ธนาคารสามารถรับรูถ้ งึ ระดับความรุนแรงของความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ และเพือ่ ใช้เป็นเพดานในการควบคุมค่าความเสีย่ งทีส่ ามารถยอมรับได้ และใช้เป็นระดับสัญญาณเตือนภัยก่อนทีจ่ ะเกิดความเสียหายรุนแรง ระบบการบริหารความเสีย่ งข้างต้นมีการพัฒนาขึน้ บนพืน้ ฐาน ของหลักความระมัดระวัง มีการปรับปรุงให้เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ มีความโปร่งใส ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ และมีการค�ำนึงถึง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงานเป็นส�ำคัญ

ประเภทความเสี่ยงที่ส�ำคัญของธนาคาร มี ดั ง นี้ 1. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ หรือคู่สัญญามีการผิดนัดช�ำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข ทีไ่ ด้ตกลงไว้ โดยอาจเกิดจากการประสบปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ จากความผั น ผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ ธุ รกิจ ความ ผิดพลาดในการบริหารจัดการของลูกหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ รายได้และเงินกองทุนของธนาคารและบริษทั ย่อย ความเสีย่ งดังกล่าว อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากการท�ำธุรกรรมทางการเงินโดยปกติ เช่น การให้ กู้ยืมหรือให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน หรือการค�้ำประกัน ธุรกรรม อื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้เครดิตและการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภท ตราสารหนี้ (Debt Instrument) ที่ออกโดยองค์กรของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลหรือ ธปท. ไม่ค�้ำประกัน และองค์กรเอกชน เช่น หุ้นกู้ เป็นต้น

ภายใต้ น โยบายและแนวทางการบริ ห ารความเสี่ ย งด้ า น เครดิต ธนาคารได้สร้างวัฒนธรรมทางด้านเครดิต เริ่มจากการจัดให้ มีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้หรือคู่สัญญาหรือผู้ออก ตราสารประเภทหนี้ โดยใช้แบบวิเคราะห์ความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นตาม ความเหมาะสมของประเภทคู่สัญญา และมอบหมายให้หน่วยงาน วิเคราะห์สนิ เชือ่ ซึง่ เป็นหน่วยงานอิสระเป็นผูป้ ระเมินความเสีย่ งด้วย แบบวิเคราะห์ดงั กล่าว ทัง้ นี้ คณะกรรมการทีม่ อี �ำนาจในการพิจารณา สินเชือ่ จะเป็นผูพ้ จิ ารณาตัดสินใจเกีย่ วกับระดับความเสีย่ งด้านเครดิต ของผูก้ หู้ รือคูส่ ญ ั ญา วงเงินสินเชือ่ หรือลงทุนทีเ่ หมาะสมและเงือ่ นไข ต่าง ๆ ในการให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพัน รวมทั้งควบคุมสถานะ ความเสี่ยงทั้งในระดับภาพรวม ด้วยการกระจายความเสี่ยงทางด้าน สินเชือ่ ไปยังแต่ละส่วนธุรกิจและกลุม่ ลูกค้าต่าง ๆ กันอย่างเหมาะสม ภายใต้ระดับเพดานความเสี่ยงที่ก�ำหนดไว้ ตลอดจนติดตามดูแล คุณภาพสินเชื่อให้มีการจัดการอย่างเหมาะสม ด�ำเนินการด้วยความ ระมัดระวัง รอบคอบ เน้นการพิจารณาศักยภาพของธุรกิจและความ สามารถในการช�ำระหนี้คืนเป็นปัจจัยส�ำคัญ โดยมีหน่วยงานควบคุม ความเสี่ยง ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระท�ำหน้าที่ตรวจสอบการท�ำธุรกรรม ด้านเครดิตให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางบริหารความเสีย่ งด้าน เครดิต และมีหน่วยงานตรวจสอบติดตามให้มีการสอบทานสินเชื่อ ตามแนวทางของ ธปท. เพื่อให้ผลตอบแทนสอดรับกับความเสี่ยงที่ได้รับ ธนาคาร มีการน�ำเครื่องมือในการวัดผลตอบแทนหลังหักค่าความเสี่ยงต่อเงิน กองทุนหรือ RAROC (Risk Adjusted Return on Capital) มาใช้ นอกจากนี้ ธนาคารจัดให้มีการทดสอบภาวะวิกฤตหรือ Stress test เพื่อคาดการณ์ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภาวะวิกฤตที่จะส่งผล ให้ลูกหนี้มีความสามารถในการช�ำระหนี้ลดลงหรือไม่สามารถช�ำระ หนี้ตามเงื่อนไขที่ก�ำหนดในสัญญาตามสมมติฐาน และปัจจัยเสี่ยง ต่าง ๆ ทีก่ ำ� หนดขึน้ ให้มผี ลกระทบต่อการท�ำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ที่ลูกหนี้ด�ำเนินธุรกิจอยู่

ปัจจัยความเสี่ยงด้านเครดิตที่ส�ำคัญ มีดังนี้ 1.1 ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อ ธนาคารมีเป้าหมายในการกระจายสินเชื่อให้แก่กลุ่ม ลูกค้าต่าง ๆ โดยเน้นในกลุม่ ลูกค้าทีม่ ศี กั ยภาพดีและพยายามควบคุม ไม่ให้เกิดการกระจุกตัวในกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ มากจนเกินไป มีการบริหาร ความเสีย่ ง Portfolio ของสินเชือ่ โดยรวม มีการติดตามวิเคราะห์และ รายงานผลต่อคณะกรรมการทีเ่ กีย่ วข้องอย่างสม�ำ่ เสมอ ทัง้ นี้ เพือ่ ลด ความเสี่ยงอันเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้มากระทบ กับธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารใน สัดส่วนที่มากเกินไป

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

051


สถานะเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 31 ธันวาคม 2556 จ�ำแนกตามประเภทธุรกิจ ดังนี้ ประเภทธุรกิจ

ปี 2557 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

การเกษตรและเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการผลิตและการพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคส่วนบุคคล เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อเช่าซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ รวมเงินให้สินเชื่อ

ปี 2556 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

12,068 82,429 51,879 67,454

1.60 10.93 6.88 8.94

11,991 80,969 50,638 68,224

1.52 10.25 6.41 8.64

85,664 3,835 399,285 27,742 24,014

11.36 0.51 52.93 3.68 3.17

83,673 3,317 440,097 28,209 22,899

10.59 0.42 55.71 3.57 2.89

754,370

100.00

790,017

100.00

จากข้อมูลสินเชือ่ โดยรวม พบว่า ธนาคารและบริษทั ย่อยมีสดั ส่วนเงินให้กยู้ มื เพือ่ เช่าซือ้ ลดลงจากร้อยละ 55.71 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เป็นร้อยละ 52.93 ของยอดรวมเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้ สินเชื่อเช่าซื้อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อส�ำหรับบุคคล ธรรมดา ซึ่งจะมีวงเงินไม่สูงมากนักและมีการกระจายตัวของลูกหนี้

1.2 ความเสี่ยงจากการด้อยคุณภาพของสินเชื่อ สินเชื่อด้อยคุณภาพ ได้แก่ สินเชื่อจัดชั้นต�่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย และสงสัยจะสูญ เป็นปัญหาหลักของแต่ละสถาบันการเงิน เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคารและบริษัทย่อย ซึ่งธนาคารได้ ให้ความส�ำคัญและพยายามควบคุมคุณภาพของสินเชื่อ ด้วยการก�ำหนดนโยบาย และขั้นตอนในการติดตามคุณภาพของสินเชื่ออย่างสม�่ำเสมอ สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารและบริษัทย่อยที่เป็นสถาบันการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 31 ธันวาคม 2556 ดังนี้ สินเชื่อจัดชั้น

ปี 2557 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

ปี 2556 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

ต�่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ

5,720 4,124 21,228

18.41 13.27 68.32

6,131 9,316 19,695

17.45 26.51 69.71

รวม

31,072

100.00

35,142

100.00

052

รายงานประจำ �ปี 2557


ธนาคารและบริษัทย่อยที่เป็นสถาบันการเงินมีปริมาณสินเชือ่ ด้อยคุณภาพลดลงจาก 35,142 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เป็น 31,072 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เมื่อพิจารณาจากภาพรวมของสินเชื่อ สินเชื่อด้อยคุณภาพมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 4.12 ของยอดรวมเงินให้สินเชื่อ ลดลงจากร้อยละ 4.45 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 สินเชื่อด้อยคุณภาพจ�ำแนกตามประเภทธุรกิจ (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ประเภทธุรกิจ

ปี 2557 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

ปี 2556 มูลหนี้ (ล้านบาท) ร้อยละ

การเกษตรและเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการผลิตและการพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคส่วนบุคคล เพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อเช่าซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ

518 8,620 2,230 4,641

1.67 27.74 7.18 14.94

777 10,383 2,736 6,432

2.21 29.55 7.79 18.30

3,429 0 9,667 1,583 384

11.04 0.00 31.11 5.09 1.23

4,426 0 8,232 1,716 440

12.59 0.00 23.42 4.88 1.26

รวมเงินให้สินเชื่อ

31,072

100.00

35,142

100.00

การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (หน่วย : ล้านบาท)

จ�ำนวนลูกหนี้ (ราย) ยอดเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้าง (ล้านบาท) หนี้ส่วนที่หลักประกันไม่คุ้ม ค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้ (ล้านบาท) เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ยอดหนี้ปรับโครงสร้างต่อสินเชื่อรวม (ร้อยละ)

ปี 2557

ปี 2556

32,848 23,220 11,485 103

44,471 30,377 15,895 301

755,150

791,026

3.07

3.84

ความเสี่ยงจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นความเสี่ยงจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพย้อนกลับ กล่าวคือ หลังจากปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ มีการผิดสัญญาและกลับมาเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับธนาคารและบริษัทย่อย ในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ลูกหนี้ที่ได้ท�ำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มียอดเงินต้นและดอกเบี้ยคงค้างเป็นจ�ำนวนเงินรวม 23,220 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.07 ของยอดรวมเงินให้สนิ เชือ่ และดอกเบีย้ ค้างรับ โดยยอดรวมของหนีป้ รับโครงสร้างดังกล่าวหากค�ำนวณสุทธิจากหลักประกัน จะมีมูลค่ารวมประมาณ 11,485 ล้านบาท

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

053


1.3 ความเสี่ยงจากหลักประกัน ส�ำหรับการให้สนิ เชือ่ ทีม่ หี ลักทรัพย์เป็นประกัน ธนาคาร ก� ำ หนดให้ มี ก ารวิ เ คราะห์ แ ละจั ด ระดั บ คุ ณ ภาพของหลั ก ประกั น แต่ละประเภท โดยพิจารณาถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงของหลัก ประกันนั้น และน�ำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปใช้เป็นปัจจัยหนึ่งใน การจัดระดับความเสี่ยงของสินเชื่อ ทั้งนี้ หลักประกันดังกล่าวไม่ว่า จะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์จะมีการประเมินมูลค่าโดย การประเมินราคาหรือตีราคาหลักประกันตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ก�ำหนดไว้ โดยประเภทของหลักประกันที่ส�ำคัญของธนาคาร ได้แก่ เงินฝากและตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์ ในความต้องการของตลาด หลักทรัพย์ หลักทรัพย์นอกตลาด อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องจักร เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารก�ำหนดแนวทาง มาตรฐาน และความถี่ในการประเมิน ราคาและตีราคาหลักประกันแต่ละประเภท รวมทัง้ ก�ำหนดให้มกี ารจัด ท�ำรายงานการประเมินราคาและตีราคาทีม่ ขี อ้ มูล และการวิเคราะห์ที่ ชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจก�ำหนดราคา ในกรณีทมี่ ขี อ้ บ่งชีว้ า่ มู ล ค่ า ของหลั ก ประกั น นั้ น ลดลง หรื อ มี ก ารเสื่ อ มราคาตามอายุ การใช้งาน จะต้องมีการพิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เป็น หลักประกันโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศ ธปท. เรือ่ ง สินทรัพย์ไม่มรี าคาหรือเรียกคืน ไม่ได้ เมื่อเดือนธันวาคม 2549 ได้ก�ำหนดเกณฑ์การกันส�ำรองให้ สอดรับกับ IAS39 สามารถนับรถยนต์เป็นหลักประกันได้ ซึง่ รถยนต์ถอื เป็นกรรมสิทธิข์ องธนาคารและบริษทั ย่อย หากลูกหนีไ้ ม่สามารถช�ำระ หนีไ้ ด้ ธนาคารและบริษทั ย่อยสามารถด�ำเนินการครอบครองสินทรัพย์ ได้ ในทันทีเพื่อขายต่อในตลาดรถยนต์ ใช้แล้ว ดังนั้น ธนาคารและ บริ ษั ท ย่ อ ยอาจมี ค วามเสี่ ย งจากการไม่ ส ามารถยึ ด รถยนต์ ที่ เ ป็ น หลั ก ประกั น ได้ รวมทั้ ง ความเสี่ ย งจากการจ� ำ หน่ า ยรถยนต์ แ ต่ ไม่สามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง เช่น สภาวะตลาดรถยนต์ ใช้แล้ว สภาพของรถยนต์ทไี่ ด้ยดึ มา เป็นต้น ธนาคารได้ ใช้ขอ้ มูลจากสถิตคิ ำ� นวณค่าความเสียหายทีอ่ าจจะเกิดขึน้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดช�ำระหนี้ส�ำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ หรือ Loss Given Default (LGD) ประมาณร้อยละ 38 ทัง้ นี้ ธนาคารได้มกี ารกันส�ำรองฯ ที่สูงกว่า ค่า LGD เพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

1.4 ความเสี่ยงจากการค�้ำประกันและการอาวัล ธนาคารและบริษัทย่อยได้ ให้บริการกับลูกค้าที่ก่อให้ เกิดภาระผูกพันจากการรับอาวัลตั๋วเงิน เล็ตเตอร์ออฟเครดิต การ ค�้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งธนาคารและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจาก การที่ต้องเข้าไปรับผิดชอบแทนลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถ ปฏิบัติตามสัญญา ส�ำหรับความเสี่ยงที่เกิดจากการค�้ำประกันและ การอาวัล ธนาคารได้ดูแลและควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการ ตรวจสอบข้อมูล โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติที่เข้มงวด ตลอดจนควบคุมและติดตาม โดยใช้แนวทางเดียวกับการให้สินเชื่อ ตามปกติของธนาคาร 054

รายงานประจำ �ปี 2557

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมี ภาระผูกพันจากการรับอาวัลตั๋วเงิน และการค�้ำประกันการกู้ยืมเงิน จ�ำนวน 28,511 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.83 ของสินทรัพย์ทั้งหมด

2. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความเสีย่ งด้านตลาด คือ ความเสีย่ งทีเ่ กิดจากการเคลือ่ นไหว ของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และราคา ตราสารในตลาดเงินตลาดทุนที่มีผลกระทบในทางลบต่อรายได้และ เงินกองทุนของธนาคารและบริษัทย่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงด้านราคา ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความ เสีย่ งด้านอัตราแลกเปลีย่ น โดยธนาคารมีนโยบายในการควบคุมและ จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นไปตามนโยบาย การบริหารความเสี่ยงของธนาคาร

2.1 ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk) เป็นความเสีย่ งทีร่ ายได้หรือเงินกองทุนได้รบั ผลกระทบ ในทางลบ เนื่ อ งจากการเปลี่ ย นแปลงของราคาตราสารหนี้ และ ตราสารทุน ท�ำให้มลู ค่าของเงินลงทุนเพือ่ ค้าและเผือ่ ขายของธนาคาร และบริษัทย่อยลดลง ธนาคารได้พัฒนาเครื่องมือในการวัดความเสี่ยงโดย ใช้แบบจ�ำลองของ Value-at-Risk (VaR Model) เพื่อวัดผลขาดทุน สูงสุด ณ ระดับความเชื่อมั่นหนึ่ง ๆ หากถือครองหลักทรัพย์ ในช่วง ระยะเวลาที่ก�ำหนด นอกจากนี้ ธนาคารมีการก�ำหนด Limit ต่าง ๆ ในการท�ำธุรกรรมเพือ่ ควบคุมความเสีย่ งให้อยู่ในระดับทีธ่ นาคารรับได้ เช่น Position Limit และ Loss Limit เป็นต้น โดยมีหน่วยงาน ควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) ซึ่งแยกออกจากหน่วยงาน ที่ท�ำธุรกรรม (Front office) และหน่วยงานที่บันทึกรายการ (Back office) ท� ำ หน้ า ที่ ค วบคุ ม ความเสี่ ย งและรายงานสถานะ Limit ต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการ หน่วยงาน หรือผู้บริหารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่ อ บริ ห ารความเสี่ ย งได้ ทั น ท่ ว งที ธนาคารมอบหมายให้ ค ณะ กรรมการพิจารณาการลงทุนเป็นผู้ควบคุมและติดตามความเสี่ยง ด้านนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือดังกล่าวมีประสิทธิภาพและ มีความแม่นย�ำ ธนาคารก�ำหนดให้มีการทดสอบเครื่องมือด้วยการ ท�ำ Backtesting โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ Bank for International Settlement (BIS) ก�ำหนด นอกจากนี้ ธนาคารมีการจ�ำลองเหตุการณ์ รุนแรงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการลดลงของราคาหลักทรัพย์ ใน ตลาดอย่างรุนแรงเฉียบพลัน หรือท�ำการทดสอบภาวะวิกฤต Stress Test เพื่อให้คาดการณ์ ได้ว่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมีผลต่อ รายได้และเงินกองทุนอย่างไร


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินลงทุนทีม่ ไี ว้เพือ่ ค้าและเผือ่ ขายของธนาคารและบริษทั ย่อยจ�ำแนกตามประเภทเงินลงทุน เป็นดังนี้ มูลค่ายุติธรรม (ล้านบาท) ปี 2557

ปี 2556

เงินลงทุนเพื่อค้า หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้เอกชน ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนในความต้องการของตลาดในประเทศ

5,990 2 0 194

4,975 5,214 0 16

รวมเงินลงทุนเพื่อค้า

6,186

10,205

68,504 44,454 11,827 3,529

71,805 25,686 14,543 1,344

รวมเงินลงทุนเผื่อขาย

128,314

113,378

รวมเงินลงทุนเพื่อค้าและเผื่อขาย

134,500

123,583

เงินลงทุนเผื่อขาย หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้เอกชน ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนในความต้องการของตลาดในประเทศ

ธนาคารและบริษทั ย่อยมีมลู ค่าเงินลงทุนเพือ่ ค้าและเผือ่ ขายเพิม่ ขึน้ จากปีทผี่ า่ นมา โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนเพิม่ ในตราสารหนี้ เอกชน จากเหตุผลดังกล่าวจึงท�ำให้ค่าความเสี่ยงด้านราคาโดยรวมของธนาคารและบริษัทย่อยปรับตัวเพิ่มขึ้น

2.2 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนได้รับผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และรายการนอกงบดุลทั้งหมดที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย (Rate Sensitive Items) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Income) และเงินกองทุนของธนาคารและบริษัทย่อย ธนาคารมีเป้าหมายที่จะด�ำเนินงานภายใต้ระบบบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพระยะยาว คือ สามารถรักษา ระดับความสัมพันธ์ของสัดส่วนโครงสร้างของสินทรัพย์และหนี้สินที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส�ำหรับการด�ำเนินงานและให้เกิดประโยชน์สงู สุดต่อธนาคารและผูถ้ อื หุน้ ธนาคารจึงพัฒนาเครือ่ งมือทีใ่ ช้วดั ความเสีย่ งด้านอัตราดอกเบีย้ เพือ่ ให้ สามารถวิเคราะห์ผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ จากความเหลือ่ มล�้ำระหว่างระยะเวลาของการปรับอัตราดอกเบีย้ (Reprice) ในสินทรัพย์ หนีส้ นิ และภาระ ผูกพันในแต่ละช่วงเวลา (Repricing Gap Analysis) ซึ่งจะมีการวัดความเสี่ยงประจ�ำทุกเดือน เพื่อให้การด�ำเนินงานของธนาคารมีความเสี่ยง อยู่ในขอบเขตที่สามารถยอมรับได้ จึงได้จัดให้มีการก�ำหนดระดับเพดานความเสี่ยง และระดับสัญญาณเตือนภัยที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจาก โครงสร้างของสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Reprice) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาตามแผน ธุรกิจของธนาคาร และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย ควบคุมและติดตามความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด โดยมีการ ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ภาวะตลาดเงินและตลาดทุน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจเป็นสาเหตุของปัจจัยความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เพื่อก�ำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการรองรับความเสี่ยง

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

055


สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 วิเคราะห์ตามระยะเวลาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ตามสัญญาของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของธนาคารและบริษัทย่อย ดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท)

ระยะเวลาการก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่หรือวันครบก�ำหนด รายการ

อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลง ตามอัตราตลาด

0-3 เดือน

3 - 12 เดือน

1 - 5 ปี

เกิน 5 ปี

ไม่มี ดอกเบี้ย

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพย์ตราสารอนุพันธ์ เงินลงทุน เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ ลูกหนี้สำ�นักหักบัญชี

- 164 - 1 335,209 - -

- 54,368 - 13,726 19,530 - -

- - 2,707 500 - - 21,891 100,194 13,008 303,983 - - - -

- - - 4,511 81,682 - -

16,605 16,605 7,885 65,624 4,389 4,389 8,863 149,186 958 754,370 1,837 1,837 18 18

รวมสินทรัพย์ทางการเงิน

335,374

87,624

37,606 404,677

86,193

40,555 992,029

หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ์ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม เจ้าหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ เจ้าหนี้สำ�นักหักบัญชี

246,986 13,181 - - 1,052 - -

152,695 257,990 46,094 13,473 - - - - 25,595 24,255 - - - -

32,659 4,919 - - 13,780 - -

- - - - 25,516 - -

6,662 696,992 2,603 80,270 1,655 1,655 5,200 5,200 - 90,198 1,520 1,520 480 480

261,219

224,384 295,718

51,358

25,516

18,120 876,315

รวมหนี้สินทางการเงิน

รวม

จากโครงสร้างสินทรัพย์และหนีส้ นิ ทางการเงินข้างต้น หากอัตราดอกเบีย้ ในตลาดปรับเพิม่ ขึน้ จากระดับปัจจุบนั จะส่งผลกระทบท�ำให้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิส�ำหรับช่วงเวลา 1 ปีข้างหน้าปรับลดลง อันเนื่องมาจากสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารซึ่งอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยคงที่

2.3 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนของธนาคารและบริษัทย่อยได้รับผลกระทบในทางลบ เนื่องจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยนจากการท�ำธุรกรรมในสกุลเงินต่างประเทศหรือจากการมีสินทรัพย์หรือหนี้สินในเงินสกุลเงินต่างประเทศ แบ่งเป็น ความเสี่ยงที่เกิด จากการท�ำธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศ (Transaction Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าจากเงินสกุลเงินต่างประเทศ เป็นสกุลเงินท้องถิ่น (Translation Risk) ธนาคารมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบีย้ (ALCO) เป็นผูค้ วบคุมและติดตามความเสีย่ งประเภทนี้ โดยการพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างและอายุครบก�ำหนดของสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ประกอบกับ ธนาคารมีนโยบายในการก�ำหนดระดับเพดานความเสี่ยง เพื่อควบคุมผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนต่อรายได้และ เงินกองทุน อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารมีนโยบายที่จะปิดความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น สัญญา แลกเปลี่ยนล่วงหน้า เป็นต้น

056

รายงานประจำ �ปี 2557


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจ�ำนวน 43,782 ล้านบาท และหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 17,360 ล้านบาท หรือมีฐานะเป็นสินทรัพย์สุทธิ 26,422 ล้านบาท และเนื่องจากสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้มีการท�ำสัญญาแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ท�ำให้ธนาคารและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงดังกล่าว ในระดับต�่ำ โดยยอดรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีจ�ำนวน 447 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 0.04 ของสินทรัพย์ทั้งหมด

3. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ธนาคารและบริษัทย่อยไม่สามารถช�ำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงก�ำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกิน กว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคารและบริษัทย่อยในปัจจุบันและในอนาคต โดยกลไกการบริหาร ความเสี่ยงจะเริ่มจากการประเมินกระแสเงินสดและฐานะสภาพคล่องในแต่ละช่วงเวลาที่ธนาคารอาจมีความต้องการเงินทุนแตกต่างกัน เพื่อ รองรับการถอนเงินฝาก การลดหนีส้ นิ ประเภทอืน่ ลง หรือการเพิม่ ขึน้ ของสินทรัพย์ โดยใช้เครือ่ งมือทัง้ ทีเ่ ป็นแบบจ�ำลองวิเคราะห์ฐานะสภาพคล่อง (Liquidity Gap Analysis) อัตราส่วนด้านสภาพคล่องต่าง ๆ ตลอดจนการใช้สถานการณ์จ�ำลองโดยการตั้งสมมติฐาน (“What if” Scenarios) เพือ่ วิเคราะห์ถงึ ผลกระทบว่า ธนาคารจะยังคงมีสภาพคล่องทีเ่ พียงพอหรือไม่ ภายใต้กระแสเงินสดทีข่ นึ้ อยูก่ บั พฤติกรรมของลูกค้าในการต่ออายุ สัญญาเมือ่ ครบก�ำหนด นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการความต้องการสภาพคล่องภายใต้สมมติฐานทีแ่ ตกต่างกันตามภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ ไม่ปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับธนาคารเองและเกิดกับระบบสถาบันการเงิน ขณะเดียวกัน ธนาคารและบริษัทย่อยมีการจัดท�ำแผนรองรับเหตุฉุกเฉินไว้รองรับกรณีเกิดปัญหาสภาพคล่องและจะมีการทบทวน เมื่อมีเหตุการณ์ส�ำคัญที่จะมีผลต่อการด�ำเนินงานตามแผน ทั้งนี้ การควบคุมและติดตามความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ธนาคารได้มอบหมายให้ คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะจัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามสถานะและบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นประจ�ำทุกสัปดาห์ โครงสร้างแหล่งเงินทุนของธนาคาร ซึ่งจ�ำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของเงินทุนและระยะเวลาของแหล่งเงินทุน เป็นดังนี้ เงินทุนจ�ำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของเงินทุน (หน่วย : ล้านบาท)

ปี 2557

ร้อยละ

ปี 2556

ร้อยละ

เงินรับฝาก รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม

696,992 80,270 90,198

80.35 9.25 10.40

719,079 81,082 92,229

80.58 9.09 10.33

รวม

867,460

100.00

892,390

100.00

เงินทุนจ�ำแนกตามระยะเวลาของแหล่งเงินทุน

(หน่วย : ล้านบาท)

ปี 2557

ร้อยละ

ปี 2556

ร้อยละ

ไม่เกิน 1 ปี เกิน 1 ปี

776,239 91,221

89.48 10.52

798,311 94,079

89.46 10.54

รวม

867,460

100.00

892,390

100.00

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินรับฝากและเงินกู้ยืมรวม 867,460 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่เป็น เงินฝากจากประชาชน ซึ่งมีระยะเวลาครบก�ำหนดตามสัญญาไม่เกิน 1 ปี อันเป็นลักษณะโครงสร้างการท�ำธุรกิจเป็นปกติทางการค้าของธนาคาร พาณิชย์ อย่างไรก็ดี ธนาคารได้มีการออกผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น เงินฝาก NCD และหุ้นกู้ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินให้กับลูกค้า ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

057


ทั้งนี้ สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของธนาคารและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 วิเคราะห์ตามระยะเวลาครบก�ำหนดตาม สัญญา เป็นดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท)

รายการ

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพย์ตราสารอนุพันธ์ เงินลงทุน เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ ลูกหนี้สำ�นักหักบัญชี รวมสินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ์ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม เจ้าหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ เจ้าหนี้สำ�นักหักบัญชี รวมหนี้สินทางการเงิน รายการนอกงบดุ ล การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินค่าสินค้าเข้าที่ยังไม่ครบกำ�หนด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น รวมรายการนอกงบดุล

058

รายงานประจำ �ปี 2557

วันที่ครบก�ำหนดของเครื่องมือทางการเงิน เมื่อทวงถาม น้อยกว่า 1 ปี มากกว่า 1 ปี ไม่มีก�ำหนด

รวม

16,605 8,049 - 1 58,105 - -

- 57,075 4,389 37,281 228,452 1,837 18

- 500 - 103,098 467,813 - -

- - - 8,806 - - -

16,605 65,624 4,389 149,186 754,370 1,837 18

82,760

329,052

571,411

8,806

992,029

249,440 15,672 1,655 - 1,052 - -

413,679 59,679 - 5,200 36,717 1,520 480

33,873 4,919 - - 45,299 - -

- - - - 7,130 - -

696,992 80,270 1,655 5,200 90,198 1,520 480

267,819

517,275

84,091

7,130

876,315

35 39 63 44,276

201 470 4,733 6,213

20 - - 631

- - - -

256 509 4,796 51,120

44,413

11,617

651

-

56,681


4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสีย่ งด้านปฏิบตั กิ าร เป็นความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการขาดการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ขาดธรรมาภิบาล ในองค์กร หรือขาดการควบคุมที่ดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติ งานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบ ต่อรายได้จากการด�ำเนินงานและเงินกองทุนของธนาคารและบริษัท ย่อย รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น ความเสี่ยงต่อการถูก ฟ้องร้องหรือด�ำเนินคดีตามกฎหมาย ถูกทางการเปรียบเทียบปรับ รวมทั้งความเสียหายที่ได้รับจากการตกลงกันนอกชั้นศาล เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจะมีผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านอื่น โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) และด้าน ชื่อเสียง (Reputation Risk) ธนาคารได้ก�ำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความ เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันและติดตามดูแลความ เสี่ยงประเภทนี้ และเนื่องจากการควบคุมภายในเป็นกลไกส�ำคัญใน การควบคุมและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารจึงจัดให้ มีระบบควบคุมภายในที่ดี อันได้แก่ • การจัดโครงสร้างองค์กร ธนาคารมีการก�ำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละต� ำแหน่งงานให้มีการสอบยัน และถ่วงดุลอ�ำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) โดยแยก หน่วยงานที่ท�ำธุรกรรม (Front office) ออกจากหน่วยงานที่ท�ำหน้าที่ ควบคุมและติดตามความเสี่ยง (Middle office) ซึ่งได้แก่ หน่วยงาน ควบคุมความเสีย่ ง (Risk Control Unit) กับหน่วยงานทีบ่ นั ทึกรายการ (Back office) • การจั ด ให้ มี ห น่ ว ยงานสนั บ สนุ น การท� ำ ธุ ร กรรม เช่ น หน่วยงานคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ หน่วยงานกฎหมาย หน่วยงานประเมินราคา ที่มีความช�ำนาญเฉพาะด้านและเป็นอิสระ เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น • การจั ด ให้ มี ร ะเบี ย บปฏิ บั ติ ง านที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การท� ำ ธุรกรรมทุกประเภท และคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงาน ตลอดจน ระเบียบอ�ำนาจอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการ ท�ำงานภายในองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด • การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง เพื่อควบคุม ติดตาม และประเมินความเสี่ยงของ ธนาคาร ตรวจสอบข้อผิดพลาด ปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องให้รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ การขยายตัวของธุรกิจและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าทั้งด้าน เทคโนโลยีและด้านข้อมูล โดยเฉพาะการป้องกันความเสียหายจาก การลักลอบเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง

• การจัดท�ำแผนรองรับการด�ำเนินธุรกิจต่อเนือ่ ง (Business Continuity Plan) ประกอบด้วย แผนฉุกเฉิน แผนระบบส�ำรอง และ แผนการฟื้นฟูการด�ำเนินงาน เพื่อควบคุมไม่ให้การด�ำเนินธุรกิจหยุด ชะงัก รวมทัง้ จัดให้มกี ารซักซ้อม เพือ่ ทดสอบความพร้อมของแผนและ เพือ่ การปรับปรุงแผนให้สามารถปฏิบตั งิ านได้จริงและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการที่ธนาคารมีการใช้บริการจากบุคคลภายนอก ด�ำเนินการแทนในบางกลุ่มกิจกรรมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับทิศทางการ ด�ำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินในปัจจุบันและในอนาคต ธนาคาร ได้มีการก�ำหนดนโยบายเพื่อบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจาก บุคคลภายนอก (Outsourcing) ขึ้น โดยนโยบายดังกล่าวนอกจาก จะมีแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อบังคับในเรื่องเดียวกัน ที่ออกโดย ธปท. แล้ว และยังเพื่อประโยชน์ ในการควบคุมภายใน ของธนาคารด้วย ส�ำหรับการวัดและประเมินความเสีย่ งด้านปฏิบตั กิ าร ธนาคาร มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบ หรือเงื่อนไขของวิธีการที่ใช้ ในการ วัดและประเมินความเสีย่ งภายในของธนาคารเอง โดยวิธกี ารดังกล่าว ธนาคารมีการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แนวทาง การก�ำกับดูแลของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ลักษณะ และความซับซ้อนของธุรกิจ ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง ของธนาคาร โอกาสและ/หรือความถี่ (Probability, Likelihood หรือ Frequency) ตลอดจนผลกระทบ (Impact หรือ Severity) ของ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น/อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ตามที่ ธปท. ก�ำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ดำ� รงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสีย่ งด้าน เครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบตั กิ ารตามแนวทางของ Basel III นัน้ ธนาคารได้เลือกวิธีการค�ำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี Basic Indicator Approach นอกจากนี้ ในการติดตามดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ธนาคารก�ำหนดเป็นนโยบายให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานมีความ รับผิดชอบในการติดตามความเสี่ยง โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการ ปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งจะช่วยให้รับทราบถึงความเสี่ยงและปัญหาที่ เกิดขึน้ ได้ทนั ท่วงที และเพือ่ ให้สามารถตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลง ในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ไม่สง่ ผลเสียหายต่อ ธนาคาร ถึงกระนั้นก็ดี เพื่อให้ทราบถึงผลการด�ำเนินงานและปัญหา ที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลปัจจัย เสี่ยง ธนาคารจึงจัดให้มีการจัดเก็บและรายงานข้อมูลในส่วนที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ ห ารความเสี่ ย งด้ า นปฏิ บั ติ ก าร เช่ น ข้ อ มู ล เหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้น (Loss data) ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators) จุดที่มีความเสี่ยงส�ำคัญ เป็นต้น เสนอต่อ คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง และผูบ้ ริหาร ระดับสูงอย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ เพื่อใช้ประกอบการก�ำหนด นโยบายและพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม และเป็น เครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยให้ธนาคารประเมินความสามารถของระบบควบคุม ภายในว่า มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดอีกทางหนึ่งด้วย

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

059


5. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการก�ำหนด แผนกลยุทธ์ แผนด�ำเนินงาน และการน�ำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก อันส่ง ผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุนหรือการด�ำรงอยู่ของธนาคารและ บริษัทย่อย ในการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ธนาคารจัดให้มี การท�ำแผนกลยุทธ์ส�ำหรับช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า และจัดให้มีการ ทบทวนแผนงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ภายนอก ทีอ่ าจส่งผลกระทบถึงการบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ โดยคณะกรรมการ บริหารเป็นผู้ติดตามผลการด�ำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เปรียบ เทียบกับแผนงานประจ�ำปีที่ก�ำหนดเป้าหมายไว้อย่างสม�่ำเสมอ

6. ความเสี่ยงจากมาตรการหรือกฎระเบียบของทางการ ความเสีย่ งด้านการปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ หมายความว่า ความ เสี่ยงอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่บังคับใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ ของธนาคาร ซึง่ อาจท�ำให้เกิดความเสียหายทางการเงินเป็นจ�ำนวนสูง ความเสียหาย ต่ อ ชื่ อ เสี ย งของธนาคาร หรื อ การถู ก ทางการเข้ า แทรกแซง ซึ่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานคณะ กรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย ส�ำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ หน่วยงานอืน่ ๆ แต่ละครัง้ อาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์และการด�ำเนิน ธุรกิจของธนาคารและบริษัทย่อย ธนาคารมีหน่วยงานก�ำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ ขึ้นตรง ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ท�ำหน้าที่ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานของ ธนาคารและบริษทั ในกลุม่ ธุรกิจทางการเงิน ให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของทางการและองค์กรต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง จรรยาบรรณ ในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนให้ค�ำปรึกษา เผยแพร่ความรู้ ให้กับ ผู้บริหารและพนักงาน และสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงให้สามารถ บริหารความเสีย่ งด้านการปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ�้ำซ้อนกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งปฏิบัติงาน ในหน้าที่เฉพาะ เช่น การป้องกันการฟอกเงิน การประสานงานกับ ผูก้ ำ� กับดูแล หรือหน่วยงานทางการ เป็นต้น โดยมีการรายงานคูข่ นาน ต่อผู้บริหารสูงสุดของธนาคารกับคณะกรรมการตรวจสอบธนาคาร

060

รายงานประจำ �ปี 2557

การบริหารความเสีย่ งด้านการปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ หน่วยงาน ก�ำกับกฎระเบียบและข้อบังคับจะท�ำการประเมินความเสี่ยงด้านการ ปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ของกิจกรรมต่าง ๆ โดยพิจารณาปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ ภายในและภายนอกธนาคาร ซึง่ ครอบคลุมถึงทิศทางการก�ำกับดูแล ของทางการ ผลการตรวจสอบของทางการ นโยบายธุรกิจ ข้อหารือ ข้อร้องเรียน การควบคุมภายใน และระบบงานภายในทีร่ องรับในเรือ่ ง ที่พิจารณานั้น ๆ โดยมีการก�ำหนดน�้ำหนักผลกระทบและโอกาสที่จะ เกิดความเสี่ยงในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามแนวทาง Risk Based Approach (RBA) เพือ่ ใช้ ในการสุม่ สอบทานการปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปตาม กฎเกณฑ์ (Control and Monitor) และติดตามข้อบกพร่องที่ตรวจ พบพร้อมเสนอแนวทางการปรับปรุง

7. ความเสี่ยงจากความเพียงพอของเงินกองทุน ธนาคารใช้หลักเกณฑ์การก�ำกับดูแลเงินกองทุนตามแนวทาง Basel III เพื่อค�ำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ • ความเสี่ยงด้านเครดิต ใช้วิธี Standardized Approach • ความเสี่ยงด้านตลาด ส�ำหรับฐานะความเสี่ยงด้านตลาด ใช้วิธี Standardized Approach • ความเสี่ ย งด้ า นปฏิ บั ติ ก าร ใช้ วิ ธี Basic Indicator Approach นอกจากนี้ ธนาคารมี ก ารประเมิ น ความเพี ย งพอของ เงินกองทุนในอนาคต จากงบประมาณและแผนธุรกิจส�ำหรับระยะ เวลา 3 ปี ค่าความเสีย่ งทีค่ �ำนวณได้จะใช้การก�ำหนดงบประมาณเงิน กองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง(Risk Capital Budget) ซึ่งหน่วยงาน นโยบายความเสี่ยงและตลาดทุนจะมีการจัดท�ำรายงานความเพียง พอของเงินกองทุนเป็นประจ�ำทุกเดือนเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการธนาคารเพื่อติดตามดูแลให้ธนาคารมีเงินกองทุน หลังจัดสรรความเสี่ยงโดยรวมในปริมาณที่เพียงพอที่จะรองรับการ เติบโตของธุรกิจตามแผนที่วางไว้อย่างมั่นคง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารมีเงินกองทุนทั้งสิ้น จ�ำนวน 114,636 ล้านบาท โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วน ของเจ้าของ จ�ำนวน 71,806 ล้านบาท เมื่อนับรวมกับ Hybrid Tier 1 ทีส่ ามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ทมี่ จี ำ� นวน 5,704 ล้านบาท ส่งผลให้ เงินกองทุนชั้นที่ 1 มีจ�ำนวน 77,510 ล้านบาท และเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจ�ำนวน 37,126 ล้านบาท ดังนั้นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ทีเ่ ป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสีย่ ง อัตราส่วนเงินกองทุนชัน้ ที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง ของธนาคารอยู่ในระดับร้อยละ 9.92, 10.70 และ 15.83 ตามล�ำดับ สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต�่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก�ำหนด ให้ด�ำรงไว้ที่ร้อยละ 4.50, 6.00 และ 8.50 ตามล�ำดับ


ความรับผิดชอบต่อสังคม การด�ำเนิ น งานด้านการแสดงความรับผิด ชอบต่ อ สั ง คมของกลุ ่ ม ธนชาต กลุ่มธนชาตเป็นองค์กรธุรกิจที่มุ่งมั่นให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจรเพื่อเติมเต็มทุกความส�ำเร็จ ตอบสนองต่อทุกความต้องการ ในแต่ละช่วงชีวติ ของลูกค้า หากแต่กลุม่ ธนชาตไม่ได้ ให้ความส�ำคัญเฉพาะการด�ำเนินธุรกิจซึง่ มีเป้าหมายส�ำคัญ คือ ผลก�ำไรจากการด�ำเนินธุรกิจ เพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม ถือเป็นหลักการด�ำเนินธุรกิจ อีกประการหนึ่งที่กลุ่มธนชาตได้มุ่งเน้นควบคู่ไปกับการด�ำเนินธุรกิจให้อยู่ภายใต้กรอบของความมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ดี โปร่งใสสามารถ ตรวจสอบได้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มธนชาตสามารถพัฒนาธุรกิจให้ด�ำเนินไปอย่างยั่งยืนควบคู่กับการสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ด้วยความมุ่งมั่นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น กลุ่มธนชาตจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิ ทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ ในการด�ำเนินงานด้านดังกล่าว ทัง้ จากภายในและภายนอกกลุม่ ธนชาต เพือ่ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ด้วยความมุง่ มัน่ ในการส่งเสริมให้เกิดระบบการท�ำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ผ่านการด�ำเนินการพิจารณาแนวทาง ทิศทาง รวมทั้ง ให้ความเห็นต่อโครงการที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ กลุ่มธนชาตยังมุ่งเน้นการเติมเต็ม ส่วนทีข่ าดของสังคมและร่วมสร้างสรรค์สงั คมให้มกี ารพัฒนาอย่างยัง่ ยืนในทุก ๆ ด้าน ภายใต้การมีสว่ นร่วมของพนักงาน ผ่านการด�ำเนินงานด้าน การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในกระบวนการด�ำเนินธุรกิจและการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม ได้แก่ การรณรงค์และส่งเสริมเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย การท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มธนชาตได้มุ่งเน้นให้เกิดการด�ำเนินงานที่ครอบคลุม ประเด็นส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานของกลุ่มธนชาตให้มากที่สุด ได้แก่ 1. การต่อต้านทุจริตและการคอร์รัปชั่น 2. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 3. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5. การร่วมพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากการค�ำนึงถึงประเด็นหลักในการปฏิบัติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว การค�ำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มถือเป็น อีกส่วนหนึง่ ทีก่ ลุม่ ธนชาตได้ ให้ความส�ำคัญ ในการก�ำหนดแผนด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนัน้ ได้มงุ่ เน้นให้ผมู้ สี ว่ นได้เสีย ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ภาครัฐ หรือแม้กระทั่งสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้รับการ ดูแลอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน การก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาต ยังไม่ได้มีการสร้าง ข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Engagement) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในการด�ำเนินงาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนชาตได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความส�ำคัญของการสร้างข้อผูกพันดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้การด�ำเนินงานด้านการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถตอบสนองและเป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาแนวทางการ สร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในอนาคต

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

061


กระบวนการในการจัดท�ำรายงานความรับผิดชอบต่ อ สั ง คมของกลุ ่ ม ธนชาต มาตรฐานทีก่ ลุม่ ธนชาตได้นำ� มาใช้ ในการพัฒนาแนวทางปฏิบตั แิ ละการเขียนรายงานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ แนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึง่ เป็นทีย่ อมรับอย่างกว้างขวางในองค์กรและผูท้ ปี่ ฏิบตั งิ านด้านการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการปฏิบัติตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนา รายงานและเตรียมความพร้อมสู่การจัดท�ำรายงานแห่งความยั่งยืนในอนาคต เพื่อให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องรายงาน ทั้งในระดับประเทศ และสากล

ประเด็ น ส�ำคั ญ ในการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม จากการวิเคราะห์ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียและการด�ำเนินธุรกิจ กลุ่มธนชาตได้จัดล�ำดับความส�ำคัญของประเด็น ในการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยประเด็นส�ำคัญในปี 2557 มี 5 ประเด็น ซึ่งได้มีการสรุปแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละประเด็นไว้ ดังนี้ 1. การต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชั่น อธิบายอยู่ในส่วน “การเปิดเผยเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น” 2. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นมุ่งเน้น

แนวปฏิบัติ

การจ้างงาน

- ก�ำชับให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อย่าง เคร่งครัด - ก�ำหนดแนวทางและเกณฑ์ ในการคัดเลือกพนักงานที่ชดั เจน โปร่งใส และสามารถ ตรวจสอบได้ - มีกระบวนการในการสรรหา คัดเลือกบุคลากรที่เป็นระบบ

สวัสดิการและการดูแลพนักงาน

- แต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประจ�ำอาคารต่าง ๆ เพือ่ เป็นตัวแทนของพนักงานในการร่วมปรึกษาหารือ ดูแล และเสนอความคิดเห็น ในเรื่องการจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน - ก�ำหนดข้อปฏิบัติต่อพนักงานและคู่มือส�ำหรับพนักงานที่ชัดเจน โดยมุ่งเน้นไม่ให้ เกิดการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งระบุผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับอย่างชัดเจน

การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพพนักงาน

- มุ่งเน้นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของ พนักงานอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้

การส่งเสริมการมีส่วนร่วม

- ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ทั้งในด้าน การวางแผนและการปฏิบัติงาน - เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและทั่วถึง

062

รายงานประจำ �ปี 2557


3. การประกอบกิจการอย่างเป็นธรรม ประเด็นมุ่งเน้น

แนวปฏิบัติ

จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct)

- มีการก�ำหนดจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ กลุม่ ธนชาต ใช้เป็นคูม่ อื เพือ่ ยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบตั ิ เป็นแบบอย่าง ที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อเพื่อน ร่วมงาน ต่อผู้บังคับบัญชา และผู้ ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม - มีการก�ำหนดจรรยาบรรณส�ำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานไว้ ในแนวทาง ปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจของธนาคารอย่างชัดเจน - ก� ำ กั บ ดู แ ลให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ามจรรยาบรรณธุ ร กิ จ ที่ ค รอบคลุ ม ถึ ง ประเด็ น ของ การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกันการฟอกเงิน เป็นต้น - ในปี 2557 ที่ผ่านมา กลุ่มธนชาตได้มีการด�ำเนินการเรื่องจรรยาบรรณธุรกิจ ดังนี้ 1) ปรับปรุงคู่มือจรรยาบรรณให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น ของกลุ่มธนชาต 2) ก�ำหนดให้บริษทั ในกลุม่ ธนชาตปรับปรุงคูม่ อื ดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางปฏิบตั ิ เดียวกัน 3) จัดหลักสูตรอบรมเรือ่ งคูม่ อื จรรยาบรรณให้กบั พนักงานใหม่ทกุ ระดับและลงนาม รับทราบคู่มือจรรยาบรรณอย่างต่อเนื่อง 4) พัฒนา CG E-learning และเผยแพร่ในระบบอินทราเน็ต (Intranet) เพื่อให้ พนักงานสามารถศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) จัดให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทุกคนลงนามยอมรับปฏิบัติตามคู่มือ จรรยาบรรณดังกล่าว และลงนามไม่กระท� ำการใดที่เป็นการแสวงหาผล ประโยชน์ทางธุรกิจที่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ต่อกลุ่ม ธนชาต 6) จัดท�ำแบบประเมินพนักงานทุกระดับของทั้งกลุ่มธนชาต เพื่อทดสอบและ วัดระดับความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การก�ำกับดูแลกิจการ ที่ดีและจรรยาบรรณ 2 ครั้งต่อปี

การส่งเสริมคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

- มีหลักการในการคัดเลือกคูค่ า้ ในการด�ำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างชัดเจนว่า จะไม่สง่ เสริม คูค่ า้ ทีไ่ ม่มคี วามรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการใช้แรงงานเด็ก หรือให้การส่งเสริมการด�ำเนินธุรกิจที่ผิดศีลธรรมและผิดกฎหมาย

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

063


4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ประเด็นมุ่งเน้น

แนวปฏิบัติ

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์แก่ ผู้บริโภคอย่างชัดเจน

- มีการประชาสัมพันธ์รายละเอียดสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ ออกคูม่ อื ทีเ่ กีย่ วข้อง ให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภคทั่วไปอย่างชัดเจน

การคุ้มครองสิทธิของลูกค้า

- ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพที่ดี มีคุณภาพ รักษาความลับของลูกค้า - ก�ำหนดให้พนักงานเคร่งครัดในการรักษาความลับของลูกค้าและไม่น�ำข้อมูลใด ๆ ของลูกค้าไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่น - รักษาความลับของลูกค้า รวมถึงไม่น�ำไปใช้เพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ที่ เกี่ยวข้องโดยมิชอบ เว้นแต่จ�ำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย - จัดระบบหรือช่องทางเพื่อให้ลูกค้าสามารถแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียน เกี่ยวกับบริการ และด�ำเนินการแก้ไขรวมทั้งแจ้งผลให้ลูกค้าทราบอย่างรวดเร็ว

5. การร่วมพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเด็นมุ่งเน้น

แนวปฏิบัติ

การสนับสนุน และส่งเสริมการด�ำเนินงานด้าน การพัฒนาสังคมกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหา ก�ำไร

- วางแผนและด�ำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กร ไม่แสวงหาก�ำไรในการพัฒนาชุมชนและสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้ า นการส่ ง เสริ ม และอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมไทย ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม รวมทั้ ง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม

การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

- ก�ำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ชัดเจน - ก�ำหนดมาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน - รณรงค์ กระตุ้น และส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและยั่งยืน

064

รายงานประจำ �ปี 2557


กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม (CSRafter-Process) เป็นกิจกรรมที่ด�ำเนินการนอกเหนือจากการด� ำเนินธุรกิจ ปกติและการด�ำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในกระบวนการซึง่ กลุม่ ธนชาตได้ดำ� เนินการด้านนีม้ าโดยตลอดตัง้ แต่ เริ่มด�ำเนินธุรกิจ ต่อมาเมื่อกลุ่มธนชาตได้มีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ภายในกลุม่ มีสาขาครอบคลุมทัว่ ประเทศ ส�ำนักงานเครือข่าย (HUB) ในภาคต่าง ๆ จึงได้มสี ว่ นร่วมในการจัดกิจกรรมเพือ่ สังคม ซึง่ ด�ำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของพนักงานในกลุม่ ธนชาต รวมทัง้ เชิญชวนลูกค้า คู่ค้า และประชาชนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมนั้น ๆ โดยในปี 2557 ได้มีการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านการรณรงค์และส่งเสริมเอกลักษณ์วฒ ั นธรรมไทย และศาสนา เพื่อร่วมส่งเสริมกิจกรรมด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิน่ และศาสนา ภายใต้การส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของ ชุมชน พนักงาน และประชาชนทั่วไป 2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินงานเพื่อ สาธารณกุศล เพื่อแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมในการ พัฒนาสังคม ผ่านการสนับสนุนการด�ำเนินงานเพือ่ สังคมขององค์การ สาธารณกุศลต่าง ๆ ที่ด�ำเนินงานในการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งและ มีความยั่งยืน โดยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย เด็กและเยาวชน สตรี หรือผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ 3. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา เพือ่ ร่วมเติมเต็ม และพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ สามารถผลิต และพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นที่ทัดเทียมกับ นานาชาติ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการวาง รากฐานส�ำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งของชาติ

4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงความมุ่งมั่นใน การด�ำเนินการที่สามารถลดผลกระทบทางอ้อมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเกิดจากการด�ำเนินธุรกิจของกลุ่ม ผ่านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการ รณรงค์ และสร้างจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน นอกจากนี้ ยังได้มกี ารจัดตัง้ มูลนิธธิ นชาตเพือ่ สังคมไทย ขึน้ เพื่อเป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนการด�ำเนินกิจกรรมทางสังคม ของกลุ่มธนชาตด้วย โดยกิจกรรมของมูลนิธิธนชาตเพื่อสังคมไทย ส่วนใหญ่นนั้ มุง่ เน้นให้เกิดการสร้างสรรค์สงั คมควบคูไ่ ปกับการพัฒนา สังคม มีเป้าหมายในการสร้างโมเดลต้นแบบในการพัฒนาชุมชน และสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีความรู้ ในการพัฒนา ปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงตนเอง ทั้งในเรื่องของความรู้ ความคิด และทักษะใน การปฏิบัติ มีความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง รวมทั้งมี ทัศนคติ ค่านิยมทีถ่ กู ต้องและเหมาะสมในการด�ำเนินชีวติ และพัฒนา ความเป็นอยู่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้แนวความคิด “เศรษฐกิจ พอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงการสร้าง เครือข่ายและการประสานงานช่วยเหลือสังคมในสภาวการณ์ต่าง ๆ

1. ด้านการรณรงค์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย และศาสนา พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจ�ำปี 2557 ธนาคารได้ดำ� เนินการในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานมา เป็นประจ�ำต่อเนือ่ ง โดยจุดเริม่ ต้นการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานนัน้ เกิดขึน้ ครัง้ แรกในปี 2549 ณ วัดแก้วโกรวาราม จังหวัดกระบี่ จากนัน้ ธนาคารได้ด�ำเนินกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาเป็นประจ�ำทุกปี ซึง่ ถือเป็นกิจกรรมทีส่ ง่ เสริมการท�ำนุบำ� รุงพระพุทธศาสนา พระอาราม หลวง ปูชนียสถานไว้ ให้คงอยู่คู่ชาติไทย

1

2

1 - 2 พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจ�ำปี 2557 ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

065


ในปี 2557 ธนาคารได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ผ้าพระกฐินให้นำ� ไปถวาย ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการนี้ บริษทั ในกลุม่ ธนชาต ลูกค้า คูค่ า้ ต่าง ๆ รวมทัง้ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และประชาชนทัว่ ไป ได้มจี ติ ศรัทธาร่วมกันในการถวายปัจจัยให้แก่วดั เพื่อร่วมสมทบทุนจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ไม้สักเป็นจ�ำนวนเงิน 10,817,466.93 บาท และได้ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ทุ น การศึ ก ษาแก่ เด็ ก นั ก เรี ย นที่ มี ผ ลการเรี ย นดี มี ค วามประพฤติ ดี แ ต่ ข าดแคลน ทุนทรัพย์ ในการศึกษา รวมทั้งโรงเรียนในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 51 ทุน

โครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม เอกลักษณ์ ไทย”

นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา ได้มีการด�ำเนินงานด้านเอกลักษณ์ ไทยเพิ่ ม ขึ้ น อี ก โครงการ โดยการร่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานเสริ ม สร้ า ง เอกลั ก ษณ์ ข องชาติ ส�ำ นั กงานปลั ด ส�ำ นั กนายกรั ฐ มนตรี ส�ำ นั ก ราชเลขาธิการ และส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ในโครงการ “ปลูกไทย...ในแบบ พ่อ” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบูรณาการการท�ำงานด้านเครือข่าย เอกลั ก ษณ์ ข องชาติ ใ ห้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ เ ป็ น รู ป ธรรมและต่ อ เนื่ อ ง รวมทัง้ สร้างเครือข่ายเยาวชนด้านเอกลักษณ์ ให้สานต่อความเป็นไทย สืบต่อไป โดยธนาคารเป็นหน่วยงานภาคเอกชนเพียงแห่งเดียวทีไ่ ด้รบั เกียรติให้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการด�ำเนินงาน

พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต

โครงการ “ธนชาต ริ เ ริ่ ม ...เติ ม เต็ ม เอกลั ก ษณ์ ไ ทย” มีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ การธ�ำรงและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ความเป็นไทย ทั้งการอ่านฟังเสียงภาษาไทย และการปฏิบัติเกี่ยวกับ มารยาทไทยในชีวติ ประจ�ำวัน โดยส่งเสริมให้เอกลักษณ์ดงั กล่าวยังคง อยู่คู่กับคนไทย ไม่ให้เกิดการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา และสร้าง สมดุลในค่านิยมทางสังคมที่ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมต่างชาติ มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและร่วมปลูกจิตส�ำนึก ให้เยาวชนของชาติเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนวัฒนธรรมไทย และร่วมกันรักษาไว้ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป ซึ่งวัฒนธรรมทาง ด้านภาษาไทยและมารยาทไทยนัน้ จัดเป็นเอกลักษณ์สำ� คัญทีแ่ สดงถึง ความเป็นชาติไทยได้เป็นอย่างดี โดยกิจกรรมหลักตามโครงการมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การแข่งขันอ่านฟังเสียง และการประกวดมารยาทไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ปี ที่ 1 ถึ ง ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มแข่ ง ขั น ในนามของสถาบั น เพื่อแข่งขันชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โล่ เกียรติบตั ร และทุนการศึกษา โดยในปี 2557 เป็นการจัดโครงการเป็นปีที่ 43 มีผู้เข้าแข่งขันจากสถาบันการศึกษา ทุกภูมิภาคมากกว่า 3,000 คน

“พิพธิ ภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต” ถือเป็นพิพธิ ภัณฑ์ครุฑ แห่งแรกและแห่งเดียวของอาเซียน โดยที่มาในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ครุฑนั้นเริ่มมาจากการที่ธนาคารธนชาตได้รับโอนกิจการทั้งหมดจาก ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคารนครหลวงไทย”) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ซึ่งธนาคารนครหลวงไทยนั้น เป็นธนาคาร ที่มีการด�ำเนินกิจการมากว่า 70 ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเครื่องหมายครุฑพ่าห์หรือตราครุฑพระราชทานมา ติดตั้งอยู่ที่ส�ำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2484 ซึ่งภาย หลังการรับโอนกิจการจากธนาคารนครหลวงไทยในปี 2554 ธนาคาร จึงจ�ำเป็นต้องอัญเชิญเครื่องหมายครุฑพ่าห์ลง ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายครุฑพ่าห์ (ฉบับที่ 2) ปี 2535 ด้วยความตระหนักถึง คุณค่าและความส�ำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพัน และความศรั ท ธากั บ คนไทย รวมทั้ ง ยั ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนองค์ พระมหากษัตริย์ของไทย จึงได้มีการอัญเชิญองค์ครุฑจากส�ำนักงาน และสาขาต่าง ๆ มาประดิษฐานยังศูนย์ฝึกอบรมบางปู เขตเทศบาล ต�ำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ครุฑขึ้น เพื่อร้อยเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ครุฑในรูปแบบสื่อ

3

4

066

รายงานประจำ �ปี 2557

3 - 4 ผู้ชนะการประกวดมารยาทไทย เข้ารับพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ผสมผสาน (Multimedia) โดยยึดความเข้าใจพื้นฐานของคนไทยที่มี ต่อองค์ครุฑจากความเชือ่ ทางพุทธศาสนาเป็นหัวใจหลัก ในพิพธิ ภัณฑ์ ได้มีการออกแบบและสร้างสรรค์สถานที่เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึง ความเป็นมาของครุฑตามต�ำนาน ทั้งในเชิงพุทธและพราหมณ์ และ ได้จดั ให้มพี นื้ ทีก่ ารจัดแสดงองค์ครุฑทีอ่ ญ ั เชิญจากสาขาของธนาคาร นครหลวงไทยมาไว้ยงั พิพธิ ภัณฑ์ เพือ่ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ครุฑกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทัง้ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ทั่วไปที่สนใจ

กิจกรรม “สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีในท้องถิ่น” ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าของเอกลักษณ์ ขนบธรรมเนียม และประเพณีไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสะท้อน ให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม อันเป็นมรดกที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่ชาติ ใดในโลกไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และมีค่าควรแก่การอนุรักษ์ ให้คงอยู่ต่อไป จึงเกิดเป็นกิจกรรม “สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีใน ท้องถิ่น” โดยส�ำนักงานเครือข่ายของธนาคารที่เปิดด�ำเนินการอยู่ ทั่วประเทศเป็นผู้รับผิดชอบในการด�ำเนินกิจกรรม และการเข้าไปมี ส่วนร่วมกับชุมชนในฐานะสมาชิกของท้องถิ่น ทั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการ มีส่วนร่วมระหว่างพนักงาน ลูกค้า ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนช่วยส่งเสริม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาค โดยในปี 2557 มีการจัดกิจกรรมสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีในท้องถิ่น ในพื้นที่ 14 ส�ำนักงานเครือข่าย ได้แก่

5

6

7

8

1. งานตรุษจีนไชน่าทาวน์ กรุงเทพมหานคร โดยส�ำนักงาน เครือข่าย กรุงเทพฯ 2 (มาบุญครอง) 2. งานตรุษจีน ปากน�ำ้ โพ จังหวัดนครสวรรค์ โดยส�ำนักงาน เครือข่าย ภาคเหนือ 3 (นครสวรรค์) 3. งานสรงน�้ ำ พระพุ ท ธอั ง คี ร ส จั ง หวั ด ระยอง โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคตะวันออก 2 (ระยอง) 4. งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประจ�ำปี 2557 จังหวัด อุบลราชธานี โดยส�ำนักงานเครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 (อุบลราชธานี) 5. งานแข่งขันเรือยาวประเพณี ประจ�ำปี 2557 จังหวัด พิษณุโลก ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคเหนือ 2 (พิษณุโลก) 6. งานประเพณี รั บ บั ว (14 ค�่ ำ เดื อ น 11) จั ง หวั ด สมุทรปราการ โดยส�ำนักงานเครือข่าย กรุงเทพฯ 4 (บางนา) 7. งานสื บ สานประเพณี วิ่ ง ควาย จั ง หวั ด ชลบุ รี โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคตะวันออก 1 (พัทยา) 8. งานประเพณีออกพรรษา วัดพระพุทธฉาย จังหวัด สระบุรี โดยส�ำนักงานเครือข่าย ภาคกลาง 2 (สระบุรี) 9. งานร่วมสืบสานประเพณีกินเจ จังหวัดสงขลา โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคใต้ 4 (หาดใหญ่) 10. งานประเพณีบญ ุ สารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยส�ำนักงานเครือข่าย ภาคใต้ 3 (นครศรีธรรมราช) 11. งานสืบสานประเพณีกินเจ กินผัก จังหวัดภูเก็ต โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคใต้ 1 (ภูเก็ต) 12. งานประเพณีถือศีล กินเจ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคใต้ 2 (สุราษฎร์ธานี) 13. งานสืบสานประเพณียี่เป็งร�ำลึก จังหวัดเชียงใหม่ โดย ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคเหนือ 1 (เชียงใหม่ ) 14. งานยอยศยิ่ ง ฟ้ า อยุ ธ ยามรดกโลก ประจ� ำ ปี 2557 จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ส� ำ นั ก งานเครื อ ข่ า ย ภาคกลาง 1 (พระนครศรีอยุธยา)

5 - 8 ผู้ชนะการแข่งขันอ่านฟังเสียงภาษาไทย เข้ารับพระราชทานถ้วยรางวัล ชนะเลิศ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

067


2. ด้ า นการส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การด�ำเนิ น งาน เพื่อสาธารณกุศล กิจกรรม “งานกาชาดประจ�ำปี” ธนาคารได้ร่วมออกสลากกาชาดและออกร้านงานกาชาด ซึ่ ง จั ด ต่ อ เนื่ อ งมาเป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี โดยมี จุ ด เริ่ ม ต้ น ในปี 2519 เมื่อธนาคารศรีนคร จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคารศรีนคร”) ซึ่งถือ เป็นธนาคารพาณิชย์เพียงแห่งเดียวที่ได้รับเชิญเข้าร่วมออกร้านงาน กาชาด ภายใต้ชื่อ “ร้านกาชาดธนาคารศรีนคร” ต่อมาในปี 2545 ธนาคารศรีนครรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย จึงได้มีการออก ร้านกาชาดในนามธนาคารนครหลวงไทย โดยใช้ชื่อว่า “ร้านกาชาด ธนาคารนครหลวงไทย” และในปี 2554 เมื่อธนาคารรับโอนกิจการ จากธนาคารนครหลวงไทย จึงได้มีการออกร้านในนามของ “ธนาคาร ธนชาต” โดยในปัจจุบันธนาคารยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์เพียงแห่ง เดียวทีไ่ ด้รบั เข้าร่วมออกร้านในงานกาชาดเป็นประจ�ำทุกปี ณ บริเวณ สวนอัมพร ถึ ง แม้ ในปี 2557 กองอ� ำ นวยการจั ด งานกาชาด สภากาชาดไทย ประกาศงดจัดงานกาชาด เนื่องจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบทางการเมือง แต่ธนาคารยังคงมีการออกสลากกาชาด เพือ่ น�ำ รายได้ สุ ท ธิ จ ากการจ� ำ หน่ า ยสลากกาชาดขึ้ น ทู ล เกล้ า ฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกา ผู้อ�ำนวยการสภากาชาดไทย โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนบ�ำรุง สภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง เป็นจ�ำนวน 6,000,000.00 บาท

068

9

10

11

12

รายงานประจำ �ปี 2557

โครงการสะพานบุญ ด้วยความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเป็นส่วนหนึง่ ในการสนับสนุนการด�ำเนิน งานองค์กรการกุศลต่าง ๆ อย่างยั่งยืน โดยมีจุดเริ่มต้นจากโครงการ “ธนชาต ริเริ่ม...เติมเต็ม มหกรรมออมบุญ” ในปี 2552 ซึ่งได้มีการ เชิญองค์กรการกุศลมาร่วมกิจกรรมออกร้าน และประชาสัมพันธ์ การด� ำ เนิ น งานขององค์ ก รให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก อย่ า งแพร่ ห ลายมากขึ้ น การด�ำเนินโครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า ประชาชน และองค์กรการกุศลต่าง ๆ ในปี 2554 จึงได้มีแนวคิดใน การจัดท�ำโครงการต่อเนื่องเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ ในการสนับสนุน การด�ำเนินงานขององค์กรการกุศลอย่างยั่งยืน ซึ่งได้แก่ โครงการ สะพานบุญ ซึง่ มีวตั ถุประสงค์หลัก ได้แก่ การเติมเต็มช่องว่างระหว่าง ผู้ ให้และผู้รับ รวมทั้งเป็นสะพานเชื่อมโยงผู้ ให้และผู้รับเข้าด้วยกัน โดยลูกค้าและประชาชนทั่วไปสามารถร่วมบริจาคเงินให้แก่องค์กร การกุศลต่าง ๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม เคาน์เตอร์ธนาคาร เครื่องฝากเงิน อัตโนมัติ และท�ำรายการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่อย่างใด ทั้งนี้ องค์กรสาธารณกุศลที่จะเข้าร่วมโครงการนั้นต้อง มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในกลุ่ม ต่าง ๆ แก้ปัญหาสังคมอย่างแท้จริง และมีผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ ยอมรับของประชาชน ในปัจจุบันมีองค์กรการกุศลเข้าร่วมโครงการ สะพานบุญแล้ว จ�ำนวน 18 องค์กร ได้แก่ 1. สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี 2. มูลนิธิบ้านนกขมิ้น 3. มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

9 - 10 พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารธนชาต 11 - 12 กิจกรรม “งานกาชาดประจ�ำปี”


4. มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ 5. มูลนิธเิ ด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 6. มูลนิธิรามาธิบดี 7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8. มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 9. มูลนิธสิ งเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 10. มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11. มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา 12. มูลนิธิพระดาบส 13. มูลนิธิพระครูบาน้อย เขมปัญโญ 14. มูลนิธิคุ้มเกล้าฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 15. สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย 16. มูลนิธิพระมหาธาตุนภเมทนีดล นภพลภูมิสิริ 17. โครงการทุนเล่าเรียนหลวงส�ำหรับพระสงฆ์ 18. มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ

กิจกรรม “บริจาคโลหิต ร้อยใจถวายพ่อหลวงและแม่หลวง” เป็นกิจกรรมที่ส�ำนักงานเครือข่าย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 (ขอนแก่น) ได้ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 แล้ว วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ในการด� ำ เนิ น การเพื่ อ รณรงค์ ใ ห้ ป ระชาชนใน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัด มหาสารคาม รวมทัง้ พนักงานร่วมกันท�ำความดีถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการร่วมบริจาคโลหิตเพื่อน�ำไปช่วยเหลือ ผูป้ ระสบอุบตั เิ หตุฉกุ เฉิน และบรรเทาภาวะขาดแคลนโลหิตในการรักษา พยาบาล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

13

14

15

16

ขอนแก่น มาอ�ำนวยความสะดวกในการรับบริจาคโลหิตโดยตลอด นอกจากนี้ ยังมีบริการตรวจสุขภาพทางการเงินให้กับประชาชนที่มา ร่วมกิจกรรมอีกด้วย ซึ่งในปี 2557 มีผู้เข้าร่วมบริจาคโลหิตทั้งสิ้น 908 คน บริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย รวมทั้งสิ้น 367,050 ซีซี

สนั บ สนุ น โครงการสถาบั น การแพทย์ จั ก รี น ฤบดิ น ทร์ มู ล นิ ธิ รามาธิบดี

ด้วยความตระหนักถึงความส�ำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึง่ ใน การพัฒนาระบบการด�ำเนินงานด้านสาธารณสุข และส่งเสริมโอกาส ในการเข้าถึงการดูแล รักษา และป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ของประชาชน บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) บริษทั ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) และมูลนิธธิ นชาตเพือ่ สังคม ไทย ได้ร่วมกันบริจาคเงินจ�ำนวน 1,750,000.00 บาท เพื่อสมทบทุน ให้แก่โครงการสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง ส�ำหรับให้การรักษาพยาบาลผูป้ ว่ ยทุกระดับอย่างบูรณาการ ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ฟื ้ น ฟู ป้ อ งกั น โรค ให้ บ ริ ก ารสุ ข ภาพและการ สาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเป็นศูนย์แพทย์ศึกษาที่มุ่งสร้าง เครือข่ายการเรียนรู้และบริการทางวิชาการในการสร้างเสริมสุขภาพ ของประชาชนในภูมิภาคตะวันออกของประเทศ

สนั บ สนุ น การจั ด สร้ า งบ้ า นพั ก พิ ง มู ล นิ ธิ ศู น ย์ ม ะเร็ ง เต้ า นม เฉลิมพระเกียรติ

ในเดือนตุลาคม ปี 2557 ซึ่งถือเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ เพือ่ ต่อต้านมะเร็งเต้านม ธนาคารได้รว่ มเป็นส่วนหนึง่ ในการสนับสนุน การด� ำ เนิ น งานของมู ล นิ ธิ ศู น ย์ ม ะเร็ ง เต้ า นมเฉลิ ม พระเกี ย รติ ในการจัดสร้างบ้านพักพิง ศูนย์บำ� บัดและดูแลผูป้ ว่ ยโรคมะเร็งเต้านม

13 - 14 มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติ 15 - 16 โครงการสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

069


อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยการเป็นผูจ้ ำ� หน่ายเข็มกลัด “Get Pink Pin” โดยประชาสัมพันธ์ โครงการผ่านสื่อต่าง ๆ ของ ธนาคารและผ่านทางสาขาของธนาคาร โดยผู้ที่สนใจร่วมท�ำบุญ สามารถเลือกซื้อเข็มกลัด “Get Pink Pin” ได้ 3 แบบในราคาชิ้นละ 100.00 บาท เพื่อน�ำรายได้สมทบทุนในการจัดสร้างบ้านพักดังกล่าว ซึ่งผู้ที่ซื้อเข็มกลัดสามารถน�ำแผ่นรองเข็มกลัดไปเป็นส่วนลดจ�ำนวน 500.00 บาท จากค่าบริการปกติเมื่อเข้ารับบริการในโปรแกรมตรวจ หามะเร็งเต้านม (Mammogram หรือ Ultrasound) ได้ทโี่ รงพยาบาล ที่เข้าร่วมโครงการอีกกว่า 20 แห่ง ทั้งนี้ ธนาคารสามารถจ�ำหน่าย เข็มกลัดเพื่อระดมทุนสนับสนุนการจัดสร้างบ้านพักพิงได้มากกว่า 7,400,000.00 บาท

3. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา

โครงการ “พี่ใช้ของ...น้องใช้ต่อ” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ภายใต้แนวคิดของการน�ำกลับมาใช้ ใหม่ จึงมีการน�ำอุปกรณ์ส�ำนักงานที่ไม่ ใช้งานแล้ว แต่ยังคงมีสภาพดี ที่ได้จากการปรับปรุงพื้นที่ของส�ำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคาร มามอบให้กับหน่วยงานราชการ สมาคม มูลนิธิ และโรงเรียนต่าง ๆ เพือ่ น�ำไปใช้ประโยชน์ตอ่ ซึง่ ในปี 2557 ได้มกี ารมอบอุปกรณ์สำ� นักงาน ได้แก่ โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์ จ�ำนวน 2,184 รายการ ให้กับ หน่วยงานราชการ สมาคม มูลนิธิ และโรงเรียนต่าง ๆ จ�ำนวน 25 แห่งทั่วประเทศ

070

17

18

19

20

รายงานประจำ �ปี 2557

4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

โครงการ “ธนชาต...พลังมด ลดโลกร้อน” ถึงแม้ว่าในการด�ำเนินธุรกิจของธนาคารไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มโดยตรง แต่ ด ้ ว ยความตระหนั ก และเล็ ง เห็ น ถึ ง ความส�ำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบ ทางอ้อมจากการด�ำเนินธุรกิจจากการใช้พลังงาน ธนาคารธนชาต อาคารเพชรบุรี และอาคารสวนมะลิ จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคาร ควบคุมพลังงานตามพระราชบัญญัตกิ ารส่งเสริมการอนุรกั ษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นที่มาของการก�ำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์ พลังงานขึน้ เพือ่ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้มปี ระสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างจิตส�ำนึก ในการอนุรักษ์พนักงานในกลุ่มพนักงานและหน่วยงานต่าง ๆ โครงการ “ธนชาต...พลังมด ลดโลกร้อน” เป็นโครงการ ทีเ่ กิดขึน้ ตัง้ แต่ปี 2555 โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ตอบสนองต่อนโยบาย ด้านการอนุรักษ์พลังงานของธนาคาร จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ด้านการจัดการพลังงานขึ้น โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในธนาคารร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณา ก�ำหนด นโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การด�ำเนินการด้านบริหารจัดการและ อนุรกั ษ์พลังงานสัมฤทธิผ์ ลอย่างเป็นรูปธรรม รณรงค์ ให้เกิดมาตรการ ประหยัดพลังงานอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ แต่งตัง้ คณะท�ำงานทีมมดงาน ประจ�ำอาคารควบคุมพลังงานทั้ง 2 แห่ง โดยก�ำหนดให้มีการประชุม คณะกรรมการและคณะท�ำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อติดตาม ความคืบหน้าเป็นประจ�ำทุกเดือน ซึ่งในปี 2557 ได้มีการก�ำหนด มาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน 5 ข้อ ดังนี้

17 - 18 โครงการ “พี่ใช้ของ...น้องใช้ต่อ” 19 - 20 กิจกรรม “บริจาคโลหิต ร้อยใจถวายพ่อหลวงและแม่หลวง”


1. รณรงค์ ในการปรับอุณหภูมเิ ครือ่ งปรับอากาศที่ 25 องศา เซลเซียส (เปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนตามความ จ�ำเป็นเท่านั้น) 2. รณรงค์ปดิ หน้าจอและเครือ่ งคอมพิวเตอร์เมือ่ ไม่ได้ ใช้งาน ภายใต้สโลแกนทีว่ า่ “ปิดจอ ช่วงรอใช้ ก่อนกลับบ้าน กด Shutdown” 3. รณรงค์ปิดไฟตามชั้นต่าง ๆ ในบริเวณที่ไม่ได้ ใช้งานช่วง พักเที่ยงและหลังเลิกงาน โดยปิดเฉพาะที่จ�ำเป็นเท่านั้น 4. รณรงค์การใช้บันไดในการเดินขึ้น-ลง 1 ถึง 2 ชั้น แทนการใช้ลิฟต์ 5. รณรงค์ ไม่เปิดประตูและหน้าต่างค้างไว้ และปิดม่าน เพื่อกันความร้อนและแสงอาทิตย์จากภายนอกเข้ามาในอาคาร ซึ่งผลจากการด�ำเนินงานเรื่องอนุรักษ์พลังงาน ในอาคาร ส�ำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตัง้ แต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 ท�ำให้สามารถ ประหยัดค่าไฟได้ถึง 18.1 ล้านบาท ส่งผลให้ ในปี 2557 อาคาร เพชรบุรีได้รับรางวัลตราสัญลักษณ์จากการไฟฟ้านครหลวง ให้เป็น สุดยอดอาคารประหยัดพลังงานจากความมุ่งมั่นและด�ำเนินงาน เรื่องการอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มแข็ง ธนาคารได้ส่งเสริมให้เกิด การใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พร้ อ มทั้ ง ส่ ง เสริ ม ความรู ้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของพนักงานในการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้มกี ารส่งพนักงานเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ พลังงาน ได้แก่ โครงการกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน การวิจัยประเมินผลโครงการ SOS Office Energy ที่จัดขึ้นโดยศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน และเข้าร่วม อบรมโครงการพื้นฐานการจัดการพลังงานเบื้องต้น เพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล

นอกเหนือจากการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพือ่ อนุรกั ษ์พลังงาน และใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว ยังได้มกี ารส่งเสริมให้ พนักงานใช้กระดาษให้เกิดประโยชน์ รวมทัง้ ลดปริมาณการใช้กระดาษ ในการด�ำเนินงาน เพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอีกด้วย โดยมีการด�ำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ ได้แก่ การน�ำ ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ในการด�ำเนินงานและระบบการประชุม การรณรงค์และส่งเสริมให้พนักงานเห็นความส�ำคัญของการลดการ ใช้กระดาษเพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมการใช้กระดาษให้น้อยที่สุด และการส่งเสริมให้นำ� กระดาษทีใ่ ช้แล้วมาใช้ซำ�้ ภายในหน่วยงาน เป็นต้น การด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อมของกลุม่ ธนชาต ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เพียงการด�ำเนินงาน 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านการรณรงค์ และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยและศาสนา ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการด�ำเนินงานเพื่อสาธารณกุศล ด้านการส่งเสริมและ พัฒนาการศึกษา และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมา ข้างต้นเพียงเท่านั้น หากแต่ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มธนชาตยังมี จิตอาสาในการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาสในหลายกลุ่มอีกด้วย ได้แก่ 1. การบริ จ าคเงิ น สนั บ สนุ น การด� ำ เนิ น งานขององค์ ก ร สาธารณกุศลและสถาบันการศึกษาต่างๆ 2. การสนับสนุนทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน คอมพิวเตอร์ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัด สุรินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล 3. การบริ จ าคผ้ า ห่ ม ให้ กั บ เด็ ก นั ก เรี ย นและผู ้ ป ระสบภั ย หนาวในพื้นที่จังหวัดน่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดหนองคาย และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นความร่วมมือของ ธนาคารกับกรมประชาสัมพันธ์และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

21

22

23

21 - 23 โครงการ “ธนชาต...พลังมด ลดโลกร้อน”

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

071


4. กิ จ กรรมเพื่ อ สนั บ สนุ น โครงการปั น กั น โดยเชิ ญ ชวน ผู ้ บ ริ ห ารและพนั ก งานแบ่ ง ปั น สิ่ ง ของที่ ไ ม่ ไ ด้ ใช้ เพื่ อ น� ำ กลั บ มา จ�ำหน่ายที่ “ร้านปันกัน” โดยรายได้จากการจ�ำหน่ายจะน�ำไปมอบ เป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนผู้ยากไร้ ในมูลนิธิยุวพัฒน์ 5. กิ จ กรรมจั ด เลี้ ย งอาหารและบริ จ าคเงิ น ให้ แ ก่ มู ล นิ ธิ บ้านนกขมิน้ กรุงเทพมหานคร สถานสงเคราะห์คนชราบ้าน บางละมุง บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ และสถานสงเคราะห์บ้านการุณยเวศม์ จังหวัดชลบุรี 6. การสนับสนุนหนังสือพร้อมตู้หนังสือ ให้แก่ศูนย์การ เรียนรู้คอมพิวเตอร์ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษา พระองค์ ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี และการสนับสนุน คอมพิวเตอร์ ให้แก่ศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กองพลที่ 1 รักษา พระองค์

การเปิ ด เผยเกี่ ย วกั บ การป้ อ งกั น การมี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การ คอร์รัปชั่น กลุ่มธนชาตตระหนักดีว่า การคอร์รัปชั่นส่งผลร้ายและเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสร้าง ความไม่เป็นธรรมทางธุรกิจ จึงได้รว่ มมือกับทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้ “โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้าน ทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)” ด้วยการเข้าร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์เป็น แนวร่วมโครงการดังกล่าว ในปี 2557 กลุ่มธนชาตได้ด�ำเนินการก�ำหนด “นโยบาย ต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ ” และมาตรการ ขัน้ ตอน กระบวนการปฏิบตั งิ าน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงานทุกคนในกลุ่มธนชาตยึดถือปฏิบัติ ท�ำให้ บริษทั ในกลุม่ ธนชาตได้รบั การรับรองการเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วม ปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตจากคณะกรรมการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต รวมทั้งสิ้น 11 บริษัท

072

24

25

26

27

รายงานประจำ �ปี 2557

การด�ำเนินการของกลุม่ ธนชาตทีเ่ กีย่ วข้องกับการป้องกันการ ทุจริต และการคอร์รัปชั่น ได้แก่ 1. นโยบายต่ อ ต้ า นการคอร์ รั ป ชั่ น ที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ จ าก คณะกรรมการบริษทั ในกลุม่ ธนชาตทัง้ 11 บริษทั โดยก�ำหนดความหมาย ของค�ำว่า “คอร์รัปชั่น” และรูปแบบการคอร์รัปชั่นไว้อย่างชัดเจน มีสาระส�ำคัญว่า กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่เรียกร้อง ด� ำ เนิ น การ หรื อ ยอมรั บ การคอร์ รั ป ชั่ น ในทุ ก รู ป แบบทั้ ง ทางตรง หรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และ คนรู้จัก ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้าน การคอร์รปั ชัน่ และให้ผบู้ ริหารของกลุม่ ธนชาตมีหน้าทีด่ แู ลและให้การ สนับสนุนการปฏิบัติ รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของมาตรการ ต่ า ง ๆ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ การเปลี่ ย นแปลงของธุ ร กิ จ ข้ อ บั ง คั บ และข้อก�ำหนดของกฎหมาย 2. ก�ำหนดให้การต่อต้านการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งค่านิยม หลักขององค์กร (Core Values) หรือ C3SIP (ซีสามสิบ) เพื่อให้ พนักงานทุกคนในกลุ่มธนชาตน�ำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีสาระ ส�ำคัญ ดังนี้ 2.1 Customer Focus: ตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า 2.2 Collaboration: มีการท�ำงานเป็นทีม 2.3 Commitment: ปฏิบัติหน้าที่ให้ส�ำเร็จตามเป้าหมาย 2.4 Spirit: ทุ่มเทในการท�ำงาน 2.5 Integrity: ยึดมัน่ ในความซือ่ สัตย์ สุจริต และต่อต้าน การคอร์รัปชั่น 2.6 Professional: มีความรูค้ วามสามารถเพียงพอในการ ปฏิบัติหน้าที่ 3. การประเมินความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่นของบริษัทใน กลุม่ ธนชาต ใช้หลักการและวิธกิ ารประเมินความเสีย่ งและการควบคุม ด้วยตนเอง (Risk and Control Self Assessment: RCSA) ซึ่งเป็น

24 - 27 จัดอบรมให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงหัวข้อ “Anti-Corruption for Executives”


หนึ่งในเครื่องมือส�ำหรับการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยจะ ด�ำเนินการทบทวนความเสีย่ งเป็นประจ�ำทุกปี และมีการติดตามความ คืบหน้าของแผนปฏิบัติการและการด�ำเนินการตามมาตรการควบคุม ความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ของปัจจัยความเสีย่ งต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบตั งิ าน อย่างมีนัยส�ำคัญ เพื่อน�ำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รับทราบ และน�ำไปใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการความเสีย่ งต่อไป 4. ก�ำหนดมาตรการต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ เพือ่ ให้พนักงาน ของกลุ ่ ม ธนชาตยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ ภ ายใต้ ห ลั ก การควบคุ ม ภายในที่ สอดคล้องกับความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่นและนโยบายต่อต้านการ คอร์รปั ชัน่ โดยมีการทบทวนแนวปฏิบตั ใิ ห้มคี วามเหมาะสมสอดคล้อง กับความเสี่ยงเป็นประจ�ำทุกปี พร้อมทั้งก�ำหนดบทลงโทษส�ำหรับ พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น 5. กลุม่ ธนชาตให้ความส�ำคัญกับรูปแบบของการคอร์รปั ชัน่ ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่อง “การให้ รับของขวัญ ของก�ำนัล การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่น” ถือเป็นเรื่องที่กลุ่ม ธนชาตให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจน�ำไปสู่การคอร์รัปชั่น ได้ โดยง่าย จึงได้ก�ำหนดไว้ ในคู่มือจรรยาบรรณ ระเบียบปฏิบัติที่ ครอบคลุมขั้นตอนการปฏิบัติและการควบคุม รวมถึงการรายงานต่อ ผู้บังคับบัญชาให้รับทราบเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น รวมทั้งการกระท�ำ ที่เป็นการสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือการคอร์รัปชั่น ซึ่งถือเป็นความผิดและจะมีการพิจารณาโทษตามระเบียบ 6. เพื่อให้การต่อต้านการคอร์รัปชั่นมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น กลุ่มธนชาตจึงก�ำหนดให้แต่ละบริษัทมีระเบียบขั้นตอนปฏิบัติ ข้อแนะน�ำเกีย่ วกับการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนเกีย่ วกับการทุจริต คอร์รัปชั่นเป็นการเฉพาะและก�ำหนดให้มีช่องทางที่ปลอดภัยส�ำหรับ บุคคลภายนอกและพนักงานภายในกลุ่มธนชาต ที่พบเห็นเหตุสงสัย ที่เข้าข่ายการกระท�ำทุจริตคอร์รัปชั่น สามารถแจ้งเบาะแสหรือ ข้อร้องเรียน ซึง่ ข้อมูลของผูแ้ จ้งเบาะแสจะถูกส่งให้แก่ผบู้ ริหารสูงสุด ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และน� ำ เสนอต่ อ คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่ ง จะมี ก ารรายงาน ต่อคณะกรรมการบริษัท ตามล�ำดับ นอกจากนี้ กลุ่มธนชาตยัง มีนโยบายให้ความเป็นธรรมและให้ความคุม้ ครองต่อพนักงานทีป่ ฏิเสธ การคอร์รัปชั่น แม้การกระท�ำนั้นจะท�ำให้องค์กรสูญเสียโอกาสทาง ธุรกิจก็ตาม

7. จัดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ทุกคนลงนาม ยอมรับปฏิบตั ติ ามนโยบายต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ และมาตรการต่อต้าน การคอร์รัปชั่น รวมทั้งระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 8. สื่อสารให้พนักงานได้รับทราบและพัฒนาให้บุคลากร มีความรู้ความเข้าใจแนวทางปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และ ขั้นตอนการปฏิบัติที่ส�ำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นผ่าน ช่องทาง และสื่อต่าง ๆ ของกลุ่ม อาทิ สารจากประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ถึงพนักงาน เรื่อง การต่อต้าน การคอร์รัปชั่น จัดอบรมให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูง หัวข้อ “Anti-Corruption for Executives” การฝึกอบรมให้กบั พนักงานใหม่ ซึ่งก�ำหนดให้เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรปฐมนิเทศ การจัดท�ำแบบ ประเมินตนเองของผูบ้ ริหารและพนักงานทุกคนผ่านระบบ E-learning และ Intranet เป็นประจ�ำทุก 6 เดือน รวมทั้งใช้รูปแบบน�ำเสนอ ที่เข้าถึงง่าย ได้แก่ VTR หนังสั้น โดยการประสานกับส�ำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และส�ำนักงาน ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในเรื่องสื่อความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตและความรู้เกี่ยวกับการฟอกเงิน เป็นต้น 9. กลุ ่ ม ธนชาตได้ ท� ำ การเผยแพร่ ผ ่ า นทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสื่อสารให้คู่ค้าและตัวแทนทางธุรกิจรับทราบ และขอความร่วมมือสนับสนุนโครงการรณรงค์ต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยการงดเว้ น การให้ ข องขวั ญ แก่ ผู ้ บ ริ ห ารหรื อ พนั ก งานของ กลุ ่ ม ธนชาต ไม่ ว ่ า จะเป็ น ช่ ว งเทศกาลหรื อ โอกาสอื่ น ใด ส�ำหรับลูกค้าได้ขอความร่วมมือผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบแจ้งยอดหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบช�ำระเงิน ใบก�ำกับภาษี และผ่านเว็บไซต์ธนาคาร www.thanachartbank.co.th 10. เพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและ มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น คณะกรรมการตรวจสอบจะท�ำหน้าที่ สอบทานให้บริษัทในกลุ่มธนชาตมีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ และสอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการต่อต้านการ คอร์รัปชั่น โดยก�ำหนดเป็นแผนงานประจ�ำปี ทั้ ง นี้ เพื่ อ ให้ บุ ค คลภายนอกได้ รั บ ทราบเจตนารมณ์ ข อง กลุ่มธนชาตในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น กลุ่มธนชาตจึงได้เผยแพร่ นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้บุคคลภายนอกรับทราบผ่านทาง เว็บไซต์ของแต่ละบริษัท โดยในส่วนของธนาคารเผยแพร่ผ่าน www.thanachartbank.co.th

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

073


การก�ำกับดูแลกิจการ นโยบายการก�ำกั บ ดูแลกิจการ คณะกรรมการธนาคารได้กำ� หนดแนวนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการเป็นลายลักษณ์อกั ษรและถือปฏิบตั มิ าตัง้ แต่ปี 2546 โดยมีการทบทวน นโยบายดังกล่าวอย่างสม�ำ่ เสมอ เพือ่ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินการก�ำกับดูแลกิจการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD: CGR) และหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีส�ำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์) รวมทัง้ มีการรายงานการปฏิบตั ติ ามหลักการก�ำกับดูแลกิจการของธนาคาร พร้อมทัง้ ปรับปรุงจรรยาบรรณในการด�ำเนินธุรกิจ รวมถึงจรรยาบรรณ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติส�ำหรับบุคลากร ธนาคารได้จัดให้มีนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (นโยบายฯ) รวมทั้งจรรยาบรรณธุรกิจ และจรรยาบรรณกรรมการ ผู้บริหารและ พนักงาน เผยแพร่ไว้ ในเว็บไซต์ของธนาคาร “www.thanachartbank.co.th” และในระบบอินทราเน็ตของกลุ่มธนชาต เพื่อเป็นการสื่อสาร ให้บุคลากรทุกระดับของกลุ่มธนชาตสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้อย่างทั่วถึง โดยมีจุดมุ่งหมายอันส�ำคัญในการสื่อความไปยังพนักงาน กลุ่มธนชาต ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่น ถึงความยึดมั่นของคณะกรรมการธนาคารในการปฏิบัติตามคุณลักษณะหลักของกระบวนการ ก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ในปี 2557 ที่ผ่านมา ธนาคารได้ด�ำเนินการพัฒนางานการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้ • ปรับปรุงนโยบายฯ และคู่มือจรรยาบรรณ ให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของธนาคาร • ก�ำหนดให้บริษัทในกลุ่มธนชาตปรับปรุงนโยบายและคู่มือดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางปฏิบัติเดียวกันกับธนาคาร • จัดหลักสูตรอบรมเรือ่ งนโยบายฯ และคูม่ อื จรรยาบรรณให้พนักงานใหม่ทกุ ระดับ และลงนามรับทราบนโยบายฯ และคูม่ อื จรรยาบรรณ อย่างต่อเนื่อง • จัดให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทุกคนลงนามยอมรับปฏิบัติตามนโยบายและคู่มือดังกล่าว และลงนามไม่กระท�ำการใดที่เป็น การแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ต่อกลุ่มธนชาต • จัดท�ำแบบประเมินพนักงานทุกระดับของทั้งกลุ่มธนชาต เพื่อทดสอบและวัดระดับความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 2 ครั้ง ต่อปี • พัฒนา CG e-Learning และเผยแพร่ในระบบอินทราเน็ต (Intranet) เพื่อให้พนักงานสามารถศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ กลุ่มธนชาตสนับสนุนการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการเสริมสร้างจิตส�ำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม (CG & CSR Project) ทัง้ ในเชิงนโยบายและการด�ำเนินกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบให้กบั พนักงานในกลุม่ ธนชาตอย่างสม�่ำเสมอและต่อเนือ่ ง โดยมุง่ หมาย ให้เกิดการเรียนรู้หลักการปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ผ่านสื่อภายในองค์กรหลากหลายช่องทางภายใต้ โครงการ “ธนชาต ท�ำได้ ธรรมดี…CG ริเริ่ม เติมธรรม” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในนโยบายและจรรยาบรรณ พนักงานปฏิบัติงานบนพื้นฐานของ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ ที่มีรูปแบบน�ำเสนอที่เข้าถึงง่าย ได้แก่ VTR หนังสั้น โดยการประสานงานกับส�ำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ส�ำนักงาน ป.ป.ช.) และส�ำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ส�ำนักงาน ป.ป.ง.) ในเรือ่ งสือ่ ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการต่อต้านทุจริตและความรูเ้ กีย่ วกับการฟอกเงิน นอกจากนี้ ได้จดั กิจกรรมโครงการปฏิบตั ธิ รรมทัง้ กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค เพื่อให้พนักงานมีแนวทางในการบริหารจิตตนเองในการท�ำงานและชีวิตประจ�ำวัน

074

รายงานประจำ �ปี 2557


คณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคาร มีองค์ประกอบ และหน้าที่และ ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารก�ำหนดให้มีจ�ำนวนกรรมการธนาคารให้เป็นไปตาม ข้อก�ำหนดของกฎหมายและตามความเหมาะสมกับประเภทและ ขนาดของธุรกิจทีด่ ำ� เนินกิจการอยู่ ทัง้ นี้ เพือ่ สนับสนุนให้การท�ำหน้าที่ ของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ก�ำหนดให้เป็นผู้บริหาร ในอัตราไม่เกินกึ่งหนึ่งของจ�ำนวนกรรมการธนาคารทั้งหมด และ มีกรรมการอิสระอย่างน้อยจ�ำนวน 1 ใน 3 ซึ่งมีความเป็นอิสระ จากฝ่ายจัดการและไม่มีผลประโยชน์ ใด ๆ หรือความสัมพันธ์ ใด ๆ กับธุรกิจของธนาคาร และเป็นไปตามสัดส่วนอย่างยุติธรรมของ เงินลงทุนของผูถ้ อื หุน้ แต่ละกลุม่ โดยรายนามคณะกรรมการธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ปรากฏตามตารางแสดงโครงสร้าง คณะกรรมการธนาคารในหน้า 87 หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร 1. ปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ และเป็นธรรมต่อองค์กร ต่อผู้ถือหุ้น และต่อผู้บริหารและพนักงาน ลูกจ้างของธนาคาร 2. ก�ำหนดนโยบายที่ส�ำคัญ แผนกลยุทธ์ เป้าหมายทาง การเงิน และงบประมาณ รวมถึงพิจารณาทบทวนตามความเหมาะสม โดยการดูแลให้การด�ำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระยะยาว 3. ก� ำ หนดนโยบายและวิ ธี ป ฏิ บั ติ ใ นการด� ำ รงต� ำ แหน่ ง กรรมการที่บริษัทอื่นของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู ้ จั ด การใหญ่ และผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของธนาคารอย่ า งชั ด เจน ทั้งประเภทของต�ำแหน่งกรรมการและจ�ำนวนบริษัทที่สามารถด�ำรง ต�ำแหน่งได้ เช่น ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน เป็นต้น 4. ก�ำกับดูแลบริษัทย่อยเพื่อรักษาผลประโยชน์ ในเงินลงทุน ของธนาคาร โดยคณะกรรมการได้พจิ ารณาความเหมาะสมของบุคคล ที่จะส่งไปเป็นกรรมการในบริษัทย่อย เพื่อควบคุมการบริหารงาน ให้เป็นไปตามนโยบายของธนาคาร และการท�ำรายการต่าง ๆ ให้ ถู ก ต้ อ งตามกฎหมายและหลั ก เกณฑ์ ข องกฎหมายหลั ก ทรั พ ย์ และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้ง กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. ก�ำกับ ดูแล และติดตามให้การด�ำเนินธุรกิจของธนาคาร เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ข้อบังคับ มติทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ และ หลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต และระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของธนาคาร

6. ดู แ ลให้ มี ก ระบวนการตรวจสอบ ระบบการควบคุ ม ภายใน การบริหารความเสี่ยง และการก�ำกับดูแลการบริหารงาน ที่เพียงพอ และเหมาะสมกับสถานการณ์ธุรกิจ 7. คณะกรรมการจัดให้มรี ะบบการควบคุมด้านการด�ำเนินงาน ด้านรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ นโยบาย คณะกรรมการจัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเป็น อิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบระบบการ ควบคุมดังกล่าวและเปิดเผยไว้ ในรายงานประจ�ำปี 8. คณะกรรมการหรือคณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็น ถึงความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความ เสี่ยงไว้ ในรายงานประจ�ำปี 9. ดู แ ลให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก กลุ ่ ม อย่ า ง เป็นธรรม รับผิดชอบรายงานทางการเงิน และการเปิดเผยข้อมูล อย่างถูกต้อง โปร่งใส และทันเวลา 10. จัดท�ำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร ในรายงานทางการเงินประจ�ำปี และแสดงไว้คู่กับรายงานของผู้สอบ บัญชี ครอบคลุมเรื่องส�ำคัญตามข้อพึงปฏิบัติส�ำหรับกรรมการบริษัท จดทะเบียน เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจว่ารายงานทางการเงินของธนาคาร มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ ทั้งนี้ ธนาคารได้ปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี โดยใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติ อย่างสม�่ำเสมอ 11. แต่งตัง้ คณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ตามทีค่ ณะกรรมการ ธนาคารเห็นสมควร 12. ก�ำหนดขอบเขต หน้าที่ และอ�ำนาจในการบริหารงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ 13. ประเมินผลการปฏิบัติงาน พิจารณาก�ำหนดค่าตอบแทน และเงือ่ นไขการจ้างประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ตามที่คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนเสนอ 14. ประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรรมการทั้งคณะ 15. พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการธนาคารเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหารหรือกรรมการจากผู้ถือหุ้น รายใหญ่หรือกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอก โดยกรรมการบริหาร จะต้องรายงานการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการธนาคารโดยตรง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการ 2. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป รองประธานคณะกรรมการ 3. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ รองประธานคณะกรรมการ

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

075


4. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการ นางสาวอังคณา สวัสดิ์พูน เลขานุการคณะกรรมการ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร 1. อ�ำนาจในการอนุมัติวงเงินให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ของ ธนาคาร ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภายใต้พระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ และกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 2. อ�ำนาจในการอนุมัติการลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์ ให้แก่ธนาคาร ภายใต้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ และ กฎเกณฑ์ของ ธปท. 3. จั ด การดู แ ลการด� ำ เนิ น การตามเป้ า หมายธุ ร กิ จ ของ ธนาคาร ตลอดจนสภาพคล่อง การบริหารความเสีย่ ง และโครงสร้าง อัตราดอกเบี้ย 4. อ�ำนาจในการจัดซื้อ รับโอน และจ� ำหน่ายทรัพย์สิน ของธนาคารร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของธนาคาร 5. พิ จ ารณากลั่ น กรองเรื่ อ งที่ เ กิ น อ� ำ นาจอนุ มั ติ ข อง คณะกรรมการบริ ห าร เพื่ อ น� ำ เสนอให้ ผู ้ มี อ� ำ นาจระดั บ สู ง ขึ้ น ไป พิจารณา 6. อ�ำนาจในการจัดองค์กร การบริหาร การก�ำหนดข้อบังคับ ในการท�ำงาน การแต่งตัง้ ถอดถอนพนักงาน และการแต่งตัง้ ทีป่ รึกษา ตลอดจนก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคาร 7. อ�ำนาจในการอนุมัติเงินเดือนหรือผลตอบแทนอื่น ๆ แก่พนักงานลูกจ้างเพื่อด�ำเนินงานตามปกติของธนาคาร รวมถึง ที่ปรึกษา 8. พิจารณาและอนุมัติผู้ประเมินราคาอิสระ 9. ก� ำ หนดงบประมาณค่ า ใช้ จ ่ า ยในการประเมิ น มู ล ค่ า หลักประกันและควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว 10. อ� ำ นาจในการมอบอ� ำ นาจช่วงให้แก่พนักงานอื่นของ ธนาคารเพื่อความสะดวกในการท�ำงาน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารมีอ�ำนาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อ การลงทุน และก่อภาระผูกพัน ตามเกณฑ์ที่ ธปท. ก�ำหนด โดย ประธานกรรมการบริหารพิจารณาให้ความเห็นชอบวาระการประชุม ตามที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เสนอ รวมทั้งคณะกรรมการบริหารยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ต่าง ๆ ขึ้น เพื่อช่วยในการพิจารณาและจัดการงานในเรื่องต่าง ๆ ภายในธนาคารให้เป็นไปโดยถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดต่อธนาคาร

076

รายงานประจำ �ปี 2557

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย กรรมการจ�ำนวน 3 คน ทุกคนเป็นกรรมการอิสระ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ด้านบัญชีและ/หรือการเงิน เพือ่ เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญของคณะกรรมการธนาคารในการก�ำกับดูแล การบริหารงานให้มีมาตรฐานที่ถูกต้องและมีความโปร่งใส ตลอดจน ให้เป็นไปตามระเบียบของทางการและระเบียบธนาคาร เพื่อให้มีการ ควบคุมภายในทีด่ ี มีระบบการรายงานทีน่ า่ เชือ่ ถือ และเป็นประโยชน์ แก่ทกุ ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึงผูถ้ อื หุน้ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ ประธานคณะกรรมการ (กรรมการอิสระ) 2. นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการ (กรรมการอิสระ) 3. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กรรมการ (กรรมการอิสระ) นางวิจิตรา ธรรมโพธิทอง เลขานุการคณะกรรมการ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. รายงานทางการเงิน • สอบทานรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล ในรายงานทางการเงินของธนาคาร รวมถึงประเมินความเหมาะสม ของนโยบายบัญชีที่ส�ำคัญ • สอบทานความสมเหตุสมผลของรายการในรายงาน ทางการเงินที่มีสาระส�ำคัญ รวมถึงรายการที่มีความซับซ้อนหรือ ผิดปกติ และรายการที่ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสิน 2. การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง • สอบทานให้ธนาคารมีการควบคุมภายใน การควบคุม ภายในของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรการต่อต้านการ คอร์รปั ชันทีเ่ พียงพอ รวมถึงแนวทางการสือ่ สารความส�ำคัญของการ ควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งธนาคาร • สอบทานเพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า ข้ อ เสนอแนะเกี่ ย วกั บ การควบคุมภายในที่ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีเสนอนั้น ฝ่ายบริหารได้น�ำไปปรับปรุงแก้ไขแล้ว • สอบทานความเพียงพอของการก�ำกับดูแลนโยบาย และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร 3. การตรวจสอบภายใน • สอบทานและอนุ มั ติ ก ฎบั ต รการตรวจสอบภายใน แผนงานประจ�ำปี ตลอดจนบุคลากรและทรัพยากรที่จ�ำเป็นในการ ปฏิบัติงาน


• สอบทานรายงานผลการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะ ของผู ้ ต รวจสอบภายใน รวมทั้ ง ติ ด ตามผลการด� ำ เนิ น การตาม ข้อเสนอแนะดังกล่าว • สอบทานให้หน่วยงานตรวจสอบภายในปฏิบัติตาม มาตรฐานการตรวจสอบภายใน • พิ จ ารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบ ภายใน 4. การก�ำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ • สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานก�ำกับดูแล การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ แผนงานประจ�ำปี ตลอดจนบุคลากร และทรัพยากรที่จ�ำเป็นในการปฏิบัติงาน • สอบทานกระบวนการในการติดตามการปฏิบัติงาน ของธนาคารเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ จรรยาบรรณ แนวนโยบายหลัก และระเบียบที่เกี่ยวข้อง • พิ จ ารณาข้ อ กฎหมาย ระเบี ย บต่ า ง ๆ ที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของธนาคาร • สอบทานข้ อ ตรวจพบของหน่ ว ยงานก� ำ กั บ ดู แ ล การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และหน่วยงานก�ำกับดูแลของทางการ รวมทั้งติดตามผลการด�ำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว 5. ผู้สอบบัญชี • พิจารณาคุณสมบัติ ความเป็นอิสระ ผลการปฏิบตั งิ าน และค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการ แต่ ง ตั้ ง ผู ้ ส อบบั ญ ชี แ ละการก� ำ หนดค่ า ตอบแทนผู ้ ส อบบั ญ ชี ต ่ อ คณะกรรมการธนาคาร • จั ด ให้ มี ก ารประชุ ม ร่ ว มกั บ ผู ้ ส อบบั ญ ชี โดยไม่ มี ฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ • พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อก�ำหนด ของทางการ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อธนาคาร 7. รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ • จั ด ท� ำ รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดย เปิดเผยไว้ ในรายงานประจ� ำปีของธนาคาร ลงนามโดยประธาน คณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย ตามที่ก�ำหนดในข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ • พิจารณาให้ความเห็นในรายงานการก�ำกับการปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ประจ�ำปี (Annual Compliance Report) ที่เสนอต่อ ธปท. • พิ จ ารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎบั ต รคณะ กรรมการตรวจสอบเป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากมีการ เปลี่ยนแปลงให้น�ำเสนอคณะกรรมการธนาคารเห็นชอบ

8. ความรับผิดชอบอื่น • ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารและบริษัทย่อย ให้ เ ป็ น ไปตามนโยบายของธนาคาร โดยมอบหมายให้ ส ายงาน ตรวจสอบธนาคารด�ำเนินการ ดังนี้ 1) สรุ ป ผลภาพรวมการปฏิ บั ติ ง านของสายงาน ตรวจสอบที่ตรวจสอบบริษัทย่อย ให้คณะกรรมการตรวจสอบของ ธนาคารรับทราบ 2) สรุ ป ผลภาพรวมการปฏิ บั ติ ง านของสายงาน ตรวจสอบที่ตรวจสอบธนาคารและบริษัทย่อย ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบของบริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (ทุนธนชาต) รับทราบ และเพื่อน�ำเสนอคณะกรรมการธนาคารต่อไป 3) ส�ำหรับการรายงานตามข้อ 1) และ 2) นั้น กรณี ที่มีประเด็นที่มีนัยส�ำคัญ ได้แก่ รายการที่เกิดความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ การทุจริต การคอร์รัปชัน และการฝ่าฝืนกฎหมาย ให้รายงานให้ทราบอย่างละเอียด • รายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อด�ำเนินการ ปรับปรุงแก้ ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่ตรวจพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระท�ำซึ่งอาจ มีผลกระทบอย่างมีนัยส�ำคัญต่อฐานะการเงินและผลการด�ำเนินงาน ของธนาคาร ดังนี้ 1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 2) การทุ จ ริ ต การคอร์ รั ป ชั น หรื อ มี สิ่ ง ผิ ด ปกติ หรือมีความบกพร่องที่ส�ำคัญในระบบการควบคุมภายใน 3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ข้อก�ำหนดของทางการ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หากคณะกรรมการธนาคารหรื อ ผู ้ บ ริ ห ารไม่ ด�ำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาอันควร คณะกรรมการ ตรวจสอบจะต้องเปิดเผยการกระท�ำดังกล่าวไว้ ในรายงานประจ�ำปี และรายงานต่อ ธปท. • ประเมินผลการปฏิบตั งิ านของตนเองทัง้ คณะและน�ำเสนอ ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบทุกปี • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการธนาคารค� ำ นึ ง ถึ ง ความส� ำ คั ญ ในเรื่ อ ง การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี จึงก�ำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน ท�ำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย รูปแบบและ หลั ก เกณฑ์ ก ารสรรหาและการจ่ า ยค่ า ตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้มีอ�ำนาจในการจัดการ เพื่อให้ การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ อีกทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

077


1. นายณรงค์ จิวังกูร ประธานคณะกรรมการ (กรรมการอิสระ) 2. นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการ (กรรมการอิสระ) 3. นายร็อด ไมเคิล เรโนลด์ กรรมการ (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) นายธเนศ ขันติการุณ เลขานุการคณะกรรมการ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทน 1. เสนอแนะนโยบายเกี่ ย วกั บ การสรรหาและก� ำ หนด ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้มีอำ� นาจ ในการจัดการต่อคณะกรรมการธนาคาร 2. เสนอแนะรูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่าย ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้มีอำ� นาจ ในการจัดการต่อคณะกรรมการธนาคาร 3. ก�ำหนดหลักเกณฑ์ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้มีอำ� นาจ ในการจัดการ เพื่อประกอบการพิจารณาผลตอบแทนประจ�ำปี 4. พิ จ ารณาคั ด เลื อ กและกลั่ น กรองบุ ค คลที่ มี คุ ณ สมบั ติ ที่จะได้รับการแต่งตั้งกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย ต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ผูม้ อี ำ� นาจในการจัดการ เพือ่ ขออนุมตั ติ อ่ คณะกรรมการธนาคาร หรือ ผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) 5. เสนอค่ า ตอบแทนประจ� ำ ปี ข องกรรมการ กรรมการ ในคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยต่ า ง ๆ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารและ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และผูม้ อี �ำนาจในการจัดการ ตามรูปแบบและ หลักเกณฑ์การจ่ายที่ได้ก�ำหนดไว้ 6. ทบทวนนโยบาย รูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและ การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย ต่าง ๆ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ผู้มีอ�ำนาจในการจัดการ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และ ให้สอดคล้องกับภาวะตลาด คณะกรรมการธรรมาภิบาล ธนาคารให้ความส�ำคัญกับการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มี ระบบธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) ตามหลัก ข้อพึงปฏิบัติที่ดีของบริษัทจดทะเบียน และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ การปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลในรายงานประจ�ำปี จึงเห็นควรให้แต่งตั้ง คณะกรรมการธนาคารทั้งคณะ ท�ำหน้าที่คณะกรรมการธรรมาภิบาล (Corporate Governance Committee) โดยเป็นผู้ก�ำหนดนโยบาย

078

รายงานประจำ �ปี 2557

ในการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีให้เป็นไปตามแนวทางที่ส�ำนักงานคณะ กรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ส�ำนักงาน ก.ล.ต.”) ตลาดหลักทรัพย์ และ ธปท. ก�ำหนดและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการธนาคารเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง มีหน้าที่ก�ำหนดนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร โดยให้น�ำเสนอ ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อให้พิจารณาอนุมัติ และก�ำกับดูแล ให้ฝา่ ยจัดการเป็นผูป้ ฏิบตั ติ ามนโยบายและรายงานให้คณะกรรมการ ทราบเป็นประจ�ำ และท�ำการทบทวนระบบหรือประเมินประสิทธิผล ของการจัดการความเสีย่ งอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ โดยให้เปิดเผยไว้ ใน รายงานประจ�ำปี และในทุก ๆ ระยะเวลาที่พบว่า ระดับความเสี่ยงมี การเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการให้ความส�ำคัญกับสัญญาณเตือนภัย ล่วงหน้าและรายงานผิดปกติทั้งหลาย โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานคณะกรรมการ 2. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ รองประธานคณะกรรมการ 3. นายเซียด เอิล-โฮส กรรมการ 4. นายปิยะพงศ์ อาจมังกร กรรมการ 5. นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล กรรมการ 6. นายเอ้งฮัก นนทิการ กรรมการ 7. นายริคกี้ จอน ยากาโบวิช กรรมการ 8. นายคาล์ยานารามัน ศิวะรามาคริสนัน กรรมการ 9. นางขจิตพันธ์ ชุนหฤทธิ์ กรรมการ 10. Head of Compliance กรรมการ 11. Head of Risk & Capital Markets กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง 1. เสนอนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธนาคารทั้งหมด ต่อคณะกรรมการธนาคารเพือ่ พิจารณาอนุมตั ิ โดยต้องสร้างมาตรฐาน ในการติดตาม ตรวจสอบ ให้แน่ใจว่านโยบายความเสี่ยงนั้นได้มีการ ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด


2. วางกลยุทธ์ ในการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับ นโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และ ดูแลปริมาณความเสี่ยงของธนาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 3. ทบทวนความเพียงพอของนโยบายการบริหารความเสีย่ ง โดยรวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบาย ที่ก�ำหนด 4. ก�ำหนดมาตรการด� ำเนินการในการบริหารความเสี่ยง ในด้านของการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และแก้ปัญหา ที่อาจเกิดขึ้น 5. ประเมินปัจจัยทัง้ ภายในและภายนอก อันอาจส่งผลกระทบ ต่อฐานะทางการเงินอย่างเป็นสาระส�ำคัญ เพือ่ น�ำมาใช้ ในการเปลีย่ น นโยบายความเสี่ยงโดยรวมของธนาคาร 6. ก�ำหนดและสัง่ การหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการบริหาร ความเสีย่ งในการพัฒนากลไกบริหาร ควบคุม และติดตามความเสีย่ ง ให้ดียิ่งขึ้น 7. พิจารณาแต่งตั้งคณะท�ำงานหรือเจ้าหน้าที่ และก�ำหนด อ�ำนาจให้กับคณะท�ำงานหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวภายใต้กรอบอ�ำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 8. ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานการบริหารความเสี่ยง ด้านต่าง ๆ โดยคณะกรรมการและ/หรือหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไป ตามนโยบายที่วางไว้ 9. รายงานผลการปฏิบัติการต่อคณะกรรมการตรวจสอบ อย่างสม�ำ่ เสมอในสิง่ ทีต่ อ้ งด�ำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพือ่ ให้สอดคล้อง กับนโยบายและกลยุทธ์ที่ก�ำหนด คณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการบริหารเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้การด�ำเนินงานของธนาคาร ด้านสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการ 2. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ รองประธานคณะกรรมการ 3. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป กรรมการ 4. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ กรรมการ 5. นายเอ้งฮัก นนทิการ กรรมการ 6. นายปิยะพงศ์ อาจมังกร กรรมการ 7. นางนุสรา รุนส�ำราญ กรรมการ

8. นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล กรรมการ 9. นายอาเจย์ ปราตาป มุนคาร์ กรรมการ 10. นายสนอง คุ้มนุช กรรมการ 11. นายเซียด เอิล-โฮส กรรมการ 12. นางสาววิศาลศรี นิโลดม กรรมการ 13. นายลลิต โดแดมป์ กาเมจ์ ธรรมเสรี กรรมการ ตัวแทนหน่วยงานควบคุมความเสี่ยง เลขานุการคณะกรรมการ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารสภาพ คล่องและอัตราดอกเบี้ย 1. ก�ำหนดแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารภายใต้นโยบาย ของคณะกรรมการบริหาร 2. บริหารความเสี่ยง สภาพคล่อง และอัตราแลกเปลี่ยน ของธนาคาร ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของสภาวการณ์ตลาดเงินและ ตลาดทุน 3. บริหารโครงสร้างและก�ำหนดอัตราดอกเบี้ย ทั้งอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัวและอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อป้องกันผลกระทบจาก ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย 4. พิจารณาอนุมตั กิ ารลงทุนพันธบัตรและตราสารหนีเ้ อกชน ภายในวงเงินที่ธนาคารก�ำหนด 5. ก�ำหนดอ�ำนาจอนุมตั ใิ ห้บคุ คลหรือคณะบุคคลภายใต้กรอบ อ�ำนาจของคณะกรรมการบริหารสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย 6. รายงานผลการบริหารสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย และ อัตราแลกเปลี่ยนให้คณะกรรมการบริหารรับทราบ คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน คณะกรรมการบริหารเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา การลงทุน เพื่อให้การด�ำเนินงานของธนาคารด้านการลงทุนของ ธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการ 2. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ รองประธานคณะกรรมการ 3. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป กรรมการ

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

079


ลงทุน

4. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ กรรมการ 5. นายปิยะพงศ์ อาจมังกร กรรมการ ตัวแทนฝ่ายควบคุมความเสี่ยง เลขานุการคณะกรรมการ

8. นายโนเอล ซิงห์ กรรมการ ตัวแทนหน่วยงานควบคุมความเสี่ยง เลขานุการคณะกรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณาการ

หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณาอนุมตั ิ

1. ก�ำหนดนโยบายการลงทุน รวมถึงพิจารณาและอนุมัติ แผนการลงทุน 2. พิจารณาอนุมัติลงทุนตามขอบเขตของอ�ำนาจอนุมัติที่ ธนาคารก�ำหนดไว้ โดยให้สอดคล้องกับ Position Limit และ VaR Limit ที่ก�ำหนดไว้ และกลั่นกรองรายการลงทุนที่เกินอ�ำนาจอนุมัติ ก่อนน�ำเสนอคณะกรรมการบริหารซึง่ มีอำ� นาจระดับสูงขึน้ ไปพิจารณา อนุมัติ 3. พิจารณา ทบทวนผลการลงทุน และก�ำหนดแนวทาง ในการปรับปรุงการลงทุน 4. พิจารณาก�ำหนดอ�ำนาจอนุมตั ใิ ห้กบั คณะบุคคลหรือบุคคล ภายใต้ภายใต้กรอบอ�ำนาจของคณะกรรมการพิจารณาการลงทุน 5. บริหารความเสีย่ งจากการเปลีย่ นแปลงของราคา (Market Risk) 6. ก�ำหนดและทบทวนอัตราส่วนในการตัง้ ส�ำรองหรือก�ำหนด ค่าเผื่อการด้อยค่าของหลักทรัพย์ที่ลงทุน คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ คณะกรรมการบริหารเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา อนุมตั สิ นิ เชือ่ เพือ่ ให้การด�ำเนินงานของธนาคารด้านการอนุมตั สิ นิ เชือ่ ของธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานคณะกรรมการ 2. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป รองประธานคณะกรรมการ 3. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ รองประธานคณะกรรมการ 4. นายเซียด เอิล-โฮส กรรมการ 5. นางนุสรา รุนส�ำราญ/ นางสาววิศาลศรี นิโลดม/ ดร.สุทัต จิตมั่นคงสุข กรรมการ* 6. นางสสิมา ทวีสกุลชัย กรรมการ 7. นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการ 080

รายงานประจำ �ปี 2557

* เข้าเป็นกรรมการเฉพาะเรื่องที่รับผิดชอบเท่านั้น สินเชื่อ

1. ก�ำหนดแผนงานและแนวทางการอนุมตั สิ นิ เชือ่ การบริหาร จัดการ และก�ำกับดูแลภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริหารและ คณะกรรมการธนาคาร 2. ก�ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขวงเงินสินเชื่อ พิจารณา อนุมตั วิ งเงินสินเชือ่ และการอนุมตั เิ ปลีย่ นแปลงเงือ่ นไขวงเงินสินเชือ่ ตามอ�ำนาจอนุมตั ทิ กี่ ำ� หนดไว้ โดยประเมินความเสีย่ งด้านเครดิตภายใต้ ขอบเขตที่คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการธนาคารก�ำหนด 3. ก�ำหนดอ�ำนาจอนุมัติสินเชื่อให้บุคคลหรือคณะบุคคล ภายใต้กรอบอ�ำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ 4. พิจารณาอนุมตั นิ โยบายความเสีย่ งด้านเครดิตของสินเชือ่ รายย่อย โดยนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยงด้านกฎหมาย และความเสี่ยง ด้านปฏิบัติการ 5. บริหารระดับความเสี่ยงด้านเครดิตและคุณภาพลูกหนี้ ให้อยูภ่ ายใต้ความเสีย่ งทีธ่ นาคารรับได้ รวมทัง้ เป็นไปตามความส�ำคัญ ของธุรกิจ โดยการติดตามจากกระบวนการรายงาน 6. พิ จ ารณากลั่ น กรองสิ น เชื่ อ ส� ำ หรั บ รายที่ เ กิ น อ� ำ นาจ อนุมัติของคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพื่อน�ำเสนอต่อ คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการธนาคาร ทั้งนี้ หากมี ความจ�ำเป็นเร่งด่วนให้นำ� เสนอขออนุมตั ติ อ่ คณะกรรมการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรอง 7. รายงานผลการอนุมัติสินเชื่อ การบริหารความเสี่ยงด้าน เครดิตและคุณภาพลูกหนีต้ อ่ คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการ ธนาคาร

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด

คุณสมบัติของกรรมการ ธนาคารก�ำหนดคุณสมบัตขิ องกรรมการ ซึง่ รวมถึงคุณสมบัติ เพิ่มเติมในกรณีกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระ ไว้อย่าง ชัดเจนในนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคาร ดังนี้ 1. มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่หลากหลายซึ่งเป็น ประโยชน์ และช่วยสนับสนุนการท�ำธุรกิจของธนาคาร และมีความ สามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์กับธนาคาร มีกรรมการที่ไม่ได้ เป็นกรรมการบริหารอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ ในธุรกิจของ ธนาคาร โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัดเรื่องเพศ


2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3. ไม่เป็นกรรมการในบริษทั ทีป่ ระกอบกิจการอันมีสภาพเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของธนาคารไม่วา่ จะท�ำเพือ่ ประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผอู้ นื่ เว้นแต่จะได้แจ้งให้ทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ทราบก่อนทีจ่ ะมีการแต่งตัง้ ทัง้ นี้ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนทีท่ ำ� หน้าที่ เสนอบุคคลเป็นกรรมการเพื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาจะต้องตรวจสอบว่าบุคคลนั้น ๆ ไม่ได้เป็นกรรมการหรือประกอบธุรกิจอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของธนาคาร 4. กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสามารถท�ำธุรกรรมซึ่งเป็นปกติทางการค้าทั่วไปของธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ โดยต้องเป็นธุรกรรมที่เป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระท�ำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอ�ำนาจ ต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพล ทั้งนี้ ยกเว้นธุรกรรมต้องห้ามที่กฎหมายประกาศหรือค�ำสั่งของทางการก�ำหนด 5. จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมในแต่ละกรณี ดังนี้ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร • เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงานให้แก่กิจการและก�ำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการด�ำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะ กรรมการธนาคาร • มีจ�ำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของจ�ำนวนกรรมการทั้งหมด กรรมการอิสระ (ส�ำหรับบริษัทมหาชนจ�ำกัดหรือกรณีที่ทางการก�ำหนดให้มี) • ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกช�ำระแล้วของธนาคาร • มีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ตลาดหลักทรัพย์ ส�ำนักงาน ก.ล.ต. หรือหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องก�ำหนด • ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ขัดกับหลักเกณฑ์ของการเป็นกรรมการอิสระตามที่คณะกรรมการก�ำกับตลาดทุนก�ำหนด • มีจ�ำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจ�ำนวนกรรมการทั้งหมด • กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนมีประสบการณ์ ในธุรกิจธนาคาร 6. ประธานกรรมการธนาคารไม่เป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมทั้งเปิดเผยไว้ ในรายงาน ประจ�ำปีและบนเว็บไซต์ของธนาคาร 7. กรรมการแต่ละคนควรด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการในบริษทั จดทะเบียนได้ไม่เกิน 5 แห่ง หากเกินกว่าจ�ำนวนดังกล่าว กรรมการควรมีความ มั่นใจว่าได้มีการจัดสรรเวลาเพียงพอต่อการท�ำหน้าที่เป็นกรรมการของธนาคาร ทั้งนี้ การเป็นกรรมการในกิจการอื่น ๆ ต้องไม่ขัดกับข้อก�ำหนด หรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานก�ำกับอื่นที่เกี่ยวข้อง กระบวนการสรรหากรรมการ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการ เพื่อขอน�ำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี) เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง ในกรณีการด�ำรงต�ำแหน่ง ว่างลงเนือ่ งจากการครบวาระ และในกรณีอนื่ ๆ สอดคล้องตามนโยบายการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนและกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทนของธนาคาร โดยการด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการเป็นไปตามข้อบังคับของธนาคาร และกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ ต้องได้รบั ความเห็นชอบจาก ธปท. ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อนึ่ ง เพื่ อ เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ ก ารประชุ ม สามั ญ ผู ้ ถื อ หุ ้ น สอดคล้ อ งกั บ หลั ก การก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี โดยเฉพาะในส่ ว นของ การดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิเสนอวาระและเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการธนาคาร ผู้ถือหุ้น สามารถเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมผ่านคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณาด้านคุณสมบัติและการให้ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ปัจจุบันมีกรรมการที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 กลุ่ม ดังนี้ บริษัท

จำ�นวนกรรมการ (ราย)

1.  บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

4

2.  สโกเทีย เนเธอร์แลนด์ โฮลดิ้ง บีวี

4 ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

081


หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการ ตามข้ อ บั ง คั บ และนโยบายการก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ข อง ธนาคาร ปรากฏหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้ 1. ในกรณีแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตาม วาระ จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยข้อบังคับธนาคารข้อ 18. ก�ำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการไว้ ดังนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อ หนึ่งเสียง (2) ในการเลื อ กตั้ ง กรรมการอาจใช้ วิ ธี อ อกเสี ย งลง คะแนนเลือกกรรมการเป็นรายบุคคลคราวละคนหรือคราวละหลาย คนรวมกันเป็นคณะ หรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ได้ตามแต่ที่ประชุมผู้ถือ หุ้นจะเห็นสมควร แต่ในการลงมติแต่ละครั้งผู้ถือหุ้นต้องออกเสียง ด้วยคะแนนที่มีตาม (1) ทั้งหมด จะแบ่งคะแนนเสียงแก่คนใดหรือ คณะใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) การออกเสียงลงคะแนนเลือกตัง้ กรรมการให้ ใช้เสียง ข้างมาก หากมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานทีป่ ระชุมเป็นผูอ้ อกเสียง ชี้ขาด 2. ในกรณีแต่งตั้งกรรมการระหว่างวาระเนื่องจากต�ำแหน่ง ว่ า งลง คณะกรรมการธนาคารสามารถพิจารณาอนุมัติได้ตามที่ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนคัดเลือกและเสนอชือ่ มา เพื่อเข้าด�ำรงต�ำแหน่งแทน โดยข้อบังคับธนาคารข้อ 21. และ ข้อ 23. ก�ำหนดว่า ถ้าต�ำแหน่งกรรมการว่างลง เพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตาม วาระ ให้คณะกรรมการเลือกผูซ้ งึ่ มีคณ ุ สมบัตแิ ละไม่มลี กั ษณะต้องห้าม ตามกฎหมาย เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมกรรมการคราวถัดไป ด้วยคะแนนเสียงไม่นอ้ ยกว่า 3 ใน 4 ของจ�ำนวนกรรมการทีย่ งั เหลืออยู่ เว้นแต่วาระของกรรมการที่ว่างลงจะเหลือน้อยกว่าระยะเวลาตาม ที่กฎหมายก�ำหนด โดยกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง แทน ให้อยู่ในต�ำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการ ที่ตนแทนเท่านั้น การสรรหาผู้บริหารระดับสูงสุด ในการสรรหาผู้เข้าด�ำรงต�ำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู ้ จั ด การใหญ่ คณะกรรมการสรรหาและก� ำ หนด ค่าตอบแทนจะเป็นผูพ้ จิ ารณาเบือ้ งต้น ในการกลัน่ กรองสรรหาบุคคล ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินงานของธนาคาร และเข้าใจในธุรกิจของธนาคารเป็นอย่างดี และสามารถบริหารงาน ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ เป้าหมายทีค่ ณะกรรมการธนาคารก�ำหนดไว้ได้ และน�ำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติต่อไป

082

รายงานประจำ �ปี 2557

การก�ำกับดูแลการด�ำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (1) การก� ำ กั บ ดู แ ลการด� ำ เนิ น งานของบริ ษั ท ย่ อ ยและ บริษัทร่วม ธนาคารมี ก ารก� ำ กั บ ดู แ ลบริ ษั ท ย่ อ ยเพื่ อ รั ก ษาผล ประโยชน์ ในเงินลงทุนของธนาคาร โดยมอบหมายให้ผู้บริหารของ ธนาคารเป็นกรรมการในบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อ ประโยชน์ ในการก�ำกับดูแลการด�ำเนินงานของบริษัทย่อยให้เป็นไป อย่างเหมาะสม ราบรื่น และสอดคล้องกับนโยบายและการด�ำเนิน งานของธนาคาร โดยภายหลังจากที่คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ความเหมาะสมและเห็นชอบให้ผบู้ ริหารของธนาคารไปด�ำรงต�ำแหน่ง กรรมการในบริษัทย่อยแล้ว ธนาคารโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่จะมีหนังสือแจ้งชื่อผู้บริหารรายดังกล่าว ไปยังประธานกรรมการของบริษัทย่อย เพื่อเสนอรับการแต่งตั้งเป็น กรรมการตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ธนาคารก�ำหนดให้กรรมการผู้จัดการของบริษัทย่อย น�ำเสนอรายงานผลการด�ำเนินงานรายเดือนโดยเปรียบเทียบกับ ประมาณการตามแผนธุรกิจต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ ธนาคารเป็นประจ�ำทุกเดือน ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วย โดย ประธานกรรมการบริหารจะรายงานต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการธนาคาร ภายในเดือนเดียวกัน กรรมการและผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของธนาคารใน บริษัทย่อยมีขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ก�ำหนด ไว้ ในข้อบังคับของบริษัทย่อย โดยต้องควบคุมดูแลการด�ำเนินงาน ของบริษัทย่อยให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกฎเกณฑ์ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากธนาคารประกอบธุรกิจในรูปแบบ ของกลุม่ ธุรกิจทางการเงิน กรรมการและผูบ้ ริหารตัวแทนของธนาคาร ในบริษทั ย่อยจึงมีหน้าทีก่ ำ� หนดแผนกลยุทธ์ของบริษทั ย่อยให้สง่ เสริม และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจ ตลอดจน ก�ำกับดูแลการด�ำเนินงานของบริษัทย่อยให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ที่ก�ำหนด สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ ทางการเงินธนชาต ในด้านการท�ำธุรกรรมระหว่างบริษัทย่อยในกลุ่มและ กับผูเ้ กีย่ วข้อง ธนาคารมีการก�ำหนดระดับอ�ำนาจอนุมตั ธิ รุ กรรมไว้ตาม ประเภทธุรกรรม ปริมาณธุรกรรม และบุคคลทีเ่ ป็นคูส่ ญ ั ญา และมีการ ก�ำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว โดยให้ มีการรายงานข้อมูลการท�ำธุรกรรมภายในกลุ่มและกับผู้เกี่ยวข้องทุก 6 เดือน ต่อคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการของธนาคาร ทราบตามล�ำดับ นอกจากนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่ท�ำธุรกรรมยังมี หน้าที่จัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานก�ำกับกฎระเบียบเพื่อรวบรวมข้อมูล การท�ำธุรกรรมภายในกลุ่มและกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานต่อ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงก�ำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล การท�ำธุรกรรมต่อบุคคลภายนอก โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ทางการ รวมถึงมาตรฐานบัญชี


ในการก�ำหนดระบบควบคุมภายในและกลไกในการ ก�ำกับดูแลบริษทั ย่อย ธนาคารมีการก�ำหนดระดับอ�ำนาจอนุมตั กิ ารท�ำ ธุรกรรมส�ำคัญและประเภทของคู่สัญญา เช่น การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือท�ำธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ บริษัทในกลุ่ม หรือผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยหากบริษัทย่อยประสงค์ จะเข้าท�ำรายการ จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอ�ำนาจตามระดับอ�ำนาจ อนุมตั ทิ ไี่ ด้กำ� หนดไว้ และยิง่ ไปกว่านัน้ คณะกรรมการธนาคารได้มอบ หมายให้คณะกรรมการตรวจสอบและสายงานตรวจสอบของธนาคาร ปฏิบัติงานตรวจสอบครอบคลุมถึงการก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานของ บริษทั ย่อยให้เป็นไปตามนโยบายของธนาคาร โดยสายงานตรวจสอบ ต้องด�ำเนินการสรุปผลภาพรวมของสายงานตรวจสอบที่ตรวจสอบ บริษัทย่อย ให้คณะกรรมการตรวจสอบของธนาคารรับทราบ และ น�ำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารต่อไป ทั้งนี้ กรณีที่มีประเด็นที่มี นั ย ส� ำ คั ญ ได้ แ ก่ รายการที่ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ การทุจริต การคอร์รัปชัน และการฝ่าฝืนกฎหมาย ให้รายงานต่อ คณะกรรมการธนาคารให้ทราบอย่างละเอียด เพือ่ ด�ำเนินการปรับปรุง แก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร (2) ข้อตกลงระหว่างธนาคารกับผู้ถือหุ้นอื่นในการบริหาร จัดการบริษัทย่อยและบริษัทร่วม - ไม่มี -

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน ดังนี้

ธนาคารมีการก�ำหนดไว้ ในจรรยาบรรณ ซึ่งสามารถสรุปได้

• ก� ำ หนดให้ ทุ ก หน่ ว ยงานภายในธนาคารจั ด ระบบงาน การเก็บรักษาข้อมูลภายในให้มีการก�ำกับดูแลอย่างเหมาะสม • ก�ำหนดให้ผบู้ ริหารในต�ำแหน่งผูจ้ ดั การ ผูบ้ ริหารสีร่ ายแรก ต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้บริหารสูงสุดฝ่ายบัญชีและฝ่ายการเงิน ตามเกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. รายงานการถือหุ้นในธนาคาร เป็นรายไตรมาส • ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และที่ปรึกษา ที่ล่วงรู้สารสนเทศส�ำคัญที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ น�ำมาใช้เพื่อ แสวงหาประโยชน์ ให้ตนเองหรือผู้อื่น โดยก� ำหนดไว้ ในประกาศ และในจรรยาบรรณของกลุ่มธนชาต

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และก�ำหนดจ�ำนวนเงินค่าตอบแทนการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการ ธนาคาร เพื่อเสนอต่อผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ ในการประชุมสามัญ ประจ�ำปีทุกครั้ง โดยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาและมีมติอนุมัติแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชีจากบริษัท ส�ำนักงาน อีวาย จ�ำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของ ธนาคาร ซึง่ ธปท. ได้ ให้ความเห็นชอบผูส้ อบบัญชีทงั้ 3 รายแล้ว ดังนี้ 1. นางสาวรัตนา จาละ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3734 2. นางสาวภูริ์พรรณ เจริญสุข ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4950 3. นางสาวรุ้งนภา เลิศสุวรรณกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3516

และ/หรือ และ/หรือ

ในรอบปี 2557 ค่าตอบแทนการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี บริษทั ส�ำนักงาน อีวาย จ�ำกัด ซึง่ เป็นส�ำนักงานสอบบัญชีของธนาคาร และบริษัทย่อย โดยมีนางสาวรัตนา จาละ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 3734 เป็นผู้สอบบัญชีของธนาคาร ดังนี้ (1) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit Fee) 1.1 ค่ า ตอบแทนจากการสอบบั ญ ชี ข องธนาคาร จ�ำนวนเงิน 10,540,000.00 บาท 1.2 ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีของบริษัทย่อยรวม 12 บริษัท เป็นจ�ำนวนรวม 5,970,000.00 บาท (2) ค่าบริการอื่น (Non-Audit Fee) ธนาคารและบริ ษั ท ย่ อ ยจ่ า ยค่ า ตอบแทนของงาน บริการอื่น ซึ่งได้แก่ การตรวจสอบพิเศษและการตรวจสอบระบบ การให้ บ ริ ก ารโอนเงิ น ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ต ามที่ ธปท. ก� ำ หนด การสอบทานและตรวจสอบรายงานการด� ำ รงเงิ น กองทุ น ตาม ระดับความเสี่ยงตามที่ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัยก�ำหนด ค่าตรวจสอบเพื่อวัตถุประสงค์ เฉพาะ และการเป็ น ที่ ป รึ ก ษาธุ ร กิ จ ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ งานสอบบั ญ ชี โดยจ่ายในรอบปีบัญชี 2557 จ�ำนวน 1,125,000.00 บาท

• มีการประกาศเรื่องการก�ำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ และป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน โดยก� ำหนดช่วงระยะเวลาห้าม ท�ำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ของกรรมการและผู้บริหารธนาคารเป็นเวลา 15 วันก่อนสิ้นแต่ละ ไตรมาสจนถึงวันเปิดเผยงบการเงินอีก 2 วัน

การปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่น ๆ

• กรณีพบมีการน�ำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ถื อ เป็ น การปฏิ บั ติ ที่ ผิ ด วิ นั ย ต้ อ งได้ รั บ การพิ จ ารณาโทษจาก คณะกรรมการพิจารณาโทษทางวินัย

รายละเอี ย ดรายการระหว่ า งกั น ปรากฏอยู ่ ใ นหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน ข้อ 41 รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

เป็นไปตามนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคาร

รายการระหว่างกัน

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

083


การควบคุมภายในและการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย ง ธนาคารได้ ให้ความส�ำคัญต่อการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็นว่ากระบวนการควบคุมภายในที่ดีจะส่งผลให้ธนาคารสามารถ ด�ำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย รวมถึงช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และการแสวงหา ประโยชน์ โดยมิชอบของผูบ้ ริหารและพนักงาน นอกจากการให้ความส�ำคัญในเรือ่ งกระบวนการควบคุมภายในแล้ว ยังเล็งเห็นว่า ข้อเสนอแนะของ ผูส้ อบบัญชีภายนอก และผูต้ รวจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) จะมีสว่ นช่วยในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้มปี ระสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ซึ่งขอกล่าวถึงระบบการควบคุมภายใน โดยสรุปดังนี้

1. องค์ ก รและสภาพแวดล้อม ธนาคารจัดให้มีการก�ำหนดโครงสร้างองค์กร และอ�ำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน มีการแบ่งแยก หน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุมัติ ผู้ติดตามควบคุมและผู้ประเมินผลออกจากกัน เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และเป็นการถ่วงดุลอ�ำนาจ ซึ่งกันและกัน รวมถึงเพื่อให้ธนาคารมีการด�ำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและมีการก�ำกับดูแลที่ดี และได้จัดให้มีนโยบาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ และ คูม่ อื การปฏิบตั งิ านไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษร รวมทัง้ มีการแต่งตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบ เพือ่ พิจารณาความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน และจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการธนาคารมีการพิจารณาก�ำหนดเป้าหมายในการด�ำเนินธุรกิจทีช่ ดั เจน วัดผลได้ และมีการติดตามผลการด�ำเนินงานให้เป็นไป ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ นอกจากนี้ ธนาคารได้จัดให้มีนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือจรรยาบรรณ (Code of conduct) นโยบาย ต่อต้านการคอร์รัปชั่น และมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น รวมถึงระเบียบค�ำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานถือปฏิบัติ และจัดให้มีการจัดท�ำแบบประเมินตนเองด้านการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้และจิตส�ำนึกของพนักงานทุกปี รวมถึง มีระบบหรือช่องทางเพื่อให้ลูกค้าและพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเกี่ยวกับบริการ รวมทั้งแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต และการคอร์รัปชั่น โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้ที่ถูกกล่าวหาอย่างเป็นธรรม ในด้านการดูแลบุคลากร ธนาคารจัดให้มกี ารฝึกอบรมพนักงานให้มคี วามรูแ้ ละทักษะการปฏิบตั งิ านอย่างเพียงพอ มีการก�ำหนดค่าตอบแทน และสวัสดิการส�ำหรับบุคลากรขององค์กรอย่างเหมาะสม เพือ่ ให้สามารถจูงใจและรักษาบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพไว้กบั ธนาคาร รวมถึงมีแผนในการหา ผู้บริหารมาสืบทอดต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ (Succession plan) เพื่อให้งานต่าง ๆ ด�ำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การบริ ห ารความเสี่ยง คณะกรรมการธนาคารได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง พิจารณาและก�ำกับดูแลให้ธนาคาร มีการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการด�ำเนินธุรกิจ รวมถึงมีการประเมินโอกาสที่อาจเกิด การทุจริตและการคอร์รัปชั่นในธุรกรรมต่าง ๆ โดยก�ำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร เผยแพร่ไว้ ในระบบ ข้อมูลกลางของธนาคาร (Intranet) เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ รวมทั้งมีการประเมินการเปลี่ยนแปลงปัจจัย ภายนอกองค์กร ที่อาจมีผลกระทบต่อการด�ำเนินธุรกิจ การควบคุมภายใน และรายงานทางการเงิน ตลอดจนได้ก�ำหนดมาตรการตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ พร้อมทั้งน�ำเสนอรายงานผลการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและประเด็นส�ำคัญเกี่ยวกับการด�ำเนินการ ต่อความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการธนาคารเป็นรายไตรมาสและรายเดือน ตามล�ำดับ

3. การควบคุ ม การปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ธนาคารมีการก�ำหนดอ�ำนาจและระดับการอนุมัติรายการเพื่อให้เกิดความเหมาะสม โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุมัติ ผู้ท�ำ หน้าที่บันทึกรายการทางบัญชีและข้อมูลสารสนเทศ และผู้ท�ำหน้าที่ในการดูแลจัดเก็บทรัพย์สินออกจากกัน เพื่อเป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็นการป้องกันการทุจริต รวมถึงก�ำหนดนโยบายให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของธนาคาร ต้องไม่เรียกร้อง ด�ำเนินการ หรือยอมรับ

084

รายงานประจำ �ปี 2557


การคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และพนักงาน ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นหรือทราบว่ามีการปฏิบัติงาน หรือการกระท�ำที่เข้าข่ายเป็นการกระท�ำทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้อง กับธนาคาร ต้องแจ้งผ่านช่องทางที่ธนาคารก�ำหนด ในส่วนของ การท�ำรายการกับบุคคลทีเ่ กีย่ วข้อง ธนาคารได้กำ� หนดแนวทางป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้ ในนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี ซึง่ การอนุมตั จิ ะต้องไม่กระท�ำโดยผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง โดยการให้สนิ เชือ่ หรือการลงทุนซึง่ เป็นธุรกิจหลักของธนาคาร ได้มกี ารก�ำหนดนโยบาย การให้สนิ เชือ่ แก่ผถู้ อื หุน้ รายใหญ่หรือกิจการทีม่ ผี ลประโยชน์เกีย่ วข้อง (Related Lending) หรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เป็นการเฉพาะตามเกณฑ์ที่ ธปท. ก�ำหนด ส�ำหรับมาตรฐานควบคุม การใช้งานระบบสารสนเทศ มีการก�ำหนดระเบียบสารสนเทศและ เทคโนโลยี และนโยบาย/มาตรฐานความปลอดภัยระบบสารสนเทศ รวมถึ ง ก� ำ หนดมาตรฐานการควบคุ ม การพั ฒ นาและดู แ ลรั ก ษา ระบบเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมการปฏิบัติงาน การรักษาความปลอดภัย ในการใช้งานระบบสารสนเทศของธนาคาร

4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมู ล ธนาคารจัดให้มขี อ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้องและมีคณ ุ ภาพ เพือ่ สนับสนุน ให้การควบคุมภายในสามารถด�ำเนินการไปได้ตามที่ก�ำหนด มีการ น� ำ เสนอข้ อ มู ล สารสนเทศที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข อง คณะกรรมการ และใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเพียงพอ ธนาคาร มีการพัฒนาระบบสารสนเทศของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และรองรับการขยายตัวทางธุรกิจอย่างเหมาะสม รวมถึงจัดให้มี ช่องทางการสื่อสารให้บุคคลต่าง ๆ ภายในธนาคารและหน่วยงาน ภายนอกสามารถแจ้ ง ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วกั บ การฉ้ อ ฉลหรื อ การทุ จ ริ ต การคอร์รัปชั่น (Whistle-blower hotline) ผ่านช่องทางที่ธนาคาร ก�ำหนดได้

5. ระบบการตรวจสอบและการติดตาม ธนาคารจั ด ให้ มี ก ระบวนการติ ด ตามผลการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ และรายงานผลการด�ำเนินงานเปรียบเทียบเป้าหมายของแต่ละธุรกิจ ต่อคณะกรรมการธนาคารเป็นประจ�ำทุกเดือน และมีการทบทวน เป้าหมายทุก 6 เดือน หน่วยงานตรวจสอบซึ่งขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ตรวจสอบและสอบทานหน่วยงานและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการควบคุม ภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารและกลุ่มธุรกิจ ทางการเงินของธนาคารและรายงานข้อบกพร่อง พร้อมความคืบหน้า

ในการแก้ไขของแต่ละธุรกิจต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจ�ำ ทุกเดือน การตรวจสอบใช้แนวการตรวจสอบแบบกระบวนการตั้งแต่ ต้นจนจบ (End-to-end Process) และมีการผสานการตรวจสอบ ด้านเทคโนโลยีของระบบงานเข้ากับการตรวจสอบด้านปฏิบัติการ (Integrated Audit) รวมถึงมีการตรวจสอบแบบ Continuous Control and Monitoring เพื่อใช้ ในการควบคุมและติดตามรายการ ที่มีความผิดปกติ ทั้งนี้ ธนาคารได้จัดให้มีหน่วยงานก�ำกับกฎระเบียบและ ข้อบังคับ ติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและข้อห้ามในการ ปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายงานต่อ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการ ธนาคาร เป็นประจ�ำทุก 6 เดือน ในการประชุมคณะกรรมการธนาคาร ครัง้ ที่ 2/2558 เมือ่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารได้มีมติว่า ธนาคารมีระบบการควบคุมภายในทีเ่ พียงพอและเหมาะสมทัง้ 5 ส่วน ได้แก่ องค์กรและสภาพแวดล้อม การบริหารความเสี่ยง การควบคุม การปฏิบตั งิ านของฝ่ายบริหาร ระบบสารสนเทศและการสือ่ สารข้อมูล และระบบการติดตาม

หัวหน้างานตรวจสอบภายในและหัวหน้างานก�ำกับ ดู แ ลการปฏิ บั ติ ง านของธนาคาร หัวหน้างานตรวจสอบภายใน ธนาคารมอบหมายให้ นางวิจิตรา ธรรมโพธิทอง ด�ำรง ต�ำแหน่งเป็นหัวหน้างานตรวจสอบภายใน เพื่อท�ำหน้าที่ก�ำกับดูแล การด�ำเนินงานด้านตรวจสอบภายในของธนาคาร เนื่องจากเป็น ผู้มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน ในธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ มาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ย วชาญในกิจ กรรมและการด� ำ เนิ น งานของธนาคารเป็ น อย่างดี จึงเห็นว่า มีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการพิจารณาแต่งตั้ง ประเมินผล ถอดถอน โยกย้าย เลิกจ้าง ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในของธนาคารต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ หัวหน้างานก�ำกับดูแลการปฏิบัติงาน ธนาคารมอบหมายให้ นางสาวกวิตา บุญพจนสุนทร ด�ำรง ต� ำ แหน่ ง เป็ น หั ว หน้ า งานก� ำ กั บ ดู แ ลการปฏิ บั ติ ง าน (Head of Compliance) ท�ำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามเกณฑ์ของหน่วยงาน ทางการที่ก�ำกับดูแลการประกอบธุรกิจของธนาคาร

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

085


รายงานจากคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่ า ตอบแทน คณะกรรมการธนาคารได้อนุมตั จิ ดั ตัง้ คณะกรรมการสรรหาผูบ้ ริหาร และคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนผูบ้ ริหาร เมือ่ วันที่ 26 มีนาคม 2545 ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 มีมติให้รวมคณะกรรมการสรรหาผู้บริหาร และคณะกรรมการพิจารณา ผลตอบแทนผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน ใช้ชื่อ “คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน” ซึ่งดูแลรับผิดชอบกรรมการและ ผู้บริหารระดับสูง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ประกอบด้วยกรรมการ 3 ราย ดังต่อไปนี้ 1. 2. 3.

นายณรงค์ นายร็อด นายสถาพร นายธเนศ

จิวังกูร ไมเคิล เรโนลด์ ชินะจิตร ขันติการุณ

ประธานกรรมการ (กรรมการอิสระ) กรรมการ (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) กรรมการ (กรรมการอิสระ) เลขานุการคณะกรรมการ

โดยในปี 2557 คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง เพื่อด�ำเนินการที่ส�ำคัญดังต่อไปนี้ 1. คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ลาออก เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ธนาคาร เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง 2. ทบทวนและเสนอชือ่ บุคคลทีเ่ หมาะสมเข้ารับการแต่งตัง้ เป็นกรรมการแทนกรรมการทีต่ อ้ งออกตามวาระในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2557 น�ำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง 3. พิจารณา กลัน่ กรองบุคคลทีเ่ หมาะสมเข้ารับแต่งตัง้ เป็นผูบ้ ริหารระดับสูง และเสนอต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการธนาคารเพือ่ พิจารณา แต่งตั้ง 4. พิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นธนาคาร ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ปี 2558 5. ทบทวนและพิจารณาค่าตอบแทนประจ�ำปีของกรรมการและกรรมการชุดย่อย โดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ผลการปฏิบตั งิ าน สอดคล้องกับนโยบายธนาคารและผลประกอบการ โดยได้น�ำเสนอค่าตอบแทนของกรรมการ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารและที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2557 เพื่อพิจารณาอนุมัติ 6. พิจารณาการประเมินผลงาน การปรับเงินเดือนประจ�ำปีและโบนัสพิเศษของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง 7. พิจารณาค่าบริการงานบริหารและจัดการของประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ 8. ให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำแผนทดแทนผู้บริหารของกลุ่มธนชาต 9. ให้ค�ำแนะน�ำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเงินเดือนและผลการส�ำรวจอัตราเงินเดือนของกลุ่มสถาบันการเงิน

(นายณรงค์ จิวังกูร) ประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน

086

รายงานประจำ �ปี 2557


โครงสร้างการก�ำกับดูแลและการบริ ห ารจั ด การ คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคาร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ ประสบการณ์ทั้งด้านการเงินการบัญชี การบริหาร จัดการ และอื่น ๆ อันท�ำให้สามารถบริหารจัดการการประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธนาคาร ธนาคารก�ำหนดให้มีจ�ำนวนกรรมการธนาคารให้เป็นไปตามข้อก�ำหนดของกฎหมายและตามความเหมาะสมกับประเภทและขนาดของ ธุรกิจที่ด�ำเนินกิจการอยู่ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้การท�ำหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ก�ำหนดให้เป็นผู้บริหารในอัตรา ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจ�ำนวนกรรมการธนาคารทั้งหมด และมีกรรมการอิสระอย่างน้อยจ�ำนวน 1 ใน 3 ซึ่งมีความเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการและไม่มี ผลประโยชน์ ใด ๆ หรือความสัมพันธ์ ใด ๆ กับธุรกิจของธนาคาร และเป็นไปตามสัดส่วนอย่างยุติธรรมของเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นแต่ละกลุ่ม โครงสร้างคณะกรรมการธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีรายละเอียดดังนี้ รายชื่อกรรมการ

ต�ำแหน่ง

กรรมการ ที่เป็นผู้บริหาร

กรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหาร

ประธานกรรมการ

-

-

รองประธานกรรมการ

-

-

กรรมการอิสระ

1. นายบันเทิง

ตันติวิท

2. นายศุภเดช

พูนพิพัฒน์

3. นายเกียรติศักดิ์

มี้เจริญ

กรรมการ

-

-

4. นายณรงค์

จิวังกูร

กรรมการ

-

-

5. นายสถาพร

ชินะจิตร

กรรมการ

-

-

6. รศ. ดร.สมชาย

ภคภาสน์วิวัฒน์

กรรมการ

-

-

7. นายอัลแบรโต

ฮารามิวโญ

กรรมการ

-

-

8. นายร็อด

ไมเคิล เรโนลด์

กรรมการ

-

-

9. นายกอบศักดิ์

ดวงดี

กรรมการ

-

-

10. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป

กรรมการ

-

-

11. นายปีเตอร์

คลิฟฟอร์ด เบสซี่

กรรมการ

-

-

12. นายสมเจตน์

หมู่ศิริเลิศ

กรรมการ

-

-

กรรมการ

-

-

กรรมการที่ลาออกระหว่างปี 1. นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง

หมายเหตุ 1. นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ลาออกจากการเป็นกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 2. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ เข้ารับต�ำแหน่งกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 3. กรรมการซึ่งมีอ�ำนาจลงลายมือชื่อแทนธนาคาร คือ นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการสองในสี่คนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราส�ำคัญของธนาคาร

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

087


การประชุมคณะกรรมการ ธนาคารก�ำหนดการประชุมและวาระการประชุมของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าในแต่ละปี และแจ้งให้กรรมการธนาคาร แต่ละคนทราบก�ำหนดการดังกล่าว เพื่อให้กรรมการธนาคารสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้ ดังนี้ 1. คณะกรรมการธนาคาร ประชุมประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน 2. คณะกรรมการบริหาร ประชุมไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน 3. คณะกรรมการตรวจสอบ ประชุมไม่น้อยกว่าไตรมาสละ 1 ครั้ง 4. คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน ประชุมไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี 5. คณะกรรมการชุดอื่น ๆ การประชุมอยู่ในดุลยพินิจของประธานกรรมการแต่ละคณะ คณะกรรมการธนาคารมีการประชุมเป็นประจ�ำในสัปดาห์สดุ ท้ายของเดือน และยังมีการประชุมเพิม่ เติมตามความจ�ำเป็น โดยมีการก�ำหนด วาระชัดเจนล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาติดตามผลการด�ำเนินงาน การอนุมตั ธิ รุ กรรมการปฏิบตั งิ าน การบริหารความเสีย่ งเป็นประจ�ำ โดยส�ำนัก ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารได้จดั หนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารก่อนการประชุมล่วงหน้า เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ซึ่งในปี 2557 ที่ผ่านมา มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ทั้งนี้ ในการประชุมกรรมการธนาคารทุกท่านมีอิสระในการแสดงความเห็นและลงมติ โดยประธานที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้กรรมการ ธนาคารทุกท่านได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่ก่อนจะขอลงมติ และได้มีการจดบันทึกการประชุมแสดงข้อสังเกตและความเห็นของกรรมการ ธนาคารไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการธนาคาร พร้อมให้คณะกรรมการธนาคารและ ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ ตารางแสดงสถิติการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละคณะ ในปี 2557 รายนามคณะกรรมการธนาคาร

คณะกรรมการ ธนาคาร

คณะกรรมการ บริหาร

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง

(ประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง)

(ประชุมทั้งหมด 64 ครั้ง)

(ประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง)

(ประชุมทั้งหมด 8 ครั้ง)

(ประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง)

1. นายบันเทิง

ตันติวิท

12/12

-

-

-

-

2. นายศุภเดช

พูนพิพัฒน์

12/12

61/64

-

-

-

3. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ

12/12

-

11/12

-

-

4. นายณรงค์

จิวังกูร

12/12

-

-

8/8

-

5. นายสถาพร

ชินะจิตร

12/12

-

12/12

8/8

-

6. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

12/12

-

12/12

-

-

7. นายอัลแบรโต ฮารามิวโญ

11/12

-

-

-

-

8. นายร็อด

ไมเคิล เรโนลด์

10/12

-

-

5/8

-

9. นายกอบศักดิ์

ดวงดี

12/12

-

-

-

-

12/12

61/64

-

-

-

4/4

21/21

-

-

4/4

11/12

60/64

-

-

12/12

8/8

39/43

-

-

6/8

10. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป 11. นายปีเตอร์

คลิฟฟอร์ด เบสซี2)่

12. นายสมเจตน์

หมู่ศิริเลิศ

กรรมการลาออกระหว่างปี 1. นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง1)

หมายเหตุ 1) นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ลาออกจากการเป็นกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 2) นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ เข้ารับต�ำแหน่งกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557

088

รายงานประจำ �ปี 2557


ผู ้ บ ริ ห าร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารมีผู้บริหารในต�ำแหน่งผู้จัดการและผู้บริหารตามเกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. โดยรวมถึงผู้มีอ�ำนาจ ในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ดังนี้ 1. นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ 2. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป 3. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ 4. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ 5. นางนุสรา รุนส�ำราญ 6. นายปิยะพงศ์ อาจมังกร 7. นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล 8. นายอาเจย์ ปราตาป มุนคาร์ 9. นายเอ้งฮัก นนทิการ 10. นายสนอง คุ้มนุช 11. นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ 12. นางสสิมา ทวีสกุลชัย 13. นายคาล์ยานารามัน ศิวะรามาคริสนัน 14. นายริคกี้ จอน ยากาโบวิช 15. นางขจิตพันธ์ ชุนหฤทธิ์ 16. นางสาวอังคณา สวัสดิ์พูน 17. นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย 18. นางสาวกนกศรี โรจน์เมธา 19. นางวิจิตรา ธรรมโพธิทอง 20. นายเกรียงไกร ภูริวิทย์วัฒนา 21. นายวิจักษณ์ ประดิษฐวณิช 22. นางสาวอภิรดี ศุขโชติ 23. นายวิเวก จันทรา 24. นายเซียด เอิล-โฮส 25. ดร.สุทัต จิตมั่นคงสุข 26. นางสาววิศาลศรี นิโลดม 27. นายโนเอล ซิงห์ 28. นายวัชระ เพิ่มพิทักษ์ 29. นางภิตติมาศ สงวนสุข 30. นางธีรนุช ขุมทรัพย์

ประธานกรรมการบริหาร รองประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รองกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 1 รองกรรมการผู้จัดการ - บริหารการลงทุน รองกรรมการผู้จัดการ - กลยุทธ์และการเงิน รองกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายย่อย รองกรรมการผู้จัดการ - บริหารเงินและตลาดทุน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - เครือข่ายลูกค้ารายย่อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีหลักประกันและธุรกิจเงินฝาก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - วิเคราะห์ความเสี่ยงเครดิต 1 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - บริหารสินเชื่อและระบบพื้นฐานธุรกิจลูกค้ารายย่อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ปฏิบัติการกลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ส�ำนักประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - วิเคราะห์ความเสี่ยงเครดิต 2 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - การตลาดและงานขายเครือข่าย ทีม 3 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ตรวจสอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - การธนาคาร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - กลยุทธ์และงานขายลูกค้ารายย่อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ทรัพยากรบุคคลกลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - พัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - บริหารความเสี่ยง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 2 ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้าธุรกิจและ SME ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - พัฒนาสินทรัพย์ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - บัญชี ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - การเงิน

หมายเหตุ 1. ผู้บริหารล�ำดับที่ 3 - 9 และ 29 - 30 เป็นผู้บริหารในต�ำแหน่งผู้จัดการและผู้บริหารสี่รายแรกต่อจากผู้จัดการลงมา ตามเกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. 2. ผู้บริหารล�ำดับที่ 1 - 28 เป็นผู้มีอ�ำนาจในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 3. โดยมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2557 ดังนี้ 3.1  นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ลาออกจากการเป็นผู้บริหารของธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 3.2  นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารของธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2557

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

089


โดยในวันที่ 1 มกราคม 2558 ธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรในต�ำแหน่งผู้จัดการและผู้บริหารตามเกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. โดยรวมถึงผู้มีอ�ำนาจในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ดังนี้ ชื่อ-สกุล

โครงสร้างองค์กร เดิม

ใหม่

1. นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีหลักประกัน และธุรกิจเงินฝาก

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์

2. นายคาล์ยานารามัน ศิวะรามาคริสนัน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - บริหารสินเชื่อและระบบพื้นฐานธุรกิจ ลูกค้ารายย่อย

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริหารความเสี่ยงสินเชื่อรายย่อย

3. นางสาวกนกศรี โรจน์เมธา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - การตลาดและงานขายเครือข่าย ทีม 3

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายลูกค้ารายย่อย และธุรกิจขนาดเล็ก ภาค 3 (ภาคเหนือ)

4. นายวิจักษณ์ ประดิษฐวณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - กลยุทธ์และงานขายลูกค้ารายย่อย

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลยุทธ์งานขายเครือข่ายลูกค้ารายย่อย และธุรกิจขนาดเล็ก

และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ธนาคารมีการแต่งตั้งการด�ำรงต�ำแหน่งผู้บริหารในต�ำแหน่งผู้จัดการและผู้บริหารตามเกณฑ์ ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. โดยรวมถึงผู้มีอ�ำนาจในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จ�ำนวน 8 ราย ดังนี้ ชื่อ-สกุล

ต�ำแหน่ง (เดิม)

1. นายสนอง คุ้มนุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - เครือข่ายลูกค้ารายย่อย 2. นายเซียด เอิล-โฮส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - บริหารความเสี่ยง 3. นางสาววิศาลศรี นิโลดม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 2 4. นายทรงวุฒิ เชาวลิต ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - การตลาดและงานขายเครือข่าย ทีม 1 5. นายป้อมเพชร รสานนท์ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - การตลาดและงานขายเครือข่าย ทีม 2 6. นายลลิต โดแดมป์ กาเมจ์ ธรรมเสรี ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - บริหารเงินและตลาดทุน 7. นายวิสูจน์ ตั้งอดุลย์รัตน์ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - การตลาดและงานขายธุรกิจขนาดใหญ่ ทีม 1 8. นายวทัญญู นิธยายน ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - พิจารณาสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ทีม 1

090

รายงานประจำ �ปี 2557

ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง

รองกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก รองกรรมการผู้จัดการ บริหารความเสี่ยง รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 2 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายลูกค้ารายย่อย และธุรกิจขนาดเล็ก ภาค 1 (กรุงเทพฯ 1) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานขายและเครือข่ายธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริหารเงินและตลาดทุน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ การตลาดและงานขายธุรกิจขนาดใหญ่ ทีม 1 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ การตลาดและงานขายธุรกิจขนาดใหญ่ ทีม 2


โครงสร้างการบริหารจัดการของธนาคารธนชาต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารสภาพคล่อง และอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการพิจารณาการลงทุน คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

3

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พัฒนาและเปลี่ยนแปลง ทางธุรกิจ

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริหารความเสี่ยง

2

1

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ส�ำนักประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ตรวจสอบ

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส ก�ำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ

รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 1

4

รองกรรมการผู้จัดการ บริหารเงินและตลาดทุน

5

รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายย่อย

6

รองกรรมการผู้จัดการ บริหารการลงทุน

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

091

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 2

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการกลาง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายลูกค้ารายย่อย

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สนับสนุนธุรกิจ

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้าขนาดกลาง และขนาดย่อม

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส พัฒนาสินทรัพย์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทรัพยากรบุคคลกลาง

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส พัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้าธุรกิจ และ SME

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส วาณิชธนกิจ

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส สื่อสารและบริหารแบรนด์

ผู้อ�ำนวยการ บริหารค่าจ้างและผลตอบแทน และกิจการค่าจ้าง

7

รองกรรมการผู้จัดการ กลยุทธ์และการเงิน 8

9

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส บัญชี ผู้อ�ำนวยการอาวุโส การเงิน

หมายเหตุ 1 - 9 คือผู้บริหารของธนาคาร ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.


เลขานุ ก ารบริ ษั ท คณะกรรมการธนาคารไม่มีการแต่งตั้งเลขานุการบริษัท แต่ได้มอบหมายให้ส�ำนักประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูแลงานเลขานุการบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคาร และเพื่อให้การบริหารงานของธนาคารเป็นไปอย่าง ราบรื่นและมีประสิทธิผล

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร (1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (ก) ค่าตอบแทนของคณะกรรมการธนาคารแต่ละรายในปีที่ผ่านมา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารได้จา่ ยค่าตอบแทนแก่คณะกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 34,044,193.65 บาท โดยลักษณะของค่าตอบแทนที่จ่ายอยู่ในรูป ของค่าตอบแทนรายเดือน ค่าเบี้ยประชุม และเงินบ�ำเหน็จกรรมการ (จ่ายจากผลการด�ำเนินงานประจ�ำปี 2556) สรุปได้ดังนี้ ตารางแสดงค่าตอบแทนคณะกรรมการธนาคาร รายนามคณะกรรมการ

1. นายบันเทิง

ตันติวิท

2. นายศุภเดช

พูนพิพัฒน์

ค่าตอบแทนรายเดือน

ประเภทค่าตอบแทน (บาทต่อปี) ค่าเบี้ยประชุม เงินบ�ำเหน็จกรรมการ

รวม

1,200,000.00

600,000.00

3,053,722.10

4,853,722.10

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

3. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

4. นายณรงค์

จิวังกูร

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

5. นายสถาพร

ชินะจิตร

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

6. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

7. นายอัลแบรโต ฮารามิวโญ

600,000.00

275,000.00

1,526,861.05

2,401,861.05

8. นายร็อด

ไมเคิล เรโนลด์

600,000.00

250,000.00

1,468,296.52

2,318,296.52

9. นายกอบศักดิ์

ดวงดี

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

10. นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป

600,000.00

300,000.00

1,526,861.05

2,426,861.05

11. นายปีเตอร์

คลิฟฟอร์ด เบสซี่

200,000.00

100,000.00

0.00

300,000.00

12. นายสมเจตน์

หมู่ศิริเลิศ

600,000.00

275,000.00

1,526,861.05

2,401,861.05

0.00

0.00

58,564.53

58,564.53

400,000.00

200,000.00

1,526,861.05

2,126,861.05

7,800,000.00

3,800,000.00

19,849,193.65

31,449,193.65

กรรมการลาออกระหว่างปี 1. นายคล็อด เดวิด มอแรง 2. นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง รวม

หมายเหตุ

1. นายคล็อด เดวิด มอแรง ลาออกจากการเป็นกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2556 2. นายร็อด ไมเคิล เรโนลด์ เข้ารับต�ำแหน่งกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2556 3. นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ลาออกจากการเป็นกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 4. นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ เข้ารับต�ำแหน่งกรรมการธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557

092

รายงานประจำ �ปี 2557


ตารางแสดงค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ

ค่าตอบแทนรายเดือน

ประเภทค่าตอบแทน (บาทต่อปี) ค่าเบี้ยประชุม

รวม

1. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ

540,000.00

330,000.00

870,000.00

2. นายสถาพร

360,000.00

180,000.00

540,000.00

360,000.00

180,000.00

540,000.00

1,260,000.00

690,000.00

1,950,000.00

รายนามคณะกรรมการ

ชินะจิตร

3. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รวม

ตารางแสดงค่าตอบแทนคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน รายนามคณะกรรมการ

ประเภทค่าตอบแทน (บาทต่อปี) ค่าเบี้ยประชุม

1. นายณรงค์

จิวังกูร

320,000.00

2. นายสถาพร

ชินะจิตร

200,000.00

3. นายร็อด

ไมเคิล เรโนลด์

125,000.00

รวม

645,000.00

ค่าตอบแทนกรรมการอิสระของธนาคารที่เป็นกรรมการอิสระของบริษัทย่อย ไม่มีกรรมการอิสระของธนาคารคนใดเป็นกรรมการอิสระของบริษัทย่อย (ข) ค่าตอบแทนรวมและจ�ำนวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของธนาคารในปีที่ผ่านมาและลักษณะค่าตอบแทน

ในปี 2557 ธนาคารได้จา่ ยค่าตอบแทน ประกอบด้วย ค่าตอบแทนในรูปของเงินเดือน เงินช่วยเหลือ เงินสมทบประกันสังคม ฯลฯ ให้กับกรรมการบริหารและผู้บริหารตามเกณฑ์ทางการ เป็นดังนี้ • เกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. จ�ำนวน 10 คน (โดยนับรวมผูบ้ ริหารทีล่ าออกในระหว่างปี 1 คน) รวมทัง้ สิน้ 78,898,500.00 บาท • เกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีอ�ำนาจในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จ�ำนวน 29 คน (โดยนับรวมผู้บริหารที่ลาออกในระหว่างปี 1 คน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 189,191,911.00 บาท

(2) ค่าตอบแทนอื่น ๆ (ถ้ามี) ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการธนาคาร ธนาคารไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนอื่นให้แก่กรรมการธนาคารแต่อย่างใด ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการบริหารและผู้บริหารของธนาคาร ธนาคารจัดให้มกี องทุนส�ำรองเลีย้ งชีพให้แก่ผบู้ ริหาร โดยธนาคารได้สมทบในอัตราร้อยละ 3 หรือ 5 หรือ 7 หรือ 10 ของเงินเดือน ตามอายุงานของผู้บริหาร โดยในปี 2557 ธนาคารได้จ่ายเงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพส�ำหรับผู้บริหาร ตามเกณฑ์ทางการ เป็นดังนี้ • กรรมการบริหารและผู้บริหาร ตามเกณฑ์ของส�ำนักงาน ก.ล.ต. จ�ำนวน 10 คน (โดยนับรวมผู้บริหารที่ลาออกในระหว่างปี 1 คน) เป็นจ�ำนวนเงิน 3,556,254.00 บาท • ผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้มีอ�ำนาจในการจัดการตามมาตรา 4 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย) จ�ำนวน 29 คน (โดยนับรวมผู้บริหารที่ลาออกในระหว่างปี 1 คน) เป็นจ�ำนวนเงิน 7,196,300.00 บาท ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

093


คณะกรรมการและผู้บริหารระดั บ สู ง

นายบั น เทิ ง ตั น ติ วิท

ประธานกรรมการ (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

22 เมษายน 2545

อายุ

70 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Science (Finance) in Management, Massachusetts Institute of Technology, U.S.A. • Bachelor of Science in Electrical Engineering, Massachusetts Institute of Technology, U.S.A. ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 25/2547

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2555 - 2557 2549 - 2555 2548 - 2556 2553 - 2554 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2549 - ปัจจุบัน 2544 - ปัจจุบัน 2532 - ปัจจุบัน ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2549 - ปัจจุบัน 2546 - ปัจจุบัน 2530 - ปัจจุบัน

094

รายงานประจำ �ปี 2557

• ประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษา บริษัท ดุสิตธานี จ�ำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษา บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จ�ำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค รีสอร์ท จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท แปลน เอสเตท จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท บี.วี. โฮลดิ้ง จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท ดีบุก จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยฟาร์มมิ่ง จ�ำกัด


นายศุ ภ เดช พูนพิพัฒน์

รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 กันยายน 2548

อายุ

64 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• Master of Science in Agricultural Economics, University of Wisconsin, U.S.A. • พาณิชยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 28/2555 • ประกาศนียบัตร Role of the Compensation Committee (RCC) รุน่ 15/2555 • ประกาศนียบัตร Financial Institutions Governance Program (FGP) รุน่ 4/2555 • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 8/2547 สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่น 8/2552 ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2555 - 2557 2554 - 2555 2546 - 2556 2553 - 2554 2543 - 2554 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2555 - ปัจจุบัน 2554 - ปัจจุบัน 2553 - ปัจจุบัน 2550 - ปัจจุบัน 2549 - ปัจจุบัน 2546 - ปัจจุบัน 2545 - ปัจจุบัน ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2557 - ปัจจุบัน 2554 - ปัจจุบัน 2550 - ปัจจุบัน 2549 - ปัจจุบัน 2548 - ปัจจุบัน 2546 - ปัจจุบัน

• รองประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษทั ธนชาตประกันชีวติ จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษา บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษทั ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ดี เอ็ม เอส พร็อพเพอร์ตีส์ อินเวสเม้นท์ จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท ไทย รอยัล ออคิด เรียล เอซเทท จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จ�ำกัด • กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษทั ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค รีสอร์ท จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท แปลน เอสเตท จ�ำกัด • กรรมการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จ�ำกัด

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

095


นายเกี ย รติ ศั ก ดิ์ มี้เจริญ

ประธานกรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระ) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

22 เมษายน 2545

อายุ

68 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Arts in Theoretical Economics, Keio University, Tokyo, Japan • Bachelor of Science in Finance, Hitotsubashi University, Kunitachi, Tokyo, Japan ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 40/2548 • ประกาศนียบัตร Audit Committee Program (ACP) รุ่น 10/2548 World Bank • ตลาดตราสารอนุพันธ์ (ปี 2538) Merrill Lynch, New York • Portfolio Investment (ปี 2537) JP Morgan, New York • การบริหารทุนส�ำรอง (ปี 2536) Harvard Institute for International Development, Harvard University • Banking and Monetary Policy in Developing Countries (ปี 2531) ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2543 - 2556 • กรรมการอิสระ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - 2554 • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2548 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ บริษัท ธารารมณ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จ�ำกัด (มหาชน) 2543 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ประกันคุ้มภัย จ�ำกัด (มหาชน)

096

รายงานประจำ �ปี 2557


นายณรงค์ จิวังกูร

ประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน (กรรมการอิสระ) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

22 เมษายน 2545

อายุ

70 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• Higher Diploma ธุรกิจและการตลาด Assumption Commercial College

ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร • ประกาศนียบัตร Anti-Corruption Executive Program (ACEP) รุ่น 3/2554 • ประกาศนียบัตร Role of the Nominations and Governance Committee (RNG) รุ่น 1/2554 • ประกาศนียบัตร Financial Institutions Governance Program (FGP) รุ่น 2/2554 • ประกาศนียบัตร Audit Committee Program (ACP) รุ่น 32/2553 • ประกาศนียบัตร Financial Statement for Directors (FSD) รุ่น 4/2552 • ประกาศนียบัตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) รุ่น 2/2551 • ประกาศนียบัตร Role of the Compensation Committee (RCC) รุน่ 4/2550 • ประกาศนียบัตร Chartered Director Class (CDC) รุ่น 1/2550 • ประกาศนียบัตร Corporate Social Responsibility (CSR) รุ่น 1/2550 • ประกาศนียบัตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 34/2546 • ประกาศนียบัตร Director Examination รุ่น 11/2546 Asian Institute of Management, Philippines • Management Development Program (ปี 2525) Rochester Institute of Technology, U.S.A. • Financial Management Program ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557 สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2553 - 2554 • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2547 - 2554 • กรรมการ บริษัท โมเมนตั้ม เซลส์ แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จ�ำกัด ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2548 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท โรงแรมเรือโบราณ จ�ำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท หม่อมไฉไล ดีเวลลอพเม้นท์ จ�ำกัด”) 2546 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท โมเมนตั้ม ไอเอ็ม จ�ำกัด 2543 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท โมเมนตั้ม บี บี เอส จ�ำกัด ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

097


นายสถาพร ชิ น ะจิ ตร

กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน (กรรมการอิสระ) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

19 กรกฎาคม 2550

อายุ

67 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Science (Econometrics), The London School of Economics and Political Science (University of London), England • Bachelor of Science (Economics) (Upper Second Class Honours), University College London, England • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร • ประกาศนียบัตร Anti-Corruption Executive Program (ACEP) รุ่น 4/2555 • ประกาศนียบัตร The Executive Director Course (EDC) รุ่น 1/2555 • ประกาศนียบัตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 24/2553 • ประกาศนียบัตร Role of the Compensation Committee (RCC) รุน่ 10/2553 • ประกาศนียบัตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) รุ่น 4/2552 • ประกาศนียบัตร Corporate Social Responsibility (CSR) รุ่น 1/2550 • ประกาศนียบัตร Chartered Director Class (CDC) รุ่น 1/2550 • ประกาศนียบัตร DCP Refresher Course รุ่น 2/2549 • ประกาศนียบัตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 0/2543 • สัมมนาการประชุมระดับชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 5 (Thailand’s 5th National Conference on Collective Action against Corruption) ภายใต้หัวข้อ “Tackling Corruption through Public-Private Collaboration” ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557 สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2553 - 2554 • กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2549 - 2554 • กรรมการวินจิ ฉัยข้อพิพาท สถาบันการใช้และเชือ่ มต่อโครงข่ายโทรคมนาคม กทช. 2542 - 2554 • นายทะเบียน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น ไม่มี

098

รายงานประจำ �ปี 2557


รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กรรมการตรวจสอบ (กรรมการอิสระ) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

26 มีนาคม 2552

อายุ

69 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Doctorado de Estado, Facultad de Ciencia Politica, Universidad Complutense de Madrid, Spain • Diplome d’Etudes Superieures, (Economic Integration), Universite de Nancy, France • Licenciatura, Facultad de Ciencia Politica y Economica, Universidad Complutense de Madrid, Spain • อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 34/2548

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2549 - 2556 • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษทั ซีฟโก้ จ�ำกัด (มหาชน) 2536 - 2556 • กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - 2554 • กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2556 - ปัจจุบัน • กรรมการ และประธานกรรมการ บริษัท ซีฟโก้ จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) 2540 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2540 - ปัจจุบัน • กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท กรุงเทพธนาคม จ�ำกัด • กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จ�ำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

099


นายอั ล แบรโต ฮารามิวโญ กรรมการ (กรรมการที่ ไม่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

27 กันยายน 2554

อายุ

43 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Business Administration, Universite de Montreal Ecole des Hautes Etudes Commerciales, Canada • Diploma of Business Administrator, Instituto Colombiano de Estudios Superiores de Incolda, Colombia ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

CFA Institute • Chartered Financial Analyst (CFA)

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2554 • กรรมการ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2548 - 2554 • Treasurer, the Bank of Nova Scotia Inverlat, Mexico ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2556 - ปัจจุบัน • Manager, Cga Arkad Investments Limited Liability Company 2554 - ปัจจุบัน • Director, The Bank of Nova Scotia Asia Limited, Singapore • Director, Scotiabank (Hong Kong) Limited, Hong Kong • Vice President and Regional Treasurer, The Bank of Nova Scotia, Pacific Regional Office, Hong Kong

100

รายงานประจำ �ปี 2557


นายร็ อ ด ไมเคิล เรโนลด์

กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน (กรรมการที่ ไม่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

15 มกราคม 2556

อายุ

57 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• Master of Business Administration, York University, Toronto, Canada • Bachelor of Science in Engineering, Queen’s University, Ontario, Canada

ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

Euromoney Training • Euromoney Asia Corporate Governance Program (ปี 2555)

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2552 - 2556 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2555 - ปัจจุบัน 2552 - ปัจจุบัน 2526 - ปัจจุบัน

• Director, Tulsa Inspection Resources Limited Liability Company ไม่มี • Director, C.H. Bailey Public Limited Company • Director, Logarithmics Limited • President, Asia Pacific, The Bank of Nova Scotia

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

101


นายกอบศั ก ดิ์ ดวงดี

กรรมการ (กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 เมษายน 2552

อายุ

58 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Business Administration, University of Tennessee, Knoxville, U.S.A. • บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร • ประกาศนียบัตร Chartered Director Class (CDC) รุ่น 7/2556 • ประกาศนียบัตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) รุ่น 19/2556 • ประกาศนียบัตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 155/2555 • ประกาศนียบัตร Financial Institutions Governance Program (FGP) รุ่น 2/2554 • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 73/2551 สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2555 - 2556 • กรรมการตรวจสอบ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 2552 - 2556 • กรรมการบริหาร ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 2551 - 2556 • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 2551 - 2556 • กรรมการ และกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • Vice President and Country Head, the Bank of Nova Scotia, Bangkok Representative Office 2553 - 2554 • กรรมการ และกรรมการบริหาร ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จ�ำกัด ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2557 - ปัจจุบัน • เลขาธิการ สมาคมธนาคารไทย 2554 - ปัจจุบัน • ผู้ช�ำระบัญชี บริษัท สคิบ จ�ำกัด (มหาชน)

102

รายงานประจำ �ปี 2557


นางสาวสุ ว รรณภา สุวรรณประทีป รองประธานกรรมการบริหาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

22 เมษายน 2545

อายุ

69 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• Bachelor of Economics, Monash University, Australia

ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 20/2547 Banker Trust, New York, U.S.A. • Certificate, Executive Commercial Lending Training Program

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2548 - 2556 • กรรมการ และกรรมการบริหาร บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - 2554 • กรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2549 - ปัจจุบัน • กรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร บริษทั ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2534 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

103


นายปี เ ตอร์ คลิ ฟ ฟอร์ด เบสซี่

รองประธานกรรมการบริหาร และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 กันยายน 2557

อายุ

54 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Bachelor of Business Administration, University of New Brunswick, Canada ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

Ivey Executive Program • Richard Ivey School of Business Investment Funds in Canada • Institute of Canadian Bankers Associate of the Institute of Canadian Bankers • Institute of Canadian Bankers

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2554 - 2557 • President and Chief Executive Officer, Scotiabank de Puerto Rico 2551 - 2554 • Senior Vice President, Retail and Small Business Banking Atlantic Region, Halifax, Nova Scotia, Canada ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2557 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) หมายเหตุ : ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร ครั้งที่ 6/2557 ได้มีมติอนุมัติการแต่งตั้งนายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ เป็นกรรมการธนาคาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทนนายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ซึ่งลาออกจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารของธนาคาร โดยมีผล ณ วันที่ 1 กันยายน 2557 ทั้งนี้ ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว

104

รายงานประจำ �ปี 2557


นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง

รองประธานกรรมการบริหาร และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

19 กรกฎาคม 2550

อายุ

51 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Business Administration in Finance & International Business, York University, Toronto, Canada • Bachelor of Arts in Business & Economics, York University, Toronto, Canada ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร

• The Fundamentals of Coaching Excellence • Moody’s Risk Analysis • Merchant Banking Introductory Course • Introduction to Investment Banking and Bond Structuring Queen’s University • Marketing Certificate, Executive Management Program The Institute of Canadian Bankers • Honours Diploma, General Management Scotiabank • Commercial Sales Leadership Program • International Commercial Banker Development Program • Leader-Coach Program • Strategic Selling Skills Course

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2556 - 2557 2555 - 2557 2555 - 2556 2554 - 2556 2553 - 2554 2547 - 2554 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ต�ำแหน่งในกิจการอื่น

• กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ The Bank of Nova Scotia Asia Limited, Singapore • กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ Scotia Netherlands Holdings B.V. • กรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ Scotiabank (Hong Kong) Limited, Hong Kong • กรรมการ Scotia Nominees (Hong Kong) Limited, Hong Kong ไม่มี ไม่มี

หมายเหตุ : นายเบรนดอน จอร์จ จอห์น คิง ลาออกจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารของธนาคาร มีผล ณ วันที่ 1 กันยายน 2557 โดยที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร ครั้งที่ 6/2557 ได้มีมติอนุมัติการแต่งตั้งนายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ เป็นกรรมการธนาคาร (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สืบแทน โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

105


นายสมเจตน์ หมู ่ ศิริเลิศ

กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (กรรมการที่เป็นผู้บริหาร) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

29 ตุลาคม 2552

อายุ

58 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• Master of Management สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • พาณิชยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรมที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที ่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และทักษะของการเป็นกรรมการและผู้บริหาร • ประกาศนียบัตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 5/2544 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ประกาศนียบัตร หลักสูตร TLCA Leadership Development Program (LDP) (ปี 2555) สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5/2550 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม • ประกาศนียบัตร หลักสูตรผูบ้ ริหารกระบวนการยุตธิ รรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุน่ ที่ 9/2548 ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557 สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2553 - 2557 • ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2552 - 2555 • กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2553 - 2554 • ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน นครหลวงไทย จ�ำกัด • ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด • ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จ�ำกัด • กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2552 - 2554 • รองประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย 2553 • กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) 2552 - 2553 • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการบริหาร สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2553 - ปัจจุบัน • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 2552 - ปัจจุบัน • กรรมการ และกรรมการบริหาร บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2557 - ปัจจุบัน • รองประธานกรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ คณะกรรมการอ�ำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556 - ปัจจุบัน • ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด • ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) 2554 - ปัจจุบัน • กรรมการ สมาคมธนาคารไทย • กรรมการ และอุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย • ประธานกรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด • ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด 2553 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด • กรรมการ และกรรมการบริหาร บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษา สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ 2552 - ปัจจุบัน • ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 106

รายงานประจำ �ปี 2557


นางนุ ส รา รุ นส�ำราญ

รองกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ 1 วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

22 เมษายน 2545

อายุ

57 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการอบรม

Harvard Business School • ประกาศนียบัตร หลักสูตร Advanced Management Program (AMP 168) สถาบันวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • ประกาศนียบัตร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.22) สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่น 7 (วตท.7) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร DCP Refresher Course รุ่น 4/2550 • ประกาศนียบัตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 19/2545

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2540 - 2557 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2540 - ปัจจุบัน

• กรรมการตรวจสอบ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) ไม่มี • กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ : นางนุสรา รุนส�ำราญ ลาออกจากการเป็นกรรมการตรวจสอบของบริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) โดยมีผล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

107


นายปิ ย ะพงศ์ อาจมังกร

รองกรรมการผู้จัดการ - บริหารการลงทุน วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 กันยายน 2548

อายุ

57 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Public Administration (Taxation), University of Southern California, U.S.A. • เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติการอบรม

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 8/2547 ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2549 - ปัจจุบัน 2541 - ปัจจุบัน ต�ำแหน่งในกิจการอื่น

108

รายงานประจำ �ปี 2557

ไม่มี • กรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) ไม่มี


นายอนุ วั ติ ร์ เหลืองทวีกุล

รองกรรมการผู้จัดการ - กลยุทธ์และการเงิน วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 มิถุนายน 2552

อายุ

51 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติการอบรม สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตร How to Measure the Success of Corporate Strategy (HMS) รุ่น 4/2014 • ประกาศนียบัตร Successful Formulation & Execution the Strategy (SFE) รุ่น 3/2552 • ประกาศนียบัตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 24/2545 • หลักสูตรความรับผิดชอบของกรรมการและผูบ้ ริหาร Board and Performance Evaluation สมาคมบริษัทเงินทุน • โครงการพัฒนาผู้บริหารบริษัทเงินทุน รุ่น 9/2537 ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557 สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2555 - ปัจจุบัน 2553 - ปัจจุบัน ต�ำแหน่งในกิจการอื่น

ไม่มี • กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน บริษทั ราชธานี ลิสซิง่ จ�ำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) ไม่มี

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

109


นายอาเจย์ ปราตาป มุนคาร์

รองกรรมการผู้จัดการ - ธุรกิจลูกค้ารายย่อย วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

23 มิถุนายน 2552

อายุ

50 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Business Administration, John M. Olin School of Business, Washington University, St. Louis, U.S.A. • Post Graduate Diploma in Financial Management, Symbiosis Institute of Business Management, Pune, India • Bachelor of Commerce (Accounting and Auditing), University of Pune, India ประวัติการอบรม

ไม่มี

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2548 - 2555 • Vice President, Retail Banking, Asia - Pacific Region, the Bank of Nova Scotia ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ไม่มี ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2555 - ปัจจุบัน • Senior Vice President, International Banking, the Bank of Nova Scotia

110

รายงานประจำ �ปี 2557


นายเอ้ ง ฮั ก นนทิการ

รองกรรมการผู้จัดการ - บริหารเงินและตลาดทุน

วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 มิถุนายน 2554

อายุ

58 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรม

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 25/2547 ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) • หลักสูตร “Anti Corruption for Executive” รุ่นที่ 1/2557

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2549 - 2554 • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2538 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งในกิจการอื่น 2556 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด 2557 - ปัจจุบัน • กรรมการและประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด • กรรมการสรรหา บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

111


นางภิ ต ติ ม าศ สงวนสุข

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - บัญชี วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

1 มกราคม 2557

อายุ

50 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา

• บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการอบรม

หลักสูตร IFRS Toronto แคนาดา

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2551 - 2556 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ต�ำแหน่งในกิจการอื่น

• Vice President ธนาคารซิตี้แบงก์ ไม่มี ไม่มี

นางธี ร นุ ช ขุ ม ทรั พย์

ผู้อ�ำนวยการอาวุโส - การเงิน วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

14 พฤศจิกายน 2555

อายุ

41 ปี

คุณวุฒิทางการศึกษา • Master of Business Administration, Smeal College of Business, Pennsylvania State University, University Park, U.S.A. • บัญชีบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติการอบรม

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 10/2547

สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคาร

ไม่ได้ถือหุ้น

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ท�ำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง 2553 - 2555 ต�ำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ต�ำแหน่งในกิจการอื่น

112

รายงานประจำ �ปี 2557

• ผูจ้ ดั การบริหารและวัดผล กลุม่ ลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) ไม่มี ไม่มี


ข้อ มู ล การด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการ ผู้บ ริ ห าร และผู ้ มี อ�ำนาจควบคุ ม ในบริ ษั ท แม่ บริ ษั ท ย่ อ ย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อ นายบันเทิง นายศุภเดช นายเกียรติศักดิ์ นายณรงค์ นายสถาพร รศ. ดร.สมชาย

ตันติวิท พูนพิพัฒน์ มี้เจริญ จิวังกูร ชินะจิตร ภคภาสน์วิวัฒน์

ธนาคารธนชาต จ�ำกั ด (มหาชน)

นายอัลแบรโต ฮารามิวโญ นายร็อด ไมเคิล เรโนลด์ นายกอบศักดิ์ ดวงดี นางสาวสุวรรณภา สุวรรณประทีป นายปีเตอร์ คลิฟฟอร์ด เบสซี่ นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ นางนุสรา รุนส�ำราญ นายปิยะพงศ์ อาจมังกร นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล นายอาเจย์ ปราตาป มุนคาร์ นายเอ้งฮัก นนทิการ นางภิตติมาศ สงวนสุข นางธีรนุช ขุมทรัพย์

TBANK

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

XXX

บริษัท แม่ 1

บริษัทย่อย 2

3

4

5

6

7

8

XXX

XX /// XX /// A

XXX ///

บริษัท ร่วม

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

9

10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46

XXX /// X XXX XXX X XX // X

X

X

X

X

X

X XXX /// X XXX X

X

X

X

X

X

XXX X

X

X

X

X // X //

X X

X

X

X

X

X X

X

X

F X

X

X F

H

X // C

E

E

E

E

X

X

X / B X / D XXX /// XXX /// XX // XXX

E

X

X

X

X/

X

X

G G

หมายเหตุ XXX ประธานกรรมการ A กรรมการผู้จัดการใหญ่ G ผู้อำ�นวยการอาวุโส

X

X

XX รองประธานกรรมการ B ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ H ผู้ชำ�ระบัญชี

X กรรมการ C รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

/// ประธานกรรมการบริหาร D รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

// รองประธานกรรมการบริหาร E รองกรรมการผู้จัดการ

/ กรรมการบริหาร F ผู้มีอำ�นาจจัดการ

F

X

X

X

113


รายชื่ อ บริ ษั ท แม่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง บริษัทแม่ 1. บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัทย่อย 2. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด 4. บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) 5. บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด

6. บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ธนชาต แมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด 8. บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด

บริษัทร่วม 9. บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัทที่เกี่ยวข้อง 10. บริษัท สยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จ�ำกัด 28. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) 11. บริษัท เอ็ม บี เค รีสอร์ท จ�ำกัด (มหาชน) 29. บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) 12. บริษัท แปลน เอสเตท จ�ำกัด 30. บริษัท กรุงเทพธนาคม จ�ำกัด 13. บริษัท สยามพิวรรธน์ จ�ำกัด 31. บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จ�ำกัด (มหาชน) 14. บริษัท บี.วี. โฮลดิ้ง จ�ำกัด 32. Cga Arkad Investments Limited Liability Company 15. บริษัท ดีบุก จ�ำกัด 33. The Bank of Nova Scotia Asia Limited, Singapore 16. บริษัท ไทยฟาร์มมิ่ง จ�ำกัด 34. Scotiabank (Hong Kong) Limited, Hong Kong 17. บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จ�ำกัด (มหาชน) 35. The Bank of Nova Scotia, Pacific Regional Office, Hong Kong 18. บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) 36. C.H. Bailey Public Company Limited 19. บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 37. Logarithmics Limited 20. บริษัท ดี เอ็ม เอส พร็อพเพอร์ตีส์ อินเวสเม้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) 38. Asia Pacific, The Bank of Nova Scotia 21. บริษัท ไทย รอยัล ออคิด เรียล เอซเทท จ�ำกัด 39. สมาคมธนาคารไทย 22. บริษัท ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จ�ำกัด (มหาชน) 40. บริษัท สคิบ จ�ำกัด (มหาชน) 23. บริษัท ประกันคุ้มภัย จ�ำกัด (มหาชน) 41. บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) 24. บริษัท โรงแรมเรือโบราณ จ�ำกัด 42. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เดิมชื่อ “บริษัท หม่อมไฉไล ดีเวลลอพเม้นท์ จ�ำกัด”) 43. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย 25. บริษัท โมเมนตั้ม ไอเอ็ม จ�ำกัด 44. The Bank of Nova Scotia 26. บริษัท โมเมนตั้ม บี บี เอส จ�ำกัด 45. บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จ�ำกัด (มหาชน) 27. บริษัท ซีฟโก้ จ�ำกัด (มหาชน) 46. บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด

114

รายงานประจำ �ปี 2557


ข้อมูลทั่วไป การลงทุ น ของธนาคารในบริษัทอื่น นิติบุคคลที่ธนาคารถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ประเภทธุรกิจ ประเภทหุ้น

จำ�นวนหุ้น ที่ออกจำ�หน่าย

จำ�นวนหุ้นที่ถือ

สัดส่วน การถือหุ้น1

ลำ�ดับ

ชื่อธุรกิจ/สถานที่ตั้ง

1.

บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเคทาวเวอร์ ชั้น 14, 18 และ 19 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8888, 0-2217-9595

หลักทรัพย์

สามัญ

2.

บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 999/1 เดอะไนน์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทรศัพท์ 0-2308-9300 โทรสาร 0-2308-9333

ประกันภัย

สามัญ

74,000,000

73,999,434

100.00

3.

บริษัท ธนชาต แมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด เลขที่ 2 ชั้น 2 อาคารส�ำนักงานธนชาต สวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ 4 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 0-2220-2222 ต่อ 1210 โทรสาร 0-2220-2520

บริการ

สามัญ

600,000

599,993

100.00

4.

บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด เลขที่ 2 ชั้น M อาคารสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ 4 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 0-2220-2222 โทรสาร 0-2220-2300

ให้บริการ ฝึกอบรม

สามัญ

500,000

499,993

100.00

5.

บริษัท ธนชาตกรุ๊ป ลีสซิ่ง จ�ำกัด เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000, 0-2613-6000 โทรสาร 0-2217-8098

เช่าซื้อ

สามัญ

36,000,000

35,999,994

100.00

6.

บริษัท เนชั่นแนล ลีซซิ่ง จ�ำกัด2 เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000

เช่าซื้อ

สามัญ

600,000

599,994

100.00

1,500,000,000 1,499,999,930

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

100.00

115


ลำ�ดับ

ชื่อธุรกิจ/สถานที่ตั้ง

7.

บริษัท สคิบ เซอร์วิส จ�ำกัด เลขที่ 1091/230 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2208-5787 โทรสาร 0-2253-4748

8. 9.

ประเภทธุรกิจ ประเภทหุ้น

จำ�นวนหุ้นที่ถือ

สัดส่วน การถือหุ้น1

สามัญ

100,000

99,998

100.00

บริษัท บริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด เลขที่ 1101 อาคารเพชรบุรี ชั้น 9 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2208-5000 โทรสาร 0-2253-6130

บริหารสินทรัพย์ สามัญ ด้อยคุณภาพ ของสถาบัน การเงิน

200,000,000

199,999,997

100.00

บริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด เลขที่ 333 อาคารธนชาต วงศ์สว่าง ชั้น 3 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 0-2685-0200 โทรสาร 0-2685-0333

นายหน้า สามัญ ประกันวินาศภัย

10,000,000

9,999,000

99.99

2,112,810,676 2,112,375,422

99.98

10. บริษัท สคิบ จ�ำกัด (มหาชน)3 เลขที่ 1101 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

บริการ

จำ�นวนหุ้น ที่ออกจำ�หน่าย

จ�ำหน่าย ทรัพย์สิน ของบริษัท

สามัญ

จัดการลงทุน

สามัญ

11.

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด เลขที่ 231 อาคารธนชาตปาร์คเพลส ชั้น 5 - 7 ถนนราชด�ำริห์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2126-8300 โทรสาร 0-2253-8455

12.

บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 77/35-36 อาคารสินสาธรทาวเวอร์ (ชั้น 11 UP) ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 โทรศัพท์ 0-2440-0844 โทรสาร 0-2440-0848

ลีสซิ่ง

สามัญ

13. บริษัท ทุนรวมการ จ�ำกัด3 เลขที่ 133/2 ซอยสุขุมวิท 21 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

อื่น ๆ

สามัญ

240,000

80,000

33.33

สื่อสาร และคมนาคม

สามัญ

7,000,000

1,633,800

23.34

14.

116

บริษัท สยาม มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด3 เลขที่ 18 อาคาร 2 เวสต์ ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ชั้น 17 - 22 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

รายงานประจำ�ปี 2557

10,000,000

7,499,993

75.00

2,013,522,778 1,312,459,500

65.18


ลำ�ดับ

ชื่อธุรกิจ/สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ ประเภทหุ้น

จำ�นวนหุ้น ที่ออกจำ�หน่าย

จำ�นวนหุ้นที่ถือ

สัดส่วน การถือหุ้น1

15. 16. 17.

บริษัท อุตสาหกรรมท่อสตีมเหล็กกล้า จ�ำกัด3 เลขที่ 36/4 หมู่ที่ 2 ซอยวัดมหาวงษ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ต�ำบลส�ำโรง อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130

ผลิตท่อเหล็ก รับจ้างผลิต ท่อเหล็ก ซื้อ-ขายวัสดุ

สามัญ

500,001

70,470

14.09

บริษัท เพื่อนพบแพทย์ จ�ำกัด3 เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเคทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2220-2222

สถานพยาบาล สามัญ

100,000

9,998

10.00

บริษัท คริสตัล ซิตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ จ�ำกัด เลขที่ 419 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

พัฒนา สามัญ อสังหาริมทรัพย์

750,000

75,000

10.00

18.

บริษัท เมโทรโพลิแท็น อินดัสเตรียล ลีสซิ่ง จ�ำกัด เลขที่ 81/42 หมู่ที่ 5 ต�ำบลสุรศักดิ์ อ�ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 0-3804-8052 โทรสาร 0-3804-8053

ลีสซิ่ง

สามัญ

5,000,000

500,000

10.00

19. 20. 21. 22.

บริษัท สหกลคัสซี จ�ำกัด เลขที่ 1418/6-8 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ยานพาหนะ- อุปกรณ์

สามัญ

45,000,000

4,500,000

10.00

บริษัท สยามไทร์คอร์ด จ�ำกัด สิ่งทอ เลขที่ 46/1 หมู่ที่ 9 ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 39 เครื่องนุ่งห่ม ต�ำบลบางวัว อ�ำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24180 โทรศัพท์ 0-3853-8403-5 โทรสาร 0-3853-8399

สามัญ

20,000

2,000

10.00

พัฒนา สามัญ อสังหาริมทรัพย์

13,000

1,300

10.00

สามัญ

3,500,000

350,000

10.00

สามัญ

13,000,000

1,300,000

10.00

24. บริษัท สยามซิตี้เรียลเอสเตท เซอร์วิสส์ จ�ำกัด3 พัฒนา สามัญ เลขที่ 62 อาคารธนิยะ ชั้น 1 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ อสังหาริมทรัพย์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

1,000,000

100,000

10.00

บริษัท ศูนย์วิจัย พัฒนาการ จ�ำกัด3 เลขที่ 1740 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 บริษัท โมดูลา แซมโก จ�ำกัด3 เลขที่ 155 หมู่ที่ 14 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ต�ำบลบางปะกง อ�ำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130

ของใช้ ในครัวเรือน

23. บริษัท สยาม-ยูโร ลิสซิ่ง จ�ำกัด3 เงินทุน เลขที่ 20/22 ซอยพร้อมมิตร ถนนสุขุมวิท และหลักทรัพย์ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

หมายเหตุ 1 ร้อยละการถือหุ้นแสดงนับรวมการถือหุ้นโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ธนาคารธนชาต จำ�กัด (มหาชน) ถือหุ้นทางอ้อมผ่านทางบริษัท ธนชาตกรุ๊ป ลีสซิ่ง จำ�กัด ซึ่งเป็นไปตามคำ�นิยามบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ 3 ถือหุ้นโดยธนาคารธนชาต จำ�กัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ระหว่างการชำ�ระบัญชี, เลิก, ล้มละลาย, ร้าง หรือพิทักษ์ทรัพย์ ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

117


ข้อมู ล อ้ า งอิ ง ของธนาคาร ที่ตั้งส�ำนักงานใหญ่

:

เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เลขทะเบียนบริษัท

:

0107536001401

ประเภทธุรกิจ

:

ธนาคารพาณิชย์

ทุนจดทะเบียน

:

99,136,649,030 บาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญ 9,913,664,903 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท

ทุนที่เรียกช�ำระแล้วทั้งหมด :

55,136,649,030 บาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญ 5,513,664,903 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท

เว็บไซต์

:

www.thanachartbank.co.th

โทรศัพท์

:

0-2217-8000

โทรสาร

:

0-2217-8333

ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์

:

1770

ข้อมู ล อ้ า งอิ ง ของบุคคลอ้างอิงอื่น นายทะเบียนหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เลขที่ 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 0-2229-2800  Call Center 0-2229-2888 โทรสาร 0-2359-1259 เว็บไซต์ www.tsd.co.th

หุ้นกู้ TBANK155A

ธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2299-1111 โทรสาร 0-2273-7806 เว็บไซต์ www.tmbbank.co.th

หุ้นกู้ TBANK204A

118

รายงานประจำ�ปี 2557

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 44 อาคารหลังสวน ชั้น 15 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2626-7503 โทรสาร 0-2633-9026 เว็บไซต์ www.cimbthai.com


หุ้นกู้ TBANK227A, TBANK22OA และ TBANK24DA

หุ้นกู้ Hybrid Tier I

ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) บริการธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ดูแลผลประโยชน์ เลขที่ 1101 อาคารเพชรบุรี ชั้น 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2208-5000 ต่อ 5017, 4519 โทรสาร 0-2651-7899, 0-2651-7915 เว็บไซต์ www.thanachartbank.co.th ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ปฏิบัติการตราสารหนี้และตราสารทุน เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเคทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000 ต่อ 3147 โทรสาร 0-2611-4839 เว็บไซต์ www.thanachartbank.co.th

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ : หุ้นกู้ TBANK155A, TBANK227A, และ TBANK22OA

ธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2299-1111 โทรสาร 0-2273-7806 เว็บไซต์ www.tmbbank.co.th

หุ้นกู้ TBANK204A

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 44 อาคารหลังสวน ชั้น 15 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2626-7503 โทรสาร 0-2633-9026 เว็บไซต์ www.cimbthai.com

หุ้นกู้ Hybrid Tier I และ TBANK24DA

- ไม่มี -

ผู้สอบบัญชี :

นางสาวรัตนา จาละ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3734 บริษัท ส�ำนักงาน อีวาย จ�ำกัด เลขที่ 193/136-137 อาคารเลครัชดา ชั้น 33 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 0-2264-0777 โทรสาร 0-2264-0789-90 เว็บไซต์ www.ey.com

ที่ปรึกษากฎหมาย :

- ไม่มี -

ที่ปรึกษาหรือผู้จัดการภายใต้สัญญาการจัดการ :

- ไม่มี -

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

119


บริษั ท ในกลุ ่ ม ธุ ร กิจทางการเงินธนชาต บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัท ธนชาตประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จ�ำกัด

บริษัท ธนชาตกรุ๊ป ลีสซิ่ง จ�ำกัด

เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 16 - 17 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8444, 0-2217-8000, 0-2611-9111 โทรสาร 0-2217-8312 www.thanachart.co.th ทะเบียนเลขที่ 0107536000510 เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000 โทรสาร 0-2217-8333 www.thanachartbank.co.th ทะเบียนเลขที่ 0107536001401 เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 14, 18 และ 19 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8888, 0-2611-9222, 0-2217-9595 โทรสาร 0-2217-9642 www.tnsitrade.com ทะเบียนเลขที่ 0107547000591 เลขที่ 231 อาคารธนชาตปาร์คเพลส ชั้น 5 - 7 ถนนราชด�ำริห์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2126-8300 โทรสาร 0-2253-8483 www.thanachartfund.co.th ทะเบียนเลขที่ 0105535049696

120

รายงานประจำ�ปี 2557

เลขที่ 999/1 เดอะไนน์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทรศัพท์ 0-2308-9300 โทรสาร 0-2308-9333 www.thanachartinsurance.co.th ทะเบียนเลขที่ 0107555000473

เลขที่ 231 อาคารธนชาตปาร์คเพลส ชั้น 9, 10 ถนนราชด�ำริห์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2525-5070 โทรสาร 0-2252-7155 www.scilife.co.th ทะเบียนเลขที่ 0105540057138

เลขที่ 77/35-36 อาคารสินสาธรทาวเวอร์ (ชั้น 11 UP) ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 โทรศัพท์ 0-2440-0844 โทรสาร 0-2440-0848 www.ratchthani.com ทะเบียนเลขที่ 0107545000209 เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000, 0-2613-6000 โทรสาร 0-2217-8098 เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105538045861


บริษัท เนชั่นแนล ลีซซิ่ง จ�ำกัด

บริษัท ธนชาต แมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด

บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที เอส จ�ำกัด

บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด

บริษัท ธนชาต โบรกเกอร์ จ�ำกัด

บริษัท สคิบ เซอร์วิส จ�ำกัด

เลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2217-8000 โทรสาร ไม่มี เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105532078407 เลขที่ 1101 อาคารเพชรบุรี ชั้น 9 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2208-5555 โทรสาร 0-2253-6130 www.thanachartnpa.com ทะเบียนเลขที่ 0105554031624 เลขที่ 333 อาคารธนชาต วงศ์สว่าง ชั้น 3 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 0-2685-0200 โทรสาร 0-2685-0333 เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105540075314

เลขที่ 2 อาคารส�ำนักงานธนชาต สวนมะลิ ชั้น 2 ถนนเฉลิมเขตต์ 4 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 0-2220-2222 โทรสาร 0-2220-2520 เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105533119077

เลขที่ 2 อาคารสวนมะลิ ชั้น M ถนนเฉลิมเขตต์ 4 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 0-2220-2222 โทรสาร 0-2220-2300 เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105550042966 เลขที่ 1091/230 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2208-5091-2 โทรสาร 0-2651-6611 เว็บไซต์ ไม่มี ทะเบียนเลขที่ 0105534009895

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

121


ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายเงิ น ปั น ผล ผู้ถือ หุ ้ น (1) รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ (ก) กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก จ�ำนวนหุ้นที่ถือและสัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 14 มีนาคม 2557 (วันปิดสมุดทะเบียน พักการโอนหุ้นครั้งล่าสุด) มีดังนี้ ล�ำดับ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11.

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่

บริษัท ทุนธนชาต จำ�กัด (มหาชน)1 Scotia Netherlands Holdings B.V.2 นายถุงเงิน พุ่มเงิน นางสาวกิตติมา โตเลี้ยง นายสถิตย์ มุจลินทังกูร นางสาวเพียงใจ หาญพาณิชย์ นายวันชัย จิราธิวัฒน์ นายฐณะวัฒน์ เจริญธรรศนนท์ นายพินิต เหล่าสุนทร นายสมยศ จิตติพลังศรี โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การทุนไทย จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นรายอื่น

จ�ำนวนหุ้น (หุ้น)

สัดส่วนการถือหุ้น (ร้อยละ)

2,809,726,575 2,701,627,557 418,462 157,525 110,327 96,665 84,809 70,000 63,569 60,000

50.959 48.999 0.008 0.003 0.002 0.002 0.002 0.001 0.001 0.001

1,249,414

0.023

ยอดรวมทุนช�ำระแล้ว

5,513,664,903

100.000

ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย

2,811,994,046

51.000

ผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าว

2,701,670,857

49.000

ที่มา : รายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2557 ซึ่งจัดท�ำโดย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด หมายเหตุ 1. ผู้ถือหุ้นล�ำดับที่ 1 (บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน)) ประกอบธุรกิจลงทุน (Holding Company) โดยได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ ดังนี้ 1) การลงทุน และให้สนิ เชือ่ แก่บริษทั ลูกในกลุม่ ธุรกิจทางการเงินธนชาต และ 2) การลงทุนในบริษทั อื่นใดอันมีผลท�ำให้บริษทั โฮลดิ้งมีอ�ำนาจควบคุมในบริษทั นั้นจะต้อง เป็นธุรกิจการเงินหรือสนับสนุนและต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”)

122

รายงานประจำ�ปี 2557


โดยมีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิสูงสุด 10 รายแรก ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2557 (วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นครั้งล่าสุด) ดังนี้

รายชื่อผู้ถือหุ้น

1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จ�ำกัด 2. บริษัท เอ็ม บี เค จ�ำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) 4. State Street Bank Europe Limited 5. Chase Nominees Limited 42 6. Nortrust Nominees Ltd. 7. State Street Bank and Trust Company 8. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล 9. The Bank of New York Mellon 10. นางสาวอตินุช ตันติวิท จ�ำนวนหุ้นที่เรียกช�ำระแล้ว

จ�ำนวนหุ้นสามัญ (หุ้น)

จ�ำนวนหุ้นบุริมสิทธิ (หุ้น)

จ�ำนวนหุ้นรวม (หุ้น)

สัดส่วนการถือหุ้น (ร้อยละ)

190,241,750 129,914,400 71,350,000 53,977,682 46,974,200 39,680,200

- - - - - -

190,241,750 129,914,400 71,350,000 53,977,682 46,974,200 39,680,200

14.888 10.167 5.584 4.224 3.676 3.105

34,877,269 22,522,900 17,998,555 15,866,272

- - - -

34,877,269 22,522,900 17,998,555 15,866,272

2.729 1.763 1.409 1.242

1,277,816,427

13,276

1,277,829,703

100.000

2. ผู้ถือหุ้นล�ำดับที่ 2 (Scotia Netherlands Holdings B.V.) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดย ธปท. อนุญาตให้สโกเทียแบงก์ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในธนาคาร โดยถือหุ้นร้อยละ 48.99 ของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคาร ผ่าน Scotia Netherlands Holdings B.V. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554

(ข) กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการก�ำหนดนโยบายการจัดการหรือการด�ำเนินงานของธนาคารอย่างมีนัย ส�ำคัญ ได้แก่ บริษัท ทุนธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ทุนธนชาต”) ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 50.959 ของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และ Scotia Netherlands Holdings B.V. ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 48.999 ของจ�ำนวนหุ้นที่จ�ำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ทุนธนชาตไม่มีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่โดย พฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการก�ำหนดนโยบายการจัดการ หรือการด�ำเนินงานของทุนธนชาต อย่างมีนัยส�ำคัญ

(2) ข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ (Shareholders’ Agreement)

ทุนธนชาตและสโกเทียแบงก์ ได้มขี อ้ ตกลงระหว่างผูถ้ อื หุน้ ในสัญญา Shareholders’ Agreement โดยมีขอ้ ตกลงส�ำคัญคือ การส่งผูแ้ ทน เข้าร่วมบริหารและจัดการในระดับกรรมการและผู้บริหารธนาคาร รวมถึงกรรรมการบริษัทย่อยที่ส�ำคัญ นอกจากนี้ การลงมติของคณะกรรมการ ธนาคารและที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่ส�ำคัญ จะเป็นไปตามที่ปรากฏในข้อบังคับของธนาคาร โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการบริหารจัดการ ธนาคารให้บรรลุเป้าหมายของผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่าย

นโยบายการจ่ายเงินปันผล นโยบายการจ่ายเงินปันผลของธนาคาร

ธนาคารมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อผลประกอบการของธนาคารมีก�ำไร โดยจะพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุน ในการรองรับธุรกิจของธนาคารและเงินส�ำรองตามกฎหมาย ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็น ครั้งคราว เมื่อเห็นว่าธนาคารมีก�ำไรพอสมควรที่จะท�ำเช่นนั้น และเมื่อจ่ายเงินปันผลแล้วจะรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราว ต่อไป

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

123


นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย

ธนาคารไม่ได้ก�ำหนดอัตราส่วนในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยให้แก่ธนาคารไว้แต่อย่างใด โดยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของ แต่ละบริษัท การจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย มีนโยบายจ่ายเงินปันผลเมื่อผลประกอบการของบริษัทมีกำ� ไร โดยจะพิจารณาถึงความเพียงพอของ เงินสดคงเหลือจากการด�ำเนินธุรกิจและเงินที่ต้องส�ำรองตามกฎหมาย ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ได้เป็นครั้งคราว เมื่อเห็นว่าบริษัทมีก�ำไรพอสมควรที่จะท�ำเช่นนั้น และเมื่อจ่ายเงินปันผลแล้วจะรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในคราวต่อไป

ข้อมูลการจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง

การจ่ายเงินปันผลของธนาคารในปีที่ผ่านมาได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 21 ประจ�ำปี 2557 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ซึ่งมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากก�ำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายในอัตราหุ้นละ 0.45 บาท คิดเป็นเงิน 2,481,149,206.35 บาท หรือร้อยละ 17.58 ของก�ำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะของธนาคาร (ในกรณีไม่รวมก�ำไรจากรายการพิเศษ สัดส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อก�ำไรสุทธิ คิดเป็นร้อยละ 32.17) ส�ำหรับการจ่ายเงินปันผลในช่วงปี 2551 - 2555 เป็นการจ่ายจากผลด�ำเนินงานในปีกอ่ นหน้า โดยมีตารางแสดงข้อมูลการจ่ายเงินปันผล ย้อนหลัง ดังนี้ จากผลการด�ำเนินงานของปี จ่ายในปี

ปี 2551 ปี 2552

ปี 2552 ปี 2553

ปี 2553 ปี 2554

ปี 2554 ปี 2555

ปี 2555 ปี 2556

อัตราก�ำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท)

0.75

1.91

1.25

1.21

1.24

อัตราเงินปันผลต่อหุ้น (บาท)

0.56

0.56

0.40

0.35

0.37

74.47

30.54

38.57

28.94

29.76

อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อก�ำไรสุทธิ (ร้อยละ)

124

รายงานประจำ�ปี 2557


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่ อ รายงานทางการเงิ น คณะกรรมการธนาคารเป็นผูร้ บั ผิดชอบต่องบการเงินเฉพาะกิจการ และงบการเงินรวมของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) และบริษทั ย่อย รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทางการเงินทีป่ รากฏในรายงานประจ�ำปี งบการเงินดังกล่าวจัดท�ำขึน้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยเลือกใช้นโยบายที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม�ำ่ เสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและประมาณการที่สมเหตุสมผลในการจัดท�ำ รวมทัง้ ให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลทีส่ ำ� คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพือ่ สะท้อนถึงฐานะการเงินและผลการด�ำเนินงานทีถ่ กู ต้อง โปร่งใส อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไป คณะกรรมการธนาคารได้จัดให้มีและด�ำรงไว้ซึ่งระบบบริหารความเสี่ยง และระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล เพื่อให้ มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่า ข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะด�ำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของธนาคาร โดยมีการป้องกัน ความเสี่ยงอย่างเพียงพอในทุกด้าน ตลอดจนเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการด�ำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระส�ำคัญ ในการนี้ คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการที่เป็นอิสระทั้งหมด และมีความรู้ ความสามารถทางการเงินและบัญชี เพื่อท�ำหน้าที่สอบทานนโยบายการบัญชีและดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงิน และสอบทานระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน ตลอดจนพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลรายการระหว่างกัน โดยความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในรายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงไว้ ในรายงานประจ�ำปีแล้ว งบการเงินเฉพาะกิจการ และงบการเงินรวมของธนาคารและบริษทั ย่อยได้รบั การตรวจสอบโดยผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาตจากบริษทั ส�ำนักงาน อีวาย จ�ำกัด ที่เป็นอิสระในการตรวจสอบ ทางคณะกรรมการธนาคารได้ ให้การสนับสนุนข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถ ตรวจสอบ และแสดงความเห็นได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี โดยความเห็นของผู้สอบบัญชีได้ปรากฏในรายงานของผู้สอบบัญชี ที่แสดงไว้ ในรายงานประจ�ำปีฉบับนี้ คณะกรรมการธนาคารมีความเห็นว่า ระบบการควบคุมภายในของธนาคารโดยรวมมีความเพียงพอและเหมาะสม และสามารถสร้าง ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลได้ว่า งบการเงินเฉพาะกิจการ และงบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อย ส�ำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีความเชื่อถือได้ โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(นายบันเทิง ตันติวิท) ประธานกรรมการ

(นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

125


รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ประกอบด้วยกรรมการ จ�ำนวน 3 คน ทุกคนเป็นกรรมการ อิสระ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชี การเงิน และมีประสบการณ์ ในสถาบันการเงินและองค์กรขนาดใหญ่ มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ 2. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ 3. นายสถาพร ชินะจิตร

ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ

โดยมีนางวิจิตรา ธรรมโพธิทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานตรวจสอบ ท�ำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งสอดคล้องกับข้อก�ำหนด ของส�ำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศของตลาดหลักทรัพย์ และ ธปท. ซึ่งได้ระบุไว้ ในกฎบัตรตามที่คณะกรรมการธนาคารก�ำหนด ในรอบปี 2557 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบได้จัดให้มีการประชุมร่วมกับฝ่ายจัดการ ผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สอบบัญชีตามก�ำหนดวาระ รวม 12 ครั้ง เพื่อรับทราบและพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปดังนี้ • รายงานทางการเงิน สอบทานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจ�ำปี และงบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อย โดยหารือร่วมกับผู้สอบบัญชี และผู้บริหารสายกลยุทธ์และการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่างบการเงินจัดท� ำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอ ครบถ้วนและเชื่อถือได้ รวมถึงพิจารณานโยบายการบัญชีและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการประชุม กับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุม เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่และการแสดงความเห็นของ ผู้สอบบัญชี • การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน สอบทานให้ธนาคารมีระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ทีเ่ พียงพอ โดยได้หารือกับผูต้ รวจสอบภายใน ในการวางแผนและอนุมตั แิ ผนการตรวจสอบประจ�ำปี พิจารณาความเพียงพอ ความเหมาะสมของ บุคลากรและความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานทุกเดือน รวมถึงประเมินความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ เพื่อพัฒนาความรู้และประสิทธิภาพในการตรวจสอบ พิจารณารายงานผลการตรวจสอบของ ธปท. และผู้สอบบัญชี เพื่อประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน • การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ สอบทานการปฏิบัติงานของธนาคาร เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของทางการ เช่น ส�ำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และ ธปท. เป็นต้น และรับทราบผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของธนาคาร โดยมีการก�ำกับให้มีการปรับปรุง แก้ไข และติดตามผลอย่างใกล้ชิด

126

รายงานประจำ�ปี 2557


• การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้ ให้ความส�ำคัญกับการบริหารความเสี่ยงเป็นพิเศษ ทั้งนี้ เพราะตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยส�ำคัญต่อแนวทางการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร โดยได้มีการประชุมร่วมกับ ผู้บริหารกลุ่มบริหารความเสี่ยงรับทราบรายงานการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร มีการก�ำกับดูแลอย่างเหมาะสมเพียงพอและมีประสิทธิภาพ • กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และอนุมัติการปรับปรุงกฎบัตรของสายงานตรวจสอบ เพื่อให้เป็น ปัจจุบนั และเหมาะสม และการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบโดยรวม ซึง่ ผลจากการประเมิน พบว่า กรรมการตรวจสอบ มีการปฏิบตั ติ ามทีไ่ ด้กำ� หนดไว้ ในกฎบัตร และมีผลการปฏิบตั งิ านทีส่ อดคล้องกับแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ ี อันมีสว่ นช่วยเสริมสร้างการก�ำกับดูแลกิจการ ที่ดีได้อย่างมีประสิทธิผล • ผู้สอบบัญชี พิจารณาคัดเลือกและให้ขอ้ เสนอแนะในการแต่งตัง้ ผูส้ อบบัญชีของธนาคาร โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเป็นอิสระ และคุณภาพงานที่ผ่านมา และค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีที่เหมาะสมกับขอบเขตความรับผิดชอบ โดยเสนอต่อคณะกรรมการ ธนาคาร เพื่อน�ำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและอนุมัติค่าตอบแทนการสอบบัญชี • รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยยึดหลักความสมเหตุสมผล ความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงาน ก่อนน�ำเสนอคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบอย่างเป็นอิสระ และแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงสุด ของธนาคาร โดยไม่มีข้อจ�ำกัดในการได้รับข้อมูล และความร่วมมือจากธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายงานทางการเงิน จัดท�ำอย่างถูกต้อง และมีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินทีเ่ พียงพอ เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุม ภายในและการตรวจสอบภายในมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีระบบการบริหารความเสีย่ งทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีการก�ำกับดูแลการปฏิบตั งิ าน ให้ถกู ต้องตามกฎหมายและข้อก�ำหนดของทางการอย่างเคร่งครัด ผูส้ อบบัญชีภายนอกมีความเป็นอิสระในการปฏิบตั หิ น้าที่ รายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีความสมเหตุสมผลและเป็นปกติทางธุรกิจ รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ

(นายเกียรติศักดิ์ มี้เจริญ) ประธานกรรมการตรวจสอบ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

127


รายงานของผู้สอบบัญชีรับ อนุ ญ าต

เสนอต่อผู้ถือหุ้นของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่วนของเจ้าของรวมและงบกระแสเงินสดรวมส�ำหรับ ปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่ส�ำคัญและหมายเหตุเรื่องอื่น ๆ และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการ ของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน ผูบ้ ริหารเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการจัดท�ำและการน�ำเสนองบการเงินเหล่านีโ้ ดยถูกต้องตามทีค่ วรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและ รับผิดชอบเกีย่ วกับการควบคุมภายในทีผ่ บู้ ริหารพิจารณาว่าจ�ำเป็นเพือ่ ให้สามารถจัดท�ำ งบการเงินทีป่ ราศจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระส�ำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งก�ำหนดให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อก�ำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระส�ำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจ� ำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงิน วิธกี ารตรวจสอบทีเ่ ลือกใช้ขนึ้ อยูก่ บั ดุลยพินจิ ของผูส้ อบบัญชี ซึง่ รวมถึงการประเมินความเสีย่ งจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระส�ำคัญของงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการ ควบคุมภายในทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดท�ำและการน�ำเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามทีค่ วรของกิจการ เพือ่ ออกแบบวิธกี ารตรวจสอบทีเ่ หมาะสมกับ สถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพือ่ วัตถุประสงค์ ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวมถึงการประเมิน ความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดท�ำขึ้นโดยผูบ้ ริหาร รวมทั้งการประเมิน การน�ำเสนองบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ผลการด�ำเนินงานและกระแสเงินสดส�ำหรับ ปีสิ้นสุดวันเดียวกันของธนาคารธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของธนาคาร ธนชาต จ�ำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควร ในสาระส�ำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

รัตนา จาละ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3734

บริษัท ส�ำนักงาน อีวาย จ�ำกัด กรุงเทพฯ: 19 กุมภาพันธ์ 2558 128

รายงานประจำ�ปี 2557


งบแสดงฐานะการเงิน ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ สินทรัพย เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงินสุทธิ สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุนสุทธิ เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมสุทธิ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ ดอกเบี้ยคางรับ รวมเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ หัก: รายไดรอตัดบัญชี คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คาเผื่อการปรับมูลคาจากการปรับโครงสรางหนี้ รวมเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับสุทธิ ภาระของลูกคาจากการรับรอง ทรัพยสินรอการขายสุทธิ ที่ดิน อาคารและอุปกรณสุทธิ สินทรัพยไมมีตัวตนสุทธิ คาความนิยม สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่นสุทธิ รวมสินทรัพย

7 8 9 10 11

12 13

15 16 17 18 19

(หนวย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

งบการเงินรวม 2557 2556 16,605,352 65,433,187 4,389,463 149,609,222 1,918,613

17,940,109 69,697,056 3,913,805 138,825,014 1,834,705

16,597,864 65,337,960 4,389,151 141,201,680 8,744,086

17,938,627 66,094,560 3,913,805 125,874,271 9,505,400

810,155,154 852,017,050 779,184 1,009,123 810,934,338 853,026,173 (55,784,767) (61,999,696) (27,697,055) (29,782,135) (103,222) (301,192) 727,349,294 760,943,150 48,217 30,330 6,506,713 6,291,062 8,037,212 7,933,859 3,416,723 3,843,023 17,951,311 17,951,311 669,724 641,319 1,837,410 1,645,667 5,220,685 6,755,155 1,008,889,773 1,038,348,918

766,482,713 768,957 767,251,670 (52,046,434) (20,150,090) (103,222) 694,951,924 48,217 3,303,563 7,716,145 3,345,112 17,941,195 3,639,544 967,216,441

808,369,873 984,900 809,354,773 (57,875,923) (21,208,072) (301,192) 729,969,586 30,330 2,996,742 7,787,388 3,782,061 17,941,195 4,890,485 990,724,450

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

129


งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน (ตอ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ หนี้สินและสวนของเจาของ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม ภาระของธนาคารจากการรับรอง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย ดอกเบี้ยคางจาย คาใชจายคางจาย หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต หนี้สินอื่น รวมหนี้สิน สวนของเจาของ ทุนเรือนหุน ทุนจดทะเบียน หุนสามัญ 9,913,664,903 หุน มูลคาหุนละ 10 บาท (2556: หุนสามัญ 7,526,664,903 หุน มูลคาหุนละ 10 บาท) ทุนที่ออกและชําระแลว หุนสามัญ 5,513,664,903 หุน มูลคาหุนละ 10 บาท สวนเกินมูลคาหุนสามัญ องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ กําไรสะสม จัดสรรแลว - สํารองตามกฎหมาย ยังไมไดจัดสรร รวมสวนของบริษัทใหญ สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม รวมสวนของเจาของ รวมหนี้สินและสวนของเจาของ หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้ 130 รายงานประจำ�ปี 2557

20 21 8 22 23 18

24 25

งบการเงินรวม 2557 2556

(หนวย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

696,991,623 80,269,859 1,655,382 5,200,037 90,197,820 48,217 2,799,773 1,648,912 1,519,696 4,044,708 5,132,140 4,697,524 8,519,773 902,725,464

719,079,168 81,082,186 3,218,667 5,701,330 92,228,946 30,330 3,145,644 1,719,634 1,294,515 4,405,614 5,312,605 15,019,053 8,871,596 941,109,288

699,734,913 73,147,491 1,655,382 5,196,987 73,843,320 48,217 2,602,932 1,619,517 100,286 3,953,424 4,441,714 5,269,917 871,614,100

722,262,165 74,449,007 3,218,667 5,697,046 76,923,346 30,330 2,960,190 1,594,806 1,426 4,317,213 4,645,020 5,472,579 901,571,795

99,136,649

75,266,649

99,136,649

75,266,649

55,136,649 2,100,694 2,119,277

55,136,649 2,100,694 801,131

55,136,649 2,100,694 1,358,085

55,136,649 2,100,694 345,109

2,431,076 43,189,338 104,977,034 1,187,275 106,164,309 1,008,889,773 -

2,035,183 36,144,439 96,218,096 1,021,534 97,239,630 1,038,348,918 -

2,431,076 34,575,837 95,602,341 95,602,341 967,216,441 -

2,035,183 29,535,020 89,152,655 89,152,655 990,724,450 -

26

27 28


งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ กําไรหรือขาดทุน การดําเนินงานตอเนื่อง รายไดดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดคาธรรมเนียมและบริการ คาใชจายคาธรรมเนียมและบริการ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ กําไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อคา และปริวรรตเงินตราตางประเทศ กําไรสุทธิจากเงินลงทุน สวนแบงกําไรจากเงินลงทุนตามวิธีสวนไดเสีย รายไดจากการรับประกันภัย/ประกันชีวิต รายไดเงินปนผล รายไดคาบริการงานสนับสนุน รายไดจากการดําเนินงานอื่น ๆ รวมรายไดจากการดําเนินงาน คาใชจายในการรับประกันภัย/ประกันชีวิต รายไดจากการดําเนินงานสุทธิ คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายเกี่ยวกับพนักงาน คาตอบแทนกรรมการ คาใชจายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ คาภาษีอากร คาใชจายอื่น รวมคาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานตอเนื่อง การดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก รวมกําไรสําหรับป

31 32

33 34 35

36

37 18.2

47

(หนวย: พันบาท ยกเวนกําไรตอหุนแสดงเปนบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556

52,445,053 (24,883,731) 27,561,322 8,692,928 (2,766,261) 5,926,667

53,879,419 (27,290,412) 26,589,007 8,792,593 (2,677,616) 6,114,977

49,101,807 (23,919,715) 25,182,092 6,525,537 (2,533,214) 3,992,323

50,541,614 (26,488,525) 24,053,089 6,431,696 (2,460,219) 3,971,477

859,064 768,817 151,673 5,942,135 305,093 19,192 1,628,601 43,162,564 (3,851,623) 39,310,941

530,998 13,081,096 414,865 6,723,971 562,493 41,958 1,564,494 55,623,859 (4,441,553) 51,182,306

641,399 755,350 1,579,407 303,566 1,370,634 33,824,771 33,824,771

685,131 13,884,505 1,856,613 314,217 1,367,144 46,132,176 46,132,176

10,779,620 42,968 2,928,154 849,429 4,915,120 19,515,291 7,121,698 12,673,952 (2,478,681) 10,195,271

10,465,936 37,612 3,012,758 888,789 6,002,804 20,407,899 11,496,664 19,277,743 (4,030,938) 15,246,805

9,074,437 34,044 2,619,721 812,424 4,488,006 17,028,632 7,180,931 9,615,208 (1,697,349) 7,917,859

8,767,883 28,942 2,698,223 839,475 5,357,593 17,692,116 11,110,018 17,330,042 (3,216,709) 14,113,333

10,195,271

354,241 15,601,046

7,917,859

14,113,333

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้ ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

131


งบก�ำ ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่ อ ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ตอ) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การดําเนินงานตอเนื่อง กําไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผื่อขาย สวนแบงกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม (ขาดทุน) ภาษีเงินไดเกี่ยวกับองคประกอบของ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากการดําเนินงานตอเนื่อง (ขาดทุน) การดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากการดําเนินงานที่ยกเลิก (ขาดทุน) รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ขาดทุน)

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม การแบงปนกําไร สวนที่เปนของธนาคารฯ กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรสําหรับปสวนที่เปนของธนาคารฯ สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรสําหรับปสวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

132

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: พันบาท ยกเวนกําไรตอหุนแสดงเปนบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556

38 1,596,881 44,322

(394,390) (53,490)

1,266,220 -

(528,033) -

18.2

(323,057) 1,318,146

110,077 (337,803)

(253,244) 1,012,976

106,455 (421,578)

47

1,318,146

(118,862) (456,665)

1,012,976

(421,578)

11,513,417 11,513,417

14,909,002 235,379 15,144,381

8,930,835 8,930,835

13,691,755 13,691,755

9,921,941 9,921,941

15,030,648 354,241 15,384,889

7,917,859 7,917,859

14,113,333 14,113,333

273,330 273,330 10,195,271

216,157 216,157 15,601,046


งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่ อ ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ตอ) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ การแบงปนกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม สวนที่เปนของธนาคารฯ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสวนที่เปนของธนาคารฯ สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสวนที่เปนของ สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไรตอหุนของผูถือหุนธนาคารฯ กําไรตอหุนขั้นพื้นฐาน (บาทตอหุน) สวนที่เปนของธนาคารฯ กําไรจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรจากการดําเนินงานที่ยกเลิก

(หนวย: พันบาท ยกเวนกําไรตอหุนแสดงเปนบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556

11,240,087 11,240,087

14,692,845 235,379 14,928,224

273,330 -

216,157 -

273,330 11,513,417

216,157 15,144,381

1.80 1.80

2.73 0.06 2.79

8,930,835 8,930,835

13,691,755 13,691,755

1.44 1.44

2.56 2.56

39

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

133


134

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ ว นของเจ้ า ของ

รายงานประจำ�ปี 2557

ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (หนวย: พันบาท)

ทุนที่ออก และชําระแลว

งบการเงินรวม องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ จํานวนที่รับรูใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สวนเกินทุน สวนแบง และสะสมในสวนของ กําไรสะสม สวนเกินทุน จากการ กําไรขาดทุน เจาของที่เกี่ยวของ จากการรวมธุรกิจ เปลี่ยนแปลง เบ็ดเสร็จอื่นใน กับสินทรัพยที่จัด จัดสรรแลว สวนเกิน ภายใตการควบ มูลคา บริษัทรวม ประเภทเปนสินทรัพย สํารอง มูลคาหุนสามัญ คุมเดียวกัน เงินลงทุนสุทธิ (ขาดทุน) ที่ถือไวเพื่อขาย ตามกฎหมาย ยังไมไดจัดสรร

สวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจ ควบคุม

รวม

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 เงินปนผลจาย (หมายเหตุ 30) สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมของบริษัทยอยลดลง จัดสรรสํารองตามกฎหมาย (หมายเหตุ 28) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับป (ขาดทุน) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556

55,136,649 55,136,649

2,100,694 2,100,694

(123,379) (123,379)

1,040,192 (289,634) 750,558

222,121 (48,169) 173,952

118,862 (118,862) -

1,329,516 705,667 2,035,183

23,505,273 (2,040,056) (705,667) 15,384,889 36,144,439

855,757 (50,380) 216,157 1,021,534

84,185,685 (2,040,056) (50,380) 15,144,381 97,239,630

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 เงินปนผลจาย (หมายเหตุ 30) สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมของบริษัทยอยลดลง จัดสรรสํารองตามกฎหมาย (หมายเหตุ 28) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับป ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

55,136,649 55,136,649 -

2,100,694 2,100,694 -

(123,379) (123,379)

750,558 1,278,256 2,028,814

173,952 39,890 213,842

-

2,035,183 395,893 2,431,076

36,144,439 (2,481,149) (395,893) 9,921,941 43,189,338

1,021,534 (107,589) 273,330 1,187,275

97,239,630 (2,481,149) (107,589) 11,513,417 106,164,309

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้


งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่ ว นของเจ้ า ของ (ต่ อ ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของ (ตอ) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (หนวย: พันบาท)

ทุนที่ออก และชําระแลว

สวนเกิน มูลคาหุนสามัญ

งบการเงินเฉพาะกิจการ องคประกอบอื่นของ กําไรสะสม สวนของเจาของ สวนเกินทุน จัดสรรแลว จากการเปลี่ยนแปลง สํารอง มูลคาเงินลงทุนสุทธิ ตามกฎหมาย ยังไมไดจัดสรร

รวม

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 เงินปนผลจาย (หมายเหตุ 30) จัดสรรสํารองตามกฎหมาย (หมายเหตุ 28) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับป (ขาดทุน) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556

55,136,649 55,136,649

2,100,694 2,100,694

766,687 (421,578) 345,109

1,329,516 705,667 2,035,183

18,167,410 (2,040,056) (705,667) 14,113,333 29,535,020

77,500,956 (2,040,056) 13,691,755 89,152,655

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 เงินปนผลจาย (หมายเหตุ 30) จัดสรรสํารองตามกฎหมาย (หมายเหตุ 28) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับป ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

55,136,649 55,136,649 -

2,100,694 2,100,694 -

345,109 1,012,976 1,358,085 -

2,035,183 395,893 2,431,076 -

29,535,020 (2,481,149) (395,893) 7,917,859 34,575,837 -

89,152,655 (2,481,149) 8,930,835 95,602,341 -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

135


งบกระแสเงินสด ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกระแสเงินสด สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบการเงินรวม 2557 2556 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กําไรกอนภาษีเงินไดจากการดําเนินงานตอเนื่อง กําไรกอนภาษีเงินไดจากการดําเนินที่ยกเลิก กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได รายการปรับกระทบกําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได เปนเงินสดรับ (จาย) จากกิจกรรมดําเนินงาน สวนแบงกําไรจากเงินลงทุนตามวิธีสวนไดเสีย คาเสื่อมราคาและรายจายตัดบัญชี หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา ประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้น ตัดจําหนายสวนเกิน (สวนต่ํา) มูลคาตราสารหนี้ คาเผื่อการดอยคาเงินลงทุนเพิ่มขึ้น (ลดลง) กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนในบริษัทยอย คาเผื่อการปรับมูลคาเงินลงทุน (เพิ่มขึ้น) ลดลง คาเผื่อการดอยคาของทรัพยสินรอการขายเพิ่มขึ้น (ลดลง) คาเผื่อการดอยคาของที่ดิน อาคารและอุปกรณเพิ่มขึ้น คาเผื่อการดอยคาของสินทรัพยไมมีตัวตนเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยรับและรายไดอื่น ๆ จากการโอนสินทรัพยชําระหนี้ ขาดทุน (กําไร) จากการจําหนายอุปกรณ ขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพยไมมีตัวตน กําไรที่ยังไมเกิดขึ้นจากการแปลงคาเงินตราตางประเทศ คาเผื่อการดอยคาของสินทรัพยอื่นเพิ่มขึ้น (ลดลง) รายไดคางรับอื่น (เพิ่มขึ้น) ลดลง คาธรรมเนียมและรายไดคาเชารับลวงหนาลดลง รายไดรอตัดบัญชีตัดจายลดลง คาใชจายคางจายเพิ่มขึ้น (ลดลง) ตัดจําหนายสวนลดจายเงินกูยืม รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดเงินปนผล เงินสดรับจากดอกเบี้ย เงินสดจายดอกเบี้ย เงินสดจายภาษีเงินไดนิติบุคคล เงินสดรับจากภาษีเงินไดนิติบุคคลที่ไดรับคืน กําไรจากการดําเนินงานกอนการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพยและหนี้สินดําเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

136

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

12,673,952 12,673,952

19,277,743 443,187 19,720,930

9,615,208 9,615,208

17,330,042 17,330,042

(151,673) 1,434,956 7,121,698 319,358 23,859 58,308 (65,250) (5,350) (23,321) (8,417) 1,883 (84,656) (95,918) (51,822) (419,474) (49,853) (141,102) 20,537,178 (27,602,022) (305,093) 48,248,280 (21,107,521) (2,853,054) -

(414,865) 1,473,165 11,496,664 762,764 (23,912) (32,424) (12,216,258) 186,482 127,294 336 2,800 (19,517) (28,054) 31,105 (316,185) 185,381 (101,431) (84,471) (65,943) 312,380 136 20,996,377 (26,664,934) (562,494) 51,488,456 (22,539,380) (3,948,945) 1,013,929

1,356,211 7,180,931 290,255 13,018 58,294 (125,855) (7,884) (63,911) (8,417) 5,077 (84,656) 19,358 43,971 (419,474) (49,853) (163,942) 17,658,331 (25,195,110) (1,579,407) 45,275,994 (20,924,398) (1,917,694) -

1,396,170 11,110,018 740,650 (3,517) (32,467) (13,127,841) 5,242 111,257 336 2,800 (19,517) (23,478) 31,105 (316,185) 41,015 (310,147) (84,471) (65,943) 126,861 136 16,912,066 (24,056,691) (1,856,613) 47,067,033 (22,369,507) (3,001,193) 1,012,539

16,917,768

19,783,009

13,317,716

13,707,634


งบกระแสเงินสด (ต่อ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกระแสเงินสด (ตอ) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (หนวย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

งบการเงินรวม 2557 2556 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน (ตอ) สินทรัพยดําเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพยเพื่อคา สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ ทรัพยสินรอการขาย ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น หนี้สินดําเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต หนี้สินอื่น เงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพยเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น เงินสดรับจากการขายบริษัทยอย เงินสดรับคืนทุนจากบริษัทยอย เงินสดรับจากดอกเบี้ยของเงินลงทุน เงินสดรับปนผล เงินสดจายซื้ออุปกรณ เงินสดรับจากการขายอุปกรณ เงินสดจายซื้อสินทรัพยไมมีตัวตน เงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมลงทุน

4,187,096 (6,570,502) (335,954) 18,107,063 8,087,994 (191,743) 1,430,678

103,663 1,631,837 231,539 (49,924,503) 8,259,441 457,046 2,515,979

750,798 (4,330,243) (335,642) 20,213,818 7,479,072 1,085,275

136,317 642,729 231,542 (38,951,075) 8,040,643 3,069 1,812,330

(22,087,545) (962,575) (1,563,285) (603,470) 225,181 (208,845) (274,222) 16,157,639

20,706,976 (7,830,778) (1,770,547) 668,870 (1,579,019) (1,976,692) (802,845) (9,526,024)

(22,527,252) (1,451,764) (1,563,285) (602,236) 98,860 (261,191) 11,873,926

20,980,434 (8,284,957) (1,770,547) 668,801 (9,839) (1,786,472) (4,579,391)

(13,325,918) 898,164 4,400,034 416,492 (829,353) 19,398 (267,948) (8,689,131)

(17,843,236) 18,366,774 4,118,650 665,984 (559,490) 48,663 (302,407) 4,494,938

(9,783,090) 887,170 4,031,922 1,579,407 (748,327) 9,185 (222,618) (4,246,351)

(19,019,449) 18,351,714 528,094 3,555,877 1,857,417 (512,192) 36,952 (290,615) 4,507,798

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

137


งบกระแสเงินสด (ต่อ) ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบกระแสเงินสด (ตอ) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบการเงินรวม 2557 2556 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดรับจากการกูยืม เงินสดจายคืนเงินกูยืม เงินสดจายดอกเบี้ยเงินกูยืม จายเงินปนผล จายเงินปนผลแกสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม เงินสดจายคืนทุนสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม เงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสด ณ วันตนป เงินสด ณ วันปลายป ขอมูลเพิ่มเติมประกอบกระแสเงินสด รายการที่มิใชเงินสด รับโอนทรัพยสินรอการขายจากลูกหนี้เพื่อชําระหนี้ รับโอนเงินลงทุนจากลูกหนี้เพื่อชําระหนี้ เจาหนี้จากการซื้อทรัพยสิน หนี้สูญตัดบัญชี/ลดหนี้จากการปรับโครงสราง หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้

138

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

96,595,899 (98,627,025) (4,183,402) (2,481,149) (107,588) (8,803,265) (1,334,757) 17,940,109 16,605,352 -

91,100,065 (77,019,814) (4,200,033) (2,040,056) (50,260) (109) 7,789,793 2,758,707 15,181,402 17,940,109 -

93,245,000 (96,325,026) (3,407,163) (2,481,149) (8,968,338) (1,340,763) 17,938,627 16,597,864 -

84,420,465 (75,892,814) (3,657,603) (2,040,056) 2,829,992 2,758,399 15,180,228 17,938,627 -

8,235,478 2,654 98,757 7,547,159

8,113,273 285,919 5,370,212

7,678,058 93,148 7,432,118

7,875,336 229,737 5,032,987


หมายเหตุประกอบงบการเงิ น รวม ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 1.

ขอมูลทั่วไป ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) (“ธนาคารธนชาต” หรือ “ธนาคารฯ”) จัดตั้งขึ้นเปนบริษัทมหาชนจํากัดตาม กฎหมายไทย และมีบริษัท ทุนธนชาต จํากัด (มหาชน) ซึ่งเปนบริษัทมหาชนจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศ ไทยเปนบริษัทใหญ (ซึ่งตอไปเรียกวา “บริษัทใหญ”) โดยถือหุนในอัตรารอยละ 50.96 ของทุนจดทะเบียน ชําระแลว และมี Scotia Netherlands Holdings B.V. ซึ่งจดทะเบียนในประเทศเนเธอรแลนด ถือหุนในธนาคารฯ ในอัตรารอยละ 49.00 ธนาคารฯมีที่อยูที่จดทะเบียนตั้งอยูเลขที่ 444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร ถนนพญาไท แขวง วังใหม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ และมีสาขาจํานวน 617 สาขา (2556: 621 สาขา) บริษัทยอยทั้งหมดจัดตั้งเปนบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายไทยและประกอบกิจการใน ประเทศไทย โดยดําเนินธุรกิจหลักทางดานธุรกิจบริหารสินทรัพยดอยคุณภาพ ธุรกิจหลักทรัพย ธุรกิจใหเชา สินทรัพยแบบลีสซิ่งและเชาซื้อ ธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจการจัดการกองทุน และอื่น ๆ

2.

เกณฑในการจัดทํางบการเงิน

2.1 งบการเงินนี้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และอางอิงตามหลักเกณฑที่กําหนดโดยธนาคารแหงประเทศไทย (“ธปท.”) และการแสดงรายการในงบการเงิน ไดทําขึ้นเพื่อใหเปนไปตามขอกําหนดของประกาศ ธปท. เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของ ธนาคารพาณิชยและบริษัทโฮลดิ้งที่เปนบริษัทแมของกลุมธุรกิจทางการเงินลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 งบการเงินฉบับภาษาไทยเปนงบการเงินฉบับที่ธนาคารฯใชเปนทางการตามกฎหมาย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษ แปลมาจากงบการเงินฉบับภาษาไทยนี้ งบการเงินนี้ไดจัดทําขึ้นโดยใชเกณฑราคาทุนเดิม เวนแตจะไดเปดเผยเปนอยางอื่นในนโยบายการบัญชี

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

139


2.2 เกณฑในการจัดทํางบการเงินรวม ก)

งบการเงินรวมนี้จัดทําขึ้นโดยรวมงบการเงินของธนาคารฯและบริษัทยอย (ซึ่งตอไปนี้เรียกวา “บริษัทยอย”) ดังตอไปนี้ ประเภทธุรกิจ บริษัทยอยที่ธนาคารฯถือหุนโดยตรง บริษัท สคิบ จํากัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย ธนชาต จํากัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุน ธนชาต จํากัด บริษัท ธนชาต โบรกเกอร จํากัด บริษัท ธนชาตกรุป ลีสซิ่ง จํากัด บริษัท ธนชาตแมเนจเมนท แอนด เซอรวิส จํากัด บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด ดีเวลลอปเมนท จํากัด บริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) บริษัท สคิบ เซอรวิส จํากัด บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จํากัด (มหาชน) บริษัทยอยที่ธนาคารฯถือหุนโดยออม บริษัท เนชั่นแนล ลีซซิ่ง จํากัด

ข)

อยูระหวางชําระบัญชี ธุรกิจหลักทรัพย ประกันภัย จัดการลงทุน นายหนาประกันวินาศภัย ธุรกิจเชาซื้อ บริการ ใหบริการฝกอบรม บริหารสินทรัพย ดอยคุณภาพ ประกันชีวิต บริการ ธุรกิจเชาซื้อและลิสซิ่ง

99.98 100.00 100.00 75.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00

99.98 100.00 100.00 75.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00

100.00 65.18

100.00 100.00 65.18

ธุรกิจลิสซิ่ง

100.00

100.00

มูลคาสินทรัพยรวมและรายไดจากการดําเนินงานสุทธิของบริษัทยอยที่มีสาระสําคัญซึ่งรวมอยูใน งบการเงินรวม ณ วั นที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 และสําหรับปสิ้นสุดวันเดี ยวกัน ของแตละป หลังหักรายการระหวางกันที่มีสาระสําคัญมีดังนี้

บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) บริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด บริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย ธนชาต จํากัด (มหาชน) * ที่แสดงไวในสวนการดําเนินงานตอเนื่อง

140

อัตรารอยละของการถือหุน 2557 2556

รายงานประจำ�ปี 2557

สินทรัพยรวม 2556 2557 27,051 26,654 10,216 8,180 9,054 10,387 8,823 7,445 6,541

(หนวย: ลานบาท) รายไดจากการดําเนินงานสุทธิ สําหรับป * 2557 2556 1,626 1,468 82 40 595 631 2,813 2,950 1,784 2,130


ค)

งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ไดรวมผลการดําเนินงานของบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2556 จนถึงวันที่จําหนายเงินลงทุน โดยบริษัทยอย ดังกลาวมีรายไดรวม 4,025 ลานบาท และกําไรสุทธิ 354 ลานบาท

ง)

งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ไดรวมผลการดําเนินงานของบริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2557 จนถึงวันที่จําหนายเงินลงทุน โดย บริษัทยอยดังกลาวมีรายไดรวม 712 ลานบาท และกําไรสุทธิ 49 ลานบาท

จ)

ธนาคารฯจัดทํางบการเงินรวมโดยรวมงบการเงินของบริษัทยอยทั้งหมดตั้งแตวันที่ธนาคารฯมีอํานาจใน การควบคุมบริษัทยอยจนถึงวันที่ธนาคารฯสิ้นสุดการควบคุมบริษัทยอยนั้น

ฉ)

งบการเงิ นของบริ ษั ทย อยได จั ดทํ าขึ้ นโดยมี รอบระยะเวลาบั ญชี และใช นโยบายการบั ญชี ที่ สํ าคั ญ เช นเดี ยวกั นกั บธนาคารฯ และในกรณี ที่ ใช นโยบายการบั ญชี ที่ แตกต างกั น ธนาคารฯได ปรั บปรุ ง ผลกระทบแลว

ช)

ยอดคงค า งและรายการระหว า งกั น ที่ มี ส าระสํ า คั ญ ของธนาคารฯและบริ ษั ท ย อ ยได ตั ด ออกจาก งบการเงินรวมนี้แลว เงินลงทุนในบริษัทยอยในบัญชีของธนาคารฯและบริษัทยอยไดตัดกับสวนของ เจาของของบริษัทยอยแลว

ซ)

สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม คือจํานวนกําไรหรือขาดทุนและสินทรัพยสุทธิของบริษัทยอยสวนที่ ไมไดเปนของธนาคารฯ และแสดงเปนรายการแยกตางหากในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและสวนของ เจาของในงบแสดงฐานะการเงินรวม

2.3 ธนาคารฯจัดทํางบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชนตอสาธารณะ ซึ่งแสดงเงินลงทุนในบริษัทยอยและ บริษัทรวมตามวิธีราคาทุน 3.

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เริ่มมีผลบังคับในปบัญชีปจจุบัน มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เริ่มมีผลบังคับในปบัญชีปจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้ กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2557) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2555) การนําเสนองบการเงิน ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2555) งบกระแสเงินสด ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2555) ภาษีเงินได ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2555) สัญญาเชา ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2555) รายได ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2555) ผลประโยชนของพนักงาน

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

141


มาตรฐานการบัญชี (ตอ) ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2555)

ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงของอั ต ราแลกเปลี่ ย นเงิ น ตรา ตางประเทศ การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินลงทุนในบริษัทรวม สวนไดเสียในการรวมคา งบการเงินระหวางกาล การดอยคาของสินทรัพย สินทรัพยไมมีตัวตน

ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2555) ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2555) ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2555) ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2555) ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2555) ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2555) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2555) การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2555) การรวมธุรกิจ ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2555) สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2555) สวนงานดําเนินงาน การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 15 สัญญาเชาดําเนินงาน - สิ่งจูงใจที่ใหแกผูเชา ฉบับที่ 27 การประเมินเนื้อหาสัญญาเชาที่ทําขึ้นตามรูปแบบกฎหมาย ฉบับที่ 29 การเปดเผยขอมูลของขอตกลงสัมปทานบริการ ฉบับที่ 32 สินทรัพยไมมีตัวตน - ตนทุนเว็บไซต การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 การเปลี่ยนแปลงในหนี้สิน ที่เกิดขึ้นจากการรื้อถอน การบูรณะ และหนี้สินที่มีลักษณะคลายคลึงกัน ฉบับที่ 4 การประเมินวาขอตกลงประกอบดวยสัญญาเชาหรือไม ฉบับที่ 5 สิทธิใ นสวนได เสียจากกองทุ นการรื้อถอน การบู รณะและการ ปรับปรุงสภาพแวดลอม ฉบับที่ 7 การปรับปรุงยอนหลังภายใตมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 เรื่อง การ รายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจที่มีภาวะเงินเฟอรุนแรง ฉบับที่ 10 งบการเงินระหวางกาลและการดอยคา ฉบับที่ 12 ขอตกลงสัมปทานบริการ ฉบับที่ 13 โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา ฉบับที่ 17 การจายสินทรัพยที่ไมใชเงินสดใหเจาของ ฉบับที่ 18 การโอนสินทรัพยจากลูกคา แนวปฏิบัติทางการบัญชีสําหรับการบันทึกบัญชีหุนปนผล

142

รายงานประจำ�ปี 2557


มาตรฐานการรายงานทางการเงินทั้งหมดตามที่กลาวขางตนไดรับการปรับปรุงและจัดใหมีขึ้นเพื่อใหมีเนื้อหา เทาเทียมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหวางประเทศ ซึ่งโดยสวนใหญเปนการปรับปรุงถอยคําและ คําศัพท การตีความและการใหแนวปฏิบัติทางการบัญชีกับผูใชมาตรฐาน ฝายบริหารของธนาคารฯและบริษัท ยอยไดประเมินแลวเห็นวามาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกลาวไมเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของธนาคารฯและ บริษัทยอย หรือไมมีผลกระทบอยางมีสาระสําคัญเมื่อนํามาถือปฏิบัติ ยกเวนการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับที่ 13 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา การตีความมาตรฐานฉบับนี้กําหนดใหกิจการบันทึกและวัดมูลคาภาระผูกพันที่กิจการตองจัดหาสินคาหรือ บริการหรือใหสวนลดในสินคาหรือบริการในอนาคต โดยปนสวนสิ่งตอบแทนที่ไดรับหรือคางรับจากการ ขายใหกับคะแนนสะสม และรับรูเปนรายไดรอการรับรู โดยจะรับรูเปนรายไดในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เมื่อลูกคามาใชสิทธิและกิจการไดปฏิบัติตามสัญญาภาระผูกพันที่จะจัดหารางวัลนั้น ธนาคารฯและบริ ษั ท ย อ ยได เ ปลี่ ย นแปลงนโยบายบั ญ ชี ดั ง กล า วในป ป จ จุ บั น แต ไ ม ไ ด ป รั บ ย อ นหลั ง งบการเงินของปกอนที่แสดงเปนขอมูลเปรียบเทียบ เนื่องจากฝายบริห ารของธนาคารฯและบริษัทยอย พิจ ารณาแล ว เห็น ว า ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงนโยบายการบั ญ ชีดั ง กล า วไม เ ปน สาระสํ า คั ญ ต อ งบการเงิน 4.

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่จะมีผลบังคับในอนาคต สภาวิชาชีพบัญชีไดออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงและฉบับใหมเปนจํานวนมาก ซึ่งมีผล บังคับใชสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังกลาวไดรับการปรับปรุงหรือจัดใหมีขึ้นเพื่อใหมีเนื้อหาเทาเทียมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหวางประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินในครั้งนี้สวนใหญเปนการปรับปรุง ถ อยคํา และคํ า ศั พ ท การตี ค วามและการให แ นวปฏิบัติ ทางการบัญชี กับผูใ ชมาตรฐาน ฝ ายบริ ห ารของ ธนาคารฯและบริษัทยอยพิจารณาแลวเชื่อวาจะไมมีผลกระทบอยางเปนสาระสําคัญตองบการเงินในปที่นํา มาตรฐานดั ง กล า วมาถื อ ปฏิ บั ติ อย า งไรก็ ต าม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ตามที่ ก ลา วข า งต น ที่ เกี่ยวของกับธุรกิจของธนาคารฯและบริษัทยอยบางฉบับเปนมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีการ เปลี่ยนแปลงหลักการสําคัญ มาตรฐานดังกลาวประกอบดวยมาตรฐานดังตอไปนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

143


มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง ผลประโยชนของพนักงาน มาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้กําหนดใหกิจการตองรับรูรายการกําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตรประกันภัยทันทีในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในขณะที่มาตรฐานฉบับเดิมอนุญาตใหกิจการ เลือกรับรูรายการดังกลาวทันทีในกําไรขาดทุน หรือในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือทยอยรับรูในกําไร ขาดทุน ปจจุบัน ธนาคารฯและบริษัทยอยรับรูรายการกําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร ประกันภัยทันทีในกําไรหรือขาดทุนในปที่เกิดรายการ ฝายบริหารของธนาคารฯและบริษัทยอยประเมินวา เมื่อนํามาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้มาใชในป 2558 และเปลี่ยนมารับรูรายการกําไรขาดทุนดังกลาวทันทีในกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะไมมีผลกระทบอยางเปนสาระสําคัญตองบการเงินของธนาคารฯและบริษัทยอย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 10 กําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม โดยใชแทน เนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีสําหรับงบการเงิ นรวมที่เดิมกําหนดอยูในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานฉบับนี้เปลี่ยนแปลงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่อง การควบคุม กลาวคือ ภายใตมาตรฐานฉบับนี้ผูลงทุนจะถือวาผูลงทุนควบคุมกิจการที่เขาไปลงทุนได เมื่อ ผูลงทุนมีสิทธิไดรับหรือมีสวนไดเสียในผลตอบแทนของกิจการที่เขาไปลงทุน และสามารถใชอํานาจใน การสั่งการกิจกรรมที่สงผลกระทบตอจํานวนเงินผลตอบแทนนั้นได ถึงแมวาผูลงทุนจะมีสัดสวนการถือหุน หรือสิทธิในการออกเสียงโดยรวมนอยกวากึ่งหนึ่งก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญนี้สงผลใหฝายบริหารตอง ใชดุลยพินิจอยางมากในการทบทวนวาธนาคารฯและบริษัทยอยมีอํานาจควบคุมในกิจการที่เขาไปลงทุน หรือไมและจะตองนําบริษัทใดในกลุมกิจการมาจัดทํางบการเงินรวมบาง ฝ า ยบริ ห ารของธนาคารฯและบริ ษั ท ย อ ยเชื่ อ ว า มาตรฐานฉบั บ ดั ง กล า วจะไม มี ผ ลกระทบอย า งเป น สาระสําคัญตองบการเงินของธนาคารฯและบริษัทยอย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น มาตรฐานฉบับนี้กําหนดเรื่องการเปดเผยขอมูลที่เกี่ยวของกับสวนไดเสียของกิจการในบริษัทยอย การรวม การงาน บริษัทรวม รวมถึงกิจการที่มีโครงสรางเฉพาะตัว ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้ไมมีผลกระทบทางการเงินตอ งบการเงินของธนาคารฯและบริษัทยอย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลคายุติธรรม มาตรฐานฉบับนี้กําหนดแนวทางเกี่ยวกับการวัดมูลคายุติธรรมและการเปดเผยขอมูลที่เกี่ยวกับการวัดมูลคา ยุ ติ ธ รรม กล า วคื อ หากกิ จ การต อ งวั ด มู ล ค า ยุ ติ ธ รรมของสิ น ทรั พ ย ห รื อ หนี้ สิ น ใดตามข อ กํ า หนดของ มาตรฐานที่เกี่ยวของอื่น กิจการจะตองวัดมูลคายุติธรรมนั้นตามหลักการของมาตรฐานฉบับนี้ และใชวิธี เปลี่ยนทันทีเปนตนไปในการรับรูผลกระทบจากการเริ่มใชมาตรฐานนี้ 144

รายงานประจำ�ปี 2557


จากการประเมินเบื้องตน ฝายบริหารของธนาคารฯและบริษัทยอยเชื่อวามาตรฐานขางตนจะไมมีผลกระทบ อยางเปนสาระสําคัญตองบการเงินของธนาคารฯและบริษัทยอย 5.

นโยบายการบัญชีที่สําคัญ

5.1 การรับรูรายได ก)

ดอกเบี้ยและสวนลดรับจากเงินใหสินเชื่อ ดอกเบี้ยรับจากเงินใหสินเชื่อรับรูเปนรายไดตามเกณฑคงคางจากยอดเงินตนที่คางชําระ รายไดตาม สัญญาเชาซื้อและสัญญาเชาการเงินรับรูตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง (Effective interest method) ธนาคารฯและบริษัทยอยหยุดรับรูรายไดดอกเบี้ยตามเกณฑคงคางสําหรับเงินใหสินเชื่อที่ผิดนัดชําระ เงิน ตนหรือดอกเบี้ ยเกิ นกําหนดสามเดือนนับจากวันครบกําหนดชําระ และจะโอนกลั บรายการ ดอกเบี้ยคางรับที่เคยบันทึกบัญชีเปนรายไดแลวนั้นออกจากบัญชี การบันทึกรายไดดอกเบี้ยรับหลัง จากนั้นจะบันทึกตามเกณฑเงินสดจนกวาจะไดรับชําระหนี้ที่คางเกินกําหนดชําระดังกลาวแลว ธนาคารฯและบริษัทยอยรับรูรายไดดอกเบี้ยสําหรับลูกหนี้ภายหลังการปรับโครงสรางหนี้ใหมตาม เกณฑคงคาง โดยอิงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ตองจายชําระตามสัญญา ยกเวนหนี้ตามสัญญาปรับ โครงสรางหนี้ที่อยูระหวางการติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับโครงสรางหนี้ใหม ซึ่งจะ รับรูเปนรายไดดอกเบี้ยตามเกณฑเงินสดจนกวาลูกหนี้จะปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับโครงสรางหนี้ ติดตอกันไมนอยกวาสามเดือนหรือสามงวดการชําระเงินแลวแตระยะเวลาใดจะนานกวา ธนาคารฯและบริษัทยอยรับรูรายไดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอน โดยคํานวณหาอัตรา ผลตอบแทนที่ใชกําหนดราคาทุนของลูกหนี้ทั้งกลุม (Yield) คูณดวยราคาตามบัญชีใหม (ราคาทุนที่ ซื้อ) ของลูกหนี้คงเหลือสําหรับลูกหนี้ที่มีการจายชําระในระหวางป โดยจะรับรูเปนรายไดดอกเบี้ยใน จํานวนที่ไมสูงกวาจํานวนเงินที่ไดรับชําระจากลูกหนี้ และภายหลังการทําสัญญาปรับโครงสรางหนี้ จะรับรูรายไดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงสําหรับลูกหนี้ที่มี การจายชําระในระหวางป ในกรณีที่ดอกเบี้ยหรือสวนลดไดคิดรวมอยูในตั๋วเงินหรือเงินใหสินเชื่อแลว ดอกเบี้ยหรือสวนลด ดังกลาวจะบันทึกเปนรายไดรอตัดบัญชีและตัดจําหนายเปนรายไดเฉลี่ยเทา ๆ กันตลอดอายุของ ตั๋วเงินหรือระยะเวลาของเงินใหสินเชื่อนั้นหรือตามสัดสวนของหนี้ที่ไดรับชําระ ดอกผลจากการใหเชาซื้อรับลวงหนาแสดงถึงสวนลดดอกเบี้ยที่ตัวแทนจําหนายรถยนตใหกับลูกคา ซึ่งจะทยอยรับรูรายไดตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงเชนเดียวกับดอกเบี้ยตามสัญญาเชาซื้อ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

145


ข)

ดอกเบี้ยและเงินปนผลจากเงินลงทุน ดอกเบี้ยรับถือเปนรายไดตามเกณฑคงคางโดยคํานึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แทจริง เงินปนผลรับถือ เปนรายไดเมื่อมีสิทธิในการรับเงินปนผล

ค)

คานายหนา คานายหนาจากการซื้อขายหลักทรัพยและสัญญาซื้อขายลวงหนาถือเปนรายได ณ วันที่ที่เกิดรายการ

ง)

ดอกเบี้ยจากเงินใหสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย ดอกเบี้ยถือเปนรายไดตามระยะเวลาของเงินใหสินเชื่อโดยคํานวณจากยอดเงินตนที่คงคาง บริษัทยอย หยุดรับรูรายไดตามเกณฑสิทธิสําหรับเงินใหสินเชื่อรายที่เขาเงื่อนไขตามหลักเกณฑที่กําหนดโดย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย (“กลต.”)

จ)

กําไร(ขาดทุน)จากการซื้อขายหลักทรัพยและตราสารอนุพันธ กํ า ไร(ขาดทุ น )จากการซื้ อ ขายหลั ก ทรั พ ย แ ละตราสารอนุ พั น ธ ถื อ เป น รายได ห รื อ ค า ใช จ า ย ณ วันที่ที่เกิดรายการ

ฉ)

คาธรรมเนียมและบริการ คาธรรมเนียมและบริการถือเปนรายไดตามเกณฑคงคาง ทั้งนี้ในกรณีที่ธนาคารฯและบริษัทยอยให โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา ธนาคารฯและบริษัทยอยจะตองปนสวนสิ่งตอบแทนที่ไดรับจากการ ใหบริการดังกลาวในแตละคราวดวยมูลคายุติธรรมของคะแนนสะสมเปนรายไดรอตัดบัญชี ซึ่งบันทึก เปนสวนหนึ่งของบัญชี “หนี้สินอื่น” ในงบแสดงฐานะการเงิน ธนาคารฯและบริษัทยอยจะรับรูรายได ในสวนของกําไรขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเมื่อลูกคามาใชสิทธิพิเศษดังกลาว และธนาคารฯ และบริษัทยอยไดปฏิบัติตามสัญญาภาระผูกพันที่จะจัดหารางวัลนั้นแลว

ช)

รายไดจากการรับประกันภัย/ประกันชีวิต สัญญาประกันภัย เบี้ยประกันภัยรับประกอบดวยเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงจากผูเอาประกันภัยและเบี้ยประกันภัยตอรับ หั ก ด ว ยมู ล ค า ของกรมธรรม ที่ ย กเลิ ก และการส ง คื น เบี้ ย ประกั น ภั ย และปรั บ ปรุ ง ด ว ยสํ า รองเบี้ ย ประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายได

146

รายงานประจำ�ปี 2557


เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงจากผูเอาประกันภัยถือเปนรายไดตามวันที่ที่มีผลบังคับใชในกรมธรรม ประกันภัย ในกรณีที่กรมธรรมมีอายุการคุมครองเกิน 1 ปจะบันทึกรายไดเปนรายการรับลวงหนา และ จะทยอยรับรูเปนรายไดตามอายุการใหความคุมครองเปนรายป เบี้ยประกันภัยตอรับถือเปนรายไดเมื่อไดรับใบคําขอเอาประกันภัยตอหรือใบแจงการประกันภัยตอจาก บริษัทผูเอาประกันภัยตอ สัญญาประกันชีวิต เบี้ยประกันชีวิตบันทึกเปนรายไดตามวันที่ที่มีผลบังคับในกรมธรรมหลังจากหักเบี้ยประกันภัยตอและ สง คื น และสํา หรั บ กรมธรรม ตอ อายุ จ ะรั บรูเป น รายไดเมื่ อถึ งกํ าหนดชํ าระเฉพาะเบี้ยประกั น ของ กรมธรรมที่มีผลบังคับใชอยู ณ วันสิ้นป 5.2 การรับรูคาใชจาย ก)

ดอกเบี้ยจาย ดอกเบี้ ย จ า ยถื อ เปน ค า ใช จ า ยตามเกณฑ ค งค า ง ในกรณี ที่ด อกเบี้ ย ไดคิด รวมอยูใ นตั๋ ว เงิน จ า ยแล ว ดอกเบี้ยนั้นจะบันทึกเปนดอกเบี้ยจายรอตัดบัญชีและจะตัดจําหนายเปนคาใชจายเฉลี่ยเทา ๆ กันตลอด อายุของตั๋วเงินนั้น

ข)

คานายหนาและคาใชจายทางตรงจากการใหเชาซื้อ/เชาการเงิน คาใชจายทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดขึ้นจากการใหเชาซื้อ/เชาการเงิน (เชน คานายหนา คาอากรแสตมป) จะปนสวนทยอยรับรูตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง และแสดงหักจากรายไดดอกเบี้ยตลอดอายุของ สัญญาเพื่อใหสะทอนถึงอัตราผลตอบแทนที่แทจริงของสัญญา รายไดด อกเบี้ ย จากการใหเ ช าซื้อ/เช าการเงิ น รอตั ด บัญชี แสดงสุทธิจ ากคา นายหนาและคาใชจา ย ทางตรงที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรก

ค)

คาธรรมเนียมและบริการ คาธรรมเนียมและบริการถือเปนคาใชจายตามเกณฑคงคาง

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

147


5.3 เงินลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพยเพื่อคาแสดงตามมูลคายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของหลักทรัพย บันทึกในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขายแสดงตามมูลคายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของหลักทรัพย ดังกลาวบันทึกในสวนของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และจะรับรูในสวนของ กําไรหรือขาดทุนเมื่อไดจําหนายหลักทรัพยนั้นออกไป เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนดแสดงมูลคาตามวิธีราคาทุนตัดจําหนาย ธนาคารฯและบริษัทยอย ตัดบัญชีสวนเกิน/สวนต่ํากวามูลคาตราสารหนี้ตามอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง ซึ่งจํานวนที่ตัดจําหนาย/รับรูนี้จะ แสดงเปนรายการปรับกับดอกเบี้ยรับ เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไมอยูในความตองการของตลาดถือเปนเงินลงทุนทั่วไป แสดงมูลคาตามราคาทุน สุทธิจากคาเผื่อการดอยคา (ถามี) มูลคายุติธรรมของหลักทรัพยในความตองการของตลาดคํานวณจากราคาเสนอซื้อหลังสุด ณ สิ้นวันทําการ สุดทายของป สวนมูลคายุติธรรมของตราสารหนี้คํานวณโดยใชอัตราผลตอบแทนที่ประกาศโดยสมาคม ตลาดตราสารหนี้ไทย หรือตลาดอื่น หรืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับดวยคาความเสี่ยงที่ เหมาะสมแลวแตกรณี มูลคายุติธรรมของหนวยลงทุนคํานวณจากมูลคาสินทรัพยสุทธิของหนวยลงทุน ธนาคารฯและบริษัทยอยจะบันทึกขาดทุนจากการดอยคา (ถามี) ของหลักทรัพยเผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่ จะถือจนครบกําหนด และเงินลงทุนทั่วไปในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ในกรณีที่มีการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน ธนาคารฯและบริษัทยอยจะปรับมูลคาของเงินลงทุนดังกลาว ใหมโดยใชมูลคายุติธรรม ณ วันที่โอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน ผลแตกตางระหวางราคาตามบัญชีและมูลคา ยุติธรรม ณ วันที่โอนจะบันทึกในสวนของกําไรหรือขาดทุนหรือกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ แลวแตประเภทของเงินลงทุนที่มีการโอนเปลี่ยน เมื่อมี การจําหน า ยเงินลงทุ น ผลตา งระหว างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ไดรั บกับมูลคาตามบัญชีของเงินลงทุ น จะถู ก บั น ทึ ก ในส ว นของกํ า ไรหรื อ ขาดทุ น ในงบกํ า ไรขาดทุ น เบ็ ด เสร็ จ ในกรณี ที่ มี ก ารจํ า หน า ย เงินลงทุนเพียงบางสวน ราคาตามบัญชีตอหนวยที่ใชในการคํานวณตนทุนสําหรับเงินลงทุนที่จําหนายใชวิธี ถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก

148

รายงานประจำ�ปี 2557


5.4 เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนและคาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุน เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนแสดงในราคาทุนที่จายซื้อสุทธิจากคาเผื่อการดอยคา (ถามี) ผลขาดทุนจากการ ดอยคาของเงินลงทุนบันทึกเปนคาใชจายในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ในกรณี ลู ก หนี้ ที่ รั บ โอนได มี ก ารทํ า สั ญ ญาปรั บ โครงสร า งหนี้ ธนาคารฯและบริ ษั ท ย อ ยจะโอน เงินลงทุนในลูกหนี้ดังกลาวไปเปนเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และแสดงตามมูลคายุติธรรม โดยอางอิงมูลคา ยุติธรรมจากยอดคงเหลือตามบัญชีของเงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอน ณ วันโอนหรือ ณ วันทําสัญญาปรับ โครงสรางหนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยพิจารณาคาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนโดยใชวิธีการประเมิน มูลคายุติธรรม โดยอางอิงจากมูลคาหลักประกัน 5.5 เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินลงทุนในบริษัทยอยและเงินลงทุนในบริษัทรวมที่แสดงในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลคาตามวิธี ราคาทุนสุทธิจากคาเผื่อการดอยคา (ถามี) ผลขาดทุนจากการดอยคาของเงินลงทุนบันทึกเปนคาใชจายใน สวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เงินลงทุนในบริษัทรวมในงบการเงินรวมแสดงมูลคาตามวิธีสวนไดเสีย ซึ่งการบันทึกตามวิธีสวนไดเสียนี้จะ บันทึกเงินลงทุนเริ่มแรกในราคาทุนแลวปรับดวยสวนไดเสียที่เกิดจากผลการดําเนินงานของบริษัทรวมตาม อัตราสวนการลงทุน 5.6 เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้แสดงเฉพาะยอดเงินตนไมรวมดอกเบี้ยคางรับ ยกเวนเงินเบิกเกินบัญชีแสดงดวยยอด เงินตนรวมดอกเบี้ย รายไดรอตัดบัญชีและสวนลดรับลวงหนาของเงินใหสินเชื่อที่ยังไมรับรูเปนรายไดแสดง เปนรายการหักจากเงินใหสินเชื่อ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อและสัญญาเชาการเงินแสดงมูลคาตามสัญญาเชาซื้อและสัญญาเชาการเงินคงคางสุทธิ จากยอดคงเหลือของรายไดทางการเงินที่ยังไมถือเปนรายได ซึ่งแสดงสุทธิจากคานายหนาและคาใชจาย ทางตรงที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรกรอตัดบัญชี ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพยและสัญญาซื้อขายลวงหนา หมายถึง ยอดดุลสุทธิลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพยและลูกหนี้ธุรกิจ สัญญาซื้อขายลวงหนา โดยลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพยรวมถึงลูกหนี้เงินใหกูยืมเพื่อซื้อหลักทรัพยโดยใชหลักทรัพยที่ ซื้อนั้นมาวางเปนประกัน ลูกหนี้ธุรกรรมการยืมและใหยืมหลักทรัพย และลูกหนี้ทรัพยสินวางประกัน อันไดแก เงินที่นํ าไปวางเป นประกั นกั บเจาหนี้ หุนยืมหรือศูนยรับฝากหลั กทรัพย และรวมถึ งลู กหนี้อื่น เชน ลู กหนี้ซื้ อ หลักทรัพยดวยเงินสดที่ไมสามารถชําระเงินไดภายในระยะเวลาที่กําหนด ลูกหนี้ที่อยูระหวางดําเนินคดี ประนอม หนี้หรือผอนชําระ และสําหรับลูกหนี้ที่ซื้อขายหลักทรัพยดวยเงินสดแสดงไวภายใตรายการ “ลูกหนี้จากการ ซื้อขายหลักทรัพย” ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

149


5.7 คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ก)

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้เงินใหสินเชื่อ ธนาคารฯและบริษัทยอยที่ประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพยตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให สินเชื่อตามหลักเกณฑที่กําหนดโดย ธปท. และปรับปรุงเพิ่มดวยจํานวนเงินเพิ่มเติมที่คาดวาจะเรียก เก็บจากลูกหนี้ไมได โดยการวิเคราะหและประเมินฐานะของลูกหนี้จากประสบการณในการพิจารณา ความเสี่ ย งและมู ล ค า หลั ก ประกั น ประกอบ ค า เผื่ อ หนี้ ส งสั ย จะสู ญ ที่ ตั้ ง เพิ่ม (ลด)บั น ทึ ก บั ญชี เ ป น คาใชจายในระหวางป สําหรับลูกหนี้เงินใหสินเชื่อ (ยกเวนลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อสวนบุคคลของธนาคารฯ) ที่จัดชั้นเปนหนี้ปกติ (รวมลูกหนี้ที่ผานการปรับโครงสรางหนี้) และจัดชั้นเปนหนี้กลาวถึงเปนพิเศษ ธนาคารฯและบริษัทยอย กันสํารองในอัตราไมต่ํากวารอยละ 1 และ 2 ตามลําดับ ของยอดหนี้เงินตนคงคาง (ไมรวมดอกเบี้ยคางรับ) หลังหักหลักประกัน และสําหรับลูกหนี้ดอยคุณภาพ ธนาคารฯและบริษัทยอยกันเงินสํารองในอัตรา รอยละ 100 สําหรับสวนตางระหวางยอดหนี้ตามบัญชีกับมูลคาปจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดวาจะ ไดรับจากลูกหนี้หรือมูลคาปจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดวาจะไดรับจากการจําหนายหลักประกัน โดยใชอตั ราดอกเบี้ยคิดลดและระยะเวลาที่คาดวาจะจําหนายหลักประกันไดตามหลักเกณฑของ ธปท. ทั้งนี้ สําหรับลูกหนี้ดอยคุณภาพที่เปนลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อหรือลูกหนี้ตามสัญญาเชาการเงินจะ ถือวาไมมีหลักประกัน และสําหรับลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อสวนบุคคลของธนาคารฯ ธนาคารฯกันเงินสํารองเปนกลุมลูกหนี้ (Collective Approach) ตามการจัดกลุมลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงลักษณะเดียวกัน โดยพิจารณาจากผลขาดทุน จากประสบการณในอดีต ซึ่งคํานวณจากคาความนาจะเปนที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้ (Probability of default) และรอยละของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ตอยอดหนี้ (Loss given default) นอกจากนี้ ธนาคารฯไดพิจารณากันสํารองเพิ่มเติมโดยคํานึงถึงผลสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากปจจัย ทางเศรษฐกิ จ ที่ อ าจมี ผ ลกระทบต อ ความสามารถในการชํ า ระหนี้ ของลู ก หนี้ โดยค า ตั ว แปรและ ขอสมมติฐานตาง ๆ ที่ใชในการคํานวณนี้ไดมีการสอบทานรายละเอียดและทบทวนความเหมาะสมอยาง สม่ําเสมอ

ข)

150

บริษัทยอยที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพยตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญโดยการประเมินฐานะของลูกหนี้แตละ รายโดยพิจารณาความเสี่ยงในการเรียกชําระและมูลคาของหลักทรัพยที่ใชค้ําประกัน และตั้งคาเผื่อหนี้ สงสั ย จะสู ญ เมื่ อ หนี้ นั้ น มี ห ลั ก ประกั น ไม เ พี ย งพอและ/หรื อ มี โ อกาสได รั บ ชํ า ระคื น ไม ค รบ ทั้ ง นี้ บริษัทยอยถือพื้นฐานการจัดชั้นหนี้และตั้งสํารองตามหลักเกณฑที่กําหนดโดย กลต.

รายงานประจำ�ปี 2557


ค)

บริษัทยอยที่ประกอบธุรกิจใหเชาซื้อและใหเชาการเงินตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอัตรารอยละของ ยอดลูกหนี้ที่คางชําระสุทธิจากรายไดที่ยังไมถือเปนรายได โดยคํานึงถึงจํานวนเดือนคงคางเปนเกณฑ (อางอิงจากหลักเกณฑการจัดชั้นหนี้ของ ธปท.) โดยลูกหนี้ที่คางชําระไมเกินกวา 3 เดือนจะพิจารณา ตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดหนี้เงินตนสุทธิหลังหักหลักประกัน และสําหรับลูกหนี้ที่คางชําระเกิน กวา 3 เดือนจะพิจารณาตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญโดยไมหักหลักประกัน

ง)

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้อื่นตั้งขึ้นโดยประมาณจากจํานวนหนี้ที่อาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ไมได ซึ่ง พิจารณาจากสถานะปจจุบันของลูกหนี้คงคาง ณ วันที่ในงบการเงิน

จ)

ธนาคารฯและบริษัทยอยจะตัดจําหนายลูกหนี้ออกจากบัญชีเมื่อเห็นวาจะไมสามารถเรียกเก็บเงินจาก ลูกหนี้ได โดยการตัดจําหนายลูกหนี้เปนหนี้สูญและหนี้สูญที่ไดรับคืนจะนําไปลดหรือเพิ่มคาเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ

5.8 การปรับโครงสรางหนี้ที่มีปญหา ในกรณีที่เปนการปรับโครงสรางหนี้ที่ธนาคารฯและบริษัทยอยยินยอมผอนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยคํานวณมูลคายุติธรรมของลูกหนี้หลังปรับโครงสรางหนี้โดยคํานวณจากมูลคา ปจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดวาจะไดรับในอนาคตคิดลดดวยอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ําของเงินใหสินเชื่อแก ลูกคารายใหญในตลาดที่ใชเปนฐานในการเรียกเก็บจากลูกหนี้ ณ วันปรับโครงสรางหนี้ ผลตางระหวาง มูลคายุติธรรมของหนี้ที่คํานวณไดที่ต่ํากวายอดหนี้คงคางตามบัญชีเดิมจะบันทึกเปนคาเผื่อการปรับมูลคา จากการปรับโครงสรางหนี้ และถือเปนคาใชจายทั้งจํานวนในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จในปที่มีการปรับโครงสรางหนี้ และจะทบทวนคาเผื่อการปรับมูลคาดังกลาวโดยใชมูลคาปจจุบัน ของกระแสเงินสดที่คาดวาจะไดรับตามระยะเวลาที่เหลืออยู และปรับปรุงคาเผื่อการปรับมูลคากับบัญชี คาใชจายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ในกรณีที่เปนการปรับโครงสรางหนี้ที่มีปญหาโดยการรับโอนสินทรัพยหรือสวนไดเสีย ธนาคารฯและ บริษัทยอยจะบันทึกบัญชีสินทรัพยหรือสวนไดเสียที่รับโอนมาเปนตนทุนของสินทรัพยดวยมูลคายุติธรรม ของสินทรัพย (ซึ่งอิงตามราคาประเมินของผูประเมินภายในหรือผูประเมินอิสระภายนอก) แตไมเกินยอดหนี้ คงคางตามสิทธิเรียกรองตามกฎหมาย (รวมดอกเบี้ยคางรับที่หยุดรับรูรายไดจนถึงวันปรับโครงสรางหนี้) สวนเกินของมูลคายุติธรรมของสินทรัพยที่มากกวามูลหนี้คงคางตามบัญชีจะรับรูเปนกําไรจากการปรับ โครงสรางหนี้หรือดอกเบี้ยรับในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแลวแตกรณี ขาดทุนจากการปรับโครงสรางหนี้โดยการยินยอมลดเงินตนหรือดอกเบี้ยที่บันทึกในบัญชีจะรับรูเปนขาดทุน ในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเมื่อมีการปรับโครงสรางหนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

151


5.9 การรับรูและตัดบัญชีสินทรัพยของลูกคา บริษัทยอยบันทึกสินทรัพยที่ลูกคาวางไวกับบริษัทยอยเพื่อการซื้อขายหลักทรัพยบัญชีเงินสดและบัญชีเครดิต บาลานซ รวมถึงเงินที่ลูกคาวางเปนประกันเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายลวงหนา เปนสินทรัพยและหนี้สิน ของบริษัทยอยเพื่อการควบคุมภายใน และ ณ วันที่ในงบการเงิน บริษัทยอยจะตัดรายการดังกลาวในสวนที่ ไมมีภาระค้ําประกันออกทั้งดานสินทรัพยและหนี้สิน โดยจะแสดงเฉพาะสินทรัพยที่เปนของบริษัทยอย เทานั้น 5.10 ทรัพยสินรอการขาย ทรั พ ย สิ น รอการขายแสดงตามราคาทุ น (มู ล ค า ยุ ติ ธ รรมของสิ น ทรั พ ย ซึ่ ง อิ ง ตามราคาประเมิ น แตไมเกินยอดหนี้คงคางตามสิทธิเรียกรองตามกฎหมาย) หรือมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน แลวแตราคาใดจะ ต่ํากวา ซึ่งมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนอางอิงตามราคาประเมินลาสุดหักดวยประมาณการคาใชจายในการขาย และปรับปรุ งเพิ่มเติมตามหลัก เกณฑของ ธปท. ประกอบกับการพิ จารณาประเภทและคุณ ลั กษณะของ ทรัพยสิน กําไรจากการจําหนายทรัพยสินรอการขายจะรับรูเปนรายไดในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จเมื่อขาย ยกเวนการขายโดยการใหผูซื้อกูยืมเงิน กําไรจะรับรูตามหลักเกณฑที่กําหนดโดย ธปท. ขาดทุนจากการจําหนายและขาดทุนจากการดอยคาจะรับรูเปนคาใชจายในสวนของกําไรหรือขาดทุนใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 5.11 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ และคาเสื่อมราคา ก)

ที่ดินและสินทรัพยระหวางติดตั้งแสดงตามวิธีราคาทุนโดยไมมีการคิดคาเสื่อมราคา

ข)

อาคารและอุปกรณแสดงมูลคาตามราคาทุนหลังหักคาเสื่อมราคาสะสมและคาเผื่อการดอยคา (ถามี) คาเสื่อมราคาคํานวณจากราคาทุนของสินทรัพยโดยวิธีเสนตรงตามอายุการใหประโยชนโดยประมาณ ดังนี้ อาคาร 20 - 30 ป สวนปรับปรุงอาคาร 5 - 10 ป เครื่องตกแตง ติดตั้งและอุปกรณ 3 - 10 ป ยานพาหนะ 5 ป คาเสื่อมราคารวมอยูในการคํานวณผลการดําเนินงาน

ค)

152

ที่ดิน อาคารและอุปกรณจะถูกตัดออกจากบัญชีเมื่อจําหนายสินทรัพยหรือคาดวาจะไมไดรับประโยชน เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใชหรือการจําหนาย ผลกําไรหรือขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพย (ผลตางระหวางสิ่งตอบแทนสุทธิที่ไดรับจากการจําหนายสินทรัพยกับมูลคาตามบัญชีของสินทรัพย นั้น) จะรับรูในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รายงานประจำ�ปี 2557


5.12 สินทรัพยไมมีตัวตนและคาตัดจําหนาย ธนาคารฯบัน ทึก มูลคา เริ่ม แรกของสิน ทรัพยไ มมีตัว ตนที่ไ ดมาจากการรวมธุร กิจ โดยอา งอิง จากมูล คา ยุติธ รรมของสิน ทรัพ ยที่ป ระเมิน ณ วัน ที่ซื ้อ ธุร กิจ และสํ า หรับ สิน ทรัพ ยไ มมีต ัว ตนอื ่น บัน ทึก ตน ทุน เริ่มแรกตามราคาทุน ภายหลังการรับรูรายการเริ่มแรก สินทรัพยไมมีตัวตนแสดงมูลคาตามราคาทุนหักคา ตัดจําหนายสะสมและคาเผื่อการดอยคาสะสม (ถามี) ธนาคารฯและบริษัทยอยตัดจําหนายสินทรัพยไมมีตัวตนที่มีอายุการใหประโยชนจํากัดอยางมีระบบตลอด อายุการใหประโยชนของสินทรัพยนั้น และจะประเมินการดอยคาของสินทรัพยดังกลาวเมื่อมีขอบงชี้วา สินทรัพยนั้นอาจเกิดการดอยคา ธนาคารฯและบริษัทยอยจะทบทวนระยะเวลาการตัดจําหนายและวิธีการตัด จําหนายของสินทรัพยไมมีตัวตนดังกลาวทุกสิ้นปเปนอยางนอย คาตัดจําหนายและคาเผื่อการดอยคารับรูเปน คาใชจายในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สินทรัพยไมมีตัวตนที่มีอายุการใชประโยชนจํากัดมีอายุการใหประโยชนโดยประมาณ 3 - 10 ป ไมมีการตัดจําหนายคาคอมพิวเตอรซอฟทแวรที่อยูระหวางพัฒนา 5.13 สิทธิการเชา สิทธิการเชาแสดงในราคาทุนหักคาตัดจําหนายสะสม โดยตัดจําหนายเปนคาใชจายในสวนของกําไรหรือ ขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยวิธีเสนตรงตามอายุสัญญาเชา 5.14 การรวมธุรกิจและคาความนิยม การรวมธุรกิจบันทึกตามวิธีซื้อ ธนาคารฯบันทึกมูลคาเริ่มแรกของคาความนิยมในราคาทุน ซึ่งเทากับตนทุนการรวมธุรกิจสวนที่สูงกวา สวนไดเสียในมูลคายุติธรรมสุทธิของสินทรัพยสุทธิที่ไดมา คาความนิยมแสดงตามราคาทุนหักคาเผื่อการ ดอยคาสะสม (ถามี) และจะทดสอบการดอยคาของคาความนิยมทุกปหรือเมื่อใดก็ตามที่มีขอบงชี้ของการ ดอยคาเกิดขึ้น 5.15 ลูกหนี้/เจาหนี้สํานักหักบัญชี ลูกหนี้/เจาหนี้สํานักหักบัญชี หมายถึง ยอดดุลสุทธิลูกหนี้/เจาหนี้สํานักหักบัญชีที่เกิดจากการชําระราคาซื้อ ขายหลักทรัพยและสัญญาซื้อขายลวงหนา ทั้งนี้รวมถึงเงินที่ไดนําไปวางเปนประกันกับสํานักหักบัญชีในการ ทําธุรกรรมอนุพันธ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

153


5.16 หลักทรัพยซื้อโดยมีสัญญาขายคืน/หลักทรัพยขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ธนาคารฯมีการทําสัญญาซื้อโดยมีสัญญาขายคืนภาคเอกชนหรือมีการทําสัญญาขายหลักทรัพยโดยมีสัญญา ซื้อคืน โดยมีกําหนดวัน เวลา และราคาที่แนนอนในอนาคต โดยจํานวนเงินที่จายสําหรับหลักทรัพยซื้อโดยมี สัญญาขายคืนแสดงเปนสวนหนึ่งของรายการระหวางธนาคารและตลาดเงินหรือเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ แลวแตคูสัญญา โดยหลักทรัพยภายใตสัญญาขายคืนถือเปนหลักประกันการกูยืม ในขณะที่หลักทรัพยขาย โดยมีสัญญาซื้อคืนแสดงเปนสวนหนึ่งของรายการระหวางธนาคารและตลาดเงินดานหนี้สินในงบแสดง ฐานะการเงินดวยจํานวนเงินที่ไดรับมาจากการขายหลักทรัพยดังกลาว โดยหลักทรัพยภายใตสัญญาซื้อคืนถือ เปนหลักประกัน 5.17 เบี้ยประกันภัยคางรับและคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เบี้ยประกันภัยคางรับทั้งจากการรับประกันภัยโดยตรง และจากการรับประกันภัยตอ แสดงดวยมูลคาสุทธิที่จะไดรับ โดยบริษัทยอยบันทึกคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสําหรับผลขาดทุนโดยประมาณที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินไมได ซึ่งพิจารณาจากประสบการณการเก็บเงินและตามสถานะปจจุบันของเบี้ยประกันภัยคางรับ ณ วันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงาน 5.18 สินทรัพย/หนี้สินจากการประกันภัย

154

ก)

สินทรัพยจากการประกันภัยตอแสดงดวยจํานวนเงินคางรับจากการประกันภัยตอ (คาสินไหมทดแทน คางรับ และรายการคางรับอื่นๆ จากบริษัทประกันภัยตอ ยกเวนเบี้ยประกันภัยคางรับ หักคาเผื่อหนี้สงสัย จะสูญ) เงิ น มัด จํ า ที่ ว างไว จ ากการรั บ ประกัน ภัย ตอ และสํารองประกั น ภั ย สว นที่ เรีย กคืน จากการ ประกันภัยตอ โดยสํารองประกันภัยสวนที่เรียกคืนจากการประกันภัยตอประมาณขึ้นตามสัดสวนของ การประกันภัยตอของสํารองเบี้ยประกันภัยและสํารองคาสินไหมทดแทนตามกฎหมายวาดวยการ คํานวณสํารองประกันภัย

ข)

หนี้สินจากการประกันภัยตอแสดงดวยจํานวนเงินคางจายจากการประกันภัยตอ และเงินมัดจําที่บริษัท ยอยถือไวจากการเอาประกันภัยตอ ซึ่งเงินคางจายจากการประกันภัยตอประกอบดวยเบี้ยประกันภัยตอ คางจาย และรายการคางจายอื่นๆ ใหกับบริษัทประกันภัยตอ

รายงานประจำ�ปี 2557


5.19 สินทรัพยที่ถือไวเพื่อขายและการดําเนินงานที่ยกเลิก สินทรัพยที่ถือไวเพื่อขายถูกวัดมูลคาโดยใชมูลคาที่ต่ํากวาระหวางมูลคาตามบัญชีกับมูลคายุติธรรมหัก ตนทุนในการขาย กลุมสินทรัพยที่ยกเลิกถูกจัดประเภทเปนสินทรัพยที่ถือไวเพื่อขายหากมูลคาตามบัญชีที่ จะไดรับคืนสวนใหญมาจากการขายมิใชมาจากการใชสินทรัพยตอไป ในกรณีเชนนี้กลุมสินทรัพยที่ยกเลิก จะตองมีไวเพื่อขายในทันทีในสภาพปจจุบันซึ่งขึ้นอยูกับขอตกลงที่เปนปกติและถือปฏิบัติกันทั่วไปสําหรับ การขายสินทรัพยเหลานั้น (หรือกลุมสินทรัพยที่ยกเลิก) และการขายตองมีความเปนไปไดคอนขางแนนอน ในระดับสูงมาก ผูบริหารของธนาคารฯหรือบริษัทยอยตองผูกมัดกับแผนการขาย ซึ่งการขายดังกลาวตอง คาดวาจะเขาเงื่อนไขการรับรูรายการขายที่เสร็จสมบูรณภายใน 1 ป นับจากวันที่จัดประเภทสินทรัพย ดังกลาวเปนสินทรัพยที่ถือไวเพื่อขาย รายไดและคาใชจายจากการดําเนินงานที่ยกเลิกถูกแสดงแยกตางหากจากรายไดและคาใชจายจากการ ดําเนินงานตอเนื่อง โดยแสดงเปนกําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิกตอจากกําไรสําหรับปจากการ ดําเนินงานตอเนื่องในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม สําหรับปที่รายงานและปกอนที่นํามาเปรียบเทียบ 5.20 เงินสํารองเบี้ยประกันภัย/เงินสํารองประกันชีวิต สัญญาประกันภัย สํารองเบี้ยประกันภัยประกอบดวย สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายได และสํารองความเสี่ยงภัยที่ยัง ไมสิ้นสุด ก)

สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายได สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายไดคํานวณจากเบี้ยประกันภัยรับกอนการเอาประกันภัยตอดวย วิธีการ ดังนี้ การประกันภัยขนสงเฉพาะเที่ยว การ ประกันอุบัติเหตุการเดินทางที่มี ระยะเวลาคุมครองไมเกิน 6 เดือน การประกันภัยอื่น

ข)

- รอยละรอยของเบี้ยประกันภัยรับ ตั้งแตวันที่ กรมธรรมประกันภัยเริ่มมีผลคุมครอง ตลอด ระยะเวลาที่บริษัทยอยยังคงใหความคุมครองแก ผูเอาประกันภัย - วิธีเฉลี่ยรายเดือน (วิธีเศษหนึ่งสวนยี่สิบสี่)

สํารองความเสี่ยงภัยที่ยังไมสิ้นสุด บริษัทยอยจะคํานวณสํารองความเสี่ยงภัยที่ยังไมสิ้นสุด (Unexpired Risk Reserve) ซึ่งเปนจํานวนเงิน ที่บริษัทยอยจัดสรรไวเพื่อชดใชคาสินไหมทดแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตสําหรับการประกันภัยที่ยัง มีผลบังคับอยู ซึ่งคํานวณโดยวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย โดยใชการประมาณการที่ดีที่สุดของ คาสินไหมทดแทนที่คาดวาจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเอาประกันที่เหลืออยู โดยอางอิงจากขอมูลในอดีต ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

155


ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทยอยจะเปรียบเทียบมูลคาของสํารองความเสี่ยงภัยที่ยังไมสิ้นสุดกับ สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายได หากมูลคาของสํารองความเสี่ยงภัยที่ยังไมสิ้นสุดสูงกวาสํารองเบี้ย ประกันภัยที่ยังไมถือเปนรายได บริษัทยอยจะรับรูสวนตางและแสดงรายการสํารองความเสี่ยงภัยที่ยังไม สิ้นสุดในงบการเงิน สัญญาประกันชีวิต เงินสํารองประกันชีวิตเปนยอดเงินสํารองสะสมตั้งแตเริ่มรับประกันจนถึงวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน สําหรับคาสินไหมทดแทนที่ประมาณวาจะเกิดขึ้นในอนาคตจากกรมธรรมที่มีผลบังคับอยู บริษัทยอยคํานวณเงินสํารองประกันชีวิตภายใตสัญญาประกันภัยระยะยาวโดยใชจํานวนที่สูงกวาระหวาง มูลคาที่คํานวณตามวิธีสํารองเบี้ยประกันภัยสุทธิชําระคงที่ (Net Level Premium Valuation or NPV) และตาม วิธีสํารองประกันภัยแบบเบี้ยประกันภัยรวม (Gross Premium Valuation or GPV) เงินสํารองประกันชีวิตตามวิธีสํารองเบี้ยประกันภัยสุทธิชําระคงที่ (NPV) เปนวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย ที่มีขอสมมติหลักเกี่ยวกับอัตรามรณะ อัตราเจ็บปวย อายุและอัตราคิดลด เงินสํารองประกันชีวิตตามวิธีสํารองประกันภัยแบบเบี้ยประกันภัยรวม (GPV) เปนวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย อีกประเภทหนึ่งที่มีขอสมมติหลักเกี่ยวกับอัตราการขาดอายุหรือเวนคืนกรมธรรม คาใชจายเกี่ยวกับการขาย และบริหาร อัตรามรณะและอัตราการเจ็บปวย อัตราคิดลดและอัตราเงินปนผลที่ไมรับรองการจายในอนาคต ซึ่งการคํานวณตามวิธีนี้สอดคลองตามหลักเกณฑที่กําหนดไวในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและ สงเสริ มการประกอบธุ รกิ จประกั นภั ย (“คปภ.”) เรื่ องการประเมินราคาทรั พยสินและหนี้สินของบริษั ท ประกันชีวิต 5.21 สํารองคาสินไหมทดแทนและคาสินไหมทดแทนคางจายจากการประกันภัย/เงินที่ตองจายตามกรมธรรม ประกันชีวิต สัญญาประกันภัย คาสินไหมทดแทนคางจายบันทึกตามจํานวนที่จะจายจริง สวนสํารองคาสินไหมทดแทนจะบันทึกเมื่อไดรับ การแจงคําเรียกรองคาเสียหายจากผูเอาประกันภัยตามจํานวนที่ผูเอาประกันภัยแจงและโดยการประมาณการ ของฝายบริหารของบริษัทยอย มูลคาประมาณการสินไหมทดแทนสูงสุดจะไมเกินทุนประกันของกรมธรรม ที่เกี่ยวของ นอกจากนี้ บริษัทยอยไดตั้งสํารองเพิ่มเติมสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแลวแตยังไมไดมีการรายงานให ทราบ (Incurred but not reported claims - IBNR) ซึ่งคํานวณโดยวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย โดย คํานวณจากประมาณการที่ดีที่สุดของคาสินไหมทดแทนที่คาดวาจะจายใหแกผูเอาประกันภัยในอนาคต สําหรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นแลวกอนหรือ ณ วันที่ในงบการเงิน ทั้งจากรายการความสูญเสียที่บริษัทยอย ไดรับรายงานแลวและยังไมไดรับรายงาน สุทธิดวยคาสินไหมทดแทนที่ไดรับรูไปแลวในบัญชี 156

รายงานประจำ�ปี 2557


สัญญาประกันชีวิต เงินที่ตองจายตามกรมธรรมประกันชีวิตบันทึกเมื่อไดรับแจงหรือตามเงื่อนไขในกรมธรรม 5.22 สัญญาเชาระยะยาว สัญญาเชาที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเปนเจาของสวนใหญไดโอนใหกับธนาคารฯและบริษัท ยอยในฐานะผูเชาถือเปนสัญญาเชาการเงิน สัญญาเชาการเงินจะบันทึกเปนรายจายฝายทุนดวยมูลคายุติธรรม ของสินทรัพยที่เชาหรือมูลคาปจจุบันสุทธิของจํานวนเงินที่ตองจายตามสัญญาเชาแลวแตมูลคาใดจะต่ํากวา ภาระผูกพันตามสัญญาเชาหักคาใชจายทางการเงินจะบันทึกเปนหนี้สิน สวนดอกเบี้ยจายจะรับรูเปนคาใชจาย ในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จตลอดอายุของสัญญาเชา สินทรัพยที่ไดมาตาม สัญญาเชาการเงินจะคิดคาเสื่อมราคาตลอดอายุการใชงานของสินทรัพยที่เชา สัญญาเชาระยะยาวเพื่อเชาทรัพยสินโดยที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเปนเจาของสวนใหญยังคง อยูกับผูใหเชาถือเปนสัญญาเชาดําเนินงาน เงินที่จายตามสัญญาเชาดําเนินงานรับรูเปนคาใชจายตามวิธี เสนตรงตลอดอายุของสัญญาเชา 5.23 ตราสารอนุพันธ ธนาคารฯและบริษัทยอยเขาทํารายการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่เปนตราสารอนุพันธเพื่อบริหาร ความเสี่ยงของธนาคารฯและบริษัทยอย และเพื่อตอบสนองตอความตองการของลูกคา ตราสารอนุพันธที่ทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเพื่อคาบันทึกเปนรายการนอกงบการเงิน ธนาคารฯและบริษัทยอย รับรูกําไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลคายุติธรรมของสัญญาเปนกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ โดยมูลคายุติธรรมอางอิงจากราคาซื้อขายในตลาด หรือในกรณีที่มูลคายุติธรรมไมสามารถอางอิง ราคาตลาดได มูลคายุติธรรมจะคํานวณโดยใชเทคนิคและแบบจําลองตามทฤษฎีในการประเมินมูลคา ซึ่ง ตัวแปรที่ใชในแบบจําลองไดมาจากการเทียบเคียงกับตัวแปรที่มีอยูในตลาด ตราสารอนุพันธอื่น (สัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสัญญา แลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน) ที่มิไดมีไวเพื่อคาจะบันทึกเปนรายการนอกงบการเงินและแสดง มู ล ค า ด ว ยวิ ธี ค งค า ง โดยองค ป ระกอบที่ เ ป น เงิ น ตราต า งประเทศจะถู ก แปลงค า ด ว ยอั ต ราแลกเปลี่ ย น ณ วันสิ้นปในลักษณะเดียวกับรายการที่มีการปองกันความเสี่ยง โดยกําไรขาดทุนที่ยังไมเกิดขึ้นจากการ แปลงคาเงินตราตางประเทศจะถูกบันทึกในสวนของกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และ องคประกอบที่เ ปน อัต ราดอกเบี้ย จะถูก บัน ทึก ตามเกณฑคงคางเชนเดี ยวกับสิ นทรั พย หรือหนี้สินที่ถูก ปองกันความเสี่ยง คือถือเปนสวนหนึ่งของดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจายตลอดอายุของสัญญา ลูกหนี้และ เจาหนี้ตามสัญญาแลกเปลี่ยนแสดงสุทธิในงบแสดงฐานะการเงิน

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

157


5.24 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน บุ คคลหรื อกิ จการที่ เกี่ ยวข องกั น หมายถึ ง บุ คคลหรื อกิ จการที่ มี อํ านาจควบคุ มธนาคารฯและบริ ษั ทย อย หรือถูกธนาคารฯและบริษัทยอยควบคุม ไมวาจะเปนโดยทางตรงหรือทางออม หรืออยูภายใตการควบคุมเดียวกัน กับธนาคารฯและบริษัทยอย นอกจากนี้ บุคคลหรื อกิจการที่เกี่ย วของกันยั งหมายรวมถึงบริษัทรวมและบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงโดย ทางตรงหรือทางออมซึ่งทําใหมีอิทธิพลอยางเปนสาระสําคัญกับธนาคารฯและบริษัทยอย ผูบริหารสําคัญ กรรมการหรือพนักงานของธนาคารฯและบริษัทยอยที่มีอํานาจในการวางแผนและควบคุมการดําเนินงาน ของธนาคารฯและบริษัทยอย 5.25 การดอยคาของสินทรัพย ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ธนาคารฯและบริษัทยอยจะประเมินวามีขอบงชี้ซึ่งแสดงวาสินทรัพยของธนาคารฯ และบริษัทยอยดอยคาลงหรือไม และหากมีขอบงชี้ของการดอยคา ธนาคารฯและบริษัทยอยจะประเมินการ ดอยคาและรับรูขาดทุนจากการดอยคาเมื่อมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของสินทรัพยมีมูลคาต่ํากวามูลคาตาม บัญชีของสินทรัพยนั้น ทั้งนี้ มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของสินทรัพย หมายถึง มูลคายุติธรรมหักตนทุนใน การขายของสินทรัพยหรือมูลคาจากการใชสินทรัพยแลวแตราคาใดจะสูงกวา มูลคายุติธรรมของสินทรัพย หักตนทุนในการขาย หมายถึง จํานวนเงินที่กิจการจะไดมาจากการจําหนายสินทรัพยในงบแสดงฐานะ การเงินหักดวยตนทุนในการจําหนาย โดยการจําหนายนั้นผูซื้อกับผูขายมีความรอบรูและเต็มใจในการ แลกเปลี่ยนและสามารถตอรองราคากันไดอยางเปนอิสระในลักษณะของผูที่ไมมีความเกี่ยวของกัน ในการ ประเมินมูลคาจากการใชสินทรัพย ธนาคารฯและบริษัทยอยจะประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดวา จะไดรับจากสินทรัพยและคํานวณคิดลดกระแสเงินสดดังกลาวเปนมูลคาปจจุบัน โดยใชอัตราคิดลดกอนภาษี ที่สะทอนถึงการประเมินความเสี่ยงในสภาพตลาดปจจุบันของเงินสดตามระยะเวลาและความเสี่ยงซึ่งเปน ลักษณะเฉพาะของสินทรัพยที่กําลังพิจารณาอยู ธนาคารฯและบริษัทยอยจะรับรูรายการขาดทุนจากการดอยคาเปนคาใชจายในสวนของกําไรหรือขาดทุนใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หากในการประเมินการดอยคาของสินทรัพยที่ไมใชคาความนิยม มีขอบงชี้ที่แสดงใหเห็นวาผลขาดทุนจากการ ดอยคาของสินทรัพยที่รับรูในปกอนไดหมดไปหรือลดลง ธนาคารฯและบริษัทยอยจะประมาณมูลคาที่คาดวา จะไดรับคืนของสินทรัพยนั้น และจะกลับรายการผลขาดทุนจากการดอยคาที่รับรูในปกอนก็ตอเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใชกําหนดมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนภายหลังจากการรับรูผลขาดทุนจากการดอยคา ครั้งลาสุด โดยมูลคาตามบัญชีของสินทรัพยที่เพิ่มขึ้นจากการกลับรายการผลขาดทุนจากการดอยคาตองไม สูงกวามูลคาตามบัญชีที่ควรจะเปนหากกิจการไมเคยรับรูผลขาดทุนจากการดอยคาของสินทรัพยในปกอน ๆ ธนาคารฯและบริษัทยอยจะบันทึกกลับรายการผลขาดทุนจากการดอยคาของสินทรัพยโดยรับรูไปยังสวนของ กําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จทันที 158

รายงานประจำ�ปี 2557


5.26 หุนกูอนุพันธ หุนกูอนุพันธเปนหุนกูที่บริษัทยอยออกและเสนอขายใหแกลูกคา ซึ่งเปนผูลงทุนสถาบันหรือผูลงทุนราย ใหญ โดยออกจําหนายภายใตเงื่อนไขที่ไดรับอนุมัติจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาด หลักทรัพย หุนกูอนุพันธดังกลาวมีการอางอิงกับราคาหุนสามัญในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย หุนกูแสดงดวยราคาทุนที่ขายปรับดวยสวนต่ํากวามูลคาของหุนกูที่ตัดจําหนายตามอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง ซึ่งจํานวนที่ตัดจําหนายนี้จะแสดงเปนคาใชจายดอกเบี้ยในสวนของกําไรหรือขาดทุน อนุพันธทางการเงินแฝงแสดงภายใตบัญชีสินทรัพยตราสารอนุพันธโดยแสดงดวยมูลคายุติธรรมและรับรู การเปลี่ยนแปลงมูลคายุติธรรมในสวนของกําไรหรือขาดทุน ซึ่งมูลคายุติธรรมคํานวณโดยใชเทคนิคและ แบบจําลองตามทฤษฎีในการประเมินมูลคา ซึ่งตัวแปรที่ใชในแบบจําลองไดมาจากการเทียบเคียงกับตัวแปร ที่มีอยูในตลาด โดยคํานึงถึงขอมูลความสัมพันธของสภาพคลอง เงินปนผล อัตราดอกเบี้ย ราคาของสินคา อางอิง และการเปลี่ยนแปลงของมูลคาของสินคาอางอิง 5.27 ผลประโยชนของพนักงาน ก)

ผลประโยชนระยะสั้น ธนาคารฯและบริษัทยอยรับรูภาระผูกพันของผลประโยชนระยะสั้นของพนักงาน ซึ่งไดแก เงินเดือน คาจาง โบนัส เงินสมทบกองทุนประกันสังคมและวันลาพักรอนเปนคาใชจายเมื่อพนักงานทํางานให

ข)

ผลประโยชนหลังออกจากงานของพนักงาน (โครงการสมทบเงิน) ธนาคารฯ บริษัทยอยและพนักงานไดรวมกันจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบดวยเงินที่ พนักงานจายสะสมและเงิ นที่ธนาคารฯและบริษัทย อยจายสมทบใหเปนรายเดือน สินทรัพยของ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพไดแยกออกจากสินทรัพยของธนาคารฯและบริษัทยอย เงินที่ธนาคารฯและ บริษัทยอยจายสมทบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพบันทึกเปนคาใชจายในปที่เกิดรายการ

ค)

ผลประโยชนหลังออกจากงานของพนักงาน (โครงการผลประโยชน) ธนาคารฯและบริษัทยอยมีภาระสําหรับเงินชดเชยที่ตองจายใหแกพนักงานเมื่อออกจากงานตาม กฎหมายแรงงาน ซึ่งธนาคารฯและบริษัทยอยถือวาเงินชดเชยดังกลาวเปนโครงการผลประโยชนหลัง ออกจากงานสําหรับพนักงาน ธนาคารฯและบริษัทยอยคํานวณหนี้สินตามโครงการผลประโยชนหลังออกจากงานของพนักงาน โดย ใชวิธีคิดลดแตละหนวยที่ประมาณการไว (Projected Unit Credit Method) โดยผูเชี่ยวชาญอิสระไดทํา การประเมินภาระผูกพันดังกลาวตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

159


ผลกําไรหรือขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย (Actuarial gains and losses) สําหรับโครงการผลประโยชนหลั งออกจากงานของพนักงานจะรับรูทันที ในกํ าไรหรือขาดทุนใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 5.28 เงินตราตางประเทศ ธนาคารฯและบริษัทยอยแสดงงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเปนสกุลเงินบาท ซึ่งเปนสกุลเงินที่ ใชในการดําเนินงานของธนาคารฯและบริษัทยอย รายการตาง ๆ ของแตละกิจการที่รวมอยูในงบการเงินรวม วัดมูลคาดวยสกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานของแตละกิจการนั้น รายการที่เปนเงินตราตางประเทศซึ่งเกิดขึ้นในระหวางปแปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ ที่เกิดรายการ สินทรัพยและหนี้สินที่เปนตัวเงินซึ่งอยูในสกุลเงินตราตางประเทศ และภาระผูกพันที่มียอด คงเหลือ ณ วันที่ในงบการเงินไดแปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กําไรและขาดทุนที่เกิดจากการซื้อขายและเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนรวมอยูในการคํานวณผลการ ดําเนินงาน 5.29 ภาษีเงินได ภาษีเงินไดประกอบดวยภาษีเงินไดปจจุบันและภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ภาษีเงินไดปจจุบัน ธนาคารฯและบริษัทยอยบันทึกภาษีเงินไดปจจุบันตามจํานวนที่คาดวาจะจายใหกับหนวยงานจัดเก็บภาษี ของรัฐ โดยคํานวณจากกําไรทางภาษีตามหลักเกณฑที่กําหนดในกฎหมายภาษีอากร ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ธนาคารฯและบริษัทยอยบันทึกภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีของผลแตกตางชั่วคราวระหวางราคาตามบัญชีของ สินทรัพยและหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับฐานภาษีของสินทรัพยและหนี้สินที่เกี่ยวของนั้น โดยใชอัตราภาษีที่มีผลบังคับใช ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ธนาคารฯและบริษัทยอยรับรูหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีของผลแตกตางชั่วคราวที่ตองเสียภาษีทุก รายการ แตรับรูสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีสําหรับผลแตกตางชั่วคราวที่ใชหักภาษีในจํานวนเทาที่มี ความเปนไปไดคอนขางแนที่ธนาคารฯและบริษัทยอยจะมีกําไรทางภาษีในอนาคตเพียงพอที่จะใชประโยชน จากผลแตกตางชั่วคราวที่ใชหักภาษีนั้น ธนาคารฯและบริษัทยอยจะทบทวนมูลคาตามบัญชีของสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีทุกสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานและจะทําการปรับลดมูลคาตามบัญชีดังกลาว หากมีความเปนไปไดคอนขางแนวาธนาคารฯ และบริษัทยอยจะไมมีกําไรทางภาษีเพียงพอตอการนําสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีทั้งหมดหรือ บางสวนมาใชประโยชน 160

รายงานประจำ�ปี 2557


ธนาคารฯและบริษัทยอยจะบันทึกภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีโดยตรงไปยังสวนของเจาของ หากภาษีที่ เกิดขึ้นเกี่ยวของกับรายการที่ไดบันทึกโดยตรงไปยังสวนของเจาของ 5.30 ประมาณการหนี้สิน ธนาคารฯและบริษัทยอยจะบันทึกประมาณการหนี้สินไวในบัญชีเมื่อภาระผูกพันซึ่งเปนผลมาจากเหตุการณใน อดีตไดเกิดขึ้นแลว และมีความเปนไปไดคอนขางแนนอนวาธนาคารฯและบริษัทยอยจะเสียทรัพยากรเชิง เศรษฐกิจไปเพื่อปลดเปลื้องภาระผูกพันนั้น และธนาคารฯและบริษัทยอยสามารถประมาณมูลคาภาระผูกพัน นั้นไดอยางนาเชื่อถือ 6.

การใชดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สําคัญ ในการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฝายบริหารจําเปนตองใชดุลยพินิจและการ ประมาณการในเรื่องที่มีความไมแนนอนเสมอ การใชดุลยพินิจและการประมาณการดังกลาวนี้อาจสงผล กระทบตอจํานวนเงินที่แสดงในงบการเงินและตอขอมูลที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่เกิดขึ้น จริงอาจแตกตางไปจากจํานวนที่ประมาณการไว การใชดุลยพินิจและการประมาณการที่สําคัญ มีดังนี้

6.1 การรับรูและการตัดรายการสินทรัพยและหนี้สิน ในการพิจารณาการรับรูหรือการตัดรายการสินทรัพยและหนี้สิน ฝายบริหารตองใชดุลยพินิจในการพิจารณา วาธนาคารฯและบริษัทยอยไดโอนหรือรับโอนความเสี่ยงและผลประโยชนในสินทรัพยและหนี้สินดังกลาว แลวหรือไม โดยใชดุลยพินิจบนพื้นฐานของขอมูลที่ดีที่สุดที่รับรูไดในสภาวะปจจุบัน 6.2 คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินใหสินเชื่อและคาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุนในลูกหนี้ คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินใหสินเชื่อและคาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุนในลูกหนี้เกิดจากการปรับมูลคา ของเงินใหสินเชื่อจากความเสี่ยงดานเครดิตที่อาจเกิดขึ้น ฝายบริหารไดใชหลักเกณฑการตั้งคาเผื่อหนี้สงสัย จะสูญของ ธปท. หรือ กลต. ประกอบกับดุลยพินิจในการประมาณการผลขาดทุนที่คาดวาจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ มีปญหาในการจายชําระคืนหนี้เงินตนและดอกเบี้ย โดยใชการวิเคราะหสถานะของลูกหนี้รายตัว ความนา จะเปนของการผิดนัดชําระหนี้ มูลคาของหลักประกันและสภาวะเศรษฐกิจ 6.3 คาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุนในหลักทรัพย ธนาคารฯและบริษัทยอยพิจารณาตั้งคาเผื่อการดอยคาของเงินลงทุนในหลักทรัพย เมื่อฝายบริหารพิจารณา วาเงินลงทุนดังกลาวมีขอบงชี้ของการดอยคาเกิดขึ้น ซึ่งการที่จะระบุวาเงินลงทุนมีขอบงชี้ของการดอยคา หรือไมนั้นจําเปนตองใชดุลยพินิจของฝายบริหาร

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

161


6.4 มูลคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ในการประเมินมูลคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่ไมมีการซื้อขายในตลาดและไมสามารถหาราคาไดใน ตลาดซื้อขายคลอง ฝ ายบริหารตองใชดุลยพินิจในการประมาณมูลค ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ดังกลาว โดยใชเทคนิคและแบบจําลองการประเมินมูลคา ซึ่งตัวแปรที่ใชในแบบจําลองไดมาจากการเทียบเคียง กับตัวแปรที่มีอยูในตลาด โดยคํานึงถึงสภาพคลอง ขอมูลความสัมพันธ และการเปลี่ยนแปลงของมูลคาของ เครื่องมือทางการเงินในระยะยาว 6.5 คาเผื่อการดอยคาของทรัพยสินรอการขาย ธนาคารฯและบริษัทยอยพิจารณาตั้งคาเผื่อการดอยคาของทรัพยสินรอการขายเมื่อพบวามูลคาที่คาดวาจะ ไดรับคืนของทรัพยสินมีมูลคาลดลงกวามูลคาตามบัญชี ฝายบริหารไดใชหลักเกณฑการตั้งคาเผื่อการดอยคา ของ ธปท. ประกอบกับการใชดุลยพินิจในการประมาณการผลขาดทุนจากการดอยคาโดยพิจารณาจากราคา ประเมินลาสุดของทรัพยสิน ประเภท และคุณลักษณะของทรัพยสิน 6.6 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณและคาเสื่อมราคา ในการคํานวณคาเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ ฝายบริหารจําเปนตองประมาณการอายุการใหประโยชนและ มูลคาคงเหลือเมื่อเลิกใชงานของอาคารและอุปกรณ และตองทบทวนอายุการใหประโยชนและมูลคาคงเหลือ ใหมหากพบวามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยพิจารณาตั้งคาเผื่อการดอยคาของที่ดิน อาคารและอุปกรณ เมื่อฝายบริหาร พิจารณาวาสินทรัพยดังกลาวมีขอบงชี้ของการดอยคาเกิดขึ้น และจะบันทึกขาดทุนจากการดอยคาหากคาดวา มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนต่ํากวามูลคาตามบัญชีของสินทรัพยนั้น ในการนี้ฝายบริหารจําเปนตองใชดุลยพินิจ ที่เกี่ยวของกับการคาดการณรายไดและคาใชจายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินทรัพยนั้น 6.7 คาความนิยมและสินทรัพยไมมีตัวตน ในการบันทึกและวัดมูลคาเริ่มแรกของคาความนิยมและสินทรัพยไมมีตัวตน ณ วันที่ไดมา ตลอดจนการทดสอบ การดอยคาในภายหลัง ฝายบริหารจําเปนตองใชดุลยพินิจในการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดวาจะไดรับ ในอนาคตจากสินทรัพยหรือหนวยของสินทรัพยที่กอใหเกิดเงินสด รวมทั้งการเลือกอัตราคิดลดที่เหมาะสม ในการคํ า นวณหามู ล ค า ป จ จุ บั น ของกระแสเงิ น สดนั้ น ๆ ซึ่ ง ประมาณการกระแสเงิ น สดดั ง กล า วอาจ เปลี่ยนแปลงไดเนื่องจากภาวะการแขงขัน แนวโนมการเปลี่ยนแปลงของรายได โครงสรางตนทุน การ เปลี่ยนแปลงของอัตราคิดลด ภาวะอุตสาหกรรมและภาวะตลาดที่เกี่ยวของ

162

รายงานประจำ�ปี 2557


6.8 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ธนาคารฯและบริษัทยอยจะรับรูสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีสําหรับผลแตกตางชั่วคราวที่ใชหักภาษี เมื่ อมี ความเป นไปได ค อนข างแน ว าธนาคารฯและบริ ษั ทย อยจะมี กํ าไรทางภาษี ในอนาคตเพี ยงพอที่ จะ ใชประโยชนจากผลแตกตางชั่วคราวนั้น ในการนี้ฝายบริหารจําเปนตองประมาณการวาธนาคารฯและบริษัท ยอยควรรับรูจํานวนสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีเปนจํานวนเทาใด โดยพิจารณาถึงจํานวนกําไรทางภาษี ที่คาดวาจะเกิดในอนาคตในแตละชวงเวลา 6.9 สัญญาเชาการเงิน/สัญญาเชาดําเนินงาน ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเชาวาเปนสัญญาเชาดําเนินงานหรือสัญญาเชาการเงิน ฝายบริหารไดใช ดุลยพินิจในการประเมินเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาเพื่อพิจารณาวาธนาคารฯและบริษัทยอยไดโอน หรือรับโอนความเสี่ยงและผลประโยชนในสินทรัพยที่เชาดังกลาวแลวหรือไม 6.10 เงินสํารองประกันภัย/เงินสํารองประกันชีวิต เงินสํารองประกันภัยสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไมสิ้นสุดคํานวณตามวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย โดย ใชการประมาณการที่ดีที่สุดของคาสินไหมทดแทนที่คาดวาจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเอาประกันที่เหลืออยู เงินสํารองประกันชีวิตคํานวณตามวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัย ซึ่งประมาณจากขอสมมติปจจุบันหรือ ขอสมมติที่กําหนดตั้งแตวันเริ่มรับประกัน โดยสะทอนถึงการประมาณการที่ดีที่สดุ ตามระยะเวลาในเวลานั้น ซึ่งการประมาณการเงินสํารองดังกลาวตองใชดุลยพินิจของฝายบริหารซึ่งสะทอนถึงการประมาณการอยางดี ที่สุด ณ ขณะนั้น 6.11 สํารองคาสินไหมทดแทนและคาสินไหมทดแทนคางจาย ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทยอยตองประมาณการสํารองคาสินไหมทดแทนและคาสินไหม ทดแทนคางจายโดยแยกพิจารณาสองสวน คือ สวนของคาสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นและไดรับรายงาน ความเสียหายแลว และสวนของความเสียหายที่เกิดขึ้นแลวแตยังไมไดรับรายงาน (Incurred but not reported - IBNR) ซึ่งตองใชวิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัยที่เปนมาตรฐานสากล โดยขอสมมติฐานหลักที่ใชใน วิธีการทางคณิตศาสตรประกันภัยดังกลาวประกอบดวยขอมูลในอดีต ซึ่งไดแก การเปลี่ยนแปลงประมาณการ คาสินไหมทดแทน การจายชําระคาสินไหมทดแทน คาสินไหมทดแทนเฉลี่ย จํานวนครั้งของคาสินไหม เปนตน อยางไรก็ตาม การประมาณการดังกลาวตองใชดุลยพินิจของฝายบริหารซึ่งสะทอนถึงการประมาณ การอยางดีที่สุดในขณะนั้น

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

163


6.12 ผลประโยชนหลังออกจากงานของพนักงานตามโครงการผลประโยชน หนี้สินตามโครงการผลประโยชนหลังออกจากงานของพนักงาน ประมาณขึ้นตามหลักการทางคณิตศาสตร ประกันภัย ซึ่งตองอาศัยขอสมมติตางๆในการประมาณการ เชน อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตราการเปลี่ยนแปลงในจํานวนพนักงาน และอัตราการมรณะ โดยใชดุลยพินิจบนพื้นฐานของขอมูลที่ดี ที่สุดที่รับรูไดในสภาวะปจจุบัน 6.13 คดีฟองรองและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารฯและบริษัทยอยมีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟองรองเรียกคาเสียหาย และจากหนี้สินที่อาจจะ เกิดขึ้นจากการรับโอนกิจการและการโอนสินทรัพยดอยคุณภาพ ซึ่งฝายบริหารจําเปนตองใชดุลยพินิจในการ ประเมินผลของรายการดังกลาว ซึ่งในกรณีที่ฝายบริหารเชื่อมั่นวาจะไมมีความเสียหายเกิดขึ้นจะไมบันทึก ประมาณการหนี้สินจากกรณีดังกลาว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 7.

รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) งบการเงินรวม

ในประเทศ ธนาคารแหงประเทศไทยและ กองทุนเพื่อการฟนฟูฯ ธนาคารพาณิชย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินอื่น รวม บวก: ดอกเบี้ยคางรับ หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมในประเทศ ตางประเทศ เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินยูโร อื่น ๆ รวม บวก: ดอกเบี้ยคางรับ หัก: รายไดรอตัดบัญชี หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมตางประเทศ รวม 164

รายงานประจำ�ปี 2557

2557 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา

รวม

(หนวย: ลานบาท)

2556 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา

รวม

6,189 469 46 94 6,798 6,798

7,500 25,090 90 21,179 53,859 20 (207) 53,672

13,689 25,559 136 21,273 60,657 20 (207) 60,470

8,251 601 71 369 9,292 1 9,293

1,500 23,047 99 23,803 48,449 43 (231) 48,261

9,751 23,648 170 24,172 57,741 44 (231) 57,554

940 61 250 1,251 1,251 8,049

3,716 1 3,717 5 (1) (9) 3,712 57,384

4,656 62 250 4,968 5 (1) (9) 4,963 65,433

719 34 165 918 918 10,211

10,663 541 11,204 32 (2) (9) 11,225 59,486

11,382 34 706 12,122 32 (2) (9) 12,143 69,697


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา ในประเทศ ธนาคารแหงประเทศไทยและ กองทุนเพื่อการฟนฟูฯ ธนาคารพาณิชย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินอื่น รวม บวก: ดอกเบี้ยคางรับ หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมในประเทศ ตางประเทศ เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินยูโร อื่น ๆ รวม บวก: ดอกเบี้ยคางรับ หัก: รายไดรอตัดบัญชี หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมตางประเทศ รวม

รวม

2556 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา

รวม

6,188 324 44 1,144 7,700 (11) 7,689

7,500 24,200 21,179 52,879 14 (207) 52,686

13,688 24,524 44 22,323 60,579 14 (218) 60,375

8,251 378 64 919 9,612 1 (6) 9,607

1,500 19,250 23,804 44,554 22 (231) 44,345

9,751 19,628 64 24,723 54,166 23 (237) 53,952

940 61 250 1,251 1,251 8,940

3,716 1 3,717 5 (1) (9) 3,712 56,398

4,656 62 250 4,968 5 (1) (9) 4,963 65,338

719 34 165 918 918 10,525

10,663 541 11,204 32 (2) (9) 11,225 55,570

11,382 34 706 12,122 32 (2) (9) 12,143 66,095

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯมีเงินใหกูยืมแกบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงินจํานวน 1,050 ลานบาท ในงบการเงินเฉพาะกิจการ (2556: 550 ลานบาท)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

165


8.

ตราสารอนุพันธ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 จํานวนเงินตามสัญญา มูลคายุติธรรมของตราสารอนุพันธเพื่อคา และ การปรับบัญชีตามเกณฑคงคางของตราสารอนุพันธเพื่อปองกันความเสี่ยง (บัญชีเพื่อการธนาคาร) แบงตาม ประเภทความเสี่ยงไดดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

ประเภทความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยน ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร อัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร อื่นๆ ตราสารอนุพันธเพื่อคา รวม

2557 มูลคายุติธรรม/การปรับบัญชี ตามเกณฑคงคาง สินทรัพย หนี้สิน

งบการเงินรวม

จํานวนเงิน ตามสัญญา*

2556 มูลคายุติธรรม/การปรับบัญชี ตามเกณฑคงคาง สินทรัพย หนี้สิน

411 9

319 87

72,468 7,796

1,260 12

1,356 878

73,700 23,142

3,896 -

3,856 -

352,184 16,100

2,569 -

2,534 -

280,730 26,100

19 54

6 930

2,792 12,770

24 49

18 914

1,640 12,754

4,389

2 5,200

299 464,409

3,914

1 5,701

281 418,347

* เปดเผยเฉพาะกรณีที่ธนาคารฯและบริษัทยอยมีภาระตองจายชําระ

ประเภทความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยน ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร อัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธเพื่อคา ตราสารอนุพันธเพื่อการธนาคาร รวม

2557 มูลคายุติธรรม/การปรับบัญชี ตามเกณฑคงคาง สินทรัพย หนี้สิน

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

จํานวนเงิน ตามสัญญา*

2556 มูลคายุติธรรม/การปรับบัญชี ตามเกณฑคงคาง สินทรัพย หนี้สิน

จํานวนเงิน ตามสัญญา*

411 9

318 87

72,468 7,796

1,260 12

1,353 878

73,700 23,142

3,896 -

3,856 -

352,184 16,100

2,569 -

2,534 -

280,730 26,100

19 54 4,389

6 930 5,197

2,792 12,770 464,110

24 49 3,914

18 914 5,697

1,640 12,754 418,066

* เปดเผยเฉพาะกรณีที่ธนาคารฯมีภาระตองจายชําระ 166

จํานวนเงิน ตามสัญญา*


ตราสารอนุพันธเพื่อปองกันความเสี่ยง (บัญชีเพื่อการธนาคาร) เปนภาระผูกพันตามสัญญาลวงหนาที่มิไดมี ไวเพื่อคา ซึ่งวัดมูลคาดวยวิธีคงคาง โดยผลกําไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นป แสดงเปน สินทรัพยตราสารอนุพันธ/หนี้สินตราสารอนุพันธ สําหรับดอกเบี้ยคางรับ/คางจายตามสัญญาจะบันทึกเปน ลูกหนี้และเจาหนี้ตามสัญญาในสวนของสินทรัพยอื่น/หนี้สินอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สัดสวนการทําธุรกรรมตราสารอนุพันธเพื่อคาแบงตามประเภทคูสัญญา โดยพิจารณาจากจํานวนเงินตามสัญญา เปนดังนี้ คูสัญญา สถาบันการเงิน บริษัทในกลุม บุคคลภายนอก รวม

9.

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 รอยละ รอยละ 95.09 95.83 0.01 0.07 4.90 4.10 100.00 100.00

งบการเงินรวม 2557 2556 รอยละ รอยละ 95.03 95.83 4.97 4.17 100.00 100.00

เงินลงทุน

9.1 จําแนกตามประเภทของเงินลงทุน งบการเงินรวม 2557 ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม เงินลงทุนเพื่อคา หลักทรัพยรัฐบาลและ รัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารทุนในความตองการของ ตลาดในประเทศ บวก (หัก): คาเผื่อการปรับมูลคา สุทธิ

2556 ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 ราคาทุน/ ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม ตัดจําหนาย ยุติธรรม

5,978 2

5,990 2

5,150 5,266

4,975 5,214

5,978 2

5,990 2

1,614 36

1,618 36

198

194

17

16

-

-

-

-

6,178 8 6,186

6,186

10,433 (228) 10,205

10,205

5,980 12 5,992

5,992

1,650 4 1,654

1,654

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

167


งบการเงินรวม 2557 ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม เงินลงทุนเผื่อขาย หลักทรัพยรัฐบาลและ รัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ตางประเทศ ตราสารทุนในความตองการของ ตลาดในประเทศ

67,685 43,598 11,766

68,504 44,454 11,827

71,398 25,480 14,691

71,805 25,686 14,543

65,699 39,881 11,766

66,479 40,593 11,827

70,619 22,481 14,691

71,027 22,661 14,543

2,850 125,899 2,415 128,314

3,529 128,314

987 112,556 822 113,378

1,344 113,378

1,279 118,625 1,697 120,322

1,423 120,322

868 108,659 431 109,090

859 109,090

11,298 346 11,644

10,986 352 2 11,340 (1) 11,339

11,286 369 1 11,656

10,941 150 1 11,092 (1) 11,091

11,255 185 11,440

10,944 300 2 11,246 (1) 11,245

11,244 317 1 11,562

บวก: คาเผื่อการปรับมูลคา สุทธิ ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด หลักทรัพยรัฐบาลและ รัฐวิสาหกิจ 10,983 ตราสารหนี้ภาคเอกชน 311 เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอน 1 11,295 หัก: คาเผื่อการดอยคา (1) สุทธิ 11,294 เงินลงทุนทั่วไป หนวยลงทุน 57 ตราสารทุนที่ไมอยูในความ ตองการของตลาดในประเทศ 3,799 ตราสารทุนที่ไมอยูในความ ตองการของตลาดตางประเทศ 39 3,895 หัก: คาเผื่อการดอยคา (80) สุทธิ 3,815 149,609 รวมเงินลงทุน - สุทธิ

168

รายงานประจำ�ปี 2557

2556 ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 ราคาทุน/ ราคาทุน/ ราคาทุน มูลคา ราคาทุน มูลคา ตัดจําหนาย ยุติธรรม ตัดจําหนาย ยุติธรรม

87

57

87

3,799

3,781

3,781

39 3,925 (22) 3,903 138,825

39 3,877 (80) 3,797 141,202

39 3,907 (22) 3,885 125,874


9.2 จําแนกตามระยะเวลาคงเหลือของตราสารหนี้ (หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม

2556 ครบกําหนด

2557 ครบกําหนด

เงินลงทุนเผื่อขาย หลักทรัพยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ตางประเทศ รวม บวก (หัก): คาเผื่อการปรับมูลคา รวม ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด หลักทรัพยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนมา รวม หัก: คาเผื่อการดอยคา รวม รวมตราสารหนี้

ไมเกิน 1 ป

1 - 5 ป

เกิน 5 ป

13,782 14,875 28,657 78 28,735

53,413 25,226 11,434 90,073 1,456 91,529

2,522 8,419 106 55 1 2,629 8,474 (1) 2,628 8,474 31,363 100,003

รวม

ไมเกิน 1 ป

1 - 5 ป

เกิน 5 ป

490 3,497 332 4,319 202 4,521

67,685 43,598 11,766 123,049 1,736 124,785

21,384 2,894 2,921 27,199 84 27,283

42,482 19,173 11,439 73,094 401 73,495

7,532 71,398 3,413 25,480 331 14,691 11,276 111,569 (20) 465 11,256 112,034

42 150 192 192 4,713

10,983 311 1 11,295 (1) 11,294 136,079

177 2 179 (1) 178 27,461

10,944 25 10,969 10,969 84,464

42 150 192 192 11,448

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

รวม

10,986 352 2 11,340 (1) 11,339 123,373

169


(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ครบกําหนด

เงินลงทุนเผื่อขาย หลักทรัพยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ตางประเทศ รวม บวก (หัก): คาเผื่อการปรับมูลคา รวม ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด หลักทรัพยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ภาคเอกชน เงินลงทุนในลูกหนี้ที่รับโอนมา รวม หัก: คาเผื่อการดอยคา รวม รวมตราสารหนี้

2556 ครบกําหนด รวม

ไมเกิน 1 ป

1 - 5 ป

เกิน 5 ป

2,329 332 2,661 114 2,775

65,699 39,881 11,766 117,346 1,553 118,899

20,933 2,370 2,921 26,224 80 26,304

42,368 17,706 11,439 71,513 384 71,897

7,318 70,619 2,405 22,481 331 14,691 10,054 107,791 (24) 440 10,030 108,231

150 150 150 2,925

10,941 150 1 11,092 (1) 11,091 129,990

150 2 152 (1) 151 26,455

10,944 10,944 10,944 82,841

150 150 150 10,180

ไมเกิน 1 ป

1 - 5 ป

เกิน 5 ป

13,782 14,560 28,342 76 28,418

51,917 22,992 11,434 86,343 1,363 87,706

2,522 1 2,523 (1) 2,522 30,940

8,419 8,419 8,419 96,125

รวม

10,944 300 2 11,246 (1) 11,245 119,476

9.3 เงินลงทุนในหลักทรัพยที่ธนาคารฯและบริษัทยอยถือหุนตั้งแตรอยละ 10 ขึ้นไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เงินลงทุนในหลักทรัพยที่ธนาคารฯและบริษัทยอยถือหุนตั้งแตรอยละ 10 ขึ้นไปของจํานวนหุนที่ออกจําหนายแลว แตไมไดเขาขายเปนเงินลงทุนในบริษัทยอยหรือบริษัทรวม จําแนกตาม กลุมอุตสาหกรรมไดดังนี้ งบการเงินรวม 2557 การธนาคารและธุรกิจการเงิน

170

รายงานประจำ�ปี 2557

2556 4

142

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 4 142


10. เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม 10.1 งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมในงบการเงินเฉพาะกิจการซึ่งบันทึก โดยวิธีราคาทุนประกอบดวยเงินลงทุนในหุนสามัญในบริษัทยอยและบริษัทรวม ดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

ชื่อบริษัท บริษัทยอย บริษัท สคิบ จํากัด (มหาชน) บริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด บริษัทหลักทรัพย ธนชาต จํากัด (มหาชน) บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตกรุป ลีสซิ่ง จํากัด บริษัท ธนชาต โบรกเกอร จํากัด บริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุน ธนชาต จํากัด บริษัท สคิบ เซอรวิส จํากัด บริษัท ธนชาตแมเนจเมนท แอนด เซอรวิส จํากัด บริษัท ธนชาต เทรนนิ่ง แอนด ดีเวลลอปเมนท จํากัด รวมเงินลงทุนในบริษัทยอย หัก: คาเผื่อการดอยคา รวมเงินลงทุนในบริษัทยอย - สุทธิ บริษัทรวม บริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) รวมเงินลงทุนในบริษัทรวม รวมเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ สัดสวนการถือหุน มูลคาเงินลงทุน (รอยละ) ตามวิธีราคาทุน 2557 2556 2557 2556

ทุนชําระแลว 2556 2557

เงินปนผลรับ สําหรับป 2557 2556

21,128 2,000 1,500 2,014 740 -

21,128 2,000 1,500 1,611 740 700

99.98 100 100 65.18 100 -

99.98 100 100 65.18 100 100

1,385 2,000 1,858 1,201 867 -

1,385 2,000 1,858 1,201 867 761

786 31 -

431 26 500 -

360 100 100

360 100 100

100 100 75

100 100 75

400 104 97

400 104 97

46 125 272

104 110 109

10 6

10 6

100 100

100 100

5 6

5 6

-

-

5

5

100

100

5

5

17

20

7,928 (5) 7,923

8,689 (5) 8,684

1,277

1,300

821 821 8,744

821 821 9,505

46 46 1,323

42 42 1,342

1,886

1,886

4.07

4.07

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

171


ในเดือนกุมภาพันธ 2556 บริษัท สคิบ จํากัด (มหาชน) ไดจายคืนทุนใหแกผูถือหุนในอัตราหุนละ 0.25 บาท คิดเปนจํานวนเงิน 528 ลานบาท ธนาคารฯบันทึกเงินรับดังกลาวหักออกจากมูลคาเงินลงทุน ในเดือนพฤษภาคม 2556 ธนาคารฯไดจําหนายเงินลงทุนในหุนสามัญทั้งหมดของบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ในราคา 18,440 ลานบาท โดยมีกําไรจากการจําหนายจํานวน 13,128 ลานบาท เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ธนาคารฯไดจําหนายเงินลงทุนในหุนสามัญทั้งหมดของบริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) ในราคา 900 ลานบาท โดยมีกําไรจากการจําหนายจํานวน 126 ลานบาท 10.2 งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เงินลงทุนในบริษัทรวมในงบการเงินรวมซึ่งบันทึกตามวิธีสวนไดเสียประกอบดวย เงินลงทุนในหุนสามัญของบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ดังนี้ ชื่อบริษัท

ทุนชําระแลว 2557 2556 1,886 บมจ. เอ็ม บี เค (ประกอบธุรกิจ 1,886 ใหเชาอสังหาริมทรัพย โรงแรมและบริการ)

สัดสวนการถือหุน (รอยละ) 2557 2556 9.90 9.90

มูลคาเงินลงทุน วิธีราคาทุน วิธีสวนไดเสีย 2557 2556 2557 2556 984 984 1,919 1,835

984

รวมเงินลงทุนในบริษัทรวม

984

1,919

เงินปนผลรับ สําหรับป 2557 2556 112 103

1,835

112

103

(หนวย: ลานบาท) สวนแบงผลกําไร สําหรับป 2557 2556 152 415

152

415

ธนาคารฯและบริษัทยอยบันทึกเงินลงทุนในบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) เปนเงินลงทุนในบริษัทรวม เนื่องจาก บริษัทใหญ ธนาคารฯและบริษัทยอยมีอิทธิพลตอบริษัทดังกลาวอยางเปนสาระสําคัญ 10.3 ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทรวม ก)

ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 และ 2556 และสําหรับปสิ้นสุดวันเดียวกันของแตละป เปนดังนี้ ทุนชําระแลว 30 กันยายน 2557 2556 1,886 1,886

172

รายงานประจำ�ปี 2557

สินทรัพยรวม 30 กันยายน 2557 2556 37,835 39,584

หนี้สินรวม 30 กันยายน 2557 2556 20,567 23,617

รายไดรวมสําหรับป สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 2556 10,001 12,923

(หนวย: ลานบาท) กําไรสําหรับป สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 2556 1,531 4,195


สวนแบงผลกําไรตามวิธีสวนไดเสียจากเงินลงทุนในบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) คํานวณจาก งบการเงินที่มีวันที่แตกตางจากของธนาคารฯ เนื่องจากขอจํากัดของขอมูล แตเปนงบการเงินที่มี ชวงเวลาเทากันในทุก ๆ งวดตามหลักความสม่ําเสมอ ดังนั้น สวนแบงกําไรสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ของบริษัทรวมที่นํามาคํานวณสวนไดเสียอางอิงจากงบการเงินที่ตรวจสอบหรือ สอบทานแลวของบริษัทรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 หลังปรับปรุงดวยผลกระทบจาก นโยบายการบัญชีที่แตกตางกันโดยฝายบริหารของธนาคารฯ ทั้งนี้ ฝายบริหารพิจารณาแลวเห็นวา ผลกํ า ไรสํ า หรั บ ป ดั ง กล า วไม แ ตกต า งอย า งมี ส าระสํ า คั ญ จากผลกํ า ไรสํ า หรั บ ป สิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธันวาคม 2557 ข)

มูลคายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทรวม ณ วั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 และ 2556 มู ลค ายุ ติ ธ รรมของเงิ นลงทุ นในบริ ษั ทร วม ซึ่ งเป นบริ ษั ท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย เปนดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 บมจ. เอ็ม บี เค

2,709

2,606

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 1,114

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

1,072

173


10.4 ขอมูลกระแสเงินสดของบริษัทบริหารสินทรัพยซึ่งเปนบริษัทยอย ขอมูลกระแสเงินสดของบริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด ซึ่งเปนบริษัทยอยของธนาคารฯสําหรับป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เปนดังนี้ 2557 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กําไรกอนภาษีเงินได รายการปรับกระทบกําไรกอนภาษีเงินไดเปนเงินสดรับ(จาย) จากกิจกรรมดําเนินงาน โอนกลับหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ คาเผื่อการดอยคาของทรัพยสินรอการขายและสินทรัพยอื่นเพิ่มขึ้น ประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้น รายไดดอกเบี้ยสุทธิ เงินสดรับจากดอกเบี้ย เงินสดจายดอกเบี้ย เงินสดจายภาษีเงินได กําไรจากการดําเนินงานกอนการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพยและหนี้สินดําเนินงาน สินทรัพยดําเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ ทรัพยสินรอการขาย สินทรัพยอื่น หนี้สินจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน ประมาณการหนี้สิน หนี้สินอื่น เงินสดสุทธิใชไปในกิจกรรมดําเนินงาน เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดลดลงสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ณ วันตนป เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ณ วันสิ้นป

174

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) 2556

960

541

(645) 24 2 (355) 482 (119) (153)

(290) 17 1 (351) 540 (179) (148)

196

131

1,079 428 (6)

980 284 (13)

(1,653) (1) (50) (7) (7) 61 54

(1,505) (3) 69 (57) (57) 118 61


11. เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ 11.1 จําแนกตามประเภทสินเชื่อ งบการเงินรวม 2556 2557 เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินเบิกเกินบัญชี เงินใหกูยืม ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาการเงิน อื่น ๆ หัก: รายไดรอตัดบัญชี รวมเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้สุทธิจาก รายไดรอตัดบัญชี บวก: ดอกเบี้ยคางรับ รวมเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ย คางรับสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1) เงินสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. - รายสินเชื่อ - รายกลุม 2) เงินสํารองสวนเกิน หัก: คาเผื่อการปรับมูลคาจากการปรับ โครงสรางหนี้ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และ ดอกเบี้ยคางรับ - สุทธิ ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย เงินใหกูยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย ลูกหนี้อื่น รวมลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย หัก: คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย - สุทธิ รวมเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และ ดอกเบี้ยคางรับ - สุทธิ

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

20,773 280,967 48,147 454,922 1,210 301 (55,785)

22,104 273,398 49,535 501,914 1,548 201 (62,000)

20,773 270,392 51,048 423,084 884 301 (52,046)

22,104 260,429 54,090 470,286 1,260 201 (57,876)

750,535 779

786,700 1,009

714,436 769

750,494 985

751,314

787,709

715,205

751,479

(18,298) (8,934) (294)

(20,955) (8,635) (20)

(10,922) (8,934) (294)

(12,565) (8,635) (8)

(103)

(301)

(103)

(301)

723,685

757,798

694,952

729,970

3,633 202 3,835 (171) 3,664

3,144 173 3,317 (172) 3,145

-

-

727,349

760,943

694,952

729,970

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

175


11.2 จําแนกตามสกุลเงินและถิ่นที่อยูของลูกหนี้ (หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม

เงินบาท เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินสกุลอื่น ๆ รวม* *

2557 ตางประเทศ 100 8,299 8,399

ในประเทศ 730,307 15,521 143 745,971

รวม 730,407 23,820 143 754,370

ในประเทศ 767,017 17,384 298 784,699

2556 ตางประเทศ 5,318 5,318

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

เงินบาท เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินสกุลอื่น ๆ รวม* *

รวม 767,017 22,702 298 790,017

2557 ตางประเทศ 100 8,299 8,399

ในประเทศ 690,373 15,521 143 706,037

รวม 690,473 23,820 143 714,436

ในประเทศ 727,494 17,384 298 745,176

2556 ตางประเทศ 5,318 5,318

รวม 727,494 22,702 298 750,494

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี

11.3 จําแนกตามประเภทธุรกิจและการจัดชั้น

การเกษตรและเหมืองแร อุตสาหกรรมการผลิตและ การพาณิชย ธุรกิจอสังหาริมทรัพยและ การกอสราง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคสวนบุคคล เพื่อที่อยูอาศัย เพื่อธุรกิจหลักทรัพย เพื่อเชาซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ รวม* *

176

ปกติ 11,540

งบการเงินรวม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ 9 4 6 508

รวม 12,067

บริษัท ยอยอื่น 1

งบการเงิน รวม 12,068

72,116

1,524

1,508

430

6,682

82,260

169

82,429

49,289 61,225

339 1,499

221 352

175 374

1,834 3,915

51,858 67,365

21 89

51,879 67,454

81,045 332,452 25,329 23,609 656,605

1,171 29,113 787 13 34,455

557 2,304 668 106 5,720

534 2,297 244 64 4,124

2,338 5,066 671 214 21,228

85,645 371,232 27,699 24,006 722,132

19 3,835 28,053 43 8 32,238

85,664 3,835 399,285 27,742 24,014 754,370

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท)


การเกษตรและเหมืองแร อุตสาหกรรมการผลิตและ การพาณิชย ธุรกิจอสังหาริมทรัพยและ การกอสราง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคสวนบุคคล เพื่อที่อยูอาศัย เพื่อธุรกิจหลักทรัพย เพื่อเชาซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ รวม* *

ปกติ 11,180

งบการเงินรวม 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ 32 21 577 179

รวม 11,989

บริษัท งบการเงิน ยอยอื่น รวม 2 11,991

70,056

410

1,654

2,594

6,135

80,849

120

80,969

47,593 59,812

293 1,876

410 357

222 3,165

2,104 2,910

50,622 68,120

16 104

50,638 68,224

77,940 374,455 25,304 22,414

1,299 29,946 976 32

580 2,302 699 108

547 1,968 160 83

3,299 3,962 857 249

83,665 412,633 27,996 22,886

8 3,317 27,464 213 13

83,673 3,317 440,097 28,209 22,899

688,754

34,864

6,131

9,316

19,695

758,760

31,257

790,017

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี

การเกษตรและเหมืองแร อุตสาหกรรมการผลิตและการพาณิชย ธุรกิจอสังหาริมทรัพยและการกอสราง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคสวนบุคคล เพื่อที่อยูอาศัย เพื่อเชาซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ รวม* *

(หนวย: ลานบาท)

ปกติ 11,465 71,992 49,223 59,967

กลาวถึง เปนพิเศษ 8 1,316 304 1,482

80,884 332,381 25,302 26,509 657,723

1,120 29,102 781 6 34,119

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ต่ํากวา มาตรฐาน สงสัย 4 5 451 259 204 174 243 134 526 2,303 658 3 4,392

515 2,297 239 3,623

(หนวย: ลานบาท)

สงสัย จะสูญ 411 3,173 1,077 2,845

รวม 11,893 77,191 50,982 64,671

1,609 5,065 360 39 14,579

84,654 371,148 27,340 26,557 714,436

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

177


การเกษตรและเหมืองแร อุตสาหกรรมการผลิตและการพาณิชย ธุรกิจอสังหาริมทรัพยและการกอสราง การสาธารณูปโภคและบริการ การบริโภคสวนบุคคล เพื่อที่อยูอาศัย เพื่อเชาซื้อ อื่น ๆ อื่น ๆ รวม* *

ปกติ 11,148 69,778 47,518 58,505

กลาวถึง เปนพิเศษ 26 361 275 1,869

77,784 374,389 25,274 26,961 691,357

1,269 29,939 972 32 34,743

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ต่ํากวา มาตรฐาน สงสัย 10 538 328 614 391 221 279 2,845 557 2,302 693 3 4,563

(หนวย: ลานบาท)

สงสัย จะสูญ 67 3,623 1,130 1,566

รวม 11,789 74,704 49,535 65,064

2,230 3,962 378 10 12,966

82,368 412,560 27,450 27,024 750,494

528 1,968 133 18 6,865

ยอดรวมเงินใหสินเชื่อสุทธิจากรายไดรอตัดบัญชี

11.4 สินเชื่อดอยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯ และบริษัทยอย (ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพยและธุรกิจบริหารสินทรัพย) มีสินเชื่อดอยคุณภาพตามเกณฑของ ธปท. และ กลต. (หมายถึงเงินใหสินเชื่อที่จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน สงสัย และ สงสัยจะสูญ) ดังนี้ งบการเงินรวม 2557 เงินใหสินเชื่อดอยคุณภาพ (ไมรวมดอกเบี้ยคางรับ) ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย ธุรกิจบริหารสินทรัพย

22,597 172 8,475

2556

24,395 173 10,747

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

22,595 -

24,394 -

เงินใหสินเชื่อดอยคุณภาพตามที่กลาวไวขางตนไมนับรวมเงินใหสินเชื่อที่คางชําระที่ไดมีการทําสัญญาปรับ โครงสรางหนี้แลว และเขาเงื่อนไขการจัดชั้นเปนลูกหนี้ชั้นปกติหรือกลาวถึงเปนพิเศษ

178

รายงานประจำ�ปี 2557


นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย มีเงินใหสินเชื่อที่ระงับการรับรูรายไดตามเกณฑ คงคาง ดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 23,028 24,417 -

งบการเงินรวม 2557 23,031 172

ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย

2556 24,417 173

บริษัทยอยที่เปนบริษัทบริหารสินทรัพยจะรับรูรายไดจากเงินใหสินเชื่อตามเกณฑเงินสด 11.5 การปรับโครงสรางหนี้ ในระหวางป 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอย (ที่เปนบริษัทบริหารสินทรัพยและบริษัทหลักทรัพย) ไดทําสัญญาปรับโครงสรางหนี้กับลูกหนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

รูปแบบการปรับโครงสราง 2557 การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ การโอนสินทรัพย และ/หรือหุนทุน และ/หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ รวม

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ชนิดของ ยอดคงเหลือตาม ยอดคงเหลือตาม สินทรัพย จํานวนราย บัญชีกอนการปรับ บัญชีหลังการปรับ ที่จะรับโอน (1) (1) ลูกหนี้ โครงสรางหนี้ โครงสรางหนี้ ตามสัญญา ลานบาท ลานบาท 3,770 55

6,182 570

6,158 513

3,825

6,752

6,671

2556 การโอนหุนทุนในลูกหนี้ (แปลงหนี้เปนทุน) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ การโอนสินทรัพย และ/หรือหุนทุน และ/หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้

1 4,762 26

21 10,162 1,120

21 10,130 886

รวม

4,789

11,303

11,037

มูลคา ของสินทรัพย ที่จะรับโอน ตามสัญญา ลานบาท

ที่ดิน, ที่ดินพรอม สิ่งปลูกสราง

หุนสามัญ ที่ดิน ที่ดินพรอม สิ่งปลูกสราง และ สังหาริมทรัพย

447

427

(1) แสดงดวยยอดคงเหลือตามบัญชี (เงินตนบวกดอกเบี้ยคางรับ)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

179


รูปแบบการปรับโครงสราง 2557 การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ การโอนสินทรัพย และ/หรือหุนทุน และ/หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ รวม 2556 การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ การโอนสินทรัพย และ/หรือหุนทุน และ/หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ชนิดของ ยอดคงเหลือตาม ยอดคงเหลือตาม สินทรัพย จํานวนราย บัญชีกอนการปรับ บัญชีหลังการปรับ ที่จะรับโอน (1) (1) ลูกหนี้ โครงสรางหนี้ โครงสรางหนี้ ตามสัญญา ลานบาท ลานบาท 3,587 27

4,456 140

4,456 140

3,614

4,596

4,596

4,499 19

6,570 270

6,570 270

4,518

6,840

6,840

มูลคา ของสินทรัพย ที่จะรับโอน ตามสัญญา ลานบาท

ที่ดินและ สิ่งปลูกสราง

146

ที่ดินและ สิ่งปลูกสราง

149

(1) แสดงดวยยอดคงเหลือตามบัญชี (เงินตนบวกดอกเบี้ยคางรับ)

ลูกหนี้ของธนาคารฯและบริษัทยอยที่มีการทําสัญญาปรับโครงสรางหนี้ในระหวางป 2557 และ 2556 มีระยะเวลา การชําระหนี้ตามสัญญาโดยนับจากอายุหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปไดดังนี้ งบการเงินรวม 2557

ระยะเวลา ผิดนัดชําระแลวภายหลังทําสัญญา มีกําหนดชําระในป นอยกวา 5 ป 5 - 10 ป 10 - 15 ป มากกวา 15 ป รวม

180

รายงานประจำ�ปี 2557

จํานวนรายลูกหนี้ 1,543 497 869 795 47 74 3,825

ยอดคงเหลือตาม บัญชีหลังการ ปรับโครงสรางหนี้ ลานบาท 1,976 2,279 1,345 731 195 145 6,671

2556

จํานวนรายลูกหนี้ 2,111 454 701 1,300 77 146 4,789

ยอดคงเหลือตาม บัญชีหลังการ ปรับโครงสรางหนี้ ลานบาท 4,064 2,723 1,081 2,564 304 301 11,037


งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

ระยะเวลา

จํานวนรายลูกหนี้

ผิดนัดชําระแลวภายหลังทําสัญญา มีกําหนดชําระในป นอยกวา 5 ป 5 - 10 ป 10 - 15 ป มากกวา 15 ป รวม

1,517 419 845 736 31 66 3,614

2556

ยอดคงเหลือตาม บัญชีหลังการ ปรับโครงสรางหนี้ ลานบาท 1,931 1,549 283 584 115 134 4,596

ยอดคงเหลือตาม บัญชีหลังการ ปรับโครงสรางหนี้ ลานบาท 2,869 2,043 787 768 121 252 6,840

จํานวนรายลูกหนี้ 2,076 397 660 1,204 53 128 4,518

ขอมูลสําหรับป 2557 และ 2556 ที่เกี่ยวของกับลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสรางหนี้มีดังนี้

ดอกเบี้ยที่รับรูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เงินสดที่รับชําระจากลูกหนี้ ทรัพยสินที่รับโอนจากลูกหนี้ ขาดทุนจากการปรับโครงสรางหนี้ (สุทธิจากคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เคยกันไว) ขาดทุนจากการลดหนี้ตามสัญญา

งบการเงินรวม 2557 2556 1,457 2,067 9,479 11,227 762 829 12 57

5 -

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 1,143 1,651 8,312 9,661 456 551 12 57

5 -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีเงินใหสินเชื่อคงเหลือ (เงินตนและดอกเบี้ย คางรับ) ที่ไดมีการทําสัญญาปรับโครงสรางหนี้แลวทั้งสิ้นดังนี้ ลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสรางหนี้ จํานวนรายของ ลูกหนี้ทั้งหมด 2557 2556 ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย ธนชาต จํากัด (มหาชน) บริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด

1,811,913 1,861,434 1,411 538 1,468 1,804

จํานวนราย 2557 2556 31,690 3 1,155

จํานวนหนี้คงคาง 2557 2556 ลานบาท ลานบาท 43,138 14,465 20,222 3 35 35 1,330 8,720 10,120

จํานวนหนี้คงคาง สุทธิจากหลักประกัน 2557 2556 ลานบาท ลานบาท 7,260 10,983 35 35 4,190 4,877

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

181


11.6 ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอย (ที่ประกอบธุรกิจเชาซื้อและเชาการเงิน) มีลูกหนี้ ภายใตสัญญาเชาซื้อและสัญญาเชาการเงิน ซึ่งสวนใหญเปนสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงินสําหรับรถยนต รถบรรทุก และรถจักรยานยนต อายุของสัญญามีระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ถึง 7 ป และคิดดอกเบี้ยในอัตรารอยละ คงที่ตามที่ระบุในสัญญา

ผลรวมของเงินลงทุนขั้นตนตามสัญญา หัก: รายไดทางการเงินรอการรับรู มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ลูกหนี้ตองจาย ตามสัญญา

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จํานวนเงินที่ถึงกําหนดชําระจายตามสัญญา ไมเกิน 1 ป * 1 - 5 ป มากกวา 5 ป รวม 135,926 300,553 19,653 456,132 (33,586) (1,127) (55,739) (21,026) 114,900

266,967

18,526

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงิน - สุทธิ

400,393 (11,307) 389,086

* รวมลูกหนี้ที่ไมกอใหเกิดรายได

ผลรวมของเงินลงทุนขั้นตนตามสัญญา หัก: รายไดทางการเงินรอการรับรู มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ลูกหนี้ตองจาย ตามสัญญา คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงิน - สุทธิ * รวมลูกหนี้ที่ไมกอใหเกิดรายได

182

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 จํานวนเงินที่ถึงกําหนดชําระจายตามสัญญา ไมเกิน 1 ป * 1 - 5 ป มากกวา 5 ป รวม 141,793 341,001 20,668 503,462 (38,057) (962) (61,943) (22,924) 118,869

302,944

19,706

441,519 (10,366) 431,153


ผลรวมของเงินลงทุนขั้นตนตามสัญญา หัก: รายไดทางการเงินรอการรับรู มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ลูกหนี้ตองจาย ตามสัญญา

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จํานวนเงินที่ถึงกําหนดชําระจายตามสัญญา ไมเกิน 1 ป * 1 - 5 ป มากกวา 5 ป รวม 134,102 270,317 19,549 423,968 (29,917) (1,111) (52,000) (20,972) 113,130

240,400

18,438

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงิน - สุทธิ

371,968 (9,485) 362,483

* รวมลูกหนี้ที่ไมกอใหเกิดรายได

ผลรวมของเงินลงทุนขั้นตนตามสัญญา หัก: รายไดทางการเงินรอการรับรู มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ลูกหนี้ตองจาย ตามสัญญา

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 จํานวนเงินที่ถึงกําหนดชําระจายตามสัญญา ไมเกิน 1 ป * 1 - 5 ป มากกวา 5 ป รวม 140,289 310,724 20,533 471,546 (34,008) (941) (57,820) (22,871) 117,418

276,716

19,592

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/เชาการเงิน - สุทธิ

413,726 (8,995) 404,731

* รวมลูกหนี้ที่ไมกอใหเกิดรายได

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

183


11.7 จําแนกตามประเภทการจัดชั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน (บริษัทบริหารสินทรัพย) มีเงินใหสินเชื่อจัดชั้น และเงินสํารองที่เกี่ยวของตามเกณฑในประกาศของ ธปท. ดังนี้ (1)

ลูกหนี้จัดชั้นปกติ ลูกหนี้จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ ลูกหนี้จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

เงินใหสินเชื่อและ ดอกเบี้ยคางรับ 2557 2556 657,326 689,679 34,484 34,903 5,722 6,133 4,124 9,324 21,255 19,724 759,763 722,911

เงินสํารองสวนเกินเผื่อหนี้ที่อาจเรียกเก็บไมได

รวม

งบการเงินรวม ยอดสุทธิที่ใชในการตั้ง คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2557 2556 454,665 492,418 30,177 31,413 3,335 3,888 2,823 5,566 12,599 10,300 503,599 543,585

(หนวย: ลานบาท)

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ(2) 2557 2556 5,832 7,163 4,342 4,217 2,392 2,705 1,703 5,125 11,141 9,022 25,410 294 25,704

28,232 8 28,240

(1) เฉพาะธนาคารฯและบริษัทยอยที่อยูภายใตการควบคุมของธปท. และหลังหักรายการระหวางกัน (2) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีสํารองสวนเกินกวาสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. ที่สนส. 31/2551 จํานวน 7,012 ลานบาท (2556: จํานวน 6,610 ลานบาท) โดยธนาคารฯและบริษัทยอยไดจัดสรรสํารองสวนที่เกินกวาสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. จํานวน 6,718 ลานบาท (2556: จํานวน 6,602 ลานบาท)ไปเปนสํารองของลูกหนี้รายตัว ซึ่งเมื่อรวมกับยอดเงินสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. จํานวน 18,692 ลานบาท (2556: จํานวน 21,630 ลานบาท) จะทําใหยอดเงินสํารองตามเกณฑธปท.ทั้งสิ้นมีจํานวน 25,410 ลานบาท (2556: จํานวน 28,232 ลานบาท)

184

รายงานประจำ�ปี 2557


ลูกหนี้จัดชั้นปกติ ลูกหนี้จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ ลูกหนี้จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

เงินใหสินเชื่อและ ดอกเบี้ยคางรับ 2557 2556 658,444 692,285 34,149 34,782 4,394 4,565 3,623 6,865 14,595 12,982 751,479 715,205

งบการเงินเฉพาะกิจการ ยอดสุทธิที่ใชในการตั้ง คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2557 2556 456,263 495,610 30,153 31,382 3,113 3,265 2,653 3,576 8,776 7,230 500,958 541,063

เงินสํารองสวนเกินเผื่อหนี้ที่อาจเรียกเก็บไมได

รวม

(หนวย: ลานบาท)

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ(3) 2557 2556 5,088 5,845 4,305 4,186 2,052 2,082 1,502 3,135 6,909 5,952 19,856 294 20,150

21,200 8 21,208

(3) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯมีสํารองสวนเกินกวาสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. ที่สนส. 31/2551 จํานวน 5,657 ลานบาท (2556: จํานวน 6,034 ลานบาท) โดยธนาคารฯไดจัดสรรสํารองสวนที่เกินกวาสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. จํานวน 5,363 ลานบาท (2556: จํานวน 6,026 ลานบาท)ไปเปนสํารองของลูกหนี้รายตัว ซึ่งเมื่อรวมกับยอดเงินสํารองขั้นต่ําตามเกณฑ ธปท. จํานวน 14,493 ลานบาท (2556: จํานวน 15,174 ลานบาท) จะทําใหยอดเงินสํารองตามเกณฑธปท.ทั้งสิ้นมีจํานวน 19,856 ลานบาท (2556: จํานวน 21,200 ลานบาท)

ลูกหนี้จัดชั้นปกติ ลูกหนี้จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ ลูกหนี้จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ

อัตราที่ใชในการตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (รอยละ) ลูกหนี้เชาซื้อสวนบุคคลเฉพาะ ของธนาคารฯ(4) เงินใหสินเชื่ออื่น 2557 2556 2557 2556 0.52 0.58 1 1 8.47 8.49 2 2 52.63 47.13 100 100 48.56 41.73 100 100 51.73 57.91 100 100

(4) อัตรารอยละดังกลาวเปนอัตรารอยละเฉลี่ยที่ใชในการตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

185


11.8 เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ที่มีปญหา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เงินใหสินเชื่อของธนาคารฯและบริษัทยอย (ที่ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย และธุรกิจเชาซื้อและเชาการเงิน) ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ไดรวมลูกหนี้ที่มีปญหา เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ดังนี้ งบการเงินรวม จํานวนรายลูกหนี้ 2557 2556 1. บริษัทจดทะเบียนที่เขาขายถูกเพิกถอนจาก การเปนหลักทรัพยจดทะเบียนของตลาด หลักทรัพย 2. บริษัทอื่นที่มิใชบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย แตมีผลการดําเนินงานและฐานะ การเงินเชนเดียวกับบริษัทจดทะเบียนที่เขา ขายถูกเพิกถอนจากการเปนหลักทรัพย จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย 3. บริษัทที่มีปญหาในการชําระหนี้หรือผิดนัด ชําระหนี้

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มูลหนี้ มูลคาหลักประกัน ที่บันทึกในบัญชีแลว 2557 2556 2557 2556 2557 2556 ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท 713 823 67 85 681 768

6

7

45

41

898

1,011

585

521

312

490

995

1,179

14,419

17,976

7,897

10,249

6,754

8,519

งบการเงินเฉพาะกิจการ จํานวนรายลูกหนี้ 2557 2556

186

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มูลหนี้ มูลคาหลักประกัน ที่บันทึกในบัญชีแลว 2557 2556 2557 2556 2557 2556 ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท 76 180 22 40 54 140

1. บริษัทจดทะเบียนที่เขาขายถูกเพิกถอนจาก การเปนหลักทรัพยจดทะเบียนของตลาด หลักทรัพย

3

4

2. บริษัทอื่นที่มิใชบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย แตมีผลการดําเนินงานและฐานะ การเงินเชนเดียวกับบริษัทจดทะเบียนที่เขา ขายถูกเพิกถอนจากการเปนหลักทรัพย จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย 3. บริษัทที่มีปญหาในการชําระหนี้หรือผิดนัด ชําระหนี้

45

41

898

1,011

585

521

312

490

724

856

6,821

9,084

3,957

5,789

2,864

3,295

รายงานประจำ�ปี 2557


11.9 ลู ก หนี้ ธุ ร กิ จ หลั ก ทรั พ ย จั ด ชั้ น ตามประกาศสํ า นั ก งานคณะกรรมการกํ า กั บ หลั ก ทรั พ ย แ ละ ตลาดหลักทรัพย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 บริษัทยอยที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพยจําแนกลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย และดอกเบี้ ย ค า งรั บ ตามประกาศของสํ า นั ก งานคณะกรรมการกํ า กั บ หลั ก ทรั พ ย แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย (“กลต.”) เรื่องการจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ดอยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย ซึ่งสามารถสรุปลูกหนี้จัดชั้น ไดดังนี้

มูลหนี้จัดชั้นปกติ มูลหนี้จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน มูลหนี้จัดชั้นสงสัย รวม

จํานวนมูลหนี้ 2557 2556 3,663 3,144 5 3 167 170 3,835 3,317

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่ตั้งไว 2557 2556 4 2 167 170 171 172

(หนวย: ลานบาท) มูลหนี้สุทธิหลังหัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2557 2556 3,663 3,144 1 1 3,664 3,145

บริษัทยอยไดพิจารณาตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสําหรับมูลหนี้จัดชั้นต่ํากวามาตรฐานเกินกวาเกณฑขั้นต่ํา ตามที่ กลต. กําหนด โดยพิจารณาจากความไมแนนอนของมูลคาหลักประกันและความเสี่ยงในการรับชําระ หนี้จากลูกหนี้จัดชั้นดังกลาว 11.10 ลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อ/สัญญาเชาการเงินของบริษัทยอยแยกตามอายุคงคาง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ยอดลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อและสัญญาเชาการเงินของบริษัทยอย ซึ่ง ดําเนินธุรกิจเชาซื้อและใหเชาตามสัญญาเชาระยะยาวจําแนกตามอายุลูกหนี้ที่คางชําระโดยนับจากวันที่ที่ครบ กําหนดชําระตามสัญญา (หลังหักรายการระหวางกัน) ไดดังนี้

ไมคางชําระหรือคางชําระไมเกิน 90 วัน เกินกําหนดชําระ 91-365 วัน เกินกําหนดชําระมากกวา 1 ป ลูกหนี้ระหวางการดําเนินคดี รวม

2557 26,824 1,018 131 367 28,340

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไวตามบัญชี

1,822

(หนวย: ลานบาท) 2556 26,657 712 62 288 27,719

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

1,370

187


12. คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (หนวย: ลานบาท)

ยอดตนป จํานวนที่ตั้งเพิ่ม(ลด) ในระหวางป หนี้สูญรับคืน หนี้สูญตัดบัญชี โอนกลับจากการลดหนี้ โอนกลับจากการขายหนี้ ยอดปลายป

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย สํารอง ปกติ เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ สวนเกิน รวม 7,163 4,217 2,705 5,125 9,022 8 28,240

บริษัท งบการเงิน ยอยอื่น รวม 1,542 29,782

(1,331) 5,832

574 8 (115) (16) 1,993

125 4,342

(313) (3,420) (2) 2,392 1,703

11,354 941 (7,432) (94) (2,650) 11,141

286 294

6,701 941 (7,432) (94) (2,652) 25,704

7,275 949 (7,547) (94) (2,668) 27,697

(หนวย: ลานบาท)

ยอดตนป จํานวนที่ตั้งเพิ่ม(ลด) ในระหวางป หนี้สูญรับคืน หนี้สูญตัดบัญชี โอนกลับจากการลดหนี้ โอนกลับจากการขายหนี้ ยอดปลายป

188

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย สํารอง ปกติ เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ สวนเกิน รวม 4,834 1,475 3,535 2,393 10,109 499 22,845

บริษัท งบการเงิน ยอยอื่น รวม 930 23,775

2,329 7,163

664 13 (35) (30) 1,542

2,742 4,217

(830) 2,705

2,732 5,125

4,368 654 (5,033) (378) (698) 9,022

(491) 10,850 654 - (5,033) (378) (698) 8 28,240

11,514 667 (5,068) (378) (728) 29,782


(หนวย: ลานบาท)

ยอดตนป จํานวนที่ตั้งเพิ่ม (ลด) ในระหวางป หนี้สูญรับคืน หนี้สูญตัดบัญชี โอนกลับจากการขายหนี้ ยอดปลายป

ปกติ 5,845 (757) 5,088

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ 4,186 2,082 3,135 5,952 119 4,305

(30) 2,052

(1,633) 1,502

9,344 941 (7,432) (1,896) 6,909

สํารอง สวนเกิน 8

รวม 21,208

286 294

7,329 941 (7,432) (1,896) 20,150

(หนวย: ลานบาท)

ยอดตนป จํานวนที่ตั้งเพิ่ม (ลด) ในระหวางป หนี้สูญรับคืน หนี้สูญตัดบัญชี โอนกลับจากการลดหนี้ โอนกลับจากการขายหนี้ ยอดปลายป

ปกติ 3,260 2,585 5,845

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 กลาวถึง ต่ํากวา สงสัย เปนพิเศษ มาตรฐาน สงสัย จะสูญ 1,465 1,790 2,102 5,952 2,721 4,186

292 2,082

1,033 3,135

4,984 654 (5,033) (64) (541) 5,952

สํารอง สวนเกิน 499

รวม 15,068

(491) 8

11,124 654 (5,033) (64) (541) 21,208

13. คาเผื่อการปรับมูลคาจากการปรับโครงสรางหนี้

ยอดตนป ตัดจําหนายในระหวางป ยอดปลายป

งบการเงินรวม 2556 2557 301 344 (198) (43) 301 103

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 301 344 (198) (43) 103 301

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

189


14. คุณภาพสินทรัพย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 คุณภาพสินทรัพยของธนาคารฯและบริษัทยอยที่เปนสถาบันการเงิน (บริษัท บริหารสินทรัพย) จัดประเภทตามประกาศของธนาคารแหงประเทศไทยเปนดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม 2557

จัดชั้นปกติ จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน จัดชั้นสงสัย จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

รายการระหวาง เงินใหสินเชื่อ ธนาคารและ แกลูกหนี้และ ตลาดเงิน ดอกเบีย้ คางรับ 46,399 657,326 34,484 5,722 4,124 21,255 46,399 722,911

เงินลงทุน 128 128

ทรัพยสิน รอการขาย 259 259

สินทรัพยอื่น 276 133 19 17 279 724

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม 2556

จัดชั้นปกติ จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน จัดชั้นสงสัย จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

190

รายงานประจำ�ปี 2557

รายการระหวาง เงินใหสินเชื่อ ธนาคารและ แกลูกหนี้และ ตลาดเงิน ดอกเบีย้ คางรับ 44,361 689,679 34,903 6,133 9,324 19,724 44,361 759,763

เงินลงทุน 293 293

ทรัพยสิน รอการขาย 301 301

รวม 704,001 34,617 5,741 4,141 21,921 770,421

สินทรัพยอื่น 277 135 18 16 260 706

รวม 734,317 35,038 6,151 9,340 20,578 805,424


(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

จัดชั้นปกติ จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน จัดชั้นสงสัย จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

รายการระหวาง เงินใหสินเชื่อ ธนาคารและ แกลูกหนี้และ ตลาดเงิน ดอกเบีย้ คางรับ 47,449 658,444 34,149 4,394 3,623 14,595 47,449 715,205

เงินลงทุน 132 132

ทรัพยสิน รอการขาย 200 200

สินทรัพยอื่น 276 133 19 17 264 709

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556

จัดชั้นปกติ จัดชั้นกลาวถึงเปนพิเศษ จัดชั้นต่ํากวามาตรฐาน จัดชั้นสงสัย จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวม

รายการระหวาง เงินใหสินเชื่อ ธนาคารและ แกลูกหนี้และ ตลาดเงิน ดอกเบีย้ คางรับ 44,911 692,285 34,782 4,565 6,865 12,982 44,911 751,479

เงินลงทุน 298 298

ทรัพยสิน รอการขาย 264 264

รวม 706,169 34,282 4,413 3,640 15,191 763,695

สินทรัพยอื่น 277 135 18 16 246 692

รวม 737,473 34,917 4,583 6,881 13,790 797,644

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

191


15. ทรัพยสินรอการขาย

ยอดตนป ทรัพยสินที่ไดจากการรับชําระหนี้ อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก สังหาริมทรัพย ทรัพยสินที่ไดจากการประมูลซื้อ จากการขายทอดตลาด อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก สาขาที่ไมไดใชงาน ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก รวมทรัพยสินรอการขาย หัก: คาเผื่อการดอยคา ทรัพยสินรอการขาย - สุทธิ

192

รายงานประจำ�ปี 2557

ยอดปลายป

4,552 1,283

545 8,025

(688) (7,764)

4,409 1,544

530

136

(62)

604

241 6,606 (315) 6,291

14 8,720 (798) 7,922

(13) (8,527) 821 (7,706)

242 6,799 (292) 6,507

ยอดตนป ทรัพยสินที่ไดจากการรับชําระหนี้ อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก ประเมินราคาโดยผูประเมินภายใน สังหาริมทรัพย ทรัพยสินที่ไดจากการประมูลซื้อ จากการขายทอดตลาด อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก ประเมินราคาโดยผูประเมินภายใน สาขาที่ไมไดใชงาน ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก รวมทรัพยสินรอการขาย หัก: คาเผื่อการดอยคา ทรัพยสินรอการขาย - สุทธิ

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น จําหนาย

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เปลี่ยน เพิ่มขึ้น จําหนาย ผูประเมิน

(หนวย: ลานบาท)

ยอดปลายป

5,199 30 674

293 4 8,058

(970) (4) (7,449)

30 (30) -

4,552 1,283

443 3

167 1

(84) -

4 (4)

530 -

300 6,649 (188) 6,461

87 8,610 (851) 7,759

(146) (8,653) 724 (7,929)

-

241 6,606 (315) 6,291


ยอดตนป ทรัพยสินที่ไดจากการรับชําระหนี้ อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก สังหาริมทรัพย ทรัพยสินที่ไดจากการประมูลซื้อ จากการขายทอดตลาด อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก สาขาที่ไมไดใชงาน ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก รวมทรัพยสินรอการขาย หัก: คาเผื่อการดอยคา ทรัพยสินรอการขาย - สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น จําหนาย

(หนวย: ลานบาท)

ยอดปลายป

1,449 1,143

223 7,465

(256) (7,180)

1,416 1,428

428

39

(49)

418

241 3,261 (264) 2,997

14 7,741 (729) 7,012

(13) (7,498) 793 (6,705)

242 3,504 (200) 3,304 (หนวย: ลานบาท)

ยอดตนป ทรัพยสินที่ไดจากการรับชําระหนี้ อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก ประเมินราคาโดยผูประเมินภายใน สังหาริมทรัพย ทรัพยสินที่ไดจากการประมูลซื้อ จากการขายทอดตลาด อสังหาริมทรัพย ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก ประเมินราคาโดยผูประเมินภายใน สาขาที่ไมไดใชงาน ประเมินราคาโดยผูประเมินภายนอก รวมทรัพยสินรอการขาย หัก: คาเผื่อการดอยคา ทรัพยสินรอการขาย - สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เปลี่ยน เพิ่มขึ้น จําหนาย ผูประเมิน

ยอดปลายป

1,904 7 641

98 5 7,726

(564) (1) (7,224)

11 (11) -

1,449 1,143

464 2

41 -

(79) -

2 (2)

428 -

300 3,318 (152) 3,166

87 7,957 (811) 7,146

(146) (8,014) 699 (7,315)

-

241 3,261 (264) 2,997

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

193


16. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อาคารและ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้งและ งานระหวาง อาคาร อุปกรณ ยานพาหนะ ติดตั้ง

ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2556 ซื้อเพิ่ม ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอน/จําหนาย 31 ธันวาคม 2557 คาเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2556 โอน/จําหนาย ลดลงจากการขายบริษัทยอย คาเสื่อมราคาสําหรับป 31 ธันวาคม 2557 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2556 31 ธันวาคม 2557 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557 คาเสื่อมราคาสําหรับป

194

รายงานประจำ�ปี 2557

รวม

4,455 (11) 4,444

2,359 2 (46) 2,315

5,771 512 (14) (300) 5,969

128 6 (43) 91

163 136 (209) 90

12,876 656 (14) (609) 12,909

-

409 (36) 124 497

4,233 (499) (10) 586 4,310

97 (41) 12 68

-

4,739 (576) (10) 722 4,875

68 68

26 26

6 6

-

-

100 100

4,376

1,792

1,653

23

90

7,934 722


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 อาคารและ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้งและ งานระหวาง อาคาร อุปกรณ ยานพาหนะ ติดตั้ง

ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2555 ซื้อเพิ่ม ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอน/จําหนาย 31 ธันวาคม 2556 คาเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2555 โอน/จําหนาย ลดลงจากการขายบริษัทยอย คาเสื่อมราคาสําหรับป 31 ธันวาคม 2556 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2555 31 ธันวาคม 2556 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2556

4,514 (59) 4,455

2,444 (60) (25) 2,359

5,586 501 (230) (86) 5,771

184

-

308 (2) (27) 130 409

68 68 4,387

รวม

9 (3) (62) 128

112 189 (138) 163

12,840 699 (293) (370) 12,876

3,997 (202) (156) 594 4,233

143 (59) (3) 16 97

-

4,448 (263) (186) 740 4,739

26 26

6 6

-

-

100 100

1,924

1,532

31

163

8,037

คาเสื่อมราคาสําหรับป

740

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

195


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อาคารและ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้ง งานระหวาง อาคาร และอุปกรณ ยานพาหนะ ติดตั้ง

ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2556 ซื้อเพิ่ม โอน/จําหนาย 31 ธันวาคม 2557 คาเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2556 โอน/จําหนาย คาเสื่อมราคาสําหรับป 31 ธันวาคม 2557 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2556 31 ธันวาคม 2557 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557 คาเสื่อมราคาสําหรับป

196

รายงานประจำ�ปี 2557

รวม

4,370 (11) 4,359

2,242 (15) 2,227

4,449 479 56 4,984

54 (20) 34

162 131 (203) 90

11,277 610 (193) 11,694

-

353 (4) 121 470

3,089 (143) 528 3,474

43 (19) 5 29

-

3,485 (166) 654 3,973

-

-

5 5

-

-

5 5

4,359

1,757

1,505

5

90

7,716 654


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 อาคารและ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้ง งานระหวาง อาคาร และอุปกรณ ยานพาหนะ ติดตั้ง

ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2555 ซื้อเพิ่ม โอน/จําหนาย 31 ธันวาคม 2556 คาเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2555 โอน/จําหนาย คาเสื่อมราคาสําหรับป 31 ธันวาคม 2556 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2555 31 ธันวาคม 2556 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2556

รวม

4,429 (59) 4,370

2,267 (25) 2,242

4,048 435 (34) 4,449

79 1 (26) 54

105 183 (126) 162

10,928 619 (270) 11,277

-

229 (2) 126 353

2,709 (147) 527 3,089

58 (24) 9 43

-

2,996 (173) 662 3,485

-

-

5 5

-

-

5 5

4,370

1,889

1,355

11

162

7,787

คาเสื่อมราคาสําหรับป

662

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมียานพาหนะซึ่งไดมาภายใตสัญญาเชาการเงิน โดยมีมูลคาสุทธิตามบัญชีเปนจํานวนประมาณ 7 ลานบาท และ 15 ลานบาท ตามลําดับ และมีอุปกรณสํานักงาน และยานพาหนะจํานวนหนึ่งซึ่งตัดคาเสื่อมราคาหมดแลวแตยังใชงานอยู โดยมีมูลคาตามบัญชีกอนหักคาเสื่อม ราคาสะสมและคาเผื่อการดอยคาเปนจํานวนเงินประมาณ 3,636 ลานบาท และ 2,439 ลานบาท ตามลํ าดับ (งบการเงินเฉพาะกิจการ: ธนาคารฯมียานพาหนะซึ่งไดมาภายใตสัญญาเชาการเงิน โดยมีมูลคาสุทธิตามบัญชี เปนจํานวนประมาณ 5 ลานบาท และ 12 ลานบาท ตามลําดับ และมีอุปกรณสํานักงานและยานพาหนะจํานวน หนึ่งซึ่งตัดคาเสื่อมราคาหมดแลวแตยังใชงานอยู โดยมีมูลคาตามบัญชีกอนหักคาเสื่อมราคาสะสมและคาเผื่อ การดอยคาเปนจํานวนเงินประมาณ 3,306 ลานบาท และ 2,107 ลานบาท ตามลําดับ)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

197


17. สินทรัพยไมมีตัวตน (หนวย: ลานบาท)

สินทรัพย ไมมีตัวตน ที่ไดมาจาก การรวมธุรกิจ ราคาทุน 31 ธันวาคม 2556 ซื้อเพิ่ม ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอน / ตัดจําหนาย 31 ธันวาคม 2557 คาตัดจําหนายสะสม 31 ธันวาคม 2556 ลดลงจากการขายบริษัทยอย คาตัดจําหนายสําหรับป 31 ธันวาคม 2557 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2556 31 ธันวาคม 2557 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 คาสมาชิก ตลาดตราสาร คอมพิวเตอร คอมพิวเตอร อนุพันธ ซอฟทแวร ซอฟทแวร และอื่น ๆ ระหวางพัฒนา

4,100 4,100

1,915 149 (14) 117 2,167

7 7

240 105 (117) 228

6,262 254 (14) 6,502

1,655 472 2,127

694 (6) 200 888

7 7

-

2,356 (6) 672 3,022

-

63 63

-

-

63 63

1,973

1,216

-

228

3,417 672

คาตัดจําหนายสําหรับป อายุตัดจําหนายคงเหลือ (ป)

198

รายงานประจำ�ปี 2557

รวม

5.25 ป

0 – 9.9 ป

-

-


(หนวย: ลานบาท)

สินทรัพย ไมมีตัวตน ที่ไดมาจาก การรวมธุรกิจ ราคาทุน 31 ธันวาคม 2555 ซื้อเพิ่ม ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอน / ตัดจําหนาย 31 ธันวาคม 2556 คาตัดจําหนายสะสม 31 ธันวาคม 2555 ลดลงจากการขายบริษัทยอย คาตัดจําหนายสําหรับป 31 ธันวาคม 2556 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2555 เพิ่มขึ้นระหวางป 31 ธันวาคม 2556 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2556

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 คาสมาชิก ตลาดตราสาร คอมพิวเตอร คอมพิวเตอร อนุพันธ ซอฟทแวร ซอฟทแวร และอื่น ๆ ระหวางพัฒนา

รวม

4,100 4,100

1,651 129 (40) 175 1,915

7 7

274 173 (1) (206) 240

6,032 302 (41) (31) 6,262

1,140 515 1,655

531 (22) 185 694

7 7

-

1,678 (22) 700 2,356

-

60 3 63

-

-

60 3 63

2,445

1,158

-

240

3,843 700

คาตัดจําหนายสําหรับป

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

199


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 สินทรัพยไมมีตัวตน คอมพิวเตอร ที่ไดมาจาก คอมพิวเตอร ซอฟทแวร การรวมธุรกิจ ซอฟทแวร ระหวางพัฒนา ราคาทุน 31 ธันวาคม 2556 ซื้อเพิ่ม โอน / จําหนาย 31 ธันวาคม 2557 คาตัดจําหนายสะสม 31 ธันวาคม 2556 คาตัดจําหนายสําหรับป 31 ธันวาคม 2557 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2556 31 ธันวาคม 2557 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557

3,613 3,613

1,658 133 104 1,895

229 92 (104) 217

5,500 225 5,725

1,168 472 1,640

487 190 677

-

1,655 662 2,317

-

63 63

-

63 63

1,973

1,155

217

3,345 662

คาตัดจําหนายสําหรับป อายุตัดจําหนายคงเหลือ (ป)

200

รายงานประจำ�ปี 2557

รวม

5.25 ป

0 – 9.9 ป

-


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 สินทรัพยไมมีตัวตน คอมพิวเตอร ที่ไดมาจาก คอมพิวเตอร ซอฟทแวร การรวมธุรกิจ ซอฟทแวร ระหวางพัฒนา ราคาทุน 31 ธันวาคม 2555 ซื้อเพิ่ม โอน / จําหนาย 31 ธันวาคม 2556 คาตัดจําหนายสะสม 31 ธันวาคม 2555 คาตัดจําหนายสําหรับป 31 ธันวาคม 2556 คาเผื่อการดอยคา 31 ธันวาคม 2555 เพิ่มระหวางป 31 ธันวาคม 2556 มูลคาสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2556

รวม

3,613 3,613

1,374 118 166 1,658

269 157 (197) 229

5,256 275 (31) 5,500

653 515 1,168

313 174 487

-

966 689 1,655

-

60 3 63

-

60 3 63

2,445

1,108

229

3,782 689

คาตัดจําหนายสําหรับป

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีคอมพิวเตอรซอฟทแวรจํานวนหนึ่งซึ่งตัด จําหนายหมดแลวแตยังใชงานอยู โดยมีมูลคาตามบัญชีกอนหักคาตัดจําหนายสะสมและคาเผื่อการดอยคาเปน จํานวนเงินประมาณ 86 ลานบาท และ 70 ลานบาท ตามลําดับ (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 18 ลานบาท และ 7 ลาน บาท ตามลําดับ)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

201


18. สินทรัพย/หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีและภาษีเงินได 18.1 สินทรัพย/หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี มีดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สุทธิ

670 (1,649) (979)

641 (1,719) (1,078)

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 (1,620) (1,620)

(1,595) (1,595)

สวนประกอบของสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ประกอบดวย รายการดังตอไปนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2556 2557

สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ดอกเบี้ยรับที่หยุดรับรูรายได คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - สํารองทั่วไป/สินทรัพยอื่น สํารองผลประโยชนระยะยาวของพนักงาน ประมาณการหนี้สิน ดอกเบี้ยคางจาย/คาใชจายคางจาย คาธรรมเนียมรับลวงหนา คาเบี้ยปรับจากการจายชําระลาชา หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต อื่นๆ สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี มูลคาสินทรัพยจากการรับโอนกิจการ คานายหนาและคาใชจายทางตรงที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรกจากการใหเชาซื้อรอตัดจาย สินทรัพยไมมีตัวตน อื่น ๆ หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สุทธิ

202

รายงานประจำ�ปี 2557

101 492 375 180 110 382 147 290 418 2,495

108 350 372 252 149 388 136 272 376 2,403

(1,108) (1,370) (395) (601) (3,474) (979)

(1,110) (1,546) (489) (336) (3,481) (1,078)


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 2557 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ดอกเบี้ยรับที่หยุดรับรูรายได คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - สํารองทั่วไป/สินทรัพยอื่น สํารองผลประโยชนระยะยาวของพนักงาน ประมาณการหนี้สิน ดอกเบี้ยคางจาย/คาใชจายคางจาย คาธรรมเนียมรับลวงหนา คาเบี้ยปรับจากการจายชําระลาชา อื่นๆ สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี มูลคาสินทรัพยจากการรับโอนกิจการ คานายหนาและคาใชจายทางตรงที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มแรกจากการใหเชาซื้อรอตัดจาย สินทรัพยไมมีตัวตน อื่น ๆ หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สุทธิ

99 121 341 180 95 382 147 167 1,532

105 60 338 252 136 388 136 150 1,565

(1,108) (1,304) (395) (345) (3,152) (1,620)

(1,110) (1,471) (489) (90) (3,160) (1,595)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

203


18.2 ภาษีเงินได คาใชจายภาษีเงินไดสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สรุปไดดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 การดําเนินงานตอเนื่อง ภาษีเงินไดปจจุบัน: ภาษีเงินไดนิติบุคคลสําหรับป รายการปรับปรุงคาใชจายภาษีเงินไดนิติบุคคลของปกอน ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี: ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกตางชั่วคราว และการกลับรายการผลแตกตางชั่วคราว คาใชจายภาษีเงินไดที่แสดงอยูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ การดําเนินงานที่ยกเลิก ภาษีเงินไดปจจุบัน: ภาษีเงินไดนิติบุคคลสําหรับป ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี: ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกตางชั่วคราว และการกลับรายการผลแตกตางชั่วคราว คาใชจายภาษีเงินไดที่แสดงอยูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

2,798 29

4,320 63

1,902 24

3,371 69

(348) 2,479

(352) 4,031

(229) 1,697

(223) 3,217

-

119

-

-

-

(30) 89

-

-

จํานวนภาษีเงินไดที่เกี่ยวของกับสวนประกอบแตละสวนของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สรุปไดดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 การดําเนินงานตอเนื่อง ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีที่เกี่ยวของกับกําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลคาเงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขาย ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีที่เกี่ยวของกับสวนแบงกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม การดําเนินงานที่ยกเลิก ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีที่เกี่ยวของกับขาดทุน จากการวัดมูลคาเงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขาย

204

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

318

(105)

253

(106)

5 323

(5) (110)

253

(106)

-

(28) (28)

-

-


รายการกระทบยอดจํานวนเงินระหวางคาใชจายภาษีเงินไดกับผลคูณของกําไรทางบัญชีกับอัตราภาษีที่ใช สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สามารถแสดงไดดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 กําไรทางบัญชีกอนภาษีเงินไดนิติบุคคล การดําเนินงานตอเนื่อง กําไรทางบัญชีกอนภาษีเงินไดนิติบุคคล การดําเนินงานที่ยกเลิก อัตราภาษีเงินไดนิติบุคคล กําไรทางบัญชีกอนภาษีเงินไดนิติบุคคลคูณ อัตราภาษี รายการปรับปรุงคาใชจายภาษีเงินได นิติบุคคลของปกอน ผลกระทบทางภาษีของรายไดและคาใชจาย ที่ไมถือเปนรายไดหรือคาใชจายทางภาษีสุทธิ คาใชจายภาษีเงินไดที่แสดงอยูใน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ คาใชจายภาษีเงินได - การดําเนินงานตอเนื่อง คาใชจายภาษีเงินได - การดําเนินงานที่ยกเลิก

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

12,674

19,278

9,615

17,330

12,674

443 19,721

9,615

17,330

20%

20%

20%

20%

2,535

3,945

1,923

3,466

29

63

24

69

(85)

112

(250)

(318)

2,479

4,120

1,697

3,217

2,479 2,479

4,031 89 4,120

1,697 1,697

3,217 3,217

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

205


19. สินทรัพยอื่น

รายไดคาเบี้ยประกันภัยคางรับ ลูกหนี้อื่น ดอกเบี้ยและเงินปนผลคางรับ สิทธิการเชา ลูกหนี้อื่น - ภาษีมูลคาเพิ่มจายแทนลูกคา เงินมัดจํา ประมาณการคาสินไหมรับคืนจากคูกรณีคางรับ ลูกหนี้สํานักหักบัญชี คาใชจายจายลวงหนา เงินวางประกันตราสารอนุพันธ สินทรัพยจากการประกันภัยตอ อื่น ๆ รวม หัก: คาเผื่อการดอยคา สินทรัพยอื่น – สุทธิ

งบการเงินรวม 2556 2557 275 230 573 796 1,008 1,069 227 276 312 306 305 327 301 312 18 170 435 413 444 1,034 147 401 1,934 1,587 5,632 7,268 (411) (513) 6,755 5,221

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 573 791 957 938 227 276 266 272 288 300 127 110 444 1,034 1,084 1,476 3,966 5,197 (326) (307) 3,640 4,890

งบการเงินรวม 2556 2557 8,673 8,768 240,592 239,231 228,654 6,241

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 8,700 8,806 241,066 239,715 228,654 6,241

20. เงินรับฝาก 20.1 จําแนกตามประเภทเงินรับฝาก

จายคืนเมื่อทวงถาม ออมทรัพย บัตรเงินฝาก จายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา - ไมถึง 6 เดือน - 6 เดือนไมถึง 1 ป - 1 ปขึ้นไป รวมเงินรับฝาก

206

รายงานประจำ�ปี 2557

64,121 22,583 132,369 696,992

99,551 167,756 197,532 719,079

64,601 24,177 132,537 699,735

100,437 169,505 197,558 722,262


20.2 จําแนกตามสกุลเงินและถิ่นที่อยูของผูฝาก (หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม 2557 ตางประเทศ 1 25 4 30

ในประเทศ เงินบาท 696,531 เงินดอลลารสหรัฐฯ 249 เงินสกุลอื่น ๆ 182 รวม 696,962

รวม 696,532 274 186 696,992

ในประเทศ 718,629 361 20 719,010

2556 ตางประเทศ 1 23 45 69

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

เงินบาท เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินสกุลอื่น ๆ รวม

ในประเทศ 699,274 249 182 699,705

2557 ตางประเทศ 1 25 4 30

รวม 699,275 274 186 699,735

รวม 718,630 384 65 719,079

2556 ตางประเทศ 1 23 45 69

ในประเทศ 721,812 361 20 722,193

21. รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน)

รวม 721,813 384 65 722,262

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม

2557 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา ในประเทศ ธนาคารแหงประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟนฟูฯ ธนาคารพาณิชย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินอื่น รวมในประเทศ ตางประเทศ เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินยูโร เงินสกุลบาท รวมตางประเทศ รวม

รวม

เมื่อทวงถาม

2556 มีระยะเวลา

รวม

710 731 35 10,781 12,257

3,980 17,573 10,101 16,636 48,290

4,690 18,304 10,136 27,417 60,547

708 940 598 8,931 11,177

7,500 17,012 8,074 17,736 50,322

8,208 17,952 8,672 26,667 61,499

39 1 3,375 3,415 15,672

15,476 832 16,308 64,598

15,515 1 4,207 19,723 80,270

104 4 837 945 12,122

18,638 18,638 68,960

18,742 4 837 19,583 81,082

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

207


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 เมื่อทวงถาม มีระยะเวลา ในประเทศ ธนาคารแหงประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟนฟูฯ ธนาคารพาณิชย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินอื่น รวมในประเทศ ตางประเทศ เงินดอลลารสหรัฐฯ เงินยูโร เงินสกุลบาท รวมตางประเทศ รวม

รวม

เมื่อทวงถาม

2556 มีระยะเวลา

รวม

709 161 35 10,913 11,818

3,980 11,289 9,701 16,636 41,606

4,689 11,450 9,736 27,549 53,424

708 215 598 9,033 10,554

7,500 9,902 8,074 18,836 44,312

8,208 10,117 8,672 27,869 54,866

39 1 3,375 3,415 15,233

15,476 832 16,308 57,914

15,515 1 4,207 19,723 73,147

104 4 837 945 11,499

18,638 18,638 62,950

18,742 4 837 19,583 74,449

ณ วั นที่ 31 ธันวาคม 2557 รายการระหว างธนาคารและตลาดเงิ นในงบการเงิ นรวมไดรวมเงิ นกู ยืมของ บริษัทยอยแหงหนึ่งจํานวน 2,012 ลานบาท ((i) เงินกูยืมจํานวน 800 ลานบาท มีกําหนดชําระคืนเงินตนคราว เดียวทั้งจํานวนภายใน 3 ปนับแตวันที่เบิกเงินกู คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตอป โดยชําระดอกเบี้ยเปนรายเดือน (ii) เงินกูยืมจํานวน 112 ลานบาท มีกําหนดชําระคืนเงินตนทุก 3 เดือน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR หักดวยอัตรา คงที่ตอป โดยชําระดอกเบี้ยเปนรายเดือน (iii) เงินกูยืมจํานวน 500 ลานบาท มีกําหนดชําระคืนเงินตนคราว เดียวทั้งจํานวนภายใน 4 ป นับแตวันที่เบิกเงินกู คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตอป โดยชําระดอกเบี้ยเปนรายเดือน (iv) เงินกูยืมจํานวน 250 ลานบาท มีกําหนดชําระคืนเงินตนทุก 3 เดือน คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตอป โดยชําระ ดอกเบี้ยเปนรายเดือน และ (v) เงินกูยืมในรูปของตั๋วสัญญาใชเงินจํานวน 350 ลานบาท โดยมีกําหนดชําระคืน เงินตนตามที่ระบุไวในตั๋วสัญญาใชเงินแตละฉบับ คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตอป โดยชําระดอกเบี้ยเปนราย เดือน) ซึ่งภายใตสัญญาเงินกูยืม บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุใน สัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (2556: รวมเงินกูยืมของบริษัทยอยจํานวน 2,794 ลานบาท)

208

รายงานประจำ�ปี 2557


22. ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ยอดคงเหลือของตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืมในประเทศทั้งจํานวนเปน เงินบาท โดยสรุปไดดังนี้

ประเภทของการกูยืม หุนกูดอยสิทธิที่มีลักษณะ คลายทุนเพื่อนับเปน เงินกองทุนชั้นที่ 1 (ก) หุนกูดอยสิทธิที่มีลักษณะ คลายทุนเพื่อนับเปน เงินกองทุนชั้นที่ 2 (ข) หุนกูดอยสิทธิเพื่อนับเปน เงินกองทุนชั้นที่ 2 ( ค - ซ) ตราสารดอยสิทธิเพื่อนับเปน เงินกองทุนชั้นที่ 2 (ฌ) หุนกูไมดอยสิทธิ (ญ - ถ) หุนกูระยะสั้น หุนกูอนุพันธ ตั๋วสัญญาใชเงิน เงินกูยืมกับกรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษพลังงาน รวมตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

อัตราดอกเบี้ยตอป (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557) วันครบกําหนด รอยละ 7.55 เมือ่ เลิกกิจการ

-

-

รอยละ 4.70 - 6.00 รอยละ 6.00

งบการเงินรวม 2557 2556 7,130 7,130

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 7,130 7,130

-

5,000

-

5,000

ป 2558 - 2565

23,516

35,516

23,516

35,516

ป 2567

13,000

13,000

-

รอยละ 4.10 - 5.50 ป 2558 - 2561 รอยละ 2.20 - 2.60 ป 2558 รอยละ 1.00 ป 2558 รอยละ 0.50 - 2.50, 4.10 เมื่อทวงถาม รอยละ 0.50 ป 2558 - 2560

-

15,271 30,180 37 1,052 12

14,246 29,226 1,065 46

30,180 5 12

29,226 5 46

90,198

92,229

73,843

76,923

(ก) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิที่มีลักษณะคลายทุน ชนิดระบุชื่อที่ไม สะสมดอกเบี้ ยจ าย และไม ชํ าระดอกเบี้ ยในป ที่ไมมี ผลกํ าไร (Hybrid Tier 1) แบบเฉพาะเจาะจงจํ า นวน 7,130,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยเสนอขายใหแกผูถือหุนใหญของธนาคารฯ 2 รายเทานั้น หุนกูดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนเมื่อเลิกกิจการ หุนกูดังกลาวไมมีประกันและไม สามารถแปลงสภาพได และมีอัตราดอกเบี้ยเทากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินฝากประจํา 6 เดือนบวก ดวยรอยละ 6 ตอป กําหนดชําระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน โดยธนาคารฯสามารถไถถอนหุนกูกอนครบ กําหนดไดที่ราคาตามมูลคาถาเขาเงื่อนไขตามที่ระบุไว

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

209


(ข) เมื่อ วัน ที่ 24 กรกฎาคม 2552 ธนาคารฯออกจํ าหนายหุ น กูด อยสิทธิ ที่มี ลัก ษณะคล ายทุ น ที่ส ะสม ดอกเบี้ยจาย ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน ไมแปลงสภาพ และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 5,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูจํานวน 3.5 ลานหนวย จะครบกําหนดไถถอนในป 2562 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 1 ถึงปที่ 5 รอยละ 5.25 ตอป และอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 6 ถึงปที่ 10 รอยละ 5.5 ตอป และหุนกูที่เหลือจํานวน 1.5 ลานหนวย จะครบกําหนดไถถอนในป 2567 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 1 ถึงปที่ 5 รอยละ 5.25 ตอป อัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 6 ถึง ปที่ 10 รอยละ 6.0 ตอปและอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 11 ถึงปที่ 15 รอยละ 6.5 ตอป โดยกําหนด ชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส โดยหุนกูดังกลาวมีการไถถอนกอนครบกําหนดแลวในไตรมาสที่ 3 ป 2557 (ค) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2551 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน ไมแปลงสภาพ และไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 5,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู ดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2558 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 1 ถึงปที่ 3 รอยละ 5.1 ตอป และอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 4 ถึงปที่ 7 รอยละ 6 ตอป กําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส (ง) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน ไมแปลงสภาพ และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 2,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาว จะครบกําหนดไถถอนในป 2562 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 1 ถึงปที่ 3 รอยละ 5.25 ตอป อัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 4 ถึงปที่ 7 รอยละ 5.75 ตอป และอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 8 ถึงปที่ 10 รอยละ 6.5 ตอป กําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส โดยหุนกูดังกลาวมีการไถถอนกอนครบกําหนด แลวในไตรมาสที่ 2 ป 2557 (จ) เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน ไมแปลงสภาพ และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 6,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาว จะครบกําหนดไถถอนในป 2563 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 1 ถึงปที่ 5 รอยละ 5 ตอป และ อัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับปที่ 6 ถึงปที่ 10 รอยละ 5.5 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ธนาคารฯสามารถไถถอนหุนกูดังกลาวกอนครบกําหนดไดที่ราคาตามมูลคาถาเขาเงื่อนไขตามที่ระบุไว (ฉ) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ธนาคารฯไดออกหุนกูดอยสิทธิชนิดไมมีประกัน จํานวน 10,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2562 และมี อัตราดอกเบี้ยคงที่จนถึงเดือนมิถุนายน 2559 ที่อัตรารอยละ 6.00 ตอป และหลังจากนั้นมีดอกเบี้ยที่อัตรา รอยละ 6.50 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส โดยหุนกูดังกลาวมีการไถถอนกอนครบ กําหนดแลวในไตรมาสที่ 2 ป 2557

210

รายงานประจำ�ปี 2557


(ช) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน และมี ผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 8,497,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาวจะ ครบกําหนดไถถอนในป 2565 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.70 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ย เปนรายไตรมาส ธนาคารฯสามารถไถถอนหุนกูดังกลาวกอนครบกําหนดไดที่ราคาตามมูลคาถาเขา เงื่อนไขตามที่ระบุไว (ซ) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 ธนาคารฯออกจําหนายหุนกูดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน และมีผูแทน ผูถือหุนกู จํานวน 4,018,500 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาวจะครบกําหนด ไถถอนในป 2565 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.70 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ธนาคารฯสามารถไถถอนหุนกูดังกลาวกอนครบกําหนดไดที่ราคาตามมูลคาถาเขาเงื่อนไขตามที่ระบุไว (ฌ) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 ธนาคารฯออกจําหนายตราสารดอยสิทธิเพื่อนับเปนเงินกองทุนประเภทที่ 2 ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน ไมมีผูแทนผูถือตราสารและจะถูกบังคับแปลงสภาพเปนหุนสามัญของ ผูออกตราสารเต็มจํานวน เมื่อผูออกตราสารมีผลการดําเนินงานที่ไมสามารถดําเนินกิจการตอไปได และทางการตัดสินใจเขาชวยเหลือทางการเงินแกผูออกตราสาร จํานวน 13 ลานหนวย มูลคาที่ตราไว หนวยละ 1,000 บาท โดยตราสารดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2567 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ รอยละ 6 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ธนาคารฯสามารถไถถอนตราสารดังกลาว กอนครบกําหนดไดที่ราคาตามมูลคา ถาเขาเงื่อนไขตามที่ระบุไว (ญ) เมื่อวัน ที่ 27 เมษายน 2555 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิ ดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 6,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู จํานวน 2 ลานหนวย มีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.90 ตอป โดยหุนกูดังกลาวครบกําหนดไถถอนใน ไตรมาสที่ 2 ป 2557 หุนกูจํานวน 1.5 ลานหนวย มีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 5.20 ตอป จะครบกําหนดไถถอน ในป 2558 และหุนกูที่เหลือจํานวน 2.5 ลานหนวย มีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 5.50 ตอป จะครบกําหนด ไถถอนในป 2559 โดยหุนกูทั้งหมดมีกําหนดชําระดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิ ของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารง อัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ฎ) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 3,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาว จะครบกําหนดไถถอนในป 2559 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 5.00 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ย เปนรายไตรมาส ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและเงื่อนไข บางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

211


(ฏ) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 2,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู ดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.70 ตอป โดยกําหนดชําระ ดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและ เงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ฐ) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 760,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดย หุนกูดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.759 ตอป โดยกําหนด ชําระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนด และเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ฑ) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 3,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาว จะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.80 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ย เปนรายไตรมาส ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและเงื่อนไข บางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ฒ) เมื่อวั น ที่ 30 เมษายน 2557 บริษั ทย อ ยแหงหนึ่งออกจําหนายหุน กูไมดอยสิทธิ ชนิ ด ระบุชื่อ ไมมี ประกัน และไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 280,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดย หุนกูดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.25 ตอป โดยกําหนด ชําระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือนซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนด และเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ณ) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 2,000,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู ดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2561 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.75 ตอป โดยกําหนดชําระ ดอกเบี้ยเปนรายไตรมาส ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและ เงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน

212

รายงานประจำ�ปี 2557


(ด) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมีประกัน และ ไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 210,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกูดังกลาวจะ ครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.25 ตอป โดยกําหนดชําระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดื อน ซึ่ งภายใต ข อกํ าหนดสิ ทธิของหุนกู บริ ษั ทยอยต องปฏิบั ติ ตามข อกํ าหนดและเงื่ อ นไขบาง ประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ต) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 150,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู ดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.22 ตอป โดยกําหนดชําระ ดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและ เงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (ถ) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 บริษัทยอยแหงหนึ่งออกจําหนายหุนกูไมดอยสิทธิ ชนิดระบุชื่อ ไมมี ประกัน และไมมีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 300,000 หนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 1,000 บาท โดยหุนกู ดังกลาวจะครบกําหนดไถถอนในป 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่รอยละ 4.10 ตอป โดยกําหนดชําระ ดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ซึ่งภายใตขอกําหนดสิทธิของหุนกู บริษัทยอยตองปฏิบัติตามขอกําหนดและ เงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เชน การดํารงอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน 23. ประมาณการหนี้สิน (หนวย: ลานบาท)

ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 เพิ่มขึ้นในระหวางป ลดลงจากรายจายที่เกิดขึ้นจริง ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอนกลับประมาณการหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

ผลเสียหาย จากคดี ฟองรอง 145 33 (11) (5) 162

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ภาระหนี้สิน ผลประโยชน จากรายการ อื่น ๆ ของพนักงาน นอกงบการเงิน 1,878 579 544 185 19 269 (154) (95) (401) (5) (2) (69) (110) 1,902 434 302

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

รวม 3,146 506 (661) (5) (186) 2,800

213


(หนวย: ลานบาท)

ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 เพิ่มขึ้นในระหวางป ลดลงจากรายจายที่เกิดขึ้นจริง ลดลงจากการขายบริษัทยอย โอนกลับประมาณการหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556

ผลเสียหาย จากคดี ฟองรอง 186 54 (48) (47) 145

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ภาระหนี้สิน ผลประโยชน จากรายการ อื่น ๆ ของพนักงาน นอกงบการเงิน 1,922 222 646 73 357 329 (95) (431) (22) 1,878 579 544

รวม 2,976 813 (574) (22) (47) 3,146 (หนวย: ลานบาท)

ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 เพิ่มขึ้นในระหวางป ลดลงจากรายจายที่เกิดขึ้นจริง โอนกลับประมาณการหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

ผลเสียหาย จากคดี ฟองรอง 145 33 (11) (5) 162

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ภาระหนี้สิน ผลประโยชน จากรายการ อื่น ๆ ของพนักงาน นอกงบการเงิน 1,692 579 544 156 19 269 (141) (95) (401) (2) (69) (110) 1,705 434 302

รวม 2,960 477 (648) (186) 2,603 (หนวย: ลานบาท)

ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 ผลประโยชนของพนักงานที่รับ โอนจาก บบส.ทีเอส เพิ่มขึ้นในระหวางป ลดลงจากรายจายที่เกิดขึ้นจริง โอนกลับประมาณการหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 214

รายงานประจำ�ปี 2557

ผลเสียหาย จากคดี ฟองรอง 185 54 (48) (46) 145

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ภาระหนี้สิน ผลประโยชน จากรายการ อื่น ๆ ของพนักงาน นอกงบการเงิน 1,735 222 645 2 47 (92) 1,692

357 579

329 (430) 544

รวม 2,787 2 787 (570) (46) 2,960


ผลประโยชนระยะยาวของพนักงาน จํานวนเงินสํารองผลประโยชนระยะยาวของพนักงานซึ่งเปนเงินชดเชยพนักงานเมื่อออกจากงานแสดงได ดังนี้

ภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชนตนป ผลประโยชนของพนักงานที่รับโอนจาก บบส.ทีเอส ลดลงจากการขายบริษัทยอย ตนทุนบริการในปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย กําไรจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ลดลงจากการลดขนาดโครงการ ลดลงจากการจายจริง โอนกลับประมาณการหนี้สิน ภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชนปลายป

งบการเงินรวม 2556 2557 1,787 1,902 (5) (22) 130 147 83 87 (213) (97) (69) (49) (45) (2) 1,787 1,847

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 1,602 1,714 2 112 127 74 79 (9) (210) (90) (69) (37) (41) (2) 1,650 1,602

คาใชจายเกี่ยวกับผลประโยชนระยะยาวของพนักงานรวมอยูในสวนของกําไรหรือขาดทุนสําหรับปสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 แสดงไดดังนี้

ตนทุนบริการในปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย ผลขาดทุน (กําไร) จากการประมาณตามหลัก คณิตศาสตรประกันภัยที่รับรูในป - การปรับปรุงจากการเปลี่ยนแปลงขอสมมติฐาน - การปรับปรุงจากประสบการณ ผลขาดทุนจากการลดขนาดโครงการ รวมคาใชจายที่รับรูในสวนของกําไรหรือขาดทุน

งบการเงินรวม 2556 2557 130 147 83 87

(5) 5 (97) 116

(221) 8 (69) (48)

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 112 127 74 79

5 (14) (90) 87

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

(204) (6) (69) (73)

215


จํานวนเงินภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชนสําหรับปปจจุบันและสี่ปยอนหลังแสดงไดดังนี้

ป 2557 ป 2556 ป 2555 ป 2554 ป 2553

ภาระผูกพันตาม โครงการผลประโยชน งบการเงิน เฉพาะกิจการ งบการเงินรวม 1,847 1,650 1,787 1,602 1,902 1,714 1,929 1,732 2,272 356

(หนวย: ลานบาท) การปรับปรุงตามประสบการณที่เกิดจาก หนี้สินโครงการ งบการเงิน งบการเงินรวม เฉพาะกิจการ 5 (14) 8 (6) (23) (25) -

สมมติฐานที่สําคัญในการประมาณตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ณ วันประเมิน สรุปไดดังนี้

อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตราการลาออกถัวเฉลี่ย (ขึ้นกับชวงอายุของพนักงาน)

งบการเงินรวม 2556 2557 3.43 - 4.03 4.40 - 4.77 5.00 - 7.10 5.11 - 7.84 0.00 - 71.43 0.00 - 59.57

(อัตรารอยละตอป) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 4.03 4.62 5.00 5.11 0.32 - 19.86 0.17 - 14.11

24. หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต

เงินสํารองประกันชีวิต สํารองคาสินไหมทดแทนและคาสินไหมทดแทนคางจาย สํารองเบี้ยประกันภัย หนี้สินอื่นตามกรมธรรม รวมหนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต

216

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินรวม 2556 2557 10,297 1,644 1,766 3,054 2,889 67 15,019 4,698

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 -


25. หนี้สินอื่น

เจาหนี้อื่น บัญชีพักเงินรับจากลูกหนี้รอตัดบัญชี เจาหนี้คาเบี้ยประกันภัยคางจาย รายไดรับลวงหนา ภาษีเงินไดนิติบุคคลคางจาย เจาหนี้สํานักหักบัญชี อื่น ๆ รวมหนี้สินอื่น

งบการเงินรวม 2557 2556 1,295 1,510 355 334 344 359 1,946 1,980 1,155 1,264 480 509 2,916 2,945 8,520 8,872

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 1,080 1,136 267 276 187 298 1,906 1,977 720 717 1,110 1,069 5,270 5,473

26. ทุนเรือนหุน เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ประชุมสามัญประจําปผูถือหุนของธนาคารฯไดอนุมัติการลดทุนและเพิ่มทุน จดทะเบียนดังนี้ -

อนุมัติลดทุนจดทะเบียนของธนาคารฯจาก 75,266,649,030 บาท (7,526,664,903 หุน มูลคาที่ตราไวหุน ละ 10 บาท) เปน 55,136,649,030 บาท (5,513,664,903 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 10 บาท) โดยการลดหุน สามัญที่ยังไมไดออกจําหนายจํานวน 2,013,000,000 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 10 บาท ซึ่งธนาคารฯได จดทะเบียนลดทุนดังกลาวกับกระทรวงพาณิชยแลวเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557

-

อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 55,136,649,030 บาท (5,513,664,903 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 10 บาท) เปน 99,136,649,030 บาท (9,913,664,903 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 10 บาท) โดยการออกหุนสามัญ จํานวน 4,400,000,000 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 10 บาท ซึ่งธนาคารฯไดจดทะเบียนเพิ่มทุนดังกลาวกับ กระทรวงพาณิชยแลวเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

217


27. องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ

สวนเกินทุนจากการรวมธุรกิจภายใตการควบคุมเดียวกัน สวนเกินทุน (ต่ํากวา) จากการเปลี่ยนแปลงมูลคาเงินลงทุน สวนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลคาเงินลงทุน เงินลงทุนเผื่อขาย ตราสารหนี้ ตราสารทุน รวม สวนต่ํากวาทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลคาเงินลงทุน เงินลงทุนเผื่อขาย ตราสารหนี้ ตราสารทุน รวม รวมสวนเกินกวาทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลคาเงินลงทุน หัก: ผลกระทบหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สวนเกินกวาทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลคาเงินลงทุน -สุทธิ สวนแบงกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม หัก: ผลกระทบหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สวนแบงกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม -สุทธิ รวม

งบการเงินรวม 2556 2557 (123) (123)

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 -

1,790 770 2,560

719 484 1,203

1,595 148 1,743

676 25 701

(48) (48) 2,512 (483) 2,029 237 (24) 213 2,119

(252) (36) (288) 915 (165) 750 193 (19) 174 801

(42) (4) (46) 1,697 (339) 1,358 1,358

(236) (34) (270) 431 (86) 345 345

28. สํารองตามกฎหมาย ภายใตบทบัญญัติตามมาตรา 116 แหงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 ธนาคารฯตองจัดสรร กําไรสุทธิประจําปสวนหนึ่งไวเปนทุนสํารองไมนอยกวารอยละ 5 ของกําไรสุทธิประจําปหักดวยยอดขาดทุน สะสมยกมา (ถามี) จนกวาทุนสํารองนี้จะมีจํานวนไมนอยกวารอยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สํารองตามกฎหมาย ดังกลาวไมสามารถนําไปจายเปนเงินปนผลได เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการของธนาคารฯ ไดมีมติอนุมัติใหจัดสรรกําไรเปนทุน สํารองตามกฎหมายจํานวน 244 ลานบาท และเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯ ไดจัดสรรกําไรสุทธิ เพิ่มเติมสําหรับป 2557 จํานวน 152 ลานบาท ไปเปนทุนสํารองตามกฎหมาย (2556: 706 ลานบาท)

218

รายงานประจำ�ปี 2557


29. เงินกองทุนที่ตองดํารงไวตามกฎหมาย วัตถุประสงคของธนาคารฯในการบริหารทุนคือการดํารงไวซึ่งความสามารถในการดําเนินงานอยางตอเนื่อง และการดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เงินกองทุนของธนาคารฯ คํานวณตามประกาศของ ธปท. เรื่ององคประกอบของ เงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชยที่จดทะเบียนในประเทศ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ประกอบดวย 2557 เงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เปนสวนของเจาของ ทุนที่ออกและชําระแลว สวนเกินมูลคาหุน ทุนสํารองตามกฎหมาย กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ - สวนเกินทุน (ต่ํากวาทุน) จากการตีราคาเงินลงทุนในตราสารทุน - สุทธิ องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ – สวนเกินทุนจากการตีราคา เงินลงทุนในตราสารหนี้ - สุทธิ หัก: คาความนิยม หัก: สินทรัพยไมมีตัวตน รวมเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เปนสวนของเจาของ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เปนตราสารทางการเงิน หุนกูดอยสิทธิที่มีลักษณะคลายทุน (Hybrid Tier 1) รวมเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 เงินสํารองสําหรับสินทรัพยจัดชั้นปกติ หุนกูดอยสิทธิ รวมเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมเงินกองทุนทั้งสิ้น

(หนวย: ลานบาท) 2556

55,137 2,101 2,279 30,457

55,137 2,101 1,837 23,274

115

(7)

248 90,337 (17,941) (590) 71,806

82,342 (17,941) 64,401

5,704 77,510

6,417 70,818

5,611 31,515 37,126 114,636

6,101 33,764 39,865 110,683

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการของธนาคารฯไดมีมติอนุมัติใหจัดสรรกําไรสําหรับ งวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 โดยแบงจัดสรรกําไรสุทธิจํานวน 244 ลานบาท ไปเปนทุน สํารองตามกฎหมาย และกําไรสุทธิสวนที่เหลือจํานวน 3,403 ลานบาท ใหนับเปนเงินกองทุนของธนาคารฯ

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

219


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 อัตราสวนการดํารงเงินกองทุนของธนาคารฯคํานวณตามหลักเกณฑ การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชยที่ประกาศโดย ธปท. ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เปนดังนี้ 2557

เงินกองทุนทั้งหมดตอสินทรัพยเสี่ยง (รอยละ) เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เปนสวนของเจาของตอ สินทรัพยเสี่ยง (รอยละ) เงินกองทุนชั้นที่ 1 ตอสินทรัพยเสี่ยง (รอยละ)

อัตราสวน เงินกองทุน ของธนาคารฯ 15.83 9.92

2556

อัตราขั้นต่ํา ตามขอกําหนด ของ ธปท. 8.50 4.50

10.70

อัตราสวน เงินกองทุน ของธนาคารฯ 14.80 8.61

6.00

อัตราขั้นต่ํา ตามขอกําหนด ของ ธปท. 8.50 4.50

9.47

6.00

ธนาคารฯจะเปดเผยขอมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ตามประกาศของธนาคารแหงประเทศไทย เรื่อง การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคาร พาณิชยไวใน website ของธนาคารฯที่ www.thanachartbank.co.th ภายในเดือนเมษายน 2558 30. เงินปนผล เงินปนผล เงินปนผลจากกําไรสุทธิสําหรับป 2556 เงินปนผลจากกําไรสุทธิสําหรับป 2555

อนุมัติโดย

เงินปนผลจาย ลานบาท

ที่ประชุมสามัญผูถือหุนเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ประชุมสามัญผูถือหุนเมื่อ วันที่ 4 เมษายน 2556

เงินปนผลจายตอหุน บาท

2,481

0.45

2,040

0.37

31. รายไดดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย

รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนและธุรกรรมเพื่อคา เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ การใหเชาซื้อและสัญญาเชาการเงิน รวมรายไดดอกเบี้ย

220

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินรวม 2556 2557 1,894 1,870 238 457 4,106 3,861 20,320 21,239 26,452 25,887 52,445 53,879

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 1,865 1,738 74 69 3,876 3,722 19,776 20,690 23,511 24,323 49,102 50,542


32. คาใชจายดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ยสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย

เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินนําสงกองทุนเพื่อการฟนฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงินและสถาบันคุมครองเงินฝาก ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม - หุนกูดอยสิทธิ - หุนกูไมดอยสิทธิ - ตราสารดอยสิทธิ - อื่น ๆ คาธรรมเนียมในการกูยืมเงิน รวมคาใชจายดอกเบี้ย

งบการเงินรวม 2556 2557 16,224 17,862 1,092 1,519

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 16,277 17,915 858 1,261

3,556

3,598

3,556

3,598

2,013 1,527 419 44 9 24,884

2,784 1,418 100 9 27,290

2,013 793 419 4 23,920

2,784 869 61 1 26,489

33. รายไดคาธรรมเนียมและบริการ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย งบการเงินรวม 2556 2557 รายไดคาธรรมเนียมและบริการ การรับรอง รับอาวัล และการค้ําประกัน คานายหนาจากการซื้อขายหลักทรัพย/ สัญญาซื้อขายลวงหนา บริการบัตรเอทีเอ็ม และบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส คาธรรมเนียมรับเกี่ยวกับธุรกิจเชาซื้อ คาธรรมเนียมรับคาเบี้ยประกันภัย คาธรรมเนียมจัดการ คาธรรมเนียมบัตรเครดิต อื่น ๆ รวมรายไดคาธรรมเนียมและบริการ คาใชจายคาธรรมเนียมและบริการ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

275

317

275

317

1,568 855 1,465 1,172 692 1,008 1,658 8,693 (2,766) 5,927

1,823 834 1,340 1,513 676 926 1,364 8,793 (2,678) 6,115

855 1,348 1,432 1,010 1,605 6,525 (2,533) 3,992

834 1,260 1,815 931 1,275 6,432 (2,461) 3,971

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

221


34. กําไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อคาและปริวรรตเงินตราตางประเทศ กําไร (ขาดทุน) สุทธิจากธุรกรรมเพื่อคาและปริวรรตเงินตราตางประเทศสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย งบการเงินรวม 2556 2557 เงินตราตางประเทศและตราสารอนุพันธ ดานอัตราแลกเปลี่ยน ตราสารอนุพันธดานอัตราดอกเบี้ย ตราสารหนี้ ตราสารทุน อื่น ๆ รวม

581 (5) 259 (25) 49 859

609 20 (139) (9) 50 531

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 587 (5) 59 641

628 20 35 2 685

35. กําไรสุทธิจากเงินลงทุน กําไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย งบการเงินรวม 2556 2557 กําไร (ขาดทุน) จากการขาย เงินลงทุนเผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป เงินลงทุนในบริษัทยอย (หมายเหตุ 47) โอนกลับขาดทุนจากการดอยคา (ขาดทุนจากการดอยคา) เงินลงทุนทั่วไป กําไร (ขาดทุน) จากการรับคืนทุน เงินลงทุนเผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป รวม

222

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

752 11 65

350 (2) 12,216

677 11 126

242 (2) 13,128

(58)

33

(58)

33

(1) 769

505 (21) 13,081

(1) 755

505 (21) 13,885


36. คาตอบแทนกรรมการ คาตอบแทนกรรมการนี้เปนผลประโยชนที่จายใหแกกรรมการของธนาคารฯและบริษทั ยอย (บริษัทมหาชน) ตามมาตรา 90 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด โดยไมรวมเงินเดือนและผลประโยชนที่เกี่ยวของที่จาย ใหกับกรรมการซึ่งดํารงตําแหนงเปนผูบริหารของธนาคารฯดวย แตรวมถึงเงินบําเหน็จแกคณะกรรมการของ ธนาคารฯและบริษัทยอยจํานวน 22 ลานบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 20 ลานบาท) ซึ่งอนุมัติโดยที่ประชุมสามัญ ผูถือหุนของธนาคารฯและบริษัทยอย 37. หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคาสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย งบการเงินรวม 2556 2557 หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน ตัดจําหนายคาเผื่อปรับมูลคาจากการปรับโครงสรางหนี้ใน ระหวางป ขาดทุนจากการปรับโครงสรางหนี้ ขาดทุนจากการลดหนี้ตามสัญญา รวม

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

7,275 (24)

11,514 20

7,329 (19)

11,124 24

(198) 12 57 7,122

(43) 5 11,496

(198) 12 57 7,181

(43) 5 11,110

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

223


38. องคประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น องคประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ประกอบดวย งบการเงินรวม 2556 2557 กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น การดําเนินงานตอเนื่อง เงินลงทุนเผื่อขาย: กําไร (ขาดทุน) ที่ยังไมเกิดขึ้นจริงระหวางป หัก: การปรับปรุงการจัดประเภทใหมสําหรับกําไรขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริงที่รวมอยูในกําไรหรือขาดทุน สวนแบงกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม (ขาดทุน) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับป (ขาดทุน) ผลกระทบภาษีเงินไดที่เกี่ยวของ ภาษีเงินไดสวนกําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลคา เงินลงทุนเผื่อขาย ภาษีเงินไดสวนสวนแบงกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในบริษัทรวม ผลกระทบภาษีเงินไดที่เกี่ยวของ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับป - สุทธิจาก ภาษีเงินไดที่เกี่ยวของ (ขาดทุน)

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

2,356

(44)

1,951

(286)

(759)

(350)

(685)

(242)

1,597 44 1,641

(394) (54) (448)

1,266 1,266

(528) (528)

(318)

105

(253)

106

(5) (323)

5 110

(253)

106

1,318

(338)

1,013

(422)

39. กําไรตอหุน กําไรตอหุนขั้นพื้นฐานคํานวณโดยหารกําไรสําหรับปสวนที่เปนของผูถือหุนของธนาคารฯ (ไมรวมกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น) ดวยจํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่ออกอยูในระหวางป

กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานตอเนื่อง (ลานบาท) กําไรตอหุน - จากการดําเนินงานตอเนื่อง (บาท/หุน) กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก (ลานบาท) กําไรตอหุน - จากการดําเนินงานที่ยกเลิก (บาท/หุน) จํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก (ลานหุน)

224

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินรวม 2556 2557 9,922 15,031 1.80 2.73 354 0.06 5,514 5,514

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 7,918 14,113 1.44 2.56 5,514 5,514


40. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ธนาคารฯ บริษัทยอยและพนักงานไดรวมกันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งประกอบดวยเงินที่พนักงานจายสะสมเปนรายเดือนในอัตรารอยละ 3 10 ของเงินเดือนพนักงาน และเงินที่ธนาคารฯและบริษัทยอยจายสมทบใหในอัตราที่กําหนด และจะจาย ใหแกพนักงานในกรณีที่ออกจากงานตามระเบียบวาดวยกองทุนดังกลาว ในระหวางป 2557 ธนาคารฯและ บริษัทยอยไดจายเงินสมทบเขากองทุนเปนจํานวนรวม 424 ลานบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 373 ลานบาท) (2556: 422 ลานบาทในงบการเงินรวม และ 374 ลานบาทในงบการเงินเฉพาะกิจการ) 41. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวของกัน ในระหวางป ธนาคารฯและบริษัทยอยมีรายการธุรกิจที่สําคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน รายการ ธุรกิจดั งกลาวเปนไปตามเงื่อนไขทางการค าและเกณฑ ตามที่ ตกลงรวมกั นระหวางธนาคารฯและบริษัท เหลานั้น และเปนไปตามปกติธุรกิจ ซึ่งรายการที่มีสาระสําคัญสามารถสรุปไดดังนี้ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556 รายการที่เกิดขึ้นในระหวางป บริษัทใหญ มูลคาซื้อเงินลงทุนในตราสารหนี้ มูลคาขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ (กําไรที่เกี่ยวของ) มูลคาขายเงินลงทุนในบริษัทยอย

(กําไรที่เกี่ยวของ) รายไดดอกเบี้ย รายไดคาธรรมเนียมและบริการ รายไดคาบริการงานสนับสนุน รายไดอื่น คาใชจายดอกเบี้ย คาเชาจาย คาใชจายอื่น เงินปนผลจาย

5,854 1,035 482

3,603 29,189 1 -

5,854 1,035 482

35 1 1 10 1 342

1 5 11 8 336

67 10 342

8 51 1,264

7 49 1,040

6 51 1,264

(หนวย: ลานบาท) นโยบายกําหนดราคา (สําหรับป 2557)

3,603 ราคาตลาด 29,189 ราคาตลาด 1 - ตามราคาทีต่ กลงกันตามสัญญาโดยอางอิง จากความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน อิสระ - ดอกเบี้ยรอยละ 7.52 – 8.15 ตอป 2 อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ 11 อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ 336 ดอกเบี้ยรอยละ 0.50 – 1.90, 2.50 – 3.20, 5.00, 5.25, 7.55, 7.65 และ 8.25 ตอป 6 อัตราที่ตกลงในสัญญาเชา 49 1,040 ตามที่ประกาศจาย

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

225


สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556 รายการที่เกิดขึ้นในระหวางป (ตอ) บริษัทยอย มูลคาซื้อเงินลงทุนในตราสารหนี้ มูลคาขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ (กําไรที่เกี่ยวของ) มูลคาซื้อ/ขายสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน รายไดดอกเบี้ย

-

-

5,332 9,361 10 739 188

8,781 10,899 2 1,108 259

รายไดเงินปนผล รายไดคาธรรมเนียมและบริการ รายไดคาบริการงานสนับสนุน รายไดอื่น คาใชจายดอกเบี้ย คาเชาจาย คาใชจายอื่น บริษัทรวม มูลคาขายเงินลงทุนในบริษัทยอย

-

-

1,277 734 292 11 148 2 182

1,300 1,233 294 17 156 6 193

418

-

418

-

(กําไรที่เกี่ยวของ) รายไดเงินปนผล รายไดอื่น คาใชจายดอกเบี้ย

30 5 42

11 88

59 46 42

42 88

102 10

114 11

78 7

91 8

คาเชาจาย คาใชจายอื่น

226

รายงานประจำ�ปี 2557

(หนวย: ลานบาท) นโยบายกําหนดราคา (สําหรับป 2557)

ราคาตลาด ราคาตลาด ราคาตลาด ดอกเบี้ยรอยละ 2.87 - 3.50, 3.75, 4.70, 4.80 และ 7.78 ตอป ตามที่ประกาศจาย อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ ดอกเบี้ยรอยละ 0.25 - 3.25 ตอป อัตราที่ตกลงในสัญญาเชา

ตามราคาที่ตกลงกันตามสัญญาโดยอางอิง จากความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน อิสระ ตามที่ประกาศจาย ดอกเบี้ยรอยละ 0.50 - 1.00, 5.25 และ 5.50 ตอป อัตราที่ตกลงในสัญญาเชา


สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 2557 2556 รายการที่เกิดขึ้นในระหวางป (ตอ) บริษัทที่เกี่ยวของกัน (แสดงไวใน สวนของการดําเนินงานตอเนื่อง) มูลคาซื้อเงินลงทุนในตราสารหนี้ มูลคาขายเงินลงทุนในตราสารหนี้ (กําไรที่เกี่ยวของ) มูลคาซื้อ/ขายสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน รายไดดอกเบี้ย รายไดเงินปนผล รายไดคาธรรมเนียมและบริการ รายไดจากการประกันภัย/ประกันชีวิต รายไดคาบริการงานสนับสนุน รายไดอื่น คาใชจายดอกเบี้ย คาเชาจาย คาใชจายจากการประกันภัย/ ประกันชีวิต คาใชจายอื่น เงินปนผลจาย บริษัทที่เกี่ยวของกัน (แสดงไวใน สวนของการดําเนินงานที่ยกเลิก) รายไดจากการประกันชีวิต คาเชาจาย

4,507 8,330 8 429,948 296 37 6 7 11 355

229 10,358 459,061 307 44 1 27 9 11 390

3,830 7,440 1 429,180 296 18 5 7 355

106 22

101 -

60 -

41 1,216

55 900

34 1,216

-

2 5

-

229 10,358 457,204 303 26 9 390

(หนวย: ลานบาท) นโยบายกําหนดราคา (สําหรับป 2557)

ราคาตลาด ราคาตลาด ราคาตลาด ดอกเบี้ยรอยละ 0.06 – 7.78 ตอป ตามที่ประกาศจาย อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ

ดอกเบี้ยรอยละ 0.10 – 3.30, 5.25, 6.00, 7.55, 7.65 และ 8.25 ตอป 65 อัตราที่ตกลงในสัญญาเชา - อัตราที่ตกลงในสัญญาบริการ

36 900 ตามที่ประกาศจาย

-

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

227


ยอดคงคางของรายการระหวางกันที่มีสาระสําคัญที่เกิดขึ้นในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 สามารถแสดงดวยยอดถัวเฉลี่ยจากยอดคงคาง ณ วันสิ้นเดือน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

งบการเงินรวม 2557 2556 บริษัทใหญ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินรับฝาก ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม บริษัทยอย รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม บริษัทรวม เงินรับฝาก ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม บริษัทที่เกี่ยวของกัน รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

228

รายงานประจำ�ปี 2557

10 2,008 3,644

14 1,334 3,637

2,008 3,642

1,334 3,637

-

-

862 4,093 2,759 398 -

1,346 5,901 2,538 572 221

297 738

991 1,200

297 738

991 1,200

218 7,658 1,838 13,852 4,051

246 8,068 2,571 12,582 3,894

218 7,527 1,838 13,852 4,051

246 7,616 2,571 12,582 3,894


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ยอดคงคางของรายการระหวางกันที่มีสาระสําคัญมีรายละเอียดดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม 2557

สินทรัพย หนี้สิน เงินให สินเชื่อแก รายการ ลูกหนี้และ รายการ ตราสารหนี้ ระหวาง เงินลงทุน - ดอกเบี้ย ระหวาง ที่ออกและ ธนาคารฯ ตราสารหนี้ คางรับ สินทรัพยอื่น เงินรับฝาก ธนาคารฯ เงินกูยืม หนี้สินอื่น ภาระผูกพัน บริษัทใหญ บมจ. ทุนธนชาต บริษัทรวม บมจ. เอ็ม บี เค บริษัทที่เกี่ยวของกัน ธนาคารแหงโนวาสโกเทีย บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ. ไทยรับประกันภัยตอ บมจ. โฮมโปรดักส เซ็นเตอร บมจ. บัตรกรุงไทย บมจ. ศรีไทยซุปเปอรแวร บจ. สินแพทย บริษัทที่เกี่ยวของกันหลายแหง

-

-

8

-

19

-

3,638

76

-

-

-

-

36

116

-

-

-

-

348 348

684 684

27 4,771 433 815 1,003 7,057

2 78 116

100 8 20 1 1,038 1,302

12,842 202 13,044

3,494 400 7,532

74 13 14 177

3,566 32 36 347 3,981

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินรวม 2556

รายการ ระหวาง ธนาคารฯ บริษัทใหญ บมจ. ทุนธนชาต บริษัทรวม บมจ. เอ็ม บี เค บริษัทที่เกี่ยวของกัน ธนาคารแหงโนวาสโกเทีย บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ. ไทยรับประกันภัยตอ บมจ. บัตรกรุงไทย บมจ. ศรีไทยซุปเปอรแวร บจ. สินแพทย บริษัทที่เกี่ยวของกันหลายแหง

สินทรัพย เงินใหสินเชื่อ แกลูกหนี้และ ดอกเบี้ย คางรับ สินทรัพยอื่น

หนี้สิน

เงินรับฝาก

รายการ ระหวาง ธนาคารฯ

ตราสารหนี้ ที่ออกและ เงินกูยืม

หนี้สินอื่น

ภาระผูกพัน

-

12

25

3,030

-

3,638

84

-

-

-

34

963

-

1,200

11

-

258 258

232 4,970 594 443 1,348 7,599

2 173 234

550 680 7 50 7 1,989 7,276

14,406 119 14,525

3,494 400 8,732

82 2 13 81 273

2,680 19 5 876 3,580

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

229


(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

สินทรัพย หนี้สิน เงินให สินเชื่อแก รายการ ลูกหนี้และ รายการ ตราสารหนี้ ระหวาง เงินลงทุน - ดอกเบี้ย ระหวาง ที่ออกและ ธนาคารฯ ตราสารหนี้ คางรับ สินทรัพยอื่น เงินรับฝาก ธนาคารฯ เงินกูยืม หนี้สินอื่น ภาระผูกพัน บริษัทใหญ บมจ. ทุนธนชาต บริษัทยอย บมจ. สคิบ บจ. ธนชาตกรุป ลีสซิ่ง บมจ. หลักทรัพยธนชาต บมจ. ธนชาตประกันภัย บจ. ธนชาตโบรกเกอร บบส. ทีเอส บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง บริษัทยอยอื่น บริษัทรวม บมจ. เอ็ม บี เค บริษัทที่เกี่ยวของกัน ธนาคารแหงโนวาสโกเทีย บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ. ไทยรับประกันภัยตอ บมจ. โฮมโปรดักส เซ็นเตอร บมจ. บัตรกรุงไทย บมจ. ศรีไทยซุปเปอรแวร บจ. สินแพทย บริษัทที่เกี่ยวของกันหลายแหง

230

รายงานประจำ�ปี 2557

-

-

-

-

19

-

3,638

76

-

1,050 -

-

2,902 -

2 39 10 34

1,538 334 288 292 55 153 101

115 18

-

4 1 27 128 1 18

556 50 30 -

-

-

-

29

116

-

-

-

-

348 1,398

684 684

27 4,771 433 815 661 9,609

2 66 182

100 8 20 1 1,038 4,063

12,842 202 13,177

3,494 400 7,532

74 3 106 438

3,566 32 36 291 4,561


(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556

สินทรัพย หนี้สิน เงินให สินเชื่อแก รายการ ลูกหนี้และ รายการ ตราสารหนี้ ระหวาง เงินลงทุน - ดอกเบี้ย ระหวาง ที่ออกและ ธนาคารฯ ตราสารหนี้ คางรับ สินทรัพยอื่น เงินรับฝาก ธนาคารฯ เงินกูยืม หนี้สินอื่น ภาระผูกพัน บริษัทใหญ บมจ. ทุนธนชาต บริษัทยอย บมจ. สคิบ บจ. ธนชาตกรุป ลีสซิ่ง บมจ. หลักทรัพยธนชาต บมจ. ธนชาตประกันภัย บจ. ธนชาตโบรกเกอร บบส. ทีเอส บมจ. ประกันชีวิตนครหลวงไทย บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง บริษัทยอยอื่น บริษัทรวม บมจ. เอ็ม บี เค บริษัทที่เกี่ยวของกัน ธนาคารแหงโนวาสโกเทีย บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บมจ. ไทยรับประกันภัยตอ บมจ. บัตรกรุงไทย บมจ. ศรีไทยซุปเปอรแวร บจ. สินแพทย บริษัทที่เกี่ยวของกันหลายแหง

-

-

-

20

3,030

-

3,638

84

-

550 -

514 -

4,557 -

24 67 6 1 16 24

1,516 203 938 297 62 114 84

14 1,181 8

-

4 2 26 192 1 1 28

764 10 30 -

-

-

-

28

963

-

1,200

11

-

258 808

514

232 4,970 594 443 832 11,628

161 347

550 680 7 50 7 1,989 10,490

14,406 118 15,727

3,494 400 8,732

82 2 13 75 521

2,680 19 5 612 4,120

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯมีเงินใหสินเชื่อแกบริษัทบริหารสินทรัพย ที เอส จํากัด จํานวน 2,902 ลานบาท ซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตรารอยละ 2.87 - 3.16 ตอป (2556: 4,555 ลานบาท อัตราดอกเบี้ยรอยละ 3.15 - 3.36 ตอป) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีเงินลงทุนในหุนสามัญในกิจการที่เกี่ยวของกัน โดยการมี ผูบริหารของธนาคารฯและบริษัทยอยเปนผูถือหุนและ/หรือมีกรรมการรวมกันรวมจํานวนประมาณ 825 ลานบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 350 ลานบาท) (2556: 809 ลานบาท ในงบการเงินรวม และ 435 ลานบาทในงบการเงิน เฉพาะกิจการ)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

231


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีรายการที่เกี่ยวของกันกับพนักงานระดับ ผูบริหารขึ้นไปของธนาคารฯและบริษัทในกลุม โดยรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวของกับบุคคลดังกลาวที่มียอดคงคาง ดังตอไปนี้

เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ เงินรับฝาก

งบการเงินรวม 2557 2556 91 82 712 906

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 85 75 712 906

คาตอบแทนผูบริหารสําคัญ ในระหวางป 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยบันทึกผลประโยชนใหแกผูบริหารสําคัญรวมถึง กรรมการของธนาคารฯและบริษัทยอยทั้งหมด 104 คน และ 121 คน ตามลําดับ (งบการเงินเฉพาะกิจการ: จํานวน 36 คน และ 47 คน ตามลําดับ) ดังนี้

ผลประโยชนระยะสั้นของพนักงาน ผลประโยชนหลังออกจากงาน

232

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินรวม 2556 2557 546 539 14 13 560 552

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 231 267 9 6 240 273


42. ขอมูลทางการเงินจําแนกตามสวนงานดําเนินงาน 42.1 ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่สําคัญจําแนกตามประเภทธุรกรรม ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 และผลการดําเนินงานสําหรับปสิ้นสุดวันเดียวกันของ แตละป จําแนกตามประเภทธุรกรรมในประเทศและตางประเทศเปนดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

สินทรัพยรวม รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ธุรกรรม ในประเทศ 1,008,820 70,073 144,944 1,919 727,349 696,992 80,326 90,198

งบการเงินรวม 2557 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 19,773 (19,703) 15,063 (19,703) 4,665 19,647 (19,703) -

รวม 1,008,890 65,433 149,609 1,919 727,349 696,992 80,270 90,198 (หนวย: ลานบาท)

สินทรัพยรวม รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ธุรกรรม ในประเทศ 1,038,460 77,273 131,414 1,835 760,943 719,079 81,094 92,229

งบการเงินรวม 2556 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 24,511 (24,622) 17,046 (24,622) 7,411 24,610 (24,622) -

รวม 1,038,349 69,697 138,825 1,835 760,943 719,079 81,082 92,229

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

233


(หนวย: ลานบาท)

รายไดดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายไดจากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรกอนสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

ธุรกรรม ในประเทศ 52,301 (24,884) 27,417 5,927 2,091 3,732 (19,515) (7,122) 12,530 (2,479) 10,051

งบการเงินรวม 2557 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 260 (116) (116) 116 144 144 144 -

รวม 52,445 (24,884) 27,561 5,927 2,091 3,732 (19,515) (7,122) 12,674 (2,479) 10,195 (หนวย: ลานบาท)

รายไดดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายไดจากการรับประกันภัย/ประกันชีวิตสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรจากการดําเนินงานตอเนื่องกอน สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไรจากการดําเนินงานที่ยกเลิกกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรกอนสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม 234

รายงานประจำ�ปี 2557

ธุรกรรม ในประเทศ 53,805 (27,290) 26,515 6,115 2,282 16,218 (20,408) (11,496) 19,226 (4,031) 15,195 443 (89) 15,549

งบการเงินรวม 2556 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 168 (94) (94) 94 74 (22) 52 52 52

-

รวม 53,879 (27,290) 26,589 6,115 2,282 16,196 (20,408) (11,496) 19,278 (4,031) 15,247 443 (89) 15,601


(หนวย: ลานบาท)

สินทรัพยรวม รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ธุรกรรม ในประเทศ 967,146 69,978 136,537 8,744 694,952 699,735 73,203 73,843

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 19,773 (19,703) 15,063 (19,703) 4,665 19,647 (19,703) -

รวม 967,216 65,338 141,202 8,744 694,952 699,735 73,147 73,843 (หนวย: ลานบาท)

สินทรัพยรวม รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้และดอกเบี้ยคางรับ เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (หนี้สิน) ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ธุรกรรม ในประเทศ 990,835 73,671 118,463 9,505 729,970 722,262 74,461 76,923

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 24,511 (24,622) 17,046 (24,622) 7,411 24,610 (24,622) -

รวม 990,724 66,095 125,874 9,505 729,970 722,262 74,449 76,923

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

235


(หนวย: ลานบาท)

รายไดดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา ภาษีเงินได กําไรสําหรับป

ธุรกรรม ในประเทศ 48,958 (23,920) 25,038 3,992 4,651 (17,029) (7,181) (1,697) 7,774

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 260 (116) (116) 116 144 144 -

รวม 49,102 (23,920) 25,182 3,992 4,651 (17,029) (7,181) (1,697) 7,918 (หนวย: ลานบาท)

รายไดดอกเบี้ย คาใชจายดอกเบี้ย รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดคาธรรมเนียมและบริการสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา ภาษีเงินได กําไรสําหรับป

236

รายงานประจำ�ปี 2557

ธุรกรรม ในประเทศ 50,468 (26,489) 23,979 3,971 18,130 (17,692) (11,110) (3,217) 14,061

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ธุรกรรม รายการ ตางประเทศ ตัดบัญชี 168 (94) (94) 94 74 (22) 52 -

รวม 50,542 (26,489) 24,053 3,971 18,108 (17,692) (11,110) (3,217) 14,113


42.2 ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานจําแนกตามประเภทธุรกิจ การกําหนดสวนงานดําเนินงานของธนาคารฯ การกําหนดสวนงานดําเนินงานของธนาคารฯเปนไปตามโครงสรางการจัดองคกรซึ่งกําหนดขึ้นจากนโยบาย การบริหารงานของธนาคารฯ โดยแบงไดเปน 3 สวนงานหลัก ไดแก 1.

สวนงานธุรกิจลูกคารายยอย เปนสวนงานที่ทําธุรกรรมกับลูกคาบุคคลทั่วไป โดยมีผลิตภัณฑที่เกี่ยวของ เชน เงินรับฝากประเภทตาง ๆ สินเชื่อเพื่อที่อยูอาศัย สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต สินเชื่อบัตรเครดิต เปนตน

2.

สวนงานธุรกิจลูกคาธุรกิจขนาดใหญและธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอมเปนสวนงานที่ทําธุรกรรมกับ ลูกคาภาคธุรกิจ โดยมีผลิตภัณฑที่เกี่ยวของ เชน เงินใหสินเชื่อระยะสั้น/ระยะยาว สินเชื่อเพื่อการสงออก และนําเขา

3.

สวนงานบริหารการเงิน การลงทุนและธุรกิจอื่น ๆ ประกอบดวย ธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดเงินและการลงทุน และธุรกรรมที่เกี่ยวของกับบริษัทในเครือ สินเชื่อสวัสดิการพนักงานและอื่น ๆ

นโยบายการบั ญชี สํ าหรั บส วนงานเป นไปตามนโยบายบั ญชี ของธนาคารฯสํ าหรั บเกณฑ ในการป นส วน สินทรัพยของสวนงาน ธนาคารฯจะปนสวนเฉพาะสินทรัพยที่กอใหเกิดรายไดตามประเภทธุรกิจ สําหรับ สินทรัพยที่ไมกอใหเกิดรายไดแสดงรวมอยูในสวนงานธุรกิจอื่นๆ ผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดสอบทานผลการดําเนินงานแตละหนวยธุรกิจแยกจากกัน เพื่อวัตถุประสงคในการ ตั ด สิน ใจที่ เ กี่ ย วกั บ การจัด สรรทรั พ ยากรและการประเมิ น ผลการปฏิบั ติ ง าน ธนาคารฯประเมิ น ผลการ ปฏิบัติงานของสวนงานโดยพิจารณาจากรายไดดอกเบี้ยสุทธิของแตละสวนงานซึ่งเปนการแสดงรายการสุทธิ ระหวางรายไดและคาใชจายดอกเบี้ยจากลูกคาภายนอกกับรายไดและคาใชจายดอกเบี้ยที่เกิดจากการใหกูและ การกูยืมจากสวนงานดําเนินงานอื่น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ใชในการกูยืมระหวางกันใชเกณฑราคาตลาด คาใชจาย ดําเนินงานปนสวนตามการดําเนินงานของแตละสวนงานธุรกิจ สําหรับคาใชจายที่เกิดจากสินทรัพยที่ไมกอใหเกิด รายได จะแสดงรวมอยูในสวนงานธุรกิจอื่น ๆ เชน คาเสื่อมราคาทรัพยสิน คาสิทธิการเชาตัดจาย เปนตน การกําหนดสวนงานดําเนินงานของธนาคารฯและบริษัทยอย ธนาคารฯและบริษัทยอยดําเนินกิจการใน 4 สวนงานหลักคือ (1) ธุรกิจธนาคาร ซึ่งประกอบดวย 3 สวนงาน หลักตามที่กลาวขางตน (2) ธุรกิจหลักทรัพย (3) ธุรกิจประกันภัย และ (4) ธุรกิจบริหารสินทรัพย ขอมูลทาง การเงินจําแนกตามสวนงานของธนาคารฯและบริษัทยอย มีดังตอไปนี้

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

237


238

(หนวย: ลานบาท)

รายงานประจำ�ปี 2557

สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธุรกิจธนาคาร

รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดจากการรับประกันสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรกอนสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

กลุมลูกคา รายยอย 19,379 4,458 (14,003) (6,296) 3,538 (708) 2,830

กลุมลูกคา ธุรกิจ 5,084 748 (1,675) (309) 3,848 (769) 3,079

สวนงาน บริหาร การเงิน การลงทุน และอื่น ๆ 719 3,437 (1,351) (576) 2,229 (220) 2,009

ธุรกิจ หลักทรัพย 193 2,228 (1,365) 1,056 (205) 851

ธุรกิจ ประกันภัย 283 1,667 149 (779) 1,320 (274) 1,046

ธุรกิจ บริหาร สินทรัพย 355 122 (161) 644 960 (79) 881

ธุรกิจอื่น 1,579 (294) 1,028 (704) (418) 1,191 (254) 937

รายการ ตัดบัญชี (31) 718 (2,511) 523 (167) (1,468) 30 (1,438)

งบการเงิน รวม 27,561 2,091 9,659 (19,515) (7,122) 12,674 (2,479) 10,195


ธุรกิจธนาคาร

รายไดดอกเบี้ยสุทธิ รายไดจากการรับประกันสุทธิ รายไดจากการดําเนินงานอื่น คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการดอยคา กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงานตอเนื่องกอนสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไรจากการดําเนินงานที่ยกเลิกกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรกอนสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

(หนวย: ลานบาท)

สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556

กลุมลูกคา รายยอย 18,876 4,616 (14,021) (5,607) 3,864 (773)

กลุมลูกคา ธุรกิจ 4,458 781 (2,025) (312) 2,902 (580)

สวนงาน บริหาร การเงิน การลงทุน และอื่น ๆ 719 16,682 (1,646) (5,191) 10,564 (1,864)

3,091 3,091

2,322 2,322

8,700 8,700

ธุรกิจ หลักทรัพย 195 2,556 (1,401) 1,350 (264) 1,086 1,086

ธุรกิจ ประกันภัย 252 1,744 129 (933) 1,192 (238) 954 954

ธุรกิจบริหาร สินทรัพย 352 100 (202) 291 541 (119) 422 422

ธุรกิจอื่น(1) 1,780 (272) 630 (686) (248) 1,204 (248)

รายการ ตัดบัญชี (43) 810 (3,183) 506 (429) (2,339) 55

งบการเงิน รวม 26,589 2,282 22,311 (20,408) (11,496) 19,278 (4,031)

956 443 (89) 1,310

(2,284) (2,284)

15,247 443 (89) 15,601

(1) ผลการดําเนินงานของ บมจ.ธนชาตประกันชีวิตไดแสดงไวในกําไรจากการดําเนินงานที่ยกเลิก

สินทรัพยของสวนงานของธนาคารฯและบริษัทยอย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 มีดังตอไปนี้ ธุรกิจธนาคาร ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

239

สินทรัพยของสวนงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

กลุมลูกคา รายยอย

กลุมลูกคา ธุรกิจ

สวนงาน บริหาร การเงิน การลงทุน และอื่น ๆ

521,044 479,803

249,730 253,912

219,950 233,501

ธุรกิจ หลักทรัพย 7,121 8,060

(หนวย: ลานบาท)

ธุรกิจ ประกันภัย 9,896 11,234

ธุรกิจบริหาร สินทรัพย 9,116 8,235

ธุรกิจอื่น 41,420 30,655

รายการ ตัดบัญชี

งบการเงิน รวม

(19,928) (16,510)

1,038,349 1,008,890


42.3 ขอมูลเกี่ยวกับลูกคารายใหญ ในป 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยไมมีรายไดจากลูกคารายใดที่มีมูลคาเทากับหรือมากกวารอยละ 10 ของรายไดของกิจการ 43. ทรัพยสินที่มีภาระผูกพัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีทรัพยสินที่มีภาระผูกพัน ซึ่งมีมูลคาตามบัญชี ดังนี้ งบการเงินรวม 2556 2557 รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน (สินทรัพย) วางประกันกับนายทะเบียน วางประกันศาล เงินลงทุนในหลักทรัพย วางประกันกับนายทะเบียน วางประกันศาล ทรัพยสินรอการขาย อสังหาริมทรัพยสวนที่ใหสิทธิแกลูกหนี้ในการ ซื้อคืนหรือซื้อกอน อสังหาริมทรัพยสวนที่ทําสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกคา แตอยูระหวางการผอนชําระหรือการโอนกรรมสิทธิ์

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556

7

1,950 8

-

-

691 422

1,783 384

293

297

288

352

209

259

389 1,797

629 5,106

16 518

147 703

102 240

รายงานประจำ�ปี 2557


44. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหนา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหนาที่มีสาระสําคัญมีดังนี้ 44.1 ภาระผูกพัน

การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขาที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น วงเงินเบิกเกินบัญชีที่ลูกคายังไมไดถอน อื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม 2556 2557 256 665 509 646 4,796 4,067 28,170 22,950 56,681

27,984 23,310 56,672

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 2556 256 665 509 646 4,796 4,067 28,170 22,878 56,609

27,984 23,256 56,618

นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริ ษัทยอยมีภ าระผูกพันตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยตางสกุลเงิน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสัญญาซื้อขายทองคําลวงหนาตามที่กลาวไวใน หมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 8 44.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีภาระที่ตองจายคาบริการที่เกี่ยวของกับทรัพยสินรอการ ขาย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและคาบริการอื่น ๆ พรอมทั้งคาเชาและคาบริการอาคารสํานักงานตาม สัญญาเชาและบริการระยะยาวดังนี้

ป 2558 2559 2560 เปนตนไป

งบการเงินรวม กิจการอื่น บริษัทใหญ 1,831 16 1,708 1,592 -

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ กิจการอื่น บริษัทใหญ บริษัทยอย 1,708 15 112 1,597 1,144 -

นอกจากนี้ ธนาคารฯยังมีภาระที่ตองจายคาบริการงานธุรการตาง ๆ ใหกับบริษัทยอยแหงหนึ่งตามอัตราตนทุนที่ เกิดขึ้นจริงบวกสวนเพิ่มตามระยะเวลาที่กําหนดไวในสัญญา

103 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

241


44.3 ภาระผูกพันของธนาคารนครหลวงไทยจากการรับโอนกิจการของธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) และการ โอนสินทรัพยดอยคุณภาพใหกับบริษัทบริหารสินทรัพย สุขุมวิท จํากัด จากการที่ ธ นาคารนครหลวงไทยได ทํ า สั ญ ญาการรั บ โอนกิ จ การกั บ ธนาคารศรี น คร จํ า กั ด (มหาชน) (“ธนาคารศรีนคร”) ซึ่งมีผลบังคับใชตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2545 เปนตนไป และจากการที่ธนาคารนครหลวงไทย ไดมีการโอนสินทรัพยของธนาคารนครหลวงไทยเองโดยตรงและของธนาคารศรีนครใหแกบริษัทบริหารสินทรัพย เพชรบุรี จํากัด (“บบส. เพชรบุรี”) และไดมีการโอนตอใหบริษัทบริหารสินทรัพย สุขุมวิท จํากัด (“บบส. สุขุมวิท”) ตอมาธนาคารนครหลวงไทยไดโอนกิจการทั้งหมดรวมทั้งภาระผูกพันและขอตกลงตาง ๆ ที่ธนาคาร นครหลวงไทยมีอยูกับ บบส. เพชรบุรี และ/หรือ บบส. สุขุมวิท ใหแกธนาคารธนชาต โดยมีผลเปนการโอนสมบูรณ ตามกฎหมายในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทําใหธนาคารธนชาตมีภาระคงคางจากการโอนดังกลาว อยางไรก็ตาม ภาระผูกพันที่กองทุนฟนฟูฯมีอยูตอธนาคารนครหลวงไทยไดถูกโอน/เขาสวมสิทธิโดยธนาคารธนชาตใน ฐานะผูซื้อเงินลงทุนในหุนสามัญของธนาคารนครหลวงไทยจากกองทุนเพื่อการฟนฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน (“กองทุนฟนฟูฯ”) ดวยเชนเดียวกัน ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ภาระผูกพันดังกลาวประกอบดวย ก)

สวนตางจากการโอนสินทรัพยใหบบส. สุขุมวิท จํานวนเงิน 2 ลานบาท ซึ่งคงเหลือเปนลูกหนี้รอเรียก เก็บโดยแสดงเปนรายการ “สวนตางจากการโอนสินทรัพยใหบบส. สุขุมวิท” ในงบแสดงฐานะการเงิน รายการคงคางดังกลาวสวนใหญเกิดจากการโอนสิทธิไลเบี้ยสินเชื่อค้ําประกัน ซึ่งมีประเด็นที่ตองหา ขอยุติในเรื่องการพิสูจนสิทธิเรียกรองหรือคุณสมบัติของสินทรัพยวาเปนไปตามเงื่อนไขของสัญญา โอนสินทรัพยหรือไม ซึ่ง บบส. สุขุมวิท ยังไมตกลงรับโอนและปจจุบันอยูระหวางการตรวจสอบและ/ หรือเจรจาระหวางธนาคารธนชาต บบส. สุขุมวิท และกองทุนฟนฟูฯเพื่อหาขอยุติตอไป ซึ่งไดตั้งคาเผื่อ หนี้สงสัยจะสูญเต็มจํานวนแลว

ข)

รายการโอนสินทรัพยบางรายการ (ทั้งในสวนของธนาคารนครหลวงไทยและของธนาคารศรีนครเดิม) ที่ บบส. สุขุมวิท อยูระหวางการตรวจสอบเพื่อพิจารณาโอนกลับหรือขอปรับปรุงราคาและขอรับชําระเงิน คืนพรอมดอกเบี้ย ซึ่งสวนใหญมีประเด็นที่ตองหาขอยุติในเรื่องการพิสูจนสิทธิเรียกรอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายการที่บบส. สุขุมวิท อยูระหวางการตรวจสอบมีจํานวนประมาณ 38 ลานบาท ซึ่งเปนรายการที่เกี่ยวกับธนาคารศรีนครเดิมทั้งจํานวน และหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจะ ไดรับชดเชยจากกองทุนฟนฟูฯ และรายการปรับปรุง (ถามี) จะอยูภายใตวงเงินซึ่งกองทุนฟนฟูฯไดตั้ง วงเงินชดเชยความเสียหายสวนนี้ไวประมาณ 38 ลานบาท

ค)

คดีความฟองรองที่เกี่ยวเนื่องมาถึ งธนาคารนครหลวงไทยจากการรับโอนกิจการธนาคารศรีนคร จํานวนประมาณ 1,655 ลานบาท ตามที่ไดเปดเผยเปนสวนหนึ่งของหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหนาใน หมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 45 104

242

รายงานประจำ�ปี 2557


ง)

ภาระตามหนังสือค้ําประกันที่ยังคงคาง

กองทุนฟนฟูฯไดนําเงินเทากับวงเงินชดเชยความเสียหายฝากไวกับธนาคารฯในบัญชีเงินฝากในนามกองทุน ฟนฟูฯเพื่อเปนแหลงเงินที่จะชดเชยความเสียหายตามขอตกลงการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับโอน กิจการธนาคารศรีนคร หากมีความเสียหายจริงตามเงื่อนไขที่ตกลงสําหรับประเด็นคงคางตามที่กลาวในขอ ก) ข) ค) และ ง) ขางตน ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯมีบัญชีเงินฝากในนามกองทุนฟนฟูฯเพื่อเปน แหลงเงินที่จะชดเชยความเสียหายจํานวนเงินคงเหลือประมาณ 707 ลานบาท นอกจากนั้น ไดมีขอตกลงชดเชย ความเสียหายเพิ่มเติม หากธนาคารฯมีความเสียหายจากคดีฟองรองตามที่กลาวใน ค) อีก 1 คดี ซึ่งมีทุนทรัพย จํานวน 379 ลานบาท อยางไรก็ดี ธนาคารธนชาตและบบส.สุขุมวิทไดมีการรวมประชุมหารือและหาขอยุติรวมกันในหลักการ สําหรับประเด็นคงคางดังกลาวขางตน ทั้งนี้ ดวยขอยุติในหลักการดังกลาว ธนาคารธนชาตจึงคาดวาจะไมมี ผลเสียหายในจํานวนที่มีสาระสําคัญที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือไปจากที่ไดมีการกันสํารองไวในบัญชีแลว และ/ หรือสวนที่กองทุนฟนฟูฯจะเปนผูรับผิดชอบ 45. คดีฟองรอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟองรองเรียกคาเสียหาย เปนจํานวนรวมประมาณ 4,457 ลานบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 4,143 ลานบาท) ซึ่งผลของคดียังไมเปนที่ สิ้นสุด อยางไรก็ตาม ธนาคารฯและบริษัทยอยไดพิจารณาตั้งสํารองหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไวแลวบางสวน และ สวนที่เหลือฝายบริหารของธนาคารฯและบริษัทยอยเชื่อมั่นวาจะไมมีความเสียหายเกิดขึ้นจึงไมไดบันทึกเปน หนี้สิน ณ ปจจุบัน หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟองรองเรียกคาเสียหายขางตนสวนหนึ่งของธนาคารฯ จํานวน 1,655 ลานบาท เปนคดีที่เกี่ยวพันมาถึงธนาคารฯจากการที่ธนาคารนครหลวงไทยรับโอนกิจการธนาคารศรีนคร ซึ่งธนาคารฯ มีสิทธิไดรับชดเชยความเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริงหากเปนไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกับกองทุนฟนฟูฯ 46. หนังสือค้ําประกันธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีหนังสือค้ําประกันที่ออกโดยธนาคารในนามธนาคารฯ และบริษัทยอยจํานวนเงินประมาณ 33 ลานบาท เพื่อค้ําประกันการใชไฟฟาของสาขา (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 33 ลานบาท)

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

105

243


47. การขายเงินลงทุนในบริษัทยอย/การดําเนินงานที่ยกเลิก 47.1 การขายเงินลงทุนในบริษัทยอย - เงินลงทุนในบริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2557 ธนาคารฯไดลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อตกลงขายหุนสามัญทั้งหมดของ บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน) (“บมจ. ประกันชีวิตนครหลวงไทย”) ที่ธนาคารฯถืออยู ในอัตรารอยละ 100 ใหแกบริษัท ทุนธนชาต จํากัด (มหาชน) (“บริษัทใหญ”) และบริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) (“บริษัทรวม”) รวมเปนเงินทั้งสิ้น 900 ลานบาท เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ธนาคารแหงประเทศไทยเห็นชอบใหธนาคารฯ จําหนายหุน บมจ.ประกันชีวิต นครหลวงไทยใหกับบริษัทใหญและบริษัทรวม และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 ธนาคารฯจึงไดดําเนินการ โอนหุนสามัญของ บมจ. ประกันชีวิตนครหลวงไทย จํานวน 69,999,994 หุน คิดเปนรอยละ 100 ของจํานวน หุนทั้งหมดพรอมรับชําระคาหุนจากผูซื้อทั้งสองตามขอตกลงจํานวน 900 ลานบาท เปนที่เรียบรอยแลว กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนจํานวน 65 ลานบาท ในงบการเงินรวมและ 126 ลานบาท ในงบการเงินเฉพาะ กิจการ ไดรับรูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จในไตรมาสที่ 2 ของป 2557 47.2 การขายเงินลงทุนในบริษัทยอย/การดําเนินงานที่ยกเลิก - เงินลงทุนในบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ธนาคารฯไดลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อตกลงขายหุนสามัญทั้งหมดของบริษัท ธนชาตประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) (“บมจ. ธนชาตประกันชีวิต”) ที่ธนาคารฯถืออยูในอัตรารอยละ 100 ใหแกบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) (“ผูซื้อ”) โดยมีมูลคาการซื้อขายเปนจํานวนเงิน 17,500 ลานบาท ปรับเพิ่มดวยมูลคาทางบัญชีของ บมจ. ธนชาตประกันชีวิต ณ วันกอนวันชําระราคาคาหุนและโอนหุน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญา และคาตอบแทนสวนเพิ่มอีกจํานวน 500 ลานบาท ที่จะชําระเมื่อครบ 12 เดือน หลังจากวันชําระราคาคาหุนและโอนหุนครั้งแรก ทั้งนี้ รายการโอนหุนและชําระราคาจะดําเนินการเมื่อผูซื้อ ไดรับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (“คปภ.”) และคูสัญญาได ลงนามในสัญญาความรวมมือทางธุรกิจในการแนะนําผลิตภัณฑและบริการดานประกันชีวิต (Bancassurance Agreement) และจะรับรูเมื่อมีการโอนหุนและชําระราคาเสร็จสิ้น

106 244

รายงานประจำ�ปี 2557


เมื่ อวั นที่ 29 มี นาคม 2556 ผู ซื้ อได รั บอนุ ญาตจากคณะกรรมการกํ า กั บ และส ง เสริ ม การประกอบธุ ร กิ จ ประกันภัย (“คปภ.”) ใหซื้อหุนบมจ. ธนชาตประกันชีวิต เกินกวารอยละ 10 ของจํานวนหุนที่จําหนายได แลวทั้งหมด เพื่อการโอนและรับโอนกิจการ ซึ่งเปนเงื่อนไขที่สําคัญภายใตสัญญาเปนที่เรียบรอยแลว และ ในวั น ที่ 3 พฤษภาคม 2556 สั ญ ญาจะซื้ อ จะขายเพื่ อ ตกลงขายหุ น สามั ญ ได มี ผ ลสมบู ร ณ ท างกฎหมาย เนื่องจากคูสัญญาไดดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนดไวในสัญญาเรียบรอยแลว ซึ่งรวมถึงการลงนามสัญญา ความรวมมือทางธุรกิจในการแนะนําผลิตภัณฑและบริการดานประกันชีวิต (Bancassurance Agreement) โดย มีกําหนดเวลา 15 ป ระหวางธนาคารฯและบมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต และธนาคารฯไดดําเนินการโอน หุนสามัญของบมจ. ธนชาตประกันชีวิตจํานวน 328,500,000 หุน คิดเปนรอยละ 100 ของจํานวนหุนทั้งหมด พร อ มรั บ ชํ า ระราคาค า หุ น จากผู ซื้ อ ตามข อ ตกลงจํ า นวน 17,500 ล า นบาท เป น ที่ เ รี ย บร อ ยแล ว โดย คาตอบแทนสวนที่ปรับเพิ่มดวยมูลคาทางบัญชีของบมจ. ธนชาตประกันชีวิต ณ วันกอนวันชําระราคาคาหุน และโอนหุนอีกจํานวน 940 ลานบาท ไดรับรูเปนสวนหนึ่งของการขายเงินลงทุนและไดรับชําระเงินแลวใน เดือนกรกฎาคม 2556 ดังนั้น ในระหวางป 2556 ธนาคารฯจึงไดรับรูรายการขายเงินลงทุนดังกลาว โดยมูลคา ขายทั้งจํานวนไดนํามาปนสวนใหกับมูลคาของหุนที่จําหนายและบริการที่ธนาคารฯจะตองใหแกผูซื้อภายใต สัญญา Bancassurance โดยอางอิงจากมูลคายุติธรรมของหุนตามประมาณการของฝายจัดการของธนาคารฯ และปจจัยประกอบอื่น กําไรจากการจําหนายจํานวน 12,216 ลานบาท ในงบการเงินรวมและ 13,128 ลานบาท ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ไดรับรูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับป 2556 ทั้งนี้ ตามสัญญา Bancassurance ธนาคารฯจะทยอยรับรูรายไดจากคาธรรมเนียมที่ถูกปนสวนตามระยะเวลา ของสัญญาและไดแสดงคาธรรมเนียมรับลวงหนาดังกลาวไวเปนสวนหนึ่งของบัญชีหนี้สินอื่น - รายไดรับ ลวงหนา นอกจากนี้ภายใตสัญญา Bancassurance ไดมีการกําหนดเงื่อนไขและขอกําหนดบางประการที่ ธนาคารฯตองถือปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ธนาคารฯยังจะไดรับคาตอบแทนสวนเพิ่มอีกจํานวน 500 ลานบาท จากการที่ธนาคารฯอนุญาต ใหใชตราสัญลักษณของธนชาตที่จะชําระเมื่อครบ 12 เดือน หลังจากวันชําระราคาคาหุน โดยธนาคารฯได เริ่มทยอยรับรูเปนรายไดตามระยะเวลาของสัญญาตั้งแตเดือนพฤษภาคม 2556 และรับรูรายไดสวนที่เหลือ ทั้งหมดแลวในป 2557 เนื่องจาก บมจ. ธนชาตประกันชีวิตไดโอนกิจการทั้งหมดไปยังบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) และดําเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการในป 2557

107 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

245


ดังนั้น เพื่อให สอดคลองกั บข อกํ าหนดของมาตรฐานการบัญชี ธนาคารฯแยกแสดงผลการดํ าเนิ นงานของ บมจ. ธนชาตประกันชีวิตที่รวมอยูในงบกําไรขาดทุนรวมเปน “กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก” และ “กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากการดําเนินงานที่ยกเลิก (ขาดทุน)” ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับปสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2556 ที่แสดงเปรียบเทียบโดยมีรายละเอียดดังนี้ (หนวย: ลานบาท) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556(1) งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม กําไรหรือขาดทุน รายไดดอกเบี้ย คาใชจายคาธรรมเนียมและบริการ กําไรสุทธิจากเงินลงทุน รายไดจากการรับประกันชีวิต รายไดเงินปนผล รายไดอื่น ๆ รวมรายไดจากการดําเนินงาน คาใชจายในการรับประกันชีวิต รายไดสุทธิจากการดําเนินงาน คาใชจายจากการดําเนินงานอื่น ๆ คาใชจายเกี่ยวกับพนักงาน คาใชจายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ คาภาษีอากร คาใชจายอื่น รวมคาใชจายจากการดําเนินงานอื่นๆ กําไรจากการดําเนินงานกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรสําหรับปจากการดําเนินงานที่ยกเลิก กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผื่อขาย ภาษีเงินไดเกี่ยวกับองคประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากการดําเนินงานที่ยกเลิก (ขาดทุน) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม

358 (1) 17 3,644 4 3 4,025 (3,452) 573 49 21 11 49 130 443 (89) 354 (147) 28 (119) 235

(1) แสดงผลการดําเนินงานของ บมจ. ธนชาตประกันชีวิต ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่จําหนายเงินลงทุน

108 246

รายงานประจำ�ปี 2557


ขอมูลการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพยดําเนินงานและหนี้สินดําเนินงานของบมจ. ธนชาตประกันชีวิตที่รวม แสดงในงบกระแสเงินสดรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีดังนี้ (หนวย: ลานบาท) 2556(1) การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพยดําเนินงาน(เพิ่มขึ้น)ลดลง - รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน - เงินลงทุนสุทธิ - สินทรัพยอื่น - อื่น ๆ

538 (2,862) 16 44 (2,264)

การเปลี่ยนแปลงของหนี้สินดําเนินงานเพิ่มขึ้น(ลดลง) - หนี้สินจากสัญญาประกันชีวิต - ภาษีเงินไดนิติบุคคลคางจาย - เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย - หนี้สินอื่น - อื่น ๆ

706 115 959 115 (17) 1,878

(1) แสดงขอมูลกระแสเงินสดของ บมจ. ธนชาตประกันชีวิต ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่จําหนายเงินลงทุน

ขอมูลกระแสเงินสดของบมจ. ธนชาตประกันชีวิต สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีดังตอไปนี้ (หนวย: ลานบาท) 2556(1) 2,819 (2,819)

กระแสเงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมลงทุน (1) แสดงขอมูลกระแสเงินสดของ บมจ. ธนชาตประกันชีวิต ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่จําหนายเงินลงทุน

109 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

247


48. เครื่องมือทางการเงิน เครื่องมือทางการเงิน หมายถึง สัญญาใดๆ ที่ทําใหสินทรัพยทางการเงินของกิจการหนึ่งและหนี้สินทางการเงินหรือ ตราสารทุนของอีกกิจการหนึ่งเพิ่มขึ้น 48.1 ความเสี่ยงจากการใหสินเชื่อ ความเสี่ยงจากการใหสินเชื่อ คือ ความเสี่ยงที่ธนาคารฯและบริษัทยอยอาจไดรับความเสียหายอันสืบเนื่องมาจาก การที่คูสัญญาของธนาคารฯและบริษัทยอยจะไมสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันที่ระบุไวในเครื่องมือทาง การเงินได มูลคาสูงสุดของความเสี่ยง คือ มูลคาตามบัญชีของเครื่องมือทางการเงินหักดวยสํารองเผื่อขาดทุน ตามที่แสดงไวในงบแสดงฐานะการเงิน และความเสี่ยงของภาระผูกพันจากการอาวัล ค้ําประกันการกูยืม และ ค้ําประกันอื่นๆ และรวมถึงสัญญาตราสารอนุพันธ ธนาคารฯและบริษัทยอยไดมีการบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนของการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ การวิเคราะห ความเสี่ยง การวิเคราะหความสามารถในการชําระหนี้ และการสอบทานสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบและทบทวน คุณภาพสินเชื่อเพื่อเปนการปองกันและแกไขสินเชื่อที่จะเปนปญหาในอนาคต 48.2 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด หมายถึง ความเสี่ยงที่ธนาคารฯและบริษัทยอยอาจไดรับความ เสียหายอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนและราคาของหลักทรัพย ซึ่งสงผล กระทบตอฐานะเงินตราตางประเทศและฐานะการลงทุนของธนาคารฯและบริษัทยอย ดังนั้น ความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงของราคาตลาดจึงประกอบไปดวยความเสี่ยงหลักคือความเสี่ยงดานอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยง ดานอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของตราสารทุน/สินคาโภคภัณฑ ก)

ความเสี่ยงดานอัตราดอกเบี้ย

ความเสี่ยงดานอัตราดอกเบี้ย คือ ความเสี่ยงที่มูลคาของเครื่องมือทางการเงินจะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ธนาคารฯและบริษัทยอยไดมีการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย โดยการปรับ โครงสรางและสัดสวนการถือครองสินทรัพยและหนี้สินที่มีระยะเวลาการปรับอัตราดอกเบี้ยที่แตกตางกันให เหมาะสมและเปนไปตามทิศทางของดอกเบี้ยในตลาด เพื่อใหไดรับผลตอบแทนที่เหมาะสมภายใตความเสี่ยง ที่ยอมรับได โดยอยูภายใตการควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารสภาพคลองและอัตราดอกเบี้ย

110 248

รายงานประจำ�ปี 2557


สินทรัพย/หนี้สินทางการเงินจําแนกตามประเภทอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 มีดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2557

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น - ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินอื่น - เจาหนี้สํานักหักบัญชี

มีอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง มีอัตรา ตามอัตราตลาด ดอกเบี้ยคงที่ ไมมีดอกเบี้ย

รวม

164 1 329,497 -

57,575 140,322 423,915 -

16,605 7,885 4,389 6,944 1,919 958 1,837 18

16,605 65,624 4,389 147,267 1,919 754,370 1,837 18

246,840 12,831 4 -

443,490 64,836 90,194 -

6,662 2,603 1,655 5,200 1,520 480

696,992 80,270 1,655 5,200 90,198 1,520 480

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราตลาดหรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไดรวมเงินใหสินเชื่อ ที่หยุดรับรูรายไดตามเกณฑคงคาง

111 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

249


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2556

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น - ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินอื่น - เจาหนี้สํานักหักบัญชี

มีอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง มีอัตรา ตามอัตราตลาด ดอกเบี้ยคงที่ ไมมีดอกเบี้ย

รวม

537 2 325,621 -

59,651 133,322 463,835 -

17,940 9,673 3,914 4,930 1,835 561 1,646 170

17,940 69,861 3,914 138,254 1,835 790,017 1,646 170

245,172 9,802 4 -

467,054 69,731 92,225 -

6,853 1,549 3,219 5,701 1,295 509

719,079 81,082 3,219 5,701 92,229 1,295 509

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราตลาดหรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไดรวมเงินใหสินเชื่อ ที่หยุดรับรูรายไดตามเกณฑคงคาง

250

รายงานประจำ�ปี 2557

112


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย

มีอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง มีอัตรา ตามอัตราตลาด ดอกเบี้ยคงที่

ไมมีดอกเบี้ย

รวม

94 1 317,989

57,645 134,417 395,515

16,598 7,807 4,389 5,156 8,749 932

16,598 65,546 4,389 139,574 8,749 714,436

247,314 12,620 4 -

445,732 57,914 73,839 -

6,689 2,613 1,655 5,197 100

699,735 73,147 1,655 5,197 73,843 100

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราตลาดหรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไดรวมเงินใหสินเชื่อ ที่หยุดรับรูรายไดตามเกณฑคงคาง

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

113

251


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย

มีอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง มีอัตรา ตามอัตราตลาด ดอกเบี้ยคงที่

ไมมีดอกเบี้ย

รวม

369 2 314,056

56,305 120,685 435,927

17,939 9,612 3,914 4,775 9,510 511

17,939 66,286 3,914 125,462 9,510 750,494

245,656 9,441 4 -

469,715 63,445 76,919 -

6,891 1,563 3,219 5,697 1

722,262 74,449 3,219 5,697 76,923 1

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราตลาดหรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไดรวมเงินใหสินเชื่อ ที่หยุดรับรูรายไดตามเกณฑคงคาง

252

รายงานประจำ�ปี 2557

114


เครื่องมือทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ มีวันที่มีการกําหนดอัตราใหมหรือวันครบกําหนด (แลวแตวันใดจะ ถึงกอน) นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

รายการ สินทรัพยทางการเงิน รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

งบการเงินรวม 2557 ระยะเวลาการกําหนดอัตราดอกเบี้ยใหมหรือวันครบกําหนด เมื่อ 0-3 3 - 12 เดือน เดือน ทวงถาม 1 - 5 ป เกิน 5 ป

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก รอยละ

รวม

5,712

54,368 13,726 19,530

2,707 21,891 13,008

500 100,194 303,983

4,511 81,682

57,575 140,322 423,915

3.07 – 3.63 2.93 – 3.82 7.73 – 8.71

146

152,695

257,990

32,659

-

443,490

2.76

350 1,048

46,094 25,595

13,473 24,255

4,919 13,780

25,516

64,836 90,194

1.59 – 3.46 4.42 – 4.54

งบการเงินรวม 2556 ระยะเวลาการกําหนดอัตราดอกเบี้ยใหมหรือวันครบกําหนด เมื่อ 0-3 3 - 12 เดือน เดือน ทวงถาม 1 - 5 ป เกิน 5 ป

(หนวย: ลานบาท)

รวม

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก รอยละ

22 6,394

48,220 1,755 17,918

11,409 27,513 11,604

85,381 312,602

18,673 115,317

59,651 133,322 463,835

3.21 - 3.58 3.32 - 4.93 7.70 - 8.95

31

222,425

221,391

23,207

-

467,054

3.02

995 1,061

43,680 23,265

18,620 20,100

6,436 35,283

12,516

69,731 92,225

1.73 - 3.62 4.65 - 4.96

115 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

253


(หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

รายการ สินทรัพยทางการเงิน รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและ ตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

254

รายงานประจำ�ปี 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ระยะเวลาการกําหนดอัตราดอกเบี้ยใหมหรือวันครบกําหนด เมื่อ 0-3 3 - 12 ทวงถาม เดือน เดือน 1 - 5 ป เกิน 5 ป

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก รอยละ

รวม

1,050 5,241

54,139 13,676 19,250

2,456 21,521 11,889

96,409 277,592

2,811 81,543

57,645 134,417 395,515

3.07 2.93 7.73

146

153,145

259,782

32,659

-

445,732

2.76

1

41,992 25,558

11,628 22,755

4,294 9

25,516

57,914 73,839

1.59 4.42

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ระยะเวลาการกําหนดอัตราดอกเบี้ยใหมหรือวันครบกําหนด เมื่อ 0-3 3 - 12 ทวงถาม เดือน เดือน 1 - 5 ป เกิน 5 ป

(หนวย: ลานบาท)

รวม

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก รอยละ

572 6,140

46,956 1,470 17,854

8,777 26,509 10,625

82,502 286,166

10,204 115,142

56,305 120,685 435,927

3.21 3.32 7.70

31

223,424

223,053

23,207

-

469,715

3.02

495 1

44,433 23,265

13,632 18,100

4,885 23,037

12,516

63,445 76,919

1.81 4.65

116


นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยมีสินทรัพย/หนี้สินทางการเงินที่กอใหเกิดรายไดและคาใชจายยอด คงเหลือถัวเฉลี่ยที่คํานวณโดยถัวเฉลี่ยจากยอดคงเหลือในระหวางปของสินทรัพยและหนี้สินทางการเงินและ อัตราเฉลี่ยของดอกเบี้ยสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เปนดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556

2557

สินทรัพยทางการเงินที่กอใหเกิดรายได รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนและธุรกรรมเพื่อคา เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินใหสินเชื่อ/การใหเชาซื้อและ สัญญาเชาการเงิน หนี้สินทางการเงินที่กอใหเกิดคาใชจาย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ยอด คงเหลือ ถัวเฉลี่ย

ดอกเบี้ย

83,437 12,984 120,386

1,894 238 4,106

2.27 1.83 3.41

50,316 13,126 107,971

1,870 457 3,861

3.72 3.48 3.58

753,854

46,207

6.13

756,613

47,691

6.30

697,218 68,699 92,389

19,780 1,092 4,012

2.84 1.59 4.34

695,558 76,464 90,814

21,460 1,519 4,311

3.09 1.99 4.75

อัตราเฉลี่ย (รอยละ)

ยอด คงเหลือ ถัวเฉลี่ย

ดอกเบี้ย

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

สินทรัพยทางการเงินที่กอใหเกิดรายได รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุนและธุรกรรมเพื่อคา เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินใหสินเชื่อ/การใหเชาซื้อและ สัญญาเชาการเงิน หนี้สินทางการเงินที่กอใหเกิดคาใชจาย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม

ดอกเบี้ย

83,404 3,454 114,411

1,865 74 3,876

714,096 698,958 61,250 76,596

(หนวย: ลานบาท)

2556

2557 ยอด คงเหลือ ถัวเฉลี่ย

อัตราเฉลี่ย (รอยละ)

ยอด คงเหลือ ถัวเฉลี่ย

ดอกเบี้ย

2.24 2.14 3.39

46,522 3,858 104,006

1,738 69 3,722

3.74 1.79 3.58

43,287

6.06

720,855

45,013

6.24

19,833 858 3,229

2.84 1.40 4.21

698,073 68,666 78,938

21,513 1,261 3,715

3.08 1.84 4.71

อัตราเฉลี่ย (รอยละ)

อัตราเฉลี่ย (รอยละ)

117 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

255


ข)

ความเสี่ยงดานอัตราแลกเปลี่ยน

ความเสี่ยงดานอัตราแลกเปลี่ยน คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อันอาจมีผล ใหมูลคาของตราสารทางการเงินเปลี่ยนแปลงไป หรือทําใหเกิดความผันผวนตอรายได หรือมูลคาของ สินทรัพยหรือหนี้สินทางการเงิน เนื่ อ งจากธนาคารฯและบริ ษั ท ย อ ยมี ธุ ร กรรมที่ เ กี่ ย วกั บ การปริ ว รรตเงิ น ตราต า งประเทศทํ า ให มี ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อยางไรก็ตาม ธนาคารฯและบริษัทยอยมีนโยบายใน การปองกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยการบริหารจัดการสถานะเงินตราตางประเทศสุทธิ และ ดําเนินการภายใตนโยบายบริหารความเสี่ยง ซึ่งอนุมัติโดยคณะกรรมการของธนาคารฯและของบริษัทยอย ภายใตเกณฑที่กําหนดโดย ธปท.อยางเครงครัด ฐานะเงินตราตางประเทศของธนาคารฯและบริษัทยอย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 มีดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2557 ดอลลาร สหรัฐฯ ฐานะเงินตราตางประเทศในงบแสดงฐานะการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ สินทรัพยอื่น รวมสินทรัพย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน รวมหนี้สิน สุทธิ ฐานะเงินตราตางประเทศของภาระผูกพัน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขาที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น ๆ

256

รายงานประจำ�ปี 2557

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

1,339 4,660 10,667 23,901 478 41,045 274 16,899 17,173 23,872

576 62 1 83 722 36 1 37 685

19 79 39 137 137 137 -

3 17 20 20

544 154 1,137 21 2 1,858 13 13 1,845

378 4,418 873

19 48 26

71 215 5

8 -

2 5 28

118


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2556 ดอลลาร สหรัฐฯ ฐานะเงินตราตางประเทศในงบแสดงฐานะการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ สินทรัพยอื่น รวมสินทรัพย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินอื่น รวมหนี้สิน สุทธิ ฐานะเงินตราตางประเทศของภาระผูกพัน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขาที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น ๆ

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

1,303 11,409 10,638 22,824 1,123 47,297 384 22,319 10 22,713 24,584

586 34 1 137 758 45 4 49 709

62 63 112 237 237

3 545 2,921 13 3,482 3,482

475 101 1,170 50 1 1,797 20 20 1,777

466 3,605 901

29 39 52

102 292 1

-

7 53 47

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

119

257


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ดอลลาร สหรัฐฯ ฐานะเงินตราตางประเทศในงบแสดงฐานะการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ สินทรัพยอื่น รวมสินทรัพย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน รวมหนี้สิน สุทธิ ฐานะเงินตราตางประเทศของภาระผูกพัน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขาที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น ๆ

258

รายงานประจำ�ปี 2557

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

1,339 4,660 10,667 23,901 478 41,045 274 16,899 17,173 23,872

576 62 1 83 722 36 1 37 685

19 79 39 137 137 137 -

3 17 20 20

544 154 1,137 21 2 1,858 13 13 1,845

378 4,418 873

19 48 26

71 215 5

8 -

2 5 28

120


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ดอลลาร สหรัฐฯ ฐานะเงินตราตางประเทศในงบแสดงฐานะการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน เงินลงทุน เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ สินทรัพยอื่น รวมสินทรัพย เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน รวมหนี้สิน สุทธิ ฐานะเงินตราตางประเทศของภาระผูกพัน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขาที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น ๆ

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

1,303 11,409 10,638 22,824 1,121 47,295 384 22,319 22,703 24,592

586 34 1 137 758 45 4 49 709

62 63 112 237 237

3 545 2,921 13 3,482 3,482

475 101 1,170 50 1 1,797 20 20 1,777

466 3,605 901

29 39 52

102 292 1

-

7 53 47

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

121

259


นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยยังมีภาระผูกพันตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยตางสกุลเงิน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและสัญญาอนุพันธอื่นที่ตองจายหรือรับชําระเปน เงินตราตางประเทศที่ธนาคารฯและบริษัทยอยไดทําเพื่อการคาและเพื่อปองกันความเสี่ยง (บัญชีเพื่อการ ธนาคาร) ดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2557 ดอลลาร สหรัฐฯ สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

33,354 46,211

326 1,015

846 832

6

995 1,687

2,463 13,077

-

-

-

1,103

56,866 56,866

-

-

-

-

(หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2556 ดอลลาร สหรัฐฯ สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

41,331 53,266

144 889

133 375

3,546

334 970

1,885 12,451

-

-

-

1,140

40,990 40,990

-

-

-

-

122 260

รายงานประจำ�ปี 2557


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย

ดอลลาร สหรัฐฯ

ยูโร

เยน

33,298 46,267

326 1,015

2,463 13,077 56,866 56,866

หยวน

อื่น ๆ

846 832

6

995 1,687

-

-

-

1,103

-

-

-

(หนวย: ลานบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 ดอลลาร สหรัฐฯ สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย

ยูโร

เยน

หยวน

อื่น ๆ

41,067 53,531

144 889

133 375

3,546

334 970

1,885 12,451

-

-

-

1,140

40,990 40,990

-

-

-

-

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

123 261


ค)

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของตราสารทุน/สินคาโภคภัณฑ

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของตราสารทุน/สินคาโภคภัณฑ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของราคาของตราสารทุนหรือหุนทุนหรือราคาสินคาโภคภัณฑ ซึ่งอาจจะทําใหเกิดความผันผวน ตอรายไดหรือมูลคาของสินทรัพยทางการเงิน ธนาคารฯและบริ ษั ทย อยมี น โยบายในการบริ ห ารความเสี่ย งดา นตลาด โดยมี การกํ า หนดระดับ เพดาน ความเสี่ยง (Limit) ในการทําธุรกรรมเพื่อควบคุมความเสี่ยงใหอยูในระดับที่ธนาคารฯและบริษัทยอยรับได เชน Position Limit และ Loss Limit เปนตน โดยมีหนวยงานควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) ซึ่งแยก ออกจากหนวยงานที่ทําธุรกรรม (Front Office) และหนวยงานที่บันทึกรายการ (Back Office) ทําหนาที่ ควบคุมความเสี่ยงและรายงานสถานะ Limit ตาง ๆ ตอคณะกรรมการ หนวยงานหรือผูบริหารตาง ๆ ที่เกี่ยวของ เพื่อบริหารความเสี่ยงไดทันทวงที โดยอยูภายใตการควบคุมดูแลของคณะกรรมการพิจารณาการลงทุน 48.3 ความเสี่ยงดานสภาพคลอง ความเสี่ยงดานสภาพคลอง คือ ความเสี่ยงที่ธนาคารฯและบริษัทยอยจะไมสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได เมื่อครบกําหนด เนื่องจากไมสามารถเปลี่ยนสินทรัพยเปนเงินสดได หรือไมสามารถจัดหาเงินไดเพียงพอตาม ความตองการในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจทําใหเกิดความเสียหายได ธนาคารฯและบริ ษั ทย อยมี น โยบายในการบริ ห ารความเสี่ ย งด า นสภาพคล อ ง โดยจั ด ให มี โ ครงสร า ง แหลงเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวที่เหมาะสม นอกจากนี้ ธนาคารฯและบริษัทยอยมีนโยบายในการดํารง สภาพคลอง เพื่อใหมั่นใจวามีฐานะสภาพคลองที่เพียงพอตอความตองการในปจจุบันและอนาคต โดยอยูภายใต การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารสภาพคลองและอัตราดอกเบี้ย

124 262

รายงานประจำ�ปี 2557


วันที่ที่ครบกําหนดของเครื่องมือทางการเงินนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 มีดังนี้ (หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น - ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินอื่น - เจาหนี้สํานักหักบัญชี ภาระผูกพัน การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขา ที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น

เมื่อ ทวงถาม

งบการเงินรวม 2557 นอยกวา มากกวา 1 ป 1 ป

ไมมี กําหนด

รวม

16,605 8,049 1 58,105 -

57,075 4,389 37,281 228,452 1,837 18

500 103,098 467,813 -

6,887 1,919 -

16,605 65,624 4,389 147,267 1,919 754,370 1,837 18

249,440 15,672 1,655 1,052 -

413,679 59,679 5,200 36,717 1,520 480

33,873 4,919 45,299 -

7,130 -

696,992 80,270 1,655 5,200 90,198 1,520 480

35

201

20

-

256

39 63 44,276

470 4,733 6,213

631

-

509 4,796 51,120

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้เมื่อทวงถามรวมเงินใหสินเชื่อที่หยุดรับรูรายได

125 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

263


(หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้ (1) ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น - ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินอื่น - เจาหนี้สํานักหักบัญชี ภาระผูกพัน การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขา ที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น

เมื่อ ทวงถาม

งบการเงินรวม 2556 นอยกวา มากกวา 1 ป 1 ป

ไมมี กําหนด

รวม

17,940 10,233 1 62,562 -

59,508 3,914 37,792 224,489 1,646 170

120 95,618 502,966 -

4,843 1,835 -

17,940 69,861 3,914 138,254 1,835 790,017 1,646 170

248,085 12,123 3,219 1,065 -

443,392 62,411 5,701 31,235 1,295 509

27,602 6,548 52,799 -

7,130 -

719,079 81,082 3,219 5,701 92,229 1,295 509

15

571

79

-

665

42 326 43,886

604 3,741 4,959

2,449

-

646 4,067 51,294

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้เมื่อทวงถามรวมเงินใหสินเชื่อที่หยุดรับรูรายได

264

รายงานประจำ�ปี 2557

126


(หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี(1)้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย ภาระผูกพัน การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขา ที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น

เมื่อ ทวงถาม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 นอยกวา มากกวา ไมมี 1 ป 1 ป กําหนด

รวม

16,598 8,951 1 48,217

56,595 4,389 36,861 226,970

97,613 439,249

5,099 8,749 -

16,598 65,546 4,389 139,574 8,749 714,436

249,941 15,233 1,655 5 -

415,921 53,620 5,197 35,180 100

33,873 4,294 31,528 -

7,130 -

699,735 73,147 1,655 5,197 73,843 100

35

201

20

-

256

39 63 44,276

470 4,733 6,213

559

-

509 4,796 51,048

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้เมื่อทวงถามรวมเงินใหสินเชื่อที่หยุดรับรูรายได

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

127

265


(หนวย: ลานบาท)

รายการ สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี(1)้ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย ภาระผูกพัน การรับอาวัลตั๋วเงิน ภาระตามตั๋วแลกเงินคาสินคาเขา ที่ยังไมครบกําหนด เล็ตเตอรออฟเครดิต ภาระผูกพันอื่น

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2556 นอยกวา มากกวา ไมมี 1 ป 1 ป กําหนด

รวม

17,939 10,552 1 52,722

55,614 3,914 28,024 223,279

120 92,748 474,493

4,689 9,510 -

17,939 66,286 3,914 125,462 9,510 750,494

248,608 11,499 3,219 5 -

446,052 58,064 5,697 29,235 1

27,602 4,886 40,553 -

7,130 -

722,262 74,449 3,219 5,697 76,923 1

15

571

79

-

665

42 326 43,886

604 3,741 4,959

2,395

-

646 4,067 51,240

เมื่อ ทวงถาม

(1) ยอดคงเหลือของเงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้เมื่อทวงถามรวมเงินใหสินเชื่อที่หยุดรับรูรายได

266

รายงานประจำ�ปี 2557

128


48.4 มูลคายุติธรรม มูลคายุติธรรม หมายถึง จํานวนเงินที่ผูซื้อและผูขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพยกันในขณะที่ทั้งสองฝายมี ความรอบรูและเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถตอรองราคากันไดอยางเปนอิสระ ธนาคารฯและบริษัท ยอยไดมีการประมาณการมูลคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินตามหลักเกณฑ ดังนี้ ก)

สินทรัพยทางการเงิน

ในการกํ า หนดราคายุ ติ ธ รรมขึ้ น อยู กั บ ลั ก ษณะของตราสารทางการเงิ น ราคายุ ติ ธ รรมของสิ น ทรั พ ย ทางการเงินสวนใหญถือตามจํานวนเงินที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งรวมถึง เงินสด รายการระหวางธนาคาร และตลาดเงิน สินทรัพยตราสารอนุพันธ ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย ลูกหนี้สํานักหักบัญชี และเงินใหสินเชื่อ แกลูกหนี้ ซึ่งจะมีราคาใกลเคียงกับราคาตามบัญชีเนื่องจากมูลคาตราสารทางการเงินสวนใหญจะขึ้นอยูกับอัตรา ดอกเบี้ยในตลาด สวนตราสารทางการเงินที่มีเงื่อนไขและระยะเวลาที่เปนมาตรฐานซึ่งซื้อขายในตลาดที่มี สภาพคลองจะใชราคาตลาดเปนราคายุติธรรม เชน เงินลงทุน เปนตน และสําหรับเงินลงทุนในบริษัทยอยและ บริษัทรวมแสดงมูลคาตามที่ปรากฎในบัญชี ข)

หนี้สินทางการเงิน

หนี้สินทางการเงินรวมถึงเงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย และเจาหนี้สํานักหัก บัญชี ซึ่ง มี ราคายุ ติธรรมใกลเ คี ย งกับราคาตามบั ญชีเนื่ องจากเหตุผลเดี ย วกับที่ระบุไวสําหรั บสินทรั พย ทางการเงินขางตน

129 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

267


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 มูลคาตามบัญชีและมูลคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินของธนาคารฯ และบริษัทยอยมีดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม 2557 2556 มูลคาตามบัญชี มูลคายุติธรรม มูลคาตามบัญชี มูลคายุติธรรม สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงินสุทธิ สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุนสุทธิ เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้สุทธิ ลูกหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย สินทรัพยอื่น - ลูกหนี้สํานักหักบัญชี หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย หนี้สินอื่น - เจาหนี้สํานักหักบัญชี

16,605 65,433 4,389 149,609 1,919 727,349 1,837 18

16,605 65,433 4,389 149,959 1,919 727,349 1,837 18

17,940 69,697 3,914 138,825 1,835 760,943 1,646 170

17,940 69,697 3,914 139,142 1,835 760,943 1,646 170

696,992 80,270 1,655 5,200 90,198 1,520 480

696,992 80,270 1,655 5,200 90,198 1,520 480

719,079 81,082 3,219 5,701 92,229 1,295 509

719,079 81,082 3,219 5,701 92,229 1,295 509

130 268

รายงานประจำ�ปี 2557


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 มูลคาตามบัญชี มูลคายุติธรรม สินทรัพยทางการเงิน เงินสด รายการระหวางธนาคารและตลาดเงินสุทธิ สินทรัพยตราสารอนุพันธ เงินลงทุนสุทธิ เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมสุทธิ เงินใหสินเชื่อแกลูกหนี้สุทธิ หนี้สินทางการเงิน เงินรับฝาก รายการระหวางธนาคารและตลาดเงิน หนี้สินจายคืนเมื่อทวงถาม หนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกูยืม เจาหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย

2556 มูลคาตามบัญชี มูลคายุติธรรม

16,598 65,338 4,389 141,202 8,744 694,952

16,598 65,338 4,389 141,551 8,744 694,952

17,939 66,095 3,914 125,874 9,505 729,970

17,939 66,095 3,914 126,191 9,505 729,970

699,735 73,147 1,655 5,197 73,843 100

699,735 73,147 1,655 5,197 73,843 100

722,262 74,449 3,219 5,697 76,923 1

722,262 74,449 3,219 5,697 76,923 1

48.5 ตราสารอนุพันธ ธนาคารฯและบริษัทยอยมีนโยบายประกอบธุรกรรมตราสารอนุพันธเพื่อปองกันความเสี่ยงของธนาคารฯและ บริษัทยอย และเพื่อตอบสนองตอความตองการของลูกคา ซึ่งตราสารอนุพันธเหลานี้ไดแก สัญญาอัตรา แลกเปลี่ยน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตางสกุลเงิน สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย และสัญญาซื้อขาย สินคาโภคภัณฑ เปนตน ธนาคารฯและบริษัทยอยมีนโยบายในการปองกันความเสี่ยงดานตราสารอนุพันธ โดยกําหนดนโยบายและ วงเงินที่เกี่ยวของกับความเสี่ยงใหมีขั้นตอนการรายงานความเสี่ยงตาง ๆ เพื่อควบคุมธุรกรรมดานอนุพันธ ทางการเงิน ธนาคารฯและบริษัทยอยควบคุมความเสี่ยงดานการผิดนัดชําระที่เกี่ยวของกับอนุพันธทางการเงิน โดยพิจารณาวงเงินสินเชื่อที่ใหกับลูกคาโดยรวม ซึ่งการพิจารณาดังกลาวเปนไปเชนเดียวกับกระบวนการ พิจารณาสินเชื่ออันทําใหธนาคารฯและบริษัทยอยควบคุมระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

131

269


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ธนาคารฯและบริษัทยอยมีภาระผูกพันตามสัญญาตราสารอนุพันธที่ทําขึ้น เพื่อการคาและเพื่อปองกันความเสี่ยง (บัญชีเพื่อการธนาคาร) ซึ่งจําแนกตามระยะเวลาครบกําหนดของสัญญาดังนี้ (หนวย: ลานบาท) งบการเงินรวม

ไมเกิน 1 ป สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - จายอัตราดอกเบี้ยคงที่ - จายอัตราดอกเบี้ยลอยตัว - รับอัตราดอกเบี้ยคงที่ - รับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สัญญาฟวเจอรส - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย อื่น ๆ - สัญญาขาย

2557 มากกวา 1 ป

รวม

ไมเกิน 1 ป

2556 มากกวา 1 ป

รวม

35,521 49,751

-

35,521 49,751

41,942 59,046

-

41,942 59,046

-

2,463 14,180

2,463 14,180

217 217

1,668 13,374

1,885 13,591

62,552 46,647 46,647 62,552

130,625 128,460 127,460 131,625

193,177 175,107 174,107 194,177

26,434 14,229 14,229 26,434

140,977 125,190 125,190 140,977

167,411 139,419 139,419 167,411

8 237

-

8 237

272

-

272

17

-

17

9 -

-

9 -

37

-

37

-

-

-

132 270

รายงานประจำ�ปี 2557


(หนวย: ลานบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ตางสกุลเงิน - สัญญาซื้อ - สัญญาขาย สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - จายอัตราดอกเบี้ยคงที่ - จายอัตราดอกเบี้ยลอยตัว - รับอัตราดอกเบี้ยคงที่ - รับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

ไมเกิน 1 ป

2557 มากกวา 1 ป

ไมเกิน 1 ป

2556 มากกวา 1 ป

35,465 49,807

-

35,465 49,807

41,678 59,311

-

41,678 59,311

-

2,463 14,180

2,463 14,180

217 217

1,668 13,374

1,885 13,591

62,552 46,647 46,647 62,552

130,625 128,460 127,460 131,625

193,177 175,107 174,107 194,177

26,434 14,229 14,229 26,434

140,977 125,190 125,190 140,977

167,411 139,419 139,419 167,411

รวม

รวม

49. เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการของธนาคารฯไดมีมติใหเสนอตอที่ประชุมผูถือหุนสามัญ ประจําปของธนาคารฯ เพื่อพิจารณาและอนุมัติจายเงินปนผลใหแกผูถือหุนสามัญจากผลการดําเนินงานป 2557 ในอัตราหุนละ 0.45 บาท รวมเปนเงินปนผลทั้งสิ้น 2,481 ลานบาท 50. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ไดรับอนุมัติใหออกโดยคณะกรรมการธนาคารฯเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ 2558

133 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

271


ท�ำเนียบเครือข่ายบริการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

ส�ำนักงานใหญ่

สาขาจรัญสนิทวงศ์ 13 โทรศัพท์ 0-2864-1560-3 โทรสาร 0-2864-1566

สาขาเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า โทรศัพท์ 0-2245-8500-2 โทรสาร 0-2245-8504

กรุงเทพฯ

สาขาจรัญสนิทวงศ์ 35 โทรศัพท์ 0-2411-0511, 0-2411-0605 โทรสาร 0-2411-0607

สาขาเซ็นทรัล บางนา โทรศัพท์ 0-2398-9572-3 โทรสาร 0-2398-9574

ส�ำนักชิดลม โทรศัพท์ 0-2251-5821-3, 0-2658-5503 โทรสาร 0-2658-5504

สาขาจรัญสนิทวงศ์ 86/2 โทรศัพท์ 0-2435-7205, 0-2435-6808-10 โทรสาร 0-2435-6807

สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า โทรศัพท์ 0-2884-9680-3 โทรสาร 0-2884-9684

ส�ำนักเพชรบุรี โทรศัพท์ 0-2208-5000, 0-2253-0200-43 โทรสาร 0-2253-6198

สาขาจามจุรี สแควร์ โทรศัพท์ 0-2160-5254-6 โทรสาร 0-2160-5258

สาขาเซ็นทรัล พระราม 2 โทรศัพท์ 0-2872-4770 โทรสาร 0-2872-4769

ส�ำนักสวนมะลิ โทรศัพท์ 0-2220-2222 ต่อ 2106-7, 2112 โทรสาร 0-2224-3810, 0-2226-2437

สาขาจารุเมือง โทรศัพท์ 0-2214-1488, 0-2214-1739 โทรสาร 0-2214-2038

สาขาเซ็นทรัล พระราม 3 โทรศัพท์ 0-2211-8260 โทรสาร 0-2211-8190

ส�ำนักงานย่อยศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ ส�ำนักงานย่อยของสาขาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โทรศัพท์ 0-2357-1916-7 โทรสาร 0-2619-7043

สาขาเจริญกรุง 17 โทรศัพท์ 0-2224-1839, 0-2225-7194 โทรสาร 0-2224-2059

สาขาเซ็นทรัล พลาซา แกรนด์ พระราม 9 โทรศัพท์ 0-2160-2950-2 โทรสาร 0-2160-2954

สาขาเจริญนคร ซอย 36 โทรศัพท์ 0-2862-5010-6 โทรสาร 0-2862-5017

สาขาเซ็นทรัล รามอินทรา โทรศัพท์ 0-2552-7462, 0-2552-7467-8 โทรสาร 0-2970-5518

สาขาเจริญผล โทรศัพท์ 0-2215-6628-30 โทรสาร 0-2215-6627

สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว โทรศัพท์ 0-2937-1279-80 โทรสาร 0-2937-1283

สาขาชาญอิสสระทาวเวอร์ (พระราม 4) โทรศัพท์ 0-2267-4296-8 โทรสาร 0-2267-4299

สาขาเซ็นทรัล เวิลด์ โทรศัพท์ 0-2646-1346-9 โทรสาร 0-2646-1350

สาขาชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 โทรศัพท์ 0-2308-2955-8, 0-2718-1834 โทรสาร 0-2308-2950

สาขาดอนเมือง โทรศัพท์ 0-2929-7004, 0-2566-1950-1 โทรสาร 0-2566-3425

สาขาโชคชัย 4 โทรศัพท์ 0-2931-0895-7 โทรสาร 0-2931-0798

สาขาดิ อเวนิว แจ้งวัฒนะ โทรศัพท์ 0-2573-0673-5 โทรสาร 0-2573-0677

สาขาซีคอนสแควร์ โทรศัพท์ 0-2721-8548-50 โทรสาร 0-2721-8551

สาขาเดอะไนน์ (ถนนพระราม 9) โทรศัพท์ 0-2319-1662-4 โทรสาร 0-2718-7869

สาขาซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ โทรศัพท์ 0-2721-9955 โทรสาร 0-2721-8321

สาขาเดอะพาซิโอ (ลาดกระบัง) โทรศัพท์ 0-2346-4103-4, 0-2346-4109 โทรสาร 0-2346-4111

โทรศัพท์ 0-2217-8000 โทรสาร 0-2217-8333

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

สาขากรมการขนส่งทางบก โทรศัพท์ 0-2272-6073-5 โทรสาร 0-2272-6077 สาขากรีนเพลส (ซอยวัดไผ่เงิน) โทรศัพท์ 0-2211-3515, 0-2211-3519-20 โทรสาร 0-2674-9704 สาขากล้วยน�้ำไท โทรศัพท์ 0-2258-6620-1 โทรสาร 0-2258-5505 สาขาคริสตัลดีไซน์เซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 0-2102-2410-2 โทรสาร 0-2102-2413 สาขาคลองจั่น โทรศัพท์ 0-2377-1364, 0-2377-1368-9 โทรสาร 0-2377-3609 สาขาคลองเตย โทรศัพท์ 0-2240-0161, 0-2249-2633 โทรสาร 0-2249-4789 สาขาคลองถม โทรศัพท์ 0-2221-1677, 0-2221-1671 โทรสาร 0-2221-1679

272

รายงานประจำ�ปี 2557


สาขาเดอะมอลล์ 2 รามค�ำแหง โทรศัพท์ 0-2369-2486, 0-2369-2482 โทรสาร 0-2369-2484

สาขาถนนเคหะร่มเกล้า โทรศัพท์ 0-2543-9200-1, 0-2543-9191 โทรสาร 0-2543-9192

สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โทรศัพท์ 0-2254-0252-4 โทรสาร 0-2254-0255

สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ โทรศัพท์ 0-2477-7321-3 โทรสาร 0-2477-7324

สาขาถนนจันทน์ โทรศัพท์ 0-2285-5360, 0-2285-5368 โทรสาร 0-2285-5361

สาขาถนนเพาะพานิช (ราชวงศ์) โทรศัพท์ 0-2622-9050, 0-2622-4093 โทรสาร 0-2622-9029

สาขาเดอะมอลล์ บางแค โทรศัพท์ 0-2803-8310 โทรสาร 0-2803-8305

สาขาถนนเจริญนคร โทรศัพท์ 0-2438-6953-5 โทรสาร 0-2860-4355

สาขาถนนมังกร โทรศัพท์ 0-2225-3331, 0-2225-3863 โทรสาร 0-2225-8364

สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ โทรศัพท์ 0-2375-1575 โทรสาร 0-2375-1686

สาขาถนนฉลองกรุง โทรศัพท์ 0-2327-8111-3 โทรสาร 0-2327-8114

สาขาถนนสาทรเหนือ โทรศัพท์ 0-2267-7512-4 โทรสาร 0-2637-8975

สาขาตรอกจันทร์ โทรศัพท์ 0-2211-1286, 0-2211-4511 โทรสาร 0-2211-4653

สาขาถนนนางลิ้นจี่ โทรศัพท์ 0-2286-1971, 0-2286-1898 โทรสาร 0-2286-1939

สาขาถนนสาทรใต้ (ไทยซีซีทาวเวอร์) โทรศัพท์ 0-2675-5697-9, 0-2675-5700 โทรสาร 0-2675-5701

สาขาตลาดบางแค โทรศัพท์ 0-2801-1004-6 โทรสาร 0-2801-1007

สาขาถนนบรมราชชนนี โทรศัพท์ 0-2446-8061-4 โทรสาร 0-2446-8065

สาขาถนนสิรินธร โทรศัพท์ 0-2434-5028-9 โทรสาร 0-2434-5661

สาขาตลาดพลู โทรศัพท์ 0-2466-7404, 0-2466-7423 โทรสาร 0-2465-1767

สาขาถนนบูรพา (พาหุรัด) โทรศัพท์ 0-2221-2069, 0-2221-5239 โทรสาร 0-2221-5128

สาขาถนนเสือป่า โทรศัพท์ 0-2221-4327-9 โทรสาร 0-2623-0579

สาขาตลาดยิ่งเจริญ โทรศัพท์ 0-2552-8043, 0-2552-8045 โทรสาร 0-2972-3161

สาขาถนนประชาธิปก (วงเวียนใหญ่) โทรศัพท์ 0-2437-0188, 0-2437-2596 โทรสาร 0-2437-5784

สาขาถนนเอกชัย (บางบอน 5) โทรศัพท์ 0-2450-3741-3 โทรสาร 0-2450-3744

สาขาตลาดสะพานใหม่ดอนเมือง โทรศัพท์ 0-2521-1670, 0-2521-0612-3 โทรสาร 0-2521-0611

สาขาถนนพระราม 2 (การเคหะธนบุรี 3) โทรศัพท์ 0-2451-4402, 0-2451-4409 โทรสาร 0-2451-4882

สาขาทองหล่อ โทรศัพท์ 0-2381-8421-2, 0-2381-8364-5 โทรสาร 0-2381-8423

สาขาตลาดส�ำเหร่ โทรศัพท์ 0-2472-2045-50 โทรสาร 0-2472-2052

สาขาถนนพระราม 2 (ซอย 3) โทรศัพท์ 0-2427-1552-3 โทรสาร 0-2427-1551

สาขาทองหล่อ ซอย 17 โทรศัพท์ 0-2185-2756, 0-2185-2758-61 โทรสาร 0-2185-2757

สาขาตลาดหมอชิต โทรศัพท์ 0-2278-5300-1, 0-2270-0308 โทรสาร 0-2279-3411

สาขาถนนพระราม 9 โทรศัพท์ 0-2246-7829-30 โทรสาร 0-2246-8473

สาขาท็อปส์ อาร์ซีเอ โทรศัพท์ 0-2203-0267-9 โทรสาร 0-2641-5121

สาขาตลิ่งชัน โทรศัพท์ 0-2882-7790-4 โทรสาร 0-2882-7796

สาขาถนนพระสุเมรุ (บางล�ำพู) โทรศัพท์ 0-2281-6821, 0-2281-6332 โทรสาร 0-2281-7457

สาขาท่าดินแดง โทรศัพท์ 0-2863-1283-8 โทรสาร 0-2863-1289

สาขาเตาปูน โทรศัพท์ 0-2587-7292, 0-2587-7284-5 โทรสาร 0-2587-7379

สาขาถนนพัฒนาการ โทรศัพท์ 0-2369-2814-7 โทรสาร 0-2369-2818

สาขาท่าพระจันทร์ โทรศัพท์ 0-2221-7511, 0-2222-0686 โทรสาร 0-2222-4794

สาขาโตโยต้า บัสส์ เกษตร-นวมินทร์ โทรศัพท์ 0-2561-0069-71 โทรสาร 0-2561-0073

สาขาถนนพัฒนาการ 22 โทรศัพท์ 0-2318-7241-2, 0-2318-7620 โทรสาร 0-2318-7393

สาขาเทเวศร์ โทรศัพท์ 0-2628-7240-4, 0-2628-7247 โทรสาร 0-2282-8810

สาขาถนนกาญจนาภิเษก (ทวีวัฒนา) โทรศัพท์ 0-2447-9206-8 โทรสาร 0-2447-9209

สาขาถนนเพชรบุรี ซอย 20 โทรศัพท์ 0-2251-6018, 0-2251-6852 โทรสาร 0-2252-6935

สาขาเทสโก้ โลตัส เพชรเกษม 81 โทรศัพท์ 0-2489-2087-9 โทรสาร 0-2812-4073 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

273


สาขาเทสโก้ โลตัส พระราม 2 โทรศัพท์ 0-2415-9130-2 โทรสาร 0-2892-8004

สาขาบางซื่อ โทรศัพท์ 0-2587-0616, 0-2587-0686 โทรสาร 0-2585-9659

สาขาบิ๊กซี เอกมัย โทรศัพท์ 0-2714-8274-7 โทรสาร 0-2714-8268

สาขาเทสโก้ โลตัส พระราม 4 โทรศัพท์ 0-2249-7533-5 โทรสาร 0-2249-7537

สาขาบางนา โทรศัพท์ 0-2398-0182-4 โทรสาร 0-2398-0185

สาขาโบ๊เบ๊ โทรศัพท์ 0-2356-0755-8 โทรสาร 0-2356-0759

สาขาเทสโก้ โลตัส ลาดพร้าว โทรศัพท์ 0-2512-1955, 0-2512-1963 โทรสาร 0-2939-3043

สาขาบางนา-ตราด กม.4 โทรศัพท์ 0-2399-2841-3 โทรสาร 0-2399-2845

สาขาโบ๊เบ๊ ทาวเวอร์ โทรศัพท์ 0-2628-1693-5, 0-2628-1690 โทรสาร 0-2628-1696

สาขาเทสโก้ โลตัส วังหิน โทรศัพท์ 0-2578-6194-6 โทรสาร 0-2578-6197

สาขาบางบอน โทรศัพท์ 0-2899-8533-5 โทรสาร 0-2899-8540

สาขาประชาชื่น โทรศัพท์ 0-2585-6811, 0-2585-9656-7 โทรสาร 0-2585-2666

สาขาเทียนกัวเทียน โทรศัพท์ 0-2221-3575-6, 0-2622-9063 โทรสาร 0-2221-3575

สาขาบางปะกอก โทรศัพท์ 0-2427-7527-9 โทรสาร 0-2872-3245

สาขาประชาอุทิศ โทรศัพท์ 0-2873-4721-3, 0-2873-5848 โทรสาร 0-2873-5849

สาขาไทยซัมมิท ทาวเวอร์ (ถนนเพชรบุรีตัดใหม่) โทรศัพท์ 0-2252-6458, 0-2251-1327 โทรสาร 0-2251-1357

สาขาบางมด โทรศัพท์ 0-2428-6913-5 โทรสาร 0-2428-6994

สาขาประชาอุทิศ (ห้วยขวาง) โทรศัพท์ 0-2934-4181-3 โทรสาร 0-2934-4184

สาขาบางรัก โทรศัพท์ 0-2234-4227-9 โทรสาร 0-2630-9027

สาขาประตูน�้ำ โทรศัพท์ 0-2208-0072, 0-2208-0074-5 โทรสาร 0-2208-0076

สาขาบางล�ำพู โทรศัพท์ 0-2356-0783, 0-2356-0785 โทรสาร 0-2356-0787

สาขาประเวศ โทรศัพท์ 0-2322-2223, 0-2722-1371-2 โทรสาร 0-2322-8943

สาขาบ�ำรุงเมือง โทรศัพท์ 0-2216-9794-7, 0-2214-0606-8 โทรสาร 0-2216-9798

สาขาปากคลองตลาด โทรศัพท์ 0-2221-7511, 0-2222-7467 โทรสาร 0-2222-4794

สาขาบิ๊กซี ดอนเมือง โทรศัพท์ 0-2551-0638-39 โทรสาร 0-2551-0642

สาขาปิ่นเกล้า โทรศัพท์ 0-2435-4273-4, 0-2435-7374 โทรสาร 0-2435-4518

สาขาบิ๊กซี บางนา โทรศัพท์ 0-2396-0482, 0-2396-0484-5 โทรสาร 0-2396-0500

สาขาพระราม 3 โทรศัพท์ 0-2682-7322-6, 0-2682-7328-9 โทรสาร 0-2682-7327

สาขาบิ๊กซี บางบอน โทรศัพท์ 0-2416-9969-71 โทรสาร 0-2416-9974

สาขาพระราม 4 โทรศัพท์ 0-2249-4201-3, 0-2671-0260 โทรสาร 0-2249-4204

สาขาบิ๊กซี เพชรเกษม โทรศัพท์ 0-2444-2927, 0-2444-2904 โทรสาร 0-2444-2909

สาขาพรานนก โทรศัพท์ 0-2418-0785, 0-2418-0787 โทรสาร 0-2418-0786

สาขาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 (รามค�ำแหง) โทรศัพท์ 0-2916-3584-5, 0-2916-3603 โทรสาร 0-2916-3607

สาขาพลับพลาไชย โทรศัพท์ 0-2224-6922-3, 0-2224-6930 โทรสาร 0-2224-6947

สาขาบิ๊กซี สุขาภิบาล 5 โทรศัพท์ 0-2153-1513-4, 0-2153-1566 โทรสาร 0-2153-1567

สาขาพหลโยธิน ซอย 6 โทรศัพท์ 0-2279-9874-5 โทรสาร 0-2279-9895

สาขาธนิยะ โทรศัพท์ 0-2236-3520-1, 0-2236-9129 โทรสาร 0-2236-9119 สาขานวมินทร์ 42 โทรศัพท์ 0-2375-1281-2, 0-2375-1284 โทรสาร 0-2375-1285 สาขานวมินทร์ 66 โทรศัพท์ 0-2519-5724, 0-2519-4616 โทรสาร 0-2519-4627 สาขานวมินทร์ มาร์เก็ต เพลส โทรศัพท์ 0-2519-1142, 0-2519-1154 โทรสาร 0-2946-7432 สาขานางเลิ้ง โทรศัพท์ 0-2281-0842, 0-2281-2169 โทรสาร 0-2281-2322 สาขานานาเหนือ โทรศัพท์ 0-2252-0709, 0-2252-6540 โทรสาร 0-2253-5668 สาขาบางขุนนนท์ โทรศัพท์ 0-2424-9778-9, 0-2433-6028-9 โทรสาร 0-2434-9772 สาขาบางแค โทรศัพท์ 0-2454-2790-2 โทรสาร 0-2413-1329 สาขาบางโคล่ โทรศัพท์ 0-2289-4223, 0-2289-4236 โทรสาร 0-2289-4159 274

รายงานประจำ�ปี 2557


สาขาพหลโยธิน ซอย 9 โทรศัพท์ 0-2270-1371-3 โทรสาร 0-2619-6339

สาขาเยาวราช โทรศัพท์ 0-2221-1868, 0-2221-1845-7 โทรสาร 0-2221-1869

สาขารามอินทรา (กม.7) โทรศัพท์ 0-2510-9610, 0-2510-9882 โทรสาร 0-2510-9197

สาขาพัฒนาการ โทรศัพท์ 0-2719-4580-3 โทรสาร 0-2719-4591

สาขารัชดาภิเษก โทรศัพท์ 0-2641-2225-8 โทรสาร 0-2641-3233

สาขารามอินทรา (กม.8) โทรศัพท์ 0-2510-6900, 0-2510-2342 โทรสาร 0-2510-9875

สาขาพาราไดซ์ พาร์ค โทรศัพท์ 0-2325-9072-4 โทรสาร 0-2325-9075

สาขารัชดาภิเษก (อาคารกลาสเฮ้าส์) โทรศัพท์ 0-2693-9811 โทรสาร 0-2693-9820

สาขาโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โชคชัย 4 โทรศัพท์ 0-2514-3277, 0-2514-3293-4 โทรสาร 0-2933-2292

สาขาพาหุรัด โทรศัพท์ 0-2221-4409, 0-2221-4419-20 โทรสาร 0-2623-8098

สาขารัชดาภิเษก-ท่าพระ โทรศัพท์ 0-2878-8845-50 โทรสาร 0-2878-8852

สาขาโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 โทรศัพท์ 0-2518-1100, 0-2518-2360-1 โทรสาร 0-2518-2363

สาขาพี.บี. ทาวเวอร์ (คลองตัน) โทรศัพท์ 0-2381-3114-5, 0-2381-3121-2 โทรสาร 0-2381-3124

สาขารัชดา-ห้วยขวาง โทรศัพท์ 0-2694-1489-91, 0-2694-1495 โทรสาร 0-2694-1496

สาขาโรงพยาบาลพญาไท 1 โทรศัพท์ 0-2246-7713-5 โทรสาร 0-2246-7716

สาขาเพชรเกษม โทรศัพท์ 0-2456-0337-42 โทรสาร 0-2454-4116

สาขาราชด�ำเนิน โทรศัพท์ 0-2221-3391, 0-2223-6010 โทรสาร 0-2222-9635

สาขาโรงพยาบาลรามค�ำแหง โทรศัพท์ 0-2374-1523-5 โทรสาร 0-2374-1562

สาขาเพชรเกษม 69 โทรศัพท์ 0-2809-3034-8 โทรสาร 0-2809-3041

สาขาราชด�ำเนินกลาง โทรศัพท์ 0-2226-3083-5, 0-2621-2185 โทรสาร 0-2621-2186

สาขาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โทรศัพท์ 0-2278-2194-6 โทรสาร 0-2278-2606

สาขาเพลินจิตเซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 0-2656-8403-7 โทรสาร 0-2656-8400

สาขาราชด�ำริ โทรศัพท์ 0-2251-3113, 0-2251-4314 โทรสาร 0-2251-4316

สาขาโรงพยาบาลวิภาวดี โทรศัพท์ 0-2561-5320-22, 0-2561-5320-3 โทรสาร 0-2941-3006

สาขาแพลทินัม ประตูน�้ำ โทรศัพท์ 0-2121-9683-5 โทรสาร 0-2121-9687

สาขาราชวงศ์ โทรศัพท์ 0-2224-5705, 0-2224-5870 โทรสาร 0-2224-5792

สาขาโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท 49 โทรศัพท์ 0-2712-7013-4 โทรสาร 0-2712-7016

สาขาแฟชั่น ไอส์แลนด์ โทรศัพท์ 0-2947-6402-5 โทรสาร 0-2947-6410

สาขาราชวัตร์ โทรศัพท์ 0-2241-0868, 0-2243-6183 โทรสาร 0-2241-1483

สาขาลาดกระบัง โทรศัพท์ 0-2327-2754-7 โทรสาร 0-2327-2706

สาขามันนี่ปาร์ค โทรศัพท์ 0-2686-3960-2 โทรสาร 0-2686-3959

สาขารามค�ำแหง 73 โทรศัพท์ 0-2375-2126-7, 0-2374-9644 โทรสาร 0-2375-2452

สาขาลาดพร้าว โทรศัพท์ 0-2512-2343-4, 0-2938-2433 โทรสาร 0-2512-2342

สาขามาบุญครอง โทรศัพท์ 0-2611-5710-4 โทรสาร 0-2611-5717

สาขารามค�ำแหง 155 โทรศัพท์ 0-2373-0005, 0-2373-0007-8 โทรสาร 0-2373-0004

สาขาลาดพร้าว 53 โทรศัพท์ 0-2539-1167, 0-2539-2857 โทรสาร 0-2539-2261

สาขามีนบุรี โทรศัพท์ 0-2517-8014-5, 0-2517-9321 โทรสาร 0-2517-8016

สาขารามค�ำแหง ซอย 122 โทรศัพท์ 0-2372-2377-9 โทรสาร 0-2728-2950

สาขาลาดพร้าว 80 โทรศัพท์ 0-2933-9172, 0-2933-9174-5 โทรสาร 0-2933-9178

สาขาเมเจอร์ รัชโยธิน โทรศัพท์ 0-2512-1082, 0-2512-1102 โทรสาร 0-2939-5372

สาขารามค�ำแหง ซอย 129 โทรศัพท์ 0-2372-3318-20 โทรสาร 0-2729-5832

สาขาลาดพร้าว 118 โทรศัพท์ 0-2539-2925-7 โทรสาร 0-2530-4348

สาขายูเนี่ยน มอลล์ ลาดพร้าว โทรศัพท์ 0-2511-0236, 0-2511-0246 โทรสาร 0-2511-0268

สาขารามอินทรา โทรศัพท์ 0-2943-5630-2, 0-2519-0824-5 โทรสาร 0-2519-0826

สาขาลาดพร้าว ซอย 101 โทรศัพท์ 0-2187-0162-4 โทรสาร 0-2187-0161 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

275


สาขาล�ำสาลี โทรศัพท์ 0-2735-2060-3 โทรสาร 0-2735-2067

สาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ โทรศัพท์ 0-2658-0491-3 โทรสาร 0-2658-0494

สาขาสีลม (ถนนปั้น) โทรศัพท์ 0-2237-9317-20, 0-2235-5800-2 โทรสาร 0-2237-9321

สาขาเล่งเน่ยยี่ โทรศัพท์ 0-2221-1248, 0-2221-3501 โทรสาร 0-2223-3211

สาขาสยามพารากอน โทรศัพท์ 0-2129-4374-7 โทรสาร 0-2129-4372

สาขาสีลม ซอย 15 โทรศัพท์ 0-2237-4192-4 โทรสาร 0-2635-0270

สาขาวงเวียนใหญ่ โทรศัพท์ 0-2438-2486, 0-2438-2562 โทรสาร 0-2438-2568

สาขาสยามสแควร์ โทรศัพท์ 0-2252-7363-5, 0-2252-7360 โทรสาร 0-2252-7367

สาขาสีลมคอมเพล็กซ์ โทรศัพท์ 0-2231-3237, 0-2231-3663-65 โทรสาร 0-2235-8833

สาขาวงศ์สว่าง โทรศัพท์ 0-2834-9999 โทรสาร 0-2834-9905

สาขาสรงประภา โทรศัพท์ 0-2928-8542-5 โทรสาร 0-2928-8546

สาขาสี่กั๊กพระยาศรี โทรศัพท์ 0-2222-4477-8, 0-2226-2267 โทรสาร 0-2225-7036

สาขาวงศ์สว่างทาวน์เซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 0-2586-0420-2 โทรสาร 0-2910-7949

สาขาสวนพลู โทรศัพท์ 0-2287-3084-5, 0-2287-3074 โทรสาร 0-2679-3028

สาขาสี่พระยา โทรศัพท์ 0-2233-5305-7, 0-2267-2191-4 โทรสาร 0-2233-4174

สาขาวัชรพล โทรศัพท์ 0-2508-2185-7 โทรสาร 0-2508-2207

สาขาสวนลุมพินี (ถนนสารสิน) โทรศัพท์ 0-2252-2677-8, 0-2651-9037 โทรสาร 0-2252-2679

สาขาสี่แยกเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-1340, 0-2579-3483 โทรสาร 0-2579-6794

สาขาวัดพระยาไกร โทรศัพท์ 0-2289-3026-7, 0-2289-5033 โทรสาร 0-2289-5032

สาขาสะพานควาย โทรศัพท์ 0-2279-6060-1 โทรสาร 0-2616-6747

สาขาสี่แยกเฉลิมบุรี (เยาวราช) โทรศัพท์ 0-2221-1236, 0-2221-7194 โทรสาร 0-2225-0580

สาขาวุฒากาศ โทรศัพท์ 0-2466-9981-2, 0-2466-6160 โทรสาร 0-2472-5838

สาขาสะพานพระราม 7 (บางพลัด) โทรศัพท์ 0-2423-9011-3 โทรสาร 0-2423-9015

สาขาสี่แยกบ้านแขก โทรศัพท์ 0-2465-2115, 0-2465-5072 โทรสาร 0-2465-5071

สาขาเวิ้งนครเขษม โทรศัพท์ 0-2222-2430, 0-2221-7201-4 โทรสาร 0-2222-6475

สาขาสาธุประดิษฐ์ 49 โทรศัพท์ 0-2682-0610-8 โทรสาร 0-2682-0619

สาขาสี่แยกประเวศ โทรศัพท์ 0-2328-8023-5 โทรสาร 0-2328-8027

สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ (อาคาร B) โทรศัพท์ 0-2143-9393-5 โทรสาร 0-2143-9397

สาขาสามย่าน โทรศัพท์ 0-2215-1549, 0-2215-4199 โทรสาร 0-2216-6170

สาขาสุขุมวิท 71 โทรศัพท์ 0-2391-6067, 0-2392-5944 โทรสาร 0-2392-2534

สาขาสามแยก โทรศัพท์ 0-2223-2706-8 โทรสาร 0-2223-2705

สาขาสุขุมวิท ซอย 25 โทรศัพท์ 0-2259-4727-9 โทรสาร 0-2259-4730

สาขาสามแยกไฟฉาย โทรศัพท์ 0-2411-3446, 0-2418-3575-6 โทรสาร 0-2411-2321

สาขาสุขุมวิท ซอย 47 โทรศัพท์ 0-2204-0307-9 โทรสาร 0-2662-5632

สาขาส�ำเพ็ง โทรศัพท์ 0-2222-7396, 0-2223-2898 โทรสาร 0-2225-8468

สาขาสุขุมวิท ซอย 66 โทรศัพท์ 0-2393-5782 โทรสาร 0-2399-2399

สาขาส�ำเหร่ โทรศัพท์ 0-2468-0609, 0-2468-1008-9 โทรสาร 0-2476-5423

สาขาสุขุมวิท ซอย 101/1 (ปิยรมย์ เพลส) โทรศัพท์ 0-2332-7060-2 โทรสาร 0-2741-8017

สาขาสีลม โทรศัพท์ 0-2266-7414, 0-2266-7417 โทรสาร 0-2266-7416

สาขาสุทธิสาร โทรศัพท์ 0-2616-3553-8 โทรสาร 0-2616-3561

สาขาศิริราช โทรศัพท์ 0-2412-4515, 0-2412-4583-4 โทรสาร 0-2866-3218 สาขาศรีวรา โทรศัพท์ 0-2538-8466, 0-2538-8986 โทรสาร 0-2538-9378 สาขาศรีวรจักร โทรศัพท์ 0-2222-1912, 0-2222-1917 โทรสาร 0-2622-9338 สาขาศาลอุทธรณ์ โทรศัพท์ 0-2938-3421-6 โทรสาร 0-2938-3428 สาขาสนามเป้า โทรศัพท์ 0-2271-0026-8 โทรสาร 0-2271-0030 276

รายงานประจำ�ปี 2557


สาขาสุรวงศ์ โทรศัพท์ 0-2234-5964-6 โทรสาร 0-2631-7031

สาขาอาคารสยามกิตติ์ โทรศัพท์ 0-2251-6763, 0-2252-5252 โทรสาร 0-2253-9429

สาขาเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ โทรศัพท์ 0-2193-8114-6 โทรสาร 0-2101-0710

สาขาเสรีไทย 32 โทรศัพท์ 0-2376-1043-46 โทรสาร 0-2376-1122

สาขาเอกมัย 28 โทรศัพท์ 0-2392-2831, 0-2392-7278-9 โทรสาร 0-2392-2832

สาขาเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ โทรศัพท์ 0-2525-4736-8 โทรสาร 0-2969-7537

สาขาหนองแขม โทรศัพท์ 0-2445-4788, 0-2445-4790-2 โทรสาร 0-2445-4789

สาขาเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ โทรศัพท์ 0-2611-4752-4 โทรสาร 0-2611-4751

สาขาเซียร์-รังสิต โทรศัพท์ 0-2992-6807-9 โทรสาร 0-2992-6810

สาขาหัวล�ำโพง โทรศัพท์ 0-2237-9710-4 โทรสาร 0-2237-9713

สาขาเอ-ลิ้งค์ โทรศัพท์ 0-2111-0304-6 โทรสาร 0-2111-0308

สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน โทรศัพท์ 0-2550-1231-3 โทรสาร 0-2550-1235

สาขาหัวหมาก โทรศัพท์ 0-2314-2627, 0-2314-0086-7 โทรสาร 0-2314-7277

สาขาเอสพละนาด รัชดา โทรศัพท์ 0-2354-2052-4 โทรสาร 0-2660-9250

สาขาตลาดกลางบางใหญ่ โทรศัพท์ 0-2595-0682-4 โทรสาร 0-2595-0685

สาขาห้วยขวาง โทรศัพท์ 0-2692-0061, 0-2692-2098-100 โทรสาร 0-2276-1134

สาขาอินเดีย เอ็มโพเรี่ยม โทรศัพท์ 0-2224-0133, 0-2224-0135-6 โทรสาร 0-2623-9434

สาขาตลาดไท โทรศัพท์ 0-2529-6171-2 โทรสาร 0-2529-6175

สาขาอนุวงศ์ โทรศัพท์ 0-2222-0161-3, 0-2222-0169 โทรสาร 0-2225-8931

สาขาอุดมสุข โทรศัพท์ 0-2398-4024-7 โทรสาร 0-2398-4028

สาขาตลาดบางบัวทอง โทรศัพท์ 0-2571-3598-9, 0-2571-3373-5 โทรสาร 0-2571-7845

สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โทรศัพท์ 0-2644-7474-6 โทรสาร 0-2354-9351

สาขาโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 โทรศัพท์ 0-2204-1695-7 โทรสาร 0-2204-1698-9

สาขาตลาดปากน�้ำ โทรศัพท์ 0-2702-8380-4 โทรสาร 0-2702-8388

สาขาอโศก โทรศัพท์ 0-2260-7831-3 โทรสาร 0-2260-7839

สาขาไอที สแควร์ โทรศัพท์ 0-2576-0104-5 โทรสาร 0-2576-0106

สาขาตลาดส�ำโรง โทรศัพท์ 0-2756-8411-4 โทรสาร 0-2756-8419

สาขาอโศก-ดินแดง โทรศัพท์ 0-2641-7547-9 โทรสาร 0-2641-7566

ปริมณฑล

สาขาถนนรังสิต-ปทุมธานี โทรศัพท์ 0-2567-2738-9 โทรสาร 0-2567-5809

สาขาอ่อนนุช 52 โทรศัพท์ 0-2322-1557-9 โทรสาร 0-2322-1556 สาขาออลซีซั่นส์เพลส โทรศัพท์ 0-2250-7611-3 โทรสาร 0-2250-7615 สาขาอาคารเบอร์ลี่ยุคเกอร์ (กล้วยน�้ำไท) โทรศัพท์ 0-2381-5065-7 โทรสาร 0-2381-5068 สาขาอาคารวรวัฒน์ สีลม โทรศัพท์ 0-2635-1150-2 โทรสาร 0-2635-1157 สาขาอาคารวิบูลย์ธานี (พระราม 4) โทรศัพท์ 0-2661-5534-7 โทรสาร 0-2661-5539

สาขากิ่งแก้ว โทรศัพท์ 0-2316-1990-2 โทรสาร 0-2317-1312 สาขาครุใน โทรศัพท์ 0-2462-8020, 0-2462-8034 โทรสาร 0-2462-6193 สาขาคลองหลวง โทรศัพท์ 0-2516-1230-3, 0-2516-1202 โทรสาร 0-2516-1203 สาขาแจ้งวัฒนะ โทรศัพท์ 0-2982-9192-5 โทรสาร 0-2982-9441 สาขาแจ้งวัฒนะ (ซอฟต์แวร์ปาร์ค) โทรศัพท์ 0-2962-0066, 0-2962-0415-6 โทรสาร 0-2962-0376

สาขาถนนสามัคคี โทรศัพท์ 0-2574-2794-5 โทรสาร 0-2574-2793 สาขาท่าน�้ำนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2527-0255-60 โทรสาร 0-2527-0254 สาขาท่าน�้ำพระประแดง โทรศัพท์ 0-2463-0488, 0-2463-2228 โทรสาร 0-2464-2156 สาขาเทพารักษ์ โทรศัพท์ 0-2759-6061-4, 0-2759-6066 โทรสาร 0-2759-6067 สาขาเทสโก้ โลตัส นวนคร โทรศัพท์ 0-2529-6187-9 โทรสาร 0-2909-7097 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

277


สาขาเทสโก้ โลตัส รัตนาธิเบศร์ โทรศัพท์ 0-2950-1160, 0-2950-1297 โทรสาร 0-2950-1157

สาขาบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ โทรศัพท์ 0-2463-0992-3 โทรสาร 0-2463-0980

สาขาสวนอุตสาหกรรมบางกะดี โทรศัพท์ 0-2501-1254-6 โทรสาร 0-2501-1257

สาขาเทสโก้ โลตัส ล�ำลูกกา คลอง 6 โทรศัพท์ 0-2569-1694, 0-2569-1655 โทรสาร 0-2998-8164

สาขาปทุมธานี โทรศัพท์ 0-2581-5766, 0-2581-6976 โทรสาร 0-2581-6925

สาขาสามแยกพระประแดง โทรศัพท์ 0-2463-2156-7, 0-2462-6284 โทรสาร 0-2462-5355

สาขาเทสโก้ โลตัส ศรีนครินทร์ โทรศัพท์ 0-2175-7844-6 โทรสาร 0-2759-9054

สาขาปากเกร็ด โทรศัพท์ 0-2960-9928-30, 0-2583-7246 โทรสาร 0-2583-7562

สาขาส�ำโรง โทรศัพท์ 0-2396-0278-80, 0-2745-3482-3 โทรสาร 0-2399-5103

สาขานนทบุรี โทรศัพท์ 0-2526-3453-6 โทรสาร 0-2526-3457

สาขาปู่เจ้าสมิงพราย โทรศัพท์ 0-2183-2044, 0-2183-2046-7 โทรสาร 0-2183-2043

สาขาส�ำโรงเหนือ โทรศัพท์ 0-2384-7141, 0-2384-7244 โทรสาร 0-2384-7678

สาขานวนคร โทรศัพท์ 0-2909-0620-3, 0-2909-0626 โทรสาร 0-2909-0625

สาขาพระประแดง โทรศัพท์ 0-2463-3940-1, 0-2463-8415-7 โทรสาร 0-2463-6897

สาขาสี่มุมเมือง-รังสิต โทรศัพท์ 0-2531-9774, 0-2531-3445 โทรสาร 0-2531-9636

สาขานิคมอุตสาหกรรมบางปู โทรศัพท์ 0-2324-0360, 0-2324-0364 โทรสาร 0-2324-0805

สาขาฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โทรศัพท์ 0-2958-5116-8 โทรสาร 0-2958-5121

สาขาหนามแดง โทรศัพท์ 0-2385-2511-2, 0-2385-2920 โทรสาร 0-2385-2921

สาขาบางกรวย โทรศัพท์ 0-2447-2897, 0-2447-5095 โทรสาร 0-2883-8619

สาขามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทรศัพท์ 0-2312-6600-5 โทรสาร 0-2312-6603

สาขาห้าแยกปากเกร็ด โทรศัพท์ 0-2583-7574, 0-2583-9144 โทรสาร 0-2584-3959

สาขาบางครุ โทรศัพท์ 0-2817-5417-9 โทรสาร 0-2817-5423

สาขาเมกาบางนา โทรศัพท์ 0-2105-1681-3 โทรสาร 0-2105-1684

สาขาอิมพีเรียล เวิลด์ ส�ำโรง โทรศัพท์ 0-2380-2943-5, 0-2756-9023 โทรสาร 0-2756-9024

สาขาบางบ่อ โทรศัพท์ 0-2338-1248, 0-2338-1822-3 โทรสาร 0-2708-3242

สาขาเมืองใหม่-บางพลี โทรศัพท์ 0-2706-0322-6 โทรสาร 0-2706-0329

สาขาโฮมเวิร์ค ราชพฤกษ์ โทรศัพท์ 0-2447-6690-92 โทรสาร 0-2447-6693

สาขาบางบัวทอง โทรศัพท์ 0-2571-7124, 0-2571-7142-3 โทรสาร 0-2920-9603

สาขารังสิต โทรศัพท์ 0-2567-1117, 0-2567-5586 โทรสาร 0-2567-6694

สาขาบางปู โทรศัพท์ 0-2323-2960-3 โทรสาร 0-2323-2964

สาขารังสิต-คลอง 3 โทรศัพท์ 0-2990-8806-8 โทรสาร 0-2533-1659

สาขาบางใหญ่ โทรศัพท์ 0-2594-1143, 0-2594-1152 โทรสาร 0-2594-1161

สาขารัตนาธิเบศร์ โทรศัพท์ 0-2969-9040-3, 0-2969-9046 โทรสาร 0-2969-9048

สาขาบิ๊กซี บางพลี โทรศัพท์ 0-2312-2284, 0-2312-2300 โทรสาร 0-2312-2321

สาขาโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ โทรศัพท์ 0-2182-7239-41 โทรสาร 0-2182-7243

สาขาบิ๊กซี สมุทรปราการ โทรศัพท์ 0-2702-1792-3, 0-2702-1859 โทรสาร 0-2702-1982 สาขาบิ๊กซี ส�ำโรง 2 โทรศัพท์ 0-2380-1100-2 โทรสาร 0-2755-0240 278

รายงานประจำ�ปี 2557

สาขาล�ำลูกกา โทรศัพท์ 0-2994-5747-51 โทรสาร 0-2994-5753 สาขาสมุทรปราการ โทรศัพท์ 0-2388-0099, 0-2395-0045 โทรสาร 0-2395-2021

ภาคกลาง สาขากบินทร์บุรี โทรศัพท์ 0-3728-0796 , 0-3728-0798 โทรสาร 0-3728-0799 สาขากระทุ่มแบน โทรศัพท์ 0-3447-2422, 0-3447-2651-2 โทรสาร 0-3447-1511 สาขากาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-5096-100 โทรสาร 0-3451-5102 สาขาก�ำแพงแสน โทรศัพท์ 0-3435-1100, 0-3435-1614 โทรสาร 0-3435-1094 สาขาแก่งคอย โทรศัพท์ 0-3624-4176, 0-3624-5127-8 โทรสาร 0-3624-4178


สาขาเขตอุตสาหกรรม 304 โทรศัพท์ 0-3741-4378-80 โทรสาร 0-3741-4381

สาขาถนนราชวิถี (นครปฐม) โทรศัพท์ 0-3424-2348, 0-3425-1080 โทรสาร 0-3425-1081

สาขาบางปะหัน โทรศัพท์ 0-3538-1023-5 โทรสาร 0-3538-1026

สาขาเขาวัง โทรศัพท์ 0-3242-5350, 0-3242-8352 โทรสาร 0-3242-8351

สาขาถนนเศรษฐกิจ 1 (อ้อมน้อย) โทรศัพท์ 0-2810-4596-9 โทรสาร 0-2810-4605

สาขาบางเลน โทรศัพท์ 0-3439-1026-9 โทรสาร 0-3439-1030

สาขาคลองครุ โทรศัพท์ 0-3482-7086, 0-3482-7093 โทรสาร 0-3482-7094

สาขาถนนสุดบรรทัด (สระบุรี) โทรศัพท์ 0-3631-4512, 0-3631-4256-7 โทรสาร 0-3631-5404

สาขาบ้านแพ้ว โทรศัพท์ 0-3448-1088, 0-3448-0111-2 โทรสาร 0-3448-1606

สาขาชะอ�ำ โทรศัพท์ 0-3243-4130-1, 0-3247-1158 โทรสาร 0-3247-1185

สาขาถนนอัมรินทร์ (ราชบุรี) โทรศัพท์ 0-3233-7142, 0-3232-5802-5 โทรสาร 0-3232-5801

สาขาบ้านโป่ง โทรศัพท์ 0-3220-0429-31, 0-3221-1993 โทรสาร 0-3221-1035

สาขาด่านช้าง โทรศัพท์ 0-3559-5497-8 โทรสาร 0-3559-5499

สาขาถนนเอกชัย (สมุทรสาคร) โทรศัพท์ 0-3441-1127, 0-3442-5205-8 โทรสาร 0-3442-5204

สาขาบ้านหมอ โทรศัพท์ 0-3620-1141, 0-3620-1391-2 โทรสาร 0-3620-1142

สาขาด�ำเนินสะดวก โทรศัพท์ 0-3225-3810-2 โทรสาร 0-3225-3813

สาขาทองผาภูมิ โทรศัพท์ 0-3459-9073, 0-3459-9352 โทรสาร 0-3459-9613

สาขาบิ๊กซี ลพบุรี 2 โทรศัพท์ 0-3678-0731-4 , 0-3678-0735 โทรสาร 0-3678-0736

สาขาตลาดเจ้าพรหม โทรศัพท์ 0-3524-4768, 0-3524-5162-3 โทรสาร 0-3524-5441

สาขาท่าเรือ-กาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3456-1130, 0-3456-2074 โทรสาร 0-3456-2073

สาขาประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 0-3260-4464-7 โทรสาร 0-3260-4468

สาขาตลาดท่านา (นครชัยศรี) โทรศัพท์ 0-3433-1107-9 โทรสาร 0-3433-1151

สาขาท่าเรือ-อยุธยา โทรศัพท์ 0-3534-1019, 0-3534-1029 โทรสาร 0-3534-1795

สาขาปราจีนบุรี โทรศัพท์ 0-3721-1300, 0-3721-3855-9 โทรสาร 0-3721-3080

สาขาตลาดมหาชัย โทรศัพท์ 0-3481-0287-8 โทรสาร 0-3481-0467

สาขาท่าม่วง โทรศัพท์ 0-3461-1119, 0-3461-2417-8 โทรสาร 0-3461-2419

สาขาปราณบุรี โทรศัพท์ 0-3262-1643, 0-3262-2373-4 โทรสาร 0-3262-2055

สาขาตลาดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3551-1330, 0-3552-3882-3 โทรสาร 0-3552-3881

สาขาท่ายาง โทรศัพท์ 0-3246-1445-6, 0-3246-1823-4 โทรสาร 0-3246-1447

สาขาปากเพรียว โทรศัพท์ 0-3621-1833-4, 0-3622-1286 โทรสาร 0-3622-1884

สาขาถนนขุนสรรค์ (สิงห์บุรี) โทรศัพท์ 0-3651-1199, 0-3652-1200-1 โทรสาร 0-3652-1202

สาขาทุ่งคอก โทรศัพท์ 0-3556-8086-7 โทรสาร 0-3556-8069

สาขาพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0-3521-3892-4, 0-3524-4381 โทรสาร 0-3524-2136

สาขาถนนซ้ายพระ (นครปฐม) โทรศัพท์ 0-3425-5317-9 โทรสาร 0-3425-4915

สาขานครชัยศรี โทรศัพท์ 0-3433-1350-1 โทรสาร 0-3433-1349

สาขาพระปฐมเจดีย์ โทรศัพท์ 0-3425-4203-5, 0-3421-3541 โทรสาร 0-3425-9131

สาขาถนนทรงพล โทรศัพท์ 0-3220-0427, 0-3221-1900 โทรสาร 0-3220-0426

สาขานครนายก โทรศัพท์ 0-3731-1131, 0-3731-2608-9 โทรสาร 0-3731-2610

สาขาพุทธมณฑลสาย 4 โทรศัพท์ 0-2420-0444, 0-2420-5964 โทรสาร 0-2813-1116

สาขาถนนบวร โทรศัพท์ 0-3451-1022, 0-3451-4205 โทรสาร 0-3451-1597

สาขานครปฐม โทรศัพท์ 0-3421-9131 โทรสาร 0-3421-9160

สาขาเพชรบุรี โทรศัพท์ 0-3242-7023-5 โทรสาร 0-3241-5455

สาขาถนนพหลโยธิน (สระบุรี) โทรศัพท์ 0-3621-1166, 0-3621-2420 โทรสาร 0-3621-2421

สาขาบางซ้าย โทรศัพท์ 0-3528-2118-20, 0-3537-5226 โทรสาร 0-3537-5144

สาขาโพธาราม โทรศัพท์ 0-3223-1089, 0-3223-1255 โทรสาร 0-3223-1090 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

279


สาขาโพหัก โทรศัพท์ 0-3238-7021-2 โทรสาร 0-3238-7023

สาขาสมุทรสาคร โทรศัพท์ 0-3482-0359-60, 0-3482-0365-6 โทรสาร 0-3482-0445

สาขาอ้อมใหญ่ โทรศัพท์ 0-2420-4920, 0-2420-4930 โทรสาร 0-2811-6538

สาขามหาชัยเมืองใหม่ โทรศัพท์ 0-3481-2620-4 โทรสาร 0-3442-6989

สาขาสระแก้ว โทรศัพท์ 0-3724-1061, 0-3724-1585-6 โทรสาร 0-3724-1062

สาขาอ้อมน้อย โทรศัพท์ 0-2420-1450, 0-2420-2565-6 โทรสาร 0-2420-1132

สาขาราชบุรี โทรศัพท์ 0-3231-1203-5 โทรสาร 0-3231-1207

สาขาสระบุรี โทรศัพท์ 0-3621-8500 โทรสาร 0-3631-6601

สาขาอัมพวา โทรศัพท์ 0-3475-1177-8, 0-3475-1640-1 โทรสาร 0-3475-1642

สาขาโรงพยาบาลเพชรรัชต์ (เพชรบุรี) โทรศัพท์ 0-3241-0505-6, 0-3241-0514 โทรสาร 0-3240-0618

สาขาสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา โทรศัพท์ 0-3571-9710-2 โทรสาร 0-3533-1651

สาขาอ่างทอง โทรศัพท์ 0-3561-1099, 0-3561-2301-3 โทรสาร 0-3561-1100

สาขาโรบินสัน ราชบุรี โทรศัพท์ 0-3232-7711-3 โทรสาร 0-3232-7714

สาขาสองพี่น้อง โทรศัพท์ 0-3553-2890-3 โทรสาร 0-3553-2894

สาขาอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี (หนองกี่) โทรศัพท์ 0-3745-5428-9, 0-3745-5420-1 โทรสาร 0-3745-5439

สาขาโรบินสัน สุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3545-4360-62, 0-3545-4363 โทรสาร 0-3545-4364

สาขาสามชุก โทรศัพท์ 0-3557-1644, 0-3557-1666 โทรสาร 0-3557-1099

สาขาอู่ทอง โทรศัพท์ 0-3555-1299, 0-3555-1618 โทรสาร 0-3555-1868

สาขาลพบุรี โทรศัพท์ 0-3641-1233, 0-3642-1020-2 โทรสาร 0-3642-1023

สาขาสามพราน โทรศัพท์ 0-3432-2781, 0-3432-2783 โทรสาร 0-3432-2782

สาขาลาดบัวหลวง โทรศัพท์ 0-3537-9290-1 โทรสาร 0-3537-9292

สาขาสิงห์บุรี โทรศัพท์ 0-3653-0410, 0-3653-0413 โทรสาร 0-3651-2021

สาขาวังสมบูรณ์ โทรศัพท์ 0-3744-9193-4 โทรสาร 0-3744-9195

สาขาสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3552-1575, 0-3552-1963 โทรสาร 0-3552-1964

สาขาวังน�้ำเย็น โทรศัพท์ 0-3725-1543-7 โทรสาร 0-3725-1546

สาขาเสนา โทรศัพท์ 0-3520-1035, 0-3520-1748 โทรสาร 0-3520-1749

สาขาวัดเทียนดัด โทรศัพท์ 0-2429-0216, 0-2429-0813 โทรสาร 0-2429-0847

สาขาหนองแค โทรศัพท์ 0-3637-1504, 0-3637-1517 โทรสาร 0-3637-1516

สาขาวิเศษชัยชาญ โทรศัพท์ 0-3563-2801-4 โทรสาร 0-3563-2805

สาขาหัวหิน โทรศัพท์ 0-3251-1098, 0-3251-2218 โทรสาร 0-3251-2219

สาขาศรีประจันต์ โทรศัพท์ 0-3558-1150, 0-3558-1160 โทรสาร 0-3558-1140

สาขาอยุธยา โทรศัพท์ 0-3525-2431-6, 0-3525-2359 โทรสาร 0-3525-2437

สาขาศาลายา โทรศัพท์ 0-2441-4557-9 โทรสาร 0-2441-4560

สาขาอยุธยาพาร์ค โทรศัพท์ 0-3522-9560-1 โทรสาร 0-3522-9554

สาขาสมุทรสงคราม โทรศัพท์ 0-3471-1361, 0-3471-1510 โทรสาร 0-3471-5555

สาขาอรัญประเทศ โทรศัพท์ 0-3722-3505-7 โทรสาร 0-3722-3511

280

รายงานประจำ�ปี 2557

ภาคเหนือ สาขาก�ำแพงเพชร โทรศัพท์ 0-5571-3325-6 โทรสาร 0-5571-3368 สาขาข่วงสิงห์ โทรศัพท์ 0-5321-0826-8, 0-5321-6586 โทรสาร 0-5322-2718 สาขาช่องแค โทรศัพท์ 0-5626-9163, 0-5626-9128-30 โทรสาร 0-5626-9127 สาขาชัยนาท โทรศัพท์ 0-5641-6650-3 โทรสาร 0-5641-6654 สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5320-1234 โทรสาร 0-5320-1900 สาขาเซ็นทรัล พลาซา เชียงราย โทรศัพท์ 0-5371-9928-30 โทรสาร 0-5375-4496 สาขาเซ็นทรัล พลาซา พิษณุโลก โทรศัพท์ 0-5533-8412-5 โทรสาร 0-5521-6612 สาขาตลาดวโรรส โทรศัพท์ 0-5387-4018-9, 0-5387-4002 โทรสาร 0-5387-4006


สาขาตาก โทรศัพท์ 0-5551-1275, 0-5551-1360 โทรสาร 0-5551-3486

สาขาบิ๊กซี ก�ำแพงเพชร โทรศัพท์ 0-5585-3928-30 โทรสาร 0-5585-3932

สาขาโรงพยาบาลแมคคอร์มิค (เชียงใหม่) โทรศัพท์ 0-5326-1218-9, 0-5330-0421 โทรสาร 0-5326-1123

สาขาตาคลี โทรศัพท์ 0-5626-1093, 0-5626-1133 โทรสาร 0-5626-2383

สาขาบิ๊กซี เชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5324-1248-9, 0-5324-1336 โทรสาร 0-5324-1337

สาขาล�ำปาง โทรศัพท์ 0-5431-8927-30 โทรสาร 0-5431-8960

สาขาถนนช้างคลาน (เชียงใหม่) โทรศัพท์ 0-5382-0538-41 โทรสาร 0-5382-0543

สาขาบิ๊กซี หางดง โทรศัพท์ 0-5380-4092, 0-5380-4094 โทรสาร 0-5380-4086

สาขาล�ำพูน โทรศัพท์ 0-5351-0371, 0-5351-2060-1 โทรสาร 0-5351-0372

สาขาถนนนิมมานเหมินท์ โทรศัพท์ 0-5322-5483, 0-5340-0672-4 โทรสาร 0-5340-0675

สาขาปากน�้ำโพ โทรศัพท์ 0-5621-2082, 0-5621-3388 โทรสาร 0-5621-3516

สาขาวังเจ้า โทรศัพท์ 0-5555-6059, 0-5555-6061 โทรสาร 0-5555-6063

สาขาถนนบรมไตรโลกนารถ 2 (พิษณุโลก) โทรศัพท์ 0-5521-8645-9 โทรสาร 0-5521-8648

สาขาฝาง โทรศัพท์ 0-5345-1007-9 โทรสาร 0-5338-2041

สาขาสวรรคโลก โทรศัพท์ 0-5564-1478-9, 0-5564-2512 โทรสาร 0-5564-1480

สาขาถนนบุญวาทย์ โทรศัพท์ 0-5421-7444, 0-5421-8790 โทรสาร 0-5422-4667

สาขาพรานกระต่าย โทรศัพท์ 0-5576-2111-2 โทรสาร 0-5576-2113

สาขาสันทราย โทรศัพท์ 0-5349-1457, 0-5349-1934 โทรสาร 0-5349-1728

สาขาถนนเวสสุวรรณ์ (นครสวรรค์) โทรศัพท์ 0-5622-2998, 0-5622-7835 โทรสาร 0-5623-1462

สาขาพะเยา โทรศัพท์ 0-5443-1124, 0-5448-2386-8 โทรสาร 0-5443-1272

สาขาสันป่าข่อย โทรศัพท์ 0-5324-4157, 0-5324-9167-8 โทรสาร 0-5324-1157

สาขาถนนศึกษาเจริญ (เพชรบูรณ์) โทรศัพท์ 0-5674-4076-8 โทรสาร 0-5672-2415

สาขาพิจิตร โทรศัพท์ 0-5661-1033, 0-5661-1651 โทรสาร 0-5661-1127

สาขาสุโขทัย โทรศัพท์ 0-5561-6022, 0-5562-2465-6 โทรสาร 0-5562-2469

สาขาถนนเอกาทศรฐ (พิษณุโลก) โทรศัพท์ 0-5524-3871-2, 0-5525-9322 โทรสาร 0-5524-4268

สาขาพิษณุโลก โทรศัพท์ 0-5530-4313 โทรสาร 0-5330-4279

สาขาหนองเบน โทรศัพท์ 0-5629-6163-5 โทรสาร 0-5629-6166

สาขาท่าแพ โทรศัพท์ 0-5323-5755 โทรสาร 0-5323-5757

สาขาเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 0-5672-3103 โทรสาร 0-5672-3104

สาขาหล่มเก่า โทรศัพท์ 0-5670-8492-3 โทรสาร 0-5670-8494

สาขาเทสโก้ โลตัส พิษณุโลก โทรศัพท์ 0-5525-3701-3 โทรสาร 0-5525-3705

สาขาแพร่ โทรศัพท์ 0-5452-2004, 0-5452-2006 โทรสาร 0-5452-2005

สาขาหล่มสัก โทรศัพท์ 0-5670-1540, 0-5670-4207 โทรสาร 0-5670-4513

สาขานครสวรรค์ โทรศัพท์ 0-5631-3848 โทรสาร 0-5631-3850

สาขาไพศาลี โทรศัพท์ 0-5625-9721-2 โทรสาร 0-5625-9723

สาขาหันคา โทรศัพท์ 0-5645-1040, 0-5645-1500 โทรสาร 0-5645-1499

สาขาน่าน โทรศัพท์ 0-5471-1095-9 โทรสาร 0-5471-1098

สาขาแม่สอด โทรศัพท์ 0-5553-3311-3, 0-5553-3319 โทรสาร 0-5553-3320

สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย (เชียงราย) โทรศัพท์ 0-5374-5244-5 โทรสาร 0-5374-5247

สาขานิคมอุตสาหกรรมล�ำพูน โทรศัพท์ 0-5358-1662-3 โทรสาร 0-5358-1664

สาขาแม่สาย โทรศัพท์ 0-5373-1675, 0-5373-1904 โทรสาร 0-5373-1905

สาขาหางดง โทรศัพท์ 0-5343-4035-7 โทรสาร 0-5343-4038

สาขาบ่อสร้าง โทรศัพท์ 0-5333-7004-6 โทรสาร 0-5333-7007

สาขาแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ 0-5361-4441-2, 0-5361-4444-5 โทรสาร 0-5361-4443

สาขาหางน�้ำสาคร โทรศัพท์ 0-5643-1232-33 โทรสาร 0-5643-1234 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

281


สาขาอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 0-5544-1777, 0-5544-2240 โทรสาร 0-5541-4096

สาขาถนนประจักษ์ (หนองคาย) โทรศัพท์ 0-4241-2890-4 โทรสาร 0-4241-2895

สาขาบิ๊กซี ยโสธร โทรศัพท์ 0-4572-4361, 0-4572-4376 โทรสาร 0-4572-5067

สาขาอุทัยธานี โทรศัพท์ 0-5657-1616-9 โทรสาร 0-5657-1620

สาขาถนนมิตรภาพ (นครราชสีมา) โทรศัพท์ 0-4425-9003-4, 0-4425-1376 โทรสาร 0-4425-9002

สาขาบิ๊กซี อุดรธานี โทรศัพท์ 0-4212-8551-3 โทรสาร 0-4212-8548

สาขาแฮปปี้ พลาซ่า (พิจิตร) โทรศัพท์ 0-5661-6471-73, 0-5661-6474 โทรสาร 0-5665-0987

สาขาถนนศรีจันทร์ โทรศัพท์ 0-4322-7275-8 โทรสาร 0-4322-7279

สาขาบึงกาฬ โทรศัพท์ 0-4249-1779, 0-4249-1781 โทรสาร 0-4240-3097

สาขาถนนสรรพสิทธิ์ โทรศัพท์ 0-4524-4315, 0-4524-4729 โทรสาร 0-4524-3193

สาขาบุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0-4460-1555, 0-4460-2000 โทรสาร 0-4460-2123

สาขาถนนสุรนารี โทรศัพท์ 0-4424-2560, 0-4424-2904 โทรสาร 0-4425-6706

สาขาปากช่อง โทรศัพท์ 0-4431-6866-9 โทรสาร 0-4431-6859

สาขาถนนหน้าเมือง (ขอนแก่น) โทรศัพท์ 0-4322-1163, 0-4322-3234 โทรสาร 0-4322-1822

สาขามหาสารคาม โทรศัพท์ 0-4374-0681-3 โทรสาร 0-4372-2958

สาขาถนนหายโศรก (ร้อยเอ็ด) โทรศัพท์ 0-4352-3335-7 โทรสาร 0-4352-3339

สาขามุกดาหาร โทรศัพท์ 0-4263-1367-70 โทรสาร 0-4263-1374

สาขาถนนอุดรดุษฎี โทรศัพท์ 0-4224-7574, 0-4224-7732 โทรสาร 0-4224-7510

สาขายโสธร โทรศัพท์ 0-4571-4051-6 โทรสาร 0-4571-4054

สาขาเทสโก้ โลตัส โคราช โทรศัพท์ 0-4426-3564, 0-4426-3567 โทรสาร 0-4426-3565

สาขาเลย โทรศัพท์ 0-4283-0851-3 โทรสาร 0-4281-4472

สาขาเทสโก้ โลตัส ชัยภูมิ โทรศัพท์ 0-4483-8324-6 โทรสาร 0-4481-3352

สาขาวังสามหมอ โทรศัพท์ 0-4238-7486-7 โทรสาร 0-4238-7488

สาขานครพนม โทรศัพท์ 0-4251-6125-8 โทรสาร 0-4251-6129

สาขาวารินช�ำราบ โทรศัพท์ 0-4532-2788, 0-4532-2791-3 โทรสาร 0-4532-2790

สาขานครราชสีมา โทรศัพท์ 0-4426-9797 โทรสาร 0-4426-9790

สาขาศรีสะเกษ โทรศัพท์ 0-4562-0500-2 โทรสาร 0-4564-4197

สาขานางรอง โทรศัพท์ 0-4463-1049, 0-4463-1586-8 โทรสาร 0-4463-1050

สาขาสกลนคร โทรศัพท์ 0-4271-6446-50 โทรสาร 0-4271-6451

สาขาบ้านไผ่ โทรศัพท์ 0-4327-4038-40 โทรสาร 0-4327-4043

สาขาสร้างคอม โทรศัพท์ 0-4227-6222-4 โทรสาร 0-4227-6225

สาขาบิ๊กซี บุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0-4469-0450, 0-4469-0458 โทรสาร 0-4469-0469

สาขาสามแยกปักธงชัย โทรศัพท์ 0-4421-3993-5, 0-4428-1815-6 โทรสาร 0-4421-3994

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขากาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 0-4382-1080-1, 0-4382-1420 โทรสาร 0-4381-6584 สาขาขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4332-4321, 0-4322-6888 โทรสาร 0-4332-5919 สาขาชัยภูมิ โทรศัพท์ 0-4481-3251-5 โทรสาร 0-4481-3253 สาขาชุมแพ โทรศัพท์ 0-4331-1684, 0-4331-2292 โทรสาร 0-4331-2395 สาขาเซ็นทรัล พลาซา ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4328-8361-3 โทรสาร 0-4328-8365 สาขาเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี โทรศัพท์ 0-4292-1344, 0-4292-1346-47 โทรสาร 0-4292-1369 สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา โทรศัพท์ 0-4439-3931-3 โทรสาร 0-4439-3934 สาขาตลาดเทศบาลมหาสารคาม โทรศัพท์ 0-4372-5485, 0-4372-5661 โทรสาร 0-4372-3692 สาขาตลาดปากช่อง โทรศัพท์ 0-4431-3798-9, 0-4431-3855-6 โทรสาร 0-4431-3255 สาขาถนนกลางเมือง (ขอนแก่น) โทรศัพท์ 0-4322-8266, 0-4332-2630 โทรสาร 0-4332-2386 สาขาถนนกวงเฮง (ศรีสะเกษ) โทรศัพท์ 0-4561-7861-4 โทรสาร 0-4561-7860

282

รายงานประจำ�ปี 2557


สาขาสุรินทร์ โทรศัพท์ 0-4451-4455-8 โทรสาร 0-4451-4459

สาขาเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา โทรศัพท์ 0-3841-4852-54, 0-3841-4855 โทรสาร 0-3841-4846

สาขาบางปลาสร้อย โทรศัพท์ 0-3827-1819, 0-3827-6651 โทรสาร 0-3827-6652

สาขาสุรินทร์ พลาซ่า โทรศัพท์ 0-4453-8517-20 โทรสาร 0-4453-8521

สาขาเซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช โทรศัพท์ 0-3300-3571-3 โทรสาร 0-3804-3194

สาขาบ้านเพ โทรศัพท์ 0-3865-1995, 0-3865-1997 โทรสาร 0-3865-1993

สาขาสุวรรณคูหา โทรศัพท์ 0-4237-2515-6 โทรสาร 0-4237-2517

สาขาเซ็นทรัล ชลบุรี โทรศัพท์ 0-3805-3531-3 โทรสาร 0-3805-3535

สาขาบ้านบึง โทรศัพท์ 0-3844-3060-1, 0-3844-4015-6 โทรสาร 0-3844-3713

สาขาหนองคาย โทรศัพท์ 0-4246-0119-22 โทรสาร 0-4246-0199

สาขาตราด โทรศัพท์ 0-3953-1641-3 โทรสาร 0-3952-2662

สาขาบิ๊กซี ฉะเชิงเทรา 2 โทรศัพท์ 0-3851-5188, 0-3851-5190 โทรสาร 0-3851-5219

สาขาหนองบัวล�ำภู โทรศัพท์ 0-4231-1107, 0-4231-1166 โทรสาร 0-4231-1657

สาขาถนนขวาง (จันทบุรี) โทรศัพท์ 0-3932-5925, 0-3931-1079 โทรสาร 0-3932-5926

สาขาบิ๊กซี ชลบุรี 2 โทรศัพท์ 0-3878-3032-4 โทรสาร 0-3838-7923

สาขาห้าแยกน�้ำพุ (อุดรธานี) โทรศัพท์ 0-4222-1703, 0-4224-7211-2 โทรสาร 0-4224-7209

สาขาถนนเจตน์จ�ำนงค์ (ชลบุรี) โทรศัพท์ 0-3879-2203-5 โทรสาร 0-3879-2178

สาขาบิ๊กซี พัทยาใต้ โทรศัพท์ 0-3837-4270, 0-3837-4273 โทรสาร 0-3837-4463

สาขาอ�ำนาจเจริญ โทรศัพท์ 0-4551-1721-4 โทรสาร 0-4551-1726

สาขาถนนพระยาสัจจา (ชลบุรี) โทรศัพท์ 0-3879-2214-5 โทรสาร 0-3879-2216

สาขาบิ๊กซี ระยอง โทรศัพท์ 0-3887-3094, 0-3887-3301 โทรสาร 0-3862-2659

สาขาอุดรธานี โทรศัพท์ 0-4234-2550 โทรสาร 0-4234-2398

สาขาถนนสุขุมวิท (ชลบุรี) โทรศัพท์ 0-3879-6066, 0-3879-5639 โทรสาร 0-3827-7841

สาขาบิ๊กซี สระแก้ว โทรศัพท์ 0-3742-1761-3 โทรสาร 0-3742-1765

สาขาอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0-4531-9401-3 โทรสาร 0-4531-9405

สาขาถนนสุขุมวิท (ระยอง) โทรศัพท์ 0-3861-4913-4 โทรสาร 0-3861-2342

สาขาปลวกแดง โทรศัพท์ 0-3865-9768-9 โทรสาร 0-3865-9770

สาขาถนนสุขุมวิท (ศรีราชา) โทรศัพท์ 0-3877-3415-20 โทรสาร 0-3877-3421

สาขาแปซิฟิค พาร์ค (ศรีราชา) โทรศัพท์ 0-3831-3226, 0-3831-3236 โทรสาร 0-3831-3245

สาขาถนนสุรศักดิ์ 1 (ศรีราชา) โทรศัพท์ 0-3831-1872-3, 0-3831-2206-7 โทรสาร 0-3831-1871

สาขาพนมสารคาม โทรศัพท์ 0-3855-1005, 0-3855-1824-6 โทรสาร 0-3855-1659

สาขาเทสโก้ โลตัส บ่อวิน โทรศัพท์ 0-3811-7133-35 โทรสาร 0-3811-7136

สาขาพัทยา โทรศัพท์ 0-3872-0334, 0-3872-0339 โทรสาร 0-3842-9973

สาขาเทสโก้ โลตัส พัทยาเหนือ โทรศัพท์ 0-3841-1410, 0-3841-1316 โทรสาร 0-3841-1423

สาขาพัทยาเหนือ โทรศัพท์ 0-3842-8901-2, 0-3842-8905 โทรสาร 0-3842-8963

สาขานาเกลือ (พัทยา) โทรศัพท์ 0-3822-6060-1 โทรสาร 0-3822-6117

สาขามาบตาพุด โทรศัพท์ 0-3868-2531-3 โทรสาร 0-3868-1995

สาขานิคมพัฒนา โทรศัพท์ 0-3863-6090-1 โทรสาร 0-3863-6092

สาขาระยอง โทรศัพท์ 0-3886-4123, 0-3886-4114 โทรสาร 0-3886-4115

ภาคตะวันออก สาขาเกาะช้าง โทรศัพท์ 0-3955-1026-9 โทรสาร 0-3955-1030 สาขาแกลง โทรศัพท์ 0-3888-7003-9 โทรสาร 0-3867-8002 สาขาจันทบุรี โทรศัพท์ 0-3934-4323-6 โทรสาร 0-3934-4327 สาขาฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0-3851-5835-7 โทรสาร 0-3851-5838 สาขาชลบุรี โทรศัพท์ 0-3827-6930-7 โทรสาร 0-3827-6935

ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

283


สาขาศรีราชา โทรศัพท์ 0-3877-1686-9 โทรสาร 0-3877-1690

สาขาเกาะพะงัน โทรศัพท์ 0-7737-7051, 0-7723-8186-7 โทรสาร 0-7737-7052

สาขาถนนปุณณกัณฑ์ (หาดใหญ่) โทรศัพท์ 0-7450-0040, 0-7450-0044-5 โทรสาร 0-7450-0089

สาขาสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ (ศรีราชา) โทรศัพท์ 0-3848-1826-8 โทรสาร 0-3848-1829

สาขาเกาะลันตา โทรศัพท์ 0-7566-8152 โทรสาร 0-7566-8151

สาขาถนนมนตรี โทรศัพท์ 0-7621-2993, 0-7621-5393 โทรสาร 0-7621-3149

สาขาเกาะสมุย โทรศัพท์ 0-7742-1110-1, 0-7742-0363 โทรสาร 0-7742-1112

สาขาถนนรัถการ (หาดใหญ่) โทรศัพท์ 0-7434-9070-2, 0-7426-1751 โทรสาร 0-7426-1752

สาขาเขาหลัก โทรศัพท์ 0-7648-5493-4 โทรสาร 0-7648-5560

สาขาถนนรัษฎา (ภูเก็ต) โทรศัพท์ 0-7621-9664, 0-7625-6873-5 โทรสาร 0-7621-9731

สาขาเคียนซา โทรศัพท์ 0-7738-7407-8 โทรสาร 0-7738-7409

สาขาถนนราเมศวร์ (พัทลุง) โทรศัพท์ 0-7462-6952-4 โทรสาร 0-7461-5451

สาขาเซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต โทรศัพท์ 0-7620-9290, 0-7620-9292 โทรสาร 0-7620-9291

สาขาถนนราชด�ำเนิน (นครศรีธรรมราช) โทรศัพท์ 0-7534-2779-80, 0-7535-6119 โทรสาร 0-7535-6741

สาขาเซ็นทรัล หาดใหญ่ โทรศัพท์ 0-7423-9010 โทรสาร 0-7423-0414

สาขาถนนศรีวิชัย (สุราษฎร์ธานี) โทรศัพท์ 0-7720-6488, 0-7726-4170-1 โทรสาร 0-7720-6671

สาขาไดอาน่า ศรีภูวนารถ โทรศัพท์ 0-7446-5316-8 โทรสาร 0-7445-5319

สาขาถนนศาลาแดง (ชุมพร) โทรศัพท์ 0-7750-5051-2 โทรสาร 0-7750-5054

สาขาตรัง โทรศัพท์ 0-7522-3240-3 โทรสาร 0-7522-3244

สาขาถนนสายบุรี (สงขลา) โทรศัพท์ 0-7431-1638, 0-7432-3735-6 โทรสาร 0-7431-3543

สาขาตลาดท่าแพ นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0-7538-3271, 0-7538-3316 โทรสาร 0-7538-3110

สาขาถลาง โทรศัพท์ 0-7631-1020, 0-7631-1432 โทรสาร 0-7631-1433

สาขาตะกั่วป่า โทรศัพท์ 0-7642-5176, 0-7643-1503-5 โทรสาร 0-7642-5177

สาขาทับเที่ยง (ตรัง) โทรศัพท์ 0-7521-8059, 0-7521-1321 โทรสาร 0-7521-1320

สาขาถนนจุติอุทิศ (หาดใหญ่) โทรศัพท์ 0-7434-6396-8 โทรสาร 0-7434-6393

สาขาท่าเรือบางรักษ์ (เกาะสมุย) โทรศัพท์ 0-7741-7184 โทรสาร 0-7741-7185

สาขาถนนชนเกษม (สุราษฎร์ธานี) โทรศัพท์ 0-7728-3627-30 โทรสาร 0-7728-4080

สาขาท่าวัง (นครศรีธรรมราช) โทรศัพท์ 0-7531-3144-6 โทรสาร 0-7535-7067

สาขาถนนทวีวงศ์ (หาดป่าตอง) โทรศัพท์ 0-7629-2116-8 โทรสาร 0-7634-5687

สาขาท้ายเหมือง โทรศัพท์ 0-7657-1234-7 โทรสาร 0-7657-1215

สาขาถนนธรรมนูญวิถี (หาดใหญ่) โทรศัพท์ 0-7423-5549, 0-7435-5396-7 โทรสาร 0-7424-3648

สาขาทุ่งสง โทรศัพท์ 0-7541-1087, 0-7541-1956 โทรสาร 0-7541-1054

สาขาสัตหีบ โทรศัพท์ 0-3843-7321, 0-3843-7986 โทรสาร 0-3843-7717 สาขาสามแยกแกลง โทรศัพท์ 0-3888-4503-5 โทรสาร 0-3888-4506 สาขาหนองมน โทรศัพท์ 0-3839-2302, 0-3839-2125 โทรสาร 0-3839-2501 สาขาหนองมน (ชลบุรี) โทรศัพท์ 0-3874-5233, 0-3874-5239 โทรสาร 0-3874-6349 สาขาห้วยสะท้อน โทรศัพท์ 0-3939-5381-3 โทรสาร 0-3939-5384 สาขาหาดพัทยา (เหนือ) โทรศัพท์ 0-3841-5772-4, 0-3841-5884 โทรสาร 0-3841-5885 สาขาแหลมฉบัง โทรศัพท์ 0-3840-0740-3 โทรสาร 0-3840-0745 สาขาแหลมทอง บางแสน โทรศัพท์ 0-3815-3930-1, 0-3815-3936 โทรสาร 0-3815-3994 สาขาแหลมทอง ระยอง โทรศัพท์ 0-3802-3405-7 โทรสาร 0-3802-3409

ภาคใต้ สาขากระบี่ โทรศัพท์ 0-7563-2838-41 โทรสาร 0-7563-2835 สาขากันตัง โทรศัพท์ 0-7525-1250, 0-7525-1640 โทรสาร 0-7525-1644 สาขาเกาะเต่า โทรศัพท์ 0-7745-6533-4 โทรสาร 0-7745-6784

284

รายงานประจำ�ปี 2557


สาขาเทสโก้ โลตัส กระบี่ โทรศัพท์ 0-7562-0833, 0-7565-0836-7 โทรสาร 0-7565-0834

สาขาปัตตานี โทรศัพท์ 0-7333-5950-1, 0-7333-1851 โทรสาร 0-7333-5949

สาขาสามกอง (ภูเก็ต) โทรศัพท์ 0-7621-2077, 0-7622-2838-40 โทรสาร 0-7622-2841

สาขาเทสโก้ โลตัส เจ้าฟ้า (ภูเก็ต) โทรศัพท์ 0-7626-8059-61 โทรสาร 0-7621-9248

สาขาปากพนัง โทรศัพท์ 0-7551-7132, 0-7551-8023 โทรสาร 0-7551-8021

สาขาสายบุรี โทรศัพท์ 0-7341-1021, 0-7341-1314-5 โทรสาร 0-7341-1138

สาขาเทสโก้ โลตัส ชุมพร โทรศัพท์ 0-7765-9930-32 โทรสาร 0-7765-9933

สาขาป่าตอง โทรศัพท์ 0-7629-0585-7 โทรสาร 0-7629-0588

สาขาสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0-7721-4581-7 โทรสาร 0-7721-3560

สาขาเทสโก้ โลตัส เชิงทะเล (ภูเก็ต) โทรศัพท์ 0-7632-5919-21 โทรสาร 0-7627-0572

สาขาพังงา โทรศัพท์ 0-7641-1295, 0-7641-1527-8 โทรสาร 0-7641-1326

สาขาสุไหงโก-ลก โทรศัพท์ 0-7361-1359, 0-7361-1002 โทรสาร 0-7361-3632

สาขาเทสโก้ โลตัส ทุ่งสง โทรศัพท์ 0-7541-3003-6 โทรสาร 0-7541-3007

สาขาพัทลุง โทรศัพท์ 0-7461-3082, 0-7461-3951-2 โทรสาร 0-7461-1918

สาขาหลังสวน โทรศัพท์ 0-7754-1965, 0-7758-1417-8 โทรสาร 0-7754-1987

สาขาเทสโก้ โลตัส ภูเก็ต โทรศัพท์ 0-7625-5472-4 โทรสาร 0-7652-3400

สาขาพุนพิน โทรศัพท์ 0-7731-1449, 0-7731-2368-70 โทรสาร 0-7731-1537

สาขาห้วยยอด โทรศัพท์ 0-7523-5033-5, 0-7527-1013 โทรสาร 0-7527-1064

สาขาเทสโก้ โลตัส ระนอง โทรศัพท์ 0-7782-6636-8 โทรสาร 0-7782-6640

สาขาภูเก็ต โทรศัพท์ 0-7626-1570-5 โทรสาร 0-7626-1576

สาขาห้าแยกฉลอง (ภูเก็ต) โทรศัพท์ 0-7638-3222, 0-7638-3431 โทรสาร 0-7638-3348

สาขาเทสโก้ โลตัส สงขลา โทรศัพท์ 0-7430-7937-9 โทรสาร 0-7435-2735

สาขาแม่น�้ำ โทรศัพท์ 0-7724-8375, 0-7733-2259 โทรสาร 0-7733-2260

สาขาหาดเฉวง โทรศัพท์ 0-7723-0405, 0-7723-1089-90 โทรสาร 0-7742-2051

สาขานครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0-7532-2689-90 โทรสาร 0-7532-2144

สาขายะลา โทรศัพท์ 0-7321-2592, 0-7321-3375 โทรสาร 0-7321-1691

สาขาหาดใหญ่ โทรศัพท์ 0-7435-4690 โทรสาร 0-7435-4696

สาขานราธิวาส โทรศัพท์ 0-7351-2013, 0-7351-4463-5 โทรสาร 0-7351-2014

สาขาย่านตาขาว โทรศัพท์ 0-7528-1003, 0-7528-1101 โทรสาร 0-7528-1102

สาขาหาดใหญ่ใน โทรศัพท์ 0-7436-1313-5 โทรสาร 0-7425-9704

สาขาบ้านดอน โทรศัพท์ 0-7721-0365, 0-7728-1551-2 โทรสาร 0-7721-0366

สาขาระนอง โทรศัพท์ 0-7781-1198, 0-7781-1752 โทรสาร 0-7781-1751

สาขาหาดกะรน โทรศัพท์ 0-7639-6981, 0-7639-6485-6 โทรสาร 0-7639-6980

สาขาบ้านนาเดิม โทรศัพท์ 0-7735-9013, 0-7735-9015 โทรสาร 0-7735-9014

สาขาโรบินสัน ตรัง โทรศัพท์ 0-7559-0018-9, 0-7559-0120 โทรสาร 0-7522-6157

สาขาหาดละไม โทรศัพท์ 0-7745-8159-60, 0-7745-8162-4 โทรสาร 0-7745-8161

สาขาบิ๊กซี ปัตตานี โทรศัพท์ 0-7333-8004, 0-7331-3982-3 โทรสาร 0-7333-8005

สาขาโรบินสัน โอเชี่ยน นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0-7534-1875, 0-7534-1960-1 โทรสาร 0-7534-1876

สาขาอ่าวนาง โทรศัพท์ 0-7566-1434, 0-7566-1430-2 โทรสาร 0-7566-1433

สาขาบิ๊กซี สตูล โทรศัพท์ 0-7472-5251-3 โทรสาร 0-7472-5254

สาขาเวียงสระ โทรศัพท์ 0-7736-1461-2, 0-7736-3550 โทรสาร 0-7725-7268

สาขาอ่าวลึก โทรศัพท์ 0-7561-0739, 0-7563-4335-7 โทรสาร 0-7561-0755

สาขาบิ๊กซี หาดใหญ่ 2 โทรศัพท์ 0-7446-9235-7 โทรสาร 0-7455-5609

สาขาสงขลา โทรศัพท์ 0-7444-1198-9, 0-7444-1232 โทรสาร 0-7444-1233

สาขาเบตง โทรศัพท์ 0-7323-1120, 0-7323-1416 โทรสาร 0-7323-0914

สาขาสะเดา โทรศัพท์ 0-7441-4315-7 โทรสาร 0-7446-0501 ธนาคารธนชาต จ� ำกั ด (มหาชน)

285


สรุปต� ำแหน่งของรายการที่ ก� ำหนดตามแบบ 56-2 ในรายงานประจ� ำ ปี 2557 หัวข้อ

หน้า

1. นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ

030-034

2. ลักษณะการประกอบธุรกิจ

035-048

3. ปัจจัยความเสี่ยง

049-060

4. ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลส�ำคัญอื่น

115-121

5. ผู้ถือหุ้น

122-123

6. นโยบายการจ่ายเงินปันผล

123-124

7. โครงสร้างการจัดการ

087-114

8. การก�ำกับดูแลกิจการ

074-083

9. ความรับผิดชอบต่อสังคม

061-073

10. การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง 11. รายการระหว่างกัน

084-085 083

12. ข้อมูลทางการเงินที่ส�ำคัญ

002-003

13. การวิเคราะห์และค�ำอธิบายของฝ่ายจัดการ

016-029

286

รายงานประจำ�ปี 2557


444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2217 8000 โทรสาร 0 2217 8333 Thanachart Contact Center 1770 Thanachart Smartcar Call Center 0 2217 5555 www.thanachartbank.co.th ทะเบียนเลขที่ 0107536001401


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.