สารสองล้อ พฤศจิกายน 2554

Page 1

ÁÙŤ‹Ò òõ ºÒ· ÊÁÒªÔ¡..ÃѺ¿ÃÕ!

1


2


3


บทบรรณาธิการ อุทกภัยครั้งใหญ่เกินจะประมาณได้ ทำให้พี่น้องชาวไทยเราได้รับ

ความเดือนร้อนกันนับแสน เสียชีวติ นับร้อย สร้างความสะเทือนใจให้กบั คน

ทัง้ ประเทศ ไม่เว้นแม้แต่เพือ่ นบ้านทีเ่ ป็นมิตรประเทศ ต่างแสดงความห่วงใย ยืน่ มือให้ความช่วยเหลือ แต่เหนืออืน่ ใด.. คือความห่วงใยและความช่วยเหลือ

ทีค่ นไทยด้วยกัน ต่างหยิบยืน่ ให้กนั โดยมิได้หวังสิง่ ใดตอบแทน มากไปกว่า โอกาสทีจ่ ะได้เห็นรอยยิม้ และการกลับคืนมาสูค่ วามปกติสขุ อีกครัง้ เพือ่ นร่วมชาติทกุ สาขาอาชีพ ทีไ่ ม่ได้รบั ความเสียหายจากภัยน้ำท่วม ต่างร่วมแรงร่วมใจ ชักชวนกันมาช่วยเหลือตามความถนัด อีกทั้งบรรดา

นักคิดนักประดิษฐ์ ต่างสร้างสรรค์ความคิดประดิษฐ์สิ่งของหลากหลาย

เพือ่ นำมาใช้ในการดูแล แก้ไข เอาตัวรอด กับการเป็นอยูท่ คี่ นไทยเราจะต้อง อาศัยร่วมกับน้ำให้ได้ เราจึงมีโอกาสได้เห็น ได้ทราบ ได้รับรู้ ในหลายสิ่ง หลายอย่างทีไ่ ม่เคยคำนึงถึงมาก่อน จนกระทัง่ เหตุการณ์ประสบภัยจากน้ำ เช่นนีเ้ กิดขึน้ ภูมปิ ญ ั ญาต่างๆ จึงได้ปรากฏขึน้ มากมาย นับเป็นวิกฤตทีส่ ร้าง โอกาสให้เกิดภูมคิ วามรูใ้ หม่ๆ อย่างน่าทึง่ สำหรับสมาชิกชาวจักรยานเช่นพวกเรา ต่างใช้ความถนัดของการ

ปัน่ จักรยาน ร่วมรณรงค์และรับบริจาค เพือ่ นำเงินและสิง่ ของทีไ่ ด้ ไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยร่วมกับสภากาชาดไทย นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่พวกเราต่าง

ร่วมแรงร่วมใจ ใช้สงิ่ ถนัดไปขจัดความทุกข์ สร้างให้เกิดสุข.. กับพีน่ อ้ งร่วมชาติ สุดท้ายแล้วจะลงเอยอย่างไรไม่อาจทราบได้ แต่เชือ่ ว่า..พวกเรายังจะ ต้องปัดกวาดฟืน้ ฟูกนั อีกขนานใหญ่ ในฐานะชาวจักรยาน.. พวกเราขอเป็น กำลังใจให้กบั ทุกคนทุกหน่วยงาน สามารถฟันฝ่าวิกฤตครัง้ นีไ้ ปได้ในทีส่ ดุ บรรณาธิการสารสองล้อ

สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาพ ZangZaew SnapRider

สารสองล้ อ ฉบับที่ ๒๔๕ / พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ISSN ๑๕๑๓-๖๐๕๑

แวดวงสองล้อ ปั่นช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม หนังสือน่าอ่าน ทริปไปกินฯ ย่านเยาวราชฝั่งเจริญกรุง ทริปรีไซเคิลครั้งที่ ๔๓ จังหวัดน่าน ทริปสร้างฝายชะลอน้ำ อ่างฤาไน ทริปรีไซเคิล ม.มหิดล ศาลายา ทริปปั่นจักรยานเที่ยวแอฟริกาใต้ ปฏิทินทริป ๒๕๕๔ ศูนย์วัฒนธรรมจักรยาน BIKE STATION สถานีของคนรักจักรยาน แผนเส้นทางจักรยานในกรุงเทพฯ คาราวานหรรษา ปลูกป่าลดโลกร้อน ปั่นทำบุญ ๙ วัด การป้องกันโรคและภัยที่เกิดจากน้ำท่วม Fitness Lifestyle 10 เชิงช่างหนึ่ง สินค้าสมาคมฯ

๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๖ ๑๘ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๓๐

สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและรับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี ๒๐๐ บาท ( ต่ำกว่า ๑๕ ปี ๘๐ บาท) สมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐ บาท ติดต่อได้ที่ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ นัทติยา

วิริยวัฒน์, กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล, นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ประสานงานและบัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ สมาชิก สุทธิชัย สุศันสนีย์ พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด โทร. ๐๒-๒๑๔-๔๖๖๐, ๐๒-๒๑๔-๔๓๗๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๔๕๐๙ สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย

๘๔๙/๕๓ จุฬาซอย ๖ ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร

๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com

4


แวดวงสองล้อ ทริปจักรยานทางไกล กรุงเทพฯ - เวียงจันทร์

Bianchi Club จัดทริปพิเศษทางไกล

ของเสือหมอบปีที่ ๓ แล้ว ไปนมัสการ

พระบรมสารีรกิ ธาตุ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล

ในเทศกาลปีใหม่ ที่วัดพระธาตุหลวง ณ

นครเวี ย งจั น ทร์ ประเทศสาธารณรั ฐ -

ประชาติปไตยประชาชนลาว โดยใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธิน ตัดเข้าถนนมิตรภาพ

ก่อนถึงเมืองสระบุรี ผ่านภาคอีสานของประเทศไทยไปจนถึงนครเวียงจันทร์ ใช้เวลาปั่นทั้งสิ้น 5 วัน และมี บริการรถบัสปรับอากาศกลับมาส่งถึงกรุงเทพฯ ระยะเดินทางรวมโดยประมาณ ๖๗๑ กิโลเมตร สนใจติดต่อที่บริษัท TCA โทร. ๐๒-๓๖๗-๓๔๗๐ ต่อ ๕๐๑

TOT ชวนปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา อาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๔

ชมรมจักรยานทีโอที เชิญร่วมกิจกรรม “จักรยานเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา” ใน

วันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และนำรายได้ส่วนหนึ่ง จากการจำหน่ายเสื้อจักรยาน ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอเชิญชวนชาวจักรยานร่วมกิจกรรมแสดงความจงรักภักดีนี้ โดยใส่เสื้อจักรยาน We Love The KING ทีจ่ ดั ทำขึน้ เพือ่ กิจกรรมนีโ้ ดยเฉพาะ และปัน่ จักรยานไปลงนามถวายพระพรพระองค์ทา่ น ณ โรงพยาบาล ศิริราช สมัครและดูรายละเอียดได้ที่ http://bit.ly/tot4king

ปั่นจักรยานเทิดพระเกียรติ ๘๔ คัน ๘๔ พรรษา ๒๙ พฤศจิกายน - ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ชมรมจักรยานจังหวัดนราธิวาสและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน เทิดพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ ๘๔ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เป็นการปั่นจักรยานเทิดพระเกียรติจากพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส

สูพ่ ระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ระยะทาง ๙๙๙ กิโลเมตร สอบถามรายละเอียด

ได้ที่ โทร. ๐๘-๕๙๐๐-๐๐๕๙

5


แวดวงสองล้อ ปั่นจักรยานรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม อุทกภัยในปี ๒๕๕๔ นี้นับว่ามีความรุนแรงอย่างที่ไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้พี่น้องชาวไทยในหลายจังหวัดต้อง ประสบกับปัญหาความเป็นอยู่ เพราะต้องอพยพหนีน้ำไป อาศัยในที่พักชั่วคราว ขาดทั้งน้ำดื่ม อาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และอื่นๆ สภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้าช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัยตั้งแต่ต้น อีกทั้งมีหน่วยอาสากาชาด สมัครใจร่วม เข้าให้การช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และด้วยความ

เดือดร้อนจากน้ำท่วมครัง้ นีม้ วี งกว้างไปทัว่ สิง่ ของบรรเทาทุกข์

ที่สภากาชาดไทย นำไปแจกให้ผู้ประสบภัยจึงอาจไม่เพียงพอ สมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย (TCHA) โดยหมู่ สมาชิกและเพื่อนหลายชมรม ได้รวมตัวกันแสดงความจำนงค์ ต่อสภากาชาดไทยอย่างเป็นทางการ ขอร่วมอาสาช่วยรับ บริจาคเงินและสิ่งของ โดยการปั่นจักรยานไปยังแหล่งชุมชน ในกรุงเทพฯ เพื่อทำการรับบริจาค และจะทำการรับบริจาค ต่อเนื่องไปตลอดทุกครั้งที่มีโอกาส ทั้งวันธรรมดาและวันเสาร์ -อาทิตย์ โดยเงินบริจาคและสิ่งของทั้งหมด จะส่งมอบให้กับ สภากาชาดไทยโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

นั ด รวมพลเพื่ อ นนั ก ปั่ น ที่ มี จิ ต รอาสาจากทุ ก ชมรม ร่วมปั่นจักรยานรับบริจาค กันที่สำนักงานสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย (TCHA) จุฬาซอย ๖ ถนนบรรทัดทอง เขต

ปทุมวัน ในวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ตัง้ แต่เวลา ๙.๐๐ น.

และครัง้ ทีส่ องคือวันอาทิตย์ท่ี ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ และต่อเนือ่ ง

อีกหลายครัง้ โดยมีนกั ปัน่ จิตอาสาเข้าร่วมจำนวนหลายท่าน อาทิ คุณศุภชัย เที่ยงกลม คุณสมชาย จารุมนถิรบวร คุณลุงพุ่ม แก้วประเคน คุณสุทิน หมื่นศักดา คุณอนุรักษ์ เปลี่ยนศิริ คุณปราณี หมื่นศักดา คุณวิลาศ เสาวภาคย์กุล คุณพิสุทธิ์ จันทรสถิตย์ คุณเกียรติ อาภาภรณ์กุล คุณนราภรณ์ วงษ์สนิท คุณสมศักดิ์ โรจนปัญญากุล คุณศักดิรพงศ์ เกรียงพิชติ ชัย คุณประสงค์ ตุลาพันธ์ุ คุณศรชัย ลิมะวรารัตน์ คุณธนะ บำรุงแสง คุณสุยิน ขจีนิวาสวงศ์ คุณสุยิน ขจีนิวาสวงค์ คุณทองจันทร์ กล้าหาญ คุณสายใจ ขจีนิวาสวงค์ คุณจารุกัญญา ราษฏร์ศิริ คุณสุภัคร จันทรบูลย์ นาวาเอก สมพงษ์ ทรัพย์เจริญ คุณวิเชียร งามแสง คุณกำพล ยุทธไตร คุณธีรพล สร้อยตะคุ


แชงกรีลา ปั่นเดี่ยว ๓,๐๐๐ กิโลเมตร

หนังสือน่าอ่าน

ปั่นในเมือง เรื่องไม่ยาก

ผู้เขียน สรศักดิ์ สุบงกช ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๒๔๓-๐๓๙-๘ สำนักพิมพ์ อนิเมทกรุ๊ป ราคาปก ๑๕๐ บาท การจะหาหนังสือดีๆ ที่เกี่ยวกับชาวจักรยาน นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีผู้เขียนหนังสือเพื่อคนกลุ่ม อย่างเราน้อยถึงน้อยมาก ดังนัน้ หนังสือ “ปัน่ ในเมือง เรื่องไม่ยาก” จึงเป็นหนังสือดีๆ ที่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับผูใ้ ช้จกั รยาน โดยเฉพาะผูท้ ก่ี ำลังเริม่ ต้น เนือ้ หา

ภายในนัน้ มีรายละเอียดเกีย่ วกับจักรยานตัง้ แต่วธิ กี าร

เลือกจักรยานทีเ่ หมาะสมกับผูข้ ี่ เทคนิคการขีแ่ ละการ

ควบคุมจักรยานอย่างถูกต้องปลอดภัย โดยให้ความ

สำคัญกับการขีจ่ กั รยานบนท้องถนนในเมืองทีต่ อ้ งร่วม เส้นทางกับรถชนิดอื่นๆ ซึ่งหลายคนรู้สึกกลัวการที ่ จะต้องขีจ่ กั รยานในลักษณะนี้ แต่หากได้อา่ นคำแนะนำ

และปฏิบตั ติ ามอย่างถูกต้อง เชือ่ ได้วา่ ..การขีจ่ กั รยาน บนถนนในเมืองนั้น ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ข้อมูลช่วงท้ายเล่มยังได้เสริมเนื้อหาเกี่ยวกับ การนำจักรยานไปปั่นในต่างจังหวัด และเสริมด้วย บทความส่งท้ายเป็นความรู้เกี่ยวกับจักรยานแบบ สองที่นั่งหรือแทนเดม จักรยานแบบสามล้อ และ จักรยานแบบนอนขี่อีกด้วย และสำหรับผู้เขียนคือ

คุณสรศักดิ์ สุบงกช นัน้ ยังเป็นการรับประกันเนือ้ หาได้

เป็นอย่างดี เพราะอีกหน้าทีห่ นึง่ ของเขาคือบรรณาธิการ

นิตยสาร SPORT STREET นั่นเอง

ผู้เขียน สมบัติ รักสกุล ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๐๒๐-๘๒๖-๖ สำนักพิมพ์ มติชน ราคาปก ๑๗๐ บาท ผู้เขียนหนังสือ “แชงกรีลา ปั่นเดี่ยว ๓,๐๐๐ กิโลเมตร” เล่มนี้ คือคุณสมบัติ รักสกุล อดีตทหาร

นาวิกโยธิน อดีตช่างภาพประจำหนังสือพิมพ์เดอะเนชัน่ อดีตบรรณาธิการภาพ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

และอดีตนักเขียนสารคดีขา่ ว เขานำเอาประสบการณ์ ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่อดกลั้นเก็บสะสมวันลาหยุดของ ตนเองจนได้ครบ ๓๐ วัน ในช่วงเดือนธันวาคมของ ปี ๒๕๕๒ เพือ่ นำมาใช้เป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกีย่ ว ประสบการณ์ชวี ติ นักเดินทางฉายเดีย่ ว โดยมีจกั รยาน คันโปรดพร้อมสัมภาระอีกกว่า ๗๐ กิโลกรัม.. เพื่อ ปั่นกลับจาก “แชงกรีลา” เมืองชายขอบบนที่ราบสูง แห่งธิเบต ลัดเลาะลงมาตามเส้นทางผ่านเมืองต่างๆ อาทิ ลี่เจียง ต้าลี่ คุนหมิง ผู่เอ๋อ จิ่งหง ของประเทศ จีน จากนั้นเข้าประเทศลาวผ่านหลวงน้ำทา ก่อนเข้า ประเทศไทยที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย ปั่นผ่าน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ และปลายทางที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์มากมายถูกถ่ายทอดผ่านตัวอักษร

และภาพถ่าย ด้วยเรื่องราวที่อ่านสนุก ตามลีลาของ นั ก เขี ย นสารคดี ข่ า วมื อ อาชี พ พร้ อ มแทรกเกร็ ด

เล็กๆ น้อยๆ เป็นแนวทางให้กับนักปั่นท่านอื่น ที่ สนใจจะปัน่ ทับรอยล้อ ไป บนเส้น ๓,๐๐๐ กิโลเมตร สายนี้..

7


รหัสทริป ๕๐๗ • วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ • เวลา ๑๙.๓๐ น.

ทริปวันเดียว

ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๑๐

ย่านเยาวราชฝั่งเจริญกรุง (ผดุงด้าว) ด้

วยเหตุจำเป็นจากผลกระทบของอุทกภัยที่เกิดขึ้น ทำให้ ต้องเลื่อนทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อยในเดือนตุลาคมไป แต่ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทริปของเราจะกลับมาอีกครั้ง โดย

จะวนไปหาของอร่อยทานกันในบริเวณเจริญกรุง เพราะที่นี่เป็น ย่านจำหน่ายอาหารยามราตรีมากมายหลากหลายชนิด แม้ ผู้คนแถวนั้นจะเลือกทานกันทั้งเดือนก็ยังไม่ซ้ำร้านเลย แถม อาหารแต่ละชนิดล้วนแต่ขึ้นชื่อ เป็นเจ้าดังที่มีตำนานและฝีมือ ที่ตกทอดกันมาหลายรุ่น สำหรับบางท่านที่ไม่ค่อยได้มีโอกาส เข้ามาในย่านนีน้ กั เพราะปัญหารถติดอย่างสาหัสสากรรจ์ตลอด เวลา แต่สำหรับจักรยานอย่างเราๆ แล้วละก็..สบายมาก โดย เฉพาะนักปั่นมือใหม่ หรือจะนำเพื่อนๆ ที่เป็นชาวต่างประเทศ มาท่องเที่ยวยามค่ำกับพวกเราด้วย ถึงแม้ว่าเราจะพาท่านไป ทานยังสถานที่ซึ่งไม่ไกลไปจากสมาคมฯ นัก แต่ใช่ว่าระยะจะ สั้นเกินงาม เพราะเราจะพาท่านปั่นไปยังเส้นทางที่เรียกเหงื่อ และเรียกน้ำย่อยของท่านกันก่อน ในเดือ นนี้..เราจะพาท่านปั่น ไปชิ ม แถวเยาวราชด้ า น

เจริ ญ กรุ ง บริ เวณแยกผดุ ง ด้ า ว ของอร่ อ ยๆ ซึ่ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก

กันดีของเราชาวนักชิม อาทิ ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง (อันนี ้ จองเมนู ไว้ ก่ อ น) โจ๊ ก ฮ่ อ งกง (ไม่ ต้ อ งบิ น ไปฮ่ อ งกงก็ ไ ด้ กิ น )

สะเต๊ะหมู สะเต๊ะไก่ สะเต๊ะตับ (อันนี้ยังไม่เคยลอง) เกาเหลา เครื่องในหมู ก๋วยจั๋บ ข้าวขาหมู ขนมกุ๊ยช่าย รับรองไม่ผิดหวัง

แน่ น อน ทริ ป ปั่ น ปลายปี ต อนนี้ อ ากาศกำลั ง ดี พลาดไม่ ไ ด้

เลยค่ะ ทริปนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย มาตามเวลานัดได้เลย เช็คสภาพ รถจักรยานให้พร้อม ที่สำคัญเตรียมไฟหน้าและไฟท้าย เพราะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทริปกลางคืนแบบนี้ เรามีทีมงานอาสา สมัครคอยดูแลทุกท่านตลอดเส้นทาง รับประกันความประทับใจ ดูแลทริปโดยทีมงานสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย TCHA และทีมงานพลังสีส้มที่แสนจะเจิดจ้าของกลุ่ม COFFEE BIKE

8

กำหนดการ คืนวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๑๙.๐๐ น. นัดรวมพล หน้าสมาคมฯ ถนนบรรทัดทอง จุฬา ซอย ๖ ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ ๑๙.๓๐ น. ล้ อ หมุ น ออกจากสมาคมฯ ไปตามเส้ น ถนน บรรทั ด ทอง - ถนนพระรามสี่ - ประตู มิ ต รภาพไทย-จี น -

ถนนทรงวาด - ถนนวานิช ๑ - ถนนพาหุรัด - ถนนตรีเพชร ถนนมหาราช - ถนนหน้าพระลาน - สนามไชย - ถนนเจริญกรุง -

มูลนิธิกว๋องสิว เราจะหยุดเลือกหาอาหารทานกันในบริเวณนี ้ (กรุ ณ ารอที ม งานแจ้ ง นั ด เวลากลั บ ก่ อ นที่ จ ะแยกย้ า ยกั น ไป

หม่ำค่ะ) ขากลั บ เข้ า แยกหมอมี - ถนนมิ ต รพั น ธ์ - ถนน

มิตรวงศ์ - ถนนรองเมือง - ถนนเจริญเมือง - กลับเข้าถนน บรรทัดทอง - กลับถึงสมาคมฯ การเตรียมตัว ๑. ต้องตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมใช้งาน ๒. ไฟส่องสว่าง ไฟหลัง และอุปกรณ์สะท้อนแสง ๓. หมวกกันกระแทก เพื่อความปลอดภัย ๔. จักรยานฟิกซ์เกียร์ ขอแนะนำให้ติดเบรคอย่างน้อย

หนึ่งข้าง ทริปปัน่ ไปกินชิมอาหารอร่อย นีจ้ ดั ขึน้ ทุกวันศุกร์กลางเดือนดังนี ้ คืนวันศุกร์ทื่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ หมายเหตุ กำหนดการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดติดตามรายละเอียดได้ทุกๆ เดือน สามารถตรวจ สอบรายละเอียดปฏิทินทริปได้ที่นี่ http://bit.ly/TCHAtrips หรือโทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐


รหัสทริป ๕๐๘ • วันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ทริปหลายวัน

รีไซเคิลจักรยาน ครั้งที่ ๔๓

จังหวัดน่าน

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๐๗.๐๐ น. เก็บสัมภาระให้เรียบร้อย ร่วมรับประทานอาหารเช้า ๐๘.๐๐ น. อิ่มแล้ว ปั่นไปเที่ยวชมทัศนียภาพจังหวัดน่าน อาทิ เสาดินนาน้อย (ฮ่อมจ๊อม) มีลกั ษณะแปลกตาคล้าย “แพะเมืองผี” จังหวัดแพร่ และคอกเสือ ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน ๖๐ กิโลเมตร ๑๒.๐๐ น. ปัน่ กลับมาทีอ่ ำเภอนาน้อย รับประทานอาหารกลางวัน

ตามอัธยาศัย กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ปั่นเที่ยวชมวัด สถานที่ กำหนดการ สวยงามในเมือง แวะอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า วันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๑๖.๐๐ น. เตรียมตัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยรถบัสปรับอากาศ

ตั้ ง แต่ ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. นำรถจั ก รยานมาเตรี ย มขึ้ น แวะทานอาหารเย็นระหว่างทางตามอัธยาศัย รถบรรทุกจักรยาน รถบรรทุกออกเดินทาง ๑๔.๐๐ น. ระยะทางวันนี้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ๑๘.๐๐ น. พบกัน ณ ที่ทำการสมาคมฯ ผู้ร่วมทริปโดยสาร วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รถบัสปรับอากาศออกเดินทางมุง่ สูจ่ งั หวัดน่าน (แวะรับประทาน ๐๔.๐๐ น. เดินทางถึงกรุงเทพฯ ณ ที่ทำการสมาคมฯ โดย อาหารค่ำระหว่างทาง คกคจ.) สวัสดิภาพพร้อมด้วยความสุขอิ่มใจที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รายละเอียดทริป ๐๖.๐๐ น. ถึงโรงเรียนปิงหลวง ตำบลนาหมื่น จังหวัดน่าน - ระยะทางทั้งหมดประมาณ ๙๕ กิโลเมตร อาจมากหรือ ทำธุระส่วนตัว ร่วมรับประทานอาหารเช้า น้อยกว่าได้ สะสมระยะทาง ๐๘.๐๐ น. ช่วยกันนำรถจักรยานลงจากรถพร้อมสิง่ ของบริจาค - เตรียมเต็นท์ ถุงนอน เสื้อกันหนาว รองเท้าแตะ กล้อง ช่วยกันสอนและซ่อมจักรยานที่เสียของเด็กๆ เสร็จแล้วทำพิธี ถ่ายรูป ไฟฉาย ยาประจำตัว ครีมกันแดด ของใช้ส่วนตัว มอบจักรยานจำนวน ๕๐ คัน ๔ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้าน - กรุณาตรวจเช็คสภาพรถจักรยานคู่ใจของท่านให้พร้อม ปิงหลวง โรงเรียนบ้านปิงใน โรงเรียนอนุบาลเมืองดี และโรงเรียน และเตรียมยางในอะไหล่ ชุดปะยาง เครื่องมือซ่อมพื้นฐาน บ้านน้ำอุ่น กลุ่มโรงเรียนนาหมื่น ๒ จังหวัดน่าน หมวกกันกระแทก หมวกผ้า ๐๙.๐๐ น. กิจกรรมร่วมกันซ่อมจักรยานให้น้องๆ - ท่านใดมีสิ่งของจะบริจาค เช่น รองเท้านักเรียน เสื้อผ้า ๑๒.๐๐ น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน อุปกรณ์การกีฬา เครื่องเขียน หนังสือ สามารถนำมาบริจาค ๑๓.๐๐ น. ปั่นจักรยานชมธรรมชาติ บ้านปากนาย ซึ่งเป็น ได้ที่สมาคมฯ ก่อนออกเดินทาง หมู่บ้านชาวประมงริมทะเลสาบเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งมีทิวทัศน์ - สอบถามค่าสมัครได้ที่สมาคมฯ แจ้งชื่อ นามสกุล อายุ สวยงามโอบบริเวณด้วยทิวเขาเขียวขจีโดยรอบ มีเรือนแพ ซึง่ เปิด เบอร์โทรศัพท์ ให้ชัดเจนถูกต้อง ที่ ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ เป็นร้านอาหาร และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเทีย่ ว - ชำระโดยโอนเงินเข้าบัญชี ประเภทออมทรัพย์ ธนาคาร ระยะทางไปกลับประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพื่อ กลับถึงโรงเรียนบ้านปิงหลวง กางเต็นท์บริเวณสนาม สุขภาพไทย เลขที่บัญชี ๐๖๓-๒๕๒๒๗๖-๑ (กรุณาส่งโทรสาร หรือในห้องเรียนได้ตามอัธยาศัย สำเนาการโอนเงินไปที่ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑) หรือไปจ่ายทีส่ มาคมฯ ๑๘.๐๐ น. ร่วมรับประทานอาหารเย็นที่โรงเรียน ชมกิจกรรม - รับจำนวนจำกัด ๕๐ ท่านเท่านั้น อย่าลืมขอรับใบเสร็จ ทางวัฒนธรรมของนักเรียนและชาวบ้าน ตั้งวงสนทนาประสา ทุกครั้งที่ชำระเงิน สมาคมฯ พร้อมเปิดสภากาแฟ - นำทริปโดยน้าหมี อาลิขิต คุณหล่อ ๒๑.๐๐ น. แยกย้ายกันนอนตามอัธยาศัย - รายการข้ า งต้ น อาจมี ก ารเปลี่ ย นแปลงได้ ต ามความ

ระยะทางวันนี้ประมาณ ๔๕ กิโลเมตร เหมาะสม

เชิญสมาชิกร่วมกิจกรรมรีไซเคิลจักรยาน มอบจักรยาน และสิ่งของ ให้เด็กนักเรียนยากจน ๔ โรงเรียน กับกิจกรรม

“รีไซเคิลจักรยาน ครั้งที่ ๔๓ ที่อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน” อำเภอนาหมื่น ห่างจากตัวจังหวัดน่าน ๙๖ กิโลเมตร

ใช้เส้นทางน่าน-เวียงสา-นาน้อย จากอำเภอนาน้อย จะมีทางแยก

ไปถึงอำเภอนาหมื่นราว ๒๐ กิโลเมตร จากนั้นจะเป็นทางลูกรัง

คดเคี้ยวไปตามไหล่เขาอีกประมาณ ๒๒ กิโลเมตร จึงถึงบ้าน-

ปากนาย ซึง่ เป็นหมูบ่ า้ นชาวประมงริมทะเลสาบเหนือเขือ่ นสิรกิ ติ ิ์

9


รหัสทริป ๕๑๐ • วันที่ ๑๐ - ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

ทริปหลายวัน

ปั่นไปสร้างฝายชะลอน้ำ แนวกันไฟ

ที่อ่างฤาไน ฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา การท่องเทีย่ วจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอ

ท่าตะเกียบ และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดฉะเชิงเทรา

ร่วมกับสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ชวนปัน่ จักรยานเข้าป่า

สร้างฝายชะลอน้ำ และแนวกันไฟป่า ต้นน้ำภูไท เขาอ่างฤาไน

ท่องเที่ยวธรรมชาติผืนป่าลุ่มต่ำผืนสุดท้ายของภาคตะวันออก เป็นป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และปราจีนบุรี คลายร้อนที่น้ำตกบ่อทอง ไปร่วมเติมความสุข

ให้ชวี ติ กับสองล้อพาเพลิน ร่วมสร้างสรรค์สงั คม อนุรกั ษ์ตน้ น้ำป่า

ของไทย วันเสาร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๐๖.๐๐ น. พบกั น ณ ที่ ท ำการสมาคมฯ จุ ฬ าซอย ๖

นำจักรยานขึ้นรถบรรทุกจักรยาน ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย แวะทานอาหารเช้าระหว่าง (คกคจ.) ๑๑.๐๐ น. ถึงอ่างเก็บน้ำคลองสียดั อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด ฉะเชิงเทรา รับประทานอาหารกลางวัน (คกคจ.) นมัสการ เจ้าพ่อเขากา ๑๓.๐๐ น. ถึงโรงเรียนร่มโพธิท์ อง นำจักรยานลงจากรถบรรทุก ปั่นไปพักที่หลุมจังหวัด และปั่นไปน้ำตกบ่อทอง (ไปกลับ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร) ๑๖.๐๐ น. ปั่นจักรยานออกจากหลุมจังหวัดไปหน่วยจัดการ ต้นน้ำภูไท ร่วมรับประทานอาหารเย็น พักผ่อน (ระยะทาง ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร) ๒๐.๐๐ น. กิจกรรมส่องสัตว์ เปิดสภากาแฟ สนทนาประสา ชาวจักรยาน พักผ่อนตามอัธยาศัย รวมระยะทางวันนี้รวมประมาณ ๕๕ กิโลเมตร วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ สูตรสมาคม ๖ ๗ ๘ ๐๗.๐๐ น. ทานอาหารเช้า ๐๘.๐๐ น. กิจกรรม สร้างฝายชะลอน้ำ แนวกันไฟ (ระยะ ทางประมาณ ๓ กิโลเมตร) ๑๒.๐๐ น. ทานอาหารกลางวันที่หน่วยจัดการต้นน้ำภูไท หรือบริเวณที่ทำกิจกรรม ๑๓.๐๐ น. ปั่นจักรยานออกจากหน่วยจัดการต้นน้ำภูไท ไป

10

วัดท่าลาดใต้ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทาน อาหารเย็นที่ตลาดพนมสารคาม (คกคจ.) ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร รวมระยะทางวันนี้ประมาณ ๙๖ กิโลเมตร วันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ สูตรเดิม ๖ ๗ ๘ ๐๗.๐๐ น. ทานอาหารเช้า ที่วัดท่าลาดใต้ ๐๘.๐๐ น. ปั่นจักรยานสู่กรุงเทพฯ (เส้นทางสุวินทวงค์หรือ ลาดกระบัง) ๑๒.๐๐ น. ทานอาหารกลางวัน (ที่ตลาดนครเนื่องเขตหรือ ตลาดคลองสวน ๑๐๐ ปี) ๑๗.๐๐ น. ถึงที่ทำการสมาคมฯ รวมระยะทางวันนี้ประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร รายละเอียดทริป - ระยะทางประมาณ ๒๗๑ กิโลเมตร อาจมากหรือน้อย กว่าได้ สะสมระยะทางตามจริง - เตรียมยางในอะไหล่ ชุดปะยาง ครีมกันแดด ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟฉาย หมวกกันกระแทก หมวกผ้า รองเท้าแตะสวม สบาย ภาชนะสำหรับบรรจุนำ้ ดืม่ ถุงนอนส่วนตัว เสือ้ กันหนาว ถุงมือสำหรับการสร้างฝายทำแนวกันไฟ - ทริปนีพ้ กั บ้าน นอนรวมห้องใหญ่ทอี่ า่ งฤาไน ห้ามกางเต็นท์

และที่วัดท่าลาดใต้ - สอบถามค่าสมัครได้ที่สมาคมฯ ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ แจ้ง ชื่อ นามสกุล อายุ เบอร์โทรศัพท์ให้ชัดเจนถูกต้อง - ชำระค่าทริปโดยเงินสดที่สมาคมฯ หรือโดยโอนเงิน เข้าบัญชี ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา บรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เลขที่ บัญชี ๐๖๓-๒-๕๒๒๗๖-๑ (กรุณาส่งโทรสารสำเนาการโอน เงินไปที่ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑) - นำและดูแลทริปโดย น้าหมี นพ.วิรัตน์ ทพญ.จินตนา คุณยุ่ง และทีมชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพฉะเชิงเทรา - สนับสนุนโครงการโดยท่านผูว้ า่ ราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา

การท่องเทีย่ วจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอท่าตะเกียบ และชมรม จักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดฉะเชิงเทรา - รายการข้างต้นอาจเปลีย่ นแปลงได้ตามความเหมาะสม


รหัสทริป ๕๐๖ • วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ทริปวันเดียว

รีไซเคิลจักรยานครั้งที่ ๔๒

ม.มหิดล ศาลายา

สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ขอเชิ ญ

ทุกท่านร่วมปั่นจักรยานกับโครงการ

รี ไซเคิ ล จั ก รยานครั้ ง ที่ ๔๒ เพื่ อ นำ จั ก รยานส่ ง มอบให้ นั ก เรี ย นโรงเรี ย น

ในย่านมหิดล จำนวน ๕๐ คัน ลังจากนั้นจะนำทุกท่านปั่นไปเยี่ยมชมโรงงาน จั ก รยาน ที่ ใช้ หุ่ น ยนต์ ใ นการเชื่ อ มและผลิ ต

เฟรมจักรยานฟิกซ์เกียร์ยห่ี อ้ STRONG MAN ทีก่ ำลัง นิยมในกลุม่ ผูช้ น่ื ชอบจักรยานฟิกซ์เกียร์ ซึง่ เป็นโอกาส พิเศษที่เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกสำหรับเหล่านักปั่น

จักรยานที่รวมทริปนี้ และปิดท้ายด้วยการปัน่ ไปชม พิพธิ ภัณฑ์รถโบราณ

...เจษฎา เทคนิค มิวเซียม...รับน้ำใจจากเจ้าของผูใ้ จดี

เตรียมน้ำดื่มเย็นๆ ต้อนรับให้คลายเหนื่อยเช่นเคย ระยะทางไปกลับประมาณ ๗๐ กิโลเมตร โดย เริ่มต้นนัดพบกันก่อนออกเดินทางในเวลา ๗.๓๐ น.

ณ ทีท่ ำการสมาคมฯ จุฬาซอย ๖ จากนัน้ เวลา ๘.๐๐ น.

เริ่มล้อหมุนมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา - ไม่ต้องสมัคร ไม่ค่าใช้จ่ายทริป มาตรงตาม เวลานัดได้เลย นำทริปโดย น้าหมี เฮียคากิ และคณะ กรรมการสมาคมฯ วันที่ ๑ - ๘ มกราคม ๒๕๕๕

ทริปหลายวัน

ข่

จักรยานทางไกลการกุศล

เพื่อรำลึกถึงครูจูหลิง

าวดี เ พื่ อ ให้ เ ตรี ย มซ้ อ มกั น ไว้ ก่ อ น กั บ ทริ ป

เดินทางไกลหลายวัน ทุกท่านทีส่ นใจจะได้มเี วลา

ฟิตซ้อมร่างกาย และเตรียมลางานสำหรับความพร้อม

การเดินทางไกลการกุศลร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง... กับ โครงการ ทำดีเพื่อพ่อ สานก่อ ครูจูหลิง ปงกันมูล ครูจหู ลิง คือครูผเู้ สียสละเดินทางจากถิน่ กำเนิด

ทีจ่ งั หวัดเชียงราย เพือ่ ไปเป็นครูทอ่ี ำเภอระแงะ จังหวัด

นราธิวาส ท่ามกลางความรุนแรงที่ยังปกคลุมจังหวัด ชายแดนภาคใต้ กระทั่งครูโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ ต้องตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ถูกทุบตีจนได้รับ

บาดเจ็บสาหัส และจากไปในที่สุด เชิญทุกท่านร่วมจองสิทธิล่วงหน้า สำหรับทริป

จักรยานจากกรุงเทพฯ สู่ดอยหลวงเชียงราย ระยะ ทาง ๘๘๔ กิโลเมตร เพื่อร่วมโครงการดีๆ เช่นนี้กัน สอบถามรายละเอียดและ จองสิทธิก่อนพลาด ได้ที่ โทร.

๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒๕๕๑๐ หมายเหตุ กำหนดการข้างต้น

อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

11


วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ - ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕

ทริปต่างประเทศ

ปั่นจักรยานเที่ยวแอฟริกาใต้

เคปทาวน์และไวน์แลนด์ สถานที่ อันสวยงามอีกแห่งของโลก และเหมาะอย่าง ยิ่งเพื่อการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน ครั้งนี ้ นับเป็นข่าวดีสำหรับผูท้ ใี่ ฝ่ฝนั อยากปัน่ จักรยาน

ในแอฟริกาใต้ บัดนี.้ . คุณบ๊อบ Bob Usher (คุณเกตุ วรกำธร) อุปนายกสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย ได้สร้างฝันของทุกท่านให้เป็นจริงขึ้นมาแล้ว กับการเชิญชวนบิดลัดฟ้าไปสัมผัสฤดูร้อนของแอฟริกาใต้ และสะสมชั่วโมงการปั่นจักรยาน หรือปั่นจักรยานเพื่อท่องเที่ยว ในบรรยากาศสุดแสนมหัศจรรย์ ณ อีกมุมหนึ่งของโลก นำพา ท่านไปยังเมืองเคปทาวน์ เมื่องที่ได้ชื่อว่าเป็นสวยที่สุดแห่งหนึ่ง ในโลก ปั่นจักรยานเที่ยวชมภูมิประเทศเทือกเขาอันงดงามของ แหล่งผลิตไวน์ชื่อดัง ช่วงเวลาสองสามวันแรก เข้าพักทีโ่ รงแรม เดอะ ริทซ์ เพือ่

ทำความรู้จักกับเมืองเคปทาวน์ (Cape Town) และชม เทเบิ้ล เมาเท่น (Table Mountain) ภูเขาสูงยอดตัดตรงเหมือนกับโต๊ะ

และแหลมแห่งความหวัง หรือแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) จากนั้นจะไปเยี่ยมชมแหล่งผลิตไวน์ ซึ่งท่านจะได้ปั่น จักรยานบนเส้นทางภูเขาที่น่าตื่นเต้น พร้อมโอกาสที่จะได้ลอง ชิมไวน์ชั้นดีของโลกจากไร่องุ่น แอฟริกาใต้เลื่องชื่อในเรื่องอาหารรสเลิศโดยเฉพาะเมนู ปลา (ปลาสดๆ ที่จับมาได้ในแต่ละวัน) รายการใหม่ล่าสุดที่เรา จัดเพิ่มขึ้นมาให้ท่านคือ เข้าพักที่ Glen Game Lodge ใน Worcester จะได้พักอาศัยท่ามกลางเจ้าป่าทั้ง ๕ (Big Five) และที่เมือง Strand จะได้ชมชายหาดอันสวยงาม และว่ายน้ำใน กระแสน้ำอันอบอุ่นของมหาสมุทรอินเดีย ใครที่ชอบปั่นหนัก สามารถปั่นเส้นทางเพิ่มได้ หรือปั่นเที่ยวเล่นพักผ่อนในช่วงวัน หลังๆ นี ้ สอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่สมาคมฯ โดยแจ้งชื่อ นามสกุล อายุ เบอร์โทรศัพท์ ให้ชัดเจนถูกต้อง ที่ ๐๒-๖๑๒๔๗๔๗ หรือ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ ด่วน! รับจำนวนจำกัด รหัสทริป ๕๐๕ • คืนวันพฤหัสที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

ทริปกลางคืน

ปั่นไปลอยกระทง พระประแดง

วั

นเพ็ญเดือน ๑๒ คือช่วงเวลาสำคัญสำหรับประเพณีของ

ชาวไทย ที่ดำเนินเรื่อยมานับแต่สมัยสุโขทัย นั่นคือประเพณี “ลอยกระทง” ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และ

ขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอย พระพุ ท ธบาทที่ ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ ำ นั ม ทามหานที และบางหลั ก ฐาน

ก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับ ประเทศไทยประเพณี ล อยกระทงได้ ก ำหนดจั ด ในทุ ก พื้ น ที่

ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่างๆ สำหรั บ วั น เพ็ ญ เดื อ นสิ บ สองปี นี้ สมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย ขอเชิ ญ

ทุ ก ท่ า นร่ ว มปั่ น จั ก รยานไปลอยกระทงริ ม แม่น้ำเจ้าพระยาที่พระประแดง

กำหนดการ

๑๘.๓๐ น. พบกั น ณ ที่ ท ำการสมาคมฯ

12

จุฬาซอย ๖ ๑๙.๐๐ น. ล้อหมุน มุ่งสู่พระประแดง แวะทานอาหารอร่อยๆ รองท้อง ก่อนปั่นไปร่วมลอยกระทงในพื้นที่เฉพาะชาวจักรยาน

หมายเหตุ

- เตรียมไฟท้าย ไฟหน้า ให้พร้อม - กรุณาสวมหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัย - ควรสวมเสื้อสีสว่าง เพื่อความปลอดภัย - นำทริปโดย Coffee bike + TCHA สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย - รายการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยน-

แปลงได้ตามความเหมาะสม - สอบถามรายละเอียดและสมัครได้ท ี่ สมาคมฯ โดยแจ้งชือ่ นามสกุล อายุ เบอร์โทรศัพท์

ให้ชัดเจนถูกต้อง ที่ ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ หรือ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐


ข่าวประชาสัมพันธ์

ปฏิทินทริป

เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๔

๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ สองล้อท่องบางกระสอบ พระประแดง ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นัดซ่อมจักรยานเพื่อน้อง มหาวิทยาลัยมหิดล คืนพฤหัสที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปั่นไปลอยกระทง พระประแดง ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รีไซเคิลจักรยานเพื่อน้อง มหาวิทยาลัยมหิดล คืนวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย (๑๑) ๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รีไซเคิลจังหวัดน่าน ๑๐ - ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ฉะเชิงเทรา อ่างฤา ไน คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย (๑๒) ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ รณรงค์จักรยานสีเขียวเทิดพระเกียรติ พระประแดง คืนวันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปั่นชมไฟวันคริสต์มาส ๑ - ๘ มกราคม ๒๕๕๕ จักรยานทางไกลการกุศล เพื่อรำลึกถึงครูจูหลิง ๒๓ กุมภาพันธ์ - ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ปั่นจักรยานเที่ยวแอฟริกาใต้

Sunday 6 November 2011 Trip Bagkrasob, Phra Pradaeng Town Sunday 6 November 2011 Repair Bicycle for Kids at Mahidol University Thursday night 10 November 2011 Loy Kratong Festival at Phra Pradaeng Town Sunday 13 November 2011 Trip Recycle Bicycle at Mahidol University Friday 18 November 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #11 Saturday 19 - Sunday 20 November 2011 Trip Recycle Bicycle at Nan Saturday 10 – Monday 12 December 2011 Ang Ru Nai, Chachoengsao Friday 16 December 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #12 Sunday 18 December 2011 Trip Green Bicycle Campaign, The ceremony to show the gratitude to the King at Phra Pradaeng Saturday 24 December 2011 Christmas Light Decoration 1 - 8 January 2012 Long-distance cycling to the memorial of Juling Ponggunmoon at Chiang Rai 23 February - 10 March 2012 Cycling Holiday in South Africa

หมายเหตุ : รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com หรือ Facebook.com/TCHAthaicycling Remarks: Trips can be changed as appropriate, English information, call Bob Tel. 081-555-2901, email: bobusher@ksc.th.com

13


เรื่อง/ภาพ แซงแซว

รอบรู้ต่างแดน

ศูนย์วัฒนธรรมจักรยาน คลังตำนานของเจ้าสองล้อ

ระเทศญีป่ นุ่ เป็นดินแดนแห่งการใช้จกั รยาน ผู้คนนิยมใช้จักรยานเพื่อการเดินทางใน

ชีวติ ประจำวันเป็นจำนวนมาก อีกทัง้ ถนนหนทาง

ในเมือง ต่างเอือ้ ประโยชน์ตอ่ การใช้พาหนะสองล้อ

อย่างสะดวกและปลอดภัย รวมถึงการเชือ่ มโยงกับ

ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อย่างรถไฟฟ้า จึง

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะมี “ศูนย์วัฒนธรรม

จักรยาน (Bicycle Culture Center (BCC))”

อยู่ใจกลางเมือง เพื่อบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์

แห่งการใช้จักรยาน

14

ศูนย์วัฒนธรรมจักรยาน

ของญี่ ปุ่ น นี้ อ ยู่ ภ ายในอาคาร พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น อาคารห้าชั้นตั้งอยู่ภายในสวน สาธารณะคิตะโนะมารุ (Kita-

nomaru) ซึง่ อยูใ่ กล้ๆ กับพระ-

ราชวังอิมพีเรียล เปิดให้บริการ แก่ ป ระชาชนทั่ ว ไปมาตั้ ง แต่ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๖๔ พื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์วัฒนธรรมจักรยานนั้นอยู่บน ชัน้ ทีส่ องของอาคาร โดยผูเ้ ข้าชมจะต้องเสียค่าบริการ

สำหรับผูใ้ หญ่ราคา ๖๐๐ เยน นักเรียนนักศึกษา ๔๐๐ เยน และเด็กเล็ก ๒๕๐ เยน หากเข้าชมเป็นหมู่คณะ จะลดลงไปอีก ๑๐๐ เยน (สามารถเข้าชมได้ทุกชั้น) พื้นที่ของชั้นสองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นสถานที่จัดแสดงเทคโนโลยีและความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวจักรยาน ว่ามันทำงานอย่างไร

ทรงตัวได้อย่างไร เคลือ่ นไหวได้อย่างไร เมือ่ สัมพันธ์กบั

การใช้แรงปัน่ ของมนุษย์เรา มีอปุ กรณ์สำหรับทดสอบ

ความแตกต่างของขนาดวงล้อและรอบการปั่น เพื่อ ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กำลังขาที่สัมพันธ์ กับแรงทดของเฟืองและขนาดของล้อ ช่วยให้เยาวชน

เข้าใจเกีย่ วกับพืน้ ฐานของกลไกจักรยานได้อย่างดีเยีย่ ม ส่ ว นที่ ส องน่ า สนใจอย่ า งมาก เพราะมั น คื อ


พิพิธภัณฑ์จักรยาน

Celerifere พาหนะสองล้อ ที่ผลิตขึ้นด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปสัตว์ ต่างๆ ใช้เท้าของผู้ขี่ผลักเลื่อนไปข้างหน้า สร้างขึ้นโดย Comte Mede de Sivrac

ห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจักรยาน มีจักรยาน

สุดยอดโบราณตัวจริง จัดแสดงให้สัมผัสด้วยสายตา

อย่างใกล้ชดิ อย่างเช่นเจ้าสองล้อแรงถีบ ทีเ่ รียกกันว่า

“Celerifere” รูปร่างเหมือนสิงโตล้อเลื่อน ว่ากันว่า เป็นรูปแบบยานพาหนะแรกเริ่ม สร้างขึ้นในประเทศ ฝรั่งเศสประมาณปี ค.ศ. ๑๗๙๗ ก่อนที่จะมีระบบ ขับเคลื่อนเป็นลักษณะ “รถถีบ” ในเวลาต่อมา ภายในห้องนีเ้ ก็บรักษาจักรยานรุน่ ประวัตศิ าสตร์

ที่ ค่ อ ยๆ พั ฒ นาจากไม่ มี ก ลไกสำหรั บ ปั่ น จนถึ ง

ยุคจักรยานสำหรับการแข่งขัน ที่มีเทคโนโลยีมากขึ้น ตามลำดับ ทุกคันล้วนถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจน น่าทึ่ง แม้ภาพรวมของห้องนี้อาจจะไม่ได้ใหญ่โตนัก หากแต่ผู้ที่เข้าชมมีความสนใจในรายละเอียด พบว่า ใช้เวลาเดินชมเป็นชั่วโมงได้เหมือนกัน ส่วนที่สามคือพื้นที่ทำการของศูนย์วัฒนธรรม จักรยาน ซึ่งรวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับ จักรยาน เช่น จักรยานรุ่นใหม่ๆ อุปกรณ์ต่างๆ ความ ปลอดภัยในการใช้จักรยาน หนังสือ นิตยสาร โดยมี

สถานที่สำหรับค้นหาข้อมูล พบปะแลก-

เปลีย่ น หรือการขอรายละเอียดจาก เจ้าหน้าที่ได้ เปิดทำการทุกวันตั้งแต่ เวลา ๙.๓๐ ถึง ๑๖.๕๐ น. ในหนึ่งปีจะปิดทำการเฉพาะ

ช่วงตัง้ แต่วนั ที่ ๒๙ ธันวาคม

ถึง ๔ มกราคมเท่านัน้

Draisienne ออกแบบและผลิตโดย Baron von Drais จากเยอรมัน มีกลไกสำหรับการควบคุมการเลี้ยว ในอังกฤษถูกเรียกกันเสียใหม่ ว่า Hobby Horse หรือ Dandy Horse

MacMillan Velocipede เป็นยานพาหนะสองล้อรุ่นแรก เพิ่มเติม ส่วนขับเคลือ่ นด้วยพลังขาปัน่ ผลงานของช่างตีเหล็กชาวสกอตแลนด์ นามว่า Kirkpatrick Macmillan

ภายในพืน้ ทีข่ องศูนย์วฒ ั นธรรมจักรยาน จัดแสดงจักรยานชนิดต่างๆ

และส่วนให้บริการความรู้เกี่ยวกับการใช้จักรยานอย่างครบถ้วน

15


จับเข่าคุย..ลุยโลกสองล้อ

BIKE STATION สถานีของคนรักจักรยาน

จักรยานทุกชนิด อะไหล่ทุกแบบ ตอบสนองทุกกลุ่มจริงๆ คุณพิษณุ กิตติปกรณ์ นายสถานีผู้รักเสือหมอบเป็นชีวิตจิตใจ

นึ่งในร้านจักรยานที่เติบโตขึ้นมาจากผู้ที่รักการ ขี่จักรยานเป็นชีวิตจิตใจ จนผันตัวเองมาสู่การ เปิดร้านจักรยาน เพือ่ ตอบสนองความชืน่ ชอบส่วนตัว และเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ที่ว่า.. “บ้าจักรยาน ใช่ว่าไร้สาระเสียเมื่อไรล่ะ!” คุ ณ พิ ษ ณุ กิ ต ติ ป กรณ์ หรื อ พี่ ณุ น้ อ งณุ

เพื่อนณุ ของเหล่านักปั่นทุกเพศวัย คือคนรักการปั่น จักรยานเช่นเดียวกับหลายๆ ท่าน และด้วยความชอบ ประกอบกับแนวคิดที่จะแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ชอบนี้ สามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ ร้านจักรยาน ชื่อ Road Bike Home Shop ณ มุมเล็กๆ ของร้าน ผลไม้ในจังหวัดนครปฐมจึงเกิดขึ้น และนี่คือเรื่องราวจากคำบอกเล่าที่คุณณุได้ ถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน “ผมทำธุ ร กิ จ จั ก รยานอยู่ ที่ จั ง หวั ด นครปฐม

16

มาก่อน ตอนนั้นใช้ชื่อร้านว่า Road Bike Home Shop เป็นคนชอบจักรยานมาตั้งแต่เด็กๆ มีความ หลงใหลการขี่จักรยานอยู่ตลอดเวลา ขนาดภรรยา ผมยังเป็นลูกสาวเจ้าของร้านจักรยานเลย..(ฮา) ผมทำมาได้สองสามปี ลูกๆ เริ่มโตขึ้น อีกทั้ง

สังคมเพือ่ นๆ ส่วนใหญ่อยูใ่ นกรุงเทพฯ จึงได้หารือกับ

ภรรยาว่า เราควรย้าย

ไปอยู่กรุงเทพฯ ลูกๆ จะได้เรียนหนังสือ คิด ว่ า คงจะต้ อ งมี ลู ก ค้ า หลากหลายกลุม่ มากขึน้

ไม่ทำแต่เฉพาะเสือหมอบ

เพียงอย่างเดียวเหมือน

ทีเ่ คย จึงกลายเป็น Bike

Station อย่างที่เห็น


คือผูบ้ ริหารของบริษทั สปอร์ต ไบค์ซเิ คิล (Sport

Bicycle ผู้แทนจำหน่ายจักรยาน Specialized) ซึ่ง เขามีโชว์รูมเดิมที่นี่ (ถนนพัฒนาการ) และมันว่างอยู่ กำลั ง วางแผนที่ จ ะปรั บ ปรุ ง ใหม่ เพื่ อ เป็ น ตั ว แทน จำหน่ายจักรยานยี่ห้อ Specialized ได้เอ่ยถามผม ว่าสนใจไหมที่จะมาช่วยกันทำธุรกิจให้เป็นรูปเป็น ร่าง ผมเห็นว่ามันเป็นโอกาสที่ดี สถานที่ก็ใกล้กับ เส้นทางมอร์เตอร์เวย์ มีทีมเสือหมอบดังๆ ปั่นกันที่นี่ ใกล้ กั บ ร้ า นมาก ผมก็ . . เอ๊ ะ .. มั น เหมาะลงตั ว จึ ง ตัดสินใจตกลง ผมพยายามหาสินค้าดีๆ เข้ามาจำหน่ายในร้าน

และบอกทีมงานว่า อย่าขายแบบยัดเยียด ห้ามเด็ดขาด ให้ลกู ค้าได้เลือกได้ตดั สินใจ ผมอยากให้ลกู ค้ามาแล้ว เป็นมิตรกัน มันจะสนุกกว่า ดังนั้นถ้าขายจักรยาน

อยูแ่ บรนด์เดียวคงอยูไ่ ม่ได้ ก็ได้มกี ารคุยกับทางสปอร์ต-

ไบค์ซิเคิลว่า จะต้องมีการจำหน่ายหลายๆ แบรนด์ แต่จะไม่ให้มาสู้กันเองอะไรทำนองนั้น ผมดีใจนะครับ ที่ได้เห็นสื่อจักรยานมากขึ้น อยากจะให้ภาครัฐมาช่วยส่งเสริมมากขึ้น และอยาก

คุณณุบริการระดับโปร ฝากถึงนักจักรยานอย่าง ด้วยตัวเอง พวกเรา รวมถึงคนใช้

รถยนต์ อยากให้เคารพ สิทธิ์ซึ่งกันและกัน จะ ปลอดภั ย ด้ ว ยกั น ทั้ ง สองฝ่าย และสังคมเรา ก็จะน่าอยู่ ผมเชื่อนะ ครับว่า ถ้าประเทศไหน ที่ มี ก ารใช้ จั ก รยาน

ในการออกกำลังกาย หรือสันทนาการมากๆ ร้านใหญ่ติดถนนพัฒนาการ ประเทศนั้ น เป็ น ประเทศที่ เจริ ญ ผมก็ อ ยากเห็ น ประเทศไทยไปถึงจุดนั้นเหมือนกัน” นีค่ อื มุมมองน่าสนใจของคนรักจักรยานคนหนึง่

ผูป้ รับเปลีย่ นความรักในจักรยาน ให้สมบูรณ์มากยิง่ ขึน้

และแบ่งปันสู่คนในแวดวงเดียวกัน ผ่านร้านจักรยาน

ภายใต้ชอ่ื “Bike Station” บนถนนพัฒนาการ สามารถ

ไปเยี่ ย มชมได้ ที่ facebook.com/BikeStation. Company

บริการซ่อมบำรุง และประกอบรถ

มีจักรยานสำหรับ ทุกคนในครอบครัว

17


ความคืบหน้า แผนเส้นทางจักรยานในกรุงเทพฯ นั บ เป็ น ความคื บ หน้ า ของข่ า วดี สำหรั บ ผู้ ใช้ จั ก รยานในกรุ ง เทพฯ กับโครงการทางจักรยานที่ได้เริ่มมี การจัดทำแผน และเร่ิมสำรวจเพื่อ

หาแนวทางการสร้างเส้นทางจักรยาน

ณ จุดต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ ซึง่ ทาง กรุงเทพมหานครได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สถาบันการศึกษาต่างๆ คือ • โครงการทางจักรยานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • โครงการทางจักรยานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

ลาดกระบัง นอกจากแนวทางการพัฒนาและสร้างเส้นทาง จักรยานภายในมหาวิทยาลัยข้างต้นแล้ว ยังมีโครงการ สำรวจเพือ่ สร้างเส้นทางจักรยานตามแนวถนนวงแหวน รัชดาภิเษก และจากผลการดำเนินการบางส่วน ได้ ข้อสรุปจากการประชุมของคณะอนุกรรมการทาง ด้านกายภาพทางจักรยานครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ดังนี้

การสำรวจเส้นทางจักรยานถนนวงแหวน รัชดาภิเษก เป็นการสำรวจสภาพเส้นทาง จักรยานที่มีอยู่เดิม โดยคณะทำงาน กำลังรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกใน

ชมรมทางลัดจักรยานของมูลนิธโิ ลก-

สีเขียว และทีย่ งั ล่าช้าเนือ่ งจากอุปสรรค

ของฝนตกระหว่างช่วงของการสำรวจ

18

จึงเก็บข้อมูลได้เพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ และได้เลื่อน กำหนดเสร็จสิ้นออกไปอีก นอกจากนี้ยังได้ขอความ

ร่วมมือไปยังสำนักงานเขต ทำการสำรวจทีจ่ อดรถจักรยาน

ที่ชำรุดเสียหาย เพื่อนำมาประกอบของบประมาณ

ในปีตอ่ ไป จำนวน ๑,๔๕๐ ชุด (หนึง่ ชุดจอดได้เก้าคัน)

ส่วนการสำรวจเกี่ยวกับทางจักรยานริมคลองนั้นยัง ไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการเพิ่มเติม ข้อมูลการสำรวจเบื้องต้นนี้ พอสรุปได้ว่า ๑. ขนาดของถนน ฝัง่ ด้านตะวันออก มีขนาดถนนเฉลีย่ ประมาณ

๖ - ๗ ช่องการจารจร ฝัง่ ด้านตะวันตก มีขนาดถนนเฉลีย่ ประมาณ

๔ - ๖ ช่องการจารจร ๒. ขนาดทางเดินเท้า ฝั่ ง ด้ า นตะวั น ออก ภาพรวมมี ท างเท้ า ค่อนข้างกว้าง ฝั่งด้านตะวันตก ส่วนใหญ่ทางเท้าแคบ ๓. ทางจักรยานและสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่ามีการใช้จักรยานในการสัญจรจาก พื้นที่ชุมชนต่างๆ มายังพื้นที่ของถนนหลัก แม้จะมีที่


จอดรถจักรยาน แต่สภาพนัน้ ทรุดโทรม และมีจำนวน ไม่เพียงพอ ๔. ระบบสิง่ อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ มีเป็นบางพื้นที่ เช่น ถนนรัชดา ถนนอโศก -สุขุมวิท แต่ขาดความต่อเนื่อง และยังมีขนาดที่ยัง ไม่ได้มาตรฐาน ๕. เกาะกลางถนน มีเกาะกลางเป็นระยะๆ ๓ ลักษณะด้วยกัน

คือ เกาะกลางต้นไม้ เกาะกลางที่เป็นคลอง และ

เกาะกลางที่ เ ป็ น ทางด่ ว น และมี ค วามกว้ า งโดย ประมาณ ๑ ถึง ๒ เมตร ๖. สะพานข้ามแยกและอุโมงค์ มีสะพานขามแยก ๕ แห่ง สะพานข้ามแม่น้ำ ๒ แห่ง และอุโมงค์ ๖ แห่ง

ประกอบด้วยเส้นทางช่วงถนนสายต่างๆ คือ ๑. ถนนรั ช ดาภิ เ ษก ช่วงตั้งแต่ถนนวิภาวดี รังสิต ถึงแยกถนนพระราม ๙ ๒. ถนนอโศก-ดิ น แดง ช่วงตั้งแต่แยกถนน พระราม ๙ ไปยังถนนเพชรบุรีจนถึงถนนสุขุมวิท ๓. ถนนรัชดาภิเษก ช่วงตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึง แยกถนนใต้พระราม ๙ ๔. ถนนพระราม ๓ ตั้ ง แต่ แ ยกใต้ ส ะพาน พระราม ๙ ถึงสะพานกรุงเทพ ๕. ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ ตั้งแต่ช่วงสะพาน กรุงเทพถึงแยกท่าพระ ๖. ถนนจรัลสนิทวงศ์ ช่วงตั้งแต่แยกท่าพระ ถึงสะพานพระราม ๗ ๗. ถนนวงศ์สว่าง ช่วงตัง้ แต่สะพานพระราม ๙

ถึงถนนวิภาวดีรังสิต

การเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า

แนวถนนวงแหวนรัชดาภิเษกนั้น มีจุดเชื่อมโยง

กับเส้นทางของระบบรถไฟฟ้าทั้งแบบลอยฟ้าและ ใต้ดนิ ซึง่ มีรถไฟฟ้าบางโครงการได้เปิดให้บริการแล้ว เช่นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นต้น ๑. รถไฟฟ้ า สายสี เขี ย ว (หมอชิ ต -สะพาน ใหม่) แบบยกระดับ ตัดผ่านถนนรัชดาภิเษกตาม แนวถนนพหลโยธิน ๒. รถไฟฟ้ า สายสี แ ดง (บางซื่ อ -ตลิ่ ง ชั น ) แบบยกระดับ ตัดผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณ สะพานพระราม ๗ ๓. รถไฟฟ้าสายแดงอ่อน (บางซือ่ -หัวลำโพง)

แบบใต้ดิน ตัดผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ตามแนวถนน สิรินธร ๔. รถไฟฟ้าสายสีนำ้ เงิน (บางซือ่ -หัวลำโพง)

แบบใต้ดนิ ช่วงรัชดาภิเษกถึงพระราม ๔ (แบบใต้ดนิ การเสนอเส้นทางจักรยานถนนวงแหวน เปิดให้บริการแล้ว) รัชดาภิเษก ได้ มี ก ารเสนอให้ เ ตรี ย มแผนสร้ า งเส้ น ทาง ๕. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) จั ก รยาน ตามแนวถนนวงแหวนรั ช ดาภิ เ ษก ซึ่ ง แบบลอยฟ้า ช่วงถนนจรัลสนิทวงศ์-ท่าพระ

19


วันที่ ๒๗ - ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ • เรื่อง/ภาพ TON MATCH สิงห์สลาตัน

บทความ

โครงการคาราวานหรรษา ปลูกป่าลดโลกร้อน

เช้ า ตรู่ วั น เสาร์ ที่ ๒๗ สิ ง หาคม ๒๕๕๔ เป็ น วั น ที่ อ ากาศสดใส

ไม่ มี ฝ นตกลงมารบกวนการปั่น จั ก รยานของพวกเราชาวสิ ง ห์ สลาตัน วันนี้พวกเรามีทริปใหญ่ ประจำปี เป็นการปัน่ ทางไกลข้าม ๓ จังหวัด ในทริป “คาราวาน ปลูกป่า หรรษาลดโลกร้อน” เป็นโครงการที่จัดขึ้น โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงาน สมุทรสงคราม ร่วมกับทีมจักรยานสิงห์สลาตัน และ พันธมิตรทีร่ ว่ มสนับสนุนโครงการ อาทิ ห้างสรรพสินค้า THE MALL ธนาคารออมสิ น สาขาอั ม พวา บริ ษั ท

บุญถาวรเซรามิค จำกัด กองบังคับการตำรวจท่องเทีย่ ว มู ล นิ ธิ พ ระโพธิ สั ต ว์ ก วนอิ ม ท่ า ฉลอม เทศบาลนคร สมุทรสาคร ร้าน FORZ Cycling Jersey และบริษัท แม่รวย จำกัด (ถัว่ อบกรอบโก๋แก่) เป็นต้น เพือ่ เป็นการ

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน

โอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ร่วมกันรณรงค์ให้เกิดการท่องเทีย่ ว

อย่างรูค้ ณ ุ ค่า รักษาแหล่งท่องเทีย่ ว ช่วยลดภาวะโลกร้อน

และส่งเสริมการท่องเที่ยวในแบบ “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยัง่ ยืน” เป็นลักษณะการปัน่ จักรยานท่องเทีย่ ว ทำกิจกรรม และเป็นการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวโดยใช้ จั ก ยานในทั้ ง สองจั ง หวั ด ชายทะเล โดยกำหนดนำ

นักปั่นจักรยานทีมสิงห์สลาตันจำนวน ๘๔ คน และ ทีมสนับสนุน จำนวน ๓๖ คน ปัน่ จักรยานไปทำกิจกรรม ปลูกป่าชายเลน และทัศนะศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติ ใ นพื้ น ที่ จั ง หวั ด สมุ ท รสาคร และจั ง หวั ด สมุทรสงคราม

20

๖.๐๐ น. พวกเราชาวสิงห์สลาตันทั้ง ๑๒๐ คน ได้มาร่วมตัวจัดขบวนคาราวานกันทีร่ า้ นบุญถาวรเซรามิค สาขาพระราม ๒ โดยได้รับเกียรติจาก นายสมชาย

ชมพูนอ้ ย ผูอ้ ำนวยการภูมภิ าคภาคกลาง ททท. มาเป็น

ประธานในพิธี แปดโมงเช้าเราร่วมกันร้องเพลงชาติ

ประธานกล่าวเปิดงานและเปิดกรวยพานพุม่ ถวายพระพร

ร้องเพลงสดุดมี หาราชาและสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วย

การมอบของทีร่ ะลึกให้แก่ คุณลุงชะลอ ภูน่ อ้ ย ตัวแทน

จากสิงห์สลาตัน และผู้สนับสนุนโครงการ ท่านประธานและท่านผูอ้ ำนวยการ ททท. สำนักงาน

สมุทรสงคราม นางสาวอังคณา พุ่มผกา ได้ให้เกียรติ

ร่วมปัน่ จักรยานเดินทางไปกับเรา ขบวนจักรยานเริม่ ปัน่ จาก

ร้านบุญถาวรพระราม ๒ มุง่ หน้าสูบ่ า้ นคลองช่อง อำเภอ

อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อไปปลูกป่าชายเลน เทีย่ งตรงเราเดินทางถึง “บ้านไม้ชายเลนรีสอร์ท”

ซึ่งคืนนี้เราจะพักกันที่นี่ หลังจากทานอาหารเที่ยงกัน แล้ว เราเปลีย่ นเสือ้ ผ้าเป็นชุดลุยโคลนเพือ่ นัง่ เรือหางยาว ไปปลูกป่าชายเลน อากาศดีมากมีแต่เสียงหัวเราะอย่าง


สนุกสนานจากเพื่อนนักปั่นชาวสิงห์สลาตัน วันนี้เรา มาช่วยกันปลูกต้นกล้าของต้นโกงกาง เป็นกิจกรรมที่

ส่งเสริมการอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมและระบบนิเวศป่าชายเลน เพื่อให้เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำและลิงแสม คืนนีเ้ ม็ดฝนโปรยปรายลงมาให้เราพอชืน่ ใจ อากาศ

เย็นสบายห้องพักซึ่งเป็นห้องแอร์ บ้างห้องแทบไม่ได้ เปิดใช้งาน เนื่องจากอากาศเย็นอยู่แล้ว เรานอนหลับ กับแบบสบายๆ เตรียมเก็บแรงไว้ปั่นกันต่อในวันรุ่งขึ้น วันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ เราตื่นกันแต่ เช้า เพราะวันนี้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา

ด้วยการนิมนต์พระสงฆ์มารับบาตรกันทีร่ สี อร์ท อิม่ บุญ

กันทั่วหน้า อาหารเช้าวันนี้มีข้าวต้มปลาหอมกรุ่น กับ กาแฟร้อน ให้เพื่อนนักปั่นได้เสริมแรงกัน เราปั่นกลับกรุงเทพมหานครโดยแวะทำกิจกรรม

กันตลอดเส้นทาง เริม่ ปัน่ มุง่ หน้ากลับสูจ่ งั หวัดสมุทรสาคร

ปั่นเป็นขบวนเช่นเดิม ไปพร้อมกันดังคำขวัญของเรา

“สิงห์สลาตัน ไปด้วยกัน ปั่นอุ่นใจ” สิ บ เอ็ ด โมงตรงเรามาถึ ง อุ ท ยานพระโพธิ สั ต ว์ กวนอิม ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิม และรับประทานอาหาร เที่ยงกันที่นี่ ได้รับการต้อนรับจากท่านนายกเทศบาล นครสมุทรสาครเป็นอย่างดี โดยได้จดั อาหารเพือ่ สุขภาพ เน้นผักให้พวกเรา เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้ว เราปั่นมาลงเรือข้าม ฝาก คงจะเคยฟังเพลงที่ว่า “พี่อยู่ไกลถึงท่าฉลอม” ครับเราข้ามเรือจากท่าฉลอมมาที่ฝั่งมหาชัย จากนั้น ปั่ น ผ่ า นเมื อ งมหาชั ย มุ่ ง หน้ า สู่ “โครงการปั ก ไม้ ไ ผ่

ชะลอคลื่นและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสาคร” หากถ้าเพื่อนนักจักรยานมีโอกาส ไปปั่นละก็ จะติดใจเหมือนพวกเรา เส้นทางการปั่น สวยงามมาก ถนนลาดยางเรียบสองข้างทางเป็นบ่อ เลี้ยงกุ้งและป่าชายเลนที่สมบูรณ์ เราได้ฟังวิทยากร บรรยายถึงประโยชน์ของการปักไม้ไผ่เพื่อชะลอการ กัดเซาะชายฝั่งและปลูกไม้ชายเลน เช่นต้นโกงกาง

และแสม เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุ ลูกปลา หอย ปู

ตั ว เล็ ก ๆ คุณ ลุ ง ที่ มาบรรยายให้เราฟังนั้นมีฉายาว่า “ลุงทะเล” แกเชี่ยวชาญเรื่องป่าชายเลนมาก เราได้

ความรู้กันเป็นอย่างดีทีเดียว

ออกจากฝายชะลอคลื่น เรามุ่งหน้าเพื่อไปจบ ทริปกันที่ “ศาลพันท้ายนรสิงห์” เป็นอีกทริปที่จะอยู่ ในความประทั บ ใจ ต้ อ งขอขอบคุ ณ คณะผู้ จั ด และ

ผู้สนับสนุนของทีมจักรยานสิงห์สลาตันทุกท่าน ที่ช่วย กันทำให้ทริปนี้ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ขอบคุณสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพแห่งประเทศไทย

ที่ช่วยประสานงานกิจกรรมต่างๆ และช่วยเผยแพร่ ทริปดีๆ นี้ให้แก่เรา ขอบคุณมากมายเลยครับ

21


ร่วมปั่นทำบุญ ๙ วัดกับ สวนธน GoldCity และ Fuji

วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ • เรื่อง คากิ/แซงแซว • ภาพ ทีมงานสวนธน GoldCity

สรุปทริป

22

นึง่ ในกิจกรรมทำบุญครัง้ ใหญ่ประจำปีชว่ งก่อน ออกพรรษา กับการนำพานักปัน่ ไปตามเส้นทาง เพื่อร่วมสร้างบุญยัง ๙ วัดใหญ่ของทีมงานสวนธน GoldCity โดยคณะนักปั่นจากสมาคมจักรยานเพื่อ สุขภาพไทยภายใต้การนำของ “เฮียคากิ” ได้เข้าร่วม เส้นทางสร้างบุญครั้งนี้ด้วย ท่ามกลางบรรยากาศ เย็นฉ่ำ สายฝนโปรยปราย ราวกับน้ำมนต์ที่ประพรม ลงมาจากฟ้า เพื่อความเป็นสิริมงคลกับทุกคนที่ร่วม กิจกรรม ในวั น นั้น เฮียคากิคว้าหมวยสามพันห้าคู่ใจ ปั่นออกจากบ้านที่บางกะปิตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ ทอแสงอรุณ ประมาณตีสี่ครึ่ง! ท่ามกลางสายฝนที่ โปรยปรายตลอดเส้นทาง...


“วันนีจ้ ะได้เรือ่ งหรือเปล่าล่ะเนีย่ ฝนตกอย่างนี ้ ถึงหน้าสมาคมฯ ตีหา้ ยีส่ บิ ตัวเปียกเป็นลูกหมาตกน้ำ

และแล้วเหล่าผู้กล้าก็ตามมาสมทบ มีไม่มากที่กล้า มาปั่นลุย เพราะหลายท่านกลัวเปียกฝน นับไปกลับ

สองเทีย่ วได้เกือบยีส่ บิ คน หกโมงสิบฝนยังจะตกมาอีก

...ไปดีกว่า ว่าแล้วก็ลอ้ หมุน มุง่ หน้าไป ณ ทีน่ ดั หมายของ

ชมรมสวนธน” เฮียคากิเกริ่นให้ทราบ ถึงบรรยากาศ

ในเช้าวันนั้น และยั ง ได้ เ ผยบทสรุ ป หลั ง ตั ด สิ น ใจแยกตั ว กลับว่า... “สรุปปั่นออกจากบ้านไปสมาคมฯ ร่วม กิจกรรมไม่ครบ ๙ วัด กลับก่อนย้อนมาสมาคมฯ แยกกับเพื่อนร่วมทางที่ขอไปธุระนอกเส้นทาง จาก นั้นกลับด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน”

กระนั้ น ความเป็ น เฮี ย คากิ ข องเหล่ า นั ก ปั่ น ทำให้ไม่เหงาเมื่อพบกับสมาชิกฯ บนรถไฟฟ้าเข้า.. “เจอกับลูกสาวฝาแฝดสมาชิกสมาคมฯ บน รถไฟฟ้า เดินเข้ามายกมือไหว้ ถามว่าใช่อาคากิหรือ เปล่า พูดคุยกันตลอดทาง ลูกแก้ว ลูกขวัญ เด็กสาว สองคนนี้น่ารักอัธยาศัยดีมาก ยกมือลากันที่สถานี ลาดพร้าว พอขึ้นจากสถานี กางหมวยสามพันห้า ออก ดูสภาพแล้วรถเรากลายเป็น.. หมวยมอมแมม เสียมากกว่า.. กลับบ้านอาบน้ำดีกว่า ครับผม” คือ ประโยคทิ้งท้ายที่เฮียคากิฝากไว้สำหรับทริปอิ่มบุญ แม้จะไม่ครบถ้วน แต่ล้วนอิ่มเอมไปด้วยความรู้สึก สุขใจ.. กิจกรรมปัน่ ทำบุญ ๙ วัดครัง้ นี้ สามารถรวบรวม

เงินทำบุญได้ทั้งสิ้น ๗๘,๔๐๘ บาท แบ่งทำบุญยังวัด ต่างๆ แห่งละ ๗,๘๐๐ บาท โดยมีพิเศษเล็กน้อยที่ วั ด ศาลพั น ท้ า ยนรสิ ง ห์ ทำบุ ญ ไปเป็ น จำนวนเงิ น

๑๔,๐๐๐ และเหลือเงินอีกส่วนจากการร่วมทำบุญ สมทบในภายหลังอีก ๒,๐๐๘ บาท จึงนำไปทำบุญที่ วัดทุ่งครุทั้งหมด ทีว่ ดั ศาลพันท้ายนรสิงห์นนั้ ท่านเจ้าอาวาสได้จดั

สถานที่ จัดอาหารและของหวาน ต้อนรับคณะผูไ้ ปร่วม

ทำบุญ ขณะที่ทีมงานได้เตรียมอาหารทั้งคาวหวาน

ไว้เรียบร้อยแล้ว ผลก็คือ ทั้งอิ่มบุญอิ่มท้องกันแปร้.. ขอขอบคุณบริษทั ฟูจิ (อินเตอร์ไบค์ ไทยแลนด์),

น้ำผลไม้ Smile, ทุกชมรมจักรยาน และทุกๆ ท่าน ที่มาร่วมงานทำให้งานสามารถลุล่วงไปด้วยดี


เรื่อง น.พ. วิรัตน์ โพคะรัตนศิร ิ

สุขภาพนักปั่น

การป้องกันโรคและภัย ที่เกิดจากน้ำท่วม

วัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาวจักรยานที่รักทุกท่าน ผมหมอวิรตั น์กลับมาขอคุยด้วยหลังหายไปนาน ครั้งแรกตั้งใจจะมาคุยต่อด้วยเรื่องเส้นรอบเอวมีผล ต่อโรคหัวใจอย่างไร เพราะเป็นห่วงพวกเราหลายๆ ท่านยิ่งปั่นเส้นรอบเอวไม่ยักลดเผลอๆ กลับเพิ่มขึ้น พอดีตอนนี้เรื่องน้ำท่วมเป็นเรื่องเร่งด่วนและใกล้ตัว พวกเราทุกคน ต้องขอบคุณสำนักอนามัย กทม. ออก เอกสารแผ่นพับ “การป้องกันโรคและภัยที่เกิดจาก น้ำท่วม” มาแจกจ่าย ผมเห็นว่ามีประโยชน์และตรง ที่อยากจะเล่าเรื่องนี้พอดี จึงขอนำมาขยายต่อให้ พวกเราดังนี้ครับ วิธีป้องกันโรคและภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก น้ำท่วมจึงขอให้ระมัดระวังเรื่องต่างๆ ดังนี้ ๑. โรคเท้ า เปื่ อ ย ก่ อ นย่ ำ น้ ำ ควรทาขี้ ผึ้ ง ป้องกันโรคน้ำกัดเท้าทุกครั้ง และหลังจากย่ำน้ำแล้ว ต้องรีบล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้า สะอาดให้แห้งโดยเฉพาะตามง่ามเท้า ๒. โรคตาแดง เป็นโรคที่ควรระมัดระวังโดย เฉพาะในช่วงน้ำท่วม จึงไม่ควรปล่อยให้เด็ก เล่นน้ำ เพราะเชือ้ โรคทีป่ ะปนอยูใ่ นน้ำอาจทำให้เป็นโรคตาแดง ดังนัน้ เมือ่ น้ำสกปรกเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด

และถ้ามีผใู้ ดในบ้านเป็นโรคตาแดงควรรีบปรึกษาแพทย์ ๓. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด โรค หลอดลมอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ป้องกันได้โดย บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและรักษาร่างกายให้อบอุ่น

24

อยู่เสมอ ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหรือรองเท้าที่เปียกชื้น นานเกินควร ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ครัน่ เนือ้ ครัน่ ตัว เจ็บคอ ควรรีบพบแพทย์ ๔. โรคอุจจาระร่วง น้ำที่ท่วมเป็นน้ำชะล้าง สิ่งสกปรกมาจากที่ต่างๆ และอาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่ จึงควรระมัดระวังมิให้น้ำเข้าปาก และไม่ควรนำมา ล้างภาชนะถ้วยชามหรือล้างผัก ผลไม้ หากมีอาการ อุจจาระร่วง ควรรับประทานผงเกลือแร่โออาร์เอส ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ ๕. โรคเลปโตสไปโรซีส เป็นโรคที่ควรระวัง ในระยะน้ำท่วมหรือหลังน้ำท่วมขณะดินยังชื้น โดย เชื้อโรคจะออกมากับปัสสาวะของหนู สุนัข สุกร วัว ควาย และเข้าสู่ร่างกายคนตามรอยถลอก บาดแผล เยื่อบุจมูกและตา ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเดิน

แช่ น้ ำ ลุ ย น้ ำ หรื อ เล่ น น้ ำ ถ้ า มี อ าการไข้ ห นาวสั่ น

ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่น่องควรรีบไปพบแพทย์ ๖. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า น้ำท่วมวิกฤติ เช่ น นี้ ย่ อ มหลี ก เลี่ ย งโรคเครี ย ด โรคซึ ม เศร้ า ไม่ ไ ด้

ผู้ประสบภัยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อาการมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผลกระทบที ่ ได้รับ และสำคัญที่สุดคือพื้นฐานการควบคุมอารมณ์ ของแต่ละบุคคลทีแ่ ตกต่างกัน ซึง่ สัง่ สมมาจากพืน้ ฐาน ครอบครัว คนส่วนใหญ่จะสามารถทำใจได้ บางคนใช้


หลักทางศาสนาเข้าช่วย พยายามคิดเชิงบวกทำใจว่า เป็นภัยธรรมชาติ ที่คนจำนวนมากประสบร่วมกัน บางคนอาจสูญเสียมากกว่า รุนแรงกว่า (พูดง่ายแต่ ถึงจะทำยากก็ต้องพยายามทำ เพราะตนย่อมเป็น ที่พึ่งแห่งตนใน “การทำใจ” ว่างั้นแหอะ) แต่บางคน อาจทำใจไม่ได้ อาการต่างๆ ดังกล่าวไม่ลดลง เวลา ผ่านไปสักอาทิตย์ ร่างกายจะเสื่อมทรุด ตามด้วยจิต ตกหนัก ถึงขั้นเกิดโรคซึมเศร้า บางคนอาจหมดหวัง ถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้ ก่อนจะไปถึงขนาดนั้น ควร ปรับทุกข์กับคนรอบข้างก่อน ถ้ารู้สึกไม่ได้ผลก็พบ แพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่ใกล้ที่สุด ๗. ภั ย จากงู แ ละสั ต ว์ มี พิ ษ งู แ ละสั ต ว์ มี พิ ษ ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง อาจหนีน้ำขึ้นมาอาศัย บนบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มืด ๆ เมื่อย้ายสิ่งของ หรือเดินท่องน้ำในเวลากลางคืนต้องระวังตัวเป็นพิเศษ หากถูกงูพิษกัดควรใช้สายยาง เชือกหรือผ้า รัดเหนือ แผลให้แน่นแล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดเซรุ่มแก้พิษงู โดยเร็วที่สุด ระหว่างเดินทางควรคลายสิ่งที่รัดออก สักครู่แล้วรัดใหม่ทุกๆ ๑๐ นาที ทำเช่นนี้เรื่อยไป จนกว่าจะได้ฉีดเซรุ่ม ๘. ภั ย จากอุ บั ติ เ หตุ ขณะเดิ น ท่ อ งน้ ำ ต้ อ ง ระวังตัวอยู่เสมอ เพราะอาจถูกของมีคมบาด หรือ ลื่นหกล้มได้ นอกจากนั้นไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นน้ำ ตามลำพัง เพราะอาจจมน้ำได้ ๙. อันตรายจากการถูกไฟดูด ห้ามมิให้ต่อ

สายไฟและจับต้องปลั๊กไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ ยืนอยู่ในน้ำหรือขณะที่ตัวยังเปียก เพราะอาจถูกไฟ ดูดได้รับอันตรายถึงชีวิต ๑๐. การรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม ถ้า น้ำท่วมสูงจนถึงระดับมิดส้วม อาจป้องกันมิให้สิ่ง ปฏิกูลลอยขึ้นมา โดยใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำอุดปากท่อไว้ อย่าลืมว่าจะต้องให้น้ำท่วมจนมิดเสียก่อนจึงจะเอา ผ้าอุดได้ มิฉะนั้นจะเกิดแรงดันทำให้ระเบิดขึ้นมาได้

คำแนะนำเมื่อน้ำลดแล้ว

- เก็บกวาดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลที่น้ำพัดพา มาให้เรียบร้อย - ขยะมูลฝอย ถ้ารถเก็บขยะยังไม่สามารถเข้า

มาเก็บได้ควรรวบรวมใส่ถงุ พลาสติก ผูกปากถุงเก็บไว้

ไม่ควรทิ้งเรี่ยราด จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบและหนู ซึ่งเป็นสื่อนำโรคร้ายต่างๆ - ถ้ามีน้ำขังอยู่ต้องทำทางระบายเพื่อมิให้เป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ท ี่

กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. ๐-๒๒๔๕-๓๐๘๒ , ๐-๒๒๔๗-๕๐๖๙ , ๐-๒๒๔๕-๖๔๖๖ ท้ายสุดนี้ขอให้พวกเราทุกคนฟันฝ่าพ้นวิกฤติน ี้ ไปได้ดว้ ยดีทงั้ กายและใจ พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ

25


เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

มุมสุขภาพ

Fitness Lifestyle 10

สตีฟ จอบส์ ผู้เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเรา

เขา เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ของพวกเรา ทำให้เกิดนิยามใหม่ ในวงการอุตสาหกรรมทุกแขนง และประสบความสำเร็จในการ ทำหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ... เขาได้เปลี่ยนแนวทาง ในการมองโลกของพวกเรา บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เขียนในการไว้อาลัย สตีฟ จอบส์

26

วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ หลังจากทีแ่ อปเปิล ประกาศเปิดตัว iPhone 4S

ได้เพียงแค่วันเดียว “สตีฟ จอบส์” ในวัยเพียง ๕๖ ปีก็ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ จากโรคมะเร็งตับอ่อนที่รุมเร้ามาตั้งแต่กลางปี ค.ศ. ๒๐๐๔ สตีฟ จอบส์ หรือชื่อจริงคือ สตีเฟ่น พอล “สตีฟ จอบส์” เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๕ เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลาร่า จอบส์ ส่วนบิดาที่แท้จริงของเขาเป็นชาวซีเรียชื่อ อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี สตีฟจบการศึกษาจาก โฮมสเตดไฮสกูลในเมืองคิวเปอร์ทโิ น่ และเรียนต่อ

ทีร่ ดี คอลเลจ ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน แต่เรียนได้แค่ภาคการศึกษาเดียว

ก็พักการเรียน ค.ศ. ๑๙๗๖ สตีฟ จอบส์ ในวัย ๒๑ ปี กับ สตีฟ วอซเนียก วัย ๒๖ ปี ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ขึ้น ภายในโรงรถของครอบครัว จอบส์ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำออกสู่สายตาชาวโลก คือ Apple I จากวันนั้น...จวบจนวาระสุดท้ายของเขาในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ เพียง ๓๕ ปี เขาได้สร้างบริษัทในโรงรถให้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดของอเมริกา (๓๔๑.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งใหญ่กว่า Exxon Mobil Corp. (๓๔๑.๔ พันล้าน

เหรียญสหรัฐ อ้างอิงจากสำนักข่าวรอยเตอร์ เมือ่ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔) และ

มีเงินสด ๗๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมากกว่าของรัฐบาลสหรัฐฯ เสียอีก

(๕๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตัวเลขอ้างอิงเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ สตีฟ จอบส์ ได้ทำให้สินค้าของคู่แข่งแทบจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยใน

ชัว่ ข้ามคืนทุกครัง้ ทีเ่ ขาแนะนำสินค้าใหม่ เขาเป็นอัจฉริยะผูส้ รรค์สร้าง MacBook, iPod, iPhone และ iPad ที่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเรา iPhone คือตัวเร่งการพัฒนาและวิวัฒนาการของสมาร์ทโฟนยี่ห้อต่างๆ จนกระทั่งได้กลายมาเป็นเครื่องมือเอนกประสงค์อย่างในทุกวันนี้ Application Programs ต่างๆ ที่เรียกสั้นว่า App มีให้เลือกใช้เป็น หลักแสน ครอบคลุมทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเราแยกแยะออกได้ถึง

๒๑ ประเภท ที่ใช้กันบ่อยๆ นอกจาก Game, Music, Social Networking, News, และ Sports แล้ว Health and Fitness ก็ยังครองความเป็นยอดนิยม ของพวกเราผู้นิยมวิถี Fitness Lifestyle


App ที่เกี่ยวกับการปั่นจักรยาน การวิ่ง ว่ายน้ำ และ ไตรกีฬาทีมี coaching และให้ตารางการฝึกรายวัน จะบันทึก การฝึกไว้เป็นกราฟ รวมทั้งแสดงแผนที่เส้นทางการฝึก หาก วันไหนไม่ฝึกก็จะเตือนเป็นสีแดงโร่ ช่วยให้เรามีวินัย ไม่กล้า โดด และระหว่างการฝึก เราจะใช้หูฟังเพื่อฟังเสียงการเตือน ให้เริ่มต้น ให้หยุด หรือบอกระยะทาง บอกความเร็ว หรือเมื่อ ช้าไปก็จะบอกให้เร่งเร็วขึ้น เมื่อบันทึกแล้วก็สามารถโพสต์ขึ้น FaceBook หรือ Twitter แชร์กับเพื่อนๆ ได้อีกต่างหาก ตัวอย่างของ App ที่ขอแนะนำให้ไปทดลองเล่นเช่น ๑. Bicycle Gear Calculator คำนวนหา gear ratio, gear inches และ development ๒. Cyclist Pro GPS บันทึกเวลา สถานที่ ระยะทาง ความสูง ความเร็ว รอบขา และอัตรการเต้นของหัวใจ เก็บ สถิติการฝึก และแผนที่ของเส้นทาง ฯลฯ ๓. Biologic Bike Brain ที่ทำให้ไอโฟนกลายเป็น คอมพิวเตอร์สำหรับจักรยาน iPad ทำให้ เราสามารถเข้าเนต ดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ แมกกาซีน การ์ตูน และนวนิยายได้โดย สะดวก แม้แต่ในรถทัวร์หรือรถไฟแทนการอ่านหนังสือที่เคย ต้องใช้ไฟฉาย การเป็นสมาชิกจะทำให้ได้รับฉบับล่าสุดอย่าง รวดเร็วโดยไม่ต้องรอการส่งทางไปรษณีย์ e-Publishing ทำให้สะดวกในการเลือกอ่านได้หลากหลาย

จะย้อนหลังกี่ฉบับก็ย่อมได้โดยไม่ต้องแบกกระดาษเป็นตั้งๆ ตัวหนังสือก็คมชัด สีสันสวยงามสดใส ส่งตรงถึงมือสมาชิก อย่างรวดเร็ว รวมทั้งรายการสมนาคุณ การลดราคา ข้อเสนอ พิเศษต่างๆ จากสปอนเซอร์ ทำให้สามารถขยายจำนวนสมาชิก

ได้ในวงกว้าง และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ระบบปฏิบัติการ iOS 5 ที่เพิ่งนำออกใช้เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ทำให้ iPhone, iPod touch และ iPad สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด สามารถส่งข้อมูล เช่น รูปภาพ รายชื่อโทรศัพท์ วิดีโอ เพลง และหนังสือ ขึ้นไปไว้บน Server ที่เรียกว่า iCloud ผ่าน Wi-Fi สามารถ up-date App ต่างๆ ได้โดยไม่ตอ้ งใช้คอมพิวเตอร์ การพึง่ พา Desktop Computer และ Notebook จะลดน้อยลง เข้าสู่ยุค Wireless Mobile มากขึ้น iPhone 4S นอกเหนือจากมีเพียงปุ่มเดียว แต่มีความ สามารถเหนือกว่าสมาร์ทโฟนอื่นๆ ที่มีปุ่มเป็น ๑๐ ได้ มันถูก พัฒนาให้เหนือชั้นขึ้นไปอีก โดยสามารถสั่งและโต้ตอบได้ด้วย เสียง กับโปรแกรม Siri นับเป็นการเปลี่ยนแปลง Lifestyle ของเราขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง อีกไม่นานเชื่อว่า วารสารสองล้อของเรา คงจะได้จัด ทำอยูใ่ นรูป e-Magazine สามารถ download ได้จาก iTunes

Store เพือ่ ขยายตัวเข้าถึงมวลสมาชิกได้อย่างกว้างขวางมากขึน้

มิเพียงแต่ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะครอบคลุมไปทุก ประเทศทั่วโลก เหล่าสปอนเซอร์ทั้งหลายจะได้รับประโยชน์

เต็มๆ จากระบบ Notifications ที่สารสองล้อ จะจัดส่งข่าว สาร ข้อเสนอพิเศษ เช่นการแนะนำสินค้าใหม่ และการส่งเสริม การขายให้ถึงสมาชิกเป็นหมื่นๆคนได้ภายในไม่กี่วินาที ขอให้มีความสุข สนุกกับการปั่นจักรยาน และอ่าน สารสองล้อบนสมาร์ทโฟนและ iPad นะครับ ขอขอบคุณ...สตีฟ จอบส์ ถึงแม้จะจากพวกเราไปแล้ว แต่วิญญาณของเขาจะเป็นนิรันดร์

27


เรื่อง/ภาพ ช่างหนึ่ง

เชิงช่างหนึ่ง

จักรยานสมัยผม ๓ สวั ส ดี ท่ า นสมาชิ ก

ทุกๆ ท่านฉบับนีก้ ลับมาพบกัน เช่นเคย ก่อนอืน่ ต้องขอแสดง

ความเห็ น ใจ และขอให้ กำลังใจกับผูป้ ระสบอุทกภัย น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ และ ขอขอบคุ ณ ทุ ก ๆ ฝ่ า ยที่ ไ ด้ ส่ ง ความช่ ว ยเหลื อ แก่

ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ขอให้ภัยพิบัติในครั้งนี้ผ่านพ้น ไปโดยเร็วด้วยนะครับ สาธุ บับนี้ยังคงเป็นเรื่องราวของจักรยานในยุคสมัยผม

เกี่ยวกับจักรยานเสือภูเขา ยุคสมัยนั้นจักรยาน เสือภูเขายังเป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวจักรยานในบ้าน เรามาก ในช่วงนั้นชื่อเสียงของจักรยานเสือภูเขาอัน โด่งดังจะเป็นยุคของยีห่ อ้ ดังๆ อาทิเช่น Cannondale, Yeti, GT, Specialized FSR, Sunn, Scott, Giant, Voodoo โอ๊ย!!! ยังมีอีกหลากหลายยี่ห้อทีเดีย จักรยานเสือภูเขาในบ้านเราเริ่มเข้ามามากมาย

ข่าวในแวดวงการนักกีฬาทีโ่ ด่งดัง เช่น John Tomac นักจักรยานประเภท Downhill, Anne Caroline Chausson, Paola Pezzo, Missy Giove ทีม FORE,

Lance Armstrong นักปัน่ แชมป์หลายสมัยทีโ่ ด่งดัง,

Hans Ray กับจักรยาน GT ประเภท Trial bikes ที่ มีฝไี ม้ลายมือฉกาจนัก นักกีฬาเหล่านีเ้ ป็นนักจักรยานที่ มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ ในสมัยนั้น

28

อะไหล่ที่มีชื่อเสียงในช่วงเวลานั้น เช่น ตระกูล โช้คอัพ มียี่ห้อ Rock shox, Judy XC, Judy XL ที่ สามารถปรับความแข็งของโช้คอัพได้ สมัยนั้นถือว่า เท่มากๆ โดยเฉพาะรุ่น RST 281 ที่ใช้ติดรถกันมาก คอแฮนค์ KORE เป็ น ชุ ด คอที่ มี ชื่ อ เสี ย งใน

ยุคนั้น ยังมียี่ห้อ Race Face และ Chris King ซึ่งได้ รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ขยับลงมาจะเป็นพวก ขาจานยีห่ อ้ Race Face และ Syncros ล้วนสวยงาม บาดใจ


ชุ ด คอมโพแนนท์ ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง อาทิ ขาจาน Kooka ที่มีสีสันของตัวชิ้นงานงดงาม ด้วยการทำสี แบบ “อโนไดซ์” เป็นสีไล่โทนสามสี (อโนไดซ์ คือ การสร้างฟิล์มอ็อกไซด์ขึ้นบนผิวอลูมิเนียม เพื่อทำให้ ผิวงานมีความคงทน และสร้างความสวยงามให้กับ ผิวงาน ทำได้เฉพาะอลูมเิ นียม) ระบบเกียร์ ๒๔ เกียร์ ของ SHIMANO รุ่น XTR, XT, LX, STX RC, STX และรองเท้า SIDI Eagle มีลวดลายสวยๆ ทำให้

ดูล้ำมากๆ

กลับมาดูในประเทศเราช่วงเวลาเดียวกันนัน้ บ้าง

มีการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาแทบทุกสัปดาห์ งาน ใหญ่ๆ มีนักแข่ง ๒ ถึง ๓ ร้อยคน ร้านค้าใหญ่ๆ

มีทมี นักกีฬาทีมละหลายๆ คน ส่งเข้าแข่งขันกันอย่าง เมามัน สื่อและข่าวสารของหนังสือก็มากมาย อาทิ เช่น หนังสือจักรยาน Mountian Bike, หนังสือ MTB Mountian bike Thailand, นิตยสารเสือภูเขา,

Cult Cycling Unlimited Thailand, Sports Street,

Race Bicycle Magazine ซึ่งปัจจุบันเหลือมีวาง จำหน่ายเพียงสองฉบับเท่านั้น ทีมดังๆ สมัยผมส่วนใหญ่มาจากเมืองจันทบุร ี ซึง่ มีนกั ปัน่ หลายทีม เช่น PS Sport อยุธยา ทีมซีบรา

ทีมจากชลบุรีที่มีนักปั่นมากมาย แถมหลายท่านใน ที ม ยั ง เป็ น นั ก กี ฬ าที่ เ ก่ ง เสี ย ด้ ว ย หลั ง จากนั้ น อี ก ประมาณ ๕ - ๖ ปี ร้ า นค้ า ต่ า งเริ่ ม นำอุ ป กรณ์ หลากหลายชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มาจำหน่ายกัน เยอะมาก รวมถึงร้านค้าที่เปิดใหม่ตามย่านต่างๆ ใน ยุคนั้น เทคโนโลยีเรื่องชิ้นส่วนที่ดังๆ นั้นก็คงเป็น โช้คอัพเสียเป็นส่วนใหญ่ าถึงยุคปัจจุบัน เรื่องของจักรยานมีการพัฒนา ในทุกๆ ด้าน เช่นการลดน้ำหนักตัวถัง การออก แบบเฟรมที่มีขนาดของท่อแตกต่างกัน บริเวณชุด กระโหลกถูกเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเพื่อเสริม ความแข็งแรง ชุดคอมีขนาดด้านล่างใหญ่กว่าด้าน บน ทำให้นอกจากมีความแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้การ ควบคุมรถง่ายขึ้นอีกด้วย นับวันยิ่งมีความพยายามพัฒนาให้มนุษย์ได้ เปรียบเชิงกลได้มากที่สุด ไม่ว่าเราอยากได้จักรยาน แนวไหน แค่นึกก็สามารถไปจับจ่ายมาครอบครอง ได้เลย ร้านจักรยานมีทั่วสารทิศ นับวันจักรยานยิ่ง ได้รับความนิยมมากขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วคุณหละ เป็น นักจักรยานสมัยไหน ในแต่ละสมัยมักมีเรือ่ งราวและเนือ้ หาทีแ่ ตกต่างกัน

เพียงแต่สงิ่ ทีไ่ ม่เปลีย่ นไปเลยในสังคมจักรยาน คือการ

เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ^_^ …………สวัสดี

29


เชิญร่วมบริจาคกับ “โครงการรีไซเคิลจักรยาน” สำหรับผู้ที่สนใจร่วมบริจาคจักรยาน อุปกรณ์ หรืออื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในโครงการ รีไซเคิลจักรยานของสมาคมฯ สามารถติดต่อได้ที่ทำการสมาคมฯ ถนนบรรทัดทอง จุฬาซอย ๖ ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐

สินค้าของสมาคม

เป็นสินค้าทีจ่ ำเป็นสำหรับผูใ้ ช้จกั รยาน จัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ สนใจเลือกซือ้ ได้ทที่ ำการสมาคมฯ

โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ เวลาทำการ ๐๙.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. หยุดวันอาทิตย์ สั่ง ซื้ อ ทางไปรษณี ย์ โอนเข้ า บั ญ ชี ประเภท

ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย เลขทีบ่ ญ ั ชี ๐๖๓-๒-๕๒๒๗๖-๑ แล้วกรุณาแฟกซ์สำเนาใบโอน มาที่โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ หรือส่งทาง E-mail: ๐๐๑ : หมวกคลุมหน้า ๐๐๓ : ถุงแขนลายธงชาติ tchathaicycling@gmail.com ราคาใบละ ๑๒๐ บาท ราคาคู่ละ ๑๕๐ บาท

๐๐๔ : สายรัดข้อเท้า เส้นใหญ่ ราคาชิ้นละ ๘๐ บาท เส้นเล็ก ราคาชิ้นละ ๓๐ บาท

๐๐๖ : เสื้อ TCC ตัวเล็ก ราคาตัวละ ๑๐๐ บาท

๐๐๗ : เสื้อจักรยานแขนสั้น ราคาตัวละ ๗๕๐ บาท

๐๐๘ : เสื้อจักรยานแขนยาว ราคาตัวละ ๙๕๐ บาท

๐๐๕ : เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ราคาตัวละ ๑๘๐ บาท

๐๐๙ : เสื้อจักรยานสีขาว ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท

๐๑๐ : กางเกงขาสั้น ราคาตัวละ ๖๕๐ บาท

๐๑๑ : กางเกงขายาว ราคาตัวละ ๘๕๐ บาท

จองด่วน!

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

6 ซม. เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ สำหรับร้านค้าย่อยที่จำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบำรุง จำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสือ้ ผ้า 3 ซม. ร้ า นอาหารสิ น ค้ า มื อ สอง ของส่ ว นตั ว บริ ก ารท่ อ งเที่ ย ว หรื อ อื่ น ๆ

เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด ๓ คูณ ๖ เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง ๑,๐๐๐ บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน

โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย!

30


31


32


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.