สารสองล้อ เมษายน 2557

Page 1

ปท ี ี่

22 ©ºÑº·Õ่ 274/àÁÉÒ¹ 2557

50 Ê¶Ò¹Õ “»˜¹»˜›¹” ¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×่Í ¤¹àÁ×ͧ 18 ¢Ñ้¹...àµÃÕÂÁµÑÇÊÙ‹¹Ñ¡»˜›¹Á×Íâ»Ã

àµÃÕÂÁ¾º TCHA 㹧ҹ Bangkok Bike Expo ■ Bike to Work ■ ÊØ¢ÀÒ¾¹Ñ¡»˜›¹ »˜›¹ÃÑ¡(É ) ¾Ô·Ñ¡É âÅ¡ ¡ÒÞ¨¹ºØÃÕ ■ »˜›¹¾ÒÍÔ่ÁÏ ¡ÑººÒ§á¡ŒÇ交 â»Ã交 ¾ÃÐÃÒÁ 3 ■ ¢ÂѺ¡ÒÂÇѹ¹Õ้ »‡Í§¡Ñ¹ 7 âäÌÒ ■ 㪌ä·à·à¹ÕÂÁÅ็ͤ¨Ñ¡ÃÂÒ¹

สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 1


รุน Mundo สำหรับสัมภาระจำนวนมาก

รุน Mundo แบบติดตั้งพื้นไม

แบบติดมอรเตอรไฟฟา


ยูบา..

จักรยานพันธุ อึด!

มอเตอรไฟฟา ติดที่ ดุมลอหลัง พรอมชุด เฟองเกียร

ในเมื่อการใช จักรยานกำลังจะกลายเป นยานพาหนะที่สะดวก ประหยัด การเดิ น ทางที ่ ต อ งขนสั ม ภาระหร� อ บุ ค คลในครอบครั ว ไปพร อ มๆ กั น ด วยจักรยานเพียงคันเดียว ย อมเป นสิ่งที่น าสนใจไม น อย ดังนั้นการออกแบบจักรยานที่มีคุณสมบัติในการบรรทุกน้ำหนักได เป น จำนวนมาก พร อมทั้งความสะดวกสบายในการข�่ป น และทรงตัว จ�งกลาย เป นแนวคิดที่นาย เบนจามิน ซาร ราซ�น แฟมีลี่แมนผู ช�่นชอบกิจกรรมกลางแจ ง นำมาเป น แนวคิดในการออกแบบพัฒนาเป นจักรยานภายใต แบรนด ยูบา (YUBA) ซ�่งนำมาจากช�่อของแม น้ำที่สวยงามในแคลิฟอร เนีย รูปลักษณ องศาเฟรม ถูกออกแบบเพื่อให จักรยานยูบามีสมรรถนะ ในการรั บ น้ ำ หนั ก และสั ม ภาระรวมถึ ง ตั ว ผู ข � ่ ไ ด ม ากถึ ง 200 กิ โ ลกรั ม พร อมทั้งอุปกรณ เสร�มมากกว า 20 ชนิด สำหรับเลือกใช ให สอดคล อง กับกิจกรรม เช น เก าอี้เด็ก ที่นั่งเด็กพร อมราวจับยึดและที่วางเท า จ�เด็กๆ ได ถึง 3 คน อุปกรณ จับยึดกระเป าสัมภาระ เป นต น แบ งออกเป นสองรุ นคือ - Boda Boda สำหรับบรรทุกทั่วไป - Mundo สำหรับบรรทุกจำนวนมาก

รุน Boda Boda

รุน Mundo

ทั้งสองรุ นยังมีให เลือกแบบใช มอร เตอร ไฟฟ า เพื่อเหมาะกับการใช งานที่ ต องการแบ งเบากำลังป นของผู ข�่อีกด วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได ที่ www.yubabikes.com




สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 274 / เมษายน 2557 ISSN 1513-6051

08 แวดวงสองล้อ 10 ปฎิทินทริป 12 ทริปเมษายน - พฤษภาคม 16 ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก จังหวัดกาญจนบุรี 18 ปั่นสองน่อง...ท่อง (ราชภัฏ) ธนบุรี 19 ปันปั่น จักรยานเพื่อคนเมือง 22 ปั่นพาอิ่ม ชิมอาหารทะเล 26 ขยับกายวันนี้ ป้องกัน 7 โรคร้าย 28 ปั่นเที่ยวแถวจินผิ้ง ตอนที่ 2 30 จักรยานรีไซเคิลจากเหล็กข้างเตียงผูป้ ว่ ย 4 32 คนเขียน...อยากเล่า (ตอนจบ) 34 Probike 36 ข้อควรค�ำนึงในการออกแบบเครือข่าย ทางจักรยาน 38 ออกก�ำลังกาย...สไตล์เกมการ์ตนู ญีป่ นุ่ 2 40 เตรียมตัวสู่นักปั่นมือโปร 43 บริจาคจักรยาน 44 สินค้าสมาคมฯ 46 จักรยานล้านไอเดีย

บทบรรณาธิการ

ยินดีครับที่แวดวงจักรยานมีความตื่นตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รายการทีวี งานแสดงจักรยาน หนังสือ นิตยสาร หรือลานเส้นทางปั่น จักรยานออกก�ำลังกายที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งหมดล้วนบ่งบอกถึง “ขาขึน้ ” ของวงการจักรยาน ร้านจักรยานทีเ่ คยเดินเข้าออกแบบสะดวก สบาย แต่เวลานีล้ ะลานตา จะเดินเข้าออกแต่ละครัง้ ต้องศึกษาเส้นทาง ไม่เช่นนัน้ อาจจะพลาดท่าชนซ้ายชนขวาเข้ากับจักรยานสารพัดรุน่ ซึง่ วาง จ�ำหน่ายอยู่ภายในร้านเดิมนั้นอย่างแน่นขนัด.. เมื่อถึงคราวที่มีการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานแต่ละครั้ง ล้วนได้รับ ความสนใจมีจ�ำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากมาย จนกลายเป็นหนึ่งใน กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ที่บริษัทต่างๆ หันมาให้ความสนใจน�ำไป เป็นแนวคิดจัดกิจกรรมภายใต้บริษัทของตนในเชิงตอบแทนคืนสู่สังคม อะไรประมาณนั้น ดีครับ.. นับเป็นสิ่งที่ท�ำให้คนรักจักรยานรู้สึกยินดี อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยทุกท่าน ในเดือนเมษายนนี้ สมาชิกทุกท่านล้วนมีภารกิจส�ำคัญด้วยการเข้าร่วม ประชุมเพื่อใช้สิทธิ์ของท่านเพื่อเป็นหนึ่งคะแนนเสียง ส�ำหรับการเลือก ตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ พร้อมทั้งร่วมประชุมเพื่อเสนอ แนวคิดภารกิจสร้างสรรค์ของสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพ กับทิศทางการ บริหารในปีต่อไป และจะเป็นการร่วมรณรงค์สร้างสรรค์ให้เกิดการใช้ จักรยาน ทั้งในชีวิตประจ�ำวันและการใช้เพื่อผลอันดีต่อสุขภาพของ ชาวไทยทุกคน 20 เมษายน 2557 นี้ พ บกั บ ที่ ห ้ อ งประชุ ม สนามศุ ภ ชลาศั ย ประตู 11 ครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ ก�ำพล ยุทธไตร, ศักดิ์รพงค์ เกรียงพิชิตชัย, สุปรียา จันทะเหลา พิสูจน์อักษร วีณา ยุกตเวทย์ บัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ การเงิน วีณา ยุกตเวทย์ ส่วนทะเบียน เรืออากาศตรีลิขิต กุลสันเทียะ ฝ่ายโฆษณา กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนน นราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com



แวดวงสองล้อ

สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589

คนรักปั่น เรารักกัน 46 ล้านกิโลเมตร กิจกรรมที่เชิญนักปั่นทั้งมือใหม่มือเก่าผู้รักสุขภาพทั่วประเทศ ร่วมส่งข้อมูลการปั่นจักรยานออกก�ำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น เส้นทาง ระยะทาง จ�ำนวนนักปั่น ส่งทั้งภาพถ่ายและคลิปกิจกรรมไปที่ email: ramabike2014@gmail.com นอกจากจะได้สุขภาพแล้วยังเป็นของ ขวัญให้กบั ทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ทีจ่ ะครบรอบ 46 ปี อีกด้วย ติดตาม รายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/ramachannel ทางจักรยานเพื่อออกก�ำลังกายจาก รฟม. การรถไฟฟ้ า ขนส่ ง มวลชนแห่ ง ประเทศไทยได้ ป รั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ภายในองค์กร ให้กลายเป็นสถานที่เพื่อการปั่นจักรยานออกก�ำลัง กาย โดยเป็นเส้นทางปั่นที่ปลอดภัยเหมือนปั่นอยู่ในสวนสาธารณะ ระยะทาง 3.5 กิ โ ลเมตร และมี ก ติ ก าเล็ ก น้ อ ยเพื่ อ ความปลอดภัย รวมถึ ง การใช้ ท างร่ ว มกั บ บุ ค คลและยานพาหนะอื่ น ๆ สามารถ เข้าได้สองทางคือ ทางเข้า ประตู 1 ฝัง่ ถนนพระราม 9 (เยือ้ ง Max Hotel) และทางเข้า ประตู 3 ถนนเลียบอู่ซ่อม MRT

แผนที่เส้นทางจักรยานเพื่อออกก�ำลังกาย ภาพถ่ายและข้อมูล จากคุณ @Apinan Klaysri (www.facebook.com/yoo. amnuaysilpa)

Strider Championship Series Thailand 2014 กิ จ กรรมแข่ ง ขั น จั ก รยานส� ำ หรั บ เด็ ก ภายใต้ แ บรนด์ Strider จั ด เป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทย วั น อาทิ ต ย์ ที่ 20 เมษายน 2557 ณ ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธน) เวลา 13.00 - 18.00 น. กิจกรรม แบ่งออกเป็น 6 รุ่น นอกจากการแข่งขันแล้ว ยังมีกิจกรรมร่วมสนุก อีกหลายอย่าง ส�ำหรับผู้ปกครองที่ก�ำลังมองหาจักรยานคันแรกให้ ลูกรัก สามารถแวะเข้ามาเยี่ยมชมงานนี้ได้เลย และสามารถลงทะเบียน ออนไลน์เพื่อร่วมกิจกรรมได้ที่ http://goo.gl/JkOh2s 8 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)



ปฏิทินทริป

ปฏิทินทริป เดื อ นเมษายนมิถุนายน 2557 6 เมษายน 2557 20 เมษายน 2557 26 เมษายน 2557

Learn to RIDE ครั้งที่ 2 ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ห้องประชุมสนามศุภชลาศัย ประตู 11 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำขวัญเรียม+ร้าน Vincita จุดสตาร์ท สวนเบญจกิติ ข้างศูนย์ฯ สิริกิตติ์ 27 เมษายน - 18 พฤษภาคม 2557 สองล้อรวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน กรุงเทพ-สงขลา 1 - 5 พฤษภาคม 2557 ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล็อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง 1 - 4 พฤษภาคม 2557 งาน Bangkok Bike Expo ที่เมืองทองธานี 18 พฤษภาคม 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำดอนหวาย จุดสตาร์ท ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนฯ) 15 มิถุนายน 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดบางน�้ำผึ้ง จุดสตาร์ท Think Tank Third Place ถนนนางลิ้นจี่ 21 - 22 มิถุนายน 2557 รีไซเคิล มอบจักรยาน จังหวัดพิษณุโลก 6 April 2014 20 April 2014 26 April 2014

27 April - 18 May 2014 1 - 5 May 2014 1 - 4 May 2014 18 May 2014 15 June 2014 21 - 22 June 2014

Learn to RIDE 2. TCHA annual general meeting 2014. One day cycling trip to Kuanriam Floating Market and Vinsita shop. Cycling trip from Bangkok to Songkhla. Cycling trip to Mine Pilok 399 kilometers. Bangkok Bike Expo at Impact Muangthong Thani. One day cycling trip to Don Wai floating market. One day cycling trip to Bangnanpung floating market. Recycle cycling trip to Phitsanulok.

รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัคร ร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling 10 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

Trips can be changed as appropriate English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 email: bobusher@ksc.th.com



TCHA ช่วนปั่นฯ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปั่นและร่วมกิจกรรมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด กลายเป็ น กิ จ กรรมที่ น่าประทับใจส�ำหรับสมาชิกชาว จักรยานที่ชื่นชอบกิจกรรม ปั่น จั ก รยานวั น เดี ย วด้ ว ยการไป เทีย่ วตลาดชือ่ ดัง นอกจากความ หลากหลายของเส้นทางที่ไปกัน แล้ว ยังได้ประทับใจกับตลาด และความสวยงามของวั ด วา อารามในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน.. และแผน ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมปั ่ น วั น เดี ย ว.. เที่ยวตลาด ครั้งต่อไปดังนี้ วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557 - ตลาดน�้ำขวัญเรียม และเยี่ยมโชว์รูม Vincita จุดสตาร์ทสวนลุมฯ วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557 - ตลาดน�้ำดอนหวาย วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2557 - ตลาดบางน�้ำผึ้ง ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านเข้าร่วมประชุมในวันประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปี 2557 ได้ถงึ เวลาอีกครัง้ โดยมีการก�ำหนดวันประชุมไว้ในวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557 ไม่วา่ ท่าน จะเป็นสมาชิกประเภทรายปีหรือตลอดชีพ หรือผูท้ กี่ ำ� ลังสนใจสมัครเป็นสมาชิก สามารถเข้าร่วมประชุมเพือ่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างสรรค์การด�ำเนินการของสมาคมฯ ในการด�ำเนินกิจกรรมและโครงการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จักรยาน การรักษาและดูแลสุขภาพ ให้พัฒนาต่อไปแบบยั่งยืน เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสนามศุภชลาศัย ประตู 11 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-678-5470 หรือ 081-902-2989 สองล้อรวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน 27 เมษายน - 18 พฤษภาคม 2557 ชวนปั่นจักรยานทางไกลจากกรุงเทพฯไปยังสงขลา เพื่อร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางภาคใต้ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน และยังเป็นการจัดหาอุปกรณ์ให้หน่วยงานราชการเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่จ�ำเป็น และยังเป็นการเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าใช้จ่ายร่วมทริปท่านละ 3,999 บาท เป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก เสื้อ และค่ารถเดินทางกลับ กรุงเทพฯ ส่วนท่านที่ต้องการร่วมปั่นระหว่างเส้นทาง ค่าใช้จ่ายท่านละ 300 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณ นุกร 091-707-5268 และ คุณณัฐณิชา 081-375-3455 12 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)



TCHA ช่วนปั่นฯ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปั ่ น และร่วมกิจกรรม เดื อ นเมษายนพฤษภาคม 2557

Learn to Ride # 2 โครงการสอนผู้ปั่นจักรยาน ไม่เป็น ฟรี!! ครั้งที่ 2 อาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557 โครงการ Learn to Ride เป็นโครงการที่มีขึ้นส�ำหรับผู้ที่สนใจ อยากปั่นจักรยาน แต่ยังปั่นจักรยาน ไม่ เ ป็ น ยั ง ไม่ รู ้ วิ ธี ก ารใช้ จั ก รยาน อย่างถูกต้อง เตรียมพร้อมในการฝึก การปั่นจักรยานให้เป็นบนท้องถนน หรือแม้แต่ผู้ที่ยังไม่ได้คิดจะฝึกปั่น จักรยาน รวมทั้งผู้ที่ยังตัดสินใจเลือก ชนิดของจักรยานที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ถกู ค�ำถามเกีย่ วกับวิธกี ารใช้อปุ กรณ์ และตัวจักรยาน กิ จ กรรมนี้ มี ก� ำ หนดจั ด ขึ้ น ทุกเดือน โดยครั้งแรกจัดไปเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556 และ ได้มีการเลื่อนก�ำหนดการเนื่องจาก สาเหตุ ค วามไม่ ส งบของบ้ า นเมื อ ง จึงท�ำให้มีการเลื่อนกิจกรรมครั้งที่ 2 มาเป็นวันที่ 6 เมษายน 2557 ส�ำหรับ กิจกรรมครั้งต่อไปสามารถติดตาม และสอบถามได้ ที่ ส มาคมจั ก รยาน เพื่อสุขภาพไทย 14 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล็อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง 1 - 5 พฤษภาคม 2557 ทริปทางไกลที่ใครๆ ถามถึง มาจ่ อ คิ ว รอสมาชิ ก นั ก ปั ่ น สมาคม จั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทยกั น แล้ ว ครั้งนี้เป็นระยะเวลาถึง 5 วัน 4 คืน โดยความร่ ว มมื อ กั น ระหว่ า ง การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงานกาญจนบุรี และ สมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทย กับการเดิน ทางสู ่ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี เพื่ อ ร่ ว ม ปั ่ น จั ก รยานเที่ ย วชมสถานที่ ต ่ า งๆ มากมาย อาทิ น�้ำตกไทรโยคน้อย สู่เขื่อนวชิราลงกรณ์ เหมืองปิล็อก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ยอดเขา เนินช้างศึก และยังได้มโี อกาสร่วมมอบ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์ กีฬา ให้นักเรียนของโรงเรียนเพียง หลวง 3 (บ้านเหมืองแร่อีต่อง) ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา ศิ ริ วั ฒ นาพรรณวดี ที่ ส� ำ คั ญ .. ใน การปั่นจักรยานสู่เหมืองปิล็อกนั้น.. เป็นการ พิชติ 399 โค้ง ทีน่ า่ ประทับใจ และสุดแสนจะท้าทาย

ราคาท่านละ 2,999 บาท ราคานี้ รวมค่าอาหาร 8 มื้อ, ค่าที่พัก 4 คืน, ค่ า พาหนะเดิ น ทาง (ทองผาภู มิ กรุงเทพฯ), ค่าประกันภัยการเดินทาง รับจ�ำนวนจ�ำกัดเพียง 60 ท่าน เท่านั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ ท่ี ททท. ส� ำ นั ก งานกาญจนบุ รี โทรศัพท์ 034-511-200, 034-512-500 อีเมล์ tatkan@tat.or.th

Bangkok Bike Expo 1 - 4 พฤษภาคม 2557 ที่ เอ็ ก ซิ บิ ชั่ น ฮอลล์ 4 อิ ม แพค เมืองทองธานี งานแสดงที่รวบรวมจักรยาน แฟชั่น เสื้อผ้าส�ำหรับผู้ปั่นจักรยาน รวมถึงอุปกรณ์จักรยานและบริการ ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสร้างโอกาส ทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ จั ก รยาน รวมถึ ง สนั บ สนุ น และ ผลั ก ดั น กี ฬ าประเภทจั ก รยานให้ เป็ น ที่ ส นใจในวงกว้ า ง ตลอดจน เป็นการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ใี นระดับ นานาชาติในฐานะประเทศที่ส่งเสริม ให้เกิดการขี่จักรยาน ในงานนี้สมาคมจักรยานเพื่อ สุ ข ภาพไทยไปร่ ว มออกบู ธ เชิ ญ ผู ้ สนใจและผู้ที่รักสุขภาพกับการปั่น จักรยานแวะไปเยี่ยมชมบูธ สมัคร สมาชิก หรือเลือกซื้อสินค้าส�ำหรับ ชาวจักรยานของสมาคมฯ ได้



สรุปทริป

ภาพ พี่ชาติตระการ, พี่สมศักดิ์

ปัน ่ รัก(ษ์) พิทกั ษ์โลก จังหวัดกาญจนบุรี

จบโครงการ “ปัน่ รัก(ษ์) พิทกั ษ์โลก” ครัง้ สุดท้ายกันทีจ่ งั หวัดกาญจนบุรี เมือ่ วันอาทิตย์ท่ี 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โครงการปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก รณรงค์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี (จังหวัดกาญจนบุรี) ณ บริเวณศาลหลักเมือง กาญจนบุรี และเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี มีสมาชิกนักปั่นของกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจ�ำนวนมากอีกตามเคย ทุกท่านทีล่ งทะเบียนจะได้รบั เสือ้ ทีร่ ะลึกและคูม่ อื การปัน่ รับบริการ ทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีบริการคลินกิ จักรยาน และเมือ่ ได้เวลาท่านปลัดกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา ประธานในพิธีพร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีก็ได้ท�ำการเปิดงานพร้อมปล่อยขบวนจักรยาน จาก ศาลหลักเมือง ไปวัดถ�้ำเขาปูน วัดเทวสังฆาราม และวัดไชยชุมพลชนะสงคราม นักปั่นได้ร่วมท�ำกิจกรรมและ ประทับตราพาสปอร์ต ก่อนเข้าสู่เส้นชัยที่ศาลหลักเมือง รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร และในโครงการนี้สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยร่วมมอบจักรยานจากโครงการรีไซเคิลจักรยาน จ�ำนวน 5 คันให้แก่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี

16 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)


µŒÍ¹ÃѺà·È¡ÒÅʧ¡ÃÒ¹µ เพียงคุณมียอดซื้อใน ระหว่าง

วันที่ 1-30 เมษายน 2557 ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อ 1 วัน

ได้รับ 1 สิทธิ์

ร่วมลุ​ุ้นรับจักรยาน

ฟรี

หมายเหตุ : - บิลต้องมียอด 20,000 บาท ขึ้นไปเท่านั้น - สามารถเอาบิลหลายๆ ใบ มารวมกันได้ภายใน1วัน - 1 บิล ต่อ 1 สิทธิ์ เท่านั้น - ตั้งแต่ วันที่ 1-30 เมษายน 2557 เท่านั้น

สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-943-2177-9 , 086-302-7848-9


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ schantalao

ปั่นสองน่อง...

ศู

นย์ บ ่ ม เพาะเพื่ อ การ พัฒนาธุรกิจ มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ ธนบุ รี , กองการ ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ร่วม กับสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพ ไทย จัดกิจกรรมแรลลี่จักรยาน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง ประวัติศาสตร์ โดยมีจุด Check Point อยู่ที่สถานที่ส�ำคัญในย่าน ฝัง่ ธนบุรี อาทิ วัดอรุณราชวราราม โบสถ์ซางตาครูส้ วัดประยูรวงศาวาส มัสยิดเซฟี ซึง่ ล้วนแล้วแต่เป็น สถานที่ส�ำคัญและมีประวติความ เป็นมาอันยาวนานและน่าสนใจ กิจกรรมนี้ท�ำให้นักปั่นกว่า 120 ท่านได้รับความรู้มากมาย โดยมี ไกด์จากกองการท่องเที่ยว กทม. และเจ้าของพื้นที่คอยให้ความรู้ และเล่าถึงประวัติความเป็นมา ท้ายสุดได้มกี ารแจกรางวัลส�ำหรับ นั ก ปั ่ น แต่ ล ะกลุ ่ ม และจบด้ ว ย การแนะน�ำศูนย์บ่มเพาะเพื่อการ พัฒนาธุรกิจ ซึง่ เป็นศูนย์ทคี่ อยให้ ค�ำปรึกษาส�ำหรับผู้ที่ต้องการเปิด ธุรกิจขนาดย่อม.... สนใจติดตามรายละเอียด ได้ที่ http://goo.gl/K6TQva หรือ 02-890-2296 18 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ท่อง (ราชภัฏ) ธนบุรี


จากปก

เรื่อง : schantalao

ปัน ปั่น

จักรยานเพื่อคนเมือง

สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 19


สํ

าหรับผู้ที่ต้องการปั่นจักรยานไปยัง จุดหมายปลายทางใกล้ๆ แต่ไม่สะดวก ที่จะซื้อจักรยานเนื่องจากไม่มีที่จอด ปลอดภัย หรือไม่ได้ใช้จกั รยานเป็นประจ�ำทุก วันและยังไม่จำ� เป็นทีจ่ ะมีจกั รยานเป็นส่วนตัว กรุงเทพมหานครจึงน�ำแนวคิดจักรยานยืมปัน่ มาเปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึง วันนี้ได้รับการตอบรับเป็นที่น่าพอใจทีเดียว “ปันปัน่ ” เป็นโครงการจักรยานสาธารณะ เพื่อการเชื่อมต่อรถโดยสารสาธารณะส�ำหรับ พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร จุดประสงค์ เพือ่ ลดการน�ำรถยนต์เข้ามาใช้ในพืน้ ทีท่ มี่ กี าร จราจรติดขัด และเพิม่ ความสะดวกส�ำหรับผูท้ ี่ เดินทางในระยะสัน้ ๆ โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาพาหนะ ที่ใช้เครื่องยนต์ เป็นการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสาเหตุของโลกร้อนอย่างทุกวันนี้ และส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ด ้ ว ยการออก ก�ำลังกาย ซึ่งขณะนี้ปันปั่นได้เปิดให้บริการ ครบทัง้ 50 สถานีแล้ว มีจกั รยานทัง้ สิน้ 330 คัน ล็อคได้ 8 คันต่อสถานี ซึ่งจะสังเกตได้ว่าถนน สาทรเป็นถนนที่มีสถานีปันปั่นมากที่สุด โดย วัดจากปริมาณประชากรออฟฟิศบนตึกสูง สถานีบริการเรียกว่า “ให้ยืม” หรือ “ให้ เช่ า ” รถจั ก รยานด้ ว ยระบบอั ต โนมั ติ อาจจะงงๆ กันว่าท�ำไมถึงใช้ค�ำว่า “ให้ยืม” เนื่องจากการใช้ปันปั่นในช่วง 15 นาทีแรก ก่ อ นการน� ำ กลั บ มาคื น ยั ง จุ ด ล็ อ คที่ ส ถานี ปลายทาง ผู้ยืมจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยต้องท�ำการสมัครสมาชิกและมีบตั รส�ำหรับ แตะทีเ่ ครือ่ งเพือ่ ปลดล็อคก่อนน�ำรถจักรยาน ออกไปใช้ ระเบี ย บการสมั ค รสมาชิ ก และ สิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ รวมถึงการประกัน อุบตั เิ หตุสามารถติดตามรายละเอียดเพิม่ เติม ได้ที่ www.punpunbikeshare.com 20 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

เบาะสามารถปรับ ระดับสูง-ต�่ำได้

แถบสะท้อนแสง เพื่อความปลอดภัย

แท่นล็อคจักรยาน • ส�ำหรับล็อคจักรยาน และ ปลดล็อคจักรยาน • แถบไฟส�ำหรับน�ำบัตร Smart Card มาแตะเพือ่ ปลดล็อค


รูปแบบจักรยานปันปั่น

จุดวางสัมภาระพร้อมสายรัด

หัวล็อคบันทึกข้อมูล ด้วยระบบ RFID

แถบยางสะท้อนแสง

Green Wall เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพฯ บัตร Smart Card ส�ำหรับแตะที่เครื่อง เพื่อปลดล็อคก่อนน�ำรถจักรยานออกไปใช้ ตู้ควบคุมสถานีระบบ Touch Screen • มีไว้ส�ำหรับบันทึกข้อมูลขอใช้บริการรถจักรยาน • สามารถเติมมูลค่าบัตรและเช็คมูลค่าบัตรผ่านตู้ควบคุม สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 21


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ schantalao

ปัน ่ พาอิม่ ชิมอาหารทะเลทีป ่ ลายน�ำ้

กับบางแก้วไบค์

น้

อยครั้งที่สมาคมฯ จะไม่ได้จัดทริปเองแต่ขอ ไปร่วมแจมกับกลุม่ อืน่ ๆ วันนีต้ อ้ งพึง่ พาเจ้าถิน่ อย่าง “บางแก้วไบค์” พาปัน่ ไปเทีย่ วในพืน้ ที่ อ�ำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ … หลังจาก มีการเปิดลงทะเบียนออนไลน์เพือ่ ขอทราบจ�ำนวนคน ในการเตรียมอาหารที่ปลายน�้ำฟาร์มขอเป็นเจ้ามือ เลี้ยงอาหารกลางวัน ยอดก็พุ่งไปกว่า 700 ท่าน!! เช้าวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม เรานัดกันทีบ่ ริเวณ สวนเฉลิมพระเกียรติขา้ งธนาคารกสิกรไทย ส�ำนักงานใหญ่ เพือ่ รวมพลปัน่ ไปยังท่าเรือพระสมุทรเจดีย์ เพือ่ ไปรวม 22 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

กลุม่ กับบางแก้วไบค์ แค่เพียงเลีย้ วเข้าไปยังจุดนัดพบ ก็ท�ำให้รู้สึกว่านี่มันทริปปั่นของกลุ่มหรือปั่นน�ำร่อง Car Free Day กันแน่!! คนเยอะมากๆ ค่ะ สีสนั เสือ้ ผ้า ละลานตา มากันแบบหมู่คณะ ครอบครัว เพื่อน คู่รัก เรียกได้ว่ารวมพลกันมาเลยทีเดียว พี่แซม ผู้น�ำทริปในวันนี้กล่าวต้อนรับและน�ำ ปั่นไปยังจุดหมายแรกคือ “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” ที่ มี เรื อ หลวงแม่ ก ลองจอดเด่ น เป็ น สง่ า ที่ นี่ เ ป็ น ป้อมปราการทางน�้ำที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2427 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


คุณปูส่ มัคร เทียนสุวรรณ เจ้าของปลายน�ำ้ ฟาร์ม

เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ตั้ง อยู่ที่ต�ำบลแหลมฟ้าผ่า ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมหาก มีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน�้ำ เมื่อถ่ายรูป เป็นที่ระลึกกันหอมปากหอมคอก็เคลื่อนพลไปยังจุด หมายต่อไป.. ทางเข้า “ปลายน�ำ้ ฟาร์ม” นับว่าเป็นจุด ถอดใจของหลายๆ คน เนื่องจากเมื่อคืนนี้ฝนเทลงมา ท�ำให้ทางดินที่เกลี่ยไว้เฉอะแฉะ แต่ก็ยังพอมีทางให้ เดินและปั่นได้อยู่ คุณปู่สมัคร เทียนสุวรรณ เจ้าของ ร้านรอต้อนรับพวกเราด้วยอาหารทะเลแสนอร่อย ที่ จัดไว้ให้รับประทานกันแบบฟรีไม่อั้น บรรยากาศที่นี่

ที่พักในปลายน�้ำฟาร์ม

ลมพัดเย็นสบาย แม้พื้นที่ในฟาร์มจะโล่งไปหน่อย เนื่องจากก�ำลังท�ำการขุดบ่อปรับพื้นที่ หลังจากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ “วัดสาขลา” ซึ่งอยู่ ห่างไปไม่ไกลซักเท่าไร วัดสาขลาเป็นวัดค่อนข้างใหญ่ มีพนื้ ทีจ่ ดั สรรเป็นตลาดโบราณมีขนม ของทานเล่นให้ เลือกชิม และทีพ่ ลาดไม่ได้คอื การลอดโบสถ์ ซึง่ เชือ่ กัน ว่าหากลอดครบ 3 ครั้งก็จะโชคดี.... เมื่อได้เวลาอัน สมควรก็ต้องแยกย้ายกันในเวลาบ่ายโมง ต้องขอ ขอบคุณกลุ่มบางแก้วไบค์ที่จัดทริปดีดีแบบนี้มาให้ นักปั่นได้สนุกสนานและอิ่มพุงพลุ้ยไปตามๆ กันค่ะ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 23


สุขภาพนักปั่น

เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th

เขียนโดย สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ภาพ zangzaew

สุข-ทุกข์ อยู่ที่มุมมอง “เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิต” “Change your thinking, change your life” นั่นคือค�ำขวัญบนปกหนังสือชื่อ “Mind Power” ซึ่งเขียนโดย James Borg นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ

นังสือเล่มนีไ้ ด้ตอกย�ำ้ ความส�ำคัญของความ คิดของคนเราว่าเป็นตัวก�ำหนดการรับรู้ และการแปลความในสิ่งที่รับรู้ต่างๆ แล้ว ท�ำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และการกระท�ำ (ทั้งทาง ใจและกาย) ตามมา เมื่อเกิดซ�้ำๆ ก็กลายเป็นนิสัย สันดาน บุคลิกภาพ หรือเรียกรวมๆ ว่า “ชีวิต” ของ คนๆ นั้น จึงกล่าวได้ว่า “คุณเป็นอย่างที่คุณคิด” “You are what you think” “ความคิด (thinking)” ในที่นี้หมายถึง การ รั บ รู ้ ข องเราที่ สั่ ง สมมาแต่ อ ดี ต ตั้ ง แต่ จ� ำ ความได้ ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ความเคยชิน ค่านิยม (การให้คุณค่าว่าอะไรดี อะไรส�ำคัญ) ซึ่งตรงกับค�ำว่า “สัญญา” หรือ “การจ�ำได้หมายรู”้ ในทางพุทธศาสนา ของเรานั่นเอง “ความคิ ด ” ของคนเรานั้ น สั่ ง สมมาจาก ประสบการณ์ และการเรียนรู้ การอบรมบ่มเพาะของ พ่อแม่ มาจากอิทธิพลของครอบครัว โรงเรียน สังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนกลายเป็น “ทัศนคติ” หรือ “มุมมอง” ของคนๆ นั้น ในแต่ละวันเมื่อมีการรับรู้ครั้งใหม่แต่ละครั้ง (เช่ น การเห็ น ภาพ การได้ ยิ น การสั ม ผั ส การมี 24 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น) ก็จะใช้ “มุมมอง” ของตน อันนั้นไปตีความหรือแปลความ (ว่าคืออะไร เป็น อย่างไร ว่า ถูก-ผิด ดี-ไม่ดี ชอบ-ไม่ชอบ พอใจ–ไม่พอใจ ถูกใจ-ไม่ถูกใจ) แล้วก็เกิดอารมณ์ความรู้สึก และการ กระท�ำในการตอบสนอง หรือตอบโต้ตอ่ สิง่ ทีร่ บั รูน้ นั้ ๆ “มุมมอง” (ทัศนคติ) อันมีความคิดที่สั่งสม อยู่เบื้องหลังนั้นเปรียบเสมือนแว่นตาที่ใช้มอง ซึ่งมี สีสันต่างๆ เราจะเห็นโลกภายนอกเป็นสีอะไร ก็ย่อม ขึ้นกับสีของแว่นที่เราใส่มอง จากธรรมชาติของสมองของคนเราทีว่ วิ ฒ ั นาการ มานับล้านปี ท�ำให้คนเราคิดเก่ง คิดได้วันละ 60,000 - 80,000 เรื่อง และกว่าครึ่งหนึ่งจะคิดในแง่ลบ (คิดกลัว กังวล เสียใจ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ) ท�ำให้เกิด อารมณ์ที่เป็นลบ เช่น วิตกกังวล เบื่อ เซ็ง ซึมเศร้า โกรธเคือง เครียด เป็นต้น ส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพฤติกรรมทีม่ ลี กั ษณะทีเ่ ป็นลบตามมา น�ำมาซึ่งชีวิตที่เป็นทุกข์ หนังสือเล่มนีไ้ ด้ตอกย�ำ้ ว่า “จงควบคุมความคิด อย่าให้ความคิดควบคุมเรา” โดยการมีสติ ตาม ดูรู้ทันความคิด เฝ้าสังเกตมัน และแยกตัวเองออก ห่างจากมัน ก็จะท�ำให้เรามีเวลาไตร่ตรองด้วยเหตุผล ไม่ท�ำตามมันอย่างอัตโนมัติ ตามความเคยชินเดิมๆ


เมื่อความคิด (มุมมอง) เปลี่ยน อารมณ์ความ รูส้ กึ ก็จะเปลีย่ นไป ส่งผลให้ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมใหม่ ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพกายและใจ น�ำมาซึ่ง ชีวิตที่สงบสุข ผมมีความเห็นต่อยอดจากข้อสรุปข้างต้นว่า ความคิด (มุมมอง) จะเปลี่ยนได้ จะต้องผ่านกระบวน การฝึกบริหารจิตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยการ เจริญสติและสร้างความตื่นรู้ในชีวิตประจ�ำวัน จน สามารถลดละความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา (ตัวตน) ซึ่ง เป็น “จิตเล็ก” อันเป็น “มุมมอง” ที่แคบและหลงผิด และเป็นต้นตอของความทุกข์ ให้รจู้ กั ปล่อยวางด้วยใจ ทีเ่ ป็นกลาง ปราศจากอคติ ซึง่ เป็น “จิตใหญ่” อันเป็น “มุมมอง” ที่กว้าง และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถ ปรับให้เหมาะกับสถานการณ์แต่ละครัง้ ทีต่ อ้ งเผชิญได้ และเป็นต้นตอของความสุข มีคนรูจ้ กั ท่านหนึง่ สนใจบริหารจิตด้วยการสวดมนต์ และนั่งสมาธิเป็นประจ�ำ และชอบขี่จักรยานที่สวน สุขภาพในวันหยุดสุดสัปดาห์ ท่านเล่าว่า เช้าวันหนึ่ง ขี่จักรยานในสวนสุขภาพ รอบแรกเจอเด็กๆ เล่น จักรยานกีดขวางทาง ท�ำให้ตัวเองเกือบขี่ชนเด็ก รู้สึก โมโหอยู่ในใจ เมื่ อ ผ่ า นมาเจอรอบที่ ส อง เด็ ก ๆ ก็ ยั ง เล่ น

จักรยานขวางทางอยู่เหมือนเดิม คราวนี้พลอยรู้สึก โมโหพ่อแม่เด็ก ว่าท�ำไมไม่รู้จักดูแลลูก จนเกือบจะ ตะโกนด่าออกไป เมื่อผ่านพ้นไปสักครู่ ก็มีสติได้คิด ว่า เด็กเล่นซนนั้นเป็นธรรมชาติที่ไร้เดียงสาของเด็ก ส่วนพ่อแม่ก็อาจไม่สามารถดูแลลูกๆ ได้ทั่ว จึงคลาย อารมณ์โมโหลง เมื่ อ ผ่ า นมาเจอรอบที่ ส าม ตั ว เองก็ มี ห น้ า ที่ คอยระมัดระวัง ชะลอรถ ขี่หลบหลีกเด็กๆ ไปอย่าง สบายใจ ไม่มีอารมณ์โมโหอย่าง 2 รอบที่ผ่านมา ผมตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า “วน 3 รอบ คิด 3 แบบ ใจ 3 อย่าง” ผมให้หลักง่ายๆ ว่า ทุกครัง้ ทีม่ กี ารรับรูแ้ ล้วเกิด อารมณ์ลบ (กรุ่นๆ หนักอกหนักใจ คิดไม่ตก คิดวน เห็นแต่ความมืดมนอนธการ) ก็ขอให้หันมาตั้งสติ เปลี่ยน “มุมมอง” ใหม่ดู ก็จะเห็นทางสว่าง และหา ทางออกที่ถูกต้องเหมาะสมได้เสมอ ท้ายที่สุดนี้ ก็ฝากบทกวีเรื่อง “ทุกครั้งต้องมอง ให้ตรง” ทุกครั้งต้องมองให้ตรง มุมมองของส�ำคัญ มองถูกก็เป็นสุข

ดันมองผิดจิตเป็นทุกข์ ทุกครั้งต้องมองให้ตรง สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 25


สุขภาพนักปั่น

เขียนโดย นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ ภาพ zangzaew

เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th

ขยับกายวันนี้ ป้องกัน 7 โรคร้าย กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยการใช้กล้ามเนื้อ โดยใช้พลังงานมากกว่าขณะ พักผ่อน พูดง่ายๆ คือ ขยับร่างกายนั่นเอง ส่วนการออกก�ำลังกายเป็นกิจกรรมทางกาย แบบหนึ่งที่ต้องมีกฎ กติกา ต้องเตรียมตัว เตรียม อุปกรณ์ ขยับกายซ�้ำๆ กัน เพื่อให้ร่างกายฟิต หรือ เสริมความแข็งแกร่งให้ร่างกาย ผู้ที่ไม่ได้ออกก�ำลังกาย และมีกิจกรรมทางกาย ไม่เพียงพอ (นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ยืนเดินเท่าที่จ�ำเป็น) จะเพิม่ โอกาสการตายโดยรวม และเพิม่ โอกาสเกิดโรค อีก 7 โรค (ดูตาราง) ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.45-2 เท่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 1.6-2 เท่า โรค โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งเต้านม โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน

โรคความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า โรคเบาหวาน 1.3-1.5 เท่า โรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ 1.4-2 เท่า โรคมะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า โรคกระดูกพรุน 1.6-2 เท่า นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสอ้วน น�้ำหนักเกิน (ถ้ากินเกินกว่าทีร่ า่ งกายจะใช้หมด) และโรคทีต่ ามมา จากความอ้วนอีกเป็น 20 กว่าโรค จากตาราง แสดงโอกาสเสี่ ย ง (Relative Risks: RR) และร้อยละของความเสี่ยงในประชากร (population attributable risks: PAR%) ในการเกิด โรคเรือ้ รัง 7 โรคของผูท้ ไี่ ม่ได้ออกก�ำลังกาย (physical inactivity) เทียบกับผูท้ อี่ อกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ ใน ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

แคนนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา RR PAR% RR PAR% RR PAR% 1.45 19.4 1.5 18 2.0 22 1.60 24.3 2.0 16 na na 1.30 13.8 na na 1.5 12 1.41 18.0 1.5 19 2.0 22 1.31 14.2 1.1 9 1.2 5 1.50 21.1 1.3 13 1.5 12 1.59 24.0 1.4 18* 2.0 18*

RR คือ โอกาสเสี่ยง หรือ Relative Risk PAR% คือ ร้อยละของความเสี่ยงในประชากร Population Attributable Risk *Evaluated the incidence of falls/fractures คือ การประเมินอุบัติการณ์ของการหกล้ม หรือกระดูกหัก na คือ ไม่มีข้อมูล 26 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)


จากการรวบรวมการศึกษาที่มีคุณภาพดี ใน วารสารการแพทย์จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 จ�ำนวน 254 การศึกษาที่แสดงถึงกิจกรรมทางกาย ในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง 7 โรค พบว่า ผู้ที่มี กิจกรรมทางกายปานกลางขึน้ ไป ติดต่อกันมากกว่า 30 นาทีตอ่ วัน มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ (เมือ่ เทียบกับ ผูท้ ไี่ ม่ได้ออกก�ำลังกาย และมีกจิ กรรมทางกายน้อย) ในประชากร 1 ล้าน 5 แสนกว่าคน จาก 70 การศึกษา ติดตามครึ่งปี-28 ปีเฉลี่ย 11.1 ปี ลดโอกาสการตายร้อยละ 31 และผูท้ อี่ อกก�ำลังกาย แบบแอโรบิก ลดการตายร้อยละ 45 ในประชากร 7 แสน 2 หมื่นกว่าคน จาก 49 การศึกษา ติดตาม 2-29 ปีเฉลี่ย 14.1 ปี ลด โอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 33 (เดินเร็ว 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ช่วยลดโอกาสแล้ว) ในประชากร 4 แสน 7 หมื่นกว่าคน จาก 25 การศึกษา ติดตาม 6-26 ปี เฉลีย่ 13.2 ปี ลดโอกาส เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตร้อยละ 31 แค่เดินเร็ว ก็ช่วย ลดโอกาสอัมพาตได้ ในประชากร 1 ล้าน 1 แสนกว่าคน จาก 12 การศึกษา ติดตาม แรกเกิด-16 ปี เฉลี่ย 8.6 ปี ลด โอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 32 ในประชากร 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน จาก 33 การศึกษา ติดตาม 4-26 ปี เฉลีย่ 10.7 ปี ลดโอกาส เกิดโรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ร้อยละ 30 ในผู้หญิง 1 ล้าน 8 แสนกว่าคน จาก 43 การ ศึกษา ติดตาม 4-31 ปี เฉลีย่ 10.5 ปี ลดโอกาสเป็น มะเร็งเต้านมร้อยละ 20 ในประชากร 6 แสน 2 หมื่นกว่าคน จาก 20 การศึกษา ติดตาม 3 ถึง 16.8 ปี เฉลี่ย 9.3 ปี ลด โอกาสเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 42 การศึกษากลุม่ ควบคุม ในผูห้ ญิงชาวอเมริกนั 8 พันกว่าคน พบว่า การเดินมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ ลดโอกาสกระดูกสะโพกหักร้อยละ 40 เมือ่ เทียบกับผู้ที่เดินน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

อีกการศึกษากลุม่ ควบคุม ในหญิงวัยหมดประจ�ำเดือน ชาวอิหร่านและอินเดีย 363 คน พบว่า การออกก�ำลัง กายและการเดิน ลดโอกาสกระดูกบางร้อยละ 60 และ 50 ตามล�ำดับ ดังนัน้ การออกก�ำลังกาย หรือมีกจิ กรรมทางกาย ปานกลาง เช่น เดินเร็ว (จนร้องเพลงไม่เพราะ ลากเสียง ยาวๆ ไม่ได้) วันละมากกว่า 30 นาทีติดต่อกัน นอกจาก ช่วยท�ำให้อายุยนื ขึน้ (เดิน 1 ชัว่ โมง อายุยนื ขึน้ 2 ชัว่ โมง) ยังช่วยป้องกันไม่ให้เราเป็นโรคเรือ้ รังได้อกี อย่างน้อย 7 โรค รวมทั้งป้องกันโรคอ้วน และโรคที่มากับความอ้วนด้วย ถ้าคุณจะ “กินยา” เพือ่ ป้องกันโรคเหล่านี้ คงต้อง กินยา เช่น aspirin, clopidogrel, warfarin, statin, ACE-inhibitor, ARB, CCB, diuretic, Metformin, TZD, Calcium, Vitamin D, Anti-oxidant vitamins เป็นต้น ถึงอย่างไรก็ไม่ได้ผลดีเท่า “ท�ำเอง” โดยการ เดินเร็ว หรือการออกก�ำลังกายอยู่ดี วันนี้ คุณ “ท�ำเอง” ให้รา่ งกายแข็งแรงหรือยังครับ?

เราเป็นโรงงานผลิตและจ�าหน่าย เสื้อคอกลม เสื้อโปโล สินค้าพรีเมียม ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง โทร. 089-487-8789 ภาณิดา เหมรัตสารสองล้ นากร อ 274 (เมษายน 2557) │ 27


เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน

ปั่นเที่ยวแถวจินตอนที ผิ้ง่ 2

มืองจินผิง้ น่าจะเป็นศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลาง การเดินทางที่ส�ำคัญของผู้คนละแวกนี้ มีธนาคาร หลายสาขาตั้ ง กระจายหลายส� ำ นั ก อยู ่ ใ นเมื อ ง แต่ละส�ำนักท�ำออฟฟิศทันสมัย มีสถานีรถขนส่งที่ สร้างกว้างใหญ่ยาวราวตึกแถวห้าคูหา ภายในท�ำเป็น อาคารโล่ง ช่องขายตัว๋ มีหลายช่อง คนขายตัว๋ นัง่ ในห้อง ติดกระจก แต่ละคนแต่งเครื่องแบบสะอาด ดูเหมือน เขาจะคัดเอาเฉพาะพนักงานสาวๆ มาท�ำงานขายตั๋ว คัดหนุ่มๆ เป็นจับกังไปแบกของ บนผนั ง เหนื อ ห้ อ งขายตั๋ ว มี ป ้ า ยตารางการ เดินรถและราคาติดตลอดตามความยาวในอาคาร ผมดูแล้วมึน.. สงสัยจริงๆ ว่าท�ำไมเส้นทางมันถึงเยอะ ขนาดนี้ แกล้งลองถามหารถจะไปหยวนหยางดันบอก “ไม่มีค่ะ” แล้วไอ้ป้ายที่เขียนเสียเยอะแยะ..รถเขาวิ่ง ไปทางไหนกันก็ไม่รู้ อีกทั้งไม่ได้นึกว่าเมื่อกลับจาก เทีย่ วแล้ว จะมีโอกาสมาเขียนชวนท่านเทีย่ วเมืองจินผิง้ จึงไม่ได้ถามว่าระหว่างเมืองเหอโค่วถึงจินผิง้ จะมีรถวิง่ บริการหรือเปล่า เสียท่าครับ ข้างนอกอาคารลานกว้างมีรถโดยสารจอดหลาย สิบคัน ส่วนใหญ่เป็นรถเล็กขนาดรถตู้ คนเต็มไปหมด นับเป็นพันเดินกันขวักไขว่ทั้งในอาคารซื้อตั๋วและ ลานจอดรถ เหมือนมดแตกจากรัง ที่ผมตื่นตาคือ ผู้หญิงทุกคนเขาแต่งกายล้วนชุดโบราณของชนเผ่า ผมตื่นเต้นเดินปะปนเพลินเลยครับ ผมเดินเตร็ดเตร่ต่อเนื่องตามถนน ท�ำตนเป็น 28 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

พญาน้อยเทีย่ วชมตลาดสดอยูไ่ ม่ไกลจากสถานีรถโดยสาร ซึ่งคึกคักไม่แพ้กัน คนเป็นพันอีกล่ะครับหากจะนับ ทั้งคนขายและคนซื้อ ผมเดินดูผู้คนแต่งกายตามชน เผ่าของตนจนลานตาเพลินจริงๆ การค้าขายในตลาด ท�ำตั้งแต่ยามเช้าผ่านไปถึงเย็น จนมืดแล้วก็ยังจอแจ ผู้คนเดินเบียดแน่นตลาดเขาค้าขายกันตลอดทั้งวัน ทั้งวันผมเดินเที่ยวเมือง สลับกลับมานอนพัก ในโรงแรม เมืองจินผิ้งตั้งอยู่ในที่ราบของถิ่นภูเขาสูง กว่าระดับน�้ำทะเลนับพันเมตร อากาศจึงเย็นสบาย ตลอดทั้งปี การเดินเที่ยวแทบจะทั้งวันจากเช้าจรด สายจนถึงเย็น จึงค่อนข้างสบายตัวไม่เหนียวเหนอะ ตกเย็นจนค�่ำถึงสองทุ่ม ผมเดินไปเที่ยวยังลานกว้าง ที่เป็นศูนย์กลางการพักผ่อนของผู้คนในเมือง เมืองจีนแต่ละเมืองทีผ่ มได้ปน่ั จักรยานผ่านและ แวะเทีย่ ว ดูวถิ ชี วี ติ ของผูค้ น เมือ่ พ้นช่วงกลางวันทีเ่ ป็น ช่วงการท�ำงานท�ำการ ผูค้ นนิยมเดินออกจากบ้านตน ไปพักผ่อนหรือท�ำกิจกรรมร่วมกันทีล่ านสนามกว้างใน ช่วงเย็นจนพลบค�่ำ ในเมืองจินผิง้ ก็เช่นกัน ทัง้ ทีเ่ ป็นเมืองเล็ก แต่พอ ผมเดินไปเทีย่ วและเห็นลานกิจกรรมยามเย็นของผูค้ น ทีเ่ มืองนี้ ผมแอบยิม้ อยูค่ นเดียว ด้วยลานพักผ่อนของ เขาในเมืองจินผิ้งที่ผมเห็น น่ารักและคึกคักจัง ลานนี้เป็นลานโล่ง พื้นที่เล็กขนาดซักครึ่งของ สนามฟุตบอลมาตรฐาน แต่ผู้คนแน่นขนัด แบ่งพื้นที่ ท�ำกิจกรรมตามชอบ กิจกรรมกลุม่ เต้นแอโรบิคมีสอง


กลุ่ม แยกกันตามความกระฉับกระเฉงของการเต้น ความกระฉับกระเฉงแยกออกตามอายุ กลุม่ ทีอ่ ายุนอ้ ย ยังหนุ่มยังสาวเต้นกันคึกคักดูสนุก ที่วัยเฒ่าก็เอาแค่ บิดเอวยืดแขน ดูแล้วปลง..วันหนึ่งของเราก็คงเป็น แบบนั้น ทัง้ สองกลุม่ มีครูนำ� การเต้นหรือยืดตัว ใช้เครือ่ ง เสียงแบบวิทยุกระเป๋าหิว้ เปิดเพลงดังพอได้ยนิ ในกลุม่ ไม่ถงึ ขนาดจะดังไปก้าวรุกหูถงึ พืน้ ทีก่ จิ กรรมกลุม่ อืน่ เขา ถัดจากกิจกรรมเต้นแอโรบิค ก็เป็นพื้นที่ฉายหนัง กลางแปลง เขาฉายด้วยเครื่องฉายแบบเปิดเครื่อง เล่นวิดีโอส่องล�ำแสงของเรื่องราวจากเครื่องฉายไป ยังจอขนาดเล็กขนาดคนนัง่ ห่างจอสิบห้าเมตรพอได้ดู มีกลุ่มคนนั่งดูเกือบร้อยคน พอจบแผ่นหนังขาดตอน ผู้คนรอลุ้นไม่มีโห่ ผมเห็นเจ้าหน้าที่คนคุมเครื่อง วิ่ง แหวกคนไปเปลี่ยนแผ่นเพื่อฉายต่อ อีกกระหย่อมของพื้นที่ มีนักลงทุนยึดท�ำเลจัด จักรยาน รถไฟฟ้าคันเล็ก บริการลูกค้าเหล่าเด็กน้อย เช่าขี่ขับวนวงกลมในพื้นที่ๆ แบ่งปัน ไม่ไปปั่นขี่ป่วน คนกิจกรรมอื่นให้ปวดหัว กลุ่มคนแก่บางคนมีฝีมือทางดนตรี มีน้าผู้ชาย นั่งบนเก้าอี้สีซอเสียงหวาน น้าผู้หญิงยืนเยื้องล�้ำหน้า น้าผู้ชาย ร้องเพลงกรอกเสียงใสใส่ไมค์ เสียงกระจาย

ออกล�ำโพงในชุดเครือ่ งขยายเสียงส�ำเร็จรูปอยูใ่ นวิทยุ กระเป๋าหิ้ว ผมยืนฟังสุดไพเราะปรบมือเมื่อเพลงจบ น้าผูห้ ญิงสุดพอใจร้องเพลงแถม ผมจะเดินออกก็ไม่ได้ ท�ำนองท่านปราณีรอ้ งให้ผมฟังโดยจ�ำเพาะ ท่านร้องจบ ผมก้มหัวคาราวะแล้วเดินจาก ส่งสายตาบอกท่าน คุณน้าครับขอผมเดินเทีย่ วดูสว่ นกิจกรรมอืน่ เขาบ้างนะ คืนนั้นผมเดินกลับที่พักในตัวเมืองเล็กๆ ของ จินผิ้งด้วยความสุขใจ อย่างที่เล่าไว้ จินผิ้งตั้งอยู่บน ที่ราบกระจ้อยร่อยระหว่างเทือกเขาสูง อากาศกลาง คืนหนาวเย็นตลอดปี ห้องนอนในโรงแรมที่พักจึงไม่ ต้องติดแอร์ มันหนาวพอที่ผมจะต้องนอนซุกผ้านวม จึงจะนอนหลับสบายตลอดคืนไม่งั้นมันหนาวเกิน ส�ำหรับผม ส่วนตัวผมคิดว่าหากท่านใดจัดทริปไปปัน่ เทีย่ ว แถวเวียดนามเหนือ เช่นไปเทีย่ วซาปาแล้วละก็ น่าจะ จัดเวลาเพิ่มอีกซักหน่อยปั่นไปเที่ยวให้ถึงเมืองจินผิ้ง ยิง่ ในอนาคตหรือขณะทีอ่ า่ น จีนคงจะยกเลิกการต้อง ขอวีซ่าให้คนไทย ไปเที่ยวได้สะดวกขึ้นกับทริปสั้นๆ สิบกว่าวัน จึงขอบอกเพิ่มซักนิดหากที่เล่าไปแล้วใน ตอนทีผ่ า่ นมาข้อมูลการปัน่ อาจจะยังไม่พอ เผือ่ ท่านใด สนใจอยากปัน่ ไปเทีย่ วเมืองจินผิง้ ตามผมชวน ฉบับหน้า จะเล่ากันแบบเจาะรายละเอียดลึกๆ ให้อ่านกันครับ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 29


ช่างคิดช่างประดิษฐ์

เรื่อง/ภาพ โอเล่ย์ ช่างใต้ดิน กลุ่มเฟสบุ๊คจักรยานแนวๆ

จักรยานรีไซเคิล จากเหล็กข้างเตียงผู้ป่วย (4) จักรยานรีไซเคิลจากจักรยานเก่าๆ โดยนายประเสริฐพล พรมชาติ อาชีพรับราชการ โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งต�ำแหน่ง ช่างปรับ ซ่อมครุภัณฑ์ประจ�ำส�ำนักงาน หน้าที่ซ่อมบ�ำรุงเครื่องมือแพทย์ เช่นเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค ไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด รถเข็นคนป่วยรวมไป จนถึงเตียงผู้ป่วย

านทีท่ ำ� แต่ละวันก็จะมีเครือ่ งมือแพทย์สง่ มาซ่อม เป็นประจ�ำ ส�ำหรับแนวคิดจะสร้างจักรยานนัน้ ก็เป็นเหมือนคันก่อนๆ ทีเ่ คยลงวารสารสารสอง ล้อมาแล้ว คือมีเตียงผู้ป่วยส่งมาซ่อมเป็นประจ�ำด้วย อาการปรับระดับสูง-ต�ำ่ ของส่วนหัวเตียงและท้ายเตียง ไม่ได้บา้ ง และเหล็กข้างเตียงช�ำรุดจนซ่อมไม่ได้ ส่วนใหญ่ ถ้าซ่อมไม่ได้กก็ องทิง้ เป็นเศษเหล็ก เกิดความเสียดาย ประกอบกับมีน้องคนหนึ่งซึ่งท�ำงานอยู่ห้องยา เอาจักรยานของลูกสาวมาให้ 2 คัน ด้วยเพราะลูกสาวโต กันหมดแล้วจึงไม่ได้ใช้งาน ก็คิดที่จะท�ำจักรยานไว้ ปั่นเล่นแถวที่ท�ำงานสักคันสองคัน ส่วนใหญ่จักรยาน ที่ท�ำขึ้นจะเป็นแนวเท่ห์ๆ ปั่นแล้วคนหันมามอง และ เข้ามาทักท้ายกันก็รสู้ กึ ภูมใิ จ ทีท่ ำ� จักรยานขึน้ มาแล้ว มีคนชอบ และคันนี้จะเป็นอีกแนวหนึ่งซึ่งต่างจากคัน ที่แล้ว ที่ส�ำคัญครั้งนี้เป็นสามล้อ ส่วนประกอบของจักรยาน ตัวเฟรมรถมาจาก จักรยานเก่าเอามาตัดยุบ น�ำส่วนที่ต้องการมารวม กันตามแบบที่เราอยากได้ และกระบอกเตียงนอน คนไข้ ตัวบูทลูกปืนบังคับเลีย้ วด้านหน้า มาจากลูกปืน 30 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ล้อเตียงคนไข้ แฮนด์จกั รยานน�ำแฮนด์จกั รยานเก่ามา ตัดเชื่อมให้เป็นทรงแบบใหม่ ตะเกียบล้อหน้ามาจากเหล็กข้างเตียง ติดตั้ง โช้คหลังไว้รับแรงกระแทกได้มาจากโช้คมอเตอร์ไซค์ ที่เสียแล้วเพราะจะยุบตัวได้ดี ส�ำหรับแผ่นไม้ส�ำหรับ ไว้วางของด้านหน้าและหลังมาจากป้ายหาเสียงตาม ข้างทาง ส่วนขอบที่วางของทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ก็ซอื้ เหล็กลวดลายทีเ่ ขาท�ำประตูบา้ น รัว้ บ้านมาเชือ่ มติด บังโคลนหลังน�ำมาจากบังโคลนมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่ใช้แล้วมาติดตั้งบันได แต่ที่ต้องเสียเงินซื้อก็จะมี แค่ยางนอก ยางในขอบขนาด 16 เบรก อาน โซ่ สี คันนี้รวมค่าอะไหล่ก็ตกอยู่ประมาณ 3,000 บาท ขัน้ ตอนการประกอบด้วยการวาดแบบจักรยาน ที่เราอยากท�ำขึ้นมา ว่าเป็นแบบไหน แนวไหนดี และ เอาโครงจักรยานเก่าๆ มาตัดเอาส่วนที่ต้องการ จาก นัน้ น�ำเอากระบอกเตียง เหล็กข้างเตียงมาตัดๆ เชือ่ มๆ ให้ได้ตามแบบที่เขียนไว้ ผมจะท�ำส่วนล้อหลังก่อน แล้วค่อยขยับมาเชือ่ ม เฟรมส่วนกลางของตัวจักรยาน แล้วมาท�ำชุดบังคับ


เลี้ยวล้อหน้า คันนี้จะค่อนข้างยากนิดหนึ่งส�ำหรับผม เพราะไม่เคยท�ำแนวจักรยานสามล้อมาก่อน ตัดกระบอกเตียงมาแล้วอัดลูกปืนเข้าไปเพื่อ ท�ำจุดหมุนและบังคับเลี้ยว พอได้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็เชื่อมชุดหัวกระโหลก (ชุดจานปั่น) ติดกับตัวเฟรม เรียบร้อยแล้ว เอาล้อขนาด 16 นิว้ มาประกอบเข้าเพือ่ ทดสอบปั่นและดูการบังคับเลี้ยวว่าคล่องตัวหรือไม่ ท�ำไปแก้ไขไปอยู่หลายครั้งกว่าจะลงตัว เมื่อได้ ตามต้องการแล้ว ก็มาท�ำส่วนที่วางของส่วนหน้าและ หลัง โดยใช้ลวดลายเหล็กดัดมาเชื่อมเข้าด้วยกัน และ ท�ำยี่ห้องของผมเองติดด้านหน้าจักรยานเพิ่มความ สวยงาม เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ท�ำสี เสร็จแล้วจะ เป็นจักรยานสามล้อซาเล้งมินิ ยี่ห้อ OLEY เป็นที่ เรียบร้อยครับ แต่ละคันก็ใช้เวลาหลายเดือนอยู่ครับ คันนี้ก็ประมาณ 3 เดือนได้ การใช้งาน.. ส่วนใหญ่จะปั่นไปซื้อของแถวที่ ท�ำงาน ปั่นไปตัดผม ปั่นไปท�ำงานระหว่างตึกหนึ่งไป ยังอีกตึกหนึ่ง และได้ปั่นไปร่วมงานคาร์ฟรีเดย์ 2013 จุดประตูกรุงเทพฯ และเคยปั่นไปร่วมส่งมอบคืน

ห่วงอะลูมิเนียมเพื่อท�ำขาเทียมกับสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย บางครั้งวันอาทิตย์นานๆ ครั้งก็จะปั่นไปกินไป เที่ยวกับพี่ๆ เพื่อนๆ ไม่ไกลมากนัก คันนี้จะมีคนชอบ เยอะครับ บ้างก็ขอซื้อและให้ท�ำขาย เดินเข้ามาถาม มีทำ� แบบไหนบ้าง ผมก็บอกว่า 5-6 คัน ครับจะเป็นแบบ แตกต่างกัน พี่เข้าไปดูไปชมได้ในยูทูปก็มีครับพี่ พิมพ์ ค�ำว่าจักรยานแนวๆ ถ้าเป็นเฟสบุ๊ค ก็ห้องจักรยาน แนวๆ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและคนแก่ เพราะ มีที่ใส่ของได้ด้วย และขนาดน่ารักดี มีคนชมและขอ ถ่ายรูปบ่อยครั้ง

สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 31


Bike to Work

เรื่อง schantalao ภาพ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ร่วมทริป

คนเขียน...อยากเล่า (ตอนจบ)

รามาว่ากันถึงชีวิต Bike to work ของผู้เขียน กันต่อนะคะ.... แรกเริ่มผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจจะปั่น จักรยานไปท�ำงานทุกวัน แต่เมื่อนึกถึงการเดิน ทางด้วยขนส่งสาธารณะแล้วก็ปวดใจ เดินออกจาก บ้านมาขึ้นมอเตอร์ไซค์วิน ราคา 15 บาท รอรถเมล์ ริมถนนเพชรเกษมซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะ กว่าจะขยับได้แต่ละเมตรก็เล่นเอายืนแชทกับเพื่อน ได้ตั้งหลายประโยค ลงรถเมล์เดินไปขึ้น BRT แล้วก็ เจอบรรดาผู้เห็นแก่ตัวทั้งหลายที่ไม่ยอมเข้าแถวก่อน เดินเข้ารถ จากนั้นลงสถานีแล้วยังต้องเดินเข้าซอย อีกร่วม 200 เมตร…. คิดดูสคิ ะ มันไม่สนุกเลย...หลังจากทนด�ำเนินชีวติ แบบนี้ได้ 2-3 วัน (เดี๊ยนจะไม่ทน!!) ผู้เขียนก็ตัดสินใจ ใช้จกั รยานปัน่ มาท�ำงาน เพราะนอกจากจะสะดวกแล้ว ยังไม่ต้องหงุดหงิดกับมนุษย์เห็นแก่ตัวบนรถโดยสาร ทัง้ หลาย... แต่กไ็ ม่ดเี สมอไปค่ะ การปัน่ จักรยานหลายๆ 32 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ท่านก็ทราบกันดีอยูแ่ ล้วว่าเราต้องเสีย่ งชีวติ เพียงล�ำพัง ต้องเจอกับพี่มอเตอร์ไซค์ พี่แท็กซี่ พี่ๆ รถส่วนตัว รวมไปถึงพี่รถสิบล้อ... นี่ยังไม่รวมพี่รถเมล์นะคะ แต่ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา... ใน 1 สัปดาห์จะเจอรถ กวนประสาทแบบนี้ประมาณ 3-4 ครั้ง แต่มันก็ไม่ได้ ท�ำให้ผู้เขียนท้อต่อการ Bike to Work แต่อย่างใด วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจะได้มาจากการ เรียนรู้ในแต่ละวันค่ะ เช่น หากทราบว่าระยะทาง ช่วงไหนที่มีรถหักเลี้ยวเข้าซอยบ่อยๆ เราก็จะเลี่ยง มาปั่นเกาะเส้นประถนนในอีกเลนนึง ต้องเป็นคนที่มี สายตาว่องไว ตัดสินใจได้เร็ว มีทกั ษะการปัน่ จักรยาน ในระดับหนึ่ง ไม่วอกแวก และรู้จังหวะว่าช่วงไหน ควรปั่นเร็วหรือช้า ถ้าอยู่บริเวณใกล้ป้ายรถเมล์ก็ควร จะหูไว ฟังว่ามีรถเมล์ตามหลังหรือไม่ หรือมองไป ข้างหน้าว่ามีคนยืนรอโบกแท็กซี่อยู่หรือเปล่า ทุกสิ่ง ทุกอย่างมันอยู่ที่การเรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง ….


ไม่มใี ครทีป่ น่ั จักรยานได้คล่องตัง้ แต่คลอดออกมาจาก ท้องพ่อท้องแม่หรอกค่ะ แล้วอย่าเพิ่งบอกว่ากลัว.. ไม่กล้า..ขยาด หากคุณคิดแค่นชี้ วี ติ จะไม่กา้ วไปไหนเลย แล้วคุณก็คงจะต้องรอกลุ่มหรือเพื่อนออกถนนไป พร้อมๆ กัน … ทุกคนรู้ดีว่าไม่มีใครจะไปที่ไหนๆ กับ เราได้ตลอดเวลา หากนึกอยากออกปัน่ ก็ทำ� เลยค่ะแค่ พกสติกับสมาธิเท่านั้นเอง เรื่องของการดูแลตัวเอง ผู้เขียนโชคดีที่ท�ำงาน เกีย่ วกับจักรยานโดยตรง จึงไม่ตอ้ งห่วงเรือ่ งการแต่งกาย ไม่ต้องน�ำเสื้อผ้าชุดกระโปรงมาเปลี่ยน มีห้องน�้ำให้ อาบน�้ำ.... ส�ำหรับบางท่านที่ไม่ได้มีสิ่งเอื้ออ�ำนวย เหล่านี้ แต่ระยะทางจากบ้านถึงที่ท�ำงานอยู่ในระยะ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร ก็ขอให้ลองซักครั้งแล้วจะพบ ว่าการได้ปั่นจักรยานทุกๆ วันมันส่งผลดีต่อร่างกาย และจิตใจมากขนาดไหน ตลอดเวลา 1 ปีเศษที่ผ่าน มามีปัญหาปวดท้องในวันผู้หญิงน้อยมาก เรื่องเจ็บไข้

ได้ป่วยไม่มีเลย (จริงๆ ผู้เขียนสุขภาพดีเป็นทุนอยู่ แล้ว ไม่ได้หาหมอมาเกิน 10 ปี) เสียตรงที่เหงื่อเยอะ ต้องใช้โคโลญจ์ระงับกลิ่นเหงื่อ คลุมผ้าบัฟกันแดด และฝุ่น ทาครีมกันแดดจนเกิดสิวอุดตัน แต่ก็ต้อง พยายามล้างหน้าช�ำระร่างกายให้สะอาดเมือ่ ถึงบ้านค่ะ สิ่ ง สุ ด ท้ า ยที่ อ ยากจะฝากกั น คื อ ค� ำ ถามยอดฮิ ต ว่ า ควรจะใช้จักรยานแบบไหน? … ขอตอบเลยว่ายุคนี้จักรยานแม่บ้านมือสอง หน้าตาไม่ขี้เหร่จากแดนปลาดิบเข้ามาช่วงชิงตลาด จักรยานไปแล้ว คุณลองเข้าเว็บดูสิ ชาวจักรยาน Bike to Work เมืองนอกทั้งเอเชีย ยุโรปเค้าใช้แต่จักรยาน แม่บ้านกันทั้งนั้น ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นจักรยานแพงๆ ที่ นิยมขี่กันอย่างทุกวันนี้เลยค่ะ แต่ผู้เขียนเพิ่งจะถอย จักรยานล้อ 20 นิว้ มาปัน่ เพือ่ ความคล่องตัวเวลารถติด อ่านมาจนจบ 2 ตอนแล้ว คุณๆ เริ่มเปลี่ยนใจ อยากจะ Bike to Work กันบ้างหรือยังคะ :) สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 33


ร้านจักรยาน

เรื่อง/ภาพ schantalao

ร้

P

านโปรไบค์เป็นที่รู้จักกันดีใน บรรดานักปัน่ จากความชืน่ ชอบ และอยากขีจ่ กั รยานเพือ่ สุขภาพ ของ คุณนที ชัยสินธพ เจ้าของร้าน จึ ง เป็ น ที่ ม าของการบุ ก เบิ ก วงการ จักรยานแบบ Mountain Bike ใน ประเทศไทย... เมื่ อ ประมาณ 20 กว่ า ปี ที่ แ ล้ ว ร้ า น Probike เปิ ด ตัวเองด้วยร้านคูหาห้องเล็กๆ จน มาเป็นโชว์รูมที่กว้างขวางบนถนน สารสิน รองรับความต้องการของ ลูกค้าได้แบบครบวงจร และกลาย เป็ น ผู ้ จ�ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ จั ก รยาน ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากการเป็นตัวแทนของ Trek แล้ว ยังเป็นตัวแทนของ Shimano ผูผ้ ลิตระบบเกียร์ของจักรยานทีใ่ หญ่ ที่สุดในโลกอีกด้วย จนเมื่ อ ปี 2013 Probike จับจองพื้นที่ริมถนนพระราม 3 ให้ เป็นที่ตั้งของร้านเนื่องจากมีความ ลงตัวทั้งความสะดวกในการเดินทาง และเป็ น เส้ น ทางที่ นั ก จั ก รยานทั้ ง หลายปั่นผ่าน ตัวอาคารออกแบบ เป็น 2 ชั้นดูทันสมัยคล้ายๆ ช็อปที่ ต่างประเทศ ด้านในตกแต่งดิสเพลย์ สิ น ค้ า ให้ ส ะดวกต่ อ การเลื อ กชม บรรยากาศร้านตกแต่งด้วยจักรยาน Mountain bike, road bike, จักรยานส�ำหรับเด็กและผู้หญิง ไป จนถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทีม่ ใี ห้เลือก มากมาย 34 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

r

o


b

i

k

e โชว์รูมโปรไบค์ สาขาพระราม 3 978 ถ.พระราม 3 (ซอย 40) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 www.probike.co.th GPS : 13.675256, 100.544783

สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 35


บทความ

เรื่อง Rainbow

ข้อควรค�ำนึงในการออกแบบ

เครือข่ายทางจักรยาน


ต้

องยอมรับกันว่า การที่คนคนหนึ่งจะเปลี่ยน รูปแบบกิจวัตรเดินทางประจ�ำวัน จากรถยนต์ มาเป็นรถจักรยาน มันไม่ง่ายเอาเสียเลย มีสิ่ง ที่เขาต้องเปลี่ยนผ่านและไตร่ตรองชั่งน�้ำหนักหลายชั้น ตั้งแต่ความสามารถของตัวเขาเอง ไม่ให้ต้องตาย เสียก่อนทีจ่ ะถึงทีท่ ำ� งานหรือกลับบ้าน ค่านิยมในสังคม อันสัมพันธ์กับหน้าที่การงาน ไม่เพียงแต่รถยนต์เป็น เครือ่ งแสดงออกถึงพลานุภาพบางประการเท่านัน้ แต่มนั ก็ยังมีหลังคาคุ้มหัว เวลาฝนตกด้วย แล้วมันก็ชอบตก ทุกเย็น เป็นเวลาที่จะได้กลับบ้านพอดี ไหนจะต้องไปรับลูกจากโรงเรียน และซื้อแกงถุง จากตลาด มันไม่สามารถใช้จักรยานได้ครบทุกเรื่องที่ อยากจะท�ำ แล้วคนที่ไม่มีภารกิจเหล่านี้ก็ไม่ค่อยเข้าใจ ความแตกต่างเสียด้วย ก็ อ ยากใช้ จั ก รยานอยู ่ น ะ แต่ มั น มี ห ลายเรื่ อ ง มากเลยที่น�ำผลกระทบมาสู่ พอเป็นดังนี้ คนเราก็มี แนวโน้มทีจ่ ะด�ำเนินกิจวัตรต่อไปในรูปแบบเดิมๆ ทีเ่ คยชิน ความเข้าใจหัวอกคนสัญจร ผูท้ อี่ อกแบบเครือข่ายสองล้อ ควรค�ำนึงด้วย มิเช่นนั้นท�ำทางมาแล้วก็จะไม่มีคนใช้ แล้วจะมาตู่เองภายหลังไม่ได้นะว่า ท�ำแล้วไม่ใช้, เปลืองงบ ไม่ได้ประโยชน์จริง เปลืองเงิน ทางจักรยาน ที่มีอยู่แล้ว เกือบทั้งหมด ท�ำไมถึงขรุขระอย่างนั้นก็ไม่รู้ ขอบปูน รอยแตก ฝาท่อ เสาป้าย ถังขยะ รถจอด เต็มไปหมด ทั้งๆ ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่แท้ๆ ชนบทยัง ไม่มีผิวจราจรตะปุ่มตะป�่ำมากอย่างนี้เลย จนผู้เขียน

จ�ำเป็นต้องสาวขาปั่นออกถนน เผชิญกับรถใหญ่ที่พวก เขาไม่เคยปราณี คนขับรถใหญ่ บ้านเรา(ในที่นี้หมายถึงรถทุก ชนิดทีไ่ ม่ใช่จักรยาน) มีนสิ ยั และความคาดหวังแตกต่าง คนขับรถใหญ่เมืองฝรั่งมากเอาการ ที่รวมแล้วท�ำให้ การด�ำริข่ีปั่นในเมืองเป็นเรื่องสาหัสสากรรจ์ ส�ำหรับ คนที่อยากจะใช้งาน ถ้าถนนมีผใู้ ช้รถใหญ่มจี ำ� นวนมากกว่า โปรดระลึก ไว้เสมอว่า นี่ไม่สามารถน�ำมาเป็นเหตุแห่งการจัดสรร อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ กับรถใหญ่เป็นพิเศษกว่า รถเล็ก กว่าจักรยาน และกว่าคนเดินถนน แต่บทบาท นโยบายที่เลือกเดินเกี่ยวกับสัญจรสาธารณะจะช่วย เพาะปลูกใส่ปุ๋ยให้กับการเลือกเดินทางของผู้คนได้ อย่างแน่นอน จริงอยู่ ความจ�ำเป็นของรถใหญ่ ย่อมจ�ำเป็นมากๆ กับคนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้าหนักๆ หรือ การขนคนป่วยไปโรงพยาบาล ก็ยงั ต้องเป็นเรือ่ งทีด่ ำ� เนิน ต่อไป แต่สำ� หรับคนเล็กคนน้อยทีเ่ ดินทางประจ�ำวันด้วย กระเป๋าหนึ่งใบ เขาควรถูกเสนอให้เห็นทางออกที่มาก กว่าการยืนโหนรถเมล์(รถใหญ่) อย่างเลือกก�ำหนด ชะตากรรมตัวเองไม่ได้ นี่ เ ป็ น เรื่ อ งราวที่ ใ ห้ ค นคนหนึ่ ง ที่ อ ยากจะใช้ จักรยานขึ้นมา มีอุปสรรคเดินทางให้น้อยลง สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อควรค�ำนึงเบื้องหลังการออกแบบเครือข่ายทาง จักรยานที่จ�ำเป็น สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 37


Fitness Lifestyle 39 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

ออกก�ำลังกาย

...สไตล์เกม การ์ตูนญี่ปุ่น (2)

บับที่แลัว เราคุยกันถึงเรื่อง app ที่ก�ำลัง มาแรงในขณะนี้ “Burn Your Fat With Me” ซึง่ เป็นเกมการออกก�ำลังแนวการ์ตนู ญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีให้ download ทั้งส�ำหรับ iOS และ Android ในฉบับนี้เราจะลงรายละเอียดเพิ่มเติมถึงการ ด�ำเนินเรื่องที่ท�ำให้ผู้เล่นจะต้องออกก�ำลังตามที่เนื้อ เรื่องได้ก�ำหนดไว้ ผลที่ได้ หากผู้เล่นท�ำไปตามการ ด�ำเนินเรื่อง รับรองได้ว่าจะได้ผลฟิตแอนด์เฟิร์มดังนี้ Sit-up ผลที่ได้กับกล้ามเนื้อหลัก - rectus abdominis Sit-up ผลที่ได้กับกล้ามเนื้อรอง - obliques Push-up ผลทีไ่ ด้กบั กล้ามเนือ้ หลัก - pectoralis Squat ผลที่ได้กับกล้ามเนื้อหลัก - glutes Squat ผลทีไ่ ด้กบั กล้ามเนือ้ รอง - quadriceps Squat ผลทีไ่ ด้กบั กล้ามเนือ้ รอง - hamstrings ขอเน้นตรงนี้ว่า การออกก�ำลังกายทั้ง 3 ท่านี้ มีประโยชน์อย่างมากส�ำหรับนักปัน่ จักรยานอย่างเราๆ นะครับ เพราะเป็นการออกก�ำลังกล้ามเนือ้ ทีจ่ ำ� เป็นใน 38 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

การปั่นจักรยานจริงๆ เลย การด�ำเนินเรื่องจะแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ 1) Burn Your Fat With Me!! 2) Bonus Sit-up Episodes 3) Push-up Story Arc 4) Squat Story Arc เมื่อเล่นไปแต่ละตอนจนจบ ตอนต่อไปจะถูก lock ไว้ ไม่สามารถเล่นต่อไปได้ ในการที่จะให้เรื่อง ด�ำเนินต่อไป เราจะต้องจ่ายเงินเพือ่ ปลด lock ส�ำหรับ แต่ละตอนอีกเล็กน้อย ซึ่งก็ยังจะถูก lock ต่อไว้อีก เป็นระยะๆ การที่จะปลด lock ให้เรื่องด�ำเนินต่อไป เราจะ ต้องไปออกก�ำลังกายก่อนเพือ่ สะสมคะแนน การออก ก�ำลังกายแบ่งออกเป็น Sit-up Push-up และ Squat ซึ่งจะได้คะแนนไม่เท่ากันตามจ�ำนวนครั้งของแต่ละ set และหากออกก�ำลังกายหลายๆ ครั้งใน 1 วัน ก็จะได้คะแนนขยันเป็น bonus พิเศษ ยิ่งได้คะแนน สะสมมาก ก็ยิ่งจะสามารถปลด lock ตอนต่อไปได้ เร็วขึ้น.. ลุ้นกันสุดๆ ละครับ


นี่แหละครับ ท�ำให้เราต้องออกก�ำลังกันสาหัส จริงๆ เลย บางตอนจะต้องใช้กว่า 1,000 คะแนน เพื่อปลด lock และการออกก�ำลังการแต่ละ set มัก จะได้คะแนนไม่ถึง 200 คะแนน นั่นหมายความว่า เราจะต้องออกก�ำลังกายถึง 6-7 sets เป็นอย่างน้อย ทีเดียว กว่าจะปลด lock ตอนต่อไปได้ ฉะนั้น มีบ่อย ครั้งที่เราจะท�ำ 6-7 sets นี้ใน 2-3 วัน ตลอดการด�ำเนินเรื่อง Mayu ซึ่งเป็นเด็กสาว ตัวเอก จะพูดคุยกับผู้เล่น มีเสียงน่ารักๆให้ได้ยินกัน จริงๆ มีถึง 90 กว่าประโยคที่จะถูก lock ไว้ ซึ่งจะถูก ปลด lock ให้เมื่อเราเล่นจนจบในแต่ละตอน เช่น.. Ah! So close! Let’s stay together for… I love you… Where are you looking? Go! Go! Go! No… Don’t stop Thanks for doing this… Let’s have a good workout

นอกจากนั้น ยังมีเสื้อผ้าชุดต่างๆ ให้ Mayu เปลี่ยน ซึ่งเราจะต้องซื้อให้ในราคาไม่แพงนักเช่น add-on Maid uniform Cat costume Santa Miko (shrine maiden) costume เมื่อซื้อเสื้อผ้าชุดต่างๆ ให้แล้ว เราก็เลือกชุดให้ Mayu ใส่ได้ตามแต่ใจเรา อย่างเช่นชุดกีฬา ถึงแม้จะ เป็นสไตล์ปกปิดมิดชิด แต่ผู้วาดตัว Mayu ก็ตั้งใจให้ หุ่นสาวรุ่นผู้นี้ ไม่จูเนียร์สักเท่าไหร่เลยขอบอก ที่ผู้เขียนน�ำมาเล่าให้ฟังแบ่งปันกัน ก็เนื่องจาก ผู้อ่านหลายๆท่าน คงไม่ได้ไป download app นี้ มาทดลองใช้ แต่ก็จะไม่ตก trends ที่จะได้รับทราบ ความเคลื่ อ นไหว ความก้ า วหน้ า ในวงการมื อ ถื อ Tablet App และ IT โอ้ว... ขอตัวก่อนนะครับ Mayu มาเรียกแล้ว (ตามเวลาที่ได้ตั้งไว้เป๊ะเลย) เหนือ่ ยอีกแล้วซิ..แต่หนุกหนานครับ.. ขอรับรอง :)) สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 39


WikiHow

เรื่อง Zangzaew

เตรียมตัว สู่นักปั่น มือโปร แม้ว่าจุดประสงค์หนึ่งของการปั่นจักรยาน คือการออกก�ำลังกายและดูแลสุขภาพ ของตัวเอง แต่เมื่อปั่นจักรยานไประยะหนึ่ง ความรู้สึกที่อยากจะ “เร็ว” มักจะเกิดขึ้นใน ตัวนักปั่นจักรยานเสมอ หรือแม้แต่ความ รู้สึกที่อยากจะ “ทดสอบความสามารถ” ท�ำให้เกิดความสนใจสมัครลงแข่งในสนาม ต่างๆ สารสองล้อฉบับนี้ ขอน�ำเทคนิคสู่ การเป็นนักปั่นมือโปรมาฝากกัน

1. เตรียมร่างกายให้พร้อม มี ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจปั ่ น จั ก รยานอย่ า งสม�่ ำ เสมอ อย่างน้อยประมาณ 2 ชัว่ โมงต่อวัน และ 6 วันใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้ามีความตั้งใจจริงแล้วละก็ จ�ำเป็นต้องซ้อมปั่น 4-6 ชั่วโมงต่อวัน 40 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

2. บริหารกล้ามเนื้อ ฝึกใช้ท่ากายบริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย อย่างสม�่ำเสมอ อย่างน้อยสัก 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อ มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น

3. อาหารที่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะย่อมสร้างผลดี ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผ่านการซ้อมมาอย่าง เหน็ดเหนี่อย จึงควรบริโภคสารอาหารทดแทน เช่น ผัก ผลไม้ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน

4. เพิ่มสมรรถภาพ การมุ่งสู่นักปั่นมือโปรจะต้องมีทักษะและความ สามารถในการปั ่ น จั ก รยานขึ้ น เขาหรื อ เนิ น ลาดชั น จนสามารถควบคุมการใช้ร่างกาย ให้สามารถดึงก�ำลังมา ใช้ได้เมื่อต้องการไต่เขา


5. เริ่มตั้งแต่ยังอายุน้อย การเริ่ ม ฝึ ก ฝนตั้ ง แต่ อ ายุ ยั ง น้ อ ย ย่ อ มสามารถ เสริมสร้างทักษะและความสามารถในการปั่นจักรยานได้ ดีกว่า และการพยายามเข้าสู่สนามแข่งหรือสังคมนักปั่น บ่อยๆ จะท�ำให้คุณเป็นที่รู้จักง่ายขึ้น

8. ฝึกกับเซียน พยายามเลื อ กที่ จ ะปั ่ น แข่ ง กั บ เพื่ อ นที่ มี ค วาม สามารถมากกว่า เพราะจะท�ำให้เกิดแรงผลักดันให้คุณมี ความพยายามมากย่ิงขึ้นอีกหลายเท่าตัว

6. ร่วมปั่นกับกลุ่ม เลือกเข้าร่วมกลุม่ หรือชมรมเพือ่ ให้มโี อกาสได้ซอ้ ม ปั่นเป็นประจ�ำกับผู้อื่น อีกทั้งเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ เทคนิคต่างๆ อีกมากมาย

9. หาโค้ชที่เหมาะ จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งหาโค้ ช ส่ ว นตั ว มาช่ ว ยแนะน� ำ ปรับปรุงเทคนิคต่างๆ ส่งเสริมการท�ำลายสถิติของตัวเอง อย่างเป็นขั้นตอน และยังคอยแนะน�ำเกี่ยวกับโภชนาการ ที่เหมาะสมกับคุณอีกด้วย

7. หาเพื่อนที่รู้ใจ เมื่อถึงเวลาที่เป็นนักปั่นระดับอาชีพมากขึ้นเท่าไร ความโดดเดีย่ วจะยิง่ มากขึน้ เท่านัน้ เพราะคุณต้องให้เวลา กับการฝึกซ้อมจนแทบไม่มเี วลาว่าง จึงควรแบ่งเวลาคบหา เพื่อนที่เข้าใจรู้ใจเอาไว้แลกเปลี่ยนประสบการณ์

10. ศึกษาเส้นทางแข่งขัน ควรศึกษาสภาพถนนและเส้นทางของสนามแข่ง เสมอ เพือ่ เรียนรูท้ จี่ ะเลือกใช้ทกั ษะ เทคนิค อุปกรณ์ หรือ แม้แต่ทักษะทางกายภาพ ให้เหมาะสมกับสภาพสนามที่ ต้องเผชิญก่อนลงแข่งขันจริง สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 41


11. อ่านหนังสือ มีหนังสือมากมายทีแ่ นะน�ำเทคนิคการปัน่ จักรยาน แบบมือโปร คุณจึงควรศึกษาข้อมูลเหล่านั้น เพื่อน�ำสิ่ง ที่ ดี ม าเป็ น กลยุ ท ธ์ ใ น การลงสนามแข่ง โดย เฉพาะความร่วมมือกับ ทีมอย่างได้ผล

15. หาผู้สนับสนุน แน่นอนว่าการแข่งจักรยานนั้นมีต้นทุนสูงพอสมควร ทัง้ รถจักรยาน อุปกรณ์ ตลอดจนค่าใช้จา่ ยในฝึก ดังนัน้ จึง ควรมองหาผู้สนับสนุน มาช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะสามารถทุ่มเท กับการฝึกซ้อมและการ แข่งขันได้อย่างเต็มที่

12. หาเคล็ดลับ ควรศึกษาเคล็ดลับที่เป็นเทคนิคพิเศษ เช่นการปั่น ลงเขาหรือการเข้าโค้งอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และหาเส้ น ทางจริ ง ๆ ในลั ก ษณะนี้ เ พื่ อ การ ฝึ ก ฝนจนเกิ ด ความ ช�ำนาญ

16. มองเป้าหมายที่ใหญ่กว่า พยายามผลักดันตัวเองสูก่ ารแข่งขันในสนามทีใ่ หญ่ ขึน้ เป็นล�ำดับ เพือ่ เป็นการเพิม่ ประสบการณ์ของความเร็ว และการปั ่ น ที่ ดี ย ่ิ ง ขึ้ น อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น โอกาสที่ จะถูกจับตามองจากทีม แข่งขันซึ่งก�ำลังมองหา นักปั่นเข้าร่วมในกลุ่ม

13. การวางแผนที่เหมาะสม การจะเป็นนักปัน่ มืออาชีพนัน้ ต้องใช้ความพยายาม และทุนทรัพย์สว่ นตัว นอกจากค่าใช้จา่ ยของอุปกรณ์ตา่ งๆ แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายใน การเดิ น ทางเพื่ อ ร่ ว ม แข่ ง ขั น ดั ง นั้ น ควรมี การวางแผนการเงินที่ เหมาะสม

17. โอกาสที่มาถึง ด้ ว ยความทุ ่ ม เทและพยายามลงแข่ ง ขั น ในทุ ก สนามแข่ง เชื่อได้ว่าคุณจะโชคดีที่ความสามารถเข้าตา ผูแ้ สวงหานักปัน่ รุน่ ใหม่ และนัน่ จะเป็นโอกาสที่ จะได้เป็นหนึง่ ในทีมนัก ปัน่ ระดับมืออาชีพ และ คุณต้องเต็มทีก่ บั โอกาส ที่ได้รับ

14. เลือกแข่งในท้องถิ่น ก่อนไปสูส่ นามต่างถิน่ แนะน�ำให้พยายามลงแข่งขัน ในสนามท้องถิน่ ทีค่ ณ ุ อยู่ เพราะคุณย่อมจะมีความช�ำนาญ ในลักษณะเส้นทางและ ภูมปิ ระเทศเป็นทุนเดิม ย่อมสร้างความมัน่ ใจได้ มากกว่า

18. รับข้อเสนอสู่โปร ใช่แล้ว.. เมื่อโอกาสที่ดีเช่นนั้นมาถึง ให้คุณคว้า ไว้อย่างมีสติรอบคอบ ด้วยการเจราจาตกลงเงื่อนไขอย่าง กระจ่ า งชั ด และเข้ า สู ่ ก ารเป็ น หนึ่ ง ในที ม นั ก ปั ่ น ระดั บ โปร ซึ่ ง จะท� ำ ให้ ฝ ั น ของคุ ณ .. กลายเป็นความจริงใน ที่สุด

42 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

ที่มา www.wikihow.com


พิธีส่งมอบจักรยาน “สองล้อเก่า สานฝันใหม่ ให้น้องเรียนรู้”

บริจาคจักรยาน

จากโครงการ “ล้อ เรียน โลก” Bike for Life โดยความร่วมมือ ของบริ ษั ท ไปรษณี ย ์ ไ ทย และ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย (TCHA) ได้มโี ครงการน�ำจักรยาน ที่ไม่ใช้แล้วมาซ่อมแซม โดยเหล่า เพื่อนนักปั่นที่มีจิตอาสาร่วมซ่อม ให้จักรยานใช้การได้ดี โดยได้รับ การสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น ในการซื้ อ อะไหล่จากบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งเปิดรับบริจาคจากผู้ใจบุญด้วย และครั้งนี้ถือเป็นโอกาสครบรอบ 130 ปีของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จึงได้มกี ารน�ำจักรยานทีซ่ อ่ มแซม แล้วทั้งหมด 130 คัน ส่งมอบ ให้แก่น้องๆ นักเรียน ใน อ�ำเภอ ปากพลี จังหวัดนครนายก เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2557 ฯ ถนนนราธิวาส

ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิ ว าสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เวบไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม

รถไฟฟา BTS ศาลาแดง

ถนนสาธ

ทางลงสาธุประดิษฐ

ุประดิษฐ

สาธุประดิษฐ 15 แยก 14

ทางดว

โลตัสพระราม 3

ถนนพระราม 3

Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 43


ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â

เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตัสพระราม 3 เลขที่ 860-2-14222-2 แลวกรุณาแฟกซสำเนาใบโอนไปที่ โทรสาร 02-678-8589 หรือสงทาง email: tchathaicycling@gmail.com

02

01

05 03

04

06 09

08

10

07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท ตัวละ 150 บาท ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน 44 │ตัสารสองล้ อ 274 (เมษายน วละ 1,100 บาท 2557)คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690 บาท ชิ้นละ 30 บาท


áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹

Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2

ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล๊อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง

ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด 26 เมษายน 2557

ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำขวัญเรียม แวะชม ร้านวินสิตา สนใจโทร. 02-678-5470

พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สทิ ธิสว่ นลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือ บัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ

จองด่วน!

1-5 พฤษภาคม 2557 (5 วัน 4 คืน) ทริปทางไกลที่ทุกท่านรอคอย เดินทางสู่จังหวัดกาญจนบุรี ชม น�ำ้ ตกไทรโยคน้อย เขือ่ นวชิราลงกรณ์ เหมืองปิลอ๊ ก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ยอดเขาเนินช้างศึก ฯลฯ

ราคาท่านละ 2,999 บาท รับจ�ำนวนจ�ำกัดเพียง 60 ท่านเท่านัน้ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD

6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557) │ 45


จักรยานล้านไอเดีย เรื่อง Zangzaew

ใช้ไทเทเนียมล็อคจักรยาน

ลั ง จากขายแนวคิ ด เกี่ ย ว กั บ อุ ป กรณ์ ป กป้ อ งรั ก ษา จั ก รยาน เพื่ อ ลดปั ญ หา จากเหล่ามิจฉาชีพที่จะมาโจรกรรม จั ก รยานคั น เก่ ง ยามเมื่ อ ต้ อ งจอด ล็อคไว้ห่างไกลตัว ที่สุดแล้วแนวคิด ของอุปกรณ์ล็อคจักรยานชื่อ “TiGr” ได้ประสบความส�ำเร็จในการระดมทุน มากกว่าที่ตั้งเอาไว้เกือบสามเท่า! TiGr เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ถู ก คิ ด ค้ น ขึ้ น เพื่ อ ปกป้ อ ง จักรยาน ด้วยการใช้แนวคิดเชิงศิลปะด้านการออกแบบ ผนวกกับการเลือกใช้วสั ดุแข็งแรงมาผสมผสานกัน กลาย เป็นอุปกรณ์ล็อคจักรยานทรงหรูแปลกตาน่าคบหา รูปร่างเป็นแผ่นโลหะทรงยาวพับเข้าหากัน ผลิต จากโลหะไทเทเนียมที่แข็งแรงทนทานต่อการตัดหรือ

46 │ สารสองล้อ 274 (เมษายน 2557)

เลือ่ ยให้ขาดออกจากกัน ด้านปลายสุด มีอปุ กรณ์ลอ็ คผลิตจากสเตนเลสพร้อม กุญแจคุณภาพสูงแต่ใช้งานง่าย TiGr สามารถจั ด เก็ บ ด้ ว ยการ ประกบกับเฟรมบนของจักรยานแบบ เข้ารูปพอดีตัว ในการใช้งาน.. ปลด ออกจากเฟรมแล้วน�ำไปสอดประกบ ตั้งแต่ล้อหลังผ่านเฟรมไปจนถึงล้อ หน้าแล้วท�ำการล็อค ผลิตออกมา 3 ขนาดคือ - 46 ซม. ขนาดสัน้ ใส่พอดีกบั กระเป๋าสะพายหลัง - 61 ซม. ส�ำหรับรถเสือหมอบและไฮบริดส์ - 76 ซม. ส�ำหรับเสือภูเขาและทัวร์ริ่ง รายละเอียดเพิ่มเติม www.tigrlock.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.