ในอนาคตอันใกลการใชจักรยานเพื่อเดินทางภายในเมืองจะกลายเปน สิ่งจำเปน เมื่อความแออัดของถนนหนทางถูกเบียดเสียดจากยวดยาน หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอยางยิ่ง.. พลังงานที่ใชเริ่มขาดแคลนและ ราคาแพงขึ้น นวัตกรรมของจักรยานไฟฟารูปแบบใหม จึงเกิดขึ้นดวยการออกแบบ ที่แตกตาง พรอมคุณสมบัติในการเชื่อมกับอุปกรณสื่อสารทันสมัยอยาง โทรศัพทสมารทโฟน จนไดรับการขนานนามวาเปนจักรยานยุค 2.0
14
ความเร็ว: สูงสุด 32 กิโลเมตรตอชั่วโมง ระยะทาง: สูงสุด 48 กิโลเมตรตอครั้งที่ชารตแบตเตอรี่เต็ม น้ำหนัก: 5.9 กิโลกรัม แบตเตอรี่: ชารตไดถึง 1,000 ครั้ง ไฟฟา: 48 โวลท มอเตอร: มีทั้ง 250 วัตต และ 350 วัตต วงลอ: มีขนาด 26 นิ้ว และ 700C ระบบขับเคลื่อน: รองรับทั้งแบบไรเกียรและมีเกียร (สูงสุด 10 ระดับ) ระบบเบรค: ใชไดกับระบบเบรคที่ขอบวงลอ และเบรคไฟฟาภายในดุม สนนราคา: 799 ดอลลารสหรัฐ
า
trian.com des
www.superp e
เปด ใหส งั่ จอ งแ
กล น ใ ย า ภา ค น ิ ส สง ม ่ ิ ร เ ละ
0 2 งป
สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 273 / มีนาคม 2557 ISSN 1513-6051
08 10 12 14 16 18 20 21 24 26 30 32 34 36 38 40 42 43 44 46
แวดวงสองล้อ ปฏิทินทริป ทริปมีนาคม - เมษายน ทริปพฤษภาคม แนวคิดจักรยานบรรทุกสัมภาระ วิธีรักษาไข้หวัดแบบประหยัด “ปัน่ รัก(ษ์) พิทกั ษ์โลก” จังหวัดแพร่ และล�ำปาง ปัน่ สองน่อง ท่องริมโขง เชือ่ มโยงสองแผ่นดิน ปัน่ วันเดียว.. เทีย่ วตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม ปั่นเที่ยวแถวจินผิ่ง ตอนที่ 1 จักรยานรีไซเคิลจากเหล็กข้างเตียงผูป้ ว่ ย 3 Bike to work Bike-Connection การเลือกใช้ขนาดยางส�ำหรับ การเดินทางในกรุงเทพฯ ออกก�ำลังกาย..สไตล์เกมการ์ตูนญี่ปุ่น เบรคแบบไหนดี? หมวกพับได้ บริจาคจักรยาน สินค้าสมาคมฯ ปะยาง!
บทบรรณาธิการ
การปั่นจักรยานอยู่เสมอคือการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ รูปแบบหนึง่ และยังได้มาซึง่ ความสนุกสนานและความสุขทางจิตใจ อีกด้วย ถึงแม้วา่ จะมีความแข็งแรงในด้านของร่างกายและจิตใจ ทว่า ยามใดทีร่ า่ งกายพลาดท่าได้รบั “เชือ้ โรค” เขามาสูภ่ ายใน ก็สามารถ ท�ำให้เกิดอาการป่วยไข้ได้เช่นเดียวกัน แต่ดว้ ยร่างกายทีม่ กี ารเตรียม ความพร้อม ย่อมท�ำให้สามารถสู้รบปรบมือกับเชื้อโรคเหล่านั้นได้ อย่างเข้มแข็งกว่าร่างกายที่ขาดความเตรียมพร้อม เชือ่ ว่าหลายท่านคงจะละม้ายคล้ายคลึงกับผมเอง... ทีแ่ ม้วา่ จะ ออกก�ำลังกายอยู่สม�่ำเสมอ แต่ภายในร่างกายนั้นยังคงต้องต่อสู้ไป กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามธรรมชาติของความเป็นอยู่ ซึ่งต้องพบ เจอกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งภูมิอากาศและการพัฒนาของ ฝีมอื มนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นอาหารหรือวิวฒ ั นาการอืน่ ๆ จน ไปสร้างผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม และเรายังคงต้องเป็น “จุดเล็กๆ” ที่อาศัยร่วมอยู่ในพื้นที่เหล่านั้น ใช่ครับ.. แม้ว่าจะมีสารพัดเชื้อโรค หรือมลภาวะแวดล้อม หรือ โรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ มาคอยเยีย่ มเยือนเป็นระยะๆ แต่ถา้ เรา ตระเตรียมร่างกายให้พร้อมย่อมเป็นความไม่ประมาทที่จะปกป้อง และต่อสู้กับภัยเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย.. ปั่นจักรยานสร้างเกราะ ป้องกันที่ดีให้กับสุขภาพร่างกาย นับเป็นความไม่ประมาทที่ควร ปฏิบัติเชียวละครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ ก�ำพล ยุทธไตร, ศักดิ์รพงค์ เกรียงพิชิตชัย, สุปรียา จันทะเหลา พิสูจน์อักษร วีณา ยุกตเวทย์ บัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ การเงิน วีณา ยุกตเวทย์ ส่วนทะเบียน เรืออากาศตรีลิขิต กุลสันเทียะ ฝ่ายโฆษณา กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนน นราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com
แวดวงสองล้อ
สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589
Horize รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Dahon Japan collection เฟรม Dalloy อลูมเิ นียมทรงใหม่ลา่ สุดของ Dahon น�ำ้ หนักเพียง 11.5 kg. ชุดขับเคลือ่ น Shimano Altus 8 speed คอชิ้นเดียว พับง่าย คล่องตัว จานหน้า 53T ล้อ 20” Dahon Blacfoot semi-aero สปอร์ต โฉบเฉี่ยว ขี่สนุก ออกตัวแรง มีให้เลือก 2 สี Acid Green และ Matt Black สนใจติดต่อ นาวาไบค์ 02-898-6655 www.facebook.com/navabike หรือตัวแทนจ�ำหน่าย ได้แล้ววันนี้
เทศกาลจักรยานฤดูร้อน THE CIRCLE “SUMMER BIKE FEST” วันที่ 27-30 มีนาคม 2557 ภายในพื้นที่ของ The Circle ถนนราชพฤกษ์ ประกอบด้วยส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจ มากมาย อาทิ การแสดงโชว์ต่างๆ / พูดคุยเรื่องจักรยาน ณ เวทีกลาง, ลานกิจกรรม (สนามแข่ง), Bike Parking (รับบัตรจอดพร้อมคนดูแล), บูธ สินค้าเกี่ยวกับจักรยาน และกิจกรรมอืน่ ๆ มากมาย พบกับบูธสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยได้ที่งานปลายเดือนมีนาคมนี้ 8 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ปฏิทินทริป
ปฏิทินทริป เดื อ นมี น าคมมิถุนายน 2557 30 มีนาคม 2557 20 เมษายน 2557 26 เมษายน 2557 27 เมษายน 2557
1 - 5 พฤษภาคม 2557 9 - 11 พฤษภาคม 2557 18 พฤษภาคม 2557 15 มิถุนายน 2557 30 March 2014 20 April 2014 26 April 2014 27 April 2014 1 - 5 May 2014 9 - 11 May 2014 18 May 2014 15 June 2014
ปั่นวันเดียว..เที่ยววัดประยงค์ ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี กองปราบฯ ถนนพหลโยธิน รวมพลซ่อมจักรยาน ณ ไปรษณีย์ไทย ส�ำนักงานใหญ่ ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำขวัญเรียม + ร้าน Vincita จุดสตาร์ทสวนลุมฯ ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล๊อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง กิจกรรมรีไซเคิล มอบจักรยาน จังหวัดพิษณุโลก ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดวัดจ�ำปา ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำดอนหวาย One day cycling trip to WatprayongTemple. TCHA annual general meeting 2014. Repair bicycles at Post Office Headquarters. One day cycling trip to Kuanriam Floating Market. Cycling trip to Mine Pilok 399 kilometers. Recycle bicycle trip to Phitsanulok. One day cycling trip to Wat Champa Market. One day cycling trip to Wat Don Wai Floating Market
รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัคร ร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling 10 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
Trips can be changed as appropriate English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 email: bobusher@ksc.th.com
TCHA ช่วนปั่นฯ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
TCHA ชวนปั่นและร่วมกิจกรรมเดือนมีนาคม-เมษายน 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด กลายเป็นกิจกรรมที่น่าประทับใจส�ำหรับสมาชิกชาวจักรยานที่ชื่นชอบกิจกรรม ปั่นจักรยานวันเดียว ด้วยการไปเที่ยวตลาดชื่อดัง นอกจากความหลากหลายของเส้นทางที่ไปกันแล้ว ยังได้ประทับใจกับตลาด และความสวยงามของวัดวาอารามในพื้นที่เดียวกัน.. และแผนส�ำหรับกิจกรรมปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด ครั้ง ต่อไปดังนี้ • วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557 - วัดประยงค์ • วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2557 - ตลาดน�้ำขวัญเรียม และ เยี่ยมโชว์รูม Vincita จุดสตาร์ทสวนลุมฯ • วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557 - ตลาดวัดจ�ำปา • วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2557 - ตลาดน�้ำวัดดอนหวาย ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 20 เมษายน 2557
สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านเข้าร่วมประชุมในวันประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปี 2557 ได้ถึงเวลาอีกครั้งโดยมีการก�ำหนดวันประชุมไว้ในวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557 ไม่ว่าท่าน จะเป็นสมาชิกประเภทรายปีหรือตลอดชีพ หรือผูท้ กี่ �ำลังสนใจสมัครเป็นสมาชิก สามารถเข้าร่วมประชุมเพือ่ แลกเปลีย่ นความคิดเห็น เพือ่ สร้างสรรค์การด�ำเนินการของสมาคมฯ ในการด�ำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้จกั รยาน การรักษาและดูแลสุขภาพ ให้พฒ ั นาต่อไปแบบยัง่ ยืน เริม่ ตัง้ แต่เวลา 09.00 น. กองปราบฯ ถนนพหลโยธิน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-678-5470 หรือ 081-902-2989 รวมพลซ่อมจักรยาน ณ ไปรษณีย์ไทย ส�ำนักงานใหญ่ อาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2557
จากโครงการ “ล้อ เรียน โลก” จักรยานรีไซเคิลเพื่อน้อง ซึ่งสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด (ปณท.) จัดกิจกรรมซ่อมแซม จักรยานรีไซเคิลและน�ำไปบริจาคให้กบั เยาวชนในถิน่ ทุรกันดาร เพื่อน�ำไปมอบให้แก่นักเรียนใน จ.พิษณุโลก และในเดือน เมษายน 2557 นี้ จะเป็นอีกครั้งที่ขอเชิญชวนทุกท่านไปร่วม กิจกรรมซ่อมจักรยานเพือ่ น้อง จะเริม่ ซ่อมกันตัง้ แต่ 09.00 น. เป็นต้นไป ขอเชิญเพื่อนๆ ที่สะดวกในวันและเวลาดังกล่าวที่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย ส�ำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยทาง ปณท. มีอาหารและน�้ำดื่มบริการ
12 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
VINTAGE VELOCE
Campagnolo Veloce 10S đôøöǰ ǰ$S .Pǰ4QFDJBMǰ êąđÖĊ÷ïǰ(*04ǰ0SJHJOBMǰ$3 .0ǰ'PSLǰ ķ ÿĊǰ(JPTǰ#MVF ǰ8IJUF ǰ*UBMJBO ĕàÿŤǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ
FURBO
Shimano Sora đôøöǰ ǰ$S .Pǰ4QFDJBMǰ êąđÖĊ÷ïǰ(*04ǰ0SJHJOBMǰ$BSCPOǰ ĕàÿŤǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ ǰ
AMPIO
Shimano Sora ǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰđôøöǰ ǰ$S .Pǰ4QFDJBMǰ êąđÖĊ÷ïǰ(*04ǰ0SJHJOBMǰ$3 .0ǰ'PSLǰ ķ ÿĊǰ(JPTǰ#MVF ǰ8IJUF ǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰǰĕàÿŤǰ ǰ ǰ ǰ ǰǰ ÿîĔÝđðŨîêĆüĒìîÝĈĀîŠć÷ǰĀøČĂÿĂïëćöךĂöĎúđóĉęöđêĉöĕéšìĊęǰîćüćĕïÙŤǰëîîóøąøćöǰ ǰ5FM ǰ ǰXXX OBWBCJLF DPN
Aim Bikeǰ đöČĂÜìĂÜĄ ǰ080-595-5573, Two Wheel Ride (Paseo úćéÖøąïĆÜ ǰ , Bike Station óĆçîćÖćø ǰ02-722-9999, Bird Bike ÿčìíĉÿćø ǰ , ÿöćøŤìĕïÙŤǰ ðìčöíćîĊ ǰ02-523-7229, đìóđÝøĉâǰ(ēßÙßĆ÷ǰ ǰ 7, Sabuy D Bike (ÖøčÜđìóĄ îîìïčøĊ ǰ , Thonglor Bike ìĂÜĀúŠĂ ǰ 5, Street Bike (îîìïčøĊ ǰ ǰ'PSFTUǰ)PNFǰ#JLFǰ ïćÜîć ǰ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 13
TCHA ช่วนปั่นฯ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
TCHA ชวนปัน ่ และร่วมกิจกรรมเดือนพฤษภาคม 2557 ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล๊อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง 1-5 พฤษภาคม 2557 (5 วัน 4 คืน) ทริปทางไกลที่ใครๆ ถามถึงมาจ่อคิวรอสมาชิก นักปั่นสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยกันแล้ว ครั้งนี้ เป็นระยะเวลาถึง 5 วัน 4 คืน โดยความร่วมมือกันระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงาน กาญจนบุรี, ส�ำนักงานสมุทรสงคราม และ สมาคม จั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย กั บ การเดิ น ทางสู ่ จั ง หวั ด กาญจนบุรี เพื่อร่วมปั่นจักรยานเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ มากมาย อาทิ น�้ำตกไทรโยคน้อย เขื่อนวชิราลงกรณ์ เหมืองปิลอ๊ ก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ยอดเขาเนินช้างศึก และยังได้มีโอกาสร่วมมอบหนังสือ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา ให้นักเรียนของโรงเรียนเพียงหลวง 3 (บ้านเหมืองแร่อีต่อง) ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ ราชกัญญา ศิริวัฒนาพรรณวดี ที่ส�ำคัญ.. ในการปั่น จักรยานสู่เหมืองปิล๊อกนั้น.. เป็นการ พิชิต 399 โค้ง ที่น่าประทับใจและสุดแสนจะท้าทาย ก�ำหนดการโดยย่อ • วันพฤหัสที่ 1 พฤษภาคม 2557 (กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร) 07.00 น. พร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ออกเดินทางสู่จังหวัดกาญจนบุรี แวะพักรับประทาน อาหารกลางวันที่ จ.นครปฐม สนับสนุนโดย ททท. ส�ำนักงานสมุทรสงคราม ช่วงเย็นเข้าพักและรับประทาน อาหารเย็นที่โรงแรมริเวอร์แคว • วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2557 (กาญจนบุรี - เขื่อน วชิราลงกรณ์ อ.ทองผาภูมิ ระยะทาง ประมาณ 150 กิโลเมตร) 07.30 น. ร่วมพิธเี ปิด ณ บริเวณ ททท.ส�ำนักงาน กาญจนบุรี ปล่อยขบวนจักรยาน ออกเดินทางสู่เขื่อน วชิราลงกรณ์ อ.ทองผาภูมิ รับประทานอาหารกลางวัน ที่ “น�ำ้ ตกไทรโยคน้อย” ตกเย็นเข้าทีพ่ กั ณ บ้านพักของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 14 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
• วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2557 (เขื่อนวชิราลงกรณ์
- เหมืองแร่ปิล๊อก บ้านอีต่อง ระยะทาง ประมาณ 65 กิโลเมตร) 08.00 น. ออกเดินทางพิชิต 399 โค้ง สู่เหมือง ปิลอ๊ ก แวะรับประทานอาหารกลางวันที่ บริเวณสามแยก บ้านไร่ ตกเย็นชมทัศนียภาพ 360 องศา ณ ยอดเขา “เนินช้างศึก” และเข้าพักที่หมู่บ้านอีต่อง • วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557 05.00 น. ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่เขา และร่วม กิจกรรมมอบหนังสือ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา จากนั้นชมบรรยากาศอ่างเก็บน�้ำที่สวยงาม แล้วเข้าพัก ที่บ้านพักการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2557 08.00 น. ออกเดินทางไปชมวัดท่าขนุน สักการะ หลวงปู่สาย แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยรถบัส ถึง กรุงเทพฯ ประมาณ 15.00 น. • ราคาท่านละ 2,999 บาท ราคานีร้ วม ค่าอาหาร 8 มือ้ , ค่าที่พัก 4 คืน, ค่าพาหนะเดินทาง (ทองผาภูมิกรุงเทพฯ), ค่าประกันภัยการเดินทาง • รับจ�ำนวนจ�ำกัดเพียง 60 ท่านเท่านั้น • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. ส�ำนักงาน กาญจนบุรี โทรศัพท์ 034-511-200, 034-512-500 อีเมล์ tatkan@tat.or.th • สมัครร่วมกิจกรรมได้ที่ สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 15
จักรยานล้านไอเดีย เรื่อง Zangzaew
แนวคิดจักรยาน บรรทุกสัมภาระ
16 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ด้
วยความไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ของนั ก คิ ด นั ก สร้ า งสรร มาผสมผสานกั บ การสนั บ สนุ น ของผู ้ ผ ลิ ต อุปกรณ์ขับเคลื่อนจักรยานอย่างค่าย SRAM ในโครงการเพื่ อ พั ฒ นาจั ก รยานกั บ เหล่ า นั ก ศึ ก ษา ของจอร์เจียเทค ภายใต้แนวคิดจักรยานขนสัมภาระ แนวใหม่ ท�ำให้เกิดต้นแบบของจักรยานที่น่าทึ่งคันนี้ ขึ้นมา จากจุดเริ่มต้นของ ดร. เควิน เชงค์วิลเลอร์ จาก จอร์เจียเทคกับโครงการการออกแบบพัฒนาจักรยาน ของนักศึกษา 12 คนซึ่งสนับสนุนโดย SRAM ได้มีการ ส�ำรวจข้อมูลผู้ใช้จักรยาน พบว่า.. มีผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจ�ำวันจ�ำนวนไม่น้อย ที่พกพาสัมภาระส่วนตัวในการเดินทางไปท�ำงาน และ มั ก จะแบกสั ม ภาระดั ง กล่ า วนั้ น ด้ ว ยเป้ ส ะพายหลั ง
มากกว่าที่จะผูกรัดหรือมัดไว้กับตระแกรงท้ายจักรยาน มิหน�ำซ�้ำผู้ใช้จักรยานเหล่านี้.. ยังไม่ปรารถนาที่ จะให้ส่วนของท้ายจักรยานมีอุปกรณ์บรร ทุกสัมภาระ หรือส่วนประกอบอื่นใดให้เกิดความรกรุงรังอีกด้วย.. โครงการจักรยาน Transport จึงน�ำข้อมูลข้างต้น มาออกแบบจักรยานให้สอดคล้องกับการใช้ง าน และ เมื่อผสมผสานกับการพัฒนาล้อจักรยาน “ไร้ดุม” จึง ท�ำให้พ้ืนที่บรรทุกสัมภาระถูกออกแบบด้ วยการแทรก ตัวอยู่ภายในวงล้อของล้อหน้าอย่างเหมาะ สมลงตัว และยังได้มีการทดสอบความสมดุลในระหว่าง การปั่น จักรยาน จนท�ำให้ “ต้นแบบ” ของจักรยานพร้อม บรรทุกสัมภาระคันนี้น่าสนใจไม่น้อย Transport เป็ น จั ก รยานที่ พั ฒ นาต้ น แบบ.. ยังไม่ได้ถูกผลิตเพื่อการพาณิชย์ในเวลานี้..
สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 17
สุขภาพนักปั่น
เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th
วิธีรักษาไข้หวัด
นั
แบบประหยัด
บแต่ต้นปีที่ผ่านมา ภูมิอากาศในบ้านเรานั้นเปลี่ยนแปลง ฉับไวเป็นอย่างมาก อาการป่วยที่มักจะมีสาเหตุจากการ เปลี่ยนแปลงของอากาศเช่นนี้ คือไข้หวัด ซึ่งปัจจุบันเป็น กันง่าย และบ่อยมาก มาเรียนรู้วิธีการรักษาไข้หวัดด้วยตนเอง กันน่าจะดีกว่า
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับไข้หวัด 1. ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น (ได้แก่ จมูกและคอ) ติดต่อกันได้ง่ายด้วยการอยู่ใกล้ชิดกัน รับเชื้อจาก ละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จามหรือหายใจรด 2. เชื้อโรคที่ท�ำให้เป็นไข้หวัด (เรียกว่า เชื้อหวัด) เป็น เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ออกไปร่วม 200 ชนิด ในการเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงหนึ่งชนิด เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัด เฉพาะชนิดนั้นเพียง ชนิดเดียว เมื่อติดเชื้อหวัดอีกชนิดหนึ่ง วนเวียนไปเรื่อยๆ ดังนั้น คนเราจึงเป็นไข้หวัดได้บ่อย (หรือจนกว่าจะเวียนไปครบทุกชนิด) 3. เด็กเล็กจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดน้อยกว่าผู้ใหญ่ (เพราะผูใ้ หญ่เคยรับเชือ้ มาอย่างโชกโชนตัง้ แต่สมัยเป็นเด็ก) ดังนัน้ จึงมีโอกาสเป็นไข้หวัดได้บอ่ ย และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผูใ้ หญ่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เด็กทีเ่ พิง่ เข้าโรงเรียนใน 1-2 ปีแรก จะรับเชือ้ หวัด จากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ซึ่งพกเอาเชื้อหวัดกันคนละพันธุ์สองพันธุ์ มาแจกจ่ายกันจนถ้วนหน้า เมือ่ อายุมากขึน้ คนเราจะมีภมู ติ า้ นทาน ต่อเชื้อหวัดมากขึ้น จึงเป็นไข้หวัดห่างขึ้น และอาการจะรุนแรง น้อยลง 4. ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันไข้หวัดอย่างได้ผลเต็มที่ เพราะคนทีม่ เี ชือ้ หวัดในจมูกและคอ จะเริม่ แพร่โรคให้คนข้างเคียง ตั้งแต่ก่อนจะมีอาการตัวร้อนหรือเป็นหวัด ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า ใครบ้างที่จะเป็นคนแพร่เชื้อ (ยกเว้นเมื่อเขามีอาการแสดงชัดเจน แล้วเท่านัน้ ) ซึง่ ควรจะหลีกหนีจากเขา อย่าให้ถกู เขา ไอ จาม หรือ หายใจรดใส่ โดยทั่วไป เรามักจะแนะน�ำว่าในช่วงที่มีการระบาดของ ไข้หวัดไม่ควรเข้าไปในสถานที่ๆ มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นหวัด เวลาไอหรือจาม ควรปิดปากอย่าให้เชื้อแพร่ออกไป และควรอยู่ให้ไกลจากผู้อื่น อย่านอนรวมกับผู้อื่น ส่วนเด็กเล็กมักมีโอกาสติดเชือ้ ได้งา่ ย เพราะธรรมชาติของ 18 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
เด็กคือการจับกลุ่มเล่นหัวคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ ห้ามได้ยาก 5. เนื่องจากไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งใน ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ฆ่าเชื้อกลุ่มนี้อย่างได้ผล จึงอาจกล่าวได้ว่า ยังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้หวัดโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับโรคที่เกิดจาก เชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส คางทูม ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (ไวรัสลงตับ) เป็นต้น การรักษาไข้หวัดและกลุ่มโรคที่เกิดจากไวรัส จึงอยู่ที่การ พักผ่อน กินอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ (ช่วยเสริมสร้างภูมติ า้ นทานโรค) และให้ยารักษาไปตามอาการเท่านั้น รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นโรคอื่น? อาการของไข้หวัด ได้แก่ ตัวร้อน (ไข้) เป็นหวัด (คัดจมูก น�้ำมูกไหล) และไอ อาจมีอาการครัน่ เนือ้ ครัน่ ตัว อ่อนเพลีย เบือ่ อาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ ยังวิ่งหรือ ท�ำงานได้ ถึงแม้จะไม่เหมือนเดิมก็ตาม มีเพียงส่วนน้อยเท่านัน้ อาจ มีไข้สงู และต้องนอนพักผ่อนเป็นครัง้ คราว แต่เมือ่ กินยาลดไข้แล้ว อาการมักจะดีขึ้นจนสามารถวิ่งเล่นหรือท�ำงานได้ แน่ละ มีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดได้ ในที่นี้ขอแนะน�ำวิธีสังเกตดูอาการต่างๆ เพื่อแยกไข้หวัด ออกจากโรคอื่นๆ ดังนี้ 1. ถ้ามีไข้สงู เพียงอย่างเดียวโดยไม่มนี ำ�้ มูกไหล และจับไข้ ตลอดทัง้ คืน ทัง้ วัน หน้าแดงตาแดง กินยาลดไข้กไ็ ม่ได้ผล อาจเป็น ไข้เลือดออก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในช่วงหน้าฝน) ควรดื่มน�้ำ ให้มากๆ ทุกวัน นอนพักผ่อนให้เต็มที่ ห้ามกินยาลดไข้ ประเภท แอสไพริน (เช่น ยาแก้ไข้ชนิดซอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ) เพราะถ้าเป็นไข้เลือดออกจริง อาจท�ำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรใช้ผา้ ชุบน�ำ้ เช็ดตัวบ่อยๆ เพือ่ ลดไข้ ยาแก้ไข้ถา้ จ�ำเป็นให้เลือก ใช้พาราเซตามอล ทางทีด่ คี วรปรึกษาหมอทีอ่ ยูใ่ กล้บา้ น ภายใน 1-2 วัน เพือ่ ให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาการร้ายแรง 2. ถ้ามีอาการเจ็บคอมาก ควรอ้าปากใช้ไฟฉายส่องดูคอ ถ้าพบว่าต่อมทอนซิลโตแดง หรือเป็นหนองแสดงว่าต่อมทอนซิล อักเสบ ควรไปหาหมอ หมอจะให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี (ผูใ้ หญ่ใช้ชนิด 4 แสนยูนติ เด็กใช้ชนิด 2 แสนยูนติ ) กินวันละ
4 ครั้งๆ ละ 1 เม็ด ก่อนอาหาร สักครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ถ้า แพ้ยานี้ หมอจะให้อรี โิ ทรมัยซินแทน ผูใ้ หญ่ครัง้ ละ 2 แคปซูล เด็ก ครั้งละ 1 แคปซูลหรือ 1-2 ช้อนชา วันละ 4 ครั้งเช่นเดียวกัน ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรค แทรกซ้อน เช่น ไข้รูมาติกหรือไตอับเสบ 3. ถ้ามีอาการหอบ หายใจล�ำบาก หรือเจ็บหน้าอกมาก อาจเป็นปอดอักเสบ ควรไปหาหมอโดยเร็ว ถ้าเป็นมากอาจต้อง พักรักษาตัวในโรงพยาบาล หากชักช้าอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ 4. ถ้ามีอาการปวดในหู หูอื้อ หรือหูน�้ำหนวกไหล อาจ เป็ น หู อั ก เสบแทรกซ้ อ น ควรไปหาหมอ หมอจะให้ ย าลดไข้ ยาปฏิชวี นะ (เพนวี หรือ อีรโิ ทรมัยซิน) และยาแก้หวัด ควรกลับไป ให้หมอตรวจซ�้ำให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นหูน�้ำหนวกเรื้อรังต่อไป 5. ถ้ามีผื่นขึ้นตามตัว หลังมีอาการคล้ายไข้หวัด 3-4 วัน แต่ไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ไม่ได้ผล หน้าแดง ตาแดง อาจ เป็นหัด ควรให้ยารักษาแบบไข้หวัด เพราะเป็นโรคในกลุ่มไวรัส เช่นเดียวกัน 6. ถ้ามีอาการแบบไข้หวัด แต่มีไข้สูงและปวดเมื่อยตาม ตัวมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการมักจะรุนแรงจนต้องนอนซม เป็นพักๆ โรคนี้เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นไวรัส การรักษาก็ ให้การดูแลรักษาไปตามอาการแบบเดียวกับไข้หวัดธรรมดา เมื่อ ได้พักผ่อนและกินยาลดไข้ อาการควรจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน ถ้ายังมีไข้สูงติดต่อกันมากกว่า 7 วัน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ซีด เหลือง หอบ ชัก มีจ�้ำเขียวขึ้นตามตัว อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ปวดศีรษะรุนแรง ควรไปหาหมอโดยเร็ว วิธีรักษาไข้หวัด ถ้าแน่ใจว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่มีอาการแทรกซ้อน รุนแรง เราอาจใช้การรักษาตัวเอง ดังนี้ 1. พักผ่อนให้มากขึ้น อย่าอาบน�้ำเย็น ควรดื่มน�้ำมากๆ (อาจเป็นน�้ำเปล่า น�้ำส้มคั้น น�้ำผลไม้ ก็ได้) 2. ถ้าเบื่ออาหารให้กินน�้ำหวาน น�้ำผลไม้ น�้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆ 3. กินยาลดไข้ เช่น แอสไพริน หรือพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (เด็กใช้พาราเซตามอล ชนิดน�้ำเชื่อมครั้งละ ครึ่ง - 2 ช้อนชาตามอายุ) ถ้ายังมีไข้ให้กินซ�้ำได้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก อย่ากินยา
แอสไพริน ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทน การรักษาเพียง 3 ข้อนี้ ก็เพียงพอส�ำหรับไข้หวัดและโรคที่ เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ และอาการไข้ควรจะลดลงภายใน 3-4 วัน ส่วนยาอื่นๆ ไม่ค่อยมีความจ�ำเป็นในการรักษาไข้หวัด ยาอื่นๆ ได้แก่ 4. ยาแก้หวัดแก้ไอ ถ้าเป็นไม่มาก ไม่ต้องกินก็ได้ ถ้าจะ ใช้ให้เลือกใช้ ดังนี้ ในเด็กเล็ก: ให้ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน�้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอ คลอริ เ อต ยาแก้ ห วั ด แก้ ไ อไพร์ ต อน เป็ น ต้ น ให้ กิ น ครั้ ง ละ ครึ่ง - 1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้นก็ หยุดได้ หรือถ้ากินแล้วกลับมีอาการไอมากขึน้ ก็ควรงดเสีย เพราะ ยานี้อาจท�ำให้เสลดในคอเหนียว ขับออกยาก ท�ำให้ไอมากขึ้นได้ ส�ำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่: ให้กินยาแก้แพ้ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน ครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง และยาแก้ไอ น�้ำด�ำ จิบครั้งละ ครึ่ง - 1 ช้อนชาเวลาไอ ถ้ากินแล้วกลับไอมาก ขึ้นควรงดเช่นเดียวกัน 5. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจ�ำเป็นในการรักษาไข้หวัด แต่อย่างไร เพราะไม่ได้ก�ำจัดเชื้อหวัด (และไวรัสทุกชนิด) แต่ อย่างไรก็ตาม ยานี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไป แทรกซ้อนภายหลัง ซึ่งจะสังเกตได้จากน�้ำมูกหรือเสมหะที่เคยใส จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว ดังนั้นถ้าพบว่าเป็นหวัด น�้ำมูกใส เสมหะขาวไม่ต้องกิน ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าน�้ำมูกหรือเสมหะเหลืองหรือเขียวจึงค่อยให้ ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน วิธีใช้ให้ใช้แบบเดียวกับการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะ หายเป็นปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมี น�ำ้ มูกหรือไอต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ (บางคนอาจไอโครกเป็นเดือน) ถ้าอาการทั่วๆ ไปเป็นปกติดี กินได้น�้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง อย่าลืมว่ายาแก้หวัดแก้ไอ อาจท�ำให้อาการไอเป็นมากขึน้ เพราะท�ำให้เสลดเหนียวขับออกยาก ดังนั้นถ้ายังไอมากควรงด ยาเหล่านี้ แล้วหันไปดื่มน�้ำอุ่นมากๆ อาจช่วยให้เสลดออกง่ายขึ้น และอาการไอจะค่อยหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา
• •
สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 19
สรุปทริป
ภาพ พี่ชาติ • เรื่อง schantalao
ถึ
งเวลาเดินทางของกิจกรรม “ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก” ณ จั ง หวั ด แพร่ เ มื่ อ วั น ที่ 19 มกราคม 2557 ณ สวนสุ ข ภาพ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 (สนามหลวง) โดยปัน่ จากจุดสตาร์ททีส่ วนสุขภาพฯ ไปยังวัดจอมสวรรค์, อบต. บ้านถิ่น และวัดพระธาตุชอ่ แฮ ร่วมท�ำกิจกรรม และประทับตราพาสปอร์ตในฐาน ที่จัดไว้ให้ และกลับมาเข้าเส้นชัย ณ สวนสุ ข ภาพฯ ครั้ ง นี้ ไ ด้ มี ก าร มอบจักรยานรีไซเคิลให้ส�ำนักงาน เทศบาลเมื อ งแพร่ จากสมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทย
ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก
แ
ล ะ ใ น วั น อ า ทิ ต ย ์ ที่ 9 กุ ม ภ า พั น ธ ์ 2 5 5 7 ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร เทศบาลนครล�ำปาง จังหวัดล�ำปาง นักปั่นเคลื่อนขบวนร่วมกิจกรรมใน จุดต่างๆ อาทิ ศาลหลักเมือง, วัดพระ แก้วดอนเต้า สุชาดาราม, วัดปงสนุก, สะพานรัษฎาภิเษก กาดกองต้า และ วัดศรีรองเมือง สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยได้มอบจักรยานรีไซเคิล ให้แก่ชมุ ชนวัดปงสนุก ซึง่ เป็นชุมชน ทีไ่ ด้รบั รางวัลจาก UNESCO อีกด้วย … ติดตามปัน่ รัก(ษ์) พิทกั ษ์โลก ปี 2 ได้ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป ทางไทยพีบีเอส 20 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
จังหวัดแพร่ และล�ำปาง
สรุปทริป
เรื่อง/ภาพ schantalao
ปั่นสองน่อง ท่องริมโขง เชื่อมโยงสองแผ่นดิน
ห
ลังจากฉลองวันปีใหม่ในบรรยากาศแบบ ฤดูหนาว (จริงๆ) กันซะที มีหลายท่านยัง ไม่จุใจกับเทศกาลท่องเที่ยว จึงต้องออก เดินทางกับสมาคมฯ ด้วยทริป “ปัน่ สองน่อง ท่องริมโขง เชื่ อ มโยงสองแผ่ น ดิ น ” ซึ่ ง สมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุขภาพไทยได้จัดกิจกรรมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ส�ำนักงานจังหวัดเลย โดยทริปนี้เริ่มต้น กันที่ อ�ำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ด้วยอุณหภูมิประมาณ 8 องศา เมื่อทุกท่านเดินทางด้วยรถบัสปรับอากาศ ถึงจุดรวมพลต่างกุลีกุจอประกอบร่างจักรยานของ ตนเอง ท�ำธุระส่วนตัว รับประทานอาหารเช้าซึ่งได้ จัดเตรียมรอไว้แล้ว เช็คชื่อ รับเสื้อ และเตรียมพร้อม ออกเดินทาง...
ไม่ช้าไม่นานพวกเรากว่า 120 ชีวิตก็พร้อมกัน ที่ด่านพรมแดนไทย-สปป.ลาว ระหว่าง อ�ำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี โดยในพิธี เปิด นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วยนางสมฤดี ชาญชัย ผู้อ�ำนวยการภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท. และท้าวสมสัก ลิมสอน เจ้าเมืองแก่นท้าว ได้ร่วมกันท�ำพิธีปล่อย ขบวนนักปั่นอย่างเป็นทางการ ขบวนจักรยานปั่น ข้ามแดนไปบนสะพานมิตรภาพแม่น�้ำเหือง สู่เมือง “แก่นท้าว” เมืองเก่าแก่ในฝั่ง สปป.ลาว จุดหมาย แรกอยู ่ ที่ “วั ด ศรี ภู มิ ” หรื อ วั ด พู ม ประดิ ด ถาราม วัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองชายแดนแห่งนี้สร้างไว้เมื่อ 600 ปีก่อน จุดหมายถัดมาคือบ้านไม้สักโบราณ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 21
หลังใหญ่อายุกว่า 100 ปี เจ้าของบ้านเป็นเจ้าของ โรงเลื่อยไม้ในเมืองแก่นท้าว ก่อนกลับชายแดนไทยเราก็แวะจับจ่ายสินค้า ปลอดภาษีทตี่ ลาดอินโดจีน และปัน่ ต่อเพือ่ ไปรับประทาน อาหารกลางวั น แบบบุ ฟ เฟ่ ต ์ อ าหารไทยๆ กั น ที่ “แก่งโตน” เป็นแก่งหินกลางล�ำน�ำ้ เหืองมีความสวยงาม ตามธรรมชาติ ชมวิวไปพร้อมกับการรับประทาน อาหารท�ำให้มื้อนี้เจริญอาหารขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ ช่ ว งสุ ด ท้ า ยส� ำ หรั บ วั น นี้ อี ก ประมาณ 50 กิโลเมตร เพือ่ เข้าสูแ่ หล่งวิถชี มุ ชนใน อ�ำเภอเชียงคาน ซึง่ เป็นทีร่ ำ�่ ลือถึงเมืองทีเ่ ต็มไปด้วยกลิน่ อายของความ 22 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
คลาสสิก อาคารไม้โบราณกับถนนคนเดินยามค�่ำคืน แต่ก่อนที่เราจะไปสัมผัสบรรยากาศนั้น ก่อนอื่นก็ มาหัดท�ำ “ผาสาด” กระทงของชาวอีสานที่มีความ เชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยความทุกข์ความโศกไปกับ ล�ำน�้ำโขงตามธรรมเนียมของชาวเชียงคาน จากนั้นก็ รับประทานอาหารค�่ำพร้อมการแจกของที่ระลึกจาก ททท.ส�ำนักงานจังหวัดเลย ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป เดินช้อปปิ้งบนถนนคนเดินและเข้าที่พัก รุ่งเช้าตื่นมาตักบาตรข้าวเหนียวกันที่บริเวณ ถนนคนเดิ น และเตรี ย มพร้ อ มออกเดิ น ทางด้ ว ย จั ก รยานต่ อ ไปยั ง เส้ น ทางเลี ย บโขงอั น สวยงามสู ่
คุณศรีสุภัทร บุญเลิศ, น้องเจนิเฟอร์ นาตาลี บัทซ์ และ Mr. James Forest Yeager นักปั่นหน้าใหม่ ครั้งแรกที่ออกทริปร่วมกับเรา น้องมากับคุณแม่ และเพื่อนคุณแม่ ได้เรียนรู้การใช้เกียร์ปั่นขึ้นเขา จากทริปนี้ น้องเก่งมากๆ ค่ะ อายุแค่ 11 ขวบ เท่านั้นเอง
อ�ำเภอปากชม แล้วท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการ มอบอุปกรณ์การศึกษา, กีฬา และมอบเงินสดที่ได้ จากสมาชิกนักปั่นจ�ำนวนทั้งสิ้น 16,000 บาทให้ น้องๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านหาดเบีย้ จากนัน้ ก็แยก ย้ายท�ำธุระส่วนตัว แพ็คจักรยานกลับสูก่ รุงเทพฯ.... ขอขอบคุณ...จังหวัดเลย, ททท. ส�ำนักงาน เลย, หอการค้าจังหวัดเลย, ด่านศุลกากรท่าลี่, ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดเลย, เทศบาล ต� ำ บลปากชม, ต� ำ รวจท่ อ งเที่ ย ว, โรงพยาบาล เชียงคาน, ชาวบ้านใน อ.เชียงคาน และที่ขาดไม่ได้ คือสมาชิกผู้ร่วมกิจกรรมทุกๆ ท่าน
เราเป็นโรงงานผลิตและจ�าหน่าย เสื้อคอกลม เสื้อโปโล สินค้าพรีเมียม ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง โทร. 089-487-8789 ภาณิดา เหมรัตนากร
สรุปทริป
เรื่อง/ภาพ schantalao
ปั่นวันเดียว..
เที่ยวตลาดน�้ำคลองลัดมะยม
“พี่ครับ พี่ครับ!!” เสียงก้องกังวานมาแต่ไกล
ของพี่เร เรวัติ ดวงประชา กรรมการฝ่ายกิจกรรม ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ท�ำเอาสมาชิก ร้อยกว่าคนของวันนีย้ มิ้ แย้มเฮฮากัน และเป็นอันรูก้ นั ดีว่า ทริปปั่นเที่ยวก�ำลังจะเริ่มขึ้น หลังจากบรีฟเส้นทางกันเป็นที่เรียบร้อย และ ดื่มน�้ำชาอู่หลง จากชาทีพลัส ซึ่งมีอุปการคุณน�ำชา มาแจกผู้ร่วมทริปในวันนี้ … เมื่อพี่เรเปล่งเสียงน�ำ ร้องเพลงชาติจบก็ถือเป็นการปล่อยขบวน วันนี้ผู้น�ำ
24 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ทริปพาปั่นไปทางถนนพระอาทิตย์ ผ่านธนาคารแห่ง ประเทศไทย เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานซังฮี้ ก่อนจะพา มุดเข้าซอยเพื่อลัดไปสู่ถนนเลียบทางรถไฟบางบ�ำหรุ เส้นทางนี้นักปั่นหลายท่านคงคุ้นเคยแล้ว แต่ส�ำหรับ มือใหม่ก็ถือว่าตื่นเต้นพอดูทีเดียว สถานที่แรกของทริปวันนี้คือ “บ้านจักรยาน” ตั้งอยู่ที่ถนนสวนผัก ซอย 6 เขตตลิ่งชัน อาจารย์ ทวีไทย บริบูรณ์ เจ้าของบ้าน เปิดบ้านส่วนตัวให้ เข้ า ชมของสะสมซึ่ ง ล้ ว นแล้ ว เป็ น ของเก่ า โบราณ
หายากทั้งนั้น เมื่อชื่นชมของเก่าเก็บกันพอได้ที่ก็ถึง เวลาไปยังจุดที่ 2 ซึ่งก็คือ บ้านไม้หลังงาม เจ้าของ บ้านคือเพื่อนสมัยเรียนของพี่เร พี่ๆ เค้าใจดีเปิดบ้าน ต้ อ นรั บ พร้ อมกั บ เลี้ ย งน�้ ำ หวานให้ แ ก่ ส มาชิ ก ด้ ว ย แต่เนื่องจากทริปนี้คนเยอะเกินความคาดหมาย จาก ที่คิดไว้ประมาณ 20 ท่านเท่านั้น น�้ำหวานอาจจะไม่ เพียงพอ แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ ต่อจากนั้นเราก็ปั่นกันต่อโดยใช้เส้นทางอันซีน ของฝั่งธนฯ ก็คือทางปูนริมคลองนั่นเอง ส�ำหรับคน ที่ว่ายน�้ำไม่เป็นอย่างผู้เขียนเอง ก็ได้แต่เกร็งแขนจับ แฮนด์ให้มั่น แล้วภาวนาว่าขออย่าให้หล่นเลย ถึงแม้ ทางซ้ายจะมีราวกั้น แต่ทางขวาก็น่าจะหล่นอยู่ …ไม่ นานนักก็มาโผล่ที่ “ตลาดน�้ำคลองลัดมะยม” ซึ่ง
ถือว่าเป็นตลาดที่คึกคักมากของฝั่งธนฯ คลาคล�่ำไป ด้วยผู้คนและของกินอร่อยๆ เราให้เวลาสมาชิกเดิน เล่นที่นี่ราวๆ 1 ชั่วโมงเต็ม ก่อนจะรวมพลปั่นต่อไป ยังจุดหมายสุดท้าย “วัดจ�ำปา” ตั้งอยู่ริมถนนพุทธมณฑลสาย 1 เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อนๆ กราบขอพร หลวงพ่อโชคดีกันแล้วก็มารวมตัวริมบ่อน�้ำศักดิ์สิทธิ์ เพือ่ พูดคุยกันหลังจากออกทริปกันมากว่าครึง่ วัน พีเ่ ร ถูกใจคนไหนก็แจกของที่ระลึกไม่อั้น หลายเสียงบอก ว่าสนุกสนานมาก ชอบทริปแบบนี้และอยากจะให้ จัดบ่อยๆ … ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ นักปั่นทุกท่าน ที่สละเวลามาออกทริปและใช้จักรยานร่วมกันอย่าง มีระเบียบบนถนนค่ะ
สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 25
เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน
ปั่นเที่ยวเมือ 26 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
เ
องจินผิ่ง ตอนที่ 1
ขียนตอนนี้ด้วยความรู้สึกที่ เกิดระหว่างปั่นเที่ยว ผ่าน เมืองเล็กๆ ในจีนแบบไม่ได้ ก� ำ หนดในแผนปั ่ น นึ ก อุ ท าน บอกตั ว เองเมื อ งนี้ น ่ า รั ก จริ ง ท� ำ ไง...ถึ ง จะมี ช ่ อ งทางบอก พรรคพวกที่ชอบปั่น ให้ลองไป ปัน่ ๆ เทีย่ วเมืองนี้ หากปัน่ เข้าจีน ผ่านด่านเหอโค่ว ปัน่ ไม่เกินสองวัน ก็ถงึ เมืองทีว่ า่ นีท้ อี่ ยากชวนท่าน ให้ไปเที่ยว ชื่อเมืองจินผิ่ง จริงๆ แล้วจินผิง่ เป็นเมือง เล็กนิดเดียว ในส่วนที่เป็นเมือง พื้นที่ขนาดเท่าแมวดิ้นตาย ผม เดินซักสองสามชัว่ โมงก็ทวั่ เมือง แต่ แ ปลกจริ ง ๆ เป็ น เมื อ งที่ มี ครบทุกสิง่ ครบในสิง่ จ�ำเป็นของ ผู ้ ค นของเขา ครบในสิ่ ง ที่ นั ก ท่องเทีย่ วเช่นเราอยากดู อยากรู้ อยากเห็น ได้เห็นความหลาก หลายของชนกลุ ่ ม น้ อ ยแล้ ว ตื่นตา ของกินอร่อยหาได้ง่าย แถมถูกตังค์ ที่พักหลับนอนก็ สบาย อยู่เกือบถึงชายแดนจีน ที่ติดกับเวียดนามตอนเหนือสุด ผมปั่นไปเที่ยวแล้วมานั่ง ทวนดูแผนที่ ก็เห็นว่าอยู่ใกล้ ชายแดนนิดเดียว แถมมีถนน เข้าออกถึงกันได้ แต่ยังสงสัยอยู่ ว่าด่านทีต่ รงนัน้ ปัจจุบนั คงเป็น ด่านใช้เข้าออกเฉพาะคนท้องถิน่ เราคนนอกทั้งจีนและเวียดนาม คงไม่ให้ผ่าน หากจะไปเที่ยวคง ต้องปั่นอ้อมซะไกลดูจากแผนที่ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 27
จุดที่เข้าได้ใกล้สุดก็เหอโค่ว ที่ ผ มได้ ป ั ่ น ไปเที่ ย วเมื อ งจิ น ผิ่ ง ก็ ด ้ ว ยความ บังเอิญ คือตอนปั่นออกจากเมืองเหอโค่ว ใจผมนั้น ตั้งเป้าหมายจะปั่นไปเมืองหยวนหยาง แต่ถนนที่จะ ปัน่ ตรงเข้าเมืองหยวนหยางในวันนัน้ เขาตัง้ ป้ายขวาง ถนนห้ามรถทุกชนิดเข้าใช้ ฟังจากคนขับรถยนต์ทจี่ อด ซื้อผลไม้จากแม่ค้าแถวตรงนั้น บอกผมท�ำนองว่าดิน บนเขามันถล่มลงมาปิดถนน ผมอุตส่าห์ปั่นไปดูโชคดี ที่จุดดินถล่มไม่ไกลนักจากป้ายที่วางซึ่งเป็นทางแยก พอดี เห็นรถเขาก�ำลังท�ำงานตักโกยดินที่มันถล่มปิด ถนนซะมิด พวกรถยนต์ผ่านไม่ได้แน่ ผมพยายาม สื่อสารกับเขาว่า..ผมแค่รถจักรยานขอผ่านจะได้ไหม เขาก็ไม่ให้ผ่าน ก็หันหลังกลับๆ มาถึงทางแยก จอด จักรยานล้วงแผนที่ออกมาเปิดดู เพื่อเลือกเส้นทาง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าว่าจะไปหยวนหยางเส้นทางใด ดูจากแผนที่มีทางให้เลือกสองเส้นทาง หนึ่งเบี่ยงขึ้น ไปทางเหนือ หรือสองเบี่ยงลงทางใต้ ครับตรงจุดนั้น ลักษณะเป็นสีแ่ ยก ผมเลือกเส้นทางทีเ่ บีย่ งลงไปทางใต้ ตอนนั้นจะคิดยังไงก็ไม่รู้ แต่แน่นอนไม่ถึงกับจะต้อง โยนเหรียญเสี่ยงหัวก้อย ท�ำแบบนี้ดูเหมือนจะมั่วเกิน นึกจริงๆ ก็ชักจะนึกออก ดูจากแผนที่ๆ เลือก ลงใต้ ด้วยมันดูจะโหดกว่าการปั่นเบี่ยงไปทางเหนือ เพราะกว่าจะถึงหยวนหยางเป้าหมายที่ผมอยากไป เส้นทางที่เบี่ยงลงใต้มันจะต้องปั่นผ่านเทือกเขาสูง 28 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ระดับกว่าสองพันเมตร ผมอยากได้เส้นทางทีจ่ ะต้องปัน่ ในทีส่ งู เพือ่ หัด ร่างกายให้เรียนรูเ้ คยชินกับการปัน่ ในทีส่ งู เกินสองพัน ห้าร้อยเมตร เพราะแผนปั่นครั้งนี้ผมจะปั่นเที่ยวแถว ทางเหนือของยูนนาน จะปัน่ ผ่านในพืน้ ทีๆ่ อยูส่ งู กว่า สามพันเมตรเหนือระดับน�้ำทะเล การปั่นในที่สูงหาก ไม่เตรียมการมันพาลพาถึงตายได้ เขาเรียกการเจ็บ ป่วยถึงตายได้จากการอยู่ในที่สูงในที่ๆ บรรยากาศ มันเบาบางกว่าปรกติ อาการนี้มักจะเกิดเมื่อเราไป อยู่ในที่สูงกว่าระดับน�้ำทะเล 2,500 เมตรขึ้นไป ผม จึงเลือกเส้นทางนี้เพื่อหวังฝึกตัวปั่นในพื้นที่ค่อยๆ เปลี่ยนระดับความสูงให้ร่างกายปรับตัว มันป้องกัน ไม่ให้ตายระหว่างปั่นได้แน่นอน สุดฟลุ๊คจริง แค่ปั่นสามวันตามเส้นทางที่ผม เลือกเบี่ยงลงใต้ เส้นทางมันบังคับให้ต้องผ่านและ ถึงเมืองเล็กๆ เมืองนีล้ ะ่ ครับเมืองจินผิง่ ผมพักสองคืน ด้วยสุดติดใจเมืองนี้ จนขอเอามาเขียนชวนท่านไปปัน่ ของติดใจในสิ่งแรก ผมตื่นเช้าก็ออกมาจาก
โรงแรมที่พักไปเดินเล่นในตลาด นึกไม่ถึงจะเป็นที่ รวมของผู้คนสุดคึกคักและจอแจ ทั้งสุดละลานตา ไปกับผูค้ นชาวเมืองทีส่ ว่ นใหญ่เป็นชนกลุม่ น้อยหลาก หลายกลุ่ม เพศหญิงนับแต่เด็กจนวัยสาวและเข้าขั้น เป็นผู้เฒ่า ล้วนแต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าแบบดั้งเดิม แต่โบราณกันทั้งเมือง เป็นชนม้งก็แต่งชุดสีด�ำเป็น สีหลักของเสือ้ และกางเกง แต่ทดี่ สู สี วยสดเป็นกลุม่ ชน ในเสือ้ ผ้าชุดแต่งกายใช้สแี ดงเป็นสีหลัก ความสวยงาม ของอาภรณ์แต่งหลากหลาย อยู่ที่ทอลายเหลื่อม ประดับดิ้นทองและดิ้นเงิน สวยงามจริง จนปัญญา ไม่มีความรู้ไม่รู้ชนกลุ่มใด เห็นแยกหลากหลายกลุ่ม ก็ ด ้ ว ยเขาแต่ ง กายและแต่ ง เครื่ อ งประดั บ ผิ ด แผก ต่างๆ กัน เหล่าชนคนท้องถิ่นที่มาชุมนุมจอแจในตลาด ล้วนตัง้ ใจประจงแต่งชุดใหม่ทสี่ ดุ สวย เว้นคนชราจริงๆ นั้นมีบ้างที่แต่งปอนนั่งขายผักริมถนน ต่างเดินทาง ออกจากบ้านสวนและไร่นาในถิ่นชนบทห่างตัวเมือง เข้าเมืองจินผิ่งเพื่อท�ำกิจหรือซื้อของ ไม่ก็น�ำสิ่งปลูก
ได้หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาขายในตลาด เป็นวัตรปฏิบัติ ประจ�ำวัน ท่านไปเที่ยวเมื่อไหร่ก็จะเห็นเช่นผมเห็น และเชื่อว่าจะชอบเมืองนี้ด้วยเช่นกันกับผมครับ ส่วนคนเมืองดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่เราเรียก เป็ น คนจี น ส่ ว นใหญ่ ข องกลุ ่ ม นี้ จ ะเป็ น พ่ อ ค้ า อยู ่ ตึกแถวที่ทางการจีนสร้างเป็นเมือง คนจีนกลุ่มพ่อค้า นี้ผมเดาว่าเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากถิ่นอื่น ประกอบ การค้าขายสินค้าพวกเครื่องอุปโภคบริโภค พวกปุ๋ย พวกเครื่องมือท�ำการเกษตรให้คนท้องถิ่นคนอยู่เดิม คนในพืน้ ทีเ่ หล่านีจ้ ดั เป็นชนกลุม่ น้อย ทีล่ ว้ นต่างท�ำไร่ ท�ำนาสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ มีร้านขายเสื้อผ้า สินค้าแบรนด์เนม ทั้งสินค้าแฟชั่นด้วยนะครับ สงสัย พวกลูกค้าหลักคงจะเป็นกลุ่มคนจีน ที่ผมดูเป็นกลุ่ม แต่งตัวเหมือนพวกเรา ส่วนผมเดินหาร้านหนังสือ ก็เจอเป็นร้านใหญ่ ผมหาซื้อหนังสือแผนที่มณฑล ยูนนานเพิ่มอีกหนึ่งเล่ม ราคาแค่ 16 หยวน ฉบับหน้าจะมาบอกเล่าว่าภายในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ ผมพบเจออะไรบ้าง สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 29
ช่างคิดช่างประดิษฐ์
เรื่อง/ภาพ โอเล่ย์ ช่างใต้ดิน กลุ่มเฟสบุ๊คจักรยานแนวๆ
จักรยานรีไซเคิล จากเหล็กข้างเตียงผู้ป่วย
แ
ต่ละวันก็จะมีเครื่องมือแพทย์ส่งมาซ่อมกับ ประเสริฐพล พรมชาติ เป็นประจ�ำ แต่ที่มี แนวคิดจะสร้างจักรยานนัน้ ก็มคี ณ ุ ศักดิธ์ งชัย รพีดมี งคล ให้จกั รยานเก่ามาซึง่ จมน�ำ้ ตัง้ แต่ปี 54 และ เตียงผู้ป่วยส่งมาซ่อมด้วยอาการปรับระดับสูง-ต�่ำ ของส่วนหัวเตียงและท้ายเตียงไม่ได้บ้าง และมีเก้าอี้ สเตนเลสแบบทีน่ งั่ กลมๆ อาการขาหักบ้าง ปรับสูงต�ำ่ ไม่ได้บ้างช�ำรุดจนซ่อมไม่ได้ ส่วนใหญ่ถ้าซ่อมไม่ได้ ก็กองทิ้งเป็นเศษเหล็ก เดิมทีเป็นคนชอบจักรยาน มาตั้งแต่เด็กแล้ว ที่บ้านต่างจังหวัดคุณพ่อเปิดร้าน ซ่อมจักรยาน ก็ได้วิชาการซ่อมจักรยานมาบ้าง เห็น กระบอกเตียงและเก้าอี้หักๆ นอนกองอยู่ เสียดาย น่าจะเอามาท�ำจักรยานได้ และ ถ้าท�ำจักรยานขึ้นจะ ท�ำแนวแปลกๆ เท่ห์ ปั่นแล้วไม่อายใคร และมองเห็น ตามท้องถนนไม่คอ่ ยมีสกั เท่าไร ก็คดิ ท�ำไว้หลายคันอยู่ แต่คันนี้จะเป็นอีกแนวหนึ่งครับ หลังจากลงวารสาร สารสองล้อไปแล้ว 2 คัน ส่วนประกอบของจักรยาน ตัวเฟรมรถ มาจาก จักรยานเก่าๆ 2 คันตัดยุบเอาส่วนที่ต้องการมารวม 30 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
(3)
กันตามแบบที่เราอยากได้และกระบอกเตียง แฮนด์ จักรยาน มาจากขาเก้าอี้ มีโช้คหน้าไว้รบั แรงกระแทก มาจากโช้คมอเตอร์ไซค์ที่เสียแล้วเพราะจะยุบตัวได้ดี ดันโซ่ มาจากม้วนเทปพันเกลียวท่อน�ำ้ และท่อ พีวซี อี ดั ลูกปืนเข้าไปด้านใน มาจากลูกปืนล้อเตียงผูป้ ว่ ย ถังน�้ำมันจ�ำลอง มาจากไม้รังที่บริษัทตีปิดเครื่องนึ่ง ฆ่าเชือ้ โรคมาจากประเทศนอก และกล่องใส่เครือ่ งมือ มาจากกล่องใส่อปุ กรณ์ไฟฟ้าของเครือ่ งนึง่ ฆ่าเชือ้ โรค ทีจ่ ำ� หน่ายแล้ว กะโหลกบันได เบรค อาน ขาตัง้ มาจาก จักรยานเก่าๆของคุณศักดิธ์ งชัย รพีดมี งคล ผูท้ สี่ นับสนุน มาโดยตลอด ที่ต้องเสียเงินซื้อก็จะมีแต่ ยางนอก ยางใน ไฟหน้ามือสอง โซ่ 2 เส้น สีสเปรย์ ตัวปิดหัวน๊อต กระดิ่ง คันนี้อะไหล่ก็ตกอยู่ประมาณ 2,500 บาท ขั้นตอนการประกอบ ก็ไม่มีอะไรมากครับ ของ ผมจะเป็นแบบบ้านๆ ได้โครงจักรยานเก่าๆ มาตัด เอาส่วนที่ต้องการมา และเอากระบอกเตียงมาเลื่อย บากให้เป็นสามเหลี่ยม แล้วพับให้เป็นส่วนโค้งที่เรา ต้องการ และเอาขาเก้าอี้ตัวที่เสียที่มีรูปร่างส่วนโค้ง ทีต่ อ้ งการ และพอทีจ่ ะมาท�ำส่วนไหนของจักรยานได้
วาดรูปจ�ำลองบนสมุดโน้ตบ้าง ฝากล่องกระดาษบ้าง กับพื้นปูนก็มี ขีดๆ เขียนๆ เอาส่วนจักรยานที่เรา ตัดมาและกระบอกเตียงมาวางกับพืน้ แล้วยืนเล็งๆ วัดๆ ดูวา่ มุมไหนดี สวย เท่ห์ พอได้รปู ร่างแล้วก็ทำ� การเชือ่ ม การเชือ่ มทีผ่ มใช้จะมีสองแบบครับ มีแบบเชือ่ ม ไฟฟ้า และแบบเชือ่ มอาร์กอ้ นซึง่ จะใช้เชือ่ มกับสเตนเลส เช่นส่วนของแฮนด์จักรยาน ซื่งการเชื่อมนี้ก็มาฝึก เอาเอง เพราะผมจบช่างอิเล็คทรอนิคมา ไม่เกี่ยวกัน สักเท่าไร เซื่อมได้นิดหน่อยก็หมดเวลาพักเที่ยงละ ก็ ท�ำวันละนิดละหน่อย ท�ำตอนเลิกงานบ้าง ระหว่าง รอลูกชายกลับจากโรงเรียน ก็ท�ำแบบนี้กว่าจะเสร็จ แต่ละคันก็ใช้เวลาหลายเดือนอยูค่ รับ คันนีก้ ป็ ระมาณ
2 เดือนครึ่ง การใช้งาน ส่วนใหญ่จะเป็นวันอาทิตย์นานๆ ครัง้ ก็จะปั่นไปกินไปเที่ยวกับพี่ๆ เพื่อนๆ ไม่ไกลมากนัก มีคนชมและขอถ่ายรูปบ้าง มีอยูว่ นั หนึง่ เป็นวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี 57 ได้มีโอกาสปั่นไปท�ำบุญไหว้พระ ให้อาหารปลา ระยะทางไปกลับประมาณ 12 กิโลเมตร ได้ ระหว่างปัน่ เข้าไปในวัด ก็ได้ยนิ เสียงคนทักขึน้ หยุด ก่อนครับๆ จักรยานสวยดีนะ ขอถ่ายรูปหน่อยครับ เดี๋ยวผมจะเอาไปลงอินเตอร์เน็ต สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณสารสองล้อมาก ครับ ที่มองเห็นและอยากน�ำเสนอจักรยานรีไซเคิล ของผม
จักรยานรีไซเคิลจากจักรยานเก่าๆ โดยนายประเสริฐพล พรมชาติ อาชีพรับราชการ โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ต�ำแหน่ง ช่างปรับซ่อมครุภณ ั ฑ์ประจ�ำส�ำนักงาน หน้าทีซ่ อ่ ม บ�ำรุงเครือ่ งมือแพทย์ เช่นเครือ่ งนึง่ ฆ่าเชือ้ โรค ไฟผ่าตัด เตียง ผ่าตัด รถเข็นคนป่วยรวมไปจนถึงเตียงผู้ป่วย สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 31
Bike to Work
เรื่อง schantalao • ภาพ นนท์
คนเขียน ...อยากเล่า
เ
ขียนเรื่องคนอื่นมาเยอะแล้ว ขออนุญาตผู้เขียน แนะน�ำตัวเองในสารสองล้อฉบับนี้นะคะ ผู้เขียน เริ่มปันใจให้จักรยานมาตั้งแต่สมัยไปเป็นแม่ครัว ร้านอาหารไทยที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ที่นั่น เป็นเมืองเงียบสงบ สวยงาม มีเนินเขา และที่ส�ำคัญ มีเลนจักรยานค่ะ.... ผู้เขียนเห็นฝรั่งเค้าปั่นจักรยาน กันไปมาก็เลยนึกครึ้มใจอยากจะมี อยากจะได้บ้าง จึงพูดคุยผ่านออนไลน์กับเพื่อนชาวไทยที่เคยใช้ชีวิต ที่อเมริกา ช่วยแนะน�ำจักรยานให้หนึ่งคัน สุดท้ายก็ มาโดนใจกับจักรยานคันนี้ จึงตั้งชื่อให้ว่า “พี่สีเมฆ” พี่สีเมฆเป็นจักรยาน Single Speed หรือบาง ท่านไม่เข้าใจก็คือลักษณะการปั่นเหมือนจักรยาน แม่บ้านเด๊ะๆ คือฟรีขาได้ เพียงแต่รูปทรงค่อนไป ทางเสือหมอบและฟิกซ์เกียร์นั่นเอง หลังจากสั่งซื้อ 32 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ทางออนไลน์ เมื่อกล่องพัสดุมาถึงก็ตื่นเต้นจัดแจงรีบ ประกอบให้ขึ้นรูปเป็นจักรยานคันงาม (อยากจะบอก ว่าผู้เขียนตื่นเต้นยิ่งกว่าได้สร้อยทองเส้นละ 1 บาทที่ คุณแม่เคยให้อีกค่ะ ทั้งๆ ที่ราคาค่างวดถูกกว่าเยอะ) รุ่งเช้าอีกวันพี่สีเมฆก็ได้ออกทะยานสู่ถนนของ เมือง San Diego รถราไม่ขวักไขว่ แถมมีเลนจักรยาน ให้ปั่นสบายๆ พร้อมกับเนินเล็กเนินน้อยให้พอหอบ แถวๆ หลังบ้านมีเนินยาวๆ แบบเนินซึมจึงต้องลงเข็น ทุกครั้ง จากนั้นผู้เขียนก็เปลี่ยนเส้นทางโดยหาทาง ลัดเลาะแบบไม่ต้องขึ้นเนินยาวเส้นนี้ ผ่านไป 2 เดือนซึ่งก็ถึงเวลาที่ผู้เขียนต้องกลับ เมืองไทย และก็ตั้งใจไว้แล้วว่าจะพาพี่สีเมฆกลับ มาด้วย โดยแพ็คใส่กล่องโหลดขึ้นเครื่องบินมา ด้วย ค่าตัวการโหลด $200 โดยไม่มีการตรวจค้น หรือ
เสียภาษีแต่อย่างใด แถมยังได้น�ำของอื่นๆ ใส่รวมลง ไปใส่กล่องเพือ่ ให้ได้นำ�้ หนักไม่เกิน 25 กิโลกรัมตามที่ สายการบินแจ้งไว้ (ได้ขา่ วว่าเคยมีประเด็นว่าบางท่าน โดนภาษี 30% แต่ไม่แน่ใจว่าแค่ข่าวลือหรืออย่างไร) หลังจากกลับเมืองไทยผูเ้ ขียนก็ชวนเพือ่ นๆ ชาว จักรยานที่รู้จักกันใน Facebook ออกปั่นบนถนนใน กรุงเทพฯ ซึ่งก็เป็นครั้งแรกของการออกสู่ถนนอัน แสนเพลินตาของมหานครเมืองไทย (ผู้เขียนเคยแต่ ปั่นจักรยานแม่บ้านในซอย) ถนนสุขุมวิท อโศก คือ จุดหมายของทริปแรก เพื่อนๆ น้องๆ บอกว่าจะพา ไปเทีย่ วร้านจักรยานย่านสุขมุ วิท!! เอาแล้วสิ ถนนใหญ่ ไม่เคยออก แล้วยิ่งเป็นอโศกด้วยเนี่ยนะ ฉันจะไป รอดไหม?? แต่ด้วยความที่เป็นหญิงสาว (แก่) คนเดียวใน กลุ่ม จึงถูกห้อมล้อมด้วยหนุ่มๆ 5-6 คน ปั่นไปตาม ถนนเรื่อยๆ ผู้เขียนได้เรียนรู้เทคนิคการปั่นในเมือง จากเพื่อนๆ น้องๆ กลุ่มนี้แหละ ขอเอ่ยนามกลุ่มสัก นิดนะคะ พวกเราใช้ชอื่ ว่า Sparrow Fixed ...การปัน่ ครั้งนี้เพียงวันเดียว ผู้เขียนได้ประสบการณ์มากมาย เพราะในช่วงบ่ายของวัน ฝนก็กระหน�่ำลงมาแบบไม่ ลืมหูลมื ตาจนท�ำให้ซอยประสานมิตรน�ำ้ ท่วมเกือบฟุต ผู้เขียนต้องยักแย่ยักยันพาตัวเองออกมาจากซอย จน มาถึงถนนสาทร รถติดมากถึงมากที่สุด ฝนก็เทลงมา อีกรอบ ท�ำให้พวกเราต้องหาที่หลบฝน ทุกคนเป็น ห่วงว่าผู้เขียนจะปั่นไม่ไหว จึงช่วยเรียกแท็กซี่ให้แล้ว ก็ยกจักรยานขึ้นเบาะท้ายให้เสร็จสรรพ แถมด้วย ระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมงบนรถแท็กซี่จากถนนสาทร สู่เพชรเกษม หลังจากวันนั้นความกล้าบ้าบิ่นของ ผู้เขียนก็บังเกิด… 3 วันต่อมา ผู้เขียนพาตัวเองพร้อมพี่สีเมฆออก สู่ถนนโดยคิดแค่ว่า “…ในเมื่ออยากปั่น เราจะไปกลัว อะไร?... และถ้ามัวแต่รอคนอืน่ ๆ ให้วา่ งพร้อมกัน เมือ่ ไหร่ฉันถึงจะได้ออกปั่น” ในช่วงปลายปี 2012 ผูเ้ ขียนได้รบั ข้อความจาก เพือ่ นว่าสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยเปิดรับสมัคร
กองบรรณาธิการ 1 ต�ำแหน่ง ระบุคุณสมบัติ 8 ข้อ ซึ่งแน่นอน 1 ใน 8 ข้อนั้นต้องมีเรื่องจักรยาน แต่..... (กรุณาลากเสียงยาวๆ) 8 ข้อนัน้ คือคุณสมบัตทิ ผี่ เู้ ขียน มีอยู่ นี่แหละ ใช่เลย!! ผู้เขียนพูดกับตัวเองว่าต�ำแหน่ง นี้มันเกิดมาเพื่อฉัน ...ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้!! ไม่ ร อช้ า ขณะก� ำ ลั ง นั่ ง รถยนต์ ข องที่ บ ้ า น เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ผู้เขียนก็พยายามพิมพ์ ข้อความแนะน�ำตัวเองจากมือถือ และมันก็ไม่งา่ ยเลย ที่จะพิมพ์ข้อความยาวๆ ลงในมือถือเพื่อส่งอีเมล แต่ ด้วยความพยายามและรอจนได้รับการตอบกลับทาง โทรศัพท์ ... แน่นอนค่ะ เงินเดือนไม่เกี่ยง ขอแค่ได้ ปัน่ จักรยาน ได้ถา่ ยภาพ และได้ทำ� งานเกีย่ วกับหนังสือ ผู้เขียนรีบตอบรับโดยไม่เกี่ยงเรื่องรายได้ เสียงจาก ปลายสายซึง่ เป็นบรรณาธิการสารสองล้อ เสียงหนุม่ ๆ เสียงทีบ่ ง่ บอกความใจดี (และหน้าตาดี) แจ้งมาว่าจะมี ทริปไป อ�ำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในสัปดาห์หน้า หาก สะดวกและว่างก็จะถือเป็นการทดลองงาน บรรณาธิการถามผู้เขียนว่ามีจักรยานอยู่แล้ว ใช่ไหม เป็นจักรยานแบบไหน เมื่อได้รับค�ำตอบถึง กับแอบมีเสียงหัวเราะ พร้อมกับพูดว่า “ลองดูก่อน นะครับ ถ้าไม่ไหวก็มีรถเซอร์วิส..” และผู้เขียนเอง ก็ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองจะรอดไหม แต่ก็ตอบรับการ เดินทางครั้งแรกร่วมกับสมาคมฯ ครั้งนี้ค่ะ สรุปว่าผู้เขียนผ่านการทดลองงานในครั้งนี้มา อย่างหวุดหวิดด้วยพี่สีเมฆและอ�ำเภอภูเรือ ท่านใดที่ เคยร่วมทริปกันก็คงจ�ำได้... หลังจากนั้นก็เริ่มสู่การ เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ...เป็นนักปั่น Bike to work เริ่มต้นการปั่นมาท�ำงาน จากบ้านย่านถนนเพชรเกษมมาถึงที่ท�ำการสมาคมฯ ในซอยนราธิว าสฯ 22 ซึ่ง เป็นระยะทางไป-กลับ ประมาณ 30 กิโลเมตรเศษๆ มีเพียงบางวันที่ฝนตก ก็ต้องพึ่งพาอาศัยรถสาธารณะ และในระยะ 1 ปีเศษ ที่ผ่านมาท�ำให้รู้ว่าการปั่นจักรยานนี่แหละเหมาะกับ ชีวติ เมืองกรุงมากทีส่ ดุ แล้ว…. ติดตามชีวติ Bike to work ตลอดระยะเวลา 1 ปีเศษ ได้ในฉบับหน้าค่ะ ^^ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 33
ร้านจักรยาน
เรื่อง / ภาพ schantalao
Bike-Connection
34 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ส
ารสองล้อฉบับนี้ขอพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยม เยือนร้านจักรยานเปิดใหม่ย่านฝั่งธนฯ กัน บ้าง ท่านอาจคิดว่าแถวนี้จะมีร้านจักรยาน มาเปิดเหรอ?? ... ถนนเส้นนี้เชื่อมไปสู่สนามหลวง 2 เส้นทางลาดยาง สองข้างทางมีร่องสวนเป็นระยะๆ รถราไม่ ข วั ก ไขว่ อากาศก็ ส ดชื่ น ปลอดมลพิ ษ ... Bike-Connection ตั้งอยู่ริมถนนบางแวก อยู่ใน ตึกสไตล์โฮมออฟฟิศแบบเรียบง่าย... มาฟังคุณท็อป เจ้าของร้านเล่าให้ฟังถึงที่มากันค่ะ ช่วยเล่าถึงก�ำเนิดร้านนิดนึงค่ะ “ชื่อร้านหมายถึง การได้มาเจอกัน (connect) ของคนที่มาจากที่ที่แตกต่างกัน แต่รักในสิ่งเดียวกัน นั่นคือ “จักรยาน” เริม่ จากผมปัน่ ออกก�ำลังกาย แล้วเกิดความชอบ และหลงใหลในจักรยาน จนเริ่มปั่นจริงจังและรู้สึกมี ความสุขเมื่ออยู่กับจักรยาน เลยคิดว่าน่าจะดีถ้าได้
ท�ำอาชีพที่มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราชอบ ที่มาเปิดร้าน นีเ้ พราะใกล้บา้ น เดินทางสะดวก และก็จะได้เป็นการ กระจายแหล่งสินค้าให้นักปั่นย่านนี้ด้วย” ท�ำไมถึงต้องเป็น Araya ? “ผมมองว่ า Araya เป็ น จั ก รยานที่ มี ค วาม ชัดเจนในตัวแบรนด์และตัวสินค้าแต่ละรุน่ โดยแต่ละ รุ่นท�ำออกมาเพื่อตอบจุดประสงค์แต่ละอย่างได้ดี ไม่ใช่เน้นที่ราคาอย่างเดียวแต่คุณภาพที่ตอบโจทย์ ของผู้ใช้ต้องมาคู่กันด้วย ที่ส�ำคัญคือ ได้เคยทดลอง ปั่น Araya ด้วยตนเองมาเกือบทุกรุ่น และสิ่งที่สัมผัส ได้เมื่อเทียบกับราคาก็ถือว่าไม่แพงเลยและสามารถ ตอบโจทย์ได้ส�ำหรับทุกคนที่ต้องการออกก�ำลังกาย อย่างมีความสุข” ติ ด ตามความเคลื่ อ นไหวของร้ า น BikeConnection และสินค้าต่างๆ ได้ที่ https://www. facebook.com/bikeconnectionth สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 35
บทความ
เรื่อง Rainbow
การเลือกใช้ขนาดยาง ส�ำหรับการเดินทาง
ในกรุงเทพฯ
ร
ถจักรยานที่เราเลือกเป็นเจ้าของ จะถูกน�ำ ไปใช้ในพื้นที่ใด ควรถูกค�ำนึงตั้งแต่ตอนซื้อ เช่น เอาไปใช้ในเมืองถนนเรียบ หรือบริเวณ ผิวถนนที่ขรุขระมากกว่ากัน ล้ อ ยางที่ ถู ก ให้ ติ ด รถมา ถู ก น� ำ มาเปลี่ ย น ภายหลังซื้อ เปลี่ยนแล้วก็ยังไม่เหมาะกับพื้นที่อยู่ บ่อยมาก การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเช่นนี้ ท�ำให้เพิ่ม รายจ่าย กลายเป็นเพิ่มราคารถมากกว่าที่ควรจะเป็น ในสายตาผู้เขียน เห็นว่า หากใช้จักรยานใน กรุงเทพฯ เราไม่ควรเอาชนิดที่ผอมบางมากนัก แม้ ยางผอมจะช่วยให้การเคลือ่ นทีข่ องรถไปด้วยความฉิว แต่ขนาดที่ผอมของล้อ และยาง ย่อมมีความสัมพันธ์ กับความทนทานและความสมบุกสมบันด้วยเสมอไป ถนนในพืน้ ทีก่ รุงเทพฯ หากดูดว้ ยสายตารถยนต์
36 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
หรือมอเตอร์ไซค์จะพบว่าก็เรียบดี แต่ส�ำหรับนัก จักรยานจะไม่ใช่ พื้นผิวถนนจะกระเด้งขึ้นกระโดด ลงจากรอยแตกบิ่นของขอบปูน ที่มิได้ซ่อมบ�ำรุงทัน ท่วงที รอยตะเข็บระหว่างการก่อสร้างใหม่กบั พืน้ ทีเ่ ก่า ท�ำให้ล้อจักรยานที่โดยธรรมชาติ จะอ่อนไหวต่อ แรงกระแทกมากกว่าทุกยานพาหนะ ที่ผู้ขี่ปั่นเองก็ สุดวิสัยที่จะหลบเลี่ยงได้ทันท่วงที ในสภาพปั่นที่เป็น จริงมีอยู่ชุกมาก กล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ผิวถนนในกรุงเทพฯ ไม่เอือ้ ต่อการขีจ่ กั รยานยางผอมแม้แต่นอ้ ย ยิง่ ขนาดยาง ที่ผอมยิ่งทวีความน่าเป็นห่วงขณะขี่ปั่นเป็นอย่างยิ่ง แม้คนขีป่ น่ั ทีเ่ ก่ง ผ่านชัว่ โมงบินมาสูง อาจเดินทาง ของเขาได้อย่างปลอดภัย แต่ก็เป็นเฉพาะในเงื่อนไข ที่ทุกปัจจัยสามารถล่วงหน้าท�ำนายได้ แต่ในโลกของ
การขี่ปั่นบอกเราครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ชีวิตจริงมันมิได้ เป็นเช่นนั้น ส�ำหรับผมเองเลือกใช้ยางจักรยานที่น�ำมาเดิน ทางในกรุงเทพฯขนาดไม่เล็กนัก ประมาณ 1.5 หรือ 1.75 นิ้ว ขึ้นไปที่เป็นขนาดยอดนิยม หาไม่ยาก และ ราคาไม่แพง น่าจะเป็นทางเลือกอันดับแรกๆ แต่อย่างไรก็ด.ี ..บุคลิกของการขีป่ น่ั จากผูน้ นั้ ก็มี ส่วนอยูม่ าก การตามหลังรถใหญ่ทกี่ ระชัน้ มากเกินไป อาจท�ำให้เราเจอกับอุปสรรคใหญ่โดยปราศจากการ ระวังและตั้งรับภัยอันตราย ค่าที่ว่า รอยแตกหรือ หลุมบ่อ เป็นกับดักจักรยานชัน้ ดี ทีร่ ถใหญ่ขบั ข้ามหลุม เหล่านั้นด้วยการคร่อมไปกลางรถ รถจึงไม่ได้รับผล กระทบใดๆโดยตรง แต่กบั จักรยานทีป่ น่ั ตามมาระยะ ใกล้มันจะถูกรถคันหน้าบังหลุม พอหลุมโผล่ออกมา
จากท้ายรถ ก็ไม่มเี วลาและระยะทีม่ ากพอทีจ่ ะหลบทัน อันนีเ้ ป็นอันตรายทีน่ กั ขีป่ น่ั ควรให้ความระวัง หากไป ในพื้นที่ที่ไม่เคยไป โอกาสอุบัติเหตุจะเกิดง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ค�ำแนะน�ำใดๆ ย่อมใช้ได้ กับเฉพาะบางคนเท่านั้น ถ้านักปั่นท่านใดสามารถ เอาตัวรอดได้จากสถานการณ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็น คนขี่เก่ง มีความช�ำนาญ ก็ให้ผ่านไปเสีย...........ยังมี นักปั่นมือใหม่ และผู้มุ่งหวังจะซื้อจักรยานจ�ำนวน ไม่น้อย ต้องการค�ำแนะน�ำให้ระวังตัวนี้อยู่อีกมาก อย่างไรก็ดี ก็ยังมีโอกาสผู้ที่ไม่ช�ำนาญอาจมี ความจ�ำเป็นต้องใช้จักรยานล้อยางขนาดผอมๆ ที่มัก มีดอกยางน้อยมากอีกด้วยในบางคราว เช่นยืมเสือหมอบ ผู้อื่นมาใช้ หากขี่ปั่นด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ทุกอย่างย่อมเพิ่มความปลอดภัยมากกว่าแน่นอน สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 37
Fitness Lifestyle 38 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม
ออกก�ำลังกาย..
แ
สไตล์เกมการ์ตูนญี่ปุ่น
ฟนๆ การ์ตูนญี่ปุ่นรวมถึงเกมส์ต่างๆ คงจะได้รู้ถึงความสนุกสนานอย่างชนิดที่เรียกได้ว่าเสพติดกันเลย ทีเดียว เมื่อได้เริ่มอ่าน เริ่มเล่นแล้ว เห็นจะวางมือได้ยากมาก... ในฉบับนีจ้ ะขอพูดถึงเรือ่ งแอพทีก่ ำ� ลังมาแรงในขณะนี้ จะเรียกว่าเป็นเกมส์การออกก�ำลังกายแนวการ์ตนู ญี่ปุ่นเรื่องแรกก็ได้ มีทั้ง iOS และ Android ไตเติ้ล “Burn Your Fat With Me” เกมส์นี้ถือว่าได้ตอบโจทย์ที่เป็นปัญหาของผู้ที่อ้วนน�้ำหนักตัวเกิน รวมถึงผู้ที่ต้องการมีร่างกายฟิตแอนด์ เฟิร์มแต่ขี้เกียจออกก�ำลังกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็คงจะมุ่งเน้นไปเอาใจผู้เล่นที่เป็นชายเสียส่วนใหญ่ เนื่องจาก
38 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ตัวเอกในเรื่องนี้เป็นเด็กสาวชื่อ Mayu ผู้ซึ่ง จะท�ำหน้าที่เป็น personal trainer คอย motivate กระตุ ้ น เร้ า ให้ ผู ้ เ ล่ น อยากออก ก�ำลังกายตามเนื้อเรื่อง และหากจะมีตัวเอก เป็นเพศชายให้เป็นตัวเลือกด้วย ก็น่าจะเป็น ที่ชื่นชอบในหมู่สาวๆเป็นแน่แท้ การด� ำ เนิ น เรื่ อ ง จะสร้ า งความสนุ ก สนานเพลิดเพลินให้กบั ผูเ้ ล่น ท�ำให้ไม่เบือ่ และ ให้ความตื่นเต้นท้าทายที่จะติดตามตอนต่อๆ ไป ในเวลาเดียวกันก็จะต้องออกก�ำลังกายเป็น ระยะๆ ไปทุกวัน ซึ่งหากผู้เล่นได้ออกก�ำลัง กายตามก�ำหนดและระยะเวลาแล้ว ก็จะได้ รับแต้มสะสม และได้รับผลดีเช่นเดียวกับการ ออกก�ำลังกาย เนือ่ งจากจะต้องออกก�ำลังกาย กันจริงๆ จนเหงื่อตกกันเลยทีเดียว
การออกก�ำลัง กายในช่ ว งแรก จะเป็นการ sit-up เพี ย งไม่ กี่ ค รั้ ง ซึ่ ง เ มื่ อ ผู ้ เ ล ่ น ท� ำ การ sit-up แต่ ล ะครั้ ง ก็ จ ะ ต้องแตะหน้าจอ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ หรือ tablet ซึ่ง เป็นการนับจ�ำนวน ค รั้ ง s i t - u p และจับเวลาจน กระทั่งครบเซ็ท เมื่ อ เรื่ อ งด� ำ เนิ น ต่ อ ไป การออกก� ำ ลั ง กายก็ จ ะเพิ่ ม จ�ำนวนครัง้ ในการ sit-up และท้าทายให้ sit-up ให้ได้ถงึ 200 ครั้งภายใน 5 นาที เท่ากับการท�ำ sit-up 1 ครั้งภายในเวลา 1.5 วินาที จะเป็นไปได้หรือไม่ ท่านผู้สนใจต้องทดลองด้วย ตัวท่านเอง นอกจากนั้ น ก็ จ ะมี ก ารเพิ่ ม ท่ า ออกก� ำ ลั ง กายเป็ น ท่า push-up และ squat เข้าไปท�ำให้มีความหลากหลาย น่าท้าทาย น่าตื่นเต้นเพิ่มมากขึ้น เนื้ อ เรื่ อ งที่ ท�ำให้ผู้เ ล่นรู้สึก in กับการด�ำเนินเรื่อ ง คือ relationship ของผู้เล่นกับ Mayu จะเปลี่ยนไปจาก personal trainer ไปเป็ น ความสั ม พั น ธ์ ที่ พิ เ ศษลึ ก ซึ้ ง มากขึน้ เริม่ จากการออกเดทกับผูเ้ ล่น จะไม่ขอลงรายละเอียด ให้มากไปกว่านี้ ทีส่ ำ� คัญอย่าเผลอไปหลงไหล Mayu จนแฟน ไม่สบอารมณ์ก็แล้วกานน.. อิ อิ ในฉบับนี้ จะน�ำภาพของ Mayu และการด�ำเนินเรื่อง บางส่วนมาให้ชมกัน ส�ำหรับผู้ที่อดใจไม่ไหว ต้องการทราบรายละเอียด มากกว่านี้... ขอแนะน�ำให้เข้ากูเกิ้ลอ่านเพิ่มกันดูนะครับ ขอตัวก่อนนะครับ ผู้เขียนมีนัดกับ Mayu.. :)) สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 39
เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง
เบรคแบบไหนดี...?
ส
วัสดีครับพี่น้องชาว TCHA เป็นยังไงกันบ้าง ครับ ไปปัน่ ทีไ่ หนกันมาบ้าง เดือนสองเดือนนี้ อากาศดีเย็นสบายใครพลาดไม่ได้ปั่นช่วงนี้ เสียดายแย่เลย ก็กลับมาพบกันเช่นเคย ในฉบับทีแ่ ล้ว ได้กล่าวถึงเรื่องเบรค คงยังจ�ำกันได้นะครับในฉบับนี้ ผมเลยน�ำเรื่องของครอสเตอร์เบรค ซึ่งเป็นเบรคแบบ มีระบบกลไก ทีใ่ ช้ในจักรยานอีกชนิดหนึง่ ให้ทราบกัน ครอสเตอร์เบรค มักจะใช้อยู่กับจักรยานเด็ก จักรยานครุยเซอร์ จักรยานโรไรเดอร์ เพราะว่าต้องการ เน้นความสวยงามของจักรยานทีไ่ ม่มมี อื เบรคสายเบรค มาท�ำให้รถจักรยานเหล่านี้ถูกบดบังด้วยสายเบรค มาดูกลไกของ ครอสเตอร์เบรค กันว่าข้างใน มีชิ้นส่วนอะไรบ้าง ก่อนอื่นเราต้องมาถอดดุมดูว่าข้างในมีตัวอะไร บ้างกันก่อนขั้นตอนแรก ถอดล้อออกมาจากตัวรถ คลายน็อตที่ล็อคแกนล้อทั้งสองข้างออก จากนั้น 40 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
อย่าลืมถอดน็อตตรงจุดของขาล็อกทีต่ ดิ กับเฟรมด้วย ที่เรียกว่า Brake arm ออกด้วยมิฉะนั้นจะถอดล้อ ออกมาไม่ได้ จากนั้นดึงล้อออกจากตัวรถ หลังจากน�ำล้อออกมาจากตัวรถแล้วขัน้ ตอนต่อไป ใช้เครื่องมือถอดชุดจี๋ หรือน็อตที่ล็อคตัวตั้งลูกปืน ออกจากดุ ม ล้ อ ให้ ถ อดด้ า นขวานะครั บ เพราะ ถอดง่ายสุด ไม่ยุ่งยาก ถอดออกมาแล้วจะเห็น ลูกปืนชุดแรก ลูกปืนชุดนี้จะเป็นลูกปืนที่เป็นระบบ ขับเคลื่อนไปด้านหน้าเวลาเราหมุนล้อ จริงๆ หมุน ไปมาได้สองด้านแหละครับแต่ใช้งานจริงๆ จะหมุน ด้านเดียวมากกว่า ดึงชุดขับออกมาจากตัวดุมจะเห็นลูกปืนอีกชุด ด้านหลังเฟือง ลูกปืนตัวนี้ หน้าที่คือประคองตัวเฟือง ให้อยู่ตรงกลางเวลาปั่น ถ้าเกิดเวลาปั่นเฟืองโยกไป โยกมาแสดงว่าลูกปืนสองตัวนี้มีปัญหา จากนั้นดึง แกนออกมาจากดุมล้อ จะเห็นตัวชุดเบรคซึ่งติดอยู่ กับตัวแกนล้อ และเสื้อชุดเบรค
การท�ำงานของเบรค ชุดเบรคจะท�ำงานต่อเมื่อเราหมุนเท้าถอยหลัง หมุนขาจานที่ติดกับโซ่เลื่อนไปด้านหลังท�ำให้ ตัวไลท์ เบรคถูกเลื่อนไลท์ไปทางด้านขวาในขณะเดียวกัน ตัวไลท์เบรคจะไปเบ่งแผ่นเบรค สองตัวด้านบนและ ด้านล่างให้กางออก ตัวแผ่นเบรคจะเบ่งไปดันตัวเสือ้ ดุมล้อท�ำให้เกิดแรงฝืด ตรงจุดนี้ จะท�ำให้ล้อช้าลง ก็เป็นระบบเบรคที่เรียกว่าระบบครอสเตอร์เบรค นั่นเอง ถ้าไม่ต้องการเบรคก็แค่ปั่นบันไดไปด้านหน้า เพื่อจะขับเคลื่อนจักรยานไปด้านหน้า ชิ้นส่วนตัว ชุดขับเคลื่อนก็จะหมุนไปด้านหน้า ไปเลื่อนตัวชุด ตัวสไลท์เบรคจะเลือ่ นมาบีบกับตัวชุดเฟืองขับเคลือ่ น แล้วส่งไปที่ดุม ล้อก็หมุนเคลื่อนที่ไปด้านหน้า เวลา จะเบรคอีกครัง้ หมุนเท้ากลับไปด้านหลังตัวสไลท์เบรค ก็จะเลื่อนไปดันให้ตัวแผ่นเบรคสองตัวเบ่งออกไปบีบ กับดุม ล้อก็ช้าลงและเบรค ระบบง่ายๆ ขับเคลื่อน
หมุนเท้าไปด้านหน้า จะเบรคหมุนเท้าไปด้านหลัง เพื่อเบรค กลไกมีแค่ไปกลับแค่นั้นเอง ง่ายดีนะครับ ไม่ต้องใช้สายเบรค ดุมครอสเตอร์เบรคจะเป็นดุมที่ ติดอยู่เฉพาะล้อหลังเท่านั้น เป็นยังไงบ้างครับคิดว่าระบบกลไกของครอสเตอร์เบรค ดูวุ่นวายมั้ยครับ ปัญหาที่เกี่ยวกับเบรค ชุดนี้ก็จะมีแค่เสียงดังจากการเบรคอาการคือด้านใน อาจจะไม่มจี ารบีดา้ นใน เบรคไม่อยู่ อาการเบรคไม่อยู่ มันจะอยูท่ แี่ ผ่นเบรคทีส่ กึ หรอไปจากการใช้งาน ตะไบ แต่งหน่อยก็พอยืดอายุไปได้บ้าง เสียงครอกแครกๆ มักจะเป็นที่ลูกปืน รวมถึงน็อคล็อกแกนขาล็อคดุม อาจจะหลวม อาการอื่ น ๆ นอกนั้ น ก็ ค งไม่ มี แ ล้ ว ล่ะครับ วันนี้สาระเรื่อง ครอสเตอร์เบรค จะท�ำให้ท่าน สมาชิกได้เข้าใจระบบกลไกการท�ำงานบ้างนะครับ ยังไงฉบับนี้กระผมก็ขอลาไปพักผ่อนก่อนไปหาสาระ น่ารู้มาให้ท่านผู้อ่านเพิ่มเติม………….สวัสดีครับ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 41
จักรยานล้านไอเดีย เรื่อง Zangzaew
หมวกพับได้
มี
ไ อ เ ดี ย เ กี่ ย ว กั บ ของใช้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับจักรยานมากมาย ได้ ถู ก ออกแบบมาจากนั ก ออกแบบที่ ต ้ อ งการสร้ า ง “ของใช้” หรือ “จักรยาน” ที่ ถู ก จริ ต และมี ค วามเป็ น อรรถประโยชน์สูงที่สุด เช่น เดี ย วกั บ ความคิ ด ประดิ ษ ฐ์ “หมวกนิรภัย” จักรยานทีพ่ ก พาสะดวกใบนี้ เป็ น ผลงานค้ น คว้ า มากกว่ า สองปี ข อง เจฟฟ์ วู ล ์ ฟ (Jeff Woolf) นั ก ปั่นจักรยานชาวอังกฤษ ผู้มี แนวคิดว่า.. หากจะต้องใช้ หมวกนิ ร ภั ย หรื อ หมวกกั น น็อคส�ำหรับนักปั่นจักรยาน ซึ่งใช้จักรยานในชีวิตประจ�ำ วั น คงต้ อ งมี ห มวกที่ พ กพา สะดวก ใช้พื้นที่น้อย เขาจึ ง ได้ น� ำ แนวคิ ด
42 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
ไปปรึ ก ษากั บ สถาบั น ด้ า น การออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชื่ อ Therefore Limited จนได้ รู ป แบบของหมวกจั ก รยาน พั บ เก็ บ ได้ ขณะเดี ย วกั น ก็ สามารถสร้างความปลอดภัย ให้กับผู้ใช้เช่นเดียวกับหมวก นิ ร ภั ย แ บ บ ม า ต ร ฐ า น ที่ จ�ำหน่ายอยู่ทั่วไป เขาน� ำ แ นว คิ ดขอ ง หมวกต้ น แบบนี้ ไปผลิ ต ที่ โรงงาน Strategic Sports Ltd ซึง่ เป็นบริษทั OEM ทีร่ บั ผลิตหมวกให้กับแบรนด์ชั้น น�ำมากมาย โดยใช้การระดม ทุนผ่านเวบไซต์ indiegogo ตั้งแต่ 31 ต.ค. - 30 ธ.ค. 2556 มีผู้สนับสนุนเงินทุนถึง 68,015 ดอลล่าสหรัฐ จาก เป้าที่ตั้งเอาไว้เพียง 35,000 ดอลล่าสหรัฐ ทีม่ า www.morpherhelmet.com
บริจาคจักรยาน
โครงการต่อเนือ่ งทีส่ มาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย TCHA จัดขึ้นเพื่อน�ำ จักรยานเก่ามาบูรณะใหม่ และน�ำไป มอบให้กบั น้องๆ เยาวชนตามทีห่ า่ งไกล เพื่อใช้ในการเดินทางสัญจรไปโรงเรียน หรือส�ำหรับภารกิจอื่นๆ ตลอดจนออก ก�ำลังกายในครอบครัวได้ โดยไม่ต้อง พึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาค จักรยานทีไ่ ม่ใช้แล้ว และยังอยูใ่ นสภาพ ที่สามารถซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ได้ โดย สมาคมฯ มีกจิ กรรมนัดซ่อมจักรยานเพือ่ น้องทุกๆ เดือน จากบรรดาอาสาสมัคร มาช่วยกันซ่อมบ�ำรุงให้จักรยานที่ได้ รับบริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเช่นปกติ ดังเดิม โดยมีโครงการน�ำจักรยานเหล่านี้ ไปส่งมอบให้กบั เยาวชน ณ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
นิตบิ คุ คลแฟมมิลี่ รัชดา คอนโด ซอยอินทามระ 41 ร่วมกับกลุม่ เสือแจม มอบจักรยานจ�ำนวน 9 คัน เข้าโครงการรีไซเคิลจักรยาน ฯ ถนนนราธิวาส
ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิ ว าสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เวบไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม
รถไฟฟา BTS ศาลาแดง
ถนนสาธ
ทางลงสาธุประดิษฐ
ุประดิษฐ
สาธุประดิษฐ 15 แยก 14
น
ทางดว
โลตัสพระราม 3
ถนนพระราม 3
Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 43
ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â
เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตัสพระราม 3 เลขที่ 860-2-14222-2 แลวกรุณาแฟกซสำเนาใบโอนไปที่ โทรสาร 02-678-8589 หรือสงทาง email: tchathaicycling@gmail.com
02
01
05 03
04
06 09
08
10
07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท ตัวละ 150 บาท ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน 44 │ตัสารสองล้ อ 273 (มี นาคม 2557) คูละ 120 บาท วละ 1,100 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690 บาท ชิ้นละ 30 บาท
áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹
ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557 - วัดประยงค์ วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2557 - ตลาดน�้ำขวัญเรียม และเยี่ยมโชว์รูม Vincita จุดสตาร์ทสวนลุมฯ วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557 - ตลาดวัดจ�ำปา
สนใจโทร. 02-678-5470
พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สทิ ธิสว่ นลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือ บัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ
จองด่วน!
Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2
ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล๊อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง 1-5 พฤษภาคม 2557 (5 วัน 4 คืน) ทริปทางไกลที่ทุกท่านรอคอย เดินทางสู่จังหวัดกาญจนบุรี ชม น�ำ้ ตกไทรโยคน้อย เขือ่ นวชิราลงกรณ์ เหมืองปิลอ๊ ก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ยอดเขาเนินช้างศึก ฯลฯ
ราคาท่านละ 2,999 บาท รับจ�ำนวนจ�ำกัดเพียง 60 ท่านเท่านัน้ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!
เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD
6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 45
WikiHow
เรื่อง Zangzaew
ปะยาง!
ออกทริปทีไร.. ปัญหาทีไ่ ม่อยากให้เกิดขึน้ เลยอันดับแรกคือ.. ไม่อยากเผชิญปัญหา.. “ยางแตก” แต่หากหลีกเลีย่ งปัญหานี้ ไม่ได้.. สิ่งที่เหล่านักปั่นทัง้ หลายควรเรียนรู้และจัดการแก้ไข เป็นก็คือ.. “วิธีปะยาง”
3. ถ อ ด ล ้ อ ที่ มี ปัญหารั่วออกจาก ตัวเฟรมจักรยาน
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ในการปะยาง
4. ปล่ อ ยลมออก จากยางให้ ห มด ด้วยการกดทีจ่ กุ ลม
5. ใช้ทงี่ ดั ยางค่อยๆ งัดขอบยางนอก ให้ หลุดออกจากขอบ วงล้อ
1. เบือ้ งต้นเมือ่ พบ ว่ายางแบน คือหา สาเหตุ ที่ เ กิ ด จาก ยางถู ก วั ส ดุ มี ค ม เจาะเป็นรู อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ต้องค้นหากันละ เมื่อพบให้ท�ำเครื่องหมายเอาไว้
2. แต่หากหาจุดรั่ว ของยางนอกไม่พบ ต้องท�ำการถอดล้อ มาตรวจสอบ วิธีที่ สะดวกที่สุดคือ จับ จักรยานหงายขึ้น โดยอาจจะมีวัสดุมาล็อคแฮนด์จักรยาน เอาไว้ถ้าสามารถหาได้ แต่ถ้าไม่ได้ก็พยายามวางให้จักรยาน หงายอย่างมั่นคง 46 │ สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557)
6. จากนั้นจึงถอดยางในออกมาทั้งเส้น
7. น�ำยางในนัน้ มาสูบลมเข้าไปให้พอตึงสักเล็กน้อย
8. น�ำยางในไปหา จุ ด รั่ ว ในน�้ ำ ด้ ว ย 13. ปล่อยลมให้ การค่อยๆ กดยาง เหลืออยู่ในยางใน ในให้จมน�้ำโดยไล่ เพียงเล็กน้อย น�ำ ไปเรื่ อ ยๆ ทั้ ง เส้ น ยางใส่ ก ลั บ เข้ า ไป ของวงยาง จนกว่า ในขอบล้อ ด้วยการใส่วาวล์สบู เข้าไปในรูขอบล้อ ณ ต�ำแหน่ง จะพบจุดรั่ว ซึ่งจะมีฟองอากาศผุดขึ้นมาจากจุดนั้น ที่ถูกต้องเสียก่อน
9. ท�ำเครื่องหมาย จุ ด ที่ รั่ ว เอาไว้ ใ ห้ ชัดเจน 10. ใช ้ ก ร ะ ด า ษ ท ร า ย ขั ด พื้ น ผิ ว ของยาง ณ จุดที่รั่ว เพือ่ ท�ำความสะอาด และท� ำ ให้ ผิ ว ยาง พร้อมส�ำหรับการ ยึดด้วยกาว
14. จากนั้นจึงค่อยๆ ใส่ยางทั้งเส้นเข้าไปภายในวงล้อและ ยางนอก
11.น�ำกาวยางมาทา 15. น�ำยางไปติดตัง้ เข้ากับเฟรมจักรยานให้เรียบร้อย ณ บริ เ วณที่ ย าง รั่ ว ให้ ค รอบคลุ ม แล้วปล่อยให้แห้ง
12. ใช้แผ่นปะยาง ที่เตรียมไว้ โดยน�ำ ด้านที่เป็นสีปิดลง 16. จากนั้นสูบลมยางให้เต็มตามจ�ำนวนแรงดันลมยางที่ ตรงต� ำ แหน่ ง ที่ รั่ ว ก�ำหนดให้ใช้งาน ซึ่ ง ได้ ท ากาวยาง เอาไว้แล้วกดให้แน่นสนิท จากนั้นจึงลอกแผ่นปิดที่เคลือบ อยู่ด้านบนของแผ่นปะยางออก แล้วลองสูบลมยางเพื่อ ที่มา www.wikihow.com ทดสอบว่ายางไม่รั่วแล้ว สารสองล้อ 273 (มีนาคม 2557) │ 47
Sports Mall
สาขา เดอะมอลล รามคำแหง