222

Page 1

Grading

นภา หลิมรัตน์

Grading นภา หลิมรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การประเมินผลการศึกษา เป็นกระบวนการตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยให้เป็นค่าคะแนน (เกรด) หรือ เรียกง่ายๆ ว่าการตัดเกรด (Grading) การตัดเกรดเป็นการนาข้อมูลที่สะท้อนผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษาของนักศึกษาซึ่งมักอยู่ในรูปของคะแนนที่ได้จากการสอบ หรือการทาชิ้นงานส่งตามที่ได้รับ มอบหมาย ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าการวัดผล การวัด (Measurement / Assessment) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การวัดทางกายภาพ (Physical measurement) เป็นการวัดสิ่งที่เป็นรูปธรรม มีเครื่องมือวัดที่ ชัดเจนจาเพาะ เช่น การวัดความยาว เครื่องมือที่ใช้วัดอาจเป็น ไม้บรรทัด ไม้เมตร สายวัด หรืออื่นๆ ตาม ความเหมาะสม หรือการชั่งน้าหนัก เครื่องมือที่ใช้คือเครื่องชั่งน้าหนักซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ตาม วัตถุประสงค์และความแม่นยา เป็นต้น 2. การวัดทางจิตวิทยา (Psychological measurement) เป็นการวัดสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้อง ไม่ได้ ไม่มีเครื่องมือวัดที่จาเพาะและชัดเจน เช่นการวัดความฉลาด การวัดทัศนคติ การวัดผลการเรียนรู้ เป็นต้น การวัดทางกายภาพ จะมีความเป็นปรนัย (Objectivity) และความเที่ยง (Reliability) มากกว่า การวัดทางจิตวิทยา การวัดผลการเรียนรู้หรือการวัดผลทางการศึกษาซึ่งจัดเป็นการวัดทางจิตวิทยา จะมี คุณสมบัติตรงกันข้ามคือ มี Subjectivity สูง และไม่เที่ยง ดังนั้นจึงมักมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่า นอกจากนี้การวัดผลทางการศึกษายังมีลักษณะ (ธรรมชาติ) ดังต่อไปนี้  เป็นการวัดทางอ้อม (Indirect) การเรียนรู้เกิดขึ้นในสมองแต่เนื่องจากไม่มีเครื่องมือวัดการ เปลี่ยนแปลงในสมองโดยตรง สิ่งที่สามารถสะท้อนว่าเกิดการเรียนรู้คือการที่ให้ผู้เรียน(นักศึกษา)กระทา บางสิ่งบางอย่าง เช่น เขียน พูด แสดง เป็นต้น ซึ่งเป็นการวัดทางอ้อมและอาจไม่แม่นยาทั้งนี้ส่วนหนึ่ง ขึ้นกับคาสั่ง (ข้อสอบ) ที่กาหนดให้กระทาว่าชัดเจนพอหรือไม่

1 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 เป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete) ในการสอบ(วัดผลทางการศึกษา)แต่ละครั้งเราไม่ สามารถวัดทุกวัตถุประสงค์หรือทุกเนื้อหาที่ได้สอนไปเพราะมีเนื้อหาจานวนมาก จาเป็นต้องเลือกมาวัด เป็นบางส่วนเท่านั้น  คะแนน(ตัวเลข)ที่วัดได้เป็น Interval Scale คือเป็น Scale ที่ไม่มีศูนย์ (0) แท้ นักศึกษาที่ ทาคะแนนได้ศูนย์ มิได้หมายความว่าไม่มีความรู้ในวิชานั้นๆ สามารถแปลผลได้เพียงว่าไม่สามารถทา ข้อสอบชุดนั้นได้เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับว่า ครูได้สุ่มเนื้อหามาเป็นตัวแทนของรายวิชาได้เหมาะสมเพียงใด  มีความคลาดเคลื่อนเสมอ

(Error)

เนื่องจากเป็นการวัดทางจิตวิทยา ดังนั้นจาก

รายละเอียดดังกล่าวข้างต้น คะแนนที่นักศึกษาทาได้จึงมิใช่คะแนนที่แท้จริง มักมีความคลาดเคลื่อนเสมอ ดังความสัมพันธ์ต่อไปนี้ Obtained score = True score + Error score ครูจะต้องจัดการการวัดผลประเมินผลให้มี Error score น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้คะแนน ที่ได้จากการสอบ (Obtained score) ใกล้เคียงกับคะแนนจริง (True score) จากการวิจัยพบว่า Error มัก เกิดจากการสร้างข้อสอบที่ไม่ชัดเจน (Poor test design) นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากตัวนักศึกษาเองเช่น ในขณะสอบมีอาการเจ็บป่วย วิตกกังวล ประหม่า เป็นต้น หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อม(ห้องสอบ) เช่น มีเสียงดังรบกวนการสอบ อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป เป็นต้น ดังนั้นในการจัดสอบ ครู ควรตระหนักถึง ปัจจัยเหล่านี้ด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าได้ป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนอย่างดีแล้ว ความคลาด เคลื่อนก็ยังคงมีได้เสมอโดยปัจจัยที่ทาให้เกิดความคลาดเคลื่อนคือข้อสอบที่ครูสร้าง (teacher made test) เนื่องจากครูไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างข้อสอบ Error score นี้หมายถึง ความคลาดเคลื่อนในการวัด (Error of measurement) ค่าที่ใช้บอก ความคลาดเคลื่อนในการวัดคือ ค่า Standard Error of Measurement (SEM) ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า คะแนนที่ได้จากการสอบเป็น Interval scale ไม่มีศูนย์แท้ ดังนั้นเมื่อพิจารณาคะแนนสอบ เราจึงต้องตั้ง ต้นที่ค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measurement of central tendency / Central value) ได้แก่ค่า Mean, Mode, Median ขึ้นกับการกระจายของข้อมูล ถ้าการกระจายของข้อมูลเป็นโค้งปกติ (Normal distribution) ค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลนี้ที่เหมาะสมคือค่า Mean และหากการกระจายของข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติ ค่า Mode และ Median จะเป็นตัวแทนของข้อมูลที่ เหมาะสมกว่าดังรูป 2 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


Grading

นภา หลิมรัตน์

Negatively skewed distribution = Tail extends to negative number (Low score) Positively skewed distribution = Tail extends to positive number (High score) การกระจายของคะแนนจาก Central value จะแตกต่างกันตามชนิดของค่า Central value คือ ค่าการกระจาย (Dispersion value) ของ Mean คือ Standard deviation (SD) ค่าการกระจาย(Dispersion value)ของ Mode คือ Range ค่าการกระจาย(Dispersion value)ของ Median คือ Quartile หากนาคะแนนของนักศึกษาทั้งชั้นมาเขียนกราฟการกระจายคะแนน และหากจานวนนักศึกษา มาก กราฟที่ได้มีโอกาสเป็นโค้งปกติ ดังนั้นค่า Central value และค่า Dispersion value ที่ใช้คือ Mean และ SD และหากสมมติให้นักศึกษา 1 คน สอบข้อสอบเดิมหลาย ๆ ครั้งเช่น 100 ครั้ง แล้วนาคะแนนที่ สอบในทั้ง 100 ครั้งมาเขียนกราฟการกระจายคะแนน จะพบว่าได้กราฟรูปโค้งปกติเช่นกัน ค่า Standard deviation ของกราฟการสอบของนักศึกษา 1 คนนี้ คือค่า Standard Error of Measure (SEM)

3 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในความเป็นจริงเราไม่สามารถหาค่า SEM โดยให้นักศึกษาสอบข้อสอบชุดเดิมหลาย ๆ ครั้ง แต่ สามารถหาโดยใช้สูตร

SEM = SD 1-rtt

rtt = Reliability คะแนนสอบมีลักษณะเป็น Range เนื่องจากการสอบมี Error เสมอ ดังนั้นหากคะแนนของนักศึกษา ก. คือ 70 ในคะแนนเต็ม 100 คะแนน คะแนนจริงของนักศึกษารายนี้อาจมากกว่า หรือ น้อยกว่า 70 คะแนนก็ได้อันเนื่องมาจากความ คลาดเคลื่อนของการวัด โดยมีค่าคะแนนไปทางลบ หรือ บวก จาก 70 ซึ่งเป็น Central value โดยกระโดด ออกไปช่วงละ 1 SEM ช่วงดังกล่าวเรียกว่า Confidence Band

Confidence Band จะกว้างหรือแคบขึ้นกับค่า Reliability(rtt) ค่า rtt สูงหมายความว่าค่าความ คลาดเคลื่อนของการวัด (SEM) ต่า และกลับกันหากค่า rtt ต่าหมายความว่าค่าความคลาดเคลื่อนของ การวัด (SEM) สูง การกาหนด Confidence Band ให้ใช้หลักการของพื้นที่ใต้โค้งปกติ คือ พื้นที่ใต้โค้ง ปกติ ~68% อยู่ระหว่าง Mean+1SD; ~95% อยู่ระหว่าง Mean+2SD; ~99% อยู่ระหว่าง Mean+3SD

4 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


Grading

นภา หลิมรัตน์

ในนักศึกษา ก. ที่สอบได้ 70 คะแนน หากค่า SEM ของข้อสอบชุดนี้คือ 3 นักศึกษารายนี้จะมีโอกาสเป็นช่วงคะแนน (Band of score) ดังนี้ ผลสอบ SEM 70

3

ประมาณการ เป็นช่วง +1SEM

ช่วง คะแนน 67-73

70

3

+2SEM

64-76

70

3

+3SEM

61-79

คะแนนจริงของ

ความหมาย มีความมั่นใจ 68% ว่าคะแนนจริงจะอยู่ ระหว่าง 67-73 คะแนน หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากให้นักศึกษาสอบ 100 ครั้ง จะได้คะแนน ตกอยู่ในช่วง 67-73 = 68 ครั้ง มีความมั่นใจ 95% ว่าคะแนนจริงจะอยู่ ระหว่าง 64-76 คะแนน หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากให้นักศึกษาสอบ 100 ครั้ง จะได้คะแนน ตกอยู่ในช่วง 64-76 = 95 ครั้ง มีความมั่นใจ 99% ว่าคะแนนจริงจะอยู่ ระหว่าง 61-79 คะแนน หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากให้นักศึกษาสอบ 100 ครั้ง จะได้คะแนน ตกอยู่ในช่วง 61-79 = 99 ครั้ง

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เรียน หากค่า rtt ของชุดข้อสอบต่า Error สูง ครูควรให้ Confidence Band กว้าง และหากค่า rtt ของชุดข้อสอบสูง Error ต่า ก็ไม่จาเป็นต้องให้ Confidence Band กว้าง

การตัดเกรด แนวทางในการตัดเกรดมี 2 แนวทางคือ Norm-reference grading การตัดเกรดอิงกลุ่ม และ Criterion-reference grading การตัดเกรดอิงเกณฑ์ ทั้ง 2 แนวทางมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันดังนี้ Norm-reference grading ข้อดี ไม่ยุ่งยากในการใช้จึงเป็นที่นิยม เหมาะสาหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่

5 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ข้อด้อย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน นอกจากจะถูกกาหนดโดยผลงานของ ตนเองแล้ว ยังถูกกาหนดโดยผลงานของกลุ่มเพื่อนด้วยเพราะต้องนามาเปรียบเทียบกัน ดังนั้นอาจไม่ สามารถรักษามาตรฐานการศึกษา เนื่องจากจะเปลี่ยนไปตามคุณภาพของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละรุ่น การประเมินเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนแบบแข่งขันในหมู่ผู้เรียน ไม่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองเท่าที่ควร เช่น นักศึกษาที่เรียนอ่อน จะไม่ขวนขวายเท่าที่ควรเพราะตระหนักถึงศักยภาพทางการศึกษาของตนว่า ในกลุ่ม ผู้เรียนนี้ คงไม่สามารถได้เกรดสูงๆ เพราะมีเพื่อนที่เรียนเก่งกว่าตนมาก จึงเรียนเพียงเพื่อให้สอบผ่าน เท่านั้น ในทางกลับกันนักศึกษาที่เรียนเก่ง ก็อาจไม่เรียนเต็มความสามารถเพราะเมื่อเทียบคะแนนกับ เพื่อนในกลุ่ม ตนเองก็คงได้ลาดับที่ต้น ๆ เป็นแน่

Criterion-reference grading ข้อดี นักศึกษานอกจากจะไม่แข่งกันเรียน ยังส่งเสริมการเรียนแบบช่วยกัน เพราะทุกคนแข่งกับ เกณฑ์ที่ครูตั้งไว้ และหากมีการตั้งเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ก็เท่ากับเป็นการรักษามาตรฐานการศึกษา ไม่ เปลี่ยนไปตามคุณภาพของผู้เรียนแต่ละรุ่น ข้อด้อย การกาหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมและได้มาตรฐานล่วงหน้าทาได้ยาก

Norm-reference grading การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มมีหลายวิธีเช่น  การให้เกรดโดยใช้ลาดับที่ (Rank grade) มีผู้นาเสนอหลายแนวทาง เช่น

 การใช้คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) เช่น Z-Score, T-Score, Stanine เป็นต้น คะแนน มาตรฐานเหล่านี้คานวณจากค่า Mean และ SD ของการสอบ ดังนั้นจึงเป็นการตัดเกรดแบบอิง กลุ่ม (รายละเอียดของคะแนนมาตรฐานจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป) 6 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


Grading

นภา หลิมรัตน์

Criterion-reference grading แนวทางการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ ได้แก่  การตัดเกรดโดยใช้เกณฑ์ Absolute Standard

 การตัดเกรดโดยกาหนดเกณฑ์คะแนนเป็นร้อยละ

7 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ข้อด้อยของเกณฑ์การตัดเกรดเป็นร้อยละ คือ ร้อยละของคะแนนที่นักศึกษาทาได้ ถูกกาหนดโดย ความยากง่ายของข้อสอบ และความยากง่ายของข้อสอบของครูแต่ละคน หรือ แต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน  การกาหนดเกณฑ์ผ่านต่าสุดตามวิธีของ Angoff โดยมีการกาหนดคณะครู (3-5 คน) เพื่อทา หน้าทีเ่ ป็นผู้ตัดสินเกณฑ์ผ่านของชุดข้อสอบ โดยอยู่บนพื้นฐานว่านักศึกษาที่เรียนอ่อนที่สุดและยังให้สอบ ผ่านได้จะสามารถทาข้อสอบชุดนี้ได้กี่คะแนน หากคะแนนที่ตัดสินจากคณะครูไม่ตรงกัน ให้นาค่าคะแนน นั้นมาหาค่าเฉลี่ยเป็นเกณฑ์ผ่าน ดังนี้

การตัดเกรดในรายวิชาที่มีคะแนนจากหลายส่วน รายวิชาที่มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความสาคัญหรือ น้าหนักไม่เท่ากัน คะแนนที่ได้จากการสอบในแต่ละส่วนจะมีคะแนนเต็มต่างกัน มี Interval ไม่เท่ากัน จึง ไม่สามารถนาคะแนนดิบมาบวกกันตรงๆ เพราะจะไม่สามารถสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของผู้เรียนได้ ดัง ตัวอย่าง

8 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


Grading

นภา หลิมรัตน์

การแบ่งน้าหนักของงานแต่ละชิ้นแตกต่างกัน สนับสนุนให้นักศึกษาเลือกสนใจในส่วนที่มีน้าหนัก มาก และไม่ใส่ใจในส่วนที่เหลือ ก็สามารถได้เกรดสูงๆ ได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง การแก้ปัญหาสามารถทาโดย ห้ามนาคะแนนดิบมารวมกันตรงๆ เพื่อตัดเกรด แต่ควรนาคะแนนดิบมาเปลี่ยนเป็นคะแนน มาตรฐาน (Standard score) ที่มีค่า Interval เท่ากัน จึงนามาบวกกัน คะแนนมาตรฐานที่นิยมคือ Tscore ซึ่งพัฒนามาจาก Z-score

จากสูตร จะเห็นได้ว่า Z-score มีค่าได้ทงั้ บวกและลบ โดยค่าบวกหมายถึงคะแนนของนักศึกษา คนนั้นๆ มีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยของชั้น และค่าลบหมายถึงมีคะแนนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของชั้น มิได้มี ความหมายติดลบ ดังนั้นจึงทาให้เกิดความสับสนในการรวมคะแนน เพื่อลดความสับสนนี้จึงได้มีการ พัฒนา T-score ขึ้น โดย

T-score = 50 +10Z T-score จะทาให้เครื่องหมาย “ลบ” หายไป และมีคุณสมบัติจาเพาะคือ มีค่า Mean=50 และ SD=10 ค่า Tmax=80; Tmin=20 เมื่อนาคะแนนในทุกชิ้นงานมาแปลงเป็น T-score ทาให้คะแนนของ ทุกชิ้นงานมี Mean และ SD หรือ Interval เท่ากัน จึงสามารถนามารวมกันได้ การทา T-score โดยวิธีนี้ เรียกว่า Linear T-score รูปการกระจายของคะแนน (Distribution curve) โดย Linear T-score จะยังคง รูปการกระจายเดิมของคะแนนดิบซึ่งสะท้อนความสามารถของกลุ่มผู้เรียนได้ดังเดิม ซึ่งแตกต่างจากการ ทา Normalized T-score จะมีการดึงข้อมูลทาการกระจายคะแนนจากเดิมที่เป็นรูปใดก็ตาม ให้กลายเป็น การกระจายโค้งปกติ เมื่อทา T-score ของชิ้นงานทุกชิ้นแล้ว เรายังสามารถถ่วงน้าหนักของชิ้นงานได้ตามต้องการ เรียกว่าการทา Weighted T-score

9 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในรายวิชาที่มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหลายส่วน นอกจากจะคิดคะแนนรวมก่อนนามาตัดเกรดสุดท้าย เป็น Weighted T-score แล้ว อีกทางเลือกหนึ่งคือ การทา Combination grade ทาโดยการตัดเกรดใน แต่ละชิ้นงาน แล้วนาเกรดของทุกชิ้นงานมาหาค่าเฉลี่ยแล้วจึงแปลผลเป็น Final grade ดังนี้

สรุป การวัดผลที่ดีเป็นพื้นฐานสาคัญในการตัดสินผลหรือตัดเกรด ข้อเตือนใจสาหรับครูคือการวัดผลมี ความคลาดเคลื่อนเสมอ ดังนั้นการตัดสินใจในการตัดเกรด ครูจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และนา ข้อมูลรอบข้างเกี่ยวกับนักศึกษามาร่วมพิจารณาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักศึกษาที่มีคะแนนตรงจุดได้ตก หรือ จุดผ่าน ตุลาคม 2551

10 of 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0-7445-1541, โทรสาร : 0-7442-9893 e-mail : teachingresources@hotmail.co.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.