หน่วยที่ 4ok

Page 1

ใบความรู้หน่วยที่ 4 ชื่อรายวิชา หน่วยที่ 4

เครื่องรับโทรทัศน์ การทางานภาคเวอร์ติคอล

สอนครั้งที่ 9 จานวน 6 ชั่วโมง

แนวคิด หลักการของการสแกนเส้นภาพบนจอภาพต้องมี 2 แนว แนวแรกคือการสแกนในแนวนอน เพื่อให้ เกิดเส้นแสงในแนวนอน แต่การจะทาให้เกิดเส้นภาพเป็นเส้นแสงเต็มหน้าจอได้ จะต้องมีเส้นสแกนในแนวตั้ง อีกส่วนหนึ่งด้วย โดยการพยายามบังคับลาแสงให้กวาดลงและสลับกลับขึ้นอีกครั้ง จากหลักการสแกนกล่าว ว่าในจังหวะแรกการสแกน เริ่มตั้งแต่จอภาพมุมบนและความถี่ของการสแกนแนวตั้งจะพยายามเบี่ยงเบนลา อิเล็กตรอนให้เฉียงลงมาทางขวามือเหมือนกับระบบการเขียนหนังสือ เมื่อเส้นแรกผ่านไปจะเริ่มต้นเส้นใหม่ ต่อไป เมื่อการกวาดลาแสงถึงจุดล่างสุดจะมีการบังคับลาอิเล็กตรอนขึ้นไปด้านบนด้วยเวลาที่รวดเร็ว เพื่อเริ่ม การกวาดลาแสงครั้งต่อไปหลักการทางานของเวอร์ติคอลเอาต์พุตมาจากหลักการของเครื่องขยายเสียงชนิด OTL คือ เอาต์พุตจะต้องได้ครึ่งหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ สาระการเรียนรู้ ภาคเวอร์ติคอล เริ่มต้นที่เวอร์ติคอลออสซิลเลเตอร์ส่งสัญญาณไปภาคเวอร์แรมป์ ภาคเวอร์ไดร์และ สิ้นสุดที่ภาคเวอร์โย้ค วงจรเวอร์ติคอลรุ่นใหม่จะใช้ระบบวงจรหารความถี่หรือวงจรฟรีเควนซี่เคา ท์ดาวน์ หลักการนี้มาจากวิธีการคิดที่ว่า วงจรเวอร์ติคอลแต่เดิมเราจะนาเอาความถี่เวอร์ติคอลซิงค์เข้ามาบังคับหน่วย ผลิตความถี่ของเวอร์ติคอล ซึ่งวิธีการบังคับความถี่ต่าจะใช้วิธีการบังคับโดยตรงหากสัญญาณซิงค์ที่เข้ามา มีสัญญาณรบกวนติดเข้ามาด้วย ทาให้สัญญาณรบกวนดังกล่าวนั้นส่งเข้าสู่วงจรเวอร์ติคอลออสซิลเลเตอร์ เป็นวงจรผลิตความถี่ 50 Hz จะเกิดผลต่อเนื่องกับระบบภาพทาให้ระบบภาพมีเส้นภาพที่หยิกงอ อาการเสียภาคเวอร์ติคอลไม่สามารถหักเหลาอิเล็กตรอนได้ การสแกนแนวตั้งหรือในแนวบนล่าง ทางานไม่ได้ เกิดอาการเสียเส้นเดียวกลางจอในแนวนอน และถ้าเวอร์ติคอลไม่สามารถขับกระแสได้เต็มที่ ย่อมทาให้เกิดอาการเสียภาพหดบน-ล่าง ส่วนกระแสที่ส่งไปขับเวอร์โย้คไม่เพียงพอ ย่อมทาให้การสแกน เส้นภาพไม่สมบูรณ์ เกิดอาการเสียเป็นเส้นรีเทรชหรือเกิดจุดไข่ปลาในส่วนบน-ล่างของจอภาพ สุดท้ายถ้า อุปกรณ์ภาคเวอร์ติคอลช็อตเกิดอาการจอมืด


จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนักเรียน เรียนจบแล้วสามารถ 1. อธิบายการทางานภาคเวอร์ติคอลระบบฟรีเควนซี่เคาท์ดาวน์ได้ถูกต้อง 2. อธิบายการทางานภาคเวอร์ติคอลแท่น H ได้ถูกต้อง 3. บอกขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาเวอร์ติคอลแท่น H ได้ถูกต้อง 4. อธิบายการทางานภาคเวอร์ติคอลแท่น J ได้ถูกต้อง 5. บอกขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาเวอร์ติคอลแท่น J ได้ถูกต้อง 6. มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ครูสามารถสังเกตเห็นได้ ในด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี ความกตัญญูกตเวที


เวอร์ติคอลระบบฟรีเควนซี่เคาท์ดาวน์ วิธีการของวงจรรุ่นใหม่ใช้วิธีการผลิตความถี่สัญญาณซิงค์ที่เครื่องรับ วิธีการนี้มีข้อเด่น 2 ประการ ประการแรกคือ ป้องกันปัญหาสัญญาณรบกวนที่เข้ามากับสัญญาณซิงค์ ประการต่อมาในกรณีสัญญาณซิงค์ มาจากสถานีส่งมีความแรงน้อยหรือเกิดการขาดหายไปในบางช่วง ถ้าหากวงจรสร้างสัญญาณซิงค์ในเครื่องรับ สามารถสร้างสัญญาณได้เอง รูปที่ 4.1 ระบบฟรีเควนซี่เคาต์ดาวน์ เริ่มจากวงจรผลิตความถี่ด้วยคริสตอล 500 KHz หรือ 4.43 MHz หลังจากผลิตความถี่ได้แล้วจะส่งเข้าสู่วงจรจูนความถี่ เพื่อปรับสภาพของความถี่ ที่เกิดขึ้นให้เป็นความถี่เพื่อสัญญาณซิงค์ ควบคุมเฟสAPC คริ สตอลออสซิลเลเตอร์ 500 KHz, 4.43 MHz Hor 15,625 Hz สัญญาณภาพรวม

ไฟเลี้ยงวงจร

วงจรแยกซิงค์เวอร์ติคอล และฮอริ ซอนทอล

เพาเวอร์รีเซ็ต

จูนนิ่ง

วงจรหารความถี่ (Hor – Osc) (500 KHz ÷ 32 = 15,625 Hz)

ความถี่ Hor 15,625 Hz

(15,625 Hz ÷ 312.5 = 50 Hz)

Ver 50Hz

วงจรหารความถี่ (เวอร์ติคอล)

เวอร์ติคอลเอาต์พุต

ความถี่ Vert 50Hz

รูปที่ 4.1 เวอร์ติคอลที่มาจากระบบฟรีเควนซี่เคาท์ดาวน์ ความถี่จากระบบจูนนิ่ง ส่งไปยังวงจรหารความถี่หารความถี่ให้เท่าความถี่ฮอริซอน ทอล 15,625 Hz ความถี่ฮอริซอน ทอลต้องมีการซิงโครไนซ์กับสัญญาณซิงค์จากสถานีส่ง วงจรฟรีเควนซี่เคา ท์ ดาวน์ ทาหน้าที่ผลิตสัญญาณฮอริซอน ทอลซิงค์ขึ้นมาเอง ถ้าความถี่ที่ผลิตขึ้นไม่เข้าจังหวะกับเครื่องส่งทาให้ เฟรมภาพทางฮอริซอนตอลผิดไป ก่อนที่เอาความถี่ฮอริซอน ทอลมาหารความถี่เป็นเวอร์ติคอล นาความถี่ ฮอริซอนทอลกลับไปยังวงจรควบคุมเฟส เทียบเฟสกับสัญญาณฮอริซอน ทอลซิงค์ วงจรแยกซิงค์ทาการแยก สัญญาณซิงค์เวอร์ติคอลและสัญญาณฮอริซอน ทอลออกมา ส่งความถี่ฮอริซอน ทอลไปยังวงจรควบคุมเฟส เปรียบเทียบกับสัญญาณซิงค์ที่ผลิตขึ้นมา แล้วบังคับกลับมายังหน่วยหารความถี่หรือบังคับกลับไปที่วงจร คริสตอลออสซิลเลเตอร์ 1.วงจรผลิตความถี่นั้นเป็นวงจรผลิตความถี่ 500 KHz คือความถี่ 32 เท่า ของความถี่ฮอริซอน ทอล การควบคุมเฟสของวงจร APC จะควบคุมเฟสโดยการจ่ายแรงดันไฟกลับมาควบคุมที่หน่วยคริสตอล ออสซิลเลเตอร์ 500 KHz 2.หน่วยคริสตอลออสซิลเลเตอร์ความถี่ 4.43 MHz คือ ความถี่ของซับแคร์เรียสี การควบคุมเฟสจะ มากระทากับหน่วยคริสตอลของออสซิลเลเตอร์โดยตรงไม่ได้ เพราะตัวที่จะควบคุมออสซิลเลเตอร์ต้องเป็น ระบบ APC ของสัญญาณสีเท่านั้น


เมื่อได้ความถี่ฮอริซอน ทอล ความถี่ฮอริซอน ทอลอีกส่วนหนึ่งส่งไปยังวงจรหารความถี่ด้วยค่า 312. 5 ให้เกิดความถี่ขึ้นมา 50 Hz มีการเลื่อนเฟสด้วยการควบคุมจากเวอร์ติคอลซิงค์ เพื่อแก้ปัญหาที่อาจจะมี ต่อเนื่องขึ้นมา เมื่อได้ความถี่ 50 Hz ที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ส่งความถี่ 50 Hz ไปวงจรเวอร์ติคอลเอาต์พุต ทาหน้าที่ขับกระแสของความถี่ 50 Hz ไปวงจรภาคสุดท้าย เวอร์ติคอลแท่น H เครื่องที่เป็นแท่น H ของชาร์ป อย่างเช่น อยู่ในโมเดล 21CT200 สามารถแยกวงจรออกเป็น 2 ส่วน วงจรส่วนแรกก็คือ วงจรกาเนิดความถี่ซึ่งอยู่ภายใน IC801 กับส่วนที่ 2 เป็นวงจรเวอร์ติคอลเอาต์พุต อยู่ภายใน IC501 วงจรทั้ง 2 วงจร จะต้องมีไบอัสพึ่งพาซึ่งกันและกัน ถ้า IC501 ไม่สามารถที่จะเช็ตกระแสได้ เวอร์ติคอลภายใน IC801 จะทาหน้าที่เพียงวงจรผลิตความถี่ได้อย่างเดียว แต่ยังไม่สามารถส่งความถี่ 50 Hz ออกไปยังขาเอาต์พุตได้ การทางานของระบบเวอร์ติคอล เริ่มต้นแรงดันไฟสัญญาณพัลส์มาจากฟลายแบ็คทรานสฟอร์เมอร์ ส่งผ่าน R521 ซึ่งเป็นรีซิสเตอร์ป้องกันกระแสเกินพิกัด ก่อนจะส่งผ่านไดโอดเร็กติฟายความถี่สูง D502 ฟิลเตอร์ด้วย C510 จะออกมาเป็นแรงดันไฟประมาณ 25 V เพื่อส่งเข้าไปยังขา 6 ของ IC501 ขา 6 ของ IC501 เป็นขาเพื่อจ่ายไฟให้กับทรานซิสเตอร์ในระบบบูสเตอร์และเป็นกระแสสาหรับวงจรไดร์เวอร์ ภายใน IC501 แต่แรงดันดังกล่าวไม่ใช่แรงดันไฟของทรานซิสเตอร์เอาต์พุต ซึ่งบรรจุอยู่ภายใน IC501 ดังนั้น แรงดันไฟ 25 V จากฟลายแบ็คส่งผ่าน D501 เป็นไดโอดความถี่สูง เพื่อหยุดสัญญาณเวอร์ติคอลแบล็งกิ้ง ในเวลาอันรวดเร็ว การจ่ายไฟให้กับเวอร์ติคอลเอาต์พุตต้องจ่ายผ่านไดโอดความถี่สูง การทางานของเวอร์ติคอลเอาต์พุต โหลดของเวอร์ติคอลเอาต์พุตคือ ดีเฟล็คชั่นโย้ค ไม่สามารถที่จะรับกระแสของการรีเทรชทางเวอร์ติคอลได้ ทันท่วงที ซึ่งจะทาให้การดึงเส้นสแกนสะบัดกลับขอบจอด้านล่างไปยังขอบจอด้านบนไม่สามารถทาได้ทันเวลา จึงใช้ระบบการปั้มกระแสให้กับดีเฟล็คชั่นโย้ค ทรานซิสเตอร์เพาเวอร์เอาต์พุตภายใน IC501 ต้องมีระบบปั้ม หรือระบบบูสต์แรงดันไฟ เพื่อจะจ่ายแรงดันไฟสูง ๆ ให้กับรีเฟล็คชั่น ให้ดีเฟล็คชั่นโย้คทางานได้ทันกับเวลา เพื่อจะทาให้เกิดแรงดันไฟสูงขึ้นมาสาหรับวงจรเวอร์ติคอลเอาต์พุต จึงจาเป็นต้องใช้ไดโอด D501 มากั้น แรงดันไฟสูงจะต้องสวิงขึ้นเป็นแรงดันสไปค์ (Spike) เมื่อมีการจ่ายแรงดันไฟเลี้ยงวงจรที่ขา 6 และขา 3 วงจร IC501 ทางานด้วยการสตาร์ตเป็นแรงดันไฟสูง เท่ากับแหล่งจ่ายออกทางขาเอาต์พุตขาที่ 2 ตอนเริ่มต้นขาที่ 2 มีแรงดันไฟเท่ากับ 25 V แรงดันไฟดังกล่าว จะถูกส่งผ่านวงจรเนกาตีฟฟีดแบ็คส่งกลับไปยัง IC801 ทางขา 41 ทาให้วงจรภายในของ IC801 สามารถที่จะ จ่ายกระแสออกไปทางขาเอาต์พุตก็คือ ขา 43 ผ่าน R506 เข้าทางขา 4 เป็นขาอินพุตของภาคเวอร์ติคอล เอาต์พุตหรือ IC501 ทาให้วงจรขับภายใน IC501 ดึงแรงดันไฟชุดเวอร์ติคอลเอาต์พุต ให้ไฟเซ็นเตอร์ของ เวอร์ติคอลเอาต์พุตต่าลง กระทั่งขาที่ 2 ของ IC501 มีแรงดันไฟเท่ากับครึ่งหนึ่งของแหล่งจ่าย ก็คือประมาณ 12.5V คือ ภาวะปกติของวงจรเวอร์ติคอลเอาต์พุต หากแรงดันไฟฟีดแบ็คที่ขา 41 เป็นแรงดันไฟสูงกว่าปกติแรงดันไฟที่ออกจากขา 43 สูงกว่าปกติด้วย เพื่อจะดึงไบอัสให้กับ IC501 และถ้าแรงดันไฟที่ขาฟีดแบ็ค หรือขา 41 ของ IC801 มีการป้อนกลับไปน้อย แรงดันไฟที่ขา 43 ของ IC801 จะต้องมีน้อยหรือไม่มีเลย เพื่อจะปรับไบอัสให้กับ IC501 เหมือนกับหลักการ ของเครื่องขยายเสียงที่ทางานร่วมกันระหว่างวงจรภาคเอาต์พุตกับวงจร AF AMP


เนื่องจากกระแสที่ดีเฟล็คชั่นโย้คต้องการกระแสรูปสัญญาณฟันเลื่อย ดังนั้นวงจรที่ผลิตความถี่ เวอร์ติคอลจาเป็นจะต้องผลิตสัญญาณในรูปแบบของฟันเลื่อย วงจรฟลิปฟล็อปโดยทั่วไปจึงมีการนาเอาความถี่ 50 Hz จากหน่วยเวอร์ติคอลออสซิลเลเตอร์เข้าสู่วงจรผลิตสัญญาณฟันเลื่อย ซึ่งเรียกว่า วงจรแรมป์ เจนเนอเรเตอร์ (Ramp Generator) ก็คือวงจรที่ต่อกับขา 42 ของไอซีนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วในวงจรเวอร์ติคอลในแท่น H ยังมีการเชื่อมโยงไปยังระบบป้องกัน คือถ้าแรงดันไฟของ เวอร์ติคอลเกิดการขาดหายไปไม่ว่าจะด้วยสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดที่ทาให้แรงดันไฟของเวอร์ติคอลต่าลงมาย่อม ทาให้แรงดันไฟที่ต่าลงหรือแรงดันไฟใกล้เคียง 0 V ไปดึงเอาไฟของวงจรโปรเท็คชั่นส่งผ่าน D507 และ R525 ครบวงจร ทาให้หน่วยรีเซ็ตภายในไอซีไมโครคอมพิวเตอร์สั่งเข้าสู่สภาวะเพาเวอร์สแตนด์บาย ซึ่งนับเป็น วิธีการของการป้องกันอีกรูปแบบหนึ่ง ระบบนี้อาจเกิดขึ้นจาก R512 ขาด D502 มีปัญหาและ IC501 เกิดลัดวงจร วงจรเวอร์ติคอลเอาต์พุตมีการนาเอาสัญญาณเวอร์ติคอลพัลส์หรือเวอร์ติคอลแบล็งกิ้งส่งผ่าน C501 R513,R1054 ไปให้กับวงจรไอซีไมโครคอมพิวเตอร์ กาหนดตาแหน่งของการแสดงผลเป็นตัวอักษรขึ้นมา ที่หน้าจอและยังเอาไปใช้สาหรับลบเส้นสะบัดกลับในวงจรระบบภาพอีกส่วนหนึ่งด้วย ปกติวงจรแรมป์เจนเนอเรเตอร์ ทาหน้าที่เป็นวงจรปรับขนาดของกระแสที่จะส่งออกไปยัง ดีเฟล็คชั่น โย้ค ซึ่งอยู่ที่ขา 42 หลักการของการทางานระหว่างแรมป์เจนเนอเรเตอร์และวงจรเนกาตีฟฟีดแบ็ค สามารถ ปรับแต่งแรงดันไฟสลับในวงจรแท่น H ของชาร์ปกู๊ดมอร์นิ่ง จึงใช้วิธีปรับแรงดันไฟของขา 41 บังคับการ ขยายของ IC801 ในส่วนของเวอร์ติคอลส่งผลออกไปทางเอาต์พุตขา 43 ให้ขยายสัญญาณได้มากได้น้อย การปรับขนาดความกว้างของจอในแนวเวอร์ติคอลด้วยการปรับเวอร์ติคอลไซซ์( V-Size) โดยการปรับ R509 การแก้ลิเนียริตี้หรือความเป็นสัดส่วนของภาพทาได้โดยการปรับแต่ง R514 ลิเนียริตี้ของระบบนี้ต่างกับ ลิเนียริตี้ของโทรทัศน์ขาวดา เพราะลิเนียริตี้ก็คือความสมบูรณ์ของอิมพีแดนซ์ในการคัปปลิ้งดีเฟล็คชั่นโย้ค ดังนั้นในกรณีที่สัญญาณภาพขาดลิเนียริตี้ถือว่าคาปาซิ สเตอร์คัปป ลิ้งคือมูลเหตุใหญ่ แต่ถ้าดีเฟล็คชั่นคอยล์ เกิดการเสื่อมคุณภาพเราจึงจะมาปรับแต่งลิเนียริตี้จึงเป็นวงจรช่วยเสริมเท่านั้น


รูปที่ 4.2 เวอร์ติคอลของแท่น H เช่น ในโมเดล 21CT200

+12V

D610

+9V

R672

R527 1M

R520 (2.7M)

NFB 41

C514

RAMP 42

IC801

VERT OUT 43

36 BH

D623

D509

R506

C648

11.6V (FBP)

+8V

C504

V-OUT 2

C509

C503

GND 1

R516

Vcc V-OUT 3

R510

C506

V-IN 4

R504

C502

C512 R513

Vcc 6

R511

R 509 V-SIZE

C508

R514 (V-LINE)

R505 R508

DY

D501

C507

PULSE WIDTH 5

IX0640/LA7830(IC501)

C515

+5V

D506

R1054

VOLTAGE BOOSTER 7

D1060

V-PULSE

R526

D502

C511

C510

R525

D507

TO PROTECT

FBT

R521


การวิเคราะห์ปัญหาเวอร์ติคอลแท่นH 1. ปัญหาจอมืดไฟสแตนด์บายติดระบบจ่ายไฟของเวอร์ติคอลเอาต์พุตเกิดปัญหา แรงดันไฟจ่ายได้น้อยกว่า กาหนด หรือไม่มีการจ่ายแรงดันไฟออกไปให้กับเวอร์ติคอลเอาต์พุตทางานด้วย IC501 วงจรดังกล่าว จะไปดึงแรงดันไฟของหน่วยโปรเท็คให้ไหลผ่าน D507 และ R525 ครบวงจรไอซีไมโครคอมพิวเตอร์ จะเข้าสู่ สภาวะเพาเวอร์สแตนด์บาย ด้วยหลักการนี้จึงทาให้เกิดปัญหาจอมืดไฟสแตนด์บาย ซึ่งเป็น LED สีแดงติด ค้างการวิเคราะห์ตรวจซ่อมทาดังนี้ 1.1 ในกรณีที่เวอร์ติคอลมีปัญหา ไอซีไมโครคอมพิวเตอร์จะให้เวลากับวงจรประมาณ 3 วินาที แล้วจึงเข้าสู่สภาวะโปรเท็คชั่น ดังนั้นใน 3 วินาทีนี้ จะต้องวิเคราะห์ให้เสร็จสิ้นให้ใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟ DC วัดไปที่ขา 6 ของ IC501 โดยวัดรอไว้ก่อนที่จะเปิดเครื่อง จากนั้นทาการเปิดเครื่องขึ้นมาดูเข็มมิเตอร์ ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่สวิงขึ้นมาเลย หมายความว่าระบบจ่ายไฟที่จะจ่ายให้กับเวอร์ติคอลเอาต์พุตมีปัญหา ตัวที่มี ปัญหาได้แก่ R521 และ D502 (ไดโอดความถี่สูง) หรือมาจากปัญหาของฮอริซอน ทอลและฟลายแบ็ค ให้กลับไปวัดสัญญาณพัลส์ว่ามาจากฟลายแบ็คแล้วหรือไม่ โดยการใช้มิเตอร์วัดสัญญาณพัลส์ก่อนที่จะเปิด เครื่องแล้วจึงเปิดเครื่องดูว่าสัญญาณพัลส์จากฮอริซอน ทอลมีหรือยัง ถ้าสัญญาณพัลส์มาจากฮอริซอน ทอล มีมาแล้วตัวที่มีปัญหา R521 และ D502 ถ้าไม่มีพัลส์มาเลยหมายความว่าฮอริซอน ทอลไม่ได้ทางาน อาการ จอมืดไฟสแตนด์บายติดไม่ใช่มาจากการเสียของเวอร์ติคอล 1.2 ถ้าผลการวัดตามข้อ 1.1 เข็มมิเตอร์สวิงขึ้นมาแล้วตก แสดงว่าระบบจ่ายไฟเวอร์ติคอลสามารถ จ่ายไฟได้แล้ว แต่เวอร์ติคอลเอาต์พุตเป็นปัญหาหรือเกิดจากปัญหาของระบบอื่น เพราะระบบโปรเท็คชั่น มีการสารวจหลายทางด้วยกัน ดังนั้นให้ดูดตะกั่วที่ขา 6 และขา 3 ของ IC501 ออก หลังจากนั้นให้ทาการ จ่ายไฟเข้าไปยังเครื่อง ดูแสงที่หน้าจอว่ามีแสงหรือไม่ ถ้าปรากฏว่าหน้าจอมีแสงเป็นเส้นเดียวกลางจอ หมายถึง IC501 เสีย แต่ถ้าจอยังมืดและไฟสแตนด์บายติดอยู่เหมือนเดิม หมายความว่า อาการเสียที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากเวอร์ติคอลต้องไปสารวจวงจรโปรเท็คในส่วนอื่นๆ 2. อาการภาพหดทางด้านบนมีเส้นรีเทรชทางด้านบน หรือมีจุดไข่ปลาทางด้านบนของจอ อาการนี้เรา เรียกว่ากระแสของดีเฟล็คชั่นโย้คไม่เพียงพอ เมื่อกระแสของดีเฟล็คชั่นโย้คไม่สามารถจ่ายให้โย้คได้เพียงพอ ย่อมจะทาให้การดึงเส้นสแกนเพื่อสะบัดกลับไปยังขอบบนของจอเป็นไปได้อย่างไม่สมบูรณ์ สาเหตุมาจาก ระบบของการจ่ายไฟจ่ายกระแสได้ไม่เต็มที่ หรือวงจรบูสต์ไม่สามารถที่จะบูสต์อัพกระแสให้กับดีเฟล็คชั่นโย้ค ได้อย่างสมบูรณ์ การวิเคราะห์ตรวจซ่อมให้ทาดังนี้ 2.1 วัดแรงดันไฟที่ขา 6 ของ IC501 แรงดันไฟอยู่ในระดับ 24–25 V เต็มที่หรือไม่ถ้าแรงดันไฟที่ขา 6 ของ IC501 ต่ากว่า 24 V อุปกรณ์ที่มีปัญหาได้แก่ C510 และ D502 2.2 วัดแรงดันไฟที่ขา 3 ของ IC501 ปกติแรงดันไฟที่ขา 3 จะต้องไม่น้อยกว่าแรงดันไฟที่ขา 6 หรือ อาจจะมีมากกว่าแรงดันไฟที่ขา 6 เล็กน้อย เนื่องจากเป็นแบบบูสต์อัพแบลงกิ้งของเวอร์ติคอลแรงดันไฟขา 3 ของ IC501 ต่ากว่าขา 6 ของไอซีตัวเดียวกันถือว่า D501 ไดโอดความถี่สูงเป็นตัวบกพร่อง 2.3 หากแรงดันไฟที่ขา 6 และแรงดันไฟที่ขา 3 เป็นปกติ แสดงว่าเราตัดปัญหาเรื่องระบบจ่ายไฟ ออกไปได้ ระบบจ่ายไฟสามารถจ่ายไฟได้อย่างเต็มที่แล้ว ตัวที่มีปัญหาก็คือวงจรโวลเตจบูสเตอร์เป็นอุปกรณ์ ที่อยู่ภายนอกของ IC501 คือ C507 ให้เปลี่ยน C507


3. อาการภาพหดบน –ล่าง อาการดังกล่าวนี้เป็นอาการที่บอกว่ากระแสที่ไหลผ่านดีเฟล็คชั่นโย้ค ไม่เพียงพอ ถ้าเป็นเพราะระบบของการจ่ายไฟภาพที่ได้จะเป็นภาพที่มีปัญหาเรื่องของเส้นแสงด้วยในเวลา เดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะไปวิเคราะห์ในส่วนอื่นให้ทาการวัดแรงดันไฟที่ขา 6 และขา 3 ของ IC501 เพื่อจะ บอกว่าอาการหดด้านบนและด้านล่างของจอเป็นปัญหาเพราะระบบจ่ายไฟหรือไม่ หากระบบของการจ่ายไฟ ไม่เป็นปัญหาการหดทางด้านบนและหดทางด้านล่างนั้นมาจากสาเหตุของระบบฟีดแบ็คหรือให้ปรับ R509 ทดสอบหรือสารวจ R509 มีความบกพร่องหรือไม่ ส่วนประเด็นที่จะทาให้ภาพหดบนหดล่างเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น คาปาซิสเตอร์ C509 เกิดการรั่วไหล ทาให้มีการแบ่งกระแสของดีเฟล็คชั่นโย้คให้ไหลผ่านตัว ของมันมากกว่าปกติหรือเกิดเนื่องจาก C512 เกิดการรั่วไหลนาเอาเวอร์ติคอลพัลส์ไปจ่ายให้กับวงจรอื่น ๆ มากเกินไป กระแสในดีเฟล็คชั่นโย้คไหลได้น้อยลงอย่างนี้เป็นต้น เวอร์ติคอลแท่นJ แท่น J เป็นแท่นเครื่องระบบบัสซิสเท็ม( Bus System) ระบบดังกล่าวนี้ใช้การควบคุมคาสั่งดิจิตอล ในแท่นเครื่องที่เป็นแท่น J ภาคเวอร์ติคอลเอาต์พุตใช้งานนั้นเป็นไอซีเบอร์ LA7837 เป็นไอซีเวอร์ติคอล ที่มีขาใช้งาน 13 ขา โดยปกติทั่วไปไอซีในภาคเวอร์ติคอลเอาต์พุตมีขาใช้งาน 7 ขา 9 ขา และ 13 ขา นาเอา สัญญาณพัลส์ของฟลายแเบ็คมาทางานเร็กติฟายเออร์ด้วย D501,C503 และ C510 ทาการเรียงกระแสออกมา เป็นแรงดัน DC ประมาณ 26 V ส่งไป 2 ที่ด้วยกัน คือส่งให้กับขา 8 ของ IC501 เบอร์ LA7837 เป็นวงจรขับ การบูสต์หรือขับสัญญาณแบล็งกิ้งและเป็นตัวจ่ายกระแสให้กับภาคไดร์เวอร์ อีกขาหนึ่งต้องการแรงดันไฟ 26 V คือขาที่ 13 แต่ขา 13 เป็นภาคเอาต์พุตที่จะต้องกาเนิดสัญญาณ เวอร์ติคอลแบล็งกิ้งก่อนจ่ายไฟเข้าขา 13 ของไอซี จึงต้องส่งผ่าน D503 เพื่อให้ D503 ทาหน้าที่เป็นตัวกั้น สัญญาณแบล็งกิ้งที่จะบูสต์โดย C502 กลับไปยังขา 9 ของไอซี แรงดันไฟ 26 V ผ่าน R531 ไปขา 6 เป็น ขาแรมป์ เจนเนอเรเตอร์( Ramp Generator) เป็นหน่วย ทาหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากสัญญาณรูปสี่เหลี่ยมให้เป็นสัญญาณรูปฟันเลื่อย IC501 เป็นไอซีที่ทาการ ผลิตความถี่เวอร์ติคอลด้วยตัวเอง เมื่อการจ่ายแรงดันไฟ 12 V เข้าขาที่ 1 ของ IC501 ย่อมจะทาให้วงจรผลิต ความถี่ 50 Hz สามารถผลิตความถี่ได้ด้วยค่าของคาบเวลาคงที่( Time Constant) ซึ่งการกาหนดความถี่นั้น กาหนดความถี่ด้วยอุปกรณ์ที่ขา 3 ของไอซี ความถี่ที่ได้นี้ถูกบังคับการทางานด้วยสัญญาณที่มาจาก IC801 มายังขาที่ 2 ซึ่งเราเรียกว่าขาการกระตุ้นวงจรหรือขาทริก(Trig) ซึ่งสัญญาณที่เข้ามายังขา 2 ของ IC501 นี้ถูก ส่งมาจาก IC801 สัญญาณเวอร์ติคอลซิงค์จะส่งออกจากขา 18 ของ IC801 ผ่าน R505 และ R506 มายังขา 2 ของ IC501 นอกจากจะมีการส่งสัญญาณเวอร์ติคอลซิงค์ออกมาแล้ว ยังมีการจ่ายแรงดันไฟมาบังคับการ ทางานของหน่วยผลิตความถี่ให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่ได้ด้วย นั่นหมายความว่าแรงดันไฟที่มาจาก IC801 เป็น ตัวบังคับขนาดของหน้าจอในเวลาเดียวกัน วงจรแรมป์ เจนเนอเรเตอร์ ยังมีการปรับขนาดของสัญญาณที่ เรียกว่าการปรับไซซ์ (Size) เพิ่มเสริมเข้ามา ระบบมัลติซิสเท็ม สามารถผลิตความถี่ได้ 2 ระบบ ความถี่ 50 Hz ในระบบ CCIR หรือ 60 Hz ในระบบ FCC มีคาสั่งจากไอซีไมโครคอมพิวเตอร์สั่งมายัง Q501,Q502 ให้ต่อวงจรขา 5 และต่อวงจร ดีเฟล็คชั่นโย้ค บังคับหน่วยออสซิลเลเตอร์ให้ผลิตความถี่ได้ตามต้องการ กรณีที่ต้องการความถี่ 50 Hz คาสั่ง ในไอซีไมโครคอมพิวเตอร์จะสั่งมาเป็น ไฮ ทาให้เอาต์พุตของ Q501,Q502 มีสภาวะเป็น โลว์ ขา 5 ของ IC501 ถูกต่อลงกราวด์ ถ้าบังคับให้เวอร์ติคอลออสซิลเลเตอร์ผลิตความถี่ 60 Hz คาสั่งจากไอซี คอมพิวเตอร์จะสั่งออกมาเป็น โลว์ ทาให้ Q501 ไม่สามารถจะนากระแสได้ แรงดันไฟจากชุด 12 V ส่งผ่าน


R513 และ R512 ไปครบวงจรเกิดแรงดันตกคร่อม R512 จ่ายเข้าไปยังขา 5 ของ IC501 ทาให้ IC501 บังคับ การผลิตความถี่เป็นความถี่ 60 Hz ได้วงจรออสซิลเลเตอร์สามารถผลิตความถี่ได้แล้ว วงจรฟลิปฟล็อป ซึ่งเป็นการผลิตความถี่ในรูปแบบของสัญญาณสี่เหลี่ยม แต่ในดีเฟล็คชั่นโย้คต้องการกระแสเป็นรูปสัญญาณ ฟันเลื่อย จึงส่งความถี่ดังกล่าวเข้าสู่วงจรแปลงสัญญาณสี่เหลี่ยมเป็นสัญญาณฟันเลื่อย วงจรที่ทาหน้าที่นี้คือ วงจรแรมป์ เจนเนอเรเตอร์ จะมีการปรับขนาดของสัญญาณฟันเลื่อยด้วยการปรับเวอร์ติคอลไซซ์โดย R511 ที่ต่อไว้ที่ขา 4 ของไอซี หลังจากนั้นก็จะส่งความถี่นั้นเข้าสู่ภาคเอาต์พุตต่อไป การวิเคราะห์ปัญหาเวอร์ติคอลแท่น J แท่น J ใช้ IC501 เป็นวงจรผลิตความถี่โดยตรง วงจรนี้จะผลิตความถี่ได้ต้องอาศัยแรงดันไฟ ที่ขา 1 เป็นแรงดันไฟหลักการผลิตความถี่ IC501 เวอร์ติคอลเอาต์พุต ต้องการแรงดันไฟ 24–25 V โดยจ่าย แรงดันไฟเข้าไปที่ขา 8 และขา 13 ของไอซี มี C507 เป็นวงจรบูสต์แทร็ปปิ้ง ดังนั้นในการวิเคราะห์วงจร ยังคงมีรูปแบบเค้าโครงเดิมอยู่ เพียงแต่ว่าระบบนี้จะไม่มีระบบฟีดแบ็คข้ามภาคระหว่างไอซีตัวเล็กกับไอซีตัว ใหญ่ ดังที่พบเห็นกันโดยทั่วไปในการวิเคราะห์ตรวจซ่อมจะต้องทาให้ภาคเอาต์พุตเป็นปกติเสียก่อนนั่นก็คือ จะต้องวัดแรงดันไฟที่ขา 8 ถ้าเวอร์ติคอลไม่สามารถที่จะสแกนได้ จึงสามารถสรุปขั้นตอนได้ดังนี้ 1. วัดแรงดันไฟประมาณ 24–26 V ที่ขา 8 ของ IC501 ถ้าไม่มีนั่นหมายความว่าระบบของการจ่ายไฟ ซึ่งมาจากฟลายแบ็คทรานสฟอร์เมอร์มีปัญหา 2. วัดแรงดันไฟที่ขา 13 ของ IC501 ถ้าไม่มีเกิดเนื่องจาก D503 เสียหรือมีต่าเกิดจาก D503 เสีย 3. หากแรงดันไฟที่ขา 8 และขา 13 เป็นปกติแล้ว แรงดันไฟออกที่ขา 12 ต้องได้ประมาณ 12.5 V จึงจะถือว่าระบบนี้เป็นปกติ IC501LA7837 TRIG IN 2

+B 1 +12V

T.C. 3

SIZE 4

RAMP 6

5

R508

R532

R510

NF 7

Vcc 8

PUMP UP 9

OSC BLOCK 10

GND 11

Vcc OUT 13

OUT 12

C507

R531

C514

D503

R514 V-SYNC

R505

R506

FROM PIN18 IC801

C504

R511 C501 R507

+12V

R517

50/60Hz “L”

C505

11.7V Q502

R528

C509

C510

C513

R513

Q501

C508

R512

R

D504

R518

R520

R524

R530

R525

R523

DY

C506 V - Yoke

“L”

รูปที4่ .3เวอร์ติคอลในแท่น J

D501

C512

FBP

C503


4. หากแรงดันไฟที่ขา 12 ไม่อยู่ในระดับปกติให้สารวจการป้อนกลับแรงดันไฟ ผ่านดีเฟล็คชั่นโย้ค กลับไปยังขา 7 ของ IC501 ว่ามีการป้อนกลับถูกต้องหรือไม่ ถ้าการป้อนกลับไปยังไม่ถูกต้อง หมายความว่า ตอนนี้ภาคเวอร์ติคอลเอาต์พุตมีปัญหาต้องเปลี่ยน IC501 5. หากแรงดันไฟที่ขา 12 ของ IC501 เป็นไปตามปกติ แต่วงจรออสซิลเลเตอร์ไม่สามารถทางานได้ ให้วัดแรงดันไฟ 12 V ที่ขา 1 ของ IC501 ปกติต้องมีแรงดันไฟตั้งแต่ 10.8 V 6. หากแรงดันไฟที่ขา 1 ของ IC501 เป็นปกติให้สารวจความถี่ที่เกิดขึ้นจากการทางานของ IC501 ตรงขา 3 ของไอซีว่ามีความถี่หรือไม่ ถ้าความถี่ที่ขา 3 ของ IC501 ไม่มี หมายถึง IC501 เสีย 7. IC501 สามารถผลิตความถี่ได้แล้ว แต่ไม่สามารถส่งความถี่ดังกล่าวออกไปให้ภาคเอาต์พุตได้ให้ สารวจแรงดันไฟที่ขา 6 ของ IC501 ซึ่งเป็นวงจรแปลงความถี่จากรูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปฟันเลื่อยหรือวงจรแรมป์ เจนเนอเรเตอร์ ปกติขา 6 ของไอซี ต้องมีแรงดันไฟประมาณ 4.8–6.2 V 8. แรงดันไฟที่ขา 6 มีปกติแล้วสารวจแรงดันไฟของขา 4 ปกติต้องมีตั้งแต่ 4.8–6.2 V 9. หากระบบไฟตามที่กล่าวมาเป็นไปได้อย่างถูกต้องให้สารวจแรงดันไฟที่ขา 2 ซึ่งแรงดันไฟที่ขา 2 ของ IC501 จะรับมาจาก IC801 อีกทีหนึ่งแรงดันไฟที่ขา 2 ของ IC501 จะอยู่ประมาณ 5.6 V ในรายละเอียดส่วนอื่นๆ ยังคงใช้หลักการของการซ่อมภาคเวอร์ติคอลเหมือนเดิม ดังนั้นจึงสามารถ วิเคราะห์ตรวจซ่อมวงจรได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ และนี่คือการพัฒนาวงจรในเครื่องรับโทรทัศน์สีรุ่นใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.