บทบาท
นักเทคโนโลยีการศึกษา The Role of Technology in Education
ทีปกร โสสิงห์
ครู อาจารย์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำ�นาญในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แต่ วิธีการสอนที่ดี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ผู้สอน จะต้องเลือก วิธีการสอน เลือก รูปแบบการสอน ตลอดจน เทคนิคในการสอน เพื่อให้ เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
ส่วนประกอบเกี่ยวกับการเรียนการสอน
เนื้อหาว
ิชา ที่สาม
ารถอธิบ
ายให้เข้า
ใจได้ชัด
เจน แล
ะง่าย
ผู้เรียน แต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษา สิ่งแวดล้อม ความคิด ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยอีกหลาย ๆ ด้านที่แตกต่างกัน
ผู้สอน
คือ สื่อที่ดีที่สุด แต่ครูควรมีการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
เทคโนโลยีการศึกษา Educational Technology
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นกระบวนการบูรณาการ ที่เกี่ยวกับมนุษย์กับ วิธีดำ�เนินการ แนวความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดหาวิธีการ การนำ�ไปใช้ การประเมิน และ การจัดแนวทางการ แก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
เทคโนโลยีการศึกษา คือ การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความ คิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ อันเนื่องมาจาก กระบวนการซับซ้อน ของการประยุกต์ใช้สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น มาใช้เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ปัญหา และการแก้ปัญหาทางการศึกษา
การนำ�วิธีระบบเข้ามาใช้ มีขั้นตอน 5 ประการ - การวิเคราะห์และการทำ�ความเข้าใจปัญหา - การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา - การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา - การทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงวิธีการ - การนำ�ไปใช้และการควบคุมกำ�กับ
ข้อสังเกต
เราเป็น นักเทคโนโลยี การศึกษา
ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
กล่าวว่า “นักเทคโนโลยีการศึกษา”
“ไม่ควรจะต้องไปสอน แต่เป็นผู้ที่ทำ�หน้าที่ให้คำ�แนะนำ� และช่วยครูออกแบบการสอน มากกว่าจะไปสอนหนังสือแข่ง กับครูสายสอน”
ขอให้ทำ�ความเข้าใจกับคำ� ๓ คำ� คือ
นักเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technologist) ครูเทคโนโลยี (Technology Teachers) และ ครูเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology Instructors/Teachers)
7 หน้าที่ ของ
นักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technologist) หมายถึง ผู้ที่จะทำ�หน้าที่ 7 ประการ 1. จัดระบบและออกแบบระบบการสอน และออกแบบการสอน สามารถนำ�เอาวิธีระบบ หรือการจัดระบบมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย Input Process และ Output มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic Approach) ในการออกแบบพัฒนาระบบการสอน 2. ศึกษาและกำ�หนดรูปแบบพฤติกรรม มีส่วนร่วมในการกำ�หนดขั้นตอนการสอน เช่น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้แหล่งความรู้ ให้สามารถตอบสนองต่อความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของผู้เรียน เช่น วัย เพศ อัตราการเรียนรู้ ความสามารถทางด้าน สติปัญญา ความสนใจ ความถนัด ประสบการณ์เดิม ตลอดจนพื้นฐานทาง วัฒนธรรม ซึ่งครูผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษา จะเข้ามามีบทบาทสำ�คัญในการออกแบบ
3. ออกแบบ และคิดวิธีการ และเทคนิคการเรียนการสอน วิธีการและเทคนิคการสอน คือ ความสามารถในการออกแบบวิธีการ และนำ�เทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพ เทคนิคการสอน หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน โดยใช้เทคนิคการสอน ด้วยทักษะต่างๆ
นักเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technologist) หมายถึง ผู้ที่จะทำ�หน้าที่ 7 ประการ 4. ออกแบบกระบวนการสื่อสาร พัฒนาการผลิตและช่วยครูใช้สื่อการสอน โดยการนำ�เนื้อหาที่ครูมี มาออกแบบการนำ�เสนอ ผ่านช่องทางและสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้รับสาร คือ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. จัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน ทางกายภาพ เช่น การออกแบบห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ทางจิตภาพ เพื่อสร้างความอบอุ่น ประทับใจให้ผู้เรียน ทางสังคมภาพ เช่น การอยู่ร่วมกันด้วยสัมพันธภาพที่ดี 6. การจัดการองค์ความรู้ ศูนย์ความรู้ และการจัดการการเรียนการสอน 7. การประเมินการศึกษาแบบครบวงจรทั้งประเมินก่อน ระหว่าง และหลังเรียน ฯลฯ
ทั้ง 7 ประการ
เป็นบทบาทหลักของนักเทคโนโลยีการศึกษา ที่ทำ�หน้าที่เสมือนพ่อครัว ที่จะนำ�เนื้อมาปรุงให้อร่อย ชวนรับประทาน โดยใส่สารอาหารครบถ้วนและมีสมดุล สำ�หรับงานบริหาร งานวิชาการ และงานบริการ ทั้งในบริบทของโรงเรียน นอกโรงเรียน และตามอัธยาศัย ผู้ที่จะสอนนักศึกษาให้ทำ�หน้าที่ทั้ง 7 ข้อ ส่วนใหญ่ทำ�การสอนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ในโรงเรียนก็สอนนักเรียนได้เช่นกัน โดย นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำ�โรงเรียน แต่ไม่มีหน้าที่สอนนักเรียนในเรื่องนี้โดยตรง แต่จะสอนทางอ้อม คือ แนะนำ�ครู และให้นักเรียน มีส่วนร่วมให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้ซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว
นักเทคโนโลยีการศึกษา
ไม่ใช
ครู เทคโนโลยี
หมายถึง ครู/อาจารย์ ที่ทำ�หน้าที่สอน วิชาอาชีวะ หรือเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ งานคอมพิวเตอร์ งานซ่อมต่าง ๆ ในกลุ่ม การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับประถม
ช่
ครูเทคโนโลยี (Technology Teachers)
เช่น งานช่าง งานไม้ มสาระการเรียน มหรือมัธยม และอาชีวะ
ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
“นักเทคโนโลยีการศึกษา” อาจถูกเรียกเป็นภาษาปากว่า
“ครูเทคโนโลยีการศึกษา”
แต่มิใช่จ้างไปสอนเทคโนโลยีการศึกษา แม้แต่ในมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่สอน ในภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ก็อาจไม่ได้เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา ถ้าไม่ได้ทำ�หน้าที่ 7 ประการข้างต้น หากมัวทำ�หน้าที่สอนอย่างเดียว จึงเป็นเพียงอาจารย์เทคโนโลยีการศึกษา แต่อาจไม่เป็น “นักเทคโนโลยีการศึกษา”
ดังนั้น จุดยืนชัดเจน คือ
“นักเทคโนโลยีการศึกษา” ไม่ใช่ “ครูเทคโนโลยี” หรือ
“ครูเทคโนโลยีการศึกษา”
“นักเทคโนโลยีการศึกษา” เป็นได้มากกว่าครูที่ทำ�หน้าที่ สอนหนังสือเท่านั้น