สีชังดินแดนสามแผ่นดิน

Page 1


“จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ท ทรงสรรสร้างราชฐานทางสัญจร


ทรงประพาสเกาะสีชังครั้งกาลก่อน พสกนิกรต่างสรรเสริญเจริญใจ” ผู้จัดทำ�


สารบัญ สะพานอัษฎางค์ ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ณัฐฐาพันธ์ แสวงผล...ถ่ายภาพ

บทบรรณาธิการ ประวัติเกาะสีชัง การเดินทาง สถานที่ราชการ จุฑาธุชราชฐาน ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ มณฑปรอยพระพุทธบาท ช่องเขาขาดและ แหลมมหาวชิราวุธ หาดถ้ำ�เขาพัง วิถีชีวิต แหลมจักรพงษ์ สถานที่ Unseen เทศกาลและประเพณี บทสัมภาษณ์ผู้นำ�ชุมชน บทสัมภาษณ์ชาวบ้าน ที่พัก Si-Chang Gallery

1 2 8 12 13 46 49 50 51 53 58 65 67 71 77 79 81 85

ประวัติเกาะสีชัง

มุ่งเห็นละล่ายน้ำ� ตาตก เกาะสระชงงชลธี โอบอ มลกกเห็นไผ่รยงรก เกาะไผ ขยวสระดื้อล้ำ�ย้อม ยอด

การเดินทาง

ถ้าคุณนึกถึงเกาะที่มีธรรมชาติ ที่สวยงาม เหมาะกับการพัก ผ่อนแบบสงบและเรียบง่าย “เกาะสีชัง” จะเป็นตัวเลือก ที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ไกล จากกรุงเทพ การเดินทางไป ก็สะดวกสบาย การเดินทาง ไปเกาะสีชังสามารถเดินทางได้ หลายวิธี


แม่ฮา อ้อม ผ่ พู้นแม่ ดคราม

ประเพณีและวัฒนธรรม พระจุฑาธุราชชสถาน

ทำ�ไมต้อง “สามแผ่นดิน” จากการสืบค้น ติดตาม สัมภาษณ์ ฯลฯ ของผู้เขียน ท�ำให้ได้ทราบที่มาที่ไปของการ สร้างเขตพระราชฐานขึ้น ณ ที่ เกาะแห่งนี้ ซึ่งมันความสัมพันธ์ อย่างมาก กับราชวงกษัตริย์ ของไทยที่ทรงเริ่มเข้ามามี บทบาทเมื่อสมัยรัชการที ่ 4 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรก ที่ได้เสด็จมาเกาะสีชังแล้ว ทรง พระราชด�ำริสิ่งต่างๆ ไว้ พอ สมควร� �

unseen

สถานที่ท่องเที่ยวในเกาะสีชัง มีมากมาย ไม่ว่าคุณจะอยาก เดินลัดเลาะริมเกาะ ไหว้สิ่ง ศักดิ์สิทธิ หรือน้ำ�แข็งบนเกาะ นั้นมาจากไหน คุณจะได้ทราบ จากในบทความนี้

ประเพณีกองข้าว สังสรรสงกรานต์ อุ้มสาวลงนํ้า นมัสการเจ้าพ่อเขาใหญ ร่วมกินข้าวมัน สัมตำ�สีชัง


เอกวิทย์ โทปุรินทร์ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ

รัตนาวดี โพธิ์เวชกุล

53041751

ดลยา หงษ์ทอง พัชราภรณ์ ค้าผล เพชราพร ยิ้มโต ภัทธิดา วงษ์บาท กนิษฐา อินทร์ใจเอื้อ ณัฐชยา ลีลาขจรจิต นุชรี จิตต์หมวด วัชรพล คนพินิจ

53041271 หัวหน้าฝ่าย 53041278 53041281 53041283 53041741 53041744 53041748 53041753

ชลลดา กฤษณศรีวิสุทธิ์ วศินี พันธุ์ก�ำแหง คมกฤต สว่างวงษ์ ฐิภารักษ์ เอี่ยมผดุงชาติ ภัทริน สุรเกียรติ์กุล นิพัทธิ์ กรุดภู่ รุ้งนภา จันทร์ล ี สุรพล ชวายวัง อิทธิภัทร พรรณจริต กอบกุล ข�ำสิงห์ กฤษฎี เพิ่มศิริ สุฑามาศ แก้วมรกต

53040478 หัวหน้าฝ่าย 53040463 53040468 53040480 53040505 53041276 53041289 53041299 53041301 53041405 53041429 53041430

บรรณาธิการฝ่ายข่าว

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์

ฝ่ายเรียบเรียงและพิสูจน์อักษร สุพัตรา สุขวารี 53041297 ธัญญามาศ แปงค�ำเรือง วาสนา ผาสุขหัส วีณา นาคทับ สุภัค บัวประเสริฐ อรกนก บุญช่วย ศุภรัตน์ มาตย์ปัญญา

หัวหน้าฝ่าย 53041273 53041292 53041293 53041298 53041300 53041755

ณัฐฐาพันธ์ แสวงผล จเร หัตถภูมิเกษตร พยุงศักดิ์ อินทรักษา ดิษฐพงษ์ ชุติชัยวิรัตน์ อรชา อินทโต

53040519 หัวหน้าฝ่าย 53041266 53040499 53041746 53041758

สโรชา พิรัญเจริญ ภูริศ มีสรลักษณ์ ธิดา เฮงตระกูล

53041756 หัวหน้าฝ่าย 53041286 53041747

ฝ่ายช่างภาพ

เหรัญญิก

1

บทบรรณาธิการ

เมื่อพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่น่าสนใจ เชื่อว่าชื่อของเกาะสีชังคงจะอยู่ในใจของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีบรรยากาศดี มีความ ปลอดภัยและให้ความสงบกับผู้ที่มาเยือนได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว อีกทั้งการ เดินทางมาก็สะดวกสบาย และห่างจากกรุงเทพมหานคร ไม่มาก รวมถึงค่าใช้จ่ายส�ำหรับการท่องเที่ยวที่เกาะแห่ง นี้ก็ไม่สูงมากนัก จึงถือได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่า สนใจส�ำหรับนักท่องเที่ยวได้ดีเลยทีเดียว หลายคนอาจ จะรู้จักเกี่ยวกับเกาะสีชังว่า เป็นเกาะที่น�้ำทะเลสวย ใส สะอาด อาหารอร่อย แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในเกาะสีขังนั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจไม่น้อย เกาะสีชังถือได้ว่า เป็นดินแดน...สามแผ่นดินเลยก็ว่าได้ เนื่องจากประวัติ ของเกาะสีชังนั้นมีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์หลาย พระองค์ตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว( รัชกาล ที่ 3 – รัชกาลที่ 5 ) เกาะสีชังไม่ได้เป็นแค่เพียงสถานที่ ท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวยังเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ ทางประวัติศาสตร์ของไทยอีกแห่งหนึ่งด้วย ไม่ว่าจะเป็น พระจุฑาธุชราชถาณ แหลมจักรพงษ์ แหลมมหาชิราวุธ เป็นต้น เกาะสีชังจึงยังเป็นที่ให้เราได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุคสมัย รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ในสมัยก่อน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ บนเกาะ ตั้งแต่สมัย ก่อนจนถึงปัจจุบัน เกาะสีชังแห่งนี้จึงนับได้ว่ามีคุณค่าทั้ง ด้านความงามและการศึกษาหาความรู้ได้ไปพร้อม ๆ กัน รัตนาวดี โพธิ์เวชกุล


ประวัติ เกาะสีชัง

ดิษฐพงษ์ ชุติชัยวิรัตน์ ,อรชา อินทโต...เรื่อง ณัฐฐาพันธุ์ แสวงผล , พัชราภรณ์ ค้าผล ...ภาพ

เกาะสีชัง

เป็นอ�ำเภอที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ ในบริเวณอ่าวไทยนอกชายฝั่งอ�ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เดิมที่ แล้วเกาะสีชังนั้นขึ้นอยู่กับ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ต่อมากระทรวง มหาดไทยได้ย้ายให้ไปสังกัดไว้ใน จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ.2486 มีพื้นที่บนเกาะ 7.9 ตารางกิโลเมตร ประชากรบนเกาะมีประมาณ 5 พันคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะได้แก่ เกาะขามใหญ่, เกาะขามน้อย, เกาะปรง, เกาะร้านดอกไม้, เกาะสัมปันยื้อ, เกาะยายท้าว, เกาะค้างคาว, เกาะท้ายตาหมื่น


พื้นที่ส่วนใหญ่ ของเกาะสีชังก็จะเป็นภูเขา

โขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบท�ำการเพาะ ปลูกได้ประมาณ 500ไร่ ไม่มีแม่น�้ำล�ำธารและหนองบึง คนบนเกาะสีชังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และท่อง เที่ยว ส่วนการเดินทางบนเกาะนี้จะเป็นพื้นคอนกรีต ถนน 2 เลนอย่างดี โดยถนนจะมีลักษณะเป็นวงกลม วิ่งรอบเกาะ และจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ เพื่อความ สะดวกในการท่องเที่ยว สิ้นค้าที่ขึ้นชื่อของที่นี่ก็คือ ปลาหมึกตากแห้ง

ที่มาของค�ำว่า “สีชัง” เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อ

ของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายของภาษา ได้ยากมาก แม้แต่นักปราชญ์ทางภาษาก็ได้เพียงแต่ตั้งข้อ สันนิษฐานความหมายและที่มาของค�ำว่า “สีชัง” ไว้ดังนี้ • สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของ เขมร เรียกว่า ส�ำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็น ข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง • สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนท�ำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือส�ำเภาจีน 4 นาย ล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความ รู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกราก และหันมา ประกอบอาชีพท�ำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาค�ำว่า "ซีซัน" จึง แผลงมาเป็น "สีชัง" • สีชัง มาจากค�ำว่า "สีห์ชงฆ์" ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์

3

• สีชัง มีตำ� นานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อ หน่ายโลกียวิสัย จึงมาพ�ำนักบ�ำเพ็ญพรตจนมีชื่อเสียง เป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า "เกาะ ฤษีชัง" ชื่อสีชัง นี้มีมาแต่ครั้งใดไม่ได้ก�ำหนดหลักฐาน ที่แน่ชัด แต่เท่าที่มีหลักฐานจากหนังสือ ก�ำสรวลศรี ปราชญ์ แต่งไว้ราวๆปี พ.ศ. 2235 เรียกเกาะสีชังว่า สระชัง ปรากฏในโคลงบทที่ 78 ได้ พรรณนาถึงเกาะสีชัง ไว้ดังนี้ มุ่งเห็นละล่ายน�้ำ ตาตก แม่ฮา เกาะสระชงงชลธี โอบอ้อม มลกกเห็นไผ่รยงรก เกาะไผ่ พู้นแม่ ขยวสระดื้อล�ำ้ ย้อม ยอดคราม


ในสมัยก่อนนั้น การเดินทางค้าขายกับต่าง ประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน�ำ้ เป็นส�ำคัญ และ ในตอนนั้นไทยก็ได้มีการค้าขายกับต่างประเทศอย่าง กว้างขวางแล้ว แต่ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยได้อับปาง ในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ เป็นจ�ำนวนมาก ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปาก อ่าวเข้าสู่ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นจุดสายตา จะมีก็แต่ เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือจะแล่นเรือมาถึงบริเวณนี้และ มองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณ นี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็นห้วงน�ำ้ อันกว้าง ใหญ่ ค�ำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน จากหลักฐาน ต่างๆที่ได้กล่าวมา แสดงว่า ได้มีการเรียกชื่อเกาะสีชังว่า สระชัง กันมาแต่เดิมแล้ว อย่างน้อยก็คงก่อนปีพุทธศักราช 2235 หลังจากนั้น ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า ค�ำว่า สระชัง ได้เลือน มาเป็น สีชัง ตั้งแต่สมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดี เท่าที่พบปรากฏว่าได้มีการใช้ค�ำว่า สีชัง เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 2370 ซึ่งเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่าน สุนทรภู่ เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ หลังจากนั้นมาได้มีการใช้ค�ำว่า สีชัง แพร่หลายขึ้น และ คงจะไม่มีการเลือนไปเรียกเป็นอย่างอื่นอีกต่อไป

จากหลักฐาน ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม

“สระชัง” คงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช 2235 ต่อมาการออกเสียง “สระชัง” อาจเพี้ยนไปเป็น “สีชัง” ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า ได้มีการ สันนิษฐานกันเป็นหลายอย่างเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า ค�ำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้าง ก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้ง รกรากท�ำมาหากิน อยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม ค�ำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะ และ มีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมาย ถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป (ไม่ได้หมายถึง สระน�้ำแห่งความชิงชังอย่างที่ได้เข้าใจกันมา) หรือ ค�ำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากค�ำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น�้ำ หรือ ห้วงน�้ำ กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจน เป็น สระชัง ในที่สุด

4



เกาะขนาดเล็ก อย่างเกาะสีชังนี้ได้มีความ ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทย เชื่อ หรือไม่ เกาะสีชังนั้นเป็นสถานที่เสด็จประพาสและเป็นที่ ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการจดบันทึกชื่อของสถานที่แห่ง นี้ลงในท�ำเนียบของทางราชการ คือ พระองค์ได้เสด็จ ประพาสเกาะสีชัง โดยเรือกลไฟที่ต่อในประเทศไทย ชื่อ สยามอรสุมพล ได้มีการยกเกาะสีชังขึ้นเป็นอ�ำเภอเกาะสีชัง ขึ้น อยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเกาะสีชังในสมัยรัชกาล ที่ 4 นี้ยังไม่มีประชาชนอาศัยอยู่มากนัก ด้วยเพิ่งจะเริ่ม เข้ามาอยู่กันไม่กี่ครัวเรือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเกาะสีชังอยู่บ่อยครั้งๆ และ ทุกครั้งที่เสด็จฯ จะมียายเสม ซึ่งเป็นหญิงชาวเกาะที่เป็น ผู้ใหญ่ เป็นที่นับถือของชาวเกาะได้เข้าเฝ้าฯ ทุกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มี พระราชด�ำรัสสรรเสริญเกาะสีชังว่าเป็นสถานที่ ที่อากาศ ดี ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนเกาะจึงมีอายุยืนนานปราศจากโรค ภัยไข้เจ็บ และในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะสีชังนั้น พระเจ้าลูกยาเธอเจ้า ฟ้าจุฬาลงกรณ์ ( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก็เคย ตามเสด็จฯ มาด้วยหลายครั้ง

6


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปีพุทธศักราช 2419 พระองค์ได้เสด็จ ประพาสจันทบุรี โดยเรืออรรคราชวรเดช ในครั้งนั้นได้มี พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านาย ข้าราชบริพาร ตามเสด็จฯ เป็นจ�ำนวนมาก ในระหว่างทางก็เสด็จประพาสเกาะสีชัง ด้วยทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในจดหมายเหตุระยะทางเสด็จ ประพาสจันทบุรี บรรยายถึงรายละเอียดของการเสด็จ ประพาสเกาะสีชัง เริ่มตั้งแต่ในปีพุทธศักราช 2431 พระองค์ได้เสด็จ ประพาสเกาะสีชังเป็นการถาวรหลายครั้ง ได้เสด็จประทับ อยู่ที่เกาะแห่งนี้แต่ละครั้งเป็นเวลานานๆ พระองค์จึงได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสิ่งต่างๆไว้หลายแห่ง ทั้งที่ประทับ สะพาน ถนนหนทาง และถาวรวัตถุอื่นๆ ต่อมาพระองค์ยังมักเสด็จประพาสทะเลบ่อยครั้ง และได้ เสด็จประพาสเกาะสีชังอีกหลายครั้ง ทั้งที่อยู่ประทับเป็น เวลาสั้นๆ หรือ แค่ทรงแวะ แต่ไม่ได้เสด็จฯ ประทับบน เกาะสีชัง จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำ� คัญอย่าง ยิ่งในการพัฒนาเกาะสีชังแห่งนี้นั่นเอง

7

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 6 ได้เสด็จมาประทับที่เกาะแห่งนี้บ่อยครั้งและยังเป็น สถานที่ประสูติพระราชโอรส (เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ) ซึ่ง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๕ ณ พระต�ำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้ มีการสร้างพระราชวังจุฑาธุช โดยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามเขตพระ ราชฐานว่า"พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนาม "สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" ซึ่งประสูติ ณ เกาะแห่งนี้ "เกาะสีชัง" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมาก ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ รวมถึง เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านที่มีอาหาร ทะเลสดและราคาถูก มีหาดทรายเกาะแก่งที่สวยงาม ซึ่ง ปัจจุบันได้มีการขยายตัวของการท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมาะอย่างยิ่งส�ำหรับการพักผ่อน ในวันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณค่ะ


คู่มือนักเดินทาง

ถ้าคุณนึกถึง เกาะที่มีธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะกับการพักผ่อน แบบสงบและเรียบง่าย “เกาะสีชัง” จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ไกลจากกรุงเทพ การเดินทางไปก็สะดวกสบาย ดลยา หงส์ทอง ,นุชรี จิตต์หมวด..เรื่อง ณัฐฐาพันธุ์ แสวงผล ,นุชรี จิตต์หมวด ...ภาพ


การเดินทาง ไปเกาะสีชังสามารถเดินทางได้ หลายวิธี แต่เนื่องจากพวกเราอาศัยอยู่ที่บางแสน ชลบุรี เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเดินทางของพวกเราจึงเริ่มต้นที่ บางแสนเป็นส่วนแรก โดยเดินทางออกจากบางแสน เวลา 06.00 น. จากนั้นก็ไปขึ้นรถสองแถวที่เหมาไว้จากหนองมน ไปเกาะลอย คุณลุงคนขับรถใจดีมาก คิดค่าเหมารถ พวกเราเพียง 200 บาท นั่งรถสองแถวไปถึงเกาะลอย ก็ราวๆ 06.40 น. บรรยากาศตอนเช้าๆที่เกาะลอย สดชื่นมาก เห็นผู้คนต่างพากันมารอเรือเพื่อไปเกาะสีชัง เรือเที่ยวแรกของวันเสาร์ คือเที่ยว 07.00 น. โชคดีที่ พวกเราเดินทางมาทางมาทันเรือเที่ยวแรก จากนั้นพวกเราก็ไปซื้อตั๋วเพื่อนั่งเรือไปเกาะสีชัง ค่าตั๋วใบละ 40 บาท พอซื้อตัวเสร็จก็พากันไปขึ้น เรือด้วยความตื่นเต้น เพราะมีเพื่อนบางคนไม่เคยนั่ง เรือ เพื่อนบางคนก็เมาเรือ เมื่อลงไปที่เรือแล้วก็พา กันไปจับจองที่นั่ง พวกเราได้ที่นั่งชั้นล่างของเรือ น่า เสียดายที่ที่นั่งชั้นบนของเรือเต็มแล้ว เพราะบรรยากาศ ดี ได้ชมวิวสวยๆ ทะเลใสๆ แต่ที่นั่งข้างล่างค่อนข้างคับ แคบและแออัดนิดหน่อย แต่ก็พอได้ชมวิวสวยๆได้ นั่ง เรือชมวิวไปเรื่อยๆ พวกเรารู้สึกสนุก และตื่นตาตื่นใจ กับการเดินทางครั้งนี้มาก เพราะทะเลสวย น�ำ้ ใส บาง ครั้งเวลาเรือโครงเครง โดนคลื่นซัด คลื่นก็สาดเข้ามา ทางหน้าต่าง ท�ำให้เปียกไปตามๆกัน จนท�ำให้ต้องปิด หน้าต่าง นั่งเรือเป็นเวลาประมาณ 40 นาที ก็ถึงท่าเรือ เกาะสีชัง ด้วยความตื่นเต้นพวกเราจึงพากันรีบขึ้นจาก เรือ บรรยากาศบนเกาะสีชังดูครึกครื้น เต็มไปด้วยนัก ท่องเที่ยว แม่ค้าพ่อขายที่ต่างน�ำสินค้ามาขายกันอย่าง เนืองแน่น

9

เมื่อทุกคนขึ้นจากเรือมาครบแล้ว ก็พากันเดินไป ยังจุดบริการนักท่องเที่ยวเพื่อรอรถมอเตอร์ไซด์ที่เช่าไว้ แต่ยานพาหนะส�ำหรับการเดินทางท่องเที่ยวบนเกาะนั้น ไม่ได้มีแต่มอเตอร์ไซด์เท่านั้นนะ แต่มียานพาหนะอื่นๆให้ เลือกอย่างหลากหลายตามความชอบและความสะดวก สบาย มีทั้งรถสามล้อ และรถมอเตอร์ไซด์ พวกเราเลือกเช่ารถมอเตอร์ไซด์ เพราะมากัน เยอะ และสะดวกกว่าที่จะขับรถเที่ยวชมรอบเกาะ โดย โทรจองไว้ก่อน เพราะจะได้ราคาที่ถูกกว่า เมื่อพี่เจ้าของ รถน�ำรถมอเตอร์ไซด์มาให้ ก็ต้องท�ำการจ่ายเงิน และ ตกลงว่าจะเช่ากี่วัน และน�ำมาคืนวันไหนให้เรียบร้อย เมื่อมียานพาหนะเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็พร้อมออก เดินทางท่องเที่ยวรอบเกาะสีชังกันแล้วล่ะค่ะ


รถยนต์ส่วนตัว

จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายบางนา - ตราด มุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี จากตัวเมืองชลบุรี มุ่งหน้าสู่บางแสน (หลัก กิโล เมตรที่ 104 ท่านจะถึงแยกขวามือเข้า หาดบางแสน ) จากทางเข้าหาดบางแสน ขับตรงไปประมาณ 13 กิโลเมตร จะถึง ห้าง โรบินสันศรีราชา ซึ่งอยู่ทางขวามือของท่าน ( ตรงห้างโรบินสัน คือ หลักกิโลเมตรที่ 117 ) จากนั้นให้ เลี้ยวขวาตรง ห้างโรบินสัน จากนั้นขับตรงไปยังท่าเรือเกาะลอย ประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึง ท่าเรือเกาะลอย * ถ้านักท่องเที่ยวท่านใดต้องการค้างคืนสามารถจอดรถไว้ที่ฝั่งเกาะลอยๆได้ *

รถโดยสารประจ�ำทาง

สามารถขึ้นรถได้ 2 แห่ง คือ - สถานีเอกมัย นั่งรถกรุงเทพ - สัตหีบ หรือ กรุงเทพ - ศรีราชา หรือ กรุงเทพ - พัทยา แล้วไปลงที่ หน้าห้าง โรบินสัน ศรีราชา จากนั้นเดินข้ามฝั่งไปยังห้าง โรบินสัน แล้วนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือสามล้อเครื่องไป ยังท่าเรือเกาะลอย ( ค่าโดยสาร 40 บาท ) - สถานีหมอชิตรถออกทุกครึ่งชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 05.00-20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์ที่มีรถออกตั้งแต่ 04.30 น. หลังจากเดินทางถึงท่าเรือเกาะลอยแล้ว เราก็ต้องขึ้น เรือเพื่อเดินทางไปยังเกาะสีชัง โดยเรือจะออกตามเวลา ดังนี้

จากศรีราชา(ท่าเรือเกาะลอย) ไปยังเกาะสีชัง(ท่าเรือเทววงศ์)

มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือเกาะลอยทุกวันตั้งแต่ 7.00 -20.00 น. ออกทุกชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาทีจากเกาะสีชังมายังท่าเรือเกาะลอย ศรีราชาก็เช่นกัน แต่ในวันเสาร์อาทิตย์จะเพิ่มรอบเรือเวลา 7.00 น. ด้วย ค่า โดยสาร 40 บาท **นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เรือสีชังพาเลซ โทร. 038 216 276-82 หรือ เรือแสงประทีป บริการ โทร. 038 313 687 10


การเดินทางท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง

ส�ำหรับการท่องเที่ยวบนเกาะ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางได้หลายรูป แบบตามความชอบ ถ้าใครที่อยากขับรถเที่ยวชมเกาะแบบชิวๆ ก็สามารถเลือก รถมอเตอร์ไซด์ ราคาอยู่ที่ 250 บาท ต่อวัน แนะน�ำให้เลือกรถมอเตอร์ไซค์แบบ มีเกียร์ เพราะต้องขึ้นเขาและเส้นทางลาดชันมาก หรือจะเลือกใช้บริการสามล้อ เครื่องสกายแลป (นั่งได้ 3- 4 คน) ราคาอยู่ที่ 150-250 บาท แล้วแต่การแวะชม สถานที่ท่องเที่ยวจุดใดบ้าง

หวังว่าการแนะน�ำเส้นทางในการเดินทางท่องเที่ยวที่เกาะสีชังจะช่วยให้นักท่อง เที่ยวเดินทางได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ขอให้นักท่องเที่ยวเดินทางโดยสวัสดิภาพและ มีความสุขกับการท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง


สถานที่ราชการ

ในเกาะสีชัง

ที่ท�ำการปกครองอ�ำเภอเกาะสีชัง โรงพยาบาลเกาะสีชัง เทศบาลเกาะสีชัง สถานีต�ำรวจภูธรเกาะสีชัง ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาะสีชัง ส�ำนักงานสรรพากรเกาะสีชัง ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนเกาะสีชัง สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสีชัง งานต�ำรวจน�้ำเกาะสีชัง โรงเรียนเกาะสีชัง โรงเรียนจุฑาทิศเทววงษ์เกาะสีชัง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเกาะสีชัง องค์การบริหารส่วนต�ำบลท่าเทววงษ์ ด่านความคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเกาะสีชัง

ส�ำนักงานการสื่อสารไปรษณีย์


พระจุฑาธุชราชฐาน ทำ�ไมต้อง “สามแผ่นดิน” จากการสืบค้น ติดตาม สัมภาษณ์ ฯลฯ ของผู้เขียน ทำ�ให้ได้ ทราบที่มาที่ไปของการสร้างเขตพระราชฐานขึ้น ณ ที่เกาะแห่งนี้ ซึ่ง มันความสัมพันธ์อย่างมาก กับราชวงกษัตริย์ของไทยที่ทรงเริ่มเข้า มามีบทบาทเมื่อสมัยรัชการที่ 4 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ เสด็จมาเกาะสีชังแล้ว ทรงพระราชดำ�ริสิ่งต่างๆ ไว้ พอสมควร ต่อ มาเมื่อสมัยรัชการที่ 5 เป็นยุคที่เฟื่องฟูของเกาะแห่งนี้ก็ว่าได้ เพราะ พระองค์ทรงพระราชดำ�ริให้สร้างสิ่งต่างๆ มากมาย รวมทั้งเขตพระ ราชฐานนี้ไว้ด้วย ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนเกาะสีชังเป็นอย่าง มาก ทำ�ให้มีอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านมากมายบนเกาะสีชัง ให้ได้เห็น กันจนทุกวันนี้ และเกาะนี้ก็ยังคงมีประวัติที่ยาวนานเกี่ยวเนื่องกับ พระ ราชประวัติส่วนหนึ่งของรัชกาลที่ 6 อีก ด้วย นี่จึงเป็นที่มาว่าทำ�ไมผู้ เขียนจึงให้ชื่อหนังสือว่า “สีชัง ดินแดนสามแผ่นดิน”จากการสืบค้น ติดตาม สัมภาษณ์ ฯลฯ ของผู้เขียน ทำ�ให้ได้ทราบที่มาที่ไปของการ สร้างเขตพระราชฐานขึ้น ณ ที่เกาะแห่งนี้ ซึ่งมันความสัมพันธ์อย่าง มาก กับราชวงกษัตริย์ของไทยที่ทรงเริ่มเข้ามามีบทบาทเมื่อสมัยรัช การที่ 4 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จมาเกาะสีชังแล้ว ทรง พระราชดำ�ริสิ่งต่างๆ ไว้ พอสมควร ต่อมาเมื่อสมัยรัชการที่ 5 เป็น ยุคที่เฟื่องฟูของเกาะแห่งนี้ก็ว่าได้ เพราะพระองค์ทรงพระราชดำ�ริให้ สร้างสิ่งต่างๆ มากมาย รวมทั้งเขตพระราชฐานนี้ไว้ด้วย ทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณต่อคนเกาะสีชังเป็นอย่างมาก ทำ�ให้มีอนุสาวรีย์ของ พระองค์ท่านมากมายบนเกาะสีชัง ให้ได้เห็นกันจนทุกวันนี้ และเกาะนี้ ก็ยังคงมีประวัติที่ยาวนานเกี่ยวเนื่องกับ พระราชประวัติส่วนหนึ่งของ รัชกาลที่ 6 อีกด้วย

13


ย้อนรอยอดีตกับพระจุฑาธุชราชฐาน “กลิ่นไอประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรา ส่วนหนึ่งยังคง ฝังไว้ใต้ผืนทรายของเกาะแห่งนี้ ปรากฏหลักฐานให้ ประจักษ์ต่อสายตาคนรุ่นหลัง สืบต่อมา“

ในปีพ.ศ. 2431พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ เกาะสีชัง เพื่อทรง อภิบาลพระราชโอรสและพระวรราชเทวี ในระหว่างนั้นทรงพระประชวรหลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานทรัพย์ส่วนประองค์ สร้างเรือนพักสำ�หรับผู้ป่วย 3 หลัง เรียกกันว่า “อาไศรสถาน” โดยที่แต่เดิมทรงตั้งพระราช หฤทัยว่าจะเปิดให้บุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ใช้พักอาศัย จากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงษ์เป็นแม่กองดำ�เนินการสร้าง รวมทั้งสาธารณอื่น ๆ นอกพระราชฐานอีกเป็นจำ�นวนมาก อาทิ ถนน สะพาน บ่อน้ำ�จืด ประภาคาร รอยพระพุทธบาท วัด โรงเรียน ฯลฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2431-2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง เสด็จประทับ แรมตากอากาศรักษาพระอาการประชวร ณ เกาะสีชัง มีพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีพัช รินทราบรมราชินีนาถ) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6) และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เป็นต้น ในปี พ.ศ.2435พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับที่เกาะสีชังเป็นเวลานาน ทรงพระราชดำ�ริว่า เกาะสีชังมีอากาศดี สถานที่ต่าง ๆ ดูสวยงาม จึงทรงพระราชประสงค์ให้ตั้งพระราชฐานสำ�หรับเป็นที่ประทับในฤดูร้อน ขณะ นั้นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี มีพระประสูติประกุมาร ที่เกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก และทรงโปรดให้เร่งดำ�เนินการให้แล้วเสร็จทันการสมโภช เดือนของประกุมาร และทรงพระราชทานนามพระราชฐานที่ทรงสร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ตามพระนามพระราชโอรสว่า “พระจุฑาธุช ราชฐาน”

14


พระราชวังบนเกาะแห่งแรก พระจุฑาธุชราชฐาน อยู่ทางทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ของเกาะสีชัง บริเวณแหลม วัง มีเนื้อที่ประมาณ 224 ไร่ รูปร่างคล้าย สามเหลี่ยม ด้านหน้าพะราชฐานอยู่ติดทะเล ส่วนด้านหลังติดที่ราบสูงบนภูเขา พื้นที่ของพระราชฐาน เป็นเชิงเขาริมทะเล ทะเลส่วนใหญ่เป็นหิน พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อสร้างธารน้ำ�และสระ เพิ่มขึ้น สำ�หรับกักเก็บน้ำ�ไว้ใช้ ภายในเขตพระราชฐานมีพระที่นั่ง 4 องค์ พระที่นั่งโกสีย์วสุภัณฑ์ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ พระที่นั่งโชติรสประภาต์ และ พระที่นั่งเมฆขลามณี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯมาวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งองค์ใหญ่ในพระจุฑาธุชราชฐานเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2435 พร้อมกับพระราชทานนามพระที่นั่งองค์ใหญ่นี้ว่า พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ และในวันเดียวกันนี้ก็มีพระราชพิธี อีก 2 พิธีคือ พิธีสมโภชน์เดือนพระราชกุมาร และพระราชทานนามพระราชกุมารว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธรา ดิลกฯ” และพิธีพระราชทานนามพระราชฐานว่า “พระจุฑาธุชราชฐาน” พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ใช้เป็นที่ประทับอิริยาบถของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสนำ�เรือรบเข้ามาในน่านน้ำ�ไทยและได้ต่อสู้กับทหารเรือ ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า มีการปิดอ่าวไทยและมีทหารส่วนหนึ่งขึ้นมาบนเกาะสีชัง ทำ�ให้ไม่เป็นการปลอดภัยที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯมาประทับที่เกาะสีชัง จึงเสด็จฯกลับกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 หลังจากเสด็จฯกลับจาก ประพาสยุโรป ได้เสด็จฯประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ทรงทอดพระเนตรเห็นพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์รกร้างอยู่ จึงมี พระบรมราชโองการจัดการรื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์มาสร้างในพระราชวังสวนดุสิต กรุงเทพมหานครฯและทรงพระราชทาน นามใหม่ว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” พระตำ�หนัก 14 หลัง ได้แก่ พระตำ�หนักวาสุกรีก่องเก็จ พระตำ�หนักเพ็ชรรยับ พระตำ�หนักทับทิมสด พระตำ�หนักมรกตสุ ทธิ์ พระตำ�หนักบุศราคำ� พระตำ�หนักก่ำ�โกมิน พระตำ�หนักนิลแสงสุข พระตำ�หนักมุกดาพราย พระตำ�หนักเพทายใส พระตำ�หนักไพฑูรย์กลอก พระตำ�หนักดอกตระแบบลออ พระตำ�หนักโอปอล์จรูญ พระตำ�หนักมูล การะเวก พระตำ�หนักเอกฟองมุก ประตูภายในพระราชฐาน 8 ประตู ประตูนาคนารถชุมชน ประตูภุมมเทพาวาส ประตูจาตุราชสุราไลย ประตูไตรตรึงษ์ พิมาน ประตูยามาคารรุจิต ประตูดุสิตเทวะสะภา ประตูนิมมานรดี ประตูศรีษัษฐสรวง นอกจากนั้นยังมีสวนดอกไม้ ศาลาพักผ่อน บ่อน้ำ� สระน้ำ� ทางเดิน บันได ที่ล้วนมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม รับกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งชื่อให้ คล้องจองกันไพเราะยิ่งขึ้น

15


จุดเปลี่ยนของพระจุฑาธุชราชฐาน พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์สำ�คัญในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน สร้างด้วยเครื่องไม้สักทอง เป็นรูป แปดเหลี่ยม 3 ชั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการประกาศสร้างพระที่นั่งในปีเดียวกับการสร้างพระ ราชฐาน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2435 พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ตั้งอยู่ริมหาดใกล้สะพานอัษฎางค์ พระที่นั่งองค์นี้ก่อสร้างถึง ปี พ.ศ. 2436 ยังไม่ทันแล้วเสร็จสมบูรณ์ ก็เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในครั้งนั้นกองทหารฝรั่งเศสหมวดหนึ่ง ได้ ขึ้นยึดเกาะสีชัง ทำ�ให้การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำ�หนักต่าง ๆ ต้องชะงักไป หลังจากเหตุการณ์สงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จแปรพระราชฐานอีกเลย การก่อสร้างพระราชฐานจึงยุติ

ในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ได้เสด็จ เกาะสีชังอีกครั้งหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ร้างอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาสร้างไว้ ณ ข้างอ่างหยกใน พระราชวังสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ขณะนี้จึงยังคงเห็นแต่ฐานพระที่นั่งเดิม ในเขตพระราชฐานเกาะสีชังหลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับเรือพระที่นั่ง มหาจักรีประพาสทะเล จะทรงแวะเกาะสีชังบ้างแต่ก็ทรงประทับเรือพระที่นั่ง การดูแลรักษาพระราชฐานนั้น โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือดูแลรักษา แล้ว เปลี่ยนมาเป็นตำ�รวจภูธร ในปี พ.ศ. 2450 ทรงอนุญาตให้กองตระเวนให้เป็นที่ฝึกหัดเด็กอายุต่ำ�กว่า 16 ปี ที่เป็นอันธพาล ประพฤติชั่ว ในปี พ.ศ. 2488 ทางอำ�เภอศรีราชา ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้น โดยอาศัยเรือนอภิรมย์เป็นอาคารเรียนจนถึงปี พ.ศ. 2492 จึงได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่อื่น ในปี พ.ศ. 2521 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบสิทธิ์การใช้ที่ดินบนพื้นที่เกาะสีชัง จำ�นวน 224 ไร่ จากกรมธนารักษ์ เพื่อดำ�เนินการก่อสร้างสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล พร้อมทั้งได้รับมอบหมายให้ทำ�หน้าที่ดูแล พระจุฑาธุชราชฐาน ซึ่งอยู่ใน เขตที่ดินดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจึงได้ดำ�เนินโครงการบำ�รุงรักษา พระ จุฑาธุชราชฐานแห่งนี้มาโดยตลอด

16


สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรม ขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย หรือทูลกระหม่อมติ๋ว อันเป็น พระนามที่เรียกในหมู่พระประยูรญาติและข้าราชบริพาร ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ประสูติเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ณ พระตำ�หนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เมื่อเจริญพระชันษาได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ นอกจากวิชาการหลักทรงได้ศึกษาวิชาการ ดนตรีและการละคร ที่ทรงโปรด นับเป็นชาวเอเชียพระองค์ แรกที่มีความสามารถในการดีดพิณใหญ่ ๔๗ สาย ซึ่งเรียก ว่า ฮาร์พ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการทรงเปียโนและ ไวโอลิน เมื่อสำ�เร็จการศึกษาทรงนำ�ฮาร์พและเปียโนคู่หลังใหญ่ กลับมาเมืองไทย ส่วนดนตรีไทย สามารถทรงระนาดและฆ้องวง สำ�หรับวิชาการละครนั้น ทรงศึกษาวิธีการแสดง การ จัดโรงละคร เครื่องแต่งกายให้เหมาะกับยุคสมัย การใช้ดนตรี ประกอบการแสดง ตลอดจนการจัดฉากแสงและเสียง ทรงมี ส่วนผลักดันให้เกิดหนังสือตำ�นานการฟ้อนรำ�ขึ้น และทรงสน พระทัยในการแสดงละครดึกดำ�บรรพ์ จึงทรงนิพนธ์บทละคร ดึกดำ�บรรพ์ด้วยกัน ๓ เรื่องคือ สองกรวรวิกจันทกิรี และพระ ยศเกตุ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เริ่มมีอาการประชวร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เรื่อยมา ด้วยพระโรคบิด เรื้อรัง และพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการ คณะแพทย์ได้ถวาย การดูแลพระองค์อย่างใกล้ชิด ในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เวลา ๒๐.๑๘ น. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการอัน สงบท่ามกลางความโศกเศร้า รวมพระชนมายุ ๓๑ พรรษา

17

เกี่ยวกับด้านการช่างนั้น ทรงมีพื้นฐานมาแต่ทรงพระ เยาว์ และทรงโปรดวิชาการแขนงนี้เป็นอย่างยิ่ง ทรงมีความรู้ ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ที่ ทำ�ด้วยไม้ ตลอดจนเครื่องประดับต่าง ๆ รวมทั้งวิชาการถ่าย ภาพด้วย เมื่อเสด็จกลับจากทรงศึกษาต่างประเทศ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินก่อสร้างวังใน บริเวณพระราชวังปทุมวัน ได้รับพระราชทานนามว่า “วังเพ็ชร บูรณ์” ทรงควบคุมดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด โปรดให้สร้างตำ�หนักแรก คือ ตำ�หนักประถม ซึ่งเป็น ตำ�หนักไม้สัก ๒ ชั้น ใต้ถุนสูง และตำ�หนัก รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ อีกหลายรายการ เนื่องจากความสนพระทัยในการละคร และดนตรีของไทย จึงโปรดให้ตั้งชื่อตำ�หนักและสถานที่ต่าง ๆ ตามชื่อเพลงไทยเดิมทั้งสิ้น อาทิ ตำ�หนักสันนิบาตน้อย เรือน กินนรรำ� เรือนลมพัดชายเขา เป็นต้น


ด้านการทรงงาน ด้วยความมุ่งมั่น พระทัยที่จะทรงรับราชการเป็นพระอาจารย์ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑา ธุชธราดิลก จึงทรงมีลายพระหัตถ์ไปยังเจ้าพระยา ธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อให้นำ�ความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระบรมราชา นุญาตตามพระประสงค์ต่อมา ทรงเป็นสมเด็จ เจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและของประเทศไทย ทรงมีตำ�แหน่ง เป็นศาสตราจารย์ ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษของ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เริ่มทรงงานเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑โดยบรรดาคณาจารย์ และนิสิตนักศึกษาพร้อมใจกันตั้งแถวรอรับ เสด็จ และได้จัดงานเลี้ยงรับรองเฉลิมฉลองในวัน ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ จากนั้นทรงได้รับ พระมหากรุณาธิคุณให้ทรงดำ�รงตำ�แหน่งที่ปรึกษา โรงเรียนเพาะช่างอีกตำ�แหน่งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงนำ�วิชาการที่ได้ทรง ศึกษา ณ ต่างประเทศกลับมาพัฒนากิจการของ โรงเรียนเพาะช่างให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นดัง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ พิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ด้วย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ทรงอภิเษก กับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล พระธิดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ใน วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม

ก่อนที่จะทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล พระองค์ทรงมีหม่อมแล้ว ๒ ท่าน คือ หม่อมลออ ศิริสัมพันธ์ ซึ่งเป็นธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ และหม่อมระวี ไกยานนท์ ซึ่งทรงพบครั้งแรกที่วังสวนกุหลาบ เพราะท่านเป็นคณะละครของวัง สวนกุหลาบ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ทรงมีพระโอรสและพระธิดา๒ พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธิสิริโสภา หม่อมลออเป็นหม่อมมารดา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช

18




เรือนต่างๆ ในพระจุฑาธุชราชฐาน ในพระจุฑาธุชราชถานได้มีเรือนทั้งหมด 4 เรือน ซึ่ง 3 เรือนเป็นเรือนที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงบริจาค ทรัพย์สินส่วนพระคลังข้างที่เพื่อสร้างไว้เป็นที่พักของผู้ป่วยบนเกาะสีชังเรียกกันว่า อาไศรยสถาน โดยเริ่มสร้างในปี พุทธศักราช 2431 แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2432 คือ เรือนอภิรมย์ เรือนผ่องศรี และเรือนวัฒนา ส่วนเรือนไม้ ริมทะเลยังไม่ทราบความเป็นมาที่แน่นอนแต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือนพักตากอากาศของชาวต่างประเทศมาแต่ก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุง เป็นที่ประทับแรมของพระ ราชวงศ์ในคราวเสด็จมารักษาพระองค์ก่อนที่จะมีการสร้างพระจุฑาธุชราชฐานใน พุทธศักราช 2435 ที่มาของชื่อเรือน ทั้ง๓เรือน(ไม่รวมเรือนไม้ริมทะเล) เรือนอภิรมย์ ตามพระนามพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสาย สวลีภิรมย์ ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำ�หรับเรือนแห่งนี้ เรือนผ่องศรี ตามพระนามพระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี พระวรราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำ�หรับเรือนแห่งนี้ เรือนวัฒนา ตามพระนามสมเด็จ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำ�หรับเรือนแห่งนี้

ด้านสถาปัตยกรรม เรือนแรกคือ เรือนอภิรมย์ เป็นอาคารตึกชั้นเดียว รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว พร้อมเรือน ครัว และห้องน้ำ�รูปยาวขนานกัน อยู่ต่อจากเรือนผ่องศรี โดยมีลานโล่ง เชื่อมอยู่ระหว่างอาคารทั้ง 2 หลัง ด้านหน้า หันเข้าหาทะเลด้านตะวันออก เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า เรือนใหญ่มีขนาด 6 X 2.25 เมตร ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดส่วนใต้ถุน มีเฉลียงกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดด้านหน้า พร้อมลูกกรงไม้กันตก ภายในแบ่งออกเป็นห้องใหญ่กลางอาคาร 1 ห้อง ขนาด 4 X 5 เมตร และสองปีกซอยเป็น ห้องเล็กขนาด 4 X 4 เมตร ปีกละ 2 ห้อง แต่ละห้องมีประตูเข้ากลาง 2 ประตู ด้านหน้า 1 ประตู และด้านหลัง 1 ประตู ห้องกลางมีหน้าต่างด้านหน้า 2 บาน ด้านหลัง 3 บาน ด้านสกัดหัวท้ายมีหน้าต่างข้างละ 2 บาน ด้านหลังมีเฉลียงไม้ และห้องน้ำ�เล็ก 2 ห้อง กระหนาบหัวท้าย เชื่อมกับเรือนครัวด้วยลานซีเมนต์กว้าง 3 เมตร มีรางระบายน้ำ�ฝน เรือน ครัวมี 4 ห้อง ขนาดเท่ากันคือ 3 X 3 เมตร แต่ละห้องมีประตู 1 ประตู มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า 1 บันได และด้านข้าง สู่ลานหน้าครัวด้านเหนือ 1 บันได ทำ�ด้วยอิฐถือปูน ขั้นบันไดทำ�ด้วยหินทราย 21


เรือนที่สองคือ เรือนผ่องศรี เป็นอาคารตึกชั้น เดียวรูปกลม ทาสีขาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตร หลังคาทรงกลม ยอดเป็นรูปโดม อาคารก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูงประมาณ 0.90 เมตร ส่วนใต้ถุนเทคอนกรีต ปิดเป็นแนวเอียงออกโดยรอบ กว้าง 2 เมตร พร้อม ลูกกรง มีบันไดทางขึ้น 3 ทาง เป็นบันไดก่ออิฐถือปูน เสารับชายคาก่ออิฐ ผนังเป็นกำ�แพงหนา 0.30 เมตร มี ประตูทั้งหมด 9 ประตู แบ่งเปิดเป็นตอนบนและล่างได้ ส่วนพื้น เฉลียง ลูกกรง ประตู เพดานและโครงหลังคา ตลอดจนช่องระบายอากาศส่วนโดมเป็นไม้ ลักษณะ แปลนเป็นโถงรูปกลม เพดานไม้ทำ�ช่องระบายอากาศ กึ่งกลางเป็นรูปกลีบดอกไม้และวางแนวไม้เป็นวงแหวน โดยรอบ

เรือนที่สาม คือ เรือนวัฒนา เป็นอาคาร 2 ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 11 เมตร โดย ประมาณ หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า อาคารก่ออิฐถือปูน ความหนาของกำ�แพงประมาณ 0.30 เมตร ทาสีขาว ด้านหน้าซึ่งเป็นทิศใต้หันสู่ทะเลมีเฉลียงยาวตลอดทั้งชั้นบนและชั้นล่าง กว้างประมาณ 2 เมตร มีลูกกรงไม้ กันตก บันไดทางขึ้นอยู่กลางอาคารด้านหน้า เป็นบันไดก่ออิฐ ถือปูน ขั้นบันไดทำ�ด้วยหินทราย ด้านทิศใต้มีประตู ชั้นล่าง 3 ประตู ชั้นบน 3 ประตู แนวตรงกัน ด้านทิศเหนือ มีหน้าต่างชั้นล่าง 3 บาน ชั้นบน 3 บาน แนวตรงกัน ด้านสกัดหัวท้ายมีหน้าต่างชั้นบน 2 บาน ชั้นล่าง 2 บานแนวตรงกัน ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ ขนาด 6 X 7 เมตร 1 ห้อง ห้องบันได 1 ห้อง และห้องเล็กข้างบันได 1 ห้อง ขนาด 3 x 3.5 เมตร โดยประมาณชั้นบนแปลนเหมือนชั้นล่าง ส่วนพื้น บันได ประตู หน้าต่าง เพดาน และโครงหลังคาทำ�ด้วยไม้สัก รูปแบบของอาคารเป็นอย่างอาคารตะวันตก ซึ่ง เป็นที่นิยมในสมัยนั้น คือ มีเฉลียงแล่นตลอดความยาวของอาคาร รูปแบบเรียบง่าย ดูมั่นคงแข็งแรง ไม่มีสิ่งตกแต่ง เกินจำ�เป็น 22


เรือนที่สี่ คือ เรือนไม้ริมทะเล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวติดกับสองชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกพื้นสูงประมาณ 0.90 เมตร ขนาดประมาณ 9 X 18 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่เป็น 2 ชั้น หลังคาทรงปั้น หยามุงสังกะสี ส่วนที่เป็นชั้นเดียว หลังคาปั้นหยา ส่วนที่ติดกับสองชั้นยกเป็นจั่วด้านหน้า มุงสังกะสีเช่นกัน ส่วนที่ เป็นชั้นเดียวยาว 2 เท่าของส่วนที่เป็น 2 ชั้น มีเฉลียงยาวตลอดส่วนที่เป็นชั้นเดียว ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีลูกกรง ไม้กันตก ส่วนใต้ถุนก่ออิฐถือปูนปิด มีบันไดขึ้นด้านหน้า แต่งชายคาด้วยไม้ฉลุลายเป็นรูปโค้ง มีเสารับชายคาที่ เฉลียง ส่วนที่เป็นชั้นเดียวมี 2 ห้อง ส่วนที่เป็น 2 ชั้นมีห้องชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 1 ห้อง ส่วนที่เป็นชั้นเดียวมีประตู ด้านหน้า 6 ประตู ด้านหลัง 6 ประตู มีหน้าต่างด้านสกัด 1 บาน ส่วนที่เป็น 2 ชั้นมีหน้าต่างชั้นล่างและชั้นบนเท่ากัน คือด้านละ 3 บาน รวม 3 ด้าน

23


ในปัจจุบันหลังจากการบูรณะพระจุฑาธุชราชฐานเป็น พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เรือนอภิรมย์ได้จัดเป็นเรือนที่มีการแสดง นิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ 1. กาลเวลาของพระราชวังบนเกาะ 2. ร่องรอยอดีต 3. จากพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์สู่พระที่นั่งวิมานเมฆ 4. ประกาศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5. ศาลศรีชโลธรเทพ 6. วัดเกาะสีชัง 7. วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรมหาวิหาร 8. วัดอัษฎางคนิมิตร 9. รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง 10.พระราชวังบนเกาะแห่งแรก 11. ความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ 12. เกาะสีชังสถานที่พักตากอากาศและพักฟื้น 13. นามเกาะสีชัง 14. เกาะสีชังในอดีต 15. ความเป็นมาของพระราชฐาน 16. สาธารณสถานบนเกาะสีชัง 17. แหล่งน้ำ� 18. อาไศรยสถาน เรือนพักฟื้นผู้ป่วย 19. ทางสัญจร 20. เขื่อนริมทะเล 21. โรงเรียนเสาวภา 22. พืชพันธุ์ 23. ถนนอัษฎางค์ 24. วะนะ นอกจากการแสดงนิทรรศการในเรื่องดังกล่าวแล้ว เรือนอภิรมย์ยังจัดแสดงโมเดลจำ�ลองเรือนวัฒนา เรือน อภิรมย์ เรือนไม้ริมทะเล วัดอัษฎางคนิมิตร และพื้นที่ พระราชฐาน ส่วนเรือนครัว 4 ห้องใช้เป็นที่เก็บของของ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน 24


เรือนผ่องศรีได้จัดเป็นเรือนที่มีการแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับพระราชประวัติและประวัติผู้มีบทบาทสำ�คัญ กับเกาะสีชังในอดีต ได้แก่ 1.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 4. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี 5. พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี 6. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ 7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ 8. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระ ราชประวัติและประวัติผู้มีบทบาทสำ�คัญกับเกาะสีชังใน อดีต แล้วเรือนผ่องศรียังใช้เป็นที่ตั้งของ พระบรมราชา นุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ (สมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้า ฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ) ซึ่งจำ�ลองมาจากรูปถ่ายที่ถ่ายที่

เรือนวัฒนาได้จัดเป็นเรือนที่มีการแสดงนิทรรศการเกี่ยว กับเหตุการณ์สำ�คัญที่เกิดขึ้นในพระจุฑาธุชราชฐาน ดังนี้ 1. การพระราชทานสิ่งของแก่ราษฎร 2. การฉลองสิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นที่เกาะสีชัง 3. การก่อพระฤกษ์รากพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ 4. การแห่เจ้าขึ้นศาล 5. การเปิดโรงเรียนเสาวภา 6. การไหว้ครูรำ�อาวุธ 7. การฉลองพระพุทธบาทที่เกาะสีชัง 8. การบำ�เพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขะบุรณมี 9. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมารเสด็จประพาสเกาะสีชัง 10. การแสดงพิพิธภัณฑ์ 11. ราชทูตเยอรมันเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท 12. การรื่นเริงวันบรรจบรอบพระชนมายุ สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการในเรื่องดังกล่าวแล้ว เรือนวัฒนายังจัดแสดงการจำ�ลองพิธีการวางศิลาฤกษ์ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ และนำ�รูปปั้นหินอ่อนของพุ ฝอยสุหร่าย (ของเดิม) มาจัดแสดงด้วย

25


เรือนไม้ริมทะเลในส่วนที่เป็น 2 ชั้น ชั้นล่างมีการจัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสถานที่สำ�คัญๆและประเพณี ของเกาะสีชัง ได้แก่ 1. แผนที่เกาะสีชัง 2. พิพิธภัณฑ์ชลทัศน์สถาน 3. วิถีชีวิตชาวเกาะสีชัง 4. ถ้ำ�จักรพงษ์ 5. เทศกาลนมัสการเจ้าพ่อเขาใหญ่ 6. เทศกาลไหว้รอยพระพุทธบาท 7. ประเพณีแห่เทียนพรรษา 8. เขาพระจุลจอมเกล้า 9. วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร 10. ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ 11. รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง 12. ยอดเขาพระจุลจอมเกล้า 13.พิธีบวงสรวงเทพารักษ์เกาะสีชังและงานกองข้าว 14.ช่องอิศริยาภรณ์ ( ช่องเขาขาด ) 15. อ่าวอัษฎางค์ นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าวแล้วยังจัด แสดงวัตถุโบราณที่ขุดได้จากฐานพระที่นั่งมันธาตุรัตน โรจน์ ,โมเดลจำ�ลองพื้นที่พระจุฑาธุชราชฐาน และแผนที่ การเดินชมภายในบริเวณพระจุฑาธุชราชฐาน ส่วนชั้น บนจัดเป็นสำ�นักงานพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน ใน ส่วนที่เป็นชั้นเดียว ภายในห้องและระเบียงจัดเป็นที่พัก รับรอง หรือจุดนั่งพัก สำ�หรับนักท่องเที่ยว มีอาหารว่าง และเครื่องดื่มบริการในช่วงวันหยุด 26


สิ่งก่อสร้างอัษฎางค์ เข้ามาที่เกาะสีชัง จุดเด่นที่เห็นก่อนเลยคือ สะพานอัษฎางค์ มาที่เกาะสีชัง จะเจอชื่อ อัษฎางค์ บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน

สะพาน วัด ประภาคาร ฯลฯชื่อนี้ตั้งตามพระนาม เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ พระเจ้าลูกยาเธอในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ซึ่งประชวรเมื่อ ทรงพระเยาว์ แล้วหมอหลวงก็ถวายคำ�แนะนำ�ให้มาพักตากอากาศรักษาพระองค์ที่เกาะสีชัง

อัษฎางค์ประภาคาร อัษฎางค์ประภาคาร หรือ ประภาคารแหลมวัง ประภาคารสีขาวที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ปลายแหลมที่ยื่นออกไป ในทะเลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล ที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้าง “อัษฎางค์ ประภาคาร” ขึ้นเพื่อใช้ส่องสัญญาณไฟนำ�ทางให้แก่เรือต่างๆ ในยามค่ำ�คืน และมีเรือนให้คนรักษาประภาคารอยู่ทำ�หน้าที่ ประจำ� 1 หลัง เนื่องจากอัษฎางค์ประภาคารตั้งอยู่บริเวณ ส่วนปลายสุดของ “แหลมวัง” ชาวบ้านบนเกาะสีชังจึงนิยม เรียกประภาคารแห่งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “ประภาคารแหลมวัง”

27

ทุกวันนี้อัษฎางค์ประภาคารอยู่ในสภาพที่ชำ�รุดทรุด

โทรมจนไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากขาดการบำ�รุงรักษา อีกทั้ง ยังมีการสร้างประภาคารหลังใหม่ขึ้นใกล้ๆ กับ “ท่าเรือเทวงษ์ (ท่า ล่าง)” ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชังจึงทำ�ให้ไม่มีความ จำ�เป็นที่จะต้องใช้งานอัษฎางค์ประภาคารอีกต่อไป อัษฎางค์ประภาคารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง บริเวณ โดยรอบประภาคารแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ สวยงามอีกแห่งหนึ่ง


วัดอัษฎางค์นิมิตร

วัดไทยที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลมาจากงาน สถาปัตยกรรมแบบโกธิค : ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล ที่ 5) ทรงมีพระราชดำ�ริว่า ที่ดินติดกับเขต “วัด เกาะสีชัง” มีเรือนพักสำ�หรับให้ชาวตะวันตกเช่า ตั้งอยู่ อีกทั้งในเวลาที่พระองค์เสด็จฯ มาประทับ แรมบนเกาะสีชังก็ประทับใกล้กับวัดทำ�ให้บริเวณ นั้นพลุกพล่านไม่เหมาะแก่ปฏิบัติศาสนกิจของ พระภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัด ขึ้นใหม่บนไหล่เขาด้านทิศใต้ของเขตพระราชฐาน และพระราชทานนามวัดใหม่แห่งนี้ว่า “วัดอัษฎางค์ นิมิตร”สภาพปัจจุบัน ปัจจุบันบริเวณลานพระเจดีย์อุโบสถ วัด อัษฎางค์นิมิตร มีการตั้งแท่นกระจกคัดลอกคำ�สอน ทางพุทธศาสนา ของศิลาจารึกทั้ง 8 หลักที่ตั้งอยู่ บนราวลูกกรง เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถอ่านคำ� สอนทางพุทธศาสนาทั้ง 8 หลักได้สะดวก โดยตั้งอยู่ หน้าศิลาจารึกทั้ง 8 หลัก

28


สะพานอัษฎางค์ สะพานอัษฎางค์ อีกหนึ่งไฮไลต์ของสถานที่ท่องเที่ยว

แหล่งสำ�คัญของเกาะสีชัง นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายภาพที่ สะพานแห่งนี้กันเยอะพอสมควร กว่าจะหาช่วงเวลาที่ผู้คนไม่ พลุกพล่าน ก็ต้องใช้ความอดทนรอกันพอสมควร สะพาน อัษฎางค์คือจุดถ่ายภาพยอดนิยมของคู่รัก : ในอดีตที่ เกาะสีชังเวลาน้ำ�ลง เรือเข้าจอดได้ไม่ถึงชายหาด คนต้องเดิน ลุยน้ำ�ถูกหอยบาดเท้าบาดขาเกิดบาดแผลเจ็บปวด พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเทียบเรือใหญ่ทำ�ด้วย ไม้สักทาสี เสาก่อศิลาโบกปูนซีเมนต์ มีที่พักต้นสะพาน 1 หลัง กลางสะพาน 1 หลัง และปลายสะพาน 1 หลัง พร้อมทั้ง พระราชทานนามว่า “สะพานอัษฎางค์” สำ�หรับอ่าวอันเป็นที่ ตั้งของสะพานอัษฎางค์นั้นมีหาดทรายสีน้ำ�ตาลอ่อนที่สวยงาม ชื่อว่า “หาดทรายแก้ว” แต่บริเวณชายหาดแห่งนี้ไม่เหมาะแก่ การลงเล่นน้ำ�เนื่องจากมีก้อนหินขรุขระอยู่ใต้น้ำ�มาก ปัจจุบันบริเวณสะพานอัษฎางค์และหาดทรายแก้ว ได้กลายเป็นจุดถ่ายภาพยอดนิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งเดิน ทางมายังเกาะสีชัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ ค่อยๆ แย้มกรายฉายแสงส่องไปทั่วท้องนภาฟ้ากว้างนั้นเป็น ช่วงเวลาที่บรรยากาศรอบๆ สะพานอัษฎางค์แห่งนี้งดงามยิ่ง กว่าช่วงเวลาใดๆ เลยทีเดียว

29

บ่อน้ำ�อัษฎางค์ สำ�หรับคนที่ชื่นชอบการผจญภัยเล็กน้อยหลัง จากเยี่ยมชมศาลาเก่าแล้วเราก็จะเดินทางมายังถ้ำ�จักรพงษ์ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันภายในถ้ำ�แห่งนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐาน อยู่ด้วยเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ไปไหว้ขอพรกัน ภายในถ้ำ� มีอากาศที่ค่อนข้างบางเบาดังนั้นถ้าเขาไปท่านต้องเตรียม ร่างกายให้พร้อมก่อนจะเข้าไปในถ้ำ� หลังจากจบทัวร์นี้แล้ว ท่านอาจจะไปนั่งรับลมที่ บริเวณพระราชฐานเก่า ซึ่งที่นี่ มีอากาศที่เย็นสบายมาก ความสำ�คัญในอดีตคือ เป็นที่ ประทับของพระราชโอรสและพระราชธิดา เมื่อคราวเสด็จ ไปพักฟื้นหลังประชวรในสมัยรัชกาลที่ 5 และภายในก็ยังมี บ่อน้ำ�ขนาดใหญ่อยู่หลายแห่งด้วยกันซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรง พระราชทานชื่อในบ่อน้ำ�เหล่านี้ด้วยพระองค์เองซึ่งท่านที่ เคยได้ไปเยือนมาแล้วอาจจะทราบกันดีว่าบ่อน้ำ�แห่งนี้ชื่อ บ่ออัษฎางค์


ถนนอัษฎางค์ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนน หลายสายบนเกาะสีชังเพื่อให้ ราษฎรใช้เดินทางติดต่อกันได้ โดยสะดวก ถนนสายสำ�คัญ และมีความยาวที่สุดได้แก่ ถนน อัษฎางค์ เริ่มต้นตั้งแต่สะพาน อัษฎางค์เลียบชายหาดไป จนถึงท่าเรือเทววงษ์ทางเหนือ ของเกาะต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ ก่อสร้างเพิ่มเติมไปจนถึงท่า ภานุรังสี รวมความยาวทั้งสิ้น ๕๙ เส้น ๒๑ วาถนนน้อย ใหญ่ที่ตัดขึ้นใหม่ในครั้งนี้มีอีก พระนามและนามของเจ้านาย และบุคคลที่โดยเสด็จมาหรือที่การฉลองพระเดชพระคุณ ณเกาะสีชังในครั้งนั้น เช่น ถนนเสาวภา ถนนจักรพงษ์ ถนนวชิราวุธ ถนนสรรพเพธ ถนนนิภา ถนนมาลินี ถนนสายสวลี ถนนนภาจร ถนนมหาใจภักดิ์ ถนนวัฒนา ถนนเจ้าโต

สวนป่าอัษฎางค์คะวัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัย ทรัพยากรทางน้ำ� จัดให้มีอาคาร พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ณ เกาะสีชัง หรือ “เอกสหิบิเชน” ตามที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สิ่งของที่ หาได้บนเกาะสีชัง เพื่อเป็นการเฉลิม พระชนมพรรษาสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศ) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ในการแสดงพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ เป็นการจัดพิพิธภัณฑ์เมล็ดพืชเพื่อปลูกขวัญกำ�ลังใจให้เกิดความขยันหมั่นเพียรในการทำ�มา หากิน ซึ่งจัดแสดงเมล็ดพืชผลไม้ตามหมวดหมู่ต่างๆ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ นอกจากนี้พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สวนป่าอัษฎางค์คะวัน จัดเป็นสวนพฤกษศาสตร์แบบหนึ่ง ที่รวบรวมไม้นานาพันธุ์ไว้สวนป่าอัษฎางค์คะวัน ประกอบด้วยจุลวัน มหาวันและมัชฌิมวัน พระราชทานนามตามชื่อป่าในมหาเวสสันดรชาดก

30


พลับพลารัชกาลที่ ๕(พลับพลาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า) เจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ อยู่บริเวณด้านขวามือของช่องอิศริยาภรณ์ มีบันไดทางขึ้น สู่พลับพลาทำ�ด้วยคอนกรีต สวยงาม และยังมีต้นลีลาวดี ปกคลุม ร่มรื่น ออกดอกส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณ บนเนินเขาแห่งนี้ศาลาพักจุดชมทิวทัศน์อีกด้วยพลับพลา ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๕ ซึ่งทรงใช้เป็นหอสำ�หรับดูดาว ซึ่งมีจุดชมวิวที่สวยงามในมุมสูง กว่าช่องเขาขาด ยังเป็นจุดชมทัศนียภาพของเกาะสีชังทั้งด้านหน้าเกาะและทางด้านหลังของเกาะที่สวยงามอีกด้วย ตั้งอยู่บนไหล่เขาห่างจากพระอุโบสถวัดอัษฎ างคนิมิตรไปทางทิศเหนือประมาณ150 เมตร ด้าน หน้าของเจดีย์เป็นแอ่งหินลักษณะของเจดีย์เจดีย์ เหลี่ยม เป็นเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน รูปเหลี่ยมย่อมมุม ไม้สิบสอง มีฐานเป็นแท่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีความ กว้าง ยาว ดังนี้ ความกว้างประมาณ ๖ - ๗ เมตร ฐานสูง ๐.๖๐ เมตรเจดีย์มีความสูงจากพื้นถึงส่วน ยอดที่หักประมาณ ๖.๐๐ เมตร ส่วนยอดและส่วน ฐานของเจดีย์ แกะเป็นลวดลาย กลีบบัว ตัวเจดีย์ ตั้งอยู่บนพื้นหิน หันด้านต่างๆตรงกับทิศทั้งสี่

31


หินระฆัง

หินระฆังเป็นอีกจุดที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ตั้งอยู่ใน พระจุฑาธุชราชฐาน ใกล้กับวัดอัษฎางค์นิมิตร ก่อนถึงวัดเล็ก น้อย จะมีกองหินใหญ่อยู่จุดหนึ่ง หินที่จุดนี้ ต้องทดสอบด้วยตัวเองค่ะ ลองเอาก้อนหินเล็กๆมาเคาะดูจะมีเสียงใสกังวานเหมือน ระฆัง เพียงคุณใช้หินก้อนเล็กๆ เคาะที่ระฆังหินเบาๆ คุณก็ได้ยินเสียงกังวานดั่งเคาะระฆังจริงๆเค้าว่าให้อธิษฐานระหว่างเคาะเรื่องที่ ขอไว้ก็จะได้สมใจหมาย

ศาลศรีชโลธรเทพ ศาลศรีชโลธรเทพ โครงสร้างเป็น อิฐฉาบปูน หลังคาไม้มุงกระเบื้องลอน สีแดง แบ่งเป็น 2 ระดับ หันหน้าลงทะเล ด้านหลังติดเขา มีระเบียง 3 ด้าน กำ�แพง ทาสีขาว ศาลศรีชโลธรเทพ เป็นศาลเทพ รักษ์ประจำ�เกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2434 แทนศาลาเดิมซึ่งตั้งอยู่ในทำ�เลที่ไม่ เหมาะสมในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ชาวเกาะสีชังจะทำ�พิธีบวงสรวงเทพารักษ์ ที่ศาลศรีชโลธีเทพ และมีพิธีกองข้าวในโอกาสเดียวกันนี้ โดยชาวเกาะจะนำ�อาหารคาวหวานตลอดจนเครื่องดื่มมาร่วมดื่มกินบริเวณหน้าศาล จากนั้น จะจำ�ลองสถานการณ์โดยให้คน คนหนึ่งปลอมเป็นผีมากินอาหาร แล้วก็จะลงน้ำ�หลบไป ส่วนกลางกินเลี้ยงก็ดำ�เนินต่อไป อย่าง สนุกสนาน จนในที่สุดก็แยกย้ายกันกลับบ้าน

32


จุดชมวิวเขาน้อย เป็นจุดชมวิวที่อยู่ในพระจุฑาธุชราชฐาน เดินขึ้นเขามาเรื่อยๆ ผ่านวัดอัษฎางค์นิมิตรขึ้นไปอีก เป็นจุดที่สูงที่สุดภายใน เขตพระราชฐาน สามารถมองเห็นทิวทัศน์หน้าเกาะสีชังได้ทั้งหมด และเป็นจุดที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่สวยที่สุดจุดหนึ่งของ เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างบันไดทางขึ้นสำ�หรับให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นมาชมทิวทัศน์ได้สะดวก

ลานสรง ลานสรงเป็นที่สรงน้ำ�ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอดีต ลานนี้จะมีมหาดเล็กตักน้ำ� จากสระมหาโน ดาดต์เพื่อนำ�มาถวายรัชกาลที่๕ ให้ทรงสรงน้ำ�

33


ทางภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน ทางภายในพระจุฑาธุชราชฐาน มีทั้งหมด 26 ทาง ซึ่งจะมีชื่อคล้องจองกัน และเป็นชื่อวิธีการทำ�ทองในสมัยโบราณ การ อ่านชื่อทางที่คล้องจองนั้นสามารถอ่านได้ทั้งจากซ้ายไปขวา และขวาไปซ้าย ซึ่งไม่ว่าอ่านจากทางไหนก็จะมีความคล้องจองกันทั้งสิ้น โดยชื่อทางทั้ง 26 ทางนั้นมีดังนี้ ทางโรยทองทราย ทางรายทองเหรียญ ทางเดียรทองบาท ทางดาษทองใบ ทางไล้ทองหลอม ทางอ้อมทองหล่อ ทางต่อทองลวด ทางกวดทองก้อน ทางดอนทองพัด (ดึงษ์) ทางอัดทองทศ ทางจรดทองพิศ ทางปิดทองแผ่น ทางแล่นทองลิ่ม ทางริมทางมุ่น ทางหนุนทองเม็ด ทางเสร็จทองอาบ ทางราบทองแร่ ทางแผ่ทองเลี่ยม ทางเอี่ยมทองลาด ทางพาด ทองแท่ง ทางแผลงทองหุ้ม ทางคุมทองหลอด ทางทอดทองปรุ ทางบุทองราบ ทางทาบทองแล่งและทางแต่งทองแช่ ทางโรยทองทราย

ทางรายทองเหรียญ

ทางเดียรทองบาท

ทางดาษทองใบ

ทางไล้ทองหลอม

ทางอ้อมทองหล่อ

34


ทางต่อทองลวด

ทางดอนทองพัด (ดึงษ์)

ทางจรดทองพิศ

35

ทางกวดทองก้อน

ทางอัดทองทศ

ทางปิดทองแผ่น


ทางแล่นทองลิ่ม

ทางริมทางมุ่น

ทางหนุนทองเม็ด

ทางเสร็จทองอาบ

ทางราบทองแร่

ทางแผ่ทองเลี่ยม

36


ทางเอี่ยมทองลาด

ทางพาดทองแท่ง

ทางแผลงทองหุ้ม

ทางคุมทองหลอด

ทางทอดทองปรุ

37

ทางบุทองราบ


บันไดภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน

บันไดภายในพระจุฑาธุชราชฐานเป็นบันไดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ทรงขึ้นเพื่อเป็นทางเดินใน พระราชวัง ซึ่งรูปแบบบันไดที่ได้จัดสร้างนั้นจะมีลักษณะที่กลมกลืนกับพื้นที่ ที่เป็นหินมีการทำ�ลดหลั่นอย่างกลมกลืนกับพื้นที่ และมีชื่อที่คล้องจองกัน ซึ่งเป็นชื่อของศิลาต่างๆ โดยชื่อของบันไดทั้ง21 บันได มีดังนี้ บันไดเนรคันถี บันไดดาปะเยนนูน บันได ศิลาทอง บันไดมูนโสตนหนา บันไดรีฟันม้า บันไดผองผลึก บันไดปึกประพาฬ บันไดปานแท่งหยก บันไดปกนากสวาด บันไดลาด นากกสวยอ บันไดรวยศิลาแร่ บันไดแพร่เพ็ชร์น้ำ�ค้างอ บันไดพร่างนิลน้ำ�ขาว บันไดพราวตากะต่าย บันไดพรายแคเมียว บันได เขี้ยวหฌุมาน บันไดผสานโมรา บันไดศิลาสีอ่อน บันไดศิลาสีอ่อน บันไดท่อนมาเบอ บันไดเสมอกรุนผา บันไดศิลาอ่อนลาย บันไดเนรคันถี

บันไดดาปะเยนนูน

บันไดศิลาทอง

บันไดรีฟันม้า

บันไดมูนโสตนหนา

บันไดผองผลึก

38


บันไดปึกประพาฬ

39

บันไดปานแท่งหยก

บันไดลาดนากกสวย

บันไดรวยศิลาแร่

บันไดแพร่เพ็ชร์น้ำ�ค้าง

บันไดพร่างนิลน้ำ�ขาว


บ่อน้ำ�ภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน บ่อน้ำ�ภายในพระจุฑาธุชราชฐาน จะแบ่งออกเป็น สระ ๓ สระ ธาร ๒ ธาร บ่อ ๑๓ บ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงจัดสร้าง สระ ธาร บ่อน้ำ� ต่างๆภายในพระจุฑาธุชราชฐาน เพื่อกักเก็บน้ำ�ไว้ใช้ในพระราชฐาน เนื่องด้วยเกาะสีชังมี ปัญหาขาดแคลนน้ำ�จืด จำ�เป็นต้องมีการกักเก็บน้ำ�จืดไว้เมื่อฤดูฝนมาถึง โดยภายในพระราชฐานตามทางต่างๆจะมีรางข้างทางเพื่อ ใช้ในการลำ�เลียงน้ำ�ฝนลงสู่บ่อต่างๆภายในพระราชฐาน และบ่อต่างๆก็จะถูกเชื่อมถึงกันเพื่อถ่ายเทน้ำ�เมื่อน้ำ�ล้นบ่อ คล้ายๆระบบ ชลประทานเล็กๆในเขตพระราชฐาน โดยสระ ธาร บ่อ ภายในพระจุฑาธุชราชฐาน จะมีชื่อคล้องจองกัน ดังนี้ บ่อ 13 บ่อ คือ บ่อเชิญสรวล บ่อชวนดู บ่อชูจิตร บ่อพิศเพลิน บ่อเจริญใจ บ่อหทัยเย็น บ่อเพ็ญสำ�ราญ บ่อศิลารอบ บ่อขอบ สระ 3 สระ คือ สระเทพนันทา สระมหาโนดาดต์ สระประพาศชลธาร ก่อ บ่อล้อหอย บ่อน้อยเขา บ่อเสาเหมือนคู่ บ่อดูเหมือนต่อ ธาร 2 ธาร คือ ธารเครื่องหอมปน ธารสุคนธ์ปรุง

40


เนินมะขามและพุฝอยสุหร่าย พุฝอยสุหร่าย เป็นพุรูปปั้นเด็กจากหินอ่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำ�จากประเทศอิตาลี พุฝอยสุหร่ายตั้งอยู่ ณ เนินมะขาม ปัจจุบันพุ ฝอยสุหร่ายได้ชำ�รุดเสียหายจากจากถูกทิ้งร้างมาหลายปี จนมีการบูรณะพระจุฑาธุช ราชฐานประมาณ ปี ๒๕๓๕ พุฝอยสุหร่ายได้ถูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ และนำ�ไปตั้งแสดง ณ เรือนวัฒนา แล้วจำ�ลองพุฝอยสุหร่ายขึ้นใหม่เพื่อนำ�ไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม

ฉายปราบลายสวน ฉายปราบลายสวน เป็นสวนแบบฝรั่งเศส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ทรงให้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนของผู้ที่มาพักอยู่ในเรือนผ่อง ศรีและเรือนอภิรมย์ ก่อนที่จะมีการสร้างพระจุฑาธุชราชฐาน ต่อมาเมื่อมีการสร้างพระ จุฑาธุชราชฐาน สวนนี้ก็จัดให้เป็นสวนภายในพระราชวัง

41


ต้นไม้ภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน ในเขตพระจุฑาธุชราชฐานนี้พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้นำ�ต้นไม้ที่มีลักษณะ ทนแล้งได้ดี มาปลูก ณ พระราชฐาน บนเกาะสีชัง และ กำ�หนดโซนของการปลูกต้นไม้ต่างๆอย่างสวยงาม ต้นไม้ที่ทรงให้นำ�มาปลูก ณ พระจุฑาธุชราชฐาน เช่น ลั่นทม มะขาม หางนกยูง ตะแบก เลียบ มะขามเทศ พวงชมพูฯลฯ ปัจจุบันต้นไม้ต่างๆภายในพระจุฑาธุช ราชฐานยังคงอยู่และมีขนาดใหญ่ เป็นต้นไม้เก่าแก่ของ เกาะสีชังที่ควรอนุรักษ์ไว้ โดยเฉพาะต้นลั่นทมที่มีอยู่ เป็นจำ�นวนมาก และออกดอกสวยงามขาวสะพรั่งเป็นที่ ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและตัวข้าพเจ้าในช่วงฤดูร้อน ของทุกปี ดอกลั่นทมสวยงามที่สุด อยู่บนเกาะสีชัง...ดังรายละเอียดทรง เล่าไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดีดังต่อไปนี้

“ฉันอยู่ในพระจุฑาธุชราชสถานหรือวังเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 บน เกาะสีชัง ท่ามกลางดอกไม้สีขาว ละลานตา สถานที่ที่ฉันชอบมากที่สุด ของเกาะ ช่วงเวลาที่อยู่ที่เกาะสีชัง 2 วัน 1 คืน ฉันเดินเข้ามาที่นี่ทุกวัน บางวันก็ไม่รู้จะทำ�อะไรนอกจากนั่งเล่นริมทะเลรับลมเย็นๆ ที่พัดเอา ไออากาศร้อนๆ ออกไป ถ้าพูดถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของเกาะสีชัง คนส่วนใหญ่ต้องคิดถึงดอกลั่นทม เพราะที่เกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยต้น ลั่นทม โดยเฉพาะที่พระจุฑาธุชราชสถาน ที่มีลั่นทมโบราณอายุนับ 100 ปีอยู่มากมาย โดยลั่นทมเริ่มปลูกที่วังนี่เมื่อราว 100 ปีก่อน หลัง จากนั้นก็มีการปลูกไปทั่วเกาะ แต่ลั่นทมที่ปลูกใหม่นั้นส่วนใหญ่เป็น คนละพันธุ์กับลั่นทมดั้งเดิมที่วัง ซึ่งเราคุ้นกับชื่อลีลาวดีกันมากกว่า ลานลั่นทมที่อยู่ระหว่างเรือนผ่องศรีกับเรือนอภิรมย์เป็นมุมหนึ่งที่สวย ที่สุดในวัง แนวต้นลั่นทมขนาดใหญ่แผ่นกิ่งยื่นออกมาในสนามหญ้า ดอกสีขาวที่ร่วงหล่นลงมา ช่วยแซมหญ้าสีเขียวได้ดีสวยงามสบายตา”

42


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฉันได้เล่ามาแล้วว่า เมื่อไปถึงเมืองคยา มิสเตอร์เค รียร์สัน เจ้าเมืองคยาได้เตรียมต้นโพธิ์พันธุ์ พระศรีมหาโพธิ์ ไว้ให้ฉัน 3 ต้น เดิมฉันนึกว่าจะไม่รับเอามา เพราะเห็นว่า ต้นยังอ่อนนักคงมาตายกลางทาง แต่นึกขึ้นมาว่า แต่ก่อน มาเมืองไทยยังไม่เคยได้ต้นโพธิ์พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากต้น เดิมที่พุทธคยา น่าจะลองเอามาดูสักทีเผื่อจะรอดได้ ถ้าไป ตายกลางทางก็แล้วไป ฉันจึงให้ต่อหีบหลังกระจกใส่กระบอก ต้นโพธิ์ 3 ต้นนั้น เอาติดตัวมาด้วย เมื่อมากลางทางเห็น ต้นโพธิ์แตกใบอ่อนก็เกิดปิติ ด้วยจะได้เป็นผู้นำ�ต้นโพธิ์พระ ศรีมหาโพธิ์ตรงมาจากเมืองพุทธคยาเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้ง แรก มื่อวันกลับมาถึงกรุงเทพฯ นำ�ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาจากพุทธคยา ไปถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่ เกาะสีชัง เวลานั้นกำ�ลังทรงสร้างวัดอัษฎางคนิมิตร โปรด เกล้าฯ ให้ปลูกไว้ที่วัดอัษฎางคนิมิตร ต้นหนึ่ง อีกสอง ต้นโปรดฯให้ชำ�ไว้ในเขตพระราชฐานที่เกาะสีชัง ครั้งทรง สร้างวัดเบญจมบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาปลูกไว้ที่วัด เบญจมบพิตรต้นหนึ่ง ที่เหลืออยู่อีกต้นหนึ่งจะยังอยู่ที่ เกาะสีชังหรืออย่างไร ฉันหาทราบไม่” บริเวณพระเจดีย์อุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตรมีต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ซึ่งนำ�หน่อมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำ�รงราชานุภาพ ( พระยศขณะนั้น ) เมื่อปีพุทธศักราช 2434 ดังรายละเอียดทรงเล่าไว้ในหนังสือ นิทานโบราณคดีดังต่อไปนี้

43

ต้นพระศรีมหาโพธิ์หน้าวัดอัษฎางคนิมิตรนี้ ถือ เป็นต้นไม้ที่สำ�คัญมากของเกาะสีชังและประเทศไทย เพราะ เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่มีการนำ�หน่อมาจากต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยาซึ่งเป็นต้นลูกหลานของต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และถือเป็นครั้งแรกที่นำ� มาจากพุทธคยาโดยตรงของประเทศไทย ไม่ได้มาจากลังกา


พวงชมพู พวงชมพูเป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาขนาด เล็ก มีมือเกาะสำ�หรับเกาะพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่นเพื่อการ ทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต ลำ�ต้นหรือเถาจะเป็นสีน้ำ�ตาลเข้ม พวงชมพูเป็นไม้ ใบเดี่ยว ดอกออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูป ไข่ หรือมนรี ค่อนข้างจะเป็นทรงสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบมน เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักมนไม่แหล แผ่นใบเป็น คลื่นไม่เรียบ ใบมีความยาว ประมาณ 7 เซนติเมตร และมี ความกว้างประมาณ 7 เซนติเมตรพวงชมพูออกดอกเป็น ช่อรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบ ง่ามกิ่งและปลายยอด ส่วน ปลายยอดสุด จะเป็นมือเกาะ ดอกสีชมพูสดใสในกลุ่ม ดอก จะประกอบด้วยช่อดอก เรียงดอกสลับทางติดกันอยู่ อย่าง หนาแน่น ลักษณะรูปร่างของดอกมีทรงคล้ายผอบรูปหัวใจ ดอกมีขนาดเล็ก คือ สักประมาณ1 เซนติเมตรดอกพวงชมพู มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกที่คล้ายกัน ดอกกลุ่มหนึ่ง ๆ ของ พวงชมพู อาจจะชูเป็นช่อตั้ง หรืออาจจะห้อยเป้ฯพวงระย้าลง ก็ได้ ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ไม้เลื้อยดอกสีชมพูอ่อน ช่วยประดับให้ที่ที่ฉันเดิน เข้าไปอ่อนหวาน สวยงาม ต้นพวงชมพูในเขตพระจุฑาธุช ราชฐาน ที่ขึ้นราวกับปูพรมเลยทีเดียว

มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สี น้ำ�ตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็น คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมี จุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่าง ยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำ�ตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก ต้นมะขามในพระพระจุฑาธุชราชฐานปลูกไว้ริมทาง เดินต้นใหญ่มีกิ่งก้านสาขาแข็งแรงให้ร่มเงามีเก้าอี้ตัวยาวไว้ใต้ ต้น ให้นักท่องเที่ยวนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ชมนกชมไม้ริมทะเล เป็นบรรยากาศที่ร่มรื่น ทำ�ให้ลืมเรื่องราวที่ไม่สบายใจได้ขณะ หนึ่ง

44


ต้นหางนกยูง หางนกยูง หรือที่เรียกว่านก ยูง, นกยูงฝรั่ง, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง หงอนยูง ,อินทรี และยูงทอง พันธุ์ไม้จาก ทวีปแอฟริกาอยู่ในวงศ์พืชตระกูลถั่ว เป็น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้ง ทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบ ขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลาย กิ่งมีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝัก เป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาวเมื่อแก่จะเป็น ฝักแห้งแข็งสีดำ�ดอกสีส้มของต้นหางนกยูง ร่วงสู่พื้นสวยงาม ต้นก็ให้ความร่มรื่นแก่ สถานที่ปลูก

เกร็ดความรู้ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี พระองค์ ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ และตกเสีย 5 พระองค์ โดย 1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐) 2. ตกเสียวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๒ 3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘) 4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำ�รง (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๓๐) 5. จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓) 6. ตกเสียวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๖ 7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๐) 8. ตกเสียวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ 9. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ แต่สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ) 10. พลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗) 11. ตกเสียวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ 12. ตกเสียวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ 13. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖) 14. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)

45


ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่


ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดเป็น อย่างยิ่ง ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง เนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีนที่อาศัยอยู่ทั้งในไทยและในต่างประเทศ อาทิ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ให้ความเคารพนับถือและมาสักการะบูชากันอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะมีความเชื่อว่าจะท�ำให้กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง และยังมีอีกความเชื่อหนึ่งที่ว่า หากใครมาไหว้เจ้าพ่อเขาใหญ่ ติดต่อกันได้เป็นเวลาถึง 3 ปี จะได้รับโชคลาภอันวิเศษ น่าสนใจว่าความเชื่อเช่นนี้เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้า มาสัมผัสบรรยากาศที่เกาะแห่งนี้ได้ดีเลยทีเดียว

การเดินทางบนเกาะและการขึ้นไปไหว้ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ตั้งอยู่บนเขาคยาศิระ ห่างจากท่าเรือเทววงศ์ไปทางด้านเหนือของเกาะสีชัง การเดินทางจะต้องเดินขึ้นบันไดไปประมาณ 200 300 เมตร ระหว่างทางจะมีรูปปั้นมังกรล่องอยู่เหนือ เมฆทอดยาวตลอดเส้นทางจากด้านบนถึงด้านล่าง และ เมื่อมองผ่านท้องของมังกรจะเห็นทิวทัศน์ของท้องทะเล และท่าเรือได้อย่างชัดเจน อีกทั้งระหว่างทางขึ้นเขาจะมี ศาลเจ้าองค์เทพทั้ง 8 หรือคนไทยรู้จักกันดีในชื่อของ โป๊ยเซียนให้เราได้สักการะอีกด้วย เมื่อเดินไปอีกสัก พักเราจะเจอทางแยก ถ้าเลี้ยวซ้ายเราจะเจอกับศาลหล วงพ่อสังกัจจายน์ ศาลพุทธเจ้าหลวง ร.๕ และองค์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ ์ และเมื่อเราเดินทางมา ถึงศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เราจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ ของท่าเรือต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งในศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ นี่จะประดิษฐานองค์เทพต่าง ๆ ทั้งองค์พระสังกัจจายน์ องค์เจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้าไฉ่ซิ่งเอี้ย พร้อมทั้งยังมี ที่มีจุดจ�ำหน่ายธูปเทียนทอง น�้ำมัน และกระดาษเงิน กระดาษทอง ไว้คอยบริการให้กับนักท่องเที่ยวที่มาไหว้ ขอพรจากศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่แห่งนี้

47


ประวัติ เมื่อเราทราบเรื่องราวคร่าวๆเกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่แล้ว เรามาดูประวัติของศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่กัน สักหน่อยดีกว่า เจ้าพ่อเขาใหญ่นั้นเป็นรูปหินที่เกิดจากธรรมชาติเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว โดยตัวของศาลเจ้าพ่อ เขาใหญ่นั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยกับจีน โดยจากจารึกภาษาจีนโบราณของนายอุ้งเซ็ง แซ่อึ้ง (ยุ่นเซิ้ง เซิ้นหวง: ภาษาจีนกลาง) ซึ่งเป็นชาวอ�ำเภอบุงเชียง จังหวัดไหหล�ำ ประเทศจีน ได้จารึกไว้ในไม้สักเก่าแก่ราว พ.ศ.2426 หรือก็ราวๆ 129 ปีมาแล้ว ซึ่งขณะนี้ได้เก็บรักษาไว้ที่ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ บนเกาะสีชัง และได้รับการแปล จากซินแสจีนสูงอายุท่านหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นท�ำหน้าที่เป็นเสมียนจีนในเทศกาลไหว้เจ้า ได้ใจความว่า “ขณะที่มาจอด ทอดสมอเรืออยู่ที่หน้าเกาะได้เห็นแสงไฟอยู่บนเขาจึงได้ปีนขึ้นไปดู พบรูปหินย้อยลักษณะเหมือนศีรษะคน ตรงตรม ต�ำราจีนว่าเป็นรูปเจ้าพ่อที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ในถ�ำ้ ในเขา กลางทะเลและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีนำ�้ อยู่ข้างหน้า ตามที่ชาวจีนโบราณเชื่อถือว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มหัศจรรย์”

ความศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ยังเป็นที่เคารพนับถือ อย่างมากโดยเฉพาะกับชาวจีนที่เดินเรือใน ทะเล เพราะ มีเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของ ท่านคือ เกิดเหตุการณ์เรือรั่ว ทุกคนบนเรือก็บนบาน ขอเจ้าพ่อเขาใหญ่ให้ช่วยเหลือ มิให้เรืออับปางกลางทะเล ปรากฏว่ามีแมงกะพรุนลอยมาปะที่รูรั่วท�ำให้น�้ำหยุดไหล เข้าเรือ เมื่อเรือล�ำนั้นเดินทางมาถึงที่เกาะสีชังก็นำ� เรือขึ้น เพื่ออุดรอยรั่ว และด้วยความศักดิ์สิทธ์นี่เองที่ท�ำให้ศาล เจ้าพ่อเขาใหญ่เป็นที่นับถือของผู้คนทั่วทุกสารทิศ จึง เกิดประเพณีสักการะศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ขึ้น

48


มณฑปรอยพระพุทธบาท

ประเทศไทยมีพระพุทธบาทอยู่หลายแห่ง และบนเกาะสีชังเองก็มีอยู่แห่งหนึ่งเช่นกันคือ มณฑปรอย พระพุทธบาท ซึ่งมณฑปรอยพระพุทธบาทนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและมีความศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง บนเกาะสีชัง โดยเราจะสังเกตเห็นว่ามณฑปรอยพระพุทธบาทนั้นจะอยู่เหนือศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ขึ้นไปอีกซึ่งจะเป็นจุด สูงสุดของเกาะสีชัง โดยการเดินทางเราจะต้องขึ้นไปบนเขาซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน เช่ารถ แล้วแต่ ความถนัดของแต่ละบุคคล โดยการเช่ารถก็จะมีทั้งเช่ารถพ่วง รถสองแถว หรือรถมอเตอร์ไซค์ เมื่อถึงบนเขาแล้ว จะ มีบันไดเพื่อเดินขึ้นไปยังที่ตั้งของรอยพระพุทธบาทที่ได้อันเชิญมาจากประเทศอินเดีย และจะมีเจดีย์ซึ่งในเจดีย์นั้นได้ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยทั้งสองสิ่งนี้ได้ถูกวางในมณฑป นอกจากนี้มณฑปรอยพระพุทธบาทยังเป็นสถานที่ชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจุดหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่บนจุด สูงสุดของเกาะสีชัง ท�ำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้โดยรอบของเกาะ รวมไปถึงทะเลรอบเกาะและเกาะขามใหญ่ซึ่ง เป็นเกาะข้างเคียงของเกาะสีชัง ส่วนมากนักท่องเที่ยวจะชอบขึ้นมาชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ดังนั้นมณฑปรอย พระพุทธบาทจึงเป็นสถานที่ ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งบนเกาะสีชังซึ่งเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์และวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม.

49


พาชมพระอาทิตย์ตกที่ช่องเขาขาด

ความงดงามของบรรยากาศยามเย็นที่ คุณควรจะได้สัมผัสเมื่อไปถึงเกาะสีชัง คงหนีไม่ พ้นการชมพระอาทิตตกดินที่ ช่องเขาขาด ซึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ ชาวบ้าน บนเกาะนิยมเรียกกันว่า หลังเกาะ ในบริเวณ มีสะพานส�ำหรับเดินชมทิวทัศน์ สามารถชม พระอาทิตย์ตกได้สวยงาม มีหาดหินกลม ซึ่งเต็ม ไปด้วยหินกลม ๆ ขนาดต่าง ๆ มากมาย ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับชมทิวทัศน์ของ รัชกาลที่ 5 สามารถเดินเท้าได้สบายๆ หรือ นั่ง มอเตอร์ไซค์รับจ้างในอัตราค่าโดยสาร คนละ 15 บาท หรือ นั่งรถสามล้อในอัตรา 30 บาท นั่งได้ 5 คน ความรู้สึกแรกที่ทุกคนที่เดินทางมาถึง บริเวณช่อเขาขาดจะได้สัมผัส คือการได้มอง ทะเลอันสวยงามที่ไกลสุดลูกหูลูกตาท้องทะเล สีฟ้าใสชวนให้เคลิบเคลิ้ม ปล่อยใจไปกับความ สวยงามของท้องทะเลและความสวยงามของ สถานที่นั่น เมื่อเดินมายังลานกว้างที่เป็นที่นั่งพัก ผ่อน จะมองเห็นพลับพลา 2 หลัง ที่ใช้เป็นจุด ชมวิวของบริเวณช่องเขาขาด บริเวณช่องเขาขาดจะมีทางเดินสีขาว ทอดตัวยาวลงสู่ เบื้องล่างลดระดับไปตามไหล่ เขาโดยทางเดินสายนี้ 2 ข้างทางประดับประดาไป ด้วย ดวงไฟหงส์ไปจนสุดสาย 50


แหลมมหาวชิราวุธ มีลักษณะคล้ายกับแหลม พรมเทพ แต่เล็กกว่าเป็นแหลมที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ เกาะสีชัง มีสะพานที่ทอดยาวยื่นออกไปยังแหลม ซึ่งจะอยู่ ติดกับช่องเขาขาด ผู้ที่มาเยือนสามารถไปตกปลาที่นั่นกัน เพราะ บริเวณนั้นมีโขดหินมากมายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของฝูง ปลาหลายชนิด และสวยงามเป็นอย่างมาก แหลมสลิดยัง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็นอีกด้วย ในฤดูหนาว พระอาทิตย์ตกน�ำ้ จะมีดวงใหญ่โตเป็นพิเศษ ดูสวยงาม ชวนให้น่าจดจ�ำ การเดินไปยังบริเวณ แหลมมหาวชิราวุธ เรา สามารถเดินไปยังบริเวณนั้นด้วยสะพาน สะพาน วชิราวุธ

51


ไฟที่ประดับประดาในบริเวณเริ่มสว่างขึ้น เรายื่นดูพระอาทิตย์ตกจนลับขอบฟ้า จากท้องฟ้า สดใสแดดจ้าเปลี่ยนเป็นท้องฟ้ามืดครึ้มของยาม ค�่ำคืนเข้ามาแทนที่ และได้เวลาที่เรากลับเข้าที่พัก ด้วยความสุข เดินชมทั่วบริเวณมาเหนื่อยๆ ร่มเงาที่มีอยู่ ทั่วบริเวณสร้างความร่มรื่นให้ผู้ที่มาเยือนใช้เป็น ที่นั่งพักและหลบร้อนเพื่อรอเวลาชมพระอาทิตย์ ตก แล้วเวลาที่เรารอคอยก็มาถึงพระอาทิตย์เริ่ม คล้อยตัวต�่ำลง ท้องฟ้าเริ่ม เปลี่ยนสี ความตื่น เต้นเริ่มเกิดขึ้น บรรยากาศลมเย็นๆเริ่มท�ำให้ทุก คนเคลิบเคลิ้มกับความสวยงามอีกบรรยากาศ จากเมื่อตอนกลางวัน การที่เราทุกคนยืนมอง พระอาทิตย์ตกท�ำให้เราได้รับทั้งความสุข ความ อบอุ่น การผ่อนคลาย

เชื่อว่า บรรยากาศแบบ นี้จะอยู่ใจความทรงจ�ำของผู้ที่มา เยือน ช่องเขาขาดไปตลอด และ เรายังเชื่อว่า ทุกคนที่เคยมา ที่นี้แล้วจะมาเยือนที่นี้อีกครั้ง แน่นอน 52


หาดถ�ำ้ เขาพัง

53

วันหยุดสุดสัปดาห์ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปพัก ผ่อนหย่อนใจที่ไหนดี ลองมาเที่ยว “หาดถ�้ำเขาพัง” กันดีกว่า ที่ส�ำคัญอย่าลืมเก็บบรรยากาศที่แสนเป็น ธรรมชาติไว้ในความทรงจ�ำด้วยนะ วันนี้พวกเราจะพาไปเยือนเกาะสีชังและแวะ ชม “หาดถ�้ำเขาพัง” หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า “อ่าว อัษฎางค์” ที่นี่เป็นหาดที่เป็นธรรมชาติ สวยงามทั้ง บรรยากาศโดยรอบ หาดทรายขาวสะอาดลาดโค้งไป ตามแนวกว้างของขอบอ่าว อีกทั้งท้องฟ้าสีสด น�้ำ ทะเลรอบข้างใสสะอาดเป็นสีฟ้าครามไล่ระดับ ให้ ความรู้สึกของการพักผ่อนกับท้องทะเลในยามสุด สัปดาห์ มีคลื่นไม่สูงนัก ม้วนตัวเข้ามากระทบหา ชายฝั่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุดพร้อมกับมีเสียงคลื่นเสียง ลมที่พัดผ่าน กับบรรยากาศที่แสนเย็นสบายเมื่อสูด หายใจแล้ว สดชื่น และรู้สึกสบายกายสบายใจ


โดยหาดถ�้ำเขาพังหรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า “อ่าว อัษฎางค์” จะอยู่ด้านทิศตะวันตกของเกาะเมื่อมองไปรอบๆ จะเห็นว่าหาดถ�้ำเขาพังนี้มีลักษณะเป็นอ่าวโค้งที่สวยงามแต่ เมื่อมองอยู่บนที่สูงจะเหมือนกับเส้นโค้งเลย บริเวณหาด จะเป็นเม็ดทรายขาวสะอาด ละเอียดอ่อน สวยงามมากๆ ส่วนน�ำ้ ทะเลก็ใสสะอาดสีฟ้าครามไล่ระดับสีที่สวยงามเลย ทีเดียวซึ่งเหมาะแก่การเล่นน�ำ้ เป็นอย่างมากมองแล้วสะอาด ตา ส่วนด้านเหนือของหาดถ�้ำเขาพังนี้เป็นแหลมจักรพงษ์ ซึ่งเป็นแหลมหินที่งดงามเป็นเนินสูงต�ำ่ ต่อเนื่องกันไป และ เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็นที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เส้นทางที่เข้าหาดถ�้ำเขาพังนี้เป็นถนนคอนกรีต รอบๆสองข้างทางเต็มไปด้วย พืชพันธุ์ไม้หลากหลาย สายพันธุ์ ที่สวยงามที่ขึ้นเขียวชะอุ่มในหน้าฝน เหมาะ แก่การศึกษา พืชพันธุ์ไม้ในเกาะสีชังแห่งนี้ ถนนสู่ หาดถ�้ำเขาพังยังเหมาะแก่การวิ่งออกก�ำลังกายในยาม เช้าเพราะบริเวณนี้เมื่อสูดอากาศเข้าไปจะรู้สึกสดชื่น ต้นไม้ปลิวพัดไหวไปตามสายลมกับอุณหภูมิร่างกายที่ ร้อนเมื่อเจออากาศเย็นหน่อยที่เป็นธรรมชาติสุดแสน บริสุทธิ์ร่างกายก็จะสดชื่น และอีกทั้งการจราจรบริเวณ หาดถ�้ำเขาพังนี้ก็แทบจะไม่มีอีกด้วยค่ะ จึงไม่มีมลพิษ เลย ท�ำให้เหมาะกับการออกก�ำลังกายในยามเช้าและการ ออกเดินเที่ยวในยามเย็นรับอากาศที่บริสุทธิ์ของสภาพ แวดล้อมที่มีต้นไม้อันเขียวชอุ่ม บางคนอาจจะสงสัยว่าหาดสวยๆที่งดงามไปด้วย บรรยากาศทางธรรมชาติที่แสนล�้ำค่าในการพักผ่อน หย่อนใจ ผ่อนคลายจิตใจแบบนี้ตั้งอยู่บริเวณไหนส่วน ไหนของเกาะสีชังกันนะ 54


ชายหาดถ�้ำเขาพังนี้จะตั้งอยู่...

55

ที่ชุมชนบ้านศาลเจ้าเก๋ง อ.เกาะสีชัง ส่วนการ เดินทางเราก็จะเริ่มจาก ท่าเรือเทววงษ์ (ท่าล่าง) จาก นั้นเราก็ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัษฎางค์ มาเรื่อยๆก็มีระยะ ทาง ประมาณ 1 กิโลเมตรจากนั้นเราก็ เลี้ยวขวาเข้า ถนนจักรพงษ์เข้ามามีระยะทางประมาณ 300 เมตรจาก นั้นเราก็ เลี้ยวขวาเข้าถนนเฉลิมพระเกียรติอีก ก็ไปอีก ประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านี้เราก็ถึงหาดถ�ำ้ เขาพังแล้วค่ะ โดยหาดถ�้ำเขาพังจะอยู่ด้านซ้ายมือของเราเมื่อเราเข้ามา ถึงเราก็จะสัมผัสได้เลยว่าที่นี่ร่มรื่นมากๆ อีกทั้งชาวบ้าน ที่อยู่บริเวณบนหาดถ�้ำเขาพังนี้ค่อนข้างจะมีชีวิตที่เรียบ ง่ายไม่หรูหราซึ่งดูจากการแต่งกาย สภาพการเป็นอยู่ที่ เด่นชัด และที่นี่ยังมีการบริการที่เป็นกันเองอีกด้วยค่ะ การบริการบนหาดนี้มีมากมายหลากหลายทั่วบริเวณ รอบหาดเต็มไปหมดซึ่งถ้าเดินไปทางไหนไม่ต้องกลัวว่าจะ ไม่มีอะไรกินเลยค่ะที่นี้มีสินค้าการบริการดีเยี่ยมเลยค่ะ แต่ดีอย่างไรและมีอะไรบ้างที่เด่นของที่หาดนี้ ต้องลองไป สัมผัสบรรยากาศดูค่ะ


การบริการที่เรียกว่า “สีชังฮอลิเดย์” เป็นบริการที่ครบครัน มีราคาที่เหมาะสม ให้เลือกส�ำหรับวันพักผ่อน สีชังฮอลิเดย์นี้จะมีป้ายเขียนไว้ริมหาดว่ามีบริการอะไร พร้อมมีราคาก�ำหนดไว้ด้วย ซึ่งในบริการสีชังฮอลิเดย์จะมี บริการ ตัวอย่างเช่น เจ็ตสกี เรือบานาน่าโบท ห่วงยางเล่นน�้ำ เรือคายัค บริการด�ำน�้ำดูปะการัง และบริเวณโดยรอบ นี้ยังมีร้านค้าที่มีอาหารทะเลเลิศรสที่แสนอร่อยรสชาติไทยๆไว้บริการนักท่องเที่ยว อยู่หลากหลายร้านรอบหาดถ�้ำ เขาพังเลยทีเดียว ซึ่งอาหารทะเลเลิศรสประกอบด้วย ปูนึ่ง ปูนิ่มผักผงกะกรี่ หมึกย่าง และอาหารเครื่องดื่ม ตามสั่ง มากมายไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งการบริการห้องพักบริวเณริมหาดมีรีสอร์ทไว้ บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมค้างคืนไว้เผื่อใครต้องการดูพระอาทิตย์ตก พระอาทิตย์ขึ้น ชมหาดยามค�ำคื่น หรือการจัดปาร์ตี้เล็กๆริมหาด อีกทั้งยังได้สัมผัสบรรยากาศทะเลยามค�่ำคืนที่แสนเย็นสบายของลมบกที่พัดในยาม ค�่ำคืนอย่างใกล้ชิด ท�ำให้ได้ความรู้สึกสดชื่นสบายใจ

56


นอกจากกนี้ในหาดถ�ำ้ เขาพังยังมีสถานที่ที่ส�ำคัญ ที่สวยงามอีก นั่นก็คือ จุดชมวิวหรือ ศาลาชมวิว ศาลา นี้เป็นศาลาหลังคาสีแดงที่อยู่บริเวณข้างบนของหาดเมื่อ มองขึ้นไปจะเห็นบริเวณรอบๆหาดอันกว้างขวางสวยงาม ศาลาหลังคาสีแดงนี้มี 2 หลัง หลังแรกอยู่ใกล้ทางลง หาด ส่วนหลังที่สองจะอยู่ไกลออกไปอีก แต่ทั้งสองหลัง นี้สามารถท�ำให้มองเห็นทิวทัศน์ของหาดถ�ำ้ พังและแหลม ยื่นออกมาได้อย่างสวยงามมากเลยค่ะ

57

เอาล่ะค่ะจากข้อมูลของหาดถ�้ำเขาพังหรือ “อ่าว อัษฎางค์” ผู้อ่านคงอยากจะมาพักผ่อนหย่อนใจในวัน หยุดสุดสัปดาห์เพื่อให้คลายความเครียดหลังจากที่ ท�ำงานอย่างหนักมาเต็มสัปดาห์ เพิ่มความสุขให้จิตใจ โดยมาเที่ยวชมธรรมชาติที่ร่มรื่น สดชื่นกายสบายใจ และชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์ตกที่สวยงามยามเย็น พร้อมกับการบริการที่เป็นมิตรและอบอุ่นที่หลากหลาย มากมายริมชายหาด แล้วจะช้าอยู่ท�ำไมคะ เตรียมตัว ออกเดินทางกันได้เลยค่ะที่หาดถ�้ำเขาพัง…


วิถีชีวิต

คุณเคยรู้มาก่อนหรือไม่ว่าอ�ำเภอที่เล็กที่สุดใน ประเทศไทยนั้น คืออ�ำเภออะไร? ใช่แล้วค่ะ อ�ำเภอเกาะสีชัง นั่นเอง ถึงจะเล็กแต่ของเขาก็ดีจริง!!! มีเอกลักษณ์ที่ไม่ เหมือนใครโดยเฉพาะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน


เกาะสีชังแต่ก่อนนั้นเป็นเกาะที่ยังไม่มีผู้คนอาศัย อยู่เป็นเพียงที่พักเรือสินค้าและเรือโดยสารที่ผ่านเกาะ มาในแถบนั้น จนกระทั่งต่อมามีชาวจีนกลุ่มหนึ่งเดิน เรือมาพักที่เกาะแห่งนี้ จากการเล่าต่อๆกันมา ชาวจีน นั้นได้เห็นแสงระยิบระยับบนยอดเขาของเกาะ เขาคิดว่า สิ่งที่เห็นระยิบระยับนั้นเป็นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์จึงได้ขึ้นไป ส�ำรวจ ชาวจีนกลุ่มนี้เห็นบริเวณรอบๆเป็นถ�้ำ ภายใน ถ�้ำมีหินก้อนใหญ่คล้ายกับคนรูปคนนั่งอยู่ จึงได้เรียก ขานกันตั้งแต่นั้นมาว่าเจ้าพ่อเขาใหญ่ซึ่งก็คือศาลเจ้าพ่อ เขาใหญ่ในปัจจุบันนั่นเอง

สมัยก่อนเกาะสีชังมีแต่ชาวจีนเป็นส่วนมาก จึงมี อาชีพหลักคือการประมงและการเดินเรือค้าขาย ซึ่งก็ใช้ เพียงแค่เรือไม้เล็กๆในการท�ำประมงเท่านั้น ของที่ได้จาก การออกเรือประมง ที่เหลือแบ่งจากการเก็บไว้กินแล้วจะ น�ำไปขายให้กับผู้ที่เดินเรือผ่านหรือเข้ามาพักเรือที่เกาะ สภาพที่อยู่อาศัยของชาวบ้านก็เป็นเพียงแค่บ้านหลังเล็กๆ ท�ำจากไม้หลังคามุงด้วยใบจาก เพียงแค่กันลมกันฝนได้ เท่านั้นซึ่งต่างจากปัจจุบันที่บ้านเรือนได้เปลี่ยนไปใช้วัสดุใน การสร้างที่คงทนและแข็งแรงกว่าไม้ เช่น อิฐ หิน ปูน แต่ก็ ยังมีบางหลังที่ยังเป็นบ้านไม้หลงเหลืออยู่ให้เห็นบ้างแต่ก็ใช้ ไม้ที่แข็งแรงกว่าสมัยก่อน 59


แต่ปัจจุบัน ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้เกาะสีชัง เป็นที่รู้จักและเฟื่องฟูเรื่องการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก รวมไปถึงสภาพปัญหาเศรษฐกิจที่ยำ�่ แย่ในปัจจุบัน น�้ำมันก็มีราคาสูงขึ้น สัตว์นำ�้ ที่ออกหาจากการประมง ก็ได้น้อยลงทุกที ท�ำให้ผู้คนบนเกาะหันมาประกอบ อาชีพการบริการทางด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ไม่ ว่าจะเป็นการปลูกสร้างรีสอร์ท โรงแรม ยานพาหนะ พวกรถตุ๊กๆ สกายแลปเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการ ท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว และชาวเกาะอีกส่วนหนึ่งก็จะเปิดร้านค้าขายเล็กๆ น้อยๆอยู่กับบ้าน เช่น ขายอาหาร ขายน�้ำมัน ขายของ ฝาก ผลไม้เป็นต้น โดยภาพรวมแล้วการประกอบอาชีพ ต่างๆ ของชาวเกาะสีชังจะคิดเป็นการท�ำ ประมงร้อยละ 20 บริการท่องเที่ยวร้อยละ35 ค้าขายร้อยละ 25 รับจ้าง และ อื่นๆร้อยละ20 นอกจากนี้ประชากรของชาวเกาะบางส่วนยัง มีอาชีพรับราชการตามหน่วยงานต่างๆ ของรัฐโดยมี เปอร์เซ็นต์ค่อนข้างต�่ำกว่าอาชีพอื่นๆ โครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจของชุมชนจะขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพเพียง 5 อย่าง คือ การประมง การพานิชกรรม รับจ้างการ บริการการท่องเที่ยวและการรับราชการเท่านั้นเองค่ะ

60


การใช้ชีวิตของคนบนเกาะ ตอนเย็นชาวประมง จะออกเดินเรือหาปลาแล้ว กลับมาตอนรุ่งเช้าของอีก วันหนึ่ง เมื่อมาถึงจะมีการซื้อขายกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ หามาได้ที่ท่าเรือเลย ส่วนชาวบ้านอื่นๆที่ท�ำอาชีพ ค้าขายหรือบริการก็จะเปิดร้านขายของตอนเช้า โดย สิ่งของที่จ�ำเป็นต้องใช้พวกปัจจัยทั้งสี่ที่ไม่สามารถหา ได้จากบนเกาะ ก็จะสั่งจากภายนอกเข้ามาบนเกาะ โดย ขนส่งทางเรือ หรือบางทีก็จะมาจากเรือโดยสาร ทุกวัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะสีชังเป็นโขดหิน มี ความลาดชันและมีหน้าดินบางมาก พื้นที่แห้งแล้ง กันดารไม่มีแหล่งน�้ำผิวดินตามธรรมชาติ เช่น แม่น�้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และไม่มีแหล่งน�้ำใต้ดิน จะมีก็แต่ เพียงแอ่งน�้ำเล็กๆ ที่เกิดจากน�้ำฝนที่ไหลจากที่สูงลงที่ต�่ำ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและพื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นหินและมีความลาดชันมาก จึงท�ำให้น�้ำฝนไหล ในลักษณะเป็นน�้ำไหลล้นไปตามพื้นผิวอย่างรวดเร็ว เรื่องน�ำ้ จืดเกาะสีชังยังไม่มีแหล่งน�ำ้ จืดส�ำหรับ ผลิตน�้ำประปา โดยน�้ำจืดส่วนใหญ่จะได้จากน�้ำฝน ที่กักเก็บโดยถังกักเก็บน�ำ้ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วเกาะสีชัง แต่ในปัจจุบันเกาะสีชังได้มีการผลิตน�้ำประปาจาก น�้ำทะเลแล้วค่ะโดยผลิตด้วยระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) และการระบายน�้ำเสีย คนส่วนใหญ่จะ ระบายน�้ำเสียที่ใช้จากครัวเรือนลงสู่ที่ลุ่มต�่ำ โดยระบบ ซึมผ่านท่อระบายน�้ำลงสู่ทะเล ส่วนเรื่องการก�ำจัด ขยะมูลฝอยของเกาะ ก็จะก�ำจัดในลักษณะเทกองบน พื้นแล้วเผา โดยเตาเผา และมีที่ดินส�ำหรับทิ้งขยะ มูลฝอยจ�ำนวน 2 ไร่ 61


ทุกวันนี้ผู้คนบนเกาะสีชังมีปะปนกันไปหลาย เชื้อชาติ ศาสนา มีทั้งคนที่สืบทอดเชื้อสายมาจากชาว จีน และคนที่มีเชื้อชาติไทยแท้ การนับถือศาสนาของ คนบนเกาะส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุธประมาณ 95% และศาสนาอื่นๆประมาณ 5% ซึ่งประกอบไป ด้วย คริสต์ อิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเมื่อเสีย ชีวิตแล้วจะมีการน�ำศพไปฝังที่เกาะขามน้อยซึ่งก็เป็น เกาะลูกของเกาะสีชังนั่นเอง ส่วนเรื่องความเชื่อ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว เกาะสีชังก็คือศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจ�ำเกาะชาวบ้านต่างเคารพบูชา ไม่ว่าชาวเกาะสีชังจะ ไปท�ำงานหรือท�ำอะไรก็ต้องไปบอกกล่าวขอพรที่ศาล เจ้าพ่อเขาใหญ่ก่อน โดยเฉพาะเรื่องการค้าขาย และ การเดินเรือ

อีกหนึ่งความเชื่อของชาวสีชัง หากผู้ใดได้มา กราบไหว้สักการะศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ติดต่อกัน 3 ปีแล้ว จะได้โชคลาภอันวิเศษ ซึ่งคือโชคอะไรเราต้องลองไปสักกา ระกันสัก3ปีนะคะ ซึ่งจะจัดให้มีการสักการะศาลเจ้าพ่อเขา ใหญ่ในช่วงตรุษจีนของทุกปีเลยคะ ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์บนเกาะ คือประเพณี อุ้มสาวลงน�ำ ้ ประเพณีวันกองข้าว ประเพณีข้าวมันส้มต�ำ และเทศกาลไหว้พระบาท 62


ปัญหาของชาวเกาะสีชังน่าจะมีเรื่องการได้รับฝุ่นละออง จากการขนถ่ายสินค้า การย่อยหินและบางฤดูที่มีลมพัดเข้าสู่ เกาะสีชัง ก็จะได้รับฝุ่นละอองจาก ถ่านหินและปูนซีเมนต์จากการ ขนถ่ายของเรือสินค้าและยังมีเรื่องรถจักรยานยนต์และรถสามล้อ เครื่องที่มีมากขึ้นและมีการดัดแปลงท่อไอเสีย จึงท�ำให้เกิดเสียง รบกวน นอกจากนี้ก็มีเสียงจากการย่อยหินจากเรือสินค้า ท�ำให้ เกิดเป็นมลพิษทางเสียงของชาวเกาะสีชังอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีแก้ไขที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชิวิตของคน เกาะสีชัง เกาะสีชังมีวัฒนธรรมประเพณีและวิถีการด�ำเนินชีวิตเป็น เอกลักษณ์ของตนเอง แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปแต่ ชาว เกาะสีชังยังก็คงรักษาวัฒนธรรมประเพณีและวิถีการด�ำเนินชีวิต ดั้งเดิมของตนเองไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ลูกหลานยุค ใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้และสืบทอดความเป็นเอกลักษณ์ของเกาะนี้ ต่อไป พวกเราในฐานะนักท่องเที่ยวก็ควรจะช่วยกันสืบสานและ ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมภายในเกาะเพื่อให้วิถีชีวิตแบบนี้ของ ชาวเกาะอยู่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยเราต่อไปคะ......

63


ปัจจุบัน อัตราการผลิตขยะมูลฝอย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องจากจ�ำนวน ประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ถ้ามี โอกาสได้ไปท่องเที่ยวกันเราก็ควรช่วยกันลดการ ทิ้งขยะด้วยนะค่ะ อาจจะพกถุงผ้า ไปเพื่อใช้แทน ถุงพลาสติกก็ได้ค่ะ


แหลมจักรพงษ์

สุรพล ชวายวัง ,อิทธิภัทร พรรณจิตร...เรื่อง ณัฐฐาพันธุ์ แสวงผล ...ภาพ

แหลมจักรพงษ์ นั้นจะตั้งอยู่ช่วงกลางทาง

ทิศตะวันตกของเกาะสีชัง เป็นแหลมเล็กๆที่โอบล้อม ด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ ในฤดูฝนจะมีสีเขียวชอุ่ม สวยงาม บริเวณริมฝั่งของแหลมเป็นสถานที่ที่มี ทิวทัศน์งดงามมาก และยังเป็นสถานที่ตกปลาที่นัก ท่องเที่ยวนิยมไปตกปลา เป็นจ�ำนวนมาก เพราะเป็น โขดหินแหลมหินที่งดงาม ประกอบด้วยเนินสูงต�ำ่ ทอด ต่อเนื่องกันไป และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ ตก น�้ำ สุดขอบน�้ำทะเลที่สวยงามแห่งหนึ่งและยังเป็นการ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสบรรยากาศดีๆ เหล่านี้ที่เกาะแห่งนี้ได้ดีเลยทีเดียว หากเราต้องการไป แหลมจักรพงษ์ ใช้เส้น ทางเดียวกันกับเส้นทางไปอ่าวอัษฎางค์หรือหาดถ�ำ้ พัง ในเส้นทางนั้นเป็นถนนคอนกรีตอย่างดี และมี ความคดเคี้ยวที่ดูเป็นศิลปะ สวยงาม น่าหลงใหล เมื่อท่านนั่งรถไปแถวนั้นท่านสามารถจะจอดรถ ข้างทางและหันหน้าออกไปทางทะเลเพื่อถ่ายรูป วิว ทิวทัศน์ ต่างๆที่สวยงามเก็บความประทับใจที่ เกี่ยวข้องกับแหลมจักรพงษ์ได้เป็นอย่างดี

65


เมื่อท่านเดินทาง ผ่านเส้นทางจุดคดเคี้ยวมาแล้วต่อ มาท่านจะมาพบกับศาลาพักร้อนสร้างในสมัย ร.8 โดยสร้าง เป็นรูปกระโจมมุงกะเบื้องตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมจักรพงษ์ ศาลาแห่งนี้ถูกสร้างด้วยไม้ชั้นดีและถูกออกแบบให้มีลักษณะที่ รับลมได้ดีอีกด้วยท�ำให้กลมกลืนกับบรรกาศของเกาะได้เป็น อย่างดีศาลาพักร้อนแหล่งนี้ยังเป็นจุด ถ่ายรูปวิว ทิวทัศน์ที่ ดีอีกหนึ่งจุดที่ท่านไม่ควรพลาดที่จะเก็บบรรยากาศดีๆเหล่านี้ ไปฝากคนทางบ้านที่ยังไม่มีโอกาศได้มา ศาลาแห่งนี้ไม่เพียงแต่ เป็นที่ถ่ายรูปวิวที่ดีแล้ว ทั้งยังเป็นสถานที่ที่จะชมพระอาทิตย์ ตกได้สวยงามที่สุดที่หนึ่งอีกแห่งในประเทศไทยเลยก็ว่าได้สวย งามจริงๆ เพื่อการชมพระอาทิตย์ให้มีอรรถรสท่านสามารถ ปิกนิกท�ำกิจกรรมระหว่างครอบครัวได้เป็นอย่างดีเนื่องจาก บรรยากาศรอบๆจะเป็นบริเวณกว้างและเอื้อแก่กิจกรรมต่างๆ อย่างมากอีกทั้งยังมีมีปลาทะเลหลากสายพันธุ์ให้ชมพักสายตา ได้ดีท�ำให้เราได้พักผ่อนอย่างมีความสุขและเต็มที่กับวันหยุดที่ แสนสบาย

เมื่อเราทราบถึงความสวยงามและมีประวัติอันยาวนานที่ มีคุณค่าให้พวกเราจดจ�ำและนึกถึงของเกาะแห่งนี้กันแล้วท่านทั้ง หลายจะรอช้าอยู่ทำ� ไมมาเที่ยวกันเถอะครับรับรองได้เลยแหลม จักรพงษ์แห่งนี้ไม่แพ้สถานที่ท้องเที่ยวใดในโลกอย่างแน่นอน

66


UNSEEN

“พี่โยนเหรียญลงมาเลยครับ”

ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะสงสัยในหัวเรื่องนี้ นะครับ ในภาพนี้คือน้องๆชาวบ้านบนเกาะซึ่งลงมาเล่น น้ำ�และชักชวนให้นักท่องเที่ยวบนเรือซึ่งกำ�ลังรอเวลาเรือ ออกเดินทางจากเกาะให้โยนเหรียญลงน้ำ� เพื่อที่จะให้ น้องๆได้โชว์ดำ�น้ำ�เก็บเหรียญ ซึ่งจะเป็นเหรียญอะไรก็ได้ น้องๆไม่เกี่ยงอยู่แล้ว ซึ่งจากที่ผมได้ทดสอบแล้วน้องเขา ดำ�น้ำ�หาเหรียญได้ชำ�นาญจริงๆครับ เรียกได้ว่าอนาคต เหรียญทองโอลิมปิกเลยว่าไปนั้น แต่ก็นับเป็นสีสัน ความประทับอย่างหนึ่งในความสดใสร่าเริงของน้องๆเขา

“น้ำ�แข็งนั้นหายาก ต้องลำ�บากออกเรือไป”

ในภาพนี้คือน้ำ�แข็งจริงๆครับ ซึ่งถูกขนขึ้นมาจาก เรือลงสู่รถเพื่อนำ�มาใช้บนเกาะแห่งนี ้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำ� แข็งบนเกาะนี้ที่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านกินกันอยู่อย่าง น้อยที่สุดส่วนหนึ่งได้ผ่านการเดินทางข้ามน้ำ�ข้ามทะเลมา เพื่อสร้างความเย็นให้น้ำ�ที่เราดื่มกัน

67


“วัดจุฑาธรรมสภารามวรวิหาร” วัดซึ่งตั้งอยู่ในละแวกชุมชนซึ่งหากมองจากภาพ นี้จะพบศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่อยู่เบื้องหลัง และในทางกลับ กันหากมองลงมากจากศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่เราก็จะพบ ศาลาสัดสีครีมหลังหนึ่งซึ่งสวยสะดุดตาเป็นอย่างมาก ทั้งมองจากด้านบน และจากภายในวัดเอง นอกจากนี้ บริเวณกลางวัดยังมีลานกีฬาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมี ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชุมชนและวัดอีกด้วย

“ตลาดเทศบาลเกาะสีชัง” ตลาดสินค้าภายในเกาะซึ่งที่ทั้งเนื้อสดชิ้นมหึมาซึ่ง นอนแช่อยู่ในตู้แช่เย็นมีเขียงวางข้างพร้อมปันตอขนาด ใหญ่รอสับขาย หรือจะเป็นน้ำ�ดื่มหลากยี่ห้อที่มีวางอยู่ เป็นโกดังสินค้าให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าได้มาเลือกสรร ซึ่ง โชคไม่ดีนักที่ผมไปพบกับร้านค้าซึ่งเหมือนนัดกันปิดหนี หรืออาจเป็นเพราะผมไปถึงเกือบเที่ยงแล้วก็เป็นได้

68


“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ�”

บนเกาะสีชังนั้นมีสถานที่เที่ยวหลักอยู่ 5 แห่ง ถ้าหากว่าท่านเช่ารถพาเที่ยว ท่านจะพลาดสถาน ที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆกับ พระจุฑาธุช ราชฐาน นั้นคือ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ� สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ� จุฬาลงกรม หาวิทยาลัย จัดตั้งโดยเริ่มจากการเป็นสถานีทดลอง และศูนย์ฝึกนิสิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ โดยทางมหาวิทยาลัยได้ตระหนัก ถึงถึงปัญหาการลดลงของปริมาณและคุณภาพของ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล รวมทั้งขาดแคลนสถานี วิจัยและศูนย์ฝึกนิสิต จึงได้มีการจัดตั้ง “โคงการสถานี วิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง” ในปี พ.ศ. 2522 ต่อมาการวิจัยทรัพยากรทางน้ำ�มีความ สำ�คัญมาก ในกรแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมและการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชาติ จึงได้ปรับ สถานภาพเป็น “สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ�” ในวัน ที่ 26 เมษายน 2534 ภายในสถาบันวิจัยจะมีอยู่สองชั้น ในชั้นแรก ท่านจะได้พบกับสัตว์น้ำ�มากมายหลายชนิด และในชั้น สองท่านจะได้พบกับแบบจำ�ลองเกาะสีชังทั้งเกาะ และ ข้อมูลอย่างละเอียดของสัตว์น้ำ�บางชนิด

69


“หาดยายทิม”

เดินลัดเลาะริมเกาะ จนมาถึงหาดยายทิม หาดนักท่องเที่ยวหลายๆท่านอาจมองข้ามไป แม้จะ ไม่สวยงามเท่าสถานที่อื่นๆ แต่ก็มีบรรยากาศที่น่าไป สัมผัสด้วยตนเองสักครั้งครับ และหากเดินทางย้อน ขึ้นไปเส้นทางที่ลงมาแล้วเลี้ยวขวาขึ้นไปก็จะลงมาสู่อีก ด้านของหาดยายทิม ซึ่งส่วนนี้จะติดกับหน้าผาใหญ่ สวยงามมากครับ และยังมีเกาะเล็กๆอยู่ใกล้ๆ ซึ่งจาก การที่ผมได้สอบถามจากเด็กวัยรุ่นที่เกาะแห่งนี้แล้ว เค้า บอกว่าเป็นเกาะที่เค้าจะข้ามฝั่งเพื่อไปเก็บหอยกัน ซึ่งจะ มีบางช่วงเวลาที่น้ำ�จะลง ทำ�ให้สามารถเดินข้ามฝั่งไปได้ โดยไม่ต้องว่ายน้ำ�ข้ามไปครับ ซึ่งน่าเสียดายที่ตอนผม ไปนั้นเป็นช่วงเวลาน้ำ�ขึ้นพอดี จึงไม่ได้เก็บภาพภายใน เกาะนั้นมาฝากท่านนักอ่าน ยังมีอีกหลายๆพื้นที่ให้ เกาะสีชังแห่งนี้ที่ยังถูกมองข้ามไป

70


ประเพณีและวัฒนธรรม เกาะสีชัง

สักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่ ประเพณีสักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่ สถานที่จัด เทศกาลของเราก็คือ ศาลเจ้าเขาใหญ่ โดยจะเริ่มตั้งแต่วัน ตรุษจีน ประมาณ 45 วัน ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ที่ว่านี้ตั้งอยู่ บนเขาคยาศิระซึ่งมีบรรยากาศดีและทิวทัศน์ที่สวยงาม จน เราอดไม่ได้ที่จะถ่ายภาพความประทับใจไว้เป็นที่ระลึก

ศาลเจ้าเขาใหญ่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเราพบว่ามีทั้ง ชาวจีน และ หลายๆ ชนชาติ ให้ความเคารพและมาสักการะ กันเยอะมากๆ ท�ำให้รู้สึกว่าเทศกาลนี้ดูมีมนต์ขลังเข้าไปอีก ศาลเจ้าเป็นอาคารใหญ่ลักษณะทรงวิหารจีนนอกจากองค์ เจ้าพ่อเขาใหญ่แล้วภายในยังเป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพ่อเห่ง เจีย เจ้าแม่กวนอิม พระสังกัจจาย เราขอบอกเลยว่านักท่อง เที่ยวท่านใดที่ไม่ได้มาสักการะจะถือว่าไม่ได้มาร่วมเทศกาล เจ้าพ่อเขาใหญ่เลยทีเดียว ในช่วงตรุษจีนมีผู้คนมาบวงสรวงสักการะกันอย่างเนืองแน่นไปหมด ผู้คนจูงลูกหลาน และครอบครัวมาขอ โชคขอลาภ ซึ่งเราก็ลองสอบถามผู้ที่มาเที่ยวชมว่า มาสักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่บ่อยรึเปล่า นักท่องเที่ยวบอกเรา ว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ แล้ว ซึ่งหากปีหน้าเขามาอีกก็จะได้โชคได้ลาภอย่างที่หวังไว้ เราก็เกิดความสงสัยว่าขอโชคปีนี้ ท�ำไมถึงได้ปีหน้า แต่ก่อนที่เราจะสงสัยไปมากกว่านี้ นักเที่ยวกลุ่มนั้นก็ไขข้อสงสัยให้กับเราว่า มีความเชื่อที่สืบต่อ กันมานาน หากใครได้ไปกราบไหว้เจ้าพ่อเขาใหญ่ติดต่อกันเป็นเวลา ๓ ปี จะได้โชคลาภอันวิเศษ เราก็ถึงบางอ้อทันที รู้อย่างนี้แล้วคงจะต้องนัดเพื่อนๆ ไปเกาะสีชังเพื่อร่วมสักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่อีก ๒ ครั้งเสียแล้ว ส�ำหรับนักท่องเที่ยว ท่านใดที่ชอบไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และดื่มด�ำ่ ความสวยงามของทิวเขา รับรองประเพณีนี้จะไม่ทำ� ให้คุณผิดหวัง อย่างแน่นอน 71


ประเพณีสงกรานต์ วันกองข้าว กองข้าวเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ ที่ สืบทอดต่อกันมา ตามประวัติเล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลาย อ�ำเภอ อาทิเช่น อ�ำเภอเมืองชลบุรี อ�ำเภอศรีราชา อ�ำเภอบางละมุง อ�ำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่นจน ประทั่งกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะ เมื่อเทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกัน จัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยก�ำหนด จัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน ของทุกปี ในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศาลสงกรานต์ของทุกปีชาวบ้านจะนัด หมายกันน�ำส�ำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันแล้ว เชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่ท�ำอันตราย ชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเอง หลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้าน จะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน มีการร้องร�ำท�ำเพลง การละ เล่นสนุกสนาน มีเกร็ดว่าทุกคนจะไม่นำ� อาหารที่เหลือกลับบ้านแต่ จะทิ้งไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานประเพณีกองข้าว นอกจากการก องข้าวอันเป็นหัวใจของงานแล้ว ยังได้เพิ่มกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นสีสันของงาน อาทิ ร�ำวงย้อนยุค มวยตับจาก เพลงพื้นบ้าน ดนตรีไทยประยุกต์ ประกวดเทพีกองข้าว กีฬาพื้นบ้านและซุ้มอาหารไทย ประเพณีกองข้าวจึงได้รับการยกระดับปรับตัวให้เป็นเอกลักษณ์ประเพณีที่โดดเด่น ชาวศรีราชาทุกคนมีความภาค ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมและอนุรักษ์ประเพณีกองข้าว ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เหลือเพียงแห่งเดียวใน โลก คือที่ ศรีราชา

72


งานวันร�ำลึก 100 ปี สีชัง ประวัติความเป็นมาการจัดงาน 100 ปี ชาวสีชังทั้งเกาะ การจัดงานดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยท่านธงชัย อนันตกูล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เมื่อ ครั้งด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ซึ่งได้เล็งเห็นความส�ำคัญของเกาะสีชัง ซึ่งเป็นเกาะประวัติศาสตร์ มี ความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ไทยหลายรัชกาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงโปรดเกล้า ให้สร้างพระจุฑาธุชราชขึ้น และเพื่อเป็นการน้อมร�ำลึกถึงบุญบารมีและวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน จึงให้จัดงานนี้ขึ้น อีกทั้งในปีนี้ยังเป็นปีมหามงคลเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะสีชังบนพื้นฐานของการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์อีกทางหนึ่งด้วย สถานที่: พระจุฑาธุชราชฐาน หมู่ 3 วันที่ 20 กันยายน (ทั้งกลางวัน กลางคืน) ของทุกปี


ประเพณีข้าวมันส้มต�ำ

เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค�ำ ่ เดือน 12 ของทุกปี ซึ่งก็คือ ประเพณีลอยกระทงของชาวไทยทั่ว ๆ ไปนั่นเอง แต่ประเพณีลอยกระทง ของชาวเกาะสีชังมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกับที่อื่น กล่าวคือ ในวันลอย กระทงแทนที่จะน�ำกระทงไปลอยแต่เพียงอย่างเดียว แต่กลับมีวิธีการที่ แปลกไปกว่านั้นโดยในตอนเย็นสุภาพสตรีของเกาะสีชังจะเตรียมข้าวมัน พร้อมส้มต�ำ ส่วนสุภาพบุรุษก็จะสนุกสนานตั้งแต่เย็นครั้นพอเวลา 24.00 น. ข้าวมันและส้มต�ำก็ถูกล�ำเลียงจากบ้านไปสู่พระราชวังเดิมเพื่อรับประทาน ร่วมกันและเพื่อรับประทานเรียบร้อยแล้วก็ลอยกระทงร่วมกัน ประเพณีและวัฒนธรรมเกาะสีชัง ยังมีอีกมากมาย รอให้คุณไปร่วมสนุกและเรียนรู้ไปกับชาวสีชัง แล้วคุณจะ พบว่าพื้นที่เล็กๆ บนเกาะแห่งนี้ สามารถสร้างประสบการณ์อันล�้ำค่าให้กับคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ

74


ประเพณีวันไหลในวันสงกรานต์

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เราจะพาคุณไปเที่ยวเกาะสีชังและเกาะ ขามใหญ่กันค่ะ เพราะไม่เพียงท่านจะได้ร่วมเทศกาลสงกรานต์ตาม ประเพณีของไทยแล้ว ท่านยังจะได้ร่วมพิธีในแบบชาวเกาะ ที่ไม่เคยพบ ที่ไหนมาก่อนอีกด้วย สถานที่จัดเทศกาลก็คือ : บ้านเกาะขามใหญ่ หมู่ 7 วันที่ 18 เมษายน (เช้า) ของทุกปี ณ เกาะสีชัง , เกาะขามใหญ่ อ�ำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ให้เราได้ร่วมสนุกกันตาม ความชอบใจ แถมได้เรียนรู้ประเพณีของเกาะอีกด้วย อาทิ เช่น การท�ำบุญตักบาตร การก่อเจดีย์ทราย การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การสรงน�้ำพระ ขบวนแห่หลวงปู่พระครูสุทธิรัตน์ รดน�ำ้ ด�ำหัวผู้สูงอายุ การแข่งขันพายเรือคายัค ประเพณีอุ้มสาวลงน�ำ ้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีกิจกรรมมากมายหลายอย่าง ซึ่งกิจกรรมที่พวกเราไม่พลาดนั่นก็คือ เช้าตรู่ของวันที่ 18 เมษายน ผู้คนจะแต่งตัวสวยงาม มีอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มนานาชนิด ทั้งเครื่องดื่มของมึนเมา และจะออกมา ทักทายกันช่วงนี ้ พวกเราเห็นชาวบ้านถามสารทุกข์สุกดิบกัน บางกลุ่มหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน และเทศกาลนี้ยัง ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้กับนักท่องเที่ยวและชาวเกาะอีกด้วย ซึ่งพวกเราก็ร่วมพูดคุยถามถึงวิถีชีวิต ของคนบนเกาะ เก็บไว้เป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ ชาวบ้านก็เล่าให้เราฟังอย่างเป็นกันเอง สร้างความประทับใจให้กับพวก เรามาก จนกระทั่งเวลาประมาณ 7 – 8 โมงเช้า ทุกคนจะข้ามไปที่เกาะขามใหญ่โดยมีเรือโดยสารคอยบริการ และใน ระหว่างที่อยู่บนเรือก็จะร้องร�ำท�ำเพลงกัน ในช่วงนี้ถือว่าสนุกสนานมากๆ ถึงจะร้องได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่พวกเราก็สนุก เพราะได้ร่วมร้องร�ำไปกับชาวบ้านคนอื่นๆ ด้วย ต่อมาหลังจากที่พระสงฆ์ฉันเพลเสร็จ พวกเราและชาวบ้านก็จะมาร่วม กันรับประทานอาหาร ซึ่งก็มีมากมายจนเรากินไม่ไหวต้องขอยอมแพ้แม้ว่าอาหารจะอร่อยมากก็ตาม 75


อีกหนึ่งประเพณีที่เราอยากน�ำเสนอให้คุณ คือ “ประเพณีอุ้มสาวลงน�้ำ” ซึ่งเราทราบมาว่า เป็น ประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยจะจัดขึ้น ในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี ณ เกาะขามใหญ่ ถือ ได้ว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่เก่าแก่ มากๆ ทุกคนจะได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และได้เล่นน�ำ้ ด้วยกัน โดยผู้ชายจะเลือกสาวที่ชอบแล้ว ขออนุญาตอุ้มลงเล่นน�ำ้ ทะเล ช่วงนี้ถือเป็นสีสันของ เทศกาล มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างชาติมา ร่วมประเพณีอุ้มสาวลงน�้ำจ�ำนวนมาก เราสังเกตเห็นว่ากิจกรรมนี้เป็นที่ถูกใจของชาว ต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะต่างก็ยก กล้องขึ้นมาถ่ายภาพเก็บไปอวดเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศ ได้ดูกัน บางครอบครัว ลูกหลานก็จะอุ้มผู้สูงอายุลงน�้ำ เช่นกันในระหว่างที่อุ้มลงน�้ำก็จะอวยพรให้ลูกหลานมี ความสุขความเจริญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งพวก เราก็ไม่ขอพลาด ขออนุญาตอุ้มคุณยายท่านหนึ่งลงน�ำ้ และขอพรคุณยายกันเสียเลย ในเทศกาลนี้เราจะได้ยิน ทั้งเสียงคลื่น และเสียงหัวเราะปะปนกันไป สร้างความ ครึกครื้นและเสน่ห์ให้กับเทศกาลนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ว่าแล้วก็ต้องพูดถึงรายละเอียดเผื่อนักท่องเที่ยวที่ อยากจะไปสัมผัสบรรยากาศแสนสนุกเหมือนเราประเพณี นี้จัดในช่วงวันที่ 16 – 18 เมษายน ของทุกปี บริเวณ พระจุฑาธุชราชฐาน (พระราชวังเดิม) และเกาะขามใหญ่ ในช่วงดังกล่าวชาวเกาะสีชังทุกเพศทุกวัยและทุกอาชีพจาก ทั่วสารทิศ จะเดินทางกลับมาเกาะสีชังอย่างพร้อมเพรียง กัน ท�ำให้บรรยากาศที่เกาะสีชังเป็นไปด้วยความคึกคัก และมีชีวิตชีวาเป็นพิเศษ เราจึงเรียกวันนี้ว่า “วันรวมชาว เกาะ” นักท่องเที่ยวท่านใดที่อยากให้วันสงกรานต์ของ คุณแตกต่างและสนุกสนานกว่าใครๆ เกาะสีชังเป็นอีกหนึ่ง สถานที่ที่เราอยากให้คุณลองไปสร้างประสบการณ์แปลก ใหม่ที่นั้นดูสักครั้งค่ะ นอกจากนี้ยังมีเทศกาลและประเพณีอื่นๆ ที่น่า สนใจ ซึ่งแต่ละเทศกาลมีจุดเด่นและเสน่ห์ที่แตกต่างกัน คุณสามารถเลือกจะไปร่วมเทศกาลได้ตามความสนใจเลย ค่ะ


บทสัมภาษณ์ผู้นำ� ชุมชน

ทั้งที่อยู่ในชลบุรีแต่เกาะนี้นำ�้ ใสมาก ไม่ทราบว่ามีจุดด�ำ น�้ำตรงไหนไหมเอ่ย ? “จุดด�ำน�ำ้ ก็จะมีตรงหาดถ�้ำพังแต่เป็นการด�ำน�้ำดูปา การังน�้ำตื้นหรือไม่ก็ข้ามไปเกาะค้างคาว แต่ว่าเป็นของ เอกชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศบาล” แล้วอย่างนี้เรามีการอนุรักษ์ปะการังอย่างไรบ้าง ? “เราก็มีการท�ำปะการังเทียมเพื่อเป็นการฟื้นฟู ระบบ นิเวศน์ เมื่อเราได้งบประมาณมา ก็ไปท�ำปีละ 1 ครั้งแล้ว ก็จะมีการติดตามผลเป็นระยะๆ ”

คุณเนาว์ ณเนาว์ วงษ์มณีวรรณ

ถ้าคุณ อยากไปท่องเที่ยวเกาะ ที่มีทั้งความสวยงาม ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เงียบสงบ และที่ส�ำคัญใกล้ กรุงเทพ คงจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจากเกาะสีชัง วันนี้เจ้าของคอลัมน์สุดสวยทั้งสองคน ได้มีโอกาส สัมภาษณ์คุณเนาว์ วงษ์มณีวรรณ รองเทศมนตรีฝ่าย โยธาเกาะสีชัง ถึงความเป็นมาและข้อมูลของเกาะที่ใคร หลายๆคนสงสัย เราจะไปหาค�ำตอบมาให้ท่านผู้อ่านเดี๋ยว นี้เลยค่ะ ท�ำไมที่นี่ถึงเรียกชื่อว่า “สีชัง” ? “เพราะว่าตอนแรกที่มีการคนพบเกาะคนจีนเป็นคนมา พบ เรียกกันว่า ซั่น แต่เมื่อเวลามันผ่านไปก็เพี้ยนเป็นสี ชัง” คุณเนาว์ตอบ ด้านสาธารณสุข ของที่นี่มีปัญหาไหม ? “สาธารณสุขที่นี่มีโรงพยาบาลค่อนข้างเล็ก ท�ำให้ อุปกรณ์บางอย่างไม่เพียงพอ ถ้าเป็นหนักก็ต้องส่งเข้าฝั่ง อย่างเดียวแต่ทางเทศบาลจะมี เรือด่วนบริการ การเดิน ทางประมาณ 20 นาที แล้วก็ส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง. แล้วแต่คนไข้ว่าต้องการไปโรงพยาบาลไหน ถ้ามีฐานะ หน่อยก็ พญาไท สมิติเวช ถ้างบน้อยก็ โรงพยาบาล ชลบุรี ” คุณเนาว์ตอบอย่างมั่นใจ ท�ำให้เราหายสงสัยกับ ความเป็นอยู่ของคนที่นี่ เราเลยถามเรื่องของสภาพของ เกาะบ้าง 77

แล้วหลังจากมีการปล่อยปะการังลงไปแล้วมีผลอะไรดี ขึ้นไหม ? “ก็ดีขึ้นเยอะเลยนะ แต่ก่อนไม่มีปลาเก๋าเราก็มีการ ขยายพันธุ์มากขึ้นตอนนี้ชาวประมงก็เริ่มจับปลาเก๋า ได้แล้ว ปะการังก็มีเพิ่มมากขึ้น ผลก็เป็นที่น่าพอใจนะ” คุณเนาว์ตอบด้วยสีหน้ายิ้มๆ เต็มไปด้วยความภาค ภูมิใจ ถามถึงความเปลี่ยนแปลงกันบ้าง วิถีชีวิตของคนบนเกาะในอดีตกับปัจจุบันต่างกันไหมคะ ต่างกันอย่างไรบ้าง ? “แต่ก่อนก็จ�ำท�ำประมงเป็นส่วนใหญ่แต่ปัจจุบัน เนื่อง ด้วยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมท�ำให้หลายครอบครัว หันมาท�ำการท่องเที่ยว ท�ำรีสอร์ท เปิดร้านอาหารเป็น ส่วนใหญ่ การประมงก็น้อยลงเรื่อยๆ ตอนนี้เหลือประ มาน 20 เปอร์เซ็นต์ ”


สิ่งแรกเมื่อมาถึงสีชัง ? “เมื่อมาถึงเกาะสีชังแล้ว ต้องมาไหว้เจ้าพ่อเขาใหญ่ก่อนเพราะ ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของคนจีนที่ทำ� มาค้าขายและชาวสีชังเป็นอย่างมาก แล้วก็เข้าพระราชวัง เพราะ เกาะสีชังเป็นเกาะแห่งประวัติศาสตร์นะครับ” แล้วเริ่มเน้นการท่องเที่ยวมาประมาณกี่ปี ? “จริงๆการท่องเที่ยวบนเกาะมีมาประมาน 10 ปีแล้ว แต่เริ่ม มาดังๆ เลยก็น่าจะ 4-5 ปีหลังนิยมมากขึ้น นักท่องเที่ยวมา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะผมคิดว่าการมามันสะดวกกว่าแต่ก่อนนะ เรือมีออกทุก 1 ชั่วโมง แต่ก่อนนี่จะมาที เรือมีแค่ 2 รอบแต่ เดี๋ยวนี้มันสบายมากขึ้น แล้วเราก็สนับสนุนการท่องเที่ยวมาก ขึ้น เรามีนโยบาย..อย่าทิ้งแขก...ที่นี่อยู่กันเหมือนครอบครัว คนทั้งเกาะรู้จักกันเกือบหมด ผมว่าเกาะสีชังเป็นเกาะที่เหมาะ แก่การพักผ่อนอย่างเงียบๆ เป็นเกาะที่มีความปลอดภัยสูงมี คดีอาชญากรรมน้อยมาก ” ช่วงที่เหมาะกับการท่องเที่ยวที่เกาะสีชัง ? “ช่วงที่น่าท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวสนใจมาเยอะมาก คือเทศกาล วันสงกรานต์ เพราะที่นี่จะมีประเพณีอุ้มสาวลง น�้ำ ซึ่งนักท่องเที่ยวก็ชอบมาก เพราะที่นี่มีการรักษาความ ปลอดภัยเป็นอย่างดีไม่ให้มีการลวนลาม...ถ้าไม่ใช่คู่รักก็จะ เดินจูงมือกันลงน�้ำครับ..” การสัมภาษณ์ในวันนี้ท�ำให้เราและท่านผู้อ่านได้หายสงสัย กันไปหลายเรื่องใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นจะมัวรอช้าท�ำไมล่ะ วัน หยุดเสาร์อาทิตย์นี้ก็จูงมือกันไปเที่ยวพักผ่อน ที่ทะเลสวยๆ ท้องฟ้าใสๆของเกาะสีชังกันเถอะค่ะ

78


บทสัมภาษณ์ชาวบ้านภายในเกาะ

บทสัมภาษณ์ชาวบ้านภายในเกาะ

สัมภาษณ์คุณรอกียะห์ คนขายอาหารชาวอิสลาม ฝ่ายข่าว : เป็นคนที่นี่มาตั้งแต่ดั้งเดิมหรือเปล่า คุณรอกียะห์ : ไม่ได้อยู่ที่นี่มาตั้งแต่ดั้งเดิม เป็นคนชาว ปทุมธานี ย้ายถิ่นฐานมา ฝ่ายข่าว : วิถีชีวิตชาวเกาะเป็นอย่างไรบ้าง คุณรอกียะห์ : เดี๋ยวนี้คนที่ทำ�ประมงก็เปลี่ยนไปทำ� อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นส่วนมาก ทำ�พวกขับรถ รับจ้าง ขายของ ฝ่ายข่าว : แล้วเด็กๆที่นี่ไปเรียนกันที่ไหน คุณรอกียะห์ : ก็เรียนโรงเรียนในเกาะนี่แหละ มีพวกคน มีฐานะหน่อยเค้าก็ส่งลูกหลานไปเรียนบนฝั่ง เด็กที่นี่ก็ จะเรียนกันถึงมอหก แล้วก็ย้ายไปเรียนมหาลัยข้างนอก หลานป้าก็เรียนป,5 อยู่นี่ ฝ่ายข่าว : แล้วนักท่องเที่ยวเยอะมั้ย ขายดีมั้ย คุณรอกียะห์ : ก็มีพอสมควร วันธรรมดาก็น้อยหน่อย จะมีเยอะๆก็ต้องรอช่วงเสาร์อาทิตย์ แต่ก็มีนักท่องเที่ยว มาอยู่ตลอด ป้าก็ขายได้เรื่อยๆ พอกินพอใช้จ่ะ

79


บทสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว

บทสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว

ฝ่ายข่าว : ทำ�ไมถึงเลือกมาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยว : เคยมากับครอบครัวหลายครั้งแล้ว มันใกล้ ดี สะดวก ประหยัดแล้วก็สงบมาก คราวนี้ก็เลยพาเพื่อน มา ฝ่ายข่าว : คิดว่าจะมาอยู่สักกี่วันคะ นักท่องเที่ยว : ก็เสาร์-อาทิตย์ สองวันหนึ่งคืน ฝ่ายข่าว : ชอบที่ไหนที่สุดในเกาะสีชัง นักท่องเที่ยว : ชอบช่องเขาขาดครับเพราะเราชอบถ่ายรูป ไปรอถ่ายพระอาทิตย์ตก สวยจริง! ฝ่ายข่าว : นอกจากที่มารอดูพระอาทิตย์ตก ได้ทำ� กิจกรรมอื่นบ้างหรือป่าว นักท่องเที่ยว : ก็ไม่ได้ทำ�กิจกรรมอะไรเลย เพราะเน้นการ มาพักผ่อนมากกว่า อยู่แบบเงียบๆสบายๆดูธรรมชาติ ฝ่ายข่าว : แล้วท่านมีความเห็นอะไรที่เกี่ยวกับเกาะสีชังจะ ฝากเชิญชวนให้คนอื่นมาเที่ยวบ้างคะ นักท่องเที่ยว : ก็เป็นที่ท่องเที่ยวที่หนึ่งที่ใกล้ สะดวกและมี ทะเลสวย มีธรรมชาติที่หลากหลายและก็ยังได้ความรูเดี่ยว กับประวัตติศาสตร์ด้วยค่ะ

80


ที่พัก

หลายคนคิดว่าเกาะสีชังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการพักผ่อนในระยะเวลาสั้นๆ เดินชมทัศนียภาพของ เกาะ ซึ่งคนส่วนมากก็จะนิยมไปเช้าเย็นกลับ แต่ในความจริงแล้วเกาะสีชังยังซ่อนความงดงามยามรุ่งเช้าและพลบค�ำ่ ไว้อยู่ คือพระอาทิตย์ที่ตกและขึ้นจากน�ำ ้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการตกหมึก ตกปลา ซึ่งถือเป็นของขึ้นชื่อของ เกาะสีชัง ดังนั้นการค้างคืนที่เกาะอาจจะสร้าง ที่พักในเกาะมีให้เลือกหลากหลายสไตล์แล้วแต่ว่านักท่องเที่ยวจะชอบมา เป็นครอบครัว มากับเพื่อนหรือต้องการความสงบ คอลัมน์นี้จะน�ำเสนอที่พักไว้เป็นตัวช่วย ตัวเลือกให้กับนักเดิน ทางกัน บรรยากาศที่แปลกใหม่ให้กับท่านก็เป็นได้

ปารี ฮัทรีสอร์ท ถ้าจะไม่กล่าวถึงสถานที่นี้เป็นที่แรกก็จะกะไรอยู่ เพราะรีสอร์ทแห่งนี้ถือเป็นรีสอร์ทที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งบน เกาะ ตั้งอยู่บนเชิงหิน โดยจุดเด่นของที่นี่คือความเป็นธรรมชาติ บ้านทุกหลังท�ำจากไม้ทั้งสิ้น ท�ำให้กลมกลืนไปกับ ธรรมชาติ ภายในบ้านไม่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเหมือนกับที่อื่นๆ มีแต่พัดลมเท่านั้น เหมาะส�ำหรับคนที่ต้องการ อยู่แบบเรียบง่าย บ้านพักของที่นี่มีมากกว่าสิบหลัง โดยจะใช้ชื่อแต่ละหลังแทนชื่อปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาส�ำลี ปลา ริวกิว เป็นต้น โดยแต่ละหลังจะตั้งไล่ระดับกันเพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพซึ่งกันและกัน ทุกอย่างที่นี่ล้วนท�ำจากไม้ให้ ความรู้สึกว่าเราอยู่กับธรรมชาติจริงๆ ซึ่งทาวดกับความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพักมากดังนั้นใครที่ชอบความเป็นส่วนตัวที่นี่จึงเป็นสถานที่ที่ควรมา เยือนไม่น้อยนอกจากนี้เรายังสามารถชมพระอาทิตย์ตกน�ำ้ จากมุมนี้ได้ด้วยซึ่งจะสวยเป็นพิเศษเพราะจะไม่ถูกบดบัง ด้วยผู้คนที่จอแจและตึกรามบ้านช่อง 81


ด้วยลักษณะที่ตั้งของรีสอร์ทที่อยู่ติดกับเชิงหิน ท�ำให้การลง เล่นน�้ำค่อนข้างล�ำบาก แต่ทางรีสอร์ท ก็ท�ำบันไดให้นักท่องเที่ยวที่นิยม ปารี ฮัทรีสอร์ท ชมชอบกับความท้าทายได้ลงไปเล่น ซึ่งต้องบอกว่าน�้ำตรงบริเวณนั้น ตั้งอยู่ที่: 60 หมู่ 3 ต�ำบลท่าเทววงษ์ สวยและใสมากๆ คุ้มค่ากับการปืนลงไป อ.เกาะสีชัง ชลบุรี 20120 แต่ถ้าใครไม่ชอบความท้าทายทางรีสอร์ทยังมีสระว่ายน�ำ้ เค็ม เบอร์โทรศัพท์ :089-407-4414 ขนาดเล็ก เพื่อให้เราได้ลงเล่นอย่างสบายใจและไม่ต้องไปเสี่ยงกับคลื่น เว็บไซต์ :http://pareehut.com/ ของทะเลด้านล่างอีกด้วย แต่ถ้าใครชอบความท้าทายจริงๆ ยังมีหน้า activity.html หินผาให้กระโดดลงไปกระทบกับเสียงน�ำ้ ดังตูม แต่ก็ต้องใส่ชูชีพลงไป เพราะน�้ำที่จุดนี้จะค่อนข้างลึก กว่าจุดอื่นๆ ส�ำหรับนักถ่ายรูปทั้งหลาย ถ้าได้มาเยี่ยมเยือนที่เกาะสีชัง ถ้าอยากได้ภาพสวยๆ มุมสวยๆ ที่ปารี ฮัทรีสอร์ทมี หลายมุมให้นักถ่ายรูปทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพได้มาลองฝีมือกันอย่างเต็มอิ่ม

ชาลี บังกะโล ตั้งอยู่ที่: ต�ำบลท่าเทววงษ์ อ�ำเภอเกาะสีชัง ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์ :08-1761-6717,08-5191-3863 เว็บไซต์ :www.kohsichang.net

ชาลี บังกะโล ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี เป็นบังกะโลขนาดเล็ก แต่ตกแต่งให้ดูทันสมัย น่ารัก โดยเน้นโทนสีสันสวยสดใส เหมือนลูกกวาด ห้องนอนมีให้เลือกหลากหลายแบบ อยู่ ท่ามกลางสวนหย่อมให้ความรู้สึกสดชื่นสบายตา อีกทั้งยัง อยู่ใกล้แหล่งชุมชน สะดวกทั้งการเดินทางไปสะพานท่าเรือ-

82


ริมทะเลรีสอร์ท มีห้องหลายแบบให้เลือกพักมีทั้งหมดจ�ำนวน ห้อง/หลัง 25 ห้องราคา 500 - 1,500 บาท มีทั้งแบบ เป็นห้องพัก บ้านพักที่มีลักษณะเป็นเรือ ตั้งอยู่ติดกับ ชายหาด ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดในรีสอร์ท ในห้องจะ มีทีว ี ตู้เย็น น�ำ้ อุ่น แอร์ และเครื่องอ�ำนวยความสะดวก ตามความเหมาะสม ในบริเวณพื้นที่ของรีสอร์ทจะมีบริเวณกว้าง สามารถจัดกิจกรรมต่างๆได้อย่างสบาย ทางรีสอร์ทยังมีสะพานทอดยังไปยังในทะเล เพื่อให้เราได้ไปชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าหรือจะลงเล่นน�้ำนะ จุดนี้ก็ได้ แต่ในพื้นที่อื่นๆคงต้องระวังหน่อยเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นหินสลับกับทราย จะมีเพียงหาดถ�้ำพังที่เดียว เท่านั้นที่สามารถลงเล่นน�ำ้ ได้ นอกจากนี้ทางรีสอร์ทยังมีบริการให้เช่าเรือ เพื่อไปด�ำดูปะการังหรือตกหนึก รวมไปทั้ง ผู้ที่มาเป็นหมู่คณะ ทางรีสอร์ทยังมีบริการรถปิกอัพอีกด้วย

ริมทะเลรีสอร์ท ตั้งอยู่เลขที่: 130 หมู่ที่ 3 ต.ท่าเทวงษ์ อ.เกาะสีชังจ.ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์: 089-0916974, 089-4072075. เว็บไซต์: http://www.kohsichangrimtalay.com

เกาะสีชังรีสอร์ท

เกาะสีชังรีสอร์ท

ตั้งอยู่เลขที่: 231/1 หมู่ 6 วชิราวุธ ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์: 089-1256598 เว็บไซต์: http://www.kohsichangresort.com 83

ชื่อของรีสอร์ทก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าตั้งอยู่บนอาณา บริเวณของเกาะสีชังอย่างแน่นอน ที่นี่มีจ�ำนวนห้องพัก ทั้งหมด 20 ห้อง โดยในแต่ห้องพักที่เกาะสีชังรีสอร์ท จะตกแต่งสไตล์เรียบง่ายแบบไทยๆ โดยเฉพาะสีสันของ ผ้าปูที่นอนที่เป็นจุดเด่นของที่นี่ คือจะมีหลากสีสัน เช่น สีฟ้า สีแดง สีชมพู สีส้ม เป็นต้นโดยในแต่ละห้องก็จะมี สิ่งอ�ำนวยความสะดวกให้อย่างครบครัน และเพียงพอต่อ ความจ�ำเป็น นอกจากนี้ทุกห้องพักของรีสอร์ทยังสามารถเล่น อินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย บรรยากาศรอบๆรีสอร์ทเต็ม ไปด้วยสีสันแห่งธรรมชาติ ด้านหน้าของรีสอร์ทมีสนาม หญ้าขนาดใหญ่ไว้ให้นักพักผ่อนหย่อนใจ และในตอน เย็น เรายังสามารถดูพระอาทิตย์ตกจากทางด้านหน้าของ รีสอร์ทได้อีกด้วย


ถ�้ำพัง บีช รีสอร์ท

ถ�้ำพัง บีช รีสอร์ท เป็น รีสอร์ทแห่งเดียวที่มีชายหาดให้สามารถลงเล่นน�ำ้ ได้ ห้องพักมีหลากหลายแบบ หลาย ราคา ตั้งแต่ช่วงราคา 900 – 2500 บาท แต่ที่พิเศษคือคือที่นี่จะมีบริการให้เช่าเต้นท์ซึ่งราคารวมห้องน�้ำ คืน ละ 300 บาท ซึ่งการเลือกนอนแบบกางเต้นท์จะท�ำให้ท่านประหยัด และได้รับบรรยากาศที่แปลกใหม่ สามารถก่อกองไฟ ปิ้งย่างอาหารทะเลยหน้าเต้นท์ได้อย่างเก๋ๆและสิ่งที่พิเศษคือโดยในช่วงวันหยุด หรือวันส�ำคัญต่างๆ ทางรีสอร์ทก็จะ มีกิจกรรมที่สนับสนุนวันส�ำคัญเหล่านั้น เช่นกิจกรรมการแสดงร�ำไทย ที่จัดในช่วงวันสงกรานต์ หรือมีการจัดโชว์ ต่างๆ ในวันส�ำคัญๆ ซึ่งจัดเด่นของที่นี่อีกอย่างหนึ่งคือการได้ชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ซึ่งถือเป็น รีสอร์ทที่สามารถ เห็นวิวของเกาะได้สวยที่สุดแห่งหนึ่งของเกาะสีชัง

ถ�้ำพัง บีช รีสอร์ท ตั้งอยู่เลขที่:169 หมู่ 3 ต.ท่าเทววงษ์อ.เกาะสีชังจ.ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์:081-9490860, 038-216153 เว็บไซต์:http://www.tampangbeachresort.com

นอกจากที่พักที่เราแนะน�ำไปแล้ว ยังมีอีกหลากหลายสถานที่ให้ท่านได้เลือกเข้าพักซึ่งบรรยากาศในแต่ล่ะ สถานที่ก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่สิ่งที่ทุกๆที่มีเหมือนกันคือรีสอร์ทส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับริมทะเลซึ่งเราสามารถ ดื่มด�่ำกับบรรยากาศและความลึกลับของทะเลยามค�่ำคืน ราคาก็จะขึ้นอยู่กับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกหรือบริการต่างๆ ที่ผู้เข้าพักจะได้รับ

สถานที่พักอื่นๆ มาลี บลู เบอร์โทรศัพท์ 0816542211 เบนซ์ บังกะโล เบอร์โทรศัพท์ 038216091 สีชัง ชายเขา รีสอร์ท เบอร์โทรศัพท์ 036216216 84



































































บรรณาณุกรม � นางสาววันดี รักชาติ . "พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน" . พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุช ราชฐาน . ข้อมูลนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน . ไม่ระบุปีที่พิมพ์ ; 1 - 38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไม่ระบุปี) . ประวัติเกาะสีชัง (ออนไลน์) . วันที่สืบค้น 25 กันยายน 2555. เข้าถึงได้จาก http://phrachudadhuj.com/retrospe.htm ไม่ระบุผู้แต่ง (2555) .ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 20 กันยายน 2555 .เข้าถึงได้จาก http://www.sichangisland.com/chaowphokaowyai/ thailand-sichang-chaophokaowyai-history-01.php ไม่ระบุผู้แต่ง (2555) .ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 20 กันยายน 2555 เข้าถึงได้จาก http://touronthai.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5 %E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9 %88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0 %B8% okpuijoAB%E0%B8%8D%E0%B9%88-41002001.html 2555.พิพิธพัณฑ์จุฑาธุช (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 21 กันยายน 2555 .เข้าถึงได้จาก http://phrachudadhuj.com/inform.htm แรงบันดาลใจจาก นิตยสาร อ.ส.ท.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.