archmsu2019thesis_Sampan

Page 1









คณะกรรมการสอบวิ ท ยานิ พ นธ์ ได้ พิ จ ารณาวิ ท ยานิ พ นธ์ ข อง นายสั ม พั น ธ์ อิ น ทรสมบั ติ แล้ ว เห็ น สมควรรั บ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการศึ ก ษาตามหลั ก สู ต รปริ ญ ญาสถาปั ต ยกรรมศาสตรบั ณ ฑิ ต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะกรรมการรับรองวิทยานิพนธ์ ................................................................ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช เชาวรัตน์) ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ................................................................ (อาจารย์ ดร. นิลปัทม์ ศรีโสภาพ)

หัวหน้าสานักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

................................................................ (อาจารย์ดร.วรวรรณ เนตรพระ)

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

มหาวิ ท ยาลั ย อนุ มั ติ ใ ห้ รั บ วิ ท ยานิ พ นธ์ ฉ บั บ นี้ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการศึ ก ษาตามหลั ก สู ต ร ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อผูท้ ำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชา ปีการศึกษา

สนามกีฬาฟุตบอล นครราชสีมา สเตเดียม นายสัมพันธ์ อินทรสมบัติ อาจารย์ ดร.วรวรรณ เนตรพระ สถาปัตยกรรม 2562

บทคัดย่อ เนื่องจากสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เป็นสโมสรที่มีจำนวนแฟนบอลมากเป็นอันดับต้นๆของไทยลีก แต่ ในปัจจุบันทางสโมสรยังไม่มีสนามเป็นของตัวเอง สนามที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ซึ่งเป็นของ กกท. ทำให้การใช้งานสนามทำได้ไม่สะดวก เพราะต้องแบ่งการใช้งานกับ กกท. เวลาจะปรับปรุง สนามก็ทำได้ยาก สนามนครราชสีมา สเตเดียม มี วัตถุประสงค์เพื่อให้สโมสรได้มีสนามที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมี มาตรฐานสามารถจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ในอนาคต เป็นศูนย์รวมของแฟนบอลของสโมสร วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสเตเดียม การใช้งานสเตเดียมในกีฬาฟุตบอล มาตรฐานการออกแบบสนามฟุตบอลในระดับ ฟีฟ่าและเอเอฟซี และศึกษากลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลาย นำมา วิเคราะห์หาข้อมูลในการออกแบบด้านแนวคิด การเลือกที่ตั้งโครงการ พื้นที่ใช้สอย และโครงสร้าง เพื่อหาแนวทางในการ ออกแบบอาคารสเตเดียม ให้ได้ตามมาตรฐานของฟีฟ่าและเอเอฟซี รองรับกิจกรรมการใช้งานได้อย่างเหมาะสม 1.

2. 3.

4.

โครงการและผลการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคาร สนามกีฬา นครราชสีมา สเตเดียม มีข้อมูลโดยคร่าว ดังนี้ ลักษณะโครงการ เป็นอาคารประเภทชุมนุมคน (สเตเดียม) มีองค์ประกอบ คือ ส่วนการแข่งขัน ส่วนอัฒจันทร์ 25,000 ที่นั่ง ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน ส่วนสื่อมวลชน ส่วนอำนวยการแข่งและบริการ ส่วนสนับสนุนโครงการ ส่วนบริหาร ส่วนสนามซ้อมและศูนย์ฝึกเยาวชน โครงการมีพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 111,000 ตารางเมตร โครงการตั้งอยู่ติดกับถนน ราชสีมา – ปักธงชัย ตำบลหนองกระทุ่ม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 ที่ดินมีขนาดประมาณ 111 ไร่ แนวความคิดในการออกแบบ ใช้ตราสโมสรมาถอดฟอร์มเพื่อใช้เป็นเปลือกอาคารให้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ท่ี แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างแฟนบอลกับสโมสร และแสดงถึงความมีเลือดนักสู้ ใช้สีส้มซึ่งเป็นสีประจำสโมสร เป็นสี หลักของตัวอาคาร แนวคิดด้านการจัดวางผัง ใช้ตัวสเตเดียมเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดจุดนำสายตาไปสู่ตัวสเตเดียม อาคารมีรูปทรงโค้งกลม เปลือกอาคารตัดกันทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความสูง 4 ชั้น มีอัฒจันทร์ 2 ชั้น ทางเข้า ของสเตเดียมมีทั้งหมด 4 ด้านหลัก คือ อัฒจันทร์ทิศเหนือ, ทิศใต้, ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก แบ่งเป็นทางเข้า ย่อยด้านละ 4 ทาง ทำให้มีทางเข้าสเตเดียมทั้งหมด 16 ทาง วางทิศทางสเตเดียมตามแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้มีแดด แยงตาน้อยที่สุด การจัดวางโซนนิ่งจะวางตัวสเตเดียมอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าจะเป็นพลาซ่า ส่วนด้านข้างและด้านหลัง จะเป็นที่จอดรถ ส่วนที่จอดรถจะเป็นเส้นนำสายตาไปสู่สเตเดียม โครงสร้างหลังคาใช้โครงสร้างโครงถักสามมิติ

จากแนวคิดโครงการที่รูปทรงของสเตเดียมเป็นทรงโค้ง จึงเลือกใช้โครงสร้างโครงถักสามมิติ วัสดุที่ใช้เป็นเหล็ก เพื่อให้สามารถขึ้นรูปทรงโค้งได้ง่าย แข็งแรงและยื่นหลังคาได้ยาวขึ้น รูปแบบการสัญจรจะแบ่งตามประเภทของผู้ใช้งาน อย่างชัดเจน โดยการสัญจรของผู้ชมที่เป็นผู้ใช้งานหลักจะอยู่รอบสเตเดียมที่แบ่งเป็น 4 ทางหลัก และแบ่งย่อยลงไปเป็น 16 ช่องทางเพื่อง่ายต่อการเข้าถึง ให้สามารถระบายผู้คนได้ดี นอกจากนี้ยังได้ออกแบบที่คำนึงความยั่งยืน ทั้งเรื่องของการ ให้ลมธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคาร การเก็บน้ำฝนมาใช้รดน้ำสนาม การออกแบบที่กล่าวมาจะสามารถต่อยอดการออกแบบ อาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่และช่วงกว้างมากได้อีกด้วย


ข


กิตติกรรมประกาศ วิ ท ยานิ พ นธ์ ฉ บั บ นี้ สำ � เร็ จ ได้ ด้ ว ยความอนุ เ คราะห์ ข อง บุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่สามารถจะนำ�มากล่าวได้ทั้งหมด ซึ่งผู้มี พระคุณท่านแรกที่ข้าพเจ้าใคร่ขอกราบขอบพระคุณ คือ อาจารย์ ดร.วรวรรณ เนตรพระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ช่วยคอย ให้ความรู้ คำ�แนะนำ� ตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมบูรณ์ และสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่ช่วย เหลือด้านข้อมูล ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล ให้ความรู้และ คำ�แนะนำ�ด้านข้อมูลของสโมสร ทำ�ให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมบูรณ์ และสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณ คณะกรรมกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ห้อง 4 และอาจารย์ในสาขาสถาปัตยกรรมทุกท่านที่แนะนำ� แนวทางในเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้านการทำ�งานและการออกแบบ เพื่อ ให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ออกมาสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการ ทำ�งานและการศึกษา ทั้งยังคอยมอบประสบการณ์ใหม่ที่ดีตลอด หลักสูตรการศึกษา ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ในกลุ่มตรวจแบบและเพื่อน ๆ ใน สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และเพื่อนรุ่น 19 และน้อง ๆ ชั้นปีอื่น ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ช่วย เหลือในการจัดทำ�วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบพระคุณ คุณแม่ คุณพ่อ และ ทุก ๆ คนในครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จในครั้งนี้ ที่คอย ให้กำ�ลังใจในการทำ�งานและสนับสนุนด้านทุนการศึกษาตลอดมา นายสัมพันธ์ อินทรสมบัติ ผู้จัดทำ�วิทยานิพนธ์


สารบัญ บทคัดย่อ....................................................................................ก กิตติกรรมประกาศ.....................................................................ค สารบัญ.......................................................................................ง สารบัญตาราง............................................................................จ สารบัญแผนภูมิ..........................................................................จ สารบัญรูปภาพ..........................................................................ฉ PART I Data Analysis and Program Analysis................1 บทที่ 1 บทนำ�............................................................................3 1.1 ความเป็นมาของโครงการ....................................................3 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ....................................................4 1.3 วัตถุประสงค์การศึกษา........................................................4 1.4 ขอบเขตของโครงการ...........................................................5 1.5 ขอบเขตการศึกษา...............................................................5 1.6 ขั้นตอนและวิธีการศึกษา.....................................................7 1.7 ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา................................................8 1.8 ข้อจำ�กัดในการทำ�งาน.........................................................8 1.9 นิยามศัพท์...........................................................................8 บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง.................................................9 2.1 ความเป็นมาของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี.............9 2.2 ประวัติและพัฒนาการของสเตเดียม..................................11 2.3 ทฤษฎีการออกแบบสเตเดียม............................................13 2.4 ข้อกำ�หนดคลับไลเซนซิ่งของ AFC.....................................17 2.5 มาตรฐานของสถานที่จัดการแข่งขัน AFC (Stadium Regulations).........................................................18 2.6 มาตรฐานการออกแบบสนามกีฬาฟุตบอล FIFA................22 2.7 หลักสูตรการฝึกสอนฟุตบอลเยาวชน.................................29 2.8 อาคารกรณีศึกษา..............................................................31 บทที่ 3 การศึกษาความเป็นไปได้โครงการ............................39 3.1 ความเป็นไปได้ด้านนโยบายและแผน................................39 3.2 ความเป็นไปได้ด้านผู้ใช้งานโครงการ.................................40 3.3 ความเป็นไปได้ด้านงบประมาณ.........................................42 3.4 ความเป็นไปได้ด้านกฏหมาย.............................................43 3.5 ความเป็นไปได้ด้านโครงสร้าง............................................44 3.6 ความเป็นไปได้ด้านจินตภาพโครงการ...............................45 3.7 ความเป็นไปได้ด้านที่ตั้งโครงการ.......................................46

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบ........................47 4.1 การวิเคราห์พฤติกรรมผู้ใช้งานโครงการ.............................47 4.2 การคำ�นวณพื้นที่ใช้สอย.....................................................49 4.3 การวิเคราะห์โครงสร้าง......................................................53 บทที่ 5 การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ........................................55 5.1 เลือกที่ตั้งโครงการ.............................................................55 5.2 วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ.......................................................57 PART II Design......................................................................60 บทที่ 6 ผลการออกแบบ.........................................................61 6.1 Process Design...............................................................61 6.2 Design ( Schematic ) #1...............................................61 6.3 Design #2........................................................................63 6.4 Final Design....................................................................65 บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ...........................................85 7.1 สรุปผลการออกแบบโครงการ...........................................85 7.2 ปัญหาในการศึกษาข้อมูลและการออกแบบ......................85 7.3 ข้อเสนอแนะ......................................................................85 7.4 ภาพการนำ�เสนอผลงาน....................................................97 บรรณานุกรม ประวัติผู้ทำ�วิทยานิพนธ์


สารบัญตาราง

สารบัญแผนภูมิ

ตารางที่ 2.1 ตารางเวลาการเรียนและการฝึกซ้อมของนักเตะ เยาวชน....................................................................................30 ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงจำ�นวนผู้ชมของสโมสรที่ผ่านเกณฑ์ AFC ในปี 2019........................................................................40 ตาราง 3.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการระดับย่าน.................46 ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์โครงสร้าง.......................................54 ตารางที่ 5.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ..............................55

แผนภูมิ 1.1 แสดงสถิติผู้ชมในสนามของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เทียบกับสโมสรชั้นำ�............3 แผนภูมิที่ 3.1 การคาดการณ์จำ�นวนผู้ชมใน 5 ปีข้างหน้าของทีม นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี......................................................40 แผนภูมิที่ 4.1 สรุปขนาดพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด...........................54


สารบัญรูปภาพ

สารบัญรูปภาพ (ต่อ)

ภาพที่ 1.1 สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550.............................................................................3 ภาพที่ 1.2 แฟนบอลในเกมพบทีมบุรีรัมย์เมื่อปี 2557 สูงสุดเป็น สถิติสโมสรที่ 33,000 คน...........................................................3 ภาพที่ 1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นของสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550................................................................4 ภาพที่ 1.4 แฟนบอลทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี..................6 ภาพที่ 2.1 นักเตะและทีมงานของทีม Swat Cat.......................9 ภาพที่ 2.2 นักเตะและทีมงานของทีม Swat Cat....................10 ภาพที่ 2.3 โลโก้ทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี.......................10 ภาพที่ 2.4 สนามกีฬาในยุคแรก...............................................11 ภาพที่ 2.5 Flavian Amphitheatre (โคลอสเซียม)................11 ภาพที่ 2.6 สนามกีฬา Olympic Stadium (White City) สเต เดียมในยุคแรก.........................................................................11 ภาพที่ 2.7 สนามกีฬา Munich Olympiastadion สเตเดียมใน ยุคที่สอง...................................................................................11 ภาพที่ 2.8 สนามกีฬา SkyDome Toronto, Canada สเตเดียม ในยุคทสาม...............................................................................11 ภาพที่ 2.9 สนามกีฬา Sapporo Dome, Japan สเตเดียมในยุค ที่สี่............................................................................................12 ภาพที่ 2.10 สนามกีฬา Beijing National Stadium (Bird’s Nest) สเตเดียมในยุคที่ห้า........................................................12 ภาพที่ 2.11 การแบ่งเขตความปลอดภัยของสเตเดียม.............13 ภาพที่ 2.12 จุดตรวจก่อนการเข้าสเตเดียม..............................13 ภาพที่ 2.13 รูปแบบของอัฒจันทร์...........................................14 ภาพที่ 2.14 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ A.........................15 ภาพที่ 2.15 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ B.........................15 ภาพที่ 2.16 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ C.........................15 ภาพที่ 2.17 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ D.........................15 ภาพที่ 2.18 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม..................16 ภาพที่ 2.19 การระบายอากาศในสเตเดียม..............................16 ภาพที่ 2.20 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม..................16 ภาพที่ 2.21 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม..................16 ภาพที่ 2.22 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม..................16 ภาพที่ 2.23 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม..................16 ภาพที่ 2.24 Academy............................................................17 ภาพที่ 2.25 สนามฟุตบอล.......................................................17 ภาพที่ 2.26 ที่ตั้งที่เหมาะสมของสเตเดียม...............................18 ภาพที่ 2.27 รายละเอียดซุ้มม้านั่งสำ�รอง.................................18 ภาพที่ 2.28 Law of The Game............................................18

ภาพที่ 2.29 ผังความสัมพันธ์ของตำ�แหน่งห้องพัก นักกีฬากับสื่อ...........................................................................19 ภาพที่ 2.30 ผังแสดงความสัมพันธ์ของตำ�แหน่งสื่อมวลชน......20 ภาพที่ 2.31 ผังแสดงความสัมพันธ์ของส่วน VIP......................21 ภาพที่ 2.32 หนังสือระเบียบมาตรฐานสถานที่แข่งขัน AFC.....21 ภาพที่ 2.33 ทิศทางแดดของสเตเดียม.....................................22 ภาพที่ 2.34 ทิศทางแดดของสเตเดียม 1.................................22 ภาพที่ 2.35 ทิศทางแดดของสเตเดียม 2.................................22 ภาพที่ 2.36 การวางทิศทางสเตเดียม......................................22 ภาพที่ 2.37 พื้นที่เสริมรอบสนามแข่งขัน.................................23 ภาพที่ 2.38 รายละเอียดระยะต่างๆในสนาม...........................23 ภาพที่ 2.39 รายละเอียดของเสาประตู....................................24 ภาพที่ 2.40 รายละเอียดซุ้มม้านั่งสำ�รอง.................................24 ภาพที่ 2.41 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับ สนามแข่ง 1..............................................................................25 ภาพที่ 2.42 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับ สนามแข่ง 2..............................................................................25 ภาพที่ 2.43 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับ สนามแข่ง 3..............................................................................25 ภาพที่ 2.44 ระบบการระบายน้ำ�จากสนาม.............................26 ภาพที่ 2.45 ระบบสำ�รองไฟ 1.................................................26 ภาพที่ 2.46 ระบบสำ�รองไฟ 2.................................................26 ภาพที่ 2.47 ที่นั่งของผู้ชมทั่วไป...............................................27 ภาพที่ 2.48 ที่นั่งของผู้พิการ....................................................27 ภาพที่ 2.49 ระยะที่นั่งของผู้ชมกับสนาม.................................27 ภาพที่ 2.50 ระยะที่นั่งของผู้ชม VIP........................................28 ภาพที่ 2.51 ที่นั่งของสื่อมวลชน..............................................28 ภาพที่ 2.52 ระยะที่นั่งและการจัดที่นั่งของสื่อมวลชน.............28 ภาพที่ 2.53 ขนาดสนามที่ใช้ฝึกซ้อมของนักกีฬา เยาวชนรุ่นต่างๆ.......................................................................29 ภาพที่ 3.1 โลโกมาสด้า............................................................39 ภาพที่ 3.2 รายรับและรายจ่ายของโครงการ............................42 ภาพที่ 3.3 กฎหมายระยะย่นของอาคาร..................................43 ภาพที่ 3.4 ระยะของโครงสร้างพาดช่วงกว้าง..........................44 ภาพที่ 3.5 การวางผังของสนาม...............................................45 ภาพที่ 3.6 ทางเข้าสเตเดียม.....................................................45 ภาพที่ 3.7 สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง ( สนามรังนก ).........45 ภาพที่ 3.8 สนามแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022.........................45 ภาพที่ 3.9 การเข้า-ออกโดยใช้เครื่องตรวจ..............................45 ภาพที่ 3.10 ตำ�แหน่งที่ตั้งจังหวัดนครราชสีมา.........................46


สารบัญรูปภาพ (ต่อ)

สารบัญรูปภาพ (ต่อ)

ภาพที่ 3.11 ที่ตั้งโครงการระดับย่าน.......................................46 ภาพที่ 4.1 สนามแข่งขันฟุตบอล..............................................49 ภาพที่ 4.2 ขนาดของรถต่าง ๆ.................................................49 ภาพที่ 4.3 ห้องน้ำ�และส่วนร้านขายอาหาร..............................50 ภาพที่ 4.4 ขนาดที่นั่งผู้พิการ...................................................50 ภาพที่ 4.5 พื้นที่ของนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่.........................51 ภาพที่ 4.6 ขนาดห้องสำ�นักงานและส่วนบริการ......................51 ภาพที่ 4.7 ขนาดพื้นที่ใช้งานของสื่อมวลชน............................52 ภาพที่ 4.8 ขนาดพื้นที่ใช้งานของส่วนสนับสนุน.......................52 ภาพที่ 4.9 สนามแข่งขันฟุตบอล..............................................53 ภาพที่ 4.10 ขนาดพื้นที่ส่วนบริการ.........................................53 ภาพที่ 5.1 ที่ตั้งโครงการ..........................................................55 ภาพที่ 5.2 ที่ตั้งโครงการ A......................................................56 ภาพที่ 5.3 ที่ตั้งโครงการ B......................................................56 ภาพที่ 5.4 ที่ตั้งโครงการ C......................................................56 ภาพที่ 5.5 มุมมองรอบที่ตั้งโครงการ A, B, และ C..................56 ภาพที่ 6.1 Site Plan...............................................................66 ภาพที่ 6.2 ผังพื้นชั้น 1.............................................................67 ภาพที่ 6.3 ผังพื้นชั้น 2.............................................................68 ภาพที่ 6.4 ผังพื้นชั้น 3.............................................................69 ภาพที่ 6.5 ผังพื้นชั้น 4.............................................................70 ภาพที่ 6.6 ผังที่นั่ง....................................................................71 ภาพที่ 6.7 ผังหลังคา................................................................72 ภาพที่ 6.8 Section A & Section B.......................................74 ภาพที่ 6.9 Section Perspective...........................................75 ภาพที่ 6.10 Section C...........................................................77 ภาพที่ 6.11 Detail of Structure...........................................79 ภาพที่ 6.12 Detail A..............................................................80 ภาพที่ 6.13 Detail B..............................................................80 ภาพที่ 6.14 Detail C..............................................................80 ภาพที่ 6.15 Elevation A, B, C & D......................................81 ภาพที่ 6.16 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมด้านหน้า 1.............83 ภาพที่ 6.17 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมด้านหน้า 2.............83 ภาพที่ 6.18 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่ง ทิศตะวันออก............................................................................84 ภาพที่ 6.19 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันตก (อัฒจันทร์ประธาน)..................................................................84 ภาพที่ 6.20 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่ง ทิศตะวันออก ชั้น 2..................................................................85 ภาพที่ 6.21 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ.85

ภาพที่ 6.22 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่ง ทิศตะวันตก 2..........................................................................86 ภาพที่ 6.23 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่ง ทิศตะวันตก 3..........................................................................86 ภาพที่ 6.24 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม..................................87 ภาพที่ 6.25 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ประธาน.....87 ภาพที่ 6.26 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้.....88 ภาพที่ 6.27 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ 2..88 ภาพที่ 6.28 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมชั้น 3..........................89 ภาพที่ 6.29 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมทางเดินชั้น 2.............89 ภาพที่ 6.30 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมบันไดทางขึ้น ชั้น 4....90 ภาพที่ 6.31 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมชั้น 1..........................90 ภาพที่ 6.32 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม ห้องแต่งตัวนักกีฬา...91 ภาพที่ 6.33 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม ห้องแถลงข่าว...........91 ภาพที่ 6.34 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมบริเซณที่จอดรถ.....92 ภาพที่ 6.35 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมทางเข้าด้านทิศใต้...92 ภาพที่ 6.36 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียม พลาซ่า ด้านหน้าสเตเดียม....................................................................93 ภาพที่ 7.1 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมทางด้านทิศเหนือ......95 ภาพที่ 7.2 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 1....................................97 ภาพที่ 7.3 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 1....................................97 ภาพที่ 7.4 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 1....................................97 ภาพที่ 7.5 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 2....................................98 ภาพที่ 7.6 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 2....................................98


1

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

2

PART I

Data Analysis and Program Analysis


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

3

บทที่ 1 บทนำ� (Introduction) 1.1 ความเป็นมาของโครงการ สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เป็นทีมขนาดกลาง ปัจจุบันเล่นอยู่ในศึกไทยลีก สโมสรมีจำ�นวนแฟนบอลมากขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นผลจากการที่สโมสรทำ� ผลงานได้ดีจนคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 และได้ขึ้นชั้นมาเล่นไทยลีกในปี พ.ศ.2555 ทำ�ให้มีแฟนบอลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ การแข่งขันฟุตบอลไทย ลีกมีผู้ชมในสนามลดลง ( จากแผนภูมิที่ 1.1 ) ซึ่งรวมถึงสโมสร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซีด้วย ซึ่งสาเหตุหลักๆเกิดจากมีการ ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลในหลากหลายช่องทาง ทั้งทาง โทรทัศน์ ทางอินเตอร์เน็ต ทำ�ให้คนไม่เดินทางมาชมเกมที่สนาม และการจัดกิจกรรมสนับสนุนในวันที่มีการแข่งขันมีน้อย ทำ�ให้ ไม่มีสิ่งดึงดูดแฟนบอลและปัจจัยที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่อง สนามแข่งขันของสโมสรที่ปัจจุบันทางสโมสรได้เช่าสนามกีฬา เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 จากการกีฬาแห่ง ประเทศไทย (กกท.) เป็นสนามเหย้า ซึ่งสนามยังไม่ผ่านมาตรฐาน เอเอฟซี (โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีสโมสรที่ผ่านมาตรฐาน สนามแข่ง AFC Club Licensing ทั้งหมด 9 สโมสร) การปรับปรุง สนามก็ทำ�ได้ลำ�บากเพราะต้องทำ�เรื่องขอปรับปรุงสนามจาก เจ้าของก็คือ กกท. ทางสโมสรจึ ง มี โ ครงการใหญ่ ที่ จ ะสร้ า งสนามของตั ว เอง ซึ่งเบื้องต้นตั้งงบประมาณไว้ 200 ล้านบาทโดยสร้างสเตเดียมขนาดความจุ 8,000-12,000 ที่นั่ง เพื่อให้สนามแห่งนี้มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างอารมณ์ให้แฟนบอลเมื่อเข้ามาชมเกม การแข่งขันในสนาม และจะเป็นความภูมิใจของชาวโคราชและ แฟนบอลทุกคนที่จะมีส่วนเป็นเจ้าของสนามแห่งนี้

76,093

2019 59,746

2018

2017

112,084

จากแผนภูมิที่ 1.1 แสดงให้เห็นว่า จำ�นวนแฟนบอลที่เข้า ชมเกมในสนามของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เป็นรอง เพียงสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดเท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้ เห็นว่าถึงสโมสรจะเป็นทีมระดับกลางแต่ก็มีแฟนบอลเยอะเป็น อันดับต้นๆ ของประเทศ

Suphanburi FC

193,576

SCG Muangthong United FC

129,316 140,929

Buriram United 248,760

163,768 147,069

2015 0

50,000

100,000

Nakhonratchasrima Mazda FC

236,137 143,693 156,434 173,041

2016

ภาพที่ 1.2 แฟนบอลในเกมพบทีมบุรีรัมย์เมื่อปี 2557 สูงสุดเป็นสถิติสโมสรที่ 33,000 คน ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=109&v=jpDg__z4o7c&feature=emb_title

139,919 161,836

98,540 97,911

95,421

ภาพที่ 1.1 สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ที่มา : http://cuboree2019.nma6.go.th/129 (2562)

150,000

287,307 200,000

250,000

300,000

332,412 350,000

แผนภูมิ 1.1 แสดงสถิติผู้ชมในสนามของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เทียบกับสโมสรชั้นนำ�


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ปั ญ หาการไม่ มี ร้ า น ขายของที่ ร ะลึ ก และร้ า น ค้ า ที่ เ ป็ น แบบถาวรทำ � ให้ ไ ม่ สามารถดึงดูดแฟนบอลให้เข้า มาชมการแข่ ง ขั น หรื อ มาซื้ อ ของ และชมสเตเดียม

4

ปัญหาความสะอาด และการดูแลอาคารสเตเดียม จาก ภาพจะเห็นว่าไม่มีการทำ�ความสะอาดที่นั่งให้กับผู้ชมเลย ซึ่งมี สาเหตุมาจากการที่สโมสรได้เช่าสนามกีฬามาจาก กกท. ทำ�ให้ การดูแลหรือปรับปรุงจะทำ�ได้ไม่เต็มที่ เพราะบางอย่างก็ต้องขอ อนุญาติจากเจ้าของก่อนจึงจะสามารถทำ�ได้ และเรื่องการเสียค่า ใช้จ่ายในการดูแลด้วย

ปั ญ ห า แ ฟ น บ อ ล ลดลง เนื่องมาจากไม่มีการจัด กิจกรรมสนับสนุน หรือดึงดูด ให้แฟนบอลเข้ามาได้มากพอ

ภาพที่ 1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นของสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ที่มา : https://www.youtube.com/watch?time_continue=109&v=jpDg__z4o7c&feature=emb_title

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เ พื่ อ พั ฒ น า รู ป แ บ บ ข อ ง ส น า ม ฟุ ต บ อ ล ส โ ม ส ร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ให้ได้ตามมาตรฐานในระดับ ข้อกําหนดของ AFC (Club Licensing) เพื่อรองรับการ แข่งขันระดับนานาชาติในอนาคต 2. เป็ น สถานที ่ ท ี ่ ม ี ศ ู น ย์ ฝ ึ ก ฟุ ต บอลเยาวชน (Football Academy) ส่ ง เสริ ม ทั ก ษะฟุ ต บอลแก่ เ ยาวชนไป เป็ น นั ก เตะอาชี พ 3. เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนโดยรอบโครงการมี ส ถานที่ ที่ ส่ ง เสริ ม การ เล่นกีฬาและออกกำ�ลังกาย รวมถึงสามารถเข้ามาใช้ งานได้ในวันที่ไม่มีการแข่งขัน 4. เพื่ อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ สํ า คั ญ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ของเมื อ ง นครราชสีมา

1.3 วัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อศึกษาข้อกําหนดของ AFC (Club Licensing) และ มาตรฐานต่ า งๆเกี่ ย วกั บ การออกแบบสนามฟุ ต บอลของ FIFA 2. เพื่อศึกษาการออกแบบโครงสร้างช่วงกว้าง (Wide Span Structure) สำ�หรับอาคารประเภทสเตเดียม, สนามฟุตบอล 3. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการออกแบบสนามฟุตบอลในปัจจุบัน 4. เพื่อศึกษาและทำ�ความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มแฟนบอล ที่เข้ามาชมเกมการแข่งขัน ให้สามารถจัดการวางแผนการ ออกแบบให้ตอบสนองต่อแฟนบอลที่เข้ามาใช้งานให้เกิด ความปลอดภัยต่อการเข้าชม 5. ศึกษาการออกแบบพื้นที่สำ�หรับการรองรับและการถ่ายเท คนจำ�นวนมาก


5

1.4 ขอบเขตของโครงการ โครงการสนามฟุตบอลสโมสร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 4 ส่วนดังนี้ 1. ส่วนสเตเดียมหลัก เป็นส่วนที่ใช้ในการแข่งขันของสโมสร สําหรับผู้ชมการแข่งขัน 25,000 ที่นั่ง เป็นที่นั่ง 2 ระดับ และห้อง VIP มีส่วนพื้นที่บริการของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ การแข่งขัน มีส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ ส่วนของพิพิธภัณฑ์ สโมสรและร้านของที่ระลึก เพื่อให้แฟนบอลเข้าชมการจัด แสดงผลงานและซื้อของที่ระลึก เสื้อ และของอื่นๆ จาก ทางสโมสร 2. ส่วนสเตเดียมรอง เป็นส่วนสําหรับฝึกซ้อมของทีมสโมสร นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และเป็นพื้นที่ฝึกซ้อมของ Football Academy ส่วนพื้นที่รอบสนามฟุตบอล ยัง สามารถให้ บุ ค คลโดยรอบเข้ า มาใช้ พื้ น ที่ ใ นการวิ่ ง รอบ สนามได้ 3. ส่ ว นพื้ น ที่ เชิ ง พาณิ ช ย์ เ ป็ น พื้ น ที่ เ พื่ อ เสริ ม รายได้ ใ ห้​้ กั บ สโมสร โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณด้านหน้าสนามแข่งขัน ประกอบด้วยร้านค้า, ฟิตเนส, ร้านอาหาร โดยร้านต่างๆ จะเปิดทุกวัน เพื่อให้แฟนบอลและผู้ที่สนใจ เข้ามาใช้งาน พื้นที่ของโครงการได้ตลอดเวลา 4. ส่วนบริหารสโมสร เป็นส่วนที่ใช้สาหรับการทำ�งานของ บุคลากรทั้งหมดภายในสโมสร 1.5 ขอบเขตการศึกษา 1. ศึกษาขนาดของสนามกีฬาฟุตบอลตามมาตรฐาน รวมทั้ง ขนาดของสนามซ้อมมาตรฐาน 2. ศึกษาโครงสร้างพาดช่วงกว้าง สำ�หรับสนามฟุตบอล 3. ศึกษาการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอล เช่น พื้นที่สำ�หรับนักกีฬา พื้นที่สำ�หรับเจ้าหน้าที่ พนักงาน พื้นที่สำ�หรับนักข่าว เป็นต้น 4. ศึกษาการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำ�หรับให้บุคคลทั่วไป ในบริเวณรอบพื้นที่โครงการได้เข้ามาใช้งาน

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

6

ภาพที่ 1.4 แฟนบอลทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่มา : https://www.autoinfo.co.th/online/134244/ (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

7

1.6 ขั้นตอนและวิธีการศึกษา 1

2

3

4

เหตุผลที่เลือกโครงการ

ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

การวิเคราะห์ข้อมูลและกระบวนการ ออกแบบ

พัฒนาการออกแบบ

สถานการณ์ในปัจจุบันของโครงการ

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - สโมสรนครราชสีมา - สมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย - บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก

ข้อมูลจากเอกสาร - มาตรฐานการออกแบบสเตเดียม - การออกแบบโครงสร้างช่วงกว้าง ข้อมูลจากอาคารตัวอย่าง - อาคารในประเทศ - อาคารต่างประเทศ ข้อมูลจากการสำารวจ - ปัญหา, สภาพแวดล้อม - สถานที่ตั้งโครงการ

ด้านนโยบาย - นโยบายของสโมสรนครราชสีมา - นโยบายของสมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย

- โครงการเสนอแนะ - เอกชน

ด้านกฏหมาย - พรบ.ควบคุมอาคาร - กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง - ผังการใช้ที่ดิน

- ข้อจำากัดทางกฎหมาย - มาตรฐานของสนาม

ด้านผู้ใช้สอยโครงการ - สถิติผู้เข้าชม - แฟนบอล - เจ้าหน้าที่ภายในองค์กร

- การคาดการณ์จำานวนที่จะ เพิ่มขึ้นในอนาคต - พื้นที่ใช้สอย - วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ

สร้างแนวคิด(Concept) - ความสัมพันธ์กับบริบทพื้นที่ - การออกแบบอาคาร

การสร้างทางเลือก

ออกแบบ

พัฒนาแบบ

ด้านแนวคิดและจินตภาพ - สนามที่ไม่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม(Sustainable)

- ลักษณะรูปทรงของอาคาร - เทคโนโลยีที่ช่วยให้อาคารเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้านงบประมาณและความคุ้มค่า - รายรับและรายจ่ายของโครงการ

- เปรียบเทียบรายรับ รายจ่าย

แบบสถาปัตยกรรม Model เอกสารข้อมูล

นำาเสนอ


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

1.7 ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา 1. เข้าใจเกี่ยวกับข้อกําหนด กฎเกณฑ์ และมาตรฐานต่างๆของ การสร้างสนามกีฬาฟุตบอล 2. ได้ศึกษาและเข้าใจการทํางานของพื้นที่ส่วนต่างๆ ของสนาม กีฬา 3. ได้ เ รี ย นรู้ ลั ก ษณะการออกกํ า ลั ง กายและการใช้ พื้ น ที่ สาธารณะของผู้ใช้โครงการในปัจจุบัน 4. ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้สนามของแฟนบอล เพื่อนำ�มา ประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เช่น เส้นทางในการเข้า-ออก รวมไปถึงพื้นที่เข้าชมการแข่งขัน การแบ่งประเภทแฟนบอล ทั้งทีมเหย้า และทีมเยือน เป็นต้น 5. ได้เรียนรู้การนําวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1.8 ข้อจำ�กัดในการทำ�งาน 1. ข้อมูลด้านงบประมาณการทำ�ทีมของสโมสรไม่สามารถหา ได้ เพราะเป็นความลับของทางสโมสร การแก้ปัญหาจะต้อง ทำ�การเปรียบเทียบข้อมูลจากสโมสรที่เคยมีการสร้างสเต เดียมแล้ว เพื่อนำ�มาวิเคราะห์เปรียบเทียบงบประมาณที่จะ ใช้ในการสร้าง 2. ข้อมูลสภาพปัญหาของสเตเดียมเดิมยังไม่เพียงพอ ต้องมี การลงพื้นที่สำ�รวจสเตเดียมและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หรือ แฟนบอลของสโมสรเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่ม 3. ข้อมูลด้านสถิติความเป็นไปได้ของแฟนบอลที่จะเข้าชมใน อนาคตยังไม่มีการจัดทำ� ต้องใช้โปรแกรมช่วยคำ�นวณความ เป็นไปได้ในอนาคต

8

1.9 นิยามศัพท์ • Club Licensing คือ ใบอนุญาตหรือเอกสารยืนยันการเป็น สโมสรฟุตบอลอาชีพที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ ที่สมา พันธ์ฟุตบอลในทวีปนั้นๆ เป็นผู้กำ�กับดูแลชาติสมาชิกของ ตัวเอง สำ�หรับประเทศไทย ก็คือ AFC • AFC (Asian Football Confederation) คือ สมาพันธ์ ฟุตบอลแห่งเอเชีย เป็นองค์กรที่ควบคุมการแข่งขันฟุตบอล ในทวีปเอเชีย จัดการเกี่ยวกับทีมฟุตบอล เงินรางวัล กฎ ระเบียบ รวมถึงลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดฟุตบอล • Football Academy คือ สถาบันในการอบรมทักษะและ พัฒนาการเล่นฟุตบอลให้แก่เยาวชน • FIFA (Fédération Internationale de Football Association) คือ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ เป็น องค์กรที่ดำ�เนินการในกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ และ เป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน • การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) คือ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีหน้าที่ ในการส่งเสริมการกีฬา และควบคุมการดำ�เนินกิจการกีฬา ในประเทศไทย • ไทยลีก 1 หรือ ที 1 (T1) คือ การแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีก อาชีพรายการ • ไทยลีก 2 หรือ ที 2 (T2) คือ การแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีก อาชีพรายการ • IFAB (International Football Association Board) คือ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ เป็น หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำ�หนดกติกาการแข่งขันฟุตบอล • ทีมเยือน (Away Team) คือ ทีมที่เดินทางไปแข่งขันที่ สถานที่จัดการแข่งขันของทีมอื่น • ทีมเหย้า (Home Team) คือ ทีมที่จัดการแข่งขันในสถาน ที่จัดการแข่งขันของตนเอง • สวาทแคท คือ ฉายาของสโสมรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มีที่มามาจากแมวสีสวาทที่เป็นสัตว์ประจำ�จังหวัดของโคราช


9

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) 2.1 ความเป็นมาของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้ร่วมแข่งขันในรายการไทยแลนด์ โปรวินเชียลลีก ลีก อาชีพของไทยในนามทีมจังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ.2546 ได้ มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “นครราชสีมา สตริงเรย์” มีโลโก้ของทีมเป็น รูปรถถัง เพราะในสมัยก่อนกองทัพภาคที่ 2 มีรถถังคอมมานโด สติงเรย์ เข้าประจำ�การ จำ�นวนมาก ซึ่งทีมงานที่ส่งทีมเข้าร่วม การแข่งขันฟุตบอลในยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นทหารอยู่ในกองทัพ ในปี พ.ศ.2554 นครราชสีมาเอฟซี ได้จบฤดูกาลด้วย อันดับที่ 3 ของตาราง (ซึ่งรอบนี้จะเอาแชมป์และรองแชมป์ของ แต่ละโซน จำ�นวน 5 โซน บวกอันดับ 3 ที่ดีที่สุดที่มีคะแนนมาก ที่สุดอีก 2 ทีมรวมเป็น 12 ทีมเข้าไปเล่นในรอบแชมป์เปี้ยนลีก) นครราชสีมา เอฟซี ได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบแชมป์เปี้ยน ลีกในฐานะทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นทีมสุดท้ายที่ได้ เข้ารอบ (โดยรอบแชมป์เปี้ยนลีก ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ A และ B คัดเอา แชมป์และรองแชมป์ของแต่ละสาย ขึ้นไปเล่นดิวิชั่น 1 และนำ� เอาแชมป์แต่ละสายมาชิงชนะเลิศ และรองแชมป์แต่ละสายมาชิง อันดับที่ 3 แต่ท้ายที่สุด นครราชสีมา เอฟซี ก็สามารถที่จะทำ�ผล งานได้อย่างสวยงาม คว้าอันดับที่ 2 พร้อมได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไป เล่นในดิวิชั่น 1(T2) ในปีถัดไป ตลอดระยะเวลา 3 ปี ใ นการแข่ ง ขั น ฟุ ต บอลดิ ว ิ ช ั ่ น 1(T2) สวาทแคท ได้ ท ำ � ผลงานได้ ด ี อ ย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง จนได้ รั บ ความสนใจ จากผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ิ น ค้ า ที ่ ม ี ช ื ่ อ เสี ย งต่ า งๆ มากมาย ที ่ เข้ า มาให้ ก ารสนั บ สนุ น

รวมถึ ง การสนั บ สนุ น จาก บริ ษ ั ท มาสด้ า เซลล์ (ประเทศไทย) จำ � กั ด ผู ้ ผ ลิ ต และจำ � หน่ า ยรถยนต์ “มา สด้ า ” และเปลี ่ ย นชื ่ อ ที ม เป็ น “สโมสร นครราชสี ม า มาสด้ า เอฟซี ” ในปี 2556 พร้ อ มที ่ จ ะร่ ว มผลั ก ดั น และ นำ � พาที ม สวาทแคท มุ ่ ง สู ่ ช ั ย ชนะและความสำ � เร็ จ ให้ ไ ด้ ในปี 2557 กับความมุ่งมั่นของทีมที่มีเป้าหมายที่ ยิ่งใหญ่ ก็ทำ�ให้สวาทแคทประสบความสำ�เร็จในการแข่งขัน ฟุตบอลดิวิชั่น 1(T2) ด้วยการคว้าแชมป์ยามาฮ่า ลีกวัน พร้อมได้สิทธิ์ในการเลื่อนชั้นมาเล่นฟุตบอลไทยลีก (T1) ลีก สูงสุดของประเทศไทยได้เป็นผลสำ�เร็จ ในปี 2558 แม้ทีมจะเพิ่งเลื่อนชั้นมาเล่นฟุตบอลไทย ลี ก ได้ เ ป็ น ครั้ ง แรกแต่ ก็ ส ามารถทำ � ผลงานได้ อ ย่ า งเป็ น ที่ น่ า พอใจ และทำ�คะแนนอยู่ในอันดับที่ 8 ของตารางคะแนน ฟุตบอลไทยลีก(T1) สร้างความภาคภูมิใจให้กับแฟนบอล สวาทแคททั่วประเทศ จากการที่สโมสรได้เข้าแข่งขันในศึกไทยลีก ซึ่งเป็น ลีกระดับสูงสุดของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ทำ�ให้ทีมมี การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากผู้ สนับสนุน แฟนบอลที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี สโมสรยกระดับจาก ทีมน้องใหม่ที่พึ่งขึ้นชั้นมาเป็นทีมในระดับกลาง และทำ�ผล งานได้ อ ย่ า งสม่ำ � เสมอจนยั ง ได้ เ ล่ น อยู่ ใ นการแข่ ง ขั น ไทยลี ก จนถึงปัจจุบัน

ภาพที่ 2.1 นักเตะและทีมงานของทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่มา : https://www.tnews.co.th/region/411701/&ldquo (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ข้อมูลทั่วไปของทีม • ผู้เล่นชุดปัจจุบัน (32 คน) 1 ไทย GK ชัยณรงค์ บุญเกิด 2 ไทย DF นพพล เกิดแก้ว 3 ไทย DF วราดร อุ่นอาจ 4 ไทย DF เฉลิมพงษ์ เกิดแก้ว (กัปตันทีม) 5 ไทย DF เอกณัฏฐ์ คงเกตุ 7 บราซิล FW ลีอังดรู อัสซัมเซา 8 ไทย MF เมธี ทวีกุลกาญจน์ (รองกัปตันทีม) 10 ไทย FW ชิตชนก ไชยเสนสุรินธร 11 โกตดิวัวร์ FW อ็องรี ดูมบีอา 13 ไทย MF อรรถพงศ์ หนูพรหม 14 ไทย MF วีรวัฒน์ จิรภัคสิริ 15 เกาหลีใต้ DF อี ว็อน-แจ 16 ไทย DF ราชัน ประสิทธิ์ทอง 17 ไทย MF นฤพล อารมณ์สวะ 18 ไทย GK พัชรพงษ์ ประทุมมา 19 ไทย DF พิชิต เกสโร 20 ฟิลิปปินส์ FW มาร์ค ฮาร์ตแมนน์ 21 ไทย MF นฤพน พุฒซ้อน 22 ไทย MF ชนัตพล สิกขะมณฑล 23 ไทย GK ประภาส กอบแก้ว 24 ไทย MF กิตติกร ปังขุนทด 25 ไทย DF เดชา สร้างดี (รองกัปตันทีมที่ 2) 27 ไทย MF ยายาร์ คูนาธ 28 ไทย MF นนทวัฒน์ กลิ่นจำ�ปาศร 29 ไทย FW วีระพงศ์ ครยก 30 ไทย FW จักรกฤษ นิยมสุข 32 ไทย DF ประลอง สาวันดี 33 ไทย MF กฤษฎา เหมวิพัฒน์ 34 ไทย DF กันตภณ สมพิทยานุรักษ์ 37 ไทย DF ณัฐพงษ์ สายริยา 81 โกตดิวัวร์ FW อามาดู วาตารา 89 ไทย GK แซมมวล ป.คันนิ่งแฮม

10

ภาพที่ 2.2 นักเตะและทีมงานของทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่มา : https://www.tnews.co.th/region/411701/&ldquo (2562)

• ผู้บริหาร ประธานกิตติมศักดิ์สโมสร ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประธานสโมสร รองประธานสโมสร ผู้อำ�นวยการสโมสร ผู้จัดการทีม ผู้ช่วยผู้จัดการทีม • ทีมงานผู้ฝึกสอน หัวหน้าผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู หมอนวด นักกายภาพบำ�บัด เจ้าหน้าที่ทีม เจ้าหน้าที่ทีม

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ม.ล.โอรัส เทวกุล เทวัญ ลิปตพัลลภ สิทธิภัท ธนะโสภณ อุทัย มิ่งขวัญ ปราบต์ เธียรเชาว์ กิตติพงษ์ ชะนะภักดิ์

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

เฉลิมวุฒิ สง่าพล ไกรเกียรติ คูณธนทรัพย์ สุปรีชา เครือบคนโท กมลทัศน์ กลางนอก สุริยา จักวาโชติ สุเชษฐ สธนเสาวภาคย์ บุญศักดิ์ เกษเกษร

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

ภาพที่ 2.3 โลโก้ทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ที่มา : https://www.tnews.co.th/region/411701/&ldquo (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

11

2.2 ประวัติและพัฒนาการของสเตเดียม ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริศตกาล สเตเดียมแห่งแรกสร้างขึ้น ในศตวรรษที่ 8 ในยุคกรีกโบราณเป็นสิ่งก่อสร้างล้อมรอบสนาม กรีฑารูปตัว U แบบขายาว ตัวอัฒจันทร์สร้างจากหิน ก่อสร้างไป ตามแนวสนามกรีฑามีการแยกทางเข้าเป็น 2 ทาง ตัวอัฒจันทร์มี 3 ด้าน ด้านที่เหลือเปิดโล่ง

ภาพที่ 2.4 สนามกีฬาในยุคแรก ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริศตกาล มีการสร้างโรงละคร (Theatre) เพื่อใช้ในการแสดง เป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบจาก 3 ส่วน คือ อัฒจันทร์ ที่นั่งนักดนตรี และฉากเวที ลักษณะอัฒจันทร์เป็น แถวที่นั่งรูปครึ่งวงกลม สร้างจากหิน ลดหลั่นไปตามแนวพื้นตาม ธรรมชาติ ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ในยุคโรมันได้เกิดโรงละคร ทรงกลม (Amphitheatre) ขึ้นเป็นแถวที่นั่งชั้นๆสูงขึ้นไป สร้าง จากหิน วางผังเป็นรูปไข่เพื่อให้ผู้ชมพุ่งความสนใจไปที่สนาม ใน เวลาต่อมา มีการพัฒนาจากรูปแบบของโรงละครไปสู่โรงละคร ทรงกลม กลายเป็นสนามแข่งขันรูปวงรี (Circus) ซึ่งสร้างสำ�หรับ การขี่ม้า ตัวสนามมีลักษณะเเป็นรูปตัว U แบบขายาว มี 3 ด้าน เหมือนกับยุคก่อนหน้า แต่ด้านที่ 4 มีอาคารเข้ามาปิดล้อม แถว ที่นั่งผู้ชมถูกจัดวางตามแนวลาดเอียง ส่วนทีต่ ่ำ�สร้างจากหินส่วน ที่สูงกว่าสร้างจากไม้

ภาพที่ 2.6 สนามกีฬา Olympic Stadium (White City) สเตเดียมในยุคแรก ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

ค.ศ.1950 สเตเดียมยุคที่สอง เริ่มมีการถ่ายทอดสด การแข่งขันรายการสำ�คัญทางทีวี ทำ�ให้ผูชมนิยมชมผ่านทีวี มากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากสเตเดียมที่มีอยู่ไม่สะดวกสบาย ไม่ เหมาะกับการใช้สอย สเตเดียมแห่งใหม่จึงเป็นสเตเดียมพร้อม สิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆมากขึ้น เพื่อดึงดูดผู้ชมโยการเพิ่ม เก้าอี้นั่งบนอัฒจันทร์ เพิ่มหลังคา เพิ่มห้องน้ำ� เพิ่มจำ�นวนร้าน ค้าเครื่องดื่ม ตัวอัฒจันทร์สร้างจากคอนกรีต ส่วนหลังคาสร้าง จากโครงสร้างเหล็ก และมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

ภาพที่ 2.7 สนามกีฬา Munich Olympiastadion สเตเดียมในยุคที่สอง ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

ค.ศ.1980 สเตเดียมยุคที่สาม เป็นสเตเดียมเพื่อธุรกิจ มี มาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น และออกแบบสิ่งอำ�นวยความ สะดวกต่างๆให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น สะดวกขึ้น ดึงดูดผู้ ชมได้หลากหลายประเภทมากขึ้น จึงทำ�ให้เกิดธุรกิจในสเตเดียม ขึ้น เกิดผู้สนับสนุน มีร้านค้า พิพิธภัณฑ์ การท่องเที่ยว พื้นที่พัก ผ่อนเกิดขึ้นในสเตเดียม พื้นที่ว่างภายนอกที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ตัวสเตเดียมถูกสร้างด้วยเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมากขึ้น ตัวอัฒจันทร์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา ทำ�ด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่สามารถเลื่อนเปิด-ปิดได้ เพื่อให้ สามารถใช้ได้ในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำ�นวย

ภาพที่ 2.5 Flavian Amphitheatre (โคลอสเซียม) ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

ค.ศ.1908 สเตเดียมยุคแรก เน้นจุดประสงค์ในเรื่องความ จุผู้คนเป็นหลัก ในช่วงแรกสเตเดียมมีลักษณะเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่า ด้านสถาปัตยกรรม ไม่สะดวกสบาย ที่นั่งทำ�จากคอนกรีต หรือ เป็นเพียงเนินยืนถมไล่ระดับเท่านั้น ทำ�ให้การชมกีฬาต้องแออัด ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ถูกนำ�ไปใช้เป็นสเตเดียมในประเทศอังกฤษ โดย อัฒจันทร์มีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานไปกับสนาม

ภาพที่ 2.8 สนามกีฬา SkyDome Toronto, Canada สเตเดียมในยุคทสาม ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ค.ศ.2000 สเตเดียมยุคที่สี่ จากการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ของสเตเดี ย มเพื่ อ ธุ ร กิ จ ทำ � ให้ ป ระสบความสำ � เร็ จ และมี กำ � ไร อย่างมาก โดยสร้างสเตเดียมที่มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่ดี ที่สุด ทันสมัยที่สุดสำ�หรับผู้คนจำ�นวนมาก ทำ�ให้มีการพัฒนา เป็นสเตเดียมที่สามารถปรับใช้ได้ มีองค์ประกอบสำ�คัญ ได้แก่ หลังคาเปิด-ปิดได้ อัฒจรรย์ปรับเปลี่ยนได้ สามารถทำ�กิจกรรม ได้หลายอย่าง ไม่เพียงแค่เตะฟุตบอลอย่างเดียว ซึ่งในยุคนี้มี แนวคิดในการออกแบบในเรื่องการใช้งานสถานที่ให้ได้หลาย อย่าง ปรับได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สเตเดียมอยู่ในสภาวะที่ดี ที่สุด การพัฒนาในแนวทางนี้ทำ�ให้สเตเดียมกลายเป็นแหล่ง รวมผู้คน และจุดศูนย์กลางของเมือง ทำ�ให้พื้นที่โดยรอบมีแนว โน้มที่จะพัฒนาได้มากขึ้นด้วย

ภาพที่ 2.9 สนามกีฬา Sapporo Dome, Japan สเตเดียมในยุคที่สี่ ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

ค.ศ.2005 - ปัจจุบัน สเตเดียมยุคที่ห้า สเตเดียมที่เป็น สัญลักษณ์ของเมือง สเตเดียมมีบทบาทกับเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และกระแสความนิยมกีฬาที่เพิ่มมากขึ้น การถ่ายทอดสดทางทีวี และทางอินเตอร์เน็ตมีคุณภาพมากขึ้น ทำ�ให้มีการคิดรูปแบบ ใหม่ๆขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้จำ�นวนผู้ชมลดลงเหมือนที่เกิดขึ้นใน ยุค 80 โดยการสร้างความรู้สึกให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์พิเศษ แตกต่าง ไม่ซ้ำ�กับรูปแบบเดิมๆ มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกและมี ความปลอดภัยสูงสุด มีความสวยงามทั้งด้านในและด้านนอกส เตเดียม มีรูปแบบที่หลากหลายตามบริบทของเมือง สเตเดียม ยุคนี้ก่อสร้างจากความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและ เทคโนโลยี แสดงความเป็นสัญลักษณ์ของเมืองและเอกลักษณ์ ของสเตเดียมที่สื่อสารผ่านการใช้วัสดุสมัยใหม่

ภาพที่ 2.10 สนามกีฬา Beijing National Stadium (Bird’s Nest) สเตเดียมในยุคที่ห้า ที่มา : https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/07/stadiums/ (2562)

12


13

2.3 ทฤษฎีการออกแบบสเตเดียม 2.3.1 หลักการในการออกแบบสเตเดียม 1. การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยของสนามแข่งขันฟุตบอล ต้องคำ�นึง ถึงความสัมพันธ์ 3 ส่วน คือ ตัวสนาม ที่นั่งชมการแข่งขัน และสิ่งที่ผู้ชมจะได้รับ มีหลายอย่างที่ต้องนำ�มาพิจารณา ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน เช่น การใช้โครงสร้าง ลักษณะ การจัดอัฒจันทร์ หลังคา สิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ 2. ความสมมาตรและไม่สมมาตร สเตเดียมสมัยใหม่จะแสดง แนวคิดในการออกแบบได้อิสระ ไม่ยึดติดกับความสมมาตร เพียงอย่างเดียว ซึ่งเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ ทำ�ให้ สามารถสร้างจุดเด่นบางส่วนเพื่อลดความซ้ำ�ซากที่เกิดจาก ความสมมาตรได้ 3. การมองเห็นทัศนียภาพอาคารสามมิติ สเตเดียมมักจะมีการ ออกแบบลักษณะโครงสร้างทีซ่ ้ำ�ๆกัน ทำ�ให้รูปลักษณ์ของ สเตเดียมมีความคล้ายกัน ทำ�ให้ไม่สามารถบอกได้ว่าด้าน ไหนเป็นด้านหลัก ด้านไหนเป็นด้านรอง การออกแบบโดย เน้นให้มีจุดเด่นในแต่ละด้านเพื่อแสดงถึงด้านหลัก ด้านรอง ทำ�ให้สเตเดียมดูไม่ล้าสมัย 4. การประสานองค์ประกอบของสเตเดียม กำ�หนดรูปแบบ หรือรูปลักษณ์ของสเตเดียมเป็นสิ่งสำ�คัญ การพิจารณาแง่ มุมในทุกๆด้าน และพิจารณาว่าทุกอย่างจะอยู่ร่วมกันได้ อย่างไร 5. การแสดงออกทางโครงสร้าง การออกแบบโครงสร้างและ เทคโนโลยีก่อสร้างมีการพัฒนาตลอดเวลา องค์ประกอบ ทางโครงสร้างรูปแบบใหม่ๆสามารถทำ�ให้สถาปัตยกรรม เกิดความน่าสนใจได้ เช่น โครงสร้าง Lattice (โครงสร้าง ระบบโครงสานตาราง) โครงสร้างพื้นผิวโค้ง หรือการใช้วัสดุ สมัยใหม่ 6. การสร้างสรรค์การใช้ที่ว่าง ส่วนของสเตเดียมอาจจะอยู่นิ่ง แต่ศูนย์กลางของสเตเดียมจะต้องเป็นจุดที่มีชีวิตชีวา น่า สนใจ สร้างสรรค์ ทำ�ให้ทั้งสเตเดียมพุ่งความสนใจไปได้โดย การใส่รายละเอียดในการออกแบบที่ช่วยสร้างความประทับ ใจ 7. การผสมผสานสเตเดียม เมือง และภูมิทัศน์ ผู้ออกแบบต้อง คำ�นึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสเตเดียมและบริบทรอบๆ ที่มี กฎหมาย แนวคิด หรือ ผังเมือง ที่อาจส่งผลต่อการออกแบบ สเตเดียม

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

2.3.2 การแบ่งเขตความปลอดภัยในสเตเดียม การวางผังสเตเดียม ต้องสัมพันธ์กับหลักการวางผังเพื่อความ ปลอดภัย ขนาดและตำ�แหน่งของแต่ละโซน ออกแบบโดยคำ�นึง ถึงยามฉุกเฉิน แบ่งออกเป็น 5 โซน แสดงในภาพที่ 2.1 1. โซน One พื้นที่กิจกรรม (สนามแข่งขัน) 2. โซน Two พื้นที่อัฒจันทร์ผู้ชม 3. โซน Three พื้นที่สัญจรของอัฒจันทร์เชื่อมต่อกับภายนอก 4. โซน Four พื้นที่สัญจรรอบนอกอาคาร และเป็นแนว ควบคุมการเข้าอาคาร 5. โซน Five พื้นที่ด้านนอกแนวควบคุมการเข้าอาคาร รวม ถึงที่จอดรถ การแยกแฟนบอลออกจากกัน โดยการแบ่งที่นั่งกองเชียร์ทีม เหย้า-ทีมเยือน ให้ชัดเจน และอาจมีการแยกรั้วกั้นหมุน การ สัญจรทั้งทางนอนและทางตั้ง

ภาพที่ 2.11 การแบ่งเขตความปลอดภัยของสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

จากภาพที่ 2.2 1. คือ ประตูเข้าสู่เขตของสเตเดียม 2. คือ จุดตรวจตั๋วครั้งที่ 1 (แนวควบคุมการเข้าอาคาร) 3. คือ จุดตรวจตั๋วครั้งที่ 2 4. คือ จุดตรวจครั้งที่ 3 (เพื่อการบริการค้นหาที่นั่ง)

ภาพที่ 2.12 จุดตรวจก่อนการเข้าสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

14

2.3.3 รูปแบบของการจัดอัฒจรรย์สำ�หรับสเตเดียม แบ่งตามรูปแบบพื้นฐานได้ดังนี้ อัฒจันทร์ตรงแบบแยกส่วนกัน เป็นอัฒจันทร์ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุด มีข้อดีคือ การก่อสร้าง ทำ�ได้ง่าย รวดเร็ว ผู้ชมอยู่ไกล้สนาม การออกแบบพื้นที่ใต้ อัฒจันทร์สามารถทำ�ได้ง่าย ข้อเสียของอัฒจันทร์ตรงแบบแยก ส่วนคือ ความจุน้อยเนื่องจากเหลือพื้นที่ตรงมุม และผู้ชมที่นั่ง อยู่บริเวณใกล้มุมจะไม่ได้รับมุมมองที่ดี เนื่องจากต้องหันหน้า ชมกีฬามากกว่าบริเวณอื่นๆตลอดเวลา โครงสร้างที่ใช้มีทั้ง คอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก อัฒจันทร์ตรงแบบเชื่อมกันทุกด้าน เป็นการพัฒนามาจากอัฒจันทร์ตรงแบบแยกส่วนกัน การใส่ อัฒจันทร์ตรงมุมตรงมุมเพื่อเชื่อมที้ง 4 ด้านเข้าด้วยกัน โดยตรง มุมจะทำ�เป็นอัฒจันทร์เอียงตัดมุมหรืออัฒจันทร์โค้งก็ได้ขึ้นอยู่ กับการออกแบบ ข้อดีของอัฒจันทร์ตรงแบบเชื่อมกันทุกด้านคือ การใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า ผู้ชมอยู่ไกล้สนาม การออกแบบพื้นที่ ใต้อัฒจันทร์สามารถทำ�ได้ง่าย ส่วนข้อเสียคือ ผู้ชมที่นั่งไกล้ๆกับ ตรงมุมจะไม่ได้รับมุมมองที่ดีนัก เนื่องจากต้องหันหน้าชมกีฬา ตลอดเวลา อัฒจันทร์ตรงและครึ่งวงกลม เป็ น รู ป แบบพื้ น ฐานของสเตเดี ย มประเภทสนามและลู่ ที่ มี อัฒจันทร์อยู่ทุกด้าน เป็นรูปแบบที่ประหยัด นิยมใช้กับสเต เดียมประเภทสนามและลู่ขนาดเล็กและขนาดกลาง ข้อเสียของ อัฒจันทร์ประเภทนี้เป็นเช่นเดียวกับอัฒจันทร์แบบอื่นที่กล่าว มาข้างต้น คือ ผู้ชมจะไม่ได้รับมุมมองที่ดีนัก เนื่องจากต้องหัน หน้าชมกีฬาอยู่ตลอดเวลา การใช้โครงสร้างจะเป็นโครงสร้าง คอนกรีต หรือโครงสร้างเหล็ก

อัฒจันทร์รูปไข่หรือรูปวงรี เป็นรูปแบบที่มักใช้กับสเตเดียมสนามและลู่ขนาดใหญ่ โดยใช้ อัฒจันทร์เป็นส่วนโค้งทั้งหมดเพื่อให้ผู้ชมทั้งสนามสามารถมอง เห็นทั้งสนามได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสียของรูปแบบนี้คือ ก่อสร้างยากขึ้น สิ้นเปลืองที่ดินมากขึ้นและการจัดพื้นที่ใต้อัฒจันทร์จะออกแบบ ได้ยากกว่า

ภาพที่ 2.13 รูปแบบของอัฒจันทร์ ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design), 123-129


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

15

2.3.4 การจัดการสัญจรบริเวณประตูอัฒจันทร์​์แบบต่างๆ มีรูปแบบที่แยกการสัญจรขึ้น-ลง ทำ�ให้เกิดรูปแบบที่ซับซ้อน ได้แก่

ภาพที่ 2.14 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ A ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design)

ภาพที่ 2.16 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ C ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design)

• ผัง (A) เป็นการสัญจรที่มีจุดแยกการสัญจรขึ้น-ลง ในกรณี ที่ไม่มีทางสัญจรในแนวราบในระดับประตูอัฒจันทร์ มีข้อดี คือ เป็นรูปแบบที่มีจำ�นวนที่นั่งที่ต้องสูญเสียจากการจัดการ สัญจรน้อยที่สุด เป็นรูปแบบที่ประหยัดที่สุด ส่วนข้อเสียคือ ผู้ชมมีทางเลือกในการสัญจรเพียง 1 ทาง ผู้ชมอาจสับสนว่า บันไดด้านใดเป็นทางขึ้นไปสู่ด้านบนต่อไป หรือด้านใดเป็น ทางขึ้นตัน สเตเดียมที่มีการสัญจรแบบนี้ เช่น สนามช้างสเต เดียมของบุรีรัมย์ยูไนเต็ด

• ผัง (C) เป็นการขยายชานพักให้ยาวขึ้น (เพื่อกระจายบันได อัฒจันทร์ให้ได้ระยะตามความเหมาะสม) หรือการใช้รูป แบบนี้แต่ไม่มีทางเดินแนวราบ มีข้อดีคือ มีจำ�นวนเก้าอี้ที่ ต้องสูญเสียน้อยกว่ารูปแบบ (B) สามารถกระจายบันได อัฒจันทร์ได้ยืดหยุ่นกว่ารูปแบบ (B) ส่วนข้อเสียคือ จุดขึ้น และจุดลงอยู่ในบริเวณเดียวกัน ทำ�ให้การสัญจรคับคั่งกว่า แบบ (B) ตัวอย่างสเตเดียมที่มีการสัญจรแบบนี้ เช่น The Forum, Inglewood, USA

ภาพที่ 2.15 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ B ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design)

ภาพที่ 2.17 การจัดทางสัญจรบนอัฒจันทร์ D ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design)

• ผัง (B) เป็นการจัดการสัญจรที่มีจุดแยกการสัญจรขึ้น-ลง ในกรณีที่มีทางสัญจรแนวราบในระดับประตูอัฒจันทร์ (ใน การจัดให้ผู้ชมชั้นที่อยู่สูงกว่า จะมีการยกระดับขึ้นเพื่อ ไม่ให้ผู้สัญจรที่ทางเดินแนวราบบังมุมมอง เป็นสิ่งที่เพิ่ม ความสะดวกสบายแก่ผู้ชม แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำ�เป็น) ข้อดีคือ สามารถจัดทางสัญจรได้เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ส่วนข้อเสียคือ มีจำ�นวนเก้าอี้ที่ต้องสูญเสีย มาก สเตเดียมที่มีการจัดรูปแบบนี้ เช่น The Forum, Inglewood, USA

• ผัง (D) เป็นการออกแบบให้ทางเดินแนวราบและบันไดที่ จะขึ้นสู่บันไดอัฒจันทร์อยู่ในแนวเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มี ระดับความประหยัดและความปลอดภัยอยู่ในระหว่างแบบ (A), (B) และ (C) คือ เป็นการรวมบันไดกับทางเดินแนว ราบ ทำ�ให้ประหยัดพื้นที่ที่ต้องเสียไปจากการจัดบันไดกับ ทางเดินแยกกัน ส่วนเรื่องการอพยพ แม้จะไม่สะดวกท่ากับ การจัดแยกกัน แต่สามารถจัดให้ทางเดินไปสู่ทางเข้า-ออก หลายๆทางได้ สเตเดียมที่ใช้รูปแบบนี้ เช่น Imtech Arena, Hamburg, Germany


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

2.3.5 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม การออกแบบที่ ยั่ ง ยื น คื อ การออกแบบที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้อมน้อยที่สุด วัสดุก่อสร้างที่สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ เป้าหมายหลักของการออกแบบสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้ • ด้านการระบายอากาศ • ด้านการจัดการน้ำ�ภายในสเตเดียม • ด้านการป้องกันเสียงออกสู่ภายนอก • ด้านการใช้แสงสว่าง • ด้านการใช้พลังงานทดแทน

16

ภาพที่ 2.20 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

• มีการจัดเก็บน้ำ�ฝนเพื่อรองรับการใช้ในยามฉุกเฉิน นำ� มารดสนามหญ้า การประหยัดที่มีศักยภาพเพิ่มเติม สามารถทำ�ได้ผ่านการติดตั้งอุปกรณที่เป็นเทคโนโลยีใน อุปกรณ์สุขภัณฑ์ในช่วงการก่อสร้าง

ภาพที่ 2.21 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

• การออกแบบโดยไม่ให้ไปรบกวนพื้นที่รอบๆ ให้มากที่สุด จากรูปเป็นการลดเสียงจากในสเตเดียมโดยการทำ�เนินเพื่อ ลดความดังของเสียงก่อนจะออกไปสู่อาคารภายนอก

ภาพที่ 2.22 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.18 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

• การออกแบบโดยไม่ให้ไปรบกวนพื้นที่รอบๆ ให้มากที่สุด จากรูปเป็นการลดแสงจากไฟสปอตไลท์จากสเตเดียมโดย การทำ�หลังคาให้มีการบังแสงได้ ทำ�ให้แสงไมสามารถ่ไป รบกวนภายนอกได้

• การระบายอากาศภายในสเตเดียมควรออกแบบให้สเตเดีย มมีการระบายอากาศที่ดี เพราะสเตเดียมเป็นที่รองรับผู้คน จำ�นวนมาก การระบายอากาศจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ

• การใช้ พ ลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ม าเป็ น พลั ง งานอี ก ทางเลื อ ก หนึ่ง เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำ�รองในยามที่ไฟหลักใช้งานไม่ ได้ และการปลูกต้นไม้รอบพื้นที่สเตเดียม เพื่อใช้เป็นที่บัง สายตาจากจุดที่ไม่สวยงาม และใช้เป็นร่มเงาให้แฟนบอลได้

ภาพที่ 2.19 การระบายอากาศในสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.23 ความยั่งยืนกับการออกแบบสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


17

2.4 ข้อกำ�หนดคลับไลเซนซิ่งของ AFC หลักเกณฑ์ต่างๆ ของคลับไลเซนซิ่ง ต้องมีระดับความ สำ�คัญของการประเมินคือ ระดับ A จึงจะสามารถใช้แข่งขันใน ระดับนานาชาติได้ ระดับ A คือคุณสมบัติที่สโมสร “ต้องมี” ทุกประการ จะขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ หลักเกณฑ์ตัวไหนที่ใน คลับไลเซนซิ่ง บอกต้องมี ก็จะต้องมีทั้งหมด หากขาดเพียงแม้แต่อย่างเดียวที่ สำ�คัญในระดับ A จะไม่ได้รับใบอนุญาต (คลับไลเซนซิ่ง) หลักเกณฑ์ 5 ประการหลักของคลับไลเซนซิ่ง ความ สำ�คัญระดับ A ดังนี้ (ในที่นี้จะยกมาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ) 1. หลักเกณฑ์ด้านกีฬา (Sporting Criteria) ส่วนนี้จะ กำ�หนดถึงโครงสร้างในการพัฒนาและการดูแลนักฟุตบอล เป็นหลัก มีหัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้ • การพัฒนาเยาวชนของสโมสร หรือ Academy ซึ่งสโมสรจะ ต้องจัดทำ�แผน วัตถุประสงค์ วิธีการดำ�เนินการบริหารดูแล มีบุคลากรที่ใช้ในการดูแลอะคาเดมี่ • สโมสรต้องมีทีมเยาวชนตามลำ�ดับอายุ -- 15 – 21 ปี จะต้องมีอย่างน้อย 2 ทีม -- 10 – 14 ปี จะต้องมีอย่างน้อย 1 ทีม -- ต่ำ�กว่า 10 ปี ต้องมีอย่างน้อย 1 ทีม • สโมสรต้องมีการดูแลทางการแพทย์แก่นักฟุตบอลทั้งทีมชุด ใหญ่ ทีมสำ�รอง ทีมเยาวชน การตรวจสุขภาพร่างกาย หัวใจ หลอดเลือด รักษาอาการบาดเจ็บ • มีการอบรมเกี่ยวกับ Law of The Game คือสโมสรจะต้อง มีการจัดอบรมให้กับนักฟุตบอลและบุคลากรทุกคนของทีม ได้รู้เกี่ยวกับกฎกติกาต่างๆ รวมถึงจัดให้ได้เรียนรู้วินัยของ สโมสรเองและกฎต่างๆของ สมาคมฯ • จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ 2. หลักเกณฑ์ด้านโครงสร้าง (Infrastructure Criteria) ส่วนนี้จะพูดถึงความสำ�คัญของสนามแข่ง ห้องอำ�นวยความ สะดวกต่างๆ ที่ต้องมี ความปลอดภัย แผนอพยพ ระบบ สาธารณูปโภค สนามซ้อมของทีมชุดใหญ่และเยาวชน ขั้น ตอนการจัดทำ� คลับไลเซนซิ่ง ในส่วนนี้ค่อนข้างสำ�คัญใน เรื่องของเอกสารทั้งเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของสนาม • ห้องควบคุม ที่สามารถมองเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดของสนาม ในห้องมีจอกล้องวงจรปิดของสนาม • การแบ่งขอบเขตอัฒจันทร์ของสนามแต่ละส่วน ในส่วนนี้ ต้องทำ�แผนที่ผังสนามของแต่ละอัฒจันทร์ว่าแต่ละฝั่งมีอะไร บ้าง แสดงทางเข้าออกของแต่ละฝั่ง • ห้องปฐมพยาบาล ก็ต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลมาตรฐาน ตู้ เก็บยา เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ และจะต้องมีผู้ช่วยพยบาล ประจำ�อยู่ที่ห้องทุกครั้งที่มีการแข่งขัน

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 2.24 Academy ที่มา : http://sport.trueid.net/detail/69550 (2562)

3. หลักเกณฑ์ด้านการบริหารและทรัพยากรบุคคล (Personal and Administrative Criteria) สถานที่ทำ�การ ของสโมสรซึ่ ง ต้ อ งมี ฝ่ า ยธุ ร การติ ด ต่ อ ประสานงานรวม ถึงสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ เช่น โทรศัพท์,โทรสาร, คอมพิวเตอร์,อินเตอร์เน็ต,อุปกรณ์สำ�นักงาน ฯลฯ ส่วน บุคลากรที่อยู่ในความสำ�คัญระดับ A ที่ทุกสโมสรต้องมี และ ต้องมีหนังสือแต่งตั้งที่ออกโดยสโมสร ประวัติ สัญญาจ้าง แบบฟูลไทม์ ประกอบด้วย • General Manager ผู้จัดการทั่วไป • Finance Officer เจ้าหน้าที่การเงิน • Security Officer เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย • Media Officer เจ้าหน้าที่งานสารสนเทศ • Medical Doctor แพทย์ • Physiotherapist นักกายภาพบำ�บัด • Head Coach of First Squad หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมหลัก • Assistance of First Squad ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมหลัก • Head of Development Program หัวหน้าโครงการ พัฒนาเยาวชน • Youth Coach ผู้ฝึกสอนทีมเยาวชน ในแต่ละชุด • Safety and Organization Stewarding บริษัทรักษาความ ปลอดภัย • Rights and Duties กฎธรรมภิบาลของบริษัทสโมสร • Competition Manager ผู้จัดการฝ่ายจัดการแข่งขัน • Commercial Manager ผู้จัดการฝ่ายการตลาด • Lawyer นักกฎหมาย

ภาพที่ 2.25 สนามฟุตบอล ที่มา : http://sport.trueid.net/detail/69550 (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

2.5 มาตรฐานของสถานที่จัดการแข่งขัน AFC (Stadium Regulations) หมวดที่ 1 เรื่องทั่วไป • คุณสมบัติที่เหมาะสมของที่ตั้งสเตเดียม ประกอบด้วย -- การคมนาคมสะดวก -- สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อม -- ขนาดที่ดินใหญ่พอสำ�หรับโครงการทั้งหมด -- รูปร่างเหมาะสมสำ�หรับความต่อเนื่องของกิจกรรม -- ลักษณะที่ดิน เหมาะแก่การปรับสภาพแวดล้อม -- การติดต่อกับสนามกีฬาอื่นๆได้สะดวก • ที่ตั้งสนาม ต้องอยู่ไกลจากสนามบินนานาชาติไม่เกิน 200 กิโลเมตร และต้องใช้เวลาเดินทางจากสนามบินไปยังสนาม ไม่เกิน 150 นาที หรือไม่ก็ต้องอยู่ในเมืองที่มีเที่ยวบินเชื่อม ต่อจากสนามบินนานาชาติไม่น้อยกว่า 4 เที่ยวต่อวัน • สนามซ้อม หากสนามไหนใช้สำ�หรับลงฝึกซ้อมอย่างเป็น ทางการ ก็จะต้องอยู่ไม่ห่างจากที่พักทีมเยือนมากกว่า 30 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที หมวดที่ 2 หลักเกณท์ด้านโครงสร้าง ส่วนที่ 1 บริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน • สนามแข่งขัน เป็นพื้นสนามหญ้าธรรมชาติ หรือ หญ้า สังเคราะห์ (หญ้าเทียม) ที่ได้ตามมาตรฐานของ FIFA หรือ ได้รับการรับรองโดย FIFA • พื้นสนามต้องมีลักษณะดังนี้ ความยาว: ตั้งแต่ 100 เมตร แต่ ไม่เกิน 110 เมตร ความกว้าง: ตั้งแต่ 64 เมตร แต่ไม่เกิน 75 เมตร ขนาดสนามที่แนะนำ�ให้ใช้ทำ�การแข่งขัน ควรมีความ ยาว 105 เมตร และความกว้าง 68 เมตร • มีสภาพพื้นผิวที่ราบเรียบ สมบูรณ์ และเสมอกัน • มีการติดตั้งระบบระบายน้ำ�ภายในสนามแข่งขัน • พื้นที่อบอุ่นร่างกาย จะต้องมีพื้นที่การอบอุ่นร่างกายให้แก่ นักกีฬาฟุตบอลสำ�รองระหว่างการแข่งขัน โดยถูกจัดให้อยู่ บริเวณพื้นที่ด้านหลังเส้นข้างฝั่งผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 หรือทาง ด้านหลังป้ายผู้สนับสนุนหลังประตูของทั้ง 2 ฝั่ง • เสาประตู และเสาประตูสำ�รอง จะต้องทำ�มาจากอลูมิเนียม หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และต้องมีลักษณะเป็นวงกลมหรือ วงรี โดยจะต้องเป็นไปตาม Laws of The Game ที่ทาง IFAB ได้กำ�หนด • นาฬิกา สนามแข่งขันจะต้องมีนาฬิกาเพื่อแสดงเวลาใน ระหว่างการแข่งขัน • ที่นั่งนักกีฬาฟุตบอลสำ�รอง มี 2 ชุด พร้อมด้วยหลังคา ปกคลุมสำ�หรับทีมเหย้า และทีมเยือน โดยจะต้องมีที่นั่ง สำ�หรับนักกีฬาฟุตบอลสำ�รอง และเจ้าหน้าที่ทีมอย่างน้อย 18 คน และควรห่างจากจุดกึ่งกลางอย่างน้อย 6-10 เมตร มี ที่นั่งพร้อมหลังคาสำ�หรับผู้ตัดสินที่ 4 และเจ้าหน้าที่จัดการ แข่งขัน โดยจัดให้มีที่นั่งอย่างน้อย 3 ที่นั่ง

18

ภาพที่ 2.26 ที่ตั้งที่เหมาะสมของสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.27 รายละเอียดซุ้มม้านั่งสำ�รอง (ดูเพิ่มเติมที่หน้า 29) ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.28 Law of The Game ที่มา : Law of The Game (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

19

ส่วนที่ 2 สิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับทีม และตัวแทนจาก ฝ่ายจัดการแข่งขัน • ห้องพักนักกีฬาจัดให้มีห้องพักนักกีฬา อย่างน้อย 2 ห้อง ในแต่ละห้องพักนักกีฬาจะต้องมีอุปกรณ์ ดังนี้ ห้องอาบน้ำ� 4 ห้องและห้องสุขาพร้อมสุขภัณฑ์ 4 ห้อง ห้องพร้อมที่นั่ง สำ�หรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีม อย่างน้อย 30 คน เตียง นวด 1 เตียง กระดานไวท์บอร์ด พร้อมปากกา และแปรง ลบกระดาน 1 ชุด ตู้เย็น 1 ตู้ หรือตู้แช่น้ำ� มีการติดตั้งเครื่อง ปรับอากาศ มีทางเดินที่เข้าถึงได้โดยตรง เป็นส่วนตัวและได้ รับการป้องกันรวมไปถึงความปลอดภัยในการเข้า/ออกจาก สนามแข่งขัน • ห้องพักผู้ตัดสินมีอุปกรณ์ภายในห้องแต่งตัวผู้ตัดสิน ดังนี้ ห้องอาบน้ำ� 1 ห้องและห้องสุขา 1 ห้อง ห้องพร้อมที่นั่ง สำ�หรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมอย่างน้อย 5 คน โต๊ะ 1 ตัว พร้อมเก้าอี้ 4 ตัว ตู้เย็น 1 ตู้หรือตู้แช่น้ำ� มีการติดตั้งเครื่อง ปรับอากาศ มีทางเดินที่เข้าถึงได้โดยตรง เป็นส่วนตัวและ ได้รับการป้องกัน รวมไปถึงความปลอดภัยในการเข้า/ออก จากสนามแข่งขัน • ห้องทำ�งานและห้องประชุมมีห้องและอุปกรณ์ ดังนี้ ห้อง สำ�หรับผู้แทนจากฝ่ายจัดการแข่งขัน รวมไปถึงผู้ควบคุม การแข่งขัน พร้อมที่นั่งสำ�หรับคนอย่างน้อย 5 คน(โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ 5 ตัว) ห้องเพิ่มเติมสำ�หรับผู้แทนจากฝ่ายจัดการ แข่งขัน พร้อมที่นั่งสำ�หรับคนอย่างน้อย 5 คน(โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ 5 ตัว) ในกรณีนัดสุดท้ายของการแข่งขัน ห้องสำ�หรับผู้ สนับสนุนของฝ่ายจัดการแข่งขัน พร้อมที่นั่งสำ�หรับคนอย่าง น้อย 5 คน(โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ 5 ตัว) ห้องสำ�หรับคนเก็บบอล และคนถือธง พร้อมห้องน้ำ�ในบริเวณใกล้เคียง โดยจุคนได้ อย่างน้อย 20 คน ห้องประชุม(ขนาดอย่างน้อย 40 ตร.ม.) เพื่อจุคนอย่างน้อย 20 คน พร้อมโต๊ะประชุมและเก้าอี้ • ห้องเก็บของอย่างน้อย 2 ห้อง (10 ตร.ม) โดยมีการรักษา ความปลอดภัยและอยู่ใกล้กับทางเข้าสนามแข่งขัน มีการติด ตั้งเครื่องปรับอากาศ มีการป้องกันและปลอดจากผู้ชมทั่วไป และสื่อมวลชน

จากภาพที่ 1. ทางเดินนักกีฬา 2. ห้องทำ�งานโค้ช 3. ห้องแต่งตัวผู้ตัดสิน 4. พื้นที่สัมภาษณ์สด 5. พื้นที่นักกีฬาเข้า-ออก ภาพที่ 2.29 ผังความสัมพันธ์ของตำ�แหน่งห้องพักนักกีฬากับสื่อ ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

• ห้องสำ�หรับผู้แทนและผู้สนับสนุนของฝ่ายจัดการแข่งขัน จะต้องมีอุปกรณ์ ดังนี้ อินเตอร์เนตบรอดแบนด์แบบไร้สาย Wireles โทรศัพท์และโทรสาร พร้อมอุปกรณ์เสริม(กระดาษ และหมึกเติม) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์แบบ พกพา(โน้ตบุ๊ค) 1 เครื่องเครื่องปริ้นเตอร์ 1 เครื่อง พร้อม อุปกรณ์เสริม(กระดาษและหมึกเติม) เครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์เสริม(กระดาษและหมึกเติม) อยู่ใน บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับห้องแต่งตัวนักกีฬา และห้องแต่ง ตัวผู้ตัดสิน มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มีการป้องกัน และ ปลอดจากผู้ชมทั่วไปและสื่อมวลชน • ที่นั่งของเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน มีหลังคาปกคลุมและมี ที่นั่งอย่างน้อย 3 ที่นั่ง สำ�หรับผู้ควบคุมการแข่งขันและผู้ ประเมินผู้ตัดสิน โดยมีการป้องกันปลอดจากผู้ชมทั่วไปและ สื่อมวลชน ตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลาง หรือใกล้กับเส้นกึ่งกลาง มากที่สุด สามารถเข้าสู่ห้องแต่งตัวของทีมและผู้ตัดสินได้ ง่าย ที่นั่งของเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันจะต้องมีอุปกรณ์ ดังนี้ โต๊ะและเก้าอี้(สำ�หรับ 3 ที่นั่ง) จอโทรทัศน์สำ�หรับรับชม การถ่ายทอดสด เต้ารับไฟฟ้าจำ�นวน 2 ชุด อินเตอร์เนต บรอดแบนด์แบบไร้สาย Wireless • พื้นที่นั่งสำ�หรับทีมงานฝ่ายทางเทคนิค (TSG) มีหลังคา ปกคลุมและมีที่นั่งอย่างน้อย 6 ที่นั่ง สำ�หรับคณะกรรมการ ศึกษาทางเทคนิค TSG โดยมีการป้องกันปลอดภัยจากผู้ชม ทั่วไปและสื่อมวลชน ตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางหรือใกล้กับเส้น กึ่งกลางมากที่สุด พร้อมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ โต๊ะและเก้าอี้ (สำ�หรับ 6 ที่นั่ง) จอโทรทัศน์สำ�หรับรับการถ่ายทอดสด เต้ารับไฟฟ้าจำ�นวน 2 ชุด อินเตอร์เนตบรอดแบนด์แบบไร้ สาย Wireless • ที่จอดรถ มีพื้นที่จอดรถอย่างน้อยสำ�หรับรถบัส 2 คัน และ รถยนต์ส่วนบุคคล 10 คัน มีการจัดการพื้นที่จอดรถเพิ่มเติม อย่างน้อย 20 คัน สำ�หรับการแข่งขันในนัดสุดท้าย


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ส่วนที่ 3 : พื้นที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน • ห้องทำ�งานสื่อมวลชน มีห้องพร้อมเครื่องปรับอากาศอย่าง น้อย 1 เครื่อง (100 ตร.ม.) โต๊ะทำ�งาน และอุปกรณ์อำ�นวย ความสะดวก ตั้งอยู่ด้านเดียวกับที่นั่งสื่อมวลชนในสนาม แข่งขัน, ห้องแถลงข่าว และ มิกซ์โซน ศูนย์สื่อมวลชนจะต้อง มีอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ โต๊ะ, เก้าอี้ และ อินเตอร์เนต สำ�หรับ 50 คน เครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์เสริม เครื่องโทรสาร 1 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์เสริม ช่องใส่ข้อมูล เอกสาร สำ�หรับสื่อมวลชน และทีมงานถ่ายทอดสดข้อมูล ด้านการบริการ, อาหาร และการคมนาคมขนส่ง • ที่นั่งสื่อมวลชนภายในสนามแข่งขัน จัดให้มีที่นั่งสำ�หรับ สื่อมวลชน พร้อมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ มีหลังคาปกคลุม มี 20 ที่นั่ง ไม่รวมโต๊ะทำ�งาน มี 30 ที่นั่งพร้อมโต๊ะทำ�งาน โดยมี เต้ารับไฟฟ้า และระบบอินเตอร์เนต ซึ่งมีพื้นที่เพียงต่อการ วางอุปกรณ์ อาทิ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (โน้ตบุ๊ค) และ สมุดจด ตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางของอัฒจันทร์หลัก และตั้งอยู่ ในด้านเดียวกันกับศูนย์สื่อมวลชน, ห้องแถลงข่าว และมิกซ์ โซน มีช่องทางพิเศษสำ�หรับสื่อมวลชนจากที่นั่งไปยังห้อง แถลงข่าว และ ศูนย์สื่อมวลชน • มิกซ์โซน มีพื้นที่สำ�หรับมิกซ์โซน โดยตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออก จากห้องแต่งตัวนักกีฬา และ จุดขึ้นรถบัสของนักกีฬา มีการป้องกันการพบปะโดยตรงจากสื่อมวลชน สำ�หรับ ผู้ฝึกสอน และนักกีฬาแบ่งเป็น 3 ส่วน สำ�หรับทีมงาน ถ่ายทอดสด, สื่อวิทยุ และ สื่อหนังสือพิมพ์ • ห้องแถลงข่าว มีห้องพร้อมเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 1 เครื่อง และอุปกรณ์อำ�นวยความสะดวก ดังต่อไปนี้ โต๊ะ และ เก้าอี้ สำ�หรับผู้แถลงข่าวอย่างน้อย 5 คน เวทีสำ�หรับการ แถลงข่าว มีที่ตั้งสำ�หรับกล้องถ่ายภาพ ความสูง 0.5 เมตร ความกว้าง 6 เมตร และ ความลึก 2 เมตร โดยประมาณ พร้อมอุปกรณ์เสริม เช่น เต้ารับไฟฟ้า กล่องแยก มีระบบ กระจายเสียง 6 ช่องทางเป็นอย่างน้อย มีเก้าอี้วางเรียงกัน ภายในห้องสำ�หรับสื่อมวลชนไม่น้อยกว่า 50 คน ตั้งอยู่ใน ด้านเดียวกันกับศูนย์สื่อมวลชน, ที่นั่งสื่อมวลชน และมิกซ์ โซน มีช่องทางพิเศษสำ�หรับสื่อมวลชนจากห้องแถลงข่าวไป ยังที่นั่ง และศูนย์สื่อมวลชน • สตูดิโอโทรทัศน์ มีอุปกรณ์สำ�หรับสูติโอโทรทัศน์เป็นไปตาม ข้อกำ�หนดดังต่อไปนี้ มีห้องจำ�นวน 1 ห้อง มีขนาดห้อง ยาว 5 เมตร กว้าง 5 เมตร สูง 2.3 เมตร ข้อกำ�หนดเพิ่มเติม มีวิว ที่มองเห็นสนาม และได้รับการรักษาความปลอดภัย มีผนัง กระจกและเห็นวิวทั่วสนาม • ที่จอดรถ อย่างน้อย 20 คัน สำ�หรับทีมงาน และสื่อที่ได้ รับสิทธิ พื้นที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในพื้นที่พิเศษ และตั้งอยู่ใกล้ กับพื้นที่ทำ�งานของทีมงาน พื้นที่จอดรถอย่างน้อย 1 ใน 3 ตั้งอยู่ใกล้กับทางเข้าสนามแข่งขัน เพื่อง่ายต่อการขนย้าย อุปกรณ์

20

• ตำ�แหน่งผู้บรรยายทางโทรทัศน์และวิทยุ มีห้องปรับอากาศ พร้อมความจุอย่างน้อย 2 คน ซึ่งมีทัศนียภาพที่มองเห็น สนามทั้งหมดอย่างชัดเจน ตั้งอยู่ด้านเดียวกับตำ�แหน่งกล้อง หลัก กว้างอย่างน้อย 5 เมตรทางด้านหน้า ลึก 3 เมตร และ สูง 2.5 เมตร สำ�หรับกรณีที่มีห้องบรรยาย หากกรณีที่ไม่มี ห้องบรรยายจะต้องมีขนาดความกว้างอย่างน้อย 3 เมตร ที่ ด้านหน้า และ ลึก 2 เมตร มีเต้ารับไฟฟ้าอย่างน้อย 2 จุด และ จุดเชื่อมต่ออินเตอร์เนต 2 จุด หรือ อินเตอร์แบบไร้ สำ�ย Wireless, มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกในการติดตั้งวีดีโอ จำ�กรถ OB ถึงตำ�แหน่งผู้บรรยาย และมีการติดตั้งระบบ เสียงจำ�กตำ�แหน่งของผู้บรรยายไปยังรถ OB มีระบบจ่าย ไฟฟ้าสำ�รองในตำ�แหน่งผู้บรรยาย และ บริเวณโดยรอบ มีที่ นั่งสำ�หรับผู้บรรยายอย่างน้อย 3 ที่นั่ง • รถ OB Van ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสนามกีฬาด้านเดียวกับกล้อง หลัก มีพื้นที่อย่างน้อย 600 ตร.ม. มีระบบไฟฟ้าสำ�รอง สำ�หรับรถ OB หรือ ตามความต้องการของทีมงานถ่ายทอด สด มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงานถ่ายทอดสด ในการ ออกอากาศแบบหลายช่องทาง และ ช่องทางเดียว รวมไป ถีงการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมทั้งภายในประเทศและต่าง ประเทศ และเพียงต่อพาหนะขนาดใหญ่ได้ มีพื้นที่ทำ�งาน เพียงพอในบริเวณโดยรอบสำ�หรับทีมถ่ายทอดสด ทำ�งด้าน เทคนิค ด้านจัดการ และ ฝ่ายผลิต มีระบบรักษาความ ปลอดภัยตลอดเวลาในพื้นที่ของการออกอากาศ หรือทีม ถ่ายทอดทั้งหมด

ภาพที่ 2.30 ผังแสดงความสัมพันธ์ของตำ�แหน่งสื่อมวลชน ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


21

ส่วนที่ 4 สิ่งอำ�นวยความสะดวกด้านการแพทย์ • ห้ อ งและอุ ป กรณ์ ด้ า นการปฐมพยาบาลเบื้ อ งต้ น สำ � หรั บ นักกีฬา และเจ้าหน้าที่ มีห้องพยาบาลฉุกเฉินตั้งอยู่ในพื้นที่ ใกล้กับห้องแต่งตัวของนักกีฬาและพื้นที่ทำ�การแข่งขัน รวม ไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึก อบรม โดยมีอุปกรณ์ตามข้อกำ�หนดดังต่อไปนี้ ถังออกซิเจน พร้อมหน้ากาก/ท่อช่วยหายใจชนิดใส่ทางปากเฝือก สำ�หรับ การบาดเจ็บที่กระดูสันหลัง เปลหาม เครื่องดูดเสมหะ ชุด เครื่องหยดยาเข้าหลอดพร้อมด้วยเข็มฉีดยาและยาฉุกเฉิน เครื่องใช้และอุปกรณ์ทางด้านศัลยกรรมเครื่องกระตุ้นหัวใจ Automated External Defibrillator (AED) พื้นที่จอดรถ สำ�หรับรถพยาบาล 2 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์การ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น • ห้องตรวจสารต้องห้าม มีห้องควบคุมสำ�หรับตรวจสารต้อง ห้ามพร้อมเครื่องปรับอากาศ และตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับห้อง แต่ ง ตั ว นั ก กี ฬ าโดยสื่ อ มวลชนและผู้ ช มทั่ ว ไปไม่ ส ามารถ เข้าถึงได้ มีขนาดอย่างน้อย 20 ตร.ม. ประกอบด้วย ห้อง รอตรวจ ห้องทดสอบ ห้องสุขา และห้องอาบน้ำ� โดยห้อง ทั้งหมดต้องอยู่ติดกัน ห้องรอตรวจอยู่ภายในหรืออยู่ติด กับห้องทดสอบ (สามารถใช้ฉากแบ่งกั้นได้) มีที่นั่งเพียงพอ ต่อคนอย่างน้อย 8 คน พร้อมสิ่งอำ�นวยความสะดวก อาทิ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในขวดน้ำ�แร่ปิด ผนึก และน้ำ�ผลไม้ ภายในห้องทดสอบมีโต๊ะ 1 ตัว 4 เก้าอี้ อ่างล้างมือพร้อมระบบน้ำ�ประปา ตู้ที่ล็อคได้ และห้องสุขา อยู่ภายในห้องทดสอบหรืออยู่ติดกัน และมีทางเฉพาะไปยัง ห้องทดสอบ โดยประกอบไปด้วยชักโครก อ่างล้างมือพร้อม ระบบน้ำ�ประปา ส่วนที่ 5 พื้นที่สำ�หรับการรับรองแขกวีไอพี และพื้นที่ต้อนรับ • ที่นั่งวีไอพีและพื้นที่ต้อนรับ มีที่นั่งสำ�หรับวีไอพีอย่างน้อย 50 ที่ และที่ต้อนรับพิเศษหนึ่งจุดขนาด 200 ตร.ม. ตั้งอยู่ บนอัฒจันทร์หลัก และอยู่ใกล้กับเส้นครึ่งสนามมากที่สุด ส่วนที่ 6 พื้นที่สำ�หรับผู้ชม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 33-34) • อั ฒ จั น ทร์ แ ละสิ่ ง อำ � นวยความสะดวกสำ � หรั บ ผู้ ช มมี อัฒจันทร์แบ่งออกเป็นสัดส่วนที่สามารถระบุตำ�แหน่ง และ แยกกันได้ มีที่นั่งเฉพาะบุคคล ติดแน่น แยกออกจากที่นั่ง อื่น มีรูปแบบ มีหมายเลขที่นั่ง ทำ�จากวัสดุที่ไม่แตก ไม่ติดไฟ และมีความสูงของพนักพิงอย่างน้อย 30 ซม. • ผู้ชมทีมเยือน จัดให้มีที่นั่ง 10 เปอร์เซ็นต์ สำ�หรับผู้ชมทีม เยือน โดยมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน • ความจุของสถานที่จัดการแข่งขัน มีความจุของสนามอย่าง น้อย 5,000 ที่นั่ง (seats) • สิ่งอำ�นวยความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภค มีห้องสุขา (ชักโครก) สำ�หรับผู้ชมทั้งห้องชาย-หญิง รวมไปถึงกระโถน ปัสสาวะ โดยมีอัตราส่วน ชักโครก 1/200 คน และกระ โถนปัสสวะ 1/125 คน

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• สิ่ ง อำ � นวยความสะดวกด้ า นการปฐมพยาบาลเบื้ อ ง ต้น มีอุปกรณ์ และสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นครบครัน และได้รับการอนุมัติจาก หน่วยงานท้องถิ่น มีการระบุพร้อมป้ายบอกทิศทางอย่าง ชัดเจน • สิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับผู้พิการ มีทางเข้า-ออกและที่ นั่งเฉพาะสำ�หรับผู้พิการ และผู้ช่วยเหลือ มีสิ่งอำ�นวยความ สะดวกด้านสุขอนามัย รวมไปถึงการจัดเตรียมอาหาร และ เครื่องดื่ม • ห้องควบคุม มีห้องควบคุมที่มีจอภาพสำ�หรับกล้องโทรทัศน์ ในการรักษาความปลอดภัย โดยสามารถเห็นมุมมองทั้งหมด ของสนามแข่งขัน และมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกในการติดต่อ สื่อสาร มีการลงข้อมูลสำ�หรับผู้ประกาศสาธารณะ, วิดีโอ บอร์ด หรือ อื่น ๆ โดยจุดบริการตำ�รวจ อัคคีภัย และ บริการ ทางการแพทย์ทั้งหมดจะต้องอยู่ติดกับห้องควบคุม

ภาพที่ 2.31 ผังแสดงความสัมพันธ์ของส่วน VIP ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.32 หนังสือระเบียบ มาตรฐานสถานที่แข่งขัน AFC ที่มา : Stadium Regulations


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

2.6 มาตรฐานการออกแบบสนามกีฬาฟุตบอล FIFA (Football Stadiums : Technical recommendations and requirement 5th edition 2011) การวางทิศทางของสนามกีฬาจะต้องระมัดระวังอย่าง มากเกี่ยวกับมุมของสนามที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์และสภาพ อากาศให้ ผู้ ช มได้ รั บ การปกป้ อ งให้ ม ากที่ สุ ด จากแสงอาทิ ต ย์ อย่างไรก็ตามต้องคำ�นึงถึงผลกระทบของหลังคาของสนามกีฬา ในสนามแข่งขันด้วย เพราะสนามหญ้าก็ต้องการแสงอย่างเพียง พอและการเคลื่อนที่ของอากาศเพื่อรักษาการเติบโตของหญ้า อย่างยั่งยืน ทุกด้านของสนามจะต้องได้รับแสงแดดโดยตรงใน ปริมาณที่เหมาะสม การวางทิศทางสนามแข่งขันเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา อย่างรอบคอบ ซึ่งมีปัจจัยที่ต้องคำ�นึงถึง ดังนี้ ทิศทางและความ เข้มของแสง, ลม, ภูมิประเทศ, ขนาดที่ดิน, ทางเข้า-ออก, พืช พรรณ, อาคารหรือสิ่งอำ�นวยความสะดวกอื่น ๆ โดยปกติแล้ว แดดจะแยงตาในด้านทิศตะวันออกและทิศ ตะวันตก ในช่วงเช้าหรือเย็นที่มุมอัลติจูดต่ำ�กว่า 45 องศา แต่ใน พื้นที่ที่ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือหรืออ้อมใต้มาก อาจมีช่วงที่มุมอัลติ จูดต่ำ�กว่า 45 องศาในด้านเหนือหรือใต้ด้วย แดดแยงตาอาจมีได้ ตลอดวันในลักษณะดังกล่าว แต่ประเทศไทยไม่มีปัญหาในเรื่องตะวันอ้อมใต้มากนัก ทิศทางที่เป็นปัญหาหลักจึงเป็นทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทำ�ให้การวางทิศทางสนามแข่งขันในแนวเหนือ-ใต้โดยประมาณก็ เพียงพอแล้ว

ภาพที่ 2.33 ทิศทางแดดของสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.34 ทิศทางแดดของสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

22

แสงอาทิตย์ที่รบกวนสายตา แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. แสงที่ส่องเข้าตาโดยตรง (Direct Intensity Light) 2. แสงจ้าโดยทางอ้อมจากท้องฟ้า (Indirect Glare) 3. แสงจ้าที่สะท้อนจากพื้น (Reflected Glare) ความเข้มทางตรง

ความจ้าทางอ้อม

ความจ้าสะท้อนจากพื้น

ภาพที่ 2.35 ทิศทางแดดของสเตเดียม ที่มา : การออกแบบสเตเดียม (Stadium Design)

แสงที่ส่องเข้าตาโดยตรง โดยทั่วไปจะเป็นแสงที่มีปัญหา มากที่สุด ซึ่งในช่วงเวลาเช้าถึงเย็น ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากทางทิศ ตะวันออก สูงข้ามเป็นแนวตะวันออก-ตะวันตก การแยงตาตั้ง แต่เริ่มพ้นขอบฟ้า ค่อย ๆ สูงขึ้นจนได้มุมมากกว่า 45 องศา หรือ ประมาณ 9 นาฬิกา จึงจะเริ่มหมดปัญหา จนกระทั่งคล้อยต่ำ�ลง จากมุม 45 องศา หรือประมาณ 15 นาฬิกา จึงเริ่มมีปัญหาแยง ตาอีก

ภาพที่ 2.36 การวางทิศทางสเตเดียม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

23

1. 2. 3. 4. 5.

ม้านั่งสำ�รอง ที่นั่งผู้ตัดสินที่ 4 ที่นั่งแพทย์สนามและผู้ช่วย พื้นที่อบอุ่นร่างกาย ที่นั่งผู้ตัดสินสำ�รอง สนามแข่งขัน - 105*68 m พื้นหญ้ารอบสนามแข่งขัน - 115*78 m

ภาพที่ 2.37 พื้นที่เสริมรอบสนามแข่งขัน ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ป้ายโฆษณา พื้นที่โค้ช พื้นที่แข่งขันรวม - 125*85 m ตำ�แหน่งช่างกล้อง

ภาพที่ 2.38 รายละเอียดระยะต่างๆในสนาม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

24

พื้นที่สนามแข่งขัน • สำ�หรับการแข่งขันทั้งหมดในระดับมืออาชีพและระดับนานาชาติหรือมีการแข่งในประเทศ สนามควรมีขนาด 105 ม. x 68 ม. • ต้องการพื้นที่เพิ่มเติมข้างสนามฟุตบอลโดยเฉพาะหลังประตู เพื่อที่ผู้เล่นสำ�รองจะสามารถอบอุ่นร่างกายได้ พื้นที่นี้ควรอนุญาต ให้มีการไหลเวียนของผู้ช่วยผู้ตัดสิน, เด็กเก็บบอล, เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และสื่อ (ช่างภาพ) แนะนำ�ให้ใช้อย่างน้อย 8.5 ม. ที่ด้านข้างและ 10 ม. ที่ปลายสุดสนาม • รวมแล้วจะได้พื้นที่ในสนามแข่งขันทั้งหมด ความยาว 125m ความกว้าง 85m

ภาพที่ 2.39 รายละเอียดของเสาประตู ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

1. 2. 3. 4. 5.

ม้านั่งสำ�รอง ที่นั่งผู้ตัดสินที่ 4 ที่นั่งแพทย์สนามและผู้ช่วย พื้นที่โค้ช ที่นั่งผู้ตัดสินสำ�รอง

ภาพที่ 2.40 รายละเอียดซุ้มม้านั่งสำ�รอง ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

25

ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งขัน ฉากโปร่งแสงหรือรั้วรอบสนามแข่งขัน

ทางออกฉุกเฉิน พนักงานรักษาความปลอดภัย แนวสายตา

ภาพที่ 2.41 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับสนามแข่ง ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

สร้างคูรอบสนามแข่งขัน

ทางออกฉุกเฉิน พนักงานรักษาความปลอดภัย แนวสายตา

ภาพที่ 2.42 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับสนามแข่ง ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

การใช้ตาข่ายรอบสนามแข่งขัน

ทางออกฉุกเฉิน พนักงานรักษาความปลอดภัย แนวสายตา

ภาพที่ 2.43 ระยะของผู้ชมกับสนามแข่งและแนวป้องกันผู้ชมกับสนามแข่ง ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

26

วัสดุปูพื้นสนามและการระบายน้ำ� สนามแข่งขันที่ดี จะต้องมีระบบระบายน้ำ�ทั้งบนพื้นผิว และใต้ดินที่ดี เพื่อให้แข่งขันได้หรือระบายน้ำ�ออกได้เร็วในเวลาที่ ฝนตกหนัก เนื่องจากหากสนามมีการระบายน้ำ�ไม่ดี อาจจะทำ�ให้ การแข่งขันต้องหยุดหรือเลื่อนออกไปซึ่งจะส่งผลให้เกิดความไม่ พอใจแก่ผู้ชม และอาจทำ�ให้สเตเดียมสูญเสียรายได้จากผู้ชม สนามหญ้าในการแข่งขันกีฬาจะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ สนามหญ้าจริงและสนามหญ้าเทียมที่ได้ตามมาตรฐานของ FIFA หรือ ได้รับการรับรองโดย FIFA สนามหญ้ า จริ ง จะมี เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การติ ด ตั้ ง และ ดูแลรักษา ดังนี้ การระบายน้ำ� การเสริมการรับน้ำ�หนักที่ชั้นที่มี รากหนาแน่นเพื่อความปลอดภัยและเพื่อความคงทนของพื้นผิว สนามแข่งขัน การปลูกหญ้าโดยการเพาะเมล็ดเป็นวิธีการปลูก ที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด แต่จะต้องใช้เวลานานภายใต้สภาพ อากาศที่เหมาะสมและต้องบำ�รุงรักษาอย่างดี การปลูกหญ้าโดย การใช้แผ่นหรือม้วนเป็นวิธีที่รวดเร็ว แต่จะต้องมีการทดสอบเพื่อ ให้เข้ากับดินที่ปลูกได้ และการรดน้ำ�ต้องเป็นระบบสปริงเกลอร์ จึงจะเหมาะสมที่สุด สนามหญ้าเทียม เป็นพื้นผิวที่ใช้ได้กับการแข่งขันฟุตบอล สนามหญ้าเทียมที่ได้มาตรฐานจะทำ�ให้นักฟุตบอลเคลื่อนไหวได้ ไหลลื่นและปลอดภัย ข้อดีอีกอย่างของสนามหญ้าเทียม คือทำ�ให้ มีสนามหญ้าสีเขียวอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ต้องมีระบบการระบายน้ำ� และการดูแลคล้ายกับสนามหญ้าจริง ระบบการระบายน้ำ�สนามหญ้า

ระบบสำ�รองไฟ

( 1 ) กา รระบ า ย น้ำ � แบบพื้ น ฐาน มี ดิ น ร อ ง รั บ อ ยู่ 1 ชั้น ท่อระบาย จะลึกจากชั้นราก ประมาณ 150 มม (2)การระบายน้ำ� แบบมี ก ารเสริ ม แผ่ น กรองน้ำ � กั้ น ร ะ ห ว่ า ง ส น า ม หญ้าทำ�ให้ช่วยซับ น้ำ � ได้ เร็ ว ขึ้ น และ ช่วยหญ้าคงรูปได้ ( 3 ) กา รระบ า ย น้ำ � แบบเสริ ม ชั้ น หิ น กรวดและดิ น ท ร า ย กั บ แ ผ่ น กรองช่ ว ยสร้ า ง ความแข็ ง แรงให้ พื้นผิว

ระบบไฟฟ้ า สำ � รองรองรั บ สำ � หรั บ การแข่ ง ขั น ที่ มี ก าร ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เพื่อป้องกันการเสียเวลาและการต้อง ยกเลิกการแข่งขัน จากปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ ควรเกิดขึ้น จึงควรให้ความสำ�คัญกับการจัดการระบบการจ่าย ไฟฟ้าที่เพียงพอ เมื่อเกิดเหตุขัดข้องของระบบไฟฟ้า การสับ เปลี่ยนระบบเมนไฟฟ้าหลัก และระบบเมนไฟฟ้าสำ�รอง ทั้งแบบ ทำ�ด้วยมือ และแบบอัตโนมัติ ก็ยังต้องทำ�ให้เกิดช่วงเวลาที่ไฟฟ้า ดับ เช่น ช่วงเวลาการจุดติดหลอดไฟ HID ของระบบไฟฟ้าแสง สว่างสนามฟุตบอล ดังนั้นการจัดรูปแบบของระบบเมนไฟฟ้า จึงต้องการแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำ�รอง ในหลายช่องทาง เช่น เครื่อง กำ�เนิดไฟฟ้า (Generator) ระบบไฟฟ้าสำ�รองชั่วคราว (UPS) และแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำ�รองที่เพียงพอ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ เป็น เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงรวมถึงการจัดวางตำ�แหน่งที่ตั้งของ อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าสำ�รองที่เหมาะสมโดยมีรายละเอียดตามภาพ ที่

ภาพที่ 2.44 ระบบการระบายน้ำ�จากสนาม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.45 ระบบสำ�รองไฟ ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.46 ระบบสำ�รองไฟ ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

27

• ที่นั่งสำ�หรับผู้ชม ขนาดความสูงของแต่ละลูกตั้งอย่างน้อย 0.30 เมตร และ ลูกนอนมีความกว้างอย่างน้อย 0.80 เมตร ต่อขั้น เพื่อให้เข่าของ ผู้ชมไม่แตะที่นั่งด้านหน้า และกว้างเพียงพอต่อการเดินเข้า-ออก ได้สะดวก และที่นั่งควรมีขนาดกว้างอย่างต่ำ� 0.50 เมตร เพื่อ ความสะดวกสบายของผู้ชม แนวสายตาของผู้ชมควรจะเห็นสนามได้โดยไม่มีสิ่งกีด ขวางใดๆ จากทุกที่นั่ง กระดานโฆษณา (ซึ่งมีความสูง 90-100 ซ.ม.) ต้องไม่บังแนวสายตา ซึ่งมีหลักการในการคำ�นวณเส้น สายตา คือ ผู้ชมจะต้องสามารถมองผ่านศีรษะผู้ชมที่อยู่ข้างหน้า ตนเอง 2 แถวไปสู่ขอบสนามได้เป็นความต้องการขั้นต่ำ� ที่นั่งทุกที่ต้องระบุหมายเลขที่เห็นได้ชัด เข้าใจง่าย ผู้ชม ไม่ต้องก้มมองหมายเลขที่ไม่ชัดเจนจนให้คนอื่นต้องรอคอย เพื่อ ให้การเคลื่อนที่ไหลลื่น ไม่ติดขัด

• ที่นั่งสำ�หรับผู้พิการ ที่นั่งผู้พิการ 1 ที่ ต้องการพื้นที่กว้าง 0.90 เมตร ลึก 1.40 เมตร และพื้นที่สัญจรอย่างน้อย 0.90 เมตร และตามมาตรฐาน FIFA ที่นั่งผู้พิการควรจะมีที่นั่งสำ�หรับผู้ช่วยและอุปกรณ์ช่วย เหลืออยู่ด้านข้าง ต้องการพื้นที่รวมกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1.40 เมตร และพื้นที่สัญจรอย่างน้อย 0.90 เมตร ที่นั่งสำ�หรับผู้พิการ ควรมีสัดส่วนอยู่ที่ ระหว่าง 0.5-1% ของจำ�นวนที่นั่งทั้งหมด ที่นั่งผู้พิการควรอยู่ในระดับเดียวกับทางเข้าอัฒจันทร์ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้พิการ โดยทั่วไปแล้วสามารถ จัดได้ 2 ลักษณะ คือ อยู่ล่างสุด ในกรณีที่เข้าอัฒจันทร์จากด้าน ล่าง หรืออยู่ด้านบน ในกรณีที่เข้าอัฒจันทร์จากด้านบน ซึ่งมัก เป็นกรณีที่มีการลดระดับสนามแข่งขันลงต่ำ�กว่าระดับดิน หรือ อัฒจันทร์มีหลายชั้น เป็นต้น

ภาพที่ 2.47 ที่นั่งของผู้ชมทั่วไป ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.48 ที่นั่งของผู้พิการ ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

C = absolut min. 0.06m C = Recommended min. 0.09m C = optimum 0.12m E = ความสูงระหว่างอัฒจันทร์กับสนามแข่ง อย่างน้อย 1 ม.

ภาพที่ 2.49 ระยะที่นั่งของผู้ชมกับสนาม ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• ที่นั่งสำ�หรับ VIP ที่นั่งผู้ชม VIP ความต้องการจะแตกต่างกันในแต่ละการ แข่งขัน แต่สเตเดียมสมัยใหม่ ควรจัดให้มีที่นั่ง VIP อย่างน้อย 300 ที่นั่ง และสามารถขยายได้ในกรณีที่มีการจัดการแข่งขัน รายการสำ�คัญ สิ่งอำ�นวยความสะดวกของส่วน VIP มีดังนี้ • ส่วนต้อนรับ มีโต๊ะสำ�หรับรับแขก พื้นที่นี้ควรมีขนาดใหญ่ เพียงพอสำ�หรับการรักษาความปลอดภัยและการตรวจตั๋ว • ห้องรับรอง มีที่นั่งพักผ่อน ที่ทานข้าว ครัว • ห้องน้ำ� สำ�หรับการแข่งขัน ไทยลีก 1 และไทยลีก 2 สเตเดียมจะ ต้องจัดให้มีพื้นที่สำ�หรับต้อนรับแขกหรือผู้ชม VIP ไม่ต่ำ�กว่า 200 ตารางเมตร มีห้องรับรองพิเศษพร้อมเครื่องปรับอากาศสำ�หรับ VIP ชมการแข่งขันบนอัฒจันทร์ และมีที่นั่งไม่ต่ำ�กว่า 30 ชุด

28

• ที่นั่งสำ�หรับสื่อมวลชน ที่นั่งสื่อมวลชน ต้องติดตั้งโต๊ะที่มีขนาดใหญ่พอที่จะวาง แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และสมุดจด 1 เล่ม แต่ละโต๊ะ มีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า โทรทัศน์ และระบบฐานข้อมูล ที่นั่ง นักข่าวควรจะสามารถเข้าถึงและไปสู่ส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ง่าย เช่น ศูนย์สื่อสารมวลชน (Media Center) Mixed Zone และ ห้องประชุมผู้สื่อข่าว ขนาดที่นั่งนักข่าวกว้างที่ละ 0.80 เมตร ลึก 1.60 เมตร เป็นอย่างน้อย และควรจะมีจอโทรทัศน์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยใน การทำ�งาน ซึ่งต้องการระบบไฟฟ้าเข้าถึง ควรมีจอโทรทัศน์อย่าง น้อย 1 จอ ต่อ 8 ที่นั่ง สำ�หรับที่นั่งนักข่าวที่เพิ่มขึ้นมาไม่จำ�เป็นต้องมีโต๊ะประจำ� ทุกที่ ในทางปฏิบัติควรจะมีที่นั่งผู้สื่อข่าวที่มีโต๊ะอย่างน้อยครึ่ง หนึ่งของผู้สื่อข่าวทั้งหมด

ภาพที่ 2.51 ที่นั่งของสื่อมวลชน ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement

ภาพที่ 2.50 ระยะที่นั่งของผู้ชม VIP ที่มา : STADIA: A Design and Development Guide

ภาพที่ 2.52 ระยะที่นั่งและการจัดที่นั่งของสื่อมวลชน ที่มา : Football Stadiums : Technical recommendations and requirement


29

2.7 หลักสูตรการฝึกสอนฟุตบอลเยาวชน หลักสูตรมาตรฐานของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย การฝึกฟุตบอลในแต่ละช่วงอายุ • 5-8 ปี ฝึกการใช้ร่างกายกับลูกฟุตบอล เน้นฝึกทักษะ และเทคนิคพื้นฐาน การเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เน้นความ สนุกสนาน และความรักในฟุตบอล • 9-12 ปี ฝึกพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เน้นการฝึกทักษะกลุ่ม ย่อย การเคลื่อนที่เป็นกลุ่มร่วมกัน เน้นความเข้าใจในเกม การเล่น เกมรุก-เกมรับ สร้างความรับผิดชอบ รู้แพ้ รู้ชนะ ความมีน้ำ�ใจนักกีฬา • 13-21 ปี ฝึกเน้นทักษะ เทคนิค แทคติคกลุ่มย่อย เน้นการ ฝึกการเคลื่อนที่เป็นกลุ่มในเกมรับ-เกมรุก เน้นความเข้าใจ ในเกม ระบบเกมการเล่น การอ่านเกม และการตัดสินใจใน การเล่น รูปแบบการฝึกในแต่ละช่วงอายุ • 3-5 ปี เป็นช่วงอายุที่เน้นทักษะพื้นฐาน ยังไม่ได้เจาะลึกถึง แทคติคการเล่น แต่จะเน้นด้านการเล่นสนุกกับฟุตบอล จึง ใช้พื้นที่และเวลาในการฝึกยังไม่มาก จะเป็นการฝึกกับสนาม ฟุตบอลขนาด 1/8 ของสนามจริง ใช้เวลาฝึกแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที ซึ่งจะฝึกในเรื่องการผ่านบอล การส่ง บอลระยะไกล้-ไกล จะยังไม่เน้นด้านเนื้อหามาก เพื่อกระตุ้น ให้เด็กๆมีความอยากเล่นฟุตบอลมากขึ้นและสนุกกับการ เล่นเพื่อทำ�ความคุ้นเคยกับฟุตบอลก่อน

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• 6-11 ปี เป็นช่วงที่เริ่มเน้นเรื่องทักษะของแต่ละคนว่ามีจุด เด่นในด้านไหนบ้าง แล้วนำ�มาแนะนำ�ว่าควรจะพัฒนาไปใน แนวทางใด ฝึกทักษะการเล่นเป็นทีม มีความเป็นทีมเวิร์ค เริ่มมีการสอนแทคติค วิธีการเล่น รูปแบบการเล่นต่างๆ สอนด้านความรับผิดชอบ การมีน้ำ�ใจนักกีฬา รุ่นนี้จะฝึกกับ สนามขนาด 1/2 ของสนามจริง จะใช้เวลาในการฝึกแต่ละ ครั้ง ประมาณ 30-60 นาที • 12-21 ปี ฝึกเน้นทักษะ เทคนิค แทคติคกลุ่มย่อย เน้นการ ฝึกการเคลื่อนที่เป็นกลุ่มในเกมรับ-เกมรุก เน้นความเข้าใจ ในเกม ระบบเกมการเล่น การอ่านเกม และการตัดสินใจใน การเล่น มีการสอนในเชิงลึกเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล กฏ กติกา การเล่น แทคติคขั้นสูง ฝึกรูปแบบการเล่นที่สอดคล้องกับ ทีมชุดใหญ่ ในรุ่นนี้จะฝึกกับสนามขนาดเท่าสนามจริง จะ ใช้เวลาในการฝึกแต่ละครั้ง ประมาณ 60-90 นาที เพื่อ ทำ�ความคุ้นเคยกับเวลาการแข่งขันจริง ขั้นตอนการฝึกซ้อม • การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up) หมุนข้อต่อ ต่างๆ เคลื่อนไหวร่างกายแบบแอโรบิก เพื่อเพิ่มการทํางาน ของระบบไหลเวียนโลหิต การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่ม ช่วงของการเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่นแก่กล้ามเนื้อ • การอบอุ่นร่างกายเฉพาะ (Specific Warm) เป็นการอบอุ่น ร่ า งกายในส่ ว นของอวั ย วะหรื อ กล้ า มเนื้ อ มุ่ ง เน้ น เฉพาะ ส่วนที่ต้องใช้งานตามทักษะที่ต้องการแตกต่างกันไป ผู้เล่น ฟุตบอลควรอบอุ่นร่างกายเพิ่มเติม ดังนี้ ฝึกทรงตัวและ จังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ การถ่ายน้ํา หนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือ เลี้ยงลูกฟุตบอล การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น การวิ่ง ซิกแซ็ก

ภาพที่ 2.53 ขนาดสนามที่ใช้ฝึกซ้อมของนักกีฬาเยาวชนรุ่นต่างๆ ที่มา : แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติ ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• หลังจากฝึกซ้อมเสร็จจะมีการผ่อนร่างกาย (Cool down) มี ขั้นตอนดังนี้ การผ่อนร่างกายทั่วไป (General cool down) จะเป็นการ เดินเร็ว กระโดดตบช้า ๆ หรือวิ่งช้า ๆ เพื่อค่อย ๆ ลดการทํางานของร่างกายลง ต่อมาจะเป็นการยืดเหยียด กล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ให้แก่กล้ามเนื้อ และเป็นการลดความระบมกล้ามเนื้อ

Warm Up / Warm Down • อบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมการสำ�หรับกล้ามเนื้อและการลด กล้ามเนื้อช็อตขณะออกกำ�ลังกาย

การวิ่งบนเนิน • สามารถลดกล้ามเนื้อช็อตได้ 24 % เมื่อเปรียบเทียบกับการ วิ่งในแนวราบ

30

จากตารางการฝึกซ้อมและการเรียน ในภาพที่ 2.13 ด้านล่าง มีรายละเอียด ดังนี้ • วันจันทร์ จะเป็นการเรียนในช่วงเช้า จนถึงบ่าย พอถึงช่วง เย็นเลิกเรียนก็จะทำ�การฝึกซ้อมมื้อแรกของสัปดาห์ • วันอังคาร ช่วงเช้าเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีด้านฟุตบอล และ ซ้อมฝึกทักษะ ช่วงบ่ายเรียนตามโปรแกรมปกติ ช่วงเย็นเลิก เรียนก็จะทำ�การฝึกซ้อมมื้อที่สองของสัปดาห์ • วันพุธ ช่วงเช้าเป็นการเรียนปกติ และซ้อมฟุตบอลประมาณ 1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายจะเป็นการพัก และทำ�กิจกรรมอื่นๆ • วันพฤหัสฯ ช่วงเช้าเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีด้านฟุตบอล ช่วง บ่ายเรียนตามปกติ • วันศุกร์ ช่วงเช้าเรียนตามปกติ ช่วงบ่ายจะเป็นการฝึกส่วน บุคคล และซ้อมฟุตบอลตามปกติ • วันเสาร์ ช่วงเช้า ซ้อมฟุตบอลเพื่อเตรียมแข่งขันหรือพักผ่อน ช่วงบ่ายถึงเย็น เตรียมตัวแข่งขัน ถ้าไม่มีการแข่งก็จะได้พัก • วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายถึงเย็น เตรียมตัวแข่งขัน ถ้าไม่มีการแข่ง ก็จะได้พัก จากโปรแกรมข้างต้นจะได้องค์ประกอบต่างๆ ในโครงการดังนี้ • สนามซ้อม ขนาดเล็ก(1/8) 1 สนาม สนามซ้อมขนาด กลาง(1/2) 1 สนาม สนามซ้อมขนาดเท่าสนามแข่ง 1 สนาม • ห้องเรียนทฤษฎีฟุตบอล • ห้องประชุมทีม • ห้องพักนักกีฬา • ห้องนอนนักเตะในกรณีที่ต้องพักที่ Academy • โรงยิมของนักกีฬา • ห้องวิทยาศาสตร์การกีฬา

ตารางที่ 2.1 ตารางเวลาการเรียนและการฝึกซ้อมของนักเตะเยาวชน ที่มา : Youth Football : 247


31

2.8 อาคารกรณีศึกษา Chang Arena เจ้าของ : สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่ตั้ง : เมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ความจุสนาม : 32,600 ที่นั่ง เป็ น สนามกี ฬ าที่ ส ร้ า งขึ้ น เพื่ อ ใช้ เ ป็ น สนามเหย้ า ของ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตําบลอิสาณ อําเภอ เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท จั ด เป็ น สนามฟุ ต บอลที่ไ ด้ม าตรฐานแห่งแรกและแห่ง เดี ย วใน ประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐาน FIFA และ AFC

เกณฑ์การเลือกอาคารกรณีศึกษา • สเตเดียมที่มีขนาดใกล้เคียงกับโครงการ • สเตเดียมที่ได้มาตรฐานการรับรองจากทาง FIFA หรือ AFC • รูปแบบของสเตเดียมที่มีเอกลักษณ์

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

การวางทิศทางของ สนาม วางไปตามแนวทิศ เหนือ-ใต้ มีทางเข้า-ออก อยู่ 2 ทาง คือ ทางเข้าตัวเมือง บุรีรัมย์ และทางไปอำ�เภอ ประโคนชัย การจั ด วางผั ง แบ่ ง ตามการใช้งาน ด้านจะเป็น ลานอเนกประสงค์ ทุ ก คน สามารถมาใช้ ง านได้ ต ลอด เวลา รอบสเตเดียมจะเป็น พลาซ่า


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

32

ทางเข้าภายในสเตเดียม แบ่งเป็น 4 โซน หลัก คือ True Stand (North), Yamaha Stand (East), Chang Stand (South), Euro Stand (West) รวมแล้วประตูทางเข้าผู้ชมทั่วไปมีทั้งหมด 20 ประตู ประตู VIP 1 ประตู ประตูทางเข้าของ รถบริการ 1 ประตู

ก า ร จั ด ท า ง สั ญ จรของอั ฒ จั น ทร์ จั ด แบบมี จุ ด แยกการ สัญจรขึ้น-ลง ทำ�ให้มีที่ นั่งที่ต้องสูญเสียจากการ จั ด การสั ญจรน้ อ ยที่ สุ ด และประหยั ด พื้ น ที่ ไ ด้ แต่อาจทำ�ให้ผู้ชมสับสน กับทางขึ้นได้ โครงสร้ า งของ อั ฒ จั น ทร์ ใช้ โ ครงสร้ า ง หลั ก เป็ น เหล็ ก โดยใช้ โครงสร้างRigid Frame ทั้ ง ตั ว เสาและคานมี ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ทํ า ง า น ค ล้ า ย กั บ โ ค ร ง ส ร้ า ง Truss โครงสร้างของที่ นั่ ง เป็ น แผ่ น เหล็ ก ลาย ตีนเป็ด ด้ า น ห น้ า ส เ ต เดี ย มตกแต่ ง เปลื อ ก อาคารด้ ว ยการทาสี น้ำ�เงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของสโมสร และทำ�ให้ มี ห น้ า ต า เ ห มื อ น กั บ ปราสาทขอมซึ่ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องจั ง หวั ด บุรีรัมย์

โครงสร้างของหลังคาใช้โครงสร้างเคเบิลยึด กับโครงเหล็ก Truss ทำ�ให้ภายในสเตเดียมดูไม่ใหญ่ จนเกินไป โดยตัวเคเบิลจะยึดโครงหลังคาไว้ และ ถ่ายน้ำ�หนักลงไปยังโครงสร้างของอัฒจันทร์ซึ่งเป็น โครงสร้างเหล็ก และถ่ายน้ำ�หนักไปสู่ฐานรากซึ่ง คุณสมบัติของเหล็กสามารถรับทั้งแรงอัดและแรงดึงได้ ดี

จุดสำ�คัญของสนาม Chang Arena คือ มีการ จัดการการใช้งานสเตเดียมได้ดี โดยในวันที่ไม่มีการ แข่งขันก็ยังสามารถทำ�ให้ผู้คนเข้ามาใช้งานได้พลาซ่า ด้านหน้ายังใช้เป็นที่จัดแสดงงานคอนเสริต หรืองาน ต่างๆได้ ทำ�ให้สเตเดียมเกิดการใช้งานตลอดเวลา สร้างรายได้ให้สโมสรและคนในชุมชน


33

สนามกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เจ้าของโครงการ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่ตั้ง : จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย ความจุที่นั่ง : 20,000 ที่นั่ง สนามกีฬา ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นสนามกีฬาที่สร้าง ขึ้น เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 และเฟส ปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ สนามแห่งนี้มี ความจุทั้งหมด 20,000 ที่นั่ง เป็นสนามกีฬากลางแจ้งมาตรฐาน ขนาดใหญ่ที่ผ่านมาตรฐานการรับรองจาก AFC พร้อมลู่วิ่งยาง สังเคราะห์ จำ�นวน 9 ช่องวิ่ง สําหรับแข่งขันฟุตบอล กรีฑา และ กีฬากลางแจ้งอื่นๆ มีไฟฟ้าส่องสว่างระดับมาตรฐานการถ่ายทอด ทางโทรทัศน์ มีอัฒจันทร์สําหรับนั่งชมโดยรอบ และมีหลังคาทั้ง สองฝั่งสนาม

เกณฑ์การเลือกอาคารกรณีศึกษา • สเตเดียมที่มีขนาดใกล้เคียงกับโครงการ • สเตเดียมที่ได้มาตรฐานการรับรองจากทาง FIFA หรือ AFC • รูปแบบของสเตเดียมที่มีเอกลักษณ์

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

การวางทิศทางของสนาม วางตามแนวทิศเห หลักการออกแบบสเตเดียม มีทางเข้าอยู่เพ ทำ � ให้ อ าจจะมี ก ารจราจรติ ด ขั ด ในวั น ที่ มี ประตูทางเข้าสเตเดียมมีทั้งหมด 44 ประตู


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

34

หนือใต้ ตาม พียงทางเดียว การแข่ ง ขั น โครงสร้างของหลังคา ใช้โครงสร้างหลังคา เหล็กยื่นยาวด้วยการยึดจากด้านบนด้วยเหล็กกลม กับลวดสลิง โดยให้มีการสร้างความสมดุลจากการ ดึงกลับของเหล็กและสายสลิง และออกแบบให้เสา ที่รับมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรับน้ำ�หนักของโครง หลังคากับโครงเคเบิลได้ ส่ ว นหลั ง คาที่ ใช้ เ ป็ น หลั ง คาเมทั ล ชี ท หรื อ หลังคารีดลอน เพราะเป็นวัสดุที่มนี ้ำ�หนักเบาทำ�ให้ ลดภาระของโครงสร้างได้

การจั ด การทางสั ญ จร บนอัฒจันทร์ แบบมี การขยายชานพั ก ให้ ย าว ขึ้ น เพื่ อ กระจายบั น ได อัฒจันทร์ให้ได้ระยะตาม ความเหมาะสม การใช้ รูปแบบนี้จะไม่มีทางเดิน ในแนวราบ จะเน้นการ สัญจรในแนวตั้ง

โครงสร้ า งของอั ฒ จั น ทร์ เป็นโครงสร้างเหล็ก มี Bracing ยึดระหว่างเสา ทั้งหมด มีข้อต่อแบบ Pin Jointed ส่วนที่นั่ง อั ฒ จั น ทร์ เ ป็ น แผ่ น พื้ น คอนกรีตสำ�เร็จรูป


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

35

Allianz Arena เจ้าของโครงการ : Allianz Arena München Stadion GmbH ที่ตั้ง : Munich, Germany ความจุที่นั่ง : 70,000 ที่นั่ง Allianz Arena เป็นสเตเดียมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสนาม เหย้าของ 2 สโมสร ออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิก Herzog De Meuron ก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ.2005 ค่าก่อสร้าง 350 ล้าน ยูโร และเป็นสเตเดียมที่ใช้เปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่ ประเทศเยอรมนี ผ่านการรับรองจาก FIFA จุดเด่นของ Allianz Arena คือ เปลือกอาคารที่เปลี่ยนสีได้ โดยจะเปลี่ยนได้ 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีฟ้า หรือว่าจะเปิดสีทั้งหมดพร้อมกันเลยก็ได้ วัตถุประสงค์ในการออกแบบ คือ สีของเปลือกอาคารจะเปลี่ยน ไปตามทีมที่ใช้สเตเดียมเป็นทีมเหย้า

เกณฑ์การเลือกอาคารกรณีศึกษา - สเตเดียมที่ได้มาตรฐานการรับรองจากทาง FIFA หรือ AFC - รูปแบบของสเตเดียมที่มีเอกลักษณ์


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

36


37

Emirates Stadium เจ้าของโครงการ : สโมสรฟุตบอลอาร์เซน่อล ที่ตั้ง : ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ ความจุที่นั่ง : 60,355 ที่นั่ง เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เปิดใช้ งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 สนามแห่งนี้มีอัฒจันทน์ที่ มีหลังคาล้อมทั้ง 4 ทิศ แต่พื้นสนามไม่มีหลังคาคลุม เป็นสนาม ฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก ในช่วงวางแผน และกำ�ลังก่อสร้างอยู่นั้น เดิมสนามนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “แอชเบอร์ ตันโกรฟ” ก่อนที่จะมีการใช้ชื่อตามข้อตกลงของสายการบินเอมิ เรตส์ ผู้สนับสนุนการก่อสร้างสนามนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2004 มูลค่าการก่อสร้างสนามอยู่ที่ 430 ล้านปอนด์

เกณฑ์การเลือกอาคารกรณีศึกษา • สเตเดียมที่ได้มาตรฐานการรับรองจากทาง FIFA หรือ AFC • รูปแบบของสเตเดียมที่มีเอกลักษณ์

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

38

รูปแบบการสัญจรบน อัฒจันทร์ เป็นแบบ การสัญจรทางตรง มี บันไดอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของ ทางออก มีทางเข้าภาย ในสเตเดี ย มทั้ ง หมด 32 ทางรอบสเตเดียม และที่นั่งเป็นที่นั่งเก้าอี้ ทั้งหมด

โ ค ร ง ส ร้ า ง ส่ ว น อั ฒ จั น ท ร์ เ ป็ น โ ค ร ง ส ร้ า ง เ ส า แ ล ะ ค า น ใ ช้ วั ส ดุ เ ป็ น คอนกรี ต เสริ ม เหล็ ก โดยส่วนที่เป็นแม่บันได ใช้เป็นชิ้นส่วนสำ�เร็จรูป

Facade เป็นกระจก ทำ � ให้ มี แ สงธรรมชาติ เข้ามาภายในสเตเดียม ได้ ช่ ว ยทำ � ให้ ป ระหยั ด พลังงาน และเกิดความ ยั่งยืน ด้านบนสเตเดีย มยั ง มี ก ารเปิ ด เพื่ อ รั บ ลมธรรมชาติ เข้ า มาใช้ งานภายในสเตเดียม

โครงสร้างหลังคา ใช้โครงสร้างเหล็ก Truss โดยมีโครง Truss ทางด้านแกนยาวเป็นโครงสร้างหลัก ส่วนแกนสั้นเป็นโครง Truss รอง และมีโครง Truss รองกระจายน้ำ�หนักไปยังวงแหวนรอบส เตเดียม และมีจุดรองรับอยู่ด้านละ 4 จุด เพื่อรับน้ำ�หนักของโครง หลังคาทั้งหมด

ทางสัญจรของสเตเดียมแห่งนี้ มี 2 ทางเข้าหลัก คือ ทางด้านทิศ เหนือและทิศใต้ โดยในแต่ละด้านจะมีบันไดขนาดใหญ่เชื่อมต่อ กับโพเดียม ทำ�ให้การถ่ายเทผู้คนสามารถทำ�ได้อย่างคล่องตัว ซึง เป็นจุดเด่นของสเตเดียมแห่งนี้


39

บทที่ 3 การศึกษาความเป็นไปได้โครงการ (Feasibility Study)

3.1 ความเป็นไปได้ด้านนโยบายและแผน สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มีการวางแผนงานและ เป้าหมายในการเป็นทีมในระดับแถวหน้าของเมืองไทย จะต้อง ใช้เวลาในการสร้างทีมเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่กำ�หนดไว้ ซึ่ง แผนของสโมสรมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายต่าง ๆ ของทางภาค รัฐและเอกชน ดังนี้ 3.1.1 แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560-2564 • การส่งเสริมให้เกิดความรู้และความตระหนักด้านการออก กำ�ลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐาน • การส่งเสริมให้มวลชนมีการออกกำ�ลังกายและมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการกีฬา • การพั ฒ นากี ฬ าเพื่ อ ความเป็ น เลิ ศ และต่ อ ยอดเพื่ อ ความ สำ�เร็จในระดับอาชีพ • การพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำ�คัญในการ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ • การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา • การยกระดั บ การบริ ห ารจั ด การด้ า นการกี ฬ าให้ มี ประสิทธิภาพ 3.1.2 แผนแม่บทการส่งเสริมและพัฒนากีฬาอาชีพ พ.ศ. 2558 – 2562 • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการจัดการแข่งขัน • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสุข สร้างรายได้ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากร • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารและการบริการกีฬาอาชีพ

ผู้สนับสนุนหลักของสโมสร มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย มาสด้ า ให้ ค วามสำ � คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การพั ฒ นาวงการ ฟุตบอลไทย ด้วยการเข้ามาสนับสนุนฟุตบอลทีมสวาทแคท หรือ นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหารมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย กล่าวว่า มาสด้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการต่อ สั ญ ญากั บ สโมสรจะมี ส่ ว นช่ ว ยขั บ เคลื่ อ นวงการฟุ ต บอลของ ประเทศไทยสู่การพัฒนาและการยกระดับคุณภาพอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ทางสโมสรมุ่งหวังไว้เท่านั้น แต่ ยั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการร่ ว มสานฝั น ให้ กั บ แฟนฟุ ต บอลชาว โคราชและชาวไทยทุกคน ที่ต้องการเห็นความสำ�เร็จของวงการ ฟุตบอลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ทีมฟุตบอลชาติไทยชุดใหญ่ ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายของเอเชียนคัพ ถือเป็นการสร้างรอย ยิ้มและความสุขให้กับคนไทยทุกคนผ่านทางกีฬาฟุตบอล

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

3.1.3 แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 • การบริหารจัดการสโมสร -- มีสโมสรอาชีพที่ยั่งยืน มีฐานะด้านการเงินที่มั่นคง -- สโมสรอาชี พ เป็ น แหล่ ง พั ฒ นานั ก กี ฬ าที่ ส ร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ ประเทศอย่างต่อเนื่อง -- สโมสรอาชีพตัวแทนประเทศสามารถสร้างชื่อเสียงในระดับ เอเชียได้ -- สโมสรมีบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำ�นวยความ สะดวก ที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล 3.1.4 แผนงานและนโยบายของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี • วางเป้าหมายในการติด 1 ใน 10 ของตารางคะแนน • โครงการใหญสร้างสนามขนาดความจุ 8,000-12,000 ที่นั่ง • พัฒนานักเตะเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมาอย่างเป็นรูป ธรรมมากขึ้นทั้งในรุ่น U13, U15, U17 และ U19 • จั ด ให้ ที ม เยาวชนมี ก ารลงซ้ อ มกั บ ที ม ชุ ด ใหญ่ เ พื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถเพื่อมาทดแทนผู้เล่นชุดใหญ่ในอนาคต • สร้ า งพื้ น ที่ ส นั บสนุ น การเล่ น กี ฬ าให้ ค นทั่ ว ไปหั น มาสนใจ กีฬามากขึ้น จากแผนที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับ สโมสรทั้งทางด้านการส่งเสริมให้สโมสรมีมาตรฐานที่เป็นสากล มีฐานะที่มั่นคงทางด้านการเงิน สามารถที่จะผลิตนักกีฬาให้เป็น นักกีฬาอาชีพสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ มีการส่งเสริมให้มีการ เล่นกีฬา ออกกำ�ลังกาย และต่อยอดไปจนถึงการทำ�ให้กีฬาเป็น ส่วนที่สำ�คัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งในการที่จะ พัฒนาแผนเหล่านี้ให้สำ�เร็จจะต้องมีการสร้างพื้นที่ (สเตเดียม) ที่ จะพัฒนาแผนทั้งหมดโดยการทำ�ให้แฟนบอลหรือผู้คนทั่วไปรู้สึก ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสเตเดีมแห่งใหม่นี้ จากการที่ ผู้ ส นั บ สนุ น หลั ก มี เ ป้ า หมายที่ จ ะร่ ว มพั ฒ นา สโมสรให้ก้าวหน้าเพื่อให้แฟนบอลทุกคนได้เห็นความสำ�เร็จของ ทีม ทำ�ให้โครงการที่จะสร้างสเตเดียมแห่งใหม่มีความความเป็น ไปได้มากขึ้น เพราะผู้สนับสนุนพร้อมจะผลักดันอย่างเต็มที่

ภาพที่ 3.1 โลโกมาสด้า ผู้สนับสนุนหลักของสโมสร ที่มา : https://www.mazda.co.th/ (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

40

3.2 ความเป็นไปได้ด้านผู้ใช้งานโครงการ เนื่องจากเป็นอาคารประเภทสเตเดียม มีผู้ใช้สอยหลักคือ ผู้ชมที่เข้ามาชมเกมส์การแข่งขันซึ่งมีผลต่อความจุของสเตเดียม การคำ�นวณความจุของสเตเดียมคำ�นวณจากการคาด การณ์จำ�นวนผู้เข้าชมเกมส์ในสนามในอีก 5 ปีข้างหน้า แล้วนำ�ค่า การคำ�นวณที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย แล้วจึงนำ�ไปเปรียบเทียบกับสนาม ที่ผ่านมาตรฐานของ AFC ว่าค่าความจุที่ได้มีขนาดไกล้เคียงกับ สเตเดียมของสโมสรใดเพื่อนำ�มาใช้อ้างอิงกับโครงการ 400,000

สโมสร จำ�นวนผู้ชม ความจุที่นั่ง ร้อยละที่นั่งต่อผู้ชม Buriram United 203,374 32.600 16.03 % Chonburi FC 71,345 8,500 11.91 % True Bangkok United 65,673 25,000 38.06 % Sukhothai FC 56,464 8,000 14.16 % SCG Muangthong United 136,501 13,000 9.52 % Suphanburi FC 97,656 15,279 15.65 % Port FC 76,312 8,000 10.48 % Bangkok Glass FC 68,179 9,000 13.2 % Singha Chiangrai United 75,778 13,000 17.15 % ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงจำ�นวนผู้ชมของสโมสรที่ผ่านเกณฑ์ AFC ในปี 2019 ที่มา : https://www.thaileague.co.th/ (2562)

332,412 300,000

ฤดูกาลล่าสุด

95,412

100,000

267,787

255,726

242,191

227,490

185,813

173,041

200,000

277,898

100,532

97,911

69,406

38,281

7,155

-

-23,971

-76,834 -128,974

-100,000

-179,165 -227,881

-200,000

-275,432 -300,000

-400,000 2015

2016

2017 จำานวนผู้ชม

2018 การพยากรณ์(จำานวนผู้ชม)

2019

2020

ขีดจำากัดความเชื่อมั่นระดับล่าง(จำานวนผู้ชม)

2021

2022

2023

2024

ขีดจำากัดความเชื่อมั่นระดับบน(จำานวนผู้ชม)

แผนภูมิที่ 3.1 การคาดการณ์จำ�นวนผู้ชมใน 5 ปีข้างหน้าของทีมนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี

• • • • • • • • • •

ขนาดความจุของสนามที่ผ่านมาตรฐานของ AFC Buriram United (32,600 Seat) Chonburi FC (8,500 Seat) True Bangkok United (25,000 Seat) Sukhothai FC (8,000 Seat) SCG Muangthong United (13,000 Seat) Suphanburi FC (15,279 Seat) Port FC (8,000 Seat) Bangkok Glass FC (9,000 Seat) Singha Chiangrai United (13,000 Seat)

จากตารางที่ 3.1 ได้คำ�นวณสถิติผู้ชมของสโมสรที่มีสนาม ผ่านเกณฑ์ของ AFC ในฤดูกาลล่าสุด พบสนามของแต่ละสโมสร มีความจุของสนามอยทีู่ประมาณ 10-17 % ของจำ�นวนผู้ชม และจากการเปรียบเทียบกับสโมสรอื่นที่มีจำ�นวนผู้ชมใกล้เคียง กับสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เช่น สโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด สโมสรเอสซีจีเมือง สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี เป็นต้น ถ้าสวาท แคทมีที่นั่ง 25,000 จะได้ค่าร้อยละของผู้ชมกับความจุสนาม เป็น 13 % ซึ่งความจุของสเตเดียมที่ 13 % ของจำ�นวนผู้เข้าชม ( 25,000 ที่นั่ง ) มีความเหมาะสมกับโครงการนี้ เนื่องจากอยู่ใน ระหว่าง 10 - 17 % ที่คำ�นวณได้ ดังนั้น เลือกความจุของสเตเดียม 25,000 ที่นั่ง โดย อ้างอิงจากร้อยละของที่ผู้ชมกับความจุสนามที่คำ�นวณได้


41

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

กลุ่มผู้ใช้สอยหลัก ( Main User )

นักฟุตบอล สต๊าฟโค้ช -- นักเตะสโมสร มีที่มาจาก -- โค้ ช (1),ผู้ ช่ ว ยโค้ ช (2), จำ � นวนของข้ อ กำ � หนด โค้ ช ผู้ รั ก ษาประตู ( 1), ที่ ท างไทยลี ก กำ � หนดให้ โค้ชฟิตเนส(1),เจ้าหน้าที่ ไม่เกิน 37 คน ซึ่งปัจจุบัน เทคนิค(2),ทีมแพทย์(3), สโมสรมี นั ก เตะทั้ ง หมด เ จ้ า ห น้ า ที่ อุ ป ก ร ณ์ 32 คน (ดูข้อมูลหน้า 15) สัมภาระ(2) มีที่มาจาก -- นั ก เ ต ะ ฝั่ ง ที ม เ ยื อ น ข้อกำ�หนดของไทยลีก 20 คน มีที่มาจากข้อ กำ � หนดการแข่ ง ขั น ไทย ลี ก ที่ กำ � หนดว่ า ส่ ง ราย ชื่ อ นั ก กี ฬ าฟุ ต บอลเข้ า แข่งขันในแต่ละนัดให้ส่ง ได้ไม่เกิน 20 คน

นักเตะเยาวชน แฟนบอล/ผู้ชม -- สโมสรต้ อ งมี ที ม เยาวชน -- มี ที่ ม าจากการคำ � นวณการ ตามลำ�ดับอายุ 15 – 21 ปี ค า ด ก า ร ณ์ จำ � น ว น ผู้ เข้ า จะต้องมีอย่างน้อย 2 ทีม ชมเกมในสนามแล้ ว นำ � ไป 10 – 14 ปี จะต้องมีอย่าง เปรี ย บเที ย บกั บ สนามที่ ไ ด้ น้อย 1 ทีม ต่ำ�กว่า 10 ปี รับการรับรองจากทาง AFC ต้องมีอย่างน้อย 1 ทีม จะ ซึ่งได้ความจุ 25,000 ที่นั่ง ได้ทีมแบ่งเป็น 4 รุ่น คือ U10 (15), U14 (15),U18 (20), U21 (20)

กลุ่มผู้ใช้สอยรอง ( Sub User)

คนทั่วไปที่มาออกกำ�ลังกายและคนที่มาเยี่ยมชม กรรมการและเจ้ า หน้ า ที่ สื่อมวลชน ผู้บริหารและแขก VIP -- เป็นกลุ่มผู้ใช้รองซึ่งแบ่งเป็นคนในพื้นที่ที่มา ควบคุมการแข่งขัน -- ต า ม ข้ อ กำ � ห น ด -- จำ � น ว น ผู้ บ ริ ห า ร ใช้งานรอบโครงการ ทำ�กิจกรรม เช่น การ -- ผู้ตัดสิน 1 คน, ของ AFC จำ�นวน และแขก VIP ขึ้น ออกกำ�ลังกาย การเล่นกีฬา พักผ่อน และ ไลน์แมน 2 คน,ผู้ช่วย ที่นั่งนักข่าวในการ อยู่ กั บ การแข่ ง ขั น มีคนที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของสโมสร ซื้อ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ แข่งขันรอบ 16 ทีม ว่ า มี ค วามสำ � คั ญ ใน ของจากสโมสร ตัดสินสำ�รอง 1 คน สุดท้าย และรอบ ระดับใด ถ้าสำ�คัญ 8 ทีมสุดท้าย 75 ในระดั บ นานาชาติ ที่นั่ง ก็จะมีจำ�นวน VIP มากขึ้น ดังนั้น ควร มีอย่างต่ำ� 50 ที่นั่ง สำ�หรับ VIP (FIFA)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

42

ผังโครงสร้างองค์กร ผังโครงสร้างองค์กรของสโมสร มีหลักเกณฑ์ข้อกำ�หนดจากคลับไลเซนซิ่ง ซึ่งจะต้องมีเพื่อให้ผ่านการประเมิน และจากการศึกษา ผังโครงสร้างองค์กรของสโมสรที่มีมาตรฐาน ทำ�ให้ได้ผังโครงสร้างองค์กร ดังนี้ ประธานที่ปรึกษาสโมสร (1) ประธานสโมสร (1) รองประธานสโมสร (1) กรรมการบริหาร (4) ฝ่ายจัดการทีม

ฝ่ายธุรการ

ฝ่ายสนับสนุน

ประธานเทคนิค(1)

แผนกบัญชี(4)

หัวหน้าฝ่าย(1)

ฝ่ายแพทย์(2)

แผนกพัสดุ(2)

ฝ่ายผู้ฝึกสอน(5)

แผนก ประชาสัมพันธ์(2)

แผนกการขายและ สปอนเซอร์(2)

ฝ่ายกายภาพ(2) ฝ่ายสมรรถภาพ(2)

ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (2)

แผนกประสานงาน แฟนคลับ (2)

ฝ่ายพัฒนา เยาวชน ผอ.อคาเดมี่(1) หัวหน้าผู้ฝึกสอน(5) ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน(10)

ฝ่ายกฏหมาย หัวหน้าฝ่าย(1) เจ้าหน้าที(่ 2)

ฝ่ายรักษาความ ปลอดภัย หัวหน้าฝ่าย(1) เจ้าหน้าที(่ 5)

ฝ่ายบริการ หัวหน้าฝ่าย(1) แผนกดูแลสนาม(5) แผนกช่าง(2) แผนกแม่บ้าน(5)

ฝ่ายพิพิธภัณฑ์(2) ฝ่ายจัดการสนาม (2)

3.3 ความเป็นไปได้ด้านงบประมาณ แหล่งที่มาของเงินทุน • งบประมาณของสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ในแต่ละ ปีไม่ต่ำ�กว่า 100 ล้านบาท • โครงการ Fa Development Program ที่จะมอบเงินให้ สโมสรในไทยลีก ( T1 ) ทีมละ 20 ล้านบาท • ผู้สนับสนุนหลัก คือ มาสด้า ( Mazda ) วอริก ( Warrix ) รายรับของโครงการ • ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด • ค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน • ขายของที่ระลึก • ค่าโฆษณาต่าง ๆ จากผู้สนับสนุน • การขายนักเตะ รายจ่ายของโครงการ • รายจ่ายของโครงการ • ค่าก่อสร้างอาคาร • เงินเดือนนักฟุตบอล • เงินเดือนเจ้าหน้าที่ • ค่าบริหารจัดการสนาม ( ค่าไฟ, ค่าน้ำ�, ค่าซ่อมบำ�รุง ) • การซื้อนักเตะ

แผนผังที่ 3.1 ผังโครงสร้างองค์กร

ภาพที่ 3.2 รายรับและรายจ่ายของโครงการ https://www.matichon.co.th/region/news_982012 (2562)


43

3.4 ความเป็นไปได้ด้านกฏหมาย กฏหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบสเตเดียม ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 • ข้อ 1 “อาคารพิเศษ” หมายความวา อาคารที่ตองการ มาตรฐานความมั่ น คงแข็ ง แรงและความปลอดภั ย เป น พิ เศษ เชน อาคารดังตอไปนี้ (ก) โรงมหรสพ อัฒจันทร หอประชุม หอสมุด หอศิลป พิพิธภัณฑสถาน หรือ ศาสนสถาน (ข) อูเรือ คานเรือ หรือทาจอดเรือ สําห รับเรือขนาดใหญเกิน 100 ตันกรอส (ค) อาคารหรือ สิ่งที่สรางขึ้นสูงเกิน 15 เมตร หรือสะพานหรืออาคาร หรือโครงหลังคาชวงหนึ่งเกิน 10 เมตร หรือมีลักษณะ โครงสร  า งที่ อ าจก  อ ให  เ กิ ด ภยั น ตรายต  อ สาธารณชนได  (ง) อาคารที่เก็บวัสดุไวไฟ วัสดุระเบิด หรือวัสดุกระจาย แพรพิษ หรือรังสีตามกฎหมายวาดวยการนั้น • โรงมหรสพ หมายความวา อาคารหรือสวนหนึ่งสวนใดของ อาคารที่ใชเปนสถานที่สําหรับฉายภาพยนตร แสดงละคร แสดงดนตรี หรือแสดงมหรสพอื่นใด และมีวัตถุประสงคเพื่อ เปดใหสาธารณชนเขาชมการแสดงนั้น โดยจะมีคาตอบแทน หรือไมก็ตาม • หมวด 2 ขอ 15 เสา คาน พื้น บันได และผนังของอาคาร ที่สูงตั้งแตสามชั้นขึ้นไป โรงมหรสพ หอประชุม โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอสมุด หางสรรพสินคา อาคารขนาด ใหญ สถานบริการตามกฎหมายวาดวยสถานบริการ ทา อากาศยาน หรือ อุโมงค ตองทําดวยวัสดุถาวรที่เปนวัสดุทน ไฟดวย • หมวด 4 ขอ 41 อาคารที่กอสรางหรือดัดแปลงใกลถนน สาธารณะที่มีความกวางนอยกวา 6 เมตร ใหรนแนวอา คารหางจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอยางนอย 3 เมตร อาคาร ที่สูงเกินสองชั้นหรือเกิน 8 เมตร หองแถว ตึกแถว บาน แถว อาคารพาณิชย โรงงาน อาคารสาธารณะ ปายหรือสิ่ง ที่สรางขึ้นสําหรับติดหรือตั้งปาย หรือคลังสินคา ที่กอสราง หรือดัดแปลงใกลถนนสาธารณะ(1) ถาถนนสาธารณะนั้น มีความกวางนอยกวา 10 เมตร ใหรนแนวอาคารหางจาก กึ่งกลางถนนสาธารณะอยางนอย 6 เมตร (2) ถาถนน สาธารณะนั้นมีความกวางตั้งแต 10 เมตรขึ้นไป แตไมเกิน 20 เมตร ใหรนแนวอาคารหางจากเขตถนนสาธารณะ อยางนอย 1 ใน 10 ของความกวางของถนนสาธารณะ (3) ถาถนนสาธารณะนั้นมีความกวางเกิน 20 เมตรขึ้นไป ใหรนแนวอาคารหางจากเขตถนนสาธารณะอยางนอย 2 ม.

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• หมวด 4 ขอ 44 ความสูงของอาคารไมวาจากจุดหนึ่งจุด ใด ตองไมเกินสองเทาของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉาก กับแนวเขตดานตรงขามของถนนสาธารณะที่อยูใกลอาคาร นั้นที่สุดความสูงของอาคารใหวัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือ ระดับพื้นดินที่กอสรางขึ้นไปถึงสวนของอาคารที่สูงที่สุด สําหรับอาคารทรงจั่วหรือปนหยาใหวัดถึงยอดผนังของชั้น สูงสุด

ภาพที่ 3.3 กฎหมายระยะย่นของอาคาร ที่มา : https://homeandwarehouse.com/ (2562)

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 • มาตรา 2 สาหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคาร ชุมนุมคน และโรงมหรสพ ให้ใชบทบัญญัติแห่งพระราช บัญญัตินี้บังคับไม่ว่าท้องที่ท่ีอาคารนั้นตั้งอยู่จะได้มีพระราช กฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม • มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำ�นักงาน และสิ่งที่ สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และ หมายความรวมถึง (1) อัฒจันทร์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน • “อาคารชุมนุมคน” หมายความถึง อาคารหรือส่วนใดของ อาคารที่บุคคลอาจเขาไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุม คนที่ม่ีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไปหรอชุมนุมคนได้ ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

44

3.5 ความเป็นไปได้ด้านโครงสร้าง

ภาพที่ 3.4 ระยะของโครงสร้างพาดช่วงกว้าง ที่มา : Building Structures Illustrated, 2014 : 240,241

โครงสร้างที่จะใช้ในการออกแบบสเตเดียม ต้องเป็น โครงสร้างที่สามารถรับน้ำ�หนักได้มาก และมี Span กว้าง เพื่อ รองรับส่วนของหลังคา ดังนั้น ต้องใช้โครงสร้างประเภท Wide Span ซึ่งความเป็นไปได้ของโครงสร้างพาดช่วงกว้าง เช่น โครง ถัก ( Truss ), Space Truss, Space Frame, โครงสร้างแขวน หรือโครงขึง ( Suspension Structures, Cable Structures ), โครงสร้างเปลือกแข็งบาง ( Shell Structure ), โครงสร้างแผ่น พับ ( Plate Structures ), โครงสร้างแบบผสม (Mixed structures, Combined Structures, Hybrid Structures)

ความเป็นไปได้ของวัสดุในปัจจุบันเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุที่ทันสมัย ซึ่งทำ�ให้การเลือกใช้วัสดุมีความ หลากหลายมากขึ้น ความเป็นไปได้ของวัวดุที่ใช้ มีตั้งแต่ คอนกรีต ซึ่งเป็นวัสดุพื้นฐานที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีข้อดีคือ สามารถกัน ไฟได้ในระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็มีขข้อเสียด้วยเช่นกัน คือ น้ำ�หนัก มาก ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ยาก และวัสดุอีกอย่างที่ใช้ในปัจจุบันคือ เหล็ก เป็นวัสดุที่ผลิตและ ประกอบจากโรงงาน ทำ�ให้การก่อสร้างทำ�ได้รวดเร็ว เพราะมีน้ำ� หนักเบา การออกแบบโครงสร้างจะทำ�ให้ดูโปร่งกว่าคอนกรีต แต่ ข้อเสียคือ มีราคาแพง

โครงถัก ( Truss )

Cable Structures

Polymer Composite

ETFE

Space Frame

Shell Structure

Aluminium Composite

Thin Shell

Space Truss

Concrete


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

45

3.6 ความเป็นไปได้ด้านจินตภาพโครงการ โครงการสนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมามาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียมเป็นโครงการที่ต้องการให้สเตเดียม แห่งใหม่เป็นสัญลักษณ์ที่สำ�คัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองโคราช เพื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ช่วยส่งเสริมให้สโมสรมีรายได้เพิ่มขึ้น และ ประสบความสำ�เร็จ ซึ่งความเป็นไปได้ของแนวคิดและจินตภาพ ของโครงการ มีหลายด้าน ได้แก่ แนวคิดด้านรูปแบบการวางผัง แนวคิดด้านจินตภาพของโครงการ กระจายผู้คน แนวคิดด้านการ ออกแบบ ภาพลักษณ์ของโครงการ แนวคิดด้านความปลอดภัย 3.6.1 แนวคิดด้านการออกแบบวางผังโครงการ การวางผังของสเตเดียมต้องคำ�นึงถึงหลายด้าน ทั้งด้าน ความปลอดภัย การจัดการสัญจรเพื่อให้มีความสะดวกทั้งกับ แฟนบอล นักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าว โดยการแยกเส้นทางการ สัญจรให้ชัดเจน ออกแบบโดยจัดให้มีแนวแกนทางเข้าให้เกิด ลำ�ดับการเข้าถึงโดยเริ่มตั่งแต่ทางเข้า จนมาถึงตัวสเตเดียม การเน้นเส้นทางการเข้าถึงเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเข้า มาใช้งานในโครงการโดยการจัดเส้นทางสัญจรเข้าสู่ตัวอาคารให้มี ลักษณะเด่น ด้วยการใช้โครงสร้างของอาคาร และสถาปัตยกรรม ที่มีเอกลักษณ์และความน่าสนใจเป็นตัวดึงดูดผู้เข้ามาใช้โครงการ รูปทรงอาคารสนามกีฬาต้องมีความทันสมัย และมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ให้แก่ตัวอาคาร

3.6.2 แนวคิดด้านจินตภาพโครงการ ออกแบบให้ ลั ก ษณะหรื อ รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรมมี ความสอดคล้องกับผู้ใช้ กิจกรรม ที่ตั้ง งบประมาณและเทคโนโลยี ของโครงการ หรือก็คือ แนวทางการออกแบบที่เกี่ยวกับจินตภาพ ของโครงการจะเป็นได้ทั้งรูปร่างอาคาร รูปทรง ความสูงของ อาคาร โดยที่สามารถพิจารณาได้จากสิ่งที่มองเห็นจากภายนอก และรูปแบบที่ว่างภายใน ดังนั้น การกำ�หนดแนวความคิดด้าน จินตภาพของโครงการจึงมีการแสดงทั้งภายในและภายนอกอา คารสเตเดียม

ภาพที่ 3.7 สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง ( สนามรังนก ) ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ (2562)

ภาพที่ 3.8 สนามแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 ประเทศกาตาร์ ที่มา : https://www.tnews.co.th/clip/349793/ (2562)

ภาพที่ 3.5 การวางผังของสนาม ที่มา : https://www.vogt-la.com/en/project/allianz-arena-munich (2562)

ภาพที่ 3.6 ทางเข้าสเตเดียม ที่มา : https://www.vogt-la.com/en/project/allianz-arena-munich (2562)

3.6.3 แนวคิดด้านความปลอดภัยของโครงการ การออกแบบจะต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง ความปลอดภั ย ของผู้ ค น เพราะสเตเดียมเป็นที่ที่รวมผู้คนจำ�นวนมาก การออกแบบเส้น ทางเข้า-ออกเป็นสิ่งสำ�คัญ ไม่ว่าจะเป็นเส้นของกองเชียร์ฝั่งทีม เหย้าหรือทีมเยือนต้องมีการแยกอย่างชัดเจนหรือจัดให้มีการ ตรวจสอบก่อนเข้าสนามโดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาช่วยได้

ภาพที่ 3.9 การเข้า-ออกโดยใช้เครื่องตรวจ ที่มา : https://www.nationtv.tv/main/content/378541810/ (2562)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

46

3.7 ความเป็นไปได้ด้านที่ตั้งโครงการ เนื่ อ งจากโครงการเป็ น อาคารประเภทสเตเดี ย มซึ่ ง เจ้าของโครงการเป็นสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มีที่ตั้งอยู่ ในจังหวัดนครราชสีมา จึงไม่ต้องวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการในระดับ ภูมิภาค แต่จะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการในระดับย่าน ซึ่งใช้เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกย่านที่ตั้งโครงการจาก มาตรฐาน ของสถานที่จัดการแข่งขัน AFC (Stadium Regulations) ซึ่งมี เกณฑ์และข้อกำ�หนด ดังนี้ -- การคมนาคมสะดวก -- สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อม -- ขนาดที่ดินใหญ่พอสำ�หรับโครงการทั้งหมด -- รูปร่างเหมาะสมสำ�หรับความต่อเนื่องของกิจกรรม -- ลักษณะที่ดิน เหมาะแก่การปรับสภาพแวดล้อม -- การติดต่อกับสนามกีฬาอื่นๆได้สะดวก -- ที่ตั้งสนาม ต้องอยู่ไกลจากสนามบินนานาชาติไม่เกิน 200 กิโลเมตร และต้องใช้เวลาเดินทางจากสนามบินไปยังสนาม ไม่เกิน 150 นาที หรือไม่ก็ต้องอยู่ในเมืองที่มีเที่ยวบินเชื่อม ต่อจากสนามบินนานาชาติไม่น้อยกว่า 4 เที่ยวต่อวัน เกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการระดับย่าน

ค่าถ่วงน้ำ�หนัก

มีการคมนาคมสะดวก อยู่ติดกับถนนสายหลัก มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง เช่น สถานีรถไฟ รถประจำ�ทาง แท็กซี่ สนามบิน ลักษณะที่ดิน เหมาะแก่การปรับสภาพแวดล้อม และมีขนาดที่ดินใหญ่พอ สำ�หรับรองรับการปรับปรุงในอนาคต สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อม อยู่ไกล้โรงแรมที่พัก และโรง พยาบาล ไกล้กับสนามกีฬาอื่น ๆ และสามารถติดต่อกับสนามกีฬาอื่นๆได้สะดวก

รวม

10

ภาพที่ 3.10 ตำ�แหน่งที่ตั้งจังหวัดนครราชสีมา ที่มา : ผู้จัดทำ�วิทยานิพนธ์

ที่ตั้งโครงการจะต้องอยู่ในศูนย์กลางของเมือง หรืออยู่ ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก เพื่อความสะดวกในด้านการเดินทาง หรือมีเหตุกรณีฉุกเฉิน ดังนั้น การเลือกย่านจะเลือกที่อยู่ในเขต ของตัวเมืองนครราชสีมา หรือที่ติดกับตัวเมือง ย่าน A

ย่าน B

ย่าน C

คะแนน

ผล

คะแนน

ผล

คะแนน

ผล

3.5

7

24.5

9

31.5

8

28

1.5

9

13.5

7

10.5

8

12

3.0

7

21

10

30

9

27

2.0

7

14

9

18

7

14

73

90

81

ตาราง 3.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการระดับย่าน

จากตารางที่ 3.1 การพิจารณาเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการในระดับย่าน ได้ย่านที่มีคะแนนการประเมินมากที่สุด คือ ย่าน B ซึ่งเป็นย่านตำ�บลหนองกระทุ่ง เพราะเป็นย่านที่อยู่ไกล้กับตัวเมืองโคราชและระบบการขนส่งมวลชนมากที่สุด มีสาธณูปโภคและ สาธารณูปการครบถ้วนทั้งไฟฟ้า น้ำ�ประปา โรงแรม โรงพยาบาล และอื่นๆ ทำ�ให้ย่าน B มีความเหมาะสมกับโครงการมากที่สุด

ภาพที่ 3.11 ที่ตั้งโครงการระดับย่าน ที่มา : ผู้จัดทำ�วิทยานิพนธ์


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

47

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบ (Program Analysis) 4.1 การวิเคราห์พฤติกรรมผู้ใช้งานโครงการ • ผู้ใช้งานหลัก (Main User)

Main User

TIMELINE USER

นักฟุตบอล

สต๊าฟโค้ช

นักเตะเยาวชน

ฝึกซ้อมช่วง เช้า 09.0011.00 วันจันทร์-ศุกร์

คุมทีมฝึกซ้อมช่วงเช้า 09.00-11.00 วันจันทร์-ศุกร์

ฝึกซ้อมช่วงบ่าย 15.00-17.00 วันจันทร์-ศุกร์

คุมทีมฝึกซ้อมช่วง บ่าย 09.00-11.00 วันจันทร์-ศุกร์

เตะฟุตบอลลีก 18.00-20.00 วันเสาร์/อาทิตย์

คุมทีมเตะฟุตบอลลีก 18.00-20.00 วันเสาร์/อาทิตย์

แฟนบอล

ฝึกซ้อมช่วงเช้า 07.00-08.00 วันจันทร์-ศุกร์

ฝึกซ้อมช่วงเย็น 16.00-17.00 วันจันทร์-ศุกร์ คุมทีมเตะ ฟุตบอล 18.00-20.00 วันเสาร์/อาทิตย์

เข้ามาชมฟุตบอลใน วันที่มีการแข่งขัน 17.00-21.00

• กลุ่มผู้ใช้งานรอง ( Sub User )

TIMELINE USER

คนทั่วไปที่มาออกกำาลั ง กาย และเยี่ยมชมสโมสร ออกกำาลังกายช่วงเช้า/ เดินเล่น 07.00-09.00

กรรมการและ เจ้าหน้าที่

นักข่าวและ ช่างกล้อง

ผู้บริหารและ แขก VIP

พิพิธภัณฑ์และช็อป สโมสร เปิดเวลา 09.00-20.00 ออกกำาลังกายช่วงเช้า/ เดินเล่น 16.00-19.00

ทำาหน้าที่ในวันที่มี การแข่งขัน 18.00-20.00

ทำาหน้าที่ในวันที่มี การแข่งขัน 18.00-20.00

มาชมการแข่งของ ทีม 18.00-20.00


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

48

องค์ประกอบของโครงการ จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของ User ทำ�ให้สามารถแบ่งองค์ประกอบหลักของโครงการได้เป็น 9 ส่วนหลัก ได้แก่ • พื้นที่ส่วนการแข่งขัน สนามแข่ง ซุ้มม้านั่งสำ�รอง พื้นที่อบอุ่นร่างกาย พื้นที่ช่างภาพ พื้นที่ผู้ช่วยผู้ตัดสิน • พื้นที่ส่วนอัฒจันทร์ พื้นที่ส่วนผู้ชมทั่วไป ที่นั่งชมทั่วไป ที่นั่งคนพิการ ห้องพยาบาล ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ห้องน้ำ� ชาย/หญิง พื้นที่ส่วน VIP ที่นั่ง VIP ห้อง VIP ห้องพยาบาล ห้องอาหาร ห้องรับรอง VIP

• พื้นที่สื่อมวลชน ที่นั่งนักข่าว ที่นั่งผู้บรรยาย ห้องแถลงข่าว Mixed Zone ห้องทำ�งานนักข่าว สตูดิโอถ่ายทำ�รายการ สตูดิโอถ่ายทอดบรรยากาศ ห้องทำ�งานช่างภาพ ลานจอดรถถ่ายทอดสด ศูนย์สื่อสารมวลชน

• พื้นที่งานระบบและ Service ห้องควบคุมระบบ ห้องงานระบบไฟฟ้า ห้องงานระบบสุขาภิบาล ห้องเก็บน้ำ�สำ�รองและถังดับเพลิง ห้องเครื่องสำ�รองไฟ ห้องควบคุมไฟสนาม ห้องระบบปรับอากาศ ห้องระบบสื่อสาร • พื้นที่สนับสนุนโครงการ พื้นที่พักผ่อน พิพิธภัณฑ์สโมสร ช็อปสโมสร ร้านค้า(Retail Shop) ฟิตเนส ที่ขายตั๋ว

• ส่วนอำ�นวยการแข่งขันและบริหาร ห้องทำ�งานฝ่ายต่างๆ ห้องประชุม ห้องพักเจ้าหน้าที่ โถงพักคอย สำ�นักงานช่างเทคนิค(Workshop) ห้องเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ห้องควบคุมกล้องวงจรปิด ห้องควบคุมฝ่ายรักษาความปลอดภัย • พื้นที่สนามซ้อมและ Academy สนามซ้อมกลางแจ้ง ห้องควบคุมจอสนาม ห้องพักนักกีฬา/เปลี่ยนชุด ห้องควบคุมระบบกระจายเสียง • พื้นที่ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน ห้องกายภาพบำ�บัด ห้องผู้ควบคุมการแข่งขัน ห้องแต่งตัวนักกีฬา ( 2ทีม ) โรงรถตัดหญ้า/รถขนของ ห้องฝึกสอน ห้องตรวจสารกระตุ้น หอพัก พื้นที่อบอุ่นร่างกายในอาคาร • ที่จอดรถ ห้องน้ำ�นักกีฬา ห้องพยาบาล ที่จอดรถคนทั่วไป/ที่จอดรถคนพิการ/ ห้องนั่งเล่น/พักผ่อน ห้องแต่งตัวผู้ตัดสิน รถจักรยานยนต์/รถVIP/รถบัส/รถ ฟิตเนส ห้องเจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สื่อมวลชน/รถพยาบาล/รถถ่ายทอด ห้องน้ำ� ห้องแต่งตัวเด็กเก็บบอล สด/รถนักกีฬา


49

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

4.2 การคำ�นวณพื้นที่ใช้สอย • พื้นที่ส่วนการแข่งขัน สนามแข่ง 105*68 m = 7,140 sq.m. พื้นที่รอบสนามแข่ง (115*78)-7,140 = 1,830 sq.m. พื้นที่เสริมรอบสนาม (125*85)-8,970 = 1,655 sq.m. สรุป ส่วนพื้นที่การแข่งขัน 7,140+1,830+1,655 = 10,625 sq.m. • ที่จอดรถ ขนาดที่จอดรถประเภทต่างๆ รถจักรยาน = 1.6 sq.m. รถ จักรยานยนต์ = 2.50 sq.m. รถยนต์ = 13.75 sq.m. รถบัส = 36 sq.m. รถบรรทุก 18 sq.m. ที่จอดรถผู้ชมทั่วไป ควรมีที่จอดรถยนต์ 1 คัน ต่อจำ�นวนผู้ชม 10-15 คน (Geraint and Rod,1997: 42) จะได้ที่จอดรถทั่วไป 25,000/15 = 1,666 คัน (22,907 sq.m.) ควรจะมีที่จอดรถบัส 1 คัน ต่อจำ�นวนผู้ชม 240 คน (Geraint and Rod,1997: 42) จะได้ที่จอดรถบัส 25,000/240 = 104 คัน (3,744 sq.m.) ที่ จอดจักรยานและจักรยานยนต์ 1 คัน ต่อผู้ชม 50 คน จะได้ที่ จอดรถจักรยานและจักรยานยนต์ 25,000/50 = 500 คัน (1,025 sq.m.) ที่จอดรถ VIP ข้อกำ�หนด FIFA (2011) ได้กำ�หนดให้ ที่จอดรถ VIP 150 คัน และที่จอดรถบัส VIP 20 คัน (2,782.5 sq.m.) ที่จอดรถของทีม และเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ที่จอดรถบัสอย่าง น้อย 4 คัน (ทีมละ 2 คัน), ที่จอดรถยนต์อย่างน้อย 14 คัน (สำ�หรับทีมละ 6 คัน และเจ้าหน้าที่การแข่งขัน 2 คัน), ที่จอด รถของเจาหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประมาณ 3-4 คัน ต่อทีม และ 2-3 ที่สำ�หรับเจ้าหน้าที่ด้านการแข่งขัน (529 sq.m.) ที่จอดรถสื่อมวลชน FIFA กำ�หนดให้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ต้องการที่จอดรถผู้สื่อข่าว 150-250 คัน (2,062.5 sq.m.) (FIFA, 2011 : 344) ที่จอดรถเจ้าหน้าที่ ที่จอดรถเจ้าหน้าที่ทั่วไป 60 คัน, ที่จอดรถ เจ้าหน้าที่ส่วนซ่อมบำ�รุง 10 คัน (962.5 sq.m.) ที่จอดรถบริการฉุกเฉิน ไทยลีก กำ�หนดให้มีรถพยาบาลอย่าง น้อย 2 คัน ประจำ�ที่สนามแข่งก่อนเวลาเริ่ม 1 ชม. (72 sq.m.) ที่มา : บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำ�กัด,2557 : 25 ที่จอดรถบริการและบริการขนส่ง เช่น รถบริการขนส่งอาหาร หรือบริการทำ�ความสะอาด ต้องมี พื้นที่รองรับประมาณ 200 sq.m. พร้อมพื้นที่ Loading (Geraint and Rod,1997: 43) • พื้นที่งานระบบและบริการ สำ�นักงานและห้องสรุปงาน 20 sq.m., สำ�นักงานช่างเทคนิค ฝ่ายดูแลอาคาร 10 sq.m., ห้องควบคุมระบบ 30 sq.m., ห้อง งานระบบไฟฟ้า 30 sq.m., ห้องงานระบบสุขาภิบาล 30 sq.m .,ห้องเก็บน้ำ�สำ�รองและถังดับเพลิง 30 sq.m., ห้องเครื่องสำ�รอง ไฟ 50 sq.m., ห้องควบคุมไฟสนาม 15 sq.m., ห้องระบบปรับ อากาศ 50 sq.m., ห้องระบบสื่อสาร 15 sq.m., ห้องพักผ่อนและ ล็อกเกอร์เจ้าหน้าที่ 15 sq.m., ห้องเก็บอุปกรณ์กีฬา โดยทั่วไป แล้วต้องการพื้นที่ 1 sq.m. ต่อพื้นที่เล่นกีฬา 500-700 sq.m. จะได้ 10,625/700 = 15.00 sq.m.

ภาพที่ 4.1 สนามแข่งขันฟุตบอล ที่มา : Football Stadiums technical recommendations and requirements 5th edition 2011

ภาพที่ 4.2 ขนาดของรถต่าง ๆ ที่มา : Neufert Architect Data 3rd

ห้องเก็บอุปกรณ์บำ�รุงรักษา และทำ�ความสะอาด ต้องการ 1 sq.m. ต่อ พื้นที่ 400-500 sq.m.จะได้ 10,625/500 = 21.25 sq.m., ห้องเก็บปุ๋ย น้ำ�ยา และชิ้นส่วนอะไหล่ 12 sq.m., ห้อง เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้า 12 sq.m., ห้องปฏิบัติงาน 20 sq.m., พื้นที่ Drop-off sinv Loading 50 sq.m. รวม (20+10+30+30+30+30+50+15+50+15+15+15+21.2 5+12+12+20+50)*1.6 = 680 sq.m.


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

50

• พื้นที่ส่วนอัฒจันทร์ ขนาดที่นั่งผู้ชมทั่วไป ที่นั่งต่อ 1 คน 0.50*0.80 = 0.40 sq.m. สเตเดียม ความจุ 17,000 ที่นั่ง จะได้ (17,000*0.40)+พื้นที่สัญจร 80% = 18,000 sq.m. ขนาดที่นั่งผู้พิการ ที่นั่งผู้พิการ ต่อ 1 คน 1.50*1.40 = 2.10 sq.m. ที่นั่งสำ�หรับผู้ พิการ ควรมีสัดส่วนอยู่ระหว่าง 0.5-1% ของจำ�นวนที่นั่งทั้งหมด ( FIFA, 2011 : 124 ) จะได้ที่นั่งผู้พิการ 250 ที่นั่ง จะได้ (250*2.10)+พื้นที่สัญจร 80% = 945 sq.m. ที่นั่งส่วน VIP ควรมีความกว้างอย่างต่ำ� 60 cm. (FIFA, 2011 : 110) และมีความ สะดวกสบายมากกว่าที่นั่งแบบอื่น ใส่เบาะและมีพนักแขน ควรมีหลังคาคลุมและ สามารถมองเห็นการแข่งได้ดีที่สุดสเตเดียมสมัยใหม่ควรจัดให้มีที่นั่ง VIP อย่างน้อย 50 ที่นั่ง ( FIFA, 2011 : 138 ) ขนาดที่นั่ง VIP ต่อ 1 คน 0.60*1.00 = 0.60 sq.m.จะได้ (300*0.60)+พื้นที่ สัญจร 80% = 324 sq.m. รวมที่นั่งผู้ชมทั่วไป ที่นั่งผู้พิการ และที่นั่ง VIP (18,000+945+324)*1.3 = 25,049.7 sq.m.

A = min.0.30m b = min.0.80m d = max.34 องศา *VIP A = min.0.30m b = min.1.00m

ภาพที่ 4.3 ห้องน้ำ�และส่วนร้านขายอาหาร ที่มา : Football Stadiums technical recommendations and requirements 5th edition 2011

ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านขายแบบถาวร ต้องการพื้นที่ประมาณ 60 sq.m. จัดร้านขาย 1 ร้าน ต่อ ต่ออัฒจันทร์ผู้ชม 1 ส่วน จะได้ 4*60 = 240 sq.m. ร้านขายแบบชั่วคราว ต้องการพื้นที่ 18 sq.m. มี 1 จุด ต่อผู้ชม 250 คน จะได้ 18*100 = 1,800 sq.m. ห้องน้ำ� ห้องส้วม 1 ห้อง =1.275 sq.m./อ่างล้างมือ 1 ชุด =0.75 sq.m./ โถปัสสาวะ =0.75 sq.m. FIFA (2011) แนะนำ�ว่า ควรเตรียม ห้องน้ำ�ไว้สำ�หรับ 120% แบ่งเป็นห้องน้ำ�ชาย 85 % และห้องน้ำ� หญิง 35 % ห้องน้ำ�ชาย ต้องการ ห้องส้วม 6 ห้อง/โถปัสสาวะ 15 โถ/อ่าง ล้างมือ 6 อ่าง จะได้ (1.275*6)+(0.75*15)+(0.75*6)+พื้นที่ สัญจร 50% = 35.1 sq.m. (280 sq.m.) ห้องน้ำ�หญิง ต้องการห้องส้วม 28 ห้อง อ่างล้างมือ 14 อ่าง จะได้ (1.275*28)+(0.75*14)+พื้นที่สัญจร 50% = 69.3 sq.m. (552 sq.m.)

q = 1.50m b = 1.40m d = 0.90m ภาพที่ 4.4 ขนาดที่นั่งผู้พิการ ที่มา : Football Stadiums technical recommendations and requirements 5th edition 2011

ห้องน้ำ�ผู้พิการ 1.50*2.20 = 3.3 sq.m. (26.4 sq.m.) ( ที่มา : FIFA, 2011 : 112-113 ) ห้องปฐมพยาบาลผู้ชมและเจ้าหน้าที่ ควรมีขนาดอย่างน้อย 15 sq.m. หรืออย่างน้อย 25 sq.m. หากสเตเดียมมีความจุ มากกว่า 15,000 คน (Department for Culture Media and Sport United Kingdom, 2008 : 179)ห้องพยาบาลผู้ชม ควร มีอย่างน้อย 1 ห้อง ต่ออัฒจันทร์ผู้ชม 1 ส่วน จะได้ 4*25 = 100 sq.m. ( ที่มา : การออกแบบสเตเดียม, 2015 : 193 )


51

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

• พื้นที่ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน พื้นที่ของนักกีฬา 2 ทีม ประกอบด้วย 1.ห้องผู้ฝึกสอน 30 sq.m. 2.ห้องแต่งตัวของทีม 80 sq.m. 3.ห้องน้ำ�/ห้องส้วม 50 sq.m. 4. ห้องนวด 40 sq.m. 5.บอร์ดวางแผน 6.ตู้เย็น รวมพื้นที่ 200*2 = 400 sq.m. ( ที่มา : FIFA, 2011 : 95,304-305 ) พื้นที่ของผู้ตัดสิน ขนาด 24-35 sq.m. ประกอบด้วย 1.เตียงนวด 2.ล็อกเกอร์ 3.ม้านั่ง 4.ห้องอาบน้ำ� 5.ห้องส้วม 6.ตู้เย็น 7.ทีวี ( ที่มา : FIFA, 2011 : 306-307 ) ห้องพยาบาล ขนาดอย่างน้อย 50 sq.m. ประกอบด้วย 1.โต๊ะตรวจ 2.เตียงตรวจ/พักฟื้น 3.ตู้ยา 4.ห้องอาบน้ำ� 5.ห้องส้วม 6.ตู้ แบบล็อกได้ ( ที่มา : FIFA, 2011 : 102-103 ) ห้องตรวจสารกระตุ้น ขนาดอย่างน้อย 36 sq.m. มี 3 ส่วน คือ ส่วนพักรอ (20 sq.m.) ห้องตรวจสารกระตุ้น (12 sq.m.) ห้องน้ำ� (4 sq.m.) ( ที่มา : FIFA, 2011 : 203 ) ห้องเจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ขนาดอย่างน้อย 20 sq.m. ( ที่มา : FIFA, 2011 : 104 ) ห้องประขุมผู้จัดการทีม ขนาดอย่างน้อย 50 sq.m. ( ที่มา : บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำ�กัด,2557 : 59 ) ห้องแต่งตัวเด็กเก็บบอล ขนาดอย่างน้อย 40 sq.m. 2 ห้อง สำ�หรับผู้ชายและผู้หญิง ( ที่มา : FIFA, 2011 : 104-105 )

ภาพที่ 4.5 พื้นที่ของนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ ที่มา : Football Stadiums technical recommendations and requirements 5th edition 2011

• พื้นที่ส่วนอำ�นวยการแข่งขันและบริหาร ขนาดห้องสำ�นักงาน ประกอบด้วย ที่นั่งทำ�งาน 1.50*1.50 = 2.25 sq.m. ตู้เก็บของแบบเดี่ยว 0.40*0.60 = 0.24 sq.m. ตู้เก็บ เอกสาร 0.80*0.65 = 0.52 sq.m. ส่วนเคาน์เตอร์ 3.50*5.00 = 17.50 sq.m. ส่วนรับแขก 2.50*3.00 = 7.5 sq.m. 1 ฝ่าย จะมีเจ้าหน้าที่ ประมาณ 4-5 คน จะได้ (2.25*5)+(0.24*5 )+(0.52*5)+17.5+7.5*1.5 = 60 sq.m. (300sq.m.) ขนาดห้องทำ�งานผู้บริหาร ประกอบด้วย ห้องรองผู้บริหาร/ กรรมการบริหาร 4.00*4.00 = 16 sq.m. ห้องประธาน 5.00*4.00 = 20 sq.m. ขนาดห้องประชุม สำ�หรับ 20 คน 5.00*10.00 = 50 sq.m. ห้องพักเจ้าหน้าที่ 5.00*6.00 = 30 sq.m. ห้องน้ำ� 30 sq.m. ห้องเก็บของ 12 sq.m. ส่วนต้อนรับ ประกอบด้วย โถงทางเข้า 60 sq.m. ห้องน้ำ� 15 sq.m. ห้องควบคุมกล้องวงจรปิด 20 sq.m. ห้องควบคุมฝ่ายรักษาความปลอดภัย 20 sq.m. ห้อง ควบคุมจอสนาม 60 sq.m. ห้องควบคุมระบบกระจายเสียง 20 sq.m. ห้องผู้ควบคุมการแข่งขัน 20 sq.m. โรงรถตัดหญ้า/รถ ขนของ 50 sq.m. ห้องเก็บอุปกรณ์ทำ�ความสะอาด 12 sq.m. รวม 202 sq.m.

ภาพที่ 4.6 ขนาดห้องสำ�นักงานและส่วนบริการ ที่มา : Neufert Architect Data 3rd, 349


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

52

• พื้นที่สื่อมวลชน ขนาดที่นั่งนักข่าว ที่นั่ง ต่อ 1 คน 1.60*0.75 = 1.20 sq.m. (ที่มา : FIFA, 2007 : 142) AFC ได้กำ�หนดจำ�นวนที่นั่งนักข่าวใน การแข่งขันรอบต่างๆ ดังนี้ รอบ Play Off และรอบแบ่งกลุ่ม 50 ที่นั่ง รอบ 16 ทีมสุดท้าย และรอบ 8 ทีมสุดท้าย 75 ที่นั่ง รอบ รองชนะเลิศ 125 ที่นั่ง รอบชิงชนะเลิศ 200 ที่นั่ง จะได้ (1.20*75)*1.8 = 162 sq.m. ขนาดที่นั่งผู้บรรยาย ที่เหมาะสม คือ 1.60*2.00 m ซึ่งที่นั่ง 1 ชุด จะมีพื้นที่สำ�หรับผู้บรรยาย 3 คน ที่นั่งแต่ละชุดต้องติดตั้ง เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการบรรยาย จากข้อกำ�หนดของ AFC สเตเดียมขนาดประมาณ 10,000 ที่นั่ง จะมีที่นั่งผู้บรรยายประมาณ 10-15 ที่นั่ง หรือ 5 ชุดดังนั้น จะได้ที่นั่งผู้บรรยาย 10*(1.60*2.00)+พื้นที่สัญจร 80% = 57.6 sq.m. ห้องแถลงข่าว FIFA (2011) แนะนำ�ว่า ห้องแถลงข่าวควรมีขนาดอย่างน้อย 200 sq.m. สำ�หรับผู้สื่อข่าว 100 คน Mixed Zone เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ตัวสื่อมวลชนที่ผ่านการตรวจเข้าไปพูดคุยสัมภาษณ์ในขณะที่นักกีฬาเดินผ่าน ควรมี ขนาดอย่างน้อย 200 sq.m. ( ที่มา : FIFA, 2011 : 154 ) พื้นที่สัมภาษณ์สด 9 sq.mm. ( ที่มา : FIFA, 2011 : 154 ) พื้นที่กล้องถ่ายทอดสัณญาณ ประมาณ 6 sq.m.ต่อกล้อง (10 ตัว ) 60 sq.m. ( ที่มา : FIFA, 2011 : 154 )

ภาพที่ 4.7 ขนาดพื้นที่ใช้งานของสื่อมวลชน ที่มา : Football Stadiums technical recommendations and requirements 5th edition 2011

• พื้นที่ส่วนสนับสนุนโครงการ พิพิธภัณฑ์สโมสร ประกอบด้วย ที่จัดแสดงรูปภาพ ถ้วยรางวัล โมเดลของสเตเดียม ภาพเคลื่อนไหว และการเปิดให้เข้าชมส่วน ที่ปกติจะไม่สามารถเข้าได้ เช่น ห้องแต่งตัวนักกีฬา อุโมงค์เข้า สนามแข่ง มีแท่นวางถ้วยรางวัล ขนาด 1*1*1.5 m³ = 1*5*5 = 25 sq.m. พื้นที่จัดแสดงรูปภาพ 4 m² ต่อ 1 รูป (ทั้งหมด 10 รูป) = 40 sq.m. พื้นที่จัดแสดงโมเดลของสเตเดียม 36 sq.m. พื้นที่ฉายวีดีโอเกี่ยวกับสโมสร 40 sq.m. ห้องน้ำ� 20 sq.m. ห้อง ทำ�งานเจ้าหน้าที่ 20 sq.m. รวมพื้นที่ 25+40+36+40+20+20 = 181 sq.m. ช็อปสโมสร ขายของที่เกี่ยวกับสเตเดียมและสโมสร เช่น อุปกรณ์ กีฬา หนังสือ CD เสื้อกีฬา และของที่ระลึกอื่นๆ ซึ่งจะประกอบ ด้วยชั้นวางขายสินค้า พื้นที่จัดแสดงสินค้า พื้นที่แขวนเสื้อ ห้อง เก็บของ และพื้นที่ชำ�ระเงิน จะมีพื้นที่ประมาณ 100 sq.m. ร้านค้า (Retail Shop) เป็นร้านขายสินค้าของผู้สนับสนุนอย่าง เป็นทางการ และร้านบริการอื่นๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ซึ่งแต่ละร้านจะมีพื้นที่ประมาณ 40 sq.m.ต่อร้าน ซึ่งมีประมาณ 10 ร้าน จะได้ 40*10 = 400sq.m.

ที่ขายตั๋ว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สำ�นักงานขายตั๋ว เป็นสำ�นักงาน จัดการเรื่องการจำ�หน่ายตั๋ว ต้องการพื้นที่ประมาณ 40 sq.m. และซุ้มขายตั๋ว ต้องการอย่างน้อย 4 ซุ้ม สำ�หรับอัฒจันทร์ 4 ด้าน ซุ้มละประมาณ 10 sq.m. (40 sq.m.) ( ที่มา : การออกแบบส เตเดียม, 2015 )

ภาพที่ 4.8 ขนาดพื้นที่ใช้งานของส่วนสนับสนุน ที่มา : Neufert Architect Data 3rd, 349


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

53

• พื้นที่สนามซ้อมและ Academy ประกอบด้วย สนามซ้อมกลางแจ้ง ขนาดมาตรฐาน 2 สนาม จะได้พื้นที่ 7,140*2 = 14,280 sq.m. ห้องพักนักกีฬา/เปลี่ยนชุด 2 ห้อง (80 sq.m.) จะได้ 80*2 = 160 sq.m. ห้องกายภาพบำ�บัด 2 ห้อง (40 sq.m.) จะได้ 40*2 = 80 sq.m. ห้องฝึกสอน 2 ห้อง ห้องละ 20-25 คน (80 sq.m.) จะได้ 80*2 = 160 sq.m. ส่วนนักเตะเยาวชน รองรับ 50 คน ห้องน้ำ�รวม 50 sq.m. ห้องน้ำ�นักกีฬา 100 sq.m. ห้องนั่งเล่น/พักผ่อน 100 sq.m. ฟิตเนส 200 sq.m. ห้องทำ�งานผู้ฝึกสอน 30 sq.m. ห้องเก็บอุปกรณ์ 20 sq.m. ห้องทานอาหาร 100 sq.m. ห้องเก็บของ 15 sq.m. รวม 15,824 sq.m.

1% 1% 1% 1% 5% 11%

16%

29%

รวมพื้นที่ทั้งหมด 96,444 sq.m.

4.3 การวิเคราะห์โครงสร้าง โครงการสนามกีฬาเป็นโครงการที่การออกแบบโคร องค์ประกอบหลัก

ภาพที่ 4.9 สนามแข่งขันฟุตบอล ที่มา : Neufert Architect Data 3rd, 349

ส่วนผู้ชมการแข่งขัน ( อัฒจันทร์ )

สิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงในการ ออกแบบ -- ความจุของสนาม 17,000 ที่นั่ง -- การรองรับคนจำ�นวนมาก -- ความปลอดภัย

ส่วนผู้ชมการแข่งขัน ( หลังคา )

-- การรับน้ำ�หนักของหลังคาที่ยื่นออก มามาก -- ความปลอดภัย

ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน ส่วนสนับสนุนโครงการ

-- จำ�นวนผู้ใช้งาน ( 5-20 คนต่อห้อง ) -- การแจกจ่ายไปสู่กิจกรรมการทำ�งาน

ส่วนอำ�นวยการและบริหาร ส่วนงานระบบ Academy ภาพที่ 4.10 ขนาดพื้นที่ส่วนบริการ ที่มา : Neufert Architect Data 3rd, 349

-- จำ�นวนคน -- กิจกรรมที่มี เช่น การฝึกสอนแทคติค ฟุตบอล การทำ�กายภาพบำ�บัด


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

พื้นที่ส่วนจอดรถ (34,284 sq.m.)

สรุป พื้นที่ใช้สอยของโครงการทั้งหมด

พื้นที่ส่วนผู้ชมการแข่งขัน (28,047 sq.m.)

พื้นที่ส่วนจอดรถ

34,284 sq.m.

พื้นที่ส่วนผู้ชมการแข่งขัน

28,047 sq.m.

พื้นที่สนามซ้อมและ Academy

15,824 sq.m.

พื้นที่ส่วนการแข่งขัน

10,625 sq.m.

พื้นที่สนามซ้อมและ Academy (15,824 sq.m.)

35%

54

พื้นที่ส่วนการแข่งขัน (10,625 sq.m.)

พื้นที่สนับสนุนโครงการ

พื้นที่สนับสนุนโครงการ (4,721 sq.m.)

4,721 sq.m.

พื้นที่สื่อมวลชน

940 sq.m.

พื้นที่สื่อมวลชน (940 sq.m.)

พื้นที่ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน

812 sq.m.

พื้นที่ส่วนสนับสนุนการแข่งขัน (812 sq.m.)

พื้นที่ส่วนอำ�นวยการแข่งขันและบริหาร

811 sq.m.

พื้นที่งานระบบและ Service

680 sq.m.

พื้นที่ส่วนอำานวยการแข่งขันและบริหาร (811 sq.m.)

พื้นที่ Open Space 40 %

14,804 sq.m.

พื้นที่งานระบบและ Service (680 sq.m.) แผนภูมิที่ 4.1 สรุปขนาดพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

รวมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

111,248 sq.m.

รงสร้างจะต้องมีความโดดเด่น มีลักษณะเฉพาะ หรือเป็นโครงการที่มีโครงสร้างนำ� ขนาด Span

รูปแบบโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก ( คสล. )

8 - 10 เมตร

20 - 35 เมตร

โครงสร้างพาดช่วงกว้าง ( Wide Span ) Space Truss

คอนกรีตเสริมเหล็ก ( คสล. ) 8 - 10 เมตร

คอนกรีตเสริมเหล็ก ( คสล. ) 8 - 10 เมตร

แนวคิด ต้องการให้โครงสร้างสามารถรับน้ำ�หนัก ของคนจำ�นวนมากได้ จึงเลือกใช้โครงสร้าง คสล. ที่มีความแข็งแรงและนิยมใช้ในปัจจุบัน

ใช้โครงสร้างพาดช่วงกว้างทำ�ให้สามารถยื่น ตัวหลังคาออกไปได้ไกลมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เสา และสามารถทำ�รูปทรงได้ตามแนวคิดโครงการ โดยใช้วัสดุเป็นเหล็ก ต้องการให้โครงสร้างสามารถรับน้ำ�หนัก ของคนจำ�นวนมากได้ จึงเลือกใช้โครงสร้าง คสล. ที่มีความแข็งแรงและนิยมใช้ในปัจจุบัน

ต้องการให้โครงสร้างสามารถรับน้ำ�หนัก ของคนจำ�นวนมากได้ จึงเลือกใช้โครงสร้าง คสล. ที่มีความแข็งแรงและนิยมใช้ในปัจจุบัน ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์โครงสร้าง


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

55

บทที่ 5 การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ ( Site Analysis )

5.1 เลือกที่ตั้งโครงการ จากการพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการในระดับย่านได้แล้ว ซึ่งได้ย่านของที่ตั้งโครงการที่มีความเหมาะสมที่สุด คือ ย่าน ตำ�บลหนองกระทุ่ม ซึ่งต่อไปจะเป็นการเลือกที่ตั้งโครงการใน ระดับทำ�เลที่ตั้ง มีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้ 1. การคมนาคมและการเข้าถึงโครงการ 2. สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อมทุกด้าน 3. ขนาดที่ ดิ น ใหญ่ พ อสำ � หรั บ โครงการทั้ ง หมดและมี รู ป ร่ า ง เหมาะสมสำ�หรับความต่อเนื่องของกิจกรรม เกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ

ค่าถ่วงน้ำ�หนัก

4. ลักษณะที่ดิน เหมาะแก่การปรับสภาพแวดล้อม 5. สามารถติดต่อหรือเดินทางไปสนามกีฬาอื่นๆได้สะดวก 6. ต้องอยู่ไกลจากสนามบินนานาชาติไม่เกิน 200 กิโลเมตร และต้ อ งใช้ เวลาเดิ น ทางจากสนามบิ น ไปยั ง สนามไม่ เ กิ น 150 นาที หรือไม่ก็ต้องอยู่ในเมืองที่มีเที่ยวบินเชื่อมต่อจาก สนามบินนานาชาติไม่น้อยกว่า 4 เที่ยวต่อวัน

Site 2

Site 1

Site 3

คะแนน

ผล

คะแนน

ผล

คะแนน

ผล

การคมนาคมและการเข้าถึงโครงการ

3.0

8

24

8

24

8

24

สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่พร้อมทุกด้าน

2.0

8

16

8

16

7.5

15

ขนาดที่ดินใหญ่พอสำ�หรับโครงการทั้งหมด

1.5

6

9

10

15

8

12

ลักษณะที่ดิน เหมาะแก่การปรับสภาพแวดล้อม

2.0

6

12

8

16

9

18

สามารถติดต่อหรือเดินทางไปสนามกีฬาอื่นๆได้

1.5

8

12

8

12

7

10.5

รวม

10

73

83

79.5 ตารางที่ 5.1 เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

ภาพที่ 5.1 ที่ตั้งโครงการ ที่มา : ผู้จัดทำ�วิทยานิพนธ์


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

56

ภาพที่ 5.2 ที่ตั้งโครงการ A

ภาพที่ 5.3 ที่ตั้งโครงการ B

ภาพที่ 5.4 ที่ตั้งโครงการ C

ภาพที่ 5.5 มุมมองรอบที่ตั้งโครงการ A, B, และ C


57 5.2 วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

58



PART II DESIGN


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

61

บทที่ 6 ผลการออกแบบ 6.1 Process Design

Mass Development

Approach

1. รูปทรงแรกของตัวสเต เดียมที่ออกแบบ ใช้เป็นทรง สี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นรูปทรงพื้น ฐาน แต่มีปัญหาเรื่องมุมมอง ของผู้ชมที่อยู่ตรงขอบสนาม จะมองเห็นได้ยาก 2.ต่ อ มาได้ เ ปลี่ ย นรู ป ทรง ของอาคารโดยการลบมุ ม ทั้งสี่ด้าน ทำ�ให้ตัวสเตเดียม มีรูปทรงที่ดูมีความต่อเนื่อง กว่าแบบแรก แต่รูปทรงนี้ก็ ยังมีเหลี่ยมมุม ทำ�ให้ยังดูไม่ ต่อเนื่องเท่าที่ควร

กำ�หนดทางเข้าของอาคารและมุมมองของอาคารให้อยู่ด้านทิศตะวันออก เพราะอยู่ติดกับถนนสายหลัก (ถนนราชสีมา-ปักธงชัย) และสามารถมอง เห็นอาคารได้ชัดเจน

3.จากที่ รู ปทรงทั้ งสองยั ง ดู มี ค วามไม่ ต่ อ เนื่ อ งทั้ ง เรื่ อ ง ของมุมมอง และด้านการใช้ งานจึงได้นำ�เส้นโค้งมาใช้กับ ด้ า นมุ ม ทั้ ง สี่ ข องสเตเดี ย ม ทำ�ให้เกิดความต่อเนื่องทาง สายตา และมีรูปทรงที่น่า สนใจกว่าทั้งสองแบบแรก

ที่จอดรถจะอยู่บริเวณด้านข้างและด้านหลังของสเตเดียม เพื่อให้สามารถ เข้าถึงสเตเดียมได้จากทุกทิศทาง ลดการสัญจรที่แออัด เส้นทางการสัญจรของผู้ใช้งานโครงการ

พลาซ่ า ด้ า นหน้ า ของอาคารเป็ น พื้ น ที่ ก่ อ นเข้ า ถึ ง สเตเดี ย มเป็ น ลาน อเนกประสงค์ และใช้เป็นที่รวมพลฉุกเฉิน เส้นทางของคนทั่วไป ทางเข้าสเตเดียม

6.2 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 1 (Schematic Design)


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

62

การจัดวางผังโครงการ (Zoning)

Facade Design

1

2

4

3

1.การจัดวาง การจัดวางทิศทางของสนามแข่ง วางไปตามแนวทิศ เหนือ - ใต้ เพื่อให้มีแดดแยงตาน้อยที่สุด ผังโครงการ (Zoning) 2.พลาซ่าด้านหน้าอาคาร ออกแบบโดยให้มีลายพื้นที่สัมพันธ์กับ เปลือกอาคาร(Facade) ที่มีลักษณะเป็นลายไขว้กันและเมื่อมองจากด้านตัว พลาซ่าก็จะมีความต่อเนื่องกับตัวสเตเดัยม 3.ออกแบบพลาซ่าก่อนเข้าสู่สเตเดียมเป็นรูปวงกลมให้สัมพันธ์ กับรูปทรงของสเตเดียมและเพื่อง่ายต่อการสัญจรทำ�ให้สเตเดียมกลายเป็น จุดศูนย์กลางที่สามารถเข้าถึงได้รอบทิศทาง 4.ที่จอดรถ ออกแบบโดยใช้สเตเดียมเป็นศูนย์กลาง และให้ที่จอด รถแผ่ไปตามรูปวงกลม ทำ�ให้เกิดเส้นนำ�สายตาไปสู่สเตเดียม

แนวความคิดการออกแบบเปลือกอาคารใช้การถอดฟอร์จากโลโก้ ของสโมสรมาเป็นรูปร่างของ Facade และใช้สีส้ม ซึ่งเป็นสีหลักของสโมสร เป็นสีของอาคาร วัสดุใช้ Aluminium Composite แบบ Nanometer PVDF เคลือบด้วยผิวนาโน ทำ�ให้สามารถปกป้องผิวเคลือบจากสภาวะแวดล้อมที่ เป็นพิษ และยังสามารถทำ�ความสะอาดได้ด้วยการชะล้างของฝน

เส้นทางการสัญจรของผู้ใช้งานโครงการ

เส้นทางรถฉุกเฉิน เส้นทางสัญจรแขก VIP เส้นทางสัญจรสื่อมวลชน

พื้นที่ที่ออกแบบตามมาตรฐานเอเอฟซี (AFC) 1.จำ�นวนที่นั่งนักข่าว 75 ที่นั่ง ตามมาตรฐานการแข่งขัน AFC รอบ 16 ทีม และ 8 ทีม AFC Championleague 2.ซุ้มม้านั่งสำ�รองแต่ละทีมอย่าง น้อย 18 ที่นั่ง 3.ห้ อ งของเจ้ า หน้ า จั ด การ แข่งขันและนักกีฬา 4.สนามแข่งขัน 105*68 เมตร คำ � แนะนำ � จากอาจารย์ ใ น การนำ�เสนอครั้งที่ 1 1.ดู ค วามสั ม พั น ธ์ ข องพื้ น ที่ ใ น แต่ละโซนให้มีความสอดคล้อง ต่อเนื่องกัน 2.แยกประเภทพื้ น ที่ แ ละทาง สัญจรของผู้ใช้งานให้ชัดเจน 3.ต้ อ งมี เ ส้ น ทางให้ ร ถฉุ ก เฉิ น เข้าไปในสนามได้ 4.มี จุ ด รองรั บ ความปลอดภั ย ห้องพยาบาล ฯ 5.มีสิ่งอำ�นวยความสะดวก ร้าน ค้า ร้านขายของ จุดพักก่อนเข้า ชมการแข่งขัน ให้ผู้ใช้งาน


63

6.3 การนำ�เสนอผลงานครังที่ 2 (Design #2)

คำ�แนะนำ�จากอาจารย์ในการนำ�เสนอครั้งที่ 2 1.การจัดพื้นที่เริ่มลงตัว ให้ดูเรื่องการสัญจรให้ดี แยก ทางสัญจรของผู้ใช้งานให้ชัดเจน อาจจะแบ่งเป็นทาง เข้า A ทางเข้า B ฯ เพื่อให้ผู้ใช้งานกระจายตัว ไม่ให้อัด อยู่ในที่เดียวมากเกินไป 2.ขยายประตูทางเข้าของรถฉุกเฉินที่จะเข้าไปในสนาม 3.แนวคิดด้านเปลือกอาคาร หาสิ่งที่สื่อถึงความเป็น โคราช และสอดคล้องกับสโมสร อาจจะไม่ใช่แค่ลายผ้า อย่างเดียว 4.เพิ่มรายละเอียดโครงสร้าง ข้อต่อที่เชื่อมโครงสร้าง เข้าด้วยกัน 5.วัสดุที่ใช้กับอาคารอาจจะเป็นวัสดุที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อรองรับกับโครงสร้าง จะทำ�ให้อาคารมีความพิเศษ มากขึ้น

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

การออกแบบเปลือกอาคาร จากการที่จังหวัดนครราชสีมามีชื่อเสียงใน เรื่องของผ้า และมีลายผ้าที่โดดเด่น จึงได้นำ�มาใช้ ในการออกแบบเปลือกอาคารทำ�ให้ได้รูปแบบของ เปลือกอาคารอาคารเป็นลายสี่เหลี่ยมทับซ้อนกัน เป็นรูปแบบของสเตเดียม Functional Diagram แบ่ ง การใช้ ง านพื้ น ที่ ใ ห้ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยคำ�นึง ถึ ง ผู้ ใช้ ง านให้ มี ค วามปลอดภั ย และสามารถสั ญ จรได้ ค ล่ อ งตั ว สามารถระบายคนได้ดี

64

Functional Diagram


65

6.4 การนำ�เสนอผลงานครั้งที่ 3 (Final Design)

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

Site Plan ภาพที่ 6.1 Site Plan

66

Legend 1.Plaza 2.สนามซ้อม 3.สำ�นักงานและส่วนฝึกซ้อมของสโมสร 4.ที่จอดรถคนทั่วไป 5.ที่จอดรถ VIP 6.ที่จอดรถสื่อมวลชน 7.ที่จอดรถผู้ชมทีมเยือน 8.ที่จอดรถเจ้าหน้าการแข่งขันและพนักงานของสโมสร 9.ที่จอดรถฉุกเฉินและหน่วยรักษาความปลอดภัย 10.พิพิธภัณฑ์และร้านขายของที่ระลึกสโมสร 11.ร้านอาหาร / เครืองดื่ม 12.ห้องน้ำ� 13.ห้องพยาบาล 14.ที่จอดรถจักรยานยนต์


67

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 6.2 ผังพื้นชั้น 1


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

68

ภาพที่ 6.3 ผังพื้นชั้น 2


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

69

ภาพที่ 6.4 ผังพื้นชั้น 3


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

70

ภาพที่ 6.5 ผังพื้นชั้น 4


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

71

ภาพที่ 6.6 ผังที่นั่ง


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

72

ภาพที่ 6.7 ผังหลังคา


73

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

74

ภาพที่ 6.8 Section A & Section B


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

75

ภาพที่ 6.9 Section Perspective

การระบายอากาศภายในสเตเดียม เนื่องจากเป็นอาคารที่ รองรับคนจำ�นวนมาก ทำ�ให้ต้องออกแบบให้มีการระบาย อากาศที่ดี จึงได้ออกแบบตัว Facade อาคารให้มีช่องว่าง เพื่อให้ลมสามารถลอดผ่านเข้าในตัวอาคารได้

หลั ง คาของสเตเดี ย มมี ค วามสู ง จากที่ นั่ ง สู ง สุ ด ของ อัฒจันทร์ประมาณ 9 เมตร ทำ�ให้ระบายอากาศร้อน ได้ดี เพราะมีช่องอากาศขนาดใหญ่ และช่วยให้ระบาย ความร้อนออกไปได้เร็วขึ้น


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ใช้หลังคา EFTE ที่มีความโปร่งแสง แต่ไม่โปร่งใส ทำ�ให้แสงเข้ามาได้บางส่วน เพื่อทำ�ให้ตัวอัฒจันทร์ ไม่มืดทึบเกินไป และสามารถกันแดดได้

76

มีการกักเก็บน้ำ�ฝน เพื่อไว้ใช้ในการรดน้ำ�สนามกีฬา และเก็บเป็นน้ำ�สำ�รองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินโดยจะ เก็บไว้ที่ชั้น 4 ของสเตเดียม ซึ่งถังเก็บน้ำ�จะอยู่ทั้ง 4 ด้านของสเตเดียม


77

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

78

ภาพที่ 6.10 Section C


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

79

ภาพที่ 6.11 Detail of Structure


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

80

ภาพที่ 6.12 Detail A

ภาพที่ 6.13 Detail B

ภาพที่ 6.14 Detail C


81

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

82

ภาพที่ 6.15 Elevation A, B, C & D


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

83

ภาพที่ 6.16 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมด้านหน้า 1

ภาพที่ 6.17 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมด้านหน้า 2


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

84

ภาพที่ 6.18 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันออก

ภาพที่ 6.19 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันตก (อัฒจันทร์ประธาน)


85

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 6.20 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันออก ชั้น 2

ภาพที่ 6.21 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

86

ภาพที่ 6.22 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันตก 2

ภาพที่ 6.23 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันตก 3


87

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 6.24 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม

ภาพที่ 6.25 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ประธาน


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

88

ภาพที่ 6.26 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้

ภาพที่ 6.27 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ 2


89

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 6.28 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมชั้น 3

ภาพที่ 6.29 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมทางเดินชั้น 2


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

90

ภาพที่ 6.30 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมบันไดทางขึ้น ชั้น 4

ภาพที่ 6.31 ทัศนียภาพภายในสเตเดียมชั้น 1


91

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

ภาพที่ 6.32 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม ห้องแต่งตัวนักกีฬา

ภาพที่ 6.33 ทัศนียภาพภายในสเตเดียม ห้องแถลงข่าว


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

92

ภาพที่ 6.34 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมบริเซณที่จอดรถ

ภาพที่ 6.35 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมทางเข้าด้านทิศใต้


93

คำ�แนะนำ�จากอาจารย์ในการนำ�เสนอครั้งที่ 3 1. แยกทางสัญจรของผู้ชม / แขก VIP / นักกีฬา / สื่อมวลชน ให้ เห็นเป็น Isometric ของแต่ละผู้ใช้งาน 2. เพิ่มรายละเอียดวิธีเก็บน้ำ�ฝน / วิธีการจ่ายน้ำ�รดสนาม 3. แก้ตำ�แหน่งของจอ Score Board 4. โครงสร้างบริเวณ Aproach ไม่ต้องมีเสาก็ได้ ใช้การออกแบบ โครงสร้างพิเศษเสริมเพื่อให้ทางเข้าไม่ถูกบัง 5. เพิ่มตำ�แหน่งของช่างกล้อง ว่าอยู่จุดไหน

สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

94

ภาพที่ 6.36 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียม พลาซ่าด้านหน้าสเตเดียม


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

95

บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 7.1 สรุปผลการออกแบบโครงการ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการที่สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี เป็นสโมสรที่มีจำ�นวนแฟนบอลมากเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่ว่าทางสโมสรยังไม่มีสนามฟุตบอลเป็นของตัว เอง ซึ่งทำ�ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การต้องใช้สนามร่วมกับหน่วย งานอื่น ๆ การปรับปรุงสนามต่าง ๆ ต้องขออนุญาติจากเจ้าของ ก่อน ทำ�ให้การปรับปรุงอาจล่าช้าส่งผลต่อการแข่งขันต่าง ๆ อีก ทั้งเพื่อรองรับการแข่งขันระดับนานาชาติในอนาคต จึงได้เกิด โครงการสร้างสนามที่มีมาตรฐานระดับ AFC รองรับแฟนบอล ของสโมสรให้มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่าง ๆ ระหว่างเข้าชมการ แข่งขัน เป็นศูนย์รวมของแฟนบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี การทำ�วิทยานิพนธ์นี้ได้มีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยว กับการออกแบบสนามฟุตบอล มาตรฐานการออกแบบสนาม ฟุตบอลของ AFC และ FIFA และศึกษากลุ่มเป้าหมาย ( แฟน บอล ) ที่มีความหลากหลาย เพื่อนำ�มาวิเคราะห์พฤติกรรม การ ใช้งานต่าง ๆ แล้วนำ�มาสร้างแนวคิดให้เข้ากับโครงการ ออกแบบ พื้นที่การใช้งานให้เหมาะสมกับกุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังศึกษาการ เลือกที่ตั้งให้เหมาะกับโครงการตามข้อกำ�หนดของ AFC ศึกษา โครงสร้างพาดช่วงกว้างที่เหมาะกับอาคารสนามกีฬา เพื่อนำ� ข้อมูลที่ศึกษาและวิเคราะห์มาออกแบบโครงการให้ได้ตามจุด ประสงค์ การทำ�วิทยานิพนธ์นี้ทำ�ให้ได้รับความรู้ด้านการออกแบบ สนามกีฬาประเภทสเตเดียม ทั้งมาตรฐานการออกแบบสนาม กีฬาระดับสากลของ AFC และ FIFA การได้ศึกษาและวิเคราะห์ พฤติกรรมหลากหลายของแฟนบอล ได้เข้าใจพฤติกรรมของแฟน บอลมากขึ้น รวมถึงการได้ศึกษาโครงสร้างพาดช่วงกว้าง ( Wide Span ) ที่เป็นโครงสร้างที่สามารถยื่นยาวได้มากกว่าโครงสร้าง ปกติ และสามารถปรับรูปทรงได้หลากหลาย ทำ�ให้เกิดเส้นสาย รูปทรงที่น่าสนใจในฟอร์มของอาคาร ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา เหล่านี้ สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบงานในอนาคต ได้อีกด้วย

ภาพที่ 7.1 ทัศนียภาพภายนอกสเตเดียมทางด้านทิศเหนือ

7.2 ปัญหาในการศึกษาข้อมูลและการออกแบบ 7.2.1 ปัญหาด้านการศึกษาข้อมูล การหาข้อมูลเกี่ยวกับสเตเดียมที่อาจจะต้องไปสำ�รวจ หรือหาข้อมูลในพื้นที่จริง ซึ่งต้องจัดการเวลา และกำ�หนดเวลา สืบค้นข้อมูล เพราะการลงพื้นที่อาจจะมีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิด ขึ้น เช่น การไปดูการแข่งขันเพื่อสำ�รวจพฤติกรรมของแฟนบอล ที่เจอปัญหาด้านการเข้าไปสอบถามหรือสำ�รวจสเตเดียม เพราะ ตัวสนามมีการจัดระเบียบการสัญจรที่ยังไม่เป็นระเบียบ ทำ�ให้ การสัญจรวุ่นวายในวันที่มีผู้เข้าชมจำ�นวนมาก ปัญหาด้าน การสอบถามข้อมูล ทางสโมสรมีข้อมูลเชิงธุรกิจที่บางอย่างไม่ สามารถเปิดเผยได้ ทำ�ให้อาจต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบแทน 7.2.2 ปัญหาด้านการออกแบบ ปัญหาที่พบจากการออกแบบ คือ การหาพื้นที่ตั้ง โครงการ เพราะเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่จะเป็นจุดศูนย์รวม ของผู้คน ( ในโครงการนี้คือบริเวณตัวเมืองนครราชสีมา ) จึงหา พื้นที่ได้ค่อนข้างยาก ซึ่งแก้ปัญหาโดยการหาพื้นที่ที่ไกล้เคียงกับ เกณฑ์แต่อาจจะต้องถอยออกมาจากตัวเมืองที่เป็นศูนย์กลางเพื่อ ให้ได้พื้นที่ที่ต้องการ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ จึงต้อง ออกแบบให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น รวมถึงต้องคำ�นึงถึงการใช้วัสดุที่ เหมาะสม และคำ�นึงถึงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมรอบโครงการ และปัญหาเรื่องความจุของสเตเดียมจากที่กำ�หนดไว้ 25,000 ที่ นั่ง แต่หลังจากออกแบบ ได้ 17,000 ที่นั่ง เกิดจากการคำ�นวณ ที่นั่งผิดพลาดโดยไม่ได้คำ�นึงถึงการจัดวางเก้าอี้ให้เพียงพอ ซึ่ง ก่อนออกแบบได้คำ�นวณพื้นที่ไว้คร่าว ๆ แต่ว่าไม่ได้คำ�นวณอย่าง ละเอียด ทำ�ให้หลังจากออกแบบเรียบร้อยแล้ว ทำ�ให้ได้ที่นั่งไม่ เพียงพอตามที่คำ�นวณไว้


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

7.3 ข้อเสนอแนะ การทำ�วิทยานิพนธ์ในเรื่องที่มีความสนใจนั้นเป็นจุดเริ่ม ต้ น ในการศึ ก ษาและเรี ย นรู้ ที่ ต้ อ งการต่ อ ยอดองค์ ค วามรู้ แ ละ ไขข้อสงสัยต่อประเด็นที่เลือกนำ�มาศึกษา ผู้ศึกษาต้องศึกษา ค้นคว้าตลอด 1 ปีของการศึกษา ซึ่งหัวข้อที่เราสนใจนั้นจะเป็น แรงผลักดันให้เรามีความมุ่งมั่นที่จะผลิตงานออกมาได้ดี และ ทำ�ให้สนุกไปกับงานที่ทำ� ทั้งในเรื่องการวิเคราะห์และแก้ไข ปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้นไปอีกด้วย จากปัญหาที่พบเจอในการทำ�วิทยานิพนธ์ เราควรจะ ตรวจสอบงานที่เราทำ�อย่างรอบคอบก่อนที่จะลงมือในการทำ� แบบจริง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรตรวจ ทานรายละเอียดให้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อย และในปัจจุบัน การ ออกแบบอาคารประเภทสเตเดี ย มนั้ น มี ตั ว อย่ า งให้ เ ลื อ กดู ไ ด้ หลากหลาย ทำ�ให้ราสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแนวคิด ได้ ซึ่งความยากของสเตเดียมนั้นจะอยู่ที่การออกแบบโครงสร้าง ให้ดูมีความน่าสนใจ มีเอกลักษณ์ และคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ ของวัสดุที่ใช้ รวมถึงเรื่องการออกแบบพื้นที่ทางเข้า-ออก ของ โครงการ จะต้องออกแบบให้มีความชัดเจน เหมาะสมกับผู้ใช้งาน แต่ละประเภท แยกประเภทของการสัญจรให้ชัดเจนและคำ�นึง เรื่องการรักษาความปลอดภัย สามารถระบายผู้คนได้ดี การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ตรงกับความสนใจเป็นการ ต่อยอดความรู้ที่ได้จากการเรียน นำ�มาประยุกต์ใช้กับวิทยานิพนธ์ ของเราและจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราพัฒนาตนเองและพัฒนาผล งานให้ออกมาดีที่สุด

96


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

97

7.4 ภาพการนำ�เสนอผลงาน

ภาพที่ 7.2 การนำ�เสนอผล งานครั้งที่ 1

ภาพที่ 7.3 การนำ�เสนอผล งานครั้งที่ 1

ภาพที่ 7.4 การนำ�เสนอผล งานครั้งที่ 1


สนามกีฬาฟุตบอลสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี นครราชสีมา สเตเดียม

98

ภาพที่ 7.5 การนำ�เสนอผล งานครั้งที่ 2

ภาพที่ 7.6 การนำ�เสนอผล งานครั้งที่ 2


บรรณานุกรม ไตรวัฒน์ วิรยศิริ. (2558). การออกแบบสเตเดียม Stadium Design. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วสันต ปญญาแกว. (2559). ฟุตบอลไทยพรีเมียรลีก: ผูหญิง อํานาจ วัฒนธรรมแฟน และชนชั้นใหม. กรุงเทพฯ : ศูนยศึกษาปญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). มีนาคม 2561. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการจัดการแข่งขันกีฬา ฟุตบอลลีกอาชีพรายการ “ไทยลีก 1” พ.ศ. 2562. 26 กุมภาพันธ์ 2562. Geraint John, Rod Sheard & Ben Vickery. (2013). Stadia : The Populous Design and Development Guide. London. Routledge. Peter Culley & John Pascoe. (2015). Stadium and Arena Design Second edition. London. TJ International Ltd. Francis D. K. Ching, Barry Onouye & Douglas Zuberbuhler. (2014). Building Structures illustrated : patterns, systems, and design Second edition. New Jersey. John Wiley & Sons. Neufert Ernst, Neufert Peter, Baiche Bousmaha (EDT) & Walliman Nich. (2000) . Architects’ Data Thired edition. Malden. Blackwell Science. Football Stadiums Technical Recommendations And Requirements Fifth edtion. (2011). Zurich. Fédération Internationale de Football Association.

Stadium Regulations. (2018). Kuala Lumpur. Asian Football Confederation. Buriram United : Road to Asia’s Top 5 [Online]. 16 ธันวาคม 2562; ได้จาก https://www.buriramunited.com/history Allianz Arena Facts [Online]. 16 ธันวาคม 2562; ได้จาก https://allianz-arena.com/en/arena/facts Tautann. (2558). Emirates Stadium : บุกเอมิเรตส์สเตเดียม รังเหย้าทีมปืนใหญ่อาร์เซนอล 16 ธันวาคม 2562; ได้จาก https://tarnpark.wordpress.com/2016/01/31/ emirates-stadium


ประวัติผู้ทำ�วิทยานิพนธ์

ชื่อ - สกุล : นายสัมพันธ์ อินทรสมบัติ วันเกิด : 8 ตุลาคม 2539 สถานที่เกิด : รพ.มหาราช นครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา สถานที่อยู่ปัจจุบัน : 238 หมู่ 8 ต.โคกม้า อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 31140 หมายเลขโทรศัพท์ : 099-501-6932 E - Mail Address : Tey579987@gmail.com, Sampan.int@msu.ac.th ประวัติการศึกษา พ.ศ.2554 สำ�เร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ ( มัธยมศึกษาตอนต้น ) พ.ศ.2557 สำ�เร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ ( มัธยมศึกษาตอนปลาย ) พ.ศ.2558 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี - สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.