โปรดฟงอีกครั้ง ทราบแลวโปรดเพิกเฉย เดชอุดม ขุนนะสิทธิ์ (มิถุนายน 2555)
"โปรดฟงอีกครั้ง" เปนคำกลาวที่มักจะถูกใชในการกลาวนำในการประกาศระหวางการทำปฏิวัติหรือรัฐประหารเพื่อ ยึดอำนาจ เปนการประกาศเพื่อใหมีการดำเนินการตามคำประกาศ/กฎ/ระเบียบที่ฝายที่ยึดอำนาจไดบัญญัติขึ้น เพื่อใหมีการปฏิบัติตาม มีการใชนับตั้งแตการทำการปฏิวัติโดยคณะราษฎรวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงการทำ รัฐประหารครั้งลาสุด 19 กันยายน 2549 ซึ่งปนี้เปนปแหงการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ ไทยครบรอบ 80 ป ที่มาพรอมคำประกาศของคณะราษฎร วา "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเปนของราษฎร ทั้งหลาย" แตมาถึงวันนี้ทำใหเกิดขอกังวลที่สำคัญยิ่ง ผูเขียนจึงขอประกาศจุดยืนและทำความเขาใจแกประชาชน ทั้งหลายเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยที่กำลังถูกรุกรานผานบทความนี้ สืบเนื่องจากการที่ประธานสภาผูแทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท ลงนามในหนังสือชี้แจงตามขอกลาวหา มาตรา 68 (รธน.) ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ตอศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำรองไว พิจารณากรณีการแกไขรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 291 ของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา พรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวของ ยื่นโดยกลุม ส.ส. ส.ว. และประชาชน จำนวน 5 สำนวน ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2555 จากปรากฏการดังกลาวไดมีประชาชน นักการเมือง นักวิชาการผูเชี่ยวชาญดานกฎหมายและดานรัฐศาสตรหลาย ตอหลายทานรวมทั้งผูเขียนเองไดออกมาเรียกรองและเขียนบทความขอใหรัฐบาลและรัฐสภาเพิกเฉยตอคำสั่งของ ศาลรัฐธรรมนูญสืบเนื่องจากการรับคำรองที่ไมชอบดวยกฎหมายดังกลาว ซึ่งในที่นี้ผูเขียนจะไมขอกลาวถึงราย ละเอียดอีก แตจะขอหยิบยกมาเฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับขอเรียกรองสืบเนื่องจากการกระทำของประธานสภาฯ ดังนี้ (อานรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ http://prachatai.com/journal/2012/06/40955) "ผูเขียนขอเรียกรองที่รัฐสภาจะเพิกเฉยตอคำสั่งศาลที่ไมชอบดวยกฎหมายนี้ และ/หรือตอบโตดวยการชี้วาเปนการ กระทำที่ไมมีอำนาจ และทำหนาที่ของรัฐสภาตอไป" "เมื่อมีคำสั่งใหผูถูกกลาวหาตองมีหนังสือชี้แจงภายใน 15 วัน หากรัฐสภาทำหนังสือชี้แจงตามที่ศาลไดมีคำสั่งมา นั้นและ/หรือไมดำเนินการลงมติรับรางแกไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 การกระทำดังกลาวยอมถือไดวาเปนการยอมรับ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้โดยนัยแลวหรือไม เพราะการกระทำการใดที่เปนการแสดงออกถึงการ ยอมรับวาอำนาจดังกลาวมีอยูจริง ทั้งที่ไมมีอยูจริง จะถือเปนการสถาปนาอำนาจนอกรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหมหรือ ไม ถือเปนการทำลายกลไกการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักการแบงแยกอำนาจ และเปนการสราง บรรทัดฐานขึ้นในสังคมไทย เพราะการไมปฏิเสธและไมตอบโตเทากับเปนการยอมรับ ซึ่งอาจจะถูกนำมาสรางเปน บรรทัดฐานตอไปได" (จากบทความ: ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับอภิมหากาพยมาตรา 68 (รธน.) โดยผูเขียน เผยแพรวันที่ 9 มิถุนายน 2555)
แมเปนที่ปรากฏชัดแลววาจะไมมีการลงมติพิจารณารับรางแกไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในสมัยการประชุมสภา นิติบัญญัติสมัยนี้ดวยการตรา พ.ร.ฎ.ปดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ 2555 ตั้งแตวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ตามพระบรมราชโองการลงวันที่ 15 มิถุนายน 2555 และมีการออกมายืนยันครั้งแลวครั้งเลาทั้ง จากประธานสภาและพรรคเพื่อไทยวาจะไมมีการเปดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณารับรางฯวาระ 3 จนกวาจะมีการเปดประชุมสภาสมัยหนาในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 (ยังไมมีการยืนยันวาจะมีการลงมติรับรางฯใน การประชุมสภาสมัยดังกลาว) ทั้งที่มีแรงสนับสนุนทั้งจากกลุมที่ชอบและไมชอบคุณทักษิณ แตรัฐบาลและรัฐสภา เลือกที่จะถอย ดวยเหตุผลกลใดคงเปนสิ่งที่ผูเขียนไมอาจลวงรูได เพียงแตสัญนิษฐานไดวาการทำหนาที่ของ รัฐสภาเองหรือแมแตรัฐบาลเองไมไดอยูในกรอบหรือกระบวนการที่พึงจะกระทำไดในระบบ/ระบอบปกติ ดังนั้นขอ เรียกรองสุดทายที่พึงมีคือ เรียกรองใหรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี และรัฐสภา “เพิกเฉย” ตอคำสั่งดังกลาว เพราะ คำสั่งที่ออกโดยมิชอบดวยกฎหมายยอมไมมีผลผูกพันไมตองปฏิบัติตาม ผูเขียนขออธิบายโดยสังเขป ดังนี้ “การเพิกเฉย” หรือในภาษาอังกฤษใชคำวา "ignore" ปรากฎตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษหมายถึง การปฏิเสธ การรับทราบหรือการรับรูใดๆ เปนการมองขามโดยมีเจตนา (refuse to take notice of or acknowledge; disregard intentionally) ซึ่งหากจะมองในบริบทกฎหมายเทียบเคียงไดปรากฏตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคทาย ไดแกคำวา "งดเวน" ซึ่งมีความหมายเปนหนึ่ง “การกระทำ” ตามประมวลกฎหมายอาญาที่ บัญญัติองคประกอบความผิดวาจะตองประกอบดวย “การกระทำ” และ “เจตนา” "มาตรา 59 วรรคทาย การกระทำ ใหหมายรวมถึงการใหเกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยการงดเวนการที่จักตองกระทำ เพื่อปองกันผลนั้นดวย" โดยหลักการ "การงดเวน" ที่เปนการกระทำที่จะเปนความผิดไดนั้นจะตองเปนการงดเวนการกระทำในสิ่งที่ตน มีหนาที่จะตองกระทำ ไมวาจะเปนหนาที่ตามกฎหมายตามสัญญาหรือไมมีสัญญาก็ได กรณีที่ไมมีสัญญา ตัวอยางคลาสสิค เชน มารดาที่จะตองมีหนาที่ใหนมแกบุตรทารก การงดเวนเปนเหตุใหบุตรของตนเสียชีวิตยอม เปนความผิด “การงดเวน” ตามมาตรา 59 จึงสอดคลองกับมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาที่ใชคำวา "ละเวน" ในการกระทำที่เปนการกระทำของ “เจาพนักงาน” "มาตรา 157 ผูใดเปนเจาพนักงานปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่โดยมิชอบ เพื่อใหเกิดความเสียหายแกผูหนึ่ง ผูใด หรือปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่โดยทุจริต ตองระวางโทษ.." ตามมาตรา 157 ระบุคำวา “โดยมิชอบ” ซึ่งหมายถึงการไมทำตามที่กฎหมายกำหนดไว และมี “เจตนาพิเศษ” คือ การกระทำที่มีเจตนาใหเกิดความเสียหายแกผูหนึ่งผูใด กฎหมายระบุวา การละเวนการปฏิบัติหนาที่จะตอง เปนการละเวนหนาที่ตามกฎหมายบัญญัติใหตองปฏิบัติตาม หากเปนการละเวนการปฏิบัติหนาที่ที่ไมกอใหเกิด ความเสียหายแกบุคคลอื่นยอมไมเปนความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ สวน “โดยทุจริต” หมายถึง การแสวงหา ประโยชนที่มิควรไดโดยชอบดวยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผูอื่นจากการปฏิบัติหนาที่หรือละเวนการปฏิบัติหนาที่ (มาตรา 1 ประกอบ มาตรา 157) ดังกลาวขางตน ไมวาจะเปนกรณีบุคคลทั่วไป "งดเวน" (มาตรา 59) หรือเจาพนักงาน "ละเวน" (มาตรา 157) การ งดเวน การละเวน หรือการเพิกเฉยที่จะเปนความผิดไดจะตองเปนการงดเวน ละเวน หรือเพิกเฉยในการที่ตนมีหนา
ที่ที่จะตองปฏิบัติเทานั้น ดังนั้น การงดเวน ละเวน หรือเพิกเฉยในการใดๆ ที่ตนไมมีหนาที่ที่จะตองปฏิบัติตามยอม ไมเปนความผิด มิพักตองพิจารณาวาเปนการละเวนการกระทำที่ชอบหรือไมชอบดวยกฎหมาย หรือ โดยทุจริต ซึ่ง ผูเขียนมองวาหางไกลจากความผิดตามมาตรานี้มาก หากแตไมนับวาหากมีการกระทำซึ่งอาจจะกอใหเกิดผลที่ ตรงกันขามได ลองมาดูในรัฐธรรมนูญบาง มาตรา 74 และมาตรา 244 ไดระบุคำวา “ละเลย” โดยมาตรา 74 ระบุวา บุคคลผูเปน ขาราชการ พนักงาน ลูกจางของหนวยงานราชการ หนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจาหนาที่อื่นของรัฐมีหนาที่ ดำเนินการใหเปนไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชนสวนรวม (วรรค 1) การละเลยหรือไมปฏิบัติใหเปนไปตาม หนาที่ดังกลาว ผูมีสวนไดเสียยอมมีสิทธิขอใหบุคคลดังกลาวหรือผูบังคับบัญชาของบุคคลดังกลาวชี้แจง แสดง เหตุผล และขอใหดำเนินการใหเปนไปตามบทบัญญัติ.. (วรรคทาย) มาตรา 244 ใหอำนาจผูตรวจการแผนดินมี อำนาจพิจารณาตรวจสอบขอเท็จจริงตามคำรองเรียนในการปฏิบัติหรือละเลยไมปฏิบัติหนาที่ไมวาจะชอบหรือไม ชอบดวยกฎหมาย (1 (ข)) ตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหนาที่หรือการปฏิบัติหนาที่โดยไมชอบดวยกฎหมาย ขององคกรตามรัฐธรรมนูญและองคกรในกระบวนการยุติธรรม.. (1 (ค)) สังเกตไดวาการ “ละเลย” ตามรัฐธรรมนูญก็ไดระบุเชนเดียวกันคือ จะตองมี “หนาที่” ที่จะตองปฏิบัติ มาถึงจุดนี้ ผูเขียนขอสรุปแบบกระชับใหเปนที่เขาใจงายๆ วา การที่บุคคลที่ใชอำนาจรัฐไมวาจะเปนผูออกคำสั่ง หรือผูปฏิบัติตามคำสั่งจะตองการทำตามกรอบอำนาจหนาที่ตามบทบัญญัติกฎหมายโดยสุจริตจึงจะเปนการ กระทำที่ชอบดวยกฎหมาย การกระทำที่ไมชอบดวยกฎหมายยอมไมกอใหเกิดผลผูกพันที่จะตองปฏิบัติตาม ขอย้ำ ใหชัดอีกครั้งวา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไมมีอำนาจแลวจึงไมสามารถกอใหเกิดสิทธิตามมาตรา 213 รธน. ที่ระบุใหมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐาน เรียกบุคคลมาใหถอยคำ หรือใหดำเนินการใดเพื่อประโยชนแหง การพิจารณาคดีได การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำรองในครั้งนี้เปนการรับคำรองไวโดยไมมีอำนาจ ดังนั้นการออกคำสั่งใหรัฐสภาและ คณะรัฐมนตรีดำเนินการทำหนังสือชี้แจงจึงเปนคำสั่งที่ไมชอบดวยกฎหมาย ผลคือไมอาจกอใหเกิดหนาที่ตาม กฎหมายที่รัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีจะตองปฏิบัติตามแตอยางใด อีกทั้งรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีไมใชบุคคล หรือพรรคการเมืองตามมาตรา 68 รธน. โดย “รัฐสภา” เปน “องคกรฝายนิติบัญญัติ” ตามรัฐธรรมนูญฯ หมวด 6 และ “คณะรัฐมนตรี” เปน “องคกรฝายบริหาร” ตามรัฐธรรมนูญฯ หมวด 9 และการกระทำของทั้งสององคกร เปนการกระทำตาม "อำนาจหนาที่" ที่บัญญัติใหไวในรัฐธรรมนูญ ไมใชการใชสิทธิ (Rights) และเสรีภาพ (Liberties) ของประชาชนและพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแตอยางใด กระนั้น แมแตพรรคการเมือง หรือ ส.ส. ส.ว. ที่ถูกกลาวหาจะมีฐานะเปนบุคคลหรือพรรคการเมืองตามมาตรา 68 ก็มิจำตองยื่นหนังสือชี้แจงแตประการใด เนื่องจากการรับคำรองเปนการกระทำที่ไมชอบดวยกฎหมายจึงไมกอให เกิดหนาที่ตามกฎหมายจึงไมจำตองปฏิบัติตาม กลาวคือ การยื่นคำรองขอเพื่อใหศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ตามมาตรา 68 นั้น จะกระทำไดก็โดย “อัยการสูงสุด” เทานั้น เชนเดียวกัน การทำหนาที่ของพรรคการเมือง หรือ ส.ส. ส.ว. ตามที่ถูกกลาวหาไมเปนการกระทำโดยใชสิทธิเสรีภาพของประชาชนและพรรคการเมืองแตเปนการ ปฏิบัติหนาที่ตามอำนาจที่ใหไวในรัฐธรรมนูญอยางชัดแจง ตรงขาม ศาลรัฐธรรมนูญเสียอีกที่กระทำการโดยที่ตน ไมมีอำนาจแตยังคงกลาวอางอยางเลอะเลือน
แตเมื่อมีการยื่นหนังสือชี้แจงตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น การกระทำของ ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง คณะ รัฐมนตรี และรัฐสภายอมถือเปนการยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคำรองวาเปนการกระทำที่ชอบ ดวยกฎหมายเสียแลว เปนการกระทำที่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญวาการรับคำรองโดยตรงจากบุคคลทั่วไป โดยไมตองผานอัยการสูงสุดเปนการกระทำที่ชอบตามรัฐธรรมนูญ เปนการยอมรับการเขามาตรวจสอบการทำ หนาที่แกไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เปนการยอมรับเขตอำนาจศาลที่ขยายขอบเขตอยางไมเหมาะสมที่ยอมสงผล เปนการแทรกแซงการใชอำนาจรัฐสภาในการดำเนินการแกไขรัฐธรรมนูญซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เปนการ แทรกแซงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยโดยตรง นอกจากนี้ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งนัดคูกรณีไตสวนในวันที่ 5 และ 6 กรกฎาคม 2555 ตั้งแตเวลา 9.30 น. เปนตนไปนั้น ผูเขียนขอเรียกรองที่ผูถูกกลาวหาทุกกลุมจะ “เพิกเฉย” ตอคำสั่งดังกลาว และปลอยใหตุลาการศาล รัฐธรรมนูญดำเนินการตามทางพิจารณาตามกระบวนการไตสวนของตนไปแตฝายเดียวเพราะอำนาจการ พิจารณาไตสวนไมไดจำกัดใหศาลพิจารณาวินิจฉัยจากขอมูลที่คูกรณีใหหรือไมใหไวเทานั้น ที่สำคัญ แมใน อนาคตไมวาจะมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญตามคำรองดังกลาวออกมาไมวาจะเปนไปใน ทางบวกหรือลบ ผูถูกกลาวหาทุกกลุมก็ไมควรถือเอามาเปนสาระสำคัญในการทำหนาที่ของตนอยางเด็ด ขาด เพราะจะถือเปนการรับรองอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ขัดกับหลักการที่สำคัญในกลไกการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย หลักการแบงแยกอำนาจ และเปนการสรางบรรทัดฐานที่บิดเบี้ยวขึ้นในสังคมไทยดังที่ไดกลาวไป แลว สวนการกระทำของประธานสภาผูแทนราษฎร ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง และคณะรัฐมนตรี ที่ไดมีการยื่นหนังสือ ชี้แจงตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญไปแลวนั้น หรืออาจจะมีการเขารวมการไตสวนตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 5 และ 6 กรกฎาคม 2555 ดวยหรือไม ผูเขียนในฐานะประชาชนคนหนึ่งผูมีสิทธิเต็มปรากฏตามรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ขอคัดคานการกระทำของ ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา อัน เปนการรับรองอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่ไมชอบดวยกฎหมายนี้ทั้งปวง และผูเขียนขอเรียกรองประชาชนชาวไทยที่ จะแสดงความคิดเห็นตอตานการกระทำที่เปนการรับรองอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ไมชอบดวยรัฐธรรมนูญใน ครั้งนี้เพื่อไมใหเปนการรับรองวาเปนการกระทำของรัฐอยางสมบูรณอันจะนำมาสูการกลาวอางถึงอำนาจที่ผิด เพี้ยนนี้อีกในอนาคต ในทายนี้ ไมวา ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี รัฐสภา หรือแมแตรัฐบาลเองจะไดยินเสียงเรียกรองจาก ประชาชนตัวเล็กๆ เหลานี้กันหรือไม ผูเขียนก็จะขอประกาศอีกครั้งในฐานะประชาชนคนไทยผูมีสิทธิเต็มตามรัฐธร รมนูญฯ วา “อำนาจอธิปไตยเปนของปวงชนชาวไทย” ไมใชของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออำนาจอื่นใดที่ไมเปน ไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ การสถาปนาและการแกไขรัฐธรรมนูญเปนอำนาจเต็มของประชาชนซึ่งกระทำการ ผานรัฐสภา ไดโปรดอยาลิดรอนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอีก โปรดฟงอีกครั้ง .................................................