คู่มือ การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย การประชาสัมพันธ์ สพม.1 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มอํานวยการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คํานํา ด้วยสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีภารกิจกํากับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สถานศึกษาในสังกัด พร้อมทั้งประสานและส่งเสริม การจัดการศึกษาให้สอดคล้องนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรวิชาชีพ และดําเนินการสร้างความเข้าใจให้แก่ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีเครือข่ายบุคลากรผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา เพื่อทํา หน้าที่ประชาสัมพันธ์เชิง เพื่อให้เครือข่ายประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาในสังกัดมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ ในการสร้างความเข้าใจอันดีแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่การศึกษา จึงมีการสร้างกิจกรรม ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง สํานักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มอํานวยการ ได้จัดทํา คู่มือ “การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาในสังกัด” เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ของสถานศึ ก ษาร่ ว มกั บ การสํ า นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และตอบสนองงาน ประชาสัมพันธ์นโยบายของหน่วยงานอย่างได้ผลต่อเนื่อง สําหรับข้าราชการครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ สถานศึกษาในสังกัด โดยกลุ่ มงานประชาสั มพันธ์ กลุ่มอํ านวยการ ขอขอบคุ ณ ผู้อํ านวยการสํ านัก งานเขตพื้ นที่ก ารศึ กษา มัธยมศึกษา เขต 1 รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ผู้อํานวยการกลุ่มทุกกลุ่ม ผู้บริหารโรงเรียน และเครือข่ายประชาสัมพันธ์สถานศึกษาทุกท่านที่ให้กําลังใจ และสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์ ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เสมอมา
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กลุ่มอํานวยการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
สารบัญ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ คําจํากัดความของความเป็น “ข่าว” การลงภาพกิจกรรมในเว็บไซต์ สพม.1 เพื่อให้สามารถ ลิงค์ข่าวไปยังเว็บไซต์โรงเรียน การใช้โปรแกรม MS PUBLISHER 2007 สร้างสื่อสิง่ พิมพ์ จดหมายข่าว สําหรับงานประชาสัมพันธ์ การใช้งานโปรแกรม Picasa ในการแตกแต่งภาพ การสมัคร Gmail การสมัคร Facebook เอกสารอ้างอิง
หน้า 1 5 12 17 28 41 44 47
ห น้ า | 1
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ……………………………………………… หลักการและเหตุผล พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 บัญญัติไว้ใน มาตรา 11 ว่า“ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่าง สม่ําเสมอโดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการ ปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และ มีการเรียนรู้ร่วมกันทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้” และในคู่มือการดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ของสํานักงาน ก.พ.ร. ในหมวดที่ 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ข้อ 3 ความว่า “ในการบริหารราชการแนวใหม่ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การ ปฏิ บัติ ง าน ให้ สอดคล้ องกั บสภาพสั ง คมที่ เปลี่ย นแปลงไปอย่ างรวดเร็ วและสถานการณ์ ของต่ า งประเทศที่ มี ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้องมีการวางแผนการ ปฏิบัติราชการทุกระยะ ต้องมีการปรับแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต้องมีการกําหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เป็นความ จริง ฉะนั้น แนวความคิ ดของผู้ปฏิบัติราชการภาครัฐ จะต้องเปลี่ยนแปลงทั ศนคติเดิมเสี ยใหม่ จากการที่ยึด แนวความคิ ดว่าต้องปฏิบัติงานตามระเบี ยบแบบแผนที่วางไว้ตั้ง แต่อ ดีตต่ อเนื่องจนถึงปั จจุบัน เน้ นการสร้ า ง ความคิดใหม่ ๆ งานวิชาการใหม่ และนํามาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการตลอดเวลา ส่วนราชการต้องมีการพัฒนา ความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ” ในปี 2548 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้นําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาระบบราชการ โดยประยุกต์ใช้จากระบบคุณภาพการบริหารภาครัฐและเอกชนของต่างประเทศ ผ่าน ระบบการประเมินให้รางวัลคุณภาพ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award) หรือที่เรียกว่า PMQA แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ลักษณะสําคัญขององค์กร เป็นการอธิบายถึงภาพรวมปัจจุบันของส่วนราชการ สภาพแวดล้อมใน การปฏิ บัติ ภ ารกิ จ ความสั มพั น ธ์ ร ะหว่ า งหน่ ว ยงานกั บ ผู้ รั บ บริ ก าร ส่ ว นราชการอื่ น และประชาชนโดยรวม สิ่งสําคัญที่มีผลต่อการดําเนินการ และความท้าทายที่สําคัญในเชิงยุทธศาสตร์ที่ส่วนราชการเผชิญอยู่ รวมถึงระบบ ปรับปรุงผลการดําเนินการของส่วนราชการ
1
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 2 ส่วนที่ 2 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นแนวทางการบริหารจัดการที่จะนําส่วนราชการไปสู่ องค์การแห่งความเป็นเลิศได้ และเกณฑ์ในแต่ละหมวดจะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างหมวดต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็น ถึงการบริหารจัดการที่ดี ต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการกันอย่างเป็นระบบ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งเป็น 7 หมวด คือ หมวด 1 การนําองค์กร หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสําคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด 6 การจัดการกระบวนการ หมวด 7 ผลลัพธ์การดําเนินการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นช่องทางการประสานงานร่วมกันในหลายระดับ ทั้งการประสานในส่วนของความรู้ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ ขอบข่าย แผนงาน วิธีการทํางาน แนวทางปฏิบัติ ฯลฯ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน 2. เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศ หากเครือข่ายสื่อบุคคลฯ ได้จัดให้มีการ พบปะกันระหว่างสมาชิกในเครือข่ายมากเพียงใดก็จะทําให้เกิดการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ประสบการณ์ และสารสนเทศมากขึ้นเท่านั้น 3. เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนและระดมทรัพยากร สมาชิกของเครือข่ายสื่อบุคคลฯ อาจจะมีการแลกเปลี่ยน ทรัพยากรระหว่างกัน หรือ ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นบุคลากร เงินทุน สถานที่ ความรู้หรือวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้เกิดการผสมผสานกันอย่างลงตัว 4. เพื่อเกิดการสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ การแลกเปลี่ยนความรู้และการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน ของสมาชิกจะทําให้เกิดองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมไทย 5. เกิดช่องทางสร้างกระแสผลักดันประเด็นใหม่ ๆ เครือข่ายสามารถสร้างกระแสเพื่อปลุกหรือเตือนให้ สังคมเกิดความตื่นตัวในเรื่องหนึ่งเรื่องใดในวงกว้างได้ 6. เพื่อให้การสร้างเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์มีมาตรฐานการดําเนินงานและผู้รับบริการเกิดความ พึงพอใจ 7. เพื่อสามารถดําเนินการให้กระบวนการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ เป็นไปอย่างเป็น ระบบ ลดข้อผิดพลาดในการดําเนินการ 8. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) และการจัดการ ความรู้ (KM) 2
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 3 ขอบเขต คู่ มือ การการสร้ า งและพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยการประชาสั ม พั น ธ์ ครอบคลุ ม ขั้ น ตอนการสร้ า งและพั ฒ นา เครือข่ายการประชาสัมพันธ์ใน 2 ลักษณะ คือ การสร้างเครือข่าย และการพัฒนาเครือข่าย รวบรวมขั้นตอนตั้งแต่ การเตรียมการ การดําเนินการจัดงานการติดตามประเมินผล รวมทั้งแผนสํารองฉุกเฉินเพื่อป้องกันผลกระทบการ จัดการกระบวนการของกรมประชาสัมพันธ์ คําจํากัดความ เครือข่าย (Network) หมายถึง ความร่วมมืออย่างเป็นระบบอันเกิดจากการรวมตัวกันของบุคคล กลุ่ม องค์กร หรือสถาบันทางสังคมต่างๆ เพื่อการประสานเชื่อมโยงไปสู่การเพิ่มพลัง สรรพปัจจัย และการบรรลุผล สําเร็จในเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน โดยต้องมีการแสดงออกเป็นการลงมือกระทํากิจกรรมร่วมกัน โดยอาจเป็นการ ร่วมมือกันระหว่างปัจเจก/องค์กร ประเภทเดียวกัน เช่น ผู้นําชุมชนกับผู้นําชุมชนด้วยกัน หรืออาจจะเป็นการ เชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม หรือองค์กรต่างประเภทกัน เช่น หน่วยงานราชการกับหน่วยงานเอกชน ดังนั้นเครือข่ายจึงมี ได้หลายระดับ ตั้งแต่การเชื่อมโยงระหว่างปัจเจกต่อปัจเจก ปัจเจกกับกลุ่ม กลุ่มต่อกลุ่ม หรือแม้กระทั่งการ เชื่อมโยงระหว่าง เครือข่ายย่อยภายใต้เครือข่ายใหญ่ เมื่อกล่าวถึงสื่อบุคคลโดยทั่วไปจะให้ความสนใจไปที่ องค์ประกอบที่เป็นตัวบุคคล แต่เมื่อบุคคลหลายคนเข้ามามีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันและกัน สืบโยงสายใย สัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นเราเรียกว่า เครือข่าย ซึ่งหากเป็นความสัมพันธ์ในด้านการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ เราเรียกว่า เครือข่ายการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่าย (Net Working) หมายถึง การแสวงหาโอกาสเพื่อรู้จักกับบุคคลใหม่ ๆ และการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลที่พึ่งรู้จัก รวมทั้งการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่ เกี่ยวข้องในสายอาชีพหรือแวดวงเดียวกัน การพัฒนา (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทําให้เกิดขึ้นหรือมีการวางแผน กําหนดทิศทางไว้ล่วงหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มความพึงพอใจและ เพิ่มความสุขของประชาชนด้วย การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) หมายถึง การเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ระหว่างองค์กรหรือสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหวังผลในความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชน นั่นเอง คําว่า การประชาสัมพันธ์ แปลมาจากคําในภาษาอังกฤษ คือ Public Relations โดยคําว่า Public แปล เป็นภาษาไทยคือ ประชา ซึ่งหมายถึง หมู่คน และคําว่า Relations แปลเป็นภาษาไทยคือ สัมพันธ์ ซึ่งหมายถึง การผูกพัน ดังนั้นคําว่าการประชาสัมพันธ์เมื่อแปลตามตัวอักษร ก็จะได้ความหมายว่า “การเกี่ยวข้องผูกพันกับหมู่ คน” 3
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 4 เครือข่ายสื่อบุคคลเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึง เครือข่ายการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ใช้สื่อ บุคคลเป็นหลักในการสื่อสารเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของเครือข่าย ในระบบเครือข่ายแบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ภายในองค์กรและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังแบ่งตามลักษณะกลุ่มได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ความสัมพันธ์ในลักษณะบุคคล และลักษณะกลุ่ม องค์ประกอบของเครือข่าย การที่จะทําให้เครือข่ายสื่อบุคคลเพื่อการประชาสัมพันธ์ประสบความสําเร็จต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้ 1. การรับรู้ร่วมกัน (Common Perception) 2. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision) 3. การมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefits) 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง (All Stakeholders Participation) 5. การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (Complementary Relationship) 6. การพึ่งพิงร่วมกัน (Interdependence) 7. การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน (Interaction) การพัฒนาเครือข่ายเพื่อความยั่งยืน 1. สมาชิกที่เข้าร่วม ต้องเข้าใจเป้าหมายในการรวมตัวว่าจะให้เกิดความสําเร็จในภาพรวม 2. มีกิจกรรมสม่ําเสมอ 3. กระตุ้นให้มีการสื่อสารระหว่างกันอย่างทั่วถึง 4. สนับสนุนสมาชิกทุกกลุ่ม เน้นการช่วยเหลือกลุ่ม 5. สร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในเครือข่ายทุกระดับในลักษณะความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน 6. จัดให้มีการให้กําลังใจซึ่งกันและกัน 7. จัดให้มีช่องทางการทํางานร่วมกัน
4
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 5
คําจํากัดความของความเป็น “ข่าว” ……………………………………………… ข่าว คือการรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็นของบุคคลสําคัญู ซึ่ง เป็นเรี่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งประชาชนให้ความสําคัญและสนใจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อผูค้ นจํานวนมาก สําหรับนักประชาสัมพันธ์ ข่าวก็คือหัวใจของงานประชาสัมพันธ์ ที่จะรายงานภารกิจ ความก้าวหน้าของหน่วยงาน ให้สาธารณชนทราบ การเขียนข่าวเป็นทั้งศาสตร์ และศิลปินและต้องมีเทคนิคในการสร้างความเข้าใจและความ สนใจแก่ประชาชน ความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการยังขึ้นอยู่กับกับ ความถี่ของผลงานข่าว ที่นําเสนอในสื่อต่างๆ เรื่องที่เป็น “ข่าว” - เรื่องไม่ธรรมดา เรื่องที่ไม่คาดคิด - เรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งหมด / คนส่วนใหญู่ - เหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระดับท้องอิ่น - เรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ โศกนาฏกรรม - เรื่องราวของบุคคลสําคัญทีม่ ีความเห็นแตกต่างกัน ผลประโยชน์ขัดแย้งกัน - เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกึดขึ้น และเป็นที่สนใจของประชาชน แหล่งที่มาของข่าว ข่าวเกิดจากเหตุการณ์และกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2. กิจกรรมที่วางแผนไว้ 3. ความพยายามของผู้สื่อข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์เป็นข่าวเชิงบวกและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริงที่เกิดจากกิจกรรมของ หนวยงาน องค์ประกอบของข่าว การเขียนข่าวสารที่จะประชาสัมพันธ์ หรือสารที่จะสื่อออกไปยังสี่อมวลชน ควรมีสาระสาคัญ หรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า “5 W 1 H ” ดังต่อไปนี้ 1. ใคร (Who) ใครคือบุคคลสําคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว 2. ทําอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทําหรือเหตุการณ์ใดที่สําคัญ 3. ที่ไหน (Where) การกระทําหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน 4. เมี่อไร (When) การกระทําหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด 5
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 6 5. ทําไมเเละอย่างไร ( Why and How) ทําไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร 6. ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมา ขั้นตอนในการเขียนข่าว การเขียนข่าว ผู้เขียนควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์ 2. วางแผนการเขียน ศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของสี่อทีจะส่งเผยแพร่ 3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน 4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน องค์ประกอบการเขียนข่าว การเขียนข่าวหนังสีอพึมพ์ ต้องบอกสิ่งสําคัญูที่สุดก่อน แล้วจึงบอกสิง่ สําคัญรองลงมา ซึ่งการเขียนข่าวมี องค์ประกอบสําคัญูเรียงลําดับ ตังต่อไปนี้ 1. พาดหัวข่าว (headline) เป็นการบอกประเด็นสําคัญขของข่าว มักใช้ประโยชน์เป็นข้อความสั้นๆ เพื่อ ช่วยให้รู้ว่าเป็นข่าวอะไร และมีประเด็นใดน่าสนใจ วิธีการพาดหัวข่าวให้พิจารณาความสําคัญของข่าวนั้นๆ ว่าใคร ทําอะไร เมี่อไร ที่ไหน อย่างไร และทําไมจึงทําเช่นนั้น ตัวอย่างการเขียนพาดหัวข่าว 1.1 แบบ Who นํา เช่น “นายกรัฐมนตรีประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ศอ.บต.” “แฝดสยามเพศหญิง เสียชีวิตแล้ว” “กกต.ยืนกรานห้ามจดใหม่ พรรคถูกยุบ” 1.2 แบบ What นํา เช่น “เกิดเพลิงไหม้ที่ย่านชุมชนกลางตลาด” ซึ่งส่วนใหญ่ความสําคัญูของ ข่าวอยู่ที่การกระทําและผลกระทบ 1.3 แบบ When นํา เช่น “31 พ.ค.ชี้ชะตายุบพรรค” ซึ่งข่าวนี้ความสําคัญูอยู่ทึ่เงื่อนไขของเวลา 1.4 แบบ Where นํา เช่น “เชียงใหม่กลายเป็นเมืองในหมอกจากไฟป่า” ซึ่งคุณค่าของข่าวอยู่ที่ สถานที่ 1.5 แบบ Why นํา เช่น “เร่งหาสาเหตุหนุ่มคลั่งยิงกราด 3 ศพ กลางตลาตไท” ความสําคัญของ ข่าวอยู่ที่การตั้งข้อสังเกต เพื่อเพิ่มความอยากรู้ อยากเห็น 1.6 แบบ How นํา เช่น “อยากได้มือถือรุ่นใหม่ วัยรุ่นหาเงินด้วยการขายตัว” ความสําคัญของ ข่าวอยู่ที่ความเป็นเหตุเป็นผล 2. วรรคนํา เป็นประเด็นสําคัญของเรื่อง คือต้องตอบสนองความสนใจของผู้อ่านว่า Who What When Where Why เขียนด้วยประโยคสรุปเรื่องหรือสรุปประเด็นสําคัญและกระชับ เพื่อขยายพาดหัวข่าวมีความยาว ประมาณ 3-6 ประโยค เช่น “สดศรียืนกรานพรรคถูกยุบจดชี่อเดิมไม่ได้ ทนายบอก แม้วพร้อมแก้ปัญหา หาก ทรท.ถูกยุบ ด้านประธาน คมช.ติวเข้มตํารวจ-ทหาร สั่งห้ามใช้อาวุธรับมือม๊อบ”
6
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 7 3. ส่วนเชื่อม เป็นตัวเชื่อมระหว่างวรรคนํากับเนื้อข่าว ส่วนใหญ่เป็นข้อความที่ขยายประเด็นของเรื่อง จะ มีหรือไม่มีก็ได้ มักใช้กับข่าวใหญ่ เช่น “ทั้งนี้เป็นการประชุมลับ ห้ามไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องประชุม ศาลฎีกา ” 4. เนื้อข่าว เป็นการบอกเรื่องที่เหลือจากที่บอกไว้แล้วในวรรคนํา เป็นข้อเท็จจริงทีสนับสนุนหรือขยาย ความ หรือช่วยให้วรรคนําได้ใจความชัดเจนขึ้น เป็นเรื่องราวทั้งหมดของข่าวที่ตอบคําถาม 5 W และ 1 H มี 2-5 ย่อหน้าตามความเหมาะสม โดยย่อหน้าแรกๆ เป็นรายละเอียตตามวรรคนํา ย่อหน้าสอง อ้างคําพูดผู้ให้สัมภาษณ์ หรือผู้บริหาร เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ย่อหน้าสุดท้าย เสริมข้อมูลเฉพาะที่จําเป็น เช่น รายงานข่าวแจ้งว่า ..................” นอกจากนี้ตัวอย่างการนําคําพูดมาใช้ในเนื้อข่าว เช่น “ผู้ก่อความไม่สงบกําลังสูญเสียมวลชน เขา หมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ความสําเร็จในการแบ่งแยกดินแดน” พันเอกอัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก กล่าว หรือ ประโยคอ้อม “พันเอกอัคร ทิพโรจน์ กล่าวว่าผู้ก่อความไม่สงบกําลังสูญเสียมวลชน และหมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ ความสําเร็จในการแบ่งแยกดินแดน” หรือประโยคตรง พันเอกอัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า “ผู้ก่อ ความไม่สงบกําลังสูญเสียมวลชน เขาหมดโอกาสที่จะเดินไปสู่ความสําเร็จในการแบ่งแยกดินแดน” 5. ทิ้งท้ายข่าว เป็นการสรุปประเด็นเพื่อดึงดูดความสนใจ ตอกย้ําจุดหมาย ส่วนใหญ่มี ความยาวประมาณ 4-6 ประโยค เช่น “เชิญร่วมกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก ในวันที่ 31 พฤษภาคมนั้นและร่วมกับทําความดีถวายใน หลวงด้วยการงดสูบบุหรี”่ ข้อควรระวังในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ 1. ชื่อและนามสกุลต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดพลาดอาจกลายเป็นคนละบุคคล หรือเกิดความ เสียหายใด 2. ยศ ตําแหน่ง ต้องระบุให้ตรงกับความเป็นจริงขณะนั้น เช่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3. คํานําหน้าชื่อ และบรรดาศักดิ์ต้องระบุเรียงลําดับให้ถกู ต้อง 4. การใช้อักษรย่อ หรือตัวยอต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดี 5. ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไป 6. การเขียนตัวเลขถ้ามีจํานวนมากอาจใช้ตัวอักษรแทน ถ้าไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ควรใช้คําว่าประมาณ 7. หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก การพิจารณาคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ ข่าวที่งานประชาสัมพันธ์คิดว่าสําคัญและเด่น และนํามาเสนอ แต่สื่ออาจจะเห็นว่าไม่สําคัญและ ไม่น่าสนใจ หรือข่าวที่งานประชาสัมพันธ์เห็นว่า เป็นข่าวที่สังคมควรรู้ แต่อาจเป็นข่าวที่เขาไม่อยากรู้ ดังนั้น ประเด็นของข่าวจึงควรอยู่ในกระแสสังคมและมีผลกับคนส่วนใหญ่
7
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 8 เทคนิคการเขียนข่าวให้ได้รบั การตีพิมพ์เผยแพร่ทางสือ่ มวลชน การเขียนข่าวเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มีความยืดหยุ่น ไมยึดติดกับรูปแบบ เขียนอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ความสําเร็จของการประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง คือการได้รับการเผยแพร่ขาวของหน่วยงานผ่าน สื่อมวลชน ปัจจุบันการสงข่าวเพื่อเผยแพร่ทําได้ยากขึ้น เนื่องจากองค์การและสถาบันต่างๆล้วนส่งข้าวไปยัง สื่อมวลชนแทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเขียนข่าวให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทางสื่อมวลชนต้องคํานึงถึงเทคนิคดังต่อไปนี้ 1. ศึกษารายละเอียตของสื่อให้เข้าใจ เช่น ชื่อของบรรณาธิการ เนื้อหาของสี่อ เพื่อที่จะดําเนินการส่งข่าว ได้อย่างน่าสนใจ และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ 2. รายละเอียด เนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ ต้องเลือกประเด็นและมีเนื้อหาน่าสนใจรวมทั้งต้องมีความ ครบถ้วนในตัวเอง และต้องไม่ผิดพลาดทั้งในด้านเนื้อหา วัน เวลา สถานที่ และชื่อบุคคล เพราะหากมีความ ผิดพลาด สื่อมวลชนจะจําความผิดพลาดนั้นไปตลอด 3. ข่าวมีคุณภาพ ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง 4. ความรวดเร็วของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากรายงานทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ คุณค่าของข่าวจะมากขึ้น เพราะการรายงานข่าวสดๆ ร้อนๆ ผู้อื่นมักชื่นชอบและให้ความสนใจ 5. ต้องคํานึงเสมอว่า การส่งข่าวต้องถูกคน ถูกหน้า ถูกฉบับ ถูกเวลา เพราะโอกาสได้รับการตีพิมพ์จะมีสูง นักประชาสัมพันธ์ควรทราบกําหนดของการปิดต้นฉบับของแต่ละสื่อ เพื่อกําหนดเวลาในการส่งข่าวได้อย่างถูกต้อง 6. ต้องกระตุ้นความสนใจของผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการ โดยการพาดหัวข่าวให้น่าสนใจ สิ่งที่ทําให้ข่าว น่าสนใจเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความใกล้ชิดของข่าวกับผู้บริโภคทัง้ กายและใจ ความสําคัญหรือความเด่นของบุคคลในข่าว ขนาดของเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ใหญ่ ย่อมได้รับความสนใจมากกว่า ข่าวที่มีผลกระทบต่อคนจํานวนมาก ย่อมมี ความสําคัญมากกว่า ข่าวมีเงื่อนงํามักได้รับความสนใจ หรือข่าวแปลก พิสดาร จะได้รับความสนใจมาก เป็นต้น 7. ข่าวที่ส่งไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและมีข้อมูลเพียงพอ 8. ไม่เขียนยกย่องจนออกนอกหน้า เพราะหากหนังสือพิมพ์เขียนข่าวยกย่องมากเกินไป อาจถูกเพ่งเล็งว่า ได้รับผลประโยชน์ 9. ต้องมีกระดาษหัวข่าว ซึ่งมีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ รวมทั้งผู้ให้ข่าว ที่พร้อมจะให้สื่อมวลชนติคตาม หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา 10. เลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาข่าว ต้องพิจารณาดูว่า เขียนไปลงหนังสือพิมพ์อะไร การเขียนข่าวของ หนังสือพิมพ์นั้นเป็นอย่างไร ควรรู้นโยบายและการทํางานของหนังสือพิมพ์ ว่านําเสนอข่าวแนวไหน ทําข่าว ประเภทใด ทําให้ข่าวที่เขียนส่งไปมีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่มากขึ้น เช่น ข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องเชิญมาทําข่าวหรือ ส่งไห้สื่อหรือนักข่าวในสายนี้เพื่อจะได้สื่อตรงกลุ่มเป้าหมาย 11. เนื้อข่าวไม่จําเป็นต้องเขียนยาวมาก ควรพิมพ์จบในกระดาษ เอ 4 หน้าเดียว
8
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 9 ภาพข่าวเพี่อการประชาสัมพันธ์ ภาพถ่ายช่วยให้ข่าวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะช่วยให้ผอู้ ่านเข้าใจเนี้อหา รายละเอียดของเรี่องรวมทั้ง นิยมชมชอบต่อบุคคลและหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น ภาพถ่ายจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทสําคัญในการประชาสัมพันธ์ ประเภทของภาพข่าวเพี้อการประชาพัมพันธ์ ประเภทของภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็น 4 ประเภท ไค้แก่ 1) ภาพบุคคล เน้นบุคคลสําคัญในเหตุการณ์ 2) ภาพกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่น่าสนใจ 3) ภาพสถานที่ เน้นสถานที่สําคัญในข่าว 4) ภาพเหตุการณ์ เน้นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ เทคนิคในการถ่ายภาพให้ได้ลงข่าว เทคนิคในการถ่ายภาพให้ได้ลงข่าวมีข้อควรพิจารณาดังนี้ 1. มีความสอดคล้องกับเนื้อหาข่าว ข่าวแล้วภาพควรจะกลมกลืนกัน มีเนื้อหา มีชีวิตชีวา มีความชัดเจน สามารถบอกเรื่องราวให้ผู้ดูรู้เรื่องและเข้าใจไค้ชัดเจน และควรมีคําอธิบายภาพ ซึ่งมีรายละเอียดว่า ใคร ทําอะไร ที่ ไหน เมื่อไร ทําไม อย่างไร โดยพิมพ์ด้วยกระดาษต่างหากไว้ให้ภาพ ไม่ควรเขียนข้างหลังภาพ 2. การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ ต้องเลือกบุคคลที่น่าสนใจ จะตามใจผู้ที่ต้องการเป็นขาวไม่ได้ ต้อง มีศิลปะและใช้วิจารณญาณในการถ่ายภาพและคัดเลือกภาพให้หมาะสม หากภาพถ่ายไม่น่าสนใจ ไมมีความแปลก ใหม่ อาจไม่ได้รับการตีพิมพ์ 3. ภาพถ่ายประกอบข่าวของบุคคลผู้เป็นแหล่งข่าวในภาพ ไม่ควรนั่งตัวตรง (แข็งเหมือนภาพจากบัตร ประชาชน) ควรอยู่ในอิริยาบถต่างๆ เช่น กอดอก กําลังจับปากกา กําลังพูดอธิบาย ซึ่งทําให้ภาพข่าว น่าสนใจขึ้น การเขียนคําอธิบายภาพถ่ายเพื่อการประชาสัมพันธ์ คําอธิบายภาพ (caption) คือข้อความอธิบายภาพที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพี่อบอกให้ ผู้อ่านได้ทราบว่าภาพนั้นเป็นเรื่องราวเก็่ยวกับเหตการณ์อะไรถึงแม้ว่าสภาพสามารถแทนคําพูดได้แต่คําบรรยายจะ ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้อ่านมากขึ้น คําอธิบายภาพที่ดีควรให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านในสาระสําคัญของภาพ ส่วนมากจะตอบคําถาม 5W’s + H ผู้บรรยายภาพอาจต้องพิจารณาว่าสาระของภาพเเต่ละภาพต้องการสื่อความหมายอะไรให้ผู้อ่านทราบมากที่สุด รายละเอียดแค่ไหน บางข้อที่ไม่สําคัญและไม่ปรากฏก็อาจละไว้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และความแตกต่าง ของภาพประกอบ หากสภาพนั้นสื่อความหมายชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่ต้องบรรยายซ้ําอีก วัตถุประสงค์ของการเขียนคําบรรยายภาพ 1. เพื่อบอกสาระหรือขอมูล 2. เพื่ออธิบายความหมาย 9
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 10 3. เพื่อระบุบุคคลและเรื่องราว 4. เพื่อชี้จุดน่าสนใจซึ่งปรากฏอยู่ในภาพนั้นซึ่งผู้ดูภาพอาจไม่เคยสังเกต ประเภทของคําบรรยายภาพ โดยทั่วไป แบ่งประเภทของการใช้คําบรรยายภาพออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. อธิบายภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของข่าว 2. อธิบายภาพซึ่งพิมพ์เรื่องไว้คนละหน้า 3. ภาพข่าวหรือภาพเป็นข่าว 4. ภาพประกอบ หลักการเขียนคําบรรยายภาพ การเขียนคําบรรยายภาพนั้น มีหลักพิจารณาหลายค้าน สิ่งที่ควรคํานึงถึงเมื่อจะเข็ยนคําอธีบายมีดังต่อไปนี้ 1. ไม่ควรบอกสิ่งที่ปรากฏชัดเจนในภาพแล้ว 2. ไม่ควรใส่ความเห็นในคําบรรยายภาพ 3. เขียนคําบรรยายที่ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปดีกว่าการเขียนอธิบายทั่ว ๆ ไป 4. ไม่ควรเขียนวลีที่ไม่จําเป็นอธิบายภาพ เช่น “ภาพถ่ายนี้” สภาพที่เห็นอยู่นี้” 5. การอธิบายลําดับบุคคลควรอธิบายด้วยคําว่า “จากซ้าย” ดีกวา “จากซ้ายไปขวา” 6. การอธิบายบุคคลในภาพ หากคนนั้นมีคุณลักษณะพิเศษใด อาจอธิบายเพิ่มเติมลงไปด้วย เพื่อให้ เกิดความสําคัญของบุคคลในข่าว เช่น “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชีนวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ของประเทศไทย” 7. เขียนคําอธิบายด้วยประโยคปัจจุบันกาล 8. ต้องแน่ใจว่าคําบรรยายถูกต้องแน่นอน 9. ควรหลีกเลีย่ งข้อความที่จะทําให้เกิดการหมิ่นประมาท 10. ควรเขียนให้ผู้อ่านเข้าไจได้ง่าย สั้น รัดกุม และสื่อความหมายมากที่สุด 11. เขียนคําอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพ มิใช่อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 12. เลี่ยงการนําเสนอชื่อจริงในกรณีที่อาจทําให้บุคคลในภาพข่าวได้รับความเสียหาย 13. ภาพที่ได้มาเป็นพิเศษ ควรระบุชื่อหรือให้เกียรติแก่ผู้ถา่ ย หรือผู้ให้ภาพนั้น 14. บางครั้งสภาพที่ถ่ายในโอกาสพิเศษ ไม่จําเป็นต้องมีคําอธิบายภาพ ผู้ดูภาพก็สามารถเข้าใจได้ 15. การเขียนคําอธิบายภาพที่เป็นภาพชุด ควรใช้ที่เขียนคําอธิบายบริเวณเตียวกัน แล้วใช้ตัวเลข ลําดับภาพ 16. การใช้ตัวอักษรบรรยายภาพ ควรมีขนาดแตกต่างจากตัวอักษรในเนื้อข่าว เพื่อให้เกิดความเด่น และไม่สับสนกับเนื้อหา
10
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 11 ข้อควรคํานึง 8 ประการสําหรับคําบรรยายภาพ 1. มีความสมบูรณ์ (Complete) 2. มีรายละเอียดเกียวกับบุคคลมากน้อยแค่ไหน (Identification) 3. คําอธิบายบอกว่าเกิดเมื่อไหร่หรือไม่ (When) 4. บอกว่าภาพนั้นถ่ายทีไหนหรือไม่ (Where) 5. บอกว่าอะไรอยู่ในภาพหรือไม่ (What) 6. อธิบายชื่อบุคคลในภาพได้ถูกต้องหรือไม่ (Who) 7. คําอธิบายอ่านง่ายหรือไม่ 8. ชี้เฉพาะเจาะจงในการอธิบายหรือไม่ ให้รายละเอียดตรงกับจุดความสนใจในภาพ หรือไม่ (Specific) การกําหนดตําแหน่งของคําบรรยายภาพ การกําหนดตําแหน่งคําบรรยายภาพสามารถวางในหลายตําเเหน่งของภาพ เช่น บรรยายใต้ภาพ บรรยายเหนือ ภาพ บรรยายด้านข้างของภาพ รวมถึงการบรรยายในตัวภาพ เป็นต้น แต่ส่วนมากมักนิยมเขียนบรรยายไว้ให้ภาพ มากกว่า เพราะเหมาะกับระดับสายตาผู้อ่าน อย่างไรก็ดี การวางตําแหน่งคําบรรยายภาพที่ดีควรคํานึงถึงความ สะดวกในการรับสารของผู้อ่านเป็นหลัก
11
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 12
การลงภาพกิจกรรมในเว็บไซต์ สพม.1 เพื่อให้สามารถ ลิงค์ข่าวไปยังเว็บไซต์โรงเรียน ………………………………………………
ตัวอย่าง ชื่อเรื่อง พิธีมอบทุนเพื่อการศึกษามูลนิธิบิ๊กซี ประจําปี 2554 รายละเอียดข่าว ผอ.สมพิศ ศุภพงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ร่วมพิธี มอบทุนเพื่อการศึกษามูลนิธิบิ๊กซี ประจําปี 2554 แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ปีที่ 8 จํานวน 3,370 ทุน มูลค่า 10,110,000 บาท เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย ท่า พระจันทร์
1. เขียนcode ลงในส่วนรายละเอียดข่าว ผอ.สมพิศ ศุภพงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ร่วมพิธมี อบทุนเพื่อ การศึกษามูลนิธิบิ๊กซี ประจําปี 2554 แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ปีที่ 8 จํานวน 3,370 ทุน มูลค่า 10,110,000 บาท เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย ท่าพระจันทร์<br><a href=" http://gensesao1.drupalgardens.com/scholarships-to-study2554-Big-C-Foundation" target="_blank">[รายละเอียดข่าว]</a> 12
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 13
สีดํา คือ รายละเอียดของข่าวอย่างย่อ สีแดง Code ที่เพิม่ เติมเข้าไปเพื่อสร้าง Link ไปยังเว็บโรงเรียน หรือเว็บอัลบัม คําอธิบายเพิม่ เติม สําหรับCode <br><a href="http://gensesao1.drupalgardens.com/scholarships-to-study2554Big-C-Foundation" target="_blank">[รายละเอียดข่าว]</a> ให้เปลี่ยน Code ของ ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็น เว็บไซต์ของโรงเรียนทีเ่ ป็นหน้ากิจกรรม หรือ เว็บอัลบัมของกิจกรรมนั้น โดยส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ Link ไปเว็บปลายทาง
13
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 14
2. เข้าสู่ระบบการลงภาพข่าวกิจกรรม สพม.1 [http://www.sesao1.go.th/] 1
1. คลิก เพื่อเข้าสูร่ ะบบ 2. ป้อนชื่อผู้ใช้และ รหัสผ่าน และเข้าสู่ ระบบ
2
14
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 15
3. นําหัวข้อข่าว รายละเอียดข่าว และ แนบไฟล์ภาพไปยังระบบ
3
ตัวอย่างผลลัพธ์
4
4. code รายละเอียดข่าว จะปรากฏดังภาพ โดยจะสามารถลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการได้
15
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 16
ตัวอย่างข่าวกิจกรรมอื่นๆ การเลือกตั้งกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ใน ก.ค.ศ. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จัดการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ใน ก.ค.ศ. แทนตําแหน่งที่ว่าง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ณ สพม.1 พญาไท และ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน <br><a href=" http://gensesao1.drupalgardens.com/The-election-representatives" target="_blank">[รายละเอียดข่าว]</a> --------------------------------------------------------------------------------------------------------------สพฐ. ประชุม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ผ่านระบบ Video Conferrence ผอ.สมพิศ ศภพงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เข้าร่วมประชุมเพื่อ ช่วยเหลือสถานศึกษาในสังกัดที่ประสบอุทกภัยผ่านระบบ Video Conferrence ร่วมกับสพม.ที่ ประสบอุทกภัย โดยมีดร.ชินภัทร ภูมิรตั น เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขา กพฐ. ผอ.สํานัก ผู้บริหารระดับสูง และผอ.สพม.ที่มีโรงเรียนในสังกัดประสบอุทกภัยเข้าร่วม ณ ห้อง ประชุมสพฐ. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554<br><a href="http://gensesao1.drupalgardens.com/video-conferrence-obec" target="_blank">[รายละเอียดข่าว]</a> ประชุมวางแผนการดําเนินงานโครงการรินน้ําใจสูพ่ ี่น้องชาวใต้ ผอ.สมพิศ ศุภพงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เข้าร่วมประชุมวาง แผนการดําเนินงานโครงการรินน้ําใจสู่พี่น้องชาวใต้ พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องประชุม สพฐ. อาคาร สพฐ.5 ชั้น9<br><a href="http://gensesao1.drupalgardens.com/The-project-implementation-plan-to-beover-generous-to-the-people-of-the-South-in-2555" target="_blank">[รายละเอียดข่าว] </a> ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
16
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 17
การใช้ โปรแกรม MS PUBLISHER 2007 สร้ างสื่ อสิ่ งพิมพ์ จดหมายข่ าว สํ าหรับงานประชาสั มพันธ์ สมชาย สํ าอางค์กาย
นักประชาสั มพันธ์ ชํานาญการพิเศษ สพป.สุ ราษฎร์ ธานี เขต 1 เรียบเรียง
จดหมายข่าว ในการก้าวสู่ความสําเร็จ ของการสร้างช่องทางนําเสนอข้อมูลข่าวสาร ของนักประชาสมพันธ์ ในยุคดิจิตอล จดหมายข่าวถือเป็นช่องทางหนุ่ง ซึ่งสามารถที่จะนําเสนอข้อมูลที่มีคุณค่า กระชับตรงประเด็น เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายคือผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร จําเป็นที่เราต้องรู้จักผู้รับสาร และนําเสนอสิ่งที่ผู้รับข่าวสารต้องการ จดหมายข่าวที่กระชับและสม่ําเสมอ ซึ่งมีข้อมูลที่เหมาะกับเวลาย่อมเป็นที่ต้องการมากกว่าจดหมายข่าวที่เยิ่นเย้อ และขาดช่วง ข้อความนี้กล่าวไว้โดย Roger C. Parker ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Looking Good in Print และ Design to Sell จดหมายข่าวควรนําเสนอ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนโดยรวมเอาบทความสั้นๆ หลากหลายประเภทไว้ในจดหมายข่าวแต่ละฉบับ ซึ่งความหลากหลายจะช่วยเพิ่มโอกาสให้บทความอย่างน้อยหนึ่งบทความเป็นที่สนใจของผู้รับ
วางแผนเนือ้ หาของจดหมายข่าว การนําเสนอ จดหมายข่าวแต่ละฉบับ ให้คํานึงถึงข่าวข้อมูลของประเภทการนําเสนอ ที่เห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุด จากนั้นจึงลองใส่บทความจากแต่ละประเภทไว้ในจดหมายข่าวแต่ละฉบับ ตัวอย่าง รายการของคุณอาจประกอบด้วย: • บทความเกี่ยวกัยนโยบาย ด้านการบริหารจัดการศึกษา • บทบรรณาธิการเกี่ยวกับหัวข้อที่กําลังเป็นที่สนใจ • ข่าวสารของสถานศึกษา ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาและเรื่องราวความสําเร็จ
เลือกวิธีการแจกจ่ายจดหมายข่าว คุณอาจต้องการส่งจดหมายข่าวของคุณทางอีเมล ระบบ E office หรือเผยแพร่ไปยังเว็บไซต์ ของหน่วยงานและ หากคุณวางแผนที่จะพิมพ์จดหมายข่าว คุณควรตัดสินใจเลือกวิธีการพิมพ์ก่อนที่จะจัดทําหรือกําหนดจดหมายข่าว ในกรณีที่คุณ วางแผนที่จะพิมพ์จดหมายข่าวในปริมาณน้อย คุณอาจต้องการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะ แต่ถ้าคุณวางแผนที่จะพิมพ์ในปริมาณ มาก คุณอาจจําเป็นต้องสั่งพิมพ์จดหมายข่าวของคุณที่ร้านถ่ายเอกสารหรือที่โรงพิมพ์
17
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 18
สร้างจดหมายข่าว หลังจากที่ตัดสินใจเลือกบทความและรูปภาพที่ต้องการบรรจุในสิ่งพิมพ์แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะจัดทําจดหมายข่าว โดยการเลือกและปรับปรุงการออกแบบ จากนั้นจึงค่อยใส่เนื้อหา แม้ว่าจะสามารถสร้างจดหมายข่าว (หรือสิ่งพิมพ์ ชนิดอื่นๆ) ได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดยการเลือกใช้ โปรแกรม Office Publisher 2007 และแจกจ่ายด้วยรูปแบบการพิมพ์ อีเมล หรือ ทางเว็บ แต่ในที่นี้มุ่งเน้นที่การใช้แม่แบบจดหมายข่าว Publisher ในการสร้างจดหมายข่าวที่ต้องการพิมพ์
เลือกและกําหนดการออกแบบจดหมายข่าวโดยใช้ โปรแกรม MS PUBLISHER 2007 Publisher คืออะไร
Microsoft Publisher 2007 เป็นโปรแกรมช่วยในการสร้างสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นมืออาชีพได้อย่างรวดเร็วและ ง่ายดาย ด้วย Publisher คุเราสามารถสร้าง ออกแบบ และจัดทําเอกสาร การสื่อสารแบบมืออาชีพสําหรับงานพิมพ์ และสําหรับ ทําจดหมายเวียนหรือจดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศ ใบปลิว นามบัตร แผ่นพับ ฯลฯ เพื่อเผยแพร่แนะนาสินค้าและบริการ
18
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 19
เริ่มต้นใช้งาน MS Publisher 2007 เลือกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะสร้างได้จาก แม่แบบ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ดังนี้ BLANK PAGE SIZE สาหรับการสร้างสิ่งพิมพ์ด้วยกระดาษเปล่าๆเหมาะสาหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์ด้วยตัวเอง ทั้งหมด • Adverticementsสาหรับการสร้างใบปลิวแบบต่างๆ • Award Certificate สาหรับการสร้างใบประกาศนียบัตรแบบต่างๆ •
Brochures สาหรับการสร้างแผ่นพับ • Business Card สาหรับการสร้างนามบัตร • Business Form แบบฟอร์มเพื่อใช้ในบริษัท หน่วยงาน •
Calendar สร้างปฏิทินแบบต่างๆ • Adverticementsสาหรับการสร้างใบปลิวแบบต่างๆ • Award Certificate สาหรับการสร้างใบประกาศนียบัตรแบบต่างๆ •
Brochures สาหรับการสร้างแผ่นพับ • Business Card สาหรับการสร้างนามบัตร • Business Form แบบฟอร์มเพื่อใช้ในบริษัท หน่วยงาน •
Catalogs สร้างสิ่งพิมพ์ประเภทคาตาล็อกแนะนาสินค้า รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ • E-mail สาหรับการสร้างสิ่งอีเมล์แนะนาบริษัท • Envelopes สาหรับการสร้างซองจดหมายเฉพาะบริษัทของบริษัท พิมพ์ข้อความลงบนซองจดหมาย •
Flyer สาหรับการสร้างใบปลิว สิ่งพิมพ์สาหรับการโฆษณาสินค้าและบริการที่มีรายละเอียดไม่มาก • Gift Certificates ใบประกาศแผ่นเล็กๆแนบไปกับของขวัญหรือใบประกันสินค้า • Greeting Card การ์ดอวยพรแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ •
Import word Document คาสั่งนาไฟล์เอกสารที่พิมพ์ด้วยโปรแกรม Word เข้ามาใช้งานใน Publisher • Invitation Card สาหรับการสร้างการ์ดเชิญแบบต่างๆ • Label ลาเบลสาหรับการพิมพ์ข้อความเพื่อตัดปะลงบนสินค้า ซองจดหมาย สิ่งพิมพ์ ฯลฯ •
Letter Head สาหรับการสร้างกระดาษหัวจดหมาย • News Letters สาหรับการสร้างหนังสือพิมพ์ จดหมายแจ้งข่าวแบบต่างๆ • Paper Folder Project สาหรับการสร้างใบปลิวแบบพับ เป็นรูปทรงต่างๆ •
Postcards สาหรับการสร้างไปรษณีย์บัตร • Programs สาหรับการสร้างสิ่งพิมพ์พิเศษต่างๆ • Quick Publications รูปแบบสาเร็จรูปของสิ่งพิมพ์สาหรับการสร้างสิ่งพิมพ์แบบด่วน •
Resumerแบบฟอร์มสาหรับการพิมพ์ประวัติส่วนตัว • Signs ป้ายเตือน สัญลักษณ์ต่างๆ •
19
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 20 Website เอกสารสาหรับการออกแบบเว็บเพจ • Compliments Cards สําหรับการสร้างบัตรอวยพร •
•
บัตรอภินันทนาการแบบต่างๆ
ส่วนประกอบของหน้าต่างงาน 1. ชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์งานที่กาลังเรียกใช้งาน ในขณะนั้น 2. แถบคาสั่ง 3. เครื่องมือ Standard สาหรับจัดการกับไฟล์ 4. เครื่องมือ Formatting สาหรับจัดการกับ ข้อความ จัดการคุณสมบัติของวัตถุ 5. ไม้บรรทัด ช่วยในการจัดวางภาพและข้อความ 6. เครื่องมือ Object สาหรับจัดการกับวัตถุต่างๆ ในเอกสาร 7. ทาสก์เพน (Taskpane) แถบเครื่องมือรวมค่าสั่ง จัดการกับสิ่งพิมพ์ 8. พื้นที่ทางานหรือไฟล์เอกสารที่กาลังทาอยู่ใน ขณะนั้น
Toolbar Options คือ แถบเครื่องมือที่ใช้สาหรับสร้างและจัดการกับวัตถุต่างๆ (Object) ที่อยู่ในงานสิ่งพิมพ์ที่เราสร้างโดยจะ ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของหน้าจอ ซึ่งในหน้าต่างแถบเครื่องมือนี้ จะประกอบด้วยวัตถุ (Object) ต่าง ๆ
การทํางานกับกล่องข้อความ เราสามารถใส่ข้อความเพิ่มเติมลงในผลงานได้ โดยสร้างกล่องข้อความขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกที่ปุ่ม กล่องข้อความ 2. คลิกเมาส์ลงบนพื้นที่งานที่ต้องการสร้างข้อความ 3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป 4. กดแป้น Enter
20
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 21
แถบเครื่องมือ(Toolbar Options)
การแก้ไขข้อความ และพิมพ์ข้อความ (Edit Text) เราสามารถเปลี่ยนข้อความที่โปรแกรมมีมาให้ได้โดย 1. คลิกที่กล่องข้อความที่ต้องการแก้ไข จะปรากฏจุดแฮนเดิล (Handle) วงกลมสีขาวรอบกล่องข้อความ 2. คลิกที่ข้อความในกล่องข้อความหรือลากเมาส์ระบายข้อความ 3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไข
การแทรกรูปภาพ 1. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม ภาพประกอบ ให้คลิก รูปภาพ 2. ในบานหน้าต่างด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ แทรกรูปภาพ ให้คลิกโฟลเดอร์ที่มีรูปภาพที่คุณต้องการ 3. ในบานหน้าต่างด้านขวาของกล่องโต้ตอบ แทรกรูปภาพ ให้เปิดโฟลเดอร์ที่มีรูปภาพที่คุณต้องการ คลิกรูปภาพ แล้วคลิก แทรก
การครอบตัดรูปภาพ 1. เลือกรูปภาพที่คุณต้องการจะครอบตัด 2. ภายใต้ เครื่องมือรูปภาพ บนแท็บ รูปแบบ ในกลุ่ม ครอบตัด ให้คลิก ครอบตัด 3. วางจุดจับครอบตัดเหนือขอบหรือมุม 4. เลือกทําอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 21
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 22 • เมื่อต้องการครอบตัดด้านเดียว ให้ลากจุดจับกึ่งกลางบนด้านนั้น • เมื่อต้องการครอบตัดเท่ากันทั้งสองด้านพร้อมกัน ให้กด CTRL ค้าง
ไว้ขณะที่คุณลากจุดจับกึ่งกลาง • เมื่อต้องการครอบตัดทั้งสี่ด้านพร้อมกันและรักษาสัดส่วนเดิมของ รูปภาพเอาไว้ ให้กด CTRL+SHIFT ค้างไว้ขณะที่คุณลากจุดจับมุม
การพิมพ์สิ่งพิมพ์ คลิกแท็บ แฟ้ม และคลิก พิมพ์ 1. ในส่วน พิมพ์ ให้ใส่จํานวนสําเนาที่จะพิมพ์ใน จํานวนสําเนาของงานพิมพ์ 2. ในส่วน เครื่องพิมพ์ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เลือกเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้องไว 3. ในส่วน การตั้งค่า ให้ทําดังต่อไปนี้ • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เลือกช่วงของหน้าหรือส่วนที่ถูกต้องไว้แล้ว • เลือกรูปแบบสําหรับการวางหน้าของคุณลงบนแผ่นกระดาษ • ตั้งค่าขนาดกระดาษ • ตั้งค่าว่าจะพิมพ์พิมพ์ลงบนด้านเดียวหรือทั้งสองด้านของกระดาษ • ถ้าเครื่องพิมพ์ของคุณสามารถพิมพ์สีได้ ให้เลือกว่าคุณต้องการพิมพ์สีหรือระดับสีเทา
4. คลิกปุ่ม พิมพ์ เมื่อคุณพร้อมที่จะพิมพ์
ลงมือสร้างจดหมายข่าว
22
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 23 1. ในรายการ ประเภทสิ่งพิมพ์ ให้คลิก จดหมายข่าว 2. ใน จดหมายข่าว คลิกที่ การออกแบบที่ใหม่กว่า หรือ รูปแบบคลาสสิก 3. เลือกดําเนินการอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้: • คลิกที่ภาพตัวอย่างเพื่อดูการออกแบบจดหมายข่าวที่คุณต้องการ
4. เลือกตัวเลือกที่คุณต้องการสําหรับการกําหนดการออกแบบเอง • ต้องการใช้ แล้วคลิก ตกลง
การบันทึกงานจดหมายข่าว
23
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 24
แจกจ่ายจดหมายข่าว หลังจากที่คุณจัดทําสิ่งพิมพ์ใน Office Publisher 2007 คุณจะมีตัวเลือกสําหรับการแจกจ่ายดังนี้
ส่งจดหมายข่าวทางอีเมล เมื่อใช้อีเมล จะสามารถกําหนดเป้าหมายส่วนของผู้รับสารที่อาจยากแก่การเข้าถึงด้วยวิธีการอื่น เช่น ผู้เยี่ยมชม เว็บไซต์หรือร้านค้าที่ได้ให้ที่อยู่อีเมลไว้ เมื่อใช้จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์ คุณจะสามารถส่งข้อความอีเมลแบบส่วนตัวมากขึ้นไป ยังผู้รับแต่ละรายได้ หรือคุณสามารถแปลงจดหมายข่าวเป็นข้อความอีเมลสําหรับแคมเปญการตลาดที่มีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น หรือแม้กระทั่งสามารถเผยแพร่จดหมายข่าวของคุณเป็นแฟ้ม PDF หรือแฟ้ม XPS และแนบไปที่ข้อความอีเมลก็ได้
วางจดหมายข่าวบนเว็บ หาก ต้องการหลีกเลี่ยงการเพิ่มแต่ละหน้าของจดหมายข่าวหลายฉบับไปยังเว็บไซต์ สามารถเผยแพร่จดหมายข่าว แต่ละฉบับเป็นแฟ้ม PDF หรือแฟ้ม XPS และเชื่อมโยงไปยังจดหมายข่าวจากหน้าบนเว็บไซต์ได้
24
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 25
พิมพ์จดหมายข่าว หากคุณกําลังพิมพ์จดหมายข่าวเพียงไม่กี่ฉบับ คุณสามารถพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะได้ หากเครื่องพิมพ์ของคุณ สนับสนุนการพิมพ์บนหน้ากระดาษขนาด 11 x 17 นิ้ว (หรือ Tabloid) คุณก็สามารถจัดทําจดหมายข่าวแบบพับซึ่งมีขนาด หน้ากระดาษ 8.5 x 11 นิ้วได้ โดยคุณสามารถใช้เทคนิคนี้กับสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดหน้ากระดาษได้ตั้งค่าจดหมายข่าว ที่จะพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะ 1. เปิดสิ่งพิมพ์ประเภทจดหมายข่าวที่คุณต้องการเพื่อพิมพ์เป็นสมุดขนาดเล็กแบบพับ ได้ 2. ในบานหน้าต่างงาน จัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ ใน ตัวเลือกจดหมายข่าว ให้คลิก เปลี่ยน ขนาดหน้ากระดาษ 3. ในกล่องโต้ตอบ การตั้งค่าหน้ากระดาษ ใน ขนาดของหน้าเปล่า ให้คลิก สมุด ขนาดเล็ก จากนั้นคลิก สมุดขนาดเล็กขนาด Letter 8.5 x 11 นิ้ว 4. คลิก ตกลง 5. บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ แล้วคลิกแท็บ การตั้งค่าสิ่งพิมพ์และ กระดาษ 6. ในรายการ ชื่อเครื่องพิมพ์ โปรดเลือกเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์บนกระดาษขนาด11 x 17 นิ้ว หรือ tabloid 7. ใน กระดาษ โปรดตรวจสอบว่าได้เลือกขนาดกระดาษ 11 x 17 นิ้ว หรือ tabloid ไว้ 8. ใน การวางแนว โปรดตรวจสอบว่า แนวนอน ถูกเลือกแล้ว 9. ภายใต้ ตัวเลือกการพิมพ์ ให้คลิก สมุดขนาดเล็ก, พับด้านข้าง
25
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 26
แสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ หากต้องการดูตัวอย่างเอกสารที่จะพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ให้ใช้คําสั่ง Print Preview กําหนดค่าตามต้องการ คลิก ตกลง
การแทรกหน้าสิ่งพิมพ์
1. เลือกตําแหน่งหน้าสิ่งพิมพ์ ซึ่งต้องการจะแทรก 2. เลือกเมนู Insert 3. เลือกรายการ Page 4. กําหนดค่าตามต้องการ ดังนี้
26
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 27
การไหลของข้อความ
1. คลิกเมาส์ เลือกกล่องข้อความที่ สิ้นสุดการแสดงข้อความ (หมายเลข 1) 2. ที่แถบเครื่องมือ คลิกเมาส์ เลือก คําสั่ง Creat Text Box Link 3 . เลือก กล่องข้อความ ที่ต้องการให้ ข้อความไหลเข้า แล้ว คลิกเมาส์ 4. ข้อความ ก็ไหลเข้ามา (ภาพ หมายเลข 2)
27
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 28
การใช้งานโปรแกรม Picasa ในการตกแต่งภาพ ……………………………………………… 1. เปิดโปรแกรม Picasa
2. ทําการเพิ่มโฟล์เดอร์ภาพที่ต้องการไปยัง Picasa
2.1
28
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 29 2.2 คลิกเลือกโฟล์เดอร์ที่ ต้องการ 2.3 เลือก สแกนทุกครั้ง เพื่อให้โปรแกรมแสกนภาพ ไปยังโปรแกรม 2.4 กดปุม่ ตกลง 2.5 โปรแกรมจะสแกน โฟล์เดอร์ภาพ
2.2
2.3
2.4
2.5
29
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 30 2.6 ผลลัพธ์การเพิ่มโฟลเดอร์
2.6
30
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 31 3. การสร้างภาพต่อกัน
3.1 กด Ctrlค้างไว้ แล้วเลือกภาพที่ต้องการ สร้างภาพต่อกัน 3.2 ผลลัพธ์ภาพที่เลือก ทั้งหมดในปัจจุบัน 3.1
3.3 คลิกปุ่ม เพื่อเข้าสู่หน้าการจัดการ สร้างภาพต่อกัน
3.2
3.3
31
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 32 3.4 3.5
3.6
3.4 หน้าจัดการสร้าง ภาพต่อกัน 3.5 ส่วนของเครื่องมือ ในการจัดการ 3.6 การแสดงผลภาพ ต่อกันที่ได้ เริ่มการสร้างภาพต่อกัน การสร้างภาพต่อกัน สามารถทําได้ 6 รูปแบบ 1. กองรูปภาพ : ดูเหมือนกอง รูปภาพที่กระจัดกระจาย 2. โมเสก : จัดให้รูปภาพพอดี กับหน้าโดยอัตโนมัติ 3. โมเสกกรอบ : โมเสกที่ใช้ รูปภาพกึ่งกลางสีเด่นชัด 4. ตารางเสมอ : จัดเรียงรูปภาพ เป็นแถวและคอลัมน์ที่สม่ําเสมอ 5. แผ่นข้อมูลทีอ่ ยู่ติดต่อ : ภาพ ขนาดย่อพร้อมส่วนหัวแสดง ข้อมูล 6. ภาพซ้อน : ซ้อนรปภาพหลาย 32
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 33 รูปแบบที่ 1 กองรูปภาพ : ดูเหมือนกองรูปภาพที่กระจัดกระจาย
รูปแบบที่ 2
33
โมเสก : จัดให้รูปภาพพอดีกับหน้าโดยอัตโนมัติ
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 34 รูปแบบที่ 3 โมเสกกรอบ : โมเสกที่ใช้รูปภาพกึ่งกลางสีเด่นชัด
รูปแบบที่ 4 ตางราง : จัดเรียงรูปภาพเป็นแถวและคอลัมน์ที่สม่ําเสมอ
34
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 35 รูปแบบที่ 5 แผ่นข้อมูลที่อยู่ติดต่อ : ภาพขนาดย่อพร้อมส่วนหัวแสดงข้อมูล
รูปแบบที่ 6 ภาพซ้อน : ซ้อนรูปภาพหลายภาพไว้ด้วยกัน(เหมาะกับภาพที่มีจํานวนไม่มาก)
35
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 36 แนะนําเครื่องมือในการจัดการ เครื่องมือในการจัดการจะเปลี่ยนตามรูปแบบการสร้างภาพต่อกันที่เลือก 1. ขอบรูปภาพ
36
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 37 2. ตัวเลือกพื้นหลัง มี 2 แบบ แบบที่ 1 สีทึบ
สามารถเลือกสีพื้นหลังของภาพได้ตาม ต้องการ
สีพ้นื หลัง แบบที่ 2 ใช้รปู ภาพ สามารถเลือกรูปภาพที่ต้องการใช้เป็นพื้น หลังได้
37
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 38 3. ระยะเส้นตาราง ระยะเส้นตาราง
ภาพที่ไม่เลือกระยะเส้นตาราง
38
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 39 4. รูปแบบหน้าเว็บ 4.1 ขนาดหน้าจอ : มีหลายขนาดให้เลือกตามรูปแบบการใช้ งาน
4.2 การแสดงผล : มีแนวนอนและแนวตั้ง
แนวนอน
5. สร้างเป็นผลงาน แนวตั้ง
สร้างเป็นพื้นหลังของ Desktop สร้างเป็นภาพตัดปะ(เป็นไฟล์ภาพ) ทําการเคลียร์รูปแบบที่ได้สร้างมาทั้งหมด ปิดหน้าต่อภาพ(ไม่มีการบันทึก) และกลับสู่หน้า Library 39
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 40 สร้างเป็นภาพตัดปะ(เป็นไฟล์ภาพ)
ผลลัพธ์ของภาพตัดปะที่ได้
1
2
สามารถปรับแต่งภาพ ด้วยฟังก์ชัน และ เอฟเฟ็กต์ ที่หลากหลายของโปรแกรม คุณสมบัติของภาพที่สร้างเสร็จ 40
1
2
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 41
การสมัคร Gmail ……………………………………………… 1. เปิดเว็บไซต์ www.gmail.com
เพื่อลงทะเบียนใช้งาน Gmail 2. คลิกปุ่ม 3. กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน ดังนี้
41
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 42
1. ชื่อ และ นามสกุล สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง ภาษาไทย และภาอังกฤษ 2. ชื่อผู้ใช้สามารถ ใช้A-Z จุด(.) หรือตัวเลข เท่านั้น 3. รหัสผ่าน สามารถใช้A-Z ตัวเลข หรือ เครื่องหมายสัญลักษณ์ใดๆ รวมแล้วต้องไม่ ต่ํากว่า 8 ตัวอักษร และจะต้องยืนยัน รหัสผ่านเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง
4. กรอกข้อความให้ครบถ้วน - ปีเกิดให้ระบุเป็น ค.ศ. - หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่อีเมลล์ปัจจุบัน ไม่จําเป็นต้องกรอก
5. พิมพ์คําที่ปรากฎดังภาพให้ถูกต้องเพื่อ ยืนยันว่าคุณไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ที่มาโจมตี ระบบหากไม่แน่ใจในภาพหรือไม่ชัดเจน สามารถคลิก ขอภาพใหม่/ฟัง เสียง/ขอความช่วยเหลือ 6. เลือกตําแน่งที่อยู่ของคุณ และคลิก เครื่องหมายถูก ยอมรับข้อกําหนดในการ ให้บริการและนโยบายส่วนบุคคลของ Google 7. คลิกปุ่ม
42
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 43
4. ปรากฏข้อความต้อนรับดังภาพ สามารถเข้าใช้งาน Gmail ได้โดยคลิกปุ่ม
43
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 44
การสมัคร Facebook ……………………………………………… 1. เปิดเว็บไซต์ www.facebook.com
2. กรอกรายละเอียด ลงทะเบียนให้ครบถ้วน
44
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 45 3. คลิกปุ่ม 4. เข้าสู่ 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ค้นหาเพื่อนของคุณที่อยู่ใน Facebook โดยใช้ Gmail, Windows live Hotmail, หรือบริการ อีเมลอื่นๆ
ขั้นที่ 2 ข้อมูลส่วนตัว เช่น การศึกษา และสถานที่ทํางาน
45
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 46 ขั้นที่ 3 รูปประจําตัว สามารถเลือกอัพโหลดรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ของคุณ หรือ ถ่ายรูปด้วยเว็บแคม ของคุณได้
สามารถคลิก
หรือ
เพื่อข้ามไปขั้นถัดไป โดยสามารถค้นหาเพื่อนได้ในภายหลัง
และหากแก้ไขหรือบันทึกข้อมูลแล้ว ให้คลิกปุ่ม ศึกษาวิธีการใช้งาน facebook เพิ่มเติมได้ที่ http://facebook.kapook.com/howto/
46
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 47
เอกสารอ้างอิง ~ คู่มือคําอธิบายตัวชีว้ ัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2554 ~ เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“เรื่องการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ มสธ. โดยอรสา ปานขาว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ~ KM การพัฒนาเครือข่ายบริการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ~ คู่มือ โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ (ในประเทศ) ปี 2554 โดยสํานัก พัฒนาการประชาสัมพันธ์ ~ การใช้โปรแกรม MS PUBLISHER 2007 สร้างสื่อสิ่งพิมพ์ จดหมายข่าว สําหรับงานประชาสัมพันธ์ โดย สมชาย สําอางค์กาย นักประชาสัมพันธ์ชํานาญการพิเศษ สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ~ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สพป.ราชบุรี เขต 1 โดยนายไพรัช นวลขํา นักประชาสัมพันธ์ชํานาญการพิเศษ ~ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สพป.ลําพูน เขต 1 โดยนายทอง ทิพย์สมบัติ นัก ประชาสัมพันธ์ชํานาญการ ~ เหยี่ยวข่าวภาคประชาชน โดย คุณนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ และคณะ ~ เว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ http://www.prd.go.th ~ เว็บไซต์ Gmail http://www.gmail.com ~ เว็บไซต์ Facebook http://www.facebook.com
47
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1
ห น้ า | 48
คณะผู้จัดทํา 1. นายสมพิศ ศุภพงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2. นางงามพิศ ลวากร รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3. นางสาววนิดา มิตรอุปถัมภ์ รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 4. นางวัลภา เขียวชอุ่ม ผู้อํานวยการกลุ่มอํานวยการ 5. นายวรพงษ์ แจ่มจํารัส นักประชาสัมพันธ์ชํานาญการ 6. นายธเนศ ไชยสุวรรณ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ 7. นางสวิชญา เชื่อถือ นักจัดการงานทั่วไปชํานาญการ 8. นางวิมลรัตน์ วารีบริสุทธิกุล พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 9. นายธนากร หิรัญยะมาน พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 10. นางสาวศิริวรรณ ศิริประภา พนักงานธุรการ 11. นางสาวศศิรินทร์ แจ่มหม้อ ลูกจ้างชั่วคราว ++++++++++++++++++++++
48
คู่มือการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ สพม.1