ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

Page 1

ขอความในเอกสารนี้ไมเกี่ยวของกับการสะทอนมุมมองของหนวยงานผูสนับสนุน


ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง ISBN

978-616-331-014-9

ผู้เขียน

รศ.นาถฤดี เด่นดวง และ รศ.ดร.สุพจน์ เด่นดวง

พิมพ์ครั้งที่1

มิถุนายน 2557

จำ�นวนพิมพ์

500 เล่ม

ผู้พิมพ์

สำ�นักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคม

และความมั่นคงของมนุษย์ พิมพ์ที่

บริษัท ลุคซ์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำ�กัด

สนับสนุน

สนับสนุนการวิจัย โดย มหาวิทยาลัยมหิดล

สนับสนุนการจัดพิมพ์ โดย สำ�นักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สำ�นักส่งเสริมสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



สารบัญ หัวข้อเรื่อง

หน้า

1. นิยามความรุนแรง 2. แรงงานหญิง 3. มิติและขนาดความรุนแรงต่อแรงงานหญิงในสังคมไทย 4. ความซ้ำ�ซ้อนของมิติความรุนแรง 5. บ้านหรือครอบครัวเป็นพื้นที่ซึ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นมากและหลากหลายรูปแบบที่สุด 6. ผู้กระทำ�ความรุนแรงในมิติครอบครัว 6.1 การทำ�ร้ายร่างกาย 6.2 การข่มขืนระหว่างสามีภรรยาหรือระหว่างคู่ครอง 6.3 ความรุนแรงอื่นๆในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา 6.4 การกระทำ�ทารุณทางจิตใจ 6.5 การคลุมถุงชน 6.6 การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ 7. ความรุนแรงในมิติการทำ�งาน 8. ผู้กระทำ�ความรุนแรงต่อแรงงานหญิงในมิติการทำ�งาน 8.1 การละเมิดสิทธิแรงงาน 8.2 การทำ�ร้ายร่างกายและการดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำ�รุนแรง หยาบคาย 8.3 การบังคับให้ทำ�งานไม่ปลอดภัย 8.4 การล่วงละเมิดทางเพศในมิติการทำ�งาน 8.5 การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ 9. การถูกกระทำ�รุนแรงในมิติชุมชน 10. การถูกกระทำ�รุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ 11. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง 11.1 รายได้น้อยและได้ค่าจ้างต่ำ�กว่าค่าจ้างขั้นต่ำ� 11.2 ชั่วโมงการทำ�งานปกติในแต่ละวันยาวนาน และยังต้องทำ�โอทีเพิ่ม 11.3 รับภาระทั้งการทำ�งานหาเงินและการทำ�งานบ้าน 11.4 การเป็นผู้รับผิดชอบหลักค่าใช้จ่ายในครอบครัว 11.5 การทำ�งานจนแทบจะไม่มีวันหยุดงานในแต่ละสัปดาห์ 11.6 ไม่ได้เป็นสมาชิกประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 11.7 งานที่แรงงานหญิงทำ�เป็นอันตรายต่อสุขภาพและยังได้รับอุบัติเหตุจากการทำ�งาน 12. มายาคติเกี่ยวกับ “ความรุนแรง” ของแรงงานหญิง 13. อภิปรายและข้อเสนอแนะ 14. ข้อมูลเพิ่มเติม 15. บรรณานุกรม

6 7 9 10 11 13 13 14 14 15 16 17 18 20 20 21 21 22 22 24 25 26 26 27 29 30 31 32 33 34 35 38 40


สารบัญภาพ ภาพที่ 1 ร้อยละของงานหรืออาชีพของแรงงานหญิง ภาพที่ 2 ร้อยละของความรุนแรงต่อแรงงานหญิงในรอบ 12 เดือน จำ�แนกตามมิติชีวิต ภาพที่ 3 ร้อยละของจำ�นวนมิติความรุนแรงที่เกิดกับแรงงานหญิง ภาพที่ 4 ร้อยละของจำ�นวนรูปแบบที่แรงงานหญิงถูกกระทำ�รุนแรงในมิติครอบครัว ภาพที่ 5 ร้อยละของการถูกกระทำ�รุนแรงในแต่ละรูปแบบความรุนแรงในมิติครอบครัว ภาพที่ 6 ร้อยละของการถูกกระทำ�รุนแรงในแต่ละรูปแบบความรุนแรงในมิติการทำ�งาน ภาพที่ 7 ร้อยละของค่าจ้างต่อเดือนของแรงงานหญิง ภาพที่ 8 ร้อยละของจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานในเวลาปกติของแรงงานหญิง ภาพที่ 9 ร้อยละของจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานนอกเวลาปกติต่อวัน (โอที) ของแรงงานหญิง ภาพที่ 10 ร้อยละของเหตุผลในการทำ�งานล่วงเวลาของแรงงานหญิง ภาพที่ 11 ร้อยละของการเป็นผู้รับผิดชอบหลักการทำ�งานบ้านของแรงงานหญิง ภาพที่ 12 ร้อยละของจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานบ้านในแต่ละวันของแรงงานหญิง ภาพที่ 13 ร้อยละของผู้รับผิดชอบหลักค่าใช้จ่ายในครอบครัวของแรงงานหญิง ภาพที่ 14 ร้อยละของการหยุดการทำ�งานในแต่ละสัปดาห์ของแรงงานหญิง ภาพที่ 15 ร้อยละของการเป็นสมาชิกประกันสังคมของแรงงานหญิง ภาพที่ 16 ร้อยละของการเป็นสมาชิกกองทุนเงินทดแทนของแรงงานหญิง ภาพที่ 17 ร้อยละของแรงงานหญิงที่ระบุว่างานที่ทำ�มีอันตรายต่อสุขภาพ ภาพที่ 18 ร้อยละของแรงงานหญิงที่ระบุว่าได้รับอุบัติเหตุจากการทำ�งาน

8 9 10 11 12 19 27 28 28 28 29 29 30 31 32 32 33 33

สารบัญตาราง ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 ตารางที่ 3 ตารางที่ 4 ตารางที่ 5 ตารางที่ 6 ตารางที่ 7 ตารางที่ 8 ตารางที่ 9 ตารางที่ 10 ตารางที่ 11 ตารางที่ 12 ตารางที 13

ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางร่างกายในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางเพศสัมพันธ์ในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางจิตใจในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ผู้บังคับการเลือกคู่ครองในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ผู้ละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ผู้ละเมิดสิทธิแรงงานในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางร่างกายและวาจาในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ผู้บังคับให้ทำ�งานไม่ปลอดภัยในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ผู้ล่วงละเมิดทางเพศในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ผู้ละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ผู้กระทำ�ความรุนแรงในมิติชุมชนของแรงงานหญิง ผู้กระทำ�ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐของแรงงานหญิง มายาคติเกี่ยวกับความรุนแรงของแรงงานหญิง

13 15 16 16 17 20 21 21 22 23 24 25 34


4 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง แรงงานหญิงได้รับความรุนแรงหลากหลายรูปแบบทั้งทางร่างกาย เพศสัมพันธ์ อารมณ์จิตใจ และสังคม ความรุนแรงนี้มีทั้งความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำ�ของบุคคลโดยตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างจากสถาบันต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงความรุนแรง รวมถึงความคิดหรือคตินิยมในสังคม ความรุนแรงทางตรงที่เกิดกับแรงงานหญิงเกิดมากที่สุดในมิติครอบครัวหรือบ้าน โดยผู้กระทำ�หลักได้แก่ สามีหรือคู่ครอง พ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ญาติพี่น้องและแม้แต่ลูกของแรงงานหญิงเอง ความรุนแรง ในการทำ�งาน เกิดขึ้นเป็นอันดับรองลงมา ผู้กระทำ�รุนแรงหลักคือ นายจ้าง หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน ส่วนความรุนแรงที่เกิด ขึ้นในชุมชน และความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานหรือองค์กรรัฐนั้นมีน้อยมาก ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม ทำ�ให้แรงงานหญิงต้องเป็นผู้พึ่งพาผู้อื่น และถูกกระทำ�รุนแรงใน ที่สุด เพราะการจ้างงานในตลาดแรงงานซึ่งกดค่าแรงของแรงงานหญิง ทำ�ให้ต้องทำ�งานให้หนักขึ้น มากขึ้น การ ทำ�โอทีหรืองานล่วงเวลาจึงกลายเป็นความจำ�เป็นสำ�หรับแรงงานหญิง เพื่อให้ได้ค่าจ้างที่เพียงพอกับการใช้จ่ายและ การต้องแบกรับภาระของแรงงานหญิง การที่ผู้หญิงได้รับเงินค่าจ้างค่อนข้างน้อย ไม่ได้รับสิทธิแรงงานและสวัสดิการทางสังคม ลักษณะการ ทำ�งานที่ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การแบ่งงานทำ�ในบ้านระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ทำ�ให้งานบ้านทุก อย่างเป็นภาระของผู้หญิง จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานในแต่ละวันจึงเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้ทำ�ให้ผู้หญิงไร้อำ�นาจ ในการต่อรอง เหนื่อยล้า ขาดความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพและพลังอำ�นาจในตนเอง ข้อเสนอแนะ คือ การมีนโยบายทางสังคมที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการแบ่งงานในครอบครัวอย่างเป็นธรรม เพื่อลดภาระและหน้าที่ของผู้หญิงลง พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง นโยบายการจ้างงานที่มั่นคง ไม่เอา เปรียบ มีการคุ้มครองทางสิทธิและสังคม การลดเวลาการทำ�งาน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถต้านทาน หลีกหนีต่อความรุนแรง เปิดโอกาสให้พักผ่อนและพัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะสามารถพึ่งพาตัวเองและสามารถสร้าง ความสุข ความอบอุ่นในครอบครัวได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

5


1

นิยามความรุนแรง

สังคมไทยให้ความหมาย “ความรุนแรง” แตกต่างกันมาก บางคนบอกว่าสามีทะเลาะตบตี ภรรยาเป็นเหตุการณ์ปกติในครอบครัว แต่นักเรียนทะเลาะตบตีในโรงเรียนเป็นความรุนแรง บางคน บอกว่า การใช้วาจาหยาบคายด่าทอผู้อื่นในที่สาธารณะเป็นความรุนแรง แต่ถ้าด่าทอลูกจ้างหรือคน งานเป็นการสั่งสอน ในทางวิชาการ ได้มีบุคคล หน่วยงาน องค์กร กำ�หนดนิยามความรุนแรง ไว้หลากหลาย อาทิ องค์การอนามัยโลก Johan Galtung (นักสันติภาพชาวนอร์เวย์) และ UNHCR ซึ่ ง ต่ า งก็ มี ค วาม แตกต่างกันเนื่องมาจากฐานแนวคิดแตกต่างกัน1 ดังนั้น จึงต้องทำ�ความเข้าใจกับนิยามของความรุนแรงให้ชัดว่า กำ�ลังพูดถึงความรุนแรงใน ความหมายใด บนฐานความคิดใด ผู้เขียนให้นิยามความรุนแรงในเชิงกว้าง ซึ่งครอบคลุมการกระทำ� ต่างๆที่รุนแรง ทรมาน รวมถึงการขัดขวางหรือละเมิดสิทธิต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากนิยามเชิงกว้าง ทำ�ให้ เห็นภาพความรุนแรงที่แตกต่าง หลากหลายรูปแบบ ลึกซึ้ง มีประโยชน์ต่อการกำ�หนดนโยบาย จัดทำ� แผนงานโครงการต่างๆ และสร้างความรู้ใหม่ๆทางวิชาการ เพื่อนำ�ไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาความ รุนแรงในสังคม ส่วนนิยามตามกฎหมายนั้นแคบมากที่สุด เนื่องด้วยเน้นการพิจารณา วินิจฉัย เพื่อ ฟ้องร้อง ลงโทษผู้กระทำ�ผิด มากกว่าลดความรุนแรงทั่วไปในสังคม สำ�หรับในเอกสารนี้ ผู้เขียนให้ความหมายความรุนแรงว่า “เป็นการกระทำ�ใดๆ ที่บุคคล กระทำ�ต่อบุคคลอื่น ทั้งที่เป็นการใช้กำ�ลังหรือการบังคับ คุกคาม ละเมิดสิทธิทั้งทางร่างกาย จิตใจ และภาวะการเจริญพันธุ์ เพศสัมพันธ์ การกระทำ�นั้นกระทำ�บนพื้นฐานของการกีดกันแบ่งแยกความ เป็นเพศ ความอคติ และการเอาเปรียบจากความเป็นแรงงาน ทำ�ให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อแรงงาน ที่ถูกกระทำ� และส่งเสริมการแบ่งลำ�ดับชั้นทางสังคม ความไม่เป็นธรรมระหว่างหญิงชาย ทำ�ให้สิทธิ ความมนุษย์ ความเป็นผู้หญิง ความเป็นผู้ชาย ความเป็นผู้ด้อยสถานะในสังคม และความเป็นแรงงาน ถูกละเมิด”

6 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


2

แรงงานหญิง

ข้อมูลของแรงงานหญิงไทย ในเอกสารฉบับนี้ ได้มาจาก รายงานการวิจัยเรื่อง อำ�นาจระหว่าง หญิงชาย ชนชั้น กับความรุนแรงในแรงงานไทย ซึ่งผู้เขียนได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556 ให้ดำ�เนินการวิจัยดังกล่าว การวิจัยนี้เป็นการสำ�รวจเชิงปริมาณแบบตัดขวาง (Cross-sectional Quantitative Survey) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานหญิง ไม่จำ�กัด อายุ อาชีพ ซึ่งทำ�งาน และได้รับค่าจ้าง หรือ ค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ค่าจ้าง และอาจมีอาชีพค้าขาย อาจเป็นแรงงานว่างงาน แต่ต้องเคยทำ�งาน และได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาจำ�นวน 1,823 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ ความน่าจะเป็นตามลำ�ดับชั้นหกภาค แยกตามจังหวัด 10 จังหวัด ได้แก่ เขตกรุงเทพและปริมณฑล (นนทบุรี และนครปฐม) เขตจังหวัดในภาคเหนือ (เชียงใหม่ และเชียงราย) เขตภาคกลาง (สุพรรณบุรี) เขตภาคตะวันออก (ระยอง) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี และขอนแก่น) และเขต ภาคใต้ (สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช) จากข้อมูล พบว่า แรงงานหญิงประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 54.2) ของแรงงานทั้งหมด เป็น แรงงานอายุน้อย (18-37 ปี) อายุระหว่าง 38-60 ปี ร้อยละ 43.9 แรงงานที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มี ร้อยละ 1.5 และมีส่วนแรงงานเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีมีเพียงร้อยละ 0.4 แรงงานร้อยละ 38 ทำ�งานในสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีแรงงานทำ�งานน้อยกว่า 10 คน และแรงงานถึงครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 54.4) ทำ�งานที่ใช้แรงงานจากคนล้วนๆ และร้อยละ 41.5 ใช้ แรงงานจากคนผสมเครื่องจักร อาชีพที่ทำ� ได้แก่ งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง ไร่นา ลูกจ้างร้านค้าหรือบ้าน ลูกจ้างสถานบริการบันเทิง ค้าขาย เป็นต้น (ภาพที่ 1)

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

7


เชียงราย เชียงใหม่ ขอนแก่น นครปฐม

สุพรรณบุรี

อุบลราชธานี

นนทบุรี ระยอง

สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช

20.0%

20

/

18.8% 8.2% 5.0% 0.8%

16

12

8

4

0

1.2% 5.8% ( / 0.2 19.4% 8.0% 5.5% /TAXI 0.1% 0.2% 0.1% 0.2%

ภาพที่ 1 ร้อยละของงานหรืออาชีพของแรงงานหญิง 8 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

) 1.5% 0.3% 4.7%


3

มิติและขนาดความรุนแรงตอ แรงงานหญิงในสังคมไทย

ความรุนแรงต่อบุคคลอาจเกิดขึ้นได้รอบๆตัวของบุคคล ไม่ว่าเขาหรือเธอจะอยู่ในครอบครัว หรือบ้าน การทำ�งาน ในชุมชนสังคมทั่วไป และแม้แต่เมื่อรับบริการจากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า มิติ หรือ พื้นที่ในเชิงสังคม ซึ่งในแต่ละมิตินั้น รูปแบบความรุนแรง ที่เกิดขึ้นอาจมีความเหมือนและความแตกต่างกัน และในแต่ละมิติมีผู้กระทำ�ความรุนแรงแตกต่าง กัน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ และอำ�นาจระหว่างแรงงานหญิงและผู้กระทำ�ความรุนแรงในแต่ละมิติ ยังแตกต่างกันอีกด้วย ถ้าไม่จำ�แนกว่า เป็นความรุนแรงในมิติใด ในภาพรวมแรงงานหญิงถูกกระทำ�รุนแรงอย่าง น้อยหนึ่งรูปแบบ (อาจถูกทำ�ร้ายทุบตี หรือ ด่าว่าอย่างรุนแรง หรือ ละเมิดทางเพศ อย่างใดอย่าง หนึ่ง) ในรอบ 12 เดือน ร้อยละ 27.3 และเมื่อจำ�แนกความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละมิติชีวิตของแรงงานหญิง เห็นได้ชัดเจนว่า ใน บ้านหรือครอบครัว เป็นพื้นที่ซึ่งแรงงานหญิงถูกกระทำ�รุนแรงมากที่สุด(ร้อยละ 18.3 ) รองลงมาคือ ความรุนแรงในที่ทำ�งาน(ร้อยละ 16.5) และในชุมชน และจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหรือองค์กรรัฐ ซึ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นน้อยมาก (ภาพที่ 2) รอยละความรุนแรงในรอบ12 เดือนที่แรงงานหญิงไดรับจำแนกตามมิติชีวิต

18.3%

16.5%

2.6%

มิติครอบครัว

มิติการทำงาน

มิติชุมชน ถูกกระทำ�รุนแรง

1.4% เจาหนาที่ในหนวยงาน/องคกรรัฐ ไม่ถูกกระทำ�รุนแรง

ภาพที่ 2 ร้อยละของความรุนแรงต่อแรงงานหญิงในรอบ12 เดือน จำ�แนกตามมิติชีวิต ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

9


4

ความซ้ำซอนของ มิติความรุนแรง

แม้ว่าความรุนแรงส่วนใหญ่จะอยู่ในบ้านหรือครอบครัวและมิติการทำ�งาน แต่มิได้หมายความ ว่า แรงงานหญิงแต่ละคนจะถูกกระทำ�รุนแรงเพียงในบ้านหรือที่ทำ�งานเพียงมิติเดียว แต่อาจถูก กระทำ�ซ้ำ�ซ้อนหลายมิติพร้อมๆกันหรือมีขอบเขตของการถูกกระทำ�รุนแรงกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งที่ บ้าน ที่ทำ�งาน ชุมชน และจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐ ซึ่งแรงงานหญิงที่ได้รับความรุนแรง มีขอบเขตสูง หรือ ตั้งแต่สามมิติชีวิตขึ้นไปพบ ร้อยละ 1.7 สองมิติ คือ ร้อยละ 7.8 ของจำ�นวนผู้ หญิงทั้งหมด (ภาพที่ 3)

72.7

ไมเคยไดรับความรุนแรง

17.8

ไดรับความรุนแรงอยางนอย 1 มิติ ไดรับความรุนแรงอยางนอย 2 มิติ ไดรับความรุนแรงอยางนอย 3 มิติ ไดรับความรุนแรงทั้ง 4 มิติ

7.8 1.4 0.3 100.0 (1,823)

ภาพที่ 3 ร้อยละของจำ�นวนมิติความรุนแรงที่เกิดกับแรงงานหญิง

10 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


5

บานหรือครอบครัวเปน พื้นที่ซึ่งมีความรุนแรงเกิด ขึ้นมากและหลากหลายรูป แบบที่สุด

ครอบครัวหรือบ้าน เป็นพื้นที่ซึ่งสมาชิกทุกคนควรมีความสุข ความอบอุ่น แต่จากข้อมูลพบ ว่า ครอบครัวเป็นพื้นที่ซึ่งเกิดความรุนแรงมากที่สุด ความรุนแรงอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายครั้งและ เกิดเป็นเวลานาน นอกจากนี้แรงงานแต่ละคนอาจถูกกระทำ�รุนแรงหลายรูปแบบ ตั้งแต่ระดับความ รุนแรงน้อย คือการสร้างความเจ็บช้ำ�น้ำ�ใจทางวาจา จนถึงการสูญเสียชีวิต พิการ และสร้างความ ทุกข์ทรมานใจอย่างมาก ความรุนแรงเหล่านี้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมถึงเพศสัมพันธ์ในแรงงานหญิง แรงงานหญิงที่ถูกกระทำ�รุนแรงมากรูปแบบที่สุดคือ 13 รูปแบบต่อคน และแรงงานหญิง ร้อยละ 14.9 ถูกกระทำ�รุนแรง 1-3 รูปแบบ และร้อยละ 3.4 ถูกกระทำ�รุนแรงตั้งแต่ 4-13 รูปแบบ (ภาพที่ 4) ในครอบครัว มีความรุนแรงรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นในครอบครัวถึง 34 รูปแบบ บางรูปแบบมี แรงงานหญิงถูกกระทำ�มาก และบางรูปแบบมีแรงงานหญิงถูกกระทำ�น้อยมาก (ระหว่างร้อยละ 14.80.1) (ภาพที่ 5 )

90

72

54

36

18

0

แรงงานหญิง 81.7% 2-3 9 - 13

6.0% 0.4%

1 4-8

8.9% 3.0%

ภาพที่ 4 ร้อยละของจำ�นวนรูปแบบที่แรงงานหญิงถูกกระทำ�รุนแรงในมิติครอบครัว ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

11


/

99.7

0.3

100.0 (1,823)

99.9

0.1

100.0 (1,823)

99.9

0.1

100.0 (1,823)

99.9

0.1

100.0 (1,823)

99.9

0.1

100.0 (1,823)

99.9

0.1

100.0 (1,823)

/

/ /

/ /

/

/

85.2%

14.8%

94.2%

5.8%

97.5%

2.5%

98.1%

1.9%

98.2%

1.8%

98.6%

1.4%

98.7%

1.3%

98.8%

1.2%

99.1%

0.9%

99.1%

0.9%

99.1%

0.9%

99.1%

0.9%

99.2%

0.8%

99.2%

0.8%

99.2%

0.8%

99.3%

0.7%

99.3%

0.7%

99.5%

0.5%

99.5%

0.5%

99.5%

0.5%

99.5%

0.5%

99.6%

0.4%

99.6%

0.4%

99.6%

0.4%

99.7%

0.3%

99.7%

0.3%

99.7%

0.3%

99.7%

0.3%

99.7%

0.3%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

ภาพที่ 5 ร้อยละของการถูกกระทำ�รุนแรงในแต่ละรูปแบบความรุนแรงในมิติครอบครัว 12 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


6

ผูกระทำความรุนแรง ในมิติครอบครัว

“ผู้กระทำ�ความรุนแรง” ในครอบครัว อาจเป็นหญิงหรือชาย ได้แก่ สามีหรือคู่ครอง พ่อแม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ลูก ญาติพี่น้อง บุคคลเหล่านี้มีความคุ้นเคยและมีความสัมพันธ์ยาวนาน (อาจตั้งแต่ เกิด) ความสัมพันธ์เหล่านี้มีความพิเศษ คือ มีทั้งความรัก ความกตัญญู ผูกพันห่วงใย ความรับผิด ชอบ เกรงใจ แต่ก็อาจมีข้อขัดแย้ง บาดหมาง อิจฉา ริษยา น้อยใจ เกลียด เคียดแค้น ในระดับต่างๆ นอกจากนี้บนความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างบุคคล ในครอบครัวหรือบ้าน ก็ยังมีความสัมพันธ์ เชิงอำ�นาจแบบลำ�ดับขั้นอีกด้วย คือ มีผู้มีบทบาทและอำ�นาจสูงสุดในครอบครัว และมีบุคคลอื่นๆอยู่ ใต้อำ�นาจระดับรองๆลงมา ในที่นี้จะนำ�เสนอรูปแบบความรุนแรงบางรูปแบบซึ่งมีสัดส่วนแรงงานที่ถูกกระทำ�มาก และ บางรูปแบบแม้จะมีแรงงานหญิงที่ถูกกระทำ�มีจำ�นวนน้อย แต่สะท้อนความทารุณโหดร้าย ต่อแรงงาน หญิง

6.1 การทำ�ร้ายร่างกาย

การทำ�ร้ายร่างกายนั้น อาจเกิดขึ้นในหลายลักษณะ เช่น การทุบตี เตะ ต่อย การขู่ฆ่าหรือใช้ อาวุธข่มขู่ การใช้น้ำ�ร้อนหรือไฟเผาหรือลวก การกักขังหน่วงเหนี่ยว แม้ว่าบางรูปแบบจะมีแรงงาน หญิงถูกกระทำ�น้อยมาก แต่ก็นับเป็นรูปแบบที่มีความรุนแรงสูงที่เกิดขึ้นในครอบครัว และผู้กระทำ� หลักคือ สามีหรือคู่ครองของแรงงานหญิง นอกจากนี้ก็ยังพบความรุนแรงจากพ่อ แม่ และลูกของแรง งานหญิงอีกด้วย (ตารางที่ 1) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติครอบครัว ความรุนแรงทางรางกาย ถูกทุบตี เตะ ตอย ทำรายรางกาย ถูกขูฆา หรือ ใชอาวุธ ขมขู ใชน้ำรอน ไฟลวก/ เผา ไฟฟาช็อต กักขัง/หนวงเหนี่ยว เชน ลามโซ/ผูกเชือก ขังไวในหองปด

แมเลี้ยง สามีหรือ คูครอง

แม

ญาติ พี่นอง

พอ

พอ เลี้ยง

0.9 0 0

4.7 7.7 50.0

8.5 0 0

4.7 7.7 0

0.9 3.8 0

16.7

33.3

0

33.3

0

ลูก

รวม (คน)

79.2 80.7 50.0

0.9 0 0

100.0(106) 100.0 (26) 100.0 (2)

16.7

0

100.0 (6)

ตารางที่ 1 ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางร่างกายในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

13


6.2 การข่มขืนระหว่างสามีภรรยาหรือระหว่างคู่ครอง

ในความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา อาจเกิดปัญหาความรุนแรงมากกว่าการทำ�ร้ายร่างกาย ทั่วไป ได้แก่ การข่มขืน บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งแม้ว่าแรงงานหญิงจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย แต่แรงงานหญิงก็อาจต้องอดทน และยอมรับสภาพความรุนแรงที่โหดร้ายที่เนื่องด้วยเป็นการกระทำ� ของบุคคลที่รัก แรงงานหญิงอาจอาย ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากสังคม นอกจากนี้ ลูกอาจ รับรู้และเห็นการกระทำ�ดังกล่าว (ตารางที่ 2)

6.3 ความรุนแรงอื่นๆในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา

สังคมเชื่อว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เป็นการตอบสนองตามหน้าที่ของภรรยา และมีความสุข แต่ก็พบว่า แรงงานหญิงจำ�นวนหนึ่งต้องเผชิญหน้ากับความโหดร้ายทารุณ แม้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดกับผู้หญิงเพียงบางส่วน แต่ก็เป็นปัญหาร้ายแรงที่แรงงานหญิงเหล่านี้ไม่มี อำ�นาจในการต่อรอง แก้ไขปัญหาหรือหาทางออก แต่ต้องยอมรับ และอาจต้องทนไปตลอดชีวิต ปัญหาเหล่านี้ยังอาจนำ�ไปสู่ปัญหาความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆต่อไป เนื่องจากความรุนแรงมักขยาย ตัวและเพิ่มขึ้นตลอดเวลา การทารุณกรรมต่างๆ อาจเกิด ก่อน ระหว่าง หลังการมีเพศสัมพันธ์ อาทิ ทุบตี ทำ�ร้าย ร่างกาย บังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือต่อหน้าผู้อื่น บังคับให้ดูสื่อลามก/ภาพ/วีดิโอ บังคับ ให้มีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือใช้สิ่งของต่างๆ บังคับใช้ท่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการ บังคับให้ กิน/เสพยาเสพติด บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือทวารหนัก บังคับถ่ายรูป ภาพยนตร์ เป็นต้น (ตารางที่ 2)

14 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติครอบครัว ความรุนแรงทางเพศสัมพันธ

แม

ญาติ พี่นอง

พอ

พอ เลี้ยง

แมเลี้ยง สามีหรือ คูครอง

ลูก

รวม (คน)

ทุบตี ทำรายรางกาย

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (33)

ขมขืน หรือ ถูกบังคับ หรือ จำใจมีเพศสัมพันธ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (9)

บังคับใหมีเพศสัมพันธกับบุคคลอื่นหรือตอหนาผูอื่น

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (5)

บังคับใหดูสื่อลามก/ภาพ/วีดิโอ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (23)

ใชวาจา รุนแรง หยาบคายกอนหรือหลังหรือขณะมีเพศสัมพันธ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (17)

บังคับใหมีเพศสัมพันธกับสัตวหรือใชสิ่งของ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (8)

บังคับใชอุปกรณรวมเพศที่เจ็บปวด เชนถุงยางแปลกประหลาด

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (7)

บังคับใชทาการมีเพศสัมพันธที่ไมตองการ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (22)

บังคับใหกิน/เสพยาเสพติด กอนหรือหลังหรือขณะเพศสัมพันธ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (7)

ทรมานกอนหรือหลังหรือขณะมีเพศสัมพันธ บังคับถายรูป ภาพยนตร ขณะมีเพศสัมพันธ

0 0 0

0 0 0

0 0 0

0 0 0

0 0 0

100.0 100.0 100.0

0 0 0

100.0 (6) 100.0 (16) 100.0 (12)

บังคับใชยาหรือสารเคมีอื่นใดที่ทำใหเจ็บปวด หรือไมตองการ

0

0

0

0

0

100.0

0

100.0 (2)

บังคับใหมีเพศสัมพันธทางปากหรือทวารหนัก

ตารางที่ 2 ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางเพศสัมพันธ์ในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง

6.4 การกระทำ�ทารุณทางจิตใจ

ความรุนแรงเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคมและเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย เนื่องด้วย ไม่ได้กระทำ�กับร่างกายโดยตรง เช่น การด่าว่าอย่างรุนแรงเสียหาย การกลั่นแกล้งหรือใช้บุคคลที่รัก ของแรงงานหญิงเป็นเหยื่อของการกระทำ� การทอดทิ้งยามเจ็บป่วย ความรุนแรงเหล่านี้เป็นเรื่องที่ เจ็บช้ำ�อย่างที่สุดเมื่อถูกกระทำ�โดยบุคคลที่รัก ซึ่งก็พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของการทารุณทางจิตใจ เกิดจากการกระทำ�ของสามีหรือคู่ครอง อีกครึ่งหนึ่งกระทำ�โดยพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่ลูกของ แรงงานหญิง (ตารางที่ 3) ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

15


รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติครอบครัว แมเลี้ยง สามีหรือ คูครอง

แม

ญาติ พี่นอง

พอ

พอ เลี้ยง

ดาวารุนแรง เสียๆหายๆ

13.9

16.2

9.9

1.5

1.1

ทำลายสิ่งของ กลั่นแกลงสัตวเลี้ยงที่รัก เพื่อใหกดดันใหทาน เสียใจ เจ็บปวด

8.9

28.9

0

2.2

0

15.4

0

11.1

22.2

0

ความรุนแรงทางจิตใจ

ทุบตี ทำรายรางกาย ทำอนาจาร บุคคลที่ทานรัก เพื่อใหยินยอมทำในสิ่งที่เขาตองการ กีดกัน ทอดทิ้ง ไมพาไปรับบริการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บปวย

ลูก

รวม (คน)

56.2

1.1

100.0(272)

0

51.1

8.9

100.0 (45)

15.4

7.7

61.5

0

100.0 (13)

11.1

0

55.6

0

100.0 (9)

ตารางที่ 3 ผู้กระทำ�ความรุนแรงทางจิตใจในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง

6.5 การคลุมถุงชน

การคลุมถุงชนหรือการบังคับเลือกคู่ครองหรือแต่งงานยังพบได้ในสังคมไทย และผู้กระทำ� รุนแรงส่วนใหญ่ก็คือ พ่อแม่ของแรงงงานหญิงนั่นเอง แม้ว่าอาจมีการให้เหตุผลว่า เป็นการทำ�ด้วย ความหวังดี หรือเป็นสิทธิของพ่อแม่ในการเลือกคู่ครองให้กับลูก แต่การบังคับเลือกคู่ครองเหล่านี้ อาจจะนำ�ไปสู่การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ และการบังคับค้าประเวณี (ตารางที่ 4) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติครอบครัว ความรุนแรงทางเพศสัมพันธ หามคบหากับแฟนหรือคูรัก จัดหาคูหมั้นหรือสามีใหทานโดยไมเต็มใจ บังคับใหมีเพศสัมพันธกับบุคคลที่ไมเต็มใจ ถูกบังคับหรือสงไปทำงานในสถานที่เสี่ยงตอ การคาประเวณี

แมเลี้ยง สามีหรือ คูครอง

แม

ญาติ พี่นอง

พอ

พอ เลี้ยง

44.1 28.6 16.7

14.7 14.3 16.7

41.2 42.9 66.7

0 14.3 0

0 0 0

50.0

50.0

0

0

0

ลูก

รวม (คน)

0 0 0

0 0 0

100.0 (34) 100.0 (14) 100.0 (6)

0

0

100.0 (2)

ตารางที่ 4 ผู้บังคับการเลือกคู่ครองในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง 16 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


6.6 การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์

ในครอบครัว สภาวะการเป็นแม่ สิทธิในการเจริญพันธุ์ของแรงงานหญิงควรได้รับการตัดสิน ใจอย่างอิสระ แต่ก็มีแรงงานหญิงส่วนหนึ่งถูกสามี/คู่ครอง พ่อแม่ ญาติพี่น้องของตน บังคับให้ยุติ การตั้งครรภ์หรือทำ�แท้ง กดดันให้ตั้งครรภ์มีบุตรหรือไม่มีบุตร และการคุมกำ�เนิด แต่แรงงานหญิงที่ ถูกบังคับกดดันดังกล่าวมีจำ�นวนน้อยมาก (ตารางที่ 5) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติครอบครัว แมเลี้ยง สามีหรือ คูครอง

แม

ญาติ พี่นอง

พอ

พอ เลี้ยง

ถูกบังคับ ใหตั้งครรภ หรือ ใหมีบุตร

33.3

0

0

0

0

ถูกบังคับ ไมใหตั้งครรภ หรือ ไมใหมีบุตร

21.4

14.3

7.1

0

ถูกบังคับใหยุติการตั้งครรภหรือทำแทง

33.3

22.2

0

ถูกบังคับกดดันการตัดสินใจในการเลือกวิธีการ คุมกำเนิด

22.2

11.1

0

0

การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ

ถูกตำหนิ ทำใหรูสึกวาเปนผูไรคุณคา เนื่องจากไมสามารถมีบุตร

ลูก

รวม (คน)

66.7

0

100.0 (6)

0

57.1

0

100.0 (14)

0

0

44.4

0

100.0 (9)

0

0

0

66.7

0

100.0 (9)

0

0

0

100.0

0

100.0 (2)

ตารางที่ 5 ผู้ละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในมิติครอบครัวของแรงงานหญิง

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

17


7

ความรุนแรงในมิติ การทำงาน

ในพื้นที่การทำ�งานของแรงงานหญิง ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งพบความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ แม้ไม่รุนแรงเท่าในครอบครัว แม้ว่าแรงงานหญิงจะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายแรงงาน โดย แรงงานหญิงถูกกระทำ�รุนแรงหลากหลายรูปแบบถึง 29 รูปแบบ (ภาพที่ 6) อย่างไรก็ตาม แรงงานหญิงที่ถูกกระทำ�รุนแรงในแต่ละรูปแบบมีค่อนข้างน้อย และแรงงาน หญิงถูกกระทำ�ซ้ำ�ซ้อนหลายรูปแบบก็มีน้อยเช่นกัน คือ ตั้งแต่ 4-13 รูปแบบร้อยละ 3.1 ถูกกระทำ� รุนแรง 2-3 รูปแบบร้อยละ 5.3 และถูกกระทำ�รุนแรง 1 รูปแบบร้อยละ 8.1

18 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


(

15

)

8

99.9

0.1

100.0

99.9

0.1

100.0

99.9

0.1

100.0

99.9

0.1

100.0

92.0%

8.0%

95.0%

5.0%

95.6%

4.4%

96.3%

3.7%

96.5%

3.5%

97.3%

2.7%

97.5%

2.5%

97.9%

2.1%

99.1%

0.9%

99.1%

0.9%

99.3%

0.7%

99.3%

0.7%

99.5%

0.5%

99.5%

0.5%

99.5%

0.5%

99.6%

0.4%

90

99.6%

0.4%

45

99.6%

0.4%

99.7%

0.3%

99.7%

0.3%

99.8%

0.2%

99.8%

0.2%

99.8%

0.2%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

99.9%

0.1%

48

(

/

)

/

/

(

15

)

ภาพที่ 6 ร้อยละของการถูกกระทำ�รุนแรงในแต่ละรูปแบบความรุนแรงในมิติการทำ�งาน ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

19


8

ผูกระทำรุนแรงตอ แรงงานหญิงใน มิติการทำงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำ�ความรุนแรงกับแรงงานหญิง เป็นความสัมพันธ์กันในเชิง ของผลประโยชน์ เป็นอำ�นาจระหว่างเจ้านายหรือนายจ้างกับลูกน้องหรือแรงงาน (อำ�นาจในเชิงของ ชนชั้น) และระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ผู้กระทำ�ความรุนแรงในมิติการทำ�งาน ได้แก่ นายจ้าง หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานชาย เพื่อน ร่วมงานหญิง และลูกค้า

8.1 การละเมิดสิทธิแรงงาน

แม้ว่าการเป็นแรงงานไทยจะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย แต่แรงงานหญิงจำ�นวน การถู ก น กละเมิดสิทธิแรงงานต่างๆ เช่น การถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกโดยไม่มีความ มากก็ระบุกระทำรุ ถึงปัญหาการถู ผิด แรงในชุ การถูกมบัชน งคับให้ทำ�งานในหนึ่งสัปดาห์โดยไม่มีวันหยุด การถูกบังคับให้ทำ�งานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง การถูกโกงค่าจ้าง เป็นต้น กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นจากการกระทำ�ของนายจ้างและหัวหน้างานเป็น ส่วนใหญ่ (ตารางที่ 6) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติการทำงาน การละเมิดสิทธิแรงงาน

นาย จาง

หัวหนางาน

เพื่อนรวม งานชาย

เพื่อนรวม งานหญิง

ลูกคา

รวม (คน)

ถูกเลิกจาง/ไลออก/กดดันใหออกจากงานโดยที่ไมมีความผิด

66.7

28.2

0 1.5

5.1

0

100.0(42)

ถูกบังคับใหทำงานในหนึ่งสัปดาหโดยไมมีวันหยุดหรือไม

61.8

36.8

0

0

100.0(68)

ถูกบังคับใหทำงานมากกวาวันละ 8 ชั่วโมง หรือมากกวาสัปดาหละ 48 ชั่วโมงหรือไม

59.3

40.7

0

0

0

100.0(81)

ถูกโกงคาจาง จายคาจางไมเปนธรรม (จายชา หรือ จายไมหมด)

76.2

19.0

0

0

4.8

100.0(63)

ถูกผัดผอน เลื่อนระยะเวลาการจายคาจางหรือไม

82.4

17.6

0

0

0

100.0(91)

ตารางที่ 6 ผู้ละเมิดสิทธิแรงงานในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง 20 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


8.2 การทำ�ร้ายร่างกายและการดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำ�รุนแรง หยาบคาย การถู น การดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำ�รุนแรง หยาบคาย เป็นรูปแบบความรุนแรงที่ การทำก�กระทำรุ ร้ายร่างกาย ปรากฏในทุแรงในชุ กมิติชีวมิตชนสำ�หรับแรงงานหญิงนั้น การถูกดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำ�รุนแรงหยาบคาย เป็น กรณีที่เกิดขึ้นกับแรงงานหญิงมากที่สุด ผู้กระทำ�หลักได้แก่ นายจ้าง หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน หญิงด้วยกัน ส่วนการทำ�ร้ายร่างกาย ด้วยการตบตีเตะต่อยนั้นก็มีเช่นกัน แต่มีกรณีน้อยมาก และส่วน ใหญ่เป็นการกระทำ�จากแรงงานหญิงด้วยกัน ซึ่งน่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้งและมีการทำ�ร้าย ร่างกาย (ตารางที่ 7) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติการทำงาน นาย จาง

หัวหนางาน

เพื่อนรวม งานชาย

เพื่อนรวม งานหญิง

ลูกคา

รวม (คน)

ถูกทำรายรางกาย เชน เตะ ตอย ตบ ตี

15.4

15.4

7.7

61.5

0

100.0(13)

ถูกดาวา ดวยถอยคำ รุนแรง หยาบคาย เสียหายอยางมาก

37.3

26.2

3.4

31.0

2.1

100.0(145)

รูปแบบความรุนแรงในมิติการทำงาน

ตารางที่ 7 ผู้กระทำ�รุนแรงทางร่างกายและวาจาในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง

8.3 การบังคับให้ทำ�งานไม่ปลอดภัย

การถูกบังคับให้ทำ�งาน เสี่ยง ไม่ปลอดภัย นั้นนับเป็นปัญหาสำ�คัญต่อแรงงานหญิง ซึ่งมีกรณี มากพอสมควร และเป็นการถูกบังคับโดยนายจ้างและหัวหน้างานเป็นหลัก (ตารางที่ 8) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติการทำงาน รูปแบบความรุนแรงในมิติการทำงาน ถูกบังคับใหทำงาน เสี่ยง อันตราย ไมปลอดภัย

นาย จาง

หัวหนางาน

เพื่อนรวม งานชาย

เพื่อนรวม งานหญิง

ลูกคา

รวม (คน)

43.5

54.3

0

2.2

0

100.0(46)

ตารางที่ 8 ผู้บังคับให้ทำ�งานไม่ปลอดภัยในมิ​ิติการทำ�งานของแรงงานหญิง ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

21


8.4 การล่วงละเมิดทางเพศในมิติการทำ�งาน กระทำรุ น ดทางเพศในมิติการทำ�งาน เป็นรูปแบบความรุนแรงสำ�คัญที่เกิดกับแรงงาน การถูกการล่ วงละเมิ มชน งคับค้าประเวณี ข่มขืน การล่อลวง บังคับ ให้มีเพศสัมพันธ์ แต่ก็พบแรงงานหญิงที่ หญิงแรงในชุ อาทิ การบั ถูกกระทำ�น้อยมาก ยกเว้น การพูดจาแทะโลม ลามก ผู้กระทำ�หลักได้แก่ เพื่อนร่วมงานชาย ลูกค้า หัวหน้างานและนายจ้าง (ตารางที่ 9) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติการทำงาน การลวงละเมิดทางเพศในมิติการทำงาน

ถูกบังคับใหคาประเวณี ลอลวงใหขายบริการทางเพศ ถูกกระทำอนาจาร แตะตอง จองมอง หนาอก อวัยวะเพศ ถูกขมขืน พูดจาแทะโลม ลามก สอไปในทางเพศกับทาน โดยทานไมเต็มใจ รูสึกอับอาย บังคับ จำใจ ขมขู ใหมีเพศสัมพันธกับบุคคลที่ทานไมเต็มใจ ถูกลอลวง หลอก ใหมีเพศสัมพันธโดยอาศัยเรื่องงานเปนขอแลกเปลี่ยน

นาย จาง

หัวหนางาน

เพื่อนรวม งานชาย

เพื่อนรวม งานหญิง

ลูกคา

รวม (คน)

33.3 17.6 100.0

33.3 23.5 0

0 35.3 0

33.3 0 0

0 23.5 0

100.0(3) 100.0 (17) 100.0 (1)

8.0

4.0

50.0

0

38.0

100.0 (50)

0

100.0

0

0

0

100.0 (1)

100.0

0

0

0

0

100.0(1)

ตารางที่ 9 ผู้ล่วงละเมิดทางเพศในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง

8.5 การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์

ปัญหาการละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในการทำ�งานนั้น มีแรงงานหญิงถูกละเมิดค่อนข้างน้อย แต่ก็มีรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นการละเมิดความเป็นแม่ของแรงงาน เช่น การไม่ได้รับสิทธิ ลาคลอด 90 วัน นายจ้างไม่เก็บตำ�แหน่งงานไว้ให้หากลาคลอด ถูกบังคับกดดันให้ลาออกจากงาน เป็นต้น ผู้กระทำ�หลักในประเด็นเหล่านี้คือ นายจ้างและหัวหน้างานของแรงงานหญิง (ตารางที่ 10)

22 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติการทำงาน การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ

นาย จาง

หัวหนางาน

เพื่อนรวม งานชาย

เพื่อนรวม งานหญิง

ลูกคา

รวม (คน)

66.7 75.0

33.3 25.0

0 0

0 0

0 0

100.0(3) 100.0 (8)

ระหวางตั้งครรภ ตองทำงานที่ยกของหนักมากๆ(น้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม)

50.0

0

50.0

0

0

100.0 (2)

นายจางจะไมเก็บตำแหนงงานของทานไว หากทานลาคลอด

60.0 100.0 50.0 0

40.0 0 50.0 100.0

0 0 0 0

0 0 0 0

0 0 0 0

100.0(10) 100.0 (7) 100.0(6) 100.0 (1)

0

100.0

0

0

0

100.0(1)

100.0

0

0

0

0

100.0 (3)

การถูกกระทำรุน แรงในชุมชน ไมไดรับการเลื่อนขั้น เงินเดือน ตำแหนง เพราะการตั้งครรภ ไมไดรับสิทธิการลาคลอด

90 วัน

ไมไดรับคาตอบแทน/คาจาง ระหวางลาคลอด 45 วัน ระหวางตั้งครรภ ตองทำงานสัมผัสสารเคมี ถูกบังคับใหยุติการตั้งครรภหรือทำแทงโดยที่ทานไมเต็มใจ ถูกบังคับ ไมใหตั้งครรภหรือไมใหมีบุตร เชน การบังคับคุมกำเนิด หรือ ทำหมัน ถูกบังคับ กดดันใหตองลาออกจากงาน เนื่องจากการตั้งครรภ

ตารางที่ 10 ผู้ละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในมิติการทำ�งานของแรงงานหญิง

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

23


08 9

ผูกการถู ระทำรุ กกระทำ นแรงตอ รุนแรงงานหญิ แรงในมิติชงุมในชน มิติการทำงาน

นอกเหนือจากการถูกกระทำ�รุนแรงในครอบครัวและการทำ�งานซึ่งมีขนาดของการถูกกระทำ� สูงมากกว่ามิติชีวิตอื่นๆ แล้ว ยังพบว่ามีการกระทำ�รุนแรงต่อแรงงานหญิงในมิติชุมชน แต่ขนาดของ ปัญหานั้นน้อยมาก การกระทำ�รุนแรงในชุมชนมีขนาดของปัญหาเพียงร้อยละ 2.6 และมีรูปแบบความรุนแรงเกิด ขึ้น 10 รูปแบบ เช่น การถูกทำ�ร้ายร่างกาย เตะ ต่อย การด่าว่าด้วยถ้อยคำ�รุนแรง หยาบคาย การถูกกระทำ�อนาจาร พูดจาแทะโลม เป็นต้น ผู้กระทำ�ความรุนแรงหลักในมิติชุมชนนั้นเป็นชาวบ้านทั่วไป ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่ชาว บ้านทั่วไปเป็นผู้กระทำ�มีทั้งรูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และเพศสัมพันธ์ สำ�หรับผู้กระทำ� ความรุนแรงในมิติชุมชนกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ผู้นำ� หรืออบต.ชุมชน หรือผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงคนแปลกหน้า ด้วย (ตารางที่ 11) รอยละของผูกระทำความรุนแรงในมิติชุมชน รูปแบบความรุนแรงในมิติชุมชน

ชาวบานทั่วไป

ผูนำชุมชน

คนแปลกหนา

รวม (คน)

95.8 100.0 0

4.2 0 100.0

0 0 0

100.0(24) 100.0 (3) 100.0 (1)

0

100.0

0

100.0 (1)

100.0

0

0

100.0 (2)

0

100.0

0

100.0 (1)

100.0

0

0

100.0 (8)

ถูกกระทำอนาจาร แตะตอง จองมอง หนาอก อวัยวะเพศ

100.0

0

0

100.0 (2)

พูดจาแทะโลม ลามก สอไปในทางเพศกับทาน โดยทานไมเต็มใจ รูสึกอับอาย

87.5

0

12.5

100.0(16)

บังคับ จำใจ ขมขู ใหมีเพศสัมพันธกับบุคคลที่ทานไมเต็มใจ

100.0

0

0

100.0 (1)

ความรุนแรงที่เกิดกับจิตใจและการละเมิดสิทธิตางๆ ถูกดาวา ดวยถอยคำ รุนแรง หยาบคาย เสียหายอยางมาก ถูกกีดกันไมใหประชุม ชุมนุม เพื่อแสดงความคิดเห็น ถูกละเลย/ไมปฏิบัติตาม/ไมบังคับใชกฎหมาย เมื่อไดรับการรองขอ ถูกปฏิเสธ บายเบี่ยงไมยอมรับ การรองเรียน ปรึกษา ขอความชวยเหลือกรณีถูกละเมิดสิทธิตางๆ ถูกกลั่นแกลง โยน หรือ ยัดเยียด ยอมรับความผิด การกลาวหาตางๆ ใหโดยไมไดกระทำ ถูกบังคับ กำหนด จำกัด ขอบเขต พื้นที่การทำกิจกรรมตางๆ เชน การพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรุนแรงทางรางกาย ถูกทำรายรางกาย เชน เตะ ตอย ตบ ตี ความรุนแรงทางเพศสัมพันธ

ตารางที่ 11 ผู้กระทำ�ความรุนแรงในมิติชุมชนของแรงงานหญิง 24 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


10

การถูกกระทำรุนแรง โดยเจาหนาที่รัฐ

ความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นกับแรงงานหญิงในหน่วยงานหรือองค์กรรัฐแตกต่างไปจากมิติ อื่นๆอย่างมาก เนื่องด้วยทั้งผู้กระทำ�และผู้ถูกกระทำ�ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือผูกพันกันในอารมณ์ ความรู้สึก หรือมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน แต่เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะของฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้ให้บริการและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับบริการ หรือการเป็นผู้ให้ความคุ้มครองและดูแลความมั่นคงของ รัฐและอีกฝ่ายเป็นผู้รับการคุ้มครองดูแล ในภาพรวมของแรงงานหญิงที่ถูกกระทำ�รุนแรงจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐ พบ ว่า มีสัดส่วนน้อยมากคือเพียงร้อยละ 1.4 และมีเพียง 7 รูปแบบเท่านั้น แต่ความรุนแรงที่เกิดจาก เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐนั้นมีความสำ�คัญและได้รับความสนใจจากสังคม เนื่องจากมีความ ละเอียดอ่อนอาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและอาจเชื่อมโยงไปยังปัญหาอื่นได้ง่าย ผู้กระทำ�ความรุนแรงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐ ได้แก่ ตำ�รวจ และเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งพบว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นคือ การเรียกร้องเงินทองหรือ ผลประโยชน์โดยไม่ชอบ และถูกละเลย/ไม่ปฏิบัติตาม/ไม่บังคับใช้กฎหมาย เมื่อได้รับการร้องขอ (ตารางที่ 12) รูปแบบความรุนแรงจากเจาหนาที่ในหนวยงาน/องคกรรัฐ

รอยละของผูกระทำความรุนแรงจากเจาหนาที่ในหนวยงาน/องคกรรัฐ ตำรวจ

เจาหนาที่ผูใหบริการ

รวม (คน)

ความรุนแรงที่เกิดกับจิตใจและการละเมิดสิทธิตางๆ ถูกกีดกันไมใหประชุม ชุมนุม เพื่อแสดงความคิดเห็น

75.0 100.0

25.0 0

100.0 (4) 100.0 (2)

ถูกบังคับ กำหนด จำกัด ขอบเขต พื้นที่การทำกิจกรรมตางๆ เชน การพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

100.0

0

100.0 (1)

ถูกเรียกรอง เงินทอง ผลประโยชนโดยไมชอบ เมื่อไปรับบริการจากหนวยงานภาครัฐ

77.8

22.2

100.0 (9)

ถูกละเลย/ไมปฏิบัติตาม/ไมบังคับใชกฎหมาย เมื่อไดรับการรองขอ

90.9

9.1

100.0 (11)

ถูกปฏิเสธ บายเบี่ยงไมยอมรับ การรองเรียน ปรึกษา ขอความชวยเหลือกรณีถูกละเมิดสิทธิตางๆ

75.0

25.0

100.0 (4)

100.0

0

100.0 (2)

ถูกดาวา ดวยถอยคำ รุนแรง หยาบคาย เสียหายอยางมาก

ความรุนแรงทางรางกาย ถูกจับกุม คุมขัง กักขัง โดยไมชอบดวยกฎหมายหรือไม

ตารางที่ 12 ผู้กระทำ�ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/องค์กรรัฐของแรงงานหญิง ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

25


11

ความรุนแรงเชิง โครงสราง

นอกเหนือจากความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นในมิติชีวิตของแรงงานหญิงโดยผู้กระทำ�ต่างๆเช่น สามี หรือคู่ครอง นายจ้าง ชาวบ้านทั่วไป และเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ก็ยังมีความรุนแรงอีกระดับ คือ ความ รุนแรงเชิงโครงสร้าง Galtung2 นักสันติภาพชาวนอร์เวย์ ได้วิเคราะห์แยกระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงทางโครงสร้าง และความรุนแรงทางวัฒนธรรม โดยอธิบายไว้ว่า ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เป็นความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำ�ของสังคมผ่านโครงสร้างต่างๆซึ่งมี ความไม่เสมอภาค ส่งผลให้ผู้คนในสังคมได้รับโอกาสและทรัพยากรที่ไม่เสมอภาค ซึ่งเป็นผล มาจากการตัดสินใจใช้อำ�นาจในระดับโครงสร้างสังคม ย่อมก่อให้เกิดความรุนแรงทางโครงสร้างกับ ประชาชนในสังคมนั้น (Galtung, 1969, p.171 อ้างใน Confortini, 2004) โดย เขาอธิบาย เพิ่มเติมว่า ความรุนแรงทั้ง 3 ระดับ คือความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความ รุนแรงทางวัฒนธรรมนี้มิได้แยกขาดจากกันและเป็นลำ�ดับชั้น แต่เชื่อมโยงเป็นเหตุซึ่งกันและกัน และ สามารถสลับสับเปลี่ยนตำ�แหน่งกันได้อีกด้วย (Galtung, 1990, p.294) ดังนั้นนอกจากความรุนแรงทางตรง ที่แรงงานหญิงถูกกระทำ�โดยบุคคลต่างๆแล้ว ปัญหา จากการเป็นแรงงานที่ค่าจ้างน้อยและต้องทำ�งานหนัก การไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการ มีการถูกกำ�หนด ให้รับภาระต่างๆซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ยังทำ�ให้ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เสมอภาค และตกอยู่ ภายใต้เงื่อนไขการเป็นหญิงตามที่สังคมกำ�หนด

11.1 รายได้น้อยและได้ค่าจ้างต่ำ�กว่าค่าจ้างขั้นต่ำ�

แรงงานหญิงส่วนใหญ่มีรายได้ค่อนข้างน้อย (รายได้ในที่นี้รวมถึงค่าจ้างในการทำ�งานในเวลา ปกติและค่าแรงในกรณีที่ทำ�งานนอกเวลาหรือโอที) โดยแรงงานหญิงได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 9,796.69 บาท และแรงงานหญิงถึงร้อยละ 70 มีค่าจ้างน้อยกว่า 9,000 บาทต่อเดือน (ภาพที่ 7) ส่วนการได้รับค่าจ้างต่ำ�กว่าค้าจ้างขั้นต่ำ� แรงงานหญิงถึงร้อยละ 26.6 ก็ยังได้รับค่าจ้างต่ำ�กว่าค่า แรงขั้นต่ำ�วันละ 300บาท

26 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


50

44.8% 40

30

20

15.4% 10

10.4% 10.0% 6.5%

0

แรงงานหญิง

7.9%

5.0%

5,001 - 7,000 7,001 - 9,000 9,001 - 11,000 11,001 - 13,000 13,001 - 15,000 15,000

5,000 6.5% 15.4% 44.8% 10.4% 10.0% 7.9% 5.0%

ภาพที่ 7 ร้อยละของค่าจ้างต่อเดือนของแรงงานหญิง

11.2 ชั่วโมงการทำ�งานปกติในแต่ละวันยาวนาน และยังต้องทำ�โอทีเพิ่ม

แรงงานหญิงส่วนใหญ่ทำ�งานในเวลาปกติวันละ 6-8 ชั่วโมง และแรงงานหญิงถึงร้อยละ 18.8 ต้องทำ�งานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง (ภาพที่ 8) นอกจากการทำ�งานในเวลาปกติที่ยาวนานแล้ว แรงงานหญิงถึงร้อยละ 60.7 ยังต้องทำ�งาน โอที (ภาพที่ 9) โดยแรงงานร้อยละ 42.1 ให้เหตุผลการต้องทำ�งานล่วงเวลาเพราะต้องการค่าจ้าง เพิ่ม และเพราะนายจ้างบังคับให้ทำ�งานล่วงเวลา ร้อยละ 2.5 (ภาพที่ 10)

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

27


80

72.0%

64

48

3-5 6-8

32

18.8%

16

0

2.5% 2.3%

4.4%

4.4% 72.0% 8 18.8% 2.5% 2.3%

แรงงานหญิง

ภาพที่ 8 ร้อยละของจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานในเวลาปกติของแรงงานหญิง 40

39.3%

32

24.6% 23.9%

24

16

8

7.1% 3.5%

0

0.8% 0.4% 0.4%

39.3% 24.6% 23.9% 7.1% 3.5% 0.8% 0.4% 0.4%

1 2 3 4 5 6 8

แรงงานหญิง

ภาพที่ 9 ร้อยละของจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานนอกเวลาปกติต่อวัน (โอที) ของแรงานหญิง 50

40

39.4%

42.1%

30

20

16.0% แรงงานหญิ ง 10

2.5%

0

แรงงานหญิง

/

39.4% 42.1% 16.0% 2.5%

ภาพที่ 10 ร้อยละของเหตุผลในการทำ�งานล่วงเวลาของแรงงานหญิง 28 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


11.3 รับภาระทั้งการทำ�งานหาเงินและการทำ�งานบ้าน

ปัจจุบันนี้โครงสร้างอาชีพเปลี่ยนแปลงไป ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต้องออกไปทำ�งานนอกบ้าน เคียงบ่าเคียงไหล่ในทุกภาคการผลิต โดยแรงงานหญิงส่วนใหญ่ต้องทำ�งานนอกบ้านหาเงิน ทั้งงาน ในเวลาปกติและงานล่วงเวลาวันละหลายชั่วโมง เมื่อแรงงานหญิงกลับบ้าน ก็ยังคงได้รับมอบหมายจากครอบครัวและสังคมให้เป็นผู้รับผิด ชอบหลักในการทำ�งานบ้าน โดยแรงงานหญิง แม่ พี่สาว/น้องสาว ประมาณร้อยละ 92 ก็ยังต้องรับ ผิดชอบหลักในการทำ�งานบ้าน(ภาพที่ 11) และร้อยละ 62.8 ทำ�งานบ้านตั้งแต่วันละสองชั่วโมงขึ้น ไป (ภาพที่ 12) ทำ�ให้ชั่วโมงการทำ�งาน ทั้งงานการผลิตและงานบ้านในแต่ละวันของผู้หญิงสูง ส่ง ผลต่อความเหนื่อยล้าและปัญหาสุขภาพ ครอบครัว ตามมา 80

78.2%

64

48

78.2% 11.0% 2.0%

32

16

11.0% 0

2.0% 3.4% 2.5% 1.3% 1.3% 0.3% แรงงานหญิง

/ 1.3% 1.3% /

3.4% 2.5%

0.3%

ภาพที่ 11 ร้อยละของการเป็นผู้รับผิดชอบหลักการทำ�งานบ้านของแรงงานหญิง 60

57.9%

48

36

28.6%

24

12

8.6% 0

4.9% แรงงานหญิง

1 2-3 4-6

8.6% 28.6% 57.9% 4.9%

ภาพที่ 12 ร้อยละจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานบ้านในแต่ละวันของแรงงานหญิง ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

29


11.4 การเป็นผู้รับผิดชอบหลักค่าใช้จ่ายในครอบครัว

แรงงานหญิงทั้งหมดต้องทำ�งานหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว และครึ่งหนึ่งของแรงงานหญิง เหล่านี้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลักในครอบครัว ขณะที่สามีหรือคู่ครองเข้ามารับผิดชอบเพียง ประมาณหนึ่งในสี่เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆในครอบครัวที่เกิดขึ้นนั้นจะเพียงพอหรือ ไม่ ผู้หญิงจะต้องจัดการให้เรียบร้อยผ่านพ้นไปให้ได้ ดังนั้นผู้หญิงอาจต้องสละความสุขความสะดวก สบายเพื่อทำ�งานหารายได้นอกเวลาให้มากขึ้น เพื่อมาช่วยครอบครัวให้ผ่านพ้นปัญหาทางด้านการ เงินไป (ภาพที่ 13) 60

48

51.4% 51.4%

36

24

26.8% 26.8%

12

7.5% 5.9% 0

0.5% 0.9% 0.3% 0.7%

6.0%

7.5% 5.9% / / 0.3% 0.7%

0.5% 0.9%

แรงงานหญิง

ภาพที่ 13 ร้อยละของผู้รับผิดชอบหลักค่าใช้จ่ายในครอบครัวของแรงงานหญิง

30 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

6.0%


11.5 ทำ�งานจนแทบจะไม่มีวันหยุดงานในแต่ละสัปดาห์

ปัญหาเรื่องวันหยุดงานยังคงเป็นปัญหามากในกลุ่มของแรงงานหญิง แม้ว่าแรงงานหญิงส่วน ใหญ่คือร้อยละ 67 จะมีวันหยุดสัปดาห์ละ 1-2 วัน แต่ก็พบแรงงานที่ต้องทำ�งานโดยไม่มีวันหยุด ถึงร้อยละ12.1 และแรงงานหญิงอีกร้อยละ 9.7 นั้นต้องให้นายจ้างอนุญาตว่าจะให้หยุดงานได้หรือ ไม่ (ภาพที่ 14)

70

67.0%

56

1-2 67.0% 12.1%

42

9.7%

28

14

0

3.7% 12.1%

9.7%

3.7% 1.7% 4.8% 0.6% 0.4%

1 1

10 2

1.7% 4.8% 0.6% 0.4%

แรงงานหญิง

ภาพที่ 14 ร้อยละของการหยุดการทำ�งานในแต่ละสัปดาห์ของแรงงานหญิง

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

31


11.6 ไม่ได้เป็นสมาชิกประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

ขณะที่สังคมทั่วไปเห็นถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติว่า เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ แรงงานหญิงไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากแรงงานข้ามชาติ เพราะพบว่า แรงงานหญิงถึงร้อยละ 54.8 ไม่ ได้มีสิทธิประกันสังคม และแรงงานหญิงถึงร้อยละ 7.1 ไม่รู้จักการประกันสังคม (ภาพที่ 15) ส่วนการเป็นสมาชิกกองทุนเงินทดแทน ก็พบว่า มีแรงงานหญิงถึงร้อยละ 71 ไม่ได้เป็น สมาชิกกองทุนเงินทดแทน และไม่รู้จักกองทุนดังกล่าวถึงร้อยละ 16.4 (ภาพที่ 16) 60

54.8% 48

36

38.1%

24

12

7.1% 0

38.1% 54.8% / 7.1%

แรงงานหญิง

ภาพที่ 15 ร้อยละของการเป็นสมาชิกประกันสังคมของแรงงานหญิง 80

71.0%

64

48

32

16

16.4%

12.6% 0

แรงงานหญิง

12.6% 71.0% / 16.4%

ภาพที่ 16 ร้อยละของการเป็นสมาชิกกองทุนเงินทดแทนของแรงงานหญิง

32 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


11.7 งานที่แรงงานหญิงทำ�เป็นอันตรายต่อสุขภาพและยังได้รับอุบัติเหตุจากการทำ�งาน

นอกจากค่าจ้างน้อย งานหนัก การไม่ได้รับสิทธิหรือหลักประกันคุ้มครอง แรงงานหญิงยัง เผชิญหน้ากับอันตรายจากการทำ�งานในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 8.9 และในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.6 (ภาพที่ 17) ในส่วนของอุบัติเหตุจากการทำ�งาน ร้อยละ 30.9 (ภาพที่ 18)

แรงงานหญิงก็ยังเคยได้รับอุบัติเหตุจากการทำ�งานถึง

50

40

40.6% 32.1%

30

20

18.4%

10

0

7.9%

1.0% 7.9% 40.6% 32.1%

1.0%

18.4% แรงงานหญิง

ภาพที่ 17 ร้อยละของแรงงานหญิงที่ระบุว่างานที่ทำ�มีอันตรายต่อสุขภาพ 70

69.1%

56

42

28

29.7%

14

0

69.1% 1.2%

29.7% 1.2%

แรงงานหญิง

ภาพที่ 18 ร้อยละของแรงงานหญิงที่ระบุว่าได้รับอุบัติเหตุจากการทำ�งาน ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

33


12

มายาคติเกี่ยวกับ “ความรุนแรง” ของแรงงานหญิง

มายาคติ เป็นคติความเชื่อของแรงงานหญิงที่ว่า สิ่งที่ตนเองเห็นหรือเชื่อนั้นเป็นภาวะปกติ ธรรมดาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มายาคติเกี่ยวกับความรุนแรงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นคตินิยมที่หยั่งราก ลึกในความคิดทั้งของแรงงานหญิง และสนับสนุนให้หญิงและชายสามารถกระทำ�รุนแรงได้โดยสังคม ไม่เห็นว่าผิด หรือเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแรงงานหญิงเองนั้น ทำ�ให้พลังอำ�นาจใน ตนเองอ่อนล้า และไร้ซึ่งอำ�นาจในการต่อรองกับปัญหาความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

จะเห็นได้ว่า แรงงานหญิงนั้นส่วนใหญ่ยังมีมายาคติในระดับปานกลางถึงสูง กล่าวคือ

แรงงานหญิงที่เชื่อว่า การที่สามีทุบตีทำ�ร้ายร่างกายภรรยาเป็นเรื่องปกติมีร้อยละ 19.2 และเวลาที่สามีภรรยาทำ�ร้ายร่างกายกันชาวบ้านไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องร้อยละ 22.3 ผู้ชายกระทำ� รุนแรงต่อผู้หญิงเพราะผู้หญิงยั่วโมโหก่อนร้อยละ 13.4 ส่วนเพศสัมพันธ์เป็นความปรารถนาและความต้องการของทั้งหญิงและชาย แรงงานหญิง เชื่อว่า ชายซึ่งเป็นสามีสามารถกำ�หนด บังคับ กดดัน แม้ผู้เป็นภรรยาไม่ต้องการก็ต้องยอม ทำ�ให้ ผู้หญิงตกอยู่ใต้อำ�นาจและความรุนแรงเป็นมายาคติในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งแรงงานหญิงถึงร้อยละ 23.7 ก็มีมายาคตินี้ (ตารางที่ 13 ) มายาคติเกี่ยวกับความรุนแรง

ไมใช

ไมแนใจ

ใช

รวม (คน)

การทีสามีทุบตีทำรายภรรยาหรือคูรัก เปนเรื่องปกติ ผูชายกระทำรุนแรงกับผูหญิง ก็เพราะผูหญิงยั่วโมโหผูชายกอน

41.9 33.8 42

37.8 43.9 44.6

19.2 22.3 13.4

100.0(1,816) 100.0(1,821) 100.0(1,819)

หากสามีมีความตองการทางเพศ แมภรรยาไมตองการ ก็ไมควรปฏิเสธ

28.3

48.0

23.7

100.0(1,815)

เวลาผัวเมียทุบตีทำรายรางกายกัน ชาวบานไมควรเขาไปยุง

ตารางที่ 13 มายาคติเกี่ยวกับความรุนแรงของแรงงานหญิง

34 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


13

อภิปรายและขอ เสนอแนะ

1. ขนาดของปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับแรงงานหญิงในมิติครอบครัวและมิติการทำ�งานมี พอสมควร ส่วนการถูกกระทำ�จากชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นน้อยมาก แต่ปัญหาหลักของแรงงาน หญิงคือ ปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างและมายาคติซึ่งยังมีอยู่ชัดเจน ดังนั้น นโยบายทางสังคมต่างๆ เช่น การเข้าถึงประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนใน แรงงานทุกอาชีพ(ทั้งในระบบและนอกระบบ) การเพิ่มพูนความรู้และทักษะต่างๆ การเปิดโอกาส หรือสร้างงานที่มั่นคงและมีผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการทำ�งาน การให้เด็กทุกคนโดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิงได้รับการศึกษาถึงขั้นสูงสุด โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านการเงิน เป็นนโยบายที่ต้องดำ�เนินการ โดยเร่งด่วน จริงจัง 2. ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นเรื่องสำ�คัญ เนื่องด้วยเป็นประชากรครึ่งหนึ่งของสังคม ที่ ทำ�หน้าที่พื้นฐานหลักในครอบครัว คือ การผลิตและเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ในสังคม ซึ่งจะเป็นทรัพยากร ที่สำ�คัญ การดูแลสมาชิกใหม่นี้เริ่มต้นตั้งแต่การตั้งครรภ์ ขัดเกลาพัฒนาเด็ก ทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะเดียวกันผู้หญิงก็ทำ�งานนอกบ้านผลิตสินค้าและบริการให้กับสังคมเคียงข้างแรงงานชาย การที่ผู้หญิงถูกกระทำ�รุนแรง เป็นการบ่อนทำ�ลายการทำ�หน้าที่พื้นฐานของครอบครัว ทำ�ให้ ผู้หญิงไม่สามารถมีบทบาทและดูแลครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสมาชิกอื่นๆในครอบครัว โดยเฉพาะ เด็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น สังคมจำ�เป็นต้องดูแลและตระหนักว่า เป็นปัญหาสำ�คัญของสังคม มิใช่ปัญหา ของผู้หญิง หรือ ปัญหาในครอบครัวเท่านั้น 3. ผู้ทำ�งานเกี่ยวกับความรุนแรงต้องตระหนักว่า ความรุนแรงมิใช่พฤติกรรมแยกส่วน และ จบสิ้นเมื่อเสร็จสิ้นพฤติกรรมนั้นๆ เพราะความรุนแรงไม่ว่ารูปแบบใดทั้งในความคิดและการกระ ทำ� ความรุนแรงโดยตรงที่กระทำ�โดยผู้กระทำ�ใดๆ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และวัฒนธรรม ล้วนนำ�ไปสู่ความรุนแรงที่ไม่รู้จบ ผู้ที่เคยกระทำ�รุนแรงมักจะกระทำ�รุนแรงต่อไป ผู้ที่ถูกกระทำ� รุนแรงอาจแก้แค้นหรือแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงหรือส่งต่อความรุนแรงกับคนอื่นต่อไป ผู้ที่เห็น หรือมีส่วนร่วมในความรุนแรงเช่น เด็กที่เห็นพ่อแม่รุนแรงต่อกันก็มีความเครียด เรียนรู้และเลียนแบบ ที่จะกระทำ�รุนแรงต่อไป หรือหลีกเลี่ยงปัญหาโดยวิธีการต่างๆ แต่ท้ายสุดนำ�ไปสู่ความรุนแรง และ จะถูกผลิตซ้ำ�ทั้งในระดับบุคคลและโครงสร้างในรูปแบบอื่นๆต่อไป ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

35


ดังนั้นเมื่อมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้น ควรมีการแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าของปัญหา ให้ข้อมูล สนับสนุนการตัดสินใจของผู้หญิงด้วยตนเอง ไม่ปิดบังข้อมูลหรือปัญหาต่อสาธารณชน ไม่พยายาม สนับสนุน ชักจูง ให้แรงงานหญิงต้องอดทนตามมายาคติที่ฝังรากลึกในสังคมไทย หรือตกอยู่ในกรอบ ประเพณีซึ่งกดทับผู้หญิงให้ยอมรับสภาพ รอเวลาเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคล เพราะนั่นอาจนำ�มาซึ่ง อันตรายและความรุนแรงซึ่งร้ายแรงกว่า 4. การแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ดำ�เนินในรูปของการรณรงค์ให้หยุดความ รุนแรง โดยอาศัยสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะว่า การรณรงค์นั้นไม่สามารถที่จะสร้างแรงจูงใจได้พอเพียง และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ผิว เผิน โดยไม่ยอมรับว่าปัญหาเหล่านั้นอยู่ในครอบครัวและสังคม นอกจากนี้สังคมยังไม่อนุญาตให้ เหยื่อโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมได้ และหากออกมาเรียกร้อง ผู้หญิง ที่ถูกกระทำ�รุนแรงอาจกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงรายใหม่ของสถาบันสังคม บุคคล สื่อ ต่างๆ พร้อมกับถูกกล่าวหาและตั้งป้อมว่า เป็นความผิด ความเลว เป็นเพราะต้องการใส่ร้ายบุคคลอื่นของ ผู้หญิง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำ�เพิ่มคือ นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่สาเหตุ ทั้งใน ระดับบุคคลและระดับโครงสร้าง คือ หนึ่ง ส่งเสริมให้แรงงานหญิงมีพลังอำ�นาจจากภายใน เข้าใจตนเอง เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มี เวลาที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง เช่น การแบ่งปันภาระหน้าที่หรืองานในบ้านให้สมาชิกอื่น ในครอบครัว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับแรงงานหญิงมากจนเกินไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ชายแบ่งเบา ภาระงานบ้านมากขึ้น เช่น การดูแลเด็ก ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ เพิ่มพูนความรู้และทักษะเพื่อพัฒนา ศักยภาพของผู้หญิงให้ช่วยตัวเองได้ สอง การได้ทำ� “งาน” ที่มั่นคง และได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม แรงงานหญิงควรได้ค่า จ้างที่เป็นธรรม ได้รับสวัสดิการทางสังคมครบถ้วน งานที่ทำ�ปลอดภัยและมีชั่วโมงการทำ�งานที่เหมาะ สม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าจ้างที่เพียงพอจนแรงงานหญิงไม่ต้องทำ�งานล่วงเวลาให้เพียงพอกับค่าใช้ จ่าย เพื่อให้ผู้หญิงได้พัฒนาตัวเองและมีเวลาอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว สาม ปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดแบบอคติทางเพศต่างๆ ของคนในสังคม ทั้งในระบบ การศึกษา การเมือง ครอบครัว สื่อบันเทิงทุกชนิด และในคนทุกเพศทุกวัย 36 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


5. ปัญหาความรุนแรงเป็นปัญหาของสังคม มิใช่ความรับผิดชอบของเฉพาะภาครัฐ องค์กร พัฒนาเอกชน นักวิชาการ ต้องทำ�งานร่วมกัน มีทิศทางนโยบายไปในทางเดียวกัน มีความร่วมมือ ดัง นั้น หนึ่ง ต้องมีการทำ�งานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่าง ประเทศ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ในการกำ�หนดโยบาย มาตรการ ในภาพรวม ไม่แยกส่วน แต่ ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆในภาครัฐหรือกระทรวงต่างๆ และจากองค์กรพัฒนาเอกชน ในการแก้ไข ปัญหา ซึ่งแม้ว่าในการวิจัยนี้จะเน้นปัญหาความรุนแรง แต่การแก้ไขปัญหานั้นต้องเปลี่ยนแปลงทั้ง ทางเศรษฐกิจ การเมืองกฎหมาย มาตรการกลไกต่างๆทางสังคม สอง ควรมีการแลกเปลี่ยนและทำ�งานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ทั้ง ในระดับการกำ�หนดนโยบาย และ การปฏิบัติงาน สร้างความไว้วางใจระหว่างกัน แบ่งปันทรัพยากร และความชำ�นาญที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน สาม ผู้ปฏิบัติงานในระดับจังหวัด พื้นที่ ต้องมีการดำ�เนินการให้มีการประสานงานกัน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มีการกำ�หนดทิศทางและแนวทางในการดำ�เนินงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาในจังหวัดนั้น 6. นิยามความรุนแรง ฐานคิด และการออกแบบการวิจัย ในแต่ละโครงการวิจัยที่มีความ แตกต่างกัน ทำ�ให้ ข้อมูลขนาดของปัญหาในแต่ละงานวิจัยมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความรุนแรงต้องตระหนักและระมัดระวังในการอ้างอิงหรือใช้ข้อมูล อย่างไรก็ตามขนาดของปัญหาโดยรวมก็ยังมีข้อจำ�กัดในตัวเองอยู่ค่อนข้างมาก เพราะยังขาด มิติและรายละเอียดของปัญหา ดังนั้นจำ�เป็นต้องพิจารณารายละเอียดของปัญหาในแต่ละมิติ รูปแบบ ความซ้ำ�ซ้อนของมิติปัญหาที่เกิดกับแรงงานหญิง รวมถึงผู้กระทำ�รุนแรงซึ่งมีอำ�นาจความสัมพันธ์ที่ แตกต่างกันไปในแต่ละมิติความรุนแรงด้วย

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

37


14

ขอมูลเพิ่มเติม

1. องค์กรและนักวิชาการได้กำ�หนด “นิยามความรุนแรง” ไว้หลากหลาย นิยามเหล่านี้ล้วนวางอยู่บนแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ ความรุนแรงที่แตกต่างกัน เช่น องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำ�นิยามหรือคำ�จำ�กัดความของความรุนแรงไว้ว่า “ความรุนแรง หมายถึงการที่บุคคลจงใจ หรือ เจตนาใช้การบังคับข่มขู่ ทางร่างกายหรืออำ�นาจ ต่อบุคคลอื่น หรือ ต่อกลุ่มคน หรือ ชุมชน หรือแม้แต่กระทำ�ต่อตนเอง ซึ่งการ กระทำ� นั้นจะทำ�ให้เกิด หรือน่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต จิตใจ พัฒนาการที่ล่าช้า หรือเป็นการลิดรอนสิทธิต่อผู้ถูกกระทำ� การกระทำ�นี้หมายรวมถึงการละเลยเพิกเฉย และการกระทำ�ทุกประเภทที่เป็นการทำ�ร้ายหรือทำ�อันตรายต่อร่างกาย เพศสัมพันธ์ และ จิตใจ ซึ่งก็รวมไปถึงการฆ่าตัวตายและการทำ�ร้ายตนเองด้วย” (World Health Organization, 1996) ส่วน Johan Galtung นักสันติภาพชาวนอร์เวย์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงครั้งแรกในปี 1969 ในหนังสือ “Violence, Peace and Peace Research” โดยได้อธิบายให้เห็นความแตกต่างระหว่างความรุนแรงส่วนบุคคลหรือทางตรง (direct or personal violence) กับความรุนแรงทางโครงสร้าง (structural violence) (Galtung, 1975 อ้างใน Catia C. Confortini, 2004) ต่อมา Galtung ได้พัฒนาและเสนอนิยาม ความรุนแรง ว่า “ความรุนแรงคือการขัดขวาง การดูถูก ดูหมิ่นต่อความต้องการพื้นฐานของ มนุษย์ ซึ่งความรุนแรงเข้าไปขัดขวางคุกคามต่อการดำ�เนินชีวิตตามปกติของมนุษย์ ทำ�ให้ความต้องการของมนุษย์อยู่ในระดับต่ำ�กว่า ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์” (Galtung, 1990, p.292) United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) อธิบายว่า หมายถึง การกระทำ�รุนแรงต่อพื้นฐานความ เป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ต่างก็ต้องมีบทบาทแตกต่างกันตามเพศ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นการลิดรอนเกียรติ/ศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ ลดอำ�นาจการตัดสินใจของบุคคล และขัดขวางการพัฒนาของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อทางร่างกาย และ จิตใจ เนื่องมาจากการสนับสนุนให้ผู้หญิงอยู่ในสถานะที่เป็นรอง และถูกกระทำ�จากอำ�นาจและการบังคับควบคุมของผู้ชาย แต่ อย่างไรก็ตาม ทั้งความรุนแรงต่อผู้หญิง (violence against women) และความรุนแรงทางเพศ (sexual violence) ต่างก็เป็นความ รุนแรงรูปแบบหนึ่งของ gender-based violence ด้วย (UNHCR,2003)

2. ประเภทหรือชนิดของความรุนแรง ก็มีการอธิบายหรือแบ่งไว้หลากหลาย เช่น

Galtung วิเคราะห์ความรุนแรงโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

หนึ่ง ความรุนแรงทางตรง คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับบุคคล หรือเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงต่อบุคคล (Galtung, 1990, p.294) โดยเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้อำ�นาจการควบคุม (Galtung, 2002, p.4 อ้างใน Confortini, 2004) และความรุนแรง ทางตรงเกิดขึ้นโดยมีผู้กระทำ�เป็นบุคคลเพียงคนเดียวคอยกดขี่ หรือกระทำ�รุนแรงต่อบุคคลอื่น (Galtung, 1969 อ้างใน Carlsson, 1999) สอง ความรุนแรงทางโครงสร้าง คือ ความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำ�ของสังคมผ่านโครงสร้างต่างๆซึ่งมีความไม่เสมอภาค ส่งผลให้ผู้คนในสังคมได้รับโอกาสและทรัพยากรที่ไม่เสมอภาค ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจใช้อำ�นาจในระดับโครงสร้างสังคม ย่อม ก่อให้เกิดความรุนแรงทางโครงสร้างกับประชาชนในสังคมนั้น (Galtung, 1969, p.171 อ้างใน Confortini, 2004) สาม ความรุนแรงทางวัฒนธรรม คือ ความรุนแรงอันเนื่องจากวัฒนธรรม หรือสัญลักษณ์ของคนในสังคม เช่น ศาสนาและ อุดมการณ์ของสังคม, ภาษาและศิลปะต่างๆ, ศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดความรุนแรง โดยความรุนแรงทาง วัฒนธรรมสามารถเป็นสาเหตุของความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงทางโครงสร้างได้ (Galtung, 1990, p.291) โดย Galtung เสนอว่า ความรุนแรงทั้ง 3 ระดับ คือ ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงทาง วัฒนธรรมนี้มิได้แยกขาดจากกันและเป็นลำ�ดับชั้น แต่เชื่อมโยงเป็นเหตุซึ่งกันและกัน และสามารถสลับสับเปลี่ยนตำ�แหน่งกันได้อีก ด้วย (Galtung, 1990, p.294)

38 ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง


UNHCR ได้กำ�หนดไว้ 5 กลุ่มหลักได้แก่

หนึ่ง ความรุนแรงทางเพศ ได้แก่ การข่มขืน การทารุณทางเพศ การบังคับร่วมเพศ การเอาเปรียบหาประโยชน์ทางเพศ การ บังคับขายบริการทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ

สอง ความรุนแรงทางร่างกาย ได้แก่ การทำ�ร้ายร่างกาย การค้ามนุษย์/ทาส

สาม ความรุนแรงทางจิตใจ (Emotion and psychological violence) ได้แก่ การลดเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การ กักขัง/จำ�กัดขอบเขต สี่ ประเพณีปฏิบัติเกี่ยวกับความรุนแรง (Harmful traditional practice violence) ได้แก่ การขลิบอวัยวะเพศหญิง การบังคับ ให้แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การฆ่าเพื่อเกียรติ/ศักดิ์ศรี การฆ่าตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน/ทารก การละเลยต่อเด็กผู้หญิง ห้า ความรุนแรงทางสังคม-เศรษฐกิจ (Socio-economic violence) ได้แก่ การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง การกีดกันทางสังคม การกีดกันทางกฎหมาย (UNHCR, 2003)

องค์การอนามัยโลก จำ�แนกประเภท ของความรุนแรงได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่

หนึ่ง การกระทำ�ความรุนแรงต่อตนเอง ได้แก่ การฆ่าตัวตาย และการทำ�ร้ายตนเอง

สอง การกระทำ�ความรุนแรงต่อผู้อื่น ได้แก่ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวและคู่ครอง และความรุนแรงในชุมชน

สาม ความรุนแรงในสังคม เป็นความรุนแรงในสังคมที่กระทำ�ความรุนแรงโดยกลุ่มบุคคล หรือโดยรัฐ

ความรุนแรงในชีวิตแรงงานหญิง

39


ISBN 9786163310149


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.