ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

Page 1

ขอความในเอกสารนี้ไมเกี่ยวของกับการสะทอนมุมมองของหนวยงานผูสนับสนุน



ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์ ISBN ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวนพิมพ์ ผู้พิมพ์ พิมพ์ท ี่ ปกและรูปเล่ม สนับสนุน

978-616-331-026-2 รศ.ดร.สุพจน์ เด่นดวง และ รศ.นาถฤดี เด่นดวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พฤษภาคม 2558 1000 เล่ม กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด ธรรม์ เด่นดวง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


คำ�นำ� เอกสารเรื่องครอบครัวเข้มแข็งกับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในสังคมโลกาภิวัตน์ เป็นความตั้งใจของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวที่สำ�คัญ 2 ประการ คือ 1) เพื่อที่จะเผยแพร่ งานวิจัยเกี่ยวกับครอบครัว และ 2) เพื่อนำ�งานวิจัยนั้นมานำ�เสนอในรูปแบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบ ด้วย ชุดข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว เพื่อที่จะทำ�ให้มองเห็นปัญหาและสาเหตุปัญหาของครอบครัว ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำ�แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขึ้นอยู่กับ ระดับภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อความสำ�เร็จของการนำ�นโยบายครอบครัวไปสู่การ ปฏิบัติในที่สุด ข้อมูลเรื่องครอบครัวจากเอกสารฉบับนี้ จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ ปัญหา สาเหตุ และข้อ เสนอแนะที่แตกต่างไปจากงานศึกษาครอบครัวที่เคยพบเห็นอยู่ทั่วไป ด้วยครอบครัวในงานชิ้นนี้เป็น ครอบครัวที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของสังคม ดังนั้น ครอบครัวจึงไม่ใช่สาเหตุ ของปัญหาสังคมดังที่ผ่านมาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ครอบครัวยังเป็นผู้รับผลจากสาเหตุที่มาจากการ เปลี่ยนแปลงและการกระทำ�ทางสังคมอื่นๆ นอกจากนี้ งานชิ้นนี้ยังช่วยให้มองเห็นกลุ่มครอบครัวที่ ประสบปัญหามากน้อยต่างกันอีกด้วย ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ เด่นดวง และรอง ศาสตราจารย์นาถฤดี เด่นดวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เมตตา และอุตสาหะทำ�ให้ความตั้งใจดังกล่าวบรรลุผลอย่างดียิ่ง กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

4

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


คำ�นำ�ผู้เขียน ครอบครัวเป็นพื้นที่รองรับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิด เติบโตจนเข้าสู่วัยชรา จนตาย ชีวิตจะมี ความสุขหรือทุกข์ส่วนหนึ่งวางอยู่บนฐานความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างสมาชิในครอบครัวและสังคม ภายนอก ขณะเดียวกันครอบครัวก็เป็นพื้นฐานสำ�คัญของโครงสร้างสังคมทั้งระบบ ดังนั้นทุกหน่วย งาน องค์กรทั้งในระดับโลก ประเทศ และสังคมย่อยต่างๆจึงพยายามที่จะรักษาความเข้มแข็ง ความ สุข ของครอบครัวทุกระดับไว้ ครอบครัวต่างๆในประเทศไทยมีปัญหาหลากหลายสูงเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา และสมาชิก ครอบครัวซึ่งมีความอ่อนแอ ได้แก่ เด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ มักเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอย่าง รุนแรง เอกสารฉบับนี้ นำ�เสนอภาพปัญหาต่างๆในครอบครัว ภายใต้สังคมที่กำ�ลังมีการเปลี่ยนแปลง และอธิบายสาเหตุของปัญหาครอบครัว ผ่านการทำ� “งาน” ของสามีภรรยาหรือผู้ชายกับผู้หญิง ภาย ใต้ชนชั้น และความเป็นโลกาภิวัตน์ ผู้วิจัยขอขอบคุณ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณ ในการดำ�เนินโครงการวิจัย เรื่อง ครอบครัวเข้ม แข็งกับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในสังคมโลกาภิวัตน์ ในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และสุพรรณบุรี และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของกรมฯทุกท่านในการประสาน งานและขับเคลื่อนให้การวิจัยเสร็จสิ้นไปด้วยดี สุดท้ายขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ สละเวลาให้ข้อมูลที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในการดำ�เนินงานแก่หน่วยงานต่างๆต่อไป สุพจน์ เด่นดวง นาถฤดี เด่นดวง

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

5


สารบัญ หัวข้อเรื่อง คำ�นำ� สารบัญเรื่อง สารบัญตาราง สารบัญภาพ 1. นำ�เรื่อง 2. ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

หน้า 2-3 4-5 6 7 9 13 14 16 16 17 17 18 19 19 23 27 27 28 31 31 32

2.1. ลักษณะครอบครัว 2.2. ปัญหาครอบครัว 2.2.1. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2.2.2. ปัญหาเกี่ยวกับบุตร 2.2.3. ปัญหาผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย 2.2.4. ปัญหาอบายมุขในครอบครัว 2.2.5. ปัญหาสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม 2.2.6. ปัญหาหนี้สิน 2.3. ขนาดและความทับซ้อนของปัญหาครอบครัว 3. สาเหตุของปัญหาครอบครัว 3.1. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยา 3.1.1. งานการผลิต 3.1.2. งานบ้าน 3.2. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหาครอบครัว 3.2.1. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีไม่ช่วยงานบ้าน ครอบครัวมีปัญหามากที่สุด 3.2.2. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีช่วยงานบ้าน 32 ครอบครัวมีปัญหาน้อย 3.2.3. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตวันละแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่าและสามีไม่ช่วยงานบ้าน 32 ครอบครัวก็ยังมีปัญหามาก 3.2.4. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตวันละแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่าและสามีช่วยงานบ้าน 33 ครอบครัวมีปัญหาน้อยที่สุด

6

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


สารบัญ(ต่อ) หัวข้อเรื่อง

หน้า

3.3. ชนชั้น ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับ ปัญหาครอบครัว 3.3.1. ชนชั้น: ผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน 3.3.2. ครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าวันละแปดชั่วโมง และสามีไม่ช่วยงานบ้านมีปัญหาครอบครัวมากที่สุด 3.4. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหาครอบครัว ชนชั้น และพื้นที่โลกาภิวัตน์ 3.4.1. พื้นที่โลกาภิวัตน์: ศูนย์กลาง กึ่งศูนย์กลาง และชายขอบ 3.4.2. ครอบครัวผู้ใช้แรงงานมีปัญหาครอบครัวมากกว่าครอบครัวผู้ประกอบการ ในทุกระดับพื้นที่โลกาภิวัตน์ แต่มีปัญหาในศูนย์กลางโลกาภิวัตน์มากที่สุด 3.5. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหาครอบครัว ชนชั้น และวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์ 3.5.1. วิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์ 3.5.2. ครอบครัวที่มีวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์น้อยมีปัญหามากกว่าครอบครัวที่มีวิถีความคิด แบบโลกาภิวัตน์มาก

34 35 35 38 38 38 43 43 46

4.สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

53 4.1. สรุป 53 4.2. อภิปรายและข้อเสนอแนะ 54 4.2.1.การลดความไม่เป็นธรรมในการแบ่งงานระหว่างหญิงชายในสถาบันทางเศรษฐกิจ 54 4.2.2. การถอดถอนมายาคติหญิงชายแบบดั้งเดิมและชนชั้น ในครอบครัวและสังคม 57 5. บรรณานุกรม 61

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

7


สารบัญตาราง หัวข้อเรื่อง

หน้า

ตารางที่ 1 สถานภาพผู้หญิงในครอบครัว 14 ตารางที่ 2 รายได้ต่อเดือนของสามี/คู่ครองและภรรยา 15 ตารางที่ 3 การประสบความสำ�เร็จในการประกอบอาชีพระหว่างสามี/คู่ครองและภรรยา 15 ตารางที่ 4 ปัญหาครอบครัว 20-22 ตารางที่ 5 ปัญหาในครอบครัวจำ�แนกตามกลุ่ม 24 ตารางที่ 6 ความทับซ้อนของกลุ่มปัญหาในครอบครัว 24 ตารางที่ 7 จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานต่อวัน (งานที่ได้รับค่าจ้างทั้งในเวลาและล่วงเวลาและงานบ้าน) ของภรรยา 29-30 ตารางที่ 8 การช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้านของสามี/คู่ครอง 30 ตารางที่ 9 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 34 ระหว่างสามีภรรยา ตารางที่ 10 ชนชั้นของครอบครัว 35 ตารางที่ 11 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 37 ระหว่างสามีภรรยาและชนชั้น ตารางที่ 12 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 40 ระหว่างสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทพื้นที่ศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ ตารางที่ 13 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 41 ระหว่างสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทพื้นที่กึ่งศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ ตารางที่ 14 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 42 ระหว่างสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน์ ตารางที่15 วิถีความเป็นโลกาภิวัตน์ตามวิถีการดำ�เนินชีวิต การแก้ไขปัญหา การให้เหตุผลต่างๆ 46 ตารางที่ 16 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 48 ระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวผู้ประกอบการตามวิถีความเป็นโลกาภิวัตน์ ตารางที่ 17 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้าน 49 ระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวผู้ใช้แรงงานตามวิถีความเป็นโลกาภิวัตน์

8

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


สารบัญภาพ หัวข้อเรื่อง

หน้า

ภาพที่ 1 ปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามจำ�นวนปัญหา ภาพที่ 2 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยา ภาพที่ 3 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาและชนชั้น ภาพที่ 4 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่ศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ ภาพที่ 5 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่กึ่งศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ ภาพที่ 6 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาและชนชั้น ในบริบทของพื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน์ ภาพที่ 7 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวผู้ประกอบการตามระดับความเป็นโลกาภิวัตน์ ภาพที่ 8 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิต และงานบ้านระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวผู้ใช้แรงงานตามระดับความเป็นโลกาภิวัตน์

ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

23 33 37 39 41 42 48 49

9


10 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


นำ�เรื่อง

1

“ปัญหาครอบครัว” เป็นปัญหาสำ�คัญและมีการเคลื่อนไปตามการเปลี่ยนแปลงสังคมตลอด เวลา ครอบครัวจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ มีทุกข์หรือมีสุข สาเหตุหลักมาจากความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกในครอบครัว หากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่ ซื่อสัตย์ เคารพในความเป็น มนุษย์ไม่ใช้อำ�นาจต่อกัน ครอบครัวก็จะมีความสุข แต่ความสุขหรือความทุกข์ก็มิได้เกิดและคงอยู่ ตลอดไป ครอบครัวอาจเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ในครอบครัวมีการปรับจำ�นวนของสมาชิกและการทำ�หน้าที่ เช่น การหย่าร้างอาจทำ�ให้มีพ่อหรือแม่ เพียงคนเดียวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบภาระในครอบครัว พ่อแม่อาจรักลูกแต่ละคนไม่เท่ากัน พ่ออาจรัก ลูกสาวมากกว่าลูกชาย แม่อาจรักลูกชายมากกว่าลูกสาวตามลักษณะสังคมชายเป็นใหญ่ ลูกคน โตอาจรับภาระเลี้ยงน้อง ลูกคนกลางไม่ได้รับความใส่ใจ ลูกต้องพรากจากพ่อแม่เนื่องจากการย้าย ถิ่นทำ�งาน ความรุนแรง และแม้แต่ความเจ็บป่วยและความตายของสมาชิกครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ครอบครัวไม่ได้อยู่กันตามลำ�พังแต่อยู่ในสังคมที่ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยระบบโลกา ภิวัตน์ ปัญหาครอบครัวจึงซับซ้อนและต้องการการนำ�เสนอปัญหาในหลายมิติ แนวความคิดที่หลาก หลาย และด้วยความละเอียดอ่อนในหลายวิธีการศึกษา “ปัญหาครอบครัว” ยังเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ เนื่องด้วยเมื่อครอบครัวไม่มีความ สุข เช่น เด็กในครอบครัวที่ถูกทอดทิ้งอาจต้องเร่รอนและกลายเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่ และอาจถึงขั้น ประกอบอาชญากรรมต่างๆ ผู้หญิงที่ถูกกระทำ�รุนแรงจากสามี อาจตอบโต้ปัญหาด้วยความรุนแรง ผู้หญิงอาจต้องดิ้นรนต่อสู้ต่างๆเพื่อความอยู่รอดของตนเองและลูก นำ�ไปการสู่ประกอบอาชญากรรม ผู้สูงอายุอาจถูกทอดทิ้ง เป็นต้น

นำ�เรื่อง

11


ปัญหาครอบครัวถูกกล่าวถึงและได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด ทั้งการระดมทรัพยากร การ กำ�หนดนโยบายต่างๆ แต่แนวโน้มปัญหาจะเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่เน้นการแก้ไขที่ตัวครอบครัว หรือ พฤติกรรมบุคคลต่างๆในครอบครอบครัว แต่ไม่ได้เชื่อมโยงปัญหาครอบครัวกับสถาบันทาง สังคมอื่นๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา ประเพณี อุดมการณ์หรือคตินิยมอื่นๆที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความไม่เป็นธรรมต่างๆในสังคม รวมถึงการหลั่งไหลของโลกาภิวัตน์ที่มี ผลทั้งทางบวกและลบต่อสังคม เอกสารฉบับนี้จัดทำ�จากข้อมูล โครงการวิจัยเรื่อง ครอบครัวเข้มแข็งกับความขัดแย้งระหว่าง งานกับครอบครัวในสังคมโลกาภิวัตน์ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยโดยการสำ�รวจสุ่มตัวอย่างครอบครัว จำ�นวน 3,612 ครอบครัว ที่จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และสุพรรณบุรี ในแต่ละจังหวัด ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนคือ หนึ่ง พื้นที่ศูนย์กลางของโลกาภิวัตน์ เช่น เทศบาลนคร สอง พื้นที่ ชายขอบ เช่น องค์การบริหารส่วนตำ�บลที่อยู่ห่างไกล และ สาม พื้นที่กึ่งศูนย์กลาง เช่น เทศบาล ตำ�บลที่เป็นที่ตั้งของอำ�เภอ โดยการเลือกตัวอย่างครอบครัวที่มีลูกอยู่ในครอบครัว เพื่อให้เห็น ลักษณะปัญหาครอบครัวที่รอบด้าน และให้ผู้หญิงซึ่งมีบทบาทเป็นภรรยาหรือคู่ครองของหัวหน้า ครอบครัวหรือเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ตอบคำ�ถามต่างๆแทนสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด เอกสารฉบับนี้จะนำ�เสนอสถานการณ์ปัญหาในครอบครัว และอธิบายว่า “งาน” เป็นสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวอย่างไรในสังคมแบบโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้ทำ�ให้ครอบครัวชนชั้นต่างๆใน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจอย่างมาก พร้อมกับเสนอแนะให้แก้ไขปัญหาที่เกิดจาก งาน และสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆได้ตระหนักว่า นโยบายหรือการดำ�เนินการปฏิบัติการต่างๆ นั้น ล้วนส่งผลให้ครอบครัวมีทุกข์หรือสุข

12 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


นำ�เรื่อง

13


14 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

2

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวด้วย อาทิ จากลักษณะครอบครัวขยายพึ่งพาตัวเอง มีความผูกพันแน่นแฟ้น หรือเป็นครอบครัวที่มีผู้ชายเป็น สามีและผู้นำ�ครอบครัว มาเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวที่แตกต่างจากความหมายหรือคตินิยม แบบดั้งเดิม เช่น ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่คนเดียวทำ�หน้าที่เลี้ยงดูลูก ครอบครัวที่มีเฉพาะปู่ย่าตายาย กับหลาน หรือครอบครัวที่จำ�เป็นต้องทอดทิ้งผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิดเพื่อไปทำ�งานหรือประกอบอาชีพ ในถิ่นอื่น เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเป็นครอบครัวในแบบที่เป็นคตินิยมทั้งหลาย กำ�ลังล่ม สลายหรือจางหายไปจากสังคม ครอบครัวเหล่านี้อาจเผชิญหน้ากับความทุกข์หรือความสุขก็ได้เช่น กัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการต้านแรงเสียดทานทางสังคม และสามารถจัดการกับปัญหาและ ความเป็นโลกาภิวัตน์ได้ในระดับใด อย่างไร นั่นเอง นอกจากปัญหาโครงสร้างของครอบครัวที่เปลี่ยนไปสู่ความหลากหลายแล้ว ความเป็นโลกาภิ วัตน์ ชนชั้น ความขัดแย้งในการทำ�งานระหว่างหญิงและชาย ยังเข้ามากำ�หนดหรือสร้างวิกฤติให้ ครอบครัว ทำ�ให้เกิดปัญหาต่างๆกับบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะบุคคลที่อ่อนแอ ไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้หรือมีทรัพยากรน้อย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และ ผู้หญิง

ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

15


2.1. ลักษณะครอบครัว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดกลาง มีจำ�นวนสมาชิกเฉลี่ยประมาณ 4.27 คนต่อครอบครัว ส่วนครอบครัวขนาดเล็กมากมีสมาชิกหนึ่งถึงสองคนมีค่อนข้างน้อย และครอบครัวมีจำ�นวนบุตรเฉลี่ย 2.17 คนต่อครอบครัว สำ�หรับสถานภาพการเป็นหัวหน้าครอบครัว ส่วนใหญ่ผู้ชายเป็นหัวหน้า ครอบครัว แต่ครอบครัวที่มีผู้หญิงเป็นหัวหน้าครอบครัวก็มีมากถึงร้อยละ 24.6 (ตารางที่ 1) ในด้านเศรษฐกิจและการศึกษา ครอบครัวทั้งหมดมีอาชีพกระจายอยู่ในทุกภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรและการบริการ ในภาพรวมสามีมีรายได้ต่อเดือนสูงกว่าภรรยาค่อนข้าง มาก คือ ภรรยามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 13,301.32 บาท และสามีมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 17,412.70 บาท (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 1 สถานภาพผูหญิงในครอบครัว สถานภาพผูหญิงในครอบครัว หัวหนาครอบครัวเดี่ยว หัวหนาครอบครัวขยาย ภรรยาของหัวหนาครอบครัวเดี่ยว ภรรยาของหัวหนาครอบครัวขยาย รวม

16 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

รอยละ 18.3 6.3 60.9 14.5 100.0 (3,606)


ตารางที่ 2 รายไดตอเดือนของสามี/คูครองและภรรยา รายไดตอเดือน นอยกวาหรือเทากับ 3,000 บาท 3,001-6,000 บาท 6,001-9,000 บาท 9,001-12,000 บาท 12,001-15,000 บาท มากกวา 15,000 บาท รวม รายไดตอเดือนเฉลี่ย

สามี 6.0 13.5 22.8 17.3 14.3 26.2 100.0 (2,799) 17,412.70 µ

ภรรยา 9.2 24.3 25.3 11.0 11.2 19.0 100.0 (3,561) 13,301.32 µ

ตารางที่ 3 การประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพระหวางสามี/คูครองและภรรยา การประสบสำเร็จในการประกอบอาชีพระหวางสามีและภรรยา รอยละ 29.0 สามี/คูครองดีกวาภรรยา ภรรยาดีกวาสามี/คูครอง 8.5 ภรรยาและสามี/คูครองมีความสำเร็จใกลเคียงกัน 59.0 ภรรยาและสามี/คูครองไมประสบความสำเร็จใกลเคียงกัน 3.5 100.0 (3,561) รวม

ครอบครัวร้อยละ 53.7 เป็นครอบครัวที่รายได้ของสามีและรายได้ของภรรยาใกล้เคียง กัน ส่วนครอบครัวที่สามีมีรายได้มากกว่าภรรยามีอยู่ร้อยละ 35.4 และครอบครัวที่ผู้หญิงมีรายได้ มากกว่าสามีมีเพียงร้อยละ 10.9 (สุพจน์,นาถฤดี, 2558) นอกจากนี้ ครอบครัวส่วนใหญ่มีแนวโน้ม ที่สามีจะมีระดับการศึกษาในทุกระดับสูงกว่าภรรยาเล็กน้อย และแม้ว่าครอบครัวร้อยละ 59.0 ระบุ ว่า ทั้งภรรยาและสามีมีความสำ�เร็จในการประกอบอาชีพพอๆกัน แต่ครอบครัวร้อยละ 29.0 เป็น ครอบครัวที่สามีประสบความสำ�เร็จในการประกอบอาชีพมากกว่าภรรยา (ตารางที่ 3)

ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

17


2.2. ปัญหาครอบครัว จากปัญหาต่างๆในครอบครัวจำ�นวน 50 ปัญหา สามารถจัดกลุ่มปัญหาเหล่านี้เป็นกลุ่มใหญ่ ได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ 2.2.1.ปั ญ หาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสมาชิ ก ในครอบครั ว และปั ญ หาความรุ น แรงใน ครอบครัว ครอบครัวส่วนใหญ่เริ่มต้นสร้างชีวิตคู่จากการแต่งงานอยู่กินระหว่างสามีภรรยาด้วยความ รักใคร่ ชอบพอ ผู้หญิงหรือภรรยาส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นภรรยาคนเดียว และไม่มีปัญหาการ นอกใจระหว่างคู่สมรส แต่ครอบครัวบางส่วนก็มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นฐานความรัก ความอบอุ่นใน ครอบครัว เช่น มีการหย่าร้างระหว่างสามีภรรยา เป็นม่ายเนื่องจากการตายของคู่ครอง นอกจาก นี้ยังมีการทะเลาะเบาะแว้ง และภรรยาหรือผู้หญิงเคยถูกทำ�ร้ายร่างกายทั้งจากสามีปัจจุบันและอดีต สามี ซึ่งรวมถึงการนอกใจระหว่างสามีภรรยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนอกใจของสามี ครอบครัวบาง ส่วนหย่าร้างหรือเป็นม่ายเนื่องจากสามีหรือคู่ครองเสียชีวิต ปัญหาสำ�คัญได้แก่ การขัดแย้งและไม่ได้อยู่กินด้วยกันร้อยละ 20.5 ครอบครัวที่สามีนอกใจ ภรรยาร้อยละ 8.1 ปัญหาภรรยาถูกสามีกระทำ�รุนแรง เช่น การด่าว่าอย่างเสียๆหายๆร้อยละ 12.9 การไม่แบ่งเบาภาระงานบ้านของสามีหรือคู่ครอง ร้อยละ 40 การปฏิเสธไม่ให้เงินเมื่อร้องขอร้อยละ 15.4 เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อแม่กับบุตรนั้นมีปัญหาค่อนข้างมากและรุนแรง โดยเฉพาะปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งทั่วไป นอกจากนี้บุตรยังถูกลงโทษด้วยความรุนแรงและผู้ ลงโทษมีการใช้อารมณ์สูง โดยสรุป ปัญหาสำ�คัญ ได้แก่ การที่คนในบ้านทะเลาะกันร้อยละ 16 การลงโทษบุตรด้วยการด่าว่าอย่างเสียๆหายๆร้อยละ 72.6 การลงโทษลูกด้วยการเฆี่ยนตีอย่าง รุนแรงร้อยละ 71.8 การลงโทษลูกด้วยอารมณ์ความโกรธร้อยละ 47.3 เป็นต้น

18 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


2.2.2. ปัญหาเกี่ยวกับบุตร

ปัญหากลุ่มนี้เป็นปัญหาต่างๆที่เกิดกับเด็กหรือบุตรในครอบครัวซึ่งมีปัญหาหลากหลาย มาก ทั้งปัญหาการไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัว ปัญหาการศึกษาและปัญหาสุขภาพ ปัญหาที่เด็ก ก่ออาชญากรรม การดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติดอาทิ บุตรไม่เติบโตตามวัยในช่วงปฐมวัยร้อยละ 3.3บุตรเคยได้รับอุบัติเหตุหรือถูกกระทำ�รุนแรงขณะที่เป็นเด็กร้อยละ 14.7 การที่บุตรไม่ได้รับนมแม่ ร้อยละ 8.4 การที่ไม่ได้ดูแลบุตรในช่วงที่บุตรเป็นเด็กเล็กร้อยละ 7.9 เวลาที่ให้กับบุตรต่อวันน้อยร้อย ละ 60.5 บุตรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 27.7 บุตรไม่เชื่อฟังคำ�สั่งสอนของพ่อแม่ร้อยละ 6.5 บุตรต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 13.2 บุตรออกจากโรงเรียนโดยที่ยังไม่จบ การศึกษาตามที่ต้องการร้อยละ 5.3 เป็นต้น

2.2.3. ปัญหาผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย

ปัญหาหลักคือ ครอบครัวต้องดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ในบางครอบครัวที่มีต้นทุน หรือทรัพยากรในครอบครัวสูงอาจไม่เป็นปัญหามากนัก แต่สำ�หรับครอบครัวของแรงงานที่มีรายได้ น้อย ครอบครัวที่มีปัญหาอื่นๆมาก ก็จะเป็นปัญหาที่รุนแรงและต้องการความช่วยเหลืออย่างจริงจัง อาทิ การมีผู้พิการที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดร้อยละ 2.6 การมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังและมีปัญหาสุขภาพจิตที่ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดร้อยละ 1.2 และการมีผู้สูงอายุในครอบครัว ร้อยละ 21.5 (อาจเป็นผู้สูงอายุ แข็งแรงหรือผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งครอบครัวมีปัญหารับภาระมากที่สุด บางคนอาจยังแข็ง แรงดูแลตนเองได้ บางคนก็ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด และบาง ครอบครัวก็อาจมีผู้สูงอายุติดเตียง ซึ่งพบว่า ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุแข็งแรงดูแลตนเองได้ร้อยละ 14.8 ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุแม้ยังแข็งแรงแต่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้นร้อยละ 4 ของครอบครัว ทั้งหมด ครอบครัวที่ผู้สูงอายุซึ่งต้องมีการดูแลใกล้ชิดร้อยละ 1.6 ของครอบครัวทั้งหมด และ ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุติดเตียงร้อยละ 1

ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

19


2.2.4. ปัญหาอบายมุขในครอบครัว

2.2.4.1.การเล่นหวย ลอตเตอรี่ การพนันต่างๆของสามี/คู่ครองและภรรยา

ปัญหาอบายมุขนี้ครอบคลุมทั้งสามีและภรรยา พบว่ามีการเล่นหวย ลอตเตอรี่ และการพนัน ต่างๆในครอบครัวค่อนข้างมาก โดยภรรยาหรือผู้หญิงเล่นหวยใต้ดินมากกว่าสามีหรือผู้ชาย และ ภรรยาเล่นบ่อยหรือถี่กว่าสามี แต่สามีเล่นในวงเงินสูงกว่าภรรยา และหวยใต้ดินเป็นการพนันที่มีการ เล่นมากที่สุด ในการพนันต่างๆที่เล่น สามีเล่นหวยใต้ดินมากที่สุดร้อยละ 58.7 เล่นลอตเตอรี่ร้อยละ 22.8 เล่นหวยใต้ดิน/ลอตเตอรี่ร้อยละ 8.4 เล่นไพ่ร้อยละ 2.6 และอื่นๆร้อยละ 5.2 นอกจากนี้สามีร้อยละ 2.3 เล่นการพนันทุกชนิดทั้งในบ่อนและนอกบ่อน ส่วนภรรยาหรือผู้หญิงที่นิยมเล่นหวยใต้ดินมาก ที่สุดคือ ร้อยละ 72.7 เล่นลอตเตอรี่ร้อยละ 15.6 เล่นหวยใต้ดิน/ลอตเตอรี่ร้อยละ 10.1 ส่วนการ พนันอื่นๆมีสัดส่วนน้อยมาก ผู้ชายหรือสามีใช้เงินเล่นหวย ลอตเตอรี่ การพนันต่างๆโดยเฉลี่ยคือ 694.48 บาทต่อเดือน ส่วนผู้หญิงเล่นน้อยกว่าสามีเล็กน้อยคือ 561.87 บาทต่อเดือน โดยสามีหรือคู่ครองใช้เงินเล่นการ พนันตั้งแต่ 500 บาทจนถึงมากกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 24.5 ส่วนผู้หญิงหรือภรรยาใช้เงินเล่นการ พนันตั้งแต่ 500 บาทจนถึงมากกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 22.1

2.2.4.2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในสามี/คู่ครอง ภรรยา และบุตร

สามีหรือคู่ครองเป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลักในครอบครัวคือ มีครอบครัวที่สามีดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 61.6 ส่วนในครอบครัวที่ผู้หญิงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ร้อยละ 14.7 ของครอบครัวทั้งหมด นอกจากนี้บุตรที่ยังอยู่ในครอบครัวก็ดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็นร้อยละ 27.7

20 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ส่วนการสูบบุหรี่ สามีหรือคู่ครองสูบบุหรี่ถึงร้อยละ 53.4 ของครอบครัวทั้งหมด และมี ครอบครัวเพียงร้อยละ 2.5 ที่ภรรยาหรือผู้หญิงสูบบุหรี่ แต่การสูบบุหรี่ของผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะสูบ จำ�นวนมวนในแต่ละสัปดาห์สูงค่อนข้างมาก เช่น ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มากกว่าสัปดาห์ละ 35 มวน มีถึง ร้อยละ 38.2 ของผู้หญิงที่สูบบุหรี่ทั้งหมด

2.2.5. ปัญหาสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม

บ้านเป็นพื้นที่สำ�คัญที่ทำ�ให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขหรือความทุกข์ และอาจเป็นสาเหตุที่นำ�ไป สู่ปัญหาอื่นๆ เช่น สุขภาพ ความปลอดภัย ปัญหาเหล่านี้ เช่น การมีบ้านที่คับแคบเกินไปสำ�หรับ จำ�นวนคนในบ้านร้อยละ 16.7 การมีปัญหามลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้านร้อยละ 44.3 การมีปัญหาขยะรบกวนความสุขร้อยละ 27 การมีเรื่องทะเลาะบาดหมางกับเพื่อนบ้านร้อยละ 5.1

2.2.6. ปัญหาหนี้สิน

ครอบครัวมีภาระหนี้สินร้อยละ 70.2 ของครอบครัวทั้งหมดและโดยเฉลี่ยครอบครัวมีภาระ หนี้สินเฉลี่ย 277,262.32 บาท ในครอบครัวที่มีหนี้สิน ครอบครัวร้อยละ 2.5 เคยถูกข่มขู่หรือคุกคาม จากเจ้าหนี้ (ตารางที่ 4) สำ�หรับครอบครัวที่เคยถูกขู่หรือคุกคามร้อยละ 64.5 ถูกข่มขู่ 1-3 ครั้ง และร้อยละ 35.5 เคยหลายครั้งหรือบ่อยมาก ส่วนรูปแบบการถูกข่มขู่หรือคุกคามที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ อย่างรุนแรงเสียๆหายๆทำ�ให้รู้สึกอับอายร้อยละ 58.1 รองลงมาคือ การโทรศัพท์มาข่มขู่ที่บ้าน หรือที่ทำ�งานร้อยละ 16.1 การโทรศัพท์ตามหรือเร่งให้ไปชำ�ระหนี้ร้อยละ 16.1 การทำ�ลายหรือ แย่งชิงทรัพย์สินสิ่งของภายในบ้านหรือร้านค้าร้อยละ 3.2 การโทรศัพท์มาข่มขู่ที่บ้านหรือที่ทำ�งาน และด่าทออย่างรุนแรงเสียๆหายๆทำ�ให้รู้สึกอับอายร้อยละ 3.2 และส่งใบแจ้งมาเตือนร้อยละ 3.2 (สุพจน์,นาถฤดี,2558)

ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

21


ตารางที่ 4 ปญหาครอบครัว ปญหาครอบครัว

ปญหาครอบครัว

รอยละ

จำนวน

60.0

100.0

3,612

68.2

31.8

100.0

292

20.5

79.5

100.0

3,612

8.1

91.9

100.0

3,609

5.7

94.3

100.0

3,605

1.7

98.3

100.0

3,612

0.3

99.7

100.0

3,609

16.0

84.0

100.0

3,612

15.4

84.6

100.0

531

12.9

87.1

100.0

3,609

4.2

95.8

100.0

3,609

3.7

96.3

100.0

3,609

0.7

99.3

100.0

3,609

0.7

99.3

100.0

3,609

0.2

99.8

100.0

3,609

0.2

99.8

100.0

3,609

72.6

27.4

100.0

1,670

71.8

28.2

100.0

1,670

47.3

52.7

100.0

3,529

60.5

39.5

100.0

3,529

มีปญหา

ไมมีปญหา

40.0

ปญหาความสัมพันธระหวางสมาชิกในครอบครัว 1. การไมแบงเบาภาระงานบานของสามี/คูครอง 2. การรับรูปญหาการนอกใจระหวางพอแมของบุตร 3. การที่ไมไดอยูกินกับสามี/คูครอง เชน แยกกันอยูหรือขัดแยงหรือตาย 4. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันนอกใจหรือมีเพศสัมพันธกับบุคคลอื่น 5. การแตงงานหรืออยูกินระหวางสามีภรรยาที่ไมเต็มใจหรือถูกบังคับ 6. การเปนภรรยาหลวงหรือภรรยานอย 7. การนอกใจหรือมีเพศสัมพันธกับบุคคลอื่นของภรรยา ปญหาความรุนแรงในครอบครัว 8. การที่สมาชิกในบานทะเลาะเบาะแวงกัน 9. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันปฏิเสธไมใหเงินเมื่อรองขอ 10. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันดุดาอยางเสียๆหายๆ 11. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทอดทิ้งเพิกเฉย 12. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทำรายรางกาย 13. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันรีดไถเงินทองหรือขโมยของมีคาไปขาย 14. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันขมขืนหรือบังคับมีเพศสัมพันธ 15. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทำรายรางกายเนื่องดวยปญหาการเงิน 16. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันบังคับใหทำแทง 17. การลงโทษลูกอยางรุนแรงดวยการดาเสียๆหายๆ 18. การลงโทษลูกดวยการเฆี่ยนตีอยางรุนแรง กดวยอารมณ ความโกรธเมื ่อลูกงคมโลกาภิ ทำผิด วัตน์ ดแย้การลงโทษลู งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครั ว” ในสั 22 ปัญหาครอบครัวกับความขั19. ปญหาเกี่ยวกับบุตร


15.4

84.6

100.0

531

12.9

87.1

100.0

3,609

4.2

95.8

100.0

3,609

3.7

96.3

100.0

3,609

0.7

99.3

100.0

3,609

0.7

99.3

100.0

3,609

0.2

99.8

100.0

3,609

0.2

99.8

100.0

3,609

72.6

27.4

100.0

1,670

71.8

28.2

100.0

1,670

47.3

52.7

100.0

3,529

60.5

39.5

100.0

3,529

27.7

72.3

100.0

3,529

14.7

85.3

100.0

3,529

13.2

86.8

100.0

3,529

8.4

91.6

100.0

3,529

25. การไมไดใหการดูแลบุตรในชวงที่บุตรเปนเด็กเล็ก

7.9

92.1

100.0

3,529

26. การไมเชื่อฟงคำสั่งพอแมของบุตร

6.5

93.5

100.0

3,529

27. การออกจากโรงเรียนหรือจบการศึกษาในระดับที่บุตรยังไมตองการ

5.3

94.7

100.0

3,529

3.3

96.7

100.0

3,529

3.3

96.7

100.0

3,303

1.5

98.5

100.0

3,529

0.7

99.3

100.0

3,529

0.3

99.7

100.0

3,529

33. การมีผูสูงอายุในครอบครัว

20.5

79.5

100.0

3,612

34. การมีผูพิการในครอบครัวที่ตองดูแลอยางใกลชิด

2.6

97.4

100.0

3,612

35. การมีผูที่ปวยเรื้อรังและมีปญหาสุขภาพจิตที่ตองดูแลอยางใกลชิด

1.2

98.8

100.0

3,612

61.6

38.4

100.0

27.7

72.3

100.0

3,529

14.7

85.3

100.0

3,612

9. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันปฏิเสธไมใหเงินเมื่อรองขอ 10. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันดุดาอยางเสียๆหายๆ 11. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทอดทิ้งเพิกเฉย 12. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทำรายรางกาย 13. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันรีดไถเงินทองหรือขโมยของมีคาไปขาย 14. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันขมขืนหรือบังคับมีเพศสัมพันธ 15. การถูกสามี/คูครองคนปจจุบันทำรายรางกายเนื่องดวยปญหาการเงิน 16.่ 4การถู สามี/คูครองคนป ตารางที ปัญกหาครอบครั ว (ต่อ) จจุบันบังคับใหทำแทง 17. การลงโทษลูกอยางรุนแรงดวยการดาเสียๆหายๆ 18. การลงโทษลูกดวยการเฆี่ยนตีอยางรุนแรง 19. การลงโทษลูกดวยอารมณความโกรธเมื่อลูกทำผิด ปญหาเกี่ยวกับบุตร 20. การมีเวลาใหกับบุตรในแตละวันนอย 21. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของบุตร 22. การไดรับอุบัติเหตุหรือความรุนแรงของบุตรขณะเปนเด็ก 23. การที่บุตรตองออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นประถม 24. การที่บุตรไมไดรับ “นมแม”

28. การเติบโตไมเปนไปตามวัยของบุตรในชวงปฐมวัย 29. การที่บุตรมีผลการเรียนไมดี 30. การติดยาเสพติดของบุตร 31. บุตรตั้งครรภไมพรอมหรือไมตองการขณะเปนนักเรียนหรือนักศึกษา 32. การประกอบอาชญากรรมของบุตร ปญหาผูที่ชวยเหลือตนเองไมไดหรือชวยเหลือตนเองไดนอย

ปญหาอบายมุขในครอบครัว 36. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของสามี/คูครอง 37. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของบุตร

1,798 วและปัญหาครอบครัว ครอบครั

23


3.3

96.7

100.0

3,529

3.3

96.7

100.0

3,303

1.5

98.5

100.0

3,529

0.7

99.3

100.0

3,529

0.3

99.7

100.0

3,529

33. การมีผูสูงอายุในครอบครัว

20.5

79.5

100.0

3,612

34. การมีผูพิการในครอบครัวที่ตองดูแลอยางใกลชิด

2.6

97.4

100.0

3,612

35. การมีผูที่ปวยเรื้อรังและมีปญหาสุขภาพจิตที่ตองดูแลอยางใกลชิด

1.2

98.8

100.0

3,612

61.6

38.4

100.0

1,798

27.7

72.3

100.0

3,529

14.7

85.3

100.0

3,612

39. การเลนหวย ลอตเตอรี่ การพนันตางๆของภรรยา

64.1

35.9

100.0

1,798

40. การเลนหวย ลอตเตอรี่ การพนันตางๆของสามี/คูครอง

43.6

56.4

100.0

1,798

53.4

46.6

100.0

1,798

2.5

97.5

100.0

3,612

44.3

55.7

100.0

790

27.0

73.0

100.0

3,612

21.9

78.1

100.0

3,612

16.7

83.3

100.0

3,612

5.1

94.9

100.0

3,612

4.4

95.6

100.0

3,612

70.2

29.8

100.0

1,814

2.5

97.5

100.0

1,262

28. การเติบโตไมเปนไปตามวัยของบุตรในชวงปฐมวัย 29. การที่บุตรมีผลการเรียนไมดี 30. การติดยาเสพติดของบุตร 31. บุตรตั้งครรภไมพรอมหรือไมตองการขณะเปนนักเรียนหรือนักศึกษา 32. การประกอบอาชญากรรมของบุตร ปญหาผูที่ชวยเหลือตนเองไมไดหรือชวยเหลือตนเองไดนอย

ตารางที่ 4 ปัญหาครอบครัว (ต่อ)

ปญหาอบายมุขในครอบครัว 36. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของสามี/คูครอง 37. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของบุตร 38. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของภรรยา

41. การสูบบุหรี่ของสามี/คูครอง 42. การสูบบุหรี่ของภรรยา ปญหาสภาพบานและสิ่งแวดลอม 43. การมีปญหามลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมใกลบาน 44. การมีปญหาเกี่ยวกับการกำจัดขยะจนทำใหรบกวนความสุข 45. การมีโรงงานอุตสาหกรรมใกลบาน 46. การมีปญหาบานคับแคบเกินไปสำหรับจำนวนคนในบาน 47. การทะเลาะและมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนบาน 48. การเคยถูกโจรกรรม ปญหาหนี้สิน 49. การมีหนี้สินในครอบครัว 50. การถูกทวงหรือคุกคามจากเจาหนี้

24 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


2.3. ขนาดและความทับซ้อนของปัญหาครอบครัว จากครอบครัวทั้งหมด พบว่ามีครอบครัวที่ไม่มีปัญหาครอบครัวใดๆทั้ง 50 ข้อมีเพียงร้อยละ 1.2 ส่วนครอบครัวที่มีปัญหาน้อย( 1-3 ปัญหา) ร้อยละ 20.9 ปัญหาในระดับปานกลาง (4-9 ปัญหา) มีร้อยละ 54 และครอบครัวที่มีขนาดปัญหามาก คือ ตั้งแต่ 10 ปัญหาขึ้นไปมีสัดส่วนร้อยละ 24 (ภาพที่1) ในด้านกลุ่มปัญหา พบว่าครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับบุตรมากที่สุด และรองลงมาได้แก่ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาอบายมุขในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาสภาพบ้านและ สิ่งแวดล้อม ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว และปัญหาผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ตามลำ�ดับ (ตารางที่ 5) ในด้านความทับซ้อนของปัญหาหรือการที่ครอบครัวมีปัญหากระจายอยู่หลายกลุ่มหรือทับ ซ้อนกัน พบว่าครอบครัวที่มีความทับซ้อนของปัญหาน้อย (ไม่มีปัญหาเลยหรือมีปัญหาน้อยกว่า 1 กลุ่ม) มีเพียงร้อยละ 8.3 ครอบครัวที่มีปัญหาทับซ้อนปานกลาง (มีปัญหาระหว่าง 2-4 กลุ่ม) มี สัดส่วนร้อยละ 62.8 และครอบครัวที่มีปัญหาหลายกลุ่มมาก (ปัญหาตั้งแต่ 5-7 กลุ่ม) ร้อยละ 29.0 (ตารางที่ 6) ภาพที่ 1 ปญหาครอบครัวจำแนกตามจำนวนปญหา

ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

25


ตารางที่ 5 ปญหาครอบครัวจำแนกตามกลุม ปญหาครอบครัวจำแนกตามกลุม 1. กลุมปญหาเกี่ยวกับบุตร 2. กลุมปญหาหนี้สิน 3. กลุมปญหาอบายมุขในครอบครัว 4. กลุมปญหาความรุนแรงในครอบครัว 5. กลุมปญหาสภาพบานและสิ่งแวดลอม 6. กลุมปญหาความสัมพันธระหวางสมาชิกในครอบครัว 7. กลุมปญหาผูที่ชวยเหลือตนเองไมไดหรือชวยเหลือตนเองไดนอย

ไมมี

นอย

มาก

รวม

18.4

36.6

45.1

100.0 (3,529)

29.8

68.5

1.7

100.0 (1,798)

36.3

20.7

43.0

100.0 (3,612)

41.6

27.7

30.7

100.0 (3,612)

46.5

30.5

23.0

100.0 (3,612)

53.5

24.8

21.8

100.0 (3,612)

77.4

20.9

1.6

100.0 (3,612)

ตารางที่ 6 ความทับซอนของกลุมปญหาครอบครัว ความทับซอนของกลุมปญหาครอบครัว ไมมีปญหาครอบครัวเลย มีปญหาครอบครัว 1 กลุม มีปญหาครอบครัว 2 กลุม

รอยละ 1.2 7.1 17.1

มีปญหาครอบครัว 3 กลุม

21.7

มีปญหาครอบครัว 4 กลุม

24.0

มีปญหาครอบครัว 5 กลุม มีปญหาครอบครัว 6 กลุม มีปญหาครอบครัวทั้ง 7 กลุม รวม

26 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

18.5 8.8 1.7 100.0 (3,612)


ครอบครัวและปัญหาครอบครัว

27


28 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


สาเหตุของปัญหาครอบครัว

3

3.1. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยา สาเหตุหลักของวิกฤตหรือปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้น มาจากการแบ่ง “งาน” ระหว่างสามีและ ภรรยาที่มีความขัดแย้งไม่ลงตัว และจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานนอกบ้านของภรรยาหรือผู้หญิงที่มาก เกินไป จนทำ�ให้ทั้งสามีและภรรยา ไม่สามารถเป็น “พ่อ” “แม่” ให้กับลูกและพ่อแม่ตามแบบอย่าง อุดมคติหรือตามที่เคยเป็นหรือถูกคาดหวังจากสังคมอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต แต่ต้องทิ้งความเป็น แม่ พ่อ และมอบหมายให้บุคคล สถาบันอื่นๆทำ�หน้าที่แทน เช่น การพึ่งพา พ่อแม่ ญาติพี่น้อง แต่ หากไม่สามารถหาบุคคลเหล่านี้มาทำ�หน้าที่แทนได้ ก็อาจต้องจ้างบุคคลอื่นหรือจ่ายค่าบริการให้กับ องค์กรที่จัดตั้งขึ้น เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานบริบาลผู้สูงอายุ เป็นต้น และเมื่อไม่สามารถจัดการได้ ก็อาจมีการทอดทิ้ง ละเลย หรือปรับเปลี่ยนจากการดูแลโดยบุคคลเป็นวัตถุ สิ่งของแทน จากแบ่งงานระหว่างหญิงและชายหรือสามีและภรรยาในแบบดั้งเดิม ซึ่งมอบหมายให้สามี ทำ�งานนอกบ้านซึ่งได้รับค่าจ้าง และให้ภรรยารับผิดชอบทำ�งานในบ้าน ดูแลทุกข์สุขของบุคคลต่างๆ ในครอบครัว แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป สามีภรรยาต่างต้องช่วยกันทำ�มาหากิน และต้องทำ�งาน หนัก ใช้จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานในแต่ละวันสูง หรือทำ�งานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับ ภาระค่าใช้จ่ายและการบริโภคที่ถูกกระตุ้นด้วยการตลาด แต่การทำ�งานในบ้านก็ยังคงถูกมอบหมาย ให้ภรรยาหรือผู้หญิง และภรรยาก็ยังต้องทำ�งานบ้าน ซึ่งทำ�ให้ “ความขัดแย้ง” ในการทำ�งานเกิดขึ้น ทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในงานการผลิต ซึ่งต้องทำ�งานยาวนานในแต่ละวันแต่ได้ค่าจ้างน้อยหรือไม่ เพียงพอต่อการใช้จ่าย และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการรับภาระงานบ้านระหว่างสามีภรรยา และ ไม่มีการแบ่งเบาหรือช่วยเหลือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลสำ�คัญต่อการมีเวลากับครอบครัวและ การเป็น “พ่อ” “แม่” “สามี” และ “ภรรยา” ในครอบครัวและนำ�ไปสู่ปัญหาครอบครัวในลักษณะ อื่นๆด้วย

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

29


สำ�หรับงานบ้านนั้น ไม่ได้มีความหมายกับครอบครัวในฐานะเป็น “งาน” เท่านั้น แต่งาน บ้านเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ว่าเป็นความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือ เกื้อกูล ยกย่อง ร่วมทุกข์ร่วมสุข แสดงถึงความรักความห่วงใย หรือเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะการ เกี่ยงงาน เอาเปรียบ และไม่สนใจหรือรับผิดชอบภาระซึ่งจำ�เป็นต้องมีผู้รับผิดชอบในครอบครัว เนื่อง ด้วยการใช้เวลาทำ�งานบ้านจะทำ�ให้สมาชิกได้ใช้เวลาร่วมกันในการทำ�กิจกรรมต่างๆเป็นการแสดง ให้เห็นถึงความหมายและความสำ�คัญของสมาชิกในครอบครัว ทำ�ให้พ่อได้ให้ “ความเป็นพ่อ” แก่ลูก และสามีได้ให้ “ความเป็นสามี” แก่ภรรยา หรือทำ�ให้แม่ได้แสดง “ความเป็นแม่” ต่อลูก และ “ความ เป็นภรรยา” กับสามี ดังนั้นหากสามี ภรรยา หรือ พ่อ แม่ ลูก ไม่ได้ทำ�งานบ้านร่วมกัน ก็ไม่สามารถ จะแบ่งปันความรับผิดชอบ และใช้เวลาร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้เลย

3.1.1.งานการผลิต

หนึง่ ครอบครัวส่วนใหญ่ทั้งสามีและภรรยาต่างก็ต้องทำ�งานการผลิตหรืองานที่เป็นการ ทำ�มาหากิน มีรายได้เลี้ยงชีพ โดยภรรยาหรือผู้หญิงเกือบทั้งหมดทำ�งานที่ได้รับค่าตอบแทนอย่าง หลากหลายทั้งในภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยผู้หญิงส่วนใหญ่ทำ�งานค้าขายหรือ ประกอบอาชีพส่วนตัวต่างๆ งานบริการ งานรับจ้างและมีสัดส่วนของผู้หญิงที่ไม่ได้ทำ�งานการผลิต น้อยมากคือ เป็นแม่บ้านหรือว่างงานร้อยละ 2.3 ส่วนสามีหรือคู่ครองของแรงงานหญิงประกอบ อาชีพอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและรับจ้างทั่วไป และว่างงานหรือรองานร้อยละ 3.6 สอง ภรรยาหรือผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องทำ�งานที่ได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ผู้หญิงร้อยละ 35 ทำ�งานมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงหรือคิดเป็นจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานเฉลี่ยวันละ 8.46 ชั่วโมง ซึ่ง เป็นจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานต่อวันที่สูงมากและส่งผลให้ผู้หญิงแทบไม่มีเวลาเป็นของตนเอง หรือมี เวลาให้กับครอบครัว สาม ผู้หญิงเกือบทั้งหมดไม่ได้ทำ�งานนอกเวลาหรือล่วงเวลา มีผู้หญิงเพียงร้อยละ 4.8 ที่ ทำ�งานนอกเวลาหรือล่วงเวลา และส่วนใหญ่ร้อยละ 70.7 ทำ�งานนอกเวลาหรือล่วงเวลาวันละ 2-4 ชั่วโมงต่อวัน

30 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


สี่ แม้ผู้หญิงจะทำ�งานหนัก แต่รายได้ของภรรยาก็น้อยกว่ารายได้ของสามีค่อนข้างมาก โดย ภรรยามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 13,301.32 บาท และสามี/คู่ครองของเธอมีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือนประมาณ 17,412.70 บาท (ตารางที่ 7และตารางที่ 2)

ตารางที่ 7 จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวัน (งานที่ไดรับคาจางทั้งในเวลางาน งานลวงเวลา และงานบาน) ของภรรยา จำนวนชั่วโมงการทำงานในเวลาตอวัน 2-4 ชั่วโมง 5-6 ชั่วโมง 7-8 ชั่วโมง 9-10 ชั่วโมง มากกวา 10 ชั่วโมง รวม จำนวนชั่วโมงการทำงานในเวลาตอวันเฉลี่ย การทำงานลวงเวลา ไมทำ ทำงานลวงเวลา รวม จำนวนชั่วโมงการทำงานลวงเวลาตอวัน 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง มากกวา 4 ชั่วโมง ไมระบุ รวม จำนวนชั่วโมงการทำงานบานตอวัน ไมไดทำงานบานเลย 30 นาที - 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 4-5 ชั่วโมง รวม

รอยละ 6.0 15.0 44.1 17.7 17.3 100.0 (3,598) 8.46 ´ÉªÃ¤ 95.2 4.8 100.0 (3,612) 10.3 31.6 24.7 14.4 12.7 6.3 100.0 (174) 3.1 45.1 41.1 8.8 1.9 100.0 (3,612)

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

31


การทำงานลวงเวลา ไมทำ ทำงานลวงเวลา รวม จำนวนชั่วโมงการทำงานลวงเวลาตอวัน 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง มากกวา 4 ชั่วโมง ตารางที ไมระบุ่ 7 จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานต่อวัน (ต่อ) รวม จำนวนชั่วโมงการทำงานบานตอวัน ไมไดทำงานบานเลย 30 นาที - 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 4-5 ชั่วโมง รวม จำนวนชั่วโมงที่ทำงานบานตอวันเฉลี่ย

´ÉªÃ¤ 95.2 4.8 100.0 (3,612) 10.3 31.6 24.7 14.4 12.7 6.3 100.0 (174) 3.1 45.1 41.1 8.8 1.9 100.0 (3,612) 1.59 ´ÉªÃ¤

ตารางที่ 8 การชวยแบงเบาภาระงานบานของสามี/คูครอง การชวยแบงเบาภาระงานบานของสามี/คูครอง ไมแบงเบาภาระ แบงเบาภาระ รวม

รอยละ 40.0 60.0 100.0 (3,612)

สัดสวนการแบงเบาภาระงานบานของสามี/คูครอง นอยกวาหรือเทากับรอยละ 25 รอยละ 26-50 รอยละ 51-60 รอยละ 61-80 รอยละ 81-90 รอยละ 100 รวม

32 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

9.2 28.6 31.5 12.0 13.7 4.9 100.0 (2,168)


3.1.2. งานบ้าน

หนึ่ง “งานบ้าน” ในที่นี้คือ งานต่างๆที่อยู่ในบ้าน เช่น การทำ�ความสะอาด การทำ�อาหาร การเลี้ยงดูลูก (การเล่นหรือสอนการบ้าน) การดูแลเอาใจใส่บุคคลอื่นๆ เช่น ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ การ แก้ไขปัญหาต่างๆในบ้าน เป็นต้น พบว่า ภรรยา เกือบทุกครอบครัวต้องทำ�งานบ้าน แต่มีจำ�นวน ชั่วโมงการทำ�งานมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยต่อวันคือ 2 ชั่วโมง

สอง ภรรยาร้อยละ 40 ต้องรับภาระงานบ้านคนเดียว

สาม ครอบครัวซึ่งสามีมีส่วนร่วมในการรับภาระงานบ้าน คือ ร้อยละ 60

สี่ ในครอบครัวที่สามีเข้ามาช่วยแบ่งเบารับภาระงานบ้าน พบว่า ร้อยละ 38 ช่วยทำ�งาน บ้านน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของงานบ้านทั้งหมด ส่วนสามีที่ช่วยเข้ามารับภาระงานบ้านมากคือมากกว่า ร้อยละ 60 ของงานบ้านทั้งหมด มีร้อยละ 31 (ตารางที่ 8) 3.2. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหา ครอบครัว โลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของครอบครัว จากผลิตแบบพึ่งพาตัวเองที่อยู่ในไร่ นาหรือพื้นที่เกษตรกรรม มาเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการบริการในเมือง การผลิตแบบ นี้ทำ�ให้โครงสร้างครอบครัวอ่อนแอลง เพราะว่าระบบการผลิตได้ดึงเอาพ่อและแม่ซึ่งเป็นแรงงาน การผลิตที่สำ�คัญออกจากไร่นาสู่โรงงานอุตสาหกรรมในเมือง ทิ้งลูกและปู่ย่าตายายไว้เบื้องหลัง สำ�หรับครอบครัวใหม่ที่อยู่ในเมือง แม่ก็ต้องยกหน้าที่การดูแลเด็กหรือลูกให้โรงเรียนทำ�หน้าที่เลี้ยงดู เด็ก เพื่อตนจะสามารถไปทำ�งานหารายได้ ดังนั้น “แม่” ที่เคยเป็นศูนย์กลางของครอบครัวแบบ พึ่งพาตัวเองได้ จึงต้องใช้เวลาทำ�งานการผลิตนอกบ้าน ไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทำ�หน้าที่สร้างความ สัมพันธ์หรือสร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัวอีกต่อไป ในทางเหตุผลสามีจะต้องมีส่วนร่วมรับผิด

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

33


ชอบแบ่งเบาภาระงานบ้านของภรรยา แต่ในทางปฏิบัติผู้ชายหรือสามีส่วนใหญ่ยังเคยชินกับการแบ่ง งานตามเพศในแบบดั้งเดิม และไม่ได้ช่วยภรรยาทำ�งานบ้านซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงดูลูกที่เป็นหัวใจของ ความสัมพันธ์ทางสังคมของครอบครัว ดังนั้นผลที่ตามมาคือ ปัญหาครอบครัวที่เพิ่มขึ้น ดังนี้ 3.2.1. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน และสามีไม่ช่วยงานบ้าน ครอบครัวมีปัญหามากที่สุด ครอบครัวโดยเฉพาะลูกจะอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีปัญหาน้อย เมื่อพ่อแม่มีเวลาดูแลอย่าง ใกล้ชิด สำ�หรับแม่ซึ่งปกติเป็นผู้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากแม่ต้องทำ�งานนอกบ้านและใช้เวลา ในการทำ�งานการผลิตมากจนไม่สามารถดูแลลูก และสามีหรือพ่อก็ไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน หรือช่วยดูแลลูก ดังนั้น ในครอบครัวที่ ภรรยาต้องทำ�งานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง และสามีไม่ช่วย งานบ้านภรรยา ปัญหาต่างๆที่รุนแรงหรือมากในครอบครัวเกิดขึ้นในสัดส่วนที่สูงสุดคือร้อยละ 71 3.2.2. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน และสามีช่วยงานบ้าน ครอบครัวมีปัญหาน้อย ในครอบครัวที่ภรรยาต้องทำ�งานมากกว่าแปดชั่วโมง แต่เมื่อสามีช่วยงานบ้านปัญหา ครอบครัวจะลดลงเหลือร้อยละ 43 ดังนั้นปัญหาครอบครัวที่ภรรยาทำ�งานหนักมากในแต่ละวัน ปัญหาครอบครัวจะลดลงไปร้อยละ 28 หากสามีช่วยงานบ้าน 3.2.3. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตวันละแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่า และสามีไม่ช่วยงานบ้าน ครอบครัวก็ยังมีปัญหามาก เปรียบเทียบกับครอบครัวที่ภรรยาทำ�งานนอกบ้านน้อยกว่าวันละแปดหรือแปดชั่วโมง และ สามีไม่ช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน ปัญหาครอบครัวที่มีความวิกฤตหรือรุนแรงจะเกิดขึ้นร้อยละ 68 ซึ่ง น้อยกว่าครอบครัวที่ภรรยาทำ�งานหนักเล็กน้อย

34 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


3.2.4. ถ้าภรรยาทำ�งานการผลิตวันละแปดชั่วโมงหรือน้อยกว่าและสามีช่วยงานบ้าน ครอบครัวมีปัญหาน้อยที่สุด ครอบครัวที่สามีแบ่งเบาภาระงานบ้านและภรรยาทำ�งานน้อยกว่าหรือเท่ากับแปดชั่วโมง ปัญหาครอบครัวรุนแรงจะเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 35 ดังนั้นหากเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งในการทำ�งานทั้ง “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่าง สามีภรรยา หรือ ทำ�ให้ภรรยาสามารถลดจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานนอกบ้านหรืองานผลิตลง และ ส่งเสริมสามีมีบทบาทความรับผิดชอบในครอบครัวมากขึ้นหรือทำ�หน้าที่พ่อและสามีให้ดีขึ้นปัญหาใน ครอบครัวก็จะลดลงครึ่งหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้น คือจากร้อยละ 71 เหลือเพียงร้อยละ 35 (ภาพที่ 2 และตารางที่ 9) ภาพที่ 2 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบาน ระหวางสามีภรรยา

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

35


ตารางที่ 9 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยา การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม

ปญหาครอบครัว รวม

ปญหามาก

ปญหานอย

70.8

29.2

100.0 (483)

42.9

57.1

100.0 (773)

67.7

32.3

100.0 (958)

35.0

65.0

100.0 (1,384)

50.3

49.7

100.0 (3,598)

Chi-Sq. = 343.444, df. = 3, C = 0.295, P-value = 0.000

3.3. ชนชั้น ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับ ปัญหาครอบครัว แม้ว่าชนชั้นโดยตนเอง จะไม่สามารถอธิบายปัญหาครอบครัวได้เท่ากับความขัดแย้งในการ ทำ�งานการผลิตและงานบ้านระหว่างสามีภรรยา แต่เมื่อนำ�ประเด็นเรื่อง ความขัดแย้งในการทำ�งาน การผลิตและงานบ้านระหว่างสามีภรรยา ซึ่งได้แก่ จำ�นวนชั่วโมงในการทำ�งานผลิตของผู้หญิงหรือ ภรรยา และการมีส่วนร่วมของสามีในการทำ�งานบ้านมาพิจารณาประกอบ พบว่าชนชั้นมีความ สัมพันธ์กับปัญหาครอบครัวเพิ่มขึ้นหรือทำ�ให้ทราบว่า ปัญหาครอบครัวนั้นเกิดกับครอบครัวของผู้ใช้ แรงงานมากกว่าครอบครัวผู้ประกอบการ ดังนี้

36 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


3.3.1. ชนชั้น : ผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน

“ชนชั้น” ในที่นี้กำ�หนดเป็นสองชนชั้นคือ ผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการ ประกอบด้วยเจ้าของกิจการทั้งใหญ่และเล็กในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการเกษตร ตลอดจนข้าราชการชั้นสูงและชั้นกลาง ส่วนผู้ใช้แรงงานนั้นได้แก่ ผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการหรือภาคการเกษตร ซึ่ง เป็นเกษตรกรรับจ้างไร้ที่ดินทำ�กินหรือเช่าที่ดินทำ�กิน การจัดกลุ่มชนชั้นในลักษณะนี้ นอกจากจะสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมทางสังคมแล้ว ยัง ใช้เป็นการแสดงให้เห็นความเป็นโลกาภิวัตน์ทางอ้อมอีกด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอาชีพนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์โดยตรง ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบการจึงมีความใกล้ ชิดได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ และสามารถใช้ประโยชน์นั้นไปแสวงหาความมั่งคั่งของตนเองได้ ส่วนบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งหรือผู้ใช้แรงงานอยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถรับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ได้จึง เสียโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ และกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งพบว่าการแบ่งโดยเกณฑ์นี้ทำ�ให้ ชนชั้นประกอบการมีประมาณร้อยละ 53.9 และชนชั้นแรงงานมีประมาณ ร้อยละ 46.1 (ตารางที่ 10) ตารางที่ 10 ชนชั้นของครอบครัว ชนชั้นของครอบครัว ผูประกอบการ ผูใชแรงงาน รวม

รอยละ 53.9 46.1 100.0 (3,612)

3.3.2. ครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีไม่ ช่วยงานบ้านมีปัญหาครอบครัวมากที่สุด ครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีไม่ช่วยเหลือ งานบ้าน มีปัญหาครอบครัวมากที่สุด และมากกว่าครอบครัวผู้ประกอบการ แต่หากมีการลด จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานนอกบ้านทั้งครอบครัวผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน ปัญหาก็จะลดลง และ สาเหตุของปัญหาครอบครัว

37


ยิ่งหากสามีเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้านหรือทำ�หน้าที่พ่อและสามีมากขึ้น ปัญหาครอบครัวก็จะ ยิ่งลดลง แต่ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน ปัญหาในผู้ใช้แรงงานมีความ รุนแรงมากกว่า แต่ขณะเดียวกันการลดภาระการทำ�งานนอกบ้านของภรรยาและการช่วยงานบ้าน ของสามี ส่งผลมากที่สุดในครอบครัวผู้ใช้แรงงานหรือทำ�ให้เกิดการลดปัญหาได้มากที่สุด

ครอบครัวผู้ใช้แรงงาน

แม้ว่าอัตราปัญหาสูงในครอบครัวผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการจะใกล้เคียงกันมากคือ ร้อย ละ 51 และร้อยละ 50 แต่ในครอบครัวผู้ใช้แรงงาน ซึ่งภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าวันละแปด ชั่วโมงและสามีไม่ช่วยงานบ้านมีปัญหาครอบครัวรุนแรงมากที่สุด คือ ร้อยละ 76 และปัญหาจะลด ลงเหลือร้อยละ 44 หากสามีช่วยเหลืองานบ้านและจะลดลงเหลือร้อยละ 34 หากภรรยาทำ�งานการ ผลิตน้อยลง ดังนั้นปัญหาครอบครัวอาจลดลงได้ถึงร้อยละ 42 ถ้าภรรยาได้ลดชั่วโมงการทำ�งานลง และสามีได้เข้ามาช่วยเหลืองานบ้าน ดังนั้นการลดจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานและการแบ่งเบาภาระงานบ้านของสามีหรือการที่สามี หรือพ่อเข้ามามีบทบาททำ�หน้าที่พ่อมากขึ้น จึงมีความหมายมากและช่วยลดปัญหาในครอบครัว ชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างชัดเจน

ครอบครัวผู้ประกอบการ

เช่นเดียวกับครอบครัวผู้ประกอบการ ซึ่งแม้จะมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีกว่าผู้ใช้แรงงาน แต่การที่ภรรยาทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีไม่ช่วยงานบ้านทำ�ให้มีปัญหา ครอบครัวร้อยละ 68 ซึ่งต่างกับครอบครัวผู้ใช้แรงงานเพียงร้อยละ 8 แต่ถ้าสามารถลดชั่วโมงการ ทำ�งานได้คือ ทำ�งานแปดหรือน้อยกว่าแปดชั่วโมง แม้สามีไม่ช่วยงานบ้าน ปัญหาลดลงเหลือร้อยละ 64 ซึ่งลดลงน้อยมาก แต่หากสามีช่วยเหลืองานบ้านและภรรยาทำ�งานการผลิตน้อยลง ปัญหาจะ ลดลงเหลือร้อยละ 36 ซึ่งปัญหานั้นลดลงไปในอัตราถึงร้อยละ 32 นั่นคือ แม้ในครอบครัวผู้ประกอบ การจะมีจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานการผลิตที่มากเกินไปในแต่ละวัน แต่การที่สามีไม่ช่วยงานบ้านก็เป็น ตัวแปรสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดปัญหาครอบครัว (ภาพที่ 3 และตารางที่ 11) 38 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ภาพที่ 3 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาจำแนก ตามชนชั้น

ตารางที่ 11 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาจำแนกตามชนชั้น ชนชั้น

การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน

ผูประกอบการ

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม

ปญหาครอบครัว

รวม

ปญหามาก ปญหานอย 68.3

31.7

100.0 (322)

42.3

57.7

100.0 (506)

64.2

35.8

100.0 (467)

36.1

63.9

100.0 (649)

49.8

50.2

100.0 (1,944)

75.8

24.2

100.0 (161)

44.2

55.8

100.0 (267)

71.1

28.9

100.0 (491)

34.1

65.9

100.0 (735)

50.8

49.2

100.0 (1,654)

Chi-Sq. = 143.593, df. = 3, C = 0.262, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน

ผูใชแรงงาน

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 207.162, df. = 3, C = 0.334, P-value = 0.000

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

39


3.4. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหา ครอบครัว กับชนชั้น และพื้นที่โลกาภิวัตน์ ในส่วนนี้จะวิเคราะห์ปัญหาครอบครัวในบริบทของโลกาภิวัตน์ ซึ่งมี 2 ความหมายคือ หนึ่ง ความหมายในเชิงพื้นที่โลกาภิวัตน์ และสอง ความหมายในเชิงวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์ ดังนี้

3.4.1 พื้นที่โลกาภิวัตน์ : พื้นที่ศูนย์กลาง กึ่งศูนย์กลาง และชายขอบ

พื้นที่ซึ่งครอบครัวอาศัยหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ก็สะท้อนถึงความเป็นโลกาภิวัตน์ พื้นที่ซึ่งอยู่ใน เขตศูนย์กลางและชายขอบของความเป็นโลกาภิวัตน์ย่อมส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยสามารถจัดการ เข้าถึง ทรัพยากร และได้รับความเจริญทางวัตถุต่างๆได้ยากง่ายแตกต่างกัน ดังนั้นจึงได้จัดแบ่งครอบครัว ตามเขตความเข้าใกล้โลกาภิวัตน์ดังนี้ หนึ่ง พื้นที่ศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ คือ พื้นที่เขตเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจการเมืองการ ศึกษาและบริการต่างๆของจังหวัดหรือพื้นที่เขตเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร สอง พื้นที่กึ่งศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ คือ พื้นที่ระดับอำ�เภอซึ่งเป็นศูนย์กลางของธุรกิจการเมือง การศึกษาและบริการระดับอำ�เภอที่อาจเป็นเทศบาลเมือง และ สาม พื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน์ คือ ตำ�บลและหมู่บ้านที่อยู่รอบๆเทศบาลเมืองได้แก่เทศบาล ตำ�บลหรือองค์กรบริหารส่วนตำ�บลที่เป็นผู้รับบริการมากกว่าการเป็นศูนย์กลาง 3.4.2. ครอบครัวผู้ใช้แรงงานมีปัญหาครอบครัวมากกว่าครอบครัวผู้ประกอบการ ในทุกระดับ พื้นที่โลกาภิวัตน์ แต่มีปัญหาในศูนย์กลางโลกาภิวัตน์มากที่สุด ครอบครัวผู้ใช้แรงงาน ที่ภรรยาต้องทำ�งานมากกว่าแปดชั่วโมงและสามีไม่ช่วยแบ่งเบาภาระ งานบ้าน มีปัญหาครอบครัวสูงกว่าครอบครัวผู้ประกอบการในทุกพื้นที่โลกาภิวัตน์ ทั้งที่เป็นโลกาภิวัต น์สูงและโลกาภิวัตน์น้อย แต่เกิดในพื้นที่ศูนย์กลางโลกาภิวัตน์มากที่สุด โดยพบว่า อัตราครอบครัว ผู้ใช้แรงงานซึ่งสามีไม่ช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้านและภรรยา ต้องทำ�งานมากกว่าแปดชั่วโมง มีปัญหา ร้อยละ 75 และสูงกว่าปัญหาครอบครัวผู้ประกอบการคือ ร้อยละ 68 (ภาพที่ 4 และตารางที่ 12) 40 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ในเขตพื้นที่กึ่งศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ครอบครัวผู้ใช้แรงงาน ซึ่งสามีไม่ช่วยแบ่งเบาภาระ งานบ้านและภรรยาต้องทำ�งานมากกว่าแปดชั่วโมงมีปัญหามากร้อยละ 73 และสูงกว่าครอบครัวผู้ ประกอบการร้อยละ 68 (ภาพที่ 5 และตารางที่ 13) ในเขตพื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน์ครอบครัวผู้ใช้แรงงาน ซึ่งสามีไม่ช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน และภรรยาต้องทำ�งานมากกว่าแปดชั่วโมงมีปัญหามากร้อยละ 80 สูงกว่าครอบครัวผู้ประกอบการที่ มีปัญหามาก คือ ร้อยละ68 (ภาพที่ 6 และตารางที่ 14) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในพื้นที่ซึ่งมีความเข้มข้นทางความเจริญหรือโลกาภิวัตน์มาก การที่ สามีช่วยเหลือภรรยาทำ�งานบ้านและภรรยาทำ�งานนอกบ้านน้อยกว่าแปดชั่วโมงมีความสำ�คัญมาก เนื่องจากปัญหาครอบครัวจะลดลงครึ่งหนึ่งในเขตศูนย์กลางโลกาภิวัตน์ และเกือบครึ่งหนึ่งในพื้นที่ กึ่งศูนย์กลางและชายขอบ นั่นก็คือ หากพ่อช่วยแบ่งเบางานบ้าน หรือทำ�หน้าที่ “พ่อ” โดยมีเวลาใน ครอบครัวมากขึ้น และแม่ทำ�งานนอกบ้านไม่สูงมากเกินไปหรือแม่ทำ�หน้าที่ “แม่” มากขึ้น ก็จะมี เวลาให้กับครอบครัวและลูกมากขึ้น ปัญหาในครอบครัวจะลดลง

ภาพที่ 4 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบาน ระหวางสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่ศูนยกลางโลกาภิวัตน

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

41


ตารางที่ 12 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบาน ระหวางสามีภรรยาและชนชั้นใน บริบทของพื้นที่ศูนยกลางโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

ชนชั้น

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน

ปญหาครอบครัว

68.4

31.6

100.0 (98)

44.3

55.7

100.0 (167)

54.0

46.0

100.0 (126)

27.7

72.3

45.6

54.4

100.0 (564)

75.4

24.6

100.0 (69)

36.2

63.8

100.0 (116)

68.8

31.2

100.0 (170)

24.6

75.4

100.0 (301)

43.4

56.6

100.0 (656)

ผูประกอบการ ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม

รวม

ปญหามาก ปญหานอย

100.0 (173)

Chi-Sq. = 46.383, df. = 3, C = 0.276, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ผูใชแรงงาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 119.221, df. = 3, C = 0.392, P-value = 0.000

42 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ภาพที่ 5 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาและ ชนชั้นในบริบทของพื้นที่กึ่งศูนยกลางโลกาภิวัตน

ตารางที่ 13 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาและชนชั้นใน บริบทของพื้นที่กึ่งศูนยกลางโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

ชนชั้น

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ผูประกอบการ

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม

ปญหาครอบครัว ปญหามาก ปญหานอย

รวม

68.2

31.8

100.0 (129)

41.2

58.8

100.0 (153)

65.2

34.8

100.0 (164)

39.7

60.3

100.0 (239)

51.5

48.5

100.0 (685)

73.1

26.9

100.0 (52)

49.4

50.6

100.0 (83)

64.5

35.5

100.0 (147)

32.4

67.6

100.0 (216)

49.0

51.0

100.0 (498)

Chi-Sq. = 46.579, df. = 3, C = 0.252, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ผูใชแรงงาน

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 50.227, df. = 3, C = 0.303, P-value = 0.000

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

43


ภาพที่ 6 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบาน ระหวางสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน

ตารางที่ 14 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบาน ระหวางสามีภรรยาและชนชั้นในบริบทของพื้นที่ชายขอบโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

ชนชั้น

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ผูประกอบการ

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน รวม

ปญหาครอบครัว ปญหามาก ปญหานอย

รวม

68.4

31.6

100.0 (95)

41.4

58.6

100.0 (186)

70.6

29.4

100.0 (117)

38.4

61.6

100.0 (237)

51.5

48.5

100.0 (695)

80.0

20.0

100.0 (40)

51.5

48.5

100.0 (68)

78.7

21.3

100.0 (174)

49.1

50.9

100.0 (218)

62.2

37.8

100.0 (500)

Chi-Sq. = 60.692, df. = 3, C = 0.283, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ผูใชแรงงาน

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 44.909, df. = 3, C = 0.287, P-value = 0.000

44 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


3.5. ความขัดแย้งในการทำ�งาน “งานการผลิต” และ “งานบ้าน” ระหว่างสามีภรรยากับปัญหา ครอบครัว ชนชั้น และวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์

3.5.1. วิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์

การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจมีพลวัตสูงมาก ทั้งจากการพัฒนาในระบบเศรษฐกิจใน ครัวเรือนมาเป็นเศรษฐกิจระดับประเทศ จากระดับภูมิภาคสู่ระดับโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา จนได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐกิจระบบโลกาภิวัตน์พลวัตเหล่านี้เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และรุนแรงสร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมรุนแรง คือ การหมุนเอา เงิน ทรัพยากร และอำ�นาจเข้าไว้ในศูนย์กลางหมด ทำ�ให้ประเทศและกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบสูญเสีย ความสมดุลหรือได้รับความไม่เป็นธรรม รวมทั้งปัญหาความไม่สมดุลในครอบครัว ซึ่งได้ก่อให้เกิด ปัญหาต่างๆมากมาย แสดงให้เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำ�รงชีวิตในการเข้าถึง การจัดการ ทรัพยากร ความเจริญต่างๆในรูปของวัตถุ เงินตรา และการบริโภค นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็น ถึงกระบวนการในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้

3.5.1.1. การเลือกตัดสินใจและเหตุผลในการกินอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี

ความเป็นโลกาภิวัตน์สูงในการตัดสินใจนี้ เป็นไปตามการให้เหตุผลทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งกลุ่มครอบครัวที่มีคะแนนโลกาภิวัตน์สูงนั้น มีสัดส่วนมากที่สุดถึง ร้อยละ 60.6 ของครอบครัวทั้งหมด ซึ่งเลือกตัดสินใจกินอาหารตามคำ�แนะนำ�ของนักโภชนาการ หรือแพทย์ การกินอาหารครบห้าหมู่ การกินอาหารเสริม เช่น วิตามิน สารสกัดต่างๆ การกินอาหาร ตามสูตรการลดน้ำ�หนักของต่างประเทศ เช่น Weight watchers ส่วนกลุ่มที่ได้คะแนนในระดับปาน กลางนั้นเลือกตัดสินใจตามความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ ความรู้ทางภูมิปัญญาพื้นบ้านต่างๆ อาทิ การกินอาหารตามหลักการแพทย์พื้นบ้าน เช่น กินอาหารตามธาตุ การกินอาหารให้น้อยลง การกินอาหารสมุนไพรหรือยาจีน การลดอาหารประเภททอด/มัน/เค็ม ส่วนกลุ่มครอบครัวที่มี

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

45


คะแนนโลกาภิวัตน์น้อยนั้น ไม่สนใจข้อมูลหรือไม่ให้เหตุผลใดๆในการตัดสินใจ ได้แก่ การไม่ทำ�หรือ สนใจอะไรเป็นพิเศษ มีอย่างไรก็กินอย่างนั้น

3.5.1.2. การจัดการกับร่างกายและความสวยความงาม

ครอบครัวร้อยละ 54.4 มีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย กลุ่มครอบครัวเหล่านี้ เลือกที่จะไม่ทำ� อะไรเลย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หรือใช้การทำ�สมาธิ วิปัสสนา เสริมความงามจากภายใน ส่วนครอบครัวที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์สูงประมาณร้อยละ 23.5 จะใช้เทคโนโลยีสูง การผ่าตัด การ ศัลยกรรมความงาม มีการใช้ยา อาหารเสริม เครื่องสำ�อางต่างๆ และในครอบครัวที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์ปานกลางจะเลือกจัดการกับร่างกายและความสวย ความงาม โดยการรับประทานอาหารควบคู่กับการออกกำ�ลังกาย การอดอาหาร เพื่อให้รูปร่างดูดี

3.5.1.3. การเลือกวิธีการออกกำ�ลังกาย

ในการออกกำ�ลังกายด้วยวิธีการต่างๆ กลุ่มครอบครัวที่ออกกำ�ลังกายด้วยตนเอง ด้วยรูป แบบตามวัฒนธรรมชุมชน เช่น การรำ�วงย้อนยุคในหมู่บ้าน/ชุมชน การแกว่งแขน การรำ�ไม้ พอง และไม่ได้ออกลังกาย มีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อยประมาณร้อยละ 59.6 ส่วนครอบครัวทีมี คะแนนโลกาภิวัตน์ปานกลางนั้นเลือกวิธีการออกกำ�ลังด้วยตนเอง เช่น การเดิน วิ่ง ตามสนามหรือ สวนสาธารณะ การเล่นกีฬาทั่วไป การทำ�กายบริหารร่างกาย การปั่นจักรยานตามหมู่บ้าน/ชุมชน การเล่นฮูลาฮูป การกระโดดเชือก ส่วนกลุ่มที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์สูงมีน้อยมากเพียงร้อยละ 5.4 ออกกำ�ลังกายโดยมีเครื่องมือเฉพาะ มีเทคนิค และการออกกำ�ลังกายในสถานบริการโดยมีผู้ ฝึกสอน ได้แก่ การปั่นจักรยานทางไกล การออกกำ�ลังกายด้วยเครื่องออกกำ�ลังกายในฟิตเนส/ใน สวนสาธารณะ การเล่นกีฬาสโมสร การซื้อเครื่องออกกำ�ลังกายมาออกกำ�ลังกายที่บ้าน การเล่น โยคะ การเต้นแอโรบิค

46 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


3.5.1.4. การจัดการปัญหาสำ�คัญหรือการแสวงหาความรู้หรือคำ�ตอบ

กลุ่มครอบครัวที่มีคะแนนโลกาภิวัตน์ต่ำ�มีอยู่ร้อยละ 61.1 ครอบครัวเหล่านี้จัดการปัญหา หรือการแสวงหาคำ�ตอบโดยการปรึกษาผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ การถาม/ปรึกษาหมอดู การปรึกษา พระ การปรึกษาเพื่อนฝูง/ญาติพี่น้อง การปรึกษาคนในครอบครัว เช่น สามี/คู่ครอง พ่อแม่ ลูก เป็นต้น ในกลุ่มครอบครัวที่มีคะแนนโลกาภิวัตน์ปานกลางร้อยละ 34.8 ครอบครัวเหล่านี้เน้นการ แก้ปัญหาด้วยตัวเอง การแสวงหาคำ�ตอบหรือความรู้ด้วยตัวเอง ส่วนครอบครัวที่มีคะแนนโลกาภิ วัตน์สูงมีเพียงร้อยละ 4.1 ครอบครัวเหล่านี้จัดการปัญหาโดยการค้นคว้าจากหนังสือ ตำ�รา เอกสาร ต่างๆ การค้นคว้าหาคำ�ตอบจากเว็บไซด์ การปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้นๆ

3.5.1.5. การตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า

วิธีการหรือหลักการในการเลือกซื้อสินค้าของครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความเป็นโลกาภิวัตน์ใน ความคิด และการใช้ชีวิตซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่ (ร้อยละ 41.2) มีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อยครอบครัว เหล่านี้ใช้สินค้าพื้นบ้านจากกลุ่มอาชีพต่างๆ การซื้อสินค้าทำ�จากมือ และไม่ได้มีการคิดในการซื้อ หรือเลือกซื้อ ส่วนกลุ่มครอบครัวที่มีคะแนนโลกาภิวัตน์สูงนั้นมีน้อยมากร้อยละ 1.7 กลุ่มนี้นิยมการ ซื้อสินค้ามีชื่อเสียง หรือแบรนด์เนม สินค้าราคาที่ออกแบบพิเศษโดยเฉพาะ การซื้อสินค้าที่มีชื่อเสียง แต่เป็นของเลียนแบบ เป็นต้น

3.5.1.6. การจัดการเกี่ยวกับการทำ�งานหารายได้พิเศษ

ในกลุ่มนี้ครอบครัวส่วนใหญ่มีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย เนื่องจากครอบครัวเหล่านี้ร้อยละ 64 ไม่ได้แสวงหารายได้พิเศษแต่อย่างใด และใช้วิธีการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายไม่พอด้วยการประหยัด ส่วนครอบครัวโลกาภิวัตน์ปานกลาง (ร้อยละ 35.3) ไม่ได้ทำ�งานพิเศษ และอาจทำ�งานล่วงเวลาหรือ ทำ�สวนหรือเลี้ยงสัตว์ เป็นนายหน้า การให้กู้เงินรายวัน เล่นแชร์ เป็นต้น สำ�หรับกลุ่มที่มีความ เป็นโลกาภิวัตน์สูงซึ่งมีเพียงร้อยละ 0.7 ครอบครัวกลุ่มนี้หารายได้พิเศษด้วยการเล่นหุ้น ค้าขายทาง ออนไลน์ เป็นต้น

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

47


3.5.2. ครอบครัวที่มีวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์น้อยมีปัญหาครอบครัวมากกว่าครอบครัว ที่มีวิถีความคิดแบบโลกาภิวัตน์สูง ความเป็นโลกาภิวัตน์ในระบบโลกที่ได้เคลื่อนแผ่ขยายลงไปในสังคมและครอบครัว ความคิด วิถีการดำ�เนินชีวิต การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ทำ�ให้แต่ละครอบครัวมีความเป็นโลกา ภิวัตน์มากน้อยแตกต่างกัน บางครอบครัวมีการใช้ชีวิตอยู่บนเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ มีความทัน สมัยต่อข้อมูล ข่าวสารมาก มีการเสพและอาจมีความเป็นบริโภคนิยมมาก และบางครอบครัวอาจมี น้อย แต่ความเป็นโลกาภิวัตน์มากน้อยนี้ ไม่ได้สะท้อนความดี ความถูกต้องในการตัดสินใจแต่อย่าง ใด ซึ่งในการวิจัยได้กำ�หนดความเป็นโลกาภิวัตน์ไว้ 6 กลุ่มหลัก โดยเรียงตามลำ�ดับตามคะแนนความ เป็นโลกาภิวัตน์สูงมากที่สุดและรองลงมาตามลำ�ดับ คือหนึ่ง การเลือกตัดสินใจและเหตุผลในการกิน อาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี (ร้อยละ 60.6) สอง การจัดการร่างกายและความสวยความงาม (ร้อยละ 23.5) สามการเลือกวิธีการออกกำ�ลังกาย (ร้อยละ 5.4) สี่ การจัดการปัญหาสำ�คัญหรือการแสวงหา ความรู้หรือคำ�ตอบ (ร้อยละ 4.1) ห้า การตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า (ร้อยละ 1.7) และหก การ จัดการเกี่ยวกับการทำ�งานหารายได้พิเศษ (ร้อยละ 0.7) (ตารางที่ 15) ตารางที่ 15 วิถีความเปนโลกาภิวัตนตามวิถีการดำเนินชีวิต การแกไขปญหา การใหเหตุผลตางๆ วิถีความเปนโลกาภิวัตน 1. การเลือก ตัดสินใจในการกินอาหารเพื่อใหมีสุขภาพดี 2. การจัดการกับรางกายและความสวยความงาม 3. การเลือกวิธีการออกกำลังกาย 4. การจัดการปญหาสำคัญหรือการแสวงหาความรูหรือคำตอบ 5. การตัดสินใจในการเลือกซื้อสินคา 6. การจัดการเกี่ยวกับการทำงานหารายไดพิเศษ

48 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์

คะแนนต่ำ

คะแนน ปานกลาง

คะแนนสูง

รวม

28.5

10.9

60.6

100.0 (3,609)

54.4

22.0

23.5

100.0 (3,607)

59.6

35.0

5.4

100.0 (3,609)

61.1

34.8

4.1

100.0 (3,573)

41.2

57.1

1.7

100.0 (3,586)

64.0

5.3

0.7

100.0 (3,607)


3.5.2.1. ครอบครัวผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการที่มีวิถีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย ภรรยา ต้องทำ�งานการผลิตมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันและสามีไม่ช่วยงานบ้านมีปัญหาครอบครัวรุนแรงกว่า กลุ่มอื่น ความเป็ น โลกาภิ วั ตน์ ห รื อ ความทั น สมั ย น้ อ ยมี ผ ลต่ อ สภาพปั ญ หาในครอบครั ว ของทั้ ง ผู้ ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ภรรยาทำ�งานการผลิตหนัก มากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงและสามีไม่ช่วยงานบ้านคือ ในครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่มีความเป็นโลกาภิ วัตน์น้อยและปานกลางมีปัญหาครอบครัวรุนแรงมากที่สุดคือ ร้อยละ 75 และร้อยละ 81 ส่วน ครอบครัวผู้ประกอบการที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อยหรือทันสมัยน้อยก็มีปัญหาครอบครัวรุนแรงถึง ร้อยละ 73 เช่นกัน 3.5.2.2. ปัญหาครอบครัวลดลงทั้งกลุ่มผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงาน หากภรรยาทำ�งาน การผลิตน้อยลงและสามีช่วยงานบ้าน ครอบครัวผู้ประกอบการทุกกลุ่มโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก จะสามารถลดปัญหา ครอบครัวลงอย่างมากหากสามีช่วยงานบ้านและภรรยาสามารถลดจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานการผลิต ลง โดยปัญหาครอบครัวจะลดลงในอัตราร้อยละ 34 ในกลุ่มความเป็นโลกาภิวัตน์สูง ลดลงในอัตรา ร้อยละ 32 ในกลุ่มความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย และลดลงในอัตราร้อยละ 28 ในกลุ่มความเป็นโลกาภิ วัตน์ปานกลาง (ภาพที่ 7 และตารางที่ 16) ส่วนครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ภรรยาทำ�งานการผลิตน้อยลงและสามีช่วยงานบ้าน ปัญหา ครอบครัวจะลดลงในทุกระดับความเป็นโลกาภิวัตน์เช่นกัน โดยลดลงในอัตราร้อยละ 46 ในกลุม่ ความเป็นโลกาภิวัตน์ปานกลาง ลดลงในอัตราร้อยละ 36 ในกลุ่มความเป็นโลกาภิวัตน์สูง และลด ลงในอัตราร้อยละ 29 ในกลุ่มความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย (ภาพที่ 8 และตารางที่ 17)

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

49


ภาพที่ 7 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีและภรรยาในครอบครัว ผูประกอบการตามระดับความเปนโลกาภิวัตน

35

ตารางที่ 16 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาในครอบครัว ผูประกอบการตามวิถีความเปนโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

วิถีความเปน โลกาภิวัตน

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน นอย

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม

ปญหาครอบครัว ปญหามาก ปญหานอย

รวม

72.8

27.2

100.0 (81)

42.1

57.9

100.0 (114)

65.5

34.5

100.0 (116)

40.8

59.2

100.0 (130)

53.5

46.5

100.0 (441)

66.7

33.3

100.0 (117)

46.6

53.4

100.0 (174)

70.7

29.3

100.0 (184)

38.9

61.1

100.0 (226)

53.8

46.2

100.0 (701)

65.5

34.5

100.0 (116)

Chi-Sq. = 33.332, df. = 3, C = 0.265, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ปานกลาง

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน

50 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่างรวม“งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์ Chi-Sq. = 52.574, df. = 3, C = 0.264, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน


5.3

ตารางที่ 16 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาในครอบครัว ผูประกอบการตามวิถีความเปนโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามีและ จำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

วิถีความเปน โลกาภิวัตน

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน นอย

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน

ปญหาครอบครัว ปญหามาก ปญหานอย

รวม

72.8

27.2

100.0 (81)

42.1

57.9

100.0 (114)

65.5

34.5

100.0 (116)

40.8

59.2

100.0 (130)

53.5 46.5 100.0 (441) รวม ตารางที่ 16 อัตราส่วนร้อยของปัญหาครอบครัวจำ�แนกตามความขัดแย้งในการทำ�งานงานการผลิตและงานบ้านระหว่างสามีภรรยาใน Chi-Sq. =ถีค33.332, = 3,วCัตน์= 0.265, ครอบครัวผู้ประกอบการตามวิ วามเป็นdf.โลกาภิ (ต่อ) P-value = 0.000 66.7

33.3

100.0 (117)

46.6

53.4

100.0 (174)

70.7

29.3

100.0 (184)

38.9

61.1

100.0 (226)

53.8

46.2

100.0 (701)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน

65.5

34.5

100.0 (116)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน

38.6

61.4

100.0 (210)

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน

56.9

43.1

100.0 (160)

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน

30.9

69.1

100.0 (285)

43.6

56.4

100.0 (771)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน ปานกลาง

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 52.574, df. = 3, C = 0.264, P-value = 0.000

มาก

รวม Chi-Sq. = 55.052, df. = 3, C = 0.258, P-value = 0.000

ภาพที่ 8 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวมากจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีและภรรยาในครอบครัว ผูใชแรงงานตามวิถีความเปนโลกาภิวัตน

สาเหตุของปัญหาครอบครัว

51


ตารางที่ 17 อัตราสวนรอยของปญหาครอบครัวจำแนกตามความขัดแยงในการทำงานงานการผลิตและงานบานระหวางสามีภรรยาในครอบครัว ผูใชแรงงานตามวิถีความเปนโลกาภิวัตน การแบงเบาภาระงานบานของสามี และจำนวนชั่วโมงการทำงานตอวันของภรรยา

ความเปน โลกาภิวัตน

ปญหามาก ปญหานอย

รวม

75.4

24.6

100.0 (57)

50.0

50.0

100.0 (64)

71.5

28.5

100.0 (137)

36.1

63.9

100.0 (158)

55.3

44.7

100.0 (416)

81.5

18.5

100.0 (54)

45.8

54.2

100.0 (83)

73.6

26.4

100.0 (178)

35.4

64.6

100.0 (271)

52.7

47.3

100.0 (586)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน

68.2

31.8

100.0 (44)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน

40.2

59.8

100.0 (112)

67.3

32.7

100.0 (165)

31.6

68.4

100.0 (297)

45.3

54.7

100.0 (618)

ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน นอย

ปญหาครอบครัว

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 48.303, df. = 3, C = 0.323, P-value = 0.000 ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตมากกวาแปดชั่วโมงตอวันแตสามีชวยงานบาน

ปานกลาง

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 83.168, df. = 3, C = 0.353, P-value = 0.000

มาก

ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาและสามีไมชวยงานบาน ภรรยาทำงานการผลิตแปดชั่วโมงตอวันหรือนอยกวาแตสามีชวยงานบาน รวม Chi-Sq. = 64.963, df. = 3, C = 0.308, P-value = 0.000

52 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


4

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

53


54 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

4

4.1. สรุป ปัญหาที่ครอบครัวต้องเผชิญหน้ามีจำ�นวนหลากหลายถึง 50 ปัญหา สามารถจำ�แนก ความแตกต่างถึง 7 กลุ่มปัญหา นอกจากนี้ในครอบครัวที่มีปัญหาครอบครัวเกิดขึ้นมากหรือรุนแรง เนื่องจากมีจำ�นวนปัญหามาก และกระจายตัวหรือทับซ้อนอยู่ในหลายกลุ่มปัญหา กล่าวคือ ครอบครัว ครึ่งหนึ่งของครอบครัวทั้งหมดมีความทับซ้อนของกลุ่มปัญหาระหว่าง 4-7 กลุ่มปัญหาหรือมีจำ�นวน ปัญหาระหว่าง 4-9 ปัญหา และกลุ่มปัญหาที่ครอบครัวเผชิญมากที่สุดคือ ปัญหาเกี่ยวกับบุตร รอง ลงไปได้แก่ ปัญหาหนี้สิน และปัญหาอบายมุขต่างๆในครอบครัว สาเหตุหลักของปัญหาคือ ความขัดแย้งในการทำ�งานระหว่างสามีและภรรยา เนื่องจากผู้ หญิงที่ต้องมีบทบาทเป็น “ภรรยา” และ “แม่” ของครอบครัวนั้นต้องทำ�งานหนักมากกว่าแปดชั่วโมง ต่อวันเพื่อหารายได้ และมีจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานในแต่ละวันสูงถึง 8 หรือมากกว่า 8 ชั่วโมง ผู้หญิง หรือภรรยาเหล่านี้เมื่อเลิกงาน กลับบ้านก็ยังต้องรับภาระงานบ้านเป็นหลัก สามีบางส่วนอาจร่วม รับภาระแต่สัดส่วนของการช่วยงานบ้านยังน้อย การทำ�งานบ้านมีความหมายและความสำ�คัญอย่าง มากในครอบครัว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามี ภรรยา และลูกจะได้ใช้เวลาร่วมกัน ได้พึ่งพา แบ่ง ปัน แลกเปลี่ยนและทำ�กิจกรรมต่างๆร่วมกัน แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะยังคงเป็นงานหรือภาระ ดังนั้นการ ที่สามีไม่ช่วยทำ�งานบ้าน จึงทำ�ให้บทบาทในการเป็นพ่อและสามีลดน้อยลงไป และไม่เกิดความร่วม ทุกข์ร่วมสุขในครอบครัว นอกจากนี้สาเหตุหรือความขัดแย้งในการทำ�งานระหว่างสามีภรรยานี้ ยังเกิดกับครอบครัว ผู้ใช้แรงงานมากกว่าครอบครัวผู้ประกอบการ แต่เกิดในเขตศูนย์กลางโลกาภิวัตน์หรือเขตเมืองและ เทศบาลต่างๆมากที่สุด และหากพิจารณาถึงวิถีความทันสมัยหรือความเป็นโลกาภิวัตน์ที่มีอยู่ใน

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

55


ครอบครัวในประเด็นต่างๆ 6 กลุ่ม ก็จะพบว่าทั้งครอบครัวผู้ใช้แรงงานและครอบครัวผู้ประกอบการ ที่มีการใช้ชีวิตแบบทันสมัยหรือมีความเป็นโลกาภิวัตน์น้อย มีปัญหามากกว่าครอบครัวที่มีความเป็น โลกาภิวัตน์สูงหรือมีวิถีชีวิตที่ทันสมัย ซึ่งมีพฤติกรรมการจัดการชีวิตตามหลักเหตุผลหรือความรู้แบบ วิทยาศาสตร์ 4.2. อภิปรายและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้เน้นการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาครอบครัวในระดับมหภาค ซึ่งต้องมีการ เปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายต่างๆ เพื่อนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันสังคม และ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคม โดยเฉพาะระหว่างสถาบันทางเศรษฐกิจ สถาบันการ ศึกษาหรือการเรียนรู้ต่างๆ และครอบครัว หน่วยงาน องค์กร บุคลากรต่างๆภายใต้สถาบันทางสังคม เหล่านี้ต้องเกิดความตระหนักร่วมกันว่า นโยบายและการดำ�เนินงานใดๆของหน่วยงานหรือองค์กร ทุกกระทรวง ทบวง กรม ล้วนส่งผลต่อปัญหาครอบครัว หน่วยงานและองค์กรต่างๆจึงต้องเข้าใจถึง ปัญหาที่มีความหลากหลายและสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับต่างๆ ต้องมีส่วน ร่วมช่วยแก้ไขปัญหาครอบครัว และถือเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น การสร้างความ สมดุลระหว่างการทำ�งานของสมาชิกต่างๆในครอบครัว ซึ่งนำ�มาสู่การหารายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน ต่างๆในครอบครัว การมีโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ที่ตระหนักถึงปัญหาครอบครัวอื่นๆของเด็ก ครูและครอบครัว ซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนแอในตัวเองและเปราะบางต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆจาก ภายนอก

4.2.1. การลดความไม่เป็นธรรมในการแบ่งงานระหว่างหญิงชายในสถาบันทางเศรษฐกิจ

4.2.1.1. ลดชั่วโมงการทำ�งานให้เหลือวันละแปดชั่วโมง และ หรือ สร้างความยืดหยุ่นในเรื่อง เวลาการทำ�งาน จำ�เป็นต้องมีการดำ�เนินการให้จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานของสมาชิกหลักในครอบครัวลดลง เนื่องจาก “งาน” ได้ยื้อแย่งเวลาครอบครัวซึ่งสมาชิกทุกคนควรมีร่วมกัน ข้อสรุปจากการวิจัยส่วน

56 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


ใหญ่เกี่ยวกับปัญหาในครอบครัว แสดงให้เห็นว่าครอบครัวไม่มีเวลาให้แก่กัน จึงต้องแสวงหา “เวลา ครอบครัว” เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่กันและกัน แต่ไม่ได้เสนอว่าจะทำ�อย่างไรที่จึง ทำ�ให้ “เวลาครอบครัว” เพิ่มขึ้น แต่ในงานวิจัยนี้ชี้ชัดว่า มนุษย์ไม่สามารถหาเวลาเพิ่มให้ครอบครัวได้ หากไม่ลดเวลาการ ทำ�งานลง ดังนั้นมนุษย์ควรทำ�งานไม่เกินวันละแปดชั่วโมงและมีวันหยุดงานตามสมควร (อย่างน้อย ตามที่กฎหมายกำ�หนด) หากมนุษย์ทำ�งานมากกว่าวันและแปดชั่วโมง มีวันหยุดน้อยหรือไม่มีวัน หยุดงาน และยังเผชิญหน้ากับปัญหาอื่นๆ อาทิ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ความรุนแรง สภาพแวดล้อม บ้านที่เสื่อมโทรม เป็นต้น การสร้าง “เวลาครอบครัว” และความสุขของสมาชิก ครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ทำ�ได้ยาก ในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงทางโลกาภิวัตน์ บริโภคนิยมต่างๆ อย่างรวดเร็วและเข้มข้นตลอดเวลา

4.2.1.2. เพิ่มเวลาให้พ่อแม่ได้เลี้ยงดูบุตรในช่วงปฐมวัย

นอกจากการยื้อแย่ง “เวลาครอบครัว” จาก “งาน” แล้ว จำ�เป็นต้องเพิ่มเวลาให้พ่อแม่ได้มี เวลาในการเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียน เด็กที่ได้รับเวลา และการเลี้ยงดูจากพ่อแม่อย่างเต็มที่ จะเป็นผลผลิตสังคมที่จะสร้างครอบครัวใหม่รุ่นต่อไป และเป็น พลังแรงงานสำ�คัญในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นควรขยายเวลาการลางานของพ่อแม่เพื่อดูแลลูกนานขึ้น และการบังคับทางกฎหมายก็ต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเริ่มต้นที่เท่าเทียมแก่เด็กใน ทุกชนชั้นตั้งแต่แรกเกิด มิฉะนั้นเด็กที่เกิดมาจากครอบครัวผู้ใช้แรงงาน จะเสียเปรียบหรือได้รับความ ไม่เป็นธรรมหรือได้รับการเลือกปฏิบัติมากกว่าเด็กในครอบครัวผู้ประกอบการ ดังนั้นสิทธิพื้นฐาน ของเด็กทุกประการ ต้องได้รับการยืนยันและปฏิบัติตาม

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

57


4.2.1.3. ทำ�ให้ “งาน” อยู่ใกล้บ้าน

การยื้อแย่ง “เวลาครอบครัว” จากระบบเศรษฐกิจอีกประการที่พอจะทำ�ได้ก็คือ การลดระยะ เวลาหรือระยะทางเดินทางไปทำ�งานเพื่อเพิ่ม “เวลาของครอบครัว”ของผู้หญิง ในภาวะที่ผู้หญิง ต้องออกไปทำ�งานเช่นเดียวกับผู้ชาย และเมื่อกลับมาบ้านก็ต้องเผชิญหน้ากับภาระงานบ้าน ผู้หญิง จึงทำ�งานเป็นสองเท่าของผู้ชาย และหากงานการผลิตหรืองานนอกบ้านที่ผู้หญิงทำ�นั้น มีการขูดรีด แรงงานเข้มข้น คืองานหนัก ใช้แรงงาน ชั่วโมงการทำ�งานสูง งานอันตราย งานที่ไม่มีความก้าวหน้า และกดค่าจ้างมาก ปัญหาที่เกิดกับผู้หญิงก็จะรุนแรงมากขึ้นดังนั้น หากผู้หญิงสามารถทำ�งานการ ผลิตใกล้บ้าน งานในชุมชน สะดวกในการเดินทางมีความยืดหยุ่นเวลาในการทำ�งาน ไม่ต้องย้าย ถิ่น ใกล้ญาติพี่น้อง สังคมชุมชน ซึ่งอาจช่วยแบ่งเบาภาระได้ ผู้หญิงก็จะมีเวลาเหลือพอที่จะกลับมา ดูแลลูกและบ้าน ดังนั้นการจ้างงานควรให้โอกาสกับผู้หญิงซึ่งมีครอบครัวใกล้ที่ทำ�งานก่อน คล้ายกับ ระบบการศึกษาที่ให้โอกาสแก่เด็กที่อยู่ใกล้โรงเรียน

4.2.1.4. ทำ�ให้โรงเรียนและครูต้องเป็น “บ้านและพ่อแม่คนที่สอง” ของเด็กนักเรียน

การเพิ่มเวลาและคุณภาพการดูแลเด็กนักเรียนที่พ่อแม่หรือครอบครัวมีปัญหา เช่น มีการหย่า ร้าง การเป็นพ่อ หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว บุคคลในครอบครัวป่วยหนัก เผชิญหน้าความตาย ความรุนแรง การย้ายถิ่นทำ�งาน การต้องทอดทิ้งเด็กกับญาติ การเป็นกำ�พร้า หรือปัญหาอื่นๆ ซึ่งอาจทำ�ให้ไม่ สามารถให้การดูแลลูกหรือเด็กในภาวะปกติ เช่น มารับลูกช้า มาส่งเด็กไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเด็ก ทำ�การบ้าน โรงเรียนและครูควรเข้ามาช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาเป็นพิเศษ โดยทำ�หน้าที่เป็นพ่อ แม่คนที่สอง ร่วมมือกับพ่อแม่ของเด็กดูแลเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตระหนักว่าเป็นหน้าที่ ไม่ใช่ทำ� ก็ได้ไม่ทำ�ก็ได้ 4.2.1.5. ทำ�ให้ “งานบ้านของผู้หญิง” เป็นงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและได้รับการคุ้มครอง ทางสังคม งานในความหมายโดยทั่วไปหรือทางเศรษฐศาสตร์นั้น ต้องเป็นงานที่สร้างรายได้ ค่าจ้าง ค่า ตอบแทน หรืองานที่ต้องใช้ฝีมือหรือทักษะ ความหมายของ “งาน” ในลักษณะนี้ จึงมักไม่ครอบคลุม 58 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


การทำ�งานบ้านและการดูแลครอบครัวของผู้หญิง รวมถึงการที่ผู้หญิงอยู่บ้าน รับผิดชอบครอบครัว ไม่ได้ทำ�งานที่มีรายได้ และถูกเรียกว่า อาชีพแม่บ้าน การศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ครอบครัว เพื่อให้เห็นผลผลิตของครอบครัวทั้งงานในความ หมายเศรษฐกิจ งานบ้าน งานผู้หญิง งานผู้ชาย และเพื่อให้ครอบครัวได้รับผลประโยชน์ทางสังคม ที่สูงขึ้น จึงเป็นสิ่งจำ�เป็น การแสดงปัญหาและพื้นที่ชีวิตของผู้หญิงในครอบครัว ต้องนำ�เสนอไปพร้อม ปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้หญิงเหล่านี้ต้องถูกผลักดันให้รับภาระโดยลำ�พังเสมือนเป็นหน้าที่ และถูก ตำ�หนิติเตียนหากผู้หญิงไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ ในขณะที่ปัญหานั้นทวีจำ�นวนและ ภาระอย่างมาก อาทิ การเป็นสังคมและครอบครัวที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น มีผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพแต่ มีอายุยืนมากขึ้นจนทำ�ให้ผู้หญิงอาจต้องลาออกจากงาน หรือทำ�งานไม่เต็มที่เพราะไม่อาจจัดการ หรือละทิ้งปัญหาในครอบครัว เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง งานบ้านหรือการดูแลปัญหาเหล่านี้ จะต้องเป็น “งาน” ที่ได้รับคุณค่า มีความหมายทางเศรษฐกิจและควรได้รับสวัสดิการและการคุ้มครอง ทางสังคมที่เหมือนกับงานอาชีพอื่น

4.2.1.6. สร้างงานในพื้นที่โลกาภิวัตน์น้อยให้กับครอบครัวผู้ใช้แรงงานมากขึ้น

แรงงานภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะแรงงานหญิง ที่ไม่มีที่ดินทำ�กินของตนเองหรือมีธุรกิจ ของตัวเองต้องการทำ�งานและมีรายได้ เพื่อไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานและอยู่ห่างจากลูก และไม่เพียงแต่ผู้ หญิงแม้แรงงานชายก็เช่นกัน เนื่องจากจะทำ�ให้พ่อแม่สามารถยื้อแย่งเวลาจากการทำ�งาน กลับมาทำ� หน้าที่ดูแลครอบครัว ลดปัญหาการหย่าร้าง นอกใจ ต่างๆอีกด้วย

4.2.2. การถอดถอนมายาคติหญิงชายแบบดั้งเดิมและชนชั้น ในครอบครัวและสังคม

4.2.2.1. เปลี่ยนความคิดแบบความเชื่อดั้งเดิมเป็นความคิดหรือตรรกะแบบเหตุผล

ครอบครัวและสถาบันการศึกษา ต้องพยายามสนับสนุนการเปลี่ยนความคิดแบบความเชื่อ ดั้งเดิมซึ่งใช้ความลึกลับ เหนือธรรมชาติเป็นความคิดแบบทันสมัย ซึ่งเน้นการให้เหตุผลชัดเจนเป็น ระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงความรู้ข้อมูลข่าวสาร และการเพิ่มกระบวนการคิดรวมทั้งการ

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

59


ให้เหตุผลที่มีวิธีการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์รองรับ เพื่อไม่ให้หลงในมายาคติต่างๆ และไม่ถูกเอา เปรียบ เป็นต้น เพื่อให้แรงงานสามารถหาประโยชน์ และปรับตัวสู่กระแสโลกาภิวัตน์ได้เท่าเทียมกับ ผู้ประกอบการในศูนย์กลางของโลกาภิวัตน์ เพื่อสร้างความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เป็นการลดความไม่เป็นธรรมทางชนชั้น 4.2.2.2. สังคม

เปลี่ยนแปลงมายาคติเกี่ยวกับการแบ่งงานในบ้านที่ไม่เป็นธรรมทั้งในบ้านและใน

ครอบครัวและสถาบันการเรียนรู้ ต้องช่วยเปลี่ยนแปลงความเชื่อและการปฏิบัติในการแบ่งงาน กันทำ�ในครอบครัวให้เกิดเป็นธรรมระหว่างชายและหญิง รวมทั้งการขัดเกลาเด็กทั้งชายและหญิงให้ ช่วยงานบ้าน เปลี่ยนมายาคติที่ไม่สนใจในความสมดุลระหว่างงานการผลิตกับเวลาของครอบครัว เนื่องจากงานครอบครัวเป็นงานพื้นฐานของสังคมที่สำ�คัญ ดังนั้นต้องไม่ทำ�ให้คุณค่างานอื่นแย่งความ สำ�คัญของงานและเวลาของครอบครัว เช่น การทำ�งานเกินวันละ 8 ชั่วโมง การทำ�งานล่วงเวลาหรือ ควบสองกะ โดยเฉพาะแรงงานหญิง เพื่อให้แรงงานหญิงมีเวลาดูแลครอบครัวและพัฒนาตัวเอง

4.2.2.3. สร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายในสังคม

ความเสมอภาคเป็นพื้นฐานของความสุขและความอบอุ่นทั้งในครอบครัวและสังคม ดังนั้น ต้องไม่ปล่อยให้การใช้อำ�นาจระหว่างเพศ ทำ�ลายความอบอุ่นของครอบครัว โดยการใช้ความรุนแรง กับผู้หญิงและผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่ปล่อยให้ชายผลักภาระงานดูแลบ้านครอบครัวและลูกให้ผู้หญิง และ ให้ผู้หญิงต้องแบกรับภาระการทำ�งานหรือทำ�มาหากินเกินกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน ต้องไม่ส่งเสริมมายา คติต่างๆเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ อาทิ การนอกใจคู่ครองทั้งหญิงและชาย เป็นต้น ทำ�นองเดียวกันใน สถาบันทางสังคมอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ทำ�งาน ก็ต้องส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อทำ�ให้ สังคมและครอบครัวดีขึ้นด้วย

60 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


4.2.2.4. การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอื่นๆให้กับผู้ใช้แรงงาน ความเป็นธรรมเป็นพื้นฐานของความสุขของสังคมและครอบครัว ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ทำ�ให้ครอบครัวของผู้ใช้แรงงานมีความทุกข์ บีบคั้นให้ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความสุขดังนั้น การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมให้กับครอบครัว เป็นความจำ�เป็นพื้นฐานของสังคมโลกาภิวัตน์ที่ อาจสำ�คัญมากกว่าความจำ�เป็นพื้นฐานที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้ มีฐานะความเป็นอยู่ดี ได้มาตรฐานสังคมสมัยใหม่ มีอาชีพที่มั่นคงทั้งช่วงที่ทำ�งานว่างงานหรือเกษียณ จากงาน งานที่ปลอดภัยมีเกียรติ มีรายได้เพียงพอ การทำ�ให้งานบ้านเป็นงานที่ได้รับผลตอบแทน งาน บ้าน งานแม่บ้าน หรือแม้แต่งานบ้านที่ผู้ชายเข้ามาทำ� โดยเฉพาะการดูแลบุตร ผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นงานที่มีรายได้และมีสวัสดิการ การทำ�ให้ครอบครัวมีทรัพยากรที่จะเลี้ยงดูลูกอย่างมีคุณภาพเท่า เทียมกัน เพื่อเริ่มต้นความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน การให้มีความรู้พื้นฐานการศึกษาจนจบขั้น สูงสุดหรือตามที่ต้องการ การมีบ้านที่ดีเป็นของตนเอง มีสิ่งแวดล้อมของบ้านและชุมชนที่มีสุขภาวะดี

สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

61


62 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


บรรณานุกรม ภาษาไทย

5

• กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2554).งานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยด้านการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระหว่างปี 2546-2552.กระทรวง การพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์. • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555).แผนยุทธศาสตร์การวิจัยของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555-2559.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์. • เคียวโกะ คูซาคาเบ้. (2549). การสร้างความสมดุลระหว่างงานและครอบครัว ประเด็นปัญหาและนโยบายใน ประเทศไทย.สภาพงานและการจ้างงานลำ�ดับที่ 14 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กรุงเจนีวา. •จิราพร ชมพิกุลและคณะ. (2552). รายงานการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัวไทย.สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขมูลฐานอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. • บังอร เทพเทียนและคณะ. (2550). รายงานการวิจัยโครงการสำ�รวจสภาพครอบครัวตามตัวชี้วัดสถาบัน ครอบครัวเข้มแข็ง.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล. • สุพจน์ เด่นดวง และนาถฤดี เด่นดวง. (2558). รายงานการวิจัยโครงการครอบครัวเข็มแข็งกับความขัดแย้ง ระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์.คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัย มหิดล. • ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย. (2553). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคง ของครอบครัว.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. • สำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี.(2554).การศึกษาและวิจัยกระบวนการมี ส่วนร่วม ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่สถาบันครอบครัวในชุมชนชนบท: กรณีศึกษาชุมชนชนบท5 แห่งในจังหวัดอุบลราชธานี. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. • สำ�นักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2554). บทบาทของครอบครัวกับการป้องกันการ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. บรรณานุกรม

63


ภาษาอังกฤษ

• Arber, S. (1991). Class, paid employment and family roles: Making sense of structural disadvan tage, genderand health status. Social Science & Medicine, 32(4), 425-436. • Campo, P., Eaton, W. W., &Muntaner, C. (2004). Labor market experience, work organization, gender inequalities and health status: results from a prospective analysis of US employed women. Social Science & Medicine, 58(3), 585-594. • Connell, R. Gender, health and theory: Conceptualizing the issue, in local and world perspective. Social Science & Medicine, 74(11), 1675-1683. • Culbertson, S. S., Mills, M. J., &Fullagar, C. J. Work engagement and work-family facilitation: Making homes happier through positive affective spillover. Human Relations, 65(9), 1155-1177. • Finn, J. L., Nybell, L. M., & Shook, J. J. The meaning and making of childhood in the era of globalization: Challenges for social work. Children and Youth Services Review, 32(2), 246- 254. • Garca-Calvente, M., Marcos-Marcos, J., del Ro-Lozano, M., Hidalgo-Ruzzante, N., &Maroto-Navarro, G. Embedded gender and social changes underpinning inequalities in health: An ethnographic insight into a local Spanish context. Social Science & Medicine(0). • Glavin, P., &Schieman, S. Work “Family Role Blurring and Work “Family Conflict. Work and Occupa tions, 39(1), 71-98. • Ilies, R., De Pater, I. E., Lim, S., &Binnewies, C. Attributed causes for work “family conflict: Emotional and behavioral outcomes. Organizational Psychology Review.

• Lado, C. (1992). Female labour participation in agricultural production and the implications for nutrition and health in rural Africa.Social Science & Medicine, 34(7), 789-807.

64 ปัญหาครอบครัวกับความขัดแย้งระหว่าง “งาน” กับ “ครอบครัว” ในสังคมโลกาภิวัตน์


• Moss, N. E. (2002). Gender equity and socioeconomic inequality: a framework for the patterning of women’s health. Social Science & Medicine, 54(5), 649-661. • O’Connor, M. A. (2005). Corporate social responsibility for work/family balance.St. John’s Law Re view, 79(4), 1193-1220. • Solera, C. (2009). Combining Marriage and Children with Paid Work: Changes across Cohorts in Italy and Britain. Part of a special issue: Patterns of Change and Continuity: Understanding Current Transformations in Family Life, 40(4), 635-659. • Steptoe, A., Lundwall, K., &Cropley, M. (2000).Gender, family structure and cardiovascular activity during the working day and evening. Social Science & Medicine, 50(4), 531-539. • Walters, V., McDonough, P., &Strohschein, L. (2002). The influence of work, household structure, and social, personal and material resources on gender differences in health: an anal ysis of the 1994 Canadian National Population Health Survey. Social Science & Medicine, 54(5),677-692.

บรรณานุกรม 65


สาเหตหุลกัของปญ ั หาคอื ความขดัแยงในการทาำงานระหวางสามแีละภรรยา เนอืงจากผหูญงิทตีองมบีทบาทเปน็ “ภรรยา” และ “แม” ของครอบครวันนัตองทางาน ำ หนักมากกวาแปดชัวโมงตอวันเพือหารายไดและมีจำานวนชัวโมงการทำางานในแตละวันสูง ถงึ 8 หรอืมากกวา 8 ชวัโมง ผหูญงิหรอืภรรยาเหลานเีมอืเลกิงาน กลบับานกย็งัตองรบั ภาระงานบานเปน็หลกั สามบีางสวนอาจรวมรบัภาระแตสดัสวนของการชวยงานบานยงั นอย การทำางานบานมคีวามหมายและความสำาคญ ั อยางมากในครอบครวั เนอืงจากเปน็ ชวงเวลาทสีามี ภรรยา และลกูจะไดใชเวลารวมกนั ไดพงึพา แบงปนั แลกเปลยีนและทาำ กจิกรรมตางๆรวมกนั แมวากจิกรรมนนัจะยงัคงเปน็งานหรอืภาระ ดงันนัการทสีามไีมชวย ทำางานบาน จงึทาำใหบทบาทในการเปน็พอและสามลีดนอยลงไปและไมเกดิความรวมทกุข รวมสขุในครอบครวั


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.