แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

Page 1

0

(Performance Agreement : PA) 1

. . 2564

30

. . 2565 . . 2565


1

คำอธิบายข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) คำชี้แจงการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการ ครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การ เรียนรู้ ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ สมรรถนะ ที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและ วิทยฐานะ ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและ กระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา งาน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความ เห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของ ผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ การแก้ปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้าง การเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้ สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับ มอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้ 1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับ ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง 2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้จัดทำ ข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้ เดิม ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับ มอบหมายใหม่


2

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู(ยังไม่มีวิทยฐานะ) (ทุกสังกัด) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565 ผู้จัดทำข้อตกลง ชื่อ นายเทพนครินทร์ นามสกุล คำพันธ์ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย สถานศึกษา โรงเรียนหนองหว้าวิทยาสรรค์ สังกัด สพป.หนองบัวลำภูเขต 1 รับเงินเดือนในอันดับ ครูผู้ช่วย อัตราเงินเดือน 18,060 บาท ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการ จัดการเรียนรู้จริง)  ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน  ห้องเรียนปฐมวัย  ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ  ห้องเรียนสายวิชาชีพ  ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึง่ เป็นตำแหน่ง ทีก่ ำลังจะได้รับการแต่งตั้งในภาคเรีนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน

9 7 2 2 2 2

ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมง/สัปดาห์


3

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ ละด้าน ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้) ลักษณะงานที่ปฏิบัติ งาน (Tasks) ผลลัพธ์ (Outcomes) ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะดำเนินการพัฒนา ของงานตามข้อตกลง ที่ ที่จะเกิดขึ้นกับผูเ้ รียน ตามมาตรฐาน ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ คาดหวังให้เกิดขึ้น กับ ที่แสดงให้เห็นถึงการ ตำแหน่ง

1. ด้านการจัดการ เรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอให้ ครอบคลุมถึงการสร้าง และหรือพัฒนา หลักสูตรการออกแบบ การจัดการเรียนรู้การ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่ง เรียนรู้ การวัดและ ประเมินผลการจัดการ เรียนรู้ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือ พัฒนาการเรียนรู้ การ จัดบรรยากาศที่ ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียน และการอบรม และพัฒนา คุณลักษณะที่ดีของ ผู้เรียน

การประเมิน

ผู้เรียน

เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดี ขึ้นหรือมีการพัฒนา มาก ขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น

1.1-1.2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร และ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ - วิเคราะห์มาตรฐานและสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) - พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ กำหนด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ ละคาบ และจัดทำกำหนดการสอน - จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสาระการ เรียนรู้พื้นฐาน โดยออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เน้น Active Learning ส่งเสริมทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะการ ใช้ภาษา และทักษะการใช้เทคโนโลยี 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Active Learning โดยใช้วิธีการแบบเปิด (OpenApproach) พัฒนาโมเดลการเรียนรู้สำหรับชุด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ ชีวิตจริง ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดเชื่องโยงทาง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นม. 1 และใช้ เทคนิคที่หลากหลาย เช่น การใช้สื่อเทคโนโลยี กระบวนการกลุ่ม การเสริมแรงทางบวก ฯลฯ

1.1-1.2 นักเรียนได้ เรียนรู้ครบตามตัวชี้วัด แกนกลาง มีพฤติกรรม การเรียนรู้ ทักษะ/ กระบวนการ และ คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามจุดประสงค์ การเรียนรู้รายหน่วยการ เรียนรู้และรายคาบ

1. นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 2. นักเรียนร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่าระดับดี 3. ระดับความพึงพอใจ ในการเรียน คณิตศาสตร์เฉลี่ย ไม่น้อยกว่าระดับดี

1.3 นักเรียนได้เรียนรู้ ตามแผนการจัดการ เรียนรู้ที่เน้น Active Learning มีทักษะการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ทักษะการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ มีทักษะการ นำเสนอ และมีทักษะ การทำงานเป็นทีม

1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้เรียนรู้ตามแผนการ จัดการเรียนรู้ 2. นักเรียนร้อยละ 80 ได้ฝึกทักษะการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ทักษะการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ ทักษะการ นำเสนอ และทักษะการ ทำงานเป็นทีม


4

1.4 พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ - สร้างโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ใกล้ตัว นักเรียน - พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ สอดคล้องกับชีวิตจริง ร่วมกับแนวคิดห้องเรียน กลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่องโยงทาง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ใช้ I-class Platform ในการจัดการเรียนรู้ - ใช้สื่อสิ่งประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ - ใช้เกม และสื่อเทคโนโลยีอื่นๆ ในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามสภาพจริง ดังนี้ - บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ - บันทึกการส่งแบบฝึกหัด/ใบงาน/ ใบกิจกรรม/ชิ้นงาน - สอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ - ประเมินทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ - ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ - ทดสอบปรนัย (googleform) - ทดสอบอัตนัย (แบบกระดาษ) 1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัย เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ - วิเคราะห์ นักเรียนเป็นรายบุคคล - จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาชุด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ ชีวิตจริง ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดเชื่องโยงทาง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ - รับการนิเทศชั้นเรียน

1.4 นักเรียนได้ใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ที่สอดคล้อง กับชีวิตจริง ร่วมกับ แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสอง ตัวแปร ใช้ I-class Platform และใช้เกมที่ครู สร้างขึ้น ในการเรียนรู้ และฝึกการคิดเชื่อมโยง และทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ 1.5 นักเรียนได้รับการวัด และประเมินผลที่ หลากหลายตามความรู้ และความถนัดของตนเอง ทำให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการเรียน การทำงาน และการ ติดตามการส่งงาน

1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้ใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ สอดคล้องกับชีวิตจริง ในการเรียนรู้ 2. นักเรียนร้อยละ 70 มีพัฒนาการการเรียนรู้ ในทางที่ดีขึ้น

1.6 นักเรียนได้รู้ผลการ ทำงาน ผลการส่งงาน ผล การเรียนรู้ของตนเองเมื่อ เรียนจบในแต่ละหน่วย การเรียนรู้ สามารถ ปรับปรุงการเรียนรู้ของ ตนได้ และทำให้นักเรียน ได้รับการสอนซ่อมเสริมที่ เหมาะสมกับรูปแบบการ เรียนรู้ของตนเอง

1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการติดตาม ช่วยเหลืออย่างเป็น ระบบ 2. นักเรียนที่มีผลการ เรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการช่วยเหลือเป็น รายบุคคล

1. นักเรียนร้อยละ 80 ส่งแบบฝึกหัด/ใบงาน/ ใบกิจกรรม/ชิ้นงาน ไม่ น้อยกว่าร้อยละ 65 2. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการวัดและ ประเมินผลที่ หลากหลาย


5

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน - มีการพัฒนาการจัดบรรยายกาศในชั้นเรียน ให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เช่น มีการจัด เปิดภาพยนต์สั่นเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน ให้ นักเรียนดูก่อนเริ่มการเริ่มชั้นเรียน - จัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนฝึกอภิปราย และส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้มีโอกาส นำเสนอความคิดเห็น และออกมานำเสนอ หน้าชั้นเรียนเป็นประจำ - จัดป้ายนิเทศภายในชั้นเรียน - ใช้สื่อ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดระยะเวลาใน การเรียนรู้ของนักเรียน สามารถทำความ เข้าใจได้ง่ายขึ้น 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียน - ส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน คือ ความ รับผิดชอบในการส่งภาระงาน และมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในการทำงานในรายวิชา คณิตศาสตร์ และทดสอบความรู้ด้วยตนเอง - หยิบประเด็นที่ใกล้ตัว ประเด็นที่เป็นที่พูดถึง หรือประเด็นสมติ เพื่อชวนนักเรียนพูดคุย แลกเปลี่ยน และอมรมคุณธรรมจริยธรรม - จัดกิจกรรมโฮมรูม จัดทำแบบบันทึกการทำ เวร การทำความสะอาดบริเวณ - ประพฤตตนเป็นแบบอย่างที่ดี – ส่งเสริมกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่ดี ของนักเรียน

1.7 นักเรียนเรียนรู้ด้วย ความรู้สึกพร้อมในการ เรียน มีส่วนร่วมกับ กิจกรรมในชั้นเรียน และ การสะท้อนการจัดการ เรียนรู้ เกิดความรู้สึก รู้สึกสนุก เร้าใจ ภาคภูมิใจ เกิดแรง บันดาลใจ เห็นคุณค่าใน การเรียน และประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้

1. นักเรียนร้อยละ 70 มีส่วนร่วมในการจัด ป้ายนิเทศและตกแต่ง ชั้นเรียน 2. นักเรียนร้อยละ 70 สามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีในการเรียนรู้ 3. ระดับความพึงพอใจ ในการเรียนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่าระดับดี

1.8 นักเรียนได้รับการ พัฒนาคุณลักษณะที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน และเป็นพลเมืองที่ดีของ โลก เกิดแรงบันดาลใจ เห็นคุณค่า และ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนาคุณลักษณะ

1. นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ตั้งแต่ ระดับดีขึ้นไป


6

2. ด้านการส่งเสริม และสนับสนุน การ จัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอ ให้ครอบคลุมถึง การ จัดทำข้อมูล สารสนเทศของ ผู้เรียนและรายวิชา การดำเนินการตาม ระบบดูแลช่วยเหลือ ผู้เรียน การ ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของ สถานศึกษา และการ ประสานความร่วมมือ กับผู้ปกครอง ภาคี เครือข่าย และหรือ สถานประกอบการ

2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและ รายวิชา โดยใช้ Google form และ โปรแกรม Microsoft Excel ในการจัดเก็บ ข้อมูล และสรุปสารสนเทศในรูปแบบกราฟ แท่ง และรายงานผลสะท้อนกลับให้นักเรียน ทุกสัปดาห์ที่มีการบันทึกผลการเรียนรู้ เพื่อให้ นักเรียนทราบว่า ต้องปรับปรุงแก้ไขผลการ เรียนในหัวข้อใดบ้าง หรือนักเรียนคนใดยัง ไม่ได้ทดสอบ หรือส่งภาระ/ชิ้นที่กำหนด 2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือ ผู้เรียน - บันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคน ทั้งตามแบบปพ.ต่างๆ และผ่านช่องทาง Social network มี facebook group, messenger group หรือ line group เพื่อ แจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับนักเรียน - จัด กิจกรรมโฮมรูมนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมให้นักเรียนและแจ้งข้อมูลข่าวสาร ที่สำคัญให้กับนักเรียนทราบ - มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับ นักเรียนที่มีความบกพร้องในการเรียนรู้ 2.3 ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียน ดังนี้ - ร่วมปฏิบัติงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - รับผิดชอบโครงการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร - รับผิดชอบงานคัดกรองนักเรียนยากจน งาน ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน และงาน นักเรียนทุนเสมอภาคทางการศึกษา - ร่วมเป็นคุณครูแกนนำ smart teacher ของ สพป.หนองบัวลำภู เขต 1

2.1 นักเรียนได้รับการ ปรับปรุง แก้ไข และ พัฒนา เป็นรายบุคคล ตามข้อมูลสารสนเทศ ประจำวิชา

2.2 นักเรียนได้รับการ ดูแล ผ่านระบบดูแล ช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อ แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ในเรื่องของการปรับตัว ในการเรียน การใช้ชีวิต ในโรงเรียน และปรับ พฤติกรรมให้เหมาะสม เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน

1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาผล การเรียนรู้ให้ผ่าน เกณฑ์ที่กำหนด

1. นักเรียนร้อยละ 80 เข้าร่วมเครือข่ายสังคม ออนไลน์ และได้รับ การประสานความ ช่วยเหลือร่วมกัน 2. นักเรียนร้อยละ 80 ได้ผ่านกิจกรรมโฮมรูม 3. นักเรียนที่มีความบก พร้องในการเรียนรู้ ร้อยละ 100 ได้รับการ ประสานความ ช่วยเหลือร่วมกัน 2.3 นักเรียนได้รับการ 1. นักเรียนร้อยละ 80 พัฒนาความรู้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ ความสามารถ ทักษะ/ โรงเรียนได้จัดขึ้น กระบวนการทาง 2. นักเรียนยากจน คณิตศาสตร์ ทักษะการ และนักเรียนทุนเสมอ สื่อสารภาษาอังกฤษ ภาคทางการศึกษา ทักษะชีวิตผ่านกิจกรรม/ ร้อยละ 100 โครงการต่างๆ ที่โรงเรียน ได้เข้าร่วมกิจกรรมตาม จัดขึ้น ได้ใช้ I-class วัตถุประสงค์โครงการ platform ตลอดจนสื่อ นวัตกรรมที่ครูพัฒนาขึ้น ในรูปแบบต่างๆ


7

3. ด้านการพัฒนา ตนเองและวิชาชีพ ลักษณะงานที่เสนอให้ ครอบคลุมถึง การ พัฒนาตนเองอย่างเป็น ระบบ และต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง วิชาชีพ เพื่อพัฒนาการ จัดการเรียนรู้ และการ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ ได้จากการพัฒนา ตนเอง และวิชาชีพมา ใช้ในการพัฒนา การ จัดการเรียนรู้ การ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนา นวัตกรรม การจัดการ เรียนรู้

2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ - ดำเนินกิจกรรมกรรมเยี่ยมบ้านออนไลน์ - มีกลุ่มสังคมออนไลน์สำหรับแจ้งข้อมูล ข่าวสารของทางโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง - มีช่องทางอื่นๆสำหรับติดต่อผู้ปกครอง 3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการอบรมกับหน่วยงานที่จัดการอบรม เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ในระบบ ThaiMooc อบรม พัฒนาเองเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ การศึกษา เช่น I-class Platform การใช้ เว็บไซต์ CANVA เพื่อสร้างสื่อการเรียนการ สอน ใบกิจกรรม ใบความรู้ โปสเตอร์ สไลด์ ในการนำเสนอ เป็นต้น และศึกษาค้นคว้าหา ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ครู จากเว็บไซต์คุรุสภา หรือหน่วยงานทาง การศึกษา 3.2-3.3 มีส่วนในการเป็นเข้าร่วมชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง วิชาชีพ ผ่านกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ และนำผลจากการประชุม PLC ไปสร้างเป็น สื่อ นวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน หรือแก้ไขนักเรียนที่มีผลการ เรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2.4 ประสานความ ร่วมมือกับผู้ปกครองใน การกำกับติดตาม นักเรียนในการเรียนการ เรียน และพฤติกรรมให้ เหมาะสม 3.1 นักเรียนได้เรียนรู้ เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านการจัดการเรียนรู้ ด้วยเรียนรู้ผ่าน ชุด กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ ฯ/ I-class Platform/ สื่อหรือนวัตกรรมที่ครู สร้างขึ้น

1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการเยี่ยมบ้าน 2. ผู้ปกครองนักเรียน ร้อยละ 80 ได้รับการ ประสานความช่วยเหลือ ผ่านช่องทางต่างๆ 1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้พัฒนาตนเอง ด้านคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ สมการเชิงเส้นสองตัว แปร ผ่าน ชุดกิจกรรม ทางคณิตศาสตร์ฯ/ Iclass Platform/ สื่อ หรือนวัตกรรมที่ครู สร้างขึ้น

3.2-3.3 นักเรียนที่มี ปัญหาในการเรียนรู้ได้รับ การแก้ไขด้วยสื่อ นวัตกรรมที่ได้จากการ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ หรือ PLC

1. นักเรียนร้อยละ 100 ของกลุ่มนักเรียน ที่มีปัญหาในการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ผ่าน เกณฑ์ที่กำหนด

หมายเหตุ+ 1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบ PA1 ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบ ร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง 2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้ นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้โดย จะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2 3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes)และตัวชี้วดั (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และ การประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการ เรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมิ นจากเอกสาร


8

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมี การพัฒนามากขึ้น(ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้) ประเด็นท้าทาย “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่องโยง ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” 1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ จากสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยและของโรงเรียนหนองหว้าวิทยาสรรค์ มีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่อง (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, 2560) ประกอบกับในการจัดการเรียนการสอนในภาค เรีย นที่ ผ ่านมาพบว่า นักเรีย นโรงเรีย นหนองหว้าวิทยาสรรค์ มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการคิดเชื่อมโยงที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งนักเรียนมีบุคลิกขาดความ มั่นใจในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ การแสดงออก การทำงานเป็นทีม และการนำเสนอผลงานของตน ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากสาเหตุหลาย ประการ ได้แก่ ปัญหาเกิดจากเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นการคิดคำนวณความคิด รวบยอด และทักษะที่มีโครงสร้างแสดงความเป็นเหตุเป็นผล สื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมีลักษณะเป็น นามธรรม จึงยากต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว (ยุพิน พิพิธกุล, 2545: 1–3) ปัจจัยในด้าน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ อก็ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ เช่นกัน จากปัญหาและหลังการข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตตร์ ได้ให้ ความสำคัญในการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การ กิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุวัตถุประสงค์ได้ คือ การนำเทคนิค วิธีการสอน สื่อและนวัตกรรมประกอบกิจกรรม การเรียนรู้ สุวิมล มธุรส (2564) ได้กล่าวถึง การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID19 ไว้ดังนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของวิกฤต COVID-19 เป็นโอกาสสำคัญในการจัดการศึกษาตามวิถี New Normal ซึง่ เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดครั้งใหญ่ที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการปรับ หลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด -19 และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ เพิ่ม ความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียนรู้และความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ของอาจารย์ ออกแบบ หน่วยการเรียนรู้และสอนอย่างมีแผนที่เหมาะสมรวมถึงการยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนาเพื่อ ไม่ให้ นักศึกษาเสียโอกาสพัฒนาความรู้และ ทักษะ โดยเฉพาะความรู้ด้านภาษาและการคำนวณ แม้ไม่มีโควิด -19 ระบบการศึกษาไทยก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลาจากปัจจัยขับเคลื่อนจำนวนมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้าน สังคม เช่น โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลง ด้าน เทคโนโลยี Disruptive Technology ที่ทำให้ทักษะที่เป็น ความต้องการเปลี่ยนไป และด้านการเมืองการปกครอง เช่น การดำเนินนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เป็น


9

ต้น โควิด-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่รอทำอยู่ ให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้มาใช้ในวงกว้างยิ่งขึ้น จาการศึกษาแนวคิดและงานวิจัยหลายชิ้น พบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ งที่สามารถนําไปสู่ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีก ทั้งยังส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ เนื่ องจาก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้รับการ ยอมรับวาเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้จัดประสบการณ์่การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยประกอบด้วยวัสดุ อุปกรณ์ หลายๆ อย่างทีช่ ่วยในการเรียนรู้ โดยผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอยางอิสระและตามความสนใจ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ร่วมกับ แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชื่องโยงทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 2.1 ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลชุมชน และงานวิจัยที่ได้จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน พร้อม กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนาชุดกิจกรรมฯ 2.2 พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ทสี่ อดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับแนวคิดห้องเรียน กลับด้านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 2.2.1 กำหนดเนื้อหาที่ใช้ กำหนดสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยี รูปแบบ/แนวคิด/วิธีการในการจัดการเรียนรู้ และรายละเอียดต่างๆ 2.2.2 กำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน ชุดกิจกรรมฯ 2.2.3 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้สำหรับ ชุดกิจกรรมฯ 2.2.4 กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในวัดและการประเมินผล และกำหนดวิธีการวิเคราะห์ ข้อมูล ของชุดกิจกรรมฯ 2.3 นำ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ทสี่ อดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับ ด้านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปใช้จัดการเรียนรู้ให้กันนักเรียน 2.3.1 ทดสอบการเรียน และปฐมนิเทศเพื่อแจ้งแนวทางในการเรียนรู้ 2.3.2 จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยมีการ ประเมินผลนักเรียนและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้รายคาบ 2.3.3 วัดผลการเรียนรู้หลังเรียน 2.4 วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ และจัดทำรายงานเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน


10

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 3.1 เชิงปริมาณ 3.1.1 ค่าดัชนีประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 3.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3.1.3 ความสามารถการเชื่อมโยงความรู้ของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3.2 เชิงคุณภาพ 3.2.1 นักเรียนเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องต่างๆ เชื่อมโยงความรู้ในวิชาอื่น หรือความรู้ในชีวิตจริงเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ 3.2.2 นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบาย หรือแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ 3.2.3 นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ซึ่งตรงกับ PISA Framework 2021 รวมถึงสมรรถนะ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ อื่นๆ 3.2.4 นักเรียนได้พัฒนาทักษะการนำเสนอ การใช้ภาษา และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่ง ในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 3.2.5 นักเรียนได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม 3.2.6 นักเรียนมีความกล้าแสดงออก มั่นใจในตนเอง และเรียนรู้อย่างมีความสุข ลงชื่อ (นายเทพนครินทร์ คำพันธ์) ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ................/.............../................... ความเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ( ) เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ( ) ไม่เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปแก้ไข และเสนอ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้ ....................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ (นายอดุลย์ แสงมุกดา) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองหว้าวิทยาสรรค์ ................/.............../...................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.