Thaiprint Magazine Vol.119

Page 1

01 Cover edit_Pc4.pdf 1 15/2/2562 10:27:43


02 Ad Idea Pc4.pdf 1 12/2/2562 20:56:15


Ad Superior Dilli #119_pc4.pdf 1 10/1/2562 15:59:17


ผลิ ต ภั ณ ฑ์

เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน Moving Forward to Green Print

ปลอดภัยตอผูใช

ลูกกลิ้งเสื่อมเร็ว สารกอมะเร็ง

เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม สารไวไฟ

ผสมน้ำได

การใชน้ำมันกาด กอใหเกิดผลอยางไร มีกลิ่นฉุน

น้ำยาลางแบบใหม ดีอยางไร ถนอมลูกกลิ้ง

เปนอันตรายตอผูใช

$ $ $

ใชในปริมาณมาก

ลดตนทุนระยะยาว

ไมมีกลิ่นฉุน

ใชปริมาณนอย

จำหนายน้ำยาลางหมึกแทนน้ำมันกาด และน้ำยาลางหมึกพิมพ UV คุณภาพสูง บริษัท แอลฟา โปร เคมีคอล จำกัด

300 ซ.เพชรเกษม 42 แยก 1 ถ.เพชรเกษม แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 Tel: 0-2457-4886, 0-2457-4889 Fax: 0-2869-5515 www.alphaprochemical.com

06 Ad Alphaprochemical #109_pc3.indd 6

23/9/2558 14:21:28


เพิ่มศักยภาพ ให้กับธุรกิจงานพิมพ์ของคุณ l l l l l l

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท 5 สี เร็วที่สุด 160 แผ่นต่อนาที มีฟังก์ชั่น เข้าเล่ม ไสกาว หรือ เย็บมุงหลังคา ได้อัตโนมัติ พิมพ์งาน ปริมาณมากได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีความร้อน หมึกพิมพ์กันน้ำา ชนิดพิเศษ ได้รับมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อม และเป็นที่ ยอมรับจากทั่วโลก ปลอดกลิ่น ไร้มลพิษ

บริษัท ริโซ่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

825 อาคารไพโรจน์กิจจา ชั้น 10 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0 2361 4643 แฟกซ์ 0 2361 4652 http://www.riso.co.th/ or http://www.riso.co.jp/

05 Ad Riso Pc4.indd 1

22/11/2561 23:00:14


06 Ad Ricoh 119_N Pc4.indd 6

11/2/2562 20:16:56


07 Ad KURZ_pc4.pdf 1 26/11/2561 10:57:03


Ad Harn#119_pc4.indd 1

1/2/2562 11:46:05


Ad T Paiboon_Pc4.indd 1

16/5/2561 15:56:26


110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 4

12/9/2560 14:01:20


11 MD magazine_pc4.pdf 1 23/11/2561 1:52:34


AD_soontorn new _pc3.pdf 1 23/8/2560 9:29:08

Digital & Offset Printing, Quick!

We can print even one piece with highest quality. Leaflet, Brochure, Photo Book, Personalized Mailing, Postcard, Hand Book Business Card, Report, Seminar Document, Menu, Label & Packetging etc. บริการพิมพงานระบบดิจิตอลคุณภาพสูง งานพิมพเรงดวน พิมพมาก พิมพนอย ไดตามความตองการ รวดเร็ว ไมตองทำฟลม ไมตองทำเพลท ประหยัดเวลาและคาใชจาย สีสันสดใส คมชัด คุณภาพสูง

บริการพิมพงานระบบอิงคเจ็ท บริการพิมพงานระบบดิจิตอล

ปายไวนิล ปายโฆษณา Roll up, X-Stand, J-Flag, Canvas พิมพสติกเกอร ฉลากสินคา ฟวเจอรบอรด พรอมไดคัทครบวงจร ฯลฯ

นามบัตร บัตรสมาชิก แผนพับ ใบปลิว โบรชัวร โปสการด วุฒิบัตร เมนูอาหาร แค็ตตาล็อกสินคา หนังสือ นิตยสาร พ็อกเก็ตบุค ปฎิทิน โฟโตบุค สติกเกอร ฉลากสินคา ฯลฯ

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 4

110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 55

055 8/9/2560 3:26:09


The besT of LeD UV prinTing in The worLD. พิมพ์ได้ทั้งงาน Packaging, สลาก, งานหนังสือ และ commercial printing พิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลายเช่น กระดาษ พลาสติก กระดาษฟอลย์

ข้อดีของระบบการพิมพ์ LeD UV Power consumption การใช้พลังงาน Life span of lamp อายุของหลอด Heat/ ozone Space การใช้เนื้อที่ในการติดตั้ง

A3-Size Portrait

Conventional UV 71.1 KWh. (2 lamps type)

approx. 1,000 hrs. YES (need duct works) Peripheral equipment needs almost the same size of machine

A3-Plus

No heat/ No ozone saving 75%

A2-Size

520GX-4

340PCX-2

Max. Sheet Size 13.39 x 17.72 นิ้ว

LED-UV 6.4 KWh. (standard type) saving over 90% approx. 15,000 hrs.

690ST-4

(with coating unit)

Max. Sheet Size 14.76 x 20.47 นิ้ว

A1-Size

B2-Size

Max. Sheet Size 20 x 27 นิ้ว 1,020/1,050mm Format

920PF-8

Max. Sheet Size 25.2 x 36.22 นิ้ว

790ST-5

(with coating unit)

Max. Sheet Size 23.62 x 31.02 นิ้ว 1,130mm Format

1130TP-10

1050LX-6

(with coating unit)

Max. Sheet Size 29.53 x 41.34 นิ้ว

สอบถามข้อมู ลเพิ่มเติมได้ท่ี บริษทั ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จ�ำกัด

Max. Sheet Size 32.28 x 44.49 นิ้ว

576/68 ถนนสาธุ ประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กทม. 10120 โทรศัพท์ 02-682-3411-4 THAIPRINT MAGAZINE 114

โทรสาร 02-682-3415 email: cybersm751@csloxinfo.com 110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 79

079

www.cybersm.co.th

8/9/2560 3:10:55


Editor ISSUE 118

ปี 2562 ซึง่ เป็นปีหมูทอง ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถึ ง ช่ ว งที่ ว ารสารฉบั บ นี้ ถึ ง มื อ สมาชิ ก ก็ อ ยู ่ ใ นช่ ว ง เดือนที่ 2 ของปีเข้าไปแล้ว อาจจะเป็นเพราะอายุ มากขึน้ จึงท�ำให้รสู้ กึ ว่าเวลาเดินไปเร็วมากขึน้ แต่เมือ่ มองอีกที คงเป็นเพราะภาระหน้าทีท่ เี่ พิม่ มากขึน้ ส่งผล ให้เราต้องคิดและใช้เวลากับแต่ละเรือ่ งมากขึน้ เพือ่ ให้ ทุกอย่างจบโดยเร็วทีส่ ดุ หรืออาจจะเป็นสนุกกับงาน มีความสุขกับการท�ำงานจึงเพลินกับการท�ำงานจน ลืมมองเวลา ท�ำให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่รตู้ วั วารสาร Thai Print ฉบับที่ 119 ในมือของ สมาชิ ก ฉบับนี้ยัง คงน� ำเสนอเนื้อ หาที่หลากหลาย อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาความรู้ และความเคลื่อนไหว ในแวดวงการพิมพ์ เช่นเคย โดย High Light ทีส่ ำ� คัญ คือ บทสัมภาษณ์คณ ุ พรเทพ สามัตถิยดีกลุ ประธานบริษทั ศิรวิ ฒ ั นา อินเตอร์ พริน้ ท์ จ�ำกัด มหาชน ทีจ่ ะมาเสนอ ไอเดียส�ำหรับการปรับตัวในยุคที่หลายๆ คนมองว่า เป็น Sun set ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งสมาชิก อาจจะน�ำข้อมูลที่ได้รับนี้ไปต่อยอดกับธุรกิจได้บ้าง ไม่มากก็นอ้ ย สมาคมการพิมพ์ไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสาร Thai Print ฉบับนี้จะได้รับความสนใจจาก สมาชิกทุกท่านเช่นเดิม โดยเราสัญญาว่าจะสรรหาสาระ ใหม่ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ วงการพิมพ์ มาน�ำเสนอต่อ สมาชิกให้มากยิง่ ขึน้

นายกสมาคม คุณพงศ์ธรี ะ พัฒนพีระเดช อุปนายก คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม, คุณณรงค์ศกั ดิ์ มีวาสนาสุข, คุณวิทยา อุปริพทุ ธิพงศ์, คุณธีระ กิตติธรี พรชัย, คุณนิธิ เนาวประทีป, คุณพชร จงกมานนท์, คุณธนิต วิรยิ ะรังสฤษฎ์ เลขาธิการ คุณภาวิมาส กมลสุวรรณ รองเลขาธิ ก าร คุ ณ สุ วิ ท ย์ มหทรั พ ย์ เ จริ ญ , คุ ณ ปรเมศวร์ ปรี ย านนท์ , คุณชินธันย์ ธีรณัฐพันธ์, คุณอภิเชษฐ์ เอือ้ กิจธโรปกรณ์, คุณปิยะวัฒน์ ปิยไพชยนต์, คุณธนเดช เตชะทวีกจิ เหรัญญิก คุณประเสริฐ หล่อยืนยง นายทะเบียน คุณณภัทร วิวรรธนไกร ปฏิคม คุณชินวัชร์ เฉลยวุฒโิ รจน์ รองปฏิคม คุณวิสทุ ธิ์ จงพิพฒ ั น์ยงิ่ ประชาสัมพันธ์ คุณรัชฐกฤต เหตระกูล รองประชาสัมพันธ์ คุณวริษฐา สิมะชัย ทีป่ รึกษา คุณเกรียงไกร เธียรนุกลุ , คุณพรชัย รัตนชัยกานนท์, คุณวิชยั สกลวรารุง่ เรือง, คุณเกษม แย้มวาทีทอง, คุณปฐม สุทธาธิกลุ ชัย, คุณพิเชษฐ์ จิตรภาวนากุล, คุณภาสกร วงษ์ชนะชัย, คุณอุทยั ธนสารอักษร, คุณวิรฬุ ห์ ส่งเสริมสวัสดิ,์ คุณสมชัย ศรีวฒ ุ ชิ าญ, คุณสุรเดช เหล่าแสงงาม, คุณมารชัย กองบุญมา, คุณสุรพล ดารารัตนโรจน์, คุณรังษี เหลืองวารินกุล, คุณธนะชัย สันติชยั กูล, คุณพรเทพ สามัตถิยดีกลุ , คุณอาคม อัครวัฒนวงศ์, คุณสุพนั ธุ์ มงคลสุธ,ี คุณวรกิจ เหลืองเจริญนุกลุ , คุณชีวพัฒน์ ณ ถลาง, ผศ. ดร.ชวาล คูรพ์ พิ ฒ ั น์, ผศ.บุญเลีย้ ง แก้วนาพันธ์, อาจารย์พชั ราภา ศักดิโ์ สภิณ, คุณวิวฒ ั น์, อุตสาหจิต, อาจารย์มยุรี ภาคล�ำเจียก, ผศ.ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ, ผศ.ชนัสสา นันทิวชั รินทร์, คุณชัยวัฒน์ ศิรอิ ำ� พันธ์กลุ , ผศ.ผกามาศ ผจญแกล้ว, ดร.สุชปา เนตรประดิษฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมายพิเศษ คุณธนาเบญ จาธิกลุ

บรรณาธิการ

Special Thanks

บริษทั สีทอง 555 จ�ำกัด ผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ซองทุกชนิด บริษทั ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 3441 7555 โทรสาร 0 3441 7599 เอือ้ เฟือ้ กระดาษทีใ่ ช้พมิ พ์ Thaiprint magazine บริษทั สุนทรฟิลม์ จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2586 0777 โทรสาร 0 2586 2070 ผูส้ นับสนุนการแยกสี ท�ำเพลท โทรศัพท์ 0 2216 2760-8 บริษทั เอ็ม.พี.ลักก์ ยูวี จ�ำกัด 7008-17 2613 0 ช่วยเคลือบปกวารสาร เพิม่ คุณค่าให้งานพิมพ์สวย รวดเร็ว ทันใจ บริษทั บางกอกบายน์ดงิ้ จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2425 9736-41 ผูส้ นับสนุนการไสกาว เข้าเล่ม โทรศัพท์ 0 2682 2177-9

120782 Inside_Pc4.indd 14

12/2/2562 19:55:04


15 Ad Vahva Board_pc4.indd 1

23/11/2561 1:19:13


Contents

119

issue

วารสารการพิมพ์ไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 119 สมาคมการพิมพ์ไทย เลขที่ 311,311/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0 2719 6685-7 โทรสาร 0 2719 6688 E-mail : mayuree.tpa@gmail.com www.thaiprint.org Thaiprint magazine ผ่ายประชาสัมพันธ์สมาคม การพิมพ์ไทยจัดท�ำขึ้น เพื่อบริการข่าวสารและ สาระความรู้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ข่าวสารเกีย่ วกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ ข้อคิดเห็น และบทความต่ า งๆ ที่ ป รากฏและตี พิ ม พ์ ใ น วารสาร เป็นอิสรทรรศน์ของผู้เขียนแต่ละท่าน สมาคมการพิมพ์ไทย ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย เสมอไป ผู้ประสานงาน มยุรีย์ จันทร์รัตนคีรี วาสนา เสนาะพิน ออกแบบกราฟฟิค Design Studio โทรศัพท์ 0 2880 0260 พิมพ์ที่ บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จ�ำกัด ซอยปราโมทย์ 3 ถนนสีลม 43 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0 2235 3031 โทรสาร 0 2233 5064

120782 Inside_Pc4.indd 16

บทสัมภาษณ์ พรเทพ สามัตถิยดีกุล กับแนวคิดการบริหาร ที่มุ่งเน้นการท�ำงานให้สนุก Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ งานแถลงข่าวคนรุ่นใหม่ไร้ FOOD WASTE งานแถลงข่าว โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาบุคลากรเฉพาะทางและการถ่ายโอนความรู้ข้ามพรมแดน สัมมนา “เทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซตและการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์” สาระน่ารู้เกี่ยวกับทางการพิมพ์ออฟเซต ปัญหาและวิธีแก้ไข (1) บริษัท เมกา ซอร์ส (ประเทศไทย) จ�ำกัด - ผู้ผลิตกระดาษ พลาสติก และผลิตภัณฑ์ เคลือบพลาสติกชั้นน�ำจากประเทศไต้หวัน Thailand 2018 World Stamp Exhibition สัมมนา “เทคโนโลยีการพิมพ์บรรจุภัณฑ์และฉลาก” C.A.S PAPER Sino Trip กระซิบประวัติศาสตร์ เปิดฝึกอบรม การพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้นประจ�ำปี 2562 รุ่นที่ 13 สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ SCG สัมมนาแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ของตลาดโลก บทสัมภาษณ์ ผู้ชนะเลิศโครงการ WOW YOUNG ENERGY SHORT FILM AND ANIMATION AWARDS “หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์ มือขวาคนเก่ง แห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป (Reanthai Group) บทความสุขภาพ “โรค อารมณ์ แปรปรวน (BIPOLAR DISORDER)” จิตวิทยาองค์กร “การสื่อสารเพื่อการทีมงานทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2” สัมมนา อุตสาหกรรมการพิมพ์ในยุค Disruptive Technology มีเดีย มีดี Media ME; D 2019 พิธีมอบใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์ งานแถลงข่าว Asia Print Expo 2019

18 22 28 30 31 35 42 46 47 48 54 55 56 62 68 72 74 76 77 78 79

18

46

68

79

12/2/2562 19:55:50


Ad Komori Pc4.pdf 1 1/2/2562 11:49:19


“พรเทพ สามั ต ถิ ย ดี กุ ล ”

กับแนวคิดการบริหาร ที่มุ่งเน้นการท�ำงานให้สนุก

ในยุคทีผ่ บู้ ริโภคมีบทบาทในการขับเคลือ่ นธุรกิจ การท�ำธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ อย่างทีเ่ คยท�ำมาในอดีต อาจจะไม่ตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมากนัก ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจโรงพิมพ์แบบดั้งเดิม เริ่มจะอยู่รอดยากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น ผลมาจากภาวะทีเ่ ศรษฐกิจไทยอยูใ่ นภาวะชะลอตัวตามปัจจัยเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาคการท่องเทีย่ วและภาคการส่งออกทีย่ งั ไม่สดใส มากนัก ท�ำให้ธรุ กิจโรงพิมพ์ซงึ่ เป็นหนึง่ ในห่วงโซ่ของธุรกิจการพิมพ์ได้รบั ผลกระทบตามไปด้วย บริษทั ศิรวิ ฒ ั นา อินเตอร์พริน้ ท์ จ�ำกัด (มหาชน) ผูใ้ ห้บริการด้านการผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์ครบวงจรทัง้ ในและนอกประเทศเองประสบปัญหานีเ้ ช่นกัน หากแต่ตอ้ งมีการปรับตัวให้ เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาด เพื่อสร้างความอยู่รอดในอนาคต

018

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9


จุดเริม่ ต้นของบริษทั ศิรวิ ฒ ั นา อินเตอร์พริน้ ท์ จ�ำกัด (มหาชน)

คุณพรเทพเล่าให้ฟงั ว่า “เริม่ จากทีเ่ รียนจบมาแล้วเริม่ ท�ำงานกับบริษทั เดินเรือ หลังจากท�ำได้ประมาณ 10 ปี ก็มคี วาม คิดอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง จากที่ได้เห็นงานของต่างชาติ ที่ พิ ม พ์ ง านได้ ส วยงามและมี ค วามละเอี ย ดเป็ น อย่ า งมาก จึงตัดสินใจทีจ่ ะท�ำธุรกิจสิง่ พิมพ์ จึงได้เข้าปรึกษาผูใ้ หญ่ในบริษทั เดินเรือ ช่วงเริ่มต้นท�ำธุรกิจ ยังคงท�ำงานที่บริษัทเดินเรือและ ท�ำธุรกิจโรงพิมพ์ไปพร้อมกัน โดยเริม่ ต้นด้วยทุน 200,000 บาท เริม่ จากเครือ่ งพิมพ์ขนาดเล็ก โดยใช้พนื้ ทีช่ นั้ ล่างของบ้านขนาด 4x8 เมตร จัดตั้งเป็นโรงพิมพ์ มีพนักงานเพียง 2 คนเท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับจ้างพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทแบบพิมพ์ ส�ำนักงาน (Office Stationary) และงานพิมพ์ทั่วไป หลังจากเปิดโรงพิมพ์ได้สักระยะ เพื่อนพ้องที่ท�ำงาน ในบริษทั เดินเรืออืน่ ๆ ทัง้ 18 สายเดินเรือ ได้สง่ งานมาให้จดั พิมพ์ ส่งผลให้โรงพิมพ์เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเริ่มขยับขยายพื้นที่ โรงพิมพ์โดยเริ่มจากการเช่าห้องแถว 3 คูหา จนกระทั่งปัจจุบัน บริษัทได้ขยายก�ำลังการผลิตเพื่อรองรับ ปริมาณงานของลูกค้า ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ โดยมีพนักงานทีไ่ ด้รบั สวัสดิการ และการดูแลอย่างดีกว่า 3,000 คน และก้าวสู่การเป็นผู้ให้ บริการสื่อสิ่งพิมพ์ครบวงจรชั้นแนวหน้าของประเทศไทยและ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

แนวทางการบริหารจัดการ

ทางผู้บริหารเน้นเรื่องการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและ ให้เป็นทีห่ นึง่ ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยแข่งขันกับตนเองเพือ่ พั ฒ นาให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ในทุ ก วั น รวมทั้ ง ปรั บ ใช้ ห ลั ก ธรรมทาง พุทธศาสนาเพื่อบริหารจัดการองค์กร “เรามุ่งเน้นสู่การเป็น โรงพิมพ์ที่มีคุณภาพ ท�ำงานให้สนุก ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ อยู่ที่ความตั้งใจมุ่งมั่น ต้องเลือกเดินทางที่ถูกต้องก็จะพัฒนา ต่ อ เนื่ อ ง คนที่ จั ด การได้ ไ ม่ ดี ก็ จ ะถดถอยลงไป หลั ก ของ พระพุ ท ธศาสนาเป็ น วิ ท ยาศาสตร์ อ ยู ่ แ ล้ ว โดยธรรมชาติ อย่างเช่นที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า ธรรมะ ซึ่งหมายถึงธรรมชาติ เป็นที่พึงของตนเอง อยากได้อะไรก็ขอตัวเอง โดยน�ำความรู้ ด้านนี้มาใช้กับพนักงานทุกคนให้รู้จักตัวเองและรู้ทันปัจจุบัน การพิ ม พ์ คื อ วิ ท ยาศาสตร์ ศิ ล ปศาสตร์ และศาสตร์ อื่ น ๆ อีกหลายแขนง เราต้องบริหารสิง่ เหล่านีใ้ ห้ดใี ห้ได้คณ ุ ภาพสูงสุด” ด้านการตลาดในช่วงเริ่มต้นจะแบ่งเป็นต่างประเทศ 70% และ 30% ในประเทศ ต่อมาฐานลูกค้าในประเทศเริ่มโตขึ้นปรับเป็น 50:50 จนในปัจจุบนั อยูท่ ี่ 30:70 จากการทีม่ งุ่ เน้นฐานลูกค้าต่าง ประเทศถือว่าเป็นเรือ่ งดี เนือ่ งจากท�ำให้รกั ษาระดับการพิมพ์ให้ อยู่ในมาตรฐาน รวมถึงมีความรู้และเพิ่มประสบการณ์ในการ ผลิตงานพิมพ์คุณภาพ ด้านการบริหารภายในได้จัดโครงสร้าง การบริ ห ารงานไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความซ�้ ำ ซ้ อ น และเพื่ อ เสริ ม

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

019


ประสิ ท ธิ ภ าพในการท� ำ งานให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น บริ ษั ท ศิ ริ วั ฒ นา อินเตอร์พริ้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) มีการเจริญเติบโตขึ้นอย่าง รวดเร็ว และมีนโยบายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีทางการพิมพ์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง ทางด้ า น CSR ศิ ริ วั ฒ นาฯ ได้ จั ด ตั้ ง มู ล นิ ธิ เ พื่ อ จั ด กิจกรรมการกุศลทุกสัปดาห์ โดยการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ในสังคมตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งการมอบรถเข็นและ ทุนตั้งต้นเพื่อประกอบอาชีพ รวมไปถึงการมอบทุนการศึกษา การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหา ซึ่งทุนส่วนหนึ่งมาจาก การน�ำก�ำไรของบริษัทบริจาคเข้ามูลนิธิเพื่อน�ำไปจัดกิจกรรม เพือ่ สังคม โดยเฉพาะในช่วงทีป่ ระเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย ครั้งใหญ่ในปี 2554 ได้มอบความช่วยเหลือให้กับทั้งผู้ประสบ ภัยโดยตรงและการมอบผ่านทางภาครัฐ

มีเดีย” เพื่อรับงานการผลิตสื่อดิจิตอลทุกรูปแบบให้กับลูกค้า และได้จัดตั้งบริษัท ศิริวัฒนาซีเคียวริตี้พริ้นท์ จ�ำกัด เพื่อให้ บริ ก ารงานพิ ม พ์ ซี เ คี ย วริ ตี้ ทุ ก ประเภท เช่ น งานพิ ม พ์ หนังสือเดินทาง (Passport) งานพิมพ์เอกสารป้องกันการปลอม แปลงของหน่วยงานราชการต่าง งานพิมพ์เช็คธนาคาร เป็นต้น โดยบริษัทฯ ได้มีการให้ขยายการให้บริการงานพิมพ์ Security Printing กับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ล่าสุดในปี 2561 มีการลงทุนเครื่องพิมพ์ออฟเซตที่มี เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยถึง 2 เครื่อง โดยเป็นเครื่องพิมพ์ UV ขนาด 40” จ�ำนวน 6 สี แบบมีเคลือบในตัว และ เครือ่ งพิมพ์ ขนาด 44” จ�ำนวน 8 สี แบบมีเคลือบในตัว เพือ่ รองรับการผลิต งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปิดตลาดด้าน Packaging และ Security Printing

คุณพรเทพได้แชร์ความคิดเห็นที่เลือกใช้เครื่องพิมพ์ ออฟเซต KOMORI “ผมเป็นคนแรกที่ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อ เครื่องพิมพ์ KOMORI ในงาน Drupa เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เพื่อนๆ ต่างทักท้วงและเป็นห่วงว่าจะเลือกเครื่องที่ผิด แต่จาก

เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ผู้บริหารได้มองเห็นว่า แนวโน้มของสิง่ พิมพ์ Commercial Printing เริม่ มีความถดถอย เนื่องจากโซเชียลมีเดียเริ่มเข้ามามีบทบาท จึงได้จัดตั้ง “ศิริ

020

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

ความประทับใจเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ KOMORI


การศึกษาข้อมูล KOMORI อย่างละเอียด ผมมั่นใจว่าเป็น เครื่องที่ดี และ KOMORI ผลิตในประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ใกล้กับ พวกเรา การเดินทางใช้เวลาไม่นาน ช่างเดินทางมาประเทศไทย ก็ง่าย คนเอเชียด้วยกันสร้างเครื่องพิมพ์ขึ้นมาให้เหมาะกับคน ภาคพื้นเดียวกัน ซึ่งต่างจากทางยุโรป หรือทางตะวันตกที่มี ร่างกายใหญ่โต จะสร้างพิมพ์ท่ีมีความหนัก ซึ่งเขาคิดว่าความ หนักคือคุณภาพ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนัน้ เสมอไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ เราได้พิสูจน์มาหลายสิบปีแล้ว KOMORI ดี มาตลอด และพัฒนาทุกด้านตลอดเวลา ทัง้ ด้านเทคโนโลยี และ การบริการ ถือว่าเป็นเครื่องพิมพ์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น” จากที่ คุณพรเทพได้ใช้เวลาช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาไปบุกตลาดในธุรกิจ ใหม่ ในปีนี้คุณพรเทพตั้งใจที่จะกลับมาพัฒนาธุรกิจการพิมพ์ ให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป “หลายคนอาจจะพูดว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์ อยู่ในช่วงขาลง ถ้าพูดถึง Magazine อาจจะเป็นช่วงขาลงจริง แต่ด้านบรรจุภัณฑ์ก�ำลังโตขึ้น” คุณพรเทพยังเชื่อว่า บริษัท ศิริวัฒนาฯ พร้อมให้บริการงานพิมพ์คุณภาพ ทั้งในส่วนของ Commercial Print และ Packaging สู่ตลาดงานพิมพ์ต่อไป

การให้บริการจาก C. ILLIES (Thailand)

C. ILLIES (Thailand) เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง บุคลากรมีความรู้ การท�ำงานด้วยกันจึงราบรื่น แต่เราก็ต้องมา ฝึกคนของเราเองด้วยเพื่อให้สามารถท�ำงานร่วมกันได้ จากที่ได้ ร่ ว มงานกั น มานาน เครื่ อ ง KOMORI จึ ง เสมื อ นว่ า ท� ำ งาน กับเพื่อน มีความล่องตัวและสามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง

ข้อคิดส�ำหรับการท�ำธุรกิจส�ำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่

คุณพรเทพฝากทิง้ ท้ายว่า ท�ำให้ดที สี่ ดุ เสมอ ท�ำงานให้ สนุก เอาใจใส่อยู่กับมัน รักอะไรก็จะเจริญอย่างนั้น ให้ความรัก กับพนักงาน เพราะหากพนักงานมีความสุข ก็จะเป็นพลังให้กบั บริษัท แต่จะต้องคอยสอนเขาด้วย ให้ท�ำงาน สอนให้ท�ำ แล้ว ตอบแทน ต้องมี 3 สิ่งนี้เป็นพื้นฐาน จึงจะประสบผลส�ำเร็จใน การด�ำเนินธุรกิจ

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

021


PRINT TECHNOLOGY

Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ พิชิต ขจรเดชะ ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การผลิตสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ได้มวี วิ ฒ ั นาการอย่าง ต่อเนื่อง ตามความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา การ สร้ า งความความแตกต่ า ง การเพิ่ ม มู ล ค่ า ของสิ่ ง พิ ม พ์ แ ละ บรรจุภัณฑ์ เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ผู้ผลิตสามารถน�ำเสนอเป็น ทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิตสิ มั ผัสในงานสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ เป็น อีกแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะช่วยในการสร้างมูลค่า สร้างความแตกต่าง และเป็นการเพิ่มโอกาสในการท�ำการตลาดในกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่มวัยรุ่น วงการโฆษณา เป็นต้น

Introduction to Multisensory

Multisensory; หรือในชื่อเรียก มิติสัมผัสที่หลาก หลาย, พหุประสาทสัมผัส, การสื่อหลายผัสสะ ฯลฯ เป็นการใช้

ประสาทสัมผัสในการรับรูม้ ากกว่า 2 อย่างขึน้ ไปร่วมกัน เพือ่ ใช้ ในการสื่อสาร การรับข้อมูลข่าวสาร การแปลความหมาย การ สัมผัสในรูปแบบหลากหลายที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจและการ เชือ่ มโยงความหมายต่าง ๆ เช่น การดมกลิน่ การรับรส การมอง เห็น การสัมผัส การเข้าใจสัญลักษณ์ Multisensory ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะ เป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน การตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การท่องเทีย่ ว เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ได้จัดตั้งห้องวิจัย Crossmodal Research Laboratory เมื่อปี 1997 เพื่อท�ำการศึกษา การท�ำงานของ ระบบรับรูค้ วามรูส้ กึ ปฏิกริ ยิ าการรับรู้ การตอบสนองข้อมูลผ่าน ประสาทสัมผัสทีห่ ลากหลาย ( การได้ยนิ การมองเห็น การสัมผัส การรับรู้รสและกลิ่น ) มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 500 เรื่อง โดย ท�ำการศึกษาวิจยั ถึงรูปแบบการรับรูแ้ ละการตอบสนองต่อสิง่ เร้า

รูปที่ 1 Multisensory มิติสัมผัสทั้ง 5 ที่มา https://bit.ly/2GhfX2x

022 120782 Inside_Pc4.indd 22

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

14/2/2562 15:35:49


Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ การท�ำงานของสมองตลอดจนความสัมพันธ์กับองค์ประกอบ ทัง้ หมด การแปลความหมาย การสร้างการจดจ�ำ ข้อมูลทีไ่ ด้จาก การวิจัยจะถูกน�ำไปใช้ในงานทางด้าน การตลาด การออกแบบ สิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ งานด้านอาหารและเครื่องดื่ม งานทาง ด้านสถาปนิก การศึกษา การท่องเที่ยว งานทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย เป็นต้น โดยเมือ่ ก่อนการศึกษาวิจยั ทางด้านการ รับรู้ จะนิยมศึกษาด้านใดด้านหนึง่ เช่นการมองเห็นสี หรือการ ได้ยินเสียง แต่ Multisensory คือการศึกษาการตอบสนอง ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทีห่ ลากหลายพร้อม ๆ กัน เช่นการมอง เห็นสีพร้อมรูปทรงของขวด สมองจะแปลความหมายเป็นสิง่ ของ

PRINT TECHNOLOGY

นั้น ๆ ยี่ห้อนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าการมองเห็นแค่มิติเดียว การใช้ เสียงหรือกลิน่ ในการเพิม่ รสชาติของมันฝรัง่ จะท�ำให้รสู้ กึ ว่ามัน ฝรั่งมีความสดและอร่อยกว่าเดิม เป็นต้น ลู ก ค้ า หรื อ ผู ้ บ ริ โ ภคจะตี ค วามการรั บ รู ้ ด ้ า นการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก ณ เวลานั้น ๆ การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะใช้ Visual elements ( การมองเห็น จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ) และ Informational elements ( ข้อความ รายละเอียด ) เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

รูปที่ 2 องค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์และแบบจ�ำลองแนวคิดและการเลือก ที่มา Silayoi and Speece, 2004: p. 624 ในต่างประเทศ ได้มีการน�ำเอาทฤษฎีด้าน Multisensory ไปใช้ช่วยวางแผนการขาย การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดย ค�ำนึงถึงพฤติกรรมการค้นหาสินค้า การรับรูข้ องผูบ้ ริโภค ความคาดหวัง อิทธิพลต่อการรับรูข้ องตัวสินค้าและบรรจุภณ ั ฑ์ มิตสิ มั พันธ์ ของรูปภาพ ขนาดบรรจุภัณฑ์ รูปทรงและสีสันต่าง ๆ THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 23

023 12/2/2562 19:58:02


PRINT TECHNOLOGY

Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

รูปที่ 3 ตัวอย่างรูปร่างของบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วกับการรับรู้ของผู้บริโภค ที่มา https://bit.ly/2UTkUSv

Multisensory กับการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

การเพิ่ ม มิ ติ สั ม ผั ส ในงานสิ่ ง พิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ จ�ำเป็นต้องทราบถึงกรอบแนวคิดส�ำหรับการเพิม่ มิตสิ มั ผัส โดย C. Velasco and C. Spence จากหนังสือ Multisensory Packaging: Designing New Product Experiences ได้กล่าว ถึงกรอบแนวคิดในการสร้าง Multisensory ส�ำหรับงานบรรจุ ภัณฑ์องค์ประกอบด้านการรับรู้ Multisensory สามารถแบ่ง ได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ High level และ low level โดย High

level จะประกอบไปด้ ว ย ความหมาย เอกลั ก ษณ์ เช่ น สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ความคิด, ความรู้สึก และ low level ได้แก่ สี โทน รส เป็นต้น องค์ประกอบทั้ง 2 ระดับ จะผ่านการ รับรูแ้ ละแปลความหมายผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ไม่วา่ จะ เป็นการมองเห็น ฟังเสียง กลิน่ รสชาติ การสัมผัส และได้รบั การ ตอบสนองเป็นความรู้สึก การแปลความหมาย สัญลักษณ์ อารมณ์ เป็นต้น

รูปที่ 4 กรอบแนวคิดในการสร้าง Multisensory ส�ำหรับงานบรรจุภัณฑ์ ที่มา หนังสือ Multisensory Packaging: Designing New Product Experiences

024 120782 Inside_Pc4.indd 24

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 19:58:26


Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

PRINT TECHNOLOGY

ระบบประสาทสัมผัส จะสัมพันธ์กับคุณลักษณะทางการรับรู้ที่เหมาะสม โดยมีการใช้เทคนิคทางการพิมพ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพิ่มมูลค่า การรับรู้ การตีความ อย่างเหมาะสม แสดงดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การสรุปข้อมูลระบบประสาทสัมผัส คุณลักษณะที่เหมาะสม ตัวอย่าง และตัวอย่างเทคนิคที่ใช้ในการผลิต ประสาทสัมผัส

คุณลักษณะ

ตัวอย่าง

สี ( สีสัน ความอิ่มตัว ของสี ความสว่าง ) โครงสร้างเชิงพื้นที่ รูปทรง ลายเส้น รูปร่างของวัตถุ การจัดวาง Golden ratio ความสมมาตร ความสมดุล เป็นต้น

ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้

• UV coatings for a high gloss finish • metallic sheens • spot color • foils (hot, cold, holographic and more) ที่มา https://bit.ly/2gI4UUF

• crack ink • embedded sound chips in a postcard

เสียง การได้ยิน ระดับ เสียงสูง ต�ำ่ ความดัง คุณภาพของเสียง ที่มา https://bit.ly/2Sk3T74

• soft touch coatings for a velvety texture • raised UV coatings • reticulation effects for unique patterns • multi-level embossing/debossing

การสัมผัส อุณหภูมิ น�้ำหนัก ลวดลาย ความแข็ง การย่อย สลาย เสื่อมสภาพ

ที่มา https://bit.ly/2UN5izz

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 25

025 12/2/2562 19:58:44


PRINT TECHNOLOGY ประสาทสัมผัส

Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คุณลักษณะ

ตัวอย่าง

ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้

รสชาติ หวาน ขม เปรี้ยว อร่อย

• Edible ink

ที่มา https://bit.ly/2BoCEgU

• Fragrance Microcapsules

กลิ่น

ที่มา https://bit.ly/2I0QnAx

ตัวอย่าง Multisensory ในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

เทคนิคทางการพิมพ์ งานหลังพิมพ์ การเลือกใช้วัสดุ หมึกพิมพ์ การออกแบบ การใช้สีสัน รูปแบบตัวอักษร สามารถเข้ามา ช่วยสร้าง มิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ได้ ร่วมถึงการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ AR QR code ฯลฯ ในสิ่งพิมพ์ หรือบรรจุภัณฑ์ จะสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้า ร่วมถึงสร้างประโยชน์ทางการใช้งาน โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ตารางที่ 2 ตัวอย่าง Multisensory ในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ประเภท Postcard Music & light

มิติสัมผัส

ค�ำอธิบาย • การสร้างสิ่งพิมพ์โดยผสมกับ การใช้วงจรอัดเสียงและวงจร หลอดไฟติดอยู่บนโปสการ์ด สิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ • เพิ่มการรับรู้ทั้งทางด้านการ มองเห็นและการได้ยินเสียง แสงสีต่าง ๆ

ตัวอย่าง

ที่มา https://bit.ly/2UP5DSj

026 120782 Inside_Pc4.indd 26

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 19:59:14


Multisensory Packaging & Printing การสร้างมิติสัมผัสในงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ประเภท Child and Elderly packaging

มิติสัมผัส

ค�ำอธิบาย • การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ สอดคล้องกับการรับรู้ของ เด็กหรือผู้สูงวัย ( การมอง เห็น, ตัวหนังสือต้องสอดคล้อง กับวัย แรงในการหยิบจับ/เปิด บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ)

PRINT TECHNOLOGY

ตัวอย่าง

ที่มา https://bit.ly/2BnmmoI Scratch Card and De-stressing foam

• การสร้างสิ่งพิมพ์โดยเพิ่ม เทคนิคงานหลังพิมพ์ ( หมึก ขูด ) เข้าไปในงานพิมพ์ เพื่อ เพิ่มมิติทางการสัมผัส • การสร้างสิ่งพิมพ์โดยใช้ตัว กันกระแทก สื่อความหมาย แทนฟองเบียร์ เพื่อให้ผู้ บริโภค บีบให้มีเสียงดัง ช่วย ให้รู้สึกผ่อนคลายและฆ่าเวลา เมื่อบีบเสร็จ จะได้ภาพที่ เหมือนฟองเบียร์อยู่บนแก้ว

ที่มา https://bit.ly/2MUHV4z

ที่มา https://bit.ly/2WReFQD จะเห็นได้วา่ การเพิม่ มิตสิ มั ผัสในงานสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ สามารถท�ำได้โดยอาศัยเทคนิคในการผลิตสิง่ พิมพ์ สามารถน�ำ แนวความคิดดังกล่าว ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าของการขายหรือผลิต สิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ จะช่วยให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ สามารถพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ต่าง ๆ และปรับให้เข้ากับบริบท เทคโนโลยี เครื่องจักรของสถานประกอบการนั้น ๆ เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตได้ THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 27

027

12/2/2562 19:59:35


PRINT NEWS

ซีพีแรม ผนึกพลังกับมีเดียอาตส์ มจธ. ชวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ สร้างปรากฏการณ์ครั้งส�ำคัญ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste”

ซีพีแรม ผนึกพลังกับมีเดียอาตส์ มจธ. ชวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ สร้างปรากฏการณ์ครั้งส�ำคัญ

“คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste”

028 120782 Inside_Pc4.indd 28

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:00:13


ซีพีแรม ผนึกพลังกับมีเดียอาตส์ มจธ. ชวนนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ สร้างปรากฏการณ์ครั้งส�ำคัญ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste”

PRINT NEWS

วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2560 บริษัท ซีพีแรม จ�ำกัด ร่วมกับ สาขามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงานแถลงข่าวการประกวดคลิปวิดโี อภายใต้หวั ข้อ “คนรุน่ ใหม่ไร้ Food Waste” ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากนายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จ�ำกัด พร้อมด้วยผศ.บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขามีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ซี พี แรม ผนึ ก พลั ง กั บ มี เ ดี ย อาตส์ มจธ. เชิ ญ ชวน นั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา ร่ ว มประกวดคลิ ป วิ ดี โ อภายใต้ หั ว ข้ อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” แชร์ไอเดีย สร้างพลังผ่านวีดีโอ คลิปความยาว 3 นาที โดยโครงการดังกล่าวมีจดุ เริม่ ต้นจากการ ตั้งค�ำถามจากสิ่งที่เราเห็นจากอาหารในจานที่เราทานไม่หมด กองขยะตรงหน้าทีม่ แี ต่เศษอาหารเหลือจากการทาน หรือแม้แต่ ผักและผลไม้ทเี่ น่าเสียอยูใ่ นตูเ้ ย็น ประกอบกับการพูดถึงคนของ ทัง้ โลก รวมถึงองค์กรยูนเิ ชฟถึงความยากจน การโหยหาอาหาร ความหิ ว โหยของเด็ ก น้ อ ยในแอฟริ ก า หรื อ ประเทศที่ อ ยู ่ ในสภาวะสงคราม ที่ท�ำให้ขาดแคลนอาหาร รวมทั้งการเกิด ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ แม้แต่ใน ประเทศไทยเองที่ได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินทอง เมืองอู่ข้าวอู่น�้ำ อยู ่ ที่ ไ หนไม่ อ ดตาย แต่ ก็ ยั ง มี ใ นหลายพื้ น ที่ ห ่ า งไกล ที่ ยั ง ขาดแคลนอาหาร อาหารไม่เพียงพอ เข้าถึงอาหารไม่ครบตาม หลักโภชนาการ มีให้เห็นในข่าวอยูบ่ อ่ ยครัง้ ทัง้ นี้ เพือ่ สร้างความ ตระหนักในเรื่องความสูญเปล่าของอาหารในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ มีสว่ นส�ำคัญในการร่วมสร้างการเปลีย่ นแปลง และลดความสูญ เปล่ า ของอาหาร รวมถึ ง การเปลี่ ย นแปลงเชิ ง พฤติ ก รรม โครงการประกวดคลิปวิดีโอภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste” แชร์ไอเดีย สร้างพลังผ่านวีดีโอคลิปความยาว 3 นาที เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562 ชิ ง เงิ น รางวั ล รวมกว่ า 360,000 บาท พร้ อ มใบประกาศ เกียรติคุณ นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี แรม จ�ำกัด เปิดเผยว่า ปัญหาอาหารที่ถูกทิ้ง (Food Waste) ส่ ง ผลกระทบต่ อ ทุ ก คนในวงกว้ า งทั้ ง ในมิ ติ เ ศรษฐกิ จ มิ ติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารของโลก ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะร่วมกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ตระหนักถึงผลเสีย ที่ก่อเกิดจากอาหารที่ถูกทิ้งอย่างสูญเปล่า รวมถึงยังมีแนวโน้ม รุ น แรงมากยิ่ ง ขึ้ น ในอนาคตอั น ใกล้ ผลเสี ย จากเหตุ ก ารณ์ ดังกล่าวในมิตเิ ศรษฐกิจนัน้ การมีอาหารทีถ่ กู ทิง้ ในปริมาณมาก แสดงให้เห็นถึงความสูญเปล่าในเชิงเศรษฐกิจ เหตุเพราะแทน ที่อาหารที่ถูกผลิตจะส่งผลท�ำให้มนุษย์มีสภาพความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น กลับถูกทิ้งอย่างสูญเปล่าไร้ประโยชน์ หากทุกคนสามารถ ลดปริ ม าณอาหารที่ ถู ก ทิ้ ง และบริ โ ภคอาหารอย่ า งสมดุ ล นอกจากจะสามารถลดรายจ่ายค่าอาหารในครัวเรือนอย่าง

ยิ่งยวดแล้ว ยังช่วยท�ำให้ระดับความมั่นคงทางอาหารของคน บนโลกมีแนวโน้มเพิม่ สูงขึน้ ในส่วนมิตสิ งิ่ แวดล้อมนัน้ การก�ำจัด อาหารทีถ่ กู ทิง้ ส่งผลเสียต่อสิง่ แวดล้อมหลายด้าน เพราะอาหาร ทีถ่ กู ทิง้ ส่วนใหญ่จะถูกท�ำลายด้วยการฝังกลบซึง่ ส่งผลท�ำให้เกิด ก๊าซมีเทน (methane) ก๊าซเรือนกระจก ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะ เรือนกระจกที่รุนแรงยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า ซึ่ง ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การ จัดท�ำโครงการดังกล่าวจะเป็นการสร้างปรากฏการณ์ครัง้ ส�ำคัญ ในการสร้างความตระหนักในเรื่องความสูญเปล่าของอาหาร ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนส�ำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง และลดความสูญเปล่าของอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิง พฤติ ก รรม จึ ง ได้ จั บ มื อ กั บ สาขามี เ ดี ย อาตส์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมขับเคลื่อนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในการลดความสูญเปล่าของอาหาร เพื่อสร้างความมั่งคง และความยั่งยืนทางอาหาร ด้านผศ.บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขามีเดีย อาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ถึงเวลาที่เราต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างความตระหนักใน เรือ่ งความสูญเปล่าของอาหารอย่างจริงจัง เพือ่ ลูกหลานของเรา ในอนาคต การสร้างสรรค์สื่อเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่อง ดังกล่าวเป็นสิง่ ส�ำคัญ และเป็นสิง่ สะท้อนความจริงทีเ่ กิดขึน้ จริง ในโลกใบนี้ เป็นการบูรณาการศาสตร์ดา้ นการผลิตสือ่ สร้างสรรค์ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเราอาจจะไม่สามารถหยุดเหตุการณ์ อันเลวร้ายนี้ได้ แต่เราเป็นจุดเล็กๆ ที่ผสานรวมกันจนเกิดพลัง อันยิง่ ใหญ่ทจี่ ะท�ำให้เหตุการณ์ดงั กล่าวชะลอการเกิดขึน้ ได้ และ หวังว่าถ้าคนที่ได้เห็นผลงานสร้างสรรค์ดังกล่าวจะส่งผลให้มี ความตระหนักและเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในการลดความ สูญเปล่าของอาหาร จนสามารถสร้างความอิมแพคในสังคมและ โลกใบนี้ เหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าวอาจจะหยุดการเกิดขึ้นได้ โครงการประกวดคลิปวิดโี อภายใต้หวั ข้อ “คนรุน่ ใหม่ ไร้ Food Waste” เปิ ด รั บ สมั ค รนั ก เรี ย น (ระดั บ มั ธ ยม), นักศึกษา (ระดับอุดมศึกษา) ทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วม กิจกรรม ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562 ผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงานและติดตามรายละเอียดการสมัครได้ที่ http://www.facebook.com/คนรุ ่ น ใหม่ ไ ร้ - FOODWASTE-176231446618254 THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 29

029 12/2/2562 20:00:40


PRINT ACTIVITY

แถลงข่าว โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฯ

แถลงข่าว

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน คุณพงศ์ธรี ะ พัฒนพีรเดช – นายกสมาคมการพิมพ์ไทย เข้าร่วมงานแถลงข่าว โครงการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อาหารอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาบุคลากรเฉพาะทางและการ ถ่ า ยโอนความรู ้ ข ้ า มพรมแดน (Sustainable Economy Driving of Food Industry by Specialized Personnel Development and Cross Border Knowledge Transfer) ณ ห้ อ งประชุ ม ก� ำ พล อดุ ล วิ ท ย์ อาคารสารนิ เ ทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยเป็นกิจกรรมรูปแบบใหม่เพื่อ ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ อย่ า งก้ า วกระโดด และส่ ง เสริ ม การ เร่งพัฒนาก�ำลังคนด้านวิจยั และพัฒนาของอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตรให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการถ่ายโอน ความรู้เชิงลึกและนวัตกรรมขั้นสูงจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ในเรื่องที่ส�ำคัญเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและ อุตสาหกรรมเกษตร และมาถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย ต่อเนือ่ ง จัดโดย ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

การด�ำเนินโครงการในครั้งนี้ สวทน. และ ม.เกษตร มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะน�ำร่องรูปแบบโครงการส�ำหรับการ พัฒนาบุคลากรของอุตสาหกรรมอาหาร เพือ่ ให้มอี งค์ความรูเ้ ชิง ลึกหรือเทคโนโลยีขั้นสูงเกี่ยวกับด้านอุตสาหกรรมอาหารจาก ผู ้ เชี่ ย วชาญต่ า งประเทศ และเกิ ด การถ่ า ยโอนองค์ ค วามรู ้ ดังกล่าวสู่ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและนักวิจัยในภาคการศึกษา รวมถึงเอกชนสามารถน�ำองค์ความรูท้ ไี่ ด้รบั ไปใช้ในการวิจยั และ พัฒนาสินค้าอาหารที่มีนวัตกรรมสูงขึ้น สามารถขจัดอุปสรรค ทางการค้าจากการกีดกันด้านมาตรฐานสินค้า และน�ำไปสู่การ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอาหารให้สามารถแข่งขัน ในระดับโลกได้ ทั้งนี้คาดว่าโครงการจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ กับอุตสาหกรรมอาหารในมิติต่าง ๆ อาทิ การเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ การแก้ปัญหาลดความเสียหายในการผลิต หรือเกิด ผลิตภัณฑ์ใหม่สตู่ ลาด ซึง่ คิดเป็นมูลค่าของผลกระทบอย่างน้อย 10 ล้านบาทต่อปี โดยจะเริ่มเห็นผลกระทบในปีที่ 3 ของ การด�ำเนินโครงการ

030 120782 Inside_Pc4.indd 30

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

14/2/2562 15:46:31


PRINT NEWS

“ เทคโนโลยี

การพิมพ์ออฟเซต และการควบคุม คุณภาพงานพิมพ์

สมาคมการพิ ม พ์ ไ ทยจั ด งานสั ม มนาในหั ว ข้ อ เทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซตและการควบคุณคุณภาพงานพิมพ์ เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2561 ณ สถาบันการพิมพ์ไทย นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร การจัดสัมมนา ในครั้ ง นี้ จั ด ขึ้ น เพื่ อ เพิ่ ม ทั ก ษะการเรี ย นรู ้ ง านพิ ม พ์ อ อฟเซต เสริมสร้างความเข้าใจการท�ำงานการควบคุมงานพิมพ์ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาตนเองให้เกิดประโยชน์ในการ ท�ำงานเพือ่ ให้ได้ผลงานทีม่ คี ณ ุ ภาพตรงตามเป้าหมายขององค์กร โดยได้เชิญ ดร.อนันต์ ตันวิไลศิริ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยี การพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และอาจารย์ อัครเดช ทองสว่าง อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี มาเป็ น วิ ท ยากร ถ่ายทอดความรู้

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 31

031 12/2/2562 20:03:20


32 Ad labelexpo Pc4.indd 1

21/8/2561 2:08:41


110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 44

8/9/2560 2:47:57


Ad Mizamo#119_pc4.pdf 1 19/1/2562 1:51:48


สาระน่ า รู ้ เกี่ยวกับทางการพิมพ์ออฟเซต ปัญหาและวิธีแก้ไข (1) การพิมพ์ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์ที่ได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นระบบการ พิมพ์ที่สามารถพิมพ์ลงวัสดุได้หลากหลาย อาทิเช่น กระดาษ โลหะและพลาสติก การพิมพ์ระบบออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์ ที่ใช้หลักการน�้ำกับน�้ำมันไม่รวมตัวกัน ท�ำให้ต้องมีการปรับตั้ง และควบคุมปริมาณน�้ำ (น�้ำยาฟาว์นเทน) กับหมึกพิมพ์ให้ มี ค วามสมดุ ล กั น เพื่ อ ป้ อ งกั น การเกิ ด ปั ญ หาทางการพิ ม พ์ บทความนีจ้ งึ พยายามรวบรวมปัญหาต่างๆ ทีโ่ รงพิมพ์จะพบเจอ บ่อยครั้ง และวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับ ช่างพิมพ์ในการแก้ไขต่อไป

การพิมพ์งาน Re-print พบว่าสีงานพิมพ์ที่ได้ออกมา ไม่เหมือนเดิม อยากทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด และควร แก้ไขอย่างไร

งานพิมพ์ทมี่ าจากการพิมพ์งานเก่าอีกครัง้ โดยใช้เพลท เดิมที่เคยพิมพ์งานมา ส่วนใหญ่จะพบปัญหาที่พิมพ์มาแล้วได้สี ไม่เหมือนเดิม โดยส่วนใหญ่เกิดมาจากเม็ดสกรีนบนเพลทได้มี การเปลี่ยนแปลงไป มีสาเหตุมาจากการใช้น�้ำยาและเคมีภัณฑ์

ดร.อนันต์ ตันวิไลศิริ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี anan.tanwilai@gmail.com

ในระหว่างการพิมพ์ อาทิเช่น การใช้น�้ำยาฟาวน์เทนที่มีความ เข้มข้นมากเกินไป การใช้น�้ำยาท�ำความสะอาดเพลทที่ผิดวิธี สาเหตุเหล่านี้มีผลท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของเม็ด สกรีน โดยท�ำให้เม็ดสกรีนมีขนาดเล็กลง เมื่อเม็ดสกรีนบน แม่พิมพ์มีการเปลี่ยนแปลง จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสี ด้วย ดังนั้นก่อนการน�ำงานที่ใช้เพลทเก่ามาพิมพ์อีกครั้ง ควรมี การตรวจสอบเม็ดสกรีนบนแม่พิมพ์ หากพบว่า เม็ดสกรีนมี ขนาดที่เล็กลง จะส่งผลต่อสีในงานพิมพ์ได้ จึงควรมีการท�ำ แม่พิมพ์ใหม่ เพื่อท�ำให้ไม่ก่อเกิดปัญหาเรื่องสีในการพิมพ์งาน เกิดขึ้น ส่วนการควบคุมการใช้น�้ำยาและเคมีภัณฑ์ในระหว่าง การพิมพ์ ควรมีการควบคุมให้ได้ตามมาตรฐาน อาทิเช่น น�้ำยา ฟาว์นเทน ควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ที่ 4.7 – 5.5 และควรมีความเข้มข้นของแอลกฮอล์ประมาณ 10 เปอร์เซนต์ เป็นต้น ในส่วนของการใช้นำ�้ ยาท�ำความสะอาดเพลท ควรตรวจ สอบไม่ให้น�้ำยามีความเข้มข้นมากเกินไป หรือการใช้ปริมาณ น�้ำยาที่เหมาะสมในการล้าง ท�ำความสะอาดเพลทในแต่ละครั้ง จะเป็นการช่วยลดปัญหาในการพิมพ์งาน Re-print

(1) (2) (1) เม็ดสกรีนของเพลทในการพิมพ์งานครั้งแรก เม็ดสกรีน (2) ของเพลทในการพิมพ์งานครั้งที่สอง THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 35

035 12/2/2562 20:04:17


การเปลี่ยนแปลงของเม็ดสกรีนหลังจากการพิมพ์งาน ส่งผลต่อสีของงาน พิมพ์ในการพิมพ์งาน Reprint โรงพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์ 2 สี ประสบปัญหาเกี่ยวกับกระดาษยืด มีวิธีการ ป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร

กระดาษยืด เกิดจากการยืดตัวของเยื่อกระดาษ (Fiber) ส่วนใหญ่จะพบ ในการพิมพ์งานสีสี่บนกระดาษบาง อาทิเช่น กระดาษปอนด์หรือกระดาษ น�้ำหนัก ประมาณ 70 – 120 แกรม การควบคุมอุณหภูมแิ ละความชืน้ ในห้องพิมพ์ จะเป็นการ ป้องกันการยืดตัวของกระดาษได้ระดับหนึ่ง โดยปกติในห้องพิมพ์จะมีอุณหภูมิ ประมาณ 22-24 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50-55 เปอร์เซนต์ ในส่วนของเทคนิคในการพิมพ์งานบางด้วยเครื่องพิมพ์ 1 สีหรือ 2 สี ก่อนพิมพ์งาน ควรมีการอาบน�ำ้ กระดาษก่อน การอาบน�ำ้ กระดาษเป็นการพิมพ์นำ�้ ลงสูก่ ระดาษก่อน โดยน�ำกระดาษทีจ่ ะท�ำการพิมพ์มาท�ำการพิมพ์โดยให้ลกู น�ำ้ จ่ายน�ำ้ ให้กบั แม่พมิ พ์ตาม ปกติ แต่ปดิ การท�ำงานของระบบลูกหมึก และสัง่ เครือ่ งพิมพ์ให้พมิ พ์งานเหมือนปกติ จะท�ำให้โมผ้ายางถ่ายทอดน�้ำบนเพลทลงสู่กระดาษ เมื่อกระดาษได้รับน�้ำจาก การพิมพ์ จะท�ำให้กระดาษยืดตัวระดับหนึ่ง เมื่อน�ำกระดาษที่ผ่านการอาบน�้ำมา

ท�ำการพิมพ์จริง จะท�ำให้ลดการเกิดปัญหา กระดาษยืดตัวได้ อีกทางหนึ่งที่สามารถ ช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง คือ หลังจาก พิมพ์งานด้วยเครือ่ งพิมพ์ 2 สีแล้ว กระดาษ ที่รอพิมพ์ 2 สีต่อไปให้น�ำพลาสติกมาห่อ กองกระดาษไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิ หรื อ ความชื้ น เข้ า มาสั ม ผั ส กระดาษและ ท�ำให้กระดาษมีการยืดหรือหด การปรับ ตั้งเครื่องพิมพ์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส�ำคัญ ในการพิมพ์ออฟเซตโดยทัว่ ไป จะต้องมีการ ปรับตัง้ เครือ่ งพิมพ์ให้มกี ารจ่ายน�ำ้ น้อยทีส่ ดุ โดยจ่ายให้มีปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ท�ำให้ เกิดสกัม หากมีการจ่ายน�้ำมาก ก็จะเป็น ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การเกิ ด การยื ด ตั ว ของ กระดาษเพิ่มมากขึ้น

ความชื้นและอุณหภูมิที่ส่งผลต่อกระดาษพิมพ์

น�ำ้ ยาฟาว์นเทนทีโ่ รงพิมพ์ใช้ มีหลายสี หลายยีห่ อ้ จะรูไ้ ด้อย่างไรว่ายีห่ อ้ ไหนดีกว่ากัน แล้วแอลกฮอล์ ที่ใช้ในน�ำ้ ยาฟาว์นเทนคืออะไร ไม่ใช้ได้หรือไม่

น�ำ้ ยาฟาว์นเทน เป็นน�ำ้ ยาทีใ่ ช้ในการพิมพ์ ออฟเซต โดยจะถู ก ใช้ ใ นระบบท� ำ ความชื้ น ของ เครื่ อ งพิ ม พ์ อ อฟเซต น�้ ำ ยาฟาว์ น เทนที่ ใช้ ใ น เครื่องพิมพ์ออฟเซต จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวน�้ำยาฟาว์นเทน น�้ำบริสุทธิ์ และแอลกอฮอล์ โดยหั ว น�้ ำ ยาฟาว์ น เทนที่ ดี จะประกอบด้ ว ย กัมอารบิค กรด และบัฟเฟอร์ น�ำ้ ยาฟาว์นเทนทีด่ จี ะ มีคา่ ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 4.7 – 5.3 สามารถใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ได้ และไม่ทำ� ให้หมึก แห้งตัวช้า โดยส่วนใหญ่แล้ว น�้ำยาฟาว์นเทนที่มี จ�ำหน่าย มีคณ ุ ภาพทีใ่ กล้เคียงกัน หากอยากทราบว่า

036 120782 Inside_Pc4.indd 36

ยีห่ อ้ ใดเหมาะสมกับทีบ่ ริษทั อาจจะต้องมีการทดลองใช้งาน และตรวจสอบ การแห้งตัวของหมึกพิมพ์ การท�ำงานของน�้ำยาฟาว์นเทนกับแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ที่ใช้กับน�ำ้ ยาฟาวน์เทน คือ ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ ที่มีการน�ำแอลกอฮอล์ดังกล่าวมาใช้งานในการพิมพ์ออฟเซต เนื่องจาก คุณสมบัติที่ดีของแอลกอฮอล์ คือ มีการระเหยตัวที่เร็ว และมีแรงตึงผิวที่ น้อยกว่าน�้ำ ท�ำให้น�้ำยาฟาวน์เทนสามารถกระจายตัวได้ดี และลดปริมาณ การใช้น�้ำในการพิมพ์นั้นเอง เครื่องพิมพ์ออฟเซตส่วนใหญ่จะมีการติดตั้ง ระบบแอลกอฮอล์มาในเครือ่ งพิมพ์ โดยแอลกอฮอล์ จะถูกผสมเข้ากับน�ำ้ ยา ฟาวน์เทนก่อนถูกจ่ายให้กับเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมีการรณรงค์การลดใช้ แอลกฮอล์ในการพิมพ์ เนื่องจากเพื่อสุขภาพของช่างพิมพ์ บางโรงพิมพ์ สามารถท�ำได้แล้ว แต่ต้องมีการหาวิธีการที่เหมาะสมในการพิมพ์งานด้วย เพราะจะต้องมีการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมอาทิเช่น การปรับตั้ง ลูกหมึก ลูกน�้ำ เพื่อการพิมพ์ที่ไม่ใช้แอลกอฮอล์

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

14/2/2562 15:13:45


ตัวอย่างน�้ำยาฟาวน์เทน ที่มา: http://www.eggen.de/index.php/en/fountain-solution-additives.html

ที่โรงพิมพ์มีงานสีพื้นสีด�ำเป็นจ�ำนวนมาก เวลาพิมพ์ ปรากฎว่า สีดำ� ไม่คอ่ ยเรียบ มีวธิ กี ารแก้ไขปัญหาอย่างไร บ้าง รวมทั้งการพิมพ์งานสีพื้นสีอื่นๆ ด้วย

การพิมพ์งานสีพนื้ ตายด้วยการพิมพ์ระบบออฟเซตนัน้ ท�ำได้ค่อนข้างยาก ต้องมีการควบคุมปัจจัยหลายๆ อย่าง อาทิ เช่น หากต้องการพิมพ์สีพื้นตายเป็นสีดำ� นั้น ตัวหมึกพิมพ์ต้องมี ความเป็นสีด�ำจริง บางโรงพิมพ์พบปัญหา มีการใช้หมึกพิมพ์ ราคาถูก และท�ำให้สีด�ำเวลาพิมพ์พื้นตายนั้น สีด�ำไม่เพียงพอ เนือ่ งจากมีผงสีดำ� ทีน่ อ้ ยเกินไป เทคนิคในการพิมพ์สดี ำ� นัน้ อาจ จะท�ำเพลทสีดำ� 2 ชุด หรือเพิม่ พืน้ ทีส่ กรีนในเพลทสี Cyan ช่วย ในการพิมพ์ โดยท�ำพื้นสกรีนสีด�ำ หรือสี Cyan บริเวณที่เป็น พื้นตายสีด�ำ โดยพื้นสกรีนที่ใช้ประมาณ 40 – 50 เปอร์เซนต์ โดยท�ำการพิมพ์ก่อนท�ำการพิมพ์ด้วยเพลทสีพื้นตายสีด�ำปกติ เทคนิคนี้ จะท�ำให้การพิมพ์สีพื้นตายสีด�ำ มีความเข้มเรียบ

มากกว่า การพิมพ์สดี ำ� เป็นสีพนื้ ตายเพียงสีเดียว ในการพิมพ์นนั้ ต้องท�ำการพิมพ์พื้นสกรีนก่อน มิเช่นนั้น สีพื้นจะดูไม่เรียบ เนือ่ งจากในการพิมพ์งานนัน้ เราต้องการให้หมึกพิมพ์นนั้ ยึดติด บนกระดาษ หากพิมพ์สีพื้นตายก่อนจะท�ำให้พื้นที่สกรีนที่เรา พิมพ์ทับลงไปสีพื้นตาย หมึกพิมพ์จะไปยึดเกาะบนสีพื้นตาย ท�ำให้สีพื้นตายมีลักษณะไม่เรียบ นอกจากนี้ อาจจะมีการท�ำให้หมึกพิมพ์มีความเหลว มากขึ้น เพื่อช่วยให้การพิมพ์สีพื้นตายมีความเรียบมากขึ้น แต่ ควรระวังตัวอักษร หรือภาพสกรีนจะมีความไม่คมชัด เนือ่ งจาก หมึกพิมพ์มคี วามเหลวมากเกินไป ในการผสมคอมปาวน์ เพือ่ ให้ หมึกมีความเหลวเพิ่มขึ้น ควรผสมในปริมาณที่น้อย จนหมึก พิมพ์มีความเหลวที่พอดี มิเช่นนั้นจะท�ำให้เกิดปัญหาทางการ พิมพ์อื่นๆ ได้

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 37

037 12/2/2562 20:05:42


การปรับสีเพื่อช่วยการพิมพ์สีด�ำเป็นสีพื้นในการพิมพ์ออฟเซต

โครงสร้างเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น ท�ำไมแต่ละยี่ห้อของ เครื่องพิมพ์มีจ�ำนวนลูกหมึกในหน่วยหมึกไม่เท่ากัน มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร

เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น โดยส่วนใหญ่มีลูกหมึกประมาณ 17 -19 ลูก (ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องพิมพ์ด้วย) เพื่อช่วยในการบด เกลี่ยหมึก และจ่ายหมึกให้กับแม่พิมพ์ จ�ำนวนลูกหมึกในเครื่องพิมพ์นั้น หากมี จ�ำนวนลูกกลิ้งจ่ายหมึกให้กับแม่พิมพ์จ�ำนวน 4 ลูก ถือว่าเหมาะสมกับ การพิมพ์ออฟเซต เพราะในการพิมพ์สีพื้นตายนั้น หากมีจำ� นวนลูกกลิ้ง จ่ายหมึกให้กับแม่พิมพ์จ�ำนวนน้อยกว่า 4 ลูก อาจจะท�ำให้การพิมพ์สี พื้นตายไม่เรียบได้ จ�ำนวนลูกกลิ้งหมึก 17 – 19 ลูกนั้น เป็นลิขสิทธิ์ของ แต่ละบริษทั ผูผ้ ลิต ทีอ่ อกแบบโครงสร้างเครือ่ งพิมพ์ แต่โดยตามหลักการ ในการออกแบบโครงสร้างหน่วยหมึกพิมพ์ให้กับเครื่องพิมพ์นั้น ต้องมี การค�ำนวณการไหลของหมึกพิมพ์ให้เหมาะสมกับขนาดของโมเพลท

หากออกแบบให้มีลูกหมึกจ�ำนวนน้อย ข้อดีคือ หมึก พิมพ์จะมีการเปลีย่ นแปลงสีเร็วในการท�ำแม่พมิ พ์ ท�ำให้ เสียกระดาษในการพิมพ์เพื่อปรับตั้งสีงานพิมพ์น้อย แต่ ข้อเสียคือ อาจจะท�ำให้การบดและเกลีย่ หมึกพิมพ์ ท�ำได้ ไม่ดี เช่นเดียวกัน หากมีจำ� นวนลูกหมึกมากไป ข้อดีคือ สามารถบดและเกลี่ ย หมึ ก ได้ ดี แต่ ใ นการพิ ม พ์ เ พื่ อ ปรู ๊ ฟ สี อาจจะสิ้ น เปลื อ งกระดาษในการปรั บ ตั้ ง สี งานพิมพ์มากเกินไป ดังนั้นจ�ำนวนลูกหมึกในแต่ละ เครือ่ งพิมพ์ทม่ี จี ำ� นวนไม่เท่ากัน ไม่สง่ ผลต่อคุณภาพงาน พิมพ์ หากแต่บริษัทผู้ผลิตได้ค�ำนวณจ�ำนวนลูกหมึก ให้ มีความเหมาะสมต่อการจ่ายหมึกให้กับโมเพลทและ ต่อการพิมพ์งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โครงสร้างของระบบการจ่ายหมึกของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่นแบบต่างๆ

038 120782 Inside_Pc4.indd 38

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:06:30


ในการพิมพ์งานหกสี โดยในการพิมพ์ครั้งแรกไม่เกิด ปัญหาใดๆ แต่ในการพิมพ์งานอีกครั้ง (Re-print) ต้องมี การท�ำเพลทใหม่บางสี ปรากฏว่า เกิดลายตาเสื่อเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด

ลายตาเสื่อ หรือโมเร่ เกิดจากการเรียงองศาของเม็ด สกรีนบนฟิล์มแยกสี หรือบนแม่พิมพ์ที่ไม่ถูกต้อง การท�ำฟิล์ม หรือเพลท จะต้องมีการส่งข้อมูลจากไฟล์ตน้ ฉบับผ่านไปยัง RIP (Raster Image Processor) ซึ่งท�ำหน้าที่ในการแปลงไฟล์ ต้นฉบับให้เป็นเม็ดสกรีนในการท�ำฟิล์มหรือท�ำแม่พิมพ์ โดยจะ สามารถก�ำหนดลักษณะภาพพิมพ์ตา่ งๆ ด้วย รูปแบบเม็ดสกรีน ความละเอียดสกรีน รูปร่างเม็ดสกรีน และองศาสกรีน จาก ปัญหาลายตาเสื่อที่เกิดขึ้น จะมีสาเหตุมาจากการเลือกใช้องศา สกรีนที่ผิดในการท�ำฟิล์ม หรือแม่พิมพ์ โดยรูปแบบเม็ดสกรีน ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ รูปแบบ AM screening ซึ่งจะต้องมี

การก� ำหนดองศาสกรี น ของเม็ ด สกรี น ที่ มีค วามแตกต่า งกัน ประมาณ 30 องศา ยกเว้นสีเหลือง หรือสีทอี่ อ่ น หากมีการพิมพ์ มากกว่า 4 สี โดยปกติ RIP ที่ใช้งานในการแปลงข้อมูล จะ สามารถก�ำหนดค่าองศาของเม็ดสกรีนได้ นอกเสียจากว่า มีการ ปรับตั้งแบบอัตโนมัติ ท�ำให้ RIP เลือกองศาให้ ท�ำให้เมื่อมีการ ท�ำฟิล์มใหม่ หรือท�ำเพลทใหม่ RIP ได้เลือกองศาของเม็ดสกรีน ที่ไม่สัมพันธ์กับการท�ำฟิล์มหรือแม่พิมพ์ครั้งแรก ท�ำให้เกิด ปัญหาลายตาเสือ่ เกิดขึน้ วิธกี ารแก้ไขคือ ให้ตรวจสอบการตัง้ ค่า ต่างๆ ใน RIP ให้ถกู ต้อง ให้แต่ละสีมคี วามต่างกัน 30 องศา ส่วน สีเหลืองมีองศาที่แตกต่างประมาณ 15 องศา แต่ถ้าโรงพิมพ์มี การใช้รูปแบบสกรีนแบบ FM Screening ก็จะไม่มีปัญหาเรื่อง การเกิดลายตาเสือ่ เนือ่ งจากเม็ดสกรีนจะเป็นแบบฝุน่ จากการก ระจายตัวตามน�ำ้ หนักสีของภาพ ไม่มีการเรียงตัวของเม็ดสกรีน ท�ำให้ไม่มีปัญหาดังกล่าว

องศาสกรีนในการพิมพ์ออฟเซต

โมเร่ ปัญหาทางการพิมพ์ที่เกิดจากการวางองศาสกรีนที่ผิด

รูปแบบเม็ดสกรีนที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซต AM Screening (บน) FM Screening (ล่าง)

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 39

039 12/2/2562 20:06:52


40 Ad Seethong Pc4.indd 1

24/11/2561 20:44:48


3:46:08 4:04:37 1:45:14 2:36:23 11:47:07 17:59:23 16:00:45 18:36:32 17:05:54 0:08:22 1:01:29 26:05 AM

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 4

110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 39

039 8/9/2560 0:28:49


042 120782 Inside_Pc4.indd 42

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:11:22


บริษัท เมกา ซอร์ส (ประเทศไทย) จ�ำกัด กระดาษเป็นส่วนส�ำคัญในการสร้างเอกสารงานพิมพ์ ต้องยอมรับว่าระบบพิมพ์ในยุคปัจจุบันมีความก้าวล�้ำไปมาก ส่งผลให้ผู้พิมพ์สามารถเลือกประเภทกระดาษในงานพิมพ์ได้ มากมายตามความต้องการ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทเองก็มี จุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้การเลือก กระดาษให้มีความเหมาะสมกับงานพิมพ์จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ต้อง ค�ำนึงถึงเป็นอันดับแรก เนือ่ งจากจะส่งผลต่อความสวยงามของ สิ่งพิมพ์โดยตรง อีกทั้งยังเป็นการควบคุมต้นทุนของงานพิมพ์ ให้มีความคุ้มทุนมากที่สุด Thai Print Magazine ฉบับนี้ ขอแนะน� ำ ให้ ท ่ า นผู ้ อ ่ า นได้ รู ้ จั ก กั บ บริ ษั ท เมกา ซอร์ ส (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผู้ผลิตกระดาษ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เคลือบพลาสติกชั้นน�ำจากประเทศไต้หวัน เมกา ซอร์ส บริษัทแม่เริ่มก่อตั้งในปี 2007 เป็นบริษัท จากไต้หวันที่เชี่ยวชาญในเรื่องการเคลือบกระดาษสังเคราะห์ และใส่ใจในเรื่องของการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และถือว่า เป็นสิ่งส�ำคัญ กระดาษสังเคราะห์ของบริษัทไม่มีการใช้ต้นไม้ และสามารถรีไซเคิลได้ 100% กันน�้ำ แข็งแรงและทนทาน ต่อการฉีกขาด สารทีใ่ ช้ในการเคลือบเป็นหลักโดย น�ำ้ ปราศจาก สารพิษ ไม่มีธาตุโลหะหนัก และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เมกา ซอร์ ส จั ด หากระดาษสั ง เคราะห์ ที่ มี ประสิทธิภาพในการพิมพ์ ซึง่ สามารถใช้กบั การใช้ได้หลากหลาย เช่น ฉลากสินค้า แท็กติดกระเป๋า โปสเตอร์ แบรนเนอร์ ตู้ไฟ ตราสัญลักษณ์ และการพิมพ์เพือ่ ใช้ในทางการค้า และอืน่ ๆ นอก นี้ การบริการของเราสามารถปรับให้ตรงความต้องการของลูกค้า ได้ เพือ่ ทีจ่ ะขยายการน�ำเสนอสินค้าของเราออกไปสูต่ ลาดสากล เราได้มีการสร้างโรงงานในไทยและเรามีส�ำนักงานสาขาย่อย ในประเทศอเมริกา ประเทศไทย และประเทศอินเดีย THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 43

043 14/2/2562 15:26:09


ความส�ำเร็จในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมกา ซอร์ ส ประสบความส� ำ เร็ จ ในตลาดเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ห ลั ง จากเริ่ ม เปิ ด โรงงานที่ ป ระเทศไทย ที่กรุงเทพฯ ในปี 2016 มีพื้นที่ 17,600 ตารางเมตร โรงงาน ประกอบไปด้วยเครื่องเคลือบและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ โรงงานสามารผลิตกระดาษสังเคราะห์ได้ถึง 2,000-2,500 ตัน ต่อเดือน เทคโนโลยีของเรามุ่งเพื่อจะผลิตกระดาษสังเคราะห์ ส�ำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ปัจจุบันเรามีโครงการ ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าในหลายบริษทั ซึง่ ถือเป็นจุดโดดเด่น ของเรา ในขณะเดียวกันก็เอาชนะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้ โดยเชื่อว่าการร่วมหุ้นส่วนทางการ

044 120782 Inside_Pc4.indd 44

ค้าสามารถขยายค่านิยมของเทคโนโลยีการเคลือบ และส่วนแบ่ง ทางการตลาด โดยจุ ด มุ ่ ง หมายที่ จ ะได้ รั บ การตลาดที่ ใ หญ่ กว่าเดิมผ่านทางนวัตกรรม การกระชับความสัมพันธ์ของลูกค้า ให้ มากขึ้น รวมไปถึงการจัดหาวัตถุดิบสังเคราะห์ให้กับโรงงาน ผลิต เจ้าของแบรน และ ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายโดยตรง

Mega Source ต้องการน�ำเสนออะไรสู่ตลาด

เมกา ซอร์ส เชีย่ วชาญในการผลิตฟิลม์ สังเคราะห์และ เราก็อ�ำนวยความสะดวกสบายแก่บริษัทต่างๆด้วยทรัพยากรที่ จ�ำกัด และเคลือบมันด้วยสารเคมีทสี่ ามารถละลายน�ำ้ ได้ อีกทัง้ เราสนับสนุนการเคลือบฟิล์มและสารเคลือบที่เป็นมิตรต่อ

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

14/2/2562 15:08:05


สิง่ แวดล้อม สารเคมีทใี่ ช้ปราศจากสารพิษ และไม่ได้มโี ลหะหนัก ผสม ดังนั้นกระดาษสังเคราะห์ของเมกา ซอร์ส ยังสามารถ รีไซเคิลได้ 100% และน�ำไปใช้ซ�้ำใหม่ได้ ส� ำ หรั บ อุ ต สาหกรรมฉลากสิ น ค้ า เมกาซอร์ ส ก็ มี ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่หลากหลายน�ำเสนอ เช่น ฟิล์มแบบสีใส ฟิล์มแบบสีขาวเงา,ฟิล์มแบบสีขาวด้าน , ฟิล์มแบบผ่านความ ร้อนโดยตรง,ฟิลม์ แบบสีเงิน, ฟิลม์ แบบถ่ายเทความร้อน ฟิลม์ ที่ เคลือบเหล่านี้ป้องกันการขีดข่วนและกันน�้ำได้ เราเน้นในเรื่อง คุณภาพของฟิล์มต้องมีประสิทธิภาพกับการใช้กับเทคโนโลยี เครื่องพิมพ์ในปัจจุบัน ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ จึงท�ำให้เรา ประสบความส� ำ เร็ จ และได้ ใ บรั บ การรั บ รองผ่ า นการ ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ของเราผ่านการทดสอบที่เข้มงวดหลาย ระดับ บริษัทเองก็มีเครื่องตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เคลือบก่อนที่จะน�ำส่งไปให้ลูกค้า กระดาษเคลือบของเมกา ซอร์ส เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 3 ดาวทีผ่ า่ นการรับรองจาก HP, Fuji, Xerox, Konica นอกจากนี้บริษัทมีใบรับรองมากมายที่รับ ประกันคุณภาพ เช่น ISO FDA นอกจากการจัดหาฟิล์มเคลือบที่มีคุณภาพแล้ว เมกา ซอร์ส ยังน�ำเข้าสารเคมีและจัดหาสูตรในการเคลือบเฉพาะให้ ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย เราเชื่อมั่นในความรู้ และทักษะการเคลือบฟิล์ม นอกจากนี้เรายังน�ำเสนอผลิตภัณฑ์

เคลือบให้กบั บริษทั ทีต่ อ้ งการสินค้าจ�ำนวนน้อยซึง่ เราเชือ่ ว่าเป็น สิ่งที่หลายคนคาดหวังส�ำหรับตลาดปัจจุบัน

สิ่งที่แตกต่าง และ เป็นจุดเด่น

โรงงานที่เชี่ยวชาญของเราสามารถผลิตฟิล์มเคลือบ ตามความต้องการของงานที่เฉพาะเจาะจง ประธานกรรมการ บริษัท คุณแซนดี้ กล่าวไว้ว่า“เรารู้จักสูตรที่จะเคลือบฟิล์มที่ เฉพาะเจาะจง โดยดูจากการปรับใช้ของผู้ใช้ ดังนั้น เราสามารถ จั ด หาวั ต ถุ เ คลื อ บส� ำ หรั บ จ� ำ นวนน้ อ ยได้ ซึ่ ง หลายๆที่ อ าจ ไม่สามารถท�ำได้บอ่ ยๆ” คุณแซนดีย้ งั บอกอีกว่า “มันเป็นเพราะ ว่าเรามีเทคโนโลยี และรู้ว่าเราจะแก้ไขอย่างไร กับปัญหาที่เกิด ขึ้ น ในการเคลื อ บฟิ ล ์ ม ซึ่ ง สิ่ ง นี้ เ ป็ น การบริ ก ารที่ โ ดดเด่ น ที่ เมกา ซอร์สน�ำเสนอ” ในส่ ว นของส� ำ นั ก งานใหญ่ เราก่ อ ตั้ ง เมื่ อ 2007 เครือ่ งจักรเคลือบผสมผสานตัวแรกของเรา “โครงสร้างภายนอก นั้นโดดเด่นและสร้างผลประโยชน์มากมายให้กับพวกเรา ด้วย กระบวนการผลิตที่แตกต่าง มันช่วยท�ำให้เราสร้างคุณค่าได้ มหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น” คุณแซนดี้ กล่าวไว้ ความกว้างของเครื่องจักรคือ 1.65 เมตร ดังนั้นเมกา ซอร์ส สามารถเสนอความกว้างสูงสุดได้ถงึ 1.6 เมตร โรงงานทีป่ ระเทศ ไต้หวันสามารถผลิตได้ถึง 600 ตันต่อเดือน และยังมีเครื่องจักร ส�ำหรับกระดาษเคลือบแผ่นอีกด้วย

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 45

045 14/2/2562 15:05:08


• Thailand 2018 • World Stamp Exhibition สมาคมนักสะสมตราไปรษณียากรแห่งประเทศไทย ใน พระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด จัดแถลงข่าวความพร้อมในการ จัดงานแสดงตราไปรษณียากรโลก พ.ศ. 2561 หรือ Thailand 2018 World Stamp Exhibition ครั้งยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยว วิถีไทย ในยุคดิจิทัล 4.0” ไฮไลท์ที่สุดของงานในครั้งนี้ก็คือ การ จัดแสดงไปรษณียบัตรส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีพ่ ระราชทานให้นำ� มาจัดแสดงจ�ำนวน 191 ชิน้ , การรวบรวมแสตมป์และสิ่งสะสมหายากจากทั่วโลกมูลค่าหลายพัน ล้านบาทมาไว้ในงานนี้ รวมถึงการประกวดแสตมป์ครั้งยิ่งใหญ่ระดับ โลก โดยจัดขึ้นระหว่างวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน – วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยาม พารากอน

046 120782 Inside_Pc4.indd 46

งานแสดงตราไปรษณี ย ากรโลก ประจ� ำ ปี 2561 (Thailand 2018 World Stamp Exhibition) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ ส่งเสริม และยกระดับการสะสมตราไปรษณียากร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเปิดโอกาสให้นักสะสม แสตมป์ชาวไทยได้พบปะกับนักสะสมแสตมป์จากนานาประเทศ ทั่วโลก ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวด แสตมป์ พร้อมชมงานในครั้งนี้ รวมทั้งเป็นการสร้างมิตรภาพ และแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม รวมถึงแสดงเอกลักษณ์ของ ประเทศไทย และช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศไทย การจัดงานในครั้งนี้ อยู่ภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยว วิถีไทย ในยุคดิจิทัล 4.0” ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก บริษทั ไปรษณียไ์ ทย จ�ำกัด ผูส้ นับสนุนหลักพร้อมด้วยพันธมิตร ทุกภาคส่วนส�ำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การ จั ด แสดงนิ ท รรศการเทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร การจัดแสดงสิ่งสะสม ส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แสตมป์และสิ่งสะสมที่หายากจากทั่วโลก โดยเฉพาะสิ่งสะสม ไฮไลท์ การจั ด แสดงจดหมายจากตั ว แทนการค้ า ในสมั ย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมถึงการตอบรับของนักสะสม แสตมป์ทสี่ ง่ ผลงานเข้าร่วมแสดงและประกวดกว่า 2,600 เฟรม หรือประมาณ 500 กว่าผลงาน โดยมีมูลค่ารวมกว่าหลาย พันล้านบาท ส�ำหรับงานแสดงตราไปรษณียากรโลก พ.ศ. 2561 (Thailand 2018 World Stamp Exhibition) จะจัดขึน้ ระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2561 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยผู้สนใจสามารถ เข้าชมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:14:04


“สัมมนาเทคโนโลยีการพิมพ์ บรรจุภัณฑ์และฉลาก” สมาคมการพิ ม พ์ ไ ทยจั ด งานสั ม มนาในหั ว ข้ อ เทคโนโลยี ก ารพิ ม พ์ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละฉลากเมื่ อ วั น ที่ 30 พฤศจิกายนและวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ณ สถาบันการพิมพ์ไทย นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร การจัดสัมมนา ในครัง้ นีจ้ ดั ขึน้ เพือ่ เพิม่ ทักษะการเรียนรูง้ านพิมพ์บรรจุภณ ั ฑ์และ ฉลาก เสริมสร้างความเข้าใจการท�ำงานการควบคุมงานพิมพ์ให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาตนเองให้เกิดประโยชน์ในการ ท�ำงานเพือ่ ให้ได้ผลงานทีม่ คี ณ ุ ภาพตรงตามเป้าหมายขององค์กร โดยได้เชิญ ดร.อนันต์ ตันวิไลศิริ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยี การพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และดร.สุร ชัย ขันแก้ว อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัล ั ฑ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มาเป็น และบรรจุภณ วิทยากรถ่ายทอดความรู้ ในช่วงบ่ายวันที่ 2 ของการสัมมนาสมาคมฯได้จัดให้ เข้าเยี่ยมชม บริษัท ทีพีเอ็น เฟล็กซ์แพค จ�ำกัด ขอขอบคุณ บริษัท ทีพีเอ็น เฟล็กซ์แพค จ�ำกัด ที่ให้การสนับสนุนการเยี่ยม ชมโรงงานในครั้งนี้

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 47

047 12/2/2562 20:14:27


C.A.S PAPER

Sino Trip

กระซิบประวัติศาสตร์

048 120782 Inside_Pc4.indd 48

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:16:11


บริษัท ซี.เอ.เอส.เปเปอร์ ได้จัดทริป C.A.S. Paper “C.A.S PAPER Sino Trip กระซิบประวัตศิ าสตร์” เพื่ อ เป็ น ขอบคุ ณ ลู ก ค้ า ที่ ส นั บ สนุ น สิ น ค้ า กั บ บริ ษั ท ซี.เอ.เอส.เปเปอร์ โดยกิจกรรมในทริปนี้ ได้รับเกียรติ จาก อาจารย์ เดวิท บุญทวี นักวิชาการอิสระด้าน ประวัติศาสตร์ และคุณนิรุตต์ โลหะรังสี แฟนพันธุ์แท้ อยุธยา 4 สมัย ร่วมเดินทางตลอดทริป อธิบายถึงเรื่อง ราวในสมัยอยุธยาตามสถานที่ต่างๆ เริ่มต้นที่พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งก�ำเนิด มาจากชุมชนเล็กๆ ของพ่อค้าเรือส�ำเภาชาวญี่ปุ่น ซึ่ง ภายในหมู่บ้านนั้นสันนิษฐานว่ามีชาวญี่ปุ่นอยู่ 3 กลุ่ม ด้วยกัน คือ พ่อค้า โรนิน หรือนักรบญี่ปุ่นที่เข้ามาเป็น ทหารอาสาญีป่ นุ่ ในอยุธยา และชาวญีป่ นุ่ ทีน่ บั ถือศาสนา คริ ส ต์ เดิ น ทางออกจากญี่ ปุ ่ น เพื่ อ เสรี ภ าพในการ นั บ ถื อ ศาสนา ต่ อ มาได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก พระมหากษั ต ริ ย ์ พ ระราชทานที่ ดิ น ให้ ตั้ ง หมู ่ บ ้ า น รอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่นๆ โดยตั้งอยู่ฝั่งตรง ข้ามแม่นำ�้ กับชุมชนชาวโปรตุเกส ส่วนชุมชนอังกฤษและ ชุมชนฮอลันดา จะอยู่ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน คัน่ ด้วยคลองเล็กๆ และในสมัยนัน้ จะมีหวั หน้าปกครอง ในกลุ่มตนเอง ซึ่งก็คือ นากามาซา ยามาดา เป็นผู้มี อ� ำ นาจและเป็ น ที่ โ ปรดปรานของสมเด็ จ พระเจ้ า ทรงธรรม มีบทบาทในการเชื่อมสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่างไทยและญี่ปุ่น จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญา เสนาภิ มุ ข ต่ อ มาได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น เจ้ า เมื อ ง นครศรีธรรมราช จนสิ้นชีวิต จากนั้นไม่นานหมู่บ้าน ญีป่ นุ่ ก็ถกู เผาท�ำลาย อีกมุมหนึง่ ก็มเี รือ่ งราวและหุน่ ขีผ้ งึ้ ของ ท้าวทองกีบม้า (มารี ดอญา กีมาร์ เดอ ปีนา) ซึ่ง เป็นชาวอยุธยาลูกครึ่งเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น อาศัย อยู่ในหมู่บ้านโปรตุเกส ได้สมรสกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ ออกญาวิชาเยนทร์ เสนาบดีกรมท่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กระทั่งในช่วง ปลายของชีวติ เธอเข้ารับราชการจนได้ตำ� แหน่งท้าวทอง กีบม้า หัวหน้าพนักงานวิเสทกลาง (ครัว) ดูแลของหวาน แบบเทศ และน�ำของหวานโปรตุเกสมาเผยแพร่ในกรุง สยาม เป็นต้นต�ำรับขนมตระกูลทอง อย่างทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองนั่นเอง จุ ด ที่ ส องของทริ ป เลาะประวั ติ ศ าสตร์ ส มั ย อยุธยาคือ วัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งถือว่า ถือว่าเป็นวัด มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดและเป็นวัด ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วนิ ย มมามากที่ สุ ด วั ด หนึ่ ง ในจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา จึ ง เป็ น ธรรมดาที่ จ ะพบเห็ น THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 49

049 12/2/2562 20:16:28


นักท่องเทีย่ วจ�ำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจ ของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราช ของหงสาวดีที่ตั้งเด่นเป็นสง่า ซึ่งเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ ที่ สู ง ที่ สุ ด ในอยุ ธ ยา ด้ า นหลั ง วั ด มี ต� ำ หนั ก สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ ภายในวัดประกอบด้วยเจดียป์ ระธานทรงกลมขนาดใหญ่ ตัง้ อยูบ่ นฐานประทักษิณเป็นประธานของวัดมีระเบียงคด ล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นทีต่ งั้ ของพระอุโบสถ ส่ ว นพระวิ ห ารตั้ ง อยู ่ ท างด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกของเจดี ย ์ ประธานในแนวเดียวกัน มีลักษณะแผนผังของวัดเช่น เดียวกับพระอารามหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น วัด มหาธาตุ วัดพระราม และวัดราชบูรณะ ก่อนทีจ่ ะล่องเรือ กรุงศรีปริ๊นเซสรับประทานอาหารกลางวันพร้อมดื่มด�่ำ ไปกับบรรยากาศ 2 ฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา หลั ง จากรั บ ประทานจนอิ่ ม หน� ำ และรั บ ชม บรรยากาศริมฝั่งแม่น�้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเดินทาง ต่อไปยัง วังช้างอยุธยา แลเพนียดเป็นสถานที่สร้างงาน ให้ ช ้ า งในภาพลั ก ษณ์ ข องช้ า งไทย ชมการโชว์ ค วาม สามารถของช้างน้อยประกอบกับเสียงดนตรี และเสริม ด้วยกิจกรรมลอดท้องช้างเพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล ก่อนจะ ปิดท้ายทีว่ งั ช้างด้วยการนัง่ ช้างชมโบราณสถาน สัมผัสกับ ความตื่นเต้นบนหลังช้าง ค�ำว่า แล หมายถึง แลมอง แลเห็นแลดู เป็นค�ำโบราณ เพนียด หมายถึง โบราณ สถานเป็นทีจ่ บั ช้างโบราณ ตัง้ แต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา ความ หมายรวม คือ เป็นสถานที่ท�ำงานของช้าง และดูแล เพนียดคล้องช้างนั่นเอง จุดสุดท้ายของการท่องเทีย่ วทริปนีค้ อื วัดมงคล บพิ ต ร เป็ น วั ด โบราณส� ำ คั ญ แห่ ง หนึ่ ง ในจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา โดยที่ตั้งของวัดมงคลบพิตรและ พระราชวังโบราณตั้งอยู่ติดกัน นักท่องเที่ยวจึงนิยมเข้า มานมั ส การหลวงพ่ อ มงคลบพิ ต รก่ อ นจะเข้ า ชม พระราชวังโบราณ และบริเวณทางด้านหน้าวิหารวัด พระมงคลบพิตร มีรา้ นค้าตั้งเรียงรายมากมายหลายร้าน จ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ พื้ น เมื อ งแทบทุ ก ชนิ ด เช่ น ปลา ตะเพียน เครื่องจักสานเครื่องหวาย มีดอรัญญิก ผลไม้ กวน และขนมชนิดต่างๆ เหมาะส�ำหรับผู้สนใจซื้อสินค้า พื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ

050 120782 Inside_Pc4.indd 50

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

14/2/2562 15:29:00


THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 51

051 12/2/2562 20:19:58


ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ ตอกย�ำ้ ความเป็นผู้นำ�

“โซลูชนั่ งานเอกสารยุคดิจทิ ลั ” ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ Digital Intelligence เปิดตัวมัลติฟังก์ชั่นใหม่ 14 รุ่น ภายใต้แนวคิด Smart Work Innovation เสริมศักยภาพธุรกิจยุคใหม่ด้วยนวัตกรรมที่เป็นมากกว่างานพิมพ์ บริษทั ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ตอกย�ำ้ ความเป็นผูน้ ำ� ธุรกิจด้านการ พิมพ์และโซลูชั่นบริหารจัดการงานเอกสารอย่างครบวงจร เพื่อช่วยลูกค้าเปลี่ยนผ่าน การท�ำงานในยุคดิจิทัล ชูกลยุทธ์ใหม่ Digital Intelligence ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart Work Innovation ที่ได้รับการตอบรับ และเป็นที่สนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมากในปีที่ ผ่านมา จึงท�ำให้ต้องการขยายฐานลูกค้า ตอกย�้ำความเชื่อมั่นกับลูกค้าและคู่คา้ ต่อไป ในปี 2562 โดยเน้นย�้ำในเรื่องการเป็นผู้ให้ค�ำปรึกษาในเรื่องการผสมผสานแนวคิดที่ ต้องการเชื่อมโลกการท�ำงาน และการสื่อสารระหว่างกันอย่างไร้รอยต่อด้วยศักยภาพ ของเทคโนโลยีคลาวด์และเอไอ ตอบโจทย์ความเป็นดิจทิ ลั ในองค์กรให้เกิดขึน้ ด้วยหลัก การคิดค้นพัฒนานวัตกรรมแบบ SMART Platform ที่ท�ำให้เครื่องพิมพ์เป็นมากกว่า แค่การน�ำไปใช้พิมพ์งาน สแกน ส�ำเนา และส่งแฟกซ์ แต่ต้องเป็นศูนย์รวมของการ ท�ำงานและสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ฯ ยังได้เปิดตัวเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ช่ันขนาด A3 รุ่นใหม่ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ApeosPort-VII C / DocuCentre-VII C Series รวม 14 รุ่น หวังเจาะกลุม่ องค์กรธุรกิจครอบคลุมทุกกลุม่ ในตลาด การเงิน กลุม่ โรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มการศึกษา กลุ่มสุขภาพ รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีในไทย โดยตั้งเป้าเติบโตเป็นตัวเลข สองหลักในกลุ่มเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นภายในปี 2562

052 120782 Inside_Pc4.indd 52

นายกิตกิ ร นงค์สวัสดิ์ ผูอ้ ำ� นวย การใหญ่ฝา่ ยปฏิบตั กิ ารธุรกิจ บริษทั ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวว่า “ในปี 2561 ทีผ่ า่ นมา เรามุง่ มัน่ ช่วยเหลือ และดูแลลูกค้าของเราในการเปลีย่ นผ่าน การท�ำงานในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อออกแบบโซลูชั่น ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า เราท�ำงานภายใต้คอนเซ็ปต์ทปี่ รับเปลีย่ น ไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละ บุคคล ที่จะน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วย ยกระดับความสามารถในการสร้างสรรค์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อสร้าง ประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพให้ลูกค้า ของเรา ดังนั้นแผนการด�ำเนินงานของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ในปี 2562 นี้ เราจะยังคง สานต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลให้ กั บ องค์ ก รต่ า งๆ พร้ อ มยกระดั บ การ เปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีและกลยุทธ์ ใหม่ ซึง่ เกิดจากการผสมผสาน Machine Intelligence และ Human Intelligence ให้เกิดเป็น Digital Intelligence มา สนั บ สนุ น การท� ำ งานของลู ก ค้ า ให้ มี ประสิ ท ธิ ภ าพเพิ่ ม ขึ้ น และสานต่ อ แนวคิด Smart Work Innovation ให้ เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสอดคล้อง กับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:23:41


ธุรกิจต่างๆ เดินหน้าไปสู่ยุค Asean industrial 4.0 อีกด้วย นั่นคือ สิ่งที่ฟูจิ ซีร็อกซ์ ก�ำลังมุ่งไปในไตรมาสสุดท้ายจนถึงปี 2562 นี้” “ทิศทางธุรกิจในปีนี้เราจะตอกย�้ำความเป็นผู้น�ำด้าน Solution Provider โดยเน้นท�ำการตลาดในส่วน Solution & Service Business มากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยน ธุรกิจให้สามารถท�ำงานร่วมกับใช้โซลูชั่นการพิมพ์ การจัดการต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงการ ท�ำงานแบบบูรณาการ โดยน�ำเรื่องของเทคโนโลยี AI, Cloud, และ RPA (Robotic Processing Automation) เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ในการท�ำงาน แต่กย็ งั คงให้ความส�ำคัญ กับธุรกิจฮาร์ดแวร์ที่เป็นรายได้หลักควบคู่ไปด้วย และเรายังมุ่งเน้น Solution Selling ด้วยการพัฒนาศักยภาพของทีมขายให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าในรูปแบบ Consultant เพือ่ ให้สามารถน�ำเสนอโซลูชนั่ ทีต่ อบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรง ประเด็นมากขึน้ ภายใต้กลยุทธ์หลักใหม่ Digital Intelligence ทีเ่ น้นการน�ำเทคโนโลยี มาเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรธุรกิจให้สามารถแข่งขัน และสร้างรายได้อย่าง ต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนรูปแบบการท�ำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลให้มีความยืดหยุ่น ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลายที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคล แผนก และหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร เพือ่ พัฒนาไปสูก่ ารมี Smart Platform ในแต่ละ องค์กรให้มากขึ้น สร้างพื้นที่ทำ� งานใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ที่เกิดจากการผสานของผู้คน, กระบวนการ และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี ในการท�ำงานแบบมีสว่ นร่วม และอัตโนมัตยิ งิ่ ขึน้ เพือ่ บรรลุเป้าหมายของแต่ละองค์กร” “เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาดิสรัปชั่นในธุรกิจ สิ่งพิมพ์ ท�ำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในรูปแบบเดิมๆ มีอัตราลดลงก็จริง แต่ความต้องการงาน พิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ในรูปแบบ Digital Document กลับเพิ่มสูงขึ้นตามการเติบโตของ องค์กร แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการเติบโตและความต้องการงานพิมพ์เพือ่ น�ำไปใช้งาน ในองค์กรขนาดใหญ่และเอสเอ็มอียังมีอยู่จำ� นวนมาก รวมถึงแนวโน้มความต้องการใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-document ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายกิติกร กล่าวสรุป นางสาวโลจนั น ท์ ชลลั ม พี หั ว หน้ า ฝ่ า ยการตลาด บริ ษั ท ฟู จิ ซี ร็ อ กซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปี 2561 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความท้าทาย ของทุกธุรกิจและจะมีความเข้มข้นมากขึ้นในปีนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมพร้อมมาตั้งแต่ปี 2559 โดยริเริ่มแนวคิด Smart Work Innovation และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ให้เครื่องพิมพ์กลายเป็น SMART Platform ประกอบกับเทรนด์ความ ต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์วันนี้ในองค์กรต่างมองหาโซลูชั่นงานพิมพ์ที่ให้มากกว่าแค่ เรื่องฟังก์ชั่นแบบ output แต่ต้องสามารถสื่อสารและจัดการเอกสารผ่านเทคโนโลยี (AI/Cloud) ดังนั้นการออกแบบนวัตกรรมของเราจะเน้นไปใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ ประสบการณ์การใช้งานทีง่ า่ ยขึน้ (User Experience), ความปลอดภัยแบบ 360 องศา (Security), สามารถน�ำดาต้าระหว่างการใช้งานเครื่องพิมพ์มาช่วยเรื่องการคาดการณ์ การบ�ำรุงรักษาเครื่อง (Analytics) และที่ส�ำคัญที่สุดคือ การปรับแต่งโซลูชั่นใหม่ๆ สามารถท�ำได้เสมอ (New Solutions) เพราะโซลูชั่นที่ดีวันนี้อาจจะไม่ตรงกับความ ต้องการของธุรกิจวันพรุ่งนี้ก็เป็นได้ ดังนั้น ฟูจิ ซีร็อกซ์จึงให้ความส�ำคัญในเรื่องนี้ และ เป็นสิ่งที่เราเน้นในปีนี้ คือ การสร้าง SMART Platform ที่ท�ำให้เครื่องพิมพ์ต้องเป็นได้ มากกว่าแค่การสัง่ พิมพ์งานและเดินไปรับเอกสาร แต่ตอ้ งเป็น Gateway ทีเ่ ชือ่ มโยงให้ ทุกอย่างเป็นไปได้ โดยผู้ใช้หรือองค์กรจะสามารถออกแบบและปรับแต่งโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละองค์กร เพราะความส�ำเร็จในการเป็นผู้น�ำ ด้านไอทีและเทคโนโลยีวันนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราสร้างอะไรขึ้นมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรา น�ำเทคโนโลยีอะไรมาปรับใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบริการและงานของเรา”

“ผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดที่เปิด ตัวในวันนี้ รองรับการใช้งานบนระบบ คลาวด์เทคโนโลยีทเี่ พิม่ มากขึน้ “Working Folder” ฟีเจอร์ใหม่มีความสามารถ ในการแลกเปลี่ ย นเอกสารกั บ บุ ค คล ภายนอกได้สะดวกขึ้น ทุกรุ่นมีฟีเจอร์ การท�ำงานร่วมกับ Cloud Connector ของฟูจิ ซีร็อกซ์อย่าง “Cloud Service Hub” ที่เชื่อมต่อกับ Public Cloud ได้ อย่างอัตโนมัติ และสามารถรองรับการ สแกนเอกสารอย่างอัตโนมัติ เพื่อถอด ข้ อ ความออกจากเอกสารอั ต โนมั ติ (Optical Character Recognition: OCR) ได้แม่นย�ำมากยิง่ ขึน้ ช่วยให้ธรุ กิจ สามารถค้นหาไฟล์บนคลาวด์สตอเรจ ต่างๆ อีกทั้งยังยกระดับความปลอดภัย ให้กบั เอกสารส�ำคัญ เมือ่ สแกนและแชร์ ผ่ า นคลาวด์ ส ามารถเลื อ กให้ เข้ า รหั ส เอกสารดิจทิ ลั ปกป้องการส่งต่อเอกสาร นัน้ ให้บคุ คลอืน่ ทีไ่ ม่เกีย่ วข้อง พร้อมแจ้ง เตือนทางอีเมล์อตั โนมัตถิ งึ ผูส้ ง่ ได้อกี ด้วย ในรุ่น ApeosPort VII / DocuCentre VII C6673 สามารถสแกนงานได้ถงึ 270 หน้าต่อนาที ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดเมื่อเทียบ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ รุ ่ น เดี ย วกั น ในตลาด สามารถรองรับการเติบโตของเอกสาร ดิจิทัล สแกน และเก็บข้อมูล ได้เป็น ระเบียบมากขึ้น รวมถึงยังมีข้อมูลช่วย เหลือ และวิธีใช้บนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลล่าสุดในการใช้งานที่ แสดงบนแผงควบคุมของเครื่องมัลติฟัง ก์ ชั่ น หรื อ อุ ป กรณ์ เ คลื่ อ นที่ ไ ด้ ต าม ต้องการ นอกจากนีผ้ ลิตภัณฑ์ของเรายัง ให้ ค วามส� ำ คั ญ ในสิ่ ง แวดล้ อ มตาม นโยบายรั ก ษ์ โ ลก ด้ ว ยการใช้ ห มึ ก Super EA Eco ซึ่งเป็นหมึกที่สามารถ หลอมละลายที่ อุ ณ หภู มิ ต�่ ำ กว่ า หมึ ก ทัว่ ไป ทีส่ ามารถรีไซเคิลได้ถงึ 99.8% ไม่ ก่อให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และยังช่วย ประหยัดพลังงานได้มากขึ้นอีกด้วย”

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 53

053 12/2/2562 20:24:02


PRINT NEWS

เปิดฝึกอบรม การพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้นประจ�ำปี 2562 รุ่นที่ 13

เปิ ด ฝึ ก อบรม การพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้น

ประจ�ำปี 2562 รุ่นที่ 13 สถาบันการพิมพ์เปิดฝึกอบรม “การพิมพ์ออฟเซ็ต เบื้องต้นประจ�ำปี 2562 รุ่นที่ 13” โดยเปิดเรียนครั้งแรกในวัน เสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ที่สถาบันการพิมพ์ไทย นิคม อุตสาหกรรมสินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในการฝึกอบรมใช้ เวลาเรียนทั้งหมด 9 ครั้ง แต่ละวันของการฝึกอบรมจะมีเรียน ทฤษฎีในช่วงเช้า ส่วนในช่วงบ่ายลงปฏิบัติงานจริงเพื่อให้ผู้เข้า อบรมได้รจู้ กั พืน้ ฐานของอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีใ่ ช้สำ� หรับเครือ่ งพิมพ์ และน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ในการท�ำงาน

054 120782 Inside_Pc4.indd 54

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:24:41


สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ SCG

PRINT NEWS

สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ SCG

คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช และคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ จัดประชุมสัญจรและ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ SCG ณ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี พร้อมไหว้ “หลวงพ่ออโนทัย” พระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐาน ณ วัดจันทาราม เป็นสิริมงคลรับปีใหม่

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 55

055 12/2/2562 20:25:44


PRINT NEWS

สัมมนาแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ของตลาดโลก

สัมมนาแนวโน้ม อุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ของตลาดโลก Loxley และ EFI ร่ ว มกั บ สมาคมการพิ ม พ์ ไ ทย จัดสัมมนาเรื่องแนวโน้มอุตสาหกรรมการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ของตลาดโลก (Global trends in digital printing and packaging and how your company can benefit) โดยมี Mr. Andy Yarrow, Director Asia Pacific จาก EFI ให้การ บรรยาย เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสัมมนาชั้น 4 อาคารสมาคมการพิมพ์ไทย ถ.พระราม 9

056 120782 Inside_Pc4.indd 56

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:26:51


Ad Fest Pc4.pdf 1 1/2/2562 10:46:56


58-59 Ad Sriaksorn_pc4.indd 58

23/11/2561 1:31:38


58-59 Ad Sriaksorn_pc4.indd 59

23/11/2561 1:31:53


44 Ad PMC Label #103_pc3.indd 441 38 110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 44118 05Ad PMC #113_pc3.indd 144 44 Ad PMCL#109_pc3.indd #102_pc3.indd 044 PMC #101_pc3.indd 113 Ad PMCL #91_pc3.indd 113 38 36 118 38 Ad AdPMC#104_pc3.indd PMCL PMCL PMC #97_pc3.indd #99_pc3.indd Label Label #94_pc3.indd #98_pc3.indd 36 AD PMCL-m19.indd 1

11/10/2557 3:46:08 9/12/2557 8/9/2560 11:47:07 4:04:37 0:17:45 22/1/2560 1:45:14 11/8/2558 2:36:23 1/9/2557 19/4/2557 17:59:23 19/4/2555 16:00:45 28/10/2556 10/11/2555 14/8/2556 4/5/2556 18:36:32 17:05:54 0:08:22 1:01:29 5/31/10 11:26:05 AM


Ad C.A.S Oji Label_pc4.pdf 1 10/1/2562 16:18:22


“My Spooky friend” ผลงานนักศึกษาคณะมีเดียอาร์ต มจธ. ผู้ชนะเลิศโครงการ

WOW YOUNG ENERGY SHORT FILM AND ANIMATION AWARDS ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการก� ำ กั บ กิ จ การพลั ง งาน (ส�ำนักงาน กกพ.) จัดกิจกรรมประกวดหนังสั้นและ แอนิเมชั่น WOW YOUNG ENERGY SHORT FILM AND ANIMATION AWARDS ในหัวข้อ “เพราะทุกนาทีต้องมีไฟ(ฟ้า)” เพื่อเสริม สร้างการมีส่วนร่วม ปลูกฝังทัศนคติที่ดีทางด้านไฟฟ้าให้แก่ ประชาชน โครงการ WOW YOUNG ENERGY SHORT FILM AND ANIMATION AWARDS “เพราะทุกนาทีต้องมีไฟ(ฟ้า)” ถือเป็น 1 ในกิจกรรมภายใต้โครงการสร้างเสริมความเข้าใจด้าน ไฟฟ้าผ่านสือ่ ดิจทิ ลั ทีม่ งุ่ หวังจะเป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะก่อให้เกิดการ มีส่วนร่วมของประชาชน ในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อ ส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนักและ มี ส ่ ว นร่ ว มทางด้ า นไฟฟ้ า ด้ ว ยสื่ อ ที่ ต อบโจทย์ ป ระชาชนใน

062 120782 Inside_Pc4.indd 62

สมัยนิยม อย่างหนังสั้นและแอนิเมชั่น ซึ่งโครงการประกวดนั้น เดินทางมาจนถึงโค้งสุดท้ายแล้ว นับตั้งแต่เริ่มประกาศเปิดรับ สมัครเมือ่ ปลายเดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา และในวันนี้ 2 ตัวแทน ของที ม 5 idiots ประกอบด้ ว ย นางสาวรสิ ต า วั ฒ นศิ ริ นางสาวปานชนก ชมชื่ น นางสาวกี ร ติ ย า กี ร ติ อิ ส ริ ย ะกุ ล นายฐวัฒน์ สนิทม่วง และนางสาวชญานิษฐ์ เดชะไชย นักศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์ และเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศของโครงการฯ จากทั้งหมด กว่าหนึ่งร้อยทีมจากทั่วประเทศ จะมาน�ำเสนอผลงานของตน รวมทั้งแนวคิดและแรงบันดาลใจจนส่งผลให้เป็นผู้ชนะเลิศ คว้าเงินรางวัล 100,000 บาทจากการประกวดในครั้งนี้

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:30:13


แนวคิดและขั้นตอนในการจัดท�ำผลงาน My Spooky friend

นางสาวรสิตาเล่าว่า โจทย์ทไี่ ด้รบั มาคือ ทุกนาทีตอ้ งมี ไฟ(ฟ้า) เราตีความโจทย์ที่ได้เป็นเพื่อนที่มองไม่เห็น เราจึงได้ สร้างตัวละครซึง่ เป็นตัวเอกของเรือ่ งเป็นผูช้ ายทีม่ คี วามสามารถ พิเศษ สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ ซึ่งถือเป็นความส�ำคัญของ เนือ้ เรือ่ ง การแข่งขันในครัง้ นีเ้ ริม่ ขึน้ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอม ในครั้งแรกคือการส่งสตอรี่บอร์ด หลังจาก นั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 ทีม แบ่งเป็น อนิเมชั่น 10 ทีม และหนังสั้น 10 ทีม เพื่อเข้าแข่งขันต่อ ในรอบที่ 2 โดยการแข่งขันในรอบที่ 2 นั้นเริ่มจากการปรับปรุง สตอรี่บอร์ดแล้วน�ำเสนอต่อคณะกรรมการ และจะท�ำการ คัดเลือก 5 ทีมสุดท้ายเพื่อจัดท�ำผลงานจริง

นายฐวัฒน์เสริมเพิ่มเติมว่า ทางผู้จัดจะมีโค้ชคอย ให้ค�ำแนะน�ำและคอยอัพเดทงานผ่านทางไลน์กลุ่ม โดยโค้ชจะ คอยให้ค�ำปรึกษาว่าควรปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมในจุดใดบ้าง

อุปสรรคและปัญหาที่พบระหว่างจัดท�ำผลงาน

นางสาวรสิ ต ากล่ า วว่ า ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น เรื่ อ งของ การแบ่ ง เวลาในการท� ำ งาน เนื่ อ งจากผลงานเป็ น อนิ เ มชั่ น ความยาว 2 นาที แต่ระยะเวลาที่กำ� หนดให้มีแค่ 2 เดือนถือว่า น้อยมาก และชนกับช่วงเปิดเทอม จึงท�ำให้มีงานซ้อนกับงาน ของมหาวิทยาลัย

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 63

063 12/2/2562 20:30:29


นายฐวัฒน์กล่าวต่อว่าในทีมจะมีการแบ่งหน้าที่อย่าง ชัดเจน ว่าแต่ละคนมีหน้าที่อะไร คนไหนวาดภาพ คนไหน น�ำภาพมาจัดเรียงเพื่อเดินเรื่อง คนไหนท�ำหน้าที่ตัดต่อ แต่ สุดท้ายแล้วก็ต้องร่วมมือกันในทุกขั้นตอนของการท�ำผลงาน

การต่อยอดผลงานที่ได้รับรางวัลและจุดเริ่มต้นในการ รวมตัวกันเพื่อส่งผลงานเข้าประกวด

นางสาวรสิตาเล่าในส่วนนีว้ า่ ทุกชิน้ งานจะต้องท�ำการ แก้ไขครั้งสุดท้าย ก่อนที่ทางผู้จัดจะน�ำผลงานไปเผยแพร่ต่อ ส่วนทางด้านนายฐวัฒน์เล่าว่า เพื่อนๆ ในทีมจะท�ำงานกันมา ก่อน แต่เพื่อนบางคนได้ย้ายภาคออกไป จึงได้มีการฟอร์มทีม ขึ้นมาใหม่ ด้วยการสอบถามจากลุ่มเพื่อนในภาคว่ามีใครสนใจ เข้าร่วมโครงการไหม จึงได้มกี ารตัง้ กลุม่ นีข้ นึ้ มาเป็นการรวมกัน เฉพาะกิจเพื่อประกวดผลงานโดยเฉพาะ

กลุ่มเป้าหมายในการท�ำผลงาน My Spooky friend

นายฐวัฒน์กล่าวว่าผลงานชิ้นนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ เยาวชนได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของพลังงานไฟฟ้า ดังนัน้ กลุม่ เป้าหมายหลักจึงหมายถึง เด็กและเยาวชน เหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ ได้รับรางวัลในครั้งนี้คือ ตัวละครในเรื่องเข้าถึงตัวเด็กได้ง่าย

064 120782 Inside_Pc4.indd 64

เหตุผลที่สนใจการท�ำแอนิเมชั่น

นายฐวัฒน์นนั้ มีความสนใจตัง้ แต่เด็ก โดยเริม่ จากชอบ ดูการ์ตูนก่อน หลังๆ จึงเริ่มท�ำการศึกษาเบื้องหลังว่าท�ำอย่างไร พอได้ศึกษาแล้วจึงเกิดความสนใจและต้องการที่จะท�ำผลงาน ของตนเองบ้างจึงเลือกเรียนสายนี้ ส่วนนางสาวรสิตาเป็นสาย ประกวดตัง้ แต่ชว่ งเรียนมัธยม เคยท�ำแอนิเมชัน่ และแอพลิเคชัน่ แต่มีความสนใจด้านแอนิเมชั่นมากกว่า และได้เห็นผลงานของ รุน่ พีท่ จี่ บจากทีน่ ี่ (มจธ.) ได้ดผู ลงานของเขาแล้วมีความน่าสนใจ ยิ่งส่งผลให้เกิดความชอบมากยิ่งขึ้น

เชิญชวนและฝากถึงรุ่นน้องที่สนใจเข้าเรียนสาขานี้

การเรียนทีน่ ไี่ ด้ฝกึ เรือ่ งความรับผิดชอบ การแบ่งเวลา และที่ส�ำคัญที่สุดคือ การได้ท�ำงานเป็นทีม การท�ำงานร่วมกับ คนอื่นได้ ถึงเราจะเก่งแค่ไหนแต่ถ้าท�ำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ก็ ไปไม่รอด เราต้องช่วยกัน เพราะแอนิเมชั่นเป็นงานที่ต้องอาศัย ทีมเวิร์ค บรรยากาศการเรียนที่นี่ค่อนข้างอบอุ่นและช่วยกัน เรียนมากกว่าที่จะแข่งขันกัน

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:31:16


ผลการประกวด WOW YOUNG ENERGY SHORT FILM AND ANIMATION AWARDS รางวัลชนะเลิศ

ประเภทหนังสั้น : ทีม MOVING IMAGE ประเภทแอนิเมชั่น : ทีม 5 idiots

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

ประเภทหนังสั้น : ทีม NorthstarPower ประเภทแอนิเมชั่น : ทีม Nanrae

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง

ประเภทหนังสั้น : ทีม 2KProduction ประเภทแอนิเมชั่น : ทีม DoDone

รางวัลรางวัลชมเชย ของโครงการ

ประเภทหนังสั้น : ทีม Untitled004 และ ทีม Paracetamol ประเภทแอนิเมชั่น : ทีม Fops

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 65

065 12/2/2562 20:31:40


PRINT TECHNOLOGY

HP and China’s LVAI to roll out largest HP Indigo 20000 digital press deployment in Asia Pacific and Japan

HP and China’s LVAI to roll out largest HP Indigo 20000 digital press deployment in Asia Pacific and Japan

Eight presses at packaging provider to boost capacity and transform business models in the customizable packaging market Singapore, November 12, 2018 — HP Inc. and LVAI Holdings Co., Ltd. (LVAI), a leading customizable candy packaging solutions provider in China, has recently signed a memorandum of understanding (MoU) to deepen collaboration through a wider application of HP Indigo 20000 digital presses. In tandem with the signing of MoU, LVAI is expanding its HP Indigo 20000 digital press fleet to eight units to grow its business in the customizable flexible packaging market. The new installations – scheduled to be delivered in 2019 – will be the largest deployment of the HP Indigo 20000 Digital Press to date in Asia Pacific and Japan (APJ). Guo Jianbo, Chief Executive Officer of LVAI Holdings Co., Ltd.; Alon Bar-Shany, General Manager, HP Indigo, Ezuz Shabtai, Vice President and Business Consultant, HP Indigo, Jonathan Liu, president, Syntax, HP Indigo’s channel partner in China, Cindy Qian, Flexible Packaging Business manager APJ, HP Indigo and Li Peng, General Manager of HP China Indigo and PageWide Industrial business, attended the signing ceremony at the 2018 All In Print China exhibition, which took place at the Shanghai New International Expo Center October 27.

066 120782 Inside_Pc4.indd 66

New printing possibilities in the age of experience

The HP Indigo 20000 digital presses will help LVAI transform into an automated production model that boosts productivity, accelerates speed to market and delivers quality customization. The 30-inch (76 cm) HP Indigo 20000 can print various sized flexible packaging applications and supports demand for growing stock keeping units (SKUs), alongside benefits of reduced waste from minimal setup and production of only the quantities needed. The solution also provides converters the freedom to produce nearly any flexible packaging application, in addition to labels, and shrink sleeves on film or paper – all with the proven quality to help meet strict brand requirements. The HP flexible packaging ecosystem has grown to include end-to-end solutions including HP Indigo Pack Ready Lamination for immediate time-to-market with high-performance laminates. The system consists of the Pack Ready

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:32:03


HP and China’s LVAI to roll out largest HP Indigo 20000 digital press deployment in Asia Pacific and Japan

Laminator, supplied by Karlville, and Pack Ready Film. “The new order from LVAI validates the value of HP Indigo 20000 digitally printed flexible packaging. The HP Indigo solution offers lower environmental impact by eliminating many steps of printing process and supply chain efficiency, while also opening new opportunities for business growth with mass customization for brand marketing campaigns,” said Alon Bar-Shany, General Manager, HP Indigo, HP Inc. “HP Indigo looks forward to continued collaboration with the flexible packaging industry in China to transform existing business models.”

PRINT TECHNOLOGY

Growing momentum for HP Indigo 20000 Digital Press

LVAI purchased China’s first HP Indigo 20000 Digital Press in 2016 in a decision to pioneer personalized packaging solutions, driving market share. By end-2019, they will have installed a total of eight HP Indigo 20000 digital presses to become HP’s biggest customer of the product in Asia Pacific and Japan. “Digital printing brings us not only the change of printing method but also a change in business philosophy,” said Guo Jianbo, Chief Executive Officer of LVAI Holdings Co., Ltd., “This deeper partnership with HP Indigo is a big step forward for LVAI, as we are committed to becoming the world’s leading food and beverage packaging and value-added service provider. In the future, LVAI will invest billions of yuan to build a food and beverage industry ecosystem in Shandong Province, aiming to provide brands with end-to-end solutions including product development, brand consulting and packaging design.” Together with the new rollout with LVAI, HP has also received purchase order for HP Indigo 20000 digital press from Yuncheng Plate Making Group and Guangzhou Kelin at the 2018 All in Print China exhibition. Recently, HP has signed another purchase order with ePac Flexible Packaging, an American supplier of flexible packaging, for 20 HP Indigo 20000 digital presses to further expand its market share in the United States. To date, nearly 170 HP Indigo 20000 digital presses have been sold worldwide. More information on the HP Indigo 20000 Digital Press is available at hp.com/go/hpindigo20000. THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 67

067 12/2/2562 20:32:16


YOUNG PRINTER

“หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์ มือขวาคนเก่งแห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป

“หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์

มือขวาคนเก่งแห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป (Reanthai Group)

068 120782 Inside_Pc4.indd 68

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:33:17


“หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์ มือขวาคนเก่งแห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป

YOUNG PRINTER

วาน หรื อ ณลั ล น์ รั ศ ม์ ปาละวงศ์ เป็ น พี่ ค นโตในจ� ำ นวน พี่ น ้ อ ง 3 คน จบศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโท Fashion Management and Entrepreneurship, Northumbria School of Design (ประเทศอังกฤษ) หลังจากเรียนจบได้เริ่มท�ำงานที่ Celebrate Wealth บริษัทในเครือสหพัฒน์ ดูแลด้าน Marketing ให้กบั แบรนด์แฟชัน่ เสือ้ ผ้าผูช้ าย ERA-WON และแบรนด์ กระเป๋าฝรัง่ เศส LOLLIPOPS ในต�ำแหน่งเป็น Brand Manager รวมระยะเวลา ทั้งหมดเกือบ 2 ปี ในเดือนเมษายนของปี 2014 เริ่มเข้ามาช่วยธุรกิจของที่บ้าน ด�ำรง ต�ำแหน่ง Assistant Managing Director ของ บริษัท เหรียญไทยบุญกิจ จ� ำ กั ด โดยนอกจากธุ ร กิ จ ของที่ บ ้ า น ปั จ จุ บั น เธอยั ง ใช้ เวลาว่ า งสร้ า ง แบรนด์กระเป๋าและรองเท้าที่ทำ� ร่วมกับญาติๆ ขายทาง online ชื่อ Rissaya (IG: @rissaya.official) เล่าถึงความเป็นมาของ เหรียญไทยบุญกิจ บริษัท เหรียญไทยบุญกิจ จ�ำกัด เป็นบริษัทแรกในเครือ เหรียญไทย กรุ๊ป ก่อตั้งตั้งแต่รุ่นอาม่าอากง ท�ำธุรกิจประเภท Paper Trading จัดจ�ำหน่าย กระดาษทุกชนิด ทั้งที่ผลิตในประเทศและกระดาษน�ำเข้า ด�ำเนินกิจการ มามากกว่า 50 ปี หลังจากธุรกิจซื้อขายกระดาษเติบโตขึ้น อาม่าอากง คุณแม่ และพี่ๆน้องๆ ตัดสินใจขยายธุรกิจเพิ่มอีกหลายบริษัท โดยทั้งหมดท�ำเกี่ยวกับ กระดาษทั้งสิ้น คือ บริษัท ไทยโปรดัคท์ เปเปอร์มิลล์ จ�ำกัด ผู้ผลิตและส่งออก กระดาษแข็ง (จั่วปัง) บริษัท ร็อคซี่ เปเปอร์ จ�ำกัด ผู้จัดจ�ำหน่ายกระดาษถ่าย เอกสารและกระดาษที่ใช้ในส�ำนักงานทุกชนิด และบริษัท เปเปอร์แพ็ค จ�ำกัด ผูผ้ ลิตและจัดจ�ำหน่ายกล่องลูกฟูก นอกจากนี้ เหรียญไทย กรุป๊ ยังได้จบั มือกับ Antalis บริษัทผู้จ�ำหน่ายกระดาษ Fine Paper ระดับโลก ก่อตั้ง Antalis ประเทศไทย ขึ้น ปัจจุบัน เหรียญไทย กรุ๊ป มีกระดาษ ทุกประเภทจ�ำหน่าย พร้อมการให้บริการที่มี คุณภาพ รวดเร็ว ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อความพึงพอใจและความส�ำเร็จของลูกค้า เพราะเราคือ partner ที่เติบโตไปด้วยกัน ตาม slogan ของเราที่ว่า “The Paper Provider of All Kinds, We Serve More Than a Piece of Paper.” จุดเริม่ ต้นของการท�ำงาน และหน้าทีร่ บั ผิดชอบ เริ่มต้นเข้ากลับเข้ามาช่วยงานที่บ้าน ในต�ำแหน่งมือขวา (เลขา) ของคุณแม่ เนื่องจาก คนเดิมออกไปดูแลครอบครัว และหาคนไม่ได้มา 2-3 ปี นอกจากนี้ยังรับผิดชอบดูแลด้าน import สินค้า และงานฝ่ายขายทั้งหมด THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 69

069 12/2/2562 20:33:29


YOUNG PRINTER

“หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์ มือขวาคนเก่งแห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการท�ำงาน / แนวทาง ในการแก้ไข ส่วนใหญ่เกิดจากการสื่อสารระหว่างหวานกับ คุณแม่ ช่วงแรกๆ ทีเ่ ข้ามาท�ำ และยังใหม่กบั ธุรกิจค่อนข้าง มาก เราจะยังไม่คนุ้ กับระบบและธรรมชาติของธุรกิจ รวม ถึงความคาดหวังของคุณแม่ที่มีต่อเรา อาจจะเป็นเพราะ สมัยทีค่ ณ ุ แม่ทำ� งานกับอาม่า ท่านสอนมาแบบทีใ่ ห้เรียนรู้ ด้วยตัวเอง พอมาถึงเราช่วงแรกๆคุณแม่ก็จะไม่สอน หนึ่ง สอง สาม สี่ แต่ให้ท�ำไป เจอเคสแล้วถึงสอน ถึง guide ท่านจะบอกเสมอว่าต้องตัดสินใจเอง ลองท�ำดูเอง การไม่ ตัดสินใจและไม่ทำ� เมื่อจ�ำเป็นต้องท�ำ คือผิดที่สุด ผลออก มาผิดถูกยังไงค่อยมาคุยกัน บางครั้งก็เกิดปัญหาความไม่ เข้าใจกันในการท�ำงาน ตอนนี้ต่างคนก็ต่างปรับ เรียนรู้ซึ่ง กันและกัน จนปัจจุบันก็เข้าที่เข้าทางพอสมควรค่ะ เป้าหมายการท�ำงานในปัจจุบัน เป้าหมายปัจจุบนั คือ ดูแลธุรกิจแทนคุณแม่ให้ได้ มากที่สุด ท่านจะได้พัก และมีเวลาไปท�ำสิ่งที่ท่านตั้งใจค่ะ แนวคิด หรือคติในการท�ำงาน เพราะเรียนมาและได้ท�ำงานในศาสตร์ที่ความ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างนิเทศศาสตร์ และ ด้านแฟชั่น ที่แบบใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้น ตลอดเวลา ซึ่งท�ำให้การเรียนการท�ำงานของเราไม่ซ�้ำซาก และไม่น่าเบื่อเลย ทุกๆวันนี้เลยพยายามที่จะสร้าง mind set แบบนี้กับธุรกิจซื้อมาขายไปที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้า อุตสาหกรรม ซึ่งค่อนข้างนิ่งพอสมควร พยายามมองมัน เหมื อ นเป็ น การเริ่ ม ต้ น ใหม่ ทุ ก ๆ วั น เจอเรือ่ งใหม่ๆ ทุกวัน ลูกค้าใหม่ๆ สินค้า เองเราก็พยายามมองหาอะไรใหม่ๆที่ไม่ เหมือนใครตลอดเวลา รวมถึงการท�ำงาน ของทีมงานในบริษัทเองที่มาถึงตอนนี้ ต้องเริม่ ต้นกับ technology ใหม่ๆ ทีจ่ ะ เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่าง ยั่งยืน พอมันเป็นการเริ่มต้นใหม่ทุกวัน บางครั้ ง เราก็ รู ้ สึ ก ว่ า มั น ยากที่ จ ะท� ำ คติ อั น หนึ่ ง ที่ บ อกตั ว เองอยู ่ เ สมอๆ คื อ “The beginning is always the hardest. Do not give up.”

070 120782 Inside_Pc4.indd 70

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:36:31


“หวาน” ณลัลน์รัศม์ ปาละวงศ์ มือขวาคนเก่งแห่ง เหรียญไทย กรุ๊ป มุ ม มองอนาคตของอุ ต สาหกรรม การพิ ม พ์ ไ ทย ใครๆ ก็มองว่าอุตสาหกรรม ของเราเป็น sunset industry แต่ส่วน ตัวมองว่ายังไงก็ตามอุตสาหกรรมการ พิมพ์ก็จะเติบโต จริงอยู่บาง segment อย่ า งหนั ง สื อ หรื อ นิ ต ยสารเราจะเห็ น ตัวเลขที่ลดลงอย่างชัดเจน แต่เราลอง มองไปรอบๆ ตัวเราก่อน หวานคิดว่าเรา รายล้อมไปด้วยงานพิมพ์ทั้งนั้น มันอยู่ที่ ว่าพิมพ์บนไหนเท่านั้น ในฐานะคนขาย กระดาษเองถามว่ากลัวขายไม่ได้หรือ เปล่า ก็ต้องบอกว่าให้ลองมองไปรอบๆ ตัวเราดูอกี ครัง้ เรายังเห็น packaging ที่ โตต่อเนื่อง กระแส Eco Friendly ยังมี ต่อเนือ่ งและจะเข้มข้นขึน้ เรือ่ ยๆ แน่นอน ว่ากระดาษซึง่ เป็นวัตถุดบิ ทีส่ ามารถย่อย สลายได้ 100% และสามารถ recycle ได้ 100% ย่อมจะเป็น 1 ในตัวเลือก แรกๆ ของผู้บริโภคแน่นอน นอกจากนีห้ วานรูส้ กึ ว่าสมาคม การพิมพ์ไทยมีความเข้มแข็งมากๆ นะ คะ ทัง้ การแบ่งปันความรูใ้ ห้สมาชิก การ สร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิก รวม ถึงความมือกับนานาชาติ และมักจะเป็น ผู้ริเริ่มอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ อย่าง YPG เองยังมีอายุตั้ง 20 ปีแล้วนะคะ หวาน คิดว่าความเหนียวแน่นและเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของสมาชิกจะสามารถสร้าง อุตสาหกรรมที่แข็งแรงและเติบโตอย่าง ยัง่ ยืน จะเป็นอีกหนึง่ อุตสาหกรรมทีเ่ ป็น ก�ำลังส�ำคัญของประเทศไทยแน่นอนค่ะ

YOUNG PRINTER

หน้าที่และบทบาทในกลุ่ม Young Printer หวานได้รับเลือกเป็นกรรมการ YPG 2 สมัยแล้วค่ะ แรกๆ ก็เข้ามาช่วยงาน พีๆ่ ตามแต่จะมีโอกาสค่ะ ในสมัยที่สองนี้ส่วนใหญ่เป็นรุ่นน้องๆ บทบาทหน้าที่เลย เพิ่มขึ้นกว่าเดิมค่ะ สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่ม Young Printer สิ่งที่มีค่าที่สุดคือ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อีกกลุ่มที่ได้รู้จักและสนิทสนมกันค่ะ ยิ่งเป็นคนในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย ยิ่งท�ำให้คุยกันเข้าใจมากขึ้น มีคนฟังเราบ่น มากขึ้น (หัวเราะ) แต่ส่วนใหญ่ supplier อย่างเราก็จะไปนั่งฟังเด็กโรงพิมพ์เค้าบ่น กันมากกว่าค่ะ ถือเป็นเพื่อนอีกกลุ่มที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขค่ะ

เข้ามาเป็นสมาชิก Young Printer Group ได้อย่างไร เข้ามาร่วมกิจกรรม YPG ครั้ง แรก จากการชั ก ชวนของ พี่ เ บนซ์ บี บี ก ารพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ อดี ต ประธาน YPG ค่ะ บีบีเป็นลูกค้าเก่าแก่ ของเหรียญไทยฯ ค่ะ จ�ำได้ว่าวันนั้น เข้าไปแนะน�ำตัว หลังจากเข้ามาท�ำงาน ได้ไม่นาน เลยได้รู้จักและมาร่วมงาน เลือกตั้ง YPG ที่พัทยาในปี 2015 ค่ะ THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 71

071 14/2/2562 14:37:54


โรค อารมณ์ แปรปรวน (BIPOLAR DISORDER)

โรคอารมณ์แปรปรวนเป็นโรคทางอารมณ์ที่สามารถแปรปรวนได้สุดขั้ว ทั้งคึกรุนแรง (Mania) และเศร้าสุด ๆ (Depress) อันอาจก่อความเสียหายมากทัง้ แก่ตนเองและบุคคลอืน่ ๆ อย่างทีเ่ ห็นในข่าวอยูเ่ นืองๆ สาเหตุนนั้ ยังไม่ทราบแน่ชดั มีขอ้ มูลว่าเป็นโรค ทีถ่ า่ ยทอดทางกรรมพันธุ์ แต่อาจเกิดจากการเปลีย่ นแปลงทางเคมีในสมอง ไม่วา่ จะจากยา สารเสพติด โรคทางกายบางโรคก็ได้ สถิติ ทั่ว ๆ ไปพบอัตราการเป็นโรคนี้อยู่ที่ 1 - 2% ของประชากร

อาการบอกอารมณ์แปรปรวน

อาการที่พบมีได้ทั้งสองขั้ว แต่บางคนอาจเกิดเพียงขั้วเดียวก็ได้คือ คึก (Mania) โดยไม่มีประวัติอาการซึมเศร้าเลย (ทั้ง 2 แบบเช่นนี้เรียกว่าเป็น Bipolar I Disorder) อีกส่วนหนึ่งมีอาการเศร้าเป็นส่วนใหญ่มีอาการคึกน้อย ๆ (Hypomania) ในบางครั้ง (เรียกว่าเป็น Bipolar II disorder)

1) อาการคึก (Mania and Hypomania)

อาการคึกรุนแรง (Mania) และคึกน้อย ๆ (Hypomania) จะเป็นแบบเดียวกัน เพียงแต่ความรุนแรงของอาการที่ เรียกว่า คึกน้อย (Hypomania) นั้นจะไม่รุนแรงเท่า อาการมีดังนี้ • มีอาการคึก มีความรู้สึกเป็นสุข อารมณ์แจ่มใสเกิน • พลังเยอะ แอ็กทีฟ หรืออาจกระวนกระวาย แม้แต่หงุดหงิดได้ง่าย ๆ

072 120782 Inside_Pc4.indd 72

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:39:36


• • • • • •

เชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินเหตุ หรือรู้สึกว่าตัวเองเก่งกาจ ยิ่งใหญ่ ส�ำคัญ ทั้ง ๆ ที่ในความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ต้องการนอนน้อยลง เช่น อาจนอนเพียง 3 ชั่วโมงก็รู้สึกเพียงพอแล้ว มักจะพูดเยอะกว่าวิสัยปกติของคน ๆ นั้น หรือรู้สึกกดดันในใจให้ต้องพูดตลอด ความคิดในสมองแล่นเยอะ แล่นเร็ว เปลี่ยนเร็ว ปรับเปลี่ยนเรื่องที่จดจ่อได้ไว หันเหเรื่องที่คิดไปตามสิ่งที่มากระตุ้นได้ง่าย ท� ำ โน่ น ท� ำ นี่ ทั้ ง แบบมี เ ป้ า หมายหรื อ ไม่ มี เ ป้ า หมายในสิ่ ง ที่ ท� ำ เยอะแยะไปหมด บางที ม องดู ก็ ค ล้ า ยคน กระวนกระวาย • บ่อย ๆ ที่พบว่า ตัดสินใจหรือท�ำเรื่องต่าง ๆ ไม่ถูกต้องเหมาะสม อย่างเช่น การใช้จ่ายเงินทอง การลงทุน หรือ แม้แต่การมีเพศสัมพันธ์เสี่ยง ๆ

2) อาการเศร้า (Depress)

อาการเศร้าหรืออารมณ์เศร้านั้นมักท�ำให้เกิดความเสียหายหรือล�ำบากต่อการด�ำเนินชีวิตปกติ เช่น การท�ำงาน การเรียน การอยู่ในสังคม หรือแม้แต่มนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นอาการมีดังนี้ • • • • • • • • •

อารมณ์เศร้า รู้สึกว่างเปล่า สิ้นหวัง ร้องไห้ง่าย หมด ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยให้ความสุข อาจเบื่ออาหารจนน�ำ้ หนักลด หรือกินเก่ง นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนไม่อยากท�ำอะไร บางคนกระวนกระวาย หรือบางคนอาจเคลื่อนไหวช้าลง รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีพลัง รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกผิด ทั้ง ๆ ที่อาจไม่เป็นเช่นนั้นจริง คิดอะไรไม่ค่อยออก ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจไม่ขาด บางคนอาจคิดถึงการท�ำร้ายตัวเอง รวมไปถึงคิดฆ่าตัวตาย

อาการทั้งสองขั้วซึ่งแปลกแตกต่างเปลี่ยนไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมของคนนั้น ๆ จะเกิดขึ้นทั้งวันหรือเกือบทั้ง วัน และเป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค อย่างไรก็ตาม บางทีการวินิจฉัยอาจไม่ง่าย จึงควรให้ จิตแพทย์เป็นผู้พิจารณา

รักษาโรคอารมณ์แปรปรวน

การรักษาโรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorder) นั้นมีหลายวิธี ได้แก่ • การใช้ยา ยาเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดส�ำหรับโรคนี้ ยามักใช้เวลาระยะหนึ่งในการเริ่มออกฤทธิ์ (Lag Time) และจ�ำเป็นต้องทานทุกวันอย่างต่อเนื่อง หลายรายต้องรับประทานยาต่อเนื่องตลอดชีวิตแม้อาการสงบแล้ว เพือ่ ป้องกันการกลับเป็นซ�ำ ้ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากยามีผลข้างเคียงบ้างตามสมควร ผูป้ ว่ ยต้องมีวนิ ยั ในการรับประทาน ยาหรือญาติควรดูแลการได้รบั ยาตามแพทย์สงั่ อย่างเคร่งครัด ส่วนผลข้างเคียงอันอาจจะเกิดขึน้ สามารถปรึกษา แพทย์เพื่อลดหรือบรรเทาหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ นอกจากนี้ยามีหลายกลุ่ม อาจใช้บางกลุ่มหรือหลายกลุ่มร่วมกันขึ้นกับอาการที่เป็น กลุ่มของยา เช่น ยาปรับ อารมณ์ (Mood Stabilizers) ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) ยาต้านเศร้า(Antidepressants) ยาคลายเครียด (Anti-Anxiety)

ยากขึน้

• การรับไว้ในโรงพยาบาลในกรณีที่อาการเป็นมาก อันอาจก่อเกิดความเสียหายแก่ตัวผู้ป่วยเองหรือผู้อื่น เช่น ทะเลาะวิวาท ใช้ก�ำลัง พฤติกรรมเสี่ยง ๆ ใช้จ่ายเงินไร้ยั้งคิด ท�ำธุรกรรมผิด ๆ ท�ำร้ายตัวเองหรือคิดฆ่าตัวตาย ในรายมีอาการซึมเศร้า ฯลฯ • การรับค�ำปรึกษา การปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมอารมณ์ จะช่วยให้ผู้ป่วยด�ำเนินชีวิตตามปกติ ทัง้ นีใ้ นกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยใช้หรือติดสารเสพติดจะต้องบ�ำบัดไปพร้อมกัน และปัจจัยนีจ้ ะท�ำให้การรักษาโรคอารมณ์แปรปรวน THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 73

073 12/2/2562 20:40:03


การสื่อสารเพื่อการทีมงานทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ 2

โลกทุกวันนี้การสื่อสารเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจและการขับเคลื่อนในชีวิตทั้งในเรื่อง ของการสือ่ สารภายในตัวเองเพือ่ ให้เกิดความเข้าใจตนเองมากขึน้ และการสือ่ สารระหว่างบุคคลทีจ่ ะสร้างความเข้าใจ การตกลงร่วมกันและ สามัคคีกันในกลุ่มและองค์กร ส�ำหรับทางท�ำงานนั้นการประชุมถือได้ว่าเป็นเวที ในการสื่อสารและเปิดโอกาสในการสื่อสารกับผู้มีอ�ำนาจตัดสิน ใจและการประชุมยังเป็นสถานที่ส�ำหรับขอความคิดเห็นหรือ การอนุมัติเพื่อน�ำไปสู่การลงมือปฎิบัติ ซึ่งคุณจะต้องรู้เคล็ดลับและเครื่องมือในการโน้มน้าว ในผูอ้ นื่ เพือ่ ให้ผเู้ ข้าร่วมจดจ�ำในสิง่ ทีค่ ณ ุ พูดได้เมือ่ การประชุมสิน้ สุดลง

วางแผนและการเตรียมการ

การพู ด คุ ย ทางธุ ร กิ จ นั้ น จะต้ อ งมี ก ารวางแผนและ เตรียมการ เมือ่ คุณคิดว่าจะต้องนัดประชุม คุณจะต้องหยุดและ ถามตัวเองก่อนว่า การประชุมนัน้ จ�ำเป็นต้องเชิญผูเ้ ข้าร่วมประชุม หรือสามารถท�ำได้ผ่านทางโทรศัพท์หรือ อีเมลหรือไม่ ?

074 120782 Inside_Pc4.indd 74

เกณฑ์ที่บ่งชี้ความส�ำเร็จ

จะรู้ได้อย่างไรว่าท�ำส�ำเร็จแล้ว อะไรถือเป็นหลักฐาน ว่าเราได้บรรลุเป้าหมายนี้ไปแล้วบ้าง เมื่ อ เรามี เ ป้ า หมายที่ ชั ด เจนในใจแล้ ว เราอาจจะ เล็งเห็นว่า การประชุมจะเป็นไปอย่างราบรืน่ ด้วยวิธกี ารสือ่ สาร อย่างไร กับผู้เข้าร่วมการประชุมและต้องระลึกอยู่เสมอว่า ผูเ้ ข้าร่วมประชุมทุกคนควรมีขอ้ มูลเพียงพอส�ำหรับการตัดสินใจ ในประเด็น วาระการประชุมเพือ่ สร้างผลลัพธ์ของการประชุมนัน้ ๆ

การใส่ใจกับผู้ฟัง

การสื่อสารในที่ประชุมที่ดี จะต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเนื้อหาให้ตรงตามความเหมาะสมผู้ฟัง และเราจะต้อง เตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลีย่ นแปลงเนือ้ หาไปตามสถานการณ์ ด้วย

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:40:28


เราอาจจะถนัดวิธีการน�ำเสนอที่เป็นทางการต่อหน้า คนกลุ่มเล็ก หรือน�ำเสนอในการประชุมขนาดใหญ่ หรืออาจจะ ถนัดกับการพูดในการประชุมที่ไม่เป็นทางการก็ได้ แต่ถ้าจะให้ ดีจะต้องเป็นนักพูดที่ยืดหยุ่นและมีความมั่นใจ ไม่ว่าจะตกอยู่ ในสถานการณ์ทั้งเล็ก ใหญ่ เป็นทางการ หรือเป็นกันเอง และ ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กร หรือต่อหน้าลูกค้าภายนอกก็ตาม

จากนั้นให้ระดมหาแนวร่วมในเป้าหมายนั้นโดยใช้ ทักษะในการผูกมิตรเพือ่ เอาชนะใจพวกเขา หลังจากนัน้ ทีค่ ณ ุ ได้ ผลลัพธ์จากการประชุมแล้ว ให้ทุกคนตกลงในผลลัพธ์นั้นร่วม กัน หากคุณท�ำให้คนอื่นอยู่ข้างเดียวกับคุณได้ พวกเขาจะเปิด ใจยอมให้คุณโน้มน้าวเขาได้ง่ายขึ้น

เลือกค�ำพูดให้เหมาะสม

คุณคงเคยอยู่ในการประชุมที่ลากยาวเกินเวลานาน และผู้คนเริ่มพูดเรื่อยเปื่อยมากขึ้น แต่การสื่อสารในที่ประชุม อย่างมีประสิทธิผลจะไม่ท�ำอย่างนั้น พวกเข้ารู้ว่าจะพูดอะไร และเมื่อพูดจบแล้วเขาจะหยุด หากยังไม่ทราบในจุดนี้เราก็จะ พูดเจือ้ ยไปเรือ่ ย และนัน้ ก็คงไม่แปลกหากผูฟ้ งั จะเริม่ เหม่อลอย มองออกไปนอกหน้าต่างกันหมดแล้ว ในขณะทีก่ ำ� ลังสนทนาอยู่ ในห้องประชุม คุณต้องเลือกช่วงเวลาในการพูดทีเ่ หมาะสม และ เมื่อใดที่เปิดปากพูด ขอให้พูดกระชับและตรงประเด็น ความจริง คือยิ่งเราพูดนานเท่าไหร่ กรสื่อสารนั้นก็จะ ยิ่งลดทอนประสิทธิภาพลงไปมากเท่านั้น บางครั้งการพูดให้สั้นกระชับจะยิ่งทรงอ�ำนาจมากขึ้น ในการประชุมเพราะฉะนั้นเลิกอารัมภบทแต่พูดให้กระชับได้ใจ ความเข้าไว้ โดยปฏิบัติตามกฎส�ำคัญ 4 ข้อต่อไปนี้

สิ่งแรกที่จะต้องนึกถึงเลยคือจะต้องเลือกใช้ค�ำพูดที่ เข้าใจง่าย

หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค

จากนั้นให้พิจารณาว่าผู้ฟังมีความรู้ในเรื่องที่คุณก�ำลัง จะพูดมากน้อยแค่ไหน ใช้ตัวย่อและศัพท์เทคนิคที่ไม่คุ้นเคย อย่างระมัดระวัง จับจุดทีเ่ หมาะสม อย่าใช้คำ� ทีเ่ ป็นศัพท์เทคนิค หรือวิชาการมากเกินไป ให้ใช้คำ� พูดทีเ่ รียบง่าย แต่ถา้ คุณไม่แน่ใจ ว่าเรียบง่ายเกินไปหรือไม่ ให้ถามกับผู้ฟังว่า “เนื้อหาประมาณ นี้ใช้ได้หรือยัง”

ใช้ตัวช่วยให้น้อยที่สุด

เราสามารถใช้พาวเวอร์พอยต์ ฟลิปชาร์ต และเอกสาร ประกอบเพื่อสนับสนุนประเด็นที่คุณน�ำเสนอได้ แต่อาจท�ำให้ การประชุมดูเป็นทางการได้ ดังนั้นให้ดูความต้องการของผู้ฟัง เป็นหลัก อย่าเสียสมาธิ ถ้าคุณมีอุปกรณ์เสริม ให้ใส่ใจกับผู้ฟัง ไม่ใช่ที่อุปกรณ์เสริม หากคุณเบนความสนใจของผู้ฟังออกไป เขาจะหมดความสนใจในสิ่งที่คุณพูด

คุมประเด็นให้อยู่

พนักงานทุกคนรู้ดีว่ายิ่งเราเผื่อเวลาการประชุมมาก เท่าไหร่ เราก็จะยิง่ ใช้เวลาให้หมดไปมากเท่านัน้ ไม่วา่ จะเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าเราจะก�ำหนดเวลาการ ประชุมเอาไว้ 1 หรือ 2 ชั่วโมง เราก็จะใช้เวลาให้หมดไปเท่านั้น หรืออาจจะมากกว่านัน้ ด้วยซ�ำ้ หากคุณไม่อยากปล่อยให้หมดไป กับการเจ๊าะแจ๊ะโดยเปล่าประโยชน์ เราจะต้องคุมการประชุม ให้อยู่ในประเด็นที่วางไว้ตลอดเวลา หากรูแ้ น่ชดั ว่าต้องการสือ่ สารอะไรในการประชุมและ ต้ อ งการผลลั พ ธ์ ใ ดในตอนท้ า ยของการประชุ ม แล้ ว การ คุมประเด็นให้อยู่ในกรอบก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่จะท�ำได้ก็ต่อเมื่อ คุณได้แจ้งให้ผู้เข้าประชุมรับทราบ ตั้งแต่ต้นว่าคุณต้องการ ผลลัพธ์ใดจากการประชุมนี้

พูดให้กระชับและได้ใจความ

• รู้ผลลัพธ์ รู้เป้าหมายของตัวเอง หากไม่มีเหตุที่จะ พูดก็ยังไม่ต้องพูด • ฟัง หากเราพูดเพียงเพราะขอให้ได้พูด ค�ำพูดของ คุณจะสือ่ ไม่ถงึ คนอืน่ ในขณะเดียวกับทีต่ วั คุณก็จะ ไม่ตั้งใจฟังคนอื่นด้วย • เรียนรู้ ผู้อื่นอาจมีความคิดเห็นในสิ่งที่คุณพูด หาก คุณหยุดพูดและฟังพวกเขา คุณจะได้เรียนรู้และ บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น • เว้นช่องให้คนอืน่ พูดบ้าง ให้โอกาสผูอ้ นื่ ได้โต้ตอบ ในสิ่งที่คุณพูด เพื่อคุณจะได้ปัดความเห็นค้านใดๆ ออกไปตั้งแต่แรก และยังได้เรียนรู้ความคิดเห็น ต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย ทักษะและการสือ่ สารในทีป่ ระชุมเป็นอีกหนึง่ ทักษะที่ เราควรทราบเพื่อควบคุมการประชุมและได้ผลลัพธ์ของการ ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 75

075 14/2/2562 14:42:39


PRINT ACTIVITY

สัมมนา อุตสาหกรรมการพิมพ์ในยุค Disruptive Technology

สัมมนา อุตสาหกรรมการพิมพ์ในยุค

Disruptive Technology คุณพงษ์ธรี ะ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมสั ม มนา “อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ ใ นยุ ค Disruptive Technology” จัดโดย ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่ ว มกั บ โปรแกรมสนั บ สนุ น การพั ฒ นาเทคโนโลยี ข อง อุตสาหกรรมไทย (iTAP) วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 12.30-16.45 น. ณ อาคาร KX Knowledge Exchange ชั้น 7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หัวข้อของการสัมมนาในครั้งนี้ได้กล่าวถึง “แนวคิด เพื่อผลิตนวัตกรรม” ด้าน Packaging โดยอาจารย์พีรวงศ์ จาตุ ร งคกุ ล ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ “นวัตกรรม ทางการพิมพ์ในยุค Disruptive Technology” โดยคุณไชยวัฒน์ จิรพัทธพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กราฟแพค จ�ำกัด

076 120782 Inside_Pc4.indd 76

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:41:24


มีเดีย มีดี Media ME; D 2019

PRINT ACTIVITY

มีเดีย มีดี Media ME; D 2019 โครงการมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย ความร่วมมือเพือ่ จัดอมรบด้านสือ่ แก่โรงเรียนในระดับมัธยม โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านมีเดีย การจั ด อบรม และบริ ก ารวิ ช าการด้ า นมี เ ดี ย แก่ บุ ค คลและ นักเรียน โรงเรียนต่างๆ ในระดับมัธยมศึกษา ร่วมมือพัฒนาการ เรียนการสอนด้านมีเดียในระดับมัธยมศึกษาให้สอดคล้องกับ การศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การจัดฝึก อบรมด้านศิลปะ การออกแบบ และเทคโนโลยีให้แก่ผู้เข้าร่วม งาน รวมไปถึงการจัดแนะแนวการนับสมัครนักศึกษา มจธ. ในโรงเรียน เช่น แนะแนวการท�ำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อสมัครในรอบ Active Recruitment กิจรรมดีๆ นี้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2562 เวลา 11.00-21.00 น. (วันศุกร์) และ 10.30-21.30 น. (เสาร์-อาทิตย์) ณ บริเวณ Promotion Area ชั้ น 1 หน้ า Uniqlo เซ็ น ทรั ล พลาซ่ า พระราม 2

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 77

077 12/2/2562 20:43:13


PRINT ACTIVITY

พิธีมอบใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์

พิธีมอบ ใบประกาศนียบัตร คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพ อุตสาหกรรมการพิมพ์ คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีรเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย และคุ ณ ประสิ ท ธิ์ คล่ อ งงู เ หลื อ ม อุ ป นายกฯ เข้ า ร่ ว มพิ ธี ม อบ ใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการ พิ ม พ์ อาชี พ ช่ า งออกแบบสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ แก่ นั ก ศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ส ยามบริ ห ารธุ ร กิ จ นนทบุ รี และนั ก ศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ส ยามบริ ห ารธุ ร กิ จ วิ ท ยาเขตสะพานใหม่ วั น ที่ 29 มกราคม 2562 เวลา 15.00-16.00 น. ณ วิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจนนทบุรี (SBAC)

078 120782 Inside_Pc4.indd 78

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

12/2/2562 20:45:51


งานแถลงข่าว Asia Print Expo 2019

PRINT ACTIVITY

งานแถลงข่าว Asia Print Expo

สมาพั น ธ์ ก ารพิ ม พ์ ส กรี น แห่ ง ยุ โรป หรื อ เฟสป้ า (FESPA) ร่วมกับสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย (TSGA) จัดงาน แถลงข่าว Asia Print Expo 2019 เพื่อเตรียมความพร้อมน�ำ ผู้ประกอบการทั่วโลกในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีน การพิมพ์ ดิจทิ ลั การพิมพ์บนสิง่ ทอ และป้ายโฆษณา ร่วมแสดงนวัตกรรม สู่โลกการพิมพ์แห่งอนาคต เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 เวลา 14.00-16.00 น. ณ ห้อง Drawing Room ชัน้ 2 โรงแรมโอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ นางสาวเจนิส เขมาชฎากร ผูจ้ ดั การโครงการเฟสป้า ประจ�ำประเทศไทย เปิดเผยถึงไฮไลท์ตลอดการจัดงานครัง้ นีว้ า่ เป็นงานที่รวบรวมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้อย่างครบถ้วน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่เครื่องจักร หมึก อุปกรณ์ชนิ้ ส่วน โปรแกรมการพิมพ์ อุปกรณ์ควบคุมจนถึง การออกแบบ การน�ำไปใช้ การบริการเสริมพิเศษต่างๆ มีการจัดประชุมสัมมนาและสาธิตจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทัง้ ในและต่างประเทศ น�ำความรูแ้ ละประสบการณ์ความส�ำเร็จ จากการด�ำเนินธุรกิจโลก ในหัวข้อหลากหลายเกีย่ วกับการพิมพ์ ดิจทิ ลั การพิมพ์บนผ้า เรือ่ งสิง่ แวดล้อมและความยัง่ ยืน โดยส่วน หนึ่งของคณะวิทยากรชั้นน�ำ ได้รับเกียรติจากสมาคมการพิมพ์ สกรีนไทย

นางประภาพร ณรงค์ฤทธิ์ นายกสมาคมการพิมพ์ สกรีนไทย กล่าวสนับสนุนว่า ตลาดการพิมพ์และการพิมพ์สกรีน ของไทย เติบโตอย่างต่อเนื่องตามภาคเศรษฐกิจ เป็นผลจาก 18 อุตสาหกรรมล้วนพึง่ พาระบบการพิมพ์สกรีนในภาคการผลิต ดั ง นั้ น การเตรี ย มความพร้ อ มในด้ า นเทคนิ ค นวั ต กรรม เทคโนโลยี และการบริหารธุรกิจ เป็นสิ่งส�ำคัญที่ผ้ปู ระกอบการ ต้องเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตการพิมพ์ให้มีความพิเศษและ น่าสนใจ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารจั ด การแข่ ง ขั น World Wrap Master หรือการแข่งขันหุ้มยานยนต์ระดับโลก เฟสป้าได้แต่ง ตัง้ นายภีมวัชช์ นุชพุม่ นักห่อหุม้ ยานยนต์ชนั้ น�ำของไทย เป็น หนึง่ ในกรรมการตัดสิน เพือ่ คัดเลือกผูช้ นะเลิศแห่งภูมภิ าคเอเชีย ไปแข่งขันรอบสุดท้ายในงาน FESPA Global Print Expo ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ งาน Asia Print Expo 2019 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา เฟสป้าขอเชิญชวนผู้ท่ีสนใจลงทะเบียนเข้าร่วม ชมงาน ประชุมและสัมมนา ผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 20 กุ มภาพั น ธ์ โดยไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ย ใช้ ร หั ส ASAM901 ได้ที่ www.asiaprintexpo.com

THAIPRINT M A G A Z I N E 1 1 9

120782 Inside_Pc4.indd 79

079 12/2/2562 20:44:53


Ad Weigang Pc4.pdf 1 1/2/2562 11:04:09


W3=;/N1 RDDO

3K"L38N;8 G" R … .A < =J.LC GL=/

R … 8 G" DDO3K"L38N; =J.LCGL=/ .A < W?GQ =J.L CGL=/

R :L8 W?GQ =J.LCGL= / .. A<66NA =J.LC;L/=*L3=J.K4Y? 1O11O_ZD NEVIA Sparkli n Z#Z3 L=6?N ;;O AL; LA8 /11R K`3/G3 g W8čG_W3=;/NZ ĊWBC %% A<ZEE " E1 R"L L38 R … L=/ 38Ċ;8 G" -R…W5 3[ [5[.G Ċ;<8 L ";;OZ#ODODK3 3 P

G

J.LC

rklin NEVIA Spa R :L8 W?GQ L=6?N/11R K`3/G3 CGL=/ 1O11O_ZD Z#Z3

g

Y? /=*L3=J.K4 %% A<ZEE "L38Ċ;8 ;;OODODK3 ĊWBC Z#3 P ;;O AL; LA8 [5 [.G <L " R …W5 3[ G" "L38Ċ;8

ling park IA S G3 NEV 1R K`3/ W?GQ L=6?N/ ;ODODK3 L8 -: 11O_ZD Z#Z3 "L38Ċ;8 L "Z#3 P

< ZE Y? J.K4 BC %% A< 3[5 [.G ĊW W5 R … LA8 " G 8Ċ;8

Ad IRECTORY_Pc4.indd 1

22/1/2562 11:37:40


สมาคมการพิ ม พ์ ไ ทย THE THAI PRINTING ASSOCIATION 311,311/1 พระราม9 ซอย15 (ซอยศูนย์วิจัย4) ถ.พระราม9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2719-6658-7 โทรสาร 0-2719-6688 เลขที่.....................................................

ใบสมัครสมาชิก

วันที่......................................................

ข้าพเจ้า (ชื่อ-สกุล) ................................................................................................................................................................................................................ ต�าแหน่ง ................................................................................................................................................................................................................................... สถานที่ติดต่อ เลขที่ ......................................... ตรอก/ซอย ........................................................ ถนน ..................................................................... ต�าบล/แขวง ....................................................... อ�าเภอ/เขต ....................................................... จังหวัด ................................................................. รหัสไปรษณีย์ ............................................................ โทรศัพท์ ............................................................ โทรสาร ........................................................ ในนามของ บริษัทจ�ากัด / ห้างหุ้นส่วน / ร้าน (ภาษาไทย) ....................................................................................................................................... (ภาษาอังกฤษ) .................................................................................................................................... ประเภทธุรกิจ: c ผู้จ�าหน่ายวัสดุ / อุปกรณ์ด้านการพิมพ์ (ระบุ) .............................................................................................................. c ขบวนการก่อนการพิมพ์ (ระบุ) ........................................................................................................................................... c โรงพิมพ์ c ขบวนการหลังการพิมพ์ (ระบุ) ............................................................................................................................................ จ�านวนพนักงาน (ระบุ)................................................................................................ สถานที่ตั้งธุรกิจ เลขที่ .............................................. ตรอก/ซอย ..................................................... ถนน ............................................................... ต�าบล/แขวง .................................................................. อ�าเภอ/เขต ............................................................. จังหวัด ................................................ รหัสไปรษณีย์ ........................... โทรศัพท์ ............................................ โทรสาร ........................................ E-mail ..............................................

ขอสมัครเป็นสมาชิกสามัญ

(ค่าลงทะเบียนสมัครสมาชิก 200 บาท และค่าบ�ารุงสมาชิกราย 2 ปี 3,000 บาท ราคานีย้ งั ไม่รว่ มภาษีมลู ค่าเพิม่ ) ข้าพเจ้ายินดีปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมฯ และจะสนับสนุนการด�าเนินงานของสมาคมฯ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนร่วมทุกประการ ในการนี้ ข้าพเจ้า c เช็ค เป็นจ�านวนเงิน .................................. บาท สั่งจ่ายในนาม สมาคมการพิมพ์ไทย c ให้ไปเก็บค่าสมาชิกได้ที่ ........................................................................................................................................................ หากปรากฏว่า คณะกรรมการปฏิเสธที่จะรับเข้าเป็นสมาชิก ข้าพเจ้าจะได้รับเงินคืนในส่วนที่ช�าระแล้วตามจ�านวนดังกล่าวข้างต้น พร้อมใบสมัครนี้ ข้าพเจ้าได้ส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้ c ส�าเนาหนังสือรับรองบริษัท c แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ c ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน c ส�าเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น c รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี) ลงชื่อ..............................................................................ผู้สมัคร (.....................................................................................)

74_Pc4.indd 1

23/5/2561 9:04:18


บจก.สุพรชัย จ�ำกัด

SUPORNCHAI Co.,Ltd

เครื่องปะหน้าต่าง เข้ามุม มีเส้นพับ ปะ 2 ช่อง

MODEL

เครื่องปะกบออโต้

Max.Paper size Min.Paper size Upper paper thickness Bottom paper thickness

mm mm g/m2 g/m2

1200x720 450x490 80-1200 160-3000

Hot stamping ปั๊มฟอยล์ Laminating เคลือบลาสติกเงา/ด้าน Spot UV งานเคลือบ Spot UV Die Cutting & Patching ปั๊มขาด+ปั๊มนูน Blister pack varnish

UV Vanishing งานเคลือบยูวี Calendering ขัดเงา Embossing งานปั๊มนูนปั๊มจม Gluning &Mounting ปะข้าง + ปะก้น / ปะประกบ

บริษทั สุพรชัย จ�ำกัด 30 หมู่ 4 ถ.ศรีวารีนอ้ ย-ลาดกระบัง ต.ศีรษะจรเข้นอ้ ย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540 โทร. +662-402-6623 โทรสาร +662-337-1866 มือถือ. +669-6146-3398 E-mail: marketing@spc-postpress.com http://www.spc-postpress.com TpmMag_117 Pc4.indd 47

22/8/2561 0:20:26


Ad HandWay 119_Pc4.indd 1

22/1/2562 11:51:43


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.