วารสารการพิมพ์ไทย ฉบับที่ 131

Page 1






Ad.KURZ_8.25 X 11.75_Be A Green Leader_Final_TPC.pdf

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

1

8/4/2564 BE

08:44


l l l

พิ มพ์ เร็ว

140 แผ่น/นาที

l

หมึกพิ มพ์ 4 สี กันน�้ำ

l

พิ มพ์ งานได้ต่อเนื่อง ไม่มีความความร้อน

l

พิ มพ์ เร็ว

140 แผ่น/นาที

หมึกพิ มพ์ สีด�ำ กันน�ำ้ พิ มพ์ งานได้ต่อเนื่อง ไม่มีความความร้อน

บริษัท ริโซ่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

825 อาคารไพโรจน์กิจจา ชั้น 10 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0 2361 4643 แฟกซ์ 0 2361 4652 http://www.riso.co.th/ or http://www.riso.co.jp/



SOONTORN FILM

Expert in Digital and Inkjet Printing, using World-Class Technologies

g in t in r P l a it ig D y it l High Qua Digital Offset Printing

g in t in r P t a m r o F e g r a L Inkjet One Stop Service s Digital Offset Printing

Business card, Postcard, Certificate, Brochure, Leaflet, Catalogue, Menu, Pocket book, Magazine, Photo book, Calendar, Packaging, Sticker, Label etc.

Photo books

Photo Books Printing : Baby born photo book, Family photo book, Graduation (School) photo book, Wedding photo book, Travelling photo book, etc.

We are serving for the highest quality of digital printing and services, Including digital offset and inkjet (large format) One stop services, Expertise teamwork, Latest world class technologies, Environmental friendly, Fast services and reasonable prices. Graphic design Digital Photography

Prepress Offset Plate Making

Digital Offset Printing

Inkjet (Large Format) Printing

Soontorn film Co., Ltd.

3/11-15 พระรามที่ 6 ซอย 17 ถนนพระรามที่ 6 แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท 0 2216 2760-8 แฟกซ 0 2216 2769 เวลาทำการ จันทร-เสาร 09.00-18.00 น. www.soontornfilm.co.th, email : stfilm@soontornfilm.com

Tablet Publishing (Digital Magazine)




นายกสมาคม

คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช อุปนายก

131 3 มิ ถุ น ายน ถื อ เป็ น วั น ส� ำ คั ญ ของผู้ ที่ อ ยู่ ใ น วงการอุ ต สาหกรรมสิ่ ง พิ มพ์ และบรรจุ ภั ณ ฑ์ เนื่องจากเป็นวันแรกที่ก�ำเนิดการพิมพ์หนังสือ ฉบับภาษาไทย โดย Dr.Dan Beach Bradley ่ น ่ “หมอบรัดเลย์”) จึงได้ถอ (หรือทีค ุ้ เคยกันในชือ ื ให้วน ั ที่ 3 มิถน ุ ายนของทุกปี เป็น “วันการพิ มพ์ ไทย” มาจนถึงปัจจุบัน แม้กระแสโควิด-19 จะยังไม่ลดลง แต่ตลาดสิง ่ พิ มพ์ และบรรจุภัณฑ์ของประเทศยังคงสดใส โดยดู ได้จากรางวัลการประกวด Asian Packaging ่ ระเทศไทยได้รบ Awards ทีป ั รางวัลถึง7 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best in Show 1 รางวัล รางวัล เหรียญทอง 5 รางวัล และรางวัลเหรียญเงิน 1 รางวัล สมาคมการพิ มพ์ ไทยขอแสดงความยินดี ่ นใจการประกวดครัง กับผูท ้ ไี่ ด้รบ ั รางวัลทุกท่าน และหากท่านใดทีส ้ ถัดไป สามารถติดตาม ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้จากทุกช่อง Social Media ของสมาคมฯ ในนามของกองบรรณาธิการ ขอขอบคุณผู้สนับสนุน สมาชิก และผู้อ่านทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ หากท่านมีขอ ้ สงสัยในประเด็นใด ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่ มเติม หรือ แนะน�ำติชม Thai Print Magazine พร้อมที่จะรับค�ำติชมจากทุกท่าน เพื่ อปรับปรุง วารสารของเราต่อไป

คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม คุณณรงค์ศักดิ์ มีวาสนาสุข คุณวิทยา อุปริพุทธิพงศ์ คุณธีระ กิตติธีรพรชัย คุณนิธิ เนาวประทีป คุณพชร จงกมานนท์ คุณธนิต วิริยะรังสฤษฎ์ เลขาธิการ

คุณภาวิมาส กมลสุวรรณ รองเลขาธิการ

คุณสุวิทย์ มหทรัพย์เจริญ คุณปรเมศวร์ ปรียานนท์ คุณชินธันย์ ธีรณัฐพันธ์ คุณอภิเชษฐ์ เอื้อกิจธโรปกรณ์ คุณปิยะวัฒน์ ปิยไพชยนต์ คุณธนเดช เตชะทวีกิจ เหรัญญิก

คุณประเสริฐ หล่อยืนยง นายทะเบียน

คุณณภัทร วิวรรธนไกร ปฏิคม

คุณชินวัชร์ เฉลยวุฒิโรจน์ รองปฏิคม

คุณวิสุทธิ์ จงพิพัฒน์ยิ่ง ประชาสัมพั นธ์

คุณรัชฐกฤต เหตระกูล

รองประชาสัมพั นธ์

คุณวริษฐา สิมะชัย รวิกาญจน์ ทาพั นธ์ บรรณาธิการ

SPECIAL THANKS

ผู้สนับสนุนเคลือบปกวารสาร เพิ่ มคุณค่าให้งานพิ มพ์ สวย รวดเร็ว ทันใจ บริษัท เอ็ม.พี .ลักก์ ยูวี จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2425 9736-41 ผู้ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ซองทุกชนิด บริษัท สีทอง 555 จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 3441 7555 โทรสาร 0 3441 7599 ผู้สนับสนุนการแยกสี ท�ำเพลท บริษัท สุนทรฟิล์ม จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2216 2760-8, 0 2613 7008-17 ผู้สนับสนุนการไสกาว เข้าเล่ม บริษัท บางกอกบายน์ดิ้ง จ�ำกัด โทรศัพท์ 0 2682 2177-9

ที่ปรึกษา

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล คุณพรชัย รัตนชัยกานนท์ คุณวิชัย สกลวรารุ่งเรือง คุณเกษม แย้มวาทีทอง คุณปฐม สุทธาธิกุลชัย คุณพิเชษฐ์ จิตรภาวนากุล คุณภาสกร วงษ์ชนะชัย คุณอุทัย ธนสารอักษร คุณวิรุฬห์ ส่งเสริมสวัสดิ์ คุณสมชัย ศรีวุฒิชาญ คุณสุรเดช เหล่าแสงงาม คุณมารชัย กองบุญมา คุณสุรพล ดารารัตนโรจน์ คุณรังษี เหลืองวารินกุล คุณธนะชัย สันติชัยกูล คุณพรเทพ สามัตถิยดีกุล คุณอาคม อัครวัฒนวงศ์ คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี คุณวรกิจ เหลืองเจริญนุกุล คุณชีวพัฒน์ ณ ถลาง ผศ.ดร.ชวาล คูร์พิพัฒน์ ผศ.บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ อาจารย์พัชราภา ศักดิ์โสภิณ คุณวิวัฒน์ อุตสาหจิต อาจารย์มยุรี ภาคล�ำเจียก ผศ.ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ ผศ.ชนัสสา นันทิวัชรินทร์ คุณชัยวัฒน์ ศิริอ�ำพันธ์กุล ผศ.ผกามาศ ผจญแกล้ว ดร.สุชปา เนตรประดิษฐ์ คุณพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์

ที่ปรึกษากฎหมายพิ เศษ

คุณธนา เบญจาธิกุล


ºÃÉ Ô · Ñ à¾ÃÊ«àÔ´¹· à»à»Íà ¤Í¹àÇÃÔ· µ§้Ô ¨Ó¡´ Ñ

“Trust in quality believe in service เชอ่ืมน่ัในคณุภาพ เชอ่ืมอืในบรกิาร ” ¹Óà¢ÒŒ¡ÃдÒɨҡÂâØû áÅÐËÅÒÂáËŧ‹·ÇèÑâÅ¡ á»ÃûÙÁÇŒ¹áÅÐá¼¹‹ ä«Ê» ¡µÔ/ä«Ê¾ àÔÈÉ

For Quality Services

&

Delivery Service

¡ÃдÒɻ͹´ (Woodfree Paper) ¡ÃдÒÉÍÒõŠÁ¹Ñ (Art Paper) ¡ÃдÒÉÍÒõŠ¡ÒôŠ (C1S / C2S Artcard) ¡ÃдÒÉ¡ÅÍ‹§á»§‡ËŧÑà·Ò (Duplex Board)

72-76 «ÍÂ⪤ªÂ Ñ ¨§¨ÓàÃÞ Ô ¶¹¹¾ÃÐÃÒÁ 3 á¢Ç§ºÒ§â¾§¾Ò§ ࢵÂÒ¹¹ÒÇÒ ¡Ã§Øà·¾ÁËÒ¹¤Ã 10120 Êͺ¶ÒÁÃÒÂÅÐàÍÂ Õ ´à¾Á ่Ô àµÁ Ô ËÃÍ×ʧ่Ñ «Í้×

Cer. No. TH14/7594

à» ´·Ó¡Òà ¨.-Ê. àÇÅÒ 08.30-17.30 ¹.

support@presidentsupply.co.th

PS.SUPPORT

094-4195993, 061-7101331 , 061-9793388


CONTENTS NEWS

INDUSTRIAL

ส.อ.ท. หวั่นโควิด-19 ท�ำส่งออก ครึ่งปีหลังลดความร้อนแรง

16

วันการพิ มพ์ ไทย 2564

46

พิ ธีส่งมอบต�ำแหน่งประธาน สหพั นธ์อุตสาหกรรมการพิ มพ์

47

ผลการประกวด 2020 Asian Packaging Excellence Awards

54

PACK PRINT INTERNATIONAL เลื่อนไปจัดในปี 2565

58

่ งพิ มพ์ 60 เอปสันน�ำเทรนด์ ส่งเครือ อเนกประสงค์ SureColor T-Series Cimpress เซ็นข้อตกลงสั่งซื้อ 72 ่ งพิ มพ์ ดจ เครือ ิ ท ิ ล ั HP Indigo 100K การพั ฒนาสื่อใหม่ในโลกยุค Digital Disruption ต่อวิชาชีพ สื่อสารมวลชน

74

สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษ ลูกฟู กไทย สนับสนุนเตียงสนาม กระดาษลูกฟู ก

75

การประชุมใหญ่สามัญ และการเลือกตั้งคณะกรรมการ สมาคมการค้านวัตกรรม การพิ มพ์ ไทย ประจ�ำปี 2564

85

Pubat เผยอินไซด์นักอ่าน ช่วงโควิดระลอก 3 จาก ThaiBookFair.com

86

บราเดอร์ เดินหน้านโยบาย Environmental Vision 2050  ปูทางแผนพั ฒนาสู่ความยั่งยืน

90

KNOWLEDGE เทคโนโลยีการพิ มพ์ บรรจุภัณฑ์

26

การลดต้นทุนเชิงวิศวกรรม ส�ำหรับอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และแพคเกจจิง ้ ตอนที่ 7

40

5 เรื่องต้องรู้ ของ Hybrid 50 Workplace ไลฟ์สไตล์การท�ำงานใหม่ ปัจจัยความเสี่ยงของ ธุรกิจออนไลน์

64

ทักษะความสามารถแผนกวางแผน และควบคุมการผลิต ตอนที่ 2

80

เลขที่ 311, 311/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0 2719 6685-7 โทรสาร 0 2719 6688 E-mail : mayuree.tpa@gmail.com Thaiprint Magazine ฝ่ายประชาสัมพั นธ์สมาคมการพิ มพ์ ไทย จัดท�ำขึ้น เพื่ อบริการข่าวสารและสาระความรู้แก่สมาชิกและ บุคคลทั่วไปที่สนใจข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิ มพ์ ข้อคิดเห็นและบทความต่างๆ ที่ปรากฎและตีพิมพ์ ในวารสาร เป็นอิสรทรรศน์ของผู้เขียนแต่ละท่าน สมาคมการพิ มพ์ ไทย ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

บีโอไอ ยกระดับอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ เพิ่ มประเภทกิจการ "SMART PACKAGING บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ"

18

เทคโนโลยีการพิ มพ์ อาหาร 3 มิติ: นวัตกรรมการผลิตอาหาร แห่งอนาคต

22

TASKalfa Pro 15000c เครื่องพิ มพ์ ดิจิตัลคุณภาพ พิ มพ์ งานปริมาณสูง เพื่ องานพิ มพ์ เชิงพาณิชย์

48

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรก ของไทยรายประเทศ

90

INTERVIEW อนาคตอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และ บรรจุภัณฑ์ไทยสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยพงศ์ธีระ พั ฒนพี ระเดช

32

นิพัฒน์ จงเจริญศิริ บริษัท SYSCON Labels & Packaging

76

ผู้ประสานงาน มยุรีย์ จันทร์รัตนคีรี และวาสนา เสนาะพิ น ออกแบบกราฟฟิค บริษัท เดคอเดีย ดีไซน์ จ�ำกัด 56/12 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2893 3131 พิ มพ์ ท่ี บริษัท ก.การพิ มพ์ เทียนกวง จ�ำกัด 43 ซอยปราโมทย์ 3 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0 2235 3031 โทรสาร 0 2233 5064

The Thai Printing Association thaiprint.org @thethaiprinting


เครื่องพิมพออฟเซต

เครื่องยิงเพลทออฟเซต เครื่องยิงเพลทเฟล็กโซ

เครื่องไดคัทและปมฟอยล

เครื่องเย็บกี่

เครื่องทำกลองลูกฟูก

เครื่องตรวจเช็คแผนพิมพ

เครื่องยกกระดาษ

เครื่องพิมพอิงคเจ็ท

บริษัท ซี. อิลเลียส (ไทยแลนด) จำกัด 159/29 อาคารเสริมมิตร หอง 1802 ชั้น 18 ถนนสุขุมวิท ซอย 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110

เครื่องพิมพยูวีแผนเรียบ

โทร + 662 401 9779 โทรสาร + 662 661 7631 เว็บไซต www.illies.co.th

วัสดุสิ้นเปลือง


16

NEWS

ส.อ.ท. หวัน ่ โควิด-19 ท�ำส่งออก ครึ่งปีหลังลดความร้อนแรง โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ส.อ.ท.” เกาะติดการระบาดไวรัสโควิด-19 ใกล้ชิดหลังต่างประเทศเริ่มระบาดใหม่โดยเฉพาะ สายพั นธุ์เดลตาที่ท�ำให้บางเมืองเริ่มล็อกดาวน์ ขณะที่ไทยยอดติดเชื้อใหม่ยังน่าวิตกหวั่น กระทบคลัสเตอร์โรงงานเพิ่ มกระทบห่วงโซ่การผลิตฉุดส่งออกไทยครึ่งปีหลังชะลอตัวได้ หนุนรัฐหากกึ่งล็อกดาวน์กทม.และปริมณฑลเอาไม่อยู่จ�ำเป็นต้องล็อกดาวน์ขั้นสุด

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความกังวลใจ อย่างมากต่อสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 ทั้งในไทย ที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่รายวันมีอัตราสูงเฉลี่ย 4,000 คน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการระบาดในคลัสเตอร์ โรงงานที่มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่าหมื่นคนที่อาจกระทบต่อห่วงโซ่ การผลิตขณะที่ในต่างประเทศเริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์ ใหม่เช่น เดลตา เดลตาพลัส ท�ำให้เริ่มกลับมาล็อกดาวน์บาง ส่วนเช่น ออสเตรเลีย แม้กระทั่งอิสราเอลเริ่มกลับมาบังคับให้ สวมหน้ากากอนามัยอีกครั้ง ฯลฯ ดังนั้นคงต้องติดตามใกล้ชิด เพราะอาจกระทบต่ออัตราเติบโตการส่งออกให้ชะลอตัวได้แม้ การส่งออกเดือนพ.ค.จะเติบโตถึง 41.59% THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

“ส่งออกเดือนพ.ค. 64 อยู่ที่ 23,057.91 ล้านเหรียญสหรัฐ โต 41.59% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการ ขยายตัวทีส่ งู ทีส่ ดุ ในรอบ 11 ปีสง่ ผลให้ 5 เดือนแรกเติบโตขยาย ตัวรวมกัน 10.78% แต่หากพิจารณารายละเอียดพบว่าฐาน ของปีก่อนนั่นค่อนข้างต�ำ่ เพราะทั่วโลกล็อกดาวน์ ประกอบกับ ที่ผ่านมาสต็อกสินค้าโลกเริ่มหมดลงจึงสั่งของไว้แต่หลังจาก นี้ต้องติดตามหากมีการล็อกดาวน์แต่ละเมืองในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นความร้อนแรงของการส่งออกอาจชะลอลง คงจะต้อง ติดตามใกล้ชิดโดยคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาส 3 นี้ ขณะที่ไทยเองก็จะต้องระวังไม่ให้โควิด-19ลามกระทบห่วงโซ่ การผลิ ต ที่ จ ะมี ผ ลต่ อ การส่ ง ออกของไทยประกอบด้ ว ย” นายเกรียงไกรกล่าว


NEWS

17

“เข้าใจว่ารัฐบาลอยากจะสร้าง ความสมดุลระหว่างการดูแล ด้านสาธารณสุข กับด้านเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้เชื้อโรคค่อนข้างรุนแรง และผู้ติดเชื้อใหม่รายวันก็ยังอยู่ระดับ สูงมาก แม้ว่าปัญหาการติดเชื้อจะมี มากในแคมป์คนงานก่อสร้าง แต่หาก พิ จารณาก็ยังพบว่ามีการติดเชื้อ ในชุมชนแออัด คลัสเตอร์ตา่ งๆ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหากการควบคุม บางส่วนแล้วยังไม่ได้ผลสักพั ก วิธีดีที่สุดอาจต้องล็อกดาวน์ทั้งหมด หรือไม่เพราะลักษณะกึ่งล็อกดาวน์ ก็ท�ำให้ประชาชนไม่กล้าเดินทาง ความรู้สึกก็เหมือนล็อกดาวน์ไปแล้ว แต่ในเรื่องของการดูแลเยียวยารัฐ ก็คงจะต้องพิ จารณาภาพรวม” นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ทั้งนี้จากปัจจัยดังกล่าวท�ำให้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังคงเป้าหมายการเติบโตการส่งออกปี 2564 อยู่ที่ระดับ 5-7% แม้ว่าบางส่วนจะมีเป้าหมายมองการส่งออก ที่จะเติบโตไปในระดับ 5-10% แล้วก็ตามเนื่องจากการแพร่ ระบาดโควิด-19 ยังจ�ำเป็นต้องติดตามต่อเนื่องเพราะเริ่มมี สายพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาอีกและการรับมือของไทยขณะนี้จ�ำนวน ผู้ติดเชื้อก็ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามแม้ว่าล่าสุดรัฐบาลจะ ประกาศมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ในพืน้ ที่ กทม.และปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ และ สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร )ซึ่งเป็นลักษณะกึ่งล็อกดาวน์ เช่น ห้ามนั่งกินใน ร้าน ปิดแคมป์คนงาน ห้างฯ เปิดได้ถึง 21.00 น. เริ่ม 28 มิ.ย.นี้ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งติดตามคือ การหนีออกต่างจังหวัดของ แคมป์คนงานด้วยเพราะเกรงว่าจะน�ำไปสู่การแพร่ระบาดที่ กระจายวงกว้าง ดังนั้นหากสถานการณ์ไม่คลี่คลายหลังจากนี้ วีธีดีสุดอาจจ�ำเป็นต้องยกระดับไปสู่การล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ “เข้าใจว่ารัฐบาลอยากจะสร้างความสมดุลระหว่างการดูแล ด้านสาธารณสุข กับ ด้านเศรษฐกิจแต่ขณะนี้เชื้อโรคค่อนข้าง รุนแรง และผู้ติดเชื้อใหม่รายวันก็ยังอยู่ระดับสูงมาก แม้ว่า

ปัญหาการติดเชื้อจะมีมากในแคมป์คนงานก่อสร้าง แต่หาก พิจารณาก็ยงั พบว่ามีการติดเชือ้ ในชุมชนแออัด คลัสเตอร์ตา่ งๆ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหากการควบคุมบางส่วนแล้วยังไม่ได้ผลสักพัก วิธีดีที่สุดอาจต้องล็อกดาวน์ทั้งหมดหรือไม่เพราะลักษณะกึ่ง ล็อกดาวน์ก็ทำ� ให้ประชาชนไม่กล้าเดินทาง ความรู้สึกก็เหมือน ล็อกดาวน์ไปแล้ว แต่ในเรือ่ งของการดูแลเยียวยารัฐก็คงจะต้อง พิจารณาภาพรวม” นายเกรียงไกรกล่าว ส�ำหรับการที่รัฐบาลมีแผนจะเปิดประเทศภายใน 120 วัน โดยไม่ต้องมีการกักตัวนั้น ภาคเอกชนเห็นด้วยกับแนวคิด ของรัฐบาล เพราะเป็นการเร่งฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ ให้กลับมาโดยเร็ว แต่รัฐบาลจะต้องพยายามสร้างจุดสมดุล ให้ได้กับการด้านสาธารณสุขโดยมีแนวทางหรือมาตรการ เพิ่มเติมเพื่อรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในไทย เพราะเชือ้ ไวรัส มีการกลายพันธุอ์ ย่าง ต่อเนื่อง จนวัคซีนที่มีอยู่ในโลกนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการเร่งจัดหาวัคซีนที่ล่าสุดรัฐบาลยืนยันว่ามีวัคซีน เพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านโดสแล้วนั้นก็อยากเห็นการเร่งระดม ฉีดให้เร็วที่สุด

ที่มา https://mgronline.com/business/detail/9640000062268

www.thaiprint.org


18

INDUSTRIAL

บีโอไอ ยกระดับอุตสาหกรรมบรรจุภณ ั ฑ์ เพิ่ มประเภทกิจการ

"SMART PACKAGING บรรจุภณ ั ฑ์อจ ั ฉริยะ" รองรับการพั ฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง ่ แวดล้อมตามแนวคิด BCG

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INDUSTRIAL

19

บอร์ดบีโอไอเร่งเพิ่ มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงนโยบายเพิ่ มสิทธิประโยชน์จง ู ใจให้เกิด กิจกรรม วิจัยพั ฒนา และการฝึกอบรม อีกทั้งเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งก�ำลังขยายตัว หนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล มุ่งสร้างบุคลากรด้านไอที พร้อมเปิดส่งเสริมประเภทกิจการใหม่ดา้ นบรรจุภัณฑ์ อัจฉริยะรองรับการพั ฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า วันนี้ (30 มิถุนายน 2564) ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการส่ ง เสริ ม การลงทุ น ซึ่ ง มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงมาตรการและประเภทกิจการ การส่งเสริมการลงทุนในหลายมาตรการเพื่อ เร่งเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน ดังนี้ ปรับปรุงสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพือ่ พัฒนาความสามารถในการ แข่งขันในหลายประเด็น ได้แก่ 1) กรณีที่มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 1 ของยอดขายรวม 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท นอกจากจะได้จ�ำนวนปียกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีก ไม่เกิน 5 ปี ตามขนาดการลงทุนและ ค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังไม่ก�ำหนดเพดานการ ยกเว้นภาษีเงินได้อีกด้วย 2) ยังเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่า ส�ำหรับ กรณีที่มีการลงทุนเพิ่มในการฝึกอบรม หรือฝึกการท�ำงาน เพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับนักศึกษา ที่อยู่ระหว่างการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา คนมากขึ้น 3) กรณีที่เงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เข้าข่าย เช่น วิจัยพัฒนา ฝึกอบรม ออกแบบ และพัฒนา Supplier ไม่ถงึ เกณฑ์ขนั้ ต�ำ่ ก็ยังจะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน ตามเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การลงทุ น ในอุ ต สาหกรรมต้ น น�้ ำ ของ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ บี โ อไอได้ ป รั บ ปรุ ง การส่ ง เสริ ม การลงทุ น อุ ต สาหกรรมการผลิ ต เวเฟอร์ ที่ ใช้ เ งิ น ลงทุ น สู ง และใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ยกเว้น ภาษี เ งิ น ได้ นิ ติ บุ ค คลสู ง สุ ด 10 ปี นอกจากนี้ เพื่ อ เร่ ง ดึ ง การลงทุนจากต่างประเทศรายใหม่และสนับสนุนการขยายฐาน การผลิตของรายเดิมในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์หรืออุปกรณ์

สารกึ่งตัวน�ำ และแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ที่ความต้องการของ ตลาดมีแนวโน้มไปสูร่ นุ่ ทีม่ คี วามซับซ้อนมากขึน้ ซึง่ ใช้เทคโนโลยี การผลิตและเงินลงทุนสูง และเป็นสายการผลิตแบบอัตโนมัติ จึงได้ปรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็น 8 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีการลงทุนค่าเครื่องจักรอย่างน้อย 1,500 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนอุตสาหกรรม PCBA ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ต่อเนื่องก็ได้ปรับสิทธิประโยชน์ส�ำหรับโครงการที่มีเงินลงทุน ค่าเครื่องจักรอย่างน้อย 500 ล้านบาท ปรั บ ปรุ ง ประเภทกิ จ การ เงื่ อ นไขและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ อุตสาหกรรมดิจทิ ลั เพือ่ สร้างความยืดหยุน่ และรวดเร็ว ในการ ให้การส่งเสริมฯ มุ่งให้เกิดการสร้างบุคลากรไทยด้านไอที และสร้างให้เกิดกระบวนการพัฒนาในประเทศ บีโอไอ จึงได้ ปรั บ ปรุ ง เงื่ อ นไขและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ ข องประเภทกิ จ การ ซอฟต์ แวร์ กิ จ การให้ บ ริ ก ารเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล และกิ จ การ พาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ใหม่ โดยยุบรวมประเภทกิจการให้เหลือ เพียง 1 ประเภท ได้แก่ กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารดิ จิ ทั ล หรื อ ดิ จิ ทั ล คอนเทนต์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความยืดหยุน่ ในการให้การส่งเสริมฯ และตอบสนองรูปแบบธุรกิจ ที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี เงินได้นติ บิ คุ คล 8 ปี โดยมีเงือ่ นไขต้องจ้างงานและพัฒนาบุคลากร ไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) หรือได้รับใบรับรอง มาตรฐานด้ า นไอที (CMMI ระดั บ 2) ซึ่ ง จะช่ ว ยยกระดั บ ผูป้ ระกอบการสามารถพัฒนาและให้บริการในระดับนานาชาติ www.thaiprint.org


20 INDUSTRIAL

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INDUSTRIAL

ยกระดั บ การส่ ง เสริ ม การลงทุ น อุ ต สาหกรรมบรรจุ ภั ณ ฑ์ โดยเพิ่มประเภทกิจการกลุ่มบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Packaging) ซึ่ ง เป็ น การน� ำ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ทั่ ว ไปมาพั ฒ นา ต่อยอดกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เช่น ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร ยืดอายุ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ การบ่งชี้คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ภายใน บรรจุภัณฑ์ หรือมีระบบที่สามารถตรวจติดตาม บันทึก สืบค้น สภาวะของผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุ เป็นต้น โดยให้สิทธิ ประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี นอกจากนี้ เพือ่ ให้สอดรับกับทิศทางอุตสาหกรรมบรรจุภณ ั ฑ์ในอนาคตตาม แนวคิด BCG และรองรับ เทคโนโลยีใหม่ บีโอไอได้ปรับปรุง สิ ท ธิ แ ละประโยชน์ ใ นกลุ ่ ม วั ต ถุ ดิ บ ส� ำ หรั บ ผลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ ได้แก่ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลเกรดพิเศษ คอมพาวด์พลาสติก ชนิดพิเศษ รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง โดยให้สิทธิ ประโยชน์ด้านภาษีเงินได้ นิติบุคคล 5 - 8 ปี อีกทั้งยังขยาย ให้ ค รอบคลุ ม ถึ ง บรรจุ ภั ณ ฑ์ พ ลาสติ ก ที่ มี คุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ปรับเงื่อนไขในการส่งเสริมการลงทุนกิจการศูนย์กลางธุรกิจ ระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC) และกิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office: TISO) โดยเพิ่มขอบข่าย ให้ครอบคลุมการให้กู้ยืมเงินแก่วิสาหกิจในเครือ เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกให้แก่นักลงทุน ให้เกิด ความคล่องตัวในการให้ บริการแก่วิสาหกิจในเครือทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยัง เป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่าง ประเทศในการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ “การปรับปรุงมาตรการและประเภทกิจการการส่งเสริมการ ลงทุนต่าง ๆ ของบอร์ดบีโอไอครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยเร่งการวิจัย และพั ฒ นา การพั ฒ นาบุ ค ลากร และดึ ง ดู ด การลงทุ น ใน อุตสาหกรรมและบริการที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่สร้าง มูลค่าเพิ่มสูง ตลอดจนการลงทุนตามแนวทาง BCG ให้เพิ่มขึ้น เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเหล่านี้ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อเป็นแหล่งรองรับ การลงทุนในภูมิภาค” เลขาธิการบีโอไอกล่าว

21

“การปรับปรุงมาตรการ และประเภทกิจการการส่งเสริม การลงทุนต่างๆ ของบอร์ดบีโอไอ ครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยเร่งการวิจัย และพั ฒนา การพั ฒนาบุคลากร และดึงดูดการลงทุน ในอุตสาหกรรม และบริการที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่สร้างมูลค่าเพิ่ มสูง ตลอดจนการลงทุนตาม แนวทาง BCG ให้เพิ่ มขึ้น ่ นอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่ อขับเคลือ ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่ มขีด ความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับอุตสาหกรรม ในประเทศเพื่ อเป็นแหล่งรองรับ การลงทุนในภูมิภาค” นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ บีโอไอ

ที่มาและภาพประกอบ https://www.boi.go.th/

www.thaiprint.org


22 INDUSTRIAL

เทคโนโลยีการพิ มพ์ อาหาร 3 มิติ: นวัตกรรมการผลิตอาหารแห่งอนาคต

เพื่ อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพ เนื้อสัมผัส โภชนาการ รวมถึงสุนทรียภาพในการรับประทาน เรียบเรียงโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร

นวัตกรรมด้านอาหารและการเกษตรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วใน ช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลาย รูปแบบเพือ่ รองรับความต้องการของผูบ้ ริโภค ทัง้ ในด้านคุณภาพ เนื้อสัมผัส โภชนาการ รวมถึงสุนทรียภาพในการรับประทาน นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตมุง่ เน้นผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะ บุคคล (personalised diets) ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่ เหมาะสมต่อความต้องการทางร่างกายของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัว หรือทหารใน กองทัพทีต่ อ้ งรับการฝึกร่างกายหรือออกลาดตระเวนเป็นประจ�ำ นวัตกรรมการผลิตรูปแบบหนึง่ ทีส่ ามารถตอบสนองความต้องการ ดังกล่าวได้คือ เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติ หรือ 3D food printing เทคโนโลยีนอี้ าจตอบโจทย์ทา้ ทายใหม่ของอุตสาหกรรม อาหารในการจัดเตรียมหรือผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากร โลกทีค่ าดการณ์วา่ จะมีจำ� นวนสูงถึง 9 พันล้านคนภายในปี 2050 ทั้งนี้เนื่องจาก เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติเป็นกระบวน การผลิตอาหารทีใ่ ช้ทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดบิ อย่างคุม้ ค่า THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

รักษาคุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน และไม่เกิดของเหลือทิง้ ในกระบวนการ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมีพัฒนาการมานานกว่า 30 ปีแล้ว ในช่วงเริ่มต้นใช้เตรียมต้นแบบรวดเร็ว จึงเรียกแบบรวม ๆ ว่า การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (rapid prototyping) ส่วนใน ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ใช้ในการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (additive manufacturing) ในระดับอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตมิ วี วิ ฒ ั นาการอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปี ทีผ่ า่ นมา เนือ่ งจากการปรับเปลีย่ นเข้าสูโ่ ลกดิจทิ ลั และการผลัก ดันแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ในอุตสาหกรรม การผลิต ดังจะเห็นได้จากชิน้ ส่วนหรือผลิตภัณฑ์จาก 3D printing ที่ มี ก ารผลิ ต แบบเฉพาะบุ ค คล เช่ น ชิ้ น ส่ ว นสะโพกเที ย ม อุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือแม้กระทัง่ อุปกรณ์เครือ่ งแต่งกาย เช่น ผลิตภัณฑ์รองเท้ายี่ห้อ ADIDAS ที่มีพื้นรองเท้าออกแบบให้รับ แรงแตกต่างกันในแต่ละส่วนขึ้นกับรูปร่างของผู้ใส่


INDUSTRIAL 23

อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติใน อุตสาหกรรมอาหารยังไม่แพร่หลายมากนัก แม้ว่าจะเริ่มเห็น การเติบโตมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากการที่เชฟชั้นน�ำ

ตามร้านอาหารหรู (fine dining) ในต่างประเทศน�ำไปใช้งาน หรือในงานวิจัยพื้นฐานที่เริ่มมีจ�ำนวนบทความวิจัยเกิดขึ้นเป็น จ�ำนวนมาก

150 No. of publication with keyword “3D food printing” from Scopus

Number of publication

120

90

60

20 20

20 19

20 18

20 17

20 16

20 15

20 14

20 13

20 12

20 11

0

20 10

30

รูปที่ 1 จ�ำนวนบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการพิ มพ์ 3 มิติในช่วงปี 2010-2020

เนือ่ งจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตเิ ป็นการขึน้ รูปทีละชัน้ ท�ำให้ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนหลากหลาย รูปทรงได้ ดังนั้นน�ำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้ผลิต ยังสามารถเติมส่วนผสมสารอาหารต่างๆ เข้าไปในองค์ประกอบ

อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยสามารถควบคุม ปริมาณองค์ประกอบต่างๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นย�ำ อีกทั้ง ยังมีลักษณะปรากฏที่ดึงดูดใจผู้บริโภคอีกด้วย

เทคโนโลยีการพิ มพ์ อาหาร 3 มิติ แบ่งออกเป็น 3 เทคนิคหลัก ได้แก่ 1 . การพิ มพ์ แบบ Extrusion-based หรือ Fused Deposition Method (FDM)

เทคนิคนีแ้ พร่หลายมากทีส่ ดุ เนือ่ งจากขึน้ รูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ได้งา่ ย และคล้ายคลึงกับกระบวนการแปรรูปอาหารแบบอัดรีด ผ่านเกลียว (food extrusion) นอกจากนี้ เครือ่ งพิมพ์ 3 มิตทิ ใี่ ช้ มีราคาไม่สงู มากส�ำหรับรุน่ เริม่ ต้น เมือ่ เปรียบเทียบกับเทคนิคอืน่

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารทีข่ นึ้ รูปโดยเทคนิคนี้ ได้แก่ ช็อกโกแลต พาสต้ารูปทรงฟรีฟอร์ม เนื้อสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเคี้ยวกลืนล�ำบาก

รูปที่ 2 ตัวอย่างการพิ มพ์ อาหารด้วยเทคนิค Fused Deposition Method www.thaiprint.org


24 INDUSTRIAL 2. การพิ มพ์ แบบ Powder Bed Fusion หรือ Selective Laser Scanning

เทคนิคนี้พิมพ์ชิ้นงานโดยการเกลี่ยวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะ เป็นผงให้เป็นชั้นบางๆ แล้วใช้ล�ำแสงเลเซอร์ยิงไปยังตําแหน่ง ที่ต้องการพิมพ์ เพื่อให้ผงวัตถุดิบหลอมตัวประสานเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงเกลี่ยผงวัตถุดิบใหม่ สําหรับการพิมพ์ชั้นถัดไป แล้ว ใช้ลำ� แสงเลเซอร์ยงิ ไปยังต�ำแหน่งทีต่ อ้ งการ ท�ำซ�ำ  ้ ๆ จนกว่าจะ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่ออกแบบไว้

แม้ ว ่ า เทคนิ ค นี้ ยั ง มี ต ้ น ทุ น การผลิ ต ที่ สู ง กว่ า เทคนิ ค FDM แต่ ก็ มี ศั ก ยภาพสู ง ในการพิ ม พ์ วั ต ถุ ดิ บ ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ผง และสามารถใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ท�ำจากน�้ำตาล (confectionery) ให้มีขนาดและรูปร่างเฉพาะหรือซับซ้อน และยังช่วยลดปริมาณวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้

รูปที่ 3 ตัวอย่างการพิ มพ์ อาหารด้วยเทคนิค Powder Bed Fusion

3 . การพิ มพ์ แบบ Binder Jetting

เทคนิ ค นี้ ค ล้ า ยกั บ การพิ ม พ์ แ บบ Powder Bed Fusion แต่ใช้การพ่นของเหลวที่เป็นน�้ำหรือส่วนผสมวัตถุดิบอาหาร อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าตัวประสาน (binder) เพื่อประสานผง เข้าด้วยกันในต�ำแหน่งที่ต้องการ (รูปที่ 4) กระบวนการนี้ จะท�ำซ�้ำไปซ�้ำมาตามจ�ำนวนชั้นที่ต้องการ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่ ฝังอยูใ่ นผงวัตถุดบิ คล้ายกับซากฟอสซิล จากนัน้ จึงก�ำจัดวัตถุดบิ ส่วนที่ไม่ได้เกาะติดกับตัวประสานออกจากผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ

ที่ถูกก�ำจัดออกยังสามารถน�ำกลับมาใช้ในการพิมพ์ครั้งต่อไป ได้อีก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จะน�ำไปผ่านกรรมวิธีต่อในขั้นตอน สุดท้ายโดยใช้กระบวนการที่เหมาะสม เช่น การอบ เทคนิคนี้ สามารถน�ำไปใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ในกลุม่ เบเกอรี่ และขนมหวาน ให้มีลักษณะเนื้อสัมผัส ที่เป็นเอกลักษณ์แ ละตอบสนองต่ อ ความต้องการของผู้บริโภค

รูปที่ 4 ตัวอย่างการพิ มพ์ อาหารด้วยเทคนิค Binder Jetting THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INDUSTRIAL 25

การพิมพ์อาหาร 3 มิตเิ ป็นเทคโนโลยีทมี่ ศี กั ยภาพต่อการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารในอนาคตอย่างมาก อีกทัง้ จะช่วยลดปริมาณ อาหารเหลือทิ้ง (food waste) ซึ่งเป็นความท้าทายหนึ่งของ อุตสาหกรรมอาหารทีต่ อ้ งการจัดการกับของเหลือทิง้ จากขัน้ ตอน การเตรียมอาหารเพื่อบริการ รวมถึงอาหารที่บริโภคและของ เหลือจากการบริโภค ทั้งนี้อาหารเหลือทิ้งบางชนิดยังอุดมไป ด้วยสารอาหารส�ำคัญและสารออกฤทธิท์ างชีวภาพ (bioactive compounds) ที่สามารถน�ำมาเปลี่ยนสภาพให้เป็นฟูดอิงก์ (food ink) เพื่อน�ำไปใช้ในการขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ อาหาร 3 มิตไิ ด้ นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิม่ ให้แก่อาหารเหลือทิง้ และลดปริมาณการสูญเสียในห่วงโซ่การผลิตอาหารอีกด้วย

โภชนาการได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น กลุม่ นักกีฬาทีอ่ าจต้องการ พลั ง งานและปริ ม าณสารอาหารที่ ส มดุ ล ก่ อ นและหลั ง การ ออกก�ำลังกายหรือการแข่งขัน นอกจากนี้การขึ้นรูปทีละชั้น ยังสามารถใช้ออกแบบโครงสร้างอาหารเพือ่ ควบคุมการปลดปล่อย สารอาหารที่ส�ำคัญได้อีกด้วย

ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ด้วย เทคโนโลยีการพิ มพ์ 3 มิติ

จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถกล่าวได้ว่าการพิมพ์ อาหาร 3 มิ ติ เ ป็ น เทคโนโลยี ก ารผลิ ต อาหารแบบใหม่ ที่ มี ความยืดหยุ่นสูง ผู้บริโภคสามารถออกแบบ และท�ำอาหาร ตามรูปร่าง สัดส่วนของผสม และรสชาติได้เองอย่างที่ต้องการ ช่วยลดการสูญเสียของอาหารได้มาก

เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิตสิ ามารถน�ำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารได้หลากหลาย เช่น อาหารส�ำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนล�ำบาก (Dysphagia diets): ส่วนใหญ่มักอยู่ในลักษณะอาหารปั่นข้นหนืด เมื่อผู้บริโภคต้อง บริโภคอาหารปั่นเป็นเวลานานท�ำให้ความอยากอาหารลดลง ส่งผลให้บริโภคได้นอ้ ยลง และน�ำมาสูภ่ าวะขาดสารอาหารหรือ ทุพโภชนาการได้ จึงมีการน�ำเทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิติ มาใช้ขนึ้ รูปเป็นผลิตภัณฑ์ทหี่ ลากหลาย เช่น มันฝรัง่ ต้ม แครอท และเนื้อสัตว์ โดยท�ำให้มีรูปร่างคล้ายผลิตภัณฑ์จริง กระตุ้นให้ ผู้บริโภคมีความอยากอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทพี่ มิ พ์ขนึ้ ยังสามารถเสริมด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน วิตามินหรือแร่ธาตุ ได้อกี ด้วย ท�ำให้สามารถปรับเปลีย่ น คุณค่าทางโภชนาการให้ตรงต่อความต้องการของผู้ป่วยที่มี ภาวะกลืนล�ำบากได้อย่างเฉพาะเจาะจง สถานบริการโรงพยาบาล บางแห่งในต่างประเทศจึงเริม่ น�ำเทคโนโลยีนมี้ าปรับใช้งานแล้ว อาหารเฉพาะบุคคล (Personalised diets) : การผลิต อาหารในอนาคตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิตสิ นับสนุน แนวคิดโภชนาการส่วนบุคคลมากขึน้ ปัจจุบนั เริม่ มีขอ้ มูลเชิงลึก เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสาร อาหารมากขึ้ น เช่ น ปริ ม าณและชนิ ด ของโพรไบโอติ ก ใน ล� ำ ไส้ ใ หญ่ ความผิ ด ปกติ ท างพั น ธุ ก รรม พฤติ ก รรมการใช้ ชีวิตประจ�ำวัน เป็นต้น เนื่องจากการพิมพ์ 3 มิติเป็นเทคโนโลยีมีความยืดหยุ่นจึง สามารถปรั บ เปลี่ ย นชนิ ด และปริ ม าณส่ ว นผสมสารอาหาร ที่แม่นย�ำ ท�ำให้สามารถผลิตอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ บุคคลที่ตรงตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตและความต้องการทาง

อาหารเพือ่ สุขภาพ: เทคโนโลยีการพิมพ์อาหาร 3 มิตชิ ว่ ยสร้าง โอกาสในการผลิตอาหารรูปแบบใหม่ที่สามารถควบคุมรูปร่าง คุณภาพเนื้อสัมผัส และคุณภาพทางประสาทสัมผัสได้อย่าง แม่นย�ำ จึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพือ่ สุขภาพทีต่ อ้ งการ ลดเกลือ ลดน�้ำตาล หรือลดไขมันได้ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ด้านการออกแบบโครงสร้างอาหาร (food structure design)

แม้ว่าปั จจุบันเครื่องพิ มพ์ อาหาร 3 มิติยังมี ร าคาสู ง และไม่ ส ามารถทดแทนการปรุ ง อาหารแบบดั้ ง เดิ ม ที่ สามารถใช้วัตถุดิบสดใหม่ได้ แต่เทคโนโลยีน้ีก�ำลังจะ เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจาก แรงขับเคลื่อนในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน Internet of Things (IoT) ที่ท�ำให้ผู้บริโภคสามารถ เชื่ อ มต่ อ ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น และสุ ข ภาวะของตนเอง รวมถึงการเข้าถึงฐานความรู้ต่างๆ ่ วข้องกับเทคโนโลยีการพิ มพ์ 3 มิตข ทีเ่ กีย ิ องวัสดุตา่ ง ๆ ่ งพิ มพ์ อาหาร 3 มิตไิ ด้แบบไร้ขด กับเครือ ี จ�ำกัด โดยผ่าน การใช้งานโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สวมใส่ที่เชื่อม ต่อกับ อินเทอร์เน็ตได้ (wearable devices) ท� ำให้ ในอนาคตอันใกล้ มีความเป็นไปได้ที่เราจะมีเครื่องพิ มพ์ อาหาร 3 มิตใิ ช้กน ั เกือบทุกครัวเรือน คล้ายกับการใช้งาน เตาไมโครเวฟในปัจจุบัน

รูปที่ 5 แนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมอาหารเฉพาะบุคคลได้เอง ที่บ้านโดยใช้เครื่องพิ มพ์ อาหาร 3 มิติ www.thaiprint.org


26 KNOWLEDGE

เทคโนโลยีการพิ มพ์ บรรจุภณ ั ฑ์

ดร.อนันต์ ตันวิไลศิริ ื สารมวลชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะเทคโนโลยีส่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


KNOWLEDGE 27

่ นแปลงทางเทคโนโลยีอย่างพลิกผัน หรือ การเปลีย Disruption technology ได้เข้ามาท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสังwคม เศรษฐกิจ การด�ำเนิน ชี วิ ต การประกอบธุ ร กิ จ และภาคอุ ต สาหกรรม ธุรกิจสื่อสิ่งพิ มพ์ ประเภทนิตยสารเป็นกลุ่มธุรกิจ หนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก Disruption technology จนท� ำ ให้ เ กิ ด การ “หยุ ด ชะงั ก ” ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ เห็ น ได้ จ ากการปิ ด ตั ว ของ สิ่งพิ มพ์ ประเภทนิตยสารที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากสถานการณ์ดง ั กล่าว ท�ำให้อต ุ สาหกรรมการพิ มพ์ ในปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารมุ่ ง เน้ น ในการผลิ ต งานพิ มพ์ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ม ากขึ้ น โดยเทคโนโลยี ก ารพิ มพ์ ใน ปั จ จุ บั น ได้ มี ค วามก้ า วหน้า สามารถตอบสนอง ความต้ อ งการที่ ห ลากหลายของลู ก ค้ า รวมถึ ง การพั ฒนาทางด้ า นวั ส ดุ แ ละเทคโนโลยี ท างด้ า น สารสนเทศ ท�ำให้เทคโนโลยีการพิ มพ์ บรรจุภัณฑ์ สามารถน�ำไปสู่การออกแบบและพิ มพ์ บรรจุภัณฑ์ อัจฉริยะ (smart packaging) ได้

รูปที่ 1 บรรจุภัณฑ์ทั่วไป ่ า: Your guide to food packaging ทีม

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง วัสดุตา่ งๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ หรือ พลาสติก ที่ถูกน�ำมาขึ้นรูป และน�ำมาบรรจุสินค้าต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีการบรรจุ ที่แตกต่างกันไป

ความหมายของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง วัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ หรือ พลาสติก ที่ถูกน�ำมาขึ้นรูปและน�ำมาบรรจุสินค้าต่าง ๆ โดยใช้ เทคโนโลยีการบรรจุที่แตกต่างกันไป บรรจุภัณฑ์จะท�ำหน้าที่ หลายประการ โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

www.thaiprint.org


28 KNOWLEDGE

บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์

1. บทบาทและหน้าที่ตามกายภาพ

เหตุอื่น ๆ เพื่อให้สินค้าคงสภาพเดิมเหมือนเมื่อออกจาก แหล่งผลิต

- การรองรับสินค้า (Contain) บรรจุภณ ั ฑ์จะท�ำหน้าทีร่ องรับ สินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม หรือตามรูปร่างภาชนะ ท�ำให้ สะดวกในการเก็บรักษา ขนส่งล�ำเลียง และการบริโภค

- ท� ำ หน้ า ที่ รั ก ษา (Preserve) คุ ณ ภาพสิ น ค้ า ให้ ค งเดิ ม ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย

- การป้องกัน (Protection) บรรจุภัณฑ์จะท�ำหน้าที่ป้องกัน คุ้มครองสินค้าที่อยู่ภายในจากความเสียหายด้วยเหตุต่าง ๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อม มนุษย์ สัตว์ การขนส่งโยกย้ายหรือ

- การขนส่ง (Transportation) บรรจุภณ ั ฑ์ชว่ ยท�ำให้การขนส่ง สินค้าไปยังตลาด เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ใช้ต้นทุนที่เหมาะสม

รูปที่ 2 บทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ่ า: The role of packaging in marketing your business ทีม

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


KNOWLEDGE 29

2. บทบาทและหน้าที่ทางการตลาด

ประเภทของบรรจุภัณฑ์

- การบ่งชี้ (Identify) บรรจุภัณฑ์บอกให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าคืออะไร เป็นสินค้าของบริษัทใด เป็นสินค้าตราใด (Brand) ตรงที่ผู้บริโภคต้องการหรือไม่

ประเภทบรรจุภัณฑ์จ�ำแนกตามการลักษณะของการใช้งานได้ 3 ประเภท ดังนี้

- การให้ข้อมูล (Inform) บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของฉลาก (Label) ช่วยให้ข้อมูลกับผู้บริโภคด้านต่าง ๆ เช่น สรรพคุณ ส่วนผสม วิธีการใช้ ข้อควรระวังและอื่น ๆ ทั้งเพื่อการจูงใจ สร้างความมั่นใจ ร่วมทั้งการปฏิบัติตาม ข้อก�ำหนดของกฎหมายในสินค้าบางประเภท เช่น อาหาร และยา - การแสดงตัวของสินค้า (Presentation) คือ บรรจุภัณฑ์ สือ่ ความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสนั แห่ง คุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ - ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูง ในการซื้อสินค้า หีบห่อจะท�ำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้า ควบคู่กันไปในตัวด้วย

1. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน หรือปฐมภูมิ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้ สัมผัสเวลาที่จะบริโภค เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัว สินค้า เช่น ซองน�ำ้ ตาล 2. บรรจุ ภั ณ ฑ์ ชั้ น ที่ ส อง หรื อ ทุ ติ ย ภู มิ เป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันหรือจัด จ�ำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น หรือเพื่อความสะดวกในการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษของหลอดยาสีฟนั ถุงพลาสติกใส่ซองน�ำ้ ตาล 50 ซอง เป็นต้น 3. บรรจุ ภั ณ ฑ์ ชั้ น ที่ ส าม หรื อ ตติ ย ภู มิ หน้ า ที่ ห ลั ก ของ บรรจุภัณฑ์ชั้นนี้ก็เพื่อป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง และ เป็นเครื่องมือช่วยให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก ถูกต้อง มากยิ่งขึ้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง “Distribution Packaging”

รูปที่ 3 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ่ า: Primary, secondary and tertiary packaging: what’s the difference? ทีม

www.thaiprint.org


30 KNOWLEDGE

ประเภทของบรรจุภัณฑ์จ�ำแนกตามวัสดุ ได้ดังนี้

1. เยือ่ และกระดาษ มีการใช้กนั มากทีส่ ดุ และสามารถน�ำกลับมาใช้ซำ�้ ได้ พิมพ์ตกแต่งสร้างความสวยงามได้งา่ ย สะดวกต่อการขนส่ง เนื่องจากพับได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

รูปที่ 4 บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ ่ า: Food packaging paper and board testing ทีม

2. พลาสติก มีน�้ำหนักเบา ราคาไม่แพง ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและก๊าซได้ในระดับหนึ่ง ในบางชนิดกันความร้อนได้ด้วย

รูปที่ 5 บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก ่ า: Food packaging paper and board testing ทีม

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


KNOWLEDGE

31

3. แก้ว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความเฉื่อยต่อการท�ำปฏิกิริยากับ สารเคมีชีวภาพต่างๆ เมื่อเทียบกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ และ รักษาคุณภาพสินค้าได้ดีมาก ข้อดีของแก้วคือ มีความใส และ ท�ำเป็นสีตา่ ง ๆ ได้ สามารถทนต่อแรงกดได้สงู แต่เปราะแตกง่าย สามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง

รูปที่ 6 บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ ่ า: Glass Bottles- Benefits Of Glass Packaging ทีม

4. โลหะ ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ วัสดุที่ใช้มี 2 ชนิด คือ - เหล็กเคลือบดีบกุ เป็นบรรจุภณ ั ฑ์ทแี่ ข็งแรงป้องกัน อันตราย จากสิง่ แวดล้อมและสภาวะอากาศ สามารถใช้บรรจุอาหารได้ดี เนื่องจากสามารถปิดผนึกได้สนิทและฆ่าเชื้อได้ด้วยความร้อน

- อะลูมิเนียม มักจะใช้ในรูปเปลวอะลูมิเนียมหรือกระป๋อง มีน�้ำหนักเบา อีกทั้งมีความแข็งแรง ทนต่อการซึมผ่านของ อากาศ ก๊าซ แสง และกลิ่นรสได้ดี ในรูปของเปลวอะลูมิเนียม มักใช้เคลือบกับวัสดุอื่น

รูปที่ 7 บรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะ ่ า: Metal packaging ทีม

เอกสารอ้างอิง • Debra Weiss. (2021) Your guide to food packaging. Retrieved from https://www.newfoodmagazine.com/article/90810/food-packaging-types-importance-trends/ • Peter Scully. (2018) The role of packaging in marketing your business. Retrieved from https://thelocalbrand.com/role-of-packaging-in-marketing-business/ • Cartier. (2019) Primary, secondary and tertiary packaging: what’s the difference?. Retrieved from https://www.emballagecartier.com/en/article/primary-secondary-andtertiary-packaging-whats-the-difference/ • Campden BRI. (2021) Food packaging paper and board testing. Retrieved from https://www.campdenbri.co.uk/services/packaging-paper-board-testing.php • Seaaplastik. (2021) The future of flexible packaging in the world. Retrieved from https://www.seaaplastik.com.tr • Hunter Howard. (2018) Glass Bottles- Benefits Of Glass Packaging. Retrieved from http://packcon.org/index.php/en/articles/114-2018/227-glass-bottles-benefits-of-glass-packaging • Market density. (2021) Metal packaging. Retrieved from https://www.marketdensity.com/metal-packaging-market

www.thaiprint.org


32

INTERVIEW

อนาคตอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และ บรรจุภัณฑ์ไทยสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ The Next Normal - The Future of Printing and Packaging in Thailand พงศ์ธีระ พั ฒนพี ระเดช

บทคัดย่อ

Abstract

ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลใหม่ ๆ ต่างเข้ามามีบทบาท ส� ำ คั ญ มากขึ้ น คงไม่ ส ามารถปฏิ เ สธได้ ว ่ า สิ่ ง นี้ ส ่ ง ผลกระทบ ต่อการด�ำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการพิมพ์เพิ่มมากขึ้นอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีทั้งส่งผลกระทบต่อธุรกิจเชิงถดถอย หรือ ให้ อ านิ ส งค์ ใ นแง่ บ วก ขึ้ น อยู ่ กั บ ประเภทของผู ้ ป ระกอบการ ว่ า เป็ น ผู ้ ผ ลิ ต สิ่ ง พิ ม พ์ ป ระเภทไหน วางต� ำ แหน่ ง แผนธุ ร กิ จ (Business Plan) ของบริษัทฯ ตนเองไว้อย่างไร ผู้ประกอบการ ในอุ ต สาหกรรมจึ ง ต้ อ งเตรี ย มพร้ อ มและปรั บ ตั ว น� ำ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ม าออกแบบ น� ำ การใช้ น วั ต กรรมทางด้ า นวั ส ดุ ก าร พิมพ์ชนิดใหม่ ๆ ไปจนถึงเทคนิคการสร้างมูลค่าเพิ่มในขั้นตอน หลังการพิมพ์ที่หลากหลาย มาพัฒนาสินค้าให้มากขึ้น เพื่อรับ มือการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยในยุคประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ผ่ า นระบบเศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย น (Circular Economy) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล (Digital Economy) และรองรั บ พฤติ ก รรม ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของโลก ท�ำให้เกิดผลกระทบ อย่างที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน เปรียบเสมือนคลื่นสึนามิที่ถาโถม เข้าใส่สุขภาพชีวิตของผู้คน สังคม เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ โดยผลกระทบนี้จะยังคงด�ำเนินต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มีวิธีหรือ วัคซีนตัวใดหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้ได้ ผู้ประกอบการในอนาคต ของอุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ์ ไ ทยจึ ง ต้ อ งศึ ก ษา เรี ย นรู ้ ปรั บ ตั ว และเตรี ย มพร้ อ มรั บ มื อ กั บ สภาพการแข่ ง ขั น ด้วยการปรับรูปแบบธุรกิจและค้นหาวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สินค้าและบริการ เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้คนในยุค New Normal หรือฐานวิถีชีวิตใหม่หลังจากนี้ให้ได้ ค�ำส�ำคัญ: อนาคตของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ไทย, ประเทศไทย 4.0, ฐานวิถีชีวิตใหม่

It is without a doubt that the print landscape is going through a transformation and this, in turn, has a growing influence on processes in the industry - from conquering new dimensions with creative design, innovative materials to value-added finishing techniques that engage the senses in previously unknown ways to create entirely new experiences. Global trends such as the circular economy, artificial intelligence, the digital economy, and connected consumers are forces driving this transformation. Thailand’s printing and packaging landscape are no different and against this fast-changing global marketplace, it is essential for Thai business owners and industry players in the printing and packaging industry, to adapt themselves and push forward into the digital economy and be at the forefront in order to drive Thailand 4.0. By the way, The COVID-19 pandemic has changed the ecosystem of the world, It has produced a tsunami of new signals that are impacting people's life and its effects will continue. Business leaders should keep this in mind as they prepare for the new normal. Specifically, for Thailand’s printing and packaging sectors, printing companies will need to adapt to new competitive landscapes, revamp business models and find new ways to create value. In a bid to heighten efforts to prepare Thailand’s printing and packaging industries for the future and better position Thai companies for global opportunities. Keyword: Thailand’s printing and packaging landscape, Thailand 4.0, New normal

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INTERVIEW 1. บทน�ำ

ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุ ภัณฑ์ไทย ถือเป็นฟันเฟืองส�ำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เป็น อุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industries) อุตสาหกรรม อื่น ๆ ในเกือบทุกอุตสาหกรรม สินค้าต่าง ๆ ต้องมีสิ่งพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์ในการสื่อสารการขาย ตลอดจนปกป้องระหว่างการ ขนส่งสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์จึง เติบโตไปตาม GDP ของประเทศ สร้างมูลค่ารายได้ให้กับประเทศ ทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก เป็นมูลค่าหลาย แสนล้านบาทต่อปี อีกทั้งประเทศไทยมี Supply Chain ของ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์จากต้นน�้ำถึงปลายน�้ำอยู่ใน ประเทศทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การปลูกไม้เพื่อผลิตกระดาษเป็นวัตถุดิบ ส�ำหรับการพิมพ์ กระบวนการออกแบบและท�ำแม่พมิ พ์ (Pre-Press), กระบวนการพิมพ์ (Press) และการสร้างมูลค่าเพิ่มหลังการพิมพ์ (Post-Press) อีกทัง้ แรงงานทีอ่ ยูใ่ นอุตสาหกรรมเป็นแรงงานทีม่ ฝี มี อื ท�ำให้คุณภาพสิ่งพิมพ์ของประเทศไทยได้รับการยอมรับในตลาด โลก ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยได้รับรางวัลการประกวดสิ่งพิมพ์ ในระดับนานาชาติติดต่อกันต่อเนื่องหลายสิบปีที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของอุตสาหกรรมการพิมพ์ของประเทศไทยเป็น อย่างยิ่ง ท�ำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ส�ำคัญ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Printing and Packaging Hub) อย่างไรก็ดีตลอดปีที่ผ่านมานั้น อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ต้อง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในเรื่อง Digital Disruption การเผชิญกับภาวะสงครามนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา กับจีน และภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อ Corona Virus หรือ Covid-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย ที่ ไ ม่ อ าจหลี ก เลี่ ย งได้ เปรี ย บเสมื อ นคลื่ น สึ น ามิ ที่ ถ าโถมเข้ า ใส่ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างไม่ทันตั้งตัว เกิดผลกระทบต่อ Eco-system ทั้งระบบท�ำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนและ สังคมเปลี่ยนแปลงไป

33

2. เหตุจ�ำเป็นสู่การปรับตัวของผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรม

การที่ภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นระดับ SMEs หรือธุรกิจขนาดใหญ่ใน ประเทศไทย ต้องเผชิญกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน Lock Down ของประเทศอันเนือ่ งมาจากแพร่ระบาดของ Covid นัน้ ส่งผลกระทบ ต่อการด�ำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่กเ็ ป็นมาตรการทีม่ คี วามจ�ำเป็น เพื่อให้ประชาชนในประเทศมีความปลอดภัย ในชีวิตและสุขภาพ สูงสุด ทุกคนต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ท�ำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง ไปสู่ฐานวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ไม่ว่าจะเป็นการ ท�ำงาน Work From Home จากที่บ้าน การประชุม การเรียน หนั ง สื อ ผ่ า นระบบ Online การสั่ ง อาหาร Food Delivery การซื้อสินค้าผ่านระบบ E-Commerce แทนการไปซื้อที่ร้านค้า ด้วยเหตุแห่งการเปลีย่ นแปลงทีก่ ล่าวมาแล้วนัน้ ผูป้ ระกอบการทีอ่ ยู่ ในอุตสาหกรรมและภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ หมดไม่วา่ จะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคการศึกษา มีความจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ ปรับ กระบวนทัศน์ และปรับธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ยังคงด�ำเนินต่อไปได้อย่าง มั่นคงและยั่งยืนต่อไปอนาคต 3. ประเด็นความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ในอนาคตของประชาชนมีผลกระทบต่อธุรกิจ

ภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid นี้ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อการเปลี่ยนครั้งใหญ่ ต่อภาคธุรกิจการค้าและการบริการ รายได้ครัวเรือน พฤติกรรม การใช้จ่าย กิจกรรม ไลฟ์สไตล์ และยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ผู้คน ในสังคมยังเกิดความวิตกกังวลสูงสุดอยู่ ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีน ที่จะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid ได้

รูปที่ 2 ผลส�ำรวจเกี่ยวกับประเด็นความวิตกกังวล ในวิถีชีวิตต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

รูปที่ 1 Covid-19 ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

จากภาพจะเห็นว่า กลุม่ ตัวอย่างจ�ำนวน 20,006 คน ใน 27 ประเทศ ทั่วโลก มีความวิตกกังวลในการด�ำรงชีวิตระหว่างสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ Covid เป็นอันดับแรกมากถึง 47% เปลีย่ นแปลง ไปจากการส� ำ รวจช่ ว งก่ อ น Covid ซึ่ ง โดยมากผู ้ ค นจะกั ง วล ในประเด็นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงาน ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ปัญหาการเมือง อาชญากรรมและ ความรุนแรง เป็นต้น www.thaiprint.org


34

INTERVIEW

รูปที่ 5 ผลส�ำรวจการใช้จ่ายในสินค้าและบริการชนิดใด เปรียบเทียบก่อนและหลังการแพร่ระบาดรอบ 3 ในภูมภ ิ าคอาเซียน

โดยพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าประเภทต่าง ๆ ของคนไทยเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนด้วยกันยังคงมีความกังวล ต่อรายได้ที่หดหายไประหว่างการแพร่ระบาดของ Covid อยู่มาก จากผลส�ำรวจจะเห็นว่าคนไทยมีการใช้จ่ายส�ำหรับสินค้าประเภท ต่าง ๆ น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และเวียดนาม สืบเนื่อง มาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ Covid นั่นเอง รูปที่ 3 ผลส�ำรวจ ผลกระทบจาก Covid จะเปลี่ยนแแปลงวิถีชีวิตผู้คนอย่างไร

Ipsos ได้เผยผลวิจยั ในเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงในวิถชี วี ติ ความคิดเห็น และพฤติ ก รรมของผู ้ ค นในอาเซี ย น รวมถึ ง คนไทย อั น เป็ น ผล จากการต้องอยู่ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ถึง 3 ระลอก และย�้ำให้เห็นว่า “วัคซีน” ยังเป็นความหวังที่ทุกคนต่างรอคอย Covid ท�ำให้การค้าการตลาดเปลี่ยนแปลง รายได้ครัวเรือน พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์ - กิจกรรมไลฟ์สไตล์ ความกั ง วล และความต้องการการดูแ ลจากรัฐ เปลี่ยนไปดั ง ที่ ไม่เคยเป็นมาก่อน

รูปที่ 6 ผลการศึกษาการบริโภคสินค้าและบริการเปรียบเทียบ แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน

4. ห่วงโซ่มูลค่าโลกโฉมใหม่ หลังการระบาดใหญ่ของ COVID-19

รูปที่ 4 ผลส�ำรวจการเกิดการแพร่ระบาดรอบ 3 ในภูมิภาค อาเซียน จะส่งผลกระทบต่อความกังวลในรายได้ของผู้คน ในแต่ละประเทศมากน้อยเพี ยงใด

สิ่ ง เหล่ า นี้ ย ่ อ มส่ ง ผลกระทบต่ อ ภาวะเศรษฐกิ จ ผู ้ ค นชะลอ การซื้ อ สิ่ ง ของที่ มี มู ล ค่ า สู ง ออกไป ส่ ง ผลกระทบต่ อ ภาคธุ ร กิ จ เรียกได้ว่าเป็นภาวะวิฤตของหลายๆ อุตสาหกรรมที่อยู่ในสภาพ ชะงักงัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้าน อาหาร เสื้อผ้า หรือกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ แต่หากสถานการณ์ Covid คลี่ ค ลายในทางที่ ดี ขึ้ น คาดว่ า ธุ ร กิ จ เหล่ า นี้ จ ะกลั บ มา ขยายตั ว มากขึ้ น เหตุ จ ากอุ ป สงค์ ที่ ถู ก กดทั บ มาตลอดช่ ว งการ แพร่ระบาด THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

รูปที่ 7 การระบาดของ Covid ส่งผลให้ประเทศไทยมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มธุรกิจ

การแพร่ ร ะบาดของ COVID-19 ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การหยุ ด ชะงั ก ในห่วงโซ่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม เป็นแรงผลักดันส�ำคัญให้ ผู ้ ประกอบการพยายามลดความซั บซ้ อ นและลดระยะทางของ แหล่งผลิตให้ใกล้กับประเทศของตนเองมากขึ้น โดยกระจายฐาน


INTERVIEW

การผลิตไปในหลายประเทศที่ใกล้แหล่งผลิตมากขึ้นและอยู่ใน ภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้ห่วงโซ่มูลค่าโลกมีแนวโน้มสั้นลง กระจาย ตัวมากขึ้น และมีความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค (Shorter, more diversified and more regionalized) จากการคาดการณ์ ลักษณะของห่วงโซ่มูลค่าโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2568) ประเมิน ว่าอุตสาหกรรมของไทย จะมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกมากขึ้น จากขีดความสามารถในการแข่งขันทีส่ งู ขึน้ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ การแพร่ระบาด ในครั้งนี้ท�ำให้กระบวนทัศน์จากภาครัฐของประเทศไทยมุ่งเน้น ไปในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตต่อไปในอนาคต ทั้ง Digital Business, Medical Hub และ Smart Logistics การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่เร่งผลักดันตามแผนนโยบายภาครัฐ จะหนุนโอกาสการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งให้ ฟืน้ ตัวเร็วขึน้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega projects) ของภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลือ่ นส�ำคัญของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งของไทย โครงการเขตพัฒนาเศรษฐิกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridors: EEC) พื้นที่ ยุทธศาสตร์หลักที่การลงทุนขนาดใหญ่อีกหลายโครงการก�ำลังจะ เริม่ ก่อสร้างขึน้ เพือ่ หนุนประเทศไทยให้เป็น Smart Logistics Hub ในการขนส่งของอาเซียน จะเหนีย่ วน�ำให้เกิดการการค้าการลงทุนทัง้ ภาคการผลิต เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และ การแพทย์ รวมถึงภาค เศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก E-Commerce และก่อสร้าง อีกด้วย Digital Business ก�ำลังเข้ามาพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมสู่การ ปฏิรูปเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งนอกจากจะเน้นการแข่งขันด้าน การผลิต ตามแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงขนาดใหญ่ของโลก (Global megatrend) ทีก่ ำ� ลังเข้าสูย่ คุ อุตสาหกรรม 4.0 เต็มรูปแบบแล้ว ภาค อุตสาหกรรมยังหันมาเน้นความยัง่ ยืนของห่วงโซ่การผลิตหลังได้รบั ผลกระทบของ COVID-19 โดยเทคโนโลยีหลักทีจ่ ะเข้ามามี บทบาท ต่อภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต เช่น • 5G technology: ระบบบริการบรอดแบนด์ 5G ซึ่งมีกำ� ลังรับ ส่งข้อมูลมากกว่าระบบ 4G ถึง 100 เท่า จะหนุนให้เกิดการปฏิรูป กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยควบคุมการท�ำงานของ เครื่องจักรผ่านระบบข้อมูล Big data เพื่อปรับระดับสต๊อกของ ผลผลิตและวัตถุดิบให้สมดุลได้โดยอัตโนมัติ • The Internet of Things (IoT): IoT devices ก�ำลังมีบทบาท มากขึ้นในการเชื่อมโยงข้อมูลของอุปกรณ์ในชีวิตประจ�ำวันผ่าน ระบบ Sensors ที่ฝังตัวในทุกสิ่ง เช่น การติดตามสัญญาณชีพผู้ ป่วย (Heart monitor transplant) บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Packaging) ทีส่ ามารถตรวจสอบสถานะแหล่งผลิตและการขนส่งได้ (Track and Trace Shipments) ฉลากอัจฉริยะ (Smart Label) ที่ สามารถตรวจสอบอาหารหมดอายุได้ การตรวจอาการสัตว์ในฟาร์ม (Biochip transponder) เซนเซอร์วดั อุณหภูมใิ นโรงเรือน/เพาะช�ำ/ เพาะเลี้ยง เป็นต้น ซึ่งจะเร่งให้ เกิดการแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่

35

สามารถเชื่อมต่อระบบข้อมูล และการปรับตัวในห่วงโซ่อุปทานของ กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ใน เกือบทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ ไฟฟ้า อุปกรณ์ยานยนต์ อาหาร เสื้อผ้า เวชภัณฑ์เป็นต้น • Drone: อากาศยานไร้ ค นขั บ ที่ ค วบคุ ม ได้ จ ากระยะไกล ซึ่ ง ปั จ จุ บั น มี ก ารพั ฒ นาต่ อ ยอดกั บ เทคโนโลยี อื่ น มากขึ้ น เช่ น เซนเซอร์ ระบบดาวเทียม IoT และ AI ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งการ ลดการใช้แรงงาน ลดเวลาในการเข้าส�ำรวจพื้นที่จริงหรือใช้เป็น เครื่องมือประกอบในการประเมินจากภาพที่เห็นเบื้องต้น • Artificial intelligence (AI): การใช้ ป ั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ ถูกใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น Cloud และ IoT เพื่อประมวลผล Big data ส�ำหรับการพัฒนา ระบบจดจ�ำและตัดสินใจในธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ ศูนย์บริการ Call- center ภาคการผลิ ต และบริ ก ารที่ ข าดแคลนแรงงาน การใช้หนุ่ ยนต์และระบบอัตโนมัตมิ าท�ำงานร่วมกับมนุษย์ (Cobot) • Blockchain: ระบบการเก็บและบันทึกข้อมูลแบบกระจาย ฐานข้ อ มู ล (Distributed ledger technology) แทนการ รวมศูนย์ ซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายแบ่งปันข้อมูลกันได้ แต่ จ� ำ กั ด การเข้ า ถึ ง ด้ ว ยการเข้ า รหั ส จึ ง มี ค วามปลอดภั ย สู ง สร้างโอกาสในการท�ำธุรกิจระหว่างกันโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง (Peer-to-peer) โดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงินผ่านการใช้เงิน หรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนการจัดเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ทีต่ อ้ งการความปลอดภัยสูง เช่นฐานข้อมูลแผนทีพ่ นั ธุกรรมทางการ แพทย์ หรือการยืนยันตัวตนผ่านชีวมิติ การตรวจสอบการซื้อขาย และกระบวนย้อนกลับในสินค้าเกษตรที่สร้างความสมมาตรของ ข้อมูล (Systematic information) ในห่วงโซ่อปุ ทานทีม่ ผี ลให้ตน้ ทุน สินค้าเกษตรลดลง เป็นต้น • 3D printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ควบคุมการออกแบบ และผลิตสินค้าด้วยระบบดิจิทัลที่มีต้นทุนต�่ำและมีความรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีลักษณะ ปัจเจกชนนิยม (Individualization) มากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าว อาจ เข้ า มามี บ ทบาทในการปรั บ ตั ว ของห่ ว งโซ่ อุ ป ทานในภาค อุตสาหกรรม รวมถึงการน�ำวัสดุกลับมาใช้เป็นวัสดุในการพิมพ์ ใหม่อีกครั้ง (Recycle bot) อาทิ แฟชั่น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ/อุปกรณ์ และอะไหล่ และการพิมพ์เนื้อเยื่อขนาดเล็ก อวัยวะเทียม Medical Hub จากนโยบายของรัฐบาลทีเ่ ร่งผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพของนานาชาติหรือเมดิคัลฮับ ซึ่งเสริม ศักยภาพบริการทางการแพทย์ไทยนับว่าเป็นเป้าหมายในระดับ ประเทศทีจ่ ะท�ำให้ประเทศไทยมีรายได้ จากกการให้บริการทางการ แพทย์มากขึ้นในอนาคต ปัจจุบันมีสถานพยาบาลเอกชนของไทย จ�ำนวนมากได้ปรับตัว เพือ่ ให้บริการและเจาะตลาดคนไข้ชาวต่างชาติ มากขึน้ ด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก มีความเชีย่ วชาญเฉพาะ ทาง เช่น การศัลยกรรมตกแต่ง การรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสูง การรักษาด้วย Stem cell เป็นต้น กอปรกับการบริการที่ดีเยี่ยม แบบคนไทย กับค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ถูกกว่าประเทศอื่น จึงเป็น www.thaiprint.org


36

INTERVIEW

จุดเด่นที่ประเทศไทยจะต้องรักษาเอาไว้เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ และสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการแข่งขันของธุรกิจ ในอนาคต “เมดิคัลฮับ” ไม่เพียงแต่สร้างรายได้เข้าประเทศซึ่งเป็นหัวใจหลัก เท่านัน้ แต่ยงั เป็นโอกาสทีป่ ระเทศไทยจะเกิดการพัฒนาตนเอง โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในวงการแพทย์ทจี่ ะมีนวัตกรรมทีก่ า้ วหน้ามากขึน้ คน ไทยจะได้รบั ประโยชน์มากทีส่ ดุ ด้วยและเป็นอีกช่องทางหนึง่ ในการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกด้วย จากแนวนโยบายการผลักดันของภาครัฐทั้ง 3 ปัจจัยนี้ จะส่งเสริม ให้เกิดการขยายตัวในภาคธุรกิจการค้ามากขึ้น ผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ต้องวิเคราะห์และหาช่อง ทางในการเชื่อมโยงเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ เพื่อเพิ่ม โอกาสในธุรกิจให้มากขึ้นต่อไปในอนาคต

การจัดงานหนังสือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ งานหนังสือส่วนภูมิภาค ก็ยังคงมีความส�ำคัญอยู่เพราะยังมีผู้อ่าน อีกจ�ำนวนไม่น้อยที่ยังชอบอ่านหนังสือเล่มที่จับต้องได้มาเลือกซื้อ หนังสือ ดูนิทรรศการ รวมถึงพบปะพูดคุยกับนักเขียนที่ตนเองชื่น ชอบ สิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งท้าทายที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วม มือกัน เร่งผลักดันนโยบายสังคมแห่งการเรียนรู้ รณรงค์การสร้าง วัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพของ คนไทยซึ่งเป็นต้นทุนส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ

5. สถานการณ์อุตสาหกรรมการพิ มพ์ และบรรจุภัณฑ์ไทย

ส�ำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์นั้น ต่างก็ได้รับผลก ระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่างสภาวการณ์แพร่ระบาดของ Covid โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือพิมพ์และนิตยสารนั้น ได้รับผลกระทบมาก่อนหน้านี้จาก Digital Disruption พฤติกรรม การบริโภคสื่อของประชาชนเปลี่ยนไปอ่านจาก Digital Media ที่ มีเนื้อหาสด ใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากใช้เวลาและต้นทุนใน กระบวนการผลิตน้อยกว่า ท�ำให้งบประมาณในการโฆษณาของสิ่ง พิมพ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสินค้าต่าง ๆ หันไปลงโฆษณาในสื่อ ดิจิทัลมากขึ้น จึงเห็นได้ว่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารมีการปิดตัวลง ไปเป็นจ�ำนวนมาก

รูปที่ 8 เปรียบเทียบยอดค่าโฆษณาในสื่อแต่ละประเภท ตั้งแต่ปี 2016-2021

ส�ำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ปัจจุบันภาพรวมตลาดหนังสือ ไทยไม่ได้เติบโตขึ้นมากนัก ขณะที่ภาพรวมตลาดหนังสือทั่วโลกอยู่ ในสภาวะทรงตัว เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอการเติบโต จากภาวะ Covid ผู้บริโภคระมัดระวัง และลดการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่ จ�ำเป็นลง ผูป้ ระกอบการจึงปรับตัวน�ำระบบดิจทิ ลั เข้ามาเป็นอีกหนึง่ Platform ทางเลือก เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-book เพื่อ ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการอ่านของผูอ้ า่ นยุคใหม่ซงึ่ เกิดมาในยุค ดิจทิ ลั (Digital Native) คุน้ ชินกับการอ่านบนอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ โดยสามารถเลือกซือ้ หนังสือผ่านช่องทางการขาย Online ไม่ ว่าจะเป็น ThaiBookFair.com, Ookbee.com, Mebmarket.com ในขณะเดียวกันการขายผ่านช่องทางตามหน้าร้านขายหนังสือ และ THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

รูปที่ 9 กราฟเปรียบเทียบผลผลิตในแต่ละอุตสาหกรรม ระหว่างช่วงการแพร่ระบาด Covid

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุ ภัณฑ์ได้ปรับตัวไปสู่ platform การสื่อสารออนไลน์กับลูกค้ามาก ขึน้ โดยเราจะเห็นการโพสต์ขายสินค้าบริการสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ ผ่าน Social Media เช่น Facebook Instagram อีกทั้งมีการปรับ รูปแบบ Website เพือ่ น�ำเสนอการขายไปยังผูซ้ อื้ ในรูปแบบใหม่ผา่ น ระบบ E-Commerce เพิ่มมากขึ้น การพัฒนารูปแบบโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า เช่น บรรจุภัณฑ์สำ� เร็จรูป Food Delivery แบบ Single Use ที่มี ยอดการเติบโตสูงขึน้ อย่างมีนยั ส�ำคัญ กล่องบรรจุภณ ั ฑ์เวชภัณฑ์กม็ ี ยอดเติบโตตามการใช้งานในช่วงนี้ เช่นกล่องใส่ Face Mask กล่องใส่ ถุงมือยาง กล่องบรรจุวัคซีน ดังนั้นแม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะ การแพร่ระบาดของ Covid อยู่บ้าง แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ทั้งระบบ ก็ปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบ กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ดังภาพประกอบ 6. อนาคตอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และบรรจุภณ ั ฑ์ไทย

ในขณะที่มีการแพร่ระบาดของ Covid สิ่งพิมพ์บางประเภทกลับ ได้รบั อานิสงค์มยี อดสัง่ ซือ้ เพิม่ ขึน้ เช่น ฉลาก บรรจุภณ ั ฑ์อาหาร และ กล่องลูกฟูก เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดในประเทศที่มียอด การบริโภคสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์แบบ Delivery เพิม่ ขึน้ อีกทัง้ ประเทศไทยเป็นแหล่งส่งออกอาหารส�ำเร็จรูปทีส่ ำ� คัญ จึง มีประเทศที่สถานการณ์ Covid-19 ยังระบาดรุนแรง สั่งซื้ออาหาร กระป๋อง อาหารส�ำเร็จรูปเข้ามาเป็นจ�ำนวนมากท�ำให้ตลาดการพิมพ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยเติบโตขึ้นตามไปด้วย


INTERVIEW

รูปที่ 10 แนวโน้มอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และบรรจุภัณฑ์ไทยในอนาคต

โดยแนวโน้มประเภทของสิง่ พิมพ์ทจี่ ะมีการเติบโตต่อไปในอนาคตจะ เป็นสิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ประเภทกล่องกระดาษลูกฟูก บรรจุภณ ั ฑ์ ต่าง ๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหารส�ำเร็จรูป Flexible Packaging ฉลากสินค้า Label ต่าง ๆ ดังกราฟในภาพ ส�ำหรับรูปแบบระบบการพิมพ์ ในประเทศไทย ระบบ Sheetfed Offset และ Web Offset ยังได้รบั ความนิยมโดยยังครองส่วนแบ่งการใช้งานสูงสุด เนือ่ งจากเมือ่ พิจารณา ในแง่ของ Economy of scale แล้วถ้าผลิตในจ�ำนวนมากจะมี ต้นทุนที่ประหยัดกว่าระบบอื่น แต่ในขณะเดียวกันระบบการพิมพ์ ดิจิทัลทั้ง Inkjet และ Electrophograhy Toner ด้วยเทคโนโลยี ทีไ่ ม่ตอ้ งใช้แม่พมิ พ์ และสามารถพิมพ์ขอ้ มูลแปรผันได้ (Customize and Personalize Data Printing) ก็มอี ตั ราการเติบโตสูงขึน้ เช่นกัน

37

ปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การค�ำนึงถึง Customer Centric การผลิตเพือ่ ตอบสนองอุปสงค์ของตลาดให้ทนั ความต้องการ การเพิ่มช่องทางการขายผ่านระบบ E-Commerce ที่จะไม่ได้ค้าขายแค่ผู้ซื้อที่อยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ ต้องสามารถซื้อขายได้กับคนทั่วโลก การน�ำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ระบบ Automation Industry 4.0 มาใช้ในธุรกิจมากขึน้ เช่น Digital Printing, Smart Packaging, Smart Logistics รวมถึงการบูรณาการกับ Digital Transformation Platform การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการท�ำงาน ภายในองค์กรให้มีความคล่องตัว ลดการท�ำงานที่ซ�้ำซ้อน และ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนา ความร่วมมือกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนส่งเสริมให้เกิด ความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มธุรกิจ Cluster ต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ที่จะเปลี่ยนแปลงภาค การผลิตและการบริโภคจากรูปแบบเดิม ๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

7. บทสรุป

ในอนาคตอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ยังคงเผชิญหน้า กับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมผู้ บริโภคทีเ่ ป็นคนรุน่ ใหม่ ซึง่ เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั คนเหล่า นี้ย่อมมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต การอ่าน การบริโภค การซื้อสิ่งของ เปลีย่ นแปลงไปจากคนรุน่ เดิม การให้ความส�ำคัญกับสิง่ แวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) ของรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ท�ำให้รูปแบบของวัสดุ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ต้องเปลี่ยนแปลงไป

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030 รูปที่ 12 แรงขับเคลื่อนที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการพิ มพ์ และบรรจุภัณฑ์ในอนาคต

ท่ามกลางวิกฤตจากสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป อุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยยังคงปรับตัว และด�ำเนิน ต่อไปอย่างเข้มแข็ง ด้วยความร่วมมือจากผูป้ ระกอบการในอุตสาหกรรม ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาคมการค้า สภาอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งที่จะผลิตทรัพยากร บุ ค คลอั น ทรงคุ ณ ค่ า ด้ ว ยนวั ต กรรมทางการศึ ก ษา ความคิ ด สร้างสรรค์ และความเป็นผู้ประกอบการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เพือ่ สร้างสรรค์ให้อตุ สาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ยงั คงด�ำเนิน อยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต เอกสารอ้างอิง [1] A Disrupted Year in Perspective © Ipsos | Ipsos Global Trends: beyond the pandemic | November 2020 https://www.ipsos.com/sites/default/files/cp/about_us/documents/2020-12/a_disrupted_year_in_ perspective_ipsos_webinar_dec_3_2020.pdf

Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print to 2030 ่ ง รูปที่ 11 ปัจจัยทีส ่ ผลกระทบต่อความต้องการสิง ่ พิ มพ์ ในอนาคต

แม้แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งเป็นปัจจัยที่ เกิดขึ้นนอกเหนือความควบคุมและไม่คาดคิดมาก่อน อาจมีการ กลายพั น ธ์ แ ละเกิ ด การระบาดระลอกใหม่ ขึ้ น มาอี ก เมื่ อ ไรก็ ไ ด้ ในอนาคตประเทศทีส่ ามารถพึง่ พาตนเองได้โดยอาศัยปัจจัยการผลิต ภายในประเทศ Local Economy ทั้งระบบ จะสามารถยืนหยัด ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับภาวะความไม่แน่นอนในอนาคตได้ ต่อจากนี้ทิศทางของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ต้อง

[2] GLOBAL PREDICTIONS FOR 2021 © Ipsos | Why they might be wrong & other perils of perception Document produced by Ipsos for the World Economic Forum Davos 21 virtual meeting January 2021 https://www.ipsos.com/sites/default/files/ct/news/documents/2021-01/perils-and-predictions-ipsos-wef.pdf [3] Press Release : LIVING THROUGH PANDEMIC COVID19 IMPACT ON SEA ECONOMY AND Consumer SPENDING © Ipsos | 16 March 2021 https://www.ipsos.com/sites/default/files/ct/news/documents/2021-04/Press%20Release%20-%20Living%20 in%20Crisis_%20Q1%20SEA%20Outlook.pdf [4] Living with Covid-19 © Ipsos | Evolving opinions and behaviour (Study conducted 4th-15nd February 2021) https://www.ipsos.com/sites/default/files/cp/about_us/documents/2021-03/sea_covid_tracking_wave_3_ report_15032021.pdf [5] Krungsri Reserch Industry Horizon January 2021 https://www.krungsri.com/getmedia/1ed19fc1-8708-456c-8f41-8b0ab9dd79b6/IH_Industry_ Outlook_2021_2023_210115_EN.pdf.aspx [6] Thailand Media Spending : Nielsen Advertising Information Service https://www.mbamagazine.net/index.php/business/marketing/item/2987-nielsen-media-spending-2021 [7] Krungsri Reserch Industry Horizon October 2020 https://www.krungsri.com/bank/getmedia/938f8a5b-405a-4535-9975-25ba67b45e8b/IH_Industry_ Horizon_201012_EN.aspx [8] Future Outlook & Growth Opportunities in Global Printing © Smithers Information Ltd 2019 [9] Smithers’ latest leading industry report, The Future of Print in a Post Covid World https://www.smithers.com/resources/2020/dec/infographic-future-of-print-in-post-covid-world

www.thaiprint.org



110742 Thaiprint#114_Cs6_pc3.indd 44

8/9/2560 2:47:57


40 KNOWLEDGE

การลดต้นทุนเชิงวิศวกรรม ส�ำหรับอุตสาหกรรมการพิ มพ์ และแพคเกจจิง ้ ตอนที่ 7

(Engineering cost reduction For the printing and packaging industry, part 7) วิรัช เดชาสิริสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบโรงงานอัตโนมัติและการลดต้นทุนในโรงงานและขบวนการผลิต wirach.ton@gmail.com

ในเนื้อหาฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงการดูแลรักษาระบบนิวเมติก และระบบไฮโดรลิค (Pneumatic and Hydraulic Preventive Maintenance Systems) ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่ในโรงพิมพ์ โรงงานต่าง ๆ ซึ่ ง เนื้ อ หาได้ อ ธิ บ ายถึ ง การดู แ ลรั ก ษา ชุ ด ปั ๊ ม ลม (Air Compressor), ชุดท�ำลมแห้ง (Air Dryer), ชุดกรองลมหลัก (Main Line Air Filter), และถังพักลม (Air Storage / Receiver Tank) ซึง่ อุปกรณ์ทงั้ หมดทีก่ ล่าวมานี้ ถ้าเป็นโรงงาน โรงพิมพ์ ขนาดใหญ่ หรือมีการติดตัง้ แบบได้มาตรฐาน จะมีหอ้ งแยกต่างหากออกมา จากไลน์ผลิต หรือจากเครื่องจักร เครื่องพิมพ์ และต่อท่อลมไป หาเครื่องจักร เครื่องพิมพ์ ส�ำหรับโรงงาน โรงพิมพ์ขนาดเล็ก ที่ค่อย ๆ เพิ่มเครื่องจักร หรือขยายขนาดออกไปเรื่อย ๆ อาจมี ใช้ปั๊มลมขนาดเล็กติดตั้งไว้ข้างเครื่องจักรก็มี ในเนือ้ หาฉบับนีจ้ ะกล่าวถึงการดูแลรักษา ท่อเมนลม ท่อลมย่อย ทีต่ อ่ จากถังพักลมและเมนลมเพือ่ เข้าใช้งานทีเ่ ครือ่ งจักร รวมถึง อุปกรณ์ทใี่ ช้ลมทีต่ ดิ ตัง้ และใช้งานอยูใ่ นเครือ่ งจักร เช่น ชุดกรอง ลม ชุดปรับแรงดันลม ชุดหล่อลืน่ ระบบลม (FRL Combination Unit), วาล์ ว ควมคุ ม ด้ ว ยไฟฟ้ า หรื อ เปลี่ ย นทิ ศ ทางลม ( Solenoid valve), วาล์วควบคุมด้วยมือ (Mechanical Valve), วาล์วเท้าเหยียบ (Foot Valve),กระบอกลม (Air Cylinder), มอเตอร์ลม (Air Motor),เช็ควาล์ว (Check Valve), ชุดลดเสียง ลม (Air silencer), ท่อหรือสายลม (Air Tube), ข้อต่อท่อลม (Air Fitting), ยางดูดสูญญากาศพร้อมอุปกรณ์ (Suction Cup and Accessories) และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส�ำหรับการดูแลรักษา อุปกรณ์ตวั ที่ 1. ท่อเมนลม ซึง่ ท่อเมนลมนี้ ได้อธิบายในรายละเอียดต่าง ๆ ในฉบับที่ 122 ไว้มากแล้ว ซึ่งท่อเมนลมในส่วนนั้นเป็นท่อเมนลมที่ติดตั้งอยู่ในร่มหรือ ภายในอาคาร THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

รูปแสดงท่อเมนลมที่ติดตั้งภายในอาคารหรือในร่ม

ส� ำ หรั บ ท่ อ เมนลมที่ ติ ด ตั้ ง อยู ่ ใ นร่ ม หรื อ ภายในอาคารมี ข ้ อ แนะน�ำให้ต้องดูแลดังนี้: 1. ตรวจเช็ครอยรัว่ ตามข้อต่ออยูเ่ ป็นประจ�ำ เพราะถ้าลมรัว่ จะ เกิดการสูญเสียค่าไฟฟ้าตามมาหรือแรงดันของลมจะตกลง 2. บริเวณจุดที่ติดตั้งชุดระบายน�ำ้ แบบอัตโนมัติ (Auto Drain) ในท่อเมนลมต้องตรวจเช็คอยูเ่ ป็นประจ�ำ เพราะถ้าชุดระบาย น�้ำอัตโนมัติช�ำรุด หรือเกิดการอุดตันจะท�ำให้มีน�้ำขังอยู่ใน ท่อและติดไปกับลมอัดเข้าไปในเครื่องจักร จะท�ำให้อุปกรณ์ ที่ใช้ลมท�ำงาน ท�ำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะท�ำให้ เครื่องจักรผลิตงานออกมามีคุณภาพที่ไม่ดี และน�้ำที่ขังอยู่ ในท่อ จะท�ำให้ผนังท่อที่เป็นโลหะเกิดสนิมและผุกร่อนได้

รูปแสดงชุดระบายน�้ำอัตโนมัติ (Auto Drain) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดกรองบริเวณท่อเมนลม


KNOWLEDGE

ส�ำหรับท่อเมนลมที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ตากแดด ตากลม ต้องดูแลดังนี้: 1. ต้องหมั่นตรวจสอบการรั่วบริเวณข้อต่อ หน้าแปลน เกลียว ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน

41

Valve และ Solenoid Valve,หล่อลื่นชุดกระบอกลม (Air Cylinder),หล่อลืน่ มอเตอร์ลม (Air Motor) และอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ที่ต้องการการหล่อลื่น

2. ต้องตรวจสอบชุดระบายน�ำ้ อัตโนมัติ (ถ้ามี) อยู่เป็นประจ�ำ 3. ต้องตรวจสอบสีที่ใช้ทาท่อว่าช�ำรุดหรือไม่ ถ้าสีช�ำรุดต้อง ทาสีใหม่เพื่อป้องกันสนิม ส่วนท่อที่ชุบกัลวาไนซ์มา ต้อง ตรวจสอบว่าผิวท่อที่ผ่านการชุบมาสภาพยังดีอยู่หรือไม่ ถ้าสภาพเริ่มมีสนิมควรทาสีทับ รูปแสดงชุดกรองลม ปรับแรงดันลมและหล่อลื่นระบบลม (Filter Regulator Lubricator/FRL Unit) ท่อเมนลม

ท่อลมที่อยู่ภายนอกอาคารที่เกิดสนิม

4. ท่อเมนลมที่อยู่นอกอาคาร ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่และ ต้องการให้ผวิ ท่อด้านนอกไม่เกิดสนิมและไม่เกิดการกลัน่ ตัว ของลมที่ท�ำให้เกิดน�้ำภายในท่อ จะใช้ฉนวนหุ้มท่อและใช้ แผ่นอลูมิเนียมหรือสแตนเลสหุ้มทับอีกชั้นหนึ่ง ก็สามารถ แก้ปัญหาเหล่านี้ได้

่ ยูภ ่ รี ะยะทางไกล ตากแดดและฝน ท่อเมนส่งลมทีอ ่ ายนอกอาคารทีม ่ นิยมหุม ้ ฉนวนและใช้อลูมเิ นียมหรือสแตนเลสหุม ้ ทับอีกชัน ้ หนึง

ส�ำหรับอุปกรณ์ที่จะอธิบายต่อไปคือ 2.ชุดกรองลม ปรับแรง ดั น ลมและชุ ด หล่ อ ลื่ น ระบบลม (Filter Regalator Lubricator / FRL) ซึง่ อุปกรณ์ชดุ นีจ้ ะถูกติดตัง้ ในเครือ่ งจักรที่ มีการใช้ลมอัดส�ำหรับอุปกรณ์นวิ เมติกทุกเครือ่ ง ซึง่ อุปกรณ์ชดุ นี้ ท�ำหน้าทีก่ รองลมอัด ระบายน�ำ้ ทีต่ ดิ มากับลมอัด ปรับแรงดันลม ให้ได้แรงดันตามทีเ่ ครือ่ งจักรต้องการ และช่วยปล่อยน�ำ้ มันหล่อ ลื่นให้ติดไปกับลมอัดไปหล่อลื่นชุดวาล์วลม ทั้งแบบ Manual

เครื่องจักร รูปแสดงการติดตั้งชุด Filter. Regulator .Lubricator

ส�ำหรับในอุปกรณ์ทตี่ อ้ งใช้ลมอัดทีป่ ราศจากน�ำ้ มันหล่อลืน่ ต้องใส่ หรือติดตั้งชุดกรองลมและปรับแรงดันลมเท่านั้นโดยไม่ต้องมี ชุดหล่อลื่น

่ รูปแสดง ชุดกรองลมอัด และปรับแรงดันลมอัดทีไ่ ม่มช ี ด ุ หล่อลืน

ส�ำหรับการดูแลรักษาชุดกรองลม ปรับแรงดันลมและหล่อลื่น ระบบลมมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้: 1. ในชุดกรองลม หมั่นสังเกตุดูด้านล่างของกระเปาะว่ามีน�้ำ ขังอยู่หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าชุดระบายน�้ำอัตโนมัติ (Auto Drain) อุดตันหรือช�ำรุดต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไข ถ้าไม่เช่น นั้นจะมีน�้ำปนไปกับลมและท�ำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ลมอัด ในเครื่องจักรช�ำรุดหรือท�ำงานได้ไม่สมบูรณ์ www.thaiprint.org


42 KNOWLEDGE

รูปซ้ายมือชุดระบายน�้ำอัตโนมัติท�ำงานสมบูรณ์ดีไม่มีน�้ำขังอยู่ที่ ก้นกระเปาะ ส่วนรูปด้านขวามือชุดระบายน�้ำอัตโนมัติช�ำรุดหรือ อุดตัน น�้ำจึงระบายออกไม่ได้จึงมีน�้ำขังอยู่

2. ตรวจเช็คชุดปรับแรงดันลมเป็นระยะว่ายังท�ำงานเป็นปกติ หรือไม่ โดยปรับหมุนทีช่ ดุ ปรับแรงดันลมและสังเกตดูวา่ เข็ม ที่ Pressure Gauge เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลง ถือว่าปกติ แต่ถา้ เข็มชีน้ งิ่ ไม่เปลีย่ นแปลงแสดงว่าชุดปรับแรง ดันลมช�ำรุด ลองเอาชุดใหม่มาเปลี่ยนดู ถ้าปรับแล้วเข็มชี้มี การเปลีย่ นแปลงแสดงว่าชุดเก่าช�ำรุดแล้วก็เปลีย่ นใช้ชดุ ใหม่ 3. ชุดหล่อลืน่ ต้องหมัน่ ตรวจเช็คระดับน�ำ้ มันอยูเ่ ป็นประจ�ำ อย่า ให้ระดับน�้ำมันอยู่ต�่ำกว่าระดับที่ก�ำหนด ถ้าเห็นว่าระดับ เหลือต�่ำมากแล้วก็เติมน�้ำมันให้อยู่ระดับสูงสุดที่ก�ำหนด เพราะถ้าน�้ำมันในกระเปาะของชุดหล่อลื่นหมดไปนานโดย ไม่ได้เติมน�้ำมันใหม่เข้าไป จะท�ำให้อุปกรณ์ที่ต้องการหล่อ ลื่นช�ำรุดเสียหายได้ เช่น วาล์วลม กระบอกลม มอเตอร์ลม และอุปกรณ์ลมอื่น ๆ ที่ต้องการการหล่อลื่น

รูปแสดงเครื่องหมาย บอกระดับน�้ำมันหล่อลื่น ของชุดหล่อลื่นระบบลม สูงสุดและต�่ำสุด

4. ต้ อ งคอยหมั่ น ตรวจเช็ ค การรั่ ว ไหลของลมอั ด บริ เวณชุ ด กรองลม ปรับแรงดันลมและหล่อลืน่ ระบบลมอยูเ่ ป็นประจ�ำ เพราะว่าถ้าลมรัว่ ไหลมากก็จะท�ำให้เสียค่าไฟฟ้าในการผลิตลม หรือการท�ำงานของเครื่องจักรจะติดขัดได้ และลมที่รั่วไหล ออกมาจะพาน�้ำ หรือน�้ำมันหล่อลื่นออกมาภายนอกด้วย จะท�ำให้บริเวณท�ำงานหรือเครือ่ งจักรบริเวณนัน้ สกปรกหรือ อาจท�ำให้สนิ ค้าหรือวัตถุดบิ ช�ำรุดหรือเสียหายได้ ถ้าตรวจพบ ก็ท�ำการแก้ไขซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่ชุดซ่อมให้เรียบร้อย THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

รูปแสดงที่มีลูกศรชี้คือบริเวณที่พบการรั่วไหลของลมอัดในชุด กรองลม ปรับแรงดันลมและหล่อลื่นลมอัดบ่อยที่สุด ถ้าตรวจพบก็ซ่อมให้มีสภาพที่ดีเหมือนเดิม

ส�ำหรับอุปกรณ์ตวั ต่อไปทีจ่ ะอธิบายคือ 3. วาล์วควมคุมลมอัด ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหน้าที่คล้าย ๆ กันคือ ควบคุมลมอัดว่าจะให้ลมอัดไปท�ำอะไร เช่นไปเข้ากระบอกลม มอเตอร์ลม หัวเป่าลม หัวลมดูด รางสไลด์ ชุดแอร์คลัท แอร์ เบรค และอื่นๆอีกหลายอย่าง ส�ำหรับลักษณะของวาล์วที่ใช้งานมีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ 1. วาล์วมือโยก (Manual Valve) 2. วาล์วเท้าเหยียบ (Foot Valve) 3. โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) 4. วาล์วแบบลูกเบี้ยวหรือแขนลูกล้อ (Cam or Roller lever valve)

1. รูปแสดงวาล์วแบบมือโยกและลักษณะการต่อประกอบ เพื่ อการใช้งาน

2. รูปแสดงวาล์วแบบเท้าเหยียบ (Foot Valve) และการต่อประกอบส�ำหรับใช้งาน


KNOWLEDGE 43

การใช้ ง านที่ ย าวนานและช่ ว ยลดการสู ญ เสี ย ต่ า ง ๆ เช่ น ประสิทธิภาพของเครือ่ งจักรโดยรวม ลดลมรัว่ และลดค่าใช้จา่ ย ในการซ่อมแซมและเปลี่ยนกระบอกลมใหม่ และยังช่วยให้ สินค้าที่ถูกผลิตออกมาจากเครื่องจักร เครื่องพิมพ์มีคุณภาพ สูงไปด้วย 3.รูปแสดงโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve)แบบต่างๆ

3.1 รูปแสดงการน�ำโซนอยด์วาล์วไปใช้งานในลักษณะต่างๆ

รูปแสดงกระบอกลม (Air Cylinder ) ในลักษณะต่างๆ

ส�ำหรับการดูแลรักษาเพือ่ ให้วาล์วควบคุมลมอัดมีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานและไม่ชำ� รุดง่ายหรือบ่อยมีข้อแนะน�ำดังนี้: 1. อุปกรณ์วาล์วทุกชนิดต้องการลมที่สะอาดปราศจากน�้ำ ฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมติดมากับลม ถ้าพบปัญหาให้ย้อน ไปหาสาเหตุจากลมที่ถูกส่งมาที่วาล์ว ถ้าพบให้แก้ไข 2. ภายในตั ว วาล์ ว จะมี ชิ้ น ส่ ว นที่ เ คลื่ อ นที่ ไ ด้ ห ลายชิ้ น ส่ ว น และชิ้นส่วนเหล่านั้นต้องการสารหล่อลื่นที่ติดปนมากับลม ด้วยในปริมาณที่พอดี ถ้าขาดไปหรือมามากไปให้ไปดูในชุด หล่อลืน่ ทีป่ ล่อยน�ำ้ มันพร้อมลม ถ้าพบปัญหาให้ทำ� การแก้ไข 3. คอยหมั่ น ตรวจเช็ ค บริ เวณจุ ด ข้ อ ต่ อ (Fitting) ส� ำ หรั บ เสียบต่อสายลม และในตัววาล์วลมเอง ว่ามีลมรั่วหรือไม่ ถ้ า ตรวจพบให้ ซ ่ อ มแซมแก้ ไขหรื อ เปลี่ ย นชิ้ น ส่ ว นหรื อ อุปกรณ์ใหม่ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะท�ำให้สิ้นเปลืองลมอัด และจะเสียค่าไฟฟ้ามากและอาจท�ำให้อุปกรณ์ท�ำงานไม่ได้ หรือติดขัด

ตามรูปแสดงต�ำแหน่งจุดข้อต่อลม (Fitting) ที่ลมรั่วอยู่บ่อยๆ และบริเวณเสื้อของวาล์วลม

อุปกรณ์ตวั ต่อไปทีจ่ ะอธิบายคือ 4. กระบอกลม (Air Cylinder) ส�ำหรับกระบอกลมเป็นอุปกรณ์ของระบบนิวเมติกที่ถูกน�ำ มาใช้ในเครื่องจักร เครื่องพิมพ์ มีเป็นจ�ำนวนมาก ฉะนั้นการ ดูแลรักษาอย่างดีและถูกต้องก็จะช่วยให้กระบอกลมมีอายุ

รูปแสดงการน�ำกระบอกลมไปใช้งานในลักษณะต่างๆ

อ่านต่อฉบับหน้านะครับ ข้อมูลอ้างอิง • ตามประสบการณ์จริงของผู้เขียน เครดิตภาพประกอบ

• https://www.airbestpractices.com/system-assessments/pipingstorage/watts-water-expandsplant-aluminum-piping • https://www.diytrade.com/china/pd/20814209/compressed_air_piping_system_for_atlas_ copco_compressors.html • https://genesis-air.com.my/products/compressed-air-system-rental/ • https://www.advancedpiperepair.com/what-you-should-know-about-clay-sewer-pipe-repair-2/ • https://snappygoat.com/ • https://turkish.alibaba.com/product-detail/wholesale-price-hard-pack-insulation-pipepolyurethane-foam-machine-60613272272.html • https://www.asbipro.nl/wpcproduct/rockwool-flexorock/ • https://www.masterpneumatic.com/filters-regulators-lubricators/combinations-of-filtersregulators-lubricators-and-valves/frl-combinations/sentry-vfdrl10-and-11-modular-1-8-1-4.html • https://inergy.ir/ • https://buypneumatics.in/Products/details/festo-air-filter-regulator-with-manual-drain-modellfr-1-4-d-mini-part-no-159631 • https://ph.parker.com/us/17557/en/p3l-lite-frl-system-air-pressure-filter-regulators-p3le-series • https://www.drapertools.com/product/24326/1-4inch-BSP-Combined-Filter-RegulatorLubricator-Unit-(FRL) • https://www.youtube.com/watch?v=pYmhXupoA5k • https://www.neu-master.com/HV-Manual-Pneumatic-Valve-Hand-Lever-Valve-1-4-Pipe-Size-42-Way-4-3-Way-pd6342528.html • https://langchautomation.en.made-in-china.com/product/XwGTtRVcvArz/China-Hot-Selling-FvSeries-Two-Position-Three-Way-3-2-Air-Pneumatic-Foot-Pedal-Valve.html • http://thai.pneumaticaircylinders.com/sale-9431361-3-2-way-air-operated-solenoid-valve-5v1105v210-12-volt-solenoid-valve.html • https://www.mmthailand.com/products/directional-control-solenoid-valve/ • https://www.horizontechnology.biz/blog/improve-solenoid-response-time-sintering • https://www.packworld.com/machinery/controls-automation/press-release/13361843/balluffmac-valve-mainifold-control • http://www.tns-inter.com/product_detail.php?code=00003 • https://www.smcin.com/content/air-cylinder-jcm • https://www.amazon.com/Mophorn-Pneumatic-Cylinder-Operation-Pressure/dp/B07Q3PM3TJ • http://altaysavunma.com/makinetasarim/makineler/

www.thaiprint.org




46

NEWS

วันการพิ มพ์ ไทย 2564 วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ สุสานโปรแตสแตนท์ ถ.เจริญกรุง

คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช - นายกสมาคมการพิมพ์ไทย และประธานสหพั น ธ์ อุ ต สาหกรรมการพิ ม พ์ คณะมนตรี สหพันธ์ฯ คุณมารชัย กองบุญมา บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด และคุณธาดา เศวตศิลา ประธานมูลนิธิสุสาน โปรเตสแตนท์ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อร�ำลึกถึงคุณูปการ ของหมอบรัดเลย์ผู้บุกเบิกงานพิมพ์ในประเทศไทย เนื่องใน โอกาส “วันการพิมพ์ไทย 2564” วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ สุสานโปรแตสแตนท์ ถ.เจริญกรุง THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

หมอบรัดเลย์ หรือ แดเนียล บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Dan Beach Bradley) เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผูเ้ ริม ่ ต้นการพิ มพ์ อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก


NEWS

47

พิ ธีส่งมอบต�ำแหน่งประธาน สหพั นธ์อุตสาหกรรมการพิ มพ์

วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ สมาคมผู้จัดพิ มพ์ และผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย คุ ณ พงศ์ ธี ร ะ พั ฒ นพี ร ะเดช ในฐานะประธานสหพั น ธ์ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ส่งมอบต�ำแหน่งประธานฯ ให้กับ คุ ณ โชนรั ง สี เฉลิ ม ชั ย กิ จ นายกสมาคมผู ้ จั ด พิ ม พ์ แ ละ ผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งหารือแนวทาง

การด�ำเนินงานของอุตสหกรรมการพิมพ์ไทยในยุคโควิด-19 วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย

www.thaiprint.org


48 INDUSTRIAL

TASKalfa Pro 15000c

ถูกพั ฒนาขึ้นเพื่ อเป็นเครื่องพิ มพ์ ดิจิตัลคุณภาพ พิ มพ์ งานปริมาณสูง เพื่ องานพิ มพ์ เชิงพาณิชย์ Mr. Shinichi Uchida, Inkjet Project Leader TASKalfa Pro 15000c KYOCERA Document Solutions Inc. ้ งหลังและจุดเริม อะไรคือเบือ ้ นี้ ่ ต้นของการพั ฒนาครัง

เราเคยเป็นบริษัทที่ผูกขาดอยู่กับธุรกิจเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในออฟฟิส แต่ในช่วงเวลา ปัจจุบันนี้ ความต้องการลดการใช้กระดาษเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเราจึงมองหาช่องทาง ที่สอง และสามในธุรกิจ โดยการปรับตัวเข้าสู่ตลาดการพิมพ์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ซึ่ง ทีมเทคนิคของเรามีความพร้อมที่จะใช้ประโยชน์กับเครื่องมือและประสบการณ์ ความรู้ของเราได้อย่างเต็มที่ และนี่คือเครื่องพิมพ์ดิจิตัลความเร็วสูง 150 แผ่น A4 ต่อนาที ในการปรับและ พัฒนาระบบ Electrophotography (ระบบเครื่องถ่ายเอกสารสี) ต้องใช้เทคนิค และการลงทุนที่สูง ดังนั้นการน�ำเทคโนโลยีของ Inkjet เข้ามาใช้จึงเป็นทางเลือก ที่ดีกว่าและมีความจ�ำเป็น ในการใช้งานในหลายประเภทงานพิมพ์ ภายใต้สภาวะการณ์ปัจจุบัน เราตระหนักถึงว่าเรามีธุรกิจหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ KYOCERA คือธุรกิจผลิตหัวพิมพ์ Inkjet ซึ่งหัวพิมพ์ Inkjet ของ KYOCERA ได้มกี ารพัฒนามานานแล้ว เราพร้อมทัง้ ความช�ำนาญและประสบการณ์ทางเทคนิค รวมถึงประสบการณ์ในการเลือกใช้กระดาษ และกระบวนการพิมพ์ภาพ อีกหนึ่ง ข้อได้เปรียบของเรา เรามีโรงงานผลิตเครื่องถ่ายเอกสารและผงหมึก Toner ของเราเอง เรามีทีมวิศวกรเคมีที่สามารถคิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยีน�้ำหมึก ด้วยการรวมความช�ำนาญและประสบการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เราจึงตัดสินใจพัฒนาระบบพิมพ์ซงึ่ เรามีความมัน่ ใจว่า มีความเป็นไปได้ทจี่ ะพัฒนา เป็นความก้าวหน้าต่อไปของเทคโนโลยีการพิมพ์ ในกลุม่ ผูท้ ใี่ ช้ปริมาณงานพิมพ์นอ้ ย ทีส่ ดุ ของการพิมพ์เชิงพาณิชย์ มีหลายกลุม่ งานทีม่ งี านผลิตในปริมาณ 80-100 แผ่น ผ่านระบบเครือ่ งถ่ายเอกสาร และถ้ามองในงานปริมาณทีส่ งู ขึน้ ปรากฎว่างานพิมพ์ ที่มีปริมานงานมาก ต้องใช้ระบบการพิมพ์เชิงพาณิชย์ ทั้งกระบวนการผลิตซึ่งต้อง ใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ท�ำให้ตลาดการพิมพ์ถูกแบ่งขั้ว อย่างไรก็ตาม มีชอ่ งว่างระหว่างการพิมพ์ดว้ ยระบบ Electrophotography (ระบบ เครื่องถ่ายเอกสาร) 80-100 แผ่นต่อนาที ที่ก�ำลังจะถูกแทนที่ เป็นความท้าทาย ในพื้นที่ใหม่ที่เรายังไม่ได้เข้าถึง ไปถึงกลุ่มงานพิมพ์ ในระบบผงหมึก ที่มีงานพิมพ์ THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ปริมาณสูง ในกลุม่ นีล้ กู ค้าไม่มตี วั เลือกทีเ่ หมาะสม ผลิตงานพิมพ์อยูบ่ นเครือ่ งพิมพ์ ระบบ Toner ที่ความเร็วในการพิมพ์ช้ากว่า (ผลต่อต้นทุนที่สูง) หรือไปใช้ระบบ Inkjet ที่ต้นทุนหมึกสูง ราคาเครื่องแพง ด้วยเหตุผลนี้ เราเชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องดี ถ้าเราสามารถมอบทางเลือกที่ 3 ให้ได้ ระหว่างระบบการพิมพ์ดจิ ติ ลั พริน้ ท์ แบบ Laser Toner ที่ช้า และต้นทุนต่อแผ่นสูง กับระบบ Inkjet ที่ต้นทุนต่อแผ่นต�่ำ แต่ราคา หมึกและราคาเครื่องสูง ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบ Inkjet ป้อนแผ่นที่มีความเร็ว ในการพิมพ์ 150 แผ่น A4 ต่อนาที กับต้นทุนเครื่องที่สามารถลงทุนได้ ซื้อได้ คุณ Uchida กล่าวว่าในการพัฒนาสินค้า ช่วงแรกคือท�ำความเข้าใจกับข้อจ�ำกัด และความต้องการของลูกค้า งานครั้งนี้เป็นความท้าทายที่จะเข้าสู่ตลาดการพิมพ์ เชิงพาณิชย์ (commercial printing market) โดยที่เราไม่รู้จักลูกค้าและ เราไม่รู้ตลาด ภายในสถานการณ์แบบนี้ เราตัดสินใจเดินหน้าเข้าสู่การปรับปรุง เชิงพัฒนาการ พิจารณาบนความต้องการพื้นฐานของลูกค้า เราจึงได้เยี่ยมเยียนและแวะเวียนไปหาลูกค้าโรงพิมพ์ต่าง ๆ โดยที่เราไม่ได้รู้จัก เขามาก่อน เราจะพัฒนาสินค้าที่มุ่งเน้นความต้องการและความรู้ ความเข้าใจ ของลูกค้าเป็นหลัก เราพยายามที่จะเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ทางการพิมพ์ที่โรงพิมพ์ เหล่านี้เผชิญปัญหาอยู่ เราไม่รู้จักกระบวนการผลิตต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ของลูกค้า ดังนัน้ เหล่านีค้ อื ทุก ๆ ขัน้ ตอนทีจ่ ำ� เป็น ทีเ่ ราต้องเรียนรู้ เราด�ำเนินการต่อในแต่ละ ขั้นตอน ของการพัฒนาสินค้าโดยฟังสียงฟังค�ำของลูกค้า เพื่อเป็นการตรวจสอบ ตัวเราเอง ว่าการเดินหน้าพัฒนาสินค้าเราไปถูกทิศทางหรือไม่ เราตัดสินใจที่จะ น�ำเครื่องพิมพ์ของเราไปติดตั้งที่ลูกค้า ขอให้ลูกค้าใช้งานเครื่องเรา และบอกเรา แนะน�ำเราว่าใช้งานแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เกิดประโยชน์อย่างไร ท�ำงาน ท�ำหน้าที่ ต่างๆได้หรือไม่ได้อย่างไร ในระหว่างการปฏิบัติงาน จุดดี จุดด้อยต่าง ๆ ค่อย ๆ ปรากฎขึ้นระหว่างการใช้ งานจริง เราจึงได้รบั รู้ เรียนรูจ้ ากลูกค้าและน�ำไปปรับ น�ำไปแจ้งทีมงานเพือ่ ปรับปรุง พัฒนาสินค้าเราอย่างต่อเนื่อง


INDUSTRIAL 49 เครือ่ ง TASKalfa Pro15000c เป็นเครือ่ งพิมพ์กำ� ลังผลิตสูง ดังนัน้ เราจึงต้องการ เสริมศักยภาพทางการผลิต เรือ่ งแรกเลยคือท�ำให้เครือ่ ง พิมพ์ได้ความเร็วที่ 150 แผ่น A4 ต่อนาที ซึ่งเป็นสิ่งที่เราวางแผนไว้แล้วตั้งแต่ต้น และเพื่อความต่อเนื่องใน การพิมพ์ปริมาณสูง เราตัง้ เป้าทีจ่ ะรักษาความเร็วในการพิมพ์แบบต่อเนือ่ ง ภายใน หนึ่งชั่วโมงให้ได้ถึง 9,000 แผ่น A4 ต่อชั่วโมง เรื่องนี้เป็นกระบวนการที่ยากมาก แต่เราทุ่มเทและพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและประสบผลส�ำเร็จ เราเริม่ ท�ำในสิง่ ทีเ่ ราไม่เคยเรียนรูม้ าก่อน มันไม่งา่ ยเลยทีจ่ ะเข้าใจ การคิดค้นพัฒนา โครงการนี้ช้าลงไป 1 ปี ผมรู้ได้เลยว่าฝ่ายขายของบริษัทค่อนข้างจะไม่มั่นใจ และ สงสัย เพราะเขาได้เตรียมงานทางการขายไว้ แต่สิ่งที่ได้รับคือการรอคอย เรากลับ ไม่สามารถแจ้งข่าวดีและส่งมอบสินค้าได้ เป็นเวลาช้ากว่าก�ำหนดไปอีกหลายเดือน ผมรู้สึกเสียใจมากกับเรื่องนี้ เรื่องใหญ่ที่สุดในการจัดการคือเราต้องเปลี่ยนหมึกใหม่ ในขั้นตอนท้ายสุดของ กระบวนการพัฒนาสินค้านี้ ซึ่งใช้เวลานานไปอีก 6 เดือน สิ่งนี้เป็นเรื่องของการ ตัดสินใจที่ยากมาก ทั้งๆที่รู้ว่าเราต้องยอมรับกับกระบวนการผลิตที่ช้าไปอีกครึ่งปี เราตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อ เมื่อจะต้องเปลี่ยนบางอย่าง ฝ่ายวิศวพัฒนาของเรา เริ่มรู้สึกว่าเครื่องพิมพ์นี้อาจจะไม่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งหลายได้ ไม่ว่าเราจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ในสถานการณ์ขณะนั้นสิ่งที่ส�ำคัญ ที่สุดคือ ผู้น�ำโครงการต้องตัดสินใจครั้งส�ำคัญด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ เพื่อให้ โครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ผมพูดกับตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ผมอยากท�ำให้เครื่องพิมพ์ตัวนี้พิมพ์ได้เร็วมาก ที่สุดเท่าที่จะพิมพ์ได้ เพื่อที่เราสามารถตอบสนองความต้องการของทุก ๆ ฝ่ายได้ เครื่องพิมพ์เครื่องนี้สามารถช่วยทุกคนได้แน่นอน นี่คือ Keyword ส�ำหรับสมาชิก ที่ร่วมงานในโครงการนี้ เราได้ติดตั้งเครื่องพิมพ์เพื่อใช้งานจริงที่โรงพิมพ์ของลูกค้า (On-site beta test) เราเปิดใจรับฟังทุกเสียง ทุกค�ำแนะน�ำของลูกค้า และส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังทีม วิศวกรพัฒนาของเรา กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาอีก 6 เดือน ในการวิเคราะห์ ปรับปรุงตามค�ำแนะน�ำของลูกค้า มีผลต่อการปรับแก้และเวลาที่ต้องเลื่อนออก ไปก่อนทีเ่ ครือ่ งพิมพ์จะสามารถส่งออกไปเปิดตัววางขายได้ ผมเชือ่ ว่ากระบวนการ ทัง้ หมดนี้ แม้จะสร้างความล่าช้า แต่กน็ ำ� เราไปสูส่ ถานการณ์ทดี่ ขี นึ้ มาก เราสามารถ รักษาความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับมายาวนาน โดยการรับฟังเสียง และค�ำแนะน�ำจากผู้ใช้งาน และน�ำไปแก้ไข้ปรับปรุง ผมเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้เป็นเรื่อง ส�ำคัญที่ผมมองข้ามไม่ได้ คุณ Uchida กล่าวว่า ด้วยการตัดสินใจครัง้ หลังสุดนี้ ท�ำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ผลทีด่ ี และเขามีความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ดีนี้ คุณภาพงานที่พิมพ์ออกมามีความสม�่ำเสมอ ในระดับ “คงที่” ตั้งแต่แผ่นที่ 1 จนถึงแผ่นท้ายสุด หลังจากการพิมพ์ต่อเนื่อง 9,000 แผ่น (A4) ยังออกมาอย่างต่อเนือ่ งทุกแผ่น คุณภาพแทบจะเหมือนกันทุกใบ ทัง้ ในส่วนของโทนสีและคุณภาพความละเอียดงานพิมพ์ เราเน้นการปรับปรุงเรือ่ ง การก�ำจัดและล้างหมึกส่วนเกินออก ให้สะดวกรวดเร็ว และท�ำให้ทกุ หยดของหมึก เชื้อน�้ำของเราพิมพ์ออกมาได้อย่างใสสะอาด เครื่องจักรและกลไกเป็นหัวใจส�ำคัญ กลไกเครือ่ งอายุการใช้งานเท่ากับอายุเครือ่ งจักร และเราตัง้ เป้าไว้ทอี่ ายุการใช้งาน ถึง 60 ล้านใบพิมพ์ เครื่องพิมพ์ดิจิตัลอิงค์เจ็ท TASKalfa Pro 15000c ถูกออกแบบให้มีการดูแล รักษาน้อย และใช้งานง่ายมาก เมื่อเทียบกับระบบการใช้งานเครื่องพิมพ์ดิจิตัล ระบบเดิม ซึง่ ต้องอาศัยช่างประจ�ำเครือ่ ง ช่างทีค่ มุ เครือ่ งอิงค์เจ็ทนีใ้ ช้เวลาการเรียนรู้ การใช้งานเครือ่ งได้ในเวลาอันสัน้ นีค่ อื หนึง่ ในหลายผลประโยชน์ทลี่ กู ค้าได้รบั จาก เครือ่ งพิมพ์ดจิ ติ ลั อิงค์เจ็ทของเรา เป็นครือ่ งพิมพ์ทมี่ ขี นาดกระทัดรัด ติดตัง้ ได้ในพืน้ ที่ จ�ำกัดเมือ่ เทียบกับเครือ่ งพิมพ์ดจิ ติ ลั ความเร็วสูง เครือ่ งพิมพ์ Inkjet Water-Based ของ KYOCERA รุน่ TASKalfa Pro 15000c เราไม่มคี แู่ ข่งหรือคูเ่ ทียบโดยตรง เราใช้ พื้นที่ในการติดตั้งเพียง 1 ใน 5 ส่วนเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ดิจิตัลความเร็วสูง อื่น ๆ กินไฟน้อย และใช้ไฟบ้านได้โดยไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนเป็นระบบไฟโรงงาน เรื่องของการประหยัดและความปลอดภัยจากการใช้ไฟกระแสต�่ำ เครื่องพิมพ์นี้ จะเป็นเครื่องที่ปลอดภัยจากกระแสไฟและกินไฟน้อย เราได้ผลตอบรับที่เป็นที่ น่าพอใจจากลูกค้า

เราจึงเห็นว่ามีลกู ค้าอีกหลายรายทีเ่ ห็นว่าเครือ่ งพิมพ์ดจิ ติ ลั ของเรา เหมาะกับงานของ พวกเขาอย่างหลากหลาย และเห็นว่าเครือ่ งพิมพ์เราเหมาะกับงานทีเ่ ราพิมพ์อยูใ่ น สหรัฐอเมริกา และกลุม่ ประเทศในอเมริกาเหนือ ซึง่ เป็นโซนทีย่ งั ใช้กระดาษปริมาณมาก มีบริษัทที่ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ประเภท Direct Mailing ได้แสดงความสนใจและมีเป้า หมายทีจ่ ะน�ำเครือ่ งเราไปใช้ในการผลิต ครอบคลุมตลาดทัง้ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากได้ทดลองใช้เครื่องพิมพ์ของเราแล้ว และเป็นที่น่าพอใจ และประสบผล ส�ำเร็จในการใช้เครื่องของเราในหลายเมือง จึงได้ค่อยเพิ่มการติดตั้งเครื่องพิมพ์ TASKalfa Pro 15000c ของเราเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ ในแต่ละเมืองทีผ่ ลิตสิง่ พิมพ์ (Direct Mailing) ลูกค้าสามารถน�ำเสนอสิ่งพิมพ์ พร้อมใบแทรก รวมทั้งใบปลิวโฆษณา ต่างๆ ส่งผลให้ได้รบั การตอบรับทีด่ ี ในองค์กรขนาดใหญ่ และมีโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ ที่ให้ความสนใจมาใช้เครื่องพิมพ์เรา ท�ำให้ได้รับผลตอบรับเกินความคาดหมาย เราได้รับโอกาสที่ดีในธุรกิจด้วยความที่เราเป็นคลื่นลูกใหม่ เป็นทางเลือกที่ 3 และเป็นเครือ่ งใช้งานควบคูก่ บั เครือ่ งทีล่ กู ค้ามีอยูแ่ ล้วได้เป็นอย่างดี สามารถรองรับ และตอบโจทย์งานที่เครื่องพิมพ์ลูกค้าผลิตงานได้ไม่ดี และผลิตออกมาในต้นทุน สูงกว่ามาก ในตลาดปัจจุบันที่ซี่งยังไม่เคยมีเครื่องพิมพ์ดิจิตัลอิงค์เจ็ทแบบเรา มาก่อน เราสามารถเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ที่เหมาะสมกับงานในอุตสากรรม การพิมพ์ ทั้งความเหมาะสมกับประเภทของงานและลดต้นทุนการผลิต ผมยังคงจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องกับเพื่อนร่วมงานทุกแผนก ทั้งฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายขาย ฝ่ายประเมินความพึงพอใจ ฝ่ายถามตอบทางเทคนิค เพื่อให้การบริการ การปรับปรุงพัฒนาการต่างๆ เป็นไปอย่างสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ผมได้แชร์ความรู้สึกและความจริงอันยากล�ำบากที่ผ่านมากับเขาทุกๆคน เมื่อภาย หลังการปรับปรุง การแก้ไขในแต่ละส่วนผ่านไป ใบหน้าของทุกๆคนจะอยูใ่ นใจของ ผมเสมอ ทุกคนเชือ่ มัน่ ได้วา่ ลูกค้าหลายคนชอบเครือ่ งพิมพ์ของเรา ต่างเชือ่ ว่าเครือ่ ง เราสามารถพิมพ์และผลิตงานพิมพ์ออกมาได้ดี มีคุณภาพ สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในใจเรา เสมอ เพือ่ กระตุน้ ให้เราไม่หยุดพัฒนา TASKalfa Pro 15000c จะยังคงก้าวต่อไป เพื่อน�ำเสนอคุณค่าใหม่ให้งานพิมพ์ นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ Inkjet ของ KYOCERA เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้นและจะต้องก้าวไปอีกไกล แปลและเรียบเรียงโดย สุเมธ จันทร์เกษมพงษ์ Printing Business Sales Manager, KYOCERA Document Solutions (Thailand) Corp.,Ltd. นัดหมายเพื่ อเข้ามาชมการทดสอบการใช้งานได้ที่: 02-586-0333 หรือ 081-926-9565

www.thaiprint.org


50 INDUSTRIAL

่ งต้องรู้ ของ Hybrid 5 เรือ Workplace ไลฟ์สไตล์การท�ำงานใหม่ ตอบโจทย์คนท�ำงานและโลกธุรกิจยุคดิจิทัล

่ งสแกนเอกสาร เครือ ่ งพรินเตอร์ และซอฟต์แวร์ของแคนนอน เครือ ตอบรับเทรนด์การท�ำงานแบบไฮบริดได้อย่างลงตัว การันตีด้วย รางวัลระดับโลก BLI 2021 Award สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่แรก เริ่มจนถึงปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ของผู้คนอย่างมาก ทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่ อให้สอดคล้อง กั บ มาตรการควบคุ ม โรคระบาด ท� ำ ให้ อ งค์ ก รและ ผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัว และหาโซลูชัน ที่ ช่ ว ยให้ ธุ ร กิ จ สามารถด� ำ เนิ น งานต่ อ ไปได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ จึ ง เกิ ด เป็ น เทรนด์ ก ารท� ำ งานรู ป แบบ Hybrid Workplace ทีไ่ ด้รบ ั ความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในต่างประเทศและในไทยก็เริ่มมีหลายองค์กรเริ่มหัน มาวางระบบการท�ำงานลักษณะนี้กันมากขึ้น THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

1. รู้จัก Hybrid Workplace

Hybrid Workplace เป็นรูปแบบการท�ำงานที่ต่อยอดมาจาก Work From Home ที่ให้พนักงานท�ำงานจากบ้าน แต่การท�ำ งานแบบไฮบริดจะแตกต่างออกไปตรงทีก่ ารท�ำงานแบบไฮบริด เป็นแบบผสมผสานที่มอบความยืดหยุ่นให้พนักงานสามารถ ท�ำงานได้จากทั้งที่บ้าน และในออฟฟิศ โดยใช้เทคโนโลยีเป็น ตัวเชื่อมต่อการท�ำงานให้สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้อย่าง ปลอดภัย ท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพเหมือนกัน


INDUSTRIAL

การท�ำงานแบบไฮบริดเป็นแบบ ผสมผสานที่มอบความยืดหยุ่น ให้พนักงานสามารถท�ำงาน ได้จากทั้งที่บ้าน และในออฟฟิศ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมต่อ การท�ำงานให้สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพ เหมือนกัน

51

่ี ป อุปกรณ์ส�ำนักงาน และซอฟต์แวร์ทม ี ระสิทธิภาพ คือ หัวใจของ Hybrid Workplace

ในอนาคตพนั ก งานทุ ก คนอาจจะไม่ ไ ด้ ท� ำ งานในออฟฟิ ศ พร้อมกันอีกต่อไป การท�ำงานแบบไฮบริด จึงเป็นทางเลือก ทีห่ ลายองค์กรชัน้ น�ำของโลกเตรียมน�ำมาปรับใช้ ควบคูก่ บั การ พัฒนาข้อมูลทางธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ การจัดเก็บ ข้อมูลบนระบบคลาวด์ การใช้ซอฟต์แวร์จัดการไฟล์เอกสาร ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นย�ำ อ�ำนวยความสะดวกให้พนักงาน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้งา่ ยไม่วา่ จะท�ำงานทีไ่ หน หรือใช้ซอฟต์แวร์ เชื่อมต่ออุปกรณ์สำ� นักงานอื่น ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยลดขั้นตอน การท�ำงาน และช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์กรได้ดี

www.thaiprint.org


52 INDUSTRIAL

การลดขนาดพื้ นที่ออฟฟิศ เพื่ อประหยัดต้นทุน และผันเงิน ไปลงทุนเรื่องการน�ำเทคโนโลยี และโซลูชันที่ทันสมัยมาใช้ เพื่ อท�ำให้ธุรกิจคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ออฟฟิศ คือ ศูนย์บัญชาการ

ในรูปแบบการท�ำงานแบบไฮบริด ออฟฟิศยังเป็นศูนย์กลาง ให้พนักงานสามารถเข้ามารวมตัวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนงานร่วมกัน แต่ค�ำนึงถึงการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าสูงสุด มีการลดขนาดพื้นที่ออฟฟิศเพื่อประหยัดต้นทุน และผันเงิน ไปลงทุนเรื่องการน�ำเทคโนโลยี และโซลูชันที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อท�ำให้ธุรกิจคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


INDUSTRIAL 53

Hybrid Workplace จะแข็งแรง ต้องมีระบบ ป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ทุกองค์กรต่างมีขอ้ มูลทีเ่ ป็นความลับ ซึง่ การท�ำงานนอกออฟฟิศ จ�ำเป็นจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่าง เข้มงวด เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อองค์กร โดยบริษัทจะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์การท�ำงานที่รัดกุม ซึ่งการเลือกอุปกรณ์ที่น�ำมาใช้นอกจากจะช่วยในเรื่องการ อ�ำนวยความสะดวกแล้ว ยังต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย ที่ได้มาตรฐานอีกด้วย Hybrid Workplace คือค�ำตอบของ Work Life Balance

คนท�ำงานยุคนี้ให้ความส�ำคัญกับ Work Life Balance หรือการ จัดการชีวิตท�ำงานและชีวิตส่วน ตัวให้มีความสมดุล การท�ำงาน แบบไฮบริดนับว่าตอบโจทย์ชีวิต ของคนยุคนี้ได้อย่างลงตัว

คนท�ำงานยุคนี้ให้ความส�ำคัญกับ Work Life Balance หรือ การจัดการชีวิตท�ำงานและชีวิตส่วนตัวให้มีความสมดุล การ ท�ำงานแบบไฮบริดนับว่าตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคนี้ได้อย่าง ลงตัว ข้อดีของการท�ำงานแบบไฮบริดคือพนักงานมีอิสระ ในการออกแบบไลฟ์สไตล์การท�ำงานของตัวเองให้ยืดหยุ่น การไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันท�ำให้ลดความเหนื่อยล้าจากการ เดินทาง ท�ำให้มีเวลาเหลือใช้ชีวิตส่วนตัว และดูแลสุขภาพ มากขึ้น และผลลัพธ์จากหลายบริษัทชั้นน�ำระดับโลกยังพิสูจน์ แล้ ว ว่ า การท� ำ งานแบบผสมผสานท� ำ ให้ ผ ลลั พ ธ์ ข องงานที่ ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น www.thaiprint.org


54

NEWS

ผลการประกวด 2020 Asian Packaging Excellence Awards

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

2020


NEWS

ผลการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับภูมิภาค เอเชีย Asian Packaging Awards ประเทศไทยได้รับ 7 รางวัล ได้แก่ • รางวัล Best in Show 1 รางวัล • รางวัลเหรียญทอง 5 รางวัล และ • รางวัลเหรียญเงิน 1 รางวัล สมาคมการพิ มพ์ ไทยขอแสดงความยินดี กับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน

55

2020 Asian Packaging Excellence Awards Counry

Best

Gold Silver Bronze Total

Thailand

1

5

1

-

7

India

-

7

4

1

12

Malaysia

-

3

3

-

6

Philippines

-

2

1

-

3

Vietnam

-

1

1

1

3

China

-

1

-

-

1

Winner

Best in Show

TPN Flexpak Co.,Ltd Country: Thailand Pre-Press: Customer Job Title: Chicken Breast Chunks Crispy Colours Printed: 7 Press: Windmoeller & Hoelscher Ink: DIC

www.thaiprint.org


56

NEWS

Gold Winner

Flexo Mid Web Film (501-914mm) Reverse Print

2020

TPN Flexpak Co.,Ltd

Country: Thailand Pre-Press: Customer Job Title: Chicken Breast Fillet Strips Colours Printed: 7 Press: Windmoeller & Hoelscher Ink: DIC

Gold Winner

Flexo Mid Web Film (501-914mm) Surface Print

2020

TPN Flexpak Co.,Ltd

Country: Thailand Pre-Press: Customer Job Title: Chicken Breast Chunks Crispy Colours Printed: 7 Press: Windmoeller & Hoelscher Ink: DIC

Gold Winner

Gravure Specialty Print

2020

Print Master Co.,Ltd

Country: Thailand Pre-Press: In House Job Title: The Story of Ramakian Colours Printed: 8 Press: Windmoeller & Hoelscher Ink: Toyo Ink Co

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


NEWS

57

Gold Winner

Gravure Films Reverse Print

2020

Prime Packaging Co.,Ltd

Country: Thailand Pre-Press: In House Job Title: Sen & Boss Dog Food Colours Printed: 8 Press: Shaanxi Beiren Printing Machine Ink: Toyo

Silver Winner

Gravure Films Reverse Print

2020

Print Master Co.,Ltd

Country: Thailand Pre-Press: In House Job Title: Fruitural Banana Colours Printed: 7 Press: Windmoeller & Hoelscher Ink: Toyo Ink

Gold Winner

Gravure Specialty Print

2020

CYBERPRINT Group Co,.Ltd Country: Thailand Pre-Press: In House Job Title: BlackHawk Colours Printed: 4 Press: HP 5800 (Large Format)

ดาวน์โหลด ผลการประกวด ฉบับเต็มได้ท่ี เครดิตภาพประกอบจาก www.printinnovationasia.com

www.thaiprint.org


58

NEWS

PACK PRINT INTERNATIONAL เลื่อนไปจัดในปี 2565 ในวันที่ 9-12 กุมภาพั นธ์ 2565 ณ ไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 - งาน PACK PRINT INTERNATIONAL ครั้งต่อไป จะเลื่อนไปจัดในวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ ไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร การเลื่อนการจัดงานจากก�ำหนดการเดิมในเดือนกันยายน 2564 ไปเป็นปีหน้านั้น ก็เพื่อความเหมาะสมในการรองรับ THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ผู้เข้าร่วมงานของงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ อันจะเห็น ได้จากจ� ำ นวนของผู้เข้าร่ว มงานระดับโลกและผู้มีชื่อ เสี ย ง จากอุ ต สาหกรรมบรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละการพิ ม พ์ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ใน ทุกครั้งที่มีการจัดงาน ตั้งแต่เริ่มจัดงานครั้งแรกในปี 2550 เป็นต้นมา


NEWS

59

ในปีหน้า คาดว่าข้อจ�ำกัดในการเดินทางจะผ่อนคลายลง และการกระจายฉีดวัคซีนของโลกจะครอบคลุมไป ่ ำ� ให้บริษท อย่างทัว ั ต่าง ๆ สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ่ ถึง อันจะเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท และประสบความส�ำเร็จ ที่งาน PACK PRINT INTERNATIONAL

การจัดงานครั้งล่าสุดในปี 2562 มีผู้เข้าร่วมออกงานแสดงสินค้าจากนานาชาติคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ของจ�ำนวน ผู้เข้าร่วมออกงานทั้งหมด 325 บริษัท และมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 19,000 คน จาก 62 ประเทศ

มร.เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผูจ ้ ด ั การ  เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย

คุณพงศ์ธีระ พั ฒนพี ระเดช นายกสมาคมการพิ มพ์ ไทย

คุณมานิตย์ กมลสุวรรณ นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

มร. แกรน๊อต ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นงานแสดงสินค้าหลักด้านอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ที่ ส�ำคัญของภูมภิ าค จากการทีไ่ ด้ประเมินสถานการณ์ปจั จุบนั อย่างรอบคอบ การตัดสินใจ เลื่อนงาน PACK PRINT INTERNATIONAL ไปจัดในปีหน้านับว่าสมเหตุสมผล และเหมาะสมทีส่ ดุ สืบเนือ่ งมาจากข้อจ�ำกัดในการเดินทางและข้อก�ำหนดต่าง ๆ ในการ กักตัวของแต่ละประเทศ หลังจากทีไ่ ด้ปรึกษาหารือกับผูร้ ว่ มจัดงานอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น แล้ว อันได้แก่ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทยและสมาคมการพิมพ์ไทย และหน่วยงาน ต่าง ๆ ในประเทศไทย จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า การเลื่อนการจัดงานไปปีหน้า เหมาะสมที่สุดทั้งกับผู้เข้าร่วมออกงานและผู้เข้าชมงาน” มร. ริงลิ่ง กล่าวเสริมว่า “เพื่อให้ผู้ร่วมออกงาน ผู้เข้าชมงาน และผู้ให้บริการของเรา ได้มีก�ำหนดการในการวางแผนงานที่แน่นอน และเพื่อบรรลุความคาดหวังที่มีต่อเวที ธุรกิจที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้กลายมาเป็นเครื่องหมายการค้า ของงาน PACK PRINT INTERNATIONAL นี้ ความพยายามทั้งหมดจะมุ่งเน้นไป ที่ความส�ำเร็จของการจัดงานในปี 2565” คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวว่า “เราคาดหวังที่จะ ต้อนรับผู้ร่วมงานทุกท่านแบบตัวต่อตัวในปีหน้านี้ เพื่อสร้างความมั่นใจและอนาคต อันสดใสอีกครัง้ หนึง่ จากการกลับมาด�ำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบของภาคธุรกิจอีกครัง้ ด้วยแนวคิดธุรกิจใหม่ๆและแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม” “งาน PACK PRINT INTERNATIONAL 2022 จะเป็นเวทีธุรกิจในอุดมคติที่ช่วย เชื่อมต่อภาคธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความต้องการตรงกัน เพื่อเพิ่มรายได้ สร้างเสริมความแข็งแกร่งในการปฏิบตั งิ าน และเร่งการปรับตัวไปสูก่ ารใช้โซลูชนั่ ระบบ ดิจิทัลและเทคโนโลยีด้านการบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ที่ทันสมัย” คุณมานิตย์ กมลสุวรรณ นายกสมาคมการบรรจุภณ ั ฑ์ไทย ได้ยำ้� ถึงมุมมองดังกล่าวว่า “ในการเตรียมตัวส�ำหรับงาน 2022 เราได้ท�ำงานกับบริษัทด้านการบรรจุภัณฑ์ และการพิมพ์ในประเทศอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมการเข้าร่วมงาน และร่วมปรึกษาว่า จะสามารถท�ำอย่างไรให้งาน PACK PRINT INTERNATIONAL เป็นเวทีในการสร้าง โอกาสและรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน หลังจากการระบาดของโรคร้าย บรรเทาลง”

“แพ็ ค พริน ิ เตอร์เนชัน ่ แนล 2022” ้ ท์อน

่ นไปจัดในวันที่ 9-12 กุมภาพั นธ์ 2565 เลือ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ติดตามรายละเอียดเพิ่ มเติมได้ที่

www.pack-print.de

PackPrintInternational www.thaiprint.org


60

NEWS

เอปสันน�ำเทรนด์ ส่งเครื่องพิ มพ์ อเนกประสงค์ SureColor T-Series รุกตลาด หลังงานพิ มพ์ อินเฮาส์ส่งสัญญาณโต

22 มิถุนายน 2564 - เอปสั นเปิดตัวเครื่องพิ มพ์ หน้ากว้างอเนกประสงค์ SureColor T-Series รุ่นใหม่ ชูไฮไลท์รุ่นขนาดหน้ากว้าง 24 นิ้ว แบบตั้งโต๊ะ รองรับความต้องการ การพิ มพ์ อินเฮาส์ที่ส่งสัญญาณขยายตัวในยุคนิวนอร์มอล

นายยรรยง มุนีมงคลทร

ผู้อำ� นวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จ�ำกัด

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อ�ำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของไวรัสโค วิด-19 ทีย่ ดื เยือ้ ยาวนานสร้างผลกระทบอย่างหนักกับทุกวงการ ธุรกิจ บังคับให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวอย่างมาก เอปสันเอง ก็ได้ปรับกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจโดยค�ำนึงปัจจัยและความ เสี่ยงต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ที่ส�ำคัญคือสวัสดิภาพของพนักงานและ ครอบครัว รวมถึงเหล่าตัวแทนจ�ำหน่าย จึงมีการปรับเปลี่ยน THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ทั้งในรูปแบบการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยและเข้าออฟฟิศ เท่าที่จ�ำเป็น รวมถึงกลยุทธ์และช่องทางการขายที่เน้นสื่อ ออนไลน์มากขึน้ ด้านการสร้างตลาดทีเ่ น้นโมเดลการให้บริการ และตลาดเกิดใหม่เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่าย ไปจนถึง การก�ำหนดเป้าหมายธุรกิจที่ต้องพิจารณาจากการแพร่ระบาด และการกระจายวัคซีนในแต่ละช่วงเวลา”


NEWS

“ในส่วนยอดขายโดยรวมของกลุม่ สินค้าเครือ่ งพิมพ์เชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกของบริษัทฯ (เม.ย. - มิ.ย. 2564) มี สั ญ ญาณที่ ดี ใ นทุ ก สิ น ค้ า โดยในกลุ ่ ม เครื่ อ งพิ ม พ์ หน้ากว้างส�ำหรับองค์กร (Corporate Printer) มีการเติบโต ถึ ง 125% เมื่ อเทียบกับ ช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว บริษัทฯ จึ ง คาดการณ์ ว ่ า จะสามารถปิ ด ยอดขายในไตรมาสแรกนี้ เป็นบวกได้แน่นอน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัว การท�ำงานในภาคธุรกิจและมาตรการ WFH (Work From Home) ซึ่ ง ท� ำ ให้ มี ค วามต้ อ งการใช้ ง านเครื่ อ งพิ ม พ์ สู ง ขึ้ น อีกทั้งเครื่องพิมพ์ส�ำหรับองค์กรนี้ยังมีราคาที่จับต้องได้ง่ายขึ้น อีกด้วย” “เครื่องพิมพ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รุ่น SureColor T-Series ซึง่ เดิมเคยเป็นสินค้าส�ำหรับองค์กรทีท่ ำ� งานออกแบบ

61

งานเขียนแบบ แผนที่ GIS และงาน CAD/CAM เช่น บริษัท สถาปนิ ก บริ ษั ท รั บ เหมาก่ อ สร้ า ง ผู ้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ อสังหาริมทรัพย์ และหน่วยงานราชการ เป็นต้น แต่ด้วยราคา ที่ไม่สูง ขนาดที่กะทัดรัด น�้ำหนักเบา ใช้งานง่ายและสามารถ ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งยังพิมพ์งานขนาดใหญ่คุณภาพสูง ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว จึ ง ได้ รั บ ความสนใจในวงกว้ า งยิ่ ง ขึ้ น จาก บริ ษั ท ธุ ร กิ จ สถาบั น ศึ ก ษา ธุ ร กิ จ รี เ ทล โรงแรม ไปจนถึ ง โรงพยาบาล ส�ำหรับใช้พมิ พ์งานอินเฮาส์ เช่น การพิมพ์โปสเตอร์ สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ สติกเกอร์ งานออกแบบ ผังระบบ ผังโครงสร้างองค์กร เป็นต้น เอปสันจึงได้เปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มนี้อีก 4 รุ่น เพื่อรองรับ ความต้องการที่ก�ำลังเพิ่มขึ้นในขณะนี้ และคาดว่าจะมีโอกาส เติบโตขึ้นอย่างมากภายหลังโควิด” นายยรรยง กล่าว www.thaiprint.org


62

NEWS

SC-T3130M

SC-T3435

SC-T5130M

SC-T5435

Epson SureColor T-Series รุ่นใหม่ที่เปิดตัวครั้งนี้ ประกอบด้วย SC-T3130M, SC-T5130M, SC-T3435 และ SC-T5435

ส�ำหรับรุ่น SC-3130M หน้ากว้าง 24 นิ้ว และ SC-T5130M ขนาด 36 นิ้ว มีจุดเด่นที่มีสแกนเนอร์ติดตั้งในตัว ช่วยให้ สามารถสแกนและท�ำส�ำเนาได้โดยไม่ต้องหาอุปกรณ์ต่อพ่วง เพิ่มเติมเหมือนรุ่นก่อนๆ ในขณะที่รุ่น SC-T3435 ทีม่ หี น้ากว้าง 24 นิว้ และ SC-T5435 ขนาด 36 นิว้ มีการปรับให้สามารถรองรับหมึกพิมพ์ได้หลายขนาด ตั้งแต่ 110, 350 หรือ 700 มิลลิลติ ร จึงช่วยให้พมิ พ์งานปริมาณมากขึน้ ได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด และให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ขนาด หมึกพิมพ์ได้เหมาะสมกับลักษณะงานของตัวเอง ช่วยในด้าน การบริหารต้นทุนการพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เครือ่ งพิมพ์ทงั้ 4 รุน่ ใช้เทคโนโลยีหวั พิมพ์ PrecisionCore ของ เอปสันที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการพิมพ์และสามารถรับประกัน คุณภาพของงานพิมพ์ด้วยชิพที่ควบคุมการหยดน�้ำหมึกถึง 40 ล้านหยดต่อวินาทีได้อย่างแม่นย�ำทุกหยด จึงให้รายละเอียด ที่สมบูรณ์แบบกับทุกงานพิมพ์ นอกจากนี้ ยังใช้คู่กับหมึกกัน น�้ำคุณภาพสูง UltraChrome XD2 ของเอปสัน ที่ให้ผลงาน THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ทีม่ สี สี นั สดใส คมชัด และทนทานต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ เครือ่ งพิมพ์ทงั้ 4 รุน่ นีย้ งั ได้รบั การออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ เพือ่ ช่วยให้ผใู้ ช้ทมี่ คี วามสูงแตกต่างกันสามารถใช้เครือ่ งได้อย่าง สะดวก สบาย ทัง้ ยังมาพร้อมกับฟังก์ชนั่ ทีช่ ว่ ยเพิม่ ประสิทธิภาพ การท�ำงานยิ่งขึ้น เช่น ฟังก์ชั่นการป้อนและตัดวัสดุการพิมพ์ จากเครือ่ งฟังก์ชนั่ Enlarge Copy ช่วยสร้างส�ำเนาขนาดใหญ่ได้ อย่างง่ายดาย ด้วยการสแกนงานจากเครือ่ งพิมพ์หรือสแกนเนอร์ ของเอปสันโดยตรง ไม่จำ� เป็นต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ “ไฮไลท์ของการเปิดตัวครั้งนี้ อยู่ที่รุ่น SC-T3130M ที่เป็น เครื่องพิมพ์ออลอินวันฉบับตั้งโต๊ะ ที่ทั้งเล็กและเบาที่สุด ในตลาดขณะนี้ ขนาดกว้างไม่ถึง 1 เมตร และหนักเพียง 34 กิโลกรัม สามารถพิมพ์โปสเตอร์หรือป้ายประชาสัมพันธ์ ได้ใหญ่ถงึ ขนาด A1 ทัง้ ยังรองรับการเชือ่ มต่อไร้สาย เหมาะกับ การใช้งานทีบ่ า้ นหรือในออฟฟิศทีม่ พี นื้ ทีจ่ ำ� กัด หรือการท�ำงาน ทีต่ อ้ งการความคล่องตัวในช่วงนิวนอร์มอล ไม่วา่ จะเป็นกรณี ที่ทุกแผนกในบริษัทมีเครื่องพิมพ์อเนกประสงค์ของตัวเอง


NEWS

ไม่จ�ำเป็นต้องออกไปจ้างหน่วยงานภายนอกในการพิมพ์ หรือกรณีโรงพยาบาลสนาม ซึ่งต้องใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ติดตั้งรอบบริเวณ นอกจากนี้ เอปสันยังได้เพิ่มความมั่นใจ ให้กับลูกค้าด้วย Onsite Service นาน 3 ปี ส�ำหรับหัวพิมพ์ ตัวเครื่อง และชุดสแกนเนอร์” “ส�ำหรับโอกาสในการท�ำตลาดของสินค้าใหม่นี้ บริษทั ฯ มองว่า จะมีความต้องการการใช้งานของเครื่องพิมพ์อเนกประสงค์ SureColor T-Series เพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ เพราะเป็นสินค้าทีล่ งตัว กับรูปแบบการท�ำงานของทุกองค์กรในขณะนี้ และตอบโจทย์ ทั้งในด้านความคุ้มค่าและความต่อเนื่องในการด�ำเนินธุรกิจ และหากการกระจายฉีดวัคซีนให้กับประชากร 70% ในสิ้นปีนี้ เป็นไปได้ตามที่รัฐบาลก�ำหนดก็จะช่วยฟื้นความมั่นใจในการ ลงทุนของภาคเอกชนและการใช้จ่ายของภาครัฐได้ บวกกับ ระบบซัพพลายเชนทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะสถานการณ์ โควิ ด -19 ท� ำ ให้ เ พิ่ ม โอกาสที่ จ ะเกิ ด ฐานการผลิ ต และ อุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย ซึ่งการลงทุนกับสินค้าไอที เป็นเรื่องพื้นฐานที่จ�ำเป็นของทุกธุรกิจอยู่แล้ว เอปสันจึงเชื่อว่า SureColor T-Series น่าจะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้ายอดนิยม ในปีงบประมาณนี้ฯ” นายยรรยง กล่าว www.thaiprint.org

63


64 KNOWLEDGE

่ งของธุรกิจออนไลน์ ปัจจัยความเสีย น�ำเสนอโดย ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล ผูอ ้ า่ นหลายท่านคงก�ำลังประสบปัญหาของการท�ำธุรกิจ ่ ด ในปัจจุบน ั แน่นอนทีส ุ ท่านก็จะพยายามหาแนวทางเพื่ อ ให้รอดพ้ นวิกฤติท้ังเศรษฐกิจขณะนี้ อันมาจากวิกฤติ โรคระบาดโควิด-19 บางท่านก็พยายามขยายและแตก ่ ยกออกไปจากสิง สาขาธุรกิจออกไป เช่นการท�ำธุรกิจทีแ ่ พิ มพ์ เดิม หรือในธุรกิจสิง ่ พิ มพ์ แต่แยกแขนงออกไป และ บางท่านก็เปลี่ยนแนวทางธุรกิจออกไปเลยก็มี ไม่ว่าจะ เพิ่ มหรือเปลี่ยนแนวธุรกิจของท่านผู้อ่านแน่นอนที่สุดก็ ยังต้องท�ำธุรกิจในธุรกิจโซเชียล ทีไ่ ม่อาจหนีไปได้ ผมได้ อ่านบทความและเห็นว่ามีประโยชน์สำ� หรับผูท ้ เี่ ริม ่ ท�ำธุรกิจ ออนไลน์ หรือผู้ที่ก�ำลังคิดจะเพิ่ มช่องทางธุรกิจ จึงขอ น�ำเสนอบทความดีดี คัดมาให้อา่ นกันเพื่ อเป็นแนวทางที่ ่ งของการท�ำ เตือนและน่าจะช่วยป้องกันให้เห็นความเสีย ธุรกิจนี้วา่ เราควรจะเตรียมตัวอย่างไร THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

เหตุผลส�ำคัญ ที่ท�ำให้ “ธุรกิจออนไลน์” ไปไม่รอด

การท�ำธุรกิจออนไลน์เป็นการสร้างโอกาสที่ดีก็จริง แต่ต้อง ยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูงถึง 50 % ที่จะท�ำให้คุณล้มเหลว ! ถ้า ไม่อยากเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ล้มเหลว มาดูเหตุผลส่วนใหญ่กัน.... 1. ใครจะซื้อสินค้า ถ้ารายละเอียดและ ราคาไม่ถูกต้อง!

มีผลการส�ำรวจของเว็บไซต์ Vouchercodespro.com ระบุว่า กว่า 71% จากกลุ่มคนที่ถูกส�ำรวจ พบว่าจะไม่เข้าชมเว็บไซต์ นัน้ อีก เมือ่ พบว่าไม่มกี ารตรวจสอบรายละเอียดสินค้าให้ถกู ต้อง


KNOWLEDGE 65 2. ระบบตะกร้าสินค้ายุ่งยาก

ระบบการสัง่ ซือ้ สินค้า ประเภทตระกร้าสินค้า มีการส�ำรวจพบว่า มีผู้สนใจสั่งซื้อผ่านระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) สูงถึงร้อยละ 65.4 แต่มีการยกเลิกการสั่งซื้อกว่าร้อยละ 42.6 เนื่องจากการท�ำรายการยุ่งยาก จนท�ำให้ลูกค้ารู้สึกร�ำคาญ เปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้า ระบุว่าร้อยละ 47.6 ยกเลิกระหว่างการ กรอกข้อมูลของบัตรเครดิต และอีกกว่า 20.4 ยกเลิกระหว่าง หน้าตรวจสอบสินค้าที่เลือก

คุณเรียนรู้ แล้วน�ำข้อเสียที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงเว็บไซต์ตัวเอง และพั ฒ นาแก้ ไขเว็ บ ไซต์ ซึ่ ง เป็ น หน้ า ตาของธุ ร กิ จ คุ ณ เพื่ อ ลดความเสี่ยงจากการท�ำงาน ข้อควรระวังเหล่านี้ จะท�ำให้ นักลงทุนทีเ่ พิง่ จะเริม่ ต้นอย่างคุณคิดหาทางแก้ไขไว้รองรับได้ทนั เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน

3. เว็บไซต์ไม่มีความน่าเชื่อถือ

เมือ่ มีการออกแบบเว็บไซต์ทดี่ ี ถูกหลัก ใช้งานง่าย สวยงามแล้ว ควรแจ้งข้อมูลทีอ่ ยู่ ทีต่ ดิ ต่อได้อย่างครบถ้วน เช่น ชือ่ บริษทั ทีอ่ ยู่ เบอร์โทรศัพท์หรือแผนทีข่ องร้านค้าคุณด้วย เพราะเป็นส่วนหนึง่ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าคุณได้มาก ซึ่งผลส�ำรวจ จากเว็บไซต์ DBD ระบุว่าผู้ชมเว็บไซต์ 86 % สั่งซื้อสินค้าจาก เว็บที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล้กทรอนิกส์ ของกรมพัฒนา ธุรกิจ (www.DBD.go.th) กระทรวงพาณิชย์ องค์กรที่จะท�ำ หน้าที่เข้ามารับรองตัวตนของคุณในโลกอินเทอร์เน็ต 4. แจ้งข้อมูลหลังสั่งซื้อไม่ชัดเจน มีสิทธิ์ท�ำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจ

คุณควรปรึกษาผูเ้ ชีย่ วชาญในเรือ่ งการจัดท�ำระบบการสัง่ สินค้า ให้งา่ ยขึน้ และแสดงรายละเอียดให้ชดั เจนทีส่ ดุ เพือ่ ความสะดวก สบายของลูกค้า เช่น ชื่อสินค้าที่สั่ง รูปสินค้า ราคา วันที่จัดส่ง นโยบายรับคืนสินค้า การรับประกัน ส่วนลดพิเศษ ฯลฯ รวมถึง คุณควรมีวธิ กี ารสัง่ สินค้าทีห่ ลากหลายนอกเหนือการสัง่ ผ่านเว็บ เช่น ผ่านโทรศัพท์ แฟกซ์ หรืออีเมล 5. ระบบการขนส่งล่าช้า

มีการท�ำแบบส�ำรวจความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าในโซเชี่ยล มีเดียเกีย่ วกับการจัดส่งสินค้า ซึง่ เป็นทีน่ า่ ตกใจที่ 57 % บอกว่า ได้รับสินค้าช้ากว่าที่เจ้าของร้านก�ำหนดไว้ อีก 25 % ที่ไม่ได้ รั บ สิ น ค้ า เลยและไม่ ไ ด้ เ งิ น คื น ทั้ ง หมดมี ก ารแสดงออกถึ ง ความพอใจการจัดส่งสินค้าของร้านค้าออนไลน์เพียง 18% เท่านัน้ ดังนัน้ เรือ่ งนีจ้ งึ เป็นอีกข้อทีเ่ จ้าของกิจการควรมีการจัดการเรือ่ ง การจัดส่งสินค้าให้ดี สร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้า เพือ่ ให้ผซู้ อื้ กลายเป็นลูกค้าประจ�ำของร้าน มีข้อแนะน�ำที่ใช้ได้ผลคือ อย่าถูกปิดหูปิดตาจากข้อมูลที่คุณรู้ คุณควรรู้จากหลากหลายช่องทาง เช่นหน้าเว็บไซอาจจะมี ช่องทางการ comment สินค้าและบริการ หรือหน้า Social Media ควรเปิดโอกาสให้ลูกค้าพูดถึงสินค้าคุณบ้าง เพื่อให้

7 ปัญหาที่คนท�ำธุรกิจขายของออนไลน์ ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมือ !

ความก้ า วหน้ า ทางด้ า นเทคโนโลยี ไ ม่ ห ยุ ด ยั้ ง ท� ำ ให้ มี ก าร เปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการท�ำธุรกิจ จากการมีหน้าร้านก็เริ่ม ทยอยเปลี่ยนเป็นการเปิดร้านค้าบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้ง องค์กรขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ซึ่งสะดวกมากขึ้นกับทั้งลูกค้า และเจ้าของธุรกิจ แต่ก็ยังพ่วงมาด้วยปัญหาอีกมากมายที่แตก ต่างไปจากการขายสินค้าหน้าร้าน เราไปดู 7 ปัญหาของคนท�ำ ธุรกิจขายของออนไลน์ และวิธีรับมือกันเลยค่ะ ปัญหาเรื่องการยืนยันตัวตนของลูกค้าออนไลน์

ปัญหาแรกของผู้ขายของออนไลน์ คือความยากในการระบุตัว ตนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายของออนไลน์รายเล็กหรือราย ใหญ่ ต่างพบเจอปัญหานี้อยู่บ่อยครั้ง น�ำมาซึ่งความสูญเสีย และการขาดรายได้มหาศาลโดยเฉพาะกับผู้ขายของออนไลน์ รายใหญ่ที่มีบริการการเก็บเงินปลายทาง หรือที่เรียกว่า Cash on delivery เพราะอาจมีการระบุตัวตนไว้เพียงเบอร์โทรศัพท์ หรืออาจจะใช้นามแฝงในการสั่งซื้อได้ ทางแก้ปญ ั หา : ปัญหาเรือ่ งการยืนยันตัวตนของลูกค้า สามารถ แก้ไขได้โดยการเพิม่ ขัน้ ตอนในการยืนยันข้อมูลลูกค้าให้มากขึน้ สร้างระบบการตรวจเช็กข้อมูลที่ลูกค้าให้ไว้ ในส่วนของข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลที่อยู่อย่างเช่น รหัสไปรษณีย์ตรงกับเขต หรือแขวง หรืออ�ำเภอและจังหวัดที่ให้มาหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ ขายของออนไลน์ควรมีระบบยืนยันตัวตน โดยการส่งข้อความ เป็นรหัสให้ลูกค้ายืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์ และหรือที่ อยู่อีเมล์ที่ได้แจ้งไว้ www.thaiprint.org


66 KNOWLEDGE ปัญหาเรื่องการวิเคราะห์คู่แข่ง

การสร้างกลยุทธ์มัดใจลูกค้า

สตีฟ จ็อบ เคยกล่าวไว้ว่า “คุณไม่ควรมองไปที่คู่แข่งแล้วพูดว่า คุณจะท�ำให้ดกี ว่า แต่คณ ุ ควรมองไปทีค่ แู่ ข่งแล้วพูดว่า คุณจะสร้าง ความแตกต่าง” ในโลกแห่งการท�ำธุรกิจย่อมเต็มไปด้วยคู่แข่ง โดยเฉพาะผูข้ ายของออนไลน์ ทัง้ คูแ่ ข่งทีผ่ ลิตและจ�ำหน่ายสินค้า เหมือนกับคุณ หรือแม้กระทั่งคู่แข่งที่ผลิตสินค้าต่างจากคุณ ล้วนสามารถลงแข่งขันในสนามเดียวกันได้ ดังนัน้ หากคุณอยาก เป็นผูอ้ ยูร่ อด ต้องมีการวิเคราะห์คแู่ ข่งเป็นอย่างดี หรือไม่คณ ุ ก็ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจของคุณเอง

ไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะสวยงามหรือน่าสนใจแค่ไหน แต่หาก คุณไม่สามารถสร้างความเชื่อใจ ความมั่นใจและมัดใจลูกค้าได้ ธุรกิจของคุณก็ตอ้ งถึงคราวดิง่ ลงซักวันหนึง่ การมัดใจและสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าส�ำหรับการขายของออนไลน์เป็นเรื่อง ยากกว่าการขายของหน้าร้านแบบเดิม ๆ ผู้ประกอบการธุรกิจ ออนไลน์จงึ ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก ทัง้ การหาลูกค้าใหม่ และการรักษาลูกค้าเก่าให้ยังคงอยู่ต่อไป

ทางแก้ปัญหา : คุณจะต้องท�ำการวิเคราะห์และศึกษาทั้งการ ตลาดและศึกษาคูแ่ ข่งอย่างลึกซึง้ และต้องสามารถสร้างกลยุทธ์ ทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจของคุณเฉิดฉายออกมาได้ ส�ำหรับ การขายของออนไลน์การเลือกแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อท�ำ การขายเป็นสิ่งส�ำคัญ และอาจจะต้องมีมากกว่า 1 ช่องทาง ในการขายเพือ่ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้า ทัง้ เว็บไซต์ บล็อก โซเชียล รวมไปถึงการสร้างโปรโมชัน่ เพือ่ ดึงดูดกลุม่ ลูกค้า นอกจากนีย้ งั ต้องศึกษาตลาดผูบ้ ริโภค ดูแนวโน้มความต้องการ สินค้าในธุรกิจของคุณ อะไรทีล่ า้ หลังก็ควรโละออกไปและหาสินค้า ทีก่ ำ� ลังเป็นทีต่ อ้ งการมาขายแทน พร้อมให้การบริการทีเ่ หนือกว่า เป็นอีกปัจจัยที่จะท�ำให้คุณน�ำหน้าคู่แข่งได้เลยทีเดียว

“คุณไม่ควรมองไปที่คู่แข่งแล้ว พู ดว่า คุณจะท�ำให้ดีกว่า แต่คุณ ควรมองไปที่คู่แข่งแล้วพู ดว่า คุณจะสร้างความแตกต่าง” ในโลกแห่งการท�ำธุรกิจย่อมเต็ม ไปด้วยคู่แข่ง โดยเฉพาะผู้ขาย ของออนไลน์ ทั้งคู่แข่งที่ผลิต และจ�ำหน่ายสินค้าเหมือนกับคุณ หรือแม้กระทั่งคู่แข่งที่ผลิตสินค้า ต่างจากคุณ ล้วนสามารถ ลงแข่งขันในสนามเดียวกันได้ ดังนัน ้ ยูร่ อด ้ หากคุณอยากเป็นผูอ ต้องมีการวิเคราะห์คู่แข่งเป็น อย่างดี หรือไม่คุณก็ต้อง สามารถสร้างความแตกต่าง ให้กับธุรกิจของคุณเอง THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ทางแก้ปัญหา : ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการลูกค้าชาวอเมริกัน ชื่อ Shep Hyken เคยบอกไว้ว่า “การบริการเป็นสิ่งที่บริษัท และองค์กรให้กบั ลูกค้า และลูกค้าจะตอบแทนกลับมาเป็นความ เชือ่ ใจ มัน่ ใจ” การทีค่ ณ ุ จะได้ใจจากลูกค้า คุณต้องให้การบริการ ที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้าก่อน ส�ำหรับการขายของออนไลน์ จะต้อง เริม่ ตัง้ แต่การสัง่ ซือ้ ไปจนถึงส่งสินค้าเพือ่ ให้ลกู ค้าพึงพอใจในการ ใช้งาน ในโลกออนไลน์ทมี่ ผี ขู้ ายสินค้าชนิดเดียวกับคุณ คุณต้อง ท�ำให้ตัวเองแตกต่างจากคู่แข่ง และเข้าใจธรรมชาติของกลุ่ม ลูกค้าของคุณเอง การสร้างความพึงพอใจและเชื่อใจให้ลูกค้า สามารถเริ่มจาก 5 ข้อนี้ 1. ใส่ข้อมูลที่อยู่ เบอร์ติดต่อ รูปภาพพนักงาน รีวิวจากลูกค้า ของคุณลงบนเว็บไซต์ 2. มีฟีเจอร์ Live Chat บนเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 3. สร้างบล็อก เนื่องจากบล็อกที่มีการเคลื่อนไหว เป็นส่วนที่ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณได้ 4. การบริการการลูกค้าต้องมาก่อนผลประโยชน์ เพราะนี่เป็น วิธใี นการรักษาลูกค้าหน้าเก่าไว้ ซึง่ ง่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่ๆ 5. สร้าง Loyalty Program หรือที่แปลว่า การสร้างโปรแกรม ความภักดีที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ จะท�ำให้ลูกค้ากลับมาซื้อ สินค้าของเราในครั้งต่อ ๆ ่ วกับการคืนสินค้าและคืนเงิน ปัญหาชวนปวดหัว เกีย

จากการส�ำรวจของ comScore และ UPS ระบุว่า ลูกค้าที่ซื้อ สินค้าออนไลน์ในอเมริกา จะเข้าไปอ่านเงื่อนไขการคืนสินค้า ก่อนการซื้อถึง 63% และ 48% ระบุว่าจะซื้อสินค้าที่เว็บไซต์นี้ อีกหากกระบวนการคืนสินค้าไม่ยุ่งยาก ผลการส�ำรวจนี้แสดง ให้เห็นว่าลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์จากนโยบายการคืน สินค้าด้วยเช่นกันแต่เมื่อสินค้าที่ส่งไปหาลูกค้าถูกส่งกลับมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องของสินค้าเสียหาย จัดส่งสินค้าผิดและ เหตุผลอื่น ๆ ย่อมท�ำให้ผู้ขายของออนไลน์สูญเสียทั้งชื่อเสียง และค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง และยิ่งหนักขึ้นไปอีก หากผู้ขาย เป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดสั่งและคืนสินค้าทั้งหมด


KNOWLEDGE 67

ทางแก้ปัญหา : แน่นอนว่านโยบายการคืนสินค้าเป็นหนึ่งใน การสร้างความพึงพอใจในการบริการให้ลูกค้า และเป็นความ ผิดพลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นในฐานะผู้ขายสินค้า ออนไลน์จ�ำเป็นต้องสร้างนโยบายการคืนสินค้าที่แข็งแกร่ง • ไม่ควรปิดบัง ซ่อนเร้นนโยบายการคืนสินค้า ควรท�ำให้โปร่งใส • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนแต่ชัดเจน • ไม่ควรใช้คำ� ทีน่ า่ กลัวเกินไปในมุมของลูกค้า หรือดูบบี บังคับ เอาเปรียบ เพราะจะท�ำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อของกับคุณ • ทางเลือกในการจ่ายและการส่งสินค้าหลากหลายทางให้เลือก • เทรนพนักงานให้แม่นย�ำในเรือ่ งนโยบายการคืนสินค้า เพือ่ ให้ พนักงานสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้เร็วและมีประสิทธิภาพ • เตรียมตัวเองให้พร้อมในการเผชิญปัญหา ทั้งเรื่องเงิน และ วิธีการท�ำให้ลูกค้าประทับใจ

• หันไปให้ความส�ำคัญกับโรงงานผูผ้ ลิต ทีไ่ ม่ขายสินค้าให้ลกู ค้า โดยตรง หรือขายในปริมาณน้อย • ขายสินค้าในราคาทีถ่ กู ลง หรือมีการขายร่วมโปรโมชัน่ ต่างๆ เพื่อให้สามารถแข่งในสนามนี้ได้ • น�ำนโยบาย หรือข้อตกลงมาใช้กบั โรงงานผูผ้ ลิต เรือ่ งการขาย สินค้าให้ลกู ค้าโดยตรงตัง้ แต่ตอนร่างสัญญาท�ำธุรกิจกัน วิธนี ี้ อาจจะใช้ไม่ได้กับผู้ผลิตทุกราย

่ งการแข่งขันด้านราคาและการจัดส่ง ตกม้าตายเรือ

เหล่าจัดซื้อหรือลูกค้าส่วนใหญ่ มักตัดสินใจซื้อสินค้าจากราคา และบนโลกออนไลน์อาจมีการขายสินค้าชิน้ เดียวกับเรา แต่แตก ต่างเฉพาะเรือ่ งของราคา ท�ำให้ผขู้ ายของออนไลน์หลายรายไป ต่อไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ขายของออนไลน์ขนาดเล็ก ที่จะถูกผู้ขาย ขนาดกลางและขนาดใหญ่ตดั ราคาได้งา่ ย นอกจากสงครามการ ตัดราคาแล้ว ผู้ขายของออนไลน์รายกลางและใหญ่ ยังสามารถ จัดส่งสินค้าฟรีได้แทบจะทุกออร์เดอร์อกี ด้วย เนือ่ งจากมีระบบ การขนส่ง และคลังสินค้าเป็นของตัวเอง และกระจายอยู่ทั่ว ประเทศ ท�ำให้ส่งของได้ถูกกว่า และเร็วกว่า ทางแก้ปัญหา : การจะอยู่รอดในตลาดการขายของออนไลน์ อาจจะต้องใช้บริการคลังสินค้าและการจัดส่งของ Outsource เพื่อกระจายสินค้าได้ทัดเทียมเจ้าใหญ่ๆ หากไม่สามารถท�ำได้ อีกวิธีคือการมองหาสินค้าอื่น ที่เป็นที่ต้องการของตลาดแทน เพื่อลดการแข่งขันลง การแข่งขันระหว่างธุรกิจค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้า

โมเดลพื้ น ฐานของการขายสิ น ค้ า ออนไลน์ ส� ำ หรั บ ร้ า นค้ า ปลี ก ทั่ ว ไป คื อ การซื้ อ สิ น ค้ า แบบเหมาจากโรงงานผู ้ ผ ลิ ต เพื่อมาขายปลีกบนเว็บไซต์ของตนเอง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การกระโดด เข้ามาท�ำการค้าบนโลกออนไลน์สามารถเริ่มต้น ได้ง่ายขึ้น ท�ำให้โรงงานผู้ผลิตสินค้าสามารถขายสินค้าให้ กับลูกค้าโดยตรงผ่านเว็บไซต์ตนเองได้เช่นกัน จนกลายเป็น การแข่งขันในอีกรูปแบบหนึ่ง ทางแก้ปัญหา : คงจะไม่มีวิธีที่ท�ำให้โรงงานผู้ผลิตหยุดขาย สินค้าให้กับลูกค้าโดยตรงได้ แต่เราสามารถท�ำการตกลง หรือ มีมาตรการบางอย่างเพื่อท�ำให้การแข่งขันจุดนี้ลดน้อยลง

ปัญหาเรื่องความปลอดภัยด้านข้อมูล

อีกปัญหาใหญ่ที่สามารถกลายเป็นฝันร้ายให้กับผู้ขายของ ออนไลน์ได้ คือปัญหาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลบน เว็บไซต์ หากไม่มีการป้องกัน เว็บไซต์ของคุณอาจถูกจู่โจมโดย พวกมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์ โดยการปล่อย Spam และไวรัส ต่างๆ เข้ามาในระบบและเอาข้อมูลลูกค้าที่สำ� คัญไป เช่น เบอร์ โทรศัพท์ลูกค้า เลขและรหัสบัตรเครดิต เป็นต้น ทางแก้ปัญหา : จะต้องมีการจัดการ Server เป็นอย่างดี เลี่ยง การใช้ FTP ร่วมกันในการจัดส่งไฟล์ มีการอัพเดตตะกร้าสินค้า อยูเ่ สมอ จะท�ำให้ลดความเสีย่ งทีข่ อ้ มูลจะถูกขโมย และในส่วน ของระบบการจัดการข้อมูลเว็บไซต์ควรมีการเก็บใน Database และฝ่ายดูแลเว็บไซต์ควรเก็บข้อมูลเป็นระยะๆ ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นจริงกับ ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ขายของออนไลน์ หลายๆ ข้อมีความแตกต่างไปจากการขายของ ตามหน้าร้านแบบเดิมๆ เพราะฉะนั้นเจ้าของ ่ ำ� ลังจะกระโจนเข้ามาในการ ธุรกิจท่านไหนทีก ท�ำการค้าออนไลน์ จะต้องค�ำนึงถึงส่วนนี้ พร้อมทั้งวางแผนให้รัดกุมเกี่ยวกับปัญหา ้ ได้กบ ่ ามารถเกิดขึน ทีส ั การขายของออนไลน์ ขอบคุณบทความจาก acquire.io https://www.officemate.co.th/ http://blog.itopplus.com/tips/id_336_topic-important-online-business-not-success

www.thaiprint.org


DS106 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ พร ้อมแกะกล่องอัตโนมัต ิ ไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

TD800S, TDS800 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ และปั๊ มทองเค ไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

TD1060S, TDS1060 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ และปั๊ มทองเคไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

ระบบ Feeder 4+4 ไฮสปี ด

ระบบฉากหน ้า ฉากข ้าง ทีแ ่ ม่นยำ

ระบบปั๊ มอันทรงพลัง 300 ตัน

ระบบกระทุ ้งเศษ ติดตัง้ ใช ้งานง่าย

โซ่ราวกริ๊ ปเปอร์ นำเข ้า Brand ดัง

ระบบขับเคลือ ่ นแบบ Timing Belt

ทำไมต ้องเลือก YAWA เท่านัน ้ ??? YAWA เป็ นบริษัทก่อตัง้ มากว่า 100 ปี

YAWA เป็ นเครือ ่ งระดับ Hi-End ของจีน

YAWA เป็ นทีย ่ อมรับในยุโรป อเมริกา

YAWA ลงทุนคุ ้ม คืนทุนเร็ว ราคาจับต ้องได ้

YAWA ได ้จำหน่ายในไทยกว่า 60 เครือ ่ ง

้ YAWA ใชในไทยกว่ า 20 ปี แข็งแรง ทนทาน

SAP มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 60 ปี

SAP มีทม ี วิศวกรแกร่ง อะไหล่เพียบพร ้อม

ขอขอบพระคุณทุกท่านทีม ่ อบความไว ้วางใจ YAWA

โดย คุณทศวัสส์ ศศิธรรมวงศ์ บริษัท ต ้นไม ้เพรส จำกัด

โดย คุณธนรัตน์ และ คุณธนวัฒน์ ลัภยพร (ทายาทรุ่น 3) บริษัท แอล เกรท แพ็คเกจจิง้ จำกัด (2 เครือ ่ ง)

โดย คุณปรเมศร์ เลิศสกุลพาณิช (ซ ้าย) บริษัท เค เอส พี พริน ้ ท์ตงิ้ แอนด์ แพ็คเก็จจิง้ จำกัด


TD1060S, TDS1060 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ และปั๊ มทองเค ไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

DS106 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ พร ้อมแกะกล่อง อัตโนมัต ิ ไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

TD800S, TDS800 เครือ ่ งปั๊ มกล่องกระดาษ และปั๊ มทองเค ไฮสปี ด 7,500 แผ่น/ชม.

FOLDER GLUER sMAX Series เครือ ่ งติดกล่อง ไฮสปี ด อัตโนมัต ิ

• ติดกล่องปกติ กล่องขัดก ้น ฝากล่องรองเท ้า • ปรับระยะฉากทัง้ หมดด ้วย Motor Driving System • ปรับสายพานขึน ้ -ลงทัง้ หมดด ้วย Pneumatic Sytem HACUF-350 เครือ ่ งเคลือบ U.V. แบบเว ้นลิน ้ อัตโนมัต ิ

HUC-45CD เครือ ่ งเคลือบ U.V. แบบเต็มแผ่น พร ้อมอาบรองพืน ้ และขจัดแป้ งพ่น อัตโนมัต ิ

LWII-120 เครือ ่ งเคลือบ PP Film ระบบ Water Base พร ้อมระบบตัด Air Knife Separator

FMZ-1260 เครือ ่ งประกบลูกฟูกกับกล่อง ระบบอัตโนมัต ิ FM-1300F เครือ ่ งประกบลูกฟูกกับกล่อง ระบบกึง่ อัตโนมัต ิ

D-5 ใบมีดปั๊ มกล่อง ไฮสปี ด ใช ้เหล็กจาก Nippon Steel คุณภาพส่งออกตลาดยุโรป แต่ราคาเอเชีย ผลิตไต ้หวัน

ใบมีดไฮสปี ดตัดกระดาษ เนื้อเหล็กกล ้า SKH-2 นำเข ้าจากยุโรป ผลิตใน ไต ้หวัน คมเฉียบ ใช ้ทน

เครือ ่ งเจาะรูกระดาษ ถุง ป้ าย ่ ้อ UCHIDA สมุดโน๊ ต แฟ้ ม ยีห • พร ้อมดอกสว่านขนาดตัง้ แต่ 3.0 - 8.0 มม.

ผ ้าลูกน้ำขนสีทอง J-MOL ขนาดเบอร์ 70, 80, 90, 100 จากประเทศญีป ่ ่น ุ

Auto Bending Machine เครือ ่ งดัดเส ้นปั๊ มกล่อง ระบบคอมพิวเตอร์ ผลิตในเกาหลี


Network-Connectible Cutting Machine เครือ ่ งตัดกระดาษคอมพิวเตอร์ SC Series ระบบหน ้าจอสัมผัส แบบ TFT 10" Touch Panel Color LCD (8 ภาษา)

AL-10 ลิฟท์ยกกระดาษขึน ้ -ลง อัตโนมัต ิ

MJ-05 เครือ ่ งกระทุ ้งกระดาษและรีดลมกระดาษ KUDO-ACE TYPE III เครือ ่ งกระทุ ้งกระดาษ

SPK66/74-4KTL เครือ ่ งพับหนั งสือ ไฮสปี ด

SM 36/40/44-7KTT เครือ ่ งพับใบแทรก ใบกำกับยา (พับ 2.5x5.0 ซม.)

SPK66/74-4.4.4KTT ่ ไฮสปี ด เครือ ่ งพับโบรชัวร์ 3 สเตชัน

SPT56-4.4K ่ ไฮสปี ด เครือ ่ งพับโบรชัวร์ 2 สเตชัน

Bindexplorer เครือ ่ งเก็บยกและไสสันทากาว

Adventure เครือ ่ งไสกาว 1 หัว PUR

เครือ ่ งยกลง-จัดเรียงตัง้ กระดาษอัตโนมัต ิ RU 5.0 Unloader

LQD8E เครือ ่ งเก็บ-เย็บลวด-ตัด 3 ด ้าน ไฮสปี ด

JBB50/5 เครือ ่ งไสกาว 5 หัว

DQB460 เครือ ่ งเย็บลวด 2 หัว



72

NEWS

Cimpress เซ็นข้อตกลงสั่งซื้อ ่ งพิ มพ์ ดจ เครือ ิ ท ิ ล ั HP Indigo 100K รองรับการเติบโตการผลิตสินค้า Mass Personalization ทั่วโลก

กรุงเทพฯ, 19 พฤษภาคม 2564 – เอชพี อิงค์ และ Cimpress ผู้น�ำระดับโลกด้านการผลิตสินค้าแบบ Mass Customization ได้ประกาศข้อตกลงเชิงกลยุทธ์เป็นระยะเวลาหลายปีส�ำหรับ การลงทุนขนาดใหญ่ในการสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดิจิทัล HP Indigo รุ่นต่อไป เพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ออนไลน์เฉพาะ บุคคล Cimpress ลูกค้ารายใหญ่ของ HP Indigo จะทยอยติดตั้ง เครื่องพิมพ์ดิจิทัล HP Indigo รุ่นใหม่ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยเน้นเครือ่ งพิมพ์ HP Indigo 100K Digital Press ขนาด B2 ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการผลิตจ�ำนวนมากด้วยเทคโนโลยี ใหม่ล�้ำสมัยที่จะเพิ่มรายได้ให้กับแบรนด์ของบริษัทและเพิ่ม ประสิทธิผลของหน่วยการผลิต ธุรกิจของ Cimpress ทีม่ อี ยูท่ วั่ โลกรวมถึง Vistaprint ให้บริการ ลูกค้าในแต่ละปีเป็นจ�ำนวนหลายร้อยล้านคน มอบความสะดวก และความคุม้ ค่าในการเข้าถึงงานพิมพ์เฉพาะบุคคล มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และมีคณ ุ ภาพ เชือ่ ถือได้ อีกทัง้ รองรับสินค้าทีต่ อ้ งการ การผลิตในจ�ำนวนมาก THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

นายโรเบิร์ต คีน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Cimpress กล่าวว่า “ในช่วงที่เกิดการระบาด มีลูกค้างานพิมพ์จ�ำนวนมากขึ้น ที่เปลี่ยนการท�ำงานจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ ซึ่ง Cimpress ได้แสดงความเป็นผู้น�ำอย่างชัดเจน และเรายังเชื่อว่าลูกค้า ส่วนใหญ่ยงั จะท�ำงานในรูปแบบออนไลน์ ดังนัน้ เรายังคงเดินหน้า เพิม่ ประสิทธิภาพและลงทุนด้านการบริการลูกค้าอย่างต่อเนือ่ ง ในช่วงหลายทศวรรษทีผ่ า่ นมา เอชพีเป็นพันธมิตรทางธุรกิจส�ำคัญ ต่อการเติบโตของเรา ไม่เพียงในด้านปริมาณการผลิต แต่รวมถึง การยกระดับศักยภาพของธุรกิจ เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกัน อย่างแน่นแฟ้นจะขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันทั้ง ด้านต้นทุนและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทั่วโลก”

Cimpress ใช้เทคโนโลยีเอชพี ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์สง ิ่ พิ มพ์ เฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการ์ด ตามเทศกาล งานผลิตภาพถ่าย พิ เศษ ของขวัญ ปฏิทินและ สื่อสิง ่ พิ มพ์ ทางการตลาด


NEWS

“เพือ่ ช่วยลูกค้าให้เข้าถึงโอกาสในการเติบโตและความเป็นเลิศ ในการด�ำเนินงานซึง่ เป็นความมุง่ มัน่ หลักของเอชพี การร่วมมือ ทางธุรกิจอย่างใกล้ชิดกับ Cimpress ควบคู่ไปกับการพัฒนา HP Indigo 100K คือการตอกย�ำ้ ความพร้อมในการตอบสนอง ตลาดที่ต้องการงานพิมพ์ผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคลจ�ำนวนมาก เรารูส้ กึ ตืน่ เต้นทีไ่ ด้พฒ ั นาความ สัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กบั Cimpress อย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันความส�ำเร็จในระยะยาวของทั้งสอง บริษัท” ไฮม เลอวิท ผู้จัดการทั่วไปของ HP Indigo กล่าว ออกแบบมาเพื่อการพิมพ์ที่ไม่หยุดนิ่ง เครื่องพิมพ์ HP Indigo 100K ขนาด B2 เป็นเครื่องพิมพ์รุ่นแรกในแพลตฟอร์มรุ่นที่ 5 ของ HP Indigo ซึ่ ง เป็ น นวั ต กรรมที่ ผ ลิ ต งานพิ ม พ์ ดิ จิ ทั ล

73

จ�ำนวนมากด้วยความเร็วและให้ประสิทธิผลสูง ในขณะเดียวกัน ยังมั่นใจได้ถึงรูปลักษณ์ของงานดิจิทัลออฟเซ็ตจากเครื่องพิมพ์ Indigo เครื่องพิ มพ์ ดิจิทัล HP Indigo 100K ยูนิตใหม่ จ�ำนวนมากกว่าครึ่งของการสั่ งซื้อจะถูกติดตั้ง ภายในปี 2564 หลั ง จากที่ ไ ด้ ผ่ า นการทดสอบ ด้ า นการผลิ ต ด้ ว ยระบบอั ต โนมั ติ แ ละงานพิ มพ์ จ�ำนวนมากในช่วงปลายปี 2563 ที่โรงงานผลิต Cimpress ในยุ โ รป โดยเครื่ อ งพิ มพ์ ดิ จิ ทั ล HP Indigo 100K จะมีการท�ำงานโดยตรงกับ HP PrintOS Color Beat เพื่ อรักษามาตรฐาน ค่ า สี สู ง สุ ด และประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ ง านของทุ ก เครื่องพิ มพ์ ในทุกสถานที่ www.thaiprint.org


74

NEWS

ร่วมอภิปราย "การพั ฒนาสื่อใหม่ ในโลกยุค Digital Disruption ต่อวิชาชีพสื่อสารมวลชน"

วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ณ คณะเทคโนโลยีส่อ ื สารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คุ ณ พงศ์ ธี ร ะ พั ฒ นพี ร ะเดช นายกสมาคมการพิ ม พ์ ไ ทย คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม อุปนายกฝ่ายวิชาการสมาคม การพิมพ์ไทย และคุณศุภรัฐ โชติกุลธนชัย ผู้จัดการประจ�ำ ประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เอชพี อินดิโก้และอิงค์เจ็ตเว็บเพรส โซลูชั่น กลุ่มธุรกิจการพิมพ์ เข้าร่วมอภิปราย หัวข้อ “การ พัฒนาสื่อใหม่ในโลกยุค Digital Disruption ต่อวิชาชีพ THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

สื่อสารมวลชน” และการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและสนับสนุน ชุมชนโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ: การพัฒนาและ การปรั บ ตั ว ด้ า นเทคโนโลยี สื่ อ สารมวลชนในยุ ค Digital Disruption ณ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564


NEWS

75

สมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟู กไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สนับสนุนเตียงสนามกระดาษลูกฟู ก

สมาคมบรรจุภณ ั ฑ์กระดาษลูกฟูกไทย (THAI CORRUGATED PACKAGING ASSOCIATION: TCPA) และผู้ประกอบการ ผู้ผลิตกล่องและแผ่นกระดาษลูกฟูก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม สนับสนุนเตียงสนามกระดาษลูกฟูก แก่ภาคราชการ และภาคสาธารณสุข ในสถานการณ์โควิท-19 แพร่ระบาด หน่วยงาน หรือ ตัวแทนหน่วยงานที่ต้องการรับการสนับสนุน เตียงสนามกระดาษลูกฟูก สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก ไทยจะพิจารณาสนับสนุนจ�ำนวนเตียงสนามกระดาษลูกฟูก ตามความเหมาะสม เป็นการต่อไป

สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟู กไทย T.+66 2 345-100 FAX: 66 2 345-1296-9 E mail: tcpa@thaicorrugated.com, thaicorrugatedpackaging@gmail.com,

www.thaicorrugated.com

www.thaiprint.org


76

INTERVIEW

นิพัฒน์ จงเจริญศิริ

บริษัท SYSCON Labels & Packaging THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INTERVIEW

นิพัฒน์ จงเจริญศิริ หรือ ชิน เรียนจบปริญญาตรีด้าน IT (หลักสูตรนานาชาติ) จากสถาบันเทคโนยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท วิศวกรรมอัตโนมัติ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาโท เทคโนโลยีการพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี เป็นลูกชายคนเล็กทีโ่ ตมากับโรงพิมพ์ของตระกูลผูผ้ ลิตงานพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ ครอบครัวและญาติ ๆ หลายคนก็จะท�ำธุรกิจใน กลุม่ สิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์เช่นกัน จึงมีโอกาสได้เห็นการท�ำงาน ของผู้ใหญ่ และการพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์เป็นล�ำดับ มาโดยตลอด ประมาน 6 ปีก่อนในช่วงที่ช่วยงานธุรกิจของครอบครัว ได้มี โอกาสรับผิดชอบในส่วนการพัฒนา packaging ด้วยระบบ การพิมพ์ดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหม่ในเวลานั้นที่การผลิต งานกลุ่ม flexible packaging ยังจ�ำเป็นต้องผลิตแบบ mass production ด้วยระบบพิมพ์กราเวียร์อยู่ โดยเป็นรายแรก ๆ ที่ผลิตซองลามิเนตด้วยระบบพิมพ์นี้ และเป็นรายแรกที่เริ่ม ผลิตฉลากฮีททรานสเฟอร์ดว้ ยระบบพิมพ์ดจิ ทิ ลั ในประเทศไทย จากนั้ น จึ ง มี ก ารพู ด คุ ย กั บ ผู ้ ใ หญ่ ที่ บ ้ า นถึ ง การจั ด ตั้ ง บริ ษั ท

77

SYSCON Labels & Packaging ขึ้นมา เพื่อต่อยอดนวัตกรรม และเทคนิคการพิมพ์นไี้ ปยังผลิตภัณฑ์รปู แบบอืน่  ๆ ซึง่ ปัจจุบนั บริษัทครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการไปถึงงานผลิตฉลาก และบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ เช่น pressure sensitive label (sticker), multi-layer label, in-mold label (IML) และ shrink sleeves รวมถึง flexible packaging หลากหลาย รูปแบบ ที่ผลิตด้วยระบบการพิมพ์อื่น ๆ ด้วย เช่น เฟล็กโซ่ กราเวียร์ และการพิมพ์แบบคอมบิเนชั่น หลังเรียนจบป.ตรี ได้เข้าท�ำงานที่ software house แห่งหนึ่ง ในต�ำแหน่งเป็น web programmer อยูป่ ระมาน 1 ปี โดยสมัย เรียนและท�ำงานข้างนอกก็มีเข้ามาช่วยงานด้าน IT ให้กับธุรกิจ ของทางบ้านบ้าง เช่น ออกแบบระบบ computer network และท�ำเว็บไซต์บริษัท หลังจากเข้ามาเริ่มเรียนรู้งานที่บ้านเต็ม ตัวก็ถกู มอบหมายให้ดแู ลในส่วนงานฝ่ายเทคนิคต่าง ๆ เช่น งาน maintenance และ งาน R&D รวมทั้งหมดประมาน 8 ปี ก่อน ทีจ่ ะมาตัง้ บริษทั SYSCON Labels & Packaging ในเวลาต่อมา บทบาทและหน้ า ที่ ห ลั ก ที่ ซิ ส คอน จะเน้ น เรื่ อ งงานพั ฒ นา ระบบและผลิตภัณฑ์ แต่ในส่วนของลูกค้ารายหลักของบริษัท พยายามใกล้ชิดกับลูกค้าและดูแลลูกค้าให้ดีที่สุดด้วยตัวเอง www.thaiprint.org


78

INTERVIEW

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการท�ำงาน / แนวทางในการแก้ไข

จากมุ ม มองของผู ้ ผ ลิ ต ฉลากและบรรจุ ภั ณ ฑ์ ได้ เ ห็ น ว่ า ปัญหาส่วนใหญ่ของงาน เกิดจากการใช้คนเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการผลิ ต ซึ่ ง การท� ำงานโดยมีคนเป็นผู้ป ฏิบัติงาน จะท�ำให้งานมีข้อจ�ำกัดด้านความเร็ว ความแม่นย�ำ และเกิด ข้อผิดพลาดในการผลิตได้ง่ายกว่าการท�ำงานของเครื่องจักร และระบบอั ต โนมั ติ คนจึง ควรท� ำหน้าที่เ ป็นผู้ควบคุมและ แก้ปัญหาเวลาเกิดความไม่สอดคล้องต่าง ๆ ในระบบมากกว่า เป็นผูป้ ฏิบตั งิ านเอง และในอีกด้านหนึง่ คือคนท�ำหน้าทีด่ แู ลและ พัฒนาระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพทางการผลิต ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายการท�ำงานในปัจจุบัน

พัฒนาศักยภาพบริษัทและทีมงานให้มีความพร้อม เพื่อให้ บริการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยมาตรฐานระดับสากล ซึ่งรวม ถึงด้านการพัฒนาสินค้า การสร้างนวัตกรรม โดยอาจพิจารณา ได้จากการได้รับรางวัลต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น Thai Print Award และ Asian Packaging Excellence Award ตามที่ เคยได้รับในปีที่ผ่าน ๆ มา ในส่วนของการบริหารจัดการและ การพัฒนาระบบภายในองค์กร ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน สากล อาทิเช่น ISO9001, GMP, HACCP และพร้อมพัฒนา ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ISO14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

แนวคิด หรือคติในการท�ำงาน

ท�ำงานให้มีความสุข เพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการท�ำงาน ร่วมกันในทีม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่จะต้องท�ำงานในแบบ ที่เรารู้สึกมีความสุขไปกับมันด้วย ซึ่งการที่จะมีความสุขได้ ก็ต้องมาจากการที่ได้ท�ำในสิ่งที่เราถนัด มี passion เพราะถ้า เราได้ท�ำในสิ่งที่เราชอบ ถึงแม้มันจะหนักหรือเจอโจทย์ยาก ๆ แต่เราก็จะรู้สึกสนุกไปกับมัน ยิ่งถ้าท�ำด้วยความตั้งใจแล้ว เกิ ด ความส� ำ เร็ จ เราก็ จ ะเกิ ด ความภู มิ ใจ ในขณะเดี ย วกั น งานที่เราชอบก็ต้องสร้างรายได้ให้กับบริษัทเราได้ม ากพอ มีความต้องการในตลาด และสามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าได้ด้วยคุณค่าและราคาที่สมเหตุสมผล

ต้องท�ำงานในแบบที่เรารู้สึก มีความสุขไปกับมันด้วย ซึ่งการ ที่จะมีความสุขได้ ก็ต้องมาจาก การที่ได้ท�ำในสิ่งที่เราถนัด มี passion เพราะถ้าเราได้ท�ำ ในสิ่งที่เราชอบ ถึงแม้มันจะหนัก หรือเจอโจทย์ยาก ๆ แต่เราก็จะ รู้สึกสนุกไปกับมัน ยิ่งถ้าท�ำด้วย ความตั้งใจแล้วเกิดความส�ำเร็จ เราก็จะเกิดความภูมิใจ


INTERVIEW

79

มุมมองอนาคตของอุตสาหกรรมการพิ มพ์ ไทย

ถ้ามองจากตลาดในประเทศในกลุม่ งานพิมพ์ฉลากและบรรจุภณ ั ฑ์ ที่ดูแลอยู่ มองว่าตลาดยังใหญ่อยู่ แต่การแข่งขันก็รุนแรง ขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพของงาน และการสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านของเทคโนโลยีการพิมพ์ การพัฒนาของเทคโนโลยี IT ระบบ automation และ AI ทีจ่ ะเข้ามาผนวกรวมกับเครือ่ งจักร และกระบวนการท�ำงานของเรา จะเป็นเครื่องมื อ ที่ ส� ำคั ญ ที่ เข้ า มาเสริ ม ศั ก ยภาพการผลิ ต และสามารถประยุ ก ต์ ใช้ กับงานพิมพ์ของเราได้ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ส�ำคัญในการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น การน�ำ QR code หรือเทคโนโลยี AR (augmented reality) มาประยุกต์ใช้ ท�ำให้งานพิมพ์ของเรา มีกลไกหรือมิติในการใช้งานมากขึ้น ช่วยสร้างสีสันให้กับงาน ในอุตสาหกรรมของเราได้มากทีเดียว เข้ามาเป็นสมาชิก Young Printer Group ได้อย่างไร

ผ่านการชักชวนเข้ากลุ่มโดยเพื่อน ๆ สมาชิกสมาคม แต่ยังไม่มี โอกาสได้รับผิดชอบต�ำแหน่งงานใด ๆ ในสมาคม ส่วนมาก เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมและช่วยเหลือเพื่อน ๆ ในการจัด กิจกรรมของกลุ่ม YPG บ้างในบางโอกาส สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่ม Young Printer

ได้สังคมที่มีเพื่อนในอุตสาหกรรมเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยน แนวคิด ช่วยเหลือเกื้อกูลการท�ำงานระหว่างกันได้ มีโอกาสได้ เจอมิตรภาพดี ๆ จากการร่วมช่วยเหลืองานในสมาคม และ จากกิจกรรมดี ๆ ต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ พี ่ ๆ ในสมาคมร่วมกันจัดขึ้น

www.thaiprint.org


80 KNOWLEDGE

ทักษะความสามารถแผนกวางแผน และควบคุมการผลิต ตอนที่ 2 Production Planning & Control (PPC) Skill Standard โดย เพจโรงพิ มพ์ ไทย 5G THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


KNOWLEDGE

ขั้นตอนการท�ำงาน

สร้างตารางการผลิต ล่วงหน้า 1 - 12 เดือน

ท�ำความเข้าใจใบสั่ง จากฝ่ายขาย และตรวจความถูกต้อง

วางแผนการผลิต Production Planning สร้างตารางการผลิต Scheduling จัดคิวงาน Jobs Sequencing

ออกใบจ๊อบการผลิต

หัวข้อฝึกอบรม

• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •

วันหยุดประจ�ำปีของบริษัท สถานะและสภาพเครื่องจักรในโรงงาน ตารางการบ�ำรุงรักษาเครื่องจักร จ�ำนวนพนักงานแต่ละแผนก แต่ละเครื่อง นโยบายการรับพนักงาน การเปิดกะ การซื้อเครื่องใหม่ Production flow หลักของโรงพิมพ์ Production flow ย่อยของโรงพิมพ์ ไซด์ส�ำเร็จมาตรฐาน Maximum - Minimum กระดาษขึ้นแท่น ความหนาบางสุด หนาสุดที่ท�ำได้ Raw material การวาง Imposition Layout เพลท - บล๊อค ระยะเผื่อในขั้นตอนการผลิต องค์ประกอบของ Production Planning - Material มาตรฐาน สเปค - Method วิธีการผลิต - Machines ก�ำลังผลิต สปีด - Manpower การจัดการก�ำลังคน Job sequencing ลักษณะต่างๆ - FCFS First Come First Serve - SPT Shortest Processing Time - EDD Eariest Due Dated - CR Critical Ratio การจ่ายงานวิธี Johnson' Rule 7 Waste ตวามสูญเปล่า 7 อย่าง Planning Software ตารางเผื่อเสียแต่ละขั้นตอนผลิต ความสามารถของแต่ละ Outsource

81

เป้าหมาย

• ประเมินก�ำลังการผลิตในภาพรวมระยะยาว • รู้ชั่วโมงเดินเครื่องจักรได้ล่วงหน้า • ตั้งเป้ายอดขายได้ใก้ลเคียงความจริง

• • • • • •

ประเมินระดับคุณภาพงานที่ลูกค้าต้องการ สร้างขั้นตอนการผลิตตามสเปคงาน เข้าใจความยากง่ายของงาน หาแหล่งซื้อ Raw material ได้ พบความผิดพลาดจากการคิดราคาผิด ประวัติใบ NCR ของ Q.A งานที่คล้ายกัน

• ใช้เครื่องจักรและคนเกิดประโยชน์สูงสุด • รู้ปญ ั หาคอขวดที่จะเกิดขึ้นแล้วแก้ไข • เห็นการรองานที่จะเกิดขึ้นแล้วแก้ไข

• ก�ำหนดวันส่งงานแต่ละOutsource • วิธกี ารส่งของทางบก - เรือ - อากาศ • สั่งท�ำลาเบล ซอง กล่องใส่ ล่วงหน้า www.thaiprint.org


82 KNOWLEDGE ขั้นตอนการท�ำงาน

วางแผนการสั่ง Raw Material และวัสดุอื่นๆ

ท�ำ Mock-up ขึ้นตัวอย่าง

สรุป Final Proof จากลูกค้า

ควบคุมการผลิต Production Control

หัวข้อฝึกอบรม

• • • • • • • • • • • • • • • • •

ติดต่อ Outsource

• • •

การจัดท�ำแผนต้องการวัสดุ Material Requirement Planning (MRP) MRP software การบริหารคลังสินค้า Inventory Management หลักการ Just In Time ค่าใช้จ่ายในการเก็บ Inventory Costs เครื่องจักรที่ใช้แต่ละขั้นตอน หน้าที่การท�ำงานของเครื่องจักรแต่ละตัว ข้อจ�ำกัดของเครื่องจักรแต่ละตัว ขั้นตอนที่ต้องท�ำมือ สเปคของ Raw Material การท�ำงานของ Ink-jet digital proof ประเภทของ Proof - Soft - Hard Copy - Contract - Imposed File Formats Color Profiles องค์ประกอบของ Production Control - Dispatching เริ่มจ่ายงานเข้าผลิต - Inspection ดูประสิทธิภาพ คุณภาพ ยอด - Evaluating ปรับแผน แก้ไขกระบวนการ - Cost control คุมของเสียลดความสูญเปล่า - วิธีการวัดประสิทธิภาพ Production Control - Delivery เวลาส่งงานแต่ละขั้นตอน - Inventory levels วัตถุดิบเข้าออกหมุนเวียน - Comparison of planned and actual เทียบแผนกับหน้างานจริง - Revenues and expenditures ยอดส่งเข้าและยอดออก หลักการ Just In Time ก�ำลังผลิตและระดับคุณภาพ Outsource ศิลปะการพูดและการสื่อสาร

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

เป้าหมาย

• • • • •

ลดต้นทุนการเก็บสต๊อค ลดการรอในไลน์ผลิต ประสานงานฝ่ายจัดซื้อและสโตร์ได้ รักษาและติดตาม Minimum stocks ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงจากฝ่ายขาย

• • • • • • •

หาเวลาที่ใช้ Set-up และสปีดเครื่อง ปัญหาคุณภาพที่พบแต่ละขั้นตอน ก�ำหนดสเปคและค่าคลาดเคลื่อนที่ท�ำได้ สิ่งที่ต้องตรวจเป็นพิเศษแต่ละขั้นตอน ความเหมาะสมของ Raw Material ตรวจปรู๊ฟเบื้องต้นก่อนส่งให้ลูกค้า แจ้ง Feedback การสั่งแก้ ความต้องการ ของลูกค้ากับพรีเพรส เจรจาฝ่ายขายหากการแก้ปรู๊ฟจะมีผลกับ วันส่งของที่ตกลงไว้ ติดตาม O.K Proof จากลูกค้าให้พรีเพรส บันทึกเวลารับไฟล์และรับส่งปรู๊ฟ รักษาตัวอย่างสีจากลูกค้าให้ฝ่ายผลิต ส่งของตามก�ำหนด คุมบาลานซ์ Work In Process ก�ำหนดเวลาที่แผนกต่างๆ ต้องส่งมอบให้ ขั้นตอนต่อไป ระบุปัญหาที่ทำ� ให้งานไม่เป็นไปตามแผน แก้ปัญหาคอขวดให้เล็กลงได้เร็วที่สุด ขยับคิวงานโดยกรุ๊ปงานเหมือนกัน ขึ้นต่อกัน เพื่อลดเวลา Set Up เปิดโอทีตามความเป็นจริงและคุ้มค่า ป้องการความเสียหายจากการเคลื่อนย้าย ระหว่างขั้นตอน สนับสนุนสิ่งที่ฝ่ายผลิตต้องการ

• • • • • • • • • • • • •

• เจรจาต่อรองวันเวลาที่ยืดหยุ่นทั้งสองฝ่าย • ประเมินประสิทธิภาพ Outsource


KNOWLEDGE 83 ขั้นตอนการท�ำงาน

อัพเดทสถานะงาน Real time ก�ำหนดตารางการบ�ำรุง รักษาเครื่องจักร พัฒนาประสิทธิภาพ การผลิตร่วมกับ ฝ่ายผลิต Q.A สนับสนุนฝ่ายขาย

หัวข้อฝึกอบรม

• ระบบการบริหารทรัพยากรในองค์กร Enterprise Resource Planning (ERP) • ERP Software • Instruction Manual

เป้าหมาย

• ประสานงานซุปเปอร์ไวเซอร์แต่ละแผนก ด้วยวาจาและช่องทางอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง • จัดประชุมประจ�ำวัน • ลดชั่วโมง Break Down เครื่องจักลง

• การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร • เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในองค์กร Overall Equipment Effectiveness (OEE) • ลดเวลา Set Up เครื่องจักรในโรงงาน • การท�ำมาตรฐาน (Standardization ) • ไคเซน Kaizen • ดูแลลูกค้าเมื่อมาเยี่ยมชมหรือดูสีหน้าแท่น

www.thaiprint.org



NEWS

การประชุมใหญ่สามัญ และการเลือกตั้งคณะกรรมการ สมาคมการค้านวัตกรรม การพิ มพ์ ไทย ประจ�ำปี 2564 วันที่ 28 เมษายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์

สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย (TINPA) จัดการ ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2564 พร้อมทั้งการเลือกตั้ง คณะกรรมวาระ 2564-2566 ผ่านระบบออนไลน์ วันพุธที่ 28 เมษายน 2564 โดยคุณมงคล เพียรอภิธรรม ได้รบั เลือกให้เป็น นายกสมาคมฯ คนที่ 7 ต่อจากคุณประภาพร มโนมัยวิบูลย์ www.thaiprint.org

85


86

NEWS

Pubat เผยอินไซด์นักอ่าน ช่วงโควิดระลอก 3 จาก ThaiBookFair.com ผู้ใช้หน้าใหม่เพิ่ มสูง หมวดการ์ตูนท็อปฟอร์มยอดนิยม

สมาคมผู้จัดพิ มพ์ และผู้จ�ำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เผยพฤติกรรมนักอ่านในช่วงโควิด ระลอก 3 ที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม ThaiBookFair.com พบผู้ใช้ บริการใหม่ถึง 75% หมวดการ์ตูน และไลท์โนเวลท็อปฟอร์ม ขายดี แซงหน้านิยาย/วรรณกรรมเป็น ครั้งแรกของงานหนังสือออนไลน์ คาดเหตุจากผู้อ่านเป็นคนรุ่นใหม่ ต้องการใช้เวลาไปกับความบันเทิง ในช่วง Stay at home และต้องการ เสพสื่อที่ไม่เคร่งเครียดมากนัก นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมผู้จัดพิ มพ์ และผู้จ�ำหน่ายหนังสือ แห่งประเทศไทย (Pubat)

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


NEWS

นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และ ผู้จ�ำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (Pubat) กล่าวว่า จาก สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่เกิดขึ้น ในช่วงต้นเดือนเมษายนและยังคงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ต้องตัดสินใจยกเลิกการ จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครัง้ ที่ 49 และสัปดาห์หนังสือ นานาชาติ ครั้งที่ 19 ในรูปแบบออนกราวด์ (On Ground) เพือ่ ความปลอดภัยของนักอ่านและส�ำนักพิมพ์ทมี่ าร่วมออกบูธ แต่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ThaiBookFair.com ยังคงจัดงาน สัปดาห์หนังสือออนไลน์ช่วงวันที่ 17 เมษายน - 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจจากเหล่านักอ่านเข้าร่วมงาน ตลอด 19 วันเป็นจ�ำนวน 364,747 คน “การจัดงานหนังสือออนไลน์ครัง้ ล่าสุดนีท้ ำ� ให้เราพบข้อมูลใหม่ๆ ของนักอ่านทีเ่ ข้ามาใช้บริการทางเว็บไซต์ ThaiBookFair.com โดยพบว่ามีกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ (New Users) เข้ามาใช้ บริการมากถึง 75% ส่วนอีก 25% เป็นผูท้ เี่ คยใช้บริการอยูแ่ ล้ว

87

คาดว่าเกิดจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำ� ให้ผู้คนเว้นระยะห่าง ทางสังคม (Social Distancing) ลดการออกไปข้างนอก ใช้เวลา อยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมการอ่านก็ถือเป็นกิจกรรมสร้าง ความบันเทิงได้ตลอดเวลา และการอยู่บ้านของเหล่านักอ่านนี้ เองทีท่ ำ� ให้ชว่ งเวลา 10.00 - 15.00น. และ 20.00 - 24.00น. เป็นช่วงที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด เรียกได้ว่าเกือบตลอดทั้งวัน เลยทีเดียว ส�ำหรับข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์นนั้ พบว่าเพศหญิงเป็น กลุ่มใหญ่ที่นิยมช้อปหนังสือออนไลน์ถึง 63% หากพิจารณา ด้านกลุ่มอายุแล้วพบว่ามี 3 กลุ่มหลักที่เข้ามาใช้บริการคือ กลุ่มอายุ 25-35 ปี เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดที่ 27% รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35-44 ปี ที่ 23% และกลุ่มอายุ 18-24 ปี ที่ 20% โดยผูใ้ ช้บริการเว็บไซต์สว่ นใหญ่อยูท่ กี่ รุงเทพฯ มากกว่าครึง่ ถึง 54% และทีเ่ หลืออยูต่ า่ งจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น นครปฐม นครสวรรค์ หาดใหญ่ พัทยา และอยุธยา ตามล�ำดับ” www.thaiprint.org


88

NEWS

ด้านหมวดหนังสือที่ขายดีครองแชมป์อันดับ 1 นั้นคือหมวด การ์ตูน/ไลท์โนเวล ที่สอดคล้องกับจ�ำนวนเพศและช่วงอายุ ส่วนใหญ่ของกลุ่มผู้อ่านที่เข้ามาใช้บริการ เพราะเป็นกลุ่มคน ที่โตมากับการอ่านมังงะ การดูอนิเมะ และหนังสือประเภทนี้ ทีเ่ ป็นงานเขียนทีม่ โี ครงเรือ่ งไม่หนัก เน้นการให้ความเพลิดเพลิน รองลงมาคือหมวดนิยาย/วรรณกรรม หมวดจิตวิทยาและ การพัฒนาตนเอง หมวดการศึกษา และหมวดประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ตามล�ำดับ

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ส�ำหรับการจัดงานสัปดาห์หนังสืออนไลน์ในครั้งนี้ สมาคม ผู้จัดพิมพ์ฯ ได้ใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่ม ลูกค้า โดยใช้ฐานข้อมูลนักอ่านจากงานหนังสือออนไลน์และ ออนกราวด์ครัง้ ทีผ่ า่ นมา พร้อมเน้นการมอบโปรโมชัน่ โค้ดส่งฟรี ซึง่ ได้รบั ความนิยมเป็นอย่างมาก ส่วนลดจากร้านค้า การร่วมมือ (Collaboration) กับนักเขียน และส�ำนักพิมพ์ในการมอบโค้ด ส่วนลดพิเศษทีไ่ ม่มขี อ้ ก�ำหนดในการใช้ และยังมีกจิ กรรมส่งเสริม การตลาดด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ เพิ่มมากขึ้น


NEWS

“แม้ เ สี ย งจากนั ก อ่ า นส่ ว นใหญ่ ที่ สื่ อ สารผ่ า นทาง เฟซบุ๊ก ThaiBookFair จะยังรู้สึกเสียดายที่ปีนี้ ไม่มง ี านสัปดาห์หนังสือแบบออนกราวด์ แต่โดยรวม นั้นนักอ่านทุกคนเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ทาง สมาคมผู้จัดพิ มพ์ ฯ หวังให้สถานการณ์โควิด-19 ในช่ ว งปลายปี จ ะคลี่ ค ลายไปในทางที่ ดี เพื่ อให้ สามารถจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครัง ้ ที่ 26 (Book Expo Thailand 2021) แบบออนกราวด์ ขึ้ น ได้ ต ามก� ำ หนดการเดิ ม ในช่ ว งเดื อ นตุ ล าคม” นางสาวโชนรังสี กล่าว

ช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.ThaiBookFair.com

ติดตามรายละเอียดเพิ่ มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: Thai Book Fair

www.thaiprint.org

89


90

NEWS

บราเดอร์ เดินหน้านโยบาย Environmental ่ วามยัง Vision 2050 ปูทางแผนพั ฒนาสูค ่ ยืน

ด้วยการลด CO2 ต้นเหตุภาวะโลกร้อน บริหารจัดการทรัพยากร อนุรักษ์ระบบนิเวศน์ และพั ฒนาห่วงโซ่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บราเดอร์ พั ฒนานโยบายขานรับแผนการพั ฒนาโลกเพื่ อความยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ที่ริเริ่มโดย สหประชาชาติ โดยมุง ่ เน้นใน 3 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย เพิ่ มการหมุนเวียนทรัพยากรสูงสุด ส่งเสริมสังคมทีไ่ ร้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และผลลัพธ์สุทธิท่เี ป็นบวกในระบบนิเวศน์ ผ่านนโยบาย Environmental Vision 2050 ที่พร้อมขับเคลื่อนโดยบราเดอร์ทั่วโลก

นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและบริหาร

นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผูจ้ ดั การทัว่ ไปฝ่ายการเงินและบริหาร บริษทั บราเดอร์ คอมเมอร์เชีย่ ล (ประเทศไทย) จ�ำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบนั “ภาวะ โลกร้อน” และ “การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ” ถือเป็นปัญหาระดับโลก ที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น นโยบาย การขับเคลื่อนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นหนึ่งภารกิจหลักที่ บราเดอร์ ให้ความส�ำคัญและด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ นโยบายด้านการลด ปริมาณ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2” ที่เป็นสาเหตุหลัก โดยใน ปีงบประมาณ 2022 บราเดอร์ ได้ก�ำหนดทิศทางและแผนการด�ำเนินงาน ภายใต้นโยบายหลักของกลุม่ บริษทั บราเดอร์ชอื่ Environmental Vision 2050 ต่อยอดจากการลดปริมาณ CO2 ด้วยการเพิม่ นโยบายใน 3 ด้าน ประกอบด้วย Maximize Resource Circulation หรือการบริหารจัดการทรัพยากร โดยเน้นการ reuse และ recycle มากกว่าการใช้ทรัพยากรใหม่ๆ ในการ ขับเคลื่อนกลไกทางธุรกิจ, Positive Net Gain for Biodiversity หรือการ เสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและรักษาระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ และ Contribution for Decarbonized Society หรือห่วงโซ่กระบวนการ การผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่จะมีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม “นโยบาย Environmental Vision 2050 ถูกก�ำหนดแผนการด�ำเนินงาน ออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเริ่มจากปีงบประมาณ 2021 ถึง 2030 ทีส่ อดคล้องกับเป้าหมายเพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ของสหประชาชาติ โดยเป็นระยะปรับตัวเตรียมความพร้อม เพือ่ ก้าวสูร่ ะยะ ด�ำเนินงานจริงในช่วงปีงบประมาณ 2031 ถึง 2050 ในระยะ แรกนัน้ บราเดอร์ ตัง้ เป้าลดปริมาณ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2” THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

ให้ได้ถงึ 30% ด้วยการด�ำเนินการภายในองค์กรตลอดจนส่งเสริมภาคสังคม ในด้านต่างๆ ทีม่ บี ทบาทในการช่วยลด CO2 ด้วยเช่นกัน พร้อมทัง้ สนับสนุน ให้ บราเดอร์ ทัว่ โลกเดินหน้าสร้างสรรค์กจิ กรรมเพือ่ รักษาระบบนิเวศน์ทาง ธรรมชาติดงั เช่นที่ บราเดอร์ ประเทศไทย ได้ดำ� เนินโครงการบราเดอร์อาสา อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูธรรมชาติปา่ ชายเลน เพือ่ ฟืน้ ฟูธรรมชาติอย่างยัง่ ยืนทีไ่ ด้ทำ� มาอย่างต่อเนือ่ งตลอด 12 ปีทผี่ า่ นมา เพือ่ ตอบสนองนโยบายด้าน Positive Net Gain for Biodiversity ส่วนด้าน Maximize Resource Circulation จะเริ่มเดินหน้าลดการใช้ทรัพยากรใหม่ๆ และมุ่งเน้นด้าน Reuse และ Recycle เป็นหลัก” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร อธิบายถึงรายละเอียด ของนโยบาย Environmental Vision 2050 “บราเดอร์ เชือ่ ว่าการสร้างสรรค์โลกใบนีใ้ ห้เป็นโลกทีน่ า่ อยูอ่ ย่างยัง่ ยืนและ พร้อมเป็นบ้านของมนุษยชาติจากปัจจุบันสู่อนาคตนั้น ไม่สามารถท�ำได้ เพียงแค่ใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ต้องได้รับพลังความร่วมมือจากสังคมทุก สังคมบนโลกใบนี้ ร่วมสร้างความตระหนักถึงความส�ำคัญของสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังให้คนในรุ่นต่อๆ ไปเข้าใจและเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่าง สมดุลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” นายพรภัค กล่าวถึงเป้าหมายของนโยบาย Environmental Vision 2050 “แม้ปี 2050 อาจมองว่ายังห่างไกล แต่ บราเดอร์เชือ่ ว่าหากเราไม่เริม่ ในวันนี้ อาจสายเกินไปทีจ่ ะเริม่ ภารกิจทีส่ ำ� คัญ ดังกล่าว เพราะการปลูกฝังเรือ่ งจิตส�ำนึกด้านสิง่ แวดล้อมนัน้ ต้องอาศัยเวลา” ส�ำหรับการด�ำเนินงานเพื่อสนองตอบนโยบาย Environmental Vision 2050 ของ บราเดอร์ ประเทศไทยนัน้ นายพรภัค กล่าวเสริมว่า “บราเดอร์ จะเดินหน้าสานต่อกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ท�ำมาแล้ว เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการเดินหน้าเพื่อก้าวสู่การเป็น Green Office โดยมุ่งไป ที่การลดปริมาณ CO2 และลดปริมาณขยะในส�ำนักงานผสานการต่อยอดสู่ นโยบาย Maximize Resource Circulation ด้วยการมุ่งเน้นด้าน Reuse และ Recycle ผ่านโครงการ Ecobricks ที่รณรงค์ให้พนักงานน�ำเศษขยะ ชิ้นเล็กๆ ที่ไม่สามารถ รีไซเคิลได้ เช่น ถุงพลาสติก ซองขนม หลอด มาอัด ให้แน่นในขวดพลาสติก โดยต้องเป็นชิ้นส่วนไม่เปียก ไม่เน่า เพื่อใช้เป็นวัสดุ ในการก่อสร้างแทนอิฐส�ำหรับสร้างก�ำแพงของสถานศึกษา หรือห้องสมุด ให้แก่ชุมชนพื้นที่ชายขอบใน จ.กาญจนบุรีต่อไป โดยบราเดอร์จะส่งทีม พนักงานอาสาสมัครเดินทางไปร่วมสร้างก�ำแพงในครั้งนี้ด้วย” ่ ล สามารถชมข้อมูล บราเดอร์ คอมเมอร์เชีย (ประเทศไทย) เพิ่ มเติมได้ที่ www.brother.co.th/th-th www.facebook.com/ BrotherCommercialThailand/ หรือสอบถามเพิ่ มเติมได้ที่ Brother Contact Center 0-2665-7777 สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่ มเติมได้ที่: บริษัท โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น จ�ำกัด ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพั นธ์ อีเมล์: fourdeecomm@gmail.com โทรศัพท์ 02-951-9119 • วิภาวริศ เกตุปมา (ส้ม) 081 890 3568 • ปรัชญา นาคศรีชุ่ม (เคน) 094 993 9962 • วารีพร ยังมั่น (เปิ้ล) 083 061 9008


40 Ad Seethong Pc4.indd 1

24/11/2561 20:44:48


92 INDUSTRIAL

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรก ของไทยรายประเทศ ประเภทหนังสือและสิ่งพิ มพ์ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ (หีบ กล่อง ซองฯ) พ.ศ. 2561 - 2564 (ม.ค. - พ.ค.)

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131


INDUSTRIAL 93

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรกของไทยรายประเทศ หนังสือและสิ่งพิ มพ์ พ.ศ. 2561 - 2564 (ม.ค. - พ.ค.)

อันดับ ที่

มูลค่า : ล้านบาท

ประเทศ

2561

2562

2564

2563

2563

(ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.)

1 ฮ่องกง 403.53 541.89 379.20 139.63 151.44 2 กัมพูชา 187.96 187.23 166.52 75.53 95.10 3 สหรัฐอเมริกา 140.46 186.09 206.15 72.57 83.21 4 ฟิลิปปินส์ 519.87 168.27 140.06 58.63 66.41 5 อินโดนีเซีย 229.88 108.18 82.70 44.02 49.21 6 ญี่ปุ่น 206.86 205.57 139.03 57.19 48.11 7 เวียดนาม 145.55 69.37 58.71 26.81 33.24 8 สิงคโปร์ 97.67 74.69 65.95 17.54 22.65 9 จีน 28.83 36.80 49.69 24.33 19.71 10 ศรีลังกา 15.10 27.62 32.47 11.21 16.03 11 เมียนมา 95.04 118.78 68.82 19.45 10.97 12 มาเลเซีย 118.90 83.23 31.67 13.02 9.64 13 เยอรมนี 35.77 29.30 21.82 6.70 8.21 14 ฝรั่งเศส 12.37 17.52 18.59 10.62 7.89 15 สหราชอาณาจักร 50.10 66.22 30.80 10.30 7.02 16 อินเดีย 45.20 48.87 17.16 11.06 6.63 17 เบลเยี่ยม 19.60 26.41 24.69 8.86 6.58 18 ออสเตรเลีย 36.57 33.13 18.58 7.16 6.31 19 อียิปต์ 10.06 8.29 8.67 3.44 4.63 20 ปากีสถาน 4.26 8.63 21.12 2.08 4.63 รวม 20 รายการ 2,403.6 2,046.1 1,582.4 620.2 657.6 รวมอื่นๆ 241.4 273.6 144.9 62.4 45.3 รวมทุกประเทศ 2,644.97 2,319.71 1,727.31 682.56 702.91

อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%) 2563 2564 2561 2562 2563 2563 2564 2561 2562 2563 (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) 9.44 64.87 -1.04 376.05 -33.68 -16.83 42.83 40.91 -10.05 5.54 67.22 34.14 -53.86 15.55 -66.91 -27.03 39.87 -10.22 91.02 -49.77 16.55 1.81 15.03

34.28 -0.39 32.49 -67.63 -52.94 -0.63 -52.34 -23.53 27.66 82.92 24.98 -30.00 -18.09 41.68 32.18 8.12 34.75 -9.40 -17.56 102.49 -14.87 13.36 -12.30

-30.02 -11.06 10.78 -16.76 -23.55 -32.37 -15.37 -11.70 35.04 17.57 -42.06 -61.95 -25.52 6.08 -53.50 -64.88 -6.54 -43.92 4.59 144.79 -22.66 -47.05 -25.54

-24.43 -13.76 14.63 -16.24 -8.38 -25.23 -15.70 -41.75 97.52 -14.56 -75.64 -6.09 -40.89 52.33 -62.70 -52.35 -24.98 -36.39 1.85 51.69 -23.27 -48.36 -26.53

8.46 25.91 14.65 13.27 11.79 -15.88 23.97 29.08 -19.00 43.06 -43.61 -26.01 22.54 -25.64 -31.88 -40.06 -25.78 -11.98 34.61 122.92 6.04 -27.40 2.98

15.26 23.36 21.95 7.11 8.07 9.64 5.31 8.02 11.93 19.66 7.25 8.11 8.69 4.66 4.79 7.82 8.86 8.05 5.50 2.99 3.40 3.69 3.22 3.82 1.09 1.59 2.88 0.57 1.19 1.88 3.59 5.12 3.98 4.50 3.59 1.83 1.35 1.26 1.26 0.47 0.76 1.08 1.89 2.85 1.78 1.71 2.11 0.99 0.74 1.14 1.43 1.38 1.43 1.08 0.38 0.36 0.50 0.16 0.37 1.22 90.87 88.20 91.61 9.13 11.80 8.39 100.00 100.00 100.00

20.46 11.07 10.63 8.59 6.45 8.38 3.93 2.57 3.56 1.64 2.85 1.91 0.98 1.56 1.51 1.62 1.30 1.05 0.50 0.30 90.86 9.14 100.00

21.55 13.53 11.84 9.45 7.00 6.84 4.73 3.22 2.80 2.28 1.56 1.37 1.17 1.12 1.00 0.94 0.94 0.90 0.66 0.66 93.56 6.44 100.00

่ า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ ่ สาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ทีม

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรกของไทยรายประเทศ หนังสือและสิ่งพิ มพ์ พ.ศ. 2564 (ม.ค. - พ.ค.)

ฮ่องกง

สหรัฐอเมริกา

อินโดนีเซีย

เวียดนาม

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

151.44

83.21

กัมพูชา

95.10

ฟิลิปปินส์

11

3 12

13

5 14

7 16

17

เยอรมนี

สหราชอาณาจักร

เบลเยี่ยม

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

8.21

มาเลเซีย

9.64 ล้านบาท

7.02

ฝรั่งเศส

7.89 ล้านบาท

16.03

อินเดีย

6.63 ล้านบาท

ล้านบาท

8

เมียนมา

10.97

ศรีลังกา

ล้านบาท

6 15

ล้านบาท

22.65

ล้านบาท

4

19.71 สิงคโปร์

48.11

ล้านบาท

2

33.24

ญี่ปุ่น

66.41

ล้านบาท

1

49.21

จีน

9 18

10 19

20

อียิปต์

6.58

4.63

ออสเตรเลีย

6.31

ล้านบาท

ล้านบาท

ปากีสถาน

4.63 ล้านบาท

www.thaiprint.org


94 INDUSTRIAL

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรกของไทยรายประเทศ

บรรจุภัณฑ์กระดาษ (หีบ กล่อง ซองฯ) พ.ศ. 2561 - 2564 (ม.ค. - พ.ค.) อันดับ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

ประเทศ

มูลค่า : ล้านบาท 2562 2563 2563

2561

2564

(ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.)

อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%) 2563 2564 2561 2562 2563 2563 2564 2561 2562 2563 (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.)

อินโดนีเซีย 2,233.20 2,429.23 2,170.96 939.08 1,038.59 12.84 8.78 -10.63 เวียดนาม 2,929.10 2,142.83 1,705.06 585.81 926.45 11.33 -26.84 -20.43 เกาหลีใต้ 694.12 766.33 934.16 387.43 424.86 20.23 10.40 21.90 มาเลเซีย 374.81 393.83 364.52 156.67 169.21 12.53 5.08 -7.44 ลาว 373.60 368.84 304.33 128.38 148.91 37.96 -1.27 -17.49 สหรัฐอเมริกา 188.07 327.45 359.66 206.71 123.71 -3.68 74.12 9.84 อินเดีย 23.92 87.84 125.44 56.24 103.96 46.54 267.27 42.81 ญี่ปุ่น 263.64 259.76 240.52 94.03 95.79 2.87 -1.47 -7.41 ออสเตรเลีย 64.86 52.92 155.86 16.55 86.65 -12.36 -18.41 194.52 ไต้หวัน 159.37 153.09 118.17 46.19 62.11 -3.01 -3.94 -22.81 สิงคโปร์ 98.26 89.81 18.97 10.36 53.25 -15.84 -8.60 -78.88 จีน 81.87 103.06 108.62 38.92 51.48 18.26 25.89 5.39 กัมพูชา 70.09 97.17 107.08 44.03 47.72 5.52 38.64 10.20 บังกลาเทศ 101.13 57.45 64.13 46.17 41.12 26.16 -43.19 11.63 เมียนมา 107.79 103.17 97.77 32.15 36.26 11.14 -4.29 -5.24 ฟิลิปปินส์ 46.68 76.57 72.21 18.92 24.01 128.66 64.02 -5.69 สหราชอาณาจักร 8.81 8.55 14.02 2.89 16.91 -12.71 -3.01 64.11 ฮ่องกง 59.99 46.82 37.30 15.55 15.24 -89.94 -21.96 -20.33 ฝรั่งเศส 9.61 12.05 10.58 8.16 12.87 -8.74 25.46 -12.24 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 22.98 22.44 12.96 6.44 9.74 -22.82 -2.33 -42.27 รวม 20 รายการ 7,911.9 7,599.2 7,022.3 2,840.7 3,488.9 4.18 -3.95 -7.59 รวมอื่นๆ 240.1 177.9 141.6 64.9 52.2 -24.20 -25.91 -20.36 รวมทุกประเทศ 8,151.93 7,777.07 7,163.95 2,905.57 3,541.04 3.05 -4.60 -7.88

-4.41 -2.80 21.19 4.84 -23.74 68.21 61.51 -7.41 -15.04 -33.94 -79.85 8.55 16.45 12.67 -35.67 -19.31 16.21 -19.63 65.94 -31.55 -.22 -12.94 -0.54

10.60 58.15 9.66 8.01 15.99 -40.15 84.85 1.88 423.65 34.46 414.16 32.27 8.37 -10.92 12.79 26.88 485.04 -2.00 57.82 51.38 22.82 -19.60 21.87

27.39 31.24 30.30 35.93 27.55 23.80 8.51 9.85 13.04 4.60 5.06 5.09 4.58 4.74 4.25 2.31 4.21 5.02 0.29 1.13 1.75 3.23 3.34 3.36 0.80 0.68 2.18 1.96 1.97 1.65 1.21 1.15 0.26 1.00 1.33 1.52 0.86 1.25 1.49 1.24 0.74 0.90 1.32 1.33 1.36 0.57 0.98 1.01 0.11 0.11 0.20 0.74 0.60 0.52 0.12 0.15 0.15 0.28 0.29 0.18 97.06 97.71 98.02 2.94 2.29 1.98 100.00 100.00 100.00

32.32 20.16 13.33 5.39 4.42 7.11 1.94 3.24 0.57 1.59 0.36 1.34 1.52 1.59 1.11 0.65 0.10 0.54 0.28 0.22 97.77 2.23 100.00

29.33 26.16 12.00 4.78 4.21 3.49 2.94 2.71 2.45 1.75 1.50 1.45 1.35 1.16 1.02 0.68 0.48 0.43 0.36 0.28 98.53 1.47 100.00

่ า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ ่ สาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ทีม

ตลาดส่งออก 20 อันดับแรกของไทยรายประเทศ

บรรจุภัณฑ์กระดาษ (หีบ กล่อง ซองฯ) พ.ศ. 2564 (ม.ค. - พ.ค.) อินโดนีเซีย

เกาหลีใต้

1,038.59 ล้านบาท

ลาว

424.86 เวียดนาม

ล้านบาท

2 11

สหรัฐอเมริกา

13

ล้านบาท

123.71

5 14

ล้านบาท

ไต้หวัน

95.79

62.11

ล้านบาท

6 15

86.65

ญี่ปุ่น

ล้านบาท

4

ออสเตรเลีย

103.96

ล้านบาท

3 12

ล้านบาท

169.21

ล้านบาท

1

148.91 มาเลเซีย

926.45

อินเดีย

7 16

ล้านบาท

8

9

17

18

10 19

สิงคโปร์

กัมพูชา

เมียนมา

สหราชอาณาจักร

ฝรั่งเศส

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

ล้านบาท

53.25

47.72

จีน

51.48 ล้านบาท

THAIPRINT MAGAZINE ISSUE 131

36.26

บังกลาเทศ

41.12 ล้านบาท

16.91

ฟิลิปปินส์

24.01 ล้านบาท

ฮ่องกง

15.24 ล้านบาท

12.87

20

สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์

9.74

ล้านบาท


THAI PRINTING DIRECTORY 2019-2020

แหล่งรวมข้อมูลล่าสุดของผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ หนังสือ “THAI PRINTING DIRECTORY 2019-2020” เล่มใหม่ล่าสุดที่รวมรายชื่อข้อมูลล่าสุดของผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมการพิ มพ์ ทั้งก่อนการพิ มพ์ หลังการพิ มพ์ รวมทั้งผู้จ�ำหน่ายเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ด้านการพิ มพ์ และการซ่ อ มบ� ำ รุ ง เหมาะส� ำ หรั บ ใช้ เ ป็ น คู่ มื อ การซื้ อ และ เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของท่าน

พิ เศษเพี ยง

500 บาท/เล่ม ใบสั่งซื้อหนังสือ

*

จ�ำนวน ................... เล่ม

ชื่อ - นามสกุล...................................................................................... บริษัท.................................................................................................. เลขประจ�ำตัวผู้เสียภาษี......................................................................... ที่อยู่.................................................................................................... โทรศัพท์..................................โทรสาร.................................................

รายละเอียดการช�ำระเงิน

วิธีการชำ�ระเงิน

THAI PRINTING DIRECTORY 2019-2020

• ราคา 500 บาท/เล่ม • ค่าจัดส่ง 100 บาท/เล่ม

*ราคานีย้ งั ไม่รวมภาษีมลู ค่าเพิม่

โอนเงินผ่านธนาคาร ชื่อบัญชี “สมาคมการพิมพ์ไทย” บัญชี ออมทรัพย์035-2-461-48-1 ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาสุขุมวิท ซอย 71

้ ได้ทส สั่งซือ ี่ มาคมการพิ มพ์ ไทย

311, 311/1 ซ.ศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2719-6685-7 โทรสาร 0-2719-6688

หมายเหตุ: กรุณาส่งแฟกซ์หลักฐานการโอนเงินพร้อมใบสั่งซื้อมาที่สมาคมฯ

20191025_TP-Directory_final.indd 1

10/25/19 10:52



2): ) :+&< ) &č H * THE THAI PRINTING ASSOCIATION caaŲcaaŵa &+8+:)i 5*ae Ů 5*0A!*č/< 9*dů Ŵ&+8+:)i E / ": 8#Ā D 3Ċ/* /: +@ D &7 a`ca` F +09& č `ųbgaiųffehųg F +2:+ `ųbgaiųffhh D- =LŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ

G"2)9 +2): <

/9! =LŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ

Ċ:&D Ċ: Ů ?L5ų2 @-ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ Q:E3!ĉ ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 2 :! =L < ĉ5 D- =L ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ +5 ŵ 5* ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ !! ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ Q:"-ŵE / ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 5Q:D(5ŵD ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 9 3/9 ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ +392H#+1 =*č ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F +09& č ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F +2:+ ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ G!!:) 5 "+<19 Q: 9 ŵ 3Ċ: 3@Ċ!2ĉ/! ŵ +Ċ:! Ů(:1:H *ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ Ů(:1:59 ,1ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ #+8D( @+ < Ģ F $AĊ Q:3!ĉ:*/92 @ ŵ 5@# + č Ċ:! :+&<)&č Ů+8"@ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F "/! :+ ĉ5! :+&<)&č Ů+8"@ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F F+ &<)&č F "/! :+3-9 :+&<)&č Ů+8"@ů ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ Q:!/!&!9 :! Ů+8"@ůŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 2 :! =L 9M @+ < D- =L ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ +5 ŵ 5* ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ !! ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ Q:"-ŵE / ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 5Q:D(5ŵD ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 9 3/9 ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ +392H#+1 =*č ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F +09& č ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ F +2:+ ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ ĭųŕʼnőŔ ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ

52)9 +D#đ!2): < 2:)9

5 Ů ĉ:- 8D"=*!2)9 +2): < b`` ": E-8 ĉ :"Q:+@ 2): < +:* b #ā cŲ``` ": +: :!=*M 9 H)ĉ+/ĉ )(:1=)-A ĉ:D&<)L ů

Ċ:&D Ċ:*<! =# <"9 < :) Ċ5"9 9" 5 2): )7 E-8 82!9"2!@! :+ Q:D!<! :! 5 2): )7 D&?L5#+8F* !čE ĉ2ĉ/!+ĉ/) @ #+8 :+ G! :+!=M Ċ:&D Ċ: F D K D#đ! Q:!/!D <! ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ ": 29L ĉ:*G!!:) 2): ) :+&<)&čH * F G3ĊH#D K" ĉ:2): < H Ċ =L ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ 3: #+: /ĉ: 8 ++) :+# <D2 =L 8+9"D Ċ:D#đ!2): < Ċ:&D Ċ: 8H Ċ+9"D <! ?!G!2ĉ/! =L Q:+8E-Ċ/ :) Q:!/! 9 -ĉ:/ Ċ: Ċ! &+Ċ5)G"2)9 +!=M Ċ:&D Ċ:H Ċ2ĉ D5 2:+D&?L5#+8 5" :+&< :+ : 9 !=M F 2Q:D!:3!9 2?5+9"+5 "+<19 F E$! =LE2 =L 9M 5 2 :!#+8 5" :+ F G"5!@ : #+8 5" < :+F+ :! F 2Q:D!:"9 =+:* ?L5$AĊ ?53@Ċ! F +A# ĉ:*2 :!#+8 5" :+ Ů Ċ:)=ů - ?L5ŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴ$AĊ2)9 + ŮŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴŴů

74_Pc4.indd 1

23/5/2561 9:04:18




ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่

5 ซอยสุขุมวิท 54 ถ.สุขุมวิท แขวงพระโขนงใต กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท 02-332-4470 โทรสาร 02-331-4626

Nationwide Co.,Ltd.

Nationwide

www.nationwide.co.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.