วิถีผู้ไทยวังมน นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย และนิสิตสาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อหนังสือ : วิถีผู้ไทยวังมน ผู้เขียน : นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย และนิสิตสาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม 2554 ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ บรรณาธิการ : ทินกร บุญแจด กองบรรณาธิการ : จุฬาลักษณ์ ลีลานุวิทย์, ชลธิชา ตุไตลา, วิทวัส ปาลอินทร์, วิภาวรรณ ประไวย์, อภินันธิญา งามแช่ม พิสูจน์อักษร : นาถลดา สมานสุข, วุฒินันท์ ดะนุชนาม, ศศิธร ช่วยรักษา พิมพ์ที่ : สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำ�นำ�
เดินออกจากห้องเรียน : สู่สนามการเรียนรู้วิถีผู้ไทย กลางเดือนกันยายน ปี 2554 ก่อนมหาอุทกภัยท่วมประเทศ พวกเราเกือบร้อยชีวิต เดินออกจากห้องเรียนบนตึกสูง มุง่ หน้าสูถ่ นนสายชนบท จุดหมายปลายทางคือหมูบ่ า้ นผูไ้ ทย ชายขอบของเทือกเขาภูพาน ดินแดนรอยต่อระหว่างเขตจังหวัดกาฬสินธุก์ บั มุกดาหาร สนาม ของเราอยู่ที่นั่น บ้านกุดหว้า วังมน และหนองห้าง ในเขตอำ�เภอกุฉินารายณ์ของจังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นวันที่ฝนโรยริน สองฟากถนนที่ตัดผ่านทุ่งนา ไร่อ้อยและชุมชนยังมีรอยเท้าของ น้ำ�ป่าทิ้งไว้ให้เห็น ท้องทุ่งหน้าฝนเขียวขจีและอิ่มเอิบ ไม่นานรถบรรทุกหกล้อที่ดัดแปลงเป็น รถโดยสารสองแถวก็พาพวกเราเข้าเขตอำ�เภอกุฉินารายณ์ แวะหาซื้อเสบียงอาหารและข้าว ของที่จำ�เป็นสำ�หรับพักค้างอ้างแรมตรงตลาดนัดประจำ�อำ�เภอ ก่อนเดินทางต่อไปยังบ้านกุด หว้าทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปจากตัวอำ�เภอไม่กส่ี บิ กิโลเมตรบนเส้นทางกาฬสินธุ-์ มุกดาหาร ก่อนเลีย้ ว ซ้ายไปยังที่หมายคือบ้านวังมนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปประมาณสามกิโลเมตร ทีโ่ รงเรียนบ้านวังมน ครูและนักเรียนรวมทัง้ ผูน้ �ำ หมูบ่ า้ นรอเราอยูพ่ ร้อมแล้ว จากข่าว ทีส่ ง่ มาล่วงหน้าว่า วันนีจ้ ะมีกลุม่ อาจารย์และนิสติ จากภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาออกภาคสนามเพื่อเก็บ ข้อมูลเขียนสารคดีวถิ ชี วี ติ ชาวผูไ้ ทย พวกเราขอใช้โรงเรียนเป็นทีพ่ กั ตลอดระยะเวลาสามวันกับ สองคืน ด้วยไม่อยากไปรบกวนชาวบ้าน เพราะมากันเกือบร้อยชีวิต การเลือกของเราไม่ผิด หวัง ทั้งคณะครู อาจารย์ และนักเรียนซึ่งมีไม่ถึงร้อยให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและให้เกียรติ เด็กๆ ชาวผู้ไทยพากันตื่นเต้นดีใจที่เห็นพิี่นิสิตมากหน้าหลายตามาพักที่โรงเรียนของพวกเขา แรกๆ อาจรู้สึกแปลกหน้าไม่คุ้นเคย แต่หลังจากนั้นไม่ถึงวัน พวกเขาก็สนิทสนมกับคนมา เยือนอย่างรวดเร็ว หลังการปฏิสนั ถารและให้ขอ้ มูลพืน้ ฐานเกีย่ วกับชุมชนโดยท่านอาจารย์สไุ พ สุระเสียง ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนบ้านวังมนและพิธกี รผูร้ มุ่ รวยอารมณ์ขนั อาจารย์ดวงจันทร์ ปลุกกระโทก งานของพวกเราก็เริ่มขึ้น อันที่จริงในตอนแรก พวกเราตั้งใจจะลงสนามศึกษาวิถีชีวิตชาว
ผู้ไทยในสองหมู่บ้าน คือบ้านวังมนและบ้านกุดหว้า แต่อาจารย์ดวงจันทร์ ผู้อารี เล็งเห็นว่า ยังมีชุมชนผู้ไทยอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นคือบ้านหนองห้าง สมควรที่พวกเราจะลง ไปศึกษา นี่เป็นข้อมูลใหม่ที่เราไม่ได้รับมาก่อน บ่ายนั้นเราจึงเข้าไปสำ�รวจข้อมูลเบื้องต้นทั้ง สามชุมชน คือบ้านวังมน บ้านกุดหว้า และบ้านหนองห้าง ก่อนกลับมาที่พักในตอนเย็นของ วันเดียวกัน พวกเราก็ได้ขอ้ สรุปทีช่ ดั เจนว่า จะแบ่งนิสติ ออกเป็นสามกลุม่ เพือ่ เข้าไปเก็บข้อมูล จากสามหมูบ่ า้ น งานของพวกเขาก็คอื ลงไปศึกษาวิถชี วี ติ ของชาวผูไ้ ทยทัง้ สามแห่ง หาประเด็น และเก็บข้อมูลเพื่อเขียนสารคดีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมผู้ไทยให้ได้หมู่บ้านละ 5 เรื่อง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมพาลูกศิษย์ออกภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลเขียนสารคดีวิถีชีวิต แต่กิจกรรมเช่นนี้ได้ทำ�มาอย่างต่อเนื่องในทุกภาคเรียนที่มีการเรียนการสอนในรายวิชา “การ เขียนสารคดี” หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า ที่เลือกไปศึกษา นิสิตรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่หมุนเวียนเข้า มาเรียนวิชาการเขียนสารคดี ทำ�ให้ผมในฐานะอาจารย์ผู้สอนได้ข้อสรุปสำ�คัญอย่างน้อยสอง อย่าง อย่างแรกก็คือ ทุกหมู่บ้านมีชีวิตและเรื่องราว นี่คือแหล่งข้อมูลที่ดีให้เราได้ศึกษาและ เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาของชุมชนแต่ละแห่ง วิถีแห่งการดำ�รงชีวิต การหาอยู่ หากิน ความเชื่อ ภูมิปัญญา ค่านิยมขนบประเพณีและแม้แต่ความเปลี่ยนแปลงและปัญหา ที่พวกเขาเผชิญอยู่ เมื่อเราออกจากห้องเรียนมาสู่หมู่บ้านสนามการเรียนรู้ที่สำ�คัญ เราก็ได้ พบว่า คำ�ตอบทั้งหลายอยู่ที่นี่ ข้อสรุปอย่างที่สองก็คือ การพาลูกศิษย์ออกมาเก็บข้อมูลภาคสนาม ไม่ใช่เพียง กิจกรรมเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องสี่เหลี่ยมอันคับแคบมาสู่พื้นที่จริงเท่านั้น แต่นี่คือการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สำ�คัญให้แก่ผู้เรียน นิสิตที่มาออกภาคสนามจะต้องทำ�งานหนักใน เวลาสั้นๆ เพียงสามวัน การได้ออกไปพูดคุย สัมภาษณ์และสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของชาว บ้าน ทำ�ให้พวกเขาได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้รับรู้ว่าวิถีของชาวบ้าน และชุมชนแต่ละแห่งเป็นอย่างไร พวกเขามีความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความหวังอะไร หมู่บ้าน คือห้องเรียนทีก่ ว้างใหญ่ มีหลายสิง่ หลายอย่างให้พวกเขาได้แลกเปลีย่ นเรียนรู้ ก่อนนำ�ข้อมูล ทัง้ หลายมาถ่ายทอดในรูปของงานเขียนสารคดี ตามหลักการและทฤษฎีทไ่ี ด้ร�ำ่ เรียนมา สำ�หรับ นิสติ แล้ว สิง่ ทีพ่ วกเขาได้รบั จากการลงพืน้ ทีเ่ พือ่ เก็บข้อมูลเขียนสารคดี ไม่ได้อยูท่ ไ่ี ด้บทสารคดี เรื่องหนึ่งเพื่อส่งอาจารย์เอาคะแนน แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับมันมากกว่านั้นหลายเท่านัก ขึ้นอยู่ ว่าพวกเขาแต่ละคนมี “เครื่องรับ” ที่มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน หนังสือเล่มเล็กๆ ทีี่ท่านอ่านอยู่นี้ คือผลงานการเขียนสารคดีของกลุ่มนิสิตที่ออก ภาคสนามในครั้งนี้ ที่ได้รวบรวมขึ้นมาเป็นหนังสือรวมเล่มสารคดีจำ�นวน 3 เล่ม คือ “วิถี
ผู้ไทยวังมน, วิถีผู้ไทยกุดหว้า และวิถีผู้ไทยหนองห้าง” ในแต่ละเล่มประกอบด้วยสารคดี จำ�นวน 5 เรื่อง มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในแง่มุมต่างๆ ของชาวผู้ไทย ในแต่ละพืน้ ที ่ คือบ้านวังมน บ้านกุดหว้า และบ้านหนองห้าง ซึง่ เป็นหมูบ่ า้ นของชาวผูไ้ ทย หมูบ่ า้ นแต่ละแห่งมีประวัตคิ วามเป็นมายาวนานและน่าสนใจ มีลกั ษณะร่วมทางวัฒนธรรมใน ฐานะชุมชนคนผู้ไทยที่จัดอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ขนบธรรมเนียมที่ยึด ถือสืบทอดกันมา รวมทั้งลักษณะเฉพาะอันเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน เวลาในการลงมา ศึกษาและเก็บข้อมูลเพียงสามวัน นับว่าสัน้ และน้อยมากสำ�หรับสิง่ ทีไ่ ด้เพือ่ นำ�มาเขียนสารคดี สักเรื่อง แต่อย่างไรก็ตามหนังสือทั้งสามเล่มก็น่าจะเป็นร่องรอยหลักฐานบางส่วนที่บันทึก เรือ่ งราวของหมูบ่ า้ นเอาไว้ในช่วงเวลาทีม่ นั ถูกเขียนขึน้ เราคาดว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ส�ำ หรับ เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นแก่ผู้สนใจต่อไป หนังสือทั้งสามเล่มได้รับการจัดทำ�และดำ�เนินการโดยนิสิตทั้งในสาขาภาษาไทยและ ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์ พวกเขาอยากนำ�ผลงานที่ช่วยกันเขียนมอบให้ ชุมชนทีเ่ ป็นพืน้ ทีท่ เ่ี ข้าไปศึกษา ในนามของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก และในนาม ของอาจารย์ประจำ�วิชาการเขียนสารคดี ขอขอบพระคุณผูท้ ม่ี สี ว่ นเกีย่ วข้องทุกท่าน ขอบคุณ ท่านผู้อำ�นวยการสุไพ สุระเสียง และคณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านวังมน ให้ความอนุเคราะห์ ที่พักในการออกภาคสนามเขียนสารคดีครั้งนี้ ขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และ ส.อบต. บ้านวังมนทุกท่านที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ขอขอบคุณคุณสาลิกา อุทรักษ์ นายก เทศมนตรีเทศบาลตำ�บลกุดหว้าและคณะที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์แก่นิสิตตลอดเวลาในการลงภาคสนามเก็บข้อมูล และเช่นเดียวกันขอขอบพระคุณ คุณนายสำ�ราญ ชัยภา นายกเทศมนตรี (นายกอบต.บ้านหนองห้าง) ที่ให้ความรู้และข้อมูล อันที่น่าสนใจเกี่ยวกับบ้านหนองห้าง ขอบพระคุณผู้ให้ข้อมูลและชาวบ้านวังมน กุดหว้าและ หนองห้างทุกท่านที่ให้การต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่นตลอดเวลาสามวันในการออกเก็บ ข้อมูลภาคสนาม ความประทับใจและประสบการณ์อนั ยิง่ ใหญ่นจ้ี ะอยูใ่ นความทรงจำ�ของพวก เราไปอีกนานแสนนาน ผศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตุลาคม 2554
สารบัญ
ย้อนตำ�นานภูผาผึ้ง ในถิ่นลี้ลับผู้ไทย.....................................................................................11 “เหยา” : วิธีรักษาโรคด้วยวิถีผู้ไทยในหมู่บ้านวังมน.............................................................23 บุญข้าวสากบ้านวังมน : พัสดุข้ามภพจากคนเป็น...ถึงคนตาย............................................31 “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” : สายธารแห่งวิถีชีวิตชาววังมน.....................................................49 ทอผ้า จักสาน ในหมู่บ้านวังมน ชนเผ่าผู้ไทย.....................................................................63
1 “ย้อนตำ�นานภูผาผึ้ง ในถิ่นลี้ลับผู้ไทย” ท่ามกลางภูเขาที่มีธรรมชาติสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด สลับกับ โขดหินขนาดเล็กใหญ่รูปร่างแปลกตา และยังมีถ้ำ�ต่างๆ นับร้อย ที่รอให้เราได้ขึ้นไปสัมผัส กับความเป็นธรรมชาติที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ นอกจากความสวยงามทางธรรมชาติ แล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเต็มไปด้วยความลี้ลับที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าความลี้ลับ เหล่านั้น มีที่มาอย่างไร มีเพียงเสียงเล่าขานต่อๆ กันมาว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนอัน ศักดิ์สิทธิ์ จนชาวบ้านที่อยู่โดยรอบภูเขาลูกนี้ไม่กล้าย่างกายเข้ามาในสถานที่แห่งนี้สุ่มสี่สุ่ม ห้า และนั่นเป็นที่มาของความเชื่อต่างๆ ที่ชาวบ้านมีต่อ “ภูผาผึ้ง” ซึ่งเป็นแหล่งท่อง เที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของบ้านวังมน และชุมชนใกล้เคียง หมู่บ้านวังมน “ชุมชนใกล้ภู” บ้านวังมน หมู่ที่7 ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สถานที่ ตั้งหมู่บ้านนั้น แต่เดิมเป็นป่ากว้าง มีลำ�ธารหลายสาย ซึ่งมีต้นกำ�เนิดจากภูเขา นับเป็น ที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร รวมถึงสัตว์ป่านานาชนิด ถ้าย้อนไปในปี 2450 มีชาวบ้านประมาณเจ็ดครอบครัว ซึ่งนำ�โดยนายสอน ทรายขาว นายสาย สุรเสียง
[11]
นายขวด จิตจักร และนายวงศ์ อัฐนาค ได้มาตั้งหลักแหล่งทำ�มาหากินอยู่บริเวณนาวังมน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านในปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวมีวังน้ำ�วนขนาด ใหญ่ เมื่อตั้งหมู่บ้านจึงนำ�สัญลักษณ์วังน้ำ�นี้มาเป็นชื่อของบ้านวังมน การปกครองในอดีตขึ้นกับบ้านหนองห้าง ตำ�บลหนองห้าง ต่อมาจึงแยกมาเป็น หมู่บ้านปกครองตนเองภายในชื่อ “บ้านวังมน” โดยมีนายหมื่น ฉวี เป็นผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม บุคคลดังกล่าวตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนาวังมนประมาณเจ็ดปี จึงย้ายสถานที่ตั้งหลักแหล่ง มาอยู่บริเวณสถานที่ตั้งหมู่บ้านปัจจุบัน จนถึงปี 2457 ทางราชการจึงได้ประกาศตั้งเป็น หมู่บ้าน ชื่อว่าหมู่บ้านวังมน โดยมีนายสาย สุรเสียง ทำ�หน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน จนถึงปี 2487 และมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านมาเรื่อยๆ ปัจจุบัน นายบุญยืน อัฐนาค เป็นผู้ใหญ่บ้าน
>>> ภาพบ้านเรือนของชาวบ้าน หมู่บ้านวังมน
หมู่บ้านวังมนมีพื้นที่ทั้งหมด 4,640 ไร่ โดยใช้ในการทำ�เกษตรกรรม 3,000 ไร่ ใช้ เป็นที่อยู่อาศัย 1,640 ไร่ จำ�นวนประชากรในหมู่บ้านนั้นมี 728 คน อาชีพหลักของคนใน หมู่บ้านคือทำ�นา ทำ�ไร่ ทำ�สวน เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป บ้านวังมนเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับภูผาผึ้ง ชาวบ้านในหมู่บ้านล้วนรู้จักและเคยขึ้น ไปสัมผัสอยู่บนสถานที่อันสวยงานแห่งนี้มาแล้ว และหมู่บ้านแห่งนี้ คือชนเผ่าผู้ไทย ซึ่งมี ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความเป็นความตาย เรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติเป็นอย่างมาก และ เรื่องความเชื่อที่ชาวบ้านมีต่อภูผาผึ้ง ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก็มีอยู่มากเช่นกัน
[12]
ภูผาผึ้ง เป็นภูเขาขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของบ้านหนองห้าง เป็น เขตรอยต่อกับบ้านวังมน ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็น มรดกทางธรรมชาติอันล้ำ�ค่าของตำ�บลหนองห้างและตำ�บลกุดหว้า มีสัตว์ป่า และพันธุ์ไม้ นานาชนิด มรดกที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ได้แก่ สะพานหิน ซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานที่ใช้ สำ�หรับเดินข้ามไปมาสำ�หรับพรานที่เดินป่า และมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม นักเดินป่าและนัก ท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ภูผาผึ้ง เป็นหน้าผาสูงชัน ประมาณ 400 เมตร มองลงไปจะเป็นเหว มีพรรณไม้ นานาชนิด น้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ตามหน้าผา ในอดีตนั้นเคยมีผึ้งจำ�นวนมากมาทำ�รังเกาะ อยู่เต็มหน้าผาแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ภูผาผึ้ง แต่เนื่องจากว่ามีชาวบ้านบริเวณนี้มาตีรัง ผึ้งเพื่อเอาน้ำ�หวาน และรวงผึ้งไปขาย ซึ่งเป็นไปในลักษณะล้างเผ่าพันธุ์ ประกอบกับการตัด ต้นไม้ทำ�ลายป่า ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่ง ณ ตอนนี้ ไม่มีรัง ผึ้งให้ได้เห็นแล้ว
>>> ภาพจุดชมวิวภูผาผึ้ง
ภูผาผึ้ง นับเป็นภูเขาลูกหนึ่งที่สงบนิ่งมานานหลายชั่วอายุคน หากศึกษาตาม ประวัติศาสตร์จะพบว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาก่อนพุทธกาล ปัจจุบันภูผาผึ้ง ตั้งอยู่ที่ ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความสูงจากระดับน้ำ�ทะเล 200 - 590 เมตร เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีพระราชกำ�หนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน
[13]
ตำ�นานภูผาผึ้ง ความเชื่อของชุมชนบ้านวังมน ชาวบ้าน บ้านวังมนและชุมชนโดยรอบภูผาผึ้ง มีความเชื่อว่า ภูผาผึ้งเป็นดินแดน อันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีเรื่องราวลี้ลับต่างๆ มากมาย ทั้งในเรื่องของ “เมืองบังบด” หรือที่รู้จักกัน ดีโดยทั่วไปก็คือ “เมืองลับแล” ที่ยังมีเรื่องเล่าขานถึงตำ�นานในสถานที่แห่งนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ใน ชุมชนต่างรู้ถึงตำ�นานลี้ลับเรื่องเมืองบังบดแห่งนี้เป็นอย่างดี นับเป็นเรื่องแปลกและดูลี้ลับ จนทำ�ให้ชาวบ้านที่นี้หลายคนกลัวที่จะเข้าไปใกล้ภูเขาลูกนี้ ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับตำ�นานเมือง บังบดหรือเมืองลับแล นายวีระพงษ์ ชนิลกุล หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาผึ้ง ได้เล่าให้ฟัง ดังนี้ “เรื่องเมืองบังบดหรือเมืองลับแล เชื่อกันว่าบริเวณนี้ (ภูผาผึ้ง) เป็นเมืองเก่าเวลา จะออกรบหรือออกศึก เขาจะเหลือเฉพาะผู้หญิง คนเฒ่า คนแก่ ลูกเด็กเล็กแดงไว้ในเมือง คัดเฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้นไปออกรบ แต่ก่อนที่จะออกไปรบนั้น มีชายคนหนึ่งซึ่งมีคาถา อาคมเสกคาถากำ�บังเมืองเอาไว้ เพื่อไม่ให้ศัตรูเห็น คาถานั้นเรียกว่า คาถากำ�แพงแก้วเก้า ชั้น เมื่อออกไปรบแล้วคนที่เสกคาถาได้ตายในสนามรบ จึงไม่สามารถกลับมาแก้มนตราได้ เมืองนี้จึงถูกปิดมาตลอดกลายเป็นเมืองบังบดหรือเมืองลับแล เราไม่สามารถมองเห็นเขาได้ แต่เขามองเห็นเรา วันดีคืนดีคนในหมู่บ้านแถวนี้จะเห็นลูกแก้วเสด็จลอยไปลอยมา บางที ก็ได้ยินเสียงปี่ เสียงระนาด ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ� เป็นการส่งสัญญาณว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่เราไม่เห็นเขาเท่านั้น ครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหนองห้างขึ้นไปเก็บของป่าบนภูผาผึ้งตั้งแต่เช้าจนค่ำ� และหลง ป่าหาทางกลับไม่เจอ แต่กลับเจอผู้หญิงสองคนบอกเขาว่ายังไม่ต้องกลับหรอก ไปเที่ยวกับ เราก่อนแล้วจะมาส่ง จึงไปกับผู้หญิงสองคนนี้ เข้าไปเห็นเป็นบ้านเมือง มีการค้าขาย มีการ แห่นาค และพักอยู่ที่นั่นสองคืน คนทางบ้านก็ตามหากันใหญ่ โดยใช้วิธีดูหมอ ก็รู้ว่ายังมี ชีวิตอยู่ และก็อยู่ในเมืองนั้นจนครบสองวัน ผู้หญิงสองคนนั้นก็บอกว่า ขึ้น 15 ค่ำ� มาใหม่ เพราะจะมีบุญใหญ่ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามบอกใคร ชายคนนี้ลงมาก็ได้ทำ�สัญลักษณ์ไว้ที่ต้นไม้กัน ลืม พอใกล้วันงานก็ได้ขึ้นมะพร้าว ขึ้นหมาก เพื่อที่จะนำ�ไปทำ�บุญ พอดีเพื่อนบ้านมาเห็น แล้วถามว่าจะเอาไปไหนเยอะแยะ ชายคนนี้จึงบอกกลับไปว่าจะนำ�ไปทำ�บุญที่ภูผาผึ้ง เพื่อน บ้านคนนั้นจึงขอมาด้วย แต่เมื่อเดินทางไปกลับไม่เจอทางเข้าถ้ำ� พบเพียงรอยสัญลักษณ์ ที่ตนทำ�ไว้ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผิดสัจจะที่ให้ไว้กับเขา หลังจากนั้นเขาจึงมาสร้างวัดและ อุปสมบทเพื่อเฝ้ารอที่จะเห็นเมืองลับแลอีกครั้งหนึ่ง จนกลายเป็นวัดป่าบ้านหนองแฮดมา จนถึงปัจจุบันซึ่งวัดแห่งนี้ชาวบ้านก็ให้ความศรัทธามาโดยตลอด
[14]
มีอีกคนหนึ่งเป็นนายพรานอยู่ที่บ้านกุดหว้า สมัยก่อนเขาล่าสัตว์ก็เดินไปเรื่อยๆ พอมาถึงบนภูผาผึ้งก็เจอหมู่บ้านคน ซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน วันต่อมาก็กลับไปที่แห่งนี้อีก ครั้ง ก่อนที่จะกลับลงมาจากภูผาผึ้งได้หักกิ่งไม้เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์กันลืม และเช้าของอีก วันหนึ่งเขาก็ได้พาเพื่อนมาอีกสี่ถึงห้าคนขึ้นไปยังภูผาผึ้ง เพื่อที่จะไปดูเมืองลับแลแต่กลับไม่ พบอะไร ทุกคนที่นี่จึงเชื่อว่า เมืองลับแลจะถูกนิมิตรให้เห็นเฉพาะคนที่มีบุญเท่านั้น” นี้คือ ตำ�นานของภูผาผึ้งที่ถูกเล่าขานกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน นายเกี้ยว กิตจักษ (ตาจักษ์) ชาวบ้าน บ้านวังมน อายุ 80 ปี เล่าถึงความลี้ลับ ของภูผาผึ้งว่า “ในช่วงหน้าหนาว เวลาวันพระจะได้ยินเสียงฆ้องใหญ่ เสียงฆ้องดังเท่ากัน กับเสียงฆ้องในวัด เสียงจะดังเดือนละครั้ง ตาทำ�นาในระยะเวลาหลายเดือนของทุกๆ ปี ช่วงฤดูอื่นจะไม่ได้ยินเสียงเลย แต่ตอนหน้าหนาวจะได้ยินเสียง เสียงที่ว่าจะไม่มีเครื่อง ดนตรีผสม มีแต่เสียงฆ้องอย่างเดียว ดังประมาณสิบกว่าครั้ง จะได้ยินตอนดึกๆ หก ทุ่มขึ้นไป ถ้าตามภาษาบ้านเราเรียก ตีฆ้องแจ้ง ได้ยินแล้วก็ไปมัดข้าวต่อเวลาประมาณ ตี สามตีสี่ พอได้ยินเสียงฆ้องก็ลงไปมัดข้าวเลย ได้ยินแล้วก็เฉยๆ ใครที่ไม่ได้ยินเขาก็ไม่เชื่อ หรอก เพราะนาตาอยู่ใกล้เลยได้ยินบ่อยลูกแก้วกินหิน ลูกแก้วกินหินเดี๋ยวนี้หมดแล้ว พอ ลูกแก้วหมดก็ไม่ได้ยินเลย แต่ก่อนนอนนาทุกวันเลยได้ยินได้เห็น และมีคนหนึ่งที่เจอ ผี บนนั้น คล้ายผีเปรตมีสองขา ขาหนึ่งอยู่เขาอีกลูก อีกขาหนึ่งก็อยู่อีกลูก ส่วนลูกแก้ว ก็เห็น ส่วนใครที่เอาของดีมาจากภูผาผึ้งตายหมด บางทีได้ยินเสียงเพลงก็มี” คุณตานาดี สุรเสียงปราชญ์ชาวบ้าน บ้านวังมน ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำ�นาน ภูผาผึ้งว่า ตาเกิดมาก็เห็นและรู้จักภูผาผึ้ง เพราะนอกจากที่นั่นจะเป็นที่วิ่งเล่นของตาเวลา ตามพ่อไปหาของป่าแล้ว ที่นั้นยังเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านบ้านกุดหว้าและชาวบ้าน ใกล้เคียงมาตั้งแต่อดีต แต่ถ้าจะพูดถึงตำ�นานความลี้ลับ สิ่งที่ทุกคนที่นี่เชื่อว่ามีจริง ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องเมืองบังบดหรือเมืองลับแลทุกคนที่นี่ก็ล้วนมีความเชื่อและไม่กล้าที่จะลบหลู่ บนภูเขาแห่งนี้มีความลี้ลับอยู่จริงและมีกลุ่มคนที่ไม่ประสงค์ดีที่พยายามมาเสาะแสวงหา สิ่งเร้นลับหรือที่เรียกว่าของดี และพยามที่จะนำ�ลงมา แต่ส่วนใหญ่ไม่มีใครสามารถนำ�ออก มาได้หรือถ้าออกมาได้ก็มีอันเป็นไปไม่ช้าก็เร็ว ความเชื่อทำ�นองนี้ ไม่ได้มีเฉพาะชาวบ้านวังมนเท่านั้น แม้แต่นักวิชาการก็ยัง ยอมรับเรื่องดังกล่าว เช่น รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมโชค ผู้ร่วมศึกษาภูผาผึ้งจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม 2540 หน้า 25 เรื่อง “ทำ�แผนอนุรักษ์ – ส่งเสริมสะพานหิน...แหล่งอารยธรรมภูผาผึ้ง”
[15]
ตอนหนึ่งกล่าวว่า รู้สึกว่าพระภูมิเจ้าที่จุดนี้แรงมาก เล่นเอาขณะกำ�ลังสำ�รวจอยู่จิตใจปั่น ป่วนไปหมด จนต้องนั่งสมาธิ และสัมภาษณ์พระวิชัย ชวรังสี เจ้าอาวาสวัดหนองแฮด บ้าน วังมน ต.กุดหว้า กล่าวว่าภูผาผึ้งแห่งนี้นับว่าเป็นดินแดนอัศจรรย์ลี้ลับพอสมควร สิ่งที่ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะสามารถสัมผัสได้ทางจิตวิญญาณอย่างน่าสนใจยิ่ง และยังมีอีก หลายสิ่งที่ทางราชการหรือภาคเอกชนสำ�รวจไม่ถึง ถ้าหากตรวจสอบหรือศึกษากันจริงๆ จะ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3-4 วันเต็มๆ และจะพบสิ่งแปลกๆ อายุยาวนานไม่น้อย ซึ่งสมควร แก่การอนุรักษ์รักษาไว้อย่างยิ่ง นายวีระพงษ์ ชนิลกุล หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาผึ้ง ได้สันนิษฐานเรื่องราว ของเมืองบังบดเชื่อมโยงกับจิตรกรรมผนังถ้ำ� หรือถ้ำ�ฝ่ามือแดงก็ได้ อาจเป็นคนกลุ่มนี้ มาทำ�ภาพลายมือไว้ ดังที่ตำ�บลบ้านหนองห้างขุดพบเครื่องปั้นดินเผาที่มีส่วนผสมของ แกลบถูกเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ� ทั้งมีลวดลายและไม่มีลวดลาย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำ�ไรสำ�ริด และลูกปัดสีส้ม ซึ่งสันนิษฐานว่าผู้คนที่อยู่ในอาณาจักรแห่งนี้ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และมีการใช้เครื่องสำ�ริด และมีพิธีฝังศพถึงสองครั้ง ซึ่ง เป็นพิธีกรรมที่แพร่หลายในลุ่มน้ำ�โขง น้ำ�มูล คือครั้งแรกจะนำ�ศพไปฝังก่อน รอให้เน่า เปลือย จึงขุดมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อตัดเอาชิ้นส่วนที่สำ�คัญ แล้วนำ�บรรจุใส่หม้อนำ�ไปฝังอีกครั้ง หนึ่ง ข้อมูลจาก http://www.fad1.go.th เว็บไซต์สำ�นักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี สำ�นักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่าจากหลักฐานโบราณสถาน ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น ถ้ำ� เพิงผาหิน เป็นดินใกล้แหล่งน้ำ� หลักฐานโบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะหยาบ เครื่องมือหินขัด เครื่องสำ�ริดและเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัด ที่ทำ�ด้วยดินเผาและหินสี เปลือกหอย โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ และหลักฐานโบราณ ศิลปกรรม ได้แก่ ภาพเขียนสีและภาพจำ�หลัก ซึ่งล้วนแล้วได้ทำ�ขึ้นบนผนังถ้ำ�หรือเพิงผา อยู่ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุระหว่างราว 50,000-1,700 ปี มาแล้ว จากข้อมูลดังกล่าว จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภูผาผึ้งนับว่าเป็นดินแดนอันลี้ลับ มีสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ต้อง สัมผัสได้ทางจิตวิญญาณ ภูผาผึ้งจึงมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน ในช่วง วันสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านจะขึ้นภู เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนเฒ่าคนแก่ที่เคยปฏิบัติมา ก็ได้สั่งสอนลูกหลานของตนให้ปฏิบัติตาม ไม่ให้ละทิ้ง ต้องช่วยกันดูแลรักษาสถานที่แห่งนี้
[16]
แหล่งท่องเที่ยวภูผาผึ้ง ภูเขาที่เขียวขจีไปด้วยพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย สลับกับลานหินแตก หินเทิบ ที่มี ก้อนใหญ่ซ้อนทับกันเป็นหลายชั้นมีความสวยงามเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีหินที่ถูกน้ำ�เซาะ กร่อนธรรมชาติเป็นปุ่มเป็นร่องที่หาชมได้ยากอย่างอัศจรรย์ ประกอบกับมีพืชพันธุ์ต่างๆ ที่ หาชมได้ยาก อย่างพืชตระกูลมอส เฟิร์น ตะบองเพชรที่เกาะอยู่ตามก้อนหินและผาชัน อย่าง สวยงาม มีถ้ำ�ต่างๆ มากมาย เป็นที่ประทับใจอย่างมากสำ�หรับบุคลที่ได้ไปเที่ยวชมความ เป็นธรรมชาติที่สวยงามของภูผาผึ้ง ซึ่งในภูผาผึ้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลาย แห่ง คือ ถ้ำ�ฝ่ามือแดงและถ้ำ�พระ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่บนภูเดียวกันที่เรียกกันว่า ภูผาผึ้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านวังมน ต.กุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
>>> ภาพเขียนสี ถ้ำ�ฝ่ามือแดง
ถ้ำ�ฝ่ามือแดง หรือถ้ำ�ลายมือ ตามคำ�เรียกของชาวบ้าน ได้มีการค้นพบและเผย แพร่ต่อสาธารณชนเมื่อปี 2516 เป็นต้นมา โดยอาจารย์สงวน บุญรอด และคณะ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สำ�รวจและเผยแพร่ ลักษณะของถ้ำ�เป็นหน้าผาที่เว้าเข้าไป คล้าย วงเล็บ มีรอยมือสีแดงจางๆ ปรากฏอยู่บนผนังและเพดานถ้ำ� ค้นพบครั้งแรกนับได้ 147 รอย ปัจจุบันรูปรอยฝ่ามือดังกล่าวได้จางลงตามกาลเวลา รวมทั้งมีผู้พยายามใช้สะกัดเซาะ รอยฝ่ามือเหล่านั้นออกไปจากถ้ำ�โดยไม่ทราบเจตนา โดยส่งผลให้เกิดรอยแตกกะเทาะทั่วไป เป็นบริเวณพื้นที่แห่งหนึ่งที่พบฝ่ามือแดงมากที่สุดในประเทศไทย ภาพดังกล่าว
[17]
ถือว่าเป็นหลักฐานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอดีตที่ผ่านมา อาจารย์พิสิฐ เจริญ วงศ์ จากกรมศิลปากร ได้อธิบายว่าภาพฝ่ามือแดงไม่สามารถบอกอายุที่แน่นอนได้ แม้ใน ก่อนช่วงประวัติศาสตร์ เทคนิคการวาดภาพเขียนสีแดงอาจจะแยกเป็นแบบฉีด ลายเส้น และพวกของแข็งและคาดว่าอายุของถ้ำ�บริเวณภูผาผึ้งน่าจะประมาณ 2,000 ปีผ่านมาแล้ว ซึ่งเป็นภาพวาดที่ผา ทีม่ าของชือ่ ถ้�ำ ฝ่ามือแดง เพราะมีรปู รอยฝ่ามือสีแดงประทับอยูบ่ นผนัง นอกจากนีย้ งั มีการค้นพบว่าคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นชอบเอาสีแดงไปโรยที่หลุมฝังศพ ซึ่งอาจหมาย ถึง ความตายและอาจจะต้องมีการเกิดต่อไป ซึ่งสีแดงเป็นเสมือนตัวแทนของทั้งสองสิ่ง ถ้ำ�ฝ่ามือแดง มีรอยฝ่ามือสีแดงปรากฏให้เห็นบนผนังถ้ำ�นั้น นับว่าเป็นร่องรอย ทางอารยธรรมและประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างสรรค์ไว้โดยคนยุคนั้น แต่ว่าตอนนี้กลับพบร่อง รอยแห่งการทำ�ลาย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะ ขีด เขียน ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึง การณ์ของคนไม่มีหัวคิด ดีแต่ทำ�ลาย ไม่เห็นถึงคุณค่า ทำ�ให้เกิดความเสียหายอย่างน่า เสียดาย
>>> ภาพถ้ำ�พระ
ถ้ำ�พระ ทางเข้าจะแคบและมืดมาก ภายในจะมีพระพุทธรูปทำ�ด้วยไม้ หิน ปางต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ และยังมีกระดูกของภิกษุที่เคยมาธุดงค์ พอมรณภาพชาวบ้านจึง นำ�กระดูกบรรจุไว้ในหม้อดินแล้วนำ�ไปเก็บไว้ในถ้ำ� เพื่อบูชาและทำ�พิธีในฤดูร้อน ประมาณ
[18]
เดือนเมษายน ชาวบ้านจะขึ้นไปรดน้ำ�ในวันสงกรานต์ มีการจัดงานเพื่อให้ชาวบ้านในละแวก นี้ขึ้นไปสักการระบูชา งานจะมี 9-10 วัน ชาวบ้านมีความเชื่อว่าหากบุคคลใดได้ขึ้นไป สักการะ บุคคลนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์ เป็นเสมือนการล้างบาปไปในตัว หากบุคคลใดไม่ขึ้นไป สักการะก็จะพบกับความวิบัติ เพราะฉะนั้น ชาวบ้านแถบนี้จึงนิยมขึ้นไปสักการะ บูชาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ถ้ำ�พระ นอกจากนั้นภูผาผึ้งยังมีสถานที่สำ�คัญต่างๆ ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก เช่น สะพานหิน ถ้ำ�น้ำ�หยาด ถ้ำ�แกลบ ถ้ำ�บิ้ง ถ้ำ�ดอกบัว หินหนามนอ แต่ละสถานที่ก็มี ความโดดเด่น และเป็นที่คุ้นเคยกันดีของชาวบ้าน บ้านวังมน ที่เป็นหมู่บ้านเล็กที่อยู่ติดกับ แหล่งธรรมชาติที่สำ�คัญแห่งนี้ ภูผาผึ้งกับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ภูผาผึ้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงานเป็นอย่างมาก และ ยังคงความสมบูรณ์ของพืช พรรณไม้ต่างๆ เป็นอย่างมาก แต่ในพื้นที่ที่มีความสวยงาม แห่งนี้กลับไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยกันพัฒนาทำ�ให้เกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำ�คัญของ ประเทศอีกแห่งหนึ่ง มีเพียงกลุ่มคนบางกลุ่มที่ช่วยกันจัดทำ�โครงการเสนอ เพื่อจัดหาทุนให้ ภูผาผึ้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทีอันสำ�คัญในอนาคต นายสุไพ สุระเสียง ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านวังมนกล่าวว่า เราเคยประชุมกัน หลายครั้งที่จะมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว คือที่จะพัฒนานั้นมีอยู่ 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำ� ห้วยจูมจาม และภูผาผึ้ง แนวทางในการพัฒนาทั้งสองแห่งนี้ เราได้เขียนแผนเข้าไปของบ ประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำ�บลกุดหว้า เสนอแผนไปตามขั้นตอน แต่เนื่องจากงบ ประมาณมีจำ�กัด ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากส่วนนี้เท่าไหร่นัก ฉะนั้นในส่วนของภูผาผึ้ง ที่จะพัฒนาก็คือ เรื่องการประชาสัมพันธ์ภูผาผึ้งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของ อ.กุฉินารายณ์ คงจะได้ยินจากคำ�ขวัญของอำ�เภอกุฉินารายณ์ เราอยากจะทำ�ที่จอดรถเพื่อผู้ที่ประสงค์จะ ขึ้นไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่ออำ�นวยความสะดวก ในส่วนของถ้ำ� หรือสะพาน หิน อันนี้พยายามประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ไปท่องเที่ยว ได้ไปเห็นความสำ�คัญ โดยเฉพาะ ในเรื่องของการช่วยกันอนุรักษ์ ไม่อยากให้ไปทำ�ลาย เช่นเดียวกับถ้ำ�ฝ่ามือแดงหากเรา สังเกตดูดีๆ จะพบร่องรอยของการขูดขีดหรือของแหลมคมไปทิ่มไปตำ� ทำ�ให้มองภาพไม่ ค่อยชัดเท่าไร ในส่วนที่จะทุ่มงบเข้าไปพัฒนา เนื่องจากหมู่บ้านไม่มีงบประมาณก็เลยไม่ ได้ทำ�เรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ชุมชนเราเป็นชุมชนที่มีแหล่งน้ำ�ไม่เพียงพอเคยนำ�ชาวบ้านและ
[19]
นักวิชาการขึ้นไปทางถ้ำ�มะไฟ คือชาวบ้านเขาจะเอาหินกองเพื่อให้น้ำ�มันไหลลงมารวมกัน แล้วเอาแหล่งน้ำ�ซับตรงนั้นเข้ามาใช้ที่หมู่บ้านแต่มันก็ทำ�ไม่ได้ เนื่องจากงบประมาณเราไม่มี จึงทำ�ได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อยากให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาจากทางราชการ ท่านผู้อำ�นวยการยังกล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติก็ได้ปลูกฝัง เด็กๆ เป็นประจำ� โดยเฉพาะในวันสำ�คัญ เช่น วันวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กๆ ได้มองเห็น ความสำ�คัญ โดยเราจะมีกิจกรรมที่สำ�คัญในเรื่องของการปลูกป่า เช่น ปลูกต้นไม้บริเวณ ริมอ่างหรือบริเวณโรงเรียน แต่ในส่วนของภูผาผึ้งที่เราขึ้นไปพัฒนาก็คือ กิจกรรมบำ�เพ็ญ ประโยชน์ เราก็ได้นำ�เด็กขึ้นไปเก็บพวกเศษกระดาษ ขวด เศษไม้ เศษอะไรต่างๆ และก็มี การถากถางบ้างในส่วนที่มันไม่ค่อยสวยงามเท่าไร เช่น ต้นไม้เล็กที่ไม่ใช่ต้นไม้หวงห้าม และ ในส่วนที่ปลูกฝังที่สำ�คัญก็คือในเรื่องของการเรียนการสอน โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน เราก็จะเอาเรื่องของการอนุรักษ์ป่าเข้ามาในการปลูกฝังเด็กให้รู้จักการปลูกป่า รักษาป่าร่วม กัน เพื่อธรรมชาติที่สวยงามและมีการนำ�เด็กขึ้นไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้วยการนำ�คณะ ครูและนักเรียนขึ้นไปบนภูผาผึ้ง โดยเราได้ประสานงานและได้รับความร่วมมือจากกรมป่าไม้ ในการขึ้นไปเราก็จะไปสอนในเรื่องของธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อมตามเนื้อหาของ หลักสูตร เป็นการเรียนรู้นอกสถานที่ นายพิทยา อุทลักษ์ ชาวบ้าน บ้านวังมน ต.กุดหว้า กล่าวว่า อยากให้มีงบ ประมาณ เข้ามาปรับปรุงภูผาผึ้งให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ กับเยาวชนและชาวบ้าน ปรับปรุงถนนเส้นทางเดินเท้าที่ขึ้นไปยังภูผาผึ้ง ทำ�สัญลักษณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเส้นทาง หรือต้นไม้ที่มีความสำ�คัญ เช่น บอกชื่อต้นไม้ ประโยชน์ของต้นไม้ต้นนั้นๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้คู่กับการอนุรักษ์ นายบุญทิน ปุณขันธ์ ชาวบ้านบ้านวังมน เป็นอีกคนที่เห็นด้วยหากจะมีการพัฒนา ภูผาผึ้งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ อีกอย่างคือการ พัฒนาผืนป่าแห่งนี้เป็นป่าสมุนไพร เพราะที่นี่เต็มไปด้วยสมุนไพรที่ค่อนข้างหายากทั้งนั้น การเข้ามาพัฒนาจึงนับว่าเป็นสิ่งที่ดี และควรแก่การศึกษาเรียนรู้ของคนในชุมชนอีกด้วย แหล่งท่องเที่ยวภูผาผึ้งเป็นเขตพื้นที่ของเทศบาลหนองห้างแต่บางส่วนก็เป็นพื้นที่ ของเทศบาลกุดหว้า เป็นพื้นที่ทับซ้อนกันมาตั้งแต่อดีต การพัฒนาด้านต่างๆ จึงไม่ค่อย มีมากนัก ต่างฝ่ายต่างไม่กล้าเข้าไปพัฒนา จนทำ�ให้ช่วงระยะหนึ่งภูผาผึ้งถึงขั้นเสื่อมโทรม เพราะมีพระเข้ามาจำ�พรรษา และสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ศาลา ห้องน้ำ� ตามถ้ำ�ต่างๆ จนทำ�ให้แหล่งธรรมชาติถูกทำ�ลายไปมาก แต่ในระยะหลังก็ยังมีหน่วย
[20]
พิทักษ์ป่าภูผาผึ้งเข้ามาดูแล ภู ผ าผึ้ ง นั บ เป็ น สถานที่ ที่ มี ค วามสวยงามทางธรรมชาติ และยั ง มี ค วามอุ ด ม สมบูรณ์ หากในอนาคตอันใกล้นี้จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแหล่งใหม่ ก็ ควรได้รับการพัฒนาเรื่องของถนนเพื่อให้มีความสะดวกต่อการเดินทาง การประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รู้จักจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไป ซึ่งในเรื่องของการพัฒนานี้ก็ต้องฝากไป ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา ดังนั้นจึงต้องเร่งวางแผนเพื่อการ พัฒนา เราทุกคนหวังว่าจะเห็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามแห่งนี้ได้รับการพัฒนาและ เป็นที่ขึ้นชื่อในเร็ววัน ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐและประชาชน เพื่อพัฒนาโดยให้ชาวบ้าน มีส่วนร่วมด้วย ในการพัฒนาเพื่อที่จะได้เห็นความสำ�คัญ และทางโรงเรียนเองก็มีบทบาท สำ�คัญในการปลูกฝังนักเรียนให้ตระหนักถึงความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อมในบริเวณโดยรอบ ภูผาผึ้ง เพื่อที่จะให้เยาวชนที่เติบโตไปมีบทบาทสำ�คัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ภูผาผึ้งให้มีความสวยงาม และยังคงเอกลักษณ์เรื่องแหล่งธรรมชาติให้อยู่คู่กับบ้านวังมน สืบต่อไป
[21]
2 “เหยา” : วิธีรักษาโรคด้วยวิถีผู้ไทยในหมู่บ้านวังมน เสี ย งแคนและเสี ย งลำ � ภาษาผู้ ไ ทยดั ง ขึ้ น ฟั ง ดู เ ข้ า กั น อย่ า งสนิ ท สนม ผู้ ค นนั่ ง ห้อมล้อมเพื่อรอชื่นชมสิ่งที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น และแล้วสิ่งที่คนทั้งหลายตั้งตารอคอยก็ปรากฏ ขึ้น สักครู่ ผู้ป่วยที่นอนซมโดยไม่มีเรี่ยวแรงลุกขึ้นฟ้อนรำ�อย่างน่าประหลาดใจ ท่ารำ�อัน อ่อนช้อยนั้น ทำ�ให้ชาวบ้าน ผู้ร่วมพิธีผู้หนึ่งพูดขึ้นว่า “ผีลงแล้ว” เหล่าญาติของผู้ป่วย ที่ตั้งตารอคอยด้วยความหวัง พร้อมเผยยิ้มออกมาด้วยความพอใจ เพราะเมื่อเห็นผู้ป่วย ร่าเริงก็ย่อมแสดงถึงผลสำ�เร็จของการประกอบพิธีเหยา เพื่อรักษาโรคในครั้งนี้ หมู่บ้านวัง มนก็เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีความเชื่อเรื่องการประกอบพิธีเหยา ท่ามกลางภูเขามีวังน้ำ�วนหรือน้ำ�มนอยู่ด้านล่าง มีป่าที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งปลา หลากหลายสายพันธุ์ ในพุทธศักราช 2450 มีชาวบ้านเจ็ดครอบครัวเริ่มมาตั้งหลักทำ�มา หากิน ในบริเวณดังกล่าว ต่อมาได้ขยายเครือญาติมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นหมู่บ้านวังมน ในปัจจุบัน โดยชื่อว่าบ้านวังมนนี้มีที่มาจากชื่อแหล่งน้ำ�วังมนนั่นเอง ปัจจุบันบ้านวังมนมี ชาวบ้านอาศัยอยู่กว่าสองร้อยหลังคาเรือน มีเนื้อที่ 4,640 ไร่ ชาวบ้านประกอบอาชีพทำ� นาเป็นอาชีพหลัก เมื่อว่างก็หาของป่า ทำ�ประมง เป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาว ผู้ไทย
[23]
ความเป็นอยู่ของชาวบ้านวังมนมีความเชื่ออันผูกพันกับเรื่องผี เมื่อมีเหตุการณ์ ใดที่แปลกๆ เกิดขึ้นในหมู่บ้าน สิ่งแรกที่ชาวบ้านจะอ้างถึง คือ ผีเป็นผู้กระทำ�และผีเป็นผู้ ปกป้องรักษา โดยผีที่มีอิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตชาวบ้านวังมน คือ ผีปอบ ผีป่า ผีแถน ผีเชื้อ (ผีบรรพบุรุษ) ผีบ้านผีเรือน ผีปู่ตา ผีภู ผีฟ้า เมื่อเกิดสิ่งไม่ปกติขึ้นภายในหมู่บ้านหากเป็นสิ่ง ร้ายชาวบ้านจะเรียกหาผีฝ่ายดีที่คอยปกปักรักษาให้มาช่วยเหลือให้ชาวบ้านอยู่เป็นปกติสุข ซึ่งเชื่อกันว่าเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแต่เกิดจากผีเป็นสิ่งกระทำ�ทั้งนั้น จึงแก้ไขการใช้ผี ฝ่ายดีปราบผีฝ่ายร้าย เพราะหากเป็นมนุษย์ปกติแล้วชาวบ้านเชื่อว่าไม่สามารถจะต่อสู้กับผี ได้ชนะ ในหมู่บ้านจึงมีการนับถือผีเพื่อเป็นที่พึ่งให้แก่ชีวิตและครอบครัว หากมีผู้เจ็บป่วยชาวผู้ไทยจะมีความเชื่อว่าเป็นการกระทำ�ของผีจึงไม่สามารถจะ รักษาในทางแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมีการจัดให้มีการรักษาคนป่วยด้วยการเหยา ซึ่ง เป็นการรักษาโรคแบบในความเชื่อของผู้ไทย โดยหมอเหยาจะไปประกอบพิธีการเหยาข้างๆ คนป่วย ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผี เช่น เหตุการณ์ป่วยเกิดจากผู้ป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง กับผู้ป่วย เช่น พ่อแม่ สามี ภรรยา ไปทำ�ล่วงละเมิดผีป่า ผีห้วย ผีหนอง ผีนา ผีบรรพบุรุษ ฯลฯ วิธีการแก้ไขคือ จะต้องไปแต่งแก้หรือทำ�การขอขมาโทษต่อผี หรือบางครั้งหมอเหยา ก็อาจบอกว่าเหตุของการป่วยไม่ได้เกิดจากการกระทำ�ของผีแต่เกิดจากโรคภัยต้องไปรักษาที่ โรงพยาบาลการป่วยจึงจะหายได้ นางสดศรี ปุณขันธ์ ผู้เคยรักษาเล่าว่า “ก่อนรักษาด้วยการเหยานั้น ตนเคยป่วย จนลุกไม่ได้ ต้องนอนซมแต่ในบ้านเป็นเดือน ผู้เป็นแม่จึงเชิญหมอมาทำ�พิธีเหยาเพื่อหาวิธี รักษา” ในวิถีชีวิตของชาวบ้านวังมนโดยปกตินั้นมีความเชื่อเรื่องผีฟ้าหรือผีแถน ซึ่งเชื่อว่า มีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี และเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่าผีชนิดอื่น มิได้อยู่บนต้นไม้ ภูเขา หรือ พื้นดิน ชาวบ้านวังมนจึงนับถือผีฟ้ากันอย่างเคร่งครัดจริงจัง ส่วนใหญ่มีความเชื่อศรัทธา “ผีฟ้าหรือแถน” เพราะเชื่อว่ามีบทบาทสามารถให้ดีให้ร้ายแก่มนุษย์ สามารถดับทุกข์เข็ญ หรือทำ�ลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ตลอดจนคอยช่วยเหลือมนุษย์เมื่อยามประสบความเดือด ร้อนหรือประสบภัยพิบัติ เมื่อยามเจ็บป่วยไข้ ชาวบ้านก็จะทำ�พิธีเหยา หรือเรียกว่า รำ�ผีฟ้า โดยอั ญ เชิ ญ อ้ อ นวอนขอร้ อ งให้ ผี ฟ้ า ลงมาช่ ว ยขจั ดโรคภั ย คุ ณ ยายแยง ทะแสนฮด เล่าความเชื่อเรื่องผีฟ้าให้ฟังว่า “ขณะที่ผีฟ้ายังมีชีวิตอยู่บนโลกต้องเคยประกอบคุณงาม ความดี คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งสมบุญบารมีไว้มาก ดัง นั้นเมื่อตายไปจึงได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ กลายเป็นผีฟ้า สามารถลงมาช่วยเหลือผู้คนบน
[24]
โลกได้เช่นเคย” ชาวบ้านวังมนจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผีฟ้าเป็นผีหรือเทพที่ทรงคุณธรรม เป็นทั้งผู้สร้างโลกและทำ�ให้เกิดมนุษย์ ตลอดจนคอยช่วยเหลือมนุษย์ เมื่อยามประสบปัญหา เดือดร้อน ถือเป็นผีบรรพชนของตนเองจึงต้องศรัทธาเคารพอย่างยำ�เกรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุ ให้ชาวบ้านพึ่งพาผีฟ้าในการรักษาโรคโดยใช้วิธีประกอบพิธีกรรมการเหยา เพื่อเรียกผีฟ้าลง มาสิงห์ร่างผู้ทำ�หน้าที่เป็นหมอ แล้วจึงช่วยชี้แนะวิธีรักษาให้แก่ผู้ป่วยเพื่อนำ�ไปแก้ไขต่อไป ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมการเหยานั้น ทุกคนล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีความ สำ�คัญหรือกล่าวได้ว่าขาดไม่ได้เมื่อมีพิธีเหยาทุกครั้ง ซึ่งเป็นทั้งผู้ร่วมพิธี ผู้ทำ�พิธี ผู้รักษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีความสำ�คัญต่อพิธีกรรม แต่ผู้ที่สำ�คัญ มากที่สุดได้แก่ผู้ประกอบพิธีเหยา คือหมอเหยา หมอแคน และผู้ป่วย ก่อนที่หมอเหยา จะเป็นบุคคลสำ�คัญได้ถึงเพียงนี้ใช่ว่าจะเป็นผู้กำ�หนดเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบุคคลดังกล่าว ชาวบ้านวังมนมีความเชื่อว่าจะต้องเป็นผู้ที่ผีฟ้าเป็นผู้เลือก คุณยายบาง ไชยขันธ์ หมอ เหยาที่ชำ�นาญและอาวุโสที่สุดในหมู่บ้านวังมนเล่าเรื่องราวก่อนที่คุณยายจะเป็นหมอเหยา ว่า “ตอนที่อายุได้ 42 ปีนั้น ยายป่วยจนตั้งคอไม่ได้ กินข้าวกินปลาก็ไม่อร่อย วันๆ มีแต่ นอน ญาติจึงไปตามหมอเหยามาทำ�พิธีเหยาจึงรู้ว่าผีฟ้าต้องการจะทรงร่างยาย หมอเหยา จึงถามว่าจะรับหรือไม่ ยายจึงรับเอาพิธีนี้จึงมีการคุมผีแล้วอยู่ดีๆ ยายก็ลุกขึ้นรำ� จากนั้น อาการป่วยก็หายเป็นปกติ ยายจึงแต่งคายขึ้นหิ้งรับเอาวิชาหมอเหยาตั้งแต่นั้นมา” บุคคล ที่มีความสำ�คัญกับพิธีเหยาสำ�หรับชาวบ้านวังมนเป็นบุคคลที่รับเอาวิชาจากความเชื่อเรื่องผี โดยไม่ได้เรียนวิชาแต่อย่างใด
ยายบาง ไชยขันธ์ หมอเหยาอาวุโส
[25]
ชาวบ้านวังมนได้ใช้การประกอบพิธีเหยาโดยมีจุดประสงค์อยู่หลายลักษณะ แต่ละ ลักษณะล้วนเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อการดำ�รงชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งได้แก่ การเหยาเพื่อ ชีวิต เป็นลักษณะการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หรือเหยาต่ออายุ ภาษาหมอเหยา เรียกว่า เหยาเพื่อเลี้ยงหิ้งเลี้ยงหอ การเหยาเพื่อคุมผีออก เป็นการสืบทอดหมอเหยา กล่าวคือ เมื่อมีผู้ป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย เมื่อเหยาดูแล้ว ผีบอกว่าจะต้องเป็นหมอเหยา รักษาจึงจะหาย ดังนั้นหมอเหยาจึงมีการเหยาคุมผีออก (เนื่องจากมีผีร้ายเข้าสิง) ถ้าผี ออกผู้ป่วยก็จะลุกขึ้นมาร่ายรำ�กับหมอเหยาด้วยจะทำ�ให้อาการป่วยไข้นั้นหาย ผู้ที่เป็นหมอ เหยาที่มาทำ�หน้าที่เหยาก็จะมีตำ�แหน่งเป็นแม่เมือง ส่วนผู้ป่วยที่หายก็จะกลายเป็นหมอเหยา ต่อ ซึ่งจะมีตำ�แหน่งเป็นลูกเมืองต่อไป ตลอดจนการเหยาเพื่อเลี้ยงผี เนื่องจากในปีๆ หนึ่ง หมอเหยาจะไปเหยาเพื่อรักษาผู้ป่วยบ้างหรือเหยาเพื่อจุดประสงค์อื่นก็ตาม จำ�เป็นที่หมอ เหยาจะต้องจัดงานเลี้ยงเพื่อขอบคุณผี โดยจะจัดในช่วงเดือน 4 หรือเดือน 6 ของทุกๆ ปี แต่ถ้าในปีใดหมอเหยาไม่ได้เหยามากนักหรือว่าข้าวปลาไม่อุดมสมบูรณ์ก็จะไม่เลี้ยง หากแต่ จะทำ�พิธีฟายน้ำ�เหล้า (ใช้ใบและดอกไม้มาจุ่มน้ำ�เหล้าและประพรมให้กระจายออกไป) แทน ในการเหยาเลี้ยงผีนั้นอาจจะเป็นแม่เมืองหรือลูกเมืองเป็นผู้กระทำ�ก็ได้ โดยผู้เป็น เจ้าภาพจะเชิญแขกหรือบรรดาหมอเหยาด้วยกัน ตลอดจนญาติพี่น้องมาช่วยในการจัดงาน โดยจะมีการเหยาอยู่ 2 วัน กับ 1 คืน และการเหยาเอาฮูปเอาฮอย เป็นพิธีกรรมเหยา ในงานประเพณี การเหยาเอาฮูปเอาฮอยจะทำ�กันในงานบุญพระเวสฯ ของแต่ละปี และจะ ทำ�ติดต่อกัน 3 ปี เว้น 1 ปี จึงจะทำ�อีก พิธีเหยานี้ส่วนใหญ่ผู้ทำ�พิธีจะเป็นผู้ชายล้วน คำ� เหยาหรือกลอนจะเป็นไปในเรื่องของอวัยวะเพศและเรื่องเพศสัมพันธ์ แม้แต่การสอยก็เป็นคำ� ลามก ในการประกอบพิธกี ารเหยานัน้ สิง่ ทีส่ �ำ คัญอีกประการหนึง่ คือ สถานทีใ่ นการประกอบ พิธีซึ่งการประกอบพิธีเหยานั้นต้องใช้สถานที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ ของการเหยาแต่ละครั้ง คุณลุงกลอน ปัตลา หมอแคน กล่าวถึงสถานที่ในการประกอบ พิธเี หยา ว่า “เมือ่ ไปเป่าแคนประกอบพิธีการเหยาแต่ละครั้งสถานทีท่ ลี่ งุ ไปนั้น ก็ตา่ งกันแล้ว แต่ว่าไปเหยาเพื่ออะไร หากเหยาเพื่อรักษาผู้ป่วยหรือคุมผี สถานที่ทำ�พิธีก็จะเป็นบ้าน ของผู้ ป่ ว ยเอง แต่ ห ากเป็ น เหยาเพื่ อ เลี้ ย งผี ห รื อ เอาฮู ป เอาฮอย ก็ จ ะใช้ ส ถานที่ ที่ เ ป็ น จุดศูนย์กลางหรือสถานที่สาธารณะของหมู่บ้าน” หากจะประกอบพิธีเหยาในแต่ละครั้งจะต้องมีขั้นตอนในการประกอบพิธี ทั้งนี้ใน บางโอกาสก็จะขึ้นอยู่กับหมอที่ทำ�การเหยาให้ โดยคุณยายบาง ไชยขันธุ์ เล่าว่า “เริ่ม
[26]
แรกต้องจัดเครื่องคายและตั้งเครื่องคายสำ�หรับพิธีการเหยาแล้วนำ�มาวางต่อหน้าหมอเหยา จากนั้นก็บูชาครูและลำ�เชิญผีลง เพื่อให้ผีมาเข้าทรงถามอาการเจ็บป่วยจากผี แล้วทำ�การ เหยาไปตามทำ�นองของเสียงแคนประกอบการร่ายรำ� ยายก็จะถามผีว่าต้องการอะไร จะ แก้ไขอาการเจ็บป่วยได้อย่างไร จะใช้เครื่องเซ่นสรวงอะไรบ้าง โดยให้ญาติผู้ป่วยเป็นล่าม ติดตามยาย จากนั้นก็จะทำ�พิธีเสี่ยงทายโดยเอาข้าวสารทิ้งลงที่ไข่ แล้วถามคำ�ถามพร้อม กับกำ�หนดให้ข้าวสารติดที่ไข่ตามที่ต้องการหากติดตามนั้นจริงแสดงว่าที่ถามไปนั้นถูกต้อง วิธีเสี่ยงทายนี้ใช้ในการถามแนวทางรักษาผู้ป่วยด้วย” สิ่งที่มีความสำ�คัญในการประกอบพิธีเหยาที่ต้องเป็นธุระของญาติผู้ป่วยที่ต้อง เตรียมเพื่อให้พร้อมต่อการประกอบพิธี ประกอบไปด้วย ผ้าซิ่น 1 ผืน มีหัว มีตีน (มีเชิง) นิยม ใช้ผ้าฝ้าน 1 วา สำ�หรับผู้ป่วยที่เป็นหญิง และผ้าซิ่น 1 ผืน สำ�หรับผู้ป่วยที่เป็นชาย ผ้ามน (ผ้าที่ทำ�ให้มุมมีลักษณะโค้ง) 1 ชิ้น แพรขาว 1 วา เงิน 4 บาท 8 สตางค์ กรวยดอกไม้ ขันน้ำ�หอมใส่ขมิ้น 3 ฝาน 1 ขัน ไข่ไก่ดิบสำ�หรับเสี่ยงทาย 1 ฟอง เหล้า 1 ขวด ข้าว เหนียวสุก 1 ก้อน ข้าวสารสำ�หรับวางไข่ประมาณ 1 ขัน ขัน 5 ขัน 8 บุหรี่ 4 มวน คำ� หมก 4 คำ� เทียนไข 9 คู่ และ 6 คู่ รวมเป็น 15 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ กับ 3 คู่ รวมเป็น 8 คู่ ผมของใครก็ได้ขนาดเท่ากับนิว้ ก้อย (ประมาณ 1 ปอย) หวีและกระจก ทัง้ หมดทีต่ อ้ งเตรียม นี้เรียกกันว่า “เครื่องคาย” ความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตของชาวบ้านวังมน มีความมั่นใจในการประกอบกิจกรรม หรื อ ประกอบอาชี พในแต่ ล ะวั น เนื่ อ งจากมี ที่ พึ่ ง ทางใจเพราะหากมี ก ารเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ มี เหตุการณ์ผิดปรกติเกิดขึ้น ชาวบ้านก็จะพึ่งวิธีการเหยาเพื่อหาทางออกจึงทำ�ให้ชาวบ้าน สบายใจและมีความสุขกับการใช้ชีวิต โดยไม่หวาดกลัวต่อภัยร้ายแรง ความเป็นอยู่จึงดีขึ้น รวมไปถึงสุขภาพจิตก็ดีไปด้วย คุณตาวิรวรรณ สุวรรณพรรณ ชาวบ้านวังมนผู้เคยร่วม พิธีเหยากล่าวว่า “เพราะมีพิธีกรรมการเหยาตาจึงวางใจในเรื่องการเจ็บป่วย ว่าจะหาทาง รักษาโดยพึ่งพาการเหยาได้ ทำ�ให้ตาไม่คิดอะไรมากชีวิตตาจึงมีความสุข ชาวบ้านวังมนคน อื่นๆ ก็เหมือนตาในบ้านวังมนจึงมีคนแก่เหลือเยอะเพราะมีความสุขกันทุกคน” ในส่วนของการรักษาความเชื่อเรื่องการเหยาให้คงอยู่คู่กับบ้านวังมนมาจนถึง ปัจจุบันและในอนาคตนั้น ในการเหยาไม่ได้มีการถ่ายทอดเพื่อเป็นการอนุรักษ์ในคนรุ่นใหม่ ประกอบพิธีกรรมให้ได้ เนื่องจากการเหยาไม่ได้เกิดจากการสอนหรือการเรียนรู้ แต่ชาว บ้านเชื่อว่าเกิดจากการเลือกของผีฟ้า ดังนั้นการอนุรักษ์จึงเป็นไปในทางอนุรักษ์โดยปลูกฝัง ให้คนรุ่นใหม่มีความเชื่อเรื่องผี ซึ่งเมื่อมีความเชื่อเรื่องผีก็จะนำ�มาซึ่งการเชื่อเรื่องพิธีกรรม
[27]
ในการเหยาด้วย
พิธีกรรมการเหยา
การรักษาและการประกอบพิธีกรรมเหยานี้ไม่ได้ให้ชาวบ้านงมงาย โดยไม่เชื่อเรื่อง แพทย์แผนปัจจุบัน แต่ชาวบ้านมีการรักษาควบคู่กันไป นายทองสุก อุทรักษ์ อสม. บ้าน วังมนกล่าวว่า “แพทย์ประจำ�ตำ�บลก็ไม่ได้ห้ามชาวบ้านประกอบพิธีเหยา แต่ต้องรักษา ควบคู่กันไป อีกทั้งการเหยายังทำ�ให้ชาวบ้านรู้สึกสบายใจเหมือนเป็นการรักษาทางใจไปด้วย และในการรำ�ผีฟ้าก็ทำ�ให้คนแก่ได้ออกกำ�ลังกายทำ�ให้ร่างกายแข็งแรงหายจากการเจ็บป่วย ง่ายขึ้น” คนรุ่นใหม่ในบ้านวังมนล้วนแต่ยังมีความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเหยาอย่างเหนียว แน่นเพราะพวกเขาได้เติบโตและซึมซับพิธีกรรมเหล่านี้มาตั้งแต่เกิด เด็กหญิงสุรัญชนา วังวงค์ ชาวบ้านรุ่นใหม่ของบ้านวังมน กล่าวว่า “เห็นพิธีกรรมการเหยามาตั้งแต่จำ�ความ ได้ เขาทำ�พิธีกันอย่างศักดิ์สิทธิ์ก็เลยเชื่อมาก ประกอบกับมีความเชื่อเรื่องผีอยู่แล้วจึงเชื่อ อย่างสนิทใจ” การเสี่ยงทายจบลงพร้อมด้วยการจบลงของเสียงลำ�และเสียงแคน ผู้ที่รำ�อยู่ก็นั่ง ลงส่วนผู้ที่นั่งล้อมรอบบริเวณที่ประกอบพิธีอยู่นั้นยิ้มระรื่นด้วยความพอใจ เครื่องคายถูก เก็บไปขึ้นหิ้งอย่างเรียบร้อย หมอเหยาลาเจ้าของบ้านกลับอย่างสบายใจ พิธีกรรมในครั้ง นี้ลุล่วงลงไปพร้อมความสบายใจของเหล่าญาติผู้ป่วยและความสบายกายของผู้ป่วยเอง เหตุการณ์สงบลงเป็นปกติ ทุกชีวิตล้วนดำ�เนินไปอย่างมีความสุข
[28]
3 บุญข้าวสากบ้านวังมน : พัสดุข้ามภพจากคนเป็น... ถึงคนตาย แสงสีทองทาบทาบนท้องฟ้าอย่างเบาบาง เสียงวิหคนกกา เจื้อยแจ้วร้องรับวัน ใหม่ ระฆังดัง... เหง่ง... หง่าง... ก้องมาแต่ไกล สายตาทั้ง 5 คู่ กำ�ลังเพลิดเพลินกับ การชมทัศนียภาพสองข้างทาง ภูเขาเขียวทอดยาวอยู่ตรงหน้า เด็กหญิงเด็กชายตัวเล็กๆ สวมชุดสีเหลืองปั่นจักรยานมาเป็นกลุ่ม เด็กหนุ่มสวมชุดนักเรียนจับกลุ่มกันอยู่ข้างทาง อีกฟากหนึ่ง ควายหนุ่มก็กำ�ลังเล็มหญ้าอ่อนที่มีน้ำ�ค้างติดอยู่ ภาพที่น่าประทับใจเช่นนี้หามี ในสังคมเมืองไม่ เรามุ่งหน้าเดินผ่านหมู่บ้านนี้ เพื่อไปยังจุดหมายเส้นทางสายบุญข้าวสาก วัดบ้านวังมน เพื่อสัมผัสกับประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรม ความเชื่อ แรงศรัทธา ของ ผู้ไทยวังมน อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์... ผู้ไทยวังมน... คนรักษ์วัฒนธรรม “ผู้ไทย” มักเขียนว่า “ภูไท, ผู้ไทย” คำ�ว่า “ผู้” หรือ “พู้” เป็นสำ�เนียง ออก เสียงคำ�พูด ของคนผู้ไทย แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เขียน ว่า “ผู้ไทย หมายถึง ชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย” ถิ่นฐานดั้งเดิมของ ชาวผู้ไทยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและแคว้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาวและ
[31]
เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ ผู้ไทยดำ� มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ� สีคราม และผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว รวมถึงผู้ไทยดำ�และผู้ไทยขาว มี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า “สิบสองจุไทย” หรือ “สองเจ้าไทย” ในสมั ย พระเจ้ า ไชยเชษฐาธิ ร าชที่ 2 (เจ้ า องค์ ห ล่ อ ) แห่ ง ราชอาณาจั ก ร เวี ย งจั น ทน์ ได้ มี หั ว หน้ า ชาวผู้ ไ ทย ชื่ อ พระศรี ว รราช มี ค วามดี ค วามชอบในการช่ ว ย ปราบกบฏนครเวี ย งจั น ทน์ จ นมี ชั ย ชนะ พระเจ้ าไชยเชษฐาธิ ร าชที่ 2 จึ ง ปู น บำ � เหน็ จ พระราชทานพระนางช่อฟ้า ซึ่งเป็นพระธิดาของพระองค์ให้แก่พระศรีวรราช เมื่อมีบุตรก็ ตั้งบุตรของพระศรีวรราชทั้ง 4 คน ให้ไปปกครองเมืองผู้ไทย ได้แก่ เมืองสบเอก เมือง เชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน (เซโปน) พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปตอนใต้ของ ราชอาณาจักรเวียงจันทน์ (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต ติดกับชายแดนญวน) ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ พร้อมกับกวาดต้อนครอบครัวชาวผู้ไทยจากหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ เมืองวัง เมืองคำ�ม่วน เมืองมหาชัย ให้เข้ามาอยู่ในภาคอีสานของไทย คือจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และ นครพนม ตั้งเป็นเมืองผู้ไทย เช่น เมืองเรณูนคร เมืองกุดสิมนารายณ์ (กุฉินารายณ์) เมืองคำ�ชะอี และเมืองพรรณนานิคม นอกนั้นก็กระจัดกระจายทั่วไปในภาคอีสาน
การรำ�และการแต่งกายของชาวผู้ไทย
[32]
บ้านวังมน ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้าน ของชาวผู้ ไ ทยซึ่ ง อพยพมาจากเมื อ งวั ง ประเทศลาว ในตอนแรกที่ อ พยพมานั้ นได้ ตั้ ง ถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดสิมนารายณ์ เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมามีนายพราน 2 คน ชื่อบ่าวโต้น กับบ่าวเตี้ยงได้ออกล่าเนื้อตามป่าเป็นประจำ� และได้ไปพบหนองน้ำ�หนองหนึ่งอยู่ในป่าใกล้ ห้วยจุมจัง มีน้ำ�ใสสะอาดและเป็นแหล่งน้ำ�ที่มีสัตว์ป่าลงมากินน้ำ�ในหนองน้ำ�นี้เป็นประจำ� นายพรานทั้ง 2 เห็นว่าโนนคำ�หว้านี้เป็นทำ�เลที่ควรจะตั้งบ้านเรือนได้ จึงกลับไปชวน เพื่อนฝูงมาตั้งบ้านใหม่ที่โนนคำ�หว้า ตระกูลสุรเสียงและอัฐนาค ซึ่งเป็นชาวบ้านหนองห้าง ได้พากันอพยพครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานที่โนนคำ�หว้าเป็นกลุ่มแรก ผู้คนก็เริ่มย้ายมาตั้งบ้าน เรือนมากขึ้นเรื่อยๆ บริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีห้วยจุมจังเป็นแหล่ง น้ำ�และมีภูเขาล้อมรอบ และเนื่องจากโนนคำ�หว้ามีหนองน้ำ�ที่เป็นวังวนอยู่ในหมู่บ้าน ชาว บ้านจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ด้วยชื่อที่ใกล้เคียงกันว่า “วังมน” บ้านเรือนกว่า 240 หลังคาเรือน เป็นสังคมเล็กๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างเรียบ ง่ายและสงบสุข แต่ด้วยปัญหาความยากจนในยุคข้าวยาก หมากแพง ต่างคนต้องปาก กัดตีนถีบเพื่อประทังชีวิตและครอบครัวให้อยู่รอดกับสังคมสมัยใหม่ ห้วยจุมจังเป็นแหล่งน้ำ� ติดเชิงเขา เป็นแหล่งน้ำ�สำ�คัญในการทำ�การเกษตร ชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพหลักคือทำ�นา มีอ่างเก็บน้ำ�วังมนเป็นสายธารหล่อเลี้ยงชีวิตชาววังมน ให้ข้าวในนา เขียวงาม ให้ปลาในน้ำ�อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารการกินมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อฤดูฝน พัดผ่านเข้ามาเป็นช่วงฤดูการหาของป่า อาทิเช่น เห็ด หน่อไม้ พืชผัก และสมุนไพรต่างๆ ที่มีอยู่ในป่า ทรัพยากรธรรมชาติของบ้านวังมนยังถือว่าอุดมสมบูรณ์อยู่ โดยเฉพาะภูผาผึ้ง ถือได้ว่าเป็นขุนเขาแห่งขุมทรัพย์ของชาววังมน ของคนกุฉินารายณ์ก็ว่าได้ เพราะไม่ใช่แค่ เป็นแหล่งอาหาร แต่คือแหล่งทรัพยากรสำ�คัญช่วยสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอีกด้วย หมู่บ้านวังมนเป็นหมู่บ้านผู้ไทยเก่าแก่อีกหมู่บ้านหนึ่ง มีสภาพบ้านเรือนไม่แออัด ไม่มีรั้วรอบขอบชิดเหมือนสังคมเมือง บ้างก็เป็นบ้านปูนตามสมัย บ้างเป็นบ้านไม้ยกสูง ใต้ถุนบ้านส่วนใหญ่จะมีหูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าชนิดหนึ่ง มีแคร่ ไว้นั่งเล่น บางบ้าน ก็ทำ�คอกวัวคอกควายใต้ถุนบ้าน แตกต่างกันออกไป แต่มีอีกอย่างหนึ่งที่ทำ�ให้ชาวผู้ไทยไม่มี ข้อขัดแย้งหรือข้อแตกต่างกันเลย คือ “ความเชื่อ” โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องผี ไม่ว่าจะ เป็น ผีปู่ตา ผีฟ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมา รุ่นสู่รุ่น บุญข้าวสาก ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในประเพณีที่สำ�คัญของชาววังมนเพราะมีความเชื่อที่ ว่า เป็นการทำ�บุญที่จะทำ�ให้บุญกุศลที่ทำ�ไปถึงญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และยังถือได้ว่าเป็น
[33]
พัสดุข้ามภพจากคนเป็นถึงคนตาย ของชาวผู้ไทยวังมนจนมาถึงปัจจุบัน ตำ�นานบุญข้าวสาก...จากพุทธกาลสู่ปัจจุบัน
ภาพวาดประเพณีการทำ�บุญข้าวสาก
ฮีตสิบสอง ประเพณีสิบสองเดือนที่เกี่ยวกับหลักคำ�สอนทางพระพุทธศาสนา ความ เชื่อและการดำ�รงชีวิตทางเกษตรกรรม เป็นสิ่งที่ชาวผู้ไทยอีสานนับถือและปฏิบัติมาตั้งแต่ โบราณ มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละเดือน เชื่อว่าหากทำ�แล้ว จะเป็นสิริมงคลแก่ ชีวิต เรียกกันตามท้องถิ่นว่างานบุญ ซึ่งชาวผู้ไทยอีสานจะให้ความสำ�คัญกับประเพณีฮีต สิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างสม่ำ�เสมอ นับเป็นเอกลักษณ์ของชาว ผู้ไทยอีสานเลยก็ว่าได้ บุญเดือนสิบหรือบุญข้าวสาก เป็นฮีตหนึ่งในประเพณีฮีตสิบสอง ซึ่ง ถือเป็นประเพณีอันงดงามของชาวอีสาน เป็นการทำ�บุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือ เปรตผู้เคยเป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำ�ข้าวสากไปถวายพระภิกษุสามเณรเป็นประเพณีที่ ชาวผู้ไทยอีสานใส่ใจมากกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะว่าเป็นเรื่องของความเชื่อว่าในวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 เป็นวันที่พระยายมบาล เปิดขุมนรกให้สัตว์นรกได้มารับส่วนบุญส่วนกุศล จากญาติพี่น้องบนโลกมนุษย์ ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ� ไปจนถึงเที่ยงคืนวันขึ้น 15 ค่ำ� เมื่อพวกเปรต หรือสัตว์นรกเหล่านั้นมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องบนโลกมนุษย์แล้ว พวกที่ได้รับบุญกุศลจากการทำ�บุญข้าวสากของญาติพี่น้องนี้ ก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็น เป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์
[34]
มูลเหตุที่ทำ�ให้เกิดบุญข้าวสากมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตามตำ�นานเล่าสืบต่อกัน มาว่า บุตรกฎุมพีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึง หาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาภรรยาน้อยมีลูก ภรรยาหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าภรรยา น้อยและลูก ก่อนตายภรรยาน้อยคิดอาฆาตภรรยาหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ ชนิดต่างๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่ง เกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สาม ยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามีจึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้าณเชตวัน มหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกันและโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตาม หัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำ�ดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้ นำ�อาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำ�อาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระ สงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ� ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสาก สืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า “ตาแฮก”
ศาล “ผีตาแฮก” สร้างขึ้นในผืนนาของชาวอีสาน
บ้านวังมนเป็นชุมชนผู้ไทยมีศ รัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงประกอบกับ มีความเชื่อเรื่องผีเป็นทุนดั้งเดิม เมื่อถึงบุญเดือนสิบหรือบุญข้าวสาก จะมีการเตรียม “ห่อข้าวน้อย” หรือที่เรียกว่า “ห่อข้าวสาก” เตรียมไปเพื่อเลี้ยงผี ไล่เรียงลำ�ดับวงศา คณาญาติมาตั้งแต่ผีบรรพบุรุษ ผีเปรตที่ไร้ญาติขาดมิตร รวมทั้งเจ้ากรรมนายเวรและผีตา
[35]
แฮก พิธีทำ�บุญข้าวสากในตอนเช้าจะนำ�ภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่ง ช่วง สายๆ จวนเพลจึงจะนำ� “ห่อข้าวน้อย” หรือ “ห่อข้าวสาก” ไปวัดอีกครั้ง เมื่อนำ�อาหาร มาถึงศาลาวัดที่จะทำ�บุญแล้ว เขียนชื่อของตนลงในกระดาษ ม้วนลงใส่ในบาตร เมื่อทุก คนมาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือมัคทายกจะเป็นผู้นำ�ทำ�พิธีฝ่ายฆราวาส ญาติโยม ว่าตามจบแล้วนำ�ไปให้พระเณร จับสลากที่อยู่ในบาตร พระเณรจับได้สลากของใคร ผู้เป็น เจ้าของพาข้าว (สำ�รับกับข้าว) และเครื่องปัจจัยไทยทานก็นำ�ไปประเคนให้พระรูปนั้นๆ จาก นั้นพระเณรจะฉันเพล ให้พรญาติโยมจะพากันรับพร แล้วกรวดน้ำ�อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
ห่อข้าวสากสำ�หรับถวายพระพุทธเจ้า
หลังพระฉันเพล จึงเอาข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด เรียกว่า “ยายข้าว สาก” พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญ ที่อุทิศให้ จากนั้นจึงเอาข้าวสากไปเลี้ยงผีตาแฮกตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งเป็นช่วงปลายฝนที่ ท้องนาจะต้องมีน้ำ�เจิ่งนอง และในน้ำ�จะมีปลา ในนามีข้าว ในห่อข้าวน้อยจึงมีปลาปิ้งเป็น อาหารคาว เชื่อกันว่าจะทำ�ให้ข้าวปลาอาหารที่กำ�ลังเขียวขจีเต็มทุ่ง จะได้ติดดอกออกรวง สมบูรณ์ดี นั่นคือความคิดความเชื่อของชุมชนที่สืบสานต่อเนื่องกันมานมนานนับแต่ครั้ง บรรพกาล ความเชื่อและพิธีกรรมดังกล่าวถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในคัมภีร์เกี่ยวกับ ประเพณีของชาวอีสานทั่วไป แต่สำ�หรับความเชื่อและพิธีกรรมบุญข้าวสากของบ้านวังมน นั้นมีเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็น “ชาวผู้ไทยวังมน” ได้เป็นอย่างดี
[36]
“โลกหลังความตาย” ในความเชื่อของผู้ไทยวังมน เดือนเก้าดับ เดือนสิบ ใหม่ (ตามปฏิทินจันทรคติ เดือนเก้าดับ คือ วันแรม 14 ค่ำ� เดือน 10 ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดเดือนเก้า 9 ย่างเข้าสู่เดือนสิบใหม่ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 เพราะเป็นวันเพ็ญแรกของเดือนจึงนับว่าเป็นวันเริ่มต้น เดือน 10) ในความเชื่อของชาวบ้านวังมน วันเดือนเก้าดับ เดือนสิบ ใหม่ เป็นวันเปิดประตูนรกให้ บรรดาผี เปรต และอสูรกายทั้งหลายผู้มีกรรมมากและได้รับทุกข์เวทนามาโดยตลอดได้มี โอกาสกลับมาเยือนพื้นโลกมนุษย์อีกครั้ง กลับมาเยือนยังพื้นดินที่เคยเป็นบ้านเรือนหรือ ที่พักพิงตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ เพื่อมาพบลูกหลานและเครือญาติ ภูตผีเหล่านี้อยู่ในอาการ หิวโหยเพราะถูกทรมานอย่างหนักในนรกอันเนื่องมาจากกรรมที่พวกเขาเคยสร้างไว้เมื่อครั้ง ยังมีชีวิตอยู่ เรื่องของโลกหลังความตายนี้เป็นความเชื่อพื้นฐานอยู่ในจิตใจของคนไทยมานาน โดยเฉพาะชาวผู้ไทย และจากความเชื่อดังกล่าวเป็นต้นเหตุให้เกิดประเพณีบุญข้าวสากขึ้น ความเชื่อเรื่องนี้อยู่นอกเหนือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลัก การทางเหตุและผล แต่เราสามารถรับรู้เรื่องนี้ได้มากมายในสังคมปัจจุบันเกี่ยวกับคนตาย แล้วฟื้นว่า “เมื่อวิญญาณออกจากร่างแล้วจะล่องลอยไปยังที่ต่างๆ ที่จิตใจปรารถนา รู้สึก เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง แต่ไม่นาน! ก็มีบุรุษร่างสูงใหญ่สีผิวดำ�ทะมึน อยู่ในชุดผ้าเตี่ยว และผ้าโพกหัวสีแดง ถือหอกเล่มยาวพร้อมเชือกเส้นใหญ่เพื่อมาคล้องดวงวิญาณเหล่านั้น ซึ่งเรารู้จักกันดีในชื่อ ยมทูต เป็นผู้นำ�พาดวงวิญญาณไปยังดินแดนนรกภูมิ ดินแดนอัน ไม่มีกลางวันและกลางคืนมีแต่ความมืดมิดอันเลวร้ายตลอดกาล ดวงวิญญาณที่ถูกนำ�ไป ถึงดินแดนนรกนั้น ครั้งแรกจะต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าท่านยมบาลก่อนเพื่อตรวจสอบชำ�ระ ความก่อนรับโทษทัณฑ์ คนที่ดวงชะตาถึงคาดจะถูกส่งไปยังภพที่คู่ควร ภพที่คู่ควรในที่นี้ คือ คู่ควรกับบุญกรรมที่ทำ�มา แต่สำ�หรับคนตายแล้วฟื้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีนำ�ดวง วิญญาณไปผิดดวง เมื่อเป็นเช่นนั้นดวงวิญญาณดังกล่าวจะถูกส่งกลับมายังกายหยาบบน โลกมนุษย์อีกครั้ง” จากคำ�บอกเล่าดังกล่าวเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งของผู้ประสบเหตุ ตายแล้วฟื้น แล้วนำ�มาเล่าสู่กันฟัง กลายเป็นเรื่องเล่าชวนขนลุกที่เล่ากันอย่างสนุกปากจนหาต้นตอของ เรื่องไม่ได้ เรื่องเหล่านี้อาจถูกปรุงแต่งมาจนบิดเบือนหรือคลาดเคลื่อนจากความจริง แต่ นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะประเด็นที่เราต้องการทราบคือดวงวิญญาณและโลกหลัง ความตาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ่อใหญ่กาฮอง อัฐนาค ปราชญ์ผู้เฒ่าชุดขาวผู้เตรียมตัวรับ
[37]
ศีลอุโบสถในวันพระขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 เล่าให้พวกเราฟังว่า “ก็ได้ยินคนอื่นเขาเล่า กันว่า ช่วงกลางคืนวัน 9 ดับ เดือน 10 ใหม่ นี่บางคนเขาจะฝันเห็นพวกวิญญาณ ญาติพี่น้องมาหา มาขอส่วนบุญบอกว่าอยากกินนั่นกินนี่นะ ให้เตรียมไว้ให้ แต่บางคนก็ เห็นจริงๆ ไม่ได้ฝัน ส่วนตัวพ่อใหญ่เองไม่เคยเห็นหรอก ไม่ฝันด้วยแต่ก็เชื่อว่ามีจริงอยู่” จากคำ�บอกเล่าของพ่อใหญ่กาฮอง ช่วยสะท้อนความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายของชาว บ้านที่นี่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อถึงวันเดือน 9 ดับ เดือน 10 ใหม่ ชาวบ้านที่นี่จึงไม่ ลังเลในการเตรียมข้าวปลาอาหารมารวมกันที่วัดเพื่อทำ�บุญตั้งแต่เช้าตรู่ และเริ่มพิธีบุญข้าว สากในช่วงสายของวันเดียวกัน แบกถาดข้าวสากลงวัด... จัดสำ�รับให้ผีบรรพบุรุษ เช้าตรู่ของวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 ชาวบ้านวังมนนั่งพร้อมหน้ากัน ที่ศาลาการเปรียญวัดบ้านวังมนเพื่อรอทำ�บุญพร้อมกันในเวลา 6 โมงเช้า แต่ในวันนี้ดู เหมือนพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้านวังมนจะคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงไปมากกว่า 1 ชั่วโมง เหตุเพราะพวกเขานั่งรอพวกเราไปร่วมทำ�บุญด้วยกัน น้ำ�ใจของชาวผู้ไทยอีสาน บ้านวังมนนั้นช่างงดงามยิ่งนัก
ถาดข้าวสากของชาวบ้านวังมน
เมื่อทุกคนไปพร้อมหน้ากัน การทำ�บุญถวายภัตตาหารเช้าอย่างเรียบง่ายตาม วัฒนธรรมของชาวผู้ไทยวังมนก็เริ่มขึ้น เริ่มจากบทสวดบูชาพระรัตนตรัย ตักบาตร ถวาย
[38]
ภัตตาหาร กรวดน้ำ�อุทิศส่วนกุศลเป็นอันเสร็จพิธี หลังจากนี้ชาวบ้านจะแยกย้ายกันกลับ บ้านใครบ้านเรา เพื่อเตรียมข้าวปลาอาหารและเครื่องคาวหวานมาทำ�บุญข้าวสากในตอน สายเวลาประมาณ 10.00 น. ส่วนชาวบ้านอีกกลุ่มจะนุ่งขาวห่มขาวนั่งอยู่อีกมุมหนึ่งของ ศาลาการเปรียญ ส่วนใหญ่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่เตรียมตัวรับอุโบสถศีล หรือศีล 8 เพื่อรักษา ศีลทำ�บุญสร้างกุศลในวันพระใหญ่ เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่ของ พุทธศาสนิกชนเก็บสำ�รับอาหารพร้อมกับ “กินข้าวก้นบาตร” เพราะชาวพุทธเชื่อว่าการได้ กินข้าวก้นบาตรและอาหารที่เหลือจากพระสงฆ์ผู้ประเสริฐนั้นเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ส่วนอีกฟากของบ้านวังมน ชาวบ้านส่วนหนึ่งกำ�ลังสาละวนอยู่กับการเตรียม อาหารคาวหวาน หมาก พลู บุหรี่ เหล้าขาว ใส่ลงในถาดโลหะสีสวยเรียกว่า “ถาด ข้าวสาก” หรือ “สลากภัต” เพื่อนำ�ไปทำ�บุญที่วัด อาหารต่างๆ ที่อยู่ในถาดสลากภัต นั้นถูกจัดวางอย่างไม่เป็นระเบียบเท่าใดนัก แต่ก็ไม่ได้น่าเกลียดแต่อย่างใด อาหารในถาด ส่วนใหญ่จะเป็นของแห้ง ใส่ลงไปตามมีตามเกิดของเจ้าของบ้านเป็นอาหารจำ�พวกปลา ปิ้ง ห่อหมก ผลไม้ท้องถิ่นที่หาได้ง่าย เช่น ส้ม เม่า ฝรั่ง หรืออาจจะมีผลไม้นอกอย่าง แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่นแดง หรือส้มจีนก็มี นอกจากนี้ยังมีน้ำ�มะพร้าว น้ำ�เปล่าที่กรอกใส่ถุง พลาสติกอย่างดี โดยคุณป้าคนหนึ่งให้เหตุผลน่าฟังว่า “เมื่อเขากินข้าวเสร็จเขาจะได้กิน น้ำ�ตาม ข้าวจะได้ไม่ติดคอ” คำ�พูดดังกล่าวแสดงถึงความรักความห่วงใยต่อญาติผู้ล่วงลับ ซึ่งไร้ตัวตนในโลกใบนี้ แต่คุณป้ายังรู้สึกราวกับว่าพวกเขาเหล่านั้นยังมีตัวตนอยู่ นอกจาก อาหารคาวหวานนานาชนิดที่คุณป้าบรรจงใส่ลงในถาดข้าวแล้ว ในนั้นยังมี “ห่อข้าวสาก” เป็นชุดอาหารถูกห่อด้วยใบตอง มีประมาณ 5-6 ห่อ แต่ละห่อจะมีกล้วย ข้าวต้มมัด ข้าวตอก ฯลฯ ตามแต่ที่พวกเขาจะหาได้ ส่วนใหญ่เป็นของหวาน เมื่อห่อเสร็จแล้วจะ นำ�ดอกไม้ธูปเทียนมาผูกติดไว้ เขียนชื่อญาติที่ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ติดไว้กับลำ�ไม้ไผ่อัน เล็กๆ แล้วนำ�ไปปักไว้ตรงกลางถาดข้าวสาก และต้องไม่ลืมใส่ “ปัจจัย” ลงไปด้วยเพื่อ นำ�ไปทำ�บุญ การใส่ปัจจัยนี้ไม่จำ�กัดว่าต้องใส่จำ�นวนเท่าไหร่ คงตามแต่ศรัทธาของชาว บ้าน ส่วนใหญ่เท่าที่สังเกตได้มักจะใส่จำ�นวน 20 บาท เพราะเป็นจำ�นวนเงินที่ไม่มากไม่ น้อยเกินไป ธนบัตรใบละยี่สิบนั้นง่ายต่อการหนีบใส่ไม้ไผ่ยิ่งนัก พวกเราเดินออกบ้านนี้ เข้าบ้านนั้น ถามไถ่ทุกข์สุขบรรดาแม่และยายชาววังมน อย่างสนุกสนาน ประกอบกับการสังเกตถาดข้าวสากใบโตที่หลายครอบครัวต่างบรรจงแต่ง และบรรจุอาหารอย่างไม่ลดละ ถาดใบโตว่างเปล่ากลายเป็นถาดใบเล็กไปถนัดตา น้ำ�หนัก ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นทวีคูณทำ�ให้คนยกต้องร้องโอดโอย แต่กระนั้นอาหารที่จะนำ�ไปทำ�บุญ
[39]
ข้าวสากก็ยังไม่หมด ยังมีอีกพวกหนึ่งถูกนำ�บรรจุลงในถุงพลาสติกและถังใบเล็กอีก 2-3 ใบ น้ำ�ใจและความเลื่อมใสต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาววังมนท่วมท้นจนน่าเลื่อมใส
ถาดข้าวสาก “สำ�รับเพื่อบรรพบุรุษ”
“หล่าๆ มายกถาดลงวัดส่อยแม่แหน่หล่า...” คำ�พูดนี้เป็นน้ำ�เสียงสำ�เนียงผู้ไทย กาฬสินธุ์ที่ฟังแล้วรู้สึกแปลกหูสักหน่อย เพราะไม่ใคร่ได้ยินที่ไหนเลย เป็นเสียงของหญิง วัยกลางคนชาววังมนผู้หนึ่งร้องเรียกพวกเราให้ไปช่วยยกถาดข้าวสาก หรือถาดสลากภัต เพราะสิ่งของที่เธอเตรียมไว้นั้นมากมายพอสมควร ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารคาวหวานชั้น เลิศที่หาได้ในท้องถิ่นทั้งนั้น ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นเป็นเวลาประมาณ 9.30 น. ผู้คน เริ่มหลั่งไหลกันยกถาดสลากภัตวางบนบ่าเดินฉับๆ ไปวัดอย่างพร้อมเพรียง ภาพของชาว บ้านหลายคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นลายพื้นบ้านผืนสวยกับเสื้อแบบต่างๆ กันแล ดูเรียบร้อย แม้สีสันจะตัดกันบ้างก็ไม่รบกวนสายตานัก เป็นภาพวิถีชีวิตที่หาพบได้ยาก ในสมัยนี้ เดินไปได้สักพักพวกเราก็พบกับเด็กน้อย “แก๊งค์แมงคาม” กำ�ลังวิ่งเล่นกันอยู่ ใต้ถุนบ้าน เหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะวันแรกที่เรามาถึงเห็นเด็กน้อยกลุ่มนี้จับกลุ่มกันเล่นตัว ด้วง หรือในภาษาผู้ไทยเรียก แมงคาม อย่างสนุกสนาน เด็กน้อยผิวขาวน่ารักน่าชังกลุ่ม นั้นส่งสายตาทักทายบรรดาสาวๆ อย่างเหนียมอาย พอพวกเราเดินผ่านไปได้สักพักก็ได้ ยินเสียงหัวเราะคิกคักอย่างสนุกสนานจากเด็กน้อยกลุ่มนั้น ช่างเป็นเสียงใสแจ๋วน่ารักน่าชัง
[40]
ยิ่งนัก... ไม่นานพวกเราก็มาปรากฏตัวตรงประตูวัดบ้านวังมน ทุกคนเดินตรงไปยังศาลา การเปรียญอย่างไม่รอช้า เพราะมีชาวบ้านบางส่วนนั่งรอในศาลาแล้ว ชาวบ้านที่นี่ตรง ต่อเวลากันมาก พวกเขาไม่ต้องนั่งรอนับเวลาตามเข็มนาฬิกาอย่างชุมชนเมืองทั่วไป การ ทำ�บุญจนเป็นวิสัยดีงามเช่นนี้ทำ�ให้พวกเขารู้โดยสัญชาตญาณว่าเวลานี้สมควรแล้ว ข้าวสาก : พัสดุข้ามภพ ศาลาการเปรียญของวัดบ้านวังมนเต็มไปด้วยถาดข้าวสากน้อยใหญ่ใส่อาหาร มากมายตามศรัทธาของชาวบ้าน ก่อนอื่นชาวพ่อขาวแม่ขาวจะสมาทานศีลอุโบสถก่อน ค่อยเริ่มพิธีอุทิศส่วนกุศล เริ่มพิธีบุญข้าวสากด้วยการประพรมน้ำ�สะอาดไปยังถาดสลากภัต เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการชำ�ระสิ่งสกปรกออกจากอาหารก่อนจะอุทิศไปให้ผู้ล่วงลับ ต่อ ด้วยการเก็บห่อข้าวสากที่ทำ�ด้วยใบตอง เก็บรวมกันแยกใส่อีกถาดหนึ่งต่างหากเพื่อนำ� ไปถวายพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของชาวบ้าน ในพิธีนี้พระสงฆ์จะเป็นผู้นำ�ทำ�พิธี เพื่อ ให้ชาวบ้านวังมนได้ทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ ดังนั้น พระสงฆ์จึงเปรียบ เสมือน “บุรุษไปรษณีย์ส่งพัสดุข้ามภพ” พัสดุที่ว่านี้คือบุญกุศลต่างๆ ที่ชาวบ้านได้ทำ�กัน ในครั้งนี้ นำ�ส่งไปให้คนตายผ่านบทสวดและพิธีกรรมต่างๆ เมื่อบทสวดถวายข้าวสากจบ ลงก็ต่อด้วยการกรวดน้ำ�อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ขั้นตอนนี้สำ�คัญมาก ถือว่าเป็นหัวใจ ของงานบุญข้าวสาก เพราะพวกเขาเชื่อว่าบรรดาผู้ล่วงลับจะได้รับบุญกุศลหรือไม่อยู่ที่ การกรวดน้ำ�เป็นสำ�คัญ หากทำ�บุญเสร็จทุกอย่างแต่ลืมกรวดน้ำ�ถือว่าการทำ�บุญครั้งนั้นไม่ สมบูรณ์ บรรดาผู้ล่วงลับทั้งหลายยังคงรอรับส่วนบุญอยู่ ทางด้านความเชื่อเรื่องการกรวด น้ำ�อุทิศส่วนกุศล คุณตากาฮองเล่าว่า “เชื่อ... เชื่อ 100% ว่าพวกเขาจะได้รับส่วนบุญ เพราะเป็นคำ�สอนของพระพุทธเจ้าว่าพวกเขาจะได้รับ... ก็มีชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่าพวก ญาติมาเข้าฝันว่าได้รับแล้วก็ขอบอกขอบใจ ส่วนตัวเองไม่เคยฝันหรอก แต่เชื่อแน่นอน 100% ว่าพวกเขาได้รับแล้ว...” เมื่ อ กรวดน้ำ � อุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลเสร็ จ แล้ ว ชาวบ้ า นจะคั ด เลื อ กพวกอาหารแห้ ง ที่ สามารถเก็บไว้ได้นานๆ เพื่อให้พระสงฆ์และแม่ชีเก็บไว้ฉัน หรือเก็บไว้แจกให้เด็กน้อยเพราะ ในวัดมีศูนย์เรียนรู้ธรรมวันอาทิตย์ และเมื่ออาหารแห้งถูกคัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว อาหาร ที่เหลือในถาดนั้นจะยกให้ชาวบ้านนำ�มานั่งทานเล่นพร้อมกันบนศาลาการเปรียญ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่ชีวิตถ่ายทอดผ่านบทสวดบทนี้ว่า “เสสัง มังคะลัง ยาจามะ... ข้าพเจ้าขอเศษ เหลือของพระสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ฝูงข้าทั้งหลายด้วยเทอญ...” เป็นการทำ�บุญเพื่อ
[41]
ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน เสียงร้องถามอย่างเป็นกันเองของชาวบ้านว่า “พา โตได้หมากไม้หละบ้อ?” หรือ “อีหล่าเอาแนวกินกลับไปกินอยู่โรงเรียนบ่?” เสียงสำ�เนียง ผู้ไทยถามไถ่เพื่อนฝูงรวมทั้งพวกเราอย่างเอ็นดู สิ้นเสียงนั้น ผลไม้กับอาหารคาวหวานถุง ใหญ่ก็ถูกหอบมาให้พวกเราอย่างไม่ขาดสาย เพราะอาหารการกินในวันนี้มีมากเหลือเกิน คงไม่บ่อยนักที่ชาวบ้านจะมีโอกาสมาชุมนุมกันและรับประทานอาหารร่วมกันเหมือนเช่นวัน นี้ เวลาผ่านไปนานพอสมควรชาวบ้านเริ่มถือถาดอาหารอันว่างเปล่าทยอยกลับบ้านในเวลา ประมาณ 14.00 น. เป็นสัญญาณบอกว่าบุญข้าวสากของปีนี้เสร็จสิ้นลงแล้วด้วยความ อิ่มบุญ อิ่มใจ และอิ่มท้อง... เมื่อชาวบ้านแยกย้ายกันกลับบ้านแล้ว บรรดาพ่อขาวแม่ขาวผู้รักษาศีลจะอยู่ ปฏิบัติธรรมในวัดเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน ฟังธรรมเทศนาและสวดมนต์เพื่อขัดเกลาจิตใจ ให้ผ่องใส ปัดกวาดถากถางเส้นทางสู่สุคติภูมิเตรียมพร้อมไว้เมื่อวันวายชนม์เพื่อความหลุด พ้นอย่างแท้จริง ความเหมือนที่แตกต่าง : ข้าวสากผู้ไทยกับผู้ลาว ชาวผู้ไทยกับชาวผู้ลาว ต่างก็มีประเพณีบุญข้าวสากเหมือนกันภายใต้ความเชื่อ เดียวกันว่า เป็นการทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ในปีหนึ่งๆ จะมีการ ทำ�บุญในลักษณะนี้ 2 ครั้ง แต่ครั้งที่สำ�คัญที่สุดคือ บุญข้าวสากเดือนสิบ ความเชื่อและพิธีกรรมประเพณีบุญข้าวสาก ที่เหมือนกันของชาวผู้ไทยและชาว ไทยอีสานคือ ต่างเชื่อว่าโลกหลังความตายมีจริง เมื่อตายแล้วจะได้ไปนรก-สวรรค์นั้น ตามแต่บุญกุศลหรือบาปกรรมที่กระทำ�ไว้ ทำ�ดีก็ไปในที่สุขสบาย ทำ�ชั่วก็ไปอบายภูมิเพื่อ รับโทษทัณฑ์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากคำ�สั่งสอนทางพุทธศาสนาขององค์สมเด็จ สัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันเพ็ญเดือนสิบนี้ ชาวบ้านจะแต่งสำ�รับไปวัดทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ผู้ไทยจะประกอบพิธีตอนกลางวัน ส่วนผู้ลาวจะประกอบ พิธีตอนกลางคืน ชาวผู้ลาว คือกลุ่มชนที่พูดภาษาลาว หรือภาษาอีสาน มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ภาษาราชการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงเรียกว่า ภาษาไทยลาว ส่วนคำ�ว่า ผู้ลาว นั้นเป็นคำ�พื้นเมืองที่คนในท้องถิ่นใช้เรียกกันเอง ชนกลุ่มนี้มีความเชื่อ แตกต่างจากชาวผู้ไทยว่า “ผีหรือดวงวิญญาณนั้นกลัวแสงแดดตอนกลางวัน” ช่วงนี้พวก เขาจะนอนพักผ่อนอยู่ในที่ที่มีแสงแดด และค่อยออกท่องเที่ยวในตอนกลางคืน ทำ�ให้คนมัก
[42]
เห็นดวงวิญญาณตอนกลางคืน ดังนั้นชาวผู้ลาวจึงประกอบพิธีกรรมบุญข้าวสากตอนกลาง คืน เวลาประมาณ ตี 2 ถึง ตี 3 ของเช้าวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 10 พวกเขา จะนำ�อาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ เหล้าขาว เบียร์ หรือของกินอื่นๆ เป็นเครื่อง ข้าวสาก โดยจะนำ�ใส่ใบตองแล้วนำ�ไปวางบริเวณกำ�แพงวัด หรือตรงโคนต้นไม้ในวัดก็ได้ เรียกว่า “ยายข้าวสาก” คำ�ว่า ยาย ในภาษาอีสานแปลว่า การวาง หรือการโปรย สิ่งของต่างๆ ไว้ตามพื้น ในที่นี้คือการนำ�อาหารคาวหวานวางไว้กับพื้นดิน และจุดเทียน 1 เล่ม อธิษฐานบอกกล่าวให้ภูตผีบรรพบุรุษมากินห่อข้าวสากนี้ ความเชื่อของชาวผู้ ลาวนี่ก็แตกต่างกันตามท้องถิ่น บางท้องถิ่นจะเรียกหรือนัดกันไปยายข้าวสากบริเวณวัด เพราะเวลาเช้ามืดนั้นมืดและเงียบสงัดมากจึงต้องไปเป็นกลุ่ม เพราะบางคนขวัญอ่อนแค่ ได้ยินเสียงอะไรนิดหน่อยก็สะดุ้งแล้ว ถ้าจะให้ดีก็ต้องมีเพื่อนไปพร้อมกัน อย่างน้อยถ้าเจอ ผี ก็จะได้ไม่ต้องเห็นคนเดียว แต่บางท้องถิ่นกลับเชื่อว่า ถ้าบ้านใดจะไป ยายข้าวสาก จะต้อง “แอบไปคนเดียว” เวลาออกจากบ้านไปยายข้าวสากห้ามให้คนในบ้านรู้ คือ ย่อง ออกจากบ้านตนเอง ซึ่งเป็นเพราะอะไรนั้นไม่ปรากฏความจริงแน่นอน แต่อาจเป็นเพราะ ว่ากลัวผีบรรพบุรุษจะไม่มากินข้าวสาก ด้วยเชื่อว่าผีกลัวคน ถ้ามีคนรู้มากจะไม่กล้ามา กินข้าวสาก และเมื่อยายข้าวสากช่วงเช้ามืดเสร็จแล้ว ในตอนเช้าก็จะมาทำ�บุญในวัดตาม ธรรมเนียมการทำ�บุญในวันธรรมสวนะ ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ ของชาวผู้ลาวอีสานที่ปฏิบัติสืบทอดมายาวนานตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ส่วนความเชื่อและพิธีกรรมของชาวผู้ไทยบ้านวังมนนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ชาววังมนจะประกอบพิธีกรรมบุญข้าวสากในตอนกลางวัน พวกเขาจะไม่วางชุดข้าวสาก ตามกำ�แพงวัดให้สูญเปล่า เพราะถ้าวางในลักษณะนั้นอาจไม่ถึงผีบรรพบุรุษเพราะในวัดจะมี เจ้าถิ่น 4 ขา คาบไปกินก่อนก็เป็นได้ ดังนั้นชาววังมนจึงมีแนวปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยการทำ�บุญข้าวสากนี้จะต้องเอื้อประโยชน์แก่คนเป็นและคนตายด้วย ด้วยการจัดสำ�รับ อาหารใส่ถาดข้าวเป็น “ถาดข้าวสากไปทำ�บุญที่วัด ที่สำ�คัญ ต้องมี “ห่อข้าวสากใบตอง” บูชาพระพุทธเจ้าด้วย ส่วนอาหารอื่นจะทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้ผู้ตายพร้อมกับการ กรวดน้ำ� ตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าบรรพบุรุษได้รับบุญกุศลและกินข้าวอิ่มแล้ว ที่เหลืออยู่นี่คือ ส่วนที่พวกเขาสามารถกินได้ คืออาหารทุกอย่างในถาดข้าวสากที่พวกเขาแบกมานั่นเอง พวกเราถามชาวบ้านว่า “เราเอาข้าวสากมาทำ�บุญให้เขา แต่เรามากินของๆ เขา เขาไม่ ว่าเราหรือคะ?” คำ�ถามนี้ถามไปตามประสาซื่อเพราะด้วยความเชื่อของพวกเราที่แตกต่าง กันคือ “กินอาหารของผี ผีจะโกรธ” และคำ�ตอบของชาวบ้านวังมนคือ “เขาไม่ว่าหรอก
[43]
เพราะทำ�ไปให้เขาแล้วเมื่อกี๊ อันนี้เราก็กินได้” คำ�ตอบของคุณแม่ชาวบ้านวังมนช่วยลด ความวิตก และช่วยสร้างบรรยากาศการกินของเราให้ผ่อนคลาย อิ่มอร่อยปราศจากความ ทุกข์และความวิตกจากความเชื่อเดิมที่แตกต่างของพวกเราว่า “กินของผี ผีจะโกรธ” แต่ สำ�หรับคนที่นี่ ชาวบ้านวังมนเชื่อว่า “กินของผี ผีไม่โกรธ เพราะเราอุทิศให้ผีเสร็จแล้ว...” การอุทิศส่วนกุศล... อุทิศให้ได้เฉพาะคนตาย จริงหรือ? ชาวผู้ไทยส่วนมากแล้วนับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง ผี วิญญาณ และโลกหลังความตาย และเชื่อว่าดวงวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว หากไม่มีใครอุทิศส่วน กุศลไปให้ ดวงวิญญาณนั้นก็จะอดอยากทนทุกข์ทรมานไม่ได้ไปผุดไปเกิด และจากความ เชื่อดังกล่าวนี้จึงได้มีการทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เสียชีวิต หรือที่ชาววังมนเรียกว่า “การทำ�บุญแจกข้าว” การทำ�บุญแจกข้าว เป็นการทำ�บุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณของปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องหรือคนที่รู้จัก หลังจากที่พวกเขาตายไปไม่นานมากนัก การทำ�บุญ แจกข้าวเป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก เพราะมีความเชื่อว่าทุกคนที่ตายไปแล้วต้องได้กินข้าวแจก เพราะหากไม่ได้รับข้าวแจกวิญญาณก็จะอดอยากไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด และคอยวนเวียนรออยู่ จนกว่าญาติพี่น้องจะอุทิศส่วนบุญไปให้ บ้านไหนที่ญาติพี่น้องเสียชีวิตแล้วไม่ทำ�บุญแจก ข้าวหา ก็จะถูกดูหมิ่นจากคนในหมู่บ้านว่าไม่รู้จักบุญคุณ ไม่รักใคร่ญาติพี่น้อง เป็นคนเห็น แก่ตัว ชาววังมนจะถือเรื่องความกตัญญูมาก การทำ�บุญแจกข้าวจึงเป็นการแสดงความ กตัญญูต่อบรรพบุรุษวิธีหนึ่ง เพื่อให้พวกท่านได้ไปเกิดใหม่ในชาติภพที่ดีขึ้น นอกเหนือจากการแจกข้าวเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายแล้ว ที่บ้านวังมนยังมี การทำ�บุญ “แจกข้าวหาคนเป็น” ด้วย เพราะจากคำ�บอกเล่าของชาวบ้านที่เคยร่วมงาน นี้ และจากคำ�บอกเล่าของคุณป้า “สายสมร มนทา” หรือ “ป้าสาย” ผู้ที่เคยทำ�บุญ แจกข้าวอุทิศส่วนกุศลให้กับสามีของเธอที่หายออกจากบ้านไปเป็นเวลาถึง 15 ปี โดยไม่รู้ ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร หลายคนก็ให้กำ�ลังใจว่าสามีเธอคงยังไม่ตายหรอก แต่บางคนก็ บอกว่าสามีของเธอน่าจะตายไปแล้ว เพราะหายไปนานขนาดนี้ไม่มีข่าวคราวอะไรเลย น่า จะทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา เพราะถ้าเขาตายไปแล้วจริงๆ เขาจะได้ไปเกิดในชาติภพที่ดีขึ้น ป้าสายบอกว่า “ป้าไม่รู้ว่าป้าจะทำ�ยังไง ในใจลึกๆ แล้วก็คิดว่าเขาต้องยังไม่ตาย แต่เพื่อ ความสบายใจ เมื่อป้ารวบรวมเงินได้ป้าจึงทำ�บุญแจกข้าวหาเขา เพราะถ้าเขาตายแล้วเรา ก็จะได้สบายใจว่าเขาจะได้ไปผุดไปเกิด ไปอยู่ในที่ดีๆ ไม่ต้องทุกข์ทนอดอยาก แต่ถ้าเขายัง
[44]
ไม่ตายก็จะเป็นการเพิ่มบุญบารมีให้เข้าอยู่เย็นเป็นสุข” ป้าสายเล่าต่ออีกว่า “ทำ�พิธีกรรม ทุกอย่างเหมือนกับทำ�บุญอุทิศให้คนตายเลย คือในช่วงเย็นวันงานจะมีการฟังเทศน์และ ในช่วงกลางคืนก็จะมีงานมหรสพ คือ หมอลำ� แล้วในเช้าวันถัดไปก็จะถวายอาหารและ เครื่องไทยทานแด่พระสงฆ์ โดยนิมนต์พระมาที่บ้าน หลังจากนั้นก็ถวายผ้าบังสุกุล ฟังเทศน์ และกรวดน้ำ�เพื่ออุทิศส่วนกุศล หลังจากนั้นก็เป็นการจัดเลี้ยงอาหารคนที่มาช่วยงาน ซึ่งก็ คือญาติพี่น้องและคนบ้านใกล้เรือนเคียง ก็เป็นอันเสร็จพิธี”
หอระฆังวัดบ้านวังมน
แต่หลังจากที่ทำ�บุญแจกข้าวได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ สามีของคุณป้าก็กลับมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำ�ให้ทุกคนในหมู่บ้านอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก เพราะคนที่ทุกคนคิดว่าตายไป แล้วแต่กลับมาเมื่อได้รับส่วนกุศลที่ป้าสายอุทิศไปให้ ป้าสายเล่าต่ออีกว่า “วันที่ป้าทำ�บุญแจกข้าวหาสามีนั้น สามีป้าอยู่ที่จันทบุรี เขาบอกว่าวันนั้นทั้งวันเขาไม่หิวข้าว ไม่อยากกินอะไรทั้งนั้น เพราะรู้สึกอิ่มอยู่ตลอดเวลา และก็กระวนกระวายคิดถึงคนทางบ้านอยากจะกลับบ้านให้ได้ แล้วหนึ่งอาทิตย์หลังจากนั้น สามีของป้าก็กลับมา” การทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลนั้นประเด็นสำ�คัญไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นการทำ�ให้คนเป็นหรือคน ตาย แต่ความหมายของมันอยู่ที่ความรักความหวังดี ที่มีให้แก่กันที่ไม่ว่าจะเป็นอยู่ที่ไหน
[45]
แห่งใดเมื่อมีความรักความห่วงใยต่อกันแล้ว ย่อมจะได้รับผลตอบแทนของความหวังดีเสมอ ประเพณีบุญข้าวสากของชาวผู้ไทยวังมน คือเอกลักษณ์งดงามของหมู่บ้านที่ควรค่าแก่การ อนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่บ้านวังมนสืบไป ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของ ชาวเชื้อสายผู้ไทย แสดงออกถึงจิตที่อ่อนโยน เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและภักดีอย่างไม่มี วันสิ้นสุด ปีแล้วปีเล่าพัสดุข้าวสากนี้จะถูกส่งผ่านจากลูกหลานในภพนี้ไปสู่อีกภพหนึ่งอัน ไกลโพ้นโดยมีความเชื่อและศรัทธาเป็นเกราะกำ�บังกำ�ลังใจของพวกเขา แต่ก็น่าหวั่นใจนักที่ ผู้มาทำ�บุญข้าวสากบ้านวังมนนั้นมีเพียงหญิงชายวัยกลางคนไปจนถึงวัยชราเท่านั้น หากมี หญิงชายวัยดรุณีไม ประเพณีที่สวยงามควรได้รับการอนุรักษ์จากรุ่นสู่รุ่น จากใจสู่ใจ แต่ ถ้าหากคนรุ่นใหม่ละเลยวัฒนธรรมของตนแล้วที่ไหนเล่าวัฒนธรรมนั้นจะดำ�รงอยู่ได้ ผู้เฒ่า ผู้แก่ยังคงจรรโลงประเพณีบุญข้าวสากต่อไปตราบใดที่ลมหายใจยังมีเพื่อว่าวันหนึ่งลูกหลาน ชาววังมนจะหวนคืนถิ่นมาสืบทอดประเพณี บุญข้าวสากผู้ไทย บ้านวังมน อันดีงามนี้ให้ อยู่คู่ท้องถิ่นต่อไป...
[46]
4 “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” : สายธารแห่งวิถีชีวิตชาววังมน จากเส้นทางสายมหาสารคาม-มุกดาหารเลี้ยวซ้ายสู่เส้นทางคอนกรีตที่แยกจาก บ้านกุดหว้า สองข้างทางเขียวชอุ่มห้อมล้อมด้วยหุบเขา ท้องทุ่งนาชุ่มฉ่ำ�หมู่ปลาน้อยใหญ่ แวกว่ายกลางสายน้ำ�แห่งท้องทุ่งระยะทาง 3 กิโลเมตร เรามาถึงจุดเริ่มต้น “การเรียนรู้” วิถีชีวิตผู้ไทยแห่งบ้านวังมน ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทันทีที่ล้อ รถหยุดหมุนเสียงทักทายต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยกลิ่นอายท้องถิ่นผู้ไทย รอยยิ้มของชาววัง มนยินดีกับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของชาว “ค่ายสารคดี” ที่นี่ “เขาว่าปลาร้องได้” เสียงดังระงมทั่วสายธารแห่งนี้ คงเป็นสัญญาณแห่งการ เริ่มต้นชีวิตใหม่ของลูกปลาสร้อยนับแสน ณ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถิ่นผู้ไทย เมฆสีครามบดบังแสงอาทิตย์... ขณะนี้... เรากำ�ลังยืนอยู่ศาลาท่าน้ำ�ในหมู่บ้าน วังมนพื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ�หลายสายไหลมารวมกันเป็น “ห้วยจุมจัง” หรือชาวบ้านรู้จักในนาม “อ่างเก็บน้ำ�วังมน” ความลึกลับน่าสะพรึงกลัวของ “สายธาร” แห่งนี้แฝงความเชื่อความศรัธทาของผู้คนในพื้นที่และผลประโยชน์ที่รอคอย แล้วใครกันเล่า จะเป็นผู้ตอบคำ�ถาม?
[49]
เล่าขานตำ�นานวังมน ชาวผู้ไทยมีตำ�นานเล่าขานว่า เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไทชาวผู้ไทยในถิ่น แคว้นสิบสองจุไทประกอบด้วย ผู้ไทยดำ�และผู้ไทยขาวแต่แคว้นผู้ไทยนี้อยู่ในราชอาณาจักร ไทย ในเขตการปกครองของเวียดนามเหนือ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2430 ได้ตกเป็นเมืองขึ้น ของฝรั่งเศส จึงทำ�ให้ไทยได้เสียดินแดนในส่วนนี้ไปและเมื่อเวียดนามได้เอกราชจากฝรั่งเศส แล้วแคว้นสิบสองจุไทจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม ในภายหลังได้ตกไปอยู่ในความ ปกครองของเวียงจันทน์เนื่องจากบ้านเมืองไม่มีความสงบสุขมีการต่อสู้และกวาดต้อนผู้คน จากเมืองหนึ่งไปเป็นเชลยอีกเมืองหนึ่งอยู่เป็นประจำ� ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวของชาวผู้ไทยจากหัวเมืองต่างๆ ในประเทศลาวที่เมืองวัง เมืองคำ�ม่วน เมืองมหาชัย ให้เข้ามาอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย โดยให้อยู่ในเขต จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนครและนครพนม มีการตั้งถิ่นฐานเมืองใหญ่ๆ ที่รู้จักกันดีคือ เมือง เรณูนคร เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองคำ�ชะอี และเมืองพรรณนานิคม กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตภาคอีสาน ชาวบ้านวังมน ตำ�บลกุดหว้า อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้าน ผู้ไทยเก่าแก่ที่อพยพมาจากเมืองวัง ประเทศลาว เดิมอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดสิมนารายณ์ เมืองกาฬสินธุ์ ชาวบ้านเล่าว่า มีนายพราน 2 คน ชื่อบ่าวโต้นกับบ่าวเตี้ยง ได้ออกล่าเนื้อตามป่าเป็นประจำ� และได้ไปพบหนองน้ำ�อยู่ในป่าใกล้ห้วยจุมจังมีน้ำ�ใสสะอาด และเป็นแหล่งน้ำ�ที่มีสัตว์ป่าลงมากินน้ำ�ในหนองน้ำ�นี้เป็นประจำ� นายพรานทั้ง 2 เห็น ว่าโนนคำ�หว้านี้เป็นทำ�เลที่ควรจะตั้งบ้านจึงได้ไปชวนเพื่อนฝูงมาตั้งบ้านใหม่ที่โนนคำ�หว้า โนนคำ�หว้าเป็นดงป่าไม้ใหญ่และมีต้นหว้าชุมภูต้นหนึ่งใหญ่โอบรอบ 6 คน มีน้ำ�ไหลออกที่ ต้นหว้าตลอดทั้งบ่าวโฮ้งและพ่อเฮ้าจึงเรียกบ้านนี้ว่าบ้านคำ�หว้า ต่อมานางแตงอ่อนภรรยา บ่าวโต้นได้ชวนสามีตนไปอยู่บ้านหนอห้าง เพราะนางเห็นว่าบ้านคำ�หว้าเป็นดงช้างดงเสือไม่ ปลอดภัย ส่วนบ้านหนองห้างนั้นเป็นป่าโคกป่าชาด ช้าง เสือ ไม่ชุกชุม ครอบครัวของ บ่ า วโต้ น จึ ง ย้ า ยไปตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ บ้ า นหนองห้ า ง และมี ผู้ ค นย้ า ยไปตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ เรื่อยๆ ต่อมาบ้านหนองห้างเกิดความไม่อุดมสมบูรณ์ชาวบ้านอดอยากมากขึ้นตระกูล สุ ร เสี ย งและอั ฐ นาคชาวบ้ า นหนองห้ า ง จึ งได้ พ ากั น อพยพครอบครั ว มาตั้ ง ถิ่ น ฐานที่ บ้ า นวั ง มน “‘ตระกู ล สุ ร เสี ย ง’ ที่ เ ป็ น ผู้ ใ หญ่ บ้ า นในสมั ย นั้ น กั บ ‘ตระกู ล อั ฐ นาค’ เป็ น ตระกู ล แรกๆ ที่ ม าตั้ ง หมู่ บ้ า นวั ง มน” (นายพิ ทั ก ษ์ มุ ล ทา เล่ า ด้ ว ยสี ห น้ า สดใส)
[50]
เนื่องจากเห็นว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบ้านหนองห้าง เพราะ บ้านวังมนมีห้วยจุมจังเป็นแหล่งน้ำ�และมีภูเขาล้อมรอบ มีความอุดมสมบูรณ์มากจึงได้มา ตั้งถิ่นฐานใหม่ท่ี ณ บ้านวังมนและได้มีผู้คนย้ายมาตั้งบ้านเรือนด้วยเรื่อยๆ เนื่องจากมี หนองน้ำ�วังมนอยู่ในหมู่บ้านจึงทำ�ให้ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “หมู่บ้านวังมน” ถือ เป็นหมู่บ้านผู้ไทยเก่าแก่บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านยกใต้ถุนสูงเพื่อทำ�กิจกรรมต่างๆ ของ คนในครอบครัวเขตบ้านไม่ล้อมรั่วเพื่อสามารถไปมาหาสู่กับเพื่อนบ้านได้สะดวก ทัศนียภาพ มีภูผาผึ้งและภูผาเมยล้อมรอบหมู่บ้าน “ห้วยจุมจังหรืออ่างวังมน” เป็นเสมือนแหล่งอาหารที่ สำ�คัญล่อเลี้ยงผู้คนตลอดทั้งปี หมู่บ้านวังมนมีประชากรประมาณ 200 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำ�นาในบริเวณเชิงเขาเพราะมีห้วยจุมจังเป็นแหล่งน้ำ�สำ�คัญในการเกษตรและยังปลูกยาง หาของป่า หาปลาทั้งในและรอบอ่างวังมนเป็นอาชีพเสริม ส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้ชาวผู้ไทย ดำ�เนินชีวิตได้อย่างมีความสุขอาศัย “หลักการพี่ดูแลน้อง” มีอะไรเดือดร้อนจะช่วยเหลือ เกื้อกูล และคนผู้ไทยยังนับถือผีตั้งแต่บรรพบุรุษไม่สามารถสืบหาต้นสายปลายเหตุได้ทั้ง ความเชื่อเรื่องผีปู่ตาคอยปกปักษ์รักษาให้ร่มเย็นเป็นสุขรวมไปถึงผีฟ้ารักษาโรค ความเชื่อ เหล่านี้สืบต่อกันทางสายเลือดและปฏิบัติเป็นประเพณีตราบจนปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง : ความสำ�คัญแห่งวิถีวังมน อ่างเก็บน้�ำ ห้วยจุมจัง แหล่งน้�ำ ขนาดใหญ่พนื้ ทีก่ ว้างกว่า 4,000 ไร่ อุดมสมบูรณ์ ด้ ว ยทรั พ ยากรทางธรรมชาติ แ ละสั ต ว์ น้ำ � ทิ ว เขาเรี ย งแถวยาวสุ ด สายตา สายน้ำ � ลั ด เลาะตามขุ น เขาราวกั บ จะพั ด พาความชุ ม ชื้ น คื น สู่ ป่ าไม้ “ภู ผ าผึ้ ง ” แหล่ ง เรี ย นรู้ ท าง ธรรมชาติและพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนผู้ไทย แม้หมู่บ้านวังมนไม่นิยมเทคโนโลยีล้ำ� สมัยเหมือนเมืองใหญ่ แต่ชาวบ้านรู้สึกภูมิใจที่มีพืชพรรณธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และหา ง่ า ยในท้ อ งถิ่ น เจษฎา ศรี บุ ด ตะ ชายหนุ่ ม ประจำ � หมู่ บ้ า นกล่ า วว่ า “ที่ นี่ คื อ ซุ ป เปอร์ มาเก็ ต มี ทุ ก อย่ า ง ชาวบ้ า นมั ก ขึ้ น เขาเก็ บ เห็ ด และหน่ อไม้ ” นอกจากนี้ ภู เ ขาเมยยั ง มี “น้ำ � ตกวั ง ตาด” แหล่ ง ต้ น น้ำ � แห่ ง ห้ ว ยจุ ม จั ง มี ทั ศ นี ย ภาพสวยงามบรรยากาศ ร่ ม รื่ น เกิ ด ฝนตกได้ ง่ า ยเพราะอยู่ ติ ด กั บ ภู เ ขาและแม่ น้ำ � สถานที่ เ ลื่ อ งชื่ อ อี ก ประการ คื อ “อ่ า งเก็ บ น้ำ � ห้ ว ยจุ ม จั ง ” แหล่ ง น้ำ � ชุ บ ชี วิ ต คนวั ง มนและชาวบ้ า นโดยรอบให้ มี น้ำ � อุปโภคบริโภค ด้วยพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลายและแหล่งสัตว์น้ำ�ขนาดใหญ่ ทำ�ให้ ชาวบ้ า นรวย “ทรั พ ย์ ใ นดิ น สิ นในน้ำ �” อย่ า งแท้ จ ริ ง สภาพแวดล้ อ มเป็ นใจให้ ค นใน
[51]
พื้ น ที่ มี จิ ตใจเบิ ก บาน ชาวบ้ า นมั ก นั่ ง เล่ น ศาลาริ ม น้ำ � ลมพั ดโกรกตลอดทั้ ง วั น ทำ �ให้ อากาศเย็นสบาย ชวนให้หลับเอกเขนกเมื่อยามเฝ้าวัวควาย ชาวบ้านปล่อยมันหากิน เองตามธรรมชาติ ระหว่ า งพั ก สู บ อากาศริ ม ห้ ว ยและชมบรรยากาศสายน้ำ � และทิ ว เขา เรี ย งแถวไกลสุ ด ลู ก หู ลู ก ตา ไม่ ต่ า งจากคำ � ว่ า “สุ ข กาย สบายใจ” อย่ า งแท้ จ ริ ง
แพหาปลาของชาวบ้าน
ในปี พ.ศ. 2511 กรมชลประทานสำ�รวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำ�และได้เวนคืนที่ดิน ในการสร้างอ่างเก็บน้ำ� เมื่อปี พ.ศ. 2513 จึงเริ่มสร้าง “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” เป็น ชื่อทางการและคนภายนอกคุ้นเคย ส่วนชาววังมนรู้จักในนาม “อ่างเก็บน้ำ�วังมน” เพราะ สร้างที่บ้านวังมน เสียงสะท้อนจากชาวบ้านส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจทางการ บางครอบครัว ย้ายถิ่นฐานไปอยู่แห่งใหม่ เพราะกลัวน้ำ�ท่วมและที่ดินทำ�กินเป็นเขตของชลประทานและ สปก. ชาวผู้ไทยเรียกการย้ายสำ�มะโนครัวว่า “ไปทำ�สากกะเบือใหม่” หมายถึง การสร้าง เครื่องมือทำ�มาหากินใหม่ สำ�หรับชาวบ้านซึ่งมีที่ดินอยู่นอกเขตสัมปทานกลับต่อต้านการ สร้างอ่างเก็บน้ำ�วังมน ลุงบุญทิน ปุณขันธ์ อบต. และผรส. กู้ภัย กล่าวว่า “ครั้งหนึ่ง ชาวบ้านก็โวยวายและย้ายออกจากหมู่บ้าน แต่ส่วนมากก็กลับมาอยู่ใหม่ แม้กลับมาแล้ว ก็อยู่ไม่ได้ เพราะเขาเวนคืนแล้ว และเราไม่ได้จับจองพื้นที่ซึ่งน้ำ�ท่วมไม่ถึง จึงไม่มีที่ดินทำ� กิน... บางคนได้ที่ดินติดริมสระ แต่กลับย้ายหนี หารู้ไม่ว่าที่ดินผืนนั้น ปัจจุบันเป็นที่ดิน
[52]
ซึ่งทำ�เลสวยและเหมาะสมที่สุด” หลายครอบครัวกลับมาอยู่ ณ หมู่บ้านโดยไม่มีเอกสาร สิทธิ์ เพราะทางการให้อยู่อาศัยเพียงทำ�มาหากินเท่านั้น แต่ไม่สามารถปลูกถิ่นถาวรได้ คุณตาสมาน ศรีหาญ ชาวบ้านวังมน เล่าว่า “สวนยางพาราในหมู่บ้าน ที่จริงปลูกไม่ได้ ถ้าเราปลูก จะรื้อถอนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่พืชล้มลุกน่ะปลูกได้ แต่ห้ามแย่งที่ดิน ไม่เช่นนั้น ทางการจะระงับเลย”
ปลาที่ชาวบ้านหาได้ (ปลาสร้อย)
“อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” โอบอุ้ม ชาวผู้ไทย “อยู่ดี กินดี” เดือนเมษายนแสงแดดแรงฤทธิ์อุณหภูมิร้อนจัดปานจะกลืนกินชีวิตทุกย่อมหญ้า แต่สำ�หรับชาววังมนแล้ว “แม้ฤดูจะแล้ง ธรรมชาติก็ไม่เคยแล้งใจ” ทรัพยากรน้ำ�ยังคง โอบอุ้มชาวบ้านผู้ไทยให้ “มีกิน มีใช้” ไม่ขัดสนพวกเขามีความสุขดีแม้อยู่ในช่วงฤดูแล้ง เพราะธรรมชาติมอบความอุดมสมบูรณ์แด่ “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” สายน้ำ�ประจำ�หมู่บ้าน ที่นี่เขาว่า “ปลาร้องได้” ในช่วงฤดูปลาวางไข่ประมาณ เดือนเมษายน-พฤษภาคม ของ ทุกปี “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” แห่งนี้ เราจะได้ยินเสียงดังระงมทั่วบริเวณคล้ายเสียงสุนัข หอน เป็นเสียงร้องของปลาสร้อยตัวผู้กับตัวเมียร้องเรียกหาคู่เมื่อถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ ชาว บ้านจะงดจับปลาในช่วงเวลาวางไข่ เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ�ทุกชนิดในอ่างวังมน ลุงบุญทิน ปุณขันธ์ อบต. และผรส. กู้ภัยประจำ�หมู่บ้านนี้ เล่าว่า “ปลาสร้อยที่นี่ร้องได้นะ... ร้อง
[53]
อย่างไร? เสียงดังคล้ายแก๊งมอเตอร์ไซด์ซิ่ง และร้องสุดสระเลย ทำ�ไมจึงร้อง? …ที่นี่มี ปลาสร้อยเยอะช่วงฤดูผสมพันธุ์เมื่อปลาตัวผู้ปล่อยน้ำ�เชื้อ มันจะไข่เต็มท้อง เวลาสูบน้ำ� ออกจากสระ จะเห็นปลาสร้อยแห้งติดพื้นเยอะ” อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจังในเวลาเช้ามืด ชาวบ้านจะแจวเรือจากฝั่งไปยังแพลอยน้ำ� ของตน เพื่อยกสะดุ้งและนำ�ปลาไปขายในตลาดบัวขาว บ้างก็นำ�ไปทำ�อาหาร ส่วนปลาตัว เล็กจึงปล่อยลงสู่แม่น้ำ�เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาต่อไป ห้วยจุมจังมีปลาน้ำ�จืดหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาบึก ปลาสวาย ปลาชะโด และปลาดุก เป็นต้น ส่วนปลา ที่พบมากที่สุด คือ ปลาซิวและปลาสร้อย ชาวบ้านวังมนและหมู่บ้านใกล้เคียง ช่วยกัน อนุรักษ์และรักษาห้วยจุมจังให้สะอาด ผู้ใหญ่บ้านวังมนมีมาตรการให้ “ห้ามทิ้งขยะลง แม่น้ำ�” ทุกเดือนชุมชนจะเก็บขยะรอบหมู่บ้านและแม่น้ำ� เพื่อเป็นกิจกรรม สร้างสัมพันธ์ ไมตรีแก่ชุมชนผู้ไทยให้เข้มแข็ง กรมชลประทานยังออกประกาศเตือนว่า “กำ�หนดเขตจับ สัตว์น้ำ�ได้ในระยะ 200 เมตร จากคันดินและห้ามจับในช่วงฤดูปลาวางไข่เป็นเวลา 10 วัน” ลุงสงัด ชัยขันธ์ ส.อบต. กุดหว้า กล่าวว่า “ห้วยจุมจังไม่มีเทศการลงปลา จับได้ ตลอดปีเว้นฤดูวางไข่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกสัตว์น้ำ�จนสูญพันธุ์ มันเป็นการเล่นยากัน เกินไป ปลาจะตกใจและไม่มีที่อยู่ ควรให้ปลาพักผ่อนบ้าง” การอนุรักษ์ในทางปฏิบัติเห็น ผลจริง ชุมชนผู้ไทยร่วมมือกันสอดส่องดูแลอ่างเก็บน้ำ� ด้วยจิตสำ�นึกที่ดีต่อส่วนรวมและ รักถิ่นฐานบ้านเกิด สภาพแวดล้อมของแม่น้ำ�ยังอุดมสมบูรณ์และสะอาดแม้ผ่านจะมาหลาย ชั่วอายุคน คุณตาสมาน ศรีหาญ ชาวบ้านวังมนกล่าวว่า “คนที่นี่ไม่เลี้ยงปลาในกระชัง เพราะยามหน้าแล้ง น้ำ�จะนิ่ง ปลาจะเน่าตายทำ�ให้น้ำ�เสีย” กระชัง คือ บ่อเลี้ยงปลา ล้อมบริเวณโดยนำ�ตาข่ายผูกติดกับเสาไม้ปักทิ้งไว้ในสระน้ำ�และเมื่อไม่นานบริษัทผู้ผลิตและ จำ�หน่ายเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในประเทศ เดินทางมาชมพื้นที่ “อ่างเก็บน้ำ� ห้วยจุมจัง” และสนใจตั้งโรงงานสาขาปลีกย่อย แต่ทางกรมชลประทานไม่อนุญาตดังนั้นจึง ไม่น่าแปลกใจที่ชาวผู้ไทยจะร่วมใจกันอนุรักษ์อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจังเช่นกัน หลายปีก่อนประเพณีวันสงกรานต์ในบ้านวังมนเคยจัดการแข่งขันพายเรือประจำ� หมู่บ้าน วัตถุประสงค์เพื่อกระชับมิตรในชุมชนผู้ไทย ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ ชาวบ้านวัง มนทั้ง 7 คุ้ม คุ้มละ 1 ทีม และชาวบ้านใกล้เคียงที่สนใจเข้าแข่งขัน เช่น เทศบาล ห้วยแดง บ้านหนองแฮด และบ้านกุดหว้า เป็นต้น เรือที่ใช้พายคือเรือไม้ขนาดใหญ่ นั่งได้ประมาณ 10 คน การแข่งขันนี้จัดขึ้นเพียงแค่ 2 ปี จึงล้มเลิก เพราะไม่มีงบ ประมาณในการจัดงาน และผู้แข่งขันจากต่างถิ่น ไม่ชำ�นาญทางในอ่างวังมนเท่ากับคนใน
[54]
พื้นที่ หรือเรียกว่า “เขาพายเรือและว่ายน้ำ�ไม่เป็น” จึงพ่ายแพ้ผู้เข้าแข่งขันทีมอื่น ต่อมา จึงเปลี่ยนกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์เป็น “วันรดน้ำ�ดำ�หัวผู้เฒ่า” เพื่อกราบขอพรจากผู้สูงอายุ ในหมู่บ้าน ชาวบ้านมีความเชื่ออย่างไรต่ออ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง? ห้วยจุมจังเป็นแม่น้ำ�สาย ใหญ่ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำ�วังเย็น วังแม่ลูกอ่อน วังบักหล้า วังห้วย วังจระเข้ และวังมน แต่ละพื้นที่มีความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คล้ายกันแต่ต่างที่มา สำ�หรับอ่างเก็บน้ำ� ห้วยจุมจัง เราจะพบเกาะลอยน้ำ�เล็กๆ เป็นเนินดินคล้ายจอมปลวก มีผืนหญ้าปกคลุม ทั่วบริเวณชาวบ้านเรียก “โนนสมบูรณ์” แต่เดิมเคยจะทำ�เป็นศาลเจ้าปู่ตาแต่ชาวบ้านเกิด โรคระบาดหนัก จึงโยนไข่เสี่ยงทายและสร้างศาลเจ้าปู่ตาไว้นอกหมู่บ้านซึ่งคล้ายกับความ เชื่อเรื่อง “ผีตาแฮก” ว่า คือ สิ่งศักดิ์ผู้อารักษ์ขาชาวนาให้ปลอดภัยและสร้างศาลไว้จอม ปลวกประจำ�ที่นาเช่นกัน
เด็กๆ ลงเล่นน้ำ�อย่างคุ้นเคย
บริเวณใต้พื้นของ “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” มีเศษรากไม้พันกันหนาแน่นแม่น้ำ�ลึก ประมาณ 15 เมตร ลุงบุญทิน ปุณขันธ์ เล่าว่า “ในเวลาหลายปีมานี่มีคนจมน้ำ�ตาย ณ ที่แห่งนี้ 21 ศพ ทั้งคนบ้านวังมนและบ้านอื่นๆ สาเหตุเพราะว่ายน้ำ�ไม่เป็น บ้างก็ ว่าติดรากไม้” ชาวบ้านเชื่อว่า “ผีพราย” เป็นผู้กระทำ� ชาวผู้ไทยมักเรียกว่า “ผีหน้ามน”
[55]
หรือ “เงือก” ชาวบ้านผู้พบเห็นล่ำ�ลือว่า ผีพรายมีลักษณะผมยาวสยาย ลอยหน้าชี้ฟ้า บนผิวน้ำ�และจ้องสายตาต่อผู้พบเห็น สำ�หรับตำ�นานของอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง ชาวบ้าน เล่าว่าบรรพบุรุษชาวผู้ไทยบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะสังเวยด้วยชีวิตคนจำ�นวน 24 ศพ หรือชาวบ้านเรียกว่า “แลกด้วยแก้วยอดยาง” หากไม่บนบาน “เขื่อนจะพัง” ลุงบุญทิน เล่าว่า “ครั้งหนึ่งเคยมีหลวงพ่อทำ�พิธีไล่ผีพรายแก้เคล็ด จึงไม่มีคนจมนำ�ตายอีกเป็นเวลา กว่า 5 ปี ระยะนี้มีคนจมน้ำ�ตายเพิ่มอีก 2 ศพ เป็นคนหาปลาอายุ 50 ปี เขาจมน้ำ� ลักษณะประหลาด คือ ตายในน้ำ�ตื้นระดับอก ถ้าเขายืนก็ไม่จมน้ำ� แล้วมีผู้หญิงตายบ้าง หรือไม่? มี เป็นเด็กวัยรุ่น ม. 2 ขาดอากาศหายใจตายเกือบ 40 นาที ชาวบ้านจึง มาแจ้งกู้ภัย ชาวบ้านว่าตายเพราะขาดสติและตกใจเกินเหตุ ที่สำ�คัญว่ายน้ำ�ไม่เป็น” แม้ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจังจะมีความเชื่อที่น่าสะพรึงกลัว แต่เด็กๆ ในหมู่บ้านยังลงเล่นน้ำ�ด้วย ความผูกพันต่อห้วยจุมจัง หากคนต่างถิ่นต้องลงหาปลาหรือเล่นควรให้เจ้าของพื้นที่ตาม ไปด้วยจึงจะปลอดภัย สงัด ขุนขันธ์ เล่าว่า “ลูกหลานบ้านวังมนจะรู้จักพื้นที่นี้ดี เวลา หน้าแล้งก็รู้ว่าตอไม้อยู่จุดไหน เพราะน้ำ�ลดช่วง เดือนเมษายน–พฤษภาคม โดยเฉพาะ เด็กชายฝาแฝด นักเรียนชั้น ป. 6 ประจำ�โรงเรียนบ้านวังมน” และลุงบุญทิน ปุณขันธ์ กล่าวฝากเตือนใจว่า “พ่อทำ�งานเป็นกู้ภัยมา 20 ปี เก็บศพมาหลายรายแต่ไม่เคยเห็น ผีพราย แต่ไม่ได้ลบลู่หรอก เพราะเชื่อคำ�ผู้เฒ่าสอน แต่ “เราต้องเชื่อในสิ่งที่เห็น” อย่า เพิ่งกลัวไปก่อนเหตุ สำ�หรับข้อห้ามและหลักปฏิบัติเมื่อลงน้ำ�แห่งนี้ คือ อย่าพูดลบลู่สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ให้ระวังคำ�พูดของตนเอง ควรพาคนในพื้นที่ไปด้วย นำ�ใบว่านไผ่เหน็บไปด้วย และกล่าวบอกเจ้าที่ก่อนลงน้ำ� เชื่อว่า ใบว่านไผ่ช่วยกันผีพรายมาหลอก” แต่สิ่งสำ�คัญคือ เราควรมีสติไม่ว่าจะทำ�สิ่งใด แม้เป็นความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่เป็นข้อคิดเตือนใจว่า “ทำ� สิ่งใดอย่าประมาท” อ่ า งเก็ บ น้ำ � ห้ ว ยจุ ม จั ง มี ค วามสำ � คั ญ มากต่ อ วิ ถี ชี วิ ต ของคนและสั ต ว์ เ พราะ เป็ น พื้ น ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ แ วดล้ อ มไปด้ ว ยภู เ ขามี พื ช พรรณนานาชนิ ด เป็ น ที่ ทำ � กิ น ของ ชาวบ้ า นในการเพาะปลู ก เลี้ ย งสั ต ว์ จั บ ปลา และเข้ า ไปหาของป่ า บริ เ วณรอบๆ อ่ า งวั ง มน แต่ อ่ า งเก็ บ น้ำ � วั ง มนนี้ ไ ม่ ไ ด้ มี ค วามสำ � คั ญ มากมายต่ อ ชาวบ้ า นวั ง มนกลั บ มี บ ทบาทและความสำ � คั ญ ต่ อ หมู่ บ้ า นใกล้ เ คี ย งเช่ น หมู่ บ้ า นกุ ด หว้ า และบั ว ขาวเพราะ ว่าชาวบ้านวังมนไม่ได้ใส่ใจกับอ่างวังมนมากนัก “เปรียบเสมือนว่า คนเรามักไม่เห็นค่า ในสิ่ ง ที่ มี อ ยู่ แต่ ก ลั บ หาและไขว่ ค ว้ า สิ่ ง อื่ น มา สงั ด ชั ย ขั น สอบต. เล่ า ว่ า ที่ชาวบ้านไม่ใส่ใจกับอ่างวังมนมากนั้นเป็นเพราะว่าชาวบ้านวังมนคลุกคลีอยู่กับอ่างมา
[56]
ตลอดอยากจะกินปลาก็เดินไปหาอย่างง่ายดายชาวบ้านวังมนสามารถใช้ประโยชน์จากอ่าง เก็บน้ำ�ได้โดยตรงและง่ายดาย อ่างเก็บน้ำ�นี้เลยกลายเป็นพื้นที่ธรรมดาไปแล้วสำ�หรับชาว บ้านวังมน และข้อสำ�คัญอีกข้อหนึ่งที่ชาวบ้านวังมนไม่ค่อยให้ความสำ�คัญกับอ่างเก็บน้ำ�คือ พอสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว หรือสิ้นฤดูกาลทำ�ไร่นา ผู้ชายในหมู่บ้านวังมนจะเข้ากรุงเทพฯ ไปหางานทำ� พอถึงฤดูกาลทำ�ไร่ ทำ�นา ก็กลับมาหมู่บ้านมาเพาะปลูกต่อ วนเวียนแบบนี้มา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน” เห็นได้ชัดเจนเลยว่าการหาปลาจากอ่างวังมน ชาวบ้านวังมนและชาวบ้านใกล้ เคียงจะสามารถหาปลาจากอ่างวังมนได้โดยง่ายดาย แต่ทางกรมชลประทานได้กำ�หนด ขอบเขตให้จับปลาได้แค่เฉพาะจากขอบอ่างไป 200 เมตร ถ้าเกินกว่านี้ห้ามจับ ฝ่าฝืนจะ ถูกปรับ และห้ามจับปลาในช่วงเดือนพฤษภาคม เพราะเป็นฤดูวางไข่ ถ้าไม่มีข้อห้ามเหล่านี้ ปลาหายากอาจสูญพันธุ์ ปลาที่ชาวบ้านหามาได้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลา ชะโด ปลาขาว ปลาสร้อย ปลายี่สก ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาบึก จะเห็นได้ว่า ในอ่างเก็บน้ำ�นี้มีปลาอยู่หลายชนิดมาก ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียง คือบ้านกุดหว้า และ บัวขาว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากอ่างได้อีกโดยการสูบน้ำ�เข้าไปใช้ในหมู่บ้าน ชาวบ้าน วังมนเองกลับไม่ได้ใช้น้ำ�จากอ่างเก็บน้ำ�เลยทั้งๆ ที่หมู่บ้านวังมนอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำ�วังมน มากกว่าหมู่บ้านอื่นและในทุกครัวเรือนของบ้านวังมนเจาะน้ำ�บาดาลใช้บริโภค
รอบอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง
[57]
เสน่ห์เรียบง่าย : แห่งวิถีชีวิตรอบอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง เสียงน้ำ�ตกกลางหุบเขากระทบก้อนหินน้อยใหญ่ ไหลรวมกันเป็นลำ�ธารเล็กๆ ล่อ เลี้ยงผลผลิตของ “ชายชรา” บริเวณตีนเขารอบๆ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง ชายชราหรือชาว บ้านวังมนที่มีพื้นที่ทำ�กินรอบๆ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจังจะสร้างกระท่อมปลายนาไว้พักอาศัย ดูแลผลผลิตทางการเกษตร เช่น พืชผักสวนครัว สวนยางพารา ท้องทุ่งนาและสัตว์เลี้ยง หลากหลายชนิดทั้ง วัว ควาย หมู ไก่ เป็ด ปลาในกระชังเล็กๆ ผลผลิตทางการเกษตร เหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีเพราะ “ดิน” และ “น้ำ�แร่ธาตุ” น้ำ�ไหลจากภูเขาลงสู่พื้นดินบริเวณ ตีนเขา พัดพาแร่ธาตุหลากหลายชนิดลงมาด้วย พื้นดินแห่งท้องทุ่งตีนเขาจึงง่ายแก่การเพาะ ปลูกและไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี พืชผลก็เจริญเติบโตได้ดี วิถีชีวิตเรียบง่ายไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหาอาหาร เพียงแค่ก้าวขึ้นภูเขาหรือเก็บผัก สวนครัวรอบๆ กระท่อม หาปลาในห้วยจุมจัง ไม่นานอาหารปลอดสารพิษก็พร้อมเสิร์ฟใน แต่ละมื้ออย่างง่ายดาย ทั้งผักหวาน หมูป่า ปลาในห้วยทุกอย่างหาได้จากบริเวณรอบอ่าง ที่ นี่ คือซุปเปอร์มาร์เก็ต ปลอดสารเคมีของชายตีนเขารอบอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง ยามว่างจากงานในท้องทุ่งนา “ชายชรา” นั่งสานกระติบข้าวเหนียวท่ามกลาง อากาศสดชื่น เสียงสัตว์ป่าน้อยใหญ่ ร้องเรียกทักทายกลางป่าเขา ระยะทางจากตัวหมู่บ้าน วังมนทางเพียง 6-10 กิโลเมตร ตามทางเกวียนเล็กๆ สู่มนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตเรียบรอบ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง : สายใยแห่งความผูกพัน คงไม่ต้องบอกว่าชาวบ้านแถบนี้จะดีใจมากเพียงใด ที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ “ห้วย จุมจัง” มันคือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งสัตว์น้ำ�จืดและแหล่งเพาะปลูก ทางเกษตรกรรมชาวบ้านสามารถทำ�การประมง จับกุ้ง หอย ปู ปลา ได้มากเท่าที่ใจ ต้องการ เพราะกรมชลประทานได้จัดสรรเขตจับปลา และควบคุมดูแลสัตว์น้ำ�ไม่ให้สูญพันธุ์ บริเวณศาลาริมห้วย คือที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน ไม่ว่าเป็นผู้ใหญ่และเด็กๆ ต่าง สูดรับอากาศบริสุทธิ์จากที่แห่งนี้ ไม่ทราบว่าด้วยเหตุนี้หรือไม่ที่ทำ�ให้ชาวบ้านมีสีหน้ายิ้ม แย้มแจ่มใสเสมอ คล้ายกับว่าลมธรรมชาติได้พัดพาสิ่งสกปรกออกใจจากชาวบ้าน “วังมน” อ่างเก็บน้ำ�กลางห้วยจุมจัง จะพบเรือแพลอยน้ำ�มุงหลังคาดูมั่นคงประมาณ 5-8 ลำ� ชาวบ้านเหล่านี้ ปลูกแพไว้ถาวรและหาปลาทุกวันด้วย “สะดุ้ง” ตาข่ายจับสัตว์น้ำ� ขนาดใหญ่ขึงด้วยไม้เป็นทรงสามเลี่ยม ชาวผู้ไทยเรียกอุปกรณ์นี้ว่า “มอง” เวลาเช้า
[58]
มืดชาวบ้านจึงจะยกสะดุ้งขึ้นเพื่อนำ�สัตว์ที่จับได้ไปขายในตลาดตำ�บลบัวขาว บางก็นำ�มา ประกอบอาหารหรือแจกจ่ายเพื่อนบ้านอย่างเป็นมิตร นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านละแวกใกล้ เคียง เช่น บ้านกุดหว้า บ้านเหล่าใหญ่ หรือบ้านหนองห้าง มาจับปลาบนเรือแพในอ่าง วังมนเช่นกัน ลุงสงัด ชัยขันธ์ อบต. กุดหว้า เล่าว่า “ฝั่งตรงข้ามของห้วยจุมจัง ชาวบ้าน จะทำ�นาและปลูกผักหวาน ทั้งมีเรือแพของคนบ้านวังมน ส่วนใหญ่เรือแพที่เห็นจะเป็นของ คนกุดหว้าและบัวขาว ใครมีความสามารถหากินได้ก็หาเอา แต่มันก็มีขอบเขตจับปลาคือ ต้องอยู่ห่างจากคัดดินไม่เกิน 200 เมตร” บริเวณรอบอ่างวังมนมีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังที่ นาอีกฝั่งหนึ่ง มันคือที่นาของชาวบ้านวังมนและบ้านกุดหว้า ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทุ่งหญ้าเขียวขจีเรียงแถวยาวรอบตีนเขาไกลสุดลูกตา ที่ดินค่อยๆ ไล่ระดับความลาด ชันทอดยาวลงไปในน้ำ� เพราะอยู่ติดแหล่งน้ำ�จึงเหมาะจะทำ�เกษตรกรรมและการประมง อย่างยิ่งชาวบ้านจะปล่อยควายให้หากินตามธรรมชาติ ควายบางตัวลงแช่น้ำ�อยู่นิ่งไม่ไหว ติง เป็นภาพน่ารักอีกมุมหนึ่งของอ่างวังมน คุณตาสมาน ศรีหาญ เจ้าของที่ดินริมห้วย กล่าวว่า “ส่วนมากบริเวณนี้มักเลี้ยงควาย ส่วนวัวจะเลี้ยงอยู่ทุ่งเชือก ยามแล้งเขาจะ ปลูกผัก ทอดแหอยู่ที่นี่ไม่ไปไหน” ทุ่งเชือก คือ ที่นาบนภูผาผึ้งซึ่งอยู่ติดกับชาวบ้านแถบ นี้ เจ้าของที่ดินเป็นชาวบ้านวังมนทั้งหมด แต่ที่ดินติดริม “ห้วยจุมจัง” เป็นของคนบ้านกุด หว้า และคนบ้านวังมนอยู่ไม่มาก
อุโมงค์ระบายน้ำ�จากอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง
[59]
หากเราเดินอ้อมอ่างวังมนไปยังฝั่งตรงข้าม เราจะพบบ่อน้ำ�สร้างท้ายห้วยวังมน ชาวบ้านเรียกว่า “นาเหล่าไก่” หรือบ่อน้ำ�ไก่ ใช้ปล่อยน้ำ�เมื่อน้ำ�ในอ่างวังมนมีปริมาณ สูง บ่อน้ำ�ไก่จะขุดเจาะเป็นอุโมงค์ทะลุใต้ดินไปยังถนนฝั่งตรงข้าม มีทำ�นบกั้นน้ำ�และปล่อย กระแสน้ำ�เชี่ยวกราดคล้ายน้ำ�ตก จากบริเวณพื้นดินเหนือบ่อสร้างถึงที่ราบลึกประมาณ 30 เมตร มีชาวบ้านบางส่วนมาว่านแหจับปลาที่นี่เป็นประจำ� แต่ต้องอาศัยความชำ�นาญ เพราะอาจพลัดตกบ่อได้ ปลาที่จับมาได้มีมากและจับได้ง่าย ส่วนมากพบปลาซิวและปลา สร้อย อุปกรณ์การหาปลานอกจากแห คือ เบ็ดตกปลา ถังน้ำ�แข็ง และเปลสำ�หรับนอน ผูกไว้ใต้ร่มไม้ซึ่งปกคลุมทั่วบริเวณแห่งนี้ อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง นอกจากมีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นแหล่งประมงน้ำ�จืด ที่อุดมสมบูรณ์และเหมาะทำ�การเกษตร เช่น เลี้ยงวัวควาย ปลุกพืชผักนานาชนิด ยังมี บทบาทสำ�คัญต่อชุมชนบ้านวังมน คือชาวบ้านสูบน้ำ�จากอ่างวังมนมาใช้อุปโภคบริโภค แต่ มีส่วนน้อยเท่านั้น กล่าวคือ บ้านวังมนไม่ได้ใช้น้ำ�จากห้วยจุมจังแต่เจาะน้ำ�บาดาลใช้เอง เพราะหมู่บ้านนี้อยู่ใต้เขื่อนซึ่งท่อน้ำ�สูบไปไม่ถึง เส้นทางการสูบน้ำ�ประปามาจากภูผาผึ้งผ่าน บ้านหนองแฮกและบ้านกุดหว้า มาสิ้นสุดโรงเรียนบ้านวังมนเท่านั้น แต่สูบน้ำ�ไปไม่ถึงตัว หมู่บ้าน ดังนั้นผู้ที่ได้ใช้น้ำ�จากอ่างเก็บน้ำ�วังมน คือ เทศบาลตำ�บลบัวขาวทั้งหมด จน มาถึงบ้านกุดหว้าซึ่งอยู่ห่างจากบ้านวังมนประมาณ 3 กิโลเมตรและไม่มีพื้นที่ติดกับห้วย จุ ม จั ง ส่ ว นบ้ า นวั ง มนเจ้ า ของพื้ น ที่ สู บ น้ำ � มาใช้ ไ ด้ เ ฉพาะโรงเรี ย นบ้ า นวั ง มนซึ่ ง อยู่ น อก หมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร สำ�หรับบ้านวังมนบางส่วนที่สามารถสูบน้ำ�มาใช้ได้ คือ คุ้มใต้ บริเวณใกล้กับห้วยจุมจังเท่านั้น แต่คนในหมู่บ้านกลับไม่ได้ใช้น้ำ�เลย ต้องเจาะน้ำ� บาดาลใช้ ลุงบุญทิน ปุณขันธ์ เล่าว่า “เคยมีโครงการใหม่ประมาณ 4 ล้าน ทางอบต. ออกกฎใหม่ว่าจะให้บ้านวังมนใช้น้ำ�ชลประทาน แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ใช้” แม้หมู่บ้านยัง มีหนทางที่จะใช้น้ำ�จากอ่างวังมน แต่ ลุงบุญทิน ให้เหตุผลว่า “เพราะชาวบ้านไม่ยอมใช้ เอง” “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” มีความสำ�คัญต่อบ้านวังมนหรือ? เป็นคำ�ถามที่เกิดขึ้น ในใจของชาวบ้าน มีกระแสความขัดแย้งผลประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ เสียงจากชาวบ้าน วังมน ลุงสด แสงกล้า อายุ 55 ปี กล่าวว่า “ประโยชน์ในอ่างวังมน คือ หาปลา หน้าแล้งก็ปลูกผัก แต่หลักๆ บ้านเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอ่างนี้ เพราะว่าที่ทำ�กินมันอยู่ เหนือขึ้นไปบนภูผาผึ้ง มีแต่เสียผลประโยชน์ คนกุดหว้านั่นที่ได้ประโยชน์ เขาไม่ยอมปล่อย น้ำ�ลงมาใช้ทางใต้ คนกุดหว้าและจุมจังได้ใช้ ส่วนเราได้แต่กินปลา เพราะว่าที่นาอยู่ทุ่ง
[60]
เชือกนู่น” ส่วนใหญ่เรือแพและคนหาปลาเป็นชาวบ้านบัวขาว บ้านเหล่าใหญ่ และบ้านกุด หว้า ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำ�ที่อุดมสมบูรณ์เหมือนอ่างวังมน ความต้องการจึงมีมากกว่าคนเจ้า ถิ่น ลุงสดสี แสงกล้า ยังกล่าวอีกว่า “แค่อยากจะกินก็เดินไป ของมันมีอยู่แล้ว บ้าน เรามันอุดมสมบูรณ์ หน้าแล้งก็ไต่กบไต่เขียด ขนาดคนโพนทองยังต้องมาหากินแถวนี้เลย” ลุงสงัด ชัยขันธ์ ยังกล่าวถึงอีกว่า “ก็ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ใช้แค่ปลูกผักปลูกอะไร ทั้ง บ้านกุดหว้าและบ้านบัวขาวจะได้ใช้น้ำ� ส่วนใหญ่คนในหมู่บ้านจะไม่มีเรือทุกคน จะมีแต่ เฉพาะคนหาปลา คนบ้านเราก็ไม่ใช้น้ำ�แค่ผ่าน ส่วนมากพวกครอบครัวใหม่ก็หนีไปทำ�งานอยู่ กรุงเทพฯ เหลือแต่ผู้เฒ่าในหมู่บ้าน” ความรู้ สึ ก ของชาวบ้ า นวั ง มนต่ อ ห้ ว ยจุ ม จั ง สะท้ อ นความรั ก และหวงแหน ทรัพยากรในถิ่นฐานของตน เพราะ “ห้วยจุมจัง” คือ อ่างเก็บน้ำ�สาธารณะที่ทุกคนมี สิทธิใช้เท่าเทียมกัน แต่เจ้าของพื้นที่เองกลับไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแหล่งน้ำ�ของตน สิ่งที่ชาวบ้านวังมนต้องการคืออะไร? ลุงสด แสงกล้า แสดงความคิดเห็นว่า “อยากฝาก ถึงเทศบาลและผู้ใหญ่บ้านว่า ถ้าเป็นไปได้... ถ้าทำ�ได้ ช่วยต่อน้ำ�มาให้ใช้หน่อย เพราะเรา ก็เป็นคนที่อยู่ในบ้านเหมือนกัน น่าจะต่อท่อมาแล้วเก็บค่าน้ำ�ตามธรรมดาก็ได้” คงไม่แปลก ที่ชาวบ้านจะรักผืนแผ่นดินที่ตนอยู่อาศัย เพราะเกิดจากความผูกพันเป็นสายใยธรรมชาติ ที่มอบให้ชาวบ้านวังมน ลุงบุญทิน ปุณขันธ์ กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า “เห็นคนบ้านอื่น มาหาปลาและใช้น้ำ�จากที่นี่ก็รู้สึกหวงแหน แต่บ้านกุดหว้าก็เป็นเหมือนญาติเราทั้งนั้น แต่ ก็ภูมิใจเพราะเรามีแหล่งอาหาร เวลาขัดสนถึงตลาดไม่มี แต่เราก็ยังมีอาหารไว้สำ�รอง อยากได้ผักก็ปลูกเอง ยิ่งหน้าแล้งยิ่งมีเยอะ” ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมบดบังแสงแดดตรงเส้นขอบฟ้ายามเย็น แต่ทุกชีวิตบน พื้น “แผ่นดินทอง” แห่งนี้ยังดำ�เนินไปตามปกติ เสียงเด็กๆ หยอกล้อกลางสายน้ำ�อย่าง คุ้นเคย ชาวบ้านแจวเรือจากฝั่งไปยังแพลอยน้ำ� ยกสะดุ้งนำ�ปลาไปทำ�อาหารมื้อเย็น วัว ควาย เดินบนถนนริมขอบอ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจังก่อนจะทยอยเข้าคอกทีละตัวอย่างเป็น ระเบียบ สายน้ำ�นิ่งสงบ เสียงเรไรร่ำ�ร้องกระหึ่มทั่วพื้นป่ายามค่ำ�คืน ไม่นานทุกชีวิตแห่ง บ้านวังมนหลับตาลงอย่างอบอุ่นใจท่ามกลางอ้อมกอดของหุบเขาและ “สายธาร” แห่ง ความผูกพัน ยังคงล่อเลี้ยงชีวิตชาวผู้ไทยอีกครั้ง... เมื่อลืมตาขึ้นมารับอรุณของเช้าวันใหม่
[61]
5 ทอผ้า จักสาน ในหมู่บ้านวังมน ชนเผ่าผู้ไทย แสงแดดที่ร้อนจัดมากระทบกับเสื้อสีกรมท่าที่มีลวดลายดอกไม้ต่างๆ ปักกรอม ทำ�ให้รู้เลยว่า เรากำ�ลังมาเยือนถิ่นผู้ไทย... ท้องฟ้าสว่างราวกับเปิดไฟถือเป็นวันใหม่ที่ชาว บ้านกำ�ลังเริ่มต้นในการทำ�อะไรๆ หลายๆ อย่าง บางบ้านกำ�ลังวุ่นวายกับการทำ�กับข้าว บางบ้านกำ�ลังจับกระสวย เหยียบกี่อย่างขะมักเขม้น ในอีกมุมหนึ่งของหมู่บ้าน เราก็เห็น คุณตากำ�ลังพิถีพิถันอยู่กับการสานกระติบข้าว กับคำ�พูดที่ถามเราว่า “มาสิเลอ” แววตา ของคุณตานั้นแฝงไปด้วยความปลื้มปรีติ ลวดลายของการทอผ้า การจักสานที่เต็มไปด้วย รอยยิ้มและหัวใจของชาวผู้ไทยใส่ลงไปด้วยนั้นช่างหาดูได้ยาก ก็ถือว่าเป็นงานหัตกรรมที่ทุก บ้านนั้นทำ�ได้ จนกลายเป็นเสน่ห์ชื่อว่า “หมู่บ้านวังมน ชนเผ่าผู้ไทย” หมู่บ้านวังมน ชนเผ่าผู้ไทย หมู่บ้านวังมน ตั้งอยู่ ต.กุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ก่อนจะมาเป็นหมู่บ้าน วังมน เมื่อก่อนนั้นที่แห่งนี้เป็นป่ากว้างที่มีลำ�ธารหลายสาย ซึ่งมีต้นกำ�เนิดจากภูเขาไหล ผ่าน นับว่าเป็นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์ป่านานา ชนิด ต่อมาใน พ.ศ. 2450 ได้มีประชาชนประมาณ 7 ครอบครัว นำ�โดย นายสอน ทรายขาว
[63]
นายสาย สุระเสียง นายขวด จิตจักร และนายวงศ์ อัฐนาค มาตั้งหลักแหล่งทำ�มาหากิน อยู่บริเวณนาวังมน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน ในปัจจุบันบริเวณนี้มี วังน้ำ�มนขนาดใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาหลายชนิด ตามภาษาพื้นบ้านหรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า “วังน้ำ�มน” เมื่อมาตั้งหมู่บ้าน จึงใช้สัญลักษณ์วังมนนี้ เป็นชื่อของหมู่บ้าน คุณยายบุญเริ่ม อัฐนาค เล่าว่า “สมัยก่อนมีแต่ป่าไม้ ไม่มีอะไรเลย ก็ได้เพิ่นมา ช่วยกันตั้งชื่อ เพราะรอบๆ บ้านมีสระน้ำ�ใหญ่ชื่อวังมน จากนั้นมาจึงเรียกตามนั้นเลยว่า “หมู่บ้านวังมน” แววตาของคุณยายบุญเริ่มเต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม และใบหน้าที่ภูมิใจที่สุด ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว” “การปกครองในขณะนั้นขึ้นต่อบ้านหนองห้าง มีนายหมื่น ฉวี เป็นผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มบุคคลดังกล่าวตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนาวังมนประมาณ 7 ปี จึงย้ายสถานที่ตั้งหลัก แหล่งทำ�มาหากินใหม่ มาอยู่บริเวณสถานที่ตั้งหมู่บ้านปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2457 ทาง ราชการจึงได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน ชื่อว่าบ้านวังมน มีนายสาย สุระเสียง เป็น ผู้ใหญ่บ้าน จนถึงปี พ.ศ. 2484” คำ�พูดของผู้ใหญ่บ้านวังมนที่เล่าด้วยสีหน้าจริงจังและ อยากถ่ายทอดความรู้นี้จริงๆ” ต่อมาทางราชการจึงแต่งตั้งนายเกณฑ์ อุทรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านแทนนายสาย สุระเสียง ซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้ว รากเหง้าของสังคมผู้ไทยสมัยก่อนที่มีต่องานหัตถกรรมในปัจจุบัน ชนเผ่าผู้ไทยจะมีลักษณะเฉพาะในด้านความขยัน อดออม และมีวัฒนธรรมใน เรื่องถัก-ทอ จักสานอย่างเด่นชัด เพราะผู้เฒ่าผู้แก่หรือบรรพบุรุษของชนเผ่าผู้ไทยนั้น จะ สอนให้ลูกสาวรู้จักถักทอผ้าให้เป็น เอาไว้ใช้เวลาออกเรือน ส่วนลูกชาย ผู้เป็นพ่อก็จะสอนให้ รู้จักการจักสานเพื่อแบ่งเบาภาระและช่วยภรรยาเวลาออกเรือน จะได้ไม่ต้องซื้อ ภรรยาจะทอ ผ้าไว้ห่มไว้ใช้ สามีจักสานกระติบข้าว แห เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหากิน จนต่อมาตกทอด มาถึงปัจจุบันว่า ผู้หญิงนั้นต้องทอผ้าให้เป็น ผู้ชายต้องจักสานให้เป็น คุณแม่ศรีจันทร์ อุตตะละ บอกว่า “สมัยก่อนปู่ย่า ตายายของเราเวลาว่างก็จะทอ ผ้า จักสาน ยายของแม่นี่ก็จะจับมานั่งข้างๆ เวลาเพิ่นทอผ้า ก็จะสอนว่าการจับกระสวยจับ อย่างไร เหยียบกี่เหยียบยังไง แล้วจะกระชับและพร่ำ�บอกอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้หญิงต้องทอ ผ้าให้เป็นนะ ถ้าทำ�ไม่เป็นเขาก็ไม่เรียกว่าผู้หญิง เดี๋ยวจะไม่ได้สามี เพราะคนผู้ไทยถือว่า ลูก สะใภ้ทอผ้านวมมาเป็นของสมมาของแม่สามี แม่ย่าหรือแม่สามีก็จะรัก ถ้าทำ�ไม่เป็นก็จะไม่มี
[64]
ใครเอา พูดง่ายๆ เวลาทุกข์ยากมีวิชาการติดตัวก็ไม่อดตาย ไม่มีตังค์ก็มีเสื้อผ้าใส่ แถมยัง ขายได้อีก จำ�ไว้เด้อ ยายกะบอกแม่ว่าแบบนี้ กะหัดเฮ็ด หัดทอผ้ามาฮอดสู่มื้อนี้ล่ะ” ใบหน้าที่แดงกล่ำ� ผสมกับรอยยิ้มดูเหมือนจะอายมากกับคำ�ว่าถ้าทำ�ไม่เป็น จะ ไม่ได้ออกเรือน ส่วนมากการทอผ้านั้นจะใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ในกลุ่มชาวผู้ไทย เช่น ผ้าแพร วา การจักสานนั้นจะใช้ไม้ที่เหนียว ใช้ความพิถีพิถันในการจักตอก เหลาให้บางและอ่อนที่สุด เพื่อให้ถักได้ง่าย ตาสุข วาดสา ทั้งเล่าไปเป่าแคนให้ฟังไป “โอ้ย คั่นเว้าถึงเรื่องจักสานฮั่นเน๊าะ มัน เป็นงานของผู้ชายเฮา เพิ่นสอนให้เฮ็ดมาแต่น้อย กะตั้งแต่พ่อใหญ่เพิ่นบอกมาว่า เป็นผู้ชาย บ่แม่นมีหน้าที่แค่หาเงินเลี้ยงลูก เลี้ยงเมียเท่านั้น แต่ต้องทำ�เรื่องละเอียดอ่อน อย่างเช่น การสานกระติบข้าว สานแหเป็นพร้อม แหกะเอาไว้ใช้หาปลา ที่สำ�คัญต้องหว่านให้เป็น ถ้า ไม่งั้นเพิ่นกะว่าผู้หญิงทางได๋สิมามัก แต่สู่มื้อนี้ผู้หญิงเพิ่นกะเฮ็ดเป็น แต่บ่เฮ็ด เพิ่นถือว่าให้ เกียรติเฮา อิหยังที่หนักๆ เขาสิบ่เฮ็ด แต่เลี้ยงลูกกะหนักพออยู่แล้ว แต่ถามว่าตาทอผ้าเป็น บ่ ตากะตอบได้เลยว่าตาเฮ็ดบ่เป็น บ่เคยคิดอยากเฮ็ดพร้อม” รอยยิ้มปนเสียงแคนที่ไพเราะที่คุณตาเป่าให้ฟัง เสียงแคน ทำ�ให้ใครที่ผ่านไปผ่าน มา อดยิ้มตามไม่ได้ ในปัจจุบันงานหัตถกรรมเหล่านี้ยังคงรักษาเอาไว้คู่หมู่บ้านวังมนอยู่ จนทำ�ให้เกิด ความรัก ในกลุ่มหัตถกรรมของชาวบ้านชนเผ่าผู้ไทยจนถึงทุกวันนี้ ชาวผู้ไทยนั้นถือว่ามี ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในด้านงานฝีมือเพราะถือว่าทำ�ได้ละเอียดและประณีต มาก เนื่องจากว่าบรรพบุรุษของชนเผ่าผู้ไทยนั้นได้สร้างเอาไว้ให้ลูกหลานจดจำ�และสอนเพื่อ เอาไปใช้ในภายภาคหน้าจนกลายเป็นมรดกสืบสานต่อในด้านการทอผ้า จักสาน มาชั่วลูกชั่ว หลาน ถือได้ว่าเป็นมรดกที่มีค่ามหาศาล หัตถกรรมที่เป็นมรดกตกทอดที่ผู้หญิงผู้ชายพึงกระทำ� นับได้ว่าในการสืบสานมรดกตกทอดนั้นเพราะเชื่อว่าถ้าผู้หญิงชนเผ่าผู้ไทยทอผ้าไม่ เป็นจะไม่ได้ออกเหย้าออกเรือน ผู้ชายก็จะหัดทำ�งานฝีมือประเภทจักรสานจาก พ่อ น้า อา ปู่ และผู้หญิง ก็จะหัดทอผ้า ย้อมผ้า จึงถือได้ว่างานหัตถกรรมประเภทจักรสานและการ ทอผ้านั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษของคุณแม่ สมใจ อุตาละ ประธานกลุ่มทอผ้าหมู่บ้านวังมน เล่าว่า “การทอผ้านั้นแม่กะเห็นเพิ่นเฮ็ดมาแต่น้อย ผู้หญิงกะหัดทอผ้าไว้ใช้ ส่วนผู้ชายกะ เฮ็ดงานนอกไถไฮไถนา สานแหสานติ๊บข้าว เว้าง่ายๆ ผู้หญิงกะเฮ็ดงานเบาๆ ผู้ชายกะ
[65]
เฮ้ดงานหนัก” แววตาที่เปี่ยมด้วยความสุข พร้อมกับเสียงหัวเราะว่าเราเป็นผู้หญิง งานผู้ หญิงก็ทำ�นา งานผู้ชายก็ปล่อยให้เขาทำ�ไป ถือว่าให้เกียรติเขาทำ�ให้เราได้รู้ว่า งานหัตถกรรม ของชนเผ่าผู้ไทยถูกแบ่งเอาไว้อย่างชัดเจน
กี่ทอผ้าของชาวบ้าน ซึ่งจะมีหลายขนาด แตกต่างกันไป
การทอผ้าเป็นงานของผู้หญิงที่ทำ�อยู่บ้านเป็นงานประณีต ใช้ความพยายามมาก ในการทำ�งาน นอกจากทอผ้าแล้วผู้หญิงก็จะสานสวิงเพื่อใช้ในการจับปลาตัวเล็ก จะหา ตามน้ำ�ตื้นๆ อย่างเห็นได้ชัดเลยว่าผู้หญิงนอกจากจะมีหน้าที่ดูแลลูก ดูแลสามีและสิ่งที่ต้อง ทำ�คือ “หน้าที่แม่ศรีเรือน” “ทอผ้าเป็นเสน่ห์ของผู้หญิงเราที่ผู้ชายผู้ไทยก่อนที่จะมาแต่งงานกับเราเขาจะดูว่า เราทอผ้าเป็นหรือเปล่า แต่สิ่งที่ดีกว่านั้น ถ้าเราสานสวิงเป็นจะได้ช่วยเขาทำ�มาหากินได้ สามีก็ หว่านแห ส่วนภรรยาก็จบั สวิงหาปลา ช่วยกันจะได้เยอะๆ ทำ�ให้เขาเห็นว่างานฝีมอื เราก็ท�ำ เป็น ทำ�มาหากินเราก็ทำ�เป็น เว้าง่ายๆ คือเราไม่ได้ขี้เกียจเต๊อะ” คำ�พูดของ สายใจ บุญเสริม ที่ทั้งเล่าและหัวเราะอย่างมีความสุข “งานจักสานถูกแบ่งโดยอัตโนมัติว่าเป็นงานของผู้ชาย เพราะเป็นงานที่ทำ�ยาก ต้องไปหาไม้มาทำ� รวมถึงการสานแห เพื่อไปจับปลาในน้ำ�ที่ลึกๆ หาปลาตัวใหญ่ๆ แค่นี้ก็ ทำ�ให้รู้ว่า วิถีชีวิตของผู้ไทย ฝ่ายหญิงจะต้องให้เกียรติฝ่ายชาย งานจักรสานบางบ้านผู้หญิง ก็ทำ�ได้ แต่ไม่ทำ� เพราะส่วนมากจะให้ผู้ชายทำ� ในทางกลับกันการทอผ้านั้นผู้ชายกลับทำ�ไม่
[66]
เป็น ถือว่าเป็นงานของเพศที่อ่อนแอ ไม่มีความอดทนในการทำ�งานแบบนั้น” น้ำ�เสียงที่สั่น เครือของคุณตา... กับใบหน้าที่ดูซีดขาว
กระสวยที่ใช้ในการทอผ้า
งานหัตถกรรมนี้ผู้ชายสามารถทำ�ได้ตลอดถ้าอยากทำ� แต่ผู้หญิงต้องว่างจากการ ทำ�นาก่อนค่อยทำ�ได้ ในช่วงนั้นผู้ชายจะเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปทำ�งาน อยู่ทางบ้านก็ต้องหา อะไรทำ� เช่น การทอผ้าเพื่อช่วยสามีทำ�มาหากิน งานทอผ้า จักรสาน จึงเป็นจุดเด่นใน เรื่องลายผ้า ลายทอกระติบที่แสดงตัวตนของผู้ทำ� จึงถือได้ว่าผู้หญิงและผู้ชายจะแสดงตัว ตนออกมาให้เห็นโดยผ่านงานหัตถกรรมหรือที่เรียกว่า “งานหัตกรรมบ่งบอกถึงเพศ” ผ้าทอผู้ไทย... ลวดลายแห่งความรัก การทอผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในสมัย ก่อน ผู้หญิงไทยจะทำ�เครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำ�คัญอย่างหนึ่งคือการทำ�เสื้อผ้า ผ้า นุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับชีวิตคนไทย กรรมวิธีและเทคนิคในการ ทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคน สมใจ อุตตะละ ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านวังมน เล่าว่า “การทอผ้ามีมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษ จนมาถึงปัจจุบันนี้ นำ�มาปรับและพัฒนาให้เกิดลวดลายต่างๆ การทอผ้าถือเป็น
[67]
อาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้าน ที่สามารถทำ�รายได้สู่ครอบครัวและชุมชน” ลวดลายที่ใช้ในบ้านวังมน จะเรียกว่าว่าลายจันทร์ฉาย ลายดอกแก้ว ลายสอง วัตถุดิบ ที่นิยมนำ�มาใช้ทอผ้า ได้แก่ ไหม ฝ้าย ขิด ผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยที่ทอกันตาม ท้องถิ่นต่างๆ ส่วนลวดลายของจักสานในหมู่บ้านวังมนนั้น เขาจะเรียกว่า ลายขัด ลายเฉลว ลายหัวสุ่ม ลายก้นหอย แต่ละลายก็จะนำ�มาทำ�เครื่องจักสานได้หลายอย่าง ลายขัดมาสาน กระติบข้าว ลายเฉลวกับลายหัวสุ่มก็จะใช้ทำ�สุ่มเอาไว้ขังไก่ และสุดท้ายลายก้นหอย จะใช้ ทำ�ที่รองก้นหวด ลายแต่ละลายนั้นต้องใช้ไม้ไผ่ที่เหนียว เหลาให้บางๆ
ลวดลายต่างๆ ของผ้า
ในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยลวดลายและสัญลักษณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ผ้าในยุค ปัจจุบันอาจไม่เข้าใจความหมายและมองไม่เห็นคุณค่า ลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้บาง ลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่นไม่เป็นที่เข้าใจของวัยรุ่น ไทยในภาคอื่นๆ ลวดลายและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอไทยนั้นเชื่อกันว่า มีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เราอาจศึกษาเปรียบ เทียบลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้กับสัญลักษณ์อย่างเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในศิลปะประเภท อื่นๆ เช่นในจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ในตำ�นานพื้นบ้านที่เล่าขาน สืบต่อกันมา หรือในวรรณกรรมต่างๆ ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านไทยอย่างเห็น ได้ชัด บุญเริ่ม อัฐนาค เล่าว่า “การทอผ้าให้ลูกสาวเป็นพิเศษในวันแต่งงาน เป็นการ
[68]
ทอขึ้นมาจากความรัก ในสมัยก่อนผู้ชายก็ชอบการทอผ้าเหมือนกัน เพราะความชอบ แต่ ถ้าหากเป็นผู้หญิงแล้ว คือต้องทอผ้าเป็นทุกคน แต่ก่อนทุกบ้านจะทอผ้าใช้เองกันซะส่วน ใหญ่ แต่ทุกวันนี้ก็แบ่งขายด้วย” การเล่าของคุณยายบุญเริ่ม ทำ�ให้ผู้ฟังถึงกับตะลึงใน ความสามารถของชนเผ่าผู้ไทยอย่างไม่มีวันลืม
ขั้นตอนในการทอผ้า
กำ�ลังสานสะหวิง
[69]
จากอาชีพหลักสู่อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ จากอาชีพเสริมที่เพิ่มรายได้ ให้กับชนเผ่าผู้ไทยได้มากเลยทีเดียว ด้วยเสน่ห์ใน เรื่องของภาษาพูดแล้ว ที่เห็นในปัจจุบัน ชนเผ่าผู้ไทยค่อนข้างมีฐานะมั่งคั่ง แต่ไม่ค่อย แสดงออก เพราะชาวบ้ า นมี ค วามประหยั ด มั ธ ยั ส ถ์ และรู้ จั ก อดออม ใช้ ชี วิ ต อย่ า ง พอเพียง ตามพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรม การถักทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไว้ใช้เอง รวมทั้ง เครื่องเรือน เครื่องใช้ที่เอาไว้ใช้สอยใน บ้าน การถักทอของชนเผ่าผู้ไทยนั้น มักใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ด้าย รวมถึงผ้าแพรวา นับว่า เป็นผ้าที่สวยงาม หาได้ยาก รวมถึงงานจักสานที่เป็นภูมิปัญญาสำ�คัญมากในการดำ�รงชีวิต ถือได้ว่าเป็นความเฉลียวฉลาดที่สามารถนำ�สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำ�เครื่องมือเครื่อง ใช้ได้ งานจักสานทั้งหมดทำ�ด้วยไม่ไผ่ทั้งนั้น ส่วนรายละเอียดอยู่ที่การจัดตอกให้บาง และดัด ง่าย งานหัตถกรรมเหล่านี้จึงเป็นวัฒนธรรมที่เด่นชัดมาก ของชนเผ่าผู้ไทย แต่ก็ไม่น้อยไป กว่าวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่ดำ�รงชีวิตไปอย่างเป็นระบบระเบียบ คือตื่นตั้งแต่ไก่โห่ เพื่อออก ไปทำ�มาหากิน จนกลายเป็นกิจวัตรประจำ�วัน หรืออาชีพหลัก คือการทำ�ไร่ทำ�นา ปลูกผัก สวนครัว เลี้ยงสัตว์ แต่ละครอบครัวจะออกไปทำ�นากันหมด ในช่วงหน้านา หากว่าเว้น จากการทำ�นา ผู้หญิง จะมาจับกี่ เพื่อมาทอผ้า เพื่อไว้ใช้ในชีวิตประจำ�วัน หรือนำ�ไปขาย เป็นอาชีพเสริม ซึ่งเป็นเสน่ห์ของผู้หญิงที่หาดูยาก ผู้ชายก็จะสานแห สานสวิง สานกระติบ ข้าว เพื่อนำ�ไปใช้ดักสัตว์น้ำ� บ้างก็เอาไว้ใช้สอยในครัวเรือน ถ้าเหลือก็จะนำ�ไปขาย หรือมี พ่อค้า มารับซื้อถึงที่ อาชีพเสริมที่เสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้าน เป็นที่ประกาศให้ผู้คนที่มาเยือน หรือพบเห็น การยอมรับในงานฝีมือ ที่ประณีตและงดงาม ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จากอาชีพหลัก คือการทำ�นา แต่ดูเหมือนกับว่า เสน่ห์ของงานหัตถกรรม ได้เข้ามาครอบงำ�ราวกับว่ากลาย เป็นอาชีพหลัก ไปโดยปริยาย และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าผู้ไทย ไปโดยไม่มีข้อแม้ ความทรงจำ�ที่ไม่มีวันลืม จากวันที่ก้าวเข้ามาสัมผัสหมู่บ้านชุมชนชาวผู้ไทย ประสบการณ์ความรู้ต่างๆ ที่ได้ ลงพื้นที่ ยังคงติดตรึงฝังใจ รอยยิ้มพร้อมกับแววตาที่ชาวบ้าน คุณครู และน้องๆ นักเรียน ที่ให้ตั้งแต่วันแรกจวบจนถึงวันกลับก็ยังไม่เลือนหายไปจากม่านตา อิ่มทั้งกายอิ่มทั้งใจ แถม อิ่มท้องอีกด้วย คำ�ว่า “ผู้ไทย” จึงเข้าไปอยู่ในหัวใจโดยไม่รู้ตัว “เมื่อมีพบก็ต้องมีจาก เมื่อมี พรากก็ต้องมีเจอ” เป็นเสียงของคุณครูดวงจันทร์ที่บอกแก่เด็กๆ รถหกล้อค่อยๆ เคลื่อนตัว ออกจากโรงเรียนบ้านวังมน แต่สิ่งที่ติดตามมานั้นคือความรู้สึกดีๆ และน้ำ�ใจของคนผู้ไทยที่
[70]
มีให้ พร้อมกับแววตาที่ดูเศร้าโศก แต่กลับแฝงไปด้วยรอยยิ้มอันอบอุ่น มือขวายกขึ้นโบกลา และเสียงเจื้อยแจ้วว่า “แล้วกลับมาอีกนะคะ/ครับ” เสียงนั้นยังคงก้องอยู่ในหู จวบจนทุกวันนี้
[71]
ผู้เขียน
ย้อนตำ�นานภูผาผึ้ง ในถิ่นลี้ลับผู้ไทย ทินกร บุญแจด, วุฒนิ นั ท์ ดะนุชนาม, สายสุดา ประเสริฐ, หทัยรัตน์ พรมพิลา “เหยา” : วิธีรักษาโรคด้วยวิถีผู้ไทยในหมู่บ้านวังมน ธนวรรณ สร้อยคำ�, สุนษิ า น้�ำ ใส, สุภธิดา เครือชัยแก้ว, หยกเพชร บรรเลงรมณ์ บุญข้าวสากบ้านวังมน : พัสดุข้ามภพจากคนเป็น...ถึงคนตาย ธีมาพร เยระบุตร, นัฎฐา ฝ่ายวงค์, รัตนา แข็งแรง, ศศิพร บัวสี, สุดากร สมบัติหลาย “อ่างเก็บน้ำ�ห้วยจุมจัง” : สายธารแห่งวิถีชีวิตชาววังมน ธัญชนก ทาโบราณ, เมธาวี ศรีพลเงิน, วิภาวรรณ ประไวย์, สิรวิ ภา เผ่าพันธุ,์ เสาวนีย์ วิชติ ทอผ้า จักสาน ในหมู่บ้านวังมน ชนเผ่าผู้ไทย บุปผา พันธ์ศรี, ปกีรตา ชาวชายโขง, ปัฐชฏามาศ นามมัน, ศรานันท์ ชาญนรา