วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว. ปีที่ 35 ฉบับที่ 1

Page 1

ร จ  ู ก ั ป า  ส ะ แ ก ร า ชพื น ้ ท ส ่ ี ง ว น ช ว ี ม ณฑล

ห น ง ่ ึ ใ น ส า ม เ พช ร ย อ ด ม ง ก ฎ ุ แ ห ง  น ค ร ร า ช ส ม ี า ส ะ แ ก ร า ชว ว .แ ห ล ง  ท อ  ง เ ท ย ่ ี ว เ ช ง ิ น เ ิ ว ศ แ ล ะ พื น ้ ท ส ่ ี ง ว น ช ว ี ม ณฑล ข อ ง โ ล ก บ ท ส ม ั ภ า ษ ณ

น า ย ส ร ุ ช ตแ ิ ว ง โ ส ธ ร ณ

ผู อ  ำ น ว ย ก า ร ส ถ า น ว ี จ ิ ย ั ส ง ่ ิ แ ว ด ล อ  ม ส ะ แ ก ร า ชว ว .

ม า ต ร ก า ร ก า ร ใ ช ป  ร ะ โ ย ช น 

จ า ก ก ญช ั งก ญช ั า

I SSN08572380» · Õ 35© ºÑ º· Õ 1Á¡Ã Ò ¤ÁÁÕ ¹Ò ¤Á2563

โ ค ว ด ิ 19

ไ ว ร สว ั า ย ร า  ย

ä́ à ºÃ Ñ Ò § Ç Å Ñ ´Õ à́ ¹»Ã Ð à À·Ç ª Ô Ò ¡Ò à ¨ Ò ¡Êª .


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 Tel. 0 2577 9000 / Fax 0 2577 9009 E-mail : tistr@tistr.or.th Website : www.tistr.or.th

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563 คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา ผู้จัดการ บรรณาธิการ รองบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายศิลป์

นายวิรัช จันทรา นายสายันต์ ตันพานิช ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ ดร.จิตรา ชัยวิมล ดร.อาภากร สุปัญญา ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ดร.นฤมล รื่นไวย์ นายศิระ ศิลานนท์ นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ นางอลิสรา คูประสิทธิ์ ดร.ภัทราวุฒิ แสงศิริ นางบุญเรียม น้อยชุมแพ นางสลิลดา พัฒนศิริ นางอรุณี ชัยสวัสดิ์ นางพัทธนันท์ นาถพินิจ นางสาวบุญศิริ ศรีสารคาม นางสาวชลธิชา นิวาสประกฤติ นางสาววรรณรัตน์ วุฒิสาร นางสายสวาท พระคำ�ยาน นางสาวอทิตยา วังสินธุ์

จากกองบรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ ท�ำให้มนุษย์สะพรึงกลัวในหลายอย่างๆ ถ้าจะกล่าวถึงภัยธรรมชาติ แล้ว ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 ต่อมาจนถึงต้นปี พ.ศ. 2563 ท่านผู้ อ่านคงจดจ�ำได้ว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลียนั้น เป็นสิ่ง ที่มนุษยชาติทั่วโลกตื่นกลัว เห็นใจประเทศออสเตรเลีย และต่างส่ง พลังใจให้ปรากฏการณ์ธรรมชาติอันร้ายแรงนี้จบลง จนกระทั่งกลาง เดือนมกราคม เมื่อฝนเริ่มตกลงมาในประเทศออสเตรเลีย ทุกคนก็ เริ่มโล่งใจ และรู้สึกดีใจที่ภัยธรรมชาตินี้เริ่มคลี่คลายดีขึ้น แม้กระนั้น เมื่อมาพิจาณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นก็พบว่า ไฟป่านี้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศออสเตรเลียมิใช่น้อย ทั้งใน เรื่องของพื้นที่ทางการเกษตรที่ถูกท�ำลายไปนับ 46 ล้านเอเคอร์ รวม ทั้งพื้นที่ป่าดิบชื้น (rainforest) ที่เป็นมรดกของประเทศ ประชากร ออสเตรเลียจ�ำนวน 30 กว่าคน รวมทั้งพนักงานดับเพลิงต้องเสีย ชีวิตในไฟป่าครั้งนี้ และยังเกิดความเสียหายกับผลผลิตทางการ เกษตร ปศุสัตว์ โรงงาน ไร่นา รถยนต์ โดยเฉพาะฝูงแกะที่เปรียบ เสมือนสัตว์สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของออสเตรเลียนับหมื่นตัวต้อง ล้มตาย แม้แต่ปลาในแม่น�้ำนับร้อยตัวก็ตายด้วยเถ้าถ่านและเศษ ละอองจากไฟไหม้ที่พัดพาลงในแม่น�้ำ สัตว์พื้นถิ่นหลายประเภทที่ เป็นสัตวหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ตายเพราะไฟป่า รวมทั้งหมีคัวลา (koala) บ้านเรือนประชาชน อาคารการค้าธุรกิจ กว่า 3,000 หลัง ถูกไฟไหม้เสียหาย เหล่านี้ล้วนเป็นความเสียหายที่ท�ำให้เกิดการ ชะงักงันหรือชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น มหันตภัยอีกประการหนึ่งที่ก�ำลังทวีความน่าพรั่นพรึงคือ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 เริ่ม คุกคามชีวิตมนุษย์ ท�ำให้เกิดการติดเชื้อล้มตายไปทั่วโลกจนเป็น ปรากฏการณ์แพร่ระบาดที่กระจายไปทั่วโลก (pandemic) ซึ่ง ณ วันนี้ เรายังไม่รู้ว่ามันจะจบลงโดยสร้างความเสียหายทั้งหมดทั้งปวง เท่าใด ดร.นฤมล รื่นไวย์ editor@tistr.or.th

บทความทุกเรื่องที่ลงในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบส่วนตัว ของผู้เขียนบทความโดยเฉพาะ วว. จะไม่ขอรับผิดชอบแต่ประการใด


สารบัญ 4 เลิฟ@เฟิสต์ไซน์

: รู้จักป่าสะแกราช พื้นที่สงวนชีวมณฑลหนึ่งในสามเพชร ยอดมงกุฎแห่งนครราชสีมา

4

12 คุยเฟื่องเรื่องวิทย์

: สะแกราช วว. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และพื้นที่สงวน ชีวมนฑลของโลก

12

18 ดิจิทัลปริทัศน์

26

: เครื่องมือตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล

26 อินโนเทรนด์

: วาดภาพบนร่างกายป้องกันแมลงดูดเลือด : จะเป็นไปได้จริงหรือทีจ่ ะมี...ดอกไม้สนี ำ�้ เงิน ?

30

30 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต

: โควิด-19 ไวรัส วายร้าย

34 เกร็ดเทคโน

38

: เทคนิคการทดสอบถังลมด้วยแรงดันน�้ำ

38 แวดวงวิจัย/บริการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

: มาตรการการใช้ประโยชน์จาก กัญชง กัญชา

44 นานานิวส์

44

: วว.วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่จังหวัดก�ำแพงเพชร “พันธุ์เตี้ย ล�ำต้นแข็งแรง ปลูกชิดได้มากขึ้น ให้ผลผลิตเร็ว”


เลิฟ@เฟิสต์ไซน์

รู้จักป่าสะแกราช พื้นที่สงวนชีวมณฑล หนึ่งในสามเพชรยอดมงกุฎแห่งนครราชสีมา ดร.นฤมล รื่นไวย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ป่าสะแกราช ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แม้ฟังแต่ชื่อ จะสื่อแสดงถึงการเป็นสถานีวิจัยทางด้าน สิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันนี้ หลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินว่า ณ สถานที่แห่งนี้ จัดว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ (learning center) ทางธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ เหมาะสำ�หรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หรือครอบครัว ในความหมายที่ว่า แหล่งเรียนรู้ คือ พื้นที่ที่มีการจัดหรือแสดงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากดู อยากสำ�รวจ ค้นคว้า สร้างสรรค์ ให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม ให้โอกาสผู้เข้าชมในการปฏิบัติ หรือมีส่วนร่วม หรือมีโอกาสในการตัดสินใจ ในระหว่างการเรียนรู้ และที่สำ�คัญคือ จะต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อการเรียนรู้ ดังนั้น วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงขอ แนะน�ำให้ท่านได้รู้จักบทบาทที่ทรงคุณค่าต่อสังคมของสถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นสถานีวิจัยที่มี การก่อตั้งมานานถึง 53 ปีแล้ว และมีพัฒนาการในด้านการเป็น แหล่งเรียนรู้มาโดยตลอด ปฐมบทของการก่อตัง้ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2510 ให้

4

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีพื้นที่ 48,800 ไร่ ต�ำบลสะแกราช อ�ำเภอปักธงชัย (ปัจจุบันอยู่ภายใต้อ�ำเภอวังน�้ำเขียว) จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ก่อตั้งสถานีวิจัย ในระยะแรกเริ่ม ได้มีการก่อตั้งสถานีวิจัยขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งวิจัย ศึกษาทาง ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาป่าแล้งเขตร้อน (ป่าดิบ แล้งและป่าเต็งรัง) และทุ่งหญ้า การก่อตั้งนี้ ในระยะแรกได้ รับงบประมาณสนับสนุนจากส�ำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของ สหรัฐอเมริกา (Advanced Research Program Agencies - ARPA) จนถึงปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้สถานี ด�ำเนินงานต่อไป ตามข้อเสนอของส�ำนักงานคณะกรรมการ


วิจัยแห่งชาติ (วช.) ทั้งนี้แบ่งการด�ำเนินงานของสถานีฯ เป็น 2 ส่วน คือ งานทางวิชาการ มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้ก�ำหนดแนวทาง ส่วนการบริหารและการจัดการ งบประมาณ มี วว. และ วช. เป็นผู้ด�ำเนินการ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 สถานีฯ ได้อยู่ในความดูแลของ วว. อย่างเต็มตัว เนื่องมา จากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหน่วยงานของรัฐ ความเปลี่ยนแปลงที่ยกระดับคุณค่า สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นหน่วยงานหลัก ที่ดูแลผืนป่าสะแกราช ซึ่งเป็นพื้นที่ทรัพยากรป่าเขาที่ทรงคุณค่า เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามอีกเม็ดหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา และมีการบริหารจัดการตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2519 ป่าสะแกราชจึงได้รับการยกย่องจาก องค์การยูเนสโกให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserves) สะแกราช อั น นั บ เป็ น มรดกของมวลมนุ ษ ยชาติ ที่ สมควรได้รับการประกาศคุณค่า ค�ำว่า “พื้นที่สงวนชีวมณฑล” นี้ หมายถึงพื้นที่ที่มี ระบบนิเวศ ซึ่งอาจจะเป็น บนบก ในทะเล หรือชายฝั่งทะเล ที่ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และ ชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้ จะต้องมี วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์ สัตว์ และระบบนิเวศ 2. เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาทางด้ า นเศรษฐกิ จ และ สังคมอย่างยั่งยืน 3. เพื่อการศึกษาวิจัยและฝึกอบรมต่างๆ เกี่ยวกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2561) นอกจากนั้น ค�ำว่าพื้นที่สงวนชีวมณฑล ยังครอบคลุม ความหมายของการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ภายในพื้ น ที่ นั้ น ๆ มี แนวทางที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม และ จะต้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ให้ได้ รวมทั้งต้อง มีการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพนั้นอย่างยั่งยืน ไม่ร่อยหรอ หมดสิ้นไป การสงวนรักษาความหลากหลายทาง ชีวภาพในพื้นที่สงวนชีวมณฑล จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยแนวคิดและ วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นแหล่งองค์รวมของความรู้ที่ หลากหลายเพื่อน�ำมาส่งเสริมการสร้างความยั่งยืนในพื้นที่นั้นๆ และจัดการกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในเชิงสังคม ระบบ นิเวศวิทยา เพื่อให้การพัฒนานั้นเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

ประเด็นส�ำคัญอีกประการหนึ่งที่พื้นที่สงวนชีวมณฑล ต้องค�ำนึงถึง คือ การคงรักษาไว้ซึ่งคุณลักษณะของชีวมณฑล และจะต้องสร้างความตระหนักให้คนในสังคมได้เห็นคุณค่า รวม ทั้งต้องมีการยอมรับในระดับนานาชาติด้วย ในปัจจุบัน องค์การ ยูเนสโกได้พิจารณาประกาศให้มีพื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้งสิ้น ใน 124 ประเทศ โดยมี 21 แห่ง ที่มีพรมแดนต่อเนื่องกัน สามารถ แบ่งเป็นแต่ละทวีป ได้ดังต่อไปนี้  79 แห่งใน 29 ประเทศในทวีปแอฟริกา  33 แห่งใน 12 ประเทศ ในสาธารณรัฐอาหรับ  157 แห่งใน 24 ประเทศในทวีปเอเชียและย่านแปซิฟิก  302 แห่งใน 38 ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ  130 แห่งใน 21 ประเทศในละตินอเมริกาและหมู่เกาะ แคริบเบียน

หนังสือรับรองจาก UNESCO โครงการ MAB (Man and Biosphere) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

5


เลิฟ@เฟิสต์ไซน์

องค์ประกอบส�ำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑลนี้คือ จะ ต้องมีการอนุรักษ์ทั้งภูมิทัศน์ (landscapes) ระบบนิเวศ (ecosystems) ชนิด (species) ของพืชและสัตว์ และความหลาก หลายทางพันธุกรรม (genetic variation) นอกจากนั้น พื้นที่ โดยรอบของแหล่งสงวนชีวมณฑล ที่เรียกว่าพื้นที่กันชน (buffer zone) นั้นจะต้องมีการดูแลรักษาด้วย รวมถึงการท�ำกิจกรรมที่ มีการด�ำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะต้องสอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมและมีการปฏิบัติทางนิเวศวิทยาอย่างดีเยี่ยม เช่น ส่งเสริมงานวิจัย งานเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา การ ฝึกอบรม และการศึกษา นอกจากนั้น ทั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑล และกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการด�ำเนินการใช้ประโยชน์เพื่อ การพัฒนาเศรษฐกิจและมนุษย์ ในเชิงวัฒนธรรม สังคม และ นิเวศวิทยาอย่างยั่งยืน ลักษณะเด่นของพื้นที่สงวนชีวมณฑล มีดังต่อไปนี้ คือ 1. มี ก ารด� ำ เนิ น งานที่ บ รรลุ ห น้ า ที่ 3 ประการที่ เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ การอนุรักษ์ การพัฒนา และ การส่งก�ำลัง รวม (logistic support) ที่สนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น การ จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ สารสนเทศ องค์วามรู้ทางวิชาการ การ จัดฝึกอบรมบุคลากร ส�ำหรับการปฏิบัติงานในโครงการส�ำคัญ ตามแผนงานรณรงค์หรือโครงการต่างๆ เป็นต้น 2. มี ก ารด� ำ เนิ น การในลั ก ษณะที่ ล�้ ำ หน้ า กว่ า การ

6

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

อนุรักษ์พื้นที่แบบดั้งเดิม โดยมีแผนงานการจัดระเบียบการใช้ พื้นที่อย่างชัดเจน นอกจากนั้น จะต้องป้องกันทั้งพื้นที่หลักและ พื้นที่โดยรอบ ในลักษณะของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับ ความร่วมมือจากชุมชนแวดล้อม หรือวิสาหกิจ ภาคเอกชนใน ท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยระบบธรรมาภิบาลที่มีส่วนร่วมและมีการสร้าง นวัตกรรมอย่างดีเลิศ 3. มุ่งเน้นแนวทางที่ตอบสนองกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างหลากหลาย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้า มาบริหารจัดการ 4. สนับสนุนให้เกิดการเจรจาท�ำความเข้าใจเพื่อแก้ ปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 5. มี ก ารบู ร ณาการด้ า นความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและชีวภาพ โดยเฉพาะบทบาทของการใช้ความรู้ ท้องถิ่นในการจัดการระบบนิเวศ 6. สาธิ ต แสดงให้ เ ห็ น อย่ า งเป็ น รู ปธรรมของแนว ปฏิบัติในการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของงานวิจัยและการ เฝ้าระวัง (monitoring) 7. สร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา และการฝึก อบรมชั้นยอด (sites of excellence) 8. เข้าไปมีส่วนร่วมใน World Network หรือเครือข่ายระดับโลก


ให้ได้มาตรฐานสากล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย “กินรี” จึงถือเป็นเครื่องมือในการด�ำเนินการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และมีการด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก 2 ปีจนถึงปัจจุบัน รางวัลกินรีนี้เป็นมาตรการเชิงบวกที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ ซึ่งเทียบได้กับรางวัลนานาชาติ และ เปรียบเสมือนเครื่องหมายรับประกันคุณภาพสินค้าทางการ ท่องเที่ยว (Tourism accreditation) เช่น โรงแรม ที่พัก รายการน�ำเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยว ท�ำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ และช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน ส�ำหรับที่มาของชื่อรางวัลนั้น ททท. ได้ให้ค�ำจ�ำกัด ความว่า “กินรี เป็นสัตว์หิมพานต์ที่รู้จักกันดีในวรรณคดีไทย เป็น ตัวแทนความสวยงามและบริสุทธิ์ มือที่ถือดอกบัว แทน รางวัลกินรี อีกรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของสะแกราช การมอบความสะอาด สูงค่า และนกพิราบ สื่อถึงสันติภาพและ ภราดรภาพ อันเป็นทิศทางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่รับใช้ รางวัลกินรี (Thailand Tourism Awards) คือ รางวัล สังคม และสภาพแวดล้อม” (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด�ำเนินการจัดประกวด 2561ข) ส� ำ หรั บ รางวั ล แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วประเภทต่ า งๆ คื อ ขึ้น เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดยมอบรางวัลให้ กับแหล่งท่องเที่ยว สถานประกอบการ ชุมชน หน่วยงาน และ รางวัลประเภท Attraction (แหล่งท่องเที่ยว) ประกอบด้วย 6 องค์กรที่มีจุดเด่นในด้านท่องเที่ยว รับผิดชอบต่อสังคม เป็นมิตร สาขา (การจัดประเภทล่าสุด ณ ปี พ.ศ. 2562) ดังนี้ 1. สาขา Outdoor & Adventure Activities (แหล่งท่องเที่ยว กับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยแบบยั่งยืน ด้วยเห็นความส�ำคัญของการท่องเที่ยวที่จะต้องเป็น เพื่อการผจญภัย) ไปอย่างยั่งยืน จึงจ�ำเป็นต้องมีการส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว 2. สาขา Learning & Doing (แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้)

จากแนวทางของการเป็ น พื้ น ที่ ส งวนชี ว มณฑลที่ ก�ำหนดโดยองค์การยูเนสโกดังกล่าว จะเห็นว่าสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ได้แสดงบทบาทให้เห็นในเชิงประจักษ์ ทั้ง ในแง่ของการอนุรักษ์ การเปิดโอกาสให้ชุมชนแวดล้อมได้เข้า มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การตอบสนองผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ การ แก้ปัญหาข้อขัดแย้งในท้องถิ่น และที่ส�ำคัญคือ การเป็นแหล่ง เรียนรู้ธรรมชาติชั้นยอด รวมทั้งได้มีการน�ำองค์ความรู้ท้องถิ่น มาจัดการระบบนิเวศและเผยแพร่ ผ่านทางค่ายวิทยาศาสตร์ เยาวชน (Youth Science Camp) ท�ำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ได้รับการยอมรับ และมีชื่อเสียงในกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชน และนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ จนกระทั่งได้รับรางวัลกินรี ในประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2549

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

7


เลิฟ@เฟิสต์ไซน์

หนังสือรับรองจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

3. สาขา Nature & Park (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ) 4. สาขา Fun & Entertainment (แหล่งท่องเที่ยวเพื่อความ บันเทิง) 5. สาขา Historical & Culture (แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม) 6. สาขา Local & Community (แหล่งท่องเที่ยวชุมชน) ส� ำ หรั บ สถานี วิ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มสะแกราช ซึ่ ง ได้ รั บ รางวัลกินรีในประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในปี พ.ศ. 2549 ถือว่าเป็นตามการจัดประเภทแต่เดิม อย่างไรก็ตาม แหล่ง เรียนรู้สะแกราชนับว่ามีการด�ำเนินการและการจัดกิจกรรมที่ ครอบคลุมหลายสาขาของการจัดประเภท ได้แก่ “สาขา Learning & Doing (แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้) กิจกรรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อเน้น การเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้กับกิจกรรมหรือ สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ ให้แก่นักท่องเที่ยว เช่น กิจกรรม workshop เพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

8

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

สาขา Nature & Park (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ) สถานที่ ห รื อ บริ เ วณพื้ น ที่ ท างบกหรื อ ทางทะเลที่ มี ค วามเป็ น ธรรมชาติและเปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อการ ท่องเที่ยวหรือพักผ่อน หรือสัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติหรือระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น อุทยานแห่งชาติทางบกและทางทะเลวนอุทยาน เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหล่งน�้ำ ล�ำธาร ถ�้ำ น�้ำตก ล�ำน�้ำ ทะเลสาบ โป่งพุร้อน แหล่งโบราณชีววิทยา ป่าชายเลน เกาะ ชายหาดแนวปะการัง ธรรมชาติในท้องทะเล เป็นต้น” (การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2561ก) ทั้งนี้เกณฑ์การตัดสินของรางวัลกินรีนี้ จะพิจารณาใน ด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ 1. Tourism Excellence (Product/ Service) แบ่ง เป็น ความยอดเยี่ยมในสินค้า (Product Excellence) และ ความยอดเยี่ยมด้านการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว (Service Excellence) 2. Supporting Business & Marketing Factors คือการสนับสนุนปัจจัยทางธุรกิจและการตลาด เช่น มีการจัดท�ำ วิสัยทัศน์ แผน นโยบาย แนวทางการด�ำเนินธุรกิจ การส่งเสริม


การตลาด สื่อประชาสัมพันธ์ การรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR) เป็นต้น 3. Customer ด้านที่เกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประสบการณ์ การท่องเที่ยวที่ได้รับ ผลลัพธ์จากการใช้สินค้าและบริการ การ ติดตามข้อมูล ข่าวสาร ความสม�่ำเสมอในการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ความสม�่ำเสมอในการตอบสนองจากกลุ่มนักท่องเที่ยว (engagement) เป็นต้น 4. Responsibility คือ ความรับผิดชอบ ในการจัดให้ มีนโยบายและแผน การจัดการ การปฏิบัติตามแผน และความ ปลอดภัย จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นเกียรติของสถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับรางวัลกินรี นี้ เพราะเป็นการแสดงว่าการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของ วว. คือการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างได้มาตรฐานระดับ นานาชาติ

สามมงกุฎขององค์การยู เนสโก จากการที่ผืนป่าสะแกราช ได้รับการประกาศจาก องค์การยูเนสโก ให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ในปี พ.ศ. 2519 และกลุ่มป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ ได้การรับรองให้เป็นมรดกโลก ทางธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นที่ที่ทรงคุณค่า และมีความโดดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของจังหวัดนครราชสีมา ทางจังหวัดจึงมีโครงการที่จะผลักดัน ให้อุทยานธรณีโคราช ให้ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก เพื่อให้นครราชสีมา เป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎขององค์การ ยูเนสโก หรือ “UNESCO’s Triple Crown” คือมีทั้งมรดกโลก (World Heritage) คือกลุ่มป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ พื้นที่สงวน ชีวมณฑล (Biosphere Reserve) คือผืนป่าสะแกราช และ อุทยานธรณีโลก (Global Geopark) คืออุทยานธรณีโคราช อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน หากอุทยานธรณีโคราชได้รับ

UNESCO Triple Crown

World Heritage

กลุ่มป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่

Biosphere Reserve

ผืนป่าสะแกราช

Global Geopark อุทยานธรณีโคราช

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

9


เลิฟ@เฟิสต์ไซน์

การรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก จะส่งผลให้ประเทศไทยจะเป็น ประเทศที่ 4 เหมือนเช่นเกาหลีใต้ อิตาลี และจีน ซึ่งมีพื้นที่ที่ มีรูปแบบการอนุรักษ์แบบ UNESCO’s Triple Crown โดย สมบูรณ์ UNESCO’s Triple Crown คือ รูปแบบการอนุรักษ์ พื้นที่ขององค์การยูเนสโก 3 โปรแกรม ได้แก่ มรดกโลก สงวน ชีวมณฑล และ อุทยานธรณีโลก ทั้งนี้ วว. โดยสถานีวิจัยสิ่งแวดล้ อ มสะแกราช ได้ มี ส ่ ว นร่ ว มผลั ก ดั น อย่ า งเต็ ม ที่ ใ นการ จัดค่ายจีโอพาร์ค เพื่อพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน 26 โรงเรียน ภายใต้การด�ำเนินงาน โครงการพิเศษเชิงวิทยาศาสตร์ สนับสนุนอุทยานธรณีโคราช เป็นอุทยานธรณีโลก สร้างคุณค่าให้จังหวัดนครราชสีมากลาย เป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎขององค์การยูเนสโก ทั้งนี้หากอุทยาน ธรณีโคราช (Khorat Geopark) ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นอุทยานธรณีโลก ก็จะท�ำให้จังหวัดนครราชราชสีมากลายเป็น “ดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของ UNESCO” ซึ่ง การส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนก็เป็นตัว ชี้วัดอันหนึ่ง ดังนั้น วว. จึงมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วน ร่วมในโครงการของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเตรียมความพร้อม ในการตรวจประเมินการจัดตั้งเป็นจีโอพาร์คประเทศและจีโอ พาร์คโลกต่อไป จากล�ำดับของพัฒนาการของการบริหารจัดการผืนป่า สะแกราช ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. จึงกล่าวได้ ว่า การก่อตั้งสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชนั้น นอกจากจะ สร้างประโยชน์ให้แก่การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ประเทศและโลกแล้ว ยังท�ำให้เราสามารถใช้ประโยชน์ในแง่ มุมต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ของ

10

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

การก่อตั้งและการด�ำเนินงานของสถานีฯ ในปัจจุบัน ให้กว้าง ขวางครอบคลุมมากขึ้น คือ ใช้เพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและ นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน (ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง) ซึ่งได้มีการน�ำ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประชาชนในท้องถิ่น อีกประการหนึ่ง ป่าสะแกราช ถือเป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติที่มีความเหมาะสมเป็น อย่ า งยิ่ ง ด้ ว ยความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องป่ า กอรปกั บเป็ น ป่า ที่ มีชุมชนล้อมรอบ จึงนับเป็นความท้าทายในการท�ำงานที่จะ ค้นคว้าวิจัยวิธีการที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป่า และสามารถท�ำมาหากินกับป่าได้โดยไม่ท�ำลายป่า นอกจาก นั้น จากการที่พื้นที่ป่าสะแกราชเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลของ องค์การยูเนสโก การด�ำเนินงานด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และ สนับสนุนการศึกษาวิจัย จึงเป็นวัตถุประสงค์ที่สถานีวิจัยสิ่ง แวดล้ อ มจะต้ อ งเป็ น แกนน� ำ ในการขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ ด� ำ รง สถานภาพนี้ไว้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการสร้างเครือข่ายเชื่อม โยงกับนานาชาติทั่วโลกด้วย วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่ง คือ ใช้พื้นที่ป่าเป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจใน ภูมิทัศน์ของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง รวมทั้งสัตว์ป่า และพรรณพืชนานาชนิด ส่วนวัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายในการด�ำเนินงาน ปัจจุบัน คือ สามารถใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมในทางวิชาการได้ เป็นอย่างดี เพราะมีทั้งห้องประชุมและบ้านพักที่รองรับ แม้จะ ไม่สะดวกสบายเหมือนรีสอร์ต เนื่องจากต้องให้สอดคล้องกับ สภาพธรรมชาติ และบ้านพักที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ภายใต้ป่า ไม้สูงใหญ่เขียวขจีและใกล้ชิดธรรมชาติ ก็ท�ำให้ผู้ที่ไปพักได้สูด อากาศธรรมชาติ และได้ผ่อนคลายหลังการอบรมสัมมนาได้ อย่างแท้จริง


กล่าวมาถึงตรงนี้ คิดว่าหลายท่านคงอยากจะได้มาชืน่ ชม แหล่งเรียนรู้ของพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศไทย ท่ามกลางผืนป่าทีย่ งั คงความสมบูรณ์แห่งหนึง่ ของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ณ สถานีวจิ ยั สิง่ แวดล้อมสะแกราชแห่งนี้ ทางสถานีฯ เอง ก็ด�ำเนินบทบาทที่จะมีส่วนช่วยให้จังหวัดนครราชสีมาได้รับการ ประกาศเป็น “สามมงกฎขององค์การยูเนสโก”

หากท่านสงสัยว่า ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม วว. นี้ มี สิ่งใดให้น่าสนใจ ใฝ่รู้ศึกษา ก็ขอเชิญทุกท่านมาพิสูจน์ด้วยตัว ของท่านเอง กับความเป็นธรรมชาติ กิจกรรมที่เรียบง่าย แต่ เพลิดเพลิน พรรณพืชและสัตว์ป่าที่สร้างเสน่ห์ให้กับผืนป่า ลองมาสักครั้ง แล้วท่านจะพบกับความประทับใจที่ ไม่รู้ลืมเลือน

เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2561. พื้นที่สงวนชีวมณฑล. [ออนไลน์]. เขาถึงไดจาก: https://www.dmcr.go.th/ detailAll/24073/nws/141, [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. กองประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2562. วว. จัดค่ายจีโอพาร์ค @ สถานีวิจัยฯ สะแกราช พัฒนาบุคลากรส่งเสริมการศึกษา 26 โรงเรียนด้านวิทย์ หนุนอุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลก สร้าง คุณค่านครราชสีมาเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก. [ออนไลน์]. เขาถึงไดจาก: https://www.tistr.or.th/TISTR/ newsboard/shownews.php?Category=newsboard&No=1229, [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2561ก. ข้อมูลรับสมัครประเภทแหล่งท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. เขาถึงไดจาก: https://tourismawards. tourismthailand.org/file/ข้อมูลรับสมัครประเภทแหล่งท่องเที่ยว.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2561ข. Tourism Thailand Awards. [ออนไลน์]. เขาถึงไดจาก: https://tourismawards. tourismthailand.org/about, [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช. 2563. ข้อมูลทั่วไป. [ออนไลน์]. เขาถึงไดจาก: https://www.tistr.or.th/sakaerat/, [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. TeacherVision, 2007. Learning - Centers The basics of centers - how they work, how to create one, and more. [online]. Available at: https://www.teachervision.com/learning-centers-0, [accessed 2 February 2020].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

11


คุยเฟื่องเรื่องวิทย์

สะแกราช วว.

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และพื้นที่สงวนชีวมนฑลของโลก

บทสัมภาษณ์

นายสุรชิต แวงโสธรณ์

ผู้อำ�นวยการสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ศิระ ศิลานนท์ และสลิลดา พัฒนศิริ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช (สสส.) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำ�กับของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติใน เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์หายากนานาชนิด แห่งหนึ่งของประเทศ

บทบาทและจุดเด่นของ สสส. จะเป็นอย่างไร ติดตาม ได้จากบทสัมภาษณ์นายสุรชิต แวงโสธรณ์ ผู้อ�ำนวยการสถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ไปด้วยกัน

ต่อการพัฒนาประเทศ จึงมีมติคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช ขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพื้นที่ป่า ประมาณ 48,800 ไร่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 พื้นที่ป่าสะแกราช ได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และได้รับอนุญาต แนวทางการบริหารจัดการสถานีวิจัยและทรัพยากร จากกรมป่าไม้ ให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนนี้ส�ำหรับการวิจัยได้จนกว่าจะ สิ่งแวดล้อม หมดความจ�ำเป็น ในปี พ.ศ. 2519 พื้นที่ป่าสะแกราชในการดูแลของ สสส. ตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2510 โดย สสส. ยังได้รับการรับรองเป็นแหล่งสงวนชีวมณฑล (Biosphere คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นเล็งเห็นว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ Reserves) แห่ ง แรกของประเทศไทย จากองค์ ก ารศึ ก ษา

12

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


การบริหารจัดการสถานี จะด�ำเนินการตามทิศทางที่ วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural บูรณาการมาจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1. การป้องกันรักษาป่า เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าสงวน Organization - UNESCO) ซึ่งเป็นองค์การช�ำนัญพิเศษแห่ง แห่งชาติป่าเขาภูหลวง ร่วมกันกับกรมป่าไม้ หนึ่งขององค์การสหประชาชาติ 2. สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการศึกษา การอนุรักษ์ โดยในปัจจุบันสถานีวิจัย มีบทบาทภารกิจ 5 ด้าน คือ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแผนการบริหารพื้นที่สงวนชีว 1) เป็นสถานที่เพื่อการวิจัย ทางด้านสิ่งแวดล้อมและ มณฑลโลก ของยูเนสโก 3. การวิจัย ตามกรอบนโยบายงานวิจัยของ วว. เรา นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน (ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง) ปัจจุบันมีการ วิจัยจากในพื้นที่มาแล้วไม่น้อยกว่า 500 เรื่อง ซึ่งความรู้ดังกล่าว มีโครงการวิจัยในพื้นที่ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ ได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาแก่นักวิชาการและยังได้น�ำไปช่วยเหลือ โดยจะเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา เช่น สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งูจงอาง งูเห่า หรือการหามวลชีวภาพของป่า เช่น การ ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนอีกด้วย 2) เป็ น ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารธรรมชาติ ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย น วิเคราะห์หาปริมาณเชื้อเพลิงจากป่าเต็งรังที่จะท�ำให้เกิดไฟป่า นักศึกษา ที่ใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสถานีฯ เป็นสถานที่เพื่อการ การบริหารจัดการควบคุมไฟป่าที่ถูกต้อง ศึกษาและวิจัยทางด้านธรรมชาติของป่าไม้ นอกจากนั้นบริเวณ โดยรอบของพื้นที่ป่าไม้ของของสถานีฯ ยังมีหมู่บ้านจ�ำนวน 9 หมู่บ้าน ที่อยู่กับป่าไม้ได้อย่างสมดุล ซึ่งเป็นสถานที่เพื่อการวิจัย ทางด้านสังคมเศรษฐกิจกับป่าไม้ได้อีกด้านหนึ่ง 3) เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑล (UNESCO Biosphere Reserves) ท�ำหน้าที่ด�ำเนินการอนุรักษ์พัฒนา และการสนับสนุนการศึกษาวิจัย ที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายนานาชาติทั่วโลก 4.) เป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจ ทางด้านธรรมชาติ ของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พรรณพืชและ พันธุ์สัตว์นานาชนิด 5.) เป็นศูนย์การประชุมและสัมมนา เนื่องจากมีความ พร้อมทั้งที่พัก สถานที่ประชุมและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

13


คุยเฟื่องเรื่องวิทย์

จุดเด่นของสะแกราช พื้นที่ป่าสะแกราช เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไป ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่า มีระบบนิเวศอยู่ 2 ระบบ คือ - ป่าดิบแล้ง มีไม้หลักคือ ต้นตะเคียนหิน ตะเคียนทอง กระเบากลัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร มีอายุราว 400 ปี หรือเทียบเท่ากับว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา - ป่าเต็งรัง มีไม้หลักคือ ไม้เต็ง รัง พะยอม ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร มีอายุมาประมาณ 130 ปี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่พบสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่าง ยิ่งของโลกอยู่หลายชนิด เช่น ตัวนิ่ม หมาใน เต่าเหลือง ตลอด

จนเป็นแหล่งค้นพบสัตว์และพืชชนิดใหม่ของโลกที่พบเฉพาะ ในป่าสะแกราชเท่านั้นอีกหลายชนิด เช่น จิ้งเหลนลมปักธงชัย จิ้งเหลนด้วง กบปากใหญ่สะแกราช ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น งูดิน โคราช ฯลฯ และมีสัตว์ที่ค้นพบที่ป่าสะแกราชนี้อีก 2 ชนิด ที่ได้รับ พระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนาม ให้คือ ตั๊กแตนคูหารัตน์ (Mimadiestra sirindhornae Dawwrueng, Storozhenko et Artchawakom) ในปี พ.ศ. 2559 และแมลงปอยักษ์เล็กสะแกราช (Oligoaeschna sirindhornae) ในปี พ.ศ. 2560

จิ้งเหลนด้วงปักธงชัย

ตะเคียนหิน

ตั๊กแตนคูหารัตน์

ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น กบปากใหญ่สะแกราช

14

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


จุดเด่นอีกอย่างคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือ Ecotourism ที่ สสส. เราได้รับรางวัลกินรี ซึ่งเป็นรางวัล การท่ อ งเที่ ย วเชิงนิเวศ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปี พ.ศ. 2542 ที่ให้นิยาม แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไว้ ว ่ า เป็ น “การท่ อ งเที่ ย วโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ การศึ ก ษา ชื่นชม และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม และชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้และ ความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศ” หรือก็คือการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน ให้ได้ประโยชน์ 3 ด้าน 1) การอนุรักษ์ 2) ประชาชนใน พื้นที่มีส่วนร่วมดูแลและได้ประโยชน์ 3) นักท่องเที่ยวก็ได้เรียนรู้ ระบบนิเวศธรรมชาติและวัฒนธรรมไปด้วย สสส. ยังเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงศึก ษาเฉพาะเรื่ อ ง (Edutourisim) ส�ำหรับกลุ่มคนที่เข้ามาศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ เฉพาะ เช่น นักอนุรักษ์ธรรมชาติหรือนักวิจัย ก า ร ป ลู ก ฝ ั ง แ น ว คิ ด เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ส ง ว น รั ก ษ า ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทำ�อย่างไร สถานี วิ จั ย เราจะปลู ก ฝั ง เรื่ อ งการสงวนรั ก ษา ทรั พ ยากรธรรมชาติ ใ ห้ กั บ เยาวชน ผ่ า นกิ จ กรรมค่ า ย วิทยาศาสตร์เยาวชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 มีนักเรียนเข้าร่วม มาแล้วกว่าสองแสนคน ได้เข้ามาเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความหมายของการอนุรักษ์นั้น ไม่ใช่แค่เก็บ ไว้เท่านั้น แต่คือการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ใช้ให้น้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์สูงสุด จากหลากหลายด้านและส�ำคัญที่สุดคือ ต้องใช้อย่างยั่งยืน นักเรียนที่มาเข้าค่ายที่นี่จะได้เรียนรู้สัมผัสจริงจาก ธรรมชาติ เช่น กิจกรรมวัดความสูงของต้นไม้เทียบจากเงา ตนเอง มีกิจกรรมสันทนาการเน้นเรื่องความรู้ธรรมชาติเข้าไป ด้วย มีฐานการเรียนรู้เรื่องสัตว์ต่างๆ เช่น เหยี่ยว หมีขั้วโลก ซึ่ง การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เด็กจะซึมซับได้เร็วและไม่ลืม มี ประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้สูงถึง 90% ซึ่งหากเป็นการอบรม และฟังอย่างเดียวอาจจะได้เพียง 10-20%

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

15


คุยเฟื่องเรื่องวิทย์

แนวทางการใช้ ป ระโยชน์ แ ละการพั ฒ นาให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น (continual improvement)

หิน ธรณีวิทยา ต้นไม้ พรรณไม้ ปริมาตรไม้ สัตว์ป่า ตามทิศทาง หรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ณ ช่วงเวลานั้นๆ อย่ า งเช่ น ป่ า สะแกราชช่ ว ยการดู ด ซั บคาร์ บอนได้ พื้ น ที่ ป ่ า สะแกราช นอกจากเป็ น แหล่ ง ให้ บ ริ ก าร เท่าใด ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า สามารถดูดซับได้ 146,000 ตัน ทางระบบนิเวศ ยังเป็นแหล่งผลิตอากาศให้กับ อ.วังน�้ำเขียว แต่ประเทศไทยปล่อยคาร์บอนถึง 4,800 กิโลกรัมต่อคน เท่ากับ จ.นครราชสีมา และพืน้ ทีใ่ กล้เคียง นีค่ อื ประโยชน์ทางตรงของป่า ว่าชดเชยไปได้แค่ 3 หมื่นคนเท่านั้นเอง ข้อมูลเหล่านี้ท�ำให้เรา ส�ำหรับด้านประโยชน์เพื่อการศึกษาวิจัยนั้น แรกเริ่ม ต้องพัฒนาผืนป่าให้ดีขึ้น ช่วยกันลดการปลดปล่อยคาร์บอน สมัยก่อตั้งสถานี จะเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลนิเวศวิทยาของทหาร เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม ช่วยกันรักษาและปกป้อง อเมริ กั น ที่ เ ข้ า มาศึ ก ษาระบบนิ เ วศในช่ ว งสงครามเวี ย ดนาม ทรัพยากรธรรมชาติ ต้นไม้และสัตว์ป่า ไม่ให้ใครมาท�ำลายใน ต่อมาจึงขยายมาสู่กลุ่มนักวิจัย นักศึกษาคณะวนศาสตร์จาก พื้นที่ของเรา มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาวิจัยเรื่องดิน

ปัญหาและอุปสรรคของ สสส. คืออะไรและมีวิธีการ แก้ไขอย่างไร 1. การลักลอบตัดไม้ท�ำลายป่า ล่าสัตว์ จากกลุ่ม นายทุน ท�ำให้ก�ำลังของเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาป่าไม่เพียงพอที่จะป้องกันและปราบปรามได้อย่างทั่วถึงทั้งผืนป่า จึงต้องมี การจัดสรรก�ำลังเจ้าหน้าที่ และร่วมมือกันกับหลายภาคส่วนใน พื้นที่ โดย สสส. มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าดูแล ร่วมกับ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2557-2559 เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ท�ำให้เกิดภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อป่าเต็งรัง ท�ำให้ต้นไม้ตายไปถึง 20% และ ในอนาคตความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ผิด ปกติจะยิ่งมากขึ้น

16

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


สิ่งที่อยากจะฝากข้อคิดไว้กับผู้อ่าน ถ้าเรามีโอกาสอยู่กับป่าทุกวันๆ เราจะเห็นถึงผลกระทบที่รุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ชัดเจนกว่าอยู่ ในเมือง เช่น ต้นไม้ที่เคยมีอายุยืนยาวมานานหลายร้อยปีกลับ มาตายเพราะภัยแล้งในปัจจุบัน นกบินข้ามถิ่นหนีหนาวมาทุก ปีกลับมาตายเพราะอากาศร้อนจัด จ�ำนวนแมลงก็ลดลง สัตว์ กินแมลงก็จะมีอาหารน้อยลง ท�ำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล ส่งผล กระทบกันไปทั้งห่วงโซ่อาหาร จึ ง อยากฝากและเน้ น ย�้ ำ ให้ ทุ ก คนต้ อ งตระหนั ก ถึ ง ความส�ำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วยกันรักษาธรรมชาติ ลด ใช้กระดาษ ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง ขับรถให้ น้อย ใช้น�้ำให้คุ้มค่า และควรปลูกต้นไม้ทุกครั้งที่มีโอกาส

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

17


ดิจิทัลปริทัศน์

เครื่ องมือ

ตรวจ พิ สู จ น ์ พ ยา น หลั ก ฐา น ดิ จิ ทั ล นายวิษณุ เรืองวิทยานนท์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ปัจจุบันเครื่องมือในการพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลมีอยู่เป็นจำ�นวนมาก และการเลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำ�เนินการ อย่างไรก็ตาม การเลือกเครื่องมือดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับสถานที่และ ความต้องการ ดังนั้นในบทความนี้จึงเป็นการแนะนำ�การเลือกใช้เครื่องมือตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานด้านดิจิทัล ซึ่ง สามารถแยกได้ดังนี้ เครื่องมือ

18

คำ�อธิบาย

 Database forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานในเรื่องฐานข้อมูล

 Email analysis

- การวิเคราะห์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล

 Audio/video forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานในเรื่องของสื่อที่เป็นไฟล์เสียงหรือ ภาพเคลื่อนไหว

 Internet browsing analysis

- การพิสูจน์พยานหลักฐานในเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

 Network forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย

 Memory forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานข้อมูลในหน่วยความจำ�หลัก

 File analysis

- การพิสูจน์พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับไฟล์ต่างๆ

 Disk and data capture

- การพิสูจน์พยานหลักฐานในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ และการ จับข้อมูลทางดิจิทัล

 Computer forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์

 Digital image forensics

- การพิสูจน์พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลรูปภาพ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


การเลือกใช้เครื่องมือตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานด้านดิจิทัลขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการตรวจพิสูจน์ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทักษะของพนักงาน ดังเช่น แท็บเล็ตที่ไม่สามารถใส่ SIM Card ได้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้เครื่องมือ พิสูจน์พยานหลักฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบ ไม่ใช่พิสูจน์พยานหลักฐานของอุปกรณ์เคลื่อนที่

5

แนวทาง ในการเลือกเครื่องมือตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานด้านดิจิทัลให้เหมาะสม การเลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง ตรงความต้องการ ไม่ง่ายเสมอไป เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือให้เลือกมากมาย ต่อไปนี้ เป็นแง่ มุมส�ำหรับการพิจารณาตัดสินใจเลือก 1. ระดับของทักษะ เครื่องมือบางชนิดต้องการเพียงทักษะขั้นพื้นฐาน ในขณะที่เครื่องมือบางชนิดอาจต้องการความเข้าใจขั้นสูง สิ่งส�ำคัญคือ ต้องประเมินความรู้ของผู้ใช้งานกับเครื่องมือให้เหมาะสม จึงจะได้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพตรงกับความสามารถในการด�ำเนินงาน 2. ผลลัพธ์ บางครัง้ เครือ่ งมือทีเ่ หมือนกัน อาจให้ผลลัพธ์ทแี่ ตกต่างกัน ในบางกรณีเครือ่ งมืออาจให้ผลลัพธ์ในรูปของข้อมูลดิบ ในขณะ ที่บางเครื่องมือสามารถแสดงรายงานผลออกมาได้อย่างสมบูรณ์จนพนักงานที่ไม่มีความรู้ก็สามารถเอาไปอ่านท�ำความเข้าใจได้ ใน ทางกลับกัน ในผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลดิบเพียงอย่างเดียวก็อาจเพียงพอส�ำหรับการน�ำไปใช้ประโยชน์กับพนักงานที่เชี่ยวชาญบางคนได้ 3. งบประมาณที่ใช้ การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาเพียงอย่างเดียว อาจไม่เหมาะสมเสมอไป ดังนั้นในระหว่างการตัดสินใจ ควรพิจารณา ความเหมาะสมระหว่างงบประมาณและคุณสมบัติต่างๆ ประกอบกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือที่มีราคาถูกหรือฟรีนั้น อาจไม่ได้ให้ คุณลักษณะพิเศษอย่างที่ต้องการ เนื่องจากทีมพัฒนาเครื่องมือเหล่านั้นคงต้องจัดท�ำเครื่องมือให้มีต้นทุนที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 4. เน้นใช้งานเฉพาะด้าน เนื่องจากการใช้งานเครื่องมือแต่ละชนิดก็ย่อมมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานเป็นหลัก เช่น เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบฐานข้อมูล ก็จะแตกต่างจากเครื่องมือที่ใช้ทดสอบระบบเครือข่าย แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด คือ เขียนรายการ คุณสมบัติพิเศษที่ต้องการให้ครบถ้วนก่อนการเลือกซื้อ และพิจารณาเลือกเครื่องมือที่ครอบคลุมการท�ำงานหลายหน้าที่ครบตาม คุณสมบัติที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าการหาเครื่องมือแยกกันส�ำหรับแต่ละงาน 5. อุปกรณ์หรือส่วนเสริมอื่นๆ เครื่องมือบางอย่างอาจต้องการอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถท�ำงานได้ เช่น การพิสูจน์หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ ระบบเครือข่าย อาจต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทาง หรือการใช้สื่อบันทึกที่สามารถรีสตาร์ทระบบได้ ดังนั้นต้องตรวจสอบว่าต้องใช้ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์อะไรบ้างที่จ�ำเป็นในการใช้งานร่วมกัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

19


ดิจิทัลปริทัศน์

ซอฟต์แวร์สำ�หรับการพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล มีซอฟต์แวร์ส�ำหรับการพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล ให้ใช้งานฟรี แนะน�ำ 5 ซอฟต์แวร์ด้วยกัน ที่จะมาช่วยในการตรวจ สอบทางนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล อาทิ กรณีของทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร การตรวจสอบการเข้าถึงเครื่องแม่ข่ายโดยไม่ได้รับ อนุญาต ชุดโปรแกรมและยูทิลิตี้เหล่านี้จะช่วยพิสูจน์พยานหลักฐานข้อมูลในหน่วยความจ�ำหลัก การพิสูจน์พยานหลักฐานในสื่อ บันทึกข้อมูล การพิสูจน์พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลรูปภาพ และอุปกรณ์เคลื่อนที่เหล่านี้จะสามารถน�ำข้อมูลเชิงลึกที่ถูกซ่อนอยู่กลับ มาได้ หมายเหตุ รายการข้างล่างนี้ อาจไม่ครอบคลุมในทุกเรื่องที่ต้องการตรวจสอบ อาจจ�ำเป็นต้องใช้โปรแกรมอื่นๆ มาเสริม เช่น โปรแกรมดูข้อมูลในไฟล์ โปรแกรมสร้าง hash และโปรแกรมแก้ไขไฟล์ข้อความ เป็นต้น

1 SANS SIFT The SANS Investigative Forensic Toolkit (SIFT) ท�ำงานบนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ผ่านรูปแบบ Live CD (การบูต และท�ำงานบนแผ่น CD) ซึ่งรวบรวมเครื่องมือที่จ�ำเป็นในการตรวจพิสูจน์หรือหาร่องรอยเชิงลึก SIFT รองรับการวิเคราะห์ในรูปแบบ Expert Witness Format (E01) (ส�ำหรับไฟล์), Advanced Forensic Format (AFF) (ส�ำหรับ Disk Image) และ รูปแบบ RAW (dd) Evidence SIFT ได้รวมเครื่องมือ เช่น log2timeline ในการสร้าง Timeline ส�ำหรับบันทึกการท�ำงานของระบบ Scalpel ส�ำหรับการแกะรอยข้อมูล, Fifiuti ส�ำหรับตรวจหาร่องรอยในถังขยะหรือ Recycle bin และอีกมากมาย

ที่มา: SANS Community (2019) ครั้งแรกที่เปิดเครื่องและเข้าระบบได้ แนะน�ำให้อ่านเอกสารที่แสดงไว้บน Desktop ก่อน เพื่อให้คุ้นเคยกับเครื่องมือต่างๆ และวิธีการใช้งาน ซึ่งเอกสารเหล่านี้อธิบายได้ดีในการหาหลักฐานในระบบ ใช้เมนูบาร์ด้านบนเพื่อเข้าถึงเครื่องมือ หรือเรียกใช้ผ่าน Terminal Windows ก็ได้

20

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


คุณสมบัติเด่น - ท�ำงานบนระบบปฏิบัติการ 64 บิต - Update package ที่จ�ำเป็นโดยอัตโนมัติ หรือ เลือกได้ว่าต้องการตัวไหน - ท�ำงานระหว่าง Linux และ Windows ได้ - รองรับระบบไฟล์แบบขยายได้ - สามารถท�ำงานแบบ Live CD หรือติดตั้งลงเครื่องก็ได้

2 CrowdStrike CrowdResponse CrowdResponse คือ แอปพลิเคชันคอนโซลที่มีขนาดเล็ก และสามารถใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์การเผชิญเหตุ เพื่อรวบรวมข้อมูลตามบริบท เช่น ล�ำดับของกระบวนการท�ำงาน ตารางเวลาการท�ำงาน หรือ Shim Cache มีการใช้ลายเซ็น YARA ฝังเข้าไปด้วย จึงสามารถค้นหา Host ที่มี Malware และรายงานกลับถ้าพบว่าติด Malware

ที่มา: GFI Software‘s blog (2019) การสั่ง CrowdsResponse ท�ำงาน ให้ขยายไฟล์ Zip และเรียกใช้ผ่าน Command prompt ด้วยสิทธิ์ระดับ Administrator ให้เข้าสู่ Folder ที่เก็บไฟล์นี้ และพิมพ์ค�ำสั่งให้ท�ำงาน โดยก�ำหนดว่าจะให้ผลลัพธ์ไปเก็บใน Folder ไหน และจะใช้เครื่องมือ อะไรในการเก็บข้อมูล หากต้องการดู Parameter อื่นๆ ก็สามารถพิมพ์ CrowdResponse64.exe เพื่อดูเครื่องมือ (tools) ที่รองรับ และวิธีการใช้งานได้ CrowdsResponse ยังมีเครื่องมือส�ำหรับแปลงข้อมูลจาก xml ไปเป็น csv หรือ html ชื่อ CRConvert.exe ซึ่งเอาข้อมูล ที่ส่งออกมา แปลงเป็นรูปแบบที่ต้องการ คุณสมบัติเด่น - มาพร้อมกับ 3 โมดูล - แสดงรายการไดเรกทอรี โมดูลที่ท�ำงานอยู่ และโมดูลการประมวลผล YARA - แสดงข้อมูลทรัพยากรแอปพลิเคชัน - ตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัลของกระบวนการที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ - สแกนหน่วยความจ�ำ รวมถึงไฟล์โมดูลที่โหลดอยู่ และไฟล์บนดิสก์ของกระบวนการที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ทั้งหมด วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

21


ดิจิทัลปริทัศน์

3 Volatility Volatility เป็นกรอบการท�ำงานในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานในหน่วยความจ�ำหลักของคอมพิวเตอร์ ใช้ส�ำหรับการ ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินและการวิเคราะห์ Malware ต่างๆ โดยจะท�ำการแยกข้อมูลดิจิทัลที่สร้างขึ้นออกจากข้อมูลดิบในหน่วย ความจ�ำหลัก Volatility เราสามารถแยกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ก�ำลังท�ำ แยกหมายเลข Socket ของระบบเครือข่ายที่เปิดใช้งานอยู่ และสามารถเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย แยก DLL ที่เกี่ยวกับแต่ละงานที่ท�ำอยู่ แยกกลุ่ม Registry cache และหมายเลขของงาน ที่ก�ำลังท�ำ และอื่นๆ

ที่มา: GFI Software‘s blog (2019)

ถ้าเรียกใช้งานแบบ Standalone ให้ Copy ไปวางใน Folder ใดๆ และเรียกใช้งานผ่าน Command prompt และพิมพ์ ค�ำสั่ง ดังนี้ volatility-2.x.standalone.exe –f <FILENAME> –profile=<PROFILENAME> <PLUGINNAME>

<FILENAME> <PROFILENAME> <PLUGINNAME>

หมายถึง ชื่อของไฟล์ที่ต้องการจะน�ำมาวิเคราะห์ หมายถึง โปรไฟล์ของเครื่องที่ไปดึงข้อมูลมาเพื่อวิเคราะห์ หมายถึง ชือ่ ของ Plugin เสริมที่ต้องการน�ำมาใช้เพื่อแยกข้อมูลออกมา

หมายเหตุ ตัวอย่างข้างต้น มีการเรียกใช้ Plugin ชื่อ Connscan ในการหาข้อมูลการเชื่อมต่อด้วย TCP จากหน่วยความ จ�ำหลัก คุณสมบัติเด่น - รองรับข้อมูลได้หลายรูปแบบ - ท�ำงานบน Windows, Linux และ MAC - มาพร้อมกับอัลกอริทมึ ทีท่ �ำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในการวิเคราะห์ชอ้ มูลในหน่วยความจ�ำจากระบบทีม่ ขี นาดใหญ่ - API สามารถเพิ่มขยายความสามารถและเขียนเป็น Script ในการเชื่อมต่อเพื่อสร้างเป็นส่วนขยายอื่นๆ ในอนาคตได้

22

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


4 The Sleuth Kit (+Autopsy) The Sleuth Kit เป็นเครื่องมือส�ำหรับตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลที่เปิดเผยรหัสโปรแกรม (Source Code) ที่ สามารถใช้เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกได้กับไฟล์ระบบได้หลายหลายประเภท Autopsy ท�ำงานเป็น GUI ให้กับ Sleuth Kit ในส่วนที่จ�ำเป็น ส�ำหรับการท�ำงาน มาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษ เช่น การวิเคราะห์ตามล�ำดับเวลา (time serial) การกรอง Hash การวิเคราะห์ไฟล์ ระบบ และความสามารถในการค้นหาข้อมูลด้วยค�ำส�ำคัญ และยังสามารถเพิม่ โมดูลอืน่ เพือ่ ให้สามารถใช้งานได้กว้างมากขึน้ ได้อกี ด้วย หมายเหตุ: การใช้งาน Sleuth Kit ท�ำได้บน Linux ส่วน Autopsy ท�ำงานบน Windows

ที่มา: GFI Software‘s blog (2019) เมื่อเรียกใช้ Autopsy ให้เลือกสร้าง Case ใหม่หรือเปิดจากที่มีอยู่แล้วก็ได้ ถ้าเลือกที่จะสร้างใหม่ ก็จ�ำเป็นต้องเปิด image ไฟล์ที่ต้องการจะตรวจพิสูจน์ หรือดูบน disk ได้เลย เพื่อเพิ่มการตรวจวิเคราะห์ เมื่อการวิเคราะห์เสร็จสิ้นลง ให้เลือกว่าจะแสดง ผลลัพธ์อย่างไร โดยเลือกที่หัวข้อที่แสดงอยู่ด้านซ้ายมือของหน้าจอโปรแกรม คุณสมบัติเด่น - แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับระบบผ่านหน้าจอที่เป็น GUI - มีตัวเลือกการวิเคราะห์ Registry ไฟล์ LNK และอีเมล - สนับสนุนไฟล์หลายรูปแบบ - แยกข้อมูลออกจาก SMS บันทึกการโทร บันทึกหมายเลขติดต่อ โปรแกรม Tango และค�ำพูดจากเพื่อนมาวิเคราะห์ได้ เหมือนกัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

23


ดิจิทัลปริทัศน์

5 FTK Imager เป็นเครื่องมือในการดูข้อมูลรูปภาพ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถตรวจสอบไฟล์และ Folder ในฮาร์ดดิสก์ หน่วยเก็บข้อมูลผ่าน ระบบเครือข่าย ข้อมูลในแผ่น CD/DVD และดูเนื้อหาในรูปภาพหรือหน่วยความจ�ำหลัก เพื่อการพิสูจน์พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูล รูปภาพ หมายเหตุ: FTK มี Version ที่สามารถท�ำงานบน USB ไดร์ฟได้ด้วย

ที่มา: GFI Software‘s blog (2019)

24

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


เมื่อเรียกใช้ FTK Imager ไปที่เมนู File -> Add Evidence item.. เพื่อเปิดไฟล์หลักฐานที่จะน�ำมาดู ในการสร้างภาพถ่าย ทางนิติวิทยาศาสตร์ ไปที่เมนู File -> Create Disk Image…’ และเลือกแหล่งของ Image ที่ต้องการจะตรวจพิสูจน์ คุณสมบัติเด่น - มาพร้อมกับความสามารถในการอ่านไฟล์เพื่อใช้ดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ และข้อมูลที่อยู่ภายในไฟล์ - รองรับการเปิดไฟล์ที่เป็นลักษณะ Image - ท�ำงานโดยใช้ประสิทธิภาพของ CPU ในเครื่องอย่างเต็มที่ในการท�ำงานแบบคู่ขนานกัน - เข้าถึงฐานข้อมูลเคสที่ใช้ร่วมกันดังนั้นฐานข้อมูลกลางเดียวก็เพียงพอส�ำหรับเคสเดียว

เอกสารอ้างอิง GFI Software‘s blog, 2019. Top 20 Free Digital Forensic Investigation Tools for SysAdmins – 2019 update. [online]. Available at: https://techtalk.gfi.com/top-20-free-digital-forensic-investigation-tools-for-sysadmins/?fbclid =IwAR0ahSDcRyPO6tLn1E8ifuJ8z_zXE9-ljlIW2VMQGJ3aH3qewcBgh21BAWE, [accessed 11 Febuary 2020]. SANS Community, 2019. Investigate and fight cyberattacks with SIFT Workstation. [online]. Available at: https:// www.sans.org/blog/investigate-and-fight-cyberattacks-with-sift-workstation, [accessed 11 Febuary 2020].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

25


อินโนเทรนด์

วาดภาพบนร่างกาย ป้องกันแมลงดูดเลือด บุญศิริ ศรีสารคาม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 35 หมู่ที่ 3 ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

การศึกษาโดยนักวิจัยจากสวีเดนและฮังการีแสดงให้เห็นว่าแถบสีขาวบนร่างกายช่วย ปกป้องผิวจากการถูกแมลงกัดต่อย ในบรรดาชนพื้นเมืองที่วาดลวดลายบนร่างกายแสดงสีและ เครื่องหมายบนร่างกายช่วยโรคที่มีแมลงเป็นพาหะได้

26

ชุมชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ที่ทาสีบนร่างกายอาศัยอยู่ ในบริเวณที่มีแมลงดูดเลือด ยุงหรือแมงดูดเลือดที่เป็นพาหะน�ำ โรคง่วงหลับ เมื่อแมลงเหล่านี้กัดคนมีความเสี่ยงของแบคทีเรีย ปรสิตและเชื้อโรคอื่นๆ ที่ถูกถ่ายโอนเข้าร่างกาย

เริ่มขึ้นนานก่อนที่มนุษย์จะเริ่มสวมใส่เสื้อผ้า มีหลักฐานทาง โบราณคดีที่พบว่ามีเครื่องหมายบนผนังถ�้ำที่มนุษย์ยุคโบราณ อาศัยอยู่ รูปเหล่านั้นเป็นหลักฐานว่ามีการพูดถึงการทาสีบน ร่างกายด้วยเม็ดสีดิน เช่น ดินเหลืองสด

Susanne Åkesson ศาสตราจารย์ประจ�ำภาควิชา ชีววิทยาของมหาวิทยาลัย Lund กล่าวว่าประเพณีของการวาด ภาพบนร่างกายอาจมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กันในแต่ละทวีป ไม่มีใครรู้ว่าประเพณีนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด โดยภาพวาดบนร่างกาย

ทีมวิจัยได้ทดลองสังเกตว่าลายทางขาวด�ำแบบม้าลาย ช่วยป้องกันแมลงดูดเลือดได้ และเป็นที่รู้กันว่าขนสีอ่อน เช่น ขนของม้า สามารถป้องกันได้ดีกว่าขนสีเข้ม โดยทดลองกับหุ่น พลาสติกขนาดเท่าคนในประเทศฮังการี นักวิจัยได้ระบายสี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


หุ่นจ�ำลองคนพลาสติก 3 แบบ คือ 1) สีเข้ม 2) สีเข้มและลาย ทางอ่อน 3) สีเบจ แล้วก็ทาหุ่นด้วยกาวจับแมลง พบว่า หุ่นสี เข้มดึงดูดแมลงดูดเลือดได้มากกว่าสีลายทางสิบเท่า และหุ่น สีเบจได้มากกว่าสีลายทาง 2 เท่า นอกจากนั้นยังทดลองด้วยว่า

ระหว่างจัดท่าให้หุ่นยืนตั้งกับวางนอนลง แบบไหนดึงดูดแมลง มากกว่ากัน พบว่า หุ่นผู้หญิงเท่านั้นที่ดึงดูดแมลงดูดเลือดในท่า ยืน ส่วนท่านอนดึงดูดแมลงดูดเลือดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เอกสารอ้างอิง Lund University, 2019. Body-painting protects against bloodsucking insects. [online]. Available at: https://www. sciencedaily.com, [accessed 20 February 2019].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

27


อินโนเทรนด์

จะเป็ นไปได้จริงหรือที่จะมี

....ดอกไม้สีน้�ำเงิน? บุญศิริ ศรีสารคาม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 35 หมู่ที่ 3 ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ส่วนใหญ่เราจะเห็นดอกไม้มีสีชมพู เหลือง แดง และน�้ำเงิน มีการศึกษาที่ลองจัดลำ�ดับสีที่พบดอกไม้ ตามธรรมชาติ การทำ�แถบสีของ the Royal Horticultural Society สีน�้ำเงินจะอยู่ที่ code 98-115 ซึ่งในทางฟิสิกส์ สีมีผลกับแสงที่ระยะ 380 ถึง 780 นาโนเมตร

ในพื ช โมเลกุ ล ที่ ดู ด ซั บ แสงที่ ม องเห็ น นั้ น เรี ย กว่ า แอนโทไซยานิดิน (anthocyanidins) พบในช่องว่างแวคิวโอล (vacuole) ของเซลล์ผิวหนังของสิ่งที่ให้สีดอกไม้ : สีน�้ำเงิน สี แดง สีม่วง สีชมพู หรือสีส้ม สีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแอนโทไซยานิดิน เช่น Luteolinidin ส้ม Pelargonidin แดง Cyanidin บานเย็น Delphinidin ม่วง ดังนั้นจึงไม่มีเม็ดสีสีน�้ำเงินจริงๆ ใน “ดอกกุหลาบ สีน�้ำเงิน” แม้จะมีดอกไม้หลายชนิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น (สวนไอริส ลูปิน พืชจ�ำพวกดีมังกร ฯลฯ) ต้นไม้หรือพืชสองปี

28

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

(biennials) เช่น แพนซี ต้นฟอร์เก็ตมีน็อต พิทูเนีย ฯลฯ เช่น เดียวกับไม้เลื้อยจ�ำพวก clematises ที่เป็นสีน�้ำเงิน สีน�้ำเงินเกิดจากการรวมกันหลายอย่างและซับซ้อน ของส่วนก�ำเนิดสี (chromophores) ซึ่งเป็นแอนโทไซยานิดินกับ โมเลกุลอื่นๆ ของเซลล์ผิวหนัง ตัวอย่างเช่น co-pigmentation เป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่างแอนโทไซยานิดินและโมเลกุล ช่องว่างแวคิวโอลอื่นๆ (พอลิฟีนอล) ที่เรียกว่า co-pigments การรวมกันนี้มีประโยชน์ในการป้องกันโมเลกุลของแอนโทไซยานิ ดิ น (anthocyanin chromophore) มิ ใ ห้ เ สี ย หาย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่า pH Co-pigmentation อีกทั้งยัง สามารถกระจายสีด้วย chromophore เดียวกัน เช่น ไซยานิน คลอไรด์ เป็นแอนโทไซยานิดินหลักที่พบในดอกไม้ป่าทั้งสอง (สีน�้ำเงิน) และกุหลาบแดงส่วนใหญ่ แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะมี “ดอกกุหลาบสีน�้ำเงินจริงๆ”


เพื่อให้ได้ดอกกุหลาบสีน�้ำเงิน บริษัท Suntory ซึ่ง เป็นบริษัทย่อยของบริษัท Florigene and Japonese แห่ง ออสเตรเลีย จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของดอก กุหลาบ ซึ่งมีวิธีการประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) บล็อกการผลิตเม็ดสีแดง ด้วยการยับยั้ง dihydroflavonol reductase (DFR) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีแดง โดยใช้กลไกการย่อยสลายกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid หรื อ RNA) ตามธรรมชาติ เมื่ อ ปราศจาก RNA การ ถ่ายทอดค�ำสั่งทางพันธุกรรมจาก DNA ไปยังไรโบโซมจะท�ำให้ โปรตีนไม่สามารถผลิตเม็ดสีแดงได้อีกต่อไป 2) รวมล� ำ ดั บ ดี เ อ็ น เอของ Viola Viola tricolor hortensis ซึ่ ง เป็ น รหั ส ส� ำ หรั บ delphinidin ซึ่ ง เป็ น เม็ ด สี สีน�้ำเงินเข้าสู่รหัสพันธุกรรมของดอกกุหลาบ 3) ผลิตเม็ดสีสีน�้ำเงิน ในขั้นตอนสุดท้ายขั้นตอนส�ำคัญ คือ ท�ำให้ยีนที่เข้ารหัส DFR ของดอกกุหลาบนั้นถูกแทนที่ด้วย ยีน iris ซึ่งเป็นรหัสส�ำหรับ DFR ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเม็ดสี สีน�้ำเงิน และเพื่ อ ปรั บ แต่ ง เทคนิ ค นี้ บริ ษั ท Florigene and Suntory ได้ ป รั บ เปลี่ ย นรหั ส พั น ธุ ก รรมในลั ก ษณะที่ ค่า pH ของกลีบยังคงความเป็นกรดเพียงพอที่จะไม่ท�ำให้เม็ด สีน�้ำเงินเปลี่ยนสี “กุหลาบสีน�้ำเงิน” นับเป็นแห่งแรกของทีม Florigene-Suntory ส�ำเร็จในเดือนมิถุนายน 2547 นับตั้งแต่

นั้นนักวิจัยได้สร้างเสริมกระบวนการอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ได้ ใกล้ชิดกับดอกกุหลาบสีน้�ำเงิน และจะเริ่มวางขายในญี่ปุ่นเป็น แห่งแรก ในขณะเดียวกัน กุหลาบของ Pacific Dream® เพิ่งได้ รับรางวัลในระหว่างการแข่งขัน Innovert ในประเภทเนิร์สเซอรี ในฐานะพืชแปลกใหม่ สีม่วง lilac-purple ที่เป็นเอกลักษณ์ พัฒนาไปสู่โทนสีน�้ำเงินที่มีกลิ่นหอมแบบดั้งเดิม และผสมสีม่วง และมะนาว ซึ่งผู้ผลิตทั้งสองจะพาเราไปอีกขั้นหนึ่งเพื่อใกล้ชิด กับดอกกุหลาบสีน�้ำเงินอย่างแท้จริง โดยใช้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ดอก กุหลาบขยายพันธุ์ต่อไป

สีม่วง lilac-purple โดย Pacific Dream®

เอกสารอ้างอิง American Chemical Society. 2018. Floral blues ?. [online]. Available at: http://roseraieduvaldemarne.com, [accessed 25 March 2019]. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

29


วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต

โควิด-19ไวรัส วายร้าย บุญเรียม น้อยชุมแพ และชลธิชา นิวาสประกฤติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 35 หมู่ 3 ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

สถานการณ์รอบโลกขณะนี้ ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่แพร่ระบาดหนักทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือนว่า โรคโควิด-19 กำ�ลังมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะแพร่ ระบาดไปทั่วโลก หลังมีการลุกลามข้ามไปยังเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกา ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ไวรัสอุบัติใหม่ เป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง เป็นไวรัสโคโรนาตัวที่ 7 อุบัติ ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ซึ่งได้มีการ ถอดรหัสพันธุกรรมสำ�เร็จใน วันที่ 11 มกราคม 2563

ในเวลาต่อมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งชื่อ ใหม่อย่างเป็นทางการแล้วว่า COVID-19 “โควิด-ไนน์ทีน” ซึ่ง CO ย่อมาจาก Corona, VI ย่อมาจาก Virus, D ย่อมาจาก Disease และตัวเลข 19 มาจากปี ค.ศ. 2019 เป็นปีที่มีรายงานการ แพร่ระบาดไวรัสเป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเรียกชื่อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโรคไข้ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากไวรัส ชนิดนี้หลายชื่อ เช่น ไข้อู่ฮั่น ไวรัสจีน หรือไข้หวัดค้างคาว ซึ่ง ล้วนแต่สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการป้องกันและ รักษาโรคดังกล่าว

30

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

ที่มาของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่ระบาดติดต่อมาจาก สัตว์ และสามารถติดต่อผ่านคนสู่คนได้หลายทาง เป็นไวรัส สายพั น ธุ ์ ใ หม่ เ ช่ น เดี ย วกั น กั บ ไวรั ส ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด โรคทางเดิ น หายใจอักเสบ มีได้ทั้งแบบไม่แสดงอาการ (เป็นส่วนใหญ่) และ แสดงอาการทางเดินระบบหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน จนถึง ปอดบวมและโรคแทรกซ้อน (เป็นส่วนน้อย) เชื้อไวรัสโควิด-19 ชนิดนี้ ได้เริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน อาจจะเริ่มต้นที่ค้างคาว


ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และแพร่ขยายไปยังสัตว์อีกพันธุ์ หนึ่ง ต่อจากนั้นก็แพร่ขยายติดต่อถึงผู้คนที่เข้าใกล้ชิดสัตว์เหล่า นั้น เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ปรับตัวเข้ากับมนุษย์ และในขณะนี้ได้ แพร่ระบาดขยายออกเป็นวงกว้าง คือจากคนหนึ่งไปยังอีกคน หนึ่ง เชื้อไวรัสโควิด -19 ในมนุษย์ตามปกติแล้วแพร่ขยายจากผู้ ที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ใกล้ชิด โดยทางละอองที่มีเชื้อโรค แพร่ออกโดยการไอหรือจาม หรือโดยการสัมผัสมือที่ติดเชื้อโรค หรือพื้นผิวหรือวัตถุที่ติดเชื้อโรค ส�ำหรับไวรัสโควิด-19 เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ก�ำลังระบาด ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อการระบาดติดต่อระหว่างคน กับคนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อก่อนเราได้รู้จักไวรัสในตระกูลนี้ มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง คือ โรค ซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) มีเชื้อ โรคสาเหตุใกล้เคียงกันกับไวรัสโควิด-19 ที่พบอยู่บนพื้นผิวต่างๆ เช่น โลหะ แก้ว และพลาสติก ได้นานหลายวัน อาจถึง 9 วัน ส่วน เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 มีเวลาที่อยู่บนผิวสัมผัส เช่น กระดาษ และพลาสติก ใช้เวลาแตกต่างกัน หากเชื้อโรคอยู่บนผิว เช่น พลาสติก เหรียญ เชื้อโรคอยู่ได้ถึง 9 วัน แต่ถ้าเป็นธนบัตรที่ใช้ หมุนเวียนเปลี่ยนมือมาอยู่ในธนาคาร และกว่าจะส่งธนบัตรแจก จ่ายออกไปนั้น เชื้อโรคจะติดอยู่ธนบัตรเป็นเวลา 9-14 วัน เชื้อ ก็จะตาย ซึ่งขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีชีวิตอยู่บนผิวได้เพียง 48 ชั่วโมง เท่านั้น

ระยะฟักตัวและการแพร่ของเชื้อ เชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน บางครั้งอาจมีระยะฟักตัว (ที่ได้รับเชื้อมาแล้วแต่ยังไม่แสดง อาการ) ยาวนานถึง 14 วัน และสามารถแพร่เชื้อในระยะฟักตัว ได้ ซึ่งผู้ป่วยหลายรายส่วนมากติดเชื้อจากผู้ที่มีอาการแล้ว และ ผู้ป่วยจ�ำนวนน้อยมากอาจติดเชื้อก่อนที่จะปรากฏอาการ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามมาด้วยอาการไอ แห้งๆ มีเสมหะ อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์ จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการ ปอดบวมอั ก เสบร่ ว มด้ ว ย หากอาการรุ น แรงมากอาจท� ำ ให้ อวัยวะภายในล้มเหลว กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะน�ำว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือพื้นที่เสี่ยง การระบาดของโรค ได้มีอาการไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน�้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที ส่วนความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับอายุ โดยในเด็ก ความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ หรือ กล่าวได้ว่า ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามอายุนั่นเอง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

31


วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต

เป็ น จ� ำ นวนมาก ควรหลี ก เลี่ ย งออกสั ง คมนอกบ้ า น งดการ พบปะสังสรรค์ สถานที่ประกอบการ โรงงาน สถานที่ชุมนุม ชน โรงมหรสพ สถานศึกษา พยายามหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ แออัดหรือคนพลุกพล่าน เนื่องจากการติดเชื้อในทางอากาศจะ กระจายได้มากกว่าการติดเชื้อด้วยการสัมผัสละอองฝอย การดูแลรักษาและป้องกัน การดูแลรักษาจะรักษาตามอาการของโรค ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัสใช้รักษาเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ไม่มีวัคซีนใน การป้องกัน ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย จะช่วยลดความเสี่ยง การติดเชื้อไวรัสจากการไอหรือจาม และติดเชื้อจากมือสู่ปากได้ ผู ้ ที่ ก ลั บ จากประเทศกลุ ่ ม เสี่ ย งหรื อ พื้ น ที่ เ สี่ ย งไวรั ส ในระดับหนึ่ง การปิดปากเมื่อไอจาม หรือจามไม่ควรใช้มือปิด “โควิด-19” สายพันธุ์ใหม่ ระบาด ควรปฏิบัติตัวดังนี้ จมูก ควรใช้ต้นแขนเสื้อผ้าเรา ปิดปากและจมูก เพราะการใช้ มือเราอาจจะใช้มือไปจับต้องสิ่งของสกปรก เช่น ในรถไฟฟ้า รถ 1. ระหว่างเดินทางจากสนามบินกลับถึงบ้าน ควรสวม ตู้สาธารณะ รถประจ�ำทาง ก็จะแพร่กระจายโรคทางระบบทาง หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 2. การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีระยะฟักตัว (เราได้ รับเชื้อมาแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ) ยาวนานถึง 14 วัน (ล่าสุด อาจนานได้มากถึง 27 วัน) ดังนั้นจึงควรกักตัวเองอยู่แต่ใน บ้าน ไม่ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก (แม้ว่าจะไม่มีอาการไข้หวัดหรือ อาการผิดปกติใดๆ เลยก็ตาม) ให้แน่ใจว่าไม่มีอาการคล้ายไข้ หวัดใดๆ เกิดขึ้น จึงค่อยกลับมาท�ำงาน หรือใช้ชีวิตตามปกติ 3. ระหว่างที่พักอยู่ที่บ้าน ควรหลีกเลี่ยงการชุมนุม สังสรรค์กับคนหมู่มาก ทั้งเครือญาติหรือกลุ่มเพื่อนต่างๆ 4. ควรแยกอยู่คนเดียวปลอดภัยที่สุด ใช้ห้องน�้ำส่วน ตัวคนเดียว อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1.5-2 เมตร ขณะนี้ ส ถานการณ์ ก ารแพร่ ร ะบาดของโรคไวรั ส โควิด-19 อยู่ในระดับโรคระบาดในวงกว้าง คือ ประชากรทั้ง โลกมีความเสี่ยงติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 นั้น และล้มป่วย

32

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


เดินหายใจได้ ควรใช้แอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อ ประตู ลูกบิด โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องใช้ต่างๆ หรือแอลกอฮอล์เจลท�ำความสะอาดมือ และ ควรล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ล้างมือทุกครั้งให้นานกว่า 20 วินาที เป็นต้น ไม่เอามือที่ยังไม่ล้างไปสัมผัสปากและดวงตา จะช่วยลด ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดิน หายใจได้ และที่ส�ำคัญต้องให้ความส�ำคัญดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ที่ไม่สบายเป็นโรคทางเดินหายใจ ควรสวมใส่ หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ส�ำหรับคนปกติ ควรใช้เมื่อไปที่ชุมชน บนรถโดยสารประจ�ำทาง รถไฟฟ้า หรือพบปะคนจ�ำนวนมาก อย่าลืมแนะน�ำให้คนรอบข้างใส่ใจสุขภาพ เท่านี้ก็ถือ เป็นการสร้างเกราะป้องกันจากไวรัสได้ในระดับหนึ่งแล้ว ส่วน ผู้ที่มีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศ ที่มีไวรัสระบาด สามารถโทรแจ้งสายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

เอกสารอ้างอิง บีบีซี ไทย. 2563ก. โคโรนา: หน้ากากอนามัยช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้หรือไม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก. https:// www.bbc.com/thai/international-51219048, [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563]. บีบีซี ไทย. 2563ข. ไวรัสโคโรนา: ที่มาอาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19 หลังการระบาดเข้าเดือนที่ 3. [ออนไลน์]. เข้า ถึงได้จาก. https://www.bbc.com/thai/features-51734255. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563]. บีบีซี ไทย. 2563ค. ไวรัสโคโรนา: WHO เตือนโอกาสในการสกัด COVID-19 ก�ำลัง “หดแคบลง” หลังระบาดไปยุโรป-ตะวันออกกลาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-5161675824, [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563]. ยง ภู่วรวรรณ. 2563. โรคโควิด-19 ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่. หมอชาวบ้าน, 41(491), หน้า 12-17. Health Protection NSW, 2563. เกี่ยวกับโนเวล coronavirus (COVI 19) (โคโรนาไวรัส). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https:/www. health.nsw.gov.au/Infectious/diseases/Pages/coronavirus-faqs-th.aspx, [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2563]. Krungsri Plearn Plearn, 2560. 4 เรื่องต้องรู้ รับมือกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/corona-virus-survival.html, [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2563].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

33


เกร็ดเทคโน

เทคนิคการทดสอบถังลมด้วยแรงดันน�้ำ ศิวะ สิทธิพงศ์ และ ดนัย ใจเมตตา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ภาชนะรับแรงดันคือ ภาชนะบรรจุที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ เป็นภาชนะปิดที่มีความดันภายในและภายนอกแตก ต่างกันมากกว่า 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน�้ำทะเล และเป็นถังปฏิกิริยา การใช้แรงดันน�้ำอัดใส่ถังลมมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบสภาพของถังลมซึ่งเป็นถังรับแรงดันว่าสามารถทนการใช้งานที่ความดันใช้งานได้หรือไม่ โดยทดสอบที่ 1.5 เท่า ของ ความดันออกแบบ หากรับแรงดันแล้วถังมีน�้ำรั่ว ปริแตก แสดงว่าถังไม่พร้อมใช้งาน ขั้นตอนการทดสอบถังลมดังนี้ 1. น�ำถังลมในรูปที่ 1 มาอุดทางน�้ำออกทั้งหมด เว้นไว้แต่ช่องอัดน�้ำ กับช่องเติมน�้ำ

ช่องเติมน�้ำ

ทางออกน�้ำ 1

ช่องอัดน�้ำ

ทางออกน�้ำ 2 ทางออกน�้ำ 3

ทางออกน�้ำ 4

รูปที่ 1 ถังลมและทางน�้ำออก

34

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


2. ท�ำการเติมน�้ำให้เต็มถังและปิดฝาช่องเติมน�้ำให้สนิท 3. น�ำหัวอัดน�้ำอัดเข้าทางช่องอัดน�้ำ ดังแสดงในรูปที่ 2

ปิดฝาช่องเติมน�้ำ

อัดน�้ำเข้าช่องอัดน�้ำ

รูปที่ 2 การอัดน�้ำเข้าถัง

4. เปิดวาล์วน�้ำ วาล์วลม ปั๊มน�้ำท�ำงาน เกจวัดความดันท�ำงาน 5. ค่อยๆ ปรับตั้งค่าความดัน โดยอ่านค่าจากเกจวัดความดัน กระทั่งถึงความดันทดสอบ ดังแสดงในรูปที่ 3 6. แช่ความดันทดสอบไว้ 30 นาที หากถังรั่วหรือปริแตกคือไม่ผ่าน ถ้าถังคงสภาพปกติคือผ่าน 7. เปิดวาล์วปล่อยความดันที่ค้างในถังออกให้เป็นศูนย์ ดังแสดงในรูปที่ 4

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

35


เกร็ดเทคโน

เกจความดัน

รูปที่ 3 ปรับตั้งความดัน

สวิตช์ปรับแรงดัน

วาล์วระบายความดัน รูปที่ 4 ระบายแรงดัน

36

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563


8. ถอดหัวอัดน�้ำออก และทดสอบถังต่อไปตามวิธีการเดิม 9. เมื่อทดสอบครบทุกถังแล้ว ให้ปิดวาล์วน�้ำ วาล์วปั๊มลม ให้เรียบร้อย หมายเหตุ: กรณีตัวอย่างเป็นการทดสอบตามความต้องการของลูกค้า จ�ำนวนถังทดสอบ 5 ใบ แต่หากเป็นการทดสอบตาม มอก. จ�ำนวนตัวอย่างถังทดสอบต้องเป็นไปตาม มอก. ก�ำหนด และทุกถังทดสอบผลการทดสอบต้องผ่านเกณฑ์ก�ำหนด คิดเป็นร้อยละร้อย ของถังตัวอย่างทดสอบ ในกรณีที่ได้ท�ำการตรวจสอบหรือทดสอบแล้วมีการรั่วซึมให้ตรวจหาจุดรั่วซึม ถ้าพบจุดรั่วซึมที่ถังให้ด�ำเนินการตรวจสอบ ความหนาของผนังถังและตรวจสภาพแนวเชื่อมโดยรอบถัง เว้นแต่จุดรั่วซึมมีขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์การพิจารณา ไม่ต้องตรวจสอบ ความหนาของผนังถัง

บทสรุป การทดสอบถังลมด้วยแรงดันน�้ำ (Hydrostatic test) เป็นการทดสอบแบบท�ำลายวิธีการหนึ่ง ถูกใช้ทดสอบความแข็งแรงของถังแรงดันหลายประเภทและหลายขนาด ความดันทดสอบส่วนใหญ่ใช้ที่ 1.5-2 เท่าของแรงดันใช้งาน การใช้งานที่ไม่ถูกวิธี สามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ระดับความรุนแรงตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยถึงขั้นเสียชีวิต หัวใจส�ำคัญของการทดสอบด้วยแรง ดันน�้ำ คือช่วงของการเพิ่มแรงดัน ควรปรับแรงดันขึ้นเป็นสเตป ตามระยะเวลาที่เหมาะสม และสังเกตพฤติกรรมของถังขณะปรับ เพิ่มแรงดันทดสอบให้ดี อย่างไรก็ตามการทดสอบถังแรงดันด้วยแรงดันน�้ำมีความปลอดภัยกว่าการทดสอบด้วยแรงดันลม ที่เมื่อเกิด อุบัติเหตุจะส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายได้มากกว่า

เอกสารอ้างอิง American Petroleum Institute, 2003. API 653: Tank Inspection, Repair, Alteration and Reconstruction 2003. [online]. Available at: https://law.resource.org /pub/us/cfr/ibr/ 002/api.653.2003.pdf, [accessed 07 June 2019]. American Society for Nondestructive testing, 2011. Recommended Practice No. SNT-TC-1A, Available at: https:// inspectortrainingacademy. learningcart.com/uploads/ SNT_TC_1A_2011.pdf, [accessed 07 June 2019]. American Society for Nondestructive testing, 2011. ANSI/ASNT CP-189-2011. ASNT Standard for Qualification and Certification of Nondestructive Testing Personnel, Available at: https://inspectortrainingacademy. learningcart.com/uploads/CP-189_2011.pdf, [accessed 07 June 2019].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

37


แวดวงวิจัย/บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรการการใช้ประโยชน์ จาก

กัญชง กัญชา

มนฤดี ไชยสูรยกานต์ และกรรณิกา อังคาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

เรารู้จักกัญชง-กัญชา กันแล้วหรือยัง กัญชง (hemp) และกัญชา จัดอยู่ในสกุล Cannabis วงศ์ Cannabaceae ที่พบบ่อย มี 3 สายพันธุ์ คือ Cannabis sativa (กัญชง) Cannabis indica (กัญชา) และ Cannabis

38

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

rudealis เนื่องจากทั้งกัญชงและกัญชาอยู่ในสกุลเดียวกัน ดัง นั้นลักษณะสัณฐานวิทยา (morphology) จึงมีความแตกต่าง กันน้อยมาก ซึ่งสามารถแสดงความแตกต่างได้ ดังแสดงใน ตารางที่ 1 และรูปที่ 1-2


ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาระหว่างกัญชงและกัญชา กัญชง (hemp)

กัญชา

1. ล�ำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร

1. ลำ�ต้นสูงน้อยกว่า บางชนิดเป็นพุ่มเตี้ย

2. ใบเรียว การเรียงตัวค่อนข้างห่าง และมีทรงพุ่มโปร่ง

2. ใบหนากว้าง การเรียงตัวชิดกัน และมีทรงพุ่มแน่นทึบ

3. แตกกิ่งก้านน้อย

3. แตกกิ่งก้านมาก

4. ปล้องหรือข้อยาว

4. ปล้องหรือข้อสั้น

5. เปลือกหนา เหนียว ลอกง่าย

5. เปลือกบาง ไม่เหนียว ลอกยาก

6. ใบสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกโค้ง

6. ใบสีเขียว-เขียวจัด ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกเรียวยาว

7. เส้นใยยาว คุณภาพสูง

7. เส้นใยสั้น คุณภาพต�่ำ

8. เมื่อออกดอก มียางที่ช่อดอกไม่มาก

8. เมื่อออกดอก มียางที่ช่อดอกมาก

9. ออกดอกเมื่ออายุมากกว่า 4 เดือน

9. ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน

10. ใบและช่อดอกนำ�มาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย

10. ใบและช่อดอกนำ�มาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง

11. เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวหยาบด้าน และมีลายบ้าง

11. เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวมันวาว และมีลายมาก

12. การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวแคบ เพราะ ต้องการเส้นใย

12. การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวกว้างเพราะ ต้องการใบและช่อดอก

ที่มา: กัญชง-กัญชา และประวัติความเป็นมา (2562), มนทิรา สุขเจริญ และพันธวัศ สัมพันธ์พาณิช (2562), ปาริชาติ พจนศิลป์ (2562)

ที่มา : Leafly (2019) รูปที่ 1 ลักษณะใบของกัญชง (ซ้าย) กัญชา (กลาง) และสายพันธุ์ Cannabis rudealis (ขวา)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

39


แวดวงวิจัย/บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มา : Leafly (2019)

รูปที่ 2 ความแตกต่างระหว่างช่อดอกของกัญชง (ซ้าย) กัญชา (กลาง) และสายพันธุ์ Cannabis rudealis (ขวา)

นอกจากนี้ยังพบสารส�ำคัญหลักๆ ทั้งในกัญชงและ กัญชาที่โดดเด่นและมีผลงานวิจัยที่ส�ำคัญทางการแพทย์ 2 ชนิด ได้แก่ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) และสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) กัญชงจะมีสาร CBD มากกว่ากัญชา และมีสาร THC น้อยกว่า กัญชา ในทางกฎหมายสากลก�ำหนดว่าพืชที่ให้ปริมาณ THC น้อยกว่า 0.3% ไม่ถือว่าเป็นพืชเสพติด ปัจจุบันในต่างประเทศมี การอนุญาตให้ปลูกกัญชงหรือเฮมพ์ได้อย่างถูกกฎหมายแต่ต้อง ควบคุมไม่ให้มีสาร THC สูงกว่าปริมาณที่ก�ำหนด ซึ่งกฎหมาย แต่ละประเทศจะก�ำหนดไม่เท่ากัน เช่น ประเทศในยุโรปก�ำหนด ให้มี THC ในกัญชงได้ไม่เกิน 0.2% เป็นต้น สาร THC ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อเข้าสู่ ร่างกายแล้วท�ำให้มีอาการเคลิ้มจิต (euphoric “high”) โดย ในขั้นต้นๆ มักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท และบางคนจะมี อาการตึงเครียดทางใจหรืออาการกังวล ต่อมาก็มีอาการเคลิ้ม จิตเคลิ้มใจ ท�ำให้ผู้เสพรู้สึกว่าบรรยากาศทั่วไปเงียบสงบ จาก

40

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

นั้นมักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยว สงบ อาการแบบนี้เรียกว่าอาการบ้ากัญชา นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ ต้านอาการปวดและลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยที่ใช้สาร สกัดกัญชาที่มี THC ในขนาดสูงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจ ท�ำให้เกิดการดื้อยา และต้องเพิ่มปริมาณการใช้มากขึ้น ซึ่งเป็น สาเหตุของการเสพติดในที่สุด ส่วนอาการอื่นที่พบ คือ ผู้เสพจะ ล่องลอย ปากแห้ง สับสน อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดง ในขณะที่เสพยา ในขณะเดียวกันสาร CBD ไม่มีฤทธิ์เสพติดทาง จิตใจ สามารถต้านฤทธิ์เมาเคลิ้มของ THC ได้ นอกจากนี้ CBD มี ฤทธิ์ระงับอาการวิตกกังวลและมีฤทธิ์ต้านการชัก อย่างไรก็ตาม CBD สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ดังนั้น ผู้ ป่วยที่ใช้สาร THC เพื่อลดอาการคลื่นไส้ หากได้รับสารสกัด กัญชาชนิดที่มี CBD สูงจะท�ำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเพิ่มขึ้น ได้ (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2562) ปัจจุบันกัญชา ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ hybrid ซึ่งเป็นสายพันธุ์ผสมและให้ ผลผลิตสูง


การนำ�กัญชง-กัญชาไปใช้ประโยชน์

ส่วนกัญชานิยมน�ำมาสกัดและน�ำไปใช้ทางด้านการ แพทย์ มีหลักฐานทางวิชาการที่มีคุณภาพสนันสนุนว่าการใช้ กัญชงเป็นพืชที่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุก ผลิตภัณฑ์กัญชาการแพทย์ ได้แก่ 1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบ�ำบัด ส่วน ตั้งแต่เปลือกจนถึงเมล็ด โดยเปลือกจากล�ำต้นให้เส้นใย 2. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยา นิยมน�ำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เนื้อของ ล�ำต้นที่ลอกเปลือกออกน�ำมาผลิตเป็นกระดาษ แกนของต้นน�ำ รักษา 3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาท ไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลและเฟอร์นิเจอร์ เมล็ดกัญชงน�ำมา เสื่อมแข็ง สกัดเอาน�้ำมันมาใช้ด้านอาหารหรือเครื่องส�ำอาง 4. ภาวะปวดประสาท

มาตรการการใช้ประโยชน์จากกัญชง กัญชาในไทย

กรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ทางการ แพทย์ด้วย ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท  แพทย์สามารถสั่งใช้ในผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นได้ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ห้ามไม่  ผู้ป่วยสามารถใช้เพื่อการรักษาโรคได้ ภายใต้ ให้ผู้ใดเสพหรือน�ำไปใช้ในการบ�ำบัดรักษาผู้ป่วยหรือน�ำไปใช้ เงื่อนไข - การน�ำติดตัวเข้ามาในหรือออกนอกราชาณาประโยชน์ในทางการแพทย์และยังก�ำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ ครอบครองด้วย จากสถานการณ์ปัจจุบันได้มีผลการวิจัยว่าสาร จักร ไม่เกินปริมาณที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมี สกัดจากกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ จึงได้มีการประกาศ ใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของแพทย์ผู้ให้การรักษาและต้องได้ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ในวันที่ รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต - การครอบครอง ไม่ เ กิ น ปริ ม าณที่ จ� ำ เป็ น 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (ปวีณา ชาติรังสรรค์ 2562) มีสาระ ส�ำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรอง ที่น่าสนใจ คือ 1. กัญชายังคงถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ของแพทย์ผู้ให้การรักษา - การเสพ สามารถท�ำได้เมื่อเป็นการเสพเพื่อ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่นเดิม 2. การผลิต น�ำเข้า ส่งออก จ�ำหน่าย ครอบครอง เสพ การรักษาโรคตามค�ำสั่งแพทย์ หรือเป็นการเสพเพื่อการศึกษา วิจัย ทั้งนี้ ต�ำรับยาที่เสพได้ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศ ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ยังคงผิดกฎหมาย 3. พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่อนปรนให้มีการใช้ยาเสพติดให้ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดต�ำรับยาเสพติด โทษประเภท 5 เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และ ให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษา วิทยาศาสตร์เท่านั้น กล่าวคือ ก�ำหนดเงื่อนไขการขออนุญาต โรคหรือการศึกษาวิจัยได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และประกาศ ผลิต น�ำเข้า หรือส่งออก ให้กระท�ำได้เฉพาะในกรณีจ�ำเป็นเพื่อ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการ 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562) ศึกษาวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชย-

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

41


แวดวงวิจัย/บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมายเหตุ : แพทย์ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้าน ทั้งนี้แพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศก�ำหนดโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ (ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยและหมอพื้ น บ้ า นตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยวิ ช าชี พ การ แพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายต�ำรับยาที่มีกัญชา ปรุงผสมอยู่ได้ พ.ศ. 2562)  นักวิจัยสามารถท�ำการศึกษาได้ 4. กรณีกัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีช่ือทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp.sativa และมีลักษณะตามที่คณะ กรรมการก�ำหนดโดยประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา ซึ่งได้น�ำไป ใช้ประโยชน์ตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ให้กระท�ำได้เมื่อได้ รับอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2561) 5. ก�ำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตผลิต น�ำเข้า ส่งออก จ�ำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 5 ได้ มี 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ มี ห น้ า ที่ ศึ ก ษาวิ จั ย หรื อ จัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรื อ เกษตรศาสตร์ หรื อ มี ห น้ า ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารทางการแพทย์ เภสั ช ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ หรื อ มี ห น้ า ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารทาง เกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไข

ปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย 2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผน ไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขก�ำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ 3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ 4) เกษตรกรที่ ร วมกลุ ่ ม เป็ น วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตาม กฎหมายและด�ำเนินการภายใต้ความร่วมมือและก�ำกับดูแลของ หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา ตามข้อ (1) หรือ (3) ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถร่วมผลิตและพัฒนาสูตรต�ำรับยาแผน โบราณหรือยาสมุนไพรได้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ภายใต้ ความร่วมมือและก�ำกับดูแลของผู้ขออนุญาตตามข้อ (1) หรือ (3) ด้วย 5) ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ 6) ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจ�ำเป็น ต้องพกติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้ รักษาโรคเฉพาะตัว 7) ผู้ขออนุญาตอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีโดยความเห็น ชอบของคณะกรรมการก�ำหนดในกฎกระทรวง

ให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ต่อมาก็มี “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพ ติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562” มีผลบังคับใช้ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สาระส�ำคัญคือแก้ไขความในล�ำดับที่ 1 กัญชาและเพิ่มความในล�ำดับที่ 5 กัญชง ในบัญชีท้ายประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นการรักษาเริ่มต้น แนะน�ำให้ใช้ ผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นการรักษาเสริมหรือควบรวมกับการรักษา ตามมาตรฐาน ส่วนผลข้างเคียงนั้น ก่อนการใช้ควรแนะน�ำ ให้ปรึกษากับผู้ป่วยถึงประโยชน์และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ กัญชา และอยู่ในการดูแลของแพทย์

ทั้งนี้การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในการรักษานั้นไม่แนะน�ำ

42

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

หลังจากที่ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติด


เอกสารอ้างอิง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค�ำแนะน�ำการใช้กัญชาทางการแพทย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dms.moph. go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม 2562]. การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายต�ำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้ พ.ศ. 2562” (2562, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษที่ 94ง. หน้า 11. กัญชง-กัญชา และประวัติความเป็นมา. 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/ncsmi/hemp7/กัญชงกัญชา.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดต�ำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือ การศึกษาวิจัยได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562” (2562, 8 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 199ง. หน้า 11. “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562” (2562, 30 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 218ง 30 ส.ค. 62. หน้า 1-3. ปวีณา ชาติรังสรรค์. 2562. มาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ (ตอนที่ 2). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://nctc.oncb.go.th/download/article/article_20190819115628.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 26 สิงหาคม 2562]. ปาริชาติ พจนศิลป์. 2562. เฮมพ์ หรือ กัญชง พืชเส้นใยคุณภาพ...ต่อยอดสู่พืชเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www. doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2019/01/บทความ เฮมพ์หรือกัญชง-พืชเส้นใยคุณภาพ.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. “พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7)” (2562, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 19ก. หน้า 1-15. มนทิรา สุขเจริญ และพันธวัศ สัมพันธ์พาณิช. 2562. จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”. วารสาร สิ่งแวดล้อม, 23(3). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6131/256, [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2561. คู่มือ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการก�ำกับ ดูแล ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ (Hemp) .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/EBook/K61_STAFFYSHemp5. pdf, [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2562]. Leafly. 2019. [online]. Available at: https://www.leafly.com, [accessed 23 August 2019].

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

43


นานานิวส์

วว. วิจัยพัฒนาเทคโนโลยี

การผลิตกล้วยไข่จังหวัดกำ�แพงเพชร “พันธุ์เตี้ย ล�ำต้นแข็งแรง ปลูกชิดได้มากขึ้น ให้ผลผลิตเร็ว” ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 35 หมู่ที่ 3 เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดออกหน่อ บางชนิด ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็น กาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำ�ต้น ออกดอกที่ปลาย ลำ�ต้นเป็นปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวีๆ รวมเรียกว่า เครือ

จังหวัดก�ำแพงเพชรถูกขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วย ไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัด เป็ น กล้ ว ยไข่ ที่ อ ร่ อ ยขึ้ น ชื่ อ ที่ สุ ด จนเป็ น ที่ รู ้ จั ก โดยทั่ ว ไป แต่ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ แต่ก็ ยังมีผู้ที่อนุรักษ์สืบสานปลูกกล้วยไข่ต่อไปอีก โดยเฉพาะกล้วย ไข่พันธ์แท้ของจังหวัดก�ำแพงเพชร กระจายไปตามอ�ำเภอต่างๆ เดิมจังหวัดก�ำแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มาก ถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ ปัจจุบันลดลงมาเหลือน้อยกว่า 4,000 ไร่ โดยกระจายอยู่ใน เขตอ�ำเภอเมือง อ�ำเภอคลองขลุง อ�ำเภอโกสัมพี และอ�ำเภอ คลองลาน แต่ยังสามารถท�ำเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต�่ำกว่า 60 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงเนื่องมาจากพายุ ฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือน เมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาค ต่างๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวง อาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร

44

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

ท�ำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และตอนบนของภาคกลาง อากาศที่อยู่ใกล้พื้นผิว จะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลม ใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีน จะท�ำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน การหมุนเวียนของอากาศ จึงแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนองอย่างแรง มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่ารวมอยู่ ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฝนฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นและพายุดังกล่าวเป็นพายุที่พัดมาไม่มี ทิศทาง ยากที่จะป้องกัน โดยจะมีพายุสองช่วงคือ ช่วงต้นฤดูฝน ในเดือนมีนาคม และช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม จึงท�ำให้ ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิต ปีละครั้ง ถ้าเสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืช อื่นทดแทน พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของจังหวัดก�ำแพงเพชรจึงลดลง อย่างมาก


ความเสียหายของกล้วยไข่จากพายุหมุนฤดูร้อน

กล้วยไข่ก�ำแพงเพชร เป็นกล้วยพันธุ์พื้นเมืองที่มี คุณภาพดี มีต้นเล็ก สูงประมาณ 2-3 เมตร ผลไม่เล็กไม่ใหญ่ เปลือกบาง ผิวเมื่อสุกแล้วมีสีเหลืองสดใส เมื่อแก่จัด ผิวจะ ตกกระเป็นจุดสีน�้ำตาลด�ำ รสชาติหวาน วัดได้ประมาณ 24 องศาบริกซ์ ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือก บางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก ผิดกับพันธุ์อ่ืนซึ่งมีผลใหญ่กว่า จึงเหมาะกับการส่งออก แต่มีรสชาติสู้กล้วยไข่ก�ำแพงเพชรไม่ ได้ ดังนั้น เกษตรกรจึงพยายามอนุรักษ์และสืบสานให้เป็นพืช อัตลักษณ์คู่จังหวัดก�ำแพงเพชรต่อไป สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แ ห่ ง ประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา วิ ท ยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับงบประมาณในการด�ำเนินการ

โครงการการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร ภาคเหนือ (กล้วยไข่) และได้รับทราบถึงปัญหาการเสียหาย จากลมพายุ และมุ ่ ง หวั ง ที่ จ ะท� ำ การเพิ่ มคุ ณ ภาพและผลผลิต กล้วยไข่ก�ำแพงเพชร จึงได้ท�ำการทดลองเพื่อลดความสูงของ กล้วยไข่จากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชผสม น�้ำราดที่โคนกล้วยไข่อายุ 4 เดือน อัตราห้ากรัมต่อต้น ซึ่งสาร ดังกล่าวสามารถลดความสูงของกล้วยไข่ลงได้ประมาณหนึ่ง เมตร ลักษณะล�ำต้นแข็งแรง และเมื่อมีลมพายุพัดเข้ามาพบว่า สามารถต้านทานการหักล้มได้ดีกว่ากล้วยไข่ที่ปกติและให้ผล เร็วกว่ากล้วยไข่ปกติประมาณสิบวัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

45


นานานิวส์

กล้วยปกติ

แปลงกล้วยราดสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เพื่อลดความสูงส�ำหรับลดความเสียหายจากพายุ เทคโนโลยี ก ารลดความสู ง ของกล้ ว ยไข่ เ พื่ อ ลด ความเสียหายจากลมพายุ เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุน 1 บาทต่อ ต้น แต่ลดความเสียหายได้ดี นอกจากนี้กล้วยลักษณะดังกล่าว ยังสามารถท�ำการปลูกชิดได้มากขึ้น ท�ำให้เกษตรมีรายได้มาก ขึ้นจากกล้วยที่ไม่เสียหายและจ�ำนวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น นอกจากการลดความสูงของกล้วยไข่แล้ว สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ยัง ได้ท�ำการวิจัยเพื่อเพิ่มขนาดและน�้ำหนักของผลกล้วยไข่ โดย

46

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

กล้วยเตี้ย ล�ำต้นส่วนบนจะมีขนาดใหญ่แข็งแรงต้านลมพายุได้ดี

การออกผลของกล้วยไข่เตี้ยเมื่อเทียบกับ ความสูงของเกษตรกรผู้ปลูก ใช้สารกลุ่มจิบเบอเรลลินฉีดพ่นโดยตรงที่ผลอ่อนจ�ำนวนสอง ครั้งห่างกันหนึ่งสัปดาห์ ที่ความเข้มข้นห้าสิบส่วนในล้านส่วน ซึ่ ง มี ต ้ น ทุ น ประมาณสี่ บ าทต่ อ เครื อ จากการทดลองพบว่ า สามารถเพิ่มขนาดและน�้ำหนักของผลกล้วยไข่ได้เพิ่มขึ้น 5070 เปอร์เซ็นต์ และจากขนาดและน�้ำหนักผลที่เพิ่มขึ้นท�ำให้ เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากทั้งน�้ำหนักและราคาของเกรดผล กล้วยต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย


กล้วยไข่ก�ำแพงเพชรเดิม (บนซ้าย) กับกล้วยไข่ที่ฉีดพ่นสารจิบเบอเรลลิน เพื่อเพิ่มขนาดและน�้ำหนักผล

การสุกของผลกล้วยไข่ปกติและกล้วยไข่ที่ เพิ่มขนาด และน�้ำหนักผลที่ยังคงลักษณะ เปลือกบาง เนื้อแน่น และหวาน

เปรียบเทียบลักษณะกล้วยไข่ก�ำแพงเพชร ปกติ (บนซ้าย) และกล้วยที่เพิ่มขนาดผล ด้วยจิบเบอเรลลิน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับค�ำปรึกษาเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่ก�ำแพงเพชร” ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส) โทร. 0 2577 9000 | เว็บไซต์: www.tistr.or.th | Line: @tistr วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี ท่ี 35 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2563

47


¡Ã Ð ·Ã Ç § ¡Ò Ã Í ǾÁÈÖ ¡ÉÒÇ ·ÂÒ Ô ÈÒ Ê µÃ Ç Ô̈ Âá Ñ Å Ð ¹Ç µ¡Ã Ñ Ã Á


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.