Le corbusier

Page 1





สารบัญ หัวข้อ ประวัติของ Le Corbusier - ชีวิตช่วงแรก - ก่อนเข้าสู่การทำงาน - การได้รับฉายา - ชีวิต “ส่วนตัว” - การบ้านการเมือง - การจากลา แนวคิดทางการออกแบบ - ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการ - หลักการออกแบบ 5 ข้อ - อัตราส่วนทองคำ ผลงาน - Immeubles Villas - Maison Du Peintre Ozenfant - Villa Garches - Villa Savoye - The Chapel Ronchamp - Phillip Pavillion - Furniture - Artworks บรรณานุกรม

หน้า 1 2 6 9 12 14 15 16 17 19 20 25 26 28 30 32 35 41 43 45 48


ชีวิตช่วงแรก ชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี เกิดวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1887 ที่เมือง La Chaux-de-Fonds (โช-เดอ-ฟง) เป็นเมืองเล็ก ๆ ในรัฐเนอชาแตล ซึ่งเป็นรัฐทางตะวันตกของ ประเทศสวิต-เซอร์แลนด์ ในเมือง

แห่งนี้เป็นศูนย์กลางของการทำนาฬิกา พ่อของเขาทำอาชีพเป็นคนแกะสลักและลงยาหน้าปัดนาฬิกา ส่วนแม่ ของเขาเป็นคุณครูสอนเปียโน

ชาร์ล จาเนอเร เริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาลโดยเขาได้เข้าเรียนใน หลักสูตรของ Friedrich Fröbel ซึ่งเป็นหลักสูตรในรูปแบบใหม่ ของการศึกษาสมัยนั้น เมื่อเขาอายุ 13 ปี ชาร์ล จาเนอเร ได้เข้าเรียน ที่โรงเรียน La-Chaux-de-Fonds Art School ก่อตั้งโดย Charles L'Eplattenier ซึ่งเป็นสถาปนิกและศิลปินชาวสวิตเซอร์แลนด์ และยังเป็นคุณครูของ ชาร์ล จาเนอเร อีกด้วย หลายปีต่อมา ชาร์ล จาเนอเร ได้ออกจากกิจการของครอบครัวและออกเดินทางไป ท่องเที่ยวในแถบยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน

ภาพครอบครัวของ ชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี

ปี ค.ศ.1907 เขาเริ่มเดินทางออกจากสวิตเซอร์แลนด์ครั้งแรก โดยเดินทางไปอิตาลีเป็น ภาพบ้านของ ชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี

2


ประเทศแรก ต่อมาเมื่อถึงฤดูหนาวเขาเดินทางไปเมืองบูดาเปสต์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ฮังการี ไปทะลุผ่านเข้าเมืองเวียนนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และพักอาศัยอยู่ที่ เมืองเวียนนาราวสี่เดือน ระหว่างนั้น ชาร์ล จาเนอเร ได้พบกับ กุสตาฟ คลิมต์ จิตรกรและมัณฑนากร ชาวออสเตรีย และ โจเซฟ ฮอฟแมนน์ สถาปนิกและนักออกแบบชาวออสเตรีย

ภาพของ กุสตาฟ คลิมต์

ภาพของ โจเซฟ ฮอฟแมนน์

3


“A hundred times have I thought New York is a catastrophe and 50 times: It is a beautiful catastrophe.” – Le Corbusier

4


ปี ค.ศ.1908 ชาร์ล จาเนอเร ได้ออกเดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้ทำงานอยู่ใน ออฟฟิศของ ออกุสต์ แปเร ชาวฝรั่งเศสผู้ที่ริเริ่มการใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก มันเป็นทั้งช่วงการเที่ยวท่อง ของเขาและช่วงที่กำลังทำงานไปด้วย และในช่วงนี้เขาเริ่มมีความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1910 และเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1911 ชาร์ล จาเนอเร ได้ย้าย ไปทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับ ปีเตอร์ เบริน ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน และเขาได้พบกับ วอลเตอร์ โกรเปียส และ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ต่อมาเขาก็กลายเป็นดาวรุ่งในเยอรมัน หลังจากปี ค.ศ.1911 เขาไปท่องเที่ยวที่บอลข่าน และไปเยือนประเทศเซอร์เบีย, บัลแกเรีย, ตุรกี และกรีซ ขณะที่เขาไปเยือนแต่ละที่นั้นเขาก็ได้สเก็ตช์ภาพต่างๆ รวมแล้วทั้งหมดเกือบ 80 เล่ม มีภาพ จำนวนชุดหนึ่งที่ประกอบด้วย ภาพของวิหารพาร์เธนอน และการเกิดทฤษฎี อัตราส่วนทองคำ

ภาพของ ปีเตอร์ เบริน

ภาพของ วอลเตอร์ โกรเปียส

ภาพของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์

5


ชีวิตก่อนเข้าสู่การทำงาน ในปี ค.ศ.1914 เป็นช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาร์ล จาเนอเร ได้กลับไปอยู่ที่บ้านเกิดและเป็น

คุณครูที่โรงเรียน La-Chaux-de-Fonds Art School ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขานั่นเอง จนเมื่อสงครามสงบ ลงเขาไม่ได้ไปกรุงปารีสอีกเลย ตลอดสี่ปีที่ผ่านมาในสวิตเซอร์แลนด์ จาเนอเร ได้ใช้เวลาศึกษาทฤษฎีทาง สถาปัตยกรรมด้วยเทคนิคล้ำยุคสมัยใหม่ หนึ่งใน Project นั้นเรียกว่า The Domino House

ภาพแบบร่าง The Domino House The Domino House นั้นมีรูปแบบเปิดโล่ง พื้นเป็นแผ่นคอนกรีตโดยใช้แผ่นบางและพยายามใช้ จำนวนน้อยที่สุด เสริมเสาหินเข้าไปคอยคล้ำยันในส่วนของขอบอาคาร และมีบันไดที่เชื่อมถึงแต่ละชั้น โดยจะเชื่อมด้านนอกของอาคาร จนในที่สุดทฤษฎีนี้กลายเป็นต้นแบบให้กับสถาปนิกรุ่นหลังๆ

6


“To create architecture is to put in order. Put what in order? Function and objects.” – Le Corbusier Read mo

7


ไม่นานนัก ชาร์ล จาเนอเร ก็เริ่มฝึกทักษะการออกแบบงานสถาปัตยกรรมกับญาติพี่น้องของเขา ชื่อ

ปิแอร์ จาเนอเร ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจนถึงปี ค.ศ.1950 แล้วก็หยุดชะงักเนื่องจากเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

ในปี ค.ศ.1918 ชาร์ล จาเนอเรได้ไปอยู่ปารีสและพบกับ Amédée Ozenfant ซึ่งในขณะนั้นเป็น ศูนย์กลางของศิลปะบาศกนิยม (Cubism) และลัทธิเหนือจริง (Surrealism) หลังจากนั้นตัวเขาไปสร้าง ศิลปะแบบ พิสุทธินิยม (Purism) โดยยึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขา

“A house is a machine for living in”

“A house is a machine for living in” หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอย อย่างแท้จริง

ชาร์ล จาเนอเร มองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วน ออกมาจากโรงงานและด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน (แล้วเลื่อนออกมาตามสายพานเหมือนชิ้นส่วนของรถยนต์) และด้วยหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิก ตั้งแต่นั้นมา ความจริงแล้ว ชาร์ล จาเนอเร ได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่ง เหล่านี้ไปสร้างสรรค์กระบวนแบบใหม่ ๆ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม


การได้รับฉายา ในปี ค.ศ.1920 ชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี ได้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารและได้รับการแต่งตั้งฉายา ว่า Le Corbusier (เป็นชื่อที่ตั้งตามคุณตาของ ชาร์ล เจเนอเร) และใช้เป็นนามแฝงของเขาเอง ชื่อของเขาสะท้อนถึงความเชื่อของเขาว่าใครก็สามารถพลิกโฉมตัวเองได้ เนื่องจากการตั้งฉายาสมัยนั้น ถือเป็นเรื่องที่นิยมกันในหมู่ศิลปินและนักออกแบบ โดยเฉพาะในกรุงปารีส ช่วงระหว่างปี ค.ศ.1918 จนถึง ค.ศ.1922 กอร์บูซีเยไม่ได้สร้างผลงานอะไรใหม่ๆเลย เขาใช้ เวลาอยู่กับทฤษฎี Purism และงานศิลปะ เมื่อปี ค.ศ.1922 เขาและ ปิแอร์ จาเนอเร ญาติพี่น้องของเขา ได้ร่วมกันเปิดสตูดิโออยู่ในกรุงปารีส ทฤษฎีของเขาเริ่มเป็นที่โด่งดังขึ้นและถูกนำไปใช้กับสิ่งก่อสร้างหลายโครงการ อย่างเช่น บ้าน Citrohan House ซึ่งได้ให้กอร์บูซีเยเป็นผู้ออกแบบบ้านให้ กอร์บูซีเยได้เสนอให้ โครงสร้างบ้าน

มีสามชั้น โดยภายในมีห้องนั่งเล่นสูงสองเท่า มีห้องนอนอยู่ชั้น 2 ห้องครัวอยู่ชั้น 3 และชั้นสุดท้ายซึ่งเป็น หลังคา แต่กอร์บูซีเยเสนอแบบให้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อใช้นอนอาบแดด หรือที่เรียกกันว่า

ชั้นดาดฟ้า ภายนอกอาคารนั้นกอร์บูซีเยได้ออกแบบให้มีบันไดที่เชื่อมจากด้านนอกขึ้นไปชั้นที่ 2 โครงการอื่นก็สร้างขึ้นแบบนี้เช่นเดียวกัน เขายังเป็นคนที่ออกแบบด้านหน้าของอาคารที่เต็มไปด้วยกระจก อีกด้วย

ภาพแบบจำลองของ The Citrohan House


ต่อมา กอร์บูซีเยและ ปิแอร์ จาเนอเร ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการตกแต่งภายใน ด้วยการ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้วัสดุจากท่อเหล็ก การติดตั้งไฟนั้นก็มักจะติดตั้งเพียงหลอดไฟเปลือยๆ ฝาผนังทาเป็นสีขาวเรียบ ในระหว่างปี ค.ศ.1922 จนถึง ค.ศ.1927 กอร์บูซีเยและ ปิแอร์ จาเนอเร ได้ร่วมกันออกแบบ บ้านส่วนตัวที่ตั้งอาศัยอยู่ในกรุงปารีสเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในย่าน Boulogne-sur-Seine และ เขตที่ 16 ที่ กอร์บูซีเยและ ปิแอร์ จาเนอเร ได้ร่วมกันออกแบบ อย่างเช่น บ้าน Villa Lipschitz, บ้าน Maison Cook, บ้าน Maison Planeix และ บ้าน Maison La Roche หรือบ้านของอัลเบิร์ต จาเนอเร ข้างต้นล้วนแล้วเป็นลิขสิทธิ์ของกอร์บูซีเยทั้งหมด


“Space and light and order. Those are the things that men need just as much as they need bread or a place to sleep.”

– Le Corbusier


ชีวิต “ส่วนตัว” ในปี ค.ศ.1929 จากทวีปอเมริกาใต้สู่ทวีปยุโรป กอร์บูซีเยได้พบกับนักแสดงคนหนึ่ง เธอชื่อว่า โจเซฟิ

น เบเกอร์ พวกเขาพบกันบนเรือเดินสมุทร Lutétia กอร์บูซีเยจึงได้มีโอกาสวาดภาพร่างเปลือยกายของเธอ

ภาพของ โจเซฟิน เบเกอร์

ภาพวาดเปลือยกายของ โจเซฟิน เบเกอร์

หลังจากนั้นไม่นานนักเมื่อกอร์บูซีเยกลับมาถึง

กรุงปารีส เขาก็ได้แต่งงานกับ อีวอนน์ แกลลิส เธอเป็น

นางแบบแฟชั่นและในช่วงระหว่างนั้นเขาอยู่ในช่วงรับพินัยกรรมกับชู้อีกคน ในปี ค.ศ.1930 กอร์บูซีเยได้โอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1946 กอร์บูซีเยได้พบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ตั้งอยู่ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์

หลังจากที่กอร์บูซีเยได้ไปเดินทางมาจากนิวยอร์ค และพูดคุยกันถึงเรื่องทฤษฎี Modulor


13


การบ้านการเมือง มีคำพูดที่โด่งดังคำหนึ่งของ กอร์บูซีเยว่า “Architecture or Revolution” หมายถึงสถาปัตยกรรม

หรือ การปฏิวัติ มาจากความเชื่อของเขาที่ว่า ประสิทธิภาพทางด้านอุตสาหกรรมของสถาปัตยกรรมเป็นวิธี เดียวที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิวัติทางชนชั้น ข้อโต้แย้งของเขาเขียนไว้ในหนังสือ

Vers une architecture เป็นผลให้เขาสร้างผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่าง Villa Savoye ในปี ค.ศ.1934 กอร์บูซีเยได้รับเชิญจาก เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำจอมเผด็จการของอิตาลีให้มาบรรยาย

เลกเชอร์ในกรุงโรม

ในช่วงต้นปี ค.ศ.1940 กอร์บูซีเยได้รับมอบหมายให้วางผังเมืองในเขตวีชี ประเทศฝรั่งเศส โดยดูแล

และให้ออกแบบเมือง แต่แผนงานของเขาที่ออกแบบไว้กลับถูกปฏเสธอย่างไม่ไยดี ตั้งแต่นั้นมาเขาไม่ขอยุ่ง เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอีกเลย

14


การจากลา ตามคำให้การของแพทย์ประจำตัวของเขาให้การในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1965 เขาได้ลงไปว่ายน้ำ

ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แถบชายฝั่งของประเทศฝรั่งเศส

ร่างของเขาถูกพบว่าเสียชีวิตเมื่อเวลา 11 นาฬิกา โดยสันนิฐานว่าเกิดจากหัวใจวาย

งานศพของเขาเกิดขึ้นที่ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์พาเลซเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1965 ภายใต้การดูแลของนักคิดนัก เขียนและ Andre Malraux ซึ่งขณะนั้นเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒธรรมของฝรั่งเศส

ศพของเขาได้ทำการฝังใกล้กับหลุมศพของภรรยา ตามที่กำหนดไว้ที่ Roquebrune-Cap-Martin

การตายของเขาได้ส่งผลเป็นอย่างมากต่อวงการวัฒธรรมและการเมืองทั่วโลก สิ่งของทั้งหลายส่ง

มาจากทั่วโลกเพื่อแสดงความเสียใจ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ส่งดอกไม้แสดงความเสียใจและ กล่าวว่า

“อิทธิพลของเขา และผลงานของเขา มีคุณค่าเป็นอย่างมากและน้อยคนนักที่มีศิลปินเช่นนี้ในประวัติศาสตร์ ของเรา”

โซเวียตเสริมอีกว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้สูญเสียต้นแบบอันยิ่งใหญ่ไปแล้ว”

ในขณะที่งานศพของเขาในกรุงปารีส สื่อญี่ปุ่นได้นำเสนอพิพิธพัณฑ์ของเขาในญี่ปุ่น ช่วงเวลานั้น สื่อ

ทั้งหลายต่างนำเสนอข่าวและแสดงความเสียใจแก่การจากไปของกอร์บูซีเย


16


ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการ ในสิ่งตีพิมพ์ เขาได้เสนอความคิดที่สำคัญตั้งแต่สมัยแรกๆ คือ Five Points of Modern Architecture ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของเขาเอง ไม่เพียงแต่จะบ่งบอกว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมของ เขาเองแล้ว เขายังถือความงามเป็นสิ่งสัจจะ เป็นสิ่งที่ดีและหาได้ยากจะได้มาก็ต้องผ่านการเลือกเฟ้นเท่านั้น กอร์บูซีเยจึงได้เสนอแนวคิดที่จะพบเห็นในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมในยุคถัดๆ ไป มันเป็นแนวคิดของ "สถาปัตยกรรมสมัยใหม่คืออะไร?" สรุปได้ออกมาเป็นหลักการง่ายๆ 5 ข้อ ดังนี้ 1. The Pilotis

บ้านยกพื้นสูงลอยตัว มีลักษณะเบา

3. Free Facade

ผนังด้านนอกไม่จำเป็นต้องรับน้ำหนัก

2. Free Plan

จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอยอิสระ เพราะใช้ผนังลอยได้

4. The Horizontal Windows

วางหน้าต่างแบบช่องเจาะยาวในแนวนอน

5. The Roof Terrace

หลังคาแบน มีการใช้สอยในแบบระเบียง/สวน/ดาดฟ้าได้


เมื่อนำลักษณะสถาปัตยกรรมทั้ง 5 ประการมาก่อสร้างให้เป็นบ้านหนึ่งหลัง จะเกิดลักษณะบ้านอย่าง

ที่เห็นตามภาพ แต่มีงานสถาปัตยกรรมหนึ่งชิ้นที่กอร์บูซีเยได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบและสร้างตามลักษณะ สถาปัตยกรรมทั้ง 5 ประการ นั่นคือ Villa Savoye

กอร์บูซีเยเป็นผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยคลุกคลีมากับกลุ่มของ โกรเปียส ดังนั้น นอกจากจะเห็นชอบใน

หลักการเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความสง่างามเกิดขึ้นได้จาก การจัดมวล และสัดส่วนอันพอเหมาะแล้ว โดย กำหนดทิศทางวิชาชีพแรกเริ่มแล้ว

กอร์บูซีเยได้เป็นศิลปินด้วยเหตุที่เป็นผู้ค้นคว้าเรียนรู้ และคบหาสังคมกับกลุ่มผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จึงทำให้เขามีแนวความคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่แตกต่าง


หลักการออกแบบ 5 ข้อ 1. อาคาร ควรจะวางอยู่บนเสา เพราะอาคารในสมัยก่อนหน้านี้มักจะวางอยู่บนพื้นดินโดยตรง ทำให้ เกิดปัญหาเรื่องความชื้นภายในอาคารทำให้อาคารชำรุดเร็วและผู้อาศัยเสีย สุขภาพ ห้องต่างๆภายในอาคาร จะไม่ได้รับแสงสว่างเพียงพอ ผลจากการยกอาคารสูงได้ประโยชน์ในเรื่องการระบายอากาศได้แสงสว่างเพิ่ม ขึ้น และมีความปลอดภัยมากกว่า แนวความคิดนี้เขาได้นำไปใช้ในอาคารใหญ่

2. อาคารควรจะมีดาดฟ้าสำหรับเป็นที่พักผ่อนในสมัยก่อนหลังคาเอียงลาดเพื่อรองรับน้ำฝนและ

หิมะ ซึ่งเหมาะสำหรับวัสดุมุงซึ่งเป็นกระเบื้องในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันเราใช้พื้นคอนกรีตแบนราบแทนเราจึง ออกแบบให้มีการใช้สอยในส่วนนี้ด้วย

3. ควรใช้ระบบโครงสร้างแบบถ่ายน้ำหนักลงที่คานและเสา(Skeleton Constuction)ทำให้การจัด

วางที่ว่างภายในอาคารมีอิสระมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผนังทึบตลอดหรือส่วนมากเพราะผนังมิได้รับน้ำหนัก คานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็กได้รับน้ำหนักแทนจึงสามารถเปิดหน้าต่างประตูได้ อย่างอิสระ ทำให้รูปด้าน ของอาคารมีลักษณะแปลกและสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเต็มที่

4. ผลจากการใช้โครงสร้างในข้อ 3 จึงทำให้ผนังมีความสัมพันธ์กับเสาน้อยลงอาจจัดให้เสาลอย

นอกผนังอาคาร หรือเอาผนังไปไว้นอกแนวเสาก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถนำวัสดุที่เบามาใช้ในส่วนนี้ได้ วัสดุดัง กล่าว ได้แก่ โครงเหล็กและแผ่นกระจก ซึ่งที่จริงทำให้เกิดระบบกำแพง หรือผนังแขวนลอยนั่นเอง (Curtian Wall)

5. ผลจากโครงสร้างและการใช้ผนังโปร่งเบา ทำให้ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกมีบรรยากาศดี

ขึ้น โดยที่มีผลในเรื่องการป้องกันความร้อนและความชื้น

อีกหนึ่ง เหตุผลที่ทำให้ กอร์บูซีเยเป็นที่ยอมรับในฐานะนักสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ คือเขาเป็นคนที่มี

ความสามารถในการคิดคำนวณในหลักคณิตศาสตร์


อัตราส่วนทองคำ Phi (Φ) (อ่านออกเสียงว่า ฟี) คืออัตราส่วนของสี่เหลี่ยมที่มนุษย์มองเห็นแล้วให้ความรู้สึกสมบูรณ์แบบมาก ที่สุด ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่าเป็น อัตราส่วนทองคำ ซึ่งความน่าอัศจรรย์ของมันคือ อัตราส่วนทองคำนี้ดัน ไปมีความเกี่ยวข้องกับลำดับเลข ฟีโบนักชี (Fibonacci numbers) ซึ่งถูกคิดค้นโดย เลโอนาร์โด ฟีโบนักชี (Leonardo Fibonacci)

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า หากนำเลขฟีโบนักชีตัวใดตัวหนึ่งมา แล้วหารด้วยเลขฟีโบนักชี ในลำดับที่มาก่อนหน้า หนึ่งตำแหน่ง มักจะได้ผลหารเท่ากับ หรือใกล้เคียงกับ Phi หรือ 1.618… เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรานำ

เลขฟีโบนักชีสองจำนวน ที่อยู่ติดกันมาหารกัน เช่น 309/191 จะได้ผลหารเท่ากับ 1.6179 หรือเอา 118/73 จะได้ผลหารเท่ากับ 1.6164 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ Phi เป็นอย่างมาก และถ้าเราพิจารณาเลขฟีโบนักชีที่มีค่า มากๆ จะพบว่าอัตราส่วนของเลขสองจำนวนจะเท่ากับ 1.6180339887... เสมอ

สี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ (Golden Rectangle)

คือ สี่เหลียมผืนผ้าที่มีอัตราส่วน

ด้านยาวต่อด้านสั้นเท่ากับอัตราส่วนทองคำ หรือ phi นั่นเอง ความพิเศษของสี่เหลี่ยม

ทองคำก็คือถ้าเราแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทอง คำออกเป็น สองส่วน โดยส่วนแรกเป็น

สี่เหลี่ยมจตุรัส และส่วนที่สองเป็นสี่เหลี่ยมผืน

ผ้าก็จะพบว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเล็ก ที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังคงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเรา ยังแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ ที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ก็จะได้สี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทองคำ ที่มีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้จบ

เพื่อให้เข้าใจสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำมากขึ้น ลองพิจารณาจากรูปประกอบนี้ ถ้าสมมุติให้สี่เหลี่ยม ABCD เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีอัตราส่วนทองคำแล้ว จะทำให้ AD/AB = AE/ED

= phi โดยที่ FE = AE และ FE/ED= phi จะส่งผลให้สี่เหลี่ยม FCDE เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีอัตราส่วนทองคำ เช่นเดียวกันซึ่งจะทำให้ AD/EF = BD/CE = phi เช่นเดียวกัน


บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆ เครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกอย่างชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร

ปล่องระบายอากาศบนหลังคาก็ดูคล้ายปล่องเรือกลไฟ บ้านที่รู้จักกันดีก็คือ Villa Savoye นอกกรุงปารีส

ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บน landscape ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิคและยุคเครื่องจักร กล กอร์บูซีเยเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบ futurist โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้

สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วยจินตนาการของเขา เอง ชื่อ กอร์บูซีเยเป็นฉายาที่ตั้งขึ้นเองแปลว่าอีกา

ภาพแบบจำลองของ Villa Savoye

กอร์บูซีเยได้เปลี่ยนสไตล์ของเขา หลังสงครามเขาก็ทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มี

ผิวพื้นที่ เรียบลื่นและหันไปชอบสไตล์ใหม่ ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะ เห็นว่า กอร์บูซีเยมักทำโครงสร้างแบบ คอนกรีตเปลือย และเขาเห็นว่าอาคารนั้นไม่เหมาะกับคนแต่ควรทำให้ คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัดส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน

ด้วยแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในยุค modern movement เขาได้ออกแบบโบสถ์ chaple

at ronchamp ถือเป็นงานชั้นโบว์แดงของเขา มีลักษณะเล่น ลูกเล่นแบบ plastic quality ของดินเหนียว ใช้รูป ทรงที่แรงแทนสัญญลักษณ์ทางศาสนา งานนี้มีลักษณะเห็นถึงพลัง และมีความเป็นตัวเองได้อย่างมี เอกลักษณ์

กอร์บูซีเยได้สร้างสรรค์ ศิลปะหลายแขนง เป็นประติมากร โดยทุกเช้าจะเล่นน้ำทะเลให้คลื่นซัดสาดตัว

แล้วจะขึ้นมาทำงานประติมากรรม เสร็จแล้วก็จะเรี่มงานสถาปัตยกรรม เป็นนักผังเมืองมีความคิดกว้างไกล จากยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ ว่าควรจัดระบบ จัดโซนของการใช้เมืองอย่างไรจึงจะได้ผล


โมดูเลอร์ โมดูเลอร์คือระบบการวัดสัดส่วนในวานออกแบบที่สามารถใช้เป็นมาตรวัดตั้งแต่ชิ้นส่วนของ

เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ ไปถึงขนาดของอาคารจนกระทั่งสัดส่วนของเมืองทั้งเมืองโดยมีนัยยะสำคัญว่าสัดส่วน ของงานออกแบบทั้งหลาย นั้นสัมพันธ์กับสัดส่วนการใช้สอยและการมองเห็นของมนุษย์อย่างมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นสัดส่วนที่สามารถปรับเข้าใช้กับผู้ใช้ทั่วโลก

องค์ประกอบพื้นฐานของโมดูเลอร์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ การคำนวณทางเรขาคณิตเพื่อค้นหา

สัดส่วนทอง (GoldenSection) สร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความพิเศษ และการผสมผสานสัดส่วนของมนุษย์ ที่มีความสูง 6 ฟุตเข้าไป

ทฤษฎีโมดูล่า ได้มาจากปัจจัย 5 อย่าง คือ

1. มุมฉากที่ได้รับการพิจารณา คัดเลือก มาประกอบเป็นสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม แล้ทำให้เกิดความ ประทับใจเมื่อได้สัมผัสด้วยสายตา

2. ความที่มนุษย์ไม่เคยเห็นความงามมากได้เท่าที่เคยได้ยินมาจากเสียงดนตรีที่ละเอียดและไพเราะ ซึ่งสามารถ

รวบรวมไว้ด้วยมิติ ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีความกลมกลืนกันอย่างยิ่ง ซึ่งในอดีตชาวกรีกอาจจะเคยรู้จริงใน ข้อนี้จึงสามารถสร้างสรรค์งานที่เป็นอมตะขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่สามารถ Condified ได้ ซึ่งต่างกับดนตรีซึ่งถูก Condified ได้ตั้งแต่สมัยของบ๊าค

3. ความจริงที่ยอมรับกันมาในอดีตแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วน เช่น สัดส่วน 8:3 ซึ่งถือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืน ผ้าที่ดูน่าพอใจ หรือสัดส่วนที่เรียกว่า Golden Section (สัดส่วนทองคำ) ซึ่งมีด้านยาวเท่ากับเส้นทะแยงมุม

ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านสั้นของมัน ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ทำให้เกิดความพอใจเมื่อได้เห็น ไม่วา่ จะเป็นก รอบรูป กรอบหน้าต่าง หรือที่เป็นขนาดใหญ่ เช่น รูปด้านของอาคาร หรือแม้แต่จัตุรัสใจกลางเมือง

4. ความจริงซึ่งมนุษย์สามารถสร้างสัดส่วนที่สวยงามได้และได้เคยสร้างมาแล้ว เช่น สัดส่วนทองคำ

ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถหาชุดอนุกรมของสัดส่วน ซึ่งค่อยๆใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ในทางตรงข้าม

ซึ่งแต่ละสัดส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน กลมกลืนกันในลักษณะตรงที่ว่า สัดส่วนที่ใหญ่กว่าสามารถนำเอา สัดส่วนที่เล็กกว่าหลายๆชั้น บรรจุลงได้

5. สัดส่วนนั้นควรจะสามารถบรรจุสัดส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ได้ เช่น คนยืนชูแขน คนนั่ง คนยืน โดยสัดส่วนได้ นั้นมาจากมนุษย์


เรื่องโมดูล่าของเลอ คอร์บูซิเอ ที่กล่าวมาแล้งทั้งหมดเป็นที่ยอมรับกันว่า เขายึดมั่นในเรื่องที่เกี่ยวกับ

สัดส่วนที่ดีกับเรื่องของ Golden Section แล้วนำสัดส่วนที่ว่าดีแล้วมาทำให้เกิดความสัมพันธ์กับสัดส่วนของ มนุษย์ แล้วจึงเป็นข้อมูลในการออกแบบอาคาร

ในท้ายที่สุดแม้ว่าเลอร์คอร์บูซิเอร์จะทำการคาดหวังกับโมดูเลอร์ไว้ค่อนข้างสูงและตัวเองก็ลงมือ

ปฏิบัติการออกแบบโดยระบบนี้ด้วยแต่กระแสนิยมเรื่องภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทำให้การใช้โม ดูเลอร์ไม่ได้รับความต่อเนื่องในการใช้ประโยชน์หรือการพัฒนาต่อในเชิงความคิดความพยายามที่จะนำ สถาปัตยกรรมไปสู่ความเป็นสากลด้วยระบบวัดหน่วยที่เป็นหนึ่งเดียวต้องสูญสลายด้วยสถานการณ์ที่

เปลี่ยนแปลงไปดัชนีที่ชี้ชัดเจนที่สุดไม่ได้มาจากอื่นไกล คือผลงานของตัวสถาปนิกเองงานออกแบบวิหารที่ Ronchamp เป็นตัวอย่างของความเป็นตัวของตัวเองที่สัมพันธ์กับที่ตั้งมากกว่าที่จะเป็น ตัวอย่างของการปรับใช้มาตราสากลให้มีสภาวะเหนือของพื้นที่ตั้ง

นอกจากนี้ในส่วนของการเลือกสเกลของคนที่อิงอยู่กับ 6 ฟุตนั้นก็ถูกโจมตีจากหลายฝ่ายทั้งจาก

ฝ่ายที่ไม่ใช่ตะวันตกหรือจากฝ่ายที่ไม่ใช่ผู้ชายอย่างไรก็ดีการคบคิดต่อในเรื่องสัดส่วนที่มีรากฐานมาจากโมดู

เลอร์แม้จะเป็นคนละแนวทางจากสถาปนิก ญี่ปุ่นก็ช่วยชี้ให้เห็นระบบที่อาจจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยสะท้อน ให้เห็นการตีความในเรื่องสัดส่วนของงานออกแบบหรือ งานสถาปัตยกรรมแง่มุมของท้องถิ่นหรือประเพณี นิยมโดยที่ประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำเร็จรูปอาจจะเป็นเรื่องรองลงไปก็ได้

ภาพเทียบอัตราสัดส่วนของ Modulor


24


25


IMMEUBLES VILLAS, 1922


Floor Plan SECTION

Living Room

Terraces


MAISON DU PEINTRE OZENFANT, 1922



VILLA GARCHES, 1927



VILLA SAVOYE, 1928



34


THE CHAPEL RONCHAMP, 1954

35



37


38


39


40


PHILLIP PAVILION,1958

41


42


FURNITURE

43


44


ARTWORKS

45


46


47


REFERENCE หนังสือ Le Corbusier Ceuvre Complete

หนังสือ Le Corbusier Le Grand

48




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.