ฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่

Page 1

เพื่อการดูแลและรักษา

ฟืย่้นานบ้เวีายนง เชียงใหม่

‘ ท่วงท�ำนอง ของ

เวียงเก่า ’ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 มกราคม 2555

วารสารเพื่อการดูแลและรักษา มรดกทางวัฒนธรรมของเวียงเจียงใหม่


2


3

พื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

ภาพวาดและข้อมูล : ศุภกุล ปันทา และคน.ใจ.บ้าน


เรื่องเล่า ชาวเวียง

เรื่อง : สามารถ สุวรรณรัตน์, ศุภกุล ปันทา และ คน.ใจ.บ้าน ภาพ : แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา และ คน.ใจ.บ้าน

เป็น

พืน้ ทีส่ ำ� คัญทางทิศใต้ของเวียงเก่าเชียงใหม่มปี ระตู เชียงใหม่ประตูเมืองโบราณและแนวก�ำแพงเมือง ยืนตระหง่านเป็นหลักฐานความรุ่งเรืองแต่ครั้งอดีต แต่กาลก่อนพื้นที่นี้เคยถูกจัดสรรปันส่วนถือครองโดยขุนนาง เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร และสล่าข้าวัด อันเป็นลักษณะอัตลักษณ์ ของพื้นที่มนตรีเมือง ปัจจุบันร่องรอยในอดีตยังคงมีให้พบเห็นได้ ทั่วไป ทั้งคุ้มเก่า บ้านโบราณ วัดวาอาราม ลูกหลานเครือญาติที่ สืบสายเชือ้ วงค์จากผูม้ บี รรดาศักดิ์ และกิจกรรมทางความเชือ่ และ งานสล่าช่างฝีมือ พืน้ ทีย่ า่ นประตูเชียงใหม่ ยังมีมนต์เสน่หแ์ ห่งวันวานอีกมากมาย ซุกซ่อนอยูใ่ นตรอกซอกซอยภายในชุมชน รอให้คน้ พบ ทัง้ เรือ่ งราว เรื่องเล่าจากความทรงจ�ำของผู้คน อาหารพื้นเมืองและวัตถุดิบซึ่ง หาซื้อไม่ได้ทั่วไป ยกเว้นที่ตลาดประตูเชียงใหม่ ร้านอาหารเช้า รสดีราคาถูกที่เป็นเสมือนโรงอาหารของชุมชน งานฝีมือล้านนาที่ ช่างสล่าของย่านยังคงท�ำงานสืบสานอย่างขะมักเขม้น ทั้งคัวตอง ดอกไม้ไหว และงานอุตสาหกรรมชุมชนอย่างงานตองฉัตร ซึ่งมีชื่อ เสียงเป็นที่ยอมรับไปทั่ว อีกหนึ่งจุดเด่นของย่านนี้ก็คือ สภาพแวดล้อมและซอยเล็กๆ (กองกีด) ในชุมชนที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี โดยแต่ละบ้านช่วย กันรับผิดชอบทั้งถนนหน้าบ้านและสวนหย่อมหน้าบ้าน ซึ่งประดับ ประดาไปด้วยดอกไม้คนเมืองเท่าที่หาได้

ย่านประตูเชียงใหม่​่

แอ่วย่านประตูเชียงใหม่ “สีสันชุมชนบะเก่า” ภาพ : ศุภกุล ปันทา ข้อมูลโดย คน.ใจ.บ้าน

กาดประตูเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลาตีห้าไปจนถึงช่วงเก้าโมงเช้า กาดประตู เชียงใหม่จะคลาคล�่ำไปด้วยผูค้ น ทัง้ พ่อค้าแม่คา้ จากทัว่ ทุกสารทิศและผูม้ าจับจ่ายจากบริเวณพืน้ ทีใ่ กล้เคียงเพือ่ ซือ้ หาอาหารปรุงส�ำเร็จและวัตถุดบิ สดใหม่ทถี่ กู ผลิตและ ล�ำเลียงจากอ�ำเภอรอบนอก แม้บุคลิกของตลาดแห่งนี้จะไม่ต่างจากตลาดสด ยามเช้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเชียงใหม่ แต่ก็มี ลักษณะพิเศษบางประการทีท่ ำ� ให้ตลาดแห่งนีย้ งั คงเสน่ห์ น่าหลงใหล และสร้างความเพลิดเพลินมิใช่น้อย แก่ นักท่องตลาดช่างสังเกต ที่เห็นเด่นชัดก็คือ บรรยากาศวันคืนเก่าก่อน ของกาดเมือง ยังมีให้เห็นและชื่นชมอยู่ทั่วทุกมุม ทั้ง สินค้าพืน้ เมืองทีแ่ ทบจะได้ไม่ได้ในกาดทัว่ ไป ลุงและอ้าย สามล้อถีบทีย่ งั ให้บริการด้วยจ�ำนวนรถทีม่ ากกว่าตลาด อืน่ ๆ พร้อมประสบการณ์ฝเี ท้าของบางคนทีม่ ากกว่า ๓๐ ปี โดยเฉพาะอัธยาศัยของพ่อค้าแม่คา้ ทีเ่ ป็นกันเอง และ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าขาประจ�ำ

4


ถนนพระปกเกล้าซอย สามล้อถีบ ๒ กองหลังกาด อัตลักษณ์ของกิ๋นคนเมือง ทุกเช้า...ซอยหลังตลาดประตูเชียงใหม่ทกี่ ว้างเพียง รถยนต์หนึง่ คันผ่านได้จะคับคัง่ ไปด้วยผูค้ นทีม่ าจับจ่าย ซื้อหาสินค้า จนพื้นที่ถนนคับแคบเหลือเพียงพอให้คน เดินสวนกันนิดเดียวเท่านั้น บรรยากาศของกาดหมั่วคนเมืองจะเริ่มต้นและอบ อวนไปทั่วจนถึงเวลาสาย คนจับจ่ายสินค้ามีทั้งวัยชุด นักเรียนไปจนถึงวัยเกษียณอายุ ทั้งสินค้าที่นี่ก็หลาก หลาย ขายแบกับดิน อาหารและวัตถุดิบพื้นเมืองที่ หายากจากอ�ำเภอรอบนอกจะถูกรวมน�ำมาขายกันทีน่ ี่

อาชีพดัง้ เดิมอย่างการปัน่ สามล้อถีบ ยังคงด�ำรงชีพ อยูไ่ ด้ดว้ ยลูกค้าขาประจ�ำ และความครึน้ เครง ยิม้ แย้ม แจ่มใสตามประสาคนเมือง กลายเป็นเสน่หน์ า่ มองอย่าง ไม่นา่ เชือ่ ว่าซอยแห่งนีต้ งั้ อยูใ่ นเขตเมืองเก่า เมืองเก่าที่ อยู่ท่ามกลางกระแสการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง

คือยานพาหนะทีน่ บั วันผูค้ นในเขตเมืองเลือก ใช้บริการน้อยลงเรือ่ ยๆ ทีย่ งั หลงเหลือให้บริการ เป็นประจ�ำก็คือบริเวณตลาด ตาหลาน คนถีบสามล้อจากล�ำพูน คือนักถีบ สามล้อเจ้าประจ�ำของตลาดประตูเชียงใหม บ้าน ตาอยู่แถวหลังวัดนันทราม ตาเล่าว่า “เมื่อก่อนรถราไม่ได้มากเหมือนเดี่ยวนี้ ราย ได้จากการถีบสามล้อก็มาก ลูกค้าเยอะ ตอนนี้ อายุ ๗๐ ปีแล้วแต่ยงั ไม่อยากเลิก เพราะไม่อยาก อยู่ว่างๆ ที่บ้าน” ตาลานถีบสามล้อรับส่งลูกค้ามาร่วม ๓๐ ปี แม้อายุมากขึ้น แต่ร่างกายยังแข็งแรง สังเกตได้ จากมือทีม่ ว้ นยาเส้นยังคงจังหวะสม�ำ่ เสมอไม่สนั่ เทา เหมือนกับคนวัยเดียวกัน และอาการยิม้ แย้ม กับบทสนทนาที่เป็นกันเองกับลูกค้า ตาหลาน

คน

ป้าศรีไว

ศูนย์รวมวัตถุดิบอาหารพื้นเมืองหายากส�ำหรับผู้หลงใหลรสชาติอาหารพื้นเมืองแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องใช้ วัตถุดิบพื้นบ้านบางชนิดที่หาได้ยาก แต่ติดปัญหาว่าไม่รู้ว่าจะไปหาสิ่งเหล่านั้นได้จากที่ไหน ร้านป้าศรีเพ็ญคือ ค�ำตอบที่ดีที่สุด แผงแบกะดินขนาดเล็กของป้าซุกตัวอยู่ภายใต้ชายคาตึกใกล้เจดีย์ร้างวัดฟ่อนสร้อย โดดเด่นด้วยวัตถุดิบ ที่มีทั้งพืชผัก เครื่องเทศ อาหารจากป่า เช่น เห็ดหล่ม บะลิดไม้ บะมื่น ไข่ต่อ ปลาจ่อม ผักขมทุ่ง มะแขว่น บะบอย ซึ่งร้านนี้รับประกันคุณภาพ ด้วยป้าเพ็ญเปิดแผงขายมานานราวสามสิบปีแล้ว ขายตั้งแต่ลูกสาวอายุ ได้สี่ขวบจนตอนนี้ลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย ของที่น�ำมาขายทั้งหมดมาจากพื้นที่แถวบ้านของป้าแถบหนอง ควาย สดใหม่ทุกวัน และหาซื้อจากร้านอื่นๆ แทบไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ร้านป้าศรีเพ็ญจึงมีลูกค้าประจ�ำและลูกค้า ขาจรแวะเวียนมาจับจ่ายอยู่จ�ำนวนมาก จนอาจพูดได้ว่าร้านนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ร้านที่ขายสินค้าที่ตลาดอื่นๆ ใน เขตเมืองเก่าไม่มีขาย ป้าศรีไว

ผูกพันกับตลาดมาเกินกึ่งทศวรรษ ป้าเล่าถึงที่ ไปทีม่ าและความพิเศษของขนนฝีมอื ป้าและลูกๆ ว่า “บ้านป้าอยู่ชุมชนหมื่นตูม ไม่ไกลจากตลาด เมื่อก่อนป้าขายขนมด้วง ขนมด้วงของป้าผู้คน ติดใจกันมาก” ตระกูลดังๆ ของเชียงใหม่หลาย ตระกูลเป็นลูกค้าประจ�ำของป้า ทุกวันนี้เลิกขาย ขนมด้วงไปแล้วเนื่องจาก มือของป้าไม่คอ่ ยมีแรงนวดแป้งเหมือนเมือ่ ก่อน แต่ก็ยังมีลูกค้าถามถึงนะ บางคนถึงกับเปรยด้วย ความเสียดายว่า คงไม่ได้กินขนม ด้วงฝีมือป้าอีกแล้ว และทุกครั้ง ป้าศรีไวจะตอบกลับพร้อมรอย ยิ้มอารมณ์ดีว่า “ลองเอาข้าวหนุกงา กับงา กวนน�ำ้ ผึง้ ไปกินไหม รับรอง จะติดใจ” พอได้ ชิ ม แล้ ว ลู ก ค้ า หลายต่ อ หลายคนก็จะกลับ มาซื้ออีก

5

พื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

ร้านป้าศรีเพ็ญ

ป้าศรีเพ็ญ

ในเวียง


ชุมชนวัดหมื่นตูม กลุ่มบ้านสล่าร่มพม่า หนองเจ็ ด ลิ น หนองน�้ำโบราณ ชลประทานเมืองเก่า ระบบชลประทานของเมืองเชียงใหม่ นอกจากจะใช้แม่ น�้ำปิงและล�ำคลองหรือคูเมืองในการส่งน�้ำแล้ว ‘หนอง’ ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการน�้ำท่า โดย เฉพาะในเขตเมืองเก่า ได้ปรากฎหลักฐานว่ามีหนองน�้ำ อยูห่ ลายแห่ง บางแห่งปัจจุบนั ถูกถมทับปรับเปลีย่ น บาง แห่งยังคงสภาพและได้รับการดูแล ตัวอย่าง เช่น หนอง เจ็ดลิน หนองบวกหาด และหนองหลังวัดพระสิงห์ ซึ่ง หนองเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กับระบบการจัดการน�้ำตาม พื้นที่จากสูงไปต�่ำ ตั้งแต่ส่วนรับบริเวณแจ่งหัวริน เฉียง ผ่าผ่านกลางเวียง จนไปถึงส่วนทีต่ ำ�่ สุดบริเวณท้ายเมือง แจ่งขะต�๋ำซึ่งเชื่อมต่อกับคลองและพื้นที่ชุ่มน�้ำทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ หนองเจ็ดลิน คือ หนองน�้ำโบราณตั้งอยู่ในเขตวัด เจ็ดลิน และมีกลุม่ บ้านริมหนองตัง้ อยูเ่ รียงรายทางทิศใต้ หนองน�ำ้ ได้รบั การดูแลจากทางวัดและชาวบ้านเป็นอย่าง ดี จากค�ำบอกเล่าของป้าติบ๊ เจ้าของร้านก๋วยเตีย๋ วอร่อย ราคาถูก และผูอ้ ยูอ่ าศัยริมหนองมาตัง้ แต่วยั เด็ก “ตัง้ แต่ จ�ำความได้ หนองแห่งนี้ไม่เคยแห้ง สะอาดใส มีผักบุ้ง ผักตบมาก มีเต่า และมีปลาชุกชุม หน้าฝนน�้ำในหนอง ไม่เคยล้น แม้จะถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือของคนรุ่นปัจจุบัน แต่ขวั่ แห่งนีเ้ ปรียบได้กบั ภาพสะท้อนความร่วมมือร่วมใจ อนุรักษ์และสืบสานส่งต่อภูมิปัญญาดั้งเดิม รวมทั้งเรื่อง การสร้างสะพานและความรู้เกี่ยวกับการใช้ไม้ไผ่ให้เป็น ประโยชน์ โดยความรู้ทางช่างเฉพาะด้าน เช่น การสาน ไม้ไผ่ขดั แตะ ปัจจุบนั ขัวแตะแห่งนีเ้ ริม่ ทรุดโทรม แต่กย็ งั คงทนแข็งแรงเพียงพอส�ำหรับใช้สญ ั จรของพระสงฆ์ เณร และชาวบ้านชุมชนหลังวัด”

นอกจากวิถชี วี ติ ยามเช้าของกองหลังกาดประตูเชียงใหม่ทยี่ งั คงสะท้อนอัตลักษณ์ของคนเมือง แล้ว เรือ่ งราวของพืน้ ทีจ่ ากการบอกเล่าของผูอ้ าศัยและการจัดการสภาพแวดล้อมแบบดัง้ เดิม ก็ คืออีกหนึ่งเสน่ห์ของเมืองเก่าที่ยังหลงเหลือให้เราได้ชื่นชม แม้จะเป็นชุมชนขนาดเล็กแต่ชุมชนหลังวัดหมื่นตูม บริเวณถนนพระปกเกล้าซอย 5 ก็เต็มไป ด้วยเรื่องราวเรื่องเล่าจากอดีต ที่ยังตราตรึงในหัวใจของคนรุ่นปัจจุบัน ต้นตระกูลของลุงทศพร ประธานชุมชนวัดหมื่นตูม และลูกบ้านที่สืบเชื้อสายจากชาว พม่าคือกลุ่มผู้อยู่อาศัย ดั้งเดิมของพื้นที่ กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนา พื้นที่รอบชุมชนแห่งนี้จนได้รับการกล่าวถึงในฐานะพื้นที่อุตสาหะเมือง (พื้นที่ผลิตงานเชิงช่าง) บรรพบุรุษของคุณลุงคือกลุ่มชาวพม่าอพยพ เจ้าของกิจการผลิตร่มพม่ายี่ห้อ หม่ององไจ่ ร่มที่ ครั้งหนึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างสูงจากคนเมือง และเป็นร่มกลุ่มแรกๆ ที่เป็นต้นแบบของร่ม กระดาษล้านนา และร่มบ่อสร้างสันก�ำแพงอันลือเรืองในปัจจุบัน

6 ย่านประตูเชียงใหม่

ภาพวาด : คน.ใจ.บ้าน

ข่วงบ้าน

บ้กลุา่มนไม่ ม ร ี ว ้ ั เครือญาติ ที่นี่การอยู่อาศัยแบบสังคมเครือญาติ เหมือนเมื่อครั้งอดีตยังมีให้เห็น การตั้งบ้านเรือน ของบริเวณนี้ไม่มีรั้วกั้นแบ่งแยกญาติพี่น้อง ทุกคนสามารถเดินไปมาหาสู่กันได้สะดวก อีก ทั้งยังมีพื้นที่โล่งกลางกลุ่มบ้าน หรือที่คนเมืองเรียกกันว่า ‘ข่วง’ ซึ่งใช้เป็นลานสาธารณะให้ ทุกคนสามารถใช้สอย หรือท�ำกิจกรรมของชุมชน ข่วงบ้านของชุมชนแห่งนีน้ อกจะแสดงออกถึงอัตลักษณ์การจัดการพืน้ ทีข่ องคนล้านนาแล้ว ยังแสดงถึงพลังของชุมชนทีช่ ว่ ยกันดูแลรักษาพืน้ ที่ ทัง้ เรือ่ งความสะอาด ความสวยงามน่ารัก ของสวนหน้าบ้านและความร่มรื่นจากต้นไม้


แยกบะตั ด ๊ (สี แ ่ ยกไม่ ต รง) และกองกีด (ตรอก) มรดกทางเกวียนในอดีต สี่แยกบะตั๊ด (สี่แยกไม่ตรง)

สี่แยกตัดตรง

หากสังเกตตรอกซอกซอย ในย่านประตูเชียงใหม่ สิ่งสะดุดตาและน่าสนใจ คือ ขนาด และการจัดวางของโครง ข่ายถนน ที่คนยุคปัจจุบันหลายคนสงสัยและปวดเศียรเวียนเกล้าเมื่อต้องใช้สัญจร ด้วยขนาดที่เล็กพอให้รถยนต์ หนึ่งคันผ่านได้ หรือบางแห่งกว้างแค่พอให้คนเดินสวนกันเท่านั้น คนเมืองเรียกว่า กองหน้อยกองกีด (ตรอก)ทั้งโครงข่ายแบบสี่แยกหรือห้าแยกที่ถนนไม่ตัดตรง หรือแยกบะตั๊ด (สี่แยกไม่ตรง) ท�ำให้เกิดความยากล�ำบากในการเลี้ยวรถคันโตๆ สิ่งเหล่านี้คือ มรดกจากรูปแบบการสัญจรในอดีต ที่ใช้เกวียน จักรยาน หรือ การเดินเท้า อันท�ำให้เกิดรูปแบบถนนที่ลัดเลาะระหว่างกลุ่มบ้าน จากบ้านหนึ่งไปอีก บ้านหนึ่งซึ่งเป็นเครือญาติ จากบ้านที่น�ำศรัทธาแม่อุ้ยและลูกหลานไปสู่วัด และจากบ้านสู่ตลาดหรือการติดต่อ ค้าขายกับภายนอก กองกีดและแยกบะตัด๊ เป็นอัตลักษณ์และเสน่หข์ องเมืองเก่า ทีไ่ ม่อาจพบได้ในเมืองสมัยใหม่ทมี่ กี ารจัดวางตัดถนน ในระบบตาราง ที่เคร่งครัดและค�ำนึงถึงยวดยานหรือเวลาในการเดินทางมากกว่าเรื่องวิถีของผู้คน

ชีวิตในตรอกหลังวัดช่างแต้ม ในสังคมแบบเก่าก่อน ความร่วมไม้ร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนและ ระหว่างกลุม่ บ้าน คือสายสัมพันธ์ทผี่ กู โยงเชือ่ มร้อยผูค้ นให้อยูร่ ว่ มกันอย่างพึง พาอาศัยและสงบสุข หลายคนอาจเชือ่ ว่าสิ่งเหล่านีไ้ ด้อนั ตรธานหายไปแล้ว จากสังคมภายในเขตเมืองเก่าอย่างไม่มีวันหวนคืน แต่ในความเป็นจริง ยังมีชมุ ชนเล็กๆ ทีซ่ กุ ซ่อนอยูใ่ นทุกซอกซอยทีส่ งิ่ เหล่านัน้ ยังด�ำเนินอยูอ่ ย่าง เป็นปกติและงดงาม เช่น ชีวติ ในตรอกหลังวัดช่างแต้มของครอบครัวประสบ สุข และอีกหลายครอบครัว ที่ร่วมกันและดูแลตรอกเล็กๆ ที่มีขนาดกว้าง ไม่ถึงเมตรครึ่ง โดยไม่รีรอหรือหวังพึ่งความช่วยเหลือแต่เพียงถ่ายเดียว ทั้งเรื่องการจัดท�ำทางระบายที่ท�ำกันขึ้นเองแบบง่ายๆ จากงบประมาณที่ รวบรวมเงินกันภายในกลุ่ม ความสะอาดของถนนและความร่มรืน่ จากแมกไม้ทชี่ าวบ้านช่วยกันดูแล และสร้างบรรยากาศสวนเล็กๆ ขนาดย่อมหน้าบ้าน ก็ชว่ ยท�ำให้กองกีดแห่งนี้ ดูมชี วี ติ ชีวา และเหมาะแก่การสัญจร โดยเฉพาะการเดินหรือการปัน่ จักรยาน กินลมในวันหยุดสุดสัปดาห์

ร้านอาหารเช้า โรงอาหารใหญ่ ของย่าน

ย่านประตูเชียงใหม่​่

7

พื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

หากใครได้ลองตระเวนไปตามตรอกซอกซอยในย่าน ประตูเชียงใหม่ อาจเกิดความประหลาดใจว่า เพราะเหตุ ใด พื้นที่ของย่านจึงมีร้านอาหารขนาดย่อมซุกตัวอยู่แถบ ทุกมุมถนน ทั้งๆ ที่บ้านเรือนในย่านนี้ก็อยู่ไม่ไกลจากตลาด ประตูเชียงใหม่เลย แต่หากลองหยุดแวะชิมสักร้าน ก็จะพบ ค�ำตอบได้ไม่ยาก นั้นคือ อัธยาศัยของแม่ค้าที่เป็นกันเอง รสชาติอาหารถูกปาก และราคาย่อมเยา อีกเหตุผลส�ำคัญคือ ย่านนี้มีที่พักอาศัยราคาถูก จ�ำนวนมาก ทั้งหอพัก ห้องแถว และห้องเช่า ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่จงึ เป็นพนักงานส�ำนักงาน นักเรียน นักศึกษา ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง และคนท�ำงานหาเช้ากินค�่ำ อาหารที่ขายส่วนใหญ่เป็นอาหารเมือง ที่ปรุงสุกใส่ถุง ข้าวซอย ขนมจีน และขนมหวานคนเมือง เช่น ขนมวง ร้านหรือแผงขายอาหารจะเปิดตัง้ แต่ตอนเช้า พอสายหน่อย ก็เก็บร้าน จะเปิดอีกครั้งก็เวลาเย็นหลังเลิกงาน


นอกจากโรงอาหารชุมชนที่พบได้ทุกหัวถนน บ้าน เก่าก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของพื้นที่ ที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบนถนนราชมรรคาซอย ๗ ซึ่งเป็นซอยขนาด เล็กทีม่ วี ถิ ชี มุ ชนแบบคนเมือง ควบคูไ่ ปกับบ้านเก่าฝีมอื สล่าชุมชน บ้านลุงอินทร์ คือหนึง่ ในบ้านเก่าตัวอย่างทีต่ งั้ อยูบ่ น ถนนเส้นนีด้ ว้ ยฝีมอื การสร้างและการดูแลรักษาจากลุงอิน ทร์สล่าเจ้าของบ้าน บ้านหลังนีจ้ งึ ยังคงสภาพสมบูรณ์และ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หากสังเกต บ้านเก่าหลังอืน่ ๆ บนถนนเส้นนีก้ จ็ ะพบความคล้ายคลึง ของรูปแบบ และการจัดพืน้ ทีภ่ ายในบ้าน ลุงอินทร์เล่าว่า “บ้านเหล่านีค้ อื ฝีมอื ลุงกับน้องชายส่วนใหญ่ถกู สร้าง ขึ้นสมัยลุงเป็นหนุ่มๆ ปัจจุบันลุงอายุเจ็ดสิบปีแล้ว แต่ ก็ยังรับจ้างท�ำงานช่างอยู่” ส่วนอื่นๆ ที่โดดเด่นในพื้นที่บ้านลุงอินทร์ ได้แก่รั้ว ไม้ไผ่ขัดแตะที่ใช้เป็นทั้งรั้วและประตูปิดร้านก๋วยเตี๋ยว ของป้ามน ภรรยาของลุง ดอกข้าวตอก

ของชุมชนพวกแต้ม บ้านสล่าเก่าแก่

บ้านเก่าลุงอินทร์ ป้ามน

นาคเงิน และ นาคทอง

สวนคนเมืองของป้ามน คืออีกส่วนของบ้านที่ได้รับการจัดการดูแลอย่างดี แม้ดูผิวเผินสวนจะดูปะปน (โฮ๊ะ) แต่ก็มีระบบ ระเบียบแบบง่ายๆ เช่น พืชสวนครัวจะถูกปลูกอยู่มุมหนึ่งไม่ไกลจากห้องครัวเผื่อหยิบใช้ใกล้มือเวลาปรุง อาหาร ได้แก่ ผักไผ่ ผักคอตอง หอมด่วน เล็บครุฑ กะเพรา พริก ฯลฯ ส�ำหรับสวนไม้ประดับสวยงามจะอยู่หน้าบ้านบริเวณบันได ได้แก่ โกสน นาคเงิน นาคทอง ดอกข้าว ตอก ฯลฯ สวนมะลิปลูกไว้เก็บขายช่วงสงกรานต์ จะอยู่แยกออกจากตัวบ้านคละกับไม้ผลอย่างล�ำไย และ มะนาวต้นโต

งานตองวั ด พวกแต้ ม สล่าตองกลุ่มสุดท้ายในเขตเวียงเก่า เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า งานช่างสล่าล้านนานั้น นับวันยิ่งหาดูได้ยาก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เมืองเก่า งาน สล่าที่ได้รับการสืบสาน และมีการท�ำงานอย่างต่อเนื่อง นัน้ ปัจจุบนั หลงเหลืออยูเ่ พียงแค่หยิบมือ งานตองฉัตรวัด พวกแต้ม คือหนึ่งในจ�ำนวนงานสล่าที่ยังคงมีการสืบสาน และมีการรวมตัวกันท�ำงานอย่างเข้มแข็ง ผลิตผลงานอัน วิจิตรสวยงามที่ก้าวผ่านกาลเวลามาหลายยุคสมัย การ ที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ก็เนื่องด้วยหัวใจส�ำคัญคือ ฝีไม้ ลายมือที่เป็นกล่าวขวัญและได้รับการยอมรับจากทั่วทุก สารทิศ บวกกับจิตใจของสล่าทุกคนที่เล่งเห็นคุณค่าของ งานฝีมืออันเป็นมรดกล�้ำค่าคู่เวียงเก่าแห่งนี้ มรดกความรูเ้ ชิงช่างอันล�ำ้ ค่าทีไ่ ด้รบั การถ่ายถอด จากรุน่ สูร่ นุ่ ย้อนกลับไปตัง้ แต่สมัยพระราชชายาเจ้าดารา รัศมี สมัยครูบาศรีวิชัย สืบเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ท�ำให้ค�ำสั่งซื้อยอดฉัตรและงานตอง ลวดลาย ยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนือ่ ง งานตองฉัตรวัดพวก แต้มได้เดินทางไปประดับประดาวัดหลายแห่งทัว่ ภาคเหนือ และบางชิ้นไปไกลถึงประเทศลาวและจีนตอนใต้ ปัจจุบัน โรงงานและงานตองฉัตรวัดพวกแต้ม ได้รับการดูแลและ สืบสานส่งต่อโดยมีตุ๊เนตร หรือพระครูปฏิภาณธรรมพิศิ ษฎ์ เจ้าอาวาสวัดพวกแต้มร่วมกับสล่าอีกหลายคน เป็น หัวเรี่ยวหัวแรงส�ำคัญ ซึ่งความร่วมไม้ร่วมมืออันเข้มแข็ง นี้ในปัจจุบันได้ขยายตัวเป็นก�ำลังหลักของชุมชน

คัแม่วสตอง ดอกไม้ ไ หว มจิตร

ป้าสมจิตร

8 ย่านประตูเชียงใหม่​่

แม่สมจิตร เป็นช่างคัวตองที่ยังประดิษฐ์ดอกไม้ไหว ใช้ประดับศีรษะช่างฟ้อน และเล็บทีใ่ ช้ส�ำหรับสวมในการ ฟ้อนเล็บ หรือร�ำโนรา แม่สมจิตรยังคงใช้วิธีการดั้งเดิม ในการผลิต คือ อาศัยการ ตัด ดัด เคาะ และขึ้นรูป ด้วยมือ ในขณะทีข่ นั้ ตอนผลิตคัวตองหรือเครือ่ งประดับ ทองเหลืองชนิดอื่นๆ ที่ใช้ส�ำหรับประดับตกแต่ง ชุดช่างฟ้อนในปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเชิง อุตสาหกรรมที่อาศัยเครื่องจักรเป็นหลัก แม่สมจิตรเล่าให้ฟังว่า แม่ไม่ได้เรียนการท�ำคัวตอง จากครูคนไหนเป็นพิเศษ แต่อาศัยการร�่ำเรียนแบบครู พักลักจ�ำมาจากคนเฒ่าคนแก่และญาติผู้ใหญ่ในย่านวัด พวกแต้ม พืน้ ทีท่ คี่ รัง้ หนึง่ เคยเป็นแหล่งรวมสล่าคัวตอง เมือ่ ครัง้ ยังเป็นเด็ก แม่ไม่ได้สนใจการท�ำคัวตองเท่าไร มาเริม่ สนใจและลงมือท�ำอย่างจริงจังก็เมือ่ อายุมากแล้ว แม่ยงั เสริมอีกว่า ในปัจจุบนั หัตถกรรมชนิดนี้ ยังคงได้รบั ความนิยมและมีคนมาสั่งซื้ออยู่เรื่อยๆ ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นช่างฟ้อน นักเรียนและนักศึกษาวิจิตรศิลป์ นอกจากงานท�ำดอกไม้ไหวและเล็บแล้ว แม่ยงั สามารถ ท�ำงานทองเหลืองได้อกี หลายแบบ ตามแต่ความต้องการ ของลูกค้าว่าจะอยากได้แบบไหน ตัง้ แต่การดัดแปลง เล็บ ดอกไม้ไหว ให้มีรูปแบบเฉพาะที่เหมาะสมและใช้งานได้ ง่ายขึน้ รวมถึงการท�ำต้นโพธิท์ องและเงินส�ำหรับถวายวัด


ภาพวาด : เอกสิทธิ์ ชูวงษ์

ชวน ชม

นิทรรศการ เชียงใหม่ เมืองเก่า เมืองงาม จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (หลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) กิจกรรมเปิดนิทรรศการ วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ นิทรรศการจัดแสดงตั้งแต่ วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม - วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕

นิ

ตัวตนและคุณค่าเหล่านี้มิใช่เพียงแค่เครื่องมือหรือค�ำอธิบายเพื่อจะให้ความกระจ่างชัดถึงอัตลักษณ์ของผู้คนและพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยหรือผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภทควร ตระหนักถึงเท่านั้น แต่คือหมุดหมายบอกต�ำแหน่งแห่งที่ของคุณค่าและศักยภาพที่ผู้คนดั้งเดิมยังคงถือรักษาไว้ และหมายให้เป็นจุดเริ่มต้น ที่ศักยภาพและคุณค่าเหล่านี้ จะได้ท�ำหน้าที่เป็นเข็มทิศอันส�ำคัญยิ่งในการก�ำหนดทิศทางการดูแลรักษา เปลี่ยนแปลง และอนุรักษ์เมืองเก่าแห่งนี้อย่างยั่งยืนสืบไป นิทรรศการครัง้ นีป้ ระกอบด้วย เรือ่ งราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากชุมชนในเขตเมืองเก่า มีทงั้ เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนจากความทรงจ�ำของผูค้ นในพืน้ ที่ วิถชี วี ติ และสาย สัมพันธ์ของคนกับพื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย อาชีพดั้งเดิมที่ก�ำลังจะสูญหายไปตลอดกาล เช่น คนท�ำขนมโบราณ และสามล้อถีบ สายสัมพันธ์อันน่าพิศวงของผู้คนกับตลาด และร้านขายอาหารพื้นเมืองราคาถูกที่แฝงตัวอยู่ในทุกชุมชน ความเป็นมาเป็นไปของถนนหนทางที่คดโค้งและแคบขอด กลุ่มช่างสล่าที่ยังสืบทอดภูมิปัญญาผ่านงานฝีมือ อย่างขะมักเขม้น และต�ำนานของวัดวาอาราม เจดีย์ พระประธาน โบราณสถาน แจ่งเมืองประตูเมือง และพื้นที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ อื่นๆ ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ส�ำนักงาน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต�ำบลศรีภูมิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์/โทรสาร : 0 5321 7793 / Email: cmocity@hotmail.com / www.facebook.com/fuenban

9

พื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

ทรรศการเชียงใหม่ เมืองเก่า เมืองงาม จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับ โครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนผู้คนในเมืองเก่า ให้หันกลับมามองเมืองเก่าเชียงใหม่ของตนในปัจจุบันอย่างตรึกตรองอีกครั้ง ผ่านมุมมองและเรื่องราวจากผู้คนในพื้นที่ ทั้งแง่มุมของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังหลงเหลือ รวมถึงประวัติศาสตร์และความทรงจ�ำ วิถีชีวิตของผู้คน สภาพสังคมและความเปลี่ยนแปลงในเขตเมืองเก่าอย่างรอบด้าน โดยมุ่งหวังที่จะให้ภาพของนิทรรศการครั้งนี้เป็น กระจกสะท้อนตัวตนและคุณค่าของเมืองเก่า


ชวนิด แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม ค

ถนนเจริญราษฏร์

มืองเชียงใหม่ประสบกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมของเมืองในช่วง ระยะเวลาที่ผ่านมา อาทิ ปัญหาการคุกคามของมลภาวะ ความสับสนของรูป ลักษณ์ของเมือง อาคารทีไ่ ม่นา่ ชวนมอง การจัดการกับพืน้ ทีว่ า่ ง พืน้ ทีส่ าธารณะ การ ครอบง�ำของอาคารต่อมุมมองส�ำคัญของเมือง และทัศนะอุจาด เป็นต้น เมืองเชียงใหม่ได้ชอื่ ว่าเป็นเมืองทีม่ คี วามส�ำคัญอันดับสองรองจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนาน อีก ทัง้ มีศิลปวัฒนธรรมรวมและสถาปัตยกรรมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างโดดเด่น แต่ สิ่งที่ไม่คาดก็เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความ ต้องการของประชาชนและนักท่องเทีย่ ว ซึง่ ส่งผลท�ำให้เกิดการสร้างอาคาร ถาวรวัตถุ ต่างๆ อาทิ อาคารร้านค้าโรงแรมและคอนโดมิเนียม เพื่อตอบสนองความต้องการ ใน ลักษณะที่มุ่งจะสร้างความงามและความสะดวกแก่ตัวเอง โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงการ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์กลมกลืนและเคารพซึ่งกันและกันต่อเมืองและต่อ เอกลักษณ์ของเมือง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของเมืองที่มีสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งบ่งบอก และสะท้อนถึงความมีอารยะธรรม ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียม ประเพณีของพื้นถิ่นนั้นๆ การอนุรักษ์รักษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นส่วนส�ำคัญที่จะถ่ายทอดเรื่อง ราว ถึงความเป็นมาของท้องถิ่น ย่านถนนเจริญราษฎร์ หรือ ย่านวัดเกตเป็นถนน ที่ตั้งอยู่ขนานกับแม่นํ้าปิงฝั่งทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่และเป็นย่านหนึ่งที่มี

ความส�ำคัญต่อประวัตศิ าสตร์ของเมืองทีค่ วรค่าต่อการอนุรกั ษ์รกั ษาไว้ ซึง่ ในปัจจุบนั สภาพพื้นที่ประกอบด้วยอาคารและสถาปัตยกรรมที่ยังคงเหลือไว้เป็นอาคารดั้งเดิม ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ อาคารที่ต้องการปรับปรุงซ่อมแซม รวมทั้งโครงการ หรือ อาคารใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อนึ่ง หากไม่มีแนวทางส�ำหรับการออกแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรม (DESIGN GUIDELINES) ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมอาคารดั้งเดิมที่มีคุณค่า หรือการปรับปรุง อาคารทั่วไป รวมทั้งโครงการหรืออาคารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหล่านั้น ก็จะมีความ เป็นไปได้วา่ รูปลักษณะของย่านวัดเกตหรือถนนเจริญราษฏร์จะเกิดความเปลีย่ นแปลง โดยไม่เหลือสภาพของย่านทีม่ คี วามส�ำคัญต่อประวัตศิ าตร์เมือง เชียงใหม่ให้ลกู หลาน ได้ภาคภูมิใจ ดังนัน้ แนวทางการออกแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรม (DESIGN GUIDELINES) จะช่วยเป็นแนวทางส�ำหรับให้เจ้าของอาคาร เจ้าของที่ดิน สถาปนิก นักออกแบบใน ส่วนต่างๆ ให้พิจารณาถึงการออกแบบ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้อง มีความเคารพ ซึ่งกันและกัน และแนวทางการออกแบบอาคารนี้ ไม่ใช่เป็นลักษณะปรับจากด�ำเป็น ขาว หรือเป็นทางเลือกทีบ่ งั คับเด็ดขาด หากแต่เป็นการท�ำให้เกิดความสมดุล มีความ เป็นไปได้ของความมีคุณภาพที่ดี และความเป็นอยู่ของผู้คนกับสิ่งแวดล้อม การอยู่ ร่วมกันอย่างกลมกลืน และเคารพซึ่งกันและกันต่อย่านและต่อเอกลักษณ์ของเมือง

งานอนุรักษ์และพัฒนาจากพลังของผู้คน

มือ่ เอ่ยถึงสีเ่ หลีย่ มคูเมือง คนเชียงใหม่รจู้ กั ดีถงึ แนวปราการทีพ่ ญามังรายสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นปราการป้องกันข้าศึก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าแนวก�ำแพงเมืองชั้นนอก นั้นก็เป็นอีกปราการหนึ่งที่ส�ำคัญ และมีคุณค่าในการเรียนรู้พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างผูอ้ าศัยกับวัฒนธรรมทีส่ ง่ คืนให้กบั เมือง ไม่ใช่แค่สถานเริง รมย์ที่เราเห็นกันอย่างเดียว ตามแนวก�ำแพงเมืองชั้นนอกยังเป็นที่ตั้งของชุมชนเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยคน พื้นเมืองเดิม ช่างฝีมือ และชาวเขา เพราะพื้นที่บนก�ำแพงเคยท�ำหน้าที่เป็นเส้น ทางเชื่อมระหว่างคนกับคน ความเป็นชุมชนจึงเกิดขึ้น ปัจจุบันความเจริญได้เข้าถึง ท�ำให้เส้นทางบนแนวก�ำแพงถูกเก็บไว้ในฐานะโบราณสถานที่ไม่ได้มีแค่ความเก่าแก่ ตามอายุความเป็นพื้นที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ ถูกละเลยในเรื่องของการดูแลในฐานะสมบัติอันล�้ำค่าของทุกคนในเมืองด้วย ชุมชน 5 ธันวา เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในแนวก�ำแพงเมืองชั้นนอก ในอดีตลาน บนก�ำแพงซึ่งชาวบ้านเรียกว่าลานพาจ๊างศึกนั้น เคยถูกใช้ให้เป็นสถานที่ฟังธรรมใน วันส�ำคัญ ต่อมาถูกทิ้งให้รกร้างอีกครั้ง เพราะพื้นที่ไม่ได้ถูกใช้งาน เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2545 ทีผ่ า่ นมา ชุมชน 5 ธันวา ร่วมกับมูลนิธซิ เี มนต์ไทย และ คน.ใจ. บ้าน ร่วมกันฟื้นลานพาจ๊างศึกขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยแนวคิดที่ว่า ชุมชน 5 ธันวาจะ ‘อยู่ร่วมกับแนวก�ำแพงอย่างอนุรักษ์’ โดยท�ำแนวก�ำแพงกันดินทลายจากน�้ำในหน้า ฝนและปรับพื้นที่บนก�ำแพงให้เป็นลานออกก�ำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนใน ชุมชน บวกกับทักษะในการออกแบบของทีมนักออกแบบที่น�ำมาใช้ในการแก้ปัญหา ด้านข้อจ�ำกัดทีเ่ ป็นพืน้ ทีโ่ บราณสถานห้ามสร้างสิง่ ปลูกสร้างทีเ่ ป็นถาวรและการรักษา แนวอิฐบนก�ำแพงให้อยูค่ รบ ซึง่ กระบวนการออกแบบนัน้ ไม่ได้เพียงแต่ชว่ ยปรับพืน้ ที่ ให้สวยงามเท่านัน้ แต่ยงั ช่วยรักษาพืน้ ทีท่ งั้ ด้านการดูแล และการรักษาประวัตศิ าสตร์ เรื่องราวผ่านผู้เฒ่าผู้แก่และคนในชุมชนที่ขึ้นไปใช้พื้นที่บนก�ำแพงอีกด้วย

10

เรื่องและภาพ ธนิต ชุมแสง และคณะ สนับสนุนโดย: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนงานส่งเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี

เรื่อง : ฐิติยากร นาคกลิ่นกูล และคน.ใจ.บ้าน ภาพ : คน.ใจ.บ้าน

หมู่เฮา

ก่เยียะได้


เจตนารมย์ของเรา

วารสาร

‘ฟื้นบ้าน ย่าน เวียง เชียงใหม่’ จะท�ำหน้าที่น�ำเสนอข้อมูลอันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ ซึ่งเกิดจากการท�ำงานของภาคีต่างๆ อันประกอบด้วย หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม กลุ่มเมืองเมือง กลุ่มคน.ใจ.บ้าน กลุ่มตัวเล็กกับการ อนุรักษ์ กลุ่มรักษ์ล้านนา กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ นักวิชาการจากคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และที่ส�ำคัญ­ที่สุดคือ ‘ประชาชน’ ในชุมชนเมืองผู้เป็นเจ้าของอาคารบ้านเรือนในเขตเวียงเก่า ซึ่งเห็นตรงกันในวาระอันควรที่จะต้องเข้ามาร่วม ช่วยฟื้นฟูรักษาเวียงเก่าของเมืองเชียงใหม่ให้คงสภาพน่าอยู่ต่อไป ผ่านกระบวนการการท�ำงานตามหลักวิชาการ อันค�ำนึงถึงความเป็นจริงของสภาพสังคมปัจจุบันที่แปร เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การท�ำงานของคณะท�ำงานฯ ครัง้ นี้ จ�ำเป็นต้องได้รบั ความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระ แต่ถงึ แม้จะได้รบั ความช่วยเหลือ นั้น กองบรรณาธิการวารสาร ‘ฟื้นบ้าน ย่าน เวียง’ ก็ขอสงวนสิทธิ์ในอิสระจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยจะน�ำเสนอข้อมูลที่เหมาะสม ปราศจากอคติ และด�ำรงไว้ซึ่งจริยธรรม ด้วยมีเป้าหมายเพือ่ การรณรงค์ให้ประชาชนชาวเชียงใหม่ทงั้ ในเวียงและทีอ่ ยูน่ อกเวียงได้ตระหนักรูถ้ งึ ความส�ำคัญของการธ�ำรงรักษาอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะ ในเวียงเก่าของเรา ทั้ง 3.2 ตารางกิโลเมตร อันมีค่ายิ่ง ที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ได้เริ่มด�ำเนินกิจกรรมบางส่วนไปบ้างแล้วได้แก่

การท�ำโคมควัน

วัน

ที่ 7 พฤศจิกายน 54 ที่ผ่านมาได้มีการ จัดการท�ำโคมควันภายใต้กจิ กรรมฟืน้ ฟูฝมี อื ช่างล้านนา ณ วัดดอกค�ำ โดยได้รบั เกียรติจากลุงอ�ำไพ สายทองเป็นวิทยากร และท�ำการปล่อยโคมควันที่ท�ำ ทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกันมาสามวันในวันที่ 10 ซึ่งทีมงานหวังว่าในปี มอบป้าย NO FOAM FOR FOOD หน้าจะมีการพัฒนาการท�ำโคมควันต่อไปอีก กรรม NO FOAM FOR FOOD บน ต้นหมากจะช่วยท�ำให้ภูมิทัศน์เมืองเก่าเชียงใหม่เขียวสดชื่น ถนนคนเดินตลอดทั้งสาย (ถนน ราชด�ำเนินเชียงใหม่) ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 หากล้าไม้จากหน่วยงานต่างๆ ณ ซุ้มเวียง มิ.ย. 54 โดยได้ขอความร่วมมือพ่อค้าแม่ค้า เก่าเขียว สวย หอม ด้านหลังอาคารหอศิลป เปลี่ยนการใช้ภาชนะโฟมใส่อาหารมาเป็นวัสดุ วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการ จากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นอันตราย รับแลกเปลีย่ นต้นไม้ระหว่างประชาชนทัว่ ไปและผูท้ สี่ นใจ ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้วยจานหรือ อีกทัง้ น�ำทีมอาสาสมัครทัง้ เด็กนักเรียนและผูใ้ หญ่มาช่วย ชามที่ล้างสะอาดแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ ใบตอง กันเพาะเมล็ดพันธุ์ ต้นหมาก เพื่อใช้เป็นต้นกล้าส�ำหรับ แห้ง/สด กระดาษ หรือภาชนะชานอ้อย โดย แจกจ่ายต่อไป ตัวแทนกลุ่มเมืองเมืองร่วมกับนายกเทศมนตรี ส�ำรวจพืน้ ที่และวิถีชวี ิตของผู้คนภายใน นครเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ ได้มอบ ที่ 26 พฤศจิกายน 54 เริม่ กิจกรรมการแกะ เขตเมืองเก่า ขณะนี้ได้ท�ำการส�ำรวจ แผ่นป้าย NO FOAM แก่รา้ นค้าทีเ่ ปลีย่ นภาชนะ สลักพระเจ้าไม้ลา้ นนา ณ หอศิลปวัฒนธรรม และจัดท�ำข้อมูลพื้นที่บริเวณย่านประตูเชียงใหม่ส�ำเร็จ จากโฟมเป็นภาชนะธรรมชาติ พร้อมทัง้ ได้ตงั้ จุด เมืองเชียงใหม่ ซึ่งกิจกรรมนี้ถือเป็นดาวจรัสแสงของ แล้ว ซึง่ ได้จดั ท�ำเป็นสกูป๊ อยูใ่ นวารสารฟืน้ บ้านฯในฉบับ ทิ้งขยะโดยแยกประเภท ตามจุดต่างๆ บนถนน การฟื้นฟูฝีมืองานช่างของสล่าล้านนาทีเดียว ปฐมฤกษ์นดี้ ว้ ย และก�ำลังวางแผนส�ำรวจในบริเวณย่าน คนเดิน จ�ำนวน 20 จุด วัดพระสิงห์ เพือ่ จัดท�ำข้อมูลชุมชนย่านเวียงเก่าเชียงใหม่ แกะสลักพระเจ้า ให้ชาวเชียงใหม่ได้ทราบต่อไป ไม้ล้านนา ภาย ใต้กิจกรรมฟื้นฟูฝีมือช่างล้าน ทรรศการ ‘เชียงใหม่ เมืองเก่า เมืองงาม’ จัดแสดง นา เรียนทุกวันเสาร์ จ�ำนวน เรื่องราวของวิถีชีวิตในเมืองเก่าเชียงใหม่ที่ยังคง 10 ครั้ง เริ่มเรียนเสาร์แรกที่ มีเสน่ห์และความเป็นอัตลักษณ์ของเชียงใหม่จากอดีต 26 พ.ย. 54 เวลา 09.00 – จนถึงปัจจุบัน นิทรรศการเริ่มเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 20 12.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรม มกราคม 55 – 30 พฤษภาคม 55 ณ ห้องนิทรรศการ เมืองเชียงใหม่ หมุนเวียน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ การแกะสลักพระเจ้าไม้

กิจ

จัด

วัน

การ

ออก นิ

แสนเมือง สุวารี วงค์กองแก้ว รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา สามารถ สุวรรณรัตน์ ศุภกุล ปันทา ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร ทนวินท วิจิตรพร เอกสิทธิ์ ชูวงษ์ ไพลิน ทองธรรมชาติ ฐิติยากร นาคกลิ่นกูล ขนิษฐา ศักดิ์ดวง ลักขณา ศรีหงส์ อรช บุญ-หลง ประสงค์ แสงงาม

ถ่ายภาพ

แอนเจล่า ศรีสมวงศ์วัฒนา สามารถ สุวรรณรัตน์ ศุภกุล ปันทา

ศิลปกรรม

Sister Print & Media

ประสานงาน อลิสา ยุพาวดี ศศิพร

ยังเยี่ยม บุริมสิทธิพงษ์ แก้วพินิจ

โครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่

ส�ำนักงาน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต�ำบลศรีภูมิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์/โทรสาร : 05 321 7793 Email: cmocity@hotmail.com www.facebook.com/fuenban

11

พื้นบ้าน-ย่าน-เวียง เชียงใหม่

วารสารฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ สร้างสรรค์โดย


12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.