เชิญตะวัน

Page 1


เชิญตะวัน เชิญสิง่ ดีๆ มาสูช่ วี ติ เชิญพรทีส่ มั ฤทธิม์ าสร้างชีวา

ว. วชิรเมธี


คำปรารภ

(จากห้องสมุดธรรมดา – โรงเรียนเตรียมสามเณร) นับแต่อาตมภาพบวชเรียนที่วัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

เมื่อปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา และยังอยู่เป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมและศึกษาวิชาสามัญ

จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปี ๒๕๓๒ นั้น ตลอดเวลาดังกล่าวที่ได้อาศัยศึกษาพระธรรม วินัยอยู่ในวัดครึ่งใต้ ผู้เขียนได้พบเห็นสภาพความขาดแคลนของวัดในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ขาดแคลนอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ขาดแคลนอาคารเรียน ขาดแคลนครูบาอาจารย์ ขาดแคลนงบประมาณ สิ่งเดียวเท่านั้นที่ทางโรงเรียนวัดแห่งนี้มีพร้อมอย่างเต็มเปี่ยมก็คือ

ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณรให้ได้รับการศึกษา อย่างดีทสี่ ดุ ของท่านเจ้าอาวาส ซึง่ ก็คอื พระครูวริ ฬุ ห์วริ ยิ ธรรม ในปัจจุบนั นี้ วันหนึ่ง เมื่อผู้เขียนไปนั่งอ่านหนังสืออยู่ในห้องสมุดเก่าๆ ของวัด ซึ่งเป็นห้องสมุดที ่ สร้างขึน้ มาตามยถากรรม กล่าวคือ ใช้ไม้ฟากกัน้ เป็นห้องโดยมีฝาผนังข้างหนึง่ เป็นกำแพงวัดทีใ่ ช้ เป็นผนังห้องสมุดไปด้วยในตัว ขณะทีผ่ เู้ ขียนซึง่ ขณะนัน้ ยังเป็นสามเณรอายุเพียง ๑๔ ปี นัง่ พิงผนัง ห้องสมุดอ่านหนังสืออย่างเพลิดเพลินเจริญใจแล้วก็เดินออกมาจากห้องสมุด เพือ่ เข้าเรียนในวิชา ต่อไปนั้น เพื่อนๆ ก็ชี้มาที่ผู้เขียนพลางหัวเราะฮากันครืน เมื่อผู้เขียนหันไปสำรวจก็พบความผิด ปกติอันเป็นที่มาของเสียงหัวเราะ นั่นก็คือ ผนังปูนเก่าๆ สีขาวซีดของผนังห้องสมุดได้ลอกติด

แผ่นหลังของผูเ้ ขียนออกมาด้วยหนึง่ แผ่น ผูเ้ ขียนแกะผนังปูนเก่าๆ นัน้ ออกจากแผ่นหลังของตัวเอง แล้วนาทีนนั้ เอง ก็เกิดปณิธานขึน้ มาในใจว่า “วันหนึ่งข้างหน้า หากสามารถพึ่งตนเองในทาง สติปญ ั ญาได้เมือ่ ไหร่ จะขอกลับมาสร้างห้องสมุดทีด่ ที สี่ ดุ ให้แก่โรงเรียนวัดแห่งนีใ้ ห้จงได้” แม้วนั เวลาจะผ่านไปเนิน่ นานเพียงไร แต่ปณิธานนีก้ ย็ งั คงก้องกังวานอยูใ่ นใจของผูเ้ ขียนเสมอมา อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อผู้เขียนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการเขียนหนังสือชื่อ “ธรรมะติดปีก” บ้างแล้ว ก็มเี หตุให้ได้พบกับกัลยาณมิตรคนหนึง่ คือ คุณนันทนา มัน่ เศรษฐวิทย์ มหาอุบาสิกา

ผูส้ นใจในธรรมปฏิบตั ไิ ด้มานัง่ สนทนาธรรมกับผูเ้ ขียนทีว่ ดั เบญจมบพิตร ช่วงหนึง่ ของการสนทนา คุณนันทนา มั่นเศรษฐวิทย์ ได้ปวารณาตนขอถวายความอุปถัมภ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผู้ เ ขี ย นจึ ง นำเสนอว่ า หากอยากส่ ง เสริ ม การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนา ไม่ มี วิ ธี ใ ดจะดี ไ ปกว่ า

การช่วยกัน “ถวายความรู้” ให้แก่พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นศาสนทายาทให้ได้รับการศึกษา

อย่างดีที่สุด เมื่อคุณนันทนาเห็นด้วย ผู้เขียนจึงเสนอว่า ควรร่วมกันสร้างห้องสมุดให้พระภิกษุ สามเณรได้อ่านหนังสือกันให้มากๆ เพราะหากพระภิกษุสามเณรมีความรู้ไม่มาก เติบโตขึ้นมา

ในระบบการศึ ก ษาที่ ก ะพร่ อ งกะแพร่ ง ทั้ ง ยั ง ไม่ รั ก ในการแสวงหาวิ ช าความรู้ หรื อ ถึ ง รั ก

ในการแสวงหาวิชาความรู้ แต่หากไม่มสี ถาบันการศึกษาทีด่ พี อ พระภิกษุสามเณรทีเ่ ป็นปัญญาชน

และมีศกั ยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะเกิดขึน้ มาได้อย่างไร ต่ อ มาคุ ณ นั น ทนา มั่ น เศรษฐวิ ท ย์ ได้ น ำเรื่ อ งที่ ส นทนากั น ไปนำเสนอให้ คุ ณ อุ ด ม

อุดมปัญญาวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท ยูแทคไทย จำกัด

ในขณะนั้นพิจารณา ผลก็คือ คุณอุดม อุดมปัญญาวิทย์ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัท

ทุกคนต่างมีความเห็นเป็นเอกฉันท์วา่ ควรส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ดที สี่ ดุ และนัน่ จึง เป็นทีม่ าของการ “ทอดกฐินสามัคคี” ณ วัดครึง่ ใต้ ในปี ๒๕๔๗ ซึง่ เป็นปีแรก และเป็นจุดเริม่ ต้น ของการทอดกฐินในปีต่อๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนในที่สุดเจตนารมณ์ซึ่งเป็นเพียงความฝัน ในอดี ต ก็ ไ ด้ รั บ การสานต่ อ ให้ เ ห็ น เป็ น รู ป ธรรม กล่ า วคื อ คุ ณ อุ ด ม อุ ด มปั ญ ญาวิ ท ย์ และ กัลยาณมิตรอีกหลายบริษัทได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สวยงาม พรั่งพร้อมด้วย อุปกรณ์ทางการศึกษาสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และมอบถวายไว้กับวัดครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย พร้อมทั้งได้กราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดอาคารเรียนอย่างเป็นทางการ เมือ่ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การเสด็จพระราชดำเนินในวันนัน้ นำความปลาบปลืม้ ยินดีมาสู ่ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างหาที่สุดมิได้ และกลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งความภาคภูมิใจร่วมกัน

ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ แก่ผู้บริหาร พนักงานทุกคนของบริษัท

ยูแทคไทย จำกัด ในวันนี้ ที่ได้มองเห็นว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เกิดจากการทอดกฐินทุกปีนั้น

ถูกใช้ไปอย่างคุม้ ค่าและมีความหมายทางการศึกษามากทีส่ ดุ หลังจากงานเปิดโรงเรียนที่พัฒนามาจากห้องสมุดเพียงห้องเดียวในยุคต้นของงาน พัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ที่ริเริ่มโดยผู้เขียนและคุณอุดม อุดมปัญญาวิทย์แล้ว คุณอุดม

อุดมปัญญาวิทย์ พร้อมทัง้ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การบริษทั ยูแทคไทย จำกัด ยั ง คงมี วิ สั ย ทั ศ น์ ต่ อ ไปว่ า ควรมี ก ารจั ด ระบบการบริ ห ารงานของโรงเรี ย นในทุ ก เรื่ อ งให้ มี

ระบบมาตรฐาน สมกับทีไ่ ด้รว่ มกันสร้างสรรค์พฒ ั นามาแต่ตน้ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ควรจะเป็นโรงเรียน พระปริยัติธรรมตัวอย่างหรือเป็นโรงเรียนเตรียมสามเณรในอนาคต สมตามแนวพระราชดำริใน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทไี่ ด้พระราชทานในวันเสด็จพระราชดำเนิน ด้วย ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางและ แนวนโยบายในการบริหารโรงเรียนขึน้ มาชุดหนึง่ โดยมีคณ ุ อุดม อุดมปัญญาวิทย์ และผู้เขียนร่วมกัน เป็นประธาน และเพื่อให้การที่ริเริ่มไว้สำเร็จเป็นรูปธรรม คณะกรรมการจึงเห็นควรจัดตั้งมูลนิธ ิ ขึน้ มามูลนิธหิ นึง่ เพือ่ รองรับการบริหารกิจการของโรงเรียนให้มคี วามยัง่ ยืนต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุดังกล่าวมา การทอดกฐินสามัคคีที่นำโดยบริ ษั ท ยู แ ทคไทย จำกั ด ในปี ๒๕๕๒ นี้ คุ ณ อุ ด ม อุ ด มปั ญ ญาวิ ท ย์ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารและกรรมการผู้ จั ด การ

บริษทั ยูแทคไทย จำกัด ในฐานะประธานกรรมการกฐินอีกตำแหน่งหนึง่ จึงระบุวตั ถุประสงค์ของ


การทอดกฐินไว้ว่า ต้องการระดมเงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิสำหรับอุปถัมภ์ โรงเรียน ความดำริที่เป็นกุศลดังกล่าวนี้ทราบไปถึงคุ ณ ยายทั ศ นี ย์ บุ รุ ษ พั ฒ น์ ซึ่งเป็น

นักการศึกษาผู้ปรารถนาจะสร้างศาสนทายาทระดับปัญญาชนไว้ให้กับสถาบันสงฆ์ไทย

เป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว จึงมีมทุ ติ าจิต ขอร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินอีกส่วนหนึง่ ด้วย จึงเป็นอันว่า กฐินสามัคคีประจำปี ๒๕๕๒ นี้ จึงมีบริษัทยูแทคไทย จำกัด และ

คุณยายทัศนีย์ บุรษุ พัฒน์ และครอบครัวร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีกลั ยาณมิตรจากบริษทั

และองค์กรอืน่ ๆ อีกหลายแห่งร่วมเป็นบุญภาคีผมู้ สี ว่ นแห่งความดีเช่นทีเ่ คยจัดมาทุกปี ความสำเร็จของ “โครงการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์แห่งอนุภมู ภิ าคลุม่ น้ำโขง” ในเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมานั้น เกิดขึ้นได้ก็เพราะความเสียสละของกัลยาณมิตรชาวยูแทคไทย

ทุกคน กอปรกับวิสัยทัศน์ทางการศึกษาของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยูแทคไทย จำกัด

ที่นำโดยคุณอุดม อุดมปัญญาวิทย์ เป็นต้น จึงทำให้วันนี้มีพระภิกษุสามเณรมากมาย

ในท้องถิน่ ทุรกันดารได้รบั โอกาสทางการศึกษาอย่างดียงิ่ ผู้เขียนในฐานะประธานกรรมการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์แห่งอนุภูมิภาค

ลุ่มน้ำโขง ตระหนักในคุณูปการอันสูงยิ่งของคุณอุดม อุดมปัญญาวิทย์ และชาวยูแทคไทย

ทุกคน ตลอดจนถึงภาคีกลั ยาณมิตรทุกภาคส่วนทีไ่ ด้ชว่ ยกันสร้างฝันให้เป็นจริง จึงขอถือโอกาส นี้ ก ล่ า วอนุ โ มทนาและบั น ทึ ก กุ ศ ลกิ ริ ย าของทุ ก ท่ า น ทุ ก คน ทุ ก ฝ่ า ย ไว้ ใ ห้ เ ป็ น หลั ก ฐาน

ทางประวัติศาสตร์ในบรรทัดนี้ ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเราทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างสิ่งที่ดีที่สุดคือ โรงเรี ย นพระปริ ยั ติ ธ รรมมอบไว้ ใ ห้ เ ป็ น สมบั ติ ข องพระบวรพุ ท ธศาสนา พร้ อ มทั้ ง ยั ง ได้

มอบโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กเยาวชนอีกมากมายนับไม่ถว้ น ในโอกาสอันเป็นมงคลยิง่ ทีเ่ รา ได้มาร่วมกันทอดกฐินสามัคคีอีกครั้งหนึ่งนี้ ผู้เขียนก็ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยอำนวยพร ให้ผู้เกี่ยวข้องกับการทอดกฐินสามัคคีในคราวนี้ จงประสบความสุข สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และจงได้ดวงตาเห็นธรรมตามองค์สมเด็จพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าโดยทัว่ หน้ากันด้วยเทอญ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประธานกรรมการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ แห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒

สารบัญ หน้า ภาค ๑ ทฤษฎี ดั่งดวงตะวัน

กัลยาณมิตรธรรม : ภาวะผู้นำของกัลยาณมิตร

๑๓

ภาค ๒ กรณีศึกษา

๑๗

ความรู้จักคิดและกัลยาณมิตรของ - พระเจ้าอโศกมหาราช : จากทรราชกระหายสงครามเป็นมหาราชโลกไม่ลืม

๒๐

- องคุลิมาล : จากฆาตกรใจร้ายกลายเป็นพระอรหันต์เปี่ยมเมตตา ๓๔ - กิสาโคตมี : จากสตรีวิกลจริตพลิกชีวิตเป็นพระอรหันต์

๔๐

- หลุยส์ เบรลล์ : จากคนตาบอดสู่คนของโลก

๔๖

- อัลเฟรด โนเบล : จากคนบาปกลายเป็นนักบุญอันดับหนึ่งของโลก

๕๕


หน้า ภาค ๓ วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงชีวิตของบุคคลสำคัญ ๖๕ - อโศกมหาราช - องคุลิมาล - กิสาโคตมี - หลุยส์ เบรลล์ - อัลเฟรด โนเบล ภาคพิเศษ บริษัทยูแทคไทย จำกัด : กัลยาณมิตรยิ่งใหญ่ ผู้สร้างโรงเรียนเตรียมสามเณรวัดครึ่งใต้วิทยา

๖๖

ภาค ๑ ทฤษฎี ดั่งดวงตะวัน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา มนุษย์ทุกคน

มีศักยภาพในการเป็นนักศึกษา กล่าวคือ สามารถฝึก หัด พัฒนา ให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปจากปุถุชนจนเป็นกัลยาณชน และ อารยชนในที่สุด ผู้ที่ศึกษาสำเร็จการศึกษาตามแนวทางของพุทธศาสนา นับว่าเป็น “พุทธะ” คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่ว่าเป็น ผู้รู้ หมายถึง รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

เช่น รู้ว่าโลกและชีวิตเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ได้เป็นไปตามที่ ใจเราต้องการ รูว้ า่ ใดๆ ในโลกล้วนตกอยูภ่ ายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ ไม่ เ ที่ ย ง เป็ น ทุ ก ข์ เป็ น อนั ต ตา (ไม่ แ น่ ไม่ ไ ด้ ดั่ ง ใจ ไม่ มี อ ะไร สมบูรณ์แบบ) รู้ว่ากายใจของเราเป็นเพียงองค์ประกอบของเหตุ ปัจจัยฝ่ายรูปธรรมและนามธรรมมารวมกันชั่วคราว ตัวตน (อัตตา)


ที่แท้จริงของเรานั้นไม่มี ความรู้สึกว่าตัวฉัน (อหังการ) ของฉัน (มมังการ) นี่แหละตัวฉัน (เอโสหมสฺม)ิ เป็นเพียงความหลงผิดทีเ่ รา คิดกันขึน้ มาเอง หรือความรูว้ า่ ชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนมีโอกาส เผชิญโลกธรรมทั้ง ๘ อันประกอบด้วยได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสือ่ มยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ กล่าวอย่างถึงทีส่ ดุ ความรูจ้ กั โลกและชีวติ ตามความเป็นจริง คือ การรู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ (ทุกข์) และความทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาจาก สาเหตุคืออวิชชา (สมุทัย) แต่เมื่อความทุกข์มีอยู่ ภาวะที่ปลอด ทุกข์ก็มีอยู่เช่นกัน (นิโรธ) และทางดับทุกข์นั้น ก็มีอยู่แล้ว (มรรค) เป็นต้น ที่ว่าเป็น ผู้ตื่น หมายถึง ตื่นจากการถูกครอบงำของกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ว่าเป็น ผู้เบิกบาน หมายถึง หลุดพ้นจากพันธนาการของ กิเลสอย่างสิ้นเชิง จึงมีจิตและปัญญาที่เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบาน ผ่องใส เป็นสุข ดังหนึ่งดอกบัวที่พ้นจากน้ำในยามรัตติกาล ครั้นได้ สัมผัสแสงแรกแห่งอาทิตย์อุทัยก็พลันเริงแรงแสงฉายอย่างงดงาม ในยามรุ่งอรุณ มนุษย์ทุกคนก็เป็นเช่นดอกบัว คือ บัวทุกดอกมีศักยภาพที่ จะผลิบานฉันใด มนุษย์ทกุ คนก็มศี กั ยภาพทีจ่ ะเป็นพุทธะ คือ เป็น

ผูร้ ู้ ผูต้ นื่ ผู้เบิกบาน ฉันนั้น บัวทุกดอกมีวิวัฒนาการสูงสุดอยู่ที่การ ได้ ผ ลิ บ าน มนุ ษ ย์ ทุ ก คนก็ มี วิ วั ฒ นาการสู ง สุ ด อยู่ ที่ ก ารได้ ตื่ น รู้

สู่อิสรภาพ มนุษย์มีศักยภาพที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ก็จริงอยู่ แต่ ศักยภาพเช่นว่านั้นจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัย ๒ ประการ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “บุพนิมิตแห่ง มรรค” หรือ “รุ่งอรุณของชีวิตดีงาม” บุพนิมิตแห่งมรรค (มรรคมีองค์ ๘ หรือ ระบบการศึกษาเพื่อ พัฒนาศักยภาพแห่งความเป็นพุทธ) หรือ “รุ่งอรุณของชีวิตดีงาม” ตามที่กล่าวมานี้มี ๒ ประการ ๑. โยนิโสมนสิการ ๒. กัลยาณมิตร

ความรู้จักคิด ความมีมิตรดี

ทั้งความรู้จักคิด (analytical thinking) และความมีมิตรดี (having good friends) เป็นพุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ไว้เป็นอันมากว่า เป็นปัจจัยสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการมีชีวิต ที่มีการศึกษา หรือเป็นจุดตั้งต้นของการดำเนินอยู่บนเส้นทางของ การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือการดำเนินอยู่บนอริยมรรค ใคร ก็ตามมีความรู้จักคิดและมีมิตรดี ก็เป็นอันว่า คนคนนั้นกำลังมี ชีวิตที่มีหลักประกันว่า จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีแนวโน้ม มี


อนาคตที่สดใส เชื่อมั่นได้ว่า จะสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่าง สง่างาม รุ่งโรจน์โชตนา เหมือนดั่งเมื่อมีรัศมีอ่อนๆ ของดวงอาทิตย์ อุทัยไขแสงเรื่อเรืองขึ้นมาก่อนในยามรุ่งอรุณ ก็เป็นอันเชื่อมั่นได้ว่า ไม่ช้าไม่นานต่อจากนั้น โลกทั้งโลกจะสว่างไสวไปด้วยพลังงาน จากแสงอาทิตย์โดยสมบูรณ์ ความข้อนีม้ พี ทุ ธวัจนะตรัสไว้ดงั ต่อไปนี ้ “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนอาทิตย์อุทัย ย่อมมีแสงอรุณเรื่อเรืองขึ้น มาให้ เ ห็ น เป็ น บุ พ นิ มิ ต ฉั น ใด ความรู้ จั ก คิ ด ก็ เ ป็ น ตั ว นำ เป็ น บุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอริยมรรคมีองค์ ๘ แก่ภิกษุ ฉันนั้น” “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนอาทิตย์อุทัย ย่อมมีแสงอรุณเรื่อเรืองขึ้น มาให้เห็นเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็ น บุ พ นิ มิ ต แห่ ง การเกิ ด ขึ้ น ของอริ ย มรรคมี อ งค์ ๘ แก่ ภิ ก ษุ

ฉันนั้น” (สํ.ม.๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๖) โยนิโสมนสิการ หรือ ความรู้จักคิด เป็นศักยภาพที่สามารถ ฝึกหัดพัฒนาให้เกิดขึ้นมาได้ ทั้งยังถือว่าเป็นคุณธรรมแกนที่เมื่อมี ขึ้นมาในบุคคลใดแล้ว แม้ไม่ต้องอาศัยกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปัจจัย ภายนอก เช่ น พระพุ ท ธเจ้ า พระอริ ย สาวก พระสาวกสาวิ ก า ปัญญาชน หรือบุคคลทั่วไปเลย บุคคลนั้นๆ ก็สามารถพิจารณา เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน เรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่าน พบให้ก่อเกิดเป็น “ปัญญา” ที่นำมาพัฒนาชีวิตได้ ซึ่งเมื่อมองใน แง่นี้ จึงกล่าวได้ว่า สำหรับคนที่รู้จักคิด ย่อมมีกัลยาณมิตรอยู่ทุก 10

แห่งหน แต่ในทางกลับกัน คนที่ไม่รู้จักคิด แม้จะมีกัลยาณมิตรอยู่ รอบกาย ก็ ไ ม่ อ าจได้ รั บ ประโยชน์ โ สตถิ ผ ลอย่ า งที่ ค วรจะเป็ น

ดุ จ เดี ย วกั บ ทั พ พี ที่ อ ยู่ กั บ หม้ อ แกง ทว่ า ไม่ รู้ ร สแกง กบอยู่ กั บ ดอกบัว ทว่าไม่รู้รสเกสรบัว ในอดีตกว่าพันปีมาแล้ว กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยสังเกตเห็น การแกว่งของโคมไฟในโบสถ์แห่งหนึ่งว่า มีระยะการแกว่งที่เท่ากัน เสมอ จึงนำเอาเหตุการณ์เล็กๆ นี้มาพิจารณาก็ทำให้ค้นพบกฎการ แกว่งของลูกตุ้ม ซึ่งเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ยัง คงใช้ได้มาจนถึงทุกวันนี้ วั น หนึ่ ง ขณะที่ไ อแซค นิ ว ตั น นั่ ง อยู่ ใ ต้ ต้ น แอ๊ ป เปิ้ ล เขา สังเกตเห็นว่า ลูกแอ๊ปเปิ้ลที่หล่นลงมาแล้วต้องตกลงดินเสมอ จึง เกิดคำถามว่า ทำไมผลแอ๊ปเปิ้ลเมื่อหล่นจากขั้วแล้วจึงไม่ลอยขึ้น สู่ น ภากาศ ผลของการครุ่ น คิ ด หาความจริ ง ที่ ซ่ อ นอยู่ เ บื้ อ งหลั ง ปรากฏการณ์คราวนี้ ทำให้เขาค้นพบกฎแห่งแรงดึงดูดหรือกฎแห่ง แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งก็เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งที่ยังคงเป็นจริงอยู่มาจนถึงบัดนี้ ในสมั ย พุ ท ธกาล ขณะที่ ส ามเณรน้ อ ยรู ป หนึ่ ง กำลั ง เดิ น บิณฑบาตอยู่ในหมู่บ้าน ระหว่างทางเธอสังเกตเห็นชาวนากำลัง

ไขน้ำเข้านา ช่างศรกำลังดัดลูกศร ช่างไม้กำลังเกลาไม้ เธอเกิด คำถามเชิงวิจัยขึ้นมาว่า ชาวนายังสามารถไขน้ำให้เข้านาได้ตาม 11


ประสงค์ ช่างศรยังดัดลูกศรที่คดให้ตรงได้ตามประสงค์ ช่างไม้ยัง เกลาไม้ที่ขรุขระให้กลมกลึงได้ตามประสงค์ แล้วทำไมเราจะฝึก

ตัวเองให้เป็นบัณฑิตไม่ได้ ด้วยความเป็นคนช่างคิด ช่างพิจารณา ประสบการณ์ ที่ อ ยู่ ต รงหน้ า อย่ า งลึ ก ซึ้ ง สามเณรน้ อ ยจึ ง ถื อ เอา ประสบการณ์ที่ได้ผ่านพบมาเตือนตนให้รีบพัฒนาตนเองจนบรรลุ อริยมรรคกระทั่งภายในไม่ทันข้ามวัน ก็สามารถบรรลุภาวะพระ นิ พ พานอั น เป็ น ผลที่ ห มายสู ง สุ ด ในทางพุ ท ธศาสนาได้ ส มตาม เจตนารมณ์ ตัวอย่างทั้งสามประการที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า สำหรับ ผู้ ที่ มี โ ยนิ โ สมนสิ ก าร คื อ รู้ จั ก คิ ด หรื อ คิ ด เป็ น นั้ น แม้ ไ ม่ มี กัลยาณมิตรที่เป็นบุคคลสำคัญหรือเป็นผู้ทรงภูมิธรรมภูมิปัญญา คอยแนะนำพร่ำสอนโดยตรง เขาก็สามารถค้นพบ “ทางเดิน” ที่ รุ่งโรจน์ของตัวเองได้ แต่คนเช่นนี้มีไม่มากนัก สำหรับคนทั่วไปแล้ว การที่จะ “รู้จักคิด” จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัย “กัลยาณมิตร” คอยเกื้อกูล

กัลยาณมิตรธรรม : ภาวะผู้นำของกัลยาณมิตร ตามความหมายโดยทั่วไป กัลยาณมิตร หมายถึง บุคคล หรื อ สภาพแวดล้ อ มที่ มี ส่ ว นเกื้ อ กู ล ให้ บุ ค คลนั้ น ๆ รู้ จั ก การใช้ ปัญญา ใช้ความคิด ใช้วิจารณญาณ อันเป็นเหตุให้มีวิถีชีวิตที่ดี งาม เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตไปในทิศทางที่ประเสริฐ

เลิศล้ำ เป็นผู้ทรงธรรมทรงปัญญา แต่เมื่อว่าตามความหมายใน คั ม ภี ร์ ท่ า นยกตั ว อย่ า งว่ า กั ล ยาณมิ ต ร ย่ อ มหมายรวมตั้ ง แต่ พระพุ ท ธเจ้ า พระอรหั น ต์ เป็ น ต้ น ลงมาจนถึ ง คนทั่ ว ไปที่ มี ส่ ว น เกื้อกูลให้แต่ละบุคคลรู้จักการพัฒนาตัวเอง พระพุทธเจ้าของเรา นั้น เมื่อตรัสถึงพระองค์เอง บ่อยครั้งก็ทรงระบุถึงสถานภาพของ พระองค์ว่า ทรงเป็นเพียง “กัลยาณมิตร” ของมนุษยชาติ เช่น “อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตร ประดาสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีความโศก ความคร่ำครวญ

12

13


หวนไห้ ความทุ ก ข์ โ ทมนั ส และความคั บ แค้ น ใจเป็ น ธรรมดา

ย่อมพ้นจากความคร่ำครวญหวนไห้ ความทุกข์โทมนัส และความ คับแค้นใจ” (สํ.ม.๑๙/๕-๑๑/๒-๕)

วางใจในฝี มื อ การบั ญ ชาการรบ ต่ า งยอมให้ น ำทั พ ด้ ว ยความ เต็มใจในฝีมือ เพราะรู้ว่าเป็นผู้คุ้มครองป้องกันให้ลุล่วงปลอดภัย ได้อย่างแท้จริง

เมื่ อ กล่ า วอย่ า งเคร่ ง ครั ด กั ล ยาณมิ ต รที่ จ ะถื อ ว่ า เป็ น ดั่ ง “รุ่งอรุณของชีวิตดีงาม” หรือเป็น “บุพนิมิตแห่งชีวิตดีงาม” ตาม แนวพุทธพจน์ ควรจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า “กัลยาณมิตรธรรม” ๗ ประการดังต่อไปนี้

๔. มี ว าทศิ ล ป์ เพราะกอปรด้วยศิลปะในการพูด รู้ว่าพูด อย่างไรจึงได้ผล พูดอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับสถานการณ์และ จริ ต ของบุ ค คล พู ด อย่ า งไรจึ ง จะทำให้ เ รื่ อ งที่ พู ด แจ่ ม กระจ่ า ง

สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ฟัง รวมทั้งรู้จักว่า เมื่อไหร่ไม่ควรพูดด้วย เหมือนช่างร้อยดอกไม้ รู้จักดอกไม้ว่าดอกชนิดไหนควรนำไปใช้ งานแบบใด สามารถเลือกใช้ดอกไม้ได้อย่างมีศิลปะ รวมทั้งรู้ว่า ดอกไม้ชนิดใดไม่ควรใช้งานก็คัดออกจากกองดอกไม้

๑. น่ารัก เพราะกอปรด้วยเมตตา ชวนให้เข้าไปปรึกษาหารือ สอบถาม เรียนธรรม แสวงปัญญา เหมือนร่มไม้ใหญ่ที่มองเห็น

ร่มเงาแต่ไกลแล้วอยากเข้าไปอาศัยหลบร้อนให้สบายใจ ๒. น่าเคารพ เพราะกอปรด้วยคุณความดี มีศีลาจารวัตร งดงาม วางตนสมควรแก่ฐานะ เชื่อถือได้โดยสนิทใจว่าเป็นคนดี จริง อยู่ใกล้แล้วได้ความอบอุ่น มั่นใจ เหมือนบ้านที่สร้างอย่าง มั่ น คง แข็ ง แรง อยู่ อ าศั ย แล้ ว นอนหลั บ สนิ ท ด้ ว ยวางใจว่ า ปลอดภัยอย่างแน่นอน ๓. น่ายกย่อง เพราะกอปรด้วยปัญญา เป็นพหูสูต ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม รอบด้าน ลึกซึ้ง กว้างขวางอย่างแท้จริง ควรยึดเป็นแบบ อย่าง สร้างแรงบันดาลใจให้อยากเจริญรอยตาม ทั้งยังสามารถ เอ่ยอ้างถึงด้วยความสะดวกใจว่า เชี่ยวชาญปราดเปรื่อง มีความ เป็นเลิศทางปัญญาและวิชาการ เหมือนแม่ทัพที่เหล่าทหารหาญ 14

๕. มีความสามารถในการฟังอย่างลึกซึ้ง เพราะกอปรด้วย ความอดทน ใจเย็น เห็นว่าคำพูดของผู้อื่นเป็นสิ่งอันควรน้อมใจรับ ฟังด้วยความเคารพในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะกล่าว ยินดีฟังทัศนะที่ แตกต่างหลากหลายโดยไม่โกรธ ไม่ฉุนเฉียว ไม่หงุดหงิด ไม่เห็นว่า เป็นสิ่งต่ำต้อยด้อยค่า เหมือนพ่อแม่ที่ยินดีฟังคำถามด้วยความ สนใจใฝ่รู้ ช่างซัก ช่างถาม ช่างสงสัยของลูกๆ ด้วยความใจเย็น ๖. มีความสามารถในการอธิบายขยายความได้อย่างลึกซึง้ เพราะกอปรด้วยความรอบรู้อย่างสุขุม ลุ่มลึก ทั้งยังมีศิลปะในการ อธิบายขยายความเรื่องที่ลึกซึ้งให้เข้าใจง่าย เรื่องที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวจากเรื่องธรรมดา 15


สามัญขึ้นไปหาเรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างเป็นระบบ โดย ไม่ชวนสับสน ไขว้เขว หรือฟั่นเฝือ เหมือนนักกล่าวสุนทรพจน์ชั้น นำที่ รู้ จั ก การร้ อ ยเรี ย งเรื่ อ งราวมากล่ า วได้ อ ย่ า งน่ า ฟั ง ตั้ ง แต่

เรือ่ งง่ายๆ ไปจนถึงเรือ่ งทีม่ คี วามลึกซึง้ กินใจ ก่อเกิดความซาบซึง้ ใจ แก่ผู้ฟังโดยถ้วนหน้า ๗. ไม่ชักนำในทางที่ผิด เพราะกอปรด้วยวิจารณญาณและ ความปรารถนาดี จึงมีแต่ความเมตตาต่อผู้ที่เข้ามาสนิทเสวนา ปรารถนาให้เขาได้รับแต่สิ่งที่ดีงามล้ำเลิศโดยส่วนเดียว เหมือนหมู่ ผึ้ ง ภมรที่ รู้ จั ก เลื อ กสรรแต่ ม วลน้ ำ หวานจากดวงดอกไม้ ที่ ไ ร้ พิ ษ มากลั่นกรองเป็นมธุรสเปี่ยมโอชา๑ กัลยาณมิตรชั้นนำ ย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติครบทั้ง ๗ ประการ แต่ ส ำหรั บ คนทั่ ว ไป การมี คุ ณ สมบั ติ ข องกั ล ยาณมิ ต ร เพียงข้อเดียว คือ “ไม่ชักนำในทางที่ผิด” ก็นับว่าเป็นกัลยาณมิตรที่ ควรสนิ ท เสวนาได้ แ ล้ ว ต่ อ จากนี้ ไ ป จะยกตั ว อย่ า งเพื่ อ ให้ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ความสำคั ญ และการทำงานของโยนิ โ สมนสิ ก ารและ กัลยาณมิตร ซึ่งมักจะมาพร้อมกัน ดำรงอยู่ในกันและกัน เกิดขึ้น ในลักษณะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันอย่างใกล้ชิดเสมอ คำอธิบายกัลยาณมิตรธรรมในทีน่ ี้ ผูเ้ ขียนจัดปรับใหม่โดยยกอุปมาประกอบ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ผู้สนใจคำอธิบายตามตัวบทในบาลีเดิมควรดูใน

องฺ.สตฺตก.๒๓/๓๔/๓๓ ๑

16

ภาค ๒ กรณีศึกษา ความรูจ้ กั คิด (โยนิโสมนสิการ) และการมีมติ รดี (กัลยาณมิตร) ที่กล่าวมาข้างต้นทำงานร่วมกันอย่างไร เกื้อกูลหนุนส่งกันอย่างไร จะเห็ น ได้ จ ากกรณี ศึ ก ษาผ่ า นชี ว ประวั ติ ข องบุ ค คลสำคั ญ ดั ง จะ กล่าวต่อไปนี้ ๑. พระเจ้าอโศกมหาราช ( พ.ศ. ๒๗๐ - ๓๑๒) ๒. กิสาโคตมี (มีชีวิตอยู่ในพุทธกาล) ๓. หลุยส์ เบรลล์ (ค.ศ. ๑๘๐๙ - ๑๘๕๒) ๔. อัลเฟรด โนเบล (ค.ศ. ๑๘๓๓ - ๑๘๙๖)

17


ในบรรดาพระนามของท้าวพระยามหากษัตริย์ นับได้เป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น ซึ่งมีอยู่อย่างดาษดื่นในข้อบันทึกทางประวัติศาสตร์ พระนามของพระเจ้าอโศกมหาราช ส่องแสง และดูเหมือนจะมีส่องแสงอยู่เพียงพระนามเดียวเท่านั้น ด้วยความรุ่งโรจน์เช่นเดียวกับดวงดาวอันสุกสกาวยิ่ง

H.G. Wells นักเขียน นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ

18

19


อโศกมหาราช จากทรราชกระหายสงครามเป็นมหาราชโลกไม่ลืม พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้า พิ น ทุ ส ารแห่ ง ราชวงศ์ โ มริ ย ะ แคว้ น มคธ ทรงมี ชี วิ ต อยู่ ใ นพุ ท ธศตวรรษที่ ๓ (พ.ศ. ๒๗๐ - ๓๑๒) เมื่อครั้งที่พระราชบิดายังทรง พระชนม์อยู่นั้น ทรงแต่งตั้งให้พระองค์ไปดำรงตำแหน่งอุปราช

ณ กรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี ครั้นพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์ทรงกรีธาทัพมายึดอำนาจทางการเมืองจากพระเชษฐา

ธิราช โดยทรงสังหารผลาญราชนิกุลร่วมสายโลหิตเดียวกันไปกว่า

๙๙ องค์ เหลือเพียงพระอนุชาหนึ่งองค์เท่านั้น จากนั้น ทรงจัดการ การเมื อ งภายในอี ก ๔ ปี (ตามคั ม ภี ร์ ฝ่ า ยพุ ท ธระบุ ว่ า ทรงยึ ด อำนาจ พ.ศ. ๒๑๔) เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองสงบเรียบร้อย แล้ว จึงทรงทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราช บิดา (พ.ศ. ๒๑๘) ในยุ ค ต้ น ของการครองราชสมบั ติ นั้ น พระเจ้ า อโศกทรง กระหายสงครามมาก ทรงรุกรบไปทุกหนทุกแห่ง เข่นฆ่า สังหาร 20

ผลาญชีวิตผู้คนไปมากมายนับไม่ถ้วน จนได้รับพระราชสมัญญา ว่า “จัณฑาโศก” แปลว่า “อโศกทมิฬ” ด้วยเดชานุภาพทางการรบ อันหาใครเปรียบไม่ได้ ทำให้อาณาจักรของพระเจ้าอโศกแผ่ขยาย ออกไปอย่ า งกว้ า งขวางมากมายเสี ย ยิ่ ง กว่ า ประเทศอิ น เดี ย ใน ปัจจุบันหลายเท่า แต่แล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ทรงกรีธาทัพไปทำสงคราม

ยึดแคว้นกาลิงคะนั้นเอง จุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของพระองค์ก็เดินทาง มาถึง กล่าวกันว่า สงครามกับแคว้นกาลิงคะคราวนั้น กองทัพของ พระองค์เข่นฆ่าทหาร ประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปมากมายหลายแสนคน เลื อ ดนองแผ่ น ดิ น กาลิ ง คะดั ง หนึ่ ง ทะเลเลื อ ดกว้ า งไกลไปสุ ด

ลูกหูลูกตา ความเสียหายอันใหญ่หลวงคราวนี้ ก่อให้เกิดความ “สลดพระทั ย ” แก่ พ ระเจ้ า อโศกอย่ า งที่ ไ ม่ เ คยทรงเป็ น มาก่ อ น ทำให้พระองค์ทรงหันมาตั้งคำถามกับตนเองว่า สิ่งที่ทรงทำลงไป นั้นคุ้มกันหรือไม่กับชีวิตประชาชนที่ต้องมาสังเวยความกระหาย สงครามของตนเอง ในที่สุด ผลของการรู้จักใช้ “โยนิโสมนสิการ” โดยมี “ชีวิต ของผู้วายชนม์ในสงครามหลายแสนคน” เป็นกัลยาณมิตร ก็ทำให้ พระองค์ทรงได้คำตอบว่า สิ่งที่ทรงทำอยู่นั้นไม่ถูกต้อง หลังจาก

ที่ ท รงได้ คิ ด คราวนั้ น แล้ ว ทรงเปลี่ ย นพระทั ย ไปเป็ น คนละคน

กล่ า วคื อ จากอโศกทมิ ฬ ผู้ ก ระหายเลื อ ดกระหายสงคราม

มากระหายธรรมคือความดีงามและสันติภาพแทน นโยบายในการ บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น ของพระองค์ ก็ เ ปลี่ ย นไปจากเดิ ม อย่ า ง

21


สิ้นเชิง คือ จากนโยบาย “สงครามวิชัย” (มุ่งชัยชนะด้วยการทำ สงครามขยายอาณาเขต) มาเป็น “ธรรมวิชัย” (มุ่งชัยชนะด้วยการ เผยแผ่ธรรมไปยังอาณาเขตที่ยึดมาได้ทั้งหมด) ข้อความในศิลาจารึกที่พระองค์โปรดให้จัดทำขึ้นในเวลาต่อมา บันทึกเหตุการณ์ สำคัญอันเป็นจุดเปลีย่ นประวัตศิ าสตร์ในคราวนัน้ เอาไว้วา่ “สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ปริ ย ทรรศี ผู้ เ ป็ น ที่ รั ก

แห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๘ พรรษา ทรงมี ชัยปราบแคว้นกลิงคะลงได้ จากแคว้นกลิงคะนั้น ประชาชนจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นคนได้ถูกจับไป เป็ น เชลย จำนวนประมาณหนึ่ ง แสนคนถู ก ฆ่ า และอีกหลายเท่าของจำนวนนั้นได้ล้มตายไป นับแต่กาลนั้นมาจนบัดนี้ อันเป็นเวลาที่แคว้น กลิงคะได้ถกู ยึดครองแล้ว การทรงประพฤติปฏิบตั ิ ธรรม ความมีพระทัยใฝ่ธรรม และการทรงอบรม สั่งสอนธรรม ก็ได้เกิดมีขึ้นแล้วแก่พระผู้เป็นที่รัก แห่งทวยเทพ การที่ ไ ด้ ท รงปราบปรามแคว้ น กลิ ง คะลงนั้ น ทำให้ พ ระผู้ เ ป็ น ที่ รั ก แห่ ง ทวยเทพ ทรงมี ค วาม สำนึกสลดพระทัย...

22

ในคราวยึดครองแคว้นกลิงคะนี้ จะมีประชาชน ที่ ถู ก ฆ่ า ล้ ม ตายลง และถู ก จั บ เป็ น เชลยเป็ น จำนวนเท่ า ใดก็ ต าม แม้ เ พี ย งหนึ่ ง ในร้ อ ยส่ ว น

หรื อ หนึ่ ง ในพั น ส่ ว น (ของจำนวนที่ ก ล่ า วนั้ น )

พระผู้ เ ป็ น ที่ รั ก แห่ ง ทวยเทพ ย่ อ มทรงสำนึ ก ว่ า

เป็นกรรมอันร้ายแรงยิ่ง... สำหรั บ พระผู้ เ ป็ น ที่ รั ก แห่ ง ทวยเทพ ชั ย ชนะ

ที่ทรงถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ ธรรมวิชัย (ชัยชนะ

โดยธรรม) และธรรมวิ ชั ย นั้ น พระผู้ เ ป็ น ที่ รั ก

แห่งทวยเทพได้ทรงกระทำสำเร็จแล้ว ทั้ง ณ ที่นี้ (ในพระราชอาณาเขตของพระองค์เอง) และใน

ดินแดนข้างเคียงทัง้ ปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์... ทุ ก หนทุ ก แห่ ง (ประชาชนเหล่ า นี้ ) พากั น ประพฤติปฏิบตั ติ ามคำสอนธรรมของพระผูเ้ ป็นทีร่ กั แห่งทวยเทพ... ด้ ว ยเหตุ เ พี ย งนี้ ชั ย ชนะนี้ เ ป็ น อั น ได้ ก ระทำ สำเร็จแล้วในที่ทุกสถานเป็นชัยชนะอันมีปีติเป็น

รส พรั่งพร้อมด้วยความเอิบอิ่มใจ เป็นปีติที่ได้มา

ด้วยธรรมวิชยั ...

23


ชั ย ชนะอั น แท้ จ ริ ง นั้ น จะต้ อ งเป็ น ธรรมวิ ชั ย เท่านั้น ด้วยว่าธรรมวิชัยนั้นเป็นไปได้ทั้งในโลก บัดนี้ และโลกเบื้องหน้า ขอปวงความยิ น ดี แ ห่ ง สั ต ว์ ทั้ ง หลาย จงเป็ น ความยินดีในความพากเพียรปฏิบัติธรรม เพราะ ว่าความยินดีนั้น ย่อมอำนวยผลทั้ ง ในโลกบั ด นี้ และในโลกเบื้องหน้า” ๑ ในคั ม ภี ร์ ส มั น ตปาสาทิ ก า (วิ น ย.อ.๑/๔๓) ผลงานของ

พระพุทธโฆษาจารย์เล่าถึงแรงจูงใจในการที่ทรงหันมาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนาว่า (นอกจากเกิดจากความสลดพระทัยในหายนภัยที่เกิดแต่สงครามแล้ว) พระองค์ได้ทรงพบกับกัลยาณมิตร คือ สามเณรนิโครธซึ่งเป็นพระนัดดาของท้าวเธอเอง ในการพบปะกัน ในวั น หนึ่ ง ทรงสอบถามถึ ง หลั ก ธรรมคำสอนของพระพุ ท ธเจ้ า สามเณรนิ โ ครธ ได้ แ สดงหลั ก ธรรมเรื่ อ ง “ความไม่ ป ระมาท”

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโฺ ต). จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสีส่ งิ ห์)

รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย. (สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ : กรุงเทพฯ), ๒๕๕๒,

หน้า ๖๙ - ๗๐. 24

อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาให้พระองค์สดับ หลังจาก ทรงสดับแล้ว ทรง “คิดได้” (โยนิโสมนสิการ) จึงทรงหันมาปฏิวัติ การใช้ชีวิตของพระองค์ชนิดตรงกันข้ามกับที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ทรงเปลีย่ นพระองค์เองจาก “อโศกทมิฬ” มาเป็น “ศรีธรรมาโศกราช” (พระเจ้าอโศกผูท้ รงเป็นศรีแห่งธรรม) พระพุทธวัจนะในพระธรรมบท

ที่มีผลต่อการเปลี่ยนพระทัยมานับถือพระพุทธศาสนาของพระองค์ มีอยู่หนึ่งบท ประกอบด้วยสี่บาท ดังนี้ “ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนไม่ประมาทไม่มีวันตาย คนประมาทไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว” ความเสียหายอันใหญ่หลวงในสงครามที่ทำให้สลดพระทัย เมื่อมาบวกกับพุทธธรรมจากกัลยาณมิตรอย่างสามเณรนิโครธ คงจะทำให้พระเจ้าอโศกทรงหันกลับมาพิจารณาชีวิตของพระองค์ อย่างลึกซึ้ง ว่ามรรคาที่ทรงดำเนินอยู่นั้น เป็นหนทางอันตราย เป็น วิถีแห่งการก่อทุกข์ ก่อเวรกรรมอันใหญ่หลวงแก่เพื่อนมนุษย์ ยัง ความเสียหายเกินประมาณให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว และบัน่ ทอนสันติภาพ สันติสขุ ของสรรพชีพ สรรพสัตว์โดยแท้ นับแต่ วันที่ทรงสลดพระทัยและได้อาศัยการแนะนำจากกัลยาณมิตรแล้ว ต่อมา 25


ทรงฝักใฝ่พระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นถึงขนาดที่ทรงศึกษา พระพุทธศาสนาด้วยพระองค์เองจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ซึ่ ง เป็ น พระอรหั น ต์ แ ห่ ง ยุ ค สมั ย ในบั้ น ปลายแห่ ง พระชนมชี พ

ก็ถึงกับทรงสละราชสมบัติชั่วคราวมาบวชเป็นภิกษุในบวรพุทธศาสนา ภายหลังจากที่พระเจ้าอโศกทรงกลับพระทัยจากผู้กระหาย สงครามมาเป็นผู้เผยแผ่ธรรมแล้ว ทรงยังคุณูปการเป็นอันมากให้ เกิดขึ้นแก่อาณาจักรและศาสนจักรดังต่อไปนี้ (๑) ในทางอาณาจั ก ร ทรงเปลี่ ย นนโยบายการเมื อ งการ ปกครองจากสงครามวิ ชั ย (เอาชนะโดยสงคราม) มาเป็ น

ธรรมวิชัย ทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนจากกลียุคเพราะภัยสงครามเข้า สู่ยุคแห่งสันติภาพอันยาวนาน (๒) ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ระบบความ เชื่อ หรือกระบวนทัศน์แบบเดิมของอินเดียจากเดิมที่มีสาระไม่

มากนักให้มีสาระมากขึ้น หรือในบางกรณีทรงยกเลิกของเดิมแล้ว สร้างขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ เช่น - ทรงเปลี่ยนวิหารยาตรา ที่พระราชาเสด็จไปทรงพักผ่อน เพื่ อ ทรงล่ า สั ต ว์ แ ละแสวงหาความสำราญส่ ว นพระองค์ ม าเป็ น ธรรมยาตรา ที่พระราชาเสด็จไปทรงนมัสการพระสงฆ์ผู้ทรงศีล

26

ปรึกษา สอบถาม เรียนรู้ธรรมะ ถวายไทยธรรม ตลอดถึงเสด็จ ประพาสเพือ่ สอดส่องดูสารทุกข์สกุ ดิบของปวงอาณาประชาราษฎร์ พร้อมทั้งพระราชทานความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ - ทรงเปลี่ยนสมาช ที่เป็นงานสโมสรรื่นเริงสนุกสนานด้วย การเสพสุรายาเมา นำสัตว์ต่างๆ มาแข่งขัน ต่อสู้กัน ซึ่งเป็นเรื่อง เริงรมย์สนุกสนานการโลกีย์ล้วนๆ มาเป็นวิมานทรรศน์ คือ การจัด นิทรรศการสิ่งดีมีคุณค่าที่จรรโลงจิตใจให้ประชาชนได้เห็นสิ่งที่ดี งาม อันจะน้อมนำไปสู่การมีใจสูง - ทรงเปลี่ยนพิธีมงคลที่เป็นการเชื่อในโชคลางผ่านพิธีกรรม ขรึมขลังขมังเวทย์มาเป็นธรรมมงคลที่เน้นการปฏิบัติต่อกันและกัน ให้ถูกต้อง (ตามแนวทิศ ๖) เป็นต้น - ทรงเปลี่ ย นเภรี โ ฆษ ที่ เ ป็ น เสี ย งกลองศึ ก อั น หมายถึ ง

การเกิดขึ้นของสงครามที่มาพร้อมกับความหายนะ เป็นธรรมโฆษ ที่เน้นการเชิญชวนประชาชนมาฟังธรรม - ทรงยกเลิกการฆ่าสัตว์ทั้งเพื่อการบริโภคและการบูชายัญ อย่างชนิดที่พลิกระบบความเชื่อของคนในยุคสมัยก่อนหน้านั้น รวมทั้งในยุคสมัยของพระองค์อย่างชนิดเป็นตรงกันข้าม จนเป็นที่ สังเกตกันในหมู่ผู้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียว่า บางที การที่ทรง ยกเลิกการบริโภคเนือ้ สัตว์และการบูชายัญนีเ่ อง อาจเป็นจุดเริม่ ต้น

27


ของค่านิยมการรับประทานอาหาร “มังสวิรัติ” ในเวลาต่อมาจนถึง ทุกวันนี้ก็เป็นได้ ในศิลาจารึกฉบับที่ ๑ ระบุถึงวัตรปฏิบัติในเรื่องนี้ ไว้อย่างชัดเจนว่า “ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รัก แห่งทวยเทพ ได้โปรดให้จารึกไว้ ณ ถิ่นนี้ บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์มีชีวิตใดๆ เพื่อการบูชายัญ ไม่ พึ ง จั ด งานชุ ม นุ ม เพื่ อ การเลี้ ย งรื่ น เริ ง (สมาช) ใดๆ เพราะว่ า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงมอง เห็นโทษเป็นอันมากในการชุมนุมเช่นนั้น ก็แลการชุมนุมบางอย่าง ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ทรงเห็น ชอบว่าเป็นสิ่งที่ดี มีอยู่อีกส่วนหนึ่ง (ต่างหาก) แต่กอ่ นนี้ ในโรงครัวหลวงของพระเจ้าอยูห่ วั ปริยทรรศี ผูเ้ ป็นทีร่ กั แห่งทวยเทพ สัตว์ได้ถูกฆ่าเพื่อทำเป็นอาหาร วันละหลายแสนตัว ครั้นมาในกาลบัดนี้ เมื่อธรรมโองการนี้อันพระองค์โปรดให้จารึก แล้ว สัตว์เพียง ๓ ตัว เท่านั้นที่ถูกฆ่า คือ นกยูง ๒ ตัว และเนื้อ

๑ ตัว ถึงแม้เนื้อนั้นก็ไม่ได้ถูกฆ่าเป็นประจำ ก็แลสัตว์ทั้งสามนี้ (ใน กาลภายหน้า) ก็จักไม่ถูกฆ่าอีกเลย” (๓) ทรงแต่งตั้งธรรมมหาอำมาตย์ให้เป็นตัวแทนพระองค์ เดินทางไปยังหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ราชธานีต่างๆ เพื่อ สอนธรรมแก่ประชาชนทั่วทุกหนทุกแห่ง 28

(๔) ทรงสร้ า งถนน ขุ ด บ่ อ น้ ำ สร้ า งที่ พั กริ ม ทาง สร้ า งโรง พยาบาล (อโรคยสาลา) สวนสาธารณะมากมายทั่วราชอาณาจักร (๕) ทรงส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชน โดยผ่านการเรียน ธรรมและเผยแผ่ธรรม เป็นเหตุให้มีประชาชนรู้หนังสือกันอย่าง แพร่หลาย (๖) ทรงโปรดให้ทำศิลาจารึก บันทึกหลักธรรมคำสอนของ พระพุ ท ธเจ้ า ประดิ ษ ฐานยั ง ชุ ม ชนเมื อ ง และสถานที่ ส ำคั ญ ที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทุกแห่งทั่วทั้งพระราชอาณาจักร (๗) ในทางศาสนจักร ทรงรับเป็นประธานอุปถัมภ์ในการ

ทำสั ง คายนาพระธรรมวิ นั ย ครั้ ง ที่ ๓ ซึ่ ง ทำให้ พ ระธรรมวิ นั ย

ได้รับการจัดระบบครบสมบูรณ์ทั้ง ๓ ปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม (๘) ทรงริเริ่ม “ธรรมยาตรา” คือการจาริกแสวงบุญไปยัง สั ง เวชนี ย สถานทั้ ง สี่ ที่ นั บ เนื่ อ งในพุ ท ธประวั ติ ต ามแนวทางที่ พระพุ ท ธเจ้ า ทรงประทานเอาไว้ ใ ห้ ใ นมหาปริ นิ พ พานสู ต ร ซึ่ ง เป็นต้นแบบของพุทธบริษัทในการจาริกแสวงบุญมาจนถึงบัดนี้ (๙) ทรงให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ ดังที่ มีหลักฐานบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑๒ ความตอนหนึ่ง ระบุว่า 29


“...สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ย่อมทรงยกย่องนับถือศาสนิกชนแห่งลัทธิศาสนาทั้งปวง ทั้งที่เป็น บรรพชิตและคฤหัสถ์ ด้วยพระราชทานและการแสดงความยกย่อง นับถืออย่างอื่นๆ แต่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพไม่ทรงพิจารณา เห็นทานหรือการบูชาอันใดที่จะเทียบได้กับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร? นั้นก็คือ การที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิ ศาสนาทั้งปวง ก็ความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมนี้ มีอยู่มากมาย หลายประการ แต่ส่วนที่เป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามนั้น ได้แก่สิ่งนี้ คือ การสำรวมระวังวาจา ระวังอย่างไร ? คือ ไม่พึงมี การยกย่องลัทธิศาสนาของตน และการตำหนิลัทธิศาสนาของผู้อื่น เมื่อไม่มีเหตุอันควร...การสังสรรค์ปรองดองกันกันนั่นแล เป็นสิ่ง

ดีงามแท้ จะทำอย่างไร ? คือ จะต้องรับฟังและยินดีรับฟังธรรม ของกันและกัน...” ๑

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). กาลานุ ก รมพระพุ ท ธศาสนา ในอารยธรรมโลก. (สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ : กรุงเทพฯ), ๒๕๕๒, หน้า ๒๗. ๑

30

(๑๐) ทรงพระศาสนทู ต ๙ สายออกไปเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนายังดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึงดินแดนที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ซึ่งหมายถึง ภูมิภาคแถบอินโดจีนที่รวมเอาประเทศ ไทยเข้าไปด้วย (๑๑) ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พระโอรสและพระธิดา อุปสมบทเป็นภิกษุภิกษุณีในพุทธศาสนา ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานยังศรีลังกา เป็นเหตุให้พุทธศาสนามั่นคงแพร่หลายมาจนถึงบัดนี้ (๑๒) หลั ง จากพุ ท ธศาสนารุ่ ง เรื อ งอยู่ ใ นอิ น เดี ย ถึ ง ราว

พ.ศ. ๑๗๐๐ โดยประมาณ ก็สิ้นยุคพุทธศาสนารุ่งเรือง อินเดียเข้า สูย่ คุ การครอบครองของจักรวรรดิมสุ ลิมอันเข้มแข็งกว่าหกศตวรรษ (ราว ๖๕๑ ปี) ครั้นต่อมาเมื่ออังกฤษล้มจักรวรรดิมุสลิมราชวงศ์ โมกุลได้แล้วก็ยดึ ครองอินเดีย ต่อมา (พ.ศ. ๒๔๐๑) เซอร์อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮม หัวหน้ากองโบราณคดี ได้ทำการขุดค้นสถานที่ สำคัญทางพุทธศาสนา จึงได้พบหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก มากมาย พุ ท ธศาสนาซึ่ ง เลื อ นหายจากอิ น เดี ย ไปกว่ า ๘๐๐ ปี

จึงฟื้นคืนชีวิตกลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ก็โดยอาศัยหลักศิลา จารึ ก ของพระเจ้ า อโศกเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานหลั ก ฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่นักสำรวจทางโบราณคดีใช้เป็นที่ อ้างอิงและเป็นแรงจูงใจให้ทุ่มเท ในการฟื้นฟูบูรณะซากโบราณ31


สถานต่างๆ ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาหา ร่องรอยของพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีมาจนถึงปัจจุบัน (๑๓) แม้พระเจ้าอโศกมหาราชจะเสด็จสวรรคตไปนานแล้ว แต่ปัญญาชนชั้นนำของอินเดียยังเห็นว่า พระองค์เป็นมหาบุรุษของ ประเทศอย่างไม่อาจจะหาใครมาทัดเทียมได้ ดังนั้น จึงได้นำเอารูป เศียรสิงห์ทั้งสี่บนยอดเสาศิลามาทำเป็น “ตราแผ่นดิน” และนำ เอารูปพระธรรมจักรที่สิงห์ทั้งสี่เทินไว้นั้นมาเป็นสัญลักษณ์สำคัญ อยู่กลางธงชาติอินเดียมาตราบจนถึงบัดนี้

ตน และยุ ค ต่ อ มาได้ อ ย่ า งยากที่ จ ะหาใดเที ย มเช่ น ที่ ก ล่ า วมานี้

ก็เพราะทรงมี “ความรู้จักคิด” และมี “กัลยาณมิตร” ชั้นนำเช่น

ที่ ก ล่ า วมา หากปราศจากคุ ณ สมบั ติ ทั้ ง สองประการนี้ เ สี ย แล้ ว

ไหนเลยพระนามของพระเจ้าอโศกมหาราชจะยังคงเจิดจรัสมาถึง ในบัดนี้

พระพุทธศาสนาที่จมหายไปในผืนแผ่นดิน กลับฟื้นคืนมามี ชีวิตอีกครั้งหนึ่งโดยปราศจากข้อกังขาของนักประวัติศาสตร์และ พุทธศาสนิกชน เพราะหลักฐานที่พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้ทำ ขึ้นไว้นั้น ระบุชัดเจนว่า พุทธสถานสำคัญทั้งหมดอยู่ตรงไหน และมี เหตุ ก ารณ์ ส ำคั ญ อะไรเกิ ด ขึ้ น ในยุ ค พุ ท ธกาล ทำให้ ป ระวั ติ ข อง พระบรมศาสดาสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ในฐานะที่ ท รงเป็ น บุ ค คลใน ประวัติศาสตร์มีความชัดเจน สมบูรณ์ด้วยหลักฐานอย่างครบถ้วน พระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาค ต่างๆ ของโลก ก็เป็นผลงานเกียรติยศที่โลกไม่ลืมของพระเจ้าอโศก มหาราชโดยแท้ พระเจ้ า อโศกมหาราชทรงเปลี่ ย นพระทั ย ทรง เปลี่ยนพระองค์ และทรงเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของโลกในยุคของ 32

33


องคุลิมาลเอย เราหยุดแล้วจากการเบียดเบียนทำลาย ชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ดังนั้น แม้เดินอยู่ก็จึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนเธอแม้จะหยุดยืนอยู่ตรงนั้นแล้ว ทว่าเธอกลับไม่หยุดการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ายังไม่หยุด”

34

35


องคุลิมาล จากฆาตกรใจร้ายกลายเป็นพระอรหันต์เปี่ยมเมตตา

องคุลิมาล เป็นหนึ่งในพระอริยสาวกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด

รูปหนึง่ ในพุทธประวัติ เดิมท่านเป็นลูกของปุโรหิตแห่งพระเจ้าปเสนทิ โกศล เจริญวัยแล้วบิดาส่งไปศึกษาต่อที่สำนักอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ในเมืองตักศิลา องคุลิมาลซึ่งในขณะนั้นยังมีชื่อเดิมว่า “อหิงสกะ” เป็นนักศึกษาที่ฉลาดปราดเปรื่อง อัธยาศัยดี เป็นที่โปรดปรานของ อาจารย์และภริยามาก เพื่อนร่วมสำนักริษยาในสติปัญญาและ ความรั ก ที่ อ าจารย์ มี ต่ อ อหิ ง สกะ จึ ง หาวิ ธี ยุ แ หย่ ใ ห้ อ หิ ง สกะกั บ อาจารย์กินแหนงแคลงใจกัน ยุแหย่อยู่ไม่นาน อาจารย์ก็หลงเชื่อ คิดหาอุบายทำลายอหิงสกะออกไปให้พ้นทาง จึงวางกุโลบายให้ อหิงสกะเรียนวิชาพิเศษซึ่งเป็นเคล็ดวิชาสุดพิเศษของสำนัก แต่คน ที่จะเรียนวิชานี้ได้ ต้องใช้นิ้วมือคนพันนิ้วมาเป็นเครื่องบูชาครู อหิงสกะกระหายอยากได้วิชา อาจารย์เองก็ปรารถนาจะให้ เขาได้เรียนวิชานีจ้ งึ กระตุน้ ให้เขาตัดสินใจ (ผิดๆ) ออกไปล่านิว้ มือคน 36

ให้ได้พนั นิว้ อหิงสกะพาซือ่ เชือ่ คำของอาจารย์ ออกเดินทางไปตาม บ้านน้อยเมืองใหญ่ หาจังหวะดักซุ่มฆ่าคนแล้วตัดเอาเฉพาะนิ้วมือ มาร้อยเป็นพวงมาลัย ฆ่าคน ตัดนิ้ว อยู่ไม่นาน คนทั้งเมืองก็เรียก ขานอหิงสกะด้วยชื่อใหม่ว่า “องคุลิมาล” (ผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย) พฤติกรรมขององคุลิมาลสร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ประชาชนไม่กล้าดำเนินชีวิตตามปกติ ต่างพากันเข้าชื่อฟ้องร้องไป ยังฝ่ายบ้านเมือง พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจ ขึ้นมาหน่วยหนึ่งเพื่อไล่ล่าจับตัวองคุมาลเป็นการเฉพาะ มารดาขององคุลิมาลทราบข่าวนี้แล้ว วิตกกังวลว่าลูกของ ตนจะถูกทางการจับตัวได้ สุดท้ายอาจถูกประหารชีวิตตามกฎกบิล เมือง โดยไม่รอช้า นางจึงรีบเดินมุ่งหน้าเข้าป่าเพื่อไปแจ้งข่าวให้ แก่ลูก หมายใจว่าด้วยความเป็นแม่ คงจะช่วยให้ลูกได้สำนึกเลิก ก่อเวรก่อกรรมที่เคยทำไว้ หันหน้ากลับมาเป็นคนดี แต่นางพราหมณีเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อนางเดิน เข้าป่าไป องคุลิมาลซึ่งดักซุ่มรออยู่แล้ว กลับไม่เห็นว่านางเป็นแม่ แม้แต่นิดเดียว เขาเห็นแต่ “นิ้วมือ” ของผู้หญิงคนหนึ่งกำลังแกว่ง ไหวๆ เข้ามาในเส้นทางโจรของเขาเท่านั้น และนั่นเป็นนิ้วสุดท้ายที่ พลาดไม่ได้เสียด้วย องคุลิมาลดีใจเป็นที่สุดที่นิ้วสุดท้ายกำลังจะ ได้มาโดยไม่ต้องลงแรง ขณะที่ อ งคุ ลิ ม าลจ้ อ งจะตั ด นิ้ ว มื อ ของผู้ เ ป็ น แม่ อ ยู่ นั่ น เอง พระพุ ท ธเจ้ า ก็ ท รงพระดำเนิ น แทรกเข้ า มาตรงกลางระหว่ า ง

37


องคุลมาลกับแม่พอดี องคุลิมาลเห็นเช่นนั้น จึงเปลี่ยนเป้าหมาย หั น มาไล่ ฆ่ า พระพุ ท ธเจ้ า แทน แต่ วิ่ ง ตามอย่ า งไรก็ วิ่ ง ไม่ ทั น จึ ง ตะโกนก้องให้ทรงหยุดเดิน พระพุทธองค์หนั มาตรัสกับองคุลมิ าลว่า “เราหยุดแล้ว แต่เธอสิยังไม่หยุด” “สมณะ ท่ า นเดิ น อยู่ แต่ บ อกว่ า หยุ ด แล้ ว กล่ า วเช่ น นี้ หมายความว่าอย่างไร” “องคุลิมาลเอย เราหยุดแล้วจากการเบียดเบียนทำลายชีวิต สั ต ว์ น้ อ ยใหญ่ ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น แม้ เ ดิ น อยู่ ก็ จึ ง ชื่ อ ว่ า หยุ ด แล้ ว

ส่ ว นเธอแม้ จ ะหยุ ด ยื น อยู่ ต รงนั้ น แล้ ว ทว่ า เธอกลั บ ไม่ ห ยุ ด การ เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ายังไม่หยุด” องคุลิมาลฟังพุทธดำรัสแล้ว จึงเกิดสติ คิดขึ้นมาได้ในตอน นั้นเองว่า คนที่อยู่ข้างหน้าตนคงไม่ใช่สมณะทั่วไป เธอเกิดความ เลื่อมใสปีติอย่างท่วมท้นที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า จึงกราบทูลขอบวช พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้เธอบวชแล้วนำตัวกลับพุทธสำนัก

“พระเจ้าข้า พระองคุลิมาลสังหารผลาญชีวิตมนุษย์มากมาย เหลือเกิน ปรินิพพานแล้วหรือ” “อย่างนั้นแหละภิกษุทั้งหลาย ก่อนหน้านี้องคุลิมาลไม่ได้ กัลยาณมิตรแม้แต่คนเดียว จึงต้องพลาดทำกรรมหนักถึงเพียงนั้น แต่ภายหลังเธอได้เราเป็นกัลยาณมิตร จึงเป็นผู้ไม่ประมาท บรรลุ อรหัตตผลปรินิพพานแล้ว บาปกรรมที่เธอทำแล้วนั้น เธอละได้ แล้วด้วยกุศล (ความดี)” ทรงสรุปในที่สุดว่า “ผู้ใดละบาปที่เคยทำไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดังจันทราพ้นจากเมฆาอันมืดมิด”

บวชไม่นานพระองคุลิมาลก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ครั้น นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน (มรณภาพ) แล้ว ภิกษุทั้งหลาย สงสัยว่าท่านไปเกิด ณ ที่ไหน จึงถามกันขึ้นมา พระพุทธองค์ตรัส ว่ า องคุ ลิ ม าลปริ นิ พ พานแล้ ว (คื อ ไม่ เ กิ ด อี ก ) ภิ ก ษุ ทั้ ง หลายยิ่ ง สงสัยมากขึ้นไปอีกจึงกราบทูลถามว่า 38

39


โอหนอ เป็นกรรมหนักเสียแล้ว เราเข้าใจว่า มีแต่บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย แต่ความจริงแล้ว มีคนตายกันตั้งมากมาย บุตรของใครต่อใครก็ตายกันทั้งนั้น ทุกหลังคาเรือนเคยมีคนตายมาแล้วทั้งนั้น

40

41


ครั้นพบพระองค์แล้วก็กราบทูลถามว่า ทรงรู้จักยาชุบชีวิตลูกชาย ของตนหรือหาไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

กิสาโคตมี จากสตรีวิกลจริตพลิกชีวิตเป็นพระอรหันต์ กิ ส าโคตมี มี ชี วิ ต อยู่ ใ นสมั ย พุ ท ธกาล เกิ ด ในนครสาวั ต ถี แคว้นโกศล โตขึ้นได้แต่งงานกับบุตรเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ต่อมา บุตรของเธอเสียชีวิตในขณะที่เพิ่งเริ่มเดินได้เท่านั้น เธอเสียใจเป็น อันมาก ไม่ยอมรับการตายจากไปของบุตรน้อย ญาติทั้งหลายจะ นำศพไปทำพิธฌ ี าปนกิจเธอก็ไม่ยอม สูอ้ ตุ ส่าห์อมุ้ ซากศพบุตรน้อย แนบอกออกเดินทางไปทุกหนทุกแห่งที่คิดว่าจะมียาสำหรับชุบ ชีวิตบุตรของตนให้ฟื้นขึ้นมาได้ ใครต่อใครเห็นสภาพของเธอต่างก็ รู้สึกสังเวชสลดใจ วันหนึ่งมีบัณฑิตหนุ่มคนหนึ่งพบกับเธอในระหว่างทาง จึง แนะนำให้เธอไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยบอกกุศโลบายว่า พระพุทธ องค์ทรงรู้จักยาชุบชีวิตบุตรของเธอซึ่งตายแล้วให้ฟื้นคืนมาได้ กิสา โคตรมีดีใจเป็นนักหนา รีบตรงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงพุทธสำนัก 42

“เราพอจะรู้อยู่บ้าง โคตมี” “หม่อมฉันจะต้องทำอย่างไร จึงจะได้ยานัน้ มาพระพุทธเจ้าข้า” “เธอจงลองไปหาเมล็ดผักกาดจากหมู่บ้านที่ไม่เคยมีคนตาย มาสักหยิบมือหนึ่งก่อน” กิ ส าโคตรมี ดี ใ จเป็ น ที่ สุ ด ที่ ใ นที่ สุ ด ก็ ไ ด้ พ บหมอวิ เ ศษซึ่ ง สามารถจะปรุงยาชุบชีวิตลูกชายของเธอให้ฟื้นคืนมาได้ เธอรีบ ออกเดินทางไปหาเมล็ดผักกาดโดยไม่รอช้า นัยว่า เมื่อได้มาแล้ว พระพุทธองค์จะทรงปรุงเป็นทิพยโอสถสำหรับชุบชีวิตคนตายให้ ฟื้นขึ้นมาได้ แต่ไม่ว่าเธอจะเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งหนตำบล ไหนก็ตาม เธอกลับพบความจริงด้วยตนเองว่า เมล็ดผักกาดนั้น ที่ ไ หนก็ มี แต่ พ อถามว่ า หมู่ บ้ า นนี้ ยั ง ไม่ เ คยมี ค นตายใช่ ไ หม

คำตอบกลั บ มี แ ต่ ค ำว่ า ไม่ เพราะทุ ก หมู่ บ้ า นล้ ว นเคยมี ค นตาย

มากบ้ า ง น้ อ ยมาก จะหาเมล็ ด ผั ก กาดจากหมู่ บ้ า นที่ ไ ม่ เ คยมี

คนตายเลยนัน้ หาอย่างไรก็หาไม่ได้ เมือ่ หาจนสุดความสามารถแล้ว เธอก็เกิดความสลดสังเวชพร้อมทั้งได้คิดว่า “โอหนอ เป็นกรรมหนักเสียแล้ว เราเข้าใจว่า มีแต่บุตรของ เราเท่านั้นที่ตาย แต่ความจริงแล้ว มีคนตายกันตั้งมากมาย บุตร 43


ของใครต่อใครก็ตายกันทัง้ นัน้ ทุกหลังคาเรือนเคยมีคนตายมาแล้ว ทั้งนั้น” สติมาปัญญาก็พลันบังเกิด นางตัดสินใจทิ้งซากศพบุตรน้อย ไว้ ใ นป่ า มุ่ ง หน้ า ไปเฝ้ า พระพุ ท ธองค์ พระพุ ท ธองค์ ต รั ส สอน

สัจธรรมแห่งชีวิตแก่เธอว่า “โคตมีเอย! ความตายเป็นสิ่งยั่งยืน นี่เป็นสัจธรรมที่มีมา

ช้านานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาล้วนต้องตาย ความตายนั้นย่อมคร่า เอาบุคคลผู้มัวเมาอยู่ในบุตร ในสัตว์เลี้ยง และผู้มีใจติดข้องอยู่ใน อารมณ์ต่างๆ ไป ประดุจห้วงน้ำใหญ่ไหลหลากพัดพาเอาชาวบ้าน ไปฉะนั้น” พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอีกเป็นอเนกปริยาย หลังจบ พระธรรมเทศนา กิสาโคตรมีบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับ พระโสดาบั น แต่ นั้ น นางตั ด สิ น ใจขอบวชในพระธรรมวิ นั ย พระพุทธองค์ทรงบวชให้แล้วมอบให้เธออยูใ่ นสำนักของนางภิกษุณี คืนวันหนึ่งขณะที่เธอกำลังปฏิบัติสมณธรรมอยู่นั้น เธอสังเกตเห็น เปลวประทีปที่ลุกโพลงขึ้นแล้วหรี่ลงๆ อยู่อย่างนั้น เธอน้อมเอา ปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้นเข้ามาพิจารณาโดยแยบคายว่า

44

“สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ต่างอะไรกับเปลวประทีปนี้ มีเกิดขึ้นมา แล้ ว ก็ ดั บ ไป ส่ ว นผู้ ใ ดถึ ง พระนิ พ พานแล้ ว อาการเกิ ด ดั บ เช่ น นี้

ย่อมไม่มีปรากฏ” พระพุทธองค์ทรงทราบความคิดของเธอ จึงตรัสสอนเธอว่า “ถู ก แล้ ว โคตรมี สั ต ว์ ทั้ ง หลายย่ อ มเกิ ด ดั บ เหมื อ นเปลว ประทีป ส่วนผู้ถึงพระนิพพานแล้วหาเป็นอย่างนั้นไม่ ความดำรง อยู่เพียงชั่วครู่เดียวของผู้เห็นพระนิพพานประเสริฐกว่าความดำรง อยู่ถึง ๑๐๐ ปีของผู้ไม่เห็นพระนิพพาน” ด้วยโยนิโสมนสิการและกัลยาณมิตรคือพระพุทธองค์ที่คอย ทรงชี้ ท างสว่ า งอยู่ ใ กล้ ๆ ทำให้ น างกิ ส าโคตมี ภิ ก ษุ ณี ได้ บ รรลุ อริยผลสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลระดับพระอรหันต์ ในกาลต่อมา พระพุทธองค์ทรงยกย่องเธอว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลาย สาขา “ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง” อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

45


เราไม่ต้องการถูกปิดตายจากโลก เพียงเพราะเรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้น เราจึงต้องทำงานและศึกษา เพื่อให้ทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อไม่ให้ถูกดูแคลนว่าโง่เง่าหรือน่าสมเพช ผมจะทำจนสุดความสามารถ เพื่อช่วยยกระดับให้พวกคุณ มีศักดิ์ศรีด้วยความรู้

46

47


หลุยส์ เบรลล์ จากคนตาบอดสู่คนของโลก ที่สุสานแพนทีออน ใจกลางนครปารีส ประเทศฝรั่งเศส มี ร่างไร้วิญญาณของมหาบุรุษของประเทศฝรั่งเศสหลายสิบคนนอน สงบอยูท่ นี่ ี่ ภายใต้การดูแลอย่างดีของรัฐบาล เพือ่ เป็น “เกียรติยศ” แก่ผู้วายชนม์ที่ได้รังสรรค์ประโยชน์อันใหญ่หลวงไว้ให้แก่ประเทศ และแก่มวลมนุษยชาติ ทุกวัน ที่สุสานแห่งนี้จะมีนักท่องเที่ยวจาก ทั่ ว โลกเดิ น ทางมาเยี่ ย มชมเพื่ อ ทั ศ นศึ ก ษา ถ่ า ยรู ป ซึ ม ซั บ แรง บันดาลใจไม่เคยขาด ท่ามกลางร่างไร้วิญญาณของผู้ทรงเกียรติ ระดับโลกเหล่านี้ มีชื่อของ “หลุยส์ เบรลล์” รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง หลุยส์ เบรลล์ คือ คนตาบอดเพียงคนเดียวที่ได้รับเกียรติให้เข้าไป รวมอยู่ในสุสานเกียรติยศแห่งนี้ ร่วมกับคนตาดีผู้เป็นมหาบุรุษ

ทั้งหลาย หลุยส์ เบรลล์ ไม่ใช่คนตาบอดธรรมดาอย่างแน่นอน

48

หลุยส์ เบรลล์ เกิดเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ค.ศ. ๑๘๐๙ ณ หมู่บ้านแถบชานเมืองปารีสชื่อคูปเฟรย์ ในครอบครัวชาวบ้านซึ่งมี ฐานะปานกลาง บิ ด ามารดาประกอบอาชี พ รั บ ทำอานม้ า และ อุปกรณ์สำหรับเทียมม้า นอกนั้นก็ยังมีไร่องุ่นและเลี้ยงสัตว์อย่าง ไก่ เป็ด วัว จำนวนหนึ่ง อายุ ไ ด้ ๓ ขวบ ด้ ว ยความที่ ก ำลั ง อยู่ ใ นวั ย ซุ ก ซนอยากรู้ อยากเห็นตามประสาเด็ก เบรลล์จึงถูกเครื่องมือทำอานม้าของ บิดาทิ่มตาข้างหนึ่ง พ่อแม่ตกใจมาก รีบพาเขาไปหาหมอ แต่ด้วย เหตุที่วิทยาการทางการแพทย์ในขณะนั้นยังไม่ก้าวหน้า เป็นเหตุ ให้ตาของเขาไม่เพียงไม่หายเท่านั้น แต่ยังเกิดอาการติดเชื้อและ ลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง นั่นเป็นเหตุให้เวลาต่อมาเมื่ออายุเพียง ๕ ขวบ ตาของหลุยส์ก็บอดสนิททั้งสองข้าง นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาจึงต้องมีชีวิตในอีกแบบหนึ่ง ซึ่งโลกของเขาไม่มีวันเหมือนเดิม อีกต่อไป แต่หลุยส์เป็นคนไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต เขายังคงไม่สิ้นหวัง แม้ชีวิตจะยากลำบากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่เขาก็มีอัจฉริยภาพติดตัว มาแต่ ก ำเนิ ด คื อ เขาเป็ น เด็ ก เฉลี ย วฉลาด ใฝ่ เ รี ย นใฝ่ รู้ แม้ จ ะ ตาบอดแต่เขาก็มีสัมผัสพิเศษดีกว่าคนทั่วไป ทำให้เขาสามารถ จำแนกเสียงฝีเท้า จำกลิ่นน้ำหอม กลิ่นดอกไม้ จำเสียงนกได้ดีกว่า คนทั่วไปเป็นอันมาก 49


วั น หนึ่ ง บาทหลวงชื่ อ “ฌาคส์ ปาเลอ” สั ง เกตเห็ น แวว อัจฉริยะของเขา จึงเริ่มสอนหลุยส์ให้รู้จักวิชาการต่างๆ มากมาย ทั้งศาสนศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิลหรือวิทยาการอื่นๆ ที่เด็กทั่วไป ควรจะได้เรียนรู้ ต่อมาบาทหลวงเห็นว่า หลุยส์เรียนได้เร็วและมี ความสนใจใฝ่ศึกษาควรจะได้รับการส่งเสริม จึงนำหลุยส์ไปฝาก เข้าเรียนกับเด็กปกติทโี่ รงเรียนประจำหมูบ่ า้ น โชคดีทคี่ รูใหญ่ใจกว้าง ไม่ มี อ คติ ต่ อ เด็ ก ตาบอด รั บ เขาเข้ า เรี ย น หลุ ย ส์ ปี ติ ยิ น ดี เ ป็ น

อย่างมาก เขาเลือกนั่งแถวหน้าสุดเพื่อที่จะได้ฟังคำสอนของครูใน แต่ละวิชาอย่างชัดเจน ผลก็คือ เขากลายเป็นเด็กเรียนดีที่แม้แต่ เด็กปกติก็ยังสู้ไม่ได้ ด้วยผลการเรียนที่ไม่ได้เป็นรองไปกว่าเด็ก ทั่วไปเลยนี้ ทำให้หลุยส์เชื่อมั่นว่า โลกแห่งการแสวงหาความรู้ของ เขาไม่ได้จบสิ้นลงไปพร้อมกับการที่เขาเป็นคนตาบอดแต่อย่างใด ทัศนะที่เปี่ยมความหวังเช่นนี้ แสดงออกผ่านสุนทรพจน์ของเขา ตอนหนึ่งในเวลาต่อมาว่า “เราไม่ต้องการถูกปิดตายจากโลก เพียงเพราะเรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้น เราจึงต้องทำงานและศึกษา เพื่อให้ทัดเทียมกับคนอื่น

50

เพื่อไม่ให้ถูกดูแคลนว่าโง่เง่าหรือน่าสมเพช ผมจะทำจนสุดความสามารถ เพื่อช่วยยกระดับให้พวกคุณ มีศักดิ์ศรีด้วยความรู้” ธรรมชาติไม่เคยมอบอะไรให้ใครอย่างครบถ้วน แต่ก็ไม่เคย ริบเอาอะไรไปจากใครจนสิ้นเนื้อประดาตัว หลุยส์ เบรลล์ก็เช่นกัน ธรรมชาติริบเอาความสามารถในการเห็นไปจากเขา แต่ไม่ได้ริบ เอาความหวัง กำลังใจ และสติปัญญาไปจากตัวเขา แม้จะเสีย

ดวงตาไป แต่ดวงใจของเขายังคงใช้งานได้เป็นอย่างดี หลุยส์ใช้ชวี ติ

อยู่ ท่ า มกลางครอบครั ว ที่ อ บอุ่ น และมี กั ล ยาณมิ ต รอย่ า งท่ า น บาทหลวงที่คอยแนะนำพร่ำสอนวิทยาการต่างๆ ให้กับเขา อยู่ ม าวั น หนึ่ ง ท่ า นบาทหลวงได้ ข อให้ ขุ น นางคนหนึ่ ง ชื่ อ “มาควิสดอร์ วิลลิเออร์ส” ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชื่อดังเมตตา ช่วยเหลือให้หลุยส์ได้เข้าเรียนหนังสือในสถาบันสำหรับคนตาบอด ในกรุงปารีส ขุนนางคนนี้เคยเห็นหลุยส์ เบรลล์ หลายครั้งในโบสถ์ จึ ง รู้ สึ ก เมตตาเขาเป็ น พิ เ ศษ ท่ า นได้ เ ขี ย นจดหมายฝากหลุ ย ส์

ให้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาสำหรับคนตาบอด ทางสถาบันไม่ รอช้ า รี บ รั บ หลุ ย ส์ เ ข้ า เป็ น นั ก เรี ย นทั น ที ตอนนั้ น เขามี อ ายุ ไ ด้

๑๐ ขวบ (ค.ศ. ๑๘๑๙)

51


หลุยส์เป็นเด็กเรียนดีอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อมาอยู่ในสถาบันการ ศึกษาชั้นนำเขายิ่งแสดงอัจฉริยภาพออกมาให้เป็นที่ปรากฏได้ อย่ า งรวดเร็ ว เขาสามารถเรี ย นวิ ช าต่ า งๆ ทั้ ง ภู มิ ศ าสตร์ ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไวยากรณ์ รวมทั้งดนตรีได้เป็นอย่างดี จนพ่ อ แม่ ข องเขารู้ สึ ก สบายใจที่ เ ห็ น แนวโน้ ม ว่ า ลู ก ชายคงจะ สามารถใช้ชีวิตในโลกมืดได้อย่างไม่เป็นภาระของใครในอนาคต เป็นแน่ ค.ศ. ๑๘๒๑ ตอนนี้ หลุยส์อายุ ๑๓ ปี เขาได้มีโอกาสต้อนรับ คนสำคัญคนหนึ่งในชีวิตของเขา คนคนนี้ก็คือ “วาเลนติน อาวี”

ซึ่ ง เป็ น ผู้ ก่ อ ตั้ ง โรงเรี ย นสำหรั บ คนตาบอดแห่ ง แรกของโลกที่

เขาเรี ย นอยู่ นั่ น เอง การมาถึ ง ของวาเลนติ น อาวี ผู้ ใ หญ่ ใ จดี ที่

ตาไม่บอด แต่เข้าใจคนตาบอดเป็นอย่างดี จึงอุทศิ ตนสร้างโรงเรียน สำหรับคนตาบอดขึ้นมาให้คนตาบอดได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ เหมือนคนตาดีทั่วไป ได้นำเอา “แรงบันดาลใจ” ครั้งสำคัญมา ให้หลุยส์ เบรลล์ จนเขาเกิดความคิดขึ้นมาว่า เขาจะต้องเป็น

อี ก คนหนึ่ ง ที่ ไ ม่ เ พี ย งแต่ จ ะรอรั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากคนตาดี

เท่ า นั้ น แต่ เ ขาจะต้ อ งสามารถลุ ก ขึ้ น มาช่ ว ยเหลื อ คนตาบอด

ด้ ว ยกั น ให้ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาและมี อ นาคตที่ ดี เ หมื อ นกั บ ที่ คุ ณ

วาเลนติน อาวี ผู้นี้ทำให้อยู่ให้จงได้ ด้วยวัยเพียง ๑๓ ปี หลุยส์ เบรลล์ เริ่มใช้เวลาตอนกลางคืน บ้ า ง ตอนเช้ า บ้ า ง ตอนปิ ด เทอมบ้ า ง คิ ด ค้ น วิ ธี ที่ จ ะช่ ว ยให้ ค น 52

ตาบอดสามารถศึกษาหาความรู้ได้เป็นอย่างดี วันหนึ่งเขาก็ค้นพบ ว่า หากใช้จุดเพียง ๖ จุด และขีดอีกไม่กี่ขีดมาเป็นสัญลักษณ์ ก็

จะทำให้คนตาบอดเพียงแต่ใช้มือคลำก็ทำให้สามารถอ่านออก เขียนได้ได้เป็นอย่างดี ไม่แพ้วธิ กี ารทีใ่ ช้กนั อยูม่ าแต่เดิม (ก่อนหน้านี้ มีอกั ษรสำหรับคนตาบอดอยูแ่ ล้ว แต่ยงั ไม่ลงตัวและยังไม่แพร่หลาย) อักษรพิเศษที่หลุยส์คิดค้นขึ้นมาได้ถูกนำมาทดลองใช้ใน โรงเรี ย น ปรากฏว่ า ได้ ผ ลเป็ น อย่ า งดี เป็ น ที่ ย อมรั บ ของครู แ ละ เพื่อนๆ ว่ามีประสิทธิภาพช่วยในการศึกษาได้เป็นอันมาก เพราะ อักษรจากภูมปิ ญ ั ญาของหลุยส์สามารถครอบคลุมไปถึงสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ ตัวโน้ตดนตรี วิธีจดชวเลข ยังไม่ต้องพูดถึงว่า

ทำให้เพื่อนๆ ของเขาสามารถคัดลอกข้อความจากหนังสือเรียน เขียนจดหมาย และจดบันทึกได้อีกด้วย ค.ศ. ๑๘๒๙ หลุยส์ เบรลล์ ปรับปรุงอักษรที่เขาคิดขึ้นมาให้ มีความลงตัวมากยิ่งขึ้น จนสามารถพิมพ์เป็นหนังสือออกมาเล่ม หนึ่งชื่อว่า “วิธีการเขียนคำ ดนตรี และบทเพลงทั่วไปโดยการใช้จุด เพื่อการใช้ของคนตาบอดและการจัดทำ” ด้วยหนังสือเล่มนี้เอง

สิ่งประดิษฐ์สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของโลกที่เกิดจากความคิดริเริ่มของ คนตาบอดที่มีอัจฉริยภาพ เป็นยอดยิ่งกว่าคนตาดีก็ถือกำเนิดขึ้น มาในโลก ค.ศ. ๑๘๓๙ หลุยส์ เบรลล์ พัฒนาอักษรสำหรับคนตาบอด ให้คนตาบอดและคนตาดีสามารถอ่านออกได้เหมือนกัน ระบบนี้ 53


มีชอื่ ว่า “เรฟิกราฟี” ผลดีทเี่ ห็นได้ชดั ก็คอื นักเรียนตาบอดสามารถ ใช้อักษรในระบบนี้เขียนจดหมายติดต่อกับพ่อแม่ เพื่อน คนที่รู้จัก โดยที่ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถอ่านในสิ่งที่คนตาบอดเขียนมาหา ได้ทันที ต่ อ มาเมื่ อ วั น ที่ ๒๒ กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ. ๑๘๔๔ ซึ่ ง เป็ น วั น

เปิดโรงเรียนใหม่ ทางโรงเรียนได้จัดให้มีการสาธิตอักษรเบรลล์ ที่หลุยส์พัฒนาขึ้นมา โดยในการนี้ ผู้อำนวยการของสถาบันสอน คนตาบอดได้กล่าวยกย่องชื่นชมว่า สิ่งที่หลุยส์ประดิษฐ์ขึ้นมานั้น คือนวัตกรรมที่ดีที่สุดสำหรับคนตาบอด

วัณโรคคอยคุกคามอยู่เป็นระยะๆ ในที่สุด หลังจากใช้ชีวิตอย่าง

คุ้มค่าที่สุด เพราะได้ฝากผลงานที่จะยังประโยชน์ต่อมนุษยชาติใน

วันข้างหน้าเอาไว้ให้แก่เพื่อนร่วมโลกเหมือนปณิธานที่ตั้งไว้แล้ว วันที่ ๖ มกราคม ค.ศ. ๑๘๕๒ ขณะมีอายุ ๔๓ ปี หลุยส์ เบรลล์

ก็จากโลกนี้ไปอย่างสงบ สองปีหลังจากเสียชีวิตแล้ว อักษรเบรลล์ของหลุยส์ เบรลล์ ก็ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่า เป็นนวัตกรรมสำหรับคน ตาบอดในประเทศฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

สุนทรพจน์และเหตุการณ์ในคราวนี้ ทำให้หลุยส์รู้สึกภูมิใจ มากว่า ในที่สุดเขาก็สามารถนำสิ่งที่ตนคิดค้นขึ้นมาให้ได้รับการ ยอมรับอย่างเป็นทางการจนได้ เป็นอันว่า อักษรเบรลล์ นวัตกรรม จากคนตาบอดสามารถทะลุกำแพงแห่งการจำกัดทั้งสำหรับคน ตาบอดและตาดีได้เป็นผลสำเร็จ สิ่งที่เขาคิดค้นอำนวยประโยชน์ ยิ่งใหญ่ทั้งคนตาบอดและคนทั่วไปอย่างไม่เป็นที่กังขาของใครๆ อีกต่อไป

ค.ศ. ๑๘๗๘ ที่ประชุมสากลของประชาคมยุโรป ที่จัดขึ้นใน กรุ ง ปารี ส ประเทศฝรั่ ง เศส ลงมติ อ ย่ า งเป็ น เอกฉั น ท์ อนุ มั ติ ใ ห้ อักษรเบรลล์เป็นระบบอักษรสำหรับคนตาบอดที่ดีที่สุดที่ควรได้รับ การประยุกต์ใช้สำหรับคนตาบอดทั่วโลก ปี ค.ศ. ๑๙๒๙ เริ่มมี

การใช้โน้ตดนตรีสำหรับคนพิการโดยผ่านอักษรเบรลล์แพร่หลาย ไปทัว่ โลก และในปีนเี้ ช่นกัน ทางการของประเทศอินเดียได้เสนอให้ ยูเนสโกประกาศรับรองให้มีการใช้อักษรเบรลล์สำหรับคนตาบอด กับทุกภาษา

ระหว่างที่หลุยส์คิดค้น พัฒนา นวัตกรรมทางปัญญาของ

เขาเพื่อมอบให้เป็นแสงสว่างแก่ผู้พิการทางสายตาทั่วโลกอยู่นี้ เขา ยั ง ทำงานเป็ น ครู ส อนหนั ง สื อ เล่ น ดนตรี และมี ค วามป่ ว ยด้ ว ย

นั บ แต่ นั้ น เป็ น ต้ น มา อั ก ษรเบรลล์ จึ ง กลายมาเป็ น อั ก ษร สากลสำหรับคนตาบอดอย่างเป็นทางการที่มีการนำมาใช้กันอย่าง แพร่หลายไปทั่วทั้งโลก ทุกวันนี้ อักษรเบรลล์ยังคงได้รับการพัฒนา

54

55


ให้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างคอมพิวเตอร์

อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีแห่งอนาคตอื่นๆ อีกหลายอย่าง หลุ ย ส์ เบรลล์ เป็ น คนตาบอด แต่ เ ขาก็ ไ ด้ รั บ โอกาสดี ๆ มากมายในชีวิต เพราะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ทั้งก่อนจากโลกนี้ไป ก็ยังได้มอบนวัตกรรมแห่งแสงสว่างแก่คนตาบอดทั่วโลกไว้ให้ใช้ เป็นเครื่องมือสำหรับหยัดยืนอยู่ในโลกนี้อย่างมีศักดิ์ศรี สมกับที่เขา ได้เคยประกาศไว้ว่า

โลกไม่ ก ล้ า ลื ม คนอย่ า งเขา นวั ต กรรมจากคนตาบอดอย่ า งเขา

อาจทำให้คนตาดีอย่างพวกเราต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ด้วย ดวงตาทั้ ง สองข้ า งที่ ยั ง คงใช้ ก ารได้ ดี เราจะฝากอะไรไว้ ใ ห้ เ ป็ น

ศักดิ์และเป็นศรีแก่โลกได้บ้าง ?

“เราไม่ต้องการถูกปิดตายจากโลก เพียงเพราะเรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้น เราจึงต้องทำงานและศึกษา เพื่อให้ทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อไม่ให้ถูกดูแคลนว่าโง่เง่าหรือน่าสมเพช ผมจะทำจนสุดความสามารถ เพื่อช่วยยกระดับให้พวกคุณ มีศักดิ์ศรีด้วยความรู้” ชีวิตของหลุยส์ เบรลล์ เป็นชีวิตที่อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่มีใคร สบประมาทเขาในฐานะคนตาพิการได้เลย เพราะเขามีความรู้จัก คิด มีความสามารถ มีผลงานฝากไว้ให้แก่โลกอย่างยิ่งใหญ่ชนิดที่ 56

57


อัลเฟรด เบอร์นาร์ด โนเบล จากคนบาปกลายเป็นนักบุญอันดับหนึ่งของโลก ในโลกนี้มีรางวัลอันทรงเกียรติที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยบุคคลและ สถาบันต่างๆ มากมายหลายร้อยหลายพันรางวัล บางรางวัลก็มี เงินจำนวนมหาศาลมอบเป็นเกียรติพร้อมกับตัวรางวัลจนทำให้ผู้ ได้รับรางวัลสามารถเปลี่ยนสถานภาพจากหลังมือเป็นหน้ามือใน ชั่วข้ามคืนได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่ทว่าในบรรดารางวัลอันทรงเกียรติ บรรดามี อ ยู่ ใ นโลกทั้ ง หมดนั้ น ไม่ ป รากฏว่ า จะมี ร างวั ล ใดที่

ทรงเกี ย รติ ย ศสู ง สุ ด และทรงอิ ท ธิ พ ลที่ สุ ด ต่ อ มนุ ษ ยชาติ เ ท่ า กั บ “รางวัลโนเบล” รางวัลซึง่ ทุกปีจะมีผเู้ ฝ้ารอจับตาดูการประกาศผลในระดับโลก รางวัลซึง่ ผูไ้ ด้รบั จะกลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกในชัว่ พริบตา รางวัลซึ่งจะส่งอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สันติภาพ วิธีคิดของประเทศ และส่งผลสะเทือนต่อชะตากรรมของ มนุษยชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต 58

59


รางวัลซึ่งเมื่อผู้ได้รับรางวัลลาจากโลกนี้ไป ข่าวมรณกรรม ของเขาจะกลายเป็นข่าวสำคัญในระดับสากลที่รับรู้กันไปทั่วโลก ไม่น่าเชื่อว่า รางวัลที่ทรงเกียรติยศและทรงอิทธิพลสูงสุดถึง เพียงนี้ จะถูกก่อตั้งขึ้นโดยพ่อค้าขายอาวุธสงครามคนหนึ่งที่ชื่อ “อัลเฟรด เบอร์นาร์ด โนเบล” อั ล เฟรด โนเบล เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ ๒๓ ตุ ล าคม ค.ศ. ๑๘๓๓

ที่เมืองสต็ อ คโฮล์ ม ประเทศสวี เ ดน บิ ด าเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ ที่ มี ฐ านะ ล้มลุกคลุกคลานในบ้านเกิดของตัวเอง ต่อมาเดินทางไปแสวงหา โอกาสจนได้ทำธุรกิจที่ประเทศรัสเซีย ที่รัสเซีย บิดาของโนเบล

ได้รับโอกาสให้สัมปทานธุรกิจเหมืองแร่และเป็นเจ้าของธุรกิจทำ โรงงานระเบิดและอาวุธสงครามที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ธุรกิจ ขายอาวุธสงครามและการทำระเบิดขายนี้เอง นำเอาความมั่งคั่ง

ร่ ำ รวยมาสู่ บิ ด าของโนเบลจนเขามี ฐ านะเป็ น มหาเศรษฐี ที่ มี ทั้ ง

เงินทองและชื่อเสียง เมื่อเขาประสบความสำเร็จที่รัสเซียแล้ว จึงรับ ครอบครัวทั้งหมดมาอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วยกัน ระเบิดที่บิดาของโนเบลผลิตนั้น เป็นที่ต้องการของกองทัพ ของประเทศต่างๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงคราม ไครเมี ย รั ส เซี ย คื อ ลู ก ค้ า รายใหญ่ ข องโรงงานของบิ ด าของเขา ระเบิ ด ที่ ผ ลิ ต จากโรงงานของบิ ด าของโนเบลนี้ ผ ลิ ต จากไนโตร

กลีเซอรีน ซึ่งระเบิดง่าย และโรงงานของบิดาของโนเบลเท่านั้นเป็น 60

ผู้ผูกขาดการผลิต ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อระเบิดไนโตรกลีเซอรีนระเบิด ขึ้นที่ไหน ไม่ว่าจะในสงครามหรือในการก่อการร้ายแห่งใดในยุโรป หรือในโลกก็ตาม พ่อของโนเบลมักจะถูกตราหน้าว่าเป็นเจ้าของ ระเบิดด้วยเสมอไป ชื่ อ เสี ย งของบิ ด าจึ ง มาพร้ อ มกั บ “ความเกลี ย ดชั ง ” หรื อ กล่าวได้ว่าเป็น “ทุกขลาภ” ที่ทำให้ครอบครัวรู้สึกเป็นกังวลอยู่ลึกๆ ต่อมาหลังสงครามไครเมียสงบ รัสเซียแพ้สงคราม อาวุธ ขายไม่ อ อก พ่ อ ของโนเบลกลายเป็ น บุ ค คลล้ ม ละลายจนต้ อ ง อพยพครอบครัวกลับมายังสต็อคโฮล์ม ที่สต็อคโฮล์ม ครอบครัว ของโนเบลสามารถตั้งตัวได้อีกครั้งหนึ่ง และที่นี่เอง พ่อของโนเบล ได้จากไปอย่างสงบ มรดกทั้งหมดของครอบครัวจึงตกอยู่กับโนเบล โนเบลเติบโตมาในโรงงานกับพ่ออยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่อง ยากที่เขาจะสานต่อกิจการของพ่อ ในยุคของโนเบล เขาพยายาม แสวงหาวิธีการป้องกันไม่ให้ระเบิดไนโตรกลีเซอรีนระเบิดง่ายๆ อีก ต่อไป ในที่สุดวันหนึ่งเขาก็ทำสำเร็จ และตั้งชื่อระเบิดที่เขาพัฒนา ขึ้นมาใหม่ที่ระเบิดได้ยากขึ้น ทว่ากลับทรงอานุภาพร้ายแรงกว่า เดิมหลายเท่าว่า “ระเบิดไดนาไมต์” การมาของระเบิดไดนาไมต์นำเอาทั้งเงินทอง ชื่อเสียง และ ความเกลียดชังมาให้โนเบลพร้อมๆ กัน ในเบื้องต้นของการผลิต ไดนาไมต์ หลายประเทศต่อต้านโนเบลถึงขั้นโรงแรมหลายแห่งไม่ 61


ยอมให้เขาพัก ประเทศอังกฤษไม่อนุญาตให้สินค้าจากโรงงานของ โนเบลเข้าประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม โนเบลก็เป็นผู้มีหัวใจแห่ง ความเป็นนักสู้ชีวิตอยู่ในสายเลือด แม้จะได้รับการต่อต้านหรือถูก เกลียดชัง แต่ด้วยนิสัยพ่อค้า เขาจึงไม่ยอมแพ้ เขาพยายามเดิน หน้าเข้าหาชนชั้นนำของประเทศต่างๆ พร้อมกับเปิดเจรจาทาง ธุรกิจด้วยเงื่อนไขซึ่งยากจะปฏิเสธ ต่อมา ประเทศที่เคยต่อต้านสินค้าของเขาก็อนุญาตให้เขา เข้าไปตั้งโรงงานผลิตระเบิดขายอย่างเปิดเผย ประเทศเหล่านั้นก็ เช่น โปรตุเกส สเปน ฟินแลนด์ อิตาลี ออสเตรีย เยอรมนี ฝรั่งเศส แคนาดา ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศซึ่งเคยต่อต้านเขาอย่างหนักอย่าง อังกฤษ

ผลของความเจ็บป่วยทางกายและทางใจ ทำให้โนเบลเกิด ความ “ตื่นรู้” ขึ้นมาในจิตสำนึก เขารู้สึกว่า เขาควรจะต้องทำอะไร สักอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการชดใช้ให้กับสันติภาพของมนุษยชาติที่เขา มีส่วนอย่างสำคัญ ในการลิดรอนเอาสิ่งนี้ไปจากมวลมนุษยชาติ หลังจากครุ่นคิดเรื่องนี้อยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดก่อนจะเสียชีวิต

ไม่กี่ปี (เขาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. ๑๘๙๖) เขาจึงตัดสินใจใช้เงิน จำนวนมหาศาลจากการขายอาวุ ธ ร้ า ยแรงนั่ น เอง มาตั้ ง เป็ น

“มูลนิธิโนเบล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลโนเบลให้แก่

นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ผ ลงานสร้ า งสรรค์ แ ละรางวั ล ด้ า นอื่ น ๆ อี ก

๕ สาขา คือ สาขาฟิสิกส์ เคมี แพทยศาสตร์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์

ผลของการเปิดโรงงานผลิตระเบิดและอาวุธสงครามชนิดอื่น ตลอดจนประดิษฐกรรมอีกหลายอย่าง (แต่ประดิษฐกรรมอื่นๆ ไม่ เป็นที่จดจำ เพราะไม่ส่งผลสะเทือนรุนแรงทั้งในทางบวกและลบ เท่ากับระเบิด) ทำให้โนเบลกลายเป็นทั้งมหาเศรษฐี นักธุรกิจ และ พ่ อ ค้ า อาวุ ธ สงครามที่ ทั่ ว โลกรู้ จั ก เขา แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม ใน บั้นปลายของชีวิต โนเบลเริ่มสุขภาพอ่อนแอ ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หลายโรค และความป่วยไข้ที่สำคัญก็คือ อาการป่วยทางใจจาก ความรู้สึกผิด เนื่องจากระเบิดที่เขาผลิตขึ้นได้คร่าชีวิตของผู้คนไป มากมายจากทั่วทุกมุมโลก

หลังอัลเฟรด โนเบล จากไป รางวัลที่เขาก่อตั้งขึ้นกลายเป็น รางวั ล ทรงเกี ย รติ เ พี ย งหนึ่ ง เดี ย วของโลกที่ ท ำให้ ผู้ ไ ด้ รั บ รางวั ล

กลายเป็นบุคคลของโลกขึ้นมาอย่างปาฏิหาริย์ รายชื่อของบุคคล

ที่ เ คยได้ รั บ รางวั ล โนเบลอย่ า ง แมรี คู รี่ อั ล เบิ ร์ ต ไอน์ ส ไตน์

รพินทรนาถ ฐากูล เฮมิงเวย์ หรือแม้แต่ดาไล ลามะ อองซาน ซูจี อั ล กอร์ อมาตยา เซน เนลสั น แมนเดลา และพอล ครุ ก แมน

ล้วนเป็นรายนามทีท่ ำให้รางวัลทีค่ นบาปอย่างอัลเฟรด โนเบลก่อตัง้ ขึ้นกลายเป็นรางวัลที่ทรงทั้งศักดิ์ศรี เกียรติคุณ และความสำคัญ ต่อชะตากรรมของมนุษยชาติมาอย่างยาวนานชนิดข้ามกาลเวลา

62

63


ในอดีต อัลเฟรด โนเบล คือชายที่เคยขายอาวุธสงครามให้ กับคนบ้าสงครามทั่วโลก และเคยมีส่วนในการพรากเอาสันติภาพ สันติสุขไปจากมวลมนุษยชาติจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ในปัจจุบันที่ ผ่านมากว่าร้อยปี และท่ามกลางวันเวลาที่กำลังเคลื่อนตัวไปใน โลกอนาคตเกินคณานับ เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ในโลกนี้จะยังคงไม่มี รางวัลใดยิ่งใหญ่ไปกว่ารางวัลโนเบลอีกแล้ว ไม่ น่ า เชื่ อ ว่ า คนบาปจะกลั บ ใจกลายเป็ น นั ก บุ ญ และมี

ส่วนอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์โลกในหลากหลายสาขาอย่างไม่ น่าเชื่อเช่นชายคนนี้ อัลเฟรด โนเบล คืออดีตคนบาปที่รู้ว่า คนเรานั้น ไม่ว่า จะเคยมีอดีตที่มืดดำบอบช้ำ เจ็บปวดเพียงไร แต่คนเราก็ สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่อย่างมีความหมายต่อมวลมนุษยชาติ ได้เสมอ ขอเพียงรู้จักที่จะลืมความหลังแล้วตั้งต้นใหม่ แต่คนบาปอีกมากมายในโลกนี้ จะมีสักกี่คนที่คิดอะไร ในเชิงสร้างสรรค์ได้เช่นเดียวกับตัวเขา

สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลเป็นความตัง้ ใจก่อนเสียชีวติ ของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่ง รูส้ กึ เสียใจจากการทีร่ ะเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวติ มนุษย์ เขาจึงมอบ ๙๔% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล

๕ สาขา (เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และฟิสิกส์) สำหรั บ สาขาเศรษฐศาสตร์ นั้ น ได้ เ พิ่ ม เข้ า มาเมื่ อ พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่าง เป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขา เศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ

64

65


Royal Swedish Academy of Sciences เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้ อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้ รับเงินรางวัลจากมูลนิธโิ นเบล แต่ได้รบั เงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์ เท่ากับรางวัลในสาขาอืน่ ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกัน กับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี ๑๙๐๒ เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตราและจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึง่ ในตอนแรกนัน้ กษัตริยอ์ อสการ์ที่ ๒ แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่ จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่าง ชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็น ว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุน้อยที่สุด ได้แก่ ลอเรนซ์ แบรกก์ (William Lawrence Bragg) ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. ๑๙๑๕) โดยได้รบั รางวัลเมือ่ อายุเพียง ๒๕ ปี ❍

ผู้ได้รับรางวัลที่มีอายุมากที่สุด ได้แก่ เรย์มอนด์ เดวิส (Raymond Davis Jr.) ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) โดยได้ รั บ รางวั ล เมื่ อ อายุ ๘๘ ปี

แต่เรย์มอนด์ เดวิสได้เสียชีวติ ลง หลังจากได้รบั รางวัลเพียง ๔ ปีตอ่ มา ❍

66

องค์กรและบุคคลได้รับรางวัลบ่อยครั้งที่สุด ได้แก่ องค์กรที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ สภากาชาด สากล โดยได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ (ค.ศ. ๑๙๑๗) พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. ๑๙๔๔) และ พ.ศ. ๒๕๐๖

(ค.ศ. ๑๙๖๓) ❍

มารี กูรี ได้รับรางวัลในสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับ อองตวน อองรี เบ็กเกอเรล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ (ค.ศ. ๑๙๐๓) และได้รับ รางวั ล โนเบลอี ก ครั้ ง ในสาขาเคมี ร่ ว มกั บ ปิ แ ยร์ กู รี เมื่ อ ปี

พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) ❍

จอห์น บาร์ดีน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ๒ ครั้ง

ได้แก่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. ๑๙๕๖) และ พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) ❍

ลีนสุ คาร์ล พอลลิง ได้รบั รางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี

พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔) และได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งใน สาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ❍

เฟรดเดอริก แซงเงอร์ ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี

๒ ครัง้ ได้แก่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘) และ พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๘๐) ❍

67


ภาค ๓

ตระกูลที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุด ได้แก่ ตระกูล "กูรี" โดยมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมด ๓ คน ได้แก่ ปิแยร์ กูรี และ มารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลเคมี ในปี

พ.ศ. ๒๔๔๖ (ค.ศ. ๑๙๐๓) และต่อมา ❍

อีแรน โฌลิออต-กูรี และ เฟรเดริก โฌลิออต ผูเ้ ป็นสามี

ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) ❍

ผูท้ ปี่ ฏิเสธการเข้ารับรางวัลโนเบล ได้แก่ ฌอง ปอล ซาร์ต ซึ่ง ปฏิ เ สธการเข้ า รั บ รางวั ล โนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ (ค.ศ. ๑๙๖๔) และ เล ดุ๊ก โถ ซึ่งปฏิเสธการเข้ารับรางวัล โนเบล สาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (ค.ศ. ๑๙๗๓) ผู้เข้ารับรางวัลโนเบล ๗๖๓ ราย แบ่งเป็นเพศชาย ๗๓๐ ราย และ เพศหญิงมีเพียง ๓๓ ราย๑

68

สถิตทิ นี่ า่ สนใจเกีย่ วกับรางวัลโนเบล ข้อมูลอ้างอิงจากวิกพี เี ดีย-สารานุกรมเสรี

วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงจากชีวิตของบุคคลสำคัญ

ชื่อ

ก่อน/Before

หลัง/After

พบกัลยาณมิตร/คิดไม่เป็น พบกัลยาณมิตร/คิดเป็น

พระเจ้าอโศกมหาราช

อโศกทมิฬผู้กระหายสงคราม ใช้นโยบายสงครามวิชัย เป็นที่เกลียดชัง เป็นทรราช

อโศกผู้ทรงธรรม ใช้นโยบายธรรมวิชัย เป็นที่รัก เป็นมหาราช

องคุลิมาล

ฆาตกรชื่อดัง โหดร้าย ปุถุชน

พระอรหันต์ เปี่ยมเมตตา อารยชน

กิสาโคตมี

วิกลจริต ยึดติดถือมั่น ปุถุชน

พระอรหันต์ ปล่อยวาง อารยชน

หลุยส์ เบรลล์

คนตาบอด ช่วยตัวเองแทบไม่ได้ คนธรรมดา

ผู้สร้างอักษรเบรลล์ ช่วยคนตาบอดทั้งโลก คนของโลก

อัลเฟรด โนเบล

พ่อค้าอาวุธสงคราม เห็นแก่ตัว คนธรรมดา

นักมนุษยธรรม เห็นแก่ส่วนรวม คนของโลก 69


แบบจำลองวัดป่าวิมตุ ตยาลัย

วัดป่าวิมุตตยาลัย ความเป็นมา ยุคที่ ๑ : ธรรมะติดปีก

บนเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ ณ รังสิตคลอง ๑๔ มุ่งขับเคลื่อนเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก (Applied Buddhism) ภายใต้วิสัยทัศน์ “พุทธศาสนาไทยก้าวไกลเพื่อสันติภาพโลก” พัฒนาวัดให้เป็นแหล่ง “ความรู้” (wisdom) คู่ “ความตื่น” (mindfulness)

70

นับแต่สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยค (พ.ศ.๒๕๔๓) และพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิ ท ยาลั ย ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ แล้ ว พระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี หรื อ

ท่าน ว. วชิรเมธี ได้อุทิศตนทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกครบวงจรทั้ง โดยการเทศน์ การสอน การผลิตผลงานทางวิชาการ การเขียนหนังสือธรรมะ ออกเผยแผ่โดยใช้ภาษาร่วมสมัย การทำรายการธรรมะทางโทรทัศน์ วิทยุ และ การเปิดเว็บไซต์ธรรมะ (vimuttayalaya.net) ตลอดจนการเดินทางไป ปาฐกถา และสอนสมาธิภาวนาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จนก่อให้ เกิดความสนใจธรรมะในหมู่ประชาชนแทบทุกกลุ่มอย่างกว้างขวาง ก่อเกิด เป็ น กระแส “ธรรมะติ ด ปี ก , ธรรมะอิ น เทรนด์ , ธรรมะประยุ ก ต์ ” อย่ า ง แพร่หลาย ต่อมาเมื่อปริมาณงานเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สนใจธรรมะ ทำให้ท่าน

71


ตัดสินใจก่อตั้ง “สถาบันวิมุตตยาลัย” (Vimuttayalaya Institute) ซึ่งเป็น “สถาบั น การศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาสั น ติ ภ าพโลก” ขึ้ น มาขั บ เคลื่ อ นการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในเชิงรุกต่อไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ยุคที่ ๒ : สถาบันวิมุตตยาลัย สถาบันวิมุตตยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือก มีวิสัยทัศน์ ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกครบวงจร โดยมีภารกิจ ๔ ประการ คือ (๑) การศึกษา (๒) การเผยแผ่ (๓) การพัฒนาสังคม (๔) การสร้างสันติภาพโลก

(จัดตั้งโรงเรียนเตรียมสามเณร) (เผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาเชิ ง รุ ก

ทุกรูปแบบ) (ร่ ว มแก้ ปั ญ หาสั ง คมไทยโดยใช้ พุทธธรรม) (สอนสมาธิ ภ าวนาทั้ งในไทยและ ต่างประเทศ)

การทำงานในรูปแบบสถาบันวิมุตตยาลัยของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ทำให้ ก ารเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนามี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เป็ น ระบบ และอำนวย ประโยชน์ โ สตถิ ผ ลแก่ สั ง คม ประเทศชาติ เ ป็ น อย่ า งมาก ทำให้ มี ส ถาบั น องค์ ก รต่ า งๆ ถวายรางวั ล แก่ พ ระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี จำนวนมาก เช่ น รางวัลพระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก จากองค์กรยุวพุทธสงฆ์โลก (WBSY) ซึ่ ง ถวายโดย ฯพณฯ มหิ น ทระ ราชปั ก ษะ ประธานาธิ บ ดี

72

แห่งประเทศศรีลังกา, รางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาผู้นิพนธ์หนังสือ พระพุทธศาสนาดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รางวัลเกียรติคุณสัมพันธ์สังข์เงิน จากสำนักนายกรัฐมนตรี, รางวัลสุดยอด นักคิด ประจำปี ๒๕๕๒ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, รางวัล

นักเขียนบทความดีเด่นแห่งปี จากมูลนิธอิ ายุมงคล โสณกุล, รางวัลการเผยแผ่ พระพุ ท ธศาสนาดี เ ด่ น จากมู ล นิ ธิ จ ำนงค์ ทองประเสริ ฐ เลขาธิ ก าร ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน และได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ เ ป็ น ๑ ใน ๑๐๐ บุ ค คล ผู้เป็นต้นแบบจากหนังสือ a day เป็นต้น ยุคที่ ๓ : วัดป่าวิมุตตยาลัย (พุทธศาสนาไทยเพื่อสันติภาพโลก) ผลแห่ ง การอุ ทิ ศ ตนทำงานเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาอย่ า งไม่ เห็ น แก่ ค วามเหน็ ด เหนื่ อ ย ทำให้ มี ผู้ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ จ ากธรรมะที่ เ ผยแผ่ โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) แพร่หลายออกไปทั้งในเมืองไทย และต่างประเทศ ทำให้ศิษยานุศิษย์ซึ่งเห็นคุณค่าของงานเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาเชิงรุก (Applied Buddhism) ได้ร่วมกันแสวงหาที่ดินจำนวนหนึ่ง เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักงานกลาง สำหรับขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยตรง นั่ น จึ ง เป็ น ที่ ม าของการน้ อ มถวายที่ ดิ น จำนวน ๑๐๐ ไร่ โดย คุณยายทัศนีย์ บุรุษพัฒน์ (อดีตเจ้าของโรงเรียนปริญญาทิพย์) ซึ่งที่ดิน

ดังกล่าวมีโฉนดอยู่ ณ รังสิตคลอง ๑๔ ต.หนองสามวังใต้ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แด่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เพื่อให้พัฒนาเป็น “วัดป่าวิมุตตยาลัย” อันจักเป็นศาสนสถานสำคัญสำหรับการทำงานเผยแผ่ พระพุทธศาสนาเชิงรุก จากเมืองไทยสูป่ ระชาคมโลกต่อไปในอนาคต

73


ติ ด ต่ อ ขอรั บ เป็ น เจ้ า ภาพสิ่ ง ปลู ก สร้ า งพื้ น ฐานของวั ด ป่ า วิ มุ ต ตยาลั ย ตามกำลั ง ศรั ท ธา ที่ ส ถาบั น วิ มุ ต ตยาลั ย www.vimuttayalaya.net E-mail : wvmedhi@yahoo.com โทรศั พ ท์ ๐๘-๑๘๘๙-๐๐๑๐, ๐๘-๔๙๑๑-๗๒๓๕, ๐๘-๗๐๘๐-๗๗๗๙, ๐๘-๙๘๙๓-๒๑๓๖, ๐ ๒๔๒๒-๙๑๒๓ โทรสาร ๐-๒๔๒๒-๙๑๒๘ หรื อ บริ จ าคสร้ า งอาคาร วิปสั สนากรรมฐาน ได้ทบี่ ญ ั ชี พระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี (โครงการวัดป่าชานเมือง) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิรริ าช บัญชีออมทรัพย์เลขที่ ๐๑๖-๔๑๔๖๗๖-๔

74

75


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.