ข้อมูล และความรู้เบื้องต้น มรดกโลก และการขับเคลื่อนเชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก

Page 1


“ ร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นเมืองน่าอยู่

เราทุกคนจะได้อยู่อาศัย

่ ยืน ” อย่างมีความสุข และยัง


เมืองเชียงใหม่


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร


สารบัญ 05 มรดกโลกคืออะไร

30 คุณค่าด้านผังเมือง

07 มรดกโลกในประเทศไทย

32 คุณค่าด้านสถาปัตยกรรม

09 OUV คืออะไร

36 คุณค่าด้านมรดกวัฒนธรรม

11 แผนบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก

45 ความหมายตราสัญลักษณ์โครงการฯ

13 โครงการจัดท�ำแผนปฏิบัติการฯ ตามแนวทางมรดกโลก

48 แหล่งมรดกโลกที่มีความใกล้เคียง กับเมืองเชียงใหม่

17 ขอบเขตการด�ำเนินงาน

51 เมืองหลวงพระบาง

18 ความก้าวหน้าของโครงการฯ

53 เมืองมะละกา และจอร์จทาวน์

21 กรอบแนวคิดการน�ำเสนอ OUV

55 เมืองเก่ากอลล์ และป้อมปราการ

่ รดกเมืองเชียงใหม่ 28 การก�ำหนดพื้นทีม

57 เมืองโบราณลี่เจียง



มรดกโลก คืออะไร

มรดกโลก หรือ World Heritage หมายถึง แหล่ง หรือ

สถานที่ ซึ่งถูกขึ้นทะเบียนโดยองค์การ UNESCO (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยแหล่ง มรดกจะถูกพิจารณาภายใต้พนื้ ฐานของด้านวัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ และการพิสูจน์หลักฐานที่มีความส�ำคัญอื่นๆ และแหล่งมรดกเหล่านั้น จะถูกปกป้องภายใต้มาตรการทางกฎหมายโดยสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ (International Treaty) ซึ่งแหล่งมรดกที่ขึ้นทะเบียนถือ เป็นสมบัติส�ำคัญของมวลมนุษยชาติที่จ�ำเป็นต้องถูกปกป้อง ตาม เจตนารมณ์ของ UNESCO คือ การสร้างสันติภาพ ก�ำจัดความยากจน การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น และสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ผ่ า นการให้ ค วามรู ้ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การสื่อสาร และข้อมูล ประเภทของมรดกโลก

• Cultural Site คือ แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม • Natural Site คือ แหล่งมรดกทางธรรมชาติ • Mixed Site (Natural and Cultural Site) คือ แหล่งมรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

5


แผนที่แสดงแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย และแหล่งมรดกโลกอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มรดกโลกในประเทศไทย •มรดกโลกทางวัฒนธรรม•

1. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Historic City of Ayutthaya (2534) 2. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง Ban Chiang Archaeological Site (2535) 3. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns (2534) •มรดกโลกทางธรรมชาติ•

4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries (2534) 5. ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex (2548)

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

7


Outstanding Universal Value (OUV) คุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลกับการบริหารการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม


OUV

คืออะไร มีหน้าที่อะไร • Outstanding Universal Value (OUV) หรือ คุณค่า อันโดดเด่นเป็นสากล หมายถึง คุณค่าความส�ำคัญในเชิงวัฒนธรรม และ/หรือธรรมชาติที่มีมากเกินกว่าจะเป็นความส�ำคัญเฉพาะ ภายในขอบเขตประเทศหนึ่งๆ และเป็นคุณค่าส�ำคัญร่วมกันของ มนุษย์ทั้งในยุคปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ต้องธ�ำรง รักษาไว้ด้วยการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ และบริหารจัดการ • OUV ท�ำหน้าทีบ่ ง่ บอกถึงคุณค่าของแหล่งมรดกทีย่ นื่ เสนอ โดยคุณค่า (Value) ที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะต้องมีความ โดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบในระดับสากล โดยแต่ละคุณค่าจ�ำเป็น ต้องแสดงออกถึง ความแท้ (Authenticity) และ ความครบถ้วน (Integrity) ผ่านการพิสูจน์หลักฐานที่เชื่อถือได้ มีความเป็นเหตุผล ทีแ่ หล่งมรดกจะได้รบั การบรรจุในบัญชีมรดกโลก เพือ่ รักษาคุณค่า ของแหล่งมรดก หัวใจส�ำคัญที่เชื่อมโยงโดยตรงในการรักษาคุณค่า แหล่งมรดก คือ แผนบริหารจัดการ (Management Plan) ซึ่งต้อง ยื่นเสนอในการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก • Management Plan หรือ แผนบริหารจัดการ ต้อง ครอบคลุ ม หลากหลายมิ ติ อาทิ กระบวนการ และมาตรการ ทางกฎหมายในการดูแลรักษากายภาพของแหล่งมรดก ความเชื่อ ชุมชนและวิถชี วี ติ , มีการจัดตัง้ องค์กรในการปฏิบตั ภิ ารกิจ และการ บริหารจัดการแหล่งทุน ซึ่งต้องสนับสนุน OUV ของแหล่งมรดกที่ ยื่นเสนอ CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

9


่ รดกโลก แผนบริหารจัดการพื้ นทีม (Management Plan) คืออะไร ? มีความส�ำคัญอย่างไร?

แผนบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก คือ แผนบริหารจัดการที่เป็น ข้อตกลงที่ว่าด้วยระบบการบริหารจัดการดูแลพื้นที่และขอบเขตของ แหล่งมรดกโลก (Property & Setting) ระหว่างหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา บริ ห ารและดู แ ลของรั ฐ กั บ องค์ ก ารยู เ นสโก แผนบริ ห ารจั ด การนี้ มีเป้าประสงค์ในการสงวนรักษา อนุรักษ์ และส่งเสริม คุณค่าที่โดดเด่น อันเป็นสากล ของพื้นที่ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมทั้งยัง เป็นแนวทางที่จะผสานมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน อันเป็นหัวใจของการพัฒนาที่เป็นสากล ดังนั้นกระบวนการสร้างแผนบริหารจัดการจึงมีความส�ำคัญทั้ง มิติทางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องผสานความร่วมมือกัน ระหว่างหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


สิง ่ ที่จะตามมา เมื่อเป็นมรดกโลก

พื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จะมี... 1. การจัดตัง้ องค์กรทีม่ ภี ารกิจบริหารจัดการ ดูแล และรักษาพืน้ ที่ ตามแผนบริหารจัดการ 2. แผนบริหารจัดการพื้นที่ ข้อบัญญัติเพื่อการปกปักรักษาพื้นที่ มรดกโลก ซึ่งเกิดจากความเห็นชอบของคนในพื้นที่ ผนวกกับ กฏหมายข้อบังคับในพื้นที่ และถูกจัดท�ำเป็น Management Plan ในขัน้ ตอนการเสนอขอรับการขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก 3. ทุน เพื่อการด�ำเนินการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก 4. การเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และการหลั่งไหลของผู้คน เข้ามาชื่นชมพื้นที่ แผนการบริหารจัดการจึงเป็นหัวใจส�ำคัญ ทัง้ ในการปกปักรักษาคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของพืน้ ที่ และดูแลจัดการให้พื้นที่ถูกพัฒนาไปอย่างเหมาะสม

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

11


วัดเชียงมั่น


โครงการจัดท�ำแผนปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์ และพั ฒนาพื้ นที่ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตามแนวทางมรดกโลก

ตามทีเ่ มืองเชียงใหม่ได้รบั การพิจารณาขึน้ บัญชีเบือ้ งต้น (Tentative List) ตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้ริเริ่ม โครงการจัดท�ำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ตามแนวทางมรดกโลก (ระยะ ที่ 1 มีระยะเวลา 8 เดือน (31 มีนาคม - 29 พฤศจิกายน 2559) ขึ้นเพื่อ ด�ำเนินการศึกษา และรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และบริบทต่างๆ ของเมือง รวมถึงสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อจัด ท�ำข้อเสนอ และแผนบริหารจัดการ ที่จะเสนอให้เป็นเขตมรดกโลก ส�ำหรับ ใช้เป็นข้อมูลในการจัดท�ำเอกสารเพื่อเสนอเมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลกต่อ คณะกรรมการองค์การยูเนสโกในระยะต่อไป

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

13


ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่


วัตถุประสงค์ โครงการจัดท�ำแผนปฏิบตั กิ ารด้านการอนุรกั ษ์ และพัฒนา พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ตามแนวทาง มรดกโลก (ระยะที่ 1) มีวัตถุประสงค์ในการด�ำเนินงาน ดังนี้ 1. เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการอนุ รั ก ษ์ และการพั ฒ นาเมื อ ง เชียงใหม่ให้เป็นเมืองที่มีคุณค่า 2. เพื่อท�ำกระบวนการออกแบบเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมือง มรดกโลกฯ ส� ำ หรั บ ใช้ เ ป็ น เอกสารประกอบการจั ด ท�ำแผนและข้อก�ำหนดในพื้นที่ รวมทั้งใช้เป็นเอกสาร ส�ำหรับการเสนอเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลกต่อไป 3. เพือ่ จัดระเบียบข้อมูลพืน้ ฐานส�ำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงทาง ประวัติศาสตร์ และบริบทด้านต่างๆ ของเมือง 4. เพื่ อ สร้ า งการรั บ รู ้ แ ละการมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการขับเคลื่อนเมือง 5. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการท�ำเอกสาร เพื่อเสนอเมือง เชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลกต่อองค์การยูเนสโกในระยะ ต่อไป

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

15


คูเมืองเชียงใหม่


ขอบเขต

การด�ำเนินการ 1. ขอบเขตด้านพื้นที่ ประกอบด้วย ตัวเมืองเชียงใหม่ ชุมชนในเมืองเชียงใหม่ วัดในเมือง เชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง 2. ขอบเขตงาน 2.1 การออกแบบจิ น ตภาพร่ ว มของเมื อ งเชี ย งใหม่ ใ นฐานะ เมืองมรดกโลก ส�ำหรับใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดท�ำแผน และข้อ ก�ำหนดในพืน้ ทีม่ รดก รวมทัง้ ใช้เป็นเอกสารส�ำหรับการเสนอเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นเมืองมรดกโลกต่อไป 2.2 จัดท�ำ เว็บไซต์ เว็บเพจ และการแถลงข่าวเพื่อให้การขับ เคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลกเป็นที่รับรู้ร่วมกันและเป็นช่อง ทางให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในสังคม 2.3 เพื่อจัดระเบียบข้อมูลพื้นฐาน ส�ำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงทาง ประวัติศาสตร์และบริบทด้านต่างๆ ของเมือง ตามแนวทางการจัดท�ำ เอกสารข้อเสนอ (Nomination File) ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) 2.4 จัดท�ำร่างเอกสารเตรียมเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก (ระยะที่ 1) โดยมีเนื้อหาซึ่งประกอบด้วย การจัดท�ำแผนที่ขอบเขตแหล่ง มรดกโลก การจัดท�ำผังวิถชี มุ ชนในเขตเมืองมรดกโลก เพือ่ ใช้เป็นแนวทาง การรักษาและเอือ้ อ�ำนวย ให้คนในพืน้ ทีส่ ามารถรักษารูปแบบการอยูอ่ าศัย และการด�ำรงชีวิตในเขตพื้นที่ที่เสนอเป็นเมืองมรดกโลกได้อย่างยั่งยืน และจัดท�ำรายชื่อบัญชีอาคารที่มีคุณค่าในเขตพื้นที่เสนอเมืองเชียงใหม่ เป็นมรดกโลก ส�ำหรับใช้ประกอบการวางแผนอนุรักษ์ และฟื้นฟูอาคาร อย่างมีแบบแผนต่อไป CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

17


ความก้าวหน้า ของโครงการฯ

จากการท�ำงานในระยะทีผ่ า่ นมา คณะท�ำงานพบว่าเมืองเชียงใหม่มคี ณ ุ ค่า ควรแก่การยกย่องและบ�ำรุงรักษาในมิติด้านมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่สะท้อนคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Values) ตามเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ดังนี้


1. เมืองเชียงใหม่สามารถเป็นประจักษ์พยานหนึง่ เดียว ของการก่อตัง้ เมือง และสร้างสรรค์เมืองภายใต้แนวคิดการสร้างพันธมิตรระหว่างกษัตริย์สามพระองค์ เพื่อตั้งรับการแผ่อ�ำนาจของมองโกล 2. เมืองเชียงใหม่เป็นตัวแทนของเมืองที่มีความโดดเด่น และสะท้อน พัฒนาการสูงสุดของรัฐในหุบเขาของชาติพันธุ์ไต (Tai-Dai Culture) 3. เมืองเชียงใหม่สะท้อนแนวคิดเมืองที่มีชีวิต (Living City) ผ่านการสืบ ต่อและส่งทอดวิถีวัฒนธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นเมือง และการอยู่ร่วม กับธรรมชาติ ผ่านการหลอมรวมความเชื่อ ผี พุทธ และพราหมณ์ ซึ่งคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ข้างต้น ได้สะท้อน ผ่านองค์ประกอบส�ำคัญของเมือง 3 ประการ คือ 1. โครงสร้างของการออกแบบผังเมือง (Town Planning) อันได้แก่ แนวคิดของการสร้างเมือง การจัดวางองค์ประกอบเมือง ทิศทาง ต�ำแหน่ง แนวแกน ถนน และความเชือ่ มต่อของเมืองทีส่ มั พันธ์กบั องค์ประกอบทางธรรมชาติเช่น ดอย สุเทพ พื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ลุ่ม แหล่งน�้ำ และแม่น�้ำปิง 2. อาคาร สถาปัตยกรรม และองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม ที่สะท้อน แนวคิดของการสร้างเมือง (Town’s Architecture) อันได้แก่ ป้อม ประตู คูเมือง เสาหลักเมือง วัด อาคาร แหล่งโบราณสถาน ที่สะท้อนแนวคิดการสร้างเมือง และ ไม้หมายเมือง 3. วัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ประเพณี และจารีต ของผู้คนที่ท�ำให้เมือง ยังคงความสืบเนื่อง และมีชีวิต (Town’s Culture) CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

19


eo fT ow nA rch ite ctu re

กรอบแนวคิดการน�ำเสนอ OUV

re ltu Cu

Va lu

n’s ow fT eo

lu Va

Value of Town Planning


กรอบแนวคิดการน�ำเสนอ OUV

หรือคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของเชียงใหม่ การน� ำ เสนอคุ ณ ค่ า ของแหล่ ง มรดกจ� ำ เป็ น ต้ อ งอยู ่ บ นพื้ น ฐานของหลั ก ฐานที่ปรากฏ (Testimony) ทั้งด้านกายภาพ และบันทึกเอกสารที่มีความน่า เชื่อถือ โดยเชียงใหม่มีศักยภาพในการน�ำเสนอ คุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากล หรือ OUV ประกอบด้วย 3 คุณค่าส�ำคัญ ได้แก่ • Value of Town Planning

คุณค่าด้านการวางผังเมือง

• Value of Town Architecture

คุณค่าด้านสถาปัตยกรรมที่มีความส�ำคัญในระดับเมือง • Value of Town’s Culture

คุณค่าด้านวัฒนธรรมที่มีความส�ำคัญในระดับเมือง โดยในแต่ละคุณค่าที่น�ำเสนอสามารถแสดงออกถึงความส�ำคัญของพื้นที่ และตัวมรดกทางวัฒนธรรมอันประกอบไปด้วย

• การแสดงออกด้านอ�ำนาจ (Power) • การได้รับอิทธิพล (Influence) • การแลกเปลี่ยน (Interchange)

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

21



้ ทะเบียนแบบกลุม แนวคิดการขึน ่ (Serial Nomination) น�ำเสนอพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ ชั้นใน ชั้นนอก เวียงสวนดอก พระธาตุดอยสุเทพ และองค์ประกอบที่แสดงถึงการเชื่อมโยง ของแต่ละพื้นที่


• การขึ้นทะเบียนแบบกลุ่ม (Serial Nomination)

• พื้ นที่เสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็น เขตมรดกโลก (Nomination Property)

• เกณฑ์การเป็นเมืองมรดกโลก (Criteria)


จากการด�ำเนินงานของคณะท�ำงานฯ ซึง่ ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการร่างข้อสรุป เบือ้ งต้น ภายใต้แนวคิดการขึน้ ทะเบียนแบบกลุม่ (Serial Nomination) โดยจะเสนอให้พื้นที่เมืองเก่าชั้นใน และพื้นที่เมืองเก่าชั้นนอก วัดหรือ โบราณสถาน เวียงสวนดอก พระธาตุดอยสุเทพ และองค์ประกอบทีแ่ สดง ถึงการเชื่อมโยงของแต่ละพื้นที่ เป็นพื้นที่ที่เสนอให้เป็นเขตมรดกโลก (*อยูร่ ะหว่างการศึกษาและหาข้อสรุปเพิม่ เติม) ตรงตาม เกณฑ์ขอ้ ที่ 2 ของ การเป็นเมืองมรดกโลก (Criteria of Selection) ที่มีเนื้อหาโดยรวมว่า สิ่งที่จะได้การรับรองเป็นมรดกโลกจะต้อง “เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่งในการ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อ ในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนา ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการ พัฒนาเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด พื้นที่ หนึ่งของโลก” โดยคณะท�ำงานฯ ยังมีความเห็นว่า อาจจะใช้เกณฑ์ข้อที่ 3 ที่ระบุ ว่ามรดกโลกจะต้อง “เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐาน แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรม ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว” และเกณฑ์ข้อที่ 6 ที่ว่า มรดกโลกจะต้อง “มีความคิดหรือความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือบุคคลที่มีความส�ำคัญหรือความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์” เป็น เกณฑ์สนับสนุนเกณฑ์หลักในข้อที่ 2 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในล� ำ ดั บ ต่อไปหลัง จากมีก ารสรุป คุณค่าที่โดดเด่นอันเป็นสากล ที่ ไ ด้ จากคณะท�ำงานฯ แล้ว คณะท�ำงานฯจะน�ำเสนอคุณค่า (OUV) พร้อมกับพืน้ ทีท่ จี่ ะขอขึน้ ทะเบียนเป็นพืน้ ทีม่ รดกโลก (Nomination Property) ให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ พร้อมทั้งระดมความ คิดเห็น และความร่วมมือในการจัดท�ำแผนการจัดการพื้นที่มรดกโลก (Management Plan) อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในขั้นต่อไป ซึ่ง แผนการจัดการพื้นที่มรดกโลกที่ว่านี้ จะเป็นหนึ่งในเอกสารส�ำคัญที่จะ ประกอบกับรายงานเอกสารการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกกับองค์การ ยูเนสโก (Nomination Dossier) CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

25


แผนที่มรดกโลกเมืองเชียงใหม่



การก�ำหนดพื้ นที่มรดก เมืองเชียงใหม่

แหล่งมรดกที่มีคุณค่าของเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 3 แหล่ง คือ แหล่งที่ 1 เวียงเชียงใหม่ Property Zone (พื้นที่มรดก) ขอบเขต: ครอบคลุมพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ชั้นใน รวมก�ำแพง เมือง ป้อมปราการ และคูเมืองชั้นใน ไปจนชิดริมด้านนอกของคูเมือง ชั้นในทั้ง 4 ด้าน


Buffer Zone (พื้นที่กันชน) ขอบเขต: ครอบคลุมพืน้ ทีเ่ มืองเก่าเชียงใหม่ชนั้ นอก รวมคันดิน ป้อมปราการ และคูเมืองชั้นนอกด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ตาม แนวเขตริมนอกของคลองแม่ข่า คูเมืองชั้นนอกด้านทิศตะวันตกและทิศ ใต้ตามแนวเขตริมนอกของล�ำคูไหว ส่วนบริเวณด้านทิศเหนือที่วัดจาก ริมด้านนอกของคูเมืองชั้นในออกไปจนสุดแนวเขตถนนมณีนพรัตน์ และ บริเวณด้านทิศตะวันตกที่วัดจากริมด้านนอกของคูเมืองชั้นในออกไปจน สุดแนวเขตถนนบุญเรืองฤทธิ์ แหล่งที่ 2 เวียงสวนดอก Property Zone (พื้นที่มรดก) ขอบเขต: ครอบคลุมพื้นที่วัดสวนดอก Buffer Zone (พื้นที่กันชน) ขอบเขต: ครอบคลุมพื้นที่เวียงสวนดอก แหล่งที่ 3 พระธาตุดอยสุเทพ Property Zone (พื้นที่มรดก) ขอบเขต: ครอบคลุมพื้นที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ และเนินเขาที่ เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ ตามเส้นระดับภูมิประเทศที่ก�ำหนด Buffer Zone (พื้นที่กันชน) ขอบเขต: ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบเนินเขาที่เป็นที่ตั้งของวัด พระธาตุดอยสุเทพ ตามเส้นระดับภูมิประเทศที่ก�ำหนด (โดยมีแนวเขต อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย ช่วยปกป้องพื้นที่แหล่งมรดกและพื้นที่ กันชนอีกชั้นหนึ่ง)

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

29


คุณค่าด้านผังเมือง

(Value of Town Planning ) เมืองเชียงใหม่ตามประวัตศิ าสตร์ถกู ก่อตัง้ และสร้างสรรค์เมืองภายใต้แนวคิด การสร้างพันธมิตรระหว่างกษัตริย์สามพระองค์ เชียงใหม่จึงถือว่าเป็นตัวแทนของ เมืองที่มีความโดดเด่นและสะท้อนพัฒนาการสูงสุดของรัฐในหุบเขาของชาติพันธุ์ ไต (Tai-Dai Culture) ที่มีการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ยังสะท้อนแนวคิด เมืองที่มีชีวิต (Living City) ผ่านการสืบทอดและส่งต่อชีวิตและจิตวิญญาณของ


ความเป็นเมืองที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ ผ่านการหลอมรวมความเชื่อ ผี พุทธ และ พราหมณ์ ความโดดเด่นในการสร้างเมืองเชียงใหม่ หรือ เวียงเชียงใหม่ ถูกถ่ายทอด ผ่านระบบการวางผังเมือง (Town Planning) ที่มีภูเขาศักดิ์สิทธิ์ด้านหลัง แม่น�้ำ ด้านหน้า ซึ่งเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ที่ได้รับอิทธิพลการสร้างเมืองจากเขมร และจีน ระบบการวางผังเมืองและองค์ประกอบของเมืองยังแสดงออกด้านอ�ำนาจ การปกครอง (Political Power) อิทธิพล (Influence) และ การแลกรับปรับเปลีย่ น (Interchange) ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้ • การบูรณาการองค์ความรูจ้ ากกษัตริย์ 3 พระองค์ เพือ่ อ�ำนาจการปกครอง ใหม่ที่น�ำไปสู่การสร้างเมือง • การเลือกชัยภูมิเมืองที่สามารถป้องกันข้าศึกจากการแผ่อ�ำนาจของ มองโกล บนเส้นทางการค้าใหม่ที่น�ำความมั่งคั่งมาสู่ชนชั้นปกครอง • ระบบผังเมืองเชื่อมโยงกับความเชื่อและความศรัทธาระหว่างภูเขาและ เมือง ทั้งด้านกายภาพและระบบสังคม • การวางผังเมืองรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของ พญามังราย • การวางแนวคิ ด เมื อ งสี่ เ หลี่ ย มเป็ น เมื อ งค้ า ขาย ปฏิ เ สธรู ป แบบเมื อ ง พระธาตุที่นิยมในยุคเดียวกัน • แนวคิดเมืองมีชีวิตที่ถ่ายทอดลงบนระบบผังเมืองในมิติทิศทาง (Orienta tion) และ มิติศักดินา (Hierarchy) คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) ด้านผังเมืองของเวียงเชียงใหม่ แสดงออก ผ่านองคาพยพเมือง อันประกอบด้วย ต�ำแหน่งทีต่ งั้ เมือง เมืองรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ทีม่ ี คูน�้ำ ก�ำแพง และป้อมปราการ ดอยศักดิส์ ทิ ธิ์ทที่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นปราการทางธรรมชาติ และ เวียงสวนดอก เวียงศาสนาที่ตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับ พระธาตุดอยสุเทพ และดอยศักดิ์สิทธิ์ คุณค่านี้ด�ำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมาตลอด 720 ปี น�ำไปสู่การก�ำหนดขอบเขตพื้นที่แหล่งมรดก (Property Zone) และพื้นที่ กันชน (Buffer Zone) ร่วมกับปัจจัยทางด้านกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่เอื้อต่อ การจัดการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดก CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

31


“แจ่งศรีภูมิ และคูเมือง”

คุณค่าด้านสถาปัตยกรรม (Value of Town Architecture)

เมืองเชียงใหม่ มีลักษณะเฉพาะพิเศษด้านกายภาพที่แสดงถึง อัจฉริยภาพด้านการวางผังเมืองของบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองในอดีต คุณค่าของงานสถาปัตยกรรม ตามเกณฑ์มรดกโลก เมืองเชียงใหม่ จึงจัดให้งานสถาปัตยกรรมเป็นตัวอย่างในฐานะหลักฐานของการ สร้างเมือง และเป็นองค์กอบส�ำคัญที่แสดงอัจฉริยภาพของการวาง ผังเมือง (Town’s Architecture) ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรม จึงเกี่ยวข้องกับ โครงสร้างของการสร้างเมือง ได้แก่ ก�ำแพงเมือง ประตูเมือง แจ่งเมือง คูน�้ำ คันดิน วัด อาคารศาสนา ตลอดจนถึง อาคารราชการ คุ้มเจ้านาย เป็นต้น


คูน�้ำ ท�ำหน้าที่หลักในป้องกันข้าศึกและเป็นแหล่งน�้ำใช้เพื่อ หล่อเลีย้ งผูค้ นในเมือง ในอดีตคูนำ�้ มีระบบชักน�ำ้ เข้าเมือง จากล�ำน�ำ้ ห้วยแก้ว ซึง่ ไหลลงมาจากดอยสุเทพ แล้วระบายเข้าคูเมืองทัง้ สีด่ า้ น บริเวณ ซึ่งมีระบบทดน�้ำ และการระบายน�้ำ อย่างชาญฉลาด ก�ำแพงเมือง เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดของเมือง เป็น หลักฐานทีแ่ สดงถึงรูปร่างของเมืองในอดีตทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ก�ำแพงเมือง เชียงใหม่ สร้างในสมัยพญามังรายปฐมกษัริย์ของอาณาจักรล้านนา ก�ำแพงเมืองเชียงใหม่ ต่อมามีการปรับเปลี่ยนให้มีความแข็งแรง ขึ้นเพื่อป้องกันปืนใหญ่ และมีหลักการบูรณะอย่างน้อยอีกสองครั้ง ในสมัย พระเจ้ากาวิละ และ สมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา ก�ำแพงเมือง เชียงใหม่ ถูกประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติโดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2477 แจ่งเมือง ประกอบไปด้วยหลักฐานของอาคารก่ออิฐเป็น รูปวงกลม ด้านบนเป็นลักษณะของป้อมปราการ เชื่อมต่อกับแนว ก�ำแพงเมืองและประตูเมือง ทั้งสี่ด้าน ในอดีตท�ำหน้าที่เป็น หอ สังเกตการณ์ และใช้ตั้งปืนใหญ่ สันนิษฐานว่า มีการจัดทหารและ เวรยามประจ�ำเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง ประตูเมือง ลักษณะด้านกายภาพของประตูเมืองเชียงใหม่ จาก หลักฐานภาพถ่ายและแผนที่ในอดีต แสดงให้เห็นว่า ประตูเมืองชั้น ใน เป็นประตูสองชั้น ลักษณะเป็นกระเปาะ หรือห้องต่อเข้าไปด้าน ใน มีแผนผังไม่เหมือนกันทัง้ 5 ประตู และประตูทงั้ สองชัน้ ไม่ได้อยูใ่ น แนวเดียวกัน สันนิษฐานว่าเพื่อเป็นการป้องกันการโจมตีจากข้าศึก

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

33


หอไตรวัดพระสิงห์ฯ

วัดและอาคารศาสนา ในเมืองเชียงใหม่ มีบทบาทและหน้าที่ ในหลายมิติ ทั้งบทบาทที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม วัดเป็นสถาน ที่ในการเรียนรู้ เป็นโรงเรียน และเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นศูนย์รวม และยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ในอดีต วัดถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มคนสองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ กษั ต ริ ย ์ หรื อเจ้านายชั้นผู้ใ หญ่ ส่วนอีก กลุ่มหนึ่ง คือชาวบ้าน ทั้งสองกลุ่ม ใช้วัดและพระสงฆ์ เป็นเครื่องมือ ในสื่อสาร เพื่อ เชื่อมโยงผู้คน ผ่านระบบหัวหมวดอุโบสถหรือระบบหัววัด และ การเชื่อมโยงความเชื่อจิตศรัทธาของคนในเมือง


วัด และอาคารศาสนาทีถ่ กู สร้าง ในราชวงศ์มงั ราย จึงเป็นงาน สถาปัตยกรรมทีแ่ สดงออกถึงความรุง่ เรือง และคุณค่าขององค์ความ รูจ้ ากอดีต ทีม่ คี ณ ุ ค่า และโดดเด่นทัง้ ในฐานะงานสถาปัตยกรรมแห่ง ยุคสมัย และยังส่งอิทธิพลด้านงานสถาปัตยกรรมและองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้อง ไปสู่เมืองอื่นๆ รายรอบอาณาจักร วัด และอาคารทีม่ คี วามส�ำคัญ และมีคณ ุ ค่าด้านสถาปัตยกรรม โดดเด่น ระดับเมือง 1. กลุ่มงานสถาปัตยกรรมที่สมัยราชวงศ์มังราย : วัดพระธาตุดอยสุเทพ, วัดพระสิงห์, วัดเจดีย์หลวง 2. กลุม่ งานสถาปัตยกรรมสมัยฟืน้ ฟูการปกครอง (สมัยพระยา กาวิละ) : วั ด พั น เตา, วั ด ปราสาท, วั ด ดวงดี , วั ด ทรายมู ล พม่ า , วัดป่าเป้า 3. กลุ่มงานสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่มีคุณค่าในฐานะเป็นความ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง : วัดสวนดอก, วัดเจ็ดยอด 4. กลุ่มงานสถาปัตยกรรมสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง (สมัยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5) : คุ้มเจ้าบุรีรัตน์มหาอินทร์, คุ้มเจ้าบุรีรัตน์แก้วมุงเมือง, โรงเรี ย นยุ พ ราชวิ ท ยาลั ย (อาคารเรี ย น ตึ ก ยุ พ ราช) (โรงช้างต้น), ศาลแขวง, หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

35


ขบวนแห่พระพุ ทธสิหิงค์ งานปี๋ ใหม่เมือง


คุณค่าด้านมรดกวัฒนธรรม (Value of Town’s Culture)

เมืองเชียงใหม่สามารถสะท้อนแนวคิดเมืองทีม่ ชี วี ติ (Living City) ผ่าน การสืบทอด ส่งต่อจิตวิญญาณและ วัฒนธรรมทีส่ มั พันธ์ระหว่าง องค์ประกอบ ทางกายภาพของเมือง ธรรมชาติ และวิถีชีวิตของผู้คน ผ่านการหลอมรวม คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมของความเชื่อแบบผี พุทธศาสนา และ ความคติเชื่อแบบพราหมณ์อย่างลงตัว ซึ่งท�ำให้เมือง ยังคงมีพัฒนาการการ เปลี่ยนแปลงบนโครงสร้างและองค์ประกอบเมืองที่ได้ถูกออกแบบจัดการไว้ มรดกวัฒนธรรมเมืองดังกล่าวนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทาง กายภาพของการสร้างสรรค์เมือง (Town Planning) ที่สะท้อนความจริง แท้ (Authenticity) และความครบถ้วน (Integrity) ในมิติของหน้าที่ใช้สอย (Function) ในฐานะเครือ่ งมือการจัดการทางสังคมและชุมชนทีย่ งั คงสืบเนือ่ ง (Continuity) ของการเป็นเมืองทีม่ ี ชีวติ แม้วา่ รูปแบบ (Form) จะถูกพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคม แต่ก็เพื่อให้ความมีจิตวิญญาณ (Spirit) นั้นสืบต่อไป เนื่องจากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความส�ำคัญของเมืองในที่นี้ เป็น วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) แต่ปรากฏรูปแบบที่แสดง และสะท้อนคุณค่าและความหมายผ่านวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัย (People) สถานที่ (Place) และองค์ประกอบทางกายภาพของเมือง (Elemants of Town’s Planning) ซึ่งองค์ประกอบ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งมรดก วัฒนธรรมที่ท�ำหน้าที่ร่วมกัน (Living Organism) ในการส่งเสริม สืบสาน และส่งต่อ ความมีชีวิตของเมือง แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่มีความส�ำคัญต่อ ระบบชีวิตของเมือง ประกอบด้วยองค์ประกอบเชิง กายภาพดังนี้ CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

37


งานท�ำบุญเมืองประตูแสนปุง

1. แหล่งมรดกที่สะท้อนคุณค่าระดับครอบครัวและเครือญาติ 1.1 บ้านเก๊า หมายถึง พืน้ ทีต่ งั้ ของบ้านหรือกลุม่ บ้านยังคงเก็บรักษาหอบรรพบุรษุ และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องเอาไว้ เช่น การไหว้และบูชาผีปู่ย่า ผี บรรพบุรุษ หรือผู้ล่วงลับ 1.2 บ้านดั้งเดิมของตระกูล หมายถึง พืน้ ทีต่ งั้ ของบ้านหรือกลุม่ บ้านของผูอ้ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม ทีข่ ยาย ออกมากจากบ้านเก๊า โดยอาจจะไม่มีหอผีปู่ย่า


1.3 หอผีปู่ย่า หมายถึง หอบูชาบรรพบุรุษที่สืบสายตระกูลมาจากฝ่ายแม่ 1.4 กู่บรรพบุรุษ หมายถึง ที่บรรจุอัฐิของผู้ล่วงลับซึ่งจะตั้งอยู่ในวัดประจ�ำครอบครัว 1.5 วัดประจ�ำครอบครัว หมายถึง วัดในละแวกบ้านที่ครอบครัวศรัทธา และมีความเกี่ยวเนื่องกับวิถี ชีวิตของคน เช่น เป็นที่ตั้งของกู่บรรพบุรุษ เป็นที่จัดงานตั้งแต่เกิดจนตาย ที่สะท้อน “ระบบศรัทธาวัด”

2. แหล่งมรดกที่สะท้อนคุณค่าระดับชุมชน/ย่าน 2.1 วัดประจ�ำชุมชน หมายถึง วัดในละแวกบ้าน/ชุมชน ทีเ่ ป็นศูนย์รวมใจและศรัทธาของผูอ้ ยูอ่ าศัย ในย่าน/ชุมชนที่สะท้อน “ระบบศรัทธาวัด” วัดยังเป็นพื้นที่ทางกายภาพที่ รองรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมและสังคมของประเพณีพิธี กรรมระดับเมือง 2.2 กาด (ตลาด) หมายถึง ตลาดทีน่ อกเหนือจากเป็นพืน้ ทีท่ างการค้าแล้ว ยังเป็นพืน้ ทีส่ าธารณ ระดับชุมชน/เมือง ที่ส่งเสริมการมีชีวิตความเป็นอยู่ในมิติทางสังคมและ วัฒนธรรมด้วย เช่น ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดสมเพชร-มิ่งเมือง 2.3 เสื้อบ้าน เสื้อวัด หมายถึง หอพิธกี รรมของบุคคลทีม่ คี วามส�ำคัญกับชุมชน เช่น บรรพบุรษุ ของ ชุมชน ผู้น�ำชุมชน เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นที่รวมใจและศรัทธาของผู้คนในระดับ ชุมชน 2.4 ศาลเจ้าพ่อ หอสถิตจิตวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ภายในวัด หมายถึง สถานที่ ศาล ต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างชั่วคราวที่ถูกสร้างขึ้นตามวาระ ทีม่ คี ณ ุ ค่าและความหมาย ในการเชือ่ มโยงผูค้ นเข้ากับองค์ประกอบของชุมชน ย่าน และเมือง ที่สะท้อนระบบความเชื่อในการ จัดการดูแลชุมชนและองค์ ประกอบทางกายภาพเมือง เช่น หอฝายพญาค�ำ ศาลเจ้าหลวงค�ำแดง CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

39


ประตูแสนปุงกับต้นยางนา

3. แหล่งมรดกที่สะท้อนคุณค่าระดับเมืองและภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมือง 3.1 วัดระดับเมือง หมายถึง วัดที่เป็นศูนย์รวมใจในระดับเมือง มักจะเป็นที่ประกอบพิธีกรรมที่ ส�ำคัญของเมือง เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดเชียงมั่น


3.2 หออินทขิล หมายถึง เสาหลักเมืองทีเ่ ป็นเสาแห่งความมัน่ คงของดวงชะตาเมืองทีก่ ำ� หนด ความรุ่งเรืองและความเสื่อมของเมือง 3.3 หอพญามังราย หมายถึง หอที่เป็นอนุสรณ์สถาน แด่พญามังรายผู้ตั้งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต้อง อสนีบาตเสด็จสวรรคต ณ บริเวณกลางเมืองเชียงใหม่ 3.4 ไม้หมายเมือง หมายถึง ต้นไม้ใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นที่สถิตของรุกขเทวดาและจิตวิญญาณ ธรรมชาติ ทีม่ อี ำ� นาจในการ ปกป้องดูแลรักษาพืน้ ทีใ่ ดพืน้ ทีห่ นึง่ ของเมือง เช่น ต้นยางนาภายในวัดเจดีย์หลวง 3.5 ศาลเจ้าพ่อประตูเมือง และแจ่งเมือง หมายถึง ศาลหรือหอทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ เป็นทีส่ ถิตของเทวดาอารักษ์ทมี่ หี น้าทีใ่ น การปกป้องคุม้ ครองสถานที่ นัน้ ซึง่ เป็นต�ำแหน่งส�ำคัญในการสร้างสรรค์และ จัดการเมือง เช่น ศาลเจ้าพ่อประตูเมือง ศาลประตูสวนดอก ศาลประตูสวนปรุง 3.6 อนุสาวรีย์ และลานอนุสาวรีย์ หมายถึง สถานทีต่ งั้ ทีม่ คี วามส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์ หรือเกีย่ วข้องกับบุคคล ในประวัตศิ าสตร์ ซึง่ พืน้ ที่ เหล่านีเ้ ป็นพืน้ ทีใ่ นการประกอบพิธกี รรมส�ำคัญของ เมือง เช่น อนุสาวรีย์ช้างเผือก อนุเสารีย์สามกษัตริย์ 3.7 ดอยสุเทพ หมายถึง พื้นที่ทางภูมิทัศน์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สถิตของเทวดา อารักษ์ เป็นทีร่ วมศรัทธา จิตวิญญาณของผูค้ น และเมือง เป็นสภาพภูมทิ ศั น์ทสี่ ะท้อน แนวคิดภูเขาศักดิส์ ทิ ธ์ทเี่ ป็นองค์ประกอบ ในการสร้างสรรค์เมือง 3.8 เส้นทางประเพณีพิธีกรรมของเมือง หมายถึง เส้นทางที่ผู้คนใช้ประกอบพิธีกรรมที่ส�ำคัญของเมือง ซึ่งสะท้อน แนวคิดการวางต�ำแหน่ง ทิศทาง ทีม่ คี วามหมายร่วมกับแนวคิดการสร้างเมือง เช่น เส้นทางเดินขึน้ ดอยสุเทพ เส้นทางแห่พระเจ้าฝนแสนห่า เส้นทางแห่พระ พุทธสิหิงค์ เส้นทางรอบคูเมือง CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

41


แผนการด�ำเนินงานระยะที่ 1 และเป้าหมาย ปี 2559 • รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ขอ้ มูลประวัตศิ าสตร์ และคุณค่าของเชียงใหม่ คุณค่าที่โดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Values-OUV) ตามเกณฑ์ ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) • น�ำเสนอพื้นที่ที่จะก�ำหนดให้เป็นเขตมรดกโลก (Property area /Buffer Zone และพื้นที่ๆ ครอบคลุม อยู่ใน Management Plan) • จั ด ท� ำ ร่ า งเอกสารข้ อ เสนอเพื่ อ ขอรั บ การขึ้ น ทะเบียนเป็นมรดกโลก (ในบทที่ 1-3 ตาม Operational Guideline ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) • สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการขับเคลื่อนโครงการฯ • ด�ำเนินการประสานงานกับหน่วยงาน ICOMOS ซึ่งเป็นองค์กรภาคีขององค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อ รับการสนับสนุนในกระบวนการ Upstream Process ซึง่ เป็นขัน้ ตอนในการเตรียมจัดท�ำเอกสารข้อเสนอ (Nomination Dossier) ตามข้อก�ำหนดขององค์การยูเนสโก (UNESCO)


ร่างแผนการด�ำเนินงาน และเป้าหมาย ปี 2560 (**ร่างเป้าหมายการด�ำเนินงาน)

• เตรียมความพร้อมในการจัดท�ำแผนการจัดการ (Management Plan) อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน • จัดท�ำฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม Cultural Mapping ในระยะที่ 2 (ฐานข้อมูลเสร็จสมบูรณ์) • จัดเวทีวิชาการระดับนานาชาติ (Chiang Mai Historic City: Expert Forum) ในเดือนมกราคม 2560 • ด�ำเนินการขั้นตอน Upstream Process ครั้งที่ 1 โดยหน่วยงาน ICOMOS สากล • ด�ำเนินการจัดท�ำเอกสารข้อเสนอ (Nomination Dossier) ในบทที่ 4-6 (ระยะที่ 1)

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

43



ความหมาย

ของตราสัญลักษณ์โครงการฯ ตราสัญลักษณ์โครงการผลักดันเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก จัดท�ำขึ้นเพื่อ ประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพจ�ำให้กับการด�ำเนินงานโครงการฯ โดยตรา สัญลักษณ์ได้สื่อสารความส�ำคัญของตัวแทนคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของ เมืองเชียงใหม่อนั โดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Values-OUV) ตามเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) และพื้นที่ที่น�ำเสนอขอขึ้นทะเบียน เป็นเขตมรดกโลก (Nomination Property) สามเหลี่ยมสีทอง

เป็นตัวแทน วัดพระธาตุดอยสุเทพ และดอยสุเทพ-ปุย

สี่เหลี่ยมสีน�้ำตาล

เป็นตัวแทน พื้นที่เวียงเก่า (สีเหลี่ยมคูเมือง) และการเชือ่ มโยงคุณค่าระหว่างเมืองกับดอยสุเทพ-ปุย

วงกลมสีเทาขนาดเล็ก

เป็นตัวแทน มรดกทางวัฒนธรรมในชุมชน และชุมชน ในเขตเมืองเก่า

เส้นโค้งสีฟ้า

เป็นตัวแทน แม่น�้ำปิง และระบบน�้ำในพื้นที่ตั้งเมือง

อักษรสีน�้ำตาล

คื อ ชื่ อ โครงการ และสี น�้ ำ ตาลแทนความหมาย ของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ของคนเชียงใหม่

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

45


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร



เมืองหลวงพระบาง (Town of Luang Prabang)

เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์ (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca)


เมืองเก่ากอลล์ และป้อมปราการ (Old Town of Galle and its Fortifications)

เมืองโบราณลี่เจียง (Old Town of Lijiang)



เมืองหลวงพระบาง

(Town of Luang Prabang) ปีที่ขึ้นทะเบียน ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ ประเภทมรดก

พ.ศ. 2538 (ii)(iv)(v) (2,4,5) Cultural Site แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

ลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับเชียงใหม่

• ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ (ii)(2) คือ แสดงออกถึงการแลกเปลี่ยน คุณค่าต่างๆ ของมนุษย์ ในช่วงระยะเวลาหนึง่ หรือภายในพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรมหนึง่ ของโลก ในแง่พัฒนาการทางสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ • น�ำเสนอคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) ผ่านงานสถาปัตยกรรม แบบประเพณีทหี่ ลอมรวมกับโครงสร้างเมือง (Urban Structure) ร่วมกับงาน สถาปัตยกรรมแบบเมืองขึน้ ของยุโรป และมีความเฉพาะตัวในการด�ำรงรักษา ภูมิทัศน์เมือง

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

51



เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์ (Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca) ปีที่ขึ้นทะเบียน ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ ประเภทมรดก

พ.ศ. 2551 (ii)(iii)(iv) (2, 3, 4) Cultural Site แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

ลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับเชียงใหม่

• ยืน่ เสนอภายใต้เกณฑ์ (ii)(2) คือ แสดงออกถึงการแลกเปลีย่ นคุณค่า ต่างๆ ของมนุษย์ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือภายในพื้นที่วัฒนธรรมหนึ่งของ โลก ในแง่พฒ ั นาการทางสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี ศิลปะทีย่ งิ่ ใหญ่ ผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ • เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์ เป็นตัวอย่างของเมืองที่มีความ หลากหลายทางด้านวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างตะวันออก และตะวันตก เป็นเมืองที่รักษาวัฒนธรรมทั้งแบบจับต้องได้ (Tangible) และ จับต้องไม่ได้ (Intangible) • งานสถาปัตยกรรมมีความโดดเด่น อาทิ โบสถ์ และอาคารราชการ แบบตะวันตกของเมืองมะละกา และสถาปัตยกรรมแบบเรือนร้านค้าโดย เฉพาะเมืองจอร์จทาวน์ที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

53


ภาพเมืองมรดกโลกบางส่วน น�ำมาจาก http://www.unesco.org


เมืองเก่ากอลล์ และป้อมปราการ

(Old Town of Galle and its Fortifictions) ปีที่ขึ้นทะเบียน ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ ประเภทมรดก

พ.ศ. 2531 (iv) (4) Cultural Site แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

ลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับเชียงใหม่

• เป็นเมืองท่าทีล่ อ้ มรอบด้วยป้อมปราการคล้ายเมืองเชียงใหม่ เมืองเก่ากอลล์ ถูกค้นพบโดยชาวโปรตุเกสในศตวรรษที่ 16 และมีความรุง่ เรืองสูงสุดในศตวรรษที่ 18 • เป็นตัวอย่างเมืองป้องปราการที่ถูกสร้างขึ้นโดยชาวตะวันตก ที่แสดงถึง การสื่อสารระหว่างงานสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและสถาปัตยกรรมแบบประเพณี ของเอเชียใต้

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

55



เมืองโบราณลี่เจียง (Old Town of Lijiang) ปีที่ขึ้นทะเบียน ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ ประเภทมรดก

พ.ศ. 2540 (ii)(iv)(v)(2,4,5) Cultural Site แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

ลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับเชียงใหม่

• ยื่นเสนอภายใต้เกณฑ์ (ii) (2) คือ แสดงออกถึงการแลกเปลี่ยนคุณค่า ต่างๆ ของมนุษย์ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือภายในพื้นที่วัฒนธรรมหนึ่งของโลก ในแง่พัฒนาการทางสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ผังเมือง หรือ การออกแบบภูมิทัศน์ • เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าเก่าในช่วงปี ค.ศ. 1300 ที่มีอายุกว่า 800 ปี ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่มีความสูง-ต�่ำไม่เท่ากัน และคงความเป็นภูมิทัศน์ทาง วัฒนธรรม • ลี่เจียงเป็นเมืองที่ยังมีระบบน�้ำที่ยังคงท�ำหน้าที่อย่างสมบรูณ์ตั้งแต่สมัย โบราณในการหล่อเลี้ยงเมืองที่มีความซับซ้อนมาจนถึงปัจจุบัน

CHIANGMAI WORLD HERITAGE INITIATIVE PROJECT

57



ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการฯ

และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเชียงใหม่สู่เมืองมรดโลก ได้ที่ โครงการจัดท�ำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพั ฒนาพื้ นที่ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตามแนวทางมรดกโลก ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 0-5321-7793, 0-5321-9833 โทรสาร : 0-5321-9833 Email : cmwh.th@gmail.com www.chiangmaiworldheritage.net Facebook Page (ภาษาไทย) Chiang Mai World Heritage Initiative Project (English) Chiang Mai Historic City World Heritage Project


วัดมหาวัน


ภาพโดย : กรินทร์ มงคลพันธ์ /



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.