แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ริมน้ำห้วยโจ้

Page 1





















แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai จรัสพิมพ์ บุญญานันต์* บทคัดย่อ

ในปัจจุบันล�ำห้วยโจ้และพื้นที่โดยรอบประสบปัญหาในด้านต่างๆ เนื่องจากความเจริญเติบโตของชุมชนเมือง ท�ำให้เกิดการ เปลีย่ นแปลงการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ จากพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม ไปเป็นพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ก่อให้เกิดปัญหาการรุกล�ำ้ พืน้ ทีล่ ำ� น�ำ้ ห้วยโจ้ การพังทลาย ของตลิง่ สภาพแวดล้อมพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ เสือ่ มโทรม และปริมาณน�ำ้ ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง โครงการ วิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไปในอนาคตของพื้นที่ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั นี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบส�ำรวจ และการสังเกตการณ์ ท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูล ทัง้ ข้อมูล ทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ น�ำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆลงในผังพื้นฐาน การซ้อนทับแผนที่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา การใช้สถิติแบบร้อยละ และค่าเฉลี่ย ในที่สุดแล้วจึงน�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ประมวลผลร่วมกัน เพื่อสรุปถึงผังพื้นที่แสดงศักยภาพและข้อจ�ำกัดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ จากนั้น คัดเลือกพื้นที่สาธิต ท�ำการเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทางด้านกายภาพของพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ ที่สอดคล้องกับ ระบบนิเวศและความต้องการของชุมชน ผลของการวิจยั สรุปได้ถงึ แนวทางการอนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และพัฒนาภูมทิ ศั น์พนื้ ทีร่ มิ น�ำ้ ห้วยโจ้ทเี่ หมาะสม โดยการก�ำหนดขอบเขต ของพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และพัฒนาภูมทิ ศั น์พนื้ ทีร่ มิ น�ำ้ ให้ชดั เจน การส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการอนุรกั ษ์และการอยูก่ บั ธรรมชาติ การเพิ่มปริมาณกักเก็บน�้ำ การฟื้นฟูคุณภาพน�้ำในแหล่งน�้ำ การลดการปล่อยน�้ำเสียจากสถานประกอบการและครัวเรือนลงในล�ำน�้ำ การขุดลอกแหล่งน�ำ้ ในบริเวณทีต่ นื้ เขิน ก�ำจัดวัชพืชทัง้ ในน�ำ ้ และบนฝัง่ การปลูกพืชคลุมดินบริเวณริมตลิง่ เพือ่ ป้องกันการพังทลายของ หน้าดิน การส่งเสริมให้ชมุ ชนมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการฟืน้ ฟูระบบนิเวศริมน�ำ ้ การก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพืน้ ทีใ่ นแต่ละบริเวณ ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำ โดยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอนของการด�ำเนินโครงการ การเสนอแนวทางการอนุรักษ์ฟ้นื ฟูและพัฒนาพืน้ ทีร่ ิมน�ำ้ ห้วยโจ้ เป็นการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์พนื้ ทีร่ ิมน�ำ้ ทีห่ ลากหลาย ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชมุ ชน ช่วยสร้างระบบเชือ่ มโยงของพืน้ ทีเ่ ปิดโล่ง ตลอดแนวล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ ปรับปรุงทัง้ ในเรือ่ งทัศนียภาพ ประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ และการเข้าถึงของพื้นที่เดิม และปรับปรุงการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ริมน�้ำและพื้นที่ชุมชนที่อยู่โดยรอบ และที่ส�ำคัญที่สุดคือช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศภูมิทัศน์ริมน�้ำที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความ ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Abstract

Nowadays, Huay Jo canal and its surroundings are experiencing problems due to urban growth which has caused changes in land uses from agricultural areas to residential areas. These changes have resulted in the * คณะสถาปัตยกรรมศาสคร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง จรัสพิมพ์ บุญญานันต์. (2560) แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ. สันทราย เชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากส�ำนักงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

problems of the encroachment of the Huay Jo canal area, erosion of its bluffs, environmental degradation and insufficiency of water quantity during the dry season. This research project aims to study the appropriate practices for the site in future Tools used to collect data in this study consisted of questionnaires, surveys, and observations. Then, the collected data were analyzed by appropriate methods such as mapping analysis of concerned factors, the overlay mapping analysis, and the statistics, to summarize the potential and the conservation restrictions areas. Finally, demonstration sites were chosen and designed following the developed guidelines corresponding to the eco-system, and the needs of the communities. The results of this research summarized the appropriate practices of conservation, restoration and development of the Huay Jo waterfront landscape areas by clearly identifying the scopes of the restoration and development, promoting activities in accordance with conservation and with nature, increasing water retention, improving water quality, reducing emissions and wastewater from the household into the canal, defining the objectives and land uses of each area to suit the needs of the communities, Improving the waterfront landscape areas to suit the design purposes, minimizing the impacts on the environments and encouraging community participations in all stages of the project’s developments. The proposed guidelines would be the creative utilization of the areas. It created a system linkage of open spaces along the Huay Jo canal, improved views, land uses and accesses to the areas. Most importantly, it helped restore the waterfront landscape ecology that was appropriate to the habitats of all living things, people, fauna, and flora, to achieve sustainability in the future. ค�ำส�ำคัญ: อนุรักษ์, ฟื้นฟู, พัฒนา, ภูมิทัศน์, พื้นที่ริมน�้ำ Keyword: Conserve, Revitalize, Develop, Landscape, Waterfront

บทน�ำ

ห้วยโจ้เป็นล�ำน�้ำขนาดเล็ก ไหลผ่านพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยา เนื่องจากผ่านพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ ที่ดินที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปง พื้นที่รกร้าง พื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พื้นที่พาณิช ยกรรม และพืน้ ทีพ่ กั ผ่อนหย่อนใจ นอกจากนีห้ ว้ ยโจ้ยงั มีบทบาทส�ำคัญในฐานะทีเ่ ป็นแหล่งต้นน�ำ ้ ส่งน�ำ้ ไปยังหลายพืน้ ทีโ่ ดยรอบ ปัจจุบนั ล�ำห้วยโจ้และพืน้ ทีโ่ ดยรอบมีการเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อมไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชดั อันเป็นผลสืบเนือ่ งมาจากการทีม่ หาวิทยาลัยแม่ โจ้มีการเจริญเติบโตขยายตัวขึ้นอย่างมาก จ�ำนวนนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ ผ่านมา ส่งผลให้มีการอพยพของผู้คนเข้ามาในพื้นที่ เกิดการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร และหอพักเพิ่มขึ้น อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ทดี่ นิ จากพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม ไปเป็นพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัย เหล่านีใ้ นทีส่ ดุ สร้างปัญหาหลายๆด้านตามมา พอจะสรุปคร่าวๆได้ดงั นี้ 1. เนื่องจากความต้องการในการใช้น�้ำที่เพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ล�ำห้วยโจ้มีปริมาณน�้ำน้อย เกิดสภาพน�้ำนิ่ง น�้ำเสีย การเพิ่มขึ้น ของจ�ำนวนประชากรยังเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเน่าเสียของน�้ำอีกด้วย 2. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร ท�ำให้เกิดปัญหาการรุกล�้ำพื้นที่ ล�ำน�้ำห้วยโจ้ และการพังทลายของตลิ่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพหน้าดิน 3. ปัญหาสภาพแวดล้อมพื้นที่ริมล�ำน�้ำเสื่อมโทรม 4. ปัญหาประชากรในชุมชนโดยรอบและในมหาวิทยาลัย ไม่ตระหนักถึงความส�ำคัญของห้วยโจ้ ท�ำให้ขาดการมีสว่ นร่วมใน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ โครงการวิจยั เรือ่ ง “แนวทางการอนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ พืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ห้วยโจ้ อ. สันทราย. เชียงใหม่” เกิดขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไปในอนาคตของพื้นที่ โดยท�ำการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อทางการ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 308 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

อนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพืน้ ทีร่ มิ ล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ น�ำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์เพือ่ หาศักยภาพและข้อจ�ำกัด ของพืน้ ที่ และน�ำข้อมูลดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพือ่ หาแนวทางการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพืน้ ทีร่ มิ ล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและชุมชนที่มีอยู่เดิม

แผนที่ 1: แสดงสถานที่ตั้งโครงการและขอบเขตพื้นที่โครงการ

วัตถุประสงค์ของบทความ

1. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ริมล�ำน�้ำห้วยโจ้ ทั้งปัจจัยทางธรรมชาติ ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม และปัจจัยทางด้านสุนทรียภาพ 2. เพื่อศึกษาศักยภาพและข้อจ�ำกัดของพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาที่สอดคล้องกับลักษณะสภาพ แวดล้อมทางด้านกายภาพที่มีอยู่เดิม 3. เพือ่ ศึกษาแนวทางการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพืน้ ทีร่ มิ ล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ ทีส่ อดคล้องกับระบบ นิเวศและชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน

วิธีการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย และ ระเบียบวิธีวิจัย

งานวิจัยครั้งนี้หากพิจารณาโดยอาศัยประโยชน์ในการท�ำวิจัยเป็นหลักแล้ว จัดเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) แต่ถ้าจ�ำแนกงานวิจัยโดยใช้จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นฐานของการจ�ำแนก งานวิจัยนี้จัดได้ว่าเป็นการวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) โดยมีวธิ วี จิ ยั เริม่ ต้นจาก การเลือกพืน้ ทีท่ ศี่ กึ ษา ได้แก่ บริเวณล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้และพืน้ ทีข่ า้ งเคียง ความยาวของพืน้ ทีเ่ ท่ากับความ ยาวของล�ำน�้ำห้วยโจ้ เป็นระยะทางยาวประมาณ 9.7 กิโลเมตร ส่วนความกว้างของพื้นที่วัดจากล�ำน�้ำห้วยโจ้ออกไปทั้งสองฝั่งของล�ำน�้ำ เป็นระยะทางข้างละประมาณ 200-500 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพที่อยู่ข้างเคียงของแต่ละพื้นที่ เช่น ถนน การใช้ที่ดินเดิม เป็นต้น จากนั้นจึงก�ำหนดประชากรในพื้นที่ศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วยประชาชนทั่วไป และนักศึกษาพร้อมด้วยบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบผสมผสาน (Mixed Sampling) กล่าวคือ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้น (Stratified Sampling) แบ่งกลุ่มระหว่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป และนักศึกษาและบุคลากร ทีอ่ ยูภ่ ายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แล้วจึงสุม่ ตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จากจ�ำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของจ�ำนวนครัว เรือนประชากรในแต่ละกลุ่ม เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบส�ำรวจ และการสังเกตการณ์ ท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูล ทุติยภูมิ ซึ่งเป็นการรวบรวมจากเอกสาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากแบบสอบถาม ข้อมูลจากการส�ำรวจ โดยใช้การถ่ายภาพ

309


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

เสก็ตช์ภาพ การจดบันทึก และการก�ำหนดต�ำแหน่งในผังพื้นฐาน (Base Map) และข้อมูลจากการสังเกตการณ์ภาคสนาม น�ำข้อมูล ทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆลงในผังพื้นฐาน (Base Map) การซ้อนทับแผนที่ (Overlay Mapping) การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) การใช้สถิติแบบร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) ในทีส่ ดุ แล้วจึงน�ำผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลทีไ่ ด้มาประมวลผลร่วมกัน เพือ่ สรุปถึงผังพืน้ ทีแ่ สดงศักยภาพและข้อจ�ำกัดในการอนุรกั ษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ จากนั้นคัดเลือกพื้นที่สาธิต ท�ำการเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทาง ด้านกายภาพของพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและความต้องการของชุมชน

ผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่โครงการ พื้นที่โครงการครอบคลุมบริเวณริมล�ำน�้ำห้วยโจ้ซึ่งมีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร เรื่องของพื้นที่มีขนาดประมาณ 200 ถึง 500 เมตร พื้นที่โครงการมีความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอย่างมากโดยล�ำน�้ำจะไหลจากที่ตะวันออกเฉียงเหนือไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านพื้นที่ป่าไม้ ชุมชน สถาบันการศึกษา พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม บริเวณที่เป็นพื้นที่ป่าไม้นั้นมีความ เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ส่วนพื้นที่อื่นอื่นนั้นค่อนข้างเป็นพื้นที่ราบ การเข้าถึงพื้นที่โครงการท�ำได้อย่างสะดวกเนื่องจากมี ถนนแม่ โจ้-พร้าว (ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1001) ตัดผ่านโครงการทางตอนใต้ นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายถนนครอบคลุมทั่วทั้งโครงการ เนื่องจากมีความเจริญของชุมชนอย่างทั่วถึง แม้แต่บริเวณพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ก็สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก และเนื่องจากพื้นที่โครงการ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค จึงเกิดความเจริญของชุมชนขึ้นโดยรอบพื้นที่ ด้วยเหตุนี้จึงมีสาธารณูปการครบครัน เช่น โรงเรียน ตลาด ธนาคาร สถานีต�ำรวจ พื้นที่โครงการสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างสะดวก ในภาพรวมแล้วพื้นที่นี้ถือว่าเป็น พื้นที่ที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศทั้งพื้นที่ธรรมชาติและชุมชนมนุษย์ และเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งของ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ 2. ผลการศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ 2.1 ปัจจัยทางธรรมชาติ พื้นที่โครงการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีความลาดชัน 0-5 % ยกเว้นในบริเวณพื้นที่พื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปง ซึ่งมี ความสูงไล่ระดับสูงขึน้ ไปเรือ่ ยๆ ซึง่ ภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากอ่างเก็บน�ำ้ ห้วยโจ้ จะมีระดับความสูงอยูต่ งั้ แต่ระดับ 400 เมตร ถึง 659 เมตรเหนือระดับน�ำ้ ทะเลปานกลาง มีความลาดชันประมาณ 5-15 % เป็นทีต่ งั้ ของอ่างเก็บน�ำ้ ห้วยโจ้ ซึง่ สามารถบรรจุนำ�้ ได้ถงึ 1,250,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้นก�ำเนิดของห้วยโจ้ มีความส�ำคัญในแจกจ่ายน�้ำเพื่อใช้ในการเกษตรแก่ฃุมชน น�้ำบาดาลภายในพี้นที่เป็นน�้ำที่มี คุณภาพดี มีความลึกเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 12-80 เมตร และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บริเวณปลายน�้ำ แหล่งน�้ำบาดาลจะลึกมากขึ้น คือมี ความลึกประมาณ 20-250 ม.ปริมาณน�ำ้ ทีค่ าดว่าจะพัฒนาได้ 0-10 ม3/ชม. ซึง่ ถือว่ามีปริมาณน�ำ้ น้อย ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ยกเว้นในพื้นที่ปลายน�้ำซึ่งมีปริมาณน�้ำที่คาดว่าจะพัฒนาได้ 10-20 ม3/ชม. ปริมาณน�้ำบาดาลส่งผลต่อปริมาณน�้ำ ให้ห้วยโจ้ในหน้าแล้งอย่างมาก หากมีการใช้น�้ำบาดาลในปริมาณมาก ปริมาณน�้ำในห้วยโจ้ก็จะน้อยลง ดินมีความหลากหลายทั้งดิน เหนียว ดินร่วน และหินกรวด ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต�่ำ การไหลเวียนของอากาศค่อนข้างดีในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ ป่า เกษตรกรรม และชุมชน ลักษณะพืชพันธุ์ที่พบในพื้นที่โครงการแตกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างดังนี้ ในป่าเต็งรัง จะมีเรือนยอด 3 ชั้น ยกตัวอย่าพืชพรรณ เช่น เหียง หรือพลวง หรือรัง ก่อแพะ ก่อผัวะ ประดู่ แดง ตะคร้อ เกลื้อน ตะแบก ตับเต่าต้น มะขามป้อม ยอเถื่อนแสลงใจ ตุ่มกาขาว เหมือดโลด ครมเขา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่าง หรือ พันธุ์ไม้ คลุมดินที่พบ ได้แก่ เลา เพ็ค ถั่วผี หญ้าคา หญ้าขน และหญ้าหางหมาจิ้งจอก ฯลฯ ป่าไม้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ดี นอกเหนือจากพื้นที่ป่าเต็งรัง ภายในพื้นที่โครงการยังพบพันธุ์ไม้อื่นๆ แตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ดังต่อไปนี้ พันธุ์ไม้ในพื้นที่สาธารณะ เช่น หญ้า เทียนทอง สน เข็ม ไผ่ พันธุ์ไม้ท้องถิ่น เช่น ไผ่ ชะอม บัว ข่า กระท้อน มะพร้าว เป็นต้น ส�ำหรับ บริเวณที่เป็นชุมชน ปลูกไม้ผลภายในบ้าน เช่น มะม่วง ลิน้ จี่ ล�ำไย ผสมผสานกับไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ให้รม่ เงาเช่น กระถิน มะพร้าว ไผ่เขียว ตะขบ เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าว หญ้าเลี้ยงสัตว์ สวนไม้ผล แปลงไม้ตัดดอก ในบริเวณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และพืน้ ทีพ่ าณิชยกรรมด้านหน้ามหาวิทยาลัย ปลูกพันธุไ์ ม้ทหี่ ลากหลาย ทัง้ ไม้ยนื ต้นให้รม่ เงา ไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เช่น จามจุรี กระถิน มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 310 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

มะพร้าว ไผ่เขียว สนสามใบ อ้อ หญ้า บอน หารช้าง หารไก่ กล้วย เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ริมตลิ่ง ล�ำห้วยโจ้ เป็นพื้นที่รกร้าง มีพื้นพันธุ์ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ทั้ง บัว บอน ไมยราพ หญ้า และวัชพืชอื่นๆ เป็นต้น

แผนที่ 2: แสดงความลาดชันของพื้นที่โครงการ 2.2 ปัจจัยทางวัฒนธรรมและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น พื้นที่โครงการเดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ต่อมา ลูกหลานไม่นิยม ท�ำการเกษตร หันไปท�ำงานด้านอืน่ ๆแทน ชาวบ้านซือ้ ขายทีใ่ ห้กบั คนนอกพืน้ ที่ พืน้ ทีจ่ งึ ถูกพัฒนาเป็นหอพัก อาคารพาณิชย์ บ้านจัดสรร พื้นที่ให้เช่าเพื่อท�ำการเกษตรกรรม กลุ่มผู้ใช้ที่ดินภายในพื้นที่ ประกอบด้วย พ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้าน เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพื้นถิ่น เดิม มีวถิ ชี วี ติ วัฒนธรรม และความเป็นอยูแ่ บบเรียบง่าย ส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาพุทธ และกลุม่ นักศึกษา และบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัย แม่โจ้ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากจังหวัดและภูมิภาคอื่นๆทั่วประเทศไทย ทั้งที่มาอยู่ถาวร และอยู่ชั่วคราวเพื่อเข้าศึกษาในระดับ อุดมศึกษา กลุม่ คนเหล่านีจ้ ะมีวถิ ชี วี ติ ในรูปแบบของคนสมัยใหม่ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทีอ่ าศัยอยูต่ ามหอพักทัง้ ภายในมหาวิทยาลัยแม่ โจ้ และที่ถูกสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้ๆกับมหาวิทยาลัย การใช้ประโยชน์ที่ดินภายในพื้นที่โครงการมีความหลากหลาย ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นเบาบาง พื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สถาบันการศึกษา และพื้นที่พาณิชยกร รม ซึง่ ท�ำให้ลกั ษณะและประเภทของอาคารมีความหลากหลายด้วยเช่นเดียวกัน ตามการใช้งาน ตัง้ แต่ อาคารทีพ่ ักอาศัย ทัง้ ในลักษณะ ชั้นเดียว 2 ชั้น ใช้วัสดุ ไม้ คอนกรีต หรือผสมผสาน อาคารพาณิชยกรรม ทั้งในรูปแบบ ชั้นเดียว ไปจนถึง 4 ชั้น (บริเวณด้านหน้า มหาวิทยาลัย) อาคารขนาดใหญ่ เช่น อาคารเรียน อาคารหอพัก โรงอาหาร ส่วนใหญ่จะก่อสร้างด้วยคอนกรีต อาคารส่วนใหญ่มรี ปู แบบ เรียบง่าย ขาดเอกลักษณ์ ระบบสาธารณูปโภคในบริเวณพืน้ ทีโ่ ครงการจะเพียบพร้อมภายในพืน้ ทีส่ ถาบันการศึกษา (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ซึง่ มีระบบผลิตน�ำ้ ประปาเองภายในโครงการ โดยใช้นำ�้ จากคลองชลประทานแม่แฝก บริเวณพืน้ ทีพ่ าณิชยกรรมริมถนนทางหลางแผ่นดิน ด้านหน้ามหาวิทยาลัยใช้น�้ำประปาของเทศบาลเมืองแม่โจ้ แต่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆใช้น�้ำประปาชุมชนซึ่งผลิตได้ในปริมาณน้อย ไม่เพียง พอ ตามบ้านมีการขุดบ่อบาดาล ซึง่ จะเกิดความขาดแคลนในฤดูแล้ง ถนนทีว่ งิ่ ผ่านพืน้ ทีโ่ ครงการมีตงั้ แต่ถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 1001 ขนาดใหญ่ ถนนทางหลวงชนบท ขนาดกลาง และถนนซอยต่างๆ ซึ่งมีสภาพดี มีความสะดวกในการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ โครงการและพื้นที่อื่นๆ ส�ำหรับระบบสาธารณูปการนับว่ามีทุกอย่างครบครันภายใน ระยะ 2 ก.ม. จากพื้นที่โครงการ ทั้ง ตลาด

311


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

โรงพยาบาล สถานีต�ำรวจ ธนาคาร ที่ท�ำการเทศบาลเมืองแม่โจ้ ที่ท�ำการองค์การบริหารส่วนต�ำบลป่าไผ่ และที่ท�ำการองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลหนองหาร 2.3 ปัจจัยทางสุนทรียภาพ ในพื้นที่บริเวณต้นน�้ำ ภายในป่าบ้านโปง เป็นพื้นที่ที่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพื้นที่เปิดโล่ง 2 บริเวณ คือบริเวณอ่างเก็บน�้ำห้วยโจ้ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดภายในพื้นที่โครงการ และบริเวณศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งตั้งอยู่ติดแหล่งน�้ำ มุมมองค่อนข้างเปิด พื้นที่เหล่านี้มีศักยภาพที่พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและนันทนาการได้ ส�ำหรับพื้นที่ กลางน�ำ้ นัน้ เนือ่ งจากมีความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ จึงมีลกั ษณะของมุมมองทีห่ ลากหลายตามไปด้วย ทัง้ มุมมองแบบเปิด โล่งของพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม มุมมองแบบแนวน�ำสายตาตามถนนภายในพืน้ ทีช่ มุ ชน และภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึง่ เรียงรายไปด้วยอาคาร บ้านเรือน ร้านค้า หรือหอพักต่างๆ ส่วนพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ ส่วนใหญ่เป็นมุมมองแบบปิดล้อมด้วยพันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ มีความรกร้าง ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงพัฒนา 3. ผลการศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามผู้ใช้พื้นที่โครงการ ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูใ่ นเขตชุมชนบ้านโป่งเป็นจ�ำนวนถึง 33.7 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนบ้านแม่โจ้ จ�ำนวนร้อยละ 32 และนักศึกษาทีพ่ ำ� นักอยูใ่ นหอพักภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นจ�ำนวนร้อยละ 20.3 และ อืน่ ๆ ร้อยละ 94.1 ของผูต้ อบแบบสอบถาม ใช้นำ�้ ประปาในครัวเรือนทีพ่ กั อาศัยหรือกิจการต่างๆ แหล่งน�ำ้ ทีม่ ปี ริมาณผูใ้ ช้รองลงมาได้แก่ น�้ำบาดาลคิดเป็นร้อยละ 25.7 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด ส�ำหรับน�้ำจากล�ำน�้ำห้วยโจ้มีผู้ใช้เป็นปริมาณน้อย คิดเป็นร้อยละ 3.3 เท่านั้น คนส่วนใหญ่ทตี่ อบแบบสอบถามไม่เคยใช้นำ�้ จากล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ในการใช้ประโยชน์ในทีอ่ ยูอ่ าศัยหรือกิจการใดใดเลยคิดเป็น ร้อยละ 44.9 รองลงมาได้แก่ การใช้ประโยชน์จากล�ำน�้ำห้วยโจ้เฉพาะในครัวเรือน ซึ่งมีผู้ตอบในข้อนี้ร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ใช้น�้ำ จากล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ในการท�ำเกษตรกรรมจ�ำนวนร้อยละ 17.7 และใช้ในการประกอบกิจการอืน่ ๆอีกร้อยละ 4.2 ในเรือ่ งของการระบายน�ำ้ ทิ้งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จ�ำนวนร้อยละ 55.9 มีการปล่อยน�้ำทิ้งลงท่อระบายน�้ำของเทศบาล รองลงมาได้แก่การปล่อยน�้ำทิ้งลง ท่อระบายน�้ำและไหลซึมลงพื้นดินเป็นจ�ำนวนร้อยละ 30.1 นอกจากนี้ยังมีการปล่อยน�้ำทิ้งลงพื้นดินโดยตรงเป็นจ�ำนวนร้อยละ 21.3 และปล่อยลงล�ำห้วยโจ้เป็นจ�ำนวนร้อยละ 10.3คนส่วนใหญ่รอ้ ยละ 49.8 เห็นว่าคุณภาพของน�ำ้ ในล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้บริเวณใกล้เคียงกับทีพ่ กั อาศัยและกิจการของเขานั้นมีคุณภาพปานกลาง มีตะกอนขุ่น ผู้คนอีกร้อยละ 45.1 เห็นว่าคุณภาพของน�้ำในล�ำน�้ำห้วยโจ้ใกล้เคียงกับที่ เขาอยู่อาศัยนั้น มีคุณภาพดีค่อนข้างใสไม่มีกลิ่นเหม็น และมีคนเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งมีความเห็นว่าน�้ำในล�ำน�้ำห้วยโจ้ ในบริเวณ ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เขาอยู่นั้นเป็นน�้ำเน่าเสียสีด�ำคล�้ำและมีกลิ่นเหม็น ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าน�้ำในล�ำน�้ำห้วยโจ้มีคุณภาพดีถึงปาน กลาง มีผตู้ อบแบบสอบถามถึงร้อยละ 68.5 ทีไ่ ม่เคยใช้พนื้ ทีร่ มิ น�ำ้ ห้วยโจ้ในการท�ำกิจกรรมใดๆเลย ในขณะทีผ่ ทู้ เี่ คยใช้พนื้ ทีร่ มิ น�้ำห้วยโจ้ท�ำกิจกรรมนั้นมีปริมาณร้อยละ 31.5 ส�ำหรับกิจกรรมที่มีผู้นิยมท�ำบริเวณพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ 3 อันดับแรก ได้แก่ การเดินเล่น คิดเป็นร้อยละ 37 การนัง่ พักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 32.6 และการปลูกพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 25 ปัญหาการใช้พนื้ ทีท่ พี่ บมากทีส่ ดุ ได้แก่ปญ ั หาสภาพภูมทิ ศั น์ทไี่ ม่สวยงามมีหญ้ารกคิดเป็นกับความรุนแรงของปัญหา 3.52 ทีเ่ หลือนอกนัน้ นับว่ามีระดับความรุนแรงอยูใ่ น ระดับปานกลางทั้งสิ้น ซึ่งปัญหารองลงมาได้แก่ปัญหาพืน้ ที่เสือ่ มโทรมถูกปล่อยทิง้ ร้างไม่มีการใช้งาน มีระดับความรุนแรงของปัญหาอยู่ ในระดับ 3.35 ปัญหาน�ำ้ ท่วมขังพืน้ ทีใ่ นฤดูฝนอยูใ่ นระดับ 3.10 และปัญหาล�ำน�ำ้ ตืน้ เขินน�ำ้ น้อยอยูใ่ นระดับ 3.05 ส�ำหรับปัญหาทีม่ รี ะดับ ความรุนแรงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆได้แก่ปัญหาเรื่องคุณภาพของน�้ำ น�้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น ปลาตาย เกิดมลภาวะ อยู่ในระดับ 2.70 จากการวิเคราะห์แบบสอบถาม สามารถเรียงล�ำดับแนวทางในการจัดการที่มีผู้ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความส�ำคัญจาก มากไปน้อยได้ดังนี้ ล�ำดับที่ 1 ได้แก่การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ริมน�้ำให้สวยงามร่มรื่นอยู่ในระดับ 3.99 ล�ำดับที่ 2 การจัดให้เป็นพื้นที่ นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนอยู่ในระดับ 3.79 ล�ำดับที่ 3 การฟื้นฟูระบบนิเวศริมน�้ำและในน�้ำให้เหมาะสมกับการ เป็นที่อยู่ของสัตว์ต่างๆอยู่ในระดับ 3.76 ล�ำดับที่ 4 การก�ำหนดแนวพื้นที่สาธารณะริมน�้ำให้ชัดเจนอยู่ในระดับ 3.71 ล�ำดับที่ 5 การจัด ให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนอยู่ในระดับ 3.6 5 ล�ำดับที่ 6 การแก้ปัญหาน�้ำท่วมขังพื้นที่ในฤดูฝนอยู่ในระดับ 3.63 ล�ำดับที่ 7 การปรับปรุงระบบบ�ำบัดน�้ำเสียในครัวเรือนอยู่ในระดับ 3.62 ล�ำดับที่ 8 การจัดให้มีพื้นที่ส�ำหรับกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 312 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

อยู่ในระดับ 3.58 ล�ำดับที่ 9 การแก้ปัญหาการพังทลายของริมตลิ่งอยู่ในระดับ 3.57 และล�ำดับที่ 10 การขุดลอกล�ำน�้ำแก้ปัญหาล�ำน�้ำ ตื้นเขินอยู่ในระดับ 3.54 ตารางที่ 1 แนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน และภูมิทัศน์ริมล�ำน�้ำห้วยโจ้ในอนาคต แนวทางในการจัดการ 1. จัดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน 2. จัดให้เป็นพื้นที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน เช่น ตกปลา ออกก�ำลังกาย เดินเล่น 3. ฟืน้ ฟูระบบนิเวศริมน�ำ้ และในน�ำ ้ ให้เหมาะสมกับการเป็นทีอ่ ยูข่ องสัตว์ตา่ งๆ 4. ขุดลอกล�ำน�้ำ แก้ปัญหาล�ำน�้ำตื้นเขิน 5. ปรับปรุงระบบบ�ำบัดน�้ำเสียในครัวเรือน 6. ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมน�้ำให้สวยงาม ร่มรื่น 7. แก้ปัญหาการพังทลายของริมตลิ่ง 8. แก้ปัญหาน�้ำท่วมขังพื้นที่ในฤดูฝน 9. จัดให้มีพื้นที่ส�ำหรับกิจกรรมวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน เช่น ลอย กระทง ฯลฯ 10. ก�ำหนดแนวพืน้ ทีส่ าธารณะริมน�ำ้ ให้ชดั เจน เพือ่ ป้องกันการรุกล�ำ้ พืน้ ที่

มากที่สุด (5)

มาก (4) 3.65

ระดับส�ำคัญ ปานกลาง น้อย (3) (2)

น้อยที่สุด (1)

ไม่มี (0)

3.79 3.76 3.54 3.62 3.99 3.57 3.63 3.58 3.71

4. ผลการศึกษาศักยภาพและข้อจ�ำกัดของพื้นที่โครงการ จากการซ้อนทับแผนที่ (overlay Mapping) และรวมค่าคะแนนของคุณค่าของปัจจัยทีม่ ผี ลต่อศักยภาพในการใช้ประโยชน์ พื้นที่ เมื่อน�ำมาสังเคราะห์จะสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นโชนย่อยๆ ที่มีศักยภาพและข้อจ�ำกัดที่มีความแตกต่างกัน ดังนี้ 4.1 พื้นที่เกษตรกรรม (นาข้าวและสวนผลไม้) เป็นพื้นที่สีเขียว มีมุมมองที่เปิดกว้าง มีความเสี่ยงต่อการเกิดน�้ำท่วมขัง ควรอนุรกั ษ์พนื้ ทีเ่ กษตรกรรมไว้คงเดิม เพิม่ กิจกรรมพักผ่อนของชุมชน และฟืน้ ฟูระบบนิเวศริมน�ำ้ และโครงการบ�ำบัดน�ำ้ ด้วยวิธธี รรมชาติ ควรมีการก�ำหนดในเรื่องการน�ำน�้ำมาใช้ การกักเก็บน�้ำ และการปล่อยน�้ำลงล�ำห้วย 4.2 พื้นที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เป็นย่านการค้าที่มีอยู่เดิม สามารถเข้าถึงได้สะดวก มีการขยายตัวรุกล�้ำพื้นที่ เกษตรกรรม มีมลพิษต่ออากาศและน�้ำ มีการทิ้งขยะ น�้ำเสีย ในบางจุด ควรเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในย่านพาณิชยกรรม ส่งเสริมการขาย ผลิตภัณฑ์การเกษตรอินทรีย์ ควรส่งเสริมให้มีระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ก่อนปล่อยน�้ำที่ผ่านการอุปโภคบริโภคลงในล�ำน�้ำห้วยโจ้ ควบคุมการ จัดการเรื่องขยะอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้มีการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน�้ำ และรณรงค์ให้คนในชุมชนตระหนักถึงความส�ำคัญของล�ำน�้ำห้วยโจ้ 4.3 พื้นที่ชุมชน เป็นย่านที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การขยายตัวรุกล�้ำพื้นที่เกษตรกรรม มีมลพิษ ต่ออากาศและน�้ำ มีการทิ้งขยะ น�้ำเสีย ในบางจุด ควรมีการพัฒนาและจัดสรรพื้นที่ท�ำกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย พื้นที่พักผ่อนหย่อน ใจและนันทนาการ พื้นที่เกษตรกรรมซึ่งมุ่งเน้นเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงภูมิทัศน์ริมล�ำน�้ำเพื่อลดปัญหาการรกร้างของพื้นที่ริมน�้ำใน บางส่วน การปลูกพืชพรรณทีช่ ว่ ยลดการพังทลายของหน้าดิน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาและบ�ำบัดแหล่งน�ำ ้ ตลอดจนควบคุมการจัดการ เรื่องขยะอย่างถูกวิธี 4.4 พื้นที่สถาบันการศึกษา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งด้านการศึกษา การอยู่อาศัย การพักผ่อน และนันทนาการ มีอาคารหนาแน่น พื้นที่โล่งส�ำหรับท�ำกิจกรรมไม่มากนัก พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้รกร้าง ขาดการดูแลรักษา ควรฟื้นฟูระบบ นิเวศริมน�้ำ พัฒนาเป็นพื้นที่นันทนาการเพื่อการเรียนรู้ระบบนิเวศริมน�้ำ และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ การปลูกพืชพรรณที่ช่วยลดการพัง ทลายของหน้าดิน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาและบ�ำบัดแหล่งน�ำ ้ ตลอดจนควบคุมการจัดการเรือ่ งขยะอย่างถูกวิธี เช่นเดียวกับพืน้ ทีช่ มุ ชน และพื้นที่พาณิชยกรรม 313


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

4.5 พื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ พืชพรรณมีความหลากหลาย เป็นพื้นที่ลาดชัน เข้าถึงยาก ส่วนพื้นที่ป่า ไม้ที่อยู่ติดกับชุมชน มีความเสี่ยงที่จะถูกรุกล�้ำป่าไม้ ควรจัดเป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยสามารถพัฒนาพื้นที่บางส่วน ส�ำหรับการ ศึกษาด้านธรรมชาติควบคู่ไปกับการนันทนาการได้

แผนที่ 3: แสดงผลการสังเคราะห์ศักยภาพและข้อจ�ำกัดของพื้นที่โครงการในภาพรวม 5. ผลการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ การก�ำหนดพืน้ ทีใ่ นการอนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และพัฒนา พืน้ ทีร่ มิ น�ำ ้ ได้เป็นตามสมมติฐานทีต่ งั้ ไว้ กล่าวคือ มีความต้องสอดคล้อง กับศักยภาพและข้อจ�ำกัดของพื้นที่ รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความต้องการในการท�ำกิจกรรมของคนในชุมชน ซึ่งจะน�ำไปสู่การ อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับพื้นที่ธรรมชาติประเภทแหล่งน�้ำขนาดเล็ก 5.1 แนวทางการอนุรักษ์ระบบนิเวศริมน�้ำ พื้นที่ที่เหมาะสมส�ำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศริมน�้ำ ได้แก่ พื้นที่ภายในป่าบ้านโปง แนวทางการอนุรักษ์ โดย การ ก�ำหนดขอบเขตของพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมให้ชดั เจน ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับทราบ และการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับ การอนุรักษ์และการอยู่กับธรรมชาติ โดยสามารถพัฒนาพื้นที่บางส่วน ส�ำหรับการศึกษาด้านธรรมชาติควบคู่ไปกับการนันทนาการได้ 5.2 แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศริมน�้ำ พื้นที่ที่เหมาะสมส�ำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศริมน�้ำ ได้แก่ พื้นที่ริมน�้ำที่ถูกบุกรุก รบกวนจากกิจกรรมต่างๆ ท�ำให้ เกิดความเสือ่ มโทรมของพืน้ ที่ แนวทางการฟืน้ ฟูระบบนิเวศริมน�ำ ้ โดย การเพิม่ ปริมาณกักเก็บน�ำ ้ การสร้างฝายชะลอน�ำ้ ขนาดเล็กระหว่าง แนวล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้ เพือ่ ให้นำ�้ ในล�ำน�ำ้ ห้วยโจ้มปี ริมาณเพิม่ มากขึน้ การฟืน้ ฟูคณ ุ ภาพน�ำ้ ในแหล่งน�ำ ้ ลดการปล่อยน�ำ้ เสียจากสถานประกอบ การณ์และครัวเรือนลงในล�ำน�ำ ้ การขุดลอกแหล่งน�ำ้ ในบริเวณทีต่ นื้ เขิน ก�ำจัดวัชพืชทัง้ ในน�ำ ้ และบนฝัง่ การปลูกพืชคลุมดินทีเ่ หมาะสม บริเวณริมตลิ่งที่มีความลาดชันสูง เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน การการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นฟูระบบ นิเวศริมน�้ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 314 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

5.3 แนวทางการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ สามารถท�ำได้ดงั นี้ ก�ำหนดขอบเขตของพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาสภาพแวดล้อมให้ชดั เจน ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับทราบ รับความความคิดเห็นจากคนในพื้นที่โครงการ และผู้ใช้พื้นที่ก�ำหนดแนวคิดหลัก และด�ำเนินการจัดท�ำผังแม่บทการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ พัฒนา พืน้ ทีร่ มิ น�ำ ้ ก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพืน้ ทีใ่ นแต่ละบริเวณ ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้พนื้ ทีข่ องคนในชุมชน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและนันทนาการ พื้นที่เกษตรกรรมขนาดเล็ก พื้นที่ธรรมชาติ เป็นต้น ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำให้ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ โดยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในทุกๆขั้นตอนของการพัฒนา ไปจนถึงการดูแลรักษาพื้นที่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน 5.4 โครงการตัวอย่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ 1) การปรับปรุงพื้นที่ริมอ่างเก็บน�้ำห้วยโจ้ โดยจัดเป็นพื้นที่ส�ำหรับกิจกรรมพักผ่อน และนันทนาการแบบไม่ออก เหงือ่ เช่น กิจกรรมตกปลา (ในบางฤดูกาล) กิจกรรมชมดาว กิจกรรมนัง่ เล่นชมทัศนียภาพ เป็นต้น และพืน้ ทีส่ ำ� หรับกิจกรรมนันทนาการ แบบออกเหงื่อ เช่น ทางวิ่ง ทางจักรยาน เป็นต้น 2) การปรับปรุงพืน้ ทีใ่ ต้อา่ งเก็บน�ำ้ ห้วยโจ้ (บริเวณค่ายลูกเสือแทนคุณ) เพือ่ เป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับกิจกรรมนันทนาการ เพือ่ การเรียนรูร้ ะบบนิเวศ ได้แก่ ค่ายเยาวชนอนุรกั ษ์ปา่ ไม้ ลานรอบกองไฟ กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ฐานเรียนรูร้ ะบบนิเวศในพืน้ ทีต่ า่ งๆ 3) การปรับปรุงพื้นที่บริเวณริมล�ำน�้ำห้วยโจ้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ล�ำน�้ำห้วยโจ้ไหลผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผ่านบริเวณบ้านพักอาจารย์ หอพักนักศึกษา สวนสุขภาพบุญศรีเฉลิมพระเกียรติ สวนป่า ควรจัดพืน้ ทีพ่ กั ผ่อนริมน�ำ้ ให้ชดั เจน เข้าไป ใช้งานได้ง่าย มีทัศนียภาพที่สวยงาม ปูพื้นผิวบริเวณที่นั่งเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาดและง่ายต่อการเข้าใช้

ภาพที่ 1: แสดงโครงการตัวอย่างการปรับปรุงพื้นที่ริมอ่างเก็บน�้ำห้วยโจ้

315


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

ภาพที่ 2: แสดงโครงการตัวอย่างการปรับปรุงพื้นที่ใต้อ่างเก็บน�้ำห้วยโจ้

ภาพที่ 3: แสดงโครงการตัวอย่างการปรับปรุงพื้นที่บริเวณริมล�ำน�้ำห้วยโจ้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 316 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

การอภิปรายผล

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะของพื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ กับคุณลักษณะของภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำซึ่งอธิบายโดย ไดยัน ฮู (Hou, 2009) จะพบว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ริมน�้ำห้วยโจ้ มีคุณสมบัติหลายประการที่สอดคล้องและมีหลายประการที่มีความแตกต่างจากทฤษฎี ดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากบริบทสภาพแวดล้อมเฉพาะพื้นที่กล่าวคือ ในด้านที่มีความสอดคล้องนั้น ล�ำน�้ำห้วยโจ้มีลักษณะชีววิทยาทาง ธรรมชาติ (Natural biological aspect) ที่ชัดเจน มีคุณลักษณะของความหลากหลาย (Diversity characteristic) ทั้งในทางกายภาพ ทางนิเวศวิทยา หรือทางการใช้พื้นที่ ส่วนในด้านที่มีความแตกต่างหรือยังไม่ชัดเจน ได้แก่ ลักษณะความเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public aspect) พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้จัดเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพต�่ำ การเข้าถึงพื้นที่ ริมน�้ำโดยตรงท�ำได้ยาก พื้นที่มีความรกร้าง ขาดการ ใช้ประโยชน์ ซึ่งขัดแย้งกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม ในเรื่องแนวทางในการจัดการที่มีผู้ผู้ตอบแบบสอบถามให้ ความส�ำคัญจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ล�ำดับที่ 1 ได้แก่การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ริมน�้ำให้สวยงามร่มรื่นอยู่ในระดับ 3.99 ล�ำดับที่ 2 การ จัดให้เป็นพื้นที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนอยู่ในระดับ 3.79 นอกจากนี้ในด้านที่มีความแตกต่างหรือยังไม่ชัดเจน ยังมีอีก 2 หัวข้อซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน คือลักษณะทางวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ (Historical cultural aspect) และ คุณลักษณะเฉพาะตัว (Characteristic aspect) ซึง่ นับว่าพืน้ ทีโ่ ครงการยังไม่มคี วามเด่นชัดในเรือ่ งดังกล่าว ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากการเปลีย่ นแปลง การใช้ที่ดินที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาท�ำให้ลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นชนบทเดิมอันเกิดจากพื้นที่เกษตรกรรม มีการเปลี่ยนแปลง ไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ดังนั้นในแนวทางการอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูภูมิทัศน์ริมน�้ำห้วยโจ้จึงต้องค�ำนึงถึงลักษณะทางวัฒนธรรม เชิงประวัตศิ าสตร์และคุณลักษณะเฉพาะตัวดัง้ เดิม อันเป็นลักษณะของพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมชนบท ซึง่ ก�ำลังลบเลือนไป ด้วยเหตุนนี้ อกจาก การพัฒนาพืน้ ทีน่ นั ทนาการและพักผ่อนหย่อนใจส�ำหรับคนในชุมชนและสถาบันศึกษาแล้ว การอนุรกั ษ์พนื้ ทีป่ า่ ไม้และเกษตรกรรมเดิม จึงเป็นเรื่องส�ำคัญอีกด้วย การเสนอแนวทางการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูและพัฒนาพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ห้วยโจ้ มีความสอดคล้องกับ แนวทางสรรค์สร้างพืน้ ทีภ่ มู ทิ ศั น์รมิ น�ำ้ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดี จากผลการศึกษาวิจัยของ ไดยัน ฮู (Hou, 2009) กล่าวคือ 1) เป็นการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์พื้นที่ริมน�้ำที่หลาก หลาย ทัง้ พืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ปา่ ไม้ พืน้ ทีเ่ พือ่ การศึกษาระบบนิเวศ พืน้ ทีเ่ กษตรกรรม เป็นต้น 2) เป็นการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีร่ กร้าง ว่างเปล่า ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน 3) สร้างระบบเชื่อมโยงของพื้นที่เปิดโล่ง (Green Connector) ตลอดแนวล�ำน�้ำห้วย โจ้ 4) ปรับปรุงทัง้ ในเรือ่ งทัศนียภาพ ประโยชน์ใช้สอยของพืน้ ที่ และการเข้าถึงของพืน้ ทีเ่ ดิม และ 5) ปรับปรุงการเชือ่ มโยงระหว่างพืน้ ที่ ริมน�้ำและพื้นที่ชุมชนที่อยู่โดยรอบ อย่างไรก็ดีในการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภูมิทัศน์ริมน�้ำห้วยโจ้ ได้ เสนอคุณสมบัติที่ดีของพื้นที่ภูมิทัศน์ริมน�้ำเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากที่ข้อสรุปของไดยัน ฮู (Hou, 2009) อีกด้วย คือ 6) การฟื้นฟูระบบ นิเวศภูมิทัศน์ริมน�้ำที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งคน สัตว์ต่างๆ และพืชพรรณ

ปัญหาที่พบในการวิจัย

1. ปัญหาการประมาณการรายจ่ายในหมวดงบด�ำเนินการคลาดเคลือ่ น ท�ำให้ตอ้ งท�ำหนังสือขอเปลีย่ นแปลงหมวดงบด�ำเนิน การ โดยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาลง และไปเพิ่มค่าใช้จ่ายในหมวดวัสดุ ซึ่งได้ด�ำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยดี 2. ปัญหาเนือ่ งจากสภาพพืน้ ทีโ่ ครงการบางแห่งเป็นป่ารกชัฏ ยากแก่การเข้าถึง ท�ำให้ไม่สามารถเข้าไปส�ำรวจได้ในบางแห่ง อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมของ Google Earth ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในการส�ำรวจพื้นที่ได้ในบางส่วน ซึ่งหากจะแก้ปัญหาได้ดีอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศด้วยโดรน ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะ

1. เนือ่ งจากงานวิจยั ชิน้ นีเ้ ป็นการน�ำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในเชิงกายภาพ ดังนัน้ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในทีม่ าช่วย ในการออกแบบจึงมีความส�ำคัญ ซึง่ ผูท้ ตี่ อ้ งการท�ำวิจยั ในแนวทางดังกล่าว จะต้องค�ำนึงถึงการจัดเตรียมงบประมาณเพือ่ จัดซือ้ ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ที่จ�ำเป็นอย่างเหมาะสม 2. การวิจยั ด้านการอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูและพัฒนาพืน้ ทีภ่ มู ทิ ศั น์รมิ น�ำ้ ในประเทศไทยนับว่ายังมีไม่มากนักผูส้ นใจสามารถเลือกพืน้ ที่ วิจัยที่มีลักษณะเด่นเฉพาะในด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรมและท�ำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามความสนใจเฉพาะ จะได้ผลการวิจัยที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ภูมิทัศน์ริมน�้ำที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและภูมิทัศน์วัฒนธรรมสืบไป

317


แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ริมน�้ำห้วยโจ้ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

กิติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้ถือก�ำเนิดขึ้นและด�ำเนินการไปได้ด้วยดีจนกระทั่งเสร็จสิ้นได้ ก็ด้วยความช่วยเหลือจากหลายๆฝ่าย หน่วยงานแรก ที่จะต้องขอขอบคุณคือ ส�ำนักงานวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สนับสนุนทุนการวิจัย (ได้รับการจัดสรรงบ ประมาณวิจัย ประจ�ำปี 2558) รวมทั้งขอบคุณเจ้าหน้าที่ส�ำนักวิจัยทุกท่านที่ช่วยเหลืออ�ำนวยความสะดวกด้วยดีเสมอมา กลุม่ คนต่อมาทีต่ อ้ งขอขอบคุณคือนักศึกษาชัน้ ปีที่ 5 สาขาวิชาภูมสิ ถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เข้าร่วมด�ำเนินกิจกรรมซึ่งบูรณาการการวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยมี บทบาทส�ำคัญในการลงพืน้ ทีเ่ ก็บข้อมูลเบือ้ งต้น และช่วยวิเคราะห์ขอ้ มูลในบางส่วน ซึง่ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือด้วยดีอย่างยิง่ เข้ามาช่วย เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยความตั้งใจ ช่วยให้งานวิจัยด�ำเนินไปได้สะดวกมากขึ้น ขอขอบคุณประชาชนในชุมชนโดยรอบพืน้ ทีศ่ กึ ษา ทีช่ ว่ ยให้ขอ้ มูล พร้อมด้วยมิตรไมตรีทดี่ ี ตลอดระยะเวลาทีเ่ ข้าไปเก็บข้อมูล ท�ำการวิจัย ท�ำให้การท�ำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นตลอดมา

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาทีด่ นิ . (ม.ป.ป.). “ระบบน�ำเสนอแผนทีช่ ดุ ดิน” สืบค้นเมือ่ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558. จาก http://eis.ldd.go.th/lddeis/ SoilView.aspx กรมพัฒนาที่ดิน. (ม.ป.ป.). “ระบบตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน” สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558. จาก http://eis.ldd. go.th/lddeis/PLM.aspx กลุ่มงานฝึกอบรมการวิจัย. (2547). ต�ำราชุดฝึกอบรมหลักสูตร “นักวิจัย”. กรุงเทพ: ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). กองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม. (ม.ป.ป.). “นโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแม่น�้ำ คู คลอง”. สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 จาก http://www2.onep.go.th/ncecd/natural/river. จรัสพิมพ์ บุญญานันต์. (2547). แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพโรงเรียนประถมศึกษาระดับ ท้องถิน่ กรณีศกึ ษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอ�ำเภอดอยหล่อ จ.เชียงใหม่. เชียงใหม่: ส�ำนักวิจัยและส่งเสริม วิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เจนจิรา มนตรีกุล ณ อยุธยา. (2553). “การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” สืบค้นเมื่อวันที่15 ตุลาคม พ.ศ. 2558. จาก http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/ Exer751409 /2553/ Exer2553_no63. ทิพวรรณ ทองอาจ และ อารยา ศานติสรร. (2549). บทบาทพื้นที่ว่างในชุมชนริมคลองแสนแสบ กรณีศึกษาชุมชน ตลาดเก่ามีนบุรี กรุงเทพมหานคร. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. น. 441-448. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2547). โครงการจัดท�ำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพ แวดล้อมแม่น�้ำปิง และล�ำน�้ำสาขา. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม. ระวี อินจินดา. (2542). “การมีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมของชุมชนบ้านโปง ต�ำบลป่าไผ่ อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม). เชียงใหม่ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รุจี รอดชะ. (2541). “แนวทางการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเมืองนครสวรรค์” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชา สถาปัตยกรรมศาสตร์ (การวางผังเมือง). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรพล ด�ำรงกิตติกุล และคณะ. (2552). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารในลุ่มน�้ำปิงเก่า จังหวัดล�ำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่. Chang, S. E. (2015). “The Danshui River Cultural Ecosystem as the Amis Tribal Landscape: An Asian Green-grassroots Approach.” Procedia-Social and Behavioral Sciences, (170), 463-473. Hou, D., (2009). “Urban Waterfront Landscape Planning. Karlskrona” Master’s Thesis for European Spatial Planning and Regional Development, Karlskrona: Blekinge Institute of Technology.

มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 318 การประชุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560


Guidelines to Conserve, Revitalize, and Develop Huayjo Waterfront Landscape, Sansai, Chiangmai

Good, J. W., Goodwin, R. F., & Stambaugh, S. M. (1990). Waterfront revitalization for small cities. Corvallis, Or.: Extension Service, Oregon State University. Harlan, S. L., Yabiku, S. T., Larsen, L., & Brazel, A. J. (2009). “Household water consumption in an arid city: Affluence, affordance, and attitudes.” Society and Natural Resources, 22 (8), 691-709. Jan Gehl. (1987). Life between buildings: using public space. New York: Van Nostrand Reinhold Company. Latip, N. S. A., Shamsudin, S., & Liew, M. S. (2012). “Functional Dimension at Kuala Lumpur Waterfront”. ProcediaSocial and Behavioral Sciences, 49, 147-155. Lifang, Q., Yichuan, Z., & Wei, C. (2008). “Evaluation of urban river landscape design rationality”. AHP. 水科学与水 工程, 1(4). Steiner, F., (1991). The Living Landscape: An Ecological Approach to Landscape Planning. New York: McGrawHill, Inc. Shaziman, S., Usman, I. M. S., & Tahir, M. (2010). “Waterfront as public space: Case study Klang River between Masjid Jamek and Central Market, Kuala Lumpur”. the WSEAS International Conference on Energy, Environment, Ecosystems, and Sustainable Development (EEESD’2010) and 3 rd WSEAS International Conference on Landscape Architecture (LA’2010). Sirima Na Songkhla. (2008). “Debating a Green city in the rural landscape of Thailand.” In FORTROP II International Conference Tropical Forestry Change in a Changing World, Kasetsart University, Bangkok, Thailand, November 17-20, 2008: Abstracts Oral and Poster Papers (Vol. 2008). Bangkok: Faculty of Forestry, Kasetsart University. Sustainable Development Unit, EYE on the Aire, Natural England, British Waterways, Yorkshire Wildlife Trust, & The Environment Agency. (2006). Biodiversity and Waterfront Development (Supplementary Planning Document). Leeds: Leeds City Council.

319


การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.