เจิดจรัส1

Page 1

เจิดจรัส

วิวาทะนายกหญิง ดร.สมเกียรติกบ ั มุมมองประชาธิปไตย ถวิล เปลีย ่ นศรี "กบฎ" หลงรักเสน่ห์ เพ็ญพร ไพฑูรย์ Billy ผูน ้ า ํ กะเหรีย ่ ง หายไปไหน

E-Magazine

สูโ่ ลกแห่งจินตนาการ โลกแห่งสุนทรียะ โลกแห่งความรู้


สานสีทองส่องฟ้าทั่วนภา มวลมหาประชาเทิดพระเกียรติ องค์ราชันย์อันเป็นที่รักยิ่ง ด้วยพระเมตตาดั่งฟ้าประทานจากสวรรค์

! ภาพโดย สราวุธ อิสรานุวรรธน์


มนุษย์ ควรจะเลือก เดินทางเช่นไร ! ตัวตน (Self) จะมีความหมายเช่นไร!

! !

เรื่องของตัวตน อาจนับได้ว่าเป็นปฐมบทในโลก ตะวันตก และโลกตะวันออก เราอาจจะมอง ความแตกต่างกันว่า “ถ้าฉันคิด ฉันจะดำรง อยู่” (I think - therefore, I am) ของนักปรัชญา ชาวฝรั่งเศส เดคาร์ตส (Decartes) เป็นวิธีคิดที่ ดึงเข้าหาตัวตน ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวตน หากที่จริง แล้ว เราอาจจะเพ่งพินิจต่อประโยคนี้ได้ว่า การ คิด คือ การบ่งบอกถึงอิสรภาพการดำรงอยู่ของ เรา การที่เดคาร์ตส์ได้ข้อคิดเช่นนี้ นับว่าใหม่ มากในช่วงนั้น (ศตวรรษที่ 17) นั่นหมายความ ว่า มนุษย์ในฐานะปัจเจกฯหาความรู้ได้ ด้วยการ คิด และการคิดนี่เองที่ทำให้ความเป็น ตัวตน เกิดขึ้น !

!

อย่างไรก็ตาม พอล ริเคอร์ (Paul Ricoeure) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในทศวรรษนี้ ได้กล่าวไว้ ว่าคิดเช่นนี้คงไม่พอ หากจะต้องทำความเข้าใจ ว่า เรากับโลกสัมพันธ์กัน เราจึงต้องค้นหานัยยะ ของโลก การก้าวไปให้ถึงความเข้าใจในสภาวะ ของโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็น พอล ริเคอร์ เป็นนัก ปรัชญาทางด้านจิตวิญญาณที่มุ่งหาทางด้าน ความศรัทธา (faith) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ความ สงสัย (suspicion) จะเห็นได้ว่าตั้งอยู่บนพื้นฐาน ที่แตกต่างกัน กับเดคาร์ตส!

!

และการที่เราคิด อาจจะตีความว่า “I think therefore, I am” ในความคิดของ ไจลส์ เดอลูซ (Giles Deluze) นักปรัชญาที่ทรงอิทธิพลใน ทศวรรษนี้ มองว่า เป็นอะไรที่ค่อนข้างมองตัวเรา เป็นหลัก (subjective) ดังนั้น เราจะทำเช่นไร!

!

! ! !

อาจเป็นอะไรที่ทำได้ยาก เพราะเรามักจะติด หลุมกับดักของความเป็นตัวเรา การที่เราคิดว่า “ฉันคิดนั้น” ในสายตาของเดอลูซ มองว่า ต้องมี บางสิ่งท่ีฉันตั้งคำถาม แต่ฉันยังแน่ใจในการตั้ง คำถามนั้น !

!

เราอาจจะลองมามองในมุมมองของศาสนาพุทธ ในแง่ปรัชญากันว่าจะช่วยตอบคำถามได้หรือไม่! ตัวตนของเราในทางศาสนาพุทธแล้ว คือพาหะที่ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจสภาวะของเรา โดย เฉพาะในเรื่องมุมมองต่อโลกสภาวะ และการ มองอย่างที่เป็นปรากฎการณ์ ถ้าเรานำวิธีคิด ทางพุทธมามองในเรื่องของการพัฒนาตัวตน และการมองสถานการณ์อย่างปรากฏการณ์ว่า จะเป็นเช่นไร อาจจะทำให้เรากลับมาหาราก เหง้าของเราได้อย่างชัดเจนขึ้น!

!

คงต้องยอมรับว่า ศาสนาพุทธเป็นวาทกรรมที่ เรียกว่า paraadox ในแง่ที่ว่า สิ่งที่เป็นคำสอน อาจจะเป็นการที่ดูเหมือนมองโลกด้วยความ หดหู่ หรือแก่นสารที่นำเสนอดูเป็นเรื่องของ ความทุกข์ในวัฏฏสงสาร ที่ทำให้การเข้าถึงและ การนำมาปฏิบัติใช้ค่อนข้างยากอยู่เหมือนกัน การที่เราต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อเราเฉกเช่น ที่เราปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรานั้น นับ ได้ว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก เพราะเราต้องกลับ ไปมองที่ต้นตอของความเป็นตัวเรา เและถ้าเรา เห็นด้วยที่ว่าเราไม่สามารถอยู่โดยไม่มีผู้อื่นได้ แล้ว และการมีผู้อื่นก็คือการพิสูจน์ว่าเรา สามารถทำให้ตัวเราเบ่งบานขึ้นมาได้ เหมือน ดอกไม้ที่อยู่ท่ามกลางดอกไม้อื่น!


!

!

!

!

ถ้าเรามองในแง่ความเป็นตัวตนของเราในทาง ศาสนาพุทธแล้ว เราจะเห็นว่า ศาสนาพุทธมอง เรื่องตัวตนเป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา และเชื่อใน เรื่องของพลังพัฒนาในตัวตนของเรา เราคือ พาหะ ที่จะนำตัวเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพราะด้วย สติปัญญาของเราที่เราสามารถจะพัฒนาจิต วิญญาณไปได้ในสู่จุดที่เรียกว่า ‘Buddhalike’ ดังเช่นพระพุทธองค์ ! คำถามก็คือ เราจะพัฒนาตัวตนของเราให้ไปสู่ จุดที่สูงได้เช่นไร คำตอบอาจจะอยู่ที่ การให้ ความสำคัญกับผู้อื่น!

!

อณูในตัวเราไม่ใช่ตัวตนของเรา ถึงแม้เรา อยากอยู่กับร่างและปัจจุบันขณะ ในการดำรง ชีวิตอยู่ ซึ่งตอนนี้อาจจะเป็นจุดที่เรามองว่า ประสบความสำเร็จมากที่สุด ไม่ว่าในด้านใด ก็ตาม และเรามองว่า เรามีความสุขกับสภาวะ เช่นนี้ รอยยิ้ม ความเริงรื่น ความชื่นใจ เข้ามา ในบริบทของชีวิตเรา เรามองชีวิตด้วยสายตา แห่งความสุข คงจะเห็นภาพได้เวลาที่ท่านมี ความสุขนั้นเป็นเช่นไร!

!

ในอีกบริบทหนึ่ง ในความทุกข์ที่เราเผชิญอยู่ นั้น เรามักจะไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้! ท่ามกลางความทุกข์นั้น หรือไม่ก็ยอมแพ้ จนไม่ อาจก้าวพ้นออกมาได้ !

สภาวะในความทุกข์เป็นช่วงที่ตัวตนอ่อนแอ อย่างมาก และถ้าเราอยู่คนเดียว เราก็จะทุกข์ ระทมมาก อาจจะถึงขนาดไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ ในโลกนี้ แต่ถ้าเรามีเพื่อนที่รักเรา เข้าใจใน ความทุกข์ของเรา ให้พื้นที่เราจมอยู่ในความ ทุกข์ และในขณะเดียวกันก็เฝ้าดูเราว่าเราจะ พร้อมเมื่อไหร่ที่จะเข้าสู่ชายฝั่งอย่างสงบได้ เพื่อนเราที่รักเรานั้นจะนำพาเราให้ถึงฝั่งได้! ในชีวิตเรา เราคงจะหาเพื่อนเช่นนี้ได้ยาก คงจะ มีอยู่ไม่กี่คนที่รักเราในชั่วขณะที่ความทุกข์โถม ถั่งเข้ามา การที่เรามีเพื่อนที่รักเรานั้น เป็น เพราะเขารักอะไรบางอย่างในตัวเรา เป็นไปได้ ว่าเขาเองก็มีสิ่งนั้นในตัวเขา และเขาเห็นสิ่งนั้น ในตัวเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราและเขาต่างชื่นชมใน กันและกัน!

!

ตัวตน (self) ของเราจะสู่อิสรภาพได้นั้น จึงต้อง มีผู้อื่น (other) ช่วยเกื้อหนุน และในขณะ เดียวกัน ตัวตนของเราสามารถเรียนรู้ได้จากผู้ อื่น เราไม่สามารถคิด ไม่สามารถยืนได้อย่าง โดดเดี่ยว ความเป็นมนุษย์คงจะต้องหาคำตอบ จากการนึกถึงคนอื่น จากการรักคนอื่น ด้วยจิต ของเรา ด้วยตัวตนของเรา และพอถึงจุนั้น ตัว ตนของเรา และคนอื่น จะเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกัน และกัน ที่เรียกว่า synchronicity.


ดวงจิตนั้น ไปได้หลายพันทาง หากหนทาง แห่งความงามนั้น คือหนทางแห่งสันติ ที่ฉันเลือกเดิน ลมอ่อนละมุนพัดมา และแต่ละย่างก้าว ดอกไม้เบิกบาน

The$mind$can$go$ in$a$thousand$direc1ons,$ but$on$this$beau1ful$path,$ I$walk$in$peace.$ With$each$step,$ a$gentle$wind$blow.$ With$each$step,$ a$flower$blooms.$$ Thich$Nhat$Hanh$

ภาพสีน้ำมัน โดย Huu#Tuong#Bui#


การเห็นต่างทางความคิด ในเรือ ่ งระบอบการปกครองไม่ใช่ปญ ั หา หากปัญหาคือจิตใจมนุษย์ การนําอารมณ์อน ั โกรธขึง ้ อารมณ์แห่งความบ้าคลัง ่ มายาคติทไี่ ร้หลักการ มาเป็นวาทกรรมอ้างความชอบธรรม ในความเป็นประชาธิปไตย โดยอ้างว่าเป็นเรือ ่ งระหว่างสี ระหว่างชนชัน ้ ระหว่างอํามาตย์-ไพร่ วาทกรรมเช่นนีม ้ ไิ ด้ตอบโจทย์ดว ้ ยเหตุผล หากเป็นการมอมเมา สร้างความขัดแย้ง ความรุนแรง














Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.