enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 1 มกราคม 2015 วันสมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเจ้า วันนี้พระศาสนจักรทาการสมโภช พระนางมารีย์ “พระชนนีพระเจ้า” บางคน ตั้งคาถามว่า เป็นไปได้อย่างไรทีพ่ ระเจ้าทรง มี “พระชนนี” หรือ “พระมารดา” เหมือน มนุษย์ทั่วไป? พระองค์ทรงดารงอยู่ตั้งแต่ นิรันดรภาพ ไม่มีจุดเริ่มต้น และ จุดอวสาน พระองค์ทรงเป็นบ่อเกิดของทุกสิ่ง ทั้งที่มี ชีวิต และ ไม่มีชีวติ ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือ พระองค์ และ ดารงอยู่ก่อนพระองค์ ดังนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะได้ชื่อว่าเป็น บุตร ของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง เพราะเป็น เรื่องที่ขัดแย้ง และ ตรงกันข้ามกับพระ ธรรมชาติ ของพระองค์อย่างสิ้นเชิง พระนางมารีย์ทรงเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์ทรงถือกาเนิดในครรภ์ของพระนาง นักบุญ โยเซฟ เป็นบุคคลที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้ดูแลเอาใจใส่พระนางมารีย์ และ พระบุตรสุดที่รักของพระองค์ พระเยซู เจ้าทรงเป็นบุคคลที่พิเศษ พระองค์ทรงเป็นมนุษย์แท้เหมือนเราทุกอย่าง ยกเว้นบาป แต่ในเวลาเดียวกันพระองค์ทรง เป็นพระเจ้าแท้ด้วย แม้ว่าพระองค์ทรงมีสองพระธรรมชาติ กล่าวคือ พระธรรมชาติพระเจ้า และ พระธรรมชาติมนุษย์ พระองค์ทรงเป็น “พระบุคคล” องค์เดียวเท่านั้น นั่นคือ พระบุตร ซึ่งเป็นพระบุคคลที่สองแห่งพระตรีเอกภาพ จริงอยู่ พระนางมารีย์ทรงเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้าซึ่งเป็นมนุษย์แท้คนหนึ่ง แต่เนื่องจากพระเยซูเจ้าทรงมีพระธรรมชาติ พระเจ้าด้วย พระนางจึงทรงเป็นพระชนนีของพระเจ้าในความหมายนี้เอง พระนางทรงเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเจ้า แต่ไม่ได้ทรงเป็นพระมารดาของความเป็นพระเจ้าของพระองค์ ตรงกันข้าม พระนางทรงเป็นสิ่ง สร้างอันหนึ่งจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ นักบุญเปาโลได้อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมว่า “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ ให้มาบังเกิดจากหญิงคนหนึ่ง เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และทาให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม” (กท 4:4-5) พระเยซูเจ้าทรงเกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติเพื่อนาเราออกจากพันธะของธรรมบัญญัติ และ ทรงเกิดจากหญิง คนหนึ่งเพื่อทาให้เรากลายเป็นบุตรชายหญิงของพระเจ้า ในฐานะบุตรชายหญิงของพระเจ้าและพี่น้องของพระเยซูเจ้า เราจึงไม่ได้เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็น “ทายาทตามพระประสงค์ของพระเจ้า” (กท 4:7) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 2 มกราคม 2015 แทบเชิงกางเขนของ พระเยซูเจ้า นักบุญยอห์นยืนอยู่ พร้อมกับแม่พระและสตรีคนอื่น ๆ ในขณะที่ศิษย์คนอื่นได้ละทิ้ง พระองค์ไปเพราะความกลัว พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบพระ มารดาของพระองค์ ให้อยู่ใน ความดูแลของท่าน “นี่คือแม่ของท่าน” (ยน 19:27) ท่านเป็นคนแรกที่เชื่อ เรื่องการกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้า เมื่อท่านเห็นผ้าพัน พระศพและผ้าพันพระเศียรของ พระองค์ในคูหาท่านได้ “เห็นและ มีความเชื่อ” (ยน 20:8) การเห็นพระคูหาที่ว่างเปล่าเป็นหลักประกันที่เพียงพอสาหรับความเชื่อในเรื่องการกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้า นักบุญยอห์นเป็นศิษย์คนหนึ่งที่เข้าใจ “แก่นแท้” คาสั่งสอนของพระเยซูเจ้าได้อย่างชัดเจน ขณะที่ท่าน กาลังใกล้จะสิ้นใจ ท่านสั่งเสียบรรดาศิษย์ของท่านว่า“ลูกเอ๋ย จงรักกันและกันเถิด” ท่านพูดถ้อยคานี้ซ้าไปซ้ามา หลายครั้ง เมื่อบรรดาศิษย์ถามว่าท่านต้องการบอกแค่นี้หรือ? ท่านตอบว่า “แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะว่าเป็นคาสั่งขององค์พระผู้เป็นเจ้า” จริงอย่างที่นักบุญยอห์นได้บอก ถ้าเรารักกันและกัน ก็เพียงพอแล้ว สิ่งอื่นเป็นเรื่องรอง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 3 มกราคม 2015 วันอาทิตย์ทจี่ ะถึงนีพ้ ระศาสนจักร เฉลิมฉลองพระธรรมล้้าลึก เกี่ยวกับการ ประสูติของพระเยซูเจ้า พระผู้ไถ่ของเรา โดยเน้นความเป็นสากลของเหตุการณ์ ยิ่งใหญ่นี้ นั่นคือ โดยการรับธรรมชาติ มนุษย์ในครรภ์ของพระนางมารีย์ พระเยซู เจ้าไม่ได้เสด็จมาเพื่อชาวอิสราเอลเท่านั้น แต่เพื่อมนุษย์ทุกคนด้วยในเรื่องเล่าเกี่ยวกับ การประสูติมบี ุคคลสองกลุ่มที่มาเยี่ยมพระ กุมาร นั่นคือ คนเลี้ยงแกะ และโหราจารย์ จากทิศตะวันออก การสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์เป็นการระลึกถึง การมาเยี่ยมของโหราจารย์ซึ่งเป็นตัวแทนของมนุษย์ ทุกคน เป็นเรื่องราวของผู้เปิดตาและเปิดใจต่อความจริงใหม่ ๆ อยู่เสมอ คนเลี้ยงแกะได้ทราบเรื่องราวการประสูติของ พระเยซูเจ้าผ่านทางการเผยแสดงโดยตรงจากเหล่าทูตสวรรค์ของพระเจ้า นี่เป็นการเผยแสดงโดยตรง และ เหนือ ธรรมชาติ แต่โหราจารย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประสูติของพระองค์โดยการสังเกตดูการเคลื่อนทีข่ องดาวดวงหนึ่ง ดาวดวงนั้นไม่ได้พดู อะไรกับพวกเขา พวกเขาต้องท้าความเข้าใจเครื่องหมายตามธรรมชาติดังกล่าวด้วยตนเอง เพื่อรู้ว่ามันหมายถึงอะไรและก้าลังจะไปไหน? เราเชื่อและมั่นใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นหนทางเดียว ที่นา้ เราไปหาพระบิดาเจ้าสวรรค์ได้ เพราะพระองค์ตรัสว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา” (ยน 14:6) อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถทึกทักเอาเองว่า นอกจากคริสตชนแล้วคนที่นบั ถือศาสนาอื่นไม่มีหนทางที่นา้ เขา ไปสู่ความรอดพ้นได้เลย พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ทุกคนตามภาพลักษณ์ของพระองค์ และ ทรงเรียกทุกคนให้เข้ามารู้จัก และ รักพระองค์ มนุษย์ที่แสวงหาพระเจ้าจึงค้นพบหนทางบางอย่างที่จะน้าเขามารู้จักพระองค์ นักบุญเปาโลยืนยันว่า “พระเจ้าทรงทาให้สิ่งที่รไู้ ด้เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏชัดอยู่แล้ว กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อทรงสร้างโลก คุณลักษณะทีไ่ ม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือ พระอานุภาพนิรันดร และ เทวภาพของพระองค์ ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปัญญามนุษย์ในสิ่งที่ทรงสร้าง” (รม 1:19-20) ดังนั้น อาศัยการเปิดใจรับความจริง ความงดงาม และ ความยิ่งใหญ่ของสิ่งสร้างทั้งหลาย พร้อมกับฟังเสียง มโนธรรมของตนเองมนุษย์สามารถพบหนทางบางอย่างที่จะน้าเขาไปพบพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน กรณีของโหราจารย์ใน พระวรสารเปิดตาเราสู่ความจริงที่ว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงจ้ากัดพระองค์เองในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเท่านั้น ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 4 มกราคม 2015 วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ คนเลี้ยงแกะซึ่ง ถูกตราหน้าว่าเป็นผูไ้ ม่ บริสุทธิ์ และ ไม่สามารถมี ส่วนร่วมในการนมัสการ พระเจ้าในพระวิหารได้รู้ ว่าพระบุตรของพระเจ้าได้ ทรงประสูติแล้วผ่านทาง การเผยแสดงโดยตรงจาก ทูตสวรรค์ โหราจารย์รู้ ผ่านทางการตีความการ เคลื่อนที่ของดาวดวงหนึ่ง ส่วนหัวหน้าสมณะ และ ธรรมาจารย์ของกษัตริย์ เฮโรดรู้ผ่านทางการศึกษา และ ค้นหาในพระคัมภีร์ นี่เป็นสามวิถีทางแตกต่างกันที่นาไปถึงความจริงอันเดียวกัน สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกศาสนาดีเท่ากันหมด ดังที่เราทราบ เมื่อดาวที่นาโหราจารย์มาถึงกรุงเยรูซาเล็มแล้วมันดับแสงลง พวกเขาต้องขอคาปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ พระคัมภีรเ์ พื่อนาพวกเขาไปยังเมืองเบธเลเฮม สิ่งนีช้ ี้ให้เห็นความจริงที่ว่า นอกจากแสงสว่างตามธรรมชาติของ ดวงดาวแล้ว โหราจารย์ยังต้องการแสงสว่างเหนือธรรมชาติของพระคัมภีร์เพื่อจะสามารถไปพบพระเยซูเจ้าได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีคาถามสาคัญอีกอย่างหนึ่งคือสุดท้ายแล้วใครได้พบพระเยซูเจ้า? กษัตริย์เฮโรด หัวสมณะ และ ธรรมาจารย์ผู้มีพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ในมือพลาดโอกาสที่จะพบพระเยซูเจ้า แต่โหราจารย์ซึ่งติดตามแสงสว่าง ตามธรรมชาติได้พบพระองค์ ทาไม? เพราะว่าผู้มีอานาจชาวยิวเหล่านั้นแม้วา่ พวกเขาเป็นเจ้าของความจริงยิ่งใหญ่ และ ชัดเจนจากพระคัมภีร์ที่ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า ไม่ได้ติดตามความจริงนั้น พวกเขาไม่ได้เดินตามแสงสว่าง ของพระคัมภีร์ สิ่งสาคัญจึงไม่ได้อยู่ที่การเป็นเจ้าของความจริงแต่อยู่ที่ว่าเราพร้อมที่จะเดินตามแสงสว่างแห่งความจริง ที่เราเป็นเจ้าของนัน้ มากน้อยเพียงใดต่างหาก การมีเพียงแสงสว่างที่ริบหรี่ของดวงดาว และ ติดตามมัน ดีกว่าการมี แสงสว่างที่เจิดจ้าของพระคัมภีรแ์ ต่ไม่ได้ใส่ใจสิง่ ล้าค่านี้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม 2015 ในฐานะคริสตชนเราเชื่อว่า ศาสนาของเราเที่ยงแท้ และ มีความจริง ครบบริบูรณ์แต่สิ่งนี้จะมีประโยชน์อะไร สาหรับเรา ถ้าเราไม่ได้ตระหนัก และ พยายามเดินตาม แสงสว่างแห่งความ จริงที่เรามีผู้นมัสการสิ่งสร้างตาม ธรรมชาติ หรือ ผู้ไม่มีความเชื่อ ซึ่งอุทิศ ตนทั้งครบติดตามแสงสว่างที่ริบหรี่ของ เหตุผลตามธรรมชาติ อาจเข้าถึงพระ เยซูเจ้า ผู้ทรงเป็น “ความจริง” ก่อน เราผู้ซึ่งได้ฟังและได้อ่านพระวาจา ที่ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า แต่ ไม่ได้เดินตามแสงสว่างแห่งพระวาจา และ ความจริงที่เราได้พบในนัน้ นี่เป็นความจริงที่ทา้ ทายเราแต่ละคนดังเช่นเรื่องราวของโหราจารย์ผู้แสวงหาและพบองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนัน้ ให้พระวาจาของพระเจ้าที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ของเรา และ ที่เราได้รับฟังในแต่ละวัน ส่องสว่างดวงใจ สติปัญญา และ นาทางชีวิตทุกย่างก้าวของเราเพื่อว่าเราจะสามารถพบพระเยซูเจ้า และ ดาเนินชีวิต ตามแสงสว่างแห่งความจริงซึ่งจะนาเราไปสู่ความรอดพ้นตลอดนิรันดร ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 6 มกราคม 2015
เทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขสาหรับเรา สาหรับคริสตชนแล้ว เป็นการระลึกถึง การบังเกิดของพระเยซูเจ้าผู้ได้เสด็จมาเพื่อความรอดพ้นของเรา ยิ่งกว่านั้น คริสต์มาสยังเป็นเทศกาลแห่งความรักอีก ด้วย พระบิดาเจ้าสวรรค์ได้ทรงแสดงให้เราเห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงมีต่อเรา ด้วยการมอบของขวัญ ที่ล้าค่าที่สุดให้แก่เรา นั่นคือ พระบุตรสุดที่รักของพระองค์ เพือ่ ว่าโดยทางพระบุตรนี้เราทุกคนจะได้มีสว่ นร่วมในพระ สิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ ความรักมีไว้เพื่อแบ่งปัน ดังนัน้ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องแบ่งปันความรักของพระเจ้า ซึ่ง แสดงออกผ่านทางพระเยซูเจ้าให้กับผู้อื่น คงไม่มีของขวัญใดที่ลาค่ ้ าที่เรามอบสาหรับพระเยซูเจ้ามากเท่ากับการทาให้ คนอื่นมารู้จัก รัก และรับใช้พระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 7 มกราคม 2015 นักบุญเปาโลบอกชาวเมืองเอเฟซัสว่า “ท่านคงรู้แล้วถึงพระหรรษทานซึ่งพระเจ้า ประทานให้ข้าพเจ้า ประกอบพันธกิจเพื่อ ประโยชน์ของท่านข้าพเจ้ารู้ธรรมล้้าลึกนี้ เพราะพระเจ้าทรงเปิดเผย... พระธรรมล้้าลึกนี้พระองค์มิได้ทรงเปิดเผย ให้มนุษย์ในอดีตรู้ แต่บัดนี้ พระเจ้าทรงเปิดเผยเดชะพระจิตเจ้า ให้แก่บรรดาอัครสาวก และ ประกาศกผู้ศักดิ์สิทธิ์ รู้ว่าคนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม ในกองมรดกเดียวกัน ร่วมเป็นกายเดียวกัน ร่วมรับพระสัญญาเดียวกัน ในพระคริสตเยซูอาศัยข่าวดี” (อฟ 3:2-3,5-6) นักบุญเปาโล ได้ย้าความจริงนี้อีกครั้งหนึ่ง “จ้าเป็นที่เราจะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้า ให้ท่านฟังก่อนผู้อื่น แต่เมื่อท่านปฏิเสธไม่ยอมรับและไม่คิดว่า ตนเหมาะสมจะรับชีวิตนิรันดร เราจึงหันไปหาคนต่างศาสนา เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้ามีพระบัญชาแก่เราดังนี้ว่า ‘เราแต่งตั้งท่านให้เป็นแสงสว่างส่องนานาชาติ เพื่อท่านจะได้น้าความรอดพ้น ไปจนสุดปลายแผ่นดิน’” (กจ 13:46-47) พระคริสตเจ้า แสงสว่างยิง่ ใหญ่ของพระเจ้าได้เผยแสดงแก่มนุษย์ทุกคนโดยทางความเชื่อในพระคริสตเจ้า และ ในศีลล้างบาปด้วยน้้าและพระจิตเจ้า เราได้เป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักรพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าบน โลกนี้ และ เป็นทายาทร่วมส่วนชีวิตนิรันดรในเมืองสวรรค์โดยทางการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระพระคริสตเจ้า แสงสว่างยิ่งใหญ่ได้มาถึงโลกของเรา เราได้เห็นแสงแห่งความหวัง ความยินดี และ สันติสุข เหตุการณ์เหล่านี้เตือนใจ เราว่าเราทุกคนถูกเรียกให้เป็นแสงสว่างในโลกนี้ด้วย “ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก... แสงสว่างของท่านต้องส่องแสงต่อหน้ามนุษย์ เพื่อคนทั้งหลายจะได้เห็นกิจการดีของท่าน และ สรรเสริญพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์” (มธ 5:14,16) ให้เราเปิดใจรับแสงสว่างของพระคริสตเจ้า และ ปล่อยให้แสงสว่างของพระองค์สะท้อนผ่านตัวเราไปยังคน อื่น ให้เราออกไปแบ่งปันข่าวดี ความหวัง ความยินดี และสันติสุข ที่แสงสว่างของพระคริสตเจ้าน้ามาให้เรากับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผูท้ ี่อยู่รอบข้างเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 8 มกราคม 2015 วิถีทางของพระคริสตเจ้าเป็น วิถีทางแห่งกางเขน ที่เรียกร้องการสละ น้้าใจ และ ความต้องการของตนเอง จะได้มชี ่องว่างในหัวใจเพื่อคิดถึงคนอื่น มากขึ้น นี่เป็นวิถีทางของทุกคนที่ต้องการ ติดตามพระองค์ ความพร้อมที่จะปล่อย หรือ ตัดสละ สิ่งทีโ่ ลกนิยมชมชอบและ เห็นว่าควรปฏิบัติ ความวางใจในพระเจ้า มากกว่าไว้ใจในตนเอง และ สิ่งของต่างๆ ในโลกนี้ หลายครั้งเรามักจะคิดว่าวิถีทาง ของพระเจ้าใช้ไม่ได้หรือไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์ที่เราก้าลังเผชิญอยู่ เพราะนี่ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาเพื่อเข้าใจ ในพลังหรืออานุภาพของการสละตนเอง และ การรับใช้ ในแต่ละวันของชีวิต เราจึงต้องตั้งใจอย่างยิ่งที่จะ “ให้เวลา .. เปิดใจรับ” พยายามท้าความเข้าใจค้าสั่งสอนของพระเยซูเจ้าอยู่เสมอ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 9 มกราคม 2015 ความน่ารัก ความไร้เดียงสาของ เด็กเล็ก ๆ บ่งบอกถึงความใสซือ่ บริสุทธิ์ ของพวกเขา เด็ก ๆ จะมีความเชื่อมั่น และ ไว้วางใจในตัวพ่อแม่ของตน ซึ่งเป็น วีรบุรุษ วีรสตรี สาหรับลูก ๆ เสมอ เวลาพวกเขาตกใจหรือกลัว จะวิ่งไปหา พ่อแม่ เมื่ออยู่ในอ้อมกอดของพ่อแม่ แล้วพวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยและได้รับ การปกป้อง เมื่อพวกเขาหกล้ม และ ได้รับบาดเจ็บ จะไปหาพ่อแม่เพื่อรับการ ปลอบโยน และ รักษาเยียวยา แม้แต่เวลาทะเลาะกับเพื่อนหรือถูกคนอื่นรังแก จะไปฟ้องพ่อแม่เพื่อขอความช่วยเหลือ ถ้าพวกเขามีพ่อแม่ อยู่เคียงข้าง สาหรับพวกเขาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้เสมอ พวกเขาไม่สงสัยในความรักเมตตา ที่พ่อแม่มีต่อพวกเขา แม้แต่น้อยนิด นี่เป็นลักษณะเด่นของเด็ก ๆ ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ นี่คือลักษณะของ “ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสวรรค์หรือผู้ที่จะเข้าอาณาจักรสวรรค์ได้” ถ้าใครอยากเข้าอาณาจักรสวรรค์เขาคนนั้นต้องมีความเชื่อมั่น และ ไว้วางใจในความรัก และ พระเมตตาของ พระเจ้าอย่างไร้ข้อสงสัยใด ๆ เหมือนกับเด็กเล็ก ๆ ที่มีสิ่งเหล่านี้ในตัวพ่อแม่ของพวกเขา “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย” (มธ 18:3) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 10 มกราคม 2015 การกลายเป็นเด็กเล็ก ๆ ในสายพระเนตรของพระเจ้า เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงหลาย อย่าง เพราะมันหมายถึงการดาเนิน ชีวิตที่เรียบง่ายไว้วางใจในความรัก และ พระเมตตาของพระเจ้า มันเรียกร้องความสุภาพถ่อมตนเป็น อย่างมาก สิ่งนี้เป็นยาขมสาหรับคน ที่หยิ่งจองหอง คนที่คิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองชอบธรรมแล้วไม่ต้องพึ่งพา อาศัยใคร บรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดในเรื่องนี้ สาหรับพวกเขาแล้ว ความรอดพ้นมาจาก การดาเนินชีวิต ตามธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิน้ หากได้ปฏิบัตติ ามธรรมบัญญัติทุกข้อ แล้ว พระเจ้าเป็นหนี้พวกเขา พระองค์มีหน้าที่ให้รางวัลสาหรับคุณความดีที่พวกเขาได้กระทา พวกเขามั่นใจว่าสามารถ เข้าอาณาจักรสวรรค์ได้อย่างแน่นอน ท่าทีแบบนี้ตรงกันข้ามกับท่าทีของเด็กเล็ก ๆ พวกเขาลืมไปว่าความรอดพ้นเป็นของประทานที่ให้เปล่าจาก พระเจ้า ไม่มีมนุษย์คนใดสมควรได้รับของประทานแห่งชีวิตนิรนั ดรนี้ เพราะทุกคนล้วนเป็นคนบาปด้วยกันทั้งนั้น อับราฮัม บิดาแห่งความเชื่อของเรา ท่านเป็นผูช้ อบธรรม ไม่ใช่เพราะถือตามบทบัญญัติ แต่เพราะมีความเชื่อ และ ไว้วางใจในความรัก และ คาสัญญาของพระเจ้า ท่านเดินทางออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปยังดินแดนทีไ่ ม่รู้จัก เพราะเชื่อฟังพระเจ้าอย่างไร้ข้อสงสัยใด ๆ ทัง้ สิ้น แม้เผชิญหน้ากับการทดสอบที่แสนจะขมขื่น คือ การถวายบูชายัญ อิสอัคแด่พระเจ้า ความเชื่อมั่น และ ความไว้วางใจในพระเจ้าก็ไม่สั่นคลอน สุดท้าย พระเจ้าทรงทาตามคาสัญญาของ พระองค์ ท่านไม่ต้องสูญเสียบุตรชายสุดที่รัก และ ได้กลายเป็นบิดาของผู้คนมากมาย ในปัจจุบนั นี้ วัยรุ่นหลายคนไม่ชอบให้พ่อแม่มองพวกเขา และ ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่จริง สาหรับผู้ที่มีจติ ใจที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว พวกเขาจะดีใจที่สามารถดาเนินชีวิตเหมือนเด็กเล็ก ๆ ภายใต้ความดูแลของพระเจ้า บิดาผู้ใจดีของพวกเขา ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี และ เราเป็นล้วนเป็นของประทานจากพระเจ้า เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ โดยปราศจากพระเจ้าได้ ชีวิตของเราต้องขึ้นอยู่กับพระเจ้า ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 11 มกราคม 2015 วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธลี ้าง วันนี้พระศาสนจักรทาการ ฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีลา้ ง ก่อนจะทรงกระทาพันธกิจทีไ่ ด้รับ มอบหมายจากพระบิดาอย่าง เปิดเผยเพื่อบอกเราว่าพระเจ้า ประทับอยู่กับพระองค์ และ ทรง กาลังทางานในและผ่านทาง พระองค์ ภาพของพระเยซูเจ้าที่ พระวรสารวันนี้นาเสนอเป็นภาพ ชายหนุ่มผู้ซึ่งต้องแบกรับภาระหนัก และ ความรับผิดชอบสูง ภาระที่พระองค์ต้องแบกคือความหนักของบาปที่มวลมนุษย์ได้กระทาผิดต่อพระเจ้าส่วนสิ่งที่อยูใ่ นความ รับผิดชอบของพระองค์ คือ การชดเชยโทษบาปเหล่านั้น พิธีลา้ งจากนักบุญยอห์นเป็นพิธีที่ผู้รบั “แสดงถึงการกลับใจเพื่อจะได้รับการอภัยบาป” (มก 1:4) แต่จุดประสงค์นี้ใช้ไม่ได้ในกรณีของพระเยซูเจ้า เพราะในฐานะพระเจ้าแท้ พระองค์ทรงปราศจากบาปอย่าง สิ้นเชิง การรับพิธีลา้ งของพระเยซูเจ้า จึงเป็นการแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงยอมรับบาปของคนทั้งโลกมาไว้บนบ่า ของพระองค์ด้วยเต็มพระทัย แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้บริสทุ ธิ์กต็ าม พระเยซูเจ้าทรงยอมแบกรับบาปและโทษทุกอย่าง ที่เป็นผลตามมาแทนมวลมนุษย์เพื่อลบล้างพวกมันออกไป นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธลี ้าง ได้บอกศิษย์ของท่านว่า “นี่คือลูกแกะของพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก” (ยน 1:29) การรับพิธีล้างของพระเยซูเจ้าเป็นการแสดงออกถึงความสุภาพ และ การถ่อมพระองค์เพื่อรับใช้เราผู้ซึ่งเป็น คนบาปจากน้าในแม่น้าจอร์แดนที่พระองค์ทรงถูกจุ่มลงไป พระองค์ทรงโผล่ขนึ้ มาในฐานะพระผู้ไถ่ผู้เต็มไปด้วยพระสิริ รุ่งโรจน์พระสุรเสียงของพระเจ้าที่ดังลงมาจากฟากฟ้าว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา” (มก 1:11)
เป็นการเผยแสดงพระเยซูเจ้าเพื่อให้มนุษย์ได้รู้จักพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ถ้อยคาเหล่านี้ชวนเราให้คิดถึงพระ ดารัสของพระเจ้าที่ตรัสถึงผู้รับใช้ที่ทุกข์ทนของพระองค์ที่วา่ “นี่คือผู้รับใช้ของเรา ซึ่งเราเชิดชู เราเลือกเขาเพราะเราพอใจเขา” (อสย 42:1) ตามความเชื่อคริสตชนของเราพระเยซูเจ้าทรงเป็น “ผู้รับใช้ที่ทกุ ข์ทนของพระเจ้า” ผู้ทรงเต็มพระทัย “ยอมรับทุกข์ทรมานและความอัปยศ” (อสย 53:7) แทนเรา
ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 12 มกราคม 2015 การฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับ พิธีล้างจึงแสดงให้เราเห็นว่า พระองค์ เสด็จมาเป็นพระผู้ไถ่ของเราโดย ทางการยอมรับความทุกข์ทรมานด้วย ความนบนอบเชื่อฟังต่อพระประสงค์ ของพระบิดา และ ความรักที่มีต่อเรา ทุกคน วันฉลองนี้ยังแสดงให้เราเห็นว่า อะไรคือชีวิตคริสตชนที่ควรจะเป็น ด้วย ชีวิตคริสตชนของเราเริ่มต้นด้วย การรับศีลล้างบาป ซึ่งเป็นเครื่องหมาย สะท้อนถึงการถ่อมตนยอมรับว่าเรา แต่ละคนเป็นคนบาป และ ผ่านทางน้า้ แห่งศีลล้างบาปเราได้รับชีวิตใหม่และ กลายเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้า ศีลล้างบาปของเราเป็นทั้งจุดจบ และ จุดเริ่มต้น เป็นจุดจบของชีวิตเก่าซึ่งเป็นชีวิตที่เปื้อนหมองด้วยบาป ก้าเนิด และ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ในฐานะบุตรพระเจ้าร่วมกับพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นชีวิตที่พระเจ้าทรงโปรดปราน ยิ่งไปกว่านัน้ ศีลล้างบาปที่เราได้รับยังท้าให้เรามีส่วนร่วมในการสิ้นพระชนม์ และ การกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้าด้วย ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 13 มกราคม 2015 ทุกครั้งที่เราร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ เรากาลังร่วมส่วน ในการถวายพระองค์เองทั้งครบ ของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน เพื่อเป็นสินไถ่แทนมวลมนุษย์ ทั้งยังเป็นการแสดงออกว่า เราปรารถนาที่จะเป็นผู้รับใช้ที่ ทุกข์ทนของพระเจ้า และ พร้อมที่ จะยอมรับความทุกข์ยากลาบากที่ จาเป็นเพื่อแยกตัวเราเองออกจาก บาปด้วย บ่อยครั้งการหลีกเลี่ยงบาปมักจะเกี่ยวข้องกับการปฏิเสธตนเอง และ การยอมรับความทุกข์ยากลาบากเสมอ การเป็นคริสตชนที่ดีตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้าเรียกร้องการสละตนเอง และ ความพร้อมที่จะแบ่งปัน และ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ในพิธีมิสซา เราร่วมส่วนในพระทรมาน และ การถวายตนเองทั้งครบของพระเยซูเจ้า เราเห็นแบบอย่างที่ ยอดเยี่ยมซึ่งเราเองควรจะเป็นด้วย คือการมอบตัวเองทั้งสิ้นด้วยความนบนอบเชื่อฟังและความรักแด่พระเจ้า การร่วม ส่วนในพระทรมานของพระเยซูเจ้าบนโลกนี้ จะทาให้เรามีส่วนในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ในโลกหน้า เหมือนที่ นักบุญเปาโลบอกเราว่า “ถ้าเราตายพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้วเราก็จะมีชีวิตพร้อมกับพระองค์ด้วย” (รม 6:8) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 14 มกราคม 2015 พระศาสนจักรมีวันฉลอง พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีลา้ ง เพื่อเรียก เราออกจากถ้้าพระกุมารไปยังไม้ กางเขนของพระผู้ไถ่ สิ่งนี้ไม่ได้ ท้าลายความยินดี และ ความสุขที่ เราได้รับในวันคริสต์มาส แต่ชี้ให้เรา เห็นว่าจุดประสงค์ของการบังเกิด ของพระเยซูเจ้า คือ ชีวิตนิรันดร์ ซึ่งเป็นความหวังของเราทุกคนนัน้ มา จากพระทรมานและการสิ้นพระชนม์ ของพระองค์ วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีลา้ งเป็นอีกโอกาสหนึง่ ที่เราจะพิจารณาไตร่ตรองถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับ ศีลล้างบาปไม่ใช่เป็นเพียงพิธีกรรมที่ท้าให้เราเป็นคริสตชนเท่านัน้ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางที่ยาวนานตลอด ชีวิตเพื่อไปสูช่ ีวิตนิรันดรด้วย ในระหว่างการเดินทางนี้ เราทุกคนถูกเรียกให้เป็นพยานถึงข่าวดีด้วยชีวิต เป็นเกลือดอง แผ่นดิน แสงสว่างส่องโลก และ เจริญรอยตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ให้เรารื้อฟื้นความเชื่อของเราในพระองค์ และ ความตั้งใจที่จะติดตามพระองค์ ทุก ๆ วันตลอดการเดินทางของชีวิตในโลกนี้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม 2015 หลายคนมั่นใจว่าสิง่ ที่ ต้องการมากที่สุดในชีวิตคือ ความร่่ารวย อ่านาจ ชื่อเสียง บารมี แต่เรามีตัวอย่างที่เห็นชัด ว่าหลายครอบครัวที่มีฐานะ ร่่ารวย มีอ่านาจ มีอิทธิพล มีคนนับหน้าถือตา ชื่อเสียงโด่ง ดังคับบ้านคับเมือง แต่ชีวิตทั้ง ส่วนตัว และ ครอบครัว กลับว้าวุน่ ไม่มีความสุข ไม่มีสันติ ในใจลึก ๆ แล้ว .. ชีวติ ยังขาดอะไรบางอย่าง มันเหงา เปล่าเปลีย่ ว และ เคว้งคว้าง ในชีวิตของเราแต่ละคนล้วนสัมผัสความรู้สึกเช่นนี้มาแล้วทีส่ ุด เราจะพบว่าขุมทรัพย์เพียงหนึ่งเดียวที่จะน่า เราไปพบความสุขที่แท้จริงได้ คือ การด่าเนินชีวติ เจริญรอยตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า เมื่อเราให้พระองค์เป็นที่ หนึ่งในหัวใจ เป็นศูนย์กลางชีวิตของเรา เราจะตระหนักถึงความรักที่พระองค์มีต่อเราแต่ละคน เราจะรับรู้ว่า ความรัก ความใกล้ชิด การใช้เวลา ให้ความสนใจและเอาใจใส่กัน และ กันในครอบครัว เอื้ออาทรต่อผู้คนที่ใช้ชวี ิตร่วมกันใน สังคม มีความส่าคัญมากกว่า .. เหนือกว่าสิ่งของนอกกาย เป็นความรับผิดชอบที่เราแต่ละคนต้องมีให้แก่กันและกัน เราจะรู้สึกมีความสุขทีไ่ ด้เลือกติดตามพระองค์ “พี่น้อง เรารู้ว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้ทุกสิง่ กลับเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักพระองค์”(รม 8:28) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2015 วันครูของประเทศไทย
“บุญลาภหรือความสุขแท้แปดประการ” เป็นแนวทาง ที่พระเยซูเจ้าทรงวางไว้เพื่อนาไปเราไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก้าวไปไกลกว่าพระบัญญัติสิบ ประการ ความสุขแท้เหล่านี้ให้ภาพที่ชัดเจนของรูปแบบคริสตชนที่ดี ความสุขแท้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่ง ของพระอาณาจักรสวรรค์ซึ่งไม่ได้หมายความแค่สถานที่ที่เราจะไปอยู่กับพระเจ้าในโลกหน้าหรือชีวิตนิรันดรหลังความ ตายเท่านั้น แต่หมายถึงสังคมที่เราเป็นส่วนหนึ่งในเวลานี้ด้วย เมื่อเราดาเนินชีวิตสอดคล้องกับคุณค่าเหล่านี้สงั คมของเราจะเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความจริง ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความยุติธรรม สันติสุข เสรีภาพ และ การแบ่งปัน คุณลักษณะเหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นการประทับ อยู่ของพระเจ้าใจความสาคัญของความสุขแท้คือว่า เราจะเป็นผู้มีความสุขที่แท้จริงได้เมื่อเรารู้ว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับ พระเจ้า และ เพื่อนพี่น้องชายหญิงของเรา เมื่อเราดาเนินชีวิตตามแนวทางที่พระคริสตเจ้าทรงเชื้อเชิญให้เราดาเนินตามพระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า ผู้ที่ เป็นสุขคือ ผู้มีใจยากจน ซึง่ หมายถึง ผู้ที่ตระหนักถึงความขาดตกบกพร่อง และ ความเปราะบางของตัวเอง ตระหนักดี ว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือและพลังจากพระเจ้า ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า หมายถึงผู้กาลังเดือดร้อน และ ทุกข์ใจ จะได้รับความบรรเทาใจ และ การปลอบโยนจากกลุ่มคริสตชนที่พวกเขาเข้าไปอยู่ และ เป็นส่วนหนึ่งผู้มีใจอ่อนโยน เป็นผู้ที่เข้าหาคนอื่นด้วยความเอาใจใส่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ และ ความอ่อนหวานละมุนละม่อม เป็นผู้ที่ตระหนักถึง ความต้องการของคนอื่น ผู้หิวกระหายความชอบธรรม เป็นพวกที่พยายามทาทุกอย่างเพื่อทุกคนจะได้รบั สิ่งที่ เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขาผู้มีใจความเมตตา
เป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจ และ ให้อภัยแก่ทุกคนที่อยู่รอบข้างพวกเขา ผู้มีใจบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ในทีน่ ี่ หมายถึง ความเรียบง่ายปราศจากความซับซ้อน ปราศจากอคติ ผู้สร้างสันติ เป็นบุคคลที่พยายามทาลายกาแพง ที่ แบ่งแยกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นชนชัน้ เชื้อชาติ ศาสนา ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชน ผูถ้ ูกเบียดเบียนข่มเหง เพราะความชอบธรรมเป็นบุญของผู้ที่มีความเข้มแข็ง และ กล้าหาญ ที่จะให้คุณค่าของความจริง ความรัก และ ความยุติธรรมอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดแม้แต่ชีวิตของตนเอง นี่แหละคือรูปแบบคริสตชนที่พระเยซูเจ้าอยากจะให้เราเป็น คุณลักษณะเหล่านี้ก้าวไปไกลกว่าสิ่งที่บัญญัติ สิบประการเรียกร้องซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อห้ามซึ่งเราสามารถถือตามโดยไม่ต้องทาอะไรเลย เช่น อย่าฆ่าคน อย่าทา อุลามก อย่าลักขโมย อย่าใส่ความนินทา การไม่ทาสิ่งทีผ่ ิดถือว่ายังไม่เพียงพอ คริสตชนที่ดีต้องทาในสิง่ ที่ดี และ ถูกต้องด้วย ความสุขแท้แปดประการนี่เองทีบ่ อกเราว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรทา เพื่อจะได้เป็นศิษย์ทสี่ มบูรณ์แบบของ พระเยซูเจ้า ในโอกาสวันนี้ซึ่งประเทศไทยจัดให้เป็นวันครู เราทุกคนล้วนเป็นครูสาหรับกันและกัน เราจึงมีหน้าที่ จะต้องแบ่งปันรูปแบบชีวิตคริสตชน ทั้งด้วยการอธิบาย บอกเล่า ข่าวดีของพระคริสตเจ้า และ ด้วยการใช้ชีวิตเป็น พยานยืนยันถึงข่าวดีนนั้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 17 มกราคม 2015 สองสัปดาห์ที่แล้วพระศาสนจักร ได้นาเสนอเรื่องราว การแสดงองค์ของ พระเยซูเจ้าแก่โหราจารย์จากทิศ ตะวันออก “ดาวประจาพระองค์” (มธ 2:2) ที่ปรากฏขึ้นส่งสัญญาณให้พวก เขาทราบว่าพระผู้กอบกู้โลกได้ทรง ประสูติแล้วนักบุญยอห์นผู้ทาพิธีล้าง ซึ่ง “ได้ชื่อว่าเป็นประกาศก ของพระผู้สูงสุด” (ลก 1:76) ได้เปิดเผยความจริงถึงการแสดงองค์ของพระเยซูเจ้าในรูปของผู้ทรงเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์แล้ว เมื่อท่านเห็นพระเยซูเจ้าเสด็จผ่านไป ท่านได้พูดกับศิษย์สองคนของท่านว่า “นี่คือลูกแกะของพระเจ้า” (ยน 1:36) ประโยคนี้เองได้ชี้ให้เราเห็นถึงความคิดสองประเด็น คือ ประการแรก ทาให้เราคิดถึง “ผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (อสย 52:13-53:12) ซึ่งรับเอาบาปของ มนุษย์ทั้งหลายมาแบกไว้ และ ถวายตนเป็นลูกแกะเพื่อชดเชยบาป ประการที่สอง ทาเราให้คิดถึง “ลูกแกะปัสกา” (อพย 12:21-28) ซึ่งชาวอิสราเอลกินในพิธีระลึกการที่พระ เจ้าทรงกอบกู้พวกเขาให้พ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ ทั้งสองความหมายเป็นสิง่ ที่พระเยซูเจ้าทรง “เป็น” เพื่อเรา เราได้รับการช่วยให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาปโดยทางพระโลหิตของพระองค์ที่ไหลหลั่งบนไม้กางเขน และเราได้กลายเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรของพระองค์ซึ่งเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้าผ่านทางน้าแห่งศีลล้าง บาป เหมือนที่พระเจ้าทรงเรียกชื่อ “ซามูเอล” (1 ซมอ 3:6) เพื่อให้ท่านเป็น “ประกาศก” (1 ซมอ 3:20) ของ พระองค์ พระองค์ทรงเรียกชื่อเราแต่ละคนผ่านทางพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีล้างบาปให้แก่เรา เราแต่ละคนยังได้รับการ เลือกสรรให้เป็นศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้าอย่างใกล้ชิดอีกด้วย เราจึงสามารถกล่าวด้วยความมัน่ ใจว่า “เราพบพระเมสสิยาห์แล้ว” (ยน 1:41) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 18 มกราคม 2015 ผลที่ตามมาจากการที่พระเจ้าทรง เรียกเราแต่ละคน ให้ติดตามพระเยซูเจ้าเป็นสิง่ ที่น่าพิศวง พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงเป็นเพียงบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตซึ่งเรื่องราวและคาสั่งสอนของ พระองค์ได้รับการบันทึกไว้ ในพระคัมภีร์ภาค พันธสัญญาใหม่ของเราเท่านั้น แต่พระองค์ทรง มีพระชนม์อยู่ในปัจจุบนั นีด้ ้วย อันที่จริง เราแต่ละคนเป็นมากกว่า ผู้ติดตามพระองค์ เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งแห่ง พระกายทิพย์ของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรง ดารงอยู่ในปัจจุบันนี้ พระองค์ทรงประทับอยู่ใน สวรรค์ ในศีลมหาสนิท และในตัวเราแต่ละคน เราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคาสอนของพระเยซูเจ้า ที่ว่า “ท่านท่าสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่าต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทา่ สิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นหนึง่ เดียวกันกับบรรดาผู้ติดตามพระองค์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สิ่งใดทีใ่ ครก็ตามทา ต่อพวกเขา ก็เท่ากับทาต่อพระองค์เอง ในทางกลับกัน สิ่งใดก็ตามที่เราทาต่อคนอืน่ ในนามของพระเยซูเจ้า ก็เท่ากับ พระองค์ทรงกระทากิจการนัน้ เอง พระเยซูเจ้าทรงปรารถนากระทากิจการต่าง ๆ ในตัวเรา และ ผ่านทางตัวเรา เราเอาพระองค์ไปกับเราด้วยไม่วา่ เราจะ ไปทีไ่ หน นักบุญเปาโลย้ากับเราว่า “ท่านไม่รู้หรือว่าร่างกายของท่านเป็นส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้า... ผู้ที่สนิทสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นจิตใจเดียวกันกับพระองค์” (1 คร 6:15,17) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 19 มกราคม 2015 การประทับของพระเยซูเจ้าในคริสตชน แต่ละคน เป็นแรงบันดาลใจ และ แรงผลักดัน ให้หลีกเลี่ยงบาป และ กระทากิจการที่ดีงาม หากเรามีจิตใจคับแคบ และ เห็นแก่ตัว หากเรา ใส่ร้ายป้ายสีและพยายามทาลายชื่อเสียงของ คนอื่น หากเราเกลียดชัง และ อิจฉาริษยาคนอืน่ เรากาลังดึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงประทับอยู่กับเรา เข้าไปในความโสมมแห่งบาปของเราด้วย ดังนัน้ ก่อนที่เราจะทาอะไรลงไป เราควรถามตัวเองว่า ถ้าเป็นพระเยซูเจ้า พระองค์จะทรงกระทาสิ่งที่ เรากาลังทาอยู่ในขณะนี้ หรือ ทรงพูดสิ่งที่เรา กาลังพูด หรือ ทรงคิดในสิ่งที่เรากาลังคิดอยู่ หรือเปล่า? เราอาจจะถามตัวเองได้เช่นเดียวกัน ว่าในสถานการณ์แต่ละแบบที่เรากาลังเผชิญอยู่ พระเยซูเจ้าจะทรงกระทาอะไรและอย่างไร? คาตอบต่อคาถามเหล่านี้ จะช่วยเราให้ติดสินใจ ว่าเราควรจะประพฤติตนอย่างไร เพื่อว่าชื่อเสียง ของพระเยซูเจ้าจะไม่เปื้อนหมอง เพราะการ กระทาที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเรา “ท่านไม่รู้หรือว่าร่างกายของท่านเป็นส่วนประกอบของพระวรกายของพระคริสตเจ้า... ผู้ที่สนิทสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เป็นจิตใจเดียวกันกับพระองค์” (1 คร 6:15,17) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 20 มกราคม 2015 พระเยซูเจ้าเสด็จมาหาเรา อีกครั้งหนึ่งผ่านทางศีลมหาสนิทที่ เรารับ โดยทางศีลมหาสนิท พระองค์ทรงปรารถนาที่จะ เปลี่ยนตัวเราให้เป็นส่วนหนึง่ ของ พระองค์นับวันยิ่งมากขึ้น เราต้อง ให้ความร่วมมือกับพระองค์โดย สัญญาว่า เราจะพยายามทาสิ่งที่เรา รู้ว่าพระองค์จะทรงกระทาเท่านัน้ เพื่อว่าการประทับอยู่ของพระองค์ ในโลกนี้ จะดาเนินต่อไปและเป็นที่ ประจักษ์อย่างชัดเจน ต่อหน้าเพื่อน มนุษย์ผา่ นทางตัวเรา เมื่อพระเยซูเจ้ายังทรงเป็น “กุมารคนหนึ่ง” (ลก 2:12) ดาวทีป่ รากฏขึ้นทางทิศตะวันออก ได้นาโหราจารย์บางคนมาพบพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ นักบุญยอห์นผู้ทาพิธลี ้างได้ชี้ ให้ศิษย์สองคนของท่านได้รู้จักพระองค์ในฐานะลูกแกะของพระเจ้า เวลานี้เราสามารถชี้ไปยังสวรรค์ หรือไ ปยังตู้ศีล มหาสนิทและบอกกับเพื่อนพี่นอ้ งคนอื่นว่า “พระเยซูเจ้าทรงประทับอยู่ทนี่ ั่น” แต่พระเยซูเจ้ายังทรงต้องการมากกว่านัน้ พระองค์ทรงปรารถนาให้เราแต่ละคน สามารถชี้มายังตนเองและพูดว่า “พระเยซูเจ้าทรงดารงชีพอยู่ทนี่ ี่ และกาลังทรงกระทากิจการต่าง ๆ ภายในตัวฉัน” ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 21 มกราคม 2015 บางครั้งเราอาจรู้สึกว่าพระเจ้า ทรงอยู่ห่างไกลจากเรา เรามองไม่เห็น พระองค์ และ ไม่ได้ยินเสียงของพระองค์ บางคนอาจคิดตามประสามนุษย์ว่า พระองค์คงกาลังยุ่งมากจนไม่มีเวลาให้ กับเรา แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรตระหนักอยู่ เสมอว่า พระเจ้าทรงรักโลกนี้มาก จนกระทั่งยอมส่งพระบุตรแต่เพียงองค์ เดียวของพระองค์ลงมา “เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตร จะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) ในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิวได้นาเสนอภาพของพระเยซูเจ้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อ เราแต่ละคนได้อย่างดี “เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชนก็ทรงสงสาร เพราะเขาเหล่านั้นเหน็ดเหนื่อยและท้อแท้ประดุจฝูงแกะทีไ่ ม่มีคนเลี้ยง (มธ 9:36) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลีย้ งที่ดี ผูซ้ ึ่งดูแลเอาใจใส่ และ พร้อมที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ชีวิต เพื่อฝูงแกะ ของตน (เทียบ ยน10:11) เราโชคดีที่มีพระเจ้าซึ่งอยู่ใกล้ชิดเรา เข้าใจสถานการณ์ของเรา และ เห็นอกเห็นใจเรา ในแต่ละวันของชีวิต เราจึงควรมอบชีวิตให้พระองค์เป็นศูนย์กลางในจิตใจของเราเพื่อเราจะได้ดาเนินชีวิตเจริญรอย ตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ตระหนักถึงความรักที่พระองค์มีต่อเราแต่ละคน และ แบ่งปันความรักนั้นแก่ทุกคนที่ อยู่รอบข้างในชีวิตของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม 2015 ภาพของพระเยซูเจ้าสะท้อนให้ เห็นความรัก ที่พระเจ้าทรงมีต่อเราแต่ละ คนได้อย่างดี “เมื่อพระองค์ทอดพระเนตร เห็นประชาชนก็ทรงสงสาร เพราะเขาเหล่านั้น เหน็ดเหนื่อยและท้อแท้ ประดุจฝูงแกะทีไ่ ม่มีคนเลี้ยง” (มธ 9:36) พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้บรรดาศิษย์ ของพระองค์เห็นว่า “ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อยจงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” (มธ 9:37-38) ในสมัยของพระเยซูเจ้ายังไม่มพี ระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช หรือซิสเตอร์ เหมือนปัจจุบันนี้ ในความคิดของ พระเยซูเจ้าและผูน้ ิพนธ์พระวรสารทั้งหลาย ศิษย์พระคริสต์ หรือ คริสตชนทุกคน คือคนงานในทุ่งนาของพระเจ้า ดังนั้น ในฐานะคริสตชนคนหนึ่ง เราต้องตระหนักว่าเราแต่ละคนเป็นคนงานในทุ่งนาของพระเจ้า เรามีหน้าที่สานต่อ พันธกิจแห่งรักที่พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบหมายให้บรรดาอัครสาวกซึ่งเป็นคนงานกลุ่มแรกของพระองค์สานต่อพันธกิจ ดังกล่าวนี้เป็นการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสในทุกรูปแบบ การปลอบโยนคนที่มีใจชอกช้้า และ มีความทุกข์ และ การประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ให้เราตระหนักถึงบทบาทหน้าทีข่ องเราแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์อยู่เสมอ เพื่อว่าพระองค์จะ ทรงท้างานผ่านทางตัวเราตามศักยภาพของเราแต่ละคน เสียงของเราจะกลายเป็นเสียงของพระองค์ การด้าเนินชีวิต ของเราจะเป็นภาพสะท้อนถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทุกคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 23 มกราคม 2015 ทุกวันนี้ เราพบว่ามี ความขัดแย้งมากมายในสังคม ความคิดที่แตกต่างกันในเรื่อง ของการคุมกาเนิด การทาแท้ง การอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหา ยาเสพติด ผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ กลุ่มชาติพนั ธุ์ในแต่ละประเทศ พระศาสนจักรสอนว่า มนุษย์ ทุกคนต้องได้รับความเคารพใน ฐานะบุตรของพระเจ้า และ พระเจ้าคนเดียวเท่านั้นที่เป็น เจ้าของแผ่นดินนี้ บางคนหลงตนเองมากจนมองคนอื่นต่าไปหมด ดูถูกผู้ป่วยโรคเอดส์ ประณามคนที่เป็นทาสยาเสพติด เหยียดหยามชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากพวกเขา คาทอลิกบางคนแย้งว่า พระศาสนจักรไม่ควรเข้าไป ยุ่งเกี่ยวในเรื่องการเมืองอะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด ทาหน้าทีช่ ่วยวิญญาณให้รอดอย่างเดียวก็พอแล้ว พวกเขาคิดว่าเราอาศัยอยู่ในสองโลกในเวลาเดียวกัน นั่นคือ โลกของศาสนาและโลกภายนอก แต่ความจริงก็ คือ เราอาศัยอยู่ในโลกอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นคือ โลกของพระเจ้า ถ้าเราระลึกอยู่เสมอว่าพระเยซูเจ้ายังทรงพระชนม์ อยู่ และ ประทับอยู่ท่ามกลางเรา พระองค์ยังคงประกาศความจริงแก่เราต่อไปผ่านทางพระคัมภีร์และคาสั่งสอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร เราต้องไม่กลัวที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิด และ วิถีทางในการดาเนินชีวติ แม้ว่าจะขัดแย้งกับ ความต้องการของเรา หรือ ตรงข้ามกับแนวโน้มของสังคมโลกปัจจุบัน เราต้องกล้าหาญที่จะเผชิญหน้าและประกาศ ความจริง ยอมรับ และ ปฎิบัติตามคาสั่งสอนทีส่ าคัญของพระศาสนจักร เพราะความจริงเท่านัน้ ที่จะนาเราไปสูช่ ีวิต นิรันดร และ ทาให้เราเป็นอิสระอย่างแท้จริง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 24 มกราคม 2015 เราดาเนินชีวิตโดยปฎิบัตติ าม ศาสนาในรูปแบบต่างกัน บางคน พยายามหลีกเลี่ยงทุกสิ่ง และ ทุกอย่าง ที่คิดว่าจะทาให้พวกเขาเป็นมลทิน ใช้ชีวิตแบบหลีกเลี่ยงความชั่วอย่างเดียว โดยเฉพาะข้อต้องห้ามต่าง ๆ โดยยึดมั่น ถือมั่นในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับทาง จารีตพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด ในขณะที่ บางคน ใช้ชีวติ เน้นการทาความดีเพื่อ ช่วยเหลือคนอื่น คนบาป คนที่สงั คม รังเกียจ หรือคนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน โดยถือคติดว่า มันเป็นการดีกว่าที่จะจุด เทียนขึน้ สักเล่มหนึ่ง แทนที่จะประณาม ความมืดมิดของโลกนี้ อันที่จริงแล้ว คริสตชนควรปฎิบตั ิศาสนาโดยรักษาสมดุล ทั้งการหลีกเลี่ยงบาป และ การทาความดีควบคู่ กันไป นักบุญยากอบบอกเราในจดหมายของท่านว่า “ความเลื่อมใสศรัทธาบริสุทธิ์และไร้มลทินเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าพระบิดา คือ การเยี่ยมเด็กกาพร้าและหญิงม่ายที่มีความทุกข์ร้อน และ การรักษาตนให้พ้นจากมลทินของโลก” (ยก 1:27) ขณะที่เราทาความดี เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงความชั่ว หรือ สิง่ ที่ทาให้เราเป็นมลทินเฉพาะพระพักตร์ของ พระเจ้าด้วย พระเยซูเจ้าเองไม่ทรงลังเลพระทัยที่จะสัมผัสคนโรคเรื้อน รับประทานอาหารกับคนบาป และ ปล่อยให้ หญิงที่ไม่สะอาดสัมผัสพระองค์จนกระทั่งได้รับสมญาว่า “เพื่อนกับคนเก็บภาษีและคนบาป” (มธ 11:19) นี่คือชีวิต ในแบบฉบับที่พระเยซูเจ้าทรงท้าทายเราให้เป็นผู้ที่พร้อมจะเข้าหา และ ช่วยเหลือคนบาป ผู้เป็นทุกข์เดือดร้อนและ ยากจนขัดสนมากยิ่งขึน้ พระองค์กล่าวว่า “ทุกคนจงฟังและเข้าใจเถิดไม่มีสิ่งใดเลยจากภายนอกของมนุษย์ทาให้เขามีมลทินได้ แต่สิ่งที่ออกมาจากภายในของมนุษย์นั้นแหละทาให้เขามีมลทิน” (มก 7:14-15) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 25 มกราคม 2015 พระเจ้าทรงเรียกและทรงมีพระประสงค์ ให้ประกาศกโยนาห์ ไปเทศน์สอนแก่ชาวเมือง นีนะเวห์ซึ่งเป็นคนต่างศาสนา เพื่อว่าพวกเขาจะ กลับใจ และ ได้รับการให้อภัยจากพระองค์ แต่ประกาศกโยนาห์มีความรู้สึกว่าชาวอิสราเอล เท่านั้นที่สมควรได้รบั ฟังพระวาจาของพระเจ้า ยิ่งกว่านัน้ เมืองนีนะเวห์ยังเป็นเมืองหลวงของ อาณาจักรอัสซีเรียซึ่งเป็นศัตรูทรี่ ้ายกาจ และ น่าเกรงขามที่สุดในอดีตของชาวอิสราเอล ชาวเมืองนี้เป็นคนต่างชาติ และ มีความเชื่อที่ แตกต่างแล้วยังเป็นศัตรูที่นา่ รังเกียจที่สุดเท่าที่ ชาวอิสราเอลเคยมีมาอีกด้วย ประกาศกโยนาห์ จึงกลัวว่าพวกเขาอาจจะฟังการเทศน์สอนของ ท่าน และ กลับใจใช้โทษบาป แล้วพระเจ้าจะทรง พระเมตตา และ ให้อภัยความผิดบาปของพวกเขา ท่านจึงพยายามหลบหนีเพื่อจะไม่ต้องทาภารกิจนี้ แต่ในระหว่างที่ทา่ นโดยสารเรือจากเมืองยัฟฟาไป ยังเมืองทารชิช ได้เกิดพายุใหญ่เนื่องจากพระพิโรธ ของพระเจ้ าและ เพื่อดับพระพิโรธของพระเจ้าครั้งนี้ ท่านถูกจับโยนลงในทะเล ปลาขนาดมหึมาตัวหนึ่งได้กลืนท่าน เข้าไป ท่านอยูใ่ นท้องปลาตัวนัน้ เป็นเวลาสามวันสามคืนจากนั้นปลาได้สารอกท่านออกไว้บนชายฝั่ง ท่านได้รับพระ บัญชาจากพระเจ้าเป็นครั้งทีส่ องให้ไปเทศน์สอนแก่ชาวเมืองนีนะเวห์ ครั้งนี้ท่านเชื่อฟังพระองค์ และ เมื่อประชาชนได้ ฟังพระวาจาของพระเจ้าแล้ว พวกเขาได้เป็นทุกข์กลับใจใช้โทษบาป และ พระเจ้าทรงอภัยโทษบาปของพวกเขา ประเด็นสาคัญที่เรื่องนี้ต้องการบอกเราทุกคนก็คือ พระเจ้าทรงรักและทรงห่วงใยมนุษย์ทุกคน ยิ่งกว่านัน้ พระองค์ยังทรงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งทีจ่ ะให้มนุษย์ทุกคน ไม่วา่ เชื้อชาติหรือศาสนาใด ได้รับความรอดพ้น ประกาศก โยนาห์เป็นตัวแทนของบรรดาผูค้ นที่มีใจคับแคบ เห็นแก่ตัว และ ไม่ต้องการแบ่งปันสิ่งใด รวมทั้งพระเจ้าด้วย ให้กับ คนอื่น ท่านเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มบุคคลที่เกลียดชัง และ อิจฉาริษยาคนอืน่ ที่ไม่ใช่พรรคพวกของตน กลุ่มบุคคลทีไ่ ม่ ต้องการให้ศัตรูของตัวเองได้ดี หรือ ได้รับคายกย่องชมเชยเหมือนกลุ่มของตน และ ปฏิเสธที่จะคืนดีกับพวกเขา แม้ว่า พวกเขามีน้าใจดี และ พร้อมที่จะกลับใจก็ตาม ท่านเป็นตัวแทนของประชาชนทีไ่ ม่เข้าใจวิถีทาง และ ความคิดของ พระเจ้า
สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอ คือ พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราคาดคิด และ พระเมตตาของพระองค์ แผ่ไปยังมนุษย์ทุกคนอย่างไร้ขอบเขตจากัด พระองค์ทรงพร้อมที่จะให้อภัยทุกคนที่หันหนีจากบาป และ ปรารถนาจะ คืนดีกับพระองค์ พระองค์ทรงรักมนุษย์ทุกคนมากจนกระทั่งยอมส่งพระบุตรเพียงพระองค์เดียวลงมาในโลกนี้ “เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) เครื่องหมายแห่งความรักของพระองค์อันหนึ่งที่เราสามารถมองเห็นได้คือ ไม้กางเขนซึ่งพระเยซูเจ้าได้ทรงถูก ตรึงจนสิน้ พระชนม์เพื่อปลดปล่อยเราให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาปซึง่ นาความตายมาสู่เรา พระองค์ทรงกาง พระกรออกบนไม้กางเขนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงโอบกอด และ รวมมนุษย์ทุกคน ไม่วา่ เชื้อชาติ ศาสนา หรือ ยุคสมัยใดไว้ในความรักที่ไร้เงื่อนไขอันนี้ของพระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 26 มกราคม 2015 ก่อนที่พระเยซูเจ้า จะทรงมอบพระองค์เองเป็น เครื่องบูชาบนไม้กางเขน เพื่อความรอดพ้นของเรา พระองค์ทรงเรียก และ เลือกบรรดาอัครสาวกของ พระองค์ เพื่อสานต่อ พันธกิจการประกาศข่าวดี เกี่ยวกับพระอาณาจักรของ พระเจ้า และ ความรักอัน ยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่มีต่อ มนุษย์ทุกคน ในเวลาต่อมาพวกท่านเหล่านี้กลายเป็นฐานที่มั่นคง ดุจศิลาของพระศาสนจักรของพระองค์ เป็นชาวประมงที่ แสวงหาดวงวิญญาณด้วยอวนขนาดใหญ่ที่สามารถรวบรวมมนุษย์ทุกคนเข้าด้วยกัน พวกท่านไม่มีอะไรต้องหวาดกลัว เพราะพระจิตเจ้าจะเป็นผู้นาทางพวกท่าน ยิ่งกว่านั้น พระเยซูเจ้าทรงสัญญาว่า พระองค์จะทรงอยู่เคียงข้างพวกท่าน ตลอดไปตราบจนสิน้ พิภพ เราเรียกพระศาสนจักรว่า “คาทอลิก” เพราะพระศาสนจักรของเราเป็นพระศาสนจักร “สากล” ที่เปิดกว้าง สาหรับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มาจากไหน มีเชื้อชาติหรือนับถือศาสนาอะไรก็ตาม ในสายพระเนตรของ พระเจ้าแล้วมนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 27 มกราคม 2015 เราเรียกพระศาสนจักรว่า “คาทอลิก” เพราะพระศาสนจักรของ เราเป็นพระศาสนจักร “สากล” ที่เปิดกว้างสาหรับมนุษย์ทุกคน แม้พระศาสนจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม แม้คณะธรรมทูตที่เผยแผ่ พระศาสนจักรส่วนใหญ่ มาจาก ประเทศแถบยุโรป แต่เราเป็น พระศาสนจักร “คาทอลิก” ซึ่งแปลว่า “สากล” ดังนั้น คาทอลิกที่แท้จริงต้องไม่ปิดหัวใจของตนเองต่อคนอื่น เราต้องเป็นเหมือนพระเยซูเจ้าผู้ทรงนพระชนม์ บนไม้กางเขน เราต้องอ้าแขนออกต้อนรับทุกคนที่ต้องการรู้จัก และ สัมผัสความรักของพระเจ้า พระเจ้าทรงรัก และ ทรงเอาใจใส่เราแต่ละคนเสมอ ในพิธีมิสซาเราได้ฟังพระวาจาของพระเยซูเจ้า ในพิธีมิสซาเราอธิษฐานภาวนาอาศัย พร้อมกับ และ ในพระองค์ ในพิธีบชู าขอบพระคุณ พระเจ้าประทานพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ในศีลมหาสนิท ให้เป็นอาหาร บารุงเลี้ยงวิญญาณของเรา เพียงแค่นี้น่าจะเพียงพอสาหรับเราที่จะรู้ว่าพระองค์ทรงรักเรามากแค่ไหน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 28 มกราคม 2015 เราตอบสนองต่อพระวาจา ของพระเจ้าในชีวิตเช่นไร บางคนคิดว่า เรื่องราวคาสอนในพระคัมภีร์ไม่มี ประโยชน์ คาสอนของพระศาสนจักร ล้าสมัย หลงยุค ตกรุ่นไปแล้ว ไม่สามารถประยุกต์ใช้กับวิตประจาวัน อีกต่อไป หลายคนได้ยินบางสิ่ง บางอย่างในมิสซา และ บอกว่า “พระคัมภีร์ตอนนี้เป็นความคิดที่ดี ผมจะปฏิบตั ิตาม” แต่พอออกพ้นประตูวัด พวกเขาก็ลืมความคิดดี ๆ ที่พวกเขาเพิ่งได้ยินทัง้ หมด คนอีกจานวนมากที่ให้ความ สนใจและสาละวนอยู่กับทรัพย์สมบัติ และ ความสนุกสนานฝ่ายโลกนี้มากเกินไปจนถือว่าพระเจ้าเป็นเรื่องรอง สวรรค์ของพวกเขาอยู่บนโลกนี้ พวกเขาไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความยากลาบาก ความเจ็บปวด ความเดือดร้อน และ การพลีกรรมใด ๆ สุดท้าย เป็นบุคคลที่ฟังพระวาจาของพระเจ้า และ ตอบสนองด้วยการประยุกต์ใช้กับชีวิต ปรับท่าที ทัศนคติ และ มุมมองเกี่ยวกับชีวิต ยินยอมให้พระวาจาของพระเจ้ามีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งในชีวติ ประจาวัน ดาเนินชีวิต สอดคล้องกับสิ่งทีไ่ ด้รับจากพระวาจานั้น เพื่อให้พระวาจาของพระเจ้าได้เปลีย่ นชีวิตทั้งครบของเรา นี่เป็นท่าทีของคน ที่เข้าใจชีวิตบนโลกนี้ได้อย่างถูกต้อง เหมือนที่นักบุญเปาโลได้กล่าวกับเราว่า “ข้าพเจ้าคิดว่า ความทุกข์ทรมานในปัจจุบันเปรียบไม่ได้เลย กับพระสิริรุ่งโรจน์ทจี่ ะทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา” (รม 8:18) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 29 มกราคม 2015 เวลาฝนตก ถ้าเราเอา โอ่งน้้าที่มฝี าปิดไปรองรับน้า้ ฝน เราจะไม่ได้น้าแม้แต่หยดเดียว ถ้าเราต้องการน้้าฝนไว้ใช้ เราต้องเปิดฝาทีป่ ิดปากโอ่ง ออกก่อนเพื่อน้้าจะไหลเข้าไปได้ ในชีวิตเราก็เช่นกัน เราควร เตรียมจิตใจเพื่อรับพระวาจา ของพระเจ้าด้วยการเปิดใจของ เรา ขจัดอคติต่างๆ ออกไป เปิดใจตนเองเพื่อรับเมล็ดพันธุ์ แห่งความจริงจากพระเจ้า ในพิธีมิสซา เราต้องพยายามฟังบทอ่านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระวรสารอย่างตั้งใจ ให้ความส้าคัญกับ บทเทศน์ พยายามเข้าใจและจดจ้าสารทีพ่ ระเยซูเจ้าต้องการบอกเรา พระเยซูเจ้าก้าลังพูดกับเราผ่านทางพระสงฆ์ของ พระองค์ แม้ว่าพระสงฆ์คนนัน้ จะมีข้อจ้ากัดหลายอย่างก็ตาม เมื่อท่านก้าลังท้าหน้าที่ ท่านสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องที่มี ประสิทธิภาพ และ ไม่มีประสิทธิภาพของพระองค์ บางครั้งท่านอาจน้าเสนอสาร ที่พระเยซูเจ้าต้องการบอกอย่าง กระชับ และ ชัดเจน แต่บางครั้งอาจคลุมเครือ และ น่าปวดหัว แต่เราต้องไม่ลืมว่านั่นคือสารจากพระเยซูเจ้า อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาที่พนี่ ้องมาหาพระเจ้าผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เราต้องเตรียมจิตใจของเราให้พร้อมที่รับฟัง และ ตอบสนองอยู่เสมอ เพื่อพระวาจาของพระเจ้าจะได้เกิดผลอย่างเต็มที่ในจิตใจของพี่น้องแต่ละคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 30 มกราคม 2015 บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “มันเป็นไปไม่ได้” แต่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้สาหรับมนุษย์ ก็เป็นไปได้สาหรับพระเจ้า” (ลก 18:27) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันเหนื่อยเหลือเกิน” แต่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า “ท่านทั้งหลายที่เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาพบเราเถิด เราจะให้ท่านได้พักผ่อน” (มธ 11:28) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ไม่มีใครรักฉันอย่างแท้จริง” แต่พระเยซูเจ้าทรงบอกเราว่า “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้อีกแล้ว” แต่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ตรัสกับนักบุญเปาโลว่า “พระหรรษทานของเราเพียงพอสาหรับท่าน เพราะพระอานุภาพแสดงออกเต็มที่เมื่อมนุษย์มีความอ่อนแอ” (2 คร 12:9) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันไม่สามารถพบทางออกได้เลย” แต่ผู้เขียนหนังสือสุภาษิตบอกเราว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงนาย่างก้าวของมนุษย์” (สภษ 20:24) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันไม่สามารถทาสิ่งนั้นได้” แต่นักบุญเปาโลบอกชาวเมืองฟิลปิ ปีว่า “ข้าพเจ้าทาทุกสิ่งได้ในพระองค์ ผู้ประทานพละกาลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟป 4:13)
บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันไม่มีความสามารถเพียงพอ” แต่นักบุญเปาโลบอกชาวเมืองโครินธ์ว่า “พระเจ้าประทานพระหรรษทานทุกประการแก่ท่านได้อย่างอุดม เพื่อให้ท่านมีทุกสิ่งเพียงพอ และ ยังมีเหลือเฟือสาหรับกิจการดีทุกประการอีกด้วย” (2 คร 9:8-9) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันกลัว” แต่นักบุญเปาโลบอกกับทิโมธีว่า “พระเจ้าไม่ได้ประทานจิตทีบ่ นั ดาลความขลาดกลัวแต่ประทานจิตที่บันดาล ความเข้มแข็ง ความรัก และ การควบคุมตนเองแก่เรา” (2 ทธ 1:7) บางครั้งเราอาจจะพูดว่า “ฉันรู้สึกโดดเดี่ยวเหลือเกิน” แต่ในจดหมายถึงชาวฮีบรู พระเจ้าทรงตรัสกับเราว่า
“เราจะไม่ละเลยหรือทอดทิ้งเจ้า” (ฮบ 13:5) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี
enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 31 มกราคม 2015
นักบุญยอห์น บอสโก เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ปี 1815 ที่หมู่บ้านเบ็กกี ซึ่งเป็นหมู่บา้ นเล็ก ๆ ในแถบ ภาคเหนือของประเทศอิตาลี ครอบครัวของท่านเป็นชาวไร่ที่ยากจน บิดาได้เสียชีวิตเมื่อท่านอายุไม่ถึง 2 ขวบ คุณแม่มาร์เกรีตา จึงรับภาระเลีย้ งดูบุตรชาย 3 คนตามลาพังเพียงผู้เดียว โดยอบรมสั่งสอนให้มคี วามเคารพ ศรัทธาต่อ พระเจ้า เป็นพลเมืองดีของชาติ ฝึกหัดให้ทางานตัง้ แต่เด็ก สอนให้รู้จักเสียสละและช่วยเหลือผู้ทตี่ กทุกข์ได้ยากเสมอ ชีวิตในวัยเด็กของพ่อบอสโกต้องเผชิญกับความอดอยากแร้นแค้น อย่างแสนสาหัส เมื่ออายุ 12 ขวบ ท่านต้องออก จากบ้าน และ รับจ้างทางานที่ฟาร์มของคนอื่น การขาดพ่อ และ พรากจากแม่ในช่วงอายุที่เกือบจะพึ่งตนเองไม่ได้นนั้ เป็นประสบการณ์ทฝี่ ังแน่นในดวงใจอย่างไม่มีวนั ลืม ความตาย ความยากจน ความอดอยาก ความหิวโหย และความ ไม่แน่นอนในการดารงชีวิต เป็นความทรงจาแรกเริ่มซึ่งทาให้เข้าใจถึงปัญหาของเยาวชนอย่างลึกซึ้ง ตลอดชีวิตของ ท่านจึงยื่นมือเข้าไปช่วยเด็กกาพร้า เด็กยากจน เด็กเร่ร่อน เยาวชนที่ถูกสังคมทอดทิ้งให้อยู่ชายขอบของสังคม ด้วยความรักและหวังดี เพื่ออบรมดูแลพวกเขาให้เจริญเติบโต ด้วยดวงใจเยี่ยงบิดาที่แท้จริง “ขอเพียงแต่วิญญาณ สิ่งอื่นไม่ต้องการ” ชีวิตของพ่อบอสโกมีความฝันและความยากจน คอยติดตามเป็นดังเงาที่แยกกันไม่ออก ความฝันที่เป็นป้ายชี้ ทางชีวิตและเป็นพลังขับเคลื่อนให้ตระหนักอยู่ตลอดเวลา ว่า คุณค่าของชีวิตมิได้เกิดมาเพื่อตัวเองเท่านั้น เสียงเรียก จากภายในนี้ ได้จุดไฟความใฝ่ฝนั ทาให้ท่านสามารถศึกษาและเตรียมตัวในการเป็นพระสงฆ์ด้วยความมุ่งมั่นและจริง จัง จนได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ ที่กรุงตุริน ในเดือนมิถุนายน ปี 1841 เมื่ออายุได้ 26 ปี
ในช่วงเวลานัน้ การปฏิวัติอุตสาหกรรม และ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านพลังงาน ทาให้วิถีชีวิต ความเชื่อ การศึกษา และครอบครัว ล้วนได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง เมืองตุรินเต็มไปด้วยแรงงานอพยพ ซึ่งส่วนมากเป็น เยาวชน ชีวิตแออัดในเมืองใหญ่ อาศัยในที่คับแคบ ค่าแรงไม่พอหาอาหารเลี้ยงร่างกาย สุขภาพเสื่อมโทรม ครอบครัว แตกแยก ยาเสพติดแพร่หลาย ปัญหาโสเภณีและอาชญากรรม เด็ก ๆ เที่ยวเร่ร่อนไปตามถนนหนทาง จับกลุ่มเล่นการ พนัน ทะเลาะกัน กล่าวคาหยาบคาย ประพฤติเลวร้ายต่าง ๆ นา ๆ เยาวชนจานวนมากต้องอยู่ในคุก เนื่องจากพวก เขาขาดการอบรมสั่งสอนทีด่ ี ถูกปล่อยปละละเลยจึงทาอะไรตามใจตนเองโดยไม่ยั้งคิด คุณพ่อบอสโก จึงได้จัดตั้งศูนย์ เยาวชนแห่งแรกขึ้น ที่วัลด๊อกโก ในสมัยนัน้ ศูนย์เยาวชนอื่น ๆ มักเลือกแต่เด็กดี ๆ ความประพฤติเรียบร้อยที่พ่อแม่ นามาฝากฝัง แต่พ่อบอสโกเปิดประตูต้อนรับทุกคน โดยเริ่มจากเด็กที่เพิ่งพ้นโทษ ไม่รู้จะไปพบเพื่อนสักคนได้ทไี่ หน เด็กที่ครอบครัวอยู่ห่างไกล ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในสภาพอันตราย นี่คือหัวใจแห่งศูนย์เยาวชนของท่าน พ่อบอสโกส่งเสริม ให้ศูนย์เยาวชนเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความเบิกบานด้วยการละ เล่นต่าง ๆ ด้วยความรัก ความ ใจดี และความร่าเริง ในขณะเดียวกัน พ่อบอสโกจะคอยฟังแก้บาป เพื่อทุกคนจะได้รว่ มมิสซาบูชาขอบพระคุณ รับศีลมหาสนิท และ รับประทานอาหาร นอกจากนั้นท่านยังออกไปเยี่ยมเด็ก ๆ ที่กาลังทางานตามโรงงาน ที่เรือนจา และ ที่โรงเรียนต่าง ๆ ไม่ว่าสังคมหรือการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สิ่งที่พ่อบอสโกกระทาคือ การกระโจนเข้าไปทางานเพื่อเด็กยากจน ของท่าน ตามหลักการทีว่ ่า ทันที และ ฉับพลัน เพราะงานสาหรับเยาวชนที่ยากจนไม่สามารถรอคอยได้ ท่านได้ตั้ง โรงเรียนภาคค่าสาหรับเยาวชน ให้มีโอกาสเรียนคาสอน ฝึกอาชีพ มีข้าวกิน มีที่พักอาศัย มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง และ จัดการหางานให้พวกเขาอีกด้วย พ่อบอสโกอบรมเยาวชนที่ทา่ นรักบนหลักของศาสนา เหตุผล และ ความรักใจดี ท่าน ยอมทาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความดีของเยาวชน และนาวิญญาณของพวกเขาไปหาพระเจ้า เพื่อให้งานต่างๆ สาหรับเยาวชนทีท่ ่านริเริ่ม ได้รับการต่อยอดและสืบสานต่อไปในอนาคต คุณพ่อบอสโกจึงรวบรวมเยาวชนทีพ่ ร้อมจะ ยืนเคียงข้างท่านอยู่เสมอ เพื่ออบรม ถ่ายทอดความคิดและจิตตารมณ์ของท่านให้พวกเขาวันละเล็กวันละน้อย ในที่สุด พวกเขาได้กลับกลายเป็นซาเลเซียนกลุ่มแรก และได้เติบโตขึ้น แตกหน่อออกใบและแผ่กิ่งก้าน ทาให้กิจการเพื่อความ ดีของเยาวชนแผ่ขยายไปไม่มีหยุดยั้ง ไม่เพียงแต่ในประเทศอิตาลีและประเทศใกล้เคียงเท่านัน้ แต่แตกแขนงออกไปทั่ว โลกจวบจนปัจจุบนั นี้ คุณพ่อบอสโกได้สนิ้ ใจที่กรุงตุรนิ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1888 รวมอายุได้ 72 ปี ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น นักบุญเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 โดยพระสันตะปาปา ปีโอที่ 6 ขอพระเจ้าผู้ทรงเป็นต้นกาเนิดของความดี และ พระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์ ผู้ทรงนาทางชีวิตของพ่อบอสโกมาโดยตลอด โปรดประทานพระพรแก่พวกเรา ให้เปี่ยม ไปด้วยพลังกาย พลังใจ เพื่อพวกเราจะสามารถเข้าใจและเลียนแบบชีวติ ของท่าน สืบสานต่อพันธกิจที่บรรดาคณะ ธรรมทูตซาเลเซียนซึ่งเข้ามาเมืองไทยและบรรดา สมาชิกครอบครัวซาเลเซียนจานวนมาก ได้บกุ เบิกวางรากฐาน กิจการแพร่ธรรมในประเทศไทย เพื่ออนาคตที่ดีของเยาวชนไทย อันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระศาสนจักรคาทอลิก และ สังคมไทยตลอดมา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี