ITEC2415 Mobile OS [Android]

Page 1

รายงาน เรื่อง ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

เสนอ อาจารย์สืบทัศน์ ลิ่มสายหั้ว

สมาชิกผู้จัดท�ำ นางสาวฐานิดา นายพงษ์พชั ร์ นายกิตติศกั ดิ ์ นายสัญชัย

เดชแพ ลิม้ สมุทรชัยกุล เดชชาญชัย ศิรอิ ุดมโชค

รหัสนักศึกษา รหัสนักศึกษา รหัสนักศึกษา รหัสนักศึกษา

5514110004 5514110005 5514110047 5514110060

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

ITEC2415 หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Special Topics in Information Technology) ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร


สารบัญ

รายการ

- สารบัญ - วิวฒ ั นาการของอุปกรณ์พกพา - ตรวจสอบโทรศัพท์มอื ถือของเราดูส ิ - ระบบปฏิบตั กิ ารส�ำหรับ Smart Phone - แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบตั กิ าร) - ประวัตขิ องแอนดรอยด์ - รายละเอียดทัวไปของแอนดรอยด์ ่ - แอปพลิเคชัน (โปรแกรมประยุกต์) - การจัดการหน่วยความจ�ำ - รุน่ ของแอนดรอยด์ - ตัวอย่างรายละเอียดอุปกรณ์

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

หน้า 2 3 5 5 6 8 10 11 11 12 13

2


วิวัฒนาการของอุปกรณ์พกพา พัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ เราแบ่งยุคของการพัฒนาโทรศัพท์มือถือเป็น Generation เริ่มตั้งแต่ 1G, 2G และ 3G ยุค 1G หรือ First Generation เป็นยุคที่ใช้สัญญาณอนาล็อก โดยผสมคลื่นเสียงในสัญญาณ วิทยุ สามารถใช้งานด้านเสียง (Voice) เพียงอย่างเดียว ไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลอื่นใดเลย คุณภาพ เสียงไม่ดีนัก ขนาดโทรศัพท์ใหญ่เทอะทะ เริ่มมีใช้ประมาณ 1980 ปริมาณการยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ จะอยู่ในแวดวงนักธุรกิจ

ยุค 2G เริ่มน�ำมาใช้ประมาณ 1990 เปลี่ยนเป็นการส่งคลื่นวิทยุแบบอนาล็อกเป็นการส่งแบบ เข้ารหัสดิจิตอล เริ่มมีความสามารถใช้งานทางด้านรับส่งข้อมูล แต่เป็นข้อมูลขนาดเล็ก เช่น ข้อความ สั้นๆ (SMS – Short Message Service) มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร ประสิทธิภาพการรับส่งถูก พัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ สามารถก�ำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน (Cell site) ราคาโทรศัพท์มือ ถือเริ่มลดต�่ำลง ท�ำให้มีผู้ใช้มากขึ้น เริ่มมีดาวน์โหลด Ring tone แบบ monotone, ภาพ Graphic, Wall paper ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพขาวด�ำ มีความละเอียดต�่ำ มาตรฐานที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือยุคที่ 2 คือ 1. GSM – Global System for Mobile Communication เป็นมาตรฐานหลักในทวีปยุโรป และ เอเชียประมาณ 160 ประเทศ โทรศัพท์เพียงหมายเลขเดียวสามารถน�ำไปใช้ได้ทั่วโลก (Roaming) ใช้ข้ามเครือข่ายได้ 2. CDMA – Code Division Multiple Access นิยมใช้ในอเมริกาและเกาหลีใต้ ผู้ใช้ไม่ สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามเครือข่ายได้ คุณภาพเสียงและสัญญาณข้อมูลที่ได้มีคุณภาพดีกว่าแบบ GSM ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

3


ยุค 2.5G เป็นยุคระหว่าง 2G กับ 3G เทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้นในยุคนี้ มีความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลถึง 115 Kbps แต่ในทางปฏิบัติ ความเร็ว ของ GPRS จะถูกจ�ำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น เริ่มมีการใช้งานในเชิง Data มากขึ้น SMS กลายเป็น MMS Ringtone ก็กลายเป็น Polyphonic และ True tone จอภาพมีขนาดใหญ่ขึ้นและ เป็นภาพสีที่มีความคมชัด ก่อนจะเข้ายุค 3G มีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) บางคนเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า ยุค 2.75G EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS เป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRSให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูง ขึ้นประมาณ 3 เท่า ยุค 3G หรือ Third Generation เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ 2.1 GHz มีอยู่ 2 มาตรฐานคือใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) บางแห่งเรียกว่า WCDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก GSM และอีกมาตรฐานคือเทคโนโลยี CDMA2000 พัฒนามาจากเครือข่าย CDMA การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายมาสามารถกระท�ำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น สามารถเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์ การรับส่ง ข้อมูลมีความเร็วตั้งแต่ 384 kbps จนถึง 2 Mbps เพียงพอต่อการรับส่งข้อมูลประเภทสื่อประสม หรือ multimedia สามารถรับส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ download เพลง ดู TV Streaming และ ประชุมแบบ Video Conference ในอนาคต E learning จะเปลี่ยนเป็น M learning หรือ Mobile learning เมื่อเราเปิดโทรศัพท์ระบบ 3G จะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของเราตลอดเวลา

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

4


ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของเราดูสิ - กด *#06# หน้าจอโทรศัพท์มือถือ จะปรากฏหมายเลขเครื่อง serial number หรือที่เรียก ว่า อิกมี่ จ�ำนวน 15-17 หลัก ให้จดเก็บเลขนี้ไว้ ถ้าโทรศัพท์หาย หรือตกหล่น ให้โทรศัพท์ไปที่ศูนย์ และแจ้งหมายเลขนี้ ศูนย์ ฯ จะบล็อกเครื่องที่หายให้เรา ผู้ที่ขโมย หรือเก็บได้ ไม่สามารถน�ำไปใช้ได้ ตลอดไปถึงแม้จะเปลี่ยน Sim card ใหม่ก็ตาม - หมายเลขสากลฉุกเฉิน 112 ใช้ได้ทั่วโลก เมื่อมีเหตุร้ายหรือเหตุฉุกเฉิน ให้กด 112 ถึงแม้จะ ล็อคปุ่มก็ยังกดเบอร์นี้ได้ - ส�ำหรับมือถือยี่ห้อ Nokia ถ้าแบตเตอรี่เหลือน้อยจนใกล้หมด แต่มีความจ�ำเป็นต้องโทร ออก ให้กด *3370# มันจะน�ำพลังงานส�ำรองที่ซ่อนเก็บไว้ออกมาใช้ จะเห็นว่าขีดแสดงพลังงานจะ เพิ่มขึ้นมาอีก 50% มันจะน�ำมาชดเชยไว้เหมือนเดิม เมื่อเราชาร์จแบตเตอรี่ครั้งต่อไป

ระบบปฏิบัติการส�ำหรับ Smart phone Smart phone เป็นได้มากกว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้ติดต่อสื่อสารทางเสียง เพราะสามารถใช้ รับส่ง e-mail ทวิตเตอร์กับเพื่อน เขียนและส่งข้อความใน Facebook หรือ chat กับเพื่อน บางครั้ง สามารถแปลงโฉมเป็น navigator ชี้ทางไปยังสถานที่ที่เราไม่เคยไป สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์ดึงไฟล์มัลติมีเดียมาเล่นที่เครื่องได้ ใน Smart phone มีระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กัน อยู่ 4 ระบบ ได้แก่ Android , iOS, Window Phone และ BlackBerry

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

5


แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติ การที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาส�ำหรับ อุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่น สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะ เป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบ แอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ท�ำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนา โดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ ท�ำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัว เมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไล แอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์,ซอฟต์แวร์ และ การสื่อสารคมนาคมที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิดส�ำหรับ อุปกรณ์พกพาโดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอน ดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจ�ำหน่ายเมื่อ ปี พ.ศ.2551 แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และ กูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช ซึ่งโอเพนซอร์ซจะ อนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่ง และวางจ�ำหน่ายได้ รวมไปถึง นักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรม ประยุกต์มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมส�ำหรับ แอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิลเพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้ง จากการส�ำรวจในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบ ปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

6


ถึง 71% ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมส�ำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลด จากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้ง จากการส�ำรวจ ในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบ ว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะ พัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71% ปั จ จั ย เหล่ า นี้ ท� ำ ให้ แ อนดรอยด์ เ ป็ น ระบบปฏิ บั ติ การที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน น�ำหน้าซิมเบียน ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นทางเลือก ของผู้ผลิตที่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่มีราคาต�่ำ ตอบสนองความ ต้องการของผู้ใช้ได้ดี ส�ำหรับอุปกรณ์ในสมัยใหม่แม้ว่า แอนดรอยด์จะดูเหมือนได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กับสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต แต่มันยังสามารถใช้ได้กับโทรทัศน์ เครื่อง เล่นวิดีโอเกม กล้องดิจิทัล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แอนดรอยด์เป็นระบบเปิดท�ำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนา คุณสมบัติใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ส่วนแบ่งทางการตลาดของสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ น�ำโดยซัมซุง มากถึง 64% ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติ การแอนดรอยด์มากถึง 11,868 รุ่น จาก 8 เวอร์ชันของ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ความส�ำเร็จของระบบปฏิบัติ การท� ำ ให้ เ กิ ด คดี ด ้ า นการละเมิ ด สิ ท ธิ บั ต รที่ เรี ย กกั น ว่ า "สงครามสมาร์ตโฟน" (smartphone wars) ระหว่างบริษัท ผู้ผลิต ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โปรแกรม 4.8 หมื่น ล้านโปรแกรมได้รับการติดตั้งบนอุปกรณ์จากกูเกิลเพลย์ และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ 1 พันล้านเครื่อง ได้ถูกเปิดใช้งาน

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

7


ประวัติของแอนดรอยด์ บริษัทแอนดรอยด์ ก่อตั้งขึ้นที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 โดย แอนดี รูบิน (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแดนเจอร์), ริช ไมเนอร์ (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไวลด์ไฟร์คอมมูนิเคชัน), นิก เซียส์ (ซึ่งเคยเป็นรองผู้จัดการที่ทีโมบายล์) และ คริส ไวท์ (หัวหน้าฝ่ายออกแบบและการพัฒนา อินเตอร์เฟซ ทีเ่ ว็บทีว)ี ส�ำหรับการพัฒนานัน้ จากค�ำพูดของรูบนิ "โทรศัพท์มอื ถือทีม่ คี วามฉลาดขึน้ และ ตระหนักถึงสถานที่ของเจ้าของมากขึ้น" จุดประสงค์แรกของบริษัทคือการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ส�ำหรับกล้องดิจิทัล แต่เมื่อถูกตระหนักว่าไม่ใช่ตลาดที่กว้างพอ และต่อมาได้เบี่ยงเบนความพยายาม เพื่อที่จะท�ำระบบปฏิบัติการส�ำหรับสมาร์ตโฟน เพื่อแข่งกับซิมเบียน และ วินโดวส์โมบายล์ (ในขณะ นั้น ไอโฟนยังไม่ได้วางขาย) แม้จะมีประวัติความส�ำเร็จของผู้ก่อตั้งและพนักงานของบริษัทในช่วงแรก บริษัทแอนดรอยด์ ได้ด�ำเนินการอย่างเงียบๆ ให้เห็นเพียงว่าเป็นบริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการส�ำหรับ โทรศัพท์มือถือ ในปีเดียวกัน รูบิน ไม่มีเงินเหลือแล้ว สตีฟ เพอร์ลแมน เพื่อนสนิทของรูบิน ได้ให้ยืม เงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งเงินใส่ในซองมาให้ และ ปฏิเสธที่จะถือหุ้นในบริษัท กูเกิล ได้ซื้อกิจการบริษัทแอนดรอยด์ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้มาเป็น บริษัทย่อยในเครือของกูเกิล โดยบุคคลส�ำคัญ ของบริษัทแอนดรอยด์ ทั้ง รูบิน, ไมเนอร์ และ ไวท์ ยังอยู่กับบริษัทหลังจากถูกซื้อกิจการ มี ผู้คนไม่มากที่รู้จักบริษัทแอนดรอยด์ ในช่วง เวลานั้น แต่หลายคนสันนิษฐานว่ากูเกิลก�ำลัง วางแผนที่จะเข้ามาสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือจาก การซื้อกิจการครั้งนี้ ที่กูเกิล รูบินน�ำทีมที่จะ พัฒนาระบบปฏิบัติการส�ำหรับโทรศัพท์มือ ถือซึ่งขับเคลื่อนโดยลินุกซ์ เคอร์เนล ในตลาด มือถือของกูเกิล จะมีสัญญากับผู้ให้บริการ เครือข่าย ต่อมากูเกิลได้เริ่มวางแผนในเรื่องของส่วนประกอบฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และผู้ให้บริการ เครือข่าย ความตั้งใจของกูเกิลที่จะเข้าสู่ตลาดเครื่องมือสื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือได้มาถึงช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2549 ตามรายงานของบีบีซี และวอลล์สตรีตเจอร์นัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กูเกิลพยายาม ที่จะผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้ส�ำหรับค้นหา และใช้โปรแกรมประยุกต์ หรือแอปพลิเคชันได้ และกูเกิล ได้ท�ำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งนี้ และมีข่าวลือว่า กูเกิลจะพัฒนาโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อสินค้าของ ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

8


ตนเอง บางคนก็สันนิษฐานว่ากูเกิลจะก�ำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ และส่งให้กับผู้ ผลิต และ ผู้ให้บริการเครือข่าย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 อินฟอร์เมชันวีก (Information Week) ร่วมมือกับ เอแวลูเซิร์ฟ (Evalueserve) เพื่อที่จะศึกษารายงานของกูเกิลในการยื่นสิทธิบัตรเกี่ยวกับ โทรศัพท์มือถือ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในด้าน เทคโนโลยี ซึ่งรวมไปด้วยกูเกิล กับผู้ผลิตอุปกรณ์เช่นเอชทีซี, โซนี่ และ ซัมซุง รวมไปถึงผู้ให้บริการ เครือข่ายเช่น สปรินต์ เน็กเทล และ ทีโมบายล์ และบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์เช่น ควอล์คอมม์ และ เท็กซัส อินสตรูเมนส์ ได้เปิดเผยในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาโทรศัพท์มือถือที่มีมาตรฐานเปิด ในวันเดียวกัน แอนดรอยด์ได้เปิดตัวสินค้าชิ้นแรก ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ สร้างบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6 ส่วนโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์คือเอชทีซี ดรีม เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ในปี พ.ศ. 2553 กูเกิลได้เปิดตัว กูเกิล เน็กซัส ซึ่งเป็นซีรีส์หรือตระกูลของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยไม่ปรับแต่งใดๆ จากผู้ผลิต ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นพาร์ตเนอร์กับกูเกิล โดยเอชทีซี ร่วมมือกับกูเกิล ในการเปิดตัวสมาร์ตโฟนเน็กซัสรุ่นแรก มีชื่อว่า เน็กซัสวัน โดยซีรีส์นี้จะ ได้รับการอัปเดตรุ่นใหม่ก่อนอุปกรณ์อื่นๆ กูเกิลได้เปิดตัวโทรศัพท์และแท็บเล็ต ซึ่งเป็นรุ่นเรือธงของ แอนดรอยด์ โดยจะใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดของแอนดรอยด์ ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 แอนดี รูบิน ได้ถูกย้ายจากฝ่ายแอนดรอยด์ ไปยังฝ่ายการผลิตใหม่ของกูเกิล ซึ่งต�ำแหน่ง ของรูบิน ถูกแทนที่ด้วยซันดาร์ พิชัย ที่จะท�ำงานในต�ำแหน่งหัวหน้าของฝ่ายกูเกิล โครมด้วย ซึ่งเขา เป็นผู้พัฒนาโครมโอเอส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 แอนดรอยด์ได้ใช้การอัปเดตแบบเรียงตามเลขรุ่น ซึ่งจะมีการปรับปรุง ส่วนต่างๆ ของระบบปฏิบัติการ, เพิ่มคุณสมบัติใหม่ และ แก้ไขข้อผิดพลาดในรุ่นก่อนหน้า โดยแต่ละ รุ่นจะมีชื่อเฉพาะเรียงตามล�ำดับตัวอักษรและจะใช้ชื่อจากขนมหวาน เช่น รุ่น 1.5 "คัพเค้ก" 1.6 "โดนัท" รุ่น 4.3 "เจลลีบีน" และล่าสุด รุ่น 4.4 "คิทแคท" ซึ่งได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

9


รายละเอียดทั่วไปของแอนดรอยด์ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของแอนดรอยด์ มีพื้นฐานอยู่บนอินเตอร์เฟซ แบบไดเรกต์มานิพูเลชัน (Direct manipulation) ซึ่งจะใช้การสัมผัสที่สอดคล้องกับการกระท�ำใน โลกความจริง เช่น การปัด การแตะ การกวาดนิ้ว รวมไปถึงการใช้นิ้วหมุนบนหน้าจอ การตอบสนอง การสัมผัสนี้ ได้รับการออกแบบมาอย่างดี และมักจะใช้การสั่นของอุปกรณ์ตอบโต้ว่าผู้ใช้ได้สัมผัสแล้ว ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมภายในเช่น เข็มทิศดิจิทัล ไจโรสโคป และเซ็นเซอร์วัดแสง จะได้รับการน�ำมาใช้เพิ่ม เติมในการตอบสนองต่างๆ กับผู้ใช้ เช่น การหมุนหน้าจอจากแนวตั้งเป็นแนวนอน หรือการเล่นเกม แข่งรถที่ต้องใช้การหมุนอุปกรณ์ เป็นต้น อุปกรณ์แอนดรอยด์จะบูตเข้าหน้าหลัก ซึ่งเป็นหน้าจอหลักในการน�ำทางไปทุกๆ ที่ในอุปกรณ์ เหมือนกับเดสก์ท็อป บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หน้าจอหลักของแอนดรอยด์จะสามารถวางไอคอนของ แอปพลิเคชัน และวิดเจ็ต โดยไอคอนของแอปพลิเคชันนั้นสามารถแตะเพื่อกดเข้าแอปพลิเคชันได้ โดยตรง สภาพอากาศและพยากรณ์อากาศที่อัปเดตอยู่ตลอดเวลา กล่องขาเข้าของอีเมล รวมไปถึง หน้าจอข่าวด้วย หน้าจอหลักสามารถสร้างได้หลายหน้า โดยผู้ใช้สามารถปัดเพื่อเลื่อนไป-มา ระหว่าง หน้าได้ แม้ว่าหน้าจอหลักของแอนดรอยด์ที่จะสามารถให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ เพื่อ ที่จะให้ผู้ใช้รู้สึกดีตามรสนิยมของตนเอง แอปพลิเคชันอื่นๆ มีให้ดาวน์โหลดบนกูเกิลเพลย์ และแอป หลายตัวสามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบหรือธีม ของหน้าจอหลักได้ แม้กระทั่งการเปลี่ยนหน้าจอเลียน แบบระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น วินโดวส์โฟน ผู้ผลิตต่างๆ และผู้ให้บริการเครือข่ายบางราย จะปรับ แต่งให้หน้าตาของหน้าจอหลักเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่งของพวกเขา ด้านบนของหน้าจอจะเป็นแถบสถานะ ซึ่งจะแสดงถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ และ การเชื่อมต่อต่างๆ แถบสถานะสามารถดึงลงมาเพื่อที่จะแสดงการแจ้งเตือนบนหน้าจอเมื่อแอปพลิเคชัน แจ้งเตือนข้อมูลหรือมีอัปเดต เช่น การได้รับข้อความใหม่ ในรุ่นก่อนๆ ของแอนดรอยด์ สามารถแตะ ที่การแจ้งเตือนเพื่อเปิดแอปพลิเคชันได้โดยตรง แต่รุ่นล่าสุดได้เพิ่มคุณสมบัติการท�ำงานที่มากขึ้น เช่น ความสามารถในการโทรกลับจากการแจ้งเตือนสายที่ไม่ได้รับ โดยไม่ต้องเปิดแอปโทรศัพท์ การแจ้งเตือนจะหายไปเมื่อผู้ใช้อ่าน หรือ ท�ำการลบการแจ้งเตือน

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

10


แอปพลิเคชัน (โปรแกรมประยุกต์) แอนดรอยด์มีแอปพลิเคชันที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถซื้อและดาวน์โหลดได้จากกูเกิล เพลย์ หรือ แอมะซอน แอปสโตร์ และสามารถที่จะดาวน์โหลดไฟล์ APK ได้จากเว็บไซต์ต่างๆ แอปพลิเคชัน จากเพลย์สโตร์อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด และ อัปเดต ได้จากกูเกิล และ นักพัฒนาที่พัฒนา แอปนั้นๆ รวมไปถึงความสามารถในการติดตั้งกับอุปกรณ์ที่สามารถเข้ากันได้กับแอปพลิเคชัน ซึ่ง นักพัฒนาอาจจ�ำกัดด้วยเหตุผลทางด้านอุปกรณ์ ประเทศ หรือเหตุผลทางธุรกิจ เมื่อซื้อแอปแล้ว สามารถขอคืนเงินได้ภายใน 15 นาที หลังจากการดาวน์โหลด และบางผู้ให้บริการจะเก็บเงินด้วย ใบเสร็จจากการซื้อแอปบนกูเกิลเพลย์ ซึ่งจะคิดเงินเพิ่มเติมจากค่าใช้บริการรายเดือนปกติ ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2555 แอปพลิเคชันส�ำหรับแอนดรอยด์มีมากถึง 675,000 แอป และมียอดดาวน์โหลด แอปพลิเคชันจากเพลย์สโตร์ทั้งหมด 2.5 พันล้านครั้ง แอปพลิเคชันจะเขียนโดยใช้ภาษาจาวา และใช้แอนดรอยด์ซอฟต์แวร์เดเวล็อปเมนต์คิต (Android software development kit) หรือ SDK โดยเอสดีเคจะประกอบด้วยชุดเครื่องมือต่างๆ นานาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมไปด้วยตัวรีบัก แหล่งรวมซอฟต์แวร์ต่างๆ ตัวจ�ำลองแฮนด์เซต โค้ดจ�ำลอง และวิธีใช้ต่างๆ ส่วนในประเทศจีนนั้น จะมีการจ�ำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตต่างๆ ของทางรัฐ โดยอุปกรณ์ แอนดรอยด์ที่วางขายในประเทศจีนนั้นจะถูกจ�ำกัดบริการบางอย่าง และจะมีเพียงแค่บริการที่ได้รับ อนุมัติจากรัฐบาลแล้วเท่านั้น

การจัดการหน่วยความจ�ำ อุปกรณ์แอนดรอยด์นั้นจะมีการใช้งานแบตเตอรี ท�ำให้แอนดรอยด์ได้รับการออกแบบเพื่อ จัดารหน่วยความจ�ำ หรือแรม ส�ำหรับการใช้พลังงานที่น้อยที่สุด ในทางตรงข้ามกันกับคอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ ซึ่งจะมีพลังงานให้ใช้ได้อย่างไม่จ�ำกัด เมื่อแอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ไม่ได้ใช้งาน ระบบ จะจัดการจัดเก็บไว้ในหน่วยความจ�ำ (เมื่อเปิดแอปพลิเคชันทิ้งไว้ในการใช้งาน) แอนดรอยด์จะจัดการแอปพลิเคชันในหน่วยความจ�ำอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อแรมเหลือน้อย ระบบ จะจัดการปิดแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ทันที โดยกระบวนการนี้ผู้ใช้จะไม่ สามารถมองเห็นมันได้ อย่างไรก็ตามจะมีแอปพลิเคชันบนกูเกิล เพลย์ ที่จะสามารถจัดการและปิด แอปพลิเคชันได้ ซึ่งคาดกันว่าให้ผลร้ายมากกว่าผลดี ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

11


รุ่นของแอนดรอยด์ รุ่น 1.0 1.1 1.5 1.6 2.0 2.0.1 2.1 2.2 2.3 2.3.3 3.0 3.1 3.2 4.0 4.0.3 4.1 4.2 4.3 4.4 4.4.1 4.4.2 4.4.3 4.4.4 5.0

ชื่อเล่น

ระดับเอพีไอ 1 2 Cupcake (คัพเค้ก) 3 Donut (โดนัท) 4 Eclair (เอแคลร์) 5 Eclair (เอแคลร์) 6 Eclair (เอแคลร์) 7 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 8 Gingerbread (ขนมปังขิง) 9 Gingerbread (ขนมปังขิง) 10 Honeycomb (รวงผึ้ง) 11 Honeycomb (รวงผึ้ง) 12 Honeycomb (รวงผึ้ง) 13 Ice Cream Sandwich 14 (แซนด์วิชไอศกรีม) Ice Cream Sandwich 15 (แซนด์วิชไอศกรีม) Jelly Bean (เจลลีบีน) 16 Jelly Bean (เจลลีบีน) 17 Jelly Bean (เจลลีบีน) 18 KitKat (คิทแคท) 19 KitKat (คิทแคท) 20 KitKat (คิทแคท) 21 KitKat (คิทแคท) 22 KitKat (คิทแคท) 23 L (แอล) 24

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

ลินุกซ์ เคอร์เนล

2.6.27 2.6.29 2.6.29 2.6.29 2.6.29 2.6.32 2.6.35 2.6.35 2.6.36 2.6.36 2.6.36 3.0.1

เปิดตัว 23 กันยายน 2551 9 กุมภาพันธ์ 2552 30 เมษายน 2552 15 สิงหาคม 2552 (SDK) 26 ตุลาคม 2552 3 ธันวาคม 2552 12 มกราคม 2553 (SDK) 20 พฤษภาคม 2553 (SDK) 6 ธันวาคม 2553 (SDK) 9 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK) 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK) 10 พฤษภาคม 2554 (SDK) 15 กรกฎาคม 2554 (SDK) 19 ตุลาคม 2554 (SDK)

3.0.1

16 ธันวาคม 2554 (SDK)

3.0.31 3.4.0 3.4.0 3.1 3.1 3.1 3.1 3.1 ยังไม่ระบุ

28 มิถุนายน 2555 29 ตุลาคม 2555 24 กรกฎาคม 2556 31 ตุลาคม 2556 5 ธันวาคม 2556 9 ธันวาคม 2556 2 มิถุนายน 2557 19 มิถุนายน 2557 ยังไม่ระบุ 12


ตัวอย่างรายละเอียดอุปกรณ์

โทรศัพท์ เครือข่าย ฮาร์ดแวร์ การแสดงผล

ผูผ้ ลิต รุน่ คลืน่ ความถึ ่ Data Technology ระบบปฏิบตั กิ าร รุน่ หน่วยประมวลผล ความเร็ว กราฟิค ขนาด RAM ขนาด ROM ชนิดจอ ความละเอียด จอภาพ จ�ำนวนสี

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

Samsung - ซัมซุง Galaxy Note 2 850/900/1800/1900 EDGE, HSPA, HSPA+ Android 4.1 Samsung Exynos 4412 1.6 GHz Mali-400MP 2 GB 16 GB HD Super AMOLED 1280 x 720 pixel 5.50 inch 16M

13


กล้อง มัลติมเี ดีย การ์ดหน่วยความจ�ำ การเชือ่ มต่อ แบตเตอรี ่ การออกแบบ อืน่ ๆ

ความละเอียดกล้องหลัง ความละเอียดกล้องหน้า แฟลชในตัว โฟกัสอัตโนมัต ิ ความละเอียดวิดโี อ Video Calling ช่องเสียบชุดหูฟงั วิทยุ FM ประเภทการ์ด ความจุสงู สุดทีร่ องรับ Bluetooth Wi-Fi NFC USB OTG HDMI ระบบน�ำทาง ชนิดแบตเตอรี ่ ความจุแบตเตอรี ่ ขนาด (กว้าง x ยาว) ความหนาตัวเครือ่ ง น�้ำหนัก วัสดุ การควบคุมแบบ ชือ่ อืน่ ๆ เซ็นเซอร์

ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา Android

8 Megapixel 1.90 Megapixel LED Flash Y 1080p Y 3.5 mm N/A microSD 32 GB 4.0 802.11b/g/n Yes micro USB N/A Yes (micro USB to HDMI) GPS, AGPS Li-ion 3100 mAh 151.10 x 80.50 mm. 9.4 mm. 180 g Plastic Touchscreen (Capacitive) N7100 Accelerometer, Ambient light sensor, Gyroscope, Digital compass, Gyro sensor

14


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.