มกร นาค พญาลวง

Page 1

มกร นาค พญาลวง

วชรธร สิมกิ่ง


มกร นาค และพญาลวง

มกร นาคและพญาลวงในงานศิลปกรรมล้านนานั้น ถือว่าเป็นตัวบอก ลักษณะงานสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถบอกช่วงเวลาและอิทธิพลภายนอก ของงานศิลปะเหล่านั้นได้ เช่นเดียวนาค มกร และพญาลวงเองก็อยู่ในสารบบความ เชื่อที่เป็นสากลเช่นเดียวกัน

นาค

นาค(Naga)เป็นสัตว์ปกรณัมในแถบเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะผู้พิทักษ์ ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ� ต่อเมื่อความเชื่อเหล่านั้นผสมผสานกับความเชื่อของพุทธ ศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นาคได้เข้าสัญลักษณ์แห่งน้ำ�หรือแม่น้ำ�และผู้ ศาสนสถานหรือรับใช้เทพเจ้า ทั้งนี้ในระบบคติความเชื่อเกี่ยวกับมังกรในทางสากลได้ ถือว่านาคได้เป็นมังกรจำ�พวกหนึ่ง

ประติมากรรมนาคสลักหิน ศิลปะอินเดียใต้

ประติมากรรมนาคในร่องน้ำ� ประติมากรรมสลักหน้าผาที่มามัลปุรัม ประเทศอินเดีย

2


ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ลัทธิไวษณพ ได้กล่าวถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ซึ่ง บรรทมบนพญานาคนามว่าเศษอนันตนาคราช ในเกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำ�นม จึง ทำ�ให้มีการสร้างประติมากรรมรูปนาคในภาพที่แสดงถึงแม่น้ำ�หรือทะเล รวมทั้ง ประติมากรรมของพระวิษณุ ในลักษณะบรรทมสินธุ์บนขนดของพญาเศษอนันตนาค ราชตามเทวาลัยต่างๆของลัพธิไวษณพ บางสถานที่ก็สร้างประติมากรรมพระวิษณุใน ลักษณะบรรทมบนพญานาคเศษอนันตนาคราช กลางสระน้ำ� เพื่อแทนเกษียรสมุทร อันเป็นที่ประทับของพระวิษณุในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

เทวรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ จากเทวาลัยพูฒานีลกัณฐ (Budhanilkantha) ประเทศเนปาล

ภาพสลักนูนต่ำ�นารายณ์บรรทมสินธุ์ มหาบาลีปุรัม ประเทศอินเดียอินเดีย

3


ส่วนลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรนั้น ได้มีการกล่าวถึงสังวาลย์ของพระ ศิวะที่มีลักษณะเป็นนาค ซึ่งมาจากปุราณะที่เกี่ยวกับนาฏราชของพระศิวะ ที่พระศิวะ ปราบนาคที่เกิดจากมนต์ของบรรดาฤาษีและเอามาเป็นสังวาลย์ ทำ�ให้ในเทวรูปพระ ศิวะนาฏราช ศิลปะอินเดียใต้ มีการสร้างเทวรูปพระศิวะโดยให้มีนาคมาประดับส่วน หนึ่งด้วย นอกจากนี้ในแถบอินเดียใต้ ซึ่งมีการนับถือนาคมาตั้งแต่ดึกดำ�บรรพ์ นั้น ได้มีการสร้างศิวลึงค์ที่มีลักษณะเป็นนาคปรก คือเป็นศิวลึงค์ซึ่งีฐานของศึงลึงค์มีนาค พันและมีเศียรนาคปรกด้านบนศิวลึงค์ด้วย

ศิวลึงค์นาคปรก จากเทวาลัยพฤหทิศวร (ซ้าย) เทวาลัยในเมืองฮัมปี (ขวา)

นาคประดับประติมากรรม เทวรูปศิวะนาฏราชสำ�ริด ศิลปะอินเดียใต้

4


ในความเชื่อพระพุทธศาสนา นาคในพุทธศาสนานั้นอยู่ในฐานะพุทธมา มกะและเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาและศาสนสถานเช่นเดียวกับความเชื่อของศาสนา พราหมณ์ - ฮินดู โดยมีวรรณกรรมที่เกี่ยวกับนาคทั้งในฐานะพุทธมามกะ ผู้ไฝ่รู้ใน ธรรม และผู้พิทักษ์พุทธศาสนสถาน ทำ�ให้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเช่น ศรี ลังกา พม่า ลาว ไทยและกัมพูชานั้นนิยมสร้างประติมากรรมนาคประดับศาสนสถาน ที่โดดเด่นมักได้แก่ ศรีลังกาซึ่งสร้างเป็นนาคสลักติดแผ่นหิน ต่อมาก็สลักเป็มนุษยนาค ทูนหม้อปูรณฆฏะและรวงข้าวสลักติดผนังหิน อยู่หน้าเสนาสนะเช่น วิหาร อุโบสถ พระสถูปเจดีย์ และหอไตร

ภาพสลักนูนต่ำ�รูปสถูปสมัยอมราวดี (ซ้าย) ภาพสลักมนุษย์นาค ศิลปะลังกา (ขวา)

5


ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับถือนาคมาตั้งแต่ดึกดำ�บรรพ์นั้น ได้มีการ ผสมสานกับคติความเชื่อของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ซึ่งมีการสร้าง นาคในลักษณะราวบันได ตรงบริเวณชานชลา ทางเข้าศาสนสถาน ซึ่งเริ่มขึ้นในอาณา จักรเขมร ซึ่งเริ่มมีการสร้างนาคราวบันไดในสมัยเริ่มแรกสร้างเมืองยโศธรปุระ(เมือง พระนคร)จนกระทั่งอาณาจักรเขมรล่มสลาย ซึ่งคติในการการสร้างราวบันไดนาค ของเขมรนั้น ได้ให้อิทธิพลกับพุทธศาสนสถานในประเทศใกล้เคียงเช่นเป็นอย่างมาก เช่นประเทศไทย และลาว ซึ่งลักษณะของราวบันไดนาคนั้นสามารถสร้างได้ทั้งศาสน สถานที่สร้างในบริเวณที่ราบและบริเวณที่สูงเช่นเนินและบนภูเขา โดยเฉพาะภูมิภาค ที่เป็นภูเขานั้นได้มีการสร้างบันไดนาคให้ลดหลั่นกับภูมิประเทศด้วย

บันไดนาค บริเวณทางขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร ประเทศกัมพูชา

6


มกร

มกร(Makara)มาจากคำ�ว่า ‘มะกะระ’ ซึ่งแปลว่าจระเข้ของภาษาสันสกฤต ซึ่งคำ�นี้เองก็เป็นคำ�เรียกจระเข้ในภาษาฮินดีด้วย มกรนั้นเป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งความ อุดมสมบูรณ์และแหล่งน้ำ� รวมทั้งมหาสมุทรเช่นเดียวกับนาคแต่มกรนั้นมักสร้างใน บริเวณบันไดทางขึ้นศาสนสถาน ซึ่งแสดงถึงสะพานเชื่อสู่สวรรค์เช่นเดียวกับนาคแต่ ความเชื่อที่ได้รับความนิยมเกี่ยวกับมกรนั้นคือมกรจะคายสรรพสิ่งต่างๆออกมาซึ่ง หมายถึงความอุดมสมบูรณ์และมหาสมุทรของจักรวาล ทำ�ให้ศาสนสถานมีการสร้าง ปากท่อระบายน้ำ�ออกจากตัวศาสนสถานเป็นรูปมกร โดยน้ำ�จากห้องสรงปฏิมาจะ ออกมาทางปากของมกร ต่อมาได้มีการนำ�ความเชื่อทั้งสองมาผนวกกันเช่น ในศรีลัง กานั้นได้มีการสร้างหัวบันไดด้านบนเป็นรูปมกรและราวเป็นสรรพสิ่งที่มกรคายออก มา ซึ่งลักษณะนี้ปรากฏในทับหลังของศิลปะเขมรด้วย ต่อมาเมื่อเข้าสู่พุทธศาสนา ได้มีการผสมสานกับการสร้างนาค กลายเป็นมกรคายนาค สัญลักษณ์ของวิชชาและ อวิชชาตามคติธรรมของพุทธศาสนา มกรปากท่อระบายน้ำ� ศิลปะชวาภาคกลาง ได้ จากศาสนสถานบุโรพุทโธ(Borobudur) รัฐ บาลดัชท์ถวายรัชกาลที่ ๕ เมื่อเสด็จประพาส เกาะชวา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร

ทับหลังรูปมกรคายท่อนมาลัย ศิลปะสมโบร์ ไพร์กุก พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร

7


พญาลวง

ลวงหรือพญาลวงนั้น คาดว่ามาจากคำ�ว่า “หลง”ในภาษาจีนกลางและ “เล้ง”ใน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นคำ�เรียกมังกรในภาษาจีน โดยมังกรนั้นมีความเชื่อว่าเป็น สัตว์ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์และฟ้าฝน นอกจากนี้มังกรยังถือเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประ จำ�องค์ของจักรพรรดิ์จีนด้วย ซึ่งคติความเชื่อเรื่องมังกรของจีนนั้นได้เผยแพร่ไปยัง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางความเชื่อเรื่องมังกรของจีนด้วยเช่นมองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ธิเบต นอกจากนี้ชนชาติพันธุ์ไทในแถบมณฑลยูนนานและรัฐฉานเอง ก็รับคติความเชื่อเรื่องมังกรมาจากจีนด้วยเช่นกัน โดยงานศิลปกรรมของพญาลวงนั้น ปรากฏในบริเวณดาวเพดานของวัดและส่วนหลังคาของวัด ซึ่งจุดประสงค์เพื่อต้อง การแสดงถึงท้องฟ้าและความอุดมสมบูรณ์สิริมงคล

“ธงมังกรเหลือง”เป็นธงชาติจีน ที่ปรากฏครั้งแรก เป็นธงประจำ� ราชวงศ์ชิง

แจกันลายครามรูปมังกรประดับลายเครือ สมัยราชวงศ์หมิง

8


ศิลปกรรมมกรและนาคในสมัยราชวงศ์มังราย

ศิลปะล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายคือ ลำ�ตัวนาคมีลักษณะเป็นมกรคายนาค เศียร ของนาคมีกระบังหน้าขนาดใหญ่ และสวมกรองศอซึ่งสืบทอดมาจากนาคในศิลปะ เขมร ศิลปะบายน ลักษณะศิลปกรรมของบันไดนาคชนิดนี้พบที่วัดอุโมงค์ วัดสวน ดอก จังหวัดเชียงใหม่ และวัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่

นาคหัวบันไดวัดอุโมงค์ เก่าสมัยราชวงศ์มังราย (ซ้าย) ใหม่ บูรณะโดยกรมศิลปากร(ขวา)

นาคหัวบันไดทางขึ้นลานประทักษิณเจดีย์ประธาน วัดสวนดอก

9


ศิลปกรรมมกร นาค และพญาลวงในสมัยพม่าปกครอง

ในสมัยพม่าปกครอง ได้ลดทอนอิทธิพลงานศิลปะเขมรมาเป็นงานศิลปะพื้นเมืองเช่น ลดขนาดกระบังหน้าของนาคลงและตัดกรองศอของนาคออกไป แต่ยังคงระบบของ มกรคายนาคอยู่ มีหลักฐานจากบันไดนาคทางขึ้นของวัดพระธาตุลำ�ปางหลวง ซึ่งมี ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

บันไดมกรคายนาค วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง จังหวัดลำ�ปาง

นาคประดับประตูโขง วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง จังหวัดลำ�ปาง

10


ในยุคสมัยนี้คติความเชื่อเกี่ยวกับพญาลวงก็ผ่านมาทางไทลื้อ โดยผ่านตัวงาน ซึ่งเป็นงานศิลปะพม่าอีกทีหนึ่ง โดยมีหลักฐานจากกู่พระธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และกู่พระเจ้าล้านทอง รวมทั้งซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง ซึ่งลักษณะของพญาลวงนั้นมีทั้งแบบหงอนเดียวและสามถึงห้าหงอน อัยเป็นอิทธิพล ของศิลปะพม่า ในยุคราชวงศ์นยองยาน

พญาลวงหงอนเดียวสันโขงพระเจ้า วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง (ซ้าย) และ โขงพระธาตุ วัดพระธาตุศรี จอมทอง (ขวา)

พญาลวงสามถึงห้าหงอน ซุ้มจระนำ� (ซ้าย) และ สันประตูโขง วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง(ขวา)

11


ศิลปกรรมมกร นาค และพญาลวงในสมัยพม่าปกครอง

พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ก็ได้มีการฟื้นม่านคือการขับไล่พม่า และยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในยุคสมัยนี้ ได้เกิดคติความเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะของราวบันได นาคในแต่ละที่มีดังนี้

การเกิดคติใหม่และความชื่อพื้นเมือง

จังหวัดน่านได้เปลี่ยนเป็นนาคบริสุทธิ์ โดยนำ�คติความเชื่อเกี่ยวกับนาคเป็น สัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ทาง ธรรมชาติและผู้ปกปักษ์รักษาศาสนสถานของผู้คนในแถบลุ่มน้ำ�โขงเช่น อาณาจักร ล้านช้างซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงเช่นจังหวัดน่าน เป็นเหตุให้นาคในแถบจังหวัดน่านไม่มี มกรคายแต่เป็นนาคแบบบริสุทธิ์ โดยนาคในแถบจังหวัดน่าน จะต่างจากที่อื่นคือ ไม่มีรัดอกแต่มีกรองศอ ซึ่งเป็นการรื้อฟื้นงานศิลปะสมัยราชวงศ์มังรายขึ้นมาใช้แทน

บันไดนาค วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

12


จระนัมและนาคเขาคำ�

ในแถบจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำ�ปาง และจังหวัดแพร่ ยังคงลักษณะมกร คายนาคซึ่งเป็นคติความเชื่อแบบเขมรมาได้ แต่อย่างไรก็มีคติความเชื่อในแต่ละพื้นที่ เช่น ผู้คนในย่านวัดเกตการาม ได้มีการเรียกมกรคายนาคว่าจระนัม(เป็นศัพย์เฉพาะ ที่ผู้คนในย่านวัดเกตุการามเรียกมกรคายนาค) ซึ่งเป็นสัตว์ลูกผสมระหว่างนาคและ จระเข้(มกร) โดยเป็นนาคที่มีเขา คล้ายเขากวาง มีมกรซึ่งเป็นบิดาอมลำ�ตัวไว้เพื่อ ปกป้องจระนัมผู้เป็นบุตร แต่อย่างไรก็ตาม ได้มการผูกการสร้างบันไดนาคเข้ากับคติ ความเชื่อของนาคที่เป็นชาดกนอกนิบาตรเรื่อง นาคเขาคำ� ซึ่งกล่าวถึงพญานาคราช ที่มีเขาคำ�และมีิฤทธิ์เดชมากกว่าหมู่นาคทั้งหลาย จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างบันไดนาค ที่มีลักษณะเป็นนาคที่มีเขาสีทองขึ้น เพื่อแสดงถึงศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการปกป้อง โดยพญานาคราช

จระนัม วิหารหลวง วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่

บันไดนาคเขาคำ� วัดปงสนุกเหนือ จ.ลำ�ปาง

13


ในสมัยนี้รูปแบบศิลปกรรมและคติความเชื่อของทางพม่าได้เข้ามามีอิทธิพลเป็น อย่างมากต่อการสร้างมกร นาค และพญาลวงของทางภาคเหนื่อของประเทศไทยซึ่ง ศิลปกรรมและคติความเชื่อเหล่านี้มีได้เข้าไปผสมผสานกับรูปแบบงานศิลปะพื้นเมื่อง จนเกิดเป็นงานศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งขึ้น

คติความเชื่อเรื่องสิงห์

รูปแบบศิลปกรรมและคติความเชื่อเกี่ยวกับสิงห์ของทางพม่าซึ่งเผยแพร่มา ตั้งแต่ยุคพม่าปกครองก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นจนผสมกับรูปแบบกับศิลปกรรมและคติ ความเชื่อเดิม มกรคายสิงห์ ซึ่งอยู่ที่หอไตร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่

มกรคายสิงฆ์ หอไตร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่

สิงห์ตามมุมพระเจดีย์ วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

14


ตุงกระด้างนาคเกี้ยว

รูปแบบนาคเกี้ยวในตุงกระด้าง มีลักษณะพันกันยั้วเยี้ย สอดเกี้ยวกันไปมาทั้งชนิดพัน กันสลับไปมาจนถึงขั้นพันกันจนเป็นปม เช่นตุงกระด้างนาคเกี้ยวในวิหารหลวงและ วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำ�ปางหลวงนั้นมีลักษณะอิทธิพลทางศิลปกรรมพม่าสมัย ราชวงศ์คองบองตั้งแต่สมัยอังวะ ซึ่งพบหลักฐานที่ภาพจิตรกรรมรูปนาคปรกที่วิหาร สุลามณี พุกาม โดยมีเอกลักษณ์คือเป็นนาคสามถึงห้าหงอน ซึ่งเป็นรูปแบบนาคใน ศิลปะพม่าอย่างชัดเจน เว้นแต่นาคตุงกระด้างที่วิหารพระพุทธซึ่งลีกษณะหน้าตาของ นาคแสดงถึงรูปแบบศิลปกรรมพื้นเมืองอย่างชัดเจน โดยจะยกตัวอย่างมาดังนี้

ตุงกระด้างนาคเกี้ยว จากวิหารหลวงและวิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง จ.ลำ�ปาง

15


ตุงกระด้างหมายเลข 2 วิหารหลวง

อยู่ด้านหลังโขงพระเจ้าล้านทอง เป็นตุงกระด้างที่มีลักษณะเป็นตุงกระด้างแบบพม่า ชัดเจนคือ นาคมีลักษณะมีหงอนห้าหงอนซึ่งปลายหงอนโค้งออกอย่างเห็นได้ชัด ลำ� ตัวของนาคนั้นสอดเกี้ยวสลับกันไปมา จนถึงช่วงหางที่แยกห่างออกมาอย่างชัดเจน โดยสันนิษฐานว่าตุงกระด้างชิ้นนี้ถูกสร้างในช่วงต้นราชวงศ์ทิพย์จักราวงศ์โดยเปรียบ เทียบลายกับตุงกระด้างใกล้เคียงที่ถวายโดยพระยากาวิละ

ภาพและลายตุงกระด้​้างหมายเลข 2 วิหารหลวง

16


ตุงกระด้างหมายเลข 2 วิหารพระพุทธ

อยู่ด้านขวาของพระประธานวิหารพระพุทธ ซึ่งลักษณะเป็นตุงกระด้างที่สลักจากไม้ และปิดทองที่มีลักษณะที่สอดเกี้ยวกัน แต่ปลายหงอนไม่ได้ขด และมีลักษณะใบหน้า ที่ไม่เหมือนนาคพม่า คือมีลักษณะหน้าที่มีความเป็นศิลปะพื้นบ้านสูง

ภาพและลายตุงกระด้​้างหมายเลข 2 วิหารพระพุทธ

17


นาคทัณฑ์รูปพญาลวง

นาคทัณฑ์ที่เป็นรูปพญาลวง ซึ่งเป็นคติความเชื่อผ่านมาทางไทลื้อ โดยผ่านตัวงานซึ่ง เป็นงานศิลปะพม่าอีกทีหนึ่ง นั้นเป็นอิทธิพลจากการสร้างพญาลวงบริเวณเสาเรือน ของศาสนสถานของพม่าที่เรียกว่า “จอง” หรือ “กวง” สมัยอมรปุระและมัณฑะเลย์

พญาลวงประดับเสา วัดชเวนันดอว์ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์

นาคทัณฑ์รูปพญาลวง วิหารหลวง วัดพระธาตุลำ�ปาง จ.ลำ�ปาง

18


มกรคายนาคปูนปั้นแบบศิลปะพม่า

มกรคายนาคซึ่งถูกสร้างขึ้นในรูปแบบงานศิลปกรรมพม่า คือปูนปั้นและทาสีขาว เช่น บันไดนาค วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำ�ปาง ซึ่งลักษณะของนาคนั้นเป็น นาคที่ทรงเครื่องแบบพม่า คือมีสุวรรณกระถอบ อีกจำ�พวกเป็นนาคศิลปะพื้นเมืองคือ บันไดนาคทางขึ้นเขตรพุทธาวาส วัดปงสนุกเหนือ ซึ่งมกรนาคทางทิศใต้มีลักษณะที่มี ความเป็นศิลปะพื้นถิ่น เจือด้วยศิลปะพม่าสูงมาก

บันไดนาค วิหารหลวง วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จ.ลำ�ปาง

บันไดนาค วัดปงสนุกเหนือ จ.ลำ�ปาง

19


มกรคายนาคแก้วจืน เป็นลักษณะของมกรคายถูกสร้างด้วยงานศิลปกรรมที่ได้รับจากพม่า คือการประดับ แก้วจืนหรือกระจกแบบศิลปะพม่า โดยแก้วจืนเป็นเทคนิคประดับกระจกตามเสาและ ผนังของวัดวาอารามต่างๆ ในศิลปะพม่า และได้นำ�มาประยุกต์กับงานศิลปะล้านนา เช่นบันไดนาค วิหารหลวง วัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่

“จระนัม” หรือบันไดมกร คายนาค วิหารหลวง วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ ลำ�ตัวประดับด้วยแก้วจืน เป็นลายเกล็ดนาค

20


มกรและนาคศิลปะไทยและศิลปะล้านนายุคใหม่ จนกระทั่งปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ล้านนาได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร สยาม โดยช่วงนั้น งานศิลปะไทยประเพณีจากกรุงเทพได้เข้าสู่ล้านนาเป็นอย่างมาก โดยบรรดาชนชั้นสูงและพระสงฆ์ที่เคยไปอาศัยหรือจำ�พรรษาที่กรุงเทพ ทำ�ให้บรรดา วัดสำ�คัญได้รับอิทธิพลทางรูปแบบศิลปกรรมเหล่านี้กันถ้วนหน้า จนกระทั่งปัจจุบัน มี การรื้อฟื้นงานศิลปะล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ มาใช้อีกครั้งจนถึงปัจจุบัน เช่นในวัดเจดีย์หลวง บริเวณวิหารหลวง ได้นำ�เอานาคทัณฑ์แบบพญาลวงมาผสม ผสานเป็นมกรคายลวง ซึ่งได้กลายเป็นงานศิลปะแบบใหม่

บันไดนาค ศิลปะไทยประเพณี วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

นาคทัณฑ์ มกรคายลวง ศิลปะล้านนายุคใหม่ วิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง

21


มกร นาค พญาลวง วชรธร สิมกิ่ง ภาพและเนื้อเรื่อง © 2017 (พ.ศ. 2560) โดย วชรธร สิมกิ่ง สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ. 2560 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย วชรธร สิมกิ่ง ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 pt หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานทางวิชาการ จัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.