กาหนดการ งานครบรอบ 10 ปี กองทุนหมอธารา เสวนาเปิดจดหมายถึงอนาคต วันที่ 4-6 เมษายน 2553 ณ สวนมะลิวัลย์ บ้านหนองแว่น ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย วันอาทิตย์ ที่ 4 เมษายน 2553 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน 09.30-10.30 น. ปาฐกถาพิเศษ “การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน” โดย รศ.พญ. ลดาวัลย์ สุวรรณกิติ 10.30-12.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย ชมนิทรรศการมีชีวิต และการแสดง ของผู้ร่วมจัดงาน 12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.30-14.30 น. เสวนาสบายสบาย กับกลุ่มเพื่อนหมอธารา ผู้มีหัวใจเป็นศิลปิน 14.30-16.00 น. ดูแลสุขภาพแบบสบายสบาย กับเครือข่ายสุขภาพวิถีไท และ ดูแลสุขภาพพื้นบ้าน จากเครือข่ายสภาหมอเมืองล้านนาเจียงฮาย 16.00-17.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย 17.30 น. ร่วมรับประทานอาหารเย็น (ขันโตก) วันจันทร์ ที่ 5 เมษายน 2553 08.00-09.30 น. รับประทานอาหารเช้า 09.30- 10.30 น. ปาฐกถาพิเศษ “การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อสุขภาวะ” โดย คุณเตือนใจ ดีเทศน์ 10.30-12.00 น. เสวนากลุ่ม “ผู้เกิดก่อนกาล” รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์การทางานของหมอธารา 12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.30-14.30 น. เสวนา “มรดกของหมอธารา” กับกลุ่มผู้สืบทอดสืบสานปณิธานของหมอธารา 14.30-15.00 น. รับประทานอาหารว่าง 15.00-16.00 น. เสวนากลุ่ม “มรดกของหมอธารา” (ต่อ) 17.30 น. ร่วมรับประทานอาหารเย็น วันอังคาร ที่ 6 เมษายน 2553 09.00-12.00 น. ร่วมทาบุญเพื่อราลึกถึง นพ. ธารา อ่อนชมจันทร์ 12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.30 น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
สิบปีกองทุนหมอธารา เสวนาเปิดจดหมายถึงอนาคต 4 – 6 เมษายน 2553 ณ สวนมะลิวัลย์ บ้านหนองแว่น ตาบลแม่จัน จังหวัดเชียงราย
จดหมายป้าแป้น A
จดหมายป้าแป้น B
ไดอารี่วันเกิดตั้งชื่อวารี
คานา “การเปลี่ยนแปลง และคนแปลงร่าง!”
: เปิดผนึกจดหมายถึง way
มีคนๆหนึ่งที่ข้า'เจ้ารู้จัก ได้กล่าวเอาไว้ว่า "ถ้าเชื่อก็มี ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ม"ี แต่ way จะเชื่อไหม ถ้าข้า'เจ้าจะบอกว่า คนๆนั้น "แปลงร่างได้" ถึงแม้ว่าแปลงร่างได้ครั้งเดียวแล้วจะกลับร่างเดิมไม่ได้ก็ตาม เป็นเวลาเกือบครบ1ปี ที่ข้า'เจ้าได้รู้จักและสมัครสมาชิกติดตามอ่านนิตยสาร way จากเดือนมีนาคมแห่งการปิดเทอมเช่นนี้ ช่วงที่ผ่านมานี้ข้า'เจ้ากาลังจดจ่อกับรายงานวิชาชีพโฆษณา อันเป็นทีสิสน้อยๆ ที่จะทาให้ข้า'เจ้าจบปริญญาและหวังให้เกิดประโยชน์มากกว่าทฤษฎีโฆษณาในหนังสือบ้าง เมื่อ way ได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ในฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 31 ที่วางแผงในเดือนกุมภาพันธ์) ข้า'เจ้าจึงได้เห็นปกนิตยสาร WAY ที่ดูเครียดกว่านิตยสาร way ในแบบเดิม สารภาพว่า ข้า'เจ้าไม่สนใจปกนั้น ทาให้ข้า'เจ้าผลัดเวลาเปิดอ่านออกไป จนวันแรกของเดือนมีนา ข้า'เจ้าปรับรายงานเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อนาไปส่งที่คณะก็จะถือว่าหน้าที่ในการเรียนปริญญาตรีของข้า'เจ้าสิ้นสุดได้ แล้วข้า'เจ้าจึงเดินทางจากมหาวิทยาลัยไปซื้อ WAY ที่ร้านขายหนังสือ แม้จะเป็นสมาชิก way อยู่แล้ว แต่ข้า'เจ้าก็ยังคงทาตัวเป็นเด็กที่ไม่ยอมกลับบ้าน จริงอยู่ที่ way นั้นช่วยให้ข้า'เจ้าโทรศัพท์กลับบ้าน เพียงเพื่อจะถามที่บ้านว่า "way มารึยัง" แต่ตลอด1ปีที่ผ่านมา ข้า'เจ้าก็ยังคงออกไปซื้อ way ด้วยตัวเองที่ร้าน และกลับบ้านแค่นานๆ ครั้ง เพราะข้า'เจ้ายังคงชอบเวลาที่ได้เห็น way เล่มเล็กๆ วางซ่อนอยู่ท่ามกลางแผงนิตยสาร และปกของมันก็คอยทักทายคนที่ได้สังเกต เมื่อได้นิตยสาร way ฉบับใหม่มาไว้ในมือแล้ว ข้า'เจ้าก็เปิดอ่านคอลัมน์ที่แนะนาอยู่ในหน้าสารบัญโดยด่วน เพราะชื่อบทความนั้นคล้ายกับงานเขียนที่ข้า'เจ้าส่งไป แต่เนื้อหาในนั้นเล่าวิธีส่งเสริมการขายของบริษัท "ยา" เมื่อข้า'เจ้าป้ายไฮไลท์ได้จบหน้าแล้วก็ต้องรีบโทรศัพท์กลับบ้าน ให้แม่อ่าน way ที่ถูกส่งไปที่บ้านแล้วตอบคาถาม ท่านแม่ตอบว่า เราพยายามแก้ปัญหานี้กันมายาวนาน อย่างที่คุณหมอโรงพยาบาลเชียงรายบอกไว้ในบทความ ข้า'เจ้าตกใจที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้ เพราะข้า'เจ้าเติบโตมากับหมอและโรงพยาบาลในเชียงราย ข้า'เจ้ากาลังอยู่ในสงคราม และแม่ของข้า'เจ้าก็ต้องใจดีมาก ที่สามารถปล่อยให้ข้า'เจ้าเดินตามเส้นทางของตัวเองได้ เพื่อนเก่าที่ชื่อน้าตากลับมาเยี่ยมข้า'เจ้าอีกครั้ง เพราะข้า'เจ้าไม่เคยรู้อะไรเลย และข้า'เจ้าในตอนนี้ก็ยังทาอะไรไม่ได้เลย (แม้คนรุ่นเดียวกับข้า'เจ้าจะไม่คิดแบบนั้นก็ตาม) เพื่อนที่ข้า'เจ้ารู้จักและพอจะรับฟังเรื่องของข้า'เจ้าในตอนนี้ได้ ก็คงมีแต่ way เท่านั้นละค่ะ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เมื่อไรหนอ...คนไทยจึงจะเป็นไท ไม่ต้องไปพึ่งยาต่างชาติ ? คนไทยเท่านั้นที่จะให้คาตอบได้ คนไทยเท่านั้นที่จะช่วยให้ความฝันเป็นความจริง เมื่อไรหนอ...เมื่อไรหนอ... เมื่อไรหนอ... เพราะมี "ภูมิปัญญา" ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม การดูแลสุขภาพนับเป็นสิ่งหนึ่งที่ได้จากการสังเกต ค้นคิด ลองผิดลองถูก สั่งสมกันมาหลายชั่วอายุคน จนได้ข้อสรุปเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละถิ่นฐาน ดังนั้นการกลับไปหาภูมิปัญญาในท้องถิ่น ซึ่งยังคงมีคุณค่าในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยในบางแง่มุม ด้วยอันตรายที่น้อยกว่า ประหยัดกว่า และที่สาคัญ "พึ่งตนเองได้" จึงเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งสามารถนามาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ข้อความข้างต้นนี้ ปรากฎขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ จากการตัดปะไฟล์เอกสารเข้าด้วยกัน หลังคนๆนั้นเสียชีวิตไม่นาน และถูกใช้ในเอกสารต่างๆ โดยปรากฎชื่อผู้เขียนว่า "นายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ "
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รอบตัวข้า'เจ้ามีแต่ผู้ใหญ่ โรงพยาบาล และงานศพ และแม้ความทรงจาข้า'เจ้าจะผ่านพ้นไปจากงานศพ ก็จะมีผู้ใหญ่กลับมาถามว่า "พ่อ" ของข้า'เจ้าเป็นอย่างไร ผู้ใหญ่มากมายทักทายข้า'เจ้าด้วยการปลอบใจ แต่ข้า'เจ้าชาชินกับโรคภัยเกินกว่าที่จะเสียใจในการจากไปของ "มนุษย์" คนหนึ่ง สิ่งที่ข้า'เจ้ากาลังเสียใจยิ่งกว่า คือผู้ใหญ่หลายคนเอาแต่ยกย่องเขาในฐานะของ "บุคคล" เศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของ "ความรับผิดชอบ" ที่เคยเกิดขึ้นโดยมนุษย์หนึ่งคน จนมองข้ามไปว่าในโลกนี้ยังมีมนุษย์อยู่อีกหลายๆ คน กาลังร่วมกันมองดูและละเลยที่จะสานต่อ "ปณิธาน" ของมนุษย์คนนั้น แล้วก็ลืมมันไป ทอดทิ้งกองทุนที่มีอายุย่างเข้า 10 ปี ไว้กับกาลังหลักของคน 3 คน หลังจากที่ได้รู้จักกับ way ในปีที่แล้ว ข้า'เจ้าก็เริ่มหาคาตอบให้กับคาทักทายเหล่านั้นด้วยตัวเอง ว่าในตอนนี้ ข้า'เจ้ามีพ่อเป็น "กองทุน"
หมอธาราไม่ได้จากไปไหน เขาเพียงแค่ "แปลงร่าง" ไปเป็นกองทุน เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะคงอยูแ่ ละเติบโตได้ด้วยการทางานของคณะกรรมการและทรัพยากรที่เข้ามาเป็นทุน หากผู้ใหญ่ทั้งหลายจะเศร้าโศกเสียใจเพราะไม่ต้องการให้หมอธาราที่เคยเป็นมนุษย์ผู้แสนดีนั้นจากไป ก็ควรจะมาร่วมกันดูแลสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ากองทุนนี้ ให้กลับมารับผิดชอบในการสานต่อปณิธานที่ได้เกิดขึ้น หรืออย่างที่ข้อความประชาสัมพันธ์ปกติเขาบอกกันว่า "มาร่วมกันต่อชีวิตให้กับกองทุนหมอธารา เพื่อสานต่อปณิธานของหมอธาราให้เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยเถอะค่ะ" วันเกิดของกองทุน ก็คือวันเสียชีวิตของพ่อ ตรงกับวันที่ 6 เมษายน และพวกเราก็ตั้งชื่อว่า "วันหมอธารา" ข้า'เจ้าได้ให้ความเห็นในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งแรกว่า ชื่อ "กองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์" มีจุดอ่อนตรงที่เป็นชื่อคน ถ้าไม่รู้จักคนชื่อนี้ก็จะไม่รู้ว่ากองทุนทางานเกี่ยวกับอะไร และสุดท้ายแล้ว ลูกสาวคนเดียวของหมอธาราอย่างข้า'เจ้า ก็ยังไม่รู้รายละเอียดเลยว่า ที่ผ่านมาหมอธาราได้ทาอะไร หลังจากได้อ่าน way วันนี้ ท่านแม่บอกข้า'เจ้าว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี แม่จะรวบรวมคนที่รู้จักหมอธารา มาทา witness seminar เพื่อทาเป็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับหมอธารากัน ข้า'เจ้าเองก็ไม่แน่ใจนัก ว่าถ้าถึงวันนั้น ข้า'เจ้าจะได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้อีกมากมายแค่ไหน ... ข้า'เจ้าเข้าใจแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงของ way ก็เป็นแค่การเติบโตขึ้น และข้า'เจ้าเองก็จะต้องเติบโตขึ้นเหมือนกัน เนื้อหาทุกหน้าใน way กาลังสื่อสารกับข้า'เจ้าเป็นอย่างดี และข้า'เจ้าจะพยายามอ่านให้ดีกว่านี้ ถ้าหาก way จะเป็นรอยยิ้ม ในสนามรบ ข้า'เจ้าก็ขอให้ way ยังคงยิ้มได้ตลอดไป ไม่ว่าจะอยู่ในสนามรบใดก็ตาม ข้า'เจ้าขอขอบคุณพี่ๆ ทีมงานนิตยสาร way .. อ๊ะ! WAY ทุกคนมากค่ะ ^_^ // น้าฝน (วารี อ่อนชมจันทร์) 1 มีนาคม 2553 ปล. ติดตามการสานต่อปณิธานหมอธาราได้ที่ "บันทึกของน้าฝน" http://tharavaree.wordpress.com
ข้า’เจ้า คาสรรพนามแทนตัวเองว่า “ข้า’เจ้า” ย่อมาจาก “ข้าพเจ้า” ซึ่งก็ย่อมาจาก “ข้าพระพุทธเจ้า” อีกทีหนึ่ง ที่เลือกใช้คาว่า “ข้า’เจ้า” เพราะอยากใช้คาว่า “ข้าพเจ้า” แทน “ฉัน” หรือ “เรา” แต่คาว่า “ข้าพเจ้า” ออกจะยาวและเป็นผู้ชายไปนิดนึง ก็เลยหาทางย่อมันเข้ามา ก็เลยกลายเป็น “ข้า’เจ้า” ที่ดูคล้ายกับสรรพนามแทนตัวของผู้หญิงในภาษาทางเหนือของประเทศไทยพอดี ครั้งแรกที่เริ่มใช้คานี้ ข้า’เจ้านึกถึงสานวนโทรเลขภาษาไทยปนเหนือของเจ้าดารารัศมี ในตอนที่ส่งโทรเลขถึงรัชกาลที่๕ ระหว่างการเดินทางกลับเชียงใหม่ เจ้าหญิงผู้ไม่ละทิ้งการเมืองในแฟชั่น ทนไม่ไหวกับความยุ่งยากของขบวนเสด็จมากพิธี ที่ความจริงแล้ว เป็นแผนป้องกันไม่ให้เธอหนี และไม่ให้ใครติดต่อกับเธอได้นั่นเอง อนึ่ง การที่ผู้หญิงชาวล้านนาใช้สรรพนานแทนตัวว่า “ข้าเจ้า” มานานแล้วนั้น แสดงว่า พวกเธอเหล่านั้นก็คงต้องการแสดงออกถึงความเคารพในพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องหมายลดรูปใน “ข้า’เจ้า” ทาให้สามารถอ่านออกเสียงคานี้ได้ทั้ง 2 แบบ อย่างที่คาว่า “ข้าฯ” สามารถอ่านออกเสียงว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” ดังนั้นจะอ่าน “ข้า’เจ้า” ว่า “ข้า-เจ้า” หรือ “ข้า-พะ-เจ้า” ก็ได้ตามใจค่ะ —————— คานามที่ใช้เรียกแม่ ในบางครั้งใช้คาว่า “ท่านแม่” เพื่อเป็นการยกย่องในความรู้สามารถ ความอดทนยืนหยัดและตั้งใจ ในการทางานและการดาเนินชีวิต ที่ข้า’เจ้าได้สัมผัสจากแม่มาโดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นการยกย่องเพื่อชดเชย ในความไม่เคารพต่อแม่ ที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบันของข้า’เจ้าค่ะ >_<
วารี
คานิยม
: เปิดซองจดหมายตอบกลับ
Subject: Re: งาน10ปีหมอธาราและFW: การเปลี่ยนแปลง และคนแปลงร่าง! To: daraneeo@hotmail.com Date: Thu, 18 Mar 2010 20:25:06 +0700 แมวครับ พี่เขียนมาให้สั้นๆข้างล่างนี้ เอาไปใช้ประโยชน์ตามที่เห็นสมควร "เมื่อนึกถึงคุณหมอธารา ผมจะนึกถึงคุณหมอชาตรี (เจริญศิริ) เมื่อนึกถึงคุณหมอชาตรี ผมจะนึกถึงคุณ หมอธาราเสมอ ผมรู้สึกผูกพันคุณหมอทั้งสองคนมานานมาก เวลาคิดถึงทั้งสองคน ผมจะคิดถึงหมอชนบทตัวเล็ก นอบน้อมถ่อมตนและจิตใจอันดีงาม และจะคิดถึงความเสียสละของน้องทั้งสองที่มีสูงยิ่ง เวลาคิดถึงคุณหมอธารา ผมจะคิดถึงการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านที่คุณหมอธาราศรัทธา และมุ่งมั่น ต้องการส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันอย่างสุดกาลังเสมอ จนถึงวาระสุดท้ายที่คุณหมอจากไป ทุกวันนี้ ผมรู้สึกคล้ายๆ กับว่าคุณหมอธารายังคงมีชีวิตอยู่เสมอ การสืบทอดความคิดของคุณหมอธาราด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนเพราะเป็นการ สืบทอดอุดมการณ์ที่ดีงามของคุณหมอธาราให้สืบสานต่อไปไม่รู้จบครับ พี่อาพล" (นายแพทย์อาพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)
Date: Thu, 18 Mar 2010 21:17:04 -0700 Dear Khun Daranee and All, It is a great thing for the world when we try to remember and recognize the good things some persons had exemplified for us because the younger generation will have some model to follow and lessons learned. Khun Mho Thara was a very modest and modern medical doctor who was insightful to incorporate both traditional and conventional medicine for the benefit of the patients.His work is not fruiteless ,it inspires us that the work though small and local but done with wisdom and kindheartedness can change the thinking system of one who is seeking for the sustainable way of health. May he lay in peace and reborn as our doctor again,good bye Mho Thara my nice and generous young friend of Thai traditional medicine circle. Chainat Jitwatna (อาจารย์ชัยนาท จิตตวัฒนะ) BSc.(Pharm) MPHM,CTCM&H(Liverpool) Former Chief of Planning Section,Burirum Provincial Health Office
คานิยม
เปิดซองจดหมายตอบกลับ :
Subject: Re: งาน10ปีหมอธาราและFW: การเปลี่ยนแปลง และคนแปลงร่าง! To: daraneeo@hotmail.com Date: Thu, 18 Mar 2010 22:26:07 -0700 แมว และเพื่อนๆ พี่ๆ หมอธาราเป็นแพทย์คนสาคัญที่บุกเบิกการแพทย์พื้นบ้านในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ขบวนการหมอเมืองที่ยังคงเคลื่อนไหวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นคุณูปการของคุณหมอธารา งานของหมอธารา แม้จะเป็นงานของคนตัวเล็กๆ ในสังคมไทย แต่สาหรับผม เห็นว่า ผลงานและจริยวัตรของหมอธาราหยั่งรากลึกลงไปในจิตใจของคนทางานด้านนี้ เวลาที่เราระลึกถึงหมอธารา เรารู้สึกถึงความอุ่นใจที่มีกัลยาณมิตรคนหนึ่งทางานร่วมไปกับเราอย่างแข็งขัน แม้หมอธาราจะจากเราไปจวนจะครบ 10 ปีแล้ว แต่หมอธารายังอยู่ในใจของผมเสมอ ยงศักดิ์ Yongsak Tantipidoke PhD Candidate Amsterdam Institute for Social Science Research University of Amsterdam (คุณยงศักดิ์ ตันติปิฎก สถาบันวิจัยสังคมและสุขภาพ)
Date: Fri, 19 Mar 2010 15:49:14 -0700 Dear Yongsak and All, Yongsak's short note is excellent and moving in spirit ,hoping there are more expression from all friends to say some memorable remarks about our late doctor Thara who had 'Ava-thara' to live and perform his duty very well in this beautiful world ,though too short a time. chainat (อาจารย์ชัยนาท จิตตวัฒนะ)
คานิยม
: เปิดซองจดหมายตอบกลับ
Subject: Re: งาน10ปีหมอธาราและFW: การเปลี่ยนแปลง และคนแปลงร่าง! To: daraneeo@hotmail.com Date: Mon, 22 Mar 2010 13:14:56 +0700 แมวจ๊ะ พี่และพี่สันติสุข ไดรับข่าวสารเกี่ยวกับการจัดงานครบรอบ 10 ปี กองทุนหมอธาราแล้ว ขอบใจมากที่แจ้งข่าวมา พี่เสียดายที่ไปร่วมงานราลึกวันหมอธารา ที่เชียงรายไม่ได้ในช่วง 4-6 เม.ย. เพราะพี่และครอบครัวต้องเดินทางไป อังกฤษในวันที่ 6 เม.ย. พอดี แต่จะร่วมราลึกถึงจากทางไกลด้วยจิตใจที่รู้สึกใกล้ชิดกับหมอธาราและครอบครัว เสมอมา พี่ยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมช่วยเหลือระดมทุนจัดตั้งมูลนิธิหมอธารา เพื่อให้สังคมไทยยังจดจาคนดีมีค่าคนนี้ ตลอดไป และที่สาคัญปณิธานและแรงบันดาลใจของหมอธาราจะได้สืบสานไปสู่คนรุ่นต่อไปอย่างมีพลังไม่สูญสิ้น ได้อ่านบทความของน้องน้าฝนแล้ว จับใจมาก พี่ว่าหมอธาราไม่ได้จากเราไปไหนหรอก แต่แปลงร่างอยู่ในตัวของ น้องน้าฝนนี่เอง พี่เองก็จบมาทางด้านวารสารศาสตร์ (มธ.) จึงรู้สึกภูมิใจที่มีหลานสาวร่วมสายวิชาชีพ ที่จะใช้ ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทางานเพื่อสาธาีรณะในแนวทางที่เราถนัด บอกน้าฝนด้วยว่ามีเสื้อ หนังสือ และ CD ของ คุณพ่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์ด่วน พี่จะร่วมรณรงค์หาทุนครั้งนี้ด้วย ด้วยไมตรีจิต พี่รสนา พี่สันติสุข (คุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร)
สามสิ่ง เมื่อนึกถึงคุณหมอธารา รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ เลขานุการมูลนิธิดุลยภาพบาบัดเพื่ออายุและสุขภาพ คุณหมอธาราเป็นคุณหมอที่เสียสละและอุทิศตนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง โดยถ้ากล่าวถึงคุณหมอธารา ก็ จะทาให้ตัวหมอลดาวัลย์นึกถึงสามสิ่งดังนี้ เรื่องที่หนี่งคือเรื่อง "เห็นตัวคุณหมอบิด มือคุณหมอมีการคล้าทั้งคล้ายๆ มีเลือดคั่งเมื่อให้กาและแบ " เป็น ภาพที่ตัวหมอลดาวัลย์มีโอกาสได้ตรวจร่างกายคุณหมอธาราเมื่อครั้งที่มีประชุมแพทย์ทั่วประเทศไทย ณ กระทรวงสาธารณสุข คุณหมอธารามีความเป็นนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง มีความอยากรู้ สงสัย และสนใจที่จะ หาคาตอบ จึงมิได้รอรีที่จะอาสาเป็นคนไข้ตัวอย่างให้แพทย์คนอื่นๆ ได้ดู หลังการตรวจร่างกายพบว่าคุณหมอ ธารามีโครงสร้างที่เสียสมดุล และเมื่อให้กาและแบมือ พบว่าการไหลเวียนกลับของเลือดนั้นไม่ดีมีอาการคั่ง หมอ ลดาวัลย์ได้อธิบายหลักการ และ เนื่องจากคุณหมอธาราอยากทดลองและอยากพิสูจน์องค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง จึงให้หมอลดาวัลย์รักษาด้วยหลักดุลยภาพศาสตร์ คุณหมอธาราซักถามคาถามมากมายและทาให้เข้าใจว่าสิ่งที่ เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุเคยเกิดขึ้นมากมาย หลังจากนั้นคุณหมอธาราเห็นว่าดุลยภาพศาสตร์จะเป็น ประโยชน์กับประชาชนในชุมชน (ได้เริ่มนาดุลยภาพศาสตร์ไปเผยแผ่คุณหมอธาราทางานอยู่) จึงได้นามาสู่เรื่อง ต่อไป เรื่องที่สองคือเรื่อง "คิดทีละบาท" โดยคานี้นั้นจริงๆแล้วเกี่ยวข้องกับเรื่องระบาดวิทยา แต่พูดให้คล้อง เสียงดูน่าฟัง คุณหมอได้เล่าเรื่องการทางาน ซึ่งเป็นการพูดออกมาจากใจ กล่าวอย่างน้อยใจว่าขอทุนวิจัยไปแต่ ไม่ได้เพราะกรรมการที่เป็นนักระบาดวิทยาพิจารณาบอกว่าไม่ถูกต้อง ความจริงนั้นการแพทย์ทางเลือก การแพทย์ไทยหรือการแพทย์พื้นบ้านเรานั้น เป็นการรักษาที่ชาวบ้านได้มีการนามาใช้ซึ่งคุณหมอเห็นว่าประชาชน เหล่านั้นมีความสุขกับวิถีชีวิตของเค้าเหล่านั้นดีแล้ว ก่อนที่การแพทย์แบบแผนตะวันตกได้เข้ามาเป็นกระแสหลัก ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงเพื่อทาการรักษา แถมผลออกมาบางครั้งก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรตามประสบการณ์ที่ได้จากชีวิต จริงในต่างจังหวัด คุณหมอจึงอยากให้มีการวิจัยออกมาเพื่อเป็นวิชาการ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้มีอานาจ พิจารณาอนุมัติงบประมาณวิจัยไม่ได้เล็งเห็นความสาคัญตรงนั้น ซึ่งเรียกว่าเป็นที่น่าเสียดายกับชุมชนไทยอย่างยิ่ง เรื่องที่สามเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการได้พบคุณหมอธารา นามาสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ คือภาพที่หมอ ลดาวัลย์เห็นกองเฝือกกองอยู่มากมาย ซึ่งคุณหมอธาราเป็นผู้ริ่เริ่ม โครงการศึกษาการใช้เฝือกไม้ไผ่ของหมอ กระดูกพื้นบ้านแทนเฝือกทั่วไป เนื่องจากเห็นว่าคนไข้ที่กระดูกหักนั้น หลังจากการได้รับการใส่เฝือก หลังถอด เฝือกกระดูกไม่ติดบ้าง ข้อต่างๆ ติดขัด คุณหมอธาราจึงร่วมมือกับคุณหมอกระดูกและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ท่านหนี่ง เพื่อทดลอง โครงการรักษากระดูกหักธรรมดาโดยให้หมอกระดูกใส่เฝือกไม้ไผ่แทน ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นถูก มากเทียบกับวัสดุเฝือกที่หมอกระดูกใช้กันอยู่ ตัวหมอลดาวัลย์มีความเข้าใจดีเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องนี้ เนื่องจากตัวหมอลดาวัลย์เคยเกิดอุบัติเหตุขา หัก ขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ที่สหพันธรัฐเยอรมัน ได้รับการใส่เฝือกเป็นเวลาช่วงหนึ่งแต่อาการปวดมีมาอย่าง ต่อเนื่อง จึงขอให้แพทย์ตัดเฝือกให้และเดินทางกลับมาประเทศไทย เมื่อกลับมาพบแพทย์ที่ประเทศไทย แพทย์ทุก คนแนะนาให้หมอลดาวัลย์ใส่เฝือกต่อ หมอลดาวัลย์ได้เล่าเรื่องนี้ให้คุณหมอธาราฟัง คุณหมอธาราเห็นด้วยกับการ
ตัดสินใจกับการที่ให้แพทย์ตัดเฝือกออก นับได้ว่าคุณหมอเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้า และสร้างสรรค์อย่างมาก พยายามหาทางเลือกใหม่ให้กับประชาชน เพราะว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อกระดูกหักอาจไม่ไปพบแพทย์ แต่ไปพบ พระให้เป่าใส่สมุนไพรรักษา ซึ่งชาวบ้านเหล่านั้นก็มีอาการดีขั้นเช่นเดียวกัน นับว่าเป็นการบุกเบิกการแพทย์ที่ สาคัญกับชุมชนแต่ว่าน่าเสียดายที่คุณหมอธาราได้จากไปก่อน โดยหวังว่าจะมีแพทย์ผู้ที่เข้าใจชุมชนสามารถมา สานต่องานเหล่านี้ได้ การเสียสละอันยิ่งใหญ่ของหมอธาราผู้ที่นับว่าอายุอานามน้อยกว่าหมอลดาวัลย์ เป็นหลายทศวรรษ หากแต่มีแนวคิดที่จะทาประโยชน์นี้ จึงเป็นหนี่งในกาลังใจให้หมอลดาวัลย์อยากพัฒนางานทางการแพทย์ที่ เกี่ยวข้องกับชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นการแพทย์ทางเลือกควรเริ่มมีการทาวิจัยอย่างจริงจังให้เป็นวิชาการ เพื่อให้ทุกคน เห็นผลการรักษา และเป็นทางออกให้แพทย์ และประชาชนที่อยากได้รับการฟื้นฟูรักษา ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ อีกแนวทาง นอกจากแบบแผนตะวันตกที่เป็นกระแสหลักในปัจจุบัน ยิ่งหมอลดาวัลย์ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสการ ทางานของคุณหมอธารายิ่งมีความชื่นชมความเป็นแพทย์ชนบทที่เข้าใจชุมชนของตนอย่างแท้จริง ทาให้หมอ ลดาวัลย์ได้เข้าใจการทางานของแพทย์ชนบทที่เสียสละเพื่อประชาชน อาสาสมัคร แพทย์ ผู้สนใจการแพทย์ ทางเลือก ที่นอกเหนือจากการแพทย์แบบแผน ซึงความเสียสละของคุณหมอธารานี้น่าจะเป็นการจุดประกายให้ แพทย์หลายๆ คนได้เริ่มสังเกตการณ์ผลการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก หมอลดาวัลย์เชื่อว่า แม้คุณหมอธาราได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่เชื่อว่าความคิดดีๆ และการเพียรปฏิบัติ ตาม หลักคิดนั้นๆ ของคุณหมอเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจให้แพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางสาธารณสุขสามารถนามา เป็นต้นแบบหนึ่งในความคิดดีๆ ที่จะเกิดในภายภาคหน้าเพื่อความมีสุขภาวะที่ดีของมวลมนุษย์
fax เก่า ป้าแดง A
fax เก่า ป้าแดง B
fax เก่า ป้าแดง C
โน้ตเก่า หมออาพล
จดหมายเถียง A
จดหมายเถียง B
แนะนาตัว 1A
แนะนาตัว 1B
แนะนาตัว 2A
แนะนาตัว 2B
แนะนาตัว 3
ย้อนชีวิตแพทย์ชนบท 18 ปี : การเติบโตของแนวคิดหมอธารา 3 ปีที่โรงพยาบาลเทิง (พ.ศ.2525-2528) ชีวิตการเป็นแพทย์ชนบทของหมอธารา เริ่มต้นที่โรงพยาบาลเทิง อาเภอเทิง จังหวัดเชียงรายในปี 2525 นอกจากมีหน้าที่เป็นแพทย์รักษาผู้ป่วย ที่หมอธาราบอกว่า เป็นตาแหน่ง "เจ้าพนักงานตรวจโรค" ที่แต่ละวันมีแต่ ตรวจๆๆๆ คนไข้ก็หมดเวลาแล้ว ยังได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการ (นพ.ชานาญ หาญสุทธิเวชกุล ) ให้ รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษางานด้านส่งเสริมสุขภาพ ทาให้ได้ออกไปสัมผัสงานด้านสาธารณสุข และทางานประสาน 4 กระทรวงหลัก ได้ร่วมมือกับสาธารณสุขอาเภอ (นายสว่าง ไชยชุมศักดิ์ ) ทาการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สถานี อนามัยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจรักษาผู้ป่วยในสถานีอนามัย การพัฒนา อสม . เน้นการให้ความรู้ สุข ศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ครูและนักเรียน ทาแผ่นพับใบปลิว เขียนและวาดการ์ตูนลงในแผ่นไขโรเนียว ในระหว่างทาหน้าที่หมอรักษาคนไข้ มักพบผู้ป่วยกระดูกหักที่ญาติพามาแล้วบอกว่า "หมอช่วยเอกซเรย์ ให้หน่อยแล้วหมอไม่ต้องทาอะไรนะ จะขอฟิลม์กลับบ้านไปให้หมอเมือง(หมอพื้นบ้าน)ดู" หมอธาราเล่าว่า ตอนนั้น รู้สึกโกรธว่าเราเรียนมาตั้ง 6-7 ปีทาไมไม่เชื่อเรากลับไปเชื่อหมอพื้นบ้าน แต่ก็พบกรณีเช่นนี้อยู่บ่อยๆ ทาให้ต้อง หยุดคิดว่ามันคืออะไรกันแน่ แล้วเปิดใจคุยกับผู้ป่วยและญาติมากขึ้น หาความรู้เพิ่มขึ้น ในปี 2528ได้ไปประชุมวิชาการเรื่อง "กระบวนการวิจัยคลินิกเกี่ยวกับสมุนไพร" ที่สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ จุฬาลงกรณ์ ทาให้พบงานวิจัยและกลุ่มคนที่สนใจการใช้สมุนไพรได้แก่โครงการสมุนไพรเพื่อ การพึ่งตนเอง (ปัจจุบันอยู่ในมูลนิธิสุขภาพไทย) จึงเริ่มสนใจที่จะสารวจการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้านในอาเภอ เทิง เข้าไปสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน ทาให้เข้าใจความคิดของหมอพื้นบ้านมากขึ้น 5 ปีที่โรงพยาบาลป่าแดด (พ.ศ. 2528-2533) ปี 2528 หมอธาราย้ายไปเป็นผู้อานวยการโรงพยาบาลป่าแดด แม้จะวุ่นวายกับการเป็นผู้อานวย โรงพยาบาล เป็นแพทย์ประจา และอยู่เวรรักษาผู้ป่วยวันละ 24 ชั่วโมง ปีละ 365วัน เพราะเป็นหมอคนเดียวใน โรงพยาบาล (10เตียง) หมอธาราก็ยังมีความสุขกับการเขียนและวาดการ์ตูนในแผ่นไขโรเนียว เพื่อทาข่าวสารสุข ศึกษาประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะการรณรงค์เลิกเหล้าและบุหรี่ ด้วยหวังที่จะให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ หมอธาราออกไปปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานราชการอื่นๆ พัฒนางานโรงพยาบาลและร่วมกับสาธารณสุข อาเภอพัฒนาสถานีอนามัย โดยเฉพาะงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระเบียนรายงานสาธารณสุข (บัญชี 8) ที่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นายแพทย์ทวีศักดิ์ บัวน้าจืด ) เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด มีหมอธารา เป็นประธาน คณะทางาน ขณะเดียวกันก็ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน โดยมีทีมงานโครงการ สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองเข้ามาช่วยให้แนวคิดและจัดอบรมชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ ส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานที่ ต่างๆ ตั้งเป็นกลุ่มสมุนไพรของโรงพยาบาล ทาการปลูกและส่งเสริมการใช้สมุนไพรในหมู่บ้าน ในวัด ในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหมอพื้นบ้าน มีโรงพยาบาลต่างๆ มาดูงาน เกิดเครือข่ายในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมา ได้แพทย์เพิ่มอีก 1 คน หมอธารา จึงมีเวลากับงานพัฒนามากขึ้น ทางานวิจัยสมุนไพร การใช้ ขมิ้นชันรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้องค์การเภสัชกรรม พัฒนาเป็นยาสมุนไพร ประทับใจกับการใช้สมุนไพรพญายอรักษางูสวัดและพิษแมลงกัดต่อยแทนยาฝรั่งราคาแพง
มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนความรู้การพัฒนาสมุนไพรในชุมชนจากที่ต่างๆ ซึ่งหมอธาราเล่าว่า "ทาให้เห็นว่าสมุนไพร ไม่ใช่คาตอบเดียวสาหรับการดูแลสุขภาพ ปัญหาสาธารณสุขเป็นเพียงปลายเหตุ การแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต ชาวบ้านต่างหากที่น่าจะเป็นคาตอบจึงนาเรื่องสมุนไพรเป็นสื่อเข้าไปทาความเข้าใจกับชาวบ้านเห็นความสาคัญ เรื่องป่าไม้และเกษตรธรรมชาติ" นอกจากนี้หมอธารายังสนใจปฏิบัติธรรมะเพื่อนาประยุกต์ใช้กับตนเอง ครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ด้วย ข้อคิดที่ว่า "การทางานคือการปฏิบัติธรรม" ได้รู้จัก พญ.อมรา มลิลา พัฒนาการปฏิบัติธรรมของตนเองโดยการไป ฟังบรรยายธรรมของอ.อมรา มลิลา ทุกครั้งที่มีโอกาส และพยายามพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมบุคลากรสาธารณสุข โดยเชิญ อ.อมรา มาบรรยายที่โรงพยาบาลเชียงรายและจัดพิมพ์คาบรรยายเผยแพร่ 10 ปีที่โรงพยาบาลพญาเม็งราย (พ.ศ.2533-2543) ปี พ .ศ. 2533 หมอธารา ตั้งใจเปิดโอกาสให้รุ่นน้องขึ้นมาเป็นผู้บริหาร จึงย้ายไปเป็นผู้อานวยการ โรงพยาบาลพญาเม็งราย พยายามพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกันและรักษาควบคู่กันไปภายใต้ทรัพยากรอัน จากัด จึงเน้นการทางานเป็นทีม บางครั้งมีแพทย์คนเดียว จาเป็นต้องให้พยาบาลและเภสัชกรมาช่วยตรวจรักษา คนไข้นอก ซึ่งชาวบ้านเข้าใจและยอมรับได้ จึงเป็นจุดที่ทาให้หมอธาราเห็นว่า โรคภัยไข้เจ็บที่ชาวบ้านมา โรงพยาบาลนั้นบางโรคก็ไม่จาเป็นต้องพบแพทย์เสมอไป กอปรทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมงานกับนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่าน ทาให้เกิดจุดเปลี่ยนวิธีคิด มี มุมมองด้านสังคม วัฒนธรรม มากขึ้น ทางานวิจัย หลายเรื่อง เช่น ศักยภาพหมอพื้นบ้านใน 6 จังหวัด งานวิจัย ศักยภาพหมอพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษากระดูกหัก เป็นการเปิดโอกาสให้ หมอแผนปัจจุบันกับหมอพื้นบ้านมาหาวิธีการดูแลคนไข้กระดูกหักร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการใช้ศักยภาพชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพ หมอธาราบอกว่า ควรสนใจศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อนามาปรับเป็นกลวิธีแก้ปัญหา สาธารณสุข ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม จึงชักจูงให้เกิดกลุ่มสมุนไพรในระดับจังหวัด นาเรื่องการ นวดไทย สมุนไพรเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลและส่งเสริมการใช้ในชุมชน กระตุ้นให้เกิดชมรมหมอพื้นบ้านอาเภอ พญาเม็งราย นกจากนี้ยังสนใจการแพทย์ทางเลือกทั้งธรรมชาติบาบัด และดุลยภาพบาบัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งหลวมรวม ให้หมอธารามองเห็นปัญหาและแนวทางที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของ ชาวบ้าน โดยมุ่งเป้าหมายที่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการพัฒนาชุมชนแบบ ยั่งยืน มีทั้งานวิจัยพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวนและกลุ่มปวดเมื่อย การส่งเสริม รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวคิดจากการทางานของนายแพทย์ อภิสิทธิ์ ธารงวรางกูร โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เน้นการทางานร่วมระหว่างหน่วยงานองค์กรที่ เกี่ยวข้องในพื้นที่ สานสัมพันธ์เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานสาธารณสุข นอกจากนี้ยังคงให้ความสาคัญกับ การใช้ข้อมูลข่าวสารมาพัฒนางานสาธารณสุข โดยเริ่มที่งานอนามัยแม่และเด็ก ที่มีการพัฒนากันตั้งแต่ อสม . สถานีอนามัยขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับจนถึงปัจจุบันนี้ การพัฒนางานเหล่านี้กาลังดาเนินไปได้อย่างดี ในปี 2540 หมอธารา ได้ทุนรัฐบาลอังกฤษไปศึกษาด้านการบริหารและการจัดการนโยบายสาธารณสุขที่ ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 1ปี ได้ความรู้และแนวคิดที่หวังจะนามาพัฒนางานอีกมากมาย
21 พฤศจิกายน 2541 หลังกลับมาจากอังกฤษได้ 4 เดือน ก็ตรวจพบก้อนเนื้อที่ก้านสมองของหมอธารา ได้ทาการรักษาทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันด้วยการผ่าตัดและฉายแสง ทั้งการแพทย์ทางเลือกด้วยสมุนไพร (หญ้า ปักกิ่ง) และการดูแลอาหารตามแนวแมคโครไบโอติก ได้รับกาลังใจจาก เพื่อนๆ กัลยาณมิตรมากมาย จนวาระ สุดท้าย ร่างกายของหมอธาราได้จากไปอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2543 ทิ้งความตั้งใจและความหวังที่จะ พัฒนาการดูแลสุขภาพประชาชน ตามแนวคิดสุขภาพแบบองค์รวมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมาย การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ไว้อย่างน่าเสียดาย...
ลายมือตอนป่วย
รูปตอนป่วย
การสานต่อเจตนารมณ์หมอธารา ผ่านกองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ 10 ปีกับชีวิตใหม่ : กาเนิดกองทุนหมอธารา (พ.ศ.2543-2553) ในวันสวดอภิธรรมงานศพหมอธารา เหล่ากัลยาณมิตร ได้มีดาริร่วมกันที่จะตั้งกองทุนเพื่อสานต่อการ ทางานของหมอธารา ซึ่งสอดคล้องกับมูลนิธิแพทย์ชนบทที่มีมติให้ตั้งกองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ ใน มูลนิธิแพทย์ชนบทขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและเป็นแบบอย่างที่ดีของนายแพทย์ธารา เพื่อจัดทา กิจกรรมสานต่อเจตนารมณ์ตลอดจนเสริมสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์และสาธารณสุข 14 กรกฎาคม 2543 ครบรอบ 100 วัน มีการประชุมแนวทางการจัดตั้งกองทุน โดยสรุปว่า น่าจะมี ความสามารถในการเติบโตโดยทาสบายๆ โครงสร้างน้อยๆ กลุ่มเล็กๆ แล้วค่อยเติบโตเป็นมูลนิธิหรือนิติบุคคลต่อไป กองทุนน่าจะเป็นจุดรวมของคนที่มีแนวคิดเดียวกัน สนับสนุนคนหนุ่มสาวที่มีแนวคิดใหม่ๆ เน้นที่การสร้างทีมงานมี กิจกรรมสานต่อแนวคิดหมอธารอย่างยั่งยืนได้แก่กิจกรรมเรียนรู้ พัฒนาด้านความคิด พัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจ ด้านสุขภาพชุมชนมากขึ้น เกิดการพี่งตนเองในชุมชน โดยดาเนินการในพื้นที่อาเภอพญาเม็งรายเป็นหลัก
การเริ่มต้นกับชีวิตกองทุน "กองทุน" เป็นเรื่องใหม่ สาหรับชาวพญาเม็งราย ทีมงาน และผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นกรรมการที่มีถึง 24 คน หลายคนเข้าใจว่าเป็นทุนให้กู้ยืมได้ จึงมักมีผู้มาถามว่าจะขอเงินไปเป็นทุนการศึกษา ไปทากิจกรรมต่างๆ ซึ่ง คณะกรรมการกองทุนขณะนั้นเองไม่ชัดว่าจะทาอะไรอย่างไร กอปรทั้งแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบมาก ไม่พร้อมที่ จะทางานที่นอกเหนือจากงานประจา เมื่อครบ 2 ปี จึงได้มีการจัดทาแบบสอบถามความพร้อมในการเป็น คณะกรรมการ ส่วนใหญ่จึงแสดงความจานงว่าไม่พร้อมแต่ยินดีให้ความร่วมมือ ยังคงเหลือคณะกรรมการ ดาเนินงานจริง 13 คน มีกิจกรรมหลักในการดาเนินงานสานต่อด้านการพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรและการพัฒนา ชุมชนแบบยั่งยืนที่พญาเม็งราย และจัดกิจกรรมประจาปี
ทิศทางของกองทุนหมอธารา ในปี 2549 ได้มีการกาหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ โดยยึดเจตนารมณ์หมอธาราและปรับในบางประเด็น ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อขยายแนวคิดการทางานของหมอธาราในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชนบท 2. เพื่อสานต่อกิจกรรมที่หมอธารดาเนินการไว้ ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การดูแลสุขภาพองค์รวม การแพทย์ทางเลือก และการพัฒนาชุมชนแบยั่งยืน 3. เพื่อให้มีการสื่อสารเชื่อมโยงเครือข่ายและกลุ่มสนใจ ร่วมคิด พัฒนา ขยายผล โดยจัดทาจุลสารและ home page 4. เพื่อให้มีเวทีพบปะสังสรรค์แนวคิดในกลุ่มเครือข่ายและจัดกิจกรรมประจาปี รายงานความก้าวหน้า สรุป ประเด็นการเชื่อมกิจกรรม และระดมทุน 5. เพื่อสนับสนุนการวิจัยในด้านที่เกี่ยวกับแนวคิดการทางานของหมอธารา พันธกิจ ตามความมุ่งมั่นของหมอธารา 4 เรื่อง คือ 1. การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health Care) ได้แก่ การส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในการดูแล สุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายหมอพื้น้บานในการดูแลสุขภาพชุมชน 2. การแพทย์ผสมผสาน (Complementary Medicine) ในระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ การส่งเสริมการใช้ภูมิ ปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ผสมผสานในระบบ บริการของรัฐโดยเฉพาะในโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน อัพฤกษ์ อัมพาต และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) 3. การพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการกินดี อยู่ดี และการสร้างเครือข่ายพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน 4. การพัฒนาศักยภาพบุคคลากรสาธารณสุข ให้มีแนวคิดการทางานแบบบูรณาการ โดยใช้ระบบฐานข้อมูล เพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชน
รวมผลงาน 10 ปี กองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ ปี พ.ศ.
งานของกองทุน
2543
- ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร - งานวิจัยสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองล้านนา (ม.ราชภัฎเชียงราย)
2544
- ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร - เครือข่ายพัฒนาชุมชนยั่งยืน อ.พญาเม็งราย - งานวิจัยหลักเภสัชกรรมล้านนา (สกว.)
2545
- ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร - งานวิจัยการแปรรูปยาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อเศรษฐกิจชุมชน (สกว.)
2546
- ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร
2547
- ศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน 4 ภาค (กรมพัฒน์)
2548
- ศูนย์เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้าน 4 ภาค (กรมพัฒน์)
ปี พ.ศ. 2549
งานกองทุน
วิชาการประจาปี
ทางเลือกทางรอด วิกฤติสังคมไทย (เวทีเสวนา)
วิถีชุมชน : การจัดการภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน (นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ที่พญาเม็งราย) การดูแลสุขภาพแบบสบายสบาย (อ.ยงยุทธ ตรีนุชกร ที่ลานทอง แม่จัน)
บริการวิชาการ / ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น
วิชาการประจาปี
- วิจัยวัฒนธรรมสุขภาพและอาหาร 4 จังหวัด (ม.แม่ฟ้าหลวง) - วิจัยการบาบัดยาเสพติดด้วยภูมิปัญญา แพทย์แผนไทยใน 4 ภาค (กรมพัฒน์)
2550
- โครงการ - วิจัยการดุแลสุขภาพชาวอาข่า (ม.แม่ฟ้าหลวง) รักษ์ม่อนยา ป่าแดด
ธรรมชาติบาบัด หลากศาสตร์หลายแนวคิด (ที่สวนมะลิวัลย์)
2551
- โครงการ - วิจัยการส่งเสริมการดูแลแม่และเด็ก เครือข่ายหมอเมืองล้านนา รักษ์ม่อนยา ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา (ม.แม่ฟ้าหลวง) 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ป่าแดด - งานข่วงผญาสุขภาพหมอเมืองและสมัชชาสุขภาพ (เตรียมงานข่วงผญา)
2552
- โครงการ - วิจัยการจัดการความรู้การดูแลแม่และเด็ก รักษ์ม่อนยา ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน 4 ภาค (กรมพัฒน์) ป่าแดด - โครงการโฮงเฮียนผญาหมอเมือง - สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย
สคส. ตัดปะ ซ้าย
ในตู้เหล็กใบนั้น ตู้เหล็กใบนั้น สีเปลือกมังคุดอ่อน จวบจนวันนี้ อายุย่างเข้า 26 ปี ย้ายที่อยู่มา 3 ที่ จากบ้านพักผู้อานวยการโรงพยาบาลป่าแดด ย้ายไปอยู่บ้านพักผู้อานวยการโรงพยาบาล พญาเม็งราย สุดท้ายย้ายมาอยู่ที่นี่ ที่ห้องเก็บของ่บ้านสวนมะลิวัลย์แห่งนี้ ในความชราภาพ แต่ยังคงโอบอุ้มสมบัตอิ ันทรงคุณค่า ของผู้ที่เป็นเจ้าของ ... ตู้เหล็ก ของหมอธารา ... เมื่อเปิดตู้เหล็กของหมอธารา ตู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความรู้ มากมาย หลากหลาย ศาสตร์ หลากหลายแนวคิด ทั้งแนวคิดของตนเอง แนวคิดของผู้อื่นที่เก็บรวบรวมจากแหล่ง ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร ข้อมูล ผลงานวิชาการ หนังสือพิมพ์ ข่าวสาร วารสารต่างๆ ที่อ่านแล้วประทับใจ ตัดมาปะ คัดลอกมาเก็บ ถ่ายเอกสารมาไว้ แม้เศษ กระดาษแผ่นเล็กแผ่นน้อย ที่จดบันทึกสิ่งต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ของ ผู้เป็นเจ้าของ จนยากที่จะหยิบทิ้งออกไปจากตู้ใบนี้ ด้วยหวังว่า จะค่อยๆทยอย นาสิ่งดีดีมีคุณค่า เหล่านั้นมาสานต่อเจตนารมณ์ ตาม อัตภาพและความเป็นไปได้ หนึ่งปี สองปี สามปี สี่ปี จนบัดนี้ สิบปี ก็ยังไม่สาย หากจะคิด ช่วยกัน จึงขอเชิญชวน เพื่อนๆ กัลยาณมิตร มาช่วยกันพิเคราะห์ พิจารณา สิ่งดีดีในตู้เหล็ก ใบนั้น ร่วมกันสานต่อเจตนารมณ์ ของหมอธารา กันต่อไป...
สคส.ตัดปะ เห็นขอบ
ผู้ใหญ่มา A
ผู้ใหญ่มา B
เล่านั้งก๊ก หน้า 21
เล่านั้งก๊ก หน้า 22
คิดถึงเพื่อน สิงหา 28 A
คิดถึงเพื่อน สิงหา 28 B
คิดถึงเพื่อน กรกฎา 28
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 1
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 2 A
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 2 B
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 3 A
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 3 B
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 4 A
ppt ธรรมชาติบาบัด หน้า 4 B
ชีท ธรรมชาติบาบัด A
ชีท ธรรมชาติบาบัด B
ชีท สมุนไพรเชียงราย 1 A
ชีท สมุนไพรเชียงราย 1 B
ชีท สมุนไพรเชียงราย 2 A
ชีท สมุนไพรเชียงราย 2 B
โฆษณาในรพ. A
โฆษณาในรพ. B
จดหมายคืนเช็ค A
จดหมายคืนเช็ค B
เช็คคืน A
เช็คคืน B
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 1 A
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 1 B
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 2 A
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 2 B
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 3 A
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 3 B
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 4 A
ชีท สุขภาพองค์รวม หน้า 4 B
ชีท ของฝากริมกก หน้า 1 A
ชีท ของฝากริมกก หน้า 1 B
ชีท ของฝากริมกก หน้า 2 A
ชีท ของฝากริมกก หน้า 2 B
ชีท ของฝากริมกก หน้า 3 A
ชีท ของฝากริมกก หน้า 3 B
ระบบข้อมูล หน้า 1 A
ระบบข้อมูล หน้า 1 B
ระบบข้อมูล หน้า 2 A
ระบบข้อมูล หน้า 2 B
ระบบข้อมูล หน้า 3 A
ระบบข้อมูล หน้า 3 B
อยากให้ได้รับรู้ A
อยากให้ได้รับรู้ B
ไทหรือทาส A
ไทหรือทาส B
หมอธารารักการอ่าน จากความร่วมมือของกองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์(ในมูลนิธิแพทย์ชนบท) กับสานักงาน กศน. จังหวัดเชียงราย ในโครงการจัดตั้งโฮงเฮียนผญ๋าหมอเมืองล้านนาเจียงฮาย ได้ทราบว่า คุณหมอธารา อ่อนชม จันทร์ เป็นผู้ให้ความสาคัญต่อการพัฒนาระบบงานสาธารณสุขในด้านต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและ ชุมชนอย่างยั่งยืน และท่านยังเป็นบุคคลตัวอย่างในการครองตน ครองงาน ครองคนและเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ รักการอ่าน และแบ่งสิ่งที่ดีดีที่ได้จากการอ่านให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการรักการอ่าน ทั้งในครอบครัว หน่วยงาน และเหล่ากัลยาณมิตรทั้งหลาย สานักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย ได้จัดทาโครงการคนเชียงรายรักการอ่าน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ได้ เล็งเห็นว่าคุณหมอธารา อ่อนชมจันทร์ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านหนังสือ และนาสิ่งดีดีมอบส่งต่อสู่กัลยาณมิตร ในวาระครบ 10 ปี กองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ สานักงาน กศน.จังหวัดเชียงรายถือว่า “ท่าน เป็นแบบอย่างที่ดีของคนรักการอ่าน” ดร.วิเลขา ลีสุวรรณ์ ผู้อานวยการสานักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย
ดุลยภาพบาบัด หมอธารา สนใจและให้ความสาคัญกับการปรับดุลยภาพของสรีระโครงสร้างของร่างกาย ด้วยหลัก ดุลยภาพศาสตร์ ตามแนวคิดของ รศ .พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ ได้ศึกษาเรียนรู้นามาปฏิบัติกับตนเอง นาทีมงานโรงพยาบาลพญาเม็งราย ไปศึกษาเรียนรู้ที่คลินิกบ้านสวน (บ้านสวนสหคลินิกในปัจจุบัน ) แล้ว นามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเป็นการแพทย์ทางเลือก ผสมผสานกับการรักษาแผนปัจจุบัน เมื่อหมอธารา ป่วยก็ได้รับการดูแลรักษาด้วยดุลภาพบาบัด สมุนไพร อาหารแนวธรรมชาติบาบัด สมาธิบาบัดและ ดนตรีบาบัด ผสมผสานควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน ดุลยภาพศาสตร์ เป็น วิทยาการบาบัดรักษาโรคและดูแลสุขภาพแนวใหม่ที่เกิดจากการผสมผสาน การประยุกต์ใช้ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์ตะวันตกกับตะวันออกหลายแขนงเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน อย่างเป็นองค์รวม เกิดจากการค้นพบว่า โรคและความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนมีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการ เสียภาวะความสมดุลภายในโครงสร้างของร่างกายทั้งสิ้น การวินิจฉัยและการบาบัดรักษาโรคใดใด ตลอดจนการดูแลสุขภาพให้ได้ผลสมบูรณ์และยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงต้องพิจารณาถึงสมดุลภาวะของ ร่างกายในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักเสมอ เนื่องจากดุลยภาพศาสตร์ มีแนวทางการวิเคราะห์โรคและการบาบัดรักษาที่ต่างไปจากการแพทย์ แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือกที่แยกเป็นสาขาๆ โดยทั่วไป แต่เป็นการผสมผสานองค์ความรู้และ ภูมิปัญญาหลายด้านอย่างเป็นองค์รวม จึงสามารถประยุกต์ใช้บาบัดรักษาโรคหรืออาการป่วยใดใดก็ ตามที่สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและกลไกของโรคตามแนวทางดุลยภาพศาสตร์ได้อย่างชัดเจน และใช้ วิธีการดุลยภาพบาบัดแก้ไขสาเหตุและกลไกเหล่านั้นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราควรจะประยุกต์ใช้ดุลยภาพศาสตร์ ได้ในทุกสาขาการแพทย์และทุกโรค เพื่อจะได้ทราบและสามารถกาจัดและป้องกันสมุฏฐานของโรคนั้นๆ อย่างครบถ้วนตลอดไปจนถึงโรคและ อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้บางโรค อาจมีความจาเป็นจริงๆ ที่จะต้องได้รับบาบัดรักษาด้วยยา สารเคมี ผ่าตัด หรือเทคนิควิธีการเฉพาะทาง แต่ดุลยภาพบาบัดก็ยังมีประโยชน์ ในการช่วยเสริมให้การรักษา ได้ผลดียิ่งขึ้นช่วยให้สุขภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น 1 หลักสาคัญของการดูแลรักษาด้วยดุลยภาพบาบัดนั้น ผู้ป่วยต้องเข้าใจโครงสร้างร่างกายของ ตนเอง ปรับสมดุลด้วยตนเองด้วยท่าบริการร่างกาย ที่สามารถปฏิบ้ติได้ในทุกที่ ทุกเวลา ง่ายๆ แต่มี ประสิทธิภาพ ในงานครบรอบ 10 ปีกองทุนนายแพทย์ธารา ท่านจะได้ฝึกการบริหารร่างกายตามแนว ดุลยภาพบาบัด เพื่อปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายของท่านเอง ---------------------------------1 ที่มา dr.Taworn .com
ต้นฉบับบริหาร4ท่า หน้า 1 A
ต้นฉบับบริหาร4ท่า หน้า 1 B
ต้นฉบับบริหาร4ท่า หน้า 2 A
ต้นฉบับบริหาร4ท่า หน้า 2 B
การดูแลสุขภาพแบบสบาย สบาย เมื่อก่อนในวงการแพทย์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีโรค ซึ่งแบ่งเป็นโรคที่นิยามได้ชัดเจน กับโรคที่ ไม่ทราบสาเหตุ โรคที่นิยามได้ชัดเจนจะต้องพบรอยโรค เช่น คลื่นรังสี ผลชิ้นเนื้อ ผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการต่างๆ จึงจะแสดงว่าเจ็บป่วย และทาการรักษา หากไม่พบรอยโรคแสดงว่าไม่เจ็บป่วย ก็คือ มีสุขภาพดี จึงไม่ต้องรักษา และถ้าหากไม่พบรอยโรค แต่มีอาการ ก็จะวินิจฉัยว่าแกล้งทา จึงไม่ทาการ รักษา ทฤษฎีใหม่การแพทย์ มีแนวคิดเรื่อง "ทฤษฎีสุขภาพ" ขึ้นมาแทนแนวคิดทฤษฎีโรค แนวคิด ทฤษฎีสุขภาพนี้ อาจารย์หมอประเวศ วะสี อธิบายว่า คาว่าสุขภาพนั้นไม่ได้หมายถึงการไม่มีโรค แต่ สุขภาพคือดุลยภาพ คนที่ไม่เป็นโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ถ้าเสียดุลยภาพ และยังอธิบายว่าในร่างกายคนเรา ประกอบด้วยอณู เซลล์ และอวัยวะต่างๆ กับยังมีจิตที่สัมพันธ์อยู่กับกาย ถ้าทั้งหมดเชื่อมโยงกันอย่าง ถูกต้อง ก็จะเกิดความสมดุลหรือดุลยภาพ เมื่อมีความสมดุลก็มีปรกติภาพ ความเป็นปรกติก็คือสุขภาพ ที่ เกิดความสัมพันธ์อันถูกต้องหรือลงตัวระหว่าง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ยามที่ทุกอย่างมีดุลยภาพ จะรู้สึกสบายดี สุขภาพดี ยามที่เจริญสติ เจริญสมาธิจะรู้สึกสงบ สุขภาพเหนือธรรมดา ความเจ็บป่วยส่วนใหญ่มาจากความเครียดที่เป็นสาเหตุให้ขาดสมดุล เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดหัว ความดัน เบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ การรักษาจึงจาเป็นต้องรักษาดุลยภาพ ซึ่งมี หลากหลายวิธี เช่น การบริหารจิต การทาโยคะ การทางานและอาหารที่พอดี สุนทรียกรรมและการ พักผ่อนที่เพียงพอ การบริหารกาย ศิลปบาบัด ธรรมชาติบาบัด การรวมตัวเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทา ฯลฯ หมอธารา เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สนใจดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้วยแนวคิด ธรรมชาติบาบัดและเชื่อว่าร่างกายสามารถดูแลรักษาตนเองได้ (Spontaneous Healing) ตามแนวคิดของ หมอแอนดรู วิลล์ ดังนั้นจึงสนใจแสวงหาความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติที่ไม่ต้องพึงพาสารเคมี และเทคโนโลยี หมอธารามักจะบอกว่า "อย่างไรมันก็เป็นสารเคมีที่เข้าไปอยู่ในตัวเรา" เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของหมอธารา กองทุนนายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ ในมูลนิธิแพทย์ ชนบท จึงได้ร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่ายการดูแลสุขภาพวิถีไท ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์ยงยุทธ ตรีนุชกร ทา การส่งเสริม เผยแพร่แนวคิดการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติด้วยศาสตร์องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ หลากหลายวิธีการ ทั้งการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ โดยเลือก รับปรับใช้ศาสตร์ที่สามารถใช้ได้กับสภาพคนไทยและสังคมวัฒนธรรมของไทย และอยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติ ได้โดยไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนัก จึงหวังว่ากิจกรรมการดูแลสุขภาพ แบบสบาย สบาย ที่นาเสนอในงานครบรอบ 10ปีกองทุน นายแพทย์ธารา ครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ ทุกท่าน
เชื่อก็มี
นายแพทย์ธารา อ่อนชมจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2500 จบการศึกษาหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2525 จบปริญญาโทด้านการจัดการวางแผนและนโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ในปี 2541 เป็นแพทย์ประจาโรงพยาบาลเทิง ผู้อานวยการโรงพยาบาลป่าแดด และเป็นผู้อานวยการโรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย จนเสียชีวิตด้วยโรคเนื้องอกในสมอง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2543 ตลอดชีวิตการทางาน หมอธารา ทุ่มเทพลังกาย พลังใจและพลังสติปัญญา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนในชนบท เผื่อแผ่แนวคิดไปยังคนรอบข้าง สร้างเครือข่ายทางานทั้งในภาครัฐและเอกชน เกิดผลการ พัฒนาด้านสาธารณสุข การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานในแนวคิดองค์รวม เกิดผลงาน เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป มูลนิธิแพทย์ชนบท จึงคัดเลือกให้เป็นแพทย์ชนบทดีเด่น กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ประจาปี 2536 "เมื่อคิดถึงคุณหมอธารา จะเห็นภาพของแพทย์หนุ่มร่างเล็ก ที่รักสันโดษ รัก ธรรมชาติ รักผู้คนรอบข้าง ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้าใจ มีเมตตา มีจริยธรรม นอบน้อมถ่อมตน มีชีวิตเรียบง่าย ชอบทางาน ในชนบท ชอบทางานพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์องค์รวม ชอบทางานกับชาวบ้านและผู้คนทั้งใน และนอกวงการสาธารณสุข เพื่อช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างสุขภาพให้ผู้คน ภาพเช่นนี้ คือภาพของคุณหมอธารา ซึ่งใครๆที่รู้จักมักจะเห็นและสัมผัสได้ตรงกัน" นายแพทย์อาพล จินดาวัฒนะ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข มิถุนายน 2543
ครอบครัวหมี ใครๆที่รู้จักมักคุ้นกับครอบครัวหมอธารา มักจะได้ยินหมอธารา เรียกภรรยา ตัวเองว่า "แมว" บ้าง "ไอ้แมว" บ้าง บางทีก็ เรียก "อดีตแฟน" ซะงั้น(เพราะปัจจุบันเป็นภรรยา) ส่วนคุณภรรยาก็จะเรียกสามีว่า "หมอ" ตามความเคยชินที่คบกันมา พอมีลูกก็ ตั้งชื่อว่า "น้าฝน" แล้วก็เรียกกันมาตั้งแต่แบเบาะ แต่แล้วทาไม วันหนึ่งก็ได้ยิน ครอบครัวนี้ เรียกกันว่า พ่อหมี แม่หมี และลูกหมี? เรื่องมันมีอยู่ว่า เมื่อน้าฝนอายุ 2 ขวบ หลังอาหารเย็นวันหนึ่ง... "วันนี้ อ่าน หนังสือเรื่องลูกหมีเป็นหวัดให้น้าฝนฟัง ในหนังสือเล่าว่า ลูกหมีเป็นหวัด พ่อหมีจึงพาลูกหมีไปหาลุงหมอหมี " หมอธารา เริ่มเกริ่นนาให้ภรรยาฟังถึงกิจกรรมการเลี้ยงลูกของคุณพ่อระหว่างคุณแม่กาลังทาอาหาร "น้าฝนบอกว่า น้าฝนจะเป็น พ่อหมี จะได้เป็นคน พาลูกหมีไปหาลุงหมอหมีเอง" ก็ดีแล้วนี่ ลูกมีจิตใจเอื้อเฟื้ออยาก ช่วยเหลือคนอื่น "ก็เลยต้องสอนกันว่า น้าฝนเป็นพ่อไม่ได้ เพราะ น้าฝนเป็นผู้หญิง ผู้หญิงต้องเป็นแม่ ส่วนพ่อเป็นผู้ชาย เหมือน บ้านเราไง มีพ่อ มีแม่แล้วก็มีน้าฝนเป็นลูก" แต่น้าฝนก็ยังจะเป็นพ่อหมีอยู่ดี หมอธารา จึงปรับความเข้าใจของลูกด้วยวิธีนี้ "งั้นบ้านเราเป็นครอบครัวหมีกัน มีพ่อเป็น พ่อหมี มีแม่เป็น แม่หมี แล้วน้าฝนก็เป็นลูกหมี ถ้าลูกหมีเป็นหวัด พ่อหมีจะพา ลูกหมีไปหาลุงหมอหมี ดีไหม " หมอธารา พยายามอธิบายพร้อมกับชี้ที่ตัวเองว่าเป็นพ่อหมี ชี้ที่น้าฝนว่าเป็นลูกหมี น้าฝน ตก หลุมพรางยอมเป็น ลูกหมี เมื่อทาความเข้าใจกับลูกแล้ว จึงมาทาความเข้าใจกับแม่ต่อ บ้านนี้จึงเป็น "ครอบครัวหมี" นับแต่นั้นมา คาว่า "ลูกหมี" กลายเป็นสรรพนามสาหรับน้าฝนที่ใช้แทนตัวเอง เวลาพูดคุยกับพ่อแม่เสียมากกว่า เมื่อน้าฝนอายุ 6 ขวบ มีหลายคนที่เรียกน้าฝนว่าลูกหมีตามหมอธารา น้าฝนก็มักจะบอกว่า "ลูกหมีมีชื่อเล่นว่าน้าฝนค่ะ"
ดารณี ข้า’เจ้า คาสรรพนามแทนตัวเองว่า “ข้า’เจ้า” ย่อมาจาก “ข้าพเจ้า” ซึ่งก็ย่อมาจาก “ข้าพระพุทธเจ้า” อีกทีหนึ่ง ที่เลือกใช้คาว่า “ข้า’เจ้า” เพราะอยากหาคามาใช้แทนสรรพนามเช่น “หนู” หรือ “ฉัน” หรือ “เรา” แต่คาว่า “ข้าพเจ้า” นั้นออกจะยาวและซ้ากับที่ผู้ชายมักจะใช้คานี้มากกว่า ก็เลยหาทางย่อมันเข้ามา จึงกลายเป็น “ข้า’เจ้า” ที่ดูคล้าย กับสรรพนามแทนตัวของผู้หญิงในภาษาทางเหนือของประเทศไทยพอดี ครั้งแรกที่เริ่มใช้คานี้ ข้า’เจ้านึกถึงสานวนโทรเลขภาษาไทยปนเหนือของเจ้าดารารัศมี ในตอนที่ส่งโทรเลข ถึงรัชกาลที่๕ ระหว่างการเดินทางกลับเชียงใหม่ เจ้าหญิงผู้ไม่ละทิ้งการเมืองในแฟชั่น ทนไม่ไหวกับความยุ่งยาก ของขบวนเสด็จมากพิธี ที่ความจริงแล้ว เป็นแผนป้องกันไม่ให้เธอหนี และไม่ให้ใครติดต่อกับเธอได้นั่นเอง อนึ่ง การที่ผู้หญิงชาวล้านนาใช้สรรพนานแทนตัวว่า “ข้าเจ้า” มานานแล้ว ก็อาจเป็นได้ ว่า พวกเธอ เหล่านั้นก็คงต้องการแสดงออกถึงความเคารพในพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน การใส่เครื่องหมายลดรูปใน “ข้า’เจ้า” ทาให้สามารถอ่านออกเสียงคานี้ได้ทั้ง 2 แบบ อย่างที่คาว่า “ข้าฯ” สามารถอ่านออกเสียงว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” ดังนั้นจะอ่าน “ข้า’เจ้า” ว่า “ข้า-เจ้า” หรือ “ข้า-พะ-เจ้า” ก็ได้ตามใจค่ะ คานามที่ใช้เรียกแม่ ในบางครั้งใช้คาว่า “ท่านแม่” เพื่อเป็นการยกย่องในความรู้สามารถ ความอดทน ยืนหยัดและตั้งใจ ในการทางานและการดาเนินชีวิต ที่ข้า’เจ้าได้สัมผัสจากแม่มาโดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นการยก ย่องเพื่อชดเชย ในความไม่เคารพต่อแม่ ที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบันของข้า’เจ้าค่ะ >_< วารี