คู่มือการสานตาแหลววัดท่าสะแบง ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ปศท.๒

Page 1

ตาแหลววัดท่าสะแบง

1


ตาแหลววัดท่าสะแบง

2

คานา

คู่มื อ การเรี ย นรู้ ก ารสานตาแหลววั ดท่ า สะแบง จั ด ท าขึ้ น เพื่ อ ใช้ป ระกอบการเรี ย นรู้ โครงการวิถีชีวิตไทยสู่สุขภาวะ 3 วัยในชุมชนวัดท่าสะแบง กิจกรรมที่ 2 เรื่อง ส่งเสริมภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนวัดท่าสะแบง คู่มือการเรียนรู้เล่มนี้เป็นการถ่ายทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนวัดท่าสะแบง หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 7 บ้านท่าสะแบง ตาบลมะบ้า อาเภอ ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยนาเอาทรัพยากรธรรมชาติไม้ไผ่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาทาการสานตาแหลว ลาย 4 แฉก การสานตาแหลว ลาย 6 แฉก และการสานตาแหลว ลาย 8 แฉก เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ได้ปลูกฝังให้ประชาชนในชุมชนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มีความรัก ความสามัคคี มีคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการมีส่ วนร่วมของคนในหมู่บ้าน โรงเรียนและชุมชน มาทากิจกรรมร่วมกันที่วัดบ้านท่าสะแบง ซึ่งเป็นศูนย์รวมพลังทั้ง ทางกายและจิตใจ ของชุมชนบ้านท่าสะแบง คู่มือการเรียนรูก้ ารสานตาแหลวเล่มนี้ ได้สาเร็จสมบูรณ์และเป็นรูปเล่มที่สวยงาม คณะผู้จัดทา ขอกราบนมัสการพระภิกษุ สามเณร วัดท่าสะแบงทุกรูป ขอขอบคุณภูมิปัญญาพื้นบ้านและผู้รู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องทุกท่าน ขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.วัชรินทร์ แสนรุ่งเมือง ที่ปรึกษาโครงการและถอดบทเรียน ให้สาเร็จลุล่วงด้วยดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการเรียนรู้เล่มนี้ คงก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเรียนรู้ และผู้ที่สนใจ เป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมการสานตาแหลววัดท่าสะแบง ให้ดารงอยู่คู่กับสังคมไทยอีสานอย่างยั่งยืน

คณะผู้จัดทา ชุมชนวัดท่าสะแบง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

3

สารบัญ

เรือ ่ ง คานา สารบัญ ประวัติวัดท่าสะแบง หลักการและเหตุผล จุดประสงค์ เป้าหมาย วิธีดาเนินการ ประโยชน์ที่ได้รับ โครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ ตาแหลวกับวิถีชีวิตไทยในชุมชนวัดท่าสะแบง การสานตาแหลว ลาย 4 แฉก การสานตาแหลว ลาย 6 แฉก การสานตาแหลว ลาย 8 แฉก แหล่งอ้างอิง ภาพกิจกรรมการเรียนรู้การสานตาแหลววัดท่าสะแบง พิธีกรรมและความเชื่อการใช้ตาแหลว คณะผู้จัดทา

หน้า 1 2 3 6 6 7 9 12 13 14 21 28 40 48 49 50 51


ตาแหลววัดท่าสะแบง

4

วัดท่าสะแบง คาขวัญวัดท่าสะแบง ขันหมากเบ็งท่าสะแบง วัฒนธรรม งามเลิศล้าประเพณี หลวงปูข ่ าวตระการตา

แหล่งเรียนรู้ แม่น้าชีแข่งเรือยาว ศูนย์การศึกษา

ICT

ประวัตค ิ วามเป็นมา วัดท่าสะแบง ตั้งอยู่เลขที่ 97 บ้านท่าสะแบง หมู่ที่ 4 ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 50 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 329 ตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2405 เดิมชื่อ “วัดตาลท่าสะแบง” ต่อมาปี พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดท่าสะแบง” และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีเขต วิสุงคามสีมา ขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ที่ธรณีสงฆ์ จานวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 15 ตาราง วา ในอดีตได้สร้างไว้เป็นศาลากลางหมู่บ้านท่าสะแบง ปัจจุบันได้สร้างเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์ ปฐมวัย และศูนย์รวมกลุ่มแม่บ้าน ในชุมชนวัดท่าสะแบง อาณาเขต ทิศเหนือ มีเนื้อที่ 2 เส้น 18 วา ติดกับถนนสาธารณะบ้านท่าสะแบง ทิศใต้ มีเนื้อที่ 4 เส้น 2 วา ติดกับที่ดินของนางอิน ศิริสาร


ตาแหลววัดท่าสะแบง

5

ทิศตะวันออก มีเนื้อที่ 4 เส้น 6 วา ติดกับแม่น้าชี ทิศตะวันตก มีเนื้อที่ 4 เส้น 4 วา ติดกับถนนสาธารณะบ้านท่าสะแบง

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย 1. อุโบสถ ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 16 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 2. ศาลาการเปรียญ ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 3. กุฎีสงฆ์ จานวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 4. ปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ เนื้อโลหะ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 มีพระประธานที่ศาลา การเปรียญ จานวน 1 องค์ และพระประธานที่กุฎี จานวน 1 องค์ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้ 1. พระครูขันติภิรมย์ เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2498 2. เจ้าอธิการคูณ ฐิตปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2499 – พ.ศ. 2528 3. พระอธิการรัศมี ปญฺญวโร เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2537 4. พระครูสิทธิวโรภาส (สะอาด ปภสฺสโร) เป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน สิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุ ประกอบด้วย 1. ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 32 เมตร วางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เริ่มดาเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2552 2. พระพุทธสิรินทรมหามุนี (หลวงปู่ขาว) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 7.85 เมตร สูง 11.50 เมตร สร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน – วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ใช้เวลาการก่อสร้างรวม 29 วัน ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 800,000 บาทเศษ 3. หอระฆัง สร้างเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2551 สร้างเสร็จวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552 ใช้งบ ก่อสร้างประมาณ 500,000 บาท


ตาแหลววัดท่าสะแบง

6

4. ศูนย์การเรียนรู้ ICT ได้รับงบสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ จานวน 21 เครื่อง จากกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้งบประมาณของทางวัดท่าสะแบง ในการก่อสร้างศูนย์ การเรียนรู้ ICT ประมาณ 350,000 บาท ก่อสร้าง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนวัดท่าสะแบง 5. กุฎีสงฆ์ จานวน 1 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ใช้งบก่อสร้างประมาณ 450,000 บาท 6. ห้องน้า จานวน 5 ห้อง สร้างเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2554 ใช้งบก่อสร้างประมาณ 100,000 บาท เขตการปกครอง ในอดีต วัดท่าสะแบงอยู่ในเขตการปกครองของอาเภอธวัชบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 กิ่ง ได้แก่ กิ่งอาเภอเชียงขวัญและกิ่งอาเภอทุ่งเขาหลวง ต่อมาทางราชการจึงได้แต่งตั้งยกกิ่งอาเภอทั้ง 2 กิ่ง เป็นอาเภอ คือ อาเภอเชียงขวัญ และอาเภอทุ่งเขาหลวง เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 วัดท่าสะแบง จึงได้อยู่เขตการปกครองของอาเภอทุ่งเขาหลวง นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน.


ตาแหลววัดท่าสะแบง

7

โครงการนาร่องการจัดการศึกษาแบบมีสว ่ นร่วมขององค์กรในชุมชนเพือ ่ สุขภาวะ คนไทย (ปศท.2)

ชือ ่ โครงการ

วิถช ี ีวต ิ ไทยสู่สุขภาวะ 3 วัยในวัดท่าสะแบง

Thai Way of Life on Holistic Health of 3 Ages in Tha Sabang Temple. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนวัดท่า สะแบง หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาไทย ศิลปะ และวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนบ้านท่าสะแบง หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 ได้เรีย นรู้ สืบ สาน และถ่า ยทอดสืบ ต่อกั นมาเรื่อยๆจากรุ่นปู่ ย่ า ตา ยาย มาถึงลูก หลาน ให้รู้จัก คุณค่า ความส าคั ญ มองเห็ น ประโยชน์ ข องภู มิ ปั ญ ญาด้ า นศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า น ที่ ส ามารถน าเอา ทรัพยากรธรรมชาติและวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาปรับประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ ดาเนิน ชีวิต เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ในชุมชนวัดท่าสะแบง ด้วยการทาขันหมากเบ็งโบราณ การสานตาแหลว และการทาฮังมดแดง โดยนาเอา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และผู้รู้ในชุมชนถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่สนใจมาเรียนรู้วิธีการทาขันหมากเบ็ง โบราณ การสานตาแหลวและการทาฮังมดแดง ซึ่งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาไทย ศิลปะ และวัฒนธรรม พื้นบ้านในชุมชนวัดท่าสะแบง โดยการมี ส่วนร่วมกิจกรรมของบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน เพื่อให้เด็ก ผู้ ใ หญ่ แ ละ ผู้ สู ง อายุ เกิ ด ความรั ก ความสามั ค คี ความสมานฉั น ท์ สามารถน าทั ก ษะการเรี ย นรู้ ม า ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดารงชีวิตประจาวัน และทากิจกรรมร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้ ง เป็ น การส่ ง เสริ ม ภูมิ ปั ญ ญา ศิ ล ปะ และวั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า นในชุ ม ชนวั ด ท่า สะแบง ให้อ ยู่ คู่ กั บ สังคมไทยอีสานอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุในชุมชนวัดท่าสะแบง ได้นาเอาหลักแนวคิดของเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดาเนินชีวิต 2. เพื่อส่งเสริมการคิดค้นพัฒนาสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนาเอาทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้ อย่างเหมาะสม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

8

3. เพื่อส่งเสริมการทากิจกรรมร่วมกันของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความรัก ความสามัคคีและ อยู่ในสังคมอย่างสันติสุข

เป้าหมาย เชิงปริมาณ เด็ก ผู้ใหญ่ และ ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 7 บ้านท่าสะแบง ตาบลมะบ้า อาเภอ ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จานวน 50 คน เชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในชุมชนวัดท่าสะแบง จานวน 50 คน ได้เรียนรู้การทาขันหมากเบ็งโบราณวัดท่าสะแบง การสานตาแหลว และการทาฮังมดแดง สามารถนาวัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ ได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 80 ระยะเวลาดาเนินการ สถานทีด ่ าเนินการ

เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 – 1 เมษายน 2555 วัดท่าสะแบง ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด

หน่วยงานทีร่ บ ั ผิดชอบ วัดท่าสะแบง อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด หน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้อง 1. วัดท่าสะแบง หมู่ที่ 4 ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 2. บ้านท่าสะแบง หมู่ที่ 4 ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 3. บ้านท่าสะแบง หมู่ที่ 7 ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 4. โรงเรียนบึงงามพัฒนา ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 5. โรงเรียนบ้านขว้างท่าสะแบง ตาบลมะบ้า อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 6. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด


ตาแหลววัดท่าสะแบง

9

ผูร้ บ ั ผิดชอบ คณะทางานโครงการ ประกอบด้วย 1. พระครูสุทธิวโรภาส 2. พระอนุสรณ์ ปภัสฺสโร 3. พระมหา ดร.ทองจันทร์ กมโล 4. คณะสงฆ์วัดท่าสะแบงทุกรูป 5. นายบุญเสริม เครือน้าคา 7. นายธารง ทิพยสาร 8. นางวิภา ชุดขุนทด 9. นางคมทอง จานงค์จิตร 10. นางสุปรียา ทิพยสาร 11.นางบัวบาน ประวิเศษ 12. นางทองทรัพย์ ปัตโต 13. นางสาวพิมพ์สร พันทวี 14. นายดวน เอกวุธ 15. เรือเอกอานวย ภูมิภักดิ์ 16. นายประพันธ์ ดิลกศรี 17. นายประดิษฐ์ ฤทธิวุฒิ 19. นายสารอง มาลาขันธ์ 18. ดร.วัชรินทร์ แสนรุ่งเมือง

เจ้าอาวาสวัดท่าสะแบง ประธาน วัดท่าสะแบง รองประธาน วัดท่าสะแบง ผู้ประสานงาน วัดท่าสะแบง กรรมการ กานันตาบลมะบ้า กรรมการ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 กรรมการ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 กรรมการ สารวัตรกานันตาบลมะบ้า กรรมการ สารวัตรกานันตาบลมะบ้า กรรมการ ผอ.กศนทุ่งเขาหลวง กรรมการ ครู.กศนทุ่งเขาหลวง กรรมการ ครู.กศนทุ่งเขาหลวง กรรมการ บ้านท่าสะแบง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน บ้านท่าสะแบง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ภูมิปัญญาพื้นบ้าน บ้านท่าสะแบง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน นักวิชาการ ที่ปรึกษาและถอดบทเรียน


ตาแหลววัดท่าสะแบง

10

วิธด ี าเนินการ ได้รับงบประมาณ 30,000 บาท รายละเอียดดังนี้ กิจกรรม ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะทางาน 2. แต่งตั้งคณะทางาน 3. วางแผนการทางาน ขั้นดาเนินการ 1. จัดทาคู่มือการเรียนรู้ 2. ประสานกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 3. ประชาสัมพันธ์การทางาน 4. ดาเนินการจัดกิจกรรม ดังนี้ 4.1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 4.2 การทาขันหมากเบ็งโบราณ วัดท่าสะแบง 4.3 การสานตาแหลว 4.4 การทาฮังมดแดง 4.5 การจัดนิทรรศการ ขั้นประเมินผล 1. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม 2. การตอบแบบสอบถาม 3. สรุปผลการดาเนินงาน 4. รายงานผลการจัดทาโครงการและ ถอดบทเรียน

ระยะเวลา

งบประมาณ

ผู้รับผิดชอบ

1 เมษายน 2554 – 30 เมษายน 2554

1,000 1,500

1 พฤษภาคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554

4,500

1. ประธานโครงการ 2. คณะทางาน โครงการ 3. ผู้ประสานงาน โครงการและ เหรัญญิก 4. ที่ปรึกษาโครงการ และถอดบทเรียน

-

1 มิถุนายน 2554 – 24 ธันวาคม 2554

4,000 1,1000

30 ธันวาคม 2554 1 มิถุนายน 2554 – 29 กุมภาพันธ์ 2555 30 ธันวาคม 2554 – 29 กุมภาพันธ์ 2555

5,000 3,000 -


ตาแหลววัดท่าสะแบง

11

งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนวัดท่าสะแบง ได้รับงบประมาณ 30,000 บาท รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดาเนินกิจกรรม ดังนี้ รายการ 1. ค่าอาหารคณะทางาน 2. ค่าตอบแทนพิจารณาโครงการ 3. ค่าจัดทาคู่มือขันหมากเบ็งโบราณวัดท่าสะแบง จานวน 50 เล่ม 4. ค่าจัดทาคู่มือการสานตาแหลว จานวน 50 เล่ม 5. ค่าจัดทาคู่มือการทาฮังมดแดง จานวน 50 เล่ม 6. ค่าตอบแทนอาจารย์ให้ความรู้ 7. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานคณะทางาน 8. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ 9. ค่าสถานที่ประชุมและจัดกิจกรรม 10. ค่าสื่อและแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ 11. ค่าจัดทาแบบสอบถาม 12. ค่าวัสดุสานักงาน 13. ค่าพาหนะเดินทาง 14. ค่าจัดนิทรรศการ รวม

จานวนเงิน/ บาท 1,000 1,500 1,500 1,500 1,500 3,000 2,000 5,000 2,500 4,000 500 500 500 5,000 30,000

ผู้รับผิดชอบ 1. ประธานโครงการ 2. คณะทางานโครงการ 3. ผู้ประสานงานโครงการ และเหรัญญิก 4. ที่ปรึกษาโครงการและ ถอดบทเรียน

-


ตาแหลววัดท่าสะแบง

12

การวัดและประเมินผล ตัวบ่งชี้ สภาพความสาเร็จ ด้านผลผลิต (OUTPUT) 1. เพื่อส่งเสริมเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในชุมชนวัดท่าสะแบง นาเอาหลัก แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ ประยุกต์ใช้กับวิถีการดาเนินชีวิตโดยใช้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทาขันหมากเบ็ง โบราณ การสานตาแหลว และการทา ฮังมดแดงในชุมชนวัดท่าสะแบง 2. เพื่อส่งเสริมการคิดค้นพัฒนาสู่สังคม การเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนาเอา ทรัพยากรที่มี ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้ 3. เพื่อส่งเสริมการทากิจกรรมร่วมกัน ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิด ความรัก ความสามัคคี และอยู่ในสังคม อย่างสันติสุข

การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ -การอธิบาย -การบรรยาย -การสาธิต -การปฏิบัติ -การจัดนิทรรศการ

การวัดและ ประเมินผล -การสังเกต -การเข้าร่วม กิจกรรม -การทากิจกรรม -การถามคาถาม -การตอบคาถาม -การทดสอบ -ประเมินผลงาน

เครือ่ งมือที่ใช้ -แบบสังเกต -คาถาม/ คาตอบ -แบบทดสอบ -แบบ ประเมิน ผลงาน


ตาแหลววัดท่าสะแบง

ตัวบ่งชี้สภาพความสาเร็จ ด้านผลลัพธ์ (OUTCOME) 1. บุคคลในชุมชนวัดท่าสะแบงมีนิสัย ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดริเริ่มสร้างสรรค์แบบ เศรษฐกิจพอเพียง นาเอาทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่นมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับวิถี ดาเนินชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในการทาขันหมากเบ็งโบราณ การ สานตาแหลว และการทาฮังมดแดง ในชุมชนวัดท่าสะแบง 2.บุคคลในชุมชนวัดท่าสะแบงมีส่วน ร่วมการสืบสานภูมิปัญญา ศิลปะและ วัฒนธรรมพื้นบ้านให้อยู่คู่กับสังคม ไทยอีสานอย่างยั่งยืนตลอดไป 3. บุคคล 3 วัยในชุมชนวัดท่าสะแบง มีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาวะที่ดี อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

13

การจัดกิจกรรม

การวัด ประเมินผล

-การอธิบาย -การบรรยาย -การสาธิต -การปฏิบัติ -จัดนิทรรศการ

-การสังเกต -การเข้าร่วม กิจกรรม -การทากิจกรรม -การถามคาถาม -การตอบคาถาม -การทดสอบ -ประเมินผลงาน

เครื่องมือ -แบบสังเกต -คาถาม/คาตอบ -แบบทดสอบ -แบบประเมิน ผลงาน

ประโยชน์ทไ ี่ ด้รบ ั 1. บุคคลในชุมชนวัดท่าสะแบงดาเนินวิถีชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้กับ ภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อย่างเหมาะสม 2. บุคคลในชุมชนวัดท่าสะแบง มีส่วนร่วมการสืบสานภูมิปัญญาไทย ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในการทาขันหมากเบ็งโบราณ การสานตาแหลวและการทาฮังมดแดง ให้อยู่คู่กับชุมชนวัดท่าสะแบง และสังคมไทยอีสานอย่างยั่งยืนตลอดไป 3. บุคคลทั้ง 3 วัยในชุมชนวัดท่าสะแบง มีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาวะที่ดี และอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข


ตาแหลววัดท่าสะแบง

14

โครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ โครงการวิถีชีวิตไทยสู่สุขภาวะ 3 วัย ในวัดท่าสะแบง กิจกรรมที่ 2 เรื่อง ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชนวัด ท่าสะแบง กิจกรรมที่ 2.2 การสานตา แหลววัดท่าสะแบง

ครั้งที่ 1 2

วัน เดือน ปี 7 พ.ค. 54 14 พ.ค. 54

3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

21 พ.ค. 54 28 พ.ค. 54 4 – 25 มิ.ย. 54 2 ก.ค. – 30 ก.ค. 54 6 ส.ค. – 10 ก.ย. 54 17 ก.ย. – 29 ต.ค. 54 5 พ.ย. – 17 ธ.ค. 54 24 ธ.ค. 54 30 ธ.ค. 54 30 ธ.ค. 54

กิจกรรมการเรียนรู้ ความเป็นมาของการสานตาแหลว - พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับตาแหลว - ประโยชน์และคุณค่าของตาแหลว วัสดุและอุปกรณ์ในการสานตาแหลว การเลือกไม้ไผ่ การตัดและการจักตอกไม้ไผ่ การเขียนลายตาแหลว การสานตาแหลว ลาย 4 แฉก การสานตาแหลว ลาย 6 แฉก การสานตาแหลว ลาย 8 แฉก คาถากากับตาแหลว การจัดนิทรรศการ การประเมินผล รวม

เวลา/ชม. 2 2 2 3 6 4 6 6 8 3 5 2 45


ตาแหลววัดท่าสะแบง

15

ตาแหลวกับวิถช ี ว ี ต ิ ไทยในชุมชนวัดท่าสะแบง

ตาแหลว ภาษาไทยภาคกลางเรียกว่า "เฉลว" เป็นเครื่องสานทาด้วยเส้นตอกไม้ไผ่และขัดไขว้ กั น ให้ ส่วนกลางมี ลัก ษณะเป็ นตาหกเหลี่ย ม มี แฉกยื่ นออกโดยรอบ ชาวอีส านได้ใ ช้ต าแหลว เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยเฉพาะการแสดงอาณาเขตหวงห้าม การแสดงอาณาเขตที่มี เจ้าของเป็นเครื่องช่วยให้พื้นที่บริเวณนั้น ๆ เพื่อให้แคล้วคลาดจากภัยพิบัติ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบ ต่าง ๆ ดังที่มักพบตาแหลวเสียบไม้ปักไว้ในแปลงข้าวกล้า เพื่อเป็นเครื่องเสริมกาลัง มิให้ข้าวกล้าถูก รบกวนจากศัตรูพืช หรือมีการแขวนตาแหลวกับด้ายสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่น ในเวลามีงานสาคัญ เช่น การทาบุญสืบชาตา ทาบุญเมือง เป็นต้น ความเป็นมาของตาแหลว พบร่องรอยในเรื่องราวที่เล่าเป็น ตานานว่า ณ เมืองหิรัญ นครเงินยาง มีกษัตริย์ครองเมืองชื่อว่า "ขุนเติง" กษัตริย์องค์นี้ชอบเข้าป่าล่าสัตว์ เป็นประจา ครั้งหนึ่งได้ปัสสาวะลงในบ่อหิน เผอิญลูกสาวของพญานาคในสภาพที่แปลงกายเป็นลิง ได้ลง ไปกินน้าปัสสาวะนั้น และตั้งครรภ์ขึ้นในเวลาต่อมา การตั้งครรภ์ของนางเป็นเหตุให้นางหลงรักกับขุนเติง เพราะรู้สาเหตุว่าเกิดจากการดื่มน้าปัสสาวะของขุนเติง ความรักนี้ทาให้นางแปลงกายเป็นหญิงงามอยู่ใน วิมานใต้ต้นไม้ แล้วเนรมิตกวางทองไปล่อให้ขุนเติงไล่ตาม จนพลัดหลงจากบริวารมาถึงวิมานของนาง แล้วได้อยู่กินร่วมกันอย่างมีความสุข วันหนึ่ง นางลิงอยากเล่นสนุกสนานตามวิสัยของสัตว์ จึงให้ขุนเติงอยู่ในวิมาน ส่วนนางได้เอา ผ้าม่านกั้นระหว่างใต้ต้นไม้กับบนต้นไม้ แล้วขึ้นไปเล่นกับพวกลิง และสัตว์ต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน ส่ง เสียงอึกทึกกันอยู่ ส่วนขุนเติงอยู่ในวิมานรู้สึกราคาญเสียงนั้น จึงเอามีดกรีดผ้าม่านดู จึงเกิดความหดหู่ใจ ถึงขั้นบอกลานางลิง ซึ่งนางก็เข้าใจในความรู้สึก ก่อนจากกัน นางลิงได้รีดเอาลูกในท้องออก แล้วเอาใบ "ตองตึง" (ใบพลวง) ห่อไว้ จากนั้นได้รีดนมใส่กระบอกไม้ นางมอบให้ขุนเติง โดยสั่งเสียว่าเมื่อไปถึง เมืองให้เอาเด็กออก แล้วให้นมในกระบอกไม้เป็นอาหาร หากเด็กโตขึ้นให้มีชื่อว่า "ขุนตึง" เพราะถูกห่อ ด้วยใบตองตึง เมื่อขุนตึงโตขึ้นตามกาลเวลาจนกระทั่งมีอายุได้ 16 ปี ครั้งหนึ่ง ได้เข้าป่าล่าเนื้อและได้ พบกับแม่ลิงโดยบังเอิญ แม่ลิงได้พาขุนตึงไปหาพญานาค ซึ่งเป็นตาของขุนตึง ครั้งนั้นแม่ลิงให้ขุนตึงขอ ของวิเศษ 2 อย่าง จากพญานาค คือ "หม้อแกงตองบ่จ่าย" (หม้อแกงโลหะที่ไม่ต้องใช้เงินจ่ายแต่ก็มีกิน ) และ "ขอขวักไขว่แปลงเมือง" (ตะขอที่เนรมิตเมืองได้) ทั้งสองอย่างมีวิธีใช้คือ ถ้าจะใช้หม้อแกงให้ ยกขึ้นตั้งบนเตา บอกว่าจะปรุงอาหาร จะมีเนื้อมีปลาปรากฏในหม้อ อาหารที่อยู่ ในหม้อก็จะสามารถ เลี้ยงคนนับหมื่นนับแสน ส่วนตะขอให้เอาแขวนไว้ในบริเวณที่จะนอน หากจะสร้างบ้านเมืองที่ใดให้เอา ตะขอนั้นกวัดแกว่งในเวลากลางคืนก็จะเกิดบ้านเมืองขึ้นทันตาเห็น ในวันที่ขุนตึงเดินทางกลับเมือง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

16

ระหว่างทางพบชัยภูมิแห่งหนึ่งเหมาะที่จะสร้างเมืองจึงแวะพักนอนค้างคืน ก่อนนอนได้เอาตะขอเกี่ยว กิ่งไม้ไว้บนหัวนอน พอตกดึก ขุนตึงได้ยกตะขอขึ้นกวัดแกว่งจึงเกิดบ้านเรือน ผู้คนและสัตว์เลี้ยงขึ้นใน ทันทีทันใดในเมืองนั้น ผู้คนไม่ต้องหุงหาอาหาร เพราะมีหม้อวิเศษเป็นแหล่งอาหารอยู่แล้ว ขุนตึงจึงได้ ขึ้นครองเมืองใหม่และเป็นปฐมกษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา กล่าวถึงบรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายที่เคยเป็นบริวารของนางลิง ต่างพากันดีใจที่บุตรชายของเจ้านาย ตนเองได้ครองเมืองจึงพากันมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองเป็นโกลาหล ขุนตึงพยายามควบคุมให้สัตว์อยู่ในความสงบ แต่ต่อมาสัตว์เหล่านั้น ก็ไปเหยียบย่ากัดกินพืชไร่ของชาวเมือง ทาให้เดือดร้อนไปทั่ว นานวันสัตว์ทั้งหลาย ยิ่งสร้างความเดือนร้อนขึ้นเรื่อย ขุนตึงจึงไปขอให้ "พญาแหลว" (พญาเหยี่ยว) มาจับจ้องคอยดูแล ใน ระยะแรกๆ สัตว์ ก็เกรงกลัวขณะในที่พญาแหลวจับตามอง แต่คราวใดที่พญาแหลวไม่อยู่ก็จะพากันออกมา ขโมยพืชไร่ แต่สุดท้ายพญาแหลวก็ไม่สามารถที่จะดูแลได้ตลอดเวลา ความนี้ได้ทราบถึงนางลิงผู้เป็น นายของสัตว์ป่า นางจึงได้แนะนาให้ขุนตึงสานตอกไม้ไผ่ ให้มีรูป "ดวงตา" ของ "แหลว" ไปปักไว้ในที่ ต่าง ๆ ที่เคยถูกรบกวน เมื่อสัตว์เห็นเป็นดวงตาของแหลว ก็จะไม่กล้าทาลายพืชพันธุ์ เพราะเข้าใจว่าพญา แหลว จะคอยจ้องดูอยู่ นางแนะนาเช่นนั้นแล้ว ก็ไปสั่งกาชับสัตว์บริวารต่าง ๆ ว่าตราบใดที่เห็นตาแหลว ปรากฏอยู่ที่ใดก็ตาม ห้ามเข้าไปรบกวนบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านอีสานจึงนิยมสานตาแหลวปักไว้ตามท้องนาท้องไร่ เพื่อป้องกันพืชผลและ นอกจากนี้ชุมชนวัดท่าสะแบง นิยมใช้ตาแหลวประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา และในศาสนพิธี เพื่อใช้ป้องกันภัยอันตรายและความชั่วร้ายทั้งปวง ในลักษณะเดียวกันด้วย


ตาแหลววัดท่าสะแบง

17

การเลือกไม้ไผ่

ชื่อไทย ไผ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa sp. ชื่อสามัญ ไผ่ Bamboo ตระกูล GRAMINEAE มงคล มีบ้านเรือนจานวนไม่น้อยเลย ที่นิยมปลูกต้นไม้ไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ไม่ว่าจะเป็นไผ่เหลืองทอง ไผ่สีสุก ไผ่เตี้ย หรือไผ่น้าเต้า การที่คนไทยนิยมปลูกต้นไผ่นั้น มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วว่าหาก ปลูกต้นไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยให้สมาชิกทุกคนภายในบ้าน เป็นคนที่ไม่คดโกงหรือเอารัด เอาเปรียบใคร ไม่ว่าจะประกอบอาชีพ อะไร ก็จะตั้งใจทาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรม ความ เชื่อเหล่านั้น ก็มีพื้นฐานมาจากลักษณะของต้นไผ่นั่นเอง ต้นไผ่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต กิ่งก้านสาขาที่เหยียดตรงและเรียบเนียน ส่วนด้านในของปล้องไผ่แต่ละปล้อง ก็จะมีแต่เนื้อไม้สีขาว บริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนโบราณเชื่อว่าไผ่สีสุก จะช่วยส่งผลให้สมาชิกทุกคนในบ้านนั้น ประสพ แต่ความสาเร็จ ร่ารวย เงินทอง มีความสุขกันถ้วนหน้า เพราะชื่อของไผ่ชนิดนี้ คล้องจองกับคาว่า “มั่งมี ศรีสุข” จึงช่วยให้เกิดความสุขความเจริญ แก่ผู้ปลูกกันทั่วทุกคน ชาวจีนก็เชื่อกันว่าไผ่จะเสริมมงคลให้ คนในบ้าน เป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจจริง มีปัญญาเลิศมีเหตุผล ชื่อตรง เอื้ออารี และกตัญญูรู้คุณ


ตาแหลววัดท่าสะแบง

18

เคล็ดปฏิบัติ ต้นไผ่ เหมาะจะนาไปปลูกไว้บริเวณริมรั้วของบ้าน เพราะธรรมชาติของต้นไผ่นั้น จะแตกหน่อเจริญ งอกงามอย่างรวดเร็ว จึงเหมาะจะปลูกแถบบริเวณที่โล่งกว้างของบ้าน การปลูกก็ควรจะปลูกต้นไผ่ไว้ทาง ทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อให้ต้นไผ่ได้รับแสงแดดยามเช้าอย่างเต็มที่ และควรจะลงมือปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ได้หลายๆ ทาง ควรจะปลูกในวันเสาร์ จึงจะงอกงามดี และเสริมมงคลดียิ่ง ผู้ที่เหมาะจะลงมือปลูกต้นไผ่มากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดในปีมะแม ซึ่งถ้าเป็นสมาชิกภายใน บ้านก็จะเป็นการดี เพราะต้นไผ่นั้น เป็นต้นไม้ประจาปีมะแม ดังนั้น ความเป็นมงคลของต้นไผ่ก็จะเพิ่มมาก ขึ้น ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีมะแม ก็ให้หัวหน้าครบครัวเป็นผู้ปลูกก็ถือว่าเป็นมงคลเช่นกัน ความเชื่อและพิธีกรรม งานไม้ไผ่ที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อไม้ไผ่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อของชาวเอเซียมาช้า นาน โดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นนั้น ไผ่เป็นไม้มงคล และเป็นสัญลักษณ์ของความแหลม และเจริญงอก งามของสติปัญญาดุจเดียวกับความแหลมคมของหนามไผ่ หน่อไผ่ และการเติบโตอย่างรวดเร็ว สาหรับคนไทยนั้น ไม้ไผ่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น คนไทยโบราณมักจะ สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาวินาทีแรกที่เรียกว่า ตกฟาก นั้น เพราะทารก ตกลงบนพื้นเรือนที่ทาด้วยไม้ไผ่ที่สับเป็นซี่ ๆ ที่เรียกว่า "ฟาก" นั่นเอง ไม้ไผ่เป็นคติสอนใจ เมื่อเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่ก็แตกหน่อทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ ลาต้นที่เป็นแม่ เปรียบเสมือนหัวแม่มือให้ลูก (หน่อ) แม่จะหาอาหารมาทานุบารุงให้เจริญเติบโตแก่ลูกแล้วก็ตายไป แต่ก็ ยังมีน้องต่อไปอีก เหมือนนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย แม่จะมีส่วนเลี้ยงหน่อไม้รวมทั้งลูกคนแรกด้วย จนวาระสุดท้ายที่เรียกว่า "กอไผ่ตายขุยทั้งกอ" เมล็ดไผ่ก็จะงอกเจริญเติบโตเป็นลาไผ่ แตกเป็นกอตาม ธรรมชาติอีกนับว่า กอไผ่เป็นระบบสังคมที่มีวัฒนธรรมไม่ผิดกับวัฒนธรรมของมนุษยชาติ คาพังเพยที่ว่า "ไผ่ลาเดียวไม่เป็นกอ ปอต้นเดียวไม่เป็นป่า " จะเห็นได้ว่าไผ่แต่ละลาของกอไผ่นั้น ต่า งช่ วยเหลือประคั บ ประคองซึ่ง กั นและกั น โอกาสที่ล มพายุ จะพัดให้โค่นล้มนับว่าเป็นไปได้ย าก เนื่องจากมีลาต้นคอยพยุงค้าจุนและยึดเหนี่ยวกันอยู่ ผิดกับต้นไม้ใหญ่ๆ ที่อยู่โดดเดี่ยวจะถูกลมพายุพัดพา หักโค่นลงได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ครูจึงสอนนักเรียนในเรื่องความสามัคคีว่า แขนงไผ่อันเดียวหักได้ ถ้าเอาแขนง ไผ่หลายๆ อันมามัดรวมกันไม่สามารถจะหักออกได้ ครูหลายคนบอกว่าการสั่งสอนอบรมนักเรียนให้เป็น คนดี ขยันหมั่นเพียรอยู่ในระเบียบวินัยต้องอาศัย " ต้นยอ กอไผ่ " หมายความว่า ครูต้องรู้จักชมเชย สรรเสริญเยินยอนักเรียนที่กระทาความดี เพื่อให้เกิดกาลังใจและเป็นตัวแอย่างที่ดีแก่คนอื่นด้วย ถ้านักเรียน


ตาแหลววัดท่าสะแบง

19

คนใดชม ก็แล้ว เอาใจก็แล้ว ยังดื้อด้าน เถลไถลออกนอกลู่นอกทาง ก็ต้องใช้กอไผ่ (เรียวไผ่) เสียบ้างให้ หลาบจา ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus asper Backer อยู่ในวงศ์ Gramineae สกุล Dendrocalamus Nees ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในแง่ของอาหาร และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นๆ โดยรสชาติและคุณสมบัติ เฉพาะด้านของ ไผ่ตงทาให้ผู้บริโภค นิยมรับประทาน

สภาพพืน ้ ทีท ่ ี่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตง ควรปลูกในพื้นที่ราบ น้าท่วมไม่ถึง ลักษณะดินที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้าดี ดิน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมประมาณ 5.5-6.5 สภาพภูมิอากาศ ไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปต้อง มีความชื้นเหมาะสม คือ มีฝนตก เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ควรมีน้าสะอาดเพียงพอสาหรับช่วงแล้ง

พันธุไ ์ ผ่ตง พันธุ์ไผ่ตงที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์ตรงดาและพันธุ์ตรงเขียว 

ไผ่ตงดา ตงจีน หรือตงกลาง หรือตงหวาน พันธุ์ไผ่ตงชนิดนี้ลาต้นจะมีสีเขียวเข้มอมดา ขนาดเล็กกว่าไผ่ตงหม้อ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลาต้น 912 เซนติเมตร ใบจะมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่และมองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีขนาดปานกลาง น้าหนักโดยเฉลี่ย 3-6 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและ ไม่มีเสี้ยน จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทาตงหมก ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพของ หน่อให้ดีขึ้นไปอีก ไผ่ตงเขียว พันธุ์ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลาต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดา มีเส้นผ่าศูนย์กลางลาต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลาต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บาง และ สีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้าหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้มีรสหวานอมขื่น เล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี


ตาแหลววัดท่าสะแบง

20

กอไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลาแก่อายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ออกขายหรือใช้ประโยชน์ ตามความ เหมาะสม โดยเหลือลาแม่ ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-20 ลาต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอ และเลี้ยงหน่อที่ออกใหม่ การตัดลาแก่ออกนี้ควรตัดจากลาที่อยู่กลางกอ กอไผ่ตงจะได้โปร่งและขยายออกกว้างขึ้น

การตัดไม้ไผ่สานตาแหลว การตัดไม้ไผ่สาหรับใช้สานตาแหลว ทาตามลาดับดังนี้ 1. การตัดไม้ไผ่กลางกอ เพื่อให้ได้ลาต้นไผ่ที่ตรงสวยงาม 2. การตัดไม้ไผ่เป็นปล้อง 3. การผ่าปล้องไม้ไผ่เป็นซีก 4. การผ่าซีกไม้ไผ่เป็นริ้ว 5. การผ่าริ้วไม้ไผ่ให้เป็นตอก (การจักตอกไม้ไผ่)


ตาแหลววัดท่าสะแบง

21

การจักตอกไม้ไผ่

การสานตาแหลววัดท่าสะแบง การสานตาแหลวในชุมชนวัดท่าสะแบง นิยมสานลายแฉก 3 ลาย ดังนี้ 1. การสานตาแหลว ลาย 4 แฉก 2. การสานตาแหลว ลาย 6 แฉก 3. การสานตาแหลว ลาย 8 แฉก


ตาแหลววัดท่าสะแบง

22

การสานตาแหลว ลาย 4 แฉก

การเตรียมวัสดุอป ุ กรณ์ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ไม้ไผ่กลางกอ เลื่อย มีดอีโต้ มีดบาง ผ้าพันนิ้วจักตอก ตอกไม้ไผ่ จานวน 8 เส้น


ตาแหลววัดท่าสะแบง

23

วิธีสานตาแหลว ลาย 4 แฉก 1. นาตอกไม้ไผ่เส้น 1 วางคู่ขนานกับเส้น 2 2. นาตอกเส้น 3 วางตั้งฉากระหว่างกึ่งกลางเส้น 2 ให้เส้น 3 อยู่ใต้เส้น 2 แล้ววางทับบนเส้น 1 3. นาตอกเส้น 4 วางขนานกับตอกเส้น 3 ให้อยู่ใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 2 ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม

4. นาตอกเส้น 5 วางขัดทับเส้น 1 สอดใต้เส้น 2 วางทับบนเส้น 4 สอดใต้เส้น 3 ทามุม 45 องศา กับเส้น 4 5. นาตอกเส้น 6 วางขัดทับเส้น 5 เส้น 2 เส้น 1 เส้น 4 เส้น 3 และทามุม 45 องศากับเส้น 4 โดยให้เส้น 6 อยู่ใต้เส้น 5 เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 5 เส้น 6 อยู่ใต้เส้น 4 และวางขัดทับเส้น 3


ตาแหลววัดท่าสะแบง

24

6. การพับแฉก 1 นาตอกเส้น 5 พับทับเส้น 1 ให้ขนานกับเส้น 6 7. นาตอกเส้น 6 พับลงใต้เส้น 2 ให้ขนานกับเส้น 5 ให้ปลายของเส้น 5 อยู่ใต้เส้น 6 ให้ปลายเส้น 6 อยู่ใต้เส้น 1 8. นาตอกเส้น 5 วางขัดทับบนเส้น 2 พับสลับไปมาจนสุดปลายตอก 9. การพับแฉก 2 นาตอกเส้น 7 สอดใต้เส้น 6 วางขัดทับบนเส้น 3-4 ให้เส้น 6 วางอยู่บนเส้น 7 และอยู่ใต้เส้น 3 ให้ปลายเส้น 7 อยู่ใต้เส้น 1 และ เส้น 2 10. นาตอกเส้น 6 พับทับบนเส้น 3 ให้ขนานกับเส้น 7 พับเส้น 7 ลงใต้เส้น 4 แล้ววางขัดทับเส้น 6 แล้วพับสลับไปมาจนสุดปลายตอก 11. นาตอกเส้น 8 สอดใต้เส้น 7 บนคู่ขัดเส้น 1-2 ให้ปลายตอกเส้น 8 อีกด้านอยู่ใต้เส้น 3 วางขัดทับ บนเส้น 5 สอดลงใต้เส้น 4


ตาแหลววัดท่าสะแบง

25

12. การพับแฉก 3 พับตอกเส้น 7 หักทับบนเส้น 2 ให้ขนานกับเส้น 8 แล้วพับเส้น 8 ลงใต้เส้น 1 ให้ขนานกับเส้น 7 ให้ตอกเส้น 7 วางขัดทับกับเส้น 8 แล้วพับสลับไปมาจนสุดปลายตอก 13. การพับแฉก 4 นาตอกเส้น 5 วางทับบนเส้น 4 ให้อยู่ใต้เส้น 8 แล้วพับเส้น 5 ลงใต้เส้น 3 ให้ขนานกับเส้น 8 ให้ตอกเส้น 8 อยู่ใต้เส้น 3 แล้ววางทับบนเส้น 5 แล้วสอดลงใต้เส้น 4 14. พับตอกเส้น 8 วางขัดทับบนเส้น 4 ให้ขนานกับเส้น 5 แล้วพับสลับไปมาจนสุดปลายตอก 15. ตัดปลายตอกที่เหลือทั้ง 4 แฉก แล้วจัดตกแต่งตาแหลว ลาย 4 แฉก ให้ได้รูปทรงสวยงาม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

26

ความหมายของตาแหลว ลาย 4 แฉก ความหมายของตาแหลว ลาย 4 แฉก เปรียบเสมือนกับทิศทั้ง 4 ดังนี้ ทิศเหนือ หรือ ทิศอุดร เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ โดยมากทิศเหนือจะกาหนดอยู่ด้านบนของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร น หรืออักษร N ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกาหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศ เหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกาหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว


ตาแหลววัดท่าสะแบง

27

ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศ ตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกาหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของ แผนทีท่ างภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว อวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์นั้น ผู้ที่มิได้มีความรู้ด้านการแพทย์ดูแล้วอาจจะสับสนยากต่อการ จดจา การแพทย์จีนจึงได้กาหนดเอาอวัยวะภายในเปรียบกับธาตุทั้ง 5 และทิศทั้ง 4 เพื่อให้ง่ายต่อการจดจา ดังนี้ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ศูนย์กลาง

เปรียบกับธาตุน้า ได้แก่ ไต กระเพาะปัสสาวะ เปรียบกับธาตุไฟ ได้แก่ หัวใจ ลาไส้เล็ก เยื่อหุ้มหัวใจ สามส่วน เปรียบกับธาตุไม้ ได้แก่ ตับ ถุงน้าดี เปรียบกับธาตุทอง ได้แก่ ปอด ลาไส้ใหญ่ เปรียบกับธาตุดิน ได้แก่ ม้าม กระเพาะอาหาร

อวัยวะภายในร่างกายกับทิศทัง้ 4


ตาแหลววัดท่าสะแบง

28

จากภาพแผนภูมิ วิธีจดจาจุดที่ตั้งอวัยวะภายในของร่างกายเราให้ง่ายขึ้น โดยการจาภาพแผนภูมิ ให้ได้เสียก่อน เมื่อจาได้แล้ว ให้ก้มมองที่ลาตัวของเรา เหมือนกับว่าภาพแผนภูมิได้ติดอยู่บนลาตัว ให้ทิศ เหนืออยู่ด้านล่าง ทิศใต้อยู่บนหน้าอก เพียงเท่านี้ก็จะรู้ที่ตั้งของอวัยวะภายใน ทิศ เหนือ เป็ น ทิ ศ แห่ง ธาตุน้ า หมายเลขประจาทิศ คือ 1 ทิศ นี้ จะบ่ง บอกถึง หน้ าที่ ก ารงาน ธุร กิ จ ความก้าวหน้า ถ้าตาแหน่งทิศนี้อยู่ในสภาพที่สมดุล เหมาะสมเสริมทิศได้โดย การวางน้าสะอาดที่มีการ ไหลเวียนอย่างพอดี จัดวางวัสดุทรงกลมสี ขาว หรือโคมไฟสีขาวเพื่อกระตุ้นโชคการงาน หรือวางวัสดุ ตกแต่งที่เป็นโลหะ สีก็ควรใช้ ขาว ทอง เงิน ดา น้าเงิน ฟ้า ทิศใต้ เป็นทิศแห่งธาตุไฟ หมายถึงชื่อเสียง เกียรติยศ การจดจา เครดิต เลขประจาทิศคือ 9 ถ้าตาแหน่งนี้มี ความสมดุล จะส่งเสริมผู้ที่อยู่อาศัยในสถานที่นั้นๆ ตามที่กล่าวมา เสริมทิศทาได้โดยจัดวางโคมไฟสีแดง วัสดุตกแต่งทาจากไม้ สีที่ควรใช้คือ สีแดง ส้ม เหลืองจัด และเขียว

ทิศตะวันออก เป็นทิศแห่งธาตุไม้ หมายเลขประจาทิศคือ 3 เกี่ยวพันกับครอบครัว ถ้าทิศนี้มีความบกพร่อง ก็จะเกิดปัญหาที่วุ่นวายภายในครอบครัว ดังนั้นจึงควรดูแลโดย ไม่นาเอาวัสดุที่เป็นโลหะมาจัดวางไว้ใน ตาแหน่งนี้ แต่ควรมีต้นไม้ที่แข็งแรงสวยงามตั้งอยู่แทน ทิศตะวันตก เป็นทิศแห่งธาตุทอง(โลหะ) เกี่ยวพันกับบริวาร เด็กๆ หรือลูกหลาน ควรดูแลโดยการประดับ ตาแหน่งนี้ด้วยของประดับโลหะ เซรามิค ดินเผา หรือเครื่ องแก้ว เพื่อส่งเสริมมงคลให้กับคนในที่อยู่อาศัย ถ้าเกิดความบกพร่องในทิศนี้ บริวาร ลูกหลาน จะมีปัญหา และอาจสร้างปัญหาได้ หมายเลขประจาทิศคือ 7 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ธาตุดินเป็นธาตุประจาทิศนี้ เกี่ยวพันกับวิสัยทัศน์ ความรู้ภูมิปัญญา ถ้าทิศนี้มี ความเสื่อม จะทาให้สติปัญญาของคนในที่นั้นๆติดขัด แก้ปัญหาต่างๆได้ยากลาบาก ควรดูแลและส่งเสริม โดยจัดวางโคมไฟสีแดง หรือเหลืองสดไว้ในตาแหน่งนี้ หมายเลขประจาทิศคือ 8 ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ธาตุไม้ เป็นทิศแห่งความมั่งคั่ง การเงิน การทอง การเพิ่มพูนของทรัพย์สิน การดูแล จะคล้ายกับทิศตะวันออก ถ้ามีการตั้งน้าพุ หรือเลี้ยงปลาในตาแหน่งนี้จะช่วยกระตุ้น และส่งเสริมความ ร่ารวยของผู้อยู่อาศัย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ธาตุทอง(โลหะ) เกี่ยวพันกับการปกป้องคุ้มครอง ช่วยเหลือ ผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ผู้ชาย ควรดูแลโดยการวางของตกแต่งบ้านที่เป็นโลหะ แต่ต้องไม่ควรมีเหลี่ยมคม และเสริมได้อีกโดยเพิ่ม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

29

แจกันดิน ณ ตาแหน่งนี้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นทิศแห่งธาตุดิน เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ ความรัก การยอมรับ ชีวิตคู่ และโชค ด้านความรัก และยังหมายถึงแม่ด้วย ควรติดตั้งโคมไฟสีแดง หรือเหลือง เพิ่มกระตุ้นมงคล ถ้าตาแหน่งนี้ เสียหาย จะทาให้เกิดปัญหาด้านความรัก และสุขภาพของผู้ใหญ่ที่เป็นหญิงในสถานที่นั้นมีปัญหา

การสานตาแหลว ลาย 6 แฉก


ตาแหลววัดท่าสะแบง

30

การเตรียมวัสดุอป ุ กรณ์ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ไม้ไผ่กลางกอ เลื่อย มีดอีโต้ มีดบาง ผ้าพันนิ้วจักตอก ตอกไม้ไผ่ จานวน 12 เส้น

วิธีสานตาแหลว ลาย 6 แฉก 1. 2. 3. 4. 5. 6.

นาตอกไม้ไผ่เส้น 1 วางคู่ขนานกับเส้น 2 นาตอกเส้น 3 วางขัดทับบนเส้น 1 และ 2 นาตอกเส้น 4 วางทับเส้น 3 วางขัดทับให้อยู่ใต้เส้น 1 แล้ววางขัดทับบนเส้น 2 นาตอกเส้น 5 สอดใต้เส้น 3 แล้ววางขัดทับบนเส้น 1-2 นาตอกเส้น 6 สอดใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 5 สอดใต้เส้น 2 แล้ววางขัดทับบนเส้น 4 นาตอกเส้น 7 สอดใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 2 สอดใต้เส้น 3 แล้ววางขัดทับบนเส้น 5


ตาแหลววัดท่าสะแบง

31

7. นาตอกเส้น 8 สอดใต้เส้น 2 วางขัดทับบนเส้น 7 สอดใต้เส้น 1 นาเส้น 7 วางขัดทับบนเส้น 1 8. นาตอกเส้น 9 สอดใต้เส้น 4 วางขัดทับบนเส้น 8 สอดใต้เส้น 5 นาเส้น 8 วางขัดทับบนเส้น 5 9. นาตอกเส้น 10 สอดใต้เส้น 3 วางขัดทับบนเส้น 9 สอดใต้เส้น 6 นาเส้น 9 วางขัดทับบนเส้น 6 10. นาตอกเส้น 11 สอดใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 10 สอดใต้เส้น 2 แล้ววางขัดทับบนเส้น 5 11. นาตอกเส้น 12 สอดใต้เส้น 8 วางทับบนเส้น 3 สอดใต้เส้น 7 วางขัดทับบนเส้น 6 สอดใต้เส้น 4 วางทับบนเส้น 11 สอดใต้เส้น 5 วางขัดทับบนเส้น 10 แล้วจัดตาแหลวให้ได้รูปทรงสวยงาม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

32

12. การพับแฉก 1 พับตอกเส้น 12 พับทับบนเส้น 5 ใช้ตอกเส้น 11 หักทับลงใต้เส้น 4 นาเส้น 12 วางขัดทับบนเส้น 11 แล้วพับแฉก 1 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 13. การพับแฉก 2 พับตอกเส้น 7 พับทับบนเส้น 6 ใช้ตอกเส้น 12 หักทับลงใต้เส้น 3 นาเส้น 7 ขัดทับบนเส้น 3 แล้วพับแฉก 2 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 14. การพับแฉก 3 พับตอกเส้น 8 พับทับบนเส้น 2 ใช้ตอกเส้น 7 หักทับลงใต้เส้น 1 แล้วพับแฉก 3 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 15. การพับแฉก 4 พับตอกเส้น 9 พับทับบนเส้น 4 ใช้ตอกเส้น 8 หักทับลงใต้เส้น 5 แล้วพับแฉก 4 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก


ตาแหลววัดท่าสะแบง

33

16. การพับแฉก 5 พับตอกเส้น 10 พับทับบนเส้น 3 ใช้ตอกเส้น 9 หักทับลงใต้เส้น 6 แล้วพับแฉก 5 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 17. การพับแฉก 6 พับตอกเส้น 11 พับทับบนเส้น 1 ใช้ตอกเส้น 10 หักทับลงใต้เส้น 2 แล้วพับแฉก 6 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 18. ตัดปลายตอกที่เหลือทั้ง 6 แฉก แล้วจัดตกแต่งตาแหลว ลาย 6 แฉก ให้ได้รูปทรงสวยงาม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

34

ความหมายของตาแหลว ลาย 6 แฉก ทิศทั้ง 6 ในทางพระพุทธศาสนา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ทิศต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือไต้ ทิศบูรพา อย่างนี้เป็นต้น แต่คาว่า ทิศ ในที่นี้ (ในพระพุทธศาสนา) หมายถึง บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา คือผู้ที่เราควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ มีด้วยกัน 6 อย่าง ดังนี้


ตาแหลววัดท่าสะแบง

1. 2. 3. 4. 5. 6.

35

ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย ทิศเบื้องต่า ได้แก่ บ่าว ไพร่ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ หรือ นักบวช

ในครั้งสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งขณะพระองค์ กาลังเสด็จรับบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นมาณพ (ผู้ชาย) คนหนึ่งชื่อ สิงคาละ กาลังประนมมือน้อม นมัสการทิศทั้งหกนั้น (หมายถึง ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก เป็นต้น) เพื่อสกัดกั้นอันตราย อันจะมีมา แต่ทิศนั้น ๆ เขาซึ่งเคารพเชื่อฟังคาพูดของพ่อ จึงทาเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่า ทิศทั้งหกนี้ ในพุทธศาสนาเขาไม่ได้ไหว้กันอย่างนั้น แล้วทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้งหก ในพระพุทธศาสนาให้เขาฟัง ดังนี้คือ 1. ปุริตถิมทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า หมายถึง พ่อและแม่ วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ * เลี้ยงดูท่าน * ช่วยท่านทากิจการงาน * ดารงวงศ์สกุลไว้ * ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท * เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ต้องทาบุญอุทิศไปให้ท่าน ในทางกลับกัน ผู้เป็นพ่อ แม่ พึงอนุเคราะห์ต่อลูก ดังนี้ คือ * ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว * สอนให้ตั้งอยู่ในความดี * ให้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา * หาภรรยาที่เหมาะสม และสมควรให้ * มอบทรัพย์มรดกให้ 2. ทักขิณทิศ คือ ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูอาจารย์ วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ * ลุกขึ้นยืนรับ * เข้าไปคอยรับใช้ * เคารพเชื่อฟังคาสั่งสอนของท่าน * อุปฐาก ปรนนิบัติท่าน


ตาแหลววัดท่าสะแบง

36

* ตั้งใจเรียนศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพ ในทางกลับผู้เป็นครู อาจารย์ พึงอนุเคราะห์ตอบต่อศิษย์ ดังนี้ คือ * ให้คาแนะนาที่ดี * ให้ตั้งใจเรียน * บอกวิชาความรู้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบัง * ยกย่องศิษย์ให้ปรากฏแก่เพื่อนฝูง * ปกป้องศิษย์จากอันตรายจากทุกทิศทาง 3. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง หมายถึง ภรรยา วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ * ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา * ไม่ดูหมิ่น * ไม่ประพฤตินอกใจ * มอบความเป็นใหญ่ให้ * ให้เครื่องแต่งตัว ในทางกลับกันผู้เป็นภรรยา พึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้ คือ * จัดการงานให้ดี (ดูแลบ้าน) * สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี (ญาติของสามี) * ไม่ประพฤตินอกในสามี * รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ * ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง 4. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง เพื่อน วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ * เผื่อแผ่แบ่งปัน * พูดจาไพเราะ มีน้าใจ * ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน * ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย * ซื่อสัตย์จริงใจต่อกันและกัน

5. เหฏฐิมทิศ คือ ทิศเบื้องล่าง หมายถึง คนงาน หรือ คนรับใช้ (บ่าว) วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้ * จัดการงานให้ทาตามสมควรแก่กาลัง ความสามารถ * ให้ค่าจ้าง และให้รางวัล * รักษาพยาบาลในเวลาที่เขาเจ็บไข้


ตาแหลววัดท่าสะแบง

37

* ได้ของแปลกๆ พิเศษๆ มาก็แบ่งปันให้ * นอกจากวันหยุดปกติแล้ว ก็ปล่อยให้หยุดในวันอื่นบ้างตามสมควรแก่สมัย ในทางกลับกัน บ่าวคนรับใช้ หรือ ลูกจ้าง พึงปฏิบัติต่อ เจ้านาย หรือ นายจ้าง ดังนี้ คือ * ลุกขึ้นมาทางานก่อนนาย * เลิกงานทีหลังนาย * ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้เท่านั้น * ทางานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ * นาคุณธรรมความดีของนายไปสรรเสริญในที่ไปที่นั้นๆ 6. อุปริมทิศ คือ ทิศเบื้องบน หมายถึง พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ นักบวช วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้ * จะทาสิ่งใด ก็ทาด้วยความเมตตา * จะพูดอะไร ก็พูดด้วยความเมตตา * จะคิดอะไร ก็คิดด้วยความเมตตา * ต้อนรับด้วยความเต็มใจ (ไม่ปิดประตูเรือน) * อุปัฏฐากบารุงท่านด้วยปัจจัย 4 ( เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ในทางกลับกันฝ่ายพระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ นักบวช พึงอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ คือ * ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว * สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี * อนุเคราะห์ด้วยน้าใจอันงาม * ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (ศึกษารู้ธรรมะอะไรมาที่ยังไม่เคยฟัง ก็มาเล่าให้ฟัง) * ทาสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง (อธิบายธรรมะที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง) * บอกหนทางสวรรค์ให้ (บอกวิธีทาความดีต่างๆที่จะเป็นหนทางไปสวรรค์ให้)

บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเราตามฐานะต่าง ๆ เปรียบเหมือนกับทิศทั้งหลายที่ล้อมรอบ ตัวเราอยู่ จาแนกออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1. ปุรัตถิมทิส คือ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา 2. ทักขิณทิส คือ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์


ตาแหลววัดท่าสะแบง

3. 4. 5. 6.

38

ปัจฉิมทิส คือ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ ภรรยา อุตตรทิส คือ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย เหฎฐิมทิส คือ ทิศเบื้องต่า ได้แก่ บริวาร คนรับใช้ อุปริมทิส คือ ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์

ทิศทั้ง 6 มีความสาคัญและอยู่ในสถานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้วางหลักหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติต่อทิศต่าง ๆ ดังนี้ 1. บุตร ธิดา พึงบารุงมารดา บิดา ด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ท่านเลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ 2. ช่วยทากิจของท่าน 3. ดารงวงศ์สกุล 4. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก 5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทาบุญอุทิศให้ท่าน มารดา บิดา พึงอนุเคราะห์บุตร ธิดา ด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ห้ามมิให้ทาความชั่ว 2. ให้ตั้งอยู่ในความดี 3. ให้ศึกษาศิลปวิทยา 4. หาภรรยาที่สมควรให้ 5. มอบทรัพย์ให้ในสมัย 2. ศิษย์ พึงบารุงครูอาจารย์ด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ด้วยลุกขึ้นยืนรับ 2. ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ 3. ด้วยเชื่อฟัง 4. ด้วยอุปัฎฐาก 5. ด้วยเรียนศิลปะวิทยาโดยเคารพ

ครู 1. 2. 3.

อาจารย์ พึงอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน 5 ดังนี้ แนะนาดี ให้เรียนดี บอกศิลปะให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอาพราง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

4. ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง 5. ทาความป้องกันในทิศทั้งหลาย 3. สามี พึงบารุงภรรยาด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา 2. ด้วยไม่ดูหมิ่น 3. ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ 4. ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ 5. ด้วยให้ของกานัลในโอกาสต่าง ๆ ภรรยา พึงอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. จัดการงานดี 2. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี 3. ไม่ประพฤติล่วงใจสามี 4. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ 5. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง 4. บุคคล พึงบารุงมิตรสหายด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ด้วยเผื่อแผ่แบ่งปัน 2. ด้วยเจรจาถ้อยคาไพเราะ 3. ด้วยประพฤติประโยชน์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4. ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ 5. ด้วยซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน มิตร สหาย พึงอนุเคราะห์ตอบด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว 2. รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว 3. เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพานักได้ 4. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก 5. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร 5. นาย พึงอนุเคราะห์บริวารด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ด้วยจัดการงานให้ทาตามสมควรแก่กาลัง 2. ด้วยให้อาหารและรางวัล 3. ด้วยพยาบาลในเวลาเจ็บไข้

39


ตาแหลววัดท่าสะแบง

40

4. ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน 5. ด้วยปล่อยในสมัย บริวาร พึงอนุเคราะห์นายด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. ลุกขึ้นทางานก่อนนาย 2. เลิกการงานทีหลังนาย 3. ถือเอาแต่ของที่นายให้ 4. ทางานให้ดีขึ้น 5. นาคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ 6. คฤหัสถ์ พึงบารุงพระสงฆ์ด้วยสถาน 5 ดังนี้ 1. จะทาสิ่งใดก็ทาด้วยความเมตตา 2. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยความเมตตา 3. จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยความเมตตา 4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4 พระสงฆ์ พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยสถาน 6 ดังนี้ 1. ห้ามไม่ให้กระทาความชั่ว 2. ให้ตั้งอยู่ในความดี 3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี 4. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 5. ทาสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง 6. บอกทางสวรรค์ให้

หลักการปฏิบัติตนตามหลักทิศ 6 ทิศ 6 คือ หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบ ตัวเราออกเป็น 6 ด้าน ซึ่งเปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย


ตาแหลววัดท่าสะแบง

41

1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา 2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย 5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ 6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและ ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังรูป ที่แสดงถึง ทิศ 6

ที่มา http://www.learntripitaka.com/scruple/thit6.htm ที่มา https://www.myfirstbrain.com


ตาแหลววัดท่าสะแบง

42

การสานตาแหลว ลาย 8 แฉก

การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1. ไม้ไผ่กลางกอ 2. เลื่อย 3. มีดอีโต้ 4. มีดบาง 5. ผ้าพันนิ้วจักตอก 6. ตอกไม้ไผ่ จานวน 16 เส้น


ตาแหลววัดท่าสะแบง

43

วิธส ี านตาแหลว ลาย 8 แฉก 1. 2. 3. 4. 5. 6.

นาตอกไม้ไผ่เส้น 1 วางคู่ขนานกับเส้น 2 นาตอกเส้น 3 สอดใต้เส้น 1 แล้ววางขัดทับบนเส้น 2 นาตอกเส้น 4 สอดใต้เส้น 2 วางขัดทับบนเส้น 3 แล้วสอดใต้เส้น 1 นาตอกเส้น 5 สอดใต้เส้น 4 แล้ววางขัดทับบนเส้น 1 นาตอกเส้น 6 สอดใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 5 สอดใต้เส้น 2 แล้ววางขัดทับบนเส้น 4 นาตอกเส้น 7 สอดใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 2 สอดใต้เส้น 3 แล้ววางขัดทับบนเส้น 5


ตาแหลววัดท่าสะแบง

44

7. นาตอกเส้น 7 สอดใต้เส้น 2 บนคู่ขัดเส้น 6- 5 ใต้คู่ขัดเส้น 1- 4 แล้ววางขัดบนเส้น 3 8. นาตอกเส้น 8 สอดใต้เส้น 6 บนคูข่ ัดเส้น 2-5 ใต้คู่ขัดเส้น 6-4 แล้ววางขัดบนเส้น 1 9. นาตอกเส้น 9 สอดใต้เส้น 5 แล้ววางขัดทับบนเส้น 4


ตาแหลววัดท่าสะแบง

45

10. การพับแฉก 1 นาตอกเส้น 10 สอดวางบนเส้น 5 สอดใต้เส้น 9 แล้ววางขัดทับบนเส้น 4 พับเส้น 9 พับทับเส้น 4 พับเส้น 10 ลงใต้เส้น 5 แล้ววางขัดกับเส้น 9 พับทับเส้น 5 ให้เส้น 10 วางอยู่ใต้เส้น 4 แล้วพับแฉก 1 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 11. การพับแฉก 2 นาตอกเส้น 11 สอดวางบนเส้น 2 สอดใต้เส้น 10 วางขัดทับบนเส้น 1 พับเส้น 11 ลงใต้เส้น 2 พับเส้น 10 วางขัดบนเส้น 1 แล้ววางขัดทับกับเส้น 11 แล้วพับแฉก 2 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 12. การพับแฉก 3 นาตอกเส้น 12 สอดใต้เส้น 8 วางขัดทับบนเส้น 11 สอดใต้เส้น 7 พับเส้น 12 ลงใต้เส้น 2 วางขัดทับเส้น 8 พับเส้น 11 สอดลงใต้เส้น 7 แล้ววางขัดทับกับเส้น 12 แล้วพับแฉก 3 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 13. การพับแฉก 4 นาตอกเส้น 13 สอดใต้เส้น 3 วางขัดทับบนเส้น 12 สอดใต้เส้น 6 พับเส้น 13 พับทับเส้น 3 พับเส้น 12 สอดลงใต้เส้น 6 แล้ววางขัดทับกับเส้น 13 แล้วพับแฉก 4 ตามวิธีนี้จนสุด ความยาวของตอก


ตาแหลววัดท่าสะแบง

46


ตาแหลววัดท่าสะแบง

47

14. การพับแฉก 5 นาตอกเส้น 14 สอดใต้เส้น 4 วางขัดทับบนเส้น 13 สอดใต้เส้น 5 พับเส้น 14 พับทับเส้น 4 พับเส้น 13 สอดลงใต้เส้น 5 แล้ววางขัดทับกับเส้น 14 แล้วพับแฉก 5 ตามวิธีนี้จนสุด ความยาวของตอก 15. การพับแฉก 6 นาตอกเส้น 15 สอดลงใต้เส้น 1 วางขัดทับบนเส้น 14 สอดใต้เส้น 2 พับเส้น 15 พับทับเส้น 1 พับเส้น 14 สอดลงใต้เส้น 2 แล้ววางขัดทับกับเส้น 15 แล้วพับแฉก 6 ตามวิธีนี้จนสุด ความยาวของตอก 16. การพับแฉก 7 นาตอกเส้น 16 สอดลงใต้เส้น 7 วางขัดทับบนเส้น 15 สอดใต้เส้น 8 พับเส้น 16 พับทับเส้น 7 พับเส้น 15 สอดลงใต้เส้น 8 แล้ววางขัดทับกับเส้น 16 แล้วพับแฉก 7 ตามวิธีนี้จนสุด ความยาวของตอก 17. การพับแฉก 8 นาตอกเส้น 16 วางขัดทับบนเส้น 9 สอดลงใต้เส้น 3 พับเส้น 9 แล้วสอดลง ใต้เส้น 6 พับเส้น 16 วางขัดทับเส้น 3 แล้วพับแฉก 8 ตามวิธีนี้จนสุดความยาวของตอก 18. ตัดปลายตอกที่เหลือทั้ง 8 แฉก แล้วจัดตกแต่งตาแหลว ลาย 8 แฉก ให้ได้รูปทรงสวยงาม


ตาแหลววัดท่าสะแบง

48

ความหมายของการสานตาแหลว ลาย 8 แฉก การสานตาแหลว ลาย 8 แฉก มีความหมายเปรียบกับทิศทั้ง 8 ดังนี้ 1. ทิศบูรพา หมายถึง ทิศตะวันออก 2. ทิศอาคเนย์ หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ 3. ทิศทักษิณ หมายถึง ทิศใต้ 4. ทิศหรดี หมายถึง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 5. ทิศปัจจิม หมายถึง ทิศตะวันตก 6. ทิศพายัพ หมายถึง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 7. ทิศอุดร หมายถึง ทิศเหนือ 8. ทิศอิสาน หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ทิศหลักและทิศทัง้ 8 ทิศหลักมี 4 ทิศ ได้แก่ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง ทิศหลักทั้ง 4 ซึ่งแต่ละทิศจาทามุม 45 องศา ดังนี้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างทิศตะวันตกกับทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างทิศตะวันตกกับทิศใต้

ตาแหน่งทิศทัง้ แปด


ตาแหลววัดท่าสะแบง

49

ลักษณะของธาตุกบ ั ทิศทัง้ 8

ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ

มีลักษณะของ มีลักษณะของ มีลักษณะของ

ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุน้า


ตาแหลววัดท่าสะแบง

ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้

50

มีลักษณะของ มีลักษณะของ มีลักษณะของ มีลักษณะของ มีลักษณะของ

ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุดิน

แหล่งอ้างอิง ภูมิปัญญาพื้นบ้านชุมชนวัดท่าสะแบง บ้านท่าสะแบง อาเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด อุทิส ศิริวรรณ. หนังสือเรียนนักธรรมชั้นตรี ฉบับมาตรฐาน บูรณาการชีวิต นวโกวาท. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์, 2549. http://www.learntripitaka.com/scruple/thit6.htm https://www.myfirstbrain.com


ตาแหลววัดท่าสะแบง

51

ภาพกิจกรรมการเรียนรูก ้ ารสานตาแหลววัดท่าสะแบง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

52

ภาพกิจกรรมการเรียนรูก ้ ารสานตาแหลววัดท่าสะแบง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

53

ภาพกิจกรรมการเรียนรูก ้ ารสานตาแหลววัดท่าสะแบง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

54

พิธก ี รรมและความเชือ ่ การใช้ตาแหลวในชุมชนวัดท่าสะแบง


ตาแหลววัดท่าสะแบง

55

คณะผูจ ้ ด ั ทา 1. พระครูสุทธิวโรภาส 2. พระอนุสรณ์ ปภัสฺสโร 3. พระมหา ดร.ทองจันทร์ กมโล 4. คณะสงฆ์วัดท่าสะแบงทุกรูป 5. นางคมทอง จานงค์จิตร 6. นางทองทรัพย์ ปัตโต 7. นายดวน เอกวุธ 8. เรือเอกอานวย ภูมิภักดิ์ 9. นายประพันธ์ ดิลกศรี 10. นายประดิษฐ์ ฤทธิวุฒิ 11. นายสารอง มาลาขันธ์ 12. ดร.วัชรินทร์ แสนรุ่งเมือง

ประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประสานงาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ปรึกษาและถอดบทเรียน


ตาแหลววัดท่าสะแบง

56


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.