สร้างสุข 95

Page 1

ปีที่ 6 ฉบับที่ 95 สิงหาคม 2552


มุ่งมั่นและหยาดเหงื่อในเดือนที่ผ่านมา 6

จากใจผู้จัดการ

สวัสดีครับ ภาคีสุขภาวะ 4

นายกรัฐมนตรี

10 เรื่องเด่นประจำฉบับ

“นมแม่” คำตอบในภาวะฉุกเฉิน!

32

8 รายงานพิเศษ 2

30

26 ถ้าคิดได้ก็ไม่มีอุบัติเหตุ

เมื่อ “จีดีพี” ไม่อาจวัด “ความสุข”

ฮีโร่แมน...ตุ๊กตุ่นอันตราย!!

16 เขตปลอดบุหรี่ 17 เรื่องเล่าไร้แอลกอฮอล์ 18 รู้ข้ามโลก

3 จากใจผู้จัดการ 4 รายงานพิเศษ 1 ปฎิรูปประเทศไทย

7 กระดานความคิด

ตอน...ถึงเวลารื้อระบบวิจัยของชาต

การศึกษาแบบไหน สร้างประเทศไทย ให้ “น่าอยู่ที่สุดในโลก”

8 รายงานพิเศษ 2

เมื่อ “จีดีพี” ไม่อาจวัด “ความสุข”

10 เรื่องเด่นประจำฉบับ

“นมแม่” คำตอบในภาวะฉุกเฉิน!

14 สัมภาษณ์พิเศษ แม่สร้างคน คนสร้างชาติ

“ประยงค์ รณรงค์” “แทนคุณ จิตต์อิสระ”

รู้ทันไข้หวัดใหญ่ 2009

20 รายงานพิเศษ 3 แลปากพูน-ดูไม้เรียง

22 มีของดีมาเล่า ดื่มเหล้าในงานศพ ค่านิยมที่ต้อง ล้าง! 24 สุขกับงาน

26

องค์กรแห่งความสุข ส.ขอนแก่น ถ้าคิดได้ก็ไม่มีอุบัติเหตุ ฮีโร่แมน...ตุ๊กตุ่นอันตราย!!

28 หน้าต่างแห่งความสุข เก็บตกเวทีเสริมพลังสื่อพื้นบ้านฯ 30 รายงานพิเศษ 4 เมื่อหวัดใหญ่ 2009 คุกคาม คนอ้วน! 32 เคล็ดลับคนดังสุขภาพดี “ทานให้พอดี”เคล็ดลับสุขภาพดีแบบ

‘นิธินาฎ ราชนิยม’

บริหารกาย-ใจด้วยโยคะร้อน

33 ออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ

34 บอกข่าวเล่าสุข คิดดี โชว์เคส 09 35 Board update 36 มุ่งมั่นและหยาดเหงื่อในเดือนที่ผ่านมา 39 โทรโข่งเล่าข่าว

กองบรรณาธิการจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพฉบับสร้างสุข 979 ชั้น 34 อาคาร เอส.เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 โทร 0-2298-0500 ต่อ 3006 และ 3047 โทรสาร 0-2298-0499 หรือ e-mail : ruethairat@thaihealth.or.th

(อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้ประชุมคณะกรรมการกองทุน สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพในการประชุ ม เดื อ นกรกฎาคมนี้ ที่ ป ระชุ ม ได้ ทบทวนสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เห็นว่าสสส.ควรมีบทบาทมาก ยิ่งขึ้นในการสนับสนุนการควบคุมไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพร่ระบาด นพ.มงคล ณ สงขลา ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะทำงานสู้ศึกไข้หวัดใหญ่ 2009 ในคณะอนุกรรมการร่วมของ สสส. ซึ่งประกอบขึ้นด้วยนักวิชาการจาก หลายมหาวิทยาลัยร่วมกับกลุ่มนักสื่อสารรณรงค์ฝีมือดี “วอร์รูม” นี้เริ่มงานแล้ว และมีแนวคิดหลักคือ นอกเหนือจากการให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูก ต้องแล้ว การสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆของสังคมสามารถ “พึ่งตนเอง” ในระดับ ของหมู่คณะจะช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้มาก ตัวอย่างเช่น โรงเรียน โรงงาน ออฟฟิศ ศูนย์การค้า ยวดยานสาธารณะ เป็นต้น โดยผู้บริหารและบุคลากรทุก คนควรตระหนักว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นปัญหาของทุกคนที่จะต้องร่วมกัน ต่อสู้ ไม่รอเพียงความช่วยเหลือจากกระทรวงสาธารณสุข “สร้างสุข” ฉบับนี้มีรายงานพิเศษในเรื่องของการปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการ ปฏิรูประบบวิจัย ซึ่งศึกษารวบรวมโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มานำเสนอให้ เ ห็ น ภาพ ตลอดจนคอยติ ด ตามว่ า การวิ จั ย ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ จ ะ “ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ที่สุดในโลก” ได้เพียงไร หากประเทศไทยจะน่าอยู่กว่าปัจจุบันแล้ว “เงิน” น่าจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดดัง เช่ น ที่ ผ่ า นมา ขณะนี้ ก ารวั ด ผลการพั ฒ นาของประเทศไทยยั ง คงยึ ด ติ ด กั บ “จี ดี พี ” เป็ น ตั ว ชี้ วั ด สู ง สุ ด แต่ ใ นสหภาพยุ โ รปมี โ ครงการชื่ อ “ไปพ้ น จี ดี พี ” ขึ้นแล้ว เพื่อนำแนวทาง “ไปพ้นจีดีพี” มาประยุกต์ใช้ สสส. จึงได้ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดประชุมพัฒนาดัชนีวัด ความก้ า วหน้ า ของประเทศ ที่ ค รอบคลุ ม รวมถึ ง ด้ า นสั ง คม วั ฒ นธรรม และ สิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ซึ่ง “สร้างสุข” ก็ได้ติดตามเรื่องราวมานำเสนอกันในฉบับนี้ นอกจากนั้น เมื่อเดือนสิงหาคมเวียนมาถึง ลืมไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่อง “แม่” โดย คำขวัญสัปดาห์นมแม่โลกปีนี้ให้ไว้ว่า Breastfeeding: A Vital Emergency Response. Are you ready? อันหมายถึงถึง “นมแม่” สามารถปกป้องทารก จากวิกฤตการณ์ทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม หรือว่าโรคระบาด อย่างไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 “นมแม่” ยังเป็นทั้งอาหารที่ดีที่สุดในยามยาก และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก แต่น่าเสียดายอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามมาตรฐาน 6 เดือนแรกหลังคลอดของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำมาก เพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้น!! “สร้างสุข” ฉบับนี้ยังมีคอลัมน์สัมภาษณ์ ลุงประยงค์ รณรงค์ เจ้าของรางวัลแมก ไซไซ ปี 2547 สาขาพัฒนาชุมชน มาเล่าย้อนถึงคำสอนของแม่ ที่เป็นรากฐาน ความคิดอ่านและการทำงานเสียสละอย่างทุกวันนี้ ติดตามได้ในเล่มครับ

วิสัยทัศน์ของ สสส.

“คนไทยมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน” ส ส ส . มี ห น้ า ที่ ส่ ง เ ส ริ ม ส นั บ ส นุ น ใ ห้ ป ร ะ ช า ช น มี พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และลด ละ เลิ ก พฤติ ก รรมที่ เสี่ ย งต่ อ การทำลายสุ ข ภาพ ซึ่ ง นำไปสู่ ก ารมี สุ ข ภาพกาย แข็ ง แรง สุ ข ภาพจิ ต สมบู ร ณ์ และ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งถือ เป็ น พั ฒ นาการด้ า นสุ ข ภาพ อี ก ด้ า นหนึ่ ง ซึ่ ง สำคั ญ ไม่ ยิ่ ง หย่อนกว่าการรักษาพยาบาล


4

5

รายงานพิเศษ 1

“ที่ผ่านมาประเทศไทย ก็ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เคย แข่งกับใครเขาได้ ถ้าเรา ยั ง ปล่ อ ยให้ เ ป็ น อย่ า งนี้ ต่อไปเราก็จะตามคนอื่น ไม่ทันแน่” สารพันปัญหาระบบการวิจัยไทย

ประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัย 10 เท่า คือทั้งประเทศรวม ภาครั ฐ และเอกชนมี เ พี ย ง 2 หมื่ น คน หรื อ พู ด ง่ า ยๆ ในกลุ่มประชากรไทย 1 หมื่นคน จะมีนักวิจัยแค่ประมาณ 3 คน และมีบุคลากรด้านการวิจัยเพียงประมาณ 6 คน! ยังไม่พูดถึงการขาดผู้บริหารงานวิจัยถึง 50 เท่า! ขาดเงินวิจัย 5 เท่า ดูจากค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยในปี 2550 ภาครัฐและเอกชนรวมกัน 19,500 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 0.24% ของจีดีพี ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ ญี่ปุ่นหรือสวีเดน ที่ลงทุนด้านการวิจัย 3% ของจีดีพี เพียงบริษัทโนเกียบริษัทเดียวลงทุนประมาณ 1 แสน ล้านบาทต่อปี ขณะที่ประเทศไทยลงทุนเพียง 1 หมื่นล้าน บาท ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนเงินที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัย 1 แห่ง ในสหรัฐอเมริกาเสียอีก! ผลก็คือ ผลงานวิจัยของไทยทั้ง ประเทศเทียบได้กับแค่ 1 บริษัท หรือ 1 มหาวิทยาลัยใน สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ยั ง มี ปั ญ หาความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาครั ฐ เอกชน กระบวนดูดซับความรู้จากต่างประเทศ และขาดการวาง ภาพรวมนโยบายการวิจัย ร้อยรัดกันเป็นกระบวน

ไม่เคยมีคนไทยได้รับรางวัลโนเบล

จำนวนการจดสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีของไทยมีน้อยมาก เมื่อปี 2550 มีเพียง 118 รายการ เทียบกับมหาวิทยาลัย วิสคอนซิล ที่ 1 ปีจดกว่า 300 สิทธิบัตร หรือบริษัทใหญ่อย่าง IBM ที่ได้รับสิทธิบัตรปีละ 3,000 รายการ ประเทศไทยเคยหวังจะเป็นเสือตัวที่ 5 แต่ถึงวันนี้โดนเกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์แซงหน้า และกำลังมีคู่แข่งใหม่คนสำคัญ คือ เวียดนาม ความเป็นจริงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ระบบการวิจัยของไทยกำลังประสบปัญหาเพียงใด จำเป็นต้องรีบ “ปฎิรูป” โดยด่วนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยสู้ได้ในเวทีโลก!

“ที่ผ่านมาประเทศไทยก็ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เคยแข่งกับ ใครเขาได้ ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปเราก็จะตาม คนอื่นไม่ทันแน่” ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รองผู้อำนวย การสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าว “ช่วงหนึ่งไทยเคยเกือบจะเข้าไปอยู่ในเสือห้าตัว แต่ ปัญหาเศรษฐกิจทำให้เราหยุดชะงัก ถูกไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ แซงหน้าไปหมดแล้ว เรายังคิดว่าเราเหนือกว่า มาเลเซีย งานวิจัยเรามากกว่าเขา 50% แต่ต้องไม่ลืม ว่าประเทศไทยใหญ่กว่ามาเลเซีย 3 เท่า ดังนั้นถ้าคิดต่อ หั ว ประชากร นั บ ว่ า มาเลเซี ย แซงเราแล้ ว และตอนนี้ ประเทศในกลุ่ ม ที่ เ คยแย่ ก ว่ า เราก็ ก ำลั ง จะเริ่ ม แซง คื อ เวี ย ดนาม ดั ง นั้ น ถ้ า ไม่ แ ก้ ปั ญ หาระบบวิ จั ย การพัฒนาประเทศจะช้า และเราจะลดระดับลงมาเรื่อยๆ จนต้องมาแข่งกับกลุ่มล่างๆ”

เส้นทางระบบการวิจัยไทย

ย้อนกลับมาดูระบบของการวิจัยไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทย มีหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยหลักอยู่ 5 หน่วยงาน เริ่มจาก สถาบันวิจัย แห่งชาติ (วช.) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2502 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่ ด้วยความอ่อนแอ ทำให้รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ตั้งองค์กรวิจัย ใหม่ ขึ้ น อี ก 3 แห่ ง ในปี 2534-2535 คื อ สำนั ก งานพั ฒ นา วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แ ห่ ง ชาติ . (สวทช) สำนั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย (สกว.) และ สถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุ ข (สวรส.) ซึ่ ง แต่ ล ะหน่ ว ยงานทำหน้ า ที่ ค ล้ า ยกั น แต่ ไ ม่ เ หมื อ นกั น กระทั่ ง ปี 2546 มี ก ารจั ด ตั้ ง สำนั ก งานพั ฒ นาการวิ จั ย การเกษตร (สวก.) ขึ้นด้วยเงินของเอดีบี และมีอีก 3 หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย แต่ไม่ใช่หน่วย งานด้านการวิจัยโดยตรง คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) รวมถึงกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ในปี 2549 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายาม จะเอาระบบวิ จั ย และหน่ ว ยวิ จั ย มาขั บ เคลื่ อ นการบริ ห ารประเทศ แต่ไม่สามารถทำสำเร็จเพราะต้องออกจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ปัญหาความอ่อนแอทัง้ หลายต้องช่วยกันแก้

มี ค วามพยายามเพื่ อ ปฏิ รู ป การวิ จั ย ของประเทศให้ พั ฒ นาขึ้ น โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สกอ. ได้จัดประชุมระดับชาติปีแห่ง คุ ณ ภาพของอุ ด มศึ ก ษาไทย โดยพยายามจั ด ตั้ ง “มหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย ” หรือ Research University ในงบประมาณ 12,000 ล้านบาท แต่ปัญหาก็คือ มหาวิทยาลัยที่ได้รับเลือกเข้าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ก็ จ ะได้ เ งิ น งบประมาณเป็ น กอบเป็ น กำ ส่ ว นที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ เลื อ กก็ จ ะมี ปัญหาการสนับสนุน หรือหากเลือกไม่ดี ก็จะเกิดผลลบมากกว่าผลบวก อย่างมาก ที่ผ่านมา วช.ก็ได้รับหน้าที่ทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเรื่องการ วิ จั ย ของประเทศ และได้ ยื่ น ข้ อ เสนอการปฎิ รู ป ระบบวิ จั ย เข้ า ครม. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้อนุมติเป็นมติ ครม. โดยมียุทธศาสตร์ 5 ข้อ แต่เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงรัฐบาล เรื่องจึงยังไม่ดำเนินไปถึงไหน


6

กระดานความคิด

ระบบวิจัยไทย ไปทางไหนดี?

จากการวิเคราะห์เพื่อปฎิรูประบบการวิจัยของประเทศ โดย สกว. พบว่า เป้ า หมายของระบบวิ จั ย ต้ อ งมุ่ ง สู่ ก ารพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศ ทั้ ง ภาค เศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจที่มุ่งขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องพัฒนา ด้านสังคม นำประชาชนคนไทยสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พัฒนาศักยภาพของคนใน การตั้งคำถามและคำตอบ รวมถึงสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม แล้วทำอย่างไรจะเดินไปถึงจุดที่ว่า? โครงสร้างระบบวิจั ย ระบบงบประมาณ และกลไกของระบบประเมินผล รวมถึงกลไกสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ต้องได้รับการพัฒนา ต้องมีการเพิ่มวงเงินเพื่อการวิจัยต่อจีดีพีที่เหมาะสม คือ 1% หรือ 4% ของ งบประมาณแผ่นดิ น ส่วนการลงทุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความเสี่ยง รัฐจะต้องเป็นผู้นำการลงทุน และให้เอกชนเอาผลวิจัยไปต่อยอด และปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุดคือ “กำลังคน” ซึ่งต้องมีการสนับสนุนการผลิต กำลังคนที่มีความสามารถในการวิจัย โดยส่งเสริมการเรียนที่เน้นวิจัยและพัฒนา พร้อมทั้งต้องพัฒนานักวิจัยอาชีพ และอาชีพนักวิจัยให้กว้างขวาง เท่านั้นยังไม่พอ ต้องสร้างวัฒนธรรมการวิจัย และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การวิจัยให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีฐานข้อมูลระดับประเทศ ต้องมีการลงทุนห้องปฎิบัติการวิจัย และจัดระบบให้นักวิจัยสามารถมาใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและห้องปฏิบัติการ ร่วมกัน ที่สำคัญคือต้องส่งเสริมแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กับประชาชนทุกวัย

“สิ่งที่ต้องทำคือรื้อโครงสร้างระบบวิจัยของประเทศ โดยก้าวแรกคือการหาแนวร่วม คือหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย 4-5 แห่งมาร่วมหารือกันให้ลงตัวว่าเราจะผลักดันระบบวิจัยที่เหมาะสมมาสู่ปฎิบัติได้ยังไง เห็นพ้องอย่างไรค่อย ผลักดันเข้าสู่รัฐบาลให้อนุมัติ” ผศ.วุฒิพงศ์ กล่าว “เมื่อเกิดกระปฏิรูประบบวิจัยขึ้น สิ่งที่คาดหวังคือต้องการให้ประเทศเราแข่งได้ในสากล ให้ระบบเราก้าวหน้าและ เอาความรู้มาใช้พัฒนาประเทศด้านต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม พัฒนาคนได้”

1. นพ.ประสงค์ ตู้จินดา และ พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์ คือแพทย์ไทย คู่ เ ดี ย วที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า มหิ ด ล ซึ่ ง เป็ น รางวั ล ระดั บ โลก มอบให้แก่บุคคลหรือองค์การทั่วโลกที่ได้ปฏิบัติหรือวิจัยดีเด่นทางด้าน การแพทย์และปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุข โดยสองท่านได้ รับรางวัลจากการวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 2. นพ.ธี ร ะวั ฒ น์ เหมะจุ ฑ า ศาสตราจารย์ ส าขาประสาทวิ ท ยา ผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค การสนับสนุนให้ยุติการใช้วัคซีนจากสมองสัตว์และเสนอวิธีทดแทนด้วยการใช้วัคซีนที่ปลอดภัย และการฉีดวัคซีนเข้าชั้น ผิวหนังซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 80% โดยได้ผลักดันผลงานด้านการป้องกันและรักษาทั้งหมด จนกระทั่งได้รับการ ยอมรับจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน 3. ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ได้ ร างวั ล ยู เ นสโกไซน์ อ วอร์ ด จากการทำงานวิ จั ย ต่ อ เนื่ อ งเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งอบแห้ ง ข้าวเปลือก และทำส่งขายต่างประเทศ นับเป็น “สามัญชนไทยท่านแรก” ที่ได้รับรางวัลนี้

“การศึกษาแบบมีส่วนร่วม จะสร้างประเทศไทยให้น่า อยู่ที่สุดในโลกเพราะทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ เอกชน คนทุกวัยมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนให้มีการเรียนรู้กล้าคิด กล้าทำ พัฒนา ตนเองยอมรับฟังความเห็นผู้อื่น ส่งผลให้อยุ่ในสังคมอย่าง มีความสุขทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย สติปัญญา ประชากร ในวยเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นคนมีคุณภาพเป็นกำลังที่จะพัฒนา ประเทศชาติต่อไปในอนาคต” นางสาวลูกน้ำ บัวสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

“การ ศึ ก ษาหรื อ การเ รี ย นการ สอน ในปั จ จุ บั น มี ก าร นำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมั ย เข้ามามีส่วนทำให้เกิดการ เรียนรู้แบบขยายโอกาสแก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา เด็กและเยาวชนสมัยนี้ได้เรียนรู้ไปได้เร็วกว่าเดิมจากสื่อ อิ เ ลคท รอนิ ก ส์ ต่ า งๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น อิ น เตอร์ เ น็ ต E-Learning พิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย เมื่อเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ในเรื่องพวกนี้แล้ว การศึกษาควรทรอดแทรก คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามและถูกต้องไปพร้อมๆ กัน จะ ทำให้ เ ด็ ก และเ ยาวช นไทย เป็ น เด็ ก ที่ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี เติ บ โตอย่ า งมี คุ ณ ค่ า และจ ะทำใ ห้ โ ลกเร าน่ า อยู่ เ มื่ อ มี ประชากรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต” ลักษณา ชัยเพียร โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ

“แบบให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกัน เพราะการเรีย นนั้น ใช่ ว่ า จะ ต้ อ งเรี ย นเ ฉพ าะ ใน หนั ง สื อ แบ บ เรี ย นอ ย่ า งเดี ย ว จะ ต้ อ งเรี ย นรู้ แ ละ ฝึ ก ปฏิบัติด้วยตัวเอง รวมทั้งใช้สื่อการเร ียน การสอนที่ทันสมัย พร้อมทั้งใช้ระบบ IT เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนด้วยค ่ะ” นางสาวจิตรลดา ศรีบุญเรือง โรงเรีย น ธีรภาดาเทคโนโลยี จ.ร้อยเอ็ด

“การศึ ก ษาที่ จ ะช่ ว ยสร้ า ง ประเทศไทย คื อ การศึ ก ษา ที่หมายถึงการเรียนรู้ชีวิตและ จิตวิญญาณ มุ่งผลสัมฤทธิ์ใน การใช้ ชี วิ ต อย่ า งมี คุ ณ ภาพ ผู้ เ รี ย นมี หั ว ใจอั น อุ ด มธรรม ความรั ก ความเอื้ อ อาทรและจิ ต สำนึ ก เป็ น การศึ ก ษาที่ สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม ขนบประเพณี ศาสนา ส่งเสริมให้ คนรู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ เปี่ยมพลังจินตนาการ พัฒนา ร่างกาย จิตใจและความรู้ไปพร้อมกัน เป็นกระบวนการศึกษา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทุกหนแห่งจึงเป็นโรงเรียน ผู้คนทุก ชนชาติ ทุกเพศ ทุกวัย (แม้แต่ธรรมชาติ) ต่างก็เป็นครู” มาโนช พรหมสิงห์ จ.อุบลราชธานี

ร่ ว มแสดงความเห็ น เรื่ อ ง “วั ด ความก้ า วหน้ า ของประเทศด้ ว ยอะไร ถ้ า ไม่ ใ ช้ จี ดี พี ” โดยส่ ง ความเห็ น ประมาณ 5 บรรทั ด พร้อมรูปถ่าย เข้ามาได้ที่ ruethairat@thaihealth.or.th หรือที่กองบรรณาธิการจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข (เว็บไซต์) เลขที่ 979/116-120 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 15 ถนนพหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 “สร้างสุข” มีของที่ระลึกมอบให้ค่ะ

7


6

9

รายงานพิเศษ 2

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษมาแล้วที่ประเทศไทยและเกือบทุกประเทศทั่ว

โลก ใช้ ‘จีดีพี’ เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาของประเทศ แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนจะไม่ สามารถสะท้อนการความอยู่ดีมีสุขของคนอย่างแท้จริง ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกทำลาย เกิดภาวะโลกร้อน สารเคมีปนเปื้อนในดิน น้ำ อากาศ คนเป็นโรค เครียด ปัญหาสุขภาพจิต...แล้วความสุขของคนอยู่ที่ไหน? ประเทศอังกฤษใช้เวลา 30 ปี พัฒนาจีดีพี หรือผลผลิตมวล รวมประชาชาติให้เติบโตพุ่งไปถึง 300% แต่ในเวลาเดียวกัน ความพึงพอใจในชีวิตเติบโตน้อยกว่า 10% ล่าสุดยังมีผลสำรวจ ออกมาอีกว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับมีความสุขน้อยที่สุดในยุโรป เมื่อจีดีพีไม่อาจชี้วัดความสุขของคน ดังนั้นอาจถึงเวลาแล้วที่จะ ต้องเปลี่ยน วัดความเจริญของประเทศด้วยตัวชี้วัด “อื่น” ขณะนี้ หลายประเทศกำลั ง ให้ ค วามสนใจกั บ การพั ฒ นา ตั ว ชี้ วั ด ที่ จ ะสามารถสะท้ อ นมิ ติ ต่ า งๆ ของสั ง คม สิ่ ง แวดล้อม คุณภาพชีวิต ในระดับสากลได้มีความพยายามจากหลากหลาย องค์ ก รในการจั ด ทำตั ว ชี้ วั ด ความก้ า วหน้ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ของสั ง คม ที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ที่หายไปจากจีดีพี ประเทศภูฎาณได้นำเสนอ ‘ความสุขมวลรวมประชาชาติ’ ในฐานะ ของการพัฒนาทางเลือกหนึง่ และได้รบั ความสนใจอย่างมากไปทัว่ โลก เดือนที่ผ่านมามีการประชุมโต๊ะกลมระดับชาติ เรื่อง ‘ทิศทาง และการวั ด ความก้ า วหน้ า ของสั ง คมและการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ’ โดย ดร.จอห์น ฮอล หัวหน้าโครงการการวัดความก้าวหน้าทางสังคม

จากองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่ า วในการปาฐกถาเรื่ อ ง “การวั ด ความก้ า วหน้ า ของสั ง คม” ว่ า วิ ก ฤตการเงิ น ที่ ผ่ า นมา ปลุ ก ให้ ทั่ ว โลกตื่ น หวนกลั บ มาคิ ด ว่าการใช้จีดีพีก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง “หกสิบปีที่ผ่านมา จีดีพี ดึงให้เราต้องสร้างนั่นสร้างนี่ แต่ไม่ เห็ น มี ค วามสุ ข เราใช้ เ วลาทำงานมากกว่ า อยู่ กั บ ครอบครั ว แปลว่ามีอะไรบางอย่างผิดพลาด ดังนั้นเราต้องนิยามการพัฒนา ใหม่ ซึ่งขณะนี้เรามีองค์การระดับโลกซึ่งมีกระบวนการทั่วโลกที่ พยายามให้ภาคประชาสังคมสร้างตัวชี้วัดใหม่ขึ้นมา โดยมีคำถาม หลักๆว่า วัดอะไร วัดอย่างไร และวัดแล้วจะเอาไปใช้ประโยชน์ อย่างไร” หากถามว่ า ประเทศไทยจะวั ด ความก้ า วหน้ า ได้ อ ย่ า งไร ขึ้นกับคนไทยด้วยกันที่ต้องคุยกัน ภายในสังคม เพราะทุกคนที่อยู่ ที่นี่มีทัศนะของตัวเองว่าความก้าวหน้าของประเทศคืออะไร และ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหนถ้าต้องการการพัฒนาที่ ยั่งยืนในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามในหลายองค์กร ที่จะทำงานด้านตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ดัชนีทางเลือกต่างๆ อยู่ไม่ น้อย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการวัดจีดี พีไม่เคยมีการวัดผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็

คื อ ต้ น ทุ น ที่ ต้ อ งเสี ย ไป สภาพั ฒ น์ ฯ เองลองศึ ก ษา ดู ว่ า สิ่งแวดล้อมมีผลมากน้อยเพียงใด โดยเอาตัวเลขปี 2548 คิดหัก ต้นทุนการใช้ทรัพยากรพลังงาน ป่าไม้ ความเสื่อมโทรมของ สิ่ ง แวดล้ อ มและค่ า ใช้ จ่ า ยในการรั ก ษาสภาพทรั พ ยากรและ สิ่งแวดล้อมของรัฐและเอกชน รวมแล้วคิดเป็น 7.3% ของจีดีพี ซึ่งหมายถึงว่า จีดีพี 5.4 ล้านล้านบาท เรามีค่าใช้จ่ายที่เป็น ต้นทุน 4 แสนล้านบาท ดังนั้นที่แท้จริงจึงเหลือเพียงประมาณ 5 ล้านล้านบาท ซึ่งแท้ที่จริงต้นทุนยังมีมากกว่านั้นอีกแน่นอน “การจะพัฒนาตัวชี้วัดขึ้นมา ต้องมีความชัดเจนของตัวแปร ว่าจะวัดอะไร ที่ไม่มีข้อถกเถียง, สามารถวัดได้, เปรียบเทียบได้, ต้องมีความต่อเนื่อง, ต้องครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคม ทุกคนต้อง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ” ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อ สังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนได้ทำการวัดความสุขมวลรวม ของคนไทย หรือที่เรียกว่า GDH มาตั้งแต่ปี 2549 โดย ประเมินภาพรวมของชีวิตประชาชนทั้งประเทศ โดยมีดัชนีชี้วัด รอบด้ า น คื อ ความจงรั ก ภั ก ดี บรรยากาศในครอบครั ว ความสุ ข กาย ใจ วั ฒ นธรรมประเพณี ไ ทย หน้ า ที่ ก ารงาน การเข้าถึงบริการการแพทย์ที่ดี บรรยากาศภายในชุมชน สภาพ แวดล้อมที่พักอาศัย ระบบการศึกษาของประเทศและคุณภาพ เยาวชน สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ความเป็นธรรมในสังคม เศรษฐกิจประเทศ ธรรมาภิบาลของรัฐบาล บรรยากาศทาง การเมือง โดยการวิจัยความสุขมวลรวมนี้กำลังได้รับความสนใจจากนัก วิ ช าการต่ า งชาติ ทั่ ว โลกให้ ไ ปนำเสนอในเวที สั ม มนาวิ ช าการ นานาชาติ ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ จากโครงการนำร่องการพัฒนาดัชนีชี้

วัดความก้าวหน้าของประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า การหาดัชนีชี้วัดใหม่เป็นสิ่งที่ต้อง ทำอย่ า งไม่ มี ท างเลื อ กในภาวะปั จ จุ บั น และต้ อ งทำให้ ส ำเร็ จ ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานของไทยได้ทำงาน และพัฒนาตัวชี้วัด อยู่มากกว่าสิบชุด มีตัวชี้วัดมากกว่าร้อยตัว ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีสูตร สำเร็ จ แต่ ทุ ก ภาคส่ ว นของสั ง คมต้ อ งเข้ า ใจว่ า เรื่ อ งนี้ มั น เกี่ ย วข้ อ งกั บ ชี วิ ต ของทุ ก คน และมาคุ ย กั น ช่ ว ยออกแบบ คิดเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด การจะได้มาซึ่งตัวชี้วัดความก้าวหน้าที่แท้จริง และมีความ เหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้น ไม่ มี ใ ครคนใดคนหนึ่ ง จะ มาบอกได้ แต่ต้องอาศัยกลไกการทำงานที่มีการร่วมมือจากทุก ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคสังคม บนพื้นฐานการ ศึ ก ษาวิ จั ย เวที แ ลกเปลี่ ย น และการสื่ อ สารออกไปให้ ถึ ง ประชาชนในวงกว้างนั่นเอง

ความสุข ทำให้คน “อายุยืน”

การวิจัยชิ้นหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาได้ทำการวัดว่าความสุขมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร โดยทำการศึกษาแม่ชี ระหว่างทศวรรษที่ 1930-1940 โดยดูช่วงนั้นว่าพวกเขามีความสุข ขนาดไหน ตอนเป็นแม่ชี เมื่อแม่ชีเสียชีวิต พบว่า แม่ชีที่มีความสุข จะมีอายุยืนมากกว่าแม่ชีที่ไม่มีความสุขถึง 9-10 ปี แสดงให้เห็นว่าความสุขทำให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้นได้

คนไทยสุขลดฮวบ

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงอย่างมาก จาก 7.15 ในต้นเดือนมิถุนายน เหลือเพียง 5.92 ในต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยคนไทยมีความสุข น้อยที่สุดในเรื่องบรรยากาศการเมือง การวิจัยยังพบด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแท้จริงจะมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบ ไม่พอเพียงประมาณ 4 เท่า


10

9 11

เรื่องเด่นประจำฉบับ เรื่องที่ 1 นมแม่...หยดสุดท้าย เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ า ค ม ปี 2 5 5 1 เกิ ด แผ่ น ดิ น ไหวครั้ ง รุ น แรงในมณฑล เสฉวน ประเทศจีน ขณะที่กำลังสำรวจ ซากปรักหักพังของตึกที่ถล่ม เจ้าหน้าที่พบ ศพหญิ ง สาวผู้ ห นึ่ ง ในท่ า ขดตั ว ตระกอง กอดทารกหญิ ง วั ย 3-4 เดื อ นเอาไว้ ใ น อ้อมแขน และทารกซึ่งยังมีชีวิตกำลังดูด น ม จ า ก ร่ า ง ไ ร้ วิ ญ ญ า ณ ข อ ง แ ม่ ภาพใบหน้าแดงๆ ของเด็กน้อยที่นาบอยู่ กั บ เ ต้ า น ม ที่ เ ปื้ อ น ฝุ่ น ค วั น ด ำ จ า ก แผ่ น ดิ น ไหวถึ ง กั บ เรี ย กน้ ำ ตาจากแพทย์ ผู้พบเห็น เขาเชื่อว่า แม่ผู้นี้เอานมใส่ปาก ทารกก่อนที่ตนเองจะเสียชีวิต ท า ร ก น้ อ ย ไ ม่ ร้ อ ง ไ ห้ เ ล ย สั ก แ อ ะ จนกระทั่ ง เธอถู ก เจ้ า หน้ า ที่ น ำออกจาก อกแม่...

เรื่องที่ 2 คุณแม่ตำรวจฮีโร่ แผ่นดินไหวในจีนครั้งเดียวกันนั้นเอง ทำให้เกิดเด็กทารกกำพร้ามากมายที่ถูกส่ง มายังบ้านเด็กกำพร้า ซึ่งไม่มีนมผงให้เด็ก เหล่านี้กิน ตำรวจหญิงแม่ลูกอ่อนชาวจีน คนหนึ่ ง จึ ง ได้ อ าสาให้ ท ารกกำพร้ า ถึ ง 9 คนดื่ ม นมของเธอ สิ่ ง ที่ เ ธอทำสร้ า ง ความประทั บ ใจไปทั่ ว โลก ทำให้ เ ธอได้ ฉายาว่า “คุณแม่ตำรวจ” และยังได้รับการ ยกย่องจากทางการจีนให้เป็น “ตำรวจฮีโร่ ตัวอย่าง” อีกด้วย

เรื่องที่ 3 นมแม่ในภาวะฉุกเฉิน หลั ง เหตุ ก ารณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหวในชวา ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ซึ่ ง มี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต กว่ า 5,800 คน บาดเจ็ บ กว่ า 5 หมื่ น คน มีเด็กทารกจำนวนมากต้องเผชิญกับภาวะ ขาดน้ ำ และท้ อ งเสี ย ซึ่ ง หลายกรณี เ กิ ด จากที่แม่ใช้นมสำเร็จรูปที่ได้รับบริจาคมา เลี้ ย งลู ก หลั ง เหตุ ก ารณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหวน้ ำ สะอาดเป็ น ของหายาก และการจะล้ า ง อุปกรณ์ขวดนมเด็กเพื่อชงนมผงให้สะอาด นั้ น เป็ น ปั ญ หา ทำให้ ยู นิ เ ซฟต้ อ งทำงาน หนักเพื่อรณรงค์ให้แม่ชาวอินโดนีเซียให้ น ม ลู ก อ ย่ า ง เ ดี ย ว ใ น ห ก เ ดื อ น แ ร ก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน แม่หลายคนหันกลับ มาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะดวก และปลอดภัยที่สุด

ในภาวะฉุกเฉิน...นมแม่คือสิ่งมหัศจรรย์ที่ช่วยชีวิตน้อยๆ มาแล้วมากมาย และนั่นก็คือที่มาของคำขวัญ “สัปดาห์นมแม่โลก ปี 2009” ที่เกิดขึ้นใน วันที่ 1-7 สิงหาคม ที่ว่า Breastfeeding: A Vital Emergency Response. Are you ready?” ซึ่งจะเน้นถึง นมแม่ในภาวะฉุกเฉิน ไม่ ว่าจะเป็นภาวะอดอยาก ภัยธรรรมชาติ เหตุไม่คาดฝัน สิ่งที่ดีที่สุดคือการที่แม่ให้ลูกกินนมแม่แทนที่จะเป็นนมผงที่ได้รับการบริจาคมา

ช่วงปีที่ผ่านมามีข่าวร้ายมากมาย ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ โ ล ก ข อ ง เ ร า ไ ม่ ว่ า จ ะ เ ป็ น แ ผ่ น ดิ น ไ ห ว ส ง ค ร า ม โรคระบาด แต่ในภาวะฉุกเฉินเหล่านั้น เรื่องราวความมหัศจรรย์ของนมแม่ ได้ ป รากฎขึ้ น และได้ ช่ ว ยชี วิ ต ทารก หลายคนให้รอดพ้นความตายมาได้

นมแม่ ป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

เด็กทารกเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่เชื่อว่าเมื่อติดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จะมีอาการรุนแรงถึงชีวิต และมีคนจำนวนน้อยที่รู้ถึงการป้องกันการติดโรคนี้ในเด็ก คำถามก็คือ เราจะดูแลเด็กๆ อย่างไรในภาวะการระบาดของโรค คำตอบก็คือ...นมแม่ ข้อมูลทางการแพทย์ระบุชัดเจน ว่านมแม่สามารถปกป้องสุขภาพทารก ซึ่งทารกที่ไม่ ได้ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่จะป่วยจากโรคติดเชื้ออย่างไข้หวัดได้บ่อยและรุนแรงกว่าเด็กที่ได้ กินนมแม่ และเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ 2009 เกิดจากเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่ยังไม่สามารถหา วิธีป้องกันแน่ชัด ดังนั้นการปกป้องที่ดีที่สุดก็คือ ‘แอนตี้บอดี้’ หรือโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้าง ขึ้นจากภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ที่แม่จะสามารถถ่ายทอดให้แก่ลูกได้ผ่าน ทางน้ำนมนั่นเอง นั่นคืออีกข้อที่ยืนยันความจำเป็นของแม่ในการให้ลูกทานนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 เดือน เพื่อให้ลูกได้รับภูมิคุ้มกันมากที่สุด และไม่ให้อาหารอื่นแก่ลูกเพราะจะเป็นการ ตัดโอกาสที่ลูกจะได้รับประโยชน์จากนมแม่เต็มที่

ในเวลานี้ ที่ทั่วโลก กำลั ง เผชิ ญ กั บ โรค ระบาดครั้ ง ใหม่ อ ย่ า ง ไข้ ห วั ด ใหญ่ ส ายพั น ธุ์ ใหม่ 2009 นมแม่ก็มี บทบาทสำคัญยิ่งที่จะ ปกป้องทารกจากเจ้า โรคกำเนิ ด ใหม่ ที่ เ ป็ น เหตุ ใ ห้ ค นตายทั่ ว โลก แล้วหลายร้อยคน


13

12 พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากได้ทำแบบสอบถามเพื่อประเมินการจัดการเรียน การสอนเรื่ อ งนมแม่ ใ นสถานศึ ก ษาทางการแพทย์ พบว่ า ใน สถาบันแต่ละแห่งมีการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก มี ตั้ ง แต่ น้ อ ยมาก จนถึ ง ไม่ มี เ ลย ปั ญ หาหลั ก คื อ ขาดหลั ก สู ต ร เฉพาะเรื่องนมแม่ จึงควรต้องมาพูดคุยกันเรื่องมาตรฐานของการ จัดการเรียนการสอนว่านักเรียนแพทย์ต้องได้ความรู้สักแค่ไหน ถึงออกไปรับใช้สังคมในเรื่องนี้ได้

“แพทย์ ทุ ก คนต้ อ งมี ห น้ า ที่ ใ ห้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งนมแม่ ถ้าแพทย์ไม่มีความรู้เบื้องต้น จะมีผลในอนาคตต่อไป สถานศึกษา ทางการแพทย์ ถื อ ว่ า เป็ น ต้ น น้ ำ หากเราบรรจุ ล งไปในหลั ก สู ต ร หลังจากนั้นก็จะไม่ต้องมานั่งอบรมแพทย์เรื่องนมแม่ ซึ่งการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ถือว่าเป็นนโยบายของประเทศอยู่แล้ว” ซึ่ ง ขณะนี้ อ ยู่ ใ นระหว่ า งการเสนอต่ อ แพทยสภา เพื่ อ ขอ ปรับปรุงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มีการระบุ ในเกณฑ์ ที่ นั ก ศึ ก ษาแพทย์ จ ะต้ อ งเรี ย น จากนั้ น สถาบั น ศึ ก ษา ทางการแพทย์ทุกแห่ง ก็จะไปดำเนินการจัดทำหลักสูตรได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในไทย อยู่อันดับท้ายสุดในทวีปเอเชีย ในขณะที่องค์การ อนามัยโลกกำหนดให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน แต่ตัวเลขระบุว่าแม่ที่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ ในระยะ 4 เดือนมีเพียง 16% และ 6 เดือนมีเพียง 5% ในขณะที่ตัวเลขประเทศกำลังพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะอยู่ที่ 44% กลั บ มาดู ถึ ง สถานการณ์ ก ารเลี้ ย งลู ก ด้ ว ยนมแม่ ใ นประเทศไทย แม้ จ ะมี ก าร รณรงค์ถึงประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่ามีมหาศาล แม่ส่วนใหญ่รู้ว่าในน้ำนม แม่ อุ ด มด้ ว ยสารอาหารกว่ า 200 ชนิ ด ที่ ช่ ว ยเรื่ อ งพั ฒ นาการลู ก ทั้ ง ด้ า นร่ า งกาย สติปัญญาและอารมณ์ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก หลังคลอดอยู่ในระดับต่ำมาก เพียง 5.4% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น...??

มุมนมแม่ในสถานประกอบการ คำตอบของแม่ทำงาน แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบัน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ อ ย่ า งเดี ย ว 6 เดื อ น แรกหลังคลอดอยู่ในระดับ ต่ ำ ม า ก เ พี ย ง 5 . 4 % เมื่ อ เที ย บกั บ ประเทศอื่ น ๆ ทั่วโลก

ทำไงดีเมื่อ...แม่ติดไข้หวัดใหญ่ 2009

ไม่ ค วรหยุ ด ให้ น มลู ก เพราะยั ง ไม่ พ บความเสี่ ย งที่ เ ชื้ อ ไวรั ส ไข้ ห วั ด ใหญ่ จ ะ ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านทางน้ำนม ในทางตรงกันข้าม ร่างกายของแม่ที่ป่วยจะ สร้างแอนตี้บอดี้เพื่อต่อสู้กับโรค และภูมิคุ้มกันนี้จะถ่ายทอดสู่ลูกผ่านน้ำนมแม่ แม่ที่ป่วยสามารถทานยาต้านไวรัสระหว่างให้นมลูกได้ แม่ที่ป่วยต้องล้างมือให้สะอาด และใช้ผ้าปิดจมูกระหว่างให้นมลูก หรือใช้วิธี บีบน้ำนมและให้คนอื่นที่ไม่ป่วยเอาป้อนลูกแทน

ทำไงดีเมื่อ...ลูกติดไข้หวัดใหญ่ 2009

สิ่งที่ดีที่สุดที่แม่จะทำให้กับลูกที่ป่วยได้ก็คือ การให้นมลูกต่อไป ทารกที่ป่วยจะต้องการอาหารเหลวมากกว่าเวลาปกติ และอาหารเหลวที่ดีกว่า อะไรทั้งหมด แม้กระทั่งน้ำ ก็คือนมแม่ ซึ่งให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย

แม้จะรู้แล้วว่านมแม่มีคุณค่าแค่ไหนใน ‘ภาวะฉุกเฉิน’ แต่ใน ภาวะปกติก็ยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนและข้อมูลที่ สับสนมากมายเกี่ยวกับนมแม่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้... ควรให้ลูกกินนมแม่ 4 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่? หลังจากลูกกินนมเสร็จแล้วต้องให้ดื่มน้ำตามหรือเปล่า? แม่ตอ้ งทำความสะอาดเต้านมก่อนและหลังให้นมลูกหรือเปล่า? คำถามเหล่านี้ และอีกหลายต่อหลายข้อสงสัย แม้บุคลากร สาธารณสุขจำนวนมากยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับเรื่องนี้

นั่นคือที่มาของ “โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยง ลู ก ด้ ว ยนมแม่ ใ นสถาบั น ศึ ก ษาทางการแพทย์ ” ที่ ศู น ย์ น มแม่ แ ห่ ง ประเทศไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) ทำร่ ว มกั บ ราชวิ ท ยาลั ย สู ติ น รี แพทย์ แ ห่ ง ประเทศไทย ราชวิ ท ยาลั ย กุ ม ารแพทย์ แ ห่ ง ประเทศไทย กรมอนามัย องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัย โลก

เหตุผลหนึ่งก็คือ ตามกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างหญิง มีครรภ์มีสิทธิลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน หมายความว่าหลังคลอด แม่จะมีโอกาสได้อยู่กับลูกเต็มที่เพียง 3 เดือนเท่านั้น ก่อนจะ ต้ อ งกลั บ มาทำงานตามปกติ แบบนี้ ก ารจะให้ น มลู ก ได้ ค รบ 6 เดือนจึงอาจจะเป็นเรื่องยาก นี่คือเหตุผลที่ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ สสส. ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร กระทรวง สาธารณสุ ข สำนั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เปิ ด ตั ว โครงการ “มุมนมแม่ในสถานประกอบการ” เพื่อผลักดันให้แม่ทำงาน สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่องไปถึง 6 เดือน โครงการดังกล่าวรณรงค์ให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง ตัง้ แต่ 500 คนขึน้ ไปจัดมุมนมแม่ทสี่ ะอาดถูกสุขอนามัย ให้แม่ สามารถบีบเก็บน้ำนมระหว่างวันทำงาน มีถงุ ใส่นำ้ นม มีตเู้ ย็น

ให้ แ ช่ โดยคาดหวั ง ว่ า จะ เกิดขึ้นในสถานประกอบการ 100 แห่งในปี 2552 นี้ ที่ผ่านมา หลายบริษัท เห็ น ประโยชน์ ข องการจั ด มุมนมแม่ ว่าช่วยลดปัญหา เรื่ อ งการขาด ลา สาย หรือกระทั่งลาออกเพื่อไปดูแลลูกของพนักงานหญิงลงถึง 30% “การพัฒนามุมนมแม่ในสถานประกอบการนำร่อง 47 แห่ง ส่งผลให้แรงงานหญิงสามารถให้นมลูกต่อเนื่องช่วง 6 เดือนแรก ได้ถึง 58% สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องนมผงได้ถึงเดือนละ 4,000 บาท” พญ.ยุพยง กล่าว

เด็กๆ คือกลุ่มเสี่ยงในเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อัตราการตายของเด็กสามารถเพิ่ม เป็น 2-70 เท่าเพราะโรคท้องร่วง โรคทางเดินหายใจ และโรคขาดอาหาร นมแม่คือเครื่องป้องกันและช่วยชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก แม้ในช่วงเวลาปกติ ทารกอายุน้อยกว่า 2 เดือนที่ไม่ได้กินนมแม่ก็มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าถึง 6 เท่า ในช่วงเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทั่วโลก แม่ควรได้รับการช่วยเหลือและ สนับสนุนเพื่อให้สามารถให้นมลูกต่อไปได้ การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงภาวะปกติ จะช่วยเพิ่มความสามารถของแม่ที่จะรับมือกับภาวะฉุกเฉิน


14

15

สัมภาษณ์พิเศษ

“อี้” แทนคุณ จิตต์อิสระ

เ พื่ อ ต้ อ น รั บ วั น แ ม่ ค อ ลั ม น์ สั ม ภ า ษ ณ์ พิ เ ศ ษ ฉ บั บ วั น แ ม่ “สร้างสุข” ได้รับเกียรติจากบุคคล คุณภาพ 2 คน 2 รุ่นที่จะมาเล่า เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ “แม่” ว่า ส อ ง มื อ ข อ ง ผู้ ห ญิ ง ค น ห นึ่ ง ได้สร้างให้เขาให้มาถึงวันนี้ และทำ ป ร ะ โ ย ช น์ ใ ห้ กั บ ชุ ม ช น สั ง ค ม ประเทศชาติ ได้อย่างไร...

ชื่อของ “ประยงค์ รณรงค์” หรือ “ลุงยงค์” ผู้นำ ชุมชนอาวุโสแห่ง ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางเมื่อเขาได้รับรางวัลแมกไซไซ เมื่อปี 2547 เพราะ เขาคนนี้เป็นผู้ริเริ่มแผนชุมชน จนกลายมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ทั่วไปไม้เรียง และแพร่ขยายเป็นตัวอย่างไปทั่วประเทศในวันนี้ “แม่” คือแรงบันดาลใจที่สร้างให้ลุงยงค์ กลายมาเป็นผู้อุทิศตน ทำงานเพื่อส่วนรวมดังทุกวันนี้ ลุงยงค์เริ่มย้อนความทรงจำให้ฟังถึงแม่ ซึ่งได้จากไปแล้ว และมี เพียงรูปในบัตรประชาชนของแม่ใบเดียวที่ลุงยงค์ยังเก็บเอาไว้เพื่อ ระลึกถึง ว่า สิ่งที่แม่สอนให้ลุงเสมอคือการพึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิตอย่าง มีความสุข สงบ อยู่กับธรรมชาติ และอย่าอยู่อย่างเอาเปรียบผู้อื่น... แม่ไม่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดคำสอนเพียงอย่างเดียว หากแต่ การปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้เห็นเสมอๆ นั่นต่างหาก เป็นสิ่งที่สอนลูกๆ และทำให้ ลุ ง ยงค์ ยื ด ถื อ ปฎิ บั ติ ม าจนทุ ก วั น นี้ รวมทั้ ง สอนลู ก หลาน ต่อไป “ผมจะสั่งสอนลูกๆ เสมอ เหมือนที่พ่อแม่สั่งสอนผมมา ว่า เมื่อดำรง ตนอยู่ได้แล้ว จะต้องไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น” ลุงประยงค์ในวัย 72 ปีเลือกที่จะเกษียณอายุเมื่อตอนที่เขาอายุ 55 ปี หลังจากวางรากฐานให้กับลูกๆ และใช้ชีวิตปัจจุบันกับการ ทำงานเพื่ อ สั ง คมส่ ว นรวม จนกลายเป็ น ต้ น แบบหนึ่ ง ของวิ ส าหกิ จ ชุมชน หรือ การจัดการ “ทุน” ของชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่าง ยั่งยืน ลุงประยงค์ บอกว่า การมีพ่อแม่ที่ดี มีครอบครัวที่แนะแนวทางที่ ถูกต้อง ทำให้เด็กที่เติบโตมาเป็นคนดี นั่นหมายความว่า เราจะได้ ภาวะแวดล้อมที่ดี ได้วัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งลุงยงค์เชื่อว่า นี่เป็นส่วน หนึ่งของการมีส่วนร่วมทำให้ประเทศชาติเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ นอกจาก การรอผู้บริหารที่ดี ที่จะมากำกับนโยบายเพื่อนำพาประเทศชาติให้น่าอยู่

เคยเป็นดาราวัยรุ่นที่สาวๆ กรี๊ด มาวันนี้เขาผันตัวมาเป็นพิธีกรผู้มาก ความสามารถ ทั้งยังเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม จนได้รับการยอมรับว่า เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ และทั้งหมดที่สร้างเขาให้มาถึงวันนี้ ก็คือ “แม่” “อาจจะเป็นคำพูดที่ดูสวยหรู แต่ถ้าไม่มีแม่ ก็คงไม่มีผมในวันนี้ แม่เป็นต้นแบบของการเสียสละ การอดทน และการ พึ่งพาตัวเอง” อี้เล่าว่า ในวัยเด็ก แม่จะจูงมือเขาไปโรงเรียน และทุกๆ เช้า ก็จะจัดเตรียมข้าวเช้าให้ลูกก่อนไปโรงเรียน และยังทำข้าวกลางวันใส่กล่องไปให้ทานที่โรงเรียนทุกวันด้วย ด้วยความที่เป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน มีพี่สาว และน้องสาว แม่จึงสอนให้เขาเอาใจใส่ดูแลผู้หญิง เสียสละ และเรียนรู้ในเรื่องการช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่เด็ก ในช่วงแรก อี้ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทุกๆ เช้าวันหยุด แม่จะปลุกและหางานให้ทำเล็กๆ น้อย แต่นั่นกลับเป็นการสอนที่หล่อหลอมให้ อี้เป็นคนขยันขันแข็งในการทำงานอย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้งเป็นการฝึกระเบียบวินัยตัวเองในการพึ่งพาตัวเองก่อนที่จะพึ่งผู้อื่น “แม้ว่าแม่ผมจะจบแค่ ป.4 แต่แม่ก็ทำให้ผมเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ แม่พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ครั้งหนึ่ง ผมเคยบอก แม่ในเรื่องการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ว่า ถ้าเราไม่เผา ก็ไม่สร้างมลพิษ ซึ่งแม้ว่าเราจะเป็นครอบครัวคนจีน ซึ่งการเผา กระดาษเงินกระดาษทองเป็นประเพณี แต่แม่ก็เห็นด้วยกับผม ซึ่งนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ผมเห็นว่า แม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ เป็นประโยชน์กับส่วนรวม” การที่อี้เลือกทำงานเพื่อส่วนรวม ส่วนหนึ่งก็มาจากสิ่งที่แม่ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นมาตลอด เช่นในทุกเช้าของการพาลูกไปโรงเรียน แม่จะเก็บเสื้อผ้า หรือ ข้าวของที่ไม่ใช้แล้วไปมอบให้กับคุณยายข้างบ้าน ซึ่งอยู่เพียงลำพังในเพิงเล็กๆ ซึ่งเป็นภาพชินตาของอี้มา จนถึงทุกวันนี้ แม่ยังเป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตที่พอเพียง เพราะความที่พื้นฐานครอบครัวที่ไม่ได้ร่ำรวย ขายบะหมี่ และอาหารตามสั่ง ดังนั้น การใช้ชีวิตที่พอเพียง และประหยัด จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการใช้ชีวิตของอี้ในวันนี้ “ถ้าให้พูดเรื่องแม่ คงไม่สามารถบรรยายได้หมด เพราะแม่เป็นผู้หญิงเหล็กในมุมมองของผม เป็นต้นแบบของผมในวันนี้ ทุกวันนี้แม่ยังคง ให้กำลังใจผมในการทำงาน เป็นห่วงเป็นใย สิ่งที่ผมตอบแทนบุญคุณของท่านได้ก็คือ การกราบเท้าแม่ทุกวัน เอาหน้าผากตัวเองแตะกับ หน้าผากของแม่ทุกๆ วัน เพื่อถ่ายทอดความรักที่ผมมีต่อแม่ และทุกวันนี้ ผมหมั่นทำบุญ ทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งใน การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่” อี้ทิ้งท้ายว่า การที่มีครอบครัวที่อบอุ่น การเลี้ยงดูที่ดี ไม่ตามใจลูกๆ มากเกินไป และ สอนให้ เ ด็ ก ๆ พึ่ ง พาตั ว เองเพื่ อ ที่ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ให้ กั บ คนอื่ น ในวั น ข้ า งหน้ า จะมี ส่ ว นช่ ว ยให้ ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ที่สำคัญการเลี้ยงลูกอย่างมีวิสัยทัศน์ จะทำให้เด็กๆ ซึ่งเป็น อนาคตของชาติ รู้ จั ก การทำความดี ชี วิ ต ที่ พ อเพี ย ง กตั ญ ญู เสี ย สละ และซื่ อ สั ต ย์ โดยเฉพาะการกตัญญู เป็นสิ่งที่อี้มองว่า เป็นความรักที่มีให้กันและกัน ซึ่งหากคนไทยมี ความรักให้กันและกัน คิดดี ทำดี ประเทศไทยก็จะไม่แตกแยก “ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างสังคมไทยให้น่าอยู่ อยู่ในแบบฉบับที่ไม่มีการ ทะเลาะเบาแว้ง ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ ของการเปลี่ยนประเทศไทยให้น่าอยู่ขึ้น”


16

เขตปลอดบุหรี่

หลังจากให้สถาบันการแพทย์ทำการศึกษาผลเสียของการสูบ บุ ห รี่ ต่ อ ประชากรทหารของสหรั ฐ แล้ ว รั ฐ บาลกลางก็ ก ำลั ง พิจารณาว่าอาจสั่งห้ามทหารทั้งที่ประจำการ ณ สนามรบและที่ ทำงานในกรมในกองสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด แน่นอนว่าผลวิจัยที่ว่า คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลกล้าคิดหักดิบกับคนในเครื่องแบบ ขนาดนี้ เพราะเรื่องสูบบุหรี่นั้นคนมักทึกทักเอาว่าเป็นสิทธิส่วน บุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งอเมริกันที่ยึดหลักสิทธิเสรีภาพสูง ผลการศึกษานี้ระบุว่าการสูบบุหรี่ของทหารสหรัฐฯส่งผลให้ แพนตากอนต้องแบกรับภาระทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและ ความสูญเสียที่เกิดต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นมูลค่าถึง 850 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี อันที่จริงแล้วเรื่องการสูบบุหรี่ในกองทัพ

เรื่องเล่าไร้แอลกอฮอลล์

เป็ น ผลมาจากการส่ ง เสริ ม ของรั ฐ บาลเองตั้ ง แต่ ยุ ค สงคราม เวี ย ดนามที่ รั ฐ บาลเป็ น ผู้ ส่ ง กั ญ ชาไปให้ ท หารที่ ร บในสมรภู มิ จากนั้นก็ผันเปลี่ยนมาเป็นบุหรี่ ผลกำไรจากการจำหน่ายบุหรี่ใน กองทัพสหรัฐฯจะอยู่ที่ประมาณ 90 ล้านเหรียญฯ ต่อปี แต่ก่อน คงคิ ด กั น ว่ า เป็ น ผลดี เ พราะกำไรส่ ว นนี้ ถู ก นำไปใช้ เ ป็ น ค่ า สันทนาการให้กับทหาร ประหยัดงบกลางไปเยอะ แต่เมื่อผลการ วิจัยออกมาแสดงให้เห็นว่าเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย รัฐบาลจึงกำลัง ตัดสินใจว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามรายงานการศึ ก ษานี้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ จ ะแนะนำให้ รั ฐบาลสหรัฐฯ ต้องทำการสั่งเลิกบุหรี่ชนิดเด็ดขาดในคราวเดียว แต่แนะนำว่าให้ทยอยเลิกไป จนเป็นการห้ามแบบเด็ดขาดในระยะเวลา 20 ปี

ประเทศกรีกถือเป็นประเทศที่มีอัตราการสูบบุหรี่ สูงที่สุดในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยมีประชากร นั ก สู บ มาก ถึ ง 42% ไม่ ใ ช่ เ พรา ะปร ะเท ศนี้ ไ ม่ มี ม า ต ร ก า ร ท า ง ก ฎ ห ม า ย เ พื่ อ รั บ มื อ กั บ ปั ญ ห า ตรงกันข้าม กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบของ กรีกนั้นออกมาครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1856 โน่น และ ก็มีเพิ่มเติมออกมาเป็นระยะ แต่ปัญหาที่แท้จริงก็คือ การบังคับใช้กฎหมายที่ย่อหย่อนนั่นเอง นอกจากตัวเลขอัตราการสูบบุหรี่แล้ ว กรีกยังมี ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวเนื่อง กับการสูบบุหรี่มากถึง 2 พันล้านเหรียญยูโร หรือ ราว 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ด้วยเหตุนี้ รั ฐ บาล กรี ก นำโ ดยก ระท รวง สาธ ารณ สุ ข จึ ง ออก มา ประกาศกร้าวว่าตั้งแต่นี้ไปรัฐบาลจะเอาจริงเอาจัง กั บ ผู้ ล ะเมิ ด กฎห มาย ห้ า มสู บ บุ ห รี่ ใ นที่ ส าธา รณะ ที่ ครอบคลุมถึงพื้นที่อาคารในร่มทุกประเภท รถแท็กซี่ รถบัส ร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ต่างๆ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูก จับจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 500 ยูโร และสำหรับผู้ ประกอบการค่าปรับจะสูงขึ้นไปอีกถึง 2,000 ยูโรเลย หากไม่เชื่อก็ลองดูได้

ประกาศแล้วห้ามขายเหล้า 4 วันพระใหญ่

ชาวบ้านในรัฐคุชราตของอินเดียอย่างน้อย 122 คน เสียชีวิตจากการ ดื่มสุราเถื่อนที่ต้มกลั่นเอง ตำรวจเผยว่า ผู้เสียชีวิตรายแรกตายหลังงาน เลี้ยงที่มีการนำสุราต้มกลั่นเองมาดูแขก จากนั้นก็มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ จากงานเลี้ยงดังกล่าว จนเพิ่มเป็น 122 คน และยังมีที่นอน ป่วยในโรงพยาบาลอีกอย่างน้อย 227 คน ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนจน ในสลัม งานนี้ทำให้ทางการอินเดียเต้นถึงกับออกมาประกาศควานหาตัวผู้ เกี่ยวข้องมาลงโทษ และจะทำการกวาดล้างการต้มเหล้าเถื่อนทั่วทั้งรัฐ ขนานใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาสนองรับนโยบายอย่างรวดเร็ว มีการจับกุมผู้ ต้องสงสัยต้มเหล้าเถื่อนกว่า 800 คนมาสอบปากคำ โดยการต้มเหล้า เถื่อนขายในรัฐคุชราตถือเป็นความผิดอาญาเพราะรัฐแห่งนี้ถือเป็นรัฐ ปลอดการขายเหล้าของอินเดีย แต่ปีที่แล้วมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มเหล้า เถื่อนประมาณ 150 คน

เจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองบิสมาร์ค ในรัฐนอร์ธดาโคตา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ จับกุมแม่วัย 26 ปี ที่ให้นมลูกในขณะกำลังมึนเมาและตั้งข้อหาว่ากระทำการโดย ประมาทต่ อ เด็ ก ซึ่ ง ภายหลั ง แม่ ขี้ เ มาคนดั ง กล่ า วถู ก ตั ด สิ น ว่ า กระทำผิ ด จริ ง และ สมควรได้รับโทษจำคุก 5 ปี ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหู แพทย์สูติ-นรีเวชศาสตร์เกษียณอายุชื่อ แอมี่ ติวเตอร์ จากเมืองบอสตันที่ติดตาม กรณีนี้อย่างต่อเนื่องได้แสดงความเห็นในเว็บบล็อกส่วนตัวว่า หากแม่รายนี้ให้นมลูก ด้วยนมกระป๋องก็คงไม่ถูกจับ แต่หารู้ไม่ว่าการผสมนมผิดอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ มากกว่าการให้นมขณะเมาเสียอีก ขอถามหน่อยว่าการให้นมลูกมันเป็นความผิดทาง อาญามาตั้งเมื่อไหร่กัน? ทางตำรวจได้ออกมาชี้แจงว่า แม้ว่าแม่รายนี้จะไม่ได้ให้นมลูกขณะเมาเธอก็ยังจะ คงต้องถูกจับดำเนินคดีอยู่ดี เพราะการดูแลลูกของแม่รายนี้เข้าข่ายกระทำการโดย ประมาทและทอดทิ้งบุตรอยู่แล้ว

ร ณ ร ง ค์ กั น ม า น า น ทั้ ง ง ด เ ห ล้ า เข้ า พรรษา และวั น สำคั ญ ทางศาสนา ต่ า งๆ ในที่ สุ ด ก็ เ ป็ น กฎหมายออกมา บังคับใช้เสียทีสำหรับการห้ามขายเครื่อง ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ ใ น 4 วั น พ ร ะ ใ ห ญ่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ลง นามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2552 เมื่ อ วั น ที่ 30 มิ ถุ น ายนที่ ผ่ า นมา โดยอาศั ย ตามความพระราช บัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ป ร ะ ก า ศ ฉ บั บ ดั ง ก ล่ า ว ส่ ง ผ ล ใ ห้ ต่อไปนี้ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน วันมาฆบูชา วิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวั น เข้ า พรรษา ยกเว้ น ในโรงแรม เป็นเรื่องผิดกฎหมายทันที!

17


18

19

รู้ข้ามโลก

เชื่อว่าคนไทยคงรู้จักชื่อ

‘ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1’ หรือ ไข้หวัดใหญ่ 2009 กันทุกคน ใน ฐานะเชื้อไวรัสที่ทำให้คนทั่วโลกหายใจไม่ทั่วท้อง เพราะ จำนวนคนป่วย และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นทุกวัน สิ่งสำคัญคือ มีสติไม่ตื่นตระหนก และพยายามหาความรู้เพื่อป้องกันตัว วันนี้สถานการณ์การระบาดไปถึงไหนแล้ว ก็ต้องติดตาม.. ศ.นพ.ธี ร ะวั ฒ น์ เหมะจุ ฑ า อาจารย์ ป ร ะ จ ำ ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ จุ ฬ า ล ง ก ร ณ์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ล ะ ผู้ อ ำ น ว ย ก า ร ศู น ย์ ค ว า ม ร่ ว ม มื อ องค์ ก ารอนามั ย โลกไวรั ส สั ต ว์ สู่ ค น

อ ธิ บ า ย ว่ า แ ม้ ว่ า ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย จ ะ เ ริ่ ม ต้ น ช้ า ไ ป บ้ า ง แต่มาตรการที่สำคัญขณะนี้ที่ประชาชนควรรู้คือการป้องกัน ตนเอง จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรม สุขลักษณะส่วนตัวที่เรา เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กจะต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง การรอหวัง พึ่ ง ยาหรื อ วั ค ซี น อาจเป็ น ความหวั ง ที่ ไ กลเกิ น ไป เพราะสิ่ ง เหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงหรือแม้แต่วัคซีนก็ยังอยู่ในขั้นตอน การผลิต ประชาชน จึ ง ต้ อ งเรี ย นรู้ ที่ จ ะป้ อ งกั น ตนเองไม่ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ติดเชื้อหรือไม่ให้เป็นผู้แพร่เชื้อเมื่อป่วย จึงจะสามารถช่วย หยุดโรคได้ การป้ อ งกั น ตั ว ของประชาชนในโรงเรี ย นหรื อ ที่ ท ำงาน ต้ อ งมี ม าตรการในการเฝ้ า ระวั ง คั ด กรองโดยการแยก

ผู้ป่วยออก คนป่วยที่คิดว่าเป็นเพียงเล็กน้อยนั้น สามารถ แพร่ เ ชื้ อ ให้ กั บ ผู้ อื่ น ได้ จึ ง ควรเร่ ง สร้ า งจิ ต สำนึ ก ที่ ดี เ พื่ อ ป้องกันการแพร่เชื้อ ประชาชนต้องเข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อว่า เป็นเพราะ การเข้ า ไปอยู่ ใ นพื้ น ที่ เ สี่ ย งที่ มี ค นแออั ด อากาศถ่ า ยเทไม่ สะดวก ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าใครป่วยบ้างเพราะ บางคนก็ ไ ม่ แ สดงอาการแต่ ส ามารถแพร่ เ ชื้ อ ได้ และอย่ า ละเลยสุขลักษณะที่ดีเล็กๆน้อยๆ อย่างการใช้ช้อนกลาง การ ล้างมือบ่อยๆ เมื่อไหร่ที่ต้องเริ่มระวัง นพ.ธีรวัฒน์ ให้ความกระจ่าง และตรงประเด็นว่า เมื่อไอ จาม น้ำมูกไหล แม้จะไม่เจ็บคอ หรื อ มี ไ ข้ เมื่ อ นั้ น เป็ น เวลาที่ คุ ณ ควรแยกตั ว ออกจากผู้ อื่ น ออกจากกลุ่มชุมชน สถานศึกษา หรือสถานที่ทำงาน เพราะ หมายถึงความรับผิดชอบต่อผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณ จากการปิดเรียนหรือทำงาน ควรหยุดกิจกรรมทุกอย่างแบบ จริงจัง และเฝ้าระวังตนเอง 2 วัน ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ จะลดการแพร่เชื้อได้ หากไม่ป่วยจึงใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนการแยกตัวอยู่บ้าน จำเป็นต้องระวังและใส่ใจคนใน ครอบครัว โดยการแยกออกจากกิจกรรมตามปกติ ใช้ช้อน กลาง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะเมื่อมีเด็ก เล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งจะเสี่ยงมากหากได้ รับเชื้อ และต้องจัดการวางแผนหากมีผู้ป่วยในบ้านใครจะ เป็นผู้ดูแลโดยเลือกจากผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงก่อน

ต้องทราบว่าเมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องพบแพทย์ทันที ส่วน ประชาชนทั่วไปเมื่อมีไข้ทานยาแล้ว 2 วันไข้ไม่ลดให้รีบไป พบแพทย์ทันทีเช่นกัน “การระบาดในช่วงต่อไปของประเทศไทย ยังค่อนข้างน่าเป็น ห่วง เนื่องจาก เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดในช่วงฤดูร้อน ของต่างประเทศ ทำให้เชื่อได้ว่า เชื้อมีความทนทานต่อสภาพ อากาศได้สูง เมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว จึงอาจทวีความ รุนแรงขึ้นได้ ในแง่การติดเชื้อที่กว้างไกลขึ้น และโอกาสที่เชื้อจะ รุนแรงกว่าเดิม” แม้ว่าประเทศไทยจะมียาอย่างพอเพียง แต่ก็ยังมีโอกาส เสี่ยงหากได้รับยาช้าหรือมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่ น เพราะเป็น โรคใหม่ที่ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างชัดเจน และวัคซีนก็จำเป็น ต้องรอที่จะพิสูจน์เรื่องความปลอดภัย ทุกคนจึงจำเป็นต้อง ป้องกันตัวเองไม่ให้รับเชื้อ หรือไม่แพร่เชื้อ ส่วนภาครัฐจำเป็นต้องเร่งทำงานแบบบูรณาการเชื่อมโยง การทำงานทุกส่วนทั้งระดับกระทรวง ทบวง กรม ลงไปถึง ระดับอำเภอ ตำบล ชุมชน ให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการ ระดับต้น เช่น ร้านขายยา คลีนิค เพื่อให้สามารถรับมือกับ ผู้ ป่ ว ยได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง เตรี ย มพร้ อ มเครื่ อ งมื อ ห้ อ งพั ก บุคลากร และมาตรการของรัฐบาลต้องสื่อสารให้ตรงกับกลุ่ม เป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคมให้มากขึ้น เพี ย งเท่ า นี้ ก็ จ ะเท่ า ทั น และอยู่ อ ย่ า งมี ภู มิ คุ้ ม กั น มากขึ้ น ใน สถานการณ์ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


20

21

รายงานพิเศษ

และพื้ น ที่ ทั้ ง 2 แห่ ง นี้ เ อง ที่ ไ ด้ รั บ ความสนใจจากคณะ กรรมาธิการวุฒิสภา ลงพื้นที่ดูงานเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการวุฒิสภาซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสิทธิ ม นุ ษ ย ช น สิ ท ธิ เ ส รี ภ า พ แ ล ะ ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ผู้ บ ริ โ ภ ค คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้าง ธรรมาภิ บ าล คณะกรรมาธิ ก ารการพั ฒ นาการเมื อ งและการมี ส่วนร่วมของประชาชน คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ ง แวดล้ อ ม และคณะกรรมการโครงการวุ ฒิ ส ภาสตรี สั ญ จร ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย เครือข่าย สถานีวิทยุชุมชน จ.สุราษฎรธานี ตามด้วย ศูนย์ศึกษาและพัฒนา ชุมชนไม้เรียง ของนายประยงค์ รณรงค์ ประธานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง และโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลปากพูนเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะโดยชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.ที่มีระบบการจัดการสุขภาพ ด้วยชุมชนเอง และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางสุขภาพที่สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งใน 1 ปีแรกได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะเกิด “ตำบลศูนย์เรียนรู้” 300 แห่ง และภายใน 3 ปี จะไม่น้อยกว่า 1,000 แห่ง

ในยุคเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การไปทัวร์ดูงานต่างประเทศคงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ คณะ กรรมาธิการวุฒิสภาจึงสวนกระแส เลือกลงพื้นที่ ดู “งาน” ดีๆ ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทย ที่น่าประทับใจไม่แพ้กัน

คนภาคใต้

ถูกคุกคามด้วยโรคจากการติดเชื้อ เช่น เอดส์ โรคไม่ติดต่อ เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็ง ใน จ.นครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง และหัวใจขาดเลือดจำนวนมาก ภาคใต้เป็นภาคที่มีผู้ดื่มสุรา-สูบบุหรี่เป็นอันดับ 1 มีโรคที่เกิดเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น คือ มาเลเรีย ใน จ.พังงา มีผู้เป็นโรคเจ็บป่วยจากการทำงานเป็นอันดับ 1 ของประเทศ รวมถึงการบาดเจ็บ เสียชีวิต จากความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จากสถานการณ์ทางสุขภาพของคนในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกัน ที่ทำให้ สสส. ให้ความสำคัญ กับการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคนในชุมชน เพื่อเป็นช่องทางเข้าถึงทุกกลุ่มคน ให้มากขึ้น พร้อมกับพัฒนาให้เกิดเจ้าภาพหลักในพื้นที่คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ใกล้ชิด ประชาชนมากที่สุด ได้มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน สสส. จึงมียุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ โดยเข้าไปสนับสนุนโครงการให้เกิด “ตำบลศูนย์เรียนรู้” ในตำบลที่มีระบบจัดการสุขภาพชุมชน ด้วยคนในชุมชนเอง อย่างประสบความสำเร็จ เช่นที่ อบต.ปากพูน และ อ.ไม้ เรียง จ.นครศรีธรรมราช

“อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอดปลอดภัย” คือคำขวัญที่ชาวปาก พูนยึดถือ โดยใช้การเก็บข้อมูล ร่วมกับศักยภาพต้นทุนที่ชุมชนมี มาจัดการสุขภาวะโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ ทั้งการจัดสวัสดิการ ชุมชน การส่งคนในชุมชนไปเรียนและกลับมาทำงานที่บ้านเกิด การสร้างฟาร์มโคสาธิต สนับสนุนให้เกิดกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้พิการ การจัดการดูแลเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน ส่วนที่ชุมชนไม้เรียง คือ “ต้นแบบการจัดทำแผนชุมชน” ทำให้ เปลี่ ย นชุ ม ชนล่ ม สลาย ที่ เ คยถู ก ทำลายด้ ว ยวาตภั ย แหลม ตะลุ ม พุ ก เมื่ อ ปี 2505 และสิ่ ง แวดล้ อ มที่ พั ง พิ น าศเพราะการ หลั่งไหลขุดแร่ที่เขาศูนย์ วันนี้ ไม้เรียงได้พลิกสถานการณ์มาสู่ ความเป็นชุมชนยั่งยืนได้เพราะการสร้างสม “ทุนทางปัญญา” การจัดทำแผนแม่บทชุมชน ก็คือการทำข้อมูลพื้นฐานของชาว บ้านเพื่อนำมาพัฒนาเป็นแผนการดำเนินงาน จัดการชีวิตของ ตนเอง ซึ่งเรียกวิธีการทำแผนนี้ว่า “การทำประชาพิจัย” หรือการ วิจัยของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน และแผน แม่บทชุมชนนี้เอง นำไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชน จัดระเบียบชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน ทำกินทำใช้ในส่วนที่ ทำได้ เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดการพึ่งพาผลผลิตจาก ตลาดภายนอก มีการจัดระบบการผลิต การบริโภค การตลาด การแปรรูป

“โรงงานแปรรูปยางไม้เรียงโดยชุมชน” คือตัวอย่างหนึ่งของการ พัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชน โดยกลุ่มผู้นำชุมชนไม้เรียงคิด หาทางแก้ไขปัญหายางพาราที่พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคายาง ด้วย การระดมทุนของชาวบ้าน 1 ล้านบาท สร้างโรงงานเอง บริหาร จัดการกันเอง ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น จนราคายางแผ่นของไม้เรียง สูงกว่าตลาด และมี “แผนแม่บทยางพาราไทย” ซึ่งไม้เรียงร่วม กับผู้นำชาวสวนยางนครศรีธรรมราชร่วมกันร่างขึ้น นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ที่เลือกลงดูงาน ในพื้นที่นี้เพราะเป็นแบบอย่างของชุมชนเข้มแข็งที่ดีให้ ส.ว.ได้ เห็นภาพว่าประชาชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยความพยายาม ของชุมชนที่ใช้ระบบประชาธิปไตย ใช้การรวมกลุ่ม ทำให้เกิด พลังสร้างสรรค์ที่เกิดผลในทางปฏิบัติ ผลของการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้เกิดแรงบัลดาลใจในการ เรียนรู้และเป็นแบบอย่างกับที่อื่น ๆ ว่าการมีแนวทางที่ถูกต้อง มีผู้นำที่ดี มีระบบประชาธิปไตยชุมชนก็จะสามารถเกิดสังคมที่ เข้มแข็งด้วยตัวเอง ซึ่งพลังเหล่านี้มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้อง ไปดู ง านถึ ง ต่ า งประเทศ เพราะเรื่ อ งดี ๆ เช่ น นี้ ก็ มี ม ากมายใน ประเทศของเรา


22

23

หน้าต่างแห่งความสุข

ประชุ ม กำหนดข้ อ ตกลงร่วมกันในการงด เหล้ า และการพนั น ใน งานศพ โดยมีประธาน หน่ ว ยอบรมประชาชน ตำบลทุ่ ง กวาว และ นายกองค์ ก ารบริ ห าร ส่ ว น ต ำ บ ล เ ป็ น ผู้ดำเนินการประชุม

งานศพ

คือโอกาสครั้งสุดท้ายที่คนเป็น จะได้แสดงความอาลัยรัก และรำลึกถึงความดี ของผู้เสียชีวิต แต่งานศพหลายงานกลับมีสุราเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดคนเมา กระทั่งเกิดการ ทะเลาะวิวาทในงานศพ จนทำลายความหมายของงานไปอย่างน่าเสียดาย โครงการวัฒนธรรมนำสุขงานศพงดเหล้าและการพนัน ต.ทุ่งกวาว จ.แพร่ ตระหนักในปัญหาชาว บ้ า นในชุ ม ชนที่ ม องค่ า นิ ย มการดื่ ม สุ ร าตามงานบุ ญ งานบวช งานศพ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ วัฒนธรรมไทย จึงหาวิธีง่ายๆ โดยอาศัยเครือข่ายประชาสังคมในชุมชนกันเองเพื่อสร้างค่า นิยม “ปลอดเหล้า” ในงานศพและงานสำคัญต่างๆ

คุณธาดา เจริญกุศล หัวหน้าโครงการฯ ให้รายละเอียด ว่ า โครงการฯ ได้ ไ ปสำรวจพฤติ ก รรมครั ว เรื อ น 6 หมู่บ้าน ในตำบลทุ่งกวาว และพบว่า การดื่มสุรา ทำให้ครอบครัวทะเลาะกัน คณะทำงานจึงปรึกษากับ ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน กำนั น และเจ้ า อาวาสวั ด ว่ า ควรทำอะไรสั ก อย่ า ง เพื่ อ ให้ ช าวบ้ า นตระหนั ก ถึ ง พิ ษ ภั ย ของการดื่ ม สุ ร าที่ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นภัยต่อสุขภาพ และภัยต่อสังคม อันเกิดจากการทะเลาะวิวาทในงาน อีกทั้งการดื่มสุรา ยังเป็นการสิ้นเปลืองของเจ้าภาพงาน วิธีที่โครงการทำ คือ อาศัยพระเทศน์ในงานศพใน ประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งมีการประกาศเสียงตามสายว่า ถ้าบ้านไหนจัดงานศพ แล้วไม่มี การดื่มสุรา โครงการฯ จะมอบเงินช่วยเหลือทันที 1,000 บาท นอกจากนี้มีการติดป้ายงดเหล้าในที่บริเวณหน้างาน และในคืนสุดท้ายของงาน ก็จะร่วมเป็นเจ้าภาพงานศพ ในขณะที่เงินปัจจัยที่ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในคืนสุดท้ายก็จะ มอบให้แก่เจ้าภาพ คุ ณ ธาดา กล่ า วว่ า โครงการเริ่ ม ตั้ ง แต่ ปี ที่ แ ล้ ว โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากสำนั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) ซึ่ ง ตลอดระยะเวลาโครงการที่ ผ่ า นมามี ง านศพเกิ ด ขึ้ น 11 งาน และ มีเจ้าภาพที่ให้ความร่วมมือ 8 ครอบครัว กระบวนการหนึ่งที่ทำให้โครงการงานศพปลอดเหล้า ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เกิดจากข้อตกลงร่วมกันของ ชุมชน และร่างเป็นพันธสัญญาว่า จะไม่ดื่มสุราและเล่นการพนันในงานศพ ตลอดจนความร่วมมือจากชมรมผู้สูงอายุเพราะ เป็นบุคคลที่คนในชุมชนให้การเคารพนับถือ การทำงานที่ต่อเนื่อง บวกกับความร่วมมือที่แข็งแรงของแกนนำชุมชน, อบต., ชมรมผู้สูงอายุ และร้านค้าในชุมชน ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานศพที่เคยมีพฤติกรรมดื่มสุรา เกิดความเกรงใจ และเลือกที่จะไม่ดื่มสุราในงานเหมือนเช่นแต่ก่อน และยังช่วยให้เจ้าภาพลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสุรา ไปได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท การทำงานเพื่อให้เกิดค่านิยมปลอดเหล้าในงานศพ งานบุญโดยสิ้นเชิง อาจจะต้องใช้เวลาและการทำงานต่อเนื่อง ด้วย ความหวังว่า สักวัน การดื่มเหล้าในงานศพจะกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับสังคมไทย


24

25

สุขกับงาน

จากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

บริษัท อุตสาหกรรมอาหาร ส.ขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการ Productivity Facilitator (PF) ของ สถาบั น เพิ่ ม ผลผลิ ต แห่ ง ชาติ โดยผมได้ รั บ คั ด เลื อ กให้ ท ำหน้ า ที่ PF ของโรงงาน ซึ่งต้องทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตต่างๆ ที่จัดขึ้น ภายในโรงงาน ทำให้ ผ มจากเดิ ม ที่ ท ำงานอยู่ ส ำนั ก งานใหญ่ เ ป็ น หลั ก ต้ อ ง เดินทางไปโรงงานบ่อยขึ้น ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญสำหรับผมในการสร้าง ความสุขให้เกิดขึ้นภายในโรงงานอย่างเป็นรูปธรรม ในตอนนีค้ งต้องยอมรับก่อนว่า ส.ขอนแก่น ยังถือว่าใหม่อยูม่ ากกับการก้าวไปเป็นองค์กรแห่งความสุข จึงถือเป็นงานท้าทายสำหรับผมในการจุดประกาย เปลี่ยนทัศนคติพนักงาน และรักษาความสุขให้คง อยู่อย่างยั่งยืน ผมและทีมงานเริ่มต้นจากการจัดวัน Kick Off ขึ้นในบรรยากาศแบบการเมือง ภาย ใต้ชื่อ “วันเลือกตั้งผู้นำกิจกรรม(PF)” เพื่อให้พนักงานได้เลือกผู้นำกิจกรรมที่ตนชื่นชอบ โดยตลอดระยะ เวลาก่อนที่จะถึงวันงานได้มีการแปะโปสเตอร์ ลงพื้นที่หาเสียง และปราศรัยใหญ่ของผู้นำพรรคต่างๆ เพื่อชี้แจงนโยบายพรรคในการพัฒนาโรงงาน ซึ่งได้รับการตอบรับจากพนักงานอย่างดีเนื่องจากเป็นสิ่ง แปลกใหม่ เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ผู้บริหารก็อนุญาตให้มีการหยุดไลน์ผลิตทุกไลน์หนึ่งวันเต็ม ซึ่งภายในงานก็จะมี การจัดเกมแทรกความรู้ ชิงของรางวัลจากผู้นำพรรคต่างๆ เพื่อเป็นการหาเสียงครั้งสุดท้ายก่อนการลง คะแนน และจบงานด้วยพิธีลงสัตยาบันที่สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับทั้งพนักงานและทีมงาน หลังจบงาน ผมและทีมงาน (รวมทั้งหมดกว่า 50 คน) ต่างก็เหนื่อยกันมาก เราได้มาพูดคุยกันถึง กิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทุกคนต่างพูดถึงรอยยิ้มที่พนักงานส่งมาให้พวกเรา ในวันนั้น ทุกคนต่างพูดถึงความภูมิใจ ความผูกพันที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ผมเพิ่งเข้าใจวันนี้ครับที่เขา บอกหายเหนื่อยมันเป็นอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือทีมงานทุกคนไม่มีใครเก็บความดีความชอบไว้ที่ ตนเองเลย ทุกคนต่างยกเครดิตให้ทีมงานทั้งหมดเหมือนกัน และไม่ลืมที่จะคิดต่อยอด เราต้องทำให้ดี ยิ่งขึ้นไปอีก และรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

หลังจากวันนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป ทุกคนใน โรงงานมีเรื่องคุยกันมากขึ้ น พนักงานทุกคนยิ้มให้ผ ม ทีมงาน และยิ้ ม ให้ กั น เองมากขึ้ น พฤติ ก รรมหลายคนเปลี่ ย นแปลงไป ให้ ค วามร่ ว มมื อ มากขึ้ น อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด และกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะ ทำงานเพื่ อ ตอบแทนองค์ ก ร มี ค นเคยบอกว่ า ความผู ก พั น ความรั ก องค์ ก ร และบรรยากาศที่ ดี ใ นการทำงานเป็ น สิ่ ง ที่ วั ด ได้ยาก แต่ตอนนี้ผมว่าอาจจะเป็นข้อยกเว้นครับ เพราะผมว่า บางที บ รรยากาศที่ ดี ใ นการทำงานช่ ว งนี้ อ าจจะวั ด ง่ า ยกว่ า เป็ น ตัวเลขซะอีก เพราะเราสามารถ “รู้สึก” ได้เลยโดยไม่ต้องวัดครับ ในฐานะตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผมเคยมี คำถามที่แก้ไม่ตกก็คือ ในภาวะที่บริษัทมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงพัฒนา มากมาย แต่ทุกแนวทางล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดนานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเงินทุน เวลา และบุคลากรที่มีอยู่ อย่างจำกัด องค์กรควรจะปรับปรุงพัฒนาสิ่งใดก่อน? ตอนนี้ผม ได้ ค ำตอบเบื้ อ งต้ น แล้ ว ครั บ มี สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ราสามารถทำได้ เ ลย ไม่ ต้ อ งรอเงิ น ทุ น ไม่ ต้ อ งรอเศรษฐกิ จ ฟื้ น ตั ว ไม่ ต้ อ งกลั ว คน ไม่ พ ร้ อ ม ไม่ ต้ อ งรอโอกาส และเป็ น พื้ น ฐานทุ ก อย่ า งของการ พัฒนาองค์กรต่อไปในอนาคต นั่นก็คือการสร้างขวัญและกำลังใจ ภายในองค์กร ผ่านการสร้างองค์กรแห่งความสุข

ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราทุกคนใช้งบประมาณไปมากมายกับ การทำการตลาด การลงทุนเครื่องจักรใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่จำเป็น ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก เพียงแค่ใช้ใจทำ เรากลับมองข้ามไป พวกเราทุกคนต่างก็ใช้เวลาอยู่กับที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน ไม่ว่าจะ เป็นผู้จัดการ ผู้บริหาร พนักงาน ถึงแม้จะมีโอกาสไม่เหมือนกัน แต่ ทุ ก คนก็ อ ยากมี ค วามสุ ข เหมื อ นกั น มี ง านวิ จั ย มากมายที่ สนับสนุนว่าการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเกิดจากการทำงาน อย่างมีความสุข ทุกองค์กรต่างใฝ่หาการเปลี่ยนแปลง ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆ แต่ถ้าพวกเราผู้บริหารไม่เป็น คนริเริ่มคิดทำสิ่งใหม่ๆ แล้วพนักงานคนไหนจะกล้าคิด? จากเหตุผลทุกข้อที่กล่าวมา ไม่ว่าจะในเชิงความรู้สึกหรือเชิง ธุรกิจ ผมคิดว่าการสร้างองค์กรแห่งความสุขนี้คุ้มค่ากับการลงทุน ทุกบาททุกสตางค์แน่นอนครับ สุดท้ายผมจึงขออนุญาตเชิญชวน และเป็ น กำลั ง ใจให้ กั บ ทุ ก องค์ ก รในการร่ ว มกั น สร้ าง และแผ่ ขยายความสุขนี้ให้เกิดขึ้นแก่พวกเราชาวไทยทุกคนอย่างถ้วนหน้า กันครับ

ทุ ก องค์ ก รต่ า งใฝ่ ห า การเปลี่ ย นแปลง ความคิ ด สร้ า งสรรค์ และนวั ต กรรมใหม่ ๆ แต่ ถ้ า พวกเรา ผู้บริหารไม่เป็นคนริเริ่มคิดทำสิ่งใหม่ๆ แล้วพนักงาน คนไหนจะกล้าคิด? ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจติดต่อแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน โทรศัพท์ : 0 2298 0673 www.happy8workplace.com


26

27

ถ้าคิดได้ก็ไม่มีอุบัติเหตุ

มองย้อนกลับไปสมัยเด็ก

“วันชื่นคืนสุข” ของใครหลายคนย่อมมีของเล่นอย่างตัวตุ๊กตุ่นสารพัดแบบสารพัดชื่อมา เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุลตร้าแมน ไอ้มดแดง จัมโบ้เอ ถ้าเป็นยุคนี้ก็คงไม่พ้นแบทแมน สไปเดอร์แมน ซุปเปอร์แมน กระทั่งไอ้ตัวเขียว ฮีโร่แมนเหล่านี้ได้กลายเป็นของสะสมที่โดนใจคนหลายวัย แต่...สิ่งที่น่าเสียใจอย่างยิ่งก็คือ ในหลายกรณีที่ตุ๊กตุ่นฮีโร่ แมนได้กลายเป็น “ของเล่นอันตราย” ที่ทำให้เด็กๆได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือ เสียชีวิต มาแล้ว 1. หากลูกมีวัยไม่เกิน 3 ขวบ ตุ๊กตุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 3.2 คูณ 6 ซ.ม. นั้นอันตรายเพราะเสี่ยงต่อการที่เด็กๆ จะเอามันเข้า ปาก อม เคี้ยว หรือกลืนกระทั่งติดคอ ติดหลอดลม หายใจไม่ออก และเสียชีวิต เพราะขาดอากาศหายใจ 2. ส่วนที่ต้องระวังให้มากก็คือ ส่วนหัวของตุ๊กต เพราะมีลักษณะกลมและเล็ก อันเป็นขนาดที่เสี่ยงอย่างยิ่งที่อาจติดหลอดลมของ เด็กได้ 3. ให้ระวังตุ๊กตุ่นที่มีลักษณะแบนและอยู่ในท่ายืนตรง เพราะหากเด็กกลืนเข้าไป มันอาจขวางหรือติดหลอดลม หรือแม้แต่ตุ๊กตุ่น ยืนกางแขน ก็ควรกางมากกว่า 3 – 17 ซ.ม. จึงจะพอถือได้ว่าปลอดภัย 4. ตุ๊กตาฮีโร่แมนตัวเล็กๆ ที่ทำจากผ้าหรือฟองน้ำ แม้จะอ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่จะเป็นอันตรายก็คือส่วนที่แข็งอย่างตา จมูก ปากของ มันนั่นเอง เพราะมักทำมาจากพลาสติกแข็งซึ่งมิได้เย็บติดกับตัวตุ๊กตาอย่างถาวร หากเด็กเล็กดึงเล่นก็หลุดติดมือแล้ว ดังที่พบเป็นข่าว อยู่บ่อยๆ ว่าเด็กเล็กต้องเสียชีวิตเพราะตา จมูก ปากของตุ๊กตาหลุดติดคอ! 5. อีกกรณีที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจคาดไม่ถึง และตกใจมากเมื่อรู้ว่าลูกโดน “ของเล่นบาด” เพราะความด้อยคุณภาพของ โรงงานผลิต ที่ไม่มีการ ‘เก็บงาน’ ให้เรียบร้อย ปล่อยให้ของเล่นชิ้นนั้นมีขอบคม หรือขึ้นเป็นครีบแหลม ทำให้เด็กเล็กอาจโดนบาดจน ได้เลือด

6. แม้แต่บรรดาหน้ากากฮีโร่แมน อันเป็นความยอดนิยมของเด็กๆ ก่อนจะซื้อก็ควรสำรวจให้ดีๆซะก่อนนะครับ เนื่องจากมีเด็กๆ เป็นจำนวนมาก เคยโดนขอบหน้ากากอันแหลมคมบาดหน้า-บาดตากันมาแล้ว... 7. ให้ระวังตุ๊กตุ่นหรือของเล่นหลายชิ้นที่มีลักษณะมีลักษณะเปราะบาง กรอบ ซึ่งมักจะแตกหักได้ นิ้วของเด็กอาจเข้าไปติดอยู่ใน ร่องที่แตกหัก หรือโดนบาดจากความแหลมคมของร่องรอยแตกร้าวนั้น 8. ให้ระวังตุ๊กตามีเสียง เพราะอันตรายที่เกิดขึ้นประจำก็คือ...ระดับเสียงของมันที่มักเกิน 85 เดซิเบล เมื่อเจ้าคนโตเอาไปบีบ เสียงใส่หูของเจ้าตัวเล็ก ก็อันตรายอาจถึงขั้นสูญเสียประสาทการได้ยิน หรือหูพิการได้เลย สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก และหากข้อมูลนี้ไม่ได้รับการเผยแพร่ ก็คงไม่มีใครได้ล่วงรู้เลยว่า...จากการทดสอบของศูนย์วิจัยเพื่อสร้าง เสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี โดยความร่วมมือของบริษัท Intertex และ SGS ได้พบ ความจริงอันน่าตกใจว่า...ของเล่นหลายต่อหลายอย่างนั้น ล้วนแล้วแต่ปนเปื้อนสารตะกั่วในปริมาณที่สูงเกินค่ามาตรฐาน! ในขณะที่ค่ามาตรฐานการมีสารตะกั่วอยู่ที่ 600 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม แต่... ** หน้ากากมาร์คไรเดอร์ มีค่าสารตะกั่วถึง 24,000 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม • รถมินิคาร์(แผงละ 6 คัน) มีค่าสารตะกั่ว 15,200 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม • รถแข่งครอสคันทรี่ 1 (แผงละ 4 คัน) มีค่าสารตะกั่ว 11,230 มิลลิกรัม/กิโลกรัม • รถแข่งฟอร์มูล่า 1 มีค่าสารตะกั่ว 7,312 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และที่สยองกว่านั้นก็คือ ของเล่นอันอุดมสารตะกั่วหลายชิ้นกลับมีเครื่องหมาย มอก.การันตีด้วย! ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเครื่องหมาย ปลอม ขณะที่ของเล่นอันตรายยังคงเกลื่อนกล่นอยู่ในตลาดนัด แผงลอย หรือวางเด่นเป็นสง่าอยู่ในห้างใหญ่โตหรูหรา และมีผู้อุดหนุน โดยไม่ทราบข้อเท็จจริง หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ก็ไม่ควรเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แต่จะต้องทำงานให้คึกคักเข้มแข็งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ศ.นพ.เฮอร์เบิร์ด แอลนีลเดิลแมน ค้นพบหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า การรับ สารตะกั่วนั้น แม้จะน้อยนิด แต่หากรับทุกวันๆ เป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง สารตะกั่ว ก็จะส่งผลร้ายแก่ร่างกาย โดยเฉพาะต่อระบบประสาท พิษจากสารตะกั่วที่ปนเปื้อนใน ของเล่นเด็กจะส่งผลกระทบต่อสมองทำให้ระดับสติปัญญาลดต่ำลง สมาธิสั้น มีความ ก้าวร้าวมากขึ้น เกิดผลร้ายต่อเม็ดเลือด เกิดภาวะซีด และยังทำอันตรายต่อ ตับ ไต หัวใจ ทางเดินอาหาร ทำลายการเจริญเติบโตของกระดูก ทำให้เด็กหยุดการเจริญ เติบโตเร็วกว่าปกติด้วย บทความโดย... ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารสาธารณะศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกัน การบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 02–6449080-81, 086-7002206


28

29

หน้าต่างสร้างสุข

สื่อพื้นบ้าน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มี คุ ณ ค่ า ไม่ ว่ า จะเป็ น การแสดง การละเล่ น สิ่งประดิษฐ์ กิจกรรมร้องรำ ทำเพลง ไม่เพียง สะท้ อ นวิ ถึ ก ารดำเนิ น ชี วิ ต ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ข อง ชุมชนท้องถิ่น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ อบรมบ่ ม เพาะลู ก หลานให้ เ ป็ น คนดี และสาน ความสัมพันธ์ของคนทั้งชุมชน ที่ผ่านมา แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อ ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ กิ จ ก ร ร ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุนชุมชนให้นำสื่อพื้นบ้านที่ มีอยู่ แต่กำลังจะเลือนหายไปกลับมาสร้างความ สุ ข แก่ เ ยาวชน จึ ง ได้ ท ำโครงการพลิ ก ฟื้ น สื่ อ พื้นบ้าน ที่สนับสนุนทุนให้โครงการดีๆ ที่นำเสนอ เข้ามา 28 โครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกจาก โครงการกว่าร้อยที่ถูกนำเสนอเข้ามา ศิ ล ปิ น พื้ น บ้ า น ไม่ ว่ า จะเป็ น คุ ณ ปู่ คุ ณ ย่ า ล้ ว นมากความสามารถ และมี ค วามรู้ ค วาม เชี่ยวชาญเรื่องสื่อพื้นบ้านนานาแขนง แต่ปัญหา ก็คือ หลายคนไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นให้ เด็ก เยาวชน และคนอื่นๆ เกิดความเข้าใจและ ชื่นชมในสื่อพื้นบ้านที่มีอยู่ได้อย่างไร เช่นนี้เอง “พี่เลี้ยง” จึงถูกส่งเข้าไปให้ความ ช่ ว ยเหลื อ ศิ ล ปิ น พื้ น บ้ า นเหล่ า นี้ ในนามของ ทีมวิชาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สื่อพื้นบ้านเพื่อสุข ภาวะเยาวชน เพื่อเสริมศักยภาพให้กับทุกโครงการ และ “การจั ด การข้ อ มู ล ท้ อ งถิ่ น ” นั่นเองที่ถูก สรุ ป ว่ า เป็ น ตั ว แปรที่ จ ะทำให้ เ กิ ด การเสริ ม ศักยภาพสื่อพื้นบ้าน เวทีจัดการข้อมูลท้องถิ่นจึง เกิดขึ้น ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายนที่ผานมา ณ อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยมีผู้เข้า ร่วมอบรมกว่า 60 คน ทั้งหัวหน้าโครงการ ที่เป็น ผู้ใหญ่ซึ่งมีพื้นฐานแตกต่างกัน และตัวแทนเยาวชน กลุ่มเป้าหมายของโครงการอายุระหว่าง 8-25 ปี ที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ทำอย่ า งไร ทั้ ง สองกลุ่ ม จะสนุ ก ไปกั บ การ เรียนรู้การจัดการข้อมูลท้องถิ่นครั้งนี้ ทีมวิชาการ ซึ่ ง มี ส่ ว นผสมหลากหลาย ทั้ ง นั ก ปฏิ บั ติ ก าร กระบวนการ นักสื่อสารมวลชน นักวิชาการสื่อ เพื่ อ ชุ ม ชน และนั ก บริ ห ารองค์ ก ารมหาชน จึงร่วมกันสร้างบรรยากาศงานที่มีทั้งความสนุกที่ สมดุลกับความรู้ และตอบสนองธรรมชาติของผู้ ร่วมอบรมซึ่งมีความ

เป็ น ศิ ล ปิ น พื้ น บ้ า น ที่ ค งทานทนกั บ การนั่ ง นิ่ ง ฟั ง บรรยาย ความรู้หรือทำกิจกรรมวิชาการแบบพูด อ่าน เขียนนานๆไม่ได้ ที่ ห้ อ งกว้ า งกั บ การเริ่ ม ต้ น ละลายพฤติ ก รรมด้ ว ยกิ จ กรรมที่ พ อดี ๆ กับเด็กและผู้ใหญ่ คือ การทบทวนตัวเองและโครงการด้วยการ สร้างสรรค์โลโก้ประจำโครงการด้วยกัน จากนั้นให้เลือกสิ่งสำคัญ ที่สุด 5 อันดับของการทำโครงการมาจัดกลุ่มความสำคัญเพื่อ อภิปรายถึงเหตุและผล จากนั้ น ทุ ก คนก็ ไ ด้ ร่ ว มกั น ทำ ประติ ม ากรรมสื่ อ พื้ น บ้ า น โดยทุกโครงการจะได้รับกระดาษปรู๊ฟ 2 แผ่น เพื่อทำอย่างไร ก็ได้ยกเว้นการวาด และ เขียน ให้สื่อความหมายถึงสื่อพื้นบ้าน ต่อด้วย กิจกรรมสหเฮ็ด ที่แต่ละโครงการจะถูกรวมเป็นกลุ่มตาม ภูมิภาค เพื่อเอาความหมายของประติมากรรมมาสื่อสารต่อกลุ่ม ใหญ่ในรูปแบบการแสดง ทำให้ศิลปินรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ได้โชว์ ศักยภาพในด้านศิลปะและการแสดงข้ามวัฒนธรรมกันอย่างเต็มที่ กลายเป็นการแสดงสื่อพื้นบ้านร่วมสมัยที่แม้แต่ผู้ร่วมอบรมเองยัง “อึ้ง” ในขีดความสามารถของตน จากนั้ น เป็ น การจั บ คู่ ผู้ ร่ ว มอบรมเน้ น วั ย ใกล้ เ คี ย งกั น เพื่ อ ลงพื้ น ที่ ต ลาดน้ ำ ลำพญา โดยมี โ จทย์ ใ ห้ สื บ ค้ น เรื่ อ งราวชุ ม ชน แห่งนี้ หลังเที่ยวไป กินไป สัมภาษณ์ผู้คนไป ทุกคนกลับมา พร้อมข้อมูลเต็มอิ่มสมอง และอาหารอร่อยแบบอิ่มท้อง ภาพประทับใจถูกฉายออกมาเป็นภาพวาด จากนั้น ให้แต่ละ กลุ่ ม ช่ ว ยกั น วิ เ คราะห์ ภ าพประทั บ ใจ เที ย บเคี ย งกั บ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้

ทั้งรูปธรรม หรือ สิ่งที่ตาเห็น และ นามธรรม หรือ สิ่งที่ความ รู้สึกและใจเห็น ข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจากตลาดน้ำลำพญา ถูกแต่ละกลุ่มนำมา ออกแบบการแสดงโดยใช้สื่อพื้นบ้านของตน งานนี้ เลือดศิลปิน พื้ น บ้ า นต่ า งยอมกั น ไม่ ไ ด้ หลายคนงั ด เสื้ อ ผ้ า และอุ ป กรณ์ ก าร แสดงที่อุตส่าห์แบกมาจากต่างจังหวัด มาแต่งเติมเสริมพื้นที่และ ทำให้บรรยากาศงานซึ่งเป็นการสมมุติ กลายเป็นงานที่อลังการ กว่าที่ทีมงานผู้จัดคาดคิด พลังของสื่อพื้นบ้าน ในช่วงเวลาแสดง ผลงาน ทำให้เห็นเทศกาลสื่อพื้นบ้านระดับชาติที่เล็กแต่งาม และ มี อ านุ ภ าพมากพอเรี ย กจิ ต วิ ญ ญาณของทั้ ง ผู้ ร่ ว มอบรม นักวิชาการ และตัวแทนจาก สสส. ให้สนุกสร้างความประทับใจ ให้กับทุกคนได้หลับฝันดีเป็นการปิดท้ายคืนที่สองของงาน ปิ ด ท้ า ยในวั น สุ ด ท้ า ยด้ ว ยกิ จ กรรม 28 expo ซึ่ ง เป็ น นิ ท รรศการโครงการสื่ อ พื้ น บ้ า น ที่ ป ระมวลผลงานหลั ง ผ่ า น กระบวนการเรี ย นรู้ ม าตลอดสองวั น แล้ ว ให้ ทุ ก โครงการเดิ น ช้อปปิ้งไอเดียของคนอื่นได้ตามความสนใจ เป็นการปิดท้ายการ อบรมอย่างสวยงาม จากวันนั้นถึงวันนี้เมื่อทีมขับเคลื่อนวิชาการติดตามการดำเนินงาน โครงการในฐานะพี่เลี้ยง พบว่า เกือบทุกโครงการได้นำเอาความคิด และกระบวนการของการอบรมครั้ ง นี้ ไ ปปรั บ ใช้ กั บ กิ จ กรรมของ โครงการ นั่นได้แสดงว่า ทุกโครงการได้นำความรู้ที่ได้รับไปเสริม พลังสื่อพื้นบ้านได้จริง


30

31

กระปุกออมสุข นพ.ฆนัท ครุธกูล กรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 มีคนที่ติดเชื้อในประเทศแล้วกว่า 3 พันคน เสียชิวิตแล้วมากกว่า 20 ราย เป็ น โรคที่ ส ามารถป้ อ งกั น ได้ โ ดยการสร้ า งสุ ข อนามั ย และเพิ่ ม ความฟิ ต ให้ กั บ ร่ า งกาย หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการเดินทางในพื้นที่เสี่ยง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคปอด ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หากเกิด เป็นโรคหวัดจะมีความรุนแรงกว่าคนปกติ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงนั้นนั้นทำได้ไม่ยาก ทำได้โดยการหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารให้พอเหมาะ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ เนื่องจากผู้ที่อ้วนหรือผอมเกิน จะมี ภู มิ ต้ า นทานโรคน้ อ ยกว่ า คนที่ มี น้ ำ หนั ก ในเกณฑ์ ป กติ ซึ่ ง การดู น้ ำ หนั ก นั้ น ให้ ใ ช้ “ดัชนีมวลกาย” เป็นหลัก การคำนวนดัชนีมวลกาย (Body Mass Index - BMI) ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง(เมตร) x ส่วนสูง(เมตร)

23-24.9 ถือว่าน้ำหนักเกิน 25-34.9 ถือว่าอ้วน 35 ขึ้นไป ถือว่า อ้วนรุนแรงเกิดเป็นโรคอ้วนลงพุง

ราชวิ ท ยาลั ย อายุ ร แพทย์ แ ห่ ง ประเทศไทย จึ ง ได้ ร ณรงค์ โครงการพั ฒ นารู ป แบบเพื่ อ แก้ ปั ญ หาโรคอ้ ว นลงพุ ง ของชุ ม ชน เมืองในเขต กทม. ร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมสุขศึกษา พละศึกษาและสันทนาการแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่ง ประเทศไทย และสมาคมโภชนาการแห่ ง ประเทศไทย โดยการ สนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. นอกจากนี้ ยั ง ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากที ม งานมหาวิ ท ยาลั ย ในเขต กทม., สำนักงานเขต สำนักอนามัย, สำนักการแพทย์ กทม., ที ม งานของชุ ม ชน/องค์ ก ร, ที ม งานของโรงเรี ย น ออกปฏิบัติการลดพุงในพื้นที่เป้าหมายเดือนละ 1 ครั้ง เป็นประจำ ทุกเดือน ปฏิ บั ติ ก ารลดพุ ง ในเขต กทม.เริ่ ม ขึ้ น ในกลุ่ ม เด็ ก วั ย เรี ย น 6 ขวบถึง 14 ปี ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ กทม. 12 โรงเรียน ประมาณ 10,000 คน และกลุ่มวัยทำงานในชุมชน 12 แห่ง

โรคอ้วนลงพุง

ที่รู้จักกันดีในยุคสมัยที่การดำเนินชีวิต ของคนเมื อ งวนเวี ย นอยู่ กั บ การบริ โ ภคอาหารที่ ไ ม่ ถู ก หลั ก โภชนาการมากเกินความต้องการของร่างกาย ขาดการออกกำลัง กาย มีความเครียด สูบบุหรี่และดื่มสุราเพิ่มขึ้น วันนี้มันได้กลาย มาเป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งตั ว ร้ า ยที่ จ ะทำให้ มี โ อกาสเสี ย ชี วิ ต ด้ ว ยโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่เพิ่มขึ้นอีกด้วย! จากรายงานอั ต ราการเจ็ บ ป่ ว ยและการตายประจำสั ป ดาห์ เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2009 ของโรงพยาบาลแคลิฟอเนียร์ ได้รายงานผลออกมาเมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคมว่าในจำนวนผู้ป่วย สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำนวน 30 ราย เป็นกลุ่มที่มีปัญหาของโรค

ปอดร่วมอยู่ด้วย 37 % กลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง 20 % ในกลุ่มนี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นอีกภาวะหนึ่งที่อาจให้เกิด อาการข้างเคียงอื่นๆ อยู่ 4 รายและผู้ป่วยโรคอ้วนอีก 4 ราย ศู น ย์ ค วบคุ ม การติ ด เชื้ อ (CDC)โรงพยาบาล แคลิ ฟ อเนี ย ร์ ไ ด้ ทำการค้นหาทฤษฏีมากมายเพื่อหาสาเหตุว่าเหตุใดโรคอ้วนจึงอาจมี บทบาททำให้เกิดความรุนแรงของการติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลแคลิฟอเนียร์ได้เสนอถึงกลไกหนึ่งของ การหายใจที่ผิดปกติของภาวะอ้วนลงพุงซึ่งจะหายใจค่อนข้างช้า และในผู้ ป่วยภาวะอ้วนลงพุงจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติทำให้รับเชื้อได้ง่ายและ มากกว่าคนที่มีภูมิคุ้มกันที่สูง

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้กลายเป็น ภั ย เงี ย บที่ คุ ก คามภาวะสุ ข ภาพอนามั ย ของ ประชาชนทั่วโลก ประมาณว่ามีประชากรครึ่ง โลกกำลังมีปัญหาน้ำหนักเกิน ในประเทศไทย จากการสำรวจ ระหว่างปี 2529-2538 พบว่ากลุ่มที่มี อัตราความอ้วนเพิ่มสูงสุด ได้แก่ กลุ่ม อายุ 40 - 49 ปี เพิ่มจาก 19% เป็น 40.2% รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 2029 ปี เพิ่มจาก 3% เป็น 20% ตัวเลขจากกรมอนามัยพบว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ชายเป็นโรคอ้วนเพิ่ม ขึ้น 36% ผู้หญิงเพิ่มขึ้น 47% โดย ช่วงวัยทำงาน 20-29 ปี มีอัตราการ เพิ่มของโรคอ้วนสูงที่สุด

ประมาณ 10,000 คน เพื่อให้เข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการ เป็นคนอ้วนน้ำหนักเกิน และสามารถประเมินตนเองด้านเกณฑ์ น้ำหนักตัวตามภาวะการเจริญเติบโตในวัยต่างๆ ปริมาณอาหารที่ ควรได้รับในแต่ละวัน และมีความคิดในการปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ในหลักการ 3 อ. มีทักษะดูแลตนเอง ควบคุมน้ำหนักตัวเองให้ อยู่ในเกณฑ์ปกติ และในอนาคตอาจจะมีการลงพื้นที่ไปส่วนอื่นๆ ทั่วประเทศ “เครือ ข่ายคนไทยไร้พุง ” เตรี ย มเปิ ด ตั ว โครงการพั ฒ นารู ป แบบเพื่ อ แก้ ปั ญ หาโรคอ้ ว นลงพุ ง ของชุ ม ชนเมื อ งในเขต กทม. อย่างเป็นทางการ ด้วยหลักการ 3 อ. ได้แก่ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และ ควบคุมอารมณ์ ซึ่งงานนี้เปิดตัวอย่างเป็น ทางการในวันที่ 3 สิงหาคม 2552 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อให้คนไทยจะได้ไม่เป็นคนอ้วนลงพุงที่เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่คุกคาม สุขภาพของเราโดยไม่จำเป็น

ศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ราชบัณฑิตยสถานแห่ง ประเทศไทย และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กำหนดจัดงานประชุมระดับชาติเรื่อง “National Food, Energy and Environmental Sustainability Conference” เพื่อจัดทำและเผยแพร่ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายด้ า นมาตรฐานอาหารปลอดภั ย โซ่ อุ ป ทานด้ า น อาหาร การใช้พลังงานทางเลือกจากผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ตลอดจนการ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ (F3 : FOOD , FUEL , FOREST) เพื่อยกระดับรายได้ ของเกษตรกรพร้อมทั้งการ ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคมนี้ ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าว ปาฐกถาพิเศษในการเปิดงาน


32

เคล็ดลับคนดังสุขภาพดี

‘สร้างสุข’ ฉบับนี้จะพาไปรู้จักกับ โยคะร้อน กิจกรรมฮิตๆ ของคน

เจอ

Ms.Healthy ทีไรเป็นต้องมีเคล็ดลับการดูแล สุขภาพดีๆ มาฝากกันเช่นเคย เร็วๆ นี้ Ms.Healthy มี โอกาสได้ไปร่วมงานเสวนา “ทำอย่างไร ไม่ให้วัยรุ่นหญิงไทย สู บ บุ ห รี่ ม ากขึ้ น ” ที่ จั ด ขึ้ น โดยมู ล นิ ธิ ร ณรงค์ เ พื่ อ การไม่ สู บ บุหรี่ และบังเอิญได้พบกับผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 นั่นคือ คุณโอ๊ต นิธินาฏ ราชนิยม เห็นเธอดู สวยเปล่ ง ปลั่ ง สะดุ ด ตาขนาดนี้ จึ ง อดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะเข้ า ไป สืบเสาะวิธีการดูแลตนเองของพี่เขามาฝากกัน “การดูแลสุขภาพของพี่ก็จะเน้นไปที่อาหารเสียมากกว่า เพราะโดยปกติแล้วจะไม่ค่อยได้พักผ่อนสักเท่าไหร่ จึงต้องหา สิ่งที่จะบำรุงร่างกายเพื่อทดแทนกัน” คุณนิธินาฏเล่าว่า โดยปกติแล้วตัวเองเป็นคนนอนไม่ เป็นเวลา เพราะต้องไปอ่านข่าวตอนตี 4 เกือบทุกวัน กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไป 3-4 ทุ่ม ยิ่งอาชีพที่ต้องทำงาน หน้าจอโทรทัศน์มักจะปัญหากับผิวพรรณหน้าตา ที่อาจจะ ดู โ ทรม ไม่ ส ดใส มี ปั ญ หาในเรื่ อ งของการขาดน้ ำ ไป หล่อเลี้ยง รวมถึงการบวมของร่างกายอีกด้วย จึงต้องมี ส่วนทดแทนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ และสำหรับพี่ นิธินาฎก็คือ อาหาร เมื่อนอนน้อย ก็ต้องกินเยอะเพื่อทดแทน!!! การเลือกรับประทานอาหารจึงเป็นสิ่งจำมากกับผู้ที่ผัก ผ่อนไม่เพียงพอ โดยในส่วนตัวของคุณนิธินาฎ ในหนึ่งวัน ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานให้ ครบ 3 มื้ อ โดยจำกั ด อาหารพวกไขมั น อาหารทอด และแป้ง “ก่ อ นหน้ า นี้ เข้ า ใจว่ า ผั ก และผลไม้ มี ป ระโยชน์ ม าก ทานเท่าไหร่ก็ได้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแน่นอน แต่ด้วย ความสงสั ย จึ ง ไปปรึ ก ษาคุ ณ หมอ ซึ่ ง คุ ณ หมอกลั บ บอกว่ า การที่เราทานผักผลไม้เกินความจำเป็น อาจทำให้ร่างกายได้ รับสารตกค้างจากผักผลไม้จำนวนมากได้เช่นกัน” คุ ณ นิ ธิ น าฎจึ ง ปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก ารรั บ ประทานอาหาร จากที่เคยเน้นผัก ผลไม้จำนวนมาก มาเป็นทานให้มากขึ้น เฉพาะเวลาที่ร่างกายอ่อนแอหรือไม่สบายเท่านั้น นี่ เ องคื อ เคล็ ด ลั บ “สวยภายในสู่ ภ ายนอก” ของคุณนิธิน าฎ ใครอยากจะนำไปใช้ก็ไม่หวงห้ามกันนะคะ

ออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ

รุ่นใหม่ที่ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ฝึกมีพลังมากขึ้นที่ สำคัญสามารถช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากความเครียดได้ ก่อนอื่นต้องบอกว่า โยคะไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เป็นกิจกรรม การบริหารกายและจิตหรือจะเรียกว่ากิจกรรมการฝึกจิตก็ได้ ข้อดีของการเล่นโยคะมีมากมาย ตั้งแต่ช่วยเสริมสร้างความแข็ง แรงและความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ ข้อพับ หรือ ข้อต่อ ช่วยลด น้ ำ หนั ก และกระชั บ กล้ า มเนื้ อ ซึ่ ง ช่ ว ยรั ก ษารู ป ร่ า งให้ ไ ด้ สั ด ส่ ว นที่ สวยงาม ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนหัวใจให้ เลื อ ดไหลเวี ย นดี แ ละขยายปอด และไม่ ท ำให้ เ กิ ด อาการข้ อ เสื่ อ ม ภายหลังเพราะแต่ละท่าจะไม่มีการใช้ข้อต่อที่หักโหมเหมือนการเล่น กี ฬ าหรื อ การเต้ น บางประเภท ประการสุ ด ท้ า ย โยคะเป็ น สิ่ ง ที่ สามารถฝึกฝนที่บ้านได้ด้วยตนเอง และไม่จำกัดว่า ควรเล่น ในช่วง เวลาใด โยคะร้อน ที่ฝึกฝนกันในเมืองไทยจำแนกเป็น 2 แบบ แบบแรก เรียกว่า บิแกรม ประกอบด้วยท่าโยคะ 26 ท่า ฝึกท่าละ 2 ครั้ง ใช้ เวลา 90 นาที ครูสอนต้องมีใบประกาศนียบัตรรับรองจากสถาบันใน เครือของบิแกรมจึงจะสามารถสอนได้ แบบที่ 2 เรียกฮ็อทโยคะ ครูผู้ สอนในเมืองไทยอาจจะมีหรือไม่มีประกาศนียบัตรการสอนโยคะ ท่าที่ ใช้ฝึกขึ้นอยู่กับครูผู้สอนแต่ละคน ใช้เวลาฝึกประมาณ 50–75 นาที โยคะร้ อ นทั้ ง สองแบบต่ า งก็ ฝึ ก ในห้ อ งเรี ย นที่ เ ปิ ด ฮี ท เตอร์ อุ ณ หภู มิ ประมาณ 37–40 องศาเซลเซียส ผู้ฝึกจึงสูญเสียเหงื่อมากกว่าโยคะ แบบธรรมดา การเล่นโยคะร้อนในแต่ละท่าจะแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะ ใช้เวลา 60 วินาที ส่วนช่วงที่สองจะลดเวลาเหลือ 30 วินาที และ แน่ น อนว่ า ก่ อ นการเล่ น ทุ ก ครั้ ง ควรเริ่ ม ด้ ว ยท่ า อบอุ่ น ร่ า งกายก่ อ น ซึ่งมักจะใช้ท่า Surya Namaskara 10 ครั้ง ท่า Surya Namaskara สามารถทำได้โดยเริ่มจากยืนตัวตรงแขน แนบลำตั ว แล้ ว ชู แ ขนขึ้ น เหยี ย ดตรง ก้ม ตั ว แขนกอดหลั ง ขาทิ้ ง ศี รษะ จรดเข่า จากนั้นใช้มือแตะปลายเท้า ขาเหยียดตรงยืดศีรษะไปข้างหน้าแล้ว สปริงตัวมาอยู่ในท่าวิดพื้นโดยลำตัวขนานกับพื้น แหงนศีรษะไปด้านหลัง ส่วนขาเหยียดตรงกับพื้น ดันสะโพก แขนและลำตัวเป็นเส้นตรง ส่วนศีรษะ ขนานกับแขน ลักษณะเหมือนรูปสามเหลี่ยม เสร็จแล้วกระโดดกลับมาในท่า ยืนเข่าตึงมือแตะปลายเท้า ย้อนกลับมาท่ากอดเข่า ยืนตรงชูแขนขึ้น และ ค่อยๆวางแขนสงแนบลำตัวเช่นเดิม นี่เป็นเพียงท่าอบอุ่นร่างกายเท่านั้น สำหรับรูปแบบวิธีการของ โยคะร้อนจะนำ เสนอต่อในฉบับหน้าค่ะ การฝึกโยคะเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต้องฝึกในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ไม่ร้อนหรือเย็น เกินไปจึงจะปลอดภัย หากฝึกในห้องร้อนอากาศถ่ายเทน้อย ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงาน เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการทำให้ระบบต่างๆ ของร่ายกายทำงานผิดปกติและเสียสมดุลได้ สำหรับผู้ที่ มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคหัวใจ ความดันโลหิต โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ รวมถึงสตรีที่ตั้ง ครรภ์ในระยะแรก ต้องระวังเพราะจะเสี่ยงมากกว่าคนปกติ ต้องระวัง!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก แผนส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ สสส. และรองศาสตราจารย์ ดร.สาลี่ สุภาภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

33


34

บอกข่าวเล่าสุข

Board update

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สสส. ได้เดินหน้าจับมือพันธมิตรหนุน

สื่ อ สร้ า งสรรค์ ฝี มื อ เยาวชน หวั ง เพิ่ ม พื้ น ที่ สื่ อ ดี ใ ห้ สั ง คม ในงาน “คิดดี โชว์เคส 09” โดยแผนงานทุ น อุ ป ถั ม ภ์ เ ชิ ง รุ ก เพื่ อ สื่ อ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมและ กิจกรรมสร้างสรรค์ พร้อมพันธมิตรด้านสื่อมือเก๋าของวงการจัด กิจกรรม “คิดดี โชว์เคส 09” ขึ้นอีกครั้ง ณ ชั้น 1 โรงภาพยนตร์ ลิโด สยามสแควร์ โดยในงานได้รวมเอาผลงานเด็ดไอเดียโดน จากฝีมือเยาวชนจากทั่วประเทศกว่า 200 โครงการ จาก โครงการคิดดีโปรเจกต์ ครั้งที่ 3 และ 4 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น หนังสั้น นิตยสาร โฆษณา มิวสิกวิดีโอ การจัดรายการวิทยุ การ์ตูนวาด การ์ตูนแอนิเมชั่น ละครเวที และกิจกรรมรณรงค์ รวมถึงการมอบรางวัล KIDDEE AWARD 2009 ให้กับ 18 โครงการ “แววดีและมีแวว” เพื่อเพิ่มกำลังใจให้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ ดีๆ ต่อไป พร้อมกันนี้ ยังได้ชมผลงานสร้างแรงบันดาลใจจากพี่ๆ ผู้ผลิต สื่อมืออาชีพ อย่าง โฆษณาสร้างแรงบันดาลใจจากทีม บางกอก โชว์เคส และ TBWA ผลงานหนังสั้น “Smoke Dies Fast” จาก โดนัท มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และประสบการณ์ดีๆในการ ทำหนังสั้นจากผู้กำกับมือดี ย้ง ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผู้กำกับ “ห้า แพร่ง” เรี ย กได้ ว่ า งานนี้ ไ ด้ เ ต็ ม อิ่ ม ทั้ ง การชมผลงานสื่ อ สร้ า งสรรค์ สังคมของเยาวชนแถมได้กระทบไหล่บรรดาผู้ผลิตสื่อมืออาชีพ ของวงการคับคั่ง ใครที่พลาดสามารถชมภาพบรรยากาศงานแบบ จุใจได้ที่ www.kiddee.org ไม่แน่คุณอาจเป็นอีกคนที่ได้ร่วม เป็นส่วนหนึ่งของ “คิดดี โชว์เคส” ครั้งต่อไปก็ได้

เห็นความสำคัญของปัญหา การแพร่ ร ะบาดของไข้ ห วั ด ใหญ่ ส ายพั น ธุ์ ใ หม่ H1N1 2009 ซึ่ ง กำลั ง กลายเป็ น ภั ย คุกคามอย่างร้ายแรงต่อสุขภาวะของคนไทยในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งทุกองค์กรใน ประเทศไทยสมควรจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้การเฝ้าระวัง การป้องกัน ควบคุม และการแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของโรคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ 7/2552 วันที่ 17 กรกฎาคม จึงมีมติให้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการสนับสนุนการป้องกัน ควบคุม และการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ H1N1 2009” ขึ้น

35


36 มุ่งมั่นและหยาดเหงื่อในเดือนที่ผ่านมา

37

ร่วมกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวง สาธารณสุข และสถานประกอบกิจการภาคเอกชน เปิ ด ตั ว โครงการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ น มแม่ ใ นสถานประกอบกิ จ การ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธี เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถาน ประกอบกิ จ การเขตกรุ ง เทพฯ และปริ ม ณฑล จำนวน 100 แห่ ง ซึ่ ง จะเป็ น การสนั บ สนุ น ให้ แรงงานหญิ ง สามารถเลี้ ย งลู ก ด้ ว ยนมแม่ อ ย่ า ง ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน

โครงการสื่ อ สารสาธารณะเพื่ อ สร้ า งความ เข้ า ใจเพื่ อ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพและป้ อ งกั น ไข้หวัด 2009 สืบเนื่องจากมติของที่ประชุม คณะกรรมการกองทุน สสส. ครั้งที่ 5/2552 วันที่ 15 พฤษภาคม เห็นชอบให้ สสส.ดำเนิน การสื่อสารสาธารณะเพื่อสนับสนุนการป้องกัน การแพร่ ร ะบาดของไข้ ห วั ด ใหญ่ ส ายพั น ธุ์ ใ หม่ 2009 แผนงานรณรงค์สื่อสารสาธารณะจึงได้ ดำเนินการออกแบบ ผลิตสื่อ และเผยแพร่ โดย เน้นกลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว

แผนงานสร้ า งเสริ ม การเรี ย นรู้ กั บ สถาบั น อุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี จั ด ป ร ะ ชุ ม เ ชิ ง ป ฏิ บั ติ ก า ร คู่ คิ ด มิ ต ร แ ท้ อ ป ท . ครั้งที่ 1 วันที่ 27 พฤษภาคม ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุ รี เพื่ อ สร้ า งและขั บ เคลื่ อ นงานวิ จั ย ให้ สามารถนำไปปฏิ บั ติ แ ละขยายผลให้ ก ลายเป็ น นโยบายสาธารณะที่ ดี โ ดยสนั บ สนุ น ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเข้ า ไปทำงานร่ ว มกั บ ท้ อ งถิ่ น และร่ ว ม พัฒนานโยบายสาธารณะที่มีความสำคัญลำดับต้น ของชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น นั้ น ขณะนี้ มี นั ก วิ ช าการเสนอ โครงการแล้วกว่า 40 คน มี อบต.สมัครเข้าร่วม โครงการแล้วกว่า 80 แห่ง

เปิดรับโครงการวิจัยและพัฒนา ปี 2552 เน้นการใช้กระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างนักวิจัย ชุมชนในพื้นที่ศึกษา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นโครงการ วิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ในปี 2552 ปรับ การเปิดรับโดยให้ผู้สนใจเสนอ “เอกสารเชิง หลักการ (Concept Paper)” มาให้ สสส. พิจารณาคัดกรองในเบื้องต้นก่อน โดยมุ่งเน้น นั ก วิ จั ย หน้ า ใหม่ จากนั้ น จึ ง เชิ ญ ผู้ เ สนอ โครงการเข้าร่วมเวทีเพื่อพัฒนารายละเอียด โครงการ โดยมีผู้สนใจเสนอ “เอกสารเชิง หลักการ” จำนวน 165 โครงการ ผ่าน การคัดกรองในเบื้องต้น 41 โครงการ

แผนทุนอุปถัมภ์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน สถานศึกษา สสส. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ จัดแถลงข่าว รับน้อง ปลอดเหล้า ปี 2552 โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเป็ น ประธาน พร้ อ มด้ ว ย ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม และตัวแทนนิสิตนักศึกษาจากสถาบัน การศึกษาทั่วประเทศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ณ สมาคมนิสิตเก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว มหาวิทยาลัย แม่โจ้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและลงนามความร่วมมือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ 6 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง) รวม 60 แห่ง

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้การพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชนโดย ชุมชน พื้นที่ภาคกลาง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานภายใต้โครงการ นวัตกรรมการพัฒนาสุขภาวะชุมชน (1 ตำบล 1 โครงการ) ที่ดำเนินการ ในพื้นที่ภาคกลางจำนวน 40 โครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ น ำกลุ่ ม /องค์ ก รชุ ม ชน เจ้ า หน้ า ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบล และนั ก วิชาการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 90 คน


38

โทรโข่งเล่าข่าว

ใครนะคนประคองฉันไว้ในท้อง ใครนะมอง ตอนฉันออกสู่โลกกว้าง ใครนะคอยอุ้มชูชี้นำทาง ใครนะสร้างให้ฉันเกิดเป็นคน ใครไม่รู้สอนให้ฉันหัดเดินวิ่ง ใครไม่รู้สอนให้นิ่งตอนตัดผม ใครไม่รู้เมื่อฉันดีท่านก็ชม ใครไม่รู้คอยป้อนนมจนฉันโต ใครที่คอยดูแลเอาใจใส่ ใครที่ให้กำลังใจใครที่โอ๋ ใครที่เป็นทุกสิ่งทำให้ฉันโต ใครที่อภัยไม่โมโหกับฉันเลย คือใครที่ฉันมีความรักให้ คือใครที่ฉันจริงใจด้วยเสมอ คือใครที่ฉันสบายใจเมื่อได้เจอ คือใครที่ทำฉันเพ้อเมื่อห่างไกล ท่านคือผู้ให้ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ผู้มอบทั้งกายใจให้กับฉัน ผู้มีคุณต่อฉันทุกคืนวัน ท่านผู้นั้นไม่ใช่ใคร “แม่” ฉันเอง

รายชื่อผู้โชคดี

โทรโข่งเล่าข่าว

39

สำหรับผู้โชคดีประจำเดือนกรกฎาคม มีดังนี้

แจก แจก แจก... ฉบับนี้ เมาท์ซี่มีรางวัล ดีๆ มาแจกแฟนๆ ที่ตอบคำถามได้โดนใจเช่นเคย กับ หนังสือ “สุขกับงาน” ของแผนงานสุขภาวะองค์กร ภาคเอกชน ที่จะมาสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในทำงาน ซึ่งจะเล่าถึงเหตุผลที่หลายองค์กรหันมาให้ความสนใจ การสร้างสุขกับคนทำงาน เพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่ มีประสิทธิภาพ การพัฒนา และการสร้างนวัตกรรม ใหม่ กั บ องค์ ก ร ทำให้ อ งค์ ก รเติ บ โตได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ดังคำที่ว่า “คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่ ชุมชน สมานฉันท์” เพียงร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำประเทศ ไทย ให้น่าอยู่ที่สุดในโลก” ความยาว 5 บรรทัดพร้อม ชื่อ นามสกุล และรูปถ่ายของคุณมาที่ ruethairat@ thaihealth.or.th หรือที่กองบรรณาธิการจดหมายข่าว ชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข (เว็บไซต์) เลขที่ 979/116-120 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 15 ถนน พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 ประกาศ! รายชื่อผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลเครื่องนับก้าวเดินอัจฉริยะ จำนวน 10 เครื่อง จากการ ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.