นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่9

Page 1

๑ มี.ค. ๕๐

ฉบับที่ ๐๐๙

Free Online Magazine

ธรรมะใกล้ ต ว ั dharma at hand

ธรรมะสำหรับคนยุคใหม่ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม http://dungtrin.com/dharmaathand/

เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว

ธรรมะจากคนสู้กิเลส

เรื่องสั้นอิงธรรมะ

เทวดาประจำตัวมีจริงหรือไม่

ติดตามประสบการณ์การณ์ของคน ‘มาทีหลัง’ ที่ค้นพบทางออกให้กับ ตนเองได้ ใน ​ทุกข์ของคนเป็นชู้

ติดตามเรื่องราวทำบุญฉายเดี่ยว ของคุณ จำปูน กันต่อใน สังฆทาน​ใจ (2)

หน้า ๑๑

หน้า ๓๕

หน้า ๔๘


ธรรมะจากพระผู้รู้

• จิตประภัสสรหมายถึงจิตเด็กทารกแรกเกิดหรือไม่ จิตของ เด็กทารกกับจิตของพระอรหันต์ต่างกันอย่างไร • คำสอน ‘พบผู้รู้แล้ว ให้ทำลายผู้รู้’ หมาย​ถึงก​ าร​ ทำลาย ‘​มานะ​’ อันเป็น​สังโยชน์​ข้อ ๘ ใช่หรือไม่ • ทำไมแค่รู้ กิเลสก็สิ้นได้

เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว

๑๑

เขียนให้คนเป็นเทวดา

๑๙

ไดอารี่หมอดู

๒๔

กวีธรรม

๒๘

คำคมชวนคิด

๓๑

สัพเพเหระธรรม

๓๒

ธรรมะจากคนสู้กิเลส

๓๕

ของฝากจากหมอ

๔๐

แง่คิดจากหนัง

๔๔

เรื่องสั้นอิงธรรมะ

๔๘

• เทวดาประจำตัวมีจริงหรือไม่ • ฝันถึงเด็กคนหนึ่งต่อเนื่องนับปี ในฝันจะคอยเรียกว่าแม่ๆ และแม้ทำบุญให้หลายครั้ง ก็ยังฝันอยู่เหมือนเดิม อยากทราบว่าควรทำอย่างไร • วิธี​เขียน​ให้​เอา​ไป​ใช้ ได้​จริง

• มาฆบูชา​รำลึก • วัน​แห่ง​ความ​รัก​ที่แท้​จริง • ก่อน​ชีวิต​จะ​สนิ้ • อะไร​หนอ

• อยู่​ระหว่าง​ทาง​สอง​ฝงั่ • ทุกข์​ของ​คน​เป็นชู้ • จ๊ะเอ๋.​​. ตัว​ยงุ่

• คุย​เรื่อง “​ความ​รัก​” ใน​หนัง ตำนาน​ สมเด็จ​พระ​นเรศวร (​ภาค ๒​) • สังฆทาน​ใจ (​2)​

ธรรมะปฏิบัติ • จิตส​ ่ง​ออก​นอก

ธรรมะใกล้ตัว dhamma at hand

ทีป่ รึกษาและผูจ้ ดุ ประกาย: ศรันย์ ไมตรีเวช หัวหน้าบรรณาธิการ จากใจบ.ก.ใกล้ตวั : อลิสา ฉัตรานนท์ ธรรมะจากพระผูร้ :ู้ อนัญญา เรืองมา เตรียมเสบียงไว้เลีย้ งตัว: อนัญญา เรืองมา เขียนคนให้เป็นเทวดา: อนัญญา เรืองมา ไดอารีห่ มอดู: จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ กวีธรรม: ศิราภรณ์ อภิรฐั คำคมชวนคิด: ศิราภรณ์ อภิรฐั สัพเพเหระธรรม: ชนินทร์ อารีหนู ธรรมะจากคนสูก้ เิ ลส: ณิตชมน ธาราภิบาล ของฝากจากหมอ: พริม ทัพวงศ์ แง่คดิ จากหนัง: เกสรา เติมสินวาณิช นิยาย/เรือ่ งสัน้ อิงธรรมะ: สุปราณี วอง เทีย่ ววัด: เกสรา เติมสินวาณิช ธรรมะปฏิบตั :ิ ชนินทร์ อารีหนู กองบรรณาธิการ: เกสรา เติมสินวาณิช กนกเรขา กฤษฎารักษ์ • กาญจนา สิทธิแพทย์ กานต์พทั ธ์ รัชพันธุ์ • จรินทร์ธร ธนชัยหิรญ ั ศิริ ชนินทร์ อารีหนู • ณัฐชญา บุญมานันท์ ณัฐธีรา ปนิทานเต • ณัฐพร สกุลอุทยั ศักดิ์ ณิตชมน ธาราภิบาล • ทิวตั ถ์ อังสนันรัตนา ปรียาภรณ์ เจริญบุตร • พรดารา ประจง พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ ทองเลีย่ มนาค พริม ทัพวงศ์ • พิจติ รา โตวิวชิ ญ์ มยุรฉัตร พงษ์ผาตินนั ท์ • เมธี ตัง้ ตรงจิตร วรางคณา บุตรดี • วิภา คำพุก วิมล ถาวรวิภาส • วิมตุ ติยา นิวาดังบงกช ศดานัน จารุพนู ผล • ศิราภรณ์ อภิรฐั สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ • สาริณี สาณะเสน สิทธินนั ท์ ชนะรัตน์ • สุปราณี วอง อนัญญ์อร ยิง่ ชล • อนัญญา เรืองมา อลิสา ฉัตรานนท์ • อัจจนา ผลานุวตั ร ฝ่ายรวบรวมบทความ: สิทธินนั ท์ ชนะรัตน์ ฝ่ายสือ่ เสียงอ่านนิตยสาร: อนุสรณ์ ตรีโสภา ฝ่ายสือ่ เว็บไซต์: ผูอ้ อกแบบ คุณเขมจิรา กฤษฎ์ อักษรวงศ์ • สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ ฝ่ายสือ่ Word และ PDF: สิทธินนั ท์ ชนะรัตน์ กานต์ ศรีสวุ รรณ • พีรยสถ์ อุบลวัตร บุณยศักดิ์ ธีรวงศ์กจิ ฝ่ายระบบ Send mail: สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ และทีมงานอาสาท่านอืน่ ๆ อีกจำนวนมาก

๕๔

ท่านสามารถรับนิตยสารฉบับนี้ ได้ ในรูปแบบ เสียงอ่าน · Word


จากใจบ.ก.ใกล้ตัว อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

อีกไม่กี่วัน  ก็จะถึง  วันมาฆบูชา    ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งแล้วนะคะ  หลายคนได้หยุดวันจันทร์ด้วย  ก็เลยได้อาศัยช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ยาวอย่างนี ้ ปลีกตัวไปเจริญภาวนาต่างจังหวัดกันไม่น้อยทีเดียวค่ะ แต่ลองนึกย้อนไป  สักสมัยที่เรายังอยู่รุ่นราวคราวเดียวกับน้อง ๆ  “แฟนฉัน”  :  )  กิจกรรมหลักช่วงนี้  คงไม่พ้นต้องวุ่นอยู่กับการจัดบอร์ด  วันมาฆบูชา  กันแน่เลยนะคะ : ) “วันมาฆบูชานี่...  สำคัญยังไงนะ”  อาทิตย์ก่อน  ได้ยินเีสียงใครบางคนถามคำถามนี้แว่วเข้าหูมาค่ะ  “เออ...  ไม่รู้ซิ”  “อืม...  ไม่แน่ใจเหมือนกันนะ”  “ลองเสิร์ชกูเกิ้ลดูซิ...”  ฯลฯ ไม่รู้ว่าจะแปลกใจหรือไม่แปลกใจดี    แต่วันนั้น  จำได้ว่า  ไม่ได้ยินคำตอบที่ชัดเจนจากใครสักคนเลยค่ะ  ว่าแต่  คุณผู้อ่านล่ะคะ  อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว  ยังจำกันได้อยู่ไหมคะว่า    วันมาฆบูชา  เป็นวันที่มีความสำัคัญต่อพุทธศาสนาเราอย่างไรบ้าง?  (ให้เวลานึก...) : ) มีอยู่เพลงหนึ่งที่คุณครูเคยสอนให้ร้องเมื่อสมัยเด็ก ๆ  และยังติดหูมาจนถึงวันนี ้ มีใครร่วมสมัยกับ  บ.ก.  บ้างไหมคะนี่  :  ) “มาฆะ  มาฆะบูชา  รูก้ นั ว่าวันเพ็ญเดือนสาม  คนไทยน้ำใจงาม  วันเพ็ญเดือนสามมาทำบุญกัน  จาตุรงคสันนิบาต  วันประหลาดน่าอัศจรรย์  พระอรหันต์มาชุมนุมกัน  พันสองร้อยห้าสิบองค์” มาฆบูชา  ถือได้ว่าเป็น  วันกำเนิดของพระธรรม  เลยทีเดียวค่ะ  เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าท่านได้ประกาศหลักธรรมคำสั่งสอน  เพื่อให้พระอรหันตสาวกทั้งหลายที่ไปชุมนุมกันในวันนั้น  ได้นำไปเผยแผ่สืบทอดกันออกไป และก็เป็นวันทีเ่ รียกกันว่าวัน  จาตุรงคสันนิบาต  ด้วย  คือมีการประชุมพร้อมด้วยองค์  ๔  คือ

ธรรมะใกล้ตัว


๑.  วันนั้นเป็นวันเพ็ญขึ้น  ๑๕  ค่ำกลางเดือนมาฆะ    ๒.  พระภิกษุ  ๑,๒๕๐  รูป  มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย  ๓.  พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์    ๔.  พระภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด  ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง

แต่สิ่งหนึ่ง  ที่เพลงที่ร้องตั้งแต่สมัยเยาว์วัยข้างต้น  ไม่ได้รวมเข้าไปในเนื้อเพลงด้วย  ทว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของวันมาฆบูชานี้  ก็คือ  วันนี้เอง...  เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดง  โอวาทปาฏิโมกข์  ซึ่งถือกันว่า  เป็นหลักคำสอนที่เป็น  “หัวใจของพระพุทธศาสนา”  ค่ะ ที่กล่าวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา  ก็เพราะ  โอวาทปาฏิโมกข์  ได้กล่าวถึง    จุดหมาย  หลักการ  และวิธีการ  ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน  คือ  ๑. จุดหมาย  ของพระพุทธศาสนา  คือ  พระนิพพาน    (พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยเด็ดขาด  ละวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง) ๒. หลักการ  คือ  การไม่ทำความชั่วทั้งปวง  การทำความดีทั้งปวง    และการชำระจิตใจให้สะอาด  บริสุทธิ์  ผ่องใส  ๓. วิธีการ  ที่จะบรรลุจุดหมายคือ  ต้องฝึกฝนอบรมตนอย่างต่อเนื่อง  ตามทางอันประเสริฐที่เรียกว่า  อริยมรรค  อันมีองค์  ๘    (คือ  เห็นชอบ  ดำริชอบ  พูดจาชอบ  ทำการชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  เพียรชอบ  ระลึกชอบ  และตั้งใจมั่นชอบ  หรือย่นย่อลงมาได้เ็ป็น  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  นั่นเองค่ะ) ตรงนี้  หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันชินหูว่า  “มรรค  ๘”  แต่ถ้าให้ถูกตามหลักจริง ๆ  แล้ว  ก็น่าจะเรียกว่า  “มรรคมีองค์  ๘”  ค่ะ  เพราะมรรคทุกข้อจะเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งหมด  อย่างแยกจากกันไม่ได้  เปรียบเสมือนเชือกเส้นเดียว  ที่มีเชือกเล็ก ๆ  ๘  เส้น  ฟั่นเป็นเกลียวรวมกัน  เพื่อให้เชือกเส้นใหญ่นั้น  ใช้ประโยชน์ได้ตามที่ต้องการเต็มที่    นั่นคือ  ไม่ใช่ว่ามรรคจะมี  ๘  ทาง  แต่ีที่จริงต้องดำเนินมรรคให้ครบทั้ง  ๘  ประการ  ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้  จึงจะสามารถบรรลุธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดได้ค่ะ

ธรรมะใกล้ตัว


วันนี้คงไม่ได้มาจัดบอร์ดเรื่อง  วันมาฆบูชา  บนนิตยสารธรรมะใกล้ตัวหรอกนะคะ  :  )  เพียงแต่เห็นว่า  หลาย ๆ  คนรอบตัว  แทบไม่มีใครทราบความสำคัญของวันนี้เลย  เลยอยากหยิบมาเพื่อให้เราได้รับรู้และตระหนักในความสำคัญของวันนี้กันสักนิด  และหันมาใส่ใจในธรรมอันเป็นหัวใจที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนไว้กันค่ะ อ่าน ๆ  ไป  อาจจะมีคุณผู้อ่านบางท่านเริ่มรู้สึกมึนกับบอร์ดวิชาการของ  บ.ก.  :  )  จริง ๆ  แล้วธรรมะของพระพุทธองค์นั้น  ไม่ได้ยุ่งยาก  ซับซ้อน  ไกลตัว  ขนาดนั้นหรอกค่ะ  ขอคัดบางส่วนที่หลวงพ่อปราโมทย์  ปาโมฺชฺโช  ท่านได้เคยเีขียนไว้สำหรับผู้มาใหม่นะคะ “แท้จริงแล้ว  ธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัว    ใกล้จนถึงขนาดที่เรียกว่า  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ  ตัวเราเอง  และขอบเขตของธรรมะก็มีเพียงนิดเดียวคือ  ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์ ถ้าจะศึกษาธรรมะ  ก็ศึกษาลงไปเลยว่า    “ความทุกข์อยู่ที่ไหน  เกิดขึ้นได้อย่างไร  และดับไปได้อย่างไร”  และความสำเร็จของการศึกษาธรรมะ  อยู่ที่ปฏิบัติจนเข้าถึงความพ้นทุกข์  ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้รกสมอง  หรือเพื่อความสามารถในการอธิบายแจกแจงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร แท้จริงแล้ว  ความทุกข์ของคนเราอยู่ในกายในจิตของตนนั่นเอง  สนามศึกษาธรรมะของเรา  จึงอยู่ที่กายที่จิตนี้แหละ  แทนที่เราจะเที่ยวเรียนรู้ออกไปภายนอก    ก็ให้เราย้อนเข้ามาศึกษาอยู่ในกายในจิตของเรานี้แหละ” “อย่าพากันท้อถอยเสีย  เมื่อได้ยินคนอื่นพูดธรรมะแล้วเราฟังเขาไม่รู้เรื่อง  เราไม่ต้องรู้อะไรเลยก็ได้  รู้แค่ว่า  ทำอย่างไรเราจะไม่ทุกข์  ก็พอแล้ว  เพราะนั่นคือใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา” หลวงพ่อท่านได้เคยเขียนแจกแจงไว้อย่างเรียบง่ายและน่าฟังทีเดียวค่ะ  ใครยังไม่เคยอ่านเรื่องนี้เต็ม ๆ  ก็อยากให้ลองอ่านดูนะคะ

ธรรมะใกล้ตัว


แด่เธอผู้มาใหม่ : เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่า  ธรรมะ  http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/000373.htm และวิธีการหลัก ๆ  ที่หลวงพ่อท่านได้เน้นย้ำอยู่บ่อย ๆ  และเสมอ ๆ  ก็คือ  มรรคในข้อ  ระลึกชอบ  หรือ  สัมมาสติ    คือให้มีสติรู้สิ่งต่าง ๆ  ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง  นั่นเองค่ะ นอกจาก  สัมมาสติ  จะทำให้มรรคข้ออื่นหลาย ๆ  ข้อ  พลอยเกิดขึ้นได้เองแล้ว  พระพุทธเจ้าท่านยังได้ตรัสไว้ในตอนท้ายของ  มหาสติปัฏฐานสูตร  ด้วยนะคะว่า  ใครก็ตามที่เจริญสติปัฏฐานทั้ง  ๔  อย่างต่อเนื่องแล้ว  พึงหวังผลได้เลยว่า  อย่างช้าไม่เกิน  ๗  ปี  จะสามารถบรรลุมรรคผล  ได้เป็นพระอนาคามีขึ้นไป  คือสามารถตัดราคะ  และโทสะได้  และเมือ่ เป็นพระอรหันต์  ก็จะตัดโมหะได้ดว้ ยอย่างเด็ดขาด  ซึ่งนั่นก็เท่ากับดับเชื้อของกิเลสทั้งปวง  และไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดอีกเลย มรรคข้อ  ระลึกชอบ  หรือ  สัมมาสติ  นี้  เมื่อเจริญแล้ว  จึงเป็นข้อที่ให้ผลใหญ่ยิ่งค่ะ  และสำหรับ  ธรรมะใกล้ตัว  ฉบับนี้  คุณศานตินิจ-ณฎน  ก็ได้ร่วมแต่งบทกวี    มาฆบูชารำลึก  มาเพื่อร่วมน้อมระลึกถึงวันพระธรรมนี้โดยเฉพาะ  ในคอลัมน์  บทกลอนธรรมะ  ด้วยค่ะ  ส่วน  ธรรมะจากคนสู้กิเลส  สัปดาห์นี้  เป็นเรื่องราวจากคุณ  awayfromhell  ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านชีวิต  มากับเรื่อง  ทุกข์ของคนเป็นชู ้   ใครเคยได้ต้องรสและรู้ถึงอำนาจของราคะอันยากจะสลัดให้เป็นอิสระแล้ว  คงเข้าใจว่า  จะต้องใช้ความอดทนและมีกำลังใจอันเด็ดเดีย่ วเพียงใดกว่าจะผ่านข้ามได้สำเร็จ  ลองติดตามดูนะคะว่า  เธอสู้จนผ่านและชนะมันมาได้อย่างไร  ใครมีนิสัยช่างคิด  ช่างค้น  กระทั่งช่างหงุดหงิด  หรือจริง ๆ  แล้ว  คือช่างทุกอย่าง...  ลองฟังวิธีของคุณ  มนสิการ  ที่คอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตในใจของเธอดูนะคะว่า  การ  อยู่ระหว่างทางสองฝั่ง  นั้นคืออย่างไร  แล้วทางสายกลางนั้นอยู่ตรงไหน  วิธีการนี้  อาจจะช่วยทำให้ชีวิตหลาย ๆ  คนเบาลงเป็นเรื่องง่ายขึ้นก็ไ้ด้ค่ะ

ธรรมะใกล้ตัว


ว่ากันว่า  คนเรา  “ทุกข์”  เพราะ  “ยึด”  ว่าแต่ใครยังจำได้บ้างไหมคะว่า  แรกเกิดอุแว้แบเบาะออกมาอย่างไม่รู้ความ    เราเริ่มรู้จัก  “ยึด”  เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่กัน?  คุณหมอพิม  (กุมารแพทย์)  ได้เขียนเรื่อง  จ๊ะเอ๋...เจ้าตัวยุ่ง    ในคอลัมน์  ของฝากจากหมอ  โดยเล่าถึงพัฒนาการของความจำ  ความปรุง    ไปจนถึงความยึด  และความทุกข์  ที่เกิดขึ้นแล้วแม้กระทั่งกับเด็กในวัยทารกนี่ล่ะค่ะ    บางที  โตกันมาจนถึงวันนี้  เราก็อาจจะยังไม่ต่างอะไรจากเจ้าตัวยุ่งมากมาย  นอกจากจะมีแต่ยึดมากขึ้น  ทุกข์มากขึ้นกันทุกวัน แต่สิ่งหนึ่งที่ต่างกันแน่นอนคือ  ถึงวันนี้  เราเรียนรู้วิธีออกจากทุกข์ตรงนั้นได้    อยู่ที่ใครจะมองหา  และตั้งใจทวนกระแสได้เพียงใดเท่านั้น ธรรมะสวัสดีในวันมาฆบูชานี้ทุกท่านนะคะ พบกันสัปดาห์หน้าค่​่ะ  สวัสดีค่ะ

กลาง​ชล

สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว


ธรรมะจากพระผู้รู้ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ถาม  –  ที่​วา่ ​เดิมที​จติ ​ประภัสสร​นน้ั   หมาย​ถงึ ​จติ ​ของ​เด็ก​ทารก​แรก​เกิด​หรือ​เปล่า​ คะ​?  ถ้า​ใช่  จิต​ของ​เด็ก​ทารก​กบั ​จติ ​ของ​พระ​อรหันต์​ตา่ ง​กนั ​อย่างไร  มี​อะไร​มา​ทำให้​ แตก​ต่าง​? จิต​ผ​รู้ ​นู้ น่ั แหละ​ครับ  คือ​จติ ​ประภัสสร  มัน​ประภัสสร​เพราะ​มนั ​ยงั ​ไม่​ถกู ​อปุ กิเลส​จร​ มา​หอ่ ​หมุ้   ใน​ทาง​ปฏิบตั ิ​เมือ่ ​เรา​สามารถ​แยก ‘​จติ ​ผ​รู้ ้​’ู กับ ‘​อารมณ์​ท่​ถี กู ​ร้​’ู ออก​จาก​กนั ​ ได้​แล้ว  จิต​จะ​ทรง​ตัว​รู้  ผ่องใส  เบิกบาน​อยู่​ใน​ตัว​เอง แต่ต​ รง​นถี้​ ้าส​ ังเกต​ให้ด​ จี​ ะ​พบ​ว่าม​ ันก​ ย็​ ังเ​ป็นภ​ พ​อีกอ​ ันห​ นึ่ง  จิตย​ ังข​ ้อง  ยังย​ ึดอ​ ยูใ่​น​ ภาวะ​ที่​รู้ ว่าง ผ่องใส เบิกบาน นั้น  เรา​ไม่​สามารถ​เห็น​ได้​ว่าต​ รง​นี้​เป็นภ​ พ​อัน​หนึ่ง  เป็น​ ก้อน​ทกุ ข์​อนั ​หนึง่   ไม่​สามารถ​มอง​เห็น​ตณ ั หา​อนั ​ละเอียด​ท​ก่ี อ่ ​ภพ​อนั ​น​ข้ี น้ึ   หาก​ใคร​ปฏิบตั ิ​ ติด​อยู่​เพียง​แค่​น ้ี ก็​บาง​ครัง้ ​บาง​คราว​เท่านัน้   ที​จ่ ติ ​จะ​ปล่อย​วาง​ภพ​อนั ​น​ไ้ี ด้​ชว่ั คราว  แล้ว​ จิต​พลิก​ไป​อีก​สภาพ​หนึ่ง  เป็นความ​เบา เป็น​อิสระ  เป็น​ธรรมชาติ​อัน​หนึ่ง แต่​ไม่​นาน  อย่าง​มาก​ก็​สาม​ส่​วี นั   ตัณหา​ท่​ยี งั ​มอง​ไม่​เห็น​ก​ส็ ร้าง​ภพ​ของ​จติ ​ผ้​รู ้​ขู น้ึ ​มา​ ใหม่  แล้ว​ก็​ติด​ข้อง​อยู่​ใน​ภพ  เพราะ​มอง​ไม่​ออก​ถึง​เงื่อน​ต้นเ​งื่อน​ปลาย​ของ​มัน​ครับ

๖  ก​.​ค.​  ๒๕๔๒ ​สันตินันท์​ (​พระ​ อาจารย์​ปราโมทย์  ปา​โมชฺโช  ใน​ปัจจุบัน​)  ถาม – จาก​คำ​สอน​ท​ว่ี า่   ‘​ให้​คน้ ​หา​ตวั ผู​ร้ ​ใู้ ห้​พบ  แล้ว​ทำลาย​ตวั ผู​ร้ ​เู้ สีย’  ข้อความ​ นี้​หมาย​ถึง​การ​ทำลาย  ‘​มานะ​’  อันเป็น​สังโยชน์​ข้อ  ๘  หรือ​เปล่าค​ รับ?​

ธรรมะใกล้ตัว


การ​ทำลาย​ผู้​รู้​ไม่​ใช่​การ​ทำลาย​มานะ​หรอก​ครับ  แต่​หมาย​ถึง​การ​ปล่อย​วาง​ความ​ ยึด​มั่น​ใน​จิต​ผู้​รู้​ว่าเป็น​เรา  หรือ​ของ​เรา  คือ​เห็น​ว่า  กระทั่ง​จิต​ก็​เป็น​เพียง​สภาพธรรม​ อัน​หนึ่ง  มัน​เป็น​ของ​มันอ​ ยู่​อย่าง​นั้นเ​อง ถาม  –  ทำไม​แค่​รู้  กิเลส​กส็​ ิ้น​ได้​ครับ?​ เรา  รู ้ เพือ่ ​เข้าใจ​สภาพธรรม​ท่​กี ำลัง​ปรากฏ​ตาม​ความ​เป็น​จริง​เท่านัน้   คือ​ร้​วู า่   สิง่ ​ ทัง้ หลาย​ท​เ่ี กิด​มา​นน้ั   มัน​ตอ้ ง​ดบั ​ไป​ใน​ทส่ี ดุ   และ​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​ความ​อยาก​ของ​เรา  แต่​ เป็น​ไป​ตาม​เหตุ​ของ​มัน เมือ่ ​จติ ​รคู้ วาม​จริง  จิต​ก​ป็ ล่อย​วาง  ไม่​เข้าไป​แทรกแซง​สง่ิ ​ใด  คือ​พอ​เห็น​อารมณ์​ใด​ เกิดข​ ึ้น  ก็ร​ ู้​ว่า  “​มัน​ก็​เท่านั้นเ​อง”  “​มันเ​ป็น​อย่าง​นั้น​เอง”  เมื่อจ​ ิต​รู้จักป​ ล่อย​วาง  จิต​ ก็​ไม่​ทุกข์ การ​ที่​เรา​รู้ทัน​กิเลส​ที่​กำลัง​ปรากฏ​แล้ว  กิเลส​อ่อน​กำลัง​ลง​หรือ​หาย​ไป​นั้น  ไม่​ใช่​ เพราะ​เรา​ไป​ไล่​กิเลส​ไป​หรอก​ครับ  อย่าง​มี​ใคร​สัก​คน​มา​ด่า​คุณ  คุณ​ฟัง​แล้ว​โกรธ  พอ​ โกรธ​แล้วก​ จ็​ ะ​ยิ่งเ​พิ่มค​ วาม​สนใจ​คน​ที่มา​ด่าค​ ุณม​ าก​ขึ้น  ยิ่งส​ นใจ​กย็​ ิ่งค​ ิดย​ ิ่งแ​ ค้น  ความ​ โกรธ​กย็​ ิ่ง​รุนแรง​ขึ้น แต่​เมือ่ ​ใด​คณ ุ ​ยอ้ น​กลับ​มา​เห็น​ความ​โกรธ​ท่​กี ำลัง​เกิด​ขน้ึ   แล้ว​เห็น​วา่ ​มนั ​ทำให้​จติ ใจ​ ของ​คณ ุ ​เป็น​ทกุ ข์  จิตใจ​ของ​คณ ุ ​ก​จ็ ะ​ไม่​คล้อย​ตาม​สง่ิ ​ท​ก่ี เิ ลส​สอน​ให้​ทำ  เช่น  ไม่​ตดั สินใจ​ โดด​ชก​คน​ทม่ี า​ดา่ ​เรา  และ​ใน​ขณะ​ท่​รี ทู้ นั ​กเิ ลส​อยู​น่ น้ั   ความ​สนใจ​ของ​เรา​ไม่​ได้​อยู​ท่ ่​คี น​ ทีม่ า​ดา่ ​เรา  ไม่​ได้คดิ ​ปรุง​แต่ง​เพิม่ เติม​วา่ ​เขา​ไม่​ด​อี ย่าง​นน้ั ​อย่าง​น ้ี กิเลส​ก​เ็ หมือน​ไฟ​ท​ข่ี าด​ เชื้อ  มัน​กอ็​ ่อน​กำลัง​แล้ว​ดับ​ไป​เอง เรา​ปฏิบตั ธิ รรม​ไม่​ใช่​เพือ่ ​ละ​กเิ ลส  แต่​เพือ่ ​ละ​ความ​เห็น​ผดิ ​ของ​จติ ใจ​ท่​ไี ป​หลง​เชือ่ ​วง่ิ ​ ตาม​กเิ ลส  แล้ว​พา​ทกุ ข์​มา​ให้​ตวั ​เอง  แต่​เรา​ก​จ็ ำเป็น​ตอ้ ง​ร​กู้ เิ ลส  เพราะ​ถา้ ​ร​ไู้ ม่ทนั   กิเลส​ มัน​จะ​ทำพิษ​เอา  คือ​ถา้ ​มนั ​ครอบงำ​จติ ใจ​ได้  มัน​จะ​พา​คดิ ​ผดิ   พูด​ผดิ   ทำ​ผดิ   แล้ว​จะ​นำ​ ความ​ทุกข์​ความ​เดือดร้อน​มา​ให้

ธรรมะใกล้ตัว


การ​ท​เ่ี รา​ร​กู้ เิ ลส​นน้ั   เรา​ไม่​ได้​ร​เู้ พือ่ ​จะ​ละ​มนั   เพราะ​ตราบ​ใด​ยงั ​ม​เี ชือ้ ​ของ​กเิ ลส​หลบ​ ซ่อน​อยู่​ใน​จิตใจ​ส่วน​ลึก​แล้ว  หาก​มัน​มี​ผัสสะ​ทาง​ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  กิเลส​ที่​ซ่อน​ นอนก้น​อยู่​ใน​จิตใจ​ก็​จะ​ผุด​ขึ้น​มา  เพื่อ​กระตุ้น เร่งเร้า  ให้​เรา​หลง  ให้​เรา​รัก  ให้​เรา​ ชัง  สิ่ง​ต่างๆ  จิตใจ​กเ็​สีย​ความ​เป็นกลาง​ไป และ​เรา​ไม่​ต้อง​ไป​คิด​เรื่อง​ตัวผู้​รอู้​ ะไร​หรอก​ครับ  ถ้า​กิเลส​เกิด​แล้ว​รู้​ว่า​มกี​ ิเลส  และ​ รู้ทัน​จิตใจ​ตน​เอง​ว่า  มัน​ยินดี  ยินร้าย​ตาม​กิเลส​หรือ​ไม่  มัน​หลง  มัน​เผลอ  มัน​ อยาก  มัน​ยดึ   หรือ​ไม่  รู้​เรือ่ ยๆ  ไป  ถึง​จดุ ​หนึง่ ​จติ ​มนั ​จะ​เข้าใจ​เอง​วา่   “​ถา้ ​จติ ​หลง​ตาม​ แรง​กระตุ้นข​ อง​กิเลส  แล้วเ​กิดค​ วาม​อยาก  ความ​ยึดข​ ึ้นม​ า​เมื่อใ​ด  ความ​ทุกข์ก​ เ็​กิดข​ ึ้น​ เมื่อนั้น”  จิต​กจ็​ ะ​มี​ความฉลาด​พอ  ทีจ่​ ะ​ไม่​หลงกล​กิเลส​ที่​มัน​รู้ทัน​แล้ว​อีก​ต่อไ​ป

๗  ก​.​ค.​  ๒๕๔๒ สันตินันท์​ ​(​พระ​ อาจารย์​ปราโมทย์  ปา​โมชฺโช  ใน​ปัจจุบัน​)

10 ธรรมะใกล้ตัว

สารบัญ 


เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ถาม  –  เทวดา​ประจำ​ตัว​มี​จริง​หรือเ​ปล่า​คะ​? ถ้า​นึกถึง​เทวดา​เดิน​ตาม​ต้อยๆ​ไป​คอย​เป็น​องครักษ์​พิทักษ์​คุณ​ตลอด​เวลา​ล่ะ​ ก็  แบบ​นั้น​ไม่​มี​หรอก​ครับ  ลอง​คิด​ดู​ถ้า​ใคร​สัก​คน​สู้​อุตส่าห์​ทำบุญ​จน​เกิน​มนุษย์​ ธรรมดา  ถึงขนาด​ตาย​ไป​เสวย​สวรรค์​ได้  สุดท้าย​เบื้องบน​ตกรางวัล​โดย​ให้​มา​เป็น​ บอดี้การ์ดคุ้มครอง​มนุษย์​ตลอด​เวลา  ค่า​จ้าง​ค่า​ออ​น​ก​ไ็ ม่​ได้​รับ​กับ​ใคร​เขา  อย่าง​นี้​จะ​ เป็น​เทวดา​ไป​ทำไม​ล่ะ​ครับ  เป็นค​ ุณ​จะ​เอา​ไหม​ถ้า​ทำบุญแ​ ทบ​ตาย  แล้วต​ ้อง​ไป​กินบุญ​ ด้วย​การ​เป็น​เงา​ตาม​สิ่ง​มี​ชีวิตท​ ี่​ศักดิต์​ ่ำ​กว่า  อย่าง​เช่น​ลิง​ค่าง​บ่าง​ชะนี​? หาก​ต อบ​ว ่ า ​ไ ม่ ​เอา  เทวดา​ก ็ ​ค ง​ไ ม่ ​เอา​เหมื อ น​ก ั น   และ​ห าก​บ อก​ว ่ า ​ไ ม่ ​เห็ น​ จำเป็น  เทวดา​ก็​บอก​ว่า​ไม่เ​ห็น​จำเป็น​เช่น​กัน  ฉันใด​ก็​ฉันนั้น​เลย​ครับ อย่างไรก็ตาม  การ​ช่วยเหลือเ​กื้อกูลข​ ้าม​มิตภิ​ พ​ภูมนิ​ ั้นเ​ป็นไ​ป​ได้ค​ รับ  ทำนอง​เดียว​ กับ​ท​ค่ี ณ ุ ​อยู​ใ่ น​ภมู ​มิ นุษย์  สามารถ​ยน่ื มือ​ไป​ชว่ ยเหลือ​สตั ว์​ใน​ภมู ​เิ ดรัจฉาน​ได้  ตัง้ แต่​สตั ว์​ เล็ก​อย่าง​มด​ไป​จนกระทั่ง​สัตว์​ใหญ่​อย่าง​ปลาวาฬ  โดยที่​การ​ช่วยเหลือ​อาจ​มา​ใน​รูป​ แบบ​ตา่ งๆ  เช่น  หยิบ​ยน่ื ​สง่ิ ​ใด​สง่ิ ​หนึง่ ​เป็นการ​ชว่ ย​ชวี ติ ​พวก​มนั ​ราวกับ​ปาฏิหาริย ์ หรือ​ อาจ​มา​ใน​รูปข​ อง​การ​ฟื้นฟูส​ ิ่งแวดล้อม​ทกี่​ ำลังย​ ่ำแย่  หรืออ​ าจ​มา​ใน​รูปข​ อง​การนำ​พวก​ มันม​ า​ผสมพันธุก์​ ันป​ ้องกันก​ าร​สูญพ​ ันธุ์  ฯลฯ  พวก​มันร​ ับร​ วู้​ ่าเ​กิดอ​ ะไร​ขึ้น  แต่ไ​ม่ร​ เู้​ลย​ ว่าเป็น​ฝีมือ​ของ​คุณ พวก​เรา​ก็​เหมือน​กัน  วันๆ​ได้​แต่​ดุ่ม​เดิม​ไป​ตาม​ยถากรรม  รับ​รู้​ว่า​อะไร​เกิด​ขึ้น​ เฉพาะหน้า  แต่​ไม่​ร​วู้ า่ เป็น​การ​บนั ดาล​ของ​อะไร  ระหว่าง​ความ​บงั เอิญ  กรรม​เก่า  หรือ​ เทวดา ว่า​กัน​ถึง​ความ​บังเอิญ  คุณ​จะ​ยิ่ง​ทึ่ง​ใน​โลก​และ​จักรวาล​มาก​ขึ้น  ถ้า​รู้​ว่าความ​ กระทบกระทั่ง​ดีร้าย​ทั้งหลาย​ไม่​เคย​บังเอิญ​เลย  สิ่ง​มี​ชีวิต  วัตถุ  อากาศ  และ​กาล​ เวลา  ต่าง​ร่วม​กัน​ถัก​ทอ​เหตุการณ์​ตาม​จังหวะ​การ​ให้​ผล​ของ​กรรม​เสมอ  ยก​ตัวอย่าง​

ธรรมะใกล้ตัว 11


เช่น  คุณ​เดิน​ไป​เดิน​มา​อยู่​ใน​บ้าน​ว่าง  นึก​ว่า​คุณ​เป็น​เอกเทศ​อยู่​ตามลำพัง  อยาก​ก้าว​ เท้าไ​ป​ทจี่​ ุดไ​หน​ใน​เวลา​ใด​ก็ได้  ความ​จริงค​ ุณอ​ าจ​ทำ​หน้าทีเ่​หยียบ​มด​ชะตา​ขาด​ให้ต​ าย​ ดับ​โดย​ไม่​รู้ตัว  ใน​วินาที​ใด​วินาที​หนึ่ง  ณ  จุด​ใด​จุด​หนึ่ง  เท้า​คุณ​เป็น​วิบาก​ของ​เหล่า​ มด​กลุ่ม​ดัง​กล่าว  ทำ​หน้าที่​เครื่อง​ประหาร  ส่ง​ไป​เกิด​ใหม่​ตาม​เวลา​อัน​ควร​ของ​พวก​ มัน  เมือ่ ​ใด​คณ ุ ​เข้าใจ​ความ​สมั พันธ์​อนั ​ใกล้​ชดิ ​ระหว่าง​สง่ิ ​ม​ชี วี ติ   วัตถุ  อากาศ  และ​กาล​ เวลา  เมื่อนั้น​คุณ​จะ​ทราบ​ว่าแ​ ม้  ‘​ความ​บังเอิญ​’  ก็ม​ ี​เหตุผล​บาง​อย่าง​ของ​มัน​เสมอ ว่ า ​ก ั น ​ถ ึ ง ​ก รรมวิ บ าก  แม้ ​ห ลาย​ค น​จ ะ​เชื ่ อ ​ว ่ า ​ท ำ​ด ี ​ไ ด้ ​ด ี   ทำ​ช ั ่ ว ​ไ ด้ ​ช ั ่ ว   แต่​ เมือ่   ‘ได้ดี’  หรือ  ‘ได้​ชวั่ ’  แต่ละ​ครั้งก​ จ็​ ะ​งง​ๆ​ว่าม​ ันเ​กิดข​ นึ้ ไ​ด้​อย่างไร  กับท​ งั้ ม​ อง​ออก​ นอก​ตวั ​ไป​เพ่ง​โทษ​วา่ เป็น​ความ​ผดิ ​ของ​มนุษย์​ดว้ ย​กนั ​เสมอ  เรียก​หาความ​ยตุ ธิ รรม​เพือ่ ​ เอาผิด​เอา​ถกู ​จาก​มนุษย์​ดว้ ย​กนั ​เสมอ  จะ​มี​สกั ​ก​ค่ี น​ท​พ่ี ดู ​ออก​และ​บอก​ถกู ​วา่ ​เหตุการณ์​ ไหน​ไหล​มา​จาก​กรรม​อันใ​ด​ของ​ตน ว่า​กนั ​ถงึ ​เทวดา  พวก​เรา​ใน​โลก​มนุษย์​น ้ี มี​จำนวน​ไม่​นอ้ ย​เลย​ครับ​ท่​สี มั ผัส​พลัง​ตา่ ง​ มิต​ดิ ว้ ย​จติ   อาจ​จะ​ได้​กลิน่ ​หอม​แปลก  อาจ​จะ​ยนิ ​เสียง​พเิ ศษ  หรือ​บาง​คน​อาจ​เห็น​ความ​ ผิด​ปกติ​ของ​เหตุการณ์​บาง​ชนิด  แล้ว​ทราบ​ทันที​ว่าเป็น​การ​แสดง​นิมิต​ด้วย​ฤทธิ์​ของ​ เทวดา  แต่​สมั ผัส​เทวดา​นน้ั   แม้​จริง​ก​ใ็ กล้​เคียง​กบั ​อปุ าทาน​มาก  เช่น  สาย​ลม​โชย​กลิน่ ​ หอม​รื่น​อาจ​เป็น​ลม​ธรรมดา​ที่​หอบ​กลิ่น​ดอกไม้​มาก​ระ​ทบ​จมูก  แต่​จิต​คุณ​ปรุง​แต่ง​ไป​ ว่า​ไม่​เคย​ได้​กลิ่น​อย่าง​นี้​มา​ก่อน​ที่ไหน​ใน​โลก  ต้อง​เป็น​กลิ่น​ทิพย์​ของ​เทวดา​แน่​ๆ  ของ​ แบบ​นี้​ถ้า​ให้​แน่​จริง​ต้อง​มี​ตา​ทิพย์​อัน​คู่ควร​กับ​การ​เห็น​สภาพ​ทิพย์  เมื่อ​มี​ตา​ทิพย์​คุณ​ จะ​พบ​ว่าอ​ ากาศ​ว่าง​หลาย​ๆ​แห่งไ​ม่ว​ ่าง​จริง  ต้นไม้ใ​หญ่ห​ ลาย​ๆ​ต้นไ​ม่ไ​ด้ม​ แี​ ค่ก​ ิ่งใ​บ  โลก​ ทิพย์จ​ ะ​ปรากฏ​ต่อหน้าโ​ดย​ไม่ต​ ้อง​รอ​ให้ไ​ด้ยิน  ได้ก​ ลิ่น  หรือไ​ด้ส​ ัมผัสอ​ ะไร​แปลก​ๆ​เสีย​ ก่อน​เลย​ด้วย​ซ้ำ คนใน​โลก​ส่วน​ใหญ่​พร้อม​จะ​เชื่อ​ว่า​เหตุการณ์​ดีร้าย​ต่างๆ​เกิด​ขึ้น​จาก​ความ​บังเอิญ​ หรือ​ไม่​ก​เ็ ทวดา​บนั ดาล  เพราะ​ไม่​ตอ้ ง​ม​ตี น​เอง​เข้าไป​รบั ผิดชอบ​เหมือน​ให้​เชือ่ ​วา่ เป็น​ผล​ จาก​กรรม​เก่า​ของ​ตน  แม้​คน​ที่​ศรัทธา​กรรมวิบาก​ก็​มัก​เลือก​เชื่อ​เฉพาะ​เมื่อ​เกิด​เรื่อง​ ดีๆ  ว่าเป็นเ​พราะ​บุญเ​ก่าข​ อง​ตน​บันดาล  ส่วน​เรื่อง​ร้าย​ๆ​ของ​ตัวน​ จี่​ ะ​หา​แพะ  เพ่ง​ โทษ​เอาผิด​กับ​มนุษย์​ด้วย​กัน  หรือ​ไม่​ก็​โบ้​ยให้ความ​บังเอิญ​และ​เทวดา​เป็นต้น​เหตุ​ ไป  ไม่​อยาก​เชื่อ​ว่า​ตน​เคย​ทำบาป​อันใ​ ด​ไว้  จึง​ต้อง​มา​เผชิญท​ ุกข์​อย่าง​ที่​กำลังเ​ป็น

12 ธรรมะใกล้ตัว


เมื่อ​โทษ​ความ​บังเอิญ​หรือ​เทวดา  อะไร​ๆ​จะ​อธิบาย​ง่าย  ไม่​ต้อง​เหนื่อย​พิสูจน์​ให้​ ยาก  แค่​ทำใจ​เชื่อ​ก็​ใช้ได้​แล้ว  นึก​ว่า​รู้​จริง​แล้ว  และ​ด้วย​ความ​ไม่​รู้​จริง  หรือ​รู้​ครึ่งๆ​ กลางๆ​นี่เอง  เป็น​เหตุ​ใกล้ใ​ ห้​คน​จำนวน​มาก​เชื่อเ​รื่อง​เทวดา​ประจำ​ตัว  เป็น​เทวดา​ ประเภท​ที่​คอย​ประกบ​ติด​คุ้มครอง  คอย​ดลใจ  หรือ​กระทั่ง​คอย​ดล​เหตุการณ์​ดีร้าย​ ต่างๆ​ให้​เกิด​ขึ้น​อยู่​ทุกเมื่อเชื่อวัน มา​ทำความ​เข้าใจ​ให้​ชัดเจน​ดี​กว่า​ครับ  เริ่ม​กัน​ที่​ความ​จริง​อันเป็น​ต้น​เค้า  เรา​ ต้อง​ทราบ​ว่า​เทวดา​ก็​เป็น​สัตว์​สังคม​เช่น​เดียว​กับ​มนุษย์  พวก​ท่าน​มี​เพื่อน  มี​สามี  มี​ ภรรยา  มีเ​จ้านาย  มีบ​ ริวาร  ที่รักแ​ ละ​ผูกพันก​ ัน  แม้เ​มื่อญ ​ าติม​ ิตร​จุตจิ​ าก​สวรรค์ล​ ง​มา​ เกิด​ใน​มนุษยโลก​แล้ว  ก็​ยัง​อาลัยอาวรณ์  อาจ​คอย​สอดส่อง​ดู​ด้วย​ความ​ห่วงใย  เกรง​ ญาติ​มิตร​ของ​ตน​จะ​ประสบ​ทุกข์​ต่างๆ​นานา  หรือ​พลาดท่า​เสียที​ให้​กิเลส  ทำบาป​ ทำกรรม​อันเป็น​เหตุใ​ห้​ต้อง​พลัดไ​ป​สอู่​ บายภูมิ​ได้ วิธ​สี อดส่อง​ของ​เทวดา​นน้ั   ถ้า​เทียบ​ให้​ใกล้​เคียง​ก​ค็ ง​คล้าย​มนุษย์​อาศัย​อนิ ​เต​อร์คอม​ ใน​การ​ฟงั ​เสียง​ลกู ​นอ้ ย​จาก​อกี ​หอ้ ง  หรือ​ใช้​กล้อง​วงจรปิด​ใน​การ​สงั เกต​พฤติกรรม​ของ​ฝงู ​ สัตว์​เลี้ยง​จาก​ที่​ไกล  ต่าง​แต่ว่า​เหล่า​เทวดา​ส่วน​ใหญ่​มี​วิถี​การ​รับ​รู้​อันเป็น​ทิพย์  รู้​เรื่อง​ ไกล​ตวั ​ได้โดย​ไม่​จำเป็น​ตอ้ ง​พง่ึ ​อปุ กรณ์​ไฮเท​ค​ทง้ั หลาย  เพียง​ดว้ ย​ความ​หว่ งใย​ม​ใี จ​ผกู พัน​ อาทร  ก็​จะ​รขู้​ ึ้น​เอง​เมื่อ​เกิด​เรื่อง​ร้าย​กับ​ญาติ​มิตร​ของ​ตน​ที่​ไป​เกิดใ​น​มนุษยโลก เมื่อ​เกิด​เรื่อง​ร้าย​กับ​ญาติ​มิตร​ใน​โลก  เทวดา​ก็​หา​ได้​สามารถ​ช่วยเหลือ​ไป​หมด​ทุก​ เรือ่ ง  ส่วน​ใหญ่​จะ​เป็น​เรือ่ ง​ของ​การ​ดลใจ  หรือ​โน้มน้าว​จติ ​ของ​ญาติ​มติ ร​ให้​เปลีย่ น​จาก​ อกุศล​เป็น​กศุ ล  เช่น  เมือ่ ​ญาติ​มติ ร​กำลัง​โมโห​โกรธา​จดั ​ๆ  เทวดา​ก​อ็ าจ​แผ่เมตตา  ช่วย​ บรรเทา​ความ​รมุ่ ​รอ้ น​ใน​จติ ใจ​ญาติ​มติ ร​ให้​เยือกเย็น​ลง  ทำนอง​เดียว​กบั ​บรรดา​พระ​ภกิ ษุ​ ผู้​มี​พลัง​เมตตา​สูง​ๆ​หลาย​รูป  สามารถ​รวม​ตัว​กัน​แผ่​กระแสความ​สุข​ให้​ญาติ​โยม​ที่มา​ ประชุมก​ ัน  ระงับค​ วาม​ทุกข์แ​ ละ​ความ​ฟุ้งซ่าน​ลง​ได้ช​ ั่วคราว  เพียง​เข้าม​ า​อยูใ่​น​ละแวก​ ใกล้ ตัวแปร​ใน​การ​ดลใจ​มี​หลาย​ระดับ  ขึ้น​อยู่​กับ​ฤทธิ์​ของ​เทวดา​เอง  ประกอบ​กับ​ที่​ ขณะ​หนึง่ ๆ​กเิ ลส​หรือ​วบิ าก​ของ​มนุษย์​หอ่ ​หมุ้ ​อยู​ห่ นาแน่น​เพียง​ใด​ดว้ ย  หาก​มนุษย์​กำลัง​

ธรรมะใกล้ตัว 13


โทสะ​แรง​กล้า  หรือ​กำลัง​มี​วิบาก​มืด​คลุม​จิต​มิดเม้น​ให้​เห็น​ผิด​รุนแรง  แม้​เทวดา​ฤทธิ์​ มาก​ก็​ดลใจ​ไม่​ไหว การ​ดลใจ​ยงั ​ม​หี ลาย​เหตุผล  และ​ไม่​จำเป็น​ตอ้ ง​เคย​เป็น​ญาติ​มติ ร​กนั ​ใน​ชาติ​ใกล้​เสมอ​ ไป  เช่น  ใน​มหา​ปรินิพพาน​สูตร​ส่วน​ที่​ว่า​ด้วย​การ​สร้าง​เมือง​ที่​ปาฏลิ​คาม  ก็​กล่าว​ไว้​ โดย​ใจความ​สรุป​คอื ​พระพุทธเจ้า​ตรัส​ดว้ ย​พระองค์​เอง  ว่า​ทา่ น​ได้​เห็น​ดว้ ย​ทพิ ยจักษุ​อนั ​ บริสุทธิ์​ล่วง​จักษุ​ของ​มนุษย์  ใน​การ​ที่​เทวดา​เป็นอันมาก​นับ​เป็น​พัน​ๆ  หวงแหน​พื้นที่​ เขต​ต่างๆ​ใน​ปาฏลิค​ าม ๑​)  เทวดา​ผู้​มี​ศักดิ์​ใหญ่​หวงแหน​ที่​ใน​ส่วน​ใด  จิต​ของ​พระ​ราชา​และ​มหา​อำมาตย์​ผู้​มี​ ศักดิ์​ใหญ่​ก็​น้อม​ไป​เพื่อ​จะ​สร้าง​นิเวศน์ใ​น​ส่วน​นั้น ๒​)  เทวดา​ชั้น​กลาง​หวงแหน​ที่​ใน​ส่วน​ใด  จิต​ของ​พระ​ราชา​และ​มหา​อำมาตย์  ชั้น​ กลาง  ก็​น้อม​ไป​เพื่อ​สร้าง​นิเวศน์ใ​น​ส่วน​นั้น ๓​)  เทวดา​ชน้ั ​ตำ่ ​หวงแหน​ท​ใ่ี น​สว่ น​ใด  จิต​ของ​พระ​ราชา​และ​มหา​อำมาตย์​ชน้ั ​ตำ่   ก็​นอ้ ม​ ไป​เพื่อ​สร้าง​นิเวศน์​ใน​ส่วน​นั้น กล่าว​สรุป​โดย​ย่นย่อ​คือ​พระพุทธเจ้า​ทรง​ยืนยัน  ว่า​พื้นที่​ส่วน​ต่างๆ​ของ​โลก​ไม่​ เหมือน​กนั   ถ้า​บญ ุ ​ไม่​พอ​ก็​อยู่​ไม่​ได้  หรือ​มี​เทวดา​ดลใจ​ให้​ไป​อยู่​ท่​อี น่ื ​ท่​เี หมาะ​กบั ​วาสนา​ บารมี​ของ​แต่ละ​คน  โดยที่​เทวดา​ไม่​จำเป็น​ต้อง​เป็น​เทวดา​ประจำ​ตัว​แต่​อย่าง​ใด หาก​คุณ​มี​ประสบการณ์​ผ่าน​เข้าไป​ใน​หมู่​บ้าน​โจร​ที่​เล่น​ไสยศาสตร์​มืด  ก็​คง​เคย​ รู้จัก​กับ​กระแส​ยะ​เยียบ​ทมิฬ​ชวน​ขนลุก​อย่าง​ประหลาด  อัน​นั้น​อาจ​เป็น​คลื่น​จิต​ของ​ วิญญาณ​ชั้น​ต่ำ​ปน​ๆ​กัน  ทั้งคน​ทุศีล​และ​เปรต​ดุ​ที่​อาศัย​อยู่​ใน​บริเวณ​เดียวกัน  คน​ดี​ที่​ เข้าไป​จะ​เหมือน​แกะ​ขาว​ที่​ถูก​แกะ​ดำ​หมั่นไส้  นอน​หลับ​อาจ​ถูก​รบกวน​ด้วย​เรื่อง​น่า​ ขนพอง​สยอง​เกล้าเ​อา​ได้ ส่วน​ถ้า​คุณ​มี​ประสบการณ์​ผ่าน​เข้าไป​ใน​เขต​วัด​ที่​มี​อริยเจ้า​พำนัก  ก็​คง​เคย​รู้จัก​ กับ​กระแสความ​อบอุ่น​สว่างไสว  ปลอดโปร่ง​ราวกับ​อากาศ​ว่าง​เบา​แผ่​ขยาย​ออก​ไป​ อย่าง​ไร้​ขอบเขต  อัน​นั้น​อาจ​เป็น​คลื่น​จิต​ของ​วิญญาณ​ชั้น​สูง​ปน​ๆ​กัน  ทั้ง​มนุษย์​ทรง​ ศีล  ทั้ง​เทวดา​ผู้​มี​พิมาน​ซ้อน​กับ​เขต​วัด  ทั้ง​เทวดา​บุญญาธิการ​สูง​เหนือ​โลก​ที่​หมั่น​ส่ง​

14 ธรรมะใกล้ตัว


ใจ​ลง​มา​บูชา​พระ​อรหันต์  คน​ดี​ไม่​พอที่​คิด​เข้าไป​อาศัย​วัด​หลับ​นอน​หรือ​ปฏิบัติธรรม​ ชัว่ คราว  อาจ​ถกู ​กระตุก​ขา​หรือ​ได้ยนิ ​อะไร​แปลก​ๆ​เพือ่ ​เตือนสติ​ให้​ขยัน​ขน้ึ ​กว่า​เดิม  ไม่​ นอน​ขี้เซา​เหมือน​เดิม  โดย​รูป​แบบ​การ​เตือน​นั้น​อาจ​ทำให้​เกรง  แต่​ไม่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​ รู้สึก​สยดสยอง​พอง​ขน​เหมือน​ตอน​เจอ​วิญญาณ​ชั้น​ต่ำ สรุป​คือ​นอกจาก​คำว่า  ‘​เทวดา​ประจำ​ตัว​’  ซึ่ง​คุ้น​ๆก​ ัน​แล้ว  ยัง​มี  ‘​เทวดา​ประจำ​ ที่​’  อีก​ด้วย  รูป​แบบ​ความ​เกี่ยวข้อง​กัน​ระหว่าง​เทวดา​กับ​มนุษย์​อาจ​มา​ทั้ง​ใน​รูป​ของ​ การ​ดลใจ  การ​ปกป้อง  ตลอด​จน​การ​สะกิด​เตือน​ตรงๆ หาก​จู่ๆ​คุณ​รู้สึก​มึนงง  หรือ​รู้สึก​เหมือน​ถูก​บล็อก​ความ​คิด​ให้​ตีบ​ตัน  โดย​เฉพาะ​ ขณะ​ต้อง​ทำบุญ​หรือท​ ำบาป​อันข​ ัดแย้ง​กับต​ ัว​ตน​เดิมม​ าก​ๆ  ก็​เป็นไ​ป​ได้​ครับ​ว่า​มีค​วาม​ เกีย่ วข้อง​กบั ​ภตู ​ผ​ปี ศี าจ​หรือ​เทวดา​นอก​ตวั   แต่​สว่ น​ใหญ่​จะ​เป็น​เหตุ​ภายใน  เช่น  ความ​ บกพร่อง​ทาง​กาย  หรือ​อาจ​เป็นความ​ขัดแย้ง​กับ​ภาวะ​จิตใจ​เดิมๆ​ ​เท่านั้น​เอง และ​ไม่​ว่า​จะ​เชื่อ​เรื่อง​ภายใน​หรือภ​ ายนอก  การ​ฝึก​มี  ‘​สติ’​   ให้​เข้มแข็ง  ต้านทาน​ บาป  และ​หัน​มา​ต้อนรับ​บุญ​ทั้งปวง  นับ​เป็น​นโยบาย​อัน​ควร​ยึดถือ​เป็นท​ ี่สุด แถม​อกี ​หน่อย​เป็นการ​ทง้ิ ท้าย  วิญญาณ​ท​ผ่ี กู ​กรรม​สมั พันธ์​บาง​อย่าง​กบั ​มนุษย์  ต้อง​ คอย​ติดตาม​มนุษย์​นั้น​มี​อยู่จริง  แต่​เป็น​กรณี​ที่​เกิด​ขึ้น​ได้​น้อย​มาก  ระดับ​หนึ่ง​ใน​พัน​ หนึ่ง​ใน​หมื่น  คือ​ต้อง​เป็น​เหตุผล​พิเศษ​จริงๆ  เช่น  ฝ่าย​ใด​ฝ่าย​หนึ่ง​อธิษฐาน​ผูก​ติด​กับ​ อีก​ฝ่าย  อำนาจ​การ​อธิษฐาน​ที​แ่ รง​พอ​จะ​ทำตัว​เป็น​เสมือน​เชือก​โยง​ให้​ต้อง​ติดตาม​ไป​ ทุกหนทุกแห่ง  เมื่อ​หมด​กำลัง​ส่ง​ของ​แรง​อธิษฐาน  หรือ​เมื่อ​ฝ่าย​มนุษย์​เปลี่ยนแปลง​ ตน​เอง​เป็น​คนละ​คน  ‘​เงา​ตาม​ตัว​’  ก็​จะ​จำ​ไม่​ได้  ต้อง​หาย​ไป​ตาม​หนทาง​ของ​เขา​เอง​ ครับ ถาม  –  ฝัน​ถงึ ​เด็ก​คน​หนึง่ ​เป็น​ประจำ  ใน​ฝนั ​จะ​เรียก​แม่​ๆ  บอก​วา่ ​รกั ​แม่  อยาก​ อยู​ก่ บั ​แม่  ตัว​เอง​ก็​อยาก​ได้​เด็ก​ไว้​เป็น​ลกู   แต่​ใน​ความ​จริง​มี​ลกู ​หลาย​คน​แล้ว​และ​ไม่​ สามารถ​ม​ลี กู ​ได้​อกี   แม้​เคย​ทำบุญ​อทุ ศิ ​สว่ น​กศุ ล​ไป​หลาย​ตอ่ ​หลาย​ครัง้   อธิษฐาน​ขอ​ ให้​เขา​ไป​เกิด​ใหม่​เสียที  ก็​ยงั ​คง​ฝนั ​อยู่​เหมือน​เดิม  อยาก​คดิ ​วา่ ​ดฉิ นั ​ฝนั ​เลอะเทอะ​ไป​

ธรรมะใกล้ตัว 15


เอง  แต่​การ​ฝัน​ซ้ำ​ต่อ​เนื่อง​นับ​ปี​โดย​ไม่​มี​สาเหตุ​ก็​ยาก​จะ​ปลงใจ​เชื่อ​เช่น​นั้น  อยาก​ ทราบ​ว่า​ทำ​อย่างไร​จึง​จะ​สบาย​ใจ​หรือต​ ัด​เขา​ออก​ไป​จาก​ความ​ฝัน​ได้​คะ​? โดย​ส่วนตัว​ผม​สนับสนุน​การ​อยู​อ่ ย่าง​คน​ธรรมดา  เป็น​สามัญ​มนุษย์​ที​ไ่ ม่​พยายาม​ เอา​ตัว​ไป​ข้อง​เกี่ยว​กับเ​รื่อง​มอง​ไม่​เห็น​และ​พิสูจน์​ยาก  เนื่องจาก​เป็น​ทาง​มา​ของ​ความ​ งมงาย  ตลอด​จน​ตก​อยู่​ภาย​ใต้​การ​ปิดบัง​ของ​อวิชชา​หนา​ทึบ​ขึ้น​เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม  ผม​รบั ​ทราบ​ครับ​วา่ ​ยงั ​มคี ​น​ใน​โลก​อกี ​มาก  ที​เ่ จอ​ประสบการณ์​ทำนอง​ เดียว​กบั ​คณ ุ   ทัง้ ที​ไ่ ม่​เคย​พยายาม​เอา​ตวั ​เข้าไป​ขอ้ ง​เกีย่ ว​ดว้ ย​เลย  ฉะนัน้ ​จงึ ​เอา​คำ​แนะนำ​ ที​ป่ รากฏ​ผล​คลีค่ ลาย​ไป​ใน​ทาง​ดแี ล้ว  มา​รวม​ไว้​ใน  ‘​เตรียม​เสบียง​ไว้​เลีย้ ง​ตวั ​’  ด้วย  โดย​ เจตนา​ให้​เกิด​ความ​เข้าใจ  และ​ปรารถนา​ผล​สุดท้าย​เป็น​อิสรภาพ  ไม่​ใช่​ความ​ยึด​ติด หลาย​คน​เมื่อ​เจริญ​วัย​ขึ้น​จน​เป็น​พ่อ​เป็น​แม่​คน​ได้  จะ​มี​ภาวะ​ดึงดูด​อย่าง​หนึ่ง  ซึ่ง​ เป็น​ที่​รับ​รู้​ได้​ใน​โลก​วิญญาณ  โดย​เฉพาะ​พวก​ที่​รู้ความ  ตลอด​จน​จำ​ได้​ถึง​สาย​สัมพันธ์​ เก่า  ว่า​เคย​เป็น​ลูก  และ​เคย​พอใจ​กับ​การ​ได้เ​ป็น​ลูก​ของ​ใคร​มา​บ้าง วิญญาณ​เด็ก​ท​ต่ี ดิ ตาม​ผ​เู้ คย​เป็น​พอ่ ​แม่​ม​จี ริง  และ​เกิด​ขน้ึ ​กบั ​หลาย​ตอ่ ​หลาย​คน  โดย​ มาก​ไม่​สามารถ​ติดต่อ​กับ​พ่อ​แม่​ด้วย​วิธี​ใดๆ  แต่​อีก​ส่วน​หนึ่ง​มี​บุญ​บาง​อย่าง​ส่ง​ให้​มา​ ปรากฏ​ใน​หว้ ง​มโน​ทวาร​ของ​พอ่ ​แม่​ยาม​หลับ​ฝนั ​ได้  ทัง้ นี​เ้ พราะ​ขณะ​หลับ​ฝนั   จิต​มนุษย์​ ผูกพัน​กับ​ระบบ​ประสาท​หยาบ​น้อย​กว่า​ปกติ  และ​หันเห​ลี่​ยม​หัน​มุม​ไป​สัมผัส​กับ​โลก​ วิญญาณ​ได้​งา่ ย​ขน้ึ   ถูก​วญ ิ ญาณ​ภายนอก​เหนีย่ ว​นำ​ให้​รเู้ ห็น​อะไร​เกิน​ขอบเขต​ประสาท​ หยาบ​ได้​ถนัด​กว่า​ยาม​ตื่น​มาก การ​ฝนั ​เพียง​ครัง้ ​สอง​ครัง้ ​ไม่​ใช่​เรือ่ ง​นา่ ​เชือ่   และ​ไม่​ควร​ยดึ ถือ​อย่าง​ยง่ิ   ขอ​ให้​มนั ​เป็น​ แค่​ลมแล้ง​เหลวไหล​ใน​หัว​ชั่ว​ข้าม​คืน  ต่อ​เมื่อ​ฝัน​ซ้ำๆ​ ​จน​แน่ใจ​อยู่​กับ​ตัวว​ ่าม​ ี​บาง​สิ่ง​เกิด​ ขึ้น​จริง  คุณ​สัมผัส​ถึง​เจตจำนง​เดิม​ๆ​ที่มา​จาก​ภายนอก​ได้​จริง  อัน​นั้น​ค่อย​รับ​ฟัง​คำ​ที่​ ผม​จะ​แนะนำ​ข้าง​ล่าง​นตี้​ ่อ ขอ​ให้​ทราบ​ว่า​วิญญาณ​เด็ก​ที​อ่ ยาก​เป็น​ลูก​ใคร​นั้น  ส่วน​ใหญ่​จะ​ปักใจ​มั่น​และ​รับ​รู้​ อะไร​แคบ​ๆ​แค่​ว่า​ต้อง​เป็น​ลูก​ของ​พ่อ​หรือ​แม่​คน​นี้​ให้​ได้  อาจ​ด้วย​เหตุ​เพราะ​ตาย​ด้วย​ ความ​ฝังใจ​แบบ​นั้น  กับ​ทั้ง​ร่วม​บุญ​กัน​มา​พอ​จะ​รักษา​ความ​ตั้งใจ​ไว้​อย่าง​คงเส้นคงวา

16 ธรรมะใกล้ตัว


ตาม​ธรรมชาติ​ของ​จิต​และ​กรรม​แบบ​นี้​นะ​ครับ  ความ​ยึด​มั่น​ถือ​มั่น​ว่าเป็น​ลูก​ คุณ  คือ​สภาพ​ทั้งหมด​ของ​ความ​เป็น​เขา  ถ้า​ตัด​ความ​ยึด​มั่น​หรือ​ลืม​ความ​จำเดิม​ๆ​ ได้  เขา​ก็​เปลี่ยน​ภพ​จาก​ความ​เป็น​เช่นน​ ั้น​ได้​เช่นก​ ัน ประเด็น​คอื ​คณ ุ ​ตอ้ งหา​ทาง​เชือ่ ม​โยง​กบั ​เขา  สือ่ สาร​กบั ​เขา​ใน​ขณะ​ท่​คี ณ ุ ​ตน่ื   เพราะ​ ตอน​ฝนั ​คุณ​จะ​พดู ​กับ​เขา​ได้แ​ ค่​ส้นั ๆ  เช่น  ถ้าม​ ุ่ง​หวัง​ให้​เขา​จาก​ไป​สภ่​ู พ​อื่น  ก็​อาจ​กล่าว​ เพียง  ‘​ไป​เถอะ  อย่าม​ า​อยู่​กับ​แม่​เลย​’  ซึ่งเ​ท่า​นี้​ไม่พ​ อ​ให้จ​ ิต​ของ​เขา​คลาย​ความ​ยึดม​ ั่น​ ลง​ได้​หรอก คุณ​จำเป็น​ต้อง​อาศัย​สื่อ​กลาง​ที่​เชื่อม​คุณ​กับ​เขา  อย่าง​แรก​คือ​ชื่อ  เมื่อ​เขา​เชื่อ​ว่า​ คุณ​เป็น​แม่  คุณ​ก็​ต้อง​เป็น​คน​ตั้ง​ชื่อ​เรียก​เขา​เอง  (​เว้นแต่​เขา​เรียก​ตัว​เอง​ซ้ำ​ๆ​ว่า​ชื่อ​ อะไร​)  ให้เ​ลือก​เอาชื่อเ​ล่นส​ ั้นๆ​ทคี่​ ุณร​ ู้สึกว​ ่าใ​ช่ต​ ัวเ​ขา  เป็นต​ ัวเ​ขา  เรียก​เขา​แล้วค​ ุณเ​อง​ รู้สึก​เอ็นดู  อย่า​คิด​แบบ​ส่ง​ๆ​ว่าเป็น​น้อง​แดง  น้อง​ดำ  ให้​รอ​จังหวะ​ที่​ใจ​คุณ​อ่อนโยน​ ที่สุด  เกิด​ความ​เอ็นดู​เขา​ที่สุด  ช่วง​นั้น​คุณ​มักค​ ิด​ออก​ได้​ง่าย​ที่สุด จาก​นั้น​ให้หา​ตัว​เชื่อม​ที่​เป็น​รูปธรรม  เช่น  ของเล่น  ให้หา​ตุ๊กตา​น่า​รัก​ๆ​สัก​ตัว  ที่​ คุณ​เห็น​แล้ว​รสู้ กึ ​ว่า​อยาก​ให้​เขา​เป็นข​ องเล่น  เอา​มา​ตงั้ ​ไว้​ที่​มุม​หนึ่ง  ซึง่ ​กำหนด​เป็น​เขต​ เฉพาะ​วา่ ​ม​อี ะไร​ก​จ็ ะ​เอา​มา​ให้​เขา​ตรง​น ้ี คุณ​อาจ​ตอ้ ง​แอบ​ซอ่ น​นดิ หนึง่ ​หาก​ลกู ​คน​อน่ื ​ยงั ​ อยู่​ใน​วยั ​ท่​เี ห็น​ตกุ๊ ตา​แล้ว​อยาก​เล่น​หรือ​อยาก​ได้​เป็น​เจ้าของ  เพราะ​วญ ิ ญาณ​เด็ก​ก็​อาจ​ หวงแหน​ของเล่น​ของ​ตน​ได้เ​ท่ากับ​หรือย​ ิ่ง​กว่าเ​ด็ก​ธรรมดา การ​แสดง​ความ​ผูกพัน​ข้าม​มิติ​ที่​รับ​รู้​ได้​ง่าย​อีก​อย่าง  เห็นจะ​ได้แก่​การ​ให้​นม  ให้​ ขนม  ถ้า​เป็นน้ำ​นม​ของ​คุณ​เอง​จะ​ยิ่ง​เป็น​สื่อ​เชื่อม​จิต​ได้​แรง  แต่​ฟัง​จาก​การ​เล่า  คุณ​ น่า​จะ​ขาด​นม​แล้ว  ซึ่ง​ก็​ไม่​เป็นไร  จะ​ใช้​นมผง​ธรรมดา​ก็ได้​เหมือน​กัน  การ​ให้​ควร​ให้​ เป็น​เวลา​ที่​แน่นอน  เช่น  ช่วง​เช้า​ของ​ทุก​วัน  ถ้า​ให้​ครั้ง​เดียว​ก็​ครั้ง​เดียว​ตลอด  ถ้า​ให้​ สอง​ครั้ง​ก็​สอง​ครั้ง​ตลอด ทุก​ครั้ง​ที่​ให้​นม​หรือ​ขนม​กับ​เขา  ให้​แยก​ไป​สวด​มนต์​หน้า​พระ​ปฏิมา  (​ซึ่ง​ควร​อยู่​ คนละ​ที่​ที่​ห่าง​ออก​ไป​)  เป็น​บท​สวด​อิติปิโสธรรมดา​นี่แหละ  เพราะ​เป็นการ​สรรเสริญ​ พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  มี​ผล​เป็น​กระแส​เมตตา​เยือกเย็น  ปลุก​สำนึก​ให้​วญ ิ ญาณ​ ยึด​ที่พึ่ง​อันป​ ระเสริฐ  ขอ​แนะนำ​สั้นๆ​ว่า​อย่าส​ วด​บท​อื่น​นอกเหนือ​จาก​นี้  เพราะ​ผล​

ธรรมะใกล้ตัว 17


จะ​แตก​ต่าง​ไป  พยากรณ์​ยาก​ว่า​จะ​ลงเอย​ท่า​ไหน  เช่น  ใน​ที่สุด​อาจ​กระตุ้น​ให้​คุณ​ อยาก​เล่นไ​สยศาสตร์ไ​ด้​ง่ายๆ เลี้ยง​เขา​ด้วย​ใจ​ที่​คิด​ให้​อย่าง​แม่  อย่าข​ อ​อะไร​เขา  อย่าค​ าด​หวังอ​ ะไร​จาก​เขา  โดย​ เฉพาะ​เรื่อง​เลข​หวย  ไม่​เช่น​นั้น​คุณ​อาจ​ต้อง​ชดใช้​ใน​ภายหลัง​แบบ​ไม่​คุ้มกัน  ลอง​ นึกถึง​เด็ก​ไม่​รคู้ ดิ ​แต่​ถกู ​ขอ​หรือ​ถกู ​ผใู้ หญ่​ไหว้วาน​เกินตัว  ความ​รสู้ กึ ​เขา​จะ​คอ่ ยๆ​เปลีย่ น​ ไป  แทน​การ​เห็น​คุณ​เป็น​แม่  เขา​จะ​มอง​คุณ​เป็น​ภาระ  หรือ​กระทั่ง​เป็นล​ ูกหนี้​เอา ใน​กรณี​ที่​เขา​มี​ฤทธิ์​บาง​อย่าง  เขา​อาจ​อยาก​ให้​อะไร​คุณ​เอง  อัน​นั้น​แล้วไป  ท่อง​ ไว้​ดีๆ​ว่า​อย่า​ขอ  ถ้า​เขา​ให้​ได้​และ​อยาก​ให้​ค่อย​เป็น​อีก​เรื่อง​หนึ่ง  ถ้า​ไม่​เชื่อ​กัน​ตรง​นี้​ ก็​ขอ​ให้​ลืม​ทั้งหมด​ที่​ผม​แนะนำ​มา  เนื่องจาก​จุด​นี้​เป็น​จุด​ชี้​เลย​ว่า​คุณ​กำลัง​ทำ​ใน​สิ่ง​ถูก​ ต้อง​หรือ​ผิด​พลาด  เป็น​ไป​ใน​ทาง​กุศล​หรือ​อกุศล เมือ่ ​คณ ุ ​เอาใจใส่​เลีย้ ง​เขา  ความ​ฝนั ​เกีย่ ว​กบั ​เขา​จะ​แตก​ตา่ ง​ไป​เรือ่ ยๆ  คุณ​อาจ​พฒ ั นา​ ความ​สัมพันธ์​ไป​ตาม​ลำดับ  ควบ​คู่​กัน​ไป​ทั้ง​ตัว​คุณ​และ​ตัว​เขา  เช่น  อาจ​เอา​หนังสือ​ ธรรมะ​ตั้ง​ทิ้ง​ไว้  หรือ​มี​เวลา​ก็​อ่าน​ธรรมะ​ออกเสียง​ให้​เขา​ฟัง​แทน​การ​เล่า​นิทาน  เลือก​ ที่​คณ ุ ​เอง​ก​อ็ า่ น​แล้ว​เข้าใจ​และ​ปล่อย​วาง​กเิ ลส​โลก​ๆ​ได้​นะ​ครับ  ถ้า​คณ ุ ​ตง้ั ใจ​อา่ น​ธรรมะ​ ให้​เขา​ฟงั   แล้ว​ใจ​คณ ุ ​เอง​มคี ​วาม​สว่าง  มีค​วาม​สบาย  มีค​วาม​คลาย​จาก​ความ​ยดึ ​มน่ั ​ ถือ​มั่น  จะ​มี​ผล​ให้​วิญญาณ​ของ​เขา​จะ​โต​ขึ้น  สว่าง​มาก​ขึ้น​ไป​ด้วย ธรรมดา​ของ​วิญญาณ​นั้น  เมื่อ​ผ่องใส​ขึ้น​ด้วย​บุญ  ก็​เหมือน​คน​ตา​สว่าง​  สามารถ​ ตัด​ความ​ฝังใจ​เก่า​ๆ​ได้​ด้วย​ความ​สว่าง​นั้น​เอง  ถึง​จุด​หนึ่ง​เขา​จะ​มี​กำลัง​บุญ​หนักแน่น​ พอ  แล้ว​รู้​เอง​ว่า​ถึงเ​วลา​ไป​เกิด​ใน​ที่​สูง​ขึ้น  แทน​การ​รอ​อย่าง​สูญเ​ปล่า  คุณ​อาจ​ฝันค​ รั้ง​ สุดท้าย​เป็นการ​เห็น​เขา​มาลา  หรือ​อยู่​ๆ​ความ​รู้สึก​ผูกพัน​แบบ​เดิม​ๆ​ก็​สลาย​ตัว  กลาย​ เป็น​เมตตา​ล้วน  และ​ไม่​ฝันถ​ ึง​เขา​อีก ถึง​แม้​ทั้งหมด​จะ​ไม่​ใช่​เรื่อง​จริง  แต่​คุณ​กจ็​ ะ​สบาย​ใจ​ขึ้นอ​ ย่าง​แน่นอน  ว่า​ทำ​ดี​ที่สุด​ เท่า​ที่​จะ​ทำได้​แทน​การ​ไม่​รวู้​ ่าจ​ ะ​ทำ​อย่างไร​ดี​กับ​ฝันซ​ ้ำ​ๆ​ซาก​ๆ​แบบ​เดิมค​ รับ สารบัญ 

18 ธรรมะใกล้ตัว


เขียนให้คนเป็นเทวดา อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

วิธี​เขียน​ให้​เอา​ไป​ใช้ได้​จริง โดย ดังตฤณ

บท​ที่​ผ่าน​มา​คุณ​เรียน​รวู้​ ่าความ​ฝันเ​ป็น​อย่างไร ตรง​ไหน​เป็น​ไป​ได้ ตรง​ไหน​เป็นไ​ป​ ไม่​ได้​ใน​โลก​ความ​จริง และ​ผม​ยก​ตัวอย่าง​ว่า​จะ​นำ​ส่วน​ที่​เป็น​ไป​ได้​จริง​ใน​ความ​ฝัน​มา ‘คิดต​ ่อ​’ ให้​เป็น​รูปเ​ป็น​ร่าง​อย่างไร หาก​คณ ุ ​ฝกึ ​กลัน่ กรอง​วา่ ​สว่ น​ใด​ของ​ความ​ฝนั ​ตรง​กบั ​ความ​จริง ก็​เท่ากับ​ฝกึ ​แยก​เอา​ ส่วน​เกินท​ ี่​ไม่​จริง​ทิ้ง​ไป และ​คุณ​ก็​จะ​พบ​ว่า​แม้ย​ าม​ตื่น ระบบ​ความ​คิด​ของ​มนุษย์เ​รา​ก็​มี​ ทัง้ ​สว่ น​ท​เ่ี หลวไหล​ไร้​สาระ กับ​สว่ น​ท​เ่ี ป็น​แก่นสาร​นา่ ​ให้​ความ​สำคัญ เพราะ​เอา​ไป​ใช้ได้​ จริง และ​ทำให้​ชีวิต​ดี​ขึ้น หรือ​ทำให้​พ้นท​ ุกข์​ได้ สำหรับ​บท​นี้ ขอบเขต​ของ​คำว่า ‘​เอา​ไป​ใช้ได้​จริง​’ จะ​หมาย​ถึง…​ ๑​) การ​ได้​แง่​คิด คือ​การ​ทำให้​ฉุกใจ เฉลียวใจ มอง​ใน​มุม​ที่​ต่าง​ไป ที่​เคย​นึก​ว่า​รู้​แล้ว​ก็​ เปลี่ยนใจ​ใหม่ เช่น หลาย​คน​สำคัญว​ ่าส​ าว​สวย รวย เก่ง​จะ​เป็นส​ ุข​และ​ภูมิใจ​ใน​ตน​เอง ต่อ​เมือ่ ​คณ ุ ​เขียน​จาระไน​ราย​ละเอียด​ของ​ชวี ติ ​สาว​ประเภท​น้​ไี ด้​ตรง​ตาม​จริง จน​คน​อา่ น​ ยอม​รับ​ว่า​คุณสมบัติ​เลอ​เลิศ​อาจ​นำ​มา​ซึ่ง​ทาง​เลือก​อัน​ยุ่งยาก​น่า​สับสน ก็จ​ ะ​เกิดแ​ ง่​คิด​ ว่าความ​เลอ​เลิศ​เป็น​เพียง​รูป​แบบ​หนึ่ง​ของ​ทุกข์ ความ​เลอ​เลิศ​จะ​ก่อส​ ุข​ขึ้นใ​น​ใจ​เจ้าตัว​ ได้​ต่อ​เมื่อ​เจ้าตัว​รู้จัก​ใช้​ความ​เลอ​เลิศ​ใน​ทาง​สร้างสรรค์ ทำ​ประโยชน์​ให้​กับ​ตัว​เอง​และ​ คน​รอบ​ข้าง​ได้ มิ​ฉะนั้นก​ ็​จะ​งง​กับส​ ิ่งท​ ี่​เกิดข​ ึ้นใ​น​ชีวิต และ​ไม่อ​ ยาก​มี​ชีวิตไ​ด้เ​ท่าๆ​กับค​ น​ ไร้​คุณสมบัตทิ​ ั่วไป​นั่นเอง ๒​) การ​ได้​เข้าใจ คือ​การ​ทำให้​ร้​เู หตุ​ร​ผู้ ล​ตาม​ท่​เี ป็น​จริง เช่น ทราบ​ชดั ​วา่ ​ตน้ ตอ​ของ​ความ​ ทุกข์​ทาง​ใจ​ไม่​ได้​เกิด​จาก​รปู ​ท​ต่ี า​เห็น ไม่​ได้​เกิด​จาก​เสียง​ท​ห่ี ​ไู ด้ยนิ ไม่​ได้​เกิด​แม้​จาก​ความ​ คิดท​ ี่​ผุด​ขึ้น​ใน​หัว​ให้​ใจ​รู้ แต่​เกิด​จาก​ความ​ทะยานอยาก​อันเป็นย​ าง​เหนียว​ใน​อก ยื่น​ ออก​ไป​ยึด​ติด​ได้​แม้​กระทั่ง​สิ่ง​ที่​ไม่​น่า​ยึด ใคร่​จะ​เก็บ​รักษา​แม้​สิ่ง​ที่​ไม่​อาจ​รักษา​ตัว​ เอง​ไว้ ตราบ​ใด​ที่​ยัง​มี​ยาง​เหนียว​อยูใ่​น​อก ตราบ​นั้น​ใจ​กับ​วัตถุ​ภายนอก​ยัง​เชื่อม​ติดก​ ัน​

ธรรมะใกล้ตัว 19


เหนียว​เหนอะ แม้​ทำ​ดี​แค่​ไหน มี​บุญ​มาก​เพียง​ใด ก็ไ​ม่​พ้น​ต้อง​เกิด​ทุกข์ท​ าง​ใจ ยาง​ยิ่ง​ เหนียว​เท่าไร ใจ​ยิ่ง​เป็น​ทุกข์​เท่านั้น ๓​) การ​ได้​ข้อ​ปฏิบัติ คือ​การ​ทำให้​ทราบ​ชัด​ว่าจ​ ะ​ต้อง​ทำ​อย่างไร ณ จุด​ที่​ตน​เอง​กำลัง​ ยืน​อยู่ เช่น ถ้า​ฟุ้งซ่าน​จัด​ๆ หมกมุ่น​ครุ่นคิด​แต่​เรื่อง​ของ​ตัว​เอง ก็​อย่า​เพิ่ง​ไป​หวัง​ทำ​ สมาธิ อย่า​เพิง่ ​ไป​หวัง​ทำลาย​ความ​อยาก​ให้​สน้ิ ​จาก​หวั ใจ แต่​ให้​ร้​วู า่ ​เพือ่ ​ทำความ​ฟงุ้ ซ่าน​ ให้​เบาบาง ต้อง​ลด​การ​พูด​พร่ำเพรื่อ ลด​การ​เสพ​หนังเ​สพ​ละคร​ที่​กระตุ้น​ความ​วุ่นวาย กับ​ทั้ง​หัน​ไป​เสียสละ​แรง​และ​เวลา​ให้​คน​อื่น​บ้าง รู้จัก​ห้าม​ใจ​ไม่​ให้​ทำ​อะไร​ตาม​อำนาจ​ กิเลส​สั่ง เมื่อ​ความ​ฟุ้งซ่าน​และ​ความ​หมกมุ่น​เอา​ประโยชน์​เข้าตัว​เบาบาง​ลง จึง​ค่อย​ ปลอดโปร่ง​พอ​จะ​ทำ​สมาธิ​กับ​เขา​ไหว สลาย​เมฆ​หมอก​ที่​บดบัง​แสงสว่าง พอ​จะ​เกิด​ ปัญญา​เห็น​ตาม​จริง รู้​ทาง​สว่าง มอง​ออก​ว่า​เหล่า​พระ​ผู้​บริสุทธิ​ท์ ่าน​ทำ​กัน​อย่างไร​จึง​ พ้น​ทุกข์​พ้น​กิเลส​ได้​เด็ดขาด ใน​ทาง​ธรรม​นั้น คุณ​ไม่​จำเป็น​ต้อง​รูท้​ ุก​อย่าง ขอ​เพียง​รูส้​ ิ่ง​ที่​ดี​ที่สุด เป็น​ไป​ได้​จริง​ ที่สุด คุณ​ก็​เขียน​สิ่ง​ที่​เป็น​ประโยชน์​ที่สุด​ได้ ไม่​ว่า​จะ​ให้​แง่​คิด ให้​ความ​เข้าใจ หรือ​ให้​ ข้อ​ปฏิบัติ​กับผ​ ู้​รับ และ​เพื่อ​รู้​สิ่ง​ทดี่​ ี​ที่สุด คุณไ​ม่​อาจ​ฝันเ​อา คุณไ​ม่​ใช่​ใช้​อารมณ์ แต่​คุณ​ต้อง​อยู่​กับช​ ีวิต​ จริง และ​ใช้​สติปัญญา​รู้จัก​เหตุ​รู้จักผ​ ล ต่อ​ไป​นี้​เป็น​กรอบ​วิธี ‘​ใช้​ชีวิต​’ เพื่อให้ ‘​รู้จัก​เหตุ​รู้จัก​ผล​’ อัน​จะ​นำ​ไป​สู่​การ​เขียน​ ให้​อ่าน​แล้วใ​ช้ได้​จริง

๑​) ฝึก​ห้าม​ใจ ก่อน​อื่น​ต้อง​เข้าใจ​ว่าที่​คน​เรา​มอง​โลก​แล้ว​ไม่​เกิด​แง่​คิด ก็​เพราะ​คน​ส่วน​ใหญ่​ชิน​ ที่​จะ​ปักใจ​เชื่อ​อะไร​ง่ายๆ​ตาม​อคติ​ของ​ตัว​เอง​มา​ตั้งแต่​เกิด อย่าง​เช่น​เชื่อ​ว่า​ใช้​ชีวิต​ให้​ ผ่าน​ไป​วันๆ​ก็​พอ อยาก​ได้​อะไร​กเ็​ร่ง​หา​มา ชอบใจ​ใคร​ก็​ควร​เชียร์ ไม่​ชอบใจ​ใคร​ก็​ต้อง​ แช่ง คน​เรา​จึง​มอง​ไม่​เห็น​ราย​ละเอียด​อื่นๆ กับ​ทั้ง​ไม่ม​ ีแก่ใจ​ตั้ง​ข้อส​ ังเกต​ใดๆ​ทั้งสิ้น รัก​ ก็​ทำ​อย่าง​ที่รัก เกลียด​กท็​ ำ​อย่าง​ทเี่​กลียด ไม่​แตก​ต่าง​อะไร​จาก​ขณะ​ของ​ความ​ฝันท​ ื่อๆ ตรง​ไป​ตรง​มา

20 ธรรมะใกล้ตัว


ขณะ​ตื่น​เต็ม สิ่ง​ที่​ทำให้​คุณเ​ป็น​คุณ แตก​ต่าง​จาก​ตัวต​ น​ดิบๆ ก็​คือ​ความ​ยั้งค​ ิด​ก่อน​ ทำ เมื่อ​ใด​ก็ตาม​หาก​สามารถ​ห้าม​ใจ​ตัว​เอง​ให้​อยู่​ใน​กรอบ ใน​กติกา อันเป็นไป​เพื่อ​ ความ​ถูกต​ ้อง เป็นไ​ป​เพื่อค​ วาม​ไม่เ​ดือดร้อน เป็นไ​ป​เพื่อป​ ระโยชน์ส​ ุขก​ ับต​ นเอง​และ​ ผูอ้ น่ื ขอ​ให้​เขียน​แจกแจง​อย่าง​ละเอียด​วา่ ​ม​เี หตุผล​อนั ​ใด​อยู​เ่ บือ้ งหลัง​การ​หา้ ม​ใจ​ของ​ คุณ และ​เกิด​ผล​ดี​อย่างไร​บ้าง หลังจาก​ห้าม​ใจ​สำเร็จ การ​บันทึก​แง่​คิด​อัน​เกิด​จาก​การ​ห้าม​ใจ​ตน​เอง​สำเร็จ​ใน​แต่ละ​ครั้ง จะ​ค่อยๆ​กลั่น​ ความ​คิด​ของ​คุณ​ให้​แยบคาย​ขึ้น​เรื่อยๆ และ​เห็น​อะไร​ได้​ตาม​จริง​ครอบจักรวาล ยก​ตัวอย่าง​เช่น​เมื่อ​คุณ​จะ​ตัดสิน​ใคร​สัก​คน​ว่าเป็น​อย่างไร เมื่อ​รู้จัก​และ​ต้อง​ คบหา​ใคร​สัก​คน คุณ​จะ​ไม่​มอง​ปราด​เดียว​แล้ว​คิด​อะไร​ง่ายๆ​เช่น ยาย​นี่​ท่าทางไฮโซ เอาแต่ใจตัว สมอง​กลวง หา​ท​แ่ี รด​ไป​วนั ๆ แต่​คณ ุ ​จะ​ใจเย็น มอง​ให้​เห็น​ราย​ละเอียด​ตา่ งๆ เช่น ภายนอก​ที่​ดู​ไฮโซนั้น มา​จาก​ฐานะ​ทาง​บ้าน​หรือ​ความ​สามารถ​หาเงิน​เอง รสนิยม​ ใน​การ​เลือก​ของใช้​เป็น​อย่างไร วิธ​โี ต้ตอบ​กบั ​สถานการณ์​ตา่ งๆ​ใน​แต่ละ​ครัง้ ​เหมือน​เดิม​ หรือ​ผิดแผก​แตก​ต่าง​ตาม​กรณี เมื่อ​เกิด​ปัญหา​มี​วิธี​คิดแ​ ก้ไข​แยบยล​หรือ​มักง่าย ฯลฯ การ​ไม่​ด่วน​ตัดสิน​คน​จะ​ทำให้​คุณ​พบ​ความ​จริง​ร้อยแปด เช่น​ภาพ​ที่​เห็น​อาจ​ไม่​ใช่​ ความ​จริง​ทั้งหมด ความ​จริง​บาง​ส่วน​อาจ​ก่อ​ให้​เกิด​ภาพ​ลวง เมื่อ​สั่งสม​ประสบการณ์​ การ​เห็น​คน​เพิ่ม​ขึ้น​ใน​แต่ละ​วัน ถึง​จุด​หนึ่งค​ ุณ​จะ ‘​รู้จักค​ น​’ ด้วย​แง่​คิด​ต่างๆ​นานา เช่น คน​เรา​เปลีย่ นแปลง​ได้​เรือ่ ยๆ ต่อ​ให้​วชิ า​โหง​ว​เฮ้งแม่นยำ​เพียง​ใด ก็​ไม่​จำเป็น​ตอ้ ง​ทำนาย​ ลักษณะ​คน​ได้​ถูกต​ ้อง​เสมอ​ไป ถึง​วนั ​หนึง่ ​คณ ุ ​จะ​พบ​วา่ ​คนจริง​ๆ​ท​ม่ี ​เี ลือดเนือ้ ​และ​วญ ิ ญาณ​นน้ั ไม่​ใช่​พระเอก​นางเอก​ หลังข​ ่าว แต่ละ​คน​รับใ​ช้ก​ ิเลส​ด้วย​กันท​ ั้งสิ้น ใคร​รับใ​ช้ม​ าก​หรือร​ ับใ​ช้น​ ้อย​เท่านั้น กับท​ ั้ง​ เมื่อ​มอง​ย้อน​เข้า​มา​ดู​ตัว​เอง ก็​จะ​ไม่​คิดว​ ่าต​ ัว​เอง​ดี​ที่สุด เมื่อใ​ด​เลิกแ​ ปะ​ป้าย​ชอบ​หรือ​ไม่​ชอบ​ใคร​ๆ​ได้​อย่าง​เด็ดขาด คุณ​จะ​ได้​แง่​คิด​เพิ่ม​ขึ้น​ แทบ​ทกุ ​วนั ​จาก​การ​เห็น​พฤติกรรม​มนุษย์ แต่​เมือ่ ​ใด​มคี ​วาม​ชอบ​หรือ​ไม่​ชอบ​มา​เป็น​ตวั ตัง้ ความ​เป็น​เขา​หรือ​เธอ​ก​จ็ ะ​เหมือน​ม​มี า่ น​มาบ​ด​บงั ​อย่าง​หนา​ทบึ ​ทนั ที และ​คณ ุ ​จะ​ไม่​ได้​แง่​ คิดใ​ดๆ​จาก​การ​พบ​เจอ​มนุษย์​เอาเลย

ธรรมะใกล้ตัว 21


เมื่อ​เกิด​แง่​คิด​ใด คุณค​ วร​เขียน​บันทึก​ไว้​ดีๆ เอา​ให้​บ่อย​ที่สุด​เท่า​ที่​จะ​ทำได้ ใน​ที่สุด​ คุณ​จะ​พบ​ว่า​โลก​นี้​เต็ม​ไป​ด้วย​แง่​คิด​ให้​คุณ​เขียน​ถึง​มากมาย​เหลือ​คณานับ และ​แง่​คิด​ ของ​คุณ​จะ​ล้วน​มี​ค่า เพราะ​ทำให้​คน​ที่​ยัง​ไม่​คิด​ได้คิด​ตาม หรือ​กระตุก​ให้​คน​ที่​คิด​เป็น​ ลบ​หัน​มา​คิด​เป็นบ​ วก​ได้​หลาย​ต่อห​ ลาย​ครั้ง

๒​) คบหา​กับ​นัก​ปฏิบัตจิ​ ริง ถ้า​คุณ​เอาแต่​มั่วสุม​กับ​นัก​ทฤษฎี​ส่วน​หนึ่ง​ที่​เป็น​เสือกระดาษ ดี​แต่​พูด ชอบ​ที่​จะ​ ให้​คน​อื่นท​ ำ​ตาม​ทตี่​ ัวเ​อง​พูด แต่​ตัวเ​อง​ไม่​ทำ​ใน​สิ่ง​ที่​พูด​มา​สัก​อย่าง คุณ​จะ​ติดน​ ิสัย​ของ​ คน​พวก​นี้ และ​แนวโน้ม​คือ​คุณ​จะ​เติบโต​ขึ้น​ใน​โลก​ของ​ธรรมะ​เยี่ยง ‘​นัก​คิด​’ ที่​ไม่​มี​ ประสบการณ์​ตรง​เป็น​สมบัตติ​ ิดตัว​เอาเลย แต่​หาก​คลุกคลี​กับ​นัก​ปฏิบัติ​ที่​รู้​ถูก​และ​ทำ​จริง ไม่​อวด​ตัว ชอบ​ที่​จะ​เตือน​ตน​เอง​ มาก​กว่า​เพ่ง​โทษ​ผู​อ้ ื่น เลือก​พูด​เฉพาะ​เท่า​ที่​ทำได้​และ​เห็น​ประโยชน์​สุข​แล้ว หรือ​แม้​ เมื่อ​ใคร​ให้​สอน​ก็​สอน​ตัว​เอง​ไป​พร้อม​กับ​สอน​คน​อื่น คุณ​ก็​จะ​ติด​นิสัย​ไป​อีก​แบบ และ​ แนวโน้ม​คือ​คุณ​จะ​เติบโต​ขึ้น​ใน​โลก​ของ​ธรรมะ​เยี่ยง ‘​นัก​ทำ​’ ที่​รไู้​ป​หมด เห็น​ไป​หมด​ ว่า​ทำ​อะไร​จริงๆ​แล้ว​เกิด​ผล​ใด​ขึ้น​จริงๆ​ตาม​มา ไม่ว​ ่าแ​ ง่​ดี​แง่​เสีย​ใดๆ เมื่อ​เกิด​แรง​บันดาล​ใจ​อย่างไร งาน​เขียน​ของ​คุณ​ก็​จะ​เป็น​ไป​ตาม​นั้น ถ้า​คุณ​เป็น​ นักทำ งาน​เขียน​ส่วน​ใหญ่​ของ​คุณ​จะ​ทำ​ตาม​ได้​จริง ส่วน​นัก​คิด​ไม่​มี​ทาง​ปลอม​ตัว​เป็น​ นัก​ทำ ถึง​ปลอม​ได้​ก็​เดี๋ยวเดียว ใน​ที่สุดค​ น​ก็​จับ​ได้ หรือ​แพ้ภัยตัว​เอง ต้อง​ลอก​เลียน​สิ่ง​ ที่​นัก​ทำ​ทั้งหลาย​เขียน​ไว้​ก่อน​แล้ว พูด​ไว้​ก่อน​แล้ว และ​จะ​ต้อง​รู้อยู่​แก่​ใจ​ไป​ทั้ง​ชีวิต​ว่า​ งาน​ของ​ตน​ก็​คือ​การ​ขโมย​งาน​คน​อื่น​มา​เป็นหน้าเป็นตา​ให้​ตน​เอง​เท่านั้น การ​พบปะ​พดู ​คยุ ​กบั ​นกั ​ปฏิบตั ิ จะ​ทำให้​คณ ุ ​พบ​กบั ​ความ​จริง​ท่​โี ปร่งใส​ประการ​หนึง่ คือ​ไม่​ม​ใี คร​ทำ​อะไร​ได้​ทกุ ​อย่าง​โดย​ปราศจาก​อปุ สรรค และ​ทกุ ​คน​ก​ต็ อ้ งการ​ร​วู้ ธิ ​เี อาชนะ​ อุปสรรค ซึ่ง​จะ​รู้​ได้​ลึกซึ้ง​ละเอียดลออ​ก็​ต่อ​เมื่อ​ผ่าน​ประสบการณ์​มา​แล้ว​เยี่ยง​นัก​ทำ กล่าว​ได้ว​ ่าการ​เป็น​นัก​ทำ​นั่นแหละ ที่​จะ​ช่วย​ให้​คุณ​รู้​วิธี​เอาชนะ​อุปสรรค และ​การ​ เขียน​ถึง​วิธีการ​เอาชนะ​อุปสรรค​นั่นแหละ คือ​สิ่ง​ที่​จะ​ทำให้​งาน​เขียน​ของ​คุณ​เป็น​ ประโยชน์​กับ​ผอู้​ ื่น​ได้​อย่าง​แท้จริง

22 ธรรมะใกล้ตัว


อย่างไรก็ตาม โอกาส​จะ​สังสรรค์​สมาคม​กับ​นัก​ปฏิบัต​จิ ริง​นั้น​อาจ​ยาก เพราะ​คน​ ปฏิบตั ิ​จริง​ม​นี อ้ ย ไม่​วา่ ​ปฏิบตั ิ​จริง​ใน​เชิง​เสียสละ ปฏิบตั ิ​จริง​ใน​เชิง​หา้ ม​ใจ​ไม่​ให้​ประพฤติ​ ชั่ว ตลอด​จน​ปฏิบัติ​จริง ใน​เชิง​การ​ภาวนา​ให้​รู้​แจ้ง​เห็น​จริง​เข้า​มา​ใน​กาย​ใจ เอาชนะ​ กิเลส ดับ​ทุกข์​ดับ​โศก​ได้​เด็ดขาด ฉะนั้น​สิ่ง​ที่​เป็น​ไป​ได้โดย​ไม่​ต้อง​หวัง​พึ่ง​ผู้​อื่น ก็​คือ​ศึกษา​ให้​ดี​ว่า​หลักการ​เสียสละ​ที่​ ถูกต้อง​เป็น​อย่างไร ศีล​สตั ย์​ท​ค่ี วร​รกั ษา​ม​อี ะไร​บา้ ง การ​ปฏิบตั ธิ รรม​ภาวนา​เขา​ทำ​กนั ท่า​ ไหน แล้ว​ลงมือ​ทำ​เอง​ให้​รู้​ราย​ละเอียด ว่า​เกิด​ผลอ​ย่าง​ไร​ใน​แต่ละ​ข้อ​แต่ละ​ขั้น สรุป​คือ​เมื่อ​ทำตัว​เป็น​นักป​ ฏิบัติ​จริง ก็​เท่ากับ​คุณจ​ ะ​ได้พ​ บ​และ​ได้​ราย​ละเอียด​จาก​ นัก​ปฏิบัตติ​ ัว​จริง​ตลอด​เวลา และ​สำหรับ​แม่บท​ทถี่​ ูก​ต้อง​เกี่ยว​กับท​ าน ศีล และ​ภาวนา​ นั้น ผม​จะ​กล่าว​ถึง​ใน​บท​ต่อๆ​ไป​ครับ สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 23


ไดอารีห ่ มอดู

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ได​อา​รี่​หมอดู  หน้าที่  ๙ โดย หมอพีร์

ชีวิต​ของ​การ​เป็น​หมอดู​มัก​จะ​มี​ลูกค้า​แปลก​ใหม่​มา​อยู่​เรื่อย ๆ  แต่​มี​อยู่​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ สังเกต​มา​ตลอด​ระหว่าง​ที่​ดู​หมอ​คือ  คน​ที่​เป็น​ลูกค้า​มัก​จะ​เป็น​กลุ่ม ๆ  มี​กรรม​เหมือน​ กัน  หรือ​มีค​วาม​คล้าย​กัน  ตัวอย่าง​เช่น  อาทิตย์​นี้​เจอ​ลูกค้า​ที่​เกิด​พ​.​ศ​.  ๒๕๒๐  ก็​จะ​ เจอ​ทง้ั ​อาทิตย์  บาง​ชว่ ง​ก​จ็ ะ​เจอ​เด็ก  บาง​ชว่ ง​ก​เ็ จอ​แต่​ว​ศิ ​วะ  หรือ​บาง​ชว่ ง​ก​จ็ ะ​เจอ​กลุม่ ​ ที่​มี​กรรม​เรื่อง​ความ​รัก  การ​ท​เ่ี จอ​ลกู ค้า​เป็น​กลุม่  ๆ  มี​ขอ้ ​ด​อี ย่าง​หนึง่ ​คอื   ทำให้​เห็น​กระบวนการ​ทำ​งาน​ของ​ กรรมวิบาก  พอได้​เห็นบ​ ่อย ๆ  ก็ร​ ู้สึก​สยอง​เหมือน​กัน​สำหรับ​ลูกค้า​บาง​ราย  และ​พอ​ ต้อง​มา​เจอ​ลูกค้าค​ น​อื่น ๆ  ที่​เขา​ไม่​เชื่อเ​รื่อง​กรรมวิบาก  เห็นก​ รรม​ไม่​มจี​ ริง  เห็นก​ รรม​ เป็น​เรื่อง​น่า​งมงาย  ก็​รู้สึก​สงสาร  ก็​จะ​พยายาม​สรร​หาเรื่อง​ใน​ชีวิต​เขา​มา​โยง​เข้า​กับ​ กรรม​เพื่อให้​เขา​เกิด​สะกิดใ​จ​เชื่อ​เรื่อง​กรรม​บ้าง  บาง​ครั้ง​ก็​ทิ้ง​เป็นข​ ้อคิด​ให้ การ​ที่​ดู​หมอ​ตาม​หลัก​กรรม​ของ​มนุษย์  และ​เห็น​ผล​ของ​กรรม​จาก​ลูกค้า​เล่า​ให้​ ฟัง  มัน​ยิ่ง​ทำให้​ฉัน​ยิ่ง​เชื่อ​เรื่อง​กฎแห่งกรรม​อย่าง​สนิท​ใจ  เวลา​ที่​ฉัน​ต้อง​เจอ​ปัญหา​ อะไร​ใน​ชีวิต  จะ​ไม่​โทษ​คน​อื่นเ​ลย​ว่า​ทำไม​เขา​มา​ทำ​เรา  จะ​ย้อน​กลับเ​ข้าม​ า​มอง​ตัว​เอง​ ทันที​ว่า​สิ่ง​ที่​เรา​กำลัง​โดน​กระทำ​อยู่​คือก​ รรม​ของ​เรา  ทำให้​ใจ​ให้อภัย​เขา​ได้​ง่าย จาก​การ​ท​เ่ี ห็น​กระบวนการ​การ​ให้​ผล​ของ​กรรม  มี​บาง​จดุ ​ท่​ที ำให้​เห็น​วา่ ​กรรม​ท่​เี รา​ มี​อยู​ม่ นั ​สามารถ​ปรุง​แต่ง​ความ​คดิ ​จติ ใจ​ของ​เรา​อย่าง​พสิ ดาร  เพือ่ ให้​เรา​ตอ้ ง​ใช้กรรม  ไม่​ สามารถ​ชนะ​กรรม​ได้  วัน​นี้​ก็​มี​ตัวอย่าง​ลูกค้า​หลาย​ราย  ที่​โดน​ความ​คิด​จิตใจ​ของ​ ตัวเอง  กัน​ไม่​ให้ออก​จาก​กรรมวิบาก  จาก​ที่​ดูด​วง​ลูกค้า​ไป​ส่วน​ใหญ่​ลูกค้า​จะ​รู้อยู่​แล้ว​ว่า  ตัว​เอง​เป็น​คน​ยังไง  มี​ข้อ​ บกพร่อง​ตรง​ไหน  มี​กรรม​อะไร​อยู่​บ้าง  แต่​ก็​ไม่​สามารถ​เปลี่ยนตัว​เอง​ได้  ต้อง​ให้​คน​ อื่น​เขา​มา​ทัก​มา​ทาย  และ​เวลา​ที่​ทัก​ออก​ไป​แล้ว​มัน​ตรง  ทุก​คน​จะ​รู้สึก​ว่าเป็น​อย่าง​ที่​

24 ธรรมะใกล้ตัว


บอก​มา​จริง ๆ  แต่​แก้​ไม่​ได้  ทัง้  ๆ  ที่​การ​ดดู ​วง​ก็​คอื ​การ​อา่ น​นสิ ยั ​ท่​มี ี​อยู่​ของ​ตวั ​เรา  ต้อง​ ให้​คน​อื่นท​ ี่​ไม่​รู้จัก​เป็น​คน​มาบ​อก​มา​ทัก​ถึง​จะ​ทำได้  ความ​เป็น​จริง​ใน​ชีวิต​ของ​เรา  แค่​เปลี่ยน​การก​ระ​ทำ​หรือ​ความ​คิด​บาง​จุด  ก็​ ทำให้​ชีวิต​เปลี่ยน  ดวง​เปลี่ยน  เส้นทาง​การ​ให้​ผล​ของ​กรรม​เปลี่ยน​ไป​ได้​จริง  แค่​ เรา​เริ่ม​เอาชนะ​แรง​ต้าน​ใน​ความ​คิด​ของ​เรา​ที่​ไม่​ชอบ​ทำ​เรื่อง​ดี  คน​ส่วน​ใหญ่​โดน​ กิเลส​ของ​ตัว​เอง​หลอก  เช่น  ความ​กลัว  ความ​อยาก  ความ​เกียจคร้าน  ความ​ไม่​ อดทน  ความ​ไม่​ขยัน  การ​ไม่​ให้อภัย  ความ​อาย  ทั้ง ๆ  ที​ส่ ิ่ง​ที่​ควร​จะ​เปลี่ยน  ไม่​ได้​ ทำให้​ใคร​เดือดร้อน  ไม่​ผดิ ​ศลี   ไม่​เป็น​บาป  เป็น​แต่​เรือ่ ง​ท​ท่ี ำ​ไป​แล้ว​ม​แี ต่​ผล​ด ี แค่​ลงมือ​ ทำ​ก็​มี​แต่​จะ​ดี​ขึ้น​ไป​เรื่อย ๆ  หัวใจ​สำคัญ​ต้อง​อึด  ต้อง​อดทน  ไม่ท​ ้อแท้​นี่แหละ  จาก​หลาย​เดือน​ที่​ผ่าน​มา  มี​ตัวอย่าง​ให้​เห็น​มาก​เลย​เหมือน​กัน  เช่น  มี​หลาน​ของ​ ตัว​เอง​คน​หนึ่ง​มีด​วง​ค้าขาย​ดี  แต่​จะ​ไม่​ชอบ​ขาย​ของ​เป็น​ชีวิต​จิตใจ  มี​ป้า​จะ​ลงทุน​ ให้  บอก​ว่า​ไม่​ต้อง​ทำ​งาน​บริษัทห​ รอก​เพราะ​เป็นค​ น​ตรง  มัก​จะ​มี​เรื่อง​กับ​คน  ให้ออก​ มา​ขาย​ของ  ทำ​เอง​ขาย​เอง​ดี​กว่า  มี​ทำเล​ให้​ด้วย  หลาน​คน​นี้​ก็​จะ​บอก​แต่ว่า  อาย​ไม่​ กล้า​ขาย​ของ  อาย​คน​ที่มา​ซื้อ  ให้​เป็น​เจ้าของ​ธุรกิจ​ส่วนตัว​แต่​อาย  แต่​พอ​เมื่อ​ต้น​ปี​ที่​ ผ่าน​มา  เพิง่ ​เกิด​เรือ่ ง​ใหญ่​อย่าง​ไม่​นา่ ​เชือ่ ​กบั ​หลาน​คน​น​ค้ี อื   เธอ​นอกใจ​สามี​ไป​มชี  ู้ พา​ช้​ู เข้า​บา้ น  พอได้​ยนิ ​ขา่ ว​ตอ้ ง​ถอน​หายใจ  เฮ้อ​.​.​.  เรือ่ ง​ด​กี ลับ​อาย​คน  แต่​เรือ่ ง​ผดิ ​ศลี ธรรม​ กลับไ​ม่​อาย​คน  ทั้งที่​การพา​ชู้​เข้า​บ้าน​นมี่​ ันน​ ่า​อัปยศ​อดสู​มาก  แต่​กย็​ ัง​เห็น​เขา​ยิ้ม​หน้า​ ระรื่น​อยู่​เลย  และ​อีก​ช่วง​หนึ่ง​ก็​เจอ​ลูกค้า​ที่​มี​กรรม​เรื่อง​คน  เรื่อง​สังคม  ทาง​ที่​จะ​เปลี่ยน​ให้​ชีวิต​ ดี​ขึ้น​เรื่อง​สังคม​คือ  หมั่น​ทำบุญ​กับ​สังคม  มูลนิธิ  คน​ยากไร้  แต่​เจ้าของ​ดวง​ชะตา​ที่​มี​ กรรม​เรือ่ ง​คน​สว่ น​ใหญ่  มัก​จะ​มคี ​วาม​คดิ ​ท​ว่ี า่ ​ทำบุญ​กบั ​คน​ไม่​ขน้ึ ​ไม่​อยาก​จะ​ทำ  หรือ​มกั ​ จะ​ได้​เจอ​แต่​ขา่ ว​ท​ม่ี ​กี าร​หลอกลวง​อยู​เ่ รือ่ ย ๆ  หรือ​บาง​คน​ก​จ็ ะ​ไม่​ชอบ​เพราะ​มคี ​วาม​คดิ ​ ว่า  มี​มอื ​มี​เท้า​ครบ​ทำไม​ไม่​เห็น​ทำ​งาน  ทัง้ ที่​เขา​เป็น​คน​ดอ้ ย​โอกาส​จริง ๆ  คน​ท่​มี ี​กรรม​ เรื่อง​คน  มัก​จะ​มีค​วาม​คิดข​ วาง​ตัวเ​อง​เพื่อ​ที่​จะ​ขัดขวาง​การ​ทำบุญ​กับ​คน ลูกค้า​ท​ผ่ี ดิ ​ศลี ​ขอ้ ​ส​ค่ี อื ​โกหก  กระ​แนะ​กระแห​น  กระทบกระทัง่   นินทา  ตะคอก​คน​ อืน่ ​และ​ใช้​อำนาจ​กบั ​คน​อน่ื   ทำให้​เป็น​คน​ท​เ่ี สียง​จะ​ไม่​เพราะ​เสียง​แหบ​แห้ง  ทุก​คน​ก​จ็ ะ​

ธรรมะใกล้ตัว 25


รู้​หมด​ว่า​ปาก​ไม่​ดี  แต่ละ​คน​จะ​บอก​ว่า​อดทน​ไม่​ได้  ที่​จะ​ไม่​ตอบโต้​เพราะ​คิด​ว่า​เขา​มา​ ทำ​เรา​ตลอด  ทน​ไม่ไ​ด้ทจี่​ ะ​ไม่ด​ ่าก​ ลับ  ความ​จริงถ​ ้าเ​รา​เริ่มห​ ักห้าม​ใจ​เรา​ได้แ​ ค่ห​ นึ่งค​ รั้ง​ ไม่​ตามใจ​ความ​อยาก​จะ​พูด​ได้​หนึ่ง​ครั้ง  เรา​ก็​จะ​เริ่ม​เอาชนะ​ได้​และ​ทาง​แก้​เรื่อง​เสียง​ให้​ ดี​ขึ้น​คือ  ต้อง​พูด​จา​ดี​มาก​ขึ้น  และ​ลอง​สวด​มนต์​ออกเสียง​ดู  แต่ท​ ุก​คน​บอก​ว่า​สวด​นะ​ คะ​แต่​สวด​ใน​ใจ​ไม่​ได้​ออกเสียง  ส่วน​คน​ที่​มี​กรรม​ทาง​ศาสนา  เช่น​ปรามาส​พระ​ธรรม​คำ​สอน  หรือ​ใช้​คำ​พูด​ขวาง​ ทาง​คน​ให้​เข้าหา​สิ่ง​ดี ๆ  ก็​มัก​จะ​มี​อุปสรรค​ใน​การ​ทำบุญ​ให้​เกิด​การ​ท้อ​ใจ​ใน​การ​ที่​จะ​ ทำบุญ  เช่น  หลาย​คน​จะ​บอก​วา่ ​เวลา​ไป​ทำบุญ​ทกุ ​ครัง้   หลังจาก​กลับ​จาก​การ​ทำบุญ​มา​ มัก​จะ​เจอ​แต่เ​รื่อง​ร้าย  มี​แต่ด​ วง​ซวย ๆ  แรง​ของ​กรรม​ไม่อ​ ยาก​ให้​ทำ​ดี​บั่นทอน​กำลังใจ​ ใน​การ​สร้าง​กุศล  ทั้งทีไ่​ม่ท​ ำความ​ดี​คง​จะ​หนักก​ ว่าน​ ี้  ถ้าจ​ ะ​ต้อง​ตาย​เพราะ​ทำบุญห​ รือ​ ทำความ​ด ี ยอม​ตาย​ด​กี ว่า​คะ่   เพราะ​หนทาง​หลัง​ความ​ตาย​ยอ่ ม​สว่าง​แน่นอน  ดี​กว่า​ท่​ี ทั้ง​ชาติ​ไม่​ทำบุญ​เพราะ​ความ​เข้าใจ​ผิดว​ ่า  การ​ทำบุญ​ทำให้​ตัว​เอง​โชค​ร้าย​เลย​ไม่​ทำ  อีก​อาทิตย์​ต่อ​มา  เจอ​กลุ่ม​ลูกค้า​ที่​มี​จิตใจ​เฉื่อย ๆ  เนือย ๆ  หนืด ๆ  จิตใจ​ไม่​ แข็งแรง​อ่อนแอ  วัน​วัน​ก็​มี​แต่​คิดมาก  อม​ทุกข์​ไม่​สดใส​เลย  ซึ่ง​จิตใจ​แบบ​นี้  จะ​ทำให้​ เกิด​ความ​ขี้​เกียจ​ตาม​มา​แน่นอน  ทาง​ที่​จะ​ทำให้​จิตใจ​กระปรี้กระเปร่า​ขึ้น  ก็​คือ​การ​ ออกกำลัง​กาย  ถาม​ทุก​คน​ที่​มี​จิต​แบบ​นี้​ว่า​ออกกำลัง​กาย​บ้าง​ไหม  คำ​ตอบ​คือ​ทุก​คน​ จะ​ไม่​ชอบ​ออกกำลังก​ าย​เลย​เพราะ​ขี้​เกียจ  ซึ่งถ​ ้าห​ ันม​ า​ออกกำลังก​ าย​จิต​จะ​เปลี่ยน​ไป​ จาก​เดิม  ทำให้​ขยัน  สดใส  แข็งแรง​เป็น​โรค​ยาก ลูกค้า​อีก​กลุ่ม​ก็​จะ​ทำกรรม​กับ​พ่อ​กับ​แม่  คือ​ใช้​คำ​พูด​ที่​ไม่​ดี  ทำให้​พ่อ​แม่​เสียใจ​ ไว้​มาก  ทุก​คน​รู้สึก​สำนึก​ผิด​กัน​ทั้งนั้น  แต่​ไม่​มี​ใคร​กล้า​ไป​ขอ​ขมา​กราบ​เท้า​พ่อ​แม่​ เลย  เพราะ​เอาชนะ​ความ​อาย​ไม่​ได้  ซึ่ง​ฉัน​เอง​เมื่อ​ก่อน​ก็​เป็น​สมาชิก​ของ​กลุ่ม​อับอาย​ ที​จ่ ะ​ทำความ​ด​เี หมือน​กนั   แต่​ครัน้ ​บอก​กบั ​ตวั ​เอง​วา่   ปล่อย​ไม่​ได้​แล้ว  ต้อง​ทำให้​ได้  คิด​ ล่วงหน้า​กอ่ น​กลับ​บา้ น​เป็น​เดือน  กว่า​จะ​ทำได้​แทบ​ตาย  พอ​ทำ​แล้ว  ทำให้​ชอ่ ง​วา่ ง​ท​ม่ี ี​ ปัญหา​กับ​แม่​กน็​ ้อย​ลง​เยอะ​มาก  เรา​มา​ลอง​สังเกต​ชีวิต​ของ​เรา​กัน​เถอะ​ว่า​มี​เรื่อง​อะไร​บ้าง  ที่​มัน​เป็น​เรื่อง​ดี ๆ  ที่​ ควร​จะ​แก้ไข​และ​ควร​จะ​ทำ​แต่​เรา​มัก​จะ​ปฏิเสธ​ที่​จะ​ทำ​มา​ตลอด  หรือ​มีค​วาม​ยาก​

26 ธรรมะใกล้ตัว


ลำบาก​ใจ​ใน​การ​ลงมือท​ ำ  ลอง​มอง​อย่าง​ช้า ๆ  และ​พิจารณา​ด้าน​ทเี่​รา​กำลังจ​ ะ​ลงมือ​ ทำ​วา่   ไม่​ได้​ทำให้​ใคร​เดือดร้อน  ถ้า​หาก​เรา​มอง​ไม่​ออก​ลอง​ให้​เพือ่ น  ให้  พ่อ​แม่​พน่ี อ้ ง​ ของ​เรา​ชี้​ให้​เรา​เห็น​ว่า​มี​จุด​ด้อย​ตรง​ไหน  และ​ลอง​เริ่ม​เอาชนะ​ใจ​เอาชนะ​กิเลส​ของ​ตัว​ เรา  ซึ่ง​อาจ​จะ​ทำให้​ชีวิต​ของ​เรา​เปลี่ยน​ไป​ใน​ด้าน​ตรง​ข้าม​ที่​ดี​ขึ้น  ทำให้​เรา​มี​ชีวิต​ใหม่​ ที่​เปลี่ยน​ไป​ใน​เวลา​อันส​ ั้น​ก็ได้  เมื่อ​เรา​เจอ​กิเลส​เจอ​จุด​ด้อย​ใน​ใจ​เรา เพื่อน​ที่​สนิทก​ ัน​เป็น​คน​ที่​ขเี้​กียจ​มาก  เฉื่อย​มาก ๆ  ชวน​ไป​ออกกำลัง​กาย​หรือ​ต้อง​ ทำ​อะไร​ท​อ่ี อกแรง  จะ​เป็น​คน​ท​ห่ี นี​มา​ตลอด  แม้​กระทัง่ ​ตอน​ท​เ่ี รียน​มธั ยม  หรือ​ประถม​ ก็​จะ​หนี​การ​ออกกำลังก​ าย  กินแรง​เพื่อน​มา​ตลอด​ทำให้เ​ป็น​คน​ที่​อ่อนแอ  เฉื่อย ๆ  ไม่​ สดใส  แม้​กระทัง่ ​ตลอด​เวลา​ท​ผ่ี า่ น​มา​ก​ไ็ ม่​ชอบ​ออกกำลัง​กาย  แต่​พอ​เดือน​ท​ผ่ี า่ น​มา  ไป​ สมัคร​ฟติ เนสด้วย​จติ ใจ​ท่​หี นักแน่น  ว่า​ตอ้ ง​ไป​เล่น​ให้​ได้​ทกุ ​วนั   จาก​ท่​เี ป็น​คน​ท่​ขี ้​เี กียจ​ก็​ ขยัน​ขึ้น  แถม​ยัง​ไม่​นอน​ตื่นส​ าย​แล้ว  ทำให้เ​ขา​เห็น​ความ​แตก​ต่าง​ได้​เร็ว​มาก ดังนั้น​ถ้า​เห็น​ข้อ​บกพร่อง​ใน​ตัว​ของ​เรา​แล้ว  แม้​ว่า​เรา​จะ​เป็น​เรื่อง​เล็ก ๆ  เรา​ก็​ไม่​ ควร​ปล่อย​ทิ้ง​ไว้  ควร​ที่​จะ​รีบ​แก้ไข  สิ่ง​ที่​สำคัญ​สุด​ที่​จะ​ทำให้​เรา​ผ่าน​ข้อ​บกพร่อง​ไป​ ได้  คือ  จิตใจ​ท​ม่ี คี ​วาม​หนักแน่น​วา่ ​จะ​เปลีย่ นแปลง​ตวั ​เอง  ให้​ม​ชี วี ติ ​ท​ด่ี ​ขี น้ึ ​กว่า​เดิม  สิง่ ​ ที่​ควร​จะ​จำ​ไว้​อย่าง​หนึง่ ​คอื   ทุก​คน​เกิด​มา​ไม่​มี​ใคร​ท​จ่ี ะ​สมบูรณ์​แบบ​ทส่ี ดุ ​ใน​โลก  ไม่​ มี​ใคร​ดี​ที่สุด​ใน​โลก  ทุก​คน​เกิด​มา​ล้วน​มี​ข้อ​บกพร่อง​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ไป  แต่​สิ่ง​ที่​จะ​ ทำให้​คน​สมบูรณ์​ขึ้น​มา​ได้  คือ​การ​รู้​ข้อ​บกพร่อง​และ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ใน​ชีวิต​ของ​ ตัวเ​อง  กำลังใจ​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ใน​การ​เปลี่ยนตัว​เรา  คือ​คน​ใกล้​ตัว​เรา​นี่แหละ  แค่​เรา​แสดง​ เจตนา  หรือ​บอก​เขา​ว่า​ตอน​นี้​เรา​กำลัง​มีค​วาม​คิด​ที่​จะ​แก้​นิสัย​เสีย ๆ  ของ​เรา  ให้​ดี​ ขึน้   ทุก​คน​ท​อ่ี ยู​ร่ อบ​ขา้ ง​ม​แี ต่​จะ​ดใี จ​กนั ​และ​เห็นดี​เห็น​งาม​รว่ ม​กบั ​เรา​ไป​ดว้ ย  ส่วน​หมอดู​ ก็​คล้าย​กบั ​คณ ุ ​หมอ​จติ วิทยา​เหมือน​กนั   ที​เ่ ป็น​แค่​ผ​ชู้ น้ี ำ​ทาง​แก้ไข​ให้  แต่​ไม่​สามารถ​ เป็น​ผเู้​ปลี่ยน​กรรม​ให้​ใคร​ได้  คน​ที่​จะ​เปลี่ยน​ได้​คือ​ตัว​ท่าน​เอง สารบัญ  

ธรรมะใกล้ตัว 27


กวีธรรม

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

มาฆบูชา​รำลึก

โดย ศานติ​นิจ​-​ณ​ฎ​น

กาพย์​ฉบัง ๑๖ มาฆบูชา​ระลึกน​ ้อม นมัสการ​พระ​รัตนตรัย

รวม​จิตใจ​พร้อม

แสดง​พระ​ธรรม​อำไพ เป็น​หลักพ​ ระ​ศาสนา

พุทธ​องค์ต​ รัส​ไว้

หนึ่งใ​ห้​หมูป่​ วง​ประชา ใจ​สู่​ปกติ​พลัน

เว้น​อกุศล​พา

สอง​กอปร​ดี​ทุก​สิ่งสรรพ์ พร้อม​รับ​พระ​ธรรม​ตาม​แนว

มี​จิต​ตั้ง​มั่น

สาม​ชำระ​จิต​ผ่องแผ้ว สุด​บริสุทธิส์​ ดใส

ด้วย​ปัญญา​แกล้ว

ผอง​สงฆ์​รับคำ​น้อม​ไป ช่วย​สัตว์ข​ ้าม​พ้น​สงสาร

โปรด​หมูเ่​วไนย

ทั่ว​โลก​สวรรค์ฟ​ ้า​บาดาล ดวง​จิต​เบิกบาน  ด้วย​ธรรม​ส่อง​แสง​แจ้ง​ใจ คือ “​วันพระ​ธรรม​” ไสว ล้ำ​ลบ​ภพ​ไตร  เอกอุ​ตม์พิสุทธิย์​ ิ่ง​เอย

28 ธรรมะใกล้ตัว


วัน​แห่ง​ความ​รัก​ที่แท้​จริง โดย ศิราภรณ์ อภิ​รัฐ

๏ จะ​หา​วัน​แห่ง​รักส​ ัก​เพียง​ไหน แห่ง​ความ​รัก​ที่แท้​จริง​สิ่ง​โสภา

ก็ม​ ิได้​เช่นว​ ัน​อันส​ ูง​ค่า  วันม​ าฆบูชา​ปู​รณ​มี

พุทธ​องค์ท​ รง​แสดง​ธรรม​เทศนา ละ​ความ​ชั่วใ​น​ทุก​ทาง​สร้าง​ความ​ดี

“โอวาท​ปาติโมกข์”​ ล้ำ​วิถ ี ทำ​จิตน​ ี้​ให้​พิสุทธิ์​ผุดผ่อง​พรรณ

จึง​เป็นความ​รัก​จริง​ทยี่​ ิ่ง​ใหญ่ ด้วย​เมตตา​กรุณา​มา​แบ่งปัน

ซึ่ง​มอบ​ให้​แก่​ทั้งสิ้น​ชีวินสรรพ์  ด้วย​จิตอ​ ันป​ รารถนา​ดี​นมี้​ อบ​ไป

แม้ม​ ิ​มี​ผกา​พันธุ์​สรรค์​มา​ฝาก แต่​กส็​ ุด​แสน​ซึ้ง​ถึงห​ ัวใจ

ปราศจาก​มธุ​พจน์​รส​หวาน​ใส  ชื่น​หทัย​กำซาบ​อาบ​ฤดี

เป็นความ​รัก​อัน​เกิดข​ ึ้น​เพื่อ​ความ​รัก หา​รัก​ไหน​ปาน​เปรียบเทียบ​ทัน​มี

จึง​แน่นห​ นัก​ยืนยง​คง​วิถี  เท่า​รัก​นี้​หามิได้​ใน​โลก​เอย

ก่อน​ชีวิตจ​ ะ​สิ้น โดย ตรง​ประเด็น

๏ ก่อน​ชีพ​ลับล​ าภ​พ​ดิน​กลบ​หน้า อธิษฐาน​มั่น​ไว้ใ​น​กมล

ตั้งส​ ัจ​จา​จุดหมาย​ให้​เกิดผ​ ล  กอปร​กุศล​ดาล​ใจ​ไร้​ทุกข์​ทน

ด้วย​เวลา​ที่​ยัง​มี​ชีวเี​หลือ หาก​แม้นส​ ิ้นเ​หตุ​ปัจจัยใ​น​ตัว​ตน

อุทิศ​เพื่อ​ธรรม​ฉาย​แสง​ทุกแห่ง​หน  อาจ​หยุดพ​ ้นเ​กิด​-​ตาย​ไม่อ​ าทร

จะ​ปล่อย​วาง​เรื่อง​ใด​ใน​โลก​นี้ จิตแ​ จ่มใส​ใจ​สงบ​ลบ​นิวรณ์

มุ่ง​ทำ​ดี​ดั่ง​คำ​พระ​ธรรม​สอน  ทุกข์​ถ่าย​ถอน​หาย​ร้อน​รุ่ม​มิ​กลุ้มใจ

เป็นม​ นุษย์ส​ ูง​สุด​พบ​พุทธ​ศาสน์ อย่า​เสียชาติเกิด​มา​พา​ไถล  ทุก​วัน​คืน​เวลา​อย่า​ล่วง​ไป ​ฝึกฝน​ใจ​สู่​สุข​สิ้น​ทุกข์​เอย

ธรรมะใกล้ตัว 29


อะไร​หนอ

โดย mind way

๏ อะไร​หนอ​ล่อหลอก​ให้เ​รา​หลง อะไร​หนอ​คือ​จริง​แท้​แน่นิรันดร์

อะไร​หนอ​เสริม​ส่ง​หลง​ยึด​มั่น  อะไร​หนอ​อะไร​นั่นค​ ือ​อันใ​ด

โลก​ลวง​ล่อ​ก่อ​เกิดส​ รรพ​สัตว์ หลง​ยึด​มั่นถ​ ือ​มั่น​ทกี่​ าย​ใจ

ก่อ​วิบัติ​จาก​อัตตา​พา​สงสัย  แบ่ง​ชั้น​ไป​ว่า​เธอ​เขา​เรา​และ​มัน

จริง​จริง​แล้ว​ตัวเ​รา​แท้​มี​แน่​หรือ มี​สัญญา​เวทนา​ประกอบ​กัน

หรือ​แค่​คือส​ ่วนผสม​ของ​ธาตุ​ขันธ์  ลวง​ว่าเป็น​ของ​ฉัน​นั่นข​ อง​เธอ สารบัญ 

30 ธรรมะใกล้ตัว


คำคมชวนคิด

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

“​คน​พาล​ก็​เหมือนกับ​ถ่าน​ติดไฟ จับ​ไป ก็​ร้อน​มือ ตอน​ไฟ​ดับ​จับไ​ป มือ​กด็​ ำ​”

แบ่งปันโ​ดย เนตร

Be the change you want to see in the world​. จง​เปลี่ยน​ตน ใน​แบบ​ที่​อยาก​เห็น​โลก​เป็น โดย Mahatma Gandhi (มหาตมะ คานธี)  สรร​หา​มา​ฝาก โดย วิมุตฺติ​ยา

“​When one door of happiness closes​, another opens​; but often we look so long at the closed door that we do not see the one which has opened for us​.”​ เมื่อ​ประตู​แห่ง​ความ​สุข​บาน​หนึ่ง​ปิด​ลง ประตู​อีกบ​ าน​จะ​เปิด​ขึ้น แต่​พวก​เรา​มักม​ อง​ประตู​ที่​ปิดไ​ป​แล้ว​นั้นอ​ ย่าง​เนิ่นนาน จึง​ไม่​เห็น​ประตู​บาน​ใหม่ท​ ี่​เปิด​รอ​เรา​อยู่ โดย Helen Keller (เฮ​เลน เคลเลอร์)  นัก​เขียน​และ​นักม​ นุษยธรรม​ชาว​อเมริกัน  ผู้​พิการ​ทั้ง​ตาบอด​และ​หู​หนวก​ตั้งแต่​อายุ ๑๙ เดือน  สรร​หา​มา​ฝาก โดย ศิราภรณ์ อภิร​ ัฐ สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 31


สัพเพเหระธรรม อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

อยู่​ระหว่าง​ทาง​สอง​ฝั่ง โดย มนสิการ

ฉัน​เป็น​คน​ทมี่​ ี​นิสัย​ชอบ​หา​คำ​ตอบ​และ​คำ​อธิบาย​ให้​กับ​ทุก​สิ่ง พอ​มี​นิสัย​แบบ​นี้​ก็​จะ​มี​อัตตา​ของ​การ​เป็น​ผู้​เข้าใจ​ทุก​สิ่ง   และ​ผู้​ทสี่​ ามารถ​อธิบาย​ทุก​อย่าง แต่​พัก​หลัง​ๆ​พอ​เริ่ม​คิดห​ า​คำ​ตอบ​ขึ้น​มา​เมื่อไหร่  ก็จ​ ะ​มีค​วาม​รู้สึก​ที่​วิ่ง​ตาม​มา​ทันที​คือ   การ​ไม่​เห็น​สาระ​ของ​การ​คิดเ​รื่อง​นี้​เรื่อง​นั้น ก็ไ​ม่​ใช่​ว่า​เลิกค​ ิด​อะไร​ไป​เลย​นะ  หมาย​ถึงว่า ฉัน​ยัง​คิด​วาง​แผน คิดว​ ่าจ​ ะ​ทำ​อะไร​เหมือน​เดิม   เวลา​ทำ​งาน​กย็​ ัง​คิด​เหมือน​เดิม   เพียง​แต่ว่า เลิก​คิด​เรื่อง​ที่​ไม่​ก่อ​ประโยชน์​ให้​ชีวิต​ขึ้น​มา  เช่น การ​พยายาม​เข้าใจ​พฤติกรรม​แปลก​ๆ​ของ​คน  หรือ​การ​พยายาม​เข้าใจ​ว่าส​ ิ่ง​นั้น​สิ่ง​นเี้​กิด​ขึ้นไ​ด้​เพราะ​อะไร   ตลอด​จน​การ​พยายาม​เข้าใจ​พฤติกรรม​ของ​ตัวเ​อง​ก็ตาม ยิ่ง​พฤติกรรม​ของ​จิตใจ​ด้วยเนี่ย เมื่อ​ก่อน​พยายาม​ทำความ​เข้าใจ​กับม​ ัน​มาก  เพราะ​คิด​ว่า การ​เข้าใจ​มัน​มาก​เท่า​ไหร่ เรา​ก็​จะ​ดขี​ ึ้น​เท่านั้น   แต่​หลัง​ๆ​กพ็​ บ​ว่า เรา​มี​อะไร​หลาย​อย่าง​ที่​เกิด​ขึ้น​มา​แล้ว  การ​ไป​พยายาม​เข้าใจ​ว่า​มันเ​กิด​ขึ้น​ได้​อย่างไร   เรา​กไ็​ม่​สามารถ​ไป​แก้ไข​ไม่​ให้​มัน​เกิด​ขึ้น​มา​ได้   เพราะฉะนั้น​เข้าใจ​มัน​ไป​ก็​เท่านั้น แค่เ​ฝ้า​ดู​มัน​เฉยๆ​ก็​พอ​แล้ว

32 ธรรมะใกล้ตัว


มัน​เหมือน​โลก​นี้​มี​อะไร​หลาย​อย่าง​ที่​เรา​ควร​เป็น​แค่​ผู้​เฝ้า​มอง   เรา​ไม่​ได้เ​ป็น​ผู้​ทเี่​กี่ยวข้อง​กับ​ทุก​เรื่อง   เรา​ไม่​ได้​เป็น​ผู้​ที่​จะ​แก้ไข​ทุก​อย่าง​ได้   เรา​ไม่​ได้​เป็น​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่​ใน​โลก   เรา​เป็น​แค่​ผง​ธุลที​ ี่​เท่าเทียม​กัน การก​ระ​ทำ​บาง​อย่าง​ของ​เรา​อาจ​จะ​เปลี่ยนแปลง​โลก​ได้   แต่​ความ​คิด​บาง​อย่าง​ของ​เรา​ก็​อาจ​จะ​กด​เรา​ให้​ลืม​โลก​ได้​เหมือน​กัน วันส​ อง​วัน​นฉี้​ ัน​ได้​เห็น​สิ่ง​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ใจ  เห็น​ว่า​ทาง​สาย​กลาง​มัน​อยู่​ตรง​นี้​นะ คือ ฉัน​มีค​วาม​หงุดหงิด​ใจ​กับ​เรื่อง​ที่​เกิด​ขึ้น  ตั้งแต่เ​รื่อง​รถ​เสีย   เรื่อง​หา​หนังสือ​เรียน​ภาษา​จีน​ไม่​เจอ   เรื่อง​คน​ขับ​แท็กซีท่​ ี่​ท่าทาง​เป็น​คน​สุภาพ​และ​ใจดี   แต่​ฉัน​กลับ​หงุดหงิด​ด้วย เพราะ​เค้า​พา​ฉัน​อ้อม​ไป​อีก​ทาง   ทั้งก​ ารก​ลับม​ า​พบ​ว่าห​ ้อง​รก​เหมือน​ระเบิด​ลง  ทั้ง​การ​ทฉี่​ ัน​ลืมก​ ุญแจ​ห้อง​ไว้​ใน​ห้อง​โดย​ไม่​ได้​เอา​ออก​มา   และ​การ​ที่​ฉันห​ า key card ไม่เ​จอ ใน​ท่ามกลาง​ความ​หงุดหงิดน​ ั้น   ฉันม​ อง​เห็นว​ ่า การ​มีค​วาม​หงุดหงิดน​ ั้นไ​ม่​ผิด   การ​สุดโต่ง​ไป​ทาง​หนึ่ง คือ การ​พยายาม​ห้าม​ความ​หงุดหงิด  หรือ​การ​พยายาม​สร้าง​อารมณ์ใ​ห้​ตัวเ​อง​ใจเย็น​ลง​ให้​ได้   กับ​การ​สุดโต่ง​ไป​อีกท​ าง​หนึ่ง คือ การ​ระเบิด​อารมณ์ใ​ส่​คน​รอบ​ข้าง สิ่ง​ที่​ฉัน​เคย​เป็นค​ ือ การ​พยายาม​สร้าง​ภพ​ของ​ความ​เป็น​คน​ดี​ขึ้นม​ า   นั่น​คือ เมื่อ​หงุดหงิด​แบบ​นี้ ก็​พยายาม​สร้าง​อีก​อารมณ์ห​ นึ่ง​ขึ้น​มา   ด้วย​การ​พยายาม​เข้าใจ​ว่า อ๋อ เพราะ​รถ​มันเ​ก่า   อ๋อ เพราะ​ฉัน​เก็บห​ ้อง​ยัง​ไม่​เสร็จ เลย​หา​ของ​ไม่​เจอ

ธรรมะใกล้ตัว 33


อ๋อ เพราะว่า​เส้นทาง​นั้นว​ ิ่ง​ไป​ทาง​นี้​สะดวก​กว่า   อ๋อ เพราะว่า​น้องๆ​ฉันก​ ็​เป็น​แบบ​นี้​นี่แหละ  หรือ อ๋อ​.​.​. อ๋อ​..​​..​ เดี๋ยวนี้​ฉัน​พบ​ว่า แล้ว​จะ​ไป​พยายาม​เข้าใจ​โลก​ขนาด​นที้​ ำไมเนี่ย  วันๆ​หนึ่ง​เรา​เจอ​เรื่อง​ประมาณ​ล้าน​แปด   แล้ว​เรา​กต็​ ้อง​คิด​เพื่อ​หา​คำ​อธิบาย​ให้​เรื่อง​ล้าน​แปด​นดี่​ ้วย​หรือ  อัน​นี้​เป็นการ​สุดโต่ง​ไป​ทาง​พยายาม​ทำให้ต​ ัว​เอง​ลำบาก สิ่ง​ทที่​ ำ​คือ ปล่อย​ให้​ตัว​เอง​หงุดหงิด​ไป​เรื่อยๆ   อยาก​หงุดหงิด​ก็​ให้​หงุดหงิด​ไป   เดี๋ยว​ใจ​กย็​ ก​เอาเรื่อง​นมี้​ า​หงุดหงิด เดี๋ยว​ก็​ยก​เอาเรื่อง​โน้น​มา​หงุดหงิด   เพียง​แต่​ต้อง​ระวัง​ไม่​ให้​มัน​หงุดหงิด​จน​ออก​มา​เป็น​พฤติกรรม   ทีจ่​ ะ​สร้าง​ความ​เดือดร้อน​ให้​คน​อื่น​ได้ ความ​หงุดหงิด​นั้น​ห้าม​ไม่​ได้​ก็​จริง   แต่​การ​ห้าม​ความ​หงุดหงิด​ออก​มา​เป็น​พฤติกรรม​นั้นเ​ป็น​สิ่ง​ควร​ทำ   จะ​มาบ​อก​ว่า อ๋อ เพราะ​ความ​หงุดหงิดน​ ั้น​ห้าม​ไม่​ได้   ทุก​คน​เลย​ต้อง​มาร​อง​รับ​ความ​หงุดหงิด​ของ​เรา​นั้น  อย่าง​นี้​ถือว่า​สุดโต่ง​ไป​ทาง​ตามใจ​กิเลส​อีก​เหมือน​กัน สารบัญ 

34 ธรรมะใกล้ตัว


ธรรมะจากคนสู้กิเลส อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

ทุกข์​ของ​คน​เป็นชู้

โดย awayfromhell

ฉัน​ตก​หลุม​รัก​เขา​คน​นั้น​ตั้งแต่​แรก​พบ  เรา​เจอ​กัน​โดย​บังเอิญ​ด้วย​เรื่อง​งาน​เพียง​ สอง​สาม​ครั้ง  และ​หลังจาก​นั้น​เรา​ก็​ไม่​ได้​พบ​กัน​อีก​เกือบ​ปี  แต่​ความ​ประทับใจ​ใน​ตัว​ เขา​ยัง​ติด​อยู่​ใน​ใจ​ฉัน​เสมอ วัน​หนึ่ง​ฉัน​ส่ง​ข้อความ​ทาง​มือ​ถือ​ไป​ให้​เขา​บอก​ว่า​ฉัน​เพิ่ง​ไป  นั่ง​สมาธิ  วิปัสสนา​ กลับ​มา  และ​ถา้ ​ม​โี อกาส​เขา​นา่ ​จะ​ไป​บา้ ง  เขา​โทร​กลับ​มา​และ​ปรากฏ​วา่ ​เรา​คยุ ​กนั ​ถกู คอ​ มาก  ต่าง​คน​จงึ ​ตา่ ง​ยง่ิ ​สนใจ​ใน​กนั และกัน  และ​นน่ั ​คอื ​จดุ ​เริม่ ​ตน้ ​ของ​เรือ่ งราว​อนั ​เลวร้าย​ ที่​จะ​เกิด​ขึ้น​ต่อ​ไป วัน​หนึง่ ​เขา​มา​รบั ​ฉนั ​ถงึ ​บา้ น​ไป​ทำ​สงั ฆทาน​ดว้ ย​กนั   พอ​ใกล้​ถงึ ​วดั ​ไม่​ร​ทู้ ำไม​ฉนั ​ถงึ ​ถาม​ เขา​ออก​ไป​วา่ ​แต่งงาน​หรือ​ยงั   เขา​ตอบ​วา่ ​แต่ง​แล้ว  มี​ลกู ​หนึง่ ​คน​ยงั ​เล็ก​อยู​เ่ ลย  ฉัน​แทบ​ จะ​ลม​ใส่แ​ ละ​อยาก​กลับบ​ ้าน​เดี๋ยว​นั้น  แต่ก​ ฝ็​ ืนใ​จ​สจู้​ นกระทั่งเ​สร็จธ​ ุระ​กลับบ​ ้าน  หัวใจ​ ของ​ฉัน​แตก​สลาย  เสียใจ​ผิดหวัง  คิด​ว่า​ได้​พบ​คน​ที่​ใช่​แสน​ใช่  คิด​ว่า​ได้​พบ​คน​ที่​รอ​มา​ นาน​แล้ว  โลก​สี​ชมพู​ของ​ฉันพ​ ัง​ทลาย​ลง​อย่าง​ไม่​มี​ชิ้น​ดี กลับ​ถงึ ​บา้ น​เขา​สง่ ​อ​เี มลมาหา  บอก​ฉนั ​มากมาย​เกีย่ ว​กบั ​ชวี ติ ​ครอบครัว​อนั ​ไม่​สม​หวัง​ ของ​เขา  ที่​ตอ้ ง​แต่งงาน​กบั ​คน​ท​ค่ี บ​กนั ​มา​นาน​เพราะ​ผใู้ หญ่​เฝ้า​ถาม​วา่ ​เมือ่ ​ไห​รจ่ ะลงเอย​ กัน​เสียที  ทั้งๆ​ที่​ตอน​นั้นเ​ขา​ไม่​ได้​รัก​ผู้หญิงค​ น​นั้นแ​ ล้ว  แต่เ​ขา​เอง​ก็​ไม่​มี​ใคร​จึง​แต่งงาน​ เสีย​ให้​จบ​เรื่อง  เขา​หวัง​เพียง​จะ​เป็น​เพื่อน​กับ​ฉัน  แต่​ถ้า​ฉัน​ไม่​ต้องการ​เขา​ก็​จะ​ทำใจ​ ยอม​รับ ด้วย​ความ​ท​ฉ่ี นั ​ยงั ​ตดั ใจ​จาก​เขา​ไม่​ได้  ฉัน​จงึ ​ไป​พบ​เขา​อกี   เขา​เอง​ก​เ็ ฝ้า​เพียร​พยายาม​ ชวน​ฉัน​ออก​ไป​ทาน​ข้าว​ด้วย​กัน  จนกระทั่ง​ความ​สัมพันธ์​ของ​เรา​บาน​ปลาย​ออก​ไป​ โดยที่​ครอบครัว​ของ​เขา​ไม่​รู้​เลย  ฉัน​เคย​เกลียด​ชัง​และ​ดูถูก​คน​ที่​แย่งแฟน  แย่ง​สามี​ ชาว​บ้าน  แต่​ตอน​นี้​ฉัน​กลับ​รู้สึก​เข้า​อก​เข้าใจ  เห็นใจ​คน​เหล่า​นั้น​เสีย​เหลือเกิน  และ​

ธรรมะใกล้ตัว 35


คิด​ว่า​ภรรยา​หลวง​ต่างหาก​ที่​เป็น​ฝ่าย​ผิด  ไม่​รู้​ว่า​ทำไม​ฉัน​ถึง​ได้​เห็น​ผิด​เป็น​ชอบ​ถึง​ เพียงนั้น  นี่เอง​ทพี่​ ระ​ท่าน​ว่าไ​ว้ว​ ่า​ไม่มี​ก​ ิเลส​ใด​ทนี่​ ่าก​ ลัวย​ ิ่งก​ ว่า  “​โมหะ​”  ความ​หลง​ อีก​แล้ว  เมื่อ​หลง​ผิด​เพียง​อย่าง​เดียว  กิเลส​ตัว​อื่นๆ​จะ​กำเริบ​หมด นับ​วนั ​ฉนั ​ก​เ็ รียก​รอ้ ง​จาก​เขา​มาก​ขน้ึ   ยิง่ ​เห็น​เขา​กลับ​บา้ น​ตรง​เวลา  ยิง่ ​เห็น​เขา​หา้ ม​ ไม่​ให้​ฉัน​โทร​หา​ใน​วัน​หยุด  ยิ่ง​เขา​พูด​ถึง​ลูก​สาว​สุด​ที่รัก​ของ​เขา​มาก​เท่า​ไหร่  ฉัน​ก็​ยิ่ง​ อิจฉา​รษิ ยา​มาก​ขน้ึ ​เท่านัน้   ฉัน​อยาก​ให้​เขา​เป็น​ของ​ฉนั ​คน​เดียว  ได้​แต่​เฝ้า​รอ​วา่ ​เมือ่ ไหร่​ เขา​จะ​เลิก​กบั ​ผหู้ ญิง​คน​นน้ั ​และ​ขอ​แต่งงาน​กบั ​ฉนั ​คน​ท​เ่ี ขา​บอก​วา่ ​รกั ​เสียที  ฉัน​เกลียด​ลกู ​ ของ​เขา​ที่​เขา​ให้​ความ​สำคัญ​ยิ่งก​ ว่า​สิ่ง​ใด  ลูก​ที่​เกิด​จาก​ผู้หญิง​คน​ที่​ไม่​ใช่ฉ​ ัน​.​..​ เมื่อ​ฉัน​ทำตัว​เป็น​ผู้หญิง​ที่​เรียก​ร้อง  และ​ไม่​สามารถ​ให้​ความ​รัก​เขา​โดย​ไม่​หวัง​สิ่ง​ ตอบแทน​ใดๆ​อย่าง​ท​เ่ี ขา​หวัง​ได้  เขา​ก​ย็ ง่ิ ​กลัว​วา่ ​สกั ​วนั ​ฉนั ​จะ​เปิดเผย​เรือ่ ง​น​ก้ี บั ​ครอบครัว​ ของ​เขา  เขา​พยายาม​ให้​เหตุผล​มากมาย​ว่า​ถ้า​ผู้ใหญ่​ที่​เลี้ยง​เขา​มา​จน​โต​รู้​เรื่อง​เข้า​พวก​ ท่าน​จะ​เสียใจ​เพียง​ใด  เขา​ที่​เป็น​เสา​หลัก​เพียง​คน​เดียว​ใน​บรรดา​พี่น้อง​ทั้งหมด  และ​ เป็น​ที่​คาด​หวัง​ของ​ทุก​คน  จึง​ไม่​อาจ​ทำให้​พวก​ท่าน​ผิดหวัง​ได้  เขา​ยิ่ง​ทำตัว​เหินห่าง​ และ​ขี้​โมโห​กับ​ฉัน​บ่อย​มาก  ถ้อยคำ​หวาน​และ​อ่อนโยน​กลาย​เป็น​คำ​ก่น​ด่า  ความ​ห่วง​ หา​อาทร​กลาย​เป็นความ​เย็น​ชา  วัน​สดุ ท้าย​ท​เ่ี ขา​เรียก​นดั ​ฉนั ​ไป​หา​นน่ั ​ก​เ็ พือ่ ​เรือ่ ง​อย่าง​วา่ ​ เพียง​อย่าง​เดียว  และ​เขา​ก​ไ็ ม่​ยอม​โทร​หา​ฉนั ​อกี   ฉัน​โทร​ตาม​แต่​เขา​ไม่​รบั ​สาย  ฉัน​จงึ ​โทร​ ซ้ำ​แล้ว​ซำ้ ​เล่า  กระทัง่ ​เขา​โทร​กลับ​มา​ดา่ ​ฉนั ​วา่ ​เขา​ทำ​งาน​อยู ่ เลิก​ทำตัว​แบบ​น​เ้ี สียที  ฉัน​ ร้องไห้​เสียใจ​มากมาย  และ​หลังจาก​นน้ั ​เขา​ก​ไ็ ม่​โทร​มา​หา​อกี ​เกือบ​สอง​เดือน  ฉัน​เอง​ก​ค็ ดิ ​ ว่า​ไม่​อยาก​ยุ่ง​กับ​คน​ที่​ไม่ร​ ัก​ฉัน​อีก​แล้ว  และ​แล้ว​ใน​วัน​เกิด​ฉัน​เขา​กส็​ ่ง​ข้อความ​หวานๆ​ มา​ให้​ราวกับ​วา่ ​เรา​ยงั ​ด​ตี อ่ ​กนั ​อยู ่ แต่​พอ​ฉนั ​สง่ ​ขอ้ ความ​กลับ​ไป​และ​เรียก​รอ้ ง​ให้​เขา​กลับ​ มา  เขา​กลับ​บอก​ฉัน​ให้​เลิก​ยุ่ง​กับ​เขา​เสียที  เขา​รัก​ลูก​เขามาก​กว่า​ใคร​และ​จะ​ไม่​ยอม​ ทำให้​ลูก​เขา​ต้อง​เสียใจ​เป็นอันขาด เมือ่ ​เขา​ยำ้ ​เน้น​ถงึ ​ความ​สำคัญ  ของ​คแู่ ข่ง​ตวั ​ฉกาจ​ท​ฉ่ี นั ​เกลียด​นกั หนา  และ​ไม่​สนใจ​ ใย​ดีฉันอ​ ีกต​ ่อไ​ป  หัวใจ​ของ​ฉันจ​ ึงแ​ ตก​สลาย​อย่าง​ไม่ม​ ี​ชิ้นด​ ี  แม้ว​ ่าฉ​ ันจ​ ะ​เคย​เลิกก​ ับเ​ขา​ หลาย​ครั้ง  แต่​สุดท้าย​ก็​เป็น​ฉัน​เอง​ที่​กลับ​ไป​หา​เขา  แม้​จะ​บอก​ตัว​เอง​ว่า​ฉัน​จะ​ไม่​ยอม​ อยู่​ใน​สภาพ​กินน้ำ​ใต้​ศอก​อัน​แสน​ทรมาน​แบบ​นี้​ตลอด​ไป  เมื่อ​ถึง​เวลา​เลิก​กันจ​ ริงๆ​ฉัน​ ก็​อด​เสียใจ​ไม่​ได้  นั่น​เป็นความ​ทุกข์​ที่​แสน​สาหัส​เหลือเกิน​สำหรับ​ฉัน  ผู้ชาย​คน​ที่​ฉัน​

36 ธรรมะใกล้ตัว


ยอม​ทำ​ทุก​อย่าง​ให้​ได้​กลับ​ไม่​เคย​ทำ​อะไร​เพื่อ​ฉัน​ได้​จริง​แม้​สัก​อย่าง​เดียว  นี่​อย่างไร​ ผล​ของ​การ​ไม่​รักษา​ศีล​ให้​มั่นคง  ทั้งๆ​ที่​ก่อน​หน้า​นั้น​ฉัน​ก็​รักษา​ศีล​มา​ตลอด  เคย​ เจริญ​วิปัสสนา​เสีย​เปล่า  สุดท้าย​ฉัน​ก็​พ่าย​แพ้​ต่อ​กิเลส​ตัณหา​ของ​ตัว​เอง​ถึงขนาด​เห็น​ กงจักร​เป็นด​ อกบัว  ใช่ว​ ่าต​ ลอด​เวลา​ที่​คบ​กับ​เขา​ฉันจ​ ะ​มีค​วาม​สุข  ช่วง​เวลา​ที่​ได้​อยูก่​ ับ​ เขา​สั้นๆ​นั่นอ​ าจ​เป็นความ​สุข  แต่ก​ แ็​ ลก​ด้วย​ความ​กังวล  และ​ความ​รู้สึกไ​ม่ม​ ั่นคง  และ​ ความ​ทุกข์​ใจ​อย่าง​มหาศาล  เมื่อ​ผิด​ศีล​ข้อ​สาม​เพียง​ข้อ​เดียว  ข้อ​อื่นๆ​ก็ตาม​มา  แม้​ จะ​ไม่​ได้​ผิด​ศีล​ข้อ​ที่​หนึ่ง​โดย​ตรง  แต่​หาก​ภรรยา​เขา​รู้​เข้า  ก็​เท่ากับ​ว่า​ฉัน​เป็น​คน​ทำให้​ ภรรยา​เขา​ปวดร้าว​ใจ  ศีล​ข้อ​สอง  ฉัน​เอา​ของ​ผู้​อื่น​มา​เป็น​ของ​ตน​โดย​มิได้​รับ​อนุญาต​ จาก​เจ้าของ  ศีลข​ ้อ​สี่​ฉัน​ต้อง​โกหก​ปิดบังค​ น​อื่น​เพื่อให้ไ​ด้​ออก​ไป​เจอ​เขา  นอกจาก​การ​ ผิด​ศีล​แล้ว  หัวใจ​ที่​เคย​อ่อนโยน​ของ​ฉัน​ก็​เต็ม​ไป​ด้วย​ความ​เกลียด​ชัง​ต่อ​ครอบครัว​ของ​ เขา  เต็ม​ไป​ดว้ ย​ความ​เห็นแก่​ตวั อย่าง​รา้ ยกาจ  แต่​ใน​ตอน​นน้ั ​ฉนั ​ไม่​รสู้ กึ ​เดือดร้อน​อะไร​ เท่า​ไหร่  การ​ทำบาป​นั้น​ช่าง​ง่ายดาย​กว่า​การ​ทำความ​ดี​ยิ่ง​นัก  ยิ่ง​ใจ​ชุ่ม​ด้วย​บาป​ เท่าไร  ก็​ยิ่ง​ยาก​ที่​จะ​ยินดี​ใน​การ​ทำความ​ดี​เป็นเ​งา​ตาม​ตัว ฉัน​สารภาพ​เรื่องราว​ทั้งหมด​ให้​พ่อ​กับ​แม่​ฟัง  พ่อ​กับ​แม่​กอด​ฉัน​ไว้  รับ​ฟัง  และ​ สั่งสอน​ด้วย​ความ​เมตตา  ท่าน​ไม่​ได้​ด่า​ว่า​ซ้ำเติม​ใน​พฤติกรรม​อัน​ไม่​สมควร​ของ​ ฉัน​เลย  ซึ่ง​ทำให้​ฉัน​รู้สึก​ขอบพระคุณ​ท่าน​ทั้ง​สอง​เป็น​อย่าง​ยิ่ง  ตั้งแต่​วัน​นั้น​มา​ฉัน​ ปฏิญาณ​กับ​ตัว​เอง​แล้ว​ว่า​จะ​รักษา​ศีล​ให้​มั่นคง​ตลอด​ชีวิต  ฉัน​งัด​เอา​วิทยา​ยุ​ท​ธ​ที่​ คุณ​แม่​สิริ  ท่าน​อาจารย์​มากมาย​เคย​สั่งสอน​มา​ใช้  พยายาม​เจริญ​สติ  เดิน​จงกรม  นั่ง​ สมาธิ  และ​น้อมนำ​เอา​คำ​สอน​ของ​พระพุทธเจ้า​มา​พิจารณา  รวม​ทั้ง​ไป​เข้า​รับ​การ​ อบรม​หลักสูตร​ของ​คุณ​แม่​สิริ  และ​หลักสูตร​เข้มข้น​เมื่อ​มี​โอกาส​ด้วย​  สุขภาพ​จิต​ที่​ เคย​เสื่อมโทรม​อย่าง​มาก​จึง​กลับคืน​มา​เป็น​ปกติ  รวม​ทั้ง​ความ​เห็น​ที่​เคย​ผิด​ก็​กลับ​มา​ เป็น​ถูก  ฉัน​มอง​เห็น​คุณ​ค่า​อย่าง​เหลือเกิน​ใน​คำ​สอน​ของ​พระพุทธองค์  เห็น​ความ​ สำคัญ​ของ​การ​ปล่อย​วาง​ความ​ยึด​มั่น​ถือ​มั่น  และ​การ​มอง​สิ่ง​ต่าง ๆ  ตาม​ความ​ เป็น​จริง  เมื่อใ​จ​ของ​ฉัน​ไม่​อาจ​ถูก​ลาก​ไป​ด้วย​อำนาจ​ของ​กิเลส​ตัณหา​อีก​ต่อ​ไป  ฉัน​ จึง​ไม่​เป็น​ทุกข์​ ความ​ทุกข์​ทั้งมวล​ใน​โลก​นี้​เกิด​ขึ้น​เพราะ​เรา​ต้องการ​ใน​สิ่ง​ที่​ผิด​ ธรรมชาติ  ธรรมชาติ​คือ​ความ​เกิด​ขึ้น​ตั้ง​อยู่​แล้ว​ดับ​ไป  แต่​เรา​ไม่​อยาก​ให้​มัน​เป็น​ อย่าง​นี้  อยาก​ให้​มัน​เป็น​อย่าง​นั้น  เมื่อ​มัน​ไม่​เป็น​ดัง​ใจ​เพราะ​มัน​ไม่​ใช่​ของ​เรา​และ​ ไม่​อาจ​อยู​ใ่ น​บงั คับ​ของ​ใคร  เรา​ก​เ็ ป็น​ทกุ ข์  ทัง้ ๆ​ท​ถ่ี า้ ​หาก​เรา​เพียง​ยอม​รบั ​วา่ ​มนั ​เป็น​

ธรรมะใกล้ตัว 37


ธรรมดา​ของ​มนั ​อย่าง​นน้ั   และ​ไม่​คาด​หวัง​ให้​เป็น​อย่าง​ใจ​อยาก  เรา​ก​จ็ ะ​ไม่​ทกุ ข์  หาก​ ตอน​นั้น​ฉัน​ยอม​รับ​เสีย​แต่​แรก​ว่า​เรื่อง​ของ​ฉัน​กับ​เขา​เป็น​เรื่อง​ที่​เป็น​ไป​ไม่​ได้  หาก​ยอม​ รับ​ความ​ผิดหวัง​เสีย​แต่​ตอน​นั้น​ได้  และ​มั่นคง​ต่อ​การ​รักษา​ศีล​แล้ว​ล่ะ​ก็  เรื่อง​ทั้งหมด​ คง​ไม่​เกิด​ขึ้น แม้​จะ​เลิก​กบั ​เขา​แล้ว  แต่​ฉนั ​ก​ย็ งั ​รกั   ยัง​คดิ ถึง​เขา​อยู​เ่ สมอ  ไม่​ม​ใี คร​เข้า​มา​แทน​ท​เ่ี ขา​ ใน​ใจ​ฉัน​ได้​เลย  ฉัน​เคย​คิด​อยาก​จะ​โทร​ไป​หา​เขา​สัก​ครั้ง  อยาก​คุย​ด้วย  แต่​ก็​พยายาม​ หักห้าม​ใจ  เพราะ​รู้​ดี​ว่า​ถ้า​เริ่ม​แม้​เพียง​ครั้ง​เดียว  มัน​จะ​มีค​รั้ง​อื่นๆ​ตาม​มา  และ​เรื่อง​ จะ​ซ้ำ​รอย​เดิม​อีก ผ่าน​ไป​ได้​ราว​หนึง่ ​ป ี ฉัน​กไ็ ด้​รบั ​อี​เมล์  จาก​เขา  เขา​บอก​วา่ ​ตลอด​เวลา​เขา​คดิ ถึง​ฉนั ​ มากมาย  เคย​คิดจ​ ะ​แอบ​ไป​ดทู​ บี่​ ้าน​เพราะ​เป็นห​ ่วง​เหลือเกิน  เขา​ยังค​ ง​คิดถึง​วันเ​วลา​ที่​ เรา​ได้​อยู่​ดว้ ย​กนั   อยาก​มคี ​วาม​สมั พันธ์​กบั ​ฉนั   แม้​คน​สว่ น​ใหญ่​จะ​เห็น​วา่ ​ฉนั ​เป็น​ผหู้ ญิง​ ไม่​ดี  แต่​เขา​ก็​ไม่​แคร์ตราบ​ใด​ที่​มัน​ไม่​ได้​ทำให้​ใคร​เดือดร้อน  ฉัน​ตอบ​ไป​ว่า​ฉัน​สบาย​ ดี  และ​ดใี จ​ท​ห่ี ลุด​จาก​วงจร​ของ​บาป​น​เ้ี สีย​ได้  ฉัน​เสียใจ​กบั ​การก​ระ​ทำ​ของ​ตวั ​เอง​ท​ผ่ี า่ น​ มา  และ​รู้สึก​ผิด​ต่อ​ภรรยา​เขา​เหลือเกิน  ฉัน​บอก​เขา​ว่า​ฉัน​ขอ​ตัดขาด​จาก​เขา​และ​จะ​ ไม่​ยอม​ทำ​ผิด​อีก​แล้ว  แล้ว​ก็​บอก​เขา​ไป​ว่า  สิ่ง​ที่​เขา​คิด​ว่าไม่ได้​ทำให้​ใคร​เดือดร้อน​นั้น​ ผิดนัก  และ​อยาก​ให้​เขา​เลิก​หาเรื่อง​ใส่​ตัวเ​ป็น​รอบ​ที่​สอง​เสียที ความ​รู้สึก​ใน​ตอน​ทฉี่​ ัน​อ่าน​อี​เมล์​เขา​และ​ตอบ​เขา​ไป​นั้นช​ ่าง​แปลก​ประหลาด  ทั้งๆ​ ที่​ก่อน​นี้​ฉัน​เคย​คิดถึง​เขา​มากมาย  แต่​พอ​เมื่อ​ได้​รับ​การ​ติดต่อ​จาก​เขา​แล้ว  ฉัน​กลับ​ รู้สึก​รังเกียจ​บาง​สิ่ง​บาง​อย่าง​ที่​บอก​ไม่​ถูก​อย่าง​รุนแรง  จน​รู้สึก​อยาก​สะบัด​ให้​ตัว​เอง​ หลุดพ้นจ​ าก​สิ่ง​นั้น​โดย​พลัน  แล้วว​ ิ่งห​ นี​ไป​ให้​ไกล​ที่สุด​เท่า​ที่​จะ​ทำได้  ฉันร​ ู้สึกว​ ่า​ตัว​เขา​ คือส​ ิ่งท​ นี่​ ่าร​ ังเกียจ​ที่สุดเ​ท่าท​ เี่​คย​เห็นม​ า​ใน​ชีวิต  เขา​ทยี่​ ังม​ จี​ ิตใจ​ชุ่มอ​ ยูด่​ ้วย​บาป  ชุ่มอ​ ยู่​ ด้วย​กาม​ราคะ  โดย​ไม่​สนใจ​ว่า​จะ​ผิด​ลูก​ผิดเมีย​ใคร​อย่างไร​นั้น  ช่าง​น่า​รังเกียจ​อย่าง​ เหลือเกิน  ความ​รู้สึกร​ ัก​ใคร่แ​ ละ​ปรารถนา​ใน​ตัว​เขา​เหือดหาย​ไป​หมด​สิ้นไ​ม่​เหลืออ​ ะไร​ อีก​แล้ว  ฉัน​คิด​ว่า​นั่น​อาจ​เป็น​สิ่ง​ที่​คุณ​ดัง​ตฤณ​และ​ท่าน​อาจารย์​บาง​ท่าน​เคย​กล่าว​ไว้​ ว่า  เมื่อ​เรา​ตั้งใจ​รักษา​ศีล​อย่าง​มั่นคง​แล้ว  ศีล​จะ​เป็น​สิ่ง​ที่​ปกป้อง​คุ้มครอง​เรา​ เอง  เรา​จะ​รังเกียจ​การ​ทำ​ผิด​ศีล​นั้น​ไป​เองโดย​ปริยาย  ณ  วัน​นี้​ฉัน​ถึง​ได้​เริ่ม​เข้าใจ​คำ​ พูด​น้นั ​อย่าง​แท้จริง  พระ​พทุ ธ​ศาสนา​ได้​ชว่ ย​ชวี ติ ​ฉนั ​ไว้​หลาย​ครัง้ ​หลาย​หน​ใน​เวลา​ท่​ฉี นั ​

38 ธรรมะใกล้ตัว


อับจน​หนทาง​อย่าง​ทส่ี ดุ   ฉัน​รสู้ กึ ​เป็น​หนี​บ้ ญ ุ ​คณ ุ ​ตอ่ ​พระ​พทุ ธ​ศาสนา​อย่าง​เหลือเกิน  สิง่ ​ ที่​พระพุทธเจ้า​ตรัสรู้​และ​นำ​มา​เทศน์​โปรด​นั้น​ช่าง​งดงาม​ผุดผ่อง  และ​เป็น​จริง​อย่าง​ ที่สุด  เดี๋ยวนี้​ฉัน​ปล่อย​วาง​สิ่ง​ต่าง ๆ  ได้​มากมาย  และ​เป็น​คน​ดี​ได้​ยิ่ง​กว่า​ก่อน​ที่​จะ​คบ​ กับ​เขา​เสีย​ด้วย​ซ้ำ  ฉัน​จะ​ไม่​ปล่อย​ให้​ตัวเ​อง​หลง​ทาง​อีก​แล้ว​.​.​. สารบัญ  

ธรรมะใกล้ตัว 39


ของฝากจากหมอ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

จ๊ะเอ๋​.​. ตัวย​ ุ่ง โดย หมอพิม

กว่า​จะ​จบ​เป็น​หมอ​เด็ก  ต้อง​สอบ​แล้วส​ อบ​เล่า​จน​แทบ​ถอด​ใจ  ข้อสอบ​ครั้ง​หนึ่ง​เป็น​ภาพยนตร์​สั้น​ราว 1 นาที  เด็กชาย​แก้ม​ยุ้ย​กำลัง​นั่งเล่น​บน​ พืน้   เจ้า​หนู​หวั เราะ​รว่ น​คว้า​ของเล่น  สัก​พกั ​ของ​ตก​ก​ร็ อ้ งไห้​จา้ ​นำ้ ตา​หยด​เผาะ  คำ​ถาม​ คือ  น้อง​หนู​อายุเ​ท่าไร คำ​เฉลย​คือ 9 เดือน จะ​ตอบ​ข้อ​นี้​ได้​ต้อง​ท่องจำ​ตาราง​พัฒนาการ​กล้าม​เนื้อ​มัด​ใหญ่  กล้าม​เนื้อ​ มัด​เล็ก  พัฒนาการ​ทาง​สังคม  และ​การ​สื่อ​ภาษา  ดู​จาก​ท่า​นั่ง  ท่า​ลุก​และ​วิธี​จับ​ ของ  อาการ​มอง​ตาม​หา​ช่วง​ของเล่น​ตก  หาไม่​เห็น​กเ็​สีย​อก​เสียใจ​ยกใหญ่

40 ธรรมะใกล้ตัว


น้อง​ที่​เล็ก​กว่า​นี้​จะ​ยัง​ไม่​มี​อาการ​ยึด  ของเล่น​หล่น​หาย​จาก​สายตา​ก็​คว้า​ของ​ชิ้น​ ใหม่  อาการ​หวง​ยึด​เป็น​ลักษณะ​ที่​พบ​ตั้งแต่​ช่วง​พัฒนาการ​โดย​เฉลี่ย  8 - 9  เดือน​ ค่ะ  มีชื่อ​เรียก​เพราะ​ๆ  จาก​ปรมาจารย์  Jean Piaget  ว่า  Object permanence  Object permanence  คือ  พัฒนาการ​ทาง​ความ​คิด​และ​ความ​จำ  น้อง​จำ​ได้​วา่ ​ของ​นน้ั ​เคย​อยู่​ตรง​น ้ี แม้​ตอน​น้​ขี อง​นน้ั ​ไม่​อยู ่ มอง​หา​ดู​ไม่​เห็น​แต่​ก็​เชือ่ ​ ว่า​มี การ​จดจำ​ว่า​นี่​คือ​ของ​ของ​เขา  แถม​ของ​ของ​เขา​หาย​ไป​นั่นเอง​ที่​ทำให้​เขา​เสียใจ​ ร้องไห้​จ้า กุมาร​แพทย์​ผู้​ดูแล​มีหน้า​ที่​ส่งเสริม  สนับสนุน  และ​ป้องกัน​เจ้าตัว​เล็ก​ให้​โต​ขึ้น​ สมบูรณ์​ที่สุด​ตาม​ศักยภาพ​ของ​เขา  หลังจาก​มี  Object permanence  แล้ว  เรา​ จะ​แนะนำ​ให้​คุณ​แม่​เล่น​จ๊ะเอ๋​กับ​น้อง​บ่อยๆ  ค่ะ  เขา​จะ​ชอบ​มาก  หัวเราะ​สนุก​เชียว​ ค่ะ  วิธี​เล่น​ก็​แค่​คุณ​แม่​เอา​ผ้า​ห่ม​หรือ​มือ​ปิด​หน้า  ตอน​นั้น​หน้า​คุณ​แม่​จะ​หาย​ไป​จาก​ สายตา  แต่​เขา​จำ​ได้​ว่า​มี​คุณ​แม่​อยู่  พอ​แป๊บ​นึงเรา​เปิด​ผ้า​ออก​ร้อง​จ๊ะเอ๋  เขา​ก็​จะ​ดีใจ​ ว่า​คุณ​แม่​ของ​เขา​กลับ​มา​แล้ว  จะ​ใช้​ของเล่น​สลับบ​ ้าง​ก็ได้​นะ​คะ เอา​ของเล่น​ไป​ซ่อน​ก็​เรียก​ว่า​เล่นซ​ ่อนหา เหมือน​เอาหน้า​คุณ​แม่ไ​ป​ซ่อน​กเ็​รียก​ว่าเ​ล่น​จ๊ะเอ๋  ยังไ​งละคะ หมอ​เด็ก​มีหน้า​ที่​แนะนำ​ล่วงหน้าด​ ้วย ต้อง​บอก​เขา​วา่   อีก​ไม่​นาน​หลัง​เขา​ม​พี ฒ ั นาการ​ดา้ น​ความ​จำ​แล้ว  ต่อ​ไป​เขา​จะ​เริม่ ​มี​ อาการ​หวง​ของ  เพราะ​จำ​ได้​แล้ว​วา่ ​น​ค่ี อื ​ของ​ของ​เขา  หวง​คณ ุ ​แม่  ยึด​คณ ุ ​แม่​มาก​ๆ  คุณ​ แม่​บาง​คน​ลกุ ​ไป​เข้า​หอ้ งน้ำ​ก​ไ็ ม่​ได้  เริม่ ​จดั ​อนั ดับ​คน​รกั ​มาก  คน​รกั ​นอ้ ย  คน​ไม่​รจู้ กั ​ก​ไ็ ม่​ รัก  กลาย​เป็น​อาการ​กลัว​คน​แปลก​หน้า  โรง​พยาบาล​ท่​หี นู​มา​ตง้ั แต่​ยงั ​ไม่​เกิด  ก็​เกิด​จะ​ จำ​ได้​วา่ ที่​นเ่ี อง​ชอบ​ฉดี ยา​เจ็บ​ๆ  น้อง​บาง​คน​รอ้ ง​ตะเบ็ง​ดน้ิ รน​ตง้ั แต่​โถง​ชง่ั ​นำ้ หนัก  คุณ​ แม่​กึ่ง​ลาก​กึ่ง​อุ้ม​จน​ฉีดยา​เสร็จ  ก็​ยัง​หลับตา​ปี๋​ร้องไห้​แทบ​ขาดใจ​อยู่  ทั้งๆ  ที่​ฉีด​เสร็จ​

ธรรมะใกล้ตัว 41


ไป​แล้ว  ตาม​มา​ติดๆ  ด้วย​การ​กลัวส​ ิ่ง​ทเี่​ขา​ไม่ร​ ู้จัก ความ​มืด ผ้า​ม่าน​ไหว พี่​หมา​ตัว​โต เสียง​ฟ้าร้อง​ครืน น้อง​เล็ก​ๆ  ชนิด​รบั ​ดแู ล​ตง้ั แต่​วนั ​แรก​พบ​ท​ค่ี ณ ุ ​หมอ​ส​ตู ​หิ นีบ​สาย​รก​หอ้ ย​ตอ่ งแต่ง  อุม้ ​ จาก​พุง​คุณ​แม่​มา​ส่ง​ให้  ตาม​ด้วย​นัด​ตรวจ​สุขภาพ​รับ​วัคซีน​เป็น​ระยะ  ได้​เจอ​กัน​อย่าง​ น้อย 6 ครั้ง​ก่อน​เขา​อายุ 9 เดือน  อดใจ​หาย​หน่อย​ๆ  ไม่​ได้​ว่า​นัด​หน้า​ตอน​น้อง​ครบ​ ขวบ  เขา​จะ​เริ่ม​ร้องไห้​กลัว​ป้าห​ มอ  ทีเ่​คย​ขอ​อุ้ม​ขอ​หอม​กันง​ ่ายๆ  อย่าไ​ด้​หวัง​เชียว เจ้า​ความ​จำ  กลาย​เป็น​ตัว​เริ่มต​ ้น เริ่ม​ต้น​ความ​ปรุง  ความ​ยึด  ความ​หวง  ตาม​ด้วย​ความ​ทุกข์  กระทั่งใ​น​ทารก​น้อย ใคร​เคย​เลี้ยง​น้อง​เล็ก​ๆ  เห็นว​ ัน​ที่​เขา​ค่อยๆ  เติบโต​ที​ละ​นิดบ​ ้าง​เอ่ย  หลาย​คน​ออกปาก​ตรงกันว​ ่า  น้อง​อายุ​ราว 4 เดือน​น่า​รัก​ที่สุด​ใน​โลก ไม่​ได้​เอาแต่​หลับ​อุตุ​ทำ​คอพับ​ไป​มา  แต่​น้อง​จะ​ตื่น​ยาว​ลืมตา​โต  เห็น​ใคร​ก็​ยิ้ม​ กว้าง  โชว์​เหงือก​แดง​ๆ  เล่น​ด้วย​เข้า​หน่อย​ก็​หัวเราะ​ดัง​ที่​เรียก​ว่า  Social smile  ยิ้ม​ หวาน​จับใจ  อุ้มม​ า​ฉีดยา​ก็​ไม่​งอแง  ร้อง​เบะ​ปาก​นิดต​ อน​ปักเ​ข็ม  เผลอ​เดี๋ยวเดียว​ก็​ยิ้ม​ แก้ม​บุ๋มก​ ลาง​วง​พี่​ๆ  พยาบาล​แล้ว  ดูแ​ ล้วช​ ่าง​เป็น​ชีวิต​ที่​มีค​วาม​สุข​ที่สุด​จริงๆ  แค่​เป็น​ชีวิต​ที่​ไม่​ต้อง​ติด​ใน​ห้วง​ความ​จำ  ความ​ยึด  ความ​ปรุง  ไม่​ต้อง​กังวล​ไป​ ล่วงหน้า  ไม่​คาด​การณ์​ให้​วุ่นวาย  อยู​เ่ ฉพาะ​กับ​ของ​ที​อ่ ยู่​ตรง​หน้า  มี​นม​ก็​ดูด  มี​แม่​ก็​ กอด  มีค​น​จี๋​เอว​ก็​หัวเราะ​จน​ตา​ยิบ​หยี  ถูก​ฉีดยา​ก็​ร้องไห้​แค่​ตอน​ปัก​เข็ม  หนึ่ง​อึดใจ​ก็​ หาย​หัน​ไป​ยิ้ม​รับ​เสียง​ปรบ​มือ​ชม​ว่าห​ นู​เก๊​ง  เก่ง  ได้​แล้ว อย่า​โทษ​ความ​จำ​นัก​เลย หลาย​ท่าน​เชื่อ​ว่า​ธรรมชาติ​สร้าง​ขั้น​ตอน​การ​กลัว  เพื่อ​ปกป้อง​ภัย​น้อง​เล็ก​ที่​ยัง​ ไม่​รู้ความ  น้อง​จะ​ได้​ไม่​เอา​มือ​ไป​จับ​ของ​ที่​ไม่​รู้จัก  ไม่​ไป​กับ​คน​แปลก​หน้า  ไม่​ทาน​ อาหาร​แปลก​ๆ  ทุก​อย่าง​จะ​ได้​รับ​การ​คัด​กรอง​จาก​คุณ​แม่​แล้ว  เรียก​ว่า​กลัว​ไว้​ก่อน​ เป็น​ปลอดภัย

42 ธรรมะใกล้ตัว


จนถึง​วันท​ ี่​เขา​สามารถ​จำ  คิด  เรียน​รอู้​ ย่าง​เป็น​ระบบ  วัน​ที่​เขา​พึ่ง​ตัว​เอง​ได้ไ​ม่​ต้อง​อยู่​ใต้​ร่มเ​งา​ใคร​อีก จน​แยกแยะ​สง่ิ ​ใด​เป็น​ของ​แท้  สิง่ ​ใด​เป็น​ของ​แปลกปลอม​ยอ้ ม​ให้​ชวี ติ ​มวั หมอง​ตกต่ำ​ ได้​จริงๆ คือ​วัน​ที่​เขา  “​รู้ตัว​” ความ​จำ  ความ​กลัว  รวม​ทั้ง​เจ้า  Object permanence  เป็น​แค่​อาวุธช​ ่วย​ประคอง​ให้​เรา​ก้าว​ข้าม​อะไร​สัก​อย่าง  ข้าม​ฝั่ง​มา​ได้​ใช้​เขา​เสร็จ  ก็​ปล่อย​เขา​ออก​จาก​ใจ  รู้​แล้วก​ ็​ไม่​ต้อง​กลัว  ที่​กลัว​ก็​เพราะ​ยัง​ไม่​รู้ ที่​ยัง​ต้องตา​มหา​กเ็​พราะ​ยัง​ไม่เ​ห็น  ถ้า​เห็น​ความ​จริง​แล้ว​กจ็​ ะ​หยุด​มอง​หา เมื่อไ​ร​หนอ  มนุษย์​น้อย​ตัวก​ ระจ้อยร่อย​จะ “​รู้ตัว​” เสียที ค้น​ใน​ตำรา​กุมาร​เวชกรรม  ใน​คลังข​ ้อสอบ​เก่า​ๆ  ไม่เ​ห็น​เคย​มี​ใคร​เฉลย​ได้​เลย​ค่ะ ยัง​เป็น​โจทย์​ที่​สอบ​ไม่​ผ่าน  ต้องหา​คำ​ตอบ​อยู่​ต่อ​ไป​ท่ามกลาง​ชีวิต​ที่​รู้​บ้าง  ไม่​รู้​ บ้าง หวง​ยึด​ของเล่น​เก่า​ๆ  ตุ๊กตา​หมีห​ าย​กพ็​ ะวง​หา  วุ่นวาย​ร้องไห้​จ้า​เป็นช​ ั่วโมง​ๆ  กับ​ ความ​เจ็บปวด​เล็กๆ​   แค่​เสี้ยว​วินาที​ของ​ชีวิต  ทั้งหมด​เกิด​ขึ้น​หลัง​เล่น​จ๊ะเอ๋​เป็นท​ ั้งนั้น เจ้า  จ๊ะเอ๋​..​  นี่​ตัว​ยุ่ง​จริงๆ ว่า​ไหม​คะ สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 43


แง่คิดจากหนัง

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

คุย​เรื่อง “​ความ​รัก​” ใน​หนัง   ตำนาน​สมเด็จ​พระ​นเรศวร (​ภาค ๒​) โดย ชล​นิล

น้า​ตุ้ย  -  ป้า​ไป​ดู​หนังพ​ ระ​นเรศวร  ภาค  ๒  หรือย​ ัง?​ ป้า​ภารตี  -  ยัง​.​..​​คิดว​ ่า​คง​ไม่​ไป​ดู​หรอก  ขี้​เกียจ น้า​ตุ้ย  -  หนัง​ดี​นะ​ป้า​..​​.​โร​แมน​ตกิ​ ​ชะมัด​เลย ป้า​ภารตี  -  หนัง​สงคราม​นี่​นะ  “​โร​แมน​ตกิ​ ​”  น้าด​ ู​ผิด​เรื่อง​หรือ​เปล่า  น้า​ตุ้ย  -  ไม่​ผิด​หรอก​.​.​.​ถ้าจ​ ะ​ผิดก​ ็​ผิดค​ าด  คือห​ นัง​ดี​ผิด​คาดน่ะ ป้า​ภารตี  -  ไหน  เล่า​ให้​ฟัง​สิ  หนังเ​ป็น​ยังไง น้า​ตุ้ย  -  หนัง​ภาค​นี้​เริ่ม​ต้นตอ​นพ​ระ​เจ้า​บุ​เรงนอง​ตาย​… ป้า​ภารตี  -  “​สวรรคต​”  ย่ะ  หัดใ​ช้​คำ​ราชาศัพท์​ให้ถ​ ูก​หน่อย น้า​ตุ้ย  -  โธ่​.​.​.​ผม​ไม่​เคย​เป็น​ชาววัง​นะ​ป้า  คำ​ราชาศัพท์​เลย​ไม่​แข็งแรง  ขอ​พูด​แบบ​ ธรรมดา​ได้มั้ย  คง​ไม่​มี​ใคร​เขา​มา​คอย​ตาม​จับผิด​หรอก ป้า​ภารตี  -  เอ้า​.​..​ว​ ่าม​ า น้า​ตยุ้   -  หนัง​เริม่ ​จาก​เหตุการณ์​พระเจ้า​บ​เุ รงนอง​สวรรคต  พระ​นเรศวร​กบั ​เจ้า​เมืองขึน้ ​ ทัง้ หลาย  ต่าง​ไป​รว่ ม​พธิ ​ศี พ  และ​เข้า​พธิ ​ถี อื ​นำ้ ​พพิ ฒ ั น์​สตั ​ยา  มี​แต่​เจ้า​เมือง​คงั เท่า​นน้ั   ที่​ แข็งข้อ  ไม่​ยอม​ไป

44 ธรรมะใกล้ตัว


พระเจ้านันทบุเรง  กษัตริย์​หง​สา​องค์​ใหม่​เลย​สง่ั ​จดั ​ทพั   ๓  ทัพ  มี​ทพั ​หง​สา  ตอง​อ ู และ​ อ​โย​ธ​ยา​ให้​ไป​ตี​เมืองคัง  ทัพ​ไหน​ตี​ได้​จะ​มี​รางวัล​ให้  ปรากฏ​ว่า​ทัพ​อ​โย​ธ​ยา​ของ​พระ​ นเรศวร​ทำ​สำเร็จ  แต่​ก็​ยัง​ไม่​ได้​รับ​ความ​ไว้ว​ างใจ​จาก​ทาง​หง​สา​อยู่​ดี พระ​นเรศวร​โดน​ลอบ​ปลง​พระ​ชนม์  แถม​เกือบ​หลงกล​อุบาย​ของ​หง​สา  ยัง​ดี​ที่​ได้​ รู้ความ​จริง​ก่อน  จึง​ชิง​ตัดหน้า  ประกาศ​อิสรภาพ  ไม่ย​ อม​เป็นเ​มืองขึ้น​หง​สา  แล้วน​ ำ​ กองทัพ  พา​เชลย​อ​โย​ธ​ยา  กับ​ชาว​มอญ​ข้าม​แม่น้ำส​ ​โต​ง  หนี​จาก​ทหาร​หง​สา​ได้​สำเร็จ ป้า​ภารตี  -  จบ​หรือ​ยัง น้า​ตุ้ย  -  ภาค​นี้​จบ​แค่​นแี้​ หละ

ป้า​ภารตี  -  แล้ว​หนัง​โร​แมน​ติ​ก​ตรง​ไหน​? น้า​ตยุ้   -  ถ้า​ปา้ ​ไม่​มอง​ความ​โร​แมน​ต​กิ ​เป็น​แค่​เรือ่ ง​ความ​รกั ​ของ​หนุม่ ​สาวนะ​.​.​.​เรา​จะ​เห็น​ ความ​รกั   ความ​กตัญญู​ท​พ่ี ระ​นเรศวร​ม​ตี อ่ ​พระเจ้า​บ​เุ รงนอง  มี​ตอ่ ​พระ​สพุ รรณ​กลั ยา  มี​ ต่อ​สหาย​รว่ ม​เป็น​รว่ ม​ตาย​อย่าง​ออกญา​พระราช​มนู  มี​ตอ่ ​ชาติ​บา้ นเมือง  แผ่นดิน​เกิด  มี​ ให้​กระทั่ง​ชาว​มอญ​ที่​ยอม​เสี่ยง​ร่วม​เคียงบ่าเคียงไหล่​กับ​ท่าน

ธรรมะใกล้ตัว 45


ตอน​ที่​ทหาร​เข้า​มา​รายงาน​ท่าน​ว่า​.​.​.​“เวลา​นพี้​ วก​ชาว​มอญ​ข้าม​สะพาน​หมด​แล้ว​”​… ท่าน​ยัง​ตรัส​แก้​คำ​พูด​ให้​เลย​ว่า…​ “​พวก​เรา​!​” แสดง​ให้​เห็น​วา่ ​ทา่ น​ไม่​แบ่ง​เขา​แบ่ง​เรา  ความ​ท​ท่ี า่ น​ม​นี ำ้ ใจ​กว้างขวาง​แบบ​น ้ี ทำให้​ทา่ น​ ได้  “​ใจ​”  กลับคืน​มา​เช่น​เดียวกัน ป้า​ภารตี  -  อือ​.​.​.​ก็​จริง​นะ  คน​เรา​ต่อ​ให้​เก่งกาจ  ฉลาด​หลักแหลม​แค่​ไหน  ถ้า​ไม่​ ได้  “ใจ​จริง​”  จาก​คน​รอบ​ข้าง  ก็​ไม่​มี​ทาง​ทำ​งาน​ใหญ่​ได้ส​ ำเร็จ​แน่นอน

น้า​ตยุ้   -  หนัง​เรือ่ ง​น้​ยี งั ​แสดง​ให้​เห็น​ถงึ ​นำ้ ใจ​ของ​ครู่ กั   คูม่ ติ ร  และ​ของ​ศตั รู  คู่​สงคราม​ ด้วย​นะ​ป้า​… อย่าง​ตอน​ที่​ออกญา​พระราช​มนู  กับ​เลอ​ขิ่นร่วม​รบ  ร่วม​เป็น​ร่วม​ตาย​กัน​อย่าง​กล้า​ หาญ  ไม่​ทอดทิ้ง​กัน  ดูแ​ ล้วใ​จ​ฮึกเหิม​ขึ้น​มา​เลย ตอน​ที่​พระ​นเรศวร​ยอม​หัน​ม้า​กลับ  เพื่อ​ไป​ช่วย​ออกญา​พระราช​มนู  ทั้ง ๆ  ที่​อาจ​ เป็นการ​เอาชีวิต​พระองค์​ไป​ทิ้ง  ท่าน​ก็​ยัง​ยอม​ไป  นั่น​ก็​แสดง​ให้​เห็น​ถึง​น้ำ​พระทัย​ของ​ เพื่อน​ร่วม​รบ  ร่วม​ตาย​จริง ๆ

46 ธรรมะใกล้ตัว


ที่​อึ้ง​สุด  คือ​น้ำใจ​ของ​คู่​สงคราม​.​.​.​ยิง​กัน​โครม ๆ  สู้​กัน​จน​เลือด​นอง​แผ่นดิน  แต่​ตอน​ พักร​บ  ฝ่าย​หง​สา​พา​พวก​กลับ​มา​เก็บ​ศพ​ทหาร​ตัว​เอง  ฝ่าย​อ​โย​ธ​ยา​ก็​ยัง​หยุด​มือ  ไม่​ ยิง​ปืน​ใหญ่​ซ้ำเติม​.​.​.​น้ำใจ​ต่อ​คู่​สงคราม​แบบ​นี้  เป็น​สิ่ง​น่า​ชื่นชม​จริง ๆ  ไม่​รู้​จะ​หา​ได้​ใน​ ปัจจุบันห​ รือ​เปล่า ป้าภ​ ารตี  -  ก็  “​น้ำใจ​”  นี่แหละ  เป็นส​ ิ่งห​ ล่อเลี้ยง​มนุษยชาติ  เป็นส​ ิ่งย​ ก​ระดับค​ วาม​ เป็น  “​คน​”  ถ้า​คน​เรา​ขาด​น้ำใจ​ต่อ​กันแ​ ล้ว  มัน​กไ็​ม่​ต่าง​อะไร​กับส​ ัตว์​ป่า น้าต​ ุ้ย  -  สรุปแ​ ล้วเ​ป็นห​ นังท​ มี่​ ี​อะไร​ให้ด​ มู​ าก​กว่าฉ​ าก​รบ  ฉาก​สงคราม​นะ​ป้า.​.​.​​ทที่​ ำได้​ น่า​พอใจ​เลย​คือ​เรื่อง​ของ  “​คุณธรรม​”  และ  “​ความ​รัก​” ป้า​ภารตี  -  ที่จริง​คุณธรรม​กับ​ความ​รัก  จะ​ว่าเป็น​ของ​คู่​กัน​ก็​ไม่​ผิด​.​.​.​ความ​รัก​ที่​ กว้างขวาง  ไม่​แบ่ง​เขา​แบ่ง​เรา  มี​น้ำใจ​ให้​เสมอ​ด้วย​แม่น้ำ​สาย​ใหญ่  มัน​ก็​คือ​เมตตา​ ธรรม​อย่าง​หนึ่ง เมตตา​ธรรม​เป็น​คุณธรรม​ค้ำจุน​โลก  ยัง​ให้​สรรพ​ชีวิต​อยู่​ร่วม​กัน​อย่าง​มีค​วาม​สุข  แต่​ เพราะ  “​กิเลส​”  ตัวร​ ้าย​นี่แหละ  ทีเ่​สี้ยมสอน  โกหก  หลอกลวง​ให้ค​ น​เรา​เห็นผ​ ิดเ​ป็น​ ชอบ  ก่อ​ชนวน​ให้​เกิด​สงคราม ถ้า​ไม่​อยาก​ให้​ม​สี งคราม  ต้อง​รทู้ นั   “​กเิ ลส​”  แล้ว​ชว่ ย​กนั ​เผือ่ แผ่  แบ่งปัน  ปลูก​เมตตา​ ธรรม​ขึ้น​ใน​จิตใจ​ผู้คน น้า​ตุ้ย  -  อืม​.​.​.แ​ ล้วป​ ้า​จะ​ไป​ดู​หนัง​เรื่อง​นี้มั้ย ป้า​ภารตี  -  ไม่​ล่ะ​..​​.ข​ ี้​เกียจ ​น้า​ตุ้ย  -  อ้าว​!​..​​.​ทำไม​ล่ะ ป้า​ภารตี  -  ป้า  “​ดูใจ​”  ตัวเ​อง​ดกี​ ว่า​.​.​.​สนุก​ไม่แ​ พ้​ดู​หนัง​เหมือน​กัน!​ สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 47


เรื่องสั้นอิงธรรมะ อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

สังฆทาน​ใจ (​2​) โดย จำปูน

ใน​ที่สุด​ก็ได้​ของ​ที่​จะ​นำ​ไป​ถวาย​สังฆทาน​สม​ใจ จาก​ที่​เดิน​เลือก​จน​เหงื่อ​เล็ด​เช็ด​ เสื้อก​ ัน​หนาว​กันไ​ป เดินอ​ อก​มา​ด้าน​นอก​ร้าน ท้อง​ฟ้า​วัน​นี้​ดู​โปร่งด​ ี แสง​แดด​ที่​ทอแสง​ วัน​นี้​ก็​ไม่​จัด​นัก คง​เพราะว่าม​ ี​ใย​ของ​อากาศ​หนาว​ช่วย​ปกคลุม แต่​ฉัน​ก็​ไม่ล​ ืม​ที่​จะ​หยิบ​ หมวกแก๊ป​ใบ​เก่า​คใู่ จ​มา​สวม​ใส่ แล้ว​เดิน​ตรง​ไป​ยงั ​จดุ ​มงุ่ หมาย​ของ​วนั ​คอื ​วดั ​พระ​สงิ ห์ ฉัน​ เลือก​ที่​จะ​เดิน​เข้า​ประตู​เล็ก​ของวัด​ที่​เปิด​ไว้ โดย​ไม่​ทราบ​เช่น​กัน​ว่า ด้าน​ไหน​คือ​ประตู​ ด้านหน้า หรือ​ด้าน​หลัง และ​ก็​อด​ไม่​ได้ที่​จะ​ชำเลือง​อ่าน​ป้าย​ที่​เขียน​ว่า​วัด​พระ​สิงห์​ใน​ ใจ เพราะ​เกรง​ว่า​เข้าไป​แล้ว​จะ​กลาย​เป็น​ที่​อื่น​เหมือน​กัน จาก​นน้ั ​ฉนั ​จงึ ​มงุ่ ​หน้า​ตรง​ไป​ยงั ​ศาลา​นอ้ ย ที​ค่ าด​วา่ ​นา่ ​จะ​เป็น​ท​ส่ี ำหรับ​นง่ั ​พกั ​สำหรับ​ ผู้คน​ทผี่​ ่าน​มา​ที่​นี่ เมื่อ​เข้า​มา​ถึง​ด้าน​ใน ฉันจ​ ึง​จัดแจง​เท​ของ​จาก​ถุง​พลาสติก​ใบ​ใส​จัดใ​ส่​ ตะกร้า​ใบ​น้อย​สี​ชมพู​เพื่อให้​สะดวก​แก่​การ​ยก​ถวาย ใจความ​สำคัญ​ใหญ่​อยาก​ให้​ของ​ ที่​จัด​ดู​ประณีต​และ​งดงาม​เท่า​ที่​คน​คน​นี้​จะ​ทำได้ จาก​นั้น ฉัน​จึง​รีบ​จัด​ของ​อย่าง​พัลวัน จับ​อัน​นี้​ใส่​ตรง​นั้น จับ​อัน​นั้น​ใส่​แทน​ที่​อัน​นี้ ดู​ไม่​เข้าที่​เสียที คล้าย​ยาม​ที่​เรา​ต่อ​จิก​ซอ​ ว์ไม่​ถูก​ตัว​ยัง​ไงยัง​งั้น จิตใจ​ที่​เมื่อ​ครูจ่​ ดจ่อ​อยูก่​ ับ​การ​จัด​เรียง​ข้าวของ สัก​พัก​มัน​ก็​เริ่ม​ไม่​ นิ่ง สายตา​ของ​ฉัน​ก็​สอดส่อง​ไป​ตาม​จุด​ต่างๆ​ของ​อาณา​บริเวณ​วัด อัน​เนื่อง​มา​จาก​ว่า ตัว​ฉัน​เอง​เป็น​หญิง​สาว​คน​เดียว​ที่​ตอน​นี้​มา​ยืน​อยู่​ใน​วัด อันเป็น​ที่​พำนัก​ของ​เหล่า​พระ​ สงฆ์​องค์​เจ้า ตา​ที่​สอดส่อง​สิ่ง​ที่​ฉัน​มอง​เห็น​คือ พระ​สงฆ์​ท่าน​กำลัง​ประกอบ​กิจ​ต่างๆ บาง​รูป​กำลัง​ยืนก​ วาด​ลาน​วัด จน​ใบไม้​ไหว​ปลิวไ​ป​ตาม​แรง​ลม​พร้อม​สี​ฝุ่น​จาง​ๆ บาง​รูป​ ท่าน​ก็​นั่ง​อ่าน​หนังสือ หลาย​รูป​ท่าน​เดิน​ขวักไขว่​ไป​มา​อยู่​ทั่ว​บริเวณ มอง​ดู​แล้ว​ท่าน​ก็​ มิได้​ใส่ใจ ว่า​มีค​น​แปลก​หน้า​อย่าง​ฉัน​ที่​กำลัง​ยืน​สังเกต​สังกา​ท่าน​อยู่​ที่​ศาลา​น้อย​นี้​เลย ใน​ใจ​ตัวเ​อง ณ ขณะ​นั้นก​ ค็​ ิดไ​ป​ต่างๆ​นานา​ว่า หาก​ท่าน​แล​เห็นเ​รา​แล้วจ​ ะ​คิดว​ ่าเ​รา​เป็น​ แม่​ค้าขาย​ตรง​ไหม​หนอ แต่ง​กาย​แบบ​นี้​สุภาพ​ไหม​หนอ ที่​เรา​นั่งอ​ ยู่​นี้​เขา​จะ​อนุญาต​ให้​ นัง่ ​ไหม​หนอ หลาย​หนอ​ผดุ ​ขน้ึ ​ใน​ใจ​พร้อม​กนั เพือ่ ​ไม่​ให้​หนอ​ตอ่ ​ไป​เกิด​ขน้ึ ฉัน​จงึ ​พา​ใจ​ตวั ​

48 ธรรมะใกล้ตัว


เอง​วก​กลับม​ า​ทหี่​ นอ​แรก ว่าเ​มื่อไ​ร​จะ​จัดข​ อง​เสร็จเ​สียทีห​ นอ ท้าย​ที่สุดก​ ล็​ งล็อค ไหน​ๆ​ ก็​ทราบ​แล้ว ว่าไม่ได้​มี​ใคร​จบั ​สงั เกต​ตัว​เรา ฉันจ​ งึ ​ทำ​การ​ซกั ซ้อม​ถวาย​สงั ฆทาน โดย​เริม่ ​ จาก​ขยับ​ตวั ​ไป​บงั ​ท่​เี สา ยก​สงั ฆทาน​ชมพู​ขน้ึ ​เหนือ​หวั รอ​บ​แล้ว​รอบ​เล่า ผ่าน​ไป​สาม​รอบ​ เพื่อให้​คล่อง ที่​สำคัญเ​พื่อไ​ม่​ให้​ของ​หล่นล​ ง ผล​เนื่อง​มา​จาก​ของ​ที่​ซื้อ​มา​นั้นล​ ้น เพราะ​ เก็บร​ าย​ละเอียด​จาก​เณร​น้อย​มา​ดี จาก​ทแี่​ น่ใจ​แล้วว​ ่าค​ ล่อง​จาก​การ​ซ้อม​เมื่อค​ รู่ ทีเ่​ป็น​ ทัง้ ​การ​ซอ้ มใหญ่​ซอ้ ม​ยอ่ ย​ใน​เวลา​ไล่เลีย่ ​กนั เรียก​ความ​พร้อม​ดา้ น​การ​ประกอบ​พธิ กี รรม​ ให้​ฉันไ​ป​ได้​อีกห​ นึ่ง​เปลาะ จาก​การ​ยก​ขึ้น​ยก​ลง​จน​หนัก​ที่​แขน ตอน​นี้​ความ​หนัก​นั้น​แล่น​ขึ้น​มา​อยู่​ที่​ใจ มอง​ ทาง​ซา้ ย​ก็​ต๊​เุ จ้า ทาง​ขวา​ก​ต็ ๊​เุ จ้า​เต็ม​ไป​หมด แล้ว​พระ​สงฆ์​รปู ​ไหน​นะ​ท่​ฉี นั ​จะ​เข้าไป​ถวาย​ สังฆทาน ความ​มดื ​ดำ​ของ​ความ​คดิ ​เข้า​ครอบงำ​ใน​หวั ​ของ​ฉนั ​อกี ​ครัง้ ทันใด​ก​ต็ ดั ​เป็น​ฉาก​ ภาพ​ความ​คิด​ว่า ฉัน​เดินไ​ป​ถาม​พระรูป​ที่นั่งอ​ ยู่​ตรง​นั้น พระ​ที่​เดิน​ผ่าน​มา​ทาง​น ี​้หรือ​ที่​ กำลัง​กวาด​อยู่​ไม่​ไกล​ตรง​นี้ ฉันต​ ัด​ฉาก​จาก​ภาพ​ความ​คิดใ​น​หัว​ทั้งหมด โดย​การ​ก้าว​ขา​ ออก​มา​จาก​ศาลา​น้อย ด้วย​ทีท่า​ที่มั่น​ใจ​เต็ม​ร้อย ทะมัดทะแมง พร้อม​อมยิ้ม​เล็กน้อย​ แบบ​เป็นม​ ิตร ทันใด​ทกี่​ ้าว​ขา​ออก​มา​ยืนท​ ลี่​ าน​โล่ง​ของวัด ความ​มั่นใจ​ที่​ว่า​เต็ม​ร้อย​ลด​ ลง​เหลือ​ประมาณ​หก​สิบ​จุด​ห้า​หาก​นับ​ไม่​ผิด อมยิ้ม​น้อย​ๆ​แบบ​เป็น​มิตร​พลิก​ผัน​เป็น​ ยิ้มแห้งๆ​ ​ที่​แฝง​ไว้ด​ ้วย​ความ​ต้องการ​มิตรภาพ ไม่​เสื่อม​น้อย​ไป​กว่าย​ ิ้มแ​ รก​นั้น พระ​สงฆ์​ หลาย​รปู ​เริม่ ​ชำเลือง​มอง สายตา​ทกุ ​ค่​แู ฝง​ไว้​ดว้ ย​คำ​ถาม​ท่​แี ตก​ตา่ ง หากว่า​ฉนั ​เดา​ไม่​ผดิ ​ นะ ฉัน​เริ่ม​หัน​มา​สำรวจ​ตัว​เอง เริ่ม​จาก​ความ​คิด​และ​พิจารณา​ถึงเ​ครื่อง​แต่ง​กาย วัน​นี้​ หนอ​เรา​มา​ดว้ ย​ชดุ ​กนั ​หนาว ที​ม่ ดิ ชิด​ทะมัดทะแมง​ดี เป็น​กางเกง​ส​นี ำ้ ตาล​เปลือกไม ​เ้ สือ้ ​ กัน​หนาว​น้ำตาล​พราง​ลาย​ตุ๊กแก​บ้าน​แสน​ธรรมชาติ รองเท้า​กม็​ า​แบบ​รักธ​ รรมชาติ​แต่​ ตัด​กับ​ชุด​เขียว​มา​เชียว​เรา จุด​สุดท้าย​ที่​หยุดพ​ ิจารณา​คือส​ ังฆทาน​ที่​ถือ​อยู่​ใน​มือ ตกใจ​ ใน​ส​สี รร​แห่ง​ความ​งาม​น​เ้ี ล็กน้อย​ถงึ ​ปานกลาง เพราะ​บรรจุ​ไป​ดว้ ย​ขา้ วของ​หลาก​สี ทัง้ นี้​ ล้วน​เป็นแ​ ต่​แม่สที​ ั้งนั้น เริ่มต​ ั้งแต่ต​ ะกร้าน​ ้อย​สี​ชมพู​สะพรั่ง กล่อง​ข้าวของ แดง เหลือง เขียว แจ่ม​ชัด​จำรัส​จริง​เชียว ทั้งคน​ทั้ง​ของ​ดู​งาม​เกิน​ธรรมชาติ​สร้าง ฉัน​จึง​รีบ​เดิน​ให้​พ้น​จาก​ลาน​วัด​แห่ง​นี้ ซึ่ง​ ชัดเจน​ใน​ความ​คิด​ว่า นี่​คือ​จุด​ที่​โดด​เด่น​หาก​มี​ใคร​เข้า​มา​เดิน อัน​แม้แต่​อุจจาระ​ของ​ น้อง​หมา​กอ้ น​น้อย​ยัง​มอง​ดู​เด่น​หาก​แค่​เหลียว​ดู จาก​นนั้ ​ฉัน​จึง​รีบ​เดิน​จ้ำ​อ้าว เพือ่ ​พา​ตัว​

ธรรมะใกล้ตัว 49


เอง​ให้​พ้น​จาก​จุด​นี้ โดย​คิดว​ ่าไ​ป​ตาย​เอา​ดาบ​หน้า ไม่ก​ ี่​ก้าว​ที่​เดินม​ า ฉัน​จึง​ได้​มา​หยุด​ที่​ อาคาร​หนึ่ง​ของวัด สอง​ตา​ก็​สอดส่อง​มอง​หา ว่า​จะ​มี​ใคร​อยู่​ด้าน​ใน​นั้น​บ้าง​ไหม​หนอ อย่าง​น้อย​ท่าน​มัคนายก​สัก​ท่าน​ก็​ยัง​ดี นั่นใ​คร​กันน​ ะ​? ฉันใ​ช้​สายตา​มอง​ด้วย​ความ​คิด​พิจารณา​ดู พบ​ว่าเป็นห​ ลวง​ตา​กำลัง​ ยืน​ก้ม​เรียง​เอกสาร​แผ่น​แล้ว​แผ่น​เล่า โดย​ฉัน​เดา​ว่า​ท่าน​คง​เยือกเย็น​และ​ใจดี ตา​ฉัน​ก็​ มอง​ดู​ท่าน​ปาก​ก็​ว่าจ​ ะ​อ้าถ​ าม แต่ใ​จคอ​กต็​ ีบ​ตัน​เพราะ​นึก​คำ​ศัพท์​ที่​จะ​ใช้พ​ ูด​กับท​ ่าน​ไม่​ ออก เวร​กรรม​จริง​เรา ขณะ​ท่​ยี ืน​เรียบเรียง​คำ​พูด​ใน​ใจ หลวง​ตา​ทา่ น​ก็​เงย​หน้า​ข้นึ ​มา​พอดี ด้วย​ความ​ตกใจ​ ที่​ท่าน​ยืน​อยู่​ใน​ระยะ​ใกล้ ฉัน​จึง​รีบ​พูด​ไป​ด้วย​คำ​ที่​ติดๆ​ขัด​ๆ แต่​น้ำเสียง​ที่​น่า​จะ​ดัง​ฟัง​ ชัดเจน​ดี แต่​คิด​ว่าค​ ำ​พูดน​ ่า​จะ​ไม่ด​ ี​เท่า​ที่​ควร​จะ​เป็น “​กราบ​นมัสการ สวัสดี​เจ้า​ค่ะ​” ใบหน้า​ที่​เปี่ยม​ด้วย​รอย​ยิ้ม​ของหลวง​ตาม​อง​มา​ที่​ ฉัน แต่​ไม่​มคี​ ำ​พูด​อัน​ใด ฉันจ​ ึง​พูด​แก้​เก้อ​ไป​อย่าง​รวดเร็ว​ว่า “​มา​ถวาย​สังฆทาน​เจ้าค​ ่ะ”​ จาก​นั้นห​ ลวง​ตา​จึงค​ ่อยๆ​เดินอ​ อก​มา​จาก​มุมแ​ ล้วก​ ล่าว​ กับ​ฉัน​เป็นค​ รั้ง​แรก​ว่า “​ตาม​มา​ด้าน​นี้​โยม​” หลวง​ตา​เดิน​นำ​หน้า​ฉัน​ไป​ยัง​เก้าอี้​ไม้ ซึ่ง​เมื่อ​ฉัน​มอง​เข้าไป​ ด้าน​ใน​ก็​มอง​เห็น​พระ​พุทธ​รูป​องค์​ใหญ่​ตั้ง​ตระหง่าน มอง​ดู​แล้ว​ทำให้​สงบ​เยือกเย็น​ใน​ ใจ​และ​ลด​ความ​ประหม่า​ที่​กำลังเ​กิด​ขึ้น​ลง​ได้เ​ล็กน้อย เมื่อ​หลวง​ตา​เดิน​ไป​นั่ง​รอ​ที่​เก้าอี้​ไม้ ด้านหน้า​ท่าน​มี​โต๊ะ​ไม้วา​งอ​ยู่ ฉัน​จึง​รีบ​เดิน​ไป​ ถอด​รองเท้า เพราะ​เกรง​ว่า ประเดี๋ยว​ท่าน​จะ​เสียเ​วลา​รอ​นาน ความเร่งร​ ีบท​ ำให้ร​ ะบบ​ ใน​สมอง​ของ​ฉัน​รวน​อีก​ครั้ง มา​พร้อม​กับ​ความ​เกรง​ๆท​ ี่​จะ​ได้​ถวาย​สังฆทาน​จริงๆ​แล้ว เพราะ​องค์ประกอบ​ตอน​น​พ้ี ร้อม​ทกุ ​อย่าง รองเท้า​เจ้ากรรม​ยง่ิ ​รบี ​ถอด​ยง่ิ ​ถอด​ยาก เชือก​ ที​ด่ งึ ​ยง่ิ ​ดงึ ​ก​ย็ ง่ิ ​แน่น กว่า​จะ​ถอด​ได้​แค่​รองเท้า​ค​เู่ ดียว​ก​ท็ ำเอา​เหงือ่ ​ตก​ไป​เลย ถอด​รองเท้า​ แล้วก​ ถ็​ อด​หมวก ถอด​หมวก​กเ็​อา​ลง​มา​วาง​เรียง​เคียง​คกู่​ ับร​ องเท้า ใคร​มา​เห็นค​ ง​คิดแ​ น่​ ว่า​แปลก​ดี​แท้ หมวก​กับ​รองเท้า​ฉันจ​ ึง​วาง​เด่น​อยู่​คกู่​ ัน​อยู่​ด้านหน้าอ​ าคาร เพราะ​ความ​ ประหม่า​และ​สติ​ขาด​หาย​ของ​คน​เรียง

50 ธรรมะใกล้ตัว


เมื่อท​ ุก​อย่าง​พร้อม ฉัน​กไ็​ม่​ลืมม​ ารยาท​ไทย​ที่​เคย​ได้​รับ​การ​สอน​สั่ง​เมื่อ​ครั้ง​วัย​เยาว์ จึง​ค่อยๆ​คลาน​เข่า​เข้าไป​กราบ​หลวง​ตา​ท่าน บทสนทนา​ระหว่าง​ฉัน​กับห​ ลวง​ตา​จึง​เริ่ม​ ต้น​ขึ้น หลวง​ตา​ถาม​ฉัน​ว่า “​วันเ​กิด​รึโยม​” ฉัน​รีบ​ตอบ​ไป “​ไม่​ใช่​เจ้า​ค่ะ วันน​ ี้​หนูม​ า​ทำ​สังฆทาน​ให้​พี่​” หลวง​ตา​พูด​ต่อ​ไป​ด้วย​สีหน้าท​ ี่​เรียบ​เฉย “​พตี่​ าย​แล้วรึ​” ด้วย​ความ​ตกใจ​กับ​คำ​ที่​ได้ยิน​หลวง​ตา​พูดม​ า ฉันจ​ ึง​พูด​ขึ้นด​ ้วย​เสียง​ที่​ดัง​ว่า “​ยัง​ค่ะ เพียง​แต่​พี่​ให้​มา​ทำ​สังฆทาน​แทน​ค่ะ​” ด้วย​ความ​ท​ช่ี า่ ง​พดู ​เป็น​เดิมที ฉัน​จงึ ​ไม่​รง้ั ​รอ​ท่​จี ะ​กล่าว​ถงึ ​เรือ่ งราว​ตา่ งๆ​นานา​ท่​เี กิด​ ขึน้ ​กบั ​พ​ใ่ี ห้ทา่ ​น​ฟงั ขณะ​ท​ฉ่ี นั ​ขยับ​จะ​อา้ ​ปาก​เล่า​เรือ่ ง​นน้ั ก็​ราวกับ​ทา่ น​ได้​หยัง่ รู​ใ้ จ​ชงิ ​ถาม​ ฉัน​เสีย​ก่อน​ว่า “​พี่​โยม​ชื่อ​อะไร​ล่ะ​” ฉันจ​ ึง​ได้แ​ จ้ง​ชื่อ​ของ​พี่​ให้ท่า​นท​ราบ พิธีการ​ถวาย​ สังฆทาน​จงึ ​เริม่ ​ขน้ึ หลวง​ตา​สวด​เป็น​ภาษา​บาลี​พร้อม​คำ​แปล​โดย​สรุป​แล้ว​วา่ ให้​พ​ฉ่ี นั นัน้ ​ หมด​ทกุ ข์​หมด​โศก​สน้ิ ​เคราะห์​หมด​กรรม พิธกี รรม​จบ​ลง​ดว้ ย​ความ​รวดเร็ว​เรียบ​งา่ ย​กว่า​ ที่​ฉัน​คิด​ไว้ม​ าก​หลาย​ร้อย​เท่า จาก​นั้น​หลวง​ตา​ท่าน​จึง​กล่าว​ชวน​สนทนา​เล็กน้อย ท่าน​ได้​เล่า​ว่า​ช่วง​นี้​ท่าน​รับ​กิจ​นิมนต์​ไป​หลาย​ที่​ไม่​ขาด พรุ่งนี้​ท่าน​ก็​ไป​ จังหวัดอุบลราชธานี​ี และ​ไป​อกี ​หลาย​ๆ​ท​ท่ี ง้ั ​ใน​จงั หวัด​และ​ตา่ ง​จงั หวัด ฉัน​คดิ ​ใน​ใจ​วา่ เป็น​ โชค​ดี​ของ​เรา​แล้ว ที่​วัน​นี้​ได้​มา​ถวาย​สังฆทาน​กับ​ท่าน โดย​ตลอด​ระยะ​เวลา​ตั้งแต่​พบ​ ท่าน​ยืน​อยู่ เข้า​มา​นั่ง​ถวาย​สังฆทาน จน​ตอน​นี้​จวน​จะ​สิ้นสุด​การ​สนทนา ฉัน​ก็​ยังไ​ม่​ได้​ ทราบ​เลย​วา่ หลวง​ตา​ทา่ น​ชอ่ื ​อะไร ดำรง​ตำแหน่ง​อะไร​ของวัด​น้ี จนกระทัง่ ​หลวง​ตา​ยน่ื ​ หนังสือ​เล่ม​หนึ่ง​ให้​ฉัน เป็น​หนังสือ​ที่​ท่าน​จัด​ทำ​เอง เนื้อหา​เป็นการ​รวบรวม​คติธรรม​ ใน​การ​ดำเนิน​ชีวิต ภาย​ใต้​หน้า​ปก​ของ​หนังสือ​นั้น​มี​รูป​ของหลวง​ตา ระบุ​ว่า​ท่าน​คือ​ เจ้าอาวาส​ของวัด​พระ​สิงห์​แห่ง​นี้ และ​เป็น​หัวหน้า​คณะ​สงฆ์​จังหวัด​เชียงราย เดิน​มา​ สุ่ม​ๆ​แท้ๆ​เรา แบบ​นี้​เรียก​ว่า​แรง​ศรัทธา​ดี บุญ​จึง​นำ​ให้​เดิน​มา​พบ​ท่าน​กระมัง ฉัน​คิด​ กระหยิ่ม​ใน​ใจ ก่อน​ที่​จะ​กราบ​ลา​ท่าน หลวง​ตา​ได้​ถาม​ฉัน​ว่า “​โยม​เดินทาง​มา​วัด​ยังไง​”

ธรรมะใกล้ตัว 51


ฉัน​จึง​ตอบ​ท่าน​ไป​ว่า “​เดินทาง​มา​ด้วย​รถ​เขียว​ค่ะ​” หลวง​ตา​ท่าน​จึง​สอบ​ถาม​ถึง​ราคา​ค่าต​ ั๋ว ฉันจ​ ึง​ตอบ​ท่าน​ไป​ว่า​สิบ​ห้า​บาท เมื่อ​หลวง​ตา​ได้ยิน​ราคา ท่าน​จึง​พูดข​ ึ้น​ด้วย​น้ำเสียง​ที่​ตกใจ​ว่า “​อาตมา​คิด​ว่า ห้า​หก​บาท​” ฉันจ​ ึงอ​ ด​ไม่ไ​ด้ทจี่​ ะ​หัวเราะ จาก​นั้นฉ​ ันจ​ ึงก​ ้มล​ ง​กราบ​ลา​ท่าน และ​คลาน​เข่าอ​ อก​มา​ สวม​เอา​รองเท้า​คู่​เขียว ขณะ​ที​ก่ ำลัง​ก้ม​หน้า​ก้ม​ตา​มัด​สาย​รองเท้า​อยู่ พลัน​ก็​มอง​เห็น​ หลวง​ตา​เดิน​มา​ที่​ประตู และ​หันม​ า​พูดก​ ับ​ฉันด​ ้วย​เสียง​เคร่ง​ว่า “​ไม่​จำเป็น​กไ็​ม่​ต้อง​มา​อีกน​ ะ​โยม​” ฉัน​ตกใจ​กับ​คำ​พูด​ของหลวง​ตา​อีก​ครั้ง พร้อม​กับ​รีบ​คิด​พิจารณา​ตัว​เอง​ว่า มี​เรื่อง​ อัน​ใด​ที่​ตัว​เรา​นี้​ทำ​ไม่​เหมาะ​ไม่​ควร​บ้าง​นะ พลัน​ก็ได้​ยิน​เสียง​หลวง​ตา​เอ่ย​แทรก​เข้า​มา​ ใน​ความ​คิด​ว่า “​ค่า​รถ​มัน​แพง​จริงๆ​โยม​” ฉัน​บังคับ​ตัว​เอง​ที่​จะ​ไม่​ยิ้ม​กับ​คำขอ​ง​ท่าน​เมื่อ​ครู่​ไม่ไ​ด้​เช่นเ​คย จาก​นั้น​ท่าน​จึง​มอบ​สายสิญจน์​เส้น​น้อย สีส​ ้ม​สดใส​กับฉ​ ัน​หนึ่ง​เส้น ฉัน​จึง​ได้​ก้ม​ลง​ กราบ​ทา่ น​อกี ​ครัง้ ท่าน​กำหนด​มา​วา่ ​ให้​สวม​ท​แ่ี ขนขวา ฉัน​มอง​ตาม​จงึ ​พบ​วา่ ที่​แขน​ซา้ ย​ ของ​เรา​ไม่​ว่าง​นี่เอง มี​กำไล​ไม้อ​ ัน​ใหญ่​ไร้​สาระ​สวม​อยู่ จึง​อด​สงสัย​ใน​ใจ​แบบ​ติดตลก​ไม่​ ได้​ว่า ท่าน​คง​ไม่​อยาก​ให้​นำ​มา​รวม​สวม​ใส่ก​ ับ​กำไล​ไร้​สาระ​ของ​ฉัน​กระมัง หลังจาก​กราบ​ลา​ทา่ น ฉัน​จงึ ​กา้ ว​ออก​มา​จาก​อาคาร​ดว้ ย​หวั ใจ​ท่​พี อง​โต​ปตี ิ​สขุ ​ยง่ิ ​นกั ฉัน​ยัง​คง​เดิน​ต่อ​ไป​ภายใน​วัด​ที่​ไม่​ได้​กว้างใหญ่​มาก​นัก แวะ​ขึ้น​ไป​กราบพระ​ใน​อุโบสถ​ ให้​ใจ​สงบ​อีก​ครั้ง จาก​เดิมที​ที่​ฉัน​วาง​แผน​ไว้​ว่า​จะ​นั่ง​รถ​เที่ยว​ใน​ส่วน​ต่างๆ​ใน​เมือง​เสีย​ ก่อน ฉัน​ได้​ปรับ​แผน​ใหม่​เป็น​เดินไ​ป​ที่​ท่า​รถ​เพื่อ​กลับ​ไป​ยัง​ที่​พัก ตลอด​ระยะ​เวลา​ที่นั่ง​ รถ​มา​กับ​ผู้คน​ที่มา​ก​มาย​นั้น ใจ​ฉัน​จดจ่อ​อยู่​กับ​ความ​คิด​ของ​ตน​เอง ทบทวน​สิ่ง​ต่างๆ​ที่​

52 ธรรมะใกล้ตัว


ได้​ทำ​ไป​ใน​วัน​นี้ พบ​ว่า​ช่าง​สุข​ใจ​เหลือหลาย เป็น​แรง​บันดาล​ใจ​ให้​อยาก​กลับ​มา​ทำบุญ​ อีก​หลาย​ๆ​ครั้ง หลาย​ๆ​วัดต​ ่อ​ไป เมือ่ ​ภารกิจ​เสร็จ​สน้ิ ​ลง ก็​ตอ้ ง​รายงาน​ไป​ยงั ​หน่วย​เหนือ​ท​ส่ี ง่ั ​การ​มา เมือ่ ​ได้​เวลา​ฉนั ​จงึ ​ ไป​ค​ล​กิ ​สง่ ข่าว พร้อม​รา่ ย​ยาว​ถงึ ​เรือ่ งราว​ตา่ งๆ​ท​เ่ี กิด​ขน้ึ พร้อม​บท​สรุป​ท​แ่ี สน​สขุ ​ใจ และ​ ใน​คำ่ คืนน​ ้นั เ​อง ขณะ​ทฉ่​ี นั ​น่งั ท​ บทวน​รายการ​ของ​ท่​ซี ้อื ถ​ วาย​ไป อ่าน​หนังสือ​ทห่​ี ลวง​ตา​ ให้ม​ า ก็ได้ร​ ับโ​ทรศัพท์จ​ าก​แดน​ไกล พูดข​ อบ​อก​ขอบใจ พร้อม​กับบ​ อก​ว่าร​ ู้สึกด​ ี​ขึ้นแ​ ละ​ สัมผัส​ได้​ถึง​ผล​บุญ​ที่​น้อง​ทำ ทิ้งท้าย​พี่​จึง​ได้​มอบหมาย​ภารกิจ​ที​ส่ อง​ให้​ฉัน​ทันที​ว่า ให้​ น้อง​ช่วย​ไป​พิมพ์​เรื่องราว​ทั้งหมด​ลง​ใน​นิตยสาร​ธรรมะ​ออ​น​ไลน์นะ เพราะ​พเี่​ค้า​คิดว​ ่า มี​สาระ​แถม​ตลก​ดี ฉัน​ก็​ตอบ​สั้นๆ​ง่ายๆ​ว่า สบาย​มาก​เดี๋ยว​จัด​ให้​เช่นเ​คย ค่ะ และ​แล้ว​สังฆทาน​ใจ​ก็​จบ​ไป​ใน​หนึ่ง​ตอน​สอง​ภารกิจ สังฆทาน​ที่​ฉัน​บรรจง​จัด​ ถวาย​ดว้ ย​จติ ใจ​ท​ม่ี งุ่ ​มน่ั ​ศรัทธา​และ​แฝง​ไว้​ดว้ ย​คา่ ​แห่ง​รกั ทัง้ หมด​ทง้ั สิน้ ​ท​ฉ่ี นั ​ได้​พยายาม​ ทำ ล้วน​เป็นความ​ตั้งม​ ั่นข​ อง​ใจมา​เป็นท​ หี่​ นึ่ง ตั้งแต่ต​ ั้งใจ​รับร​ ู้เห็นอ​ ก​เห็นใจ​กับป​ ัญหา​ที่​ เกิด​ขน้ึ ​กบั ​ชวี ติ ​คน​หนึง่ ​คน​ท​เ่ี รา​สดุ ​รกั ทัง้ หมด​ลว้ น​เป็น​แรง​ผลัก​ให้​ฉนั ​ทำ​อะไร​กไ็ ด้​เพือ่ ให้​ เขา​ได้​สุข​ใจ จาก​ที่​ทุกข์​ตรม ภารกิจ​นดี้​ ู​ประหนึ่ง​น้อย​นิดแ​ ต่​ฉันก​ ็​ตั้งใจ​ทำ​สุด​ชีวิต​ที่​ฉัน​มี​ นะ​คะ ที่สุด​แล้วผ​ ล​ตอบแทน​ที่​ได้ ก็ค​ ือ ความ​ปีติ​สุข​ทั้ง​กาย​ใจ ทั้ง​ผู้​ให้​และ​ผู้​รับ​สม​กับ​ ที่​เป็น​สังฆทาน​ใจ​โดย​แท้ สารบัญ 

ธรรมะใกล้ตัว 53


ธรรมะปฏิบัติ

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน

จิต​ส่ง​ออก​นอก โดย​ สติม​ า

วัน​น​ข้ี อ​บนั ทึก​สง่ิ ​ท​ส่ี งั เกต​เห็น​จาก​การ​ภาวนา  ว่าการ​ท​จ่ี ติ ​สง่ ​ออก​นอก  ตาม​ท​พ่ี อ่ แม่​ ครู​บา​อาจารย์​บอกกล่าว​มา​ว่า  มัน​คือ​สมุทัย  ตัว​ต้นเหตุ​แห่ง​ทุกข์​นั้น​ก็​คือ​การ​ที่​เรา​ไม่​ สามารถ​รู้อยู่​ที่​กาย​ใจ  ณ  ปัจจุบัน​ได้​ การ​ท​เ่ี รา​ไม่​สามารถ​ร้​กู าย​ใจ​ปจั จุบนั ​ได้  เพราะ​เรา​หลง​ไป​ทาง​อายตนะ  หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ  เรา​จะ​คอย​ฟัง คอย​เห็น รับ​รส ได้ก​ ลิ่น รู้สึก และ​นึกคิด​อยู่​แทบ​จะ​ตลอด​ เวลา​ไม่ท​ าง​ใด​ก็​ทาง​หนึ่ง  แม้ว​ ่าเ​รา​จะ​หยุดก​ าร​รับร​ ู้  ด้วย​การ​ทำ​สมาธิภ​ าวนา  ให้ห​ ยุด​ อยู​ใ่ น​ท​ใ่ี ด​ท​ห่ี นึง่   เช่น  ลม​หายใจ  หรือ​คำ​บริกรรม​ใดๆ  เรา​ก​จ็ ะ​อยู​ไ่ ด้​เพียง​ชว่ั ​ระยะ​เวลา​ หนึ่งๆ  เท่านั้น  แล้ว​ก็​ออก​มา​หลง​ส่ง​ออก​นอก​ไป​อีก​ นอกจาก​ส่ง​ออก​นอก​ดัง​กล่าว​มา​แล้ว  เรา​ยัง​ส่ง​เข้า​ใน​ด้วย​การ​เพ่ง​จ้อง​ภายใน  ทำ​ สมาธิ​ภาวนา​จน​จติ ​นง่ิ ​สงบ​หรือ​วา่ ง​ไป  แต่​ไม่​สามารถ​ร​กู้ าย​ใจ  ณ  ปัจจุบนั ​ได้​อกี   ทำให้​ เรา​ตก​ไป​จาก​วิปัสสนา  ซึ่งจ​ ะ​ถือว่า​คือก​ าร​ส่ง​ออก​นอก​อีกแ​ บบ​หนึ่ง​ก็​ไม่ผ​ ิด​ ความ​ผิด​พลาด​ที่​เรา​หลง​ทำ​ผิด  ซ้ำ​ๆ  ซาก​ๆ  นี้​เอง​ทำให้​การ​ภาวนา​ไม่​ได้​ผล​ เท่า​ที่​ควร  หลวง​พ่อ​กล่าว​ตอบ​ผู้​ที่​ถาม​ท่าน​ว่า​เหตุ​ใด​ทำให้​การ​ภาวนา​เนิ่น​ช้า  ท่าน​ ตอบ​ว่า  ปปัญจธรรม  เป็น​เหตุ​ให้​เนิ่น​ช้า  ปปัญจธรรม​คือ​กิเลส​ที่​ทำให้​เนิ่น​ช้า  อัน​ ได้แก่  ตัณหา  ทิฏฐิ  มานะ​ ตัณหา​คอื ​การ​ท​เ่ี รา​พยายาม​มาก​ไป​ท​จ่ี ะ​บรรลุ​ธรรม  ความ​พยายาม​ท​เ่ี รา​นกึ ​วา่ ​น​ค่ี อื ​ ความ​เพียร  แต่​มนั ​ประกอบด้วย​ตณ ั หา  ความ​อยาก  ที​เ่ รา​มอง​ไม่​ออก  ทำให้​ปฏิบตั ​ไิ ป​ ก็​ทกุ ข์​ไป​กบั ​การ​ปฏิบตั  ิ จิต​ไม่​ปกติ  ไม่​ธรรมดา  ถ้า​ไม่​หลบ​เข้าไป​สงบ​เงียบ​ก​ฟ็ งุ้ ซ่าน  แต่​ ดู​ไม่​ออก  ไม่​เห็น​ไตรลักษณ์  คือ​การ​ที่​เรา​บังคับ​ไม่​ได้​

54 ธรรมะใกล้ตัว


ทิฏฐิ  ความ​เห็น  ที่​ยัง​เป็นความ​เห็น​ผิด  เห็น​ไม่​ตรง  ยัง​เข้าใจ​การ​ปฏิบัติ​ผิด​ พลาด  เช่น  การ​ส่ง​ออก​นอก  จน​เรา​ไม่​สามารถ​รู้​กาย​ใจ​ปัจจุบัน​ได้​นาน​ๆ  นั้น​คือ​การ​ ผิด​พลาด​แล้ว  แต่​เรา​กลับ​คดิ ​วา่   การ​ท​จ่ี ติ ​สงบ​เงียบ​นน้ั ​ถกู ​และ​ด ี การ​เข้าถึง​ความ​วา่ ง​ได้​ ใน​บาง​ขณะ  แล้ว​เรา​เห็น​วา่ ​นน้ั ​คอื ​แนวทาง​หรือ​จดุ ​มงุ่ หมาย  นัน่ ​คอื ​เรา​ตง้ั ​ความ​คดิ เห็น​ ไว้​ผิด​ทาง  ทำให้​จิต​ไป​ติด​อยู่​ใน ระดับใ​ด ระดับห​ นึ่ง  อย่าง​ไม่​ก้าวหน้า​ มานะ​คือ​ความ​เห็น​ว่า​เรา​ดี  เรา​ด้อย  หรือ​เรา​เสมอ​กับ​คน​นั้น​คน​นี้  การ​ตี​ค่า  ตี​ ราคา  และ​ให้​ค่า​การ​ปฏิบัติ​ที่​ล้วน​แต่​บั่นทอน​ตัว​เอง  เห็น​ว่า​ด้อย​กว่า​คน​อื่น  ก็​หมด​ กำลังใจ​ที่​ปฏิบัติ  คิด​ว่า​ทำ​ไม่​ได้  คิด​ว่า​ไม่​มี​วาสนา  เห็น​ว่า​ตัว​เอง​ดี​กว่า​คน​อื่น​ก็​ทำให้​ เรา​ไม่​สามารถ​เปิด​ใจ  รับ​สง่ิ ​ท​จ่ี ะ​พฒ ั นา​ตวั ​เอง​ให้​ยง่ิ ​ๆ  ขึน้ ​ไป​เพราะ​ทำตัว​เป็น​ชา​ลน้ ถ้วย​ อยู่  แม้แต่​เสมอ​กับ​คน​อื่น  ก็​ทำให้​เรา​รู้สึก​เสมอ​ว่า  เรา​รู้​แล้ว  เรา​ดีแล้ว  แล้ว​เรา​ก็​จะ​ ก้าวหน้า​ไป​ได้​อย่างไร​ เรา​เพียง​แต่​ทราบ​แผนที่​การ​เดินทาง​คร่าวๆ  ทราบ​อปุ สรรค​ท​ท่ี ำให้​การ​เดินทาง​ของ​ เรา​ตอ้ ง​ลา่ ​ชา้   หรือ​ไม่​ได้​ผล  และ​ลงมือ​เดินทาง​ไป​เรือ่ ยๆ  จุดหมายปลายทาง​ก​จ็ ะ​มา​ถงึ ​ สัก​วนั   เรา​ม​พี อ่ ​แม่​ครู​บา​อาจารย์  ท่าน​แนะนำ  ชี​ห้ นทาง​อยู ่ และ​ปรับ​ความ​เข้าใจ​ของ​ ตน​เอง​ด้วย​การ​เข้าไป​เห็น​ด้วย​ตน​เอง  เรา​ก็​จะ​เข้าใจ​อะไร​มาก​ขึ้น​ การ​อยู่​กับ​ตัว​เอง​ให้​มาก  และ​เรียน​รู้​กลไก​การ​ทำ​งาน​ของ​กาย​ใจ​เรา​นี้​เอง  ทำให้​ เรา​เข้าใจ​ใน​หลัก​ธรรม​ขึ้น​อย่าง​ชัดเจน  แม้​ว่า​เรา​จะ​อยู่​กับ​คน​มาก  คน​น้อย  ไม่​ สำคัญ  สำคัญ​วา่ ​เรา​ตอ้ ง​เห็น​ถกู ​ตอ้ งตา​มค​วาม​เป็น​จริง​ของ​กาย​ใจ​ตวั ​เอง​วา่   เขา​ทำ​งาน​ อย่างไร​อยู่  ตราบ​ใด​ทเี่​รา​สามารถ​เห็นก​ าร​ทำ​งาน​ของ​กาย​ใจ​เรา​ได้  เรา​จะ​อยูอ่​ ย่างไร​ก็​ ไม่​มปี​ ัญหา  ถ้า​เรา​รู้​ว่า​เรา​ “หลง​” ส่งอ​ อก​นอก​ไป​อย่างไร​ ถ้า​เรา​ยัง​ชอบ​ที่​จะ​ฟัง  โดย​ไม่​รู้สึก​ตัว  ชอบ​ที่​เห็น  ที่​จะ​ดู​สิ่ง​ต่างๆ  แล้ว​ลืมตัว​เอง​ ไป  ชอบ​ทาน​อาหาร​อร่อย  โดยที​ไ่ ม่​เห็น​ว่า  เวลา​อร่อย​แล้ว  อยาก​ได้​อีก  จำ​ได้​แม่น​ และ​หา​ทาง​ที่​จะ​ได้​ดี​กว่า​นี้  อร่อย​กว่า​นี้  หลง​ไป​กับ​ความ​อร่อย  ลืม​กาย​ใจ​ตัว​เอง​ ไป​เลย  เรา​ยัง​ชอบ​ความ​สบาย  อากาศ​ดี  สัมผัส​ที่​นุ่มนวล  สะอาด​สะอ้าน  แล้ว​ลืม​ กาย​ใจ​ตัว​เอง  ไม่​เห็นใจ​ที่​ยินดี​กับ​สัมผัส​ดีๆ  และ​เกิด​ความ​รู้ความ​จำ​ที่​จะ​เอา​อีก​ได้​ดี​

ธรรมะใกล้ตัว 55


กว่า​นี้​อีก  หลง​ไป​กับ​มัน  แล้ว​ลืมตัว​เอง  ไม่​เห็น​ความ​นึกคิด​ปรุง​แต่ง  ที่​ทยอย​เข้า​มา​ เรื่อยๆ  อย่าง​ไม่​เคย​หยุด​ ทัง้ หมด​ยงั ​เป็นการ​ท​จ่ี ติ ​สง่ ​ออก​นอก  ออก​จาก​การ​ร้​กู าย​ใจ​ของ​ตวั ​เอง​ทง้ั หมด  ทาง​ ง่ายๆ  สั้นๆ  แต่​ลัด​ตรง  ตรง​นี้​เอง  แต่​ที่​เรา​ไม่​สามารถ​เดินทาง​สาย​กลาง​นี้​ได้เสีย​ ที  เพราะ​เรา​มัว​แต่​ส่ง​จิต​ออก​นอก​ไป  ถ้า​เรา​อยู่​กับ​การ​รู้​กาย​รู้​ใจ  ด้วย​ความ​ เป็นกลาง  เห็น​อย่าง​ผู้​สังเกตการณ์  และ​เห็น​สลับ​กัน​ไป​มา  รู้​กาย​ชัด  รู้​ใจ​ชัด  ไป​ เรื่อยๆ  อย่าง​ไม่​คาด​หวัง​อะไร  สิ่ง​ที่​เกิน​คาด​หวังก​ ็​จะ​มา​ปรากฏ​ให้​เรา​เห็น​เอง อา​ตาปี  สติ​มา สัมปชาโน สารบัญ 

56 ธรรมะใกล้ตัว


ร่วมส่งบทความ

สามารถสร้างสรรค์วรรคทองได้เองยิ่งดี เพราะจะ นิตยสารเล่มนี้จะเป็นนิตยสารคุณภาพได้ ก็ด้วยเนื้อ ได้ฝึกริเริ่มวลีสะดุดใจ ซึ่งเป็นแม่บทของกรรมที่ทำ ให้มคี วามคิดสร้างสรรค์ได้อย่างสุดยอด เนือ่ งจากแง่ หาดี ๆ ภายในฉบับที่จัดสรรลงอย่างต่อเนื่องนะคะ คิดดี​ี ๆ จะช่วยให้คนอ่านคิดดี หรือได้คิดเพื่อเปลี่ยน หากคุณผู้อ่านท่านใด มีความสามารถในการเขียน แปลงชีวิต วิบากที่ย้อนกลับมาสนองตอบแทนคุณ ก็ มีศรัทธา และความเข้าใจในคำสอนของพุทธศาสนา คือการผุดไอเดียเหมือนน้ำพุไม่รู้จบรู้สิ้น กับทั้งเป็นที่ ไม่ว่าจะในระดับเบื้องต้น เบื้องกลาง หรือเบื้องปลาย ยอมรับในวงกว้างด้วย และมี ใจรักที่อยากจะสื่อสารถ่ายทอดสิ่งนั้นให้กับ กติกา: หากเป็นการคัดมาจากที่อื่น หรือแปลมาจาก ผู้อื่นได้ทราบ และได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น เช่น ภาษาอังกฤษ กรุณาระบุแหล่งที่มา หรือชื่อของบุคคล เดียวกับที่เราอาจเคยได้รับจากผู้อื่นมาแล้ว ก็ขอ ผู้เป็นเจ้าของคำคมด้วยนะคะ เชิญทุกท่านส่งบทความมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ คอลัมน์: สัพเพเหระธรรม ธรรมะใกล้ตัว ด้วยกันนะคะ เนื้อหา: เรื่องราว เรื่องเล่า อาจมาจากฉากหนึ่งใน คุณอาจไม่จำเป็นต้องเป็นนักเขียนฝีมือเลิศ แต่หากมี ชีวิตของคุณ ที่มีเกร็ดข้อคิดทางธรรม หรือข้อคิดดี ๆ ใจที่คิดอยากจะถ่ายทอด มีสิ่งที่คิดว่าอยากแบ่งปัน อันเป็นประโยชน์ อาจเป็นเรื่องเล่าสั้น ๆ ในรูปแบบที่ ความรู้ความเข้าใจนั้นให้กับคนอื่น ๆ ก็ลองเขียนส่ง เสมือนอ่านเล่น ๆ แต่อ่านจบแล้ว ผู้อ่านได้เกร็ดธรรม เข้ามาได้เลยค่ะ หรือข้อคิดดี ๆ ติดกลับไปด้วย

๑. คอลัมน์ที่เปิดรับบทความ คอลัมน์: ธรรมะจากคนสู้กิเลส เนื้อหา: เปิดโอกาสให้คุณๆ ได้เล่าประสบการณ์ จริงของตนเอง ว่าผ่านอะไรมาบ้าง มีอะไรเป็นข้อคิด ที่เป็นประโยชน์บ้าง อะไรทำให้คนธรรมดาคนหนึ่ง กลายเป็นคนดีขึ้นมา และทำให้คนมีกิเลสเยอะกลาย เป็นคนกิเลสบางลงได้ มีแต่คนที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วเท่านั้น จึงจะเขียน ธรรมะใกล้ตัว ได้สำเร็จ

คอลัมน์: กวีธรรมะ เนื้อหา: พื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับกวีธรรมะทั้งหลาย โดยไม่จำกัดรูปแบบและความยาวของบทกวี หรือ หากจะคัดเอาบทกวีทน่ี า่ ประทับใจ ให้แง่คดิ อะไรในเชิง บวก ก็สามารถนำมาลงได้เช่นกัน แต่ถ้าให้ดี กลั่น กรองออกมาด้วยตนเองได้ ก็ยิ่งดีค่ะ กติกา: หากเป็นการคัดมาจากที่อื่น ต้องระบุที่มาที่ ไปอย่างชัดเจนด้วยนะคะ

คอลัมน์: เที่ยววัด เนื้อหา: รับหมดไม่ว่าจะเป็นวัดสวยหรือสถานที่ คอลัมน์: นิยาย/เรื่องสั้นอิงธรรมะ เนื้อหา: เปิดโอกาสกว้างสำหรับคนที่ชอบคิดชอบ ปฏิบัติธรรม ข้อมูลข่าวสารจากทั่วประเทศนั้น ไม่มี เขียน โดยเฉพาะอดีตนักฝัน ที่เพิ่งผันตัวมาอยู่ ในโลก วันที่ ใครคนเดียวจะรู้ ได้หมด ถ้าช่วยเป็นหูเป็นตาให้ ธรรมะ เพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวให้คนได้ข้อคิดข้อธรรม แก่กัน ก็คงจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล ผ่านความสนุกของรูปแบบนิยายหรือเรื่องสั้นได้อย่าง กติกา: นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ บรรยากาศ ปฏิปทา ฯลฯ ของวัดแล้ว ต้องขอรบกวนส่งภาพสวย ๆ เพลิดเพลิน มาประกอบบทความด้วยนะคะ คอลัมน์: คำคมชวนคิด เนื้อหา: รวบรวมข้อคิด หรือคำคมของบุคคลต่าง ๆ คอลัมน์: ธรรมะปฏิบัติ ที่เคยได้ยินมาแล้วสะดุดใจ มาบอกต่อ ยิ่งถ้าใคร เนื้อหา: ร่วมบอกเล่าประสบการณ์จริง ประสบ-


การณ์ตรงจากการปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นทั้งธรรมทาน ๒.๑ ตรวจทานคำถูกผิดให้เรียบร้อย และเป็นทั้งกำลังใจ สำหรับผู้ที่กำลังร่วมเดินทางอยู่ ก่อนส่งบทความ รบกวนผูเ้ ขียนทุกท่านช่วยตรวจทาน บนเส้นอริยมรรคเส้นเดียวกันนี้ ให้แน่ ใจก่อนนะคะว่า ไม่มีจุดไหนพิมพ์ตกหล่น พิมพ์ เกิน พิมพ์ผิดพลาด หรือเขียนตัวสะกดไม่ถูกต้อง คอลัมน์: ของฝากจากหมอ ผ่านสายตาของผู้เขียนแล้ว เนื้อหา: นำเสนอข่าวสารในวงการแพทย์ หรือสาระ น่ารูอ้ นั เป็นประโยชน์เกีย่ วกับสุขภาพ ทีค่ นทัว่ ไปสนใจ หากไม่แน่ ใจตัวสะกดของคำไหน สามารถตรวจสอบ หรือนำไปใช้ ได้ เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้อ่าน จาก ได้จากที่นี่เลยค่ะ แง่มุมต่าง ๆ ที่แพทย์แต่ละแขนงมีความรู้ความเชี่ยว เว็บเครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ชาญต่าง ๆ กัน http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html กติกา: • หากเป็ น บทความที ่ แ นะนำให้ ม ี ก ารทดลอง ๒.๒ จัดรูปแบบตามหลักงานเขียนภาษาไทย กินยา หรือแนะนำให้ผู้อ่านปฏิบัติตามด้วย ขอ เพื่อให้ทุกบทความมีลักษณะของการจัดพิมพ์ที่สอด จำกัดเฉพาะผู้เขียน ที่เป็นผู้เรียนหรือทำงานใน คล้องกัน ขอให้ ใช้การจัดรูปแบบในลักษณะดังนีน้ ะคะ สาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อป้องกันการ • เครื่องหมายคำถาม (?) และเครื่องหมาย นำเสนอข้อมูลทีค่ ลาดเคลือ่ น และอาจส่งผลต่อ ตกใจ (!) ผู้อ่านได้ค่ะ เขียนติดตัวหนังสือด้านหน้า และวรรคด้านหลัง • หากนำเสนอประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ ใน เช่น “อ้าว! เธอไม่ ได้ ไปกับเขาหรอกหรือ? ฉัน วงการแพทย์ ขอให้มีการอ้างอิงด้วย เช่น มา นึกว่าเธอไปด้วยเสียอีก” จากงานวิจยั ชิน้ ไหน หรือหากเป็นเพียงความเห็น • การตัดคำเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนตัวของหมอ ก็กรุณาระบุให้ชัดเจนด้วยค่ะ สำหรับคนที่นิยมเขียนแบบเคาะ [Enter] เพื่อ ตัดขึน้ บรรทัดใหม่ แทนการรวบคำอัตโนมัตขิ อง คอลัมน์: ข่าวประชาสัมพันธ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยากให้ช่วยดูการตัด เนื้อหา: อาจมีทั้งงานบุญ หรือการแสดงเทศนา คำด้วยนะคะว่าตัดได้อย่างเหมาะสม คืออ่าน ธรรมของพระที่น่าเคารพ ในส่วนนี้อาจมีเกร็ดธรรม ได้ลื่น ไม่สะดุด ไม่แยกคำ หรือไม่ขึ้นบรรทัด จากชุมชนคนใกล้ธรรมะ หรือข่าวฝากจากสถานีวิทยุ ใหม่ผ่ากลางวลีที่ควรอ่านต่อเนื่องกัน โดยไม่ “ธรรมะอารีย์” ซึ่งคุณวีรณัฐ โรจนประภา (เจ้าของ จำเป็น เช่น บางกอก) ได้ริเริ่มร่วมทำกับหมู่ญาติธรรมจำนวน หนึ่งด้วย “ฉันไม่อยากให้เธอทำแบบนั้น ก็เลยบอกเธอไปว่าผลกรรม

๒. อ่านสักนิด ก่อนคิดเขียน

ข้อกาเมนั้นหนักไม่ ใช่เล่น” “ฉันไม่อยากให้เธอทำแบบนั้น ก็เลยบอกเธอไปว่า ผลกรรมข้อกาเมนั้นหนักไม่ ใช่เล่น” (อ่านง่ายกว่าค่ะ)

เนื่องจากในแต่ละสัปดาห์ มีงานเขียนส่งเข้ามาเป็น จำนวนมากชิ้นขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลด หรือดูหลักเกณฑ์อื่น ๆ ได้จากที่นี่เพิ่มเติมด้วยก็ ได้ค่ะ เวลา และลดภาระให้กบั อาสาสมัคร ในการเข้ามาช่วย กันคัดเลือก และพิสูจน์อักษรของทุกบทความ ต้อง ราชบัณฑิตยสถาน > หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ขอรบกวนผู้ส่งบทความ เรียบเรียงงานเขียนตามแนว http://www.royin.go.th/th/profile/index.php ทางดังนี้ด้วยนะคะ


๒.๓ ความถูกต้องของฉันทลักษณ์สำหรับชิ้นงาน ร้อยกรอง สำหรับท่านที่แต่งร้อยกรองเข้ามาร่วมในคอลัมน์ กวีธรรม ขอให้ตรวจทานให้แน่ ใจสักนิดนะคะว่า บทกลอนนั้น ถูกต้องตามฉันทลักษณ์แล้วหรือยัง จะได้ช่วยกันใส่ ใจและเผยแพร่แต่ ในสิ่งที่ถูกต้องให้ ผู้อื่นกันค่ะ คุณผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับฉันทลักษณ์ของกวี ไทยได้จากที่นี่ด้วยนะคะ

กระดาน “ส่งบทความ” ได้เลยค่ะ ที่: http://dungtrin.com/forum/viewforum.php?f=2 โดยหัวข้อกระทู้ ขอให้ ใช้ฟอร์แมทลักษณะนี้นะคะ (ชื่อคอลัมน์) ชื่อเรื่อง โดย ชื่อผู้แต่ง เช่น (สัพเพเหระธรรม) เทพธิดาโรงทาน โดย คนไกลวัด (ธรรมะปฏิบัติ) เส้นทางการปฏิบัติ 1 โดย satima (ของฝากจากหมอ) เครียดได้...แต่อย่านาน โดย หมออติ

ร้อยกรองของไทย (โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย) http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/index.html

เพื่อช่วยให้ทีมงานสามารถจัดหมวดหมู่ของชิ้นงาน ได้เร็วขึ้นค่ะ

กว่าบทความอื่น ๆ และมีการเปลี่ยนฉากอยู่บ้าง อย่า ลืมเบรกสายตาผู้อ่าน โดยการขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อถึง จุดหนึ่ง ๆ ของเรื่องที่เหมาะสมด้วยนะคะ เพราะการ เขียนเป็นพรืด เห็นแต่ตัวหนังสือติด ๆ กันลงมายาว ๆ จะลดทอนความน่ า อ่ า นของบทความไปอย่ า งน่ า เสียดายค่ะ

และหากไฟล์มีขนาดใหญ่ ทำเป็น zip เสียก่อน ก็จะ ช่วยประหยัดพื้นที่ ได้ ไม่น้อยค่ะ

๓.๒ แนบไฟล์ Word มาด้วยทุกครั้ง ๒.๔ ความยาวของบทความ และการจัดย่อหน้า หากแปะเนื้อความลงในกระทู้เลย ฟอร์แมทต่าง ๆ ปกติแล้วเราไม่จำกัดความยาวของชิน้ งานในทุกคอลัมน์ เช่น ตัวหนา ตัวบาง ตัวเอียง จะหายไปค่ะ เพื่อ ค่ะ แต่ก็อยากให้ผู้เขียนใช้ดุลยพินิจดูด้วยค่ะว่า ความ ความสะดวก รบกวนทุกท่านแนบไฟล์ Word ที่พิมพ์ ยาวประมาณใดน่าจะเหมาะสม โดยลองดูจากบทความ ไว้มาด้วยนะคะ (ในหน้าโพสต์ จะมีปุ่ม Browse ที่ลงในเล่ม และลองเทียบเคียงความรู้สึกในฐานะผู้ ให้เลือก Attach File ได้เลยค่ะ) อ่านดูนะคะ ใครมีรูปประกอบ ก็ Attach มาด้วยวิธีเดียวกันนี้เลย สำหรับเรื่องสั้น หรือนวนิยาย ที่อาจมีความยาวมาก นะคะ

๔. ส่งแล้วจะได้ลงหรือไม่

ปกติแล้ว เวทีแห่งนี้เป็นเวทีที่เปิดกว้าง หากบทความ นั้น ให้เนื้อหาสาระที่เป็นไปเพื่อเกื้อกูลกันในทางสว่าง หากบทความใด อ่านยาก ๆ หรือมีจุดบกพร่องที่ต้อง และเป็ น แนวทางที ่ ต รงตามแนวทางคำสอนของ แก้ ไขเยอะมาก ๆ ทางทีมงานอาจจะต้องขออนุญาต พระพุทธเจ้า หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านจากผู้รู้จริง เก็บไว้เป็นอันดับหลัง ๆ ก่อนนะคะ ในด้านที่เชี่ยวชาญ ก็จะได้รับการลงแน่นอนค่ะ

ทัง้ นี้ รวมถึงความยากง่ายในการอ่านพิจารณาบทความ การแก้ ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ในงานพิสูจน์อักษร หาก ๓.๑ กระดานส่งบทความ เป็นไปอย่างคล่องตัว ก็จะช่วยให้พิจารณาชิ้นงานได้ เมื่อเขียน อ่านทาน และตรวจทาน บทความพร้อมส่ง ง่ายขึ้นด้วยค่ะ เรียบร้อยแล้ว งานเขียนทุกชิ้น สามารถโพสท์ส่งได้ที่

๓. ส่งบทความได้ที่ ไหน อย่างไร


แต่หากบทความใด ยังไม่ ได้รับคัดเลือกให้ลง ก็อย่า เพิ่งหมดกำลังใจนะคะ วันหนึ่ง คุณอาจรู้อะไรดี ๆ และ เขียนอะไรดี ๆ ในมุมที่ ใครยังไม่เห็นเหมือนคุณอีกก็ ได้ค่ะ : ) และถ้ า อยากเริ ่ ม ต้ น การเป็ น นั ก เขี ย นธรรมะที ่ ด ี ก็ลองติดตามอ่านคอลัมน์ เขียนให้คนเป็นเทวดา ที่คุณ ‘ดังตฤณ’ มาช่วยเขียนเป็นนักเขียนประจำให้ ทุกสัปดาห์ดูนะคะ ขออนุโมทนาในจิตอันมีธรรมเป็นทานของทุกท่านค่ะ กอง บ.ก. ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐


ธรรมะใกล้ตัว dhamma at hand

มาร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลัง ที่ช่วยสร้างภาพใหม่ ให้กับพระพุทธศาสนา ด้วยการร่วมส่งบทความ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ท้ายเล่ม หรือที่ http://dungtrin.com/dharmaathand/


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.