หนังสือตามรอยบาทพระพุทธองค์ ๒

Page 1

µÒÁÃͺҷ¾Ãоط¸Í§¤ (ò) µÒÁÃͤíÒÊ͹¢Í§Í§¤ ¾ÃÐÊÑÁÁÒÊÑÁ¾Ø·¸à¨ŒÒ

àÃÕºàÃÕ§â´Â¹ÒÂÊѹµÔ ൪ÍѤáØÅ

¾ÃиÑÁàÁ¡Ê¶Ù» ÊÒùҶ àÁ×ͧ¾ÒÃÒ³ÊÕ 1.new.����������� �.indd 1

6/20/19 9:33 AM


�����������-����.indd 812

6/20/19 11:47 AM


�����������-����.indd 813

6/20/19 11:47 AM


�����������-����.indd 816

6/20/19 11:58 AM


µÒÁÃͺҷ¾Ãоط¸Í§¤ (ò) µÒÁÃͤíÒÊ͹¢Í§Í§¤ ¾ÃÐÊÑÁÁÒÊÑÁ¾Ø·¸à¨ŒÒ

àÃÕºàÃÕ§â´Â

¹ÒÂÊѹµÔ ൪ÍѤáØÅ

01.����� p.01-20 new.indd 1

6/20/19 11:47 AM


µÒÁÃͺҷ¾Ãоط¸Í§¤ì (ò) µÒÁÃͤíÒÊ͹¢Í§Í§¤ì¾ÃÐÊÑÁÁÒÊÑÁ¾Ø·¸à¨éÒ àÃÕºàÃÕ§â´Â : ¹ÒÂÊѹµÔ ൪ÍѤáØÅ I S B N : 978-974-496-219-5

ÃÒ¤Ò : ¾ÔÁ¾ìà¾×èÍᨡà»ç¹¸ÃÃÁ·Ò¹à·èÒ¹Ñé¹ äÁèä´éÁÕäÇéà¾×èͨíÒ˹èÒÂ. ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่พิมพ์ : จํานวนพิมพ์ : สถานที่ติดต่อ :

พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕,๐๐๐ เล่ม โทรศัพท์ ๐๒-๗๒๑-๖๑๘๔ โทรสาร ๐๒-๓๒๑-๘๗๙๒

ดําเนินการจัดพิมพ์ : สํานักพิมพ์สาละ ๙/๖๐๙ ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทรศัพท์/โทรสาร. ๐๒-๔๒๙-๒๔๕๒, ๐๘๙-๘๒๙-๘๒๒๒

ʧǹÅÔ¢ÊÔ·¸ÔìµÒÁ¾ÃÐÃÒªºÑÞÞѵԡÒþÔÁ¾ì ੾ÒСÒùíÒä»à¾×èÍ¡ÒþҳԪÂì

01.����� p.01-20 new.indd 2

6/20/19 12:04 PM


ÍÒÃÑÁÀ¡¶Ò ขาพเจาขอนอบนอมพระพุทธเจาผูประเสริฐสุด หาบุคคลเปรียบปาน มิได ผูเสด็จขามสังสารสาครคือไญยธรรมไดแลว ผูมีพระทัยเยือกเย็นสนิท ดวยพระมหากรุณาธิคณ ุ ผูม ศี ลี มีพระญาณ มีวมิ ตุ ติ ไมมใี ครเทียมทัน เปน นาถะของโลก ดวยเศียรเกลา ขาพเจาขอนอบนอมพระธรรมอันยอดเยี่ยม สงบ ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นไดยาก เปนธรรมเครื่องออกจากทุกข เปนเครื่องสงบกิเลส เปนไปเพื่อ ปรินิพพาน ดวยเศียรเกลา ขาพเจาขอนอบนอมพระสงฆสาวกของพระผูมีพระภาคเจา ผูตั้ง อยูในมรรคและผล สมบูรณดวยคุณมีศีลเปนตน ผูเปนอริยสงฆ ผูเปน เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม ดวยเศียรเกลา บุญใดสําเร็จดวยการนอบนอมนมัสการพระรัตนตรัย ขอขาพเจา ปราศจากอันตรายในที่ทั้งปวง ดวยเดชแหงบุญนั้น ขอความปรารถนาที่ ขาพเจาตั้งไว จงสําเร็จทุกประการเทอญ

01.����� p.01-20 new.indd 3

6/20/19 11:47 AM


¤íÒ¹íÒ

เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ คณะทาน พลอากาศโทมรกต – คุณเพลินพิศ ชาญสํารวจ รวมทั้งขาพเจานําโดย คุณสุวัฒ ชาญสุวิทยานันท ไดเดินทางไปยังประเทศ อินเดียเพื่อกราบไหวสังเวชนียสถาน ๔ ตําบล ดวยความศรัทธาในการไดไปกราบไหว สังเวชนียสถานครั้งนั้นและครั้งตอมา ๆ ดวยเจตนาที่ตองการใหชาวพุทธทั้งหลายทราบวา พระพุทธเจามีจริง คําสอนของพระพุทธเจาเปนจริง ขาพเจาไดเรียบเรียงหนังสือเลมแรก ชื่อ “ตามรอยบาทพระพุทธองค พรอมภาพถายพุทธสถานที่สําคัญ” โดยไดเดินทางไป ประเทศอินเดีย ๒ ครั้ง เพื่อถายภาพพุทธสถานที่สําคัญในประเทศอินเดีย เชน สถาน ที่ประสูติ ตรัสรู แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานเปนตน พรอมไดนําพระสูตรใน พระไตรปฎกมาประกอบ เพื่อแสดงใหชาวพุทธทั้งหลาย ไดเห็นถึงสถานที่และประวัติของ องคพระสัมมาสัมพุทธเจา ในการเรียบเรียงหนังสือ “ตามรอยบาทพระพุทธองค พรอมภาพถายพุทธสถาน ที่ สํ า คั ญ ” ข า พเจ า ได มี โ อกาสอ า นพระไตรป ฎ ก มี โ อกาสได ใ กล ชิ ด กั บ พระไตรป ฎ ก มีโอกาสทองไปในพระไตรปฎก จึงทําใหเกิดศรัทธาใน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” เพิ่มมากขึ้น แลว “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” อยูที่ไหนเลา ? เราเห็นหนังสือที่ เกีย่ วกับพระพุทธศาสนาเปนรอยเปนพันเปนหมืน่ เลม ... เราสามารถจําแนกไดไหมวาสวนไหน หนาไหนที่เปน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” สวนไหนหนาไหนที่ไมไดเปน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” แตเปนความเห็นสวนบุคคล ซึ่งไมไดเกี่ยวกับ คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจาเลย จากประสบการณเราสามารถจําแนกหนังสือ ธรรมะตาง ๆ ไดเปน ๓ ประเภทใหญ ๆ คือ ๑. หนังสือทีเ่ ขียนจากบุคคลบางจําพวกที่

01.����� p.01-20 new.indd 4

6/20/19 11:47 AM


ไมไดศึกษา “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” เลย แตไดปฏิบัติตามความเขาใจ ของตนเอง เชนปฏิบัติสมาธิเปนตน หลังจากนั้นก็ไดนําประสบการณในการปฏิบัติของ ตนเองมาทําเปนหนังสือ หนังสือประเภทนี้ สวนมากจะเปนคําสอนสวนบุคคล ไมใช “คําสอน-ขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” ๒. หนังสือเขียนขึ้นจากบุคคลบางจําพวกที่ได อานหนังสือมาก ไดปฏิบัติบาง เชน ปฏิบัติสมาธิเปนตน หลังจากนั้นก็ไดนําประสบการณ ในการศึกษาและปฏิบัติของตนเอง มารวบรวมกัน มาผสมกัน จนออกมาเปนความ เห็นของตนเองบาง อางเอาคําสอนของครูบาอาจารยตาง ๆ บาง แลวทําเปนหนังสือ หนังสือประเภทนี้ บางสวนก็เปน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” บางสวนก็ เปนคําสอนสวนบุคล ไมใช “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” ๓. หนังสือประเภท “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา ” อยางเดียว หนังสือประเภทนี้จะนําคําสอนมา จากพระสูตรตาง ๆ ในพระไตรปฎก มีที่มาที่ไปในพระคัมภีร อางอิงไดจากพุทธพจน ถึง แมอาจจะมีความเห็นสวนบุคคลบาง ความเห็นนั้น ๆ ก็จะเปนความเห็นของพระธรรม สังคาหกาจารย ซึ่งบุคคลดังกลาวนี้ เมื่อแสดงความเห็น ก็จะใหความเคารพในพุทธพจน อยางสูง จะไมมีขอความใด ๆ ขัดกับพระไตรปฎกเลย ในอรรถกถาตาง ๆ ที่พระธร รมสังคาหกาจารยไดพรรณนาไว เปนการอธิบายใหนักศึกษาเขาใจและเรียนรูขอความใน พระคัมภีรไ ดงา ยขึน้ หนังสือประเภทนีม้ คี อ นขางจะนอยมากในปจจุบนั เพราะฉะนัน้ ถาเราจะ ตามรอย “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” ก็จะตามไดจากพระไตรปฎก หรือหนังสือ ประเภทที่ ๓ นั่นเอง พอกลาวถึงพระไตรปฎกคือ “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” พระไตรปฎก เปนคัมภีรท ร่ี วบรวมคําสอนของพระพุทธเจา ตัง้ แตพระองคทรงตรัสรูท ใ่ี ตตน พระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งพระองคไดเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ใตตนสาละคู ณ เมืองกุสินารา รวมเวลา ที่พระองคทรงพระกรุณาสั่งสอนมนุษยและเทวดาเปนเวลา ๔๕ ป หลังจากที่พระพุทธเจา ไดเสด็จดับขันธปรินพิ พานได้ ๓ เดือน ได้มกี ารสังคายนาพระไตรปิฎกครัง้ แรกทีถ่ าํ ้ สัตตบรรณคูหา

01.����� p.01-20 new.indd 5

6/20/19 11:47 AM


ขางเขาเวภารบรรพตใกลกรุงราชคฤห มีพระอรหันต ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน โดยมี พระมหากัสสปเถระเปนประธาน (เชิญศึกษารายละเอียดการสังคายนาพระไตรปฎกไดจาก อรรถกถาพระวินัยปฎก สมันตปาทาทิกาแปล มหาวิภังควรรณนา หรือ สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หรือ พระไตรปฎกฉบับสําหรับประชาชน เปนตน) ในพระไตรปฎกนั้นมีคําสอนรวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ โดยเปนคําสอนของ พระพุทธเจาที่แสดง ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ เปนคําสอนของพระภิกษุสงฆที่บรรลุเปน พระอรหันตอีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ รวมเปน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ หลังจากการก ระทําสังคายนาครัง้ แรกแลว ก็ไดรบั การสังคายนาอีกหลายครัง้ ปจจุบนั ไดมกี ารแปลเปนภาษา ไทยใหเราไดศึกษากัน พุทธศาสนิกชนสวนมากจะเห็นวาพระไตรปฎก เปนคัมภีรที่กลาวถึงพุทธพจน ที่ยากที่จะเขาใจ บางทานก็ยังไมเขาใจเลยวาพระไตรปฎกคืออะไร ชาวพุทธที่มีจิตศรัทธา ในพระศาสนา บางครั้งก็ไดสรางพระไตรปฎก (ซื้อพระไตรปฎก และตูพระไตรปฎก) เพือ่ ถวายวัด เนือ่ งจากความรูส กึ ของชาวพุทธทีเ่ ห็นวาพระไตรปฎกเปนของสูง (พระไตรปฎก เปนของสูงจริง แตพระไตรปฎกก็เปนคัมภีรที่สืบทอดคําสอนของพระสัมมาสัมพุธเจา และเป น มรดกของพระองค ที่ มี ใ ห ช าวพุ ท ธได ศึ ก ษา) เมื่ อ ทางวั ด ได รั บ การบริ จ าคแล ว ก็คํานึงวาถาไมเก็บรักษาใหดีก็อาจจะเสียหายได จึงไดลอคเก็บไวอยางดีในตูพระไตรปฎก เปนเหตุใหพระภิกษุและสามเณรที่ตองการจะศึกษา ก็ไมสามารถที่จะศึกษาไดโดยสะดวก ถาเปนบานของชาวพุทธเลา ผูที่จะซื้อพระไตรปฎกไวเพื่ออานและศึกษา เทาที่ทราบมา ก็นอยมาก กลาวโดยสรุปผูที่ไดอานพระไตรปฎกจึงนอยมาก เหตุที่ขาพเจาศรัทธาใน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” อยางมาก คือ ประการแรก พระพุทธเจาเปนบุคคลที่ประเสริฐสุดแมในโลกนี้หรือในโลกอื่น (รายละเอียด จะอยูในบทพระพุทธคุณคาถา) พระธรรมคําสั่งสอนของพระองคก็เปนคําสอนที่ประเสริฐ สุด พระองคเปนบุคคลที่ประเสริฐสุด ไดนําพระธรรมอันประเสริฐสุดมาแสดง พระองค

01.����� p.01-20 new.indd 6

6/20/19 11:47 AM


ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องตน (ดวยศีล) งามในทามกลาง (ดวยสมถะและวิปสสนา และ มรรคผล) งามในที่สุด (ดวยพระนิพพาน) ทรงประกาศพรหมจรรย พรอมทั้งอรรถ พรอม ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณสิ้นเชิง ผูที่ไดฟงธรรมแลวยอมกลาววา ภาษิตของพระองค แจมแจงนัก ภาษิตของพระองคไพเราะยิ่งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ควํา เปด ของที่ปด บอกทางแกคนหลงทางหรือสองประทีปในที่มืด ดวยหวังวาผูมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ประการทีส่ อง “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” เปนธรรมเครือ่ งออกจากทุกข เปนเครื่องสงบกิเลส เปนไปเพื่อปรินิพพาน พระธรรมของพระองคอาทิเชน โพธิปกขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ มหาสติปฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย ๕ พละ ๕ โพชฌงค ๗ อริยมรรคมีองค ๘ ซึ่งเปนธรรมอันประเสริฐสุด ไมมีธรรมใดในโลกนี้หรือ โลกอื่นเปรียบเทียบได ดวยเหตุนี้ขาพเจาจึงมีความคิดวา จะดีเพียงใดถาเราชาวพุทธได อานพระธรรมคําสอนอันประเสริฐของพระองคดวยกัน จะดีเพียงใดถาเราชาวพุทธไดศึกษา คนควาพระธรรมคําสอนอันประเสริฐของพระองค ดวยกัน จะเปนบุญกุศลเพียงใดถาเรา ชาวพุทธไดชวยกันดํารงพระธรรมคําสอนอันประเสริฐของพระองค ใหคงไวนานเทานาน ดวยเหตุนข้ี า พเจาจึงตัดสินใจเรียบเรียงหนังสือ “ตามรอยบาทพระพุทธองค ๒ ตามรอยคําสอน ขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” เพื่อใหเราชาวพุทธทั้งหลายไดอาน ไดศึกษาและคนควา และเปนการเผยแผพระธรรมคําสัง่ สอนของพระพุทธองค เพือ่ ใหพระสัทธรรมของพระพุทธองค ดํารงอยูนานเทานาน พระไตรปฎกทีแ่ ปลเปนภาษาไทย ปจจุบนั มีอยู ๓ ฉบับ คือ ฉบับกรมการศาสนา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย หนังสือเลมนี้ขาพเจาได คัดลอกและเรียบเรียงจากพระไตรปฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยเปนหลัก เพื่อใหการอาน เขาใจงายขึ้น บางสูตรขาพเจาจะนําอรรถกถาของสูตรนั้น ๆ มาสลับกับพุทธพจน ในสวนที่ เปนอรรถกถานั้น ขาพเจา จะใชตัวอักษรเอียง เพื่อใหทานทราบวานี้เปนอรรถกถา ขอความ ที่ขาพเจาเรียบเรียง ขาพเจาไดรับความกรุณาจากอาจารย สุภีร ทุมทอง สอบทานอีกครั้ง หนึ่ง เพื่อความถูกตอง

01.����� p.01-20 new.indd 7

6/20/19 11:47 AM


การอานพระไตรปฎกนั้น ใหตระหนักไววาอานไมงาย แตก็ไมยากเกินความตั้งใจ ที่จะทําความเขาใจในเนื้อหาสาระ ถาอานครั้งแรกไมเขาใจ ก็ใหอานสวนอื่นที่เขาใจกอน แลวคอยยอนมาทําความเขาใจกับการอานอีกครัง้ เพราะขอธรรมบางสวนถาเราทําความเขาใจ ได ก็จะทําใหเราเขาใจขอธรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกันดวย สรุปคืออยาทอถอย ใหคอ ย ๆ ทําความ เขาใจทีละเล็กทีละนอย ถาวันใดทานเห็นคุณคาของ “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” ทานก็จะรูสึกวา อรรถรสในหนังสือใด ๆ ที่จะเทียบกับอรรถรสในพระธรรมนั้นไมมี สมจริง ดังพระพุทธพจนตอนหนึ่งกลาวไววา รสแหงธรรม ชนะรสทั้งปวง ชาวพุทธที่มีบุญมาก ไดเกิดในสมัยพุทธกาล ทานผูมีบุญเหลานั้นจะไมอิ่มในการมองพระพุทธองค จะไมอิ่ม ในการฟงธรรมจากพระโอษฐของพระพุทธองค เราก็เปนชาวพุทธที่มีบุญไดเกิดมาในสมัย นี้ แมจะชาไปประมาณ ๒,๕๐๐ ป แตก็ไดพบมรดกที่พระพุทธองคไดสืบทอดไวให คือ พระไตรปฎก ถาเราชาวพุทธเปนผูมีศรัทธาใน “คําสอนขององคพระสัมมาสัมพุทธเจา” เรา ก็จะไมอิ่มในการอานพระไตรปฎกเลย สุดทายนี้ขาพเจาขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาของบุคคลตาง ๆ ดังนี้ 

01.����� p.01-20 new.indd 8

อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง ท่านกรุณาสอบทานข้อความที่ข้าพเจ้าคัดลอกและ เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ความรู้ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก และให้คําแนะนําในการทําหนังสือเล่มนี้

คุณเพลินพิศ ชาญสํารวจ กรุณาช่วยพิสูจน์อักษร

คุณสรนัยน์ เตชอัครกุล ช่วยงานเกี่ยวกับภาพถ่าย

คุณสรนันท์ เตชอัครกุล น.ส.ไพลิน เตชอัครกุล ช่วยงานการพิมพ์ต้นฉบับ

คุณอวยพร เตชอัครกุล ช่วยงานอ่านและจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

คุณวิเศษ ศรีเชษฐา ช่วยงานเกี่ยวกับการจัดรูปเล่มและการจัดพิมพ์

6/20/19 11:47 AM


บุญกุศลที่เกิดจากการคัดลอกและเรียบเรียงครั้งนี้ ขาพเจาขออุทิศบุญกุศลโดย มิใหมีสวนเหลือ ใหแก คุณพอเอี่ยวจง แซแต คุณแมซูเกียว แซฉั่ว และลูกหลานสกุล “เตชอัครกุล” ทุกทาน ใหทุกทานที่สามารถรับรู ไดอนุโมทนาโดยทั่วกัน ขอบุ ญ กุ ศ ลที่ เ กิ ด จากการอ า น การศึ ก ษา การใคร ค รวญ และการค น คิ ด พระ ไตรปฎกครั้งนี้ ขอบุญกุศล คุณงามความดีที่พวกเราทั้งหลายไดศึกษารวมกัน จงเปนบุญ เปนวาสนา เปนอุปนิสัย เปนอัธยาศัย ใหรูยิ่งธรรมที่ควรรูยิ่ง กําหนดรูธรรมที่ควรกําหนดรู ละธรรมทีค่ วรละ ทําใหแจงในธรรมทีค่ วรทําใหแจง เจริญธรรมทีค่ วรเจริญ มีเจริญสติปฏ ฐาน เปนตน ตรัสรูอริยสัจ ซึ่งเปนธรรมที่พนทุกขตามพระพุทธเจา โดยถวนทั่วทุกทานเทอญ

นายสันติ เตชอัครกุล ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๓

01.����� p.01-20 new.indd 9

6/20/19 11:47 AM


คําชี้แจงจาก อาจารยสุภีร ทุมทอง หนังสือ ตามรอยบาทพระพุทธองค ๒ นี้ คุณสันติ เตชอัครกุล เพียรพยายาม รวบรวมมาจากพระไตรปฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีวตั ถุ ประสงค เพื่อเผยแผพระธรรมคําสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจา ใหถูกตองตามที่พระองคตรัส ไว ไดนํามาใหขาพเจาชวยตรวจสอบให ซึ่งเนื้อหาที่รวบรวมมามีจํานวนมาก ขาพเจาไดตัด เนื้อหาบางสวนออกไปและไดเพิ่มเนื้อหาบางสวนเขามา และไดแยกแยะเนื้อหาเปนหมวดหมู รวมแลวเปน ๘ บท โดยมีแนวคิดคราว ๆ ดังนี้ บทที่ ๑ พระพุทธเจา รวบรวมเนื้อหาแสดงคุณของพระรัตนตรัย โดยเฉพาะองค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจา มีทงั้ สวนทีเ่ ปนพระพุทธองคตรัสเองและพระอรรถกถาจารย์รวบรวม ไว เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะใหแกสาธุชนทั้งหลาย บทที่ ๒ หลั ก ธรรม รวบรวมพระสู ต รที่ แ สดงหลั ก ธรรมที่ สํ า คั ญ ได แ ก อิทัปปจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ขันธ อายตนะ ธาตุ และหลักธรรมอื่น ๆ เพื่อให ผูศึกษาไดเขาใจหลักธรรมที่สําคัญตามที่พระพุทธเจาตรัสไว และจะไดนําไปศึกษาเพิ่มเติม ตอไปได บทที่ ๓ กรรมและการวนเวียน รวบรวมพระสูตรที่แสดงเรื่องกรรมและการเกิด วนเวียนไปมาไมสิ้นสุด ของหมูสัตวที่มีอวิชชากางกั้นและมีตัณหาฉาบทาไว เพื่อใหเกิดความ สลดสังเวช เบื่อหนายในกองทุกขที่ติดมากับความเกิด จะไดพากันเรงรีบศึกษาและปฏิบัติ ตามคําสอนของพระพุทธเจา อันเปนคําสอนที่นําออกจากทุกขไดจริง บทที่ ๔ จุดประสงคของพรหมจรรย รวบรวมพระสูตรทีแ่ สดงแกนของการประพฤติ พรหมจรรย คือเปนไปเพื่อความหลุดพน ปลอยวาง เปนอิสระ ไมใชเพื่อยึดถือ หรือครอบ ครองเปนเจาของสิ่งใด เพื่อใหผูศึกษาไดรับประโยชนอันเปนแกนสารจากการศึกษาคําสอน ของพระพุทธเจา บทที่ ๕ หลักการปฏิบัติสมถะและวิปสสนา รวบรวมพระสูตรที่แสดงหลักการ ปฏิบัติ ทั้งในดานสมถะและวิปสสนาในแงมุมตาง ๆ ตั้งแตการฝกฝนใหมีสติสัมปชัญญะ ใหมีศีล สมาธิ ปญญา การฝกใหจิตพรอมควรแกการนําไปใชงานในลักษณะตาง ๆ เพื่อใหผูศึกษานําไปพิจารณาและเลือกปฏิบัติตามจริตอัธยาศัยของตน

01.����� p.01-20 new.indd 10

6/20/19 11:47 AM


บทที่ ๖ โพธิปกขิยธรรม รวบรวมพระสูตรที่แสดงเนื้อหาของธรรมะที่เปนฝาย ของการตรัสรู ซึ่งมี ๗ หมวด ๓๗ ประการ ที่เรียกวาโพธิปกขิยธรรม ๓๗ เพื่อให ผูศึกษา ไดรูจักหมวดธรรมที่เปนฝายของตรัสรู และจะไดฝกฝนใหเกิดขึ้นในตนเอง บทที่ ๗ พระอริยเจา รวบรวมพระสูตรที่แสดงลักษณะของผูเปนพระอริยเจา ที่เปนผูมีปญญาละกิเลส เปนผูสงบอยางแทจริง เริ่มตั้งแตพระโสดาบัน ทานมีคุณสมบัติ ที่ ทําใหพยากรณตนเองไดวาเปนผูแนนอนแลว จนกระทั่งถึงเปนพระอรหันตหมดกิเลสโดยสิ้น เชิง เพื่อใหผูศึกษารูจักลักษณะและคุณสมบัติของพระอริยะเจาอยางคราว ๆ บทที่ ๘ เรื่องทั่วไป รวบรวมพระสูตรที่แสดงหลักการปฏิบัติทั่วไป ตั้งแตชีวิต ฆราวาสธรรมดาจนกระทั่งหลักปฏิบัติตามมงคล อันจะทําใหเปนผูมีชัยชนะในที่ทุกสถานใน กาลทุกเมื่อ เพื่อใหผูศึกษานําไปพิจารณาและประพฤติปฏิบัติใหเหมาะกับสถานะของตนเอง เนื้อหาที่รวบรวมไวในหนังสือเลมนี้ โดยสวนใหญเปนคําสอนที่ตรัสไวโดยตรงจาก พระพุทธเจา มีการแสดงธรรมของทานพระสารีบุตร ทานพระอานนท และคําขยายความของ พระอรรถกถาจารยบาง แตก็มีเปนสวนนอย และสํานวนที่แปลก็เปนสํานวนเดิม ไมไดแปล ใหม เพียงแตไดจัดยอหนาใหมในที่บางแหง และไดทําอักษรเขมในสวนของเนื้อหาที่นาสนใจ เพื่อชวยใหผูศึกษาอานไดงายขึ้นเทานั้น ขออนุโมทนากับคุณสันติ เตชอัครกุล และผูท เี่ กีย่ วของในการจัดทําหนังสือเลมนีด้ ว ย บุญกุศลใดอันเกิดจากการรวบรวมพระธรรมคําสอนนี้ ขาพเจาขอนอมบูชาแดพระรัตนตรัย บุรพชนทั้งหลายผูรักษาพระศาสนาใหดํารงอยูตราบเทาปจจุบัน และบูชาพระคุณของครูบา อาจารยทุกทานที่ไดใหความรู ทั้งขออุทิศบุญกุศลโดยมิไดมีสวนเหลือใหสรรพสัตวทั้งหลาย หากมีความผิดพลาดประการใด อันเกิดจากความดอยสติปญญาของขาพเจา ก็ขอขมาตอ พระรัตนตรัยและครูบาอาจารยทั้งหลาย และขออโหสิกรรมจากทานผูอานไว ณ ที่นี้ดวย ขอพระสัทธรรมของพระโลกนาถจงดํารงอยูตราบนาน ขอศาสนาของพระศาสดาจง รุง เรืองสวางไสวดวยขอปฏิบตั อิ นั ดีงาม มีศลี เปนตน ขอชนทัง้ หลายจงเคารพในพระสัทธรรม ขอพระราชาจงปกครองแผนดินโดยธรรม ขอฝนจงตกตองตามฤดูกาลเถิด สุภีร ทุมทอง ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓

01.����� p.01-20 new.indd 11

6/20/19 11:47 AM


สารบัญ

ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ๒ ตามรอยคําสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บทที่ ๑ พระพุทธเจ้า พุทธานุสติ สติระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ธัมมานุสติ สติระลึกถึงคุณพระธรรม สังฆานุสติ สติระลึกถึงคุณพระสงฆ์ อธิบายคําว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้นเป็นต้น อธิบายคําว่า ภควา เพราะทรงมีภาคธรรมเป็นต้น โพธิราชกุมารสูตร ประวัติตั้งแต่ทรงออกบวชจนถึงตรัสรู้ มหาสีหนาทสูตร ความน่าอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก ลักษณะการเสด็จดําเนินของพระพุทธเจ้า ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา พาหิยสูตรและอรรถกถา มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

๑ ๒๔ ๓๑ ๓๖ ๔๕ ๕๕ ๗๘ ๙๘ ๑๑๘ ๑๒๖ ๑๓๑ ๑๕๖ ๑๖๘

บทที่ ๒ หลักธรรม ๑. มหานิทานสูตร เหตุที่ทําให้เกิดกองทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ๒. วิภังคสูตร การจําแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๓. ผัคคุนสูตร ไม่มีใคร มีแต่ปฏิจจะ

๑๘๕ ๒๐๑ ๒๐๓

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓.

01.����� p.01-20 new.indd 12

6/20/19 11:47 AM


๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓. ๒๔. ๒๕. ๒๖.

01.����� p.01-20 new.indd 13

กัจจานโคตรสูตร ไม่เกี่ยวกับส่วนสุดข้างมีหรือไม่มี ติมพรุกขสูตร สุขทุกข์ใครทําให้ ปัจจัยสูตร เห็นเหตุปัจจัย ก็เลิกเห็นว่ามีเราจริง อุปนิสสูตร ธรรมะที่อิงอาศัยกันเกิด ญาณวัตถุสูตร ความรู้แบบอริยสัจในปฏิจจสมุปบาท ทุกขนิโรธสูตร ความเกิดและความดับสนิทแห่งทุกข์ ปริวีมังสนสูตร การพิจารณาเพื่อสิ้นทุกข์ นิทานสูตร พอใจกับเห็นโทษให้ผลต่างกัน อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ เห็นความจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย ปฐมวัชชีสูตร เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงพากันท่องเที่ยววนเวียนไป ตถสูตร อริยสัจเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ปริญเญยยสูตร หน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้อ ติตถสูตร อริยสัจที่ไม่มีใครคัดค้านได้ สีสปาสูตร อริยสัจเป็นความรู้กํามือเดียว สัมมาทิฏฐิสูตร รู้อริยสัจจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัจจวิภังคสูตร การแจกแจงอริยสัจ ๔ ภารสูตร ขันธ์ ๕ เป็นภาระ สัตตัฏฐานสูตร การรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๗ มหาปุณณมสูตร ขันธ์และอุปาทานขันธ์ เผณปิณฑสูตร อุปมาขันธ์ ๕ มีรูปเปรียบด้วยฟองน้ําเป็นต้น นกุลปิตุสูตร กายกระสับกระส่าย จิตไม่กระสับกระส่าย มหาตัณหาสังขยสูตร เหตุเกิดของขันธ์ ๕ และวิธีปฏิบัติให้หมดกองทุกข์ อุปปาทสูตร ธาตุที่ไม่ขึ้นกับการเกิดขึ้นของพระตถาคต

๒๐๕ ๒๐๖ ๒๐๘ ๒๑๐ ๒๑๓ ๒๑๖ ๒๑๘ ๒๒๒ ๒๒๔ ๒๒๖ ๒๒๗ ๒๒๘ ๒๒๙ ๒๓๔ ๒๓๕ ๒๔๙ ๒๕๔ ๒๕๕ ๒๕๘ ๒๖๖ ๒๗๓ ๒๗๗ ๒๙๖

6/20/19 11:47 AM


๒๗. ๒๘. ๒๙. ๓๐. ๓๑. ๓๒. ๓๓. ๓๔. ๓๕. ๓๖. ๓๗. ๓๘. ๓๙. ๔๐. ๔๑. ๔๒. ๔๓.

๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

ฉฉักกสูตร ธรรมะหมวดละ ๖ มีอายตนะภายในเป็นต้น สฬายตนวิภังคสูตร การจําแนกอายตนะ มหาราหุโลวาทสูตร ภาวนาโดยความเป็นธาตุ ทสุตตรสูตร รวบรวมธรรมะหมวดละ ๑ ถึงธรรมะหมวดละ ๑๐ ปณิหิตอัจฉวรรค ว่าด้วยจิตตั้งไว้ผิดทําลายอวิชชาไม่ได้เป็นต้น อัจฉราสังฆาตวรรค ว่าด้วยจิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสเป็นต้น วิปัลลาสสูตร ความเห็นคลาดเคลื่อนจากความจริง มหาทุกขักขันธสูตร คุณและโทษของกาม มาคัณฑิยสูตร กามไม่น่ายินดี กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ เหตุแห่งความทะเลาะวิวาท คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ สัตว์ดิ้นรนเพราะตัณหา ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ ชีวิตเป็นของน้อย กามสุตตนิทเทสที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องกาม อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ ว่าด้วยทุกข์หลากหลาย ปฐมมิคชาลสูตร ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว ปมาทวิหารีสูตร ผู้อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท ธรรมกถิกสูตร เหตุที่เรียกว่าธรรมกถึก

๒๙๗ ๓๐๘ ๓๑๗ ๓๒๓ ๓๕๘ ๓๖๐ ๓๖๒ ๓๖๓ ๓๗๓ ๓๘๕ ๓๙๔ ๔๐๘ ๔๑๒ ๔๓๕ ๔๓๘ ๔๔๐ ๔๔๒

บทที่ ๓ กรรมและการวนเวียน ติณกัฏฐสูตร สังสารยาวนานสําหรับผู้มีอวิชชากางกั้น ปฐวีสูตร บิดาของบิดามากกว่าก้อนดินที่ปั้น อัสสุสูตร น้ําตามากกว่าน้ําในมหาสมุทร ขีรสูตร น้ํานมมากกว่าน้ําในมหาสมุทร ปัพพตสูตร ผ้าเนื้อดีลูบภูเขา

๔๔๕ ๔๔๖ ๔๔๗ ๔๔๘ ๔๔๙

01.����� p.01-20 new.indd 14

6/20/19 11:47 AM


๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑.

สาสปสูตร หยิบเมล็ดผักกาด สาวกสูตร ระลึกถอยหลังวันละแสนกัป คงคาสูตร นับเมล็ดทรายไม่ไหว ทัณฑสูตร ไม่แน่นอนเหมือนท่อนไม้ตกพื้น ปุคคลสูตร กองกระดูกเท่าภูเขา ติงสมัตตาสูตร เลือดมากกว่าน้ําในมหาสมุทร เวปุลลปัพพตสูตร สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง กรรมสูตร กรรมเก่า กรรมใหม่ และความสิ้นกรรม วิตถารสูตร กรรม ๔ ประเภท จูฬกัมมวิภังคสูตร กรรมจําแนกให้คนแตกต่างกัน มหากัมมวิภังคสูตร ความสลับซับซ้อนของกรรม ยถาภูตสูตร อกุศลกรรมบถและกุศลกรรมบถ ทุติยวรรค ทสกนิบาต ผู้ถูกทิ้งไว้ในนรกและผู้ถูกเชิญไปสวรรค์ ทูตสูตร ผู้ส่งข่าวสารเตือนให้ไม่ประมาท ปาฏลิคามิยสูตร โทษของศีลวิบัติและอานิสงส์ของศีลสมบัติ เวลามสูตร เจริญอนิจจสัญญามีผลมากกว่าทานและเมตตาจิต

๔๕๐ ๔๕๑ ๔๕๒ ๔๕๓ ๔๕๔ ๔๕๕ ๔๕๗ ๔๕๙ ๔๖๐ ๔๖๒ ๔๖๘ ๔๗๖ ๔๗๙ ๔๘๕ ๔๘๘ ๔๙๐

๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

บทที่ ๔ จุดประสงค์ของพรหมจรรย์ จูฬสาโรปมสูตร เจโตวิมุตติอันไม่กําเริบเป็นแก่นของพรหมจรรย์ กันทรกสูตร ไม่ทําตนให้เดือดร้อนและไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน โรหิตัสสสูตร ที่สุดทุกข์อยู่ในกายที่มีจิตใจ สิกขานิสังสสูตร อานิสงส์ของการประพฤติพรหมจรรย์ พรหมจริยสูตร จุดประสงค์ของการประพฤติพรหมจรรย์

๔๙๗ ๕๐๕ ๕๑๘ ๕๒๐ ๕๒๒

01.����� p.01-20 new.indd 15

6/20/19 11:47 AM


๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑.

บทที่ ๕ หลักการปฏิบัติสมถะวิปัสสนา มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสายเอก คณกโมคคัลลานสูตร หลักการปฏิบัติไปตามลําดับ อินทรียภาวนาสูตร การพัฒนาอินทรีย์ในพระธรรมวินัยนี้ อานาปานสติสูตร การเจริญอานาปานสติที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก กายคตาสติสูตร วิธีเจริญกายคตาสติและอานิสงส์ ภัทเทกรัตตสูตร อยู่กับปัจจุบันเป็นผู้เจริญ จูฬราหุโลวาทสูตร มองให้เห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เสขปฏิปทาสูตร ข้อปฏิบัติของพระเสขะ มหาสุญญตสูตร วิธีปฏิบัติให้เกิดความรู้ตัว อโคจรและโคจร สิ่งไม่ควรรู้และสิ่งควรรู้ วุฏฐิสูตร คุณสมบัติของผู้เจริญกายคตาสติ ฐานสูตร สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เสมอ สัมปันนสูตร ลักษณะผู้ปรารภความเพียร สติสูตร สติสัมปชัญญะทําให้วิชชาวิมุตติบริบูรณ์ เจตนาสูตร ความสมบูรณ์ด้วยศีลส่งถึงฝั่งคือพระนิพพาน อปริหานิสูตร ธรรมะ ๔ ประการที่ทําให้อยู่ใกล้พระนิพพาน อริยวังสสูตร วงศ์ของพระอริยเจ้าที่ผู้รู้ไม่คัดค้าน วิมุตติสูตร เหตุแห่งความหลุดพ้น ๕ ประการ ยุคนัทธสูตร หนทางบรรลุธรรม ๔ อย่าง ปฐมทารุขันธสูตร สัมมาทิฏฐินําสู่พระนิพพานดุจท่อนไม้ลอยน้ํา วิปัสสนากถา เรื่องความรู้ที่เป็นวิปัสสนา ๔๐ อย่าง

01.����� p.01-20 new.indd 16

๕๒๕ ๕๖๑ ๕๖๗ ๕๗๒ ๕๘๓ ๕๙๕ ๕๙๘ ๖๐๓ ๖๑๒ ๖๒๒ ๖๒๕ ๖๒๙ ๖๓๓ ๖๔๗ ๖๔๘ ๖๕๐ ๖๕๒ ๖๕๔ ๖๕๗ ๖๕๙ ๖๖๑

6/20/19 11:47 AM


๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.

บทที่ ๖ โพธิปักขิยธรรม มหาจัตตาฬีสกสูตร อริยมรรคมีองค์ ๘ ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ พราหมณสูตร อริยมรรคมีชื่อหลายอย่าง กายสูตร อาหารของนิวรณ์และอาหารของโพชฌงค์ ปฐมเสทกสูตร รักษาตนเองชื่อว่ารักษาผู้อื่น สกุณัคฆิสูตร สติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ของบิดาตน สัมมัปปธานสังยุต สัมมัปปธาน ๔ ทําให้ถึงพระนิพพาน ฉันทสูตร อิทธิบาทและปธานสังขาร ทัฏฐัพพสูตร การเห็นอินทรีย์ในธรรมหมวดต่าง ๆ ทุติยวิภังคสูตร แจกแจงอินทรีย์ ๕ ประการ พลสังยุต พละ ๕ ทําให้ถึงพระนิพพาน

๖๖๙ ๖๗๙ ๖๘๑ ๖๘๔ ๖๘๖ ๖๘๘ ๖๘๙ ๖๙๐ ๖๙๑ ๖๙๓

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.

บทที่ ๗ พระอริยเจ้า ฉวิโสธนสูตร วิธีการตรวจสอบพระอริยะ ปฐมปัญจเวรภยสูตร คุณสมบัติของผู้ที่สามารถพยากรณ์ตนเองได้ คิหิสูตร คุณสมบัติพระโสดาบัน อรหันตสูตร ลักษณะของพระอรหันต์ ปริยายสูตร เหตุที่ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล สมณสูตร พระอริยบุคคล ๔ ปฐมนิพพานสูตร ลักษณะพระนิพพาน ๑ ทุติยนิพพานสูตร ลักษณะพระนิพพาน ๒ ตติยนิพพานสูตร ลักษณะพระนิพพาน ๓ จตุตถนิพพานสูตร ลักษณะพระนิพพาน ๔

๖๙๗ ๗๐๖ ๗๐๙ ๗๑๓ ๗๑๕ ๗๑๘ ๗๑๙ ๗๒๐ ๗๒๑ ๗๒๒

01.����� p.01-20 new.indd 17

6/20/19 11:47 AM


บทที่ ๘ เรื่องทั่วไป ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗.

สิงคาลกสูตร หลักปฏิบัติทั่วไปสําหรับคฤหัสถ์ อรณวิภังคสูตร ละธรรมฝ่ายทุกข์ ปฏิบัติแต่ธรรมฝ่ายไม่มีทุกข์ สัลเลขสูตร ธรรมะสําหรับขัดเกลากิเลส ปัตตกัมมสูตร สิ่งที่หาได้ยากของคฤหัสถ์ อันนนาถสูตร สุขของคฤหัสถ์ วิสาขาสูตร มีเท่าไร ทุกข์เท่านั้น มงคลสูตรและอรรถกถา มงคลสําหรับชีวิต

01.����� p.01-20 new.indd 18

๗๒๕ ๗๓๗ ๗๔๕ ๗๕๘ ๗๖๒ ๗๖๔ ๗๖๖

6/20/19 11:47 AM


ñ

¾Ãоط¸à¨éÒ

01.����� p.01-20 new.indd 19

6/20/19 11:47 AM


ËÅǧ¾‹Í¾Ãоط¸àÁµµÒ »ÃдÔÉ°Ò¹ÍÂÙ‹ÀÒÂã¹¾ÃÐÁËÒ਴Õ ¾Ø·¸¤ÂÒ ÃÑ°¾ÔËÒà »ÃÐà·ÈÍÔ¹à´ÕÂ໚¹¾Ãоط¸ÃÙ» »Ò§ÁÒÃÇԪѠÊÌҧ¢Öé¹´ŒÇÂà¹×éÍËÔ¹·ÃÒ ÊÁÑ»ÒÅÐ ÁÕÍÒÂØ»ÃÐÁÒ³ ñ,ôðð »‚

01.����� p.01-20 new.indd 20

6/20/19 11:47 AM


01.����������������.indd 1

6/20/19 9:49 AM


โย จ คาถาสตํ ภาเส เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย โย สหสฺสํ สหสฺเสน เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ

อนตฺถปทสญฺหิตา ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ. สงฺคาเม มานุเส ชิเน ส เว สงฺคามชุตฺตโม.

ก็ผู้ใด พึงกล่าวคาถาตั้งร้อย ซึ่งไม่ประกอบ ด้วยบทเป็น ประโยชน์ บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคล ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า (การกล่าว คาถาตัง้ ๑๐๐ ของผูน้ นั้ ) ผูใ้ ด พึงชนะ มนุษย์ พันหนึง่ คูณด้วยพันหนึง่ (คือ ๑ ล้าน) ในสงคราม ผูน้ นั้ หา ชื่ อ ว่ า เป็ น ยอดแห่ ง ชนผู ้ ช นะในสงครามไม่ ส ่ ว นผู ้ ใ ดชนะตน คนเดียวได้ ผูน้ นั้ แลเป็นยอดแห่ง ผูช้ นะในสงคราม อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติ ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉก

อุสุการา นนฺยนฺติ เตชนํ อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.

อันคนไขน�้ำทั้งหลายย่อมไขน�้ำ ช่างศรทั้งหลาย ย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน สุกรานิ อสาธูนิ ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ

อตฺตโน อหิตานิ จ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.

กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คนท�ำง่าย กรรมใด แลเป็นประโยชน์แก่ตนและดี กรรมนั้นแลท�ำยากอย่างยิ่ง

01.����������������.indd 2

6/20/19 9:49 AM


พุทธานุสติ

1

๑. พุทธานุสติ สติระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า วิสุทธิมรรค ภาค ๑ พุทธานุสติกถา

ในอนุสติเหล่านั้น พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันมั่นคง ต้องการ จะเจริญพุทธานุสติเป็นอันดับแรก พึงไปอยูใ่ นสถานทีเ่ งียบสงัด อยูใ่ นเสนาสนะอันสมควรแล้ว ระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ

วิ ชฺ ช าจรณสมฺ ป นฺ โ น สุ ค โต โลกวิ ทู อนุ ตฺ ต โร ปุ ริ ส ทมฺ ม สารถิ สตฺ ถ า เทวมนุ สฺ ส านํ

พุทฺโธ ภควา ต่อไปนี้เป็นวิธีการระลึกในพระพุทธคุณเหล่านั้น คือ ให้ระลึกไปทีละบทว่า โส ภควา อิติปิ อรหํ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิ ติ ปิ วิ ชฺ ช าจรณสมฺ ป นฺ โ น พระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ นั้ น ทรงได้ พระนามว่า วิชชาจรณสัมปันโน คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เพราะเหตุทั้งหลาย เหล่านี้ โส ภควา อิติปิ สุคโต พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า สุคโต เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ โลกวิทู พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า โลกวิทู คือผู้รู้แจ้งโลก เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิ ติ ปิ อนุ ตฺ ต โร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า อนุตตโร เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ ปุริสทมฺมสารถิ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า ปุริสทัมมสารถิ เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้


2

พระพุทธเจ้า

อีกอย่างหนึง่ โส ภควา อิตปิ ิ อนุตตฺ โร ปุรสิ ทมฺมสารถิ พระผูม้ พี ระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ คือทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้

พระนามว่ า สั ต ถา เทวมนุ ส สานั ง คื อ เป็ น ครู ส อนของเทวดาและมนุ ษ ย์ ทั้ ง หลาย เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ พุทฺโธ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า พุทโธ เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ โส ภควา อิติปิ ภควา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า ภควา เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้

อธิบายพุทธคุณบทว่า อรหํ พระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ ทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะเหตุทงั้ หลายเหล่านี้ คือ (๑) เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส (๒) เพราะทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย (๓) เพราะทรงหักกำของสังสารจักรได้ (๔) เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น (๕) เพราะไม่มีที่ลับในการทำบาปทั้งหลาย เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ไกล คือทรงดำรงอยู่ใน ที่ไกลแสนไกลจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เพราะทรงกำจัดได้แล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้ง วาสนาด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผูม้ พ ี ระภาค ผูเ้ ป็นนาถะ ไม่ทรงมีความข้องแวะกับกิเลส และไม่ทรงประกอบด้วยสิ่งอันเป็นโทษทั้งหลาย ชื่อว่าทรงเป็นผู้ไกล จากกิเลสและโทษนั้น เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏพระนามว่า อรหํ


พุทธานุสติ

3

ข้าศึกคือกิเลสทัง้ หลาย อันพระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ ทรงกำจัดได้แล้วด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายได้ ข้าศึกคือกิเลสทัง้ หลายมีราคะเป็นต้นแม้ทงั้ สิน้ พระผูม้ พี ระภาค ผูเ้ ป็นนาถะ ทรงกำจัดแล้วด้วยดาบคือปัญญา เพราะเหตุนนั้ จึงปรากฏ พระนามว่า อรหํ สั ง สารจั ก รใด มี ดุ ม อั น สำเร็ จ ด้ ว ยอวิ ช ชาและภวตั ณ หา มี ก ำอั น สำเร็ จ ด้ ว ย ปุญญาภิสังขารเป็นต้น มีกงอันสำเร็จด้วยชรามรณะ อันสอดร้อยไว้ด้วยเพลาอันสำเร็จ ด้วยอาสวสมุทัย ประกอบเข้าไว้ในตัวรถกล่าวคือภพ ๓ อันแล่นไปแล้วตลอดกาลหา เบื้องต้นและที่สุดมิได้ ซี่กำทั้งหมดแห่งสังสารจักรนั้น อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยื น อยู่ บ นแผ่ น ดิ น คื อ ศี ล ด้ ว ยพระบาทคื อ วิ ริ ย ะ ทรงจั บ ขวานคื อ ญาณอั น กระทำ ความสิ้นไปแห่งกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธา ทรงหักได้แล้วที่ควงต้นโพธิ์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรงหักกำของสังสารจักรได้ อีกอย่างหนึ่ง สังสารวัฏอันไม่ปรากฏที่สิ้นสุด เรียกว่าสังสารจักร อวิชชานับว่า เป็นดุมของสังสารจักรนั้น เพราะเป็นต้นสุด ชรามรณะนับว่าเป็นกง เพราะเป็นปลายสุด ธรรมที่เหลือ ๑๐ ข้อนับเป็นซี่กำ เพราะมีอวิชชาอยู่ต้นและมีชรามรณะอยู่ปลาย ในธรรมเหล่ า นั้ น ความไม่ รู้ ใ นอริ ย สั จ มี ทุ ก ข์ เ ป็ น ต้ น ชื่ อ ว่ า อวิ ช ชา อวิ ช ชาใน กามภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ อวิชชาในรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่ สังขารทั้งหลายในรูปภพ อวิชชาในอรูปภพ ย่อมเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ สังขารทั้งหลายในกามภพเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ ในภพนอกนี้ ก็นัยนั้นเหมือนกัน ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ ในรูปภพก็อย่างนั้น เหมือนกัน แต่ในอรูปภพ ปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะครบทั้ง ๖ ในกามภพ นามรูปในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๓ ในรูปภพ นามในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๑ ในอรูปภพ อายตนะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๖ ในกามภพ อายตนะ ๓ ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๓ ในรูปภพ อายตนะ ๑ ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๑ ในอรูปภพ


4

พระพุทธเจ้า

ผัสสะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖ ในกามภพ ผัสสะ ๓ ในรูปภพเป็น ปัจจัยแก่เวทนา ๓ ในรูปภพ ผัสสะ ๑ ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๑ ในอรูปภพ เวทนา ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๖ ในกามภพ เวทนา ๓ ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๓ ในรูปภพ เวทนา ๑ ในอรูปภพ เป็นปัจจัยแห่งกองตัณหา ๑ ในอรูปภพ ตัณหานั้นในภพนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น ๆ ธรรมที่เหลือมีอุปาทาน เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมีภพเป็นต้น ถามว่า การเป็นปัจจัยนี้เป็นอย่างไร ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรารถนาว่า เราจักบริโภคกาม แล้วประพฤติ ทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพราะกามุปาทานเป็น ปัจจัย เขาเต็มไปด้วยทุจริต ตายไปเกิดในอบาย กรรมอันเป็นเหตุของการเกิดในอบายนั้น ของเขาเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดเพราะกรรมเป็นอุปปัตติภพ ความเกิดแห่งขันธ์ ทั้งหลายเป็นชาติ ความเสื่อมไปแห่งขันธ์เหล่านั้นเป็นชรา ความแตกสลายไปแห่งขันธ์ เหล่านั้นเป็นมรณะ อีกคนหนึ่ง ปรารถนาว่า เราจักเสวยสมบัติในสวรรค์ แล้วประพฤติสุจริตเพราะ กามุปาทานเป็นปัจจัยอย่างเดียวกันนั้น เขาเต็มเปี่ยมไปด้วยสุจริต ตายไปก็เกิดในสวรรค์ เนื้อความก็นัยเดียวกันนั้น คือ กรรมอันเป็นเหตุของการเกิดในสวรรค์ของเขานั้นเป็น กรรมภพ ดังนี้เป็นต้น อี ก คนหนึ่ ง ปรารถนาว่ า เราจั ก เสวยสมบั ติ ใ นพรหมโลก แล้ ว เจริ ญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยเหมือนกัน ครั้นเต็มไปด้วยภาวนา เขาตายไปก็เกิดในพรหมโลก เนื้อความก็นัยเดียวกันนั้น คือ กรรมอันเป็นเหตุของการเกิด ในพรหมโลกของเขานั้นเป็นกรรมภพ ดังนี้เป็นต้น อี ก คนหนึ่ ง ปรารถนาว่ า เราจั ก เสวยสมบั ติ ใ นอรู ป ภพ แล้ ว เจริ ญ สมาบั ติ มี

อากาสานัญจายตนะเป็นต้น เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยเช่นเดียวกัน ครั้นเต็มไปด้วย ภาวนา เขาตายไปก็เกิดในอรูปภพนั้น ๆ กรรมอันเป็นเหตุของการเกิดในอรูปภพนั้นของ เขาเป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดเพราะกรรมเป็นอุปปัตติภพ ความเกิดแห่งขันธ์ ทั้งหลายเป็นชาติ ความเสื่อมไปแห่งขันธ์เหล่านั้นเป็นชรา ความแตกสลายไปแห่งขันธ์ เหล่านั้นเป็นมรณะ นัยแม้ในการอธิบายความอันมีอุปาทานที่เหลือเป็นมูลก็เหมือนกับนัยนี้


พุทธานุสติ

5

บาลี ใ นขุ ท ทกนิ ก าย ปฏิ สั ม ภิ ท ามรรค กล่ า วไว้ โ ดยนั ย ดั ง นี้ ปั ญ ญาในการ แยกแยะปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นสิ่งที่เกิดจากเหตุ อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้ น ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด จากเหตุ ด้ ว ย” นี้ ชื่ อ ธั ม มั ฏ ฐิ ติ ญ าณ ปั ญ ญาในการแยกแยะปั จ จั ย ว่ า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นสิ่งที่เกิดจากเหตุ อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้นก็เป็นสิ่งที่เกิด จากเหตุด้วย ทั้งในกาลอดีตและกาลอนาคต” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ บททั้งปวง บัณฑิตพึง นำมาแสดงให้พิสดารโดยนัยนี้ ในธรรมเหล่านั้น อวิชชากับสังขารเป็นสังเขป ๑ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นสังเขป ๑ ตัณหา อุปาทาน ภพ เป็นสังเขป ๑ ชาติ ชรามรณะ เป็นสังเขป ๑ อนึ่ง ใน ๔ สังเขปนั้น สังเขปแรกเป็นอดีตกาล สังเขปกลางสองอย่างเป็น ปัจจุบันกาล ชาติ ชรามรณะเป็นอนาคตกาล อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น ด้วยการกล่าวถึงอวิชชาและสังขาร ก็เป็นการกล่าวถึง ตัณหา อุปาทาน ภพด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ จึงจัดเป็นกรรมวัฏในอดีต ธรรม ๕ ประการมีวิญญาณเป็นต้นจัดเป็นวิปากวัฏในกาลบัดนี้ ด้วยกล่าวถึงตัณหา อุปาทาน ภพ ก็เป็นการกล่าวถึงอวิชชาและสังขารด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ จึงเป็นกรรมวัฏในกาลบัดนี้ด้วย ธรรม ๕ ประการคือวิญญาณเป็นต้นนี้จัดเป็นวิปากวัฏใน กาลต่อไป เพราะด้วยการกล่าวถึงชาติ ชรามรณะ ก็เป็นการบ่งชี้ถึงธรรม ๕ ประการมี วิญญาณเป็นต้น ธรรมเหล่านั้นว่าโดยอาการจึงเป็น ๒๐ อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น ระหว่างสังขารกับวิญญาณมีสนธิ ๑ ระหว่างเวทนากับ ตัณหามีสนธิ ๑ ระหว่างภพกับชาติมีสนธิ ๑ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ทรงเห็น คือทรง รู้ยิ่งเห็นจริงซึ่งปฏิจจสมุปบาท อันมีสังเขป ๔ กาล ๓ อาการ ๒๐ สนธิ ๓ นั้น

โดยอาการทั้งปวงโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่าหยั่งรู้ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ ประจักษ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการแยกแยะปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ พระผู้ มี พ ระภาคเมื่ อ ทรงรู้ ธ รรมเหล่ า นั้ น ตามความเป็ น จริ ง ด้ ว ยธั ม มั ฏ ฐิ ติ ญ าณนี้ แ ล้ ว ทรงเบื่ อ หน่ า ยในธรรมเหล่ า นั้ น ทรงคลายกำหนั ด หลุ ด พ้ น ไป ชื่ อ ว่ า ทรงกำจั ด คื อ รื้อทำลายซึ่งกำทั้งหลายแห่งสังสารจักร อันมีประการดังกล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรง พระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรงหักกำของสังสารจักรได้


6

พระพุทธเจ้า

ซี่กำทั้งหลายแห่งสังสารจักร พระโลกนาถเจ้าทรงทำลายแล้ว ด้วยดาบคือพระญาณ เพราะเหตุนนั้ พระองค์จงึ ทรงพระนามว่า อรหํ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ย่อมควรซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น และควร ซึ่งการบูชาที่วิเศษ เพราะพระองค์เป็นผู้เลิศสุดในบรรดาทักขิไณยบุคคล เพราะฉะนั้น

เมื่ อ พระตถาคตเจ้ า เสด็ จ อุ บั ติ ขึ้ น แล้ ว เทวดาและมนุ ษ ย์ ทั้ ง หลายผู้ มี ศั ก ดิ์ ใ หญ่ เ หล่ า ใด เหล่าหนึ่ง จึงไม่ทำการบูชาในที่อื่น จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้บูชาพระตถาคตเจ้า ด้วยพวงแก้วเท่าเขาสิเนรุ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่น มีพระเจ้าพิมพิสารและ พระเจ้าโกศลเป็นต้นก็ทรงบูชาแล้วตามกำลัง และพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ ถึง ๙๖ โกฏิ สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังทั่วทั้งชมพูทวีป อุทิศพระผู้มีพระภาค แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว จะป่วยกล่าวไปใยถึงการบูชาที่วิเศษเหล่าอื่นเล่า เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงได้พระนามว่า อรหํ แม้เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น พระโลกนาถเจ้านี้ ทรงควรการบูชาอย่างวิเศษและควรแก่ ปัจจัยทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระองค์ผู้เป็นพระชินะ จึงควรได้ พระนามว่า อรหํ ในโลก ซึ่งเป็นพระนามที่มีความเหมาะสม คนพาลทั้ ง หลายผู้ ถื อ ตั ว ว่ า เป็ น บั ณ ฑิ ต ทุ ก จำพวกในโลก ย่ อ มทำบาปในที่ ลั บ เพราะ กลัวจะถูกติเตียน ฉันใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงกระทำดังนั้น

ในกาลไหน ๆ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงได้พระนามว่า อรหํ แม้เพราะไม่มีที่ลับในการ กระทำบาป ที่ลับในการทำบาปทั้งหลาย ย่อมไม่มีสำหรับพระตถาคตเจ้า เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงปรากฏ พระนามว่า อรหํ ในพระนามว่า อรหํ นี้ มีคาถาประพันธ์เนื้อความดังนี้ว่า พระมุนีนั้น เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ไกล ๑ เพราะทรง ทำลายข้ า ศึ ก คื อ กิ เ ลสทั้ ง หลาย ๑ เพราะพระองค์ เ ป็ น ผู้ หั ก กำแห่ ง สังสารจักร ๑ เพราะเป็นผู้ควรปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่ทรงทำบาป ทั้งหลายในที่ลับ ๑ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า อรหํ


พุทธานุสติ

7

อธิบายพุทธคุณบทว่า สัมมาสัมพุทโธ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า สั มมาสั ม พุ ท โธ เพราะตรัสรู้ ธรรมทั้งปวงโดยถูกต้องและด้วยพระองค์เอง จริงอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคนั้น ตรัสรู้โดยถูกต้องและด้วยพระองค์เองซึ่งธรรมทั้งปวง คือ (๑) ตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง (๒) ตรัสรู้ธรรมที่ควรรอบรู้ โดยความเป็นธรรมที่ควรรอบรู้ (๓) ตรัสรู้ธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่ควรละ (๔) ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (๕) ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้เกิด โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้เกิด ด้วยเหตุนั้นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรทำให้เกิด เราก็ ท ำให้ เ กิ ด แล้ ว และสิ่ ง ที่ ค วรละ เราก็ ล ะได้ แ ล้ ว เพราะเหตุ นั้ น

เราจึงเป็นพุทธะ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยถูกต้องและ ด้วยพระองค์เอง แม้โดยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า จักขุเป็นทุกขสัจ ตัณหาในภพก่อนอันทำจักขุนั้นให้เกิด โดยความเป็นมูลเหตุของ จั ก ขุ นั้ น เป็ น สมุ ทั ย สั จ ความไม่ เ กิ ด แห่ ง จั ก ขุ แ ละเหตุ แ ห่ ง จั ก ขุ ทั้ ง ๒ นั้ น เป็ น นิ โ รธสั จ ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้รู้นิโรธเป็นมรรคสัจ ในโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมนะ ก็มีวิธี การเหมือนกันนี้ บัณฑิตพึงประกอบหมวดธรรมต่อไปนี้โดยวิธีการนี้นั่นแหละ คือ

(๑) อายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น (๒) วิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น (๓) ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสเป็นต้น (๔) เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น (๕) สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น (๖) เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น


8

พระพุทธเจ้า

(๗) ตัณหา ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น (๘) วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น (๙) วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น (๑๐) ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น (๑๑) กสิณ ๑๐ (๑๒) อสุภะ ๑๐ (๑๓) อนุสติ ๑๐ (๑๔) สัญญา ๑๐ มีอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น (๑๕) อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น (๑๖) อายตนะ ๑๒ (๑๗) ธาตุ ๑๘ (๑๘) ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น (๑๙) ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น (๒๐) อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น (๒๑) อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น (๒๒) องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี อวิชชาเป็นต้น ในชรามรณะเป็ น ต้ น นั้ น มี ก ารประกอบที ล ะบทดั ง ต่ อ ไปนี้ พระผู้ มี พ ระภาค พระองค์นั้นตรัสรู้ คือ ตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่ แทงตลอดซึ่งธรรมทั้งปวงโดยถูกต้องและ ด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็น ทุกขสัจ ชาติเป็น สมุทัยสัจ การสลัดออกเสียได้ซึ่งชรามรณะและ เหตุเกิดแห่งชรามรณะแม้ทงั้ ๒ นัน้ เป็น นิโรธสัจ ข้อปฏิบตั ทิ เี่ ป็นเหตุให้รนู้ โิ รธเป็น มรรคสัจ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ

ก็เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวงโดยถูกต้องและด้วยพระองค์เอง ดังนี้


พุทธานุสติ

9

อธิบายพุทธคุณบทว่า วิชชาจรณสัมปันโน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า วิ ช ชาจรณสั ม ปั น โน เพราะ ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในวิชชาและจรณะนั้น วิชชา ๓ ก็ดี วิชชา ๘ ก็ดี ชื่อว่า วิชชา วิชชา ๓ ตามนัยที่กล่าวไว้ในภยเภรวสูตร คือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (๒) จุตูปปาตญาณ (๓) อาสวักขยญาณ วิ ช ชา ๘ ตามนัยที่กล่าวไว้ในอัมพัฏฐสูตร คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มโนมยิทธิญาณ (๓) อิทธิวิธญาณ (๔) ทิพพโสตญาณ (๕) เจโตปริยญาณ (๖) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (๗) ทิพพจักขุญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ในอัมพัฏฐสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรัสอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ ตรัสเป็นวิชชา ๘ ธรรมะ ๑๕ ประการ คือ (๑) สีลสังวร ความสำรวมด้วยศีล (๒) ความเป็นผู้มี ทวารอันคุม้ ครองแล้วในอินทรียท์ งั้ หลาย (๓) ความเป็นผูร้ ปู้ ระมาณในโภชนะ (๔) ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียร (๕–๑๑) สัทธรรม ๗ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต

วิริยารัมภะ สติ ปัญญา (๑๒-๑๕) ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ชื่อว่า จรณะ จริงอยู่ ธรรม ๑๕ นี้แหละ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าจรณะ เพราะเหตุที่เป็น เครื่ อ งดำเนิ น ไปสู่ พ ระนิ พ พานของพระอริ ย สาวก ดั ง ที่ ท่ า นพระอานนท์ เ ถระกล่ า วว่ า

“ดูก่อนมหานามะ อริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล” ดังนี้เป็นต้น คำทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่กล่าวในเสขปฏิปทาสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยวิชชาเหล่านี้และจรณะนี้ด้วย เพราะเหตุนั้น

จึงทรงได้พระนามว่า วิชชาจรณสัมปันโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น ความถึงพร้อมด้วยวิชชา สร้างความ เป็นสัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคให้เต็มอยู่ ความถึงพร้อมด้วยจรณะ สร้างความเป็น ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ให้เต็มอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ ชัดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ด้วยความเป็นสัพพัญญู ทรงเว้น

สิ่ ง ที่ ไ ม่ ใ ช่ ป ระโยชน์ ทรงชั ก นำในสิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ด้ ว ยความเป็ น ผู้ ป ระกอบด้ ว ย


10

พระพุทธเจ้า

พระมหากรุณา เพราะเหตุนั้น เหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นจึงเป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชั่ว ดุจเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิทั้งหลายผู้ขาดวิชชาและจรณะ ซึ่งเป็นบุคคล จำพวกทำตนให้ลำบากเป็นต้น

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า สุคโต พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า สุคโต (๑) เพราะทรงมีทางเสด็จไปอันงดงาม (๒) เพราะเสด็จไปยังสถานที่อันดี (๓) เพราะเสด็จไปโดยชอบ (๔) เพราะตรัสไว้โดยชอบ ทางไปได้ชื่อว่า “คต” ทางไปของพระผู้มีพระภาคนั้นงดงาม บริสุทธิ์ หาโทษมิได้ ทางไปนั้ น ได้ แ ก่ อ ริ ย มรรค ก็ พ ระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ นั้ น เสด็ จ ไปได้ ยั ง ทิ ศ อั น เกษม ไม่ข้องขัดด้วยทางนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะทรงมีทางเสด็จไป อันงดงาม พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังสถานที่ดี คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงทรง พระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปยังสถานที่อันดี พระองค์เสด็จไปโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับ

มาสูก่ เิ ลสทัง้ หลายทีล่ ะได้แล้วด้วยมรรคนัน้ ๆ สมจริงดังคำทีท่ า่ นกล่าวไว้วา่ พระผูม้ พี ระภาค ทรงได้ พ ระนามว่ า สุ ค โต เพราะอรรถว่ า ไม่ ก ลั บ มา ไม่ คื น มา ไม่ ห วนกลั บ มาสู่ กิ เ ลส ทั้งหลายที่โสดาปัตติมรรคละได้แล้ว ... พระองค์ทรงได้พระนามว่า สุคโต เพราะอรรถว่า ไม่กลับมา ไม่คนื มา ไม่หวนกลับมาสูก่ เิ ลสทัง้ หลายทีอ่ รหัตตมรรคละได้แล้ว อีกประการหนึง่ พระองค์เสด็จไปโดยชอบ คือ ทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชาวโลกทั้งหมด อย่างเดียว ด้วยการปฏิบัติชอบที่ทรงบำเพ็ญมาด้วยอำนาจพระบารมี ๓๐ ทัศ นับตั้งแต่ แทบพระบาทของพระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงควงไม้โพธิ์ และไม่เสด็จเข้าไปใกล้ส่วนสุดเหล่านี้ คือ เรื่องเที่ยง เรื่องขาดสูญ ความสุขในกาม การประกอบความเพียรทำตนให้ลำบาก เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปโดยชอบ


พุทธานุสติ

11

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบ คือ ตรัสพระวาจาที่สมควร ในฐานะ ทีส่ มควรเท่านัน้ เพราะเหตุนนั้ จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต แม้เพราะตรัสโดยชอบ ในเรือ่ งนัน้ มีพระสูตรเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ว่า พระตถาคตทรงรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตย่อมไม่ตรัสวาจานั้น พระตถาคตทรงรู้วาจาใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น วาจาแม้นั้นพระตถาคตก็ไม่ตรัส ก็แลพระตถาคตทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตทรงเป็นผู้รู้กาลเพื่อตรัสวาจานั้น พระตถาคตทรงรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น พระตถาคตทรงรู้ว่าวาจาใด จริง แท้ แต่ไม่เป็นประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น วาจาแม้นั้นพระตถาคตก็ไม่ตรัส ก็แลพระตถาคตทรงรู้วาจาใด จริง แท้ เป็นประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รักเป็น ที่ชอบใจของคนเหล่าอื่น พระตถาคตก็ทรงเป็นผู้รู้กาลเพื่อตรัสวาจานั้น พระผูม้ พี ระภาคนัน้ บัณฑิตพึงทราบว่าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะตรัสไว้โดยชอบ ดังกล่าวมาฉะนี้

อธิบายพุทธคุณบทว่า โลกวิทู พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า โลกวิ ทู เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งโลกโดย ประการทั้งปวง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ ทรงรู้อย่างทั่วถึง ทรงแทง ตลอดโลกโดยประการทั้งปวง โดยสภาวะบ้าง โดยสมุทัยบ้าง โดยนิโรธบ้าง โดยอุบาย เป็นเหตุถึงนิโรธบ้าง เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนอาวุโส ในที่สุดแห่งโลกใด ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่

กล่าวที่สุดแห่งโลกนั้นว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการเดินทาง ดูก่อนอาวุโส


12

พระพุทธเจ้า

และเราไม่กล่าวว่า หากยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก จะสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนอาวุโส อีกอย่างหนึ่ง เราย่อมบัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความพ้นโลก และข้อปฏิบัติให้ถึง ความพ้นโลก ที่ร่างกายประมาณวาหนึ่งซึ่งมีสัญญา มีใจครองนี้แล” “ทีส่ ดุ แห่งโลก อันบุคคลไม่พงึ ถึงได้ดว้ ยการเดินทาง ในกาล

ไหน ๆ และจะไม่มีการพ้นจากทุกข์ได้ เพราะยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก เพราะเหตุนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว เป็นผู้สงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาทั้ง โลกนี้และโลกอื่น”

โลก ๓ อีกอย่างหนึ่ง โลกมี ๓ อย่างคือ (๑) สังขารโลก โลกคือสังขารธรรมทั้งหลาย (๒) สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย (๓) โอกาสโลก โลกคือแผ่นดินสถานที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย ในโลก ๓ อย่างนั้น สังขารโลก พึงทราบตามที่มาในพระบาลีว่า “โลก ๑ คือ สังขารทั้งหลายดำรงอยู่ได้เพราะปัจจัย” สัตวโลกพึงทราบตามที่มาในพระบาลีว่า “มีความ เห็ น ว่ า โลกเที่ ย งบ้ า ง มี ค วามเห็ น ว่ า โลกไม่ เ ที่ ย งบ้ า ง ” โอกาสโลกพึ ง ทราบตามที่ ม าใน พระบาลี ว่ า “ ดวงจั น ทร์ แ ละดวงอาทิ ต ย์ เ คลื่ อ นไปรอบ ทำให้ ทิ ศ ทั้ ง หลายสว่ า งไสว โดยพื้นที่มีประมาณเท่าใด โลกในพื้นที่มีประมาณเท่านั้นมีอยู่ ๑,๐๐๐ ส่วน อำนาจของ ท่านแผ่ปกคลุมไปในโลกเหล่านั้น” พระผู้มีพระภาคได้ทรงรู้แจ้งโลกแม้ทั้ง ๓ อย่างนั้น โดยประการทั้งปวง จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้งแม้สังขารโลกนี้โดย ประการทั้งปวง คือ โลก ๑ ได้แก่ สังขารธรรมทั้งหลายดำรงอยู่ได้เพราะปัจจัย, โลก ๒ ได้แก่ นามและรูป, โลก ๓ ได้แก่ เวทนา ๓, โลก ๔ ได้แก่ อาหาร ๔, โลก ๕ ได้แก่

อุปาทานขันธ์ ๕, โลก ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖, โลก ๗ ได้แก่ วิญญาณฐิติ ๗, โลก ๘ ได้แก่ โลกธรรม ๘, โลก ๙ ได้แก่ สัตตาวาส ๙, โลก ๑๐ ได้แก่ อายตนะ ๑๐, โลก ๑๒ ได้แก่ อายตนะ ๑๒, โลก ๑๘ ได้แก่ ธาตุ ๑๘


พุทธานุสติ

13

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทราบ อาสยะ อนุสัย จริต อธิมุตติ ของเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง ย่อมทรงทราบสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย ผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุมาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มี อาการชั่ว ผู้จะพึงให้รู้ได้ง่าย ผู้จะพึงให้รู้ได้ยาก ผู้สมควรจะตรัสรู้ ผู้ไม่สมควรจะตรัสรู้ เพราะฉะนั้น แม้สัตวโลกอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตวโลก ฉันใด แม้โอกาสโลกก็ทรงรู้แจ้งแทง ตลอดแล้วซึ่งโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุดตลอดอนันตจักรวาล ฉันนั้น จั ก รวาลหนึ่ ง โดยความยาวและความกว้ า งประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ วัดความยาวโดยรอบทั้งสิ้นประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ ในจักรวาลนั้น แผ่นดินนี้ โดยความหนาประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ สิ่ ง ที่ ร องแผ่ น ดิ น นั้ น หรื อ คื อ น้ ำ อั น ตั้ ง อยู่ บ นลม โดยความหนาประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ลมอันพัดดันขึ้นข้างบน มีความหนาประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความ ดำรงอยู่ของโลก อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่อย่างนี้นั้น มีภูเขาสิเนรุเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่งลึกลงไปใน มหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็ประมาณเท่ากัน ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขา ยุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ ภูเขาวินตกะ ภูเขา อั ส สกั ณ ณะอั น ตระการไปด้ ว ยรั ต นะหลากหลาย ราวกะภู เ ขาทิ พ ย์ หยั่ ง ลึ ก ลงไปใน มหาสมุทรและสูงขึ้นไป ประมาณครึ่งหนึ่งลดหลั่นกันไป นับจากประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไป ตามลำดับ ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ ลูกนั้น ตั้งอยู่รอบภูเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราช เป็นสถานที่อันเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่ ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ประกอบไปด้วยยอด ถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด ต้นหว้าชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ กิ่ ง ยาว ๕๐ โยชน์ โดยรอบแผ่ อ อกไปวั ด ได้ ๑๐๐ โยชน์ และสู ง ขึ้ น ไปก็ เ ท่ า กั น ด้วยอานุภาพของต้นหว้านี้แหละ ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่าชมพูทวีป


14

พระพุทธเจ้า

ขนาดของต้นชมพูนี้มีขนาดเท่ากับขนาดของต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของ พวกครุฑ ต้นกระทุม่ ในอมรโคยานทวีป ต้นกัปปะในอุตตรกุรทุ วีป ต้นซึกในบุพพวิเทหทวีป ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า “ต้นไม้ประจำ ภพและทวีป คือต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริฉัตตกะของพวกเทวดา ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และที่ ๗ คือต้นสิรีสะ” ภูเขาจักรวาลหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็เท่ากัน ภูเขา จักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่ ในโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ประมาณ ๔๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็เท่ากัน อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ ปุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์ อนึ่ง ในโลกธาตุนั้นทวีปใหญ่ทวีปหนึ่ง ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวารทวีปละ ๕๐๐ สิ่ ง ทั้ ง ปวงตามที่ ก ล่ า วมาแล้ ว นั้ น รวมเป็ น หนึ่ ง จั ก รวาล ชื่ อ ว่ า หนึ่ ง โลกธาตุ

ในระหว่างแห่งโลกธาตุทั้งหลาย มีโลกันตริยนรกแห่งละหนึ่ง พระผูม้ พี ระภาคเจ้านัน้ ทรงรู้ คือเข้าพระทัยปรุโปร่ง ซึง่ อนันตจักรวาล อนันตโลกธาตุ มี ป ระการดั ง กล่ า วมาฉะนี้ ด้ ว ยพระอนั น ตพุ ท ธญาณ แม้ โ อกาสโลก พระองค์ ก็ ทรงรู้โดยประการทั้งปวงโดยนัยดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะ ทรงรู้โลกโดยประการทั้งปวง ดังนี้

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า อนุตตโร บุคคลผู้ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นย่อมไม่มี เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะดี วิเศษกว่าพระองค์โดยคุณของตน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนุตตโร จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นย่อมครอบงำโลกทั้งหมด ด้วยพระคุณ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง พระองค์ไม่มีผู้เสมอ หาผู้เสมอเหมือน มิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีผู้เทียบ หาบุคคลผู้ทัดเทียมมิได้ ด้วยพระคุณ คือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง


พุทธานุสติ

15

ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นสมณะหรือ พราหมณ์คนอื่นเลย ผู้จะสมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเรา ในโลกกับทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์” ความพิสดารบัณฑิตพึงกล่าว พระสูตรทั้งหลายมีอัคคัปปสาทสูตรเป็นต้น และคาถาว่า “อาจารย์ของเราไม่มี” ดังนี้

เป็นต้น ก็ควรกล่าวให้พิสดารตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า ปุริสทัมมสารถิ พระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ นั้ น ทรงพระนามว่ า ปุ ริ ส ทั ม มสารถิ เพราะอรรถ วิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป มีคำอธิบายไว้ว่า ย่อมฝึก ย่อมแนะนำ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี อมนุษย์ผู้ชายก็ดี ผู้ที่ยังมิได้ฝึก แต่ควรที่จะฝึกได้ ชื่อว่า ปุริสทัมมะในคำว่า ปุ ริ ส ทมฺ ม สารถิ นั้น จริงอย่างนั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มี อาทิอย่างนี้ คือ อปลาล นาคราช จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อาลวาฬนาคราช ช้างชื่อธนบาลกะ อันพระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว คือทรง ทำให้สิ้นพยศแล้ว ทำให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย แม้มนุษย์ผู้ชายมีสัจจกนิครณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์ และกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว แม้อมนุษย์ผู้ชายมีอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลกยักษ์ และท้าวสักกเทวราชเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว คือ ทรงแนะนำแล้วด้วย อุบายเครื่องแนะนำอันหลากหลาย ก็แลในเนื้อความนี้ควรแสดงพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนเกสี เราย่อมฝึกบุรุษผู้พอจะฝึกได้ ด้วยอุบายละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ทั้งละเอียดทั้งหยาบบ้าง” ดังนี้เป็นต้นให้พิสดาร อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสบอกคุณวิเศษ มีปฐมฌานเป็น ต้น แก่บุคคลทั้งหลายมีบุคคลผู้มีศีลหมดจดแล้วเป็นต้น และตรัสบอกมรรคปฏิปทาอันยิ่งขึ้น ไปแก่พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ก็ชื่อว่าทรงฝึกผู้ที่ได้ฝึกแล้วโดยแท้ อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ นี้รวมเป็นอรรถบทเดียวกัน ก็ได้ เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคทรงยังบุรุษผู้ควรจะฝึกได้ให้แล่นไป เหมือนอย่างนั่ง อยู่ บ นบั ล ลั ง ก์ เ ดี ย วเท่ า นั้ น แล่ น ไปได้ ไ ม่ ติ ด ขั ด ตลอดทิ ศ ทั้ ง ๘ ฉะนั้ น เพราะฉะนั้ น บัณฑิตจึงเรียกพระผู้มีพระภาคว่า อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่สมควร ฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ในคำอธิบายนี้ ควรแสดงพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


16

พระพุทธเจ้า

ช้างตัวที่สมควรฝึกได้ อันนายควาญช้างใสไปแล้ว ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น” ดังนี้ เป็นต้นให้พิสดาร

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า สัตถา เทวมนุสสานัง พระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ ทรงได้พระนามว่า สัตถา เพราะอรรถว่า ทรงสัง่ สอน ด้ ว ยประโยชน์ ปั จ จุ บั น ด้ ว ยประโยชน์ ภ ายหน้ า และประโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง ตามสมควร อีกอย่างหนึ่ง ก็ในบทว่า สตฺถา นี้ พึงทราบการขยายความดังนี้ว่า คำว่า สตฺถา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นดุจนายกอง เหมือนอย่างว่า นายกองย่อมพาให้เกวียนข้ามทาง กันดาร คือให้เกวียนข้ามทางกันดารเพราะโจร กันดารเพราะสัตว์รา้ ย กันดารเพราะขาดอาหาร กันดารเพราะไม่มีน้ำ คือย่อมให้ข้ามพ้นไป บรรลุถึงถิ่นที่เกษม ฉันใด พระผู้มีพระภาค ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นพระศาสดา คือทรงเป็นดุจนายพวก ทำเหล่าสัตว์ให้ข้ามพ้น ทางกันดาร ได้แก่ให้ข้ามพ้นทางกันดารคือชาติเป็นต้น บทว่า เทวมนุสสานัง แปลว่า ของเทวดาทั้งหลายด้วย ของมนุษย์ทั้งหลายด้วย คำว่า เทวมนุสสานัง นั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจกำหนดสัตว์ชั้นสูง และด้วยอำนาจการ กำหนดบุคคลที่สมควรบรรลุธรรมได้ เป็ น ความจริ ง พระผู้ มี พ ระภาคชื่ อ ว่ า ทรงเป็ น พระศาสดา แม้ ข องพวกสั ต ว์ ดิรัจฉาน เพราะทรงประทานอนุสาสนีให้เหมือนกัน จริงอยู่ สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้นบรรลุ อุปนิสัยสมบัติ ก็เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรคและผล ในภพที่ ๒ หรือภพที่ ๓ เพราะอุปนิสัยสมบัตินั้นนั่นแล ก็ในความเป็นศาสดาของพวก สัตว์ดิรัจฉานนี้ มีมัณฑูกเทวบุตรเป็นต้นเป็นตัวอย่าง เรื่องกบฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้เป็นเทพบุตร ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ชนชาวนครจำปา อยู่ที่ริมฝั่ง สระโบกขรณีชื่อ คัคครา มีกบตัวหนึ่งได้ถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค ขณะนั้น มีคนเลี้ยงโคคนหนึ่ง เมื่อจะยืน ได้ยันไม้เท้ากดลงที่ศีรษะกบนั้น กบตัวนั้นก็ตาย ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วเกิดในวิมานทองประมาณ ๑๒ โยชน์ในภพดาวดึงส์ เหมือนนอน หลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น


พุทธานุสติ

17

ในภพดาวดึ ง ส์ นั้ น มั ณ ฑู ก เทพบุ ต รเห็ น ตนเองอั น หมู่ น างฟ้ า แวดล้ อ มแล้ ว ใคร่ครวญอยู่ว่า เรามาเกิดในที่นี้ ได้กระทำกรรมอะไรไว้หนอ ก็มิได้เห็นกรรมอะไร ๆ อย่างอื่น นอกจากการถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค มัณฑูกเทวบุตรจึงมา พร้อมทั้งวิมานในขณะนั้นนั่นเอง ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พระผู้มีพระภาคทั้งที่ทรงทราบอยู่นั่นแหละ แต่ก็ตรัสถามว่า “ใครช่างรุง่ เรืองด้วยฤทธิ์ ยศ มีผวิ พรรณงดงามยิง่ นัก ทำทิศ

ทั้งปวงให้สว่างอยู่ กำลังไหว้เท้าของเรา”

มัณฑูกเทวบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบอยู่

ในน้ำ มีนำ้ เป็นทีเ่ ทีย่ วไป เมือ่ ข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่

คนเลี้ยงโค ได้ฆ่าข้าพระองค์แล้ว” พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่มัณฑูกเทวบุตรนั้นแล้ว สัตว์จำนวน ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม ฝ่ายเทพบุตรก็ดำรงอยูใ่ นพระโสดาปัตติผล ได้ทำการยิม้ แย้มแล้วก็หลีกไปแล

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า พุทโธ ก็พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า พุทโธ ด้วยอำนาจพระญาณอันเกิดในที่สุด แห่ ง วิ โ มกข์ เพราะเญยธรรมที่ มี อ ยู่ ทั้ ง หมดอั น พระองค์ ไ ด้ ต รั ส รู้ แ ล้ ว อี ก อย่ า งหนึ่ ง เพราะพระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยพระองค์เองบ้าง ทรงยังสัตว์เหล่าอื่นให้ตรัสรู้บ้าง เพราะฉะนั้ น พระองค์ จึ ง ทรงพระนามว่ า พุ ท โธ ด้ ว ยเหตุ ดั ง กล่ า วมานี้ เ ป็ น ต้ น ก็ ไ ด้

แต่เพื่อให้รู้เนื้อความข้อนี้ได้ชัดตามนัยแห่งบาลีนิทเทสก็ดี ตามนัยแห่งบาลีปฏิสัมภิทาก็ดี ทั้งหมด อันเป็นไปโดยนัยว่า “พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า พุทโธ เพราะตรัสรู้สัจจะ ทั้งหลาย ทรงพระนามว่า พุทโธ เพราะทรงยังหมู่สัตว์ให้รู้” ดังนี้เป็นต้น บัณฑิตพึงกล่าว ให้พิสดาร


18

พระพุทธเจ้า

อธิบายพระพุทธคุณบทว่า ภควา ก็คำว่า ภควา นี้เป็นคำร้องเรียกพระองค์ด้วยความเป็นผู้วิเศษด้วยพระคุณ เป็น ผู้สูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย และเป็นผู้ควรเคารพโดยฐานะครู ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด เพราะเหตุที่พระองค์ควรแก่ความเคารพโดยฐานะครู บัณฑิตจึงเรียกว่า ภควา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อมี ๔ อย่าง คือ อาวัตถิกนาม ชื่อที่เรียกตามรุ่น ลิงคิกนาม ชื่อที่เรียกตามเพศ เนมิตติกนาม ชื่อที่มาตามคุณอันเป็นนิมิต อธิจจสมุบันนาม ชื่อที่ตั้ง ขึ้นลอย ๆ มีคำอธิบายว่า ชื่อที่ตั้งตามที่ปรารถนาโดยโวหารของชาวโลก ชื่อว่าตั้งขึ้นลอย ๆ ในชื่อ ๔ อย่างนั้น ชื่อเช่นว่า วจฺโฉ ลูกโค ทมฺโม โคฝึก พลิพทฺโท โคงาน ดั ง นี้ เ ป็ น ต้ น ชื่ อ ว่ า อาวั ต ถิ ก นาม ชื่ อ เช่ น ว่ า ทณฺ ฑี คนถื อ ไม้ เ ท้ า ฉตฺ ตี ผู้ มี ฉั ต ร สิ ขี สัตว์มีหงอนได้แก่นกยูง กรี สัตว์มีงวงได้แก่ช้าง ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าลิงคิกนาม ชื่อเช่นว่า เตวิ ชฺ โ ช ผู้ได้วิชชา ๓ ฉฬภิ ญฺ โ  ผู้ได้อภิญญา ๖ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เนมิ ต ติ ก นาม ชื่อตั้งส่งไปไม่คำนึงถึงความของคำเช่นว่า สิริวฑฺฒโก ผู้เจริญด้วยสิริ ธนวฑฺฒโก ผู้เจริญ ด้วยทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น ชื่ออธิจจสมุบันนาม พระนามว่ า ภควา นี้ เ ป็ น เนมิ ต ติ ก นาม พระนางมหามายามิ ไ ด้ ท รงขนาน พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็มิได้ทรงขนาน พระญาติแปดหมื่นก็มิได้ทรงขนาน เทวดาวิเศษ ทั้งหลายมีท้าวสักกะและท้าวสันดุสิตเป็นต้นก็มิได้ทรงขนาน จริงอยู่ คำนี้ พระธรรม เสนาบดีกล่าวไว้วา่ “พระนามว่า ภควา นีเ้ กิดในทีส่ ดุ แห่งความพ้นพิเศษ เป็นบัญญัตทิ สี่ ำเร็จ ประจักษ์แก่พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์” ก็เพื่อจะประกาศพระคุณที่เกิดจากคุณเนมิตติกนามนี้นั้น พระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า


พุทธานุสติ

19

“พระผูม้ พ ี ระภาคพระองค์ใด ทรงมีพระอิสริยยศ ทรงเสพอริยคุณ

มีสว่ นแห่งจตุปจั จัย ทรงจำแนกพระธรรม เพราะเหตุนนั้ พระผูม้ พี ระภาค

พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา พระผูม้ พี ระภาคพระองค์ใด ได้ทรงทำการหักกิเลส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา พระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ ใ ด ทรงเป็ น ครู เพราะเหตุ นั้ น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นผู้มีภคธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา พระผูม้ พี ระภาคพระองค์ใด มีพระองค์อบรมดีแล้วด้วยญายธรรม เป็ น อั น มาก เสด็ จ ถึ ง ที่ สุ ด แห่ ง ภพ เพราะเหตุ นั้ น พระผู้ มี พ ระภาค พระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่าภควา” อนึ่ง ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงเห็นใจความแห่งบทเหล่านั้น ตามนัยที่กล่าวแล้วในมหานิทเทสนั้นแล ส่วนนัยอื่นอีก มีดังนี้คือ พระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ ใ ด เป็ น ผู้ ท รงมี ภ าคยธรรม ๑

ทรงหักกิเลส ๑ ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๑ ทรงจำแนกพระธรรม ทรงซ่ อ งเสพ ๑ และทรงคลายการไปในภพทั้ ง หลายได้ แ ล้ ว ๑

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนาม ว่า ภควา

ทรงมีภาคยธรรม พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานั้นต่อไป ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เพราะ ภาคยธรรม

อันถึงฝั่งแห่งพระบารมีมีทานและศีลเป็นต้น อันยังสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตตระ ให้เกิด มีแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่า ภาคยวา แปลว่า ทรงมี ภาคยธรรม แต่ท่านถือเอาลักษณะแห่งนิรุตติ มีการลงตัวอักษร ใหม่และการแปลงตัวอักษรเป็นต้น หรือถือเอาลักษณะรวมเข้าในชุดศัพท์มีปิโสทรศัพท์ เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพทศาสตร์ จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา


20

พระพุทธเจ้า

ทรงหักกิเลส

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงหักกิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความ เร่ า ร้ อ นกระวนกระวายหลายแสนอย่ า งทั้ ง หมด มี ป ระเภท คื อ โลภะ โทสะ โมหะ การมนสิการคลาดเลื่อน อหิริกะและอโนตตัปปะ โกธะและอุปนาหะ มักขะและปลาสะ อิสสาและมัจฉริยะ มายาและสาเถยยะ ถัมภะและสารัมภะ มานะและอติมานะ มทะและ ปมาทะ ตัณหาและอวิชชา อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓ วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คัณฐะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปาทาน ๔ เจโตขีละ ๕ วินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕ วิวาทมูล ๖ หมวดตัณหา ๖ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ตัณหามูลกะ ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิปริต ๑๐๘ หรือโดยย่อได้ทรงหักมาร ๕ คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสงั ขารมาร มัจจุมารและเทวบุตรมาร เพราะฉะนั้น ในเมื่อควรจะเฉลิมพระนามว่าภัคควา แปลว่า ทรงหักกิเลส แต่ก็เฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะพระองค์ทรงหักอันตรายเหล่านั้นได้แล้ว จริงอย่างนั้น ในความข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงหักราคะได้แล้ว ทรงหัก โทสะได้แล้ว ทรงหักโมหะได้แล้ว หาอาสวะมิได้ บาปธรรมทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงหักเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ก็ ค วามถึ ง พร้ อ มด้ ว ยรู ป กายของพระผู้ มี พ ระภาคพระองค์ นั้ น ผู้ ท รงไว้ ซึ่ ง

พระลักษณะอันเกิดจากบุญหลายร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ ทรงมีพระกายสมส่วน ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วย ความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว ความที่ พ ระองค์ ท รงเป็ น ผู้ อั น ชาวโลกและเหล่ า ชนที่ มี ปั ญ ญานั บ ถื อ มากก็ ด ี ความที่พระองค์เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าเฝ้าก็ดี ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้ สามารถในการบำบัดทุกข์กายและจิต ของคฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นผู้เข้าเฝ้าแล้วก็ดี ความที่พระองค์ทรงมีพระอุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทานก็ดี และความที่พระองค์ ทรงสามารถในการชักชวนด้วยความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตตระก็ดี ย่อมเป็นอัน ท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณทั้ง ๒ นั้นเช่นเดียวกัน


พุทธานุสติ

21

ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๖ อนึ่ง เพราะในด้านชาวโลก ภคะ ศัพท์ย่อมเป็นไปในธรรม ๖ ประการ คือ ความเป็นใหญ่ ๑ ธรรม ๑ ยศ ๑ สิริ ๑ กามะ ๑ ความเพียร ๑ เป็นความจริง ความเป็นใหญ่ในจิตของพระผู้มีพระภาคนั้นยอดเยี่ยม หรือความ เป็นใหญ่ที่สมมติกันทางโลก มีการบันดาลกายให้เล็กละเอียด และทำกายให้ลอยไปได้ เป็นต้น ก็ทรงมีอยู่อย่างบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง พระโลกุตตรธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ของพระผู้มีพระภาคนั้นมีอยู่ พระยศอันแผ่คลุมโลก ๓ ซึ่งทรงบรรลุด้วยพระคุณตามที่เป็นจริงบริสุทธิ์ยิ่งนัก ของพระผู้มีพระภาคนั้นมีอยู่ พระสิริแห่งพระอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สามารถทำ ความเลื่ อ มใสแห่ ง ดวงตาและดวงใจ ของชนผู้ ข วนขวายในการดู พ ระรู ป กายให้ บั ง เกิ ด ของพระผู้มีพระภาคนั้นมีอยู่ กามะที่ชนทั้งหลายหมายรู้กันว่า ความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ปรารถนา เพราะ ความปรารถนาที่พระองค์ทรงตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์เอง หรือ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ความปรารถนาสำเร็จแล้วอย่างนั้นทีเดียว ความเพียรกล่าวคือความพยายามโดยชอบ อันเป็นเหตุให้บรรลุถึงความเป็นครู ของโลกทั้ ง ปวง ของพระผู้ มี พ ระภาคนั้ น มี อ ยู่ เพราะพระองค์ ท รงประกอบแล้ ว ด้ ว ย ภคธรรมเหล่ า นี้ ก็ เ ฉลิ ม พระนามได้ ว่ า ภควา แปลว่ า ทรงประกอบด้ ว ย ภคธรรม เพราะ ภคธรรม ทั้งหลายของพระองค์มีอยู่

ทรงจำแนกพระธรรม อนึ่ ง เพราะพระองค์ ท รงเป็ น ผู้ จ ำแนก อธิ บ ายว่ า ทรงแจก ทรงเปิ ด เผย ทรงแสดงธรรมทั้งปวงโดยประเภทมีกุศลเป็นต้น หรือทรงแสดงธรรมมีกุศลเป็นต้นแยก ประเภทโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือทรง แสดง ทุกขอริยสัจ ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งบีบคั้น ๑ เป็นสิ่งถูกปรุงแต่ง ๑ เป็นสิ่งแผดเผา ๑ และเป็ น สิ่ ง แปรผั น ๑ สมุ ทั ย อริ ย สั จ ด้ ว ยอรรถว่ า หอบทุ ก ข์ ม าให้ ๑ เป็ น เหตุ ๑


22

พระพุทธเจ้า

เป็นเครื่องประกอบไว้ ๑ และเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว ๑ นิโรธอริยสัจ ด้วยอรรถว่าเป็น เครื่องสลัดออก ๑ เป็นสภาพสงัด ๑ ไม่ถูกปรุงแต่ง ๑ เป็นอมตะ ๑ มัคคอริยสัจ ด้วยอรรถว่าเป็นธรรมนำออกจากทุกข์ ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นเครื่องเห็น ๑ เป็นความเป็น ใหญ่ ๑ เพราะฉะนั้ น ในเมื่ อ ควรเฉลิ ม พระนามว่ า วิ ภั ต ตวา แปลว่ า ทรงจำแนก พระธรรม ก็เฉลิมพระนามว่า ภควา

ทรงซ่องเสพ อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงคบ ทรงซ่องเสพ ทรงกระทำให้มาก ซึ่งทิพพวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร ซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์

อัปปณิหิตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และซึ่งอุตตริมนุสธรรมเหล่าอื่น ทั้งที่เป็นโลกิยะและ โลกุตตระ เพราะฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภั ต ตวา แปลว่า ทรงซ่องเสพ ก็เฉลิมพระนามว่า ภควา

ทรงคายการไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เพราะเหตุแห่งการท่องเที่ยวไปกล่าวคือตัณหาในภพทั้ง ๓ อันพระผู้มีพระภาค นั้นทรงคายเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ในเมื่อควรเฉลิมพระนามว่า ภเวสุ วนฺตคมโน แปลว่า ผู้มีการไปในภพทั้งหลายอันคายแล้ว แต่ถวายพระนามว่า ภควา เพราะถือเอา ภ อักษร มาจาก ภว ศัพท์ ค อักษรมาจาก คมน ศัพท์ และ ว อักษรมาจาก วนฺต ศัพท์ ได้รูป เป็น ภคว ทำให้เป็นทีฆะจึงได้รูปเป็น ภควา เปรียบเหมือนถ้อยคำในทางโลกเมื่อควรจะ กล่าวว่า เมหนสฺส ขสฺส มาลา แปลว่า เครื่องประดับแห่งที่อันลับ เขาก็ย่อมากล่าวว่า เมขลา ฉะนั้น

สมาธิอันเกิดจากพุทธานุสติ เมื่อพระโยคาวจรนั้นระลึกถึงพระพุทธคุณว่า “โส ภควา อิติปิ อรหํ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ ... โส ภควา

อิติปิ ภควา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระนามว่า ภควา เพราะเหตุทั้งหลาย เหล่านี้” ดังนี้อยู่ ในขณะที่ระลึกนั้น จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่ โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในขณะนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิต


พุทธานุสติ

23

ดำเนินไป ตรงดิ่งปรารภถึงพระตถาคตเจ้า เมื่อเธอข่มนิวรณ์ได้ ไม่มีปริยุฏฐานกิเลสมี ราคะเป็นต้น อย่างนั้นชื่อว่ามีจิตดำเนินไปตรง เพราะมีจิตมุ่งต่อกรรมฐานอยู่ วิตกและ วิจารอันโน้มไปใน พระพุทธคุณย่อมเป็นไป เมื่อตรึกตรองถึงพุทธคุณเรื่อยไป ปีติย่อมเกิดขึ้น ความกระวนกระวายกายและ จิตของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมระงับ มีปัสสัทธิซึ่งมีปีติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ความสุข ทั้งทางกายและจิตย่อมเกิดแก่เธอ ผู้มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว จิตของเธอผู้มีสุข เป็นจิตมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิ องค์ฌานย่อมเกิดขึ้นตามลำดับในขณะ เดียวดังกล่าวมาฉะนี้ แต่เพราะพุทธคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะจิตน้อมไป ในการระลึกถึงพระคุณหลายประการ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ได้ถึงเพียงอุปจาร เท่านั้น ฌานนี้ถูกเรียกว่าพุทธานุสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึก ถึงพระพุทธคุณ

อานิสงส์ของการเจริญพุทธานุสติ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งพุทธานุสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรง ในพระศาสดา ได้ความไพบูลย์แห่งศรัทธา ความไพบูลย์แห่งสติ ความไพบูลย์แห่งปัญญา และความไพบู ล ย์ แ ห่ ง บุ ญ เป็ น ผู้ ม ากไปด้ ว ยปี ติ แ ละปราโมทย์ ทนต่ อ ความกลั ว และ ความตกใจ สามารถอดกลั้ น ทุ ก ข์ มี ค วามรู้ สึ ก เสมื อ นว่ า ได้ อ ยู่ กั บ พระศาสดา อนึ่ ง

แม้สรีระของเธออันพุทธคุณานุสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชาดุจพระเจดีย์ จิตย่อมน้อมไปในพระพุทธเจ้า อนึ่ง ในเมื่อประสบกับสิ่งที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะ ย่อมจะปรากฏแก่เธอ ราวกะเธอเห็นพระศาสดาอยูต่ อ่ หน้า อนึง่ เมือ่ ยังไม่บรรลุคณ ุ ยิง่ ขึน้ ไป เธอย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความไม่ประมาทใน พุทธานุสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้ ทุกเมื่อเถิด ที่แสดงมานี้เป็นการกล่าวอธิบายอย่างพิสดารในพุทธานุสติเป็นอันดับแรก จบ พุทธานุสติ


24

พระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสติ สติระลึกถึงคุณพระธรรม วิสุทธิมรรค ภาค ๑ ธัมมานุสติกถา

พระโยคาวจรผู้ ต้ อ งการจะเจริ ญ ธั ม มานุ ส ติ พึ ง ไปอยู่ ใ นสถานที่ เ งี ย บสงั ด

แล้วระลึกถึงคุณทั้งหลายของปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม ๙ อย่างนี้ว่า สฺ ว ากฺ ข าโต

ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ

อธิบายธรรมคุณบทว่า สวากขาโต ในบทว่า สฺ ว ากฺ ข าโต นี้ แม้ปริยัติธรรมก็สงเคราะห์เข้าด้วย ในบททั้งหลาย นอกจากนี้ ได้แก่โลกุตตรธรรมอย่างเดียว ในปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม ๒ อย่างนั้น จะแสดงพระปริยัติธรรมก่อน ปริ ยั ติ ธ รรมนั้ น ชื่ อ ว่ า สวากขาตะ เพราะความเป็ น ธรรมอั น งามในเบื้ อ งต้ น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด และเพราะเป็นธรรมที่ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยครบถ้วน จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระคาถาเพียงคาถาหนึ่ง พระคาถานั้นก็งาม ในเบื้องต้นด้วยบาทแรก งามในท่ามกลางด้วยบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ งามในที่สุดด้วย บาทสุดท้าย เพราะความที่พระธรรมมีความงามรอบด้าน พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว ก็งาม ในเบื้องต้นด้วยคำแสดงเหตุความเป็นมา งามในที่สุดด้วยคำสรุปลงท้าย งามในท่ามกลาง ด้วยคำที่เหลือ พระสูตรที่มีอนุสนธิหลายอย่าง ก็งามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก งามใน ที่สุดด้วยอนุสนธิท้าย งามในท่ามกลางด้วยอนุสนธิที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะมีทั้งคำแสดงความเป็นมาและคำแสดง เหตุเกิดขึ้น ชื่อว่างามในท่ามกลางเพราะเนื้อความไม่ผิดพลาด และเพราะประกอบไปด้วย คำชี้เหตุ และยกตัวอย่างตามสมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย และชื่อว่างามในที่สุดด้วย คำสรุปลงท้าย อันยังความได้ศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ฟังทั้งหลาย


ธัมมานุสติ

25

ศาสนธรรมแม้ ทั้ ง สิ้ น งามในเบื้ อ งต้ น ด้ ว ยศี ล อั น เป็ น รากฐานของตน งามใน ท่ า มกลางด้ ว ยสมถวิ ปั ส สนาและมรรคผล งามในที่ สุ ด ด้ ว ยพระนิ พ พาน หรื อ งามใน เบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ งามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค งามในที่สุดด้วยผล และนิพพาน หรืองามในเบื้องต้นด้วยความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า งามในท่ามกลางด้วย ความเป็นธรรมดีของพระธรรม งามในที่สุดด้วยความปฏิบัติดีของพระสงฆ์ หรืองามใน เบื้องต้นด้วยอภิสัมโพธิ งามในท่ามกลางด้วยปัจเจกสัมโพธิ งามในที่สุดด้วยสาวกโพธิ

อันบุคคลผู้ได้ฟังศาสนธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นจะพึงบรรลุได้ อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น เมื่อบุคคลฟังอยู่ ก็นำความงามมาให้ได้โดยแท้แม้ด้วย การฟัง โดยข่มนิวรณ์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องต้น เมื่อบุคคลปฏิบัติอยู่ ก็นำความงามมาให้ได้แม้ด้วยการปฏิบัติ โดยนำความสุขในสมถะและสุขในวิปัสสนามาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในท่ามกลาง และเมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนั้น ครั้นผลแห่ง การปฏิบัติสำเร็จแล้ว ก็ย่อมนำความงามมาให้ แม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติ โดยนำความเป็น บุ ค คลผู้ ค งที่ ไ ม่ ห วั่ น ไหวมาให้ เพราะเหตุ นั้ น จึ ง ชื่ อ ว่ า งามในที่ สุ ด ศาสนธรรมชื่ อ ว่ า สวากขาตะ เพราะเป็นธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด โดยนัย ดังกล่าวมาฉะนี้ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคนั้นเมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงประกาศคือทรงแสดงซึ่ง ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์อันใดโดยนัยต่าง ๆ ศาสนพรหมจรรย์และมรรค พรหมจรรย์ นั้ น ชื่ อ ว่ า สาตถะ เพราะความถึ ง พร้ อ มแห่ ง อรรถ ชื่ อ ว่ า สพยั ญ ชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่งพยัญชนะตามสมควร ชื่อว่า สาตถะ เพราะประกอบพร้อมด้วยบทแสดงอรรถ คือ (๑) สังกาสนะ แสดงความโดยสังเขป (๒) ปกาสนะ เริ่มแสดงเป็นหัวข้อ (๓) วิวรณะ ขยายความ (๔) วิ ภ ชนะ จำแนกความ (๕) อุ ตตานี ก รณะ ทำเนื้ อ ความให้ ง่ า ย (๖) ปั ญญั ต ติ แต่งความให้เข้าใจ ชื่อว่า สพยัญชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่งอักษร บท พยัญชนะ นิรุตติ และนิเทศ ชื่อว่า สาตถะ เพราะความเป็นคุณลึกโดยอรรถและโดยปฏิเวธ ชื่อว่า สพยัญชนะ เพราะความเป็นคุณลึกโดยธรรมและโดยเทศนา


26

พระพุทธเจ้า

ชื่อว่า สาตถะ เพราะเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่า สพยัญชนะ เพราะเป็นวิสัยแห่งธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า สาตถะ เพราะเป็นคุณยังบุคคลมีปัญญาไต่สวนให้เลื่อมใส เพราะเป็น ธรรมสำหรับบัณฑิตจะพึงรู้ได้ ชื่อว่า สพยัญชนะ เพราะเป็นคุณยังบุคคลทั่วไปให้เลื่อมใส เพราะเป็นธรรมที่ยังศรัทธาให้เกิด ชื่อว่า สาตถะ เพราะมีความหมายลึกซึ้ง ชื่อว่า สพยัญชนะ เพราะมีบทง่าย ชื่อว่า บริบูรณ์โดยครบถ้วน เพราะความเป็นธรรมเต็มเปี่ยมทั่วถึง โดยไม่มีข้อที่ จะต้องเติมเข้า ชือ่ ว่า บริสทุ ธิ์ เพราะความเป็นธรรมหาโทษมิได้ โดยทีไ่ ม่มขี อ้ ทีจ่ ะต้องตัดออก อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สาตถะ เพราะมีประสบการณ์ในบรรลุถึงด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่า

สพยัญชนะ เพราะมีความกระจ่างในปริยัติด้วยการเล่าเรียน ชื่อว่า บริบูรณ์โดยครบถ้วน เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การถอนออก และเพราะไม่มีความใยดีในโลกามิส ปริยัติธรรม ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อม ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยครบถ้วน ด้วยประการฉะนี้ หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง ปริ ยั ติ ธ รรมนั้ น ชื่ อ ว่ า ตรั ส ด้ ว ยดี เ พราะไม่ มี เ นื้ อ หาวิ ป ลาส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ สวากขาตะ เหมือนอย่างเนื้อหาแห่งธรรมของพวกเจ้าลัทธิอื่น จัดว่า ถึงความวิปลาส เพราะธรรมที่เขากล่าวว่าเป็นธรรมที่ทำอันตรายทั้งหลาย กลับไม่ได้เป็น ธรรมที่ทำอันตราย และเพราะธรรมที่เขากล่าวว่าเป็นธรรมสำหรับนำออกจากทุกข์ทั้งหลาย ก็กลับไม่ได้เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ เพราะเหตุนั้น เจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้น จึงเป็นผู้มี ธรรมเป็นทุรักขาตะ แปลว่ากล่าวชั่วฉันใด เนื้อหาแห่งธรรมของพระผู้มีพระภาค ไม่ได้ถึง ความวิปลาสอย่างนั้น เพราะธรรมที่พระองค์ตรัสว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ทำอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมสำหรับนำออกจากทุกข์ ดังนี้แล้ว หาล่วงความเป็นอย่างนั้นไปไม่ ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตะ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นอันดับแรก ส่ ว นโลกุ ต ตรธรรม ชื่ อ ว่ า สวากขาตะ เพราะตรั ส ข้ อ ปฏิ บั ติ อั น สมควรแก่

พระนิ พ พาน และพระนิ พ พานสมควรแก่ ข้ อ ปฏิ บั ติ ดั ง ท้ า วสั ก กเทวราชทรงกล่ า วใน มหาโควินทสูตรว่า “ปฏิปทาอันให้ถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคนั้นได้ทรงบัญญัติไว้ ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเข้ากันได้ อุปมาเหมือนน้ำในแม่น้ำ


ธัมมานุสติ

27

คงคาย่อมเข้ากันย่อมสมกันกับน้ำในแม่น้ำยมุนา ฉันใดก็ดี ปฏิปทาอันให้ถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคนั้นได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและปฏิปทาย่อม เข้ากันได้ ฉันนั้นนั่นแล” อนึ่ง ในโลกุตตรธรรมนั้น อริยมรรคอันเป็นทางกลางไม่ไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ ข้ า งนั่ น เอง ชื่ อ ว่ า สวากขาตะ เพราะอริ ย มรรคนั้ น แหละที่ ต รั ส ว่ า เป็ น มั ช ฌิ ม าปฏิ ป ทา สามัญผลทั้งหลายอันมีกิเลสระงับแล้วนั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะสามัญผลนั้นแหละ ที่ตรัสว่าเป็นธรรมชาติมีกิเลสระงับแล้ว พระนิพพานอันเป็นสภาพเที่ยง ไม่ตาย เป็นที่ต้าน เป็นที่หลบลี้ นั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะพระนิพพานนั่นแหละที่ตรัสโดยเป็นสภาพ เที่ยงเป็นต้น แม้โลกุตตรธรรมก็เป็น สวากขาตะ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ อธิบายธรรมคุณบทว่า สันทิฏฐิโก ส่วนวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฺิโก นี้ พึงทราบต่อไปนี้ ก่อนอื่น อริยมรรคชื่อว่า สนฺทิฏฺิโก เพราะเป็นธรรมอันพระอริยบุคคลผู้ทำความ ไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้นในสันดานของตนอยู่พึงเห็นเอง ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัดแล้ว ถูกความกำหนัดครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะยึดไว้ รอบแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง ครั้นความ กำหนัดอันเขาละเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เขาย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส ทางใจ ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมเป็นสันทิฏฐิกะ คือ พึงเห็นได้เองอย่างนี้ประการ ๑” ดังนี้ อนึ่ง แม้โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ก็ชื่อ สันทิฏฐิกะ เพราะเป็นธรรมที่บุคคลใดก็ตาม ได้บรรลุแล้ว บุคคลนั้นจะละความที่จะต้องเชื่อผู้อื่นเสียแล้ว เห็นเองด้วยปัจจเวกขณญาณ อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญ ชื่อว่าสันทิฏฐิ โลกุตตรธรรมย่อม ชนะกิ เ ลสด้ ว ยสั น ทิ ฏ ฐิ เหตุ นั้ น จึ ง ชื่ อ สั น ทิ ฏ ฐิ ก ะ จริ ง อย่ า งนั้ น ในโลกุ ต ตรธรรมนั้ น อริ ย มรรคย่ อ มชนะกิ เ ลสทั้ ง หลายด้ ว ยสั น ทิ ฏ ฐิ อั น เกิ ด ร่ ว มกั น อริ ย ผลย่ อ มชนะกิ เ ลส ทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิอันเป็นเหตุ พระนิพพานย่อมชนะกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิอันเป็น


28

พระพุทธเจ้า

อารมณ์ของตน เพราะเหตุนั้น โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ จึงชื่อว่าสันทิฏฐิกะ เพราะชนะกิเลส ด้วยสันทิฏฐิ ประดุจนักรบได้ชื่อว่ารถิกะ เพราะรบชนะด้วยรถ ฉะนั้น อีกนัยหนึ่ง การเห็น เรียกว่าทิฏฐะ ทิฏฐะนั่นเองเป็นสันทิฏฐะ แปลว่า การเห็น โลกุตตรธรรมย่อมควรซึ่งการเห็น เหตุนั้นจึงชื่อว่าสันทิฏฐิกะ เพราะว่า โลกุตตรธรรมเมื่อ บุคคลเห็นอยู่ด้วยอำนาจภาวนาภิสมัย (รู้โดยทำให้มีขึ้น) และด้วยอำนาจสัจฉิกิริยาภิสมัย (รู้โดยทำให้แจ้ง) นั่นแล จึงยังวัฏฏภัยให้กลับได้ เพราะเหตุนั้น โลกุตตรธรรมนั้นจึงชื่อ สันทิฏฐิกะ เพราะควรซึง่ การเห็น เปรียบเหมือนคนทีไ่ ด้ชอื่ ว่าวัตถิกะ เพราะควรซึง่ ผ้า ฉะนัน้

อธิบายธรรมคุณบทว่า อกาลิโก ธรรมนั้นมุ่งการให้ผลโดยไม่มีระหว่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกาโล อกาลิโก ก็คืออกาโลนั่นเอง มีอธิบายว่า “ธรรมนั้นไม่ได้ให้ผลโดยรอเวลามีกำหนด ๕ วัน ๗ วัน เป็นต้น แต่ย่อมให้ผลติดต่อเนื่องกันไปกับความเกิดขึ้นของตนทีเดียว” อี ก นั ย หนึ่ ง เวลาในการให้ ผ ลของธรรมนั้ น ยั ง อี ก ไกลที่ จ ะถึ ง เพราะเหตุ นั้ น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า กาลิกะ ถามว่า ธรรมนั้นคืออะไร ตอบว่า ธรรมนั้นคือกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ ส่วนโลกุตตรธรรมนี้ไม่ใช่กาลิกะ เพราะมีผลต่อเนื่องทันที เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอกาลิกะ บทว่า อกาลิโก นี้ตรัสหมายเอา มรรค เท่านั้น

อธิบายธรรมคุณบทว่า เอหิปัสสิโก ธรรมชื่อ เอหิปัสสิกะ เพราะควรซึ่งวิธีการเชิญให้มาดูอันเป็นไปโดยความว่า “ท่านจงมาดูธรรมนี้” ดังนี้ ถามว่า เพราะเหตุไร ธรรมนั้นจึงควรซึ่งวิธีนั้น ตอบว่า เพราะธรรมนั้นเป็นสภาพมีอยู่ด้วย และเพราะธรรมนั้นเป็นสภาพบริสุทธิ์ ด้วย แท้จริงใคร ๆ แม้จะพูดได้ว่า เงินหรือทองก็ตามมีอยู่ในกำมือเปล่า แต่ก็ไม่กล้าพูด ว่า “ท่านจงมาดูเงินหรือทองนี้” เพราะอะไร เพราะเงินหรือทองนั้นไม่มีอยู่ และคูถหรือ มูตรก็ตามแม้มีอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเรียกว่า “ท่านจงมาดูคูถหรือมูตรนี้ เพื่อให้ร่าเริงใจ” โดยเผยความที่มันเป็นของน่าฟูใจ เพราะอะไร เพราะคูถหรือมูตรนั้นเป็นของโสโครก


ธัมมานุสติ

29

ส่วนโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ นี้ โดยสภาวะเป็นของมีอยู่ด้วย เป็นของบริสุทธิ์ดุจจันทร์เพ็ญใน อากาศอั น ปราศจากเมฆด้ ว ย และดุ จ แก้ ว มณี แ ท้ อั น เขาวางไว้ ที่ ผ้ า กั ม พลเหลื อ งด้ ว ย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอหิปัสสิกะ เพราะว่าควรซึ่งเอหิปัสสวิธี คือวิธีการเชิญให้มาดู เพราะความเป็นสภาวะมีอยู่ และความเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วย

อธิบายธรรมคุณบทว่า โอปนยิโก ธรรมชื่อ โอปนยิกะ เพราะควรนำเข้าไป เนื้อความต่อไปนี้ เป็นวินิจฉัยในบทนี้

คือการนำเข้าไป ชื่ออุปนยะ ธรรมย่อมควรซึ่งการที่บุคคลแม้ผ้าหรือศีรษะไฟไหม้ก็เฉย ยังคงนำเข้าไปในจิตของตน โดยทำให้มีขึ้นจนได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่ออุปนยิกะ อุปนิยกะนั้นเองเป็นโอปนยิกะ คำวิเคราะห์นี้ใช้ได้ในโลกุตตรธรรมที่เป็นสังขตะ ส่วนในโลกุตตรธรรมที่เป็นอสังขตะ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมนั้นควรซึ่งการนำเข้าไป ด้วยจิต เหตุนั้นจึงชื่อโอปนยิกะ หมายความว่าควรซึ่งการกระทบเข้าโดยทำให้แจ้ง หรือ

อริยมรรค ชื่อว่า อุปเนยฺย เพราะนำเข้าไปถึงพระนิพพาน อริยผลและพระนิพพาน ชื่อว่า อุปเนยฺย เพราะเป็นธรรมที่บุคคลพึงนำเข้าไปถึงโดยเป็นสิ่งที่จะพึงทำให้แจ้ง โอปนยิกะ ก็ อุปเนยฺย นั่นเอง

อธิบายธรรมคุณบทว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูหิ บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ความว่า อันวิญญูชนทั้งหลายมีอุคฆฏิตัญญู บุคคลเป็นต้นทั้งปวงพึงรู้ว่า “มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว” เพราะว่ากิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริก จะละด้วยมรรคที่พระอุปัชฌาย์เจริญย่อมไม่ได้ เธอจะอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของท่านก็ไม่ได้ จะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่ท่านทำให้ แจ้งก็ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า โลกุตตรธรรมนั่น บุคคลไม่พึงเห็นดังเช่น เครื่องประดับที่ศีรษะของคนอื่น แต่พึงเห็นว่า ธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงรู้สึกอยู่ใน จิตของตัวเองเท่านั้น แท้จริง โลกุตตรธรรมนั้นไม่เป็นวิสัยของพวกคนโง่เลยทีเดียว อีกนัยหนึง่ ธรรมนีเ้ ป็นสวากขาตะ เพราะเหตุอะไร ? เพราะธรรมนีเ้ ป็นสันทิฏฐิกะ ธรรมนี้ได้ชื่อว่าสันทิฏฐิกะ เพราะเป็นอกาลิกะ ธรรมนี้ได้ชื่อว่าอกาลิกะเพราะเป็นเอหิปัสสิกะ และธรรมใดได้ชื่อว่าเอหิปัสสิกะ ธรรมนั้นก็ย่อมเป็นโอปนยิกะ ด้วยประการฉะนี้


30

พระพุทธเจ้า

สมาธิอันเกิดจากธัมมานุสติ เมื่อพระโยคาวจรนั้นระลึกถึงพระธรรมคุณทั้งหลาย อันต่างโดยคุณมีความเป็น สวากขาตะเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้อยู่ ในขณะที่ระลึกนั้น จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะ กลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในขณะนั้น จิตของ เธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงดิ่ง ปรารภถึงพระธรรม องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะ เดี ย วกั น แก่ เ ธอผู้ ข่ ม นิ ว รณ์ ไ ด้ แ ล้ ว โดยนั ย ก่ อ นนั่ น แล แต่ เ พราะธรรมคุ ณ ทั้ ง หลายเป็ น อารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะจิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณหลายประการ ฌานนี้จึงเป็น ฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ได้ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ฌานนี้ถูกเรียกว่าธัมมานุสตินั่นเอง เพราะ เป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระธรรมคุณ

อานิสงส์ของการเจริญธัมมานุสติ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธัมมานุสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรง ในพระศาสดา ทำความตระหนักและอ่อนน้อมต่อพระธรรม ด้วยการระลึกถึงพระธรรมคุณ โดยนัยว่า “เราไม่พิจารณาเห็นพระศาสดาผู้แสดงธรรมอันเป็นโอปนยิกะอย่างนี้ ผู้แม้ ประกอบด้วยองค์นี้ ในกาลส่วนที่เป็นอดีตเลย ในกาลบัดนี้เล่า เราก็ไม่พิจารณาเห็น เว้นแต่พระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ ” ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งศรัทธา เป็นต้น เป็นผู้มากไป ด้วยปีติและปราโมทย์ ทนต่อความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก เสมือนว่าได้อยู่กับพระธรรม อนึ่ง แม้สรีระของเธออันธัมมคุณานุสติประทับอยู่ ย่อมเป็น ร่างควรแก่การบูชาดุจเรือนพระเจดีย์ จิตย่อมน้อมไปในการที่จะบรรลุถึงอนุตตรธรรม อนึ่ง ในเมื่อประสบกับสิ่งที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะย่อมจะปรากฏแก่เธอ ผู้ระลึกถึง ความเป็นธรรมดีของพระธรรมได้อยู่ อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณยิ่งขึ้นไป เธอย่อมมีสุคติเป็น ที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความไม่ประมาทใน ธัมมานุสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้ ทุกเมื่อเถิด ที่แสดงมานี้เป็นการกล่าวอธิบายอย่างพิสดารในธัมมานุสติ จบ ธัมมานุสติ


สังฆานุสติ

31

๓. สังฆานุสติ สติระลึกถึงคุณพระสงฆ์ วิสุทธิมรรค ภาค ๑ สังฆานุสติกถา

พระโยคาวจรผู้ ต้ อ งการจะเจริ ญ สั ง ฆานุ ส ติ พึ ง ไปอยู่ ใ นสถานที่ เ งี ย บสงั ด

แล้วระลึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า สุ ป ฏิ ป นฺ โ น ภควโต สาวกสงฺ โ ฆ

อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ

อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญ ฺ กฺเขตฺตํ โลกสฺส

อธิบายสังฆคุณบทว่า สุปฏิปันโน เป็นต้น ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปฏิปนฺโน แปลว่า ปฏิบัติดี มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติเป็น สั ม มาปฏิ ป ทา ปฏิ บั ติ โ ดยชอบ เป็ น อนิ วั ต ติ ป ฏิ ป ทา ปฏิ บั ติ ไ ม่ ว นกลั บ ไปเป็ น ทุ ก ข์ อี ก เป็นอนุโลมปฏิปทา ปฏิบัติสมควรแก่พระนิพพาน เป็นอปัจจนีกปฏิปทา ปฏิบัติไม่เป็น ข้าศึก เป็นธัมมานุธัมมปฏิปทา ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม บุคคลเหล่าใดฟังพระโอวาทและอนุสาสนีของพระผู้มีพระภาคโดยเคารพ เหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นจึงชื่อว่าสาวก หมู่แห่งสาวกทั้งหลายชื่อว่าสาวกสงฆ์ หมายความว่า ชุมนุม แห่งสาวกผู้ถึงซึ่งความเป็นกลุ่มเดียวกัน ด้วยความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลและทิฐิ ก็เพราะว่า สัมมาปฏิปทานั้น เป็นปฏิปทาที่ตรง คือไม่คด ไม่โค้ง ไม่งอ ปฏิปทา นั้นท่านเรียกว่าอริยญายะบ้าง และถึงซึ่งความนับว่าสามีจิ เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร บ้าง เพราะเหตุนั้น พระอริยสงฆ์ผู้ดำเนินปฏิปทานั้น จึงได้ชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน บ้าง ายปฏิปนฺโน บ้าง สามีจิปฏิปนฺโน บ้าง ในบท สุปฏิปนฺโน เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระอริยเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ตั้ง อยู่ในมรรค พระอริยเจ้าเหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดี เพราะความเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความ


32

พระพุทธเจ้า

ปฏิบัติชอบ พระอริยเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล พระอริยเจ้าเหล่านั้นก็ชื่อว่าปฏิบัติดี

มุ่งเอาความปฏิบัติที่ล่วงไปแล้ว เพราะท่านเหล่านั้นได้บรรลุธรรมที่พึงบรรลุก็ด้วยความ ปฏิบัติชอบนั่นแล อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สุปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติไปตามอนุศาสนีที่พระศาสดาทรง สอนไว้ก็ได้ เพราะปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา คือข้อปฏิบัติไม่ผิดก็ได้ ในธรรมวินัยที่เป็น สวากขาตะ ชือ่ ว่า อุชปุ ฏิปนฺโน เพราะปฏิบตั ติ ามมัชฌิมาปฏิปทาไม่เข้าใกล้สว่ นสุดทัง้ ๒ ข้าง และเพราะปฏิบัติเพื่อละโทษ คือ ความคด ความโกง และความงอทางกาย วาจา ใจ พระนิพพาน เรียกว่า ายะ เพราะปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานนั้น

จึงชื่อ ายปฏิปนฺโน บุคคลทั้งหลายปฏิบัติโดยประการใด จึงเป็นผู้ควรแก่สามีจิกรรม เพราะปฏิบัติด้วยประการนั้น จึงชื่อ สามีจิปฏิปนฺโน คำว่า ยทิทํ อธิบายเป็น ยานิ อิมานิ แปลว่า เหล่านี้ใด. คำว่า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ ความว่า นับโดยคู่ เป็นบุรุษ ๔ คู่ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่มรรคที่หนึ่ง ท่านผู้ตั้งอยู่ ในผลที่หนึ่ง นี่เป็นคู่ ๑ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า อฏฺ ปุริสปุคฺคลา ความว่า นับโดยบุคคล เป็นบุรุษบุคคล ๘ พอดี โดยนัยนี้ คือ ท่านตั้งอยู่มรรคที่หนึ่ง ๑ ผู้ตั้งอยู่ในผลที่หนึ่ง ๑ เป็นต้น ก็บทว่า บุรุษและบุคคล ในคำว่า อฏฺ ปุริสปุคฺคลา นั้นมีเนื้อความอันเดียวกัน แต่บทว่า ปุริสปุคฺคลา นั่น ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวไนย. บทว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ความว่า นับโดยคู่ เป็นบุรุษ ๔ คู่ นับโดยแยกเป็นบุคคล บุรุษบุคคล ๘ เหล่านี้คือหมู่ สาวกของพระผู้มีพระภาค

อธิบายสังฆคุณบทว่า อาหุเนยโย พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีบทว่า อาหุเนยฺโย เป็นต้น วัตถุใดอันบุคคลนำ มาบูชา เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้นชื่อว่าอาหุนะ หมายความว่า วัตถุที่บุคคลนำมาแม้จากที่ไกล ถวายในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย คำว่า อาหุนะ นั่นเป็นชื่อของปัจจัย ๔ พระสงฆ์เป็นผู้ควรที่ จะรับอาหุนะนั้น เพราะทำอาหุนะนั้นให้มีผลมาก เหตุนั้นจึงชื่อ อาหุเนยยะ แปลว่า ผู้ควร รับของที่เขานำมาบูชา อี ก นั ย หนึ่ ง แม้ ส มบั ติ ทั้ ง ปวงอั น บุ ค คลมาแม้ จ ากไกลควรบู ช าในพระสงฆ์ นั้ น

เหตุนั้น พระสงฆ์นั้นจึงชื่อ อาหวนียะ แปลว่า ผู้ที่บุคคลควรบูชา หรือว่า พระสงฆ์ย่อม


สังฆานุสติ

33

ควรซึ่ง อาหวนวัตถุ แม้ของเทวดาทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่ออาหวนียะ แปลว่า ผู้ควรของที่เขามาบูชา อนึ่ง ไฟอันได้ชื่อว่า อาหวนียะ ของพราหมณ์ทั้งหลายซึ่ง ลั ท ธิ ข องพวกเขาเห็ น ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ท ำให้ ข องอั น บู ช ามี ผ ลมาก อั น ใด หากว่ า ไฟนั้ น ชื่ อ ว่ า อาหวนียะ เพราะของทีบ่ คุ คลบูชาแล้วในไฟนัน้ มีผลมากไซร้ ก็พระสงฆ์นแี่ หละเป็นอาหวนียะ เพราะของที่บุคคลบูชาในพระสงฆ์เป็นสิ่งมีผลมาก ดังพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ชนใดพึงบูชาท่านผู้ที่อบรมตนสำเร็จแล้วผู้เดียวแม้ครู่หนึ่ง การบู ช านั้ น แหละประเสริ ฐ กว่ า ผู้ ที่ บู ช าไฟอยู่ ใ นป่ า ตลอดร้ อ ยปี

การบูชาไฟสิ้นร้อยปีจะประเสริฐอะไร บทว่า อาหวนียะ นั้นเป็นคำในนิกายอื่น โดยเนื้อความก็อย่างเดียวกันกับบทว่า อาหุเนยยะ นี้ในที่นี้ ใน ๒ บทนี้ต่างกันโดยพยัญชนะนิดหน่อยเท่านั้น พระสงฆ์เป็น อาหุเนยยะ ด้วยประการดังที่กล่าวมาฉะนี้

อธิบายสังฆคุณบทว่า ปาหุเนยโย ส่วนในบทว่า ปาหุเนยฺโย พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ อาคันตุกทาน คือ ทาน สำหรับต้อนรับแขกที่เขาจัดอย่างเครื่องสักการะ เพื่อประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลาย ที่รักที่ชอบใจผู้มาแต่ทิศใหญ่น้อย เรียกว่า ปาหุนะ แม้อาคันตุกทานนั้น เว้นญาติมิตรที่รัก ที่ ช อบใจเหล่ า นั้ น และแขกอื่ น อั น มี ฐ านะอย่ า งนั้ น เสี ย ก็ ค วรถวายแก่ พ ระสงฆ์ เ ท่ า นั้ น พระสงฆ์เท่านั้นควรรับอาคันตุกทานนั้น เพราะว่าแขกเช่นดังพระสงฆ์หามีไม่ จริงอย่างนั้น พระสงฆ์นั่นเป็นเวลาพุทธันดรหนึ่งจึงจะได้พบ และท่านประกอบด้วยธรรมทั้งหลายที่ ทำความเป็นที่รักที่ชอบใจล้วน ๆ ด้วย พระสงฆ์ชื่อว่า ปาหุเนยยะ เพราะของต้อนรับแขก ควรถวายแก่ท่าน และท่านก็ควรรับของต้อนรับแขก ดังนี้แล ส่วนบาลีของชนเหล่าใดว่า ปาหวนีโย บาลีของชนเหล่านั้นมีอธิบายว่า เพราะ เหตุที่พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งการให้ก่อน เพราะฉะนั้น ทานวัตถุอันบุคคลควรนำมาบูชาใน พระสงฆ์นั้นก่อนใครหมด เหตุนั้นพระสงฆ์จึงชื่อ ปาหวนียะ แปลว่า ผู้ที่ควรนำของมาบูชา ก่อน อีกนัยหนึ่ง พระสงฆ์ควรซึ่งอาหวนะโดยประการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อ ปาหวนียะ แปลว่า ผู้ควรของอันเขานำมาบูชาโดยประการทั้งปวง ศัพท์ว่า ปาหวนียะ นั้น ในที่นี้ กล่าวว่า ปาหุเนยยะ โดยเนื้อความนั้นแล


34

พระพุทธเจ้า

อธิบายสังฆคุณบทว่า ทักขิเณยโย ก็ทานที่บุคคลเชื่อโลกหน้าแล้วจึงให้ เรียกว่า ทักขิณา พระสงฆ์ย่อมควรซึ่ง ทักขิณานั้น หรือเกื้อกูลแก่ทักขิณา เพราะทำทักขิณาให้หมดจด โดยภาวะคือทำทักขิณา นั้นให้มีผลมาก เหตุนั้นพระสงฆ์จึงชื่อว่า ทักขิเณยยะ แปลว่า ผู้ควรซึ่งทักขิณาหรือ ผู้เกื้อกูลแก่ทักขิณา

อธิบายสังฆคุณบทว่า อัญชลีกรณีโย พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งการกระทำอัญชลี อันชาวโลกทั้งปวงวางมือทั้งสองไว้เหนือ ศีรษะกระทำอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่าอัญชลีกรณียะ แปลว่า ผู้ควรซึ่งการทำอัญชลี

อธิบายสังฆคุณบทว่า อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ บทว่า อนุตฺตรํ ปุกฺเขตฺตํ โลกสฺส ความว่า พระสงฆ์เป็นที่เพาะปลูกบุญของ ชาวโลกทั้งปวง ไม่มีที่เสมอเหมือน เหมือนอย่างว่าที่เพาะปลูกข้าวสาลีก็ดี ข้าวเหนียว ก็ดี ของพระราชาหรือของอำมาตย์ก็ตาม เขาก็เรียก “นาข้าวสาลีของพระราชา นาข้าว เหนียวของพระราชา” เป็นต้น ฉันใด พระสงฆ์ก็เป็นที่เพาะปลูกบุญทั้งหลายของชาวโลก ทั้งปวง ฉันนั้น แท้จริง เพราะอาศัยพระสงฆ์ บุญทั้งหลายอันเป็นเครื่องบันดาลประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขนานาประการของชาวโลกจึงได้งอกขึ้น เพราะเหตุนั้น พระสงฆ์จึง

ชื่อว่าเป็นนาบุญของโลกไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

สมาธิอันเกิดจากสังฆานุสติ เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงพระสังฆคุณทั้งหลาย อันต่างโดยคุณมีความเป็นผู้ ปฏิบัติดีเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้อยู่ ในขณะที่ระลึกนั้น จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะ กลุ้มรุมไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในขณะนั้น จิตของ เธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงดิ่ง ปรารภถึงพระสงฆ์ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะ เดียวกันแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วโดยนัยก่อนนั่นแล แต่เพราะสังฆคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ ลึกซึ้ง หรือเพราะจิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณหลายประการ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ ถึงอัปปนา ได้ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ฌานนี้ถูกเรียกว่าสังฆานุสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่ เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระสังฆคุณ


สังฆานุสติ

35

อานิสงส์ของการเจริญสังฆานุสติ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสังฆานุสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรง ในพระสงฆ์ ได้ความไพบูลย์แห่งศรัทธาเป็นต้น เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมทย์ ทนต่อ ความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึกเสมือนว่าได้อยู่กับพระสงฆ์ อนึ่ง แม้สรีระของเธออันสังฆคุณานุสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชาดุจโรง อุโบสถอันมีสงฆ์ประชุมกันอยู่ จิตย่อมน้อมไปในการที่จะบรรลุถึงสังฆคุณ อนึ่ง ในเมื่อ ประสบกับสิ่งที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะย่อมจะปรากฏแก่เธอ ราวกะเธอเห็นพระสงฆ์ อยู่ต่อหน้า อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณยิ่งขึ้นไป เธอย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความไม่ประมาทใน สังฆานุสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้ ทุกเมื่อเถิด ที่แสดงมานี้เป็นการกล่าวอธิบายอย่างพิสดารในสังฆานุสติ จบ สังฆานุสติ


36

พระพุทธเจ้า

๔. อธิบายคำว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้นเป็นต้น อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาติสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ๑. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น ๒. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น ๓. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ ๔. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามที่เป็นจริง ๕. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง ๖. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง ๗. เพราะทรงกระทำเองและสอนให้ผู้อื่นกระทำ ๘. เพราะทรงครอบงำ

๑. ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? พระองค์ เ สด็ จ มาเหมื อ นพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า องค์ ก่ อ น ๆ ที่ เ สด็ จ มา ทรง ขวนขวายประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวง เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า วิปัสสี เสด็จมา เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า สิขี เสด็จมา เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เวสสภู เสด็จมา เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุ สั น ธะ เสด็ จ มา เหมื อ นอย่ า งที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคพระนามว่ า โกนาคมนะ เสด็ จ มา เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปะ เสด็จมา เกี่ยวกับเรื่องนี้มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทั้งหลายเหล่านั้นเสด็จมาด้วยอภินิหารใด แม้พระผู้มีพระภาคของเรา ทั้งหลายก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน


อธิบายคำว่า ตถาคต

37

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ... พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กั ส สปะ ทรงบำเพ็ ญ ทานบารมี ศี ล บารมี เนกขั ม มบารมี ปั ญ ญาบารมี วิ ริ ย บารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ประการเหล่านี้ ได้แก่ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาค มหาบริจาค ๕ ประการ ได้แก่บริจาคอวัยวะ บริจาคทรัพย์ บริจาคบุตรธิดา บริจาคภริยา บริจาคชีวิต ทรงบำเพ็ญบุพโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และญาตัตถจริยาเป็นต้น

ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยา เสด็จมาแล้วโดยประการใด แม้พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาอย่างนั้นเหมือนกัน อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ... พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้วอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคของเรา ทั้งหลายก็เสด็จมาอย่างนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ มาอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พระมุ นี ทั้ ง หลายมี พ ระวิ ปั ส สี เ ป็ น ต้ น เสด็ จ มาสู่ ค วามเป็ น

พระสัพพัญญูในโลกนี้โดยประการใด แม้พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมา เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต

๒. ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? เหมื อ นอย่ า งที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคพระนามว่ า วิ ปั ส สี ประสู ติ แ ล้ ว เสด็ จ ดำเนิ น ไป ทันที ... เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติแล้วเสด็จดำเนินไปทันที

พระผู้มีพระภาคนั้นเสด็จไปอย่างไร จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคนั้นทันทีที่ประสูตินั้นเอง ประทั บ ยื น บนแผ่ น ดิ น ด้ ว ยพระยุ ค ลบาทอั น เสมอกั น บ่ า ยพระพั ก ตร์ ไ ปเบื้ อ งทิ ศ เหนื อ เสด็จดำเนินไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีทตี่ รัสไว้วา่ “ดูกอ่ นอานนท์ พระโพธิสตั ว์

ทันทีที่ประสูติ ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศเหนือ เสด็จดำเนินไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียว ดูทั่วทิศ ทรงเปล่งวาจาอันองอาจว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก

เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ต่อไป”


38

พระพุทธเจ้า

และการเสด็ จ ดำเนิ น ไปของพระผู้ มี พ ระภาคนั้ น ก็ ไ ด้ เ ป็ น อาการอั น จริ ง แท้ ไ ม่ แปรผันด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ ทันทีที่ประสูตินั้นเอง ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้ อิทธิบาท ๔ ของพระองค์ ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศเหนือ เป็นบุพนิมิต แห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง การย่างพระบาท ๗ ก้าวเป็นบุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ การยกพัดจามรขึ้นดังที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า พัดจามรทั้งหลาย มีด้ามทองก็โบกสะบัด นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งปวง การกั้นเศวตฉัตรเป็น บุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตร อันบริสุทธิ์ประเสริฐ คือพระอรหัตตวิมุตติธรรม การประทับ ยืนในก้าวที่ ๗ ทอดพระเนตรเหลียวดูทั่วทุกทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรณญาณ คื อ ความเป็ น พระสั พ พั ญ ญู การเปล่ ง วาจาอั น องอาจ เป็ น บุ พ นิ มิ ต แห่ ง การประกาศ พระธรรมจักรอันประเสริฐอันใคร ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แม้พระผู้มีพระภาคพระองค์ นี้ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้นก็ได้เป็นอาการอันจริงแท้ไม่ แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมติ แห่งการบรรลุคณ ุ วิเศษเหล่านัน้ เพราะเหตุนนั้ พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระควัมบดีโคดมนั้นทันทีที่ประสูติ ก็ทรงสัมผัสพื้นดินด้วย พระยุคลบาทอันเสมอกัน เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว ฝูงเทพยดา ก็กางกั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอด พระเนตรไปทุกทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบดังราชสีห์ยืนอยู่บนยอดภูเขาเปล่งเสียง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต แม้เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสีเสด็จไปแล้ว ... พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะเสด็จไปแล้ว ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ก็ ทรงเสด็ จ ไปฉั น นั้ น เหมื อ นกั น ทรงละกามฉั น ทะด้ ว ยเนกขั ม มะเสด็ จ ไปแล้ ว ทรงละ พยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะ ด้ ว ยความไม่ ฟุ้ ง ซ่ า นเสด็ จ ไปแล้ ว ทรงละวิ จิ กิ จ ฉาด้ ว ยการกำหนดธรรมเสด็ จ ไปแล้ ว ทรงทำลายอวิชชาด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาอรติดว้ ยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตู คือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงยังวิตกและวิจารให้สงบด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วย


อธิบายคำว่า ตถาคต

39

ตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญาปฏิฆสัญญาและ นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วย วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตน สมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จ ไปแล้ว ทรงละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ทรงละความ ยึดมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ทรงละความเพิ่มพูน ด้วยวยานุปัสสนา ทรงละความยั่งยืนด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละนิมิตตสัญญาด้วย อนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละการยึดมั่น ด้วยสุญญตานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่าเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธรรม วิปัสสนา ทรงละความยึดมั่นโดยความลุ่มหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ทรงละความ ยึ ด มั่ น ในธรรมเป็ น ที่ อ าลั ย ด้ ว ยอาที น วานุ ปั ส สนา ทรงละการไม่ พิ จ ารณาสั ง ขารด้ ว ย ปฏิสังขานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นในการประกอบกิเลสด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงหัก กิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งหมดได้ด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้

๓. ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ พระผูม้ พี ระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะเสด็จมาสูล่ กั ษณะทีแ่ ท้ เป็นอย่างไร ? ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะจริงแท้ไม่แปรผัน อาโปธาตุมีลักษณะ ไหลไป เตโชธาตุมีลักษณะร้อน วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไหวไปมา อากาศธาตุมีลักษณะ สัมผัสไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้อารมณ์ รูปมีลักษณะแตกสลายเพราะปัจจัยที่ตรง ข้าม เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้หมายรู้อารมณ์ สังขารมีลักษณะ ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมี ลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะ ไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มี ลักษณะประคับประคองจิต สตินทรีย์มีลักษณะดูแลรักษา สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน


40

พระพุทธเจ้า

ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้โดยประการต่าง ๆ สัทธาพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ ได้ในความไม่เชื่อ วิริยพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความเกียจคร้าน สติ พละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความมีสติหลงลืม สมาธิพละมีลักษณะอัน ใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ ได้ในอวิชชา สติสัมโพชฌงค์มีลักษณะดูแลรักษา ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะค้นคว้า วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคับประคองจิต ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบระงับ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขา สั ม โพชฌงค์ มี ลั ก ษณะพิ จ ารณาดู สั ม มาทิ ฏ ฐิ มี ลั ก ษณะเห็ น ตามจริ ง สั ม มาสั ง กั ป ปะมี ลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจามีลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากัมมันตะมีลักษณะ เป็นสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคับประคองจิต สั ม มาสติ มี ลั ก ษณะดู แ ลรั ก ษา สั ม มาสมาธิ มี ลั ก ษณะไม่ ฟุ้ ง ซ่ า น อวิ ช ชามี ลั ก ษณะไม่ รู้ สั ง ขารมี ลั ก ษณะคิ ด อ่ า น วิ ญ ญาณมี ลั ก ษณะรู้ อ ารมณ์ นามมี ลั ก ษณะน้ อ มไปรู้ รู ป มี ลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะเป็นที่ต่อ ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ เวทนามี ลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อุปาทานมีลักษณะยึดมั่น ภพมี ลักษณะเพิ่มพูน ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามีลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะเคลื่อน ธาตุมีลักษณะเป็นความว่างเปล่า อายตนะมีลักษณะเป็นที่ต่อ สติปัฏฐานมีลักษณะดูแล รักษา สัมมัปปธานมีลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะให้สำเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็น ใหญ่ในกิจหน้าที่ พละมีลักษณะอันใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โพชฌงค์มีลักษณะนำออก จากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สัจจะมีลักษณะจริงแท้ สมถะมีลักษณะไม่ ฟุ้ ง ซ่ า น วิ ปั ส สนามี ลั ก ษณะตามมองเห็ น สมถะและวิ ปั ส สนามี ลั ก ษณะมี กิ จ เป็ น หนึ่ ง

ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย ศีลวิสุทธิมีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะ ไม่ฟงุ้ ซ่าน ทิฏฐิวสิ ทุ ธิมลี กั ษณะเห็นความจริง ขยญาณมีลกั ษณะตัดได้เด็ดขาด อนุปปาทญาณ มีลักษณะระงับ ฉันทะมีลักษณะเป็นมูล มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน ผัสสะมีลักษณะ เป็นที่ประชุม เวทนามีลักษณะเป็นที่รวมลง สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข สติมีลักษณะเป็น อธิบดี ปัญญามีลักษณะยอดเยี่ยม วิมุตติมีลักษณะเป็นแก่นสารสาระ พระนิพพานอันหยั่ง ลงสูอ่ มตะมีลกั ษณะเป็นทีส่ ดุ สภาวธรรมแต่ละอย่างมีลกั ษณะทีแ่ ท้ไม่แปรผัน พระผูม้ พี ระภาค เสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ด้วยพระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ โดยลำดับไม่ผิดพลาดอย่างนี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ มาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้


อธิบายคำว่า ตถาคต

41

๔. ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามที่เป็นจริง พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามที่เป็นจริง

เป็นอย่างไร ? อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นธรรมทีแ่ ท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอืน่ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็น

อย่างอื่น” พึงทราบความพิสดารต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ ก็ “คต” ศัพท์ ในที่นี้ มีความหมาย ว่า ตรัสรู้ อี ก นั ย หนึ่ ง ชราและมรณะอั น เกิ ด แต่ ช าติ เ ป็ น ปั จ จั ย มี เ นื้ อ ความว่ า ปรากฏ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ... สังขารอันเกิดแต่อวิชชาเป็นปัจจัย

มีเนื้อความว่าปรากฏ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ... อวิชชามี

เนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ... ชาติมี

เนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็น อย่างอื่น พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับพระนาม ว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ ธรรมที่แท้ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างนี้แล

๕. ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็น อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งอารมณ์อันชื่อว่ารูปารมณ์ ที่มาปรากฏทางจักขุทวารของหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวดา คือ ของสัตว์ทั้งหลายอันหาประมาณมิได้ และอารมณ์นั้นอันพระองค์ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ ทรงจำแนกด้วยสามารถอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถบทที่ได้ใน อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ และที่ได้รู้ ๑๓ วาระบ้าง ๕๒ นัยบ้าง มีชื่อมากมาย โดยนั ย เป็ น ต้ น ว่ า รู ป คื อ รู ป ายตนะ เป็ น ไฉน ? คื อ รู ป ใด อาศั ย มหาภู ต รู ป ๔


42

พระพุทธเจ้า

เป็นแสงสี เป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่กระทบได้ เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง ดังนี้

ย่อมเป็นอารมณ์ที่แท้จริงอย่างเดียว ไม่มีแปรผัน แม้ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่มาปรากฏ แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้ ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ ใดที่ โ ลกพร้ อ มทั้ ง เทวดา พร้ อ มทั้ ง มาร พร้ อ มทั้ ง พรหม พร้ อ มทั้ ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้ ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้ว ด้วยใจ เราย่อมรู้ซึ่งอารมณ์นั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น ตถาคตทราบแล้ว ปรากฏแล้วในตถาคต” ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงเห็น อารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างนี้

๖. ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะมีวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างไร ? ตลอดราตรี ใ ดที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคประทั บ นั่ ง บนอปราชิ ต บั ล ลั ง ก์ ที่ ใ ต้ ต้ น โพธิ์ ทรงล้างสมองมารทั้ง ๓ แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใดที่ พระองค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ คือในกาลประมาณ ๔๕ พรรษา พระวาจาใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ทั้งในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล ทั้งในปัจฉิมโพธิกาล คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ พระวาจานั้นทั้งหมดอันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้

ไม่ขาด ไม่เกิน โดยอรรถะและโดยพยัญชนะ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง บรรเทาความเมา คือ ราคะ โทสะ โมหะ ในพระวาจานั้นไม่มีความพลั้งพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระวาจานั้นทั้งหมด ย่อมแท้จริงอย่างเดียว ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดุจประทับ ไว้ ด้ ว ยตราอั น เดี ย วกั น ดุ จ ตวงไว้ ด้ ว ยทะนานใบเดี ย วกั น และดุ จ ชั่ ง ไว้ ด้ ว ยตาชั่ ง อั น เดียวกัน ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนจุนทะ ตลอดราตรีใด ที่ตถาคตตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใดทีป่ รินพ ิ พานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่ า งนี้ คำใดที่ ต ถาคตกล่ า ว พู ด แสดง คำนั้ น ทั้ ง หมด ย่ อ มเป็ น คำแท้ จ ริ ง

อย่างเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น เหตุนั้น จึงได้นามว่าตถาคต” ก็ในที่นี้ คต ศัพท์ มีเนื้อ ความเท่ า กั บ คท แปลว่ า คำพู ด พระผู้ มี พ ระภาคทรงพระนามว่ า ตถาคต เพราะมี พระวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างนี้


อธิบายคำว่า ตถาคต

43

อนึ่ ง มี อ ธิ บ ายว่ า อาคทนํ เป็ น อาคโท แปลว่ า คำพู ด มี วิ เ คราะห์ ว่ า ตโถ อวิปริโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง ท เป็น ต ในอรรถนี้ พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้เทียว

๗. ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและสอนให้ผู้อื่นกระทำ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างไร ? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรงมีพระวาจาตรงกับ พระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรงกระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด ก็ ท รงมี พ ระวาจาอย่ า งนั้ น อธิ บ ายว่ า ก็ พ ระองค์ ผู้ เ ป็ น อย่ า งนี้ มี พ ระวาจาอย่ า งใด แม้พระวรกายก็ทรงเป็นไป คือทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้พระวาจา ก็ทรงเป็นไป คือทรงประพฤติอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด พูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที เหตุนั้น จึงได้นามว่าตถาคต” ดังนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างนี้

๘. ตถาคต เพราะทรงครอบงำ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงครอบงำ เป็นอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหมเบื้องล่างถึงอเวจี เป็ น ที่ สุ ด เบื้ อ งขวางตลอดโลกธาตุ อั น หาประมาณมิ ไ ด้ ด้ ว ยศี ล บ้ า ง ด้ ว ยสมาธิ บ้ า ง ด้วยปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง การจะชั่งหรือประมาณ พระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นเทพของเทพ เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะ ทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อันใคร ๆ ครอบงำ ไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ทรงอำนาจ เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่าตถาคต” ดังนี้


44

พระพุทธเจ้า

ในความหมายนั้ น พึ ง ทราบความสำเร็ จ บทอย่ า งนี้ อคโท แปลว่ า โอสถ ก็เหมือน อาคโท ที่แปลว่า วาจา ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือ ความงดงามแห่งเทศนา และความพิเศษแห่งบุญ เพราะว่าพระผู้มีพระภาคนี้ ทรงครอบงำผู้มีวาทะตรงกันข้าม ทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพมาก ครอบงำงูทั้งหลายด้วยยา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมี โอสถ คื อ ความงดงามแห่ ง เทศนาและความพิ เ ศษแห่ ง บุ ญ อั น แท้ ไม่ วิ ป ริ ต เพราะการครอบงำโลกทัง้ ปวง ดังนี้ เพราะแปลง ท เป็น ต พระผูม้ พี ระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปด้วยกิริยา ที่แท้ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึงกิริยาที่แท้ ดังนี้ก็มี บทว่า คโต มีเนื้อความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ ในเนื้อความ ๘ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงหยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วย ตีรณปริญญา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้ เพราะทรงเป็นไปล่วงซึ่งโลกสมุทัย ด้วยปหานปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้ เพราะทรงบรรลุโลกนิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้ เพราะทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่า กิริยาที่แท้ ด้วยเหตุนั้น คำใดที่พระผู้มี พระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากแล้วจากโลก โลกสมุทัยตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคตละได้แล้ว โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้แจ้งแล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันให้ ถึงโลกนิโรธตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้งเทวดา ... ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้นามว่า ตถาคต” ดังนี้ พึงทราบ เนื้ อ ความแห่ ง คำนั้ น แม้ อ ย่ า งนี้ อนึ่ ง แม้ ข้ อ นี้ ก็ เ ป็ น เพี ย งแนวทางในการแสดงภาวะที ่ พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคตเท่านั้น ที่จริง พระตถาคตเท่านั้นจะพึงพรรณนาภาวะที่ พระตถาคตมีพระนามว่า ตถาคตโดยอาการทั้งปวงได้ จบ อธิบายคำว่า ตถาคต


อธิบายคำว่า ภควา

45

๕. อธิบายคำว่า ภควา เพราะทรงมีภาคธรรมเป็นต้น อรรถกถา โลภสูตร

ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็นคำเรียกบุคคล ผู้เป็นที่เคารพ เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพว่า ภควา และพระตถาคต ชื่อว่า เป็นที่เคารพของสัตว์ทั้งหลาย เพราะทรงวิเศษด้วยสรรพคุณ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ภควา แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระตถาคตนั้น ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ ด้วยเหตุนั้น

จึงขนานพระนามว่า ภควา อั น ที่ จ ริ ง คำพู ด ที่ ร ะบุ ถึ ง บุ ค คลผู้ ป ระเสริ ฐ ที่ สุ ด กล่ า วกั น ว่ า ประเสริ ฐ ที่ สุ ด เพราะดำเนินไปด้วยกันกับคุณอันประเสริฐที่สุด อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจนะ เพราะ อรรถว่า อันบุคคลกล่าว ได้แก่ความหมาย เพราะเหตุนั้นในบทว่า ภควาติ วจนํ เสฏฺํ จึงมีความหมายว่า ความหมายใดที่จะพึงพูดด้วยคำว่า ภควา นี้ ความหมายนั้นประเสริฐ ที่สุด แม้ในบทว่า ภควาติวจนมุตฺตมํ นี้ ก็นัยนี้แล บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ทรงเป็น ผู้ ค วรแก่ ค วามเคารพคารวะ เพราะทรงประกอบด้ ว ยคุ ณ ของบุ ค คลผู้ เ ป็ น ที่ เ คารพ อีกประการหนึ่ง พระตถาคต ชื่อว่าทรงควรแก่ความเคารพ ก็เพราะเหตุที่ทรงควรซึ่งการ ทำความเคารพอย่างดียิ่ง หมายความว่า ทรงควรแก่ความเคารพ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า ภควา นี้ จึงเป็นคำเรียกบุคคลผู้วิเศษโดยคุณ บุคคลผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และบุคคลผู้เป็นที่ เคารพคารวะ ดังนี้แล อีกประการหนึ่ง พึงทราบความหมายของบทว่า ภควา ตามนัยที่มาในนิทเทสว่า พระพุทธเจ้านัน้ บัณฑิตขนานพระนามว่า ภควา เพราะเหตุที่ พระองค์ทรงมีภคธรรม ๑ ทรงมีปกติเสพภคธรรม ๑ ทรงมีภาคธรรม ๑


46

พระพุทธเจ้า

ทรงจำแนกแจกแจงธรรม ๑ ทรงทำลายนามรูป ๑ ทรงเป็นทีเ่ คารพ ๑ ทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีพระองค์อบรมดีแล้วด้วยญายธรรมจำนวน มาก ๑ ทรงถึงที่สุดแห่งภพ ๑ และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า เพราะเหตุทพ ี่ ระพุทธเจ้าทรงมีภาคยธรรม ๑ ทรงมีภคั คธรรม ๑ ทรงประกอบด้วยภัคคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจงธรรม ๑ ทรงมีคน ภัก ดี ๑ ทรงคายการไปในภพทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับขนาน พระนามว่า ภควา ก็ ค วามหมายนี้ นั้ น ได้ ก ล่ า วไว้ แ ล้ ว ในพุ ท ธานุ ส ติ นิ ท เทสในวิ สุ ท ธิ ม รรคอย่ า ง ครบถ้วน เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ผู้อบรมพุทธกรธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรม พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม พระชิ น เจ้ า ทรงพระนามว่ า ภควา เพราะหมายความว่ า

ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงอบรมพุทธกรธรรม ๑ ทรงเสพภาคธรรม ๑ ทรงเสพภคธรรม ๑ ทรงมี ค นภั ก ดี ๑ ทรงคายภคธรรม ๑

ทรงคายภาคธรรม ๑ ในความหมายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้


อธิบายคำว่า ภควา

47

๑. ทรงมีภาคธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ กองธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งคุณมีศีลเป็นต้นที่วิเศษยิ่ง ไม่สาธารณะแก่ บุคคลอื่นมีอยู่ คือ หาได้เฉพาะแก่พระตถาคตเจ้า จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้านั้น ทรงมี คือทรงได้ภาคแห่งคุณ ได้แก่ส่วนแห่งคุณ อันเป็นนิรัติสัย (ไม่มีส่วนแห่งคุณอื่นที่ ยิ่งกว่า) ไม่จำกัดประเภท ไม่มีที่สุด ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่น มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิ ปั ญ ญา วิ มุ ต ติ วิ มุ ต ติ ญ าณทั ส สนะ หิ ริ โอตตั ป ปะ ศรั ท ธา วิ ริ ย ะ สติ สัมปชัญญะ สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ สัมมาวิตก ๓ อนวัชชสัญญา ๓ ธาตุ ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อริยมรรค ๔ อริยผล ๔ ปฏิสมั ภิทา ๔ ญาณกำหนดรูก้ ำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิ ส สารณี ย ธาตุ ๕ วิ มุ ต ตายตนญาณ (ญาณเป็ น บ่ อ เกิ ด แห่ ง วิ มุ ต ติ ) ๕ วิมุตติปริปาจนียปัญญา (ปัญญาเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ) ๕ อนุสติฐาน (ที่ตั้งแห่งอนุสติ) ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖ อนุตตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ เทศนาว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๗ เทศนาว่า ด้วยพลธรรมของพระขีณาสพ ๗ เทศนาว่าด้วยเหตุให้ได้ปัญญา ๘ สัมมัตตธรรม ๘ การล่วงพ้นโลกธรรม ๘ อารัมภวัตถุ ๘ อักขณเทศนา (เทศนาว่าด้วยขณะที่ไม่สามารถ ประพฤติพรหมจรรย์ได้) ๘ มหาบุรุษวิตก ๘ เทศนาว่าด้วยอภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ เทศนาว่ า ด้ ว ยสั ต ตาวาส ๙ อุ บ ายกำจั ด อาฆาตวั ต ถุ สั ญ ญา ๙ นานั ต ตธรรม ๙ อนุปพุ พวิหารธรรม ๙ นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ (บ่อเกิดกสิณ) ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ อานิสงส์เมตตา ๑๑ อาการธรรมจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๐ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อตปนียธรรม ๑๖ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ อุทยัพพยญาณ ๕๐ กุศลธรรมมากกว่า ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติสองล้านสี่แสนโกฏิ มหาวชิรญาณ ๕ เทศนานัยว่าด้วยการพิจารณาปัจจัย ในอนันตนยสมันตปัฏฐานปกรณ์ และญาณแสดงถึ ง อาสยะเป็ น ต้ น ของสั ต ว์ ทั้ ง หลายไม่ มี ที่ สุ ด ในโลกธาตุ อั น ไม่ มี ที่ สุ ด


48

พระพุทธเจ้า

เพราะเหตุนั้น เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภาควา เพราะเหตุที่ทรงมีภาคแห่งคุณ ตามที่ ได้กล่าวจำแนกไว้แล้ว ท่านก็ขนานพระนามว่า ภควา โดยรัสสะ อา อักษรเป็น อะ อักษร พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมี ภาคธรรม ดังพรรณนามานี้ก่อน เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มีศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระ สุคตอย่างครบถ้วน ฉะนัน้ บัณฑิตจึงขนานพระนามพระองค์วา่ ภควา

๒. ทรงอบรมพุทธกรธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม เป็นอย่างไร ? คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี ๑๐ ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี

ขั น ติ บ ารมี สั จ จบารมี อธิ ษ ฐานบารมี เมตตาบารมี อุ เ บกขาบารมี อุ ป บารมี ๑๐ และปรมั ต ถบารมี ๑๐ รวมเป็ น บารมี ๓๐ ถ้ ว น สั ง คหวั ต ถุ ๔ มี ท านเป็ น ต้ น อธิษฐานธรรม ๔ มหาบริจาค ๕ คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคดวงตา การบริจาค ทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยา การกล่าว ธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่พระญาติ พระจริยาที่ เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวายเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวล ผู้ประมวลธรรม ๘ ประการมีความเป็นมนุษย์เป็นต้น ไว้อย่างพร้อมมูลแล้วกระทำมหาอภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้ บริบูรณ์ หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา) พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่างครบถ้วนไม่

ขาดสาย สิ้นเวลา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหาอภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธเจ้า ทีปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงัก โดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อควร ขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวายพระนามว่า ภควา เพราะแปลงอักษร ต ให้เป็น อักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์ อีกอย่างหนึ่งบทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกรธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้


อธิบายคำว่า ภควา

49

เพราะเหตุ ที่ พ ระโลกนาถ ทรงอบรมสั ม ภารธรรมทั้ ง หมด

มี ท านบารมี เ ป็ น ต้ น เพื่ อ พระสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณ ฉะนั้ น จึ ง ถวาย พระนามว่าภควา

๓. ทรงเสพภาคธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมเป็น อย่างไร ? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวัน นับได้จำนวนสองหมื่นสี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงซ่องเสพ ได้แก่ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่ง สมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุข ในปัจจุบันของพระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรง เสพภาคธรรม อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศลเป็นต้น และมีขันธ์ เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง ด้วยอำนาจเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ ๔ อย่าง แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ก็คือธรรมทั้งหลาย เป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ... ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้นว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ... เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุต้อง ทำให้แจ้ง ... การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้ เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึงความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ... สติปัฏฐาน ๔ ต้องเจริญ ๑ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพ ด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนาและอาเสวนะตามควร พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้ อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้า ทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระมหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณ คือเป็นภาคแห่งคุณที่ทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของเวไนยสัตว์ และความปรารถนานั้นของ พระองค์ ก็ ไ ด้ น ำผลมาให้ ส มพระประสงค์ พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ทรงพระนามว่ า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้


50

พระพุทธเจ้า

เพราะเหตุทพ ี่ ระตถาคตเจ้า ทรงเสพทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุไญยธรรมเพือ่ เป็นประโยชน์เกือ้ กูลแก่สตั ว์ทงั้ หลาย ฉะนัน้ จึงทรงพระนามว่า ภควา

๔. ทรงเสพภคธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ ว่าโดยย่อก่อน สมบัติทั้งหลายทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระชื่อว่า ภคะ เพราะอันบุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญไว้แล้ว ถึงพร้อมด้วย ปโยคะ เสพได้ตามควรแก่สมบัติ ก่อนอื่นในภคธรรมทั้งสองนั้น ภคธรรมที่เป็นโลกิยะอันสูงสุดอย่างยิ่งยวด พระตถาคตเจ้า ครัง้ ยังเป็นพระโพธิสตั ว์กอ่ นทีจ่ ะได้ตรัสรู้ ก็ได้เสวย คบ เสพมาแล้ว ซึง่ พระองค์ทรงดำรงอยู่ แล้วจึงได้พิจารณาพุทธธรรมอย่างครบถ้วน บ่มพุทธธรรมให้สุกเต็มที่ ต่อเมื่อได้เป็น พระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรมเหล่านั้น อันเป็นโลกุตตระประกอบด้วยภาวะอัน ไม่มีโทษ ลึกซึ้ง ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่น ส่วนที่ว่าโดยพิสดาร พระตถาคตเจ้า (ครั้งยัง เป็นพระโพธิสัตว์) ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม (อันเป็นโลกิยะ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคล อื่นหลายอย่าง คือ ความเป็นเจ้าประเทศ ความเป็นเอกราช จักรพรรดิราชสมบัติ และ เทวราชสมบัติเป็นต้น และครั้นได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม (อันเป็น โลกุตตระ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่าง คือ อุตตริมนุสสธรรมมีฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การเจริญมรรคและการทำผลให้แจ้งเป็นต้น พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะความหมายว่า ทรงเสพภคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้ เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสพโลกิยสมบัติ และ โลกุตตรสมบัติจำนวนมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ภควา


อธิบายคำว่า ภควา

51

๕. ทรงมีคนภักดี พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี เป็น อย่างไร ? คือ พระองค์ทรงมีคนภักดี คือ มีคนที่ภักดีอย่างมั่นคงอยู่มาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีคนภักดี เป็นความจริง พระตถาคตเจ้าชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะ พรั่ ง พร้ อ มด้ ว ยคุ ณ วิ เ ศษที่ มี อ ำนาจหาที่ เ ปรี ย บประมาณมิ ไ ด้ อาทิ พ ระมหากรุ ณ าและ พระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงมีอุปการะอย่างยิ่งยวดใน หมู่สัตว์ กับทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปโยคสมบัติอันยอดเยี่ยม นิรัติสัย มีการบำบัดสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ถึงก่อน มีการจัดสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขให้ครบถ้วนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงมีรูปกายประดับด้วยคุณวิเศษอันไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่น เช่น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกไปวา หนึ่งเป็นต้น ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบด้วยเสียงสดุดีที่แสนไพบูลย์

แสนบริสุทธิ์ แผ่ไปในไตรโลก เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า อิติปิ โส ภควา ซึ่งพระองค์ทรง ได้ ม าจากพระคุ ณ ตามที่ เ ป็ น จริ ง ชื่ อ ว่ า สู ง สุ ด กว่ า สรรพสั ต ว์ เพราะทรงดำรงมั่ น อยู่ ใ น พระคุณ มีความมักน้อยและความสันโดษเป็นต้นที่ถึงขั้นเป็นบารมีขั้นสูงสุด ชื่อว่า สูงสุด กว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบด้วยคุณวิเศษอันยิง่ ยวดมีทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ เป็นต้น ชื่อว่า ทรงเป็นยอด คือ ทรงเป็นฐานให้เกิดความภักดีอย่างพร้อมมูล เพราะทรง เป็นบ่อเกิดแห่งความเอื้อเฟื้อ ความนับถือและความเคารพอย่างมากของสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะทรงเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใสทุกด้าน โดยทรงนำความ เลื่อมใสมาให้โดยประการทั้งปวงในโลกสันนิวาสผู้ยึดถือประมาณ ๔ อย่างนี้ คือ ผูถ้ อื รูปเป็นประมาณก็เลือ่ มใสในรูป ๑ ผูถ้ อื เสียงเป็นประมาณก็เลือ่ มใสในเสียง ๑ ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณก็เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑ ผู้ถือธรรมเป็นประมาณ ก็เลื่อมใสในธรรม ๑ บุคคลเหล่าใดตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ประกอบพร้อมด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ความภักดีของบุคคลเหล่านั้น อันใคร ๆ จะเป็นสมณพราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม ก็ลักไปไม่ได้ เป็นความจริง บุคคลเหล่านั้นแม้ตนเองจะต้องเสีย ชีวิต ก็จะไม่ยอมทิ้งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้น หรือคำสั่งของพระองค์ ก็เพราะต่างมี ความภักดีอย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้นแล พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า


52

พระพุทธเจ้า

ผู้ ใ ดแลเป็ น ปราชญ์ เป็ น ผู้ ก ตั ญ ญู ก ตเวที ผู้ นั้ น ย่ อ มเป็ น กัลยาณมิตรและมีความภักดีอย่างมั่นคง และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดา ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวกของเราก็จะไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบทที่ เราตถาคตบั ญ ญั ติ แ ล้ ว แก่ ส าวกทั้ ง หลาย แม้ เ พราะเหตุ แ ห่ ง ชี วิ ต ฉั น นั้ น เหมื อ นกั น แล พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรงมีคนภักดี ดังพรรณนามา ฉะนี้ เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภตฺตวา แต่กลับขนานพระนามว่า ภควา โดยลบ ต อักษรเสียตัวหนึ่งแล้วแปลง ต อักษรอีกตัวหนึ่งให้เป็น ค อักษร ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์ เพราะเหตุที่พระศาสดา ผู้ประกอบด้วยพระคุณอันยิ่งยอด ทรงมีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตวโลก ทรงมีคนภักดีมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ภควา

๖. ทรงคายภคธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมเป็น อย่างไร ? คือ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า แม้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบารมี ในอดีตชาติ ได้ทรงคายขยอกทิ้งซึ่งสิริและอิสริยยศที่เรียกว่าภคะ อย่างไม่ใยดีเหมือนทรง บ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น จริงอย่างนั้น อัตภาพที่พระองค์ทรงสละสิริราชสมบัติ อันเป็นเช่น กับราชสมบัติของเทวดา ด้วยอำนาจการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี กำหนดจำนวนไม่ได้ในชาติ ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ ในคราวเกิดเป็นโสมนัสสกุมาร ในคราวเกิดเป็นหัตถิปาลกุมาร ในคราวเกิดเป็นอโยฆรบัณฑิต ในคราวเกิดเป็นมูคปักขบัณฑิต (พระเตมีย์) ในคราวเกิด เป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม แม้ในอัตภาพก่อน ๆ พระองค์ก็มิได้สำคัญสิริจักรพรรดิราชสมบัติ มีความเป็นใหญ่ในทวีปทัง้ ๔ อันเป็นเช่นเดียวกับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศทีส่ ง่างาม ด้วยรัตนะ ๗ ซึง่ เป็นทีอ่ าศัยของสมบัตขิ องพระเจ้าจักรพรรดิทอี่ ยูแ่ ค่เอือ้ มว่า ยิง่ ไปกว่าหญ้า ทรงละทิ้งไปอย่างไม่ใยดี แล้วเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมมีสิริเป็นต้น

ดังพรรณนามาฉะนี้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ภค เพราะเป็นเครื่องไป คือ

เป็ น ไปสม่ ำ เสมอแห่ ง นั ก ษั ต รทั้ ง หลาย ที่ ชื่ อ ว่ า ภา อั น อาศั ย โลกพิ เ ศษซึ่ ง จำแนกเป็ น


อธิบายคำว่า ภควา

53

ภูเขาสิเนรุ ยุคนั ธร อุตตรกุรทุ วีป และภูเขาหิมวันต์เป็นต้น ชือ่ ว่า โสภา เพราะมีความตัง้ มัน่ ตลอดกัป พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงคาย คือ ทรงละภคธรรมแม้เหล่านัน้ ด้วยการละฉันทราคะ อั น ปฏิ พั ท ธ์ ใ นภคธรรมนั้ น เพราะก้ า วล่ ว งซึ่ ง สั ต ตาวาส อั น อยู่ อ าศั ย ภคธรรมนั้ น พระพุทธเจ้า พระนามว่า ภควา เพราะทรงคายภคธรรมทั้งหลาย แม้ด้วยประการฉะนี้ พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะทรงละจักรพรรดิ สิริ ยศ อิสริยะ สุข และการสะสมโลก

๗. ทรงคายภาคธรรม พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฏฐาส หลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูปเวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่อง ประกอบไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึงทั้งหมด (คัณฐะ) กิเลสเครื่องผูกมัดไว้ ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาคธรรมเหล่านั้นโดยมิ ทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียวโดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรม ไปตามลำดั บ บท มี อ าทิ คื อ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ซึ่ ง มี อ ยู่ ใ นที่ ทุ ก แห่ ง ที เ ดี ย ว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ... มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา ... มโนสัมผัสสชาเวทนา จักษุสมั ผัสสชาสัญญา ... มโนสัมผัสสชาสัญญา จักษุสมั ผัสสชาเจตนา ... มโนสัมผัสสชาเจตนา รูปตัณหา ... ธรรมตัณหา รูปวิตก ... ธรรมวิตก รูปวิจาร ... ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า “ดูก่อนอานนท์ สิ่งใดที่ ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว พ้นแล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว ตถาคตจักกลับมาหาสิ่งนั้นอีก เรื่องนี้ไม่ใช่ฐานะจะมีได้” พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่าทรง คายภาคธรรม ดังว่ามานี้


54

พระพุทธเจ้า

อีกประการหนึ่ง บทว่า ภาเค วมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคาย ขยอก สละ ทิ้ ง ธรรมทั้ ง หมด คื อ กุ ศ ลธรรมและอกุ ศ ลธรรมธรรมที่ มี โ ทษและไม่ มี โ ทษ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว ทางพระโอษฐ์คือ อริยมรรคญาณ และทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นอย่างนั้นแก่บุคคลเหล่าอื่น สมจริงดัง พระดำรัสที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรมทั้งหลาย เธอก็ต้องละ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจึงแสดง ธรรมเปรียบด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย เพื่อต้องการให้ถ่ายถอน มิใช่เพื่อให้ยึดถือ” เป็นต้น พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม แม้ดัง พรรณนามาฉะนี้ เพราะเหตุที่ธรรมดำและธรรมขาวซึ่งแยกประเภทออกเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ

อันยิ่งใหญ่ทรงคายได้แล้ว ฉะนั้นพระองค์จึงได้รับขนานพระนามว่า ภควา ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า พระชิ น เจ้ า ทรงพระนามว่ า ภควา เพราะหมายความว่ า

ทรงมีภาคธรรม ทรงอบรมพุทธกรธรรม ทรงเสพภาคธรรม ทรงมี ภคธรรม ทรงมีคนภักดี ทรงคายภคธรรม ทรงคายภาคธรรม จบ อธิบายคำว่า ภควา


โพธิราชกุมารสูตร

55

๖. โพธิราชกุมารสูตร ประวัติตั้งแต่ทรงออกบวชจนถึงตรัสรู้ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน เขตนคร สุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท ก็สมัยนั้น ปราสาทชื่อโกกนุท ของพระราชกุมารพระนามว่า โพธิ สร้างแล้วใหม่ ๆ สมณพราหมณ์หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งยังไม่ได้เข้าอยู่ ครั้งนั้น โพธิราชกุมาร เรียกมาณพนามว่า สัญชิกาบุตร มาว่า มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มี พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรค เบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่ พระองค์ ผู้ เ จริ ญ โพธิ ร าชกุ ม ารถวายบั ง คมพระยุ ค ลบาทของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ด้ ว ย เศี ย รเกล้ า ทู ล ถามถึ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ มี พ ระอาพาธน้ อ ย มี พ ระโรคเบาบาง ทรงกระปรีก้ ระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และจงทูลอย่างนีว้ า่ ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ขอพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า กั บ พระภิ ก ษุ ส งฆ์ จงรั บ ภั ต ตาหารเพื่ อ เสวยในวั น พรุ่ ง นี้ ข อง โพธิราชกุมารเถิด มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสัง่ โพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ถึงทีป่ ระทับ ได้ปราศรัยกับพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ครัน้ ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ทรงรับนิมนต์ [๔๘๗] ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวายบังคมพระบาทด้วย เศียรเกล้า และรับสั่งถามถึงพระโคดมผู้เจริญ ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงมีพระกำลัง ทรงพระสำราญและรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอพระโคดม ผู้ เ จริ ญ กั บ พระภิ ก ษุ ส งฆ์ จงรั บ ภั ต ตาหารเพื่ อ เสวยในวั น พรุ่ ง นี้ ข องโพธิ ร าชกุ ม ารเถิ ด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ ครั้งนั้น มาณพสัญชิกาบุตรทราบว่า


56

พระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร แล้วทูลว่า เกล้ากระหม่อมได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ตามรับสั่งของพระองค์แล้วและ พระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว พอล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้ตกแต่งของ เคี้ยวของฉันอย่างประณีตในนิเวศน์ และรับสั่งให้เอาผ้าขาวปูลาดโกกนุทปราสาทตลอดถึง บั น ไดขั้ น สุ ด แล้ ว ตรั ส เรี ย กมาณพสั ญ ชิ ก าบุ ต รมาว่ า นี่ แ น่ เพื่ อ นสั ญ ชิ ก าบุ ต ร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้ว จงกราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระโคดมผู้เจริญ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว [๔๘๘] ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้วทรง ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร สมัยนั้น โพธิราชกุมารประทับ ยืนคอยรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงเสด็จออกต้อนรับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จ นำหน้าเข้าไปยังโกกนุทปราสาท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าหยุดประทับอยู่ที่บันไดขั้นสุด โพธิ ร าชกุ ม ารจึ ง กราบทู ล ว่ า ขอนิ ม นต์ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงเหยี ย บผ้ า ขาวไปเถิ ด

พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงนิ่ ง เสี ย แม้ ค รั้ ง ที่ ส อง โพธิ ร าชกุ ม ารก็ ก ราบทู ล ว่ า ขอนิ ม นต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้า ขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาล นาน เมื่ อ โพธิ ร าชกุ ม ารทู ล เช่ น นี้ แ ล้ ว พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงนิ่ ง เสี ย แม้ ค รั้ ง ที่ ส าม โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิดพระเจ้าข้า ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตร ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ได้ถวายพระพรว่า ดูก่อนพระราชกุมาร จงเก็บผ้าขาว เสียเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า พระตถาคตเจ้าทรงแลดูประชุมชน ผู้เกิดในภายหลัง โพธิราชกุมาร รับสั่งให้เก็บผ้าแล้วให้ปูลาดอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข


โพธิราชกุมารสูตร

57

ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จวางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว โพธิราชกุมารถือเอาอาสนะต่ำ แห่ ง หนึ่ ง ประทั บ นั่ ง ณ ที่ ค วรส่ ว นข้ า งหนึ่ ง แล้ ว ได้ ก ราบทู ล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ว่ า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วย ความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล

เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส [๔๘๙] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นราชกุ ม าร ก่ อ นแต่ ต รั ส รู้ แ ม้ เ มื่ อ อาตมภาพยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มีความคิดเห็นว่า ความสุขอันบุคคลจะพึง ถึ ง ได้ ด้ ว ยความสุ ข ไม่ มี ความสุ ข อั น บุ ค คลจะพึ ง ถึ ง ได้ ด้ ว ยทุ ก ข์ แ ล ดู ก่ อ นราชกุ ม าร สมั ย ต่ อ มา เมื่ อ อาตมภาพยั ง เป็ น หนุ่ ม มี ผ มดำสนิ ท ประกอบด้ ว ยวั ย กำลั ง เจริ ญ

เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ ได้ปลงผม และหนวด นุ่ ง ห่ ม ผ้ า กาสายะ ออกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต ครั้ น บวชอย่ า งนี้ แ ล้ ว แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้าสันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า จึงได้เข้าไปหา อาฬารดาบสกาลามโคตร แล้ ว ได้ ก ล่ า วว่ า ดู ก่ อ นท่ า นกาลามะ ข้ า พเจ้ า ปรารถนาจะ พระพฤติ พ รหมจรรย์ ใ นธรรมวิ นั ย นี้ ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เมื่ อ อาตมภาพกล่ า วเช่ น นี้ แ ล้ ว อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ท่านจงอยู่เถิด ธรรมนี้เป็นเช่นเดียวกับ ธรรมที่บุรุษผู้ฉลาด พึงทำลัทธิของอาจารย์นั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุไม่ นานเลย อาตมภาพเล่ า เรี ย นธรรมนั้ น ได้ โ ดยฉั บ พลั น ไม่ น านเลย กล่ า วญาณวาทและ เถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เ ราเห็ น อาตมภาพนั้ น มี ค วามคิ ด ว่ า อาฬารดาบสกาลามโคตรจะประกาศได้ ว่ า

เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ก็ หาไม่ ที่ จ ริ ง อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้ เ ห็ น ธรรมนี้ อ ยู่ ครั้ น แล้ ว อาตมภาพเข้ า ไปหา อาฬารดาบสกาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่ออาตมภาพกล่าว เช่นนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ อาตมภาพได้มีความ คิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา หามิได้ ถึงเราก็มี ความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำ


58

พระพุทธเจ้า

ธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ นั้นให้แจ้งเถิด อาตมภาพนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดย ฉับพลันไม่นานเลย ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อน ท่ า นกาลามะ ท่ า นทำให้ แ จ้ ง ชั ด ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ยิ่ ง เอง บรรลุ ธ รรมนี้ ป ระกาศให้ ท ราบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบว่ า ดู ก่ อ นอาวุ โ ส เราทำให้ แ จ้ ง ชั ด ด้ ว ยปั ญ ญา อันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลายหนอ เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งชัดด้วย ปั ญ ญาอั น ยิ่ ง เอง บรรลุ ธ รรมใดแล้ ว ประกาศให้ ท ราบ ท่ า นก็ ท ำให้ แ จ้ ง ชั ด ด้ ว ยปั ญ ญา อันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้น แล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส บัดนี้

เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด ดูก่อนราชกุมาร อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพยังตั้งให้อาตมภาพผู้เป็นอันเตวาสิกไว้เสมอตน และยังบูชา อาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้ อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่ อ ตรั ส รู้ เพื่ อ นิ พ พาน ย่ อ มเป็ น ไปเพี ย งให้ อุ บั ติ ใ นอากิ ญ จั ญ ญายตนพรหมเท่ า นั้ น อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสีย

เสด็จเข้าไปหาอุทกดาบส [๔๙๐] ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เมื่ อ อาตมภาพแสวงหาว่ า อะไรเป็ น กุ ศ ล ค้ น คว้ า

สันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า จึงเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อน ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ เมื่ออาตมภาพกล่าว เช่นนี้แล้วอุทกดาบสรามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน บุรุษผู้ฉลาดพึงทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ไม่นานเลยก็บรรลุ อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย


โพธิราชกุมารสูตร

59

กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและ ผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามบุตรจะได้ประกาศว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยอาการเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่ ที่จริงท่านรามบุตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่ ครั้นแล้วอาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ อุทกดาบส รามบุตรได้ประกาศเนวสัญญานาสัญญายตนะ อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามะ เท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา ท่านรามะเท่านั้น มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญาหามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรมที่ท่านรามะประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วย ปั ญ ญาอั น ยิ่ ง เองแล้ ว บรรลุ ธ รรมนั้ น ให้ แ จ้ ง เถิ ด อาตมภาพได้ ท ำให้ แ จ้ ง ชั ด ด้ ว ยปั ญ ญา อั น ยิ่ ง เอง แล้ ว บรรลุ ธ รรมนั้ น โดยฉั บ พลั น ไม่ น านเลย ครั้ น แล้ ว อาตมภาพเข้ า ไปหา อุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลาย ได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง เองบรรลุถึงธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึง ธรรมนั้นอยู่ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมใด เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมนั้น แล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ยิ่งธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด ดูก่อนราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อนสพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้งอาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไป

เพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้


60

พระพุทธเจ้า

เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงให้อุบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น อาตมภาพ ไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป [๔๙๑] ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เมื่ อ อาตมภาพแสวงหาอยู่ ว่ า อะไรเป็ น กุ ศ ลค้ น คว้ า

สันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึง อุรุเวลาเสนานิคม ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ และมีโคจรคามโดยรอบ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภาคพื้นน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ ำ เย็ น จื ด สนิ ท ท่ า น้ ำ ก็ ร าบเรี ย บน่ า รื่ น รมย์ และโคจรคามก็ มี โ ดยรอบ สถานที่ เ ช่ น นี้ สมควรเป็ น ที่ ตั้ ง ความเพี ย รของกุ ล บุ ต รผู้ ต้ อ งการความเพี ย รหนอ ดู ก่ อ นราชกุ ม าร อาตมภาพนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ทำความเพียร

อุปมา ๓ ข้อ [๔๙๒] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่ได้เคยฟังมาใน กาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือ เอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้า พระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้

ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้ยังสด ชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังกระหายในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วย ดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิด เพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ ไ ม่ ค วรเพื่ อ จะรู้ เ พื่ อ จะเห็ น เพื่ อ ปั ญ ญาเครื่ อ งตรั ส รู้ อั น ไม่ มี ธ รรมอื่ น ยิ่ ง กว่ า ดู ก่ อ น ราชกุมารอุปมาข้อที่หนึ่งนี้แลน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ


โพธิราชกุมารสูตร

61

[๔๙๓] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สอง น่าอัศจรรย์ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบก ใกล้น้ำ ถ้าบุรุษพึงมา ด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะเข้า พระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกายหลีก ออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความ กระหายในกาม มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีใน ภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิด เพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญา เครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อน ราชกุมาร อุปมาข้อที่สองนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ [๔๙๔] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สามน่าอัศจรรย์ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษพึงมา ด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อนราชกุมาร พระองค์ จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมา สีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำให้ไฟปรากฏได้บ้างหรือ อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะและทั้งตั้งอยู ่ บนบกไกลน้ำ ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล

มีกายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม

ไม่ ก ระหายในกาม ไม่ เ ร่ า ร้ อ นเพราะกาม ละได้ ด้ ว ยดี ใ ห้ ส งบระงั บ ด้ ว ยดี ใ นภายใน

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะ ความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกข์เวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี

ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าได้ ดูก่อน ราชกุมาร อุปมาข้อที่สามนี้น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่


62

พระพุทธเจ้า

อาตมภาพ ดูก่อนราชกุมาร อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ [๔๙๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงกดฟัน ด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด แล้วอาตมภาพก็กดฟัน ด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด เมื่ออาตมภาพกดฟัน ด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้ให้เร่าร้อนก็ฉันนั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่ อาตมภาพปรารภแล้ ว จะย่ อ หย่ อ นก็ ห ามิ ไ ด้ สติ ที่ ตั้ ง ไว้ แ ล้ ว จะฟั่ น เฟื อ นก็ ห ามิ ไ ด้

แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ [๔๙๖] ดูก่อนราชกุมาร อาตมาภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน อันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เกิด แล้วอาตมภาพก็กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปากและ ทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออก ทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่างทอง ที่กำลังสูบอยู่ดัง เหลือประมาณ ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสองก็ดังเหลือประมาณ ฉันนั้น ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่ อาตมาภาพปรารภแล้วจะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผูอ้ นั ความเพียรทีท่ นได้ยากนัน้ แลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว

ฌานไม่มีลมปราณ [๔๙๗] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน อันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ ทางช่องหู ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึง เชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ ฉันนั้น ดูก่อนราชกุมาร ก็ความ เพียรที่อาตมภาพปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะฟั่นเฟือนก็หามิได้


โพธิราชกุมารสูตร

63

แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว [๔๙๘] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน อันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ ทางช่องหู ก็ปวดศีรษะเหลือทน ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะ เหลือทน ฉันนั้น ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็ หามิ ไ ด้ สติ ที่ ตั้ ง ไว้ จ ะฟั่ น เฟื อ นก็ ห ามิ ไ ด้ แต่ ก ายที่ ป รารภความเพี ย รของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว [๔๙๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน อันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมู ก และทางช่ อ งหู ลมกล้ า เหลื อ ประมาณย่ อ มเสี ย ดแทงท้ อ ง ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาตผูข้ ยัน พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้า เหลือประมาณ ย่อมเสียดแทงท้อง ฉันนั้น ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพ ปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความ เพียรของอาตมาภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแหละเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว [๕๐๐] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน อันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและ ทางช่องหู ก็มี ค วามร้อ นในกายเหลือทน ดูก่ อนราชกุม าร เปรีย บเหมือ นบุรุษมีก ำลัง สองคน ช่วยกันจับบุรุษมีกำลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อน ในกายเหลือทน ฉันนั้น ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมาภาพปรารภแล้ว จะได้ ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว


64

พระพุทธเจ้า

[๕๐๑] ดูก่อนราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ ทำกาละแล้ว แต่กำลังทำกาละ เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้

ทำกาละแล้ว กำลังทำกาละก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความเป็นอยู่เห็น ปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรมของพระอรหันต์ [๕๐๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเราพึงปฏิบัติ เพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้น เข้ามาหาอาตมภาพแล้ว ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็น ทิพย์ตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น อาตมภาพ ได้ มี ค วามคิ ด เห็ น ว่ า เราเองด้ ว ยพึ ง ปฏิ ญ าณการไม่ บ ริ โ ภคอาหารด้ ว ยประการทั้ ง ปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุนขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วย โอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้ อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดา เหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภค อาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง อาตมภาพจึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ด บัวบ้าง เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอมเหลือเกิน [๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของอาตมภาพ ย่อมเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อคำ ฉันนั้น ตะโพกของอาตมภาพเป็น เหมือนเท้าอูฐ ฉะนั้น กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะเปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่อง ๆ ดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น ดวงตาของอาตมภาพถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึก ฉะนั้น ผิวศีรษะของอาตมภาพที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสด ๆ อันลมและแดดกระทบอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น อาตมภาพคิดว่าจะลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูก กระดูกสันหลัง คิดว่าจะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้อง ผิวหนังท้องกับกระดูก สันหลังของอาตมภาพติดถึงกัน เมื่ออาตมภาพคิดว่าจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เซซวน


โพธิราชกุมารสูตร

65

ล้มลงในที่นั้นเอง เมื่อจะให้กายนี้แลมีความสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว เมื่ออาตมภาพเอา ฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่าก็หล่นตกจากกาย มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว

กล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป ดูก่อนราชกุมาร ฉวีวรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของ อาตมภาพถูกกำจัดเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง [๕๐๔] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่ า งยิ่ ง ก็ เ พี ย งเท่ า นี้ ไม่ ยิ่ ง ไปกว่ า นี้ สมณะหรื อ พราหมณ์ เ หล่ า ใดเหล่ า หนึ่ ง ในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่ง ไปกว่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอัน กล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้ แต่เราก็ไม่ได้ บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัศนวิเสส (ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษ อย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์) ด้วยทุกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อตรัสรู้ อย่างอื่นกระมังหนอ

เสวยพระกระยาหาร [๕๐๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจำได้อยู่เมื่องาน วัปปมงคลของท้าวศากยะผูพ้ ระบิดา เรานัง่ อยูท่ รี่ ม่ ไม้หว้าอันเยือกเย็น สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้แลหนอ พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้ อาตมภาพได้มีความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละ เป็นทาง เพื่อตรัสรู้ อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจะกลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจาก อกุศลธรรมหรือ และมีความคิดเห็นต่อไปว่า เราไม่กลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกามเว้น จากอกุศลธรรมละ การทีบ่ คุ คลผูม้ กี ายผอมเหลือเกินอย่างนี้ จะถึงความสุขนัน้ ไม่ใช่ทำได้งา่ ย ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุกขนมสดเถิด อาตมภาพจึงบริโภคอาหาร หยาบคื อ ข้ า วสุ ก ขนมสด ก็ ส มั ย นั้ น ปั ญ จวั ค คี ย์ ภิ ก ษุ บ ำรุ ง อาตมภาพอยู่ ด้ ว ยหวั ง ว่ า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด ก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย นับแต่อาตมภาพบริโภค อาหารหยาบคือข้าวสุกขนมสด ปัญจวัคคีย์ภิกษุก็พากันเบื่อหน่ายจากอาตมภาพหลีกไป


66

พระพุทธเจ้า

ด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็น

ผู้มักมากไปเสียแล้ว ครั้นอาตมภาพบริโภคอาหารหยาบมีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ [๕๐๖] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุ ป กิ เ ลส อ่ อ น ควรแก่ ก ารงาน ตั้ ง มั่ น ไม่ ห วั่ น ไหวอย่ า งนี้ ได้ โ น้ ม น้ อ มจิ ต ไปเพื่ อ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อาตมภาพนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติ หนึง่ บ้าง สองชาติบา้ ง ... อาตมภาพนัน้ ย่อมระลึกถึงชาติกอ่ นได้เป็นอันมาก พร้อมทัง้ อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็น วิชชาที่หนึ่ง ที่อาตมภาพได้ บรรลุแล้ว แสงสว่างเกิดขึน้ แล้ว แก่อาตมภาพผูไ้ ม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ [๕๐๗] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ รู้จุติและ

อุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อาตมภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ... ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็น วิชชาที่สอง ที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่


โพธิราชกุมารสูตร

67

[๕๐๘] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุ ป กิ เ ลส อ่ อ น ควรแก่ ก ารงาน ตั้ ง มั่ น ไม่ ห วั่ น ไหวอย่ า งนี้ ได้ โ น้ ม น้ อ มจิ ต ไปเพื่ อ อาสวั ก ขยญาณ ได้ รู้ ชั ด ตามความเป็ น จริ ง ว่ า นี้ ทุ ก ข์ นี้ ทุ ก ขสมุ ทั ย นี้ ทุ ก ขนิ โ รธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่ อ อาตมภาพนั้ น รู้ เ ห็ น อย่ า งนี้ จิ ต ก็ ห ลุ ด พ้ น แล้ ว แม้ จ ากกามาสวะ แม้ จ ากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อ ยู่ จ บแล้ ว กิ จ ที่ ค วรทำ ทำเสร็ จ แล้ ว กิ จ อื่ น เพื่ อ ความเป็ น อย่ า งนี้ มิ ไ ด้ มี

ดู ก่ อ นราชกุ ม าร นี้ เ ป็ น วิ ช ชาที่ ส าม ที่ อ าตมภาพได้ บ รรลุ แ ล้ ว ในปั จ ฉิ ม ยามแห่ ง ราตรี อวิ ช ชาถู ก กำจั ด แล้ ว วิ ช ชาเกิ ด ขึ้ น แล้ ว ความมื ด ถู ก กำจั ด แล้ ว แสงสว่ า งเกิ ด ขึ้ น แล้ ว

แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่

ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย [๕๐๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้ว นี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่ เ ป็ น วิ สั ย ที่ จ ะหยั่ ง ลงได้ ด้ ว ยความตรึ ก เป็ น ธรรมละเอี ย ด อั น บั ณ ฑิ ต จะพึ ง รู้ แ จ้ ง ก็หมู่สัตว์นี้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย ก็การที่ หมู่สัตว์ผู้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็น ฐานะนี้ได้โดยยาก คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย แม้ฐานะนี้ก็ เห็นได้ยาก คือ สภาพเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน ก็เราพึงแสดงธรรม และสัตว์ เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลำบาก เปล่าของเรา ดูก่อนราชกุมาร ทีนั้น คาถาอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งกะอาตมภาพว่า บัด นี้ ยั งไม่ส มควรจะประกาศธรรมที่ เราบรรลุ ได้โ ดยยาก ธรรมนี้ อั น สั ต ว์ ทั้ ง หลาย ผู้ ถู ก ราคะโทสะครอบงำ ไม่ ต รั ส รู้ ไ ด้ ง่ า ย

สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึง้ เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี ้


68

พระพุทธเจ้า

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมภาพก็น้อมไป เพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม [๕๑๐] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจ ของอาตมภาพด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายละหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายละหนอ เพราะจิตของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้ อ มไปเพื่ อ ความเป็ น ผู้ มี ค วามขวนขวายน้ อ ย ไม่ น้ อ มไปเพื่ อ แสดงธรรม ครั้ น แล้ ว ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลกมาปรากฏข้างหน้าของอาตมภาพ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดี พรหมห่ ม ผ้ า เฉวี ย งบ่ า ข้ า งหนึ่ ง ประนมอั ญ ชลี ม าทางอาตมภาพแล้ ว ได้ ก ล่ า วว่ า ข้ า แต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคต จงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ ย่อมจะเสื่อมเพราะไม่ ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่ ดูก่อนราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหมได้ กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้วไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค อันเป็น ประตู พ ระนิ พ พานเถิ ด ขอสั ต ว์ ทั้ ง หลายจงได้ ฟั ง ธรรมที่ พ ระองค์ ผู้ ปราศจากมลทิ น ตรั ส รู้ แ ล้ ว เถิ ด ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ มี ปั ญ ญาดี มี จั ก ษุ รอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาท อันแล้วด้วยธรรม ทรงพิจารณาดูประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก อันชาติชราครอบงำแล้ว เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอด ภูเขาหินล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้ ขอจง เสด็จลุกขึน้ เทีย่ วไปในโลกเถิด ขอพระผูม้ พ ี ระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่

สัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า [๕๑๑] ดูก่อนราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาและ อาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลก


โพธิราชกุมารสูตร

69

ด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมาก ก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึง่ เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พน้ น้ำ จมอยูใ่ นน้ำ น้ำหล่อเลีย้ งไว้ บางเหล่ า ตั้ ง อยู่ เ สมอน้ ำ บางเหล่ า ตั้ ง ขึ้ น พ้ น น้ ำ น้ ำ ไม่ ติ ด ฉั น ใด ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุ น้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษ ในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดี พรหมด้วยคาถาว่า ดูก่อนพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว สัตว์ทั้งหลาย

ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่กล่าว ธรรมอันคล่องแคล่วประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดโอกาสเพื่อจะ แสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง

ทรงปรารภปฐมเทศนา [๕๑๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใคร ก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า

อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบสกาลามโคตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดย ฉั บ พลั น ที นั้ น เทวดาทั้ ง หลายเข้ า มาหาอาตมภาพแล้ ว ได้ ก ล่ า วว่ า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้เจริญ อาฬารดาบสกาลามโคตร ทำกาละเสียเจ็ดวันแล้ว และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้น แก่อาตมภาพว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรทำกาละเสียเจ็ดวันแล้ว อาตมภาพได้มีความคิค เห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ พึงรู้ทั่วถึงได้ ฉับพลันทีเดียว ครั้นแล้วอาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรนี้


70

พระพุทธเจ้า

เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรม แก่อุทกดาบสรามบุตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทีนั้น เทวดาทั้งหลาย เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุทกดาบสรามบุตรทำกาละเสีย แล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่อาตมภาพว่า อุทกดาบสรามบุตรทำ กาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรเป็นผู้ เสือ่ มใหญ่แล ก็ถา้ เธอพึงได้ฟงั ธรรมนี้ ก็จะพึงรูท้ วั่ ถึงได้ฉบั พลันทีเดียว ครัน้ แล้ว อาตมภาพ ได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บำรุงเราผู้มีตน ส่ ง ไปแล้ ว เพื่ อ ความเพี ย ร ถ้ า กระไร เราพึ ง แสดงธรรมแก่ ภิ ก ษุ ปั ญ จวั ค คี ย์ ก่ อ นเถิ ด แล้วอาตมภาพได้มคี วามดำริวา่ เดีย๋ วนีภ้ กิ ษุปญ ั จวัคคียอ์ ยูท่ ไี่ หนหนอ ก็ได้เห็นภิกษุปญ ั จวัคคีย์ อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ครั้นอาตมภาพอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี [๕๑๓] ดู ก่ อ นราชกุ ม าร อุ ป กาชี ว กได้ พ บอาตมภาพผู้ เ ดิ น ทางไกลที่ ร ะหว่ า ง แม่น้ำคยาและไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ดูก่อนผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่าน ผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออุปกาชีวกกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพ ได้กล่าวตอบอุปกาชีวกด้วยคาถาว่า เราเป็นผูค้ รอบงำธรรมทัง้ ปวง เป็นผูร้ ธู้ รรมทัง้ ปวง อันตัณหา และทิฐิไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง น้อมไปใน ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะพึงเจาะจง ใครเล่ า อาจารย์ ข องเราไม่ มี คนผู้ เ ช่ น กั บ ด้ ว ยเราก็ ไ ม่ มี บุ ค คลผู้ เปรียบด้วยเรา ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ ในโลก เป็นศาสดา ไม่มีศาสดาอันยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้เอง โดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้ดับสนิทแล้ว เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะ ยังธรรมจักรให้เป็นไป เมื่อสัตวโลกเป็นผู้มืด เราได้ตีกลองประกาศ อมตธรรมแล้ว


โพธิราชกุมารสูตร

71

อุปกาชีวกถามว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็น

พระอรหันต์อนันตชินะ (ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด) ฉะนั้นหรือ อาตมภาพตอบว่า ชนทัง้ หลายผูถ้ งึ ธรรมทีส่ นิ้ ตัณหาเช่นเราแหละ ชือ่ ว่าเป็นผูช้ นะ บาปธรรมทัง้ หลายอันเราชนะแล้ว เหตุนนั้ แหละ อุปกะ เราจึงว่า ผูช้ นะ ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวกกล่าวว่า พึงเป็นให้ พอเถิดท่าน สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง

เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์ [๕๑๔] ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ยังป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็น อาตมภาพกำลังมาแต่ไกลเทียว แล้วได้ตั้งกติกาสัญญากันไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมพระองค์นี้ เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้ง อาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการ ใด ๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ในกติกาของตน ด้วยประการนั้น ๆ บางรูปลุกรับ อาตมภาพ รับบาตรและจีวร บางรูปปูลาดอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่ยังร้องเรียก อาตมภาพโดยชื่อ และยังใช้คำว่า อาวุโส เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมภาพได้ กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าร้องเรียกตถาคตโดยชื่อ และใช้คำว่า อาวุโสเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลาย จงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่าน ทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มี ธรรมอันยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิง่ เองในปัจจุบนั แล้วเข้าถึงอยู่ ดูกอ่ นราชกุมารเมือ่ อาตมภาพกล่าวอย่างนีแ้ ล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้ ว ยทุ ก รกิ ริ ย านั้ น ท่ า นยั ง ไม่ ไ ด้ บ รรลุ อุ ต ตริ ม นุ ส สธรรมอลมริ ย ญาณทั ส นวิ เ สสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุ


72

พระพุทธเจ้า

อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสอย่างไรเล่า เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจักสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะ แสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิง่ เองในปัจจุบนั แล้วเข้าถึงอยู่ ดูกอ่ นราชกุมาร แม้ครัง้ ทีส่ อง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้ ว ยทุ ก รกิ ริ ย านั้ น ท่ า นยั ง ไม่ ไ ด้ บ รรลุ อุ ต ตริ ม นุ ส สธรรมอลมริ ย ญาณทั ส นวิ เ สสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุ

อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง อาตมภาพก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะ แสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิง่ เองในปัจจุบนั แล้วเข้าถึงอยู่ ดูกอ่ นราชกุมาร แม้ครัง้ ทีส่ าม ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้ ว ยทุ ก รกิ ริ ย านั้ น ท่ า นยั ง ไม่ ไ ด้ บ รรลุ อุ ต ตริ ม นุ ส สธรรมอลมริ ย ญาณทั ส นวิ เ สสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุ

อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญานทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมาภาพได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่าในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคำเห็น ปานนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะ แสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุด พรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต


โพธิราชกุมารสูตร

73

โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพ สามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมแล้ว วันหนึ่ง อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สองรูป ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สามรูป ภิกษุสองรูปไปเที่ยว บิณฑบาต ได้สงิ่ ใดมา ภิกษุทงั้ หกรูปก็ยงั อัตภาพให้เป็นไปด้วยสิง่ นัน้ ครัง้ นัน้ ภิกษุปญ ั จวัคคีย ์ ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่เช่นนี้ ไม่นานเลย ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

อั น ไม่ มี ธ รรมอื่ น ยิ่ ง ไปกว่ า ที่ กุ ล บุ ต รออกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต โดยชอบต้ อ งการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ [๕๑๕] เมื่ อ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส อย่ า งนี้ แ ล้ ว โพธิ ร าชกุ ม าร ได้ ทู ล ถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคต เป็นผู้แนะนำโดย กาลนานเพียงไรหนอ จึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตร ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ถ้ากระนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจัก ย้อนถามบพิตรก่อน บพิตรพึงตอบตามที่พอพระทัย บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บพิตรเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอหรือ โพธิราชกุมารทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง การถือขอ [๕๑๖] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพึงมาใน เมืองนี้ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษา ศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักโพธิราชกุมารนั้น แต่เขาไม่มีศรัทธา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๑ เขามีอาพาธมาก จะไม่พึงบรรลุผล เท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นคนโอ้อวด มีมายา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่ บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่ บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญาทราม จะไม่พึงบรรลุผลที่บุคคล ผู้มีปัญญาพึงบรรลุ ๑ ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษนั้น ควรจะศึกษาศิลปศาสร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ


74

พระพุทธเจ้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่งก็ไม่ควรจะ ศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อมฉัน จะป่วยกล่าวไปไย ถึงครบองค์ห้าเล่า

ตรัสถามถึงการขึ้นช้างเป็นต้น [๕๑๗] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพึงมาใน เมืองนี้ ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ เราจัก ศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักโพธิราชกุมารนั้น เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อย จะพึงบรรลุผล เท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่ บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุผลเท่าที่ บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มี ปัญญาพึงบรรลุ ๑ ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควร จะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็ควรจะ ศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อมฉันได้ จะป่วยกล่าวไป ไยถึงครบองค์ห้าเล่า

องค์ของผู้มีความเพียร ๕ [๕๑๘] ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน องค์ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เป็นไฉน ๑. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรษุ ทีค่ วรฝึก ไม่มผี อู้ นื่ ยิง่ กว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทงั้ หลาย เป็นผูเ้ บิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม


โพธิราชกุมารสูตร

75

๒. เธอ เป็ น ผู้ มี อ าพาธน้ อ ย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่ความเพียร ๓. เธอ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย ๔. เธอ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เข้า ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๕. เธอ เป็ น ผู้ มี ปั ญ ญา เป็ น ผู้ ป ระกอบด้ ว ยปั ญ ญาอั น เห็ น ความเกิ ด และดั บ เป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้ แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ (ใช้เวลาเพียง) เจ็ดปี ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดปี จงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่น ยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในปัจจุบนั แล้วเข้าถึงอยูไ่ ด้ (ใช้เวลาเพียง) หกปี ... ห้าปี ... สีป่ ี ... สามปี ... สองปี ... หนึ่งปี ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งปีจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่น ยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ (ใช้เวลาเพียง) เจ็ดเดือน ดู ก่ อ นราชกุ ม าร เจ็ ด เดื อ นจงยกไว้ ภิ ก ษุ ผู้ ป ระกอบด้ ว ยองค์ แ ห่ ง ภิ ก ษุ ผู้ มี

ความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อั น ไม่ มี ธ รรมอื่ น ยิ่ ง กว่ า ที่ กุ ล บุ ต รผู้ อ อกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต โดยชอบต้ อ งการ


76

พระพุทธเจ้า

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ (ใช้เวลาเพียง) หกเดือน ... ห้าเดือน ... สี่เดือน ... สามเดือน ... สองเดือน ... หนึ่งเดือน ... ครึ่งเดือน ดู ก่ อ นราชกุ ม าร ครึ่ ง เดื อ นจงยกไว้ ภิ ก ษุ ผู้ ป ระกอบด้ ว ยองค์ แ ห่ ง ภิ ก ษุ ผู้ มี

ความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ (ใช้เวลาเพียง) เจ็ดคืนเจ็ดวัน ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดคืนเจ็ดวันจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มี ความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อั น ไม่ มี ธ รรมยิ่ ง อื่ น กว่ า ที่ กุ ล บุ ต รผู้ อ อกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต โดยชอบต้ อ งการ ด้วยปัญญาอันยิง่ เองในปัจจุบนั แล้วเข้าถึงอยูไ่ ด้ (ใช้เวลาเพียง) หกคืนหกวัน ... ห้าคืนห้าวัน ... สี่คืนสี่วัน ... สามคืนสามวัน ... สองคืนสองวัน ... หนึ่งคืนหนึ่งวัน ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มี ความเพี ย ร ๕ ประการนี้ เมื่ อ ได้ ต ถาคตเป็ น ผู้ แ นะนำ ตถาคตสั่ ง สอนในเวลาเย็ น

จักบรรลุคณ ุ วิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสัง่ สอนในเวลาเช้า จักบรรลุคณ ุ วิเศษได้ในเวลาเย็น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณ เป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นอัศจรรย์ เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเย็นจักบรรลุคุณวิเศษได้ ในเวลาเช้า ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเช้าจักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น [๕๑๙] เมือ่ โพธิราชกุมารตรัสอย่างนีแ้ ล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้ทลู โพธิราชกุมารว่า ก็ท่านโพธิราชกุมารองค์นี้ทรงประกาศไว้ว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรม มีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์อย่างนี้ เท่านั้น ก็แต่ท่านหาได้ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะไม่


โพธิราชกุมารสูตร

77

ว่าด้วยไตรสรณคมน์ [๕๒๐] โพธิราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดู ก่ อ นเพื่ อ นสั ญ ชิ ก าบุ ต ร ท่ า นอย่ า ได้ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น ดู ก่ อ นสั ญ ชิ ก าบุ ต ร เรื่ อ งนั้ น เรา ได้ฟังมา ได้รับมาต่อหน้าเจ้าแม่ของเราแล้ว คือ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น เจ้าแม่ของเรากำลังทรงครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกคนอยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้ เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่ า เป็ น สรณะ ขอพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงจำเขาว่ า เป็ น อุ บ าสกผู้ ถึ ง สรณะตลอดชี วิ ต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ครั้งหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ในป่า

เภสกฬามฤคทายวันใกล้เมืองสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบทนี้แล ครั้งนั้น แม่นมอุ้มเราเข้า สะเอวพาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผูม้ พี ระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำโพธิราชกุมาร นั้นว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ในครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฉะนี้แล จบ โพธิราชกุมารสูตร


78

พระพุทธเจ้า

๗. มหาสีหนาทสูตร ความน่าอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตก นอกพระนคร เขตพระนครเวสาลี ก็โดยสมัยนั้นแล สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัย นี้ไม่นาน ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็น ญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง แสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรม ที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์อะไร ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แห่งบุคคลผู้ทำตาม [๑๖๐] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปใน เมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต ได้สดับข่าวว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็น อริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนัน้ ย่อมดิง่ ไปเพือ่ ความสิน้ ทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผูท้ ำตาม ลำดับนัน้ ท่านพระสารีบตุ ร เที่ยวไปในเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต จึงเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีกไป แล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีว่า ธรรมอันยิ่งของ มนุ ษ ย์ ที่ เ ป็ น ญาณทั ส สนะอั น วิ เ ศษ พอแก่ ค วามเป็ น อริ ย ะของพระสมณโคดมไม่ มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม


มหาสีหนาทสูตร

79

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็น บุรุษเปล่า มักโกรธ และวาจาที่เธอกล่าวนั้น ก็เพราะโกรธ ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนั้น เป็นบุรุษเปล่า คิดว่า เราจักพูดติเตียน แต่กล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต แท้จริงข้อนี้เป็น คุณของพระตถาคต ที่บุคคลใดกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมอันพระตถาคตแสดงเพื่อประโยชน์ แก่บุคคลใด เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม ดังนี้ [๑๖๒] ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ก็ ก ารที่ สุ นั ก ขั ต ตะผู้ เ ป็ น บุ รุ ษ เปล่ า กล่ า วสรรเสริ ญ นี้

จั ก ไม่ เ ป็ น ความรู้ โ ดยธรรมในเราว่ า แม้ เ พราะเหตุ นี้ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั้ น เป็ น พระอรหั น ต์ ผู้ ต รั ส รู้ เ องโดยชอบ ถึ ง พร้ อ มด้ ว ยวิ ช ชาและจรณะ เสด็ จ ไปดี แ ล้ ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ [๑๖๓] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่ เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า เเม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรลุ อิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ [๑๖๔] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่ เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมทรง สดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอัน บริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์

แสดงพุทธคุณเป็นเอกเทศ [๑๖๕] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่ เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมทรง กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศ จากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต


80

พระพุทธเจ้า

ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

กำลังของตถาคต [๑๖๖] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะ แห่งผู้เป็นโจก ย่อมบันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป กำลังเหล่านั้นของ ตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตย่อมรู้ฐานะ ในโลกนี้โดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ฐานะโดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณ ฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วิบากของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคต รูว้ บิ ากของกรรมสมาทานทีเ่ ป็นอดีต อนาคตปัจจุบนั โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ เป็น กำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริง ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยังสัตว์

ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต อาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่ อย่างเดียว และมีธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง

ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้ เป็นไป


มหาสีหนาทสูตร

81

ดูกอ่ นสารีบตุ ร อีกประการหนึง่ ตถาคตย่อมรูช้ ดั ซึง่ ความทีส่ ตั ว์มอี ธิมตุ ติตา่ ง ๆ กัน ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ เป็ น กำลั งของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่ งตถาคตอาศั ย แล้ ว ปฏิญ าณฐานะแห่ งผู้ เ ป็ น โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร อี ก ประการหนึ่ ง ตถาคตย่ อ มรู้ ชั ด ซึ่ ง ความที่ สั ต ว์ แ ละบุ ค คล

ทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริง ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัด ความที่สัตว์และบุคคลทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลัง ของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูกอ่ นสารีบตุ ร อีกประการหนึง่ ตถาคตย่อมรูช้ ดั ซึง่ ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตทิ งั้ หลายตามความเป็นจริง ดูกอ่ นสารีบตุ ร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต อาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ บ้ า ง ตลอดสั ง วั ฏ ฏกั ป เป็ น อั น มากบ้ า ง ตลอดวิ วั ฏ ฏกั ป เป็ น อั น มากบ้ า ง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ตถาคตย่อมระลึกชาติ ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ ตถาคตระลึ ก ถึ ง ชาติ ก่ อ นได้ เ ป็ น อั น มาก คื อ ระลึ ก ได้ ช าติ ห นึ่ ง บ้ า ง สองชาติ บ้ า ง ... ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ นี้ เ ป็ น กำลั ง ของตถาคตประการหนึ่ ง ซึ่ ง ตถาคตอาศั ย แล้ ว ปฏิ ญ าณฐานะแห่ ง ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป


82

พระพุทธเจ้า

ดูก่อนสารีบุตร ประการหนึ่ง ตถาคตย่ อ มเห็ น หมู่ สั ต ว์ ที่ ก ำลั ง จุ ติ กำลั ง อุ บั ติ

เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วย อำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดั ง นี้ ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ข้ อ ที่ ต ถาคตเห็ น หมู่ สั ต ว์ ที่ ก ำลั ง จุ ติ กำลั ง อุ บั ติ เลว ประณี ต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ... นี้เป็นกำลังของตถาคต ประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูกอ่ นสารีบตุ ร อีกประการหนึง่ ตถาคตกระทำให้แจ้งซึง่ เจโตวิมตุ ติ ปัญญาวิมตุ ติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ นี้เป็นกำลังของ ตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร กำลังของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่ง ของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืน ทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกอ่ นสารีบตุ ร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉนั นัน้ ผูน้ นั้ ไม่ละวาจานัน้ เสีย ไม่ละความคิดนัน้ เสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก


มหาสีหนาทสูตร

83

เวสารัชชธรรม ๔ [๑๖๗] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม (ความแกล้วกล้า) เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรื อ ใคร ๆ ในโลก ที่ จั ก ทั ก ท้ ว งเราโดยสหธรรมในข้ อ ว่ า ท่ า นปฏิ ญ าณตนว่ า เป็ น

พระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็น เหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็น ผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็น เหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์ อ ย่ า งนั้ น ไม่ เ ป็ น ทางสิ้ น ทุ ก ข์ โ ดยชอบแห่ ง คนผู้ ท ำตาม ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนสารีบุตรตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่ง ของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี


84

พระพุทธเจ้า

พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ ป ระมวลด้ ว ยความตรึ ก ที่ ไ ตร่ ต รองด้ ว ยการค้ น คิ ด

แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืน ทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิด

นั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก [๑๖๘] ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล ๘ จำพวกเป็นไฉน คือ ขัตติยบริษทั พราหมณบริษทั คฤหบดีบริษทั สมณบริษทั จาตุมหาราชิกบริษทั ดาวดึงสบริษทั มารบริษัท และพรหมบริษัท ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเข้าไปหา ย่อมหยั่งลงสู่ บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้ ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมเข้าใจเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลาย ๆ ร้อย แม้ในขัตติยบริษัทนั้น เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัวหรือความสะทกสะท้านจักกล้ำกลายเราในขัตติยบริษัทนั้นเลย เมือ่ ไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผูถ้ งึ ความปลอดภัย ถึงความไม่มภี ยั ถึงความเป็นผูแ้ กล้วกล้าอยู่ ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลาย ๆ ร้อย คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท พรหมบริษัท จำพวกละหลาย ๆ ร้อย แม้ในบริษัทนั้น ๆ เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัวหรือความสะทกสะท้านจักกล้ำกลายเราในบริษัทนั้น ๆ เลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกอ่ นสารีบตุ ร ผูใ้ ดแลพึงว่าซึง่ เรา ผูร้ อู้ ยูอ่ ย่างนี้ ผูเ้ ห็นอยูอ่ ย่างนีว้ า่ ธรรมอันยิง่ ของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืน ทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกอ่ นสารีบตุ ร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉนั นัน้ ผูน้ นั้ ไม่ละวาจานัน้ เสีย ไม่ละความคิดนัน้ เสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก


มหาสีหนาทสูตร

85

กำเนิด ๔ [๑๖๙] ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการเป็นไฉน คือ อัณฑชะกำเนิด ชลาพุชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด โอปปาติกะกำเนิด ดูก่อนสารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด ดูก่อนสารีบุตร ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ (มดลูก) เกิดนี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด ดูก่อนสารีบุตร สังเสทชะกำเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดใน ปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ ในเถ้าไคล (ของสกปรก) นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด ดูก่อนสารีบุตร โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่าโอปปาติกะกำเนิด ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่ง เราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมา ด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจา นั้ น เสี ย ไม่ ล ะความคิ ด นั้ น เสี ย ไม่ ส ละคื น ทิ ฐิ นั้ น เสี ย ก็ เ ที่ ย งแท้ ที่ จ ะตกนรก ดู ก่ อ น สารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเทียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงเเท้ที่ จะตกนรก [๑๗๐] ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการเหล่านี้แล ๕ ประการเป็นไฉน คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยัง สั ต ว์ ใ ห้ ถึ ง นรก และปฏิ ป ทาอั น จะยั ง สั ต ว์ ใ ห้ ถึ ง นรก อนึ่ ง สั ต ว์ ผู้ ด ำเนิ น ประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราย่อมรู้ชัดซึ่ง ประการนั้นด้วย ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิด


86

พระพุทธเจ้า

ดิ รั จ ฉาน ปฏิ ป ทาอั น จะยั ง สั ต ว์ ใ ห้ ถึ ง กำเนิ ด ดิ รั จ ฉาน อนึ่ ง สั ต ว์ ผู้ ด ำเนิ น ประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางไปสู่เปรตวิสัย และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง เปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางอันยังสัตว์ให้ถึงมนุษยโลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษยโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติ ประการใด เบื้ อ งหน้ า แต่ ต ายเพราะกายแตก ย่ อ มอุ บั ติ ใ นหมู่ ม นุ ษ ย์ เราย่ อ มรู้ ชั ด ซึ่ ง ประการนั้นด้วย ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางอันยังสัตว์ให้ถึง เทวโลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใดเบื้องหน้า แต่ ต ายเพราะกายแตก ย่ อ มเข้ า ถึ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์ เราย่ อ มรู้ ชั ด ซึ่ ง ประการนั้ น ด้ ว ย ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งพระนิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน และปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถงึ พระนิพพาน อนึง่ สัตว์ผปู้ ฏิบตั ปิ ระการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึง่ เจโตวิมตุ ติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย

อุปมาข้อที่ ๑ [๑๗๑] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูก่อน สารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิงปราศจาก เปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มี จักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น ขึ้นสู่ หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขา ตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ


มหาสีหนาทสูตร

87

กายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ [๑๗๒] ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร เราย่ อ มกำหนดรู้ ใ จบุ ค คลบางคนในโลกนี้ ด้ ว ยใจว่ า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เข้าถึงแล้วซึง่ กำเนิดดิรจั ฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็ ม ไปด้ ว ยคู ถ ลำดั บ นั้ น บุ รุ ษ ผู้ มี ตั ว อั น ความร้ อ นแผดเผา ครอบงำ เหน็ ด เหนื่ อ ย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็น

เขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงใน หลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ด ร้อน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อม กำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงกำเนิด ดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง แล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ [๑๗๓] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคา สายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มี จักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด


88

พระพุทธเจ้า

ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตกจักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ [๑๗๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อันหนา มีเงาหนาทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคา สายเดี ย ว บุ รุ ษ ผู้ มี จั ก ษุ เ ห็ น เขาแล้ ว พึ ง กล่ า วอย่ า งนี้ ว่ า บุ รุ ษ นี้ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งนั้ น ดำเนิ น อย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อน สารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

อุปมาข้อที่ ๕ [๑๗๕] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้า แต่ ต ายเพราะกายแตก เข้ า ถึ ง แล้ ว ซึ่ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์ เสวยสุ ข เวทนาโดยส่ ว นเดี ย ว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมีเรือนยอดซึ่งฉาบทาดีแล้ว มีวงกรอบอันสนิท หาช่องลมมิได้ มีบานประตู และหน้ า ต่ า งอั น ปิ ด สนิ ท ดี ในเรื อ นยอดนั้ น มี บั ล ลั ง ก์ อั น ลาดด้ ว ยผ้ า โกเชาว์ ข นยาว


มหาสีหนาทสูตร

89

ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความ ร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติ อย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุข เวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ [๑๗๖] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จะกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือน สระโบกขรณี มีน้ำอันใสสะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกล สระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้นพึงเห็น เขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม ระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อยและ ความร้ อ นหมดแล้ ว ขึ้ น ไปนั่ ง หรื อ นอนในเเนวป่ า นั้ น เสวยสุ ข เวทนาโดยส่ ว นเดี ย ว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือน กันแลอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทำ ให้ แ จ้ ง ซึ่ ง เจโตวิ มุ ต ติ ปั ญ ญาวิ มุ ต ติ อั น หาอาสวะมิ ไ ด้ เพราะอาสวะทั้ ง หลายสิ้ น ไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำให้ แจ้ ง ซึ่ ง เจโตวิ มุ ต ติ ปั ญ ญาวิ มุ ต ติ อั น หาอาสวะมิ ไ ด้ เพราะอาสวะทั้ ง หลายสิ้ น ไป


90

พระพุทธเจ้า

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดม ไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการ ค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก

พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔ [๑๗๗] ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ประกอบด้วย องค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติ เศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็น เยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย [๑๗๘] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อไปนี้เป็น

พรหมจรรย์ ข องเราโดยความที่ เ ราเป็ น ผู้ บ ำเพ็ ญ ตบะ คื อ เราเป็ น อเจลกคนเปลื อ ย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่ เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์ เรานั้นไม่รับภิกษา ปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษา ที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่ของคน สองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทำไว้ ไม่รับ ภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เรานั้นรับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยา อัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ... รับภิกษาที่เรือน ๗ หลังเยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา ในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ... ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง


มหาสีหนาทสูตร

91

๒ วันบ้าง ... ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็น ภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็น ภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยี ย วยาอั ต ภาพ เรานั้ น ทรงผ้ า ป่ า นบ้ า ง ผ้ า แกมบ้ า ง ผ้ า ห่ อ ศพบ้ า ง ผ้ า บั ง สุ กุ ล บ้ า ง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้าผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คื อ ห้ า มอาสวะบ้ า ง เป็ น ผู้ ก ระโหย่ ง คื อ ประกอบความเพี ย รในการกระโหย่ ง (เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบน หนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบ ความขวนขวายในการย่างและบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ

พรหมจรรย์เศร้าหมอง [๑๗๙] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตร ในการประพฤติเศร้าหมองของเรา มลทิน คือ ธุลลี ะอองสัง่ สมในกาย เรานับด้วยปีมใิ ช่นอ้ ย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลีละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็น สะเก็ด ฉันใด มลทิน คือ ธุลีละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อน สารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็นวัตรในความ ประพฤติเศร้าหมองของเรา [๑๘๐] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้นพรหมจรรย์นี้เป็น วั ต รในความประพฤติ เ กลี ย ดบาปของเรา เรานั้ น มี ส ติ ก้ า วไปข้ า งหน้ า มี ส ติ ถ อยกลั บ ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยดน้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาป ของเรา


92

พระพุทธเจ้า

[๑๘๑] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้นพรหมจรรย์นี้เป็น วัตรในความสงัดของเรา เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด เราได้พบคน เลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้ เป็นต้นในป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่งหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า ในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรา คิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา

ความแตกต่างในการบำเพ็ญเพียร [๑๘๒] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าโคออกไปแล้วและ ปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่ มูตรและกรีสของเรายังไม่หมด สิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็นอาหาร ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตร ในโภชนะมหาวิกัฏของเรา [๑๘๓] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่าง เดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัยมีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น (เรา) อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ใน แนวป่า ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหาความหมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคนเปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่าอันน่ากลัว


มหาสีหนาทสูตร

93

ความแตกต่างแห่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา [๑๘๔] ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร เราย่ อ มสำเร็ จ การนอนแอบอิ ง กระดู ก ศพในป่ า ช้ า

พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา [๑๘๕] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย อาหารขนาดเท่าผลพุทรา พวกเขาย่อมเคีย้ วกินผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดืม่ น้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทำเป็นชนิดต่าง ๆ บ้าง ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียว เท่านั้น ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่ เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่นั่นเทียวก็ เหมือนในบัดนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน (อาหารเท่า) ผลพุทราผลเดียวเท่านั้น ร่างกาย ก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่ เรามี อ าหารน้ อ ยนั่ น เอง กระดู ก สั น หลั ง ของเรานู น ขึ้ น เป็ น ปุ่ ม ๆ เหมื อ นเถาสะบ้ า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏ เหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดวงตา ของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรา มีอาหารน้อยนั่นเอง หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้วก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขม ที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้วย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะความที่ เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่า จะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูก กระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่า จะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนเซล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามี อาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัว ด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง


94

พระพุทธเจ้า

วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก [๑๘๖] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่าเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย ถั่วเขียว ... พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา ... พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย ข้าวสาร ดังนี้ พวกเขาเคี้ยวกินข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภค ข้าวสารที่จัดทำให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร เมล็ดเดียวเท่านั้น ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัยนั้น ชะรอย จะเมล็ดใหญ่เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่ นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก และข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถา สะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลง เห็ น ปรากฏเหมื อ นกลอนแห่ ง ศาลาเก่ า เหลื่ อ มกั น ฉะนั้ น เพราะความที่ เ รามี อ าหารน้ อ ย นั่นเอง ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่ เ รามี อ าหารน้ อ ยนั่ น เอง หนั ง ศี ร ษะของเราอั น ลมถู ก ต้ อ งแล้ ว ก็ เ หี่ ย วแห้ ง เปรี ย บเหมื อ นน้ ำ เต้ า ขมที่ ถู ก ตั ด ขั้ ว แต่ ยั ง อ่ อ น อั น ลมแดดสั ม ผั ส แล้ ว ย่ อ มเป็ น ของที่ เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่า จะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็ ค ลำถู ก ผิ ว หนั ง ท้ อ งที เ ดี ย ว ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ผิ ว หนั ง ท้ อ งของเราติ ด กระดู ก สั น หลั ง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนเซล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว

ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่ง ของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร


มหาสีหนาทสูตร

95

เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แลซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็น ของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ ตามนั้น [๑๘๗] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก [๑๘๘] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ ดูก่อนสารีบุตร ความอุบัติที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาล ยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก [๑๘๙] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่ อ มมี ไ ด้ ด้ ว ยอาวาส ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ก็ อ าวาสที่ เ ราไม่ เ คยอยู่ อ าศั ย แล้ ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อน สารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก [๑๙๐] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่ อ มมี ไ ด้ ด้ ว ยการบู ช ายั ญ ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ก็ ยั ญ ที่ เ ราไม่ เ คยบู ช าแล้ ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็น กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบูชา [๑๙๑] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริ สุ ท ธิ์ ย่ อ มมี ไ ด้ ด้ ว ยการบำเรอไฟ ดู ก่ อ นสารี บุ ต ร ก็ ไ ฟที่ เ ราไม่ เ คยบำเรอแล้ ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็น กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบำเรอ


96

พระพุทธเจ้า

[๑๙๒] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญ ประกอบด้วยปัญญา เฉลียวฉลาดอย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือมีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ

ย่อมเสื่อมจากปัญญาความเฉลียวฉลาดนั้นในภายหลัง ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็น อย่างนั้น ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ อายุของ เราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้ มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ ตั้ ง ร้ อ ยปี ประกอบด้ ว ยสติ คติ ฐิ ติ อั น ยอดเยี่ ย ม และปั ญ ญาเฉลี ย วฉลาดอย่ า งยิ่ ง ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนนักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลงด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้ว ๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจำคำที่เรา พยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับ และ บรรเทาความเหนื่อยล้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและ พยัญชนะแห่งธรรมของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อเป็นดังนั้น สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทำกาละโดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้พวก เธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคต ย่อมไม่มีเลย ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความ ไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความ สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความ ไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้


มหาสีหนาทสูตร

97

คำนิคม [๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามีโลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ

เพราะเหตุนแี้ หละเธอจงทรงจำธรรมปริยายนีไ้ ว้วา่ ชือ่ ว่า โลมหังสนปริยาย พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ตรัสพระพุทธพจน์นแี้ ล้ว ท่านพระนาคสมาละมีใจชืน่ ชมยินดีพระภาษิตของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า แล้วแล จบ มหาสีหนาทสูตร


98

พระพุทธเจ้า

๘. สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ ๘ [๘๘๒] (ท่ า นพระสารี บุ ต รกล่ า วดั ง นี้ ว่ า ) พระศาสดาผู้ มี

พระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสติ มาสูค่ วามเป็นพระคณาจารย์ อย่างนี้ ก่อนแต่นขี้ า้ พเจ้าไม่เคยเห็นเลย ทัง้ ไม่เคยได้ยนิ ต่อใคร ๆ เลย [๘๘๓] คำว่า แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นด้วยจักษุนี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงจำพรรษาที่ บั ณ ฑุ กั ม พลศิ ล าอาสน์ ณ ควงไม้ ป าริ ฉั ต ตกะ

(ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์อันหมู่เทวดาห้อมล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนคร โดยบันได

อันสำเร็จด้วยแก้วมณีในท่ามกลาง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่เคยเห็นใน

กาลก่อนเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย [๘๘๖] คำว่า พระศาสดาผู้ มี พ ระกระแสเสี ย งอั น ไพเราะอย่ า งนี้ ความว่า

พระศาสดามีพระกระแสเสียงอันไพเราะ คือมีพระกระแสเสียงอันเสนาะ มีพระกระแสเสียง เป็นที่ตั้งแห่งความรัก มีพระกระแสเสียงดูดดื่มหทัย มีพระกระแสเสียงเพราะดังเสียง

นกการเวก เสียงอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเปล่งออกจากพระโอษฐ์แห่ง

พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า นั้ น คื อ เป็ น เสี ย งไม่ ขั ด ข้ อ ง ๑ เป็ น เสี ย งผู้ ฟั ง ทราบได้ ง่ า ย ๑

เป็นเสียงไพเราะ ๑ เป็นเสียงน่าฟัง ๑ เป็นเสียงกลมกล่อม ๑ เป็นเสียงไม่แปร่ง ๑ เป็นเสียงลึก ๑ เป็นเสียงก้องกังวาน ๑ เมื่อใดพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จะทรงยังบริษัท ให้ ท ราบด้ ว ยเสี ย ง เมื่ อ นั้ น เสี ย งของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า นั้ น ย่ อ มไม่ อ อกไปนอกบริ ษั ท

ก็ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า นั้ น มี เ สี ย งเหมื อ นเสี ย งพรหม มี เ สี ย งดั ง เสี ย งนกการเวก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

99

ชื่อว่าพระศาสดา บุคคลผู้นำพวก ย่อมนำพวกให้ข้ามทางกันดาร คือให้ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ า มพ้ น ซึ่ ง ทางกั น ดารแต่ โ จร ทางกั น ดารแต่ สั ต ว์ ร้ า ย ทางกั น ดารแต่ ที่ อ ดอยาก

ทางกั น ดารแต่ ที่ ไ ม่ มี น้ ำ ให้ ถึ ง พร้ อ มซึ่ ง ภู มิ ภ าคอั น เกษม ฉั น ใด พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า

ผู้นำออก ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่งกันดารแต่ชาติ กันดารแต่พยาธิ กันดารแต่มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส กันดารแต่ราคะ กันดารแต่โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต รกชัฏคือราคะ รกชัฏคือโทสะ โมหะ มานะและทิฏฐิ รกชัฏคือกิเลส

ให้ถึงพร้อมซึ่งอมตนิพพานอันเป็นส่วนเกษมฉันนั้นเหมือนกัน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ ผู้แนะนำ ผู้นำเนือง ๆ ผู้ให้รู้ดี ผู้ให้พินิจ ผู้เพ่งดู ผู้ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยัง

ไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ผูต้ รัสบอกมรรคทีย่ งั ไม่มใี ครบอก ทรงทราบมรรค ทรงรูแ้ จ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบศีลาทิคุณในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าจึงชือ่ ว่า ผูน้ ำพวก เพราะฉะนัน้ จึงชือ่ ว่า พระศาสดาผูม้ พี ระกระแสเสียง อันไพเราะอย่างนี้

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นพระคณาจารย์ [๘๘๗] คำว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงมีพระสติสัมปชัญญะลงสู่พระครรภ์พระมารดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ อีกอย่างหนึ่ง พวกเทวดาท่านกล่าวว่า ดุสิต เทวดาเหล่านั้นยินดีพอใจ ชอบใจ เบิ ก บาน เกิ ด ปี ติ โ สมนั ส ว่ า พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า เสด็ จ จากดุ สิ ต เทวโลกมาสู่ ค วามเป็ น

พระคณาจารย์ แม้ ด้ ว ยเหตุ อ ย่ า งนี้ ดั ง นี้ จึ ง ชื่ อ ว่ า เสด็ จ จากภพดุ สิ ต มาสู่ ค วามเป็ น

พระคณาจารย์


100

พระพุทธเจ้า

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ดุสิต พระอรหันต์เหล่านั้นยินดี พอใจ ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความ เป็นพระคณาจารย์ คำว่า คณี ความว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ เพราะอรรถว่าเป็นพระศาสดาของคณะ เพราะอรรถว่าพระองค์ทรง บริหารคณะ เพราะอรรถว่าพระองค์ตรัสสอนคณะ เพราะอรรถว่าพระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ เพราะอรรถว่าพระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ เพราะอรรถว่าคณะย่อมตั้งใจฟังต่อ พระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ เพราะอรรถว่าพระองค์ทรงยังคณะให้ออก จากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล เป็นคณาจารย์ของคณะภิกษุ เป็นคณาจารย์ของคณะภิกษุณี เป็นคณาจารย์ของคณะอุบาสก เป็นคณาจารย์ของคณะอุบาสิกา เป็นคณาจารย์ของคณะ พระราชา เป็นคณาจารย์ของคณะกษัตริย์ เป็นคณาจารย์ของคณะพราหมณ์ เป็นคณาจารย์ ของคณะแพศย์ เป็นคณาจารย์ของคณะศูทร เป็นคณาจารย์ของคณะเทวดา เป็นคณาจารย์ ของคณะพรหม พระศาสดาเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ เป็นพระคณาจารย์ เสด็จมา เข้าไป

เข้าไปพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่งสังกัสสนคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ ความเป็นพระคณาจารย์ เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิต มาสู่ ค วามเป็ น พระคณาจารย์ อ ย่ า งนี้ ก่ อ นแต่ นี้ ข้ า พเจ้ า ไม่ เ คยเห็ น

ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย [๘๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เป็น บุคคลผู้เอก บรรลุแล้วถึงความยินดี [๘๘๙] คำว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ความว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

101

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์ [๘๙๐] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด ความว่า

พวกเทวดาย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับแสดงธรรมอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพดาวดึงส์ ฉันใด พวกมนุษย์ก็ย่อมเห็น ฉันนั้น พวกมนุษย์ ย่อมเห็น ฉันใด พวกเทวดาก็ย่อมเห็น ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏแก่พวก เทวดา ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกมนุษย์ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏแก่ พวกมนุษย์ ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกเทวดา ฉันนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด อีกอย่างหนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์

บางพวก มิได้ฝึกตน ก็ปรากฏเพศแห่งบุคคลผู้ฝึกตน มิได้สงบ ก็ปรากฏโดยเพศแห่ง บุคคลผู้สงบ มิได้ระงับ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้ระงับ มิได้ดับ ก็ปรากฏโดยเพศ แห่งบุคคลผู้ดับ สมจริงดังภาษิตว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน งามแต่ ภายนอก เป็นผู้อันบริวารห้อมล้อมเที่ยวไปในโลก เหมือนหม้อน้ำทำ ด้วยดินหุ้มทองคำ และเหมือนเหรียญมาสกโลหะชุบทองคำ ฉะนั้น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ย่ อ มไม่ ป รากฏแม้ อ ย่ า งนั้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงฝึ ก พระองค์แล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ฝึกแล้ว ทรงสงบแล้ว ย่อมปรากฏ โดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้สงบแล้ว ทรงระงับแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้า

ผู้ระงับแล้ว ทรงดับแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ดับแล้ว โดยความจริง

โดยเป็นจริง โดยถ่องแท้ โดยความเป็นจริง โดยไม่วิปริต โดยสภาพ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทัง้ หลายผูเ้ ป็นพระพุทธเจ้า มีพระอิรยิ าบถมิได้กำเริบ ทรงสมบูรณ์ดว้ ยปณิธิ (ความปรารถนา) แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระเกียรติอันบริสุทธิ์ ทรงเพียบพร้อม ด้วยพระเกียรติยศและความสรรเสริญ เป็นเช่นนี้ เช่นนั้น และอย่างยิ่ง ในภพนาค

ภพครุฑ ภพยักษ์ ภพอสูร ภพคนธรรพ์ ภพมหาราช ภพอินทร์ ภพพรหม แม้ด้วยเหตุ


102

พระพุทธเจ้า

อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพละ ๑๐ ย่อมปรากฏ ประจักษ์รู้ได้ด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เดชธรรม พลธรรม คุณธรรม วิริยะ ปัญญา สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมวันต์ ฉะนั้น อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏในที่นั้น เหมือนลูกศรที่ยิงไป ในกลางคืน ฉะนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏ

เด่นชัด

ว่าด้วยจักษุ ๕ ประการ คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุ ด้ ว ยจั ก ษุ ๕ ประการ คื อ มี พ ระจั ก ษุ แ ม้ ด้ ว ยมั ง สจั ก ษุ มี พ ระจั ก ษุ แ ม้ ด้ ว ยทิ พ ยจั ก ษุ

มีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร สี ๕ อย่าง คือ สีเขียว

สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว ย่อมปรากฏมีอยู่ในมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ขนพระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้น มีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู เหมือนดอกผักตบ ต่อจากที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู เหมือนดอกกรรณิการ์ ขอบเบ้าพระเนตรทั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงงาม น่าชมน่าดู เหมือนสีปีกแมลงทับ ที่ท่ามกลางพระเนตร มีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว

ใสสนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ) ต่อจากที่นั้น มีสีขาว ขาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุนั้น เป็นปกติ เนื่องในพระวรกาย เกิดเฉพาะด้วยสุจริตกรรมในภพก่อน ทรงเห็นตลอดโยชน์ หนึ่ ง โดยรอบทั้ ง กลางวั น ทั้ ง กลางคื น แม้ เ มื่ อ ใด ความมื ด ประกอบด้ ว ยองค์ ๔ คื อ

พระอาทิตย์อัสดงคต ๑ วันอุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ ก้อนอกาลเมฆใหญ่

ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืดอัน ประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้ ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้

ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูปทั้งหลายย่อมไม่มี หากว่า บุคคลพึงเอางาเมล็ด


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

103

หนึ่งทำเป็นเครื่องหมายใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงหยิบเอา

เมล็ ด งานั้ น แหละขึ้ น ได้ พระมั ง สจั ก ษุ เ ป็ น ปกติ ข องพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า บริ สุ ท ธิ์ อ ย่ า งนี ้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านั้นหนอ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่ อ มเข้ า ถึ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์ ดั ง นี้ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ย่ อ มทรงเห็ น หมู่ สั ต ว์ ที่ ก ำลั ง จุ ต ิ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพระประสงค์ พึงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง แม้โลกธาตุ ๒ แม้โลกธาตุ ๓ แม้โลกธาตุ ๔ แม้โลกธาตุ ๕ แม้โลกธาตุ ๒๐ แม้โลกธาตุ ๓๐

แม้โลกธาตุ ๔๐ แม้โลกธาตุ ๕๐ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้โลกธาตุสองพันเป็น ส่วนกลาง แม้โลกธาตุสามพัน แม้โลกธาตุหลายพัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์ เท่าใด ก็พงึ ทรงเห็นเท่านัน้ ทิพยจักษุของพระผูม้ พี ระภาคเจ้าบริสทุ ธิอ์ ย่างนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า มีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญารื่นเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาคมกล้า

มีปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงบรรลุทศพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณหา ที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงนำไปโดยวิเศษ นำเนือง ๆ ให้รู้จักประโยชน์

ให้เพ่งพิจารณา ให้เห็นประโยชน์ ให้แล่นไปด้วยปสาทะ


104

พระพุทธเจ้า

พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั้ น ทรงเป็ น ผู้ ท ำมรรคที่ ยั ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น ให้ เ กิ ด ขึ้ น

ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมให้เกิดขึ้นพร้อม ผู้ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ สาวกทั้งหลายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นนั้ เป็นผูด้ ำเนินตามมรรคอยู่ เป็นผูป้ ระกอบด้วยศีลาทิคณ ุ ใน ภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น

มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก ผู้ตรัสบอกโดยประการ

เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต สิ่งที่ไม่ ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มี แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่ คลองในมุข คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประโยชน์ที่ควรแนะนำทุก ๆ อย่างอันชนควรรู้มีอยู่ คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ ทั้ ง สองอย่ า ง ประโยชน์ มี ใ นชาติ นี้ ประโยชน์ มี ใ นชาติ ห น้ า ประโยชน์ ตื้ น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่ บัณฑิตแนะนำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มีพระญาณไม่ ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุด รอบแห่ ง บทธรรมที่ ค วรแนะนำ บทธรรมที่ ค วรแนะนำก็ มี ส่ ว นสุ ด รอบแห่ ง พระญาณ

พระญาณไม่เป็นไปรอบเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกิน พระญาณไป ธรรมเหล่านั้นมีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบสองชั้น ปิดกันสนิทพอดี ชั้นผอบข้างล่างก็ไม่เกินผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบ

ข้างล่าง ชั้นผอบทั้งสองนั้นมีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้แล้ว มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ ของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรม ที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควร


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

105

แนะนำก็ มี ส่ ว นสุ ด รอบแห่ ง พระญาณ พระญาณไม่ เ ป็ น ไปเกิ น บทธรรมที่ ค วรแนะนำ

ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นมีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ ของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในธรรมทั้งปวง ธรรมทัง้ ปวงเนือ่ งด้วยความนึก เนือ่ งด้วยความหวัง เนือ่ งด้วยมนสิการ เนือ่ งด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ ต รั ส รู้ แ ล้ ว พระญาณของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ ต รั ส รู้ แ ล้ ว

ย่อมเป็นไปรอบในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติแห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลี มากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควร แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิติมิงคละ ย่อมเป็นไปรอบในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกทุ ก ชนิ ด โดยที่ สุ ด รวมทั้ ง ครุ ฑ เวนไตยโคตร ย่ อ มเป็ น ไปรอบในประเทศ อากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรโดยปัญญา ย่อมเป็นไป รอบในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุ ท ธญาณย่ อ มแผ่ ป กคลุ ม ปั ญ ญาของเทวดาและมนุ ษ ย์ ทั้ ง หลายตั้ ง อยู่

พวกบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น

เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางทรายแม่น เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บั ณ ฑิ ต เหล่ า นั้ น ปรุ ง แต่ ง ปั ญ หาแล้ ว เข้ า มาเฝ้ า พระตถาคต ทู ล ถามปั ญ หาเหล่ า นั้ น

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้อนถามและตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออกและ ทรงสลัดออก บัณฑิตเหล่านั้นเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง ไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญา ในที่นั้นโดยแท้แล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วย ปัญญาจักษุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ


106

พระพุทธเจ้า

ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม

ผู้ควรแนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู ่ ในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว

บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิด

ในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ผู้ มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษ และภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ย่ อ มทรงทราบว่ า บุ ค คลนี้ เ ป็ น ราคจริ ต บุ ค คลนี้ เ ป็ น

โทสจริต บุคคลนี้เป็น โมหจริต บุคคลนี้เป็น วิตักกจริต บุคคลนี้เป็น ศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็น ญาณจริต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอก อสุภกถา แก่บุคคลผู้เป็น ราคจริต ย่อมตรัส บอก เมตตาภาวนา แก่บุคคลผู้เป็น โทสจริต ทรงเเนะนำบุคคลผู้เป็น โมหจริต ให้ตั้งอยู่ ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาลอันควร ในการสนทนาธรรมตามกาล อันควร ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอก อานาปานสติ แก่บุคคลผู้เป็น วิตักกจริต ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่ง พระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่ อ มใส แก่ บุ ค คลผู้ เ ป็ น ศรั ท ธาจริ ต ย่ อ มตรั ส บอกธรรมอั น เป็ น นิ มิ ต แห่ ง วิ ปั ส สนา

ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็น ญาณจริต สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ ฉันใด ข้ า แต่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ มี พ ระปั ญ ญาดี มี พ ระจั ก ษุ โ ดยรอบ พระองค์ มีความโศกไปปราศจากแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จ ด้วยธรรม ขอจงทรงตรวจดูหมู่ชนผู้อาเกียรณ์ด้วยความโศก ถูกชาติ และชราครอบงำ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

107

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าไปใกล้ ไปใกล้ดีแล้ว เข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไป ถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า สิ่งอะไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันปัญญาจักษุของพระตถาคต นั้นไม่เห็นแล้ว ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ อันพระพุทธญาณ

ไม่รู้แจ้งแล้ว และที่ไม่พึงรู้ ย่อมไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบแล้วซึ่งธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะ เหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด [๘๙๑] คำว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ความว่า ทรงบรรเทา กำจัด ทำให้

สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต

ทั้งปวงอันทำให้เป็นคนบอด ทำไม่ให้มีจักษุ ทำไม่ให้มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่าย แห่งความลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เอก [๘๙๒] คำว่า เป็นบุคคลเอก ทรงบรรลุแล้วซึง่ ความยินดี ความว่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะส่วนแห่งบรรพชา ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะเป็นผู้ไม่มีเพื่อน ทรงเป็ น บุ ค คลผู้ เ อกเพราะความละตั ณ หา ทรงเป็ น บุ ค คลผู้ เ อกเพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้

ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่าเป็นผู้ปราศจากโทสะโดย ส่ ว นเดี ย ว ทรงเป็ น บุ ค คลผู้ เ อกเพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้ ป ราศจากโมหะโดยส่ ว นเดี ย ว

ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะ อรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค ทรงเป็นบุคคลผู้เอกเพราะอรรถว่าเป็นผู้เดียว ตรัสรู้ซึ่ง พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงเป็ น บุ ค คลผู้ เ อก เพราะส่ ว นแห่ ง บรรพชาอย่ า งไร


108

พระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหนุ่มฉกรรจ์ มีพระเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงรำพันอยู่ ทรงสละหมู่พระญาติ ทรงตัดความกังวลในยศทั้งหมด ทรงตัดความ กังวลในพระโอรส พระชายา ทรงตัดความกังวลในพระญาติ ทรงตัดความกังวลในมิตร อำมาตย์ ทรงตัดกังวลในการสั่งสม ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะ เสด็จออกผนวช ถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก

เพราะส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อนอย่างไร พระองค์ทรง ผนวชแล้วอย่างนี้พระองค์เดียว ซ่องเสพเสนาสนะเป็นป่าและป่าใหญ่น้อยอันสงัด มีเสียง น้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่ วิเวก พระองค์ทรงพระดำเนินพระองค์เดียว ประทับยืนพระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์ เดียว ทรงบรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงบิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จออก ไปพระองค์เดียว ประทับอยู่ในที่ลับพระองค์เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว

ทรงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อนอย่างนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผูเ้ อก เพราะความละตัณหาอย่างไร พระผูม้ พี ระภาคเจ้า นั้นเป็นพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อนอย่างนี้ ไม่ทรงประมาท มีความเพียร มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ทรงตั้งพระมหาปธานอยู่ที่ควงโพธิพฤกษ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารพร้อมทั้งเสนา มารที่ ไ ม่ ใ ห้ ม หาชนพ้ น ไป เป็ น เผ่ า พั น ธุ์ ผู้ ไ ม่ ป ระมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้ สิ้ น ไป

ซึ่งตัณหาเพียงดังข่ายอันให้แล่นไป ให้เกาะเกี่ยวอารมณ์อยู่ สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน แล่นไปสู่ความเป็นอย่างนี้และความ เป็นอย่างอื่นตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ภิกษุรู้จักโทษนี้ รู้จักตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความ ยึดถือ มีสติ พึงเว้นรอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละตัณหาอย่างนี้


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

109

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะ โดยส่วนเดียวอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้

ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงละราคะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ทรงเป็น

บุ ค คลผู้ เ อก เพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้ ป ราศจากโมหะโดยส่ ว นเดี ย ว เพราะทรงละโมหะ

เสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะทรงละ กิเลสทั้งหลายเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตาม

เอกายนมรรคอย่างไร สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า เอกายนมรรค (ธรรมเป็นหนทางเป็นที่ไปแห่ง บุคคลผู้เดียว) สมดังประพันธ์คาถาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นชาติ ผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบมรรคเป็นที่ไปแห่ง บุคคลผู้เดียว บัณฑิตทั้งหลายได้ข้ามก่อนแล้ว จักข้าม และย่อมข้าม ซึ่งโอฆะด้วยมรรคนั้น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงเป็ น บุ ค คลผู้ เ อก เพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้ เ สด็ จ ไปตาม

เอกายนมรรคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่ง สั ม มาสั ม โพธิ ญ าณอั น ยอดเยี่ ย มอย่ า งไร ญาณ ปั ญ ญา ปั ญ ญิ น ทรี ย์ ปั ญ ญาพละ

ธั ม มวิ จ ยสั ม โพชฌงค์ วิ มั ง สา วิ ปั ส สนา สั ม มาทิ ฏ ฐิ ในมรรค ๔ เรี ย กว่ า โพธิ

ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ตรัสรู้ว่า สังขาร

ทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร ... ตรัสรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้ เกิดทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า

เหล่ า นี้ อ าสวะ ตรั ส รู้ ว่ า นี้ เ หตุ ใ ห้ เ กิ ด อาสวะ ตรั ส รู้ ว่ า นี้ ค วามดั บ อาสวะ ตรั ส รู้ ว่ า

นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควร


110

พระพุทธเจ้า

กำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้นควรละ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้นควรให้เจริญ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป เป็นธรรมดา อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ ความตรัสรู้ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม ตรัสรู้ชอบ ทรงบรรลุ ทรงได้เฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้

ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งปวงด้วย

โพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่ง สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้ คำว่า ซึง่ ความยินดี ในคำว่า บรรลุแล้วซึง่ ความยินดี ความว่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงบรรลุ ทรงถึงเฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้งซึ่งความยินดีในเนกขัมมะ ความยินดี ในความสงัด ความยินดีในความสงบ ความยินดีในสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงชือ่ ว่า เป็นบุคคลผูเ้ อกบรรลุแล้วซึง่ ความยินดี เพราะเหตุนนั้ พระสารีบตุ รเถระจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัดแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี [๘๙๓] เรามีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ของคนหมู่มาก ซึ่งเนื่องในศาสนานี้

ว่าด้วยพระนามว่าพุทธะ [๘๙๔] ชื่อว่า พุทธะ ในคำว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีใครเป็นอาจารย์ ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง

ในธรรมทั้งหลายอันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อน ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในเพราะ ความตรัสรู้นั้น และทรงถึงความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย คำว่า พุทฺโธ ชื่อว่าเป็น พระพุทธเจ้าเพราะอรรถว่าอะไร ? ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัจจะ


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

111

ทั้งหลาย เพราะอรรถว่าให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะเป็นพระสัพพัญญู เพราะเป็นผู้เห็นธรรม

ทั้ ง ปวง เพราะเป็ น ผู้ ไ ม่ มี ผู้ อื่ น แนะนำ เพราะเป็ น ผู้ เ บิ ก บาน เพราะเป็ น ผู้ สิ้ น อาสวะ

เพราะเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่าเป็นผู้ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็ น ผู้ ป ราศจากโทสะโดยส่ ว นเดี ย ว เพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้ ป ราศจากโมหะโดยส่ ว นเดี ย ว เพราะอรรถว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าเป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค เพราะอรรถว่ า เป็ น ผู้ เ ดี ย วตรั ส รู้ ซึ่ ง พระสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณอั น ยอดเยี่ ย ม ชื่ อ ว่ า เป็ น พระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะความรู้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิ ด า พระภาดา พระภคิ นี มิ ต ร อำมาตย์ พระญาติ ส าโลหิ ต

สมณพราหมณ์ เทวดา มิ ไ ด้ เ ฉลิ ม ให้ พระนามว่ า พุ ทฺ โ ธ นี้ เป็ น วิ โ มกขั น ติ ก นาม (พระนามมีในอรหัตตผลในลำดับแห่งอรหัตตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิด เพราะทำให้ แ จ้ ง ซึ่ ง พระอรหั ต ตผลและธรรมทั้ ง ปวง) พร้ อ มด้ ว ยการทรงบรรลุ

พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น [๘๙๕] ความอาศัย ในคำว่า ไม่อาศัย มี ๒ อย่าง คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ความอาศั ย ด้ ว ยตั ณ หาเป็ น ไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน

เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ความยึดถือซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้นว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้

ของเรา สิ่งของของเรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด

เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงินทอง

บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของของเรา ความยึดถือว่าเป็น

ของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘

นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ความอาศัยด้วยทิฏฐิเป็นไฉน ? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดย แสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าแน่นอน ว่าจริงใน สิ่งที่ไม่จริง อันใด เห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยทิฏฐิ


112

พระพุทธเจ้า

พระผูม้ พี ระภาคเจ้าผูต้ รัสรูแ้ ล้ว ทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัย ด้วยทิฏฐิ เพราะทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า จึ ง ไม่ อ าศั ย ไม่ อิ ง อาศั ย ไม่ พั ว พั น ไม่ เ ข้ า ถึ ง ไม่ ติ ด ใจ ไม่ น้ อ มใจถึ ง เป็ น ผู้ ท รง

ออกไป สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ

รู ป ภพ อรู ป ภพ สั ญ ญาภพ อสั ญ ญาภพ เนวสั ญ ญานาสั ญ ญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ทรงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไม่อาศัย

ว่าด้วยผู้คงที่โดยอาการ ๕ [๘๙๖] คำว่า ผู้คงที่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๑ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่เพราะ

ทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อม ยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ในนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ หากว่า ชนทั้งหลายพึงลูบไล้

พระพาหาข้ า งหนึ่ ง แห่ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ด้ ว ยเครื่ อ งหอม พึ ง ถากพระพาหาข้ า งหนึ่ ง

ด้ ว ยมี ด พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ย่ อ มไม่ ท รงมี ค วามยิ น ดี ใ นการลู บ ไล้ ด้ ว ยเครื่ อ งหอมโน้ น

และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละความยินดีและ ความยินร้ายเสียแล้ว ทรงล่วงเลยความดีใจและความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความพอใจ และความพิโรธเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฎฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ อย่างนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ชือ่ ว่าเป็นผูค้ งทีเ่ พราะอรรถว่าสละแล้วอย่างไร ? พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงสละ คาย ปล่อย ละ สละคืน ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความ ลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

113

ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริต

ทัง้ ปวง ความกระวนกระวายทัง้ ปวง ความเร่าร้อนทัง้ ปวง ความเดือดร้อนทัง้ ปวง อกุสลาภิสงั ขาร ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าสละแล้วอย่างนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ชือ่ ว่าเป็นผูค้ งทีเ่ พราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างไร ? พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิ โอฆะ อวิชชาโอฆะ และคลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงอยู่จบแล้ว ทรงประพฤติจรณะแล้ว ดำเนินถึงทางไกลแล้ว ดำเนินถึงทิศแล้ว ดำเนินถึงที่สุดแล้ว ทรง รักษาพรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุอุดมทิฏฐิแล้ว เจริญมรรคแล้ว ละกิเลสแล้ว มีการแทง ตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละ สมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรงทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งนิโรธ ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรงทำให้เเจ่มแจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงถอนอวิชชาอันเป็นดุจลิ่มสลักออกแล้ว ทรงเรี่ยราย กรรมอันเป็นดังคูเสียแล้ว ทรงถอนตัณหาเป็นดังเสาระเนียดขึ้นแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบาน ประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก มีมานะเป็นดุจธงอันตกไปแล้ว ทรงปลงภาระเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็น

ธรรมเอกเครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันทรงบรรเทา เสียแล้ว มีการแสวงหาอันชอบ ไม่หย่อนอันประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขาร อันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุเป็นอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดดำรงอยู่แล้ว มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วดำรงอยู่ มิได้เย็บ

มิได้ยาก เย็บแล้วดำรงอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้ ประกอบด้ ว ยศี ล ขั น ธ์ สมาธิ ขั น ธ์ ปั ญ ญาขั น ธ์ วิ มุ ต ติ ขั น ธ์ วิ มุ ต ติ ญ าณทั ส สนขั น ธ์

เป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจแล้วดำรงอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วจึงดำรงอยู่ ดับไฟ กิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะไม่ต้องไป ยึดถือเอายอดชัยแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ใน ความซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ดำรงอยู่ใน


114

พระพุทธเจ้า

ส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสารวัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพ อันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีอัตภาพนี้เป็น ทีหลัง มิได้มีชาติ มรณะและสงสาร ไม่มีภพใหม่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าคงที่เพราะอรรถว่าข้ามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างไร ? พระทัย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ

ความผู ก โกรธ ความลบหลู่ ความตี เ สมอ ความริ ษ ยา ความตระหนี่ ความลวง

ความโอ้ อ วด ความกระด้ า ง ความแข่ ง ดี ความถื อ ตั ว ความดู ห มิ่ น ความเมา

ความประมาท กิเลสทั้งปวงทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

ผู้คงที่เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ชื่ อ ว่ า เป็ น ผู้ ค งที่ เ พราะทรงแสดงออกซึ่ ง ธรรมนั้ น ๆ อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีศีล ในเมื่อ ศีลมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีวิริยะ ในเมื่อวิริยะมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรง แสดงออกว่าเป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มี สมาธิ ในเมื่อสมาธิมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีปัญญา ในเมื่อ ปัญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่

ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็น

ผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่าเป็นผู้มีพละ ๑๐ ในเมื่อพละมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

115

ว่าด้วยวัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง [๘๙๗] ชือ่ ว่า ผูไ้ ม่ทรงหลอกลวง ในคำว่า ผูไ้ ม่หลอกลวง ผูม้ าเป็นพระคณาจารย์

มีอธิบายว่า วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือวัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการ ซ่องเสพปัจจัย ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวง

กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน ? พวกคฤหบดี ในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิ ก ษุ นั้ น มี ค วามปรารถนาลามก อั น ความปรารถนาครอบงำ มี ค วามต้ อ งการด้ ว ยจี ว ร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอก คืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่ สมณะด้ ว ยจี ว รมี ค่ า มาก การที่ ส มณะเที่ ย วเลื อ กเก็ บ ผ้ า เก่ า จากป่ า ช้ า กองหยากเยื่ อ

หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตมี ค่ า มาก การที่ ส มณะสำเร็ จ ความเป็ น อยู่ ด้ ว ยก้ อ นข้ า วที่ ไ ด้ ม าด้ ว ยปลี แ ข้ ง โดยความ ประพฤติแสวงหา เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก การที่ สมณะอยู่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ที่แจ้ง เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะ ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก การที่สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ เป็ น การสมควร ภิ ก ษุ นั้ น อาศั ย ความเป็ น ผู้ อ ยากได้ ม าก จึ ง ทรงจี ว รที่ เ ศร้ า หมอง

ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่เศร้าหมอง พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้เป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะ กำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวรบิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็ กล่าวว่า เพราะประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสบบุญมาก คือ เพราะประจวบด้วยศรัทธา ๑ เพราะประจวบด้วยไทยธรรม ๑ เพราะประจวบด้วย ทักขิไณยบุคคล ๑ ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล) ถ้าอาตมาจักไม่รับ ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มี ความต้องการด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่า อาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลาย จำเดิม แต่นั้น ภิกษุนั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัช


116

พระพุทธเจ้า

บริขารมาก ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผูห้ ลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย วัตถุแห่งความหลอกลวง กล่าวด้วยอิรยิ าบถเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินยั นี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่ อ มตั้ ง สติ เ ดิ น ตั้ ง สติ ยื น ตั้ ง สติ นั่ ง ตั้ ง สติ น อน ทำเหมื อ นภิ ก ษุ มี

สมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) การตั้งใจทำ

การก้าว ดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่ หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าว อันตรายอิริยาบถ วัตถุแห่งความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการ ยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ

พูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ ...

ทรงภาชนะโลหะอย่างนี้ ... ทรงธมกรกอย่างนี้ ... ทรงผ้ากรองน้ำอย่างนี้ ... ถือลูกกุญแจ อย่างนี้ ... สวมรองเท้าอย่างนี้ ... ใช้ประคดสำหรับคาดกายอย่างนี้ ... ใช้สายโยกบาตร อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใด มีอุปัชฌาย์อย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ ...

มีพวกร่วมอุปัชฌาย์อย่างนี้ ... มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ ... มีมิตรอย่างนี้ ... มีพวก อย่างนี้ ... มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ ... มีสหายอย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ ... อยู่ในปราสาท

อย่างนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้ ... อยู่ในถ้ำอย่างนี้ ... อยู่ในที่เร้นอย่างนี้ ... อยู่ในกุฎีอย่างนี้ ... อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ ... อยู่ในซุ้มประตูอย่างนี้ ... อยู่ในโรงกลม อย่างนี้ ... อยู่ในโรงที่พัก (ปะรำ) อย่างนี้ ... อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ ... อยู่ใน มณฑปอย่างนี้ ... อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็น ผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้ายู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อนตลบตะแลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วย ความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติอันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำ


สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

117

เช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตตรธรรมและนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้ หลอกลวงเห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรง

ละตัดขาด ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น

พระผูม้ พี ระภาคเจ้าผูต้ รัสรูแ้ ล้ว จึงชือ่ ว่าผูไ้ ม่หลอกลวง เพราะฉะนัน้ จึงชือ่ ว่าผูไ้ ม่หลอกลวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์ [๘๙๘] คำว่า ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า คณี เพราะอรรถว่ามีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าเป็นพระคณาจารย์

ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าเป็นพระศาสดาของคณะ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหารคณะ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าพระองค์ตรัสสอนคณะ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าพระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าพระองค์มี ความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าคณะย่อมฟังด้วยดีต่อ พระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ ชื่อว่าเป็น คณี เพราะอรรถว่าพระองค์ยัง คณะให้ออกจากอกุศลให้ตั้งอยู่เฉพาะในกุศล ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะภิกษุ ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะภิกษุณี ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะอุบาสก ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะ อุบาสิกา ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะพระราชา ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะกษัตริย์ ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะพราหมณ์ ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะแพศย์ ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะศูทร ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะเทวดา ชื่อว่าเป็น คณี ของคณะพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น ผู้มีหมู่ มีคณะ เป็นพระคณาจารย์ เสด็จมา เข้ามา เข้ามาพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่ง

สังกัสสนคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ จบ สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ (บางส่วน)


118

พระพุทธเจ้า

๙. อนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก พระวินัยปิฎก จุลวรรค [๒๔๑] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี เป็นน้องเขยของราชคหเศรษฐี ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปเมืองราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง [๒๔๒] ส มั ย นั้ น ราชคหเศรษฐี ไ ด้ นิ ม นต์ พ ระสงฆ์ มี พ ระพุ ท ธเจ้ า เป็ น ประมุ ข

เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น จึงได้สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจง

ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อย [๒๔๓] ขณะนัน้ อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้คดิ ว่า เมือ่ เรามาคราวก่อน ท่านคฤหบดี ผู้นี้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว บัดนี้เขามีท่าทีเปลี่ยนไป

สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว

หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อย ๆ บางทีคฤหบดีผู้นี้จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบมหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยงในวันรุ่งขึ้นกระมัง [๒๔๔] ครั้นราชคหเศรษฐีสั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้นั่งสนทนากัน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ถามว่า ท่านคฤหบดี

คราวก่อนเมื่อฉันมาแล้ว ท่านได้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้วก็สนทนากับฉันผู้เดียว บัดนี้ ท่านนั้นมัวสาละวนสั่งทาสและกรรมกรว่า ถ้ากระนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารทีม่ รี สอร่อย ๆ บางทีทา่ นคฤหบดี จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคลหรือหรือประกอบมหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้กระมัง ราชคหเศรษฐีตอบว่า ท่านคฤหบดี ฉันจะได้มีงานอาวาหมงคล หรือวิวาหมงคล

ก็หาไม่ แม้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราชพร้อมทั้งกองพล ฉันก็มิได้เชิญเสด็จมาเลี้ยง ในวันพรุ่งนี้ ที่ถูกฉันประกอบมหายัญ คือ ฉันได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเลี้ยงในวันพรุ่งนี้


อนาถบิณฑิกคฤหบดี

119

อ. ท่านคฤหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคฤหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ๊ะ อ. ท่านคฤหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคฤหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ๊ะ อ. ท่านคฤหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ ร. ท่านคฤหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ๊ะ อ. ท่านคฤหบดี แม้เสียงว่า พุทธะ นี้ก็ยากที่จะหาได้ในโลก ท่านคฤหบดี ฉันสามารถจะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ในเวลานี้ได้ไหม ร. ท่านคฤหบดี เวลานี้ยังไม่ควรที่จะเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ นั้ น พรุ่ ง นี้ ท่ า นจึ ง จะได้ เ ข้ า เฝ้ า เยี่ ย มพระผู้ มี พ ระภาคอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระองค์นั้น [๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า พรุ่งนี้ เราจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข่าวว่า

เธอลุกขึ้นในกลางคืนถึงสามครั้ง เข้าใจว่าสว่างแล้ว จึงได้เดินไปโดยทางอันจะไปประตู

ป่าสีตวัน พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ขณะเมื่อเดินออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป

ความมืดปรากฏแทน ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิดแล้ว

เธอได้คิดกลับจากที่นั้นอีก [๒๔๖] ขณะนั้น สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงโดยคาถาว่าดังนี้ ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อย ประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิดท่านคฤหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคฤหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอยกลับเลย [๒๔๗] ทันใดนั้น ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า อันใดได้มีแล้ว อันนั้น ได้สงบแล้ว แม้ครั้งที่สอง ...


120

พระพุทธเจ้า

แม้ ค รั้ ง ที่ ส าม แสงสว่ า งหายไป ความมื ด ได้ ป รากฏแก่ อ นาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี

ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิด เธอคิคจะกลับจากที่นั้นอีก

แม้ครั้งที่สาม สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงว่าดังนี้ ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อย ประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคฤหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคฤหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอยกลับเลย แม้ ค รั้ ง ที่ ส าม ความมื ด หายไป แสงสว่ า งได้ ป รากฏแก่ อ นาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี

ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าอันใดได้มีแล้ว อันนั้นได้สงบแล้ว อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปยังสีตวันแล้ว [๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจงกรมในที่แจ้ง ณ เวลาปัจจุ สมัยแห่งราตรี ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีนนั้ เดินมาแต่ไกลเทียว ครัน้ แล้วเสด็จ ลงจากที่จงกรมประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่า มาเถิดสุทัตตะ ทันใดนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเบิกบานใจ ดีใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกชื่อเรา แล้วเข้าไปเฝ้าซบเศียรลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า พระองค์ประทับสำราญหรือ พระพุทธเจ้าข้า [๓๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบโดยคาถาว่าดังนี้ พราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใด

ไม่ติดในกาม มีใจเย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้แล้ว บรรเทาความกระวนกระวายในใจ ถึงความสงบแห่งจิต เป็นผู้สงบระงับ แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข [๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี คือ บรรยายถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกาม

ทั้ งหลาย แล้ ว ทรงประกาศอานิ ส งส์ ใ นการออกจากกาม ขณะที่ พ ระองค์ ท รงทราบว่ า อนาถบิณฑิกคฤหบดีมีจิตควรแก่การงาน มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิต เลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วย พระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมรรค


อนาถบิณฑิกคฤหบดี

121

อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ณ

ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น [๒๕๑] ครั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ สงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของ พระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง ประทีปในทีม่ ดื ด้วยตัง้ ใจว่า คนมีจกั ษุจกั เห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านีถ้ งึ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก

ผู้ ม อบชี วิ ต ถึ ง สรณะจำเดิ ม แต่ วั น นี้ เ ป็ น ต้ น ไป และขอพระองค์ พ ร้ อ มด้ ว ยภิ ก ษุ ส งฆ์ จ ง

ทรงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศล ปิติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ของข้าพระพุทธเจ้า พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงรั บ อาราธนาโดยดุ ษ ณี ภ าพ ครั้ น อนาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี ท ราบว่ า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม ทำประทักษิณกลับไป [๒๕๒] ราชคหเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดีนิมนต์พระสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถามอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ท่านคฤหบดี ข่าวว่าท่านได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็น แขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำอาหารเลี้ยง พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านคฤหบดี ทรัพย์สำหรับที่จะจับจ่าย สิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้นของฉันมีแล้ว [๒๕๓] ชาวนิ ค มเมื อ งราชคฤห์ ไ ค้ ท ราบข่ า วว่ า อนาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี นิ ม นต์

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถามอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ท่านคฤหบดี ข่าวว่า ท่านได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้


122

พระพุทธเจ้า

แลท่านก็เป็นแขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำ อาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านผู้เจริญ ทรัพย์สำหรับที่จะจับจ่าย สิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้นของฉันมีแล้ว [๒๕๔] พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามคธราช ได้ทรงสดับข่าวว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดี นิมนต์พระสงฆ์มพี ระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพือ่ ฉันในวันพรุง่ นี้ จึงตรัสถามอนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่า ดูก่อนคฤหบดี ข่าวว่า ท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกเมืองฉัน ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัด ทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ขอเดชะ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น ของ

ข้าพระพุทธเจ้ามีแล้ว

อนาถบิณฑิกคฤหบดีถวายภัตตาหาร [๒๕๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีสั่งให้ตกแต่งอาหารของเคี้ยวของฉัน อั น ประณี ต ในนิ เ วศน์ ข องราชคหเศรษฐี โดยล่ ว งราตรี นั้ น แล้ ว ให้ ก ราบทู ล ภั ต กาลแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า

พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้านิเวศน์ของราชคฤหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์ อนาถบิณฑิกคฤหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วย

มือตนเอง จนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตแล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พร้อมกับภิกษุสงฆ์

จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษาในเมืองสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดีใน

สุญญาคาร อนาถบิณฑิกคฤหบดีทูลว่า ทราบเกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทราบเกล้าแล้ว พระสุคต ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อนาถบิณฑิกคฤหบดีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ


อนาถบิณฑิกคฤหบดี

123

อนาถบิณฑิกคฤหบดีสร้างพระเชตวัน [๒๕๖] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจาควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถีได้ชักชวนชาวบ้านระหว่าง ทางว่ า ท่ า นทั้ ง หลาย จงช่ ว ยกั น สร้ า งอาราม จงช่ ว ยกั น สร้ า งวิ ห าร เริ่ ม บำเพ็ ญ ทาน

เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จ มาโดยทางนี้ ครั้ ง นั้ น ชาวบ้ า นเหล่ า นั้ น ที่ อ นาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี ชั ก ชวนไว้ ต่ า งพากั น

สร้างอาราม สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทานแล้ว ครั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงพระนคร สาวัตถีแล้ว เที่ยวตรวจดูพระนครสาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะประทับอยู่ ที่ ไ หนดี ห นอ ซึ่ ง เป็ น สถานที่ ไ ม่ ไ กลนั ก ไม่ ใ กล้ นั ก จากหมู่ บ้ า น มี ค มนาคมสะดวก

ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียง อึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของ มนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร ซึ่งเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน มีการคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มี ความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจาก กลิ่นไอคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้ น แล้ ว จึ ง เข้ า เฝ้ า เจ้ า เชตราชกุ ม าร กราบทู ล ว่ า ขอใต้ ฝ่ า พระบาทจงทรงประทาน

พระอุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า ท่านคฤหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้องซื้อด้วยลาด ทรัพย์เป็นโกฏิ อ. อารามพระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้าข้า ช. อารามฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคฤหบดี เจ้าชายกับคฤหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตกลงขายหรือ ไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผพู้ พิ ากษาตอบว่า เมือ่ พระองค์ตรี าคาแล้ว อารามเป็นอันตกลงขาย อนาถบิณฑิกคฤหบดี จึงสั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาดริมจดกัน

ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาสหน่อยหนึ่งใกล้ซุ้มประตู อนาถบิณฑิกคฤหบดี จึงสั่งคนทั้งหลายว่า พนาย พวกเธอจงไปขนเงินมาเรียงในโอกาสนี้

ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารทรงรำพึงว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คฤหบดีนี้บริจาคเงิน


124

พระพุทธเจ้า

มากเพียงนั้น เจ้าเชตราชกุมารจึงตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า พอแล้ว ท่านคฤหบดี

ท่ า นอย่ า ได้ ล าดโอกาสนี้ เ ลย ท่ า นจงให้ โ อกาสนี้ แ ก่ ฉั น ที่ ว่ า งนี้ ฉั น จั ก ยกให้ ดั ง นั้ น

อนาถบิณฑิกคฤหบดีคร่ำครวญว่า เจ้าเชตราชกุมารนี้ ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก อันความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่นักแล

จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้างซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระ โบกขรณี สร้างมณฑป [๒๕๗] ครัน้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยูใ่ นพระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลีนั้น [๒๕๘] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านทั้งหลายตั้งใจทำการก่อสร้าง และอุปัฏฐากภิกษุผู้ อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุ อาพาธโดยเคารพ

อนาถบิณฑิกคฤหบดีถวายพระเชตวนาราม [๒๖๙] ครัง้ นัน้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี เขตพระนคร

สาวัตถีนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้ อ มกั บ ภิ ก ษุ ส งฆ์ จงทรงรั บ ภั ต ตาหารของข้ า พระพุ ท ธเจ้ า เพื่ อ เสวยในวั น พรุ่ ง นี้

พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงรั บ อาราธนาโดยดุ ษ ณี ภ าพ ครั้ น อนาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี ท ราบว่ า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณกลับไป [๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอัน ประณี ต โดยล่ ว งราตรี นั้ น แล้ ว สั่ ง ให้ ค นไปกราบทู ล ภั ต กาลแด่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ว่ า

ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง


อนาถบิณฑิกคฤหบดี

125

ครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ครั้นแล้ว ประทั บ นั่ ง บนอาสนะที่ เ ขาจั ด ไว้ ถ วายพร้ อ มกั บ ภิ ก ษุ ส งฆ์ อนาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี อั ง คาส

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน

จนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึง่ แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบตั อิ ย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้ ง ที่ ม าแล้ ว และยั ง ไม่ ม า อนาถบิณฑิกคฤหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ได้ถวาย

พระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคฤหบดี ด้วยคาถา

เหล่านี้ ว่าดังนี้

คาถาอนุโมทนาวิหารทาน [๒๗๑] วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและสัตว์ร้าย นอกจาก นั้นยังป้องกันงูและยุง ฝนในสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้องกันลม

และแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรง สรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็ง เห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยูใ่ นวิหารเถิด อนึง่ พึงมีนำ้ ใจเลือ่ มใส ถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะ อันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อม แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา อันเขารู้ทั่วถึงแล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพานในโลกนี้ ครั้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงอนุ โ มทนาอนาถบิ ณ ฑิ ก คฤหบดี ด้ ว ยพระคาถา

เหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป จบ พระวินัยปิฎก จุลวรรค (บางส่วน)


126

พระพุทธเจ้า

๑๐. ลักษณะการเสด็จดำเนิน ของพระพุทธเจ้า อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เสขปฏิปทาสูตร

พระบาลีวา่ อถ โข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรํ อาทาย สทฺธึ ภิกขฺ สุ งฺเฆน เยน นวํ สนฺถาคารํ เตนุปสงฺกมิ ที่แปลว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบงแล้ว ทรงถือ เอาบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่สันถาคารพร้อมกับหมู่แห่งพระภิกษุ พึงทราบความดังนี้ ได้ยนิ ว่า เมือ่ พวกเจ้าศากยะกราบทูลเวลาอย่างนีว้ า่ “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ พระผูม้ พี ระภาค ย่อมทรงทราบเวลาอันควร ณ บัดนี้” พระผู้มีพระภาคทรงจัดผ้าแดง สีดังดอกทองหลาง แดงชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งตัดดอกปทุมด้วยกรรไกร ทรงนุ่งอันตรวาสกปกปิดมณฑล

ทั้งสาม ทรงคาดรัดประคดมีสิริดังสายฟ้า ประหนึ่งคาดกำดอกปทุมด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรสีแดงอันประเสริฐ มีสีคล้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร ที่ทำให้มหาปฐพีที่ ประกอบด้ ว ยภู เ ขาสิ เ นรุ แ ละภู เ ขายุ ค นธรแห่ ง จั ก รวาลให้ ไ หวแล้ ว จั บ ไว้ ประหนึ่ ง คลุ ม ตระพองช้างด้วยผ้ากัมพลแดง ประหนึ่งโปรยข่ายแก้วประพาฬที่มีค่าดังทองในที่สูง ๑๐๐ ศอก ประหนึ่งเปลื้องผ้ากัมพลแดงที่สุวรรณเจดีย์ ประหนึ่งปิดดวงจันทร์เพ็ญที่กำลังโคจร ด้วยฝนแดง ประหนึ่งรดน้ำครั่งที่สุกดีบนยอดภูเขาทอง ประหนึ่งล้อมยอดเขาจิตรกูฏด้วย สายฟ้า เสด็จออกจากประตูพระคันธกุฎี ดังราชสีห์ออกจากถ้ำทอง และดังดวงจันทร์เพ็ญ โผล่ออกจากยอดอุทัยบรรพต ครั้นพระองค์เสด็จออกแล้ว ก็ประทับยืนที่หน้าพระคันธกุฎี ครั้งนั้น พระรัศมีที่

แผ่ออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคนั้น ประหนึ่งกลุ่มสายฟ้าลอดออกจากช่องเมฆ ทำให้พฤกษชาติในพระอารามเป็นดุจมีใบดอกผล และค่าคบเลื่อมด้วยหยดน้ำทองราดรด พร้อมกันนั้น พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ถือบาตรและจีวรของตนแวดล้อมพระผู้มีพระภาค พระภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ ปรารภความเพียร มีวัตร อดทน ถือคำสั่งสอน เตือนกัน ตำหนิความชั่ว

ถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะเห็นปาน ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็งามสง่าประดุจก้อนทองที่ล้อมไว้


ลักษณะการเสด็จดำเนิน

127

ด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจเรือทองที่แล่นไปกลางดงปทุมแดง และประดุจปราสาททองที่ ล้ อ มด้ ว ยเรื อ นแก้ ว ประพาฬ แม้ พ ระมหาเถระทั้ ง หลาย มี ท่ า นพระสารี บุ ต รและท่ า น

พระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น ก็ห่มบังสุกุลจีวรมีสีดังเมฆ ล้วนเป็นผู้คายราคะ ทำลาย กิ เ ลส สางชั ฏ ได้ แ ล้ ว ตั ด เครื่ อ งผู ก พั น แล้ ว ไม่ ติ ด ข้ อ งในสกุ ล หรื อ หมู่ ยื น แวดล้ อ ม ประดุจช้างใหญ่ที่มีผิวหนังคลุมด้วยแก้วมณี พระผู้มีพระภาคพระองค์เอง ก็ทรงปราศจากราคะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะ แวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโทสะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศ จากโมหะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีตัณหา อันเหล่าภิกษุผู้ไม่มี ตัณหาแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีกิเลส อันเหล่าภิกษุผู้ไม่มีกิเลสแวดล้อมแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้เอง อันเหล่าภิกษุผู้ตรัสรู้เพราะเป็นพหูสูตแวดล้อมแล้ว ประดุจไกรสรราชสีห์ อันฝูงสัตว์ แวดล้อมแล้ว ประดุจดอกกรรณิการ์ที่เกสรล้อมไว้ ประดุจพระยาช้างชื่อฉัททันต์ อันโขลง ช้างแปดพันแวดล้อมแล้ว ประดุจพระยาหงส์ชื่อธตรฐ อันฝูงหงส์เก้าหมื่นแวดล้อมแล้ว ประดุจองค์จักรพรรดิอันเหล่าเสนาแวดล้อมแล้ว ประดุจท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพ แวดล้อมแล้ว ประดุจท้าวหาริตมหาพรหม อันเหล่าพรหมแวดล้อมแล้ว ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันกลุ่มดาวแวดล้อมแล้ว เสด็จเดินทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วยเพศของพระพุทธเจ้าซึ่ง ไม่มีผู้ใดเสมอ ด้วยท่วงทีอันสง่างามของพระพุทธเจ้า ที่หาประมาณมิได้ด้วยประการฉะนี้ ครัง้ นัน้ พระรัศมีอนั มีสดี งั ทอง พลุง่ ออกจากพระวรกายเบือ้ งหน้าของพระผูม้ พี ระภาค นั้นกินพื้นที่ระยะ ๘๐ ศอก พระรัศมีอันมีสีดังทองพลุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง เบื้องขวา เบื้องซ้าย ก็กินพื้นที่ระยะ ๘๐ ศอก พระรัศมีอันมีสีดังแววหางนกยูง พลุ่งออก จากม้วนพระเกศาทั้งหมดตั้งแต่ปลายพระเกศาเบื้องบน กินพื้นที่ระยะ ๘๐ ศอก ณ

พื้นอัมพร พระรัศมีอันมีสีดังแก้วประพาฬพลุ่งออกจากพื้นพระบาทเบื้องล่าง กินพื้นที่ ระยะ ๘๐ ศอก ณ แผ่นพื้นปฐพีอันทึบ พระพุทธรัศมีมีสี ๖ สีโชติช่วง แผ่พวยพุ่งไป ตลอดพื้นที่ระยะ ๘๐ ศอกโดยรอบ ประดุจแสงไฟที่พุ่งออกจากดวงประทีปด้ามทองขึ้นไป สู่อากาศ ประดุจสายฟ้าที่พุ่งออกจากเมฆก้อนใหญ่ทั้งสี่ทิศ ด้วยประการฉะนี้ พระพุทธรัศมีกระจายแผ่ไปทั่วทุกทิศ ประหนึ่งเกลื่อนกล่นด้วยดอกจำปาทอง ประหนึ่งราดด้วยสายน้ำทองที่ออกจากหม้อทอง ประหนึ่งล้อมไว้ด้วยแผ่นทองที่คลี่แล้ว ประหนึ่งดารดาษด้วยละอองดอกทองกวาวและดอกกรรณิการ์ที่ลมเวรัมภาก่อให้เกิดขึ้น


128

พระพุทธเจ้า

แม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาคก็รุ่งเรืองด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ประดับด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา สง่างามประหนึ่งพื้นนภากาศซึ่งมี

ดวงดาวสะพรั่ง ประหนึ่งป่าปทุมที่บานแล้ว ประหนึ่งต้นปาริฉัตรสูง ๑๐๐ โยชน์ที่มี

ดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ประหนึ่งเอาสิริครอบงำสิริของพระจันทร์ ๓๒ ดวง พระอาทิตย์ ๓๒ ดวง พระเจ้าจักรพรรดิ ๓๒ พระองค์ ราชาแห่งเทวดา ๓๒ องค์ มหาพรหม

๓๒ องค์ ซึ่งสถิตอยู่ตามลำดับ เหมือนอย่างทานที่ทรงถวาย ศีลที่ทรงรักษา กรรมอันดี งามที่ทรงกระทำตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วย ๑๐๐,๐๐๐ กัป ประดับด้วยบารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ที่ทรงบำเพ็ญมาด้วยดีแล้ว

ก็มาประชุมลงในอัตภาพอันเดียว ไม่ได้ฐานะที่จะให้วิบากเป็นเหมือนตกอยู่ในที่คับแคบ เป็นเหมือนประหนึ่งเวลายกสิ่งของจากพันลำเรือลงสู่เรือลำเดียว ประหนึ่งเวลายกสิ่งของ จากพันเล่มเกวียน ลงสู่เกวียนเล่มเดียว ประหนึ่งเวลาเอาแม่น้ำยี่สิบห้าสาย รวมกองเป็น สายเดียวกันที่ประตูทางร่วมแห่งโอฆะ ชนทั้ ง หลายยกประที ป มี ด้ า มหลายพั น ดวงไว้ เ บื้ อ งหน้ า ของพระผู้ มี พ ระภาค

ที่กำลังเปล่งโอภาสด้วยพระพุทธสิรินี้ เบื้องหลัง ทางซ้าย ข้างขวา ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ฝนทั้งหลายที่ปล่อยเมฆทั้งสี่ทิศของดอกมะลิซ้อน ดอกจำปา ดอกมะลิป่า ดอกอุบลแดง อุบลขาว กำยานและยางทราย และดอกไม้ที่มีสีเขียว สีเหลืองเป็นต้น มีกลิ่นหอมและ ละเอียด ก็กระจายไปเหมือนละอองน้ำ เสียงกึกก้องของดนตรีที่มีส่วนประกอบห้าอย่าง และกึกก้องแห่งเสียงสดุดี อันประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ก็ตามไปทุกทิศ ดวงตาของเหล่าเทวดา มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์และยักษ์เป็นต้นก็ได้ เห็นเหมือนดื่มน้ำอมฤต ควรที่จะกล่าวพรรณนาการเสด็จพระพุทธดำเนินด้วยคาถาตั้งพัน คาถา ในข้อนั้นจะกล่าวพอเป็นทางดังนี้ พระผู้นำของโลก สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวงอย่างนี้ ทรงทำ มหาปฐพีให้ไหว ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์เสด็จไป พระนราสภ ผู้สูงสุด กว่าบรรดาสัตว์สองเท้า ยกพระบาทขวา ก้าวแรกเสด็จพระพุทธดำเนิน

ก็สมบูรณ์ด้วยสิริ สง่างาม เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเสด็จพระพุทธ ดำเนิน ฝ่าพระบาทอันอ่อนนุ่มสัมผัสพื้นดินที่เรียบก็ไม่เปื้อนด้วยละออง


ลักษณะการเสด็จดำเนิน

129

เมื่อพระผู้เป็นนายกแห่งโลกเสด็จพระพุทธดำเนิน ที่ลุ่มก็ ดอนขึ้น ที่ดอนก็ราบเรียบ แผ่นดิน แผ่นหิน ก้อนกรวด กระเบื้อง ตอและหนามทุกอย่าง ไม่มีจิตใจก็เว้นทางถวาย เมื่อพระผู้เป็นนายก แห่งโลกเสด็จพระพุทธดำเนิน ก็ไม่ต้องยกพระบาทก้าวยาวในที่ไกล ไม่ต้องยกพระบาทก้าวสั้นในที่ใกล้ ไม่ทรงอึดอัดพระทัย เสด็จพุทธ ดำเนิน พระมุนีผู้มีจรณะอันสมบูรณ์ ไม่ยกพระชานุทั้งสองและข้อ พระบาทเสด็จไปเร็วนัก พระผู้มีพระทัยตั้งมั่น เมื่อเสด็จพระพุทธ ดำเนินก็ไม่ตอ้ งเสด็จไปช้านัก พระองค์มไิ ด้ทรงจ้องมองเบือ้ งบน เบือ้ งล่าง เบือ้ งขวาง ทิศใหญ่ ทิศน้อย อย่างนัน้ เสด็จไปทอดพระเนตรเพียงชัว่ แอก พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงมีอาจาระน่าชม ดังพระยาช้าง สง่างามในอาการเสด็จพระพุทธดำเนิน พระผู้เป็นเลิศแห่งโลก เสด็จ พระพุทธดำเนินงามนัก ทรงยังมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรง สง่างามดังพระยาอุสุภราช ดังไกรสรราชสีห์ ที่เที่ยวไปทั้งสี่ทิศ ทรงยัง สัตว์เป็นอันมากให้ยินดี เสด็จถึงเมืองอันประเสริฐสุด ได้ ยิ น ว่ า เวลานี้ เ ป็ น เวลาแห่ ง พรรณนา เรี่ ย วแรงเท่ า นี้ เ ป็ น ข้ อ สำคั ญ สำหรั บ

พระธรรมกถึก ในการพรรณนาพระสรีระหรือพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้า ในกาล

ทั้งหลายอย่างนี้ หากสามารถพรรณนาด้วยคำร้อยแก้วหรือคำร้อยกรองได้ประมาณเท่าใด ก็ควรกล่าวเท่านั้น ไม่ควรพูดว่า กล่าวยาก แท้จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณหา ประมาณมิได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าด้วยกันเอง ก็ยังไม่สามารถพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า เหล่านั้นโดยไม่ให้หลงเหลือได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกจากนี้เล่า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่เมืองของศากยราช อันประดับตกแต่งด้วยสิริวิลาส

อย่างนี้ อันชนมีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยของหอมธูปเครื่องอบและจุรณเป็นต้น เสด็จเข้าสู่

สันถาคาร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรํ อาทาย สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นวํ สนฺถาคารํ เตนุปสงฺกมิ ดังนี้


130

พระพุทธเจ้า

คำว่า ภควนฺตํ เยว ปุรกฺขตฺวา ความว่า ให้พระผู้มีพระภาคประทับข้างหน้า

สั น ถาคารนั้ น พระผู้ มี พ ระภาคประทั บ นั่ ง ท่ า มกลางเหล่ า พระภิ ก ษุ แ ละเหล่ า อุ บ าสก

ทรงรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง เสมือนรูปพระปฏิมาที่หล่อด้วยทองคำแท่งสีแดง อันบุคคลสรงสนาน ด้วยน้ำหอม เช็ดทำสะอาดด้วยผ้าเทริดจนแห้งแล้ว ฉาบทาด้วยชาดสีแดง ตั้งไว้บนตั่งที่ คลุมด้วยผ้ากัมพลแดง ฉะนั้น แนวทางพรรณนาพระคุณของท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายใน ข้อนี้มีดังนี้ พระผู้เลิศของโลก มีจรณะน่าชมดังพระยาช้าง เสด็จไปสู่ โรงมณฑล เปล่งพระรัศมี ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐ พระผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระลักษณะ อันเกิดจากบุญตั้งร้อย ประทับนั่ง ณ ที่นั้น อยู่ท่ามกลางพุทธอาสน์ ทรงรุง่ เรือง เสมือนแท่งทองอันบุคคลวางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง ฉะนัน้ พระผู้ปราศจากมลทิน สง่างามเหมือนแท่งทองชมพูนุท ที่ เขาวางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง เหมือนแก้วมณีส่องประกายอยู่ ทรง สง่างามเหมือนต้นสาละใหญ่ออกดอกสะพรั่ง อันเป็นเครื่องประดับ ของภูเขาเมรุราช ฉะนั้น ทรงเปล่งแสงเหมือนปราสาททอง เหมือน ดอกปทุ ม โกกนุ ท เหมื อ นต้ น ประที ป ส่ อ งสว่ า ง เหมื อ นดวงไฟบน

ยอดเขา เหมือน ต้นปาริฉัตรของทวยเทพอันดอกบานสะพรั่ง ฉะนั้น จบ การเสด็จดำเนินของพระพุทธเจ้า


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

131

๑๑. ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนคร ราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้น ก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัส

กะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรง

สักคืนหนึ่งเถิด ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ได้ยินว่า ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสาร เสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์ในมัชฌิม ประเทศ พระเจ้าปุกกุสาติเสวยราชสมบัติในพระนครตักศิลา ในปัจจันตประเทศ ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งหลาย ต่างก็เอาสินค้าจากพระนครตักศิลามาสู่พระนครราชคฤห์ นำบรรณาการ

ไปถวายแต่พระราชา พระราชาตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้นผู้ยืนถวายบังคมว่า พวกท่านอยู่ ที่ ไ หน ขอเดชะ อยู่ ใ นพระนครตั ก ศิ ล า ลำดั บ นั้ น พระราชาตรั ส ถามถึ ง ความเกษม

และความที่ภิกษาหาได้ง่ายเป็นต้น ของชนบทและประวัติแห่งพระนครกะพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า พระราชาของพวกท่านมีพระนามอย่างไร พระนามว่าปุกกุสาติ พระพุทธเจ้าข้า ทรงดำรงอยู่ในธรรมหรือ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงสงเคราะห์ ชนด้วยสังคหวัตถุสี่ ทรงดำรงอยู่ในฐานะมารดาบิดาของโลก ทรงยังชนดุจทารกนอนบน ตักให้ยินดี ทรงมีวัยเท่าใด ลำดับนั้น พวกพ่อค้าทูลบอกวัยแด่พระราชานั้น ทรงมีวัยเท่ากับ พระเจ้าพิมพิสาร ครั้งนั้น พระราชาตรัสกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระราชา


132

พระพุทธเจ้า

ของพวกท่านดำรงอยู่ในธรรม และทรงมีวัยเท่ากับเรา พวกท่านพึงอาจเพื่อทำพระราชา

ของพวกท่านให้เป็นมิตรกับเราหรือ อาจ พระพุทธเจ้าข้า พระราชาทรงสละภาษีแก่พ่อค้า เหล่านั้น ทรงให้พระราชทานเรือนแล้วตรัสว่า ในเวลาขายสินค้าแล้วพวกท่านประสงค์จะ กลับไป พวกท่านพึงพบเราแล้วจึงกลับไป ดังนี้ พ่อค้าเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้า พระราชาในเวลากลับ พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงกลับไป พวกท่านจงทูลถามถึงความ ไม่มีพระโรคบ่อย ๆ ตามคำของเราแล้วทูลว่า พระราชาทรงพระประสงค์มิตรภาพกับ พระองค์ พ่อค้าเหล่านั้นทูลรับพระราชโองการแล้ว ไปรวบรวมสินค้า รับประทานอาหารเช้า แล้วเข้าไปถวายบังคมพระราชา พระราชาตรัสถามว่า แนะพนาย พวกท่านไปไหนไม่เห็น หลายวันแล้ว พวกพ่อค้าทูลบอกเรื่องราวทั้งหมดแด่พระราชา พระราชาทรงมีพระหฤทัย ยินดีว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เป็นการดีเช่นกับเรา พระราชาในมัชฌิมประเทศได้มิตรแล้ว เพราะอาศัยพวกท่าน ในเวลาต่อมา พ่อค้าทั้งหลายแม้อยู่ในพระนครราชคฤห์ ก็ไปสู่พระนครตักศิลา พระเจ้ า ปุ ก กุ ส าติ ต รั ส ถามพ่ อ ค้ า เหล่ า นั้ น ผู้ ถื อ บรรณาการมาว่ า พวกท่ า นมาจากไหน

พระราชาทรงสดั บ ว่ า จากพระนครราชคฤห์ จึ ง ตรั ส ว่ า พวกท่ า นมาจากพระนครของ

พระสหายเรา อย่างนัน้ พระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสถามถึงความไม่มพี ระโรคว่า พระสหาย

ของเราไม่มีพระโรคหรือ แล้วทรงให้ตีกลองประกาศว่า จำเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อค้าเดินเท้า หรือพวกเกวียนเหล่าใดมาจากพระนครของพระสหายเรา จำเดิมแต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง

เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงให้เรือนเป็นที่พักอาศัยและเสบียงจากพระคลังหลวง จงสละ ภาษี อย่าทำอันตรายใด ๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้น ดังนี้ ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงให้ตีกลอง ประกาศเช่นนี้ เหมือนกันในพระนครของพระองค์ ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงส่งพระบรรณาการแก่พระเจ้าปุกกุสาติว่า รัตนะ ทั้งหลายมีแก้วมณีและมุกดาเป็นต้นย่อมเกิดในปัจจันตประเทศ รัตนะใดที่ควรเห็นหรือ ควรฟัง เกิดขึ้นในราชสมบัติแห่งพระสหายของเรา ขอพระสหายเราจงอย่าทรงตระหนี่ใน รัตนะนั้น ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติก็ทรงส่งพระราชบรรณาการตอบไปว่า ธรรมดามัชฌิม ประเทศเป็นมหาชนบท รัตนะเห็นปานนี้ใด ย่อมเกิดในมหาชนบทนั้น ขอพระสหายของเรา จงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น เมื่อกาลล่วงไป ๆ อย่างนี้ พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตร แน่นแฟ้น เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงทำการตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิด


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

133

แก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน ได้ยินว่า พระราชาทรงได้ผ้ากัมพล ๘ ผืน อันหาค่ามิได้

มีห้าสี พระราชานั้นทรงพระดำริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหาย

ของเรา ทรงส่งอำมาตย์ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านจงให้ทำผอบแข็งแรง ๘ ผอบ เท่าก้อนครั่ง ใส่ผ้ากัมพลเหล่านั้นในผอบเหล่านั้น ให้ประทับด้วยครั่งพันด้วยผ้าขาว ใส่ใน หีบพันด้วยผ้า ประทับด้วยตราพระราชลัญจกรแล้วถวายแก่พระสหายของเรา และได้ พระราชทานพระราชสาส์ น ว่ า บรรณาการนี้ อั น เราผู้ อ ำมาตย์ เ ป็ น ต้ น แวดล้ อ มแล้ ว ใน ท่ามกลางพระนคร อำมาตย์เหล่านั้นไปทูลถวายแด่พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้ า พิ ม พิ ส ารนั้ น ทรงสดั บ พระราชสาส์ น ทรงให้ ตี ก ลองประกาศว่ า ชน

ทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นต้นจงประชุม ดังนี้ อันอำมาตย์เป็นต้นแวดล้อมแล้วในท่ามกลาง พระนคร ทรงมีพระเศวตฉัตรกั้นประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์อันประเสริฐ ทรงทำลายรอย ประทับ เปิดผ้าออก เปิดผอบ แก้เครื่องภายใน ทรงเห็นก้อนครั่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา คงสำคัญว่า พระสหายของเรามีพระราชหฤทัยรุ่งเรือง จึงทรงส่งพระราชบรรณาการนี้ไปให้ ดังนี้ ทรงจับก้อนอันหนึ่งแล้วทรงทุบด้วยพระหัตถ์ พิจารณาดูก็ไม่ทรงทราบว่า ภายในมีเครื่องผ้า ลำดับนั้น ทรงตีก้อนครั่งนั้นที่เชิงพระราช บัลลังก์ ทันใดนั้น ครั่งก็แตกออก พระองค์ทรงเปิดผอบด้วยพระนขา ทรงเห็นกัมพล รั ต นะภายในแล้ ว ทรงให้ เ ปิ ด ผอบทั้ ง หลาย แม้ น อกนี้ แม้ ทั้ ง หมดก็ เ ป็ น ผ้ า กั ม พล

ลำดับนั้น ทรงให้คลี่ผ้ากัมพลเหล่านั้น ผ้ากัมพลเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยสี ถึงพร้อมด้วย ผัสสะ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก มหาชนทั้งหลาย เห็นแล้วกระดิกนิ้ว ทำการยกผ้า เล็ก ๆ ขึ้น พากันดีใจว่า พระเจ้าปุกกุสาติ พระสหายไม่เคยพบเห็นของพระราชาแห่ง

พวกเรา ไม่ทรงเห็นกันเลย ยังทรงส่งพระราชบรรณาการเห็นปานนี้ สมควรแท้เพื่อทำ

พระราชาเห็นปานนี้ให้เป็นมิตร พระราชาทรงให้ตีราคาผ้ากัมพลแต่ละผืน ผ้ากัมพลทุกผืน หาค่ามิได้ ในผ้ากัมพลแปดผืนนั้น ทรงถวายสี่ผืนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงไว้ใช้สี่ผืน ในพระราชวั ง ของพระองค์ แต่ นั้ น ทรงพระราชดำริ ว่ า การที่ เ ราเมื่ อ จะส่ ง ภายหลั ง

ก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่า มิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ ก็ในกรุงราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ ไม่มีหามิได้ เพราะพระราชาทรงมีบญ ุ มาก ก็อกี ประการหนึง่ จำเดิมแต่กาลทีพ่ ระองค์ทรงเป็นพระโสดาบัน แล้ว เว้นจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่า สามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้

เกิดขึ้นได้ พระองค์จึงทรงปรารภเพื่อทรงเลือกรัตนะ


134

พระพุทธเจ้า

ธรรมดารัตนะ มี ๒ อย่างคือ มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ในรัตนะ ๒

อย่างนั้น รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ได้แก่ ทองและเงินเป็นต้น ที่มีวิญญาณได้แก่สิ่งที่เนื่องกับ อินทรีย์ รัตนะที่ไม่มีวิญญาณเป็นเครื่องใช้ ด้วยสามารถแห่งเครื่องประดับเป็นต้นของ รัตนะที่มีวิญญาณนั้นเทียว ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะที่มีวิญญาณประเสริฐที่สุด รัตนะ แม้มีวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ ดิรัจฉานรัตนะ มนุษยรัตนะ ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น ดิรัจฉานรัตนะ ได้แก่ ช้างแก้วและม้าแก้ว ดิรัจฉานรัตนะแม้นั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ ของมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น มนุษยรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการ ฉะนี้ แม้มนุษยรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อิตถีรัตนะ ปุริสรัตนะ ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น

แม้อิตถีรัตนะ ซึ่งเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นอุปโภคของบุรุษแล ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ ปุริสรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้ แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อาคาริก รัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑ แม้ในอาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการ สามเณรที่บวชในวันนี้ ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์ ในรัตนะทั้ง ๒ อย่างแม้นี้ อนาคาริก รัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ เสขรัตนะ ๑ อเสขรัตนะ ๑ ในอนาคาริกรัตนะ ๒ อย่างนั้น พระเสขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสขะ ในรัตนะ ๒ อย่ า งแม้ นี้ อเสขรั ต นะเท่ า นั้ น ประเสริ ฐ ที่ สุ ด อเสขรั ต นะแม้ นั้ น ก็ มี ๒ อย่ า งคื อ

พุทธรัตนะ สาวกรัตนะ ในอเสขรัตนะนั้น สาวกรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของพุทธรัตนะ ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้พุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้ แม้พุทธรัตนะก็ มี ๒ อย่างชื่อ ปัจเจกพุทธรัตนะ สัพพัญญูพุทธรัตนะ ในพุทธรัตนะนั้น ปัจเจกพุทธ รั ต นะแม้ ตั้ ง แสน ก็ ไ ม่ ถึ ง ส่ ว นของสั พ พั ญ ญู พุ ท ธเจ้ า ในรั ต นะ ๒ อย่ า งแม้ นี้

สัพพัญญูพุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้ ก็ขึ้นชื่อว่ารัตนะที่เสมอด้วย พุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้น จึงทรงพระราชดำริว่า เราจักส่ง รัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้น แก่พระสหายของเรา จึงตรัสถามพวกพ่อค้าชาวนครตักศิลา ว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย รัตนะ ๓ อย่างนี้คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ย่อมปรากฏในชนบท ของพวกท่านหรือ ข้าแต่มหาราช แม้เสียงก็ไม่มีในชนบทนั้น ก็การเห็นจักมีแต่ที่ไหนเล่า พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เราอาจเพื่อจะส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชน แต่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบททั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจ เสด็จไป พึงอาจส่งพระมหาสาวกมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่เราฟังมา


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

135

ว่ า พระเถระทั้ ง หลายอยู่ ใ นปั จ จั น ตชนบท สมควรเพื่ อ ส่ ง คนทั้ ง หลายไปนำพระเถระ

เหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้ตนแล้วบำรุงเทียว เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป ครั้นส่ง สาส์นไปแล้วด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็นเหมือนไปแล้ว เราจักส่งสาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ ทรงพระราชดำริอีกว่า เราให้ทำแผ่นทองคำ

ยาวสี่ศอก กว้างประมาณหนึ่งคืบ หนาพอควร ไม่บางนัก ไม่หนานัก แล้วจักลิขิตอักษร ลงในแผ่นทองคำนั้นในวันนี้ ทรงสนานพระเศียรตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถ ทรงเสวยพระกระยาหารเช้า ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลาและอาภรณ์ออก ทรงถือชาดสีแดง ด้วยพระขันทอง ทรงปิดพระทวารทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง เสด็จขึ้นพระปราสาททรงเปิด พระสีหบัญชรด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ (ในที่โล่ง เช่นดาดฟ้าเป็นต้น) ทรงลิขิตพระอักษรลงในแผ่นทองคำ ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศก่อนว่า พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝกึ คนอย่างยอดเยีย่ ม เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทงั้ หลาย ทรงตืน่ แล้ว ทรงจำแนกพระธรรม เสด็จอุบัติในโลกนี้ ดังนี้ ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศอย่างนี้ ทรงจุติ จากชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การเปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรง อยู่ ใ นพระครรภ์ ม ารดา ชื่ อ นี้ ไ ด้ มี แ ล้ ว เมื่ อ ทรงอยู่ ค รอบครองเรื อ น ชื่ อ นี้ ไ ด้ มี แ ล้ ว

เมื่ อ เสด็ จ ออกพระมหาภิ เ นษกรมณ์ อ ย่ า งนี้ ทรงเริ่ ม ตั้ ง ความเพี ย รอั น ยิ่ ง ใหญ่ อ ย่ า งนี้

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้ เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์แล้ว ทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เป็นอันมีการเปิดโลก แล้วอย่างนี้ ชือ่ ว่ารัตนะเห็นปานนี้ ไม่มใี นโลก พร้อมกับเทวโลก ดังนี้ ทรงลิขติ พระพุทธคุณ ทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้ เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดี

แล้ว ... อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐาน ๔ ... มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ชื่อว่า พระธรรมอัน


136

พระพุทธเจ้า

พระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณ

ทั้งหลายโดยเอกเทศว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใดว่า ให้ผลใน ลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็น รัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้ ต่ อ แต่ นั้ น เมื่ อ จะทรงชมเชยพระสั ง ฆรั ต นะที่ ส ามว่ า พระสงฆ์ ส าวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ... เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิตจุลศีล มั ช ฌิ ม ศี ล และมหาศี ล โดยเอกเทศว่ า ธรรมดากุ ล บุ ต รทั้ ง หลายฟั ง ธรรมกถาของ

พระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้ บางพวกละเศวตฉัตรบวช บางพวกละความเป็นอุปราชบวช บางพวกละตำแหน่งทั้งหลายมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นบวช ก็แล ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญ ปฏิบัติอย่างนี้ ทรงลิขิตการสำรวมในทวารหก สติสัมปชัญญะ ความยินดีในการเจริญ สันโดษด้วยปัจจัย ๔ การละนิวรณ์บริกรรมฌานและอภิญญา กรรมฐาน ๓๘ ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยเอกเทศ ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน ๑๖ ประการ โดยพิสดารเทียว ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า ชื่อว่า พระสงฆ์สาวกของ พระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลาย เห็นปานนี้และเห็นปานนี้ บุ ค คลเหล่ า ใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อั น สั ต บุ รุ ษ ทั้ ง หลาย สรรเสริ ญ แล้ ว บุ ค คลเหล่ า นั้ น ควรแก่ ทั ก ษิ ณ าทาน เป็ น สาวกของ

พระสุคต ทาน ทั้งหลายอันบุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมี

ผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ สวัสดีจงมี ทรงลิขิตว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นศาสนานำสัตว์ออก จากทุกข์ ถ้าพระสหายของเราจะอาจไซร้ ขอได้เสด็จออกทรงผนวชเถิด ดังนี้ ทรงม้วน แผ่นทองคำ พันด้วยผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ทรงใส่ในหีบอันแข็งแรง ทรงวางหีบนั้นในหีบ ทองคำ ทรงวางหีบทองคำลงในหีบเงิน ทรงวางหีบเงินลงในหีบแก้วมณี ทรงวางหีบแก้ว มณีลงในหีบแก้วประพาฬ ทรงวางหีบแก้วประพาฬลงในหีบทับทิม ทรงวางหีบทับทิมลงใน


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

137

หีบแก้วมรกต ทรงวางหีบแก้วมรกตลงในหีบแก้วผลึก ทรงวางหีบแก้วผลึกลงในหีบงา ทรงวางหี บ งาลงในหี บ รั ต นะทุ ก อย่ า ง ทรงวางหี บ รั ต นะทุ ก อย่ า งลงในหี บ เสื่ อ ลำแพน

ทรงวางหีบเสื่อลำแพนลงในผอบแข็งแรง ทรงวางผอบแข็งแรงลงในผอบทองอีก ทรงนำไปโดยนัยก่อนนั้นเทียว ทรงวาง

ผอบที่ทำด้วยรัตนะทุกอย่างลงในผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน แต่นั้นทรงวางผอบที่ทำด้วย

เสื่อลำแพนลงในหีบที่ทำด้วยไม้แก่น ทรงนำไปโดยนัยที่กล่าวแล้วอีกนั้นเทียว ทรงวางหีบ

ที่ทำด้วยรัตนะทุกชนิดลงในหีบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน ข้างนอกทรงพันด้วยผ้าประทับตรา

พระราชลัญจกร ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงตกแต่งทางในสถานที่ซึ่งอยู ่ ในอำนาจของเราทำให้กว้างแปดอุสภะ สถานที่สี่อุสภะ ต้องให้งามเสมอ ท่านทั้งหลายจง ตกแต่งสถานที่สี่อุสภะ ในท่ามกลางด้วยอานุภาพของพระราชา แต่นั้น ทรงส่งทูตด่วน

แก่ข้าราชการภายในว่า จงประดับช้างมงคล จัดบัลลังก์บนช้างนั้นยกเศวตฉัตร ทำถนน พระนครให้สวยงาม ประดับประดาอย่างดี ด้วยธงปฏากอันงดงาม ต้นกล้วย หม้อน้ำ

ที่เต็ม ของหอม ธูป และดอกไม้เป็นต้น จงทำบูชาเห็นปานนี้ ในสถานที่ครอบครองของ ตน ๆ ดังนี้ ส่วนพระองค์ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อันกองกำลังพร้อมกับ ดนตรีทุกชนิดแวดล้อม ทรงพระราชดำริว่า เราจะส่งบรรณาการไป ดังนี้ เสด็จไปจนสุด พระราชอาณาเขตของพระองค์แล้ว ได้พระราชทานพระราชสาส์นสำคัญแก่อำมาตย์แล้ว ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นพ่ อ พระเจ้ า ปุ ก กุ ส าติ พ ระสหายของเรา เมื่ อ จะทรงรั บ บรรณาการนี้

อย่ า รั บ ในท่ า มกลางตำหนั ก นางสนมกำนั ล จงเสด็ จ ขึ้ น พระปราสาทแล้ ว ทรงรั บ เถิ ด

ครั้นพระราชทานพระราชสาส์นนี้แล้ว ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาเสด็จไปสู่ปัจจันต ประเทศ ทรงนมัสการด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้วเสด็จกลับ ส่วนข้าราชการภายใน

ทั้งหลายตกแต่งทางโดยทำนองนั้นเทียว นำไปซึ่งพระราชบรรณาการ ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติทรงตกแต่งทางโดยทำนองนั้น ตั้งแต่รัชสีมาของพระองค์ ทรงให้ประดับประดาพระนคร ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระราชบรรณาการ พระราช บรรณาการ เมื่ อ ถึ ง พระนครตั ก ศิ ล า ได้ ถึ ง ในวั น อุ โ บสถ ฝ่ า ยอำมาตย์ ผู้ รั บ พระราช บรรณาการไปทูลบอกพระราชสาส์นที่กล่าวแต่พระราชา พระราชาทรงสดับพระราชสาส์น นัน้ แล้ว ทรงพิจารณากิจควรทำแก่อำมาตย์ทงั้ หลายผูม้ าพร้อมกับพระราชบรรณาการ ทรงถือ

พระราชบรรณาการ เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทแล้วตรัสว่า ใคร ๆ อย่าเข้ามาในที่นี้ ทรงให้ ทำการรั ก ษาที่ พ ระทวาร ทรงเปิ ด พระสี ห บั ญ ชร ทรงวางพระราชบรรณาการบนที ่


138

พระพุทธเจ้า

พระบรรทมสูง ส่วนพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ทรงทำลายรอยประทับ ทรงเปลื้อง เครื่ อ งห่ อ หุ้ ม เมื่ อ ทรงเปิ ด โดยลำดั บ จำเดิ ม แต่ หี บ เสื่ อ ลำแพน ทรงเห็ น หี บ ซึ่ ง ทำด้ ว ย

แก่นจันทน์ ทรงพระราชดำริว่า ชื่อว่ามหาบริวารนี้ จักไม่มีแก่รัตนะอื่น รัตนะที่ควรฟังได้ เกิดขึ้นแล้วในมัชฌิมประเทศแน่แท้ ลำดับนั้น ทรงเปิดหีบนั้นแล้ว ทรงทำลายรอยประทับ พระราชลัญจนะ ทรงเปิดผ้ากัมพลอันละเอียดทั้งสองข้าง ทรงเห็นแผ่นทองคำ พระองค์ ทรงคลี่ แ ผ่ น ทองคำนั้ น ออก ทรงพระราชดำริ ว่ า พระอั ก ษรทั้ ง หลายน่ า พอใจจริ ง หนอ

มีหัวเท่ากัน มีระเบียบเรียบร้อย มีมุมสี่ ดังนี้ ทรงปรารภเพื่อจะทรงอ่านจำเดิมแต่ต้น พระโสมนัสอันมีกำลังได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ ที่ทรงอ่านแล้วอ่านอีกซึ่งพระพุทธคุณทั้งหลาย ว่า พระตถาคตทรงอุ บั ติ ขึ้ น แล้ ว ในโลกนี้ ขุมพระโลมาเก้าหมื่นเก้าพันขุม ก็มีปลาย

พระโลมาชูชันขึ้น พระองค์ไม่ทรงทราบถึงความที่พระองค์ประทับยืน หรือประทับนั่ง

ลำดับนั้น พระปีติอันมีกำลังอย่างยิ่งได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า เราได้ฟังพระศาสนาที่หา ได้โดยยากนี้ แม้โดยแสนโกฏิกัป เพราะอาศัยพระสหาย พระองค์เมื่อไม่อาจเพื่อทรงอ่าน ต่อไป ก็ประทับนั่งจนกว่ากำลังปีติสงบระงับ แล้วทรงปรารภพระธรรมคุณทั้งหลายต่อไป ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ดังนี้ พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นแม้ ในพระธรรมคุณนั้นเทียว พระองค์ประทับนั่งอีกจนกว่าความสงบแห่งกำลังปีติ ทรงปรารภ พระสั ง ฆคุ ณ ทั้ ง หลายต่ อ ไปว่ า พระสงฆ์ ส าวกเป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ดี ในพระสั ง ฆคุ ณ แม้ นั้ น พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น ทรงอ่านอานาปานสติกัมมัฏฐาน

ในลำดับสุดท้าย ทรงยังฌานหมวดสี่และหมวดห้าให้เกิดขึ้น พระองค์ทรงยังเวลาให้ล่วงไป ด้ ว ยความสุ ข ในฌานนั้ น แหละ ใครอื่ น ย่ อ มไม่ ไ ด้ เ พื่ อ เห็ น มหาดเล็ ก ประจำพระองค์

คนเดียวเท่านั้นย่อมเข้าไปได้ ทรงยังเวลาประมาณกึ่งเดือนให้ผ่านไปด้วยประการฉะนี้ ชาวพระนครทั้ ง หลายประชุ ม กั น ในพระลานหลวง ได้ ท ำการโห่ ร้ อ งตะโกนว่ า จำเดิมแต่วันที่พระราชาทรงรับพระราชบรรณาการแล้ว ไม่มีการทอดพระเนตรพระนคร หรื อ การทอดพระเนตรดู น างฟ้ อ นรำ ไม่ มี ก ารพระราชทานวิ นิ จ ฉั ย พระราชาจงทรง พระราชทานพระราชบรรณาการที่ พ ระสหายส่ ง มาให้ แ ก่ ผู้ รั บ ไปเถิ ด ธรรมดาพระราชา

ทั้งหลาย ย่อมทรงพยายามเพื่อหลอกลวงแม้ด้วยเครื่องบรรณาการ ยึดพระราชสมบัติของ พระราชาบางพระองค์ให้แก่ตน พระราชาของพวกเราทรงทำอะไรหนอ ดังนี้ พระราชา

ทรงสดับเสียงตะโกนแล้วทรงพระราชดำริว่า เราจะธำรงไว้ซึ่งราชสมบัติหรือพระศาสดา ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ประธานและมหาอำมาตย์ของประธานย่อมไม่อาจ เพื่อจะนับความที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราจักธำรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา ดังนี้


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

139

ทรงจับพระแสงดาบที่ทรงวางไว้บนพระที่บรรทม ตัดพระเกศาแล้วทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงยังกำพระเกศาพร้อมกับพระจุฑามณีให้ตกลงในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายถือเอา กำเกศานี้ครองราชสมบัติเถิด มหาชนยกกำพระเกศานั้นขึ้นแล้ว ร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชาทั้งหลายชื่อว่าได้พระราชบรรณาการจากสำนักพระสหายแล้ว ย่ อ มเป็ น เช่ น กั บ พระองค์ พระเกศาและพระมั ส สุ ป ระมาณสององคุ ลี แ ม้ ข องพระราชา

ได้มีแล้ว ได้ยินว่า พระเกศาและพระมัสสุเกิดเป็นเช่นกับบรรพชาของพระโพธิสัตว์นั้นแล ลำดับนั้น ทรงส่งมหาดเล็กประจำพระองค์ให้นำผ้ากาสาวพัสตร์สองผืน และ บาตรดินจากในตลาด ทรงอุทิศต่อพระศาสดาว่า พระอรหันต์เหล่าใดในโลก เราบวชอุทิศ พระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง

ทรงสะพายบาตร ทรงถื อ ธารพระกร ทรงจงกรมไปมาสองสามครั้ ง ในพื้ น ใหญ่ ด้ ว ย

พระราชดำริ ว่ า บรรพชาของเรางามหรื อ ไม่ ดั ง นี้ ทรงทราบว่ า บรรพชาของเรางาม

ดังนี้แล้ว ทรงเปิดพระทวาร เสด็จลงจากพระปราสาท ก็ประชาชนทั้งหลายเห็นนางฟ้อนผู้ ยืนที่ประตูทั้งสามเป็นต้น แต่จำพระราชานั้นซึ่งเสด็จลงมาไม่ได้ ได้ยินว่า พากันคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มาเพื่อแสดงธรรมกถาแก่พระราชาของพวกเรา แต่ครั้นขึ้นบน พระปราสาทแล้ว เห็นแต่ที่ประทับยืนและที่ประทับนั่งเป็นต้นของพระราชา รู้ว่า พระราชา เสด็จไปเสียแล้ว จึงพากันร้องพร้อมกันทีเดียว เหมือนชนในเรือกำลังอับปางจมน้ำใน ท่ามกลางสมุทร ฉะนั้น เสนาทั้งสิบแปด ชาวนครทั้งหมดและพลกายทั้งหลายพากัน แวดล้อมกุลบุตร ผู้สักว่าเสด็จลงสู่พื้นแผ่นดินแล้ว ร้องเสียงดัง ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลแด่กุลบุตรนั้นว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดาพระราชา

ทั้ ง หลายในมั ช ฌิ ม ประเทศทรงมี ม ายามาก ขอพระองค์ ไ ด้ โ ปรดส่ ง พระราชสาส์ น ไปว่ า

ขึ้นชื่อว่าพุทธรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหรือไม่ ทรงทราบแล้วจักเสด็จไป ขอเดชะ

ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด เรากับพระสหายนั้นไม่มีความต่างกัน พวกเจ้าจงหยุดเถิด อำมาตย์ เ หล่ า นั้ น ก็ ติ ด ตามเสด็ จ นั้ น เที ย ว กุ ล บุ ต รทรงเอาธารพระกรขี ด เป็ น ตั ว หนั ง สื อ

ตรัสว่า ราชสมบัตินี้เป็นของใคร ของพระองค์ ขอเดชะ ผู้ใดทำตัวหนังสือนี้ในระหว่าง บุ ค คลนั้ น พึ ง ให้ เ สวยพระราชอำนาจ พระเทวี พ ระนามว่ า สี ว ลี เมื่ อ ไม่ ท รงอาจเพื่ อ ทำ

พระอักษรที่พระโพธิสัตว์กระทำแล้วในมหาชนกชาดก ให้มีระหว่างก็เสด็จกลับไป มหาชน ก็ ไ ด้ ไ ปตามทางที่ พ ระเทวี เ สด็ จ ไป ก็ ม หาชนไม่ อ าจเพื่ อ ทำพระอั ก ษรนั้ น ให้ มี ใ นระหว่ า ง

ชาวนครทำพระอักษรนี้ไว้เหนือศีรษะกลับไปแล้ว มหาชนคิดว่า กุลบุตรนี้จักให้ไม้สีฟัน หรือน้ำบ้วนปากในสถานที่เราไปแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรโดยที่สุดแม้เศษผ้าก็หลีกไป


140

พระพุทธเจ้า

ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาของเราเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชาพระองค์เดียว เสด็จไปพระองค์เดียว เราละอายต่อพระศาสดา ได้ยินว่า

พระศาสดาของเราทรงบรรพชาแล้ว ไม่เสด็จขึ้นยาน และไม่ทรงสวมฉลองพระบาทโดยที่ สุดแม้ชั้นเดียว ไม่ทรงกั้นร่มกระดาษ มหาชนขึ้นต้นไม้ กำแพง และป้อมเป็นต้นแลดูว่า พระราชาของเราเสด็จไป ดังนี้ กุลบุตรคิดว่า เราเดินทางไกล ไม่อาจเพื่อจะไปทางหนึ่งได้ จึ ง เสด็ จ ติ ด ตามพ่ อ ค้ า พวกหนึ่ ง เมื่ อ กุ ล บุ ต รผู้ สุ ขุ ม าลชาติ ไ ปในแผ่ น ดิ น ที่ ร้ อ นระอุ

พื้นพระบาททั้งสองข้างก็กลัดหนองแตกเป็นแผล ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้น ครั้นเมื่อพวกพ่อค้าตั้งค่ายพักนั่งแล้ว กุลบุตรก็ลงจากทาง นั่ง ณ โคนต้นไม้

ต้นหนึ่ง ชื่อว่าผู้ทำบริกรรมเท้าหรือนวดหลังในที่นั่งไม่มี กุลบุตรเข้าอานาปานจตุตถฌาน ข่มความลำบากในการเดินทาง ความเหน็ดเหนื่อยและความเร่าร้อน ยังเวลาให้ผ่านไปด้วย ความยินดีในฌาน ในวันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณขึ้นแล้วทำการปฏิบัติสรีระ เดินติดตามพวก

พ่อค้าอีก ในเวลาอาหารเช้า พวกพ่อค้ารับบาตรของกุลบุตรแล้ว ใส่ขาทนียะและโภชนียะ ลงในบาตรถวาย ขาทนียะและโภชนียะนั้นเป็นข้าวสารดิบบ้าง เศร้าหมองบ้าง แข็งเสมอ กับก้อนกรวดบ้าง จืด และเค็มจัดบ้าง กุลบุตรพิจารณาสถานที่พัก บริโภคขาทนียะและ โภชนียะนั้นดุจอมฤตโดยทำนองนั้น เดินไปสิ้นทาง ๒๐๐ โยชน์ ต่ำกว่า ๘ โยชน์

(๑๙๒ โยชน์) แม้จะเดินไปใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันก็ตาม แต่ก็ไม่ถามว่า พระศาสดา ประทับอยู่ ณ ที่ไหน เพราะเหตุไร เพราะเคารพในพระศาสดา และเพราะอำนาจแห่ง

พระราชสาส์ น ที่ พ ระราชาทรงส่ ง ไป ก็ พ ระราชาทรงส่ ง พระราชสาส์ น ไป ทรงทำดุ จ

พระศาสดาทรงอุ บั ติ ใ นกรุ ง ราชคฤห์ ว่ า พระตถาคตทรงอุ บั ติ ใ นโลกนี้ เพราะฉะนั้ น

จึงไม่ถาม เดินทางไปสิ้น ๔๕ โยชน์ ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน ท่านมาจากที่ไหนขอรับ จากอุตตรประเทศนี้ พระนครชื่อว่าสาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราชคฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น กุ ล บุ ต รนั้ น คิ ด ว่ า บั ด นี้ ไ ม่ ใ ช่ ก าล เราไม่ อ าจกลั บ วั น นี้ เ ราพั ก อยู่ ใ นที่ นี้ ก่ อ น


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

141

พรุ่งนี้จักไปสู่สำนักพระศาสดา แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาลพัก

ณ ที่ไหน พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน ลำดับนั้น กุลบุตรนั้นขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่ การพักอาศัยในศาลาของนายช่างหม้อนั้น [๖๗๕] ลำดั บ นั้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า เสด็ จ เข้ า ไปสู่ โ รงช่ า งหม้ อ แล้ ว ทรงลาด

สันถัตหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรงดำรงพระสติมั่น เฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลย ราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรถามดูบ้าง ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านบวชอุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจ ธรรมของใคร [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล

มี กิ ต ติ ศั พ ท์ ง ามฟุ้ ง ไปอย่ า งนี้ ว่ า แม้ เ พราะเหตุ ดั ง นี้ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั้ น

เป็นผูไ้ กลจากกิเลส ตรัสรูเ้ องโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รูแ้ จ้งโลก เป็ น สารถี ผู้ ฝึ ก บุ รุ ษ ที่ ค วรฝึ ก อย่ า งหาคนอื่ น ยิ่ ง กว่ า มิ ไ ด้ เป็ น ครู ข องเทวดาและมนุ ษ ย์

ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจ ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ปุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบททางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่นั่น พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็น แล้วจะรู้จักไหม


142

พระพุทธเจ้า

ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเลย ถึงเห็น แล้วก็ไม่รู้จัก [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ

เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนี้จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่า ปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่

เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ ไปจักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่งโดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อ เราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วย แสนกั ป เพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ก ารสงเคราะห์ ช นเท่ า นั้ น เราจั ก ทำการสงเคราะห์ แ ก่ กุ ล บุ ต ร

ปุ ก กุ ส าติ นั้ น ดั ง นี้ ทรงทำการปฏิ บั ติ พ ระสรี ร ะ แต่ เ ช้ า ตรู่ มี พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ แ วดล้ อ ม

เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงระงับความลำบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระดำริว่า กุลบุตรได้ทำกิจที่ทำได้ยาก เพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคนเดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์ เสด็จออกไป เพียงพระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน ทรงพระดำริ อีกว่า กุลบุตรละอายต่อเรา ไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า รถ และวอทอง เป็นต้น โดยที่สุด ไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษออกไป แม้เราก็ควรไปด้วย เท้ า เท่ า นั้ น ดั ง นี้ จึ ง เสด็ จ ไปด้ ว ยพระบาท พระองค์ ท รงปกปิ ด พระพุ ท ธสิ ริ นี้ คื อ

อนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุ รูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญที่หมอกเมฆปกปิดไว้ ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จ ไปได้ ๔๕ โยชน์ ในเวลาพระอาทิตย์ตก เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที ่ กุ ล บุ ต รเข้ า ไปแล้ ว นั้ น แล ท่ า นหมายถึ ง ศาลาของนายช่ า งหม้ อ นั้ น จึ ง กล่ า วว่ า ก็ โ ดย

สมั ย นั้ น แล กุ ล บุ ต รชื่ อ ว่ า ปุ ก กุ ส าติ มี ศ รั ท ธาออกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต อุ ทิ ศ


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

143

พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปพักในนิเวศน์ของนายช่างหม้อนั้นก่อน ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทรงข่มขู่ว่า เราเป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปยังศาลาของนายช่างหม้อ ประทับยืนที่ประตูนั้นแล เมื่อจะ ให้กุลบุตรทำโอกาส จึงตรัสว่า สเจ เต ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น บทว่า อุรุทฺทํ ได้แก่ สงัดไม่คับแคบ บทว่า วิหรตายสฺมายถาสุขํ ความว่า กุลบุตรทำโอกาสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่ เป็นสุขตามอิริยาบถที่มีความผาสุกเถิด ก็กุลบุตรละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์แล้วบวช

จักตระหนี่ศาลาของนายช่างหม้อที่คนอื่นทอดทิ้งเพื่อพรหมจารีอื่นหรือ ก็โมฆะบุรุษบาง พวกบวชในศาสนาแล้ ว ถู ก ความตระหนี่ ทั้ ง หลายมี ค วามตระหนี่ เ พราะอาวาสเป็ น ต้ น ครอบงำ ย่ อ มตะเกี ย กตะกายเพราะอาวาสของบุ ค คลเหล่ า อื่ น ว่ า สถานที่ อ ยู่ ข องตน

เป็นกุฏิของเรา เป็นบริเวณของเรา ดังนี้ บทว่า นิสีทิ ความว่า พระโลกนาถทรงสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ทรงละพระคันธกุฎี

เป็นเช่นกับเทพวิมาน ทรงปูลาดสันถัตคือหญ้า ในศาลาช่างหม้อ ซึ่งมีขี้เถ้าเรี่ยราดไปทั่ว สกปรกด้วยภาชนะแตก หญ้าแห้ง ขี้ไก่และขี้สุกรเป็นต้น เป็นเช่นกับที่ทิ้งขยะ ทรงปู

ปังสกุลจีวรประทับนั่ง ดุจเสด็จเข้าพระมหาคันธกุฎี อันมีกลิ่นทิพย์เช่นกับเทพวิมานแล้ว ประทับนั่งฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในพระมหาสัมมตวงศ์อันไม่เจือปน แม้กุลบุตรก็ เจริญแล้วในขัตติยครรภ์ แม้พระผูม้ พี ระภาคเจ้าก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินหิ าร แม้กลุ บุตร ก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ต่างก็ทรงสละราชสมบัต ิ ทรงผนวช แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรรณะดุจทอง แม้กุลบุตรก็มีวรรณะดุจทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสอง ก็ ท รงถึ ง พร้ อ มด้ ว ยพระอภิ นิ ห าร ทั้ ง สองก็ ท รงผนวชจากราชตระกู ล ทั้ ง สองทรงมี

พระวรรณะดุจทอง ทั้งสองทรงมีลาภคือสมาบัติ เสด็จเข้าสู่ศาลาของช่างหม้อแล้วประทับนั่ง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ศาลาช่างหม้อจึงงดงามอย่างยิ่ง พึงนำสถานที่ทั้งหลาย เป็นต้นว่า ถ้ำที่พญาสัตว์ทั้งสองมีสีหะเป็นต้น เข้าไปแสดงเปรียบเทียบเถิด


144

พระพุทธเจ้า

ก็ในบุคคลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังแม้พระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า

เราเป็นสุขุมาลชาติ เดินทางมาสิ้น ๔๕ โยชน์ โดยเวลาหลังภัตเดียว ควรสำเร็จสีหไสยา

สักครู่ก่อนให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง ดังนี้ ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติเทียว ฝ่ายกุลบุตร ก็ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราเดินทางมาสิ้น ๑๙๒ โยชน์ ควรนอนพักบรรเทาความเหนื่อยใน การเดินทางสักครู่ก่อน ก็นั่งเข้าอานาปานจตุตถฌานแล ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัตินั้น จึงกล่าวว่า อถ โข ภควา พหุเทว รตฺตึ เป็นต้น ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่กุลบุตร มิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงไม่ทรงแสดงเล่า ตอบว่า ไม่ทรงแสดงเพราะเหตุว่า กุลบุตรมีความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางยัง

ไม่สงบระงับ จักไม่อาจเพื่อรับพระธรรมเทศนาได้ ขอให้ความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง นั้นของกุลบุตรสงบระงับก่อน อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ธรรมดานครราชคฤห์เกลื่อนกล่น ด้ ว ยมนุ ษ ย์ ไม่ ส งั ด จากเสี ย ง ๑๐ อย่ า ง เสี ย งนั้ น จะสงบโดยประมาณสองยามครึ่ ง พระองค์ทรงรอการสงบเสียงนั้นจึงไม่ทรงแสดง นั้นไม่ใช่การณ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสามารถเพื่อยังเสียงแม้ประมาณพรหมโลกให้สงบระงับได้ด้วยอานุภาพของพระองค์ พระองค์ทรงรอความสงบระงับจากความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางก่อน จึงไม่ทรงแสดง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเทว รตฺตึ ได้แก่ ประมาณสองยามครึ่ง บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากผลสมาบัติแล้ว ทรงลื ม พระเนตรที่ ป ระดั บ ประดาด้ ว ยประสาทห้ า อย่ า ง ทรงแลดู ดุ จ ทรงเปิ ด สี ห บั ญ ชร

แก้วมณี ในวิมานทอง ฉะนั้น ลำดับนั้น พระองค์ทรงเห็นกุลบุตรปราศจากการคะนองมือ การคะนองเท้าและ

การสั่นศีรษะ นั่งเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดีแล้ว เหมือนพระพุทธรูปทองไม่หวั่นไหว

เป็นนิตย์ จึงตรัสว่า เอตํ ปาสาทิกํ นุโข เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิโก คือ นำมาซึ่งความเลื่อมใส ก็คำนั้นเป็น

ภาวนปุงสกะ ในคำนั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า กุลบุตรย่อมเป็นไปด้วยอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น อิริยาบถเป็นกิริยาที่น่าเลื่อมใสโดยประการใด ก็ย่อมเป็นไปโดยประการนั้น

ในอิริยาบถทั้ง ๔ อย่าง อิริยาบถ ๓ อย่างย่อมไม่งาม จริงอยู่ ภิกษุเดินไป มือทั้งหลาย


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

145

ย่อมแกว่ง เท้าทั้งหลายย่อมเคลื่อนไป ศีรษะย่อมสั่น กายของภิกษุผู้ยืนย่อมแข็งกระด้าง อิริยาบถแม้ของภิกษุผู้นั้น ย่อมไม่น่าพอใจ แต่เมื่อภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในปัจฉาภัต ปู แ ผ่ น หนั ง มี มื อ และเท้ า ชำระล้ า งดี แ ล้ ว นั่ ง ขั ด สมาธิ อั น ประกอบด้ ว ยสนธิ สี่ นั้ น เที ย ว อิริยาบถ ย่อมงาม ก็กุลบุตรนี้ขัดสมาธินั่งเข้าอานาปานจตุตถฌาน กุลบุตรประกอบด้วย อิริยาบถด้วยประการฉะนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า กุลบุตรน่าเลื่อมใสหนอแล ถามว่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงปริวติ กว่า เอาเถิดเราควรจะถามดูบา้ ง แล้วตรัสถาม เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้บวชอุทิศพระองค์หรือ ตอบว่า ไม่ทรงรู้หามิได้ แต่เมื่อไม่ตรัสถาม ถ้อยคำก็ไม่ตั้งขึ้น เมื่อถ้อยคำไม่ตั้ง ขึ้นแล้ว การแสดงย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามเพื่อเริ่มตั้งถ้อยคำขึ้น บทว่า ทิสฺวาปาหํ น ชาเนยฺยํ ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้พระตถาคตผู้รุ่งโรจน์ ด้วยพุทธสิริว่า นี้พระพุทธเจ้า การรู้นั้นไม่น่าอัศจรรย์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิด พระพุทธรัศมี เสด็จไปด้วยอำนาจของภิกษุผู้บิณฑบาตรูปหนึ่งจึงรู้ได้ยาก ท่านปุกกุสาติ กล่าวสภาพตามเป็นจริงว่า เราไม่รู้ ด้วยประการฉะนี้ ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านปุกกุสาติ ไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแม้ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อด้วยกัน บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเหน็ดเหนื่อยในการ

เดินทางสงบระงับแล้ว ทรงมีพระดำริ บทว่ า เอวมาวุ โ ส ความว่ า กุ ล บุ ต รได้ อ่ า นสั ก ว่ า สาส์ น ที่ พ ระสหายส่ ง ไป

สละราชสมบัติออกบวช ด้วยคิดว่า เราจักได้ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะของพระทศพล

ครั้นบรรพชาแล้ว ก็เดินทางไกลประมาณนี้ ก็ไม่ได้พระศาสดา ผู้ตรัสสักบทว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน กุลบุตรนั้นจักไม่ฟังคำที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรม แก่ท่านโดยเคารพหรือ กุลบุตรนี้เป็นเหมือนนักเลงสุราที่กระหายและเหมือนช้างที่ตกมัน ฉะนัน้ เพราะฉะนัน้ กุลบุตรเมือ่ ปฏิญาณถึงการฟังโดยความเคารพ จึงทูลว่า เอวมาวุโส ดังนี้ บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น แก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง

อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแต่เบื้องต้น


146

พระพุทธเจ้า

จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอก บุพภาคปฏิปทานี้ คือ ศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ประมาณในโภชนะ การประกอบเนือง ๆ ซึง่ ความเพียรเป็นเครือ่ งตืน่ สัทธรรม ๗ ฌาน ๘ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว แต่บุพภาคปฏิปทานั้นของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัส บุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว จริงอย่างนั้น กุลบุตรนั้นอ่านพระสาส์นแล้ว

ขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไป ตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังยานกิจ (การเดินทาง) ให้สำเร็จ แม้สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็ บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะ ตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต เท่านั้นแก่กุลบุตรนั้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉธาตุโร ได้แก่ ธาตุ ๖ มีอยู่ บุรุษไม่มี [๖๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ คนเรานี้ มี ธ าตุ ๖

มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรม ที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลส เครือ่ งสำคัญตนและกิเลสเครือ่ งหมักหมมไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนผี สู้ งบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศ แห่งธาตุวิภังค์หก [๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้นเราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น

เราอาศัยธาตุดังนี้กล่าวแล้ว [๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเรา อาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส ข้อที่เรา กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัสนั้น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียง


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

147

ด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่ ว งนึ ก ธรรมารมณ์ เ ป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง โทมนั ส หน่ ว งนึ ก ธรรมารมณ์ เ ป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง อุ เ บกขา

นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้กล่าวแล้ว [๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควร

ตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีการทำใจให้สงบ (นิพพาน) เป็นธรรมควร ตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น

เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้กล่าวแล้ว [๖๘๓] ก็ ข้ อ ที่ เ รากล่ า วดั ง นี้ ว่ า ไม่ พึ ง ประมาทปั ญ ญา พึ ง ตามรั ก ษาสั จ จะ

พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ [๖๘๔] ดูก่อนภิกษุ ก็ ปฐวีธาตุ เป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี

ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่แข้นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข้นแข็ง กำหนด ได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็ น ปฐวี ธ าตุ ทั้ ง นั้ น พึ ง เห็ น ปฐวี ธ าตุ นั้ น ด้ ว ยปั ญ ญาชอบตามความเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ [๖๘๕] ดูกอ่ นภิกษุ ก็ อาโปธาตุ เป็นไฉน คือ อาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า

อาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็น

อาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา


148

พระพุทธเจ้า

นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัด

อาโปธาตุได้ [๖๘๖] ดูก่อนภิกษุ ก็ เตโชธาตุ เป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน

อาศั ย ตน คื อ ธาตุ ที่ เ ป็ น เครื่ อ งยั ง กายให้ อ บอุ่ น ยั ง กายให้ ท รุ ด โทรม ยั ง กายให้ กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไป ด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน

อาศัยตน นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นเตโชธาตุ ทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัดเตโชธาตุได้ [๖๘๗] ดูก่อนภิกษุ ก็ วาโยธาตุ เป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี

ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ

ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อย ใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล

เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึ ง เห็ น วาโยธาตุ นั้ น ด้ ว ยปั ญ ญาชอบตามความเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ [๖๘๘] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ก็ อากาสธาตุ เป็ น ไฉน คื อ อากาสธาตุ ภ ายในก็ มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กินที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม แล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นอากาส ธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่ น ไม่ ใ ช่ เ รา นั่ น ไม่ ใ ช่ อั ต ตาของเรา ครั้ น เห็ น แล้ ว จะเบื่ อ หน่ า ยอากาสธาตุ

และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

149

[๖๘๙] ต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ วิญญาณ อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล ย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง

ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อ เสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลัง เสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความ เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา

ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวย

อทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ [๖๙๐] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อน ประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้นย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อน

นั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัย ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความ เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุข เวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิด ทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้น

เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตั ว อทุ ก ขมสุ ข เวทนาอั น เกิ ด เพราะอาศั ย ผั ส สะเป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง อทุ ก ขมสุ ข เวทนาย่ อ มดั บ


150

พระพุทธเจ้า

ย่อมเข้าไปสงบต่อนั้น สิ่งที่จะเหลืออยู่อีก ก็คืออุเบกขาอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่ การงานและผ่องแผ้ว [๖๙๑] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ เปรี ย บเหมื อ นนายช่ า งทอง หรื อ ลู ก มื อ ของนายช่ า งทอง

ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้าหลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็น

ระยะ ๆ ทองนั้ น จะเป็ น ของถู ก ไล่ ขี้ แ ล้ ว หมดฝ้ า เป็ น เนื้ อ อ่ อ นสลวยและผ่ อ งแผ้ ว

เขาประสงค์เครื่องประดับชนิดใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่องประดับคอ มาลัยทอง ก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อนั นัน้ แต่ทองนัน้ ได้ ฉันใด ดูกอ่ นภิกษุ ฉันนัน้ เหมือนกันแล เมือ่ เหลืออยูแ่ ต่อเุ บกขาอันบริสทุ ธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนัน้ ย่อม

รูช้ ดั อย่างนีว้ า่ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่องอย่างนี้ เข้าไปสูอ่ ากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา อาศั ย อากาสานั ญ จายตนฌานนั้ น ยึ ด อากาสานั ญ จายตนฌานนั้ น ดำรงอยู่ตลอดกาล ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่องอย่างนี้ เข้าไปสูว่ ญ ิ ญาณัญจายตนฌาน และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัย วิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอา กิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเรา น้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และ เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอด กาลยืนนาน บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสา-นัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้กเ็ ป็นสังขตะ ถ้า เราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสทุ ธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสูว่ ญ ิ ญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมี ธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึง ความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

151

ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อัน บัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุข เวทนานั้นไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบ เสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยเวทนามีกายเป็น ที่ สุ ด เมื่ อ เสวยเวทนามี ชี วิ ต เป็ น ที่ สุ ด ย่ อ มรู้ ชั ด ว่ า กำลั ง เสวยเวทนามี ชี วิ ต เป็ น ที่ สุ ด

และรู้ชัดว่าเบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ [๖๙๒] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลง

อยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมันและไส้อื่น ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ

ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลั ง เสวยเวทนามี ชี วิ ต เป็ น ที่ สุ ด และรู้ ชั ด ว่ า เบื้ อ งหน้ า แต่ สิ้ น ชี วิ ต เพราะตายไปแล้ ว

ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึง พร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่ า งยิ่ ง ด้ ว ยประการนี้ ก็ ปั ญ ญานี้ คื อ ความรู้ ใ นความสิ้ น ทุ ก ข์ ทั้ ง ปวงเป็ น ปั ญ ญาอั น ประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดานั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดาได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั่นแลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือน

ตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น

ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ อันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อย่างยิ่งประการนี้ ก็จาคะนี้คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อมและความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ


152

พระพุทธเจ้า

เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้คือ ความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่ พึ ง ประมาทปั ญ ญา พึ ง ตามรั ก ษาสั จ จะ พึ ง เพิ่ ม พู น จาคะ พึ ง ศึ ก ษาสั น ติ เ ท่ า นั้ น

นั่นเราอาศัยเนื้อความนี้กล่าวแล้ว [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่อง สำคั ญ ตนและกิ เ ลสเครื่ อ งหมั ก หมมไม่ เ ป็ น ไปอยู่ บั ณ ฑิ ต จะเรี ย กเขาว่ า มุ นี ผู้ ส งบแล้ ว

นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น

เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้อง เป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มี สัญญาก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียก บุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้ว แล ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้ อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่อง หมั ก หมมเป็ น ไป ก็ เ มื่ อ กิ เ ลสเครื่ อ งสำคั ญ ตนและกิ เ ลสเครื่ อ งหมั ก หมมไม่ เ ป็ น ไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่ามุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความนี้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท่านจง ทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด [๖๙๔] ลำดั บ นั้ น แล ท่ า นปุ ก กุ ส าติ ท ราบแน่ น อนว่ า พระศาสดาพระสุ ค ต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่าดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

153

[๖๙๕] พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ เอาเถอะ โทษล่ ว งเกิ น ได้ ต้ อ งเธอผู้ มี อ าการโง่ เ ขลา

ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอ เห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ

ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม

ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย ปุ. ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ขอข้ า พระองค์ พึ ง ได้ อุ ป สมบทในสำนั ก ของพระผู้ มี

พระภาคเจ้าเถิด พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ตถาคตทั้ ง หลายจะให้ กุ ล บุ ต รผู้ มี บ าตรและจี ว รยั ง ไม่ ค รบ อุปสมบทไม่ได้เลย [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไปหา บาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ ว่ า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ กุ ล บุ ต รชื่ อ ปุ ก กุ ส าติ ที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส สอนด้ ว ย

พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร [๖๙๗] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรม สมควรแก่ ธ รรมแล้ ว ทั้ ง ไม่ ใ ห้ เ ราลำบากเพราะเหตุ แ ห่ ง ธรรม ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย

ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส พระภาษิ ต นี้ แ ล้ ว ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ต่ า งชื่ น ชมยิ น ดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล ได้ยินว่า การจบพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า การขึ้นแห่งอรุณและ

การเปล่งพระรัศมี ได้มีในขณะเดียวกัน นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระเทศนาแล้ว


154

พระพุทธเจ้า

ทรงเปล่งพระรัศมีมีสี ๖ ประการ นิเวศน์แห่งช่างหม้อทั้งสิ้น ก็โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน

พระฉัพพรรณรัศมีชัชวาลย์แผ่ไปเป็นกลุ่ม ๆ ทำทิศทางทั้งปวงให้เป็นดุจปกคลุมด้วย

แผ่นทองคำ และดุจรุ่งเรืองด้วยดอกไม้ทองคำและรัตนะอันประเสริฐซึ่งมีสีต่าง ๆ เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานว่า ขอให้ชาวพระนครทั้งหลายจงเห็นเรา ดังนี้ ชาวพระนคร ทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างก็บอกต่อ ๆ กันว่า ได้ยินว่า พระศาสดา

เสด็จมาแล้ว นัยว่า ประทับ นั่ง ณ ศาลาช่างหม้อ แล้วกราบทูลแด่พระราชา พระราชา เสด็จไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาแล้วเมื่อไร เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกวานนี้ มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยกรรมอะไร พระเจ้ า ปุ ก กุ ส าติ พ ระสหายของพระองค์ ท รงฟั ง พระราชสาส์ น ที่ ม หาบพิ ต รส่ ง

ไปแล้ว เสด็จออกบวช เสด็จมาเจาะจงอาตมภาพ ล่วงเลยกรุงสาวัตถีเสด็จมาสิน้ ๔๕ โยชน์ เสด็จเข้าสู่ศาลาช่างหม้อนี้แล้วประทับนั่ง อาตมภาพจึงมา เพื่อสงเคราะห์พระสหายของ มหาบพิตร ได้แสดงธรรมกถากุลบุตรทรงแทงตลอดผล ๓ มหาบพิตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พระเจ้าปุกกุสาติประทับอยู่ที่ไหน พระเจ้าข้า พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า พระเจ้ า ปุ ก กุ ส าติ กุ ล บุ ต รทรงขออุ ป สมบทแล้ ว

เสด็จไปเพื่อทรงแสวงหาบาตรและจีวรเพราะบาตรและจีวรยังไม่ครบบริบูรณ์ พระราชาเสด็จไปทางทิศทางที่กุลบุตรเสด็จไป ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเหาะ ไปปรากฏ ณ พระคันธกุฎีในพระเชตวันนั้นแล แม้กุลบุตรเมื่อแสวงหาบาตรและจีวร

ก็ไม่ไปสู่สำนักของพระเจ้าพิมพิสารและของพวกพ่อค้าเดินเท้าชาวเมืองตักศิลา ได้ยินว่า

กุลบุตรนั้นคิดอย่างนี้ว่า การที่เลือกแสวงหาบาตรและจีวรที่พอใจและไม่พอใจในสำนัก

นั้น ๆ แล ไม่สมควรแก่เราผู้ดุจไก่ ในพระนครใหญ่ จำเราจักแสวงหาที่ท่าน้ำ ป่าช้า

กองขยะ และตามตรอก ดังนี้ กุลบุตรปรารภเพื่อแสวงหาเศษผ้าที่กองขยะในตรอกก่อน บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคลูกอ่อนหมุนไปวิ่งมา ขวิดกุลบุตรนั้นผู้ กำลังแลดูเศษผ้าในกองขยะแห่งหนึ่ง ให้กระเด็นขึ้นถึงความตาย กุลบุตรผู้ถูกความหิว


ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา

155

ครอบงำ ถึ ง ความสิ้ น อายุ ใ นอากาศนั่ น เที ย ว ตกลงมานอนคว่ ำ หน้ า ในที่ ก องขยะ

เป็นเหมือนรูปทองคำ ฉะนั้น ก็แลทำกาละแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา พอเกิดแล้วก็ บรรลุพระอรหัต ได้ยินว่า ชนที่สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุ

พระอรหัต สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุผู้เข้าถึงอวิหาพรหมโลกแล้วหลุดพ้น มีราคะและโทสะ สิ้นแล้ว ข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้ามเปลือกตม บ่วง มัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสนยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะของมนุษย์แล้ว

เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปลคัณฑะ ๑

ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑ ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑ ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้ ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงพระราชดำริว่า พระสหายของเราได้อ่านสักว่าสาส์นที่เรา ส่งไป ทรงสละราชสมบัติที่อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จมาทางไกลประมาณเท่านี้ กิจที่ทำได้

ยากอันกุลบุตรได้ทำแล้ว เราจักสักการะเขาด้วยเครื่องสักการะของบรรพชิต ดังนี้แล้ว

จึงตรัสว่า พวกท่านจงไปตามหาพระสหายของเรา ดังนี้ ราชบริวารทั้งหลายที่ถูกส่งไปในที่ นั้น ๆ ได้เห็นกุลบุตรนั้น เห็นเขาล้มลงที่กองขยะ กลับมาทูลแด่พระราชา พระราชาเสด็จ ไปทรงเห็นกุลบุตรแล้ว ทรงคร่ำครวญว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่ได้เพื่อทำสักการะแก่

พระสหายหนอ พระสหายของเราไม่มีที่พึ่งแล้ว ตรัสสั่งให้นำกุลบุตรด้วยเตียง ทรงตั้งไว้ ในโอกาสอันสมควร ตรัสสั่งให้เรียกผู้อาบน้ำให้และช่างกัลบกเป็นต้น โดยให้รู้ถึงการทำ สักการะแก่กุลบุตรผู้ยังไม่ได้อุปสมบท ทรงให้อาบพระเศียรของกุลบุตร ทรงให้นุ่งผ้าอัน บริสุทธิ์เป็นต้น ทรงให้ตกแต่งด้วยเพศของพระราชา ทรงยกขึ้นสู่วอทอง ทรงให้ทำการ บูชาด้วยวัตถุทั้งหลาย มีดนตรี มีของหอมและมาลาทุกอย่างเป็นต้น ทรงนำออกจาก พระนคร ทรงให้ทำมหาจิตกาธานด้วยไม้หอมเป็นอันมาก ครั้นทรงทำสรีรกิจของกุลบุตร แล้ว ทรงนำเอาพระธาตุมาประดิษฐ์ไว้ในพระเจดีย์ จบ ธาตุวิภังคสูตรและอรรถกถา


156

พระพุทธเจ้า

๑๒. พาหิยสูตรและอรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน

ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์ [๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะ อาศัย

อยู่ที่ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีก เร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์หรือ

ผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลก ลำดั บ นั้ น แล เทวดาผู้ เ ป็ น สายโลหิ ต ในกาลก่ อ นของพาหิ ย ทารุ จี ริ ย ะ เป็ น ผู้ อนุ เ คราะห์ หวั ง ประโยชน์ ได้ ท ราบความปริ วิ ต กแห่ ง ใจของพาหิ ย ทารุ จี ริ ย ะด้ ว ยใจ

แล้วเข้าไปหาพาหิยทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์ หรื อ ไม่ เ ป็ น ผู้ ถึ ง อรหั ต ตมรรคอย่ า งแน่ น อน ท่ า นไม่ มี ป ฏิ ป ทาเครื่ อ งให้ เ ป็ น พระอรหั น ต์

หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรค พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็น

ผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ ในชนบททางเหนือมีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น ดูก่อน

พาหิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดง ธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนัน้ แล พาหิยทารุจรี ยิ ะผูอ้ นั เทวดานัน้ ให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะ ในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง


พาหิยสูตรและอรรถกถา

157

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ในที่สุดแสนกัป

แต่ ภั ท รกั ป นี้ กุ ล บุ ต รคนหนึ่ ง กำลั ง ฟั ง พระธรรมเทศนาของพระทศพลที่ หั ง สวดี น คร

เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรปู หนึง่ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผเู้ ป็นขิปปาภิญญา คิดว่า ไฉนหนอ ในอนาคต เราจักบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้ แล้ ว พึ ง เป็ น ผู้ อั น พระศาสดาสถาปนาไว้ ใ นตำแหน่ ง เอตทั ค คะเช่ น นี้ เหมื อ นภิ ก ษุ รู ป นี้

ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญบุญญาธิการอันสมควรแก่ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญอยู่ ตลอดชี วิ ต มี ส วรรค์ เ ป็ น ที่ ไ ปในเบื้ อ งหน้ า ท่ อ งเที่ ย วไปในเทวดาและมนุ ษ ย์ บวชใน

พระศาสนาของพระกัสสปทศพล มีศีลบริบูรณ์ บำเพ็ญสมณธรรม ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่านอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิใน เรื อ นมี ส กุ ล ในพาหิ ย รั ฐ ชนทั้ ง หลายจำเขาได้ ว่ า พาหิ ย ะ เพราะเกิ ด ในพาหิ ย รั ฐ

เขาเจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เอาเรือบรรทุกสินค้ามากมายแล่นไปยังสมุทรกลับไปกลับมา สำเร็จความประสงค์ ๗ ครั้งจึงกลับนครของตน ครั้นครั้งที่ ๘ คิดจะไปสุวรรณภูมิ

จึ ง ขนสิ น ค้ า แล่ น เรื อ ไป เรื อ แล่ น เข้ า มหาสมุ ท รยั ง ไม่ ทั น ถึ ง ถิ่ น ที่ ป รารถนา ก็ อั บ ปางใน ท่ามกลางสมุทร มหาชนพากันเป็นภักษาของปลาและเต่า ส่วนท่านพาหิยะเกาะกระดาน แผ่นหนึง่ กำลังข้ามอยู่ ถูกกำลังคลืน่ ซัดไปทีละน้อย ๆ ในวันที่ ๗ ก็ถงึ ฝัง่ ใกล้ทา่ สุปปารกะ ท่านนอนที่ฝั่งสมุทร โดยรูปกายเหมือนตอนเกิดเพราะผ้าพลัดตกไปในสมุทร บรรเทา ความกระวนกระวายได้แต่เพียงลมหายใจ ลุกขึ้นเข้าไประหว่างพุ่มไม้ด้วยความละอาย

ไม่เห็นอะไร ๆ อย่างอื่นที่จะเป็นเครื่องปิดความละอาย จึงหักก้านไม้รัก เอาเปลือกพัน (กาย) ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เจาะแผ่นกระดานเอา เปลือกไม้ร้อยทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้ ท่านปรากฏว่า ทารุจีริยะ เพราะทรงผ้าคากรอง ทำด้วยไม้ และว่า พาหิยะ ตามชื่อเดิมแม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ท่านถือกระเบื้องอันหนึ่ง เที่ยวขอก้อนข้าวที่ท่าสุปปารกะ โดยทำนองดังกล่าว แล้ว พวกมนุษย์เห็นเข้าจึงคิดว่า ถ้าชื่อว่าพระอรหันต์ยังมีในโลกไซร้ ท่านพึงเป็นอย่างนี้ พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้ จะถือเอาผ้าที่เขาให้ หรือไม่ถือเอาเพราะความมักน้อย ดังนี้ เมื่อจะ ทดลอง จึงน้อมนำผ้าจากที่ต่าง ๆ เข้าไป เขาคิดว่า ถ้าเราจักไม่มาโดยทำนองนี้ไซร้

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเหล่านี้พึงไม่เลื่อมใสเรา ไฉนหนอ เราพึงห้ามผ้าเหล่านี้เสีย อยู่โดย ทำนองนี้แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ ลาภสักการะก็จักเกิดขึ้นแก่เรา เขาคิดอย่างนี้แล้ว จึงตั้งอยู่ ในฐานะเป็นผู้หลอกลวงไม่รับผ้า พวกมนุษย์คิดว่า น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านี้มักน้อยแท้ จึงมีจิตเลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง กระทำสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก ฝ่ายท่านรับ


158

พระพุทธเจ้า

ประทานอาหารแล้ว ได้ไปยังเทวสถานแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล มหาชนก็ไปกับท่านเหมือนกัน ได้ซ่อมแซมเทวสถานนั้นให้ ท่านคิดว่า คนเหล่านี้เลื่อมใสในฐานะเพียงที่เราทรงผ้าคากรอง จึงพากันทำสักการะและสัมมานะอย่างนี้ เราควรจะมีความประพฤติอย่างสูงสำหรับคน

เหล่านี้ จึงเป็นผู้มีบริขารเบา ๆ เป็นผู้มักน้อยอยู่ ฝ่ายท่านเมื่อถูกคนเหล่านั้นยกย่องว่า เป็นพระอรหันต์ ก็สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง การทำสักการะและทำความเคารพ

ก็เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น และท่านก็ได้มีปัจจัยมากมาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ก็สมัยนั้นแล ท่านพาหิยะทารุจีริยะอาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชน สักการะเคารพ ได้ยินว่า เมื่อก่อน ศาสนาของพระกัสสปทศพลจะเสื่อม ภิกษุ ๗ รูปเห็น ประการอันแปลกของสหธรรมิกมีสามเณรเป็นต้น เกิดความสลดใจคิดว่า ศาสนายังไม่ อันตรธานตราบใด เราจะทำที่พึ่งของตนตราบนั้น จึงไหว้เจดีย์ทองแล้วเข้าป่า เห็นภูเขา

ลูกหนึ่งจึงกล่าวว่า ผู้มีความอาลัยในชีวิตจงกลับไป ผู้ไม่มีความอาลัยจงขึ้นภูเขาลูกนี้

แล้วพากันผูกบันไดขึ้นภูเขานั้นทั้งหมด แล้วผลักบันไดลง กระทำสมณธรรม บรรดาภิกษุ เหล่านั้น พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตโดยล่วงไปราตรีเดียวเท่านั้น ท่านนำบิณฑบาตมา จากอุตตรกุรุทวีป แล้วกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โปรดฉันบิณฑบาต จากที่นี้เถิด ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านได้ทำอย่างนี้ด้วยอานุภาพของตน

ถ้ า แม้ พ วกกระผมจั ก ยั ง คุ ณ วิ เ ศษให้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ เ ช่ น ท่ า นไซร้ จั ก นำมาฉั น เสี ย เองที เ ดี ย ว

จึงไม่ปรารถนาจะฉัน ตั้งแต่วันที่สองไป พระเถระที่ ๒ ก็บรรลุอนาคามิผล แม้ท่านก็ถือ บิณฑบาตเหมือนอย่างนั้นไปยังที่นั้น แล้วนิมนต์ภิกษุนอกนี้ (ฉัน) ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ได้ ปฏิเสธเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก็ปรินิพพานไป พระอนาคามีก็ไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ส่วนพระ ๕ รูปนอกนี้ แม้เพียรพยายามอยู่ก็ไม่ อาจทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไม่สามารถ (จะทำอะไรได้) ก็ซูบผอมตาย ลงในที่นั้นเอง แล้วบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกนั่นแหละสิ้นพุทธันดรหนึ่ง

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้จุติจากเทวโลกบังเกิดในเรือนมีสกุลนั้น ๆ ก็บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นพระราชาพระนามว่า ปุกกุสะ คนหนึ่งเป็น กุมารกัสสปะ คนหนึ่งเป็น

ทัพพมัลลบุตร คนหนึ่งเป็น สภิยปริพาชก คนหนึ่งเป็น พาหิยะทารุจีริยะ บรรดาคน เหล่านั้น พระอนาคามีผู้ที่บังเกิดในพรหมโลกซึ่งท่านหมายเอากล่าวคำนี้ไว้ว่า ปุราณสา โลหิ ต า เทวตา เทวดาผู้ ร่ ว มสาโลหิ ต ดั ง นี้ จริ ง อยู่ แม้ เ ทวบุ ต รก็ เ รี ย กว่ า เทวดา

เพราะอธิ บ ายว่ า เทวดาก็ คื อ เทพ เหมื อ นเทพธิ ด า ดุ จ ในประโยคมี อ าทิ ว่ า อถ โข


พาหิยสูตรและอรรถกถา

159

อญฺตรา เทวตา ครั้งนั้นแล เทวดาองค์หนึ่ง แต่ในที่นี้ พรหม ท่านประสงค์เอาว่าเทวดา ก็เมื่อพรหมนั้นตรวจดูพรหมสมบัติแล้วนึกถึงสถานที่ตนมา ในลำดับที่เกิดใน พรหมโลกนั้นทีเดียว การที่พวกชนทั้ง ๗ คนขึ้นภูเขากระทำสมณธรรมก็ดี ความที่ตน

บรรลุอนาคามิผล แล้วบังเกิดในพรหมโลกก็ดีปรากฏแล้ว พรหมนั้นรำพึงว่า ฝ่ายชนทั้ง ๕ บังเกิดที่ไหนหนอ รู้ว่าชนเหล่านั้นบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ครั้นต่อมาตามเวลาอัน สมควรได้ตรวจดูประวัติของชนเหล่านั้นว่า กระทำอะไรกันหนอ แต่ในเวลานี้ เมื่อรำพึง

ว่า พวกเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ จึงได้เห็นพาหิยะอาศัยท่าสุปปารกะ นุ่งผ้าคากรองทำด้วย เปลือกไม้ เลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวง จึงคิดว่า เมื่อก่อน ผู้นี้พร้อมกับเราผูกบันไดขึ้น ภูเขากระทำสมณธรรม ไม่อาลัยในชีวิต เพราะประพฤติกวดขันอย่างยิ่ง แม้พระอรหันต์จะ นำบิณฑบาตมาให้ก็ไม่ฉัน บัดนี้ประสงค์แต่จะให้เขายกย่อง ไม่เป็นพระอรหันต์เลย ก็ยัง

เที่ยวปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ มีความปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง ทั้งไม่รู้ว่า

พระทศพลอุบัติขึ้นแล้ว เอาเถอะ เราจักทำเขาให้สลดใจแล้วให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ทันใดนั้นเองจึงลงจากพรหมโลก ปรากฏตรงหน้าท่านพาหิยะทารุจีริยะที่ท่าสุปปารกะตอน กลางคืน ท่านพาหิยะเห็นแสงสว่างโชติช่วงในที่อยู่ของตน จึงคิดว่า นี้เหตุอะไรหนอ

แล้วได้ออกไปข้างนอกตรวจดูอยู่ เห็นมหาพรหมอยู่ในอากาศ จึงประคองอัญชลีถามว่า ท่านเป็นใคร ? ลำดับนั้น มหาพรหมได้กล่าวแก่ท่านว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน คราวนั้นเรา บรรลุอนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลก แต่ท่านไม่สามารถจะทำคุณวิเศษอะไรให้บังเกิดได้

คราวนั้นท่านทำกาลกิริยาเยี่ยงปุถุชนท่องเที่ยวไปบัดนี้ ทรงเพศเยี่ยงเดียรถีย์ ไม่เป็น

พระอรหันต์เลย ยังเที่ยวถือลัทธินี้ว่า เราเป็นพระอรหันต์ (เรา) รู้ดังนี้จึงได้มา ดูก่อน

พาหิยะ ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย จงสละทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นเสียเถิด ท่านอย่าได้ เป็นไปเพื่อฉิบหาย เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความจริ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า พระองค์ นั้ น เป็ น พระอรหั น ต์ จงเข้ า ไปเฝ้ า พระองค์ เ ถิ ด

ด้ ว ยเหตุ นั้ น ท่ า นจึ ง กล่ า วคำมี อาทิ ว่ า ครั้ ง นั้ น แล เทวดาผู้ เ ป็ น สาโลหิ ต ของพาหิ ย ะ

ทารุจีริยะ ดังนี้ ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์นี้เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะอาศัยอะไร ? ตอบว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความสำคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์เกิดขึ้น


160

พระพุทธเจ้า

แก่ท่าน เพราะท่านกำจัดกิเลสได้ด้วยตทังคปหาน เหตุได้สร้างบุญญาธิการไว้ตลอดกาลนาน โดยความที่ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษและเป็นผู้ขัดเกลา แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านพาหิยะได้ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์ จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน ทั้งสองอย่างนั้นเป็นเพียงมติ ของเกจิอาจารย์เท่านั้น เพราะมาในอรรถกถาว่า ท่านประสงค์แต่ความยกย่อง และว่าท่าน ไม่ปรารถนาลาภสักการะและการสรรเสริญ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้ โดยนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล ลำดับนั้น ท่านพาหิยะแลดูมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ จึงคิดว่า โอ ข้อที่

เราเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นกรรมหนักแท้ และมหาพรหมนี้กล่าวว่า แม้ปฏิปทาเป็น เครื่องบรรลุพระอรหัตก็ไม่มีแก่ท่าน ใคร ๆ ผู้เป็นพระอรหันต์ในโลกมีอยู่หรือหนอ บทว่า อรหํ ได้แก่ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกล (จากกิเลส) จริงอยู่ พระอรหันต์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไกล คือตั้งอยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลส (และ) ชื่อว่า

พระอรหันต์ เพราะกำจัดกิเลสพร้อมทั้งวาสนาด้วยมรรค หรือฆ่ากิเลสดุจข้าศึกเสียได้

จริงอยู่ ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าฆ่า คือถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค โดยสิน้ เชิง อนึง่ ชือ่ ว่าเป็นพระอรหันต์เพราะกำจัดกำคือกิเลสเสียได้ จริงอยู่ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า นั้นทรงยืนหยัดอยู่บนปฐพีคือศีล ด้วยพระยุคลบาทคือวิริยะ ทรงใช้พระหัตถ์คือศรัทธา จับขวานคือญาณอันเป็นเหตุกระทำกรรมให้สิ้น แล้วทรงประหาร คือกำจัดกำทั้งหมด

แห่ง สังสารจักร อันมีดุมสำเร็จด้วยอวิชชา ภพและตัณหา มีบุญญาภิสังขารเป็นต้นเป็นกำ มีชราและมรณะเป็นกง สอดใส่เพลาอันสำเร็จด้วยอาสวสมุทัย ประกอบเข้าในรถคือภพ ๓ เป็นไปตลอดกาลไม่มีเบื้องต้น อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ควร ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมควรแก่ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันยิ่งและบูชาพิเศษ เพราะพระองค์เป็น พระทักขิไณยบุคคลอันเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก อนึ่ง ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มี ความลับ (ในการทำบาป) จริงอยู่ พระตถาคตท่านเรียกว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มีความ ลับในการทำบาป โดยกิเลสลามกไม่มี เพราะพระองค์ถอนกิเลสมีราคะเป็นต้น ได้โดย ประการทั้งปวง ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้โดย เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ธรรมที่ควรละโดยเป็นธรรมที่ควรละ ตรัสรู้ธรรมที่ควร


พาหิยสูตรและอรรถกถา

161

ทำให้แจ้ง โดยเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรเจริญโดยเป็นธรรมที่ควรเจริญ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อภิญฺเยฺยํ อภิญฺาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ ปหาตพฺพํ ปหีนมฺเม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว ธรรมที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว ธรรมที่ควรละ เราละได้แล้ว เพราะฉะนั้นแหละ พราหมณ์ เราจึง เป็นพระพุทธเจ้า อี ก อย่ า งหนึ่ ง พึ ง แนะนำอรรถนี้ โ ดยธรรมหมวดสามและสองทั้ ง ปวงเป็ น ต้ น

โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมชื่อว่าเป็นกุศล เพราะไม่มีโทษ มีสุขเป็นผล ธรรมชื่อว่าเป็นอกุศล เพราะมี โ ทษ มี ทุ ก ข์ เ ป็ น ผล ในข้ อ นี้ มี ค วามสั ง เขปดั ง นี้ ว่ า ชื่ อ ว่ า สั ม มาสั ม พุ ท ธะ

เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง ด้วยสยัมภูญาณอันไม่วิปริตด้วยประการ ดังนี้ ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่มาในวิสุทธิมรรคนั่นแล บทว่า สุปฺปารกา ปกฺกามิ ความว่า ผู้มีหทัยอันปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

อันเกิดขึ้น เพราะได้ยินพระนามว่า พุทฺโธ และถูกความสังเวชตักเตือนอยู่ จึงได้จาก

ท่าสุปปารกะหลีกไป มุ่งตรงกรุงสาวัตถี บทว่า สพฺพตฺถ เอกรตฺติปริวาเสน ความว่า ได้ไปโดยอยู่พักแรมราตรีเดียวใน หนทางทั้งปวง จริงอยู่ เมืองสาวัตถีจากท่าสุปปารกะ มีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แต่ท่าน

พาหิ ย ะนี้ ได้ ไ ปยั ง กรุ ง สาวั ต ถี นั้ น โดยพั ก แรมราตรี เ ดี ย วตลอดระยะทางเท่ า นี้ ท่ า นถึ ง

กรุงสาวัตถีในวันที่ออกจากท่าสุปปารกะนั่นเอง ถามว่า ก็อย่างไร ท่านพาหิยะนี้จึงได้ไปอย่างนั้น ? ตอบว่า เพราะอานุภาพของเทวดา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะพุทธานุภาพ

ก็มี ท่านแสดงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก็เพราะท่านกล่าวว่า โดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกสถาน

และเพราะหนทางมีระยะ ๑๒๐ โยชน์ ในระหว่างทาง ท่านไม่ให้อรุณที่ ๒ ตั้งขึ้นในที ่ ที่คนอยู่ตอนกลางคืนในคามนิคมและราชธานี จึงไปถึงกรุงสาวัตถีโดยพักแรมราตรีเดียว

ในที่ ทุ ก แห่ ง ข้ อ นี้ ไม่ พึ ง เห็ น อย่ า งนี้ ว่ า ท่ า นอยู่ ใ นหนทางนั้ น ทั้ ง สิ้ น เพี ย งราตรี เ ดี ย ว

เพราะประสงค์เอาความนีว้ า่ โดยพักแรมแห่งละราตรี ในหนทางทัง้ หมดมีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ในวันสุดท้ายเวลาเย็น จึงถึงกรุงสาวัตถี


162

พระพุทธเจ้า

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พาหิยะมาถึง ทรงพระดำริว่า ชั้นแรก อินทรีย์ของท่านพาหิยะยังไม่แก่กล้า แต่ในระหว่างชั่วครู่หนึ่งจักถึงความแก่กล้า ดังนี้แล้ว รอคอยให้ท่านมีอินทรีย์แก่กล้า จึงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จทรงบาตรยัง

กรุงสาวัตถีในขณะนั้น และท่านพาหิยะนั้นก็เข้าไปยังพระเชตวัน เห็นภิกษุเป็นอันมากฉัน ภัตตาหารเช้าแล้ว จงกรมอยู่ในอัพโภกาสกลางแจ้ง เพื่อปลดเปลื้องความเกียจคร้านกาย จึงถามว่า บัดนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยูท่ ไี่ หน ภิกษุทงั้ หลายกล่าวว่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงบาตรยังกรุงสาวัตถี แล้วถามว่า ก็ท่านเล่ามาแต่ไหน ? ท่านตอบว่า มาจากท่าสุปปารกะ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านมาไกล เชิญนั่งก่อน จงล้างเท้า ทาน้ำมัน แล้วพัก

สักหน่อยหนึ่ง ในเวลาพระองค์กลับมา ก็จักเห็นพระศาสดา ท่านพาหิยะกล่าวว่า ท่านขอรับ กระผมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของตน โดยวัน

เล็กน้อย กระผมไม่ยืนไม่นั่งนานแม้ในที่ไหน ๆ มาสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ พอเฝ้า

พระศาสดาแล้ ว จึ ง จั ก พั ก ผ่ อ น จึ ง รี บ ด่ ว นไปยั ง กรุ ง สาวั ต ถี เห็ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริหาที่เปรียบปานมิได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ เป็นอันมากจงกรมอยู่ในโอกาสกลางแจ้ง ลำดับนั้นแล ท่านพาหิยะ ทารุจีริยะได้เข้าไป หาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ดังนี้เป็นต้น [๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหา ภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะ

รีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ

มี พ ระทั ย สงบ ถึ ง ความฝึ ก และความสงบอั น สู ง สุ ด มี ต นอั น ฝึ ก แล้ ว คุ้ ม ครองแล้ ว

มีอินทรีย์สำรวมแล้ว ผู้ประเสริฐแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอบลงแทบ พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ขอพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า โปรดทรงแสดงธรรมแก่ ข้ า พระองค์


พาหิยสูตรและอรรถกถา

163

ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้า พระองค์สิ้นกาลนานเถิด [๔๙] เมื่ อ พาหิ ย ทารุ จี ริ ย ะกราบทู ล อย่ า งนี้ แ ล้ ว พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส ว่ า

ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตราย แก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ก็ ค วามเป็ น ไปแห่ ง อั น ตรายแก่ ชี วิ ต ของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ก็ ดี

ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดง ธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกอ่ นพาหิยะ เพราะเหตุนนั้ แล ท่านพึงศึกษาอย่างนีว้ า่ เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้ แจ้ ง จั ก เป็ น สั ก ว่ า รู้ แ จ้ ง ในกาลนั้ น ท่ า นย่ อ มไม่ มี ในกาลใด ท่ า นไม่ มี ในกาลนั้ น

ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็น ที่ สุ ด แห่ ง ทุ ก ข์ ลำดั บ นั้ น แล จิ ต ของพาหิ ย ทารุ จี ริ ย กุ ล บุ ต ร หลุ ด พ้ น แล้ ว จากอาสวะ

ทัง้ หลายเพราะไม่ถอื มัน่ ในขณะนัน้ เอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนีข้ องพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิยทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป [๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน แม่โคลูกอ่อน

ขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อม


164

พระพุทธเจ้า

กับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะ

ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ ประพฤติ ธ รรมอั น ประเสริ ฐ เสมอกั บ ท่ า นทั้ ง หลาย ทำกาละแล้ ว ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ทู ล รั บ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของพระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของ

พาหิยทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้นข้าพระองค์ ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี ้ ในเวลานั้นว่า ดิ น น้ ำ ไฟ และลม ย่ อ มไม่ ห ยั่ ง ลงในนิ พ พานธาตุ ใ ด

ในนิ พ พานธาตุ นั้ น ดาวทั้ ง หลายย่ อ มไม่ ส ว่ า ง พระอาทิ ต ย์ ย่ อ มไม่ ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ก็ ท่ า นพาหิ ย ะได้ เ ห็ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ เ ป็ น อย่ า งนั้ น กำลั ง เสด็ จ ไปในถนน ร่าเริงยินดีว่า นานจริงหนอ เราจึงได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสรีระอันปีติ ๕ ประการ ถูกต้องตลอดเวลา น้อมสรีระลงตั้งแต่ที่ ๆ ได้เห็นแล้ว ก็หยั่งลงท่ามกลางรัศมีพระวรกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จมลงในพระรัศมีนั้น เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม ด้ ว ยเบญจางคประดิ ษ ฐ์ นวดฟั้ น พระยุ ค ลบาทของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า จุ ม พิ ต อยู่

พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้า พระองค์เถิด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า


พาหิยสูตรและอรรถกถา

165

ท่านหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้ว

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแต่ ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด บทว่า ทุชฺชานํ แปลว่า พึงรู้ได้ยาก. ด้วยบทว่า ชีวิตนฺตรายานํ ท่านพาหิยะ

ประสงค์จะกล่าวว่า การเป็นไปหรือไม่เป็นไปแห่งธรรมอันทำอันตรายต่อชีวิต จึงกล่าวว่า

ชีวิตนฺตรายานํ ดังนี้ ด้วยอำนาจการหมุนเวียน จริงอย่างนั้น ชีวิตคือความเป็นไปเนื่อง ด้วยปัจจัยเป็นอันมากและอันตรายต่อชีวิตนั้นก็มีมาก สมจริงดังที่ตรัสว่า อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ น หิ โน สงฺครนฺเตน

โก ชญฺา มรณํ สุเว มหาเสเนน มจฺจุนา

พึงรีบทำความเพียรในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายใน

วันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วยมฤตยูอันมีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มี แก่เราทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไร ท่านพาหิยะนี้จึงมุ่งแต่อันตรายแห่งชีวิตเท่านั้นเป็นอันดับแรก อาจารย์ บางพวกแก้ว่า เพราะท่านรู้แต่อารมณ์ที่เป็นนิมิตหรือฉลาดในสิ่งที่คนไม่เห็น อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะท่านได้ยินอันตรายชีวิตในสำนักของเทวดา ก็ท่านถูก อุปนิสัยสมบัติตักเตือนจึงกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นผู้มีภพสุดท้าย จริงอยู่ ท่านเหล่านั้นยัง ไม่บรรลุ พระอรหัต จึงไม่สิ้นชีวิต ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรมแก่ท่าน

นั่นแหละ จึงห้ามไว้ถึง ๒ ครั้ง ได้ยินว่าพระองค์มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่เวลาที่พาหิยะ นี้เห็นเรา สรีระทั้งสิ้นอันปีติถูกต้องไม่ขาดระยะ กำลังปีติมีความรุนแรง แม้จักฟังธรรม แล้ ว ก็ ไ ม่ ส ามารถแทงตลอดได้ จึ ง ห้ า มไว้ ตราบเท่ า ที่ มั ช ฌั ต ตุ เ ปกขาจะดำรงอยู่ ก่ อ น

แม้ ค วามกระวนกระวายในกายของท่ า นก็ มี ก ำลั ง เพราะท่ า นมาสู่ ห นทางสิ้ น ระยะทาง

๑๒๐ โยชน์ แม้ท่านระงับความกระวนกระวายอยู่ก่อน เพราะเหตุนั้น จึงทรงปฏิเสธ

ถึง ๒ ครั้ง แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้เกิด ความเอื้อเฟื้อในการฟังธรรม แต่พระองค์ถูกขอร้องถึงครั้งที่ ๓ ทรงเห็นมัชฌัตตุเปกขา


166

พระพุทธเจ้า

เป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย และอันตรายชีวิตที่ปรากฏแก่ท่าน ทรงดำริว่า บัดนี้ เป็นกาลเพื่อแสดงธรรม จึงเริ่มแสดงธรรมโดยนัยมีอาทิว่า ตสฺมาติห เต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงจำแนกอารมณ์ อันแตกต่างโดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อ และตามความพอใจของพาหิยะด้วยวิปสั สนา โดยโกฏฐาสะ ทั้ ง ๔ มี รู ป อั น ตนเห็ น แล้ ว เป็ น ต้ น แล้ ว จึ ง ทรงแสดงญาตปริ ญ ญาและตี ร ณปริ ญ ญา

ในข้อนั้นแก่เธออย่างไร ? เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่าทิฏฐะ เพราะอรรถว่าอัน จักขุวิญญาณพึงเห็น ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวารนั้น ชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าเห็น แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียงธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น ในข้อนี้ ใคร ๆ จะทำเองหรือให้ผู้อื่นทำก็หาได้ไม่ จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า

จักขุวิญาณนั้นชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้น และดับไปบีบคั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เหตุนั้น ในข้อนั้น จะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่งบัณฑิตได้ที่ไหน ก็ท่านพาหิยะนั้นพอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้หมดจด อาศัย

สมาธิ จิ ต ตามที่ ไ ด้ แ ล้ ว เริ่ ม วิ ปั ส สนา เป็ น ขิ ป ปาภิ ญ ญาบุ ค คล ให้ อ าสวะทั้ ง ปวงสิ้ น ไป

บรรลุ พ ระอรหั ต พร้ อ มปฏิ สั ม ภิ ท าขณะนั้ น นั่ น เอง ท่ า นตั ด กิ เ ลสดุ จ กระแสน้ ำ ในสงสาร

ทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์ ทรงร่างกายครั้งสุดท้าย ถูกธรรมดาเป็นไปด้วยปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่างตักเตือน จึงทูลขอบวชกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกตรัสถามว่า เธอมีบาตรและ จีวรบริบูรณ์แล้วหรือ กราบทูลว่ายังไม่บริบูรณ์ พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะ เธอว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงแสวงหาบาตรและจีวร ดังนี้แล้วเสด็จหลีกไป เพราะเหตุนั้น

จึงกล่าวว่า อถ โข ภควา ... ปกฺกามิ ดังนี้ ได้ยินว่า ท่านพาหิยะนั้น เมื่อกระทำสมณธรรมสิ้น ๒๐,๐๐๐ ปีในพระศาสนา ของพระกัสสปทศพล คิดว่า ธรรมดาว่าภิกษุ เมื่อตนได้ปัจจัยแล้วทำทานตามสมควร

จึ ง ฉั น ด้ ว ยตนจึ ง ควร ดั ง นี้ แ ล้ ว ไม่ ไ ด้ ท ำการสงเคราะห์ ด้ ว ยบาตรหรื อ จี ว รแม้ แ ก่ ภิ ก ษุ

รูปหนึง่ เหตุนนั้ ท่านจึงไม่มอี ปุ นิสยั เอหิภกิ ขุอปุ สัมปทา แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้ยนิ ว่า ท่านเป็นโจรในคราวว่างพระพุทธเจ้า ผูกมัดธนูตั้งตัวเป็นโจรในป่า เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่ง เพราะความโลภในบาตรและจีวร จึงใช้ธนูยิงท่านแล้วถือเอาบาตรและจีวรไป ด้วยเหตุนนั้ บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิจ์ กั ไม่เกิดแก่ทา่ น พระศาสดาทรงทราบดังนัน้ แล้ว


พาหิยสูตรและอรรถกถา

167

จึงมิได้ทรงประทานบรรพชาด้วยเอหิภิกขุแล แม้ท่านกำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวรอยู่ แม่โคตัวหนึ่งวิ่งมาโดยเร็วขวิดให้เธอถึงสิ้นชีวิต ซึ่งท่านกล่าวว่า อถ โข อจิรปกฺกนฺตสฺส ภควโต พาหิยํ ทารุจีริยํ คาวี ตรุณวจฺฉา อธิปติตฺวา ชีวิตา โวโรเปสิ ครั้งนั้นแล

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิดท่านพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลง สิ้นชีวิต พระศาสดาทรงบาตรแล้ว เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว พร้อมภิกษุจำนวนมาก เสด็จออกจากนคร ทอดพระเนตรเห็นท่านพาหิยะตกอยู่ที่กองหยากเยื่อ ทรงบัญชาภิกษุ

ทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอยืนอยู่ที่ประตูเรือนหลังหนึ่งช่วยกันนำเตียงออกมา นำร่างนี้ ออกไปจากนครทำฌาปนกิจก่อสถูปไว้ ภิกษุทั้งหลายได้ทำอย่างนั้น ก็แลครั้นทำแล้วไปยัง วิหารเฝ้าพระศาสดากราบทูลกิจที่ตนทำแล้ว จึงทูลถามถึงอภิสัมปรายภพของท่านพาหิยะ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบอกแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านพาหิยะปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ตรัสบอกว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะ บรรลุพระอรหัตแล้วหรือ ท่านบรรลุพระอรหัตที่ไหน และเมื่อตรัสว่า ในเวลาที่ฟังธรรม ของเรา พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ก็พระองค์แสดงธรรมแก่ท่านในเวลาไหน พระศาสดาตรัส ว่า เมื่อเรากำลังบิณฑบาตยืนอยู่ระหว่างถนนวันนี้เอง ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระองค์ยืนตรัสในระหว่างถนนนั้นมีประมาณน้อย ท่านทำคุณ วิเศษให้เกิดด้วยเหตุเพียงเท่านั้นได้อย่างไร พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายเธอ อย่ า ประมาณธรรมของเราว่ า มี น้ อ ยหรื อ มาก แม้ ค าถาตั้ ง หลายพั น แต่ ไ ม่ ป ระกอบด้ ว ย ประโยชน์ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทคาถาแม้บทเดียวซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ยังประเสริฐ กว่า จึงตรัสคาถานี้ในธรรมบทว่า สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ถ้าคาถาแม้ตั้งพัน แต่ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ บทคาถาบทเดียวซึ่งบุคคลฟังแล้วย่อมสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้ จบ พาหิยสูตรและอรรกถา (บางส่วน)


168

พระพุทธเจ้า

๑๓. มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ [๑๒๓] พระพิ ชิ ต มารผู้ ท รงรู้ จั ก ธรรมทั้ ง ปวงพระนามว่ า

ปทุมุตตระ ปรากฏในอัชฎากาศ เหมือนพระอาทิตย์ปรากฏในอากาศ ในสรทกาล ฉะนั้น พระองค์ยังดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระญาณนี้คือ พระดำรัส สมเด็จพระโลกนายกทรงยังเปือกตม คือกิเลสให้แห้งไป

ด้วยพระรัศมีคือพระปรีชา ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์เสียด้วยพระญาณปานดังเพชร เหมื อ นพระอาทิ ต ย์ ก ำจั ด ความมื ด ฉะนั้ น สมเด็ จ พระทิ พ ากรเจ้ า

ทรงส่องแสงสว่างจ้าทั้งกลางคืนและกลางวัน ในที่ทุกหนทุกแห่ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ ทรง ยังเมฆคือธรรมให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์ เหมือนเมฆยังฝนให้ตก ฉะนั้น ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระนครหังสวดี ได้เข้าไป ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งกำลังประกาศ คุณของพระสาวกผู้มีสติ ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายอยู่ ทรงยังใจของ เราให้ยินดี เราได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส นิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วย ศิษย์ ให้เสวยและฉันแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้ ง นั้ น พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ผู้ มี ส่ ว นเสมอด้ ว ยหงส์ มี

พระสุรเสียงเหมือนหงส์และมโหรทึกได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้แกล้วกล้าในการตัดสิน หมอบอยู่แทบเท้าของเรา มีประกายดุจลอย ขึ้ น และมี ใ จสู ง ด้ ว ยปี ติ วรรณะเหมื อ นแสงแห่ ง แก้ ว มุ ก ดา งดงาม นัยน์ตา และหน้าผ่องใส


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศใหญ่ มหาอำมาตย์นี้ เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ เพราะพลอยยินดีด้วย ด้วยการบริจาคบิณฑบาตนี้ และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เขา จักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป จักเสวยความเป็นผู้มีโชคดีในหมู่ทวยเทพและจักเสวยความ เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ จักบรรลุถึงนิพพาน ด้วยผลกรรมส่วนที่เหลือ ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ทรง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มหาอำมาตย์นี้ จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นนั้ จั ก เป็ น โอรสอั น ธรรมเนรมิ ต จั ก มี น ามว่ า กั ป ปิ น ะ เป็ น สาวกของ

พระศาสดา ต่ อ แต่ นั้ น เราก็ ไ ด้ ท ำสั ก การะด้ ว ยดี ใ นพระศาสนาของ

พระชินสีห์ ละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต เราครองราชย์ในเทวดาและมนุษย์โดยเป็นส่วน ๆ แล้วเกิด ในสกุลช่างหูก ที่ตำบลบ้านใกล้พระนครพาราณสี เรากับภรรยามีบริวารแสนคน ได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้ ถ วายโภชนาหารตลอดไตรมาส แล้ ว ให้ ค รองไตรจี ว ร

เราทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นไตรทส เราทั้งหมดจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว กลับมาเป็นมนุษย์อีก พวก เราเกิดในกุกกุฏบุรี ข้างป่าหิมพานต์ เราได้เป็นราชโอรสผู้มียศใหญ่ พระนามว่ากัปปินะ พวกที่ เหลือเกิดในสกุลอำมาตย์ เป็นบริวารของเรา เราเป็นผู้ถึงความสุขอันเกิดแต่ความเป็นมหาราชา ได้สำเร็จ สิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ ได้สดับข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่ พวกพ่อค้าบอกดังนี้ว่า

169


170

พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าผู้เอกอัครบุคคล ไม่มีใครเสมอเหมือน เสด็จ อุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงประกาศพระสัทธรรม อันเป็นธรรม ไม่ตายเป็นอุดมสุข สาวกของพระองค์เป็นผู้หมั่น ขยัน พ้นทุกข์ ไม่มีอาสวกิเลส ครั้นเราได้สดับคำของพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ได้ทำการสักการะพวกพ่อค้า สละราชสมบัติพร้อมด้วยอำมาตย์ เป็นพุทธมามกะ พากัน ออกเดินทาง ได้พบแม่น้ำมหาจันทานที มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง ทั้งไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว เราระลึกถึง พระพุทธคุณแล้ว ข้ามแม่น้ำไปได้โดยสวัสดี ถ้าพระพุทธองค์ทรงข้ามกระแสน้ำคือภพไปได้ ถึงทีส่ ดุ แห่งโลก ทรงรู้แจ้งชัดไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ ถ้ า มรรคเป็ น เครื่ อ งให้ สั ต ว์ ถึ ง ความสงบได้ เป็ น เครื่ อ งให้ โมกขธรรม เป็นธรรมอันสงบระงับ นำความสุขมาให้ได้ไซร้ ด้วย

สัจจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นทางกันดารไปได้ เป็นเนื้อนาบุญ อันเยี่ยมไซร้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ พร้อมกับที่เราได้ทำสัจจะอันประเสริฐดังนี้ น้ำได้ไหลหลีก

ออกไปจากหนทาง ลำดับนั้น เราได้ข้ามไปขึ้นฝั่งแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ ใจได้โดยสะดวก ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ เหมือนพระอาทิตย์ที่กำลัง อุทัย ดังภูเขาทองที่ลุกโพลง ฉะนั้น เหมือนประทีปด้ามที่ถูกไฟไหม้โชติช่วง อันสาวกแวดล้อม เปรียบดังพระจันทร์ที่ประกอบด้วยดวงดาว ยังเทวดาและมนุษย์ให้ เพลิดเพลิน ปานท้าววาสวะ ผู้ยังฝนคือรัตนะให้ตกลง ฉะนั้น


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

เราพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคมแล้ว เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเราได้แสดง พระธรรมเทศนา เราฟังธรรมอันปราศจากมลทินแล้ว ได้กราบทูลพระพิชติ มารว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอได้ทรงโปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิด พวกข้าพระองค์เป็นผู้ลงสู่ภพแล้ว พระมหามุนีผู้สูงสุดได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ ที่สุด แห่งทุกข์เถิด พร้อมกันกับพระพุทธดำรัส เราทุกคนล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ เราทั้งหลายอุปสมบทแล้ว เป็นภิกษุผู้โสดาบันในพระศาสนา ต่อแต่นนั้ มา พระผูน้ ำชัน้ พิเศษได้เสด็จเข้าพระเชตวันมหาวิหาร แล้วทรงสัง่ สอน เราอันพระพิชติ มารทรงสัง่ สอนแล้ว ได้บรรลุอรหัต ลำดับนัน้ เราได้สงั่ สอนภิกษุพนั รูป แม้พวกเขาทำตามคำสอน ของเรา ก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะ พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น จึงทรงตั้งเราไว้ใน ตำแหน่งเอตทัคคะ ณ ท่ามกลางมหาชนว่า ภิกษุกัปปินะ เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ กรรมที่ได้ทำไว้ในแสนกัป ได้แสดงผลให้เราในครั้งนี้ เรา พ้นจากกิเลส ดุจดังลูกศรที่พ้นจากแล่ง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี ้ ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล จบ มหากัปปินเถราปทาน

171


172

พระพุทธเจ้า

อรรกถามหากัปปินเถราปทาน อปทานของท่านพระมหากัปปินเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้ แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สงั่ สมบุญอันเป็นอุปนิสยั แห่งพระนิพพานไว้มากในภพนัน้ ๆ ในกาลแห่งพระผูม้ พี ระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะ แล้ว เมื่อกำลังฟังพระธรรมเทศนาในสำนักของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ที่

พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ให้โอวาทแล้ว ได้กระทำกรรมที่ สูงยิ่งขึ้นไป แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น เขาได้กระทำกุศลกรรมไว้ในมนุษยโลกนั้น จนตลอดชีวิตแล้วท่องเที่ยวไปใน เทวโลกและมนุษยโลก ได้มาบังเกิดในเรือนของท่านหัวหน้าช่างหูก ในหมูบ่ า้ นช่างหูกแห่งหนึง่ ในที่อันไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก ในคราวนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ อยูท่ ภี่ เู ขาหิมวันต์ ๘ เดือน เวลาจะเข้าพรรษาก็มาอยูใ่ นชนบท ๔ เดือน พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น ครั้งแรกก็ลงมาในที่อันไม่ไกลกรุงพาราณสีแล้ว ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ไปพบพระราชายังพระราชวังด้วยคำว่า พวกท่านจงขอหัตถกรรมเพื่อก่อสร้างเสนาสนะ ดังนี้ ก็ในคราวนั้นได้มีพระราชพิธีวัปปมงคล (พืชมงคล) พระราชานั้นได้ทรงทราบว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา จึงเสด็จออกมาถามถึงเหตุที่ท่านพากันมาแล้ว ตรัสว่า

ท่านผู้เจริญ วันนี้ไม่มีโอกาส พรุ่งนี้เป็นพระราชพิธีวัปปมงคลของโยม วันที่ ๓ โยมจักทำ กิจให้ ดังนี้แล้ว ไม่นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเข้าไปแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายพากันหลีกไปด้วยกล่าวว่า พวกเราจักเข้าไปยังหมู่บ้านอื่น ดังนี้ ในสมัยนั้น ภริยาของหัวหน้าช่างหูก เดินทางไปยังกรุงพาราณสีด้วยหน้าที่การ งานบางอย่าง ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นเข้า จึงเอ่ยถามว่า พระคุณเข้ามาในกาลอัน มิใช่เวลาเพื่อต้องการอะไรเจ้าคะ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นได้เล่าเรื่องแต่ต้นให้ฟังแล้ว หญิงผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาถึงพร้อมด้วยปัญญา พอได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว จึงกราบเรียนนิมนต์ ว่า ท่านเจ้าขา พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของพวกดิฉันนะเจ้าคะ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า โยมน้องหญิง พวกอาตมภาพมีด้วยกันมากองค์ หญิงนั้นถามว่า มีกี่องค์พระคุณเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า มีประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ น้องหญิง หญิงคนนั้นกราบเรียนว่า ท่านเจ้าขา ในหมู่บ้านของพวกดิฉันนี้ ก็มีคนอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ คนเช่นกัน คนคนหนึ่ง


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

173

จะถวายภิ ก ษาแก่ ภิ ก ษุ อ งค์ ห นึ่ ง ขอนิ ม นต์ ท่ า นจงรั บ ภิ ก ษาเถิ ด ดิ ฉั น คนเดี ย วจั ก ให้

ช่างก่อสร้างที่อยู่สำหรับพระคุณเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับนิมนต์แล้ว หญิงคนนั้นเข้าไปยังหมู่บ้านโฆษณาป่าวร้องว่า แม่พ่อทั้งหลายเอย ฉันได้เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ ได้นิมนต์ท่านไว้แล้ว พวกท่านจงช่วยกัน

ตระเตรียมที่สำหรับพระคุณเจ้าทั้งหลายด้วย (และ) จงช่วยกันตระเตรียมข้าวยาคูและ

ภัตด้วย ดังนี้แล้ว ให้คนช่วยกันก่อสร้างมณฑปในท่ามกลางหมู่บ้าน ให้ปูลาดอาสนะ

ทั้งหลายไว้ พอถึงวันรุ่งขึ้น จึงนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว อังคาสด้วย ขาทนียะโภชนียะอันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้พาผู้หญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นมา

ได้ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพร้อมกับผู้หญิงเหล่านั้น นิมนต์ให้ท่านรับปฏิญญาเพื่อ อยู่ จ ำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ ว จึ ง ได้ ป่ า วร้ อ งในหมู่ บ้ า นอี ก ว่ า แม่ แ ละพ่ อ ทั้ ง หลาย

บุรุษคนหนึ่ง ๆ จากตระกูลหนึ่ง ๆ (คัดเอาผู้ชายบ้านละคน) ให้ถือมีดและขวานเป็นต้น เข้ า ป่ า ไปนำทั พ พสั ม ภาระมาแล้ ว จงสร้ า งที่ อ ยู่ ถ วายสำหรั บ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ทั้ ง หลายเถิ ด

พวกชาวบ้านได้ฟังคำของนางนั้นแล้ว แต่ละคนก่อสร้างบรรณศาลาคนละหลัง ทำงาน ก่ อ สร้ า งทั้ ง คื น ทั้ ง วั น จนบรรณศาลา ๑,๐๐๐ หลั ง เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว กราบเรี ย น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ซึ่งเข้าไปอยู่ในบรรณศาลาของตนของตนว่า เราจักบำรุงท่านโดย ความเคารพ แล้วจึงได้พากันบำรุง พอถึงเวลาออกพรรษาแล้ว ภริยาหัวหน้าช่างหูกคนนั้น จึงกล่าวว่า พวกท่านจงตระเตรียมผ้าจีวรสาฎก ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้อยู่จำ พรรษาแล้วในบรรณศาลาของตนของตนเถิด แล้วช่วยกันตระเตรียม เสร็จแล้วจึงได้ช่วย กันถวายผ้าจีวรมีค่า ๑,๐๐๐ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ละ ๑ ผืน ออกพรรษาแล้ว

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทำอนุโมทนาแล้วก็หลีกไป แม้พวกชาวบ้านที่ทำบุญกรรม

นี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปบังเกิดในดาวดึงสเทวโลก ได้เป็นผู้ชื่อว่าคณเทวดา เทวดาเหล่ า นั้ น ได้ เ สวยทิ พ ยสมบั ติ ใ นดาวดึ ง สเทวโลกนั้ น แล้ ว ในกาลแห่ ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้พากันมาบังเกิดในบ้านเรือนของพวกกุฎุมพี หัวหน้าช่างหูกในกาลก่อน ได้มาเกิดเป็นลูกชายของหัวหน้ากุฎุมพี แม้ภริยาของหัวหน้า

ช่างหูกในกาลก่อน ก็ได้มาเกิดเป็นลูกสาวของหัวหน้ากุฎุมพีคนหนึ่ง พวกภริยาของช่างหูก ที่เหลือในกาลก่อน ได้มาเกิดเป็นพวกลูกสาวของกุฎุมพีที่เหลือทั้งหลาย หญิงเหล่านั้นแม้ ทั้งหมดเจริญวัยแล้ว เมื่อจะไปสู่ตระกูล (มีเหย้าเรือน) ต่างก็แยกกันไปยังเรือนของกุฎุมพี เหล่านั้น (ชาติก่อนเคยเป็นสามีภรรยากันอย่างใด แม้ชาตินี้ก็ได้มาเป็นสามีภรรยากัน


174

พระพุทธเจ้า

อย่างนั้นอีก) ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อมีการป่าวประกาศให้ไปฟังธรรมที่พระวิหาร พวกกุฎุมพี

เหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้ทราบว่า พระศาสดาจักทรงแสดงธรรม จึงได้พร้อมกับภริยาไปยัง พระวิหารด้วยมุ่งหมายว่า พวกเราจักฟังธรรม ในขณะที่คนเหล่านั้นเข้าไปยังท่ามกลาง

พระวิหาร ฝนก็ตกลงมา พวกคนที่รู้จักมักคุ้นกับพระหรือมีญาติที่เป็นสามเณรเป็นต้น ต่างก็จะเข้าไปยังบริเวณของพระและสามเณรที่คุ้นเคยเป็นญาติกันเหล่านั้น (เพื่อหลบฝน) แต่กุฎุมพีเหล่านั้น ไม่อาจจะเข้าไปในที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้ เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรที่ รู้จักหรือเป็นญาติเช่นนั้นเลย จึงได้ยืนอยู่ท่ามกลางพระวิหารเท่านั้น ต่อมาหัวหน้ากุฎุมพี เหล่านั้นกล่าวว่า ชาวเราเอ๋ย จงดูประการอันแปลกของพวกเราซิ ธรรมดาว่าพวกกุลบุตร ควรจะเกี่ยวข้องกันได้ด้วยเหตุเพียงไร พวกกุฎุมพีจึงถามว่า พวกเราจะทำอย่างไรดีนาย พวกเราถึงซึ่งประการอันแปลกนี้ เพราะไม่มีที่อยู่สำหรับผู้คุ้นเคยกัน พวกเราทั้งหมด

จั ก รวบรวมทรั พ ย์ ส ร้ า งบริ เ วณ หั ว หน้ า จึ ง พู ด ว่ า ดี ล ะนาย แล้ ว ได้ ใ ห้ ท รั พ ย์ พั น หนึ่ ง

คนที่เหลือได้ให้ทรัพย์คนละห้าร้อย พวกผู้หญิงได้ให้ทรัพย์คนละสองร้อยห้าสิบ กุฎุมพี เหล่านั้นนำทรัพย์นั้นมาแล้วมอบให้ช่างสร้างเรือนยอดรายไป ๑,๐๐๐ หลัง ได้ชื่อว่าเป็น บริเวณกว้างขวางเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับพระศาสดา เพราะว่าที่การก่อสร้างนั้นใหญ่ไป เมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอ จึงได้ช่วยกันออกให้อีกครึ่งหนึ่งของจำนวนทรัพย์ที่ได้บริจาคให้แล้ว ในครั้งก่อน เมื่อบริเวณสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ก็ทำการฉลองพระวิหาร ได้ถวายมหาทาน

แด่ ภิ ก ษุ ส งฆ์ มี พ ระพุ ท ธเจ้ า เป็ น ประมุ ข ตลอด ๗ วั น แล้ ว จั ด แจงผ้ า จี ว รสำหรั บ ภิ ก ษุ ๒,๐๐๐ องค์ ส่วนภริยาของหัวหน้ากุฎุมพี ดำรงอยู่ด้วยปัญญาของตนเอง คิดว่า เราจั​ักไม่ ทำให้เสมอกับพวกเขา แต่จะทำให้ยิ่งไปกว่าพวกเขา คือจักบูชาพระศาสดา ดังนี้แล้ว

จึงถือเอาผอบบรรจุดอกอโนชาพร้อมกับผ้าสาฎกมีมูลค่า ๑,๐๐๐ ซึ่งมีสีดุจดอกอโนชาแล้ว เอาดอกอโนชาบูชาพระศาสดา วางผ้าสาฎกนั้นไว้ใกล้บาทมูลของพระศาสดา ได้ตั้งความ ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้สรีระของข้าพระองค์จงมีสีคล้ายดอกอโนชา ในที่ที่ข้าพระองค์เกิดแล้วเถิด และจงมีชื่อว่าอโนชา ดังนี้เถิด พระศาสดาได้ทรงกระทำ อนุโมทนาด้วยพระดำรัสว่า จงสำเร็จดังปรารถนาเถิด คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดดำรงอยู่จน ตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นได้ไปบังเกิดในเทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เทวดา

เหล่านั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ผู้เป็นหัวหน้ากุฎุมพีได้บังเกิดในราชตระกูลในกุกกุฏวดีนคร


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

175

บรรลุนิติภาวะแล้วได้เป็นพระเจ้ามหากัปปินะ คนที่เหลือได้ไปบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ทั้งหมด ภริยาของหัวหน้ากุฎุมพีได้บังเกิดในราชตระกูลในมัททรัฐสาคลนคร พระนางได้มี พระสรีระงามมีสีดุจดอกอโนชาทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระชนกพระชนนีจึงได้ทรงขนาน พระนามของพระนางว่าอโนชานั่นแล พระนางทรงเจริญวัยแล้ว ก็เสด็จไปยังพระราชวังของ พระเจ้ามหากัปปินะ ได้มีพระนามปรากฏว่าอโนชาเทวี แม้พวกผู้หญิงที่เหลือ ก็ได้ไปบังเกิดในตระกูลพวกอำมาตย์ เจริญวัยแล้วได้ไปสู่ คฤหาสน์แห่งบุตรอำมาตย์เหล่านั้นแล คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติ ของพระราชา ก็ในกาลใด พระเจ้าแผ่นดินทรงประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ

เสด็จขึ้นหลังพญาช้างเที่ยวไป แม้ในกาลนั้น คนเหล่านั้นก็เที่ยวไปอย่างนั้นเหมือนกัน

เมื่อพระราชาพระองค์นั้น เสด็จเที่ยวไปด้วยม้าหรือด้วยรถ ถึงพวกอำมาตย์เหล่านั้นก็เที่ยว ไปอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะกำลังแห่งบุญเป็นอันมากที่ได้ทำไว้ร่วมกันอย่างนั้น พวก อำมาตย์เหล่านั้นจึงได้เสวยสมบัติอย่างเดียวกันกับพระราชาแล ก็พระราชามีม้า ๕ ตัวคือ ม้าชื่อว่าวาละ วาลวาหนะ ปุปผะ ปุปผวาหนะ และม้าชื่อว่าสุปัตตะ ในบรรดาม้า ๕ ตัว เหล่านั้น พระราชาย่อมทรงม้าชื่อว่าสุปัตตะ ด้วยพระองค์เอง ส่วนม้าอีก ๔ ตัวนอกนี้ได้ พระราชทานแก่พวกคนขี่ม้าทั้งหลายเพื่อใช้นำข่าวสารมา พระราชาให้พวกคนเหล่านั้น บริโภคแค่เช้าตรู่ แล้วทรงส่งพวกเขาไปด้วยพระราชดำรัสว่า พนาย พวกเธอจงเที่ยวไปให้ ถึงระยะทาง ๒ โยชน์ หรือ ๓ โยชน์ แล้วสืบเสาะฟังว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมหรือว่า พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว จงนำสารอันเป็นสุขมาบอกแก่เรา คนเหล่านั้นออกจากประตูทั้ง

๔ ทิศแล้ว เที่ยวไปได้ ๒ - ๓ โยชน์ ไม่ได้รับข่าวสารอะไร ๆ เลยจึงกลับมา วันต่อมา พระราชาเสด็จขึ้นม้าสุปัตตะ ทรงมีอำมาตย์พันคนเป็นบริวาร กำลัง เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพ่อค้าประมาณ ๕๐๐ คน ผู้ซึ่งมี ร่างกายอิดโรยเหนื่อยอ่อนกำลังเข้าไปยังพระนคร จึงทรงดำริว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้ อิดโรย เหนื่อยอ่อนเพราะเดินทางมาไกล เราจักได้ฟังข่าวสารอันเจริญอย่างหนึ่ง จากสำนักของ พวกพ่ อ ค้ า เหล่ า นี้ เ ป็ น แน่ จึ ง มี พ ระราชดำรั ส สั่ ง ให้ อ ำมาตย์ ไ ปเรี ย กพวกพ่ อ ค้ า เหล่ า นั้ น

มาแล้ว ตรัสถามว่า พวกเธอมาจากเมืองไหน พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ นครหนึ่งนามว่าสาวัตถีมีอยู่ไกลจากที่นี้ไปอีก ๒๐๐ โยชน์ พวกข้าพระองค์ มาจากพระนครนั้น พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า มีข่าวสารอะไรเกิดขึ้นในประเทศถิ่นที่ อยู่ของพวกเธอบ้างเล่า พวกพ่อค้ากราบทูลว่าข้าแต่สมมติเทพ ข่าวสารอะไรอย่างอื่นไม่มี


176

พระพุทธเจ้า

นอกจากข่าวที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเท่านั้น พระเจ้าข้า ในขณะนั้นนั่นเอง พระราชาทรงมีพระสรีระอันปีติมีกำลังกระทบถูกแล้ว ไม่ทรงอาจจะกำหนดอะไร ๆ ได้ทรง นิ่ ง เงี ย บไปครู่ ห นึ่ ง แล้ ว ตรั ส ถามอี ก ว่ า พู ด อะไรนะพ่ อ คุ ณ พวกพ่ อ ค้ า ก็ ก ราบทู ล ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงอุ บั ติ แ ล้ ว พระเจ้าข้า พระราชาทรงนิ่งเงียบไปครู่หนึ่ง แม้ครั้งที่ ๒

แม้ครั้งที่ ๓ ก็เหมือนครั้งแรกนั่นแล แล้วตรัสถามเป็นครั้งที่ ๔ ว่า พูดอะไรนะพ่อคุณ เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า พ่อค้า เพราะการที่ได้ฟังข่าวสารอันเป็นสุข เราจะให้ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอ แล้วตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรแม้ที่นอกเหนือไปกว่านี้ ยังมีอีกไหมพ่อคุณ พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ มี พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า พระราชาทรงสดับถ้อยคำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่งเงียบไปครู่หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนนัยก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้า กราบทูลว่า พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว ตรัสว่า แม้ในวาระนี้ เราก็จะให้ทรัพย์ ๑ แสนแก่

พวกเธอ แล้ ว ตรั ส ถามว่ า ข่ า วสารอะไรแม้ ที่ น อกเหนื อ ไปกว่ า นี้ ยั ง มี อี ก ไหมพ่ อ คุ ณ

พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มี พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว พระราชาทรงสดับถ้อย คำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่งเงียบไปครู่หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนอย่างครั้งก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่ อ พวกพ่ อ ค้ า กราบทู ล ว่ า พระสงฆ์ อุ บั ติ ขึ้ น แล้ ว ตรั ส ว่ า แม้ ใ นครั้ ง นี้ เราจะให้

ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอ แล้วทรงทอดพระเนตรดูอำมาตย์พันคน ตรัสถามว่า พ่อคุณ

พวกเราจักทำอย่างไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จักทำอย่างไร

พระราชาตรัสว่า พ่อคุณ เราได้สดับฟังว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว พระธรรมทรง อุบัติขึ้นแล้ว พระสงฆ์ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เราจักไม่หวนกลับไปอีก เราจักไปบวชอุทิศพระผู้มี

พระภาคเจ้าในสำนักของพระองค์ พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ แม้พวกข้า พระองค์ ก็ จั ก บวชกั บ พระองค์ พระราชาทรงให้ พ วกอาลั ก ษณ์ จ ารึ ก พระอั ก ษรลงใน

พระสุพรรณบัฏพระราชทานแก่พวกพ่อค้าแล้วตรัสว่า พวกเธอจงมอบพระสุพรรณบัฏนี้แด่ พระราชเทวีพระนามว่าอโนชา พระราชเทวีนั้นจักพระราชทานทรัพย์จำนวน ๓ แสนแก่ พวกเธอ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอพึงกราบทูลกับพระราชเทวีนั้นว่า ทราบว่า พระราชา ทรงมอบความเป็นใหญ่ถวายแด่พระองค์ ขอพระองค์จงเสวยสมบัติตามความสบายเถิด

ก็ถ้าว่าพระนางตรัสถามว่า พระราชาของพวกท่านเสด็จไปที่ไหนเสีย พวกท่านพึงกราบทูล ว่า พระราชาตรัสว่า เราจักบวชอุทิศพระศาสดาแล้วก็เสด็จไปแล้ว แม้พวกอำมาตย์ก็ส่ง ข่าวสารไปเพื่อภรรยาของตนของตนเหมือนอย่างนั้นเช่นกัน พระราชาทรงส่งพวกพ่อค้า

ไปแล้ว ก็เสด็จขึ้นม้า มีอำมาตย์พันคนติดตามแวดล้อม เสด็จออกไปในขณะนั้นเอง


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

177

แม้พระศาสดา ในเวลาเช้ามืดวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลก ได้ทอดพระเนตรเห็น

พระเจ้ า มหากั ป ปิ น ะพร้ อ มด้ ว ยบริ ว าร ทรงพระดำริ ว่ า พระเจ้ า มหากั ป ปิ น ะพระองค์ น ี้ ได้ทรงทราบข่าวจากสำนักของพวกพ่อค้าว่า พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้ว จึงทรงเอาทรัพย์

๓ แสน บูชาถ้อยคำของพวกพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ทรงละพระราชสมบัติ ทรงมีอำมาตย์

พันคนแวดล้อมแล้ว ทรงมีพระประสงค์จะบวชอุทิศเรา พรุ่งนี้จักเสด็จออก พระราชา พระองค์นั้นพร้อมทั้งบริวารจักได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เราจักกระทำ การต้อนรับ ดังนี้ ในวันรุ่งขึ้น เมื่อจะเสด็จไปต้อนรับพระราชาผู้ครอบครองบ้านเมืองเล็ก ซึ่งคล้ายกับว่าเสด็จไปต้อนรับพระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปต้อนรับสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ทรงประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ

๖ ประการ ณ ควงไม้นิโครธ ใกล้กับฝั่งแม่น้ำจันทภาคา แม้พระราชาเสด็จมาถึงแม่น้ำ สายหนึ่ง ก็ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ชื่ออะไร พวกอำมาตย์ก็กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า อปรัจฉา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า พ่อคุณ แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ลึก ๑ คาวุต กว้าง ๒ คาวุต พระเจ้าข้า พระราชา ตรั ส ถามว่ า ก็ ใ นที่ นี้ มี เ รื อ หรื อ แพบ้ า งไหม พวกอำมาตย์ ก ราบทู ล ว่ า ไม่ มี พ ระเจ้ า ข้ า

พระราชาตรัสว่า เมื่อเรามัวห่วงถึงพาหนะมีเรือเป็นต้น ชาติคือความเกิดย่อมนำเข้าไปหา ชราความแก่ และชราความแก่ย่อมนำเข้าไปหามรณะความตาย เราเป็นผู้ไม่มีความสงสัย ออกเดินทางมาแล้ว ก็เพื่ออุทิศพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขอน้ำนี้ จงอย่ า ได้ เ ป็ น เหมื อ นน้ ำ แก่ เ ราเลย แล้ ว ทรงระลึ ก ถึ ง คุ ณ ของพระรั ต นตรั ย ระลึ ก ถึ ง

พระพุทธคุณว่า อิตปิ ิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพทุ โธ แม้เพราะเหตุนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ผู้ อ รหั น ต์ สั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระองค์ นั้ น ดั ง นี้ พร้ อ มด้ ว ยบริ ว ารกั บ ม้ า ๑,๐๐๐ ตั ว

เสด็จไปบนหลังน้ำ ม้าสินธพทั้งหลายวิ่งไปบนหลังน้ำคล้ายกับว่าวิ่งไปบนหลังแผ่นหินดาด ฉะนั้น ม้าทุกตัวเปียกแค่ปลายกีบเท่านั้น พระราชาพระองค์นั้น ทรงข้ามแม่น้ำนั้นแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปข้างหน้า

ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำแม้อื่นอีก ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ชื่ออะไร พวกอำมาตย์กราบทูล ว่า ชื่อว่านีลวาหา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้งส่วนกว้างมีขนาดประมาณครึ่งโยชน์ พระเจ้าข้า

คำที่เหลือ ก็เป็นเช่นกับคำที่กล่าวมาแล้วในตอนแรกนั่นแล ก็พระราชาทอดพระเนตรเห็น แม่ น้ ำ นั้ น แล้ ว ก็ ท รงอนุ ส รณ์ ร ะลึ ก ถึ ง พระธรรมคุ ณ ว่ า สฺ ว ากฺ ข าโต ภควตา ธมฺ โ ม

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ดังนี้แล้วก็เสด็จไปได้


178

พระพุทธเจ้า

พอเสด็จพระราชดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำนั้นไปแล้ว พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็น แม่น้ำอื่นอีกตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ชื่ออะไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ชื่อว่าจันทภาคา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้งส่วนกว้างมีขนาดโยชน์หนึ่งพอดี พระเจ้าข้า คำที่เหลือก็เป็นเช่นกับคำที่กล่าว มาแล้วในตอนแรกนั่นแล ก็พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว ก็ทรงอนุสรณ์ ระลึกถึงพระสังฆคุณว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้แล้วเสด็จไปได้ พอเสด็จพระราชดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำแม้นั้นไปได้ พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็น พระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการ แผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระศาสดา สว่างไสว ลอดออกจากกิ่ง คาคบและใบของต้นนิโครธแล้ว ทรงพระดำริว่า แสงสว่างนี้ มิใช่แสง สว่างของพระจันทร์ มิใช่แสงสว่างของพระอาทิตย์ มิใช่แสงสว่างของเทวดา มาร พรหม ครุฑ และนาคอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เราเดินทางมาเพื่ออุทิศพระศาสดา เห็นทีจักได้ พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเป็นแน่ ในบัดดลนั้นเอง พระราชาพระองค์นั้นก็เสด็จลง จากหลังม้า น้อมพระสรีระเข้าไปเฝ้าพระศาสดาตามแนวแสงแห่งพระรัศมี ได้เสด็จเข้าไป ภายในพระพุทธรัศมี ดุจดำลงไปที่มโนศิลารส ฉะนั้น พระราชาพระองค์นั้นถวายบังคม พระศาสดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ สถานที่อันสมควรข้างหนึ่งพร้อมกับอำมาตย์พันคน

พระศาสดาตรัสอนุปุพพิกถาแก่คนเหล่านั้น พอจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมกับ บริวารก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น ชนทั้งหมดลุกขึ้นแล้ว ทูลขอบวชกับพระศาสดา ทรงใคร่ครวญว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักมาประสิทธิ์แก่กุลบุตรเหล่านี้หรือไม่หนอ ก็ทรงทราบว่า กุ ล บุ ต รเหล่ า นั้ น ได้ เ คยถวายจี ว รพั น ผื น แด่ พ ระปั จ เจกพุ ท ธเจ้ า พั น องค์ ในกาลแห่ ง พระพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้ถวายจีวรสองหมื่นผืนแด่ภิกษุสองหมื่นองค์ การมา แห่งบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงไม่เป็นเหตุอศั จรรย์แก่กลุ บุตรเหล่านัน้ เลย ดังนีแ้ ล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเกิด จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทรงบริวาร ๘ เป็นดัง

พระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ พรรษา ฉะนั้น เหาะขึ้นสู่เวหาสแล้ว ก็กลับลงมาถวายบังคม พระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

179

ฝ่ า ยพวกพ่ อ ค้ า เหล่ า นั้ น เดิ น ทางไปยั ง กรุ ง กุ ก กุ ฏ วดี แ ล้ ว กราบทู ล ข่ า วสารที่

พระราชาส่งไปถวายแด่พระราชเทวีให้ทรงทราบ เมื่อพระราชเทวีตรัสว่า จงเข้ามา จึงเข้าไป ยืน ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง ที่นั้นพระราชเทวีจึงตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ เพราะเหตุไรจึงเดินทางมานี่ พวกพ่อค้าจึงกราบทูลว่า พระราชาทรงส่งพวกข้าพระพุทธเจ้า มาเฝ้ า พระองค์ นั ย ว่ า พระองค์ จ ะพระราชทานทรั พ ย์ ๓ แสนแก่ พ วกข้ า พระองค์

พระราชเทวีตรัสว่า พนาย พวกท่านพูดมากไปแล้ว พวกท่านทำประโยชน์อะไรในสำนัก ของพระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสในเรื่องอะไร จึงรับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ถึงเพียงนี้ แก่พวกท่าน พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี พวกข้าพระองค์มิได้กระทำเรื่อง อะไรอย่างอื่นเลย เพียงแค่แจ้งข่าวสารอย่างหนึ่งให้ทรงทราบเท่านั้น พระราชเทวีตรัสถามว่า พ่ อ คุ ณ อาจพอที่ จ ะบอกข่ า วสารนั้ น แม้ แ ก่ เ ราบ้ า งได้ ห รื อ พวกพ่ อ ค้ า กราบทู ล ว่ า

อาจพระเจ้าข้า แล้วบ้วนปากด้วยสุวรรณหม้อน้ำเต็มน้ำ กราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี พระพุ ท ธเจ้ า ทรงอุ บั ติ ขึ้ น แล้ ว ในโลก แม้ พ ระราชเทวี พ ระองค์ นั้ น พอได้ ส ดั บ คำนั้ น แล้ ว

เป็นผู้มีพระสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว ไม่อาจจะกำหนดอะไร ๆ ได้ถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๔ ได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว จึงตรัสว่า พ่อคุณในเพราะบทนี้ พระราชา ทรงพระราชทานทรัพย์ให้พ่อเท่าไร พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ๑ แสนพระเจ้าข้า พระราชเทวี ตรัสว่า พ่อคุณ พระราชาพระราชทานทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกท่าน เพราะได้สดับข่าวสารถึง ขนาดนี้ นับว่าทรงกระทำไม่สมควรเลย เราจะให้ทรัพย์ ๓ แสน ในเพราะบรรณาการอัน ยากแค้นของเราแก่พวกท่าน พวกท่านได้กราบทูลเรื่องอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่ พวกพ่อค้า เหล่ า นั้ น กราบทู ล ถึ ง ข่ า วสาร ๒ อย่ า งแม้ น อกนี้ ใ ห้ ท รงทราบว่ า เรื่ อ งนี้ แ ละเรื่ อ งนี้

พระราชเทวีไม่อาจจะกำหนดอะไร ๆ ได้ตลอด ๓ วาระ เหมือนกับนัยที่กล่าวแล้วในตอน แรกนั่นแล ทุก ๆ ครั้งที่ ๔ ได้พระราชทานทรัพย์ครั้งละ ๓ แสน รวมความว่าพวก พ่อค้าเหล่านั้นได้รับทรัพย์ทั้งหมดไปถึง ๑๒ แสน ลำดับนั้น พระราชเทวีจึงตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ พระราชาเสด็จ ไปในที่ไหนเล่า พวกพ่อค้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระราชาตรัสว่าเราจักบวชอุทิศ

พระศาสดาแล้วก็เสด็จไป พระราชเทวีตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรที่พระราชาพระองค์นั้นได้ มอบแก่เรามีไหม พวกพ่อค้ากราบทูลว่า นัยว่าทรงสละมอบความเป็นใหญ่ทั้งหมดแด่ พระองค์ นัยว่าพระองค์จงเสวยสมบัติตามความสุขสำราญเถิด พระราชเทวีตรัสถามว่า พวกอำมาตย์ไปไหนเสียเล่าพ่อคุณ พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี แม้พวก อำมาตย์เหล่านั้นก็พูดว่าพวกเราจักบวชกับพระราชาแล้วไปแล้ว


180

พระพุทธเจ้า

พระราชเทวีพระองค์นั้นจึงรับสั่งเรียกหาพวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า แม่คุณ สามีของพวกเจ้าสั่งไว้ว่าพวกเราจักบวชกับพระราชา แล้วก็พากันไปแล้ว

พวกเจ้ า จั ก ทำอะไร พวกภรรยาของอำมาตย์ เ หล่ า นั้ น จึ ง ทู ล ถามว่ า ข้ า แต่ พ ระราชเทวี

ข่าวสารอะไรที่พวกสามีส่งฝากมาถึงพวกหม่อมฉัน พระราชเทวีตรัสว่า ได้ทราบว่าพวก อำมาตย์เหล่านั้นได้สละมอบสมบัติของตนแก่พวกเธอ ได้ทราบว่าพวกเธอจงบริโภคสมบัติ ตามสบายเถิด พวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระราชเทวี พวกเรา จักกระทำอย่างไรดีเล่า พระราชเทวีตรัสว่า เบื้องแรก พระราชาของพวกเราพระองค์นั้น ดำรงอยู่ในหนทาง เอาทรัพย์ ๓ แสนบูชาพระรัตนตรัย แล้วสละพระราชสมบัติที่คล้ายกับ ก้ อ นเขฬะ ออกไปได้ ด้ ว ยตั้ ง พระราชหฤทั ย ว่ า เราจั ก บวช แม้ เ ราได้ ส ดั บ ข่ า วสารของ

พระรัตนตรัย ก็นำเอาทรัพย์ ๙ แสนบูชาพระรัตนตรัยนั้นแล้ว ก็ขึ้นชื่อว่าสมบัตินั้นมิใช่ จะเป็นทุกข์แด่พระราชาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเป็นทุกข์แม้แก่เราเหมือนกัน ใครจัก คุกเข่าลงที่พื้นดินแล้ว อ้าปากรับก้อนเขฬะที่พระราชาถ่มแล้วเล่า เราไม่มีความต้องการ สมบั ติ เราจั ก บวชอุ ทิ ศ พระศาสดา พวกภรรยาของพวกอำมาตย์ เ หล่ า นั้ น กราบทู ล ว่ า

ข้ า แต่ พ ระราชเทวี ถึ ง พวกข้ า พระองค์ ก็ จั ก บวชพร้ อ มกั บ พระองค์ พระราชเทวี ต รั ส ว่ า

ถ้าพวกเจ้าอาจสามารถก็นับว่าเป็นการดี พวกภรรยาของพวกอำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้ า พระองค์ อ าจสามารถพระเจ้ า ข้ า พระราชเทวี ต รั ส ว่ า ถ้ า เช่ น นั้ น พวกเจ้ า จงมา

แล้วรับสั่งให้ตระเตรียมรถพันคัน เสร็จแล้วก็เสด็จขึ้นรถ เสด็จออกไปพร้อมกับพวก ภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้น ในระหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำสายแรก ได้ตรัส ถามเหมือนอย่างที่พระราชาตรัสถามครั้งแรกเช่นกัน ได้ทรงสดับความเป็นไปทั้งหมดแล้ว จึงตรัสว่า พวกเธอจงแลดูหนทางที่พระราชาเสด็จไปแล้วซิ เมื่อพวกภรรยาของอำมาตย์ เหล่ า นั้ น กราบทู ล ว่ า พวกหม่ อ มฉั น มองไม่ เ ห็ น รอยเท้ า ของม้ า สิ น ธพเลย แล้ ว ตรั ส ว่ า

พระราชาทรงกระทำสัจกิริยาว่าเราเป็นผู้ออกไปเพื่ออุทิศพระรัตนตรัยแล้ว ทรงระลึกถึงคุณ ของพระรัตนตรัยจึงจักเสด็จไปแล้ว แม้เราออกมาก็เพื่ออุทิศพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพ แห่ ง พระรั ต นตรั ย ขอน้ ำ นี้ จ งอย่ า เป็ น ดุ จ น้ ำ แก่ เ ราเลย ดั ง นี้ ทรงอนุ ส รณ์ ถึ ง คุ ณ ของ

พระรัตนตรัย รถพันคันก็แล่นไปได้ แม่น้ำได้เป็นเช่นกับแผ่นหินดาด รถทุกคันเปียกเพียง แค่ขอบล้อเท่านั้นแล แม่น้ำอีก ๒ สายนอกนี้ พระนางและทุกคนก็ได้ข้ามไปแล้วด้วย อุบายวิธีนี้นั่นแล พระศาสดาได้ทรงทราบว่าหญิงเหล่านั้นมาแล้ว จึงทรงอธิษฐานโดยประการที่ พวกภิ ก ษุ ผู้ เ ป็ น สามี ซึ่ ง นั่ ง อยู่ แ ล้ ว ในสำนั ก ของพระองค์ ใ ห้ ม องไม่ เ ห็ น หญิ ง เหล่ า นั้ น


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

181

แม้พระราชเทวีกำลังเสด็จมาได้ทอดพระเนตรเห็นพระรัศมี ซึ่งแผ่ซ่านออกจากพระสรีระ ของพระศาสดาแล้ ว ก็ ไ ด้ ท รงจิ น ตนาการเช่ น เดี ย วกั บ พระเจ้ า มหากั ป ปิ น ะเหมื อ นกั น

แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมประทับยืนอยู่สถานที่อันสมควรข้างหนึ่ง แล้วทูลถาม ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้ามหากัปปินะเสด็จออกเพื่ออุทิศพระองค์ (บัดนี้) พระเจ้า มหากัปปินะพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ขอพระองค์จงแสดงพระราชาพระองค์ นั้นให้ปรากฏแก่พวกหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า เชิญพวกเธอนั่งก่อน เถอะ พวกเธอจักได้พบเห็นพระราชาพระองค์นั้นในที่นี้แหละ หญิงเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ร่าเริงดีใจพูดกันว่า นัยว่าพวกเรานั่งแล้วในที่นี้แหละ จักได้พบเห็นพวกสามีของพวกเราแน่ ดังนี้ จึงนั่งแล้ว พระศาสดาได้ตรัสแสดงอนุปุพพิกถา (แก่หญิงทั้งหมด) ในเวลาจบเทศนา พระนางอโนชาเทวีก็บรรลุโสดาปัตติผลพร้อมกับหญิงเหล่านั้น พระมหากัปปินะเถระพร้อม ด้ ว ยพระบริ ว ารได้ ส ดั บ พระธรรมเทศนาที่ พ ระศาสดาทรงแสดงแก่ ห ญิ ง เหล่ า นั้ น แล้ ว

ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ในขณะนั้น พระศาสดาได้ทรงแสดงให้หญิง เหล่านั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นได้ ก็ในขณะที่หญิงเหล่านั้นมาถึงแล้ว ได้เห็นพวกสามีของตนซึ่ง ทรงผ้ากาสาวะ มีศีรษะโล้นเข้า จิตก็จะไม่พึงมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ จะไม่พึงอาจเพื่อที่จะทำ มรรคและผลให้บังเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เวลาที่พวกเธอมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แล้ ว พระศาสดาจึ ง ทรงแสดงภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ผู้ ไ ด้ บ รรลุ พ ระอรหั ต แล้ ว แก่ ห ญิ ง เหล่ า นั้ น

แม้หญิงเหล่านั้นได้เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็ได้กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วเรียนว่า ท่านผู้เจริญ กิจแห่งบรรพชิตของท่านถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แล้วถวายบังคมพระศาสดา ยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วได้ทูลขอบรรพชา ในขณะที่หญิงเหล่านั้นกล่าวคำขอบรรพชาอย่างนี้พระศาสดา ได้ทรงดำริถึงการ

มาของนางอุบลวรรณาเถรี ในบัดดลที่พระศาสดาทรงดำริแล้วเท่านั้น นางอุบลวรรณาเถรีนั้น ก็มาโดยทางอากาศ รับเอาหญิงเหล่านั้นทั้งหมดนำไปยังสำนักภิกษุณีโดยทางอากาศแล้วจึง ให้บรรพชา ไม่นานเท่าไรนักหญิงเหล่านั้นทั้งหมดก็ได้บรรลุพระอรหัต พระศาสดาได้ทรง พาภิกษุพันรูปไปยังพระเชตวันวิหารโดยทางอากาศ สดั บ มาว่ า ณ ที่ พ ระเชตวั น นั้ น ท่ า นพระมหากั ป ปิ น ะเที่ ย วเปล่ ง อุ ท านว่ า

อโห สุขํ อโห สุขํ โอ สุขจริงหนอ โอ สุขจริงหนอ ในสถานที่ต่าง ๆ มีที่พักกลางคืน เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระมหากัปปินะ เที่ยวเปล่งอุทานว่า โอ สุขจริงหนอ โอ สุขจริงหนอ ดังนี้


182

พระพุทธเจ้า

คงจะเปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอันเกิดแต่พระราชสมบัติของตนกระมัง พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระมหากัปปินะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ ทราบว่า เธอเปล่งอุทาน ปรารภถึงความสุขอันเกิดแก่กามจริงหรือ พระมหากัปปินะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า ข้าพระองค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขนั้น หรือว่าข้าพระองค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอื่น ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราจะได้เปล่งอุทาน ปรารภถึ ง ความสุ ข อั น เกิ ด แก่ ก าม (หรื อ ว่ า ) ความสุ ข อั น เกิ ด แก่ ร าชสมบั ติ ก็ ห ามิ ไ ด้

หากแต่ธรรมปีติย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุตรของเราผู้ประพฤติธรรมอยู่เท่านั้น เธอปรารภถึง

อมตมหานิพพานจึงได้เปล่งอุทานอย่างนั้น ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบต่ออนุสนธิแสดงธรรมจึง ตรัสพระคาถาว่า ผู้มีปีติในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อม ยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วในกาลทุกเมื่อ ดังนี้ ต่อ มาวั น หนึ่ง พระศาสดาตรัส เรีย กภิก ษุ ทั้งหลายมาว่ า ดูก่อ นภิก ษุ ทั้งหลาย

พระกั ป ปิ น ะได้ แ สดงธรรมแก่ ภิ ก ษุ ทั้ ง หลายหรื อ เปล่ า ? พวกภิ ก ษุ ก ราบทู ล ว่ า ข้ า แต่ พระองค์ผู้เจริญ พระมหากัปปินะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ประกอบอยู่ด้วยความสุขที่ เป็นไปในทิฏฐธรรม ไม่ยอมให้แม้กระทั่งโอวาท พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้เรียกพระเถระ

มาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ ทราบว่าเธอไม่ยอมให้แม้กระทั่งโอวาทแก่พวกภิกษุอันเตวาสิก จริงไหม ? พระมหากัปปินะกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า พราหมณ์ เธออย่าได้กระทำอย่างนั้นเลย ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุที่เข้ามาหาแล้ว พระเถระทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าว่า สาธุ ดีละ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงโอวาทให้สมณะพันรูปดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วยการโอวาทเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงสถาปนาพระสาวกของพระองค์ไว้ตามลำดับ จึงได้ทรง สถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัปปินะเป็นผู้เลิศกว่าสาวก ทั้งหลายของเราผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุแล จบ อรรถกถามหากัปปินเถราปทาน (บางส่วน)


มหากัปปินเถราปทานและอรรถกถา

หลักธรรม

183


แสงแห่งธรรมยังคงสาดส่องสู่พระพุทธรูป

ที่ประดิษฐานภายนอกอุโบสถ วัดเก้ายอด เมืองเวียงจันน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


01.����������������.indd 3

6/20/19 9:50 AM


กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์

กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

เป็นการยาก

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย

เป็นอยู่ยาก

การฟังพระสัทธรรม

เป็นของยาก

การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก โก นุ หาโส กิมานนฺโท

นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ

อนฺธกาเรน โอนทฺธา

ปทีปํ น คเวสถ.

เมื่อโลกสันนิวาส

อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์

พวกเธอยังจะร่าเริง

บันเทิงอะไรกันหนอ ?

เธอทั้งหลายอันความมืดปกคลุมแล้ว ท�ำไมจึงไม่แสวงหาประทีปเล่า ? สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท

สุขา สทฺธมฺมเทสนา

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี

สมคฺคานํ ตโป สุโข.

ความเกิดขึ้นเเห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุน�ำสุขมา การแสดงธรรมของสัตบุรุษ ความพร้อมเพรียงของหมู่

ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน

01.����������������.indd 4

เป็นเหตุน�ำสุขมา เป็นเหตุน�ำสุขมา เป็นเหตุน�ำสุขมา

6/20/19 9:50 AM


มหานิทานสูตร

185

๑. มหานิทานสูตร เหตุที่ทำให้เกิดกองทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ทีฆนิกาย มหาวรรค

เรื่อง พระอานนทเถระ [๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุนามว่า

กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป เฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์ นั่ ง เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ได้ ก ราบทู ล ความข้ อ นี้ ก ะพระผู้ มี พ ระภาคว่ า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ

น่ า อั ศ จรรย์ ไม่ เ คยมี ม า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ปฏิ จ จสมุ ป บาทนี้ ลึ ก ซึ้ ง สุ ด ประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของ ตื้นนัก

ปฏิจจสมุปบาทกถา พระผู้ มี พ ระภาคตรั ส ว่ า เธออย่ า พู ด อย่ า งนั้ น อานนท์ เธออย่ า พู ด อย่ า งนั้ น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์ เพราะ ไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของ ช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้า ปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึง ตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ชาติมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสงิ่ นีเ้ ป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีตณ ั หาเป็นปัจจัย เมือ่ เธอถูกถามว่า


186

หลักธรรม

ตัณหามีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึง ตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า เวทนามี อะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งนี้เป็น ปั จ จั ย หรื อ เธอพึ ง ตอบว่ า มี ถ้ า เขาถามว่ า ผั ส สะมี อ ะไรเป็ น ปั จ จั ย เธอพึ ง ตอบว่ า มีนามรูปเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูก ถามว่า วิญญาณมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็น ปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิด ผั ส สะ เพราะผั ส สะเป็ น ปั จ จั ย จึ ง เกิ ด เวทนา เพราะเวทนาเป็ น ปั จ จั ย จึ ง เกิ ด ตั ณ หา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปทาน เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็น ปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ [๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพ ไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวกเทพ เพื่อความเป็น คนธรรพ์ แ ห่ ง พวกคนธรรพ์ เพื่ อ ความเป็ น ยั ก ษ์ แ ห่ ง พวกยั ก ษ์ เพื่ อ ความเป็ น ภู ต แห่ ง พวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็นสัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๆ แห่งสัตว์พวกนั้น ๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะก็คือชาติ นั่นเอง


มหานิทานสูตร

187

ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไป ทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติก็คือภพนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพ ไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพก็คืออุปาทาน นั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏ ได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทานก็คือตัณหา นั่นเอง


188

หลักธรรม

ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะ พึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหาก็คือเวทนา นั่นเอง [๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัยเวทนาจึงเกิด ตั ณ หา เพราะอาศั ย ตั ณ หาจึ ง เกิ ด การแสวงหา เพราะอาศั ย การแสวงหาจึ ง เกิ ด ลาภ เพราะอาศั ย ลาภจึ ง เกิ ด การตกลงใจ เพราะอาศั ย การตกลงใจจึ ง เกิ ด การรั ก ใคร่ พึ ง ใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจ จึงเกิดการพะวง เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่ามึงมึง การพูดคำ ส่อเสียดและการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการป้องกันอกุศล ธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะการแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่ามึงมึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการ ป้องกันมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการ ทั้งปวง เพราะหมดการป้องกัน อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะการแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่ามึงมึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่ง


มหานิทานสูตร

189

อกุ ศ ลธรรมอั น ชั่ ว ช้ า ลามกเหล่ า นี้ คื อ การถื อ ไม้ ถื อ มี ด การทะเลาะ การแก่ ง แย่ ง การวิวาท การกล่าวว่ามึงมึง การกล่าวคำส่อเสียดและการพูดเท็จก็คือการป้องกันนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความตระหนี่มิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตระหนี่โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความ ตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการป้องกันก็คือ ความตระหนี่นั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความยึดถือมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึดถือโดยประการทั้งปวง เพราะดับความ ยึดถือเสียได้ ความตระหนี่จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความตระหนี่ ก็คือ ความยึดถือนั้นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการพะวงมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการทั้งปวง เพราะดับการพะวง เสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความยึดถือ ก็คือ การพะวงนั่นเอง


190

หลักธรรม

ก็ ค ำนี้ ว่ า เพราะอาศั ย ความรั ก ใคร่ พึ ง ใจจึ ง เกิ ด การพะวง เรากล่ า วอธิ บ าย ดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความรักใคร่พึงใจมิได้มี แก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การพะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการพะวงก็คือความ รักใคร่พึงใจนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความตกลงใจมิได้มี แก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตกลงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรักใคร่พึงใจก็คือ ความตกลงใจนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง เพราะหมดลาภ ความตกลงใจจะพึง ปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า


มหานิทานสูตร

191

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความตกลงใจก็คือ ลาภนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถา้ การแสวงหามิได้มแี ก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหา ลาภจะ พึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุ นั้ น แหละ อานนท์ เหตุ นิ ท าน สมุ ทั ย ปั จ จั ย ของลาภก็ คื อ

การแสวงหานั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนเราได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อไม่มีตัณหาโดยประการ ทั้งปวง เพราะดับตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึง ปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการแสวงหาก็คือ ตัณหานั่นเอง [๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนาโดยส่วน สองด้วยประการดังนี้แล ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส


192

หลักธรรม

มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะดับผัสสะเสียได้ เวทนาจะพึงปรากฏ ได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนาก็คือผัสสะ นั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายต้องพร้อมด้วย อาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศนั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสเพียง แต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึงปรากฏในนาม กายได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการเพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อก็ดี การสัมผัสโดย การกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ดู ก รอานนท์ การบั ญ ญั ติ น ามรู ป ต้ อ งพร้ อ มด้ ว ยอาการ เพศ นิ มิ ต อุ เ ทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะก็คือนามรูป นั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า


มหานิทานสูตร

193

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่หยั่งลงในท้องแห่ง มารดา นามรูปจักเกิดขึ้นในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้ว จักล่วงเลยไป นามรูป จักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาด ความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุ นั่ น แหละ อานนท์ เหตุ นิ ท าน สมุ ทั ย ปั จ จั ย แห่ ง นามรู ป ก็ คื อ วิญญาณนั่นเอง ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูป แล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติ ชรา มรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏต่อไปได้บ้างไหม ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณก็คือ นามรู ป นั่ น เอง ด้ ว ยเหตุ ผ ลเพี ย งเท่ า นี้ แ หละ อานนท์ วิ ญ ญาณและนามรู ป จึ ง ยั ง เกิ ด แก่ ตาย จุติ หรืออุบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุตติ ทางแห่งบัญญัติ ทางที่กำหนดรู้ด้วย ปัญญา และวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ๆ ความเป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อ บัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ

อัตตบัญญัติกถา [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุประมาณ เท่าไร ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเรามีรูป เป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุด


194

หลักธรรม

มิ ไ ด้ เมื่ อ บั ญ ญั ติ อั ต ตาไม่ มี รู ป เป็ น กามาวจร ย่ อ มบั ญ ญั ติ ว่ า อั ต ตาของเราไม่ มี รู ป เป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูป หาที่สุดมิได้ ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่า

เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลง ความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้มีบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่า เราจักยัง สภาพที่ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนัน้ ผูท้ บี่ ญ ั ญัตอิ ตั ตาไม่มรี ปู เป็นกามาวจรนัน้ ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมีความเห็นว่า เราจักยัง สภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ส่วนผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปทั้งหา ที่ สุ ด มิ ไ ด้ นั้ น ย่ อ มบั ญ ญั ติ ใ นกาลบั ด นี้ หรื อ บั ญ ญั ติ ซึ่ ง สภาพที่ เ ป็ น อย่ า งนั้ น หรื อ มี ความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เทียงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดานผู้มีอรูป เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าว ไว้ด้วย ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล

กถาว่าด้วยการไม่บัญญัติอัตตา [๖๒] ดู ก รอานนท์ บุ ค คลเมื่ อ ไม่ บั ญ ญั ติ อั ต ตา ย่ อ มไม่ บั ญ ญั ติ ด้ ว ยเหตุ มี ประมาณเท่าไร อานนท์ ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีรูปอันหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า


มหานิทานสูตร

195

อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ หรือเมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่ บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่ง สภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติด สันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่ บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ส่ ว นผู้ ที่ ไ ม่ บั ญ ญั ติ อั ต ตาไม่ มี รู ป เป็ น กามาวจรนั้ น ย่ อ มไม่ บั ญ ญั ติ ใ นกาลบั ด นี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ ที่มีอยู่ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่ บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ ให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ดูกรอานนท์ บุคคลเมือ่ ไม่บญ ั ญัตอิ ตั ตา ย่อมไม่บญ ั ญัตดิ ว้ ยเหตุมปี ระมาณเท่านีแ้ ล

อัตตสมนุปัสสนากถา [๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา อานนท์ หรือเล็งเห็น อัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลยจะว่าอัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่


196

หลักธรรม

อั ต ตาของเรายั ง ต้ อ งเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้ น อั ต ตาของเรามี เ วทนาเป็ น ธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนามี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตาเสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น

ในสมั ย ใด อั ต ตาเสวยอทุ ก ขมสุ ข เวทนา ในสมั ย นั้ น ไม่ ไ ด้ เ สวยสุ ข เวทนา ไม่ ไ ด้ เ สวย ทุกขเวทนาเลย เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขมสุขก็ดี ล้ ว นไม่ เ ที่ ย ง ปั จ จั ย ปรุ ง แต่ ง ขึ้ น เกิ ด ขึ้ น เพราะอาศั ย ปั จ จั ย มี ค วามสิ้ น ความเสื่ อ ม ความคลาย และความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า

นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไปจึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับ ไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็น เวทนาอันไม่เที่ยง เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็น อัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ ล้วน ๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ในรูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็น เราได้หรือ ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนาไม่เป็น อัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ส่วนผู้ที่


มหานิทานสูตร

197

กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูก ซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้นไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไปยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์ นั้น ๆ ดับไปแล้ว ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาไม่เป็นอัตตา ของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้

วิมุตตจิตตกถา [๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่เล็งเห็นอัตตา ว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ เรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี อานนท์ ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่

ว่าเบือ้ งหน้าแต่ตายสัตว์ไม่มอี ยู่ ว่าเบือ้ งหน้าแต่ตาย สัตว์มอี ยูด่ ว้ ย ไม่มอี ยูด่ ว้ ย ว่าเบือ้ งหน้า แต่ ต าย สั ต ว์ มี อ ยู่ ก็ ห ามิ ไ ด้ ไม่ มี อ ยู่ ก็ ห ามิ ไ ด้ ดั ง นี้ ก ะภิ ก ษุ ผู้ ห ลุ ด พ้ น แล้ ว อย่ า งนี้

การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ ชือ่ ทางแห่งชือ่ ทางแห่งนิรตุ ติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ การแต่งตัง้ ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสารยังคงหมุนเวียนอยู่ ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มีทิฐิว่า ใคร ๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น ข้อนั้นไม่สมควร


198

หลักธรรม

สัตตวิญญาณัฏฐิติกถา ทวายตนกถา [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. สั ต ว์ มี ก ายต่ า งกั น มี สั ญ ญาต่ า งกั น ได้ แ ก่ พวกมนุ ษ ย์ และพวกเทพ บางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องใน ชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. สั ต ว์ มี ก ายอย่ า งเดี ย วกั น มี สั ญ ญาต่ า งกั น ได้ แ ก่ พวกเทพชั้ น อาภั ส สร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. สั ต ว์ ที่ มี ก ายอย่ า งเดี ย วกั น มี สั ญ ญาอย่ า งเดี ย วกั น ได้ แ ก่ พวกเทพชั้ น

สุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการ ทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มีว่า สัตว์มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน ได้แก่ พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาต บางพวก ผู้ ที่ รู้ ชั ด วิ ญ ญาณฐิ ติ ข้ อ นั้ น รู้ ค วามเกิ ด และความดั บ รู้ คุ ณ และโทษ แห่ ง วิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อ เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ


มหานิทานสูตร

199

ไม่ควร พระเจ้าข้า วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า

ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออก ไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ไม่ควร พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ ที่ รู้ ชั ด อสั ญ ญี สั ต ตายตนะข้ อ นั้ น รู้ ค วามเกิ ด และความดั บ รู้ คุ ณ และโทษ แห่ ง อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น

เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตยตนะนั้นอีกหรือ ไม่ควร พระเจ้าข้า ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้ อ นั้ น รู้ ค วามเกิ ด และความดั บ รู้ คุ ณ และโทษแห่ ง เนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะข้ อ นั้ น

และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิด เพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ไม่ควร พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ ทั้งคุณและโทษ และอุบายเป็นเครือ่ งออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ

อัฏฐวิโมกขกถา [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑ ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ข้อที่ ๒ ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่ากสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓


200

หลักธรรม

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง รู ป สั ญ ญา เพราะดั บ ปฏิ ฆ สั ญ ญา เพราะไม่ ใ ส่ ใ จถึ ง มานั ต ตสั ญ ญาโดยประการทั้ ง ปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔ ๕. ผู้ ที่ บ รรลุ วิ ญ ญาณั ญ จายตนะ ด้ ว ยมนสิ ก ารว่ า วิ ญ ญาณหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕ ๖. ผู้ ที่ บ รรลุ อ ากิ ญ จั ญ ญายตนะ ด้ ว ยมนสิ ก ารว่ า ไม่ มี อ ะไร เพราะล่ ว ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖ ๗. ผู้ ที่ บ รรลุ เ นวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะ เพราะล่ ว งอากิ ญ จั ญ ญายตนะโดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗ ๘. ผู้ ที่ บ รรลุ สั ญ ญาเวทยิ ต นิ โ รธ เพราะล่ ว งเนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะโดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการตาม สิง่ ทีป่ รารถนา และตามกำหนดทีต่ อ้ งประสงค์จงึ บรรลุเจโตวิมตุ ติ ปัญญาวิมตุ ติ อันหาอาสวะ มิได้เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่าอุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ ที่จะยิ่งหรือ ประณีตไปกว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล จบ มหานิทานสูตร


วิภังคสูตร

201

๒. วิภังคสูตร การจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท [๔] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุ ง สาวั ต ถี พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เราตถาคตจั ก แสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราตถาคตจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว [๕] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ก็ ป ฏิ จ จสมุ ป บาท เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึง มีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ชราและมรณะ เป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่ง อิ น ทรี ย์ ในหมู่ สั ต ว์ นั้ น ๆ ของเหล่ า สั ต ว์ นั้ น ๆ นี้ เ รี ย กกว่ า ชรา ก็ ม รณะเป็ น ไฉน การเคลื่อนที่ การย้ายที่ ความทำลาย ความอันตรธาน ความม้วยมรณะ การถึงแก่กรรม ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้เรียกว่า ชราและ มรณะ [๗] ก็ ชาติ เป็นไฉน ความเกิด ความก่อเกิด ความหยั่งลง ความบังเกิด ความเกิ ด จำเพาะ ความปรากฏแห่ ง ขั น ธ์ ความได้ อ ายตนะครบ ในหมู่ สั ต ว์ นั้ น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่าชาติ (คือเป็นชลาพุชะ ๑ เป็นอัณฑชะ ๑ เป็นสังเสทชะ ๑ เป็นอุปปาติกะ ๑)


202

หลักธรรม

[๘] ก็ ภพ เป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ [๙] ก็ อุปาทาน เป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน [๑๐] ก็ ตัณหา เป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา [๑๑] ก็ เวทนา เป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา [๑๒] ก็ ผัสสะ เป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ [๑๓] ก็ สฬายตนะ เป็นไฉน อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียก ว่าสฬายตนะ [๑๔] ก็ นามรูป เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนา ฉะนี้ เรียกว่านามรูป [๑๕] ก็ วิญญาณ เป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ [๑๖] ก็ สังขาร เป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร [๑๗] ก็ อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เพราะอวิ ช ชาเป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี สั ง ขาร เพราะสั ง ขารเป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี วิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ [๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ จบ วิภังคสูตร


ผัคคุนสูตร

203

๓. ผัคคุนสูตร ไม่มีมีใคร มีแต่ปฏิจจะ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามเรื่องอาหาร [๓๑] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผแู้ สวงหาทีเ่ กิด อาหาร ๔ เป็นไฉน (๑) กวฬิงการาหาร หยาบหรือละเอียด (๒) ผัสสาหาร (๓) มโนสัญเจตนาหาร (๔) วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมา แล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด [๓๒] เมื่ อ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส อย่ า งนั้ น แล้ ว ท่ า นพระโมลิ ย ผั ค คุ น ะได้ กราบทู ล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ข้ า ใครหนอย่ อ มกลื น กิ น วิ ญ ญาณาหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน (วิญญาณาหาร) ถ้ า เรากล่ า วว่ า กลื น กิ น (วิ ญ ญาณาหาร) ควรตั้ ง ปั ญ หาในข้ อ นั้ น ได้ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ข้ า

ใครหนอย่อมกลืนกิน (วิญญาณาหาร) แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้ กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็น ปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพ ใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิดมีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ [๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมถูกต้อง ควรตั้ ง ปั ญ หาในข้ อ นั้ น ได้ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ข้ า ใครหนอย่ อ มถู ก ต้ อ ง แต่ เ รามิ ไ ด้ ก ล่ า ว อย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็น ปัจจัยหนอจึงมีผัสสะ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา


204

หลักธรรม

[๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ ภ. ตั้ ง ปั ญ หายั ง ไม่ ถู ก เรามิ ไ ด้ ก ล่ า วว่ า ย่ อ มเสวยอารมณ์ ถ้ า เรากล่ า วว่ า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่ เ รามิ ไ ด้ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น ผู้ ใ ดถามเราผู้ มิ ไ ด้ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น อย่ า งนี้ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ข้ า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอจึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหา นั้นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา [๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน ภ. ตั้ ง ปั ญ หายั ง ไม่ ถู ก เรามิ ไ ด้ ก ล่ า วว่ า ย่ อ มทะเยอทะยาน ถ้ า เรากล่ า วว่ า ย่ อ มทะเยอทะยาน ควรตั้ ง ปั ญ หาในข้ อ นั้ น ได้ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ข้ า ใครหนอย่ อ ม ทะเยอทะยาน แต่ เ รามิ ไ ด้ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น ผู้ ใ ดถามเราผู้ มิ ไ ด้ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น อย่ า งนี้ ว่ า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอจึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้ กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน [๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่า ย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอจึงมี อุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็น ปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๓๗] ดูก่อนผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอกโดย ไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ จบ ผัคคุนสูตร


กัจจานโคตรสูตร

205

๔.กัจจานโคตรสูตร ไม่เกี่ยวกับส่วนสุดข้างมีหรือไม่ม ี สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยพระกัจจานโคตรทูลถามสัมมาทิฏฐิ [๔๒] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ [๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี (สัสสตทิฏฐิ) ๑ ความไม่มี (อุจเฉททิฏฐิ) ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็น ความเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทาน และอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย

อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ใน เรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ [๔๔] ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า

สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลางไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดย ไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ จบ กัจจานโคตรสูตร


206

หลักธรรม

๕. ติมพรุกขสูตร สุขทุกข์ใครทำให้ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยสุขและทุกข์เกิดแต่ปัจจัย [๕๓] พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อติมพรุกขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง [๕๔] ครั้นแล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่าน พระโคดม สุขและทุกข์ ตนกระทำเองหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ต. สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ต. สุขและทุกข์ ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านพระโคดม ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ต. สุขและทุกข์บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ หรือ ท่านพระโคดม ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ต. สุขและทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ภ. สุขและทุกข์ไม่มี หามิได้ สุขและทุกข์มีอยู่ ติมพรุกขะ ต. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์ ก. เราย่อมไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นสุขและทุกข์อยู่ ติมพรุกขะ


ติมพรุกขสูตร

207

ต. เมื่ อ ข้ า พเจ้ า ถามว่ า ข้ า แต่ ท่ า นพระโคดม สุ ข และทุ ก ข์ ต นกระทำเองหรื อ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า

สุ ข และทุ ก ข์ ต นกระทำเองด้ ว ย ผู้ อื่ น กระทำให้ ด้ ว ยหรื อ ท่ า นพระโคดม ท่ า นตรั ส ว่ า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่ มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าสุขและทุกข์ไม่มีหรือ ท่านตรัสว่า สุขและทุกข์ไม่มี หามิได้ สุขและทุกข์มีอยู่ ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้ เราเห็นสุขและทุกข์ อยู่ ติมพรุกขะ ขอท่านพระโคดมจงตรัสบอกสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมจง ทรงแสดงสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้า [๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนติมพรุกขะ เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่นเวทนา นั่นผู้เสวย (เวทนา) ดังนี้ แต่เราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ตนกระทำเอง เมื่อบุคคล ถูกเวทนาทิ่มแทง (รู้) อยู่ว่าเวทนาอย่างหนึ่ง ผู้เสวย (เวทนา) เป็นอีกคนหนึ่ง ดังนี้

แต่เราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดูก่อนติมพรุกขะ ตถาคตแสดงธรรม โดยสายกลางไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๕๖] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส อย่ า งนี้ แ ล้ ว ติ ม พรุ ก ขปริ พ าชกได้ ก ราบทู ล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก ปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ ตามประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่าน พระโคดมกั บ ทั้ ง พระธรรมและพระภิ ก ษุ ส งฆ์ เ ป็ น สรณะ ขอท่ า นพระโคดมจงทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป จบ ติมพรุกขสูตร


208

หลักธรรม

๖. ปัจจัยสูตร เห็นเหตุเป็นปัจจัย ก็เลิกเห็นว่ามีเราจริง สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น [๖๐] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว [๖๑] พระผู้ มี พระภาคเจ้า ได้ตรั ส ว่า ดู ก่อ นภิ ก ษุ ทั้งหลาย ก็ ปฏิจจสมุ ปบาท เป็ น ไฉน ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เพราะชาติ เ ป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี ช ราและมรณะ พระตถาคต

ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ (ความตั้งอยู่ ธรรมดา) ๑ ธัมมนิยาม (ความแน่นอนของธรรมดา) ๑ อิทปั ปัจจัย (มูลเหตุอนั แน่นอน) ๑ ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ... เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ... เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็น ปัจจัยจึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร พระตถาคต ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม กระบวนธรรมแห่ ง เหตุ ปั จ จั ย เป็ น ไปตามความสั ม พั น ธ์ แ ห่ ง เหตุ ปั จ จั ย ก็ ยั ง ดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ความจริ ง แท้ ความไม่ ค ลาดเคลื่ อ น


ปัจจัยสูตร

209

ความไม่เป็นอย่างอืน่ มูลเหตุอนั แน่นอนในธาตุอนั นัน้ ดังพรรณนามาฉะนัน้ แล เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท [๖๒] ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ก็ธรรมทีอ่ าศัยกันเกิดขึน้ เป็นไฉน ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผั ส สะ ... สฬายตนะ ... นามรู ป ... วิ ญ ญาณ ... สั ง ขาร ... อวิ ช ชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น [๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวก นั้ น แล่ น เข้ า ถึ ง ที่ สุ ด เบื้ อ งต้ น ว่ า ในอดี ต กาลเราได้ เ ป็ น หรื อ หนอ ในอดี ต กาลเราได้ เ ป็ น

อะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ แล้วได้มา เป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ อนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็น ภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็นอยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็น อย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจสมุปบาทและธรรมที่อาศัยกัน

เกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง จบ ปัจจยสูตร


210

หลักธรรม

๗. อุปนิสสูตร ธรรมะที่อิงอาศัยกันเกิด สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยธรรมที่อิงอาศัยกัน [๖๘] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึง กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมี เมื่อเรารู้เราเห็นว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ... ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี [๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป (อรหัตตผล) เกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่ามีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่าวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่ อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่าวิราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุ ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่ อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่านิพพิทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามี เหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่ อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่ายถาภูตญาณทัสสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ


อุปนิสสูตร

211

ทั้ ง หลาย ก็ อ ะไรเล่ า เป็ น เหตุ ที่ อิ ง อาศั ย แห่ ง ยถาภู ต ญาณทั ส สนะ ควรกล่ า วว่ า สมาธิ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เรากล่ า วแม้ ซึ่ ง สมาธิ ว่ า มี เ หตุ ที่ อิ ง อาศั ย มิ ไ ด้ ก ล่ า วว่ า ไม่ มี เ หตุ ที่

อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่าสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่าปัสสัทธิ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่าปีติ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่าความปราโมทย์ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่าศรัทธา ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เรากล่ า วแม้ ซึ่ ง ศรั ท ธาว่ า มี เ หตุ ที่ อิ ง อาศั ย มิ ไ ด้ ก ล่ า วว่ า ไม่ มี เ หตุ ที่ อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่าทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่ อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่าชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่าอุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่าตัณหา ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา ควรกล่าวว่าเวทนา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่าผัสสะ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน


212

หลักธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่าสฬายตนะ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่านามรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่

อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าว ว่าสังขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง สังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่าอวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี อวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย ผั ส สะมี ส ฬายตนะเป็ น ที่ อิ ง อาศั ย เวทนามี ผั ส สะเป็ น ที่ อิ ง อาศั ย ตั ณ หามี เ วทนาเป็ น ที่ อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย ชาติมีภพเป็นที่ อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความปราโมทย์มีศรัทธา เป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็น ที่ อิ ง อาศั ย สมาธิ มี สุ ข เป็ น ที่ อิ ง อาศั ย ยถาภู ต ญาณทั ส สนะมี ส มาธิ เ ป็ น ที่ อิ ง อาศั ย

นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติมี วิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย [๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไป ตามทีล่ มุ่ ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วยทัง้ หลายเต็มเปีย่ มแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อย ๆ ให้เต็ม แม่น้ำน้อย ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ๆ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ... ญาณในธรรม เป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล จบ อุปนิสสูตร


ญาณวัตถุสูตร

213

๘. ญาณวัตถุสูตร ความรู้แบบอริยสัจในปฏิจจสมุปบาท สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยญาณวัตถุ ๔๔ [๑๑๘] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจั ก แสดงญาณวั ต ถุ ๔๔ แก่ เ ธอทั้ ง หลาย เธอทั้ ง หลายจงตั้ ง ใจฟั ง ซึ่ ง ญาณวั ต ถุ นั้ น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉน คือ ความรูใ้ นชราและมรณะ ๑ ความรูใ้ นเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและ มรณะ ๑ ความรู้ ใ นชาติ ๑ ความรู้ ใ นเหตุ เ ป็ น แดนเกิ ด แห่ ง ชาติ ๑ ความรู้ ใ น ความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอัน ให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่ง ตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ใน เหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่ง สฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ใน ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิด แห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับ


214

หลักธรรม

แห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขาร ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านั้นเรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ [๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่ง อินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของ ความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตก แห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์ นั้น ๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดบั ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึง ธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ [๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่ง ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรม ของอริยสาวก นั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผล ไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาล เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความ ดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชรา และมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณ ของอริยสาวกนั้น [๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ (มรรคญาณ) ๑ อั น วยญาณ (ผลญาณ) ๑ เหล่ า นี้ ข องพระอริ ย สาวก เป็ น ธรรมชาติ บ ริ สุ ท ธิ์ ผุ ด ผ่ อ ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วย ทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง


ญาณวัตถุสูตร

215

ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญา เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตะนิพพานบ้าง [๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ส ฬายตนะเป็ น ไฉน ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ก็ น ามรู ป เป็ น ไฉน ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลายก็ วิญญาณเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสงั ขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นีเ้ รียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตัง้ ใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร [๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิด แห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง สังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีต และอนาคตไปด้วยธรรมนี้ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อั น ตนหยั่ ง รู้ แ ล้ ว สมณะหรื อ พราหมณ์ ใ นอดี ต กาลเหล่ า ใดเหล่ า หนึ่ ง ก็ ไ ด้ รู้ สั ง ขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง สังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้ เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จั ก รู้ ป ฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง สั ง ขาร เหมื อ นอย่ า งที่ เ รารู้ ใ นบั ด นี้ เ หมื อ นกั น ทั้ ง นั้ น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น [๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้

เราเรีย กว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏ ฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศ นะบ้าง ผู้ม าสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนีบ้ า้ ง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตู อมตนิพพานบ้าง ดังนี้ จบ ญาณวัตถุสูตร


216

หลักธรรม

๙. ทุกขนิโรธสูตร ความเกิดและความดับสนิทแห่งทุกข์ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์ [๑๖๑] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่ง ทุกข์และความดับแห่งทุกข์ ท่านทัง้ หลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านัน้ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า [๑๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้น แห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิด ตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะ อาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ [๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและ รูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วย สำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์


ทุกขนิโรธสูตร

217

เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศั ย กายและโผฏฐั พ พะ ... เพราะอาศั ย ใจและธรรม จึ ง เกิ ด มโนวิ ญ ญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็ น ปั จ จั ย จึ ง เกิ ด ตั ณ หา เพราะตั ณ หานั้ น เที ย วดั บ ด้ ว ยสำรอกโดยไม่ เ หลื อ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เมื่อชาติดับ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมด้วย ประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายนี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ จบ ทุกขนิโรธสูตร


218

หลักธรรม

๑๐. ปรีวีมังสนสูตร การพิจารณาเพื่อสิ้นทุกข์ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยการพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ [๑๘๘] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมั ย หนึ่ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ภิกษุเหล่านัน้ ทูลรับพระผูม้ พี ระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณา พึงพิจารณา เพือ่ ความสิน้ ทุกข์โดยชอบโดยประการทัง้ ปวง ภิกษุเหล่านัน้ ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้ง หลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มี พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่ม แจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว [๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น

ในโลก ทุกข์นมี้ อี ะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทยั มีอะไรเป็นกำเนิด อะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมีชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้ แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและ มรณะ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและ มรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า


ปรีวีมังสนสูตร

219

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ [๑๙๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ชาตินี้ มีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี

เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพ เป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึง ไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับ แห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ [๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ภพนี้มีอะไร เป็นเหตุ … ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ … ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ … ก็เวทนานี้มีอะไร เป็นเหตุ … ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ … ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ … ก็นามรูปนี้ มีอะไรเป็นเหตุ … ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ … ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีสังขารจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชา เป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชา ไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่ง สังขาร และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ

ถ้ า สั ง ขารที่ เ ป็ น บาปปรุ ง แต่ ง วิ ญ ญาณก็ เ ข้ า ถึ ง บาป ถ้ า สั ง ขารที่ เ ป็ น อเนญชาปรุ ง แต่ ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา [๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้


220

หลักธรรม

มิได้มี ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วย ตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อั น ตนไม่ เ พลิ ด เพลิ น แล้ ว ด้ ว ยตั ณ หา ภิ ก ษุ นั้ น ถ้ า เสวยสุ ข เวทนาก็ ว างใจเฉยเสวยไป ถ้ า เสวยทุ ก ขเวทนาก็ ว างใจเฉยเสวยไป ถ้ า เสวยอทุ ก ขมสุ ข เวทนาก็ ว างใจเฉยเสวยไป ภิ ก ษุ นั้ น เมื่ อ เสวยเวทนาที่ ป รากฏทางกาย ก็ รู้ ชั ด ว่ า เราเสวยเวทนาที่ ป รากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนา ทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย [๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผา วางหม้อไว้ที่

พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏ ทางชีวิต รู้ชัดว่าเวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุ จักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้น เหมือนกัน [๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุผู้ ขีณาสพพึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ วิญญาณ พึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ นามรูป พึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็ อี ก อย่ า งหนึ่ ง เมื่ อ นามรู ป ไม่ มี โ ดยประการทั้ ง ปวง เพราะนามรู ป ดั บ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ


ปรีวีมังสนสูตร

221 221

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับ เวทนาพึง ปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหา พึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทาน พึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ

ภพจึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึงปรากฏ หรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและ มรณะพึงปรากฏหรือหนอ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า [๑๙๕] ดีละ ๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์ จบ ปรี วีมังสนสูตร


222

หลักธรรม

๑๑. นิทานสูตร พอใจกับเห็นโทษให้ผลต่างกัน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท [๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชอื่ ว่า กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรรุ ฐั ครัง้ นัน้ แล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่ง เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึง อย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่าย ๆ แก่ข้าพระองค์ [๒๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ดูก่อน อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือน กลุ่ ม เส้ น ด้ า ยที่ เ ป็ น ปม เป็ น เหมื อ นหญ้ า มุ ง กระต่ า ยและหญ้ า ปล้ อ ง ย่ อ มไม่ ผ่ า นพ้ น อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร [๒๒๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอัน เป็ น ปั จ จั ย แห่ ง อุ ป าทานอยู่ ตั ณ หาย่ อ มเจริ ญ เพราะตั ณ หาเป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี อุ ป าทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๒๒๗] ดูก่อนอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้น ย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้อ อย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ


นิทานสูตร

223

ในธรรมทั้ ง หลายอั น เป็ น ปั จ จั ย แห่ ง อุ ป าทานอยู่ ตั ณ หาย่ อ มเจริ ญ ฉั น นั้ น เหมื อ นกั น เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ … ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๒๒๘] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ

ภพจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๒๒๙] ดู ก่ อ นอานนท์ ต้ น ไม้ ใ หญ่ ยื น ต้ น อย่ า งนั้ น ที นั้ น บุ รุ ษ เอาจอบและ ภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้ เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้น ๆ แล้วพึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอา ไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำ มีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็น ดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษ เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ จบ นิทานสูตร


224

หลักธรรม

๑๒. อัสสุตวตาสูตร เห็นความจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔ [๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง

หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่ายกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง มหาภูตทั้ง ๔ ย่อมปรากฏ ส่วนสิ่งนี้คือ จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือ ด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นไม่ได้เลย [๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดย ความเป็ น ตนหาชอบไม่ ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร เพราะกายอั น เป็ น ที่ ป ระชุ ม แห่ ง มหาภู ต ทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่ สิ บ ปี บ้ า ง สามสิ บ ปี บ้ า ง สี่ สิ บ ปี บ้ า ง ห้ า สิ บ ปี บ้ า ง ร้ อ ยปี บ้ า ง ยิ่ ง กว่ า ร้ อ ยปี บ้ า ง ย่อมปรากฏ แต่ว่าสิ่งนี้คือจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน [๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี

สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ

สิ่งนี้จึงดับ เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะอัน


อัสสุตวตาสูตร

225

เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุข เวทนา จึ ง ดั บ จึ ง สงบไป เพราะอาศั ย ผั ส สะอั น เป็ น ปั จ จั ย แห่ ง ทุ ก ขเวทนา จึ ง เกิ ด ทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอัน เป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็น ปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็น ปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป [๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิดไออุ่น เกิดความ ร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุข เวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัย ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง ทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุข จึงเกิด

อทุกขมสุขเวทนานั้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน [๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อม หน่ายแม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และย่อมทราบ ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล จบ อัสสุตวตาสูตร


226

ปฐมวัชชีสูตร

๑๓. ปฐมวัชชีสูตร เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงพาเที่ยววนเวียนไป สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ [๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกฏิคาม ในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป

ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอดกาลนานอย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ เพราะไม่ได้ ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยัง

สังสารวัฏนีต้ ลอดกาลนานอย่างนี้ ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทัง้ หลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทัยอริยสัจ ... ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทาอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ขาดสู ญ แล้ ว ตั ณ หาที่ จ ะนำไปสู่ ภ พสิ้ น แล้ ว บั ด นี้ ภพใหม่ ไ ม่ มี พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้สุคตศาสดาครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๑๖๙๙] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอ ทั้งหลาย ได้ท่องเที่ยวไปในชาตินั้น ๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ถอนขึ้น ได้แล้ว มูลแห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี จบ ปฐมวัชชีสูตร


ตถสูตร

227

๑๔. ตถสูตร อริยสัจเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้ [๑๗๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยั อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จบ ตถสูตร


228

ปริญเญยยสูตร

๑๕. ปริญเญยยสูตร หน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้อ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔ [๑๗๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยั อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำ ให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยั อริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จบ ปริญเญยยสูตร


ติตถสูตร

229

๑๖. ติตถสูตร อริยสัจที่ไม่มีใครคัดค้านได้ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต

ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ - ลัทธิเดียรถีย์ ๓ อย่าง [๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ นี้ ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียงสืบไป (เท่าไร ๆ) ก็คงยืนตัวอยู่ใน หลักอกิริยา ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ คืออะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้ รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน ทั้งสิ้นเป็นเหตุ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือ

ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้เป็นเจ้า (พระอิศวร) สร้างสรรค์ ให้ทั้งสิ้นเป็นเหตุ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือ ทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์ ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับเพราะกรรม

ที่ทำไว้ในปางก่อนทั้งสิ้น เราเข้าไปถามสมณพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุข ... ได้รับเพราะ กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนทั้งสิ้นจริงหรือ เราถามอย่างนี้แล้ว หากเขายังยืนยันอยู่ เราก็กล่าว กะเขาว่า ถ้ากระนั้น คนฆ่าสัตว์ คนลักทรัพย์ และคนเสพกาม ก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำ ไว้ในปางก่อน คนพูดเท็จ คนพูดส่อเสียด คนพูดคำหยาบ คนพูดสำราก ก็ต้องเป็นเพราะ กรรมที่ทำไว้ในปางก่อน คนมักได้ คนมีใจพยาบาท คนมีความเห็นผิด ก็ต้องเป็นเพราะ กรรมที่ทำไว้ในปางก่อน เมื่อถือเอาบุรพกรรมมาเป็นสาระ (คือ เป็นข้อสำคัญ) ฉันทะ (ความพอใจคื อ ความใคร่ ที่ จ ะทำ) หรื อ ความพยายาม (เพื่ อ จะทำ) กรณี ย กิ จ หรื อ


230

หลักธรรม

อกรณียกิจก็ไม่มี เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่มีเป็นล่ำเป็นสันเช่นนี้ การอ้างตนว่า เป็ น สมณะอย่ า งชอบแก่ เ หตุ ย่ อ มมี ไ ม่ ไ ด้ สำหรั บ บุ ค คลทั้ ง หลายผู้ ข าดความสำนึ ก ตน ปล่ อ ยปละตนอยู่ (ด้ ว ยสุ ด แต่ บุ ร พกรรม) ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย นี้ เ ป็ น นิ เ คราะห์ (การข่ ม

การลบล้ า ง) อย่ า งชอบแก่ เ หตุ ข้ อ แรกของเรา ในสมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สมณพราหมณ์ เ หล่ า ที่ มี ว าทะอย่ า งนี้ มี ทิ ฏ ฐิ อ ย่ า งนี้ ว่ า บุ ค คลได้ รั บ สุ ข หรื อ ทุ ก ข์ ห รื อ ไม่ ทุ ก ข์ ไ ม่ สุ ข อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ได้ รั บ เพราะพระเป็ น เจ้ า สร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้น เราเข้าไปถามสมณพราหมณ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลาย มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุข … ได้รับเพราะพระเป็นเจ้า สร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้นจริงหรือ เราถามอย่างนี้แล้วหากเขายังยืนยันอยู่ เราก็กล่าวกะเขาว่า

ถ้ากระนั้น คนฆ่าสัตว์ ... คนมีความเห็นผิด ก็ต้องเป็นเพราะพระเป็นเจ้าสร้างสรรค์ให้

ทั้งสิ้น เมื่อถือเอาการสร้างสรรค์แห่งพระเป็นเจ้ามาเป็นสาระ ฉันทะ หรือความพยายาม (เพื่อจะทำ) กรณียกิจ หรือ อกรณียกิจก็ไม่มี เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่มีเป็นล่ำ

เป็นสันเช่นนี้ การอ้างตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบแก่เหตุย่อมมีไม่ได้ สำหรับบุคคลทั้งหลาย ผู้ ข าดความสำนึ ก ตน ปล่ อ ยปละตน (ด้ ว ยถื อ ว่ า สุ ด แต่ พ ระเป็ น เจ้ า จะสร้ า งสรรค์ ใ ห้ )

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการลบล้างอย่างชอบแก่เหตุข้อสองของเรา ในสมณพราหมณ์เหล่าที่มี วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สมณพราหมณ์ เ หล่ า ที่ มี ว าทะอย่ า งนี้ มี ทิ ฏ ฐิ อ ย่ า งนี้ ว่ า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ทั้ ง สิ้ น เราเข้ า ไปถามสมณพราหมณ์ เ หล่ า นั้ น อย่ า งนี้ ว่ า ท่ า นทั้ ง หลาย ได้ ยิ น ว่ า ท่ า น

ทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุข ... โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น จริงหรือ เราถามอย่างนี้ หากเขายังยืนยันอยู่ เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้ากระนั้น คนฆ่าสัตว์ … คนมีความเห็นผิด ก็ต้องเป็นโดยไม่มีเหตุปัจจัย เมื่อถือเอาความไม่มีเหตุมาเป็นสาระ ฉันทะหรือความพยายาม (เพื่อจะทำ) กรณียกิจ หรือ อกรณียกิจก็ไม่มี เมื่อกรณียกิจ และอกรณียกิจไม่มีเป็นล่ำเป็นสันเช่นนี้ การอ้างตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบแก่เหตุก็มีไม่ได้ สำหรับบุคคลทั้งหลายผู้ขาดความสำนึกตน ปล่อยปละตนอยู่ (ด้วยถือว่าสุดแต่คราว เคราะห์ ดี ห รื อ ร้ า ย) ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย นี้ เ ป็ น การลบล้ า งอย่ า งชอบแก่ เ หตุ ข้ อ สามของเรา

ในสมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้


ติตถสูตร

231

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายซักไซ้ไล่เลียงสืบไป (เท่าไร ๆ) ก็คงยืนตัวอยู่ในหลักอกิริยา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าธรรมที่เราแสดงนี้ ใคร ๆ ลบล้างไม่ได้ เป็นธรรม ไม่หมองมัว สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่ติไม่ค้าน ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้านคืออะไร คือ ธาตุ ๖ ผัสสายตนะ ๖ มโนปวิจาร ๑๘ อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ... ก็แลคำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ ธาตุ ๖ ดังนี้นี่ เราอาศัย อะไรกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๖ นี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ ธาตุ ๖

ดังนี้นี่ เราอาศัยธาตุมีปฐวีธาตุเป็นต้นนี้แลกล่าว อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ ผัสสายตนะ ๖ ดังนี้นี่

เราอาศัยอะไรกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ นี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คำที่ เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้านคือผัสสายตนะ ๖ ดังนี้นี่ เราอาศัยผัสสายตนะคือ ตาเป็นต้นนี้แลกล่าว อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ... ไม่ค้าน คือ มโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้นี่

เราอาศัยอะไรกล่าว บุคคลเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว (ใจของบุคคลนั้น) ย่อมเคล้ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๑ เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๑ เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๑ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ มโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้นี่ เราอาศัยมโนปวิจารมีรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเป็นต้นนี้แลกล่าว อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ อริยสัจ ๔ ดังนี้นี่

เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธาตุ ๖ (ประกอบพร้อมกันเข้า) ความตั้ ง ครรภ์ ย่ อ มมี เมื่ อ ความตั้ ง ครรภ์ มี นามรู ป ย่ อ มมี เพราะนามรู ป เป็ น ปั จ จั ย สฬายตนะย่ อ มมี เพราะสฬายตนะเป็ น ปั จ จั ย ผั ส สะย่ อ มมี เพราะผั ส สะเป็ น ปั จ จั ย เวทนาย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติ (อริยสัจคือ) ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ สำหรับบุคคลผู้เสวยเวทนานั่นแล


232

หลักธรรม

ก็ ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร (ชาติปิ ทุกขฺ า) แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ (ชราปิ ทุกขฺ า) แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ (มรณมฺปิ ทุกฺขํ) แม้ความตายก็เป็นทุกข์ (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺ

สุ ป ายาสาปิ ทุ กฺ ข า) แม้ ค วามโศกความคร่ ำ ครวญ ความไม่ ส บายกาย ความเสี ย ใจ

และความตรอมใจก็เป็นทุกข์ (อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข) ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็ เป็นทุกข์ (ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข) ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ (ยมฺปิจฺฉํ

น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ) แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทาน กฺขนฺธา ทุกฺขา) ย่อเข้าแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า

ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสจึงเกิดขึน้ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวล

นั่นเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา


ติตถสูตร

233

สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาดับไม่เหลือ สังขารก็ดับ สงฺขารนิโรธา วิญฺาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญฺาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาก็ดับ ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ชาตินิโรธา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรธ โหติ กองทุกข์ทั้งมวลนั่นดับไปด้วย ประการอย่างนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร ? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น

คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) สัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ) นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาอริยสัจ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง … ไม่ค้าน คือ อริยสัจ ๔ ดังนี้นี่ เราอาศัย ความจริง ๔ อย่างมีทุกข์เป็นต้นนี้แลกล่าว จบ ติตถสูตร


234

สีสปาสูตร

๑๗. สีสปาสูตร อริยสัจเป็นความรู้กำมือเดียว สังยุตตนิกาย มหาวรรค

เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น [๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน กรุงโกสัมพี

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือใบประดู่ลาย ๒ - ๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒ - ๓ ใบที่เราถือด้วยผ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทงั้ หลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ใบประดูล่ าย ๒ - ๓ ใบทีพ่ ระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก

ก็เพราะเหตุไร เราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์

เบือ้ งต้น ย่อมไม่เป็นไปเพือ่ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรูย้ งิ่ ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก [๑๗๑๓] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สิ่ ง อะไรเราได้ บ อกแล้ ว เราได้ บ อกแล้ ว ว่ า

นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไร เราจึงบอกเพราะสิ่งนั้น ประกอบ ด้ ว ยประโยชน์ เป็ น พรหมจรรย์ เ บื้ อ งต้ น ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ความหน่ า ย ... นิ พ พาน

เพราะฉะนั้น เราจึงบอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จบ สีสปาสูตร


สัมมาทิฏฐิสูตร

235

๑๘. สัมมาทิฏฐิสูตร รู้อริยสัจจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

[๑๑๐] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับที่พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี ครานั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า คุณ ภิกษุเหล่านั้นรับ สนองคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุ

กี่ประการนะคุณ พระอริยสาวกจึงจะเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรงประกอบ ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนว่า ใต้เท้าครับ กระผมทั้งหลายมาจากที่ไกลมากก็เพื่อ จะฟังอรรถาธิบายภาษิตนี้ ในสำนักของใต้เท้า ขอได้โปรดกรุณาเถิดขอรับ ใต้เท้าเท่านั้น แหละ เข้าใจแจ่มแจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ภิกษุทั้งหลายฟังอรรถาธิบายของใต้เท้าแล้ว

จักพากันทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้คุณทั้งหลายจงพากันตั้งใจฟัง

ผมจักกล่าวให้ฟัง ภิกษุเหล่านั้นตอบรับคำเตือนของท่านพระสารีบุตรเถระว่า พร้อมแล้ว ใต้เท้า [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวก รู้ชัดอกุศล กับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้ชัดกุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศล เพียงเท่านี้แหละคุณ

อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่ คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว


236

หลักธรรม

อกุศลและรากเหง้าอกุศล อกุ ศ ลคื อ อะไรเล่ า คุ ณ ? อกุ ศ ล คื อ ปาณาติ บ าต (การฆ่ า สั ต ว์ ) ๑ อทินนาทาน (การลักของเขา) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๑ มุสาวาท (พูดเท็จ) ๑ ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๑ ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๑ สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ๑ อภิชฌา (ความเพ่งเล็ง) ๑ พยาบาท (ความปองร้ายเขา) ๑ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดเป็นถูก) ๑ นี้ละคุณ อกุศล อกุศลมูลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ นี่ละคุณ เรียกว่ารากเหง้าอกุศล

กุศลและรากเหง้ากุศล กุศลคืออะไรเล่า คุณ ? กุศล คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต ๑

จากอทินนาทาน ๑ จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ จากมุสาวาท ๑ จากปิสุณาวาจา ๑ จาก

ผรุสวาจา ๑ จากสัมผัปปลาปะ ๑ อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็ง) ๑ อพยาบาท (ความไม่ ปองร้ายเขา) ๑ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูกต้อง) ๑ นี้ละคุณ เรียกว่า กุศล รากเหง้ากุศลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? รากเหง้ากุศล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

นี้ละคุณ เรียกว่า รากเหง้ากุศล คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้อกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้กุศลกับทั้ง

รากเหง้าของกุศลอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเธอจะละกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ ราคะ (ราคานุสัย) บรรเทากิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ปฏิฆะ (ปฏิฆานุสัย) ถอนกิเลส ที่นอนเนื่องในสันดาน คือทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ได้ (มานานุสัย) ละอวิชชาได้ทุกอย่าง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้ [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันชมเชยอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรสูงขึ้นไปอีกว่า ใต้เท้าขอรับ

ยังมีเหตุ (ปริยาย) อย่างอืน่ อีกบ้างไหม ทีจ่ ะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้


สัมมาทิฏฐิสูตร

237

อาหารวาระ [๑๑๓] ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ เพราะ เหตุที่อริยสาวก รู้ชัดอาหาร เหตุเกิดของอาหาร ความดับของอาหาร และข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับของอาหาร เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกก็ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความ เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า อาหารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร

และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหาร คืออะไร ? ตอบว่า คุณ อาหารมี ๔ อย่างเหล่านั้น เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วดำรงชีพ

อยู่ได้ หรือเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่กำลังแสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่าง คืออะไร ? คือ กวฬิงการาหาร (อาหารเป็นคำ ๆ) หยาบหรือ ละเอียด ๑ ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ) ๑ มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือกรรม) ๑ วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) ๑ เพราะตัณหาเกิด อาหารจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อาหารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาหาร คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง (๒) สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง (๓) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง (๔) สัมมาวาจา การเจรจาถูกต้อง (๕) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง (๖) สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง (๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง (๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร

และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหารอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทา

ปฏิฆานุสัยได้ ถอนทิฏฐิมานะว่าเรามีอยู่ได้ ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้

เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล


238

หลักธรรม

คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส

ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้ [๑๑๔] ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น พากั น ชื่ น ชมอนุ โ มทนาภาษิ ต ของ ท่ า นพระสารี บุ ต ร

ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรสูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่ หรือไม่ ใต้เท้า …

สัจจวาระ [๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ เพราะเหตุ ที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับ

แห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ก็อะไรเล่า คุณ เป็นทุกข์ ? ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง

เป็นทุกข์ การประจวบกับคนหรือสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากคนหรือ

สิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน (ความยึดมั่น) ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่ ไปด้วยกันกับ ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) ๑ ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่) ๑ วิภวตัณหา (ความอยากไม่เป็นโน่นไม่เป็นนี่) ๑ นี้เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ละ คุณ ความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั่นแหละ เพราะ คลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสลัด ความสละคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัยไยดี

ซึ่งตัณหาทั้ง ๓ นั้น นี้เรียกว่า ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธ) ละ คุณ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ (และมี อยู่หลายแห่งในสูตรนี้) นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ละ คุณ


สัมมาทิฏฐิสูตร

239

คุณ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัด ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิ และมานะที่เรามีอยู่ออกได้ ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดแล้ว เป็นผู้ทำ ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็น

ถู ก ต้ อ ง มี ค วามเห็ น ตรง ประกอบด้ ว ยความเลื่ อ มใสในธรรมไม่ ค ลอนแคลน มาสู่

พระสัทธรรมนี้ ดังนี้ [๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้าครับ ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหาสูงขึ้นไปกะท่านสารีบุตรว่า ใต้เท้าครับ ยังมี อีกหรือไม่ ? เหตุ (ปริยาย) แม้อย่างอื่นที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

ชรามรณวาระ [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ เพราะ เหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ ชั ด ข้ อ ปฏิ บั ติ ที่ จ ะให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง ชราและมรณะ แม้ เ พี ย งเท่ า นั้ น แหละคุ ณ

อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรม

ไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ชราและมรณะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับ แห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะคืออะไร ? ตอบว่า ความแก่แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ความคร่ำคร่า ฟันหัก

ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายของสัตว์ เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา (ความแก่) การเคลื่อนที่ การย้ายที่ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ การแตกทำลาย การสูญหาย การม้วยมรณะ การถึงแก่กรรม การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้ง ซากศพ การขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ (ความตาย)


240

หลักธรรม

เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุ ณ เมื่ อ ใดแล อริ ย สาวกรู้ ชั ด ชราและมรณะ เหตุ เ กิ ด แห่ ง ชราและมรณะ

ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัย … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มี ความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน

มาสู่พระสัทธรรม นี้แล้ว

ชาติวาระ [๑๑๘] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า เพระเหตุที่

อริยสาวกรู้ชัดชาติ เหตุให้เกิดชาติ ความดับแห่งชาติ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ

แห่งชาติ เพียงเท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ชาติ คืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชาติ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ

แห่งชาติ คืออะไรเล่า ? ตอบว่ า ความเกิ ด ในหมู่ สั ต ว์ นั้ น ๆ แห่ ง สั ต ว์ เ หล่ า นั้ น ๆ ความก่ อ เกิ ด

ความก้าวลง (สู่ครรภ์) ความบังเกิดขึ้น ความถือกำเนิดความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การกลับได้อายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้คุณ เรียกว่า ชาติ เพราะภพเกิ ด ชาติ จึ ง เกิ ด เพราะภพดั บ ชาติ จึ ง ดั บ อริ ย มรรคมี อ งค์ ๘

นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ คุณ

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดชาติอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง ชาติ อ ย่ า งนี้ เมื่ อ นั้ น เธอจะละราคานุ สั ย ได้ โ ดยประการทั้ ง ปวง …

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้


สัมมาทิฏฐิสูตร

241

ภววาระ [๑๑๙] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่

อริยสาวกรู้ชัดภพ เหตุให้เกิดภพ ความดับแห่งภพ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ภพคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับแห่งภพ คืออะไรเล่า คุณ ? ตอบว่ า คุ ณ ภพมี ๓ ดั ง นี้ คื อ กามภพ ๑ รู ป ภพ ๑ อรู ป ภพ ๑

เพราะอุปาทานเกิด ภพจึงเกิด เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ คุณ เมื่อใดแล

อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งภพอย่างนี้ เมือ่ นัน้ เธอจะละราคานุสยั ได้โดยประการทัง้ ปวง … ด้วยเหตุเพียงเท่านีแ้ ล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส ในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

อุปาทานวาระ [๑๒๐] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุอย่างอื่น ยังคงมีอยู่

หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมีอยู่ คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน

เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน

แม้เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ก็อุปาทานคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่ง อุปาทาน ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คืออะไร ? ตอบว่า คุณ อุปาทานมี ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ กามุปาทาน ความยึดมั่นด้วย อำนาจกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่น


242

หลักธรรม

ด้ ว ยอำนาจศี ล และพรต ๑ อั ต ตวาทุ ป าทาน ความยึ ด มั่ น ด้ ว ยอำนาจวาทะว่ า ตน ๑

เพราะตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน

และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการ ทั้ ง ปวง … แม้ ด้ ว ยเหตุ เ พี ย งเท่ า นี้ แ ล คุ ณ อริ ย สาวกชื่ อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ค วามเห็ น ถู ก ต้ อ ง

มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

ตัณหาวาระ [๑๒๑] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวไว้ว่า คุณ

ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดตัณหา เหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับตัณหา เพียงเท่านีแ้ ล คุณ อริยสาวกชือ่ ว่าเป็นผูม้ คี วามเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ตัณหา คืออะไรเล่าคุณ ? เหตุให้เกิดตัณหา ความดับตัณหา ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับตัณหา คืออะไร ? ตอบว่า คุณ ตัณหามี ๖ หมู่อย่างนี้คือ รูปตัณหา ความทะยานอยากในรูป ๑ สัททตัณหา ความทะยานอยากในเสียง ๑ คันธตัณหา ความทะยานอยากในกลิ่น ๑

รสตัณหา ความทะยานอยากในรส ๑ โผฏฐัพพตัณหา ความทะยานอยากในโผฎฐัพพะ ๑ ธรรมตัณหา ความทะยานอยากในธรรม ๑ เพราะเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด เพราะเวทนา ดับตัณหาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหา คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดตัณหาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดตัณหา ความดับ

ตัณหา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหาอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้โดย ประการทั้งปวง … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่า นี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้


สัมมาทิฏฐิสูตร

243

เวทนาวาระ [๑๒๒] ภิกษุเหล่านั้นกราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ อริยสาวกรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดเวทนา ความดับเวทนา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ เวทนา เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า เวทนาคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดเวทนา ความดับเวทนา ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับเวทนา คืออะไร ? ตอบว่า คุณ เวทนามี ๖ หมู่ ดังนี้คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา ๑ เวทนาเกิด แต่สัมผัสทางหู ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น ๑ เวทนา เกิดแต่สัมผัสทางกาย ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ ๑ เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งเวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับ แห่งเวทนา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการทัง้ ปวง … แม้ดว้ ยเหตุเพียงเท่านีแ้ ล คุณ อริยสาวกชือ่ ว่าเป็นผูม้ คี วามเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

ผัสสวาระ [๑๒๓] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัด ซึ่งผัสสะ เหตุให้เกิดผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง ผั ส สะเพี ย งเท่ า นี้ แ ล คุ ณ อริ ย สาวกชื่ อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ค วามเห็ น ถู ก ต้ อ ง มี ค วามเห็ น ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า ผัสสะคืออะไรเล่า คุณ ? ผัสสะมี ๖ หมู่ อย่างนี้คือ จักขุสัมผัส ๑

โสตสัมผัส ๑ ฆานสัมผัส ๑ ชิวหาสัมผัส ๑ กายสัมผัส ๑ มโนสัมผัส ๑ เพราะ


244

หลักธรรม

สฬายตนะเกิด ผัสสะจึงเกิด เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะคือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดผัสสะอย่างนี้ เหตุเกิดผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้โดย ประการทั้งปวง … ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลคุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความถูกต้อง มีความ เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

สฬายตนวาระ [๑๒๔] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ อริยสาวกรู้ชัดอายตนะทั้ง ๖ เหตุเกิดอายตนะทั้ง ๖ ความดับอายตนะทั้ง ๖ และรู้ชัดข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความ

เห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่

พระสัทธรรมนี้ ถามว่ า อายตนะทั้ ง ๖ คื อ อะไรเล่ า คุ ณ ? เหตุ เ กิ ด แห่ ง อายตนะทั้ ง ๖

ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ คืออะไร ? ตอบว่ า คุ ณ อายตนะทั้ ง ๖ เหล่ า นี้ คื อ อายตนะคื อ ตา อายตนะคื อ หู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย อายตนะคือใจ เพราะนามรูปเกิด สฬายตนะจึงเกิด เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น

เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอายตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เหตุเกิดแห่งอายตนะทั้ง ๖ ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ รู้ชัดข้อฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ค วามเห็ น ถู ก ต้ อ ง มี ค วามเห็ น ตรง ประกอบด้ ว ยความเลื่ อ มใสในธรรมไม่ คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้


สัมมาทิฏฐิสูตร

245

นามรูปวาระ [๑๒๕] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ

ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และรู้ชัดซึ่ง

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็น ถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่

พระสัทธรรมนี้แล้ว ถามว่า นามรูปคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป

และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป คืออะไร ? ตอบว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ ทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่า

นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูป รวมทั้งนาม ทั้งรูปนี้ละคุณ เรียกว่านามรูป เพราะวิญญาณเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูปอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับ แห่งนามรูป รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูปอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัย

ได้โดยประการทัง้ ปวง … แม้ดว้ ยเหตุเพียงเท่านีแ้ ล คุณ อริยสาวกชือ่ ว่าเป็นผูม้ คี วามเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

วิญญาณวาระ (๑๒๖) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? … ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ

ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับไปแห่งวิญญาณ และรู้ ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความ เห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า วิญญาณคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่ง วิญญาณ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คืออะไร ? ตอบว่า คุณ วิญญาณ มี ๖


246

หลักธรรม

หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา ๑ วิญญาณทางหู ๑ วิญญาณทางจมูก ๑ วิญญาณ

ทางลิ้น ๑ วิญญาณทางกาย ๑ วิญญาณทางใจ ๑ เพราะสังขารเกิด วิญญาณจึงเกิด เพราะสังขารดับไป วิญญาณจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ คุ ณ เมื่ อ ใดแล อริ ย สาวกรู้ ชั ด ซึ่ ง วิ ญ ญาณอย่ า งนี้ เหตุ เ กิ ด แห่ ง วิ ญ ญาณ

ความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละ ราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มี ความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน

มาสู่พระสัทธรรมนี้

สังขารวาระ [๑๒๗] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ

ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดสังขาร รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสังขาร และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งสังขาร เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า สังขารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร คืออะไร ? ตอบว่า คุณ สังขารมี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑

จิตสังขาร ๑ เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่ง สังขาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิ ฆ านุ สั ย ถอนทิ ฏ ฐิ ม านานุ สั ย ว่ า เรามี อ อก ละอวิ ช ชาได้ โ ดยประการทั้ ง ปวง

ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส ในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้


สัมมาทิฏฐิสูตร

247

อวิชชาวาระ [๑๒๘] ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น

ยังคงมีอยู่หรือ ? ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ

ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอวิชชา เหตุเกิดอวิชชา ความดับแห่งอวิชชา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง อวิ ช ชา เพี ย งเท่ า นี้ แ ล คุ ณ อริ ย สาวกชื่ อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ค วามเห็ น ถู ก ต้ อ ง

มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า อวิชชาคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุเกิดอวิชชา ความดับแห่งอวิชชา ข้อปฏิบัติ

ให้ถึงความดับแห่งอวิชชา คืออะไร ตอบว่า คุณ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในความ ดับแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ นี้แลคุณ เรียกว่าอวิชชา เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด เพราะอาสวะดับ อวิชชาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอวิชชา คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ เมื่อใดแล คุณ อริยสาวก รู้ชัดอวิชชาอย่างนี้ เหตุเกิดอวิชชา ความดับแห่ง อวิชชา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชาอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิมานะว่าเรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้ เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ

อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสใน ธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ [๑๒๙] ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ได้ พ ากั น ชื่ น ชมอนุ โ มทนาภาษิ ต ของท่ า นพระสารี บุ ต รว่ า ดี แ ล้ ว ใต้ เ ท้ า แล้ ว ได้ ก ราบเรี ย นถามปั ญ หาสู ง ขึ้ น ไปกะท่ า นพระสารบุ ต รว่ า ใต้ เ ท้ า

ขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่นยังคงมีอีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกเป็นผู้มีความเห็น

ถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่

พระสัทธรรมนี้แล้ว


248

หลักธรรม

อาสววาระ [๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุ ที่อริยสาวกรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความ เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ถามว่า อาสวะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะคืออะไร ? ตอบว่า คุณ อาสวะมี ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ กามาสวะ เครื่องดองสันดานคือ กาม ๑ ภวาสวะ เครื่องดองสันดานคือภพ ๑ อวิชชาสวะ เครื่องดองสันดานคืออวิชชา ๑ เพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘

นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

สัมมาสมาธิ ๑ เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ เหตุเกิดอาสวะ ความดับไปแห่ง

อาสวะ รู้ ชั ด ข้ อ ปฏิ บั ติ ใ ห้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง อาสวะอย่ า งนี้ เมื่ อ นั้ น เธอจะละราคานุ สั ย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยคือทิฏฐิมานะว่าเรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึน้ แล้ว เป็นผูก้ ระทำทีส่ ดุ แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบนั ทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านีแ้ ล คุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสใน ธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นพอใจ พากันชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตร จบ สัมมาทิฏฐิสูตร


สัจจวิภังคสูตร

249

๑๙. สัจจวิภังคสูตร การแจกแจงอริยสัจ ๔ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๖๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึง่ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยูท่ ปี่ า่ อิสปิ ตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว [๖๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ

ในโลกยังไม่เคยประกาศ ได้ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย

ซึง่ อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตัง้ เปิดเผย จำแนก ทำให้งา่ ยซึง่ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยั อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทาอริยสัจ ตถาคตอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ได้ ป ระกาศธรรมจั ก รอั น ไม่ มี ธ รรมอื่ น ยิ่ ง กว่ า ที่ ป่ า

อิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลกยังไม่เคยประกาศ ได้ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบ

สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติ พรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยง ทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้ โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร


250

หลักธรรม

[๗๐๐] ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พระสารีบุตร ได้เรียกภิกษุทงั้ หลายว่า ดูกอ่ นท่านผูม้ อี ายุทงั้ หลาย ภิกษุเหล่านัน้ รับคำท่านพระสารีบตุ รแล้ว ท่ า นพระสารี บุ ต รได้ ก ล่ า วดั ง นี้ ว่ า ดู ก่ อ นท่ า นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย พระตถาคตอรหั น ต

สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ [๗๐๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ ชาติก็เป็นทุกข์ ชราก็เป็นทุกข์ มรณะก็เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ได้แก่ ความเกิด ความเกิดพร้อม

ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่ง อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ นี้เรียกว่าชาติ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชราเป็น ไฉน ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า

ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ใน

หมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ นี้เรียกว่าชรา ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มรณะเป็นไฉน ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ ความสลายแห่งขันธ์

ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ นี้เรียก ว่ามรณะ ดู ก่ อ นท่ า นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย ก็ โ สกะเป็ น ไฉน ได้ แ ก่ ความโศกความเศร้ า

ความเหี่ยวแห้งใจ ความเหี่ยวแห้งภายใน ความเหี่ยวแห้งกรอบในภายใน ของบุคคลผู้ ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว

นี้เรียกว่าโสกะ


สัจจวิภังคสูตร

251

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริเทวะเป็นไฉน ได้แก่ ความรำพัน ความร่ำไร กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของบุคคลที่ประจวบกับความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่าปริเทวะ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากกาย ความไม่ สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย นี้เรียกว่าทุกข์ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โทมนัสเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากใจ ความไม่ สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่าโทมนัส ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปายาสเป็นไฉน ได้แก่ ความคับใจ ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้วนี้ เรียกว่าอุปายาส ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์เป็นไฉน ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา อย่าต้องเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จ ตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องแก่เป็น ธรรมดา และความแก่อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนา ไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา

และความเจ็บไข้อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้ นี้ ก็ ชื่ อ ว่ า ความไม่ ไ ด้ ส มปรารถนาเป็ น ทุ ก ข์ สั ต ว์ ทั้ ง หลายผู้ มี ค วามตายเป็ น ธรรมดา

เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องตายเป็นธรรมดา และความตาย อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ ไ ด้ ส มปรารถนาเป็ น ทุ ก ข์ สั ต ว์ ทั้ ง หลายผู้ มี โ สกะ ปริ เ ทวะ ทุ ก ข์ โทมนั ส

และอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสอย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่าความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์


252

หลักธรรม

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

เป็นไฉน คืออย่างนี้ อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านั้น โดยประมวลแล้ว ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ [๗๐๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ตัณหา ที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่าทุกขสมุทัยอริยสัจ [๗๐๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ ความดับ ด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัดคืน ความปล่อย ความไม่มี อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแล นี้เรียกว่าทุกขนิโรธอริยสัจ [๗๐๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล ซึ่งมีดังนี้ (๑) สัมมาทิฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ

(๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ

(๘) สัมมาสมาธิ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ใน ทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าสัมมาทิฐิ ดูกอ่ นท่านผูม้ อี ายุทงั้ หลาย ก็สมั มาสังกัปปะเป็นไฉน ได้แก่ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจาเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่อง

งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ


สัจจวิภังคสูตร

253

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศล ธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู ่ นี้เรียกว่า สัมมาสติ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน ... เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย เข้าตติยฌาน ... เข้าจตุตถฌาน ... อยู่ นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ [๗๐๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรง ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี

อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยังไม่เคย ประกาศ ได้แก่ ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน

พระสารีบุตรแล จบ สัจจวิภังคสูตร


254

ภารสูตร

๒๐. ภารสูตร

ขันธ์ ๕ เป็นภาระ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ [๔๙] กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ

ผู้แบกภาระ การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อ นภิก ษุทั้งหลาย ก็ภ าระเป็น ไฉน พึงกล่าวว่า ภาระคืออุปาทานขัน ธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร และอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เรียกว่าภาระ [๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่าบุคคลบุคคลนี้นั้น

คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ [๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถือภาระเป็นไฉน ตัณหาใดนำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรือ อารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

การถือภาระ [๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน ความที่ตัณหานั่นแลดับไป ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย ดูก่อนภิกษุ

ทั้ ง หลาย นี้ เ รี ย กว่ า การวางภาระ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ พ ระสุ ค ตศาสดา ครั้ น ได้ ต รั ส

ไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า [๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล การถือภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้ เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหา พร้อมทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้ว ดังนี้ จบ ภารสูตรที่ ๑


สัตตัฏฐานสูตร

๒๑. สัตตัฏฐานสูตร

255

การรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๗ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ [๑๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิ ณฑิ ก เศรษฐี กรุ งสาวั ตถี ณ ที่นั้ น แล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้า ได้ต รัส เรี ย กภิ ก ษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ

ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่ายอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ใน ธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป รู้ชัดเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับ แห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ [๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน ? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย

มหาภูตรูป ๔ นี้เราเรียกว่ารูป ความเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร

ความดับแห่งรูปย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ความสุขโสมนัส อาศัยรูปนี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็น อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป อย่างนี้ ๆ แล้ว ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย


256

หลักธรรม

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรม วินัยนี้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับ แห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งรูป อย่างนี้ ๆ แล้ว หลุดพ้นไปเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ (และ) เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันเสร็จกิจ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก [๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ? เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนา เกิดเพราะจักขุสัมผัส … เวทนาเกิดเพราะมโนสัมผัสนี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่ง เวทนา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับ แห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา … สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อ ความปรากฏอีก [๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน ? สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา นี้เรียกว่า สัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ … สั ม มาสมาธิ นี้ แ ลเป็ น ปฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง สั ญ ญา … สมณะหรื อ พราหมณ์

เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก [๑๒๒] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สั ง ขารเป็ น ไฉน ? เจตนา ๖ หมวดนี้ คื อ

รูปสัญเจตนา … ธรรมสัญเจตนา นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะ

ความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ … สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับ แห่งสังขาร … สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก [๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ


สัตตัฏฐานสูตร

257

นี้ เ รี ย กว่ า วิ ญ ญาณ ความเกิ ด ขึ้ น แห่ ง วิ ญ ญาณ ย่ อ มมี เ พราะความเกิ ด ขึ้ น แห่ ง นามรู ป

ความดับแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คื อ สั ม มาทิ ฏ ฐิ … สั ม มาสมาธิ นี้ แ ลเป็ น ปฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง วิ ญ ญาณ

สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นีเ้ ป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ

เหตุ เ กิ ด แห่ ง วิ ญ ญาณ ความดั บ แห่ ง วิ ญ ญาณ ปฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง วิ ญ ญาณ

คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณอย่างนี้ ๆ แล้ว ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่ง วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง วิ ญ ญาณ คุ ณ แห่ ง วิ ญ ญาณ โทษแห่ ง วิ ญ ญาณ อุ บ ายเครื่ อ งสลั ด ออกแห่ ง วิ ญ ญาณ

อย่ า งนี้ ๆ แล้ ว หลุ ด พ้ น ไปเพราะความเบื่ อ หน่ า ย เพราะคลายกำหนั ด เพราะดั บ

เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่ า ใดหลุ ด พ้ น ดี แ ล้ ว สมณะหรื อ พราหมณ์ เ หล่ า นั้ น เป็ น อั น เสร็ จ กิ จ แล้ ว สมณะหรื อ พราหมณ์ เ หล่ า ใดเสร็ จ กิ จ แล้ ว สมณะหรื อ พราหมณ์ เ หล่ า นั้ น ย่ อ มไม่ มี วั ฏ ฏะเพื่ อ ความ ปรากฏอีก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ [๑๒๔] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ก็ ภิ ก ษุ เ ป็ น ผู้ เ พ่ ง พิ นิ จ โดยวิ ธี ๓ ประการ

เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความ เป็นอายตนะประการหนึ่ง โดยเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการผู้ เพ่งพินจิ โดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่ายอดบุรษุ ผูเ้ สร็จกิจอยูจ่ บพรหมจรรย์ในธรรมวินยั นี้ จบ สัตตัฏฐานสูตร


258

หลักธรรม

๒๒. มหาปุณณมสูตร

ขันธ์และอุปาทานขันธ์ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์ [๑๒๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุ

รู ป หนึ่ ง ลุ ก จากอาสนะ ห่ ม จี ว รเฉวี ย งบ่ า ข้ า งหนึ่ ง ประนมอั ญ ชลี ไ ปทางที่ ป ระทั บ ของ

พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า แล้ ว กราบทู ล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ดั ง นี้ ว่ า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ

ข้าพระองค์จะขอกราบทูลถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ถ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า จะประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ถ้ า อย่ า งนั้ น เธอจงนั่ ง ลงยั ง อาสนะ

ของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด [๑๒๑] ครัง้ นัน้ ภิกษุรปู นัน้ นัง่ ยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทลู ถามพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์

สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ อุ ป าทานขั น ธ์ มี ๕ ประการเท่ า นี้ คื อ รู ปู ป าทานขั น ธ์

เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล


มหาปุณณมสูตร

259

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกันหรือ

หรือว่าอุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ อุ ป าทานกั บ อุ ป าทานขั น ธ์ ๕ นั้ น จะอย่ า งเดี ย วกั น ก็ มิ ใ ช่ อุปาทานจะเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุ ความกำหนัดพอใจใน อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น [๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทาน ขันธ์ทั้ง ๕ มีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคล

บางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญา อย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลเป็น ความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

ว่าด้วยเหตุเรียกชื่อว่าขันธ์ [๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ได้ด้วยเหตุเท่าไร พ. ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น ปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น เวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปใน ภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ ดูก่อนภิกษุ ขันธ์ทั้งหลายย่อมมีชื่อเรียกว่า ขันธ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล


260

หลักธรรม

[๑๒๔] ภิ . ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ อะไรหนอแลเป็ น เหตุ เ ป็ น ปั จ จั ย แห่ ง การ บัญญัติรูปขันธ์ แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ แห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ พ. ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการ บัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ [๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ สักกายทิฏฐิ จะมีได้อย่างไร พ. ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม

ของสั ต บุ รุ ษ ไม่ ไ ด้ ฝึ ก ในธรรมของสั ต บุ รุ ษ ย่ อ มเล็ ง เห็ น รู ป โดยความเป็ น อั ต ตาบ้ า ง

เล็งเห็นอนัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็น เวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามี สัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขาร โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็น อั ต ตาในสั ง ขารบ้ า ง ย่ อ มเล็ ง เห็ น วิ ญ ญาณโดยความเป็ น อั ต ตาบ้ า ง เล็ ง เห็ น อั ต ตาว่ า มี วิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้ [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน ธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง

ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่ เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาใน


มหาปุณณมสูตร

261

อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง

ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็ง เห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตา ว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อน ภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงไม่มี

ว่าด้วยคุณและโทษของขันธ์ ๕ [๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัด ออกในรูป อะไรเป็นคุณเป็นโทษเป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไรเป็นคุณเป็นโทษเป็นทาง สลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณเป็นโทษเป็นทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ พ. ดูก่อนภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป อาการที่ รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป อาการที่กำจัด

ฉันทราคะ ละฉันทราคะในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป อาการที่สุขโสมนัสอาศัย เวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้

นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา อาการที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการที่สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา อาการที่ สุ ข โสมนั ส อาศั ย สั ง ขารเกิ ด ขึ้ น นี้ เ ป็ น คุ ณ ในสั ง ขาร อาการที่ สั ง ขารไม่ เ ที่ ย ง เป็ น ทุ ก ข์

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นีเ้ ป็นโทษในสังขาร อาการทีก่ ำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ

ในสั ง ขารได้ นี้ เ ป็ น ทางสลั ด ออกในสั ง ขาร อาการที่ สุ ข โสมนั ส อาศั ย วิ ญ ญาณเกิ ด ขึ้ น

นี้ เ ป็ น คุ ณ ในวิ ญ ญาณ อาการที่ วิ ญ ญาณไม่ เ ที่ ย ง เป็ น ทุ ก ข์ มี ค วามแปรปรวนไปเป็ น ธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้

นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ


262

หลักธรรม

ว่าด้วยเหตุละมานานุสัย [๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไร จึงไม่มีอนุสัย คือ ความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหมดภายนอก พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ บุ ค คลเห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามความเป็ น จริ ง ดั ง นี้ ว่ า

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือ ในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้ ง ที่ เ ป็ น ปั จ จุ บั น เป็ น ไปในภายในหรื อ มี ใ นภายนอกก็ ต าม หยาบหรื อ ละเอี ย ดก็ ต าม

เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ ใ ช่ อั ต ตาของเรา เห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามความเป็ น จริ ง ดั ง นี้ ว่ า สั ญ ญาอย่ า งใด

อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีใน ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็ น จริ ง ดั ง นี้ ว่ า สั ง ขารเหล่ า ใดเหล่ า หนึ่ ง ทั้ ง ที่ เ ป็ น อดี ต ทั้ ง ที่ เ ป็ น อนาคต

ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใด

อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบ หรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี อนุสัย คือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก

ว่าด้วยปริวิตกเรื่องผู้รับผลของกรรม [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่ อนัตตาทำแล้ว จักสัมผัสตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความ


มหาปุณณมสูตร

263

ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหา

เป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างหุนหันพลันแล่น ด้วยความปริวิตกว่า ท่านผู้ จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่ อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำ พวกเธอในธรรมนั้น ๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรละหรือที่ จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะ เล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า


264

หลักธรรม

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะ

เล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะ

เล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรละหรือที่จะ เล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น ปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ


มหาปุณณมสูตร

265

ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมี ในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เราไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด

จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นแล จบ มหาปุณณมสูตร


266

หลักธรรม

๒๓. เผณปิณฑสูตร

อุปมาขันธ์ ๕ มีรูปเปรียบด้วยฟองน้ำเป็นต้น สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยขันธ์ ๕ เปรียบด้วยฟองน้ำเป็นต้น [๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองอโยธยา ณ

ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พัดพาเอาฟองน้ำก้อนใหญ่มา บุรุษผู้มีตาดี จะพึงเพ่งพินิจพิจารณาดูโดย แยบคายซึ่งฟองน้ำจำนวนมากนั้น เมื่อเขาเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น

พึงปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้ อย่างไร แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต เป็นอนาคต และปัจจุบัน ... หรืออยู่ที่ไกลที่ใกล้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเพ่งพินิจพิจารณาดูรูปนั้น โดยแยบคาย เมื่อเธอเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย รูปนั้นก็จะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในรูป จะพึงมีได้อย่างไร [๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกอยู่ในสรทสมัย ต่อมน้ำจะ

เกิดขึ้นและดับไปในน้ำ บุรุษผู้มีตาดี จะพึงเพ่งพิจารณาดูต่อมน้ำนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอ เพ่งพิจารณาดูโดยแยบคาย ต่อมน้ำนัน้ ก็จะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในต่อมน้ำจะพึงมีได้อย่างไร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้ ง ที่ เ ป็ น อดี ต อนาคต และปั จ จุ บั น … หรื อ อยู่ ใ นที่ ไ กลที่ ใ กล้ ก็ ฉั น นั้ น เหมื อ นกั น

ภิกษุเพ่งพินิจพิจารณาดูเวทนานั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย เวทนานั้นจะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของหาสาระมิได้เลย สาระในเวทนา

จะพึงมีได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย [๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูคิมหันต์ดำรงอยู่แล้ว

ในเวลาเที่ยง พยับแดดเต้นระยิบระยับ บุรุษผู้มีตาดี พึงเพ่งพินิจพิจารณาดูพยับแดดนั้น โดยแยบคาย เมื่อเขาเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย พยับแดดนั้นจะปรากฏเป็นของว่าง


เผณปิณฑสูตร

267

ทีเดียว … ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระในพยับแดด จะพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล [๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ ย วแสวงหาแก่ น ไม้ ถื อ เอาผึ่ ง ที่ ค มเข้ า ไปป่ า เขามองเห็ น ต้ น กล้ ว ยใหญ่ ลำต้ น ตรง

ยั ง ใหม่ ยั ง ไม่ เ กิ ด หยวกแข็ ง ในป่ า นั้ น เขาพึ ง ตั ด ต้ น กล้ ว ยนั้ น ที่ โ คน ครั้ น ตั ด โคนแล้ ว

ก็ทอนปลาย ครั้นทอนปลายแล้ว ก็ลอกกาบออก เมื่อลอกกาบกล้วยนั้นออก แม้แต่กระพี้ เขาก็จะไม่ได้ในต้นกล้วยนั้น จะได้แก่นมาแต่ไหน ? บุรุษผู้มีตาดีพึงเพ่งพินิจพิจารณาดู

ต้นกล้วยนั้นโดยแยบคาย เมื่อเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย ต้นกล้วยก็จะปรากฏว่า เป็นของว่าง เป็นของเปล่า ไม่มีแก่นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก่นในต้นกล้วยนั้น จะมี ได้อย่างไร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน หรือที่มีอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเพ่งพินิจ พิจารณาดู สังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย สังขารนั้นจะ ปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระในสังขาร

ทั้งหลาย จะพึงมีได้อย่างไร ? [๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือของนักเล่นกล แสดงมายากล

ที่ สี่ แ ยก บุ รุ ษ มี ต าดี พึ ง เพ่ ง พิ นิ จ พิ จ ารณาดู ม ายากลนั้ น โดยแยบคาย เมื่ อ เขาเพ่ ง พิ นิ จ พิจารณาดูโดยแยบคาย มายากลก็จะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ไม่จริงเลย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความจริง (สาระ) ในมายากล จักมีได้อย่างไร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน ... หรืออยู่ ในที่ไกลที่ใกล้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุเพ่งพินิจพิจารณาดูวิญญาณนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย วิญญาณก็จะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้ ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย อริยสาวกผูส้ ดับแล้วเห็นอยูอ่ ย่างนี้ จะเบือ่ หน่ายในรูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารทั้งหลายบ้าง ในวิญญาณบ้าง เมื่อเบื่อหน่ายย่อม คลายกำหนั ด เพราะคลายกำหนั ด จิ ต ย่ อ มหลุ ด พ้ น เมื่ อ หลุ ด พ้ น แล้ ว ก็ มี ญ าณว่ า

เราหลุดพ้นแล้ว รูช้ ดั ว่า ... กิจอืน่ เพือ่ ความเป็นอย่างนีม้ ไิ ด้มี พระผูม้ พี ระภาคเจ้าผูส้ คุ ตศาสดา ครั้นได้ตรัสเวยยากรณพจน์แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า


268

หลักธรรม

[๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรง แสดงรูปอุปมาด้วยฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยต่อมน้ำ สัญญาอุปมาด้วย พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยมายากล ภิกษุเพ่งพินจิ พิจารณา (เบญจขันธ์) อยูโ่ ดยแยบคาย ด้วยประการใด ๆ เบญจขันธ์ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ด้วยประการนั้น ๆ แก่เธอผูเ้ ห็นอยูโ่ ดยแยบคาย ก็การละธรรม ๓ อย่าง ทีพ่ ระผูม้ พี ระภาคเจ้า ผูท้ รงมีปญ ั ญาเสมอแผ่นดิน ทรงปรารภกายนีแ้ ล้วแสดงไว้ เธอทั้งหลาย จงดูรูปที่เขาทิ้งแล้วเถิด อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้จะถูกเขาทิ้ง นอนอยู่ ไม่มีจิตใจ เป็นเหยื่อของสัตว์ การสื บ เนื่ อ งกั น นี้ เ ป็ น เช่ น นี้ นี้ เ ป็ น มายากล ที่ ค นโง่ พ ร่ ำ เพ้ อ ถึ ง

ขันธ์เราตถาคตกล่าวว่าเป็นเพชฌฆาตตนหนึ่ง สาระในเบญจขันธ์นี้ ไม่มี ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว มีสติ สัมปชัญญะ พึงพิจารณา ขั น ธ์ ทั้ ง หลายอย่ า งนี้ ทั้ ง กลางวั น ทั้ ง กลางคื น ภิ ก ษุ เ มื่ อ ปรารถนา

อจุติบท (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน ประพฤติดุจ บุคคลผู้มีไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น ดังนี ้

อรรถกถาเผณปิณฑสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในเผณปิณฑสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ บทว่า คงฺคาย นทิยา ตีเร ความว่า พวกชาวเมืองอโยธยาเห็นพระตถาคตมี ภิ ก ษุ จ ำนวนมากเป็ น บริ ว าร เสด็ จ เที่ ย วจาริ ก มาถึ ง เมื อ งของตน จึ ง ได้ ช่ ว ยกั น สร้ า งวั ด

ถวายพระศาสดาใน (ภูมิ) ประเทศที่เดียรดาษไปด้วยไพรสณฑ์ใหญ่ ตรงที่แห่งหนึ่ง

ซึ่งมีแม่น้ำคงคาไหลวน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารนั้น พระสังคีติกาจารย์หมาย เอาวิหารนั้น จึงกล่าวว่า คงฺคาย นทิยา ตีเร ดังนี้ บทว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ใ นวิ ห ารนั้ น เวลาเย็ น เสด็ จ ออกจากพระคั น ธกุ ฏี ไปประทั บ นั่ ง บนบวรพุ ท ธอาสน์

ที่ชาวเมืองจัดถวายไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ทอดพระเนตรเห็นฟองน้ำใหญ่ลอยมาใน

แม่น้ำคงคา จึงทรงดำริว่า เราจักกล่าวธรรมข้อหนึ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับเบญจขันธ์ในศาสนา ของเรา ดังนี้ แล้วได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายผู้นั่งแวดล้อมอยู่


เผณปิณฑสูตร

269

บทว่า มหนฺตํ เผณปิณฺฑํ ความว่า ฟองน้ำเริ่มตั้งแต่มีขนาดเท่าผลพุทราและ ล้อรถในคราวแรกก่อตัว ๆ แล้ว เมื่อถูกกระแสน้ำพัดพาไป ก็ก่อตัวใหญ่ขึ้นตามลำดับ

จนมีขนาดเท่ายอดภูเขา ซึ่งสัตว์เป็นจำนวนมากมีงูน้ำเป็นต้นอาศัยอยู่ ได้แก่ ฟองน้ำที่ ใหญ่ถึงปานนี้ บทว่า อาวเหยฺย แปลว่า พึงนำมา ก็ฟองน้ำนี้นั้น ย่อมสลายตัวไปตรงที่ที่ก่อตัวบ้าง ลอยไปได้หน่อยหนึ่งจึงสลาย

ตัวบ้าง ลอยไปได้ไกลเป็นโยชน์หนึ่งสองโยชน์เป็นต้นแล้วจึงสลายตัวบ้าง แต่ถึงแม้จะไม่ สลายตัวในระหว่างทาง ถึงทะเลหลวงแล้วก็ย่อมสลายตัวเป็นแน่แท้ทีเดียว บทว่า นิชฺฌาเยยฺย แปลว่า พึงจ้องดู บทว่า โยนิโส อุปปริกฺเขยฺย แปลว่า พึงตรวจดูตามเหตุ บทว่า กิญฺหิ สิยา ภิกฺขเว เผณปิณฺเฑ สาโร ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ในฟองน้ำจะพึงมีสาระได้อย่างไร ? ฟองน้ำจะพึงย่อยยับสลายตัวไปถ่ายเดียว

รูป บทว่า เอวเมว โข ความว่า ฟองน้ำไม่มีสาระ (แก่น) ฉันใด แม้รูปก็ไม่มีสาระ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเว้นจากสาระคือเที่ยง สาระคือยั่งยืน และสาระคืออัตตา เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำนั้นใคร ๆ ไม่สามารถจะจับเอาด้วยความประสงค์ว่า

เราจักเอาฟองน้ำนี้ทำภาชนะหรือถาด แม้จับแล้วก็ไม่ให้สำเร็จประโยชน์นั้นได้ ย่อมสลาย ตัวทันทีฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น ใคร ๆ ไม่สามารถยึดถือได้ว่า เราหรือของเรา แม้ยึดถือ แล้วก็คงอยู่อย่างนั้นไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับฟองน้ำอย่างนี้ทีเดียว คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่สวยงามเอาเลย อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำมีช่องเล็กช่องน้อยพรุนไปเชื่อมต่อด้วยที่

ต่อหลายแห่ง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมากมีงูน้ำเป็นต้น ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น

มีช่องเล็กช่องน้อย พรุนไป เชื่อมต่อด้วยที่ต่อหลายแห่ง ในรูปนี้หมู่หนอน ๘๐ เหล่า อาศั ย อยู่ กั น เป็ น ตระกู ล ที เ ดี ย ว รู ป นั้ น นั่ น แลเป็ น ทั้ ง เรื อ นเกิ ด เป็ น ทั้ ง ส้ ว ม เป็ น ทั้ ง

โรงพยาบาล เป็นทั้งป่าช้าของหมู่หนอนเหล่านั้น หมู่หนอนเหล่านั้นย่อมไม่ไปทำกิจทั้งหลาย มีคลอดลูกเป็นต้นในที่อื่น รูปเป็นเหมือนฟองน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง


270

หลักธรรม

อนึ่ง เปรียบเหมือนว่าฟองน้ำ แต่แรกก็มีขนาดเท่าผลพุทราและล้อรถ (ต่อมาได้ ก่อตัวใหญ่ขึ้น) จนมีขนาดเท่ายอดภูเขาตามลำดับ ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น เบื้องแรกมีขนาด เท่ากลละ (ต่อมาได้ก่อตัวใหญ่ขึ้น) ตามลำดับ จนมีขนาดวาหนึ่งบ้าง มีขนาดเท่ายอดเขา เป็นต้นด้วยอำนาจแห่งกระบือและช้างเป็นต้นบ้าง มีขนาด ๑๐๐ โยชน์ด้วยอำนาจแห่งปลา และเต่าเป็นต้นบ้าง รูปเป็นเหมือนฟองน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง อนึ่ง เปรียบเหมือนว่าฟองน้ำ พอก่อตัวขึ้นแล้วก็สลายตัวบ้าง ลอยไปได้หน่อย หนึ่งก็สลายตัวบ้าง ลอยไปได้ไกลสลายตัวบ้าง แต่พอถึงทะเลแล้วก็สลายตัวแน่แท้ทีเดียว ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน สลายตัวเมื่อคราวเป็นกลละบ้าง เมื่อคราวเป็นอัมพุทะ เป็ น ต้ น บ้ า งแต่ แ ม้ จ ะไม่ ส ลายตั ว ลงกลางคั น มี อ ายุ อ ยู่ ต่ อ ไปได้ ถึ ง ๑๐๐ ปี ครั้ น ถึ ง

๑๐๐ ปี ก็สลายตัวแน่แท้ทีเดียว รูปอยู่ในวิถีทางของมรณะร่ำไป รูปเป็นเหมือนฟองน้ำ ด้วยอาการอย่างนี้บ้าง

เวทนา แม้ในบทว่า กิญฺหิ สิยา ภิกฺขเว เวทนาย สาโร เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ พึงทราบว่าเวทนาเป็นต้น เหมือนกับต่อมน้ำเป็นต้นอย่างนี้ คือ เหมือนอย่างว่า

ต่อมน้ำไม่มีสาระฉันใด ถึงเวทนาก็ไม่มีสาระแม้ฉันนั้น เหมือนอย่างว่า ต่อมน้ำนั้นไม่มีกำลัง จับคว้าไม่ได้ ใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้า ต่ อ มน้ ำ นั้ น มาทำแผ่ น กระดานหรื อ ที่ นั่ ง ได้ ต่ อ มน้ ำ ที่ จั บ คว้ า แล้ ว ก็ ส ลายตั ว ทั น ที ฉั น ใด

แม้เวทนาก็ฉันนั้น ไม่มีกำลัง จับคว้าไม่ได้ ใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้าไว้ด้วยสำคัญว่า

เที่ยงหรือยั่งยืน แม้จับคว้าได้แล้วก็คงอยู่อย่างนั้นไม่ได้ เวทนาชื่อว่าเป็นเหมือนฟองน้ำ เพราะจับคว้าไว้ไม่ได้อย่างนี้บ้าง อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต่อมน้ำย่อมเกิดและสลายตัวในเพราะหยดน้ำนั้น ๆ

อยู่ได้ไม่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดและสลายตัวไป อยู่ได้ไม่นาน ในขณะ

ชั่วลัดนิ้วมือเดียว เกิดแล้วดับไปนับได้แสนโกฏิครั้ง อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุ ๔ อย่าง คือ พื้นน้ำ หยดน้ำ ระลอกน้ำ และลมที่พัดมาให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น


เผณปิณฑสูตร

271

เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุ ๔ อย่างคือ วัตถุ อารมณ์ ระลอกกิเลส และการกระทบกัน ด้วยอำนาจ ผัสสะ เวทนาเป็นเหมือนต่อมน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง

สัญญา แม้สัญญาก็ชื่อว่าเป็นเหมือนพยับแดด เพราะอรรถว่าไม่มีสาระ อนึ่ง ชื่อว่าเป็น เหมือนพยับแดดเพราะอรรถว่าอันใคร ๆ จับคว้าไม่ได้ เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะจับ คว้าเอาพยับแดดนั้นมาดื่ม อาบ หรือบรรจุให้เต็มภาชนะได้ อี ก อย่ า งหนึ่ ง เปรี ย บเหมื อ นว่ า พยั บ แดดย่ อ มเต้ น ยิ บ ยั บ ปรากฏเหมื อ นมี

ลูกคลื่นเกิดฉันใด แม้สัญญาแยกประเภทเป็นนีลสัญญาเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไหวตัว คือ เต้นยิบยับ เพื่อประโยชน์แก่การเสวยอารมณ์มีรูปสีเขียวเป็นต้น อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า พยับแดดย่อมหลอกล่อคนจำนวนมากให้หลง ให้พูดว่า ปรากฏเหมือนแม่น้ำมีน้ำเต็ม ฉันใด แม้สัญญาก็ฉันนั้น ย่อมหลอกล่อคนจำนวนมากให้ หลงให้พูดว่า รูปนี้สีเขียว สวยงาม เป็นสุข เที่ยง แม้ในรูปสีเหลืองเป็นต้นก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล สัญญาชื่อว่า เหมือนกับพยับแดด เพราะทำให้หลงอย่างนี้บ้าง

สังขาร บทว่า อกุกฺกุชกชาตํ ได้แก่ ไม่มีแก่นเกิดอยู่ในภายใน แม้สังขารทั้งหลายก็ชื่อ ว่าเป็นเหมือนต้นกล้วย เพราะอรรถว่าไม่มีสาระ (แก่น) อนึ่ง ชื่อว่า เป็นเหมือนต้นกล้วย เพราะอรรถว่าจับคว้าไม่ได้ เปรียบเหมือนว่า ใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้าอะไร ๆ จากต้นกล้วยแล้วนำ เข้าไปใช้ประโยชน์เป็นกลอนเรือนเป็นต้น แม้นำเข้าไปใช้ประโยชน์แล้วก็จะไม่เป็นอย่างนั้น (ไม่เป็นไปตามประสงค์) ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ใคร ๆ ไม่สามารถจะยึดถือว่า เที่ยงเป็นต้นได้ แม้ยึดถือแล้วก็ไม่เป็นอย่างนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต้นกล้วยเป็นที่รวมของกาบจำนวนมากฉันใด สังขาร

ทั้งหลายแม้ฉันนั้น เป็นที่รวมของธรรมมาก


272

หลักธรรม

อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต้นกล้วยมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือกาบภายนอกสีเป็น อย่างหนึ่ง กาบใน ๆ ถัดจากกาบนั้นเข้าไปก็มีสีเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฉันใด แม้ในสังขารขันธ์ ก็ฉนั นัน้ เหมือนกันผัสสะมีลกั ษณะเป็นอย่างหนึง่ (เจตนาเป็นต้นก็มลี กั ษณะเป็นอีกอย่างหนึง่ ) แต่ครั้นรวมเจตนาเป็นต้นเข้าแล้ว จึงเรียกว่าสังขารขันธ์อย่างเดียว เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์ เป็นเหมือนต้นกล้วยอย่างนี้บ้าง บทว่า จกฺขุมา ปุริโส ความว่า มีจักษุดี ด้วยจักษุทั้งสอง คือ มังสจักษุ

และ ปัญญาจักษุ อธิบายว่า แม้มังสจักษุของบุรุษนั้นก็บริสุทธิ์ปราศจากต้อต่อมก็ใช้ได้

แม้ปัญญาจักษุ ก็สามารถมองเห็นว่าไม่มีสาระก็ใช้ได้

วิญญาณ แม้ วิ ญ ญาณก็ ชื่ อ ว่ า เปรี ย บเหมื อ นมายา เพราะหมายความว่ า ไม่ มี ส าระ อนึ่ ง

ชื่อว่าเปรียบเหมือนมายา เพราะหมายความว่าจับคว้าไม่ได้ เปรียบเหมือนว่า มายาปรากฏเร็ว ชั่วเวลาเล็กน้อย ฉันใด วิญญาณก็ฉันนั้น

เพราะว่าวิญญาณนั้น เป็นของมีชั่วเวลาน้อยกว่า และปรากฏเร็วกว่ามายานั้น คนจึงเป็น เหมือนเดินมา เป็นเหมือนยืนอยู่ (และ) เป็นเหมือนนั่งด้วยจิตดวง (เดียวกัน) นั้นนั่นแล แต่ ว่ า ในเวลาไป จิ ต เป็ น ดวงหนึ่ ง ในเวลามาเป็ น ต้ น จิ ต เป็ น อี ก ดวงหนึ่ ง วิญญาณเป็นเหมือนมายาอย่างนี้บ้าง อนึ่ง มายาย่อมล่อล่วงมหาชน ให้มหาชนยึดถืออะไร ๆ ต่าง ๆ ว่า นี้ทองคำ

นี้เงิน นี้แก้วมุกดา แม้วิญญาณก็ล่อลวงมหาชน ให้มหาชนยึดถือว่า เป็นเหมือนเดินมา

เป็นเหมือนยืนอยู่ (และ) เป็นเหมือนนั่งอยู่ด้วยจิต (ดวงเดียวกัน) นั้นนั่นแล ในเวลามา

จิตก็เป็นดวงหนึ่ง ในเวลาไปเป็นต้น จิตก็เป็นอีกดวงหนึ่ง วิญญาณ เป็นเหมือนมายา

อย่างนี้บ้าง จบ เผณปิณฑสูตรและอรรถกถา


นกุลปิตุสูตร

๒๔. นกุลปิตุสูตร

273

กายกระสับกระส่าย จิตไม่กระสับกระส่าย สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่ [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็นที่นางยักษ์

ชื่อเภสกฬาอยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิระ ในภัคค

ชนบท ... ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ ร่างกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วย เนือง ๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้ เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ ตลอดกาลนานเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่นถูกแล้ว ๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้ กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่า ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล [๒] ครัง้ นัน้ แล คฤหบดีชอื่ นกุลบิดา ชืน่ ชมยินดีพระภาษิตของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบตุ ร อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะนกุลปิตุคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ ฟั ง ธรรมี ก ถาในที่ เ ฉพาะพระพั ก ตร์ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า หรื อ นกุ ล ปิ ตุ ค ฤหบดี ต อบว่ า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรมรด ข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถา


274

หลักธรรม

ส. ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถา อย่างไรเล่า น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกาย

กระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนือง ๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและ ภิกษุทั้งหลายผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความ สุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า นั่นถูกแล้ว ๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันหนัง

หุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้เพียง

ครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่ง อมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล [๓] ส. ดู ก่ อ นคฤหบดี ก็ ท่ า นมิ ไ ด้ ทู ล สอบถามพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ต่ อ ไปว่ า พระเจ้าข้า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิต กระสับกระส่าย และก็ด้วยเหตุเท่าไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็น ผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตนั้น ในสำนั ก ท่ า นพระสารี บุ ต ร ดี ล ะหนอ ขอเนื้ อ ความแห่ ง ภาษิ ต นั้ น จงแจ่ ม แจ้ ง กะท่ า น

พระสารีบุตรเถิด ส. ดูก่อนคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นกุลปิตุคฤหบดี รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า

สักกายทิฏฐิ ๒๐ [๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูก่อนคฤหบดี คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้มิได้สดับแล้ว


นกุลปิตุสูตร

275

มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม

มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนใน

รูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความ

ยึดมัน่ ว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนัน้ ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอืน่ ไป เพราะรูปแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็นเวทนา

ในตน ๑ ย่ อ มเห็ น ตนในเวทนา ๑ เป็ น ผู้ ตั้ ง อยู่ ด้ ว ยความยึ ด มั่ น ว่ า เราเป็ น เวทนา

เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมี สัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความ

ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็น

อย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความ เป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความ

ยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ สังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็น วิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณ ของเรา วิ ญ ญาณนั้ น ย่ อ มแปรปรวนเป็ น อย่ า งอื่ น ไป เพราะวิ ญ ญาณแปรปรวนเป็ น

อย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี ด้วยเหตุ อย่างนีแ้ ล บุคคลจึงชือ่ ว่าเป็นผูม้ กี ายกระสับกระส่าย และเป็นผูม้ จี ติ กระสับกระส่าย [๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หา เป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูก่อนคฤหบดี คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม


276

หลักธรรม

ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อม ไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยสาวก นัน้ ไม่ตงั้ อยูด่ ว้ ยความยึดมัน่ ว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนัน้ ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอืน่ ไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอืน่ ไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึน้ ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็น เวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น เวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนา ของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึน้ ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑

ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้ง อยู่ ด้ ว ยความยึ ด มั่ น ว่ า เราเป็ น สั ญ ญา สั ญ ญาของเรา สั ญ ญานั้ น ย่ อ มแปรปรวนเป็ น

อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สั ง ขารของเรา สั ง ขารนั้ น ย่ อ มแปรปรวนเป็ น อย่ า งอื่ น ไป เพราะสั ง ขารแปรปรวนเป็ น

อย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่ เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปรวนเป็ น อย่ า งอื่ น ไป โสกะ ปริ เ ทวะ ทุ ก ข์ โทมนั ส และอุ ป ายาสจึ ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น

ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล จบ นกุลปิตุสูตร


มหาตัณหาสังขยสูตร

๒๕. มหาตัณหาสังขยสูตร

277

เหตุเกิดของขันธ์ ๕ และวิธีปฏิบัติให้หมดกองทุกข์ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาส์ [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมั ย หนึ่ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ที่ พ ระวิ ห ารเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อสาติผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาว ประมง) มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ภิ ก ษุ ม ากด้ ว ยกั น ได้ ฟั ง ว่ า ภิ ก ษุ ส าติ ผู้ เ กวั ฏ ฏบุ ต ร มี ทิ ฏ ฐิ อั น ลามกเห็ น ปานนี้

เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ เธอตอบว่ า ดู ก่ อ นท่ า นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย ข้ า พเจ้ า ย่ อ มรู้ ทั่ ว ถึ ง ธรรมตามที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูกอ่ นท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตูพ่ ระผูม้ พี ระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูก่อนท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดย ปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยัง

ยึดมั่นถือทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรงและกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อม รู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว


278

หลักธรรม

แล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้

ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก [๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐิลามก นั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรา

ย่ อ มรู้ ทั่ ว ถึ ง ธรรมตามที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงแสดงว่ า วิ ญ ญาณนี้ นั่ น แหละ ย่ อ ม

ท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วถามว่า

ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวไป แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อน ท่ า นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย ข้ า พเจ้ า ย่ อ มรู้ ทั่ ว ถึ ง ธรรมตามที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงแสดงว่ า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ในลำดับนั้น พวกข้า พระองค์ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าว

ตู่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ไม่ ดี เ ลย เพราะพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า มิ ไ ด้ ต รั ส อย่ า งนี้ เ ลย ดู ก่ อ น

ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุ

อันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิอันลามก

นั้นรุนแรงและกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ อันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า [๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูก่อน ภิ ก ษุ เ ธอจงมา เธอจงเรี ย กสาติ ภิ ก ษุ ผู้ เ กวั ฏ ฏบุ ต รตามคำของเราว่ า ดู ก่ อ นท่ า นสาติ

พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูก่อนท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน


มหาตัณหาสังขยสูตร

279

สาติ ภิ ก ษุ รั บ คำภิ ก ษุ นั้ น แล้ ว จึ ง เข้ า ไปเฝ้ า พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ถึ ง ที่ ป ระทั บ

ถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็น ปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี ้ นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ สาติ ภิ ก ษุ ทู ล ว่ า ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ข้ า พระองค์ ย่ อ มรู้ ทั่ ว ถึ ง ธรรมตามที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร สาติ ภิ ก ษุ ทู ล ว่ า สภาวะที่ พู ด ได้ รั บ รู้ ไ ด้ ย่ อ มเสวยวิ บ ากของกรรมทั้ ง หลาย

ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้น ๆ นั่นเป็นวิญญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่

ใครเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยาย เป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็น ดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะทิฏฐิที่ ตนถือชั่วแล้ว ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอจักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น [๔๔๓] ครั้ ง นั้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ถามภิ ก ษุ ทั้ ง หลายว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ

ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรจะเป็นผู้ทำความเจริญ ในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้มีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนั่งนิ่ง กระดาก คอตก

ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ


280

หลักธรรม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็น

ดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น

เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย พวกเธอย่อมรูท้ วั่ ถึงธรรมทีเ่ ราแสดงแล้ว เหมือนสาติภกิ ษุกล่าวตูเ่ ราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บญ ุ เป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิทตี่ นถือชัว่ แล้ว ดังนี้ หรือ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัย ประชุ ม กั น เกิ ด ขึ้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส แล้ ว แก่ พ วกข้ า พระองค์ โ ดยอเนกปริ ย าย

ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เรา แสดงอย่ า งนี้ ถู ก แล้ ว ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย วิ ญ ญาณอาศั ย ปั จ จั ย ประชุ ม กั น เกิ ด ขึ้ น

เรากล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ก็แต่สาติภิกษุผู้ เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัย

ใด ๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้น ๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น

ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับ ว่ า โสตวิ ญ ญาณ วิ ญ ญาณอาศั ย ฆานะและกลิ่ น ทั้ ง หลายเกิ ด ขึ้ น ก็ ถึ ง ความนั บ ว่ า

ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใด ๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้น ๆ ไฟอาศัย ไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟฟืน ไฟ อาศัยสะเก็ดไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟสะเก็ดไม้

ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟ โคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึง ความนับว่าไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัย


มหาตัณหาสังขยสูตร

281

ปั จ จั ย ใด ๆ เกิ ด ขึ้ น ก็ ถึ ง ความนั บ ด้ ว ยปั จ จั ย นั้ น ๆ วิ ญ ญาณอาศั ย จั ก ษุ แ ละรู ป

ทั้ ง หลายเกิ ด ขึ้ น ก็ ถึ ง ความนั บ ว่ า จั ก ษุ วิ ญ ญาณ วิ ญ ญาณอาศั ย โสตและเสี ย งทั้ ง หลาย

เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึง ความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากาย วิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ [๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้วหรือไม่ ? ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหาร หรือ ? ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ ดับแห่งอาหารนั้น หรือ ? ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึน้ เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนีม้ หี รือหนอ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะ อาหารนั้นหรือหนอ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกมีความดับ

เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นหรือหนอ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะ อาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า


282

หลักธรรม

พ. บุ ค คลเห็ น อยู่ ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามความเป็ น จริ ง ว่ า ขั น ธปั ญ จกนั้ น มี

ความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนัน้ ย่อมละความสงสัยทีเ่ กิดขึน้ เสียได้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้นแม้ ดังนี้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก นี้เกิดแล้วดังนี้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก เกิดเพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก นั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของ เราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึง ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก มิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ ? ภ. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็น ของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเรา แสดงแล้ ว เพื่ อ ประโยชน์ ใ นอั น สลั ด ออก ไม่ ใ ช่ แ สดงแล้ ว เพื่ อ ประโยชน์ ใ นอั น ถื อ ไว้

บ้างหรือหนอ ? ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า


มหาตัณหาสังขยสูตร

283

อาหาร ๔ [๔๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่ เกิดบ้าง อาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน ? อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือ ละเอียดเป็นที่ ๑ ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย

มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ

มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ ตัณหามี เวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้มี อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามี ผั ส สะ

เป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด ผัสสะมี สฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิด สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ

มีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นสมุทัย

มีวญ ิ ญาณเป็นชาติ มีวญ ิ ญาณเป็นแดนเกิด ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ก็วญ ิ ญาณนีม้ อี ะไรเป็นเหตุ มี อ ะไรเป็ น สมุ ทั ย มี อ ะไรเป็ น ชาติ มี อ ะไรเป็ น แดนเกิ ด วิ ญ ญาณมี สั ง ขารเป็ น เหตุ

มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร ทั้งหลายนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขาร ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมีเพราะสังขารเป็น ปัจจัย นามรูปมีเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการ ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้


284

หลักธรรม

นัยอันเป็นปัจจัย [๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะ

จึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ จึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั่นแล ภพจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ

เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความ เป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เพราะเวทนาเป็ น ปั จ จั ย นั่ น แล ตั ณ หาจึ ง มี ในข้ อ นี้ เ ป็ น อย่ า งนี้ ห รื อ ๆ

เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้มีความ เป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร


มหาตัณหาสังขยสูตร

285

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้มีความ เป็นอย่างนี้แล พ. ก็ ข้ อ ว่ า สฬายตนะมี เ พราะนามรู ป เป็ น ปั จ จั ย ดั ง นี้ นั้ น เรากล่ า วแล้ ว ว่ า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้

หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้มี ความเป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ

เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้มีความ เป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ

เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความ เป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ

เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้มีความ

เป็นอย่างนี้แล


286

หลักธรรม

[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น

แม้ เ ราก็ ก ล่ า วอย่ า งนั้ น เมื่ อ มี สิ่ ง นี้ สิ่ ง นี้ ก็ มี เพราะสิ่ ง นี้ เ กิ ด ขึ้ น สิ่ ง นี้ ก็ เ กิ ด ขึ้ น คื อ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้อย่างนี้ เพราะอวิชชาดับหมด มิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ดบั ความดับแห่งกองทุกข์ทงั้ สิน้ นัน้ ย่อมมีได้อย่างนี้

นัยแห่งความดับ [๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรามรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรามรณะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร ภ. อย่างนี้แล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรามรณะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น

พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น

อย่างนี้แล


มหาตัณหาสังขยสูตร

287

พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น

อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น

อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็น อย่างไร


288

หลักธรรม

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น อย่างนี้แล พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น

อย่างนี้แล [๔๕๐] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้

แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะ

อวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป

จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึ ง ดั บ เพราะเวทนาดั บ ตั ณ หาจึ ง ดั บ เพราะตั ณ หาดั บ อุ ป าทานจึ ง ดั บ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทงั้ สิน้ นัน้ ย่อมมีได้อย่างนี้

กถาว่าด้วยธรรมคุณ [๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า

ในอดีตกาลเราได้มีแล้วหรือว่าไม่ได้มีแล้ว เราได้เป็นอะไรแล้วหรือว่าเราได้เป็นแล้วอย่างไร หรือเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาล เราจักมีหรือว่าจักไม่มี เราจักเป็นอะไรหรือว่าเราจักเป็นอย่างไร หรือเราจัก เป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไร ดังนี้บ้างหรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาลในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมีหรือว่าเราย่อมไม่มี เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเรา ย่อมเป็นอย่างไร สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่


มหาตัณหาสังขยสูตร

289

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดา เป็นครูของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้ บ้างหรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัส

อย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเราย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ ดังนี้บ้างหรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่น ดังนี้ บ้างหรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย พวกเธอรู้ เ ห็ น อยู่ อ ย่ า งนี้ พึ ง เชื่ อ ถื อ สมาทานวั ต ร

ความตื่นเพราะทิฏฐิและทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก ดังนี้บ้าง หรือไม่ ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้ว พวกเธอพึงกล่าวถึง สิ่งนั้นมิใช่หรือ ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไปแล้วด้วย

ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา

อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้อันเห็นได้ด้วย ตนเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว


290

หลักธรรม

การก้าวลงสู่ครรภ์ [๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิ ด แห่ ง ทารกก็ มี ในสั ต วโลกนี้ มารดาบิ ด าอยู่ ร่ ว มกั น แต่ ม ารดายั ง ไม่ มี ร ะดู

และสัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ในสัตวโลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่สัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยัง ไม่มีก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย

สัตว์ที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งสัตว์จงึ มี ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย มารดาย่อมรักษาทารกนัน้ ด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความสงสัยใหญ่ และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้วด้วยโลหิตของตนด้วย ความสงสัยใหญ่ [๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่น ด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก

ธนูเล็ก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์

ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก

เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้ แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่นและมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ ทราบชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตาม ความเป็นจริง เขาเป็นผูถ้ งึ พร้อมซึง่ ความยินดียนิ ร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึง่ เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุข

ก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิ ด เพลิ น ในเวทนาทั้ ง หลายเป็ น อุ ป าทาน เพราะอุ ป าทานเป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี ภ พ


มหาตัณหาสังขยสูตร

291

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ กุมารนั้นได้ยิน เสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์

ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่นและมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติ และปั ญ ญาวิ มุ ต ติ อั น เป็ น ที่ ดั บ หมดแห่ ง เหล่ า อกุ ศ ลธรรมอั น ลามกตามความเป็ น จริ ง

เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็ น ทุ ก ข์ ก็ ดี มิ ใ ช่ ทุ ก ข์ มิ ใ ช่ สุ ข ก็ ดี ย่ อ มเพลิ ด เพลิ น บ่ น ถึ ง ติ ด ใจเวทนานั้ น อยู่

ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี ภ พ เพราะภพเป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี ช าติ เพราะชาติ เ ป็ น ปั จ จั ย จึ ง มี ช รามรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทงั้ สิน้ นัน้ ย่อมมีได้อย่างนี้

กถาว่าด้วยพุทธคุณ [๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่

ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม ตถาคตนั้นทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ให้รู้ตาม แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด

ภายหลัง ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็น ทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ า กาสาวพั ส ตร์ ออกบวชเป็ น บรรพชิ ต สมัย ต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อ ยใหญ่

ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต


292

หลักธรรม

ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ [๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางไม้ วางมีดแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความ กรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่ เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมเป็ น ข้ า ศึ ก แก่ พ รหมจรรย์ ประพฤติ พ รหมจรรย์ ประพฤติ ห่ า งไกล

เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น สมานคนที่ แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คน พร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ

เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล แต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ

พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี เว้นจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กศุ ล เว้ น ขาดจากการทั ด ทรงประดั บ เละตกแต่ ง ร่ า งกาย ด้ ว ยดอกไม้ ข องหอมและ เครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว


มหาตัณหาสังขยสูตร

293

เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงและใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชัง่ การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครือ่ งตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก ภิกษุนั้น เป็ น ผู้ สั น โดษ ด้วยจีวรเป็น เครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น

เครือ่ งบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถอื ไปได้เอง นกมีปกี จะบินไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่อง บริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง ภายใน

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษใน

ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยิน เสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...


294

หลักธรรม

รูแ้ จ้งธรรมารมณ์ดว้ ยใจแล้ว ไม่ถอื นิมติ ไม่ถอื อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบตั เิ พือ่ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคน ด้วยกิเลสในภายใน ภิกษุนั้นย่อม ทำความรู้สึกตัว ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม

การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน

การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง

การชำระจิต [๔๕๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะอันเป็น อริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

ป่าชัฏ ทีแ่ จ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นัง่ ขัดสมาธิ ตัง้ กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู ่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิด พยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ ประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนด หมายอยู่ ที่ แ สงสว่ า ง มี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะอยู่ ย่ อ มชำระจิ ต ให้ บ ริ สุ ท ธิ์ จ ากถี น มิ ท ธะได้

ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลง ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ [๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็น เครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน

มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เข้าถึงตติยฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอยู่


มหาตัณหาสังขยสูตร

295

[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบ ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความ เป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็ น ทุ ก ข์ ก็ ดี ไม่ ใ ช่ ทุ ก ข์ ไ ม่ ใ ช่ สุ ข ก็ ดี ก็ ไ ม่ เ พลิ ด เพลิ น ไม่ บ่ น ถึ ง ไม่ ติ ด ใจเวทนานั้ น

เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนา ทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วย ฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ ขั ด เคื อ งในธรรมารมณ์ ที่ น่ า ชั ง เป็ น ผู้ มี ส ติ ใ นกายตั้ ง มั่ น และมี จิ ต หาประมาณมิ ไ ด้ อ ยู ่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตาม ความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุข

ก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น

เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนา

ทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับอุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำ ตัณหาสังขยวิมุตติ โดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจง ทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหาและกองตัณหาใหญ่ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล จบ มหาตัณหาสังขยสูตร


296

อุปปาทสูตร

๒๖. อุปปาทสูตร

ธาตุที่ไม่ขึ้นกับการเกิดขึ้นของพระตถาคต อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต

ว่าด้วยธรรมนิยาม [๕๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตทั้งหลาย เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ก็ตาม ธาตุ คือ สิ่งที่ทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น (ธัมมฐิตตา) ความตั้งอยู่โดยธรรมดาอันนั้น (ธัมมนิยามตา) ความแน่นอนโดยธรรมดาอันนั้น ตถาคตตรัสรู้บรรลุธาตุนั้นว่า สังขาร

ทั้ ง ปวงไม่ เ ที่ ย ง สั ง ขารทั้ ง ปวงเป็ น ทุ ก ข์ ธรรมทั้ ง ปวงเป็ น อนั ต ตา ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว

ได้หยั่งรู้แล้วจึงบอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นว่า สังขารทั้งปวง

ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา จบ อุปปาทสูตร


ฉฉักกสูตร

๒๗. ฉฉักกสูตร

297

ธรรมะหมวด ๖ มีอายตนะภายในเป็นต้น มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า [๘๑๑] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนีว้ า่ พวกเธอพึงทราบ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖ หมวดตัณหา ๖ [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๑ [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะ ภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๒ [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตและเสียง จึงเกิด โสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหา


298

หลักธรรม

วิ ญ ญาณ อาศั ย กายและโผฏฐั พ พะ จึ ง เกิ ด กายวิ ญ ญาณ อาศั ย มโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั้น เราอาศัย วิญญาณนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๓ [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัย ชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและ โผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและ ธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ ว่าพึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยผัสสะนี้กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๔ [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ... อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ... อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ... อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ... อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนานี้กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๕

ว่าด้วยกองแห่งตัณหา [๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา


ฉฉักกสูตร

299

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ... อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ... อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ ... อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ... อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ข้อที่เรา กล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหานี้กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า จักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึง ไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็น อนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าว ได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัส เป็ น อั ต ตานั้ น จึ ง ไม่ ค วร ด้ ว ยประการฉะนี้ จั ก ษุ จึ ง เป็ น อนั ต ตา รู ป จึ ง เป็ น อนั ต ตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา


300

หลักธรรม

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึน้ และเสือ่ มไป เพราะฉะนัน้ คำของผูท้ กี่ ล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานัน้ จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ผูใ้ ดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผูน้ นั้ ไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น

จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็น อนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

ว่าด้วยอนัตตา [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้นจึง

ไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้อง กล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึง เป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า


ฉฉักกสูตร

301

มโนวิญญาณเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึง เป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อมปรากฏแม้ ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัส เป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตานั้นจึง ไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณ จึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ผูใ้ ดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผูน้ นั้ ไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้นจึง ไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณ จึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ [๘๒๐] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ก็ ป ฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความตั้ ง ขึ้ น แห่ ง สั ก กายะ

ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา ของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตว่า นัน่ ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นัน่ ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นัน่ ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า

นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา


302

หลักธรรม

ของเรา เล็ ง เห็ น เวทนาว่ า นั่ น ของเรา นั่ น เรา นั่ น อั ต ตาของเรา เล็ ง เห็ น ตั ณ หาว่ า

นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา [๘๒๑] ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถงึ ความดับแห่งสักกายะ ดังต่อไปนีแ้ ล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นรูปว่า นัน่ ไม่ใช่ของเรา นัน่ ไม่ใช่เรา นัน่ ไม่ใช่อตั ตาของเรา เล็งเห็นจักษุวญ ิ ญาณว่า นัน่ ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา ของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นัน่ ไม่ใช่ของเรา นัน่ ไม่ใช่เรา นัน่ ไม่ใช่อตั ตาของเรา เล็งเห็นโสตว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ว่าด้วยความเป็นอฐานะ [๘๒๒] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย บุ ค คลอาศั ย จั ก ษุ แ ละรู ป เกิ ด จั ก ษุ วิ ญ ญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนา ถู ก ต้ อ งแล้ ว ย่ อ มเศร้ า โศก ลำบาก ร่ ำ ไห้ คร่ ำ ครวญ ทุ่ ม อก ถึ ง ความหลงพร้ อ ม

มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณโทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้นตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัย นอนเนื่ อ งอยู่ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ข้ อ ที่ บุ ค คลนั้ น ยั ง ไม่ ล ะราคานุ สั ย เพราะสุขเวทนา

ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้


ฉฉักกสูตร

303

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ... ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย บุ ค คลอาศั ย มโนและธรรมารมณ์ เกิ ด มโนวิ ญ ญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว

ย่ อ มเพลิ ด เพลิ น พู ด ถึ ง ดำรงอยู่ ด้ ว ยความติ ด ใจ จึ ง มี ร าคานุ สั ย นอนเนื่ อ งอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุ่มอก ถึงความหลง พร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัด ความตั้ ง ขึ้ น ความดั บ ไป คุ ณ โทษ และที่ ส ลั ด ออกแห่ ง เวทนานั้ น ตามความเป็ น จริ ง จึ ง มี อ วิ ช ชานุ สั ย นอนเนื่ อ งอยู่ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ข้ อ ที่ บุ ค คลนั้ น ยั ง ไม่ ล ะราคานุ สั ย เพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนวิชชานุสัยเพราะ อทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ [๘๒๓] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย บุ ค คลอาศั ย จั ก ษุ แ ละรู ป เกิ ด จั ก ษุ วิ ญ ญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญ ทุ่มอก

ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณโทษและที่สลัดออกแห่งเวทนานั้นตามความ เป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสยั เพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสยั เพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสยั เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ ...


304

หลักธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความ ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ เพลิ ด เพลิ น ไม่ พู ด ถึ ง ไม่ ด ำรงอยู่ ด้ ว ยความติ ด ใจ จึ ง ไม่ มี ร าคานุ สั ย นอนเนื่ อ งอยู่

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญ ทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษและที่สลัดออกแห่งเวทนานั้นตามความ เป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น ละราคานุสัย เพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสยั เพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสยั เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ [๘๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน มโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในตัณหา เมือ่ เบือ่ หน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมือ่ หลุดพ้นแล้ว ย่ อ มมี ญ าณรู้ ว่ า หลุ ด พ้ น แล้ ว และทราบชั ด ว่ า ชาติ สิ้ น แล้ ว พรหมจรรย์ อ ยู่ จ บแล้ ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส พระภาษิ ต นี้ แ ล้ ว ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ต่ า งชื่ น ชมยิ น ดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิต นี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นแล จบ ฉฉักกสูตรที่ ๖


ฉฉักกสูตร

305

อรรถกถาฉฉักกสูตร ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อาทิ ก ลฺ ย าณํ ความว่า เราจะทำให้ไพเราะคือให้

ปราศจากโทษ ให้ ดี ใ นเบื้ อ งต้ น แล้ ว แสดง แม้ ที่ ไ พเราะในท่ า มกลางและที่ สุ ด ก็ ท ำนอง เดียวกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศสูตรด้วย ๙ บท. มหาสติปัฏฐานสูตร ด้วย ๗ บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย ๗ บทเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้ ว ย ๙ บท. คำว่ า พึ ง ทราบ คื อ พึ ง ทราบด้ ว ยมรรคพร้ อ มกั บ วิ ปั ส สนา

จิ ต ที่ เ ป็ น ไปในภู มิ ส ามเท่ า นั้ น ทรงแสดงด้ ว ยมนายตนะ และธรรมที่ เ ป็ น ไปในภู มิ ๓

ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ ยกเว้นทวิปญ ั จวิญญาณ (วิญญาณ ๕ คู่ รวม ๑๐ ดวง) โลกิยวิบากจิต ๒๐ ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่ สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว. คำว่า ตัณหา ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นใน ขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัย. คำว่า จักษุเป็นตัวตน มีคำเชื่อมต่อเป็น แผนกหนึ่งโดยเฉพาะ ก็แลเพื่อแสดงความที่สัจจะ ๒ ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึง ไม่เหมาะ. คำว่า เสื่อมไป คือปราศไป ดับไป. คำว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว คือ แม้นี้ก็เป็นคำเชื่อมต่อที่เป็น

แผนกหนึ่งโดยเฉพาะ จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจความถือมั่น ๓ อย่าง

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้ บางท่านว่า เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยสัจจะ ๒ ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคำว่า นั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น

ด้วยตัณหามานะ และทิฐินั่นแล. คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือ ย่อมเห็นด้วยอำนาจความถือมั่น ทั้ง ๓ อย่าง ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจ ปฏิปักษ์ต่อความถือมั่นทั้ง ๓ อย่าง หรือเพื่อทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจสัจจะ ๒ ข้อ

คือ นิโรธ มรรค เหล่านั้น จึงตรัสว่า อยํ โข ปน ดังนี้ เป็นต้น. คำว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เป็นต้น เป็นคำปฏิเสธตัณหาเป็นต้น. คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือ ย่อมเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน


306

หลักธรรม

ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจ

อนุสัยทั้งสามอย่างอีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ ภิกฺขเว. ในคำเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า ย่ อ มเพลิ ด เพลิ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ด้ ว ยอำนาจตั ณ หาและทิ ฐิ เ ท่ า นั้ น . คำว่ า

นอนเนื่อง คือยังละไม่ได้. คำว่า แห่งทุกข์ ได้แก่ แห่งวัฏฏทุกข์และกิเลสทุกข์ ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจอนุสัยสามอย่างอย่างนี้แล้ว คราวนี้เมื่อจะทรง

แสดงวิวัฏฏะ ด้วยอำนาจเป็นนัยที่ตรงกันข้ามแห่งอนุสัยทั้งสามอย่างนั้น จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า จกฺขุญฺจ อีกครั้งหนึ่ง. คำว่า ละอวิชชา คือละความไม่รู้อันเป็นรากเง่าของวัฏฏะ

ได้แล้ว. คำว่า ยังวิชชา คือ ยังความรู้คืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว คำว่า นั่น ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ ด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้แหละพระองค์ก็

ทรงเทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะให้ถึงยอดได้แล้ว เมื่อจะทรงรวบรวมพระธรรม เทศนานั้นเอง ก็ได้ตรัสคำเป็นต้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว อีกครั้งหนึ่ง. ในคำว่า ภิกษุ ประมาณ ๖๐ รูป นี้นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเองแท้ ๆ

ภิกษุ ๖๐ รูป ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะว่า แม้เมื่อท่านธรรมเสนาบดีแสดงสูตรนี้ ก็มีภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถึงแม้พระมหาโมคคัลลานะแสดงก็ดี พระมหาเถระ ๘๐ รูปแสดงก็ดี ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป สำเร็จเหมือนกันนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะพระสาวกเหล่านั้น ท่านบรรลุอภิญญาใหญ่ (กันทั้งนั้น) ก็แลในเวลาภายหลัง พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกา ก็ได้แสดงพระสูตรนี้

ภายใต้โลหปราสาท ถึงครั้งนั้นก็มีภิกษุ ๖๐ รูปสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และพระเถระก็ แสดงพระสูตรนี้ในประรำใหญ่เหมือนพระมาไลยเทพเถระแสดงในโลหปราสาทเหมือนกัน

พระเถระเมื่อออกจากมหาวิหารแล้วก็ไปเจดียบรรพต ในที่นั้น ท่านก็แสดงเหมือนกัน

ต่ อ จากนั้ น ท่ า นก็ ไ ปแสดงที่ วั ด สากิ ย วงก์ ที่ วั ด กู ฏ าสี ที่ ร ะหว่ า งหนอง ที่ ล านมุ ก ดา

ที่เขาปาตกา ที่ปาจีนฆรกะ (เรือนตะวันออก) ทีฆวาปี (หนองแวง) ที่ซอกเขาหมู่บ้านและ พื้นที่เลี้ยงแพะ แม้ในที่เหล่านั้น ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป ๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

และเมื่อออกจากที่นั้นแล้วพระเถระก็ไปสู่จิตตลบรรพต และคราวนั้น ที่วัดจิตตลบรรพต มีพระมหาเถระมีพรรษากว่า ๖๐ ใกล้สระบัวใหญ่มีท่าลึกชื่อว่าท่ากุรุวัก ที่ท่านั้นพระเถระ


ฉฉักกสูตร

307

คิดว่า เราจะอาบน้ำจึงลงไป พระเทวเถระไปหาท่านแล้วเรียนว่า กระผมจะตักน้ำสรงถวายท่าน ขอรับ ด้วยการปฏิสันถารนั่นเอง พระเถระก็ทราบได้ว่า พวกคนเขาว่า มีพระมหาเถระชื่อ มาไลยเทพ ท่านคงเป็นท่านรูปนี้ จึงถามว่า ท่านเป็นท่านเทพหรือ ครับ คุณไม่มีใครที่ใช้ มือถูร่างของเราตั้ง ๖๐ ปีแล้ว แต่คุณกลับจะอาบน้ำให้เรา แล้วก็ขึ้นไปนั่งที่ตลิ่ง พระเถระก็ทำบริกรรมมือและเท้าจนทั่ว แล้วก็สรงน้ำถวายพระมหาเถระ และ

วันนั้นเป็นวันฟังธรรม ที่นั้น พระมหาเถระจึงว่า คุณเทพ คุณควรให้ธรรมทานแก่เรา

ทั้งหลาย พระเถระรับว่า ตกลง ครับท่าน ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว พวกคนก็ไปป่าว ร้องฟังธรรมกัน พวกท่านพระมหาเถระ ๖๐ รูป ล้วนแต่เลย ๖๐ พรรษาทั้งนั้น ได้พากัน มาฟั ง ธรรม พระเทพเถระก็ เ ริ่ ม สู ต รนี้ เ มื่ อ จบสวดทำนองแล้ ว และเมื่ อ จบพระสู ต ร

พระมหาเถระ ๖๐ รูป ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ต่อจากนัน้ ท่านก็ไปแสดงทีต่ สิ สมหาวิหาร แม้ในวัดนั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้เป็นพระอรหันต์) ต่อจากนั้น ก็แสดงที่นาคมหาวิหาร ใกล้หมู่บ้านกลกัจฉะ แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้เป็นพระอรหันต์) ต่อจากนั้น

ก็ไปวัดกัลยาณี ในวัดนั้นท่านก็แสดงภายใต้ปราสาทในวันที่ ๑๔ ค่ำ แม้ในที่นั้นก็มี

พระเถระ ๖๐ รู ป (ได้ ส ำเร็ จ เป็ น พระอรหั น ต์ ) ในวั น อุ โ บสถก็ แ สดงบนปราสาท

ทีบ่ นปราสาทนัน้ ก็มพี ระเถระ ๖๐ รูป (สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน) เมือ่ พระเทพเถระ นั่นแล แสดงพระสูตรนี้อย่างนี้ ในที่ ๖๐ แห่ง ก็มีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แห่งละ ๖๐ รูป ด้วยประการฉะนี้ แต่เมือ่ ท่านจุลลนาคเถระผูท้ รงพระไตรปิฎก แสดงพระสูตรนีใ้ นวัดอัมพิลกฬกวิหาร มีบริษัทคนสามคาวุต บริษัทเทวดาหนึ่งโยชน์ เมื่อจบพระสูตร มีภิกษุหนึ่งพันรูปได้เป็น พระอรหันต์ ส่วนในหมูเ่ ทวดาจากจำนวนนัน้ ๆ แต่ละจำนวน มีปถุ ชุ นเพียงจำนวน ๑ องค์ เท่านั้นแล จบ อรรถกถาฉฉักกสูตรที่ ๖


308

หลักธรรม

๒๘. สฬายตนวิภังคสูตร

การจำแนกอายตนะ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึง่ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าประทับอยูท่ พี่ ระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภงั ค์แก่เธอทัง้ หลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภงั ค์ นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึกหน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทาง ดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็น ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์

ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์ [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ อายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ อายตนะภายนอก ๖ นั้นเราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะ ภายนอก ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว


สฬายตนวิภังคสูตร

309

[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไร กล่ า วแล้ ว ได้ แ ก่ จั ก ษุ วิ ญ ญาณ โสตวิ ญ ญาณ ฆานวิ ญ ญาณ ชิ ว หาวิ ญ ญาณ กายวิ ญ ญาณ มโนวิ ญ ญาณ ข้ อ ที่ เ รากล่ า วดั ง นี้ ว่ า พึ ง ทราบหมวดวิ ญ ญาณ ๖ นั้ น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว [๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ หมวดผัสสะ ๖ นั้น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ได้แก่ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่นเราอาศัยสัมผัสนี้กล่าวแล้ว [๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ ความนึ ก หน่ ว งของใจ ๑๘ นั้น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เพราะฟังเสียงด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฉะนั้น เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยความนึกหน่วงนี้กล่าวแล้ว [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่นเราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลเมื่อ เล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์ แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้ เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส เช่นนี้ นี้เราเรียกว่าโสมนัสอาศัยเรือน


310

หลักธรรม

บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวน ไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้นโสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัส อาศัยเรือน ๖ [๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล เมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ว่ารูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้

นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ เสียงทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรส ทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ ธรรมารมณ์ ทั้ ง หลายนั้ น แล แล้ ว เห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาชอบตามความเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖


สฬายตนวิภังคสูตร

311

[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล เมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึก ถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิด โทมนัส โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ... บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้ เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล ทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้ว เห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาใน อนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจัก บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความ ปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียง ทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่น ทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรส ทั้งหลายนั่นแล ...


312

หลักธรรม

บุ ค คลทราบความไม่ เ ที่ ย ง ความแปรปรวน ความคลาย และความดั บ ของ โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล … บุ ค คลทราบความไม่ เ ที่ ย ง ความแปรปรวน ความคลาย และความดั บ ของ ธรรมารมณ์ ทั้ ง หลายนั้ น แล แล้ ว เห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาชอบตามความเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา แล้วย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนา ในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะเห็นรูป ด้ ว ยจั ก ษุ ย่ อ มเกิ ด อุ เ บกขาขึ้ น แก่ ปุ ถุ ช นคนโง่ เ ขลา ยั ง ไม่ ช นะกิ เ ลส ยั ง ไม่ ช นะวิ บ าก ไม่ เ ห็ น โทษ ไม่ ไ ด้ ส ดั บ เป็ น คนหนาแน่ น อุ เ บกขาเช่ น นี้ นั้ น ไม่ ล่ ว งเลยรู ป ไปได้

เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน เพราะฟังเสียงด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรูธ้ รรมารมณ์ดว้ ยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึน้ แก่ปถุ ชุ นคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลย ธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนัน้ เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล เมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ


สฬายตนวิภังคสูตร

313

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ เสียงทั้งหลายนั่นแล … บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ กลิ่นทั้งหลายนั่นแล … บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรส ทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ... บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของ ธรรมารมณ์ ทั้ ง หลายนั้ น แล แล้ ว เห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาชอบตามความเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น เราอาศัยทางดำเนินนี้กล่าวแล้ว [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัย ทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึง่ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ นัน้ ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนัน้ ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นัน้ ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึง่ โทมนัสอาศัยเรือน ๖ นัน้ ๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้น ๆ ได้

เป็นอันล่วงอุเบกขานั้น ๆ ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นัน้ ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึง่ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้ ดูก่อน


314

หลักธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ โสมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้ [๖๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี ก็อเุ บกขาทีม่ คี วามเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ตา่ ง ๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขาทีม่ ใี นรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่ความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขาที่อาศัย อากาสานั ญ จายตนะ อาศั ย วิ ญ ญาณั ญ จายตนะ อาศั ย อากิ ญ จั ญ ญายตนะ อาศั ย เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คือ อิงอุเบกขาที่มี ความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น ต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ นั้น อย่างนี้ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขา นี้ ไ ด้ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย พวกเธอจงอาศั ย คื อ อิ ง ความเป็ น ผู้ ไ ม่ มี ตั ณ หา แล้ ว ละ

คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่งอาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ย่อมเป็นอันละ อุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละการล่วง นี้กล่าวแล้ว [๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว [๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศั ย ความเอ็ น ดู แสดงธรรมแก่ ส าวกทั้ ง หลายว่ า นี่ เ พื่ อ ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล แก่ พ วกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น


สฬายตนวิภังคสูตร

315

ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ [๖๓๕] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ประการอื่ น ยั ง มี อี ก ศาสดาเป็ น ผู้ อ นุ เ คราะห์ แสวงหาประโยชน์ เ กื้ อ กู ล อาศั ย ความเอ็ น ดู แสดงธรรมแก่ ส าวกทั้ ง หลายว่ า นี่ เ พื่ อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวก ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ ชื่นชมไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็ น ผู้ ว างเฉย ย่ อ มมี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะอยู่ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย นี้ เ ราเรี ย กว่ า การตั้ ง สติ ประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ [๖๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์แสวงหา ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสต สดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็ น ผู้ ชื่ น ชม เสวยความชื่ น ชม และไม่ ร ะคายเคื อ ง ย่ อ มมี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่ พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้กล่าวแล้ว [๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรื อ ทิ ศ ตะวั น ตก หรื อ ทิ ศ เหนื อ หรื อ ทิ ศ ใต้ ม้ า ที่ ค วรฝึ ก อั น อาจารย์ ฝึ ก ม้ า ขั บ ให้ วิ่ ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือ ทิ ศ ใต้ โคที่ ค วรฝึ ก อั น อาจารย์ ฝึ ก โคขั บ ให้ วิ่ ง ย่ อ มวิ่ ง ไปได้ ทิ ศ เดี ย วเหมื อ นกั น คื อ


316

หลักธรรม

ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูปย่อมเห็นรูป ทัง้ หลายได้ นีท้ ศิ ที่ ๑ ผูท้ มี่ สี ญ ั ญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทัง้ หลายภายนอกได้ นีท้ ศิ ที่ ๒ ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทัง้ ปวง นีท้ ศิ ที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ อยู่ ด้ ว ยใส่ ใ จว่ า ไม่ มี สั ก น้ อ ยหนึ่ ง เพราะล่ ว งวิ ญ ญาณั ญ จายตนะโดยประการทั้ ง ปวง นี้ ทิ ศ ที่ ๖ ย่ อ มเข้ า เนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะอยู่ เพราะล่ ว งอากิ ญ จั ญ ญายตนะโดย ประการทั้ ง ปวง นี้ ทิ ศ ที่ ๗ ย่ อ มเข้ า สั ญ ญาเวทยิ ต นิ โ รธอยู่ เ พราะล่ ว งเนวสั ญ ญานา สั ญ ญายตนะโดยประการทั้ ง ปวง นี้ ทิ ศ ที่ ๘ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย บุ รุ ษ ที่ ค วรฝึ ก

อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ ดังนี้ ข้อที่เรา กล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึก ทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้กล่าวแล้ว พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ได้ ต รั ส พระภาษิ ต นี้ แ ล้ ว ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ต่ า งชื่ น ชมยิ น ดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล จบ สฬายตนวิภังคสูตร


มหาราหุโลวาทสูตร

๒๙. มหาราหุโลวาทสูตร

317

ภาวนาโดยความเป็นธาตุ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

ทรงโอวาทพระราหุล [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าครอง อั น ตรวาสกแล้ ว ทรงถื อ บาตรและจี ว รเสด็ จ เข้ า ไปบิ ณ ฑบาตยั ง นครสาวั ต ถี เวลาเช้ า

แม้ท่านพระราหุล ก็ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้ อ งพระปฤษฎางค์ ครั้ ง นั้ น พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงผิ น พระพั ก ตร์ ไ ปรั บ สั่ ง กะท่ า น พระราหุลว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกล ก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปเท่านั้นหรือ พ. ดูก่อนราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง โอวาท ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้ แล้วกลับ จากที่นั้น แล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง

ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึง่ แล้วบอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกอ่ นราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่าอานาปานสติภาวนา ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูล


318

หลักธรรม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ธาตุ ๕ [๑๓๕] ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ

เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ไต ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะ แข้นแข็ง อันกรรมก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ [๑๓๖] ดูก่อนราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก ก็มี ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะ เอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็น ภายใน ก็อาโปธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเธอพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดั ง นี้ เพราะบุ ค คลเห็ น อาโปธาตุ นั้ น ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ แ ล้ ว ย่ อ ม เบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ [๑๓๗] ดูก่อนราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก ก็มี ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยัง กายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและ


มหาราหุโลวาทสูตร

319

กิ เ ลสเข้ า ไปยึ ด มั่ น นี้ เ ราเรี ย กว่ า เตโชธาตุ เป็ น ภายใน ก็ เ ตโชธาตุ เ ป็ น ภายในก็ ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน เตโชธาตุนั้นเธอพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นเตโชธาตุนนั้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนีแ้ ล้ว ย่อมเบือ่ หน่าย ในเตโชธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ [๑๓๘] ดูก่อนราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่ น ไปตามอวั ย วะน้ อ ยใหญ่ ลมหายใจ หรื อ สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง อย่ า งอื่ น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่า วาโยธาตุเป็นภายใน ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็น วาโยธาตุ เ หมื อ นกั น วาโยธาตุ นั้ น เธอพึ ง เห็ น ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ ว่ า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้นด้วย ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดใน วาโยธาตุ [๑๓๙] ดู ก่ อ นราหุ ล ก็ อ ากาศธาตุ เ ป็ น ไฉน อากาศธาตุ เ ป็ น ภายในก็ มี

เป็นภายนอกก็มี อากาศธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายในอาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอ สำหรับกลืนอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ช่องท้องสำหรับเก็บอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะไม่ทึบ

เป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส เข้ า ไปยึ ด มั่ น นี้ เ ราเรี ย กว่ า อากาศธาตุ เป็ น ภายใน ก็ อ ากาศธาตุ เ ป็ น ภายในก็ ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อากาศธาตุนั้นเป็นอากาศธาตุเหมือนกัน อากาศธาตุนั้นเธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดั ง นี้ เพราะบุ ค คลเห็ น อากาศธาตุ นั้ น ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ชอบตามเป็ น จริ ง อย่ า งนี้ แ ล้ ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาศธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอากาศธาตุ


320

หลักธรรม

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕ [๑๔๐] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ

ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน

แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอ ด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ [๑๔๑] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญ ภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรื อ เกลี ย ดด้ ว ยของนั้ น ก็ ห าไม่ ฉั น ใด เธอจงเจริ ญ ภาวนาเสมอด้ ว ยน้ ำ ฉั น นั้ น แล เพราะเมือ่ เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นทีช่ อบใจและไม่ชอบใจ ทีเ่ กิดขึน้ แล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ [๑๔๒] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญ ภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็ หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ ด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ [๑๔๓] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญ ภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำ จิตของเธอได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คู ถ บ้ า ง มู ต รบ้ า ง น้ ำ ลายบ้ า ง น้ ำ หนองบ้ า ง เลื อ ดบ้ า ง ลมจะอึ ด อั ด หรื อ ระอา


มหาราหุโลวาทสูตร

321

หรื อ เกลี ย ดด้ ว ยของนั้ น ก็ ห าไม่ ฉั น ใด เธอจงเจริ ญ ภาวนาเสมอด้ ว ยลม ฉั น นั้ น แล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้น แล้วจักไม่ครอบงำจิตได้ [๑๔๔] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญ ภาวนาเสมอด้ ว ยอากาศอยู่ ผั ส สะอั น เป็ น ที่ ช อบใจและไม่ ช อบใจที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว จั ก ไม่ ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ ฉันใด เธอจงเจริญ ภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะ อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง [๑๔๕] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตา ภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้ เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณา ภาวนาอยู่ จักละวิหงิ สาได้ เธอจงเจริญมุทติ าภาวนาเถิด เพราะเมือ่ เธอเจริญมุทติ าภาวนาอยู่ จักละอรติได้ เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละ ปฏิฆะได้ เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้ เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละ

อัสมิมานะได้

อานาปานสติภาวนา [๑๔๖] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่ บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญ อย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูก่อนราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยูใ่ นป่าก็ดี อยูท่ โี่ คนไม้กด็ ี อยูใ่ นเรือนว่างก็ดี นัง่ คูบ้ ลั ลังก์ตงั้ กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมี ส ติ ห ายใจออก มี ส ติ ห ายใจเข้ า เมื่ อ หายใจออกยาว ก็ รู้ ชั ด ว่ า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมือ่ หายใจเข้าสัน้ ก็รชู้ ดั ว่าหายใจเข้าสัน้ ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรูก้ องลมทัง้ ปวงหายใจออก


322

หลักธรรม

ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้ปิติ หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้สุข หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้จิต สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรูจ้ ติ สังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักระงับ จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจัก กำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักทำ จิตให้ร่าเริงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจัก ดำรงจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจัก เปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักพิจารณา โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักพิจารณาโดยความเป็นของไม่ เที่ ย งหายใจเข้ า ย่ อ มสำเหนี ย กว่ า จั ก พิ จ ารณาธรรมอั น ปราศจากราคะหายใจออก ย่ อ มสำเหนี ย กว่ า จั ก พิ จ ารณาธรรมอั น ปราศจากราคะหายใจเข้ า ย่ อ มสำเหนี ย กว่ า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิทหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าจักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับ สนิทหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าจักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่าจักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืนหายใจเข้า ดูก่อนราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูกอ่ นราหุล เมือ่ อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผูเ้ จริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป จะเป็นอันบุคคลผูเ้ จริญอานาปานสติ ไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปหามิได้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล จบ มหาราหุโลวาทสูตร


ทสุตตรสูตร

๓๐. ทสุตตรสูตร

323

รวบรวมธรรมะหมวดละ ๑ ถึงธรรมะหมวดละ ๑๐

ว่าด้วยธรรมหมวด ๑ [๓๖๔] ข้าพเจ้า สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อ คัคครา ใกล้เมืองจำปา ณ ที่นั้นท่านพระสารีบุตรเรียก ภิกษุทั้งหลายมา ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า [๓๖๕] เราจักกล่าวทสุตตรสูตร อันเป็นธรรมเพือ่ ปลดเปลือ้ ง กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์ [๓๖๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมาก ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่งควรละ ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปใน ส่วนเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรมอย่างหนึ่งแทงตลอดได้ยาก ธรรม อย่างหนึ่ง ควรให้เกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง [๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมาก เป็นไฉน คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมาก [๓๖๘] ธรรมอย่างหนึง่ ควรเจริญ เป็นไฉน คือ กายคตาสติสหรคตด้วยความสำราญ นี้ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ [๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ เป็นไฉน คือ ผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้ [๓๗๐] ธรรมอย่างหนึ่งควรละ เป็นไฉน คือ อัสมิมานะ นี้ธรรมอย่างหนึ่งควรละ [๓๗๑] ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนเสื่อม เป็นไฉน คือ อโยนิโสมนสิการ นี้ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนเสื่อม


324

หลักธรรม

[๓๗๒] ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน คือ โยนิโสมนสิการ นี้ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนวิเศษ [๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่งแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน คือ เจโตสมาธิอันมีลำดับ ติดต่อกันไป นี้ธรรมอย่างหนึ่งแทงตลอดได้ยาก [๓๗๔] ธรรมอย่างหนึ่งควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน คือ ญานอันไม่กำเริบ นี้ธรรม อย่างหนึ่งควรทำให้เกิดขึ้น [๓๗๕] ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วย อาหาร นี้ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง [๓๗๖] ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ นี้ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ

ว่าด้วยธรรมหมวด ๒ [๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรเจริญ ธรรม ๒ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง [๓๗๘] ธรรม ๒ อย่ า งมี อุ ป การะมาก เป็ น ไฉน คื อ สติ แ ละสั ม ปชั ญ ญะ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก [๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๓๘๐] ธรรม ๒ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน คือ นามและรูป ธรรม ๒ อย่าง เหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๓๘๑] ธรรม ๒ อย่างควรละ เป็นไฉน คือ อวิชชาและภวตัณหา ธรรม ๒ อย่าง เหล่านี้ควรละ


ทสุตตรสูตร

325

[๓๘๒] ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ว่ายาก และความคบคนชั่วเป็นมิตร ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๓๘๓] ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย และความคบคนดีเป็นมิตร ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนวิเศษ [๓๘๔] ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ ธรรมใดเป็นเหตุและ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ธรรมใดเป็นเหตุและเป็นปัจจัยเพื่อความ บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายธรรม ๒ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๓๘๕] ธรรม ๒ อย่างควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่ ญาณ ๒ คือ ญาณใน ความสิ้น ญาณในความไม่เกิด ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๓๘๖] ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ ธาตุ ๒ คือ สังขตธาตุและ อสังขตธาตุ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๓๘๗] ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้ชอบแล้วด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยธรรมหมวด ๓ [๓๘๘] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๓ อย่างควรเจริญ ธรรม ๓ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๓ อย่างควรละ ธรรม ๓ อย่างเป็นในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๓ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๓ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๓ อย่างควรทำให้แจ้ง [๓๘๙] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ การคบคนดี การฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก [๓๙๐] ธรรม ๓ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ สมาธิ ๓ คือสมาธิมวี ติ กมีวจิ าร สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ


326

หลักธรรม

[๓๙๑] ธรรม ๓ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๓๙๒] ธรรม ๓ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ ตัณหา ๓ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ [๓๙๓] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๓๙๔] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนวิเศษ [๓๙๕] ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ ธาตุอันเป็นที่ตั้งแห่ง การสลัดออก ๓ คือ เนกขัมมะเป็นที่สลัดออกของกาม อรูปเป็นที่สลัดออกของรูป นิโรธ เป็นที่สลัดออกของสิ่งที่เกิดแล้ว สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๓๙๖] ธรรม ๓ อย่างควรให้เกิดขึน้ เป็นไฉน ได้แก่ ญาณ ๓ คือ อตีตงั สญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๓๙๗] ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ ธาตุ ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ

และ อรูปธาตุ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๓๙๘] ธรรม ๓ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ วิชชา ๓ คือ วิชชาคือ ความรู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ วิชชาคือความรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย วิชชาคือความรู้ ในความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยธรรมหมวด ๔ [๓๙๙] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ ธรรม ๔ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๔ อย่างควรละ ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๔ อย่างควรให้ เกิดขึ้น ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๔ อย่างควรทำให้แจ้ง


ทสุตตรสูตร

327

[๔๐๐] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ จักร ๔ คือการอยู่ใน ประเทศอันสมควร เข้าหาสัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก [๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ คือ ดูก่อนผู้ มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณากายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ภิกษุพิจารณาเวทนา … จิต … พิจารณา ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างควรกำหนดรูเ้ ป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๐๓] ธรรม ๔ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ โอฆะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๐๔] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ โยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๐๕] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ ความพราก ๔ คือ พรากจากกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนวิเศษ [๔๐๖] ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ สมาธิ ๔ คือ สมาธิ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างดำรงอยู่ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนแทงตลอด ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๔๐๗] ธรรม ๔ อย่างควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่ ญาณ ๔ คือ ความรู้ใน ธรรม ๑ ความรู้ในการคล้อยตาม ๑ ความรู้ในการกำหนด ๑ ความรู้ในการสมมติ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๐๘] ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง


328

หลักธรรม

[๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ สามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยธรรมหมวด ๕ [๔๑๐] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๕ อย่างควรเจริญ ธรรม ๕ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๕ อย่างควรละ ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสือ่ ม ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๕ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๕ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๕ อย่างควรทำให้แจ้ง [๔๑๑] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความ เพียร ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา เชื่อการตรัสรู้ของ พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ฝึกผู้ที่

ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผลสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง ควรแก่การตั้งความเพียร ๑ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้แจ้งตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ๑ ปรารภ ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อเข้าถึงกุศลธรรม มีกำลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม ๑ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ เป็นไปเพื่อความแทงตลอด อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้มี อุปการะมาก [๔๑๒] ธรรม ๕ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ สัมมาสมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ปีติแผ่ไป ๑ สุขแผ่ไป ๑ การกำหนดจิตผู้อื่นแผ่ไป ๑ แสงสว่างแผ่ไป ๑ นิมิตเป็น เครื่องพิจารณา ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๔๑๓] ธรรม ๕ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้


ทสุตตรสูตร

329

[๔๑๔] ธรรม ๕ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๑๕] ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ เจตขีล ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของ ภิกษุใด ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้เป็นเจตขีลข้อที่หนึ่ง ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ... ในสงฆ์ ... ในการศึกษา เป็นผู้โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใด โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการ ประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใดไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้เป็นเจตขีลข้อที่ ๕ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๑๖] ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้เป็นไป ในส่วนวิเศษ [๔๑๗] ธรรม ๕ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งการ สลัดออก ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำกามไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในกามทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทำเนกขัมมะไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในเนกขัมมะ จิตของ ภิกษุนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากกาม อาสวะเหล่าใดมี ความคับแค้น มีความเร่าร่อนเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากอาสวะ เหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งกามทั้งหลาย


330

หลักธรรม

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำพยาบาทไว้ในใจ จิต ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในพยาบาท ก็เมื่อภิกษุนั้นกระทำความ ไม่พยาบาทไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมใจไปในความไม่พยาบาท จิตของ ภิกษุนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากพยาบาทได้แล้ว อาสวะ เหล่าใดมีความคับแค้น มีความเร่าร้อนเกิดขึ้น เพราะมีพยาบาทเป็นปัจจัย ภิกษุนั้นพ้น แล้วจากพยาบาทเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออก แห่งพยาบาท ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำความเบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในความเบียดเบียน ก็เมื่อเธอกระทำ ความไม่เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลือ่ มใส ตัง้ อยู่ น้อมใจไปในความไม่เบียดเบียน จิ ต ของเธอนั้ น ไปดี แ ล้ ว อบรมดี แ ล้ ว ออกไปดี แ ล้ ว พ้ น ไปดี แ ล้ ว พรากจากความ เบียดเบียน อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีความเบียดเบียน เป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งความเบียดเบียน ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำรูปไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในรูปทั้งหลาย เธอเมื่อกระทำอรูปไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากรูปทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีรูป เป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ข้ออืน่ ยังมีอยูอ่ กี เมือ่ ภิกษุกระทำกายของตนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลือ่ มใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในกายของตน ก็เมื่อเธอกระทำไว้ในใจ ถึงความดับกายของตน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความดับกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากกายของตน และอาสวะเหล่าใดมีความ คับแค้น มีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีกายของตนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจากอาสวะ เหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งกายของตน ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก


ทสุตตรสูตร

331

[๔๑๘] ธรรม ๕ อย่างควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่ สัมมาสมาธิประกอบด้วย ญาณ ๕ คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก ต่อไป ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้เป็นอริยะ ไม่มีอามิส ญาณย่อมเกิดขึ้น เฉพาะตนว่า สมาธินี้อันบุรุษไม่ต่ำทรามเสพแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ปฏิปัสสัทธิแล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่ห้ามสสังขารจิต ญาณย่ อ มเกิ ด ขึ้ น เฉพาะตนว่ า เรานั้ น แลมี ส ติ เ ข้ า สมาธิ และเรามี ส ติ อ อกจากสมาธิ นี้

ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๑๙] ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ วิมุตตายตนะ ๕ คือ ดูก่อนผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย พระศาสดาหรื อ เพื่ อ นพรหมจรรย์ อ ยู่ ใ นฐานะควรเคารพรู ป ใดรู ป หนึ่ ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุรู้อรรถและรู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติกาย ย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยความสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่หนึ่ง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใด รูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ เธอย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข

เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สอง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใด รูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งเธอไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมกระทำการท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุกระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมา ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม


332

หลักธรรม

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใด รูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรม ทั้งเธอไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิ ส ดาร ทั้ ง ไม่ ก ระทำการท่ อ งบ่ น ธรรมตามที่ ไ ด้ ฟั ง ตามที่ ไ ด้ เ รี ย นมา เธอตรึ ก ตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้

รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ ได้ เ รี ย นมาด้ ว ยใจ ความปราโมทย์ ย่ อ มเกิ ด แก่ เ ธอผู้ รู้ อ รรถรู้ ธ รรม เมื่ อ ปราโมทย์ ปี ติ

ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สี่ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใด รูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งเธอไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย พิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาโดยพิสดาร ทั้งไม่

ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ สมาธินิมิต

อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย ปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่สมาธินิมิตอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่ภิกษุเรียนดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย ปัญญา ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมี ปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๒๐] ธรรม ๕ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ ธรรมขันธ์ ๕ คือ ศีล ขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ

ว่าด้วยธรรมหมวด ๖ [๔๒๑] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๖ อย่างควรเจริญ ธรรม ๖ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๖ อย่างควรละ ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๖ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๖ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๖ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่างควรทำให้แจ้ง


ทสุตตรสูตร

333

[๔๒๒] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ สาราณียธรรม ๖ คือ

ดู ก่ อ นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย ภิ ก ษุ ใ นธรรมวิ นั ย นี้ เ ข้ า ไปตั้ ง กายกรรมประกอบด้ ว ยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่ เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความ เป็นอันเดียวกัน ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไป เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก ภิ ก ษุ ตั้ ง มโนกรรมประกอบด้ ว ยเมตตา ... ย่ อ มเป็ น ไป เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม แม้โดยที่สุดแม้เพียงของที่เนื่องด้วยบิณฑบาต เฉลี่ยกันบริโภคกับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีล แม้ นี้ ก็ เ ป็ น สาราณี ย ธรรม ทำให้ เ ป็ น ที่ รั ก เป็ น ที่ เ คารพ ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในศีลทั้งหลาย ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญแล้ว กิเลสไม่

ถูกต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอัน เดียวกัน ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีทิฏฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในทิฏฐิอันเป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็น สาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความ ไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก [๔๒๓] ธรรม ๖ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ ที่ตั้งอนุสติ ๖ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ


334

หลักธรรม

[๔๒๔] ธรรม ๖ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ ธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๒๕] ธรรม ๖ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ หมู่ตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ธรรม ๖ อย่างเหล่านีค้ วรละ [๔๒๖] ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ อคารวะ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๒๗] ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ คารวะ ๖ คือ ดูกอ่ น ผูม้ อี ายุทงั้ หลาย ภิกษุในธรรมวินยั นีม้ คี วามเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ [๔๒๘] ธรรม ๖ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ ธาตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความสลัดออก ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุตติอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยาน ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตัง้ มัน่ แล้ว สัง่ สมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมือ่ เป็นเช่นนัน้ พยาบาทยังครอบงำจิตของเราตัง้ อยู่ ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัส นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยาน แล้ว ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาท ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้ก็ เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า กรุณาเจโตวิมุตติ อั น เราเจริ ญ แล้ ว ทำให้ ม ากแล้ ว ทำให้ เ ป็ น ยานแล้ ว ทำให้ เ ป็ น วั ต ถุ แ ล้ ว ตั้ ง มั่ น แล้ ว


ทสุตตรสูตร

335

สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเบียดเบียนยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ... คำที่ว่า เมื่อกรุณาเจโตวิมุตติ ... ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเบียดเบียนยังครอบงำจิต ของภิ ก ษุ นั้ น ตั้ ง อยู่ นั่ น ไม่ ใ ช่ ฐ านะที่ จ ะมี ไ ด้ กรุ ณ าเจโตวิ มุ ต ติ นี้ ก็ เ ป็ น ที่ ส ลั ด ออกจาก ความเบียดเบียน ดูกอ่ นผูม้ อี ายุทงั้ หลาย ภิกษุในธรรมวินยั นีพ้ งึ กล่าวอย่างนีว้ า่ มุทติ าเจโตวิมตุ ติ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูก กล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ … นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อมุทิตาเจโตวิมุตติ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ก็เป็นที่สลัดออกจากความไม่ยินดี ดูกอ่ นผูม้ อี ายุทงั้ หลาย ภิกษุในธรรมวินยั นีพ้ งึ กล่าวอย่างนีว้ า่ อุเบกขาเจโตวิมตุ ติ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ … นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ก็เป็นที่สลัดออกจากราคะ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติอันหา นิมิตมิได้ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณของเรา ย่อมไปตามนิมิต ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ … นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเจโตวิมุตติ

อันหานิมิตมิได้ … ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญาณอันไปตามนิมิตจักมีแก่ภิกษุนั้น นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้นี้ก็เป็นที่สลัดออกจากนิมิตทั้งปวง ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูด อย่างนี้ … นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อถือว่าเรามีอยู่ หายไปแล้ว และเมื่อเขาไม่ พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิต


336

หลักธรรม

ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ การถอนอัสมิมานะนี้ก็เป็นที่สลัดออกจากลูกศร คือความเคลือบแคลงสงสัย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างควรให้เกิดขึน้ เป็นไฉน ได้แก่ ธรรมเป็นเครือ่ งอยูเ่ นือง ๆ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู … ดมกลิ่นด้วยจมูก … ลิ้มรสด้วยลิ้น … ถู ก ต้ อ งโผฏฐั พ พะด้ ว ยกาย … รู้ ธ รรมารมณ์ ด้ ว ยใจ ไม่ ยิ น ดี ไม่ ยิ น ร้ า ย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๓๐] ธรรม ๖ อย่างควรรูย้ งิ่ เป็นไฉน ได้แก่ อนุตตริยะ ๖ คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๓๑] ธรรม ๖ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ อภิญญา ๖ คือ ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุการแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง แม้คนเดียวทำเป็น หลายคนได้ แม้หลายคนก็ทำเป็นคนเดียวได้ ทำให้ปรากฏ ทำให้หายตัว ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปไม่ติดขัด เหมือนไปในอากาศก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดิ น บนน้ ำ ไม่ แ ยก เหมื อ นบนแผ่ น ดิ น ก็ ไ ด้ เหาะไปบนอากาศเหมื อ นนกก็ ไ ด้ ลู บ ไล้ พระจันทร์พระอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอได้ ยิ น เสี ย ง ๒ ชนิ ด คื อ เสี ย งทิ พ ย์ แ ละเสี ย งมนุ ษ ย์ ทั้ ง ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ เธอกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะย่อมรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะรู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจาก โทสะรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะรู้ว่าจิตปราศ จากโมหะ จิตหดหู่รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะรู้ว่าจิตเป็น มหั ค คตะ หรื อ จิ ต เป็ น อมหั ค คตะรู้ ว่ า จิ ต เป็ น อมหั ค คตะ จิ ต เป็ น สอุ ต ตระรู้ ว่ า จิ ต เป็ น สอุตตระ หรือจิตเป็นอนุตตระรู้ว่าจิตเป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่นรู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้ง มั่นรู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นรู้ว่าจิตยังไม่ หลุดพ้น


ทสุตตรสูตร

337

ภิกษุนนั้ ระลึกถึงชาติกอ่ นได้หลายอย่าง คือ หนึง่ ชาติบา้ ง สองชาติบา้ ง สามชาติบา้ ง สี่ ช าติ บ้ า ง ห้ า ชาติ บ้ า ง สิ บ ชาติ บ้ า ง ยี่ สิ บ ชาติ บ้ า ง สามสิ บ ชาติ บ้ า ง สี่ สิ บ ชาติ บ้ า ง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง สังวัฏฏวิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตร อย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ครั้นจุติจากภพนั้นมาเกิดใน ภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายอย่างพร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้ เจริ ญ เหล่ า นี้ ประกอบด้ ว ยกายทุ จ ริ ต วจี ทุ จ ริ ต มโนทุ จ ริ ต ติ เ ตี ย นพระอริ ย ะเจ้ า

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือกรรมเป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะเจ้าแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือกรรมเป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต

ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เธอกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าอยู่ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๖ เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗ [๔๓๒] ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๗ อย่างควรเจริญธรรม ๗ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๗ อย่างควรละ ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสือ่ ม ธรรม ๗ อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม ๗ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๗ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๗ อย่างควรทำให้แจ้ง


338

หลักธรรม

[๔๓๓] ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน คือ อริยทรัพย์ ๗ ได้แก่ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก [๔๓๔] ธรรม ๗ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ สัมโพชฌงค์ ๗ คือ สติ

ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๔๓๕] ธรรม ๗ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ วิญญาณฐิติ ๗ คือ ดู ก่ อ นผู้ มี อ ายุ ทั้ ง หลาย สั ต ว์ ทั้ ง หลายมี ก ายต่ า งกั น มี สั ญ ญาต่ า งกั น เหมื อ นมนุ ษ ย์ เทพบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสญ ั ญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทพผูน้ บั เนือ่ งในพรหมผูเ้ กิดในปฐมฌาน นีก้ เ็ ป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สอง สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรา นีก้ เ็ ป็นวิญญาณฐิตขิ อ้ ทีส่ าม สัตว์ทงั้ หลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสญ ั ญาอย่างเดียวกันเหมือน พวกเทพสุภกิณหา นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่สี่ สัตว์ทั้งหลายล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ได้ ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่างกันโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ห้า สัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนะโดย ประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่หก สั ต ว์ ทั้ ง หลายล่ ว งวิ ญ ญาณั ญ จายตนะโดยประการทั้ ง ปวง เข้ า ถึ ง อากิ ญ จั ญ ญายตนะว่ า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๓๖] ธรรม ๗ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ อนุสัย ๗ คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๓๗] ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ อสัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่มีศรัทธา ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว สดับน้อย เกียจคร้าน ลืมสติ ปัญญาทึบ ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๓๘] ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ สัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา มีความละอาย มีความเกรงกลัว เป็นผู้สดับมาก ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้เป็นไปใน ส่วนวิเศษ


ทสุตตรสูตร

339

[๔๓๙] ธรรม ๗ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ สัปปุริสธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักเหตุ เป็นผู้รู้จักผล เป็นผู้รู้จักตน เป็นผู้รู้จักประมาณ เป็นผู้รู้จักกาลเวลา เป็นผู้รู้จักประชุมชน เป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๔๔๐] ธรรม ๗ อย่ า งควรให้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ไฉน ได้ แ ก่ สั ญ ญา ๗ คื อ

อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๔๑] ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ นิทเทสวัตถุ ๗ คือ ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีฉันทะกล้าในการสมาทานสิกขาและไม่ปราศจาก ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป มีฉันทะกล้าในการพิจารณาธรรมและไม่ปราศจาก ความรักในการพิจารณาธรรมต่อไป มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยากและไม่ปราศจาก ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้นและไม่ปราศจาก ความรักในการหลีกออกเร้นต่อไป มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียรและไม่ปราศจาก ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป มีฉันทะกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนและ ไม่ปราศจากความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไป มีฉันทะกล้าในการแทงตลอด ทิฏฐิและไม่ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๔๒] ธรรม ๗ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ กำลังของพระขีณาสพ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นสังขาร ทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก ภิ ก ษุ ผู้ เ ป็ น ขี ณ าสพ เห็ น กามเปรี ย บด้ ว ยหลุ ม ถ่ า นเพลิ ง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นกามเปรียบด้วยหลุม ถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ


340

หลักธรรม

กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุขีณาสพน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปใน วิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ ทั้งปวง ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก อยู่ใน วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง แม้นี้ก็ เป็ น กำลั ง ของภิ ก ษุ ขี ณ าสพ กำลั ง ที่ ภิ ก ษุ ขี ณ าสพอาศั ย ย่ อ มรู้ ค วามสิ้ น ไปแห่ ง อาสวะ ทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกำลังของ ภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะ ของเราสิ้นแล้ว ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้ จบ ปฐมภาณวาร


ทสุตตรสูตร

341

ว่าด้วยธรรมหมวด ๘ [๔๔๓] ธรรม ๘ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๘ อย่างควรเจริญ ธรรม ๘ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๘ อย่างควรละ ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสือ่ ม ธรรม ๘ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๘ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๘ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๘ อย่าง ควรทำให้แจ้ง [๔๔๔] ธรรม ๘ อย่างมีอปุ การะมาก เป็นไฉน ได้แก่ เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาเป็นอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความ

ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ อย่าง เป็นไฉน คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อน พรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะแรงกล้า เข้าไปปรากฏแก่ ภิกษุนั้น เป็นความรักและความเคารพในท่าน นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ย่อมเป็นไป เพือ่ ได้ปญ ั ญาอาทิพรหมจรรย์ทยี่ งั ไม่ได้ เพือ่ ความเจริญยิง่ เพือ่ ความไพบูลย์ เพือ่ ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะ ควรเคารพนั้ น รู ป ใดรู ป หนึ่ ง หิ ริ แ ละโอตตั ป ปะอย่ า งแรงกล้ า เข้ า ไปปรากฏแก่ ภิ ก ษุ นั้ น

เป็นความรักและความเคารพในท่าน เธอเข้าไปหาท่านเสมอ ๆ สอบถามไต่สวนว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิด กระทำสิ่งที่ ยากให้ง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย ๆ อย่างแก่เธอ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สอง ... ภิกษุฟังธรรมนั้นแล้ว ถึงพร้อมด้วยความหลีกออก ๒ อย่าง คือความหลีกออก แห่งกาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สาม ... ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก ภิ ก ษุ เ ป็ น ผู้ มี ศี ล สำรวมในปาติ โ มกขสั ง วร ถึ ง พร้ อ มด้ ว ย อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท นี้ก็เป็น เหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ...


342

หลักธรรม

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะไว้ สั่งสมสุตะ ธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริ บู ร ณ์ สิ้ น เชิ ง เป็ น ธรรมอั น ภิ ก ษุ นั้ น สดั บ มาก ทรงไว้ คล่ อ งปาก พิ จ ารณาด้ ว ยใจ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า ... ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุปรารภความเพียร ละอกุศลธรรม ยังกุศลธรรมให้ถึง

พร้อม มีกำลัง ความเพียรมัน่ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมอยู่ นีก้ เ็ ป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อทีห่ ก ... ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำไว้นาน ถ้อยคำที่พูดไว้นาน นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่เจ็ด ... ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุพิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่ง เวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่ง สัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาน นี้ก็เป็น เหตุเป็นปัจจัยข้อที่แปด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความ เจริ ญ ยิ่ ง เพื่ อ ความไพบู ล ย์ เพื่ อ ความเจริ ญ เพื่ อ ความบริ บู ร ณ์ แ ห่ ง ปั ญ ญาที่ ไ ด้ แ ล้ ว

ธรรม ๘ อย่าง เหล่านี้มีอุปการะมาก [๔๔๕] ธรรม ๘ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๔๔๖] ธรรม ๘ อย่างควรกำหนดรู้ เป็น ไฉน โลกธรรม ๘ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๔๗] ธรรม ๘ อย่างควรละ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๘ คือ เห็นผิด ดำริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด สมาธิผิด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๔๘] ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ เหตุของผู้


ทสุตตรสูตร

343

เกียจคร้าน ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอันเราพึงทำแล ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุ ของผู้เกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำแล้ว เธอย่อมมีความ คิ ด อย่ า งนี้ ว่ า เราได้ ก ระทำการงานแล้ ว ก็ แ หละเมื่ อ เรากระทำการงานอยู่ ร่ า งกาย เหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สอง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราจักต้อง เดินทางผู้เดียว ก็แหละเมื่อเราเดินทางไป ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สาม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้เดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ เดินทางแล้ว ก็แหละเมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สี่ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้า หมองหรื อ ประณี ต เต็ ม ตามความต้ อ งการ เธอย่ อ มมี ค วามคิ ด อย่ า งนี้ ว่ า เราเที่ ย วไป บิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตเต็มความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อยแล้ว ไม่ควรเเก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... เพือ่ ทำให\้แจ้งธรรมทีย่ งั ไม่ได้ทำให้แจ้ง นีก้ เ็ ป็นเหตุของผูเ้ กียจคร้าน ข้อที่ห้า ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อมได้โภชนะที่

เศร้าหมองหรือประณีตเต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไป บิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตเต็มตามความต้องการแล้ว ร่ า งกายของเรานั้ น หนั ก ไม่ ค วรแก่ ก ารงาน เหมื อ นถั่ ว ราชมาสที่ เ ขาหมั ก ไว้ ช่ า งเถิ ด


344

หลักธรรม

เราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หก ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก อาพาธเล็ ก น้ อ ยเกิ ด แก่ ภิ ก ษุ เธอย่ อ มมี ค วามคิ ด อย่ า งนี้ ว่ า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ให้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของ ผู้เกียจคร้านข้อที่เจ็ด ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากอาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยังไม่นาน ร่างกายของเรานั้น ยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่แปด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๔๙] ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ เหตุของผู้ปรารภ ความเพียร ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอันเราควรทำ ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ การกระทำคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะ ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่หนึ่ง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุทำแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้ทำการงานแล้วแล ก็แหละเราเมื่อทำการงานอยู่ ก็ไม่อาจทำคำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่สอง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง เดินทาง ก็แหละเมื่อเราเดินทางไป การกระทำคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ...


ทสุตตรสูตร

345

เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่สาม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทาง แล้วแล ก็แหละ เมื่อเราเดินทางอยู่ ก็ไม่อาจทำคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่สี่ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อมไม่ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตเต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไป บิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตเต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเบา ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภ ความเพี ย รอยู่ ... เพื่ อ ทำให้ แ จ้ ง ธรรมที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ท ำให้ แ จ้ ง นี้ ก็ เ ป็ น เหตุ ข องผู้ ป รารภ ความเพียรข้อที่ห้า ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อมได้โภชนะเศร้า หมองหรื อ ประณี ต เต็ ม ตามความต้ อ งการ เธอย่ อ มมี ค วามคิ ด อย่ า งนี้ ว่ า เราเที่ ย วไป บิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตเต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภ ความเพี ย รอยู่ ... เพื่ อ ทำให้ แ จ้ ง ธรรมที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ท ำให้ แ จ้ ง นี้ ก็ เ ป็ น เหตุ ข องผู้ ป รารภ ความเพียรข้อที่หก ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุแล้ว เธอย่อมมีความคิด อย่ า งนี้ ว่ า อาพาธเพี ย งเล็ ก น้ อ ยนี้ เ กิ ด ขึ้ น แก่ เ ราแล้ ว ข้ อ ที่ อ าพาธของเราจะพึ ง มากขึ้ น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่เจ็ด ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยังไม่นาน ข้อที่ อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ ปรารภความเพียรข้อที่แปด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนวิเศษ


346

หลักธรรม

[๔๕๐] ธรรม ๘ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูก่อนผู้มีอายุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

อุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกแล้ว นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก พระตถาคตอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า อุ บั ติ ใ นโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็น กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก พระตถาคตอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า อุ บั ติ ใ นโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัย นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่ สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สาม ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ ... แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายซึ่งมีอายุยืนอย่างใด อย่างหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สี่ ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก พระตถาคตอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า อุ บั ติ ใ นโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ ... แก่บุคคลนี้เป็นผู้เกิดในปัจจันตชนบท เป็นถิ่นของชนมิลักขะ ผู้ไม่มีความรู้ ซึ่งมิใช่คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ห้า ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลกนี้ ... ส่วน บุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้ ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบในโลก ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว


ทสุตตรสูตร

347

ประกาศให้รู้ ไม่มใี นโลกนี้ นีก้ เ็ ป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพือ่ อยูป่ ระพฤติพรหมจรรย์ขอ้ ทีห่ ก ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลกนี้ ... ส่วน บุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทึบ โง่เขลาเป็นใบ้ ไม่สามารถจะ รู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ข้อที่เจ็ด ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความ ตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามี ปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็น กาลมิ ใ ช่ ข ณะมิ ใ ช่ ส มั ย เพื่ อ อยู่ ป ระพฤติ พ รหมจรรย์ ข้ อ ที่ แ ปด ธรรม ๘ อย่ า งเหล่ า นี้ แทงตลอดได้ยาก [๔๕๑] ธรรม ๘ อย่างควรให้เกิดขึน้ เป็นไฉน ได้แก่ ความตรึกของมหาบุรษุ ๘ คือ ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อยไม่ใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่ ธรรมนี้ของผู้ สันโดษไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ ธรรมนี้ของผู้สงัดไม่ใช่ของผู้ยินดีในความคลุกคลี ธรรมนี้ ของผู้ปรารภความเพียรไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้ไม่ใช่ของผู้ลืมสติ ธรรมนี้ ข องผู้ มี จิ ต ตั้ ง มั่ น ไม่ ใ ช่ ข องผู้ มี จิ ต ไม่ ตั้ ง มั่ น ธรรมนี้ ข องผู้ มี ปั ญ ญาไม่ ใ ช่ ข องผู้ มี ปัญญาทึบ ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่อง ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๕๒] ธรรม ๘ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ อภิภายตนะ ๘ คือ ภิกษุรูป หนึ่งสำคัญรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อย มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูป เหล่านั้น มีสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญรูป ภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความ สำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อยมีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญ


348

หลักธรรม

อย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูป ภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความ สำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เป็นรูปภายนอกเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว แม้ฉันใด หรือว่าผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี เนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง เขียว สีเขียว รั ศ มี เ ขี ย ว แม้ ฉั น ใด ภิ ก ษุ รู ป หนึ่ ง สำคั ญ อรู ป ภายในเห็ น รู ป ภายนอก เขี ย ว สี เ ขี ย ว แสงเขียว รัศมีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น ฉันนั้น เหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์ เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด หรือว่าผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูป ภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญ อย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญ อรูปภายในเห็น รูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ครอบงำรูปเหล่านัน้ มีความสำคัญอย่างนีว้ า่ เรารูเ้ ราเห็น ฉันนัน้ เหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว ดาวประกายพรึกขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด หรือว่าผ้านั้น ทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาวครอบงำรูป เหล่ า นั้ น มี ค วามสำคั ญ อย่ า งนี้ ว่ า เรารู้ เ ราเห็ น ฉั น นั้ น นี้ ก็ เ ป็ น อภิ ภ ายตนะข้ อ ที่ แ ปด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๕๓] ธรรม ๘ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูป ภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว นี้เป็นวิโมกข์

ข้อที่สาม เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำนานัตตสัญญาไว้ใน ใจโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์


ทสุตตรสูตร

349

ข้อที่สี่ บุคคลล่วงอากาสานัญจาตยนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึงอกิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก บุคคลล่วง อากิญจัญญายนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อ ที่เจ็ด บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยธรรมหมวด ๙ [๔๕๔] ธรรม ๙ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๙ อย่างควรเจริญ ธรรม ๙ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๙ อย่างควรละ ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๙ อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๙ อย่างควรให้

เกิดขึ้น ธรรม ๙ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๙ อย่างควรทำให้แจ้ง [๔๕๕] ธรรม ๙ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ ธรรมมีโยนิโสมนสิการ

เป็นมูล ๙ คือ เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มี ปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบเสวยสุข จิตของผู้มีสุข ย่ อ มตั้ ง มั่ น ผู้ มี จิ ต ตั้ ง มั่ น ย่ อ มรู้ ย่ อ มเห็ น ตามเป็ น จริ ง เมื่ อ รู้ เ ห็ น ตามเป็ น จริ ง ตนเอง ย่อมหน่าย เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะคลายกำหนัด ธรรม ๙ อย่าง เหล่านี้มีอุปการะมาก [๔๕๖] ธรรม ๙ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความ บริสุทธิ์ ๙ อย่าง คือ สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล เป็นองค์เป็นที่ตั้งแห่งความ บริสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ... ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ... กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ... มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ... ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ... ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดแห่งญาณทัสสนะ … ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา ... วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ ธรรม ๙ อย่าง เหล่านี้ควรเจริญ


350

หลักธรรม

[๔๕๗] ธรรม ๙ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ สัตตาวาส ๙ คือ ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หนึ่ง สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญา อย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพนับเนื่องในหมู่พรหมเกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นสัตตาวาส ข้อที่สอง สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรา นี้ ก็ เ ป็ น สั ต ตาวาสข้ อ ที่ ส าม สั ต ว์ ทั้ ง หลายมี ก ายอย่ า งเดี ย วกั น มี สั ญ ญาอย่ า งเดี ย วกั น เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่สี่ สัตว์ทั้งหลายไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมื อ นพวกเทพอสั ญ ญี สั ต ว์ นี้ ก็ เ ป็ น สั ต ตาวาสข้ อ ที่ ห้ า สั ต ว์ ทั้ ง หลายล่ ว งรู ป สั ญ ญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มี ที่สุด นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หก สัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่เจ็ด สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็ เป็นสัตตาวาสข้อที่แปด สัตว์ทั้งหลายล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่เก้า ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๕๘] ธรรม ๙ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ คือ

การแสวงหาย่ อ มเป็ น ไปเพราะอาศั ย ตั ณ หา ลาภย่ อ มเป็ น ไปเพราะอาศั ย การแสวงหา ความตกลงใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยลาภ ความกำหนัดด้วยความพอใจย่อมเป็นไปเพราะ อาศัยความตกลงใจ ความพอใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ ความหวงแหนย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความพอใจ ความตระหนี่ย่อมเป็นไปเพราะอาศัย ความหวงแหน การรักษาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตระหนี่ อกุศลธรรมอันลามกหลาย อย่างคือ การถือไม้ ถือศัสตรา การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท กล่าวส่อเสียดว่ามึงมึง

และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยการรักษาเป็นเหตุ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๕๙] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม เป็นไฉน ได้แก่ เหตุเป็นที่ตั้ง แห่ ง ความอาฆาต ๙ คื อ บุ ค คลย่ อ มผู ก ความอาฆาตว่ า ผู้ นี้ ไ ด้ ป ระพฤติ สิ่ ง ไม่ เ ป็ น ประโยชน์แก่เราแล้ว ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเราอยู่ ย่อมผูกความอาฆาตว่า


ทสุตตรสูตร

351

ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่ ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๖๐] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ ความกำจัด ความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แก่เราแล้ว ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติ สิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราอยู่ ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัด ความอาฆาตว่ า ผู้ นี้ ไ ด้ ป ระพฤติ สิ่ ง ไม่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ เ ป็ น ที่ รั ก ที่ ช อบใจของเราแล้ ว ข้ อ นั้ น จะหาได้ ใ นบุ ค คลนี้ แ ต่ ที่ ไ หน ย่ อ มกำจั ด ความอาฆาตว่ า ผู้ นี้ ป ระพฤติ สิ่ ง ไม่ เ ป็ น ประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่ ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัด ความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา ข้อนั้นจะหา ได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์ แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัด ความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่ ข้อนั้นจะ หาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ธรรม ๙ อย่าง เหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ [๔๖๑] ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ นานัตตะ ๙ คือ ผัสสะต่างกันย่อมเกิดเพราะอาศัยธาตุต่างกัน เวทนาต่างกันย่อมเกิดเพราะอาศัยผัสสะ ต่างกัน สัญญาต่างกันย่อมเกิดเพราะอาศัยเวทนาต่างกัน ความดำริต่างกันย่อมเกิดเพราะ อาศั ย สั ญ ญาต่ า งกั น ความพอใจต่ า งกั น ย่ อ มเกิ ด เพราะอาศั ย ความดำริ ต่ า งกั น ความ เร่าร้อนต่างกันย่อมเกิดเพราะอาศัยความพอใจต่างกัน การแสวงหาต่างกันย่อมเกิดเพราะ อาศัยความเร่าร้อนต่างกัน ความอยากได้ต่างกันย่อมเกิดเพราะอาศัยการแสวงหาต่างกัน ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๔๖๒] ธรรม ๙ อย่ า งควรให้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ไฉน ได้ แ ก่ สั ญ ญา ๙ คื อ อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญา กำหนดหมายในความตาย


352

หลักธรรม

อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่าเป็นปฏิกูล สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนด หมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา กำหนด หมายความคลายกำหนัด ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น [๔๖๓] ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ อนุปุพพวิหาร ๙ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสและ โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนะว่า อากาศ ไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มที สี่ ดุ อยู่ ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทัง้ ปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะ ว่า ไม่มอี ะไรอยู่ ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทัง้ ปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่ ล่ ว งเนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนะโดยประการทั้ ง ปวง บรรลุ สั ญ ญาเวทยิ ต นิ โ รธอยู่ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๖๔] ธรรม ๙ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีตดิ บั เมือ่ เข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะดับ เมือ่ เข้าอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญาดับ เมื่อเข้าวิญญาญัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ สัญญาดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรทำ ให้ แ จ้ ง ธรรม ๙ อย่ า งเหล่ า นี้ จริ ง แท้ แน่ น อน ไม่ ผิ ด พลาด ไม่ เ ป็ น อย่ า งอื่ น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้


ทสุตตรสูตร

353

ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐ [๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรเจริญ ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง [๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ นาถกรณธรรม ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังปาติโมกข์ ถึงพร้อม อาจาระและโคจรอยู่ มั ก เห็ น ภั ย ในโทษเพี ย งเล็ ก น้ อ ย สมาทานศึ ก ษาอยู่ ใ นสิ ก ขาบท ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่

มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยูใ่ นสิกขาบททัง้ หลาย นีก้ เ็ ป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหุสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมที่งามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ย่อมประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์สนิ้ เชิง เห็นปานนัน้ อันเธอสดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดทิฏฐิ ข้อที่ภิกษุเป็นพหุสูต ... แทงตลอดด้วยทิฏฐิ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ข้อที่ภิกษุมีมิตรดี

มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็น ผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ อ อื่ น ยั ง มี อ ยู่ อี ก ภิ ก ษุ เ ป็ น ผู้ ข ยั น ไม่ เ กี ย จคร้ า น ประกอบด้ ว ยปั ญ ญา เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำสามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อย ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งใน อภิธรรม ในอภิวินัย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งใน อภิธรรม ในอภิวินัย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม


354

หลักธรรม

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัช บริ ข ารเป็ น ปั จ จั ย แก่ ค นไข้ ต ามมี ต ามได้ ข้ อ ที่ ภิ ก ษุ เป็ น ผู้ สั น โดษด้ ว ยจี ว ร บิ ณ ฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง กุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีกำลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ ... แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนานได้ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้ว นาน แม้คำที่พูดแล้วนานได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเห็นความเกิดและ ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ... ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก [๔๖๗] ธรรม ๑๐ อย่างควรเจริญ เป็นไฉน ได้แก่ กสิณายตนะ ๑๐ คือ ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางตามลำดับหาประมาณมิได้ ผู้หนึ่งจำอาโปกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจำเตโชกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจำวาโยกสิณได้ ... ผู้หนึ่ง จำนีลกสิณได้ ... ผูห้ นึง่ จำปีตกสิณ ... ผูห้ นึง่ จำโลหิตกสิณได้ ... ผูห้ นึง่ จำโอทาตกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจำอากาสกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณมิได้ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ [๔๖๘] ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ได้แก่ อายตนะ ๑๐ คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ [๔๖๙] ธรรม ๑๐ อย่างควรละ เป็นไฉน ได้แก่ มิจฉัตตะ ๑๐ คือ เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด อาชีพผิด ความพยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด รู้ผิด

พ้นผิด ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรละ [๔๗๐] ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสือ่ ม เป็นไฉน ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คื อ ฆ่ า สั ต ว์ ลั ก ทรั พ ย์ ประพฤติ ผิ ด ในกาม พู ด เท็ จ พู ด ส่ อ เสี ย ด พู ด คำหยาบ


ทสุตตรสูตร

355

พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม [๔๗๑] ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ เป็นไฉน ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านีเ้ ป็นไปในส่วนวิเศษ [๔๗๒] ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน ได้แก่ อริยวาส ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่าง บรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอัน ระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูป ด้วยตา ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจมีสติเป็นเครื่องรักษา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็น

เครื่องรักษา ก็อย่างไร ภิกษุชอื่ ว่า มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ภิกษุในธรรมวินยั นี้ พิจารณา แล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว สัจจะเฉพาะอย่างเป็น อันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว


356

หลักธรรม

สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหาพรหมจรรย์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า มีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีความดำริไม่ขุ่นมัว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละความดำริใน กาม ละความดำริในความพยาบาท ละความดำริในความเบียดเบียน อย่างนี้แล ภิกษุชื่อ ว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีกายสังขารอันระงับแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ เพราะดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ เสียได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ หลุดพ้น แล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะ อันเราละแล้ว ถอนรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี อันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก [๔๗๓] ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน คือ สัญญา ๑๐ ได้แก่ อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญา กำหนดหมายในความตาย อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่าเป็นปฏิกูล สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนด หมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา กำหนด หมายวิราคธรรม นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น


ทสุตตรสูตร

357

[๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่ นิชชิณณวัตถุ ๑๐ คือ ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อยที่เกิดเพราะ มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะ สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความดำริผิดอันบุคคลผู้ดำริชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาสังกัปปะ เป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ... เจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อม ละได้ ... เพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ... การงานผิดอัน บุ ค คลผู้ ท ำการงานชอบย่ อ มละได้ ... เพราะมิ จ ฉากั ม มั น ตะเป็ น ปั จ จั ย ... เพราะ สัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ... เลี้ยงชีพผิดอันบุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ ... เพราะ มิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ... ความพยายามผิดอันบุคคล ผูพ้ ยายามชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ... ความระลึกผิดอันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย ... เพราะ สั ม มาสติ เ ป็ น ปั จ จั ย ... ความตั้ ง ใจผิ ด อั น บุ ค คลผู้ ตั้ ง ใจชอบย่ อ มละได้ ... เพราะ มิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย … เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ... ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบย่อม ละได้ ... เพราะมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาญาณเป็นปัจจัย ... ความพ้นผิดอัน บุคคลผู้พ้นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อยที่เกิดเพราะมิจฉาวิมุตติเป็น ปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะสัมมาวิมุตติเป็น ปัจจัย ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง [๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่ อเสขธรรม ๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ... ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงานชอบ ... เลีย้ งชีพชอบ … พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตัง้ ใจชอบ ... ความรูช้ อบ ... ความพ้นชอบ เป็ น ของพระอเสขะ ธรรม ๑๐ อย่ า งเหล่ า นี้ ค วรทำให้ แ จ้ ง ธรรมหนึ่ ง ร้ อ ยเหล่ า นี้

ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคต ตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรด้วยประการฉะนี้ จบ ทสุตตรสูตร


358

หลักธรรม

๓๑. ปณิหิตอัจฉวรรค

ว่าด้วยจิตตั้งไว้ผิดทำลายอวิชชาไม่ได้เป็นต้น อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต

ว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดเป็นต้น [๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของเมล็ดข้าวสาลี หรือหาง แหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือ

หรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหาง แหลมของเมล็ดข้าวอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลาย อวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ มีได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด [๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของเมล็ดข้าวสาลี หรือหาง แหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือ เท้า หรือจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยข้าวอันบุคคล ตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด

จั ก ทำนิ พ พานให้ แ จ้ ง ด้ ว ยจิ ต ที่ ตั้ ง ไว้ ถู ก ข้ อ นี้ เ ป็ น ฐานะที่ มี ไ ด้ ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร

เพราะจิตตั้งไว้ถูก [๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล บางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้ง อยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาอันโทษประทุษ ร้ายแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตอันโทษประทุษร้าย สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก [๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล บางคนในโลกนี้ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือน ที่เขานำมาเชิดไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุทจี่ ติ ผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมือ่ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


ปณิหิตอัจฉวรรค

359

[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืน อยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้างตั้งอยู่บ้างในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉัน นั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จั ก กระทำให้ แ จ้ ง ซึ่ ง คุ ณ วิ เ ศษ คื อ อุ ต ตริ ม นุ ส สธรรม อั น เป็ น ความรู้ ค วามเห็ น อย่ า ง ประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว [๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋วไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืน อยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้างตั้งอยู่บ้างในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ ฉันนัน้ เหมือนกัน จักรูป้ ระโยชน์ตนบ้าง จักรูป้ ระโยชน์ผอู้ นื่ บ้าง จักรูป้ ระโยชน์ทงั้ สองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึง่ คุณวิเศษ คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรูค้ วามเห็นอย่างประเสริฐ อย่ า งสามารถ ได้ ด้ ว ยจิ ต ที่ ไ ม่ ขุ่ น มั ว ข้ อ นี้ เ ป็ น ฐานะที่ จ ะมี ไ ด้ ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร

เพราะจิตไม่ขุ่นมัว [๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้จันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็น ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่ การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน [๔๙] ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอืน่ แม้อย่างหนึง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง ได้เร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็ กระทำได้มิใช่ง่าย [๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลส ที่จรมา [๕๑] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย จิ ต นี้ ผุ ด ผ่ อ ง และจิ ต นั้ น แล พ้ น วิ เ ศษแล้ ว

จากอุปกิเลสที่จรมา จบ ปณิหิตอัจฉวรรค


360

หลักธรรม

๓๒. อัจฉราสังฆาตวรรค

ว่าด้วยจิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสเป็นต้น อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต

ว่าด้วยเหตุให้จิตเศร้าหมองและผุดผ่องเป็นต้น [๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วย อุ ป กิ เ ลสที่ จ รมา ปุ ถุ ช นผู้ มิ ไ ด้ ส ดั บ ย่ อ มจะไม่ ท ราบจิ ต นั้ น ตามความเป็ น จริ ง ฉะนั้ น

เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต [๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิ ต นี้ ผุ ด ผ่ อ ง และจิ ต นั้ น แล พ้ น วิ เ ศษแล้ ว จาก อุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต [๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพ เมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต นั้นให้มากเล่า [๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิตแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว เท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติ ตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้น ให้มากเล่า [๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิตแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว เท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติ ตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้น ให้มากเล่า


อัจฉราสังฆาตวรรค

361

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล ทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเกิดหลังเทียว [๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศล ทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิดหลังเทียว [๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และกุศล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป [๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ กุ ศ ลธรรมที่ ยั ง ไม่ เ กิ ด เกิ ด ขึ้ น หรื อ อกุ ศ ลธรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว เสื่ อ มไป เหมื อ นความไม่ ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป [๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความเป็น ผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป จบ อัจฉราสังฆาตวรรค


362

วิปัลลาสสูตร

๓๓. วิปัลลาสสูตร ความเห็นคลาดเคลื่อนจากความจริง อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต

ว่าด้วยวิปลาสในธรรม ๔ ประการ [๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส (ความ สำคัญ คิดเห็นคลาดเคลื่อน) มี ๔ ประการนี้ ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ สัญญาวิปลาส

จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ใน สิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ นี้แล สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ ภิกษุทงั้ หลาย สัญญาไม่วปิ ลาส จิตไม่วปิ ลาส ทิฏฐิไม่วปิ ลาส ๔ นี้ ๔ คืออะไรบ้าง คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ว่าไม่เที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ... ว่าทุกข์ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ... ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา ... ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้แล สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ สัตว์เหล่าใดสำคัญว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง สำคัญว่าสุขในสิ่งที่ เป็นทุกข์ สำคัญว่าเป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา และสำคัญว่างามใน สิ่งที่ไม่งาม ถูกความเห็นผิดชักนำไปแล้ว ความคิดซัดส่ายไปมีความ สำคัญ (คิดเห็น) วิปลาส สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ถูกเครื่องผูกของมารผูก ไว้แล้ว เป็นคนไม่เกษมจากโยคะ ย่อมเวียนเกิดเวียนตายไป เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นใน โลก ทรงประกาศธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญา ได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิดเห็น สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมาถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ จบ วิปัลลาสสูตร


มหาทุกขักขันธสูตร

363

๓๔. มหาทุกขักขันธสูตร คุณและโทษของกาม มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

[๑๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิด ร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเรา ควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว ต่างก็มุ่งตรงไปยังอาราม ของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กล่าวกะพวกภิกษุผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็ บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวก ข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อกำหนดรู้เวทนาได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่า เป็นข้อวิเศษ เป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดมกับพวก ข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม อนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่ง หลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

วาทะอัญญเดียรถีย์ [๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจาก บิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึง ถวายบั ง คมพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า แล้ ว นั่ ง ณ ที่ ค วรส่ ว นข้ า งหนึ่ ง ได้ ก ราบทู ล คำนี้ ก ะ


364

หลักธรรม

พระผู้มพี ระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เช้าวันนี้ พวกข้ า พระองค์ นุ่ ง แล้ ว ถื อ บาตรและจี ว รเข้ า ไปบิ ณ ฑบาตในพระนครสาวั ต ถี พวกข้ า พระองค์ต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด พวกข้า พระองค์ ต่ า งก็ มุ่ ง ตรงไปยั ง อารามของพวกปริ พ าชกอั ญ ญเดี ย รถี ย์ ครั้ น แล้ ว ได้ ส นทนา ปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถียเ์ หล่านัน้ ครัน้ ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวกข้า พระองค์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อ ควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดม บัญญัตขิ อ้ ควรกำหนดรูร้ ปู ได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บญ ั ญัตขิ อ้ ควรกำหนดรูร้ ปู ได้ พระสมณโคดม บั ญ ญั ติ ข้ อ ควรกำหนดรู้ เ วทนาได้ แม้ พ วกข้ า พเจ้ า ก็ บั ญ ญั ติ ข้ อ ควรกำหนดรู้ เ วทนาได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อวิเศษ เป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ ต่างกัน ระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม อนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้าน คำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากทีน่ งั่ หลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนีใ้ น สำนักของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า [๑๙๖] พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้ มี ว าทะอย่ า งนี้ พวกเธอพึ ง กล่ า วอย่ า งนี้ ว่ า ดู ก่ อ นท่ า นผู้ มี อ ายุ ก็ อ ะไรเล่ า เป็ น คุ ณ

อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไร เป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนเวทนา ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถูกพวกเธอถามอย่างนี้ จักไม่ พอใจเลย และจั ก ต้ อ งคั บ แค้ น อย่ า งยิ่ ง ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ อ ะไร เพราะข้ อ นั้ น มิ ใ ช่ วิ สั ย

ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เราไม่ เ ห็ น ผู้ ที่ จ ะพึ ง ยั ง จิ ต ให้ ยิ น ดี ด้ ว ยการพยากรณ์ ปั ญ หาเหล่ า นี้ ในโลกเป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณะและ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เว้นไว้แต่ตถาคต หรือสาวกของตถาคต หรือมิฉะนัน้ ก็ฟงั จากนี้ [๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ ทั้ ง หลาย กามคุ ณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็ น ไฉน คื อ รู ป ที่ พึ ง รู้ แ จ้ ง ด้ ว ยจั ก ษุ

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่


มหาทุกขักขันธสูตร

365

พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัส ใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย

โทษของกาม [๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย กุลบุตรในโลก นี้เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณ ก็ ดี ด้ ว ยการนั บ จำนวนก็ ดี ด้ ว ยการไถก็ ดี ด้ ว ยการค้ า ขายก็ ดี ด้ ว ยการเลี้ ย งโคก็ ดี

ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำ ต่อความหนาว ต้องตรากตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต้องตายด้วยความหิวกระหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า ก็เป็น โทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า

มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ กุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่าความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่ มี ผ ลหนอ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย แม้ นี้ เ ล่ า ก็ เ ป็ น โทษของกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ เหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับ ว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่ พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทอัปรีย์พึงนำไปไม่ได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่ อย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้ เสียก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเล่าเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็น ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น


366

หลักธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็ น ตั ว บั ง คั บ เพราะเหตุ แ ห่ ง กามทั้ ง หลายนั้ น แล แม้ พ ระราชาทั้ ง หลายก็ วิ ว าทกั น กั บ

พระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวก พราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาท กับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับ พี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็วิวาทกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาท กับสหาย ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้น ๆ ทำร้ายซึ่งกัน และกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ถึงความตาย ไปตรงนั้ น บ้ า ง ถึ ง ทุ ก ข์ ป างตายบ้ า ง ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย แม้ นี้ เ ล่ า ก็ เ ป็ น โทษของกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นด้วยบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและโล่สอดแล่งธนู

วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลาย ถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรเสียบ เอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม ทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและโล่สอดแล่งธนู ตรูกัน เข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปลือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง ชนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรเสียบบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้วย โคมัยร้อนบ้าง ถูกสับด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไป ตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะ เหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น


มหาทุกขักขันธสูตร

367

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็ น ตั ว บั ง คั บ เพราะเหตุ แ ห่ ง กามทั้ ง หลายนั้ น แล ฝู ง ชนตั ด ที่ ต่ อ บ้ า ง ปล้ น อย่ า ง กวาดล้างบ้าง กระทำให้เป็นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักทางบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลายจับคนนั้น ๆ ได้แล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง เฆีย่ นด้วยหวายบ้าง ตีดว้ ยไม้คอ้ นบ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทัง้ มือทัง้ เท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง ตัดจมูกเสียบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกเสียบ้าง กระทำกรรมกรณ์ ชื่อพิลังคถาลิกะ (หม้อเคี่ยวน้ำส้ม) บ้าง ชื่อสังขมุณฑกะ (ขอดสังข์) บ้าง ชื่อราหูมุข (ปากราหู) บ้าง ชื่ อ โชติ ม าลิ ก ะ (พุ่ ม เพลิ ง ) บ้ า ง ชื่ อ หั ต ถปั ช โชติ ก ะ (มื อ ไฟ) บ้ า ง ชื่ อ เอรกวั ต ติ ก ะ (นุ่งหนังช้าง) บ้าง ชื่อจีรกวาสิกะ (นุ่งสาหร่าย) บ้าง ชื่อเอเณยยกะ (ยืนกวาง) บ้าง ชื่อพลิสมังสิกะ (กระชากเนื้อด้วยเบ็ด) บ้าง ชื่อกหาปณกะ (ควักเนื้อทีละกหาปณะ) บ้าง ชื่อขาราปฏิจฉะ (แปรงแสบ) บ้าง ชื่อปลิฆปริวัตตีกะ (วนลิ่ม) บ้าง ชื่อปลาลปีฐกะ (ตั่งฟาง) บ้าง รดด้วยน้ำมันทีร่ อ้ นบ้าง ให้สนุ ขั กินบ้าง เสียบทีห่ ลาวทัง้ เป็นบ้าง ใช้ดาบตัด ศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านัน้ ถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกาม เป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม เป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น [๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในกามทั้งหลาย การละฉันทราคะในกามทั้งหลายใดเล่า นี้เป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย [๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณของ กามทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนกาม ทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือจัก รอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจัก


368

หลักธรรม

รอบรู้กามทั้งหลายได้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของกามทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนกามทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแลจักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ [๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นคุณของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์ หรือเผ่าคฤหบดี มีอายุระบุได้ ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำ เกินไป ไม่ขาวเกินไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น นางคนนั้นงดงามเปล่งปลั่งเป็น อย่างยิ่ง ใช่หรือไม่ พวกภิกษุพากันกราบทูลว่า เป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขความโสมนัสอันใดแล ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของ รูปทั้งหลาย

โทษของรูป [๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ

๑๐๐ ปี โดยกำเนิด เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือน ร่างคดงอ ถือไม้เท้ากระงก กระเงิ่น เดินไปกระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้ว มีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น

ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัวตกกระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจักสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวคนนั้นแหละมีอาพาธ มีทุกข์เจ็บหนัก นอนจมกองมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอย ประคอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง

ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ


มหาทุกขักขันธสูตร

369

ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็น ซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพองก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ สำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏ แล้วมิใช่หรือ ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็น ซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิก กินบ้าง ฝูงสุนัขรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่าง ๆ รุมกันกัดกินบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละ เป็น ซากศพถูกทิ้งในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ … มีแต่โครง กระดูก ปราศจากเนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ... มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อเเละ เลือด มีเอ็นยึดอยู่ … เป็นแต่กระดูกปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึง่ กระดูกสันหลังทางหนึง่ กระดูกซีโ่ ครงทางหนึง่ กระดูกหน้าอกทางหนึง่ กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทางหนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูก ฟันทางหนึ่ง หัวกระโหลกทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ


370

หลักธรรม

ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละเป็นซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ … เหลือแต่กระดูก ตกค้างแรมปี เรียงรายเป็นหย่อม ๆ ... เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว

โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ ภ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย [๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย การกำจั ด ฉั น ทราคะในรู ป ทั้ ง หลาย การละฉั น ทราคะในรู ป ทั้ ง หลายใด นี้ เป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย

การกำหนดรู้รูป [๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณ ของรูปทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนรูป ทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือ จักรอบรู้รูปทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของรูปทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลายโดย ความเป็นโทษ และการถ่ายถอนรูปทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ตาม ความเป็ น จริ ง พวกเหล่ า นั้ น แหละ จั ก รอบรู้ รู ป ทั้ ง หลายด้ ว ยตนเองได้ หรื อ จั ก ชั ก จู ง ผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ [๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของเวทนาทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวติ กวิจาร มีปตี ิ และสุขเกิดแต่วเิ วกอยู่ ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะ


มหาทุกขักขันธสูตร

371

ทำลายตนบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายทั้งสองฝ่ายบ้าง ในสมั ย นั้ น ย่ อ มเสวยเวทนาอั น ไม่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย นเลยที เ ดี ย ว ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย

เราย่อมกล่าวคุณของเวทนาทัง้ หลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิง่ ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในสมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป … ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตนบ้าง ... ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวย สุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ในสมัยใด ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ... ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน … ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณ แห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในสมัยใด ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ... ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตนบ้าง ไม่คิด เพื่อทำลายผู้อื่นบ้าง ไม่คิดเพื่อทำลายทั้งสองบ้าง ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มี ความเบีย ดเบีย นเลยทีเดีย ว ดูก่อนภิก ษุทั้งหลาย เรากล่า วคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง [๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ เวทนาทั้งหลาย [๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลาย ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนาทั้งหลายเสียได้ นี้เป็นการถ่ายถอน เวทนาทั้งหลาย


372

หลักธรรม

การกำหนดรู้เวทนา [๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณ ของเวทนาทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และการถ่าย ถอนเวทนาทั้ ง หลายโดยความเป็ น การถ่ า ยถอน อย่ า งที่ ก ล่ า วมานี้ ต ามความเป็ น จริ ง

พวกเหล่านั้นหรือจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างที่ผู้ ปฏิ บั ติ แ ล้ ว จั ก รอบรู้ เ วทนาทั้ ง หลายได้ ข้ อ นี้ มิ ใ ช่ ฐ านะที่ จ ะมี ไ ด้ ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลาย โดยความ เป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ตามความเป็นจริง พวกเขาเหล่านั้นแหละ จักรอบรู้ เวทนาทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้ เวทนาทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล จบ มหาทุกขักขันธสูตร


มาคัณฑิยสูตร

373

๓๕. มาคัณฑิยสูตร กามไม่น่ายินดี มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้า ในโรงบูชา ไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ใกล้นิคมของชาวกุรุ อันชื่อว่ากัมมาสธัมมะ ในกุรุรัฐ

ครั้ ง นั้ น เวลาเช้ า พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงนุ่ ง แล้ ว ทรงถื อ บาตรและจี ว รเสด็ จ เข้ า ไป บิณฑบาตยังกัมมาสธัมมนิคม ครัน้ เสด็จเทีย่ วบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักกลางวัน ครั้นเสด็จ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง

เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก [๒๗๗] ครั้งนั้น มาคัณฑิยปริพาชกเดินเที่ยวไปมาเพื่อแก้เมื่อย เข้าไปถึงโรงบูชา ไฟของพราหมณ์ ภ ารทวาชโคตร ได้ เ ห็ น เครื่ อ งลาดอั น ทำด้ ว ยหญ้ า ในโรงบู ช าไฟของ พราหมณ์ ภ ารทวาชโคตร และได้ ก ล่ า วกะพราหมณ์ ภ ารทวาชโคตรว่ า ดู ก่ อ นสหาย เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็น ที่นอนสมควรแก่สมณะ ภา. มีอยู่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจากศากยสกุล เกี ย รติ ศั พ ท์ อั น งามของท่ า นพระโคดมนั้ น ขจรไปแล้ ว อย่ า งนี้ ว่ า แม้ เ พราะเหตุ นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ที่นอนนี้ ปูไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น มา. ท่านภารทวาชะ พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดม ผู้กำจัดความ เจริญนั้น ชื่อว่าได้เห็นชั่ว


374

หลักธรรม

ภา. ดูก่อน มาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ ท่านจง รักษาวาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีที่ เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะที่เป็นบัณฑิตเป็นอันมากก็ดี พากันเลื่อมใสยิ่งนักต่อท่านพระโคดม พระองค์นั้น ท่านพระโคดมทรงแนะนำในธรรมที่มีเหตุอันบริสุทธิ์ไม่มีโทษ มา. ท่านภารทวาชะ ถ้าแม้พวกเราได้พบท่านพระโคดมนั้นต่อหน้าเรา ก็พึงกล่าว กะท่านพระโคดมต่อหน้าว่า พระสมณโคดมผู้กำจัดความเจริญดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า คำเช่นนี้ลงในสูตรของเราทั้งหลาย ภา. ถ้าการที่จะกล่าวนั้น ไม่เป็นการหนักแก่ท่านมาคัณฑิยะ ข้าพเจ้าจักทูลกะ พระสมณโคดมพระองค์นั้น มา. ท่านภารทวาชะ จงมีความขวนขวายน้อยเถิด เราได้ว่าไว้แล้วก็พึงกล่าวกะ พระองค์เถิด [๒๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร กับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผูม้ พี ระภาคเจ้าเสด็จออกจากทีเ่ ร้น เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าที่เขาลาดไว้ ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเขาว่า ดูก่อนภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบ กันอย่างไรบ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรตกใจ เกิดโลมชาติชูชัน ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าปรารถนาจะกราบทูลเรื่องนี้แก่ ท่านพระโคดม แต่ท่านพระโคดมตรัสเสียก่อนที่ข้าพเจ้ายังไม่ทันกราบทูล ก็และเมื่อพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า กั บ พราหมณ์ ภ ารทวาชโคตรเจรจากั น ยั ง ค้ า งอยู่ ใ นระหว่ า งนี้ ลำดั บ นั้ น มาคัณฑิยปริพาชกกำลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง


มาคัณฑิยสูตร

375

พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ [๒๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาคัณฑิยปริพาชกผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ นัยน์ตามีรูปเป็นที่มายินดี ... หูมีเสียงเป็นที่มายินดี ... จมูกมีกลิ่นเป็นที่มายินดี ... ลิ้นมีรสเป็นที่มายินดี ... กายมีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ... ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม อันธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่นตถาคต ทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวมแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ สำรวมใจนั้น ดูก่อนมาคัณฑิยะคำที่ท่านกล่าวว่าพระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความเจริญนั้น ท่านหมายเอาความข้อนี้ละซิหนอ มา. ท่านพระโคดม ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความ เจริญนี้ ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคำเช่นนี้ลงกันใน สูตรของข้าพเจ้า [๒๘๐] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับบำเรอด้วยรูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดั บ คุ ณ โทษ และอุ บ ายเป็ น เครื่ อ งออกไปแห่ ง รู ป ทั้ ง หลายตามความเป็ น จริ ง

แล้วละตัณหาในรูป บรรเทาความเร่าร้อนอันเกิดเพราะปรารภรูป เป็นผู้ปราศจากความ กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้เป็นผู้ เคยได้รับบำเรอด้วยเสียงทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงรู้ แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง โผฏฐัพพะทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในโผฏฐัพพะ บรรเทาความเร่าร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะปรารภโผฏฐัพพะ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร


376

หลักธรรม

[๒๘๑] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้ แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วย โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้นได้มีถึง ๓ แห่ง คือปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ ในฤดูร้อน เรานั้นได้รับบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ ในฤดูฝนตลอดสี่เดือน ไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครือ่ งออกไปแห่งกามทัง้ หลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบใน ภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ เรานั้นย่อม ไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดี ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น [๒๘๒] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีเป็นคนมั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันพึงจะรู้ แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พึงเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมในนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อม ด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์ บำเรอตนอยู่ในดาวดึงสเทวโลก เทพบุตรนั้นได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าบำเรอตนอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดี


มาคัณฑิยสูตร

377

ต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือต่อกามคุณห้าของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์ บ้างหรือหนอ ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์

น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่ากามของมนุษย์ ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อนเอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้ แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วย โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย เป็นเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทา ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบใน ภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยว กินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอ ทะยานต่ อ สั ต ว์ เ หล่ า นั้ น ไม่ ยิ น ดี ใ นกามนั้ น ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร เพราะเรายิ น ดี อ ยู่ ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุขเป็น ของทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน [๒๘๓] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวอันสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น พึงทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเอง จะไปไหนได้ตามความพอใจ บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อน คนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึง ทะเยอทะยานต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกลับเสพยาบ้าง หรือหนอ


378

หลักธรรม

ไม่อย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่ควรทำ ด้วยยาก็ต้องมี เมื่อไม่มีโรค กิจที่ควรทำด้วยยาก็ไม่ต้องมี ดู ก่ อ นมาคั ณ ทิ ย ะ เราก็ ฉั น นั้ น เหมื อ นกั น เมื่ อ ยั ง ครองเรื อ นอยู่ ใ นกาลก่ อ น เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอคนอยู่ด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียง อันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วย ลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปราศจาก ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ในกาม ถู ก กามตั ณ หาเคี้ ย วกิ น อยู่ ถู ก ความเร่ า ร้ อ นที่ เ กิ ด ขึ้ น เพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ ล่วงเลยความสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรม อันเลวนั้นเลย [๒๘๔] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดทำ ยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเอง จะไปไหนได้ตามความพอใจ บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับ บุรุษนั้นที่แขนคนละข้าง ฉุดเข้าไปในหลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะต้องดิ้นรนไปอย่างนั้น ๆ บ้างซิหนอ เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมีสัมผัสเป็นทุกข์

มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมากแต่ในบัดนี้เท่านั้นหรือ แม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มี สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก


มาคัณฑิยสูตร

379

ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อน ทั้ ง ในบั ด นี้ และแม้ เ มื่ อ ก่ อ น ไฟนั้ น ก็ มี สั ม ผั ส เป็ น ทุ ก ข์ มี ค วามร้ อ นยิ่ ง ใหญ่ และมี ความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกหนอนบ่อน เกาปากแผล อยู่ด้วยเล็บ มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็น ทุกข์นั่นแลว่าเป็นสุขไป ดูก่อนมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัส

เป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลายก็มี สั ม ผั ส เป็ น ทุ ก ข์ มี ค วามร้ อ นยิ่ ง ใหญ่ แ ละมี ค วามเร่ า ร้ อ นมาก แม้ ใ นปั จ จุ บั น เดี๋ ย วนี้

กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิด ขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษกำจัดแล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกาม อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่าเป็นสุขไป [๒๘๕] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก

อั น กิ มิ ช าติ บ่ อ นอยู่ เกาปากแผลอยู่ ด้ ว ยเล็ บ ย่ า งกายให้ ร้ อ นที่ ห ลุ ม ถ่ า นเพลิ ง ดู ก่ อ น มาคัณฑิยะ บุรุษโรคเรื้อนคนโน้น มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผล อยู่ ด้ ว ยเล็ บ ย่ า งกายให้ ร้ อ นที่ ห ลุ ม ถ่ า นเพลิ ง ด้ ว ยประการใด ๆ ปากแผลเหล่ า นั้ น

ของบุรุษโรคเรื้อนนั้นเอง ยิ่งเป็นของไม่สะอาดขึ้น มีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการ นั้น ๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดีน่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลายมีการ เกาแผลเป็นเหตุเท่านั้น ฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม เผาอยู่ เสพกามอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม อันกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะกามเผาลนอยู่ เสพกามอยู่ด้วย ประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่ เกิดเพราะปรารภกามเผาอยู่ ด้วยประการนั้น ๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจ สักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยกามคุณทั้งห้าเท่านั้น [๒๘๖] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็นหรือได้ ฟังบ้างหรือว่า พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม บำเรอตนอยู่


380

หลักธรรม

ด้วยกามคุณห้า ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม ไม่ได้แล้ว เป็นผูป้ ราศจากความกระหาย มีจติ สงบในภายในอยูแ่ ล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่ ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า พระราชาหรือมหาอำมาตย์ ของพระราชาผู้ เ อิ บ อิ่ ม เพี ย บพร้ อ มบำเรอตนอยู่ ด้ ว ยกามคุ ณ ห้ า ยั ง ละตั ณ หาไม่ ไ ด้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้ แล้วเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือ กำลังอยู่ หรือจักอยู่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุ บ ายเป็ น เครื่ อ งออกไปแห่ ง กามนั่ น เที ย ว ตามความเป็ น จริ ง แล้ ว ละกามตั ณ หา บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิต สงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่ [๒๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ความไม่ มี โ รคเป็ น ลาภอย่ า งยิ่ ง นิ พ พานเป็ น สุ ข อย่ า งยิ่ ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม เมื่ อ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส อย่ า งนี้ แ ล้ ว มาคั ณ ฑิ ย ปริ พ าชกได้ ก ราบทู ล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ทา่ นพระโคดม น่าอัศจรรย์นกั ไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อทีท่ า่ น พระโคดมตรัส ดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็น ลาภอย่า งยิ่ง พระนิพพานเป็น สุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มาต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และอาจารย์ผู้กล่าวกัน อยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลายก่อน ๆ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ ผู้ ก ล่ า วกั น อยู่ ว่ า ความไม่ มี โ รคเป็ น ลาภอย่ า งยิ่ ง นิ พ พานเป็ น สุ ข อย่ า งยิ่ ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวของตัวเองกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน พระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้า เดี๋ยวนี้ เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข อะไร ๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า


มาคัณฑิยสูตร

381

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด [๒๘๘] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็น รูปดําและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูป สีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาดหนอ ดังนี้ เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามา ลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความยินดีด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า ท่านพระโคดม บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียมอัน เปื้อนเขม่าเข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มี มลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังไม่กล่าวคาถานี้ได้ว่า

ความไม่มโี รคเป็นลาภอย่างยิง่ นิพพานเป็นสุขอย่างยิง่ ดังนี้ ดูกอ่ นมาคัณฑิยะ พระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า ความไม่ มี โ รคเป็ น ลาภอย่ า งยิ่ ง นิ พ พานเป็ น สุ ข อย่ า งยิ่ ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ ดูก่อนมาคัณฑิยะ กายนี้แลเป็น ดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าว กายนี้ เ ป็ น ดั ง โรค เป็ น ดั ง หั ว ฝี เป็ น ดั ง ลู ก ศร เป็ น ความลำบาก เป็ น ความเจ็ บ ไข้ ว่ า ท่ า นพระโคดม ความไม่ มี โ รคนั้ น คื อ อั น นี้ นิ พ พานนั้ น คื อ อั น นี้ ก็ ท่ า นไม่ มี จั ก ษุ ข อง พระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน


382

หลักธรรม

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม [๒๘๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรง สามารถเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูปสีดำและ สีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู

ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญ การผ่าตัดนั้น ได้ทำยารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุให้ใสไม่ได้ ดูก่อน มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนีเ้ ป็นไฉน แพทย์ตอ้ งมีสว่ นแห่งความลำบาก ความคับแค้น สักเพียงไรมิใช่หรือ อย่างนั้น ท่านพระโคดม ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรค นั้นคือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มีโรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพาน ไม่ได้ อันนั้นพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลำบากแก่เรา [๒๙๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม ย่ อ มทรงสามารถเพื่ อ แสดงธรรมแก่ ข้ า พเจ้ า โดยประการที่ ใ ห้ รู้ ค วามไม่ มี โ รค ให้ เ ห็ น นิพพานได้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดำ และสีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูป สีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวง อาทิตย์ แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทิน สะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้า เทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทิน


มาคัณฑิยสูตร

383

สะอาด เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัด ให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วย สามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่า ควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามา ลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ มานานหนอ ฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรค นั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ท่านนั้นพึงรู้ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้น ก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความ เห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้ หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยืดมั่นแต่เวทนา เท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยืดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านัน้ เมือ่ ยึด มัน่ ก็ยดึ มัน่ แต่วญ ิ ญาณเท่านัน้ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานัน้ เพราะภพนัน้ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ [๒๙๑] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ

เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เองเห็นเองว่า โรค ฝี

ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้น ดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


384

หลักธรรม

มาคัณฑิยะได้บรรพชาและอุปสมบท [๒๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของทีค่ ว่ำ เปิดของทีป่ ดิ บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักท่านพระโคดม ดูก่อนมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทใน ธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้ บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ถ้ า ชนทั้ ง หลายผู้ เ คยเป็ น อั ญ ญเดี ย รถี ย์ หวั ง บรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลาย เต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุเถิด มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรม อื่ น ยิ่ ง กว่ า ที่ กุ ล บุ ต รทั้ ง หลายผู้ อ อกจากเรื อ นบวชเป็ น บรรพชิ ต โดยชอบต้ อ งการ ด้วยปัญญาอันยิง่ ด้วยตนเองในปัจจุบนั เข้าถึงอยู่ รูช้ ดั ว่า ชาติสนิ้ แล้ว พรหมจรรย์อยูจ่ บแล้ว กิ จ ที่ ค วรทำทำเสร็ จ แล้ ว กิ จ อื่ น เพื่ อ ความเป็ น อย่ า งนี้ มิ ไ ด้ มี ท่ า นมาคั ณ ฑิ ย ะได้ เ ป็ น พระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล จบ มาคัณฑิยสูตร


กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

385

๓๖. กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ เหตุแห่งความทะเลาะวิวาท ขุททกนิกาย มหานิทเทส [๔๔๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และ คำพูดส่อเสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่า นั้นมีมาแต่อะไร ?

ว่าด้วยความทะเลาะวิวาท [๔๔๓] ชื่อว่า ความทะเลาะ ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร ? ความว่า ความทะเลาะและความวิวาท ทั้งสองนั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน

คือ ความทะเลาะใด ความทะเลาะนั้นเป็นความวิวาท ความวิวาทใด ความวิวาทนั้นเป็น ความทะเลาะ อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ความวิวาทที่เป็นเบื้องต้นแห่งความทะเลาะ เรียกว่า ความวิวาท กล่าวคือแม้พระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาท กับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวก คฤหบดี แม้ ม ารดาก็ วิ ว าทกั บ บุ ต ร แม้ บุ ต รก็ วิ ว าทกั บ มารดา แม้ บิ ด าก็ วิ ว าทกั บ บุ ต ร แม้ บุ ต รก็ วิ ว าทกั บ บิ ด า แม้ พี่ น้ อ งชายก็ วิ ว าทกั บ พี่ น้ อ งหญิ ง แม้ พี่ น้ อ งหญิ ง ก็ วิ ว าทกั บ

พี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย นี้ชื่อว่า ความวิวาท ความทะเลาะเป็นไฉน ? พวกบุคคลผู้ครองเรือนขวนขวายหาโทษกัน ก็ทำความ ทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา พวกบรรพชิตต้องอาบัติอยู่ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา นี่ชื่อว่า ความทะเลาะ คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร ? ความว่า พระพุทธนิมิต สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งความทะเลาะและความวิวาทว่า ความทะเลาะและความวิวาทมีมา คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่ อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร


386

หลักธรรม

ว่าด้วยความรำพัน [๔๔๔] ชื่อว่า ความรำพัน ในคำว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความว่า ความเพ้อถึง ความรำพัน กิริยาที่เพ้อถึง กิริยาที่รำพันถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพันถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็น ผู้พร่ำเพ้อ ของตนผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรค กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใด อย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง

ว่าด้วยความโศก ชื่อว่า ความโศก คือ ความเศร้าโศก กิริยาเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความตรมตรอมในภายใน ความเดือดร้อนในภายใน ความเร่าร้อน ในภายใน ความตรมตรอมแห่งจิต ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของคนที่ถูก ความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก ความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความ เสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่ง ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง

ว่าด้วยความตระหนี่ ชื่อว่า ความตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความ ตระหนี่เห็นปานนี้ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ ไม่เชื่อถือ ได้ในการให้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุ ก็ ดี ความตระหนี่ อ ายตนะก็ ดี นี้ เ รี ย กว่ า ความตระหนี่ ความมุ่ ง จะเอา ก็ เ รี ย กว่ า ความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่


กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

387

ว่าด้วยความถือตัว [๔๔๕] ชื่อว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและความพูด ส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ยังความถือตัวให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยการปกครองบ้ า ง โดยหน้ า ที่ ก ารงานบ้ า ง โดยหลั ก แหล่ ง แห่ ง ศิ ล ปศาสตร์ บ้ า ง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง

ว่าด้วยความดูหมิ่น ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง … โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง

ว่าด้วยการพูดส่อเสียด ชื่อว่า ความพูดส่อเสียด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็น ก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขา แตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป ๑ บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ? บุคคลนำคำ ส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุง่ หมายเป็นทีร่ กั อย่างนีว้ า่ เราจักเป็นทีร่ กั เป็นทีช่ อบใจ เป็นทีส่ นิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลนี้ บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร ? บุคคลผู้ มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านั้นพึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน

เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกด้วยอุบายอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความ พูดส่อเสียด


388

หลักธรรม

[๔๔๖] คำว่า ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้น มีมาแต่อะไร ? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่ ง กิ เ ลส ๘ ประการนี้ ว่ า กิ เ ลส ๘ ประการนี้ คื อ ความทะเลาะ ความวิ ว าท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเหล่า นั้นมีมาแต่อะไร. คำว่า ขอเชิ ญ พระองค์ จ งตรั ส บอก คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ตรัสตอบ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึ ง ชื่ อ ว่ า ขอเชิ ญ พระองค์ จ งตรั ส บอกว่ า กิ เ ลสเหล่ า นั้ น มี ม าแต่ อ ะไร เพราะเหตุ นั้ น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญ พระองค์จงตรัสบอกว่ากิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร ? [๔๔๗] (พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ตอบว่ า ) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความ

ดูหมิน่ และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สงิ่ ทีร่ กั ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูด

ส่อเสียดก็มี

ว่าด้วยความทะเลาะ ... มาจากสิ่งที่รัก [๔๔๘] ชื่ อ ว่ า สิ่ ง ที่ รั ก ในคำว่ า ความทะเลาะ ความวิ ว าท ความรำพั น

ความโศก ความตระหนี่ ... มีมาแต่สิ่งที่รัก ได้แก่ วัตถุเป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สั ต ว์ ผู้ เ ป็ น ที่ รั ก เป็ น ไฉน ? ชนเหล่ า ใดในโลกนี้ เป็ น ผู้ ใ คร่ ค วามเจริ ญ ใคร่ ประโยชน์ ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือ


กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

389

เป็นสาโลหิต ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ เหล่านั้นชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อม ทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวน ไปแล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รักย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คื อ เมื่ อ วั ต ถุ ที่ รั ก กำลั ง แปรปรวนไป ย่ อ มวิ ว าทกั น บ้ า ง เมื่ อ วั ต ถุ ที่ รั ก แปรปรวนไปแล้ ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือเมื่อวัตถุ ที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือเมื่อวัตถุที่รัก กำลังแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูก แย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง แม้ผู้มี ความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือเมื่อวัตถุที่รักกำลัง แปรปรวนไป ย่ อ มเศร้ า โศกบ้ า ง เมื่ อ วั ต ถุ ที่ รั ก แปรปรวนไปแล้ ว ย่ อ มเศร้ า โศกบ้ า ง และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก [๔๔๙] คำว่า ความถื อ ตั ว ความดู ห มิ่ น และความพู ด ส่ อ เสี ย ด ความว่า ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รัก ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร ? ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ


390

หลักธรรม

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร ? ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่ารักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ ส่วนชนเหล่านั้นไม่ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ … บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขา แตกกันอย่างนี้ว่า ... ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไรก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด [๔๕๐] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ ความว่า กิ เ ลส ๗ ประการนี้ คื อ ความทะเลาะ ความวิ ว าท ความรำพั น ความเศร้ า โศก ความถือตัว ความดูหมิ่น ความพูดส่อเสียด ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความ ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ [๔๕๑] คำว่ า เมื่ อ ความวิ ว าทกั น เกิ ด แล้ ว คำพู ด ส่ อ เสี ย ดก็ มี ความว่ า เมื่อความวิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำ คำส่อเสียดเข้าไป คือ ฟังจากข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอก ข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกัน แล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าว วาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมนำคำ ส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป ๑ ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ? ชนทั้งหลาย นำคำส่อ เสีย ดเข้า ไปด้วยความมุ่งหมายเป็น ที่รั ก อย่ างนี้ว่า พวกเราจัก เป็น ที่รัก เป็น ที่ ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลผู้นี้


กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

391

ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร ? ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านัน้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า ความทะเลาะ ความวิ ว าท ความรำพั น ความเศร้ า โศก

ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมา แต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ และ เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็ม ี [๔๕๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมี อะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเทีย่ วไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความ สำเร็จหวังที่มีแก่นรชน เพื่อเบื้องหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน ?

ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก [๔๕๓] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิต

ตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล … สมุทัย แห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่งที่รักทั้งหลายมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีอะไรเป็นนิทาน [๔๕๔] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ ได้แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความโลภ คือความโลภ กิรยิ าทีโ่ ลภ ความเป็นผูโ้ ลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ


392

หลักธรรม

[๔๕๕] คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็นนิทาน ? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล … สมุทัยแห่งความหวังและความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวังมี อะไรเป็นนิทาน คือ เกิด บังเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็นนิทาน [๔๕๖] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อเบื้องหน้า ความว่า ความหวังและความสำเร็จ หวังที่เป็นไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็นไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชน เพื่อโลกหน้าเพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไร เป็ น นิ ท าน อนึ่ ง ความหวั ง และความสำเร็ จ หวั ง ที่ มี แ ก่ น รชนเพื่ อ

เบื้องหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน [๔๕๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สิ่ ง ที่ รั ก ทั้ ง หลาย

ในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อเบื้องหน้านั้น ก็มีฉันทะ นี้เป็นนิทาน [๔๕๘] ชื่อว่า ฉันทะ ในคำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะเป็นนิทาน ได้แก่ ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความรัก ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ในกามทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ฉันทะ ๕ ประการ คือ ความพอใจในการแสวงหา ๑ ความพอใจในการได้ ๑ ความพอใจในการบริโภค ๑ ความพอใจในการสั่งสม ๑ ความพอใจในการสละ ๑ ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความ ต้ อ งการ เกิ ด ความพอใจ ย่ อ มแสวงหารู ป เสี ย ง กลิ่ น รส โผฏฐั พ พะ นี้ ชื่ อ ว่ า

ความพอใจในการแสวงหา


กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

393

ความพอใจในการได้เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการได้ ความพอใจในการบริโภคเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความ ต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจ ในการบริโภค ความพอใจในการสั่งสมเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความ ต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ ด้วยความหวังว่า จักมีประโยชน์ใน คราวเกิดอันตรายทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสั่งสม ความพอใจในการสละเป็ น ไฉน ? บุ ค คลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มี ค วาม ต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวกพลม้า พวกพลรถ พวกพล ถือธนู พวกพลเดินเท้า ด้วยความหวังว่า คนพวกนี้จักรักษาคุ้มครองป้องกันเรา นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสละ

ว่าด้วยสิ่งที่รัก ๒ ประการ คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย คือสิ่งที่รัก ๒ ประการ ได้แก่ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ … เหล่านั้นชื่อว่าสัตว์เป็นที่รัก ... เหล่านี้ชื่อว่าสังขารเป็นที่รัก. คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมี ฉันทะเป็นนิทาน คือ สิง่ ทีร่ กั ทัง้ หลายมีฉนั ทะเป็นนิทาน มีฉนั ทะเป็นสมุทยั มีฉนั ทะเป็นชาติ มีฉันทะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะเป็นนิทาน [๔๕๙] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ ได้แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความโลภ คือ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความ กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า

ในโลก คือ ในอบายโลก … อายตนโลกเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแลย่อม เที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ จบ บางส่วนของกลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑


394

หลักธรรม

๓๗. คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ สัตว์ดิ้นรนเพราะตัณหา ขุททกนิกาย มหานิทเทส

สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา [๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญา จักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งหมู่ สัตว์นี้ ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่ ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะความประกอบด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรน เพราะทุจริต ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งแล้ว ด้วยความ สงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลังด้วยลาภ ด้วยความเสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความ เสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา ด้วยสุข ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้ ว ยทุ ก ข์ คื อ ความเกิ ด ในกำเนิ ด สั ต ว์ ดิ รั จ ฉาน ด้ ว ยทุ ก ข์ คื อ ความเกิ ด ในวิ สั ย แห่ ง เปรต ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตั้ง อยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่ เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวาย ของตน ด้ ว ยทุ ก ข์ อั น เกิ ด แต่ ค วามขวนขวายของผู้ อื่ น ด้ ว ยทุ ก ข์ อั น เกิ ด แต่ ทุ ก ขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วยทุกข์เพราะโรคทาง จักษุ โรคทางโสตะ โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

395

โรคทางปาก โรคทางฟั น โรคไอ โรคหื ด โรคไข้ ห วั ด โรคไข้ พิ ษ โรคไข้ เ ซื่ อ งซึ ม

โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ด้วยอาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็น สมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่ สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรมด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย ด้วยปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยทุกข์ เพราะความตายแห่งมารดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตาย แห่งพี่ชายน้องชาย ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตาย แห่ ง บุ ต ร ด้ ว ยทุ ก ข์ เ พราะความตายแห่ ง ธิ ด า ด้ ว ยทุ ก ข์ เ พราะความฉิ บ หายแห่ ง ญาติ

ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์ เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก [๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มีความว่า คำว่า หมู่สัตว์ เป็นชื่อของสัตว์ คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือ ไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมอยู่ ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว คำว่า ในภพทั้งหลาย คือ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย [๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชน ทั้งหลายที่เลว คือผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมจิ ฉาจาร มุสาวาท ปิสณ ุ วาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ


396

หลักธรรม

สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ชั่วหยาบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชน ทั้งหลายที่เลว คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็นผู้ถึงมัจจุ ประจวบ กับมัจจุ เข้าถึงมัจจุ ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความ หลงใหล ใกล้ปากมัจจุ ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว ... ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ

ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่ [๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่ มีความว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา … ธัมมตัณหา คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ ภพน้อยและภพใหญ่ คือ กรรมวัฏฏ์และ วิปากวัฏฏ์ ในกรรมวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏฏ์เป็น เครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏฏ์เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อย ๆ ในความ เป็นไปบ่อย ๆ ในความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบอ่ ย ๆ ในอันบังเกิดขึน้ แห่งอัตภาพบ่อย ๆ คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา คือ ยังไม่ปราศจากตัณหา มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหายังไม่สละแล้ว มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว มีตัณหายังไม่ ละเสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ น้อยและภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรน อยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพ ใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ [๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

397

ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือ ว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชน เห็ น โทษแม้ นั้ น แล้ ว ไม่ ท ำซึ่ ง ตั ณ หาเครื่ อ งเกี่ ย วข้ อ งในภพทั้ ง หลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ

ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง [๕๖] คำว่า ท่านทัง้ หลายจงเห็นหมูส่ ตั ว์ผดู้ นิ้ รนอยูใ่ นเพราะวัตถุทยี่ ดึ ถือว่าของเรา มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือ ว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา เป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณ เท่าใด ย่อมยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้นว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมี ประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของเรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว คลัง เป็นของของเรา ย่อมยึดถือ ว่าเป็นของเราแม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ความยืดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ความไปคือทิฏฐิ รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือทางชั่ว ทางผิด ความผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่แน่นอนว่าแน่นอน จนถึง

ทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า หมู่สัตว์แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือย่อมดิ้นรนเมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงใน ความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือก


398

หลักธรรม

กระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวน อยู่ บ้ า ง เมื่ อ วั ต ถุ นั้ น แปรปรวนไปแล้ ว บ้ า ง ท่ า นทั้ ง หลายจงเห็ น จงแลดู ตรวจดู

เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมาอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรน อยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา [๕๗] คำว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป มีความว่า ฝูงปลาที่ถูกฝูงกา เหยี่ยว หรือนกยาง จิกฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อมดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ในที่มีน้ำน้อย มีน้ำนิดหน่อย มีน้ำ แห้ ง ไป ฉั น ใด หมู่ สั ต ว์ แ ม้ ผู้ มี ค วามหวาดระแวงในการแย่ ง ชิ ง วั ต ถุ ที่ ยึ ด ถื อ ว่ า ของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรนเมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความ หวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้น กำลังแปรปรวนบ้างแปรปรวนไปแล้วบ้างฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนฝูงปลาที่ ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป [๕๘] คำว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า เห็นแล้ว คือ ประสบ เทียบเคียง พิจารณา ตรวจตรา ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษนั้น ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความ ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา … นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ นรชนพึงละความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความ ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ยึดถือว่าของเราซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือ ไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริ ญ สุ ข จี ว ร บิ ณ ฑบาต เสนาสนะ คิ ล านปั จ จั ย เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐสุตมุตวิญญาตัพพธรรม พึงประพฤติไป คือ พึงอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ... พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

399

[๕๙] คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย มีความว่า ในภพทั้งหลาย คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาเรียกว่า เครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความกำหนัด

ความกำหนัดกล้า … อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องใน ภพทั้ ง หลาย คื อ ไม่ ท ำซึ่ ง ตั ณ หาเครื่ อ งเกี่ ย วข้ อ ง ไม่ ท ำซึ่ ง ความพอใจ ความรั ก ความกำหนัด ความชอบใจ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิด เฉพาะในภพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ท่ า นทั้ ง หลายจงเห็ น หมู่ สั ต ว์ ผู้ ดิ้ น รนอยู่ ในเพราะวั ต ถุ ที่ ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็ น โทษแม้ นั้ น แล้ ว ไม่ ท ำซึ่ ง ตั ณ หาเครื่ อ งเกี่ ย วข้ อ งในภพ

ทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ [๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติด ในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ [๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ มีความว่า ที่สุดคือผัสสะเป็น ที่สุดอันที่ ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอันที่ ๒ อดีตเป็นที่สุดอันที่ ๑ อนาคตเป็นที่สุดอันที่ ๒ สุขเวทนาเป็นที่สุดอันที่ ๑ ทุกขเวทนาเป็นที่สุดอันที่ ๒ นามเป็นที่สุดอันที่ ๑ รูปเป็นที่สุด

อันที่ ๒ อายตนะภายใน ๖ เป็นที่สุดอันที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอันที่ ๒ สักกายะเป็นที่สุดอันที่ ๑ สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอันที่ ๒. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจคื อ ความใคร่ ความกำหนั ด คื อ ความใคร่ ความเพลิ น คื อ ความใคร่ ใ นกาม ทัง้ หลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกาง คือกามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ คือ พึงกำจัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุด ทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒


400

หลักธรรม

ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ [๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นผู้ไม่ตามติดใจ มีความว่า ผัสสะ ได้แก่

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้ง แห่ ง อทุ ก ขมสุ ข เวทนา ผั ส สะอั น สั ม ปยุ ต ด้ ว ยกุ ศ ลจิ ต ผั ส สะอั น สั ม ปยุ ต ด้ ว ยอกุ ศ ลจิ ต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุต ด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็น อนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้องพร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง ผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ ญาตปริ ญ ญา เป็ น ไฉน ? ธี ร ชนย่ อ มรู้ ซึ่ ง ผั ส สะ คื อ ย่ อ มรู้ ย่ อ มเห็ น ว่ า

นี้ จั ก ขุ สั ม ผั ส นี้ โ สตสั ม ผั ส นี้ ฆ านสั ม ผั ส นี้ ชิ ว หาสั ม ผั ส นี้ ก ายสั ม ผั ส นี้ ม โนสั ม ผั ส

นี้ อ ธิ ว จนสั ม ผั ส นี้ ป ฏิ ฆ สั ม ผั ส นี้ สั ม ผั ส เป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง สุ ข เวทนา นี้ สั ม ผั ส เป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง ทุ ก ขเวทนา นี้ สั ม ผั ส เป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง อทุ ก ขมสุ ข เวทนา นี้ ผั ส สะอั น สั ม ปยุ ต ด้ ว ยกุ ศ ลจิ ต

นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุต ด้วยกามาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต

นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะเป็นโลกิยะ นี้ ผั ส สะเป็ น โลกุ ต ตระ นี้ ผั ส สะเป็ น อดี ต นี้ ผั ส สะเป็ น อนาคต นี้ ผั ส สะเป็ น ปั จ จุ บั น นี้เรียกว่า ญาตปริญญา ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาซึ่งผัสสะ คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็ น ของไม่ มี ที่ ซ่ อ นเร้ น เป็ น ของไม่ มี ที่ พึ่ ง เป็ น ของว่ า ง เป็ น ของเปล่ า เป็ น ของสู ญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูล แห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

401

เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็น ธรรมดา เป็น ของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็น ของมีมรณะเป็น ธรรมดา เป็น ของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่าตีรณปริญญา ปหานปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้น ไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ผัสสะนั้น จักเป็นของอันเธอทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี ้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า

ไม่ เ ป็ น ผู้ ต ามติ ด ใจ มี ค วามว่ า ตั ณ หา เรี ย กว่ า ความติ ด ใจ ได้ แ ก่ ความกำหนั ด ความกำหนัดกล้า ... อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นผู้ไม่ติดใจ บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลายปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ [๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น มีความว่า กรรมใด คือ ธีรชน ย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะ กระทำ และเพราะไม่กระทำ


402

หลักธรรม

ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างไร ? ธีรชนย่อมติเตียน ตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน ไม่ ท ำความงดเว้ น จากอทิ น นาทาน เราทำกาเมสุ มิ จ ฉาจาร ไม่ ท ำความงดเว้ น จาก กาเมสุ มิ จ ฉาจาร เราทำมุ ส าวาท ไม่ ท ำความงดเว้ น จากมุ ส าวาท เราทำปิ สุ ณ วาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา เราทำผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำ สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา เราทำ พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะ กระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราไม่ทำความ บริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่หมั่นประกอบ ความเพี ย รเป็ น เครื่ อ งตื่ น อยู่ ไม่ ป ระกอบด้ ว ยสติ สั ม ปชั ญ ญะ ไม่ เ จริ ญ สติ ปั ฏ ฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโภชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญ มรรค ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะการทำ และเพราะไม่กระทำอย่างนี้ ไม่ทำกรรมที่ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น [๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ มีความว่า ความติด ได้แก่ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ … นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา … นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญา เป็นเครื่องทรง ผู้ดำเนินด้วยปัญญา ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธีรชนย่อมไม่ติดใน ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

403

ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดใน ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ [๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า [๖๖] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่า สัญญา ได้แก่ กามสั ญ ญา พยาปาทสั ญ ญา วิ หิ ง สาสั ญ ญา เนกขั ม มสั ญ ญา อั พ ยาปาทสั ญ ญา อวิ หิ ง สาสั ญ ญา รู ป สั ญ ญา สั ท ทสั ญ ญา คั น ธสั ญ ญา รสสั ญ ญา โผฏฐั พ พสั ญ ญา ธัมมสัญญา สัญญาใดเห็นปานนี้ คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่า สัญญา. คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ คือ

ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา ญาตปริ ญ ญา เป็ น ไฉน ? มุ นี ย่ อ มรู้ ด้ ว ยปั ญ ญา คื อ ย่ อ มรู้ ย่ อ มเห็ น ว่ า

นี้กามสัญญา นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่าญาตปริญญา ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ... เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของไม่ ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่าตีรณปริญญา ปหานปริญญา เป็นไฉน ? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในสัญญาใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย สัญญา


404

หลักธรรม

นั้นจักเป็นของอันเธอทั้งหลายละแล้ว มีมู ลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาล

ยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการ อย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า

พึงข้ามโอฆะได้ คือ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากำหนดรู้สัญญาแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ [๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ... นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา … นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า มุนี มีความ ว่า ญาณ เรียกว่าโมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว … ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็ น ชอบ บุ ค คลประกอบด้ ว ยญาณนั้ น ชื่ อ ว่ า มุ นี คื อ ผู้ ถึ ง ญาณที่ ชื่ อ ว่ า โมนะ โมเนยยะคือธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี ๓ อย่าง คือโมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรม ทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑ โมเนยยธรรมทางกาย เป็นไฉน ? การละกายทุจริต ๓ อย่างชื่อว่าโมเนยยธรรม ทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วย ปริญญา การละฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นไฉน ? การละวจีทุจริต ๔ อย่างชื่อว่าโมเนยยธรรม ทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ วาจาปริญญา มรรคอันสหรคตด้วย ปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา โมเนยยธรรมทางใจ เป็นไฉน ? การละมโนทุจริต ๓ อย่างชื่อว่าโมเนยยธรรม ทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วย ปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

405

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทาง วาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้ เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่า เป็นมุนี ผูถ้ งึ พร้อมด้วยธรรมทีท่ ำให้เป็นมุนี เป็นผูม้ บี าปอันล้างเสียแล้ว ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนีมี ๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี อาคารมุนี เป็นไฉน ? ชนเหล่าใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุ นี เป็ น ไฉน ? ชนเหล่ า ใดออกบวช มี บ ทคื อ นิ พ พานอั น เห็ น แล้ ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าอนาคารมุนี พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่าไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่า เป็นมุนี โดยเหตุนนั้ และบุคคลใดย่อมรูอ้ รรถทัง้ ๒ ในโลก บุคคลนัน้ เรียกว่าเป็นมุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรม ของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็น เครื่ อ งข้ อ งและตั ณ หาเพี ย งดั ง ว่ า ข่ า ยดำรงอยู่ เป็ น ผู้ อั น เทวดาและ มนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี


406

หลักธรรม

คำว่า ความติ ด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ... นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไป ติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง แล้วในความยึดถือทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่ามุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย [๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ มีความว่า

ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศร คือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโสกะ ลูกศรคือความสงสัย ลูกศรเหล่านี้อันผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือ ญาณ ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติ ไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ประมาท คือความ พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็น ผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุดความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่ บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบาย อย่างไร ดังนี้ ความไม่ประมาทคือ ความพอใจ … ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังสมาธิ ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วย ปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ความไม่ประมาท คือความพอใจ … ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่ นั้น ๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไรดังนี้ ความไม่ประมาท คือความพอใจ … ในกุศล ธรรมนั้นว่า เราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่


คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒

407

บริบรู ณ์ในทีน่ นั้ ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ความไม่ประมาท คือความพอใจ … ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึง อนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ความไม่ ป ระมาท คื อ ความพอใจ ความพยายาม ความอุ ต สาหะ ความเป็ น ผู้ ข ยั น

ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลส เร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่แจ้ง โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่ [๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพของตน ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพในปรโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คืออายตนะ ภายนอก ๖ ไม่หวังโลกนี้ คือมนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือเทวโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ

กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้าคืออรูปธาตุ ไม่หวังไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่พอใจ ซึ่งคติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป เพราะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้ จบ คุหัฏฐกสุตตนิทเทส


408

หลักธรรม

๓๘. ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ ชีวิตเป็นของน้อย ขุททกนิกาย มหานิทเทส

[๑๘๑]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี แม้หากว่า มนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่ เกินไป มนุษย์นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อย [๑๘๒] คำว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มีความว่า คำว่า ชีวิต ได้แก่ อายุ ความตั้งอยู่

ความดำเนิ น ไป ความให้ อั ต ภาพดำเนิ น ไป ความเป็ น ไป ความหมุ น ไป ความเลี้ ย ง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตน้อย คือชีวิตนิดเดียว โดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย  ๑  ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย  ๑ ชี วิ ต น้ อ ยเพราะตั้ ง อยู่ น้ อ ย อย่างไร ? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต

ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่ ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นอนาคตย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็น อยู่แล้ว ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่ สมจริงดัง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกัน เสมอด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้ง อยู่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัป แม้เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้ประกอบ ด้วยจิตสองดวงเป็นอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตาย หรือของสัตว์ที่ ดำรงอยู่ในโลกนี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกัน ดั บ ไปแล้ ว มิ ไ ด้ สื บ เนื่ อ งกั น ขั น ธ์ เ หล่ า ใดแตกไปแล้ ว ในอดี ต เป็ น ลำดั บ และขั น ธ์ เ หล่ า ใดแตกไปแล้ ว ในอนาคตเป็ น ลำดั บ ความ แปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปในปัจจุบันกับขันธ์เหล่านั้น มิได้มี ในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์


ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

409

สัตว์โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขั น ธ์ ทั้ ง หลายแปรไปโดยฉั น ทะ ย่ อ มเป็ น ไปดุ จ น้ ำ ไหลไปตามที่ ลุ่ ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสายเพราะอายตนะ ๖ เป็น ปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ กองขันธ์มิได้มีใน อนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้นแล ย่อมตั้งอยู่เหมือนเมล็ดพันธุ์ ผักกาดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความ ทำลายเป็นธรรมดา มิได้เจือปนกับขันธ์ที่เกิดก่อนตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลาย มาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วไปสู่ที่ไปไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อม ไปเหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่  อย่างนี้ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างไร ? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้า เนื่องด้วยลม หายใจออก เนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เนื่องด้วยมหาภูตรูป เนื่องด้วย ไออุ่น เนื่องด้วยกวฬิงการาหาร เนื่องด้วยวิญญาณ กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจเข้า และลมหายใจออกเหล่านั้นก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ อันเป็นเหตุเดิม แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกันก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกันก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่ง ลมหายใจเข้ า และลมหายใจออกเหล่ า นี้ ก็ ดี ตั ณ หาอั น ประกอบกั น ก็ ดี ก็ มี ก ำลั ง ทราม ธรรมเหล่านั้นมีกำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและ กันให้ตกไป เพราะความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกัน ไว้ได้ ธรรมใดให้ธรรมเหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่งมิได้เสื่อมไป เพราะธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดยอาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุ ปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด แม้เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ดับ แล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหน ๆ ฉะนั้น  ชีวิตจึงชื่อว่า  เป็นของน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างนี้ อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของพวกมนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์. เพราะเทียบชีวิตของพวก


410

หลักธรรม

เทวดาชั้นยามา ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นดุสิต ... เพราะเทียบชีวิตของพวก เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะ เทียบชีวิตของพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตของมนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาลเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์

ทั้งหลายจำต้องประสบความตายตามที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดอยู่นานผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ร้อยปี หรือที่เกินกว่าร้อยปีก็มีน้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้วจึงตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดีพึงดูหมิ่นอายุที่ น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะฉะนั้น เพราะ ความตายจะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย น้อยสิ้นไปฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าชีวิตนี้น้อยหนอ [๑๘๓] คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี มีความว่า มนุษย์ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไป ในกาลที่เป็นกลละบ้าง ในกาลที่เป็นน้ำล้างเนื้อบ้าง ในกาลที่เป็น

ชิ้นเนื้อบ้าง ในกาลที่เป็นก้อนเนื้อบ้าง ในกาลที่เป็นปัญจสาขา ได้แก่มือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ บ้าง แม้พอเกิดก็ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปก็มี ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปในเรือนที่คลอดก็มี ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปเมื่อชีวิตครึ่งเดือนก็มี เดือน ๑ ก็มี ๒ เดือนก็มี ๓ เดือนก็มี ๔ เดือนก็มี ๕ เดือนก็มี ๖ เดือนก็มี ๗ เดือน ก็มี ๘ เดือนก็มี ๙ เดือนก็มี ๑๐ เดือนก็มี ๑ ปีก็มี ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๖ ปีก็มี ๗ ปีก็มี ๘ ปีก็มี ๙ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๖๐ ปีก็มี ๗๐ ปีก็มี ๘๐ ปีก็มี ๙๐ ปีก็มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามนุษย์ย่อม ตายภายในร้อยปี


ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

411

[๑๘๔] คำว่า แม้หากว่า มนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป มีความว่า มนุษย์ใดเป็น อยู่เกินร้อยปีไป มนุษย์นั้นเป็นอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้หากมนุษย์ใดย่อม เป็นอยู่เกินไป [๑๘๕] คำว่า มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล มีความว่า เมื่อใด มนุษย์เป็นคนแก่ เจริญวัย เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด ล่วงกาลผ่านวัย มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน หนังย่น ตัวตกกระ คด ค่อม ถือไม้เท้าไปข้างหน้า เมื่อนั้น มนุษย์ นั้นย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปเพราะชรา การพ้นจากความตายไม่มี สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้ที่สุก แล้วมีภัยโดยการหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้ว ทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุดแม้ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็น ฉันนั้น มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาด ทั้งหมดย่อมไปสู่อำนาจ มัจจุ มีมจั จุสกัดอยูข่ า้ งหน้า เมือ่ มนุษย์เหล่านัน้ ถูกมัจจุสกัดข้างหน้าแล้ว ถูกมัจจุครอบงำ บิดาก็ต้านทานบุตรไว้ไม่ได้ หรือพวกญาติก็ต้านทาน ญาติไว้ไม่ได้ เมื่อพวกญาติกำลังแลดูกันอยู่นั่นแหละ กำลังรำพันกัน อยู่เป็นอันมากว่าท่านจงดู ตนคนเดียวเท่านั้นแห่งสัตว์ทั้งหลายอัน มรณะนำไปได้ เหมือนโคถูกนำไปฆ่า ฉะนั้น สัตวโลกอันมัจจุและ ชราครอบงำไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชีวิตนี้มีน้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่ เกินไป มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล [๑๘๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของเรา ความ ยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย การยึดถือนี้มีความพลัดพราก เป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน จบ ชราสุตตนิทเทสที่ ๖


412

หลักธรรม

๓๙. กามสุตตนิทเทสที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องกาม ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง [๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน [๒] คำว่า กาม ในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วั ต ถุ ก าม เป็ น ไฉน ? รู ป เสี ย ง กลิ่ น รส โผฏฐั พ พะ อั น เป็ น ที่ ช อบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาสา แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้นชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็น อนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิ ด เลว ชนิ ด ปานกลาง ชนิ ด ประณี ต เป็ น ของสั ต ว์ ผู้ เ กิ ด ในอบาย เป็ น ของมนุ ษ ย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่เนรมิตเอง ที่ผู้อื่นเนรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้ หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่ เป็ น รู ป าวจรแม้ ทั้ ง หมด ธรรมที่ เ ป็ น อรู ป าวจรแม้ ทั้ ง หมด ธรรมที่ เ ป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง ตั ณ หา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าอันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม กิเลสกาม เป็นไฉน ? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนั ด มาก ความดำริ แ ละความกำหนั ด ความพอใจคื อ ความใคร่


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

413

ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนา ในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่ากาม สมจริงดังคำว่า ดูก่อนกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิด เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้ กามเหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มีความว่า เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมื่อปรารถนา กามอยู่ [๓] คำว่า ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่าวัตถุกาม คำว่า

ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดยชอบ ได้ ได้เฉพาะ ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น [๔] คำว่า ย่อมเห็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย ส่ ว นเดี ย ว เป็ น คำกล่ า วโดยไม่ มี ค วามสงสั ย เป็ น คำกล่ า วโดยไม่ มี ค วามเคลื อ บแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองแง่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองง่าม เป็นคำกล่าวที่ไม่มีคำประกอบ เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า แน่นอน นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่ คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยิ น ดี ความชื่ น ใจ ความชอบใจ ความเต็ ม ใจ ที่ ป ระกอบพร้ อ มเฉพาะด้ ว ย กามคุณ ๕ คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่าใจ ใจนี้ สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันกับด้วยความอิ่มนี้


414

หลักธรรม

คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจ คือ เป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี

มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน [๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า คำว่า ได้ คือได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ คำว่า ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น

รส หรือโผฏฐัพพะ ตามปรารถนายินดี ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน [๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์นั้นมีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ ถูกลูกศรแทงแล้ว [๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า คำว่า เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ คำว่า ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ย่อมไปออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่ น ไป ด้ ว ยยานช้ า งบ้ า ง ยานม้ า บ้ า ง ยานโคบ้ า ง ยานแกะบ้ า ง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ [๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ ได้แก่ความพอใจ ในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือ กาม ความยึ ด ถื อ ในกาม เครื่ อ งกั้ น คื อ กามฉั น ทะ ความพอใจในกามนั้ น เกิ ด แล้ ว

เกิ ด พร้ อ ม เกิ ด ขึ้ น เกิ ด เฉพาะ ปรากฏแล้ ว แก่ สั ต ว์ นั้ น คำว่ า สั ต ว์ คื อ สั ต ว์


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

415

นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว [๙] คำว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไปบ้าง สัตว์นั้น เสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง กามเหล่านั้นเสื่อมไป อย่างไร ? เมื่อสัตว์นั้นดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะเหล่านั้น

ถูกพระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่ เป็นที่ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภคทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสีย ไปบ้าง คนผลาญสกุลผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นเกิดในสกุลบ้าง ความ เป็นของไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปอย่างนี้ สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลาย อย่างไร ? โภคะเหล่านั้นยังตั้งอยู่นั่นแหละ สัตว์นั้นเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โภคทรัพย์ทงั้ หลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีระ กับทั้งข้าวของ เพราะความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ ทานบ้าง ครั้นให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถาน คือสวรรค์ เพราะฉะนัน้ จึงว่ากามเหล่านัน้ ย่อมเสือ่ มไป [๑๐] คำว่า สัตว์นนั้ ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ทถี่ กู ลูกศรแทงแล้ว มีความว่า สั ต ว์ ผู้ ถู ก ลู ก ศรที่ ท ำด้ ว ยเหล็ ก แทงแล้ ว บ้ า ง ผู้ ถู ก ลู ก ศรที่ ท ำด้ ว ยกระดู ก แทงแล้ ว บ้ า ง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำ ด้วยไม้แทงแล้วบ้าง ย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ ฉันใด ความโศก คร่ำครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะวัตถุ


416

หลักธรรม

กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทงแล้ว ย่อมกระสับ กระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึ ง ชื่ อ ว่ า สั ต ว์ นั้ น ย่ อ มกระสั บ กระส่ า ยเหมื อ นสั ต ว์ ที่ ถู ก ลู ก ศรแทงแล้ ว เพราะเหตุ นั้ น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมือ่ สัตว์นนั้ ปรารถนากามอยู่ เมือ่ สัตว์มฉี นั ทะเกิดแล้ว ถ้ากาม เหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศร แทงแล้ว [๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ ใ ดย่ อ มเว้ น ขาดกามทั้ ง หลาย เหมื อ นบุ ค คลเว้ น ขาดหั ว งู ด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ใน โลกเสียได้

ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ [๑๒] คำว่า ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผูป้ ระกอบอย่างใด ผูต้ งั้ ไว้อย่างใด ผูม้ ปี ระการอย่างใด ผูถ้ งึ ฐานะใด ผูป้ ระกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์ คำว่า กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วัตถุกาม เป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ … กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม … กามเหล่านั้นเรียกว่ากิเลสกาม คำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ ย่อมเว้นขาดกามโดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ อย่างไร ? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลาย เปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดย การข่มไว้


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

417

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณ์แก่

ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้ เ ห็ น อยู่ ว่ า กามทั้ ง หลายเปรี ย บด้ ว ยคบเพลิ ง หญ้ า เพราะอรรถว่ า เป็ น ของ ตามเผา ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าเป็นของให้ เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่าเป็นของปรากฏ ชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่าเป็นของเป็นไป ชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่าเป็นของทำให้ กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่าเป็นของพื้น ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วย หอก หลาว เพราะอรรถว่าเป็นของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่าเป็นดังไฟกองใหญ่

ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญพุทธานุสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญธรรมานุสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสติ …


418

หลักธรรม

แม้ผู้เจริญสีลานุสติ … แม้ผู้เจริญจาคานุสติ … แม้ผู้เจริญเทวตานุสติ … แม้ผู้เจริญอานาปานุสติ … แม้ผู้เจริญมรณานุสติ … แม้ผู้เจริญกายคตาสติ … แม้ผู้เจริญอุปสมานุสติ … แม้ผู้เจริญปฐมฌาน … แม้ผู้เจริญทุติยฌาน … แม้ผู้เจริญตติยฌาน … แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน … แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ … แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ … แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ … แม้ ผู้ เ จริ ญ เนวสั ญ ญานาสั ญ ญายตนสมาบั ติ ย่ อ มเว้ น ขาดกามโดยการข่ ม ไว้

ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้ ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างไร ? แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อม เว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกาม อันเป็นส่วนละเอียดโดยการตัดขาด แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดย อาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิให้มีส่วนเหลือโดยการตัดขาด ย่อมเว้นขาด กามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

419

[๑๓] คำว่า เหมื อ นบุ ค คลเว้ น ขาดหั ว งู ด้ ว ยเท้ า มีความว่า งูเรียกว่าสัปปะ เพราะอรรถว่ า อะไร งู จึ ง เรี ย กว่ า สั ป ปะ ? เพราะอรรถว่ า เสื อ กไป งู จึ ง เรี ย กว่ า สั ป ปะ เพราะอรรถว่า ขนดไป งูจึงเรียกว่าภุชคะ เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่าอุรคะ เพราะอรรถว่า มีหัวตกไป งูจึงเรียกว่าปันนคะ เพราะอรรถว่านอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่า สิริสปะ เพราะอรรถว่านอนในรู งูจึงเรียกว่าวิลาสยะ เพราะอรรถว่านอนในถ้ำ งูจึงเรียกว่า คุหาสยะ เพราะอรรถว่ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ งูจึงเรียกว่าทาฒาวุธ เพราะอรรถว่ามีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่าโฆรวิสะ เพราะอรรถว่ามีลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทุชิวหา เพราะอรรถว่าลิ้มรส ด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่าทิรสัญญู บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้นหลีก หลบ อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีกาม ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า [๑๔] คำว่า ผูน้ นั้ เป็นผูม้ สี ติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชือ่ ว่าวิสตั ติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกามทั้งหลาย ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิ ด เพลิ น ความกำหนั ด ด้ ว ยสามารถแห่ ง ความเพลิ ด เพลิ น ความกำหนัดกล้าแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดี ทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้สัตว์เกิด ความให้สัตว์ เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความเป็นดังว่าข่าย ความเป็นดังว่ากระแสน้ำ ความซ่านไปใน อารมณ์ต่าง ๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็น เพื่อน ความตั้งมั่น เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งอยู่ในอารมณ์ ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง ความประสงค์ ความหวัง

ในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความให้ สั ต ว์ ป รารถนา ความที่ จิ ต ปรารถนา ความเหนี่ ย วรั้ ง ความให้ สั ต ว์ เ หนี่ ย วรั้ ง

ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว ความพรั่งพร้อมด้วย ความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความกำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ


420

หลักธรรม

ความใคร่ อาการแห่งความใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่าง ๆ รากเง่าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำตัณหา ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าวิสัตติกา คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา (ซ่านไปใน อารมณ์ต่าง ๆ) เพราะอรรถว่าซ่านไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่าแผ่ไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่าแล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่า ครอบงำ ตั ณ หาจึ ง ชื่ อ ว่ า วิ สั ต ติ ก า เพราะอรรถว่ า สะท้ อ นไป ตั ณ หาจึ ง ชื่ อ ว่ า วิ สั ต ติ ก า เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่ามีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่ามีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องบริโภคสิ่งเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่าวิสัตติกา อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ ที่อยู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รู ป ภพ อรู ป ภพ สั ญ ญาภพ อสั ญ ญาภพ เนวสั ญ ญานาสั ญ ญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบนั แล่นไปซ่านไป ในรูปทีเ่ ห็นแล้ว ในเสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง ตัณหาจึงชื่อ ว่าวิสัตติกา คำว่ า ในโลก คื อ อบายโลก มนุ ษ ยโลก เทวโลก ขั น ธโลก ธาตุ โ ลก อายตนโลก คำว่า เป็นผู้มีสติ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือเมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็น ผู้มีสติ เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

421

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเว้นจากความ เป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ ชื่อว่าเป็น ผู้มีสติเพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลายที่เป็นข้าศึกต่อสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้ไม่ หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นนิมิตแห่งสติ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้ประกอบ ด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้คล่องแคล่ว ด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้ระลึกได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้สงบ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้ระงับ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะพุทธานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะธรรมานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะสังฆานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะสีลานุสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติเพราะจาคานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเทวตานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ อานาปานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะมรณานุสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะกายคตาสติชื่อว่า เป็นผู้มีสติเพราะอุปสมานุสติ ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก คือสติ ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมเหล่านี้เรียกว่าสติ บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่ามีสติ คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

มีความว่าเป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา นี้ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ใน โลกเสียได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ ใ ดย่ อ มเว้ น ขาดกามทั้ ง หลาย เหมื อ นบุ ค คลเว้ น ขาดหั ว งู ด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ใน โลกเสียได้ [๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


422

หลักธรรม

นรชนใดย่อมปรารถนา ไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก [๑๖] คำว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน มีความว่า คำว่า ไร่ คือ ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่ว ราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวและไร่งา นา คือ นาข้าวสาลี นาข้าวเจ้า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่ เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน

ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก [๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า โคทั้งหลาย เรียกว่า โค ปศุสัตว์เป็นต้น เรียกว่า ม้า คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาสที่ซื้อมาด้วย ทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึงความเป็นทาส ๑ สมจริง

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวกเป็นทาสที่ เขาซื้อมาด้วยทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้าเป็นทาสเองบ้าง คน บางพวกเป็นทาสเพราะตกเป็นเชลยบ้าง คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑ กรรมกร ๑ พวกอยู่ อาศัย ๑ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน [๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

423

คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็นญาติ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียนศิลปะ ชื่อว่าพวกพ้อง ๑ คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก กามมากเหล่านี้ ได้แก่ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก [๑๙] คำว่า นรชนใดย่อมปรารถนา มีความว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมอย่างใด คือ เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์ คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิตผู้เกิด สัตว์เกิด

ผู้มีกรรม มนุษย์ คำว่า ย่อมปรารถนา คือย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกามทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่านรชนใดย่อม ปรารถนา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นรชนใดย่อมปรารถนาไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก [๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหล่ากิเลสอันไม่มกี ำลัง ย่อมครอบงำนรชนนัน้ เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น [๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น มีความว่า คำว่า


424

หลักธรรม

ไม่มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือทุรพลมีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดังลูกนก เล็กน้อย กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลังย่อม ครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามกเป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง [๒๒] คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏอย่าง ๑ อันตรายที่ปกปิดอย่าง ๑ อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะ ทำกรรมชั่ว และโรคทางจักษุ โรคทางโสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การ บริ ห ารไม่ ส ม่ ำ เสมอ อาพาธรู้ สึ ก เจ็ บ ปวด อาพาธเกิ ด แต่ วิ บ ากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่าอันตรายที่ปรากฏ


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

425

อันตรายทีป่ กปิด เป็นไฉน ? คือ กายทุจริต วจีทจุ ริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผู ก โกรธไว้ ลบหลู่ คุ ณ ท่ า น ตี เ สมอ ริ ษ ยา ตระหนี่ มายา โอ้ อ วด หั ว ดื้ อ แข่ ง ดี ถื อ ตั ว ดู ห มิ่ น ท่ า น มั ว เมา ประมาท กิ เ ลสทั้ ง ปวง ทุ จ ริ ต ทั้ ง ปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลธรรม ทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย ? เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึ ง ชื่ อ ว่ า อั น ตราย เพราะอรรถว่ า เป็ น ไปเพื่ อ ความเสื่ อ ม จึ ง ชื่ อ ว่ า อั น ตราย เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย อย่างไร อันตรายเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพือ่ ความเสือ่ ม จึงชือ่ ว่าอันตราย อย่างไร ? อันตรายเหล่านัน้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน ? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือความปฏิบัติชอบ ความปฏิ บั ติ ส มควร ความปฏิ บั ติ ไ ม่ เ ป็ น ข้ า ศึ ก ความปฏิ บั ติ เ ป็ น ไปตามประโยชน์ ความปฏิ บั ติ ธ รรมสมควรแก่ ธ รรม ความทำให้ บ ริ บู ร ณ์ ใ นศี ล ความเป็ น ผู้ มี ท วารอั น คุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนือง ๆ ในความ เป็ น ผู้ ตื่ น มี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะ ความประกอบเนื อ ง ๆ ในอั น เจริ ญ สติ ปั ฏ ฐาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญ อิทธิบาท ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนือง ๆ ในอัน เจริญพละ ๕ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไป แห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้


426

หลักธรรม

เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย อย่างไร ? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรี ย บเหมื อ นเหล่ า สั ต ว์ ที่ อ าศั ย รู ย่ อ มอยู่ ใ นรู ที่ อ าศั ย น้ ำ ย่ อ มอยู่ ใ นน้ ำ ที่ อ าศั ย ป่ า ย่ อ มอยู่ ใ นป่ า ที่ อ าศั ย ต้ น ไม้ ย่ อ มอยู่ ที่ ต้ น ไม้ ฉั น ใด อกุ ศ ลธรรมอั น ลามกเหล่ า นั้ น

ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่ อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับ กิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลส อันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่านย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่

สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่าผู้อยู่ ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่าผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่าน ไปในอารมณ์ อั น เกื้ อ กู ล แก่ สั ง โยชน์ ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น แก่ ภิ ก ษุ เ พราะได้ ยิ น เสี ย งด้ ว ยโสต … เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ … เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา … เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย … เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่ง ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่าผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่าผู้ อยู่ ร่ ว มกั บ กิ เ ลสที่ ฟุ้ ง ซ่ า น ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ภิ ก ษุ ผู้ อ ยู่ ร่ ว มกั บ กิ เ ลสอั น อยู่ อ าศั ย ใน ภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายแม้ด้วยประการฉะนี้


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

427

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ เหล่านี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาต ในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรใน ภายใน เป็ น ข้ า ศึ ก ในภายใน เป็ น เพชฌฆาตในภายใน เป็ น ศั ต รู ใ นภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โมหะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภ แล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโลภ ครอบงำนรชน เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ โทสะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธ แล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธ ครอบงำนรชน เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลง แล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความหลง ครอบงำนรชน เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายแม้ด้วยประการ ฉะนี้


428

หลักธรรม

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิด ขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เมือ่ เกิดขึน้ ในภายในแห่งบุรษุ ย่อมเกิดขึน้ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายใน แห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โมหะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความ อยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิต ลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายแม้ด้วยประการ ฉะนี้ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่ อัตภาพนี้ ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายแม้ด้วยประการ ฉะนี้ คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตรายเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเหล่าอันตรายย่อม ย่ำยีนรชนนั้น


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

429

[๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป มีความว่า เพราะอั น ตรายนั้ น ๆ ทุ ก ข์ ย่ อ มติ ด ตาม ตามไป ไปตามบุ ค คลนั้ น คื อ ชาติ ทุ ก ข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์ … พยาธิทุกข์ … มรณทุกข์ … ทุกข์คือความโศก คร่ำครวญ ลำบากกาย ทุกข์ใจ ความแค้นใจ … ทุกข์คือความเกิดในนรก … ทุกข์คือ ความเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน … ทุกข์คือความเกิดในเปรตวิสัย … ทุกข์คือความเกิดใน มนุษย์ … ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล … ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล … ทุกข์ มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล … ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ที่เกิดเเล้ว … ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่น แห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว … ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน … ทุกข์อันเกิดแต่ความ ขวนขวายของผู้อื่น … ทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา … ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร … ทุกข์อัน เกิดแต่ความแปรปรวน … โรคทางจักษุ โรคทางโสต โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธ เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากแห่งกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะความ ตายแห่งพี่ชายน้องชาย ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ทุกข์เพราะความตาย แห่งบุตร ทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะ ความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความ


430

หลักธรรม

ฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป [๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น มีความว่า น้ำไหลซึมเข้าสู่ เรือที่รั่วแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป ไหลเข้าไปแต่ที่นั้น ๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป เซาะเข้าไป ไหลเข้าไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้าง ๆ บ้าง ฉันใด เพราะอันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์ย่อม ติ ด ตาม ตามไป ไปตาม … ทุ ก ข์ อั น เกิ ด แต่ ทิ ฏ ฐิ พ ยสนะ ย่ อ มติ ด ตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่ากิเลสอันไม่มกี ำลัง ย่อมครอบงำนรชนนัน้ เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้ว ฉะนั้น

ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ [๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้น ขาดกามทั้ ง หลาย ครั้ น เว้ น ขาดตามเหล่ า นั้ น แล้ ว พึ ง ข้ า มโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น [๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ มีความว่า คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ ปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่ สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคลผู้มีชีวิต ผู้เกิด

สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

431

คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ได้แก่ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็นนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียวกัน ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสื บ เนื่ อ ง ตลอดกาลไม่ ข าดสาย ตลอดกาลกระชั้ น ชิ ด ในกาลก่ อ นภั ต ในกาลหลังภัต ในปฐมยาม ในมัชฌิมยาม ในปัจฉิมยาม ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อนในตอนปฐมวัย ในตอนมัชฌิมวัย ในตอนปัจฉิมวัย คำว่า มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เจริญสติปัฏฐานมีการตาม เห็ น กายในกายอยู่ ก็ ชื่ อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ส ติ เจริ ญ สติ ปั ฏ ฐานมี ก ารตามเห็ น เวทนาในเวทนา ทัง้ หลายอยู ่ ก็ชอื่ ว่าเป็นผูม้ สี ติ เจริญสติปฏั ฐานมีการตามเห็นจิตในจิตอยู่ ก็ชอื่ ว่าเป็นผูม้ สี ติ เจริญสติปัฏฐานมีการตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดย เหตุอย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ … บุคคลเป็นผู้ เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้

บุคคลนั้นเรียกว่ามีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ [๒๗] คำว่ า พึ ง เว้ น ขาดกามทั้ ง หลาย มี ค วามว่ า กามทั้ ง หลาย ได้ แ ก่

กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ วัตถุกาม เป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ … กามเหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม … กามเหล่านี้

เรียกว่ากิเลสกาม คำว่า พึงเว้นขาดกามทัง้ หลาย ได้แก่ พึงเว้นขาดกามทัง้ หลายโดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ อย่างไร ? สัตว์ผเู้ กิดมา เมือ่ เห็นอยูว่ า่ กามทัง้ หลาย เปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่าเป็นของมีความยินดีนอ้ ย พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณ์แก่ ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ เมือ่ เห็นอยูว่ า่ กามทัง้ หลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่าเป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ … เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกาม


432

หลักธรรม

โดยการข่มไว้ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้ … พึงเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพึงเว้นขาดกามทั้งหลาย [๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ มีความว่า คำว่า

เหล่านั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น

ให้ ถึ ง ความไม่ มี ใ นภายหลั ง ซึ่ ง กิ เ ลสกาม คื อ ละ ละทั่ ว บรรเทา ทำให้ สู ญ สิ้ น

ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์ … พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้าม โอฆะได้ [๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น มีความว่า บุคคล วิด สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรือ อันทำให้หนัก บรรทุกหนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วยเรือ

ที่เบา โดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดยเร็วไว โดยไม่ ลำบาก ฉันนั้น อมตนิพพานเรียกว่าฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลสเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง คำว่า ถึงฝั่ง ได้แก่ ผู้ใดใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดต่อไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง สมจริงดังพระดำรัสที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้วถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บนบก ชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์เป็นชื่อพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้นถึงฝั่ง ด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วย


กามสุตตนิทเทสที่ ๑

433

การทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยสมาบัติ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวงด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวง ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งแห่งกิเลสทั้งปวงด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ ถึงฝั่งแห่งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวงด้วยการบรรลุ พระอรหันต์นั้น ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ พระอรหั น ต์ นั้ น ไปสู่ ฝั่ ง แล้ ว ถึ ง ฝั่ ง แล้ ว ไปสู่ ส่ ว นสุ ด แล้ ว ถึ ง ส่ ว นสุ ด แล้ ว

ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกันแล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่ พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่ตายแล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะ มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอัน ถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิอันอุดมแล้ว มีมรรคอัน เจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอันละแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้อันกำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควรละ อันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้แจ้งอันทำให้แจ้งแล้ว พระอรหั น ต์ นั้ น มี อ วิ ช ชาเป็ น ลิ่ ม สลั ก อั น ถอนเลี ย แล้ ว มี ก รรมเป็ น คู อั น กำจั ด เสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู เป็นผู้ไกล จากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลส มิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเครื่องรักษา อย่างเอก มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๘ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันละเสียแล้ว มีการ แสวงหาอั น ชอบไม่ ห ย่ อ นประเสริ ฐ มี ค วามดำริ มิ ไ ด้ ขุ่ น มั ว มี ก ายสั ง ขารอั น ระงั บ แล้ ว มีจิตหลุดพ้นแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยดี เป็นผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุปรมัตถะ


434

หลักธรรม

พระอรหั น ต์ นั้ น มิ ไ ด้ ก่ อ มิ ไ ด้ ก ำจั ด กำจั ด ตั้ ง อยู่ แ ล้ ว มิ ไ ด้ ล ะ มิ ไ ด้ ถื อ มั่ น ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ตก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วจึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติ ญาณทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจจะแล้วตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้ว ตั้งอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ ด้วยเป็นผู้ซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิ มานะอันบริสุทธิ์ ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้นตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด ตั้งอยู่ในสรีระอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นที่หลัง มิได้ มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้น ขาดกามทั้ ง หลาย ครั้ น เว้ น ขาดตามเหล่ า นั้ น แล้ ว พึ ง ข้ า มโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น ดังนี้ จบ กามสุตตนิทเทสที่ ๑


อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

435

๔๐. อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ ว่าด้วยทุกข์หลากหลาย ขุททกนิกาย มหานิทเทส

[๗๙๕] คำว่า ปชา ในคำว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เป็นชื่อของสัตว์

ซึ่งหมู่สัตว์ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต ด้วยความดิ้นรนเพราะประโยค ด้วยความดิ้นรนในเพราะ ผลกรรม ด้ ว ยราคะของผู้ ก ำหนั ด ด้ ว ยโทสะของผู้ ขั ด เคื อ ง ด้ ว ยโมหะของผู้ ห ลง ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิเป็นเครื่องถือมั่น ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้ ว ยความสงสั ย ที่ ไ ม่ แ น่ ใ จ ด้ ว ยอนุ สั ย ที่ ถึ ง กำลั ง ด้ ว ยลาภ ความเสื่ อ มลาภ ยศ ความเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ทุกข์อันมีในนรก ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์อันมีในเปรตวิสัย ทุกข์ อันมีในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิดในครรภ์ เป็นมูล ทุกข์มีความอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มี ความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์อันติดตามสัตว์ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นของสัตว์ ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ทุ ก ข์ อั น เนื่ อ งแต่ ทุ ก ขเวทนา ทุ ก ข์ อั น เกิ ด แต่ สั ง ขาร ทุ ก ข์ อั น เกิ ด แต่ ค วามแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิ ต เปื่ อ ย โรคหิ ต ด้ า น โรคหู ด โรคละลอก โรคคุ ด ทะราด โรคอาเจี ย นโลหิ ต

โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง


436

หลักธรรม

อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดเพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดเพราะทำความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ด้วยความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแก่สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุ ก ข์ เ พราะพี่ ช ายน้ อ งชายตาย ทุ ก ข์ เ พราะพี่ ห ญิ ง น้ อ งหญิ ง ตาย ทุ ก ข์ เ พราะบุ ต รตาย ทุ ก ข์ เ พราะธิ ด าตาย ทุ ก ข์ เ พราะญาติ ต าย ทุ ก ข์ เ พราะความฉิ บ หายแห่ ง โภคทรั พ ย์

ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความ ฉิบหายแห่งทิฏฐิ. คำว่า เพราะเห็น คือเพราะประสบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เเจ่มแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ [๗๙๖] คำว่า เหมื อ นปลาทั้ ง หลายดิ้ น รนอยู่ ใ นที่ มี น้ ำ น้ อ ย ความว่า ปลา ทั้งหลายอันกา นกตะกรุม นกยาง จิกเฉี่ยวฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่ในที่มีน้ำน้อย คือในที่มีน้ำเล็กน้อย ในที่มีน้ำจะแห้งไป ฉันใด หมู่สัตว์ย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา … ด้วยทุกข์เพราะความ ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ใน ที่มีน้ำน้อย [๗๙๗] คำว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน ความว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกัน ทำร้ายตอบกัน เคืองกัน เคืองตอบกัน ปองร้ายกัน ปองร้ายตอบกัน คือแม้พวกพระราชา ก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาท กั บ พวกพราหมณ์ แม้ พ วกคฤหบดี ก็ วิ ว าทกั บ พวกคฤหบดี แม้ ม ารดาก็ วิ ว าทกั บ บุ ต ร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็ วิ ว าทกั บ พี่ น้ อ งชาย แม้ พี่ น้ อ งหญิ ง ก็ วิ ว าทกั บ พี่ น้ อ งหญิ ง แม้ พี่ น้ อ งชายก็ วิ ว าทกั บ พี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย สัตว์เหล่านั้น ถึงความทะเลาะ ความแก่งแย่งและความวิวาทกัน ในเพราะการทำร้ายกันและกันนั้น


อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

ย่อมประทุษร้ายกันและกันด้วยมือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง สัตว์เหล่านัน้ ย่อมถึงความตายบ้าง ย่อมถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะความประทุษร้ายกันนัน้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน [๗๙๘] คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็น ความว่า ภัย คือความเบียดเบียน ความกระทบกระทั่ง อุบาทว์ อุปสรรคเข้ามาถึงเรา เพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภัยเข้า มาถึงเราแล้วเพราะเห็น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลา ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะเห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกัน และกัน [๗๙๙] โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ จบ อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

437


438

หลักธรรม

๔๑. ปฐมมิคชาลสูตร ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว [๖๖] กรุงสาวัตถี … ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงทีป่ ระทับ ถวายอภิวาทแล้วนัง่ ณ ทีค่ วรส่วนข้างหนึง่ ครัน้ แล้ว ได้ทลู ถามพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว ฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าอยู่ด้วยเพื่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ เป็นที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูป นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมี ความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน … ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อัน น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ เป็นที่ตั้งความกำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุ ยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่ อ มี ค วามกำหนั ด กล้ า ก็ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ ง ดู ก่ อ นมิ ค ชาละ ภิ ก ษุ ผู้ ป ระกอบด้ ว ยความ เพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มี ปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าไม้และป่าหญ้า เงียบเสียง ไม่ อื้ออึง ปราศจากกลิ่นอาย ควรเป็นที่ประกอบงานลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็ จริง ถึงอย่างนัน้ ก็ยงั เรียกว่ามีปกติอยูด่ ว้ ยเพือ่ น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหา เป็นเพื่อน เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้น จึงเรียกว่ามีปกติอยู่ด้วยเพื่อน


ปฐมมิคชาลสูตร

439

[๖๗] ดู ก่ อ นมิ ค ชาละ รู ป ที่ จ ะพึ ง รู้ แ จ้ ง ด้ ว ยจั ก ษุ อั น น่ า ปรารถนา น่ า ใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ เป็นที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความ กำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ... ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ

ไม่ยนิ ดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุน่ ธรรมารมณ์นนั้ อยู่ เมือ่ เธอไม่ยนิ ดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความ กำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อน มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในละแวกบ้าน ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อนมิคชาละ เราเรียกผู้มีปกติอยู่ด้วย อาการอย่างนีว้ า่ มีปกติอยูผ่ เู้ ดียว ข้อนัน้ เพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึง่ เป็นเพือ่ น เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว จบ ปฐมมิคชาลสูตร


440

หลักธรรม

๔๒. ปมาทวิหารีสูตร ผู้อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ว่าด้วยผู้อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท [๑๔๓] กรุงสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก แสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เธอทั้งหลายจง ฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่สำรวม

จั ก ขุ น ทรี ย์ อ ยู่ จิ ต ย่ อ มแส่ ไ ปในรู ป ทั้ ง หลายที่ พึ ง รู้ แ จ้ ง ด้ ว ยจั ก ษุ ภิ ก ษุ มี จิ ต แส่ ไ ปแล้ ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิ ก ษุ นั้ น ก็ อ ยู่ ล ำบาก จิ ต ของภิ ก ษุ ผู้ มี ค วามลำบาก ย่ อ มไม่ ตั้ ง มั่ น เมื่ อ จิ ต ไม่ ตั้ ง มั่ น

ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้ อยู่ ด้ ว ยความประมาทแท้ จ ริ ง ... เมื่ อ ภิ ก ษุ ไ ม่ ส ำรวมชิ ว หิ น ทรี ย์ จิ ต ย่ อ มแส่ ไ ปในรส ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ... ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ ด้วยความประมาทแท้จริง ... ภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในธรรมารมณ์ ทั้ ง หลายที่ พึ ง รู้ แ จ้ ง ด้ ว ยใจ ภิ ก ษุ มี จิ ต แส่ ไ ปแล้ ว ปราโมทย์ ก็ ไ ม่ มี เมื่ อ ปราโมทย์ ไ ม่ มี

ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มี ความลำบาก ย่ อ มไม่ ตั้ ง มั่ น เมื่ อ จิ ต ไม่ ตั้ ง มั่ น ธรรมทั้ ง หลายก็ ไ ม่ ป รากฏ เพราะธรรม ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทด้วยประการฉะนี้ [๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร ภิกษุ สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ


ปมาทวิหารีสูตร

441

ภิ ก ษุ ผู้ มี ก ายสงบ ก็ อ ยู่ ส บาย จิ ต ของภิ ก ษุ ผู้ มี ค วามสุ ข ก็ ตั้ ง มั่ น เมื่ อ จิ ต ตั้ ง มั่ น แล้ ว

ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏเพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วย ความไม่ประมาทแท้จริง … เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยลิ้น … เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้ แจ้ ง ด้ ว ยใจ ภิ ก ษุ มี จิ ต ไม่ แ ส่ ไ ปแล้ ว ปราโมทย์ ก็ เ กิ ด เมื่ อ เกิ ด ปราโมทย์ แ ล้ ว ปี ติ ก็ เ กิ ด

เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นถึงความนับ ว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้ จบ ปมาทวิหารีสูตร


442

ธรรมกถิกสูตร

๔๓. ธรรมกถิกสูตร เหตุที่เรียกว่าธรรมกถึก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นธรรมกถึก [๒๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ... ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ภิกษุเป็น

พระธรรมกถึก ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นพระธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ถ้ า ภิ ก ษุ แ สดงธรรมเพื่ อ หน่ า ย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้ า เป็ น ผู้ ห ลุ ด พ้ น เพราะหน่ า ย เพราะคลายกำหนั ด เพราะดั บ เพราะไม่ ถื อ มั่ น จั ก ษุ

ควรเรี ย กได้ ว่ า ภิ ก ษุ ผู้ บ รรลุ นิ พ พานในปั จ จุ บั น ... ภิ ก ษุ แ สดงธรรมเพื่ อ หน่ า ยเพื่ อ คลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่าภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่ อ คลายกำหนั ด เพื่ อ ดั บ ใจ ควรเรี ย กได้ ว่ า ภิ ก ษุ เ ป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมสมควรแก่ ธ รรม ถ้าเป็นผูห้ ลุดพ้นเพราะหน่ายเพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถอื มัน่ ใจ ควรเรียกได้วา่ ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน จบ ธรรมกถิกสูตร


กรรมและการวนเวียน


เศียรพระพุทธรูปทำด้วยหินทราย ถูกรากของต้นโพธิ์ขึ้นมาปกคลุม ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


01.����������������.indd 5

6/20/19 9:50 AM


น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ. บุคคลที่ท�ำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปใน ท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปสู่ซอกภูเขาก็ไม่พึง พ้นจากกรรมชั่วได้ เพราะเขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึง ครอบง�ำไม่ได้ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่ ปาโปปิ ปสฺสติ ภทฺรํ ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ อถ (ปาโป) ปาปานิ ปสฺสติ. ภโทฺรปิ ปสฺสติ ปาปํ ยาว ภทฺรํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจติ ภทฺรํ อถ (ภโทฺร) ภทฺรานิ ปสฺสติ. แม้คนผู้ท�ำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาล ที่บาปยังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใด บาปเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว ฝ่ายคนท�ำกรรมดีย่อมเห็นกรรม ดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใด กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี ปุญฺญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ถ้าบุรุษพึงท�ำบุญไซร้ พึงท�ำบุญนั้นบ่อย ๆ พึงท�ำความพอใจในบุญนั้น เพราะ ว่า ความสั่งสมบุญท�ำให้เกิดสุข

01.����������������.indd 6

6/20/19 9:50 AM


ติณกัฏฐสูตร

445

๑. ติณกัฏฐสูตร สังสารยาวนานสำหรับผู้มีอวิชชากางกั้น สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร [๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ สมั ย หนึ่ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย … แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่า สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้อง ต้นย่อมไม่ปรากฏ [๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้

ในชมพู ท วี ป นี้ แล้ ว จึ ง รวมกั น ไว้ ครั้ น แล้ ว พึ ง กระทำให้ เ ป็ น มั ด ๆ ละ ๔ นิ้ ว วางไว้

สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดา แห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านั้น พอทีเดียวที่จะ

เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ ติณกัฏฐสูตร


446

ปฐวีสูตร

๒. ปฐวีสูตร บิดาของบิดามากกว่าก้อนดินที่ปั้น

ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร [๔๒๓] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ [๔๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน

ก้อนละเท่าเม็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา

โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้พึงถึงการหมดสิ้นไป

ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร เพราะว่ า สงสารนี้ ก ำหนดที่ สุ ด เบื้ อ งต้ น เบื้ อ งปลายไม่ ไ ด้ … ที่ สุ ด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอที เดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ ปฐวีสูตร


อัสสุสูตร

447

๓. อัสสุสูตร น้ำตามากกว่าน้ำในมหาสมุทร

ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร [๔๒๕] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ทีน่ นั้ แล พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทงั้ หลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ …

พวกเธอจะสำคั ญ ความข้ อ นั้ น เป็ น ไฉน น้ ำ ตาที่ ห ลั่ ง ไหลของพวกเธอผู้ ท่ อ งเที่ ย วไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่ ง ที่ ไ ม่ พ อใจ เพราะพลั ด พรากจากสิ่ ง ที่ พ อใจโดย

กาลนานนี้ กั บ น้ ำ ในมหาสมุ ท รทั้ ง ๔ สิ่ ง ไหนจะมากกว่ า กั น ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น ทู ล ว่ า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงแล้วว่า น้ำตาทีห่ ลัง่ ไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผูท้ อ่ งเทีย่ วไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย [๔๒๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา … โดยกาลนานนี้ แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรม ของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของ มารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นัน่ แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทัง้ ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรม ของบิดา ... ของพี่ชายน้องชายพี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อม แห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรคตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรคคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้อง ต้นเบื้องปลายไม่ได้ … ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ อัสสุสูตร


448

ขีรสูตร

๔. ขีรสูตร น้ำนมมากกว่าน้ำในมหาสมุทร

ว่าด้วยเปรียบน้ำนมกับน้ำในมหาสมุทร [๔๒๗] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ทีน่ นั้ แล พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทงั้ หลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ …

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดย กาลนานนี้ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานดื่มแล้วนั่นแหละมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย [๔๒๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานดื่มแล้วนั่นแหละ มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ … พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ ขีรสูตร


ปัพพตสูตร

449

๕. ปัพพตสูตร ผ้าเนื้อดีลูบภูเขา

ว่าด้วยเรื่องกัป [๔๒๙] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ครัง้ นัน้ แล ภิกษุรปู หนึง่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว … เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ กั ป หนึ่ ง นานแล มิ ใ ช่ ง่ า ยที่ จ ะนั บ กัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า [๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ เหมือนอย่างว่า ภู เ ขาหิ น ลู ก ใหญ่ ย าวโยชน์ ห นึ่ ง กว้ า งโยชน์ ห นึ่ ง สู ง โยชน์ ห นึ่ ง ไม่ มี ช่ อ ง ไม่ มี โ พรง

เป็นแท่งทึบ บุ รุ ษ พึ ง เอาผ้ า แคว้ น กาสี ม าแล้ ว ปั ด ภู เ ขานั้ น ๑๐๐ ปี ต่ อ ครั้ ง ภู เ ขาหิ น

ลูกใหญ่นั้นพึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยัง ไม่ถงึ การหมดไป สิน้ ไป กัปนานอย่างนีแ้ ล บรรดากัปทีน่ านอย่างนี้ พวกเธอท่องเทีย่ วไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ … ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่ จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ ปัพพตสูตร


450

สาสปสูตร

๖. ​สาสปสูตร หยิบเมล็ดผักกาด

ว่าด้วยเรื่องกัป [๔๓๑] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ครัง้ นัน้ แล ภิกษุรปู หนึง่ เข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า …

ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ กั ป หนึ่ ง นานแล มิ ใ ช่ ง่ า ยที่ จ ะนั บ กัปนั้นว่า เท่านี้ปี … หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า [๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ เหมือนอย่างว่า นครที่ ท ำด้ ว ยเหล็ ก ยาว ๑ โยชน์ กว้ า ง ๑ โยชน์ สู ง ๑ โยชน์ เต็ ม ด้ ว ยเมล็ ด พั น ธุ์

ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ด หนึง่ ๆ ออกจากนครนัน้ โดยล่วงไปหนึง่ ร้อยปีตอ่ หนึง่ เมล็ด เมล็ดพันธุผ์ กั กาดกองใหญ่นนั้ พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึง

ความสิ้ น ไป หมดไป กั ป นานอย่ า งนี้ แ ล บรรดากั ป ที่ น านอย่ า งนี้ พวกเธอท่ อ งเที่ ย ว

ไปแล้ ว มิ ใ ช่ ห นึ่ ง กั ป มิ ใ ช่ ร้ อ ยกั ป มิ ใ ช่ ร้ อ ยพั น กั ป มิ ใ ช่ แ สนกั ป ข้ อ นั้ น เพราะเหตุ ไ ร

เพราะว่าสงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ … พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ สาสปสูตร


สาวกสูตร

451

๗. สาวกสูตร ระลึกถอยหลังวันละแสนกัป

ว่าด้วยการอุปมากัป [๔๓๓] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ครัน้ นัน้ แล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้า … ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย กัปทัง้ หลายทีผ่ า่ นไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือ ว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า [๔๓๔] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้นพึง ระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูป ของเราผูม้ อี ายุ ๑๐๐ ปี มีชวี ติ ๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปี ๆ โดยแท้แล

กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่ ว งไปแล้ ว มี จ ำนวนมากอย่ า งนี้ แ ล มิ ใ ช่ ง่ า ยที่ จ ะนั บ กั ป เหล่ า นั้ น ว่ า

เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ … พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ สาวกสูตร


452

คงคาสูตร

๘. คงคาสูตร นับเมล็ดทรายไม่ไหว

ว่าด้วยการอุปมากัป [๔๓๕] สมัยหนึง่ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนั กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้นนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึง่ ครัน้ พราหมณ์นนั้ นัง่ เรียบร้อยแล้ว ได้ทลู ถามพระผูม้ พี ระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือ ว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม [๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม่น้ำ คงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เมล็ดทรายในระยะนี้ไม่เป็นของ ง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เมล็ด เท่านี้ ๑๐๐ เมล็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เมล็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดู ก่ อ นพราหมณ์ กั ป ทั้ ง หลายที่ ผ่ า นไปแล้ ว ล่ ว งไปแล้ ว มากกว่ า

เมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัปเท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหา เป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ ด ร้ อ น ความพิ น าศ ได้ เ พิ่ ม พู น ปฐพี ที่ เ ป็ น ป่ า ช้ า ตลอดกาลนาน เหมื อ นฉะนั้ น

ดูก่อนพราหมณ์ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะ คลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า แจ่มแจ้งยิ่งนักท่านพระโคดม แจ่มแจ้งยิ่งนักท่านพระโคดม ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรง จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ จบ คงคาสูตร


ทัณฑสูตร

453

๙.​ทัณฑสูตร ไม่แน่นอนเหมือนท่อนไม้ตกพื้น

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายเหมือนท่อนไม้ [๔๓๘] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ณ พระเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ...

แล้ ว ได้ ต รั ส ว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สงสารนี้ ก ำหนดที่ สุ ด เบื้ อ งต้ น เบื้ อ งปลายไม่ ไ ด้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ … [๔๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ บางคราวก็ตกลง ทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มี อวิ ช ชาเป็ น ที่ ก างกั้ น มี ตั ณ หาเป็ น เครื่ อ งประกอบไว้ ท่ อ งเที่ ย วไปมาอยู่ ก็ ฉั น นั้ น แล

บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องปลายไม่ได้ … พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ จบ ทัณฑสูตร


454

ปุคคลสูตร

๑๐. ปุคคลสูตร กองกระดูกเท่าภูเขา

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้เหมือนโครงกระดูกบุคคล [๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์

ณ ที่ นั้ น แล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส เรี ย กภิ ก ษุ ทั้ ง หลายว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ [๔๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารกำหนดที่สุด

เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ … เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครง กระดูก ร่างกระดูก กองกระดูกใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะ ขนมารวมกันได้และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ... พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของ บุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรา กล่ า วนั้ น คื อ ภู เ ขาใหญ่ ชื่ อ เวปุ ล ละ อยู่ ทิ ศ เหนื อ ของภู เ ขาคิ ช ฌกู ฏ

ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภเู ขาล้อมรอบ เมือ่ ใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยัง สัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้แล จบ ปุคคลสูตร


ติงสมัตตาสูตร

455

๑๑. ติงสมัตตาสูตร เลือดมากกว่าน้ำในมหาสมุทร

ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ๓๐ รูปถือการอยู่ป่าเป็นวัตร [๔๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลัน ทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ อยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงผ้าไตรจีวร

เป็นวัตร แต่ทั้งหมดล้วนยังเป็นผู้มีสังโยชน์อยู่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง [๔๔๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า ภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ประมาณ ๓๐ รูปเหล่านี้แล ทั้งหมดล้วนถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

ถื อ ผ้ า บั ง สุ กุ ล เป็ น วั ต ร ถื อ ทรงไตรจี ว รเป็ น วั ต ร ทั้ ง หมดล้ ว นยั ง มี สั ง โยชน์ ถ้ า กระไร

เราพึงแสดงธรรมโดยประการที่ภิกษุเหล่านี้ จะพึงมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ณ อาสนะนี้ ที เ ดี ย ว ลำดั บ นั้ น แล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส เรี ย กภิ ก ษุ ทั้ ง หลายว่ า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ [๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมทราบธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้


456

กรรมและการวนเวียน

[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้ว

อย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดย

กาลนาน นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลาย

เกิดเป็นโคซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือซึ่งถูกตัดศีรษะตลอด

กาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ... เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ ...

เกิดเป็นแพะ ... เกิดเป็นเนื้อ ... เกิดเป็นสุกร ... เกิดเป็นไก่ ... เมื่อพวกเธอถูกจับตัด ศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้านตลอดกาลนาน โลหิตทีห่ ลัง่ ไหลออกนัน่ แหละมากกว่า ... ถู ก จั บ ตั ด ศี ร ษะโดยข้ อ หาว่ า เป็ น โจรคิ ด ปล้ น ... ถู ก จั บ ตั ด ศี ร ษะโดยข้ อ หาว่ า เป็ น โจร ประพฤติ ผิ ด ในภรรยาของผู้ อื่ น ตลอดกาลนาน โลหิ ต ที่ ห ลั่ ง ไหลออกนั่ น แหละมากกว่ า

น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ... พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างพอใจชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ

ชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูปพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น จบ ติงสมัตตสูตร


เวปุลลปัพพตสูตร

457

๑๒. เวปุลลปัพพตสูตร สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ว่าด้วยความเป็นไปของภูเขาเวปุลละ [๔๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์

ณ ที่ นั้ น แล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส เรี ย กภิ ก ษุ ทั้ ง หลายว่ า ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ [๔๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนด ที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง ประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย

มีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้ได้ชื่อว่า ปาจีนวังสะ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า ติวรา

หมู่มนุษย์ชื่อติวรา มีอายุประมาณ ๔ หมื่นปี หมู่มนุษย์ชื่อติวราขึ้นปาจีนวังสบรรพตเป็น เวลา ๔ วัน ลงก็เป็นเวลา ๔ วัน สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า วิธูระ และ

สัญชีวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทัง้ หลายไม่เทีย่ งอย่างนี้ ไม่ยงั่ ยืนอย่างนี้ ไม่นา่ ชืน่ ใจอย่างนี้ ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย

ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อว่าวงกต

สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์มีชื่อว่า โรหิตัสสะ มีอายุประมาณ ๓ หมื่นปี มนุษย์ชื่อว่าโรหิตัสสะ ขึ้นวงกตบรรพตเป็นเวลา ๓ วัน ลงก็เป็นเวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า ภิยโยสะ และ อุตตระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้


458

กรรมและการวนเวียน

[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้มีชื่อว่า สุปัสสะ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ชื่อ สุปปิยา มีอายุประมาณ ๒ หมื่นปี หมู่มนุษย์ที่ชื่อว่าสุปปิยาขึ้น

สุ ปั ส สะบรรพตเป็ น เวลา ๒ วั น ลงก็ เ ป็ น เวลา ๒ วั น สมั ย นั้ น พระผู้ มี พ ระภาค

อรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระนามว่ า กั ส สปะ เสด็ จ อุ บั ติ ขึ้ น ในโลก พระผู้ มี พ ระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่า ติสสะ และ ภารทวาชะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ … พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อว่า เวปุลละ ทีเดียว

ก็บัดนี้หมู่มนุษย์เหล่านี้มีชื่อว่า มาคธะ หมู่มนุษย์ที่ชื่อมาคธะมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมี ชีวิตอยู่นาน ผู้นั้นมีอายุเพียงร้อยปี น้อยกว่าก็มี เกินกว่าก็มี หมู่มนุษย์ชื่อมาคธะขึ้น

เวปุลลบรรพตเพียงครู่เดียว และบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ เสด็จอุบัติ ขึน้ แล้วในโลก ก็เราแลมีสาวกคูห่ นึง่ เป็นคูเ่ ลิศ เป็นคูเ่ จริญ ชือ่ สารีบตุ ร และ โมคคัลลานะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นก็จักมี ชื่อแห่งบรรพตนี้จักอันตรธาน หมู่มนุษย์เหล่านี้จักทำ กาละ และเราก็ จั ก ปริ นิ พ พาน ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย สั ง ขารทั้ ง หลายไม่ เ ที่ ย งอย่ า งนี้

ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อ จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ [๔๖๑] พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ สุ ค ตศาสดา ครั้ น ได้ ต รั ส ไวยากรณภาษิ ต นี้ จ บ

ลงแล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ปาจีนวังสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อติวรา วงกฏบรรพตของ

หมู่มนุษย์ชื่อโรหิตัสสะ สุปัสสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยา และ เวปุลลบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อมาคธะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

มี อั น เกิ ด ขึ้ น แลเสื่ อ มไปเป็ น ธรรมดา ครั้ น เกิ ด ขึ้ น แล้ ว ย่ อ มดั บ ไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับไปเป็นสุข ดังนี้ จบ เวปุลลปัพพตสูตร


กรรมสูตร

459

๑๓. กรรมสูตร กรรมเก่า กรรมใหม่ และความสิ้นกรรม สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ว่าด้วยกรรมเก่าและกรรมใหม่ [๒๒๗] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย เราจั ก แสดงกรรมทั้ ง ใหม่ แ ละเก่ า ความดั บ

แห่งกรรม และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จ ด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อั น ปั จ จั ย ปรุ ง แต่ ง แล้ ว สำเร็ จ ด้ ว ยเจตนา เป็ น ที่ ตั้ ง แห่ ง เวทนา ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย

นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า [๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ [๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม [๒๓๐] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย ปฏิ ป ทาอั น ให้ ถึ ง ความดั บ แห่ ง กรรมเป็ น ไฉน

อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑

สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม [๒๓๑] ดู ก่ อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย กรรมเก่ า กรรมใหม่ ความดั บ แห่ ง กรรม

และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรมเราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลายพึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน

ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจใน

ภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย จบ กรรมสูตร


460

กรรมและการวนเวียน

๑๔. วิตถารสูตร กรรม ๔ ประเภท อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยกรรม ๔ ประการ [๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือกรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมี วิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้

ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันมีความเบียดเบียน

ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผั ส สะอั น มี ค วามเบี ย ดเบี ย นย่ อ มถู ก ต้ อ งบุ ค คลนั้ น ผู้ เ ข้ า ถึ ง โลกที่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย น

เขาอั น ผั ส สะที่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย นถู ก ต้ อ งนั้ น ย่ อ มได้ เ สวยเวทนาที่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย น

เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้ เ ข้ า ถึ ง โลกที่ ไ ม่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย น เขาอั น ผั ส สะที่ ไ ม่ มี ค วามเบี ย ดเบี ย นถู ก ต้ อ งแล้ ว

ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพ

ชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่ อ มปรุ ง แต่ ง กายสั ง ขาร ... วจี สั ง ขาร ... มโนสั ง ขารอั น มี ค วาม เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง


วิตถารสูตร

461

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง

ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง

เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวย เวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำ

ทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม เป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ ทั้งขาวก็ดี นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ จบ วิตถารสูตร


462

กรรมและการวนเวียน

๑๕​. จูฬกัมมวิภังคสูตร กรรมจำแนกให้คนแตกต่างกัน มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่าด้วยกฏแห่งกรรม [๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมั ย หนึ่ ง พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ประทั บ อยู่ ที่ พ ระวิ ห ารเชตวั น อารามของท่ า น

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่าน คำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง [๕๘๐] สุภมาณพโตเทยยบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็น มนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยนื มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผวิ พรรณทราม มีผวิ พรรณงาม มีศกั ดาน้อย มีศกั ดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปญ ั ญา มีปญ ั ญา ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ปรากฏความเลว และความประณีต [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สั ต ว์ ทั้ ง หลายมี ก รรมเป็ น

ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ สุภ. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุทเทสที่พระโคดมผู้เจริญ ตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุทเทสนี้โดยพิสดาร ได้เถิด พ. ดู ก่ อ นมาณพ ถ้ า อย่ า งนั้ น ท่ า นจงฟั ง จงใส่ ใ จให้ ดี เราจะกล่ า วต่ อ ไป

สุภมาณพ โตเทยยบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า


จูฬกัมมวิภังคสูตร

463

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีกต็ าม บุรษุ ก็ตามเป็นผูม้ กั ทำชีวติ สัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหีย้ มโหด มีมอื เปือ้ นเลือด หมกมุ่ น ในการประหั ต ประหาร ไม่ เ อ็ น ดู ใ นเหล่ า สั ต ว์ มี ชี วิ ต เขาตายไปจะเข้ า ถึ ง อบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง

จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูใน เหล่าสัตว์มีชีวิต

ว่าด้วยการละขาดจากปาณาติบาต [๕๘๓] ดูก่อนมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม

ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน

ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความ เกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ [๕๘๔] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นผู้ มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป

จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ

ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้ มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา [๕๘๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นผู้ มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไป

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี

โรคน้อย ดูก่อนมาณพปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา


464

กรรมและการวนเวียน

[๕๘๖] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป

ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง

จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือเป็น คนมั ก โกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท

มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

ความเป็นผู้ไม่มักโกรธ [๕๘๗] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง

ไม่ พ ยาบาท ไม่ ม าดร้ า ย ไม่ ท ำความโกรธ ความร้ า ย และความขึ้ ง เคี ย ดให้ ป รากฏ

เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง

จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่ มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท

ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ [๕๘๘] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ

การไหว้ และการบู ช าของคนอื่ น เขาตายไป จะเข้ า ถึ ง อบายทุ ค ติ วิ นิ บ าต นรก

เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย

ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจ อิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น [๕๘๙] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม เป็นผู้ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรม นั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น


จูฬกัมมวิภังคสูตร

465

มนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น [๕๙๐] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่อง ตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย

ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้

ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์

การให้ข้าวเป็นต้น [๕๙๑] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย

เครื่ อ งตามประที ป แก่ ส มณะหรื อ พราหมณ์ เขาตายไปจะเข้ า ถึ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์

เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ [๕๙๒] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ

ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิดที่ ใด ๆ ในภายหลังจะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ

ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา


466

กรรมและการวนเวียน

[๕๙๓] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ

ให้ อ าสนะแก่ ค นที่ ส มควรแก่ อ าสนะ ให้ ท างแก่ ค นที่ ส มควรแก่ ท าง สั ก การะคนที่ ค วร สักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคน เกิดในสกุลสูง ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือเป็นคนไม่ กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่ คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา

ความไม่สอบถาม [๕๙๔] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่ เกื้ อ กู ล เพื่ อ ทุ ก ข์ สิ้ น กาลนาน หรื อ ว่ า อะไรเมื่ อ ทำย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล

เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูก่อนมาณพ ปฏิ ป ทาเป็ น ไปเพื่ อ มี ปั ญ ญาทรามนี้ คื อ ไม่ เ ป็ น ผู้ เ ข้ า ไปหาสมณะหรื อ พราหมณ์ แ ล้ ว

สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไร เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน [๕๙๕] ดู ก่ อ นมาณพ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จะเป็ น สตรี ก็ ต ามบุ รุ ษ ก็ ต าม

ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่ เกื้ อ กู ล เพื่ อ ทุ ก ข์ สิ้ น กาลนาน หรื อ ว่ า อะไรเมื่ อ ทำย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล

เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้ พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์


จูฬกัมมวิภังคสูตร

467

เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี ปั ญ ญามากนี้ คื อ เป็ น ผู้ เ ข้ า ไปหาสมณะหรื อ พราหมณ์ แ ล้ ว สอบถามว่ า อะไรเป็ น กุ ศ ล

อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ไม่ เ กื้ อ กู ล เพื่ อ ทุ ก ข์ สิ้ น กาลนาน หรื อ ว่ า อะไรเมื่ อ ทำย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน [๕๙๖] ดู ก่ อ นมาณพ ด้ ว ยประการฉะนั้ น แล ปฏิ ป ทาเป็ น ไปเพื่ อ มี อ ายุ สั้ น

ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไปสู่ความ เป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี ผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่า เลื่อมใส ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำ เข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น คนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ เกิดในสกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนำเข้าไป สู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน มีปัญญามาก ดูก่อนมาณภพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม

มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ เลวและประณีต [๕๙๗] เมื่ อ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ตรั ส แล้ ว อย่ า งนี้ สุ ภ มาณพโตเทยยบุ ต รได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีตาดี จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จบ จูฬกัมมวิภังคสูตร


468

กรรมและการวนเวียน

๑๖. มหากัมมวิภังคสูตร ความสลับซับซ้อนของกรรม มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ใน กระท่อมในป่า ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาท่านพระสมิทธิ ยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง [๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรม เป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้นจริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวย เวทนาอะไร ๆ นั้นมีอยู่ ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าว อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรม เท่านั้นจริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นมีอยู่ ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว คราวนี้ พวกเราจักพูดอะไรกับภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วย ความจงใจแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร สมิทธิ. ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์


มหากัมมวิภังคสูตร

469

ลำดั บ นั้ น ปริ พ าชกโปตลิ บุ ต รไม่ ยิ น ดี ไม่ คั ด ค้ า นภาษิ ต ของท่ า นพระสมิ ท ธิ

แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป [๖๐๐] ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่าน

พระอานนท์ ยั ง ที่ อ ยู่ แล้ ว ได้ ทั ก ทายปราศรั ย กั บ ท่ า นพระอานนท์ ครั้ น ผ่ า นคำทั ก ทาย ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วจึง บอกเรื่ อ งเท่ า ที่ ไ ด้ ส นทนากั บ ปริ พ าชกโปตลิ บุ ต รทั้ ง หมดแก่ ท่ า นพระอานนท์ เมื่ อ ท่ า น

พระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อน ท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรง พยากรณ์แก่เราอย่างไร เราพึงทรงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น ท่านพระสมิทธิรับคำท่าน

พระอานนท์ว่า ชอบแล้วท่านผู้มีอายุ ต่อจากนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง ทีป่ ระทับ ถวายอภิวาทพระผูม้ พี ระภาคเจ้าแล้วนัง่ ณ ทีค่ วรส่วนข้างหนึง่ พอนัง่ เรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระสมิทธิ ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตร ทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า [๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ

พระอานนท์ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตรเราก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้ โมฆบุรุษสมิทธินี้แลได้พยากรณ์ปัญหาที่ ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชกโปตลิบุตรแต่แง่เดียว เมือ่ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผูม้ พี ระภาคเจ้า

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายทุกข์นี้แล้ว ไม่ว่าการเสวย อารมณ์ใด ๆ ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น [๖๐๒] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด

เรารู้ แ ล้ ว ละ เดี๋ ย วนี้ แ หละ โมฆบุ รุ ษ อุ ท ายี นี้ โ พล่ ง ขึ้ น โดยไม่ แ ยบคาย ดู ก่ อ นอานนท์

เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามนี้จะพึง พยากรณ์ อ ย่ า งนี้ ว่ า ดู ก่ อ นโปตลิ บุ ต รผู้ มี อ ายุ บุ ค คลทำกรรมชนิ ด ที่ ป ระกอบด้ ว ย


470

กรรมและการวนเวียน

ความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข บุคคล ทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข ดูก่อนอานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อ พยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชก

ผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอ ฟังตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ ท่ า นพระอานนท์ ก ราบทู ล ว่ า ข้ า แต่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ผู้ พ ระสุ ค ต เป็ น กาล สมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลายสดับต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักได้ทรงจำไว้ พ. ดู ก่ อ นอานนท์ ถ้ า เช่ น นั้ น เธอจงฟั ง จงใส่ ใ จให้ ดี เราจั ก กล่ า วต่ อ ไป

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า [๖๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเหล่าไหน คือ (๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มักถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ

มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตาย

ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี (๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มักถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ

มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไป แล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี (๓) บุ ค คลบางคนในโลกนี้ เป็ น ผู้ เ ว้ น ขาดจากปาณาติ บ าต เว้ น ขาดจาก อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่ พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.