eco159

Page 1


1

การสัมมนาทางวิชาการ ประจําป 2552 ครั้งที่ 32

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


เรื่อง

“การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


จัดโดย

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


4

คํานํา

การสั ม มนาทางวิ ช าการประจํ า ป 2552 ของคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เปนการสัมมนาวิชาการครั้งที่ 32 ซึ่ง คณะฯไดดําเนินการอยางตอเนื่องมาโดยตลอดทุกปดวยตระหนักถึง ภารกิจของสถาบันวิชาการทีจ่ ะทําหนาทีต่ ดิ ตาม วิเคราะห สังเคราะห เพื่อสรางความรูความเขาใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจสังคมไทย และเผย แพรความรูความเขาใจนั้นกลับสูสังคม การสัมมนาวิชาการประจํา ป 2552 นี้ ยังเปนสวนหนึ่งของการเฉลิมฉลองโอกาสสําคัญเนื่องใน วาระครบรอบ 60 ปของการสถาปนาคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร หัวขอการสัมมนาทางวิชาการประจําป 2552 เรื่อง “การ บริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย” ของ คณะเศรษฐศาสตรในปนี้เปนประเด็นที่สําคัญตอการบริหารนโยบาย เศรษฐกิ จ ในยุ ค โลกาภิ วั ต น เ ป น อย า งมาก แม ป ระเทศต า งๆ ถู ก ผนวกเขามาเปนสวนหนึ่งของตลาดโลกและมีความเกี่ยวของเชื่อม โยงกันเพิ่มมากขึ้นผานกิจกรรมทางเศรษฐกิจดานตางๆ แตโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจ (Economic Globalization) ยังเปนประเด็น ถกเถียงกันอยางกวางขวางถึงผลไดสทุ ธิตอ ประเทศและความจําเปน Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


5

ที่จะมุงแสวงหานโยบายที่ควรดําเนินควบคูไปกับการบริหารโลกาภิวตั นใหเกิดประโยชนสงู สุดกับประเทศ ดวยเหตุนคี้ ณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จึงสนับสนุนใหอาจารยในคณะศึกษาวิจัย เรือ่ งการบริหารโลกาภิวตั นทางเศรษฐกิจโดยใชประสบการณของภาค อุตสาหกรรมไทยในชวง 3 ทศวรรษที่ผานมาเปนกรณีศึกษา งานสัมมนาครั้งนี้นําเสนอบทความ 5 บทโดยบทความแรก จะนําเสนอภาพรวมของโลกาภิวตั นทางเศรษฐกิจและประเด็นทาทาย เชิงนโยบายที่รออยูขางหนา ถัดมาอีก 4 บทความเปนงานวิจัยที่ลง ลึกในอุตสาหกรรมสงออกที่สําคัญของไทยอันไดแกฮารดดิสก ยาน ยนต เสื้อผาเครื่องนุงหมและอัญมณี กรณีศึกษาแตละกรณีมีลักษณะ ที่แตกตางกันและมีประเด็นโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจที่แตกตางกัน ในสวนของฮารดดิสกประเด็นโลกาภิวัตนมุงไปที่การใชประโยชน จากการที่ประเทศไทยเปนสวนหนึ่งของเครือขายการผลิตระหวาง ประเทศของบริษัทฮารดดิสกขามชาติ ในขณะที่ประเด็นโลกาภิวัตน ของกรณีอุตสาหกรรมยานยนตมุงไปที่ความสัมพันธและการอยูรวม กันระหวางผูผลิตรถยนตซึ่งเปนบริษัทขามชาติกับผูผลิตชิ้นสวน รถยนตของไทย สําหรับอุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมประเด็นโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจมุงไปที่ผลประโยชนสุทธิที่มีตอการพัฒนาความ สามารถการผลิตในระยะยาวจากการใชแรงงานตางดาวจากประเทศ เพื่อนบาน ประเด็นโลกาภิวัตนเรื่องสุดทายมุงไปที่การออกไปลงทุน โดยตรงในตางประเทศของบริษัทไทยโดยกรณีการออกไปลงทุนของ บริษทั อัญมณี โดยเฉพาะอยางยิง่ การใชประโยชนรว มกันระหวางฐาน การผลิตในประเทศและตางประเทศเพื่อเสริมสรางขีดความสามารถ ในการแขงขัน

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


6

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร หวังวาผลการ วิจยั เหลานีจ้ ะชวยเพิม่ องคความรูเ กีย่ วกับการบริหารโลกาภิวตั นทาง เศรษฐกิจใหประเทศสามารถเก็บเกีย่ วผลประโยชนจากกระแสโลกาภิวัตนไดอยางเต็มที่และนํามาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

(รองศาสตราจารย ดร.ปทมาวดี ซูซูกิ) คณบดีคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร กรกฎาคม 2552

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”



8

กําหนดการสัมมนาทางวิชาการประจําป 2552 ครั้งที่ 32 เนื่องในวาระครบรอบ 60 ป คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เรื่อง “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย” วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2522 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

08.30 – 09.00 น. 09.00 – 09.10 น.

ลงทะเบียน พิธีเปดโดย รศ.ดร.ปทมาวดี ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร

09.10 – 09.40 น.

ปาฐกถาพิเศษ “ทิศทางประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน” โดย นายกรัฐมนตรี

09.40 – 10.10 น.

ปาฐกถาพิเศษ “ความรวมมือกันทางนโยบายระหวาง ประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกในยุค เศรษฐกิจโลกชะลอตัว” โดย Mr.Yuhei OHMI ผูบริหารระดับสูง ธนาคารเพือ่ ความรวมมือระหวางประเทศ แหงญี่ปุน (JBIC)

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


9

ดําเนินรายการภาคเชา โดย ผศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาสน คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 10.10 – 11.00 น.

11.00 – 11.10 น. 11.10 – 12.00 น.

“เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรม ฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม” โดย ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วิจารณบทความ โดย ดร.ชิต เหลาวัฒนา ผูอํานวยการโปรแกรมฮารดดิสกไดรฟ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี แหงชาติ ถาม-ตอบ “การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรม ชิ้นสวนยานยนตไทย” โดย ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วิจารณบทความ โดย คุณยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ รักษาการผูอํานวยการสํานักยุทธศาสตรและ นโยบายการลงทุน สํานักงานคณะกรรมการสงเสริม การลงทุน

12.00 – 12.10 น.

ถาม-ตอบ คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


10

12.10 – 13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน ดําเนินรายการภาคบาย โดย ผศ.ดร.เกรียงไกร เตชกานนท คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

13.00 – 13.50 น.

13.50 – 14.00 น. 14.00 – 15.00 น.

“การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษทั อัญมณี และเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรน ดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)” โดย ดร.เณศรา สุขพานิช คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วิจารณบทความ โดย รศ.ดร.ภวิดา ปานะนนท คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ถาม-ตอบ “แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการ แขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย” โดย ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร วิจารณบทความ โดย คุณวนิดา พิชาลัย ผูอํานวยการฝายนโยบายและแผนพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


11

15.00 – 15.10 น. 15.10 – 17.00 น.

ถาม-ตอบ อภิปรายเรื่อง “การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ในยุคโลกาภิวัตน” 1. ดร.สุทัศน เศรษฐบุญสราง ผูแทนการคาไทย 2. คุณสันติ วิลาสศักดานนท ประธานสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย 3. ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 4. คุณวิไลวรรณ แซเตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันทแรงงานไทย

ดําเนินการอภิปรายโดย รศ.ดร.ชยันต ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

หมายเหตุ: การสัมมนาจะดําเนินเปนภาษาไทย ยกเวน การปาฐกถาพิเศษในหัวขอ “ความ รวมมือกันทางนโยบาย ระหวางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในยุคเศรษฐกิจโลกชะลอ ตัว” ที่จะดําเนินเปนภาษาอังกฤษ คณะเศรษฐศาสตร คณะเศรษฐศาสตรมหาวิ มหาวิททยาลั ยาลัยธรรมศาสตร ยธรรมศาสตร


12

สารบัญ

4 คํานํา

14 เกริ่นนํา

26 เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย

102 การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย ดร.พีระ เจริญพร

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


13

177 การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) ดร.เณศรา สุขพานิช 254 แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขัน ของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย ดร.กิริยา กุลกลการ

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


14

เกริ่นนํา การบริหารโลกาภิวตั นและความทาทายเชิงนโยบาย อาชนัน เกาะไพบูลย*

*นโยบายผูเขียนไดประโยชนอยางมากจากการสนทนากับ Professor Prema-chandra Athukorala, Arndt-Corden Division of Economics, Australian National University และ ดร. จุฑา ทิพย จงวนิชย Economics and Research Department, Asian Development Bank นอกจาก นั้นคําแนะนําเพิ่มเติมจาก รศ. ดร. ปทมาวดี ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตรไดมีสวนชวยทําใหประเด็นตางๆ ในงานเขียนมีความสมบูรณเพิ่มมากขึ้น ผูเขียน ขอขอบคุณอาจารยอลงกรณ ธนศรีธัญญากุล คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร สําหรับความชวยเหลือในการเตรียมขอมูลในครั้งนี้ดวย Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


15

โลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจ (Economic Globalization) เปนองคประกอบ ประการหนึ่งของโลกาภิวัตนที่มีการถกเถียงกันอยางกวางขวางทั้งจากผู กําหนดนโยบายและนักวิชาการทั่วโลกถึงผลประโยชนสุทธิที่ประเทศจะ ไดรับ (Bhagwati, 2004; Wolf, 2005; Irwin, 2005: Friedman, 2007) ดังจะเห็นจากการที่โลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจมักจะเปนเปาหมายหลักใน การโจมตีของกลุมผูตอตาน(Anti-globalization) ตั้งแตนักวิชาการ (เชน Stiglitz, 2002; Rodrik, 2008; Chang, 2002;2008) ไปจนถึงกลุมเอ็นจีโอ ตางๆ อยางไรก็ตามแมจะมีเสียงคัดคานแตยังไมมีผูกําหนดนโยบายหรือ แมแตกลุมที่คัดคานโลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจเสนอใหประเทศตางๆ หัน หลัง (Disintegration) ใหกบั โลกาภิวตั นทางเศรษฐกิจแตอยางใด แมในชวง ที่เศรษฐกิจโลกกําลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่นับวารุนแรงที่สุดนับจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 เปนตนมา ทุกๆ คนไมวาจะเปนกลุมสนับสนุนหรือ คัดคานตางเชือ่ วาโลกาภิวตั นเปนสิง่ ทีถ่ อยหลังยากและมีตน ทุนมหาศาลใน การถอยหลัง แตเราจะตองบริหารโลกาภิวัตนอยางไรใหแตละประเทศได ประโยชนสงู สุด และนัน่ คือโจทยเชิงนโยบายทีร่ ออยูข า งหนาและเปนหัวขอ คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


16

หลักในการสัมมนาวิชาการประจําปของคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตรในครัง้ นี้ โดยใชประสบการณทเี่ กิดขึน้ ในภาคอุตสาหกรรมไทย เปนกรณีศึกษา ในชวงกวา 3 ทศวรรษ โลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจ หรือ อางถึงตอ ไปสั้นๆ วาโลกาภิวัตนไดขยายตัวอยางรวดเร็วโดยมี 3 กลจักรหลักที่ผลัก ดันใหประเทศตางๆ ถูกเชือ่ มโยงเขาหากันอันไดแก การคาระหวางประเทศ การลงทุนระหวางประเทศโดยเฉพาะบทบาทของบริษทั ขามชาติหรือ MNEs (Multinational Enterprises) และการเคลือ่ นยายแรงงานระหวางประเทศ ทัง้ 3 ดานลวนแลวแตมีความทาทายหรือเปนโจทยเชิงนโยบายรออยูขางหนา ทั้งสิ้น ความทาทายประการแรก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ คาระหวางประเทศที่ประเทศตางๆ หันมาคาขายสินคากึ่งสําเร็จรูปหรือชิ้น สวนและสวนประกอบเพิ่มมากขึ้นในชวง 2 ทศวรรษที่ผานมา (อาชนัน, 2551; Athukorala & Kohpaiboon, 2009) อันเปนผลจากการทวีความ สําคัญของเครือขายการผลิตระหวางประเทศ หรือ International Production Networks (IPNs) ที่มีบริษัทขามชาติเปนกลจักรหลักในการขับเคลื่อน ภายใต IPNs สินคาอุตสาหกรรมชิ้นหนึ่งๆ สามารถแยกยอยออกเปนชิ้น ยอยและสามารถที่จะกระจายออกไปผลิตตามฐานการผลิตตางๆ ทั่วโลก โดยไมจําเปนที่ทุกๆ ขบวนการการผลิตตองดําเนินการในฐานการผลิต ใดฐานการผลิตหนึ่งเพียงอยางเดียว ที่สําคัญ IPNs เกิดขึ้นอยางกวาง ขวางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เชน อเมริกาเหนือ หรือยุโรป (Athukorala & Kohpaiboon, 2009) และขอมูลเชิง ประจักษไดชี้ใหเห็นวาไทยไดกลายมาเปนสวนหนึ่งของ IPNs ดานหนึ่ง การแบงขัน้ ตอนการผลิตเทากับเปนการเปดโอกาสใหประเทศตางๆ เขาไปมี สวนรวมในการคาระหวางประเทศไดมากขึน้ ในการเขาไปมีสว นรวมในการ คาระหวางประเทศนั้น ประเทศหนึ่งๆ อาจจะไมจําเปนตองมีความสามารถ ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต อาจมีเพียงบางสวน/บางชิ้นก็สามารถเขาไปมี สวนรวมได ในขณะเดียวกันการแขงขันภายใตกรอบของ IPNs ก็รุนแรงขึ้น Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


17

ดวยเพราะการแขงขันจะเกิดขึน้ ในทุกๆ ขัน้ ตอนของการผลิต ภายใต IPNs เราไมสามารถชดเชยความไมมีประสิทธิภาพในขั้นตอนการผลิตหนึ่งดวย ความมีประสิทธิภาพในอีกขั้นตอนหนึ่งได ดังในกรณีที่ทั้งขบวนการผลิต เกิดขึน้ ณ ทีใ่ ดทีห่ นึง่ นอกจากนัน้ ขัน้ ตอนการผลิตในแตละขัน้ มีมลู คาเพิม่ ไมเทากัน จึงเปนเรื่องปกติที่ประเทศตางๆ จะพยายามแยงชิงเอาขั้นตอน ที่มีมูลคาเพิ่มสูงที่สุด หรือพยายามที่จะดึงดูดทุกๆ ขั้นตอนการผลิตใหมา ตัง้ ในประเทศของตนดังสะทอนออกมาในนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ คลัสเตอร1 งานวิจัยชิ้นแรกในการสัมมนาชิ้นนี้(บทที่ 2) จะเจาะลึกลงไป ในประเด็นดังกลาวโดยเฉพาะ IPNs และคลัสเตอรอุตสาหกรรมสามารถ เกิดขึ้นพรอมๆ กันไดหรือไม และการพัฒนาเปนคลัสเตอรไดกลายมา เปนดัชนีชี้วัดความสําเร็จในการพัฒนาเชิงลึกของอุตสาหกรรมที่ถูกตอง หรือไม การวิเคราะหในเรือ่ งดังกลาวไดใชอตุ สาหกรรมฮารดดิสกของไทย เปนกรณีศึกษา ความทาทายประการที่สอง เกิดขึ้นจากการทวีความสําคัญ ของเงินลงทุนโดยตรง หรือ FDI (Foreign Direct Investment)ในประเทศ กําลังพัฒนา ดังจะเห็นไดจากปจจุบันทัศนคติของประเทศกําลังพัฒนา ตอ FDI ทั่วโลกจากเดิมที่มองวา FDI เปนเครื่องมือในการลาอาณานิคม ทางเศรษฐกิจอันหนึง่ ของประเทศพัฒนาแลว (ในชวงคริสตทศวรรษ 1960 และ 1970) ไปในทางทีด่ ขี นึ้ โดยพิจารณาวา FDI มีประโยชนตอ การพัฒนา เพราะ FDI ไมไดนาํ มาเพียงเม็ดเงินลงทุนเทานัน้ แตยงั นํามาซึง่ เทคโนโลยี ที่ทันสมัยซึ่งเปนหัวใจสําคัญที่ชวยยกระดับความสามารถทางดานการ ผลิตและทําใหเกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจทีย่ งั่ ยืน (Sustainable Growth) ดังจะเห็นไดจากประเทศตางๆ หันมาใชนโยบายเปดเสรีเพื่อรับ FDI และ แนวคิดคลัสเตอร (Cluster) ดังกลาวไดรับอิทธิพลจากแนวคิดของ M. Porter (1990) อยางไรก็ตาม แนวคิดดังกลาวเปนเพียงหนึ่งในหลายๆ แนวคิดของคลัสเตอร อุตสาหกรรม ทีส่ าํ คัญแนวคิด Cluster ของPorter (1990) ถูกวิพากษวจิ ารณอยางมาก จากนักวิชาการในสาย Economic Geography เชน Martin & Sunley (2003) หรือ Yeung (2008) ที่วาแนวคิดไมชัดเจนและเปนไปในลักษณะ one-size-fits-all

1

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


18

MNEs และสัดสวนตอเม็ดเงินลงทุน FDI ที่เขามาในประเทศตางๆ เพิ่ม ขึ้นโดยตลอดในชวง 3 ทศวรรษ (UNCTAD, 2006) แมประเทศตางๆ จะ เปลีย่ นทัศนคติและหันมาตอนรับ และในหลายๆ กรณีมกี ารแขงขันกันเพือ่ ดึงดูดใหบริษัทขามชาติเขามาลงทุนในประเทศของตน แตผลการวิจัยทั้ง ทางทฤษฎีและงานวิจัยเชิงประจักษชี้วามีโอกาสที่ FDI อาจจะสงผลเสีย ตอการพัฒนาไดเชนกัน บทวิวาทะจึงมุงไปที่การใชประโยชนจากการเขา มาของ FDI และประเด็นดังกลาวคือความทาทายประการที่สองในการ บริหารโลกาภิวัตนในงานสัมมนาครั้งนี้ (บทที่ 3) บทวิวาทะในหมูน กั วิชาการและผูก าํ หนดนโยบายทัว่ โลกมุง ไปที่ ปฏิสัมพันธระหวาง บริษัทขามชาติและผูประกอบการที่เปนคนไทย โดย เฉพาะการพิจารณาวาบริษทั ขามชาติหนั มาใชชนิ้ สวนภายในประเทศมาก นอยเพียงใดโดยเฉพาะการซือ้ จากผูป ระกอบการทีเ่ ปนคนไทย หรือบริษทั ขามชาติเหลานี้สรางการเชื่อมโยงไปยังอุตสาหกรรมตนนํ้ํา (Backward Linkages) ในประเทศที่รับการลงทุนมากนอยเพียงใด (Javorcik, 2004; Blalock & Gertler, 2008; Kohpaiboon, 2009a) สมมติฐานจากงานศึกษา เศรษฐมิติของ Javorcik (2004) และ Blalock &Gertler (2008) ชี้ใหเห็น วา Backward Linkages เปนชองทางทีผ่ ปู ระกอบการภายในประเทศจะได ประโยชน โดยเฉพาะจากการเรียนรูเ ทคโนโลยีการผลิตจากบริษทั ขามชาติ ทีด่ เี พราะทัง้ บริษทั ขามชาติและผูป ระกอบการคนไทยไดประโยชนรว มกัน โดยบริษทั ขามชาติจะไดซพั พลายเออรทมี่ คี วามสามารถและปอนสินคากึง่ สําเร็จรูปและวัตถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพทีด่ ี ในขณะทีซ่ พั พลายเออรกไ็ ดยกระดับ ความสามารถในการผลิตไปในตัว งานวิจัยชิ้นที่ 2 (บทที่ 3) ในงานสัมมนาครั้งนี้จะวิเคราะหลงลึก ในอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนตของไทย ผลงานวิจัยที่ผานมาไดชี้ชัดแลว วาภายหลังจากที่บริษัทขามชาติในอุตสาหกรรมรถยนตใชไทยเปนฐาน การผลิตเพื่อสงออกรถยนตไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค บริษัทรถยนต หันมาใชชิ้นสวนที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น (Kohpaiboon 2009b) แตการ ซื้อชิ้นสวนเปนการซื้อจาก MNEs จากตางประเทศดวยกันเอง บริษัทชิ้น Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


19

สวนของไทยถูกลดชั้นลงมาเปน ‘ซัพพลายเออรของซัพพลายเออรอีกชั้น หนึ่ง (Tier-2 ซัพพลายเออร) สวนหนึ่งเปนผลจากความไมพรอมทางดาน เทคโนโลยีของผูประกอบการภายในประเทศ2 วิวาทะดังกลาวเปดความ ทาทายเชิงนโยบายที่สําคัญวาการเปนซัพพลายเออรของซัพพลายเออรจะ ทําใหเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอยางยัง่ ยืนหรือไม เราจะตักตวงผลประโยชน จากการเปนซัพพลายเออรของซัพพลายเออรอยางไร และที่สําคัญอะไรคือ บทบาทของภาครัฐทีจ่ ะทําใหผปู ระกอบการภายในประเทศอยูร ว มกับ MNEs เหลานี้ไดอยางเหมาะสม และไดประโยชนอยางเต็มที่ ความทาทายประการที่สามที่นําเสนอในงานสัมมนาครั้งนี้(บทที่ 4) หันมาพิจารณาปจจัยผลักดันโลกาภิวัตนที่สําคัญอีกปจจัยหนึ่งคือการ เคลื่อนยายแรงงานระหวางประเทศ แมการที่แรงงานจากประเทศหนึ่งไป ทํางานในอีกประเทศหนึ่งจะไมใชเรื่องใหมแตสิ่งที่นาสนใจในปจจุบัน คือ การเคลื่อนยายแรงงานที่เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แตกตางจากการเคลื่อนยายแรงงานในอดีตเพราะการเคลื่อนยายแรงงาน ในภูมภิ าคนีส้ ว นใหญเปนการเคลือ่ นยายของแรงงานกันเองภายในภูมภิ าค เดียวกัน และรอยละ 90 เปนการเคลือ่ นยายของแรงงานทีไ่ รฝม อื หรือแรงงาน กึ่งฝมือ (Unskilled and/or Semi-skilled Labour) (Athukorala, 2006: 19) แนวโนมดังกลาวเปนปรากฏการณทจี่ ะมีนยั ตอความสามารถในการแขงขัน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจดังที่ Findlay & Jones (1998) อางวาเปน 'The การที่มีผูประกอบการคนไทยเพียงไมกี่รายเทานั้นที่สามารถรักษาสถานการณ เป น ซั พ พลายเออร ชิ้ น ส ว นสํ า คั ญ ๆ ได มี เ พี ย งไม กี่ ร ายเป น ปรากฎการณ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ประเทศอื่ น ๆ ที่ เ ป น ฐานการผลิ ต ของบริ ษั ท รถยนต เ ช น กั น เช น บราซิ ล และปรากฎการณ ดั ง กล า วถู ก กล า วถึ ง ว า เป น Denationalization นอกจากนั้ น ปรากฏการณ Denationalization ทาทายความถูกตองของขอสรุปของงานศึกษา ในอดี ต ที่ เ ชื่ อ ว า มาตรการบั ง คั บ ใช ชิ้ น ส ว นภายในประเทศในอดี ต เป น ส ว นหนึ่ ง ของความสํ า เร็ จ ในป จ จุ บั น หากมาตรการบั ง คั บ ใช ชิ้ น ส ว นภายในประเทศมี ผลจริ ง น า จะทํ า ให จํ า นวนผู ป ระกอบการที่ ดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ อั น เนื่ อ งจากมาตรการ ดังกลาวสามารถรักษาสถานความเปนซัพพลายเออรไดมากกวาที่เปนอยูในปจจุบัน 2

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


20

Newest Migratory Pole' นัยสําคัญของการเคลือ่ นยายแรงงานไรฝม อื หรือแรงงานกึง่ ฝมอื คือ การนําเขาแรงงานที่มีคาแรงงานถูกกวาจากตางประเทศเปนทาง เลือกหนึ่งที่นักอุตสาหกรรมสามารถใชในการรักษาความสามารถในการ แขงขันระหวางประเทศ อยางนอยก็ในระยะสั้นหรือในชวงที่อุตสาหกรรม กําลังจะเปลี่ยนผานไปสูการผลิตสินคาที่ใชทักษะฝมือแรงงานมากขึ้น และมีเครื่องจักรเกี่ยวของเพิ่มมากขึ้น เรื่องดังกลาวมีความสําคัญกับ อุตสาหกรรมที่ใชแรงงานมาก เชน อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมที่มี ทางเลือกในการใชระบบอัตโนมัติไดจํากัด และที่สําคัญการเคลื่อนยาย แรงงานยังเปนทางเลือกทีส่ าํ คัญสําหรับกลุม ผูป ระกอบการขนาดกลางและ ขนาดยอมหรือ SMEs (Small and Medium Enterprises) ที่มักจะประสบ ปญหาการเขาถึงแหลงเงินทุนและทําใหทางเลือกการรักษาความสามารถ ในการแขงขันมีจาํ กัด การเปลีย่ นเครือ่ งจักรหรือการยายฐานออกไปลงทุน ในตางประเทศสําหรับ SMEs จึงทําไดลําบาก ในอีกดานหนึ่งการนําเขา แรงงานตางชาติอาจสงผลถวงขบวนการพัฒนาเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการ ผลิต เพราะเมื่อผูประกอบการสามารถวาจางแรงงานตางชาติในคาแรงที่ ตํ่ากวา “อาจ” ทําใหผูประกอบการเหลานี้เฉื่อยชาตอการยกระดับความ สามารถในการผลิต และพฤติกรรมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถใน การแขงขันจะตัง้ บนสมมติฐานทีว่ า โรงงานจะสามารถเขาถึงแหลงแรงงาน ราคาถูกเสมอไป นอกจากนั้นการอนุญาตใหมีการนําเขาแรงงานตางชาติ อาจกอใหเกิดปญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมาไดเชนกัน เรือ่ งดังกลาวยังเกีย่ วของกับการแสดงบทบาทของไทยในฐานะที่ เปนประเทศผูน าํ ทางเศรษฐกิจในภูมภิ าคอินโดจีนและตัง้ อยูใ จกลางอินโด จีนทีล่ อ มรอบดวยประเทศทีม่ ฐี านะทางเศรษฐกิจดอยกวาและมีแรงงานไร ฝมอื จํานวนมาก เชน พมา ลาว และกัมพูชา พรมแดนติดกับประเทศเหลา นี้ยาวกวา 1,000 กม. แมจะตองการหามการนําเขาแรงงานเหลานี้ก็ไมใช เรือ่ งทีท่ าํ ไดงา ย นอกจากนัน้ ปจจุบนั การสงออกแรงงานเปนมาตรการหนึง่ สําหรับการแกปญ  หาความยากจนและการวางงานภายในประเทศ (Goldin Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


21

& Reinert, 2006: Chapter 6) ดังนัน้ ทาทีทเี่ หมาะสมสําหรับประเทศไทย ตอประชาคมโลกในฐานะผูนําทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดจีน คืออะไร บทความที่ 3 (บทที่ 4) ในงานสัมมนาครั้งนี้พยายามที่จะตอบคําถามเหลา นี้โดยใชอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมเปนกรณีศึกษา ประเด็นทาทายทางดานนโยบายประเด็นสุดทาย คือ การไปลงทุน ในตางประเทศของบริษัทไทย ตั้งแตตนคริสตทศวรรษ 1990 เปนตนมา ปรากฏการณใหมของการลงทุนระหวางประเทศ คือการเพิ่มบทบาทของ ประเทศกําลังพัฒนาในการออกไปลงทุนดําเนินธุรกิจในตางประเทศ (Direct Investment) ปจจุบนั ประเทศกําลังพัฒนามีบทบาทในการออกไปลงทุนใน ตางประเทศเพิ่มมาก (UNCTAD, 2006: 103 and Table 1: 7) โดยเฉพาะ อยางยิ่งการลงทุนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ไมเพียงแตเปนกลุมนัก ลงทุนที่สําคัญในกลุมประเทศกําลังพัฒนา แตยังมีลักษณะที่แตกตางจาก ประเทศกําลังพัฒนาอืน่ ๆ ทีจ่ าํ นวนประเทศกําลังพัฒนาทีอ่ อกไปลงทุนเพิม่ มากขึน้ จากเดิมทีเ่ คยกระจุกตัวอยูเ ฉพาะในกลุม ประเทศอุตสาหกรรมใหม 4 ประเทศของเอเชีย หรือ Asian NIEs (Newly Industrialized Economies) (UNCTAD, 2006: 136;Athukorala and Hill, 2002; WDI, 2005; Athukorala, 2008: Table 15) ปจจุบันทั้ง จีน อินเดีย มาเลเซีย และไทย ไดออกไปลงทุนในตางประเทศเพิ่มมากขึ้น การทวีความสําคัญของการลงทุนจากประเทศกําลังพัฒนาทําให นักวิชาการและผูกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจหันมาใหความสนใจถึงมูล เหตุจงู ใจของการออกไปลงทุนในตางประเทศของบริษทั จากประเทศกําลัง พัฒนาเหลานี้ (UNCTAD, 2006: 141) หนึง่ ในหลายๆ มูลเหตุทสี่ าํ คัญทีผ่ ลัก ดันใหประเทศในภูมภิ าคนีเ้ ริม่ ออกไปลงทุนในตางประเทศคือการออกเพือ่ เสริมสรางความสามารถในการแขงขันระหวางประเทศ (Schive & Chen, 2004; Caves, 2007; UNCTAD, 2006: Chapter 2 &147; Yeung, 2006; Bonaglia et al. 2007) โดยเฉพาะอยางยิ่งสําหรับประเทศที่กําลังประสบ ปญหาการถดถอยของความไดเปรียบทางดานคาจางอยางประเทศไทย เพราะการออกไปลงทุนในตางประเทศเปนหนึ่งในสามทางเลือกที่บริษัท คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


22

สามารถใชเพื่อรักษาความสามารถในการแขงขัน ในขณะที่อีกสองทาง เลือกไดแกการยกระดับเทคโนโลยีการผลิต (Technology Upgrading) และการนําเขาแรงงานจากตางประเทศดังที่กลาวมาแลวขางตน อะไรคือ ปจจัยที่ทําใหบริษัทเลือกการออกไปลงทุนในตางประเทศแทนที่จะยก ระดับเทคโนโลยีการผลิตและการนําเขาแรงงานราคาถูกจากตางประเทศ นอกจากนั้น การออกไปลงทุนในตางประเทศประสบปญหาอะไรที่ทําให บริษทั เหลานีไ้ มสามารถตักตวงผลประโยชนจากชองทางดังกลาวไดอยาง เต็มที่ ที่สําคัญเมื่อบริษัทเลือกที่จะออกไปลงทุนในตางประเทศจะมีผลตอ ความสามารถในการประกอบการของบริษทั ทีอ่ อกไปลงทุนอยางไรบาง ทัง้ ในแงของผลประกอบการในรูปตัวเงิน (ผลตอบแทนตอสินทรัพย และอัตรา การทํากําไร) และประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแขงขันใน ตลาดโลก และบริษัทที่ออกไปลงทุนในตางประเทศจะใชฐานการผลิตเดิม ในประเทศรวมกับฐานการผลิตใหมในตางประเทศอยางไร หรือกลาวอีก นัยหนึ่งคือการออกไปลงทุนในตางประเทศจะสงผลกระทบตอเศรษฐกิจ มหภาคอยางไร เชน ปญหาการจางงานอันเนื่องมาจากการยายฐานการ ผลิตไปตางประเทศ ปญหาดุลการชําระเงินทั้งเม็ดเงินที่ออกไปลงทุนและ ดุลการคาที่อาจเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากการออกไปลงทุนในตางประเทศ เรื่องดังกลาวจะวิเคราะหในงานวิจัยฉบับที่ 4 (บทที่ 5) ในงานสัมมนาครั้ง นี้ โดยศึกษากรณีการออกไปลงทุนของบริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) ประเด็นเชิงนโยบายทั้งสี่ประเด็นที่นําเสนอขางตนเปนเรื่องที่ ผูกําหนดนโยบายควรพิจารณาประกอบในการบริหารโลกาภิวัตนทาง เศรษฐกิจเพือ่ ใหประเทศไทยเก็บเกีย่ วผลประโยชนจากกระแสโลกาภิวตั น ทีเ่ กิดขึน้ ไดอยางเต็มทีแ่ ละนําไปสูก ารพัฒนาทีย่ งั่ ยืนได ภายใตกระแสโลกา ภิวัตนทางเศรษฐกิจดังในปจจุบัน ความผิดพลาดในการบริหารเศรษฐกิจ เพียงเล็กนอยอาจนํามาสูความเสียหายตอระบบเศรษฐกิจของประเทศได หรือทําใหตกขอบโลก (World is Flat) และนี้คือหัวขอหลักในการสัมมนา วิชาการของคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรในครั้งนี้ Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”



24 หนังสืออางอิง Athukorala, P. (2006), 'International Labour Migration in East Asia: Trends, Patterns and Policy Issues', Asian Pacific Economic Literature, 20(1): 18-39 Athukorala, P. and H. Hill (2002) ‘Host-country Impact of FDI in East Asia’, in B. Bora (ed.), Foreign Direct Investment Research Issues, Routledge, London. Athukorala, P.C. and A. Kohpaiboon (2009) ‘Intra-Regional Trade in East Asia: The Decouping Fallacy, Crisis, and Policy Challenges’ Paper for presentation to the Conference on Global Financial and Economic Crisis: Impact, Lesson and Growth rebalancing, Asia Development Bank Institute, Tokyo, 22-23 April 2009 Bhagwati, J. (2004), In Defense of Globalization,Oxford University Press, Oxford. Blalock, G. & P.J. Gertler (2008). ‘Welfare Gains from Foreign Direct Investment through Technology Transfer to Local Suppliers’, Journal of International Economics,74: 402-421. Bonaglia, F., A. Goldstein, and J.A. Mathews (2007), ‘Accelerated Internationalization by Emerging Markets’ Multinationals: The Case of the White Goods Sec tor, Journal of World Business, 42,p. 369-383. Chang, H.J. (2002), Kicking Away the Ladder: Development Strategy in Historical Perspectives, London, Anthem Press Chang, H.J. (2008), Bad Samaritans: The Myth of Free Trade and the Secret History of Capitalism, London, Bloomsbury Press. Findlay, A.M. and H. Jones, (1998), 'Regional Economic Intergration and the Emer gence of the East Asian International Migration System', Geoforum, 29(1): 87-104 Friedman, T.L. (2007), The World is Flat: A Brief History of the Twenty-First Century, New York, Farrar, Straus & Giroux. Goldin, I. and K. Reinert (2006), Globalization for Development: Trade, Finance, Aid, Migration and Policy, World Bank and Palgrave MacMillan, Washington. Irwin, D.A., (2005), Free Trade under Fire (2nd edition),Princeton University Press, Princeton. Javorcik, B.S. (2004). ‘Does Foreign Direct Investment Increase the Productivity of Domestic Firms? in Search of Spillovers through Backward Linkages’, Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


25 American Economic Review 94(3), p.605-27. Kohpaiboon, A. (2009a), ‘Vertical and Horizontal FDI Technology Spillovers: Evi dence of Thai Manufacturing’, Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) Discussion Paper, 2009-08, Jakatra Kohpaiboon, A. (2009b) Global Integration of Thai Automotive Industry, ERTC Discussion Paper, Economic Research and Training Center, Faculty of Economics, Thammasat University. Martin, R. and P. Sunley (2003), ‘Deconstructing Clusters: Chaotic Concept or Policy Panacea?’, Journal of Economic Geography, 3:5-35. Porter, M.E. (1990), The Competitive Advantage of Nations, New York, Free Press. Rodrik, D. (2008), One Economics, Many Recipes: Globalization, Institutions and Economic Growth, Princeton, Princeton University Press Stiglitz, J. (2002), Globalization and Its Discontents, Penguin Books: London UNCTAD (2006), World Investment Report : FDI from Developing and Transition Economies: Implications for Development, United Nations Conference on Trade and Development, Geneva. Wolf, M. (2005), Why Globalization Works, Yale Nota Bone Book, New Haven. Yeung, H.W.C. (2006), ‘From Followers to Market Leaders: Asian Electronics Firms in the Global Economy’, ICSEAD Working Paper Series 16, International Centre for the Study of East Asian Development, Kitakyushu. Yeung, H. W. (2008), ‘Industrial Clusts and Production Networks in Southeast Asia’,in I. Koruiwa. and T. M. Heng, Production Networks and Industrial Clusters, Institute of Developing Economics, JETRO. อาชนัน เกาะไพบูลย (2551) ปรากฏการณแบงแยกขั้นตอนการผลิตสินคา: แนวโนม รูปแบบ และนัยเชิงนโยบายตอภาคอุตสาหกรรมไทย (รายงานความกาวหนา ครั้งที่1) งานวิจัยเสนอตอสํานักงานสนับสนุนงานวิจัย, กรุงเทพฯ

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


26

เครือขายการผลิตระหวางประเทศ ในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


27

โดย

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย* คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ขอมูลทีใ่ ชงานวิจยั ชิน้ นีส้ ว นหนึง่ มาจากงานวิจยั ภายใตโครงการปรากฏการณการแบงขัน้ ตอนการผลิตสินคา: แนวโนม รูปแบบ และนัยเชิงนโยบายตอภาคอุตสาหกรรมไทย ที่ไดรับทุนสนับสนุนจากสํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผูเขียนขอขอบคุณผูประกอบการและหนวยงานราชการในความอนุเคราะหดาน ขอมูลและประเด็นขอเท็จจริงตางๆ ทีท่ าํ ใหผเู ขียนเขาใจอุตสาหกรรมฮารดดิสกไดดขี นึ้ ผูเ ขียนไดรบั ประโยชน จากการพูดคุยกับ ดร. จุฑาทิพย จงวนิชย Economic and Research Department, Asian Development Bank Professor F. Kimura Kieo Faculty of Economics, Keio University อาจารย ประเสริฐ วิจิตร นพรัตน คณะวิทยการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแกนและอาจารย อลงกรณ ธนศรีธญ ั ญากุล คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


28

1 ความสําคัญของปญหา

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


29

เครือขายการผลิตระหวางประเทศหรือ International Production Networks (IPNs) เปนปรากฎการณทกี่ ารแบงแยกขัน้ ตอนการผลิตสินคาชนิดหนึง่ ๆ เปน ชิ้นยอยๆ และกระจายไปผลิตยังประเทศตางๆ แทนที่จะเปนการผลิตสินคา ทุกขัน้ ตอนตัง้ แตเริม่ ตนจนกระทัง่ เปนสินคาสําเร็จรูปในประเทศเดียวกัน ภาย ใต IPNs ประเทศแตละประเทศมีแนวโนมที่จะผลิตชิ้นสวนของสินคาเพียง บางสวนและสงออกไปยังฐานการผลิตอื่นๆ ซึ่งอาจจะเปนคนละประเทศเพื่อ นําไปผลิตตอไป ดังนั้นการผลิตภายใต IPNs จะเกี่ยวของกับการคาระหวาง ประเทศอยางมากทั้งการพึ่งพาชิ้นสวนจากประเทศอื่นๆ มาผลิต และผลผลิต ที่ไดอาจจะนําไปเปนชิ้นสวนเพื่อใชในการผลิตสินคาขั้นตอไป เชน การผลิต ฮารดดิสกจําเปนตองนําเขาแผน Wafer และชิ้นสวนอิเล็กทรอนิกสจากตาง ประเทศ และเมื่อประกอบเปนฮารดดิสกเสร็จก็จะนําไปใชเปนชิ้นสวนในการ ผลิตคอมพิวเตอรตอไป เปนตน IPNs เปนที่รูจักในชื่อที่แตกตางกันออกไป เชน การแบงแยกขั้นตอนการผลิต (International Production Fragmentation), ความเชีย่ วชาญในแนวดิง่ (Vertical Specialization) การแบงหวงโซการ ผลิต (Slicing Value Chain) หรือ Outsourcing แตชื่อตางๆ เหลานี้อางอิงถึง ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


30

ขบวนการแบงขบวนการผลิตออกเปนขั้นตอนยอยๆ ทั้งสิ้น IPNs เปนปรากฎการณสําคัญที่สุดของโลกที่มีผลตอทิศทางและรูป แบบการคาและการลงทุนของโลกในชวงทศวรรษสุดทายของคริสตศตวรรษที่ 21 ดังจะเห็นไดวา ชิน้ สวนเปนสินคาอุตสาหกรรมทีข่ ยายตัวเร็วทีส่ ดุ ในการคา โลก (Athukorala & Kohpaiboon, 2009; อาชนัน, 2552) ในอนาคต IPNs ยังคงมีบทบาทสําคัญตอการคาและการลงทุนของโลกตอไป นัยสําคัญของการ ทวีความสําคัญของ IPNs คือ เมื่อขั้นตอนการผลิตถูกแบงแยกออก เทากับ เปนการเปดโอกาสใหประเทศตางๆสามารถเขามีสวนรวมในการคาระหวาง ประเทศเพิม่ มากขึน้ ภายใต IPNs ประเทศตางๆ ไมจาํ เปนตองมีความสามารถ การผลิตในทุกๆ ขั้นตอน อาจมีเพียงบางสวน/บางชิ้นก็สามารถเขาไปมีสวน รวมในเครือขายการผลิตและการคาระหวางประเทศได ในขณะเดียวกันการ แขงขันภายใตกรอบของ IPNs ก็รุนแรงขึ้นดวยเพราะการแขงขันจะไมเกิด ขึ้นเฉพาะผลิตภัณฑขั้นสุดทายแตจะเกิดในทุกๆขั้นของการผลิตหรือกลาว อีกนัยหนึง่ การผลิตภายใต IPNs เปนการแบงงานตามความชํานาญในระดับที่ ละเอียดขึน้ และนําเอาความสามารถในการแขงขัน (Comparative Advantage) ที่แตละประเทศมีมาใชประโยชนอยางเต็มที่ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต ดังนั้น การตัดสินใจการผลิตสินคาภายใต IPNsไมเพียงแตจะพิจารณาวาจะผลิต เทาไร แตตองพิจารณาดวยวาจะผลิตชิ้นสวนนี้ที่ใด และจะสงผลิตภัณฑไป ที่ตลาดใดควบคูกันไปดวย ในบริบทของประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก IPNs มีความสําคัญ มากเพราะเปนภูมิภาคที่บริษัทขามชาติไดเขามาลงทุนและใชประโยชนจาก IPNs มากกวาเมือ่ เทียบกับภูมภิ าคอืน่ ๆ (Athukorala, 2006) และ เพราะการ ขยายตัวของ IPNs เปนสาเหตุหลักทีท่ าํ ใหประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก หันมาคาและลงทุนระหวางกันเองในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น1 ดังนั้นความสนใจจึง มุง มาทีร่ ะดับความสําคัญของ IPNs ปจจัยทีท่ าํ ใหประเทศหนึง่ สามารถเขาไป ในเครือขายและรักษาสถานภาพในเครือขายไดและการไดรับประโยชนจาก การอยูในเครือขายมากที่สุด อยางไรก็ตามงานศึกษาที่ผานมาสวนใหญการ อางอิงบทบาทความสําคัญของ IPNs ในการคาและการลงทุนระหวางประเทศ Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


31

ใชขอมูลทุติยภูมิเปนหลัก เชน Ng& Yeats (2003), Kimura & Ando (2005), Athukorala (2006; 2008a; 2008b), Athukorala & Kohpaiboon (2008), Athukorala & Kohpaiboon (2009) และ Jongwanich (2009) ถึงแมวาการ วิเคราะหขอมูลทุติยภูมิดังกลาวจะสะทอนใหเห็นธุรกรรมที่สืบเนื่องจากการ ทวีความสําคัญของ IPNs และผลของ IPNs ที่มีตอทิศทางการคาและการ ลงทุนระหวางประเทศ แตไมสามารถใหภาพเชิงลึกของสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับ อุตสาหกรรมโดยเฉพาะ Puzzle ในเรื่องเกี่ยวกับการสรางและขยายเครือขาย ในประเทศที่เปดโอกาสใหกลุมผูประกอบการทองถิ่น (Indigenous Firms) ได เขาไปมีสวนรวม ซึ่งงานศึกษาที่มีอยูบางไดแก เชน Borrus et al. (2000) ที่ วิเคราะหในกลุมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสและเครื่องใชไฟฟาในกลุมบริษัท ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Hiratsuka (2006, 2008), McKendrick et al.(2000), Berger(2005) ที่วิเคราะหในอุตสาหกรรมฮารดดิสกใน ภูมิภาค ดังนั้น งานศึกษาฉบับนี้จึงเลือกที่จะศึกษาเจาะลึกโดยมุงไปที่การ วิเคราะหการเกิด IPNs ในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย ดวยเหลุผลหลัก 3 ประการ คือ ประการแรก อุตสาหกรรมฮารดดิสกเปนชิ้นสวนที่มีกลไก ที่เคลื่อนไหวที่ซับซอนมากที่สุดในคอมพิวเตอร และชิ้นสวนแตละอยางใน ฮารดดิสกมคี วามแตกตางกันอยางมากในแงของมูลคาและเทคโนโลยีการผลิต (McKendrick et al., 2000) โดยตัวผลิตภัณฑมีศักยภาพที่จะใชประโยชน จาก IPNs และงานศึกษาในอดีต เชน Hiratsuka(2006, 2008), McKendrick et al.(2000), Berger(2005) ชี้ใหเห็นวาบริษัทขามชาติในอุตสาหกรรมนี้ได ใชประโยชนจาก IPNs อยางมาก ประการที่สอง พัฒนาการของอุตสาหกรรม ฮารดดิสกเปนกรณีศกึ ษาทีน่ า สนใจเพราะประเทศไทยเริม่ จากการเปนฐานการ ประกอบชิน้ สวนเมือ่ กลางคริสตทศวรรษ 1980 (1983) แตปจ จุบนั ประเทศไทย อยางไรก็ตามการทีป่ ระเทศในภูมภิ าคนีห้ นั มาคาขายกันเองเพิม่ มากขึน้ ไมไดหมายความ วาภูมภิ าคมีความเชือ่ มโยงกับภูมภิ าคอืน่ ๆ โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกาเหนือนอยลง ดูราย ละเอียดเพิม่ เติมใน Athukorala & Kohpaiboon (2009) สําหรับภาพรวมของภูมภิ าคเอเชีย ตะวันออกและอาชนัน (2552) สําหรับกรณีของไทย 1

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


32

เปนผูส ง ออกฮารดดิสกมากเปนอันดับทีส่ องของโลกเมือ่ พิจารณาจากสวนแบง ตลาดโลก (ดูรายละเอียดเพิม่ เติมในสวนที่ 5) ประการสุดทาย แมผลงานศึกษา ในอดีตโดยเฉพาะ Hiratsuka(2006, 2008) ชีใ้ หเห็นวาอุตสาหกรรมฮารดดิสก ใชประโยชนจาก IPNs อยางมาก แตผลการศึกษาดังกลาวดูเหมือนจะขัดกับ สิง่ ทีพ่ บจากแนวโนมการลงทุนในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย คือการเกิด คลัสเตอรฮารดดิสก งานศึกษาเกี่ยวกับ Economic Geography เชน Krugman (1991) หรือ Fujita et al. (1999) Sturgeon (2003) เปนตน ชีว้ า คลัสเตอร อุตสาหกรรมกับเครือขายการผลิตเปนสิ่งที่ตรงกันขามกัน เพราะ IPNs คือ การผลิตที่เกิดขึ้นในลักษณะที่ฐานการผลิตชิ้นสวนไมจําเปนตองอยูในพื้นที่ ทีใ่ กลเคียงกันและมักจะเกิดขึน้ ในลักษณะระหวางประเทศ ในขณะทีค่ ลัสเตอร อุตสาหกรรมมักจะอางอิงถึงการกระจุกตัวของกลุม ผูผ ลิตในอุตสาหกรรมหนึง่ ทีค่ รอบคลุมทัง้ สินคาสําเร็จรูปและอุตสาหกรรมสนับสนุน (Yeung, 2009: 88) ดังนั้น อุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทยจึงเปนกรณีศึกษาที่นาสนใจทั้งกับผู กําหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย และชวยสรางองคความรูใหม ใหแกงานศึกษาในสาขานี้ดวย องคประกอบของบทความนีจ้ ะเริม่ จากการนําเสนอความสําคัญของ ปญหา ซึ่งเปนสวนแรก ตามดวยสวนที่ 2 ซึ่งเปนระเบียบวิธีวิจัย ในสวนที่ 3 นําเสนอกรอบแนวคิดและทฤษฏีที่ใชประกอบการวิเคราะห สวนที่ 4 อธิบาย นโยบายทีเ่ กีย่ วของกับอุตสาหกรรมฮารดดิสกโดยใหความสําคัญกับนโยบาย การคาและการลงทุน ในสวนที่ 5 นําเสนอผลการดําเนินงานของอุตสาหกรรม ฮารดดิสกของไทยและภาพเชิงเปรียบเทียบระหวางประเทศ ตามสวนที่ 6 ภาพเชิงลึกการเกิด IPNs ในอุตสาหกรรมฮารดดิสก และสุดทายสวนที่ 7 จะ เปนการนําเสนอบทสรุปและนัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม



34

2 ระเบียบวิธีวิจัย

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


35

ระเบียบวิธีวิจัยในบทความนี้ใชวิธีสัมภาษณกลุมตัวอยางที่ไดมาจากการทํา Purposive Sampling ซึ่งแตกตางจากการสุมตัวอยางทั่วไป หรือ Probability Sampling ตรงที่ Probability Sampling จะเปนการเลือกกลุม ตัวอยางแบบสุม จากกลุม ประชากรทัง้ หมด (ในทีน่ คี้ อื ผูผ ลิตฮารดดิสกและผูผ ลิตชิน้ สวนตางๆ ) เพื่อเอากลุมตัวอยางที่สุมไดมาเปนอนุมานขอมูลเชิงปริมาณเพื่อเปนตัวแทน ของประชากรรวม ในขณะที่ Purposive Sampling จะเปนการเลือกตัวอยางที่ สามารถใหขอ มูลเชิงลึก เชน บริษทั ชัน้ นํา หรือบริษทั ทีม่ ปี ระสบการณโดยตรง กับหัวขอวิจยั นัน้ (Patton, 1990) เนือ่ งจากจุดประสงคของบทความนีค้ อื การ ศึกษาเชิงลึกของการเกิด IPNs ในอุตสาหกรรมฮารดดิสกและพัฒนาการใน แตละชวงเวลา ดังนั้นการใชวิธี Probability Sampling Technique จึงไมนา จะเหมาะสม เพราะบางตัวอยางไมสามารถใหขอมูลที่เกี่ยวของโดยตรงได และการตอบแบบสอบถามไมนาจะเปนทางที่เหมาะสมสําหรับขุดเจาะขอมูล พัฒนาการของอุตสาหกรรม ดังนั้น วิธี Purposive Sampling จึงนาจะเปนวิธี การที่เหมาะสมกวา ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


36

วิธีการสัมภาษณจะใชการสัมภาษณแบบเปดในลักษณะที่นักวิจัยใหแนวทาง การสัมภาษณกบั ผูถ กู สัมภาษณและใหโอกาสแกผถู กู สัมภาษณแสดงความคิด ในประเด็นดังกลาวจากประสบการณจริงของผูถูกสัมภาษณ ขอดีของการใช วิธีการนี้คือสามารถเก็บประเด็นตางๆ ไดดีกวาเพราะผูใหสัมภาษณจะแสดง ความคิดเห็นจากประสบการณสวนตัวและมีโอกาสที่ผูสัมภาษณจะไดขอมูล อื่นๆ ที่สําคัญเพิ่มเติม อยางไรก็ตาม ขอเสียของวิธีการนี้ คือในบางกรณีผูถูก สัมภาษณมคี วามสนใจเฉพาะดาน จนทําใหขอ มูลทีไ่ ดไมครบถวนตามประเด็น ที่ตองการ (Morawetz, 1981) ในบางกรณีจึงจําเปนตองอาศัยการสัมภาษณ รอบที่สองกับบุคคลอื่นๆ ในประเด็นที่ยังไดขอมูลไมครบถวน แนวการสัมภาษณในงานวิจัยนี้เริ่มตนโดยการถามคําถามทั่วไป เกี่ยวกับบริษัท เชน ขนาดของกิจการ ประเภทผลิตภัณฑ ศักยภาพการผลิต โครงสรางบริษทั (เปนของตางชาติ คนไทย หรือรวมทุน) เปาหมายในการผลิต (บริโภคในประเทศหรือสงออก) ฯลฯ จากนั้นจึงพยายามเจาะลึกลงไปในราย ละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนของ IPNs โดยเริ่มจากมุมมองโดยทั่วไปเกี่ยวกับ ภาพรวมของการพัฒนาอุตสาหกรรมทีผ่ า นมา ตามดวยความคิดเห็นเกีย่ วกับ การพัฒนาการของ IPNs การจัดหาแหลงชิน้ สวนและวัตถุดบิ ประเด็นสุดทาย เปนประเด็นเปดกวางเกี่ยวกับสภาพปญหาและอุปสรรคที่อุตสาหกรรมกําลัง เผชิญและเกี่ยวของกับนโยบายของรัฐ การสั ม ภาษณ ไ ด ดํ า เนิ น การในช ว งเดื อ นพฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2551-เมษายน พ.ศ. 2552 ผูถ กู สัมภาษณสว นใหญจะเปนผูบ ริหารระดับกลาง ถึงสูงจากบรรดาผูประกอบการตางๆ นอกจากนั้น นักวิจัยยังไดสัมภาษณผู กําหนดนโยบายของภาครัฐประกอบดวย ตัวอยางที่ไดมีการสัมภาษณทั้งสิ้น 8 ตัวอยางประกอบดวยผูประกอบการภาคเอกชน 5 ราย เจาหนาที่ภาครัฐ 3 ราย อนึ่งการสัมภาษณทุกครั้งทําโดยตัววิจัยและเขียนรายงานฉบับนี้เอง ประเด็นหลักในการสัมภาษณไดแสดงไวในภาคผนวกที่ 1

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม



38

3 กรอบแนวคิด

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


39

เครือขายการผลิตระหวางประเทศ หรือ International Production Networks (IPNs) ไมใชเรือ่ งใหมแตเปนกลยุทธทบี่ ริษทั นํามาใชเพือ่ เพิม่ ความสามารถใน การแขงขันตัง้ แตปลายคริสตทศวรรษ 1960 (Richardson, 1972; Watanabe, 1972; Helleiner 1973; Finger 1975; Sharpton, 1975; Borrus et al. 2000) แต IPNs ไดรบั ความสนใจจากนักเศรษฐศาสตรเพิม่ มากขึน้ ในชวงกลางคริสต ทศวรรษ 1980 เปนตนมา เนือ่ งจากปจจัยสําคัญ 4 ประการ ประการแรก คือ ความกาวหนาทางดานเทคโนโลยีทําใหผูผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส และอุตสาหกรรมรถยนตสามารถแบงแยกขั้นตอนการผลิตได (Divisibility) ดังนั้นขบวนการผลิตของสินคาสําเร็จรูปจากที่เคยดําเนินตั้งแตขั้นตอนแรก จนถึงขัน้ สุดทายภายในประเทศหนึง่ ๆ และดําเนินเพือ่ Brand เฉพาะไดกลาย มาเปนการแบงแยกออกเปนขั้นตอนยอยๆ ตั้งแตการออกแบบผลิตภัณฑ การพัฒนาชิ้นสวนตนแบบ การผลิตชิ้นสวนในขบวนการผลิต การประกอบ การทดสอบและการบรรจุ (Krugman, 1995; Lall et al. 2004; Kohpaiboon, 2006) และทีส่ าํ คัญแหลงการผลิตชิน้ สวนแตละชิน้ สวนสามารถทีจ่ ะเลือกวาจะ ผลิตทีใ่ ดในโลกก็ไดตราบเทาทีส่ ามารถผลิตและจําหนายไดในราคาตลาดโลก ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


40

ปจจัยประการที่สอง คือ ความกาวหนาทางดานเทคโนโลยีการ คมนาคมและสื่อสารระหวางประเทศ ทําใหตนทุนการติดตอประสานงาน ระหวางประเทศลดลง (Wolf, 2001) ดังจะเห็นไดจากคาโทรศัพทระหวาง ประเทศจากมหานครนิวยอรกไปยังกรุงลอนดอนลดลงจาก 250 เหรียญสรอ. ในป ค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) ลดลงเหลือไมกี่เซนตในปจจุบัน หรือ Internet Hosts ไดเพิ่มจาก 5,000 ในป 1986 (2529) เปนมากกวา 30 ลานในปจจุบัน (Wolf, 2001: 181-182) Hummels (2007) ชี้ใหเห็นวาคาขนสงทางอากาศ และทางเรือไดพัฒนาขึ้นและทําใหตนทุนการขนสงสินคาระหวางประเทศลด ลงอยางมาก หรือในหนังสือ Death of Distance ของ Carincross (1997) ที่อางวาคริสตศตวรรษที่ 19 เปนความกาวหนาในการขนยายสินคา คริสต ศตวรรษที่ 20 เปนความกาวหนาในการขนยายคนและคริสตศตวรรษที่ 21 เปนความกาวหนาในการขนยายขอมูลขาวสาร ประการทีส่ าม การลดภาษีนาํ เขาของประเทศกําลังพัฒนาตางๆ อัน เนือ่ งมาจากพันธะผูกพันในการเจรจาพหุภาคีขององคการการคาโลก (World Trade Organization: WTO) โดยเฉพาะในสวนทีเ่ กีย่ วกับสินคาไอที (Information Technology Agreement : ITA) (Fliess & Sauve, 1997) กําแพงภาษี นําเขาเปนเรือ่ งสําคัญในสถานการณทขี่ นั้ ตอนการผลิตมีการแบงแยกออกเปน ขั้นตอนยอย ๆ เพราะภายใต IPNs นั้น สินคาขั้นกลางตางๆ จะตองผานเขา ออกประเทศตางๆ หลายๆ ครัง้ ดังนัน้ แมอตั ราภาษีนาํ เขาเพียงเล็กนอยในขัน้ ตอนหนึง่ ก็มผี ลตอการเพิม่ ตนทุนไปยังขัน้ ตอนอืน่ ๆ และสงผลใหกลายมาเปน ภาระตอตนทุนการผลิตโดยรวมได ดังที่ Yi (2003) เรียกวาเปน Magnification Effects ในทางกลับกันการลดภาษีนาํ เขาเพียงเล็กนอยในชิน้ สวนหนึง่ ๆจะสง อยางมีนัยสําคัญตอความสามารถในการแขงขันของสินคาสําเร็จรูปโดยรวม ประการสุดทาย ความกาวหนาทางเทคโนโลยีทําใหชิ้นสวนที่เคย ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสินคาสําเร็จรูปประเภทหนึ่งไดกลายมาเปนชิ้นสวนรวมที่ สามารถนําไปประยุกตใชกบั สินคาสําเร็จรูปประเภทอืน่ ๆ ตัวอยางเชน Longlasting battery ที่ในชวงตนๆ พัฒนาเพื่อใชในโทรศัพทมือถือ แตปจจุบันได กลายมาเปนชิน้ สวนทีใ่ ชในเครือ่ งใชไฟฟาอืน่ ๆ จํานวนมาก เชน Organizers, MP3, คอมพิวเตอรโนตบุค รวมไปถึงขีปนาวุธ (Jones & Kierkowski, 2001b; Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


41

Athukorala, 2005; Nishimura, 2005) หรือกรณีคอมพิวเตอรชิพไมไดถูกใช เฉพาะในคอมพิวเตอรอกี ตอไป แตถกู นําไปใชในรถยนต กลองถายรูปดิจติ อล ดังนั้น โอกาสทางธุรกิจของการผลิตชิ้นสวนและสวนประกอบจึงเพิ่มมากขึ้น เพื่ อ อธิ บ ายแรงจู ง ใจการแบ ง แยกขั้ น ตอนการผลิ ต ของบริ ษั ท บทความนี้ใชกรอบแนวคิดที่พัฒนาโดย Jones & Kierzkowski (1990) โดย เริ่มจากบริษัทมีทางเลือกการผลิตระหวางการผลิตทุกๆขั้นตอน ณ ฐานการ ผลิตแหงใดแหงหนึ่ง กับการแบงแยกการผลิตสินคาออกเปนกิจกรรมการ ผลิตยอยๆ หรือเรียกวา Value Chain โดยที่ในแตละ Value Chain ไมจําเปน ตองใชเทคโนโลยีการผลิตที่เหมือนกัน บาง Value Chain อาจใชเครื่องมือ เครือ่ งจักรทีท่ นั สมัยและจําเปนตองใชวศิ วกรและนักวิทยาศาสตรจาํ นวนมาก ในขบวนการผลิต ในขณะที่อีก Value Chain การผลิตพึ่งพาแรงงานกึ่งฝมือ มาทํางานรวมกับเครื่องมือเครื่องจักรงายๆ ที่สําคัญแตละ Value Chain ไม จําเปนตองอยูในพื้นที่เดียวกันเพื่อใหเกิดความชัดเจนเราใหความสําคัญกับ กรณีที่ Value Chain สามารถกระจายไปยังประเทศตางๆ ได การตั ด สิ น ใจว า จะเลื อ กดํ า เนิ น การกั บ Value Chain ด ว ยกั น ทั้งขบวนการผลิตหรือจะกระจายไปดําเนินการในตางประเทศ ขึ้นอยูกับ ประโยชนสทุ ธิตอ ความสามารถในการแขงขันในสินคาสําเร็จรูปของแตละทาง เลือก ประโยชนที่ไดจากการแบงขั้นตอนการผลิตคือการที่บริษัทสามารถ ใชประโยชนจากความชํานาญจากบริษัทอื่นๆมาเสริมสรางความสามารถ ในการแขงขันของสินคาสําเร็จรูป ความชํานาญอาจจะเกิดขึ้นจากการเปน เจาของเทคโนโลยีเฉพาะและ/หรือความไดเปรียบทางดานแรงงาน ในขณะ เดียวกันการแบงยอยขัน้ ตอนการผลิตมีตน ทุนเพิม่ ขึน้ กับผูผ ลิตสินคาสําเร็จรูป เนื่องจากวาชิ้นสวนและสวนประกอบที่ผลิตในแตละ Value Chain มีลักษณะ เฉพาะ ดังนั้น ผูผลิตสินคาสําเร็จรูปตองประสาน อธิบาย และตรวจสอบ คุณภาพชิน้ สวน นอกเหนือจากการเจรจาตอรองราคาและปริมาณเพือ่ ใหแนใจ ชิน้ สวนและสวนประกอบทีผ่ ลิตมีคณ ุ ภาพและคุณสมบัตติ ามทีต่ นตองการ งาน ศึกษาทางดานทฤษฎี เชน Spencer (2005) และ Helpman (2006) ไดใหความ สําคัญของเรือ่ งดังกลาวอยางมาก และเชือ่ วาการกํากับคุณภาพของชิน้ สวนไม สามารถระบุลงไปในสัญญาไดทงั้ หมด (Incomplete Contract) นอกจากตนทุน ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


42

ธุรกรรม(Transaction Costs) อันเนือ่ งจากการประสาน อธิบาย และตรวจสอบ คุณภาพ และยังมีตนทุนการขนสงโดยเฉพาะในกรณีที่กระจาย Value Chain ระหวางประเทศ มีตนทุนธุรกรรม ในการติดตอประสานระหวางบริษัทเพื่อ ทําใหแผนการผลิตและการสงมอบในแตละ Value Chain สอดคลองกันและ มีประสิทธิภาพ และยังมีความเสี่ยงที่เทคโนโลยีจะรั่วไหลไปยังบริษัทอื่นๆ2 ดวยปจจัยเหลานี้การแบงแยกขั้นตอนการผลิตจึงมีตนทุนเกิดขึ้น ซึ่ง Jones & Kierzkowski (1990) เรียกวาเปน Service Link เพือ่ ใหสามารถนําเสนอไดชดั เจนขึน้ ถึงการตัดสินใจทีบ่ ริษทั จะเลือก ใชประโยชนจาก IPNs Jones & Kierzkowski (1990) ไดสมมติเพิ่มเติมให กิจกรรมการผลิตสินคาเปนการผลิตทีม่ ผี ลไดตอ ขนาดคงที่ (Constant Return to Scale) กลาวคือ ความสามารถในการแขงขันไมไดขึ้นอยูกับปริมาณการ ผลิต ไมวาจะผลิตนอยหรือมาก ตนทุนโดยตรงจากการผลิตไมแตกตางกัน และตลาดปจจัยการผลิตทีม่ กี ารแขงขันทีส่ มบูรณ หากสินคาสําเร็จรูป ทําการ ผลิตในหนวยผลิตแหงเดียว เสนตนทุนการผลิตรวม (Total Cost Function) จะเปนเสนตรงที่ออกจากจุดกําเนิด (Origin) โดยที่ตนทุนรวมเปนแกนตั้งและ ปริมาณการผลิตเปนแกนนอน และความชันจะสะทอนใหเห็นถึงตนทุนเฉลีย่ ตอ หนวย แตหากผูผลิตสินคาสําเร็จรูปแบงขั้นตอนการผลิตออกเปน 2 Value Chain เพือ่ ใชประโยชนจากความไดเปรียบทีห่ ลากหลายของแตละหนวยผลิต ประโยชนที่ไดจากการแบงแยกขั้นตอนการผลิต คือ ตนทุนการผลิตสินคา สําเร็จรูปตอหนวยที่ลดลงดังสะทอนจากระดับความชันของเสนตนทุนการ ผลิตจะลดลง แตผูผลิตตองจาย Service Link ในการประสานระหวาง Value Chain ทั้งสองเขาดวยกัน สมมติใหตนทุนดังกลาวเปนตนทุนคงที่ ดังนั้น แม เสนตนทุนการผลิตจะมีระดับความชันลดลง แตจะเปนเสนตรงที่มีจุดตัดแกน ตั้งที่มากกวาศูนย (Positive Intercept) ไมไดออกจากจุดกําเนิดเหมือนกรณี ที่ไมแบงขั้นตอนการผลิต

2

อางใน Ruane and Görg (2001: 147) วาเปน Spillovers ที่ไมไดตั้งใจใหเกิด

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


43

จากภาพที่ 1 สมมติใหผูผลิตมีทางเลือกวาจะแบงขั้นตอนการผลิต ออกเปน 2 3 หรือ 4 Value Chains เสนตนทุนการผลิตรวมในแตละกรณีแสดง โดยเสน I, II, III และ IV ตามลําดับ เชน เสน I เปนเสนตนทุนการผลิตรวมใน กรณีที่ผูผลิตไมแบงขั้นตอนการผลิต ในขณะที่เสน II เปนเสนตนทุนการผลิต รวมในกรณีที่ผูผลิตแบงขั้นตอนการผลิตออกเปน 2 ขั้นตอน เปนตน ระดับ การแบงขั้นตอนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะทําใหระดับความชันของเสนตนทุนการ ผลิตลดลง (หรือตนทุนตอหนวยลดลง) แตจะมีตนทุนคงที่เพิ่มขึ้นและทําให จุดตัดแกนตั้งเพิ่มสูงขึ้น (ซึ่งแสดงถึงตนทุน Service Link) ดังนั้นเสน I จะมี ความชันมากที่สุดและออกจากจุดกําเนิด ในขณะที่เสน IV จะมีความชันนอย ที่สุดแตมีจุดตัดแกนตั้งสูงที่สุด เสน II และ III เปนกรณีตรงกลางระหวาง I และ IV การเลือกวาจะแบงขั้นตอนการผลิตกี่ขั้นตอนขึ้นอยูกับปริมาณการ ผลิตสินคา หากปจจัยอื่นๆ คงที่และเปาหมายการผลิต คือ ทําใหตนทุนการ ผลิตตํ่าที่สุด เสนตนทุนการผลิตที่ผูผลิตเผชิญก็จะเปนการเชื่อมตอสวนของ เสนตนทุนการผลิตในสวนทีต่ าํ่ ทีส่ ดุ ในแตละกรณีตามทฤษฎี Envelope ดังเสน หนาทึบในภาพที่ 1 ตัวอยางเชน ณ ปริมาณการผลิตที่ หากเราทําการผลิต โดยไมแบงขัน้ ตอนการผลิต เราจะมีตน ทุนเทากับ I แตหากแบงขัน้ ตอนการ ผลิต เปน 2 และ 3 Value Chains จะไดตนทุนเทากับ II และ III เนื่องจาก I II แต II III ดังนัน้ ทางเลือกทีด่ ที สี่ ดุ คือกระจายเพียง 2 หนวย การผลิตเทานัน้ เมือ่ เทคโนโลยีการติดตอสือ่ สารและคมนาคมพัฒนาอยางตอ เนือ่ ง จะทําใหตน ทุนการประสานระหวางหนวยผลิตแตละหนวยลดลง ดังนัน้ เสนฟงกชนั การผลิตทีผ่ ผู ลิตเผชิญ (เสนหนาทึบ) จะปรับลดลงและหมายถึงแรง จูงใจทีผ่ ผู ลิตจะตัดสินใจแบงขัน้ ตอนการผลิตใหมากขึน้ เชนกันหากเศรษฐกิจ โลกขยายตัวตอเนือ่ งจะทําใหความตองการเพิม่ ขึน้ อยางตอเนือ่ ง (ปริมาณการ ผลิต หรือจะขยับออกไปทาวขวาเพิ่มขึ้น) และทําใหบริษัทหันมาใชเครือขาย การผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แขงขันเพิ่มมากขึ้น

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


44

4 ภาพรวมนโยบาย

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


45

ตลอดชวง 40 ปที่ผานมา ประเทศไทยมีบรรยายกาศการลงทุนที่เอื้อตอการ ที่บริษัทขามชาติจะเขามาดําเนินธุรกิจ (Conducive Investment Climate) ดั ง จะเห็ น ได จ ากประเทศไทยมี เ สถี ย รภาพทางเศรษฐกิ จ มหภาคทั้ ง ทาง ดานราคาและอัตราแลกเปลี่ยน มีการรักษาวินัยทางการเงินการคลังอยาง เครงครัด บทบาทภาครัฐในระบบเศรษฐกิจจํากัดอยูที่การลงทุนเพื่อพัฒนา ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Akira, 1989: 180) ในสวนที่เกี่ยวกับการเขา มาลงทุนดําเนินธุรกิจของบริษัทตางชาติ ภาครัฐมีนโยบายที่เปดเสรี ไมมี นโยบายเลือกปฏิบัติที่เอื้อประโยชนกับบริษัทคนไทยเหนือนักลงทุนตางชาติ ที่เขามาประกอบธุรกิจในไทย เชนนักลงทุนตางชาติสามารถเขามาประกอบ กิจการไดแทบทุกชนิด หรือในกรณีทมี่ ขี อ จํากัดในบางสาขา เชน ธุรกิจสถาบัน การเงิน (ธนาคาร ประกันภัย) ขอจํากัดจะบังคับใชทั้งกับนักลงทุนทั้งที่เปน คนไทยและนักลงทุนตางชาติ แมภายใตกฎหมายการประกอบธุรกิจของคน ตางดาว (Alien Business Law) ซึ่งเปนแกไขจากประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว. 281) จะมีการสงวนอาชีพบางสาขาเฉพาะสําหรับคนไทย แตธรุ กิจที่ อยูภ ายใตกฎหมายดังกลาวสวนใหญเปนธุรกิจในภาคบริการเฉพาะบางสาขา ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


46

ในขอบเขตทีจ่ าํ กัด เชน สือ่ สารมวลชน (หนังสือพิมพ วิทยุ โทรทัศน สือ่ ตางๆ) ธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรกรรม ไมไดเกี่ยวของกับภาคอุตสาหกรรม แมนักลงทุนตางชาติจะมีขอจํากัด เชน สิทธิการถือครองที่ดิน การ จางแรงงานตางชาติ3 แตขอ จํากัดเหลานีเ้ ปนสวนหนึง่ ของสิทธิพเิ ศษทีบ่ ริษทั จะไดรับจากการขอรับบัตรสงเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการสงเสริมการ ลงทุนหรือ BOI (Board of Investment)4 ดังนั้น ขอจํากัดดังกลาวจึงไมนา สงผลกีดกันการดําเนินธุรกิจของนักลงทุนตางชาติแตอยางใด ในขณะที่การ เคลือ่ นยายผลตอบแทนการลงทุนก็สามารถทําไดเสรีไมวา จะเปนผลกําไร เงิน ลงทุนหรือเงินโอนอื่นๆ แมในกอนตนคริสตทศวรรษ 1990 ที่ธนาคารแหง ประเทศไทยมีการควบคุมการเคลื่อนยายเงินทุนระหวางประเทศ (Capital Control) แตเงินตราตางประเทศในสวนทีเ่ กีย่ วของกับการลงทุนโดยตรง เชน เงินทุน กําไร ปนผล ดอกเบี้ยและเงินตน คาลิขสิทธและคาใชจายตามเงื่อนไข อื่นๆ ก็เคยถูกจํากัดอยูดี นโยบายการคาและนโยบายสงเสริมการลงทุนเปนเครือ่ งมือของภาค รัฐที่สงผลกระทบตอการตัดสินใจลงทุนทําธุรกิจของภาคเอกชน (เชน การ เลือกลงทุนในธุรกิจใด หรือการเขามาลงทุนผลิตเพื่อการสงออกหรือจําหนาย ในประเทศ หรือทัง้ สองตลาด) ในสวนของนโยบายการคาประเทศไทยดําเนิน การผานมาตรการภาษีนาํ เขา การใชมาตรการทีม่ ใิ ชภาษีรวมไปถึงมาตรการ คาที่เกี่ยวกับการลงทุน เชน การหามนําเขา การบังคับใชชิ้นสวนในประเทศ การจํากัดการผลิตมีการใชอยางจํากัด สิง่ เหลานีเ้ กิดขึน้ กับอุตสาหกรรมเพียง ไมกอี่ ตุ สาหกรรมเทานัน้ เชน รถยนต (พ.ศ.2518-2543) สิง่ ทอ (พ.ศ.2518-28) เปนตน กรอบนโยบายภาษีนําเขาหลักของประเทศในชวง 30 ปที่ผานมาเปน ไปในลักษณะการใชภาษีนาํ เขาทีส่ งู และมีโครงสรางแบบขัน้ บันไดทีต่ งั้ ภาษีนาํ เชน บริษัทตางชาติมีสิทธิในการถือครองที่ดินที่จํากัดไดไมเกิน 4 ไร ยกเวนนักลงทุน จากสหรัฐที่ไดรับยกเวนภายใตกรอบของสนธิสัญญาไมตรีระหวางไทยกับสหรัฐอเมริกาป 2509 ที่สามารถถือครองที่ดินไดมากถึง10ไร หรือกฎหมายการจางงานชาวตางชาติที่นัก ลงทุนตางชาติที่จะเขามาทํางานในประเทศตองไดรับใบอนุญาตทํางาน เปนตน 4 รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอานไดในบทที่ 3 ของ Kohpaiboon (2006) 3

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


47

เขาในอัตราสูงกับอุตสาหกรรมปลายนํา (สินคาสําเร็จรูป) และลดลงไปเรื่อยๆ สําหรับสินคาตนนํา (Jongwanich & Kohpaiboon, 2007) ในเวลาเดียวกัน เพื่อมิใหนโยบายภาษีนําเขากลายมาเปนอุปสรรคกีดกันการสงออกของ ประเทศ ภาครัฐไดเปดชองใหผปู ระกอบทัง้ คนไทยและตางชาติทตี่ อ งการผลิต เพือ่ สงออกสามารถขอคืนภาษีนาํ เขาในวัตถุดบิ หรือสินคาขัน้ กลาง ซึง่ อาจจะ เปนการขอคืนภาษีนําเขาตามมาตรา 19 ทวิ การยกเวนภาษีนําเขาของ BOI เปนตน5 การเดินคูขนาน (Dualism) ในนโยบายการคาเปนสิ่งที่นิยมสําหรับ ประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะในกลุมอาเซียน (Hughes, 1998) แตลกั ษณะนีส้ ง ผลใหเกิดปญหาการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในเชิงลึกและการ เขามามีสว นรวมของผูป ระกอบการภายในประเทศทีเ่ ปนผูป ระกอบการขนาด กลางและยอม (Small and Medium Enterprises) แมประเทศไทยจะมีการปรับ ลดภาษีนําเขาครั้งสําคัญที่มีผลอยางเปนรูปธรรมในชวงกลางคริสตทศวรรษ 1990 อันเปนผลจากภาระผูกผันจากการเขาเปนสมาชิกขององคการการคา โลกและทําใหอัตราภาษีนําเขาปรับลดลงอยางมากจากมากกวารอยละ 30 ใน ชวงตนคริสตทศวรรษ 1990 เหลือประมาณรอยละ 11 ในปจจุบัน6 แตอัตรา ดังกลาวยังคงสูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียดวยกัน (Jongwanich & Kohpaiboon, 2007) ตางรางที่ 1 แสดงใหเห็นโครงสรางภาษีนําเขาของอุตสาหกรรม ฮารดดิสกของไทยชวงป1995-2006 ระดับภาษีนาํ เขาในปค.ศ.1995 สะทอน ถึงโครงสรางภาษีนาํ เขาในชวงกอนปฏิรปู โครงสรางกลางคริสตทศวรรษ 1990 ระดับภาษีนาํ เขาหลังการปฏิรปู แสดงไดโครงสรางภาษีนาํ เขาตัง้ แตปค .ศ.2002 เปนตนมา เพราะตั้งแตป ค.ศ.1997 – 2002 ไมมีการเปลี่ยนแปลงภาษีนําเขา ขอแตกตางสําคัญของ 2 มาตรการนี้คือการขอคืนภาษีนําเขา ผูสงออกตองเสียภาษีนํา เขาไปกอนและขอคืนในภายหลัง ซึ่งอาจจะอยูในรูปการวางหนังสือคํ้าประกันก็ได ในขณะ ที่การยกเวนภาษีนําเขาของ BOI คือไมตองจายกอนและขอคืนภายหลัง ดังนั้นมาตรการ ขอยกเวนภาษีนําเขาจึงตัดกระบวนการธุรกรรมตางๆ ไดดีกวาและทําใหขั้นตอนเร็วขึ้น 6 ขณะนั้นยังคงเปนขอตกลงระหวางประเทศที่รูจักกันในชื่อ “ขอตกลงทั่วไปวาดวยภาษี ศุลกากรและการคา-GATT (General Agreement on Tariff and Trade) 5

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


48

อยางมีนัยสําคัญ (Jongwanich & Kohpaiboon, 2007) โดยภาพรวม จะเห็น ไดวา โครงสรางภาษีนาํ เขาของอุตสาหกรรมฮารดดิสกไมนา จะสงผลบิดเบือน ตอภาคเอกชนแตอยางใด เพราะอัตราภาษีนําเขาทั้งในชิ้นสวนและสินคา สําเร็จรูปอยูในระดับตํ่ากวาระดับเฉลี่ยของสินคาทั่วไป ถึงแมวาอัตราภาษีนํา เขาของสินคาขัน้ กลาง เชน แผน Wafer, ICs จะสูงกวาอัตราภาษีนาํ เขาสินคา สําเร็จรูป แตการบิดเบือนดังกลาวไมนาจะสงผลตออุตสาหกรรมฮารดดิสก เพราะผูประกอบการในธุรกิจเกือบทุกรายเปนนักลงทุนจากตางชาติและการ เขามาลงทุนมีวัตถุประสงคหลักเพื่อการสงออก ดังนั้น ผูผลิตสามารถขอรับ สิทธิพิเศษของ BOI โดยเฉพาะอยางยิ่ง การยกเวนภาษีนําเขาสําหรับการ ผลิตเพื่อการสงออก (สัดสวนสงออกสินคาตอผลผลิตรวมสูงกวารอยละ 30) ยังสามารถขอสิทธิพิเศษทางภาษีไดอีก ประเด็นนี้มีผลกระทบตอการตัดสิน ใจลงทุนคอนขางมาก เพราะในชวงคริสตทศวรรษ1980 เมือ่ เทียบกับประเทศ ในภูมิภาคระดับภาษีนําเขาของไทยยังอยูในระดับสูงแตมีการใชมาตรการที่ มิใชภาษีนําเขานอย การไดรับยกเวนภาษีนําเขาซึ่งเปนชวงเวลาเดียวกันกับ ที่ประเทศผูผลิตในเอเชียตะวันออกเริ่มเผชิญกับปญหาคาจางแรงงานทําให สูญเสียความสามารถในการแขงขันในสินคาที่มีลักษณะแรงงานเขมขน ไทย จึงเปนตัวเลือกในการลงทุนเพื่อการสงออก (Kohpaiboon, 2006) อยางไรก็ตามภายหลังป ค.ศ.2000 นโยบายภาครัฐปรับหันมาให ความสําคัญกับการเพิม่ ศักยภาพในการผลิต (Supply-side Capability) ควบคู ไปกับมาตรการสงเสริมการลงทุนในลักษณะสิทธิพิเศษเพิ่มสําหรับโครงการ ลงทุนทีม่ กี ารพัฒนาเชิงลึก ในสวนของการเพิม่ ศักยภาพในการผลิต หนวยงาน ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีที่มีสํานักงานวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยีแหงชาติ (สวทช.) เปนแกนในการประสานงานกับสวนราชการอืน่ ๆ เชน ศูนยเทคโนโลยีโลหะและวัสดุแหงชาติ (MTEC) ศูนยนาโนเทคโนโลยีแหง ชาติ (NANOTEC) สํานักงานคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน (BOI) เปนตน กรอบการพัฒนาเปนการเดินไปพรอมๆ กันทัง้ การเพิม่ ความสามารถทางดาน เทคโนโลยีผา นการสงเสริมการทําวิจยั และพัฒนาและการพัฒนาบุคลากรและ การพัฒนาเครือขายการผลิตภายในประเทศ (Supply Chain Development) โดยการวิจัยและพัฒนาจะมีลักษณะการรวมลงทุนในโครงการวิจัยและพัฒนา Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


49

ระหวางภาครัฐและเอกชน โดยสัดสวนการรวมลงทุนจะขึ้นอยูกับลักษณะ โครงการวาโครงการนัน้ มีลกั ษณะความเปนสินทรัพยเฉพาะสําหรับภาคเอกชน รายใดรายหนึง่ เปนการเฉพาะ (Proprietary Asset) หรือเปนสินทรัพยสว นรวม (Common Asset) มากนอยเพียงใด สําหรับโครงการที่มีความเปนสินทรัพย เฉพาะกับภาคเอกชนรายใดรายหนึ่งมาก สัดสวนเงินอุดหนุนจากภาครัฐจะ ลดลงแตบทบาทภาครัฐจะหันไปที่ผูประสานงานโดยเฉพาะการจัดหานักวิจัย และ/หรือสถาบันวิจัย ในทางตรงกันขามหากผลประโยชนของโครงการวิจัย มีลกั ษณะเปนประโยชนกบั สวนรวม สัดสวนเงินอุดหนุนจากภาครัฐจะเพิม่ ขึน้ ในสวนของการพัฒนาบุคลากรโครงการตางๆ เกิดขึน้ ในลักษณะทีเ่ ปนการผลิต บุคลากรเพื่อตอบสนองความตองการของอุตสาหกรรม เชน การใหทุนการ ศึกษา และการจัดอบรมเพื่อยกระดับหรือเตรียมความพรอมใหกับผูประกอบ การภายในประเทศเพื่อเขาไปมีสวนรวมในเครือขายการผลิต ในสวนของการพัฒนาเครือขายการผลิตภายในประเทศ แมมาตรการ ตางๆ จะดําเนินการไปในลักษณะ Big Push หรือเดินทุกๆ เรื่องพรอมๆ กัน แตเปนไปในแบบ Market Friendly ที่พยายามใหขอมูลขาวสารและประสาน ใหเกิดความรวมมือระหวางผูประกอบการฮารดดิสกและชิ้นสวนฮารดดิสก รายใหญที่สวนใหญเปนบริษัทขามชาติและผูประกอบการรายยอยที่เปนคน ไทย อยางไรก็ตามในชวง 5 ปที่ผานมา งบประมาณประมาณรอยละ 60-70 ถูกจัดสรรไปยังกิจกรรมทางดานการวิจัยและพัฒนาและการพัฒนาบุคลากร ทัง้ นีเ้ พราะการดําเนินโครงการในลักษณะดังกลาวทําไดงา ยกวา ในขณะทีก่ าร พัฒนาเครือขายการผลิตประสบปญหาในเรื่องการหาผูประกอบการภายใน ประเทศทีม่ คี วามพรอมและสนใจทีจ่ ะเขารวมในโครงการฯ (ตัวอยางที่ 6 และ 7) ในขณะที่ BOI มีนโยบายสงเสริมเพิ่มเติมใหกับโครงการที่กิจกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงลึก เชน การใหยกเวนภาษีเงินไดเพิ่มขึ้นอีก 1 ป สําหรับโครงการที่มีการยกระดับการผลิต (Production Upgrading) โดยการ ยกระดับการผลิตพิจารณาจากเงื่อนไข 3 ประการ ประการแรก งบประมาณ ในการทําวิจัยของโครงการที่ตองไมนอยกวารอยละ 1-2 ของยอดขายในชวง เวลา 3 ปแรกของการลงทุนโดยที่เม็ดเงินไมนอยกวา 50 ลานบาทสําหรับผู ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


50

ผลิตฮารดดิสก และ 15 ลานบาทสําหรับผูผ ลิตชิน้ สวน ประการทีส่ องโครงการ ตองจางมีพนักงานทีม่ วี ฒ ุ กิ ารศึกษาอยางนอยปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร วิศวกรรม หรือสาขาทีเ่ กีย่ วของกับเทคโนโลยีไมนอ ยกวารอยละ 5 ของแรงงาน ทัง้ หมดในชวง 3 ปแรกของการลงทุนและประการสุดทาย คือ คาใชจา ยในการ อบรมพนักงานตองไมนอยกวารอยละ 1 ของคาจางแรงงานรวมในชวงระยะ เวลา 3 ปแรกของการลงทุน นอกจากนัน้ BOI จะใหการยกเวนภาษีรายไดเพิม่ เติมอีก 2 ปหากบริษัทมีคาใชจายในการพัฒนาตัวแทนจําหนาย (Vendors) หรือพัฒนาสถาบันการศึกษาตองไมนอยกวารอยละ 1 ของยอดขายรวมและ ไมนอยกวา 150 ลานบาทสําหรับผูผลิตฮารดดิสก และ 15 ลานบาทสําหรับผู ผลิตชิ้นสวน และตองตั้งศูนยวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยภายในระยะเวลา 3 ปแรกของการลงทุน

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม



52

5 อุตสาหกรรมฮารดดิสกในประเทศไทย

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


53

5.1 พัฒนาการในชวงกวา 2 ทศวรรษ พัฒนาการของการผลิตฮารดดิสกในประเทศไทยเริม่ จากการเขามา ลงทุนของบริษทั Seagate Technology (อางถึงตอไปสัน้ ๆ วาบริษทั Seagate) ในปค.ศ.1983 การลงทุน ณ ขณะนั้นเพื่อใชแรงงานของไทยซึ่งมีคาแรงตํ่า และตัง้ อยูใ กลกบั ฐานการผลิตเดิมอันไดแกสงิ คโปรและมาเลเซีย เพือ่ ประกอบ ชุดหัวอานหรือ HSA (Head-Stack Assembly) เนื่องจากในชวงตนคริสต ทศวรรษ 1980 ซึง่ เปนชวงตนของการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โครงสราง พื้นฐานอื่นๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุนมีอยูอยางจํากัด การดําเนินการ จึงเปนการประกอบชิ้นสวนนําเขาจากตางประเทศแลวสงกลับไปยังสิงคโปร เพื่อประกอบเปนฮารดดิสกสําเร็จรูป (McKendrik et al. 2000) ณ เวลานั้น โครงสรางภาษีนําเขาจะไมเอื้ออํานวยทั้งในลักษณะที่อัตราภาษีนําเขายังคง อยูใ นระดับทีส่ งู และมีความลักลัน่ ในโครงสรางภาษีนาํ เขาระหวางอุตสาหกรรม ตนนํา้ํ และอุตสาหกรรมปลายนํา้ํ แตโครงสรางดังกลาวไมไดสง ผลกระทบตอผู ผลิตในอุตสาหกรรมฮารดดิสกแตอยางใด เพราะการผลิตเหลานีเ้ ปนกิจกรรม เพื่อการสงออกจึงมีสิทธิที่จะขอสิทธิประโยชนการลงทุนจาก BOI โดยเฉพาะ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


54

การยกเวนภาษีนาํ เขาได จากการสัมภาษณชนิ้ สวนนําเขาคิดเปนสัดสวนสูง ถึงกวารอยละ 80 และมีการผลิตเองในประเทศนอยมาก (ตัวอยางที่ 8) หลังจากนัน้ ในปค.ศ.1987 บริษทั Seagate ขยายการกําลังการผลิต HSA ในประเทศไทยและเริม่ ทําการประกอบฮารดดิสกสาํ เร็จรูปในประเทศไทย นอกจากนั้นในชวง 5 ปแรกที่บริษัท Seagateไดฝกอบรมคนงานทางดาน เทคนิคจํานวนมาก ซึ่งชางเทคนิคเหลานี้ในที่สุดไดกลายมาเปนซัพพลาย เออรชิ้นสวนใหกับอุตสาหกรรมฮารดดิสกในภายหลัง (McKendrick et al. 2000: 191) การขยายการลงทุนดังกลาวและการพัฒนาฐานบุคลากรของ บริษัท Seagate ในชวงเวลาดังกลาวสงผลใหประเทศไทยเปนฐานการผลิต ที่มีศักยภาพสําหรับผูผลิตฮารดดิสกและผูผลิตชิ้นสวนสําหรับฮารดดิสกราย อื่นๆ ทั้งนี้เพราะความสําเร็จในการลงทุนของบริษัท Seagate เปนกรณี ตัวอยางที่ดีที่บริษัทอื่นๆ ใชประเมินความเปนไปไดในการลงทุนในประเทศ และเปนปจจัยสําคัญปจจัยหนึ่งสําหรับนักลงทุนรายอื่นๆ จะใชพิจารณาการ เขามาลงทุนในประเทศไทย (Rangan & Lawrence, 1999) นอกจากนั้น การ มีผูผลิตชิ้นสวนภายในประเทศและทรัพยากรบุคคลก็เปนอีกปจจัยหนึ่งที่สง ผลบวกตอการเขามาลงทุนของผูผลิตฮารดดิสกรายอื่นๆ (McKendrick et al, 2000) ซึง่ เปนสิง่ ที่ Grossman & Helpman (2005) อางถึงวาเปนปรากฏการณ ‘Market Thickness’ ในปค.ศ.1991 บริษทั IBM เขามาลงทุนผลิตฮารดดิสกในประเทศไทย โดยดําเนินการในลักษณะบริษทั รวมทุนกับกลุม ผูป ระกอบการภายในประเทศ (กลุมสหยูเนี่ยน) หลังจากนั้นอีก 6 ปหรือราวปค.ศ.1997 บริษัท IBM ก็ เปดโรงงานของตนเองขึ้นอีกแหงและทําใหกําลังการผลิตรวมของ IBM ใน ประเทศไทยคิดเปนสัดสวนมากถึงกวา 2 ใน 3 ของกําลังการผลิตของ IBM รวมทัว่ โลก บริษทั Fujitsu ก็เขามาลงทุนผลิตในปเดียวกันกับบริษทั IBM และ ในปค.ศ.2001 บริษทั Western Digital ไดเขามาลงทุนในประเทศไทยโดยการ ซื้อกิจการในสวนของฮารดดิสกขนาด 3.5 นิ้วของบริษัท Fujitsu ที่ตองการ ขายกิจการ และตอมาในปค.ศ.2003 บริษทั Western Digital ไดมกี ารควบรวม กิจการกับ Red-Rite ซึง่ เปนผูผ ลิตหัวอานฮารดดิสกเพือ่ ขยายฐานการผลิตใน Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


55

ไทยใหใหญมากขึ้น นอกจากนั้นในปค.ศ.2004 Hitachi Global Storage Tec hnologiesไดรบั อนุมตั สิ ทิ ธิพเิ ศษในการผลิตฮารดดิสกและชิน้ สวน (HGA) ใน จังหวัดปราจีนบุรี สิง่ ทีเ่ กิดคูข นานไปกับการเขามาของผูผ ลิตฮารดดิสกขนาดใหญของ โลก คือ การผลิตชิน้ สวนภายในประเทศมีการขยายตัวเชนกัน ทัง้ จากซัพพลาย เออรชิ้นสวนจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เชน ฮองกง ไตหวัน เกาหลี ทีเ่ ขามาตัง้ โรงงานในประเทศไทย และบริษทั ผูผ ลิตฮารดดิสกไดลงทุน ผลิตชิ้นสวนหลายๆ ชิ้น โดยในป ค.ศ.1988 NMB ผูผลิตชุดลูกปนรายใหญ และวัสดุโลหะอืน่ ๆของญีป่ นุ ซึง่ มีฐานการผลิตทีไ่ ทยมานานแลว เริม่ การผลิต มอเตอรสาํ หรับฮารดดิสก โดยบริษทั Nidec ผูผ ลิตมอเตอรรายใหญของญีป่ นุ ตั้งโรงงานผลิตแหงแรกในปค.ศ.1989 และโรงงานที่แหงสองในปค.ศ.1991 K.R. Precision และ Magnetric เริ่มการผลิตในปค.ศ.1988 และปค.ศ.1992 ตามลําดับ เพื่อผลิต Actuator Arms T.W.P.ผูผลิตชิ้นสวนขนาดเล็กที่เดิมมี ฐานการผลิตในสิงคโปรยา ยการผลิตมาประเทศไทยในปค.ศ.1989 เพือ่ ผลิตชิน้ สวนของมอเตอร นอกจากนัน้ ผูผ ลิตฮารดดิสกบางรายไดลงทุนทําการผลิตชิน้ สวนบางชิ้นโดยเฉพาะอยางยิ่งภายหลังปค.ศ.1990 หรือ เชน ในปค.ศ.1994 บริษทั Seagate เพิม่ กําลังการผลิต Spindle Motor มากขึน้ แนวโนมดังกลาว ขยายวงไปยังซัพพลายเออรอื่นๆ เชน Eiwa, Habiro, Nippon Super, Thai Okoku Rubber, Shin-Ei Daido ฯลฯ ซึ่งเปนผูผลิตชิ้นสวนที่จําเปนตอการ ผลิต Spindle Motor 5.2 ผลการดําเนินงานที่ผานมา อุ ต สาหกรรมฮาร ด ดิ ส ก เ ป น อุ ต สาหกรรมที่ มี ก ารขยายตั ว อย า ง รวดเร็ ว และได ก ลายมาเป น ภาคการผลิ ต ที่ สํ า คั ญ ของทั้ ง อุ ต สาหกรรม อิเล็กทรอนิกสและภาคอุตสาหกรรมของไทยโดยรวม โดยในชวงปค.ศ.19882006 อุตสาหกรรมฮารดดิสกมีอัตราการขยายตัวที่แทจริง7 สูงถึงรอยละ 15.6 ตอป อัตราการขยายตัวดังกลาวสูงกวาเมือ่ เทียบกับผลการดําเนินงานโดยรวม ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสและภาคอุตสาหกรรมของไทย ดังนัน้ สัดสวน มูลคาเพิม่ ทีม่ าจากอุตสาหกรรมฮารดดิสกตอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสและ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


56

ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมปรับตัวเพิม่ ขึน้ อยางรวดเร็ว (ดูภาพที่ 2) โดยในค.ศ. 2006 มูลคาเพิ่มที่แทจริงจากอุตสาหกรรมฮารดดิสกเทากับ 132,000 ลาน บาท หรือคิดเปนสัดสวนรอยละ 80 ของมูลคาเพิ่มที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส และประมาณรอยละ 5 ของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม จํ า นวนผู ผ ลิ ต ในอุ ต สาหกรรมฮาร ด ดิ ส ก ข องไทยในช ว งกว า 2 ทศวรรษที่ผานมาไดเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว จากประมาณ 5 โรงงานในชวงตน ค.ศ.1980 เปนมากกวา 74 โรงงานในชวง ปค.ศ.2001-ถึงปจจุบัน (ตาราง ที่ 2) และสามารถกอใหเกิดการจางงานภายในประเทศมากถึงกวา 100,000 คนในป 2007 (ศูนยเทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, 2550) อุตสาหกรรมฮารดดิสกเปนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการสงออกตั้งแตเริ่มตน ผลิตภัณฑสวนใหญสงออกไปในลักษณะสินคาขั้นกลางเพื่อใชในการผลิตใน ขัน้ ตอนตอไป เชน ประเทศไทยสงออกฮารดดิสกเพือ่ นําไปใชประกอบรวมกับ สวนประกอบอื่นๆ ในคอมพิวเตอรและจึงสงออกอีกทอดหนึ่ง ในชวงตนการ สงออกบางสวนเกิดขึ้นในลักษณะที่เปนชิ้นสวน เชน HSA แตปจจุบันการสง ออกสวนใหญเปนในลักษณะฮารดดิสกที่ประกอบเสร็จพรอมที่จะนําไปใชใน การประกอบคอมพิวเตอร อยางไรก็ตามในปจจุบนั ความตองการฮารดดิสกใน ลักษณะเปน External Hard Drive เพิ่มมากขึ้นและทําใหผลิตภัณฑบางสวน ขายไปใหผูประกอบภายในประเทศเพื่อนําไปบรรจุ cases และติดตั้งอุปกรณ อิเล็กทรอนิกสเสริมสําหรับ External Hard Drive แตยังคิดเปนสวนนอยไม เกินรอยละ 10 ของผลผลิตโดยรวมของโรงงาน (ตัวอยางที่ 1 และ 2) ดังแสดงในภาพที่ 2 มูลคาการสงออกฮารดดิสกขยายตัวอยางรวดเร็ว ในชวง 2 ทศวรรษที่ผานโดยเพิ่มจาก 37 ลานเหรียญ สรอ. ในป 2531 เพิ่ม เปนมากกวา 4,500 ลานเหรียญ สรอ. ในป ค.ศ. 1996-97 อยางไรก็ตามในชวง 1999-2003 มูลคาการสงออกปรับตัวลดลงเล็กนอยเหลือประมาณ 3,403 ลาน เหรียญ สรอ. อันเปนผลจากวิกฤตการณในธุรกิจไอทีของโลก หรือวิกฤตการณ dot.com ภายหลังป ค.ศ. 2003 มูลคาการสงออกขยายตัวอยางรวดเร็วอีก ครั้งเพิ่มเปน 15,000 ลานเหรียญ สรอ. ในป ค.ศ. 2008 อัตราการขยายตัวดัง 7

คําวา “แทจริง” อางอึงถึงมูลคาที่ไมรวมผลทางดานราคา

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


57

กลาวสูงมากเมือ่ เทียบกับการสงออกภาคอุตสาหกรรมโดยรวมทําใหสดั สวนตอ การสงออกรวมภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากรอยละ 0.5 ในป 1988 เปนรอย ละ 14 ในป ค.ศ. 2008 นอกจากนั้นฮารดดิสกเปนผลิตภัณฑไอทีสงออกที่ สําคัญทีส่ ดุ โดยมูลคาการสงออกฮารดดิสกคดิ เปนเกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ ไอทีสงออกรวมของไทยในชวง 5 ปที่ผานมา (2003-08) เพิ่มขึ้นจากประมาณ รอยละ 10 ในป ค.ศ. 1988 ตัวเลขการสงออกที่รายงานในบทความนี้แตกตาง จากที่รายงานในเอกสารงานวิจัยที่ผานมาโดยเฉพาะรายงานจากหนวยงาน ภาครัฐโดยเฉลี่ยมูลคาการสงออกในบทความนี้ระหวางป 2003 – 2005 คิด เปนเพียงรอยละ 55 ของมูลคาที่รายงานอยูในเอกสารของภาครัฐ (มูลคารวม ระหวางฮารดดิสกสําเร็จรูปและชิ้นสวน) ความแตกตางนาจะเปนผลจากการ นับซํ้าในรายงานของทางสวนราชการที่มาจากผลรวมมูลคาการสงออกของ บริษทั ทีไ่ ดรบั การสงเสริมการลงทุนจากBOIซึง่ ประกอบไปดวยฮารดดิสกและ ชิ้นสวน แตในความเปนจริงชิ้นสวนที่รายงานวาสงออกสวนใหญเปนการสง ออกหลังจากที่ประกอบเปนฮารดดิสกสําเร็จรูป การรวมดังกลาวทําใหเกิด ปญหาการนับซํ้า ในขณะที่มูลคาการสงออกในบทความนี้ใชมูลคาการคาใน พิกัด 75270 ในระบบ SITC หรือเทียบเทากับพิกัด 847170 ในระบบฮารโมไนซ ในขณะทีร่ ายงานของรัฐใชขอ มูลจากBOIซึง่ มีแนวโนมทีจ่ ะเกิดการซํา้ ซอนของการสงออกเพราะมูลคาการสงออกมีการนับซอนกันทั้งมูลคาของตัว ชิ้นสวนและมูลคาของฮารดดิสกเอง8 ซึ่งนับเปนสินคาสงออกทั้งคู ตารางที่ 3 แสดงสวนแบงตลาดโลกของประเทศผูสงออกฮารดดิสก ที่สําคัญซึ่งมีประเด็นที่นาสนใจ 3 ประการ ประการแรก ประเทศผูสงออก หลัก 6 ประเทศ อันไดแก ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร มาเลเซีย ไอรแลนด ฟลิปปนส และ เกาหลี มีสวนแบงตลาดโลกรวมมากถึง รอยละ 71 ของมูลคาการสงออกรวมในตลาดโลก นอกจากนั้น แนวโนมการ ผลิตที่กระจุกตัวในประเทศเหลานี้เพิ่มขึ้นโดยตลอดในชวง 20 ปที่ผานมา ซึ่ง แสดงใหเห็นถึงบทบาทสําคัญของประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกใน IPNs ทัง้ ฮารดดิสกและชิน้ สวนมักถูกอางถึงในการคาระหวางประเทศวาเปนชิน้ สวนเพราะตลาด หลักของฮารดดิสก คือการนําไปใชประกอบรวมกับชิ้นสวนอื่นๆ ในคอมพิวเตอร

8

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


58

ของอุตสาหกรรมฮารดดิสก ประการที่สอง ในป ค.ศ.2007 ประเทศไทยเปน ประเทศผูสงออกฮารดดิสกมากเปนอันดับสองของโลก โดยมีสวนแบงตลาด โลกเทากับรอยละ 19 รองจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเทานั้น (รอยละ 24) เมื่อพิจารณาแนวโนมในชวงป ค.ศ.2000 – 2007 สวนแบงตลาดโลกของไทย เพิ่มขึ้นโดยตลอดจากเพียงรอยละ 5 ในปค.ศ.2000 ประเด็นสุดทายคือ แมวา สัดสวนการสงออกฮารดดิสกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเพิม่ ขึน้ ก็ตาม แต ก็ไมไดสงผลกระทบตอการเพิ่มสวนแบงตลาดโลกของไทยและประเทศอื่นๆ มากนักยกเวนประเทศสิงคโปร แนวโนมดังกลาวชีใ้ หเห็นวาการเขาสูต ลาดโลก ของสาธารณรัฐประชาชนจีนไมไดหมายความวาประเทศอืน่ ๆ ตองสูญเสียการ ผลิตและการสงออกใหจีนทั้งหมด หรือไมไดเกิดCrowding out effect อยางที่ หลายๆ คนมีความวิตกกังวล เมือ่ พิจารณาภายในกลุม ประเทศผูส ง ออกทีส่ าํ คัญเหลานี้ โดยเฉพาะ อยางยิง่ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกจะเห็นไดวา ประเทศเหลานีม้ ฐี านทรัพยากร ที่แตกตางกันตั้งแตสิงคโปรที่มีรายไดตอหัวเทียบมากถึง 35,163 เหรียญ สรอ.ในป ค.ศ. 2007 ไปจนถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนที่รายไดตอหัวเพียง 2,501 เหรียญ สรอ.9 ดวยโครงสรางทรัพยากรที่แตกตางกันทําใหประเทศ เหลานี้นาจะมีการแบงงานกันทําระหวางประเทศ (Division of Labor) โดย ประเทศที่มีรายไดสูงอยางสิงคโปรไปผลิตสินคาที่สลับซับซอนและมีราคาสูง ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตสินคาที่คอนขางงายและมีลักษณะที่ เปน Mass Production ฮารดดิสก ภาพที่ 4 แสดงมูลคาการสงออกตอหนวย ซึง่ เปนตัวสะทอนราคาผลิตภัณฑสง ออกตอหนวยของฮารดดิสกทสี่ ง ออกจาก ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร และมาเลเซีย แนวโนมทีแ่ สดง ในภาพที่ 4 สนับสนุนสมมติฐานเกีย่ วกับการแบงงานกันทําระหวางประเทศ10 โดยราคาชี้วาฮารดดิสกที่ผลิตและสงออกจากสิงคโปรนาจะเปนผลิตภัณฑ คุณภาพสูงและเปนรุนที่มีความสลับซับซอน ดังนั้น ราคาสงออกตอหนวย คํานวณจากขอมูลรายงานใน Key Indicators for Asia and the Pacific 2008, Asian Development Bank (ADB) การแปลงเงินตราทองถิ่นมาเปนเงินเหรียญ สรอ. ใชอัตรา แลกเปลี่ยนเฉลี่ยเปนตัว convertz 9

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


59

ของฮารดดิสกจากสิงคโปรสูงที่สุด ในขณะที่ราคาฮารดดิสกของสาธารณรัฐ ประชาชนจีนอยูในระดับที่ตํ่าชี้ใหเห็นวาผลิตภัณฑสงออกจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเปนสินคาที่มีความไมสลับซับซอนมากนัก ในขณะที่ราคาตอ หนวยของไทยและมาเลเซียอยูตรงกลางระหวางจีนและสิงคโปร แมวาราคา ตอหนวยของไทยจะสูงกวามาเลเซียเล็กนอยแตไมนาจะเปนเครื่องชี้ใหเห็น ถึงสัญญาณบงชี้ปญหาความสามารถในการแขงขันแตอยางใด เพราะแนว โนม ดังกลาวเกิดขึน้ พรอมๆ กับ แนวโนมการสงออกฮารดดิสกของมาเลเซียมี แนวโนมลดลง ในขณะที่แนวโนมของไทยกลับมีแนวโนมเพิ่มขึ้นโดยตลอด ตารางที่ 4 แสดงใหเห็นถึงโครงสรางตลาดสงออกฮารดดิสกและ แหลงนําเขาชิ้นสวนที่สําคัญที่ใชในฮารดดิสกระหวางป ค.ศ. 2001-07 จะเห็น ไดวา การคาระหวางประเทศของฮารดดิสกเปนการคาภายในภูมภิ าคทีช่ นิ้ สวน ตางๆ โดยเฉพาะชิน้ สวนอิเลกทรอนิกสทใี่ ชในการผลิตฮารดดิสกนาํ เขามาจาก ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในขณะที่ฮารดดิสกที่ประกอบเสร็จก็สง ออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชนกัน โดยในป ค.ศ. 2001-03 แหลงนําเขาชิน้ สวนมาจากประเทศในภูมภิ าคนีส้ งู ถึงเกือบรอยละ 80 ภายใน กลุมประเทศเอเชียตะวันออก ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะอยางยิ่ง มาเลเซียและสิงคโปรคือแหลงนําเขาสําคัญ นอกจากนั้นบทบาทความสําคัญ ของประเทศในภูมิภาคในฐานะแหลงนําเขามีแนวโนมเพิ่มขึ้นในชวง 4-5 ปที่ ผานมา ทางดานการสงออกภูมภิ าคเอเชียตะวันออกก็เปนตลาดสงออกสําคัญ สําหรับฮารดดิสกของไทยเชนกันแตระดับการกระจุกตัวตํ่ากวาเมื่อเทียบกับ ทางดานการนําเขา กลาวคือตลาดเอเชียตะวันออกคิดเปนรอยละ 50.8 ตอ การสงออกฮารดดิสกรวมของไทยในระหวางป ค.ศ. 2001-03 อีกเกือบครึ่ง หนึ่งของฮารดดิสกที่สงออกสงไปยังฐานการประกอบคอมพิวเตอรในสหภาพ ยุโรปและอเมริกาเหนือ อยางไรก็ตามบทบาทของตลาดเอเชียตะวันออกเพิม่ ความสําคัญขึน้ ในชวง 4-5 ปทผี่ า นมาโดยสัดสวนของตลาดเอเชียเพิม่ เปนรอย การที่เราพบวาทุกๆ ประเทศมี Downward Trend ในราคาสงออกตอหนวยเปนผลจาก Deflation ทีม่ าจากการแขงขันทีร่ นุ แรงในอุตสาหกรรมฮารดดิสกและนวตกรรมใหมทที่ าํ ให สินคามีราคาลดลงโดยตลอด

10

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


60

ละ 60.7 ในป 2005-07 ภายในกลุมประเทศเอเชียตะวันออก จีนเปนตลาดสง ออกที่สําคัญและมีการขยายตัวอยางรวดเร็ว โดยสัดสวนของฮารดดิสกที่สง ไปที่จีนเทากับรอยละ 12.5 หรือคิดเปนเกือบ 1 ใน 4 ของการสงออกไปยัง เอเชียตะวันออก(รอยละ 50.8) ที่สําคัญบทบาทของจีนกาวกระโดดเปนรอย ละ 34.4 ในป ค.ศ. 2005-07 ทําใหปจจุบันตลาดจีนเปนตลาดที่สําคัญที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภาพความไมสมมาตรระหวางโครงสรางการสงออก ฮารดดิสกและนําเขาชิ้นสวนฮารดดิสกในกลุมประเทศเอเชียตะวันออกเปน หลักฐานเชิงประจักษอีกชึ้นหนึ่งที่สะทอนการแบงแยกขั้นตอนการผลิตใน ภูมิภาคเอเชีย หรือ สิ่งที่ Baldwin (2003) อางถึงวาเปน East Asian Factory ที่จีนเปนฐานการประกอบสินคาสําเร็จรูปโดยนําเขาชิ้นสวนจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม



62

6 เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรม ฮารดดิสกของไทย

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


63

6.1 การแบงแยกขั้นตอนการผลิตในฮารดดิสก การผลิตฮารดดิสก 1 ชิ้นประกอบไป 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ การ ออกแบบผลิตภัณฑและขั้นตอนการผลิต โดยทั่วไปการออกแบบผลิตภัณฑ บริษทั ฮารดดิสกจะดําเนินทีส่ าํ นักงานใหญทงั้ นีเ้ พราะ การทําวิจยั พัฒนาและ ออกแบบเปนหัวใจกําหนดความสามารถในการแขงขันและการตลาดของแตละ บริษัท (Gereffi et al. 2005; Pickles, 2006; Scott 2006; Dicken, 2007) โดย เฉพาะอยางยิ่งในปจจุบันที่บริษัทขามชาติในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสรวม ถึงฮารดดิสก และอุตสาหกรรมยานยนตไดนาํ เอาระบบ Modolar เขามาใชและ พยายามทุมเททรัพยากรไปในกิจกรรมที่เปน Core Business Strategy คือ การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ นอกจากนัน้ ผูผ ลิตฮารดดิสกตอ งการ ลดความรับผิดชอบในการวิจยั และพัฒนาชิน้ สวนบางชิน้ เชน มอเตอรและแผง วงจร และมุงเนนในการพัฒนาชิ้นสวนหลักของฮารดดิสกนั้นคือแผน Media หัวอานและ Sliderโดยใหซพั พลายเออร รับผิดชอบในการพัฒนาชิน้ สวนเหลา นี้ (Western Digital 2008: 14; Seagate Technology, 2008: 10-12) อยางไร ก็ตาม ในปจจุบันมีบางบริษัทที่เริ่มมีการตั้งศูนยทดสอบและศูนยวิจัยและ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


64

พัฒนานอกประเทศเพื่อไดมีโอกาสเขาถึงวิศวกรและนักวิทยาศาสตรที่เกงๆ ทั่วโลก กิจกรรมเหลานี้จึงมักจะกระจุกในประเทศพัฒนาแลวเปนสวนใหญ11 ดังนั้น บทความนี้จึงใหความสําคัญกับขั้นตอนการผลิตเปนพิเศษ ในสวนของขั้นตอนการผลิต ฮารดดิสก 1 ชิ้นจะประกอบไปดวยชิ้น สวนชิ้นยอยๆ จํานวนมาก (อางถึงวาเปน Layer ที่ 1) และชิ้นสวนหลายๆ ชิ้นก็มีขั้นตอนการผลิตของตนเองที่สลับซับซอนและมีเครือขายการผลิตของ ตนเองยอยลงไปอีกทอดหนึง่ (อางถึงวาเปน Layer ที่ 2) ใน Layer ที่ 1 ชิน้ สวน จะประกอบไปดวยชิน้ สวนทีเ่ ปนลักษณะเฉพาะสําหรับอุตสาหกรรมฮารดดิสก เชน ชุดหัวอาน แผนบันทึกขอมูล มอเตอร ไปจนถึงชิน้ สวนทีเ่ ปนชิน้ สวนทัว่ ไป ที่ใชรวมกันกับผลิตภัณฑอิเล็กทรอนิกสและเครื่องใชไฟฟาทั่วไป เชน แผง วงจรไฟฟา ICs ตัวตานทาน เซมิคอนดักเตอรตางๆ และชิ้นสวนโลหะขนาด เล็กที่ใชในการเชื่อมยึดและเชื่อมชิ้นสวนแตละชิ้นเขาดวยกัน (ภาพที่ 5) โดย จําแนกออกเปน 5 กลุมหลัก ไดแก กลุ ม ที่ ห นึ่ ง คื อ ชุ ด หั ว อ า นซึ่ ง เป น ชิ้ น ส ว นที่ มี ค วามสํ า คั ญ เป น ลําดับตนๆ ทีม่ ผี ลตอประสิทธิภาพการทํางานของฮารดดิสก ขัน้ ตอนการผลิต สามารถจําแนกออกเปน 2 สวนยอย คือ การผลิตแผน Wafer Fabrication หรือเรียกสั้นๆ วาแผน Wafer ซึ่งเปนแผงวงจรประเภทหนึ่งที่ทํามาจากสาร ประเภทกึ่งตัวนํา เชน ซิลิคอน การผลิตแผน Wafer ใชเทคโนโลยีการขั้นสูง พึ่งพาทักษะแรงงาน และใชเงินลงทุนจํานวนมาก นอกจากนั้นการผลิตตอง ดําเนินการภายใตสงิ่ แวดลอมทีส่ ะอาดเปนพิเศษ (Yamashita, 2008) ขัน้ ตอน ตอไปคือการนําเอาแผน Wafer มาตัดเปนชิ้นเล็กเรียกวา Sliders เพื่อทําเปน สวนปลายของหัวอาน แมดูเผินวาการตัดแผน Wafer เปนกิจกรรมที่งาย แต ในความเปนจริงการตัดแผน Wafer เพื่อใหเปน Sliders มีขั้นตอนที่ละเอียด มาก การดําเนินการตองคํานึงถึงคุณสมบัติของ Sliders ในปจจุบันการผลิต Sliders พัฒนามาสูร ะบบการสรางลายวงจรดวยแสง (Photolithography) และ เชน ในกรณีของบริษัท Seagate ที่เริ่มมีการตั้งศูนยวิจัยในสิงคโปร อยางไรก็ตามงาน วิจัยสวนใหญยังคงทําที่สหรัฐอเมริกา (เชนในรัฐ โคโรราโด มิเนโซตาร เพนซิวาเนีย และ แมสซาชูเซส) (Seagate Technology, 2008: 36)

11

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


65

การสรางลายวงจรดวย Ion (Ion Etching) Sliders ทีไ่ ดจะนํามาติดกับแขนยึดจับ (Actuators’ Arm) ซึง่ เปนแขน เล็กๆ ทีจ่ บั อยูด า นบนและลางของหัวอานและชวยลดแรงกระแทก Actuators’ Arm เหลานี้สวนใหญบริษัทผูผลิตฮารดดิสกมักวาจางใหซัพพลายเออรอื่นๆ เปนผูผ ลิต การผลิต Actuators’ Arm เองก็มี IPNs ของตนเองเนือ่ งจากการนํา เอาชิน้ สวนโลหะขึน้ รูปมาประกอบเขากับมอเตอรและแผงวงจรทีป่ ระกอบเสร็จ (Printed Circuit Board Assembly) การประกอบ Sliders เขากับ Actuator เปนขบวนการที่ตองใชแรงงานจํานวนมาก และปจจุบันเริ่มมีการนําเอาระบบ อัตโนมัติเขามาชวยในการประกอบเพิ่มมากขึ้น แตระดับการทดแทนระหวาง แรงงานและเครื่องจักรก็ยังไมสมบูรณ การผลิตในสวนนี้จึงยังคงตองพึ่งพา แรงงานจํานวนมาก กลุมที่สอง ไดแก แผน Media หรือ Platters ซึ่งเปนแผนเก็บ ขอมูลและเปนชิ้นสวนอีกชิ้นที่มีความสําคัญตอประสิทธิภาพการทํางานของ ฮารดดิสก แผน Media อาจจะทําจากแกวหรืออะลูมเิ นียม แตปจ จุบนั กวารอย ละ 90 ของแผน Media ทําจากอะลูมเิ นียม เชนเดียวกันกับแผน Wafer การ ผลิตแผน Media เปนการนําเอา Substrate ที่อาจจะทําจากแกวหรืออะลูมิเนียมมาเคลือบดวยแผนฟลม บางๆ เปนชัน้ แรก จากนัน้ เคลือบทับอีกชัน้ ดวย แผนฟลม ทีท่ าํ จากสารทีม่ คี วามสามารถในการเหนีย่ วนําแมเหล็กเชน Cobalt Chromium และ Tantalum หลังจากนั้นจึงเคลือบปดทายดวยสารหลอลื่นอีก ทีหนึ่ง12 กลุมที่สาม คือ มอเตอร ซึ่งมอเตอรที่ใชในอุตสาหกรรมฮารดดิสก จะแตกตางจากมอเตอรทั่วไปเพราะมอเตอรสําหรับฮารดดิสกตองทํางาน ดวยความแมนยําสูงมาก เนื่องจากมันทําหนาที่หมุนแผน Media เพื่อให หัวอานสามารถเขาถึงขอมูลที่อยูบนแผนเก็บขอมูล มอเตอรหมุนในทิศ ทวนเข็มนาิกาดวยความเร็ว 4,500 – 15,000 รอบตอนาที เชนเดียวกับ

ประมวลขั้นตอนการผลิตจาก website ของ Showa Denko ผูผลิตแผน Media รายใหญ ของโลก ที่ http://www.showadenkohd.com.sg/tech_02.htm 12

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


66

Actuators’Arm การผลิตมอเตอรประกอบชิ้นสวนตางๆ ทั้งแกนหมุน Rotor ชุดลูกปนขนาดเล็ก และวัสดุหลอลื่นตางๆ ตองประกอบถูกทําในหองปลอด ฝุน Class 1000 (McKendrick et al. 2000) กลุมที่สี่ ไดแก ชุดอุปกรณอิเล็กทรอนิกสซึ่งประกอบไปดวย Semiconductors แผงวงจร(PCBs) สายสงสัญญาณที่เชื่อมแผงวงจรหลักกับสวน อื่นๆในฮารดดิสก เชน ชองรับสัญญาณ(Read Channel) การควบคุมการ หมุนของมอเตอร ฮารดดิสก Interface ยิ่งฮารดดิสกมีประสิทธิภาพสูงก็ยิ่ง ตองการการสงขอไดเร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงสวนประมวลผลตองทํางานไดเร็วขึ้น เพือ่ ใหสง สัญญาณไดมากๆ ชุดอุปกรณอเิ ล็กทรอนิกสทกี่ ลาวมาขางตนทัง้ หมด ถูกประกอบบนแผน PCB โดยใชแรงงาน กลุมที่หา คือ ชิ้นสวนยอยๆ ที่ใชในการประกอบชิ้นสวนหลักๆ เขา หากัน เชน กลุมชิ้นสวนโลหะขนาดเล็ก (Spring Wire, Bottom VCM, Top VCM, TG Clamp, Top Cover Assy, Top Cover Seal, Positional Seal, Window Clock Seal) ชิน้ สวนพลาสติก (Ramp) Filter ตางๆ ชิน้ สวนทัง้ หมด ถูกประกอบเขาดวยกันในหองปลอดฝุนของโรงงานผลิตฮารดดิสก ภายใน กลองอลูมิเนียมที่ปดสนิทโดยมีเพียงสวนที่เชื่อมตอกับPCBsเทานั้น เพื่อ ปองกันการปนเปอนจากฝุนละอองในอากาศ หลังจากการเสร็จสิ้นขั้นตอน การฮารดดิสกจะไดรบั การทดสอบการทํางานซึง่ เปนระบบอัตโนมัตอิ กี เชนกัน 6.2 การใชประโยชนจากเครือขายการผลิตระหวางประเทศ อุตสาหกรรมฮารดดิสกเปนอุตสาหกรรมหนึง่ ทีใ่ ชประโยชนจากเครือ ขายการผลิตโดยเฉพาะอยางยิง่ เครือขายการผลิตระหวางประเทศ ทัง้ นีเ้ พราะ ฮารดดิสกประกอบดวยชิน้ สวนจํานวนมาก แตละชิน้ สวนมีเทคโนโลยีการผลิต ทีห่ ลากหลายตัง้ แตทเี่ ปน Capital Intensive อยางแผน Wafer หรือแผน Media ไปจนถึงการประกอบชุดหัวอาน หรือการประกอบชิ้นสวนใหเปนฮารดดิสก (HDA) ในหลายๆ ชิ้นสวน ซัพพลายเออรเปนผูคิดคนและพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตของตนเอง แมในบางกรณีทเี่ ปนการรวมกันพัฒนาระหวางซัพพลาย เออรและผูผลิตฮารดดิสกก็ตาม ซัพพลายเออรมีบทบาทสําคัญในขบวนการ พัฒนาชิน้ สวนใหเปนไปตามความตองการของผูผ ลิตฮารดดิสก นอกจากนัน้ Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


67

ชิน้ สวนตางๆ ในฮารดดิสกสว นมากมีขนาดเล็กทําใหสามารถขนสงทางอากาศ ได คําวา 'สามารถ' ในที่นี้หมายถึงตนทุนการขนสงทางอากาศตอหนวยของ ชิ้นสวนนั้นๆ ยังมีความเปนไดในทางธุรกิจ (Economic Viable) แมฐานการ ผลิตของผูผ ลิตฮารดดิสกและซัพพลายเออรจะอยูห า งกันคนละประเทศก็ตาม การจัดวางแผนการผลิตและการจัดสงรวมกันทําไดไมยากนัก ปจจัยสุดทายที่ ทําใหผูผลิตฮารดดิสกใชประโยชนจาก IPNs คืออุตสาหกรรมนี้คลายคลึงกับ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสและเครื่องใชไฟฟาอื่นๆ ที่ไมไดนําเอาระบบ Just in Time มาใชเต็มที่ แตใชระบบการตัง้ สต็อกเพือ่ ตอบสนองลูกคาของตน การ มีสต็อกทําใหโอกาสทีก่ ารผลิตจะสะดุดจากปญหาอันเนือ่ งจากซัพพลายเออร และผูผลิตฮารดดิสกอยูกันคนละประเทศก็ลดลง (ตัวอยางที่ 1) ทีผ่ า นมาผูผ ลิตฮารดดิสกทสี่ าํ คัญๆ ในโลกไดใชประโยชนจาก IPNs เพือ่ เพิม่ ความสามารถในการแขงขันของผลิตภัณฑของตนในตลาดโลก ดังจะ เห็นไดจากในชวงตนของการพัฒนาอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทยทีท่ าํ เพียง การนําเอา Slidder มาประกอบเขากับ Actuators' Arms อยางไรก็ตาม กระ แสโลกาภิวัตนทําใหบริษัทผูผลิตฮารดดิสกนาจะใชประโยชนจาก IPNs เพิ่ม ขึ้น ที่สําคัญผูผลิตเหลานี้ไดนําเอาระบบ Modular เขามาใช โดยบริษัทเหลา นี้ทุมเททรัพยากรของบริษัทไปที่กิจกรรมที่เปนหัวใจ คือการออกแบบและ วิจัยและพัฒนา และพัฒนาชิ้นสวนเพียงบางชิ้น เชน แผน Media หัวอาน และ Slider ซึ่งจะเปนตัวกําหนดความสามารถในการแขงขัน (Gereffi et al. 2005; Pickles, 2006; Scott 2006; Dicken, 2007; Western Digital 2008: 14; Seagate Technology, 2008: 10-12) ในขณะทีใ่ นขัน้ ตอนการผลิต ผูผ ลิต ใหซพั พลายเออรชนิ้ สวนเขามามีบทบาทในการรวมพัฒนาผลิตภัณฑมากขึน้ ในกรณีของประเทศไทยทีเ่ ริม่ เขาไปในเครือขายการผลิตดวยการเปน ฐานการประกอบชุดหัวอาน หรือ HSA (Head-Stack Assembly) ตั้งแตชวง กลางคริสตทศวรรษ 1980 เปนตนมา โดยนําเขาชิ้นสวนตางๆ จากมาเลเซีย และสิงคโปร สัดสวน ณ เวลานั้นสูงมากถึงกวารอยละ 80 (ตัวอยางที่ 7) ดังนัน้ ในชวงเริม่ ตนของการพัฒนาของอุตสาหกรรมฮารดดิสกในประเทศไทย จึงมีความกังวลวาการเขาไปในเครือขายในลักษณะดังกลาวจะไมสามารถ นําไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน (Industrial Deepening) อยางไรก็ตาม ผลการ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


68

ดําเนินการของอุตสาหกรรมในชวงกวา 2 ทศวรรษที่ผานมาชี้ชัดวาแนวคิด ดังกลาวไดละเลยพลวัตของผูประกอบการ (Firm Dynamics) และการเรียนรู ของแรงงานภายในประเทศ ในชวงทีป่ ระเทศไทยเปนฐานการประกอบ ระดับเทคโนโลยีทตี่ อ งการ เปนเพียงแคการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑที่ได (ณ ขณะนั้น คือ HSA) ให มีความคงเสนคงวา (Uniform Quality) Takayasu & Mori (2004) อางถึงวา เปนความสามารถในการผลิตอยูที่ระดับ Production Stage อยางไรก็ตามใน ชวง 2 ทศวรรษที่ผานมาการผลิตไดยกระดับขึ้นเรื่อยๆ จนปจจุบันไดมาสูขั้น Engineering Stage (ตัวอยางที่ 1และ2) กลาวคือ ฐานการผลิตในประเทศไม เพียงแครบั คําสัง่ จากบริษทั แม (Parent Company) และปฏิบตั ติ ามเทานัน้ แต มีสวนรวมในการพัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต ดังที่อางในตัวอยาง ที่ 2 ปจจุบันฐานการผลิตของไทยมีความสามารถที่จะแปลง แบบพิมพเขียว (Blue Print) ที่ไดรับมอบหมายจากบริษัทแมมาเปนแผนปฏิบัติการไดอยาง มีประสิทธิภาพ ในความเปนจริงการไดรับ Blueprint ไมไดหมายความวาเรา สามารถทําการผลิตอยางขนานใหญ (Mass Production) ไดทนั ที แตยงั มีขบวน การอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วของอีกมากมายกอนทีจ่ ะถึงขัน้ ตอนการทํา Mass Production ประสบการณและความสามารถทางวิศวกรรมของฐานการผลิตในไทยจะเปน ปจจัยสําคัญทีก่ าํ หนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานนัน้ ประสบการณและ ความสามารถทางวิศวกรรมเปน Tacit Knowledge ที่อยูกับพนักงานในฐาน การผลิตนัน้ ในขณะทีป่ ระสิทธิภาพจะสะทอนออกมาในรูปของความเร็วในการ ผลิตและอัตราความผิดพลาด (Defect Rate) ขั้นตอนดังกลาวเริ่มจากการออกแบบขบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงการ เตรียมและติดตัง้ อุปกรณตา งๆ ทีจ่ าํ เปนตองใชในการผลิต เมือ่ ออกแบบไดแลว ก็ตอ งสัง่ ซือ้ อุปกรณเหลานัน้ เมือ่ ไดขบวนการผลิตทีเ่ หมาะสมก็ตอ งออกแบบ แผนการผลิตและอธิบายใหคนงานเกิดความเขาใจขั้นตอนการผลิต และกอน ที่จะเริ่มขบวนการผลิตโรงงานจําเปนตองทดลองผลิตเพื่อตรวจสอบดูวามี ปญหาอะไรในกระบวนการผลิตบาง ขบวนการดังกลาวเกีย่ วของเปนลักษณะ ลองผิดลองถูก (Trial and Error) และมีปญหาเฉพาะหนาที่ตองใชทักษะฝมือ แรงงานและวิศวกรโรงงานเขามามีสวนรวมแกปญหา ตัวอยางที่ 1 ใหขอมูล Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


69

ใหขอมูลในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะอยางยิ่งภายหลังป ค.ศ.2006 เปนตน ที่เทคโนโลยีการผลิตฮารดดิสกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญจาก Longitudinal Magnetic Recording (LMR)ไปสู Perpendicular Magnetic Recording (PMR) ซึ่งเปนการเปลี่ยนแปลงดังกลาวทําใหความตองการนักวิทยาศาสตร และวิศวกรภายในโรงงานเพิ่มขึ้นอยางมาก เพราะปญหาจาก line การผลิต สามารถเกิดขึ้นไดตลอดและตองการแรงงานที่มีทักษะและประสบการณเขา มาแกปญหา (ตัวอยางที่ 5) เมื่อฐานการผลิตไดเขาสูขั้นตอน Engineering Stage ความรวมมือ กัน (Effective Coordination) ระหวางผูผ ลิตฮารดดิสกและซัพพลายเออรในชิน้ สวนบางรายการ (Layer ที่ 1) เปนสิง่ ทีจ่ าํ เปนเพือ่ ใหเกิดประสิทธิภาพการผลิต ทัง้ นีเ้ พราะชิน้ สวนทีม่ กี ารซือ้ ขายกันใน Layer ที่ 1 หลายๆ ชิน้ มีลกั ษณะเฉพาะ เชน มอเตอร Actuators' Arms และชิน้ สําหรับอุตสาหกรรมฮารดดิสกและมีราย ละเอียดมากมายทีผ่ ผู ลิตฮารดดิสกและผูผ ลิตชิน้ สวนชัน้ ที่ 1 (Tier-1 Supplier) จําเปนตองติดตอและประสานงานกันเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑขนั้ สุดทาย ถึงแมความกาวหนาในระบบสารสนเทศจะพัฒนาไปมาก แตการพบปะ พูดคุยโดยตรงก็ยังคงเปนวิธีที่กอใหเกิดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ (ความคิดเห็นจากตัวอยางที่ 3-5) เรือ่ งดังกลาวทวีความสําคัญมากขึน้ สําหรับ สินคาที่มีการแขงขันรุนแรงและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วที่ ตองการใหสายการผลิตมีความคลองตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบ สนองตอความตองการของตลาดและการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีการผลิตใดๆ ทีเ่ กิดขึน้ นอกจากนัน้ เนือ่ งจาก ผูผ ลิตชิน้ สวนชัน้ ที่ 1 เหลานีม้ กั จะมีขนาดเล็ก เมือ่ เทียบกับบริษทั ฮารดดิสก แมผผู ลิตฮารดดิสกจะไมไดเรียกรองโดยตรงแต ซัพพลายเออรเหลานีม้ กั เลือกทีจ่ ะตัง้ โรงงานใหใกลกบั โรงงานฮารดดิสกเพือ่ ให แนใจวาตนเองรักษาสถานภาพการอยูใน IPNs หรือกลาวอีกนัยหนึ่งเราจะ เห็นการพัฒนาคลัสเตอรใน Layer ที่ 1 นอกจากนั้นชิ้นสวนหลายๆ ชิ้นเชน มอเตอร Actuators’ arms คลัสเตอรไดเกิดขึ้นใน Layer ที่ 2 ดวยดังจะเห็น วาซัพพลายทีป่ อ นวัตถุดบิ ใหกบั มอเตอรสาํ หรับฮารดดิสกในประเทศไทยเชน กัน (McKendrick et al. 2000) ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


70

การประสานงานใน Layer ที่ 1 เกิดขึ้นในลักษณะที่ผูผลิตฮารดดิสก ตองการใหซัพพลายเออรมีทีมงานคอยทําหนาที่ติดตอ ประสานงานและแลก เปลี่ยนขอมูลทางดานการผลิต ประสิทธิภาพ คุณภาพของผลิตภัณฑ และ แผนการผลิตกับผูผลิตฮารดดิสกตลอดเวลา นอกจากนั้นการประสานงานกัน อยางใกลชิดดังกลาวยังจะชวยทําใหโครงสรางการผลิตมีความคลองตัว เชน การปรับเปลี่ยนชิ้นสวนบางรายการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสามารถทําไดใน ระยะเวลาอันสั้น (ตัวอยางที่ 2, 3 และ 4) เชน ในบางครั้งผูผลิตฮารดดิสก ตองการเปลี่ยนชิ้นสวนบางชิ้น (เชน ตัวตานทาน) จากผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 2 (Tier-2 Supplier) รายหนึ่งไปยังอีกรายหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การมีทีมประสานในลักษณะดังกลาวสามารถใหการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได ทันที ขั้นตอนดังกลาว ในหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นในลักษณะของการลองผิดลอง ถูก ดังนั้นผูผลิตฮารดดิสกอาจเปลี่ยนกลับได (ตัวอยางที่ 3) ซัพพลายเออร อื่นๆ (ตัวอยาง 4 และ 5) เลาประสบการณในทํานองเดียวกันและระบุวาความ รวดเร็วในการตอบสนองเปนหนึ่งในปจจัยหลักที่ผูผลิตฮารดดิสกใชจัดอันดับ ความสามารถของซัพพลายเออร ถึงแมวาไมไดมีขอตกลงที่เปนทางการระหวางผูผลิตฮารดดิสก กับผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 1 วาซัพพลายเออรรายนั้นตองขายชิ้นสวนใหผูผลิต ฮารดดิสกรายเดียว แตผูผลิตฮารดดิกมักตองการใหซัพพลายเออรมีสาย การผลิตตางหาก ไมไปปะปนกับผูผลิตฮารดดิสกอื่นๆ แมชิ้นสวนนั้นจะมี ลักษณะไมแตกตางกันนักระหวางลูกคาแตละราย ในกรณีของตัวอยางที่ 2 ที่ มีลูกคาเปนผูผลิตฮารดดิสกหลายราย บริษัทแยกสายการผลิตอยางเด็ดขาด ปรากฏการณดงั กลาวนาจะเปนเรือ่ งปกติธรรมดาของอุตสาหกรรมทีม่ ลี กั ษณะ โครงสรางตลาดแบบกึง่ แขงขันกึง่ ผูกขาด (Monopolistic Competition) ทีผ่ ผู ลิต มักจะมีกาํ ลังการผลิตสวนเกิน (Excess Capacity) เพือ่ เตรียมความพรอมทีจ่ ะ แยงสวนแบงตลาดของคูแ ขง ในกรณีของอุตสาหกรรมรมฮารดดิสกทผี่ ผู ลิตมี การวิจัยและพัฒนาอยางตอเนื่อง ดังนั้น เมื่อเกิดนวตกรรมใหมๆ โครงสราง การผลิตของผูผ ลิตนัน้ ตองพรอมทีจ่ ะใชขยายและทํากําไรจากนวตกรรมใหมๆ อยางเต็มที่กอนที่คูแขงจะตามทัน ดังนั้นผูผลิตฮารดดิสกจึงมักจะมีสายการ ผลิตที่ยืดหยุนและพรอมที่จะปรับเปลี่ยนตามนวตกรรมใหมๆ (ตัวอยางที่ Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


71

1) เชนกันที่ซัพพลายเออรตองมีความพรอมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงใน ทํานองเดียวกัน หลักฐานเชิงประจักษทพี่ บในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย ชีใ้ หเห็นวาแมการผลิตชิน้ สวนของฮารดดิสกจะไปในทิศทางทีผ่ ผู ลิตฮารดดิสก วาจางซัพพลายเออรอสิ ระ (Independent Suppliers) มากขึน้ ก็ตาม แตกไ็ มได หมายความวาความสัมพันธระหวางผูผ ลิตฮารดดิสกและซัพพลายเออรเหลานี้ ไมไดเปนเพียงการซือ้ มาขายไปเหมือนสินคาทัว่ ไป (Arms’ Length Transaction) ที่ใหความสําคัญกับราคาเพียงอยางเดียว แมใน Layer ที่ 1 ที่ผูผลิตฮารดดิสกและผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 1 จําเปนตองอยูใกลกันในลักษณะคลัสเตอร แตไมไดหมายความวาการผลิต ชิ้นสวนเหลานั้นจะตองใชวัตถุดิบภายในประเทศ หรือกลาวอีกนัยหนึ่งวาการ เกิดคลัสเตอรอุตสาหกรรม (Industrial Clustering)ไมสามารถอนุมานไดวา อุตสาหกรรมจะตองใชชิ้นสวนภายในประเทศทั้งหมด ตัวอยางที่ชัดเจนใน กรณีนี้คือชิ้นสวนอิเล็กทรอนิกสที่แมซัพพลายเออรที่ผลิต PCBA ใหกับผู ผลิตฮารดดิสกจํานวนมากในประเทศ แตการผลิต PCBA เหลานั้นยังคงมี การนําเขาวัตถุดิบ เชน แผน PCB ICs Semiconductor จากตางประเทศ อยางมากและวัตถุดิบเหลานี้เปนวัตถุดิบที่ใชรวมกันกับการผลิตผลิตภัณฑ อิเล็กทรอนิกสอื่นๆ นอกจากนั้น วัตถุดิบเหลานี้มีบริษัทขามชาติขนาดใหญ เชน Celestica, Flextronics, Jabil Circuit, Sanmina และ Solectron ซึ่งเปน ผูผลิตหลักของโลก (Lakeman et al. 2001; Yanuf, 2004: 11-12) และความ เชีย่ วชาญในการผลิตชิน้ สวนตางๆ มาก บริษทั ขามชาติเหลานีม้ เี ครือขายการ ผลิตเปนของตนเองและผลิตสินคาปอนใหแกอุตสาหกรรมรมตางๆมากมาย ตัวอยางเชน Flextronics ซึ่งเปนผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 2 มีโรงงาน 87 แหง กระจายอยูกวา 27 ประเทศทั่วโลกมีเงินหมุนเวียนมากกวา แสนลานเหรียญ สรอ. ในปค.ศ.2002 (Yusuf & Evenett, 2002) หรือ Celestica มีโรงงาน กวา 50 แหงทั่วโลก ซึ่งสวนมากตั้งอยูในภูมิภาคเอเชียตะวันออก Solectron ก็ มีการตั้งฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชนเดียวกัน (Strugeon & Laster, 2004: Figure 2.1 and Table 2.3) เนื่องจากการทีมีลูกคาอยูใน หลายๆอุตสาหกรรม บริษัทขามชาติขนาดใหญเหลานี้จึงตัดสินใจเองวาจะ ตัง้ โรงงานผลิตอยูท ไี่ หน (อาจจะเลือกตัง้ โรงงานใหอยูใ กลกบั ลูกคาใหมๆ หรือ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


72

เพิม่ กําลังผลิตในโรงงานเดิมและสงออกไปใหลกู คา) เพือ่ ใหสามารถตอบสนอง ความตองการของลูกคาไดดีที่สุด ผลก็คือในLayer ที่ 2 มี Lead timeในการส งมอบที่ยาวกวากวาชิ้นสวนที่ซื้อขายในLayer 1 มาก Kimura (2009) กลาว จากประสบการณในอุตสาหกรรมเครื่องจักรวา ใน Layer 1 มักจะมีลักษณะ เปนการผลิตที่มีความถี่ในการผลิตสูง หรือเปนการผลิตแบบJust-in-time (Lead time อยูที่ 2.5 ชั่วโมง) ในขณะที่ขั้นตอนเดียวกันนี้ใชเวลา 1-7 วัน สําหรับการซื้อขายใน Layer ที่ 2 ชิ้นสวนเกือบทั้งหมดในการผลิตฮารดดิสก เปนชิ้นสวนที่มีมูลคาตอนํ้ําหนักสูงและมีขนาดเล็กทําใหสามารถใชการขนสง ทางอากาศไดงาย (Kimura 2001: 292) ทําให Tier-1 และ Tier-2 สามารถ ตั้งอยูหางไกลกันได ตัวอยางที่ 4 ชี้ใหเห็นวาขอมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินคาใน Layer 2 วาบริษัทสั่งซื้อแผนวงจรเปลาจากประเทศสิงคโปรและไตหวัน สั่งซื้อ IC (Integrated circuit) จากประเทศสิงคโปรและอเมริกา จากนั้นจึงประกอบเปน แผงวงจรสําเร็จรูปเพื่อสงมอบแกผูผลิตฮารดดิสกตอไป ความสามารถของ ซัพพลายเออรคือการผลิตตามคําสั่งของลูกคาและมีความยืดหยุนพอตามขอ เรียกรองของผูผลิตฮารดดิสก ที่นาสนใจก็คือชิ้นสวนตางๆที่ผูผลิตชิ้นสวน ชั้นที่ 1 สั่งซื้อนั้นตองซื้อมาจากผูผลิตที่ผานการอนุมัติจากผูผลิตฮารดดิสก เสียกอนโดยเฉพาะอยางยิง่ ในชิน้ สวนอิเล็กทรอนิกสทบี่ ริษทั ผูผ ลิตฮารดดิสก รวมพัฒนากับบริษัทขามชาติที่เปนผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 2 ใหผลิต Chip หรือ ICs ทีเ่ ฉพาะสําหรับฮารดดิสกของตน ดังนัน้ นโยบายการจัดซือ้ วัตถุดบิ ของ ผูผลิตชิ้นสวนชั้นที่ 1 มีความเชื่อมโยงกับผูผลิตฮารดดิสกในระดับหนึ่ง และ การจัดซื้อจากแหลงใดขึ้นอยูกับโอกาสที่จะหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงกับที่ผู ผลิตฮารดดิสกตองการไดที่ไหนเปนสําคัญ ขอยกเวนทีพ่ บใน Layer ที่ 1 คือ ในกรณีของ Wafer และแผน Media ที่มักจะเปนการนําเขาจากบริษัทสาขาในตางประเทศ ทั้งนี้เพราะทั้ง Wafer และ Media เปนเสมือนเปนชิ้นสวนพื้นฐานที่ไมจําเปนตองปรับ (Tune) ให เขากับชิ้นสวนอื่นๆ ดังนั้นการประสานระหวางผูผลิตฮารดดิสกกับผูผลิตชิ้น สวนชั้นที่ 1 จึงไมจําเปนมากเหมือนชิ้นสวนอื่นๆ นอกจากนั้นชิ้นสวนทั้งสอง ก็เปนชิน้ สวนสําคัญทีก่ าํ หนดความสามารถในการแขงขันของแตละบริษทั โดย Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


73

เฉพาะแผนบันทึกขอมูลทีม่ ผี ลกระทบตอประสิทธิภาพของฮารดดิสกอยางมาก ทั้ง Seagate และ Western Digital นําเขาชิ้นสวนทั้งสองจากบริษัทสาขาที่ อื่นๆ เชน สหรัฐฯ รัฐ Johor ของมาเลเซีย (ตัวอยางที่ 1 และ 7 , Seagate Technology 2008 และ Western Digital 2008) นอกจากนัน้ ธรรมชาติของการผลิต ทัง้ แผน Wafer และ Media ใชเงิน ลงทุนที่สูงมาก เชน บริษัท Showa Denko เพิ่งเปดโรงงานผลิตแผน Media ที่ใหญที่สุดที่สิงคโปรเมื่อปค.ศ.2006 มีเงินลงทุนมากถึง 60,000 ลานเยน ใน ขณะทีม่ กี ารจางงานเพียง 600 คนเทานัน้ 13 ดังนัน้ เมือ่ บริษทั ผูผ ลิตตัง้ โรงงาน ในที่ใดที่หนึ่ง จะตองใชเวลานานกอนที่จะตั้งโรงงานใหมอีกแหงเพื่อใหการ ลงทุนดังกลาวครบระยะคืนทุน คําอธิบายดังกลาวนาจะประยุกตกับชิ้นสวน โลหะชิน้ เล็กเชนกัน เชน Spring Wire, Bottom VCM, Top VCM, TG Clamp, Top Cover Assy, Top Cover Seal, Positional Seal, Window Clock Seal ที่ economies of scale มีความสําคัญมาก นอกจากนั้นสําหรับแผน Wafer สถานที่ที่ตั้งโรงงานก็เปนอีกปจจัยหนึ่งที่อธิบายวาเพราะเหตุใดแผน Wafer ไปผลิตในฐานการผลิตหนึ่งแทนที่จะเปนอีกฐานการผลิตหนึ่ง การทําแผน Wafer จําเปนตองมีสงิ่ แวดลอมทีส่ ะอาดมากและเปนเหตุผลหนึง่ ทีบ่ ริษทั Intel ตัดสินใจลงทุนแผน Wafer ทีเ่ วียดนาม 14 นอกจากนัน้ แผน Wafer เปนวัตถุดบิ ทีใ่ ชในการผลิต Chip และชิน้ สวนอิเล็กทรอนิกสอนื่ ๆ ดวย ไมไดเฉพาะสําหรับ อุตสาหกรรมฮารดดิสกเทานั้น

ดูรายละเอียดเพิม่ เติมที่ Economic Development Board ของสิงคโปรที่ http://www.edb. gov.sg/edb/sg/en_uk/index/news/articles/Showa_Denko_opens_new_hard_disk_media_plant_in_Singapore_.html 14 ในอดีตเคยมีโครงการทําแผน Wafer โดยใชพื้นที่บริเวณบางอําเภอนําเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา อยางไรก็ตามโครงการประสบปญหาทางเทคนิค ณ ขณะนัน้ บางประการทําให โครงการดังกลาวยายไปตั้งที่มาเลเซียแทน 13

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


74

7 บทสรุปและนัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


75

บทความนีศ้ กึ ษาเครือขายการผลิตระหวางประเทศของอุตสาหกรรมฮารดดิสก ของไทยเพือ่ นําเสนอนัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในภาพรวม วิธกี าร ศึกษาในบทความนีใ้ ชการสัมภาษณเชิงลึกจากผูป ระกอบการทีไ่ ดมาจากการ ทํา Purposive Sampling ผลการศึกษาชี้ใหเห็นวาประเทศไทยไดเขาไปเปน สวนหนึ่ง ในเครือขายการผลิตของบริษัทขามชาติในอุตสาหกรรมฮารดดิสก โดยเริม่ จากการประกอบชิน้ สวนนําเขาเพือ่ สงออกและไดพฒ ั นาอยางตอเนือ่ ง ดังจะเห็นไดจากการยกระดับขึ้นไปตามหวงโซอุปทานของเครือขายการผลิต ฮารดดิสกระหวางประเทศ จนปจจุบันไทยเปนผูผลิตและออกฮารดดิสกมาก เปนอันดับทีส่ องของโลก (รอยละ 19) ตกเปนรองเฉพาะสาธารณรัฐประชาชน จีนเทานั้น (รอยละ 24) การไตระดับขึน้ ไปตามหวงโซอปุ ทานและการผลิตไดยกระดับความ สามารถในการผลิตเปนผลจากพัฒนาอยางตอเนื่องของฐานการผลิตภายใน ประเทศโดยเฉพาะการสะสมทักษะฝมือแรงงานและฐานนักวิทยาศาสตร ภายในประเทศทีม่ มี ากขึน้ และสอดคลองกับความตองการของภาคเอกชน ที่ สําคัญความสามารถทางดานการผลิตทีส่ ะสมไดกลายมาเปนแมเหล็กทีส่ าํ คัญ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


76

ทีด่ งึ ดูดใหการลงทุนในอุตสาหกรรมสนับสนุนอืน่ ๆ เขาและทําใหเกิดคลัสเตอร อุตสาหกรรม องคความรูใ หมทพี่ บในบทความนีช้ ใี้ หเห็นวาคลัสเตอรอตุ สาหกรรม และเครือขายการผลิตสามารถเกิดขึน้ เกิดขึน้ พรอมๆ กัน โดยผูป ระกอบการจะ เปนผูต ดั สินใจเลือกเองวาในขัน้ ตอนใดของการผลิตเลือกทีจ่ ะใชเครือขายการ ผลิตและขัน้ ตอนใดทีค่ ลัสเตอรจะมีสว นชวยเพือ่ ใหเกิดประโยชนสงู สุดตอความ สามารถในการแขงขัน หรือกลาวอีกนัยหนึ่งคือการเกิดคลัสเตอรในลักษณะ นีไ้ มไดทาํ ใหผปู ระกอบการตองเลิกใชประโยชนจากเครือขายการผลิตระหวาง ประเทศ ผลการศึ ก ษาข า งต น มี นั ย ต อ การพั ฒ นาอุ ต สาหกรรม 3 ด า นที่ สําคัญ คือ ประการแรก การเกิดขึ้นพรอมๆ กันระหวางเครือขายการผลิตและ คลัสเตอรอุตสาหกรรมชี้ใหเห็นวาคลัสเตอรอุตสาหกรรม (Industrial Cluster) หรือการพัฒนาคลัสเตอร ( Industrial Clustering) ไมไดหมายความวาเปา หมายสุดทายของการสรางคลัสเตอร คือ อุตสาหกรรมนัน้ ใชชนิ้ สวนทุกๆ ชิน้ ใน ประเทศ แนนอนที่สุดที่ขั้นตอนการ Clustering จะทําใหการผลิตหันมาใชชิ้น สวนเพิม่ ขึน้ บางก็ตาม แตจะขึน้ ไปถึงเทาไรจะถูกกําหนด ปจจัยทางเศรษฐกิจ พื้นฐาน (Economic Fundamental) เปนการ ‘ยาก’ ที่จะมามาจากการผลัก ดันหรือแรงจูงใจทางการเงินจากมาตรการภาครัฐ ดังนั้น การใชสัดสวนการ ใชชิ้นสวนภายในประเทศไมใชดัชนีชี้วัดความสําเร็จในการสรางคลัสเตอร ประการที่สอง ความทาทายเชิงนโยบายที่รออยูขางหนา คือ เราจะ รักษาสถานภาพหรือยกระดับคลัสเตอรไปอีกระดับหนึง่ อยางไร เชน การเขาไป มีสว นรวมในการออกแบบโดยอาศัยการสะสมความชํานาญในการผลิต ความ สามารถที่จะผลิตผลิตภัณฑที่สลับซับซอน (เชน การผลิตฮารดดิสกที่มีขนาด เล็กลงเรื่อยๆ) ผลการศึกษาในบทความนี้ชี้ใหเห็นถึงปจจัยทางดานอุปทาน เปนสําคัญโดยเฉพาะความพรอมของบุคลากรทางดานวิทยาศาสตรและ วิศวกรรมศาสตรและการตรวจสอบมาตรฐาน ในสวนของการพัฒนาบุคลากร แนวนโยบายทีผ่ า นกําลังเดินมาในทิศทางทีถ่ กู เพราะเปนกรณีตวั อยางสําหรับ การรวมมือระหวางภาครัฐและเอกชนที่ดีที่ทํางานทั้งงานวิจัยและบุคลากรที่ Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


77

เกิดขึ้นสอดคลองกับตามความตองการของภาคเอกชน แตการเตรียมความพรอมในเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานเปนสิ่งที่ ภาครัฐควรใหความสําคัญ เพราะความสามารถในการตอบสนองความตองการ ยังจํากัดทั้งหนวยงานภายในประเทศยังไมสามารถออกใบรับรองมาตรฐานที่ เปนสากลได หลายๆ ใบรับรองมาตรฐานยังเปนเพียงมาตรฐานภายในประเทศ การทดสอบในปจจุบนั ยังตองพึง่ พาศูนยทดสอบในตางประเทศ อยางไรก็ตาม การยกระดับใหหนวยงานภายในประเทศสามารถทีจ่ ะออกใบรับรองมาตรฐาน สากลไดนนั้ จะตองใชเวลา ไมสามารถเกิดขึน้ เพียงชัว่ ขามคืน ดังนัน้ มาตรฐาน ที่ชวยอํานวยความสะดวกใหผูประกอบการภายในประเทศใชบริการทดสอบ ในตางประเทศจึงเปนสิ่งที่จะชวยบรรเทาปญหาเฉพาะหนา นอกจากนั้น นโยบายมาตรฐานอุตาสาหกรรมในองครวมควรจะเปนไปในทิศทางรวมมือ กับภาคเอกชนเพื่ออํานวยความสะดวกใหภาคเอกชนสามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบตางๆ ที่เกิดขึ้นในโลกไดอยางเหมาะสมและทันทวงที แทนที่จะเปน เพียงผูบ งั คับใชกฎระเบียบในลักษณะทีเ่ พิม่ ภาระโดยไมจาํ เปนแกภาคเอกชน เรื่ อ งดั ง กล า วมี ค วามสํ า คั ญ กั บ อุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมที่ผลิตสินคาสําเร็จรูป เชน รถยนต ผลิตภัณฑเครื่องใชไฟฟา ที่ ประเทศไทยลวนแลวแตเปนศูนยกลางการผลิตสินคาอุตสาหกรรมของโลก ทัง้ สิน้ ทีส่ าํ คัญกฎระเบียบตางๆ ในปจจุบนั หันมาใหความสําคัญกับมาตรฐาน สินคาเพิ่มมากขึ้น ไมวามูลเหตุจูงใจในการใชมาตรฐานจะเปนอยางไร แต การที่ไทยเปนศูนยกลางการผลิตที่กําลังการผลิตถูกสรางขึ้นเพื่อตอบสนองผู บริโภคทั่วโลก เราตองปฏิบัติตามอยางหลีกเลี่ยงไมได ดังนั้น การตรวจสอบ มาตรฐานจึงเปนเรือ่ งทีภ่ าครัฐและเอกชนตองพัฒนาความรวมมืออยางจริงจัง เพื่ออํานวยความสะดวกการสงออกอยางแทจริง นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรมประการสุดทายคือ จะทําใหอยางไรให เครือขายการผลิตขยายไปและเพิม่ จํานวนผูป ระกอบการคนไทย (Indigenous Firms) เขาไปมีสว นรวมเพิม่ ขึน้ ได การเขาไปมีสว นรวมในเครือขายการผลิตดัง ที่นําเสนอในบทความนี้เปนกลจักรที่ทําใหผูประกอบการตื่นตัวตอการพัฒนา เพิม่ ประสิทธิภาพตลอดเวลา และเปนชองสงผานเทคโนโลยีทที่ นั สมัย อยางไร ก็ตาม การเขาไปในเครือขายยังคงมีอุปสรรคทั้งในตัวผูประกอบการเองและ ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


78

กรอบนโยบายการพัฒนาโดยรวม ในสวนของผูประกอบการทองถิ่นเหลานี้ โดยเฉพาะในสวนที่เปนกลุมผูประกอบการขนาดกลางและยอมที่ยังมีความ ไมเขาใจในวัฒนธรรมทางธุรกิจภายใตเครือขายการผลิตของบริษทั ขามชาติที่ ผลิตเพือ่ สงอออกอยางฮารดดิสก เชน บริษทั ขามชาติเหลานีจ้ ะเขามามีบทบาท ในขัน้ ตอนการผลิตของซัพพลายเออรอยางละเอียด การเรียกรองใหผปู ระกอบ การยกระดับคุณภาพของเครือ่ งจักร การเขามารับรูร ายละเอียดทางดานตนทุน เปนตน เปนการปฏิบตั กิ นั อยางทัว่ ไปเมือ่ ทําธุรกิจกับบริษทั ขามชาติเพือ่ ควบ คุมทุกๆขั้นตอนการผลิตใหถูกตองและมีประสิทธิภาพสูงสุด ไมใชการเขามา ผูกขาดและทําใหผูประกอบการคนไทยขาดอิสระในการดําเนินธุรกิจ ดังนั้น การดําเนินนโยบายในลักษณะ Big Push เพื่อผลักดันใหผูประกอบการทอง ถิ่นในภาพรวมใหเขาไปในเครือขายพรอมๆ กันไมนาจะเกิดประสิทธิผล แต นาจะจัดลําดับและใหความชวยเหลือเพือ่ ลดความเสียเปรียบอันเนือ่ งจากความ เปนผูประกอบการขนาดกลางและเล็ก ประสบการณการพัฒนาในอดีตทั้งใน อุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทยและของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ใหความ สําคัญกับผูประกอบการที่มีประสบการณเคยทํางานกับบริษัทขามชาติทั้งที่ เคยเปนพนักงานในประเทศ หรือเคยมีกับบริษัทขามชาติในตางประเทศเปน กลุม เปาหมายสําคัญ และนํากรณีทปี่ ระสบความสําเร็จมาเปน Demonstration Case ไปยังผูประกอบการรายอื่นๆ กรอบการพัฒนาโดยรวมทีย่ งั เปนปญหาทําใหผปู ระกอบการภายใน ประเทศเขาสูเ ครือขายการผลิตไดลาํ บาก คือปญหาโครงสรางภาษีนาํ เขา ดัง ไดนาํ เสนอไปทีโ่ ครงสรางภาษีนาํ เขาของไทยมีลกั ษณะขัน้ บันได มีความเสีย่ ง สูงทีจ่ ะมีปญ  หาความลักลัน่ ของภาษีนาํ เขาระหวางชิน้ สวนทีอ่ าจจะสูงกวาภาษี นําเขาสินคาสําเร็จรูป แมหนวยราชการทีเ่ กีย่ วของจะมีความพยายามทีจ่ ะแก ปญหาความลักลั่นของโครงสรางภาษีนําเขามาโดยตลอด แตการออกแบบ โครงสรางภาษีนําเขาในลักษณะนี้ตองใชความรูเชิงลึกในภาคอุตสาหกรรม อยางมากและมีพลวัตทีส่ งู โอกาสผิดพลาดจึงอาจเกิดขึน้ ตลอดเวลา นอกจาก นั้น ผูประกอบการก็อาจมีแรงจูงใจที่จะใหขอมูลในลักษณะที่ลําเอียงเพื่อให ผลิตภัณฑของตนเองถูกจําแนกเปนอุตสาหกรรมปลายนําและไดประโยชน จากความคุมครองภายใตโครงสรางภาษีนําเขาในลักษณะนี้ Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


79

อุตสาหกรรมฮารดดิสกเองก็ประสบปญหาในลักษณะดังกลาว (ตาราง ที่ 1) อยางไรก็ตามเนื่องจากฮารดดิสกเปนอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อสงออก ที่สามารถขอสิทธิการคืนภาษีนําเขาในวัตถุดิบที่ใชผลิตเพื่อสงออกไดและ ไมเปนภาระตอผูประกอบการที่พรอมที่จะเขารวมในเครือขายการผลิตโดย เฉพาะบริษทั ขามชาติ แตโครงสรางภาษีนาํ เขาดังกลาวจะเปนอุปสรรคสําหรับ ผูประกอบการรายยอยที่ “มีศักยภาพแตยังไมพรอมที่จะเขาสูเครือขายการ ผลิต” โดยเฉพาะอยางยิง่ หากการจะไดมาซึง่ ความสามารถทางดานเทคโนโลยี ตองมาจากการสะสม หรือมีลักษณะเปน Tacit Knowledge ที่ผูประกอบการ จะยกระดับความสามารถในการผลิตสําเร็จตองผานขบวนการลองผิดลองถูก ในการผลิต การที่ยังคงภาษีนําเขาเพิ่มตนทุนใหกับขบวนการลองผิดลองถูก และลดโอกาสทีผ่ ปู ระกอบการทีม่ ศี กั ยภาพจะเขาไปมีสว นรวมในเครือขายการ ผลิตโดยใชเหตุ ดังนัน้ การปฎิรปู ภาษีนาํ เขายังคงตองดําเนินการตอไปและมุง ไปสูโครงสรางภาษีนําเขาที่ภาษีนําเขาไมมีความแตกตางระหวางผลิตภัณฑ มากนัก และจํากัดรายการยกเวนใหมนี อ ยทีส่ ดุ เทาทีจ่ ะทําไดเพือ่ ใหเกิดความ โปรงใสและเปนธรรมที่สุด

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


80 £µ¡ ¸É 1 ¢{ r ´ o » µ¦ ¨· Á ¦¸¥ Á ¸¥ ¦³®ªnµ µ¦Â n ¨³Å¤n n ´Ê ° µ¦ ¨· o » I

III II IV

IH

ªµ¤ oµª® oµ µ Á à 襸 εĮo o » µ¦ ¦³­µ µ ¨ ¨

IIIH

IIH

¦·¤µ ¨ ¨·

H ¦·¤µ µ¦ ¨· ¸ÉÁ¦·É¤ ε Product Fragmentation Á¦Èª ¹Ê £µ¥®¨´ µ¦Á · ªµ¤ oµª® oµ µ Á à 襸

¸É¤µ: ´  ¨ µ Jones & Kierzkowski (1990)

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


81 µ¦µ ¸É 1 à ¦ ­¦oµ £µ¬¸ εÁ oµ ° °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ r¦³®ªnµ e .«. 1995-2006

±µ¦r ·­ r (HS 847170) ª´ » · ­Îµ ´ 1. n Wafer (HS3818) 2.  ª ¦ (PCBs) (HS8534) 3. Integrated circuits (HS8542) 4. Semi-conductors (HS8541) 5. ¤°Á °¦r 5.1 ¤°Á °¦r­ÎµÁ¦È ¦¼ (HS8501) 5.2 ·Ê ­nª ­Îµ®¦´ ¤°Á °¦r (HS8503) 6. ¨´ ¨¼ g (HS848210) 7.  n °¨¼¤·Á ¸¥¤ (HS 7601) 8.  n Media (HS 852390 °´ ¦µ£µ¬¸ εÁ oµÁ ¨¸É¥ ° £µ °» ­µ® ¦¦¤

1995* 2002 2003 2006 9.8 0 0 0 11 14 14 14 14 14 14 10 19 14 21

0 8 0 1 9

0 4 0 1 8

0 0 0 0 8

8 7 7 10 10 10 10 10 1 1 1 1 9 7.4 7.4 14.3 13.3 11.1

®¤µ¥Á® »: * o°¤¼¨£µ¬¸Ä e .«.1995 Á } o°¤¼¨ ¦³¤µ µ¦ r µ °´ ¦µ£µ¬¸ εÁ oµ ¸É ªµ¤¨³Á°¸¥ 2 digit Á n °´ ¦µ£µ¬¸ εÁ oµ­Îµ®¦´ ®¤ª 847170 Ä e .«.1995 Á } °´ ¦µ ¸É ¦³¤µ µ °´ ¦µ£µ¬¸ εÁ oµÄ ®¤ª 84 ¸É¤µ: ¦³ ¦ª µ¦ ¨´

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


82

£µ¡ ¸É 2 ¤¼¨ nµÁ¡·É¤ ° °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ r¦³®ªnµ e .«.1988-2006 100

140 120

80

100

60

80

40

60 40

20

20

0

0 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549

іҖѠѕјѣшҕѠѠѫшѝѥўдіієѠѧѯјдъіѠьѧдѝҙ іҖѠѕјѣшҕѠѓѥзѠѫшѝѥўдііє єѬјзҕѥѯёѧѷє ц іѥзѥюҍ 2531

¸É¤µ: ε ª µ o°¤¼¨ ¸É ´ Á È Ã ¥­Îµ ´ µ ³ ¦¦¤ µ¦¡´ µÁ«¦¬ · ¨³­´ ¤Â®n µ ·

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


1986-90 18 (13) 1.Seagate (1987)-Disk assembly 2. KR Precision (1988)Suspension 3. Seagate (1989)-HGA 4. Micropolis (1988)-HSA 5. IBM/Saha Union (1989)HSA 6. Read-rite (1989)-HSA 7. Seagate (1986)-Spindle Motor 8. NMB (1988)-Spindle Motor 9. Nidec (1989)-Spindle Motor 10. Elec &Eltek (1988)- PCB 11.SCI (1988)-PCB 12. TPW (1989)-Base plates 13.Magnetric (1990)-HGA

1.Seagate (1983)- HSA 2.GSS Arrays (1985)HSA 3.Fujikara (1985)Actuators 4.NMB (1985) Bearing and spindle motors 5.GSS (1985)-PCBs 1. Fujitsu (1991)-Disk assembly 2. Avatar Peripherals (1995)Disk assembly 3. IBM/Saha Union (1991)HGA 4. Read-rite (1991)-HGA 5. Minibear (1994)-HGA 6. Fujitsu (1991)-HSA 7. Magneccomp (1992)Suspension 8. Fujitsu (1994)-Actuators 9. TDK (1992)-Voice coil magnet 10. Hana (1993)-Voice coil magent 11. NHK (1994)-Bearing 12. Seagate (1994)-Magnet 13. Daido (1995)-Magnet 14. Seagate (1994)-PCBs 15. Hana (1993)-PCBs 16. Boron (1995)-Flex circuit 17. Wearnes Precision (1994)-Housing and base plates 18. NHK Precision (1993)Housing/base plates

1991-95 36 (18) 1. IBM-SPT (1997)-Disk assembly 2. Fujitsu (1999)-HGA 3. Maxtor (1996)-HAS 4. IBM-SPT (1997)-HAS 5. Boron (2000)-Flex suspension 6. Eng Precision (1999)Actuators 7. Fujitsu (1994)-Actuators 8. Measuren (1998)- Actuators 9. Habiro (1995)-Hubs & Orings, sleeves, brackets 10. Nippon Super (1996)- Hubs & O-rings, sleeves, brackets 11. Advanced Magnetic Materials (1998)-Magnetic powder 12. Ad Flex (1996)-Flex circuit and suspension assembly 13. Asahi Komag (1996)Polished substrates 14. Arrow mizutani (1998)Heat sink 15. G.D.P. (1998)-General maching

1996-2000 51 (15)

®¤µ¥Á® »:* ´ªÁ¨ Ä ª Á¨È ­ ¹ ε ª ¼o ¦³ ° ­nª ¸ÉÁ¡·É¤ indicates a number of additional establishments. ¸É¤µ: o°¤¼¨¦³®ªnµ e .«.1981-2000 µ McKendrick et al. (2000) Ä ³ ¸É o°¤¼¨¦³®ªnµ e .«.2001 ¹ { » ´ Å o µ µ o°¤¼¨ BOI

ε ª ¼o ¦³ ° µ¦ * ¦µ¥¨³Á°¸¥

µ¦µ ¸É 2 ε ª ¼o ¦³ ° µ¦Ä °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ r ° Å ¥¦³®ªnµ e .«.1981- { » ´

1981-85 5

1. Benchmark Electronics (2007)-Flex suspesnion 2. Comp Part Precision (2003)-Arm coil 3. Innoven (2002)-Printer Flex 4. Innoven (2005)-PCB 5. LCET (2006)-Coil assembly 6. LCET (2005) Membrane switch circuit assembly 7. LCET (2004)-Write-Read Head 8. LCET (2004)-Coil assembly 9. PCTT (2007)-PCBA 10. PCTT (2006)-FPCB 11. PCTT (2003)-FPCB multi layer 12. Intreflex (2006)-Metalic parts 13. Cal Comp electronics (2007)-SemiPCBA 14. Star microelectronics (2005)-PCBA 15. Beyonic Technology (2002)-Base plate 16. Single point parts (2006)-Ring motor, sleeve, shaft 17. Chin-ed Su Magnetic (2006)-Voice coil motor 18. MPN technology (2005)-Base plate 19. World Precision (2004)-Base plate 20. Altum Precision (2006)-Base plate 21. Silatic (2004)-PCBAs 22. Prem Star (2006)-PCBAs 23. Prem star (2006)-electronic micro assembly

2001-present 74 (23)

83

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


84

£µ¡ ¸É 3 µ¦­n °° ±µ¦r ·­ r ° Å ¥¦³®ªnµ e .«. 1988-2009 18000 16000 14000 12000 10000 8000 6000 4000 2000 0

40 35 30 25 20 15 10 5 0 1988 1990 1992 1994 1996 1998 2000 2002 2004 2006 2008

іҖѠѕјѣшҕѠдѥіѝҕкѠѠдѝѧьзҖѥѠѫшѝѥўдііє іҖѠѕјѣшҕѠдѥіѝҕкѠѠдѝѧьзҖѥѳѠъѨ јҖѥьѯўіѨѕ р ѝіѠ. (Ѱдьъѥкењѥ)

®¤µ¥Á® »: o°¤¼¨ µ¦­n °° ±µ¦r ·­ rÄ o µ¤¤¼¨ nµ µ¦­n °° Ä ®¤ª SITC (Rev 3) 75270 Á¡ºÉ°Ä®oÅ o£µ¡ ¸É n°Á ºÉ° ´Ê  n nª o ° µ¦¡´ µ Ä ³ ¸É ε ε ´ ªµ¤ ° ¨· £´ rÅ° ¸Ä o µ¤ ε ·¥µ¤ ° ° r µ¦ ­® ¦³ µ µ · ¸É ¦° ¨»¤®¤ª SITC 75, 76, 772 ¨³ 776 ¸É¤µ: ε ª µ µ o°¤¼¨ µ¦ oµ¦³®ªnµ ° ° r ¦­® ¦³ µ µ ·

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


85

µ¦µ ¸É 3 ­nª  n ¨µ è ° ¦³Á « ¼o­n °° ±µ¦r ·­ r ¸É­Îµ ´ ¦³®ªnµ e .«.1990-2008

1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008

Å ¥ 4.0 4.0 4.4 6.3 8.7 7.0 10.0 8.2 6.9 6.4 5.9 6.1 5.7 6.4 9.2 12.6 15.4 19.1 17.4

¸ 0.1 0.0 0.3 0.6 1.6 3.3 2.9 3.8 5.1 5.0 7.0 9.2 13.6 15.8 18.7 19.2 23.7 24.0 34.7

(¦o°¥¨³) ­nª  n ¨µ ­· à ¦r ¤µÁ¨Á ¸¥ Å°¦r¨ r ¢d¨· d ­r 23.5 0.3 1.2 1.0 22.5 1.9 0.9 1.0 24.8 4.2 0.9 1.5 24.9 4.3 2.3 1.2 25.8 6.4 3.0 1.1 26.8 9.2 2.6 1.6 28.1 8.9 2.8 4.1 24.7 9.1 3.8 5.1 22.4 7.7 3.4 5.6 21.5 8.5 3.2 6.2 18.9 10.5 5.4 7.3 18.9 10.0 5.2 6.6 21.6 9.0 3.8 7.0 21.3 9.9 3.8 7.1 18.3 8.4 3.0 6.5 16.9 6.0 2.8 7.3 12.4 5.7 2.3 7.2 10.5 5.0 2.6 6.9 7.2 2.8 3.8 3.7

Á µ®¨¸ 0.5 0.3 0.3 0.5 0.7 1.0 0.9 2.2 2.8 2.7 4.3 4.1 3.7 3.9 4.4 4.8 4.4 4.3 2.1

®¤µ¥Á® »: o°¤¼¨ µ¦­n °° ±µ¦r ·­ rÄ o µ¤¤¼¨ nµ µ¦­n °° Ä ®¤ª SITC (Rev 3) 75270 Á¡ºÉ°Ä®oÅ o£µ¡ ¸É n°Á ºÉ° ´Ê  n nª o ° µ¦¡´ µ ¸É¤µ: ε ª µ µ o°¤¼¨ µ¦ oµ¦³®ªnµ ° ° r ¦­® ¦³ µ µ ·

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย

°ºÉ Ç 69.3 69.3 63.6 59.9 52.7 48.5 42.4 43.1 46.1 46.5 40.7 40.0 35.6 31.8 31.4 30.4 28.8 27.6 28.3


86

£µ¡ ¸É 4 ¤¼¨ nµ­n °° Á ¨¸É¥ n°® nª¥ ° ¦³Á « ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r­Îµ ´ Ä £¼¤·£µ Á°Á ¸¥ ³ª´ °° .«. 1996-2008 250 200 150 100 50 0 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008

ѳъѕ

лѨь

ѝѧкзҙѱюіҙ

єѥѯјѯоѨѕ

®¤µ¥Á® »: o°¤¼¨ µ¦­n °° ±µ¦r ·­ rÄ o µ¤¤¼¨ nµ µ¦­n °° Ä ®¤ª SITC (Rev 3) 75270 Á¡ºÉ°Ä®oÅ o£µ¡ ¸É n°Á ºÉ° ´Ê  n nª o ° µ¦¡´ µ ¸É¤µ: ε ª µ µ o°¤¼¨ µ¦ oµ¦³®ªnµ ° ° r ¦­® ¦³ µ µ ·

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


¸É¤µ: ε ª µ µ o°¤¼¨ µ¦ oµ¦³®ªnµ ° ° r ¦­® ¦³ µ µ ·

µ¦µ ¸É 4 à ¦ ­¦oµ ¨µ ­n °° ±µ¦r ·­ r¨³Â®¨n εÁ oµ ·Ê ­nª ­Îµ®¦´ ±µ¦r ·­ r ° Å ¥¦³®ªnµ e .«. 2001-07 Á°Á ¸¥ ³ª´ °° ¸ °µÁ ¸¥ -10 NAFTA ­®£µ¡¥»Ã¦ (EU15) 2001-03 2005-07 2001-03 2005-07 2001-03 2005-07 2001-03 2005-07 2001-03 2005-07 I.à ¦ ­¦oµ ¨µ ­n °° ±µ¦r ·­ r (¦o°¥¨³ n° µ¦ ­n °° ¦ª¤) 50.8 60.7 12.5 34.4 18.0 7.3 27.3 22.1 19.3 13.1 II. à ¦ ­¦oµ ®¨n εÁ oµ · Ê ­nª ­Îµ ´ ° ±µ¦r ·­ r (¦o°¥¨³ n° µ¦ εÁ oµ¦ª¤) 1. Printed circuit boards (PCBs) (HS8534) 79.8 87.0 2.1 5.8 45.1 41.1 10.7 4.8 5.1 6.5 2. Integrated circuits (HS8542) 72.9 73.4 0.8 1.7 35.0 38.0 22.2 18.9 4.7 7.2 3. Semi-conductors (HS8541) 78.3 76.0 1.5 2.9 32.4 26.4 18.3 20.3 2.1 2.1 4. Aluminum plate (HS 7601) 8.1 12.7 1.6 3.1 4.2 7.9 0.5 2.1 0.5 0.2 5. Šð ¦µ ·­Á °¦r (HS 854110+854121+854129) 71.4 64.3 0.7 1.6 29.1 25.2 27.0 33.9 1.6 1.7 6. ´ªÁ È ¦³ »Å¢¢jµÂ¨³ ´ª oµ µ (HS8532 ¨³ 8533) 94.6 93.7 3.8 5.6 47.2 50.9 2.6 3.0 2.4 2.6 7.  n Wafer (HS 3818) 92.6 95.0 0.1 0.7 48.8 79.4 2.8 0.6 3.5 3.1 8.  n Media (HS 852390) 97.1 97.9 1.1 4.2 79.0 48.8 1.1 0.6 1.7 1.3

87

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


88

£µ¡ ¸É 5 ·Ê ­nª ° ±µ¦r ·­ r

¸É¤µ: ´¨¥µÂ¨³ ³² (2550)

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

¦·¬´ ¼o ¨· HDD

´ª°¥nµ

1

7. µ ° ­· · ¦³Ã¥ r ° BOI ŤnÄ nÁ } { ´¥­Îµ ´ ¸É ³ ¦·¬´ ¡· µ¦ µÄ Á¦ºÉ° µ¦ ´ ­· Ä µ¦¨ »

1. «´ ¥£µ¡ ° ¦ µ Á } { ´¥­Îµ ´ ¸­É » ¸É εĮoÅ ¥Å o ¨µ¥¤µÁ } µ µ¦ ¨· ¨³­n °° ±µ¦r ·­ r ¸É­Îµ ´ ° è à ¥Á ¡µ³°¥nµ ¥·É ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦Á¦¸¥ ¦¼o¨³ ¤¸ Flexibility ¸É ³Â o { ®µ day-to-day ¸É ª¸ ªµ¤­Îµ ´ ¤µ ¹Ê ´ ³Á®È Å o µ ¦·¬´ Á¡·¤É ε ª ª·«ª ¦Â¨³ ´ ª· ¥µ«µ­ ¦r ¨³­¦oµ Network ´ ¤®µª· ¥µ¨´¥Á¡ºÉ°Â o { ®µÂ¨³Á¡·É¤ ¦³­· ·£µ¡ µ¦ ¨· 2. µ¦Â n ´ Ä °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ rÁ } µ¦Â n ´ ´ Ä Á¦ºÉ° ° Á à 襸¨³ Áª¨µ Á¤ºÉ°¤¸Á à 襸Į¤nÇ ¸É ¨· °° ¤µ ¦·¬´ ¸É · o ³¤¸Áª¨µ ¦³¤µ 6 Á º° ¸ É ³Á È Á ¸¥É ª ¨ ¦³Ã¥ r µ ª ¦¦¤Á®¨nµ ´Ê n° ¸É ¼o ¨· ¦µ¥°ºÉ Ç ³ µ¤ ´ ´ ´Ê ªµ¤ ¨n° ´ªÄ ­µ¥ µ¦ ¨· ¹ Á } ­·É ¸É­Îµ ´ 3. µ¦­n °° ° ¦·¬´ ­n °° Ä ¨´ ¬ ³±µ¦r ·­ r­ÎµÁ¦È ¦¼ ¹ ¦o°¥¨³ 70 Ä ³ ¸É°¸ ¦o°¥¨³ 30 Á } semi-finished Á n HSA ¨³/®¦º° HGA ¨· £´ r¨³ª´ » · Ä °» ­µ® ¦¦¤ ¸Ê­nª Ä® nÄ o µ¦ ­n µ °µ µ«Á¡¦µ³Á } ·Ê ­nª ¸¤É ¸ µ Á¨È ¨³ o° µ¦ ªµ¤¨³Á°¸¥ °n° Ä µ¦ ´ ­n 4. µ¦ ¨· ±µ¦r ·­ r { » ´ Ä o ·Ê ­nª ¸ É ¨· Ä ¦³Á « ¦³¤µ ¦o°¥¨³ 36 5. FTA Ťn¤¸ ¨ n° µ¦ ´ ­· Ä Ä µ¦Á¨º° µ µ¦ ¨· ° ¦·¬´ ² 6. ¦³¥³ µ ®¦º°Â®¨n ¸É ´Ê ° ´¡¡¨µ¥Á°°¦rŤn¤° ªnµÁ } { ®µ ¦µ Ä ¸É¦µ µ » £µ¡ ¨³ µ¦ ´ ­n Á } ¸¡É °Ä ´ ´Ê µ¦ ­¦oµ ¨´­Á °¦r­Îµ®¦´ °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ r ¹ ŤnÄ o­·É ¸É εÁ } ­Îµ®¦´ µ¦Á¡·É¤ ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦Â n ´

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

£µ ª ¸É 1 ¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

40

89

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


2

´ª°¥nµ

5. » Á n ° µ µ¦ ¨· Å ¥ º° Flexibility ¸É ³ ° ­ ° ªµ¤ o° µ¦ ° ±µ¦r ·­ r¦»n Ä®¤n ¸É¤¸ { ®µ nµ Ç Á · ¹Ê Ä ¨´ ¬ ³ª´ n°ª´ Á n µ¦Â ¨  /Prototype Å ­¼n Action Plan ´ ´Ê µ µ¦ ¨· Ä ¦³Á « εÁ } o° ¤¸ Know-how ®¦º° Engineering Skill Á¡·É¤¤µ ¹ Ê 6. ¨µ ­n °° ­nª Ä® n¥´ Á } ­· oµ ´Ê ¨µ (±µ¦r ·­ r) ¸ÉÅ ¦³ ° ´ °¤¡·ªÁ °¦r¨³­n °° ε® nµ¥

3. { ®µ º° ´¡¡¨µ¥Á°°¦r£µ¥Ä ¦³Á «Å¤n¤¸ ªµ¤­µ¤µ¦ Á¡¸¥ ¡° ŤnÅ o¨ » Á¡ºÉ°¥ ¦³ ´ ªµ¤­µ¤µ¦ Å o ´ ´ ¸É ¦·¬´ o° µ¦ 4. Ä nª 2-3 e ¸É nµ ¤µ ¦·¬´ ¡¥µ¥µ¤¡´ µ ´¡¡¨µ¥Á°°¦rÄ®o ¦ ´ ªµ¤ o° µ¦Á¡·É¤¤µ ¹Ê Á¡¦µ³ ·Ê ­nª µ ·Ê εÁ } ¸É o° ¤¸ Effective Coordination Á n ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r ε Artwork ¦nª¤ ´ Suppliers

2. µ¦ ºÊ° µ £µ¥ ° ¦·¬´ ¤nÄ nµ ¦³Á « ³¤¸ International Vendor ®µ ´¡¡¨µ¥Á°°¦r ¸É¤¸ » ­¤ ´ · ¦ oª¥Á¡ºÉ°Ä®oÅ o¦µ µ ¸É ¼ ¨³­µ¤µ¦ ° ­ ° ªµ¤ o° µ¦ ° ¦·¬´ Ä®oÅ o¤µ ¸É­»

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r 8. °» ­µ® ¦¦¤ Hard disk Ťn­µ¤µ¦ ε Just in time Å oÁ®¤º° °» ­µ® ¦¦¤¦ ¥ rÁ ºÉ° µ ¼o ¨· ¤¸­´ µ ¸É ³ o° ´ ­n ±µ¦r ·­ rÄ®o n¨¼ oµÄ®o ´ £µ¥Ä 24 ¤. Ťnªnµ ¸ÉÄ Ä Ã¨ ´ ´Ê µ¦Å¤n¤¸­ ° µ¤Â ª · JIT εŠo¥µ ­·É ¸ÉÁ · ¹Ê º° ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r ³¡´ µ¦³ Warehouse Å ¥´ ¸É nµ Ç ° è Á¡ºÉ°Ä®o nÄ ªnµ­µ¤µ¦ j° ­· oµÄ®o n ¼o oµÅ o ´ ´ ªµ¤ o° µ¦ ¦·¬´ ¼o ¨· HDD 1. { » ´ ®´ ¤µ ¨· ®¨µ¥Ç ·Ê Á° £µ¥Ä ¦³Á «­Îµ®¦´ ·Ê ¸É­Îµ ´ n° ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦Â n ´ ° ¨· £´ r ´Ê ­» oµ¥  n ¸É nµ ±µ¦r ·­ rÁ° Ȥ¸ ·Ê ­nª ¸ÉÁ } · Ê ­nª ¦nª¤ ´ ¤µ ¹Ê ¨³ εĮo ¦·¬´ ®´ Å ºÊ° µ £µ¥ ° Á¡·É¤¤µ ¹Ê

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

90

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


3

´ª°¥nµ

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

´¡¡¨µ¥Á°°¦r¨³ 1. ¦¼  µ¦¨ » ¤´ ³ ´ Ê Ã¦ µ Ä ¨o ( ¦³Á «Á ¸¥ª ´ / ´ ®ª´ Á ¸¥ª ´ ) ´ æ µ ¦³ ° ±µ¦r ·­ rÁ n ¦·¬´ ¤¸Ã¦ µ ¦·¬´ ¤nÁ } ¦·¬´ ¸É ¸ (Á Á ·Ê °¼ ¸) ¨³ ¸É¤µÁ¨Á ¸¥ oª¥ ·Ê ­nª ¸Ê n° oµ ³¤¸¤¼¨ nµÁ¡·É¤ Éε nµ ¦³Á « 2. · Ê ­nª ¸ÅÊ ¤nÄ n ·Ê ­nª ¸ÁÉ } ­Îµ ´ Ä µ¦ ε® ¸ ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦Â n ´ ° ±µ¦r ·­ r¦µ¥Ä ¦µ¥® ¹É Á } ¡·Á«¬  n °¥nµ Ŧ È µ¤Â n¨³ ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r o° µ¦¤¸­µ¥ µ¦ ¨· ° Á° 3. ¤¸ ªµ¤ nª¥Á®¨º° µ ¼o ¨· ±µ¦r ·­ rÄ Á¦ºÉ° ° know-how ¨³ µ¦ ε® ®¨n Source ª´ » · Á n Semi-conductor εÁ } o° Source µ ¼o ¨· ¦µ¥ ¸Ê µ ¦´Ê ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r­µ¤µ¦ ºÊ°Å oÄ ¦µ µ ¸ É ¸ ªnµ ¸É ´¡¡¨µ¥Á°°¦r · n°Á° 6. ªµ¤­µ¤µ¦ ° ´ª°¥nµ °¥¼n ¸É Machining ¹É Á } Basic Knowledge Ä ³ ¸É ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r ³¤µ ° Á · Á ¡µ³ ° Á° Ä µ ¦ ¸Á nµ ´ Ê 7. ¦·¬´ εÁ } o° ¤¸ µ¦ ¦³­µ µ ´ °¥nµ Ä ¨o · ´ ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r­Îµ®¦´ µ¦ ε µ ª´ n°ª´ o°¤¼¨ ¸É¤¸ µ¦Â¨ Á ¨¸É¥ ´ ´Ê  n µ¦ ¨· ¨³ ´ ­n µ¦Â o { ®µ µ¦ ¨· ¨³ µ¦Á¡·É¤ ¦³­· ·£µ¡ µ¦ ¨· 8. µ¦ ¨· Ťn ´ ªnµÁ } Semi-Skilled Intensive Á¡¦µ³Ä oÁª¨µ Train µ n° Á oµ Line µ¦ ¨· ¦³¤µ 7-8 ª´ ¦³Á È ­Îµ ´ º° ªµ¤­³°µ Á¡¦µ³Á¦ºÉ° ªµ¤­³°µ n° oµ serious ­Îµ®¦´ ¨· £´ r±µ¦r ·­ r 9. ¼o ¨· ±µ¦r ·­ rÁ¦¸¥ ¦o° Ä®o ´¡¡¨µ¥Á°°¦r ´Ê æ µ °¥¼nÄ ¨o ´ (­µ¤µ¦ ´ ­n Å o µ¤ ε® ) ¨³¡´ µ µ¦ ¦³­µ µ ´ °¥nµ ¤¸ ¦³­· ·£µ¡ Á n æ µ ¤¸ µ  n¨³ ¨»n¤Á¡ºÉ° ε µ ¦nª¤ ´ ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r n¨³¦µ¥

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

91

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


6

5

4

´ª°¥nµ

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

´¡¡¨µ¥Á°°¦r¨³ 1. µ¦ ¨· ­nª Ä® nÁ } µ¦ εÁ oµ ·Ê ­nª °·Á¨ ¦° · ­r µ nµ ¦³Á «¤µ ¦³ ° Á oµ oª¥ ´ µ¦ εÁ oµÁ ºÉ° µ ε­´É ºÊ° ¦·¬´ ¤nÁ } ¦·¬´ ° ¨¼ oµ(±µ¦r ·­ r) ¨³ µ¦¤¸ ¦·¬´ oµ¤ µ · µ Ä® n ¸É­µ¤µ¦ ° ­ ° ªµ¤ o° µ¦Ä ¨µ è Å o 2. ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦Â n ´ ° ´¡¡¨µ¥Á°°¦rÅ ¥ º° µ¦Á oµÄ  ªµ¤­µ¤µ¦ ( ªµ¤¦ª Á¦Èª ¨³­´ ­nª ªµ¤ nµ ¦³Á « · ¡¨µ ) Ä µ¦ εÁ°µ ·Ê ­nª °·Á¨ ¦° · ­r nµ Ç ¤µ ¦³ ° Á oµ oª¥ ´ ¨³Ã ¦ ­¦oµ µ¦ ¨· ¸É¥º ®¥»n ¥· ¸ ¸É ³ ¦´ Á ¨¸¥É Å µ¤ ªµ¤ o° µ¦ ° ¨¼ oµÅ o ´¡¡¨µ¥Á°°¦r¨³ 1. ª µ¦ ¨· ¤¸ µ¦¡´ µ°¥nµ n°Á ºÉ° µ¤ Innovation Ä®¤nÇ Â¨³Á¦·É¤¤¸ µ¦ Localization Á¡·É¤¤µ ¹Ê Á n ®´ª°nµ Á ¥ ºÊ° µ ¦·¬´ ¤nÁ } ¦·¬´ ¦·¬´ ¸É »i ¸É manufacture Ä ¸ { » ´ εÁ° ¤¸Á¡¸¥ ·Ê ­nª ­Îµ ´ Á nµ ´Ê ¸ÉŤnÅ o º° Wafer nµ ¦³Á « 2. { » ´ µ¦ ¨· Ä o¦ µ ´ ¬³ Á n ª·«ª ¦ ´ ª· ¥µ«µ­ ¦rÁ¡·É¤¤µ ¹Ê Á ºÉ° µ ·Ê ­nª ¸É ¨· n° oµ ³Á } ·Ê ­nª High-tech ® nª¥ µ £µ ¦´ 1. ªµ¤­Îµ ´ ° Ã¥ µ¥£µ ¦´ ¤¸ 4 oµ º° µ¦Á¡·É¤ ªµ¤­µ¤µ¦ µ oµ Á à 襸¨³ µ¦ εª· ¥´ ¨³¡´ µ, µ¦¡´ µ ¦´¡¥µ ¦¤ »¬¥r, µ¦¡´ µÁ ¦º° nµ¥£µ¥Ä ¦³Á « ¨³Â¦ ¼ Ä µ oµ µ¦¨ » 2. µ¦Á¡·É¤ ªµ¤­µ¤µ¦ µ oµ Á à 襸¨³ µ¦ εª· ´¥Â¨³¡´ µÂ¨³ ¦´¡¥µ ¦¤ »¬¥rÁ } Å Ä ¨´ ¬ ³Á · Å ¡¦o°¤Ç ´ à ¥Ä  n ° µ¦¡´ µ ¦´¡¥µ ¦¤ »¬¥r ³Á } µ¦Ä®o » µ¦«¹ ¬µ ¨³ µ¦° ¦¤ » ¨µ ¦Ä °» ­µ® ¦¦¤Ä®o ´ ´ ªµ¤ oµª® oµ µ Á à 襸 ° °» ­µ® ¦¦¤Ä { » ´ Ä ³ ¸ É µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ ³¤»n Á } ªµ¤¦nª¤¤º° 3 iµ¥¦³®ªnµ ¼o ¦³ ° µ¦ ® nª¥ µ ¦´ ¨³ ¼oÁ ¸É¥ª µ µ¤¤®µª· ¥µ¨´¥ nµ Ç Ã ¦ µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ­nª Ä® n ³Á } ¦³¥³­´Ê ¹ ¦³¥³ µ ¨µ ¸É¤»n ¦´ ¦» ¦³­· ·£µ¡ µ¦ ¨· ° ¼o ¦³ ° µ¦

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

92

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

® nª¥ µ £µ ¦´

´ª°¥nµ

7

3. ¦³ µ¦°» ® » µ µ¦Á · ³ ¹ Ê °¥¼ n ´ ¨´ ¬ ³ ° à ¦ µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ ®µ à ¦ µ¦ ¸É¤¸¨´ ¬ ³Á } Proprietary Asset ­Îµ®¦´ ¦·¬´ Ä ¦·¬ ´ ® ¹É Á } µ¦Á ¡µ³ Á · » ­ ´ ­ » µ £µ ¦´ ³ Éε¨ Á n Á° ¦´ · ° ¦o°¥¨³ 70 Ä ³ ¸É£µ ¦´ nª¥¦o°¥¨³ 30  n®µ µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µÁ } ªµ¤¦¼o n°» ­µ® ¦¦¤Ä ª ªoµ ­´ ­nª ¸£É µ ¦´ ­ ´ ­ » ³Á¡·É¤ ¹Ê 4. µ¦¡´ µÁ ¦º° nµ¥ µ¦ ¨· ¤»n ¸É µ¦ ¦³­µ ¦³®ªnµ ¦·¬´ oµ¤ µ · ´ ¼o ¦³ ° µ¦£µ¥Ä ¦³Á « ¸É¤¸«´ ¥£µ¡ ¨³ µ¦ Á ¦¸¥¤ ªµ¤¡¦o°¤ ´ ¼o ¦³ ° µ¦ ¸É¤¸« ´ ¥£µ¡Â n¥´ ŤnÅ oÁ oµ¤µÄ Á ¦º° nµ¥ µ¦ ¨· Á n à ¦ µ¦ ¸É ¦·¬´ nµ µ ·¦µ¥® ¹ É Îµ¨´ ³¥oµ¥ µ µ¦ ¨· Á oµ¤µÄ Å ¥Â¨³ ³ εÁ°µ¦³ Automation¤µÄ o µ¦ · ´ Ê ¦³ Automation ¦·¬´ nµ µ ·¤¸ µ Á¨º° ¸É ³Ä o Complete Set ° Á ¦ºÉ° ®¦º° ªnµ oµ Ä ´¡¡¨µ¥Á°°¦r£µ¥Ä ¦³Á «Á } ε ®¦º° Mix ´ ® nª¥ µ £µ ¦´ ¹ ε® oµ ¸É ´ Á¨º° SMEs ¸É¤¸«´ ¥£µ¡Â¨³Ä®o ªµ¤ nª¥Á®¨º° µ oµ Á à 襸 µ¦ ¨· 5. ¸É nµ ¤µ­´ ­nª ° ¦³¤µ ­nª Ä® n¦o°¥¨³ 60-70 Å ¥´ µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ Ä ³ ¸É ­Îµ®¦´ µ¦¡´ µÁ ¦º° nµ¥ µ¦ ¨· ¥´ ¤¸Å¤n¤µ ´ Á¡¦µ³ ¼o ¦³ ° µ¦Ã ¥Á ¡µ³¦µ¥¥n°¥¥´ Ťn ° ­ ° µ¦Á oµ¤µÄ Á ¦º° nµ¥¤µ ´ 1. ¦° Ã¥ µ¥ µ¦¡´ µ HDD Á¦·É¤ εÁ · µ Ä e ¡.«. 2546 Á } o ¤µÃ ¥¤»n Á o µ¦­¦oµ Cluster Ä °» ­µ® ¦¦¤ HDD µ¦ εÁ · ¦nª¤ ´ ¦³®ªnµ ® nª¥ µ nµ Ç Á n BOI ¨³® nª¥ µ £µ¥Ä o­´ ´ ­ª . à ¥¤¸® nª¥ µ Ä ® nª¥ µ ® ¹ É Á } Á oµ£µ¡Ä µ¦ ´ Á ¨ºÉ° { » ´ NECTECH Á } Á oµ£µ¡Ä µ¦ ¦³­µ ¨³¦nª¤ εÁ · µ¦ ´ ® nª¥ µ °ºÉ Ç ´ª°¥nµ Á n µ¦ εÁ · Ã¥ µ¥Á¡ºÉ°­n Á­¦·¤Ä®o ¦·¬´ ¼ o ¨· ε R&D ´Ê ¦·¬´ ¼o ¨· ¸É ε R&D ³Å o¦´ ¦ ¼ Ä µ µ¦Å o¦´ ­· ·¡·Á«¬ µ £µ¬¸Á¡·É¤ ¹Ê °¸ ® ¹ É e µ BOI ®¦º°Ä ¦ ¸ ¸É ¦·¬´ ¼ o ¨· o° µ¦ ε R&D ´Ê ® nª¥ µ ITAP È ³Ä®o µ¦­ ´ ­ » Á · ¦³¤µ µ¦ ε R&D ¨³Á } ´ªÁ ºÉ°¤Ã¥ Ä®o ¦·¬´ ¼o ¨· ­µ¤µ¦ · n° ´ ´ ª· ´¥Å o nµ¥ ¹Ê

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

93

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


´ª°¥nµ

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

2. ¦° Ã¥ µ¥Ã ¥¦ª¤Á n °° Á } 4 oµ ­Îµ ´ º° (1) µ¦­n Á­¦·¤Â¨³¡´ µÁ à 襸 (Technology) (2) µ¦­n Á­¦·¤Â¨³ ¡´ µ » ¨µ ¦ (Human: Maker and Assembly) (3) µ¦­n Á­¦·¤Ä®oÁ · ªµ¤Á ºÉ°¤Ã¥ Å ¥´ ¼o ¨· £µ¥Ä ¦³Á « (Supply Chain) (4) µ¦­¦oµ ¦¦¥µ µ« µ¦¨ » Ä °» ­µ® ¦¦¤ 3. Ä Á¦ºÉ° µ¦¨ » ¨³¡´ µ µ¦ª· ´¥Ã ¦ µ¦ ³Á } Ä ¨´ ¬ ³ ªµ¤¦nª¤¤º°¦³®ªnµ £µ Á° ¨³¦´ Ä ¨´ ¬ ³ Matching Fund à ¥Ã ¦ µ¦ª· ¥´ nµ Ç ­nª Ä® n ³Á · ¹Ê µ µ¦Á¦¸¥ ¦o° ° ¦·¬´ ¼o ¨· ¨³¦´ ³Ä®o µ¦­ ´ ­ » Á · » à ¦ µ¦ ´Ê Á } µ ­nª ­´ ­nª Á · » ¦³®ªnµ Á° ´ ¦´ ¹ Ê °¥¼n ´ ¨´ ¬ ³ ° à ¦ µ¦ªnµ ³Á } ¦³Ã¥ rà ¥ ¦ ´ ¦·¬´ ¼o ¨· Á ¡µ³ ®¦º°Á } ªµ¤¦¼o ´ °» ­µ® ¦¦¤Ã ¥¦ª¤ ®µ ¦ ¸ ¸ÉÁ } ¦³Ã¥ rà ¥ ¦ ´ ¦·¬´ ´Ê Ç £µ Á° ³°° Ä ­´ ­nª ¸É¤µ ªnµÂ¨³ ³Å o ªµ¤Á } Á oµ ° ¦´¡¥r­· µ { µ ´Ê £µ¥Ä o¦³¥³Áª¨µ ε ª ® ¹É 4. µ¦¡´ µ » ¨¨µ ¦­Îµ®¦´ °» ­µ® ¦¦¤ HDD ´Ê : { » ´ MOU ¤¸ µ¦°°  ª· µ µ¦­° ¸É­ ´ ­ » µ¦ ε µ  n ¦·¬´ ¼o ¨· ¹É ®¨´ ­¼ ¦ µ¦­° ª· µ ´ Ê Á · µ °°  µ Á° ¨³® nª¥ µ ¦´ ¦nª¤ ´ 5. Ä £µ¡¦ª¤ » ¨µ ¦Ä ®o° ¨° ¤¸ ε ª ŤnÁ¡¸¥ ¡° ¹ εĮo®o° ¨° Ä ¦³Á «Å ¥Å¤nÅ o¦´ µ¦¥°¤¦´ ¤µ ¦ µ ­µ ¨ ¨³ ¦³Á È ¸É ³ ¨´ ´ Ä®o®o° ¨° ¤¸¤µ ¦ µ ­µ ¨ ´Ê n° oµ Á } Å Å o¥µ Á ºÉ° µ ¦³Á «Å ¥ µ  ¨ ´Ê » ¨µ ¦Â¨³ ¦´¡¥µ ¦Á · » ¦ª¤ ´Ê µ¦ ¼Â¨Â¨³¨ » µ¦­¦oµ ®o° ¨° o° Ä oÁ · ¨ » ¸É­¼ ¤µ

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

94

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


8

´ª°¥nµ

® nª¥ µ £µ ¦´

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

6.  ε¨° µ¦Á ¦¸¥¤ ªµ¤¡¦o°¤ ° Lab ¨° ­Îµ®¦´ ¦³Á « ε¨´ ¡´ µ ¸É¤¸ ¦³¤µ ε ´ nµ ³Á } ¨´ ¬ ³ ¸É ¦³Á «Å¤n εÁ } o° ­¦oµ ®o° ¨° ° Á° Á¡¸¥  n­¦oµ ªµ¤Á ºÉ°¤Ã¥ ´ ¦·¬´ oµ¤ µ · µ Ä® n ¸ÉÁ } ¼o ¸É¤¸­· ·°° Ä ¦´ ¦° ¸ÉÁ } ¤µ ¦ µ ­µ ¨Â¨³­n Å ­° ¥´ ¦³Á «Á®¨nµ ´Ê { » ´ ¤¸ ¦·¬´ Ä ¨´ ¬ ³ ¸Ê ¸É¤¸­Îµ ´ µ ¦³ µ¥Å ¥´ ¦³Á « nµ Ç Â¨³ ε® oµ ¸¦É ´ oµ ­° Á n ¦·¬´ TROOP ¸ÉÅ o¦´ µ¦¥°¤¦´ ¤µ ¦ µ µ¦ ¨° µ FCC Á } ¦·¬´ ¸É Ä®o ε ¦ª ­° ¤µ ¦ µ ­· oµ°» ­µ® ¦¦¤ ¨³°° Ä ¦´ ¦° (Certification)  n ¦·¬´ ¼o ¨· nµ Ç ´ÉªÃ¨ ´ Ê ¤¸ µ¦ εÁ · µ ¸É ³Å ´Ê ­Îµ ´ µ Ä ®¨µ¥Ç ¦³Á « ¨³ ´ ´Ê ®o° ¨° (Laboratory) Ūo ¸ÉÁ ¸¥ª Á¡ºÉ° ¦³®¥´ µ¦¨ » µ¦ ­¦oµ ®o° ¨° Ä ®¨µ¥Ç ¸É ¹É ­Îµ ´ µ ¸É ´Ê Ä ¦³Á « nµ Ç ³Á } ¼o¦ª ¦ª¤­· oµ°» ­µ® ¦¦¤ ¸É o° µ¦ ¦ª ­° ¤µ ¦ µ µ ¦³Á « nµ Ç Å ¥´ ®o° ¨° ®¨´ (Central Lab) 7. ¦³Á È oµ Backward Linkage: ¼o ¨· Å ¥Å¤n­µ¤µ¦ Á oµÅ °¥¼nÄ Á ¦º° nµ¥ µ¦ ¨· Ä °» ­µ® ¦¦¤ HDD Å o nµ¥ Á ºÉ° µ (1) ¦·¬´ ¼o ¨· ¤¸ µ¦ ε® ¤µ ¦ µ ° Supplier ¨³ (2) Supplier Å ¥ µ Á à 襸 ¸ÉÁ¡¸¥ ¡° n° µ¦ ¦³ ° ·Ê ­nª nµ Ç °¥nµ Ŧ È µ¤ ¼o ¨· Å ¥ ¸É­µ¤µ¦ Á oµÅ °¥¼nÄ Á ¦º° nµ¥ µ¦ ¨· HDD ´Ê ­nª Ä® n ³Á ¥ ε µ °¥¼n Ä ¦·¬´ ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r¤µ n° °µ · 1. «ª¦¦¬ ¸É nµ ¤µ ´Ê ° µ¦ ¨· Ä °» ­µ® ¦¦¤±µ¦r ·­ r Á ¨¸É¥  ¨ Å Á¦ºÉ°¥Ç µ¤ ª ¦¦¤ ( µ ° HDD Á¨È ¨ Á¦ºÉ°¥ Ä ³ ¸É ªµ¤ »Á¡·É¤ ¹Ê Á¦ºÉ°¥Ç) 2. Á ºÉ°ªnµ ·Ê ­nª nµ Ç Ä °» ­µ® ¦¦¤ HDD ¨· Ä ¦³Á «Á º° ´ Ê ®¤ ¥ Áªo Media ¸É¥´ o° εÁ oµ µ ­· rà ¦r ¨³ ¸

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

95

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


´ª°¥nµ

¨´ ¬ ³ ° ´ª°¥nµ

3. µ¦ ¨· ±µ¦r ·­ r­nª Ä® n °  n¨³ µ µ¦ ¨· ³Â n Å µ¤¦»n Ç Á n ­· rà ¦r ¨· ¦»n ® ¹É ¨³ ¦³Á «Å ¥ ¨· °¸ ¦»n ® ¹É 4. ­· · ¦³Ã¥ r µ¦¨ » Á } { ´¥­Îµ ´ ¸É ¹ ¼ Ä®o ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r ¥´ °¥¼nÄ ¦³Á «Å ¥ à ¥Á ¡µ³°¥nµ ¥·É { » ´ ´¡ ¡¨µ¥Á°°¦r ¸É­n ·Ê µ Ä®o ¼o ¨· ±µ¦r ·­ r­µ¤µ¦ Å o¦´ ­· · µ¦ º £µ¬¸Á n ´ 5. ¦¼  µ¦ εÁ oµ ¨³ µ¦Á¨º° ¸É ³ ¨· ·Ê ­nª £µ¥Ä ¦³Á «Á } ¨¥» r °  n¨³ ¦·¬´ ¤¸Ã° µ­ ¸É ³Â nµ ´ Å o

¦³Á È ­Îµ ´ µ µ¦­´¤£µ¬ r

96

Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


97 References Akira, S. (1989). Capital Accumulation in Thailand 1855–1985. Bangkok: Silkworm Books. Athukorala, P. (2006), “Product Fragmentation and Trade Patterns in East Asia’, Asian Economic Papers, 4(3), 1-27. Athukorala, P. (2008a) ‘Singapore and ASEAN in the New Regional Division of Labour’, Singapore Economic Review, Singapore Economic Review, 53(3) Athukorala, Prema-chandra (2008b) ‘The Rise of China and East Asian Export Performance: Is the Crowding-out Fear Warranted?’, World Economy (forthcoming) Athukorala, P.C. and A. Kohpaiboon (2008) ‘Trade and Investment Patterns in Asia: Implications for the Debate on Multilateralising Regionalism’, paper pre sented in the conference Multilateralizing Asian Regionalism, ADBI, Tokyo, Japan (18-19 September, 2008) Athukorala, P.C. and A. Kohpaiboon (2009) ‘Intra-Regional Trade in East Asia: The Decouping Fallacy, Crisis, and Policy Challenges’ Paper for presentation to the Conference on Global Financial and Economic Crisis: Impact, Les son and Growth rebalancing, Asia Development Bank Institute, Tokyo, 22-23 April 2009 Berger, M. (2005) ‘Upgrading the System of Innovation in Late-Industrialising Coun tries – The Role of Transnational Corporations in Thailand’s Manufacturing sector’, Unpublished Dissertation, Christian-Albrechts-Universität zu Kiel. Borrus, M., D. Ernst and S. Haggard (2000) International Production Networks in Asia: Rivalry or Riches?, London and New York, Routledge. Brimble, P. (2007), ‘Strengthening the Hard Disk Drive Cluster in Thailand’, Policy Report submitted to NSTDA, Bangkok. Carincross, F. (1997), Death of Distance: How the Communications Revolution Will Change Our Lives , Harvard Business School Press, Massachusetts. Dicken, P. (2007), Global Shift: Mapping the Changing Contours of the World Economy, fifth edition. London: Sage. Dobson, W and CS Yeu (1997). Multinationals and East Asian integration. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. Finger, J. M. (1975) ‘Tariff Provisions for offshore assembly and exports of develop ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


98 ing countries’, Economic Journal 85(338): 365-371. Fliess, B.A. and P. Sauve (1997) ‘Of Chips, Floppy Disks, and Great Timing: As sessing the Information Technology Agreement’, Paper prepared for the Institut Francis des Relations Internationales (IFRI) and the Tokyo Club Foundation for Global Studies. Fushita, M., Krugman, P. and Venables, A. J. (1999) The Spatial Economy – Cities, Rgions, and International Trade, The MIT Press, London, England. Gereffi, G., J. Humphey and T. Sturgeon (2005) ‘The Governance of Global Value Chains’, Review of International Political Economy 12, no.1, 78-104. Grossman G. M. and Helpman E. (2005) ‘Outsoursing in a Global Economic’, Review of Economics Studies 72, 135-159. Helleiner, G. K. (1973) ‘Manufacturing exports from less developed countries and multinational firms’, Economic Journal 83(329): 21-47. Helpman, E. (2006), 'Trade, FDI and the Organization of Firms', Journal of Economic Literature, 44(3): p. 589-630. Hiratsuka, D. (2006), East Asia's De Facto Economic Integration, Palgrave Macmillan Hiratsuka, D. (2008), ‘Initiatives towards for Enhancing and Ensuring Production Networks in the Asia-Pacific Region, IDE Discussion Paper, Institute of Developing Economies, JETRO. Hiratsuka, D. (2008), ‘Production Fragmentation and Networks in East Asia Char acterized by Vertical Specialization’, in D. Hiratsuka and Uchida (eds.), Vertical Specialization and Economic Integration in East Asia, Chosak enkyu-Hokokusho, Institute of Developing Economies, JETRO. Hughes, H. (2001). ‘The Evolution of Dual Economies in East Asia’, in D. Lal and R.H. Snape (eds.), Trade, Development and Political Economy: Essays in Honour of Anne O. Krueger, Palgrave McMillan. Hummels, D. (2007). "Transportation costs and international trade in the second era of globalization." Journal of Economic Perspectives 21(3): 131-154. Jones, R.W. and H. Kierzkowski (2001), 'A Framework for Fragmentation', in S.W. Arndt and H. Kierkowski (eds.), Fragmentation: New Production Patterns in the World Economy, New York, Oxford University Press. Jongwanich, J. (2009) ‘Foreign Direct Investment in Developing Asia: Implications of International Production Network’, Economic and Research Department, Asian Development Bank. Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


99 Jongwanich, J. and A. Kohpaiboon (2007)‘Determinants of Protection in Thai Manu facturing’, Economic Papers 26(3), p. 276-294 Kimura, F. (2001), ‘Fragmentation, Internationalization, and Interfirm Linkages: Evi dence from The Micro Data of Japanese Manufacturing Firms’, in L. K. Cheng and H. Kierzkowski, Global Production and Trade in East Asia, Kluwer Academic Publishing. Kimura, F. (2009), ‘The Spatial Structure of Production/Distribution Networks and its Implication for Technology Transfers and Spillovers’, ERIA Discussion Paper (forthcoming), Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA), Jakarta. Kimura, F. and Ando M. (2005) ‘Two-dimensional Fragmentation in East Asia:Conceptual Framework and Empirics’, in Kierzkowsk H., International Review of Economics and Finance 14: 317-48. Kohpaiboon, A. (2006), Multinational Enterprises and Industrial Transformation: Evidence from Thailand, Cheltenham, Edward Elgar. Kohpaiboon, A. (2007), ‘‘Thai Automotive Industry: Multinational Enterprises and Global Integration’ ERTC Discussion Paper 2007/4 Faculty of Economics, Thammasat University. Krugman, P. (1991) Geography of Trade, Cambridge: MIT Press. Krugman, P. (1995) 'Growing World Trade: Causes and Consequences' Brookings Papers on Economic Activity, 56: p.269-293 Lakenan, B., D. Boyd, and E. Frey (2001), ‘Why Cisco Fell: Outsourcing and its Peril’, Strategy and Business, 24: 54-65 Lall, S., M. Albaladejo and J. Zhang (2004). "Mapping fragmentation: electronics and automobiles in East Asia and Latin America." Oxford Development Studies 32(3): 407-432. McKendrick, D.G., R.F. Doner and S. Haggard (2000), From Silicon Valley to Singapore: Location and Competitive Advantage in the Hard Disk Drive Industry, Stanford, Cal: Stanford University Press. Morawetz, D. (1981), Why the Emperor's New Clothes are not made in Colombia: A Case Study in Latin American and East Asian Manufactured Exports, Washington, DC: Oxford University Press. Ng, F. and A. Yeats (2003). Major trade trends in East Asia: what are their implica ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


100 tions for regional cooperation and growth? Policy Research Working paper 3084. Washington DC: World Bank. Nishimura, K. G. (2005). "Comments on ‘Product fragmentation and trade patterns in East Asia.' Athukorala, P" Asian Economic Papers 4(3). Nikomborirak, D. (2005), ‘Thailand’ in D. H. Brooks and S.J. Evenett (eds.) Competi tion Policy and Development in Asia, Hamsphire, U.K.: Palgrave Macmil lan, p. 270-96. Patton, M. Q. (1990), ‘Qualitative Evaluation and Research Methods(2nd Edition)’, Sage Publications, California. Pickles, J. (2006) ‘Theme Issue on Trade Liberalization, Industrial Upgrading, and Regionalization in Global Apparel Industry’, Environment and Planning A 38, no. 12, 2201-34. Rangan, S. and R.Z. Lawrence (1999), A Prism on Globalization, Brookings Institu tion Press, Washington DC. Richardson, G. B. (1972), ‘The organization of industry’, Economic Journal, 82 (327), 883-96. Ruane, F. and Görg H. (2001) ‘Globalization and Fragmentation: Evidence for the Electronics Industry in Ireland’, in S.W. Arndt and H. Kierzkowski (eds.) Fragmentation: New Production Patterns in the World Economy, Oxford, Oxford University Press. Runckel,C. W. (2004) Thailand Announces New Incentives For Hard Disk Drive Industry, Business in Asia (available at http://www.business-in-asia.com/ harddiskdrive_industry.html) Scott, A. J. (2006) ‘The Changing Global Geography of Low-Technology, LaborIntensive Industry: Clothing, Footwear and Furniture’, World Development 34, no. 9, 1517-39. Seagate Technology (Various issues) (2008), Annual Report and Form 10-K. Sharpton, M. (1975). "International subcontracting." Oxford Economic Papers 27(1): 1194-135. Spencer, B. (2005), 'International Outsourcing and Incomplete Contracts', Canadian Journal of Economics, 38(4): p. 1107-1135. Sturgeon T. (2003) ‘What really goes on in Silicon Valley? Spatial clustering and dispersal in modular production networks’, Journal of Economic Geography 3, Oxford University Press. Symposium no.32 :: เครือขายการผลิตระหวางประเทศในอุตสาหกรรมฮารดดิสกของไทย: นัยตอการพัฒนาอุตสาหกรรม


101 Sturgeon, T. and R. K. Lester (2004), ‘The New Global Supply Base: New Challenges for Local Suppliers in East Asia’, in S. Yusuf, M.A. Altaf, and K. Na beshima, Global Production Networking and Technological Change in East Asia, Oxford University Press for the World Bank, New York. Warr, P.G. (2000), ‘Thailand's Post Crisis Trade Policies: The 1999 WTO Review’, World Economy, 23 (9), 1215–1236. Watanabe, S. (1972). ‘International subcontracting, employment and skill promotion.’ International Labour Review 105(5): 425-449. Western Digital (Various issues) (2008), Annual Report and Form 10-K. Wolf, M. (2001), ‘Will the Nation-State Survive Globalization’, Foreign Affairs, 80(1), 178-190. Yamashita, N. (2008) ‘International Fragmentation of Production, Trade Patterns and the Labour Market Adjustment in Japanese Manufacturing’, A thesis submitted for the degree of Doctor of Philosophy at the Australia National University. Yasuf, S. and S.J. Evenett (2002), Can East Asia Compete? Innovation for Global Markets, Oxford University Press for the World Bank, New York. Yeung, H. W. (2008), ‘Industrial Clusts and Production Networks in Southeast Asia’,in I. Koruiwa. and T. M. Heng, Production Networks and Industrial Clusters, Institute of Developing Economics, JETRO. Yi, K.M. (2003), ‘Can Vertical Specialization Explain the Growth of World Trade?’, Journal of Political Economy, 111(1), 52-102. Yusuf, S. (2004), ‘Competitiveness through Technological Advances under Global Production Networking’, in S. Yusuf, M.A. Altaf, and K. Nabeshima, Global Production Networking and Technological Change in East Asia, Oxford University Press for the World Bank, New York. ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2550) รายงานฉบับสมบูรณ โครงการศึกษาหวงโซอุปทานและมูลคาเพิ่มของอุตสาหกรรมฮารดดิสกไดรฟ ในประเทศไทยป พ.ศ. 2549 อาชนัน เกาะไพบูลย (2551) ปรากฏการณแบงแยกขั้นตอนการผลิตสินคา: แนวโนม รูปแบบ และนัยเชิงนโยบายตอภาคอุตสาหกรรมไทย (รายงานความกาวหนา ครั้งที่1) งานวิจัยเสนอตอสํานักงานสนับสนุนงานวิจัย, กรุงเทพฯ

ผศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย


102

“การแสวงหาผลประโยชนจากการเปน ซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย”

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


103

โดย

ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ดร.พีระ เจริญพร


104

1 บทนํา

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


105

ความสําคัญของการเขามาลงทุนโดยตรงจากตางประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) โดยเฉพาะเม็ดเงินที่เขามายังประเทศกําลังพัฒนาที่ เพิ่มขึ้นอยางมากในชวง 2 ทศวรรษที่ผานมา โดยเปนผลจากสองปจจัยที่ สําคัญ ประการแรกประเทศกําลังพัฒนาตางๆ หันมาใชนโยบายเปดเสรี การลงทุนจากตางประเทศเพื่อดึงดูดเงินลงทุนและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มัก จะมาพรอมๆ กับการลงทุนโดยตรง (Kohpaiboon, 2006a) ประการที่สอง บริษัทขามชาติขนาดใหญ หรือ MNEs (Multinational Enterprises) ซึ่งเปน กลุม นักลงทุนโดยตรงทีส่ าํ คัญทีส่ ดุ ในโลกเปนกลุม ผูป ระกอบการทีใ่ ช ประโยชน จากโอกาสการคาชิ้นสวนและสวนประกอบระหวางประเทศที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพราะ MNEs เหล า นี้ มี เ ครื อ ข า ยการผลิ ต และการตลาดทั่ ว โลก การใช ประโยชนจากความไดเปรียบที่กระจายอยูในประเทศกําลังพัฒนาตางๆ จึง ทําไดไมยากนัก เรื่องดังกลาวทาทายกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศโดย FDI ทีภ่ าครัฐโดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนามักจะใชมาตรการคุม ครองตลาด ภายในประเทศเพื่อดึงดูดการเขามาลงทุนของ MNEs และพยายามเขาไป ดร.พีระ เจริญพร


106

กํากับการดําเนินการถายทอดเทคโนโลยีเพื่อใหสามารถเรียนรูเทคโนโลยี และไดรับผลกระทบจาก FDI (FDI Spillover) จากบริษัทเหลานี้ใหมากที่สุด เทาที่จะมากไดโดยผานมาตรการๆ เชน การบังคับใชชิ้นสวนภายในประเทศ การบังคับการถายทอดเทคโนโลยี ฯลฯ เนื่องจากเชื่อวาหากเปดเสรีรับนัก ลงทุนตางชาติอาจจะปดโอกาสและทําลายขบวนการพัฒนาผูประกอบการ ภายในประเทศ (Crowding Out) ทั้งนี้เพราะนักลงทุนตางชาติโดยเฉพาะ MNEs เหลานีม้ กั มีขนาดใหญมเี ทคโนโลยีทที่ นั สมัยและมีความพรอมทางดาน เงินทุนมากกวาเมื่อเทียบกับผูประกอบการภายในประเทศที่สวนใหญเปนผู ประกอบการขนาดกลางและขนาดยอม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนตและอิเล็กทรอนิกสทเี่ ทคโนโลยีการผลิต เปนหัวใจในการกําหนดความสามารถในการแขงขัน เรื่องนี้มักจะมีการกลา วอางในกลุม ชาตินยิ มและกลุม ตอตานกระแสโลกาภิวตั น (Anti-globalization) (อางใน Stiglitz, 2002: 68) อยางไรก็ตาม การดําเนินมาตรการแทรกแซงการถายทอดเทคโนโลยี ดังกลาวไมแนเสมอไปวาจะมีผลดีแตอาจจะสงผลเสียตอบรรยากาศการลงทุน โดยเฉพาะในยุคที่การแขงขันในตลาดโลกที่รุนแรงในปจจุบัน เพราะจาก ประสบการณ ข องประเทศกํ า ลั ง พั ฒ นาต า งๆ ชี้ ใ ห เ ห็ น ว า การเข า มา ของ MNEs ไม จํ า เป น ที่ ต อ งทํ า ลายกลุ ม ผู ป ระกอบการภายในประเทศ เสมอไปโดยมี ข อ โต แ ย ง ที่ สํ า คั ญ คื อ มาตรการของรั ฐ ที่ แ ทรกแซง การดํ า เนิ น งานของ MNEs ให ถ า ยทอดเทคโนโลยี เ พื่ อ พั ฒ นาผู ผ ลิ ต ภายในประเทศ เชน การบังคับใชชิ้นสวน การบังคับการถายทอดเทคโนโลยี ข อ จํ า กั ด การถื อ หุ น (Doner et al., 2006) อาจทํ า ให MNEs ไมแนใจที่จะนําเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเขามาในกระบวนการผลิตซึ่งสอดคลอง กั บ การศึ ก ษาอื่ น ๆ ที่ พ บว า มั ก จะมี ค วามแตกต า งด า นพฤติ ก รรม ของ MNEs ภายใตสิ่งแวดลอมที่เปนกรอบนโยบายทดแทนการนําเขากับ นโยบายสงเสริมการสงออก (Kohpaiboon, 2006a; Moran, 2006: p.376) ภายใต ก ระแสการเป ด เสรี ท างการค า และการลงทุ น ทํ า ให ค วาม เชื่อมโยงระหวางกิจการตางๆ มีความเหนียวแนนกันมากขึ้น เกิดเครือขาย การผลิตระหวางประเทศ (International Production Network) ผูผลิตชิ้น Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


107

สวน เชน ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส รถยนตและชิ้นสวน ฯลฯ มีความ ชํ า นาญเฉพาะทางมากขึ้ น ปรากฏการณ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทํ า ให เ กิ ด การเปลี่ ย น แปลงรูปแบบของความสัมพันธระหวาง MNEs กับกิจการทองถิน่ และรูปแบบ ความสัมพันธระหวาง FDI กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา กลาวคือ ผูผ ลิตชิน้ สวน MNEs เหลานีม้ กั มีเทคโนโลยีเปนของตัวเองเปนผูผ ลิต ชิน้ สวนชัน้ หนึง่ (1st Tier Supplier) ขณะทีก่ จิ การทองถิน่ ทีม่ ขี อ จํากัดดานขีด ความสามารถในการแขงขันตองถูกลดชัน้ (Down Grade) กลายเปนผูผ ลิตชิน้ สวนชัน้ สองหรือชัน้ สาม (2nd -Tier หรือ 3rd Tier Supplier) ทีต่ อ งทํางานอยาง ใกลชิดกับผูผลิตชิ้นสวนชั้นหนึ่ง (1st Tier) MNEs เหลานี้ ดังนั้น การมี ปฏิสมั พันธกบั ผูผ ลิตสําคัญในเครือขายจึงเปนปจจัยสําคัญของการเจริญเติบโต และพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น ตลอดระยะเวลา 50 กวาปทผี่ า นมา ประเทศไทยไดใชนโยบายพัฒนา อุตสาหกรรมโดยใชการลงทุนจากตางประเทศ (FDI-led Industrialization) ในชวงแรก ตัง้ แตปลายคริสตทศวรรษที่ 1950 วัตถุประสงคสาํ คัญของการดึงดูด FDI ก็เพือ่ เก็บเงินตราตางประเทศและการเพิม่ การจางงาน โดยกิจการตางชาติ เขามาเพือ่ ผลิตสินคาเพือ่ ทดแทนการนําเขา และตัง้ แตชว งป 1980 เปนตนมา เริ่มมีการผลิตเพื่อการสงออกมากขึ้น เมื่ อ พิ จ ารณาสถิ ติ ข องมู ล ค า การลงทุ น จากต า งประเทศในอดี ต ที่ผานมา พบวา ในชวงป ค.ศ. 1975-1987 มีมูลคาประมาณ 200 ลาน เหรียญสหรัฐฯ ตอปหรือคิดเปนรอยละ 0.6 ของ GDP ตอมาในระหวางป ค.ศ. 1988-1996 ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเปนประมาณ 1.7 พันลานเหรียญสหรัฐฯ ตอป หรือคิดเปนรอยละ 1.8 ของ GDP สาเหตุสําคัญก็เนื่องมากจากการ เขามาลงทุนอยางมากมายของกิจการจากประเทศญี่ปุน หลังจากที่ประเทศ ญี่ปุนถูกบังคับใหขึ้นคาเงิน (เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร) ในป ค.ศ. 1987 ตอมาประเทศไทยเกิดวิกฤตการณเศรษฐกิจในป ค.ศ. 1997 ทําใหในชวง ระยะ 4 ป คือ ค.ศ. 1997-2001 มูลคาเงินทุนไหลเขา (FDI Inflow) ไดเพิ่ม ขึ้นมาอยูที่ระดับ 4.9 พันลานเหรียญสหรัฐฯ ตอปหรือคิดเปนรอยละ 4.1 ของ GDP โดยเกิดจากการเขามาทั้งในรูปของ FDI และการซื้อและครอบงํา กิจการของคนไทยโดยทุนตางชาติโดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุนในอุตสาหกรรม ดร.พีระ เจริญพร


108

ยานยนตและชิ้นสวนและอุตสาหกรรมเครื่องใชไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส หรืออาจกลาวไดวาตลอดระยะเวลา 50 กวาปที่ผานมาอิทธิพลของ MNEs ผานชองทาง FDI มีบทบาทในภาคเศรษฐกิจไทยมากขึ้นเรื่อยๆ การศึกษานี้มุงเนนที่อุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวน เนื่องจาก เปนอุตสาหกรรมหนึง่ ที่ MNEs มีบทบาทสําคัญทัง้ เปนเจาของเทคโนโลยีการ ผลิต มีบทบาทควบคุมกําลังการผลิตที่กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งควบคุมชอง ทางการจําหนายดวย และที่สําคัญ MNEs มีความความเชื่อมโยงไปขางหลัง (Backward Linkage)1 กับผูผลิตชิ้นสวนสูง สําหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนตและชิน้ สวนในประเทศไทย นั้นในชวงตนของการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เติบโตภายใตนโยบายคุมครอง ตลาดภายในประเทศ เชน มาตรการดานภาษี มาตรการบังคับใชชิ้นสวน ภายในประเทศ ฯลฯ ทําใหบทบาทของ MNEs ที่มีตอผูประกอบการใน ประเทศคอนขางจํากัด อยางไรก็ตามตั้งแตกลางคริสตทศวรรษที่ 1990 มีการไหลเขาของ FDI เพิม่ ขึน้ อยางมาก ทําใหความเขมขนของการเขามาเกีย่ ว ของของ MNEs ในอุตสาหกรรมรถยนตและชิ้นสวนเพิ่มขึ้น การผลิตและการ สงออกมีการขยายตัวอยางมาก โดยเฉพาะชวงหลังวิกฤตในป ค.ศ. 1997 ที่ ผูผลิตรถยนตเริ่มเปลี่ยนฐานการผลิตในประเทศไทยใหเปนฐานการผลิตเพื่อ การสงออก ทําใหการผลิตรถยนตของไทยกวาครึง่ เปนการผลิตเพือ่ การสงออก ไปยังตลาดในภูมิภาคใกลเคียงและยังสงผลใหผูผลิตชิ้นสวนในประเทศไทยมี ความเกีย่ วของกับเครือขายการผลิตระดับโลกมากขึน้ ดวย ผูผ ลิตรถยนตตอ ง เพิม่ ความเขมงวดเรือ่ งคุณภาพและประสิทธิภาพกับผูผ ลิตชิน้ สวนในไทยมาก ขึ้น การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตรของ MNEs ในอุตสาหกรรมนี้ ทําใหความ สัมพันธระหวางเครือขายการผลิตชิน้ สวนของไทยมีการเปลีย่ นแปลงอยางมีนยั สําคัญ (ดู Techakanont: 2002; 2007; Techakanont and Terdudomtham, 2004; Kohpaiboon, 2005; 2007; และ สักรินทร, 2549) การเชื่อมโยงไปขางหลัง (backward linkage) หมายถึง ความสัมพันธระหวางบริษัทใน รูปแบบการจัดซือ้ สินคาและบริการเพือ่ นํามาเปนวัตถุดบิ หรือสินคาขัน้ กลางในการผลิตของ บริษัทอื่นๆที่อยูในสายโซการผลิต (production chain) (ดู Lauridsen, 2004)

1

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


109

จึงเปนที่นาสนใจวา ภายใตเงื่อนไขแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ อิทธิพลของ FDI และดําเนินงานของ MNEs จะสงผลตอการพัฒนาของผูป ระกอบ การในประเทศไทยอยางไร ผูป ระกอบการภายในประเทศจะอยูร ว มกับ MNEs เหลานี้อยางไรเพื่อตักตวงผลประโยชนที่เกิดจากการเขามาของ MNEs และ ภาครัฐควรกําหนดบทบาทของตนอยางไรเพือ่ ทีจ่ ะทําใหผปู ระกอบการทองถิน่ อยูร ว มกับ MNEs เหลานีไ้ ดอยางเหมาะสมและไดประโยชนอยางเต็มที่ โดยใช อุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนตในประเทศไทยเปนกรณีศึกษา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาพฤติกรรมและการเปลี่ยน แปลงกลยุทธของ MNEs ในอุตสาหกรรมรถยนตและชิ้นสวนฯ และศึกษาผล กระทบที่เกิดขึ้นกับผูผลิตชิ้นสวนในประเทศไทย รวมทั้งศึกษาถึงการปรับ ตั ว ของผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นไทยที่ ไ ด รั บ ผลกระทบ และค น หาแนวทางที่ จ ะทํ า ให ผู ป ระกอบการเหล า นี้ ไ ด รั บ ประโยชน สู ง สุ ด จากการเข า มาของ MNEs ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะชวยสรางองคความรูใหมใหแกการศึกษา ทางดานเศรษฐศาสตร และเปนขอมูลประกอบการกําหนดแนวนโยบายการ พัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนจากตางประเทศเพื่อประโยชนระยะยาว ของประเทศ บทความนี้ประกอบดวย 6 สวน สวนแรกเปนบทนํา สวนตอไป เป น กรอบแนวคิ ด ทางทฤษฏี เ กี่ ย วกั บ ความสํ า คั ญ ของ FDI Spillover ตอการพัฒนาประเทศเจาบาน ชองทางการกระจายเทคโนโลยีและปจจัยทีม่ ผี ล ตอ FDI Spillover ในสวนที่ 3 จะอธิบายถึงกรอบนโยบายของภาครัฐและ การเปลี่ ย นแปลงในอุ ต สาหกรรมยานยนต ข องโลกและผลกระทบที่ มี ต อ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นในประเทศไทย ส ว นที่ 4 จะอธิ บ ายถึ ง ความเชื่ อ มโยง ไปขางหลังในอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนต ในสวนที่ 5 เปนผลการศึกษา แนวทางการปรับตัวของผูผลิตชิ้นสวนไทยในการทํางานรวมกับเครือขาย การผลิตของ MNEs โดยใชการสัมภาษณผูบริหารและวิศวกรของทั้งผูผลิต รถยนตและผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier และ 2nd Tier ทั้งที่เปนไทยและกิจการรวม ทุน ในชวงระหวางเดือนพฤศจิกายน 2551 - มีนาคม 2552 สวนสุดทายเปน บทสรุปและขอเสนอแนะเชิงนโยบาย ดร.พีระ เจริญพร


110

2 กรอบแนวคิดในการศึกษา

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


111

MNEs นัน้ สามารถมีสว นเกีย่ วของ (เชือ่ มโยง) กับประเทศเจาบาน (Host Country) ในสองชองทางหลักคือ (1) ผานชองทางทีเ่ ปน FDI และ (2) ชองทางทีไ่ มใช FDI เชน การซื้อขายเทคโนโลยี (Technology Licensing) การจางเหมางาน (Subcontacting) การเปนผูซื้อสินคา เปนตน (ดู Kohpaiboon, 2006a) สําหรับการมีสว นรวมของ MNEs ผานชองทาง FDI นัน้ มีการโตเถียง ระหวางนักวิชาการในเรือ่ งขอดีขอ เสียของ FDI มีงานศึกษาประจักษหลายชิน้ ที่ศึกษาผลกระทบของ FDI Technology Spillover2 ตอผลการดําเนินงานของ กิจการทองถิน่ ทีเ่ ปนผูร บั และมีการโตเถียงกันในเรือ่ งความจําเปนของประเทศ เจาบานในการดึงดูด FDI เพื่อกระตุนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศโดยเฉพาะ อยางยิ่งประเทศกําลังพัฒนา เนื่ อ งจากความรู เ ป น สิ่ ง ที่ วั ด ได ย ากนั ก เศรษฐศาสตร จึ ง สร า งตั ว ประมาณค า (proxy) ในการวัดความรู เชน ระยะหางของเทคโนโลยี (technology distance), หลักฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม หรือขอมูลการอางอิงสิทธิบัตร (patent citation data) ขณะ ที่ผลการดําเนินงานอาจถูกวัดโดยใช productivity spillover, market access spillover เปนตน (ดู Haddad and Harrison, 1991; Kokko, 1994; Tsou and Liu, 1994) ซึง่ สวนใหญ จะใชวิธีการศึกษาโดยใช cross-sectional data หรือใช panel data โดยใชขอมูลระดับ หนวยผลิตและระดับอุตสาหกรรม 2

ดร.พีระ เจริญพร


112

ดานหนึง่ เชือ่ วา FDI จะสงประโยชนในระยะยาวแกประเทศผูร บั การ ลงทุนที่เปนประเทศกําลังพัฒนา เชน FDI ชวยเพิ่มมาตรฐานการครองชีพ โดยสรางโอกาสในการมีงานทํา สรางงานใหมและชวยถายโอนทุน เทคโนโลยี และทักษะในการบริหารจัดการ ชวยเพิม่ ผลิตภาพใหแกประเทศผูร บั พนักงาน ในบรรษัทขามชาติยงั ไดรบั คาจางสูง มีโอกาสในการเรียนรูแ ละฝกอบรมและได ทํางานในบรรยากาศที่เปยมดวยความเปนมืออาชีพ นอกจากนี้ FDI ยังชวย เรงกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศผูร บั เนือ่ งจาก FDI ชวยสราง การเชื่อมโยงในหลายอุตสาหกรรมทั้งไปขางหนา (Forward Linkages) และไปขางหลัง (Backward Linkages) ทัง้ ยังชวยขยายขนาดของตลาดภายใน ประเทศใหใหญขึ้น และชวยกระตุนการบริโภคภายในประเทศ แตในอีกดานหนึง่ FDI ก็อาจจะสงผลเสียตอประเทศเจาบาน เชน อาจ จะปดโอกาสการพัฒนาผูป ระกอบการภายในประเทศ เนือ่ งจาก MNEs เหลานี้ มักมีเทคโนโลยีที่สูงกวา มีความเชี่ยวชาญในการบริหารและสามารถเขาถึง แหลงทรัพยากรระดับโลกไดดีกวา ขอไดเปรียบเหลานี้อาจทําให MNEs สามารถผลักดันกิจการทองถิ่นออกไปจากอุตสาหกรรมได นอกจากนี้ MNEs ยังอาจแยงชิงทรัพยากรมนุษยทมี่ คี า ไปจากกิจการทองถิน่ ได หรือการพัฒนา นํามาสูวิกฤตคุณภาพชีวิตของคนงานดวยสาเหตุตางๆ เปนตน ทิศทางและขนาดของ FDI spillover นั้นขึ้นอยูกับหลายปจจัย อยางเชน ในการศึกษารวบรวมของ Crespo and Fontoura (2007) ได แบงปจจัยที่มีผลตอ FDI spillover ออกเปน 5 กลุมหลักๆ ประกอบไป ดวย ชองหางทางเทคโนโลยีและความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยี3 (Absorptive Capacity) ป จ จั ย ด า นภู มิ ศ าสตร ลั ก ษณะของกิ จ การ ท อ งถิ่ น ลั ก ษณะของการลงทุ น จากต า งประเทศและป จ จั ย อื่ น ๆ 4 ผล Cohen and Levinthal (1990) ได นิ ย ามความสามารถในการดู ด ซั บ เทคโน โลยี (Absorptive capacity) ว า เป น ความสามารถของกิ จ การที่ ส ามารถที่ จ ะ ตระหนั ก รู คุ ณ ค า ของความรู ใ หม ผนวกความรู นั้ น เข า มาอยู ใ นกิ จ การและใช ความรูนั้นอยางมีประสิทธิผล เนื่องจากความรูที่มีอยูกอนและโครงสรางองคกรมีผลตอ ความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยี 3

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


113

กระทบจาก FDI หรือ FDI Spillover ที่มีตอกิจการทองถิ่น โดยเฉพาะ อยางยิ่งดานเทคโนโลยีนั้น ยังขึ้นอยูกับ“ชองทางการกระจายเทคโนโลยี” (Channels of Technological Diffusion) ซึ่งเราสามารถแบงผลกระทบจาก FDI หรือ FDI Spillover ออกเปน 2 กลุมใหญๆ คือ 1) ผลกระทบที่เกิดจาก “ความเชื่อมโยงภายในอุตสาหกรรม” (Intra-industry Linkage Effects หรือ Horizontal FDI Technology Spillover) เชน ความเชื่อมโยงระหวาง ผูผลิตที่อยูในระดับเดียวกันในหวงโซการผลิต (Production Chain) และ 2) ผลกระทบที่เกิดจาก “ความเชื่อมโยงระหวางอุตสาหกรรม” (Inter-industry Linkage Effects หรือ Vertical FDI Technology Spillover) เกิดขึ้นจาก ปฏิสมั พันธในอุตสาหกรรมในลําดับขัน้ ทีต่ า งกันในหวงโซการผลิต เชน ความ สัมพันธระหวางผูผ ลิตชิน้ สวนกับผูซ อื้ ชิน้ สวนฯ เปนตน ปจจุบนั การศึกษามัก จะวิเคราะหถึงความเชื่อมโยงใน “เครือขายการผลิตระหวางประเทศ” ที่สวน ใหญเปนความเชื่อมโยงระหวางกิจการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในแนวตั้ง (Vertically-related Industries) และเปนชองทางหนึ่งของการสงผลกระทบ (Spillover) ซึง่ มีทงั้ การเชือ่ มโยงไปขางหนาและขางหลังทีเ่ กิดจากความรวมมือ กันระหวาง MNEs กับผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นในหลายรูปแบบทั้งที่เปนสัญญา การซื้อขายเทคโนโลยีหรือการเปนหุนสวนทางกลยุทธ การเชือ่ มโยงไปขางหลังนัน้ สามารถสรางผลกระทบ (Spillover) ผาน กลไกไดหลายทาง เชน 1) การที่ MNEs เขาไปพัฒนาผลิตภาพของกิจการ ทองถิ่นโดยการสงผูเชี่ยวชาญเขาไปชวยเหลือ ฝกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่ม คุ ณ ภาพของชิ้ น ส ว นที่ ผ ลิ ต ช ว ยพั ฒ นาการบริ ห าร ปรั บ ปรุ ง โครงสร า ง องค ก ร การจั ด ซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ หรื อ แม แ ต เ ข า ไปการพั ฒ นาสิ น ค า ด ว ยกั น 2) ลู ก ค า ที่ เ ป น MNEs อาจจะตั้ ง มาตรฐานเกี่ ย วกั บ คุ ณ ภาพสิ น ค า และ เชน สิง่ แวดลอมทีเ่ กีย่ วของนโยบายการคาและการลงทุน ลักษณะของตลาดเปาหมายของ MNEs การคุมครองทรัพยสินทางปญญา รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษยระดับ ของการแข ง ขั น ในตลาดท อ งถิ่ น ระดั บ ของนวั ต กรรมด า นเทคโนโลยี ข อง MNEs ระยะเวลาและชวงเวลาที่ MNEs เขามาลงทุน เปนตน 4

ดร.พีระ เจริญพร


114

การให บ ริ ก าร เช น การจั ด ส ง แบบ just-in-time และยั ง ให แ รงจู ง ใจ กั บ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นท อ งถิ่ น ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพสิ น ค า และกระบวนการ ผลิต หรือ 3)MNEs ใชระบบจัดซื้อชิ้นสวนจากทั่วโลก (global sourcing) ซึ่ ง ทํ า ให ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นท อ งถิ่ น ต อ งแข ง ขั น กั บ ชิ้ น ส ว นนํ า เข า ทําใหตองยกระดับตัวเองโดยอาจจะตองหาผูรวมทุนตางชาติหรือตองออก จากตลาดไป เปนตน (ดู Lall, 1978;1996; Smarzynka, 2002) ลักษณะความสัมพันธระหวาง MNEs กับกิจการทองถิ่นก็มีอิทธิพล ตอผลกระทบจากการเชื่อมโยงไปขางหลัง backward linkage spillover ผาน การดําเนินงาน MNEs ที่มีตอกิจการทองถิ่นเชนกัน โดยทั่วไป MNEs จะมี ผลกระทบทางลบตอกิจการคูแ ขงทองถิน่ แตจะสงผลกระทบทางบวกตอผูผ ลิต ชิ้นสวนในทองถิ่นโดยเฉพาะเมื่อ MNEs มีการถายทอดเทคโนโลยีให (ดู Lin and Saggi, 2005) โดยจากผลการศึกษาของ Blalock and Gertler (2008) ที่พบวา MNEs จะถายทอดความรูทางเทคโนโลยีใหกับผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น (Local Suppliers) มากกวาคูแขงทองถิ่น (Local Competitors) ซึ่งสามารถ พิจารณาไดจากหลักฐานที่วาผลิตภาพของกิจการทองถิ่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อมี สัดสวนของยอดขายที่ขายใหกับกิจการตางชาติเพิ่มขึ้น (ดู Dunning 1993: p 456; Smarzynska, 2002) การศึกษาในระดับประเทศ เชน งานศึกษาของ Moran et al. (2005) ก็แสดงใหเห็นวา FDI ไมไดสรางประโยชนใหกบั ประเทศเจาบานอยางอัตโนมัติ แตการที่ FDI จะสรางประโยชนแกประเทศเจาบานนั้นขึ้นอยูกับองคประกอบ หลายประการ ไดแก ประการแรก ความเขมขนของการเปนสวนหนึ่งของ International Production Network ของบริษัทที่เปน subsidiary ในประเทศ เจาบาน โดย Moran et al. (2005) เชื่อวาการเชื่อมโยงไปขางหลังจะมี มากขึ้นเมื่อบริษัทในเครือนั้นมีการเชื่อมโยงตัวไปกับเครือขายการผลิตและ การจัดหาชิ้นสวนและวัตถุดิบของบริษัทแมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประการที่สอง ปริมาณการซื้อขายผานธุรกิจในเครือ (Intra-firm Trade) ซึ่ง Feinberg and Keane (2005) พบวาบริษัทในเครือของ MNEs ที่มี intra-firm trade นั้น จะมีอัตราการเติบโตในสินทรัพยและมีอัตราคาตอบแทนคนงาน สูงกวา Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


115

และประการที่สาม ความแตกตางระหวางความสามารถทางเทคโนโลยีระหวางกิจการทองถิน่ กับบริษทั ตางชาติ (Technology Gap) โดย Lin and Saggi (2005) พบวา FDI ไมไดกอใหเกิด Backward Linkage อยางอัตโนมัติ ในกรณีที่ MNEs มีระดับความสามารถทางเทคโนโลยีที่สูงกวาธุรกิจทองถิ่น ไมมากนัก FDI ในอุตสาหกรรมชวยเพิ่ม backward linkage ขณะเดียวกันก็ ทําใหผลประกอบการของผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ดีขนึ้ ดวย แตถา MNEs มีระดับ เทคโนโลยีที่สูงกวากิจการทองถิ่นมากๆ การเขามาในอุตสาหกรรมจะใหผล ตรงกันขาม ความสามารถของกิจการทองถิน่ ในการทีจ่ ะใชประโยชนจาก Backward Linkage Spillover นั้นขึ้นอยูกับระดับความสามารถทางเทคโนโลยีอัน เปนสวนหนึ่งของขีดความสามารถในการดูดซับ (Absorptive Capacity) จาก การศึกษาของ Belderbos et al., (2001) พบวาขนาดของกิจการทองถิ่น ชวย เพิ่มการใชชิ้นสวนภายในประเทศซึ่งขอคนพบนี้ชวยยืนยันแนวคิดเกี่ยวกับ Absorptive Capacity หรือในการศึกษาของ Lall (1992) ทีพ่ บวาประเทศเจาบาน นัน้ จะสามารถรับประโยชนจากการถายทอดความรูจ าก MNEs ไดเมือ่ มีทรัพยากรมนุษยที่มีความสามารถที่เพียงพอ หรือจากศึกษาของ Kathura (2000, 2001) พบวา spillover จะมากหรือนอยขึน้ อยูก บั การลงทุนของกิจการทองถิน่ ในการลงทุนที่จะเรียนรูและลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D)5 ซึ่งจะทําให กิจการสามารถที่จะแปลความหมาย (De-codify) และประยุกตใชความรูที่ได รับมาได

ถึ ง แม ว า งานศึ ก ษาโดยส ว นใหญ เ ชื่ อ ว า FDI มี ส ว นสนั บ สนุ น ให เ กิ ด กิ จ กรรมวิ จั ย และพั ฒ นา (R&D) ในประเทศเจ า บ า น แต Blalock and Gertler (2005) พบว า ประเทศทีจ่ ะไดรบั ประโยชนจากการ R&D ของ MNEs อยางชัดเจนคือประเทศทีม่ บี คุ ลากร ทีม่ คี วามรูท างดานวิศวกรรม และวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอยางเพียงพอและมีคณ ุ ภาพ ซึ่งประเด็นนี้ใหแงคิดที่สําคัญกับประเทศกําลังพัฒนาที่มัวแตคิดวาการมีแรงงานที่ ถูกวา เปนเงื่อนไขที่เพียงพอตอการดึงดูด FDI และสรางรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ได และเพื่อดึงดูดประโยชนกิจกรรม R&D ของ MNEs ประเทศเจาบานอาจจําเปนตองมี กฏหมายที่ใชคุมครองทรัพยสินทางปญญาใหกับ MNEs เหลานี้ 5

ดร.พีระ เจริญพร


116

สําหรับสมมติฐานเกีย่ วกับ Technology Gap กับ Backward Linkage Spillover นัน้ แมวา ผลการศึกษาเชิงประจักษจะมีทงั้ ผลทีส่ นับสนุนและคัดคาน กันอยูบ า ง6 อยางไรก็ตาม ขอสรุปในงานศึกษาสวนใหญจะไปในทิศทางเดียวกัน คือ กิจการทองถิ่นตองพยายามสราง “ความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยี” ขึ้นมาเพื่อให FDI ที่ผานการเขามาดําเนินการของ MNEs มี spillover ทางบวกกับตัวเอง งานศึกษาอีกกลุม หนึง่ ทีศ่ กึ ษาความสัมพันธระหวางนโยบายการคา ในประเทศเจาบานกับการสรางความเชือ่ มโยง เชน การศึกษาของ Athukorala and Chand (2000) โดยใชประสบการณ MNEs ของสหรัฐอเมริกาที่พบวา ผูประกอบการในประเทศมุงเนนที่จะเปนสวนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกโดยเนน ที่ความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบตามแนวคิดเศรษฐศาสตรสํานักคลาสสิค (efficiency-seeking MNEs) จะไดรับผลประโยชนมากกวาผูประกอบการใน กลุมที่เลือกประกอบการและสงสินคาไปขายในตลาดทองถิ่นที่ไดรับการ คุมครองเพื่อรับเอาคาเชาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการกําหนดนโยบายของรัฐ (market-seeking MNEs) สําหรับกรณีประเทศไทย การศึกษาของ Kohpaiboon (2006; 2009) พบวา การแพรกระจายเทคโนโลยีจาก MNEs สูผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น จะมีมากกวาภายใตการเปดเสรีทางการคาและการลงทุน กลาวคือ หาก ตลาดทองถิ่นมีการคุมครองสูง จะกระตุนใหผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นแสวงหาผล ประโยชน จ ากตลาดเฉพาะของตั ว เองซึ่ ง ไม เ ป น ที่ ต อ งการของผู ส ง ออก ในขณะที่ อั ต ราภาษี ศุ ล กากรสํ า หรั บ สิ น ค า ขั้ น กลางที่ สู ง ทํ า ให MNEs จะไม ค อ ยอยากจะซื้ อ สิ น ค า ขั้ น กลางจากผู ผ ลิ ต ภายในประเทศ เชน ในงานศึกษาของ Liu et al. (2000) และ Blomstrom and Sjoholm (1999) พบวา Potential technology spillover จะเพิม่ ขึน้ พรอมกับจํานวนของกิจการตางชาติในอุตสาหกรรม และชองหางทางเทคโนโลยีแต “Realized spillover” จะลดลงเมือ่ กิจการทองถิน่ มีระดับเทคโน โลยีทตี่ าํ่ กวาระดับทีส่ ามารถจะดูดซับเทคโนโลยีได งานศึกษาในชวงหลังจึงเริม่ มีการทดสอบ ความสัมพันธที่ไมเปนเสนตรงระหวาง technology gap กับ productivity spillover ที่กิจการทองถิ่นไดรับ 6

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


117

ดั ง นั้ น MNEs เหล า นี้ จึ ง ดํ า เนิ น การโดยแยกตั ว ออกมาจากผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นฯท อ งถิ่ น ทํ า ให MNEs มี backward linkage ที่ จํ า กั ด กั บ ผู ผ ลิ ต ท อ งถิ่ น ดั ง นั้ น ตราบใดที่ ม าตรการจู ง ใจของรั ฐ (policy-induced incentive) ยั ง คงก อ ให เ กิ ด ค า เช า ทางเศรษฐกิ จ ก็ เ ป น การ ยากทีจ่ ะหาผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ซึง่ ปรากฏการณนสี้ ามารถ คนพบไดในหลายอุตสาหกรรมเพือ่ การสงออกในประเทศไทย เชน อุตสาหกรรม ยานยนตและชิน้ สวน อุตสาหกรรมสิง่ ทอ (ดู Kohpaiboon 2006a;2007; 2008) ผลการศึกษายังชวยทําใหเกิดเขาใจมากขึ้นเกี่ยวกับทําใหเกิดความเชื่อม โยง backward linkage วาเปนการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ (natural link) เปน การผลักดันโดยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร และชวยยืนยันวา Policy-induced Linkage ไมสามารถทดแทน Natural linkage ไดอยางสมบูรณ นอกจากนี้ การดําเนินนโยบายของภาครัฐยังอาจเปนตัวขัดขวาง Natural linkage อีกดวย ประเทศกําลังพัฒนาจึงควรเนนการเปดเสรีการคาและการลงทุน ลดการบิดเบือนกลไกตลาด7

กรณีประเทศไทยก็คลายกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตอื่นๆที่มีแนวโนม ที่จะเลือกใชแนวนโยบายแบบ “dualistic approach” ในการเปดเสรีการคาระหวางประเทศ กลาวคือ ยังมีความลังเลในการปรับลดภาษีศุลกากรแตใชวิธีคืนภาษีเพื่อที่จะสนับสนุน อุตสาหกรรมเพื่อการสงออก (Hugh, 2001; Jongwanich & Kohpaiboon, 2007 และ Kohpaiboon, 2009)

7

ดร.พีระ เจริญพร


118

3 กรอบนโยบายของภาครัฐและพัฒนาการโดยรวม ของอุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวน

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


119

นโยบายอุตสาหกรรมยานยนตและชิน้ สวนของประเทศไทยนัน้ เริม่ ตนจากการ สงเสริมอุตสาหกรรมประกอบรถยนตเพือ่ ทดแทนการนําเขาในคริสตทศวรรษ ที่ 1960 โดยในชวงแรกผูผ ลิตรถยนตจะนําชิน้ สวนแบบ Completely Knocked Down หรือ CKD มาผลิตเปนรถยนต ตอมาในชวงตนคริสตทศวรรษที่ 1970 กระทรวงอุตสาหกรรมไดใชน โยบายบังคับใชชนิ้ สวนในประเทศ (Local Content Requirement) โดยเพิม่ อัตราสวนชิน้ สวนภาคบังคับเปนลําดับขัน้ ทําใหอตุ สาหกรรมชิน้ สวนรถยนตในประเทศเติบโตขึน้ อยางมาก ในชวงนัน้ เทคโนโลยีทใี่ ช ในการผลิตยังไมสงู มากนัก เงินลงทุนก็ไมสงู มากเนือ่ งจากไมใชเครือ่ งจักรราคา แพง ผูผลิตชิ้นสวนไทยเติบโตขึ้นและยกระดับการผลิตเปน 2nd Tier และ 1st Tier บางรายไดรวมทุนกับ MNE หรือซื้อเทคโนโลยีจากตางชาติจนสามารถ เติบโตเปนผูผลิตชิ้นสวนรายใหญไดในเวลาตอ อุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนตในประเทศไทยเติบโตอยางตอเนื่องใน คริสตทศวรรษที่ 1980 หลังจากรัฐบาลไทยไดมคี าํ สัง่ หามนําเขารถแบบ Complete Build-up Unit หรือ CBU เพือ่ แกปญ  หาดุลการคาในป ค.ศ. 1978 มีการ จํากัดรุน และแบบของรถทีผ่ ลิตในประเทศ (42 รุน สําหรับรถยนตนงั่ สวนบุคคล) ดร.พีระ เจริญพร


120

รวมทั้งการเพิ่มอัตราสวนชิ้นสวนในประเทศที่บังคับใชที่เพิ่มขึ้นเปนลําดับทํา ใหอัตราการใชชิ้นสวนในประเทศของผูผลิตรถยนตในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อยางมาก นอกจากนี้ ผลจากนโยบายคุมครองตลาดภายในประเทศ นโยบาย การบั ง คั บ ใช ชิ้ น ส ว น การเติ บ โตอย า งรวดเร็ ว ของความต อ งการรถยนต ภายในประเทศ รวมทั้งการแข็งตัวของคาเงินเยนที่ใชในชวงคริสตทศวรรษที่ 1980 ทําใหมี MNEs เขามาลงทุนผลิตชิน้ สวนฯในประเทศไทยมากขึน้ โดยเฉพาะ ผูผ ลิตชิน้ สวนจากญีป่ นุ ซึง่ ตามผูผ ลิตรถยนตรายใหญเขามาเพือ่ รักษาสวนแบง ตลาดในอาเซียน การเขามาของ MNEs เหลานีท้ าํ ใหการผลิตและการสงออก ชิน้ สวนรถยนตของไทยเพิม่ ขึน้ ในชวงปลายคริสตทศวรรษที่ 1980 การสงออก ชิ้ น ส ว นฯเพิ่ ม ขึ้ น อย า งมากโดยเฉพาะเมื่ อ มี โ ครงการลดภาษี ร ะหว า ง ชิ้นสวนที่ผลิตในประเทศอาเซียนดวยกัน8 ในคริสตทศวรรษที่ 1990 ไทยไดเปดเสรีการคาและการลงทุน มากขึ้น ในชวงนี้มีการยกเลิกขอจํากัดรุนสําหรับการประกอบรถยนตนั่ง ส ว นบุ ค คล มี ก ารยกเลิ ก ข อ ห า มในการนํ า เข า ยานยนต ทุ ก ชนิ ด มี ก าร เปลี่ยนแปลงโครงสรางภาษีลดลง มีการสงเสริมการลงทุน ลดภาษีสงออก ยกเลิ ก ข อ ห า มในการตั้ ง โรงงานประกอบชิ้ น ส ว นยานยนต นอกจากนี้ การที่ ไ ทยมี พั น ธกรณี ภ ายใต ค วามตกลง Trade-Related Investment Measures (TRIMs) ในองค ก ารการค า โลกที่ จ ะต อ งยกเลิ ก การใช เงื่อนไข Local Content ในสวนของอุตสาหกรรมยานยนต โดย ประเทศไทย ไดยกเลิกมาตรการดังกลาวตั้งแตวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 การเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนต ในชวงสามทศวรรษ ที่ผานมาทําใหประเทศไทยเปนฐานการผลิตที่ใหญที่สุดในอาเซียนและเกิด คลัสเตอรของผูผลิตชิ้นสวนตางๆหลายประเภท ทั้งของผูผลิตชิ้นสวนไทย บริษทั รวมทุน รวมทัง้ บริษทั และ MNEs ทัง้ จากญีป่ นุ อเมริกาและยุโรป (ดูรปู ที่ 1) ประกอบดวย โครงการแบงผลิตชิ้นสวนยานยนต (Brand-to-Brand Complementation: BBC) เริ่มในป 1989 และโครงการความรวมมือดานอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme - AICO) เริ่มป 1996 8

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


121

การแขงขันที่รุนแรงของอุตสาหกรรมรถยนตในระดับโลกตั้งแตชวง ปลายคริสตทศวรรษ 1980 ทําใหเกิดการควบรวมกิจการของผูผ ลิตรถยนตและ ผูผลิตชิ้นสวน MNEs นอกจากนี้ในชวงเวลาดังกลาวประเทศกําลังพัฒนาได ทยอยเป ด เสรี ใ นอุ ต สาหกรรมรถยนต ทั้ ง ในประเทศและระดั บ ภู มิ ภ าค (ดู Kohpaiboon, 2006a) ทํ า ให ผู ผ ลิ ต รถยนต MNEs เหล า นี้ พยายามรวมกําลังการผลิต (Consolidation) ที่เคยกระจายอยูทั่วในประเทศ ตางๆ ในภูมิภาค (เพื่อหาประโยชนจากกําแพงภาษีนําเขาที่สูง) มากระจุกอยู ในประเทศทีใ่ ชเปนศูนยกลาง (Hub) การผลิตสําหรับภูมภิ าคเพือ่ ตอบสนองตอ ทัง้ ตลาดในประเทศและเพือ่ เปนฐานการสงออกไปยังประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าค (ดังเชน การทีป่ ระเทศไทยกลายมาเปนศูนยกลางการผลิตรถยนตและชิน้ สวน ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต เปนตน) MNEs ผูผ ลิตรถยนตและชิน้ สวนมีความพยายามลดตนทุนและเพิม่ ประสิทธิภาพในการแขงขันในตลาดโลกโดยวิธกี ารตางๆ กลาวคือ ประการแรก มีการพัฒนารถทีส่ ามารถจําหนายไดในหลายประเทศพรอมๆ กันโดยใชพนื้ ฐาน การผลิตและชิน้ สวนสําคัญรวมกัน (Global Platform) ประการทีส่ อง มีการพัฒนา ระบบการจัดซือ้ โดยใหผผู ลิตชิน้ สวนในระบบ Modular Assembly ในการผลิต โดยมอบหมายใหผูผลิตชิ้นสวนเปนผูรับผิดชอบทั้งระบบ (เชน ระบบไฟฟา ระบบชวงลาง ระบบเบรก) ทําใหการทํางานรวมกับผูผ ลิตชิน้ สวนมีจาํ นวนนอย ลง9 ประการที่สาม มีการใชระบบจัดซื้อจากผูผลิตทั่วโลกที่เสนอราคาตํ่าสุด (Global Sourcing) ทําใหผผู ลิตชิน้ สวนตองสรางฐานการผลิตตามฐานการผลิต ของลูกคาได ผูผลิตรถยนตสามารถพัฒนา Global Platform ไดงายขึ้น ไม ตองเสียเวลาในการคัดเลือกผูผลิตชิ้นสวนรายใหมเมื่อมีการตั้งฐานการผลิต ในทีต่ า งๆ ประการทีส่ ี่ มีการผลิตรถยนตทเี่ ปน Original Model ซึง่ เปนรถยนต งานศึกษาของ Dicken (1998) Nichiguchi and Anderson (1995) และ Rugman and d’Cruz (2000) และ Meyer (2000) พบวา ผูผลิตรถยนตเริ่มมีการใชการ outsourcing และการผลิตแบบ Module อยางกวางขวางเพื่อที่จะลดมูลคาที่เกิดภายในกิจการ และหันไปสนใจการพัฒนา การตลาดและความรวมมือทางธุรกิจกับกิจการภายนอกมากขึน้ ดวยเหตุนปี้ ริมาณการปฏิสมั พันธ (Interface) ทีผ่ ผู ลิตรถยนตมตี อ กระบวนการผลิตของตัว เองลดลงเพราะการ outsourcing การจัดซือ้ ชิน้ สวนแบบโมดุล (Modularization) แทนทีก่ าร จัดซื้อชิ้นสวนเปนชิ้นยอยๆ เหมือนในอดีต ดร.พีระ เจริญพร 9


122

ที่ไมเคยมีการผลิตที่ใดมากอน10 ทําใหผูผลิตชิ้นสวนในประเทศกําลังพัฒนา ตองเขามาเกี่ยวของกับการพัฒนารถยนตกอนการผลิตจริง 2-3 ป ผูผลิต ชิน้ สวน 1st Tier ตองเขามาเกีย่ วของทัง้ การออกแบบ การเตรียมแบบ การผลิต แมแบบ (Prototype) ไปจนถึงการเตรียมการผลิตจริง ทําใหผูผลิต 1st Tier ตองมีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑและ Product Engineering ของชิ้นสวน ซึ่งเปนเรื่องใหมสําหรับผูผลิตชิ้นสวนในประเทศกําลังพัฒนา ที่ คุ น เคยกั บ การพั ฒ นาภายใต น โยบายการคุ ม ครองอุ ต สาหกรรม เช น การบังคับใชชิ้นสวนภายในประเทศ ฯลฯ ผูผลิตชิ้นสวน MNEs เองตองยายฐานการผลิตตามผูผลิตรถยนต MNEs เนื่องจากผูผลิตรถยนตหันมาใชชิ้นสวนที่ผลิตในประเทศศูนยกลาง (Hub) มากขึน้ เพราะชวยลดตนทุนการจัดซือ้ เพราะชิน้ สวนรถยนตมเี ปนจํานวน มากและบางชิน้ ก็มขี นาดใหญและหนัก (Bulky) การใชชนิ้ สวนในประเทศยังทํา ใหผูผลิตรถยนตสามารถวางแผนการผลิตและทํางานรวมกับผูผลิตชิ้นสวนที่ อยูในประเทศไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกลาวยังทําใหเกิด ปรากฏการณการลดจํานวน (Rationalization) ของผูผ ลิตชิน้ สวน 1st Tier เนือ่ งจากผูผ ลิตรถยนตตอ งการ ลดจํานวนผูผ ลิตชิน้ สวนทีต่ ดิ ตอกับผูผ ลิตรถยนตลง ขอเรียกรองของผูผ ลิตรถ ยนตทาํ ใหผผู ลิตชิน้ สวน 1st Tier เหลานีต้ อ งผลิตสวนประกอบทีม่ คี วามซับซอน เพิ่มขึ้นโดยรวบรวมชิ้นสวนยอยๆ หลายๆ ชิ้นที่ไมเคยผลิตมากอนเขามา ประกอบกันและจัดสงในรูป Modules and Subassemblies ผูผ ลิต 1st Tier จึง ตองระมัดระวังในคัดเลือกเทคโนโลยีและผลิตภัณฑที่ตัวเองตองลงทุนพัฒนา เพือ่ ทีต่ อบสนองความตองการของผูผ ลิตรถยนต ทัง้ นีก้ ารเปลีย่ นแปลงตามขอ เรียกรองของผูผลิตรถยนตเหลานี้ก็จะสงผลไปยังผูผลิตชิ้นสวนระดับตํ่ากวา แทนที่การผลิตรถยนตที่เปน repeat model ซึ่งเปนการที่ผูผลิตรถยนตนํา model รถยนตที่ผลิตจากที่อื่นมาแลว มาผลิตซํ้าอีกที่ในประเทศกําลังพัฒนา เปนการนําเอา prototype หรือ drawing ของชิน้ สวนทีพ่ ฒ ั นามาจากทีอ่ นื่ มาใหผผู ลิตชิน้ สวนมาเลียนแบบ และผลิตเทานัน้ ภายใตการผลิตแบบนีค้ วามสัมพันธระหวางผูผ ลิตรถยนตและผูผ ลิตชิน้ สวน เกิดขึ้นอยางหลวมๆ เทานั้น

10

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


123

(Lower Tier Suppliers) ดวยเชนกัน ขณะเดียวกัน การเพิม่ ขึน้ ของจํานวนชิน้ สวน และความสําคัญของชิ้นสวนที่กระจายไปยังผูผลิตชิ้นสวน 2nd Tier ก็ทําใหผล กระทบทัง้ ดานคุณภาพและราคาของชิน้ สวนทีผ่ ลิตจากผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd Tier ที่มีตอผูผลิต 1st Tier เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของขอเรียกรองดานการลงทุนเพื่อรักษาความเปน 1st Tier Supplier (เชน ความสามารถดานการวิจัยและออกแบบ ความสามารถ ทีจ่ ะสรางโรงงานแหงใหมใกลสายการผลิตรถยนต ฯลฯ) มีผลตออุตสาหกรรม ผลิตชิน้ สวนฯอยางมาก ผูผ ลิตชิน้ สวนหลายรายถูกคัดออกจากการเปนผูผ ลิต ชิ้นสวนที่ติดตอกับผูผลิตรถยนตโดยตรง บางรายเลือกที่จะออกจากอุตสาหกรรมและบางสวนกลายเปนผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd-3rd Tier จัดสงชิน้ สวนใหกบั 1st Tier ที่เหลืออยู และขอเรียกรองในการรักษาการเปน 1st Tier Supplier ที่สูง ขึน้ นีเ้ องนํามาซึง่ ปรากฏการณการลดลงของการมีสว นรวมของผูผ ลิตทองถิน่ ที่ไมใชสาขาของ MNE (Indigenous Firm) หรือ “Denationalization” เนื่อง จากผูผลิตทองถิ่นสวนใหญไมสามารถทําตามมาตรฐานใหมได ทําใหตอง ถูกปรับไปเปนผูผลิตชิ้นสวน 2nd Tier หรือ 3rd Tier แทน ปรากฏการณ Denationalization นี้เกิดขึ้นทั้งในบราซิล เกาหลีใต รวมทั้งประเทศไทยดวย (Kohpaiboon, 2007)

ดร.พีระ เจริญพร


124

4 ความเชื่อมโยงไปขางหลัง (Backward Linkage) ในอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนตไทย

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


125

การเพิ่มขึ้นของการมีสวนรวมของ MNEs ในกรณีของอุตสาหกรรมชิ้นสวน นั้นมีอยูใน 2 ชองทาง คือ ชองทางแรก คือ มีการเขามาใหมของผูผลิต ชิ้นสวน MNEs รายใหม ในชวงแรกของการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นสวน ในประเทศไทยนัน้ ผูผ ลิตชิน้ สวน สัญชาติญปี่ นุ ไดเขามาตัง้ โรงงาน สายการผลิต ใหม เพื่อผลิตชิ้นสวนที่ซับซอนขึ้น โดยเฉพาะในชวงที่คาเงินเยนแข็งตัว (ปลายคริสตทศวรรษที่ 1980) ตอในชวงกลาง คริสตทศวรรษที่ 1990 จากการ สํารวจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ FDI Inflow ในอุตสาหกรรมยานยนต ไทยในชวงระหวาง 1970-2008 (ดูรูปที่ 2) พบวาในชวงป ค.ศ.19701985 นั้ น มู ล ค า การไหลเข า ของ FDI (ในรู ป เงิ น สกุ ล ดอลลาร ) ไม ค อ ยมี ก ารเปลี่ ย นแปลงมากนั ก การลงทุ น ในแต ล ะป มี มู ล ค า ไม เ กิ น 5 ล า นดอลลาร โดยคิ ด เป น สั ด ส ว นร อ ยละ 5 ของมู ล ค า FDI ในภาค อุตสาหกรรมทั้งหมด ตอมาในชวงป ค.ศ. 1986-90 และ ค.ศ. 1990-1995 มี การเพิม่ ขึน้ ของเงินทุนไหลเขามาเปนอยางมากจนถึง 37 และ 87 ลานดอลลาร ตอปมูลคาการไหลเขาของ FDI ของอุตสาหกรรมยานยนตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในชวงวิกฤตเศรษฐกิจป ค.ศ. 1997 และขึ้นถึงจุดสูงสุดในป ค.ศ. 1998 ดร.พีระ เจริญพร


126

โดยมี มู ล ค า สู ง ถึ ง 818 ล า นดอลลาร มู ล ค า ของการไหลเข า ของ FDI ลดลงอยางชาในชวง ค.ศ. 1999-2005 มีมูลคา 600 ลานดอลลารตอป สงผลใหสัดสวนของการไหลเขาของ FDI ของอุตสาหกรรมยานยนตมีคาโดย เฉลีย่ คิดเปน 1 ใน 4 ของมูลคาการไหลเขาของ FDI ทัง้ หมดของภาคอุตสาหกรรม ระหวางป ค.ศ. 1999-2008 ตั้งแตชวงปลายคริสตทศวรรษที่ 1980s เปนตนมา จํานวนผูผลิต ชิ้นสวน MNEs เพิ่มขึ้นเปนอยางมาก กลาวคือ ในชวงป ค.ศ. 1971-1985 มี ผูผลิตชิ้นสวน MNEs ประมาณ 30 ราย แตในชวงป ค.ศ. 1987-2005 มีผู ผลิตชิ้นสวนฯ MNEs เขามาใหมมาถึงประมาณ 300 ราย ทําใหในปจจุบัน มีชิ้นสวนรถยนตที่ผลิตในประเทศมากมายหลายชิ้น11 ซึ่งนอกเหนือจากผู ผลิตชิ้นสวนสัญชาติญี่ปุนแลว ยังมีผูผลิตชิ้นสวนระดับโลกที่ไมใชสัญชาติ ญี่ปุน (อเมริกาและยุโรป)12 ไดเขามาดําเนินธุรกิจในประเทศไทยตามผูผลิต รถยนตชาติตะวันตกที่มาตั้งฐานการผลิตเพื่อการสงออกในประเทศไทย ซึ่ง ผูผลิตชิ้นสวนที่เปน Non-Japanese เหลานี้เนนสรางความไดเปรียบเรื่อง ความประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) จากการใช Global Platform ของรถยนตทั่วโลกรวมกัน ในขณะที่ผูผลิตชิ้นสวนญี่ปุนนั้นไดเปรียบจากการ เนนการทํางานอยางใกลชิดกับผูผลิตรถยนต แตจากการควบรวมกิจการของ ผูผ ลิตรถยนตทาํ ใหรายรถยนตลกู ครึง่ หลายราย เชน ISUZU AAT Nissan หัน มาใชระบบ Global Sourcing และทําใหกระบวนการตางๆ เปนไปตาม Global แตก็ยังมีบางชิ้นสวนฯ ที่ยังไมมีการผลิตในประเทศไทย เชน passenger car engines, fuel injection pumps, transmissions, differential gears, injection nozzles, electronic systems, electronic control units, turbo chargers, substrates for catalytic converters and anti-lock brake systems (ดู Kasuga et al, 2005; Kohpaioon, 2007) 12 ตัวอยางเชน ในป 1989 Freudenberg (Germany); 1992 Hayes Lemmerz International (US); 1994 Dana (US); 1995 Federal_Mogul (Germany); 1996 Autoliv (Sweden); Arvin Meritor (US); Robert Bosch (Germany); 1997 GKN (UK); 1998 Visteon Thailand (US); TRW (US); 1999 Johnson Controls (US); 2000 Delphi Automotive Systems (US); 2002 Tenneco Automotive (US) เปนตน (ดู Kasuga et al., 2005) 11

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


127

Standard มากขึ้น เชน การใชมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ QS9000, หรือ ISO/TS16949 เปนตน (ดู Charoenporn, 2001) อีกทั้งผูผลิตรถยนตญี่ปุน บางราย เชน TMT และ Honda เริม่ เปลีย่ นนโยบายการจัดซือ้ ทีเ่ ปดเสรีการซือ้ ชิน้ สวนมากขึน้ ทําใหผผู ลิตชิน้ สวนญีป่ นุ ในไทยเริม่ มีการปรับตัว13 เชน ผูผ ลิต ชิน้ สวนสัญชาติญปี่ นุ สามารถทําธุรกิจกับผูผ ลิตรถยนตและชิน้ สวนในเครือขาย การผลิตอื่นได (Beyond Keiretsu) ทําใหผูผลิตชิ้นสวนเหลานี้สามารถที่จะ ไดรับประโยชนจากการประหยัดจากขนาด (Kasuga et al., 2005) เปนตน ชองทางที่สอง ผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นหลายรายที่เดิม MNEs ญี่ปุนมี สวนเกีย่ วของกันโดยผานการทําสัญญาซือ้ ขายเทคโนโลยีและการถือหุน สวน นอยไดแสดงความตั้งใจที่จะเปนผูรวมทุนหรือตองการเปนผูถือหุนรายใหญ โดยมีวตั ถุประสงคหลักเพือ่ ควบคุมกระบวนการผลิตชิน้ สวนฯทัง้ หมด แนวโนม การเพิม่ ขึน้ ของการมีสว นรวมกับผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ นีเ้ ริม่ มีตงั้ แตชว งปลาย คริ ส ต ท ศวรรษ 1980 และเห็ น ได ชั ด ขึ้ น เมื่ อ มี ก ารยกเลิ ก ข อ กํ า หนด การถือครองหุนของตางชาติ โดยเฉพาะหลังวิกฤตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาล ไทยไดเปดโอกาสใหทุนขามชาติเขาควบรวมกิจการทองถิ่นในอุตสาหกรรม ยานยนต14 จนไปสูก ารปรับโครงสรางอุตสาหกรรมรถยนตครัง้ ใหญในประเทศ ไทย กลาวคือ นโยบายอุตสาหกรรมรถยนตของไทยเปลีย่ นไปเนนการสงเสริม ผูผลิตรถยนตสัญชาติญี่ปุนไดเริ่มประยุกตใชนโยบายการจัดซื้อชิ้นสวนแบบตะวัน ตกทําใหผผู ลิตชิน้ สวนฯญีป่ นุ ตองปรับตัวและเสริมสรางความสามารถในการแขงขันภายใต สิ่ ง แวดล อ มล อ มใหม ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นฯญี่ ปุ น 1st Tier มี ก ารปรั บ ตั ว ไม ว า จะเป น การ ทํ า ธุ ร กิ จ นอกเครื อ ข า ย การนํ า เอาระบบการจั ด ซื้ อ ที่ เ ป น ทางการและเป น มาตรฐาน เพื่ อ รองรั บ การขยายกํ า ลั ง การผลิ ต ให ก ลายเป น ผู ผ ลิ ต ระดั บ โลก global scale การพั ฒ นาเทคโนโลยี เ ป น ของตั ว เอง ลดการพึ่ ง พาเทคโนโลยี จ ากผู ผ ลิ ต รถยนต แทนที่ รู ป แบบการบริ ห ารแบบดั้ ง เดิ ม ที่ ใ ช quality building/ driven approach โดยการแบงปนประสบการณและผูเชี่ยวชาญและใชรูปแบบการบริหารแบบญี่ปุนมา ประยุกตใชในประเทศไทย (Kasuga et al., 2005 ) 14 บริษัทผูผลิตชิ้นสวนรองขอตอ BOI ในเดือนสิงหาคม 2540 เพื่ออนุญาตใหตางชาติเพิ่ม สัดสวนการถือครองหุน ในกิจการทีไ่ ดรบั การสงเสริมการลงทุนเพือ่ เปนการเพิม่ สภาพคลอง แตเนื่องจากผูรวมทุนไทยไมสามารถเพิ่มทุนของตนเองไดในสัดสวนเดียวกันกับผูรวมทุน ตางชาติทําใหกิจการจํานวนมากตกอยูใตการถือครองหุนใหญโดยตางชาติ 13

ดร.พีระ เจริญพร


128

การลงทุนเพื่อใหไทยเปนฐานการผลิตรถยนตเพื่อสงออกรถยนตโดยเฉพาะ รถปคอัพ ภายหลังจากทีผ่ ผู ลิตชิน้ สวน MNEsเหลานีไ้ ดเพิม่ สัดสวนการถือครอง หุน หรือกลายเปนผูถ อื หุน รายใหญกท็ าํ ใหการมีสว นเกีย่ วของตอกระบวนการ ผลิตของ MNEs เพิ่มขึ้นอยางมาก โดยการศึกษาของ Kohpaiboon (2005) พบวา ผูผ ลิตชิน้ สวน MNEs ไดนาํ เอาเทคโนโลยีทที่ นั สมัยและลาํ หนาทีส่ ดุ มา ใชภายใตการดูแลอยางใกลชิดของผูเชี่ยวชาญตางประเทศ ซึ่งปรากฏการณ เหลานีไ้ มเกิดขึน้ ในชวงที่ MNEs เปนเพียงผูข ายเทคโนโลยีหรือผูถ อื หุน ราย เล็ก หรืออาจกลาวไดวาการพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชิ้นสวนที่แทจริงเกิดขึ้น หลังจากมีการเพิ่มขึ้นของการมีสวนรวมของ MNEs เหลานี้ ผลก็คือการประกอบรถยนตในประเทศมีแนวโนมการใชชิ้นสวนที่ ผลิตภายในประเทศมากขึ้น จากการศึกษาของ Kohpaiboon (Forthcoming) ที่พบวาแนวโนมสัดสวนมูลคาการนําเขา (ที่แทจริง) ชิ้นสวนนําเขาตอจํานวน รถยนตทผี่ ลิตภายในประเทศของประเทศไทยทีผ่ ลิตในชวงป ค.ศ. 1997-2006 ปรับตัวลดลงโดยตลอด (ดูรปู ที่ 3) ขัดแยงกับความเชือ่ ทีว่ า การยกเลิกการบังคับ ใชชนิ้ สวนภายในประเทศจะทําใหการใชชนิ้ สวนในประเทศลดลง คุณภาพของ ชิน้ สวนทีม่ กี ารผลิตในประเทศไทยก็ดขี นึ้ และมีความหลากหลายของประเภท ชิ้นสวนที่ผลิตในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปรากฏการณนี้เกิดขึ้นพรอมๆ กับการไหลเขามาของ FDI และการเขามีสว นรวมของ MNEs ในอุตสาหกรรม ยานยนตและชิ้นสวนในประเทศไทยมากขึ้น 4.1 ปรากฏการณ “Denationalization” ในอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนต ของประเทศไทย วิกฤตเศรษฐกิจในป ค.ศ. 1997 ชวยเรงกระบวนการโลกาภิวัตน ของอุตสาหกรรมยานยนตไทยเพราะการเปลี่ยนไปสูการผลิตเพื่อการสง ออกทําใหผูประกอบรถยนตตองการความสามารถในการแขงขันที่สูงขึ้น อีก ทั้งการผลิตแบบ “Original Model” ทําใหผูผลิตรถยนตไมมีขอมูลของการ ผลิตชิ้นสวนจากแหลงการผลิตที่อื่นมาใหไดและดวยระบบการจัดซื้อชิ้นสวน แบบ “Global Sourcing” ทําใหผผู ลิตชิน้ สวนฯตองเนนดานคุณภาพและประสิทSymposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


129

ธิภาพดานตนทุนที่สูงขึ้น และภายใตระบบการผลิตแบบ Modularization ผูผ ลิตชิน้ สวน 1st Tier ตองสามารถทีจ่ ะออกแบบและผลิต Module ไดดว ยตัวเอง ไมใชแคการผลิตชิ้นสวนหนึ่ง บริษัทรถยนตจึงเรียกรองใหผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier MNE มาตัง้ โรงงานใกลกบั โรงงานประกอบรถยนต ดังนัน้ ถึงแมวา ผูผ ลิต รถยนตมแี นวโนมทีจ่ ะใชชนิ้ สวนในประเทศมากขึน้ แตเพราะผูผ ลิตชิน้ สวนไทย ยังตองการเวลาในการสะสมความรูจากระบบการควบคุมคุณภาพ การทํา วิศวกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ ผูผ ลิตชิน้ สวนไทยจึงถูกลดระดับ (Down Grade) ลงเปนผูผลิตระดับ 2nd Tier หรือ 3rd Tier มีเพียงสวนนอยเทานั้นที่ สามารถรักษาตําแหนง 1st Tier เอาไวได การศึกษาของ Techakanont (2007) พบวาผูผ ลิตชิน้ สวนไทยทีย่ งั คง รักษาสถานภาพการเปน 1st Tier ไวไดไดมลี กั ษณะรวมพืน้ ฐาน คือ 1) มีความ สัมพันธอันยาวนานกับลูกคา 2) ผูบริหารระดับสูงใหคํามั่นสัญญา (Commitment) ในการลงทุนในการพัฒนายกระดับเทคโนโลยีหรือลงทุนการขยายกําลัง การผลิต 3) มีสวนงานรับผิดชอบดานการวิจัยและพัฒนา โดยกิจกรรม R&D ที่ทํา เชน การทําreverse engineering การออกแบบ mold and die การทดสอบ กิจกรรม VA/VE หรือ การปรับปรุงกระบวนการผลิต เปนตน แต สําหรับคนที่ไมสามารถรักษาตําแหนง 1st Tier ไวไดสวนใหญ เปนเพราะมี ขอจํากัดดานเทคโนโลยี หรือทางการเงิน ทําใหไมสามารถที่จะลงทุนเพิ่ม หรือหาหุนสวนทางเทคโนโลยี กิจการเหลานี้มีขนาดเล็กทําใหกิจการเหลานี้ เปลี่ ย นตั ว เองไปยั ง ตลาดหรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ อื่ น เพื่ อ ชดเชยคํ า สั่ ง ซื้ อ ที่ ล ดลง สวนรายที่ยังคงอยูในอุตสาหกรรม กลุมนี้ไมวางแผนที่จะมีผลิตภัณฑใหมแต พยายามพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต แทนที่จะไปพัฒนาดานการออกแบบ ผลิตภัณฑ จะเห็นไดวาพื้นที่สําหรับผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier ของไทยจะคอยๆ ลดลง15 เกิดปรากฏการณ “Denationalization” ขึน้ จากการรุกเขามาของผูผ ลิต ชิ้นสวนระดับโลกที่มีความไดเปรียบผูผลิตทองถิ่นในเรื่องการทักษะความรู ความชํานาญและมีประสบการณในการพัฒนา การออกแบบและการผลิต ชิ้นสวนฯ เพราะกระบวนการผลิตนั้นเกี่ยวของของความรูแฝง (Tacit Knowledge) ผานการเรียนรูจ ากการทํางาน ซึง่ ความรูเ หลานีเ้ ปนสินทรัพยเฉพาะของ ดร.พีระ เจริญพร


130

MNEs ซึง่ จากการสัมภาษณของ Kohpaiboon (2006a; 2007)16 พบวา ผูผ ลิต ชิน้ สวน 1st Tier สัญชาติไทยนาจะมีไมเกิน 10 รายเทานัน้ และสวนใหญทาํ การ ผลิตชิ้นสวนที่เปน ชิ้นสวนตัวถังรถยนต (Stamping Parts) ขนาดใหญ สวน ที่เหลือซึ่งเปนสวนมากจะกลายมาเปนผูผลิตชิ้นสวนลําดับรองลงมาที่ทําการ ผลิตสวนประกอบยอยใหกับผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier ดังจะเห็นไดจากมีการ ขยายการผลิตของ MNEs ชิ้นสวนเดิมที่อยูในประเทศ เหตุการณที่เกิดขึ้นนี้ เปนหลักฐานชวยยืนยันวาการดําเนินนโยบายบังคับใชชนิ้ สวนภายในประเทศ ที่ผานมาไมไดสงผลตอการพัฒนาระดับเทคโนโลยีมากมายนัก17 แตเหตุผล แตยังพอมีชองทางสําหรับผูผลิตชิ้นสวนไทยอยูก็คือ ชิ้นสวนตัวถังรถยนต (stampingpart) ขนาดใหญ เนื่องจากชิ้นสวนมีขนาดใหญมีคาขนสงสูงและผูผลิตของไทยมีประสบ การณการผลิตมานาน อีกทั้งการผลิตในสวนนี้ไมตองใชความสามารถทางเทคโนโลยีที่สูง มากนัก โดยเฉพาะในการเรือ่ งการออกแบบชิน้ สวนทีส่ ว นใหญควบคุมโดยผูผ ลิตรถยนต ทัง้ นี้ ผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ก็ตอ งมีความตืน่ ตัวในเรือ่ งการพัฒนาความสามารถในการออกแบบให ไดในระดับหนึง่ โดยเฉพาะความสามารถในการเขาใจแบบ 2 มิตแิ ละพัฒนาความสามารถใน การผลิตชิ้นสวนที่ราคาสามารถแขงขันไดในตลาดโลกและมีตื่นตัวในการเรียนรูนวัตกรรม ใหมๆ เพือ่ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนีผ้ ผู ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ยังมีทางเลือกทีจ่ ะ เปน sub Supplier ในผลิตชิน้ สวนประกอบขัน้ กลาง วัตถุดิบ ซึง่ ชองทางนีจ้ ะเปดกวางกวา การเปนผูผ ลิตชิน้ สวน 1st Tier เพราะตลาดมีการขยายตัวและผูผ ลิตรถยนตยงั คงมีแนวโนม ที่จะเพิ่มการใชชิ้นสวนภายในประเทศเพิ่มขึ้นทุกป (Kohpaiboon, 2007) 16 แตกตางจากจํานวนผูป ระกอบการทีร่ ายงานอยางเปนทางการโดยสมาคมผูผ ลิตชิน้ สวน ยานยนตไทยที่เชื่อวาปจจุบันผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier ที่เปนคนไทยลวนมีมากถึง 354 ราย หรือประมาณครึง่ หนึง่ ของ first-Tier Suppliers ทัง้ หมด อยางไรก็ตามขอมูลจากการสัมภาษณ ของKohpaiboon (2006; 2007) พบวาจํานวน 1st Tier ที่รายงานขางตนเกินจริง อาจเปน เพราะรวมเอาผูผลิตชิ้นสวนสําหรับรถยนตรุนเกาที่ระบบ modular design ยังไมไดนําเขา มาใชและรวมเอาผูผลิตชิ้นสวนยอยๆ เพื่อลดกระแสตอตานทางสังคมเนื่องจากปรากฏ การณ denationalization 17 Kohpaiboon (2006b) มีความเห็นวา นโยบายหรือมาตรการตางๆ ทีภ่ าครัฐไดทาํ มาในอดีต โดยเฉพาะการบังคับใชชนิ้ สวนทีบ่ งั คับใชระหวางป 2518-2543 มีผลตอการพัฒนาผูผ ลิตภาย ในนาจะมีจํากัดและไมไดทําใหเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน มิฉะนั้นจํานวนผูผลิตชิ้นสวนที่เปน คนไทยที่สามารถรักษาสถานภาพการเปน Tier-1 Suppliers นาจะมากกวาที่เปนอยูใน ปจจุบัน 15

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


131

จริงๆ ทีท่ าํ ใหผผู ลิตชิน้ สวนฯทองถิน่ สามารถผานการมาตรฐานใหมไดเกิดจาก การไดรับความชวยเหลือจากผูผลิตรถยนตเพื่อการสงออก (Techakanont, 2007; Kohpaiboon (2005) จากการพัฒนาอันยาวนานของอุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวน ของไทย ทําใหลักษณะความเชื่อมโยงระหวางผูผลิตในอุตสาหกรรมผลิต ชิ้นสวนยานยนตของไทยมีความซับซอน จากการศึกษาของ Techakanont (2007) พบวา เครือขายและความสัมพันธระหวางกิจการมีความซับซอน ไม เ ป น ความสั ม พั น ธ ที่ แ น น อนด า นแนวตั้ ง (Vertical/ Hierarchical) (จากผูผลิตรถยนตไปยัง 1st Tier Supplier ไปยัง 2nd Tier Supplier ไปยัง 3rd Tier…) แตกลับอยูในรูปแบบ “Hierarchical Network” กลาวคือ ผูผลิต 2nd Tier อาจจะสงชิ้นสวน (ไปพรอมกับ 1st Tier Suppliers) ไปยังผูผลิตรถยนต ในขณะเดี ย วกั น ก็ แ ละส ง ชิ้ น ส ว นไปยั ง ผู ผ ลิ ต 2 nd Tier รายอื่ น ๆ ด ว ย ผูผลิตบางรายยังเปนทั้ง 1st Tier และ 2nd Tier ทั้งนี้ขึ้นอยูกับประเภทของชิ้น สวนที่กําลังอางถึง เปนที่นาสังเกตวาโครงสรางของผูผลิตชิ้นสวนฯใน Tier ที่ตํ่าวา 2nd Tier จะคอนขางแบนราบ โดยจากการสัมภาษณพบวาผูผลิตสวน ใหญมคี วามรูส กึ วา 2nd Tier เปนลําดับ (Tier) สุดทายของผูผ ลิตชิน้ สวนฯทีย่ งั อยูในอุตสาหกรรมชิ้นสวนรถยนต การสํ า รวจครั้ ง นี้ ยั ง พบอี ก ว า กระบวนการ “Rationalization” ในผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd Tier จะมีผลอยางมากตอกิจการขนาดเล็กโดยเฉพาะอยาง ยิ่งผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น เพราะเราจะเห็นไดวาไมใชผูผลิต Lower Tier Supplier ทุกรายที่สนใจที่จะลงทุนเพิ่มเติมที่จะใหไดอยูในอุตสาหกรรม ผลิ ต ชิ้ น ส ว นยานยนต ต อ ไป ทั้ ง นี้ ก ารตั ด สิ น ใจขึ้ น อยู กั บ ลั ก ษณะสํ า คั ญ 2 ประการ กล า วคื อ ประการแรก คื อ ความแข็ ง แรง (Strength) ของความสัมพันธกับผูผลิต 1st Tier เพราะความสัมพันธกับ 1st Tier ที่ มี เ สถี ย รภาพจะช ว ยลดความไม แ น น อนของคํ า สั่ ง ซื้ อ ในอนาคต ยิ่ ง ความสั ม พั น ธ แ นบแน น ขึ้ น จะยิ่ ง ทํ า ให ผู ผ ลิ ต มี แ รงจู ง ใจในการดํ า เนิ น การเพื่อพัฒนาตามที่ 1st Tier ตองการและ ประการที่สอง ระดับของ ความชํานาญเฉพาะทาง (Degree of Specialization) ของกิจการที่มีตอ อุตสาหกรรมยานยนต โดยยิง่ สัดสวนของรายไดของกิจการมาจากอุตสาหดร.พีระ เจริญพร


132

กรรมทีเ่ รียกรองคุณภาพและบริการทีต่ าํ่ กวาอุตสาหกรรมยานยนตมากขึน้ เทา ไหร ก็ยิ่งทําใหแรงจูงใจที่จะลงทุนพัฒนาเพื่อจะอยูในอุตสาหกรรมยานยนต ตอก็จะยิ่งลดลง 4.2 การเปลีย่ นแปลงลักษณะความเชือ่ มโยงในอุตสาหกรรมผลิตชิน้ สวน ยานยนต การทีผ่ ผู ลิตรถยนตตอ งปรับฐานการผลิตในประเทศไทยไปสูฐ านการ ผลิตเพือ่ การสงออกเพือ่ ทดแทนตลาดในประเทศทีห่ ดตัวในชวงวิกฤตเศรษฐกิจในระยะเวลาอันสัน้ ทําใหบริษทั ผูผ ลิตรถในญีป่ นุ ตองลงทุนในการถายทอด เทคโนโลยีการผลิตใหแกทงั้ บริษทั ในเครือและบริษทั นอกเครือในประเทศไทย รวมทั้งผูผลิตชิ้นสวนในรูปแบบตางๆ เพื่อกระตุนใหเกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ และในบางชิ้นสวนบริษัทรถยนตเขาไปใหคําแนะนําในการผลิต เชน เรื่อง Tooling หรือแนะนําระบบการเพิ่มประสิทธิภาพใหกับผูผลิตชิ้นสวน (ดู Kohpaiboon 2006a: p236; Techakanont, 2007) การถายทอดเทคโนโลยีจากผูผ ลิตรถยนตญปี่ นุ ไปสูผ ผู ลิตชิน้ สวน 1st Tier นัน้ เกีย่ วของทัง้ ในเรือ่ ง การพัฒนาชิน้ สวนกระบวนการผลิตทางวิศวกรรม และขั้นตอนการผลิต สําหรับในสวนของการพัฒนาชิ้นสวนและกระบวนการ ผลิตทางวิศวกรรมนัน้ ผูผ ลิตรถยนตจะถายทอดเทคโนโลยีใหผผู ลิตชิน้ สวน 1st Tier ผานความสัมพันธสองฝายผานการตรวจสอบอยางใกลชดิ และการแนะนํา ทางเทคนิ ค โดยผู เ ชี ย วชาญชาวญี่ ปุ น ซึ่ ง ทํ า ให ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น 1 st Tier มี ค วามสามารถทางเทคโนโลยี ที่ ดี ขึ้ น 18 นอกเหนื อ จากการได รั บ ความ ชวยเหลือจากผูผลิตรถยนตแลว ผูผลิตชิ้นสวนฯ 1st Tier ที่เปนคนไทย ได ป รั บ ตั ว ในหลายรู ป แบบ 19 ที่ สํ า คั ญ ความร ว มมื อ ดั ง กล า วก็ เ กิ ด ขึ้ น ระหวางผูผลิตชิ้นสวนระหวาง Tier อีกดวย เมือ่ ผูผ ลิตรถยนตพยายามทีจ่ ะเพิม่ ระดับความสัมพันธกบั 1st Tier ให เขามารับผิดชอบในเรื่องของการออกแบบ พัฒนาชิ้นสวนที่มีซับซอนเพิ่มขึ้น ผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier เองก็ตองเริ่มมองหาหุนสวนทางการผลิตกับผูผลิต 2nd Tier รายสําคัญเพือ่ ทีพ่ ฒ ั นาผลการการดําเนินการและยกระดับความรับผิดชอบ ไปยังผูผ ลิตชิน้ สวนในระดับ (Tier) ตอไปเชนกัน โดยเรียกรองใหผผู ลิต Lower Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


133

Tier เพิ่มความรับผิดชอบในการรับผิดชอบดานการออกแบบและพัฒนาดาน เทคนิคในชิน้ สวนทีผ่ ลิต ขณะทีผ่ ผู ลิต 1st Tier จะดูแลควบคุมกระบวนการพัฒนา ชิน้ สวนในภาพรวม ผูผ ลิต 2nd Tier จึงจําเปนตองพัฒนากิจกรรมทีต่ อ งใชความ สามารถทีส่ งู ขึน้ เชน ความสามารถทีจ่ ะการผลิตชิน้ สวนใหไดตามแบบทีผ่ ผู ลิต 1st Tier ไดออกแบบและกําหนด technical specifications นั้นหมายความวา 2nd Tier ตองมี Know-how ของการกระบวนการผลิตที่ดี ถึงแมวาจะมีการแขงขันสูงและการถูกคัดออกในระหวางกลุมผูผลิต ชิน้ สวน แตกม็ หี ลักฐานทีย่ นื ยันวาการลดจํานวนผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier ไม สามารถทําไดโดยกระบวนการคัดเลือกเพียงอยางเดียว การคัดเลือกในระดับ 1st Tier นั้น ในหลายกรณีไมไดกําจัดผูผลิตชิ้นสวนที่ไมมีความสามารถหรือ ไมประสงคทจี่ ะลงทุนเพิม่ เติมออกจากหวงโซการผลิต แตเปนการปรับลด ระดับ ใหไปอยูในชั้น Tier ที่ตํ่ากวาในหวงโซการผลิตแทน ผูผลิตเหลานี้แมวาจะมี ความสามารถทางเทคนิคทีเ่ พียงพอแตสว นใหญจะขาดแคลนทรัพยากร knowเชน โตโยตาไดเริม่ มีการเปลีย่ นแปลงกระบวนถายทอดเทคโนโลยีในขัน้ ตอนการผลิตทีม่ ี ประสิทธิภาพมากขึน้ โดยการถายทอดเทคโนโลยีผา นเครือขาย (network) โดยการเขารวม กิจกรรมโดยสมัครใจใน Toyota Co-operation Club (TCC) ซึ่ง TMAP-EM ไมไดเพียงแค ถายทอดเทคโนโลยีผานการฝกอบรมและการเยี่ยมชมโรงงานเทานั้นยังไดกระตุนใน 1st Tier Supplier มีสวนรวมในกระบวนการเรียนรูผาน แบงปนความรูระหวางสมาชิกในเครือ ขายผานการพบปะในการประชุมของ TCC (ดู Vorasowharid (2007) และ Techakanont (2007)) 19 เชน ขายกิจการในบริษทั ยอยเพือ่ นําเงินทุนมารักษาการเติบโตของบริษทั ผลิตชิน้ สวนหลัก การหาพั น ธมิ ต รจากบรรษั ท ข า มชาติ แ ละเข า สู เ ครื อ ข า ยการผลิ ต ระหว า งประเทศ การมุงสงออกสินคาจากเดิมที่มุงธุรกิจในประเทศเปนหลัก เชน กลุมไทยรุง ผูผลิตชิ้นสวน ไทยยังมีการพัฒนาความสามารถทางวิศวกรรม เชน กลุมไทยซัมมิท กลุมสิทธิผล ที่มีการ ตัง้ กลุม ธุรกิจในสายวิจยั และพัฒนาเปนการเฉพาะในหลาย ผลิตภัณฑเพือ่ เพิม่ ความสามารถ และประสิทธิภาพในการผลิต นอกจากนี้หลายบริษัทไดมุงขยายธุรกิจในตางประเทศเพื่อ รักษาการเติบโตระยะยาวโดยการขยายสินคาสงออกหรือเริม่ เขาไปลงทุนในตางประเทศเพือ่ การเติบระยะยาว เชน กลุมไทยซัมมิท กําลังขยายการลงทุนไปอินเดีย อินโดนีเซียและจีน กลุมสมบูรณและไทยรุงสงออกสินคาไปตางประเทศเพื่อใชประโยชนจากเขตการคาเสรี เปนตน (สักรินทร, 2549) 18

ดร.พีระ เจริญพร


134

how และรวมทั้งไมเขาใจความจําเปนของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การ ทํางานเพื่อตอบสนองตอความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น เหลานี้พัฒนาความสามารถในการผลิตโดยอาศัยความชวยเหลือจากผูผลิต รถยนตและผูผลิตชิ้นสวน Original Equipment Manufacturer (OEM) ที่ ดําเนินการถายทอดเทคโนโลยีผา นกิจกรรมเชน กิจกรรม “Supplier Development” เปนตน ดังนั้นการที่จะกลาวหาวาความยากลําบากของผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier เกิดจากการแสวงหาโอกาสจากผูซื้อชิ้นสวน 1st Tier เพียงอยาง เดียวคงจะเปนการสรุปที่งายเกินไป สําหรับเทคโนโลยีทถี่ กู ถายทอดจาก 1st Tier ไปสู Lower Tier Supplier นัน้ สวนใหญจะเกีย่ วของกับขัน้ ตอนการผลิต (การผลิตและการบริหารโรงงาน) ในสวนชองทางการถายทอดเทคโนโลยีนนั้ สวนใหญจะเปนการสงชางเทคนิค หรือผูเ ชีย่ วชาญไปเยีย่ มชมโรงงาน เพือ่ ตรวจสอบประเมินผลและใหคาํ แนะนํา เนื่องจาก Lower Tier Supplier แตละรายมีระดับความสามารถที่แตกตางกัน การไปเยี่ยมชมทําใหผูถายทอดเทคโนโลยีสามารถปรับวิธีการถายทอดให เหมาะกับผูผลิตชิ้นสวนแตละรายได ชองทางลําดับรองลงมาคือ การจัดการ อบรมสั ม มนาและการให คู มื อ การผลิ ต ซึ่ ง ช อ งทางหลั ง นี้ ไ ม เ ป น ที่ นิ ย ม เนื่ อ งจากผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น Lower Tier มี ค วามสามารถในการดู ด ซั บ เทคโนโลยีทตี่ าํ่ และแตกตางกัน การดูเพียงคูม อื อยางเดียวอาจจะไมทาํ ใหการ ถายทอดประสบ ความสําเร็จ อยางไรก็ตามในทางปฏิบัตินั้น ผูผลิต 1st Tier ก็พบกับปญหาความ ไมชัดเจนวาใครควรจะเปนผูออกคาใชจายในการพัฒนาผูผลิตชิ้นสวนเหลา นี้ ซึ่ ง ก็ เ ป น ผลมากจากความล ม เหลวของกลไกตลาดของการพั ฒ นา เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย กลาวคือ ความตั้งใจของผูผลิต 1st Tier ที่ ต อ งการช ว ยเหลื อ ผู ผ ลิ ต Lower Tier จะลดลงเนื่ อ งจากความเสี่ ย ง ที่ไมอาจไดรับผลตอบแทนที่คุมคาจากการดําเนินการดังกลาว โดยเฉพาะ อย า งยิ่ ง เมื่ อ ผู ผ ลิ ต Lower Tier ส ว นใหญ มั ก จะผลิ ต ชิ้ น ส ว นให กั บ 1 st Tier รายอื่นๆ ดวย ทําใหมีความเปนไปไดสูงวาผูผลิต 1st Tier รายอื่นๆ (รวมทั้ ง คู แ ข ง ) จะได รั บ ประโยชน จ ากการพั ฒ นาผลการดํ า เนิ น การของ ผูผลิต Lower Tier โดยที่ไมตองแบกรับตนทุนอะไร (Free Rider) ทั้งที่ควร Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


135

จะชวยกันจาย เพราะในความเปนจริงแลวความรู (และการฝกอบรม) ที่ จําเปนสําหรับการพัฒนาผูผลิต 2nd Tier ก็เหมือนกับ “สินคาสาธารณะ” ทําให ไมมเี อกชนรายใดทีจ่ ะแบกรับตนทุนทีเ่ กิดขึน้ เพียงคนเดียวถึงแมวา การดําเนิน การดังกลาวจะชวยปรับปรุงประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมชิน้ สวนฯทัง้ ระบบ ก็ตาม ผูผ ลิต 2nd Tier แมวา จะมีความสําคัญกับภาพรวมของการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตชิน้ สวนแตกม็ กั จะมีอาํ นาจตอรองนอย และมีความกลัววาหากตัวเอง ลงทุนไปเยอะแลวจะทําใหตองผูกติด (Held up) กับลูกคารายนั้นไป ปญหา ความไมสมบูรณของกลไกตลาดนี้จึงนับเปนอุปสรรคสําคัญในการถายทอด เทคโนโลยีใหกับผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier ผลการสํารวจชวยยืนยันผลการศึกษาของ Vorasowharid (2007) โดยพบวา การถายทอดเทคโนโลยีมปี ญ  หา คือ 1) การขาดแรงจูงใจในการเขา รวมโครงการพัฒนา ซึง่ สาเหตุสาํ คัญก็คอื ผูบ ริหารของ sub Supplier ไมเขาใจ และเห็นประโยชนที่ไดจากเทคโนโลยีที่จะไดรับการถายทอด ไมเขาใจวา เทคโนโลยี ที่ จ ะได รั บ การถ า ยทอดจะช ว ยเพื่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพ คุ ณ ภาพ ลดต น ทุ น และจั ด ส ง ชิ้ น ส ว นได ต รงเวลาได อ ย า งไร รวมทั้ ง กลั ว ที่ จ ะถู ก ครอบงําหรือบังคับโดยผูผลิต 1st Tier ดวย ทําใหผูผลิตชิ้นสวนเหลานี้ ปฏิเสธที่จะเขารวมโครงการพัฒนาหรือไมใหความสนใจเต็มที่ในการเรียนรู เชน ไมสงชางที่มีความสามารถมาเรียนรู ไมกลาเปดเผยขอมูลการผลิต เพราะกลั ว ว า จะถู ก กดราคา เป น ต น ซึ่ ง 1 st Tier Supplier ก็ แ ก ไ ข โดยการสร า งระบบการประเมิ น ในรู ป ของการให ค ะแนนและตั้ ง เกณฑ ความสามารถที่ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นต อ งผ า นเพื่ อ ที่ จ ะได รั บ คํ า สั่ ง ซื้ อ ในครั้ ง ตอไป 2) ความแตกตางของระดับความสามารถทางเทคโนโลยี (Technology Gap) ระหวาง 1st Tier กับ Lower Tier Supplier เนื่องจาก 1st Tier Supplier นั้นสวนใหญจะใชเครื่องจักรอัตโนมัติที่ทันสมัยในขณะที่ Lower Tier Supplier จะใชเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ตํ่ากวาและมีแรงงานเขามา เกี่ยวของมากกวาทําใหความรูที่ไดจากการเขารวมโครงการพัฒนาฯ ไม สามารถนําไปประยุกตใชในโรงงานของ sub Supplier ไดอยางเต็มที่ และ 3) ความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยี (Absorptive Capacity) ของ subSupplier เนื่องจากคนงานใน Lower Tier นั้นสวนใหญจะมีการศึกษาระดับ ดร.พีระ เจริญพร


136

มัธยมตน มีความรูเกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องกลนอยและขาดประสบการณใน การทํางานในโรงงาน ทําใหไมสามารถเก็บเกี่ยวหรือทําความเขาใจเนื้อหาที่ ผูเชี่ยวชาญจาก 1st Tier Supplier ถายทอดใหได จากปญหาตางๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier จึงนาสนใจวาผูผลิตชิ้นสวน MNEs ที่เปน 1st Tier จะมีวิธีแกไข ปญหาดังกลาวอยางไร และผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ จะมีวธิ กี ารปรับตัวอยางไรใน สถานการณเชนนี้ ในสวนตอไปจะเปนกรณีศกึ ษาทีจ่ ะชวยทําใหเห็นภาพของ การ ถายทอดเทคโนโลยีจากผูชิ้นสวน 1st Tier สูผูผลิตชิ้นสวนระดับ 2nd Tier

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย



138

5 กรณีศึกษา บริษัท A

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


139

การศึกษาครั้งนี้ไดเลือก บริษัท A ซึ่งเปนกลุมผูผลิตชิ้นสวน MNEs ที่ดําเนิน ธุรกิจดานการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตอุปกรณชิ้นสวนยานยนตในระดับ 1st Tier มีสํานักงานใหญอยูที่ประเทศญี่ปุน และเริ่มดําเนินธุรกิจในประเทศ ไทยมาเกือบ 40 ป ปจจุบันกลุมบริษัท A มีบริษัทในเครือทั้งสิ้น 8 บริษัท มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 8,000 คน รายไดรวมของปที่ผานมาประมาณ 50,000 ลานบาท (ขอมูล ณ เดือนมีนาคม ป 2009) โดยดําเนินธุรกิจผลิตชิน้ สวน ยานยนต ทั้ง ระบบควบคุมเครื่องยนต ระบบระบายความรอน ระบบไฟฟา ระบบอิเล็กทรอนิกส ใหกับผูผลิตรถยนตหลายรายในประเทศไทยโดยเฉพาะ อยางยิ่ง บริษัท โตโยตา มอเตอร ที่สําคัญกลุม บริษัท A ไดมีการลงทุนเปด สายการผลิตเพิ่มเติมในชวงตั้งแตป 1995-2000 มีการผลิตชิ้นสวนฯที่ใช เทคโนโลยีที่สูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัท A ยังไดกอตั้งศูนยวิจัยและพัฒนาขึ้นใน ประเทศไทยด ว ย ซึ่ ง ทํ า ให บ ริ ษั ท ต อ งพั ฒ นาความสามารถในการผลิ ต ของตั ว เองให ไ ด ต ามความต อ งการของผู ผ ลิ ต รถยนต ไม ว า จะเป น เรื่ อ ง ของคุณภาพตนทุนและการสงสินคาที่ตรงเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ยัง สงผลกระทบไปสูผูผลิต 2nd Tier และ Lower Tier Supplier ดวย ดร.พีระ เจริญพร


140

จากการสํารวจภาคสนามเพื่อสัมภาษณทั้งผูบริหารและวิศวกรของ บริษทั A และของผูผ ลิตชิน้ สวนไทยระดับ 1st Tier รายอืน่ ๆ รวมทัง้ ผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd Tier ทั้งผูผลิตชิ้นสวนไทยและบริษัทรวมทุน (ดู ภาคผนวก) พบวา การ เขาไปชวยเหลือ 2nd Tier ของ บริษัท A ก็มีอุปสรรคเชนเดียวกับ 1st Tier รายอื่นๆ กลาวคือ ผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นสวนใหญขาดแรงจูงใจที่เขารวม การพัฒนา ขาดความเขาใจและทัศนคติทดี่ ตี อ การเปลีย่ นแปลง และมีแนวโนม ที่จะไมสามารถดําเนินการพัฒนาความสามารถในการผลิต (QCDEM) อยาง มีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรโดยเฉพาะดานบุคลากรและ know-how ผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ขนาดเล็กสวนใหญมกั มีการดําเนินการใชเชิง ตั้งรับมากกวาเชิงรุก ไมมีหนวยงาน/แผนกที่รับผิดชอบดานการพัฒนาความ สามารถทางเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษยและมักจะลงทุนดานการฝกอบรม ใหตํ่า อยางไรก็ตาม บริษัท A มีความพยายามที่จะแกไขอุปสรรคเหลานี้ โดยการดําเนินการ กิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน (Supplier Development Program) และ การสรางระบบการประเมินผลผูผลิตชิ้นสวน (Supplier Assessment) โดยการสงวิศวกรเขาไปตรวจสอบและใหคาํ แนะนําทางดานเทคนิค กับ Lower Tier Supplier โดยแตละประเด็นมีรายละเอียดดังนี้ 5.1 การดําเนินกิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน (Supplier Development Program) บริษทั A ไดดาํ เนินการในสองสวนดวยกันคือ การจัดโครงการอบรม และ การจัดกิจกรรมพัฒนาผูผ ลิตชิน้ สวน (Supplier Development Program) ในสวนของการอบรมนัน้ ในป 2005 บริษทั A ไดเปดศูนยฝก อบรม20 เพือ่ พัฒนา และเสริมสรางทรัพยากรบุคคลของและฝกอบรมใหกบั พนักงานในกลุม บริษทั A รวมทัง้ ผูร บั ชวงงานและผูผ ลิตงานสงใหกบั บริษทั ใหมที กั ษะและความชํานาญ มากขึน้ โดยทางบริษทั A ไดเตรียมหลักสูตรในการพัฒนาบุคลากรทีส่ าํ คัญไว 4 ดานดวยกัน คือ การบริหารงานและสรางทัศนคติที่ดีตอการทํางาน (Management & Mind) การพัฒนาทักษะการทํางาน (Technical Skills) วิศวกรรม (Engineering) และความปลอดภัยในการทํางาน (Safety) โดยจัดหลักสูตร Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


141

เปน 2 สวนดวยกัน คือ การอบรมผูสอน (Instructor Training) เปนการเรียน เพื่อไป เปนผูสอนหรือผูบรรยาย แลวนําไปถายทอดสอนใหกับพนักงานใน บริษัทฯ และ การอบรมทั่วไป (General Training) ซึ่งเปนการเรียนเพื่อสราง องคความรูใหมๆ และทักษะที่ได รวมทั้งแนวความคิดและการบริหารจัดการ สามารถนําไปปฏิบตั ใิ ชไดจริงในการทํางานประจําวัน ทัง้ นีผ้ ผู ลิตชิน้ สวนทีเ่ ขา รวมการฝกอบรมจะตองออกคาใชจายในทุกอยางในการเขาฝกอบรมใหกับ ศูนยฝกอบรมซึ่งทางบริษัท A จะคิดแคตนทุนที่เกิดขึ้นเทานั้น สําหรับกิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวนมีวัตถุประสงคเพื่อลดตนทุน พัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดสงสินคาในขณะที่ทีมพัฒนาเขาไป ทํางานรวมดวย และ เพือ่ สอนกระบวนการพัฒนาอยางตอเนือ่ งและเปนระบบ ใหกบั ผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier Supplier เพือ่ ใหผผู ลิตชิน้ สวนเหลานีส้ ามารถ พัฒนาตัวเองโดยเฉพาะอยางยิ่งการลดตนทุนตอไปไดเมื่อทีมวิศวกรของ บริษัท A ไมไดอยูที่โรงงานแลว จากการสัมภาษณวศิ วกรผูร บั ผิดชอบกิจการพัฒนาผูผ ลิตชิน้ สวนพบ วา ปจจัยกําหนดความสําเร็จของการดําเนินการพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน Lower เปนแหงที่ 3 ของโลกตอจากประเทศญี่ปุนและประเทศสหรัฐอเมริกาเปนการตอบสนอง ตอนโยบายของรัฐบาลไทยในโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต (Automotive Human Resource Development Project : AHRDP) ซึง่ เปนโครงการภายใตความรวมมือ จากภาครัฐและเอกชนระหวางไทย-ญี่ปุนโดยกระทรวงอุตสาหกรรมผานสถาบันยานยนต เริม่ ในป พ.ศ. 2548 เพือ่ แกไขปญหาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนตทขี่ าดแคลนแรงงาน ทักษะฝมอื ดานวิศวกรรมเทคโนโลยี ดานการจัดการการผลิตและการทําแมพมิ พ มีกจิ กรรม การถายทอดเทคโนโลยีจากญี่ปุนสูไทยและสรางครูชาวไทยโดยผูเชี่ยวชาญจากญี่ปุนและ ใหใชทรัพยากรที่มีอยูในประเทศไทยในการดําเนินการ ในป 2551 โครงการไดเสร็จสิ้นการ ดําเนินการในระยะเริ่ม โดยมีบริษัทเขารวมโครงการ 145 และมีการสรางครูชาวไทย หรือ trainer training ซึ่งมีผูผานการอบรมทั้งสิ้น 187 คน จาก 4 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตร การพัฒนาดานจิตสํานึกการทํางานอยางมืออาชีพ และทักษะความสามารถในการปฏิบัติ งานในโรงงาน 2. หลักสูตรการพัฒนาดานเทคโนโลยีการผลิต TPS 3.หลักสูตรการพัฒนาดานเทคโนโลยี แมพมิ พ และ 4.หลักสูตรการพัฒนาดานระบบรับรองความสามารถบุคลากรในอุตสาหกรรม ยานยนต 20

ดร.พีระ เจริญพร


142

Tier ประกอบไปดวยเงือ่ นไขพืน้ ฐาน 5 เงือ่ นไข คือ (1) การไดรบั คํามัน่ สัญญา จากผูบ ริหารระดับสูงของผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd Tier (2) มีผนู าํ การเปลีย่ นแปลงภาย ในองคกรของผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier (3) จัดตั้งทีมงานที่มีความสามารถ ในการพัฒนารวมกันระหวาง 1st Tier กับ 2nd Tier (4) มีการผลักดันใหมีการ แลกเปลี่ยนขอมูล และ (5) มีการพัฒนาจากระดับงายไปยากเพื่อแสดงให Lower Tier Supplier เห็นถึงผลดีของการพัฒนาตอผลการดําเนินการ ถึงแมวา Lower Tier Supplier ผลิตและจัดสงชิน้ สวนใหบริษทั A แต ก็ไมไดหมายความวาผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier ทุกรายจะไดรับการถายทอด เทคโนโลยี เนือ่ งจากการดําเนินกิจกรรมพัฒนาผูผ ลิตชิน้ สวนตองการความรวม มือและการทําตามคํามั่นสัญญา (Commitment) จากทั้งสองฝายอยางมาก โดยเฉพาะดานบุคลากร ดังนั้นการคัดเลือกผูผลิตชิ้นสวนที่เขารวมโครงการ จึงไมใชเพียงแคการตอบสนองตอการพัฒนาเพียงอยางเดียวแตยงั ถือเปนการ ตัดสินใจทางกลยุทธดวย โดยทั่วไปแลว เกณฑการพิจารณาคัดเลือก Lower Tier Supplier ทีจ่ ะไดรบั ความชวยเหลือจะพิจารณาจาก เงือ่ นไข 4 ประการ คือ ประการแรก มูลคาการจัดซือ้ ชิน้ สวนจากผูผ ลิตรายนัน้ ทัง้ นีม้ ลู คาการ จัดซื้อรวมอาจจะมาจาก ชิ้นสวนไมกี่ชิ้นแตมีปริมาณการซื้อสูงหรือชิ้นสวน หลายรายการแตมปี ริมาณสูงไมสงู มากก็ได การคัดเลือกจึงตองคํานึงถึงผูผ ลิต ชิน้ สวนผลิตชิน้ สวนทีส่ าํ คัญในเชิงกลยุทธแมวา มูลคาการจัดซือ้ รวมไมสงู มาก นักก็ตาม กลาวคือ ชิน้ สวนทีเ่ ปนกลุม ทีผ่ ลิตวัตถุดบิ ทีไ่ มตอ งการกระบวนการ แปรรูป เชน เหล็ก พลาสติก นอต ฯลฯ ผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier ในกลุมนี้ ไมไดผลิตเพือ่ ตอบสนองตออุตสาหกรรมรถยนตเพียงอุตสาหกรรมเดียวแตยงั สงวัตถุดบิ ใหกบั อุตสาหกรรมอืน่ ๆดวย ดังนัน้ ผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier ในกลุม นี้จึงไมตองการเทคโนโลยีการผลิตพิเศษเพื่อการพัฒนากระบวนการแปรรูป ของตัวเอง ทางตรงขาม เปนผูผลิตที่ไมเพียงผลิตวัตถุดิบเทานั้นแตยังตอง แปลงสภาพวัตถุดบิ เหลานีเ้ ปนชิน้ สวนสําหรับรถยนต ซึง่ ผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier กลุมนี้จะไดรับความชวยเหลือถายทอดเทคโนโลยีจาก บริษัท A ประการทีส่ อง ความคาดหวังของระยะเวลาทีจ่ ะรักษาความสัมพันธ ระหวางกัน โดยทั่วไปผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier กําลังพยายามลดจํานวนและ ควบรวมฐานผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier ใหเล็กลงกอนทีจ่ ะดําเนินกิจกรรมพัฒนา Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


143

ผูผลิตชิ้นสวนเพื่อลดคาใชจายที่ไมจําเปน ดังนั้นผูผลิตชิ้นสวนที่คาดวาจะมี ความสัมพันธในทางธุรกิจระยะยาวนาจะไดรับการพิจารณาเปนลําดับตนๆ แตถา ผูผ ลิต Lower Tier นัน้ อยูใ นกลุม ทีส่ ายการผลิตมีความเปนไปไดทจี่ ะถูก ยกเลิกหรือมีการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาในผูผลิตชิ้น สวนเหลานี้อาจจะไมแนนอน กิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน นอกจากนี้การ ชวยเหลือผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ทีอ่ อ นแอในกลุม ยังถูกใชเปนตัวกระตุน ใหเกิด การแขงขันระหวางกลุมผูผลิตชิ้นสวน อันจะสงผลใหเกิดการลดลงของราคา และชวยสรางคุณคาเพิ่มใหกับผูผลิตรถยนตในที่สุด ประการทีส่ าม ประเภทของการดําเนินธุรกิจและกระบวนการผลิตของ ผูผลิตชิ้นสวน เพราะโดยทั่วไปเทคนิคดานวิศวอุตสาหการ (Industrial Engineering) ที่ใชในกิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน สวนใหญจะมีประสิทธิผลมาก กวาสําหรับกระบวนการผลิตทีใ่ ชแรงงานเขมขน (Labor-intensive Assembly Process) มากกวาใชทใี่ ชปจ จัยทุนเขมขน (Capital-intensive) ผลก็คอื กระบวน การผลิตทีใ่ ชแรงงานเขมขนมักจะบรรลุเปาหมายในการลดตนทนไดงา ยกวาใน ระหวางดําเนินกิจกรรมพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน ประการที่สี่ เชนเดียวกับบริษัทญี่ปุนในอุตสาหกรรมยานยนตราย อื่นๆ บริษัท A จะพิจารณาใหความชวยเหลือผูผลิตชิ้นสวน จากการแสดงให เห็นถึงความตัง้ ใจทีจ่ ะพัฒนาความสามารถของตัวเอง โดยเฉพาะจากผูบ ริหาร ระดับสูงเพราะกิจกรรมนี้จําเปนตองมีการลงทุนจากทั้งสองฝาย ฝายผูรับคํา แนะนําเองจําเปนตองดึงพนักงานออกจากการทํางานประจําเปนระยะเวลา หนึง่ หากผูบ ริหารของผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier ไมเห็นความสําคัญ (สามารถ สังเกตไดจากการเขารวมกิจกรรม “กลุมเรียนรูแบบสมัครใจ” (Jishukenkyukai) เชน กิจกรรมการถายทอด Toyota Production System (TPS) หรือ การอบรม ทางบริษัท A ก็จะลดหรือระงับความชวยเหลือกับ Lower Tier Supplier รายนั้น 5.2 การสรางระบบการประเมินผลผูผลิตชิ้นสวน สําหรับการประเมินผลผูผ ลิตชิน้ สวนของบริษทั A จะพิจารณารายการ สําหรับการตรวจสอบประเมินผลผูผลิตชิ้นสวน (Supplier Assessment) มี ดร.พีระ เจริญพร


144

คะแนนประเมินเต็ม 30 คะแนน21 โดยจะประเมินดาน 1) คุณภาพ (Quality) (10.5 คะแนน: Quality Management System; Management Responsibility; Resource Management; Product Realization; Measurement, Analysis, and Improvement) 2) ตนทุน (10.5 คะแนน: Cost Management; Cost Improvement; Continuous Improvement) 3) การจัดสงสินคา (3 คะแนน: Setting Target; Production Control; Delivery Improvement) 4) การบริการจัดการ (4.5 คะแนน: Management Strategy; Internal Rule; Risk Management ) 5) การดูแลความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม (1.5 คะแนน: Environment Management; Safety Management) จากนํ้ําหนักในแบบการ ประเมินแสดงใหเห็นวาผูผ ลิตชิน้ สวน 1st Tier ใหความสําคัญกับดานคุณภาพ และตนทุน จากการสัมภาษณยงั พบวาผูผ ลิตชิน้ สวน 2nd Tier มักจะมีปญ  หาเรือ่ ง การจัดสงสินคาและการบริหาร ในขณะที่ปญหาดานเทคนิคจะไดรับความ ชวยเหลือจากหุน สวนทางธุรกิจ (Strategic Partner) หรือผูท ขี่ ายเทคโนโลยีให อยูแลวจึงไมคอยมีปญหา ในกรณีที่ผลการประเมินไมไดเปนไปตามเปาหมายที่กําหนดไว ทางบริษัท A จะสงทีมวิศวกรเขามาชวยเหลือ อยางไรก็ตามในกรณีที่เทคโน โลยีการผลิตชิ้นสวนนั้นเปนความรูเฉพาะของทางบริษัท MNEs (ญี่ปุน) ที่ เปนผูรวมทุนหรือเปนผูขายเทคโนโลยีใหกับ 2nd Tier รายนั้น ทางบริษัท A ก็ จะขอใหทาง MNEs ดังกลาวเขามาใหความชวยเหลือ สวนวิศวกรของบริษัท A จะเปนผูแนะนําใหความชวยเหลือทางดานเทคนิคการผลิตพื้นฐานทั่วไป เชน การจัดสายการผลิต ระบบ TPS และการบริหารจัดการทั่วไป ในทางตรง ขาม หากผูผ ลิตชิน้ สวนดังกลาวผานการประเมินสามารถเขาเปนสวนหนึง่ ของ Production Network ของบริษัท A ไดก็จะสามารถเขาสูตลาดและคําสั่งซื้อที่ มากขึ้นและมีความเสี่ยงนอยกวาตลาดอะไหลรถยนต การประเมินนีจ้ ะมีทงั้ การประเมินโดยทีมผูเ ชีย่ วชาญจากบริษทั A และการประเมินตัวเอง (Self-check) ของผูผลิต 2nd Tier จากแบบการประเมินเทากับ “1” ในกรณีที่มีการดําเนิน การตามทีบ่ ริษทั A กําหนดไวและมีคา เทากับ “0” ถายังไมสามารถดําเนินการไดตามทีก่ าํ หนด ไว 21

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


145

จากเกณฑการคัดเลือกและประเมินผล 2nd Tier ทีจ่ ะไดรบั ความชวย เหลือที่เขมงวดจากผูผลิต 1st Tier จึงพอที่จะมองเห็นไดวาการที่บริษัท ผูผ ลิตชิน้ สวนไทยทีจ่ ะไดรบั ประโยชนจาการถายทอดเทคโนโลยีจากผูผ ลิตชิน้ สวนฯ MNEs นี้ยังมีโอกาสคอนขางจํากัดเพราะผูที่จะไดรับรับการถายทอด เทคโนโลยีตองสามารถเขามาเปนสวนหนึ่งของ“เครือขาย” ใหไดเสียกอน ซึ่งการที่จะไดรับคัดเลือกนั้น ผูผลิต MNEs จะทําการประเมินความพรอม/ ความสามารถเบื้องตน (Pre-requisites) อยางเขมงวด ทั้งในดานคุณภาพ ตนทุน การสงมอบ ความสามารถทางวิศวกรรมและการบริหารจัดการ (ดู Supplier Assessment) ผูผลิตชิ้นสวนที่ปจจุบันอยูใน Tier 2 หลายรายไมสามารถปฏิบัติ ตามขอเรียกรองที่เพิ่มขึ้นนี้ได ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสรางผูผลิต ชิ้นสวนฯ ในระดับ 2nd Tier โดยถึงแมวาโครงสรางที่ชัดเจนของผูผลิต ชิ้นสวนจะไมมีใครรูแนนอนแตอยางนอยเราสามารถแบงกลุม (ตามความ สามารถในการเชื่ อ มโยงตั ว เองกั บ ห ว งโซ ก ารผลิ ต ชิ้ น ส ว นระดั บ โลก) ของผูผลิตชิ้นสวน 2nd Tier ออกเปน 3 กลุมดวยกัน คือ กลุมแรก เปน กลุ ม ผู ผ ลิ ต ที่ มี ร ะดั บ ความสามารถที่ เ พี ย งพอทั้ ง ในเรื่ อ ง การลดต น ทุ น การควบคุมคุณภาพ ความสามารถในการออกแบบ หรือในบางกรณีมีความ สามารถทีจ่ ะคิดนวัตกรรมออกมาได ผูผ ลิตในกลุม นีส้ ว นใหญจะมีขนาดใหญคอื มีพนักงานมากวา 100 คน และสวนใหญจะเปนผูผ ลิตทีผ่ ลิตสินคาสวนใหญเพือ่ ปอนใหกับอุตสาหกรรมยานยนต ผูผลิตในกลุมนี้จะรวมกิจการที่มีเจาของ เดียวกับผูผลิต 1st Supplier ที่ผลิตชิ้นสวน (Sub Components) ที่สําคัญ และ หลายรายเปนอดีต 1st Suppliersที่ยังคงผลิตชิ้นสวนเดิมแตจัดสงใหกับ 1st Tier ที่ผูผลิตรถยนตใหความเชื่อมั่นในการจัดสงชุดชิ้นสวนที่มีความซับซอน ขึน้ กลุม ทีส่ อง เปนผูผ ลิตทีม่ ขี นาดเล็กลงมา เปนผูผ ลิตชิน้ สวนทีอ่ าจจะมีความ สามารถบางดานที่ไมไดมาตรฐานของการเปนผูผลิต 2nd Tier ที่ผูผลิต 1st Tier กําหนดไว อยางไรก็ตามก็มีเงื่อนไขเบื้องตน (Pre-requisite) เชน การ มีบุคลากรที่มีความสามารถ ฯลฯ สําหรับการปรับปรุงตัวเอง ซึ่งกลุมนี้กําลัง ถูกจับตามองและตองเรงพัฒนาตัวเองภายใตขอเรียกรองของ 1st Tier การ แขงขันระหวางผูผลิต 2nd Tier ที่รุนแรงขึ้น และ กลุมที่สาม เปนผูผลิตที่มี ดร.พีระ เจริญพร


146

ขนาดเล็กลงไปอีกทีน่ อกเหนือจากจะมีผลการดําเนินการทีไ่ มดเี พียงพอแลว ยัง ขาดเงือ่ นไขเบือ้ งตนสําหรับการพัฒนาในดานใดดานหนึง่ หรือมากกวา กลุม นี้ เปนกลุม ผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ทีก่ าํ ลังมีบทบาทนอยลง (ไมไดรบั คําสัง่ ซือ้ เพิม่ ) หรือกําลังจะถูกผลักดันออกไปจากหวงโซการผลิต จากการเปรียบเทียบความแตกตางของลักษณะและพฤติกรรมของ ผูผลิตชิ้นสวนในกลุมที่ 1 และ 2 ที่ประสบผลสําเร็จในการเชื่อมโยงตัวเองกับ เครือขาย MNEs กับผูผ ลิตในกลุม ที่ 3 ทีก่ าํ ลังจะถูกผลักดันออกไปจากหวงโซ การผลิตนัน้ พบวา มีความแตกตางกันอยูห ลายประการ ประการแรก ผูบ ริหาร ของผูผ ลิตชิน้ สวนทีป่ ระสบความสําเร็จเหลานีม้ ที ศั คติทดี่ แี ละเขาใจการดําเนิน ธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนตในระบบญีป่ นุ มีวสิ ยั ทัศนในการทําธุรกิจในระยะยาว เห็นความสําคัญของการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และสวนใหญ เคยมีประสบการณการทํางานกับโรงงานอุตสาหกรรมของญีป่ นุ มากอน ผูผ ลิต ชิน้ สวนเหลานีส้ ว นใหญเปนกิจการทีด่ าํ เนินธุรกิจมานานเปนทุนอุตสาหกรรม ไมใชทุนพาณิชย การมีประสบการณทํางานรวมกับบริษัทญี่ปุน การมีความเขาใจ ในระบบการทํางานแบบญี่ปุนรวมทั้งทัศนคติของผูบริหารตอการพัฒนา เทคโนโลยีนี้ เปนปจจัยสําคัญตอการเชื่อมโยงตัวเองกับหวงโซการผลิต ของ MNEs ญี่ปุน ซึ่งจากการสํารวจพบวา ผูผลิตชิ้นสวนไทยหลายราย ไม เ ข า ใจว า ผู ซื้ อ ชิ้ น ส ว น 1 st Tier นั้ น ต อ งระวั ง เรื่ อ งความเสี่ ย งที่ จ ะส ง ของที่ มี คุ ณ ภาพไม ไ ด ต ามเวลาที่ กํ า หนดที่ ผู ผ ลิ ต รถยนต ร ะบุ ไ ว และ ยั ง ต อ งรั บ ผิ ด ชอบต อ ความเสี ย หายจากข อ บกพร อ งชิ้ น ส ว นที่ เ กิ ด ขึ้ น ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นของไทยที่ ไ ม ป ระสบควาสํ า เร็ จ มั ก มองว า ผู ซื้ อ ชาวญี่ ปุ น มี เ งื่ อ นไขเยอะ เช น ต อ งมี ก ารตรวจสอบคุ ณ ภาพ การจั ด ส ง ต อ งทํ า หลายรอบ การตองเปดเผยขอมูลดานตนทุน ตอง Up Grade เครื่องจักร ตองไดมาตรฐานการผลิตสากล ตองมีแผนการพัฒนาดานตางๆ ตองเขา รวมกิจกรรมการพัฒนาตางๆ ที่ MNEs จัด เปนตน ทําใหผูผลิตชิ้นสวนไทย บางรายไมลงทุนปจจัยพื้นฐานสําคัญสําหรับการพัฒนาความสามารถเหลานี้ สวนทางผูซื้อชิ้นสวนญี่ปุนก็เห็นวาผูผลิตชิ้นสวนไทยกลุมนี้ไมมีความตั้งใจ ไมกลาที่จะลงทุนที่จะพัฒนาตัวเอง Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


147

อยางไรก็ตาม การทีผ่ ผู ลิตชิน้ สวนไทย Lower Tier ไมกลาทีจ่ ะลงทุนนัน้ สวนหนึ่งอาจเปนเพราะความไมแนนอนของความสัมพันธระหวางผูผลิต รถยนต กั บ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น 1 st Tier เนื่ อ งจากผู ผ ลิ ต รถยนต พ ยายาม ที่ จ ะผลั ก ภาระให ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น 1 st Tier ให มี ส ว นร ว มในการออกแบบ พั ฒ นาชิ้ น ส ว นตั้ ง แต ต น มากขึ้ น แม ยั ง ไม ไ ด มี ก ารยื น ยั น คํ า สั่ ง ซื้ อ อี ก ทั้ ง ยังมีการปรับเปลี่ยน model รถยนตระหวางที่ทําการพัฒนาชิ้นสวน สิ่งตางๆ เหล า นี้ ทํ า ให เ กิ ด เกิ ด ต น ทุ น แอบแฝงในกระบวนการออกแบบและความ ไมแนนอนในผลิตและสั่งซื้อในผูผลิตระดับ 1st Tier ซึ่งความไมแนนอน ในความสัมพันธระหวางผูผลิตรถยนตกับ 1st Tier นี้ก็ถูกสงผานมายังผูผลิต ชิ้นสวน Lower Tier ดวยทําใหผูผลิต Lower Tier ตัดสินใจที่ลงทุนในการ เพิ่มความสามารถในการผลิตไดยากขึ้นเพราะตองตัดสินใจลงทุนพัฒนากอน ที่จะไดรับคําสั่งซื้อจาก 1st Tier ผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier นั้นจะไดรับผลตอบแทนจากการลงทุน พัฒนากลับคือเมื่อไดรับคําสั่งซื้อจากผูผลิต 1st Tier โดยหารเฉลี่ยตนทุนคา พัฒนาเทคโนโลยีตอ ชิน้ งาน (Piece Price) แทน แตในบางครัง้ ทีผ่ ผู ลิตรถยนต มียอดผลิตที่ตํ่าหรือมีการเลื่อนการผลิตออกไป ทําใหเกิดความเสี่ยงที่ผูผลิต Lower Tier Supplier ตองชวยแบกรับ ซึง่ อาจจะไมคมุ คาทางการเงินหรือในบาง กรณีผผู ลิตชิน้ สวน Lower Tier เหลานีเ้ หมือนถูกบังคับในลงทุนพัฒนาเทคโน โลยีสําหรับการผลิตชิ้นสวนที่ไมเคยไดรับคําสั่งซื้อ ดวยเหตุนี้ที่ทําใหหลาย ครั้งผูผลิต 1st Tier (รวมทั้งบริษัท A) ตองตัดสินใจจัดซื้อโดยไมไดอิงกับระดับ ความสามารถทางเทคโนโลยีหรือตนทุน (ราคา) ของผูผลิต Lower Tier แต พิจารณาจากความเต็มใจที่จะลงทุนลวงหนา (Up-front Investment) แทน จากการสัมภาษณผูบริหารระดับสูงของบริษัท A พบวา เพื่อแกไข ปญหานี้การสรางความเชื่อใจ (Trust) เปนเรื่องสําคัญซึ่งเรื่องนี้ตองใชระยะ เวลา โดยการคัดเลือก Lower Tier Supplier จะดูจากผลการทํางานในอดีตที่ ผานมา ทั้งนี้ผูผลิตชิ้นสวนจะสามารถพัฒนาความรูเฉพาะตัวลูกคา (Customer-specific Know-how) และเทคโนโลยีเฉพาะ (Contract-specific Technologies) ผานการเรียนรูแ ละประสบการณการทําธุรกิจรวมกันอยางใกลชดิ กับ ลูกคา เปนระยะเวลาที่ยาวนาน ความสัมพันธระยะยาวทําใหผูผลิตชิ้นสวน ดร.พีระ เจริญพร


148

สามารถคาดการณคาํ สัง่ ซือ้ ไดดขี นึ้ และชวยผลักดันใหเกิดนวัตกรรมเพราะชวย ลดขอกังวลกับตนทุนจมของการพัฒนาและเมื่อผูผลิตชิ้นสวนเหลานี้พัฒนา ความสามารถไปเรื่อยๆ ก็สามารถพัฒนาเปนผูผลิต OEM ได และเมื่อได สัมภาษณทางผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier สวนใหญกเ็ ห็นดวยกับความคิดเห็นนี้ ประการที่สอง ผูผลิตชิ้นสวนที่ประสบความสําเร็จเหลานี้สวนใหญ มีกระบวนการที่ชัดเจนในทํางานรวมกับผูผลิต 1st Tier เชน มีการตั้งทีมงาน หรือหนวยงานที่จะรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาความสามารถเทคนิคอยาง ชัดเจน โดยสวนใหญแลวเจาของกิจการจะเขามาดูแลอยางใกลชิด รวมทั้ง มี ก ารตั้ ง งบประมาณ มี ก ารมอบหมายให ช า งที่ มี ฝ มื อ เข า มารั บ ผิ ด ชอบ แมวาจะตองเสียชางที่มีฝมือออกจากสายการผลิตในชวงที่มีกิจกรรมพัฒนา ก็ตาม นอกจากนี้ผูผลิตชิ้นสวนเหลานี้มักมีแผนยุทธศาสตรในการพัฒนา ความรูและทรัพยากรมนุษยในกิจการอยางเปนระบบโดยเฉพาะดานแรงงาน ซึ่งเปนชองทางหนึ่งที่ MNEs จะสงเทคโนโลยีตางๆ ผานมายังผูผลิตภายใน ประเทศไดและทักษะฝมือแรงงานในอุตสาหกรรมรถยนตและชิ้นสวน สวน ใหญเปนความรูที่สะสมจากการไดปฏิบัติจริงในโรงงาน (Tacit Knowledge) และตองใชเวลา ดังนั้นผูบริหารในบริษัทผลิตชิ้นสวนที่ประสบความสําเร็จใน การผนวกกับเครือขายของ MNEs สวนใหญจะมีความชัดเจนในการสงเสริม พัฒนาความรู เชน มีการจัดระบบและรวบรวมความรูท างดานเทคนิคทีจ่ าํ เปน ในการผลิตจากแหลงความรูตางๆ (Codifying Knowledge) และใหการสนับ สนุนพนักงานในการพัฒนาตัวเอง มีการกําหนดคาตอบแทนที่สอดคลองกับ ความสามารถ (Competency)22

ประเด็นนี้สอดคลองกับปญหาที่เกิดขึ้นในการถายทอดรับและรับความชวยเหลือของ 2 Tier จาก 1st Tier ที่ Vorasowharid (2007) พบวา อุปสรรคสําคัญคือ การขาดความ กระตือรือรนของผูบริการ และการขาดแคลนทรัพยากรมนุษย ซึ่งเปนปญหาหลักของ 2nd Tier ของไทย กลาวคือ แรงงานสวนใหญตองการไปทํางานในกิจการที่มีขนาดใหญกวา เนื่องจากมีเสนทางอาชีพ (Career path) ที่ชัดเจนกวา สวัสดิการดีกวา 22

nd

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


149

อยางไรก็ตาม เรื่องของคาตอบแทนนี้ ผูผลิตชิ้นสวนที่อยูในระดับ (Tier) ที่ตํ่ากวาก็จะมีความเสียเปรียบผูผลิตที่สูงกวาทําใหมีการไหลของ คนเกงจาก Lower Tier ไปสู Tier ที่สูงกวาและไปจนถึงผูผลิตรถยนต ดังนั้นผูบริหารของ Lower Tier ตองหามาตรการตางๆในการดึงดูดพนักงาน เกงเอาไว รวมทั้งการตั้งเงินเดือนใหไมแตกตางจาก Upper Tier มากนัก ซึ่ง ในเรื่องนี้จะทําไดก็ตอเมื่อผูผลิตชิ้นสวนมีการพัฒนาผลิตภาพ รวมทั้งมีการ สรางมูลคาเพิม่ ในการกระบวนการผลิตมากขึน้ เทานัน้ หรืออีกนัยหนึง่ ผูผ ลิต Lower Tier ทีเ่ ลือกการรับจางผลิตเพียงเดียวโดยไมสนใจการพัฒนาผลิตภาพ และมูลคาเพิ่มจะประสบกับปญหาเรื่องการขาดแคลนกําลังคนเหลานี้เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ประการที่สาม ผูผลิตชิ้นสวนที่ประสบความสําเร็จเหลานี้มีการ พัฒนาความสามารถทางการผลิตกับมูลคาเพิม่ ของผลิตภัณฑ (Value Added of Product) สําหรับผูผลิตชิ้นสวนนั้นหากไมสามารถทําตามความตองการ ของผู ซื้ อ ในเรื่ อ งต น ทุ น คุ ณ ภาพและการจั ด ส ง สิ น ค า ก็ จ ะทํ า ให โ อกาส ที่จะไดรับงานชิ้นใหมที่มีมูลคาเพิ่มสูงก็จะลดลงแตประสิทธิภาพการผลิต อย า งเดี ย วก็ ไ ม เ พี ย งพอที่ จ ะดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ในระยะยาวได เพราะถ า ผูผลิตชิ้นสวนไมสามารถผลิตชิ้นสวนใหมไดก็จะไมมีเงินเพียงพอ ชิ้นสวน ที่ มี มู ล ค า เพิ่ ม สู ง มี ค วามจํ า เป น เพราะมั น ช ว ยทํ า ให ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นมี กํ า ไร เพิ่มขึ้นและนํากําไรเหลานี้กลับมาพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองตอไป ดังนั้น การที่ผูผลิตมีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑใหมจึงเปนเงื่อนไข สํ า คั ญ ในการคั ด เลื อ กและประเมิ น ผลผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น 23 และทํ า ให ผู ผ ลิ ต สามารถเขาเปนสวนหนึ่งของหวงโซการผลิตได

การศึกษาของ Sirikrai (2008) พบวาปจจัยทีก่ าํ หนดความสามารถในการแขงขันทีส่ าํ คัญ ก็ คื อ ความสามารถของผู บ ริ ห ารระดั บ สู ง นโยบายการจั ด ซื้ อ ของผู ผ ลิ ต รถยนต ความสามารถในการพัฒนากระบวนการผลิต อํานาจตอรองกับผูซื้อ ความสามารถ ในการพัฒนาผลิตภัณฑใหม การเขาถึงเทคโนโลยีใหม ความสามารถในการปรับปรุงผลิต ภัณฑ ระบบการบริหารที่เปนระบบและทรัพยากรมนุษย ตามลําดับ

23

ดร.พีระ เจริญพร


150

กรณีศึกษาของบริษัท A นี้ทําใหเห็นวา กระบวนการ “Rationalization” จํานวนผูผ ลิต 2nd Tier ในหวงโซการผลิตไมสามารถสําเร็จไดจากการคัด เลือกผูผลิตชิ้นสวน Lower Tier ที่เหมาะสมเพียงอยางเดียวแตยังตองมี การ ดําเนินการชวยเหลือ (โดยเฉพาะอยางยิง่ ดานการบริหาร) เพือ่ ทีเ่ พิม่ ขีดความ สามารถทางการแขงขัน พัฒนาผลิตภาพและผลการดําเนินการของผูผลิต ชิน้ สวนเหลานีด้ ว ย เพราะภายใตการแขงขันของอุตสาหกรรมทีเ่ พิม่ ขึน้ ทําให แรงกดดันการแขงขันนีส้ ง ไปยังทุกระดับของการผลิต ซึง่ จะเปนแรงผลักดันใน ผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier ที่เปน MNEs จะพยายามสรางความสัมพันธระยะยาว และทุมเททรัพยากรในการพัฒนาผลิตภาพการผลิตใหสูงขึ้น การที่ Lower Tier Supplier จะไดโอกาสในการไดรับเทคโนโลยีจาก ผูผ ลิตรถยนตจะขึน้ อยูก บั รูปแบบของารพัฒนาความเชือ่ มโยงของทัง้ สองฝาย โดยมีความสามารถทางการผลิตทางเทคโนโลยีเปนตัวกําหนดความสามารถ ในการผนวกตัวเองเขากับหวงโซการผลิตระดับโลกที่สําคัญ อยางในงานวิจัย หลายชิ้นกอนหนานี้ (e.g. Bell et al. 1984; Eveson and Westphal, 1995; Moran, 2001; Kohpaiboon, 2007) ผูผ ลิตชิน้ สวนไทยตองกลาทีจ่ ะลงทุนเพือ่ พัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีอนั เปรียบเสมือนใบเบิกทาง (หรือPrerequisite) ในการเขาถึงการไดรบั ประโยชนจากการผนวกเขาสูห ว งโซการผลิต ระดับโลก (ไดรับ Backward Linkage Spillover) นอกจากนี้การพัฒนาความ สามารถในการสรางมูลคาเพิม่ และการปรับเปลีย่ นทัศนคติของผูบ ริหารระดับ สูงที่มีตอการดําเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก็มีความสําคัญมากเชนกัน ผูผลิตชิ้นสวนของไทยจําเปนตองพัฒนาตัวเองและพยายามรักษา คําสัง่ ซือ้ ใหได แมวา จะเปนเพียงผูผ ลิตชิน้ สวนในระดับ 2nd Tier เพือ่ ทีจ่ ะมีโอกาส ไดรบั ประโยชนจากเครือขายนี้ เพราะเปนทีเ่ ชือ่ ไดวา การพัฒนาแบบเครือขาย นี้จะขยายวงกวางมากขึ้นจาก ความเชื่อมโยงระหวางผูผลิตรถยนตกับผูผลิต ชิน้ สวนในระดับ 1stTier มาครอบคลุมถึง ความเชือ่ มโยงระหวางผูผ ลิตชิน้ สวน ในระดับ 1st Tier กับ 2nd Tier ดวย และเชื่อไดวาในอนาคตอุตสาหกรรมผลิต ชิน้ สวนรถยนตจะมีการแขงขันทีร่ นุ แรงขึน้ จากโครงสรางอุตสาหกรรมทีผ่ อม (Lean) มากขึ้น มีการกระจุกตัวของคําสั่งซื้อ มากขึ้นปริมาณคําสั่งซื้อที่มาก ขึน้ การเพิม่ ขึน้ ของกิจกรรมการวิจยั และพัฒนารถยนตและชิน้ สวนของผูผ ลิต Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


151

รถยนตและผูผลิตชิ้นสวน MNEs ในฐานการผลิตในประเทศไทยในชวงไมกี่ป มานี้ นาจะทําใหมคี วามตืน่ ตัวในการสรางความสัมพันธระหวางผูผ ลิตชิน้ สวน MNEs กับผูผลิตชิ้นสวนไทย เชนเดียวกับกรณีของ บริษัท A มากขึ้น

ดร.พีระ เจริญพร


152

6 บทสรุปและขอเสนอแนะเชิงนโยบาย

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


153

กระบวนการ “Rationalization” ส ง ผลกระทบต อ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น 2 nd Tier ในหวงโซการผลิต ในดานหนึ่งนั้นมันทําใหกําจัดกิจการที่มีผลการ ดําเนินการไมดีออกไปจากหวงโซการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนตและ ชิน้ สวน ในขณะเดียวกัน ภายใต Natural Backward Linkage ผูผ ลิตรถยนตและ ผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier ที่เปน MNEs จะเขาไปมีสวนรวมในการผลิต การใหคํา แนะนําและการจัดอบรมตางๆ เพือ่ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของผูผ ลิตชิน้ สวน Lower Tier ทองถิน่ ทีย่ งั เหลืออยูใ นหวงโซการผลิตเพิม่ ขึน้ มาก ความรวม มือดังกลาวเกิดขึ้นในลักษณะการติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ การลดตนทุน ถึงแมภาวะการแขงขันเชนนีท้ าํ ใหเปนเรือ่ งยากทีจ่ ะมีผผู ลิตชิน้ สวนรายใหมเขามา แตผูผลิตชิ้นสวนไทยไดรับประโยชนจากการเขามาของ MNEs เหลานีโ้ ดยการเชือ่ มโยงตัวเองเขากับเครือขายการผลิตระดับประเทศ โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตรวมทัง้ ตองพยายามสรางมูลคาเพิม่ ของ ตัวเองมากขึ้น ผูผลิตชิ้นสวนไทยตองพยายามยืนยันคํามั่นสัญญาระยะยาว (Long-term Commitment) และแสดงใหเห็นถึงความตัง้ ใจทีจ่ ะทุม เททรัพยากร (Devoted Real Resources) เพือ่ สรางเงือ่ นไขเบือ้ งตน (Pre-Requisite) ในเชือ่ ม ดร.พีระ เจริญพร


154

โยงตัวเองเขากับเครือขายการผลิตของ MNEs เหลานี้และนําไปสูการพัฒนา ประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการแขงขันในอนาคต การพบความเชื่อมโยงระหวางผูผลิตชิ้นสวน 1st Tier กับ 2nd Tier ใน การศึกษาครัง้ นีช้ ว ยยืนยันแนวคิดในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตรวา การเปนสวน หนึง่ ของเครือขายผูผ ลิตชิน้ สวนของ MNEs เปนชองทางการไดรบั เทคโนโลยี (Backward Linkage Spillover) และยังทําใหเห็นวาการเปนผูผ ลิตชิน้ สวนระดับ 2nd Tier ก็สามารถทีจ่ ะไดรบั ประโยชนจากการเขาไปมีสว นในเครือขายการผลิต ของบริษทั รถยนตและชิน้ สวน MNEs การเชือ่ มโยงในลักษณะดังกลาวนาจะเปน สิ่งที่สมเหตุสมผลสําหรับผูผลิตชิ้นสวนไทย โดยเฉพาะ Lower Tier Supplier ซึง่ สวนใหญเปน SMEs ทีย่ งั มีความจํากัดทางดานเทคโนโลยีการผลิตและเงิน ทุน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ FDI ในอุตสาหกรรมชิ้นสวนจึงไมไดหมายความวา อุตสาหกรรมรถยนตและชิ้นสวนของไทยจะถูกครอบงําโดย MNEs และทําให ผูป ระกอบการคนไทยไมไดอะไรเลยนอกจากคาแรง แตแสดงถึงการเพิม่ ขึน้ ของ การมีสวนรวมของ MNEs ที่มีตออุตสาหกรรมชิ้นสวน24 อยางไรก็ตาม ถึงแม MNEs มีความสนใจที่จะจัดซื้อชิ้นสวนและ พัฒนาผูผลิตชิ้นสวนในประเทศไทยมากขึ้น แตความพยายามในการพัฒนา ดั ง กล า วไม ไ ด ค รอบคลุ ม ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นทุ ก ราย MNEs มี แ นวโน ม ที่ จ ะ มุ ง เน น การพั ฒ นาไปที่ ผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว นที่ มี ค วามสํ า คั ญ ทางกลยุ ท ธ เ ท า นั้ น นอกจากนี้ความเขมขนของ Backward Linkage Spillover ก็ขึ้นอยูกับระดับ การพัฒนาของประเทศและระดับความสามารถทางเทคโนโลยีและการบริหาร ของผูประกอบการทองถิ่นกับ MNEs ไมแตกตางกันมากนัก ดังนั้นภาครัฐ สามารถเขามามีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนความเชื่อมโยงนี้ได โดยการ เขาไปแกไขความลมเหลวของกลไกตลาดในกระบวนการสรางความเชือ่ มโยง อยางไรก็ตาม ขนาด (magnitude) มูลคาการไหลเขาของ FDI ไมใชตัวประมาณการ ที่ดีของ vertical FDI Spillover แตคุณภาพของ backward linkage spillover ตางหาก ที่เปนตัวบงชี้ที่สําคัญ ทั้งนี้สําหรับเรื่องชองทางการเชื่อมโยง คุณภาพของ backward linkage ที่ถูกผลักดัน ดวยเหตุผลทางเศรษฐศาสตรและความสามารถของผูผลิตชิ้นสวนฯ ทองถิ่นนั้นมีความสําคัญกวา policy-induced linkage (Kohpaiboon, 2007) 24

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


155

ตรงนี้ได เชน การปด “Information Gap” โดยการจัดหาขอมูลผูผลิตชิ้นสวน ทีม่ อี ยูใ นทองถิน่ เพือ่ สรางโอกาสใหการทํางานรวมกันเกิดขึน้ หรือ การปด “Capability Gap” ระหวางระดับความสามารถที่ทางผูซื้อตองการกับระดับความ สามารถที่ผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นมีอยูโดยการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การฝกอบรม การจัดหาศูนยวจิ ยั /ศูนยการทดสอบ ฯลฯ ซึง่ การดําเนินการเหลา นี้จะชวยเพิ่มผลประโยชนและลดตนทุนในการทํางานรวมกับผูผลิตชิ้นสวน ทองถิน่ ชวยเพิม่ ความเชือ่ มโยงใหเกิดขึน้ ไดทงั้ จากความสัมพันธทเี่ กิดขึน้ ใหม และการยกระดับความเชื่อมโยงที่มีอยูเดิมใหมากขึ้น ในหลายประเทศไดมกี ารดําเนินการสรางความเชือ่ มโยงกับเครือขาย ผูผ ลิตชิน้ สวน MNEs ระดับโลก ตัวอยางเชน ‘National Linkage Programme’ ในประเทศไอรแลนด หรือ ‘Local Industry Upgrading Programme’ ใน ประเทศสิงคโปร มาเลเซีย และ สโลวาเนีย ซึ่งพบวามีมาตรการหลักๆ 4 มาตรการคือ 2) การเก็บรวบรวมและเผยแพรขอ มูลของผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ 2) การตัง้ โครงการ/กิจกรรมในการจับคูผ ซู อื้ และผูข าย 3) โครงการทีจ่ ะพัฒนา ความสามารถในการแขงขันของผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่น และ 4) มาตรการ ที่ จ ะพั ฒ นาเสริ ม สร า งเทคโนโลยี แ ละทรั พ ยากรมนุ ษ ย ข องผู ผ ลิ ต ชิ้ น ส ว น ทองถิ่นอาจสงผลดีตอผูผลิตฯ อยางไรก็ตาม มาตรการเหลานี้ก็มีตนทุนที่สูง และต อ งการดํ า เนิ น งานที่ มี ค วามซั บ ซ อ นและไม ไ ด มี ผ ลต อ รู ป แบบการ จัดซือ้ ของผูผ ลิตชิน้ สวน MNEs อยางมีนยั สําคัญ25 (ดู UNCTAD, 2001; Bucar et al., 2009) สําหรับประเทศไทยในชวงคริสตทศวรรษที่ 1990 มีการดําเนิน นโยบายทีจ่ ะดึงดูด MNEs และนโยบายสงเสริมความเชือ่ มโยงแนวตัง้ และบาง เชน การเก็บรวบรวมเผยแพรขอ มูลไมคอ ยมีผลตอการจัดซือ้ ของ MNEs เพราะ MNEs จะ ใชฐานขอมูลผูผลิตชิ้นสวนของตัวเอง เชนเดียวกับกิจกรรมจับคูและโครงการพัฒนาความ สามารถทางเทคโนโลยีของผูผลิตชิ้นสวนฯที่มีความสําคัญของการเพิ่มความเชื่อมโยงไม มากนักและยังมีหลายมาตรการอืน่ ๆทีน่ า จะผลักดันเพือ่ เพิม่ ความเชือ่ มโยงไมวา จะเปนการ ชีใ้ หผปู ระกอบการทองถิน่ เห็นถึงความขาดแคลนความสามารถทางเทคโนโลยการสนับสนุน ความรวมมือระหวางภาคธุรกิจและภาครัฐโดยเฉพาะดาน R&D กับภาคเอกชน เปนตน 25

ดร.พีระ เจริญพร


156

มาตรการก็ชวยเปดโอกาสใหกับผูผลิตชิ้นสวน การสนับสนุน backward linkage และการพัฒนาผูผ ลิตชิน้ สวนทีส่ ว นใหญเปน SMEs ไดถกู ผนวกเขากับกับ การวางแผนพัฒนาประเทศและถูกนําไปปฏิบัติโดยหนวยงานหลักดานการ พัฒนาอุตสาหกรรม26 คือ สํานักงานคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน27 (หรือ BOI) และกระทรวงอุตสาหกรรม ในชวงตนคริสตทศวรรษที่ 1990s อยางไรก็ตามถึง แมวานโยบายการสรางความเชื่อมโยงและพัฒนาผูผลิตชิ้นสวนของไทยจะมี หลายมาตรการแตการสรางความรวมมือระหวางหนวยงานและการปฏิบตั กิ าร กลับไมมปี ระสิทธิภาพ เนือ่ งจากขอจํากัดทางดานสถาบันและการเมือง ทําให ความเชือ่ มโยงและการพัฒนาผูผ ลิตชิน้ สวนไมเกิดขึน้ อยางมีประสิทธิภาพใน BOI ไดดาํ เนินมาตรการสรางความเชือ่ มโยงผาน หนวยพัฒนาการเชือ่ มโยงอุตสาหกรรม (ฺBOI Unit for Industrial Linkage Development: BUILD) เริ่มในป 2535 แตเมื่อมีการเริ่ม ดําเนินการจริงขอบเขตการทํางานก็ถูกทําใหแคบลง เมื่อแรกเริ่มโครงการนี้ตองการสราง ความเชือ่ มโยงระหวางผูผ ลิตชิน้ สวนฯทองถิน่ กับผูผ ลิตรถยนตตา งชาติ ภายหลังนโยบาย กลับเนนที่เปนการกระตุนผูผลิตชิ้นสวนฯญี่ปุนใหยายฐานการผลิตตามผูผลิตรถยนตเขา มาในประเทศไทย (Follow Sourcing) (ดู Lauridson, 2004) 27 ชวงกอนวิกฤตเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรมไมเคยมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการ พัฒนาผูผลิตชิ้นสวนฯ กรมสงเสริมอุตสาหกรรมไดรับการสนับสนุนในการดําเนินการจาก นโยบาย “Extended Industrial Policy” จากรัฐบาลญี่ปุนจนในที่สุดสามารถทําแผนแม บทการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนขึน้ มาได อยางไรก็ตาม แผนแมแมบทดังกลาวกลับได รับการจัดสรรงบประมาณการดําเนินงานจึงมีขอ จํากัด ตอมาดวยแรงกดดันจากวิกฤตเศรษฐ กิจป 2540 แผนการพัฒนาผูผลิตชิ้นสวน จึงถูกผลักดันอีกครั้งภายใตแผนแมบทพัฒนาผู ประกอบการ SMEs โดยการใชเงินกูย มื Miyazawa ภายใตการดูแลจากคณะทีป่ รึกษาชาว ญี่ปุน (ดู Lauridson, 2004) 28 Lauridson (2004) ใหเหตุผลไวคอื (1) นโยบายการสรางความเชือ่ มโยงและพัฒนา SMEs มักไมคอ ยการสนับสนุนจากนโยบายทีเ่ กีย่ วขอดานอืน่ ๆ เชน การสรางความสัมพันธระหวาง ผูผลิตกับศูนยวิจัย หรือมาตรการทางดานภาษีศุลกากรที่จะชวยสรางความเชื่อมโยงจาก การใชวตั ถุดบิ ในประเทศ (2) การไมไดรบั การสนับสนุนทางการเมืองระดับสูงในการผลักดัน มาตรการ (3) มีความขัดแยงระหวางกระทรวง ขาดความเปนอิสระในการดําเนินการและ ขาดหนวยงานประสานงานกลาง และ (4) การขาดแคลนสถาบันที่เปนตัวกลางเชื่อมโยง ระหวางภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอยางยิ่งสภาอุตสาหกรรมแหง ประเทศไทยที่มักเปนตัวแทนของผูประกอบการขนาดใหญมากกวา SMEs 26

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


157

ประเทศไทยในชวงคริสตทศวรรษที่ 199028 (ดู Lauridsen, 2004) จากประสบการณของตางประเทศที่ประสบความสําเร็จในการสราง ความเชื่อมโยงกับเครือขายผูผลิตชิ้นสวน MNEs ระดับโลก พบวามาตรการ ทีม่ คี วามสําคัญมากทีส่ ดุ คือ การเสริมสรางความสามารถของผูผ ลิตชิน้ สวนฯ ในดานการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากร (ดู UNCTAD, 2001; Bucar et al., 2009) เพราะการพัฒนาความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีจะทําให ผูผ ลิตชิน้ สวนภายในประเทศโดยเฉพาะกลุม ผูผ ลิตชิน้ สวน SMEs มีศกั ยภาพ เพียงพอที่จะยกระดับการผลิตใหทันกับเทคโนโลยีและความตองการของ MNEs ดังนัน้ ประเทศไทยควรมีการเตรียมแรงงานภายในประเทศ ทัง้ ในระดับ วิศวกรและชางเทคนิคใหเพียงพอทีจ่ ะอํานวยความสะดวกในการยกระดับการ ผลิตรถยนตและชิ้นสวนภายในประเทศ ปญหาหนึง่ ของการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคคลากรก็คอื ปญหาความ ไมสมบูรณของกลไกตลาด เพือ่ แกไขปญหาดังกลาวไดดาํ เนินโครงการพัฒนา บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต (AHRDP) โดยเปนความรวมมือจาก 4 ภาคสวนหลัก คือ ภาครัฐบาลไทย ภาครัฐบาลญี่ปุน ภาคเอกชนไทย และภาคเอกชนญี่ปุน มีหลักในการทํางานเปนหุนสวนที่เทาเทียมกัน (Consortium) ทั้งนี้การดําเนินโครงการ AHRDP ทําใหเราเห็นชัดเจนวาผูผลิตใน อุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวนสวนใหญทั้ง 1st Tier และ Lower Tier ยินดีที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาตัวเอง อยางไรก็ตาม การดําเนินการสวนใหญยัง อยูใ นระดับความรูพ นื้ ฐานสําหรับการผลิต เพราะรัฐบาลมุง เนนทีจ่ ะชวยเหลือ ผูผ ลิตชิน้ สวนทองถิน่ ใหทวั่ ถึงกัน (ฺBig Push Strategy) แตจากการศึกษาครัง้ นี้ ทําใหเห็นวา การที่จะเชื่อมโยงกับ MNEs นั้นตองมีความพรอมพื้นฐาน (Prerequisite) สําหรับการพัฒนาในระดับหนึ่ง ดังนั้นการดําเนินโครงการในระยะ ตอไปควรไปไกลเกินกวาการพัฒนาทักษะพื้นฐานหรือการควบคุมคุณภาพ แตควรจะครอบคลุมประเด็นที่เปนที่ตองการของผูผลิตระดับ 2nd – 3rd Tier ที่มีศักยภาพและมีความพรอมที่จะเชื่อมโยงตัวเองเขาสูหวงโซการผลิต ของ MNEs (กลุมที่ 1 และ 2) เชน การออกแบบแมพิมพและผลิตภัณฑ วิ ศ วกรรมการผลิ ต วั ส ดุ ศ าสตร เป น ต น ความสํ า เร็ จ ของผู ผ ลิ ต ชิ้นสวนเหลานี้ก็จะเปนตัวอยางใหผูผลิตรายอื่นๆ ตอไป ทั้งนี้รัฐบาลตองกลา ดร.พีระ เจริญพร


158

ที่จะลงทุนในการพัฒนาเรื่องดังกลาว เพราะการพัฒนาในระดับนี้จะยากขึ้น นอกจากนี้ ปจจุบันประเทศไทยไดกลายเปนศูนยกลางการผลิตเพื่อ การสงออกของยานยนตและชิน้ สวนของภูมภิ าค เรือ่ งมาตรฐานสินคาตามกฎ ระเบียบตางๆ เปนเรื่องสําคัญมากขึ้น ดังนั้นการเตรียมความพรอมในเรื่อง การตรวจสอบมาตรฐานและการสรางศูนยทดสอบ (Testing Center) กลาย เปนสิ่งจําเปนสําหรับการสงเสริมความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีเพื่อ สงเสริมความเชื่อมโยงกับกับเครือขายการผลิตของ MNEs การทํากิจกรรม R&D นั้นจะไปหวังพึ่งตางประเทศไมได เพราะเรื่องความลับทางเทคโนโลยี สําคัญมาก ซึ่งเมื่อมีกิจกรรม R&D เพื่อพัฒนาชิ้นสวนในประเทศไทยแลว การพัฒนาเทคโนโลยีดา นตางๆ รวมทัง้ โอกาสทางธุรกิจก็จะตามมา รัฐตองกลา ลงทุนอยาคิดวาเปนเรือ่ งของเอกชนหรือเปนการชวยเหลือ MNEs แตเปนการ สนับสนุนใหผูประกอบการทองถิ่นไดรับประโยชนจากการเขามาของ MNEs เหลานี้ ที่สําคัญนโยบายเหลานี้ดังกลาวจําเปนตองมีการดําเนินการอยาง ต อ เนื่ อ งและมี ก ารเตรี ย มการล ว งหน า เพื่ อ ให  ไ ทยสามารถเก็ บ เกี่ ย วผล ประโยชนจากการเปนสวนหนึ่งของเครือขายการผลิตระดับโลกอยางเต็มที่

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


159

¦¼ ¸É 1: ¡´ µ µ¦ ° Ã¥ µ¥£µ ¦´ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ °» ­µ® ¦¦¤¥µ ¥ r¨³ · Ê ­nª ¥µ ¥ r ° ¦³Á «Å ¥

ดร.พีระ เจริญพร


160 ¦¼ ¸É 2: µ¦¨ » à ¥ ¦ µ nµ ¦³Á «Ä °» ­µ® ¦¦¤Á ¦º°É ´ ¦Â¨³°» ¦ r ­n Á ¦¸¥ Á ¸¥ ´ °» ­µ® ¦¦¤Ã ¥¦ª¤ јҖѥьѯўіѨ ѕр ѝўіѤуѢ

%

1,600

50 45

1,400

40 1,200

35

1,000

30 25

800

20 600

15

400

10 5

200

0 0

Ͳ5

Ͳ200

Ͳ10 ѯзіѪѷѠклѤдіѰјѣѠѫюдіцҙеьѝҕк

ѝѤчѝҕњьеѠкѠѫшѝѥўдіієѯзіѪѠ ѷ клѤдіѰјѣѠѫюдіцҙеьѝҕкшҕѠѠѫшѝѥўдіієѱчѕіњє

¸É¤µ: µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย

юҍ з.ћ.


161 ¦¼ ¸É 3: ­´ ­nª ¤¼¨ nµ µ¦ εÁ oµ ( ¸É o ¦· ) · Ê ­nª εÁ oµ n° ε ª ¦ ¥ r ¸É ¨· £µ¥Ä ¦³Á « ° ¦³Á « ε¨´ ¡´ µ nµ Ç (¡´ Á®¦¸¥ ­®¦´ ² n° ´ ), 2540-2549

Kohpaiboon (Forthcoming) à ¥ ε ª µ µ o°¤¼¨ UN Comtrade ­Îµ®¦´ e 2533-2549 Ä ³ ¸É ¦·¤µ µ¦ ¨· ¦ ¥ r ° Å ¥ µ ­ µ ´ ¥µ ¥ r ¨³ ° ¸ ¦µ ·¨ ¨³Á¤È ·Ã µ CEIC Database ®¤µ¥Á® »: ·Ê ­nª ¦ ¥ r ¦° ¨»¤ ·Ê ­nª 91 ¦µ¥ µ¦ ° ­· oµ µ¤ µ¦ ´ ®¤ª ®¤¼n ¸É HS 6-digit Ä ®¤ª 39 40 85 ¨³ 87 Ä ³ ¸É¤¼¨ nµ µ¦­n °° ¦ ¥ r¤µ µ ¨¦ª¤¦µ¥ µ¦ HS8701-8704 ¤¼¨ nµ µ¦ εÁ oµ ¸É o ¦· ε ª µ ¤¼¨ nµ µ¦ εÁ oµ ¦´ ´ª ´ ¸¦µ µ­· oµ εÁ oµ­Îµ®¦´ Å ¥Â¨³ ¦µ ·¨ µ International Financial Statistics, International Monetary Fund (CD-Rom) Ä ¦ ¸ ° ¸ ¨³Á¤È ·Ã Á ºÉ° µ ´ ¸¦µ µ­· oµ εÁ oµÅ¤n¤¦¸ µ¥ µ Kohpaiboon (Forthcoming) Ä o ´ ¸¦µ µ ¼o ¦·Ã£ ­· oµ ¨»n¤¥µ ¡µ® ³ µ CEIC Database ­Îµ®¦´ ¸ ¨³ ´ ¸¦µ µ ¼ o ¦·Ã£ ­Îµ®¦´ Á¤È ·Ã ´ ¸¦µ µ ¼ ¦´ Ä®o e 1988 (2531) Á } e µ

¸É¤µ:

ดร.พีระ เจริญพร


162 เอกสารอางอิง Athukorala, P., and S. Chand (2000). Trade Orientation and Productivity Gains from International Production: A Study of Overseas Operations of United States TNCs. Transnational Corporations, 9 (2): 1-30. Belderbos, R., G. Capannelli and K. Fukao (2001): Backward vertical linkages of foreign manufacturing affiliates: Evidence from Japanese multinationals, World Development 29, no 1, p. 189-208. Blalock. G. 2001. Technology from foreign direct investment: strategic transfer through supply chains, mimeo, Haas School of Business, University of California at Berkeley. Blalock, G. and P.J. Gertler, (2008). Welfare Gains from Foreign Direct Investment through Technology Transfer to Local Suppliers. Journal of International Economics, 74: 402-421. Blomström, M. and F. Sjoholm. 1999. Technology Transfer and Spillovers: Does Local Participation with Multinationals Matter? European Economic Review, Vol. 43, 915-923. Borrus, Michael and John Zysman (1998): Globalization with Borders: The Rise of Wintelism as the Future if Industrial Competition, in: A. Schwartz and J. Zysman, eds.: Enlarging Europe: The Industrial foundations of a New Political Reality, Berkely: BRIE and Vienna: Kreisky Forum. Buara, M., Rojeca, M. and Starea, M. (2009). Backward FDI linkages as a channel for transferring technology and building innovation capability: The case of Slovenia. European Journal of Development Research (2009) 21, 137–153. Cohen, W. M. and Levinthal, D. A. (1990). ‘Absorptive capacity: A new perspective on learning and innovation’. Administrative Science Quarterly, 35, 1: 12852. Crespo, N. and Fontoura, P. M. (2007). “Determinant Factors of FDI Spillovers---What Do We Really Know?”. World Development Vol. 35, No.3, pp. 410-425. Dunning, John H. (1993): Multinational Enterprises and the Global Economy, Wokingham: Addison-Wesley. EEPC. 2000. Report on Thailand Automotive and Parts Market. EEPC. Singa Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


163 pore. Ernst, D. and Kim, L. (2002). “Global Production Network, Knowledge Diffusion, and Local Capability Formation”. Research Policy 31, pp.1417-1429. Feinberg, S. and Keane, M. (2005) Intrafirm Trade of US MNCs: Findings and Implications for Models and Policies Toward Trade and Investment. Chapter in book “Does Foreign Direct Investment Promote Development?” edited by Moran, T., Graham, E., and Blomstrom, M., Institute for Inter national Economics Center for Global Development, Washington D.C. April 2005. Haddad, M. and A. Harrison. 1993. Are there positive spillovers from direct foreign investment? Evidence from panel data for Morocco, Journal of Development Economics 42, 51-74. Jongwanich, J. and A. Kohpaiboon (2007), ‘Determinants of Protection in Thai Manufacturing’, Economic Papers, September 2007. Kasuga, T., T. Oka, Y. Yamaguchi, Y. Higa and K. Hoshino (2005). The Expansion of Western Auto Parts Manufacturers into Thailand and Responses by Japanese Auto Parts Manufacturers, JBICI Review,11 Kathuria, V. 2000. Productivity Spillovers from Technology Transfer to Indian Manu facturing Firms, Journal of International Development 12, 334-369. Kathuria, V. 2001. Foreign firms, technology transfer and knowledge spillovers to Indian manufacturing industries: A stochastic fronTier analysis, Applied Economics 33, p. 625-642. Kohpaiboon, A. (2003). Foreign trade regimes and the FDI-growth nexus: A case study of Thailand. Journal of Development Studies, 40(2), 55–69. Kohpaiboon, A. (2005), Industrialization in Thailand: MNEs and Global Integration, unpublished PhD Dissertation, Australian National University, Canberra. Kohpaiboon, A. (2006 a). Foreign Direct Investment and Technology Spillover: A Cross-industry Analysis of Thai Manufacturing. World Development, 34 (3): 541-556. Kohpaiboon, A. (2006 b). Multinational Enterprises and Industrial Transformation: Evidence from Thailand. Edward Elgar: Cheltenham, U.K. Kohpaiboon, A. (2007). Thai Automotive Industry: Multinational Enterprises and Global Integration. ERTC Discussion Paper No. 2007/4 . Faculty of Ecoดร.พีระ เจริญพร


164 nomics, Thammasat University. February 2008. Kohpaiboon, A. (2008). MNEs and Global Integration of Thai Clothing Industries: Policy Implication for SME Development. Report submitted to Institute of Developing Economies, Japan. Kohpaiboon, A. (2009). Vertical and Horizontal FDI Technology Spillovers: Evidence from Thai Manufacturing. ERIA Discussion paper No. 2009-08 March 2009. Kohpaiboon, A. (forthcoming). Global Integration of Thai Automotive Industry. ERTC Discussion Paper (forthcoming), Faculty of Economics, Thammasat University. Kokko, A. 1994. Technology, market characteristics, and spillovers, Journal of Development Economics, Vol. 43, 279-293. Lall, S. (1987). Learning to Industrialize. Macmillan, London. Lall, S. 1996. Learning from the Asian Tigers: Studies in Technology and Industrial Policy, London: MacMillan. Lauridsen, Laurids S.(2004). Foreign Direct Investment, Linkage Formation and Sup plier Development in Thailand during the 1990s: The Role of State Governance',The European Journal of Development Research,16(3), p. 561 — 586 Lin, P. and Saggi, K. (2005) Multinational Firms and Backward Linkages: A Criti cal Survey and a Simple Model. Chapter in book “Does Foreign DirectInvestment Promote Development?” edited by Moran, T., Graham, E., and Blomstrom, M., Institute for International Economics Center for Global Development, Washington D.C. April 2005. Liu, X., Siler, P., Wang, C. and Y. Wei (2000). Productivity spillovers from Foreign Direct Investment: Evidence from UK Industry Level Panel Data. Journal of International Business Studies 31(3), 407-425. Meyer, K.E. (2000): International Production Networks and Enterprise Transformation in Central Europe, Comparative Economic Studies 42 (2000), no. 1, p. 135-150. Moran, T. (2005) How Does FDI Affect Host Country Development? Using Industry Case Studies to Make Reliable Generalizations. Chapter in book “Does Foreign Direct Investment Promote Development?” edited by Moran, T., Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


165 Graham, E., and Blomstrom, M., Institute for International Economics Center for Global Development, Washington D.C. April 2005. Moran, T., Graham, E., and Blomstrom, M., eds (2005) Does Foreign Direct Investment Promote Development? Institute for International Economics Center for Global Development, Washington D.C. April 2005. Moran, T. (2006), Harnessing Foreign Direct Investment for Development: Policies for Developed and Developing Countries, Center for Global Development, Washington. Mowery, D.C. and R.R. Nelson, eds. (1999): Sources of industrial leadership: Studies in seven industries, Cambridge: CUP. Nichiguchi, Toshihiro and Erin Anderson (1995): Supplier and Buyer Networks, in: E.H. Bowman and B. Kogut, eds.: Redesigning the Firm, p. 65-84. Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies Foster Creativity and Innovation for Competitive Advantage. New York: Oxford University Press. Rodrik, D. (1999): The new global economy and developing countries: making openness work, Policy Essay nr. 24, Overseas Development Council, John Hopkins University Press, Washington, DC. Rugman, A. and J. d’Cruz 2000): Multinationals as Flagship Firms, Oxford: Oxford University Press. Sirikrai, S. (2007). Competitiveness Analysis: An AHP Approach for the Automotive Components Industry in Thailand Thammasat Review Vol.12 December. p. 85-115. Smarzynska, B. (2002): Does Foreign Direct Investment Increase the Productivity of Domestic Firms: In Search of Spillovers through Backward Linkages, World Bank: Policy Research Working Paper no. 2924, October 2002. Stiglitz, J. (2002), Globalization and Its Discontents, Penguin Books: London Techakanont, K. and Takahashi, Y. (2004). Globalization Strategies of Automobile Assemblers in Thailand and Adaptation of Local Parts Suppliers. Bangkok. Techakanont, K. (2002), A Study on Inter-firm Technology Transfer in the Thai Automobile Industry, Unpublished Ph.D. Dissertation, Graduate School for International Development and Cooperation, Hiroshima University: Japan ดร.พีระ เจริญพร


166 Techakanont, K. and Terdudomtham, T. (2004) “Evolution of Inter-firm Technology Transfer and Technological Capability Formation of Local Parts Firms in the Thai Automobile Industry”, Journal of Technology Innovation Vol. 12, No. 2, pp. 151-183. Techakanont, K. (2007). “Roles of Japanese Assemblers in Transferring Engineering and Production Management Capabilities to Production Network in Thailand”. Discussion Paper No.2, Faculty of Economics, Thammasat University, 20 December 2007. Tsou, M.-W., and J.T. Liu 1994. The spillover effect for foreign direct investment: Empirical evidence from Taiwan manufacturing industries, Taiwan Economic Review 25 (2), 155-81. Vorasowharid, N. (2007). Inter-Firm Technology Transfers: A Study on the Thai Automotive Industry. Master of Economics, Faculty of Economics, Thammasat University, Bangkok, Thailand. UNCTAD, (2001), World Investment Report (2001). Promoting Linkages, New York and Geneva: UNCTAD. สั ก กริ น ทร นิ ย มศิ ล ป (2549) อุ ต สาหกรรมรถยนต ไ ทยหลั ง วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ : สูย คุ ทุนนิยมเสรีขา มชาติ" โครงการวิจยั ภายใตโครงการเมธีวจิ ยั อาวุโสของ สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษไพจิตร เรื่องโครงสรางและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย



168 ภาคผนวก: รายละเอียดการสัมภาษณผูผลิตชิ้นสวนและขอคนพบที่สําคัญ (พ.ย. 51- มี.ค.52) ลักษณะทั่วไปของกิจการ บริษัท A 1st Tier ญี่ปุน ผลิตภัณฑ:ระบบควบคุมเครื่อง ยนต ระบบระบายความร อ น ระบบไฟฟา ระบบอิเล็กทรอนิกส ลูกคา: ผูผลิตรถยนตทุกคาย

ขอคนพบที่นาสนใจ บริษทั A มี Supplier ในประเทศประมาณ 200 ราย ซึง่ สวนใหญ เปนรายเกาที่ทํางานดวยกันมานาน เปนการยากที่รายใหม จะเขามาไมวาจะเปน JV หรือไม เพราะสิ่งสําคัญที่สุดก็คือ “ความเชื่อใจ (Trust)” คําสั่งซื้อสวนใหญจึงเปนให order ใหมกับ Supplier เดิม เปนการขยายมากกวาตั้งโรงงานใหม ผูผลิตชิ้นสวนทองถิ่นตองยึดสุภาษิต “โตไดตองหามอวน” (อยาเอากําไรมาก รักษาความสัมพันธระยะยาว) บริษัท A มี Team Supplier Development เข า ไปตรวจสอบ Supplier พร อ มให คํ า แนะนํ า ซึ่ ง การ ซื้ อ จะดู ที่ คุ ณ ภาพก อ น เป น เงื่ อ นไขสํ า คั ญ ยิ่ ง กว า ต น ทุ น เพราะหากการผลิ ต ไม ไ ด ต ามแผนที่ เ กิ ด บริ ษั ท A ต อ ง เสี ย ค า ปรั บ ความเชื่ อ ใจเป น สิ่ ง สํ า คั ญ ต อ งมี ทั้ ง เงิ น คน เก ง และความสั ม พั น ธ ที่ ดี กั บ บริ ษั ท A บริ ษั ท A มี ก าร กระจายความเสี่ ย งโดยหากคํ า สั่ ง ซื้ อ มากพอก็ จ ะกระจาย คําสัง่ ซือ้ ออกไป ดังนัน้ Supplier ยากทีจ่ ะมีอาํ นาจ monopoly กับ บริษัท A บริ ษั ท A เข า ไปตรวจสอบ Supplier และ มีการใหความชวยเหลือ ดาน HR ดานการเงิน เชน ออกคา วัตถุดิบ ออกคาแมพิมพ เรื่องการพัฒนาคนก็มี บริษัท A Training Academy ซึ่งทาง Supplier ตองจายคาใชจายใน ราคาทุนใหกับ บริษัท A เพื่อพัฒนาตัว Supplier เอง ผูผ ลิตชิน้ สวนทีไ่ มเขารวมกิจกรรมเพราะไมอยาก เหนือ่ ย ไมอยากเสีย่ ง หวังผลกําไรระยะสัน้ มากกวา โดยเฉพาะ อย า งยิ่ ง การสู ญ เสี ย คนงานเก ง ๆ ไป หลั ง จากส ง ไปฝ ก อบรม มีการยายงานเยอะ เพราะคาแรงไมเทากัน Carmaker > 1st Tier > 2nd Tier เกิดการแยงตัวกัน (เงินเดือนชางฝมอื ของ บริษัท A พยายามใหเทาๆ กับ Toyota แตคงไมมากกวา) การเชือ่ มโยงกับผูผ ลิตในประเทศ อยางที่ BUILD ทําไดความเชือ่ มโยงเล็กนอยเทานัน้ เพราะสวนใหญการตัดสิน ใจเรื่อง Supplier ถูกตัดสินลวงหนา (2 ป) ที่ตางประเทศ

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


169 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ

บริษัท B 1st /2nd Tier ไทย ผลิตภัณฑ: Exhaust System; Body Parts; Roll Form Parts; Mechanism Parts ลูกคา: ผูผลิตรถยนตทุกราย โดยเฉพาะ Mitsubishi Motor (Thailand)

ปจจุบันผูผลิตรถยนตลดความรับผิดชอบในการคํานวณและ ออกแบบชิ้นสวนฯหันไปใหความสําคัญเฉพาะ body part ของรถยนตมากขึ้น โดยมอบหนาที่การออกแบบ คํานวณและ ทดสอบนีใ้ หกบั ผูผ ลิตชิน้ สวนฯมากขึน้ ผูผ ลิตรถยนตจะให Concept และ Specification ของชิ้นสวนฯมากขึ้น ผูผลิตชิ้นสวน ไมไดรับเงินมากขึ้น อาจจะไดในชวงที่ทํา Prototype ผูผลิตชิ้นสวนฯ ทําการคํานวณ ออกแบบ ทํา prototype และทํ า การทดสอบ Testing เขี ย นแบบ ซึ่ ง แบบที่ออกนี้จะนําไปให 2nd Tier Supplier ผลิตชิ้นงานตอไป ผูผลิต 1st Tier Supplier นั้นแตเดิมมาก็ตองดูแล 2nd Tier อยูแลวเพราะเวลาโดน claim ผูผลิต 1st Tier ตองชดใช แตวา หลังจากมีการสงออกคุณภาพของสินคาตองดีขึ้น บริษัทมีการปรับตัวใชระบบ Automation มากขึ้น ปรับ Process การผลิตใชคนใหนอยลง ปญหาดานการพัฒนา คนในอุตสาหกรรมรถยนตและชิน้ สวนคือ นิสยั ของคนไทยทีไ่ ม ชอบจดบันทึกความรูว ศิ วกรอยูไ มนาน โรงงานไมพฒ ั นาสราง ระบบความกาวของบุคลากร การเลือก 2nd Tier ของ 1st Tier Supplier จะดูจาก ๑) การไดรบั มาตรฐาน ISO หรือ QS9000 ใชคา ใชจา ย 70,00090,000 บาทตอป ๒) ศักยภาพของการทํางานโดยดูจากประวัติ การผลิตและสงชิ้นงานในอดีต ๓)ความพรอมของเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใชในการผลิต

บริษัท C 1st /2nd Tier ไทย ผ ลิ ต ภั ณ ฑ : ห ม อ นํ้ํ า / ถั ง เชื้ อ เพลิ ง /ตั ง ถั ง รถบรรทุ ก รถยนต งานปม ลู ก ค า : TMT; Hino; AAT; GMT; Honda; Nissan Diesel; Siam Kubota; Yanmar

บริ ษั ท ได รั บ TECHNICAL ASSISTANCE จาก บริ ษั ท A (1980) และ Toyotomi Kiko Corporation (1985) บริ ษั ท ได เ รี ย นรู วิ ธี ก ารพั ฒ นา 2nd Tier Supplier (48 ราย) จากผูผลิตรถยนต (ลูกคา) ที่มีอยูหลายราย บริ ษั ท ได เ ริ่ ม กิ จ กรรมพั ฒ นา Supplier ในป 2001 ในรูปแบบคลายของ TMT โดยสงชางเทคนิคของบริษัทไป ตรวจสอบ ถายทอด know-how ใหกับ Lower Tier ทําให สามารถแกปญหาไดอยางตรงจุด เปนตัวอยางที่ดีของการ แสดงใหเห็นการสงผาน knowledge เปนขัน้ ๆ และประโยชนที่ 2nd Tier ไดรับ ดร.พีระ เจริญพร


170 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ

บริษัท D 2nd Tier ญี่ปุน (100% บริษัท A) ผลิตภัณฑ: Magnet part ลูกคา: บริษัท A (บางครั้งก็สง ของใหบริษทั คูแ ขงของลูกคาแต ไมสามารถสงโดยตรงได)

บริษัทมี Supplier หลักเปนบริษัทในเครือ ดังนั้นปญหาเรื่อง Supplier จึงนอยมาก Supplier ไดรับความชวยเหลือทางดาน เทคโนโลยีจากบริษทั แมทญ ี่ ปี่ นุ โดยตรง เชนเดียวกับเรือ่ งราคา ที่ตกลงกันตั้งแตที่ประเทศญี่ปุน บริษัทก็จะสงวิศวกรเขาไป ชวยในเรือ่ งของการบริหารงานมากกวา ซึง่ การเขาไปชวยเหลือ ของบริษทั จะไมคดิ คาบริการเพราะบริษทั ไดสนิ คาทีม่ คี ณ ุ ภาพ ในราคาดี และจัดสงของไดตามเวลาดวย ในการพัฒนาเทคโนโลยีบริษัทจะไดรับการชวย เหลือจากบริษัทแมจากญี่ปุน ยกเครื่องจักรใหมมาจากญี่ปุน ซึ่งมักจะพรอมกับวิศวกรชาวญี่ปุนเพื่อสอนงานใหกับวิศวกร คนไทย สําหรับเรือ่ งการลงทุนเครือ่ งซือ้ เครือ่ งจักรหรือเทคโน โลยีนนั้ จะดูจาก demand forecast ทีท่ างลูกคาสงมาใหตอนเสนอ bid งาน ซึ่งตองมีการลงทุนไปกอนแตในชวงเศรษฐกิจแบบนี้ ลูกคาก็จะยกเลิกคําสั่งซื้อหรือลดคําสั่งซื้อไมเปนไปตามการ คาดการณทวี่ างไวในตอนแรก เงินทีเ่ อามาลงทุนสวนใหญกจ็ ะ เปนการทํา proposal ดานการลงทุนจาก บริษัทจะขอไปยัง บริษัทแมในญี่ปุนซึ่งอาจมาในรูปเงินกูหรือการเพิ่มทุน

บริษัท E 2nd Tier รวมทุนญี่ปุน /ไทย ผ ลิ ต ภั ณ ฑ : พ ล า ส ติ ก สําหรับงานวิศวกรรม Insulator Coil Rotor - Bobbin - Bushing Insulation ลูกคา: บริษัท A; Mitsuba; TMT และสงออกไปมาเลเซีย

บริษัทไดรับคําสั่งซื้อเพราะความสามารถในการออกแบบ บริษทั ถูกตรวจสอบ (ex. กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ) ได รั บ ความช ว ยเหลื อ ทางเทคนิ ค และได เ ข า ร ว มกิ จ กรรม การพัฒนา Supplier ของ บริษัท A เพื่อ train เกี่ยวกับ เรื่ อ งการลดต น ทุ น ; Just-in-time; กิ จ กรรม VA/VE โดยขณะที่ train ทาง บริษัท A ก็สงวิศวกร เขาไปตรวจโรง บริษทั ยังไดรบั การถายทอดเรือ่ ง TPS จาก TMT ทําใหบริษทั มีประสิทธิภาพมากขึ้น การได รั บ ความช ว ยเหลื อ เป น ได เ พราะมี แ รง ผลั ก ดั น จากภายใน บริ ษั ท ได ตั้ ง แผนก R&D (มี ผู เชี่ ย วชาญในส ว นนี้ 3 คน รั บ ผิ ด ชอบการออกแบบและ สายการผลิต) บริษัทเพิ่มการลงทุนใน CAD/ CAM เพื่อ พั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพการออกแบบแม พิ ม พ แ ละการผลิ ต การปรับตัวเหลานีเ้ กิดขึน้ เพราะ บริษทั A เรียกรองใหมบี ริษทั มีการพัฒนาตัวเอง

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


171 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ บริษัทไดสรางเครือขายกับองคกรภายนอก เชน สถาบันการศึกษา เขารวมโครงการ AHRDP ทีสาํ คัญผูบ ริหาร ใหความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนและสรางความ ยืดหยุนในการเรียนรูอยางตอเนื่องของพนักงาน มีการใหทุน และวัดผลการพัฒนาเทคโนโลยี/ความรู

บริษัท F 2nd Tier ไทย ผลิ ต ภั ณ ฑ : Compressor Bracket; Impeller Water Pump; Base Die Cast; Bonnet; ลูกคา: Yamada Somboon; Yanmar; Summit Steering

บริษทั พยายามทํากิจกรรม VA/VE เพือ่ ตอบสนองตอความตอง การของลูกคา และเพื่อที่จะลดตนทุนและเพิ่ม productivity บริษัทตองรวมมือกับ Lower Tier มีการจัดสัมมนาครั้งละ 1-2 วั น ที่ โ รงงานทํ า ให ส ามารถอบรมช า งจาก Lower Tier ไดหลายโรงงาน (5-6 โรง) โดยแตละ Lower Tier จะสงมาประมาณ 2-3 คน ผลจากการสัมมนาทําใหชา งเทคนิค ของ Lower Tier มีความเขาและพัฒนาตัวเองไดดีขึ้น กรณีนี้แสดงใหเห็นถึงความตองการความชวย เหลือดานเทคโนโลยีจาก MNEs โดยเฉพาะดานการออกแบบ ของ Supplier ในประเทศไทย

บริษัท G 2nd /3rd Tier Supplier ไทย ผลิตภัณฑ: ลูกคา: SAB; TSA

สําหรับการลงทุนเรื่องการลงทุนพัฒนาความสามารถทาง เทคโนโลยีของ 2nd Tier นั้น จะเริ่มตนจากการเขาไป bid ออเดอร จาก 1st Tier โดยในการประมูลงานตองประเมินตนทุน การผลิตตอชิ้น ทั้งคาวัตถุดิบ คา stroke คา Overhead ซึ่ง รวมทั้งงบ R&D จากนั้นจึงทําการลงทุนโดยคิดคาพัฒนา ประมาณ 10% จากยอดขาย 1st Tier นั้นจะสามารถทํางาน ดู spec ออกแบบ ทํา prototype และทํา drawing สําหรับ สวน 2nd Tier นั้นมี หลายระดับ 2nd Tier นั้นมีขนาดกลางๆ เปนชวงการสะสม ความรู เตรียมขึน้ ไปเปน 1st Tier แตยงั ขาดความสามารถดาน การ design ผูผลิตชิ้นสวนฯ นั้นอาจเปนไดทั้ง 1st Tier 2nd Tier หรือ 3rd Tier ขึ้นอยูกับความรูในการผลิตแตละ part การพัฒนาความรูภายใน 2nd Tier จึงเปนเรื่องที่สําคัญในกรณี ของบริษทั ก็มกี ารจัดอบรม การทําตํารา คูม อื การใชเครือ่ งจักร การเขียน Job description การทํา R&D และ training สง ดร.พีระ เจริญพร


172 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ ชางไปฝกงานผานโครงการ AOTS ของประเทศญี่ปุน บริษัท ไดมีการนําไปหักลดหยอนภาษีแตวาชวยไดไมมาก ผูผ ลิต 2nd Tier ทีไ่ ดรบั ออเดอรจากลูกคาแลวก็คง จะมีแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง สําหรับ key success ของ 2nd Tier นั้นขึ้นอยูกับการที่ผูบริหารหัวหนางานมีความเขาใจ ความกระตือรือรนในการเรียนรู technology ใหมๆ เรือ่ งเงินทุน ไมใชปญหาเพราะสามารถนํา คําสั่งซื้อชิ้นสวนที่ไดรับไปขอ กูได

บริษัท H 2nd Tier ไทย ผลิตภัณฑ: Gear cases, dynamic fans, crankcase covers, clutches, brackets, cylinder covers, chain cases ลู ก ค า : T S A ; ส ย า ม คูโบตาอุตสาหกรรม จํากัด

เพื่อเพิ่มความสามารถในการแขงขันบริษัทได (1) ใชพัฒนา การใชวัตถุดิบชนิตใหมเพื่อลดตนทุน (2) ลดกระบวนการ ผลิตเพือ่ ลดตนทุน (3) พัฒนาความสามารถในการออกแบบแม พิมพ (4) สรางอะไหลในตราผลิตภัณฑของตัวเอง ความสําเร็จของบริษทั เกิดจากความพยายามภาย ในบริษทั และความสัมพันธทดี่ กี บั 1st Tier ไดรบั ความชวยเหลือ ทางเทคนิคจากลูกคาและผูเชี่ยวชาญญี่ปุน แตที่ไดรับความ ชวยเหลือตางๆ เหลานีเ้ นือ่ งจาก บริษทั มีการจัดสรรทรัพยากร เพื่อพัฒนา design capability สําหรับการทําแมพิมพ มีการ ทํากิจกรรม VA/VE เพือ่ ลดตนทุนและมีการทํา R&D บริษทั เริม่ กิจกรรมออกแบบแมพิมพตั้งแตป 2002

บริษัท I ผูผลิตรถยนตญี่ปุน

บริษัท I ยังไมไดนําเอา ระบบ modular ก็ยัง ไมไดใชมากนัก มีบาง part ที่ Supplier สงคนเขามาประกอบ ในโรงงานของบริษัท I เลย การสั่งซื้อสวนใหญจะเปน Single Sourcing เพราะงายตอการคํานวณและไดราคาทีด่ ี แตสาํ หรับ ชิ้นสวนที่ตองเกี่ยวเนื่องกับการประกอบรถยนตอยางอื่นๆ มากมีความซับซอนสูง จะมีการสั่งซื้อจาก Supplier มากกวา หนึ่งรายเพื่อปองกันความเสี่ยง บริ ษั ท I ให ค วามสํ า คั ญ กั บ การ Delivery มากเนื่องจากการหยุด assembly line นั้นจะสงผลกระทบ อยางมาก เชน ปญหาการปดโรงงานประทวง เรือ่ ง quality นัน้ ไมคอยมีปญหาเพราะมีการแกไขพัฒนามาตลอดระยะเวลา กอนเริม่ line การผลิตจริง ยกเวนทีย่ งั มีเรือ่ งของ defect ทีท่ าง

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย


173 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ Supplier ตองมีสวนรับผิดชอบตามกติกาที่กําหนดไว ดังนั้นกอนซื้อทางบริษัท I จะมีสวนเจาหนาที่ จากฝายจัดซื้อ QC engineer จาก R&D / Design (ISO) ไปเยี่ ย มชมโรงงานของ Supplier Supplier ของญี่ ปุ น จะมีปญ  หานอยกวา ปญหาสวนใหญของ Supplier ไทยก็คอื ดาน การบริหาร บริษทั I สง drawing ใหกบั Supplier ในกรณีทเี่ ปน External Stamping Part รวมทัง้ ออกคา Tooling ใหดว ย สวน RDDP (Request for Design Development Part) Supplier จะทําตาม Know-how ของตัวเอง ดวยความตองการความเชื่อใจไดสูง Supplier รายใหมจงึ มีนอ ย Supplier รายใหมสว นใหญมาทดแทนพวกที่ มีปญ  หา การที่ Supplier มีปญ  หาเรือ่ งจากจัดสงสินคาจากการ หยุด line การผลิต อันเปนผลจากการประทวงของคนงานหรือ ปญหาอื่นๆ ที่ บริษัท I ใหงานนอยลง ทําใหผูผลิตรายใหม สามารถเข า มารั บ คํ า สั่ ง ซื้ อ บางส ว นไปได ผลการดํ า เนิ น การของ Supplier สองรายนี้ก็จะเปนตัวเปรียบเทียบซึ่งกัน และกัน ผูผลิต 1st Tier ก็ยังคงเปน 1st Tier อยู แต อาจจะไดรับคําสั่งซื้อนอยลง แต บริษัท I ยังคงรักษา Supplier เหลานี้ไว ผูผลิตชิ้นสวน stamping part บริษัท I ก็จะกระจายคําสั่งซื้อไปหลายๆราย แตการจะมาเปน 1st Tier รายใหมที่จะยากขึ้น การแขงขันที่สูง มาตรฐานที่สูง ทําให Supplier รายเกาที่มีเงินลงทุนมาก มีประสบการณดี มีการความรูสะสมเยอะ ฯลฯ บริษัท I ไมไดซื้อชิ้นสวนจาก western Supplier เพิ่มขึ้น หลังจากมีการเปดเสรี บริษัท I จะมีการแบงเกรด Supplier เปนคะแนน มีการจัดอันดับ เชนเดียวกับ TCC มีรางวัลจัดใหทกุ ป รางวัล ที่ไมมีคาอะไรมาก แตการไดคะแนนไมดีจะมีการลงโทษ เชน ตัด order หรือลดสวนแบง ทั้งนี้จะดูจากผลกระทบที่เกิดกับ บริษัท I มากกวาแตมที่ได นอกจากนี้ในกรณีผูที่ไดอันดับ สูงตกอันดับมาอยางรวดเร็ว บริษัท I ก็ตองคนหาเหตุผลให ไดเปนการดําเนินการเพื่อแกไขปญหาลวงหนามากกวาทุกป บริษัท I จะมี Annual Price Review เพื่อลดตนทุนทุกป แตก็ สามารถปรับไดตามสถานการณ ดร.พีระ เจริญพร


174 ลักษณะทั่วไปของกิจการ

ขอคนพบที่นาสนใจ วิศวกรจากฝาย purchase จะเขาไปสอน Production System ให Supplier ฟรี แตกรณีที่สงไปชวย Supplier ตางประเทศจะมีการคิดคาใชจาย บริษัท I อาจจะลงไปชวย 2nd Tier Supplier ในกรณีที่มีปญหามากและ 1st Tier ไมสามารถชวยได

Symposium no.32 :: การแสวงหาผลประโยชนจากการเปนซัพพลายเออรของบริษัทขามชาติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมชิ้นสวนยานยนตไทย



176

“การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัท อัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)”

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


177

โดย

ดร.เณศรา สุขพานิช คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ดร.เณศรา สุขพานิช


178

1 ความสําคัญของปญหา

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


179

ปรากฏการณสาํ คัญของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศตัง้ แตคริสตทศวรรษ 1990 เปนตนมาคือการที่ประเทศกําลังพัฒนาจํานวนมากเริ่มออกไปลงทุน โดยตรงในตางประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นไดจากมูลคาเงินลงทุนโดยตรง สะสมของประเทศกําลังพัฒนา (outward FDI Stock) เพิ่มขึ้นจาก 159 พัน ลานดอลลารสหรัฐ ในป ค.ศ. 1991 เปน 2,288 พันลานดอลลารสหรัฐ ในป ค.ศ. 2007 (UNCTAD 2008 database) แมมูลคาดังกลาวจะคิดเปนสัดสวน นอยกวารอยละ 15 ของมูลคาเงินลงทุนโดยตรงรวมของโลก (UNCTAD 2008 database) แตการเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วทําใหนักวิชาการและผูกําหนด นโยบายทางเศรษฐกิจหันมาใหความสนใจถึงปรากฏการณดงั กลาวอยางกวาง ขวาง แมนกั วิเคราะหบางคนเชือ่ วาการทวีความสําคัญของการออกไปลงทุน ดังกลาวอาจจะเปนเพียงปรากฎการณชวั่ คราวโ ดยเฉพาะจากประเทศผูส ง ออก นํ้ามันที่ไดประโยชนจากระดับราคานํ้ามันดิบที่สูงเปนประวัติการณในชวง 2-3 ป แตงานศึกษาของ UNCTAD (2006) ชี้ใหเห็นวาปรากฏการณที่เกิดขึ้น เปนการเปลีย่ นแปลงทางโครงสรางทีเ่ ปนผลพวงจากขบวนการโลกาภิวตั นและ นโยบายการเปดเสรีการลงทุนของประเทศกําลังพัฒนาตางๆ ดร.เณศรา สุขพานิช


180

ลักษณะที่สําคัญประการหนึ่งของการออกไปลงทุนโดยตรงในตาง ประเทศของประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก คือ ไมเพียงแตเม็ดเงินทีอ่ อก ไปลงทุนเพิม่ ขึน้ แตจาํ นวนประเทศกําลังพัฒนาทีอ่ อกไปลงทุนในตางประเทศ เพิม่ มากขึน้ ดวย จากเดิมทีเ่ คยกระจุกตัวอยูเ ฉพาะในกลุม ประเทศอุตสาหกรรม ใหม 4 ประเทศของเอเชีย หรือ Asian NIEs (newly industrialized economies) (Athukorala & Hill 2002, Athukorala 2008: Table 15) ปจจุบันทั้ง จีน อินเดีย มาเลเซีย และไทยออกไปลงทุนในตางประเทศเพิ่มขึ้น ในกรณี ของประเทศไทย ขอมูล outwad FDI stock ของ UNCTAD (2008) แสดงให เห็นวามูลคาเงินลงทุนทีบ่ ริษทั ไทยไปลงทุนในตางประเทศเพิม่ ขึน้ เปนสูงกวา 7,000 ลานดอลลารสหรัฐ ในป ค.ศ. 2007 จากที่นอยกวา 200 ลานดอลลาร สหรัฐ ในป ค.ศ. 1987 ปรากฏการณดังกลาวแตกตางจากการลงทุนในตาง ประเทศของประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ ที่กระจุกตัวอยูกับประเทศ กําลังพัฒนาขนาดใหญเพียงไมกี่ประเทศ (UNCTAD 2006) มูลเหตุจงู ใจสําคัญของการออกไปลงทุนในตางประเทศของประเทศ ในภูมิภาคนี้ คือ บริษัทในประเทศเหลานี้สะสมความสามารถและทักษะการ ผลิตเฉพาะทาง (firm-specific advantages) มากจนถึงจุดที่พรอมจะนําเอา ความรูความสามารถเฉพาะไปใชประโยชนในตางประเทศ (UNCTAD 2006 และ Yeung 2006) นอกจากนี้อาจรวมถึงปจจัยที่เฉพาะเจาะจงกับประเทศ (country-specific factors) ทัง้ กับประเทศทีเ่ ปนแหลงทุน (home country) และ ประเทศผูรับการลงทุน (host country) เชน ประเทศกําลังพัฒนาบางประเทศ เผชิญกับปญหาคาจางแรงงานและตนทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ณ ประเทศ ของตน (Schive & Chen 2004) จึงมีความจําเปนตองยายฐานการผลิตไป ยังประเทศที่มีคาจางแรงงานถูกกวา หรืออาจเกิดจากการสนับสนุนจากภาค รัฐของประเทศที่ไปลงทุนที่สงเสริมใหผูประกอบการในประเทศตนเริ่มขยาย การลงทุนไปยังตางประเทศ ประกอบกับประเทศผูรับการลงทุนมีนโยบายใน การเปดรับการลงทุนจากตางประเทศมากขึ้น เปนตน อยางไรก็ตาม ประเด็นทาทายเชิงนโยบายที่ยังไมมีการวิเคราะห กันมากนัก คือ การออกไปลงทุนในตางประเทศของประเทศเหลานี้จะสงผล Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


181

ตอความสามารถในการประกอบการของบริษัทอยางไรบาง ทั้งในแงของผล ประกอบการในรูปตัวเงิน (ผลตอบแทนตอสินทรัพย และอัตราการทํากําไร) ประสิทธิภาพการผลิต และความสามารถในการแขงขันในตลาดโลก นอกเหนือ จากผลกระทบที่มีตอบริษัทนั้นๆ แลว การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ บริษัทตางๆ ยังอาจสงผลกระทบตอเศรษฐกิจของประเทศเจาของทุนทั้งใน ระดับอุตสาหกรรม เชน ความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรม และการ ปรับโครงสรางของอุตสาหกรรม และในระดับเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม เชน ปญหาการจางงานอันเนือ่ งมาจากการยายฐานการผลิตไปยังประเทศทีม่ คี า จาง แรงงานถูกกวา ปญหาดุลการชําระเงินทัง้ เม็ดเงินทีอ่ อกไปลงทุนและดุลการคา ที่อาจเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากการออกไปลงทุนในตางประเทศ และปญหา การลงทุนในระดับมหภาคที่ปจจุบันประเทศตางๆ ในภูมิภาคกําลังเผชิญกับ ปญหาการลงทุนมวลรวมยังไมฟนตัวเต็มที่ (UNCTAD 2006, Jongwanich & Kohpaiboon 2008) งานศึกษาชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงคหลักดังนี้ 1. ศึกษาแนวโนมการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตางประเทศ ตั้งแตชวงตนคริสตทศวรรษ 1980 จนถึงป ค.ศ. 2007 โดยพิจารณาปริมาณ สะสมและกระแสการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ (outward FDI stock และ outward FDI flow) ในภาพรวม และการลงทุนโดยตรงจําแนกตามประเทศ หรือภูมิภาคที่ไปลงทุน และจําแนกตามประเภทธุรกิจที่ไปลงทุน 2. ศึกษาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบรรษัทขามชาติไทยใน อุตสาหกรรมเปาหมาย โดยวิเคราะหลักษณะการไปลงทุน (เชน ประเภทของ การลงทุนโดยตรง ประเทศที่ไปลงทุน ชวงระยะเวลาที่ไปลงทุน เปนตน) แรง ผลักดัน มูลเหตุจูงใจ และกลยุทธในการไปลงทุน รวมทั้งผลกระทบของการ ขยายการลงทุนไปในตางประเทศตอผลการดําเนินงาน การผลิต การจางงาน และศักยภาพการแขงขันของบรรษัทขามชาติทที่ าํ การศึกษา และผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นตออุตสาหกรรมเปาหมายและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของ อุตสาหกรรมเปาหมายของงานศึกษาชิ้นนี้คืออุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ สาเหตุที่เลือกอุตสาหกรรมดังกลาวเนื่องจากงานศึกษาที่ ดร.เณศรา สุขพานิช


182

เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตางประเทศสวนใหญจะมุงเนน ไปที่บริษัทใหญที่มีระดับการลงทุนโดยตรงในตางประเทศสูง ซึ่งมักจะกระจุก ตัวอยูเพียงไมกี่อุตสาหกรรม เชน งานศึกษาของ Wee (2007) Pananond (2007a) และ Pananond (2007b) ทีศ่ กึ ษาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ ทางการเกษตร (ตัวอยางบริษัท เชน Charoen Pokphand, Thai Union, Thai President Foods และ S&P โดย S&P จะมีลักษณะของธุรกิจรานอาหารเขา มาเกีย่ วของดวย) อุตสาหกรรมเกีย่ วกับนํา้ มัน (เชน บริษทั ปตท.จํากัดมหาชน, PTT) อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย (ตัวอยางบริษทั เชน Amata) อุตสาหกรรม การธนาคาร (เชน Bangkok Bank) บริษัทที่เปน conglomerate (เชน Siam Cement Group, Saha Union, Loxley) เปนตน ในขณะที่อุตสาหกรรม อื่นๆ ไมคอยมีการกลาวถึงประเด็นดานการลงทุนโดยตรงในประเทศมากนัก ทัง้ ทีใ่ นความเปนจริงแลวในบางอุตสาหกรรมการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ทวีความสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เชน กรณีของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง ประดับนัน้ ขอมูลจากธนาคารแหงประเทศไทยแสดงวามูลคาการลงทุนโดยตรง ในตางประเทศของบริษทั ใหญในอุตสาหกรรม 6 บริษทั รวมกันในป ค.ศ. 2007 มีมูลคาถึง 1,366 ลานบาท เพิ่มขึ้นจากป ค.ศ. 2006 รอยละ 63.7 (การลงทุน ในป ค.ศ. 2006 มีมูลคาเทากับ 834 ลานบาท) อุตสาหกรรมดังกลาวแมจะ มีสัดสวนการลงทุนโดยตรงในตางประเทศนอยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม หลักอื่นๆ ดังที่ไดกลาวมาขางตน แตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เปนอุตสาหกรรมที่สรางรายไดใหกับประเทศเปนอันดับตนๆ เสมอมา (ในป ค.ศ. 2008 การสงออกอัญมณีและเครื่องประดับมีความสําคัญเปนอันดับสาม รองจากเครื่องคอมพิวเตอร อุปกรณ และสวนประกอบ และ รถยนต อุปกรณ และสวนประกอบ)* การปรับตัวของผูป ระกอบการในอุตสาหกรรมดังกลาวรวม ถึงกลยุทธดา นการลงทุนโดยตรงในตางประเทศจึงเปนประเด็นทีค่ วรคาแกการ ศึกษา ดวยเหตุนงี้ านศึกษาชิน้ นีจ้ งึ เลือกอุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับ เปนอุตสาหกรรมเปาหมาย *ขอมูลจากศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนง.ปลัดกระทรวงพาณิชย โดย ความรวมมือจากกรมศุลกากร Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


183

งานศึกษาชิ้นนี้แบงโครงสรางการรายงานผลเปนสวนตางๆ ดังนี้ (1) ความสําคัญของปญหา (2) วรรณกรรมปริทัศนทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิง ประจักษ (3) วิธกี ารศึกษา (4) การลงทุนโดยตรงของบริษทั ไทยในตางประเทศ ในภาพรวมและการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของอุตสาหกรรมเปาหมาย (5) การลงทุนโดยตรงของบริษัทในอุตสาหกรรมเปาหมายที่เลือกศึกษา (6) บทสรุป

ดร.เณศรา สุขพานิช


184

2 วรรณกรรมปริทัศน

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


185

ในสวนนี้จะแบงเปนวรรณกรรมปริทัศนทางทฤษฎี (theoretical literature review) และวรรณกรรมปริทัศนจากการศึกษาเชิงประจักษ (empirical literature review)

2.1 วรรณกรรมปริทัศนทางแนวคิดหรือทฤษฎี (Theoretical Literature Review) 2.1.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับเงื่อนไขและมูลเหตุจูงใจของการ ลงทุนโดยตรงในตางประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ทําใหเกิดการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ John Dunning ไดเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการเกิดการ ลงทุนโดยตรงในตางประเทศ (foreign direct investment: FDI) หลังจากที่ เขาไดรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตรในป ค.ศ. 1976 Dunning (1977 และ 1981b) อธิบายวาบริษัทจะเขามามีสวนรวมในการลงทุนในตางประเทศ ดร.เณศรา สุขพานิช


186

เมื่อบริษัทมีความไดเปรียบในดานตางๆ ดังตอไปนี้ 1. ความไดเปรียบในการเปนเจาของ (ownership advantage) ซึ่ง อาจเกิดขึ้นไดจากหลายรูปแบบ โดย Dunning (1983a และ 1983b) เสนอ วาความไดเปรียบนี้อาจเกี่ยวของกับการเปนเจาของสินทรัพยบางอยาง ที่มี อยูเฉพาะในบริษัทนั้นๆ และบริษัทอื่นไมสามารถใชประโยชนจากสินทรัพย เหลานี้ได (unique asset) เชน ความรูเฉพาะของบริษัท ความสามารถของ บรรษัทขามชาติ (multinational enterprises: MNEs) ในการทํากําไร (หรือ การลดตนทุนทางธุรกรรมใหตําที่สุด) จากการบริหารจัดการสินทรัพยที่มีอยู ในประเทศตางๆ 2. ความไดเปรียบจากแหลงที่ตั้ง (location advantage) เปนความ ไดเปรียบของประเทศหรือภูมิภาคทั้งประเทศ (ภูมิภาค) ที่เปนแหลงทุนและ ประเทศ (ภูมภิ าค) ผูร บั การลงทุน โดยอาจเกีย่ วของกับการกํากับดูแลจากภาค รัฐ (เชน นโยบายการจัดเก็บภาษี การกําหนดโควตานําเขาสินคา และการให คุณคากับปจจัยทางดานวัฒนธรรม เปนตน) ตนทุนคาขนสงสินคา ราคาปจจัย การผลิต ความยากงายในการเขาถึงผูบริโภค เปนตน 3. ความไดเปรียบจากการรวมเขามาภายในบริษัท (internalization advantage) นั่นคือบริษัทอาจจะตัดสินใจในการไปลงทุนโดยตรงในตาง ประเทศมากกวาการสงออกหรือการใชลักษณะการใหใบอนุญาต (licensing) เพือ่ เอาชนะปญหาความไมสมบูรณของตลาด (market imperfection problem) ในเวลาตอมาแนวคิดของ Dunning เปนทีร่ จู กั ในชือ่ ของ “Dunning’s OLI framework” โดย O มาจาก Ownership, L มาจาก Location และ I มาจาก Internalization นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังนิยมเรียกกันวา “Dunning’s eclectic paradigm” การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเปนการพัฒนาตอยอด Dunning’s OLI Framework คือการศึกษาของ Rugman (2005) ซึ่งกลาววาความไดเปรียบ เฉพาะของบริษัท (firm-specific advantages: FSAs) และความไดเปรียบ เฉพาะของประเทศหรือภูมิภาค (location-specific advantages: LSAs หรือ country-specific advantages: CSAs) เปนแรงผลักดันสําคัญที่กอใหเกิดการ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


187

ลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ดังนัน้ กลยุทธของ MNEs จึงมีความเกีย่ วของกับ ปฏิกิริยาระหวาง FSAs และ CSAs UNCTAD (2006) นํากรอบแนวคิดของ OLI มาอธิบายปฏิกริ ยิ าหรือ ความสัมพันธระหวาง FSAs และ CSAs ของบรรษัทขามชาติจากประเทศ กําลังพัฒนาทีม่ กี ารลงทุนโดยตรงในตางประเทศ โดยกลาวถึงความไดเปรียบ ในลักษณะตางๆ ดังนี้ 1. ความไดเปรียบในการแขงขันโดยทั่วไป (broad type of competitive advantages) ที่ MNEs มักจะมี (จากทฤษฎีทั่วไปและจากการศึกษาเชิง ประจักษ) เชน ความเปนเจาของและการเขาถึง (ownership and access) สินคาและบริการ ตําแหนงที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตและในหวงโซ อุปทาน (products/services, production process and value chain niches) เครือขายและความสัมพันธ (network and relationships) โครงสรางองคกร และวัฒนธรรมทางธุรกิจ (organizational structure and business culture) 2. ความไดเปรียบเฉพาะ (particular advantages) ที่ประเทศกําลัง พัฒนาหรือประเทศที่อยูในชวงของการเปลี่ยนผานนาจะเปนเจาของ ซึ่ง สามารถแบงตามแหลงที่มาของความไดเปรียบ (sources of competitive advantages) ไดแก ความไดเปรียบเฉพาะของบริษทั (firm-specific advantages: FSAs) ความไดเปรียบที่เกิดจากสภาพแวดลอมของประเทศที่เปนแหลงทุน (advantages stemming from the home country environment) ความได เปรียบจากกระบวนการพัฒนาหรือขัน้ ของการพัฒนา (advantages stemming from development process or stage of development) Rugman & Verbeke (1990) เสนอวาบริษทั อาจจะเปนเจาของ FSAs และ CSAs ในระดับที่ตางกัน โดยแบงความไดเปรียบเฉพาะแตละชนิดเปน ระดับเขมแข็ง (strong) และระดับออนแอ (weak) โดยบริษทั ทีม่ ี FSAs ออนแอ แตมี CSAs เขมแข็งสวนใหญจะเปนบริษทั ทีเ่ กีย่ วกับทรัพยากรธรรมชาติ เชน บริษทั เกีย่ วกับการคาไม เหมืองแร พลังงาน และบริษทั นาํ มัน เปนตน ซึง่ สวน ใหญจะมีตน ทุนในการผลิตตาํ เพราะมี CSAsจากการมีทรัพยากรธรรมชาติมา กและราคาถูก สวนบริษทั ทีม่ ี FSAs มากแตมี CSAs ออนแอ มักจะเปนบริษทั ที่ผลิตภัณฑมีชื่อเสียง และชื่อเสียงนี้ไมไดเปนผลมาจากปจจัยทางประเทศ ดร.เณศรา สุขพานิช


188

สําหรับบริษัทที่มี FSAs และ CSAs เขมแข็ง คือบริษัทที่ไดประโยชนจาก ปจจัยที่เกี่ยวกับประเทศ เชน ราคาปจจัยการผลิตถูก และเปนเจาของความ ไดเปรียบเฉพาะของบริษัท เชน กลยุทธการดําเนินธุรกิจที่ดี เปนตน สําหรับ บริษัทที่มี FSAs และ CSAs ออนแอเปนบริษัทที่ไมมีประสิทธิภาพหรือเปน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมที่ดําเนินกิจการภายในประเทศ (Rugman & Verbeke 1990, Rugman 2001, Rugman 2005) นอกจากนี้ Rugman & Verbeke (2002) นําแนวคิดเกี่ยวกับ FSAs มาประยุกตเขากับแนวคิด resource-based view อธิบายวาโดยทัว่ ไปอาจมอง ไดวา FSAs เปนกลุม ขององคความรูท อี่ าจจะอยูใ นลักษณะของสินทรัพยทจี่ บั ตองไมได (intangible assets) ความสามารถในการเรียนรู (learning capabilities) และอาจรวมถึงความสัมพันธพเิ ศษกับภาคสวนอืน่ ๆ (Sukpanich 2007) เมื่อพิจารณา FSAs และ LSAs (หรือ CSAs) ในเชิงพลวัตจะพบ วา FSAs และ CSAs เหลานี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เขมแข็งขึ้น หรือออนแอลงได ในระยะยาวเมื่อบริษัทเขาไปมีสวนในดานการขยายตัวไป ยังตางประเทศ บริษัทสามารถพัฒนาความรูใหมๆ เทคโนโลยีใหม หรือการ ปรับโครงสรางระบบของบริษทั ใหมใหสอดคลองกับสภาพแวดลอมตางๆ ไดดี ขึ้น และมีประสบการณทางดานการจัดการดีขึ้น (Ruigrok & Wagner, 2003; Hitt, Hoskisson & Kim, 1997) ในกรณีเชนนี้ FSAs ของบริษัทสามารถ พัฒนาใหดีขึ้นไดเมื่อเวลาผานไป อยางไรก็ตามเปนไปไดวาเมื่อเวลาผานไป บริษัทมีการดําเนินกิจการในตางประเทศมากขึ้น องคกรอาจมีความซับซอน มากขึ้นจนเปนการยากที่จะประสานหรือจัดการองคกร (Geringer, Beamish & daCosta 1989) ปญหานี้อาจทําให FSAs ของบริษัทออนแอลง สําหรับใน กรณีของ CSAs เองอาจจะเปลี่ยนแปลงไดเมื่อเวลาผานไปทั้งนี้ขึ้นอยูกับการ เปลีย่ นแปลงในหลายๆ ปจจัย เชน การกํากับดูแลของรัฐบาล และสถานการณ การตลาดของประเทศ เปนตน ในภาพรวมจะเห็นไดวา งานศึกษาตางๆ เสนอวาบริษทั จะไปลงทุนใน ตางประเทศไดกต็ อ เมือ่ บริษทั มีความไดเปรียบเฉพาะของบริษทั (firm-specific advantages: FSAs) และ/หรือ ความไดเปรียบเฉพาะของประเทศหรือภูมภิ าค (location-specific advantages: LSAs หรือ country-specific advantages: Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


189

CSAs) ในการวิเคราะหเงื่อนไขที่ทําใหเกิดการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ของ MNEs จึงตองพิจารณาจากความไดเปรียบเฉพาะทั้งสองประเทศ รวม ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตของความไดเปรียบดังกลาว แนวคิดเกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจเชิงกลยุทธของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ โดยทัว่ ไปเมือ่ กลาวถึงมูลเหตุจงู ใจ (motives) ของการลงทุนโดยตรง ในตางประเทศ งานศึกษาสวนใหญมกั จะมีการกลาวถึงแรงผลักดัน (drivers) ที่ ทําใหเกิดการลงทุนในตางประเทศควบคูก นั ไปดวย (เชน ใน Hiratsuka 2006, UNCTAD 2006) Dunning (1993 และ 1998) และ Rugman (2001) ไดแบง มูลเหตุจูงใจการลงทุนโดยตรงในตางประเทศออกเปนสี่ประเภทไดแก การ ลงทุนโดยตรงในตางประเทศเพื่อ 1) การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ (national resource seeking) คือ การที่ MNEs เลือกไปลงทุนในประเทศที่มีแหลงทรัพยากรธรรมชาตินา สนใจ และสามารถซื้อดวยตนทุนที่แทจริงตําที่สดุ 2) การแสวงหาตลาด (market seeking) คือ การลงทุนในตางประเทศ โดยมีเปาหมายเพือ่ ไปเจาะตลาดประเทศนัน้ ๆ ทัง้ ทีเ่ ปนไปเพือ่ คนหาตลาดใหม หรือรักษาตลาดเดิม (อาจเปนการเพิ่มสวนแบงตลาดในตลาดเดิมดวย) 3) การแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency seeking) คือ การลงทุนใน ตางประเทศโดยที่ MNEs หวังวาจะทําใหประสิทธิภาพของบริษทั ดีขนึ้ ทัง้ ในแง ของการใชประโยชนจากการประหยัดจากขนาด (economies of scale) และ การประหยัดจากขอบเขต (economies of scope) และจากการเปนเจาของ รวมกัน (common ownership) 4) การแสวงหาสินทรัพยเชิงกลยุทธ (strategic-asset seeking) คือ การที่สินทรัพยของบริษัท ตางชาติถูกผนวกเขามาอยูกับ MNEs ผานทั้ง ทางการเขาไปตั้งโรงงาน การควบรวมกิจการ หรือในลักษณะของกิจการรวม คา เพื่อนํามาใชรวมกับสินทรัพยที่บริษัทมีอยูภายใตการเปนเจาของรวมกัน นอกเหนือจากแรงจูงใจ 4 ประการนี้ แรงจูงใจอื่นๆ อาจรวมถึง ประการแรก การไปลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงขอกําหนดและขอจํากัดของประเทศ ที่เปนแหลงทุน เชน กฎเกณฑเกี่ยวกับการใชหองทดลองในการทดลองสัตว ดร.เณศรา สุขพานิช


190

ขอจํากัดในการใหบริการทางการเงิน เปนตน ซึ่งขอจํากัดเหลานี้อาจไมมีใน ประเทศที่เปนผูรับการลงทุน เปนตน ประการที่สอง อาจรวมถึงการลงทุน เพื่อสนับสนุนการคาหรืออํานวยความสะดวกทางการคาทั้งการนําเขาและสง ออก เชน เพื่อชวยในการจัดซื้อวัตถุดิบ การขนสง การบริการหลังการขาย การติดตอกับประเทศที่รับการลงทุน เปนตน (Rugman 2001) โดยแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจ 4 ประการนี้ไดถูกนํามาใชในการ วิเคราะหแรงจูงใจของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศอยางกวางขวาง รวมถึง การวิเคราะหการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของประเทศกําลังพัฒนา (เชน ใน Hiratsuka 2006, UNCTAD 2006, Pananond 2007b และ Wee 2007) 2.1.2 แนวคิดและทฤษฎีที่ใชในการวิเคราะหผลกระทบจากการลงทุน โดยตรงในตางประเทศ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับผลกระทบของการไปลงทุนในตาง ประเทศนั้นมีทั้งแนวคิดที่เกี่ยวของกับผลกระทบตอประเทศผูรับการลงทุน (host countries) และตอประเทศที่เปนแหลงทุน (home countries) อยางไร ก็ตามเนื่องจากงานศึกษาชิ้นนี้มุงเนนที่จะศึกษาถึงผลกระทบจากการลงทุน ของบริษัทไทยในตางประเทศตอเศรษฐกิจไทย จึงจะทบทวนเฉพาะแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับผลกระทบจากการลงทุนโดยตรงในตางประเทศตอ ประเทศที่เปนแหลงทุน (home countries) แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศตอ ประเทศที่เปนแหลงทุนนั้นมีทั้งแนวคิดที่เกี่ยวกับผลกระทบในระดับจุลภาค (ระดับหนวยผลิต) และระดับมหภาค (ระดับอุตสาหกรรมหรือระดับประเทศ) แนวคิดที่เกี่ยวกับผลกระทบในระดับจุลภาค (ระดับหนวยผลิต) สําหรับแนวคิดเกีย่ วกับผลกระทบในระดับจุลภาคนัน้ โดยสวนใหญจะ อธิบายถึงผลของการขยายการลงทุนโดยตรงในตางประเทศตอผลการดําเนิน งาน (performance) ของบริษัทที่ไปลงทุน Sukpanich (2007) ไดสรุปแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับผลดี (benefits) และตนทุน (costs) ไวดังนี้ การขยายการลงทุนไปยังตางประเทศอาจกอใหเกิดประโยชนหลาย Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


191

ประการ เชน การลดความเสี่ยงของการไดมาซึ่งรายไดโดยการกระจายการ ลงทุนไปยังตางประเทศ (Rugman 1976) ประโยชนจากการที่บริษัทสามารถ ใชความไดเปรียบเฉพาะทีต่ นมีอยู (firm-specific advantages) ในตางประเทศ เพื่อใหสามารถแขงขันกับบริษัทในประเทศที่เปนผูรับการลงทุนได (Hamel & Prahalad 1985) แนวคิดนี้สอดคลองกับแนวคิดของ resource based view ที่เนนอธิบายวาการที่บริษัทมีทรัพยากรและความสามารถเฉพาะ (unique resources and capabilities) สามารถสรางความไดเปรียบในการแขงขันใหกบั บริษัท ซึ่งสามารถนําไปสูผลตอบแทนที่ดีอยางยั่งยืนได (Barney 1991 และ Rugman & Verbeke 2002) นอกจากนี้อาจรวมถึงประโยชนที่ไดจากการนํา เอาผลกระทบภายนอกเขามาอยูภายในบริษัท (internalization) ทั้งในแงผล กระทบทีเ่ ปนตัวเงิน (pecuniary externalities) ตามแนวคิดของ Hymer (1960, 1976) หรือเพื่อเปนการขจัดปญหาที่เกี่ยวกับความลมเหลวของตลาดโดย ธรรมชาติ (natural market failure) ตามแนวคิดของ Dunning & Rugman (1985) หรือกลาวโดยสรุป MNEs อาจไดประโยชนจากการไปลงทุนในตาง ประเทศในรูปของการประหยัดจากขนาด (economies of scales) การประหยัด จากการขยายชนิด (economies of scope) หรือการใชประโยชนจากความ แตกตางระหวางประเทศ (national differences) ในสวนของตนทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการไปลงทุนในตางประเทศนั้น อาจเปนไปในลักษณะของตนทุนที่เกิดขึ้นจากภายในบริษัทเอง (internal costs) เชน เมื่อบริษัทขยายการลงทุนไปยังตางประเทศอาจตองเผชิญกับ การบริหารจัดการภายในที่ยุงยากซับซอนมากขึ้นกอใหเกิดตนทุนในการ บริหารจัดการและการประสานงาน (coordination cost) ที่สูงขึ้น หรืออาจ รวมถึงตนทุนภายนอก (external costs) ตางๆ ไดแก ความเสี่ยงทางการเงิน (financial risks) เชน ความเสีย่ งทีเ่ กิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลีย่ น ความเสี่ยงทางการเมือง (political risks) เชน ความไมแนนอนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของภาครัฐ หรือความไมเปนกลางของรัฐบาล ที่เปนประเทศผูรับการลงทุน (UNCTAD 2006, Ruigrok & Wagner 2003, Zaheer & Mosakowski 1997, Geringer, Beamish & DaCosta 1989) ดร.เณศรา สุขพานิช


192

แนวคิดที่เกี่ยวกับผลกระทบในระดับมหภาค (ระดับอุตสาหกรรมหรือระดับประเทศ) นอกจากแนวคิดเกีย่ วกับผลกระทบของ MNEs ตอผลการดําเนินงาน ของบริษัทที่ไปลงทุนแลวยังมีแนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบในระดับมหภาค คือ ทัง้ ระดับอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วของและตอระบบเศรษฐกิจ Navaretti & Venables (2005) กลาววาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ MNEs อาจสงผลกระทบ ตอประเทศที่เปนแหลงทุน (home countries) ทั้งในดานผลกระทบตอตลาด ผลผลิต (product market effects) ตลาดปจจัย (factor market effects) ทั้ง ในสวนของตลาดเงินและตลาดทุน และผลกระทบสวนเกิน (spillovers) ซึง่ อาจ รวมถึงการถายโอนเทคโนโลยี (technology transfer) การเรียนรูเ กีย่ วกับตลาด และการไดมาซึง่ ทักษะของแรงงาน UNCTAD (2006) กลาววาการไปลงทุนใน ตางประเทศอาจกอใหเกิดผลกระทบตออุตสาหกรรมของประเทศที่เปนแหลง ทุนทั้งในดานการเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) และผลิตภาพ (productivity) จนนํามาซึ่งการเพิ่มความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรม (industrial competitiveness) และการปรับโครงสรางอุตสาหกรรม (industrial restructuring) ในสวนของผลกระทบตอความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมนัน้ เกีย่ วของกับการเพิม่ ศักยภาพ (upgrade) อุตสาหกรรมในสีป่ ระเด็น หลักๆ คือ การเพิ่มศักยภาพทางกระบวนการ (process upgrading) การ เพิ่มศักยภาพของตัวสินคา (product upgrading) การเพิ่มศักยภาพทางดาน หนาที่ (functional upgrading) คือ การขยายกิจกรรมที่อยูในหวงโซอุปทาน ขัน้ เดียวกัน และการเลือ่ นหรือเปลีย่ นขัน้ ในหวงโซอปุ ทาน (chain upgrading) การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ MNEs อาจสงผลกระทบตอบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน (โดยเฉพาะถา MNEs มีบทบาทมากในอุตสาหกรรม ดังกลาว) และในอุตสาหกรรมอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยูกับปจจัยตางๆ เชน ความเชื่อม โยงระหวาง MNEs กับบริษัททองถิ่น ผลกระทบสวนเกิน (spillovers) ผล กระทบทางการแขงขันตอธุรกิจทองถิน่ ความเชือ่ มโยงและปฏิสมั พันธระหวาง สถาบันตางๆ เชน มหาวิทยาลัยและศูนยวิจัย เปนตน (UNCTAD, 2006, Kaplinsky & Morris, 2001) Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


193

ในดานการปรับโครงสรางอุตสาหกรรม UNCTAD (2006) กลาววา หากประเทศใดตองการพัฒนาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรม หรือพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาพรวม ประเทศนั้นๆ จําเปนตองปรับโครงสราง เศรษฐกิจโดยการเปลี่ยนองคประกอบของผลผลิต การจางงาน การสงออก อุตสาหกรรมหรือประเภทกิจกรรม เมือ่ ประเทศนัน้ เติบโตมากขึน้ โดยการปรับ โครงสรางอาจเปนในลักษณะการยายกิจกรรมที่มีมูลคาเพิ่มนอยไปประเทศ อื่น แลวหันมาสูกิจกรรมที่มีมูลคาเพิ่มสูง ซึ่งเปนไปในลักษณะการเลื่อนไปสู ขั้นในหวงโซอุปทานที่สูงขึ้น (chain upgrading) อยางไรก็ตามปญหาสําคัญ ทีอ่ าจจะพบเมือ่ การลงทุนโดยตรงในตางประเทศกอใหเกิดการปรับโครงสราง อุตสาหกรรม คือ ปญหาทีเ่ รียกวา “hollowing out” คือเมือ่ มีการปรับโครงสราง เศรษฐกิจ เชนจากภาคอุตสาหกรรมหนึง่ ไปยังอีกภาคอุตสาหกรรม อาจมีชว ง หนึ่งที่ประเทศกําลังสูญเสียความสามารถ (capabilities) ในภาคอุตสาหกรรม เดิมแตยงั ไมสามารถแขงขันในภาคอุตสาหกรรมใหมมากนัก ตัวอยางทีเ่ ห็นได ชัดคือกรณีทปี่ รับโครงสรางอุตสาหกรรมจากภาคหัตถอุตสาหกรรม (manufacturing) ไปเปนภาคบริการ (service) ประเทศอาจสูญเสียความสามารถในการ แขงขันในดานหัตถอุสาหกรรม แตการสรางงานและองคความรูใ นภาคบริการ อาจยังจํากัด ทําใหความสามารถในการแขงขันในภาคบริการยังคงมีไมมากนัก สําหรับการพิจารณาผลกระทบของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ตอระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค นอกเหนือจากการพิจารณาดานความ สามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมและการปรับโครงสรางอุตสาหกรรม บางแนวคิดยังขยายคําอธิบายไปยังผลกระทบตอระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม เชน ผลตอตลาดปจจัยการผลิต (ทั้งตลาดทุนและตลาดแรงงาน) และตอการ คาระหวางประเทศ เปนตน 2.2 วรรณกรรมปริทัศนจากงานศึกษาเชิงประจักษ (Empirical Literature Review) วรรณกรรมปริทศั นจากงานศึกษาเชิงประจักษทสี่ าํ รวจในงานศึกษา นี้อาจแบงออกไดดังนี้ ดร.เณศรา สุขพานิช


194

2.2.1 งานศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ การลงทุ น โดยตรงในต า ง ประเทศ งานศึ ก ษาหลายชิ้ น ได ศึ ก ษาป จ จั ย ที่ ส ง ผลกระทบต อ การลงทุ น โดยตรงในตางประเทศทั้งปจจัยที่เปนปจจัยเฉพาะเจาะจงกับบริษัท (firmspecific advantages) และปจจัยเฉพาะประเทศหรือภูมภิ าค (location-specific advantages หรือ country-specific advantages) ในการวัดระดับการลงทุนโดยตรงในตางประเทศมีทั้งการใชตัวแปร ที่มีคาตอเนื่อง (continuous variables) เชน วัดจากจํานวนบริษัทลูกในตาง ประเทศ (ในงานของ Mishra & Gobeli 1998) ผลตอบแทนตอการถือหุนกรณี ที่มีการควบรวมกิจการ (ในงานของ Morck & Yeung 1992) ทุนสะสมที่จาย ใหบริษัทลูกในตางประเทศ (ในงานของ Kimura 1989) และกิจกรรมของการ ลงทุนโดยตรงในตางประเทศ (ในงานของ Pugel 1981) บางงานศึกษาวัดระดับ การลงทุนโดยตรงในตางประเทศดวยตัวแปรหุนหรือตัวแปรที่แสดงประเภท (ไมใชตัวแปรที่มีคาตอเนื่อง) เชน ใชตัวแปรที่วัดวาบริษัทเปน MNEs หรือ ไมโดยใชมาตรฐานในการวัดวาเปน MNEs ตางกัน (ดูตัวอยางจากงานของ Horst 1972, Grubaugh 1987 และ Hennart & Park 1994) หรือตัวแปรที่ วัดประเภทของ MNEs (ดูตัวอยางจากงานของ Hennart & Park 1993 และ Contractor 1984) สําหรับตัวแปรที่คาดวาจะมีผลกระทบตอระดับการลงทุนโดยตรง ในตางประเทศ เชน ขนาดของ MNEs (อาจวัดจากสินทรัพย เชน ในงานของ Horst 1972, Grubaugh 1987, Ray 1989 และ Kimura 1989) ลักษณะหรือ ประเภทอุตสาหกรรมที่ MNEs ดําเนินกิจการอยู (เชน ในงานของ Grubaugh 1987 และ Horst 1972) รวมถึงตัวแปรที่เกี่ยวกับสินทรัพยที่จับตองไมได (intangible assets) ตางๆ เชน ความรูท างดานเทคโนโลยี (อาจวัดจากความเขม ขนในการทําการวิจยั และพัฒนา เชน ในงานของ Rugman 1981a, Grubaugh 1987 และ Morck & Yeung 1992) ความสามารถทางการตลาด (อาจวัดจาก ความเขมขนในการโฆษณาประชาสัมพันธ เชน ในงานของ Grubaugh 1987) รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการ (อาจวัดจากสัดสวนหุนที่ถือโดย คนในบริษทั เชน ในงานของ Morck & Yeung 1992 หรือวัดจากสัดสวนแรงงาน Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


195

ที่ไมไดอยูในฝายผลิตเมื่อเทียบกับแรงงานทั้งหมด เชน ในงานของ Cave 1974 หรือวัดจากสัดสวนการจางผูจัดการเทียบกับการจางงานทั้งหมด เชน ในงานของ Pugel 1978) นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่เปนตัวแปรเฉพาะประเทศ หรือภูมิภาค เชน ลักษณะเฉพาะของประเทศผูรับการลงทุน เชน ในงานของ Hennart & Park (1993) และ Hennart & Park (1994) 2.2.2 งานศึกษาเกีย่ วกับความสัมพันธระหวางระดับของการเปนบรรษัท ขามชาติ และผลการดําเนินงานของบริษัท ในอดีตมีงานศึกษาหลายชิ้นที่ศึกษาความสัมพันธระหวางระดับ ของการเปนบรรษัทขามชาติ (degree of multinationality; DOM) และผล การดําเนินงาน (performance) ของบริษัท อยางไรก็ตาม จากผลการศึกษา ดานลักษณะความสัมพันธยังคงไมสามารถหาขอสรุปที่แนชัดได เพราะบาง งานศึกษาพบความสัมพันธในทางบวก เชน ในงานของ Grant (1987) และ Buhner (1987) บางงานศึกษาพบวาตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธในทาง ลบ เชน ในงานของ Michael & Shaked (1986) และ Collins (1990) ในระ ยะหลังๆ มีงานศึกษาหลายชิ้นที่พบวาความสัมพันธระหวางระดับการเปน บรรษัทขามชาติและผลการดําเนินงานของบริษทั ไมเปนเสนตรง โดยบางงาน ศึกษาพบวาความสัมพันธเปนแบบตัว U หรือ ตัว J เชน ในงานของ Daniels & Bracker (1989) และ Gomes & Ramaswamy (1999) บางงานศึกษาพบ ความสัมพันธแบบ U ควํ่า หรือ J ควํ่า เชน ในงานของ Lu & Beamish (2001) และ Ruigrok & Wagner (2003) บางงานศึกษาพบความสัมพันธเปนแบบตัว S ตามแนวนอน เชน ในงานของ Sullivan (1994b), Riahi-Belkaoui (1998) และ Contractor, Kundu & Shu (2003) Sukpanich (2007) อธิบายวางานศึกษาตางๆ มีการใชตวั แปรทีแ่ ตก ตางกันในการวัดระดับการเปนบรรษัทขามชาติ ตัวอยางตัวแปรทีใ่ ช เชน ยอด ขายสินคาในตางประเทศเทียบกับยอดขายรวม (foreign sales to total sales: FSTS) มูลคาสินทรัพยในตางประเทศเทียบกับสินทรัพยทงั้ หมด (foreign assets to total assets: FATA) ) และตัวแปรอื่นๆ เชน บริษัทลูกในตางประเทศ เทียบกับบริษัทลูกทั้งหมด (overseas subsidiaries as a percentage of total ดร.เณศรา สุขพานิช


196

subsidiaries: OSTS) บางงานศึกษามีการใชดชั นีรวมในการวัดระดับการเปน บรรษัทขามชาติ เชน ในงานของ Sullivan (1994a) นอกจากนี้ Sukpanich (2007) และ Sukpanich & Rugman (2007) ยังสรุปตัวแปรที่งานศึกษาตางๆ ใชวัดผลการดําเนินงานของบริษัท ตัวอยางตัวแปรดังกลาวคือ ผลตอบแทน ตอการถือหุน (return on equity: ROE) ผลตอบแทนตอสินทรัพย (return on assets: ROA) ผลตอบแทนตอยอดขาย (return on sales: ROS) คา Tobin’s q (Tobin’s q-value) ผลตอบแทนที่ปรับคาความเสี่ยงแลว (risk-adjusted returns) ตนทุนการดําเนินงานเทียบกับยอดขาย (operating costs as a percentage of total sales: OCTS) 2.2.3 งานศึกษาทีเ่ กีย่ วกับการลงทุนโดยตรงในตางประเทศจากประเทศ กําลังพัฒนา งานศึกษาหลายชิน้ ศึกษาการลงทุนโดยตรงจากประเทศกําลังพัฒนา ทัง้ ทางดานแนวโนมการลงทุน ประเทศหรือภูมภิ าคทีไ่ ปลงทุน รวมทัง้ มูลเหตุ จูงใจการไปลงทุนในตางประเทศ เชน ในงานศึกษาของ UNCTAD (2007) และ Hiratsuka (2006) นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาบางงานที่ศึกษาเกี่ยวกับปจจัยที่ สงผลตอการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของประเทศกําลังพัฒนา เชน งาน ของ Banga (2007) UNCTAD (2007) แสดงใหเห็นวาในป ค.ศ. 2006 การลงทุนโดยตรง ในตางประเทศของประเทศในแถบเอเชียใต เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต ในภาพรวมมีมูลคาเทากับ 103 พันลานดอลลารสหรัฐ (เพิ่มขึ้น กวารอยละ 60 จากป ค.ศ. 2005) โดยเฉพาะจากฮองกง จีน อินเดีย สิงคโปร และเกาหลี นอกจากนีก้ ารควบรวมและการซือ้ กิจการ (Merger & Acquisition: M&A) มีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นมาก หากพิจารณาในแงพื้นที่การลงทุนพบวาการ ลงทุนภายในภูมภิ าคมีสดั สวนสูงทัง้ ในแงภายในภูมภิ าคยอย (เอเชียใต เอเชีย ตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต) และระหวางภูมภิ าคยอย ในสวนของ แรงจูงใจการลงทุนพบวาแรงจูงใจในดานการแสวงหาทรัพยากร (resource seeking) จากภูมิภาคมีแนวโนมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานโยบายที่ สงเสริมการลงทุนโดยตรงมากขึ้น Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


197

Hiratsuka (2006) ศึกษาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศจาก ประเทศสมาชิก ASEAN รวมถึงศึกษาการลงทุนโดยตรงภายในภูมิภาค Hiratsuka (2006) อธิบายวา MNEs จากประเทศกําลังพัฒนามีบทบาทเพิ่ม ขึ้นในเศรษฐกิจโลก โดยประเทศสมาชิก ASEAN จะเริ่มจากการขยายการ ลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบาน ทําใหสัดสวนการลงทุนภายใน ASEAN และ ในเอเชียตะวันออกอยูในระดับสูง แลวจึงขยายไปยังตลาดที่ใหญขึ้นอยางเชน ในสหรัฐอเมริกา มูลเหตุจูงใจการลงทุนโดยตรงในตางประเทศจากประเทศ สมาชิก ASEAN นั้นหลากหลาย มีทั้งในดานของการแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency seeking) การแสวงหาตลาด (market seeking) และการแสวงหา ทรัพยากร (resource seeking) โดยเฉพาะแรงจูงใจในสองประเด็นแรกที่พบ มาก แรงจูงใจทางดานประสิทธิภาพเกิดจากการที่ MNEs ในประเทศ ASEAN แสวงหาประเทศทีจ่ ะไปลงทุน (host countries) ทีม่ ตี น ทุนทางดานแรงงานและ ที่ดินตํา โดยมีลักษณะของ “supplier following assembler” คือเมื่อวิสาหกิจ ทีท่ าํ การประกอบชิน้ สวนยายฐานการผลิตไปยังประเทศทีม่ ตี น ทุนการผลิตตาํ ผูจัดหาวัตถุดิบ (supplier) ก็มีการยายฐานการผลิตตาม ในดานการแสวงหา ตลาด (market seeking) พบวา MNEs ยักษใหญจาก ASEAN ที่มีความ แข็งแกรงมีแรงจูงใจหรือใชกลยุทธการลงทุนในตางประเทศเพือ่ แสวงหาตลาด คอนขางมาก ตัวอยางบริษัทดังกลาว เชน บริษัท Proton จากมาเลเซีย San Miguel จากฟลิปปนส Charoen Pokphand (เจริญโภคภัณฑ หรือ CP) จาก ไทย สวนปจจัยอื่นๆ ที่อาจจะมีผลตอการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ ประเทศสมาชิก เชน ขอตกลง (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ผานขอ ตกลง CEPT (Common Effective Preferential Tariff) Banga (2007) ศึกษาปจจัยทีม่ ผี ลกระทบตอการลงทุนโดยตรงในตาง ประเทศจากประเทศกําลังพัฒนา โดยแบงปจจัยตางๆ ออกเปนสามกลุม ไดแก ปจจัยทีเ่ กีย่ วกับการคา (trade-related factors) ปจจัยทีเ่ กีย่ วกับความสามารถ (capability-related factors) และปจจัยภายในประเทศ (domestic factors) โดย ใชขอ มูลการลงทุนในตางประเทศของประเทศกําลังพัฒนา 13 ประเทศในแถบ เอเชียตะวันออก เอเชียใต และเอเชียตะวันออกเฉียงใต ระหวางป ค.ศ. 1980 – 2002 ผลการศึกษาพบวาปจจัยทางการคาเปนปจจัยสําคัญที่สงผลตอการ ดร.เณศรา สุขพานิช


198

ลงทุนโดยตรงในตางประเทศของประเทศกําลังพัฒนา การรวมตัวของตลาด ทําใหการลงทุนโดยตรงในตางประเทศและการสงออกเปนปจจัยสงเสริมกัน การนําเขาทําใหการแขงขันภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เปนแรงผลักดันใหเกิด การลงทุนในตางประเทศ ขอตกลงทางการคาและการลงทุนระหวางประเทศมี สวนในการกระตุนการลงทุนในตางประเทศเชนกัน อยางไรก็ตาม นอกเหนือ จากปจจัยทางการคาพบวาปจจัยทางดานความสามารถ (โดยเฉพาะปจจัยที่ วัดการลงทุนโดยตรงจากตางประเทศ หรือ inward FDI ) ก็มีผลตอการลงทุน โดยตรงในตางประเทศ สวนปจจัยภายในประเทศทีม่ ผี ลทางบวกตอการลงทุน โดยตรงในตางประเทศอยางมีนัยสําคัญไดแก โครงสรางพื้นฐานที่มีอยูนอย แรงงานมีฝมือตนทุนสูง กฎหมายแรงงานที่มีความเขมงวด การเก็บภาษีใน อัตราสูง Bonaglia, Goldstein & Mathews (2007) ศึกษาการขยายตัวของ บรรษัทขามชาติจากประเทศกําลังพัฒนาสามบริษัท ไดแก Haier (จากจีน) Mabe (จากเม็กซิโก) และ Arcelik (จากตุรกี) ซึ่งลวนเปน MNEs ขนาดใหญ เกีย่ วกับเครือ่ งใชในบาน (home appliance) หรือทีเ่ รียกวา “white goods” โดย พบวาความสําเร็จของบริษทั ทีม่ าทีหลัง (latecomers) เหลานีเ้ กิดจากการมอง การแขงขันระดับโลกเปนโอกาสในการสรางความสามารถในการแขงขันของ บริษทั และกาวไปสูส ว นของอุตสาหกรรมทีส่ ามารถทํากําไรไดมากขึน้ และใช กลยุทธทที่ าํ ใหการมาทีหลังนัน้ กลายเปนความไดเปรียบในการแขงขัน รวมถึง การสรางความสัมพันธกับบริษัทที่เปนผูนํามากอน 2.3.4 งานศึ ก ษาที่ เ กี่ ย วกั บ การลงทุ น โดยตรงในต า งประเทศจาก ประเทศไทย ในอดีตงานศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ ประเทศไทยจะเนนไปที่การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ แรงจูงใจ หรือผลกระทบ ของการที่ตางชาติมาลงทุนในไทย ในขณะที่งานศึกษาเกี่ยวกับการลงทุน โดยตรงในตางประเทศของบริษัทไทยยังมีคอนขางจํากัด ในที่นี้จะกลาวถึง เฉพาะบางงานศึกษาที่เกี่ยวของโดยตรงกับกับการลงทุนโดยตรงในตาง ประเทศของบริษัทไทย ประกอบดวยงานของ Wee (2007) และ Pananond Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


199

(2007a และ 2007b) Wee (2007) ศึกษาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศจากบริษทั ไทย โดยศึกษาพัฒนาการของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษทั ไทย แรง ผลักดัน และผลกระทบของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศตอความสามารถ ในการแขงขันของบริษัท กรอบนโยบาย และมาตรการทางสถาบันที่สงเสริม หรือเปนอุปสรรคตอการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษทั ไทย พรอมกับ เสนอแนะนโยบายที่จะชวยสงเสริมการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ผลการ ศึกษาแสดงใหเห็นวาระดับการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทไทยมี แนวโนมสูงขึ้น บริษัทไทยไปลงทุนในตางประเทศดวยเหตุผลที่แตกตางกัน ขึ้นอยูกับอุตสาหกรรมที่บริษัทนั้นดําเนินการอยู รวมถึงประสบการณในการ ลงทุนในตางประเทศของบริษทั เครือขายความสัมพันธกบั ธุรกิจตางชาติ และ วัตถุประสงคในการลงทุน การศึกษาพบวาโดยทั่วไปบริษัทไทยมีแรงจูงใจใน การลงทุนมาจากการแสวงหาตลาด (market seeking) ในขณะทีแ่ รงจูงใจจาก การแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency seeking) ไมมีบทบาทมากนัก และเหตุ จูงใจจากการแสวงหาทรัพยากร (resource seeking) ก็มีอยูอยางจํากัด และ มักจะจํากัดการลงทุนอยูใ นประเทศในแถบเอเชีย จึงเปนลักษณะการรวมตัวใน ระดับภูมิภาค (regional integration) มูลเหตุจูงใจอื่นๆ อาจรวมถึงโอกาสการ ลงทุนจากประเทศที่รองรับการลงทุนตางๆ โดยเฉพาะดานการลงทุนเพื่อเก็ง กําไรในอสังหาริมทรัพยและการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ในดานของผลกระ ทบตอการแขงขันของวิสาหกิจนัน้ พบวามีทงั้ ทีป่ ระสบความสําเร็จและลมเหลว ในการสรางความสามารถในการแขงขัน ประเด็นดานตางๆ ทีเ่ ปนอุปสรรคตอ MNEs ไทยในการไปลงทุนตางประเทศ คือ ความยากลําบากในการทําความ เขาใจกับนโยบายของประเทศผูร บั การลงทุน การขาดขอมูลทางการตลาด การ สนับสนุนของสถาบันตางๆ และภาครัฐ แหลงทุน ทรัพยากรมนุษยโดยเฉพาะ ทีเ่ กีย่ วกับการจัดการ รวมถึงนโยบายภาครัฐทัง้ ของไทยและของประเทศผูร บั การลงทุนที่มีสวนในการจํากัดการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัท ไทย นอกจากนี้ยังเสนอแนะวาบริษัทไทยที่มีศักยภาพในการไปลงทุนในตาง ประเทศควรไดรบั การสนับสนุน เชน การพยายามเพิม่ ทักษะความสามารถให กับผูจ ดั การไทยทีบ่ ริหารการลงทุนในตางประเทศ การสรางวงสนทนาเพือ่ แลก ดร.เณศรา สุขพานิช


200

เปลี่ยนประสบการณและความคิดเห็นระหวางภาครัฐและเอกชน มีโครงการ เฉพาะเพื่อให MNEs ไทยมีความสามารถและความเขมแข็งมากขึ้น เปนตน Pananond (2007a) ศึกษาพลวัตการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ของบริษทั ไทยในชวงกอนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย (พิจารณากรณีศกึ ษา สองกรณี คือ เครือเจริญโภคภัณฑและเครือซีเมนตไทย) ในขณะที่ Pananond (2007b) ศึกษารูปแบบและแนวโนมการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตาง ประเทศ และอธิบายถึงความทาทายที่ MNEs ไทยจะตองเผชิญทั้งระดับภาพ รวมของประเทศและระดับบริษทั (พิจารณากรณีศกึ ษาเปรียบเทียบจาก MNEs ใหญสี่บริษัท คือ เครือเจริญโภคภัณฑ เครือซีเมนตไทย เอสแอนดพีกรุป และ บริษัทปตท.จํากัด มหาชน) ผลการศึกษาจากทั้งสองงานศึกษานี้แสดงใหเห็น วาชวงกอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย การลงทุนของบริษัทไทยในตางประเทศมีการกระจายตัวทั้งในแง ของประเทศผูรับการลงทุน (ทั้งประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแลว) และภาคธุรกิจที่ไปลงทุน (ทั้งภาคธุรกิจที่ใชทุนและเทคโยโลยีเขมขน และ ภาคธุรกิจที่ใชแรงงานเขมขน) แรงจูงใจหลักของ MNEs ไทยในการไปลงทุน ในตางประเทศคือการแสวงหาตลาด โดยการลงทุนดังกลาวเปนไปในลักษณะ ทีค่ อ นขางรวดเร็ว เพือ่ ทีจ่ ะไดประโยชนจากโอกาสการลงทุนในภูมภิ าคทีม่ อี ยู อยางไรก็ตาม ในขณะนั้นบริษัทไทยยังคงมีประสบการณและความสามารถ ทางเทคโนโลยีนอ ย การไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศจึงอาศัยความสามารถ ของบริษัทในดานความเชื่อมโยงและความสัมพันธ (network capabilities) ระหวางบริษัทกับภาคสวนตางๆ ของเศรษฐกิจ เชน สถาบันการเงิน รัฐบาล ประเทศผูรับการลงทุน บริษัทในไทย และ MNEs อื่นๆ เปนตน ในขณะที่ชวง หลังวิกฤตเศรษฐกิจแม MNEs ไทยยังคงมีแรงจูงใจดานการแสวงหาตลาดเปน แรงจูงใจหลักในการไปลงทุนในตางประเทศ แตแรงจูงใจในดานอื่นๆ คือ ดาน การแสวงหาประสิทธิภาพและการแสวงหาทรัพยากรก็ทวีความสําคัญมากยิง่ ขึ้น MNEs ทําใหบริษัทไทยเพิ่มการลงทุนในประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศใน ASEAN และจีน นอกจากนี้ยังมีการใชกลยุทธการไป ลงทุนในตางประเทศที่ตางออกไปจากชวงกอนวิกฤต คือ เนนการสรางความ สามารถทางเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรม (industry-specific technological Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


201

skills) มากขึน้ และใหความสําคัญกับอุตสาหกรรมหลัก (core industries) ของ ธุรกิจ ลดกิจกรรมอืน่ ๆ ทีไ่ มเกีย่ วของ รวมถึงใหความสําคัญกับการสรางกําไร มากกวาการเติบโต และเริ่มใหความสนใจในกิจกรรมที่สรางมูลคาเพิ่มใหกับ ธุรกิจมากขึ้น

ดร.เณศรา สุขพานิช


202

3 วิธีการศึกษา

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


203

ในการศึกษาภาพรวมการลงทุนโดยตรงของบริษทั ไทยในตางประเทศจะใชการ รวบรวมขอมูลทุติยภูมิจากแหลงตางๆ เชน จาก วารสารทางวิชาการ ขอมูล ทางสถิตจิ ากองคกรตางๆ ทีเ่ กีย่ วของ โดยใชทฤษฎีทเี่ กีย่ วของทัง้ ทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร (economic theory) และทฤษฎีทางดานธุรกิจระหวางประเทศ (international business theory) ในการวิเคราะหขอมูล สําหรับการศึกษาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบรรษัทขาม ชาติในอุตสาหกรรมเปาหมาย จะทําการรวบรวมขอมูลทุตยิ ภูมจิ ากแหลงตางๆ และมีการเก็บขอมูลปฐมภูมจิ ากการไปสัมภาษณบรรษัทขามชาติรายสําคัญใน อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ เพื่อใชในการวิเคราะหผล การดําเนินงานและผลกระทบจากการลงทุนทั้งในระดับบริษัท (firm Study) และระดับอุตสาหกรรม (industry study) ในสวนการวิเคราะหอุตสาหกรรมเปาหมายจากตัวอยางบริษัท ที่ทําการศึกษาจะพิจารณาลักษณะของบริษัท (ในดานลักษณะทั่วไปของ การประกอบการ ความไดเปรียบเฉพาะของบริษัทดาน FSAs และ CSAs) พฤติกรรมการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัท (ในดานรูปแบบการ ดร.เณศรา สุขพานิช


204

ลงทุน และกลยุทธหรือมูลเหตุจูงใจของการไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศ) ผลกระทบของการไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศตอผลการดําเนินงานของ บริษัท (ทั้งทางดานความสามารถในการทํากําไร การผลิต การจางงาน และ ความสามารถในการแขงขันของบริษัท) และวิเคราะหผลตออุตสาหกรรม เป า หมายพอสั ง เขป โดยอุ ต สาหกรรมเป า หมายของงานศึ ก ษาชิ้ น นี้ คื อ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สวนบริษัทที่ทําการศึกษาคือบริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)



206

4 ภาพรวมการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตางประเทศ

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


207

ในหัวขอนีจ้ ะกลาวถึงลักษณะและแนวโนมการไปลงทุนของบริษทั ไทยในตาง ประเทศตัง้ แตชว งตนคริสตทศวรรษ 1980 จนถึงป ค.ศ. 2007 รวมถึงการลงทุน โดยตรงในตางประเทศของบริษทั ไทยในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับ รูปที่ 4.1 และ รูปที่ 4.2 แสดงปริมาณสะสมและกระแสการลงทุน โดยตรงของบริษัทไทยในตางประเทศ (outward foreign direct investment: OFDI) โดยใชขอมูลจาก UNCTAD และ ธนาคารแหงประเทศไทยตามลําดับ จากรูปที่ 4.1 จะเห็นไดวาตั้งแตป ค.ศ. 1986 OFDI stock มีแนวโนมสูงขึ้น เรื่อยๆ แสดงวาในแตละปสวนใหญ net outflow OFDI มีคาเปนบวก สัดสวน ของ OFDI stock เมื่อเทียบกับ GDP (รูปที่ 4.3) มีแนวโนมสูงขึ้นเชนกัน อยางไรก็ตามยังคงถือวาประเทศไทยเปนประเทศที่เปนแหลงทุนขนาดเล็ก เมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ ทีเ่ ปนแหลงทุนในตลาดโลก ดังจะเห็นไดจากตลอด ชวงป ค.ศ. 1970 – 2007 ระดับ OFDI ของไทยเมื่อเทียบกับ OFDI ของโลก อยูในชวงรอยละ 0 - 0.1 เทานั้น (รูปที่ 4.4) แม OFDI stock จะบอกถึงสถานะของ OFDI ของไทย ณ ปตางๆ แตมิไดบอกชัดเจนวาในแตละปประเทศไทยมีระดับการลงทุนโดยตรงในตาง ดร.เณศรา สุขพานิช


208

ประเทศมากนอยเพียงใด ซึ่งขอมูลลักษณะนี้สามารถพิจารณาไดจากมูลคา OFDI flow ดังแสดงในรูปที่ 4.2 ที่แสดงทั้งระดับ outflow OFDI (การลงทุน ในทุนเรือนหุนในตางประเทศ และการกูยืมภายในบริษัทที่บริษัทในไทยให บริษัทในตางประเทศกูยืม) inflow OFDI (การนําเงินลงทุนในทุนเรือนหุนใน ตางประเทศกลับเขามาในไทย หรือการชําระเงินกูภายในบริษัทของบริษัทใน ตางประเทศที่ชําระใหบริษัทไทย) และ net outflow OFDI (outflow OFDI – inflow OFDI) งานศึกษาชิ้นนี้แบงชวงสถานการณของ OFDI flow ออกเปน 4 ชวง คลายกับการแบงชวงของ Wee (2007) และ Pananond (2007b) คือ ชวงที่ 1: ชวงตนของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ คือ ชวงกอน ป ค.ศ. 1986 เปนชวงที่บริษัทไทยไปลงทุนในตางประเทศไมมากนัก การไป ลงทุนโดยตรงในตางประเทศสวนใหญเปนการลงทุนจากภาคสถาบันการเงิน และภาคการคา (ตารางที่ 4.1) ทัง้ นีเ้ ปนเพราะในชวงเวลาดังกลาวประเทศไทย มีการใชนโยบายการควบคุมทางการเงินทีเ่ ขมงวด โดยเฉพาะการควบคุมอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ OFDI flow ของไทยสวนใหญจงึ ไปยังประเทศ ที่เปนศูนยกลางทางการเงินและการคา เชน สหรัฐอเมริกา ฮองกง ญี่ปุน และ สิงคโปร นอกจากนี้ยังมีการลงทุนบางสวนจากภาคกอสรางและบางสวนจาก ภาคอุตสาหกรรม เชน สิ่งทอ อาหารและนํ้าตาล เปนตน ชวงที่ 2: ชวงการเติบโตของ OFDI คือชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 เปน ชวงที่ OFDI stock และ OFDI flow มีการเติบโตอยางตอเนื่อง (รูปที่ 4.1 และ รูปที่ 4.2) โดย OFDI stock เพิ่มขึ้นจาก 15.6 ลานดอลลารสหรัฐในป ค.ศ. 1986 เปน 3,137 ลาน ดอลลารสหรัฐในป ค.ศ. 1996 ในขณะที่ OFDI flow เพิ่มขึ้นจาก 1 ลานดอลลารสหรัฐในป ค.ศ. 1986 เปน 932 ลานดอลลารสหรัฐ ในป ค.ศ. 1996 สัดสวนของ OFDI stock และ OFDI flow เมื่อเทียบกับ GDP และเทียบกับ OFDI ของตลาดโลกก็มีแนวโนมสูงขึ้น (รูปที่ 4.3 และ รูปที่ 4.4) ในชวงเวลาดังกลาวการลงทุนโดยตรงในภาคอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะการ ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใชและอุปกรณไฟฟา) และภาคบริการมีบทบาท มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในป ค.ศ. 1996 การลงทุนในตางประเทศของทั้งสองภาค เศรษฐกิจมากเปนอันดับ 1 และ 2 ตามลําดับ ในขณะที่ภาคสถาบันการเงิน Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


209

ลดบทบาทความสําคัญลง (ตารางที่ 4.1) การลงทุนในตางประเทศที่เพิ่มขึ้น เกิดจากหลายปจจัย สวนหนึ่งเปนผลมาจากการเปดเสรีทางการเงินชวงตน คริสตทศวรรษ 1990 โดยในชวงป ค.ศ. 1987 - 1997 ไทยใชระบบอัตราแลก เปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) กองทุนอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund, EEF) สามารถปกปองคาเงินบาทเมื่อเทียบ กับเงินดอลลารสหรัฐโดยใชมาตรการทางการเงินควบคูไปกับการใชระบบ อัตราแลกเปลี่ยนแบบมีการจัดการ โดยในชวงเวลาดังกลาวอัตราแลกเปลี่ยน คอนขางคงที่อยูที่ประมาณ 25 – 25.5 บาทตอหนึ่งดอลลารสหรัฐ นอกจากนี้ ในป ค.ศ. 1993 ไดมีการกอตั้ง Bangkok International Banking Facilities (BIBF) ขึ้นเพื่อสงเสริมใหไทยเปนศูนยกลางทางการเงิน โดย BIBF อนุญาต ใหธนาคารพาณิชยไทยและธนาคารพาณิชยตางชาติสามารถรับฝากเงินหรือ กูยืมเงินเปนเงินสกุลตางประเทศไดและสามารถปลอยกูในไทยและตางชาติ การกอตั้ง BIBF ทําใหบรรษัทขามชาติของไทยสามารถเขาถึงแหลงเงินทุน ไดงายขึ้น ประกอบกับเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนทําใหความเสี่ยงดาน อัตราแลกเปลีย่ นของการไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบรรษัทขามชาติ ลดลง ปจจัยเหลานี้สงผลตอการขยายตัวของการลงทุนของบริษัทไทยในตาง ประเทศในชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 หากพิจารณาประเทศที่บริษัทไทยไปลงทุนจะพบวา ในชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 ไทยมีการขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคตางๆ มากขึ้นเมื่อ เทียบกับชวงกอนป ค.ศ. 1986 ที่การลงทุนกระจุกตัวอยูแตในประเทศที่เปน ศูนยกลางการคาและการลงทุน ในกรณีของ ASEAN จากรูปที่ 4.5 จะเห็น ไดวาในชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 ไทยเริ่มขยายการลงทุนไปยังประเทศใน ภูมิภาค ASEAN มากขึ้น รูปที่ 4.6 และ 4.7 แสดงใหเห็นวาในชวงป ค.ศ. 1986 – 1991 ประเทศหลักใน ASEAN ที่ไทยไปลงทุนยังคงเปนสิงคโปร หลัง จากป ค.ศ. 1992 ASEAN กลายเปนภูมิภาคที่รองรับการลงทุนจากไทยมาก ทีส่ ดุ (รูปที่ 4.5) และการลงทุนมีการกระจายตัวไปยังประเทศสมาชิก ASEAN ตางๆ มากขึน้ โดยเฉพาะในชวงป ค.ศ. 1995 และ ค.ศ. 1996 ทีก่ ารลงทุนไหล ไปยังประเทศฟลิปปนสสูงถึง 146 และ 73 ลานดอลลารสหรัฐ ตามลําดับ (รูป ที่ 4.6) สําหรับประเทศอืน่ ๆ ในเอเชียทีน่ อกเหนือจากประเทศสมาชิก ASEAN ดร.เณศรา สุขพานิช


210

อันไดแก จีน ญีป่ นุ ฮองกง ไตหวัน และเกาหลีใต รูปที่ 4.8 แสดงใหเห็นวาการ ลงทุนในประเทศดังกลาวในภาพรวมแลวมีแนวโนมสูงขึ้นเชนกัน โดยเฉพาะ การลงทุนในฮองกงและจีนที่ระดับการลงทุนสูงขึ้นอยางเห็นไดชัด ในสวนของทวีปอเมริกาเหนือนัน้ พบวาสหรัฐยังเปนประเทศสําคัญใน การรับการลงทุนจากไทย ในชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 บริษัทไทยไปลงทุนใน สหรัฐเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยกเวนในป ค.ศ. 1988 และ ค.ศ. 1992 แตอัตราการ เพิ่มนอยกวากรณีของประเทศสมาชิก ASEAN ในภาพรวม สวนการลงทุนใน ภูมิภาคอื่น ๆ เชน ประเทศในสหภาพยุโรป (European Union: EU) ประเทศ ออสเตรเลีย หลังจากป ค.ศ. 1993 เริ่มทวีความสําคัญขึ้น แตการลงทุนใน สวิตเซอรแลนดกลับมีแนวโนมลดลง (รูปที่ 4.9 และ รูปที่ 4.10) ชวงที่ 3: ชวงหลังจากวิกฤตการณทางการเงิน คือชวงป ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2000 เปนชวงที่การลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตางประเทศมี แนวโนมลดลงอยางเห็นไดชัด (รูปที่ 4.2) สัดสวนของ OFDI flow เมื่อเทียบ กับ GDP และการลงทุนในตลาดโลกโดยเฉพาะสัดสวนหลังมีแนวโนมลดลง มาก (รูปที่ 4.3 และ 4.4) การลดลงของ OFDI flow เปนการลดลงในเกือบทุก ภาคเศรษฐกิจ (ยกเวนภาคการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในป ค.ศ. 1999) เกือบทุก อุตสาหกรรม (ตารางที่ 4.2) และเกือบทุกภูมภิ าคทีไ่ ปลงทุน (รูปที่ 4.5) ยกเวน ในภูมิภาค ASEAN ที่การลงทุนมีแนวโนมเพิ่มขึ้นชวงป ค.ศ. 1999 เปนผล มาจากการลงทุนในสิงคโปรที่เพิ่มสูงขึ้นในปดังกลาว ในขณะที่การลงทุนใน ประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ยังคงมีแนวโนมลดลง (รูปที่ 4.6) สําหรับประเทศ หลักอื่นๆ นอกจาก ASEAN อันไดแก จีน ฮองกง และสหรัฐอเมริกาพบวา OFDI ในป ค.ศ. 1997 ลดลงมาก การลดลงอยางมากของ OFDI flow ไดรับผลกระทบมาจากการเกิด วิกฤตการณทางการเงินในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ประเทศไทยประกาศลอยตัวคาเงินบาท ทําใหเงิน บาทถูกกําหนดโดยอุปสงคและอุปทานอยางแทจริง (Independently floating) ปรากฏวาเงินบาทออนคาลงอยางมาก ทําใหตน ทุนในการไปลงทุนโดยตรงใน ตางประเทศสูงขึน้ ประกอบกับบริษทั ไทยทีเ่ คยไปกูย มื เงินสกุลตางชาติเพือ่ มา ใชในการลงทุนทัง้ ในและตางประเทศตางตองประสบกับปญหาภาวะหนีส้ นิ คิด Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


211

เปนสกุลเงินบาทสูงขึน้ มาก ปจจัยเหลานีส้ ง ผลใหการลงทุนในตางประเทศของ บริษทั ไทยลดลง บริษทั ตางๆ หันมาใหความสําคัญกับการรักษาตลาดภายใน ประเทศมากกวาการไปลงทุนในตางประเทศ สงผลให OFDI outflow ลดลง (ยกเวนในป 1999) ในขณะที่ OFDI inflow เพิ่มขึ้น ทําใหชวงหางระหวาง OFDI outflow และ OFDI inflow ลดลง (ดูรูปที่ 4.2) OFDI inflow ที่เพิ่มขึ้น เปนผลทั้งจากการถอนเงินลงทุนคืน และการจายคืนหนี้สินภายในบริษัทจาก บริษทั ทีอ่ ยูใ นตางประเทศมายังบริษทั แมในไทย นอกจากนีย้ งั มีบริษทั จํานวน มากทีข่ ายสินทรัพยในตางประเทศดังจะเห็นไดจากมูลคาและจํานวนการควบ รวมกิจการและการเขาซือ้ กิจการ (Merger and acquisition, M&A) ในดานการ ขาย (M&A sales) สูงขึ้นมากในชวงป ค.ศ. 1997 – 2000 ในขณะที่ดานการ ซื้อ (M&A purchases) มีแนวโนมทรงตัวถึงลดลง สงผลใหชวงหางของ M&A ดานขายและดานซื้อเพิ่มขึ้นมากในชวงเวลาดังกลาว (รูปที่ 4.11 และ 4.12) เมื่อพิจารณาเปนรายประเทศจะพบวาการลงทุนในสิงคโปรป ค.ศ.1998 และ การลงทุนในสหรัฐอเมริกาป ค.ศ. 1999 และ ค.ศ. 2000 net OFDI flow มีคา ติดลบ (รูปที่ 4.6 และ 4.9) แสดงวา OFDI outflow ในชวงเวลาดังกลาวนอย กวา OFDI inflow ชวงที่ 4: ชวงฟนตัวของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ คือชวงป ค.ศ. 2001 – 2006 จากรูปที่ 4.2 จะเห็นไดวา ในชวงเวลาดังกลาว OFDI outflow เพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะหลังจากป ค.ศ. 2002 อยางไรก็ตามตั้งแตป ค.ศ. 2002 OFDI inflow ก็มแี นวโนมเพิม่ สูงขึน้ ทําให net OFDI outflow ไมเพิม่ สูงขึน้ มากเหมือนกับมูลคา OFDI outflow (ในป 2004 net OFDI outflow มีคา ลดลง) ตารางที่ 4.2 แสดงใหเห็นวาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศในภาคเศรษฐกิจ ตางๆ สวนใหญมแี นวโนมเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมทีก่ ารเพิม่ ขึน้ ของ OFDI เห็นไดชัด โดยอุตสาหกรรมที่ OFDI สูงขึ้นมากคืออุตสาหกรรม อาหารและนํ้าตาล อุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ สําหรับอุตสาหกรรมเครื่อง ใชและอุปกรณไฟฟาในชวงป ค.ศ. 2001 – 2003 OFDI มีแนวโนมสูงขึ้นใน ขณะที่ป ค.ศ. 2004 – 2005 OFDI มีแนวโนมลดลง แลวกลับมาทะยานขึ้น อีกครัง้ ในป ค.ศ. 2006 เมือ่ พิจารณาประเทศและภูมภิ าคทีบ่ ริษทั ไทยไปลงทุน พบวา OFDI ไปยังประเทศในแถบ ASEAN มีแนวโนมสูงขึ้น (รูปที่ 4.5) โดย ดร.เณศรา สุขพานิช


212

เฉพาะในประเทศสิงคโปร (หลังป ค.ศ. 2004) และพมา (หลังป ค.ศ. 2002) (รูปที่ 4.6 และ 4.7) สวนการลงทุนในภูมิภาคอื่นคอนขางทรงตัว สําหรับประ เทศอื่นๆ นอกจากประเทศสมาชิก ASEAN พบวาการลงทุนในจีนและสหรัฐ มีแนวโนมเพิ่มขึ้น (คา OFDI ของสหรัฐฟนตัวจากคาติดลบในป ค.ศ. 2000) (รูปที่ 4.8 และ 4.9) สําหรับป ค.ศ. 2007 นั้นพบวามูลคา OFDI outflow ลดลง ในขณะที่ OFDI inflow เพิ่มขึ้น สงผลให net OFDI outflow ลดลง (รูปที่ 4.2) การลงทุน โดยตรงในภาคอุตสาหกรรมลดลงมากและเปนการลดลงในทุกอุตสาหกรรม (ตารางที่ 4.2) การลงทุนในภูมิภาคตางๆ มีแนวโนมลดลงเชนกัน (รูปที่ 4.5) ยกเวนการลงทุนในประเทศอื่นในเอเชียที่ไมใชประเทศสมาชิก ASEAN ที่ มีแนวโนมเพิ่มขึ้นสวนทางกับการลงทุนในภูมิภาคอื่น (รูปที่ 4.2) ทั้งนี้เปน ผลมากจากการลงทุนในฮองกงที่เพิ่มขึ้นมาก (รูปที่ 4.8) สําหรับประเทศใน ASEAN การลงทุนโดยตรงจากไทยไปยังประเทศสมาชิกมีแนวโนมลดลง ทุกประเทศยกเวนประเทศลาว (รูปที่ 4.6 และ รูปที่ 4.7) สวนการลงทุนใน สหรัฐอเมริกาพบวา OFDI flow มีคาติดลบ(รูปที่ 4.9) การที่ระดับการลงทุน โดยตรงในตางประเทศในป ค.ศ. 2007 ลดลงสวนหนึง่ เปนผลมาจากในป ค.ศ. 2007 คาเงินบาทผันผวนคอนขางมาก การไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ทําใหผูประกอบการตองประสบกับความเสี่ยงดานอัตราแลกเปลี่ยน สวนจะ พิจารณาวานี่เปนจุดเริ่มตนของการชะลอการลงทุนในระยะยาวหรือไมนั้น ขึน้ อยูก บั หลายปจจัยทัง้ ปจจัยทางดานเศรษฐกิจการเมืองในประเทศไทยและ ประเทศที่รับการลงทุน คาเงินบาท การเปดเสรีดานการเงินของประเทศที่จะ ไปลงทุน เปนตน แตหากพิจารณาจากแนวโนมเศรษฐกิจในป ค.ศ. 2008 ของ ไทยและของประเทศในภูมิภาคตางๆ ที่คอนขางชะลอตัว จึงเชื่อวาการลงทุน โดยตรงในตางประเทศของบริษัทไทยนาจะมีแนวโนมลดลงตอไป ในสวนของการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับนั้น ตารางที่ 4.3 แสดงภาพรวมระดับการลงทุนโดยตรง ในตางประเทศของบริษัทผูประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ 6 บริษัท จากตารางที่ 4.1 จะเห็นไดวาในป ค.ศ. 2007 ระดับการลงทุนโดยตรง ในตางประเทศ (outward FDI stock) ของทั้ง 6 บริษัทในภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


213

834 ลานบาท ในป ค.ศ. 2006 เปน 1,366 ลานบาทในป ค.ศ. 2007 (เพิ่มขึ้น ถึงรอยละ 64) โดยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสวนใหญเปนผลมาจากการขยายการ ลงทุนไปยังประเทศในแถบยุโรปโดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และ อังกฤษ ที่อัตราการขยายตัวของ outward FDI stock อยูที่รอยละ 234, 588 และ 6.9 ตามลําดับ และการขยายการลงทุนไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาทีอ่ ตั รา การขยายตัวสูงถึงรอยละ 122 นอกจากนีย้ งั มีการลงทุนโดยตรงไปยังประเทศ จีน เวียดนาม และสิงคโปรมากขึ้น ในขณะที่การลงทุนในอินเดียไมไดเพิ่มขึ้น (outward FDI stock มีคาเทาเดิม)

ดร.เณศรา สุขพานิช


214

5 การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของ บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


215

บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) กอตั้งขึ้นเมื่อป ค.ศ. 1973 เขาจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพยป ค.ศ. 1990 ภายใตอักษรยอ “Pranda” ปจจุบัน มีทุนจดทะเบียน 410 ลานบาท เปนบริษัทผูผลิตและผูจัดจําหนายเครื่อง ประดับแทเปนหลัก และเปนผูน าํ ดานการสงออกเครือ่ งประดับอัญมณีของไทย (รายงานประจําป บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด ป ค.ศ. 2008) นอกจาก นี้แพรนดายังเปนผูลงทุนโดยตรงในตางประเทศรายใหญ ในลําดับตอไปจะ วิเคราะหการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทแพรนดาในประเด็น ตางๆ ดังตอไปนี้ 5.1 ความไดเปรียบเฉพาะของบริษัท (FSAs ของแพรนดา) แพรนดาเปนบริษัทที่มีความไดเปรียบสําหรับการไปลงทุนโดยตรง ในตางประเทศในหลายดาน คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ การพัฒนาตราสินคา การวิจัยและพัฒนา และการบริหารจัดการ ในดานการพัฒนาผลิตภัณฑและ ตราสินคานัน้ บริษทั มีการจัดตัง้ “ศูนยผลิตภัณฑและพัฒนาตราสินคา” มาตัง้ แต ป ค.ศ. 1993 ในชวงตนของการเปนผูผลิตอัญมณีนั้นบริษัทมีการผลิตตามคํา ดร.เณศรา สุขพานิช


216

สั่งซื้อ (original equipment manufacturing: OEM) เปนสวนมาก ตอมาจึง พัฒนามาเปนการผลิตโดยมีการออกแบบเอง (original design manufacturing: ODM) และมีการพัฒนาตราสินคาของตนเอง (original brand manufacturing: OBM) มาอยางตอเนื่อง (ตัวอยางแบรนดของบริษัท เชน Prima Gold, Prima Diamond, Prima Art, Century Gold, Esse, Cristalina, H. Gringoire, Gold Marr, Julia, Batik Silver, Cai, Merii, Kroll hearts เปนตน) ในปจจุบันบริษัท มีการผลิตแบบ OEM นอยมาก ในขณะที่การผลิตประมาณรอยละ 76 เปน ลักษณะของ ODM และประมาณรอยละ 24 คือการผลิตแบบ OBM (ขอมูล จากการสัมภาษณ) ทัง้ นีเ้ ปนเพราะแพรนดามีทมี งานการออกแบบทีม่ ที กั ษะใน การพัฒนาแบบสินคาใหกับตราสินคาชั้นนํา (ในฐานะผูผลิตในรูปแบบ ODM) และพัฒนาตราสินคาของตนเอง (ในฐานะผูผลิตในรูปแบบ OBM) จากความ ไดเปรียบนีบ้ ริษทั ตัง้ เปาหมายการผลิตลักษณะ OBM ไวทรี่ อ ยละ 50 ของการ ผลิตทัง้ หมด (ขอมูลจากการสัมภาษณ) นอกจากนีใ้ นประเด็นดานการวิจยั และ พัฒนา แพรนดาใหความสําคัญคอนขางมาก ดังจะเห็นไดจากคาใชจา ยเพือ่ การ วิจัยและพัฒนามีแนวโนมสูงขึ้นอยางตอเนื่องนับตั้งแตป 2000 (รูปที่ 4.13) ในสวนของประเด็นดานการบริหารจัดการ จุดเดนประการหนึ่ง ของบริษัทแพรนดาคือการกระจายความเสี่ยงทั้งในดานการผลิตและการ จัดจําหนาย ในดานการผลิตแพรนดามีโรงงาน 7 โรงงานใน 4 ประเทศ คือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ จีน ปจจุบันมีกําลังการผลิตมากกวา 8 ลานชิน้ ตอป สวนฐานการจัดจําหนายกระจายอยูต ามภูมภิ าคตางๆ ของโลก รวมถึง ทวีปอเมริกาเหนือ (ไดแก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) ยุโรป (ไดแก อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน) เอเชีย (ไดแก อินโดนีเซีย ญี่ปุน จีน เวียดนาม อินเดีย และไทย) ในปจจุบันยอดขายจากแตละภูมิภาคประมาณ รอยละ 40 30 และ 30 ตามลําดับ โดยเปาหมายคือการกระจายยอดขายใน แตละภูมิภาคใหอยูในระดับใกลเคียงกันเพื่อกระจายความเสี่ยงทางดานราย ได (ขอมูลจากการสัมภาษณ) นอกจากนี้แพรนดายังมีการกระจายความเสี่ยง ทางรายไดโดยการขายสินคาในหลายระดับราคา นอกจากความไดเปรียบดังที่กลาวมาขางตน แพรนดายังมีความ ไดเปรียบในดานการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจากแพรนดาเปนบริษัทผลิตเครื่อง Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


217

ประดับขนาดใหญ การจัดซื้อวัตถุดิบจึงไดประโยชนจากการประหยัดจาก ขนาด (economies of scale) เพราะบริษัทใชลักษณะการรวมศูนยการจัดซื้อ คือไมไดแยกซื้อตามแหลงผลิตในประเทศตางๆ แตเปนการจัดซื้อรวมแลวจึง กระจายวัตถุดิบ เชน ทอง เงิน และพลอย ไปยังประเทศที่เปนแหลงผลิต โดย ทัว่ ไปแพรนดาจะนําเขาทองทีม่ าจากนาวาสกอเชีย โดยทองเหลานีต้ อ งมีตรา รับรองความบริสทุ ธิท์ งั้ ในระดับรอยละ 99.9 และรอยละ 96.5 การซือ้ ทองอยาง เปนระบบเชนนี้เปนสวนหนึ่งของการสรางความมั่นใจใหลูกคาที่มาซื้อเครื่อง ประดับทองของแพรนดาวาจะไดทองที่มีความบริสุทธิ์ตามที่ระบุไวจริง จึง เปนอีกหนึ่งความไดเปรียบเฉพาะของแพรนดา สวนเงินจะจัดซื้อผานบริษัท เคแซด แพรนดา (KZ Pranda) ที่เปนบริษัทรวมทุนของแพรนดา สําหรับ พลอยสวนใหญแพรนดาจะซื้อพลอยที่เจียระไนแลวจากภายในประเทศไทย นอกจากแพรนดาจะมีความไดเปรียบทั้งในดานการประหยัดจากขนาดจาก การเปนบริษัทขนาดใหญที่มีกําลังการผลิตมากแลว ประสบการณในการทํา ธุรกิจดานนี้มายาวนานทําใหมีความคุนเคยกับผูคาพลอยมานาน จึงสามารถ เลือกซือ้ พลอยคุณภาพดีในราคาทีถ่ กู กวาผูผ ลิตเครือ่ งประดับอัญมณีรายยอย และผูผลิตเครื่องประดับอัญมณีในตางประเทศที่มาซื้อพลอยจากไทย 5.2 ลั ก ษณะและพฤติ ก รรมการลงทุ น โดยตรงในต า งประเทศของ แพรนดา ตารางที่ 4.4 และ ตารางที่ 4.5 แสดงมูลคาและลักษณะการลงทุน โดยตรงของแพรนดาในประเทศตางๆ ในภูมิภาคตางๆ จะเห็นไดวาแพรน ดาเริ่มจากการลงทุนในตางประเทศในลักษณะการขยายการจัดจําหนายไป ยังประเทศอเมริกาและฝรั่งเศส (ในป ค.ศ. 1992) อังกฤษ (ในป ค.ศ. 1994) หลังจากนัน้ จึงเริม่ ขยายฐานการผลิตและจัดจําหนายไปยังประเทศในภูมภิ าค อาเซียน ไดแก เวียดนามและอินโดนีเซีย (ในป ค.ศ. 1995) สวนสิงคโปร เปนการจัดตัง้ บริษทั ลงทุนเพือ่ ไปลงทุนในมาเลเซียและอินโดนีเซีย (ในป ค.ศ. 1995) และเริ่มมีการลงทุนในจีน (ในป ค.ศ. 2003) หลังจากนั้นจึงขยายฐาน การจัดจําหนายไปยังเยอรมนี (ในป 2005) และอินเดีย (ในป ค.ศ. 2007) ใน ลําดับตอไปจะพิจารณาการลงทุนในประเทศตางๆ โดยแบงเปนประเทศที่ ดร.เณศรา สุขพานิช


218

แพรนด า ไปลงทุ น เพื่ อ การผลิ ต และการจั ด จํ า หน า ย (ได แ ก เวี ย ดนาม อินโดนีเซีย และจีน) และประเทศที่แพรนดาไปลงทุนเพื่อการจัดจําหนาย เพียงอยางเดียว (ไดแก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และอินเดีย) 5.2.1 การลงทุนในประเทศที่เปนแหลงผลิตและจัดจําหนาย เวียดนาม แพรนดาไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในเวียดนาม เพราะ ปจจัยทางดานคาแรงที่มีราคาคอนขางถูก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคาแรงใน กรุงเทพมหานคร จึงจัดอยูในกลยุทธการลงทุนเพื่อแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency-seeking FDI) นอกจากนี้แพรนดายังไปลงทุนในเวียดนามเพื่อ วัตถุประสงคในการขยายตลาด (market-seeking FDI) ดวย โดยแพรนดาเอง เริ่มสรางตราสินคาคือ Esse (เครื่องประดับเงิน) เขาไปทําตลาดในเวียดนาม สําหรับปจจัยอื่นที่เปนสาเหตุทําใหแพรนดาไปลงทุนในเวียดนามคือความ ไดเปรียบเฉพาะของประเทศ (CSAs) นอกจากเวียดนามจะมี CSAs ดาน คาแรงราคาถูกแลว ยังเปนประเทศที่รัฐบาลยินดีเปดรับการลงทุนจากตาง ประเทศเพราะรัฐเชื่อวาจะทําใหประเทศไดรับประโยชน จึงเปนปจจัยหนึ่ง ที่เสริมใหเวียดนามมีบรรยากาศที่ดีสําหรับการลงทุนของบริษัทตางชาติ นอกจากนีห้ ากพิจารณาจากปจจัยทางดานขอตกลงทางการคาระหวางประเทศ แพรนดามองเห็นวาการไปลงทุนในเวียดนามนาจะเปนประโยชนในฐานะเปน แหลงผลิตเพื่อการสงออก ทั้งนี้เพราะหากประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทาง ภาษีศลุ กากร (the generalized systems of preferences: GSP) จากประเทศ คูคา แตเวียดนามยังไมถูกตัด GSP การผลิตที่เวียดนามจะทําใหแพรนดายัง คงไดรับประโยชนทางภาษีศุลกากรอยู อินโดนีเซีย ในระยะแรกแพรนดาวางแผนวาจะไปลงทุนในอินโดนีเซีย ผานการลงทุนในบริษทั ลงทุน Pranda Singapore Pte. Limited (บริษทั ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ เพือ่ การลงทุนในมาเลเซียและอินโดนีเซีย สําหรับมาเลเซีย บริษทั Pranda Acceptance Sdn. Bhd. ไดหยุดดําเนินการไปตั้งแตป ค.ศ. 2000) อยางไร ก็ตาม ในระยะเวลาตอมาบริษัทเห็นวาการเขาไปลงทุนโดยตรงในอินโดนีเซีย โดยเขาไปรวมทุนกับบริษทั ผูผ ลิตเครือ่ งประดับในอินโดนีเซียนาจะเปนกลยุทธ ที่เหมาะสม จึงเขาไปถือหุนบริษัทในอินโดนีเซียรอยละ 51 ในป ค.ศ. 1995 Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


219

สาเหตุหลักของการเขาไปรวมทุนกับบริษัทอินโดนีเซียคือการแสวงหาตลาด (market-seeking FDI) โดยเฉพาะตลาดในประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่ แพรนดายังไมมกี ลุม ลูกคาในตลาดนีอ้ ยูก อ น การเขารวมทุนกับบริษทั ทองถิน่ ทําใหแพรนดามีความไดเปรียบในการเขาถึงลูกคาในอินโดนีเซียไดงายกวา การไปลงทุนโดยตรงเองทั้งหมด นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีความไดเปรียบ เฉพาะของประเทศ (CSAs) ตรงทีร่ ฐั บาลของประเทศมีแนวนโยบายทีต่ อ นรับ การลงทุนจากตางชาติ จี น สาเหตุ ห ลั ก ที่ แ พรนด า ตั ด สิ น ใจไปลงทุ น สร า งโรงงานในจี น คือตลาดอัญมณีและเครื่องประดับขนาดใหญ (market-seeking FDI) ซัน เฟงมิน (Sun Fengmin) เลขาธิการสมาคมการคาอัญมณีและเครือ่ งประดับจีน (the Gems & Jewelry Trade Association of China) กลาววายอดขายรวม ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในจีน ณ ปลายป ค.ศ. 2007 อยูที่ ประมาณ 170 พันลานหยวน เปนตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่สําคัญเปน อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุน โดยขอมูลจากทางสมาคม ชีใ้ หเห็นวาหลังจากป ค.ศ. 2007 เปนตนไปอัตราการเติบโตของยอดขายนาจะ ยังคงสูงกวารอยละ 15 และคาดวาภายในป ค.ศ. 2010 ยอดขายอัญมณีและ เครื่องประดับนาจะเพิ่มขึ้นสูงกวา 200 พันลานหยวน และอาจสูงถึง 300 พัน ลานหยวน ภายในป ค.ศ. 2020 (อางในเณศรา 2551) ดวยตลาดขนาดใหญ การไปลงทุนในจีนจึงมุงเนนที่จะจําหนายในตลาดจีนเปนหลักมากกวาการ ผลิตเพื่อการสงออก นอกจากปจจัยดานตลาดจีนยังมีความไดเปรียบเฉพาะ ของประเทศ (CSAs) ในแงที่มีแรงงานราคาถูก อีกเหตุผลหนึ่งในการไปสราง โรงงานในจีนจึงเปนการลงทุนเพื่อแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency-seeking FDI) นอกจากนีป้ จ จัยทางดานมาตรการทางการคาระหวางประเทศยังเปนอีก ประเด็นทีแ่ พรนดาใหความสนใจเพือ่ ประกอบการตัดสินใจไปเปดโรงงานในจีน แทนการสงสินคาออกไปจีน เพราะกอนทีจ่ ะมีขอ ตกลงการคาเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN – China Free Trade Agreement: ACFTA) สินคาเครือ่ งประดับของ ไทยจะถูกเก็บภาษีจากจีนในอัตราทีค่ อ นขางสูง แพรนดาจึงมองวาการเขาไป ตัง้ โรงงานผลิตและขายในจีนเลยเปนอีกทางเลือกหนึง่ เพือ่ หลีกเลีย่ งปญหาดัง กลาว อยางไรก็ตาม การไปลงทุนผลิตสินคาในจีนนัน้ แพรนดาพบวามีอปุ สรรค ดร.เณศรา สุขพานิช


220

พอสมควรทั้งในดานความแตกตางทางดานวัฒนธรรมในการประกอบธุรกิจ และความแตกตางในการบังคับใชกฎระเบียบตางๆ กับบริษัทจีนและบริษัท ตางชาติ ทําใหการผลิตในจีนแขงขันกับผูผลิตในประเทศไดยาก โดยเฉพาะ การรับจางผลิตที่แพรนดาจะผลิตเครื่องประดับคุณภาพสูงกวาสินคาจากผู ผลิตจีนโดยทั่วไป แตผูวาจางมักตองการจายในราคาระดับเดียวกัน ดวยเหตุ นีแ้ พรนดาจึงพยายามปรับกลยุทธจากการรับจางผลิตไปเปนการนําตราสินคา ที่มีอยูอยาง Esse ไปทําตลาดในจีน นอกจากนี้ตามขอตกลง ACFTA ที่ภาษี ศุลกากรในสินคาอัญมณีและเครื่องประดับระหวางประเทศคูสัญญาจะลดลง เรื่อยๆ การลงทุนของแพรนดาในจีนจึงอาจมีการปรับกลยุทธใหเหมาะสมตอ ไป เชนเนนเรื่องการจัดจําหนายมากขึ้น 5.2.2 การลงทุนในประเทศที่เปนแหลงจัดจําหนายเพียงอยางเดียว สหรั ฐ อเมริ ก า เหตุ ผ ลหลั ก ที่ แ พรนด า เข า ไปตั้ ง บริ ษั ท ย อ ยใน สหรัฐอเมริกาเพื่อการจัดจําหนาย เพราะสหรัฐอเมริกามี CSAs ในดานเปน ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับขนาดใหญที่สุดในโลก สหรัฐอเมริกาจึงเปน ประเทศแรกๆ ที่แพรนดาตั้งใจจะขยายฐานการจัดจําหนายไปถึง ดังนั้น วัตถุประสงคหลักของการลงทุนในสหรัฐอเมริกาของแพรนดาคือการแสวงหา ตลาด (market-seeking FDI) ทั้งตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แตเดิม มีบริษัทยอยในสหรัฐอเมริกาสองบริษัทคือ Pranda North America (เพื่อจัด จําหนายเครื่องประดับทองในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) และ Crystaline North America (เพื่อจัดจําหนายเครื่องประดับทองในสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา) แตตอนหลังจะเหลือเพียง Pranda North America เพราะ Pranda North America เขาไปถือหุน Crystaline North America รอยเปอรเซ็นต โดย ทั่วไป Pranda North America ทําหนาที่คลายกับผูคาสง (wholeseller) คือ บริษัทจะรับคําสั่งซื้อใหญๆ จากชองรายการโทรทัศนที่มีการขายสินคา (TV shopping chanel) อยาง QVC แลวจึงประสานงานใหทางแพรนดาสวนกลาง ผลิตของสงไป โดย Pranda North America จะเปนผูประสานงานสงสินคาให กับลูกคาอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นผูซื้อที่สั่งซื้อสินคาจาก Pranda North America อาจจะตองจายคาสินคาในราคาทีส่ งู กวาการสัง่ สินคาจากแพรนดาโดยตรง แต Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


221

ลูกคาสวนใหญกย็ นิ ดีทจี่ ะจายในราคาทีส่ งู ขึน้ เล็กนอยเพือ่ ความสะดวกในการ ซือ้ สินคา เพราะเมือ่ ลูกคานําสินคาไปขายตอจะตัง้ กําไรสวนเกิน (mark up) ไว สูงมากอยูแลว ฝรั่งเศส แพรนดาเขาไปลงทุนในฝรั่งเศสในระยะเดียวกับที่ไปลงทุน ในสหรัฐอเมริกาในป 2535 โดยเขาไปซื้อกิจการของตราสินคาในฝรั่งเศส H.GRINGOIRE (HGG) เพื่อตองการขยายตลาดไปยังประเทศฝรั่งเศสและ ประเทศอื่นในยุโรป (Market-seeking FDI) ใหมากขึ้น อันที่จริงแลวกอนที่ แพรนดาจะเขาซื้อ HGG แพรนดามีการผลิตสินคาสงออกไปยุโรปอยูแลวแต เปนการสงออกไปในลักษณะรับจางผลิต (OEM) และระยะหลังมีการพัฒนา เปนการผลิตที่มีการออกแบบให (ODM) ดวย อยางไรก็ตาม สาเหตุที่แพรน ดาเขาไปซื้อสินคาแบรนดของฝรั่งเศสเอง (HGG) แทนที่จะนําแบรนดจาก ไทยเขาไปโดยตรง เพราะโดยปกติคนฝรัง่ เศสจะเลือกซือ้ เฉพาะสินคาอัญมณี และเครือ่ งประดับทีเ่ ปนตราสินคาทีเ่ ปนทีร่ จู กั ดังนัน้ การนําสินคาแบรนดไทย เขาไปขายในฝรัง่ เศสในทันทีอาจเปนไปไดยาก แพรนดาจึงตัดสินใจซือ้ HGG เพราะเปนแบรนดที่คนฝรั่งเศสรูจักอยูแลว ดังนั้นการลงทุนดังกลาวจึงถือ เปนการแสวงหาสินทรัพยเชิงกลยุทธ (strategic-asset seeking FDI) ในที่นี้ คือตราสินคาของ HGG อังกฤษ การไปลงทุนในอังกฤษนัน้ ยังคงเปนไปเพือ่ การแสวงหาตลาด (market-seeking FDI) อยางไรก็ตามลักษณะการจัดจําหนายในอังกฤษจะแตก ตางจากในฝรั่งเศสตรงที่ในอังกฤษจะไมมีตราสินคาปรากฏอยูและไมมีราน (shop) ของแพรนดาเอง เนื่องจากในอังกฤษมีรานเครื่องประดับอิสระ (independent retailer) ขนาดเล็กจํานวนมาก บริษัทยอยของแพรนดาในอังกฤษ (Pranda UK) จะมีการเลือกซื้อสินคาของแพรนดามาเก็บ (stock) ไว แลวนํา ไปขายใหรา นเครือ่ งประดับอิสระเหลานีแ้ ละหากรานใดถูกใจเครือ่ งประดับชิน้ ใดก็สามารถสั่งสินคาในลักษณะเดียวกันเพิ่มได เรียกการขายในลักษณะนี้วา open line (O/L) คือเปนสินคาที่แพรนดาออกแบบและผลิตเอง แลวนําไปเปด ขายใหกับรานคาปลีกที่สนใจ เยอรมนี การไปลงทุนในเยอรมนีมีเปาหมายหลักเพื่อการขายตลาด ไปในเยอรมนีและประเทศอื่นในยุโรป (market-seeking FDI) อยางไรก็ตาม ดร.เณศรา สุขพานิช


222

การลงทุนโดยตรงในเยอรมนีมีลักษณะแตกตางจากการลงทุนในอังกฤษและ ฝรั่งเศสตรงที่บริษัทยอยในเยอรมนี (Pranda & Kroll GmbH & Co. KG และ KSV Brand Gmbh) จะเนนที่การสรางแบรนดของตนเองไปทําตลาดในเยอ รนีและประเทศในยุโรป โดยในป ค.ศ. 2005 แพรนดารวมทุนกับ Mr. Kroll (แพรนดาถือหุนรอยละ 51) จัดตั้ง Pranda & Kroll GmbH & Co. KG และ ในป ค.ศ. 2007 บริษัทดังกลาวซื้อกิจการทั้งหมดของ KSV Brand Gmbh อินเดีย วัตถุประสงคหลักของการลงทุนในอินเดียคือตองการเขาไป เปดตลาดในอินเดียเอง (Market-seeking FDI) โดยแพรนดาเขาไปรวมทุนกับ บริษัท Gunjan Jewels PVt. Ltd. จัดตั้ง Pranda Jewelry Private Limited สาเหตุที่ตองรวมทุนกับบริษัททองถิ่น เพราะปกติบริษัทตางชาติจะเขาไป ทําตลาดในอินเดียไดคอนขางยาก การรวมทุนจะทําใหการดําเนินงานตางๆ ราบรื่นมากขึ้น Pranda Jewelry Private Limited มีลักษณะแตกตางจาก บริษัทยอยในยุโรปตรงที่จะเปนเหมือนตัวแทนจําหนาย (distributor) ในการ ขายสินคาแบรนดตางๆ ของแพรนดาใหลูกคาในอินเดีย อีกปจจัยหนึ่งที่มีผล ตอการลงทุนโดยตรงในอินเดียคือมาตรการทางการคาระหวางไทยและอินเดีย ทีม่ ลี กั ษณะเสรีมากขึน้ การนําสินคาจากไทยเขาไปขายในอินเดียจะมีอปุ สรรค ลดลง ทําใหแพรนดาใหความสนใจกับอินเดียในฐานะเปนแหลงการจัดจําหนาย มากกวาแหลงผลิต 5.3 ผลการดําเนินงานจากการลงทุนโดยตรงของแพรนดา ในการวิเคราะหความสําเร็จของการไปลงทุนโดยตรงในตางประเทศ แพรนดาจะพิจารณาวาบริษทั ยอยแตละบริษทั ควรมีผลตอบแทนวัดในรูปของ Return on Capital Employed (ROCE) ไมตํากวารอยละ 15 ทั้งนี้เพราะโดย ทั่วไปแพรนดาจะมีการจายเงินปนผลแกผูถือหุนประมาณรอยละ 10 ตอป ดังนั้นการลงทุนควรใหผลตอบแทนที่สูงกวาตนทุนทางการเงินในดานนี้ สวน เกินอีกรอยละ 5 นัน้ เปนการสรางมูลคาเพิม่ (value added) ใหกบั บริษทั เพือ่ ให ราคาหุนของบริษัทสูงขึ้น กรณีเชนนี้ผูถือหุนจะไดประโยชนทั้งจากเงินปนผล และจากราคาหุนที่สูงขึ้น อยางไรก็ตามการพิจารณาผลตอบแทนจากการ ลงทุนเชนนี้ควรมองภาพในระยะยาว ทั้งนี้เปนเพราะในชวงปแรกๆ ของการ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


223

ลงทุนคาใชจายจะคอนขางสูง คา ROCE จึงอาจจะไมสูงมากนัก (ขอมูลจาก การสัมภาษณ) สูตรการคํานวณ ROCE ที่ใชวัดผลการดําเนินงานของบริษัท ยอยในแพรนดา มีรายละเอียดดังนี้ ROCE = (NOPAT/CE) * 100 โดยที่ NOPAT = ยอดขาย – ตนทุนขาย (ตนทุนสินคา) – คาใชจายใน การขายและบริหาร – ภาษี CE = สินทรัพยรวม – หนี้สินที่ไมมีตนทุนทางการเงิน อยางไรก็ตาม แพรนดารายงานเฉพาะ ROCE ในภาพรวมของบริษทั มิไดแยกเปนรายบริษัทยอย งานศึกษาชิ้นนี้จึงไมสามารถวิเคราะหผลการ ดําเนินงานของบริษัทยอยตามคํานิยาม ROCE ของแพรนดาได จึงจําเปน ตองพิจารณาผลการดําเนินงานบริษัทยอยจากขอมูลที่มีในรายงานประจําป ของแพรนดา คือวัดผลการดําเนินงานจากผลตอบแทนตอสินทรัพยทั้งหมด (Return on Asset: ROA) ของบริษัทยอยแตละราย ดังแสดงในตารางที่ 4.6 โดยที่ ROA = (กําไรสุทธิของบริษัทยอย/สินทรัพยรวมของบริษัทยอย) * 100 ขอมูลจากตารางที่ 4.6 แสดงใหเห็นวาในภาพรวมในป ค.ศ. 2003 – 2007 ROA รวมของบริษทั ยอยตางๆ ติดลบเพิม่ ขึน้ จาก -0.14 ในป ค.ศ. 2003 เปน -7.98 ในป ค.ศ. 2005 ทั้งนี้เปนเพราะในป 2004 และ 2005 บริษัทยอยมี มูลคาสินทรัพยเพิ่มขึ้นในอัตรารอยละ 8.94 และ 44.15 ตามลําดับ ในขณะที่ มีการขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในป ค.ศ. 2005 ที่มีการขาดทุนถึง 92.5 ลานบาท ซึ่งเปนการขาดทุนจากบริษัทยอยเกือบทุกแหง (ยกเวน Pranda Vietnam Co. Ltd. และ Pranda Singapore Pte. Limited) โดยเฉพาะบริษัท H.Gringoire s.a.r.l. ในฝรั่งเศสที่ขาดทุนถึง 56 ลานบาท ในชวงป ค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2007 ROA รวมของบริษัทยอยติดลบนอยกวาในชวงป ค.ศ. 2005 มาก ทั้งนี้เปนเพราะบริษัทยอยมียอดขาดทุนรวมลดลงกวาป ค.ศ. 2005 มาก แมจะมีมูลคาสินทรัพยเพิ่มขึ้นบาง ผลขาดทุนที่ลดลงนั้นสวนหนึ่งเปนผลมา ดร.เณศรา สุขพานิช


224

จากคาเงินบาทในชวงป ค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2007 ที่ออนคาลงเมื่อเทียบ กับชวงป ค.ศ. 2003 – 2005 อยางไรก็ตามในป ค.ศ. 2008 บริษัทยอยมีคา ROA รวมติดลบมากถึง -14.27 (ติดลบมากที่สุดในชวง 6 ปที่ผานมา) โดย เปนผลมาจากมูลคาสินทรัพยที่ลดลงรอยละ 13.62 (เปนการลดลงครั้งแรกใน รอบ 5 ป) และมีการขาดทุนสุทธิสูงถึง 198 ลานบาท ขาดทุนมากที่สุดในรอบ 6 ป สวนหนึง่ เปนผลมาจากเศรษฐกิจของประเทศคูค า สําคัญทีซ่ บเซา เชน ใน สหรัฐอเมริกาและยุโรป ทําใหการดําเนินงานของบริษทั ในอเมริกาและในทวีป ยุโรปมีผลขาดทุน โดยเฉพาะในบริษัท Pranda & Kroll GmbH & Co. KG ที่มี ผลขาดทุนสุทธิสงู ถึง 118 ลานบาท นอกจากนีย้ งั ไดรบั ผลกระทบบางสวนจาก การแข็งคาขึน้ ของเงินบาทเมือ่ เทียบกับปกอ นหนา สําหรับบริษทั ในเอเชีย พบ วาผลการดําเนินงานของ Pranda Vietnam Co., Ltd. และ Pranda Singapore Pte. Limited ยังคงไดกาํ ไรจากการดําเนินงาน โดยบริษทั แรกมีกาํ ไรลดลงจาก ปกอนหนารอยละ 7.7 ในขณะที่บริษัทหลังมีกําไรเพิ่มขึ้นจากปกอนหนารอย ละ 200 สวนบริษัทในเวียดนามและอินเดียยังคงมีผลการดําเนินงานขาดทุน ใกลเคียงกับปกอนหนา หากพิจารณาคา ROA เปนรายประเทศจะพบวา ROA ของบริษัท Pranda North America สวนใหญจะมีคาเปนบวกยกเวนในป ค.ศ. 2005 และ ป ค.ศ. 2008 สวน ROA จากบริษัท H.Gringoire s.a.r.l. และบริษัท Pranda & Kroll GmbH & Co. KG ที่มีคาติดลบทุกป โดยเฉพาะบริษัทหลังที่คา ROA ติดลบมากขึ้นเรื่อยๆ อยางไรก็ตาม บริษัท Pranda & Kroll GmbH & Co. KG เพิ่งจัดตั้งขึ้นในป ค.ศ. 2005 คา ROA ในชวงตนจึงยังไมอาจสะทอนผล การดําเนินงานในระยะยาวได สวนการลงทุนในประเทศตางๆ ในเอเชีย พบ วา Pranda Vietnam Co., Ltd. และ Pranda Singapore Pte. Limited มีคา ROA เปนบวกเสมอ โดยในชวงป ค.ศ. 2003 ถึง ค.ศ. 2008 คา ROA ของ บริษัทแรกจะอยูระหวาง 15 ถึง 24 (ยกเวนในป ค.ศ. 2005 ที่ ROA มีคา เพียง 0.96) สวนบริษัทหลังคา ROA อยูระหวาง 3 ถึง 19 สวนบริษัท Pranda (Guangzhou) Co., Ltd. ในจีน Pranda Jewelry Private Limited ในอินเดียมี คา ROA ติดลบมาโดยตลอด สวนหนึ่งอาจเปนเพราะบริษัททั้งสองเพิ่งตั้งใน ป ค.ศ. 2003 และ ค.ศ. 2007 ตามลําดับ จึงอยูในชวงของการปรับตัวเพื่อจะ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


225

สามารถสรางผลตอบแทนไดมากขึ้นในระยะยาว 5.4 ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงของแพรนดาตอการผลิต การจาง งาน และศักยภาพการแขงขันของบริษัทและผลกระทบบางสวนตอ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย หากพิจารณาดานผลกระทบตอผลผลิตและการจางงาน กรณีประเทศ เวียดนาม สาเหตุหลักที่แพรนดาขยายการลงทุนไปเวียดนามคือปจจัยดาน ตนทุนแรงงานและการใชประโยชนจากสิทธิพิเศษทางการคาที่เวียดนามได รับในการรักษาและขยายตลาดไปยังประเทศพัฒนาแลวที่ยังคงใหสิทธิพิเศษ ทางการคากับประเทศเวียดนามอยู แมในปจจุบันแพรนดาเริ่มขยายตลาด ในประเทศเวียดนามแลว แตกําลังซื้อในเวียดนามยังไมเพียงพอ การผลิตใน เวียดนามจึงยังคงตองอาศัยคําสั่งซื้อที่ผานมายังแพรนดาในไทย ดวยเหตุนี้ การลงทุนในเวียดนามจึงเปนลักษณะที่แพรนดายายฐานการผลิตบางสวน จากไทยไปเวียดนาม ซึ่งอาจสงผลทําใหการผลิตในไทยลดลงมาบาง ดังนั้น หากปจจัยอื่นๆ คงที่การขยายการลงทุนไปเวียดนามอาจทําใหการจางงาน ในไทยลดลง สําหรับการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและจีนนั้น แมจะมีสาเหตุ บางสวนมาจากการแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency-seeking FDI) จาก ตนทุนแรงงานราคาถูกของประเทศเหลานี้ แตสาเหตุหลักที่ขยายการลงทุน ไปยังประเทศดังกลาวสวนใหญเกิดจากเปาหมายในการขยายตลาด (Marketseeking FDI) ในสวนการขยายการลงทุนไปยังอินโดนีเซียแพรนดามุงหวังที่ จะเจาะตลาดสแกนดิเนเวีย ในขณะที่การขยายการลงทุนไปจีนเนนการขยาย ตลาดภายในประเทศจีนเปนหลัก ดังนั้นการลงทุนในอินโดนีเซียและจีนจึงไม นาจะทําใหการผลิตในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะเปนการขยาย ตัวไปยังตลาดใหมแตอาศัยขอไดเปรียบของประเทศนัน้ ๆ ในการเปนฐานการ ผลิตแทนที่จะผลิตจากประเทศไทยแลวสงออก อยางไรก็ตาม ขอมูลจากการ สัมภาษณแสดงใหเห็นวาการผลิตสินคาบางอยางเชนเครื่องประดับทอง งาน ผลิตที่ตองใชฝมือหรืองานละเอียดยังคงตองสงมาผลิตในประเทศไทย หาก ปจจัยอื่นๆ คงที่ ลักษณะเชนนี้จะทําใหการผลิตสินคาในไทยเพิ่มขึ้น แตจะ ดร.เณศรา สุขพานิช


226

เปนเฉพาะในสวนของสินคาที่มีความละเอียดประณีต ในกรณีนี้การจางงาน แรงงานมีฝมือในไทยอาจเพิ่มสูงขึ้น ในสวนการลงทุนในประเทศทีเ่ ปนแหลงจัดจําหนายเพียงอยางเดียว เชน ในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี การลงทุนในประเทศ ดังกลาวสวนใหญมีเปาหมายในการขยายตลาด (market-seeking FDI) หาก แพรนดาสามารถขยายตลาดไปยังประเทศเหลานี้ไดมากขึ้น กรณีเชนนี้นาจะ ทําใหการผลิตอัญมณีและเครือ่ งประดับในประเทศไทยเพิม่ สูงขึน้ แมแพรนดา จะสามารถผลักการผลิตบางสวนไปยังประเทศเวียดนาม แตการผลิตสวนใหญ เพื่อปอนตลาดเหลานี้นาจะยังคงอยูในประเทศไทย สงผลใหการจางงานใน ประเทศเพิม่ สูงขึน้ และอาจสงผลกระทบตอไปยังผูผ ลิตในหวงโซอปุ ทานตางๆ ในประเทศไทยที่จะไดรับผลกระทบในทางบวก (ทั้งดานการผลิตและการจาง งาน) ไมวา จะเปนผูป ระกอบการคาอัญมณี อุตสาหกรรมเผาและเจียระไนพลอย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใชในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เปนตน เมือ่ อุตสาหกรรมตนนาํ เหลานีเ้ ติบโต จะเปนประโยชนตอ ผูผ ลิตเครือ่ ง ประดับโดยทั่วไป นั่นคือผูผลิตรายอื่นที่ไมใชแพรนดาจะไดรับผลกระทบทาง บวกโดยออมดวย อยางไรก็ตามการมองผลกระทบตอผูผลิตเครื่องประดับยัง คงตองพิจารณาดานความอุดมสมบูรณและความขาดแคลนของวัตถุดบิ ในการ ผลิตดวย เชน หากแพรนดามียอดขายเติบโตมาก มีความตองการซื้ออัญมณี ปริมาณสูง สงผลใหราคาอัญมณีในประเทศเพิ่มสูงขึ้น อาจทําใหตนทุนการ ผลิตของผูผลิตเครื่องประดับรายอื่นในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เมือ่ พิจารณาดานศักยภาพในการแขงขันของอุตสาหกรรม การขยาย ฐานการผลิตของแพรนดาไปยังประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน แมใน ชวงตนจะไมไดมสี ว นในการเพิม่ ประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตใหบริษทั มากนัก แตการผลิตในประเทศดังกลาวทําใหแพรนดาสามารถเขาถึงผูบ ริโภค ในประเทศเปาหมายไดมากขึ้น เชน การเขารวมทุนกับบริษัทของอินโดนีเซีย ทําใหแพรนดาสามารถเขาถึงผูบ ริโภคในอินโดนีเซียไดงา ยกวาการไปทําตลาด เอง และยังสามารถเขาถึงผูบ ริโภคในตลาดสแกนดิเนเวียทีเ่ ปนฐานลูกคาเดิม ของบริษัทในอินโดนีเซีย ทําใหแพรนดาสามารถขยายฐานลูกคาไปยังตลาด อินโดนีเซียและสแกนดิเนเวียไดเร็วขึ้น ในกรณีของเวียดนามและจีน จากการ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


227

ทีแ่ พรนดาเขาไปลงทุนในประเทศตางๆ ทําใหทราบถึงสภาพความตองการใน ประเทศนัน้ ๆ ไดดี และสามารถพัฒนาสินคา รวมถึงผลิตและขายสินคาทีเ่ หมาะ สมกับผูบริโภคในประเทศดังกลาว เชน การนําเอาสินคา Esse ที่เปนเครื่อง ประดับเงินไปขายในทั้งสองประเทศ เปนตน เมื่อแพรนดากาวเขาไปทําธุรกิจ ในประเทศดังกลาวยอมสงผลใหเกิดการเรียนรูท งั้ ในแงการลงทุน ปญหา และ อุปสรรคทีไ่ ดพบ หากบริษทั เครือ่ งประดับรายอืน่ ตองการเขาไปลงทุน อาจจะ เรียนรูจากกรณีศึกษาของแพรนดาได เชน การที่แพรนดาเขาไปลงทุนในจีน โดยมิไดรว มทุนกับบริษทั ทองถิน่ ทําใหแพรนดาตองประสบปญหาพอสมควร ในการแขงขันกับผูผ ลิตในประเทศทีอ่ าจไดรบั สิทธิประโยชนมากกวาหรือมีขอ กําหนดในการดําเนินกิจการนอยกวา เปนตน นอกจากนีก้ ารขยายฐานการผลิตของแพรนดาไปยังตางประเทศแม สวนหนึง่ จะเกิดจากการทีแ่ พรนดามีความไดเปรียบเฉพาะของบริษทั (FSAs) บางประการอยู แตการที่แพรนดาขยายตัวไปประเทศเหลานี้ก็ทําใหบริษัท สามารถสะสมความรูและประสบการณเพื่อทําใหความไดเปรียบที่มีอยูนั้น มีมากขึ้นหรือเกิดความไดเปรียบใหมๆ เกิดเปนพลวัตของความไดเปรียบ (FSAs) นอกจากนีใ้ นอนาคตอาจทําใหเกิดการบริหารจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มากขึ้น เชน ในระยะยาวไมวาจะเปนกรณีของเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน อาจเกิดการแบงงานในลักษณะทีป่ ระเทศไทยผลิตสินคาคุณภาพสูงหรือสินคา ทีอ่ าศัยแรงงานมีฝม อื สูง แลวขยายการผลิตสินคาทีไ่ มมคี วามซับซอนมากนัก ไปยังประเทศเหลานี้ โดยเฉพาะในเวียดนาม โดยในประเทศไทยอาจจะยังคง เปนศูนยกลางในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ เปนตน เมือ่ ความตองการ แรงงานมีฝม อื ในประเทศเพิม่ สูงขึน้ ในขณะทีค่ วามตองการแรงงานทีไ่ มคอ ยมี ฝมอื ลดลง จะเปนการกดดันใหแรงงานไทยพัฒนาฝมอื ตนเองใหดขี นึ้ ใหเหมาะ สมกับความตองการ หากไทยสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีฝมือทั้งในดานการ ผลิตและการออกแบบเพื่อมารองรับความตองการเหลานี้ได จะกอใหเกิดผล กระทบภายนอกในทางบวก (positive externalities) กับบริษัทผูผลิตเครื่อง ประดับรายอื่น เปนการเพิ่มความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับไทยในทางหนึ่ง หรืออยางนอยแรงงานไทยก็จะถูก กดดันใหพัฒนาฝมือตนเองใหเหมาะกับความตองการแรงงาน ดร.เณศรา สุขพานิช


228

ในกรณีการลงทุนโดยตรงเพือ่ ขยายฐานการจัดจําหนายไปยังประเทศ ตางๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และประเทศอินเดีย ทําใหสินคาจากไทย เปนที่รูจักในตางประเทศมากขึ้น หากแพรนดาสามารถทําใหตางชาติยอมรับ ในฝมือการผลิตได ก็อาจทําใหตางชาติยอมรับสินคาที่มาจากไทยมากขึ้น สง ผลดีตอ ผูป ระกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับรายอืน่ ๆ หาก ตองการเขาไปทําตลาดในประเทศตางๆ เหลานีต้ อ ไปในอนาคต นอกจากนีร้ ปู แบบการเขาไปลงทุนที่แตกตางกัน เชน การเปนเจาของกิจการทั้งหมดของ Pranda North America และ Pranda UK Ltd. การเขาไปซื้อตราสินคาH. GRINGOIRE (HGG) ของฝรั่งเศส การรวมทุนกับบริษัท Gunjan Jewels Pvt. Ltd. จัดตั้ง Pranda Jewelry Private Limited ในอินเดีย การรวมทุนกับ Mr.Kroll ในการจัดตั้ง Pranda & Kroll GmbH & Co. KG รวมถึงรูปแบบการ จัดจําหนายที่แตกตางกันตามสภาวการณและความตองการของแตละพื้นที่ นาจะเปนบทเรียนที่ดีใหกับบริษัทไทยที่ตองการจะเขาไปลงทุนโดยตรงใน ประเทศเหลานี้ แทนที่จะตองไปลองผิดลองถูกเองตั้งแตตน

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)



230

6 บทสรุป

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


231

งานศึกษาชิ้นนี้มุงศึกษาลักษณะการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในตาง ประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเปนอุตสาหกรรมเปา หมายในการศึกษา สวนบริษัทที่ทําการศึกษาเชิงลึกคือ บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) ซึง่ มีการวิเคราะหลกั ษณะการไปลงทุน ประเมินความ ไดเปรียบเฉพาะของบริษทั (FSAs) และศึกษาการลงทุนโดยตรงในตางประเทศ ในแตละประเทศทีบ่ ริษทั แพรนดาเขาไปลงทุน ซึง่ มีทงั้ ประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเซีย โดยมีการวิเคราะหความไดเปรียบเฉพาะของไทยและของ ประเทศที่รับการลงทุน (CSAs) แรงจูงใจในการลงทุน รวมถึงประเมินผลการ ดําเนินงานจากการลงทุนโดยตรงของบริษทั แพรนดา และวิเคราะหผลกระทบที่ อาจจะเกิดขึน้ ตออุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับไทย ทัง้ ในดานผลผลิต การจางงาน และศักยภาพในการแขงขันของอุตสาหกรรม ผลการศึกษาแสดงใหเห็นวา หากพิจารณาการลงทุนโดยตรงของไทย ในภาพรวมจะสามารถแบงชวงการลงทุนโดยตรงของบริษทั ไทยในตางประเทศ ออกเปนสีช่ ว ง คือ (1) ชวงกอนป ค.ศ. 1986 ทีก่ ารลงทุนโดยตรงในตางประเทศ สวนใหญเปนการลงทุนในภาคสถาบันการเงินที่กระจุกตัวอยูในไมกี่ประเทศ ดร.เณศรา สุขพานิช


232

เชน ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮองกง ญี่ปุน และสิงคโปร (2) ชวงป ค.ศ. 1986 – 1996 เปนชวงที่การลงทุนโดยตรงในตางประเทศเติบโตอยางตอเนื่อง การ ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมีความสําคัญมากขึ้น และยังมีการ ขยายการลงทุนไปยังประเทศในภูมภิ าคตางๆ มากขึน้ ทัง้ ในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป โดยประเทศในภูมภิ าคเอเชียมีการขยายตัวมากทีส่ ดุ (3) ชวงป ค.ศ. 1997 – 2000 เปนชวงหลังจากการเกิดวิกฤตการณทางการเงินในเอเชีย ใน ชวงนี้การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทไทยลดลงมาก และเปนการ ลดลงในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ และเกือบทุกภูมิภาคที่ไปลงทุน ยกเวนการ ลงทุนใน ASEAN ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนเพิ่มขึ้นในประเทศสิงคโปร (4) ชวง ป ค.ศ. 2001 – 2006 เปนชวงที่การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัท ไทยฟน ตัว การลงทุนโดยตรงในประเทศแถบ ASEAN มีแนวโนมเพิม่ ขึน้ โดย เฉพาะในประเทศสิงคโปร เชนเดียวกับการลงทุนในสหรัฐและจีนที่มีแนวโนม เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนในประเทศอื่นๆ คอนขางทรงตัว สําหรับในป ค.ศ. 2007 การลงทุนโดยตรงในตางประเทศลดลง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ในขณะทีก่ ารลงทุนในภูมภิ าคตางๆ ลดลง การลงทุนในประเทศในเอเชีย (ทีไ่ ม ไดเปนสมาชิก ASEAN) กลับมีแนวโนมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศฮองกง การไปลงทุนในตางประเทศที่ลดลงสวนหนึ่งเปนผลกระทบจากความผันผวน ของคาเงินบาทในชวงดังกลาว สําหรับการศึกษาการลงทุนโดยตรงของบริษทั แพรนดา พบวาบริษทั แพรนดามีความไดเปรียบเฉพาะของบริษทั (FSAs) เชน ความสามารถในการ พัฒนาผลิตภัณฑและตราสินคา การวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดการ และ การจัดหาวัตถุดิบ โดยแพรนดามีการลงทุนในตางประเทศแบงออกเปนสอง ลักษณะ คือ (1) การลงทุนเพื่อเปนแหลงผลิตและจัดจําหนาย ไดแก การลงทุน ในเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน แมแรงจูงใจในการลงทุนในลักษณะดังกลาว สวนหนึ่งเกิดจากการลงทุนเพื่อแสวงหาประสิทธิภาพ (efficiency-seeking FDI) จากคาจางแรงงานราคาถูก แตแรงจูงใจหลักของการลงทุนโดยตรงใน ประเทศดังกลาวคือการขยายตลาด (market-seeking FDI) หากวัดผลการ ดําเนินงานพบวา ROA ของการลงทุนในเวียดนามและอินโดเซียมีคา เปนบวก Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


233

เสมอ ในขณะทีก่ ารลงทุนในจีนมีคา ROA ติดลบ ทัง้ นีอ้ าจเปนเพราะแพรนดา เพิง่ เขาไปลงทุนในจีนในป ค.ศ. 2003 จึงยังไมสามารถวิเคราะหผลการดําเนิน งานในระยะยาวได สําหรับผลกระทบตอการผลิต การจางงาน และศักยภาพใน การแขงขันของอุตสาหกรรมไทย เชื่อวาการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศ ดังกลาวไมนาจะทําใหปริมาณการผลิตในประเทศไทยลดลง (ยกเวนในกรณี ของเวียดนาม) เพราะเปนการขยายฐานการผลิตเพื่อขยายตลาด ไมใชการ ยายฐานการผลิต ดังนั้นการจางงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยไมนา จะลดลง แตอาจเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะในกรณีแรงงานมีฝม อื เพราะการ ผลิตเครือ่ งประดับบางอยางทีต่ อ งใชฝม อื มากของบริษทั ในประเทศเหลานีจ้ ะมี การสงมาผลิตทีป่ ระเทศไทย ในดานศักยภาพการแขงขันนัน้ แมการขยายการ ผลิตไปยังประเทศดังกลาวจะไมไดเพิม่ ประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตให กับบริษัทแพรนดามากนัก แตทําใหแพรนดาเขาถึงผูบริโภคไดมากขึ้น และ ทําใหแพรนดาสามารถพัฒนาผลิตภัณฑใหเหมาะสมกับผูบริโภคในประเทศ เปาหมายไดในอนาคต และหากการผลิตที่ใชแรงงานมีฝมือกระจุกตัวอยูใน ไทยมากขึน้ ในขณะทีใ่ หตา งประเทศผลิตสินคาทีไ่ มตอ งใชแรงงานมีฝม อื มาก นัก กรณีเชนนีจ้ ะอาจทําใหแรงงานในประเทศไทยมีการพัฒนาฝมอื ใหมากขึน้ เพือ่ รองรับความตองการลักษณะดังกลาว สงผลดีตอ บริษทั ผูผ ลิตเครือ่ งประดับ รายอื่นๆ (2) การลงทุนในตางประเทศเพื่อเปนแหลงจัดจําหนายเพียงอยาง เดียว ไดแก การลงทุนในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และอินเดีย แมการลงทุนในบางสวนจะเปนไปเพือ่ แสวงหาสินทรัพยเชิงกลยุทธ (strategicasset seeking FDI) เชนการซื้อตราสินคาจากฝรั่งเศส แตเปาหมายหลักของ การลงทุนในลักษณะดังกลาวสวนใหญเปนไปเพื่อการขยายตลาด (marketseeking FDI) ในดานผลการดําเนินงาน พบวาการลงทุนในบริษัทเหลานี้สวน ใหญมคี า ติดลบมาโดยตลอด (ยกเวนการลงทุนในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ที่ มีคา ROA เปนทัง้ บวกและลบ) โดยการลงทุนในเยอรมนีและอินเดียมีคา ติดลบ อาจเปนเพราะแพรนดาเพิ่งไปลงทุนในประเทศดังกลาวในป ค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2007 ตามลําดับ จึงเปนเพียงผลการดําเนินงานในระยะเริ่มตนที่ยังไม สามารถบงบอกถึงผลการดําเนินงานในระยะยาวได สําหรับผลกระทบตอ ดร.เณศรา สุขพานิช


234

อุตสาหกรรม คาดวาการทีแ่ พรนดาขยายตลาดไปยังประเทศดังกลาวจะสงผล ทําใหการผลิตและการจางงานในอุตสาหกรรมเพิม่ ขึน้ รวมถึงการขยายตัวของ อุตสาหกรรมสนับสนุน และหากแพรนดาประสบความสําเร็จในตลาดดังกลาว จะทําใหเครื่องประดับไทยเปนที่ยอมรับในประเทศเหลานี้มากขึ้น การพัฒนา เชนนี้สงผลในทางบวกตอผูผลิตเครื่องประดับรายอื่นๆ อยางไรก็ตาม ตอง พิจารณาถึงความเปนไปไดในการจัดหาวัตถุดิบและการพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุน เพราะหากแพรนดาเติบโต แตปริมาณวัตถุดิบและอุตสาหกรรม สนับสนุนไมไดพัฒนาตามอาจทําใหราคาวัตถุดิบในประเทศสูงขึ้น ผูประกอบ การรายเล็กตางๆ อาจไดรับผลกระทบในทางลบได งานศึกษาชิ้นนี้ยังคงมีขอจํากัดในการนําผลการศึกษาไปขยายผล เพราะเปนการศึกษาบริษัทแพรนดาเพียงแหงเดียว อยางไรก็ตาม แนวคิด ในการวิเคราะหรูปแบบ แรงจูงใจ และผลกระทบของการลงทุนสามารถนําไป ประยุกตใชกบั การวิเคราะหบริษทั อัญมณีและเครือ่ งประดับอืน่ ๆ ทีม่ กี ารลงทุน โดยตรงในตางประเทศ และหากมีงานศึกษาในลักษณะดังกลาวมากขึน้ เรานา จะสามารถมองภาพการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของอุตสาหกรรมอัญมณี และเครือ่ งประดับไทยในภาพรวมไดชดั เจนมากขึน้ กวานี้ นอกจากนีย้ งั สามารถ นําไปประยุกตใชกบั การการลงทุนโดยตรงในตางประเทศของอุตสาหกรรมอืน่ ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค ดังเชนที่ปรากฏในงานศึกษาชิ้นนี้

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


235

¦¼ ¸É 4.1 ¦·¤µ ­³­¤ ° µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « (Outward FDI Stock) (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ ¦µ µ e { » ´ )

ดร.เณศรา สุขพานิช


236

¦¼ ¸É 4.2 ¦³Â­ ° µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « (Outward FDI Flow) (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ ¦µ µ e { » ´ )

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ ®¤µ¥Á® » 1. Ä µ¦µ ¸Ê Á } µ¦¨ » Ä £µ »¦ · ¸ÅÉ ¤nÄ n µ µ¦Á nµ ´Ê 2. Thai direct investment abroad º° net outflow of OFDI (OFDI outflow – OFDI inflow) 3. µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ ´ ¹ " εŦ ¸É µÎ ¨´ ¤µ¨ » " Á } ­nª ® ¹É ° µ¦¨ » à ¥ ¦ ´Ê  n e .«. 2001

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


237

¦¼ ¸É 4.3 Outward FDI stock ¨³ outward FDI flow · Á } ­´ ­nª ° GDP ¦³Á «Å ¥ 0.3 0.25 0.2 0.15 0.1 0.05

2006

2004

2002

2000

1998

1996

1994

1992

1990

1988

1986

1984

1982

1980

1978

1976

1974

1972

1970

0 Ͳ0.05

OFDI Flow (as a percentage of total world OFDI) OFDI stock (as a percentage of total world OFDI)

¸É¤µ: UNCTAD 2008 database ¦¼ ¸É 4.4 Outward FDI stock ¨³ outward FDI flow · Á } ­´ ­nª ° µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « ´ Ê ®¤ ° è 0.3 0.25 0.2 0.15 0.1 0.05

2006

2004

2002

2000

1998

1996

1994

1992

1990

1988

1986

1984

1982

1980

1978

1976

1974

1972

Ͳ0.05

1970

0

OFDI Flow (as a percentage of total world OFDI) OFDI stock (as a percentage of total world OFDI)

¸É¤µ: UNCTAD 2008 database ดร.เณศรา สุขพานิช


238

978 979 980 981 982 983 984 985 986 987 988 989 990 991 992 993 994 995 996 997 998 999 000 001

¦¼ ¸É 4.5 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» · µÎ  µ¤£¼¤£· µ (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r ­®¦´ )

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥

¦¼ ¸É 4.6 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» ·Ä ASEAN (ASEAN-6) ε µ¤ ¦³Á « (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ ) 250 200 150 100 50

Ͳ100 Brunei

Indonesia

Philippines

Singapore

Malaysia

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)

2006

2004

2002

2000

1998

1996

1994

1992

1990

1988

1986

1984

1982

1980

Ͳ50

1978

0


239

¦¼ ¸É 4.7 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» ·Ä ASEAN ( ¦³Á « CLMV) ε µ¤ ¦³Á « (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ ) 120 100 80 60 40 20

2006

2004

2002

2000

1998

1996

1994

1992

1990

1988

1986

1984

1982

1980

Ͳ20

1978

0

Ͳ40 Cambodia

Laos

Myanmar

Vietnam

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ ¦¼ ¸É 4.8 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» ·Ä ¦³Á «°º É Ç Ä Á°Á ¸¥ ( ¸ É ° Á® º° µ ¦³Á «­¤µ · ASEAN) ε µ¤ ¦³Á « (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ ดร.เณศรา สุขพานิช


001

999

997

995

993

991

989

987

985

983

981

979

240 ¦¼ ¸É 4.9 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» ·Ä °Á¤¦· µÁ® º° ε µ¤ ¦³Á « (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥

¸É¤µ: o°¤¼¨ µ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)

2001

1999

1997

1995

1993

1991

1989

1987

1985

1983

1981

1979

¦¼ ¸É 4.10 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» ·Ä ¦³Á «°º É Ç ÎµÂ µ¤ ¦³Á « (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )


241

¦¼ ¸É 4.11 µ¦ ª · µ¦Â¨³ µ¦ ºÊ° · µ¦ (Merger & Acquisition) Ä ¦¼ ° ¤¼¨ nµ µ¦ ºÊ°Â¨³ ¤¼¨ nµ µ¦ µ¥ (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ ) 5000 4000 3000 2000 1000

Sales

2006

2005

2004

2003

2002

2001

2000

1999

1998

1997

1996

1995

1994

1993

1992

1991

1990

1989

1988

1987

0

Purchases

¸É¤µ: UNCTAD 2008 database ¦¼ ¸É 4.12 µ¦ ª ¦ª¤ · µ¦Â¨³ µ¦ ºÊ° · µ¦ (Merger & Acquisition) Ä ¦¼ ° ε ª µ¦ µ¥Â¨³ µ¦ º°Ê (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )

Sales

2006

2005

2004

2003

2002

2001

2000

1999

1998

1997

1996

1995

1994

1993

1992

1991

1990

1989

1988

1987

80 70 60 50 40 30 20 10 0

Purchases

¸É¤µ: UNCTAD 2008 database ดร.เณศรา สุขพานิช


¦¼ ¸É 4.13 nµÄ o nµ¥Ä µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ (R&D) ¦·¬ ´ ¡¦ oµ ·ªÁª¨¦¸É ε ´ (¤®µ ) ( µ )


µ¦µ ¸É 4.1 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®»o Ä nµ ¦³Á «­» · ε µ¤ ¦³Á£ »¦ · Ä nª e .«. 1978-1996 (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

ϏϚηόϔύΣυυσ ϏϔύϔυϠχϒλϨϬϔηϔχ όϖϧΩιϏ ϡχύϒϠχϒϏϡχύϒ ϟΦυϙϧϏΩϢάΖϠχϒϏϚνΣυεΙϣρρΑϔ ϟΦυϙϧϏΩΪϓΣυϠχϒϏϚνΣυεΙΤλόΕΩ ϟΦσϗςϓεγΙ ξχϖηςϓεγΙλϨϬϔσϓλ ϏϚνΣυεΙΣΕϏόυΖϔΩ Ϗϙϧλ ϥ όθϔμϓλΣϔυϟΩϖλ ΣϔυΦΖϔ ΣϔυΣΕϏόυΖϔΩ ϟύσϙϏΩϠυΕϠχϒτΕϏτύϖλ ϟΣϋηυ μυϖΣϔυ ΣϔυχΩιϚλϠχϒμυϖϋϓιϡϐχζϖϨΩ ϏόϓΩύϔυϖσιυϓπτΙ Ϗϙϧλ ϥ υωσ

19781985 1.51 0.42 1.06 0.03 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 13.37 3.02 0.37 0.29 0.05 -0.73 0.00 0.00 0.04 18.00

1986 0.6 0.1 0.0 0.5 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 0.1 0.0 0.0 0.1 0.0 1.0

1987 1.6 1.6 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 169.9 0.5 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 172.0

1988 2.1 0.0 1.3 0.3 0.0 0.0 0.5 0.0 0.0 0.0 21.0 0.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 24.0

1989 38.4 31.2 6.9 0.0 0.2 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.4 0.8 0.0 0.0 0.5 8.9 0.0 0.0 0.0 49.0

1990 123.7 44.1 0.6 2.1 70.4 0.0 2.7 0.0 2.0 1.9 8.3 3.2 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 4.7 0.0 140.0

1991 66.9 8.3 9.7 33.3 4.4 0.0 1.6 0.0 2.0 7.5 27.1 9.8 0.0 0.4 0.0 16.4 0.0 6.1 40.4 167.0

1992 48.7 11.4 14.7 13.6 4.7 0.0 1.1 0.0 0.0 3.2 18.4 16.9 0.1 1.5 0.2 13.5 28.6 9.2 -1.1 136.0

1993 102.3 22.9 2.1 37.7 16.5 15.3 3.7 0.0 0.2 4.1 15.4 3.6 19.2 0.8 0.7 57.0 53.7 30.6 -0.3 283.0

1994 114.0 8.6 5.6 21.7 52.2 6.8 3.0 0.7 2.3 13.2 47.0 40.4 15.6 5.6 18.7 78.8 31.4 55.1 2.4 409.0

1995 215.4 29.8 12.3 51.7 61.4 2.8 14.6 1.8 1.3 39.6 69.3 22.0 14.3 5.0 5.8 177.0 127.4 143.0 0.8 780.0

1996 303.9 27.3 10.3 52.7 142.8 17.2 13.7 1.6 38.9 -0.6 27.3 26.2 -0.1 6.5 2.8 233.0 150.6 39.8 0.0 790.0

®¤µ¥Á® »: 1. Ä µ¦µ ¸Ê Á } µ¦¨ » Ä £µ »¦ · ¸ÉŤnÄ n µ µ¦Á nµ ´Ê 2. ´Ê  n¤ ¦µ ¤ 2548 Á } o Å Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®»o Ä nµ ¦³Á «Å o ´ ¦ª¤ »¦ ¦¦¤ ¸ÉÁ } Á · µ Á oµÅªo oª¥ εĮo o°¤¼¨­¤ ¼¦ r ¹Ê 3. Ä µ¦µ ¸Ê Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®» o Ä nµ ¦³Á «­» · ε ª à ¥Ä o ´ªÁ¨ oµ oµ ­n °° (Á · ¨ » Ä nµ ¦³Á «) ¨ o¥ oµ εÁ oµ (¦´ º Á · ¨ » Ä nµ ¦³Á «) 4. . ´ ¹ " εŦ ¸É ε ¨´ ¤µ¨ » " Á } ­nª ® ¹É ° µ¦¨ » à ¥ ¦ ´Ê  n e 2544

¸É¤µ: µ o°¤¼¨ ° µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥ µ¦µ ¸É 4.2 Á · ¨ » Ä » Á¦º° ®»o Ä nµ ¦³Á «­» · ε µ¤ ¦³Á£ »¦ · Ä nª e .«. 1997 - 2007 (® nª¥: ¨oµ °¨¨µ¦r­®¦´ )

1

ϏϚηόϔύΣυυσ

1997

1998

1999

2000

2001

2002

2003

2004

2005

2006

2007 p

209.3

53.0

55.0

35.8

96.3

75.7

207.7

191.5

202.4

588.1

153.5

2

ϏϔύϔυϠχϒλϨϬϔηϔχ

52.3

7.2

5.6

9.2

90.0

18.4

89.7

76.4

137.4

189.7

147.8

3

όϖϧΩιϏ

1.7

1.0

0.0

2.6

1.7

0.7

4.0

2.7

1.7

30.2

-3.0

4

ϡχύϒϠχϒϏϡχύϒ

9.0

17.7

16.0

0.2

-0.2

0.6

1.6

2.0

5.5

25.5

4.9

5

ϟΦυϙϧϏΩϢάΖϠχϒϏϚνΣυεΙϣρρΑϔ

7.3

10.1

7.5

11.8

12.2

43.3

49.1

27.3

-6.2

115.8

-8.7

6

ϟΦυϙϧϏΩΪϓΣυϠχϒϏϚνΣυεΙΤλόΕΩ

10.2

0.2

2.5

3.9

0.0

0.3

16.4

6.7

16.5

39.7

-18.7

7

ϟΦσϗςϓεγΙ

89.0

4.3

14.5

-0.8

-3.2

0.7

9.7

23.5

19.8

14.2

-45.2

8

ξχϖηςϓεγΙλϨϬϔσϓλ

0.2

0.0

0.0

0.0

0.0

0.1

0.0

0.0

1.5

-1.2

0.5

9

ϏϚνΣυεΙΣΕϏόυΖϔΩ

33.5

1.9

1.7

1.2

-1.8

0.0

3.4

-4.3

0.0

1.5

-3.6

10

Ϗϙϧλ ϥ

11

όθϔμϓλΣϔυϟΩϖλ

12

ΣϔυΦΖϔ

13

ΣϔυΣΕϏόυΖϔΩ

14

ϟύσϙϏΩϠυΕϠχϒτΕϏτύϖλ

15

6.2

10.6

7.1

7.7

-2.3

11.7

33.9

57.1

26.1

172.8

79.6

2.2

0.6

-0.1

25.3

17.9

8.4

44.1

-16.4

153.0

88.4

-114.5

55.5

21.7

23.4

31.8

15.6

41.6

33.3

1.5

28.8

8.4

51.3

-27.3

-0.1

-0.2

3.7

-3.7

0.7

-1.1

3.4

0.0

20.8

15.6

0.8

-1.5

0.1

1.8

1.4

0.5

0.1

15.5

3.6

6.5

8.6

ϟΣϋηυ

-1.1

2.9

4.4

7.2

0.9

3.1

0.4

0.0

-13.4

6.5

16

μυϖΣϔυ

131.6

5.4

16.9

4.7 108.1

26.4

17.7

17.6

18.4

111.8

-26.7

121.7

17

ΣϔυχΩιϚλϠχϒμυϖϋϓιϡϐχζϖϨΩ

60.4

43.9

232.7

17.6

38.5

10.2

21.4

24.9

0.0

0.0

154.8

18

ϏόϓΩύϔυϖσιυϓπτΙ

14.3

-9.9

0.1

1.4

-21.7

-8.6

-1.1

22.3

14.4

15.9

-45.5

19

Ϗϙϧλ ϥ

0.3

-2.9

1.8

23.8

6.1

9.7

53.0

131.6

0.0

0.0

55.8

20

υωσ

446.0

113.0

334.0

38.0

184.0

157.0

378.0

393.0

514.0

687.9

407.8

®¤µ¥Á® »: Á n Á ¸¥ª ´ µ¦µ ¸É 4.1

¸É¤µ: µ o°¤¼¨ ° µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥


834.22

CHINA FRANCE GERMANY INDIA MONACO SINGAPORE UNITED KINGDOM UNITED STATES OF AMERICA VIET NAM

Total

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0

Á · { ¨ ®¦º° εŦ ­n ¨´ 2/ 0 0 0 0 0 0 0 0 0

2006

16.02

εŦ ( µ » ) ­» ·2/ -24.4 -32.44 -16.18 0 0 4.4 59.17 10.11 15.36 -176.19

εŦ ( µ » ) ­³­¤2/ 0 -198.75 -17.92 0 0 -23.37 70.77 13.51 -20.43 1365.81

¤¼¨ nµÁ · ¨ » Ä · µ¦1/ 34.28 240.92 164.34 20.04 3.47 53.68 577.82 223.08 48.18 0

Á · { ¨ ®¦º° εŦ ­n ¨´ 2/ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 32.04

εŦ ( µ » ) ­» ·2/ 0 0 0 0 0 0 32.04 0 0

2007

114.64

εŦ ( µ » ) ­³­¤2/ 0 0 0 0 0 0 114.64 0 0

® nª¥ : ¨oµ µ

®¤µ¥Á® » : 1/ Á } o°¤¼¨Á · ¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « ( » Á¦º° ®»o ¨³ εŦ­³­¤) à ¥ »¦ · Á° Å ¥ ¸É¤·Ä n µ µ¦ (Non-bank) ¸ÉÅ o µ µ¦­Îµ¦ª ¦µ¥Ä® n ε ª 6 ¦µ¥ ¸É ¦³ ° »¦ · ¦³Á£ µ¦ ¨· Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ¨³ ¨· £´ r ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´Ê ¸Ê Ťn¦ª¤Á · ¨ » ° » ¨ ¦¦¤ µÂ¨³Á · ¨ » Ä °­´ ®µ¦·¤ ¦´¡¥r ¸ÉŤnÅ o µ µ¦­Îµ¦ª 2/ ¤¼¨ nµ µ¤­´ ­nª µ¦ º°®»o ¸É¤µ :  ¦µ¥ µ ­. . 3/1 ¸¤ µ ³ µ¦¨ » ¦³®ªnµ ¦³Á « iµ¥ ¦·®µ¦ o°¤¼¨ µ µ¦Â®n ¦³Á «Å ¥

¤¼¨ nµÁ · ¨ » Ä · µ¦1/ 0.00 72.19 23.89 20.04 3.62 39.8 540.77 100.51 33.4

COUNTRY

¨Îµ ´

¥° oµ ­·Ê e

µ¦µ ¸É 4.3 £µ¡¦ª¤ µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « ° ¦·¬ ´ °´ ¤ ¸Â¨³Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ¦µ¥Ä® n 6 ¦·¬´

244

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


Á°Á ¸¥

¥»Ã¦

°Á¤¦· µÁ® º°

ª¸

°´ §¬

Pranda UK Ltd.

Áª¸¥ µ¤ ­· à ¦r ¤µÁ¨Á ¸¥

Pranda Vietnam Co., Ltd

Pranda Singapore Pte. Limited

Pranda Acceptance Sdn. Bhd. ( º°®»o à ¥ Pranda Singapore Pte. Limited.) ®¥» εÁ · µ¦Ä e 2543

¸ °· Á ¸¥

Pranda (Guangzhou) Co., Ltd.

Pranda Jewelry Private Limited

°· à ¸Á ¸¥

Á¥°¦¤´

KSV Brand GmbH ( º°®»o à ¥ Pranda & Kroll GmbH & Co. KG )

P.T. Pranda SCL Indonesia ( º°®»o à ¥ Pranda Singapore Pte. Limited)

Á¥°¦¤´

Pranda & Kroll GmbH & Co. KG

­®¦´ °Á¤¦· µ ¦´É Á«­

­®¦´ °Á¤¦· µ

´ ´Ê ¹Ê Ä ¦³Á «

Pranda North America, Inc. Crystaline North America, Inc. ( º°®»o à ¥ Pranda North America, Inc.) H.GRINGOIRE s.a.r.l.

(% change)

Á · ¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á «¦ª¤

¦·¬ ´

39,409

53,681

30,910

28,973

108,464

120,283

39,409

53,681

30,910

28,973

108,464

120,283

39,409

53,681

48,180

28,973

108,464

120,283

398,990 4.52

2002

2001 381,720 0.00

2000 381,720

(® nª¥: ¡´ µ )

¦µ µ »

-

39,409

53,681

48,180

28,973

108,464

120,283

398,990 0.00

2003

12,871

39,409

53,681

48,180

-

28,973

108,464

120,283

411,861 3.23

2004

34,022

39,409

53,681

48,180

48,725

28,973

108,464

120,283

481,737 16.97

2005

µ¦µ ¸É 4.4 ¤¼¨ nµ µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « ° ¦·¬´ ¡¦ oµ ·ªÁª¨¦¸É ε ´ (¤®µ ) Ä ¦³Á «Â¨³£¼¤·£µ nµ Ç 2006

-

34,281

39,409

53,681

48,180

48,725

28,973

217,235

120,283

590,767 22.63

2007

436

34,281

39,409

53,681

48,180

164,341

28,973

217,235

120,283

706,819 19.64

2008

436

81,396

39,409

53,681

48,180

164,341

28,973

217,235

120,283

753,934 6.67

245

ดร.เณศรา สุขพานิช


Á°Á ¸¥

¥»Ã¦

°Á¤¦· µ Á® º°

ª¸

°· Á ¸¥

Pranda Jewelry Private Limited

¤µÁ¨Á ¸¥

Pranda Acceptance Sdn. Bhd. ( º°®»o à ¥ Pranda Singapore Pte. Limited.

¸

­· Ã ¦r

Pranda Singapore Pte. Limited

Pranda (Guangzhou) Co., Ltd.

Áª¸¥ µ¤

Pranda Vietnam Co., Ltd

°· à ¸Á ¸¥

Á¥°¦¤´

KSV Brand GmbH ( º°®»o à ¥ Pranda & Kroll GmbH & Co. KG )

P.T. Pranda SCL Indonesia

Á¥°¦¤´

°´ §¬

Pranda UK Ltd.

Pranda & Kroll GmbH & Co. KG

¦´É Á«­

­®¦´ °Á¤¦· µ

Crystaline North America, Inc. ( º°®»o à ¥ Pranda North America, Inc.)

H.GRINGOIRE s.a.r.l.

­®¦´ °Á¤¦· µ

´ ´Ê ¹Ê Ä ¦³Á «

Pranda North America, Inc.

¦·¬ ´

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน) 51%

100%

51%

100%

100%

100%

51%

100%

100%

100%

­´ ­nª µ¦ º°®»o

2007

2003

1995

1995

1995

2005

1994

1992

1992

e ¸ÉÁ¦·¤É ¨ » ¨´ ¬ ³ · µ¦

Market seeking Market seeking

ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ° ¨³Á · Ä ¦³Á «°· Á ¸¥ (¦nª¤ » ´ ¦·¬´ Gunjan Jewels PVt. Ltd.)

Market seeking

Market seeking, Efficiency seeking

Market seeking

Market seeking

Market seeking, Strategic asset seeking

Market seeking

¨· Á ¦ºÉ° ¦³ ´ °´ ¤ ¸Á¡ºÉ° ´ ε® nµ¥£µ¥Ä ¦³Á «­µ µ¦ ¦´ ¦³ µ ¸

¨· Á ¦ºÉ° ¦³ ´ °´ ¤ ¸Á¡ºÉ° µ¦­n °° ¨³ ε® nµ¥Ä ¦³Á «£µ¥Ä o ¦ r Julia ¨³ Batik Silver (¦nª¤ » ´ ¦·¬´ Ä °· à ¸Á ¸¥)

®¥» εÁ · µ¦Ä e 2543

¨ » Ä ¤µÁ¨Á ¸¥Â¨³°· à ¸Á ¸¥

¨· ¨³ ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ° ¨³Á · Á¡ºÉ° µ¦­n °° ¨³ ε® nµ¥£µ¥Ä ¦³Á « £µ¥Ä o ¦ r ° Á°

¨· ¨³ ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ °´ ¤ ¸£µ¥Ä o ¦ r ° Á° £µ¥Ä o ¦ r Christ, Cai, Merri, Michael Schumacher

¨· ¨³ ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ °´ ¤ ¸

ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ °´ ¤ ¸ ¦³Á£ ° £µ¥Ä oÁ ¦ºÉ° ®¤µ¥ µ¦ oµ H.Gringoire Ä ¦´É Á«­Â¨³¥»Ã¦ ( ºÊ° · µ¦) ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ° Á ¦ºÉ° ¦³ ´ Á · ¦ª¤ ´Ê Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ¢ ´É £µ¥Ä o Á ¦ºÉ° ®¤µ¥ µ¦ oµ Cristalina Ä ¦³Á «°´ §¬Â¨³¥»Ã¦

ε® nµ¥Á ¦ºÉ° ¦³ ´ ° ¨³Á · Ä ­®¦´ °Á¤¦· µÂ¨³Â µ µ

µ¦µ ¸É 4.5 ¨´ ¬ ³ µ¦¨ » à ¥ ¦ Ä nµ ¦³Á « ° ¦·¬ ´ ¡¦ oµ ·ªÁª¨¦¸É ε ´ (¤®µ )

246


247 µ¦µ ¸É 4.6: εŦ­» · n°­· ¦´¡¥r¦ª¤ (Return on Asset: ROA) ° ¦·¬´ ¡¦ oµ ·ªÁª¨¦¸É ε ´ (¤®µ ) Ä ¦³Á «Â¨³£¼¤£· µ nµ Ç

ª¸

¦·¬´

´ ´Ê ¹Ê Ä ¦³Á «

¥° ­· ¦´¡¥rÄ nµ ¦³Á «¦ª¤ εŦ( µ » )­» ·Ä nµ ¦³Á «¦ª¤ ROA ¦ª¤Ä nµ ¦³Á «¦ª¤ °Á¤¦· µÁ® º° Pranda North America, Inc.

­®¦´ °Á¤¦· µ

Crystaline North America, Inc. ( º°®»o à ¥ Pranda North America, Inc.) ¥»Ã¦

H.GRINGOIRE s.a.r.l.

Pranda UK Ltd.

Á°Á ¸¥

¦´É Á«­

°´ §¬

ROA (® nª¥: ¨oµ µ n°­· ¦´¡¥r 1 ¨oµ µ ) ¦µ¥ µ¦

2003

2004

2005

­· ¦´¡¥r

738

804

1,159 1,355 1,557 1,345

2006

2007

2008

εŦ ( µ » ) ­» ·

-1

-18

-92.5

-11

-23

-198

ROA

-0.14

-2.24

-7.98

-0.81

-1.48

-14.27

­· ¦´¡¥r

177

247

278

419

496

386

εŦ ( µ » ) ­» ·

3

5

-9

10

44

-5

ROA

1.69

2.02

-3.24

2.39

8.87

-1.30

­· ¦´¡¥r

220

191

233

195

225

208

εŦ ( µ » ) ­» ·

-18

-24

-56

-32

-17

-35

ROA ­· ¦´¡¥r

-8.18 261

-12.57 271

-24.03 306

-16.41 337

-7.56 358

-16.83 300

εŦ ( µ » ) ­» ·

1

4

-24

33

-

-30

0.38 -

1.48 -

-7.84 208

9.79 249

277

-10.00 203

-

-

-2

-16

-38

-118

Pranda & Kroll GmbH & Co. KG

Á¥°¦¤´

ROA ­· ¦´¡¥r

KSV Brand GmbH ( º°®»o à ¥ Pranda & Kroll GmbH & Co. KG )

Á¥°¦¤´

εŦ ( µ » ) ­» · ROA

-

-

-0.96

-6.43

-13.72

-58.13

Pranda Vietnam Co., Ltd

Áª¸¥ µ¤

­· ¦´¡¥r

38

41

52

63

73

78

Pranda Singapore Pte. Limited ( ¹É ¦ª¤ µ¦Á · ° Pranda Acceptance Sdn. Bhd. Pranda (Guangzhou) Co., Ltd.

Pranda Jewelry Private Limited

εŦ ( µ » ) ­» ·

6

8

0.5

15

13

12

ROA

15.79

19.51

0.96

23.81

17.81

15.38

­· à ¦r ¤µÁ¨Á ¸¥ °· à ¸Á ¸¥

­· ¦´¡¥r

42

44

55

58

59

67

εŦ ( µ » ) ­» ·

7

4

10

4

2

6

ROA

16.67

9.09

18.18

6.90

3.39

8.96

¸

­· ¦´¡¥r

-

10

27

34

46

53

εŦ ( µ » ) ­» ·

-

-15

-12

-25

-26

-27

ROA

-

-150.00

-44.44

-73.53

-56.52

-50.94

°· Á ¸¥

­· ¦´¡¥r

-

-

-

-

23

50

εŦ ( µ » ) ­» ·

-

-

-

-

-1

-1

ROA

-

-

-

-

-4.35

-2.00

¸É¤µ: o°¤¼¨­· ¦´¡¥r¨³ εŦ ( µ » ) ­» · µ ¦µ¥ µ ¦³ ε e ¦·¬´ ¡¦ oµ ·ªÁª¨¦¸É ε ´ ( ε ´ ) ¤®µ ­nª ROA ¤µ µ µ¦ ε ª à ¥ ROA =[ εŦ ( µ » ) ­» · ° ¦·¬´ ¥n°¥/­· ¦´¡¥r¦ª¤ ° ¦·¬´ ¥n°¥] * 100

ดร.เณศรา สุขพานิช


248 เอกสารอางอิง Athukorala, P. (2008) ‘Trade and Investment Patterns in Asia: Regionalisation or Globalisation?’ Paper for presentation to the symposium on ‘MicroEconomic Foundations of Economic Policy Performance in Asia’, organized by the National Council for Applied Economic Research and the East Asia Bureau of Economic Research, New Delhi, 3-4 April 2008 Athukorala, P. and H. Hill (2002) ‘Host-country Impact of FDI in East Asia’, in B. Bora (ed.), Foreign Direct Investment Research Issues, Routledge, London. Banga, R. (2007), “Drivers of Outward Foreign Direct Investment from Asian Developing Economies” in Towards Coherent Policy Frameworks: Understanding Trade and Investment Linkages, 195-215. (New York: United Nations ESCAP) Available HTTP: <http://www.unescap.org/tid/publication/ tipub2469_chap7.pdf> Barney, J. (1991), ‘Firm Resources and Sustained Competitive Advantages’, Journal of Management, 17 (1): 99-120. Bonaglia, F., A. Goldstein, and J. A. Mathews (2007), ‘Accelerated internationalization by emerging markets’ multinationals: The Case of thew White Goods Sector’, Journal of World Business, 42: 369-383 Buhner, R. (1987), ‘Assessing International Diversification of West German Corporations’, Strategic Management Journal, 8 (1): 25-37. Caves, R. E. (1974), ‘Causes of Direct Investment: Foreign Firms’ shares in Canadian and United Kingdom Manufacturing Industries’, Review of Economics and Statistics, 56. (3) (1974): 279-293. Collins, J. M. (1990), ‘A Market Performance Comparison of U.S. Firms Active in Domestic, Developed and Developing Countries’ Journal of International Business Studies, 21 (2): 271-287. Contractor, F. J. (1984), ‘Choosing between Direct Investment and Licensing: Theoretical Considerations and Empirical Tests’, Journal of International Business Studies, 15 (3): 167-188. Daniels, J. D. and J. Bracker (1989), ‘Profit Performance: Do Foreign Operations Make a Difference’, Management International Review, 29 (1): 46-56. Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


249 Dunning, J. H. (1977 ), ‘Trade, Location of Economics Activity and the Multinational and the Multinational Enterprise: A Search for an Eclectic Approach’ In Bertil Ohlin, P.O. Hesselborn, and P.M. Wijkman (eds.), The International Allocation of Economic Activity, Proceedings of a Nobel Symposium Held at Stockholm, Macmillan, London, 269-296. Dunning, J. H. (1981b) International Production and Multinational Enterprise. Allen&Urwin, London. Dunning, J. H. (1983a), ‘Changes in the Structure of International Production: The Last 100 Years’, In Mark C. Casson (ed.), The Growth of International Business, Allen&Urwin London, 84-139 Dunning, J. H. (1983b) , ‘Market Power of the Firm and International Transfer of Technology’, International Journal of Industrial Organization, 1: 333-351. Dunning, J. H. (1993), Multinational Enterprises and the Global Economy. AddisonWesley, Workingham. Dunning, J. H. (1998), ‘Location and the Multinational Enterprise: a Neglected Factors?’, Journal of International Business Studies, 29 (1): 45-66. Dunning, J. H. and A. M. Rugman (1985), ‘The influence of Hymer’s Dissertation on the Theory of Foreign Direct Investment’, The American Economic Review, 75 (2): 228-232. Geringer, J. Michael, P. W. Beamish and R. C. DaCosta (1989), ‘Diversification Strategy and Internationalization: Implications for MNE Performance’, Strategic Management Journal, 10 (2): 109-119. Gomes, L. and K. Ramaswamy (1999), ‘An Empirical Examination of the Form of the Relationship between Multinationality and Performance’, Journal of International Business Studies, 30 (1): 173-187. Grubaugh, S. G. (1987), ‘Determinants of Direct Foreign Invenstment’, The Review of Economics and Statistics, 69 (1): 149-152. Hennart, Jean-François and Young-Ryeol Park (1993), ‘Greenfield vs. Acquisition: The Strategy of Japanese Investors in the United States’, Management Science, 39 (9): 1054-1070. Hennart, Jean-François and Young-Ryeol Park (1994), ‘Location, Governance, and Strategic Determinants of Japanese Manufacturing Investment in the United States’, Strategic Management Journal, 15 (6): 419-436. Hiratsuka, D. (2006), ‘Outward FDI from and Intraregional FDI in ASEAN’, Discussion ดร.เณศรา สุขพานิช


250 Paper no. 77, Institute of Developing Economies (IDE), JETRO. Hitt, M. A., R. E. Hoskisson, and H. Kim (1997), ‘International Diversification: Effects on Innovation and Firm Performance in Product-Diversified Firms’, The Academy of Management Journal, 40 (4): 767-798. Horst, T. (1972), ‘Firm and Industry Determinants of the Decision to Invest Abroad: An Empirical Study’ The Review of Economics and Statistics, 54 (3): 258-266. Hymer, S. H. (1960), The International Operations of National Firms, Ph.D. Dis sertation, Massachusetts Institute of Technology. Hymer, S. H. (1976), The International Operations of National Firms: A Study of Direct Foreign Investment. Ph.D. dissertation, M.I.T. (published by M.I.T. Press). Jongwanich, J. and A. Kohpaiboon (2008), Private Investment: Trends and Determinants in Thailand’, World Development, (Article in Press). Kaplinsky, R. and M. Morris (2001), A Handbook for Value Chain Research, Institute of Development Studies, Brighton. Kimura, Y. (1989), ‘Firm-Specific Strategic Advantages and Foreign Direct Invest ment Behavior of Firms: the Case of Japanese Semiconductor Firms’, Journal of International Business Studies, 20 (2): 296-314. Lu, J. W. and P. W. Beamish (2001), ‘The International and Performance of SMEs’, Strategic Management Journal, 22: 565-586. Michael, A. and I. Shaked (1986), ‘Multinational Corporations vs. Domestic Corporations: Financial Performance and Characteristics’, Journal of International Business Studies, 17 (3): 89-100. Mishra, C. and D. H. Gobeli (1998), ‘Managerial Incentives, Internalization, and Market Valuation of Multinational Firms’, Journal of International Business Studies, 29 (3): 583-597. Morck, R. and B. Yeung (1992), ‘Internalization: An Event Study Test’, Journal of International Economics, 33: 41-56. Navaretti, G. B. and A. J. Venables (2005), Multinatinal Firms in the World Economy, Princeton University Press, Princeton and Oxford. Pananond, P. (2007a), ‘The Chaging Dynamics of Thai Multinationals after the Asian Economic Crisis’, Journal of International Management, 13: 356-375. Pananond, P. (2007b), ‘Entering the ‘Big League’: Challenges Facing Thailand Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)


251 Emerging Multinationals. In Ravi Ramamurti and Jitendra Singh (eds.) Emerging Multinatinals from Emerging Markets, Cambridge University Press, Cambridge. Pugel, T. A. (1981), ‘The Determinants of Foreign Direct Investment: An Analysis of US Manufacturing Industries’, Managerial and Decision Economics, 2 (4): 220-228. Pugel, T. A. (1978), International Market Linkages and US Manufacturing, Ballinger Publishing Company, Cambridge, USA. Ray, E. J. (1989), ‘The Determinants of Foreign Direct Investment in the United States, 1979-1985’, In R. Feenstra (ed.), Trade Policies for international competitiveness, University of Chicago Press, Chicago. Rugman, A. M. (1981), ‘A Test of Internalization Theory’, Managerial and Decision Economics, 2 (4): 211-219. Rugman, A. M. (2001), The End of Globalization. Random House Business Books, London. Rugman, A. M. (2005), The Regional Multinationals, Cambridge University Press, Cambridge. Rugman, A. M. and A. Verbeke (1990), Global Corporate Strategy and Trade Policy, Routledge, London. Rugman, A. M. and A. Verbeke (2002), ‘Edith Penrose’s Contribution to the ResourceBased View of Strategic Management’, Strategic Management Journal, 23: 769-780. Ruigrok, W. and H. Wagner (2003), ‘Internationalization and Performance: An Organization Learning Perspective’, Management International Review, 43 (1): 63-83. Schive, C. and Tain-Jy Chen (2004), ‘The Globalization of Business in Taiwan’, in Tain-Jy Chen and Joseph S. Lee (eds.), The New Knowledge Economy of Taiwan, Edward Elgar, Cheltenham. Sukpanich, N. (2007), ‘Intra-Regional Sales and Performance’, in Alan M. Rugman. (ed.), Regional Aspects of Multinationality and Performance, Elsevier. Sukpanich, N and A. M. Rugman (2007), ‘Intra-Regional Sales, Product Diversity, and the Performance in Merchandising Multinationals’, Journal of International Management, 13 (2): 131-146. UNCTAD (2006), World Investment Report : FDI from Developing and Transition ดร.เณศรา สุขพานิช


252 Economies: Implications for Development, United Nations Conference on Trade and Development, Geneva. UNCTAD (2007), World Investment Report : Transnational Corporations, Extractive Industries and Development, United Nations Conference on Trade and Development, Geneva. Wee, K.H. (2007),’Outward Foreign Direct Investment by Enterprises from Thailand’, Transnational Corporations,16 (1): 89-116 Yeung, Henry W.C. (2006), ‘From Followers to Market Leaders: Asian Electronics Firms in the Global Economy’, ICSEAD Working Paper Series 16, International Centre for the Study of East Asian Development, Kitakyushu. Zaheer, S. and E. Mosakowski (1997), ‘The Dynamics of the Liability of Foreignness: A Global Study of Survival of Financial Services’, Strategic Management Journal, 18 (6): 439-464.

Symposium no.32 :: การลงทุนโดยตรงในตางประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนดา จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน)



254

แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถ ในการแขงขัน ของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


255

โดย

ดร.กิริยา กุลกลการ* คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ผูเ ขียนขอขอบคุณ คุณปาริฉตั ร สานอย และคุณพัชรศรี แดงทองดี แหงสถาบันเพิม่ ผลผลิต แหงชาติ ทีเ่ อือ้ เฟอ ขอมูล ขอบคุณคณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรสาํ หรับทุน วิจัย ขอบคุณ ผศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย, อ.ดร.พีระ เจริญพร และ อ.ดร. เณศรา สุขพา นิช ผูรวมทีมวิจัย และขอบคุณ อ.ดร. ธนะพงษ โพธิปติ สําหรับคําวิจารณและขอคิดเห็น ที่เปนประโยชนอยางยิ่ง ดร.กิริยา กุลกลการ


256

1 บทนํา

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


257

โลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจ (Economic Globalization) เปนองคประกอบของ โลกาภิวัตนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเปนประเด็นถกเถียงถึงผลไดสุทธิที่ประเทศ จะไดรับอยางกวางขวาง (Bhagwati, 2004; Wolf, 2005; Irwin, 2005) และ เปนหัวขอที่ผูกําหนดนโยบายควรใหความสําคัญเพื่อหาแนวนโยบายและ มาตรการทีเ่ หมาะสมเพือ่ ใหประเทศไดประโยชนสงู สุด อยางไรก็ตาม ในชวง 2 ทศวรรษทีผ่ า นมา โลกาภิวตั นทางเศรษฐกิจ (อางถึงตอไปโดยยอวา โลกาภิ วัตน) ถูกกระตุนจากการทวีความสําคัญขึ้นของการคาปจจัยการผลิตระหวาง ประเทศ (Trade in Inputs) ซึ่งครอบคลุมตั้งแตปจจัยการผลิตพื้นฐานอยาง แรงงานดวย และแตกตางไปจากความเชื่อโดยทั่วไปที่เชื่อวาโลกาภิวัตนถูก ขับเคลื่อนดวยการคาสินคาสําเร็จรูป (Finished Goods) ดังแสดงในภาพที่ 1 เงินโอนที่แรงงานของประเทศหนึ่งซึ่งทํางานในตางประเทศและสงเงินกลับ บาน (Remittances) ขยายตัวในอัตราที่สูงกวามูลคาการคาระหวางประเทศ โดยตลอดตั้งแตกลางทศวรรษ 1980 แทจริงแลวการเคลื่อนยายแรงงานระหวางประเทศไมใชเรื่องใหม แตเรื่องดังกลาวกลับมาอยูในความสนใจของนักเศรษฐศาสตรและผูกําหนด ดร.กิริยา กุลกลการ


258

นโยบายเศรษฐกิจในชวง 3 ทศวรรษที่ผานมาเพราะการเคลื่อนยายแรงงาน เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นอกจากนั้น การเคลื่อนยายแรงงานระหวางประเทศที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีลักษณะเฉพาะที่เปนการเคลื่อนยายแรงงานระหวางประเทศในภูมิภาค เดียวกัน (South-South) และ รอยละ 90 เปนการเคลื่อนยายของแรงงานที่ ไรฝมือหรือแรงงานกึ่งฝมือ (Unskilled and/or Semi-skilled Labour) (Athukorala, 2006: 19) ประเทศไทยเคยเปนประเทศทีส่ ง ออกแรงงานสุทธิ โดยแรงงานไทย มักเดินทางไปทํางานในกลุม ประเทศทางตะวันออกกลางและรวมไปถึงประเทศ อื่นๆในเอเชีย และเมื่อเศรษฐกิจไทยไดเติบโตขึ้นอยางรวดเร็วนับตั้งแตป 1985 ทําใหความตองการใชแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอยางมาก จนทําใหมีแรงงานอพยพยายเขาจากประเทศเพื่อนบาน ไดแก พมา ลาว และ กัมพูชา เพิ่มจํานวนขึ้น จนกระทั่งปค.ศ 1990 ประเทศไทยจึงไดเปลี่ยนมา เปนประเทศที่นําเขาแรงงานสุทธิเมื่อจํานวนแรงงานตางดาวที่เขามาทํางาน เพิ่มสูงขึ้นกวาจํานวนแรงงานไทยที่เดินทางไปทํางานนอกประเทศ จากตั ว เลขประมาณการในป ค .ศ. 2007 แรงงานต า งด า วใน ประเทศไทยทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายมีอยูประมาณ 2.5 ลานคน คิด เปนรอยละ 7 ของกําลังแรงงานไทยทัง้ หมด หรือ รอยละ 17 ของแรงงานไทยใน ภาคเกษตร และมีแนวโนมสูงขึน้ เรือ่ ยๆ แรงงานตางดาวสวนใหญเปนแรงงาน ไรฝมือ (Unskilled Labor) เขามาทํางานในภาคเกษตร ประมง กอสราง และ ภาคบริการ เชน คนรับใชในบาน โดยในปค.ศ. 2005 กระทรวงแรงงานรายงาน วา รอยละ 70 ของแรงงานตางดาวทัง้ หมดอพยพมาจากประเทศพมา, รอยละ 15 จากประเทศลาว และที่เหลืออีกรอยละ 15 มาจากประเทศกัมพูชา แรงงานตางดาวในประเทศไทยจํานวนมากกระจุกตัวอยูบริเวณ ชายแดน อยางไรก็ตาม พบวาแรงงานตางดาวรอยละ 43 ทํางานอยูใ นกรุงเทพ และปริมณฑล สวนจังหวัดที่มีแรงงานตางดาวคอนขางเบาบางคือ จังหวัดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อศึกษาการกระจุกตัวของแรงงานตางดาวแยก ตามประเทศที่อพยพมา พบวาแรงงานที่อพยพมาจากประเทศลาวสวนใหญ กระจุกตัวอยูในกรุงเทพ แรงงานจากประเทศกัมพูชากระจุกตัวในภาคตะวัน Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


259

ออก และแรงงานพมากระจุกตัวอยูในจังหวัดในภาคเหนือและภาคใตที่มี ชายแดนติดกับประเทศพมาหรือติดทะเล แนวโนมการเคลือ่ นยายแรงงานดังกลาวเปนปรากฏการณทจี่ ะมีนยั ตอความสามารถในการแขงขันและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นัยสําคัญของ การทวีความสําคัญของการเคลือ่ นยายแรงงานไรฝม อื หรือแรงงานกึง่ ฝมอื คือ การนําเขาแรงงานจะกลายมาเปนทางเลือกหนึง่ ทีน่ กั อุตสาหกรรมสามารถทีจ่ ะ ใชเพื่อรักษาความสามารถในการแขงขันในระยะสั้นระหวางที่กําลังพยายาม เปลี่ยนผานความสามารถในการแขงขันจากการผลิตที่ใชแรงงานจํานวนมาก และคาแรงงานเปนหัวใจในการกําหนดความสามารถในการแขงขันไปสูการ ผลิตสินคาที่ใชทักษะฝมือแรงงานมากขึ้นและมีเครื่องจักรเกี่ยวของเพิ่มมาก ขึ้น ทางเลือกดังกลาวมีความสําคัญมากสําหรับอุตสาหกรรมที่ใชแรงงานเขม ขน (Labour Intensive Industries) และกลุมผูประกอบการขนาดกลางและ ขนาดยอมทีม่ กั จะมีปญ  หาและ/หรือความเสียเปรียบในการรักษาความสามารถ ในการแขงขันผานชองทางอื่นๆ เชน การเปลี่ยนเครื่องจักร หรือการยายฐาน ออกไปลงทุนในตางประเทศ อยางไรก็ตาม ประเด็นการนําเขาแรงงานตางดาวไมเพียงแตเปน ประเด็นที่ยังไมไดขอสรุปทางวิชาการถึงผลสุทธิ โดยเฉพาะตอกระบวนการ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต แตยังเชื่อมโยงไปยังประเด็นปญหาสังคมและ วัฒนธรรมเชนกัน ในทางวิชาการ การอนุญาตหรือเปดเสรีใหนําเขาแรงงาน ตางดาวอาจทําใหผูประกอบการไมพยายามยกระดับความสามารถในการ ผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมนัน้ โดยรวม เพราะผูป ระกอบการเลือกรักษา ความสามารถในการแขงขันอยางงายโดยการทดแทนแรงงานภายในประเทศ ที่มีคาแรงงานสูงดวยแรงงานตางดาวที่ยอมรับคาแรงที่ตํากวา ซึ่งจะสงผล กดดันระดับคาแรงงานภายในประเทศ นอกจากนั้นการอนุญาตใหมีการนํา เขาแรงงานตางดาวอาจกอใหเกิดปญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมาไดเชนกัน เรื่ อ งดั ง กล า วเป น เรื่ อ งท า ทายเชิ ง นโยบายที่ สํ า คั ญ สํ า หรั บ ประเทศไทย ทัง้ นีเ้ พราะ ประการแรก ประเทศไทยกําลังอยูร ะหวางชวงเปลีย่ น ผานจากการมีคาจางแรงงานอยูในระดับตําไปสูประเทศที่มีคาจางแรงงาน สูงขึ้น ประการที่สอง ดวยปจจัยทางดานภูมิภาค ประเทศไทยรายลอมดวย ดร.กิริยา กุลกลการ


260

ประเทศดอยพัฒนา (Less Developed Countries) ทีม่ ฐี านะทางเศรษฐกิจดอย กวา เชน พมา ลาว และกัมพูชา ดังนั้น ทางเลือกทางนโยบายที่เกิดขึ้น คือ ดานหนึง่ ประเทศไทยมีโอกาสดีกวาประเทศอืน่ ๆในภูมภิ าคอาเซียนในการเขา ถึงแหลงแรงงานราคาถูกและชวยอํานวยความสะดวกในชวงเปลีย่ นผานความ ไดเปรียบในการผลิต ในอีกดานหนึ่ง หากประเทศไทยเลือกที่จะไมใชการนํา เขาแรงงานจากตางชาติ คําถามทีร่ ออยู คือ มาตรการดังกลาวจะมีประสิทธิผล มากนอยเพียงใด เพราะลักษณะทางภูมศิ าสตรดงั กลาวและมาตรการดังกลาว จะนําไปสูปญหาสังคมดานอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม ประการสุดทาย สําหรับ ประเทศดอยพัฒนา การสงออกแรงงานไปทํางานในตางประเทศถูกพิจารณา เปนชองทางแกปญหาความยากจนและการวางงานภายในประเทศ (Goldin & Reinert, 2006: Chapter 6) ดังนั้น ทาทีที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย ตอประชาคมโลกในฐานะผูนําทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดจีน คืออะไร แม เรื่องดังกลาวจะมีความสําคัญ แตการศึกษาในเชิงลึกยังมีจํากัด โดยเฉพาะ การนําเรื่องดังกลาวเขามาเชื่อมโยงกับความสามารถในการแขงขันของภาค อุตสาหกรรม ดังนั้น เรื่องดังกลาวจึงเปนสิ่งที่ทั้งนักเศรษฐศาสตรและผูกําหนด นโยบายทางเศรษฐกิจในหนวยงานภาครัฐควรใหความสนใจเปนอยางยิ่ง เพราะการทวีความสําคัญของการเคลือ่ นยายแรงงานระหวางประเทศเปนการ เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสรางของระบบเศรษฐกิจโลก และเปนกลจักรหลักที่จะ ผลักดันโลกาภิวัตนในทศวรรษหนา การทวีความสําคัญของการเคลื่อนยาย แรงงานระหวางประเทศทําใหกรอบการวิเคราะหเศรษฐกิจระหวางประเทศ เปลี่ยนแปลงไปอยางมาก ทั้งในเรื่องของปจจัยกําหนดขีดความสามารถใน การแขงขัน ทางเลือกในการเพิม่ ขีดความสามารถในการแขงขัน กรอบนโยบาย ของการเจรจาการคาระหวางประเทศ บทบาทของภาครัฐตอรูปแบบการคา และการรักษาความสามารถในการแขงขัน และการตอบสนองของภาคเอกชน ตอนโยบายภาครัฐ สวนตางๆ ทีต่ อ จากบทนําของบทความนี้ จะเริม่ ตนดวยวัตถุประสงค ของการศึกษาซึ่งอยูในสวนที่สอง วรรณกรรมปริทัศนในสวนที่สาม นโยบาย เกี่ยวกับแรงงานตางดาวในประเทศไทยในสวนที่สี่ กรอบแนวคิดทางทฤษฎี Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


261

ในสวนที่หา ขอบเขตการศึกษาในสวนที่หก ขอมูลที่ใชในสวนที่เจ็ด ระเบียบ วิธีวิจัยในสวนที่แปด ลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวที่แตกตางจาก กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวในสวนที่เกา การวิเคราะหขอมูลเบื้องตนที่จะ ใชในการประมาณสมการถดถอยในสวนทีส่ บิ ผลการประมาณสมการถดถอย ของการที่ใชแรงงานตางดาวตอความสามารถในการแขงขันในสวนที่สิบเอ็ด ผลการสัมภาษณในสวนที่สิบสอง และในสวนสุดทายจะเปนบทสรุป

ดร.กิริยา กุลกลการ


262

2 วัตถุประสงคของการศึกษา

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


263

ดังที่กลาวมาขางตน จะเห็นไดวาโลกาภิวัตนที่ถูกขับเคลื่อนดวยการเคลื่อน ยายแรงงานระหวางประเทศมีความเชือ่ มโยงกับประเด็นเชิงนโยบายเศรษฐกิจ ในดานตางๆ มากมาย อยางไรก็ตาม องคความรูใ นเรือ่ งดังกลาวยังมีอยูอ ยาง จํากัด ดังนัน้ งานวิจยั ฉบับนีจ้ งึ มีวตั ถุประสงคเพือ่ ศึกษาผลกระทบของการนํา เขาแรงงานตางดาวตอการรักษาความสามารถในการแขงขันของผูประกอบ การไทย ดังนี้ 1. ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของกิจการที่ใชและไมใชแรงงาน ตางดาวที่จะสงผลตอความสามารถในการแขงขัน 2. ศึกษาวากิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวมีความสามารถในการแขงขัน ตํากวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวหรือไม อยางไร

ดร.กิริยา กุลกลการ


264

3 วรรณกรรมปริทัศน

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


265

ในส ว นนี้ จ ะทํ า การทบทวนวรรณกรรมที่ ศึ ก ษาถึ ง ผลกระทบของการใช แรงงานตางดาวตอการใชเครื่องจักรและเทคโนโลยี Tella ศาสตรจารยแหง มหาวิทยาลัย Georgetown ไดเขียนไวใน Washington Times ในปค.ศ. 2006 วาการนําเขาแรงงานตางดาวไดสงผลเสียตอผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไดอางถึงงานเขียนของ Krikorian (2000) วา การอนุญาตนําเขาแรงงานตางดาวมีผลลดแรงจูงใจของผูประกอบการในการ ใชเครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิต โดยยกตัวอยางวา ในชวงระหวางป 1960 ซึง่ เปนชวงทีม่ กี ารยกเลิกโครงการ Bracero (ซึง่ เปนโครงการทีอ่ นุญาต ใหแรงงานเม็กซิกนั เขามาทํางานในภาคเกษตรกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ไดอยางถูกกฎหมาย) จนถึงป 1975 ทีแ่ รงงานตางดาวเริม่ ลับลอบเขาประเทศ อยางผิดกฎหมายจํานวนมากนัน้ ถือเปนชวงทีม่ กี ารใชเครือ่ งจักรจํานวนมาก ในภาคเกษตรกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา และชั่วโมงทํางานของแรงงาน ตอเอเคอรไดลดลงถึงรอยละ 20 นอกจากนี้ Krikorian ยังกลาวถึงการผลิตลูกเกดวา แมวาการผลิต ลูกเกดแบบดั้งเดิมตองใชแรงงานอยางเขมขน คือ ตองใชมีดตัดกิ่งองุน แลว ดร.กิริยา กุลกลการ


266

นํากิ่งองุนมาผึ่งแดด ตากไวในถาด โดยตองหมั่นพลิกกลับไปกลับมาจนกวา จะแหงดี ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ตองทําดวยมือ และไรองุนที่ Central Valley ของแคลิฟอรเนียตองใชแรงงานทั้งหมดราว 50,000 คนในชวงเวลา 1 เดือน ของการเก็บเกีย่ วองุน ก็ตาม ในปลายทศวรรษที่ 1950 ชาวไรองุน ของประเทศ ออสเตรเลียทีก่ าํ ลังประสบปญหาการขาดแคลนแรงงานก็ไดคดิ คนวิธกี ารเก็บ องุนขึ้นมาใหม เรียกวา แหงคากิ่ง (Dried-on-the-Vine: DOV) โดยปลอยให แหงเองตามธรรมชาติ แลวใชรถแทรกเตอรเขยากิ่งเบาๆใหผลองุนรวงลงถัง วิธีนี้ชวยประหยัดแรงงานไดมากถึงรอยละ 85 และผลผลิตตอเอเคอรเพิ่มขึ้น ถึงรอยละ 200 อีกทั้งผลผลิตก็มีคุณภาพดีขึ้นดวย อีกตัวอยางหนึ่งคือ การปลูกออยเพื่อทํานํ้าตาลในรัฐฟลอริดา ซึ่ง เดิมทีมีสภาพและสิ่งแวดลอมในการทํางานที่คอนขางเลวรายมาก คือ เวลา ทํางานตองกมตํา่ ระดับเอว ใชมดี ขนาดใหญและหนักตัดตนออย และทํางานใน ทีท่ มี่ อี ากาศรอน มียงุ และงู ทําใหตอ มามีปญ  หาฟองรองเรือ่ งสภาพการทํางาน ของคนงานจํานวนมาก จนในที่สุดเจาของไรจํานวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดตอง แกปญหาดวยการหันมาใชเครื่องจักรแทนแรงงานคน ทําใหผลิตภาพเพิ่มสูง ขึ้นอยางมาก และสภาพการทํางานก็ดีขึ้นดวย ดวยเหตุนี้ Krikorian จึงกลาว วา การนําเขาแรงงานตางดาวเปนกลยุทธการแขงขันกับประเทศโลกที่สามที่ ตองพบกับทางตันในทีส่ ดุ และจะทําใหประเทศพัฒนาแลวอยางสหรัฐอเมริกา ตองลาหลังประเทศพัฒนาแลวอืน่ ๆในการผลิตหุน ยนตสาํ หรับใชในภาคเกษตร ในอนาคต Martin (2001) ไดศึกษาผลกระทบของการยกเลิกโครงการนําเขา แรงงานชั่วคราว (Guest Worker Program) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ เยอรมนี พบวา แมวา จะมีการคาดการณวา การสิน้ สุดลงของโครงการจะสงผล เลวรายตอภาคเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา เพราะการขาดแคลนแรงงาน ตางดาวจะทําใหการเพาะปลูกตองหยุดชะงักลง และจะทําใหราคาอาหารเพิม่ สูงขึ้น แตกลับมีการคิดคนเทคโนโลยีในการทําเกษตรกรรมที่สามารถลดการ ใชแรงงานได โดยไดยกตัวอยาง กรณีการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศเพื่อผลิตซอส มะเขือเทศวาในปค.ศ. 1960 ในแถบแคลิฟอรเนียวามีการใชแรงงานตางดาว 45,000 คนหรือคิดเปน 80 เปอรเซ็นตของแรงงานทั้งหมดในการเก็บเกี่ยว Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


267

มะเขือเทศจํานวน 2.2 ลานตัน โดยเกษตรกรในยุคนัน้ ยืนยันวาการใชแรงงาน ตางดาวเปนสิง่ จําเปนทีส่ ดุ ในการอยูร อดของอุตสาหกรรมการผลิตซอสมะเขือ เทศ อยางไรก็ตาม ในปค.ศ 1999 หลังจากที่โครงการนําเขาแรงงานชั่วคราว สิน้ สุดลง กลับพบวา มีการจางแรงงานเพียง 5,000 คน เพือ่ ควบคุมเครือ่ งจักร ในการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศจํานวน 12 ลานตัน บนพื้นที่ 300,000 เอเคอร นอกจากนี้ การขยายการผลิตยังสงผลใหราคาผลิตภัณฑที่ทําจากมะเขือเทศ ตํ่าลง ซึ่งเปนปจจัยหนึ่งที่กระตุนใหธุรกิจอาหารจานดวนในอเมริกาเจริญ เติบโตอยางรวดเร็วอีกดวย Sarig, Thompson, and Brown (2000) ไดทําการศึกษาถึงการใช เครือ่ งจักรเพือ่ เก็บเกีย่ วผักและผลไมในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบ วา การพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเก็บเกี่ยวผักและผลไมในประเทศสหรัฐอเมริกา ไดเจริญรุดหนาขึ้นอยางมากในชวงปค.ศ. 1960-1975 ซึ่งเปนชวงที่มีการ ขาดแคลนแรงงานอันเปนผลมาจากการสิ้นสุดของโครงการ Braceros และ จํานวนชั่วโมงเฉลี่ยในการเก็บเกี่ยวของแรงงานคนตอเอเคอรลดลงรอยละ 20 ในป 1976 ทั้งนี้ Sarig และคณะยังกลาววา เปนที่นาเสียดายอยางยิ่งที่ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อชวยในการเก็บเกี่ยวตองหยุดชะงักลงในชวงปค.ศ 1980-1995 เนื่องจากเกษตรกรไมมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงการเก็บเกี่ยว ดวยแรงงานคนมาเปนใชเครื่องจักร เพราะสามารถจางแรงงานตางดาวที่ ลักลอบเขาเมืองอยางผิดกฎหมายไดในราคาถูกเปนจํานวนมาก สงผลใหใน ปจจุบันการเก็บเกี่ยวผักและผลไมในประเทศสหรัฐอเมริกายังคงใชแรงงาน เปนหลัก โดยการจางแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตคิดเปนรอยละ 50 ของ ตนทุนการผลิตทั้งหมด และแมจะมีการใชเครื่องจักรเพื่อเก็บเกี่ยวผักและ ผลไมเพิ่มมากขึ้นตั้งแตปลายปค.ศ. 1970 เปนตนมาก็ตาม แตก็มีอยางนอย รอยละ 20 ถึง 25 ของพื้นที่ปลูกผัก และรอยละ 40 ถึง 45 ของพื้นที่ปลูก ผลไมที่ยังใชแรงงานคนในการเก็บเกี่ยวอยู Lind (2006) นักวิชาการอาวุโสแหงมูลนิธิ New America ได เขียนวิจารณไวในนิตยสาร Financial Times วาการใชแรงงานตางดาวใน สหรัฐอเมริกาทําใหสหรัฐอเมริกาตองลาหลังประเทศญี่ปุน ออสเตรเลีย และ ประเทศอื่นๆ ในดานการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรดวยเครื่องจักรที่ทัน ดร.กิริยา กุลกลการ


268

สมัย และทําใหการกอสรางในประเทศสหรัฐอเมริกายังคงใชเทคโนโลยีตาํ่ และ ไมมปี ระสิทธิภาพอยู นอกจากนี้ งานศึกษาเชิงเศรษฐมิตขิ อง Quispe-Agnoli และ Zavodny (2002) พบวา ผลิตภาพแรงงานหรือผลผลิตตอแรงงานจะเพิ่ม ขึน้ ชาในรัฐทีม่ แี รงงานตางดาวจํานวนมากเมือ่ เทียบกับรัฐทีม่ แี รงงานตางดาว จํานวนนอยทัง้ ในอุตสาหกรรมทีใ่ ชแรงงานไรฝม อื เขมขนและอุตสาหกรรมทีใ่ ช แรงงานมีฝมือเขมขน Quispe-Agnoli และ Zavodny ชี้วา ผลการศึกษาไมได บอกวา แรงงานตางดาวทําใหผลิตภาพแรงงานลดลง เพียงแตจะเพิม่ ขึน้ ชาลง เทานัน้ ซึง่ อาจมีสาเหตุมาจากการทีแ่ รงงานตางดาวยังไมสามารถปรับตัวเขา กับตลาดแรงงานทองถิ่นได ไมวาจะเปนเรื่องภาษาหรือกฎกติกาตางๆ ซึ่งผล นี้อาจเปนเพียงผลในระยะสั้นและจะหายไปในระยะยาวได งานศึกษาเชิงเศรษฐมิติในระดับโรงงานของ Lewis (2005) เพื่อ หาความสัมพันธระหวางระดับเทคโนโลยีเฉลี่ยของโรงงานกับความหนา แนนของแรงงานตางดาวในพื้นที่ พบวา โรงงานในพื้นที่ที่มีแรงงานตางดาว ไรฝมือจํานวนมาก จะใชเทคโนโลยีในระดับตํ่ากวาโรงงานที่อยูในพื้นที่ที่มี แรงงานตางดาวไรฝมือจํานวนนอย ทั้งนี้เพราะแรงงานตางดาวซึ่งสวนใหญ เปนแรงงานไรฝมือทําใหอุปสงคตอเทคโนโลยีลดลง ยิ่งไปกวานั้น ยังพบวา ในพืน้ ทีท่ มี่ อี ตั ราการเพิม่ ขึน้ ของแรงงานตางดาวไรฝม อื สูงก็ยงิ่ จะมีการรับเอา เทคโนโลยีมาใชในโรงงานชาลงหรือนอยลง อยางไรก็ตาม งานศึกษาของ Ottaviano (2005) กลับพบวา แรงงาน ตางดาวทําใหผลิตภาพเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ จะสงผลดีตอ ความสามารถในการแขงขัน ในระยะยาว ทั้งนี้เพราะแรงงานตางดาวไดนําทักษะความสามารถที่แตกตาง ไปจากแรงงานทองถิ่นเขาสูขบวนการผลิตทําใหแรงงานทั้งสองประเภทเปน ปจจัยการผลิตที่สงเสริมกัน (Complements) ไมใชทดแทนกัน (Substitutes) หากพิจารณากรณีการเกี่ยวขาวในประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบวา มีการใช เครือ่ งจักรทีท่ นั สมัยในขณะทีบ่ างประเทศยังใชแรงงานอยู ดังนัน้ จึงอาจไมถกู ตองทีจ่ ะกลาววาแรงงานตางดาวทําใหเทคโนโลยีการผลิตในภาคเกษตรกรรม ของอเมริกาลาหลังกวาประเทศอื่นๆ ยิ่งไปกวานั้น การใชแรงงานตางดาวก็ เปนเรื่องที่ยุงยากและมีขั้นตอนมากโดยเฉพาะแรงงานตางดาวผิดกฎหมาย ซึ่งนาจะเปนแรงจูงใจใหผูผลิตหาเทคโนโลยีที่ประหยัดแรงงานมาใชในที่สุด Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


269

ยิ่งไปกวานั้นในยุคโลกาภิวัตน ผูผลิตจําเปนตองเรงพัฒนาการผลิตเพื่อลด ตนทุนการผลิตใหสามารถแขงขันในตลาดโลกได แรงงานตางดาวจึงไมนา เปน อุปสรรคสําคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี สําหรับงานศึกษากรณีประเทศไทยอื่นๆ ไดแก งานศึกษาของ Beesey (2004) พบวา นายจางไทยบางรายกลาววา หากถูกบังคับใหใช เทคโนโลยีเพื่อประหยัดแรงงาน พวกเขายินดีจางคนไทยมาทํางานแทน แรงงานขามชาติมากกวาจะใชเครือ่ งจักร เพราะคาจางแรงงานยังตํา่ กวาราคา ของเครือ่ งจักรทีช่ ว ยประหยัดแรงงานมาก นอกจากนี้ เครือ่ งจักรยังไมสามารถ เลียนแบบทักษะบางอยางได เชน งานเชื่อมเหล็ก งานจัดวางโครงเหล็ก และ การเทซีเมนต เปนตน งานศึกษา ในภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลของ ARCM (2004) พบวา โรงงานสวนใหญในอุตสาหกรรมนี้ใชเครื่องจักรเพียงเล็กนอย และใชแรงงานราคาถูกเพื่อลดตนทุนการผลิต นอกจากนี้ ยังพบวาระดับ เทคโนโลยีและการใชเครื่องจักรขึ้นอยูกับลักษณะผลิตภัณฑและขนาดของ ธุ ร กิ จ เป น สํ า คั ญ โดยโรงงานขนาดเล็ ก จะมี ข อ จํ า กั ด ในการเปลี่ ย นไปใช เทคโนโลยีระดับสูง โดยในป ค.ศ.1992 เคยมีการทดลองใชเครื่องแกะกุงใน โรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กแตผลทีไ่ ดไมคมุ ทุน และพบวาโรงงานสงออก ขนาดใหญเทานั้นที่สามารถเปลี่ยนไปใชเครื่องจักรไดอยางคุมทุน จากงานศึกษาในภาคเกษตรกรรมของ TDRI (2004) พบวานายจาง ทั่วไปเห็นดวยวาวิธีลดการพึ่งพาแรงงานขามชาติในระยะยาวดวยการลงทุน ใหมากขึ้นในเทคโนโลยีระดับสูง และใชเครื่องมือที่สามารถประหยัดแรงงาน ไดมากขึ้นเพื่อทดแทนหรือลดกําลังแรงงาน อยางไรก็ตาม Martin (2007) มองวา แมวาเทคโนโลยีจะถูกมองวาเปนวิธีการแกไขปญหาระยะยาว แตการ ลงทุนกับเครื่องจักรตองใชทรัพยากรทางการเงินจํานวนมาก ซึ่งนายจางสวน ใหญในปจจุบันไมมี จึงเสนอวารัฐบาลไทยจําเปนตองแสดงบทบาทสําคัญใน การสนับสนุนการปรับโครงสรางอุตสาหกรรม และรักษาระดับความสามารถ ในการแขงขัน

ดร.กิริยา กุลกลการ


270

4 นโยบายเกี่ยวกับแรงงานตางดาวในประเทศไทย

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


271

ตั้งแตอดีตประเทศไทยไมเคยมีนโยบายที่เปดใหมีการนําเขาแรงงานจากตาง ประเทศ แตเมือ่ ประเทศเจริญเติบโตอยางรวดเร็วจนแรงงานไทยเริม่ ขาดแคลน ทําใหแรงงานตางดาวไหลเขามาจากประเทศเพือ่ นบานจํานวนมากจนรัฐบาล ไทยตองหาวิธีบริหารจัดการแรงงานเหลานี้ นับตั้งแตปค.ศ 1992 ถึงปจจุบัน นับเปนเวลากวา 15 ปแลวทีร่ ฐั บาลไทยไดมคี วามพยายามทีจ่ ะบริหารจัดการ แรงงานตางดาว โดยเราสามารถแบงนโยบายเกีย่ วกับแรงงานตางดาวออกเปน 2 ชวงหลักๆ คือ กอนปค.ศ 2001 และ หลังปค.ศ 2001 ในชวงปค.ศ 19922000 รัฐบาลไทยไดมกี ารผอนผันใหแรงงานตางดาวทํางานในเฉพาะบางพืน้ ที่ และบางกิจการที่กําหนดเพื่อแกปญหาการขาดแคลนแรงงาน จนกระทั่งใน ปค.ศ 2001 รัฐบาลจึงไดเปดใหมีการขึ้นทะเบียนแรงงานตางดาวทั่วประเทศ ไมจํากัดพื้นที่และกิจการ ทั้งนี้เพื่อตองการทราบขอมูลแรงงานตางดาวที่แท จริง ปรากฏวามีแรงงานมาขึน้ ทะเบียนทัง้ สิน้ 568,000 คน หลังจากนัน้ ก็มกี าร เปดใหมกี ารตออายุเปนระยะๆเฉพาะแตแรงงานตางดาวทีเ่ คยขึน้ ทะเบียนแลว เทานั้น มิไดเปดใหแรงงานตางดาวที่ลักลอบเขามาใหมไดขึ้นทะเบียน เพราะ ตองการจํากัดจํานวนแรงงานตางดาวที่ไดรับการผอนผันใหทํางาน อยางไร ดร.กิริยา กุลกลการ


272

ก็ตาม การทีร่ ฐั บาลก็ไมยอมใหมกี ารขึน้ ทะเบียนแรงงานตางดาวทีเ่ ขามาใหมที่ มีจาํ นวนเพิม่ ขึน้ ทุกป ทําใหภาคเอกชนตองแอบใชแรงงานหลบหนีเขาเมืองที่ เขามาใหมนเี้ พือ่ ทดแทนแรงงานทีห่ ายไประหวางปอยางแพรหลาย และรัฐบาล ตองขาดรายไดจากการจดทะเบียนปละหลายสิบลานบาท นอกจากนี้ การที่นโยบายในเรื่องแรงงานตางดาวในระดับประเทศ ไมชัดเจนและเปลี่ยนแปลงปตอป ทําใหผูปฏิบัติขาดความเครงครัดในการ ตรวจจับอยางมีประสิทธิภาพ สงผลใหมีแรงงานตางดาวลักลอบเขามาอยาง ผิดกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งจํานวนแรงงานตางดาวที่มาขอตออายุก็มี จํานวนลดนอยเรื่อยๆ จนทําใหรัฐบาลตองตัดสินใจเปดใหมีการขึ้นทะเบียน แรงงานตางดาวทั่วประเทศและทุกอุตสาหกรรมอีกครั้งในปค.ศ. 2003 ซึ่ง ปรากฏวามีแรงงานตางดาวมาขึ้นทะเบียนถึง1,284,920 คน นอกเหนื อ จากการผ อ นผั น ให แ รงงานต า งด า วที่ ลั ก ลอบเข า มา สามารถทํางานได รัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะบริหารจัดการแรงงาน ตางดาวแบบยั่งยืน โดยในปค.ศ. 2002-3 ไดมีการลงนามในบันทึกขอตกลง ความรวมมือทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบานทั้ง 3 ประเทศ เพื่อใหมีการสงกลับ และนําเขาแรงงานอยางถูกตองตามกฎหมาย โดยในการสงกลับจะมีการพิสจู น สัญชาติ และนายจางไทยที่สามารถรับแรงงานตางดาวเขาทํางานไดตองเปน แรงงานที่ผานการตรวจสอบจากทางการไทย ซึ่งจะเปนผูสงขอมูลจํานวน แรงงานตางดาวที่ตองการไปใหกับรัฐบาลของประเทศตนทาง แลวทางกลุม บริษัทเอกชน (ในกรณีของกัมพูชา) หรือหนวยงานของรัฐ (ในกรณีของพมา และลาว) จะเปนผูดําเนินการจัดจางและคัดเลือกแรงงานสงมาใหฝายไทย (Vasuprasat, 2008) โดยแรงงานตางดาวจะตองทําหนังสือเดินทางและขอ เอกสารการเดินทางเขาเมืองจากสถานทูตไทยหรือกงสุลไทยกอนจะเดินทาง เขาประเทศไทย เพื่อใชในการขอใบอนุญาตการทํางาน 2 ป และสามารถตอ อายุได 1 ครั้ง แตแรงงานขามชาติจะตองเดินทางกลับเมื่อใบอนุญาตทํางาน หมดอายุลง และจะไดรับเงินรอยละ 15 ของคาจางที่ไดถูกกันไวคืน อยางไร ก็ตาม จนถึงปจจุบันมีแรงงานจํานวนไมมากนักเดินทางเขามาทํางานใน ประเทศไทยภายใตบันทึกขอตกลงนี้ ทั้งนี้เพราะ กระบวนการในการจัดจางมี ความยุงยาก ใชเวลามาก และมีคาธรรมเนียมสูง Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


273

จึงอาจกลาวไดวา 15 ปที่ผานมา รัฐบาลไทยยังไมมีนโยบายในเรื่องแรงงาน ตางดาวอยางชัดเจน นโยบายยังมีลกั ษณะไมคงเสนคงวา ขาดความรอบคอบ ขาดความยืดหยุน และไมมีความจริงจัง และแมในปค.ศ. 2008 จะมีพระราช บัญญัติแรงงานตางดาวเกิดขึ้น เพื่อใหมีหลักปฏิบัติที่มีความชัดเจนขึ้น ทั้งใน เรื่องหนวยงานที่รับผิดชอบ อํานาจหนาที่ และบทลงโทษตามกฎหมายก็ตาม แตกย็ งั ขาดความชัดเจนในเรือ่ งทิศทางการบริหารจัดการแรงงานตางดาวอยาง เปนรูปธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลยังไดอนุมัติใหยกระดับ 3 อําเภอชายแดน ของจังหวัดตาก คือ แมสอด แมระมาด และพบพระ เปนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนขึ้น เพื่อสงเสริมการผลิต การคาและการลงทุนระหวางประเทศไทย และพมา โดยมีแผนพัฒนาโครงสรางพืน้ ฐานตางๆ รวมถึงโครงการจัดระเบียบ แรงงานตางดาวใหสามารถเขามาทํางานแบบเชามาเย็นกลับได แตจนถึง ปจจุบันการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมีความคืบหนานอยมากทั้งๆ ที่ไดจัดสรรงบประมาณไปแลวหลายรอยลานบาทก็ตาม

ดร.กิริยา กุลกลการ


274

5 กรอบความคิดทางทฤษฎี

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


275

ในสวนนี้จะพูดถึงกรอบความคิดทางทฤษฎี โดยจะพูดถึงการพัฒนาทาง เศรษฐกิจกับการเคลื่อนยายแรงงานระหวางภาคเศรษฐกิจ และการเลือก ใชปจจัยการผลิตระหวางแรงงานกับเครื่องจักรของผูผลิต โดยเราสามารถ มองการพัฒนาประเทศตามแบบจําลองของ Lewis (1954) ที่สมมติใหระบบ เศรษฐกิจมีสองภาค คือ ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ประเทศเริ่ม ตนดวยการทีแ่ รงงานสวนใหญอยูใ นภาคเกษตรกรรมซึง่ มีแรงงานสวนเกิน สง ผลใหผลิตภาพของแรงงานอยูใ นระดับตาํ เมือ่ มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม เกิดขึ้น ก็จะดูดซับเอาแรงงานสวนเกินจากภาคเกษตรกรรมใหเคลื่อนยายไป ยังภาคอุตสาหกรรม โดยในชวงแรกคาจางในภาคอุตสาหกรรมยังอยูในระ ดับตํ่า เพราะแรงงานที่ใชเปนแรงงานสวนเกินที่ไมไดสรางผลผลิตมากนักใน ภาคเกษตรกรรม ในชวงนี้ภาคอุตสาหกรรมจึงเติบโตอยางรวดเร็วดวยการ ใชแรงงานราคาถูก แตเมื่อแรงงานสวนเกินในภาคเกษตรกรรมเริ่มมีจํานวน นอยลง จะสงผลใหคาจางเพิ่มสูงขึ้น การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมจึงไม สามารถอาศัยแรงงานราคาถูกไดอกี ตอไป จําเปนตองหันไปใชเครือ่ งจักรหรือ เทคโนโลยีแทน ดังนั้น ภายใตแบบจําลองนี้ การเขามาของแรงงานตางดาว ดร.กิริยา กุลกลการ


276

จะเปนเสมือนหนึ่งวาแรงงานสวนเกินมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะสงผลดีตอภาค อุตสาหกรรมจากการที่ยังสามารถจางแรงงานในราคาถูก ถือเปนการตออายุ หรือยืดเวลาการใชเครือ่ งจักรหรือเทคโนโลยีทดแทนแรงงาน แตกจ็ ะสงผลเสีย ตอการยกระดับคาจางของคนในภาคเกษตรกรรม สําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยไดเริ่มตนจากการเปน เศรษฐกิจที่มีภาคเกษตรเปนภาคนําและไดเปลี่ยนมาเปนเศรษฐกิจที่มีภาค อุตสาหกรรมเปนภาคนําในการสรางรายไดประชาชาติ สงผลใหตลาดแรงงาน ไทยเปลี่ยนแปลงไปอยางมากดวย สัดสวนของกําลังแรงงานไทยซึ่งสวนใหญ ทํางานอยูในภาคเกษตรในชนบทก็ไดเคลื่อนยายเขาสูภาคอุตสาหกรรมและ ภาคบริการในเมืองมากขึน้ ตลาดแรงงานไทยซึง่ แตเดิมเปนตลาดทีม่ แี รงงาน สวนเกินจํานวนมากก็ไดเปลีย่ นไปเปนตลาดทีข่ าดแคลนแรงงานทัง้ แรงงานทีม่ ี ฝมอื และไรฝม อื ตัง้ แตปค .ศ 1990 เปนตนมา ทัง้ นีส้ บื เนือ่ งมาจากการไหลเขา ของเงินทุนตางประเทศซึง่ สงผลใหเศรษฐกิจไทยขยายตัวอยางรวดเร็ว กอปร กับการลดลงของอัตราการเพิ่มขึ้นของกําลังแรงงานอันเปนผลมาจากการที่ อัตราการเพิม่ ของประชากรไทยมีแนวโนมลดลงอยางมาก ผลกระทบของการ ขาดแคลนแรงงานทําใหคาจางของแรงงานไทยเพิ่มสูงขึ้นอยางรวดเร็ว สงผล ดึงดูดใหมแี รงงานจากประเทศเพือ่ นบานหลัง่ ไหลและลักลอบเขามาทํางานใน ประเทศไทยจํานวนกวาสองลานคนในปจจุบัน นอกเหนือจากการใชแรงงาน ตางดาวแลว ผูผลิตยังสามารถปรับตัวโดยวิธีอื่นๆ เชน หันไปใชเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีทดแทนแรงงาน หรืออาจเปลี่ยนไปผลิตสินคาอื่นที่มีมูลคา เพิ่มและคุณภาพสูง ใชเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และคาจางไมใชปจจัย สําคัญ หรืออาจยายฐานการผลิตไปยังพื้นที่ที่มีแรงงานราคาถูก อีกทางเลือก หนึง่ ของผูผ ลิตก็คอื ยายฐานการผลิตไปยังประเทศทีม่ แี รงงานราคาถูก ซึง่ ใน กรณีประเทศไทย การทีโ่ รงงานหลายแหงยายจากกรุงเทพและปริมณฑลไปยัง อําเภอแมสอด จังหวัดตาก ซึง่ เปนชายแดนติดกับประเทศพมาก็เปรียบเสมือน การยายฐานการผลิตเชนกัน เพียงแตไมไดยา ยเขาไปตัง้ ในประเทศพมาเพือ่ ใช ทรัพยากรอืน่ ๆดวยเทานัน้ (เพราะสินคาทีผ่ ลิตจากประเทศพมาไมสามารถสง ออกไปยังหลายประเทศได) Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


277

ปญหาการขาดแคลนแรงงานและการใชแรงงานตางดาวซึ่งมีผล มาจากการพัฒนาดังกลาวขางตนมีนัยสําคัญตอทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ของไทยในอนาคต โดยเฉพาะอยางยิ่งภาคการผลิตที่ใชแรงงานเขมขน การ ใชแรงงานตางดาวเปนทางออกหนึ่งที่สามารถชวยใหผูผลิตสามารถอยูใน อุตสาหกรรมตอไปไดโดยไมตองปรับตัวใดๆ อยางนอยก็ในระยะหนึ่ง แตก็ อาจสงผลเสียตอการพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลยีของประเทศและการ เจริญเติบโตในระยะยาว ทําใหประเทศไทยตองติดกับดักของการพัฒนาอยาง ไมยั่งยืน เราสามารถใชหลักอุปสงคอุปทานเปนกรอบความคิดทางทฤษฎี โดยในกรณีที่เสนอุปสงคตอแรงงานมีลักษณะตอเนื่องไมหักงอ การนําเขา แรงงานตางดาวสูตลาดแรงงานทองถิ่นจะทําใหอุปทานแรงงานโดยรวมเพิ่ม สูงขึน้ คาจางก็จะปรับตัวลดตาํ ลง และระดับการจางงานเพิม่ สูงขึน้ แตในกรณี ที่เสนอุปสงคตอแรงงานมีลักษณะหักงอไมตอเนื่อง หากมีการนําเขาแรงงาน ตางดาวจนทําใหคาจางลดตําลงเลยจุดวิกฤตที่เสนอุปสงคหักงอ จะมีผลให ปริมาณอุปสงคตอแรงงานเพิ่มขึ้นอยางมากและฉับพลัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ การจางงานอยางฉับพลันนีอ้ าจเกิดขึน้ จากการทีร่ ะดับคาจางทีล่ ดตาํ ลงจนนํา ไปสูก ารเลิกใชเครือ่ งจักรและ/หรือเทคโนโลยีทปี่ ระหยัดแรงงาน แลวหันมาใช แรงงานซึง่ มีราคาถูกทดแทน จึงเปนไปไดวา การนําเขาแรงงานตางดาวจะมีผล ใหผผู ลิตใชเครือ่ งจักรและเทคโนโลยีในการผลิตลดลง (Martin, 2007) นอกจาก นี้ Acemoglu (1998) อธิบายวา ความกาวหนาของเทคโนโลยีขึ้นกับทักษะ แรงงานที่มีอยูในประเทศเปนสําคัญ เมื่อมีแรงงานมีฝมือมากขึ้น ก็จะมีความ ตองการเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อใชรวมกับแรงงานมีฝมือที่มีจํานวนมากขึ้น ใน ทางตรงกันขาม เมื่อมีแรงงานไรฝมือมากขึ้น จะมีความตองการใชเทคโนโลยี นอยลง สําหรับงานศึกษาเชิงประจักษทผี่ า นมา (Borjas 1994, 2001, 2003, Borjas, Friedman and Katz 1997, Butcher and Card 1991, Card 1990, Card and Di Nardo, 2000) มักศึกษาผลกระทบของแรงงานตางดาวตอการ เปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอยางยิ่ง คาจาง ซึ่งงานศึกษาสวน ใหญไมพบวา การเขามาของแรงงานตางดาวทําใหคา จางของแรงงานทองถิน่ ดร.กิริยา กุลกลการ


278

ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดตําลง หรือหากพบวาลดตําลงก็มีขนาด ไมมากนัก สําหรับงานศึกษาในประเทศไทย Kulkolkarn and Potipiti (2007) และ Bryant and Rukumnuaykit (2007) ไดใชขอมูลจากการขึ้นทะเบียนของ แรงงานขามชาติแยกตามพื้นที่ แลวนํามาทําการเปรียบเทียบสัดสวนของ แรงงานขามชาติกับอัตราคาจางในแตละพื้นที่ เพื่อจะดูวาการเพิ่มขึ้นของ จํานวนแรงงานขามชาตินั้นมีความสอดคลองกับระดับคาจางที่เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงหรือไม โดยงานศึกษาแรกพบวาแรงงานตางดาวไมมีผลตอคาจาง ซึ่ง สอดคลองกับงานศึกษาถัดมาที่พบวามีผลนอยมาก ดวยเหตุนี้ งานศึกษาตอมาจึงเริ่มใหความสนใจกับผลกระทบของ แรงงานตางดาวตอปจจัยอื่นๆ เพื่อเปนการยืนยันอีกทางวาแรงงานตางดาว มิไดสง ผลทําใหคา จางของแรงงานทองถิน่ ลดตาํ ลง เชน Card 2001; Kritz and Gurak 2001; Card and Di Nardo, 2000 ไดศึกษาถึงผลกระทบของแรงงาน ตางดาวตอการเคลื่อนยายแรงงานทองถิ่น แตก็ไมพบวาแรงงานตางดาวมี ผลตอการยายถิ่นของแรงงานทองถิ่นในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปแต อยางใด งานศึกษาใหมๆจึงเริ่มหันไปสนใจผลกระทบตอโครงสรางการผลิต (Quispe-Agnoli and Zavodny 2002) และระดับเทคโนโลยีการผลิต (Lewis 2005) ตามลําดับ

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



280

6 ขอบเขตการศึกษา

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


281

งานศึกษานี้จะศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวกับ กิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาวในเรือ่ งทีจ่ ะสงผลตอความสามารถในการแขงขัน และศึกษาวาการใชแรงงานตางดาวสงผลอยางไรตอการรักษาความสามารถใน การแขงขันของกิจการ โดยเลือกศึกษาอุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หม เพราะ เปนอุตสาหกรรมในภาคการผลิตทีม่ กี ารใชแรงงานตางดาวจํานวนมาก โดยนับ ตัง้ แตปค .ศ. 1995 เปนตนมามีโรงงานตัดเย็บเสือ้ ผาหลายแหงทีก่ อ ตัง้ ขึน้ ใหม และยายฐานการผลิตจากกรุงเทพไปยังจังหวัดทีต่ ดิ กับชายแดนไทย-พมา โดย เฉพาะอยางยิ่งที่อําเภอแมสอด จังหวัดตาก ตามคําเชิญชวนของรัฐบาลพมา และการสงเสริมจากคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อไปแสวงหา ประโยชนจากแรงงานตางดาวราคาถูก โดยแรงงานพมาสามารถเดินทางมา ทํางานแบบเชาไปเย็นกลับได และกิจการขนาดใหญทมี่ แี รงงาน 1,500-3,000 คนมักจะเปนกิจการที่ชาวตางชาติ เชน ฮองกง ไตหวัน เปนผูถือหุนรายใหญ จากรายงานสถานการณอุตสาหกรรมรายจังหวัดของกระทรวงอุตสาหกรรม พบวา ในปค.ศ. 2007 จังหวัดตากมีโรงงานผลิตเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมประมาณ 80 โรง คิดเปนรอยละ 15 ของจํานวนโรงงานทั้งหมด และเฉพาะที่อําเภอแมสอด ดร.กิริยา กุลกลการ


282

จังหวัดตาก มีแรงงานตาวดาวทั้งสิ้น 47,818 คน และในจํานวนนี้ ทํางานใน อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมทั้งหมด 17,796 คน อุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมมีความสําคัญตอเศรษฐกิจไทย จาก ขอมูลสถิตสิ งิ่ ทอไทยปค.ศ. 2007/8 ของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิง่ ทอไทย ผลิตภัณฑมวลรวมของอุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมคิดเปนสัดสวนรอยละ 2.3 ของ GDP ณ ราคาปจจุบัน ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมนี้ยังกอใหเกิด การจางแรงงาน 820,000 คน หรือคิดเปนรอยละ 14.6 ของการจางแรงงาน ไทยในภาคอุตสาหกรรม หรือรอยละ 2.3 ของการจางแรงงานทั้งประเทศ อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมสรางรายไดจากการสงออกเปนเงินตราตาง ประเทศปละไมตํากวา 3,500 ลานดอลลารสหรัฐฯ โดยมีสหรัฐอเมริกาเปน ตลาดสงออกอันดับหนึ่งโดยมีสัดสวนถึงกวารอยละ 40 ของมูลคาการสงออก เสื้อผาเครื่องนุงหมทั้งหมดของไทย อุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมเปนอุตสาหกรรมทีใ่ ชแรงงานเขมขน นั่นคือ แมจะไดมีการปรับการผลิตใหตองใชเครื่องจักรและเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ตาม แตแรงงานก็ยงั คงเปนปจจัยสําคัญทีไ่ มอาจทดแทนไดดว ยเครือ่ งจักร คา จางแรงงานคิดเปนรอยละ 15-20 ของตนทุนรวม จากงานศึกษาของ Kohpaiboon (2007) พบวา หากเปรียบเทียบสัดสวนทุนตอแรงงาน (Capital-Labor Ratio) กับอุตสาหกรรมอื่น อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมจัดอยูอันดับที่ มีสัดสวนทุนตอแรงงานนอยเปนอันดับที่ 9 และหากเปรียบเทียบขนาดการ ผลิตตํ่าที่สุดที่จะทําใหการผลิตมีประสิทธิภาพ (Minimum Efficient Scale) แลว อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมก็อยูในอันดับที่มีขนาดการผลิตตํ่าเปน อันดับที่ 5 จากอุตสาหกรรมไทยทั้งหมด 125 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมเคยเปนอุตสาหกรรมที่มีมูลคาการ สงออกสูงถึงรอยละ 25 ของการสงออกทั้งหมดในภาคอุตสาหกรรมในปค.ศ 1987 ซึง่ เปนชวงทีค่ า จางแรงงานไทยมีราคาถูก ทําใหผผู ลิตสามารถผลิตและ สงออกเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมคุณภาพตํา่ ไดในราคาถูก จํานวนผูผ ลิตเสือ้ ผาเครือ่ ง นุงหมไดเพิ่มขึ้นอยางมากจาก 1,574 รายในปค.ศ 1989 เปน 3,066 ในปค.ศ 1995 โดยผูผ ลิตรายใหมสว นใหญเปนผูผ ลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง ในชวง Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


283

ปค.ศ 1989 ถึง 1996 แรงงานไทยที่ทํางานในอุตสาหกรรมนี้คิดเปนรอยละ 22.4 ของการจางงานทัง้ หมดในภาคอุตสาหกรรม โดยเพิม่ สูงขึน้ จาก 688,000 คนในปค.ศ. 1989 เปน 862,000 คนในปค.ศ 1996 จํานวนผูผลิตที่เพิ่มขึ้นมากสงผลใหการแขงขันในประเทศสูงขึ้น กอปรกับการแข็งคาของเงินบาท และการที่คาจางแรงงานไทยไดปรับตัวสูง ขึน้ เรือ่ ยๆในชวงทีเ่ ศรษฐกิจไทยมีการเจริญเติบโตสูง สงผลใหความสามารถใน การแขงขันและการสงออกลดลง เพราะความไดเปรียบในเรือ่ งตนทุนของประ เทศไทยตํา่ ลง ผูผ ลิตตองปรับตัวโดยการหันไปผลิตสินคาทีใ่ หมลู คาเพิม่ สูงขึน้ ซึง่ เปนการผลิตทีใ่ ชเทคโนโลยีสงู ขึน้ และคาจางแรงงานไมไดเปนปจจัยสําคัญ ในการกําหนดความสามารถในการแขงขันอีกตอไป ผูผ ลิตทีไ่ มสามารถปรับตัว ไดกท็ ยอยปดกิจการไป โดยเฉพาะผูป ระกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง สง ผลใหจํานวนผูผลิตลดลงปละประมาณ 50 รายในชวงปค.ศ 1996 ถึง 2005 โดยในปค.ศ 2005 มีผูผลิตเหลืออยู 2,541 ราย การสงออกเสื้อผาเครื่องนุง หมลดความสําคัญคงเหลือเพียงรอยละ 5 ของการสงออกสินคาอุตสาหกรรม ทั้งหมด ซึ่งสวนหนึ่งจะเปนผลเนื่องจากการขยายตัวอยางมากของการสง ออกสินคาอีเลคโทรนิค และเครื่องใชไฟฟา อยางไรก็ตาม การจางงานยังอยู ในระดับที่สูงถึง 825,700 คน หรือคิดเปนรอยละ 15 ของการจางงานทั้งหมด ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ สัดสวนการสงออกตอการผลิตไดเพิ่มสูงขึ้น เรื่อยๆ ตั้งแตปค.ศ 1995 ถึง 2005 แสดงใหเห็นวา ผูผลิตยังสามารถรักษา ความสามารถในการแขงขันได ในปค.ศ. 2005 อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผาเครื่องนุงหมไทยตองเผชิญ กับการแขงขันที่สูงขึ้นในตลาดโลกเมื่อระบบโควตานําเขาสิ่งทอถูกยกเลิกไป ภายใตการเปดเสรีการคาสิง่ ทอและเครือ่ งนุง หมขององคการการคาโลก สงผล ใหผูผลิตไทยซึ่งเคยไดรับประโยชนตองเผชิญกับการแขงขันที่รุนแรงขึ้น โดย เฉพาะกับคูแขงตลาดลางที่มีตนทุนการผลิตตํากวาไทย เชน จีน เวียดนาม และอินเดีย และในสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปจจุบันก็สงผลใหในชวง 3 เดือนแรกของปค.ศ. 2009 การสงออกเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมของไทยไปยังตลาด สหรัฐฯมีมูลคาตําลงถึงรอยละ 23 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันเมื่อปกอน ทีผ่ า นมา ผูผ ลิตในอุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมไทยไดมกี ารปรับตัวดวยวิธี ดร.กิริยา กุลกลการ


284

ตางๆ เชน เนนการออกแบบรวมถึงพัฒนาวัสดุใหมๆทีใ่ ชผลิตเครือ่ งนุง หม เชน เสือ้ กันยุง เพือ่ สรางมูลคาเพิม่ ทีย่ งั่ ยืนใหผลิตภัณฑ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ใหมคี วามรวดเร็วและแมนยํามากขึน้ เชน การใช CAD (Computer Aided Design) และ CAM (Computer Aided Manufacturing) เพือ่ ชวยในการเตรียมงาน และลดการสูญเสียปริมาณวัตถุดบิ ทีใ่ ช และการใช GTS (Garment Transport System) ซึง่ เปนสายพานลําเลียงในการตัดเย็บเสือ้ ผาสําเร็จรูปเพือ่ เพิม่ ความ รวดเร็วในการผลิต การเปลีย่ นจากการเปนผูร บั จางผลิต (OEM) ใหแกเจาของ เครือ่ งหมายการคาตางๆทัว่ โลกมาเปนการผลิตภายใตเครือ่ งหมายการคาของ ตนเอง (OBM) ซึง่ ทําใหเกิดมูลคาเพิม่ สูงขึน้ สงมอบสินคาโดยใชบริการขนสง สินคาดวนทางอากาศเพื่อความรวดเร็วและตรงตอเวลา แสวงหาตลาดใหมๆ หรือผลิตสินคาเพื่อสนองตลาดเฉพาะ (Niche Market) โดยตลาดใหมที่นา สนใจ ไดแก ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตสที่มีมูลคาสง ออกเพิ่มขึ้นรอยละ 63.2 ยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะรัสเซียที่มีมูลคาสงออก เพิ่มขึ้นรอยละ 58.6 และจีนที่มีมูลคาสงออกเพิ่มขึ้นรอยละ 26 การจัดตั้งศูนย บริการสงออกโบเบและสรางตราสินคากลางเพื่อลดตนทุนการทําตลาดของ ผูประกอบการรายเล็ก ใชแรงงานตางดาวจากประเทศเพื่อนบาน รวมถึงยาย ฐานการผลิตจากกรุงเทพฯและปริมณฑลมาตั้งโรงงานพื้นที่ชายแดน เชน ที่ อําเภอแมสอด จังหวัดตาก เพื่อใชแรงงานตางดาว และเขาไปเปดโรงงานใน ประเทศพมา กัมพูชา และลาว ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยโดยรวมยังขาด ความเชื่อมโยงในการผลิตระหวางอุตสาหกรรมตนนําและอุตสาหกรรมปลาย นําทําใหตนทุนการผลิตยังอยูในระดับสูงและการผลิตขาดประสิทธิภาพ งานศึกษานีเ้ ลือกศึกษาอุตสาหกรรมเพียงอุตสาหกรรมเดียว และการ ที่อุตสาหกรรมหนึ่งอุตสาหกรรมใดมีความสามารถในการแขงขันลดลงก็มิได หมายความวา ประเทศจะตองมีความสามารถในการแขงขันลดลงดวย เพราะ การลดลงของผลิตภาพของอุตสาหกรรมหนึ่งอาจเกิดขึ้นพรอมๆกับการเพิ่ม สูงขึ้นของผลิตภาพในอุตสาหกรรมอื่นก็เปนได การลดลงของผลิตภาพของ อุตสาหกรรมหนึง่ จะปลดปลอยทรัพยากรไปสูอ ตุ สาหกรรมอืน่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สูงกวา ทําใหเกิดประโยชนสทุ ธิตอ ประเทศ ดังที่ Krugman (2004) กลาวไววา ความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมกับความสามารถในการแขงขัน Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


285

ของประเทศนัน้ แตกตางกัน หากบริษทั ไมสามารถแขงขันในตลาดได บริษทั ก็ จะไมสามารถมีเงินจายลูกจางและเจาหนีธ้ รุ กิจ และไมสามารถดําเนินธุรกิจตอ ไปได นั่นคือ หากบริษัทไมปรับตัวก็จะตองปดกิจการลง ในขณะที่ประเทศจะ ไมหยุดผลิตและปดตัวลง แมจะตองเผชิญกับปญหาทางเศรษฐกิจรุมเราหลาย อยาง แตประเทศสามารถปรับเปลีย่ นโครงสรางการผลิตใหสอดรับกับความได เปรียบโดยเปรียบเทียบภายใตโลกาภิวัตนได

ดร.กิริยา กุลกลการ


286

7 ขอมูลที่ใช

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


287

ในการศึกษานี้ ใชขอมูลจากการสํารวจผลิตภาพและบรรยากาศการลงทุน ในประเทศไทยที่จัดทําขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแหงชาติในรอบที่ 2 ซึ่ง ทําขึ้นในปค.ศ. 2007 ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและ 9 อุตสาหกรรม รวม ถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผาเครื่องนุงหม ซึ่งมีจํานวนตัวอยางอยูทั้งหมด 96 กิจการ แบงเปนกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว 84 กิจการหรือคิดเปนรอย ละ 88 ของกิจการทั้งหมด และกิจการที่ใชแรงงานตางดาว 12 กิจการหรือคิด เปนรอยละ 12 ของกิจการทั้งหมด ภาพที่ 3 แสดงรอยละของตัวอยางกิจการ แบงตามสัดสวนการใชแรงงานตางดาวตอแรงงานทัง้ หมด กิจการทีใ่ ชแรงงาน ตางดาวในสัดสวนรอยละ 1-10 มีอยูรอ ยละ 6 กิจการที่ใชแรงงานตางดาวใน สัดสวนรอยละ 11-30 มีอยูร อ ยละ 4 และกิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวในสัดสวน รอยละ 31-100 มีอยูรอยละ 2 โดยสัดสวนการใชแรงงานตางดาวสูงที่สุดของ ตัวอยางคือ รอยละ 96 ของแรงงานทั้งหมด นอกจากขอมูลทุติยภูมินี้ เรายัง ไดสัมภาษณผูประกอบการที่ใชแรงงานตางดาวตั้งแตรอยละ 5 ขึ้นไปจํานวน 10 ราย เพื่อสอบถามถึงเหตุผลของการใชแรงงานตางดาว รวมถึงความคิด เห็นเกี่ยวกับนโยบายการจัดการบริหารแรงงานตางดาวที่เหมาะสมอีกดวย ดร.กิริยา กุลกลการ


288

8 ระเบียบวิธีวิจัย

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


289

ในการศึกษาเปรียบเทียบกิจการที่ใชและไมใชแรงงานตางดาวในลักษณะที่ เกี่ยวของกับความสามารถในการแขงขันจะพิจารณาจากคาสหสัมพันธ (Correlation) โดยที่ลักษณะดังกลาว ไดแก อายุและขนาดของกิจการ ความเปน เจาของโดยตางชาติ อายุและประเภทของเครือ่ งจักรทีใ่ ช การสงออก การลงทุน เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งจะกลาวถึงในรายละเอียดในสวนที่ 9 สวนในการ ศึกษาวากิจการที่ใชแรงงานตางดาวในสัดสวนที่สูงจะมีความสามารถในการ แขงขันตํากวากิจการที่ใชแรงงานตางดาวในสัดสวนที่ตําหรือไม เราจะทําการ ประมาณสมการถดถอยดวยวิธี Ordinary Least Square (OLS) โดยสมการ ถดถอยที่จะใชในการทดสอบความสัมพันธนี้ไดอางอิงมาจากงานศึกษาของ World Bank (2008) แลวเพิม่ ตัวแปรสัดสวนการใชแรงงานตางดาวเขาไป ดังนี้ Pi

G 0 G 1 ln( Agei ) G 2 ln( Firmsizei ) G 3 DomExi G 4 Foreigni G 5 Comp i G 6Vini G 7 RDi X reg G 8 G 9 M i H i

ดร.กิริยา กุลกลการ


290

โดยที่ Pi คือ ผลิตภาพของกิจการที่ถูกวัดดวยตัวชี้วัดทั้งหาดังที่จะกลาว ตอไป, ( Agei ) คือ อายุของกิจการ, ( Firmsizei ) คือ ขนาดของกิจการ, DomExi คือ สถานะการสงออก, G 4 Foreigni คือ สัดสวนการเปนเจาของ ของตางชาติ, G 5 Compi คือ การควบคุมเครื่องจักรโดยใชคอมพิวเตอร, G 6Vini คือ อายุของเครื่องจักร, RDi คือ การวิจัยและการพัฒนา X reg G 8 X reg G คือ ตัวแปรหุนภาคที่กิจการตั้งอยู และ M i คือ สัดสวนการจาง แรงงานตางดาวตอแรงงานทั้งหมด สําหรับการวัดความสามารถในการแขงขันนั้น ตามความหมายโดย ทั่วไปแลว ความสามารถในการแขงขันคือ ความสามารถที่จะผลิตสินคาและ ใหบริการอยางมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ทัดเทียมหรือดีกวาคูแขง โดย Michael E. Porter ศาสตราจารยจากมหาวิทยาลัยฮารวารด กลาวไววา ความสามารถในการแขงขันก็คือ ผลิตภาพ (Productivity) เพราะผลิตภาพกอใหเกิดการเติบโตอยางยัง่ ยืนของธุรกิจ โดยที่ ผลิตภาพคือมูลคาของสินคาและบริการที่ถูกผลิตขึ้นตอหนวยของปจจัยการ ผลิตของประเทศ ดังแสดงดังภาพที่ 2 ซึ่งประกอบดวย 2 สวนคือ เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งก็คือทักษะความรูในการใชปจจัยการผลิตในการผลิตสินคา และประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งก็คือวิธีการที่เทคโนโลยีและปจจัยการผลิต ถูกใชในการผลิตสินคา จากความหมายขางตน กิจการจะสามารถรักษาความสามารถใน การแขงขันไดนั้น ตองมีสวนประกอบที่สําคัญ 3 ดาน คือ ตองมีกระบวนการ ดําเนินงานภายในที่ดี ผลิตสินคาที่มีคุณภาพเพื่อใหลูกคาเกิดความพึงพอใจ และบริษัทมีกําไร ดังนั้น เราสามารถเทียบเคียงความสามารถในการแขงขัน ระหวางกิจการได 3 ดาน (พัชรศรี แทงทองดี, 2008) คือ 1.การเทียบเคียงดานประสิทธิภาพในการดําเนินการ เปนการเทียบ เคียงระหวางกิจการวา เมื่อแตละกิจการใสทรัพยากรการผลิตที่เทากันเขาไป แลว กิจการใดไดผลผลิตมากที่สุด หรือภายใตผลผลิตเทากัน กิจการใดใช ทรัพยากรการผลิตนอยที่สุด ซึ่งสามารถแบงเปนผลิตภาพแยกสวน กับผลิต ภาพรวม โดยผลิตภาพแยกสวนเปนการวัดผลิตภาพของแตละปจจัยการ ผลิต เพื่อใหสามารถตรวจสอบไดวาทรัพยากรแตละสวนไดถูกใชไปอยางมี Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


291

ประสิทธิภาพหรือไม ตัวอยางตัววัดผลิตภาพแยกสวน (Partial Productivity) ไดแก ผลิตภาพเครื่องจักร หรือ Capital Productivity เชน มูลคาผลผลิต ตอมูลคาเครื่องจักร จํานวนชิ้นที่ผลิตได/จํานวนชิ้นที่ผลิตไดตามมาตรฐาน เครือ่ งจักร ผลิตภาพวัตถุดบิ หรือ Material Productivity เชน มูลคาผลผลิตตอ มูลคาวัตถุดิบ วัตถุดิบที่ใชจริงตอวัตถุดิบกอนเขากระบวนการ และผลิตภาพ แรงงาน หรือ Labor Productivity เชน มูลคาผลผลิตตอแรงงาน หรือตนทุน การผลิตตอชัว่ โมงแรงงาน สวนผลิตภาพรวม หรือ Total Productivity เปนการ วัดผลิตผลทีเ่ กิดขึน้ จากการนําปจจัยนําเขามากกวา 1 ชนิด เชน มูลคาผลผลิต ตอมูลคารวมของทรัพยากรทีใ่ ช โดยในงานศึกษานี้ เราจะใชผลิตภาพแรงงาน เปนตัวเทียบเคียง ไดแก มูลคาเพิ่มตอแรงงาน (ซึ่งมูลคาเพิ่มวัดจากยอดขาย หักดวยตนทุนวัตถุดบิ คาไฟฟา คาเชือ้ เพลิง และคาพลังงานอืน่ ๆ) และตนทุน การผลิตตอแรงงาน 2.การเทียบเคียงดานคุณภาพ เปนการเทียบเคียงระหวางคุณภาพ สินคา รวมถึงการสงมอบสินคาไดตรงตามเวลา ตัวอยางตัววัดดานคุณภาพ ไดแก อัตราการสงสินคาตรงเวลา และสัดสวนสินคาสําเร็จรูปที่ผานการตรวจ สอบคุณภาพในครั้งแรก แตในงานศึกษานี้ เราไมสามารถเทียบเคียงดาน คุณภาพไดเนื่องจากไมมีขอมูล 3. การเทียบเคียงประสิทธิภาพดานความสามารถในการทํากําไร คือ การเทียบเคียงระหวางกิจการวา ใครที่สามารถสรางยอดขาย หรือผลกําไรสูง ทีส่ ดุ ตัวอยางตัววัดประสิทธิภาพดานความสามารถในการทํากําไร ไดแก ยอด ขายตอพนักงาน ยอดขายตอตนทุนการผลิต และกําไรตอตนทุนการผลิต ซึ่ง เราจะใชทั้งสามตัวนี้ในงานศึกษานี้ อยางไรก็ดี การวัดโดยตัวชี้วัดนี้อาจมีจุด ออนตรงทีไ่ มสามารถวัดประสิทธิภาพจากการใชปจ จัยการผลิตโดยตรง เพราะ อาจมีผลมาจากขีดความสามารถในดานการตลาดดวย

ดร.กิริยา กุลกลการ


292

9 ลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาว

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


293

ในสวนนี้เปนการศึกษาถึงลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวที่แตกตาง จากกับกิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาวในเรือ่ งเครือ่ งจักร การลงทุน เทคโนโลยี นวัตกรรม และผลประกอบการ ดังนี้ 9.1 ประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ กิจการที่ใชแรงงานตางดาวนิยมใชเครื่องจักรใหมที่ผลิตในประเทศ ในขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวนิยมใชเครื่องจักรใหมที่ผลิตในตาง ประเทศดังแสดงในภาพที่ 4 โดยกิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวใชเครือ่ งจักรใหม ที่ผลิตในประเทศคิดเปนสัดสวนรอยละ 50 ของเครื่องจักรที่ใชทั้งหมด รอง ลงมาคือ เครื่องจักรมือใหมที่ผลิตในตางประเทศ คิดเปนรอยละ 38 ในขณะที่ กิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาวนิยมซือ้ เครือ่ งจักรใหมทผี่ ลิตในตางประเทศ คิด เปนรอยละ 58 ของเครื่องจักรทั้งหมด รองลงมาคือ เครื่องจักรมือใหมที่ผลิต ในประเทศ คิดเปนรอยละ 28 และหากพิจารณาเครื่องจักรมือสอง กิจการที่ใช แรงงานตางดาวก็นิยมเครื่องจักรมือสองที่ผลิตในประเทศ (รอยละ 8) ในขณะ ที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวนิยมเครื่องจักรมือสองที่ผลิตในตางประเทศ ดร.กิริยา กุลกลการ


294

(รอยละ 9) หากพิจารณาคาสหสัมพันธของการใชแรงงานตางดาวกับสัดสวน เครื่องจักรใหมที่ผลิตในตางประเทศพบวา มีคา –0.141 ซึ่งหมายความวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวใชเครื่องจักรใหมที่ผลิตในตางประเทศในสัดสวน นอยเมื่อเทียบกับกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว 9.2 แผนการลงทุนเพิ่มกําลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพ กิจการที่ใชแรงงานตางดาวเพียง 1 แหงหรือคิดเปนรอยละ 8 มีแผน จะเพิ่มกําลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพการผลิตในปค.ศ. 2007-2009 ใน ขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวจํานวน 36 แหง หรือคิดเปนรอยละ 42 มีแผนจะเพิ่มกําลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพการผลิต หากพิจารณาจาก คาสหสัมพันธของการใชแรงงานตางดาวกับการมีแผนจะเพิ่มกําลังการผลิต หรือปรับปรุงคุณภาพ พบวา มีคาเทากับ –0.23 ซึ่งหมายความวากิจการที่ ใชแรงงานตางดาวมีแนวโนมที่ไมมีแผนที่จะเพิ่มกําลังการผลิตหรือปรับปรุง คุณภาพ 9.3 สัดสวนการเปนเจาของโดยชาวตางชาติ จากขอมูลพบวา กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวทุกกิจการมีภาคเอกชน ในประเทศเปนผูถือครองหุนรอยละ 100 โดย ไมมีชาวตางชาติเปนหุนสวน เลย สวนกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวนั้นมีจํานวน14 แหงหรือคิดเปนรอย ละ 17 ที่มีหุนสวนเปนภาคเอกชนตางประเทศ โดยมีหุนสวนตั้งแตรอยละ 20 ถึง100 จึงอาจกลาวไดวา โดยเฉลี่ยแลวกิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีสัดสวน ความเปนเจาของโดยตางชาตินอยกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว หาก พิจารณาคาสหสัมพันธของการใชแรงงานตางดาวกับการเปนเจาของโดยชาว ตางชาติ พบวา มีคาเทากับ –0.14 นั่นคือ กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีชาว ตางชาติเปนเจาของในสัดสวนที่ตํ่า 9.4 อายุของเครื่องจักร เมื่อพิจารณาอายุของเครื่องจักร พบวา ประมาณครึ่งหนึ่งของ เครื่องจักรที่กิจการที่ใชแรงงานตางดาวใชมีอายุ 5-10 ป ดังแสดงในภาพที่ 5 Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


295

รองลงมาเปนเครือ่ งจักรทีม่ อี ายุ 10-20 ปซงึ่ คิดเปนรอยละ 25 และอายุตาํ่ กวา 5 ป คิดเปนรอยละ 20 ในขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวใชเครื่องจักรที่ มีอายุ 5-10 ป คิดเปนรอยละ 42 รองลงมาเปนเครื่องจักรที่มีอายุตํ่ากวา 5 ป คิดเปนรอยละ 35 และอายุ 10-20 ป คิดเปนรอยละ 22 ดังนั้น โดยเฉลี่ยแลว กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวใชเครือ่ งจักรเกากวากิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาว หากพิจารณาคาสหสัมพันธของการใชแรงงานตางดาวกับสัดสวนเครือ่ งจักรที่ มีอายุตาํ่ กวา 5 ป พบวา มีคา เทากับ –0.17 นัน่ คือ กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาว มักใชเครื่องจักรที่มีอายุสูงกวา 5 ป 9.5 การวิจัยและพัฒนา (R&D) กิจการที่ใชแรงงานตางดาวไมมีกิจการใดที่มีคาใชจายดานการวิจัย และการพัฒนา ในขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวมีกิจการที่มีคาใชจาย ดานการวิจัยและการพัฒนาอยูจํานวน 9 กิจการ หรือคิดเปนรอยละ 11 ของ กิจการทัง้ หมด และหากพิจารณาคาสหสัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาว กับการวิจยั และพัฒนา พบวา มีคา เทากับ –0.12 ซึง่ หมายความวากิจการทีใ่ ช แรงงานตางดาวมีคาใชจายในการวิจัยและพัฒนาตํ่า 9.6 การมีตราสินคาเปนของตนเอง จากขอมูลพบวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจํานวน 2 แหง หรือ คิดเปนรอยละ 17 มีตราสินคาเปนของตนเอง ในขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงาน ตางดาวที่มีตราสินคาเปนของตนเองถึง 40 แหงหรือคิดเปนรอยละ 48 และ หากพิจารณาคาสหสัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาวกับการมีตราสินคา เปนของตนเองพบวา มีคา เทากับ –0.21 ซึง่ หมายความวา กิจการทีใ่ ชแรงงาน ตางดาวมีตราสินคาเปนของตนเองนอย 9.7 การขายสินคาใหบริษทั ขามชาติ การขายสินคาใหกบั บริษทั ขามชาติเปนชองทางใหไดรบั การถายทอด เทคโนโลยีใหมๆผานบริษัทเหลานั้นผานการใหสิทธิบัตร การฝกอบรม หรือ โครงการประกันคุณภาพ กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจํานวน 3 แหงหรือคิด ดร.กิริยา กุลกลการ


296

เปนรอยละ 25 ที่ขายสินคาใหบริษัทขามชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับกิจการที่ไม ใชแรงงานตางดาวจํานวน 35 แหงหรือคิดเปนรอยละ 42 และหากพิจารณาคา สหสัมพันธของการใชแรงงานกับการขายสินคาใหบริษัทขามชาติพบวา มีคา เทากับ –0.11 ซึ่งหมายความวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีการขายสินคา ใหบริษัทขามชาตินอย 9.8 การมีสวนรวมของลูกคา สําหรับการมีสวนรวมของลูกคา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจํานวน เพียง 4 แหง หรือคิดเปนรอยละ 33 เทานั้นที่ลูกคามีสวนรวมในการวิจัยและ พัฒนาผลิตภัณฑหรือกระบวนการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับกิจการที่ไมใช แรงงานตางดาวที่มีจํานวน 61 แหงหรือคิดเปนรอยละ 72 นอกจากนี้ ลูกคา ยังมีสวนรวมโดยการสงพนักงานมาทํางานเพื่อถายทอดเทคโนโลยีใหมๆใน การผลิตดวย โดยกิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวมีจาํ นวน 1 แหงหรือคิดเปนรอย ละ 8 ที่ลูกคาสงพนักงานมาทํางานในกิจการ เมื่อเปรียบเทียบกับกิจการที่ไม ใชแรงงานตางดาวที่มีจํานวน 23 แหงหรือคิดเปนรอยละ 27 หากพิจารณาคา สหสัมพันธพบวา การใชแรงงานตางดาวกับการมีสวนรวมของลูกคาในดาน การวิจัยและพัฒนามีคา –0.28 สวนการสงพนักงานมาทํางานในกิจการมีคา –0.15 ซึ่งหมายความวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีสวนรวมของลูกคาตํ่า 9.9 เครือขายธุรกิจ กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวจํานวน 6 แหง หรือคิดเปนรอยละ 50 เปน สมาชิกหอการคาหรือสมาคมทางการคาตางๆ โดยเฉลี่ย 1 สมาคม ในขณะที่ กิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาว 58 แหง หรือคิดเปนรอยละ 69 เปนสมาชิกโดย เฉลี่ย 2 สมาคม สําหรับคาสหสัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาวกับการ เปนสมาชิกหอการคาหรือสมาคมการคาตางๆเทากับ –0.17 ซึ่งหมายความ วา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีเครือขายธุรกิจนอย

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


297

9.10 การคาดการณยอดขายในอนาคต กิจการที่ใชแรงงานตางดาวคาดการณยอดขายวา ในชวงปค.ศ. 2007-2008 หรือ 2 ปหลังจากปทสี่ าํ รวจ ยอดขายจะเปลีย่ นแปลงในชวงลดลง รอยละ 17 ถึงเพิ่มขึ้นรอยละ 13 เมื่อเทียบกับกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวที่ คาดการณวา ยอดขายจะเปลี่ยนแปลงในชวงลดลงรอยละ 2 ถึง เพิ่มขึ้นรอย ละ14 จะเห็นวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจะคาดการณยอดขายในแงลบ มากกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว โดยมีคาสหสัมพันธเทากับ –0.23 ซึ่ง หมายความวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีแนวโนมที่จะคาดการณยอดขาย ในแงลบมากกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว 9.11 การปรับปรุงสินคาเดิม (Upgrade) กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจํานวน 5 แหงหรือคิดเปนรอยละ 42 ไดทําการปรับปรุงสินคาเดิม ในขณะที่กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวมี 66 แหงหรือคิดเปนรอยละ 79 ที่ทํากิจกรรมดังกลาว เมื่อพิจารณาคาสหสัมพันธ ของการใชแรงงานตางดาวกับการปรับปรุงสินคาเดิมพบวา มีคา –0.28 ซึ่ง หมายความวากิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีการปรับปรุงสินคาเดิมนอย 9.12 ผลิตภาพและผลประกอบการ หากพิจารณาตัวชีว้ ดั ความสามารถในการแขงขัน พบวา กิจการทีใ่ ช แรงงานตางดาวมีมลู คาเพิม่ ตอแรงงานโดยเฉลีย่ สูงกวากิจการทีไ่ มใชแรงงาน ตางดาว คือ มีคา เทากับ 287,974 บาท ในขณะทีก่ จิ การทีไ่ มใชแรงงานตางดาว มีมูลคาเทากับ 227,467 บาท หากพิจารณาคาสหสัมพันธระหวางการใช แรงงานตางดาวกับมูลคาเพิ่มตอแรงงานพบวามีคาเทากับ 0.1 สําหรับยอดขายตอแรงงานของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีมูลคา โดยเฉลี่ยเทากับ 520,354 บาท ซึ่งสูงกวายอดขายตอแรงงานของกิจการที่ ไมใชแรงงานตางดาวที่มียอดขายตอแรงงานเทากับ 514,591 บาท หาก พิจารณาคาสหสัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาวกับยอดขายตอแรงงาน พบวามีคาเทากับ 0 ซึ่งอาจกลาวไดวา สองตัวแปรนี้ไมมีความสัมพันธกัน สําหรับตนทุนการผลิตตอแรงงานของกิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวซึง่ ดร.กิริยา กุลกลการ


298

มีคา เทากับ 396,525 บาท ซึง่ มีคา ตํา่ กวาตนทุนการผลิตตอแรงงานของกิจการ ที่ไมใชแรงงานตางดาวซึ่งมีคาเทากับ 423,790 บาท และหากพิจารณาคาสห สัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาวกับตนทุนการผลิตตอแรงงานพบวามี คาเทากับ –0.02 ซึ่งความสัมพันธอยูในระดับตํ่า สําหรับยอดขายตอตนทุนการผลิตมีคาเทากันสําหรับกิจการที่ใช และไมใชแรงงานตางดาวคือ มีคา เทากับ 1.3 และหากพิจารณาคาสหสัมพันธ ระหวางการใชแรงงานตางดาวกับมูลคาเพิม่ ตอแรงงานพบวามีคา เทากับ 0.04 ซึ่งความสัมพันธอยูในระดับตํ่า และสําหรับกําไรตอตนทุนการผลิต กิจการที่ ใชแรงงานตางดาวมีกําไรสุทธิตอตนทุนการผลิตติดลบ (เทากับ –0.021) ซึ่ง หมายความวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีผลประกอบการขาดทุน ซึ่งมีคา ติดลบสูงกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว (-0.004) และหากพิจารณาคา สหสัมพันธระหวางการใชแรงงานตางดาวกับมูลคาเพิม่ ตอแรงงานพบวามีคา เทากับ –0.03 ซึ่งความสัมพันธอยูในระดับตํ่า การที่กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีมูลคาเพิ่มตอแรงงาน และยอด ขายตอแรงงานโดยเฉลี่ยสูงกวา ในขณะที่ตนุทนการผลิตตอแรงงานโดย เฉลี่ยตํ่ากวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว แตกลับมีกําไรสุทธิตอตนทุนการ ผลิตตํ่ากวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวนั้น อาจเปนผลเนื่องมาจากการที่ กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวมีตน ทุนอืน่ ๆสูงกวากิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาว เชน ตนทุนการขายและคาใชจายในการขายและบริหาร เชน คาธรรมเนียม ทางการเงิน คาขนสงและคาประกันภัย และเงินเดือน คาจาง โบนัส และ สวัสดิการของพนักงานสํานักงานและผูบริหาร จากตัวแปรขางตน อาจกลาวไดวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาว มีลักษณะดอยกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว (ยกเวน มูลคาเพิ่มตอ แรงงาน) นอกเหนือจากตัวแปรเหลานี้แลว ตัวแปรอื่นๆที่เกี่ยวของกับการ ลงทุน เครื่องจักร และเทคโนโลยี เชน อัตราการขยายขนาดของโรงงาน (วัด จากอัตราการเพิ่มจํานวนพนักงาน) สัดสวนการสงออกตอยอดขาย จํานวน พนักงานตําแหนงวิจัยและพัฒนา การจางองคกรอื่นเพื่อทําวิจัยและพัฒนา สัดสวนการลงทุนดานเทคโนโลยีสารสนเทศ สัดสวนเครื่องจักรที่ควบคุมดวย คอมพิวเตอร จํานวนสินคาใหมที่โรงงานผลิตในชวงปค.ศ. 2004-2006 การ Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


299

ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ การเปดตลาดใหมเนื่องจากการ ปรับปรุงคุณภาพสินคาหรือปรับลดตนทุน การซื้อหรือยื่นจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ บัตร การพัฒนาสินคาหลักตัวใหม และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต สินคาหลักโดยใชเทคโนโลยีใหม และการไดรบั สิทธิประโยชนจากภาครัฐในการ คิดคนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือการทําวิจัยและพัฒนา ก็ลวนแลวแตมีคา สหสัมพันธเปนลบกับการใชแรงงานตางดาว แตคา สหสัมพันธมคี า ตํา่ มาก จึง อาจกลาวไดวา กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวไมไดมลี กั ษณะแตกตางจากกิจการ ที่ไมใชแรงงานตางดาวในเรื่องดังกลาว

ดร.กิริยา กุลกลการ


300

10 การวิเคราะหขอมูลสําหรับตัวแปร ในสมการถดถอยเบื้องตน

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


301

ในสวนนี้จะทําการวิเคราะหขอมูลเบื้องตนสําหรับตัวแปรที่จะใชในสมการ ถดถอย ดังนี้ 10.1 อายุของกิจการ งานศึกษาสวนใหญพบวา กิจการที่อยูในตลาดมาเปนระยะเวลา ยาวนานจะมีผลประกอบการดีและประสิทธิภาพในการดําเนินงานสูง เนือ่ งจาก มีประสบการณในการผลิต การบริหารองคกร และการแขงขันในตลาดยาวนาน รวมถึงการลงทุนที่ใหดอกออกผลแลว โดยเราจะวัดอายุของกิจการโดยใชป ที่กิจการเริ่มดําเนินการจนถึงปที่ทําการสํารวจซึ่งก็คือปค.ศ. 2006 ภาพที่ 6 เปนแผนภูมิแทงแสดงการแจกแจงความถี่ของกิจการตามอายุของกิจการที่ ใชและไมใชแรงงานตางดาว โดยเฉลี่ยแลวกิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีอายุ นอยกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว 2 ป โดยกิจการที่ใชแรงงานตางดาว โดยเฉลี่ยกอตั้งขึ้นในปค.ศ. 1993 และมีอายุโดยเฉลี่ย 13 ป ในขณะที่กิจการ ที่ไมใชแรงงานตางดาวโดยเฉลี่ยกอตั้งขึ้นในปค.ศ. 1991 และมีอายุโดยเฉลี่ย 15 ป โดยบางกิจการมีอายุเกาแกถึง 50 ป ดร.กิริยา กุลกลการ


302

10.2 ขนาดของกิจการ กิจการที่มีขนาดใหญกวาจะมีผลประกอบการดีกวาดวยเหตุผลของ การประหยัดตอขนาด โดยเราจะวัดขนาดของกิจการโดยใชจํานวนพนักงาน ของกิจการ ดังแสดงในภาพที่ 7 เมื่อเริ่มตนกิจการ สัดสวนของกิจการแตละ ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ) ไมแตกตางกันมากนักระหวางกิจการที่ใชและไมใช แรงงานตางดาว โดยกิจการที่ใชแรงงานตางดาวสวนใหญ (รอยละ 58) เปน กิจการขนาดเล็กคือ มีแรงงานนอยกวา 50 คน แตในปค.ศ. 2006 กิจการสวน ใหญ (รอยละ 50) เปนกิจการขนาดใหญมีแรงงานตั้งแต 200 คนขึ้นไป โดย สัดสวนกิจการทีม่ ขี นาดเล็กไดลดลงเหลือเพียงรอยละ 25 ในขณะทีเ่ มือ่ เริม่ ตน กิจการ กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาวสวนใหญ (รอยละ 50) ก็เปนกิจการมี ขนาดเล็กเชนกัน แตในปค.ศ. 2006 สัดสวนของกิจการที่มีขนาดเล็กไมไดลด ลงมาก (รอยละ 40) และสัดสวนของกิจการที่มีขนาดใหญไดเพิ่มสูงขึ้นเปน รอยละ 43 10.3 ความเปนเจาของโดยตางชาติ กิจการที่มีตางชาติเปนเจาของมักจะมีผลประกอบการสูง เพราะ สามารถเขาถึงเทคโนโลยีและการบริหารงานทีด่ กี วา โดยการประมาณสมการ ถดถอย ความเปนเจาของโดยตางชาติจะเปนตัวแปรหุน มีคา เทากับ 1 ถาหาก สัดสวนการเปนเจาของโดยชาวตางชาติสูงกวารอยละ 10 และเทากับ 0 หาก สัดสวนความเปนเจาของโดยชาวตางชาติมีคาตํากวารอยละ 10 สวนขอมูล เกี่ยวกับความเปนเจาของโดยชาวตางชาติไดกลาวไวแลวในสวนที่ 9 10.4 สถานะการสงออก กิจการที่สงออกมักมีผลประกอบการสูง เนื่องจากตองเผชิญกับการ แขงขันที่สูงในตลาดโลก ในการประมาณสมการถดถอย ตัวแปรสถานะการ สงออกจะเปนตัวแปรหุน มีคาเทากับ 1 ถาสัดสวนการสงออกตอยอดขาย สูงกวารอยละ 10 และสัดสวนการเปนเจาของโดยชาวตางชาติตํากวารอย ละ 10 (เพราะกิจการที่มีตางชาติเปนเจาของก็มักจะสงออกดวย ดังนั้น เพื่อ Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


303

มิไหตัวแปรนี้ซําซอนกับตัวแปรความเปนเจาของของกิจการ สถานะการสง ออกจึงคิดเฉพาะแตกิจการที่เอกชนภายในประเทศถือหุนรอยละ 90 ขึ้นไป) จากขอมูลดังแสดงในตารางที่ 1 พบวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวจํานวน 7 กิจการ (รอยละ 58) ที่สงออก โดยเฉลี่ยคิดเปนรอยละ 62 ของยอดขายรวม สวนกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว มี 49 กิจการ (รอยละ 58) ที่สงออก โดย เฉลี่ยคิดเปนรอยละ 71 ของยอดขายรวม 10.5 ระดับเทคโนโลยี ระดับเทคโนโลยียอมมีผลดีตอความสามารถในการแขงขันของ กิจการ โดยเราจะใชตัวแปรวัดระดับเทคโนโลยี ดังตอไปนี้ 10.5.1 อายุของเครือ่ งจักร โดยใชสดั สวนของมูลคาเครือ่ งจักรทีม่ อี ายุตาํ กวา 5 ปตอ มูลคาเครือ่ งจักรทัง้ หมด สวนรายละเอียดขอมูลไดกลาวไวแลวในสวนที่ 9 10.5.2 การควบคุมเครื่องจักรโดยใชคอมพิวเตอรนั้นสามารถใชสัดสวนมูลคา เครื่องจักรในการผลิตที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอรตอสินทรัพยถาวร จากแผนภูมิแทงแสดงการแจกแจงความถี่ของกิจการตามสัดสวน รอยละของเครือ่ งจักรทีถ่ กู ควบคุมดวยคอมพิวเตอรดงั แสดงในภาพที่ 8 กิจการ ที่ใชแรงงานตางดาวใชเครื่องจักรที่ควบคุมดวยคอมพิวเตอรในสัดสวนโดย เฉลี่ยรอยละ 9 ของเครื่องจักรทั้งหมด สวนกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว ใชในสัดสวนรอยละ 16 นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะกิจการที่ใชแรงงาน ตางดาวในสัดสวนที่สูงคือ ตั้งแตรอยละ 20 ขึ้นไป พบวา กิจการเหลานี้ไมมี การใชเครื่องจักรที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอรเลย 10.5.3 การวิจยั และการพัฒนา (R&D) เปนตัวแปรหุน มีคา เทากับ 1 หากคาใช จายในการวิจยั และการพัฒนามีคา เปนบวก และมีคา เทากับ 0 หากคาใชจา ยนี้ มีคาเปนศูนย สําหรับขอมูลการวิจัยและการพัฒนาไดกลาวไวแลวในสวนที่ 9 10.6 ที่ตั้งของกิจการ ที่ตั้งกิจการเปนตัวแปรที่สําคัญในการกําหนดความสามารถในการ แขงขัน เพราะที่ตั้งของกิจการมีความแตกตางกันในเรื่องทรัพยากรที่ใชใน การผลิต สาธารณูปโภค และความยากงายในการขนสง เปนตน โดยตัวแปร ดร.กิริยา กุลกลการ


304

นี้จะเปนตัวแปรหุน แบงเปน 6 ภาคคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพฯและ ปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต หากพิจารณา จากขอมูล ดังแสดงในภาพที่ 9 พบวา รอยละ 60 ของกิจการที่ใชและไมใช แรงงานตางดาวตั้งอยูในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รองลงมาคือ ภาคกลาง

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



306

11 ผลการประมาณสมการถดถอยของความสามารถ ในการแขงขันกับการใชแรงงานตางดาว

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


307

ตารางที่ 2 แสดงผลการประมาณสมการถดถอยของความสามารถในการ แขงขันกับการใชแรงงานตางดาว ผลการศึกษา ไมพบวาการจางแรงงาน ตางดาวมีผลตอความสามารถในการแขงขันของกิจการอยางมีนัยสําคัญทาง สถิติ ไมวา จะใชตวั ชีว้ ดั ใดก็ตาม นัน่ คือ เราไมพบความแตกตางระหวางความ สามารถในการแขงขันระหวางกิจการทีใ่ ชและไมใชแรงงานตางดาว นอกจากนี้ เมือ่ ไดเปลีย่ นตัวแปรการใชแรงงานตางดาวจากสัดสวนการใชแรงงานตางดาว ตอแรงงานทั้งหมดเปนตัวแปรหุนมีคาเทากับ 1 เมื่อมีการใชแรงงานตางดาว และ 0 เมื่อไมใชแรงงานตางดาว พบวา ตัวแปรหุนการใชแรงงานตางดาว ก็ ไมมีนัยสําคัญทางสถิติตอตัววัดความสามารถในการแขงขันเชนกัน อยางไรก็ดี การที่ไมสามารถปฏิเสธสมมติฐานวา การใชแรงงาน ตางดาวทําใหความสามารถในการแขงขันลดตําลง อาจเปนผลมาจากการที่ ขอมูลมีจํานวนนอยเกินไป หรือขอมูลคลาดเคลี่อนจากความเปนจริงอันเกิด จากการที่กิจการไมตอบขอมูลที่แทจริงเกี่ยวกับการใชแรงงานตางดาว โดย กิจการมีแนวโนมจะตอบนอยกวาที่ใชอยูจริงหรือตอบวาไมใชเลยโดยเฉพาะ อยางยิ่งในกรณีที่ใชแรงงานตางดาวผิดกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ดร.กิริยา กุลกลการ


308

จากเจาพนักงานก็เปนได สําหรับตัวแปรอื่นๆ พบวา สถานะการสงออก (ยกเวน ในกรณีตัวชี้ วัดกําไรสุทธิตอตนทุนการผลิต) และการเปนเจาของโดยตางชาติ (ในกรณีตัว ชีว้ ดั มูลคาเพิม่ ตอแรงงาน) มีผลบวกตอความสามารถในการแขงขันอยางมีนยั สําคัญทางสถิติ สวนอายุของกิจการ ขนาดของกิจการ (ยกเวน กรณียอดขาย ตอตนทุนการผลิตและกําไรสุทธิตอ ตนทุนการผลิตทีใ่ หผลลบ) และเทคโนโลยี ซึ่งวัดดวย อายุของเครื่องจักร การทํา R&D และการควบคุมเครื่องจักรดวย คอมพิวเตอรไมมีผลตอความสามารถในการแขงขันของกิจการอยางมีนัย สําคัญทางสถิติ

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



310

12 ผลจากการสัมภาษณ

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


311

นอกเหนือจากการวิเคราะหขอมูลดังกลาวขางตนแลว เรายังไดสัมภาษณ กิจการ 10 แหงที่ใชแรงงานตางดาวตั้งแตรอยละ 5 ขึ้นไป โดยถามคําถาม เจาของกิจการแลวใหตอบถูกผิด ดังแสดงในตารางที่ –3 ผลการสัมภาษณ สามารถสรุปได ดังนี้ มีกจิ การ 6 แหงตอบวา แรงงานตางดาวเปนปจจัยทีท่ าํ ให กิจการอยูร อด อีก 4 บริษทั ตอบวา ไมใช โดยกิจการทีต่ อบวา ใช เปนกิจการที่ ใชแรงงานตางดาวในอัตราทีส่ งู สําหรับสาเหตุของการจางแรงงานตางดาวนัน้ มีเพียงกิจการเดียวเทานั้นที่ตอบวาจางแรงงานตางดาวเพราะคาจางแรงงาน ตางดาวถูก ซึ่งเปนบริษัทที่ใชแรงงานตางดาวในสัดสวนรอยละ 96 ในขณะที่ กิจการทีเ่ หลือตอบวา ใหคา จางตามผลงานทีท่ าํ ได ไมเกีย่ วกับสัญชาติ และยัง อธิบายเพิ่มเติมวา แรงงานตางดาวมีเครือขายและขอมูลขาวสารภายในกลุม ดีมาก ทําใหการกดขี่แรงงานและการจายคาจางตําเปนไปไดยากในปจจุบัน สําหรับสาเหตุที่จางแรงงานตางดาวเพราะหาแรงงานไทยไมไดนั้น ทุกกิจการตอบวาใช และเนนวาเปนความขาดแคลนแรงงานมีฝมือ นอกจาก นี้ ทุกกิจการตอบวา สาเหตุทจี่ า งแรงงานตางดาวไมใชเพราะไมมเี งินทุนพอที่ จะซือ้ เครือ่ งจักร โดยใหเหตุผลเพิม่ เติมวา งานบางอยางเปนงานฝมอื ทีจ่ าํ เปน ดร.กิริยา กุลกลการ


312

ตองใชแรงงานคนทํา เครื่องจักรไมสามารถทํางานแทนได กิจการบางแหง อธิบายเพิ่มเติมวา ไดมีการซื้อเครื่องจักรมาใชในโรงงานเพื่อใหการผลิตเร็ว และสินคามีคุณภาพดีขึ้น เพื่อสามารถจายคาตอบแทนแรงงานไดสูงขึ้นเพื่อ แยงชิงแรงงานจากบริษัทอื่นได สวนสาเหตุทจี่ า งแรงงานตางดาวเพราะไมมเี งินทุนพอทีจ่ ะเปลีย่ นไป ผลิตเสื้อผาประเภทอื่นที่ใชแรงงานนอยนั้น มีเพียง 3 กิจการที่ตอบวาใช สวน อีก 7 กิจการตอบวาไมใช นอกจากนี้ กิจการจํานวน 5 แหงตอบวาสาเหตุหนึ่ง ทีจ่ า งแรงงานตางดาวไมใชเพราะแรงงานตางดาวทํางานไดดกี วาแรงงานไทย สวนอีก 5 แหงตอบวาใชสาเหตุ โดยใหเหตุผลวา คนงานตางดาวอดทนและ มีความรับผิดชอบมากกวาคนงานไทย คนไทยชอบเปลี่ยนงานบอย สวนใน กรณีที่รัฐบายไมอนุญาตใหจางแรงงานตางดาว กิจการจํานวน 6 แหงจะปรับ ตัวโดยใชแรงงานไทยมากขึ้น 2 แหงจะใชเครื่องจักรแทน 1 แหงตอบวาจะปด กิจการ และอีก 1 แหงตอบวาจะยายฐานการผลิต สําหรับความคิดเห็นในเรื่องนโยบายนั้น สวนใหญเห็นวา รัฐบาล ควรอนุญาตใหมีการจางแรงงานตางดาวได แตตองมีการบริหารจัดการอยาง มีประสิทธิภาพ เพื่อแกปญหาการขาดแคลนแรงงาน และการสามารถจาง แรงงานตางดาวไดอยางถูกกฎหมายจะชวยลดปญหาการตองจายสวยใหกบั ผู มีอทิ ธิพลทุกระดับ และรัฐบาลก็จะมีรายไดจากการเก็บคาธรรมเนียม นอกจาก นี้ ก็ควรอนุญาตใหแรงงานตางดาวสามารถทํางานได 2-5 ป เพราะการตองตอ อายุแรงงานตางดาวทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปนนั้ เปนภาระทีห่ นักเกินไป และเกิด ความไมแนนอนวาจะไดจา งตอหรือไม ทําใหไมสามารถวางแผนการผลิต การ จางงาน และการฝกอบรมในอนาคตไดดีเทาที่ควร นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีน โยบายที่จะคุมครองผูประกอบการในกรณีที่ไดจายคาธรรมเนียมไปแลว แต แรงงานตางดาวหนีไป ก็ทําใหนายจางเสียประโยชน

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



314

13 บทสรุป

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


315

บทความนี้ไดศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาว กั บ กิ จ การที่ ไ ม ใ ช แ รงงานต า งด า วในเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การลงทุ น เครื่ อ งจั ก ร เทคโนโลยี นวัตกรรม และความสามารถในการแขงขัน โดยใชขอมูลที่ไดจาก การสํารวจผลิตภาพและบรรยากาศการลงทุนของสํานักงานเพิ่มผลผลิตแหง ชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมในประเทศไทยในปค.ศ. 2007 ผลการศึกษาพบวา กิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีลักษณะดอยกวากิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว ในเรื่องดังตอไปนี้ คือ การใชเครื่องจักรและอุปกรณที่ผลิตในตางประเทศ, แผนการลงทุนเพิ่มกําลังการผลิตหรือปรับปรุงคุณภาพ, ความเปนเจาของ โดยชาวตางชาติ, อายุของเครือ่ งจักร, การลงทุนเพือ่ การวิจยั และพัฒนา, การ มีตราสินคาเปนของตัวเอง, การขายสินคาใหบริษัทขามชาติ, การมีสวนรวม ของลูกคาในเรื่องการทําวิจัยและพัฒนารวมถึงการฝกอบรมพนักงาน, เครือ ขายธุรกิจ, การคาดการณยอดขาย, และการปรับปรุงสินคาเดิม ซึ่งอาจจะ สงผลเสียในระยะยาวตอความสามารถในการแขงขันของกิจการที่ใชแรงงาน ตางดาวได อยางไรก็ดี เราไมสามารถสรุปไดวา การใชแรงงานตางดาวเปนตน เหตุใหกจิ การมีลกั ษณะดังกลาว เพราะการทีก่ จิ การมีลกั ษณะดังกลาวอาจเปน ดร.กิริยา กุลกลการ


316

เหตุผลที่ทําใหกิจการจําเปนตองจางแรงงานตางดาว อย า งไรก็ ดี ลั ก ษณะอื่ น ๆที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ การลงทุ น เครื่ อ งจั ก ร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวไมไดแตกตางไป จากกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว โดยลักษณะเหลานี้ ไดแก อัตราการขยาย ขนาดของโรงงาน (วัดจากอัตราการเพิ่มจํานวนพนักงาน) , สัดสวนการสง ออกตอยอดขาย จํานวนพนักงานตําแหนงวิจัยและพัฒนา,การจางองคกรอื่น เพื่อทําวิจัยและพัฒนา, สัดสวนการลงทุนดานเทคโนโลยีสารสนเทศ, สัดสวน เครื่องจักรที่ควบคุมดวยคอมพิวเตอร, จํานวนสินคาใหมที่โรงงานผลิตในชวง ปค.ศ. 2004-2006, การปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ, การเปด ตลาดใหมเนือ่ งจากการปรับปรุงคุณภาพสินคาหรือปรับลดตนทุน, การซือ้ หรือ ยื่นจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร, การพัฒนาสินคาหลักตัวใหม, การเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิตสินคาหลักโดยใชเทคโนโลยีใหม และการไดรบั สิทธิประโยชน จากภาครัฐในการคิดคนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือการทําวิจัยและพัฒนา และหากพิจารณาตัวชี้วัดความสามารถในการแขงขัน พบวา โดยเฉลี่ยแลว มูลคาเพิ่มของสินคาตอแรงงานของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวมีคาสูงกวา กิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว สวนยอดขายตอแรงงาน ตนทุนการผลิตตอ แรงงาน ยอดขายตอตนทุนการผลิต และกําไรตอตนทุนการผลิต ของกิจการ ที่ใชแรงงานตางดาวไมแตกตางจากกิจการที่ไมใชแรงงานตางดาว จากการทดสอบสมมติฐานทีว่ า กิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวในสัดสวน ทีส่ งู กวาจะมีผลิตภาพตาํ กวากิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวในสัดสวนทีน่ อ ยกวา ดวยการประมาณสมการถดถอยดวยวิธี OLS โดยใชตัวชี้วัดความสามารถใน การแขงขัน 5 ตัว ไดแก มูลคาเพิ่มตอแรงงาน ยอดขายตอแรงงาน ตนทุนการ ผลิตตอแรงงาน ยอดขายตอตนทุนการผลิต และกําไรสุทธิตอตนทุนการผลิต และใชตวั แปรควบคุม ไดแก อายุกจิ การ ขนาดกิจการ การเปนเจาของโดยตาง ประเทศ สถานะการสงออก อายุของเครือ่ งจักร การทําวิจยั และพัฒนา และการ ควบคุมเครื่องจักรดวยคอมพิวเตอร ผลการศึกษาไมพบวา ความสามารถใน การแขงขันของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวแตกตางจากความสามารถในการ แขงขันของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวนอยอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


317

จากการสัมภาษณพบวา อุปสรรคทีส่ าํ คัญสําหรับอุตสาหกรรมเสือ้ ผาเครือ่ งนุง หมไมวา จะเปนกิจการทีใ่ ชหรือไมใชแรงงานตางดาวคือ การขาดแคลนแรงงาน มีฝม อื และการทีแ่ รงงานตางดาวไดรบั คาตอบแทนและสวัสดิการตางๆเหมือน กับแรงงานไทยทุกประการ จึงอาจกลาวไดวา แรงงานตางดาวกับแรงงานไทย เปนปจจัยการผลิตที่ใชทดแทนกันไดอยางสมบูรณ (Perfect Substitute) และ แรงงานตางดาวมิไดเขามาแยงงานแรงงานไทยทําในอุตสาหกรรมนี้ การนํ า เข า แรงงานต า งด า วมี ส ว นช ว ยให กิ จ การบางกิ จ การใน อุตสาหกรรมนี้อยูรอดไดอยางนอยก็ในระยะสั้น แมวาเราจะยังไมพบความ แตกตางในเรื่องความสามารถในการแขงขันระหวางกิจการที่ใชและไมใช แรงงานตางดาว แตการที่เราพบวาลักษณะของกิจการที่ใชแรงงานตางดาวมี ลักษณะดอยกวากิจการทีไ่ มใชแรงงานตางดาวในบางเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการลงทุน เครื่องจักร และเทคโนโลยีนั้น ก็เปนไปไดที่ในระยะยาว กิจการที่ใชแรงงาน ตางดาวจะมีผลิตภาพและความสามารถในการแขงขันตาํ ลงและตาํ กวากิจการ ที่ไมใชแรงงานตางดาว งานวิจัยในอนาคตจึงควรศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง ของผลิตภาพของกิจการทีใ่ ชแรงงานตางดาวและความแตกตางของผลิตภาพ ระหวางกิจการทั้งสองประเภทตอไป การอนุญาตใหนาํ เขาแรงงานตางดาวเสรีอาจชวยใหกจิ การสามารถ เปลี่ยนผานไปสูการผลิตที่ใชเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไดอยางราบ รื่นขึ้น แตก็อาจทําใหกิจการสามารถอยูรอดตอไปไดโดยไมตองเปลี่ยนแปลง อะไร แตการจะพึ่งพิงแรงงานตางดาวจากประเทศเพื่อนบานนั้นเปนทางออก ทีไ่ มยงั่ ยืนนัก เพราะประเทศเพือ่ นบานสามประเทศนีไ้ มไดมปี ระชากรจํานวน มาก และตลาดแรงงานเริ่มตึงตัวเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเหลานี้เริ่มเติบโต ขึ้น และการผลิตสินคาที่ใชแรงงานเขมขนก็อาจมีผลเสียตอการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศในอนาคต การหามนําเขาแรงงานตางดาวจะสงผลกระทบตอกิจการทีใ่ ชแรงงาน ตางดาว รัฐบาลจึงควรเขาไปชวยเหลือกิจการเหลานี้ในชวงเปลี่ยนผานไปสู การผลิตทีค่ า จางไมใชหวั ใจสําคัญในการแขงขัน โดยสนับสนุนใหผผู ลิตเปลีย่ น ไปผลิตเสื้อผาที่มีเอกลักษณ ไมวาจะเปนการออกแบบที่ไมเหมือนใครหรือ การใชวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพื่อเพิ่มมูลคาเพิ่มใหกับตัวสินคา ตลอดจน ดร.กิริยา กุลกลการ


318

ฝกอบรมแรงงานไทยใหมฝี ม อื เพือ่ บรรเทาปญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝม อื นอกจากนี้ รัฐบาลอาจผลักดันใหกจิ การยายฐานการผลิตไปยังพืน้ ทีใ่ นจังหวัด ชายแดนทีต่ ดิ กับประเทศพมา โดยพัฒนาพืน้ ทีบ่ ริเวณนัน้ ใหเปนเขตเศรษฐกิจ พิเศษอยางเปนรูปธรรม โดยอํานวยความสะดวกในเรื่องสาธารณูปโภคและ การอนุญาตใหแรงงานตางดาวเขามาทํางานไดเฉพาะในบริเวณนั้น รวมถึง อาจสงเสริมใหผูประกอบการเขาไปเปดโรงงานในประเทศลาวและกัมพูชา เพื่อใชประโยชนจากทรัพยากรและแรงงานราคาถูกเหมือนเชนที่ประเทศจีน และเกาหลีเขาไปเปดโรงงานผลิตเสื้อผาจํานวนมากในประเทศกัมพูชา แทจริงแลวอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทยอาจไมสามารถแขงขัน ในตลาดโลกได ไมวาจะเปนกิจการที่ใชหรือไมใชแรงงานตางดาวก็ตาม แต ประเทศไทยก็สามารถเปลี่ยนไปผลิตสินคาอื่นที่มีความไดเปรียบโดยเปรียบ เทียบ โดยถายโอนทรัพยากรไปสูภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยัง คงจักไดประโยชนจากโลกาภิวตั นตอ ไป ทายนี้ การเขามาของแรงงานตางดาว ไมไดมีผลตอภาคอุตสาหกรรมเทานั้น แตยังมีผลตอสังคม ความมั่นคงของ ประเทศ และเศรษฐกิจดานอืน่ ๆอีกดวย นโยบายเรือ่ งแรงงานตางดาวทีเ่ หมาะ สมจึงจําเปนตองพิจารณาผลกระทบใหรอบดานดวย

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



320 £µ¡ ¸É 1 ´ ¸¤¼¨ nµ µ¦ oµ¦³®ªnµ ¦³Á « ¨³Á · ð ° ¦ µ ¸ÉŠε µ Ä nµ ¦³Á « ¦³®ªnµ e .«. 1970-2006 (1970=100) 16000 14000

ѯкѧьѱѠьдјѤэеѠкѰіккѥьлѥдшҕѥкюіѣѯъћ

12000

дѥізҖѥіѣўњҕѥкюіѣѯъћ

10000 8000 6000 4000 2000 0 1970 1973 1976 1979 1982 1985 1988 1991 1994 1997 2000 2003 2006

®¤µ¥Á® »: Á ºÉ° µ ¤¼¨ nµ µ¦ oµ¦³®ªnµ ¦³Á «¤¸ nµ­¼ ªnµÁ · ð ° ¦ µ ¸ÉŠε µ nµ ¦³Á « Á n ¤¼¨ nµ µ¦ oµ¦³®ªnµ ¦³Á « ¨³Á · ð ° ¦ µ Ä e .«. 1970 Á nµ ´ 381 ¨³ 2 ¡´ ¨oµ Á®¦¸¥ °¨¨µ¦r­®¦´ ². µ¦Á ¦¸¥ Á ¸¥ Ä £µ¡ ¸É 1 ¹ εÁ } ´ ¸ ¸ÉÄ o e .«. 1970 Á } e µ Á¡ºÉ°¨ ­nª nµ Ä Á¦ºÉ° ° ¤¼¨ nµ ° µ ´Ê µ¦ εÁ } ´ ¸ ³ nª¥ ¸ÊÄ®oÁ®È ¹ °´ ¦µ µ¦ ¥µ¥ ´ª ¸É ´ Á ¤µ ¹Ê ¸É¤µ: o°¤¼¨ µ¦ oµÃ¨ ¤µ µ Direction of Trade Statistics, International Monetary Fund,(CD-ROM); ¨³ o°¤¼¨Á · ð ° ¦ µ ¦³®ªnµ ¦³Á « µ World Bank ¸É http://econ.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL

£µ¡ ¸É 2 ¨· £µ¡ µ¦ ¨· ¦ µ Á ¦ºÉ° ´ ¦ ª´­ » { ´¥ εÁ oµ

¨· £´ r

¦³ ª µ¦

¨· ¨

Productivity=Output/Input

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


321

£µ¡ ¸É 3 ¦o°¥¨³ ° ´ª°¥nµ  n µ¤­´ ­nª ¦ µ nµ oµª n°Â¦ µ ´ Ê ®¤

6% 4% 2%

88%

0% 1--10% 11 -- 30% 31--100%

£µ¡ ¸É 4 ¦³Á£ Á ¦ºÉ° ´ ¦ 4.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 4.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª 9%

4%

28%

38% 50% 8%

Ä®¤n ¨· Ä ¦³Á « ¤º°­° ¨· Ä ¦³Á « Ä®¤n ¨· nµ ¦³Á « ¤º°­° ¨· nµ ¦³Á «

5% 58%

Ä®¤n ¨· Ä ¦³Á « ¤º°­° ¨· Ä ¦³Á « Ä®¤n ¨· nµ ¦³Á « ¤º°­° ¨· nµ ¦³Á «

ดร.กิริยา กุลกลการ


322

£µ¡ ¸É 5 ­´ ­nª ¦o°¥¨³ ° · µ¦Â¥ µ¤°µ¥» ° Á ¦ºÉ° ´ ¦ 5.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 5.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª 2%

20%

26%

35%

42%

52%

<5 e

1%

22%

5-10 e

10-20 e

>20 e

<5 e

5-10 e

10-20 e

>20 e

0

0

.02

.01

.04

.02

Density .06

Density .03

.08

.04

.1

.05

£µ¡ ¸É 6: °µ¥» ° · µ¦ 6.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 6.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª

5

10

age

15

20

0

10

20

age

30

40

50

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


323

e Á¸É ¦·É¤ · µ¦

£µ¡ ¸É 7 µ ° · µ¦ £µ¡ ¸É 7.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª e .«. 2006 17%

25%

50%

58%

25%

Ä® n

¨µ

25%

Ä® n

Á¨È

¨µ

Á¨È

£µ¡ ¸É 7.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª e Á¸É ¦·É¤ · µ¦ e .«. 2006 25%

40%

43%

25%

50%

17%

Ä® n

¨µ

Á¨È

Ä® n

¨µ

Á¨È

ดร.กิริยา กุลกลการ


324

£µ¡ ¸É 8 ­´ ­nª Á ¦ºÉ° ´ ¦ ¸É ¼ ª »¤ oª¥ °¤¡·ªÁ °¦r 8.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 8.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª

£µ¡ ¸É 9 ¸É ´Ê ° · µ¦ 9.1 · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 9.2 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª 0%

15%

5%

11%

0% 4%

17%

23%

62%

Á® º° ¦» Á ¡Â¨³ ¦·¤ ¨ ³ª´ °° Á ¸¥ Á® º°

¨µ ³ª´ °° Ä o

63%

Á® º° ¦» Á ¡Â¨³ ¦·¤ ¨ ³ª´ °° Á ¸¥ Á® º°

¨µ ³ª´ °° Ä o

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


325

µ¦µ ¸É 1 ε ª ¨³­´ ­nª · µ¦ ¸É­n °° ¨³­´ ­nª µ¦­n °° n°¥° µ¥Á ¨¸¥É ¦³Á£ · µ¦ ε ª · µ¦ (®n ) ­´ ­nª µ¦­n °° n°¥° µ¥Á ¨¸É¥ (%) · µ¦ ¸ÉÄ o¦ µ nµ oµª 7 (58%) 62 · µ¦ ¸ÉŤnÄ o¦ µ nµ oµª 49 (58%) 71

ดร.กิริยา กุลกลการ


326 µ¦µ ¸É 2 nµ­´¤ ¦³­· · Í ¸ÉÅ o µ µ¦ ¦³¤µ ­¤ µ¦ °¥ ° ªµ¤­µ¤µ¦ Ä µ¦  n ´ ´ ­´ ­nª µ¦Ä o¦ µ nµ oµª ´ªÂ ¦ µ¤ ¤¼¨ nµÁ¡·¤É n° ¥° µ¥ n° o » µ¦ ¥° µ¥ n° εŦ­» · n° ¦ µ ¦ µ ¨· n° o » µ¦ o » µ¦ ¦ µ ¨· ¨· ­´ ­nª µ¦ oµ 0.004 -0.001 -0.002 0.001 0.004 ¦ µ nµ (0.008) (0.569) (0.008) (0.002) (0.023) oµª °µ¥» ° · µ¦ 0.044 0.110 0.057 0.053 0.501 (0.172) (0.173) (0.164) (0.042) (0.368) -0.026 0.026 0.101 -0.074 -0.525 µ ° · µ¦ (0.092) (0.093) (0.089) (0.023)*** (0.200)** ­´ ­nª µ¦Á } 0.586 0.465 0.440 0.025 -0.103 Á oµ ° à ¥ (0.288)** (0.291) (0.276) (0.070) (0.605) nµ µ · ­ µ ³ µ¦ 0.832 0.645 0.521 0.124 -0.147 ­n °° (0.215)*** (0.217)*** (0.207)*** (0.053)** (0.440) µ¦ ª »¤ 0.000 0.000 0.000 -0.000 -0.003 oª¥ (0.001) (0.001) (0.001) (0.000) (0.002)* °¤¡·ªÁ °¦r R&D 0.018 0.074 0.190 -0.116 -0.209 (0.324) (0.327) (0.311) (0.079) (0.653) °µ¥» ° 0.000 0.004 0.004 -0.000 0.009 Á ¦ºÉ° ´ ¦ (0.003) (0.004) (0.003) (0.001) (0.007) nµ ¸É 11.643 11.944 11.531 0.413 -2.718 (0.563)*** (0.569)*** (0.541)*** (0.138)*** (1.203)** R-squared 0.18 0.15 0.17 0.18 0.20 ®¤µ¥Á® » ´ªÁ¨ Ä ª Á¨È ­ nµÁ ¸É¥ Á ¤µ ¦ µ * ­ ªµ¤¤¸ ´¥­Îµ ´ µ ­ · · ¸É¦³ ´ ªµ¤Á ºÉ°¤´É 90%, ** ¸É 95% ¨³ *** ¸É 99% Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


327

µ¦µ ¸É 3 µ¦ ° ε µ¤ ° · µ¦ ε µ¤ ¦ µ nµ oµªÁ } { ´¥­Îµ ´ ¸É µÎ Ä®o ¦» · ° nµ °¥¼n¦° Å o ­µÁ® » ¸É oµ ¦ µ nµ oµªÁ¡¦µ³ x nµ oµ ¦ µ nµ oµª ¼ ªnµÂ¦ µ Å ¥ x ®µÂ¦ µ Å ¥Å¤nÅ o x Ťn¤¸Á · » ¡° ¸É ³ ºÊ°Á ¦ºÉ° ´ ¦ x Ťn¤¸Á · » ¡° ¸É ³Á ¨¸¥É Å ¨· Á­ºÊ° oµ ¦³Á£ °ºÉ ¸ÉÄ o¦ µ o°¥ x ¦ µ nµ oµª ε µ Å o ¸ ªnµÂ¦ µ Å ¥ ®µ ¦´ µ¨®oµ¤¤·Ä o¤¸ µ¦ oµ ¦ µ nµ oµªÁ } °´ µ nµ ³ 1. oµ ¦ µ Å ¥  2. Ä oÁ ¦ºÉ° ´ ¦Â 3. Á¨· · µ¦ 4. ¨· Á­ºÊ° oµ ¦³Á£ °ºÉ ¸ÉÄ o¦ µ o°¥ 5. ¥oµ¥ µ µ¦ ¨· Å ¥´ ¦³Á « ¸É¤¸Â¦ µ ¦µ µ ¼

ε ° Ä n ŤnÄ n 6 4 1 10 0 3 5 6 2 1 0 1

ดร.กิริยา กุลกลการ

9 0 10 7 5


328 บรรณานุกรม พัชรศรี แดงทองดี (2008). เทียบเคียงสมรรถนะเพือ่ การพัฒนา, Productivity World, 65-71. Acemoglu, D. (1998). Why Do New Technologies Complement Skills? Directed Technical Change and Wage Inequality. Quarterly Journal of Economics , 113(4):1055-89. Asian Research Center for Migration (ARCM), (2004) Thailand: Improving the Management of Foreign Workers. International Organization for Migration and International Labour Office, Bangkok. In Collaboration with Institute for Population and Social Research (IPSR), and Thailand Development Research Institute (TDRI). Athukorala, P. (2006). International Labour Migration in East Asia: Trends, Patterns and Policy Issues., Asian-Pacific Economic Literature, 20, 18-39. Bhagwati, J. (2004). In Defense of Globalization. New York: Oxford University Press. Borjas, G. J. (1994). The Economics of Immigration. Journal of Economic Literature, 32, 1667-1717. Borjas, G. J. (2001). Does Immigration Grease the Wheels of the Labor Market?. Brookings Papers on Economic Activity: 1:69-119. Borjas, G. J. (2003). The Labor Demand Curve Is Downward Sloping: Reexamining the Impact of Immigration on the Labor Market. Quarterly Journal of Economics, November 2003, 1335-1374. Borjas, G. J. Freeman, R. and L. Katz. (1997) How Much do Immigration and Trade Affect Labor Market Outcomes? Brookings Papers on Economic Activity, 1997 (1), 1-90 Beesey, A. (2004) Thailand: Improving the Management of Foreign Workers: Case Studies on Five Industrial Sectors. International Organization for Migration and International Labor Office. Bangkok. www.ilo.org/public/english/ region/asro/bangkok/library/pub15.htm Bryant J. and Rukumnuykit P. (2007) Does Immigration to Thailand Reduce the Wages of Thai Workers? Labor Migration in the Greater Mekong Subregion. June 2007. Butcher, K.F. and D. Card. (1991) Immigration and Wages: Evidence from the 1980’s American Economic Review, Papers and Proceedings, 81 (2), 292-296. Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย


329 Card, D. (1990). The Impact of the Mariel Boatlift on the Miami Labor Market. Industrial and Labor Relations Review, 43, 245-257. Card, D. (2001). Immigrant Inflows, Native Outflows, and the Local Labor Market Impacts of Higher Immigration. Journal of Labor Economics,19, 22-64. Card, D, and J. DiNardo, (2000). Do immigrant inflows lead to native outflows?. American Economic Review. Chalamwong Y., Vijitsrikamol, K., Khamprapai K. and Suwanruang, M. (2002). Case Study on Agriculture Sector. A Paper Prepared for IOM/ILO Project: Thailand: Improving Migration Policy Management with Special Focus on Irregular Labor Migration.Unpublished Paper. Goldin, I. and Reinert, K. (2006) Globalization for Development: Trade, Capital, Aid, Migration and Policy. Washington, DC: World Bank and Palgrave Macmillan. Examines the key economic flows and shows how policies at the national global level are required to make globalization work for development. Irwin, D. (2005) Free Trade Under Fire, Princeton University Press. Kulkolkarn K. and Potipiti T. (2007) Mmigration, Wages and Unemployment in Thai land. Chulalongkorn Journal of Economics, vol: 19/1 April 2007, p.1-22. Kohpaiboon, A. (2007). Clothing Industries in Kohpaiboon, A., Techakanont K., and Sirasoontorn, P. Thailand: Field Survey Report, Country ERIA Related Joint Research Project Series 2007, No. 34, Economics Research and Training Center (ERTC), Faculty of Economics, Thammasat University. Krikorian, M. (2000). Guestworker Programs: A Threat to American Agriculture. Testimony Prepared for the U.S. House of Representatives, Committee on the Judiciary, Subcommittee on Immigration, Border Security, and Claims. Kritz, M. and Gurak, D.T. (2001). Interstate Migration of US Immigrants: Individual and Contextual Determinants. Social Forces, vol: 78 no: 3, p.1017-39. Krugman, P. Competitiveness-A Dangerous Obsession. Foreign Affairs, 73(2), 29-44. Lewis, W.A. (1954) Economic Development with Unlimited Supplies of Labour. Manchester School, 22(2): 139-191. Lewis, E. (2005). Immigration, Skill Mix, and the Choice of Technique. Federal Reserve Bank of Philadephia. ดร.กิริยา กุลกลการ


330 Lind, M. (2006 June 8). A Labour Shortage Can Be a Blessing, Not a Curse. The Financial Times. Martin, P. (2001). There Is Nothing Permanent Than Temporary Foreign Workers. Center for Immigration Studies. Martin, P. (2007). The Economic Contribution of Migrant Workers to Thailand: Towards Policy Development. Bangkok: ILO Sub-regional Office for East Asia. Ottaviano, Gianmarco I.P. (2005) The Long run effect of Immigration on Productivity: Theory and Evidence from the U.S Quispe-Angoli, M. and M. Zavodny. (2002). The Effect of Immigration on Output Mix, Capital, and Productivity. Sarig, Y. Thompson, J., and G. K. Brown . (2000). Alternative to Immigrant Labor? The Status of Fruit and Vegetable Harvest Mechanization in the United States.Center of Immigration Studies. Tella, A. (2006 September30). Productivity and immigration. The Washington Times. Thailand Development Research Institute (TDRI), (2004) Thailand: Improving the Management of Foreign Workers. International Organization for Migration and International Labour Office, Bangkok. In Collaboration with Institute for Population and Social Research (IPSR), and Asian Research Center for Migration (ARCM). Vasuprasart, P. (2008). Inter-state Cooperation on Labor Migration: Lessons Learned from MOUs between Thailand and Neighbouring Countries. Bangkok: Regional Office for Asia and Pacific. Wolf, M. (2005). Will Globalization Survive? Third Whitman Lecture, Institute for International Economics. World Bank (2008) Thailand Investment Climate Assessment Update.

Symposium no.32 :: แรงงานตางดาวกับการรักษาความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมเสื้อผาเครื่องนุงหมไทย



332

คณะกรรมการจัดการสัมมนาทางวิชาการประจําป 2552 ครั้งที่ 32

1. คณะกรรมการอํานวยการ2. คณะอนุกรรมการฝายกํากับเวที(พิธีกร) 3. คณะอนุกรรมการฝายจัดพิมพเอกสาร 4. คณะอนุกรรมการฝายลงทะเบียน และแจกเอกสาร 5. คณะอนุกรรมการฝายสถานที่ และฝายจัดเลี้ยง

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


333

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


334

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”


335

การสัมมนาทางวิชาการประจําป 2552 symposium ครั้งที่ 32 “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย” วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 ณ หอประชุมศรีพูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

คณะบรรณาธิการ อาชนัน เกาะไพบูลย ภราดร ปรีดาศักดิ์ ดาราวรรณ รักษสันติกุล ออกแแบบปกและรูปเลม นุสรา ประกายพิสุทธิ์ ประสานงาน ดาราวรรณ รักษสันติกุล สํานักพิมพ openbooks 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 0-2669-5145 โทรสาร 0-2669-5146 โรงพิมพ หจก.สามลดา โทร. 0-2895-1500, 0-2895-2300

คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร


336

Symposium no.32 :: “การบริหารโลกาภิวัตน: ประสบการณของภาคอุตสาหกรรมไทย”



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.