eco173

Page 1

"เปนไปไมไดที่จะใชนโยบายอยางหนึ่งกับชนบททั้งหมด ที่เขาบอกวา “One size of shoes fits all” เปนไปไมได ถาขืนใส บางคนก็ใสสบาย บางคนก็แนน บางคนก็หลวม เพราะเทาแตละคนไมเทากัน" รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย

"ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันภาคเกษตรมีความเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ผมมักจะหงุดหงิดเสมอเวลามีคนอยากใหภาคเกษตรกลับไป เปนเหมือนเดิม เพราะผมรูสึกวามันเปนไปไมได" รศ.ดร.ประยงค เนตยารักษ

9 786167 347417


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ช่องว่างของความเข้าใจต่อ ภาคเกษตรและชนบทไทย

เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ สัมมนา ลำ�ดับที่ 6


รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์

รศ.ดร.ประยงค์ เนตยารักษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์

ดําเนินรายการ

รศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ช่องว่างของความเข้าใจต่อ ภาคเกษตรและชนบทไทย

พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2554 บรรณาธิการ สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา ออกแบบปกและรูปเล่ม world wild weird สํานักพิมพ์ openbooks 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2669-5145-6 โทรสาร 0-2669-5146 www.onopen.com email: onopenon@yahoo.com http://th-th.facebook.com/openbooks

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย -- กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์, 2554 60 หน้า 1. เศรษฐศาสตร์การพัฒนา. 2. การพัฒนาชุมชน – ภาคชนบท. l. ชื่อเรื่อง. 338 ISBN 978-616-7347-4ง1-7 ราคา 80 บาท

-4-


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คํานํา

ด้วยยึดมั่นว่าหน้าที่สำ�คัญประการหนึ่งของสถาบัน การศึกษา คือการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ จึงได้ปฏิบตั หิ น้าทีด่ งั กล่าวอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ การจัดทำ� ตำ�ราเศรษฐศาสตร์ การจัดทำ�วารสารเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ การจัดทำ� เศรษฐสาร และการจัดสัมมนา ทางวิชาการ ไม่ว่าจะในรูปแบบของงานอภิปราย การเสวนา และการนำ � เสนอผลงานวิ จั ย ของ อาจารย์และนักศึกษา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน เศรษฐศาสตร์สู่สาธารณะ -5-


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

เพื่ อ ให้ อ งค์ ค วามรู้ ด้ า นเศรษฐศาสตร์ แพร่ ห ลายในวงกว้ า งยิ่ ง ขึ้ น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ จึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการ “เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา” เพื่อตีพิมพ์ผลงาน ทางวิชาการของอาจารย์และอดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถอดความการ สัมมนาครัง้ สำ�คัญของคณะ ออกมาในรูปแบบหนังสือ เล่ม และวางจำ�หน่ายตามร้านหนังสือทัว่ ไป โดยได้รบั ความร่วมมือจากสำ�นักพิมพ์ openbooks โครงการ “เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา” ประกอบด้วยการตีพิมพ์หนังสือ 3 ชุด ได้แก่ 1. ชุด เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ คลาสสิก (ECON TU Classics Series) เพือ่ ตีพมิ พ์ผลงานวิชาการด้าน เศรษฐศาสตร์ชิ้นสำ�คัญ การแสดงปาฐกถาพิเศษที่ คณะจัดขึน้ รวมทัง้ หนังสือทีร่ ะลึกเนือ่ งในวาระสำ�คัญ ของคณะ 2. ชุด เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ สัมมนา (ECON TU Seminar Series) เพือ่ ถอดความงานสัมมนาครัง้ สำ�คัญของคณะ 3. ชุด เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ วิชาการ (ECON TU Academics Series) เพือ่ ตีพมิ พ์บทความวิชาการ ด้านเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ -6-


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนั ง สื อ ช่ อ งว่ า งของความเข้ า ใจต่ อ ภาค เกษตรและชนบทไทย เป็นหนึ่งในชุด เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ สัมมนา (ECON TU Seminar Series) เนือ้ หา ของหนังสือมาจากการถอดความและเรียบเรียงงาน เสวนาวิชาการในหัวข้อ “ช่องว่างของความเข้าใจ ต่อภาคเกษตรและชนบทไทย” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 ในโอกาสการเกษียณอายุ ราชการของ รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์ โดยมี รศ. สุขุม อัตวาวุฒิชัย เป็นผู้ร่วมเสวนา และมี รศ. ดร. ปัทมาวดี ซูซูกิ เป็นผู้ดำ�เนินรายการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ขอขอบคุ ณ ผู้ ร่ ว มเสวนาทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ร่ ว ม แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจต่อภาคเกษตรและ ชนบทไทย ท่ า นผู้ ส นใจสามารถติ ด ตามข่ า วสาร เกี่ ย วกั บ การสั ม มนาทางวิ ช าการที่ จั ด ขึ้ น อย่ า ง ต่อเนื่องตลอดทั้งปีของคณะ รวมทั้งดาวน์โหลดไฟล์ เสียงของการสัมมนาในอดีตได้ที่ http://www.econ. tu.ac.th/seminar/ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-7-



ช่องว่างของความเข้าใจต่อ ภาคเกษตรและชนบทไทย


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

“…ผมคงเป็นเหมือนคนกรุงเทพฯธรรมดา ที่เข้าใจ ว่ากรุงเทพฯคือประเทศไทย เราวัดประเทศไทย จาก สิง่ ทีเ่ ราเห็น แต่จากประสบการณ์ เราบอกได้ประการ แรกเลยว่ากรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย…” รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย

- 10 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย ถ้าพูดถึงเรื่องชนบท ผมเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดใน กรุงเทพฯ โตในกรุงเทพฯ เรียนหนังสือในกรุงเทพฯ ก่อนจบปริญญาตรีแทบจะเรียกว่าไม่ได้ไปชนบทใน ลักษณะทีอ่ อกไปเรียนรูช้ นบทเลย ไปก็คอื ไปหมูบ่ า้ น เยาวชนบ้าง ไปกับเพือ่ น จริงๆ แล้วผมไม่ได้มคี วาม สนใจเรื่องชนบทมากนักถ้าว่ากันตรงๆ โดยภูมิหลัง ที่โตมาในกรุงเทพฯ แต่เมื่อผมเริ่มทำ�งาน ชนบทก็ เริ่มเข้ามาเกี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่ผมจะมา ธรรมศาสตร์นั้น ผมทำ�งานอยู่ที่กรมวิเทศสหการ1 กองเอไอดี ผมก็มีส่วนรับผิดชอบในโครงการเร่งรัด พัฒนาชนบท โครงการพัฒนาชุมชน หน่วยพัฒนา ในปี พ.ศ. 2547 กรมวิเทศสหการได้พัฒนามาเป็น สำ�นักความ ร่วมมือเพื่อการพ้ฒนาระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงการต่าง ประเทศ

1

- 11 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

เคลื่อนที่ของกรป.กลาง(กองอำ�นวยการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติ) งานที่กรมวิเทศฯ ทำ�ให้ผมต้อง ออกไปชนบทร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญของ USOM (United States Operations Mission) 2 ผมไม่ ไ ด้ ไ ปเอง หรอกครับ เวลามีผเู้ ชีย่ วชาญไปชนบท เราก็ตอ้ งเป็น ตัวแทนพาเขาไป ตรงนั้ น มี ส่ ว นที่ ทำ � ให้ ผ มได้ เ รี ย นรู้ โดย เฉพาะอย่างยิง่ เราไปติดตามงานของสำ�นักงานเร่งรัด พัฒนาชนบท3 ก็คือความช่วยเหลือของอเมริกาที่ ให้มานั้นในรูปของวัสดุอุปกรณ์ มีการใช้หรือเปล่า เช่น รถแทรกเตอร์ สำ�นักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทนั้น จริงๆ แล้วเกิดขึน้ เพือ่ ต่อสูก้ บั คอมมิวนิสต์โดยเฉพาะ ผมคิ ด ว่ า ทั ศ นะของรั ฐ บาลสมั ย นั้ น ก็ คื อ ว่ า การที่ จะเอาชนะคอมมิวนิสต์ได้ จะต้องเอาความเจริญทาง เศรษฐกิ จ เข้ า ไป แล้ ว ส่ ว นหนึ่ ง ก็ คื อ การตั ด ถนน เราจะเห็นว่ามีการตัดถนนมาก ในช่วงแรกๆ ของ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ เราก็ จ ะ เห็นว่าการตัดถนนนั้น เราไปทำ�ลายสิ่งแวดล้อมใน เรื่องพื้นที่ป่า องค์การบริหารเทศกิจแห่งสหรัฐ เป็นองค์กรของสหรัฐตัง้ ขึน้ เพือ่ บริหารงานช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคแก่ตา่ งประเทศ 3 สำ�นักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) หรือ กรมการเร่งรัดพัฒนา ชนบท เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 2

- 12 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ตรงนัน้ มีสว่ นทีท่ ำ�ให้ผมได้รบั รู้ เพราะต้องเดินทางไปไกล แต่กไ็ ปในลักษณะทีอ่ าจ จะเรียกว่าฉาบฉวยก็ได้ เพราะไม่ได้ไปอยูน่ าน ก็ไปดู ไปคุยกับเขานิดหน่อย ไปถ่ายรูป ดูว่าวัสดุอุปกรณ์มี การใช้ไหม จนผมต้องโอนมาอยู่ธรรมศาสตร์ จริงๆ แล้วไม่ได้คิดจะมาเป็นอาจารย์ แต่ได้ทุนไป เขาบอก ทุนให้กับธรรมศาสตร์ ก็ต้องมาที่ธรรมศาสตร์ มาที่ ธรรมศาสตร์ก็ยังไม่ได้สนใจชนบทมากเท่าไร เพราะ เราเป็ น คนเมื อ ง ผมคิ ด ว่ า ที่ จุ ด ประกายผมก็ คื อ เรื่ อ งของโครงการบั ณ ฑิ ต อาสาสมั ค ร ที่ อ าจารย์ ป๋ ว ยได้ ริ เ ริ่ ม เป็ น โครงทดลองอยู่ ที่ ค ณะนี้ และ อาจารย์ป๋วยก็ไม่เพียงแต่ให้นักศึกษาที่จบปริญญา ตรีไปเข้าใจชนบท แต่อยากให้อาจารย์ ซึ่งจริงๆ ไม่รู้ เรื่องชนบทด้วยกันได้ออกไปด้วย ก็คือเป็นอาจารย์ ที่ปรึกษา ถ้าเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาก็ต้องเดินทาง ไปนิเทศ ฉะนั้นผมคิดว่าอันนี้เป็นวิธีที่ดี ผมก็เป็น อาจารย์ที่นี่ ก็ต้องสนับสนุนงานคณะฯ ก็ไม่ใช่เพียง คณะเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ คณะต่างๆ ก็มาเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาด้วย งานในส่ ว นนี้ ทำ � ให้ ผ มได้ รู้ จั ก ชนบทมาก ขึ้น เพราะไม่ได้ไปฉาบฉวยแล้ว มันต้องไป แล้ว ก็ ไ ปพั ก ค้ า งในพื้ น ที่ ที่ บั ณ ฑิ ต อาสาสมั ค รอยู่ งาน จากตรงนั้นจึงมีส่วนที่ทำ�ให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น - 13 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

จนกระทั่งได้ไปทำ�รายการเวทีชาวบ้าน ตรงนี้ก็จะ เป็ น อี ก แบบหนึ่ ง ที่ จ ะไปเข้ า ใจชนบทในเรื่ อ งของ ภูมปิ ญ ั ญา เพราะส่วนใหญ่รายการนีก้ ค็ อื ไปถ่ายทอด ภูมิปัญญาของชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ โดย ผ่ า นสื่ อ ทางที วี อั น นั้ น ก็ เ ป็ น อี ก รู ป แบบหนึ่ ง ซึ่ ง ความจริ ง แล้ ว ตรงนั้ น ก็ มี ป ระโยชน์ เพราะว่ า เรา ไม่ ไ ด้ รู้ อ ะไรมาก เราก็ เ ข้ า ไปเรี ย นรู้ แต่ เ ราทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ดำ � เนิ น รายการเท่ า นั้ น เอง แล้ ว ก็ มี ที ม งานที่ เ ข้ ม แข็ ง มั น ก็ ทำ � งานไปได้ ต รงนั้ น ก็เป็นส่วนทีท่ �ำ ให้รบั รูอ้ ะไรมากขึน้ เพราะต้องเดินทาง ไปหลายๆ ที่ ตรงนั้นก็จะไม่ฉาบฉวยแล้ว เพราะมัน ต้ อ งศึ ก ษาข้ อ มู ล ในคณะทำ� งานจะมี ที ม งานที่ ไ ป ศึ ก ษาข้ อ มู ล ไปสั ม ภาษณ์ แล้ ว นำ � มาพิ จ ารณา ร่วมกัน อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ซึ่ ง ได้ มี โ อกาสเข้ า ไปเรี ย นรู้ ในชนบท ก็ คื อ วิ ช าพั ฒ นาชนบทไทย ของคณะ เศรษฐศาสตร์ แรกๆ นั้ น ก็ เ ป็ น ภาคภาษาไทย ระยะแรกนั้ น 9 หน่ ว ยกิ ต (บรรยาย 9 ชั่ ว โมง ต่ อ สั ป ดาห์ ) ฉะนั้ น คนที่ จ ะเรี ย นวิ ช านี้ จะเรี ย น วิ ช าอื่ น ไม่ ไ ด้ เ ลย เพราะต้ อ งไปอยู่ ใ นชนบท จึ ง มี คนเรียนไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นปีสี่ที่เก็บหน่วยกิต ครบแล้ ว ที ม งานตอนนั้ น ก็ จ ะมี อ าจารย์ ป ระยงค์ เนตยารักษ์ และอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เนื่องจาก - 14 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มี เ ด็ ก เข้ า มาเรี ย นน้ อ ย ก็ เ ลยเปลี่ ย นเป็ น 2 วิ ช า เป็น 1 วิชา เรียนในห้องเรียน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า วิชาพัฒนาชนบทไทย 1 และวิชาพัฒนาชนบทไทย 2 ก็คอื ไปอยูใ่ นชนบทในช่วงภาคฤดูรอ้ นหลังปิดเทอม ก็จะส่งไปในหลายๆ ภาค ต่อมาความสนใจของนักศึกษาเริ่มน้อยลง จึงสะท้อนการเปลีย่ นแปลงทางสังคม เพราะนักศึกษา เป็ น ผลผลิ ต ของสั ง คม ภาคภาษาไทยก็ จ ะมี ค น เรียนน้อยลงเรื่อยๆ จนมาในระยะหลังนั้น จำ�นวน นั ก ศึ ก ษาที่ อ ยากจะเรี ย นพั ฒ นาชนบทไทย 2 ในภาคภาษาไทยก็ มี ไ ม่ พ อ เช่ น อาจจะมี 3 คน ที่ อ ยากจะเรี ย น คื อ วิ ช าที่ เ ปิ ด ในภาคฤดู ร้ อ นจะ ต้องเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งงบประมาณ เพราะ ฉะนั้น 3 คนมันไม่คุ้ม จึงเปิดบ้าง ไม่เปิดบ้าง ซึ่ง ท่านคณบดีก็เข้าไปรับผิดชอบในบางปีที่มีนักศึกษา เพียงพอ แต่ว่าไม่ได้เปิดสมํ่าเสมอ เพราะจำ�นวน นั ก ศึ ก ษาไม่ ค งที่ แต่ โ ครงการเศรษฐศาสตร์ ภ าค ภาษาอังกฤษ (บี.อี.) ก็เริ่มเปิด ถ้าผมจำ�ไม่ผิด เปิด ตั้งแต่บี.อี.รุ่น 3 ก็เปิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อเนื่อง มาตลอด ระยะต่อมาไม่ใช่เฉพาะเด็กบี.อี.เท่านั้นที่มา เรียน จะมีเด็กนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาจากหลายๆ ประเทศ ส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย - 15 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

แรกๆ ก็ ถู ก บั ง คั บ ให้ ล งวิ ช านี้ ต่ อ มาผมจึ ง บอก อาจารย์ธเนศ เมฆจำ�เริญ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานของ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ธรรมศาสตร์ว่าไม่ควร บังคับ แต่ว่าแนะนำ�ได้ เพราะถ้าบังคับแล้วคณะฯ ไม่เปิดจะทำ�อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นการสั่งสมประสบการณ์และ ข้อสังเกตต่างๆ ถ้าไม่ใช่เพราะกิจกรรมเหล่านี้ ผมคง เป็นเหมือนคนกรุงเทพฯธรรมดา ทีเ่ ข้าใจว่ากรุงเทพฯ คือประเทศไทย เราวัดประเทศไทยจากสิ่งที่เราเห็น แต่จากประสบการณ์ เราบอกได้ประการแรกเลยว่า กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทย ถ้ากรุงเทพฯแสดงถึง ประเทศไทย ทุกแห่งก็น่าจะเหมือนกรุงเทพฯ แต่ ความแตกต่างที่มีค่อนข้างมาก ไม่เพียงแต่ชนบท เท่านัน้ กรุงเทพฯกับเชียงใหม่กย็ งั มีความต่างกันมาก ผมมีข้อสังเกตบางประการจากการที่ได้ไป เรียนรู้ในหลายๆ ภูมิภาค ประการแรกผมคิดว่าคน เราอาจจะคิดว่าชนบทไทยเหมือนหนึ่ง เราจะคิด แบบนั้นไม่ได้ เพราะชนบทไทยค่อนข้างแตกต่าง ไปตามภูมิภาค แม้แต่ในภาคเดียวกันก็แตกต่างกัน ในจังหวัดเดียวกัน ต่างอำ�เภอ ก็ยังต่างกัน แม้แต่ หมู่บ้านในตำ�บลเดียวกันก็ยังแตกต่างในเรื่องของ ลักษณะทางกายภาพ ฉะนั้นอันนี้เราต้องเข้าใจก่อน ว่า ถ้าเราพูดถึงชนบท จะพูดเหมือนหนึง่ ไม่ได้ เพราะ - 16 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มันมีความแตกต่างกันอยู่ เนื่องจากพูดเป็นหนึ่งไม่ได้ ผมคิดว่าตรงนี้ สำ�คัญ ปัญหาของชนบทอาจจะดูเสมือนว่าเหมือน กัน แต่กจ็ ะมีความแตกต่างกันในเรือ่ งขนาดของความ รุนแรงของปัญหา ทีม่ าของปัญหา ฯลฯ เป็นเรือ่ งทีเ่ รา น่าจะต้องตระหนัก เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะใช้นโยบายอย่าง หนึ่งกับชนบททั้งหมด ที่เขาบอกว่า “One size of shoes fits all” เป็นไปไม่ได้ ถ้าขืนใส่บางคนก็ใส่สบาย บางคนก็แน่น บางคนก็หลวม เพราะเท้าแต่ละคนไม่ เท่ากัน ประการที่ ส องนั้ น ถ้ า เราพู ด ถึ ง คนกรุ ง โดยเฉพาะ จะนึกภาพชนบทไม่ค่อยออก เราอาจจะ นึกว่าชนบทนั้นล้าหลัง ไม่ค่อยมีไฟฟ้าใช้ มีสภาพ ความเป็ น อยู่ อ ย่ า งลำ � บาก แต่ อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว มี ก าร เปลี่ยนแปลงในภาคชนบทเป็นอันมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา เพราะปีนั้น เป็นปีแรกที่มีแผนแม่บทพัฒนาชนบทไทย (แผน พัฒนาชนบทยากจน พ.ศ.2525-2529) และจาก อานิสงส์ของแผนอันนัน้ ในปัจจุบนั นี้ ผมไปทีใ่ ดก็ตาม ผมแทบจะไม่เห็นหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ในบางที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าที่พาดสาย ก็จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้จึงมีค่อนข้างน้อยอาจจะมีอยู่ ชายขอบ บนภูเขาทีเ่ ป็นหมูบ่ า้ นทีต่ ดิ ชายแดน ทำ�ให้ - 17 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

การคมนาคมลำ�บาก การที่ไฟฟ้าเข้าไปในทุกที่จึงส่งผลกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ในแง่ของการเข้าถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้ามีความสะดวก และแพร่หลายมากขึ้น ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าชนบทนั้น มีหลายๆ สิ่งที่ไม่ขาดแคลน แม้แต่นํ้าดื่ม ในปัจจุบันนี้ผมไป ชนบทก็จะดื่มนํ้าฝน ผมคิดว่าอานิสงส์มาจากแผน พัฒนาฯในสมัยก่อน เพราะแต่ละครอบครัวจะมีตุ่ม ที่ไว้บรรจุนํ้าฝน แต่สิ่งที่เกษตรกรในชนบทส่วนมาก ขาดแคลน คือนํ้าเพื่อการเกษตร เพราะพื้นที่จำ�นวน มากที่เป็นพื้นที่เกษตรนํ้าฝน แต่นํ้าเพื่อการบริโภค ไม่ค่อยมีปัญหา กรณี ข องถนนหนทางก็ มี เ รื่ อ งที่ น่ า สนใจ อยู่ ไ ม่ น้ อ ย ผมคิ ด ว่ า หลายคนที่ เ คยไปหมู่ บ้ า นใน ชนบทไทย ถ้ า เราวั ด ความเจริ ญ ของหมู่ บ้ า นใน ชนบทด้วยถนน ผมคิดว่าประเทศไทยไม่แพ้ประเทศ ใดในโลก เพราะในหมู่ บ้ า นของชนบทไทยนั้ น ถนนจะเป็นถนนคอนกรีต น่าสนใจว่าทำ�ไมถึงเป็น ถนนคอนกรี ต อาจเป็ น เพราะสมั ย ก่ อ น ส.ส. มี งบประมาณที่นำ �ไปใช้พัฒนาเขตพื้นที่ของตนเอง ผมคิดว่าสิง่ ทีส่ .ส.สนใจมากทีส่ ดุ คือเรือ่ งการก่อสร้าง ไม่ว่าชาวบ้านจะต้องการถนนหรือไม่ต้องการ เราก็ - 18 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เข้าใจว่าทำ�ไมนักการเมืองระดับชาติถงึ ต้องการสร้าง ถนน เพราะนักการเมืองเหล่านี้มีธุรกิจก่อสร้าง และ คุณสมบัติของถนนก็คงไม่ได้มาตรฐาน เพราะการ ควบคุมค่อนข้างห่างไกล อย่างไรก็ตามถ้าเรามอง ตรงนั้น เราก็คิดว่าดี ถ้ า ถามว่ า ชาวบ้ า นต้ อ งการถนนไหม ชาวบ้านก็ตอ้ งบอกว่าต้องการ แต่ถา้ โครงการตัดถนน ใช้เงินล้านกว่าบาท ซึ่งล้านกว่าบาทสามารถนำ�ไป ทำ�กิจกรรมอืน่ ในหมูบ่ า้ นได้ สมมติวา่ เราให้ขอ้ มูลแก่ ชาวบ้ า นแบบนั้ น ก็ เ ป็ น ไปได้ ว่ า ชาวบ้ า นอาจจะ ไม่เอาถนน เพราะจริงๆ แล้ว หลายปีย้อนหลังไป ในหมู่บ้านไม่ได้มีรถ จะมีก็แต่รถจักรยานยนต์ แต่ ปัจจุบันก็เริ่มมีมากขึ้น ต่อมาก็คือประเด็นของคนที่คิดว่าคนชนบท มีการศึกษาน้อย เราก็มกั จะมองด้วยสายตาทีล่ �ำ เอียง ว่าชาวบ้านมีการศึกษาน้อย มีความสามารถน้อย แต่ ก ารศึ ก ษาน้ อ ยเป็ น จริ ง สำ � หรั บ คนรุ่ น ก่ อ น คน รุ่นก่อนส่วนใหญ่จะไม่จบป.4 ถึงจบป.4 ความรู้ใน การอ่ า นและเขี ย น ก็ จ ะค่ อ ยๆ มลายไปเมื่ อ อายุ มากขึน้ เพราะไม่ได้น�ำ ไปใช้ประโยชน์ แต่ถา้ เราพูดถึง คนรุ่นหลัง ระดับการศึกษาอย่างน้อย 9 ปี เพราะเรา มีการศึกษาภาคบังคับ ฉะนั้นคนรุ่นใหม่จึงมีความรู้ มากกว่าคนรุน่ ก่อน โดยลักษณะของการเปลีย่ นแปลง - 19 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ทางการเมือง แต่ประเด็นนี้ไม่ได้บอกว่านักเรียนใน ชนบทที่ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาภาคบั ง คั บ จะมี โ อกาส ความเท่ า เที ย มทางการศึ ก ษาเหมื อ นนั ก เรี ย นใน เมือง เพราะจริงอยู่ว่ามีการศึกษาภาคบังคับ แต่ใน ชนบทนั้ น ถ้ า เด็ ก จะเรี ย นหนั ง สื อ ถึ ง ระดั บ มั ธ ยม ส่วนใหญ่แล้วต้องไปเรียนนอกหมูบ่ า้ น จึงมีคา่ ใช้จา่ ย ในการเดินทาง การกินอาหารนอกบ้าน เข้ามารวม อยู่ด้วย คนจนจึงมีโอกาสน้อย จึงเกิดช่องว่างโอกาส ทางการศึ ก ษาอยู่ ม าก นอกจากนั้ น แล้ ว ยั ง มี ความแตกต่างทางด้านคุณภาพของโรงเรียนระหว่าง ชนบทและเขตเมื อ ง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในเขต กรุงเทพฯ ก็จะแตกต่างราวฟ้ากับดินก็ว่าได้ อีกประเด็นหนึ่ง เวลาเราพูดถึงคนชนบท เรามักจะคิดว่าเขาจน คำ �ว่ายากจนมีพื้นฐานทาง ความคิดไม่เท่ากัน ความยากจนในเมืองกับความ ยากจนในชนบทก็มีลักษณะไม่เหมือนกัน การที่ผม บอกว่าชนบทไม่ได้มีลักษณะเป็นหนึ่งก็คือ ผมยัง ไม่ เ คยเจอหมู่ บ้ า นใดที่ จ นหมดทั้ ง หมู่ บ้ า น แต่ ถ้ า เราดูตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 จะมีการแบ่งตัวชี้วัด ว่าจังหวัด อำ�เภอ หมู่บ้านใด ยากจน แต่ ต รงนั้ น ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า ทุ ก คนใน จังหวัด ในหมู่บ้านยากจน เพราะจะมีทั้งคนที่ฐานะ ยากจน ฐานะปานกลาง ฐานะดี ซึ่งคนจนจะเป็น - 20 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คนส่วนน้อย เราจึงไม่ควรมองว่าคนชนบทยากจน ทั้งหมด ความยากจนทางเศรษฐกิจจึงนำ�ไปสู่อีก ประเด็นหนึ่ง ก็คือ ในเมืองเราสามารถวัดฐานะของ คนได้ค่อนข้างง่ายว่าจนหรือรวย เพราะแหล่งรายได้ มักจะมาจากแหล่งเดียว เช่น เงินเดือน หรือเงิน จากการประกอบธุรกิจการค้า เป็นต้น แต่ในชนบท ไม่ได้เป็นแบบนั้น ผมคิดว่ารายได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ที่สุด ใครที่จะศึกษารายได้ของคนชนบท จึงควร ตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่ควรดูเฉพาะรายได้ที่เป็น ตัวเงิน แต่เราควรดูรายได้ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ซึง่ เราพูดถึงรายได้ที่แท้จริง เพราะที่มาของรายได้ของ คนชนบทจะมีหลากหลายกว่า คนชนบทมีป่า ป่าจึงเสมือนซูเปอร์มาร์เกต ที่สามารถนำ�ของออกมาได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ไม่ว่า จะเก็บของป่า เก็บเห็ด เป็นต้น แต่ปัจจุบันป่าได้ ร่อยหรอลงไปมากแล้ว อย่างไรก็ตาม ตรงนี้ก็ยังมี ความสำ�คัญอยู่ ที่เขาเรียกว่า Income in kind เป็น รายได้ในรูปสิ่งของซึ่งยังมีความสำ�คัญมากสำ�หรับ คนชนบท ในขณะที่ในเมืองไม่มี อีกสิ่งหนึ่งที่สำ�คัญก็คือรายได้จากแหล่งอื่น ซึ่งได้จากเงินที่ส่งมาจากลูกหลาน หรือญาติที่ไป ทำ�งานต่างท้องถิ่น เช่น ไปทำ�งานต่างประเทศ หรือ ในกรุ ง เทพฯ ฉะนั้ น เวลาเราพู ด ถึ ง รายได้ ข องคน - 21 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ชนบท ผมจึงคิดว่าอย่างน้อยมีสามแหล่งใหญ่ๆ หนึง่ รายได้จากอาชีพประจำ� สอง รายได้จากอาชีพรอง และสาม รายได้จากอาชีพอืน่ ๆ แต่ในเมืองเรามักไม่มี แหล่งที่มาของรายได้มากเท่าไร ฉะนั้นจึงตั้งเป็นข้อ สังเกตไว้ เวลาพูดถึงรายได้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ มันมีความแตกต่างกัน อีกส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าคนยังคิดอยู่ คือคน มั ก คิ ด ว่ า ระบบครอบครั ว ในชนบทเป็ น ครอบครั ว ขยาย คื อ อยู่ ร วมกั น แต่ ก ารศึ ก ษาหลายๆ แห่ ง รวมทั้งประสบการณ์ของผมเอง พบว่าในปัจจุบัน ครอบครัวในชนบทส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวเดี่ยว เราเคยเข้าใจว่าครอบครัวในชนบทจะเป็นครอบครัว ขยาย แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว ขณะเดียวกันเมื่อพูดถึง ครอบครัวนั้น ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันสามารถที่จะกล่าว รวมได้ ไ หม เพราะครอบครั ว ในชนบทมี ไ ม่ น้ อ ยที่ ประกอบด้วยคนสูงอายุ และเด็กที่พ่อแม่ไปทำ�งาน นอกท้องถิ่น ครอบครัวเหล่านี้จะต้องอาศัยรายได้ที่ ส่งมาจากลูกหลานเท่านั้น ถัดมาจะเป็นประเด็นทางสังคม คือความ เป็นชุมชนยังมีอยูม่ ากในชนบทไทย ความเป็นชุมชน หมายถึงการที่คนยังคิดถึงส่วนรวม แต่ชุมชนจะล่ม สลายถ้าความเป็นเมืองเข้ามามากเกินไป ยกตัวอย่าง เช่น ชุมชนชนบทที่กลายมาเป็นเทศบาลตำ�บล แล้ว - 22 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลายเป็นเทศบาลเมือง จิตวิญญาณของความเป็น ชุมชน การเอาใจใส่คนอื่นจะค่อยๆ ลดลง ทุกอย่างก็ จะไปพึ่งรัฐบาลท้องถิ่นให้เป็นคนจัดการให้ ลักษณะดังกล่าวนำ�ไปสูอ่ กี ลักษณะหนึง่ ก็คอื ในชนบทจะไม่มีเรื่องของความเป็นส่วนตัว ซึ่งคน เมืองจะถือเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งสำ�คัญมาก ผมส่งนักศึกษา ไปในหลายๆ แห่ง ช่วงแรกๆ นักศึกษาจะรู้สึกอึดอัด มาก เพราะรู้สึกเหมือนถูกลิดรอนสิทธิส่วนบุคคล เช่น เขาก็จะมาดูของของเราโดยไม่ได้ขออนุญาต ผม จึงอธิบายแก่นักศึกษาว่าชุมชนในชนบทเขาก็เป็น อย่างนี้ ไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี แต่เขาจะถือเสมือนของ ของเขาก็คอื ของของเรา ของของเราก็เหมือนของของ เขา ฉะนัน้ เป็นเรือ่ งธรรมดามากถ้ามีจดหมายแฟนมา ถึงแล้วเขาจะเปิดอ่านก่อน แต่ถ้าเราเอาค่านิยมของ เมืองไปจับ เรือ่ งนีจ้ ะร้ายแรงมาก เพราะเป็นเรือ่ งของ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลขั้นรุนแรง เรื่ อ งนี้ จึ ง แปลกมาก เพราะเคยทำ � ให้ นักศึกษาแลกเปลีย่ นรุน่ หนึง่ อยูไ่ ม่ได้ เพราะชาวบ้าน มั ก จะชื่ น ชอบฝรั่ ง ผิ ว ขาว แม่ ใ หญ่ ทั้ ง หลายก็ จ ะ ชอบมาคุย มาจับตัว มีอยู่รุ่นหนึ่งถูกส่งไปจังหวัด อำ�นาจเจริญ เป็นนักศึกษาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ผมได้บอกเขาตั้งแต่แรกแล้วว่าเวลาไปอยู่ในชนบท จะไม่มีความเป็นส่วนตัว แต่เขาบอกว่าตอนเย็นเขา - 23 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ต้องการอยู่คนเดียว แต่อยู่ไม่ได้ เพราะเขาต้องไป อาศัยอยู่กับชาวบ้าน ตกเย็นแม่ใหญ่ก็มาลูบตัวเขา เขาบอกเหมือนยายเขาที่เยอรมัน ซึ่งเขาสารภาพ ตามตรงว่าไม่ชอบ เขาคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ สำ�หรับเขา ดังนั้นอยู่ได้แค่อาทิตย์เดียวจึงกลับ จริ ง อยู่ ว่ า ปั จ จุ บั น นี้ การแพร่ ข ยายของ เทคโนโลยีดา้ นข้อมูลข่าวสารและโทรคมนาคม น่าจะ ทำ�ให้ชาวชนบทได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น แต่ผม คิดว่าการรับข้อมูลข่าวสาร เพือ่ ประโยชน์ในเรือ่ งอืน่ ๆ นอกเหนือจากความบันเทิงมันมีนอ้ ย เวลาดูโทรทัศน์ ส่วนใหญ่ก็จะดูรายการบันเทิง ถึงแม้จะมีเทคโนโลยี แพร่กระจายเข้ามา แต่วา่ การใช้เทคโนโลยีเป็นไปเพือ่ ประโยชน์ที่ค่อนข้างจำ�กัด ผมจึงคิดว่ามันมีผลไปถึง เรือ่ งอืน่ ๆ มาก เช่น ความเข้าใจโลกภายนอก ความ มีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับจังหวัด หรือระดับ ประเทศจะมีไม่มาก ช่องว่างของความเข้าใจระหว่าง ชนบทกับเมืองในส่วนนี้จึงยังมีอยู่ ขณะเดียวกัน การขยายทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งทำ�ให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือใช้ จึงมีคนกล่าวว่า การแพร่กระจายของโทรศัพท์มอื ถือ เป็นการสร้างภาระให้แก่คนชนบท แต่ผมมองต่าง ไปจากนั้น เพราะว่าก่อนที่มือถือจะเข้าไป ช่องทาง ที่คนชนบทอาศัยติดต่อกับลูกหลานที่ออกไปทำ�งาน - 24 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่กรุงเทพฯจะมีน้อยมาก สมัยก่อนจะมีตู้โทรศัพท์ ซึ่งบางครั้งใช้งานไม่ได้ จึงไม่ค่อยมีความสะดวก ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องฟุ่มเฟือย อาจจะมีบ้าง ที่ เ ป็ น เด็ ก วั ย รุ่ น แต่ ผ มคิ ด ว่ า โดยส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว โทรศัพท์มอื ถือเป็นประโยชน์ตอ่ เขามาก โดยเฉพาะ อย่างยิง่ เวลาทีเ่ ขาจะติดต่อกับลูกหลานทีอ่ ยูห่ า่ งไกล นอกจากนี้ผมขอตั้งข้อสังเกตอีกสองอย่าง เกี่ยวกับภาคเกษตร คือ หนึ่ง เราควรตระหนักว่า ภาคเกษตรของไทยไม่เหมือนภาคเกษตรในซีกโลก ตะวันตก เพราะภาคเกษตรของเราประกอบด้วย เกษตรกรรายย่อยจำ�นวนมาก เกษตรกรรายใหญ่มี จำ�นวนน้อย การเป็นเกษตรกรรายย่อยจึงส่งผลต่อ เรื่องอื่น เช่น เรื่องการใช้เครื่องจักร เพราะหากใช้ เครือ่ งจักรในพืน้ ทีเ่ ล็กๆ ก็อาจจะไม่คมุ้ สอง เรามักจะ เข้าใจว่าเกษตรกรรายย่อยมีรายได้ตํ่า เพราะมีความ ผันผวนของผลผลิต คนเรียนเศรษฐศาสตร์กจ็ ะเข้าใจ ว่าปีใดมีข่าวดีสำ�หรับภาคเกษตร ก็จะเป็นข่าวร้าย สำ � หรั บ เกษตรกร แต่ ถ้ า เป็ น ข่ า วร้ า ยสำ � หรั บ ภาค เกษตร จะเป็นข่าวดีส�ำ หรับเกษตรกร เช่น ปีไหนที่ ผลผลิตภาคเกษตรออกมาก ถือว่าเป็นข่าวดีสำ�หรับ ผูบ้ ริโภค แต่ในขณะเดียวกัน ราคาผลผลิตก็อาจจะตํา่ เป็นข่าวร้ายของเกษตรกรเป็นต้น - 25 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ดังนั้นเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังต้องอาศัย เทวดา เพราะไม่มีเขตชลประทาน ส่วนภาคเหนือ ตอนล่าง และภาคกลางก็อาจจะได้ประโยชน์บา้ งจาก เขตชลประทาน ชลประทานยังครอบคลุมพื้นที่น้อย พื้ น ที่ เ กษตรของไทยส่ ว นใหญ่ ยั ง เป็ น เขตเกษตร นํ้าฝนอยู่ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งน่าแปลกใจก็คือ แต่ก่อนภาค เกษตรของเรามักจะเป็นการเกษตรที่ปลูกพืชหลาย ชนิด และไม่ค่อยใช้สารเคมี แต่เมื่อเกษตรกรถูก ชักจูงเข้าสู่การเกษตรเพื่อการค้า จึงถูกแทนที่ด้วย การเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความ จำ�เป็นที่ต้องใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง จึงมีผลกระทบต่อ รายจ่ายในการผลิต การดูแลรักษา แม้ว่ารายได้อาจ จะเพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นด้วย เกษตรกรจึงเริ่ม พบว่า การทำ�เกษตรโดยใช้สารเคมีไม่คุ้ม จึงมีการ เปลี่ยนมาเป็นการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี หรือที่ เรียกว่า Organic Farming (เกษตรอินทรีย์) แต่ก็ยัง มีจำ�นวนน้อยอยู่ นอกจากนี้แล้ว เกษตรกรรายย่อยของไทย มีผลิตภาพ (productivity)4 ตํ่ามาก ถ้าเทียบผลผลิต ต่ อ ไร่ กั บ ประเทศในแถบเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ เนื่ อ งจากปุ๋ ย มี ร าคาแพง เกษตรกรจึ ง ใช้ ปุ๋ ย น้ อ ย อัตราส่วนระหว่างผลผลิต (output) ต่อปัจจัยการผลิต (input) หากอัตรานี้มีค่ามาก แสดงถึงประสิทธิภาพในการผลิตที่มาก

4

- 26 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่ถึงกระนั้นยังมีข้อเท็จจริงที่ฟังดูแล้วน่าจะขัดแย้ง กันมากๆ ก็คอื คนมองว่าเกษตรกรรายย่อยของไทย มีรายได้น้อย แต่สามารถปลูกข้าวเลี้ยงคน 63 ล้าน คนได้ นับรวมนักท่องเที่ยวอีกปีละเกือบ 10 ล้านคน เรายั ง เหลื อ ข้ า วส่ ง ออกอี ก ปี ล ะเกื อ บ 10 ล้ า นตั น ทำ � ให้ ป ระเทศไทยเป็ น ผู้ ส่ ง ออกข้ า วรายใหญ่ ที่ สุ ด ในโลกจนถึงปัจจุบัน แต่ในอนาคตอาจจะถูกแทนที่ ด้วยประเทศเวียดนาม ประเทศไทยถูกจัดอยูอ่ นั ดับที่ 5 ของประเทศ ทีส่ ง่ ออกอาหารมากทีส่ ดุ ในโลก ขณะทีเ่ กษตรกรไทย ถูกมองว่ายากจน มีการศึกษาน้อย แต่ประเทศไทย กลับเป็นประเทศเดียวในไม่กี่ประเทศในโลกที่พึ่ง ตนเองได้ในด้านอาหาร เวลาเกิดวิกฤติเราจึงไม่ค่อย เดือดร้อนเท่าไรนัก เพราะเราจะไม่มีปัญหาเรื่องของ อาหารการกิน ปัญหาทีเ่ ราเผชิญในขณะนีก้ ค็ อื ปัญหา ด้านพลังงาน มีคนกล่าวกันว่าอีกหนึง่ ถึงสองทศวรรษ หน้า ปัญหาทีย่ งิ่ ใหญ่กว่าก็คอื วิกฤตการณ์ดา้ นอาหาร ไม่ใช่วกิ ฤตการณ์ดา้ นพลังงาน ขณะทีม่ หี ลายประเทศ ในโลกที่ไม่สามารถพึ่งตนเองในด้านอาหารได้ ผม จึงคิดว่าเป็นข้อสังเกตที่เราจะภูมิใจหรือไม่ภูมิใจก็ แล้วแต่

- 27 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

“…เมื่อเราเอาเศรษฐศาสตร์เข้าไปจับ เรามักจะละเลยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มี ผลกระทบต่อการตัดสินใจของเกษตรกรมาก…” รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์

- 28 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์ ก่อนอื่นผมขอชี้แจงเรื่อง 9 หน่วยกิต เนื่องจากผม เป็นคนตั้งหลักสูตร ความเข้าใจในปัจจุบันจึงคลาด เคลื่อนไปค่อนข้างมาก ตอนที่ อ าจารย์ ป๋ ว ยได้ ทำ� โครงการพั ฒ นา ชนบท มี ม หาวิ ท ยาลั ย ร่ ว มอยู่ ก็ คื อ ธรรมศาสตร์ มหิดล และเกษตร โครงการนี้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Integrated Rural Development หรือการพัฒนา ชนบทแบบผสมผสาน เราจึงคิดว่าน่าจะมีการทดลอง ปฏิบตั กิ ารพัฒนาแบบผสมผสาน จึงเลือกพืน้ ทีข่ นึ้ มา 6 แห่งเพื่อมาทดลอง เนือ่ งจากตอนนัน้ มีการผสมผสานโดยนำ�เอา ทั้งสังคมศาสตร์ เกษตร สาธารณสุข และอะไรต่างๆ - 29 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

อีกมาก มาผสมผสานแล้วทำ�การทดลอง จึงต้องมี ผู้แทนของ 3 มหาวิทยาลัยในสถานที่ทั้ง 6 แห่งที่จะ ไปทำ�งานร่วมกันในลักษณะผสมผสานในพื้นที่ ใน แต่ละหน่วยทดลองจะมีอาจารย์หนึง่ คน และนักศึกษา จากทั้ง 3 มหาวิทยาลัย รวมเป็น 4 คน ไปเรียนรู้ ร่วมกัน ฉะนั้นการที่จะให้นักศึกษาไปอยู่จึงต้องมี หน่วยกิตให้ การไปอยู่เพียงชั่วคราวไม่เพียงพอ จึง ต้องไปเป็นเทอม หน่วยกิตที่กำ�หนดในตอนแรกก็ คือ 9 หน่วยกิต วิชานี้จึงมีเปิดในทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ประเด็นก็คอื มันคุม้ ทีจ่ ะนับเป็นการเรียนการสอนหรือ ไม่ เรามองว่าในหนึง่ หน่วยทดลอง มีอาจารย์อยูห่ นึง่ คนคอยให้คำ�แนะนำ� และนักศึกษาที่เรียนรู้ร่วมกัน อีก 3 คน นอกจากนีย้ งั มีนกั วิจยั จาก 3 มหาวิทยาลัย เข้าไปเป็นครั้งคราวอีกจำ�นวนหนึ่ง จึงมองว่าการ เรียนรู้ 9 หน่วยกิตในลักษณะแบบนี้จึงเพียงพอที่จะ เป็นหลักสูตร พอที่จะให้หน่วยกิตได้ เข้าใจว่าตอนหลังมีการเปลี่ยนมาเป็นการ เข้าไปเก็บข้อมูล หรืออะไรทำ�นองนี้ ซึง่ ต่างไปจากเดิม สิน้ เชิงทีม่ กี ารเรียนการสอนในหมูบ่ า้ น โดยมีอาจารย์ และนั ก วิ จั ย ร่ ว มอยู่ ด้ ว ย หลั ก สู ต รในปั จ จุ บั น จึ ง ไม่ได้มีของเก่าหลงเหลืออยู่ ผมคิดว่า หลักสูตรนี้ ตายไปตัง้ แต่ตอนโครงการแม่กลอง1แล้ว แต่เนือ่ งจาก ยังเปิดเป็นหลักสูตร คณะจึงยังคงไว้ - 30 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนือ่ งจากผมจะเกษียณ ผมจะขอพูดในฐานะ ทีผ่ มเป็นเกษตรกร ไม่ใช่นกั วิชาการ ซึง่ หลายท่านยัง ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วผมเป็นเกษตรกร มีเพียงอาจารย์ ป๋วยเท่านั้นที่ทราบ เพราะตอนเป็นนักศึกษา ผม เป็นนักศึกษายากจน ผมจึงต้องเขียนประวัติเล่าให้ อาจารย์ป๋วยฟังว่าผมมีประวัติความเป็นมาอย่างไร จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ ท่ า นชั ก ชวนผมทำ � โครงการ แม่กลอง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคชนบท การที่ ผ มเป็ น เกษตรกรแล้ ว ผมนำ � วิ ช า เศรษฐศาสตร์ หรื อ ฟั ง คนที่ พู ด เกี่ ย วกั บ การเอา วิชาการเข้าไปจับ ผมมีความรู้สึกว่ายังมีความเข้าใจ ผิดกันอยู่ ผมจะไม่กล่าวถึงงานวิจัย เพราะมีการ พูดถึงกันมากแล้ว สิ่งที่ผมจะกล่าวอาจจะเป็นเรื่อง ส่วนตัว แต่อาจจะสอดแทรกคำ�ตอบอยู่ในนั้น ประสบการณ์ของผมในฐานะทีเ่ ป็นเกษตรกร คือช่วงที่เกิดจนถึงอายุ 17 ปี ก่อนที่จะเข้าเรียน มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2505 ช่วงนั้นที่บ้านทำ�การ เกษตรทัง้ ครอบครัว ก็มกั จะได้ยนิ ว่าลูกหลานทิง้ ไร่นา ทิ้งภาคเกษตร ซึ่งผมก็เข้าใจดี เพราะผมก็เป็นคน โครงการพั ฒ นาชนบทสมบู ร ณ์ แ บบระหว่ า งมหาวิ ท ยาลั ย ลุ่ มแม่ นํ้ า แม่ กลอง โครงการนี้ ริ เ ริ่ มโดย ดร. ป๋ ว ย อึ๊ ง ภากรณ์ ผู้เข้ามารับตำ�แหน่ง คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2507

1

- 31 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

หนึ่งที่ทิ้งภาคเกษตรมา ความจริงแล้วไม่ใช่ผมคน เดียวทีท่ งิ้ ทางบ้านก็อพยพหนีกนั มาหมด เพราะทน เรือ่ งการเป็นหนีไ้ ม่ไหว จึงขายทรัพย์สนิ ทุกอย่างเพือ่ ใช้หนี้ และออกมาจากภาคเกษตร เวลานีผ้ มคิดว่าผมคิดถูกทีค่ รอบครัวผมออก จากภาคเกษตร เวลาที่พูดว่าลูกหลานเกษตรกรไม่ ยอมทำ�การเกษตร ผมคิดว่าผมเข้าใจได้และคิดว่า เขาก็คิดถูกแล้ว แต่ผมกลับคิดว่าเป็นข้อดีของการ พัฒนาการเกษตร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันภาคเกษตรมีความ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผมมักจะหงุดหงิดเสมอ เวลามี ค นอยากให้ ภ าคเกษตรกลั บ ไปเป็ น เหมื อ น เดิม เพราะผมรู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง ในพื้นที่บ้านเกิดของผม ที่อำ�เภอบ้านแพ้ว จังหวัด สมุ ท รสาคร เท่ า ที่ ผ มจำ� ความได้ ตอนผมเกิ ด ยั ง เป็ น ที่ น าอยู่ หลั ง จากนั้ น ก็ เ ริ่ ม มี ก ารบุ ก เบิ ก เป็ น สวน ปลูกผักหลายๆ ชนิด และเนื่องจากไม่มีถนน จึ ง ใช้ ก ารสั ญ จรทางนํ้ า ผั ก ที่ เ ก็ บ ได้ จ ะส่ ง มาทาง คลองดำ�เนินสะดวก ข้ามแม่นํ้าท่าจีน และเข้าคลอง ภาษีเจริญ เพื่อขายที่ปากคลองตลาด อีกส่วนหนึ่ง จะขายที่บางแค นั่นคือสภาพสมัยนั้น เมื่อปลูกผักได้ สักระยะหนึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลง มาเป็นการปลูกไม้ ผล เช่น กล้วย พุทรา เป็นต้น เวลานี้ผมกลับไปอีกที - 32 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลายเป็นมะพร้าวนํ้าหอม ฝรั่ง กลายเป็นกุ้งกุลาดำ� กุง้ ขาว เลีย้ งปลาสลิด จะเห็นว่าเดีย๋ วนีเ้ ปลีย่ นไปค่อน ข้างมาก แม่นาํ้ ลำ�คลองตืน้ เขิน ไม่มกี ารใช้การ ใช้การ สัญจรทางถนนแทน ผมต้ อ งการจะสื่ อ ว่ า อาชี พ ในแต่ ล ะพื้ น ที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงไม่ เ ท่ า กั น นอกจากนี้ ยั ง มี ก าร เปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นํ้าที่เคยท่วม ก็กลายเป็นแห้งแล้ง นํ้าสกปรก ประเด็นที่น่าสนใจในการที่จะพัฒนาภาค เกษตร คือเรือ่ งของความหลากหลาย ความแตกต่าง ทางด้านกายภาพ และด้านอาชีพ ช่วงหลังที่ผมเข้าไป ผมไปเจอบริษัทหนึ่ง ทำ� Packaging แล้วส่งออก ทั้งๆ ที่อยู่ในอำ�เภอที่ ห่างไกล ซึ่งผมคิดว่าช่วยในการพัฒนาค่อนข้างมาก เช่น มีการส่งออกกล้วยหอมทองของบ้านลาด2 มีการ ส่งดอกไม้จากปากช่องไปญี่ปุ่น ซึ่ง Packaging จะ คล้ายๆ กัน ช่วงทีท่ �ำ การเกษตรในเวลานัน้ เวลาจะปลูก อะไร ดูแลอย่างไร ชาวบ้านจะอาศัยการสอบถามจาก เกษตรกรด้วยกัน ปฏิบตั ติ ามๆ กัน มีตวั อย่างให้เห็น สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำ�กัด อำ�เภอบ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี มีความร่วมมือกับชุมชนสหกรณ์ผู้บริโภค ชูโตเคน ของ ญี่ปุ่น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.banlat-coop.com/ 2

- 33 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ว่าใช้ได้ผลจริง ไม่ได้มีการพึ่งพาเจ้าหน้าที่ราชการ มากนัก แม้เวลานี้ที่ผมมีสวนปาล์มอยู่ 48 ไร่ ผมก็ ไม่เคยคิดถึงเจ้าหน้าที่ราชการ เพราะการไปถาม เกษตรอำ�เภอ จะมีการแนะนำ� แต่ไม่มตี วั อย่างให้เห็น ว่าใช้ได้จริงหรือเปล่า ผมจำ � ได้ ว่ า ในสมั ย นั้ น แรงงานรั บ จ้ า งมี จำ�นวนมาก ค่าจ้างถูก ฉะนั้นส่วนใหญ่จึงเป็นการ อาศัยแรงงาน แต่เวลานี้ที่ผมทำ�สวนปาล์มอยู่ การ จ้างแรงงานค่อนข้างทำ�ได้ยาก เพราะมีจำ�นวนน้อย และมีต้นทุนสูง ขณะที่การฉีดยาฆ่าแมลงใช้ต้นทุน ค่อนข้างตํ่า เช่น การใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ละครั้ง มี ค่าใช้จา่ ยประมาณ 30,000 บาท อยูไ่ ด้ 3 เดือน ขณะ ที่การฉีดยาฆ่าแมลงมีค่าใช้จ่ายเพียงไม่ถึง 10,000 บาท อยูไ่ ด้ 6 เดือน จึงมีความแตกต่างกันพอสมควร โดยสรุปก็คือ หนึ่ง ลูกหลานเกษตรกรไม่ ทำ�การเกษตรแล้ว สอง การเกษตรอ่อนไหวต่อสิ่ง แวดล้อมสูงมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมี การเปลีย่ นแปลงไปมาก แต่เมือ่ เราเอาเศรษฐศาสตร์ เข้าไปจับ เรามักจะละเลยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มี ผลกระทบต่อการตัดสินใจของเกษตรกรมาก ผมเป็นเกษตรกรสวนปาล์ม 48 ไร่ ที่มีอายุ 3 ปีเศษ เหตุที่ต้องมาเป็นเกษตรกรใหม่ ทั้งๆ ที่เคย ออกจากภาคเกษตรมาแล้ว เนื่องจาก ผมผูกพัน - 34 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กั บ ภาคเกษตร และเพราะถู ก บั ง คั บ ให้ ซื้ อ ที่ น า ที่ อำ � เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ชุ ม พร ซึ่ ง เป็ น บ้ า นเกิ ด ภรรยาผม พ่อแม่ภรรยาผมมีอาชีพทำ�นา แต่ลกู หลาน ไม่มีใครทำ�นา ที่นาจึงถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า ที่ สำ�คัญก็คือที่นาเกือบ 20 ไร่ เมื่อแบ่งแล้วจะเหลือ คนละ 2 ไร่เศษ เนื่องจากพื้นที่ที่เล็กเกินไป และเป็น เพราะไม่มคี นทำ�การเกษตร จึงมีคนทีต่ อ้ งการจะขาย ในราคาถูก ในที่สุดผมก็ซื้อ รวมของญาติๆ บริเวณ ใกล้เคียงเข้าไปด้วย จากแปลงเล็กจึงกลายเป็นแปลง ใหญ่รวม 40 กว่าไร่ ซึ่งมีอยู่ส่วนหนึ่งติดถนน นี่ก็ เป็นการรวมที่ดินวิธีหนึ่ง อีกวิธีหนึ่งอาจจะเป็นการ รวมในรูปของสหกรณ์หรือเป็นเจ้าของร่วมกันแล้วมี คนบริหารจัดการต่างหาก ผมคิดว่าการทำ�เกษตรที่ดินแปลงใหญ่ใน ลักษณะก้าวหน้ามีความจำ�เป็น โดยเฉพาะในการ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ขณะที่ที่ดินแปลงเล็กๆ จะ บริหารจัดการยากกว่า ฉะนั้นการที่ลูกหลานไม่ทำ� การเกษตร จึงทำ�ให้มีโอกาสรวมที่ดินเป็นแปลงใหญ่ ส่วนเรื่องการจัดการ การบริหาร การเป็นเจ้าของ จะ เป็นอย่างไรนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วจึงนำ�เอาเทคโนโลยี เข้าไป อย่างที่อาจารย์สุขุมกล่าวถึงว่าการใช้เทคโนโลยีในที่ดินแปลงเล็กมีต้นทุนสูงและสร้างประโยชน์ ได้น้อย - 35 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ทีด่ นิ แปลงทีผ่ มทำ�อยู่ มีประเด็นหลายอย่าง หนึง่ พอคนรูว้ า่ อยูช่ มุ พร จึงแนะนำ�ให้ปลูกยางพารา เนื่องจากมีราคาดีกว่า แต่เกิดข้อจำ�กัดทางกายภาพ ที่ดินตํ่าเกินไปจึงปลูกไม่ได้ ใช่ว่าขาดแคลนแรงงาน เพี ย งอย่ า งเดี ย ว แต่ ที่ ดิ น ก็ ไ ม่ เ หมาะที่ จ ะปลู ก ยางพารา หากใช้ที่นาปลูกปาล์ม นํ้าก็จะท่วม เพราะ พื้นดินตํ่าเกินไป วิธีที่ชาวบ้านทำ�กันก็คือ ทำ�พูนดิน ขึ้นมา อีกวิธีหนึ่งก็คือยกร่อง เอารถแมคโครลง ยก ร่อง แล้วก็ปลูก การปลูกปาล์มในที่ดินแปลงเล็ก โรงงานจะ ไม่รับซื้อ เพราะเนื้อที่เล็กเกินไป ต้องเป็นที่ดินแปลง ใหญ่ และติดถนน เพราะเวลาขนย้ายปาล์ม ต้องขับ รถไปตามร่องสวน ผมจึงตัดสินใจปลูกปาล์ม เพราะปาล์มชอบ นํา้ ก็จะมีปญ ั หาตามมา เช่นจะพรวนดินเหมือนทีช่ าว บ้านแถวนั้นทำ� หรือว่าจะยกร่องดี ถ้าจะขุดเป็นร่อง ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสน เกษตรกรธรรมดาจึงไม่ สามารถทำ�ได้ สุดท้ายผมจึงตัดสินใจขุดร่อง เมื่อขุด เสร็จ ตอนปลูกก็มีพันธุ์ปาล์มให้เลือกหลากหลายพอ สมควร ทางการแจกก็มี แต่ชาวบ้านแถวนั้นแนะนำ� คอสตาริกาทางสั้น เพราะออกลูกเร็ว เวลาหญ้าขึน้ ผมจะใช้เครือ่ งตัด เพราะคิดว่า การใช้ยาฆ่าแมลงเป็นการทำ�ลายธรรมชาติ โดยเนือ้ ที่ - 36 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

40 กว่าไร่ เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิน 30,000 กว่าบาท ซึ่ง การใช้เครื่องตัด หญ้าจะขึ้นเร็ว เพราะตอมันยังอยู่ ขณะที่การใช้ยา จะอยู่ได้นานกว่า เพราะตอมันตาย ในที่สุดก็สู้ไม่ไหว แม้กระทั่งผลผลิตออกมาแล้ว ชาวบ้านบาง คนก็จะบอกว่าอย่าเพิ่งเก็บ ควรตัดทิ้งก่อน เพื่อให้ ต้นมันใหญ่ ผมจึงเอาเศรษฐศาสตร์เข้ามาจับ คือถ้า คุ้มกับค่าแรง การตัดขายน่าจะดีกว่า มองในแง่ของ ส่วนเพิ่ม (marginal) โดยไม่ต้องคำ�นึงถึง fixed cost ผมจึงตัดสินใจตัดไปขาย คิดรวมเบ็ดเสร็จเวลานี้ ขาย ไปได้ 200,000 กว่าบาท แต่ลงทุนไปเป็นล้าน ขณะ ทีบ่ างคนเลือกทีจ่ ะตัดทิง้ โดยให้เหตุผลว่าถ้าปล่อยให้ ต้นปาล์มโคนใหญ่ ต้นปาล์มจะออกลูกดก ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นความละเอียดอ่อน ของเกษตรกรที่ต้องตัดสินใจ มันซับซ้อนและต้อง ใช้เงินทุนจำ�นวนมาก ผมจึงคิดว่าที่ดินแปลงเล็กๆ จึงไม่เหมาะ ถ้าแปลงใหญ่กจ็ �ำ เป็นต้องอาศัยวิชาการ เข้ามาช่วย ถ้าจะอาศัยเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็ต้อง พูดอะไรทีเ่ ป็นรูปธรรม จับต้องได้เกษตรกรถึงจะเชือ่ ผมเองเป็นเกษตร จะเชื่อเมื่อเห็นกับตาเท่านั้น ยก ตัวอย่างเช่น สาเหตุที่ผมไม่เอาพันธุ์ที่ทางการแจก เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้น หากถึงสามปี แล้วปรากฏว่า ไม่ออกลูกเหมือนชาวบ้าน ผมต้องตัดทิง้ แล้วปลูกใหม่ - 37 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

อีกสามปี รวมแล้วเป็นหกปีถึงจะเริ่มเก็บ ผมจึงคิดว่าสำ�หรับเจ้าหน้าที่ แปลงทดลองใน พื้นที่น่าจะเป็นเรื่องสำ�คัญที่ทำ�ให้ชาวบ้านเห็นได้ จริงๆ จึงไม่แปลกทีผ่ มจะเชือ่ เกษตรกรด้วยกัน เพราะ เราไปดูที่ของเขา แม้กระทั่งจากการสอบถาม ซึ่งผม ปลูกทางสั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่มีทางยาวติดมาบ้าง กลายเป็นว่าทางยาวดีกว่าทางสั้น แต่ถ้าผมจะปลูก ทางยาว ต้องรออีก 15-20 ปีถึงจะตัดทิ้งแล้วปลูก ใหม่ได้ แล้วที่เราบอกว่าปาล์มชอบนํ้า ปรากฏว่าที่ ดอนกลับงามกว่าที่ลุ่ม เพราะที่ลุ่มแฉะเกินไป หรือ กรณีตัวอย่างที่ไม่นานมานี้คือ ชาวบ้านแนะนำ �ว่า ก่อนเก็บ ให้ใส่ปยุ๋ แล้วทิง้ ไว้ 15 วันค่อยเก็บ ผลผลิต จะขึ้นมากกว่าปกติ ผมจึงทำ�ตามที่ชาวบ้านแนะนำ� อีก 15 วันมาจึงมาเก็บ ปรากฏว่าผลผลิตไม่ได้ขึ้น ตามที่ชาวบ้านแนะนำ� จึงถามชาวบ้าน ชาวบ้านจึง บอกว่า หลังจากใส่แล้วฝนไม่ตก ปุย๋ จึงยังค้างอยูห่ น้า ดิน ละลายแค่ความชื้นจากนํ้าค้าง ปาล์มจึงได้ปุ๋ยไป ไม่มาก แต่ถ้าฝนตกมากเกินไป ปุ๋ยก็จะละลายลงไป ในคูนํ้าหมด ถ้าตกพอดีๆ ก็จะพออยู่ได้ ฉะนั้ น ในแง่ ที่ ว่ า เราเพิ่ ม วั ต ถุ ดิ บ ต้ น ทุ น เข้าไป แล้วได้ผลผลิตออกมา นำ�มาคูณกับราคา แล้ว ได้รายรับ จึงไม่เป็นตามที่คาดไว้ - 38 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลักษณะทางกายภาพแบบนี้ผมคิดว่า เวลา เราจะเอาเศรษฐศาสตร์ เ ข้ า ไปจั บ ผมจึ ง คิ ด ว่ า เราควรคิ ด ถึ ง มุ ม นี้ พ อสมควร ผมกำ � ลั ง จะบอกว่ า ความหลากหลายมั น มี แ ม้ ก ระทั่ ง ในพื้ น ที่ แ ปลง เดียวกัน ซึ่งที่ในบริเวณนั้นเพียงสิบกว่าไร่ก็มีความ หลากหลายแล้ ว ยั ง ไม่ ต้ อ งกล่ า วถึ ง ภาค หรื อ แม้ กระทั่งจังหวัด ผมเคยไปประเมินการปรับโครงสร้างการ ผลิ ต ที่ จั ง หวั ด สุ โ ขทั ย เจ้ า หน้ า ที่ ร าชการอยากให้ เกษตรกรเลิกปลูกข้าวนาปรัง แต่เกษตรกรไม่ปฏิบตั ิ ตาม จึงถูกกล่าวหาว่าหัวรั้น ไม่เชื่อฟัง ชาวบ้านเล่า ให้ผมฟังว่าฝั่งคลองนี้กับอีกฝั่งคลองหนึ่ง ผลผลิตไม่ เท่ากันไม่วา่ จะปลูกอะไรก็ตาม ชาวบ้านอธิบายต่อว่า จะไม่ให้ผมปลูกข้าวได้อย่างไรในเมือ่ ทีด่ นิ มันเป็นแอ่ง กระทะ ถ้าที่ดินเป็นกระทะอย่างนี้แล้วปลูกถั่วเหลือง รอบบน เวลารดนํา้ นํา้ ก็จะไหลไปลงสูท่ ตี่ าํ่ ไปกองอยู่ ข้ า งล่ า ง ส่ ว นข้ า งล่ า งจึ ง เหมาะที่ จ ะปลู ก ข้ า วที่ สุ ด เพราะนํ้ า จะไหลไปกองอยู่ ต รงนั้ น ถ้ า ผมปลู ก ถั่ ว เหลืองเกรงว่านํ้าจะท่วมตายเสียก่อน ผมจึงอยากให้เข้าใจตรงกันว่ามันมีความ แตกต่างหลากหลายค่อนข้างสูง เวลาเราจะพัฒนา ภาคเกษตร เราจำ � เป็ น ต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง ความหลาก หลายในส่วนนี้ ผมอยากจะมองว่าเกษตรกรที่เรา - 39 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

พูดถึง ควรจะเป็นเกษตรกรรายใหญ่ที่ทำ�การเกษตร ก้าวหน้า เพราะถ้าเรามองถึงตลาด จะเห็นว่าตลาด สำ�หรับประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นเรื่องคุณภาพดี ไร้สารเจือปน คุณภาพได้มาตรฐานสากล แล้วพวก นัน้ ผมคิดว่าต้องใช้ฟาร์มใหญ่ ต้องมีการควบคุม การ จัดการที่ดี ฉะนั้นผมจึงคิดว่ากลุ่มนั้นจึงควรจะเป็น เกษตรรายย่อยแล้วรวมเป็นรายใหญ่ จะรวมรูปแบบ ใดก็แล้วแต่ แต่ต้องทำ�ในลักษณะนี้ จะเป็น contract farming (การทำ�ฟาร์มสัญญา)จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เพื่อรองรับตลาดที่คุณภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบการทำ�เกษตรในอดีตกับ ในปัจจุบัน มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงต้องนำ� วิชาการเข้ามาประยุกต์ใช้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ เรื่องการจัดการ หรือการตัดสินใจ ที่หากตัดสินใจผิด พลาดไป อาจจะต้องรออีกนานกว่าจะแก้ไขได้ และ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ใช้สารเคมี หรือเครื่องจักร เราย้ อ นกลั บ ไปสู่ ส ภาพเดิ ม ไม่ ไ ด้ แ ล้ ว เพราะมั น เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว แต่เกิด จากอีกหลากหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ ส่วนที่มันก้าวหน้าก็ให้มันก้าวหน้าไปเลย ส่ ว นที่ เ ป็ น เกษตรกรรายย่ อ ยที่ จ ะรองรั บ อี ก ระดั บ หนึ่งก็ให้เป็นไปตามนั้น จะเป็นเจ้าของพื้นที่ 4-5 ไร่ หรือ 6-7 ไร่ก็แล้วแต่ ไม่จำ�เป็นต้องพิถีพิถันเรื่อง - 40 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณภาพมากนัก ผมคิดว่าสองส่วนนี้จึงต้องมีความ แตกต่างกัน และเพราะตลาดก็ต้องการแบบนั้นด้วย ตลาดสำ�หรับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือคนเมืองที่มี รายได้สงู ก็ยอ่ มต้องการกินอาหารทีด่ ี ส่วนคนจนหรือ ประเทศที่ยากจนก็ต้องซื้อของที่มีคุณภาพรองลงมา อีกระดับหนึ่ง ความหลากหลายตรงนี้ ผมคิดว่าเวลา นีม้ นั มีมาก โดยเฉพาะความหลากหลายในพืน้ ที่ หรือ ในตลาด เนื่ อ งจากผมเป็ น กรรมการ อยู่ ส ภาวิ จั ย แห่ ง ชาติ (สำ � นั ก งานคณะกรรมการวิ จั ย แห่ ง ชาติ หรือ วช.) งานวิจัยก็จะออกมาในลักษณะที่เน้นพืช เศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ข้าว ยางพารา ผมกลับ มองว่าเวลานี้เราน่าจะคิดถึงพืชตัวเล็กๆ กันให้มาก ขึ้น เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ผมเป็นกรรมการตรวจ และประเมินการปฏิบัติงานของกระทรวงพาณิชย์ ได้ไปตรวจการค้าชายแดน เรานำ�เข้าตั๊กแตนปาทัง ก้าจากเขมรปีละหลายล้านบาท นอกจากนี้ เรายัง ส่งออกปลาสวยงาม เช่น ปลาคาร์พ สินค้าประเภท เล็กๆ นีม้ มี าก ขณะทีไ่ ม่มกี ารศึกษา หรือวิจยั ในส่วน นี้ ผมจึงอยากจะฝากว่าเวลาเราคิดถึงงานวิจัยในแง่ เศรษฐศาสตร์ อย่าไปคิดถึงแต่สินค้าตัวใหญ่ๆ ให้ คิดถึงสินค้าตัวเล็กๆ บ้าง ผมจำ�ได้ว่านศ.สนใจการเลี้ยงปลาคาร์พส่ง - 41 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ออก ผมเลยให้ทำ�การวิเคราะห์ทางการเงิน ปรากฏ ว่ามันคุ้มที่จะลงทุนทำ� เป็นต้น แต่แน่นอนว่าทำ�งานวิจัยด้านเกษตรควร ทำ � ความเข้ า ใจและคำ � นึ ง ถึ ง ปั ญ หาด้ า นกายภาพ ให้มากๆ แล้วค่อยเอาเศรษฐศาสตร์มาอธิบาย แต่ เศรษฐศาสตร์ก็อธิบายภายใต้กรอบได้ในระดับหนึ่ง เท่านั้น อาจจะมีปัญหาหรือข้อจำ�กัดด้านอื่นที่ทฤษฎี หรือแนวคิดเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ ยก ตัวอย่างที่ผมไม่ปลูกยางทั้งที่ได้ราคาดี เป็นเพราะ สภาพพื้นดินไม่เหมาะ ประเด็ น เรื่ อ งงานวิ จั ย อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ที่ อยากจะฝากก็ คื อ คนที่ ไ ม่ ไ ด้ เ รี ย นเศรษฐศาสตร์ ก็มักจะมีคำ�ถามซึ่งผมคิดว่าขัดแย้งกันอยู่ เช่น ผม อยูส่ ภาวิจยั แห่งชาติ ก็จะมีโครงการปลูกข้าวสาลีหรือ ถั่วเหลืองจำ�นวนมาก เนื่องจากคนไทยบริโภคมาก จึงฟังดูมีเหตุผล แต่ในความเป็นจริงแล้วมีต้นทุนใน การปลูกสูง เพราะเกิดปัญหาทางด้านกายภาพที่ไม่ เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก จึงอาจจะต้องมีงานวิจัย ที่เห็นได้ชัดเจนว่าจริงๆ แล้วมันเป็นไปไม่ได้ หรือ แม้ ก ระทั่ ง การผลิ ต พลั ง งานทดแทน ไม่ ว่ า จะเป็ น เอธานอลก็ดี ไบโอดีเซลก็ดี ก็ยงั มีคนเข้าใจผิดกันมาก ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเอธานอลจะไม่กระทบการ ผลิตข้าว เพราะพื้นที่ปลูกข้าวเป็นพื้นที่นํ้าท่วมถึง - 42 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การปลูกอ้อย มันสำ�ปะหลังเพื่อทำ�เอธานอลจึงไม่มี ผลต่อข้าว เพราะปลูกในพื้นที่ปลูกข้าวไม่ได้ ฉะนั้น เวลาที่ข้าวราคาแพง จึงมีคนกล่าวหาว่าเป็นเพราะ เอาพืน้ ทีไ่ ปปลูกพืชพลังงานทดแทนกันหมด ทัง้ ๆ ที่ ในความเป็นจริงแล้ว ข้าวราคาแพงขึน้ เพราะเกิดจาก ที่ดินแล้ง พื้นที่เสียหาย ถ้าปลูกมันสำ�ปะหลังเพื่อทำ�เอธานอล ต้อง มีการกลั่นเพื่อไล่นํ้าออก เวลาเราจะกลั่นเอานํ้าออก ก็ต้องใช้พลังงาน แล้วเราจะเอาพลังงานส่วนนั้นมา จากทีไ่ หน ถ้าเอามาจากนํา้ มันเตาก็ตอ้ งมีการนำ�เข้า มา มันจึงซับซ้อนมากกว่าที่คิด ส่วนข้าวโพด เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเอามา ผลิตเอธานอล เพราะเราใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่ง มีราคาสูง บางปีมีการผลิตไม่เพียงพอ เวลานี้ที่ใช้ กัน คือผลิตจากกากนํ้าตาล โดยใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อ เพลิง แล้วเอามันสำ�ปะหลังมาเสริม ซึ่งมันสำ�ปะหลัง ที่ทำ�เป็นแป้งแล้ว ก็ยังเอามาทำ�เอธานอลได้ ยิ่งไป กว่านั้น เวลาคนพูดถึงการผลิตพลังงานทดแทน ผม คิดว่าคนเข้าใจว่าไม่มีการแย่งพื้นที่ในการผลิตกัน อันที่จริงแล้ว สมมติเราปลูกมันสำ�ปะหลังมากขึ้น ก็ จะทำ�ให้ปลูกพืชไร่ชนิดอื่นได้น้อยลง จึงมีการแย่ง ชิงทรัพยากรซึ่งกันและกันอยู่ เว้นแต่ว่ามีการเพิ่ม ผลผลิตต่อไร่ เราจึงไม่รู้ว่าดุลยภาพอยู่ที่ไหน คนพูด - 43 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

อาจจะไม่ได้ตระหนักถึงดุลยภาพทัว่ ไป คือมองเฉพาะ พืชตัวนั้นโดยไม่ดูว่ามันจะกระทบตัวอื่น มีแต่ข้าว เท่านั้นที่ไม่ถูกกระทบ อีกอันหนึ่งซึ่งคนพูดกันมาก ก็คือการใช้ปุ๋ย เคมีกับปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งมีต้นทุนต่างกัน แต่เดิมผมใช้ ปุย๋ ชีวภาพ แต่ตอนหลังได้เปลีย่ นมาใช้ปยุ๋ เคมี เพราะ ปุ๋ยชีวภาพ เวลาออกลูก ลูกจะไม่แข็งแรงพอ มีนํ้า หนักน้อย ขึ้นราง่าย ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมี ลูกจะแข็ง แรง ไม่ขนึ้ รา ขายได้นาํ้ หนัก ซึง่ ส่วนนี้ ไม่มงี านวิจยั มายืนยันว่าควรใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมีดี ฉะนั้นจึง ควรมีงานวิจัยที่หลากหลาย โดยเฉพาะพืชตัวเล็กๆ จะได้มีการรวมพื้นที่จากเกษตรกรรายย่อยให้เป็น พื้นที่ใหญ่ เพื่อทำ�การเกษตรแบบก้าวหน้า

- 44 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- 45 -



เสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องภาคเกษตรและชนบทไทย


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ผู้เข้าร่วมเสวนา: อาจารย์สุขุมพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงมา พอสมควร แต่สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ไม่ได้พูดถึง คือการ เปลี่ยนแปลงในเรื่องวิธีคิดและทัศนคติของชนบท อาจารย์มองเห็นภาพตรงนี้อย่างไรบ้าง ? รศ. สุขุม อัตวาวุฒิชัย: ผมคิดว่าในทุกที่จะมีคนซึ่งคิดต่างจากชาว บ้านทั่วๆ ไป ไม่เช่นนั้นเราจะไม่มีปราชญ์ชาวบ้าน และก็จะมีคนที่ไม่ค่อยได้ติดตาม ไม่ค่อยคิดอะไร มาก ซึง่ ก็คอื ชาวบ้านธรรมดาๆ แต่ผมคิดว่าประเด็น ที่น่าสนใจก็คือ ชาวบ้านมีความรู้จริงหรือเปล่า ผม - 48 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เคยมีประสบการณ์เรื่องปลูกข้าวที่จังหวัดสิงห์บุรี จะ มีโครงการโรงเรียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรฯ เกษตรกรจะกำ�จัดศัตรูข้าว ฉีดยาฆ่าแมลง โดยชาว บ้านจะใช้ยาฆ่าแมลงที่เพื่อนบ้านบอกว่าดี จะใช้ใน ลักษณะตามๆ กัน โดยไม่รู้ว่าได้ผลหรือไม่ได้ผล มีเกษตรกรอยู่รายหนึ่ง เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไป ประมาณ 50,000 บาทต่อฤดู เพราะต้องฉีด 10 ครั้ง ครั้งละประมาณ 5,000 รวมทั้งค่ายา ค่าจ้างแรงงาน แต่ปรากฏว่า ถ้าชาวบ้านเข้าใจระบบนิเวศของท้อง นา ก็ไม่จำ�เป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลงเลย ระบบนิเวศจะ มีการควบคุมโดยตัวของมันเอง ในท้องนาที่ใดก็ตาม ถ้าพูดถึงแมลง จะประกอบด้วยแมลงที่เป็นศัตรูข้าว ประมาณ 20% อีก 20% เศษๆ จะเป็นศัตรูของศัตรู ข้าว ก็คือตัวหํ้า ตัวเบียน ส่วนที่เหลือจะเป็นแมลงที่ ไม่สง่ ผลกระทบต่อผลผลิตข้าว แต่ดว้ ยความไม่เข้าใจ ชาวบ้านกลับคิดว่าแมลงทั้งหมดเป็นศัตรูข้าว ฉะนั้น เวลาฉีดยาฆ่าแมลง จะเป็นการฆ่าทั้งศัตรูข้าว และ ศัตรูของศัตรูขา้ ว จึงทำ�ให้ไม่คอ่ ยได้ผล และเกษตรกร ยังจำ�เป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฉีดยาอีกด้วย เมื่อเกษตรกรที่มาร่วมกับโครงการโรงเรียน เกษตรกรได้เรียนรูใ้ นส่วนนี้ ว่าการใช้หรือไม่ใช้ ยาฆ่า แมลงจะให้ผลไม่ตา่ งกัน แต่สงิ่ ทีต่ า่ งคือค่าใช้จา่ ย และ ความเสื่อมโทรมของสุขภาพอนามัยจากการสูดดม - 49 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ยาฆ่าแมลง ดังนั้นผมจึงคิดว่าความรู้ส่วนนี้เป็นสิ่ง จำ�เป็น และการรวมที่ ดิ น ที่ อ าจารย์ ป ระยงค์ พู ด ถึง ผมว่าไม่จำ�เป็นต้องเป็น Land consolidation1 อาจารย์ ป ระยงค์ พู ด ถึ ง กล้ ว ยหอมทอง ซึ่ ง เป็ น ตัวอย่างที่ดี สองแห่งคือที่จังหวัดชุมพรและจังหวัด เพชรบุรีซึ่งอยู่ในลักษณะสหกรณ์ เขาทำ�กล้วยหอม ทองปลอดสารเคมี แต่ไม่ได้รวมในลักษณะเป็นที่ดิน แปลงใหญ่ๆ คือต่างคนต่างทำ� แต่ร่วมกันแบ่งกัน วิธีการควบคุม จัดการซึ่งกันและกัน และมีตลาดที่ แน่นอน คือมีการติดต่อโดยตรงกับสมาคมผู้บริโภค โตโตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ฉะนั้นก็จะมีคนมา คุมเพื่อให้แน่ใจว่ากล้วยหอมทองไม่มีสารเคมี สหกรณ์นี้ไปได้ค่อนข้างดี แต่ก็ต้องอาศัย บริษัทขนส่งทางเรือเพื่อส่งไปญี่ปุ่น ภายหลังได้มี การจัดการการขนส่งด้วยตัวเอง ค่าใช้จา่ ยในส่วนนีจ้ งึ ลดลง ขณะที่อำ�เภอละแม จ.ชุมพร ซึ่งทำ�กล้วยหอม ทองเช่นกัน แต่จะค้าขายกับ โยโดกาวะ ที่โอซากา ประเทศญี่ปุ่น โดยลูกค้ากลุ่มนี้ จะซื้อไปแล้วขายให้ แต่สมาชิกเท่านั้น2 การที่ อ าจารย์ ป ระยงค์ พู ด ถึ ง ความหลาก หลายทางกายภาพ ดังนั้นเวลาเราพูดถึงเกษตรกร จะพูดเหมือนหนึง่ ไม่ได้ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ - 50 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นตัวตัดสินว่าเกษตรกรจะปลูกพืชอะไร การเข้าใจ กายภาพของพืน้ ทีจ่ งึ สำ�คัญทีส่ ดุ ยกตัวอย่างเช่น เรา อาจไม่เคยคิดว่าภาคอีสานจะปลูกยางพาราได้ แต่ จะไม่ได้ปลูกแบบภาคใต้ คนอีสานจะไม่นำ�ที่ทั้งหมด มาปลูกยาง เพราะถ้าท้องเขาไม่อิ่ม เขาจะไม่รู้สึก ปลอดภัย นอกจากนี้ที่อาจารย์ประยงค์กล่าวถึงการ ปลูกพืชไร่บางอย่างจะไม่กระทบการปลูกข้าว อาจ จะไม่กระทบการปลูกข้าวนา แต่ผมคิดว่ากระทบต่อ ข้าวไร่ เพราะพื้นที่เป็นที่ดอนเหมือนกัน ผมจึ ง คิ ด ว่ า เกษตรกรขาดความรู้ เพราะ การปฏิบตั ติ ามๆ กันของชาวบ้าน เช่นการใช้ยาฆ่า แมลงทีเ่ พือ่ นบ้านคิดว่าดี ทัง้ ๆ ทีย่ าฆ่าแมลงบางชนิด ในประเทศสหรัฐอเมริกาห้ามใช้ แต่กลับขายได้ใน การจัดรูปทีด่ นิ ซึง่ เป็นการปฏิรปู ทีด่ นิ ชนิดหนึง่ มีจดุ ประสงค์เพือ่ ให้เกษตรกรแต่ละรายถือครองทีด่ นิ ผืนใหญ่ขนึ้ แทนทีก่ ารถือครอง ที่ดินผืนเล็กหลายผืนที่อยู่กระจัดกระจาย 2 สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำ�กัด จังหวัดเพชรบุรี เริ่มทำ�การ ค้ า ขายกล้ ว ยหอมทองปลอดสารพิ ษ กั บ สหกรณ์ ผู้ บ ริ โ ภค โต โตะ (TOTO Consumer Cooperatives) ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ส่วนกลุ่มเกษตรกรทำ�สวนทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร ทำ�การส่งออกกล้วยหอมทองไปยังสหกรณ์ผู้บริโภคโยโดกาวะ (Yodogawa Consumer Cooperatives) ในโอซากา ประเทศญีป่ นุ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 1

- 51 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

เมืองไทย ชาวบ้านจึงไม่มีความรู้อย่างแท้จริงว่าควร ใช้ยาฆ่าแมลงยี่ห้อใด ทางเศรษฐศาสตร์อาจจะเรียก ว่าค่าโง่ หรือ Information cost3 การปฏิบตั ติ ามๆ กัน ของชาวบ้าน อาจจะไม่ได้เป็น best solution เสมอไป แต่อย่างน้อยมันก็เป็น practical way of life ผมคิดว่า เป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจ เราจึงไม่ควรมองอะไรเหมือน หนึง่ จนเกินไป เราจึงควรตระหนักตรงนีใ้ ห้มากๆ การ ทีเ่ ราไปทำ�อะไรก็ตาม มันมักจะไม่คอ่ ยได้ผล จะได้ผล เฉพาะบางพื้นที่ที่เหมาะกับเงื่อนไขพอดี มันจึงไม่มี วิธีการที่ใช้ได้เหมาะกับทุกๆ พื้นที่ในประเทศไทย ดีที่สุดจึงควรเป็นการลงไปศึกษา ตรวจสอบในทุก พืน้ ที่ อย่างไรก็ตาม การทำ�เช่นนัน้ ทางเศรษฐศาสตร์ อาจจะบอกว่ามีต้นทุนสูง รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์: ในส่วนของข้อมูลข่าวสาร ผมคิดว่าเกษตรกร เองก็รู้ แต่ไม่สามารถพึ่งพาราชการได้ เกษตรกรจึง ต้องหาคำ�ตอบที่คิดว่าดีที่สุด สิ่งที่อาจารย์สุขุมพูด ในขั้นตอนการตลาดไม่ใช่ขั้นตอนของการผลิต กรณี กล้วยหอมทองทีบ่ า้ นลาดก็ดี ชุมพรก็ดี ผมจึงอยากจะ ต้นทุนทีต่ อ้ งจ่ายเพือ่ ให้ได้มาซึง่ ข้อมูล เช่น ต้นทุนในการหาข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น

3

- 52 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขยายความทีผ่ มทิง้ ท้ายไว้กค็ อื ทีบ่ า้ นลาด จ.เพชรบุรี เป็นสหกรณ์ แต่ที่บ้านแพ้ว จ.สมุทรปราการ เป็น บริษทั สินค้าเกษตรมักจะมีปริมาณมาก แต่มลู ค่าตํา่ โรงงานแปรรู ป สิ น ค้ า เกษตรจึ ง เข้ า ไปอยู่ ใ นพื้ น ที่ เนือ่ งจากการคมนาคมสัญจรในปัจจุบนั มีความสะดวก รวดเร็ว จึงสามารถเข้าไปตั้งโรงงานในบริเวณใกล้ เคียงได้ เวลาเราพูดถึงโรงงานทีท่ �ำ packaging หรือ การแปรรูปสินค้าเกษตรเพือ่ ส่งออก เวลานีไ้ ม่จำ�เป็น ต้องตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือ หรือใกล้กรุงเทพฯ แต่จะตั้ง อยู่ที่ใดของประเทศก็ได้ กรณีที่อำ�เภอบ้านแพ้วที่ ผมประทั บ ใจก็ คื อ เขาทำ� packaging กระเจี๊ ย บ เขียว กล้วยไม้ และหน่อไม้ฝรั่ง ส่งออกไปญี่ปุ่นกับ สหรัฐอเมริกา คนที่มาทำ�ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ซึ่ง ขี่รถมอเตอร์ไซค์มาจากบ้าน ผมคิดว่าถ้ามีโรงงาน ที่เป็นจุด packaging หรือ กระบวนการผลิตสินค้า เกษตรกระจายไปในหลายๆ พื้นที่เช่นนี้ จะทำ�ให้ แรงงานไม่จำ�เป็นต้องออกจากพื้นที่มากนัก เช้าไป ทำ�งาน เย็นกลับบ้าน จะคล้ายกับที่บ้านลาด แต่บ้านลาดจะเป็น สหกรณ์ ทำ�กล้วยหอม แพ็คเกจส่งไปญี่ปุ่น จะเป็น ลักษณะขายตรง ไม่ได้ส่งไปวางตลาดที่ญี่ปุ่น แต่ ส่งไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ผมมีโอกาสไปดูงานที่ - 53 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ญี่ปุ่น พบว่ากล้วยหอมทองเป็นกรณีตัวอย่างที่น่า สนใจ เวลากล้วยหอมที่บ้านเราเสียหาย ทางสมาคม ผู้ บ ริ โ ภคญี่ ปุ่ น จะส่ ง เงิ น มาช่ ว ยเหลื อ เพราะมั น มี ความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมอยู่ มันเป็นเรื่องของ การตลาด จึงโยงไปถึงเรื่องการผลิตด้วย ตอนที่ผม ไปญี่ปุ่นก็พบลักษณะอย่างนี้ ไปดูเขาทำ� packaging ผักปลอดสารพิษใกล้ๆ สนามบินนาริตะ พบว่าบริษทั ที่ทำ� packaging ในบ้านเราจะเป็นคนในวัยหนุ่มสาว ขณะที่ญี่ปุ่นจะเป็นคนแก่ทั้งหมด ผมจึงมองว่ามัน ทำ�ให้ความเจริญกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ได้ ไม่จำ�เป็นที่จะต้องเข้ามาในเมือง สามารถอยู่ทำ�งาน ที่บ้านได้ มีโอกาสได้อยู่กับครอบครัว จะเห็นว่าถ้ามี การกระจายเช่นนี้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ปัญหาใน เวลานี้คือการบริการของราชการตามไม่ค่อยทัน แม้ กระทัง่ โรงงานทอผ้าทีอ่ ยูใ่ นภาคอีสานก็มจี �ำ นวนมาก บริ ษั ท ที่ นำ � เข้ า สิ น ค้ า จะสามารถติ ด ต่ อ กั บ หน่ ว ยงานโดยตรงได้ โดยไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งผ่ า น กรุงเทพฯ เวลาผมไปดูการค้าชายแดน ขณะนีย้ งั ขาด ทั้งเจ้าหน้าที่ ปริมาณ คุณภาพ ตลอดจนเครื่องมือ ต่างๆ สมมติจุดส่งออกสามารถส่งออกตามชายแดน ได้ หน่วยงานบริหารของทางราชการจึงควรมีการก ระจายออกไปให้ทั่วถึง จะได้ไม่ต้องมากระจุกอยู่ใน กรุงเทพฯ - 54 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผมคิ ด ว่ า ความเจริ ญ หรื อ ความต้ อ งการ ต่างๆ ได้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ในชนบทค่อน ข้างมาก ผมจึงต้องการให้หน่วยราชการลงไปบริการ ให้ทันความต้องการของชาวบ้าน จริงๆ แล้วปัญหา ทั้งหมดเกิดจากกระทรวงเกษตรฯไม่สามารถช่วย เหลือ หรือให้การบริการที่เป็นรูปธรรม ก้าวหน้าได้ ตอนผมทำ�เรือ่ งอ้อย นํา้ ตาล เคยไปถามเรือ่ ง พันธุ์อ้อย ปรากฏว่าหน่วยงานราชการไม่สามารถให้ คำ�ตอบได้ว่าพันธุ์อ้อยจริงๆ มีการพัฒนาไปอย่างไร ผู้เข้าร่วมเสวนา: เคยไปสัมภาษณ์กระทรวงเกษตรฯ มีเสียง บ่นว่านักวิชาการของเขา อยู่ในวัยใกล้เกษียณ ไม่มี นักวิชาการรุน่ ใหม่ขนึ้ มาแทนที่ จึงอาจจะตอบคำ�ถาม ได้ว่าทำ�ไมจึงไม่มีงานวิจัยที่ช่วยเหลือ รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์: จริ ง ๆ แล้ ว มั น ซั บ ซ้ อ นกว่ า นั้ น ผมคิ ด ว่ า กระทรวงเกษตรฯ ส่งนักเรียนเกษตรไปเรียนมาก แต่ แรงจูงในเรื่องเงินมีไม่พอ เท่าที่ผมไปสัมภาษณ์ พบ ว่าในทีส่ ดุ แล้วพอมีประสบการณ์ในระดับหนึง่ ก็จะถูก บริษัทเอกชนดึงตัวไป เพราะเอกชนให้เงินเดือนสูง กว่า มีคนเคยจะทำ�วิจยั เรือ่ งพันธุถ์ วั่ เหลือง แต่รฐั บาล - 55 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

ไม่มีงบให้ เขาจึงต้องไปของบวิจัยจากโรงงานทำ� นํ้ า มั น ถั่ ว เหลื อ ง และเมื่ อ ทำ� เสร็ จ ก็ จ ะต้ อ งมี ก าร รายงานผลให้ทราบ ดังนั้นนี่คือสภาพความเป็นจริง นอกจากนักวิชาการส่วนหนึง่ จะเกษียณแล้ว อีกส่วน หนึ่งก็ถูกดึงตัวไปโดยเอกชนด้วย ผู้เข้าร่วมเสวนา: นอกเหนื อ จากสิ น ค้ า ที่ อ าจารย์ พู ด ถึ ง เกษตรกรคิ ด อย่ า งไรในเรื่ อ งความปลอดภั ย ของ อาหารสำ�หรับผู้บริโภค เพราะผมคิดว่าเป็นปัจจัย สำ�คัญเช่นกัน ? รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์: ต้องเข้าใจอย่างนี้ว่าเกษตรกรไม่ได้คำ�นึงถึง ผูบ้ ริโภคมากเท่าไร สามารถผลิตขายได้กข็ าย เราจึง ต้องยอมรับในส่วนนี้ ถ้าต้องการให้เกษตรกรผลิตผัก ปลอดสารพิษ ก็ต้องมีราคาเพื่อเป็นแรงจูงใจในการ ผลิต แล้วผักปลอดสารพิษที่ขายอยู่ตามห้างสรรพ สินค้าก็ไม่ได้ปลอดสารพิษจริง บางกรณีเกษตรกร เองก็ยังไม่กล้ากินผลผลิตที่ตัวเองผลิต เนื่องจากมี สารเคมี และยาฆ่าแมลงอยูม่ าก ผักปลอดสารพิษมัน ดูด้วยตาไม่ได้ ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือ กรณีกล้วยหอมทอง ทุกปีจะมีคนญี่ปุ่น ซึ่ง - 56 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นผู้บริโภคมาใช้ชีวิตพักค้างอยู่ที่ไร่ มีการแปะชิพ ลงไปในกล้วย จึงมั่นใจได้ว่ากล้วยหอมแต่ละหวีมา จากเกษตรกรรายใด ผมเองยอมรั บ ว่ า บางที อ ย่ า ว่ า แต่ ค วาม ปลอดภัยของผู้บริโภค แม้กระทั่งผู้ผลิตเองก็ไม่มี ทางเลือกมากนัก เช่นบอกว่าเวลาฉีดยาให้ฉีดตาม ลม อย่าฉีดทวนลม แต่ในแง่เศรษฐศาสตร์แล้วต้นทุน จะสูง เพราะถ้าฉีดตามลม ลมไปทางเดียว พอเดินสุด ทางแล้วกลับมาเริม่ ต้นใหม่กจ็ ะทำ�ให้เสียเวลา พอสุด ทางเกษตรกรจึงต้องฉีดทวนลมกลับมา บางครั้งฉีดแล้วต้องเก็บเลย เนื่องจากหาก ฝนตกก็จะชะล้างยาฆ่าแมลง แต่หากรออีกสองถึง สามวันก็จะถูกแมลงกินหมด ทำ�ให้ผักปลอดสารพิษ จริงๆ มีน้อย เพราะผู้ผลิตเองก็ไม่ได้คำ�นึงถึงส่วนนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนา: อาจารย์พดู ถึงเกีย่ วกับทางด้านการผลิต เรา คุยเรื่องผลผลิต แล้วทางด้านราคา ซึ่งปัจจุบันจะมี ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าไว้คอยควบคุมด้านราคา เกษตรกรกับประโยชน์ทางด้านนีม้ คี วามเกีย่ วข้องกัน บ้างไหม ในการทีพ่ ยายามจะทำ�ให้ราคามีเสถียรภาพ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเอง ก็ไม่ได้มีส่วนช่วย เกษตรกรมากนัก เพราะเกษตรกรไม่มีความเข้าใจ ในเรื่องนี้ แต่จะมีประโยชน์ต่อเกษตรกรบ้างไหม ? - 57 -


ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย

รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์: ตลาดสิ น ค้ า เกษตรล่ ว งหน้ า ในเมื อ งไทย 4 คงลำ�บาก เพราะสินค้าเกษตรทุกตัวที่อยู่ในตลาด รั ฐ บาลมั ก จะเข้ า ไปแทรกแซงหมด ทำ� ให้ ค นที่ จ ะ เข้ามาสู่ตลาดไม่กล้าเสี่ยง ปริมาณการค้าจึงตํ่ามาก ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าจะมีส่วนช่วยเกษตรกร ก็ต่อเมื่อเป็น price recovery5 เพราะจะทำ�ให้ price ของ cash market6 ดีขนึ้ ถ้าไม่มกี ารส่งผ่านไปถึงตรง นั้นก็คงจะไม่ช่วยอะไร ถ้าถามว่าเกษตรกรคิดอย่างไร ก็อย่างทีบ่ อก คือดูเฉพาะราคาที่ตนเองขายได้ สำ�หรับตลาดสินค้า เกษตรล่วงหน้ายังคงเป็นเรือ่ งไกลตัวเกษตรกรเกินไป เว้นเสียแต่วา่ ผลของตลาดนีไ้ ปทำ�ให้ cash market ดี ขึ้น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็น องค์ ก รที่ ถู ก จั ด ตั้ ง ขึ้ น ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารซื้ อ ขายสิ น ค้ า เกษตรล่ ว งหน้ า ปี พ .ศ. 2542 และเป็ น ตลาดสิ น ค้ า เกษตร ล่ ว งหน้ า เพี ย งตลาดเดี ย ว มี ฐ านะเป็ น นิ ติ บุ ค คล ภายใต้ การกำ � กั บ ดู แ ลของคณะกรรมการตลาดสิ น ค้ า เกษตรล่ ว งหน้ า ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.afet.or.th 5 สัดส่วนของราคาต่อหน่วยของผลผลิต ต่อค่าใช้จา่ ยต่อหน่วยของ ปัจจัยการผลิต สะท้อนถึง ความสามารถในการปรับราคาต่อหน่วย เมื่อต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 4

- 58 -


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เข้าร่วมเสวนา: Cash market ที่ว่ามันจะมีราคาอ้างอิงได้ หรือเปล่า เช่น ข้าว หรือยางพารา จะมีราคาในตลาด กลางอ้างอิงอยู่ เพราะตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเอง ก็บอกว่า ราคาอ้างอิงของ cash market มัน excess หรือเปล่า? รศ.ดร. ประยงค์ เนตยารักษ์: ผมคิดว่าราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ที่เรา ส่งออกค่อนข้างจะเป็นไปตามราคาตลาดโลก ถ้า ผลผลิตในตลาดโลกมีน้อย ราคาในตลาดโลกจะสูง ทำ�ให้ราคาสินค้าเกษตรในไทยสูงขึน้ ตาม เช่นผมเป็น เกษตรกร ผมจะดูว่าคนซื้อให้ราคาเท่าไร และมีทาง เลือกที่จะขายให้คนอื่นไหม เพราะมีการแข่งขันอยู่ ในระดับหนึง่ แต่หากดูในแง่ความผันผวนของราคา ก็ จะเคลือ่ นไปตามราคาตลาดโลก ราคาอ้างอิงจึงต้องดู ราคาตลาดโลกเป็นหลัก แต่เกษตรกรจริงๆ อาจจะไม่ ได้ดไู กลขนาดนัน้ อาจจะดูแค่ราคาทีส่ ง่ ผ่านมาถึงเขา ว่าเขาขายได้เท่าไร ตลาดจริง (cash market) เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรที่ผู้ซื้อ ผู้ขายมีการเจรจาต่อรองราคา ตรวจสอบคุณภาพสินค้า โดย ชำ�ระเงินและส่งมอบสินค้ากันในทันที เช่น ตลาดสด, ตลาดไท, ฯลฯ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aftc.or.th 6

- 59 -


รายชื่อหนังสือในโครงการ “เศรษฐ’ ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำ�นักพิมพ์ openbooks 1. ชุดเศรษฐ’ ธรรมศาสตร์ คลาสสิก (ECON TU Classic Series) (1) 20 ปี ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2550) หนังสือรวบรวม บทปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-10 (พ.ศ.2530-2550) (2) 60 ปี เศรษฐกิจไทย 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (2551) หนังสือ รวบรวมบทความวิชาการชิ้นสำ�คัญเรื่องเศรษฐกิจไทย โดย 14 อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีของคณะ (3) “…เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” (2552) หนังสือ รวบรวมบทความเศรษฐศาสตร์การเมืองของ ทวี หมื่นนิกร (4) เศรษฐธรรม (2553) รวมบทปาฐกถากีรตยาจารย์ แห่งเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (5) ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (2554) 2. ชุดเศรษฐ’ ธรรมศาสตร์ สัมมนา (ECON TU Seminar Series) (1) Crisis: วิกฤติเศรษฐกิจโลก วิกฤติเศรษฐกิจไทย (2552) (2) U.S. Crisis: วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (2552) (3) วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์ (2552) (4) Microfinance และการเงินชุมชน (2552) (5) บทเรียนจากวิกฤตซับไพรม์ (2553) (6) ช่องว่างของความเข้าใจต่อภาคเกษตรและชนบทไทย (2554) 3. ชุดเศรษฐ’ ธรรมศาสตร์ วิชาการ (ECON TU Academic Series) (1) เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำ�นักท่าพระจันทร์ (2552) (2) Macrotrends: ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่ และการปรับตัวของไทย (2552) (3) มองเศรษฐกิจ มุมเศรษฐศาสตร์ (2553)


"เปนไปไมไดที่จะใชนโยบายอยางหนึ่งกับชนบททั้งหมด ที่เขาบอกวา “One size of shoes fits all” เปนไปไมได ถาขืนใส บางคนก็ใสสบาย บางคนก็แนน บางคนก็หลวม เพราะเทาแตละคนไมเทากัน" รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย

"ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันภาคเกษตรมีความเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ผมมักจะหงุดหงิดเสมอเวลามีคนอยากใหภาคเกษตรกลับไป เปนเหมือนเดิม เพราะผมรูสึกวามันเปนไปไมได" รศ.ดร.ประยงค เนตยารักษ

9 786167 347417


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.