ย่านเสาชิงช้า ถนนตีทอง และถนนบำรุงเมือง บรรยากาศรอบๆ บ้ านหมอหวานเมื่อเกือบ ๘๐ ปีก่ อนนั้น สงบร่มรื่น ถนนย่านเสาชิงช้าว่างมากมีเพียงรถรางสายหัวลำโพง– บางลำพู กับรถเจ๊กที่มีคนจีนรับจ้างลากรถ คุณป้าออระ วรโภค วัย ๘๖ ปี หลานตาของ หมอหวาน รอดม่วง หมอยาแผนโบราณ กล่าวถึงบรรยากาศของย่านรอบๆ บ้านหมอหวานเมื่อครั้งยังเป็น เด็ก กรุงเทพฯ ย่านวัดสุทัศน์เทพวรารามฯ หรืออาจจะคุ้นเคยว่า เป็น “ย่านเสาชิงช้า” เป็นพื้นที่สำคัญของพระนครมาตั้งแต่ครั้ง สร้างกรุงฯ โปรดฯ ให้สร้างเสาชิงช้าในพระนครขึ้นตรงหน้า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศน์เทพวรารามฯ ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันบริเวณหน้าวัด สุ ทั ศ น์ ฯ ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่หั ว เนื่องจากการพระราชพิธีโล้ชิงช้าตรียัมปวายซึ่งมีผู้คนมากมาย มาร่วมชมมีพื้นที่จำกัด นอกจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ที่เป็น ศาสนสถานมาแต่ต้นกรุงฯ แล้วก็ยังมีวัดเทพมณเฑียรและสมาคม ฮินดูสมาช รวมทั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนกิจการ ของชาวฮินดู-ซิกส์ในบริเวณใกล้เคียง ศาลพระนารายณ์ซึ่งสร้างขึ้น ภายหลังตรงเกาะกลางถนนอุณากรรณและถนนศิริพงษ์ บริเวณนี้ มีโรงเรียนเบญจม-ราชาลัยอยู่บริเวณฝั่งวัดสุทัศน์ฯ ด้านทิศตะวัน ออก ส่วนบริเวณถนนด้านตะวันตกของวัดสุทัศน์ฯ คือถนนตีทอง ตัดกับถนนบำรุงเมืองเรื่อยไปจนจรดถนนตรีเพชร ถนนที่ขนานและ
ฟื ้น พลังยาไทย
บ ำ รุ ง ช า ติ สาสนา ยาไทย
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
แผนที่กรุงเทพมหานคร ย่านเสาชิงช้า รอบวัดสุทัศน์ฯ ถนนบำรุงเมือง ถนนตีทอง ถนนเฟื่องนคร ถนนตะนาว ฯลฯ
เฟื่องนคร เมื่อตัดกับถนนบำรุงเมืองเรียกว่า สี่กั๊กเสาชิงช้า ถนน ตะนาวนั้นผ่านแพร่งนรา แพร่งภูธร แพร่งสรรพศาตร์ ย่าน แพร่งบริเวณถนนตะนาวนี้มีร้านค้าที่มีสินค้าราคาแพงจากต่าง ประเทศมาขายโดยเป็ น ที่รู้จั ก แพร่ ห ลายกั น ดี ม าตั้ง แต่ ค รั้ง รัชกาลที่ ๕ เคยมีทั้งโรงละคร ร้านอาหารอร่อยหลายแห่ง ร้าน
ขายเครื่องหนัง หมวกรวมทั้งเครื่องหมายสำหรับข้าราชการ เพราะบริเวณนี้ใกล้กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานราชการอีกหลายแห่ง ต่อจากนั้นเป็นศาลเจ้าพ่อ เสือและวัดมหรรณพารามไปทางสี่แยกคอกวัว จากแยกสี่กั๊ก เสาชิงช้าที่เป็นถนนเฟื่องนครผ่านหน้าวัดราชบพิธฯ และย่าน
๒
แผนที่แสดงแนวคลองหลอดบนและล่างที่ขุดพร้อมๆ กับคลองเมืองบางลำพู-โอ่งอ่าง โดยมีคลองเชื่อมที่ข้างวัดสุัศน์ฯ ริมถนนอุณากรรณ แต่ปัจจุบันถูกถมกลบไปแล้ว
รูปปั้นเหมือนหมอหวาน รอดม่วง หมอหวานไม่ปรากฏในภาพถ่ายใดๆ คงมีแต่รูปปั้นเหมือนชิ้นนี้เท่านั้น
โรงพิมพ์ในอดีตไปจนถึงสี่กั๊กพระยาศรี จากสี่กั๊กเสาชิงช้าไปจนจรดแยกสำราญราษฎร์ มีตึกแถวเก่าแก่รุ่น แรกๆ ของประเทศไทยที่ริมถนนบำรุงเมืองซึ่งเป็นย่านจำหน่ายสังฆภัณฑ์ เก่าแก่และใหญ่ที่สุด พื้นที่ทั้งหมดโดยรอบย่านเสาชิงช้า วัดสุทัศน์ฯ ถือว่าอยู่ในเส้นทางเก่า แก่ของพระนครตั้งแต่ครั้งเมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ ซึ่งน่าจะเป็นทางลำลองไม่ กว้างแต่อย่างใด เพราะเป็นเส้นทางที่ตัดออกจากพระบรมมหาราชวังออก ไปยังเสาชิงช้า โบสถ์พราหมณ์ และวัดสุทัศน์เทพวรารามฯ ซึ่งเป็นวัดสร้าง ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมา จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดสำคัญของพระนคร อีกแห่งหนึ่ง และเมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนแบบตะวันตกขึ้นหลายสาย ซึ่งทำให้กว้างอัดพื้นให้เรียบเพื่อ การใช้ยานพานหนะและการขี่ม้าของชาวตะวันตก และเริ่มสร้างตึกแถวเพื่อ
ให้เช่าจนกลายเป็นร้านค้าตามถนนสายแรกๆ ของกรุงเทพฯ คือถนนบำรุงเมืองและเฟื่องนคร และสร้างถนนเจริญกรุงให้เชื่อมต่อกับย้านการ ค้าของคนจีนและเลยไปทางย่านเศรษฐกิจริม แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงถนนตกด้วย กล่าวได้ว่าบริเวณย่านเสาชิงช้าตลอดจน บริเวณถนนรายรอบวัดสุทัศน์ฯ เรื่อยไปจนถึงสี่ กั๊กเสาชิงช้าและสี่กั๊กพระยาศรี จึงเป็น “ย่าน การค้าแบบสมัยใหม่” บริเวณแรกๆ ของ พระนครตั้ง แต่ ก รุ ง เทพฯ เริ่ม เข้ า สู่ยุ ค การ เปลี่ยนแปลงสู่ยุคทันสมัย [Modern] ตั้งแต่ช่วง รัชกาลที่ ๔ และ ๕ เป็นต้นมา
๓
ร้านยาหมอหวาน : บ้านหมอหวาน เล่ากันในครอบครัวของหมอหวานว่า เริ่มแรกหมอหวานตั้ง บ้านเรือนอยู่บริเวณแยกถนนอุณากรรณที่ต่อกับย่านชุมชนถนน บ้านลาวที่กลายมาเป็นถนนเจริญกรุงในเวลาต่อมา ซึ่งอยู่ทางฝั่ง ตะวันออกของวัดสุทัศน์ฯ ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ฟากถนนตีทองที่อยู่ ฟากตะวันตกใกล้กับถนนบำรุงเมือง แม้ไม่ได้สร้างเป็นอาคาร ร้านค้าริมถนนแต่ก็อยู่ในจุดที่สามารถเดินเท้าเข้าถึงได้จากถนน ทั้งสองแห่ง บ้างคิดว่าเป็นมุมอับ แต่การสร้างให้เป็นทั้งบ้านและ ร้านขายยาก็ดูจะเหมาะสมกับพื้นที่เช่นนี้ โดยทำส่วนหน้าเป็น ร้านขายยา ในตรอกที่เข้าได้ถึงทั้งถนนตีทองและถนนบำรุงเมือง ร้านยาหมอหวานเป็นตึกสวยออกแบบตามสถาปัตยกรรมแบบโค โลเนียล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ หน้าอาคารมีตัวอักษรแปลก ตาเขี ย นติ ด กั น ว่ า “บำรุ ง ชาติ ส าสนายาไทย” ถั ด ลงมามี สัญลักษณ์ตาเหลวและชื่อหมอหวาน เจ้าของผู้สร้างอาคารหลังนี้ ที่ร้านหมอหวานในปัจจุบัน ทายาทรุ่นเหลนตา คุณภาสินี ญาโณทั ย และคณะ ศึ ก ษาและค้ น คว้ า หลั ก ฐานจากสมบั ติ ตกทอดสืบกันมาภายในบ้าน พบว่ามีฉลากยาเก่าเขียนว่า “ร้าน ขายยาไทยตราชะเหลว” ของหมอหวานตั้งอยู่มุมถนนอุณากรรณ แสดงว่ า หมอหวานน่ า จะมี กิ จ การปรุ ง ยามาตั้ง แต่ ก่ อ นสร้ า ง บ้านหมอหวานหลังนี้นานพอสมควร เพราะสามารถสร้างบ้าน เป็นตึกหลังงามขนาดย่อมบนที่ดินของตนเองและเป็นบ้านตึกที่ แสดงถึงฐานะอย่างภูมิฐาน ร้านยาหมอหวานนั้นสร้างขึ้น ๑ ปีภายหลังจากมี “พระราช บัญญัติการแพทย์พุทธศักราช ๒๔๖๖” โดยเนื้อความว่า การ รักษาโรคนั้นเป็น “การประกอบโรคศิลปะ” ที่มีอิทธิพลต่อ สวัสดิภาพของประชาชน กรุงสยามยังไม่มีระเบียบบังคับควบคุม ประชาชนยังไม่มีความคุ้มครองจากอันตรายอันอาจจะเกิดจะ
การประกอบโดยผู้ไร้ความรู้และไม่ได้ฝึกหัด เป็นต้น ในพระราช บัญญัตินี้กล่าวเฉพาะถึงการปรุงยาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ครอบคลุม ถึงการขายยาด้วย ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงควบคุมให้สถานขายยา การโฆษณายาต่างๆ ให้อยู่ ในการประกอบโรคศิลปะด้วย เพราะในยุคนั้นการแพทย์แบบสากลคือแบบตะวันตกได้แพร่ หลายเข้ามามากแล้วและเป็นระยะเวลานานแล้ว เช่น การสร้าง โอสถศาลาของมิ ช ชั่น นารี ช าวอเมริ กั น ตั้ง แต่ เ มื่อ ครั้ง รั ช กาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “หมอบรัดเลย์” เปิด “โอสถศาลา” ขึ้นเป็นที่แรกในสยาม ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ เพื่อ ทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ จน เริ่มมีการสร้างโอสถศาลาตามหัวเมืองต่างๆ โดยรัฐในเวลาต่อ มาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๖๖ เแบ่งการแพทย์เป็น ๒ แผน คือ แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนโบราณ โดยแพทย์ แผนโบราณแบ่งออกเป็น ๔ สาขา ได้แก่ สาขาเวชกรรมแผน โบราณ เภสัชกรรมแผนโบราณ ผดุงครรภ์แผนโบราณ และสาขา นวดแผนโบราณ ดังนั้นทั้งการปรุงยาและการขายและโฆษณายา ต่างๆ จึงถูกควบคุมด้วยพระราชบัญญัติการแพทย์มาตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๖ และร้านหมอหวานก็อยู่ในขอบข่ายของการควบคุม ดังกล่าว โดยการทำใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย โดยนิยามหมอโบราณหรือหมอแผนโบราณที่ถูกต้องตามพ ระราชบัญญัติควบคุมกรประกอบโรคศิลปตามกฏหมาย มีใบ อนุญาตประกอบโรคศิลปะได้จะต้องตรวจโรค รักษาโรคได้ตาม หลักโบราณที่สืบเนื่องกันมา ใช้ยารักษาโรคต้องใช้สมุนไพรที่เป็น พืช สัตว์และแร่ธาตุมาประกอบเป็นยารักษาโรค จะใช้ ยาแผน ปัจจุบันหรือฉีดยาไม่ได้ ผิดสาขาในการประกอบโรคศิลป เพราะ การเรียนรู้นั้นต่างกันกับหมอแผนปัจจุบัน
๔
ฟื ้น พ ลั ง ย า ไ ท ย บ ำ รุ ง ช า ติ ส า ส น า ย า ไ ท ย
ภาพบน ภาสินี ณาโญทัย ทายาทรุ่นที่ ๔ เหลนตาของหมอหวาน รอดม่วง
หมอโบราณจึงใช้ยาหม้อต้ม ยาผง ยาปั้นลูก กลอน บีบนวดและประคบยาสมุนไพรแผน โบราณหมอใช้ผสมเป็นยารักษาโรค หมายถึง นำตัวยาที่เป็นพืช สัตว์และแร่ธาตุ ไปรวมกัน แล้วต้มกินน้ำ หรือนำไปบดเป็นผงให้ละเอียด ก่ อ นละลายน้ ำ ดื่ม กิ น และปั้น เป็ น ลู ก กลอน กลื นกิ น จะปรุ ง ยาแผนโบราณบรรจุ ใ น แคปซูลทำเม็ดเคลือบไม่ได้ เพราะพระราช บัญญัติการประกอบโรคศิลปห้ามไว้ จากหลักฐานที่เหลืออยู่ที่บ้านหมอหวาน คุณภาสินีพบว่ามีหูฟังและปรอทวัดไข้เหมือน แพทย์แผนปัจจุบันและขวดยาที่ตั้งไว้ภายใน ร้านก็มีตัวอักษรภาษาอังกฤษกำกับอยู่ด้วย ด้วยจากยาที่เป็นยาต้มยาหม้อ ยาผง แต่ส่วน ใหญ่ยาที่เหลือติดก้นขวดจะเป็นยาเม็ด และมี บล็อกพิมพ์ แสดงถึงการปรับตัวจากยาไทย ให้เป็นยาเม็ดแบบฝรั่ง การตรวจรักษาก็นำ การแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาผนวก หมอ หวานจึงเป็นบุคคลประเภทผสานความรู้ทั้ง ของดั้งเดิมและแบบแผนสมัยใหม่ในทางการ แพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นสากลเมื่อเปิดร้าน ยานี้ การแพทย์ท้องถิ่นและการรักษาโดยยา ท้ อ งถิ่น ถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ง ในชี วิ ต ของผู้ค นที่ สืบทอดกันมาและมักเป็นความรู้ที่อยู่กับวัด อันเป็นสถานศึกษาแบบเดิม มีตำรายาต่างๆ มากมายที่เก็บรักษาไว้ตามวัด หมอสมุนไพร ก็มักเป็นพระสงฆ์ตามวัดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีตระกูลของหมอยาผู้รู้ต่างๆ เก็บรักษา ตำรายาและความรู้อยู่ในตระกูลตามบ้านอีก จำนวนมาก การรักษานั้นส่วนใหญ่ควบคู่ไป กับการรักษาแบบจารีตและความเชื่อ จึงดูไม่ เป็นสากลแบบสมัยใหม่ตามระบบวิธีคิดแบบ วิ ท ยาศาสตร์ ที่เ ป็ น กระแสครอบงำโลกยุ ค สมัยใหม่ [Modern] ในช่วงเวลาดังกล่าว
๕
บริเวณตลาดบำเพ็ญบุญที่เป็นอาคารสองชั้นและติดกับคลองหลอด วัดราชบพิธฯ เคยเป็นสถานที่ตั้งของวังพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณ อนันตนรไชย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญ อุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
เมื่อมีกฎหมายควบคุม หมอไทยและหมอพื้นบ้านเริ่มรู้สึกไม่ มั่นคงในอาชีพ บางส่วนต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำ เพราะส่วน ใหญ่เป็นการรับสืบทอดความรู้และการฝึกฝนกันในตระกูล หรือเรียนจากพระจากตำราวัด และไม่ได้เรียนในระบบและมี ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ปรุงยาก็กลัวว่าจะมีความผิด ทำให้บางส่วนก็เลิกอาชีพไป ตำรายาหลายขนานก็หายไป จนเริ่มมีความนิยมนำยาไทย สมุนไพรต่างๆ มาเผยแพร่อีก ครั้งโดยการแพทย์ทางเลือกที่มีการผลิตสมุนไพรต่างๆ และ แพทย์ แ ผนไทยที่เ ปิ ด สอนในหลายสถาบั น ในระยะราว ๒๐-๓๐ ปีที่ผ่านมา คุณภาสินีได้รับรู้จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษว่า หมอ หวานมีโอกาสได้ถวายการรักษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่าง ประเทศ และได้ รั บ พระราชทานกล่ อ งไม้ จ ากพระธิ ด า พระองค์หนึ่งว่า “ขอบใจหมอหวาน ที่ช่วยปรนนิบัติเสด็จพ่อ เมื่อคราวประชวร” หมอหวานอาจจะเข้าไปตรวจรักษาพระองค์ท่านเมื่อ คราวประทับอยู่ที่วังเดิมเชิงสะพานถ่านหรือวังสะพานถ่านที่ ตั้งอยู่บนถนนตีทองไม่ไกลจากบ้านหมอหวานที่ถนนอุณา กรรณนัก ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้ า งวั ง พระราชทานบนที่ดิ น พระราชทานจากพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และย้ายไปประทับอยู่ ณ วังเทวะเวศม์ แถบบางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ก่อสร้าง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อมาบริเวณวังสะพานถ่านต่อมาถูก รื้อและกลายเป็นตลาดบำเพ็ญบุญ หมอหวานปรุงยาแผนโบราณหลายตำรับ ทั้งยาระบาย ยากวาดคอเด็ก ยาหอม ยาแก้ปวดหัวตัวร้อน เป็นร้านยา สำหรับชาวบ้านในพระนครทั่วไป มีคนไข้มารักษาที่บ้านบ้าง มาซื้อยาไปรักษาเองบ้าง บ้านหมอหวานจึงเป็นทั้งคลีนิค รักษาและสถานที่ปรุงยา และเมื่อย้ายสถานที่อยู ่อาศัยและ ปรุ ง ยาจากมุ ม ถนนอุ ณ ากรรณมาเป็ น ถนนตี ท องและ บำรุงเมือง ฉลากยาก็เปลี่ยน ในฉลากยาจะมีเขียนไว้ว่าขายส่งขายปลีก และน่าจะขาย ดีมากเพราะเพราะมีการปลอมเกิดขึ้น ต้องทำฉลากยาที่บาง ชิ้นเขียนว่า “ของหมอหวานแท้ต้องมีตราหมอหวาน” ลงใน เอกสารกำกับยาซึ่งจะเว้นที่ไว้ เข้าใจว่าเตรียมไว้สำหรับเอา ตราประทับลงไป พบตราประทับประมาณ ๔-๕ แบบ แบบ แรกๆ จะเป็นแบบลายมือ แล้วพัฒนามาเป็นแบบกึ่งพิมพ์ ซึ่ง พิมพ์ที่ถนนตีทองนี่เอง ยาหมอหวานจึงมียี่ห้อขึ้นมาในช่วง นั้น และถึงช่วงเวลาที่กำลังสร้างตึกหลังนี้ ก็เริ่มมีการใส่ ประโยคที่ว่า “บำรุงชาติสาสนายาไทย” ลงไปในเอกสาร กำกับยาตั้งแต่อยู่ที่ถนนอุณากรรณก่อนย้ายมาที่นี่ และตำรับ “ยาหอมมหาสว่างภพ” มีเอกสารกำกับยาเป็น เล่ ม เพราะสรรพคุ ณ มากมายและพิ ม พ์ เ ป็ น จำนวนมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นตำรับยาหอมที่ขายดีที่สุด
๖
คุณออระ วรโภค หลานตาของหมอหวาน รอดม่วง
คุณภาสินียังค้นพบเรื่องราวของหมอหวานด้วยตนเองต่อไปอีกคือ โครงสร้าง ของบ้านหมอหวานแบ่งออกเป็นสองส่วนชัดเจน แต่หากมองจากด้านหน้าเข้า มาแล้วเหมือนมีเพียงตึกเดียวที่คงออกแบบโดยสถาปนิกชาวต่างชาติ โดย เฉพาะชาวอิตาเลียนซึ่งเข้ามารับราชการและที่ทำการรัฐบาล อาคารวังต่างๆ รวมทั้งออกแบบตึกแถวร้านค้า ซึ่งร้านหมอหวานก็น่าจะเป็นการออกแบบของ สถาปนิกชาวต่างชาติท่านหนึ่งท่านใดในยุคนั้น ถัดไปคือบ้านไม้ที่เป็นเรือนพัก อาศัยของคนในบ้าน ตัวตึกนั้นคงตั้งใจจะทำให้เป็นร้านขายยาแบบตะวันตกที่ มีหน้าร้าน มีบานประตูสูง ด้านข้างมีการจัดแสดงสินค้าหน้าร้าน วางขวดยา เพื่อให้ทราบว่าที่นี่คือร้านขายยา ภายในร้านมีเคาท์เตอร์ยา ข้างหลังเคาท์ เตอร์จะเป็นตู้ยาวางแสดงขวดยาหรือตัวยาต่างๆ และเมื่อตรวจสอบเอกสาร เก่าๆ ดูก็พบว่ามีตำรายาที่จดในสมุดฝรั่งบ้าง แต่สมุดไทยแบบผูกมากที่สุด และน่ า จะเป็ น สู ต รยาหอมและมี ห ลายตำรั บ ซึ่ง ยั ง ตกทอดมาจนปรุ ง อยู่ถึ ง ปัจจุบัน หมอหวานมีบุตรสาวที่เป็นคุณยายของคุณภาสินี ซึ่งรับสืบทอดการปรุงยา ร้านหมอหวานสืบมา โดยแต่งงานและมีบุตร ๓ ท่าน หนึ่งในหลานสาวของ หมอหวานคือคุณป้าออระ วรโภค คุณป้าของคุณภาสินี ซึ่งเกิดทันได้เห็นได้พบ คุณตาคือหมอหวาน จำได้ว่าท่านเป็นคนที่พูดน้อย หน้าไม่หน้ายิ้ม เหมือนเป็น ผู้ใหญ่ที่ดุ อาเจ็กที่ขายยาพวกเครื่องยาสมุนไพรตรงเสาชิงช้าเล่าให้คุณภาสินี ฟังว่า เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่นก็เคยพบหมอหวาน ท่านมักเดินไปซื้อเครื่องยามาปรุง ยาด้วยตัวเองเป็นประจำ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงเรียนต่างปิดการเรียนการสอนเพราะกลัว ระเบิดลง คุณยายของคุณภาสินีเห็นว่าอยู่กรุงเทพฯ ไม่ปลอดภัย ก็พาลูกๆ และคุณพ่ออพยพไปอยู่ต่างจังหวัด ครั้งแรกไปอยู่ที่คลองหก ปทุมธานี หลังที่
ว่าการธัญบุรี อยู่ประมาณ ๔-๕ เดือน แล้วก ลับมาบ้าน อยู่ได้ไม่เท่าไหร่พอระเบิดลงหนัก ก็ ต้ อ งอพยพไปอยู่ต่ า งจั ง หวั ด อี ก ไปไกลถึ ง จังหวัดนครนายก ระหว่างนั้นก็มีคนเฝ้าบ้าน เป็นผู้ชายอยู่เฝ้าบ้านและช่วยขายยาหอมให้ ด้วยเนื่องจากช่วงสงครามที่ไม่สะดวกหลาย ประการ ผู้คนเจ็บป่วยก็ต้องใช้ยาของไทย ยาที่ร้านหมอหวานจึงขายดีกว่าปกติ หลังจากสงครามสงบและหมอหวานกลับ มาพักที่บ้านแล้ว ท่านก็ถึงแก่กรรมที่บ้านซึ่ง ท่านสร้างขึ้นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ รวมอายุ ของท่านราวๆ ๗๗ ปี คุณป้าออระ วรโภค หลานสาวหมอ หวานเคยนั่งรถรางไปเรียนที่โรงเรียนเบญจม ราชาลัยย่านเสาชิงช้าที่อยู่ไม่ไกลบ้านนัก และ สอบเข้าได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลง กรณมหาวิทยาลัย ในยุคสมัยที่ผู้หญิงมีอยู่ไม่ กี่คน ด้วยบรรยากาศเช่นนั้นจึงลาออกเพื่อไป สอบใหม่ที่คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทน แล้วจึงข้าม ฝั่งไปทำงานที่ศิริราช เป็นเลขาของคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เงิ น เดื อ นเดื อ นแรกที่ไ ด้ เ อามาให้ คุ ณ แม่ ซื้อ เครื่องบดยา ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้แรงคน เพราะ มีแต่ผู้หญิงในบ้านเป็นส่วนใหญ่ การใช้แรง ใช้กำลังจึงเป็นงานหนักเกินกำลังมากไป และ เมื่ออายุ ๒๖-๒๗ ปี ท่านไปเรียนเรียน เภสั ช กรรมไทยที ่ วั ด โพธิ ์ เพื ่ อ ให้ ไ ด้ ใ บ ประกอบโรคศิลป์ และรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ สมุนไพรและการปรุงยาที่มีการสอนกัน ช่วง นี้เป็นยุคที่ร้านหมอหวานยังมีลูกจ้างช่วยงาน และการขายยายังเป็นไปด้วยดี เป็นรายได้ หลักของครอบครัว คุณยายและคุณป้าของคุณภาสินีที่เป็นผู้ หญิงทั้งนั้นและมีลูกมือท่านหนึ่งที่เป็นเสมือน เครือญาติ แต่ก็มีงานประจำมาช่วยหั่นยา บดยา ปรุงยาในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งต้อง ใช้แรงงานมาก หลังจากหมอหวานเสียชีวิต ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลิตลดลงไป จากเดิมมาก ยาบางตำรับก็ไม่ได้ทำเหมือน
๗
เช่นในสมัยหมอหวานยังมีชีวิตอยู่ แต่พอราว พ.ศ. ๒๕๒๖ บุตรสาวของหมอ หวานที่เป็นคุณยายของคุณภาสินีเสียชีวิตลง จึงถึงจุดเปลี่ยนเพราะคุณป้าออ ระและคุณแม่คุณภาสินีไม่สามารถรับช่วงมาทำได้แบบประจำ จึงคิดว่าจะยุติ กิจการไปและคืนทะเบียนทุกอย่างหมด แต่ลูกค้ากลุ่มที่ซื้อเก่าแก่ก็ยังขอให้ทำ ขาย แต่ผลิตกันอย่างไม่เป็นทางการรู้กันเองในหมู่ของลูกค้าเก่าแก่ จนเมื่อ ราว ๗ ปีที่แล้ว คุณภาสินี ญาโณทัยจึงลาออกออกจากงานประจำก็มาทำ เต็มตัว สานต่อกิจการที่แทบจะเลิกไปทั้งหมดแล้วขึ้นมาใหม่ เพราะรู้สึก เสียดาย
ภาสินี ญาโณทัย เหลนหมอหวาน ผู้ฟื้นยาหอมหมอหวานและกิจการ “บำรุงชาติ สาสนา ยาไทย” “ตอนเด็กๆ คุ ณพ่อคุณแม่จะพามาอยู่กับคุณยายในช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์” คุณภาสินี เล่าให้ฟังถึงความประทั บใจครั้งหลังที่ได้เติบโตในบางส่วน เสี้ยวของชีวิตที่บ้านหมอหวานแห่งนี้ จนถึงเมื่อตัดสินใจบอกกับทางบ้านว่า จะขอลาออกจากงานประจำเพื่อมาดำเนินกิจการร้านหมอหวานอย่างเต็มที่ เมื่อ ๗ ปีที่แล้ว โดยเริ่มเห็นว่ากิจการหลายอย่างเลิกทำเพราะไม่มีลูกหลานทำต่อ เมื่อ บอกคุณแม่ว่าจะออกจากงาน ทุกคนไม่เห็นด้วยเพราะมีอาชีพรับราชการกัน หมด แต่ก็ต้องให้ทำ โดยเริ่มจากการเรียนรู้ปรุงยา ลงมือทำ ช่วงเริ่มต้นมี ความสุขมาก เพราะหลายๆ อย่างที่คิดฝันไว้ว่าเราอยากจะทำก็มีโอกาส ลงมือทำ มีคนนี้มาชวนทำนิทรรศการเรื่องยาหอมหรือการไปออกบูธ เทดสอบว่า มีการตอบสนองอย่างไรเมื่อเห็นยาแผนโบราณของหมอหวาน หรือลการเริ่ม ทำบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้สึกว่าเล่าเรื่องอย่างที่เราอยากจะเล่าได้ เป็นเชิงทดลอง ในสิ่งที่คิดเอาไว้ เป็นจังหวะดีมาก ๆ เพราะสื่อสนใจก็เลยทำให้มีลูกค้ากลุ่ม ใหม่ที่เห็นจากสื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระยะแรกจึงเป็นเรื่องของการเผยแพร่สื่อสารและสร้างแบรนด์ มีการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น และมีการไปเรียนแพทย์แผนไทยมา เพิ่มเติมโดยผู้ร่วมงาน แต่ว่าพอช่วงที่ ๒ ก็เป็นช่วงของการที่คิดเรื่องวัตถุดิบที่มีราคาสูง เพราะ ยาหอมของเราใช้วัตถุดิบหลายตัวซึ่งมีราคาสูงทำให้โอกาสที่คนจะเข้าถึงยา เราจะได้เฉพาะกลุ่ม จึงคิดว่าทำยังไงที่ให้เราปรุงยาที่มีสรรพคุณและราคาไม่ แพง อาจเป็นตำรับใกล้เคียงกัน วัตถุดิบที่ใช้ไม่ต้องใช้ตัวที่มีราคาสูงมาก รวมถึงเราไปแก้โจทย์เรื่องความยากที่คนจะใช้ยาหอมด้วยรสชาติรูปแบบหรือ ทัศนคติที่มองว่าเป็นยาของคนสูงวัย ก็เลยออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “ลูกอม ชื่นจิตต์” ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาหอม แต่มีสรรพคุณแก้ท้องอืดช่วยย่อย เหมือนเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจากฐานเดิม
ผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ที่ ร้านยาหมอหวานในปัจจุบันที่ ภาสินี ณาโญทัยเข้ามาดำเนินกิจการ ต่อจากญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว
๘
ฟื ้น พ ลั ง ย า ไ ท ย บ ำ รุ ง ช า ติ ส า ส น า ย า ไ ท ย ต่อมาคือการปรับปรุงอาคาร เพราะเคยเป็นทั้งบ้านพักอาศัยและ เป็นร้านขายยา แต่ในยุคคุณยายใช้ปรุงยา แล้วก็เลี้ยงลูก ๓ คน จึงมีความเป็นบ้านมากกว่า ในยุคคุณป้าลูกค้ามาซื้อก็แทบจะไม่ ให้เข้ามาในบ้าน แต่ในยุคที่มาสานต่อ ก็ไปเจองานวิจัยเล่มหนึ่ง ซึ่งพูดถึงวัฒนธรรมใช้ยาหอมในสังคมไทย การทำให้ยาหอม ดำรงอยู่ได้บางทีต้องนำเสนอในเรื่องสรรพคุณในเชิงวัฒนธรรม ตัวอาคารเป็นสถานที่จริงใช้ในการปรุงยามาตั้งแต่อดีตและเป็น ที่อยู่อาศัยของหมอ ก็ตั้งใจจะทำตรงนี้ให้เป็นสถานที่ซึ่งจะมา แวะเยี่ยมมาท่องเที่ยวได้ในย่านเก่าเมืองเก่า รูปแบบตัวบรรจุภัณฑ์ต่างจะเล่าเรื่อง ผ้าขาวบางที่ใช้กรอง ผงยาหอม กล่องได้แรงบันดาลใจจากกล่องที่หมอหวานได้รับ พระราชทาน เป็นขวัญที่คนสมัยก่อนนิยม ยาหอมเป็นยาที่มี ตำรับเรื่องช่วยความสดชื่น ชื่นชมให้กำลังใจ ก็ให้ยาหอมกัน ดัง นั้นจึงทำบรรจุภัณฑ์เพื่อไปให้เป็นของขวัญ ตอนนี้ได้รับการ
สนับสนุนจากทั้ง ททท. และกองการท่องเที่ยวของ กทม. เวลามี กิจกรรมที่เขาจะต้องเดินเที่ยวย่านเก่ากัน คนก็จะมาแวะพัก เรา มีสาธิตการปรุงยาหอมสั้นๆ ให้ชมด้วย คุณภาสินีเล่าให้ฟังว่าลูกค้ากลุ่มใหม่จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะ คนสูงอายุ คนทำงานหรือแม้กระทั่งวัยรุ่นก็อาจจะมีอาการที่เกิด จากธาตุลมทำงานไม่ปกติก็ได้ เราก็อธิบายให้เขารู้ว่า ยาหอมไม่ ใช้เรื่องล้าสมัย ไม่ว่าจะต่อไปอีก ๕ ปี ๑๐ ปี อาการเหล่านี้ก็ จะเกิดขึ้นได้ พออายุมากขึ้นมักจะเกิดอาการแน่นท้อง เครียด มึนศีรษะ ลูกค้ากลุ่มใหม่จะเป็นกลุ่มอายุน้อยลง มีความชอบ หลากหลายมากขึ้น บางกลุ่ม จะเข้ า มาในลั ก ษณะชอบบ้ า น เป็นอาคารโบราณ สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล บางคนชอบ บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ยาหอม เมื่อได้รับรู้ถึงภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน แม้ว่าเขาจะไม่เคยทานยาหอม แต่ซื้อไปฝากญาติผู้ใหญ่หรือซื้อ ฝากคนเฒ่าคนแก่
ร้านและบ้านหมอหวาน ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗
๙
ฉลากยาหมอหวานชนิดต่างๆ ตั้งแต่ครั้งตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง ริมสี่แยกถนนอุณากรรณ
“ยาหอม” ยาสารพัดนึก ของคนไทย ยาหอมนั้นถือกำเนิดในสังคมไทยมา นาน กล่าวกันว่าเริ่มแรกมีใช้เฉพาะใน ราชสำนักและข้าราชบริพาร เนื่องจากตัว ยาที่น ำมาปรุ ง ยาหอมหายากและราคา แพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย ยาหอมจึงถือเป็นของสูงค่า ต่อ มายาหอมเริ่ม แพร่ ก ระจายสู่ส ามั ญ ชน เพราะการสาธารณสุขในยุคแรกเริ่มมีการ สถาปนา “กรมพยาบาล” ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยมี พ ระเจ้ า น้ อ งยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีคนแรก จัดให้มีการผลิตยาตำรา หลวงและตั้ง “โอสถศาลา” ขึ้นเพื่อเป็นที่
สะสมยาและเวชภัณฑ์ เพื่อใช้ในสถาน พยาบาลและองค์การต่างๆ ของรัฐบาล “ยาหอม” จากราชสำนักจึงแพร่หลาย กลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน “ยาหอม” และ “ยาลม” หมายถึง ตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาหลายชนิด โดยส่วนใหญ่มีกลิ่นหอม และมีรสรวม ของตำรับ คือ รสสุขุม เพื่อปรับการ ทำงานของลมชนิดต่างๆ ให้เข้าสู่สภาวะ ปกติ แพทย์แผนไทยสมัยก่อนต้องมียา หอม ยาลม ประจำล่วมยา เพื่อใช้รักษา เบื้องต้นร่วมกับน้ำกระสายยา แล้วค่อย จ่ายยาต้มตามภายหลัง ตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โรคลม มี ๒ ประเภท คือลมกองหยาบ กับลมกองละเอียด
ลมกองหยาบ คือ ลมหายใจเข้ าออก ลมในท้องและลำไส้ มักจะมีอาการจุก แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เรอ และ ผายลม ลมกองละเอียด คือ ลมที่ก่อให้เกิ ด อาการหน้ามือตาลาย เวียนศรีรษะ ใจสั่น สวิงสวาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตกใจ เสียใจ แพ้ท้อง และทำงานกลาง แดดจัดนานๆ หากธาตุลมปกติ ก็จะทำให้ร่างกาย ทำงานได้อย่างปกติสมดุลตามไปด้วย แต่ หากลมนั้นผิดปกติไป เช่น มีการกำเริบ หย่อน หรือพิการ ก็ส่งผลกระทบทำให้ ร่างกายเสียสมดุล และทำงานผิดปกติ ตามไปด้ ว ย ซึ่ง ในกรณี ล มผิ ด ปกติ ดั ง กล่าว ยาหอม คือ ยารสสุขุม กลิ่นหอม ยาหอมเป็นเอกลักษณ์การปรุงยาที่ ปรับปรุงขึ้นตามแบบแพทย์แผนไทย ซึ่งมี ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยไม่พบ
การใช้ยาหอมในแพทย์แผนอื่นๆ ยาหอมถู ก กำหนดให้ เ ป็ น ยาสามั ญ ประจำบ้านแผนโบราณ สามารถจำหน่าย ได้ทุกสถานที่ หมอแผนโบราณใช้รักษา อาการไข้ บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ แก้ลม
๑๐
ยาหอมหมอหวานในปัจจุบัน
วิงเวียน มีอยู่ ๔ ตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่ อย. (องค์การ อาหารและยา) คือ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาหอ มอินทจักร์ ยาหอมนวโกฐ เป็นตำรับที ่ใครก็สามารถลอกนำ ไปใช้ได้ เป็นสูตรยาตายตัว ซึ่งจะเป็นกลุ่มยาสมุนไพรที่มี กลิ่นหอม แต่ปัจจุบันได้มีการกำหนดสรรพคุณใหม่ให้เป็นยา ที่สรรพคุณแก้ลมวิงเวียน ยังมีแต่ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” เท่านั้นที่ระบุสรรพคุณชัดเจนว่าใช้บำรุงหัวใจ ตำรับยาหอมในหนังสืออายุรเวทศึกษา พอจะอนุมาน ได้ว่า ยาหอมมีส่วนประกอบหลักอยู่ ๓ ส่วน คือ ๑. เป็นยารสสุขุม มีกลิ่นหอม โดยอาศัยกลิ่น รส และ สรรพคุณจากสมุนไพรบางกลุ่ม เช่น เกสรทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ อบเชย ขอนดอก กระลำพัก กฤษณา ชะลูด เป็นต้น ๒. เป็นยาที่ใช้ปรับความสมดุลของธาตุทั้ง ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ในกาย ซึ่งอาจเกิดจากการผิดปกติ หรือการแปรผัน ไปตามสภาพอากาศของฤดูกาล โดยอาศัยกลุ่มพิกัดยาบาง พิกัดเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ พิกัดเบญจกูล พิกัดตรีผลา พิกัดตรี กฎุก พิกัดตรีสาร เป็นต้น ๓. เป็นยาที่ใช้ในการแก้อาการที่ต้องการรักษาโดยตรง เช่น วิงเวียน จุกเสียด ใจสั่น ปวดศีรษะ ฯลฯ
หากนำกลุ่มอาการที่เกิดจากโรคลมทั้ง ๒๓ กองมา วิเคราะห์ตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วจะสามารถ เทียบเคียงได้กับกลุ่มอาการของโรคดังนี้ อาการบ้านหมุน [Vertigo], อาการใจสั่น [Papitation], อารมณ์ เ ครี ย ด [Einolional Stress], ปวดศรี ษ ะ [Headache]
ยาหอมตำรับหมอหวาน ในท้องตลาดจึงมียาหอมหลากหลายสูตรให้เลือกซื้อหา แบ่งออกเป็นยาหอมที่มุ่งแก้ลมกองหยาบ และกองละเอียด คนที่เป็นลมซึ่งเกิดจากลมกองหยาบจะมีอาการคลื่นไส้ ท้อง เฟ้อ ส่วนคนที่เป็นลมซึ่งเกิดจากลมกองละเอียดเป็นลมเบื้อง สูง มีอาการแน่นหน้าอกใจสั่น วิงเวียนหน้ามืด ยาหอมทั่วไปมีสมุนไพรที่มุ่งเน้นแก้ลมกองหยาบ ส่วน ตัวยาแก้ลมกองละเอียดมีน้อย เพราะตัวยาแพง หากไปขาย ในท้องตลาดราคาแพงจะขายยาก หนึ่งในจำนวนยาหอม โบราณ มียาหอมตำรับหมอหวานที่ขึ้นชื่อด้วยสรรพคุณใน การรักษามุ่งเน้นแก้ลมกองละเอียด จึงมีราคาค่อนข้างสูง กว่ายาหอมทั่วไป สมัยที่หมอหวานมีชีวิตอยู่ สืบเนื่องมาจนกระทั่งคุณยาย เฉื่อ ยมารั บ ช่ ว งปรุ ง ยาต่ อ นั้น เป็ น ช่ ว งที่มี ต ำรั บ ยาแผน
๑๑
โบราณหลายขนาน มีทั้งยาสำหรับเด็กเช่น ยากวาดคอเด็ก และยาสำหรับ ผู้ใหญ่ เช่น ยาลดไข้ ยาหอม ช่วงที่คุณยายเสียชีวิต คุณป้าออระมารับช่วง ต่อ การปรุงยาอาจจะขาดช่วงไป เพราะคุณป้าทำงานประจำ ไม่ค่อยมี เวลา การปรุงยาหลายขนานจึงต้องเลิกไปเหลือเพียงยาหอมโบราณเพียง ๔ ตำรับของหมอหวาน ซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต ปัจจุบันยังคง มีการถ่ายทอดทั้งกรรมวิธีและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ด้วยเครื่องมือ โบราณที่ใช้ในการปรุงยาขายให้กับลูกค้ามากว่าร้อยปี ตำรับยาหอมของหมอหวาน ๔ ตำรับ ได้แก่
๑. ยาหอมสุรามฤทธิ์ แก้อาการใจสั่น เป็นลม บำรุงหัวใจ ทานเมื่อมีอาการครั้งละ ๑ เม็ด มีตัวยาสำคัญ คือ โสม เกาหลี พิมเสน เกล็ด อำพันทอง หญ้าฝรั่น ชะมดเช็ด คุลิก่า
๒. ยาหอมอินทรโอสถ แก้เหนื่อยอ่อนเพลีย แก้ไอ แก้ เสมหะ ทานเมื่อมีอาการครั้งละ ๓-๕ เม็ด ตัวยาสำคัญได้แก่ รากฝากหอม อบเชยญวน เห็ดนมเสือ หญ้าฝรั่น ชะมดเช็ด โคโรค
๓. ยาหอมประจักร์ แก้จุ กเสียดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ทานเมื่อมีอาการครั้งละ ๕-๙ เม็ด ตัวยาสำคัญได้แก่ โสมเกาหลี พิมเสน เกล็ด ชะมดเช็ด หญ้าฝรั่น เหง้าขิงแห้ง
๔. ยาหอมสว่างภพ แก้อาการวิงเวียนหน้ามืด แก้ไขสวิง สวาย ทานเมื่อมีอาการครั้งละ ๕-๗ เม็ด ตัวยาสำคัญได้แก่ ใบพิมเสน พิมเสนเกล็ด หญ้าฝรั่น โสมเกาหลี ชะมดเช็ด
ยาหอมทั้ง ๔ ตำรั บ มี สรรพคุ ณที่ คล้ายคลึงกันคือ เน้นการบำรุงหัวใจ บำรุง ธาตุ ใ นร่ า งกายให้ ท ำงานเป็ น ปกติ แต่ เ พื่อ ความสะดวกในการเลื อ กใช้ ข องคนในยุ ค ปัจจุบัน เราจึงพยายามจำกัดข้อความและ สรรพคุณของยาแต่ละขนานให้ชี้เฉพาะเจาะจง เช่นยาหอมสุรามฤทธิ์ มีสรรพคุณแก้อาการใจ สั่น เป็นลมหมดสติ จุกแน่นหน้าอก “ยาหอม” มีตัวยาหลายชนิดที่หายากมาก บางอย่ า งต้ อ งสั่ง ซื้อ จากต่ า งประเทศ เช่ น “หญ้าฝรั่น” ที่มีราคาแพงมาก สรรพคุณใช้ บำรุงหัวใจ หญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพดีต้องมาจาก สเปน กล่องหนึ่งน้ำหนักประมาณ ๔๐-๕๐ กรัม ราคา ๑๒,๐๐๐ บาท ราคาสูงมาก เป็น ตั ว ยาสำคั ญ ทางร้ า นไม่ ต้ อ งการลดทอน ปริมาณตัวยาลง การปรุ ง ยาแต่ ล ะขนานต้ อ งใช้ ตั ว ยา จำนวนมาก ผู้ที่บดยาต้องใช้พละกำลังอย่าง มาก ส่วนใหญ่จึงต้องให้ผู้ชายเป็นคนบดยาโดย ใช้หินบดยา ส่วนวัตถุดิบหรือตัวยาต่างๆ ใน สมัยก่อนมีชาวบ้านนำวัตถุดิบมาส่งให้ที่ร้าน โดยตรง ดังนั้นโอกาสที่จะเลือกเฟ้นหาวัตถุดิบ
๑๒
ทยอยนำยาหอมที่หั่นไว้เป็นชิ้นๆ มาผสมกับ น้ำดอกไม้เทศ แล้วปั้นทีละเม็ด เครื่องปั้มก็ ต้องใช้มือ เราไม่มีเครื่องจักรในการผลิตเลย แม้แต่น้อย เมื่อได้เม็ดยาแล้วนำมาใส่โถอบ เก็บไว้ แล้วจึงนำมาบรรจุลงขวดหรือใส่ซอง ยาหอมสามารถเก็ บ ไว้ ไ ด้ น านนั บ ปี แต่ ที่ สำคัญอย่าให้ถูกความชื้นและห้ามเก็บในตู้ เย็น ช่วงฤดูฝนก็อย่าให้ถูกละอองฝน ยาหอม จะชื้นและสูญเสียสรรพคุณในที่สุด
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม ของคุณภาสินี ญาโณทัย ที่มีคุณภาพมีลักษณะตรงตามตำรับยาตามสรรพคุณที่ระบุไว้ได้ง่าย แต่ใน ปัจจุบันวัตถุดิบถูกขนส่งมาเป็นทอดๆ กว่าจะมาถึงมือเราก็ต้องผ่านพ่อค้า คนกลางมาถึงร้านค้า เราจึงมีโอกาสเลือกได้น้อยกว่า สิ่งที่พอจะทำได้คือสั่ง ซื้อจากร้านขายยาที่เราซื้ออยู่เป็นประจำ เช่น ร้านเจ้ากรมเป๋อ และร้านค้า สมุนไพรโบราณอื่นๆ ปกติเมื่อยาเหลือน้อย ทางร้านก็จะผลิตเพิ่ม เคยมีบางครั้งต้องรอตัวยา สำคัญในการผลิตเป็นเวลานาน จนรู้สึกกังวลกลัวว่าจะผลิตไม่ทัน บางครั้ง ดิ น ฟ้ า อากาศไม่ อ ำนวย เช่ น ฝนตกไม่ มี แ ดดพอที่จ ะตากเครื่อ งยาก็ เ ป็ น อุปสรรคในการปรุงยาเนื่องจากเครื่องยาส่วนที่เป็นสมุนไพรต้องตากแดดให้ กรอบเพื่อที่จะบดได้ง่าย เมื่อบดเสร็จต้องนำมากรองส่วนละเอียดออกมา สำหรับส่วนที่หยาบก็นำไปบดใหม่ ทำอย่างนี้หลายๆ ครั้งให้เหลือน้อยที่สุด จนกระทั่งขั้นตอนการผสมยาโดยใช้หินบดยา ซึ่งต้องใช้แรงผู้ชายบดตัวยาให้ เข้ากัน เสร็จแล้วนำมาผสมลงในโกร่งบดยาอีกครั้งหนึ่ง เป็นขั้นตอนที่ใส่ส่วน ผสม เช่น พิมเสน หญ้าฝรั่น ชะมดเช็ด แล้วนำผงยาที่กรองไว้ผสมกับตัวยา อื่นๆ อีกหลายสิบอย่าง ระยะเวลาตั้งแต่ซื้อเครื่องยาจนกระทั่งผลิตออกมา เป็นเม็ดยา ต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ แล้วแต่ว่ายาขนานใดใช้ตัวยามาก น้อยเพียงใด ยาที่ผสมแล้วจะมีลักษณะคล้ายดินเหนียว นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำมา ปั้มเป็นเม็ดทีละเม็ด เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำมาตากแดดอ่อนๆ อีกครั้งเพื่อไล่ ความชื้น ห้ามตากแดดแรง เพราะกลิ่นของยาหอมจะระเหยไปหมด แล้วค่อย
ตัวยาหายากและราคาแพง เช่น “ชะมดเช็ด” เพราะเป็นตัวยาที่หายาก และราคาแพง ในสมัยก่อนหมอหวานจึง เลี้ยงชะมดไว้ในกรงที่บ้าน เมื่อชะมดโตขึ้นจะ ขับไขสีขาวลักษณะคล้ายสีผึ้ง ขับออกทาง ผิวหนังตรงช่องอวัยวะเพศ เมื่อเวลาที่ชะมด ถ่ายแล้ว ชะมดจะไปเช็ดกับกรง สิ่งที่ชะมด เช็ดไว้เป็นไขสีขาวเข้มข้นติดกับกรง จะเอาไม้ มาขูดตามกรงเพื่อเก็บไขน้ำมันดังกล่าวจาก ชะมด หากเป็นช่วงฤดูร้อนชะมดจะไม่ค่อย ขับไขนี้ออกมา ตัวยาก็จะขาดตลาด แต่ถ้า เป็ น ช่ ว งฤดู ห นาวก็ จ ะไม่ มี ปั ญ หาเรื ่ อ งนี ้ สรรพคุณของน้ำมันชะมด ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง สิ่งสำคัญที่ได้จากชะมดเช็ดคือ กลิ่น ตัวน้ำมันจากชะมดไม่ค่อยมีกลิ่นหอม เท่าใดนัก แต่เป็นตัวช่วยให้ตัวยาอื่นๆ มี กลิ่นหอมทน หอมนาน จะเห็นได้ว่าเครื่อง หอมต่างๆ เช่นเทียนหอม น้ำอบไทยจะมี ส่วนประกอบของชะมดเช็ดเป็นตัวยาสำคัญ “คุลิก่า” เป็นเม็ดปรวดหรือเม็ดนิ่ว ใน ถุงน้ำดีของตัวค่าง ก้อนคุลิก่าหายากจึงมี ราคาแพงมาก ตามสรรพคุ ณ ยาโบราณ กล่าวว่ามีรสเย็น ใช้เป็นน้ำกระสายยาแทรก ยาอื่นๆ เป็นยาดับพิษร้อน ดับพิษกาฬ ดับ พิษทั้งปวง กล่าวกันว่าราคากิโลกรัมละ ๑ ล้าน ๒ แสนบาท “เห็ดนมเสือ” เป็นตัวยาสำคัญใบยา หอมอิ น ทรโอสถ บางช่ ว งจะหาไม่ ไ ด้ เ ลย เพราะเป็นเห็ดที่เกิดจากน้ำนมเสือแม่ลูกอ่อน คัดไหลลงสู่พื้นดิน เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิด
๑๓
ฟื ้น พ ลั ง ย า ไ ท ย บ ำ รุ ง ช า ติ ส า ส น า ย า ไ ท ย
เป็นเห็ดต้นกลมสูง รูปร่างคล้ายร่ม มีรากเหมือนต้นไม้ เห็ดนี้มี สรรพคุณบำรุงกำลัง ครั้งสุดท้ายเราได้เห็ดนมเสือที่ฉะเชิงเทรา แปดริ้ว ราคาแพงมาก แต่เราก็ต้องยอมเพราะไม่รู้จะไปหา ที่ไหน ต้องอาศัยน้ำนมของเสือโคร่งเท่านั้น เคยมีคนติดต่อสวน เสือที่ศรีราชา เพื่อนำน้ำนมมาเพาะเห็ดนมเสือ แต่ก็ไม่ได้ผล “อำพันทอง” เป็นของเหลวที่คัดหลั่งจากท้อง(ปลา)วาฬตัวผู้ หลังผสมพันธุ์ ข้อมูลสัมภาษณ์ คุณออระ วรโภค คุณภาสินี ญาโณทัย
อ้างอิง ประเสริฐ พรหมณี. การรักษาพื้นบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ ๓๙ กรกฎาคม ๒๕๒๕ https://www.doctor.or.th/ article/detail/6009 ปราณี กล่ำส้ม. เรื่องเล่าชาวกรุง : ยาหอมตำรับหมอหวาน. วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๕๓ 'ยาหอม' ลมหายใจแห่งชีวิต. จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ ๑๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ โดย สถาบันการแพทย์แผนไทย. MGR Online 4 มีนาคม 2554 16:39 น. http:// www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx? NewsID=9540000028417
๑๔