"คนย่านเก่า ปัจจุบันและอนาคต รำพึงรำพัน..โดยคนบางลำพู"

Page 1

คลองคูเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์รอบด้านในสุดขุดมา ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ปากคลองด้านทิศเหนือผ่านโรงไหม หลวงจึงเรียกว่า “คลองโรงไหม” และเมื่อมีการขุด “คลอง หลอด” เป็นแนวตั้งเชื่อมกับคลองเมืองชั้นนอกก็เรียกคลอง ช่วงนี้ว่า “คลองหลอด” จากท่าช้างวังหน้าทางทิศเหนือไป ออกที่ปากคลองตลาดทางทิศใต้ เมื่อย้ายพระนครมาอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงกลายเป็นเส้นทาง คมนาคมแทนที่คูเมืองและกำแพงป้องกันเมือง คลองคูเมืองสายกลาง “คลองบางลำพู-โอ่งอ่าง” ขุดใน สมั ย แรกสร้ า งกรุ ง เทพฯ ในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ส่วนคลองคูเมืองสายนอกหรือคลองขุดใหม่หรือคลอง ผดุงกรุงเกษมขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ในยุคที่สยามเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่สังคมของโลกสมัย ใหม่ ชุมชนย่านเก่าของกรุงรัตนโกสินทร์ล้วนแรกสร้างและ เติบโตรวมทั้งขยับขยายออกไปตามยุคสมัย ทั้งบ้านเรือนที่ อยู่อาศัยและย่านการค้าซึ่งถือเป็นรากเหง้าของความเป็น เมืองกรุงเทพฯ

รำพึง รำพัน ปัจจุบันและอนาคต ของคนย่านเก่า

โดย

คนบางลำพู วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แผนที่กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านบางลำพู พ.ศ.๒๔๗๕

คลองคู เ มื อ งกรุงรัตนโกสินทร์ “คลองบางลำพู- โอ่งอ่าง” คลองคูเมืองเมื่อแรกสร้างกรุงฯ เริ่มจากทางทิศเหนือไปออก แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้บริเวณใกล้วัดสามปลื้ม ระยะทางราว ๓.๖ กิโลเมตร สร้างกำแพงอิฐแข็งแรง ป้อม และประตูเมืองไว้ โดยรอบพระนคร บันทึกไว้ว่า มีประตูใหญ่ ๑๖ ประตู ประตูช่อง กุด ๔๗ แห่ง และมีป้อมทั้งสิ้น ๑๔ ป้อม มีการเรียกชื่อคลองเส้น

เดียวกันนี้แตกต่างกันไปตามย่านชุมชนหรือวัดคือ คลองบาง ลำพู คลองสะพานหัน คลองวัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) คลอง โอ่งอ่าง พื้น ที่ทั้ง ภายในกำแพงเมื อ งด้ า นเหนื อ มาจนถึ ง ท่ า พระ อาทิตย์และป้อมพระสุเมรุปากคลองบางลำพูก็เป็นแหล่งที่อยู่ อาศัยของเจ้านายและขุนนางหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ริมคลองมี อาคารบ้านเรือนท่าน้ำและตลาดน้ำต่อเมื่อมีการรื้อกำแพงและ ประตูเมืองจึงปลูกตึกและอาคารสองฝั่งถนนมากขึ้น สองฝั่ง


ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณ ปากคลองบางลำพู ภาพถ่ายปีเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันท์ เมื่อหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เห็นแนวคลอง บางลำพูที่ยังไม่มีการสร้าง ประตูน้ำ

ถนนมากขึ้น สองฝั่งคลองจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนหนาแน่น ชาวบ้ า นธรรมดาส่ ว นมากตั้ง ถิ่น ฐานเรี ย งรายอยู่ทั้ง สองฝั่ง คลอง เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยและสร้างงานหัตถกรรมจนถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือน หลายชนิด ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ผู้คนที่อยู่อาศัยมีหลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น คน มอญแถววัดชนะสงครามถึงบางลำพู คนมุสลิมจากปัตตานีที่กวาดต้อนเข้า มาเป็นชุมชนที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางและอยู่ไม่ห่างวัดชนะสงคราม เกิดแหล่ง ย่านการค้าทั้งขายส่งและขายรายย่อย ทั้งตลาดบกและตลาดน้ำทำให้มีกลุ่ม คนจีนเข้ามาเช่าอาคารร้านค้าและตั้งชุมชนค้าขายจำนวนมาก เพราะเป็น คลองเมืองที่เชื่อมต่อกับคลองมหานาคที่สามารถเดินทางออกไปนอกเขต พระนครทางฝั่งตะวันออกได้ บริ เ วณปากคลองฝั่ง นอกมี วั ด บางลำพู ห รื อ วั ด สั ง เวชวิ ศ ยารามเป็ น ศูน ย์ กลางของชุ ม ชน ส่ ว นด้ า นในกำแพงเมือ งเป็ น ย่ า นของวั ง ริ มป้ อ ม พระสุเมรุและป้อมพระอาทิตย์ เป็นกลุ่มตระกูลของพระราชวังบวรสถาน มงคลหรือวังหน้าย่านวัดสังเวชต่อวัดสามพระยายังมีบ้านครูดนตรีไทย เช่น บ้านบางลำพูของตระกูลดุริยประณีตที่ยังมีชีวิตชีวาจนถึงทุกวันนี้ ชาวบ้านธรรมดาส่วนมากตั้งถิ่นฐานเรียงรายอยู่ทั้งสองฝั่งคลอง เป็น ชุมชนที่อยู่อาศัยและสร้างงานหัตถกรรมจนถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือน หลายชนิด ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ผู้คนที่อยู่อาศัยมีหลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น คน มอญแถววัดชนะสงครามถึงบางลำพู คนมุสลิมจากปัตตานีที่กวาดต้อนเข้า มาเป็นชุมชนที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางและอยู่ไม่ห่างวัดชนะสงคราม เกิดแหล่ง ย่านการค้าทั้งขายส่งและขายรายย่อย ทั้งตลาดบกและตลาดน้ำทำให้มีกลุ่ม คนจีนเข้ามาเช่าอาคารร้านค้าและตั้งชุมชนค้าขายจำนวนมาก เพราะเป็น

คนจี น เข้ า มาเช่ า อาคารร้ า นค้ า และตั้ง ชุ ม ชน ค้าขายจำนวนมาก เพราะเป็นคลองเมืองที่ เชื ่ อ มต่ อ กั บ คลองมหานาคที ่ ส ามารถเดิ น ทางออกไปนอกเขตพระนครทางฝั่งตะวันออก ได้ บริเวณปากคลองฝั่งนอกมีวัดบางลำพูหรือ วั ด สั ง เวชวิ ศ ยารามเป็ น ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชน ส่วนด้านในกำแพงเมืองเป็นย่านของวังริมป้อม พระสุเมรุและป้อมพระอาทิตย์ เป็นกลุ่มตระกูล ของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าย่าน วัดสังเวชต่อวัดสามพระยายังมีบ้านครูดนตรี ไทย เช่น บ้านบางลำพูของตระกูลดุริยประณีต ที่ยังมีชีวิตชีวาจนถึงทุกวันนี้ นอกคลองเมืองชั้นในทางตอนเหนือมี “วัด ชนะสงคราม” หรือ “วัดตองปุ” ซึ่งเป็นวัดเก่า มาก่อนการสร้างพระนคร มีชุมชนเก่าอยู่ก่อน ต่ อ มาเมื ่ อ ทางวั ง หน้ า บู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ วั ด ชนะสงครามขึ้น มาก็ ก ลายเป็ น วั ด สำคั ญ ของ พระบวรราชวัง มีการนำคนมอญเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอาศัยอยู่โดยรอบสลับกับวังของเจ้านาย ฝ่ายวังหน้า


นอกเหนือจากเป็นแหล่งค้าขายตลาดต่างๆ ยั งเป็นเส้นทาง คมนาคมที่สำคัญที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำใหญ่และชุมชนชาวสวนทาง ฝั่งธนฯ และในเขตอื่นๆ จึงมีชาวจีนเข้ามาค้าขายไม่น้อย เป็น อาคารร้านค้าชั้นเดียวบ้าง สองชั้นบ้าง และหันหน้าลงคลอง ยัง คงพบอาคารเหล่านี้หลังตึกแถวที่เคยเป็นแนวกำแพงเมืองที่ถูก รื้อไปแล้ว ฝั่งตรงข้ามเป็นย่านบ้านเรือนและวังพระบรมวงศานุ วงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ต่อเนื่องกับย่านวัดตรีทศเทพ และต่อมากลาย เป็ น โรงไม้ ที่ช่ า งจี น ไหหลำทำโรงเลื่อ ยและรั บ ทำงานไม้ แ ละ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ริมคลองบางลำพูเรื่อยมาจนถึงวัดรังษีสุทธาวาสที่รวมกับ วั ด บวรนิ เ วศภายหลั ง ที่ส มเด็ จ เจ้ า ฟ้ า กรมขุ น อิ ศ รานุ รั ก ษ์ ท รง สร้างตั้งแต่สมัยรัชการพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เคย เป็ น วั ด ที่มี ม าก่ อ นสร้ า งวั ด บวรนิ เ วศในครั้ง รั ช กาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และภายหลังจึงมารวมเป็นวัดเดียวกัน พื้นที่บริเวณนี้ยังอยู่ในอาณาบริเวณย่านวังหน้าในช่วงรัชกาลที่ ๒ และ ๓ ส่วนย่านที่ผู้คนอยู่อาศัยที่สำคัญคือ “ตรอกบวรรังษี” ที่อยู่อีกฝั่งคลองคั่นกับอาณาบริเวณวัดบวรรังษี

ตลาดใหม่ที่นางเลิ้ง ย่านตลาดใกล้ปากคลองบางลำพูถือเป็น ตลาดริมน้ำและท่าน้ำเพื่อการคมนาคม เป็นแหล่งขนถ่ายและ แลกเปลี่ยนสินค้า พืชผักผลไม้จากย่านฝั่งธนฯ ก่อนจะพัฒนา กลายเป็นตลาดบกที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวหลังเสด็จประพาศยุโรป และเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๔๐ มีการสร้าง พระราชวังดุสิตขึ้นทางตอนเหนือของพระนคร เกิดการตัดถนน หลายสายในพื้นที่บางลำพูเพื่อรองรับเครือข่ายถนนที่ตัดเชื่อมมา จากพื้นที่สามเสน ได้แก่ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนน พระสุเมรุ ถนนข้าวสาร ถนนรามบุตรี และถนนสิบสามห้าง ทำให้ย่านบางลำพูกลายเป็นตลาดทันสมัยในยุคสยามสมัยใหม่ที่ อยู่ในพระนครด้านทิศเหนือ และควบคู่ไปกับตลาดนางเลิ้งที่ กลายเป็นพื้นที่พัฒนาให้เป็นย่านอาคารตลาดสมัยใหม่แบบยุโรป ทางด้านนอกพระนครด้านทิศตะวันออก ที่ต่อเนื่องมาจากการ สร้างพระราชวังดุสิตและการเป็นย่านวังที่ประทับต่างๆ ของ พระราชวงศ์ริมคลองผดุงกรุงเกษม ตลาดบางลำพูที่เคยเป็นตลาดขายผลไม้และของสดต่างๆ ก็ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างตึกแถวขึ้นริมถนนตัดใหม่เหล่านี้ ย่านเก่า “ตลาดบางลำพู” ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงมีการจัดสร้างตลาดใหม่คือ “ตลาด ย่านบางลำพูทางทิศเหนือของพระนครจึงเจริญไม่แพ้ตลาด บางลำพู” และ “ตลาดยอด” ทางฝั่งในเมือง “ตลาดทุเรียน” และ ทางชานพระนครฝั่งตะวันออก เช่น สะพานหัน สำเพ็งไปจนถึง

ปากคลองบางลำพูที่ต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ส่วนประตูน้ำอยู่ลึกเข้าไปเล็กน้อย


ปัจจุบันและอนาคตของคนย่านเก่า

รำพึง รำพัน โดย คนบางลำพู

ภาพบน ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณวัดบวรนิเวศวิหารของปีเตอร์ วิลเลี่ยม ฮันท์ เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เห็นหลุมหลบภัยที่กลางถนน ฝั่งด้านซ้ายคือถนนสิบ สามห้าง ภาพล่าง การแสดงลิเกหรือละครประยุกต์ น่าจะออกอากาศทางโทรทัศน์ คณะ ลิเกหอมหวล นาคศิริ เล่นเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยหอมหวลแสดงเป็นขุนช้าง ยืนทางด้านขวามือ

และ “ตลาดนานา” อยู่ฝั่งตรงข้าม โรง ละคร โรงหนัง เช่น โรงหนังปีนัง โรงหนัง ศรีบางลำพู โรงหนังบุษยพรรณ โรงละคร แม่ บุ น นาค และโรงลิ เ กคณะหอม หวล ร้านอาหารสารพัดชนิด จนกลาย เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางการค้าและ เป็นศูนย์รวมมหรสพแหล่งใหญ่ ถือเป็น แหล่ ง นั ด พบและจั บ จ่ า ยซื้อ หาสิ่ง ของที่ คึกคัก จนเมื่อราว ๓๐-๔๐ กว่าปีที่ผ่าน มาจึงโรยราลงตามลำดับ “ตลาดยอด” ตั ้ ง อยู ่ ใ กล้ ส ะพาน นรรัตน์ฝั่งใต้ บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งห้าง นิวเวิร์ล พื้นที่กว้างขวางจากแนวถนน พระสุเมรุจนถึงถนนไกรสีห์ และบริเวณที่ จอดรถของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เป็ น ตลาดใหญ่ แ ละมี ค วามสำคั ญ ของ ชุมชนบางลำพูในฐานะตลาดประจำย่าน บางลำพู ปรับปรุงให้เป็นตลาดสดและ ค้าขายสินค้าต่างๆ ในช่วงรัชกาลที่ ๕ และรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงรัชกาลที่ ๗ ตลาดยอดมีสินค้าสารพัดชนิด เป็นตลาด ที่เปิดทั้งวันทั้งคืน เพราะเช้าขายของสด พอเย็ น ค่ ำ จะเป็ น อาหารการกิ น จึ ง ครึกครื้นมีชีวิตชีวา สินค้าสารพัดที่นำมา จำหน่าย เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน มาลัย แป้ง กระแจะ น้ำอบไทย เครื่องหอม ขนม ไทยต่างๆ และบุหรี่ไทยประเภทยาใบบัว ยาใบตองอ่อน เป็นต้น ทั้งเป็นแหล่ง เครื่องหนัง เสื้อผ้า ร้านอาหารมุสลิม ร้าน เครื่อ งถ้ ว ยชาม และห้ า งขายทองรู ป พรรณต่างๆ ตลาดเช้าเต็มไปด้วยของสด นานาชนิดจนสายตลาดจึงวาย หลังจาก นั้นก็เปลี่ยนเป็นตลาดขายผ้า ขายเสื้อและ รองเท้า เครื่องหนังต่างๆ เมื่อตลาดแบบ เก่าและร้านค้ารุ่นแรกๆ เริ่มซบเซาลง


“ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ฝั่งตรงข้ามกับศาลาท่าน้ำวัดบวรนิเวศฯ

กิจการการค้ารูปแบบใหม่ได้เข้ามาแทนที่และเกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่อง บางกิจการมีฐานเติบโตมาจากกิจการเดิม เช่น ห้าง แก้วฟ้าที่เติบโตจากร้านขายเครื่องหนัง, ห้างตั้งฮั้วเส็งและ ห่วงเส็ง มาจากร้านเล็กๆ เและเป็นพี่น้องกัน จำหน่ายพวก พวกอุปกรณ์การเย็บไหมพรม, ร้าน ต.เง็กชวน ขายและผลิต แผ่นเสียง ปัจจุบันคงเหลือเพียงห้างสรรพสินค้าตั้งฮั้วเส็ง เท่านั้น ตลาดยอดถูกเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ หลัง จากไฟไหม้ในครั้งนั้นได้มีการสร้างตลาดใหม่แต่แผงเช่ามี ราคาสูงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ค้าสู้ราคาไม่ไหว จึงแยกย้ายกัน ไป เจ้าของพื้นที่ในช่วงนั้นจึงรื้อตลาดแล้วสร้างเป็นห้างสรรพ สินค้านิวเวิร์ด ตลาดสดจึงหายไป “ตลาดนานา” อยู่ฝั่งเหนือของคลองรอบกรุง ซึ่งเป็นพื้นที่ ส่วนหนึ่งของวังริมคลองบางลำพู ชื่อของตลาดนานาเป็นชื่อที่ ตั้งตามชื่อเจ้าของตลาด คือ คุณเล็ก นานา ชาวมุสลิมย่าน คลองสาน ตลาดแห่งนี้ขายอาหารการกินและพืชผลทางการ เกษตร เช่น ผัก ผลไม้ และของสดเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ ตลาดนานายังมีตลาดโต้รุ่งที่อยู่ใกล้กับโรงหนังบุษยพรรณ วัยรุ่นและคนวัยต่างๆ นิยมมาหาอาหารโต้รุ่งที่ขึ้นชื่อโดย เฉพาะในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ก่อนจะซบเซาลง ในราว พ.ศ. ๒๕๒๙ และหายไปในที่สุด ต่อมาเจ้าของตลาด ได้เปลี่ยนพื้นที่ตลาดให้เป็นโรงแรม หลังจากตลาดและโรงหนังหายไปแล้ว บริเวณที่ต่อเนื่อง กับตลาดนานาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลาท่าน้ำวัดบวรนิเวศ วิหาร ยังมี “ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ที่สร้างขึ้น เมื่อไม่นานมานี้โดยพ่อค้าเชื้อสายจีนผู้ศรัทธาในสมเด็จพระ เจ้าตากฯ ในย่านบางลำพู โดยเฉพาะเจ้าของร้านข้าวต้มวัด

บวรฯ จึ ง ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งไปสั ก การะทำพิ ธี ก รรมกั น ถึ ง ที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ “ตลาดทุเรียน” อยู่ฝั่งทิศใต้ของสะพานนรรัตน์ ฝั่งตรง ข้ามกับตลาดนานา เป็นแหล่งชุมนุมขึ้นทุเรียนที่ชาวสวนและ พ่อค้าคนกลางนำมาขาย นอกจากขายทุเรียนแล้ว พ่อค้าแม่ ขายยังนำพืชพันธุ์การเกษตรมาขายเช่นเดียวกับตลาดนานา เช่น ผักผลไม้นานาชนิดที่ชาวสวนบรรทุกเรือมาจอดขาย แต่ ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นตลาดขายเสื้อผ้า มุ้ง และของใช้ ราคาถูก ก่อนจะกลายเป็นตลาดสดในปัจจุบัน เรียกกันว่า “ตลาดนรรัตน์” ส่วน “ศาลเจ้าพ่อหนู” เกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์ไฟไหม้ เล่าต่อกันมาว่า วันหนึ่งมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยลอยน้ำมา ติดที่ริมคลองบางลำพูฝั่งตลาดนานา และไม่ยอมลอยไปที่อื่น ชาวบ้านจึงอัญเชิญขึ้นมาบูชา และราว พ.ศ. ๒๕๐๓ ไฟไหม้ บริเวณตลาดทุเรียนที่อยู่ฝั่งตรงที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหนูในปัจจุบัน มีชาวบ้านเห็นเด็กผู้ชายแต่งกายชุดสีชมพูยืนโบกธงเพื่อให้ เพลิงสงบ จึงพร้อมใจกันขนานนามพระพุทธรูปนี้ว่า “เจ้าพ่อ หนู” และมีการไหว้ขอพรแบบจีนเป็นประเพณีรวมทั้งการ ทำบุญที่คนในละแวกบางลำพูยึดถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของ ชุมชนอย่างมั่นคงด้วย “ถนนสิบสามห้าง” ชื่อถนนสายสั้น ๆ ที่ตั้งขนานกับถนน บวรนิเวศ ถนนสิบสามห้างได้ชื่อมาจากเรือนแถวไม้สองชั้น จำนวน ๑๓ ห้องริมถนนดังกล่าวต่อมาเรือนแถวดังกล่าวถูก รื้อเพื่อสร้างเป็นตึก จึงเหลือไว้เพียงชื่อถนน บริเวณย่านนี้ ขายสินค้าที่ขายในสิบสามห้าง ได้แก่ อาหารจำพวกข้าวแกง อุปกรณ์เย็บเสื้อผ้า ด้าย กระดุม เป็นต้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สิบสามห้างเป็นที่ชุมนุมของวัยรุ่น เพราะมีร้าน


บ้านไกรจิตติ ถนนข้าวสาร ภาพจาก http://i570.photobucket.com/albums/ss144/soyusunk/Starbuck/IMG_0294.jpg

อาหารเปิดขายจนดึกถึงสามสี่ทุ่ม มีร้านขายไอศกรีมซึ่งเป็นของหากินยาก ในยุคนั้น บริการเปิดโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อบันเทิงที่เพิ่งเข้ามาในเมืองไทยให้ดู และมีตู้เพลงซึ่งเป็นที่นิยมของวัยรุ่น ย่านจึงกลายเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นใน ยุคต้นพุทธกาลอันโด่งดัง ถือกันว่าบางลำพูเป็นย่านที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง นอก เหนือไปจากแถบหลังวังบูรพาฯ เมื่อราว ๒๐ ปีก่อน ริมถนนรอบย่านบางลำพู เช่น ถนนไกรสีห์ ถนนตานี ถนนสิบสามห้าง เป็นตลาดขายเสื้อผ้า พ่อค้าแม่ค้านิยมเอาสินค้ามาลดราคา หน้าร้านหรือเลหลังขาย โดยจับจองพื้นที่ริมถนนเปิดเป็นแผงลอยจำนวนมาก การค้าเสื้อผ้าที่ขึ้นชื่อในย่านบางลำพูแต่ก่อน คือ เสื้อผ้าชุดนักเรียนที่บรรดาผู้ ปกครองต้องพากันมาซื้อหาเมื่อถึงฤดูกาลเปิดเรียน ร้านค้าเสื้อนักเรียนเปิดมากแถบถนนไกรสีห์และถนนตานีและยังคงเป็น แหล่งจับจ่ายซื้อของ ทั้งอาหารการกิน สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์เย็บปักถัก ร้อย และย่านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งสำคัญของกรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน แม้ การค้าขายจะมีปริมาณน้อยลงก็ตาม ส่วนบริเวณ “ถนนข้าวสาร” ย่านใกล้เคียงกับบางลำพู เคยเป็นแหล่งที่อยู่ อาศัยของบรรดาขุนนางวังหน้า ที่ทำหน้าที่ช่างหลวงและช่างฝีมือของโรง กษาปณ์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งถือว่ามีฐานะดี เช่น บ้านไกรจิตติของเจ้าพระยาอาทร ธุรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร ณ อยุธยา) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นเรือนหอคุณ หญิงเชยเมื่อสมรสกับพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ผู้มีเชื้อสายมอญ บริเวณใกล้ เคียงแต่เดิมเป็นชุมชนมอญที่ค่อยๆ ย้ายออกไปจนหมดแล้ว และมีเรือน ตึกแถวค้าขายแห่งแรกของประเทศไทยที่ริมถนนตะนาว ร้านสังฆภัณฑ์ที่โด่งดัง มากคือ ร้าน “ส.ธรรมภักดี” สินค้าที่ชาวจีนย่านนี้นิยมค้าขายคือข้าวสาร

จึงเรียกว่า “ตรอกข้าวสาร” ย่ า นตรอกข้ า วสารหรื อ ถนนข้ า วสาร เปลี่ยนแปลงไปเป็นแหล่งที่พักราคาถูกของ นักท่องเที่ยวเมื่อราว ๔๐ ปีที่ผ่านมา หลัง จากเกิดบริษัททัวร์ในชุมชน การสร้างห้อง พั ก แบ่ ง ให้ เ ช่ า จนถึ ง โรงแรมห้ อ งแถวขนาด เล็กและสถานบันเทิงต่างๆ “คนบางลำพู” โดยพื้นฐานเป็นช่างฝีมือ ที่มีทั้งคนเชื้อสายมอญ เชื้อสายมลายูที่เป็น คนมุสลิมและชาวจีน รวมทั้งนักดนตรีไทยที่ มีอยู่ราว ๒๐ ตระกูล เช่น ดุริยพันธ์ เขียว วิจิตร รุ่งเรือง โตสง่า พิณพาทย์ และเชยเกษ แต่ ใ นปั จ จุ บั น เหลื อ เพี ย งตระกู ล เดี ย วคื อ “ตระกูลดุริยประณีต” ซึ่งยังคงมี “บ้านบาง ลำพู” ที่ยังคงเป็นสถานที่ฝึกซ้อมและสอน โดยมีการไหว้ครูและงานกิจกรรมต่างๆ เป็น ประจำทุกปี ถือเป็นกลุ่มนักดนตรีที่มีอิทธิพล สูงสุดแห่งหนึ่งในด้านการบรรเลง ขับร้อง และการประชันดนตรีไทย สืบทอดความรู้ และความชำนาญแบบดั้งเดิมไว้อย่างสำคัญ


ย่านถนนข้าวสาร แหล่งที่พักราคาถูกของ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ย่านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวราคาถูก / หรือการสร้างพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ถนนข้าวสารเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อกลายสภาพเป็นย่าน ที่พักราคาถูกสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก และสามารถหาความบันเทิง อาหาร สินค้าราคาไม่แพงได้ที่ถนนข้าวสาร จากชุมชนที่เคยค้าขายอย่าง เรียบๆ ก็กลายมี​ีสันฉูดฉาดทั้งกลางวันและกลางคืน การค้าขายเปลี่ยนรูป แบบ การเช่าห้องเปลี่ยนมือผู้เช่า เกสท์เฮาส์ ร้านค้าต่างๆ บาร์ ไนท์คลับ แออัดยัดเยียด ขยายออกรอบด้านของบางลำพู เช่น ถนนรามบุตรีตลอดทั้ง สาย ข้ามฝั่งมาด้านข้างวัดชนะสงครามและมัสยิดจักรพงษ์ซึ่งมีสถานบันเทิง ต่างๆ รอบวัดและมัสยิด มีการเปิดโรงแรมขนาดเล็กและโฮสเทลไปจนถึง ถนนพระอาทิตย์และถนนพระสุเมรุและข้ามฝั่งไปยังย่านโดยรอบวัดสังเวชฯ ถนนข้าวสารจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างชื่อให้กับชาวบางลำพู ในฐานะ ย่ า นที่พั ก ราคาไม่ แ พงและอยู่ใ กล้ กั บ แหล่ ง ท่ อ งเที่ย วในย่ า นเมื อ งเก่ า พระบรมมหาราชวัง ตลอดจนแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นหัวใจของเมืองไทย จึง เป็นที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่มีความนิยมขี่จักรยาน ทำให้เกิดการสร้าง เลนจักรยานที่ห้ามการจอดรถในเขตที่มีเลนจักรยาน เช่นที่ย่านบางลำพู ซึ่ง ยังเป็นตลาดการค้าอยู่ ทำให้ไม่สามารถจอดรถยนต์หรือจักรยานยนต์ได้ใน

ช่วงเวลาที่เคยจอด เช่น ในตอนกลางวันที่มี คนขี่จักรยานค่อนข้างน้อยจนถึงไม่มีเลยแต่ จะนิยมขี่กันในช่วงกลางคืนมากกว่า หรือ อาจจะสร้างเส้นทางอื่นที่เหมาะสมกว่านี้โดย ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน แต่รัฐโดยกรุงเทพมหานครก็ยังยืนยันจะ ทำให้เป็นเส้นทางจักรยานเช่นเดิม และเห็น ว่าไม่ควรมีรถจอดกีดขวางจักรยาน สิ่งเหล่า นี้แ ม้ เ ป็ น การมองต่ า งมุ ม แต่ ก ารทำลาย สภาพย่ า นการค้ า เก่ า จากการส่ ง เสริ ม การ ท่องเที่ยวที่ไม่สามารถไปด้วยกันได้กับผู้ถูก ท่องเที่ยวหรือผู้ได้รับผลกระทบก็ยังไม่มีการ คิดร่วมกัน หรือจัดการเพื่อการอยู่ร่วมกันได้ อย่างยั่งยืนแต่อย่างใด มี ผู้ศึ ก ษาวิ จั ย เรื่อ งผลกระทบจากการ ท่ อ งเที ่ ย วที ่ มี ต่ อ คนย่ า นบางลำพู พ บว่ า ทัศนคติของคนในชุมชนแบ่งออกได้ ๒ กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เห็นด้วยกับการท่องเที่ยว และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการท่องเที่ยว กลุ่มที่เห็นด้วยกับการท่องเที่ยว ส่วน ใหญ่เป็นกลุ่มที่เช่าพื้นที่ประกอบกิจการการ ค้าและหารายได้จากการท่องเที่ยว ในขณะที่ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการท่องเที่ยวคือกลุ่มคน ดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ แต่นักท่องเที่ยวมีความคิดว่าไม่ต้องการ ให้ ชุ ม ชนมี ก ารเปลี่ย นแปลงเพื่อ ที่จ ะตอบ สนองการท่องเที่ยว และเห็นว่าการค้าและ บริการต่างๆ ในเขตพื้นที่บางลำพูมีมากแล้ว แต่ ค วรจะประกอบกิ จ การการค้ า ไปใน ลักษณะของการขายของที่ระลึก จัดแสดง ศิลปกรรมไทย สร้างศูนย์สุขภาพสมุนไพร ไทย จะสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ให้ เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งอำนวยความ สะดวกที ่ นั ก ท่ อ งเที ่ ย วและคนในชุ ม ชน ต้องการคือ การเพิ่มของถังขยะ ต้นไม้ ส่วน หย่อม ห้องน้ำสาธารณะ ป้ายบอกทาง เป็นต้น


สำหรับคุณอรศรี ศิลปี ประธานประชาคมบางลำพูผู้อาวุโส ให้ความเห็นว่า ในย่านบางลำพูควรจะรักษาพื้นที่หรือวัฒนธรรมไว้ เพราะ วัฒนธรรมอยู่ที่คน อยู่ที่รากเหง้า หากไล่คนหรือย้ายผู้คนออก จากพื้นที่ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด วัฒนธรรมไม่เหลือแล้ว บางลำพู คงเหลือแต่กลุ่มคนที่มาอาศัยอยู่ชั่วคราว เช่น คนม้งที่มาขายของ แรงงานรับจ้างชาวต่างชาติต่างๆ นอกจากไม่มีพื้นที่ไว้ให้ลูก หลานแล้ว การท่องเที่ยวจะมีความหมายอย่างไร ก็คงเป็นเช่น เดียวกับสถานที่อื่นๆ ที่ไม่มีประวัติศาสตร์หรือมีเพียวเรื่องเล่าใน เอกสารหนังสือเท่านั้น ดูตัวอย่างใกล้ๆ ก็คือแถบถนนราชดำเนิน น่าเสียดายมาก แต่ ท างย่ า นบางลำพู ยั ง มี วั ฒ นธรรมและรากเหง้ า ทาง ประวัติศาสตร์มากกว่าครึ่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวควรเห็นวัฒนธรรม ของเราด้วย การท่องเที่ยวทำได้เพราะว่าเรามีต้นทุนเยอะ แต่เราจะทำ แบบไหน แต่ไม่ใช่อย่างแค่คิดจะทำเปลี่ยนแม่น้ำเจ้าพระยา เปลี่ยนถนนราชดำเนินเป็นแบบประเทศโน้น ประเทศนี้ อะไรที่ เสียไปคุ้มไหม ปัจจุบันและอนาคตคนบางลำพู ความเปลี่ย นอย่ า งรวดเร็ วนี้ท ำให้ ช าวบางลำพู บ างส่ ว น ตระหนักถึงรากเหง้าและความเป็นตัวตนที่เหลือเพียงเลือนราง ในพื้น ที่ใ ห้ พื้น กลั บ มาอี ก ครั้ง จึ ง มี ก ารรวมตั ว กั น เป็ น กลุ่ม “ประชาคมบางลำพู” ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๑ เป็นต้น มา เพื่อรักษาสืบทอดความเป็นย่านเก่า รักษาสภาพแวดล้อม เป็นปากเสียงให้กับย่านอาคารร้านค้าที่ยังคงเหลือ ตลอดจน

ผู้อาวุโสของคนบางลำพู ประธานประธานประชาคมบางลำพู คุณอรศรี ศิลปี

พยายามมีส่วนในการกำหนดทิศทางของความเป็น “ย่านบาง ลำพู” อีกด้วย ต่อมาเป็นการรวมตัวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจาก กรณีของโรงพิมพ์คุรุสภาเก่าที่เคยจะถูกรื้อทิ้ง แต่เนื่องด้วยเป็น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายต่อคนบางลำพูอย่างยิ่ง จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มและถือเป็นปัจจัยในเชิงสัญลักษณ์ใน การก่อตัวของประชาคมบางลำพู จนกลายมาเป็นการจัดแสดง เป็นพิพิธภัณฑ์ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังส่วนหนึ่งและ นำเสนอความเป็นย่านเก่าของบางลำพูอีกส่วนหนึ่ง คือ “พิพิธ บางลำพู” ในปัจจุบัน หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในการจัดการเมือง ของกรุ ง เทพมหานคร คลองบางลำพู เ ริ่ม เน่ า เสี ย อย่ า งหนั ก เพราะกรุงเทพมหานครสร้างประตูกั้นน้ำที่ปากคลองและห้ามไม่ ให้มีการใช้เส้นทางน้ำเพื่อการสัญจรอีกต่อไป และทำให้คลอง คูเมืองกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการระบายน้ำของเมืองใน ย่านเก่า ชาวบางลำพูจึงมีโครงการ “จักรยานน้ ำบำบัดน้ำเสีย”  ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากโครงการ “จักรยานเผินน้ำ” ในพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    โดยหวังจะมีส่วน ช่วยบำบัดน้ำเสียและเป็นการออกกำลังกาย เกิดการท่องเที่ยว เชิ ง อนุ รั ก ษ์ จึ ง ร่ ว มกั บ ตั ว แทนจากกรมอู่ท หารเรื อ ซึ่ง ให้ ค วาม อนุเคราะห์ในการออกแบบและจัดสร้าง และมีการเติมน้ำอีเอ็ม เป็นระยะๆ น้ำในคลองบางลำพูจึงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเกิดประชาคมชาวบางลำพู ทำให้คนบางลำพูมีความ สัมพันธ์ สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชน และในชุมชน ใกล้เคียง ตลอดจนในระหว่างเขตการปกครองภายในพื้นที่ กรุ ง เทพมหานครด้ ว ย ปั จ จุ บั น นี้จึ ง เกิ ด กิ จ กรรมสร้ า งสรรค์ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ มากมายหลากหลาย

บ้านเรือนในตรอกไก่แจ้


ปัจจุบันและอนาคตของคนย่านเก่า

รำพึง รำพัน โดย คนบางลำพู

คุณสิทธิชัย ผลหิตตานนท์

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเยาวชน “ชมรม เกสรลำพู” เป็นการรวมกลุ่มของเด็กและ เยาวชนในย่ า นบางลำพู ที่มี ค วามคิ ด อยากทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน โดย เริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยรวมกลุ่ม เ ด็ ก แ ล ะ เ ย า ว ช น เ พื ื่ อ ก า ร เ รี ย น รู ้ ประวัติศาสตร์ในชุมชนบางลำพู และ พั ฒ นามาเป็ น การจั ด กิ จ กรรมในงาน เทศกาล การแสดงศิ ล ปวั ฒ นธรรมที่ หลากหลาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็ก และเยาวชนในชุมชนบางลำพูเรียนรู้เรื่อง ราวของท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ชีวิต ความเป็ น อยู่เ พื่อ สร้ า งคุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจ สร้างจิตสำนึกรักและภาคภูมิใจท้องถิ่น ให้กับเยาวชน และสร้างจิตสำนึกเพื่อ สาธารณประโยชน์

ป้อมพระสุเมรุ

และไม่ มี ฐ านะเพี ย งพอที ่ จ ะย้ า ยออก ลำพู กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์การ วางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาการ กับคนที่เข้ามาหากินในชุมชน ในฐานะเป็นคนบางลำพูเห็นว่า หาก คนนอกที่มาอยู่บางลำพู จะทำยังไงให้รัก บางลำพู คนบางลำพู จ ะต้ อ งได้ รั บ ประโยชน์ การที่จะสร้างให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวบางลำพูที่จะได้ประโยชน์ต้นๆ ก็คือ คนที่เกิดพื้นเพบางลำพู อันดับสองคือคน ที่เข้ามาหากินอยู่ในบางลำพู

ปิลันธน์ ไทยสรวง. “บางลำพูในความทรงจำ” จากย่านตลาดเก่าสู่สวรรค์ราคาถูกของนักท่อง เที่ยว. จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉ.๘๙ (มี.ค.-เม.ย.๒๕๕๔)

แพรวพรรณ แย้มไทย. กระบวนการเกิด ประชาคมและผลกระทบต่อชุมชนบางลำพู พวกเราควรจัดการชุมชนและจัดการ ศึกษาจากกรณี : โรงพิมพ์คุรุสภา วิทยานิพนธ์ ท่องเที่ยวเพื่อให้คนในบางลำพูจริงๆ อยู่ หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหา บัณฑิต คณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัย รอด ธรรมศาสตร์. พ.ศ.๒๕๔๔.

อ้างอิง

ณรงค์ เขียนทอง. มานุษยวิทยาการดนตรี : กรณีศึกษาบ้านบางลำภู.วิทยานิพนธ์ หลักสูตร ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา คุณสิทธิชัย ผลหิตตานนท์ หนึ่งใน วัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย แกนนำของประชาคมบางลำพู ก ล่ า วว่ า มหิดล. ๒๕๓๙.

สภาพชุมชนบางลำพูในปัจจุบัน กำลัง ตาย คนที่เคยอยู่ในชุมชนพอมีฐานะก็จะ หนีชุมชนออกไป เหลือเฉพาะคนที่รักชุม ชนจริงๆ กับกลุ่มคนส่วนใหญ่ไม่มีที่ไป

วางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม, สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. ๒๕๔๕.

นพรัตน์ ไม่หลงชั่ว. การปรับปรุงสภาพทาง กายภาพของชุมชนในเขตพื้นที่ประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา : การเปรียบเทียบความต้องการ ระหว่างนักท่องเที่ยวกับผู้อาศัยในชุมชนย่านบาง

อภิญญา นนท์นาท. จักรยาน (น้ำ) คืนชีวิตให้ คลองบางลำพู. สารคดี. ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘. http://www.sarakadee.com/ 2015/01/26/waterbike-banglampoo/ #sthash.F4FtSkdi.dpuf

เยาวชนอาสาสมัครเกสรลำพู ชุมชนมัสยิด จักรพงษ์. ประวัติศาสตร์ฉบับประชาชน ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ ผู้ใหญ่เล่า ผู้เยาว์จด และจำ. ประชาคมบางลำพู, ๒๕๔๗

๑๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.