บทที่ 2 งบการเงิน

Page 1

บทที่ 2 งบการเงิน ในการจั ด ทํ า บั ญ ชี ข องกิ จ การนั้ น ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการบั น ทึ ก บั ญ ชี ไ ว้ จ ะถู ก นํ า เสนอ ในรูปแบบของงบการเงิน งบการเงินจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงข้อมูลทางการเงินของกิจการ และสามารถนําข้อมูลนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้ใช้ภายใน และผู้ใช้ภายนอกกิจการ เช่น แผนกการเงิน ต้องการทราบว่า มีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายชําระหนี้เงินกู้ หรือไม่ ผู้บริหาร ต้องการทราบข้อมูลค่าใช้จ่าย เพื่อควบคุมประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า นักลงทุน ต้ อ งการทราบข้ อ มู ล เพื่ อ ใช้ ใ นการตั ด สิ น ใจเลื อ กลงทุ น ในกิ จ การ ธนาคารหรื อ สถาบั น การเงิ น ใช้ ป ระกอบการตั ด สิ น ใจในการให้ สิ น เชื่ อ แก่ กิ จ การ รั ฐ บาล ต้ อ งการทราบข้ อ มู ล เพื่ อ เป็ น ฐาน ในการเก็บภาษี เป็นต้น จะเห็นได้ว่า หากไม่มีข้อมูลจากงบการเงิน การตัดสินใจในการดําเนินธุรกิจ อาจเกิดความผิดพลาดได้

ความหมายและส่วนประกอบของงบการเงิน งบการเงิ น (Financial Statements) เป็ นการนํ าเสนอฐานะการเงิ น และผล การดําเนินงานทางการเงินของกิจการอย่างมีแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะ การเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิง เศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินกลุ่มต่าง ๆ โดยงบการเงินจะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สิ นทรัพย์ หนี้สิ น ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย รวมถึง ผลกําไรและขาดทุน และกระแสเงินสด (สภาวิชาชีพ บัญชี, 2552, หน้า 12) งบการเงิน ประกอบด้วย 1. งบแสดงฐานะการเงิน 2. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 4. งบกระแสเงินสด 5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้ว ย สรุปนโยบายการบัญชีที่สําคัญ ข้อมูลที่ให้คําอธิบายอื่น การจั ดทํางบการเงิน จะจัดทําเป็นรอบระยะเวลาบัญชีห รืองวดบัญชี (Accounting Period) ซึ่ งหมายถึง การแบ่ งการวั ดผลการดํา เนิน งานของกิจ การออกเป็ นช่ ว งระยะเวลาสั้ น ๆ ช่วงละเท่า ๆ กัน เพื่อให้สามารถนําข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล ของกิจการในงวดปัจจุบันกับงวดก่อน หรือเปรียบเทียบข้อมูลงวดเดียวกันกับข้อมูลของกิจการอื่น มาตรฐานการบั ญ ชี กํ า หนดไว้ ว่ า กิ จ การต้ อ งนํ า เสนองบการเงิ น ฉบั บ สมบู ร ณ์ รวมทั้ ง ข้ อ มู ล เปรียบเทียบ อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง แต่กิจการสามารถเลือกกําหนดรอบระยะเวลาบัญชีที่สั้นกว่า 1 ปี


44

ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้ข้อมูลของกิจการ เช่น การจัดทํางบการเงินทุก 1 เดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน เป็นต้น

งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หมายถึง งบการเงิน ที่ แ สดงฐานะการเงิ น ของกิ จ การ ณ วั น สิ้ น งวดบั ญ ชี ประกอบด้ ว ย รายการสิ น ทรั พ ย์ หนี้ สิ น และส่วนของเจ้าของ งบการเงินนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งบทราบถึงสภาพคล่องทางการเงินหรือความเสี่ยง ของกิ จ การ ดั ง นั้ น งบแสดงฐานะการเงิน จึ ง ประกอบด้ว ยบัญ ชี 3 หมวด คื อ สิ นทรั พย์ หนี้ สิ น และส่วนของเจ้าของ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สิ น ทรั พ ย์ (Assets) หมายถึ ง ทรั พ ยากรที่ อ ยู่ ใ นความควบคุ ม ของกิ จ การ ทรัพยากรดังกล่าว เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ จากทรัพยากรนั้นในอนาคต 2. หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผู กพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผู กพัน ดังกล่าว เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้น คาดว่า จะส่งผลให้กิจการสูญเสีย ทรัพย์กรที่มีประโยชน์เศรษฐกิจ 3. ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ดังนั้น

สินทรัพย์ – หนี้สิน

=

ส่วนของเจ้าของ

หรือ

สินทรัพย์

=

หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

เรียกว่า สมการบัญชี (Accounting Equation)

การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน ควรแสดงรายการเรียงตามลําดับ ดังนี้ 1. สินทรัพย์ (Assets) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์ ที่ จ ะเปลี่ ย นเป็ น เงิ น สด หรื อ ที่ จ ะขายหรื อ ใช้ ห มดไปภายในหนึ่ ง ปี หรื อ หนึ่ ง รอบระยะเวลา การดําเนินงานตามปกติ 1.1.1 เงิน สด (Cash) หมายถึ ง เงินสดในมือ และเงิ นฝากธนาคาร ทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนด (เงินฝากประจํา)


45

1.1.2 เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary Investments) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ ไม่เกิน 1 ปี เป็นการนําเงินสดที่มีอยู่ไปลงทุนในระยะสั้น เพื่อให้ได้ ผลตอบแทน 1.1.3 ลูกหนี้การค้า (Trade Receivables) หมายถึง เงินที่ลูกค้า ค้างชําระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่กิจการได้ขายหรือให้บริการตามปกติ รวมถึง ตั๋วเงินรับด้วย 1.1.4 สิน ค้า คงเหลือ (Inventories) หมายถึ ง สิ นค้าสํ าเร็จรู ป งานหรือสินค้าระหว่างทํา วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อขายหรือให้บริการตามปกติของกิจการ 1.1.5 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่นอกเหนือจากที่กําหนดข้างต้น เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ เป็นต้น 1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ ที่ไม่ถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 1.2.1 เงินลงทุนระยะยาว (Long – term Investments) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ เกิน 1 ปี เป็นการนําเงินสดที่มีอยู่ไปลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ได้ ผลตอบแทน 1.2.2 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (Property, Plant and Equipment) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต เพื่อใช้ ในการจํ าหน่ ายสิ น ค้ าหรื อให้ บ ริ การ เพื่อ ให้ เ ช่าหรือ เพื่อ ใช้ใ นการบริห ารงาน โดยคาดว่ า จะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี 1.2.3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีลักษณะทางกายภาพ เช่น ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิเกี่ยวกับงานที่เกิดจากการริเริ่ม สร้างสรรค์โดยใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เช่น งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ สิ ท ธิ บั ต ร (Patent) หมายถึ ง หนั ง สื อ ที่ อ อกให้ เ พื่ อ คุ้ ม ครอง การประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประดิษฐ์มีสิทธิผลิตสินค้าแต่เพียงผู้เดียว สั ม ปทาน (Concession) หมายถึ ง การที่ รั ฐ อนุ ญ าตให้ เ อกชน จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติภายในระยะเวลาและเงื่อนไข ที่รัฐกําหนด เครื่ อ งหมายการค้ า (Trade Mark) หมายถึ ง เครื่ อ งหมายที่ ใ ช้ กับสินค้า เพื่อแสดงว่าเป็นสินค้าของกิจการซึ่งแตกต่างกับสินค้าของกิจการอื่น 1.2.4 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (Other Non – Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น 2. หนี้สิน (Liabilities) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 หนี้สินหมุน เวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีกําหนด การชําระคืนภายในหนึ่งปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดําเนินงานตามปกติของกิจการ


46

2.1.1 เงิ น เบิ ก เกิ น บั ญ ชี และเงิ น กู้ ยื ม ระยะสั้ น จากสถาบั น การเงิ น (Bank Overdrafts and Short – term Borrowings from Financial Institutions) หมายถึง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบัน การเงินอื่น 2.1.2 เจ้าหนี้การค้า (Trade Payables) หมายถึง เงินที่กิจการ ค้างชําระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชําระค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว 2.1.3 หนี้สินหมุนเวียนอื่น (Other Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินหมุนเวียนอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า 2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สิน ที่ไม่ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น 2.2.1 เงินกู้ยืมระยะยาว (Long – term Borrowings) หมายถึง เงินกู้ยืมซึ่งถึงกําหนดชําระคืนเกินกว่าหนึ่งปี นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 2.2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (Other Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น 3. ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) การแสดงส่วนของเจ้าของในงบแสดง ฐานะการเงินจะแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังนี้ 3.1 ธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียว (Proprietorship) ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) ทุน – นาย ก XX ถอนใช้ส่วนตัว (XX) กําไร (ขาดทุน) XX รวมส่วนของเจ้าของ XX 3.2 ธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วน (Partnership) ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (Partners’ Equity) ทุน – นาย ก XX ทุน – นาย ข XX XX กระแสทุน – นาย ก XX กระแสทุน – นาย ข XX XX กําไร (ขาดทุน) สะสมยังไม่ได้แบ่ง XX กําไร (ขาดทุน) XX รวมส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน XX


47

3.3 ธุรกิจประเภทบริษัทจากัด (Limited Company) ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders’ Equity) ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน XX ทุนที่ชําระแล้ว XX XX ส่วนเกินมูลค่าหุ้น XX กําไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว ทุนสํารองตามกฎหมาย XX อื่น ๆ XX XX ยังไม่ได้จัดสรร XX XX รวมส่วนของผู้ถือหุ้น XX 3.4 ธุรกิจประเภทบริษัทมหาชนจากัด (Public Limited Company) ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders’ Equity) ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน XX ทุนที่ออกและชําระแล้ว XX XX ส่วนเกิน (ต่ํากว่า) มูลค่าหุ้น XX ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น XX กําไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว ทุนสํารองตามกฎหมาย XX อื่น ๆ XX XX ยังไม่ได้จัดสรร XX XX ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม XX รวมส่วนของผู้ถือหุ้น XX ในหนังสือหลักการบัญชีซึ่งเป็นการบัญชีขั้นต้น จะกล่าวถึงรายละเอียดการแสดง ส่วนของเจ้าของสําหรับธุรกิจประเภทบริษัทจํากัดเท่านั้น อันได้แก่ 1. ทุนเรือนหุ้น (Share Capital) ซึ่งได้แก่ หุ้นสามัญ (Ordinary Shares) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preference Shares) 1.1 ทุนจดทะเบียน (Authorized Share Capital) หมายถึง ทุน ของกิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จํานวนหุ้น และมูลค่าที่ตราไว้ตามที่ได้ จดทะเบียนหุ้นแต่ละชนิด 1.2 ทุนที่ชาระแล้ว (Paid – up Share Capital) หมายถึง จํานวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่ได้รับชําระแล้ว ให้แสดงแยกเป็นหุ้นแต่ละชนิด


48

2. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Share Premium Account) หมายถึง เงินหรือมูลค่า ของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นในส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียน 3. กาไร (ขาดทุน) สะสม (Retained Earnings) หมายถึง กําไรที่กิจการ สะสมไว้ตั้งแต่เริ่มดําเนินธุรกิจ แต่หากกิจการดําเนินธุรกิจแล้วเกิดผลขาดทุน จะเรียกว่า ขาดทุน สะสม 3.1 กาไรที่จัดสรรแล้ว (Appropriated) หมายถึง กําไรสะสมที่จัดสรรไว้ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่ างหนึ่ง เช่น ทุนสํารองตามกฎหมาย สํารองสําหรับการขยายกิจการ หรือตามเงื่อนไขของภาระผูกพัน เป็นต้น 3.2 กาไรที่ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated) หมายถึง กําไรสะสม ที่คงเหลือหลังจากการจัดสรรแล้ว การคานวณกาไรสะสมปลายงวด กําไรสะสมปลายงวด = กําไรสะสมต้นงวด + กําไร (ขาดทุน) สุทธิ – เงินปันผล

การจัดทางบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน สามารถจัดทําได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. แบบรายงาน (Report Form) คือ การจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน โดยแสดง รายละเอียดของสินทรัพย์ก่อน แล้วจึงแสดงรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของต่อท้าย


49

ตัวอย่างที่ 2.1 งบแสดงฐานะการเงินแบบรายงานของธุรกิจให้บริการประเภทบริษัทจํากัด บริษัท เย็นใจบริการ จากัด งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X3 หน่วย : บาท สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสด ลูกหนี้การค้า ตั๋วเงินรับ รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร เครื่องใช้สํานักงาน รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุน้ หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้การค้า เงินเดือนค้างจ่าย รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว รวมหนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญ กําไรสะสม รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

120,000 60,000 40,000 220,000 400,000 300,000 70,000 770,000 990,000 50,000 70,000 5,000 125,000 300,000 425,000 435,000 130,000 565,000 990,000


50

2. แบบบัญชี (Account Form) คือ การจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน โดยแสดง รายละเอียดของสินทรัพย์ไว้ทางด้านซ้าย และแสดงรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ ทางด้านขวา ตัวอย่างที่ 2.2 งบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีของธุรกิจให้บริการประเภทบริษัทจํากัด บริษัท เย็นใจบริการ จากัด งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X3 หน่วย : บาท สินทรัพย์

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุน้ หนี้สินหมุนเวียน 120,000 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 50,000 60,000 เจ้าหนี้การค้า 70,000 40,000 เงินเดือนค้างจ่าย 5,000 220,000 รวมหนี้สินหมุนเวียน 125,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว 300,000 400,000 รวมหนี้สิน 425,000 300,000 ส่วนของผู้ถือหุน้ 70,000 หุ้นสามัญ 435,000 770,000 กําไรสะสม 130,000 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 565,000 990,000 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 990,000

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสด ลูกหนี้การค้า ตั๋วเงินรับ รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร เครื่องใช้สํานักงาน รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Statement of Comprehensive Income) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงผลการดําเนินงานของกิจการเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีหรือสิ้นงวด บัญชี เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีนั้นเท่าใด และเมื่อเปรียบเทียบ รายได้ กั บ ค่ า ใช้ จ่ า ยแล้ ว กิ จ การมี ผ ลกํ า ไรหรื อ ขาดทุ น เป็ น ข้ อ มู ล ที่ ช่ ว ยประเมิ น ความสามารถ ในการทํากําไรของกิจการ รายได้ – ค่าใช้จ่าย

=

กาไร (ขาดทุน)


51

การจัดทางบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สามารถจัดทําได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. แสดงแบบงบเดียว คือ การจัดทําโดยรวมงบกําไรขาดทุนกับกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่นไว้ในงบเดียวกัน 2. แสดงแบบสองงบ คือ การจัดทําโดยแยกระหว่าง งบกําไรขาดทุน และงบกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จ ดังนี้ 2.1 งบเฉพาะกาไรขาดทุน คือ งบที่แสดงการเปรีย บเทียบระหว่าง รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลต่างจะเป็นกําไรหรือขาดทุนสําหรับงวดบัญชีนั้น 2.2 งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ คือ งบที่ตั้งต้นด้วยกําไรหรือขาดทุน และแสดง องค์ประกอบของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Other Comprehensive Income) หมายถึง รายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งไม่อนุญาตให้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนโดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่น ซึ่งเป็นรายการที่กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น แต่ไม่ได้เกิดจากผู้ถือหุ้นโดยตรง จึงควรแสดงรายการ แยกออกมา ได้แก่ 2.2.1 การเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2.2.2 ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลั กคณิตศาสตร์ ประกันภัย หมายถึง ผลกําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามโครงการผลประโยชน์พนักงาน 2.2.3 ผลกําไรและขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินของการดําเนินงาน ในต่างประเทศ หมายถึง ผลกําไรและขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินให้เป็นสกุลเงินที่นําเสนอ รายงาน 2.2.4 ผลกําไรและขาดทุนจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย หมายถึง ผลกําไรและขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย 2.2.5 ส่วนของผลกําไรและขาดทุนที่มีประสิทธิผลจากเครื่องมือป้องกัน ความเสี่ ย งในการป้ องกั น ความเสี่ ย งในกระแสเงินสด หมายถึง ส่ ว นของผลกําไรและขาดทุ น ที่มีประสิทธิผลจากเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงในการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด ในหนังสื อหลั กการบั ญชีซึ่งเป็น การบัญชีขั้นต้นนี้ จะนําเสนองบเฉพาะกําไรขาดทุน เท่านั้น เนื่องจากในเบื้องต้นยังไม่มีรายการที่จัดเป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งจะพบได้ในการบัญชี ขั้นกลางและขั้นสูงต่อไป ความหมายของรายได้ ค่าใช้จ่าย และกาไร (ขาดทุน) สุทธิ รายได้ (Revenues) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลา บัญชีในรูปของการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ


52

ประเภทของรายได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from Sales or Revenue from Rendering Services) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจหลั กของกิจการ ให้แยกแสดงเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น (Other Income) หมายถึง รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดําเนินธุรกิจหลัก ของกิจการ เช่น กําไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ดอกเบี้ยรับ ค่ า ใช้ จ่ า ย ( Expenses) หมาย ถึ ง การ ลดลง ของ ประ โ ยช น์ เชิ ง เศร ษฐ กิ จ ในรอบระยะเวลาบั ญชี ใ นรู ป ของการลดลงของสิ นทรัพ ย์ ห รือการเพิ่มขึ้ นของหนี้ สิ น อัน ส่ งผลให้ ส่วนของเจ้าของลดลง โดยไม่รวมถึงการปันส่วนทุนให้เจ้าของ ประเภทของค่ า ใช้ จ่ า ย หากแบ่ ง ตามรายการที่ ต้ อ งมี ใ นงบการเงิ น ซึ่ ง ประกาศ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ (Cost of sales or cost of rendering services) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่ขาย 2. ค่า ใช้จ่ ายในการด าเนิน งาน (Operating Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากการดําเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินเดือนและค่าแรง ค่าโฆษณา ค่าเช่าสํานักงาน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น หากเป็นธุรกิจที่จําหน่ายสินค้า จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการขายสินค้า เช่น ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง 2.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการ เช่น ค่าเช่าสํานักงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าเบี้ยประกัน ค่าเสื่อมราคา 3. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่าย ในการดําเนินงาน เช่น ขาดทุนจากการขายเงินลงทุน ขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 4. ต้นทุนทางการเงิน (Finance costs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้น จากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน 5. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (Income tax expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ที่คํานวณขึ้นตามที่กฎหมายกําหนด การจ าแนกค่า ใช้จ่ ายในงบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ทําได้ 2 รูปแบบ คือ จําแนก ค่ า ใช้ จ่ า ยตามลั ก ษณะ และจํ า แนกค่ า ใช้ จ่ า ยตามหน้ า ที่ ทั้ ง นี้ การเลื อ กวิ ธี นํ า เสนอค่ า ใช้ จ่ า ย จะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ กิจการจึงควรเลือกวิธีที่จะทําให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ และเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจมากกว่า


53

1. จาแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ (Expenses by Nature) เป็นการรวมค่าใช้จ่าย ตามลักษณะของค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา โดยไม่ต้องปันส่วน ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงานภายในกิจการ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ ตัวอย่างที่ 2.3 งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ จําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของธุรกิจให้บริการ บริษัท ยินดีบริการ จากัด งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 หน่วย : บาท รายได้ รายได้จากการให้บริการ รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าเสื่อมราคา ค่าเบี้ยประกัน เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด รวมค่าใช้จ่าย กําไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ต้นทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร (ขาดทุน) สุทธิ

400,000 80,000 480,000 (50,000) (12,000) (50,000) (25,000) (15,000) (152,000) 328,000 (4,000) 324,000 (97,200) 226,800

2. จาแนกค่าใช้จ่ ายตามหน้า ที่ (Expenses by Function) เป็นการแสดง ค่ า ใช้ จ่ า ยแยกตามหน้ า ที่ ง านต่ า ง ๆ ตามหน่ ว ยงาน กิ จ การต้ อ งแยกต้ น ทุ น ขายหรื อ บริ ก าร ออกจากค่าใช้จ่ายอื่น และแยกค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารออกจากกัน วิธีนี้ จะให้ ข้อมูล ที่เป็ น ประโยชน์ต่อผู้ ใช้งบการเงินมากกว่า แต่การปันส่ วนต้นทุนแก่ห น่ว ยงานต่าง ๆ อาจไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและใช้ดุลยพินิจอย่างมาก กิจ การที่ เ ลื อ กวิ ธี ก ารจํ า แนกค่ า ใช้ จ่ า ยตามหน้ า ที่ สามารถเลื อ กที่ จ ะนํ า เสนอ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จได้ 2 แบบ ได้แก่ 2.1 แบบขั้ น เดีย ว (Single Step) เป็นการจัด ทํางบโดยแสดงรายได้ ประเภทต่าง ๆ และค่าใช้จ่ ายประเภทต่าง ๆ แยกออกจากกัน แล้ ว จึงนํายอดรวมรายได้หักด้ว ย ยอดรวมค่าใช้จ่าย


54

2.2 แบบหลายขั้ น (Multiple Step) เป็ น การจั ด ทํ า งบโดยแสดงกํ า ไร ในระดับต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการนําข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ดีขึ้น การนําเสนองบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ทั้ง 2 แบบ สามารถนํามาเปรียบเทียบกันได้ ดังตารางที่ 2.1 ตาราง 2.1 เปรียบเทียบการนําเสนองบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบขั้นเดียวและแบบหลายขั้น แบบขั้นเดียว (Single Step) รายได้ รายได้จากการขายหรือให้บริการ รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายหรือบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่าย กําไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ต้นทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร (ขาดทุน) สุทธิ

XX XX XX (XX) (XX) (XX) (XX) (XX) XX (XX) XX (XX) XX

แบบหลายขั้น (Multiple Step) รายได้จากการขายหรือให้บริการ หัก ต้นทุนขายหรือบริการ กําไรขั้นต้น บวก รายได้อื่น กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย หัก ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่าย

XX (XX) XX XX XX (XX) (XX) (XX) (XX)

กําไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงิน และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ต้นทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร (ขาดทุน) สุทธิ

XX (XX) XX (XX) XX


55

ตัวอย่างที่ 2.4 งบกํ า ไรขาดทุ น เบ็ ด เสร็ จ จํ า แนกค่ า ใช้ จ่ า ยตามหน้ า ที่ และแสดงยอดขั้ น เดี ย ว (Single Step) ของธุรกิจให้บริการ บริษัท ยิ่งเจริญบริการ จากัด งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย : พันบาท รายได้ รายได้จากการให้บริการ รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่าย กําไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ต้นทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร (ขาดทุน) สุทธิ

600,000 10,000 610,000 (420,000) (46,000) (57,000) (500) (523,500) 86,500 (900) 85,600 (25,680) 59,920


56

ตัวอย่างที่ 2.5 งบกํ า ไรขาดทุ น เบ็ ดเสร็ จ จํ าแนกค่ า ใช้จ่ า ยตามหน้ า ที่ และแสดงยอดหลายขั้ น (Multiple Step) ของธุรกิจให้บริการ บริษัท ยิ่งเจริญบริการ จากัด งบกาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย : พันบาท รายได้จากการให้บริการ หัก ต้นทุนการให้บริการ กําไรขั้นต้น บวก รายได้อื่น กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย หัก ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น กําไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ต้นทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หัก ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กําไร (ขาดทุน) สุทธิ

600,000 (420,000) 180,000 10,000 190,000 (46,000) (57,000) (500)

(103,500) 86,500 (900) 85,600 (25,680) 59,920

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Owners’ Equity) หมายถึง งบการเงิน ที่แสดงให้ เห็นถึงการเปลี่ ยนแปลงในส่ว นของเจ้าของว่าเพิ่มขึ้น หรื อ ลดลงอย่ า งไรจากวั น ต้ น งวด เช่ น การเพิ่ ม หรื อ การลดทุ น การจ่ า ยเงิ น ปั น ผล การจั ด สรร สํารองต่าง ๆ ตัวอย่างงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นสําหรับธุรกิจประเภทบริษัทจํากัด แสดงดังตัวอย่างที่ 2.6


57

ตัวอย่างที่ 2.6 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจํากัด บริษัท ยิ่งเจริญบริการ จากัด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย : พันบาท ยอดคงเหลือ ณ ต้นปี 25X1 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สําหรับปี 25X1 - การเพิ่ม (ลด) หุ้น - กําไร (ขาดทุน) สุทธิ 25X1 - เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปี 25X1

ทุน ที่ชาระแล้ว XX

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น XX

XX

XX

XX

XX

กาไร (ขาดทุน) สะสม XX XX (XX) XX

รวม XX XX XX (XX) XX

งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) หมายถึง งบการเงินที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการรับเงินสดและการจ่ายเงินสดสําหรับงวดระยะเวลาหนึ่ง โดยจําแนกกระแสเงินสดออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมดําเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ข้อมูลกระแสเงินสด จะช่ ว ยให้ ผู้ ใ ช้ ง บการเงิ น ทราบถึง ความสามารถของกิจ การในการก่ อให้ เ กิด เงิน สดและรายการ เที ย บเท่ า เงิ น สด รวมถึ ง ความต้ อ งการในการใช้ เ งิ น สดของกิ จ การ ตั ว อย่ า งงบกระแสเงิ น สด แสดงดังตัวอย่างที่ 2.7


58

ตัวอย่างที่ 2.7 งบกระแสเงินสด บริษัท ยิ่งเจริญบริการ จากัด งบกระแสเงินสด สาหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 หน่วย : พันบาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมดาเนินงาน ………………………… ..………………………. …..……………………. เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ………………………… ..………………………. ………………………… เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ………………………… ………………………… ………………………… เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบกระแสเงินสด

XX XX (XX) XX XX (XX) (XX) XX XX (XX) (XX) XX XX XX XX

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น เป็ น การนํ า เสนอข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ งบการเงิ น เพื่อให้ผู้ใช้งบมีความเข้าใจในงบการเงินนั้น ข้อมูลที่ควรนําเสนอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มีดังนี้ 1. เกณฑ์ ก ารจั ด ทํ า งบการเงิ น และนโยบายการบั ญ ชี ที่ สํ า คั ญ เช่ น เกณฑ์ ก ารวั ด มูลค่าที่ใช้จัดทํางบ นโยบายการบัญชีเรื่องภาษีเงินได้ 2. ข้อมูลที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้ เปิดเผย เช่น การเปิดเผย ข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน


59

3. ข้อ มูล อื่ น เพิ่ มเติ มที่ เ กี่ย วข้อ งต่ อ การทํา ความเข้ า ใจงบการเงิน นั้ น เช่น หนี้ สิ น ที่อาจเกิดขึ้น

ความสัมพันธ์ของงบการเงิน งบการเงินแต่ละประเภทที่กิจการจัดทําขึ้นได้มาจากฐานข้อมูลทางการบัญชีชุดเดียวกัน ดั ง นั้ น งบการเงิ น แต่ ล ะงบจึ ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น โดยในวั น สิ้ น งวดบั ญ ชี กิ จ การจะทํ า การวั ด ผลการดําเนินงานของงวดบัญชีที่ผ่านมา โดยการจัดทํางบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งประกอบด้วย รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลต่างที่ได้ คือ กําไรหรือขาดทุน กําไรหรือขาดทุนดังกล่าว จะส่งผลกระทบ ต่อส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน (งบแสดงฐานะการเงิน ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ) กล่าวคือ กําไรจะทําให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ขาดทุนจะทําให้ส่วนของเจ้าของ ลดลง ส่วนของเจ้าของที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันต้นงวดบัญชี จะนําไปจัดทํางบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่วนของเจ้ าของ หลังจากนั้น จึงนําข้อมูล ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบแสดงฐานะการเงิน มาจั ด ทํ า งบกระแสเงิ น สด ดั ง นั้ น จะเห็ น ได้ ว่ า การจั ด ทํ า งบการเงิ น จะต้ อ งอาศั ย ข้ อ มู ล บั ญ ชี ทั้ ง 5 หมวด คื อ สิ น ทรั พ ย์ หนี้ สิ น ส่ ว นของเจ้ า ของ รายได้ และค่ า ใช้ จ่ า ย ซึ่ ง สามารถ แสดงความสัมพันธ์ของบัญชีทั้ง 5 หมวดนี้ได้ ดังสมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ หรือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + (รายได้ – ค่าใช้จ่าย)

สรุป งบการเงิ น เป็ น รายงานที่ ช่ ว ยให้ ผู้ ใช้ ง บการเงิน ทั้ ง จากภายในและภายนอกองค์ ก ร ทราบถึงข้อมูลทางการเงินของกิจการ และสามารถนําข้อมูลนั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ได้ดียิ่งขึ้น งบการเงิน ประกอบด้วย 1. งบแสดงฐานะการเงิน 2. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 4. งบกระแสเงินสด และ 5. หมายเหตุประกอบ งบการเงิ น โดยงบการเงิ น แต่ ล ะประเภทจะให้ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ใ นแง่ มุ ม ที่ แ ตกต่ า งกั น ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการจั ด ทํ า งบนั้ น แต่ ทุ ก งบการเงิ น จะจั ด ทํ า ขึ้ น จากข้ อ มู ล ชุ ด เดี ย วกั น ซึ่งจํ าแนกออกเป็ น 5 หมวด ได้แก่ สิ นทรัพย์ หนี้สิ น ส่ ว นของเจ้าของ รายได้ และค่ าใช้จ่า ย จึงทําให้ข้อมูลในแต่ละงบการเงินมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันตามสมการบัญชี ดังนี้ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + (รายได้ – ค่าใช้จ่าย)


60

คาถามทบทวน 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11.

งบการเงินหมายถึงอะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง งบแสดงฐานะการเงินหมายถึงอะไร สินทรัพย์หมายถึงอะไร มีกี่ประเภท ให้ยกตัวอย่างแต่ละประเภท หนี้สินหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท ให้ยกตัวอย่างแต่ละประเภท ส่วนของเจ้าของหมายถึงอะไร คํานวณอย่างไร สมการบัญชีมีรูปแบบอย่างไร งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จมีประโยชน์อย่างไร รายได้หมายถึงอะไร ค่าใช้จ่ายหมายถึงอะไร ให้อธิบายความแตกต่างของการนําเสนองบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบขั้นเดียวและแบบหลายขั้น กิจการแห่ งหนึ่ งมีสิน ทรัพย์หมุนเวียน จํานวน 5,600 บาท สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียน จํานวน 10,000 บาท ส่วนของเจ้าของ จํานวน 7,200 บาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน จํานวน 5,000 บาท ให้คํานวณหาหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยใช้สมการบัญชีช่วยในการคํานวณ 12. จากรายการด้ า นล่ า งนี้ ให้ จํ า แนกประเภทรายการให้ ถู ก ต้ อ งว่ า เป็ น สิ น ทรั พ ย์ หนี้ สิ น หรือส่วนของเจ้าของ โดยทําเครื่องหมายถูกในช่องที่กําหนด รายการ 1. ตั๋วเงินจ่าย 2. กําไรสะสม 3. ลูกหนี้ 4. อุปกรณ์สํานักงาน 5. เงินฝากออมทรัพย์ 6. อาคาร 7. ลิขสิทธิ์ 8. ทุนเรือนหุ้น 9. เงินฝากประจํา 10. เงินลงทุนระยะสั้น 11. ที่ดิน 12. สินค้าคงเหลือ 13. เจ้าหนี้ 14. สัมปทาน 15. เงินเบิกเกินบัญชี

สินทรัพย์ สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้สิน ส่วนของ หมุนเวียน ไม่หมุนเวียน หมุนเวียน ไม่หมุนเวียน เจ้าของ


61

รายการ

สินทรัพย์ สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้สิน ส่วนของ หมุนเวียน ไม่หมุนเวียน หมุนเวียน ไม่หมุนเวียน เจ้าของ

16. เงินกู้ยืมระยะสั้น 17. วัสดุสิ้นเปลือง 18. เงินกู้จํานอง 19. เครื่องจักร 20. ตั๋วเงินรับ 13. บริษัท เพิ่มสุข จํากัด ดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการเช่าห้องพัก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 มีข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนี้ (หน่วย : บาท) เจ้าหนี้ ที่ดิน เงินสด หุ้นสามัญ เงินกู้ยืม (3 ปี)

56,000 1,100,000 160,000 1,000,000 520,000

กําไรสะสม เครื่องตกแต่ง ลูกหนี้ อาคาร

214,000 150,000 80,000 300,000

ให้ทา งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1 แบบรายงาน 14. บริษัท เลิ ศบริการ จํากัด ให้บริการในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการมีรายได้และค่าใช้จ่าย สําหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1 ดังนี้ (หน่วย : บาท) รายได้จากการให้บริการ รายได้ดอกเบี้ย เงินเดือนและค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ํา ค่าโทรศัพท์

280,000 7,000 95,000 14,500 5,800 2,200

ค่าเสื่อมราคา ค่าโฆษณา ค่าเช่า ค่าใช้จ่ายอื่น ดอกเบี้ยจ่าย อัตราภาษีเงินได้ 30%

59,000 7,000 40,000 2,200 1,000

ให้ทา งบกําไรขาดทุน เบ็ ดเสร็จ (บางส่ ว น) แบบแสดงยอดขั้นเดีย ว สํ าหรับปี สิ้ นสุ ดวัน ที่ 31 ธันวาคม 25X1


62

15. บริษัท รักสะอาด จํากัด เปิดกิจการรับทําความสะอาดบ้านและอาคารสํานักงาน มีข้อมูลรายได้ และค่าใช้จ่าย สําหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 ดังนี้ (หน่วย : พันบาท) รายได้จากการให้บริการ รายได้อื่น ต้นทุนการให้บริการ ค่าวัสดุสํานักงาน

84,000 3,000 47,000 2,500

ค่าโฆษณา ค่าสาธารณูปโภค ดอกเบี้ยจ่าย อัตราภาษีเงินได้ 30%

2,300 5,100 1,300

ให้ทา 1. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) แบบแสดงยอดขั้นเดียว สําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 2. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) แบบแสดงยอดหลายขั้น สําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 16. ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้ และค่าใช้จ่าย ของ บริษัท ไทยรักกัน จํากัด ซึ่งทําธุรกิจประเภทให้บริการ สําหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 (หน่วย : พันบาท) อาคาร ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว วัสดุสํานักงาน รายได้อื่น กําไรสะสม (ต้นงวด) ค่าสาธารณูปโภค ลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เงินเบิกเกินบัญชี หุ้นสามัญ เงินเดือน

1,400 500 100 90 357 820 280 297 182 2,000 3,600

รายได้จากการให้บริการ อุปกรณ์สํานักงาน ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า เจ้าหนี้ ดอกเบี้ยจ่าย ค่าเบี้ยประกัน เงินสด เงินเดือนค้างจ่าย ตั๋วเงินรับ เงินปันผล

8,500 912 1,700 125 50 550 930 950 95 60 50

ให้ทา 1. งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (บางส่วน) แบบแสดงยอดขั้นเดียว สําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 2. คํานวณกําไรสะสมปลายงวด 3. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X2 แบบรายงาน


63

เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2554). คำชี้แจงกรมพัฒนำธุรกิจกำรค้ำ เรื่อง กำหนดรำยกำรย่อที่ต้องมี ในงบกำรเงิน พ.ศ.2554. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร, พจน์ วีรศุทธากร และ พิมพ์ใจ วีรศุทธากร. (2554). คู่มือบัญชี NPAEs (TFRS for NPAEs Handbook). กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จํากัด ทีพีเอ็น เพรส. สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี . (2552). มำตรฐำนกำรบั ญ ชี ฉบั บ ที่ 1 (ปรั บ ปรุ ง 2552) เรื่ อ ง กำรน ำเสนอ งบกำรเงิน. สภาวิชาชีพบัญชี. (2552). แม่บทกำรบัญชี. อรุณี อย่างธารา, อรสา วีระประดิษฐ์, สุพิชญ์ชญา เหล่าธรรมทัศน์ และ วิภาดา ตันติประภาการ. (2554). บัญชีกำรเงิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Belverd E. Needles, Jr., Marian Powers. (2008). Principles of Financial Accounting. 10th ed. Boston : Houghton Mifflin Company. Jerry J. Weygandt, Paul D. Kimmel, Donald E. Kieso. (2011). Financial Accounting. IFRS Edition. NJ : Quad / Graphics.


64


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.