Public Consultation

Page 1

@weareoja

26

สรางสรรคนวั สรางสรรคนวัตตกรรมยุ กรรมยุตติ​ิธธรรมไทย รรมไทย

JANUARY 2017

การพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในการจัดทำกฎหมายที่ดี

“กระบวนการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะ” หรือ Public Consultation เป็นกลไก สำคัญของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปเพื่อจัดทำกฎหมาย โดยเปิด โอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ผ่านการซักถาม ชี้แจง ถกเถียง เพื่อให้การดำเนินการจัดทำกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานภาครัฐนั้นจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการดำเนินการจัดทำกฎหมายนั้นด้วย ในต่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างได้นำแนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะมาพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายภายใต้บริบท และความจำเป็นที่แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น การรับฟั งความคิดเห็นจากประชาชนมิใช่กระบวนการใหม่และได้นำ กระบวนการดังกล่าวใช้เพื่อเป็นกลไกในการจัดทำกฎหมายหรือการดำเนินการในเรื่องที่มีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณรัฐ มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากหลักเกณฑ์และวิธกี ารในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทีบ่ ญั ญัตไิ ว้ในกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัตจิ ดั รูปทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัตกิ ารผังเมือง พ.ศ. 2518 หรือการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) ที่บัญญัติในพระราชบัญญัติสง่ เสริมและรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และระเบียบว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธกี ารเสนอเรือ่ งต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ทีไ่ ด้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธกี ารในการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนให้มคี วามเหมาะสม สอดคล้องกับกลุม่ เป้าหมายมากยิง่ ขึน้ แต่ทว่าการดำเนินการภายใต้แนวทางปฏิบตั ขิ า้ งต้นกลับพบ ความท้าทายหลายประการทัง้ ในเรือ่ งการวิเคราะห์ผมู้ สี ว่ นได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย การกำหนดระยะเวลา กระบวนการเผยแพร่และชีแ้ จงผลการรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการประเมินผลภายหลัง การดำเนินการรับฟังความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ดี พัฒนาการสำคัญในปัจจุบันที่มุ่งหวังจะยกระดับการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำกฎหมายของประเทศไทยได้ ปรากฏอยู่ในมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กอปรกับคณะรัฐมนตรี ได้มมี ติ เมือ่ วันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัตดิ ังกล่าว ซึ่งหลักการว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณา” โดยทีห่ น่วยงานภาครัฐอาจใช้เครือ่ งมือเพือ่ ให้ได้มาซึง่ ความคิดเห็นในหลายรูปแบบ ได้แก่การ รับฟังความคิดเห็นโดยใช้การกรอกแบบฟอร์ม การสำรวจความคิดเห็นสาธารณะ การทำประชามติ การจัดเวทีเสวนาการปรึกษา หารือกลุ่มเฉพาะ ทั้งนี้ ได้แบ่งรูปแบบของการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การปรึกษาหารือสาธารณะเต็มรูปแบบ (full public consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิด เห็นในการจัดทำกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยวิธีการที่โปร่งใส เปิดกว้าง เป็นที่รับรู้และเข้าถึงของสาธารณะตลอดทั้ง กระบวนการ มักนำมาใช้ในการจัดทำกฎหมายที่มีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับผู้คนในวงกว้าง และต้องการการตัดสินใจที่ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 2. การปรึกษาหารือแบบเจาะกลุม่ เป้าหมาย (targeted consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในการจัดทำกฎหมายกับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกฝ่ายอย่างเปิดเผย เหมาะกับการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้รับผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะภาคส่วนโดยตรงกับประเด็นปัญหาหรือ ข้อกฎหมายที่มีการหยิบยก ขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการ WWW.OJA.GO.TH


@weareoja สรางสรรคนวั สรางสรรคนวัตตกรรมยุ กรรมยุตติ​ิธธรรมไทย รรมไทย

26

3. การปรึกษาหารือแบบรักษาความลับ (confidential consultation) คือการจัดกระบวนการรั บฟังความคิดเห็น2017 ใน JANUARY การจัด ทำกฎหมายในประเด็น ที่ มีค วามอ่ อ นไหว ละเอีย ดอ่ อ นกั บ ผู้ เ กี่ ย วข้อ งทุ ก ฝ่ า ย ด้ ว ยวิ ธี ก ารแบบปิด ไม่เ ปิ ด เผย ต่อสาธารณะจนกว่าจะถึงเวลาที่สมควร ต้องมีความระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ โดยจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีและ ตระหนักถึงผลกระทบแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องและสังคมโดยรวมอย่างละเอียดรอบคอบ 4. การปรึกษาหารือหลังการตัดสินใจ (post-decision consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิด เห็นในการจัดทำกฎหมายภายหลังจากที่ได้มีการประกาศต่อสาธารณะแล้วแต่กฎหมายนั้นยังไม่มีผลใช้บังคับ มักนำมาใช้ใน กรณีที่ต้องการมุ่งเน้นไปที่แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายและการทบทวนกฎหมายฉบับนั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จัดการรับ ฟังความคิดเห็นในลักษณะนี้ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำกฎหมายจะต้องชี้แจงต่อสาธารณะถึงเหตุผลและ ความจำเป็นที่ไม่สามารถจัดการรับฟังความคิดเห็นก่อนที่จะจัดทำกฎหมายด้วย ปัจจุบันแนวทางการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะที่ประเทศส่วนใหญ่ให้การยอมรับ และนำไปปรับใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายอย่างกว้างขวางคือ กระบวนการ และรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายตามแนวทางขององค์กรเพือ่ ความร่วมมือในการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation Development: OECD) ซึง่ ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น ประเทศอั งกฤษ ประเทศ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ต่างนำหลักการของ OECD ไปปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของแต่ละประเทศ บทความนีจ้ งึ ได้นำหลัก การพืน้ ฐานในการรับฟังความคิดเห็นของ OECD และแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ขี องประเทศดังกล่าวมาสังเคราะห์ และนำเสนอถึงหลัก การสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น โดยแบ่งออกเป็น 7 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน กล่าวคือ กระบวนการรับฟังความเห็นต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ทชี่ ดั เจน ในลักษณะภาพรวมทีเ่ ป็นการดำเนินการเชิงนโยบาย ไม่ใช่การถามความคิดเห็นเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เพียงเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลเฉพาะส่วน โดยทัง้ OECD สหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างกำหนดให้การรับฟังความคิดเห็นจะต้องกำหนด วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ ชั ด เจนและแจ้ ง ให้ แ ก่ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ยได้ รั บ ทราบและเข้ า ใจตรงกั น แต่ แรก โดยความชั ด เจนของ วัตถุประสงค์นี้อาจมีได้ในหลายกรณี เช่น การรับฟังความคิดเห็นเพื่อระดมและรวบรวมความคิดเห็นใหม่ ๆ หรือเพื่อสำรวจ สภาพปัญหาหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเพื่อนำข้อเสนอหรือแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ที่ยกร่างขึ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็น ตลอดจนเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นผ่านมุมมองของ ผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการรับฟังความคิดเห็นจึงต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความละเอียดอ่อน หรือความซับซ้อนของประเด็นที่ต้องการรับฟังความคิดเห็นหรือขอคำปรึกษาจากผู้เกี่ยวข้องด้วย 2. การระบุและจำแนกแยกแยะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน กล่าวคือ การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จะต้องมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบและรอบด้านโดยการจำแนกแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีใครบ้างที่เป็น ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยอ้อม และใครเป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบ ดังนั้น การจัดทำฐาน ข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นระบบและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอจะช่วยให้การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ที่กำลังดำเนินการอยู่มีประสิทธิภาพและนำมาพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับ สหภาพยุโรปซึ่งมีการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นระบบนั้นโดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ระดับผล ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม การเรียงลำดับประเภทหรือลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามลำดับของผล ประโยชน์หรือผลกระทบต่อประเด็นที่มุ่งจะรับฟัง และการวิเคราะห์ระดับของอิทธิพลและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียแต่ละกลุ่มก่อนที่จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็น 3. การเลื อกใช้รูปแบบการรับฟังความคิดเห็นที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดั งที่ กล่าวมาแล้วว่ารูปแบบของ การรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดปรึกษาหารือสาธารณะอาจแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การปรึกษาหารือสาธารณะ เต็มรูปแบบ การปรึกษาหารือแบบเจาะกลุม่ เป้าหมายการปรึกษาหารือแบบรักษาความลับ และการปรึกษาหารือหลังการตัดสิ นใจ ดังนัน้ หน่วยงานของรัฐควรจะได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์และกลุม่ เป้าหมายของการรับฟังความคิดเห็นเพื่อที่จะเลือกรูปแบบ ที่เหมาะสม ทัง้ นี้ หลักเกณฑ์ของ OECD ได้กำหนดว่ารูปแบบการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐอย่างน้อยจะต้อง กระทำผ่านเว็บไซต์ โดยประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้การรับฟังความเห็นใน การจัดทำกฎหมายในรูปแบบการแจ้งให้ ทราบและฟังความเห็นจากสาธารณะของสหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการผ่านเว็บไซต์ regulation.gov และจะต้องเผยแพร่ WWW.OJA.GO.TH


@weareoja สรางสรรคนวั สรางสรรคนวัตตกรรมยุ กรรมยุตติ​ิธธรรมไทย รรมไทย

26

“ข้อสังเกตต่อร่างกฎหมายทีเ่ สนอ” (Notice of Proposed Rulemaking: NPRM) ลงในวารสาร Federal Register ซึง่ เป็นวารสาร JANUARY 2017 ทีร่ วบรวมกฎหมายและร่างกฎหมายทีจ่ ดั ทำโดยหน่วยงานรัฐอีกทางหนึง่ ด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานผูร้ บั ผิดชอบควรนำเทคนิควิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจยั เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุม่ การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น มาใช้รว่ มกับการรับฟัง ความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้กระบวนการสามารถได้ รับ ความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะจากกลุ่ ม เป้ า หมายอย่ า ง ครอบคลุม ครบถ้วน อีกทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเข้าร่วมการปรึกษาสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น 4. การกำหนดวันเวลาและระยะเวลาทีเ่ หมาะสมในการจัดกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็น กล่าวคือ การจัดการรับฟั ง ความคิดเห็นต้องมีการกำหนดวันเวลาและระยะเวลาที่เหมาะสม มีความสมเหตุสมผล และไม่เป็นภาระต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยพิจารณาระยะเวลาให้เพียงพอที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และ ปราศจากข้อสงสัย โดยประเทศอังกฤษได้กำหนดว่าควรคำนึงถึงความสะดวกของผู้เข้าร่วมในการรับฟังความคิดเห็น เช่น การรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจะไม่ริเริ่มดำเนินการในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติด้วย และไม่ควรจัดในช่วงเวลาที่เป็นวันหยุดเทศกาล นอกจากนี้ ระยะเวลาในการดำเนินการจะต้องมีความเหมาะสมมากพอที่ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน และมีโอกาสได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และพิจารณาใน ประเด็นต่าง ๆ อย่างเพียงพอ รวมถึงสามารถอภิปรายถกเถียงหรือปรึกษาหารือกันภายในองค์กร/กลุ่มของตนจนได้ข้อสรุป และมีข้อเสนอแนะต่อประเด็นต่าง ๆ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับระดับของผลกระทบที่ร่างกฎหมายมีต่อประชาชน และความซับซ้อนอ่อนไหวของประเด็น ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ซึง่ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดช่วงเวลาให้ ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทีม่ ตี อ่ ร่างกฎหมายผ่านเว็บไซต์ Regulations.gov ระยะเวลาประมาณ 30 - 60 วันหรืออาจนานกว่านัน้ ก็ได้ 5. การให้ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นที่จำเป็น เพียงพอ และรอบด้าน กล่าวคือ การให้ข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการจะช่วยให้การรับฟังความคิดเห็นที่จัดขึ้นมีความโปร่งใส เป็นที่ ยอมรับ และทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้อง ดำเนินการโดยคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ภาษาที่เรียบง่าย ชัดเจน มีการแสดงข้อมูลเชิงสถิติตัวเลขหรือการสรุปสังเคราะห์ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องนำเสนอให้ผู้ เข้าร่วมกระบวนการได้รับทราบอย่างครบถ้วน โดยประเทศอังกฤษกำหนดให้ข้อมูลที่ใช้ในการรับฟังความคิดเห็นจะต้องมี เนื้อ หาที่ค รบถ้ ว น ซึ่ ง คำถามที่ ใช้ ถ ามผู้ เข้ า ร่ ว มรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ต้ อ งมี ข อบเขตที่ชัดเจนทั้งด้านเนื้อหาและปริมาณ มีคำอธิบายหรือบทสรุปทีเ่ ข้าใจได้งา่ ย ไม่ใช้ภาษากฎหมาย และในกรณีทเี่ ป็นคำถามที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจ หน่วยงานของรัฐจะ ต้องรวบรวมข้อมูลในลักษณะของต้นทุนและความคุ้มค่าให้ครบถ้วนด้วย 6. การชี้แจงผลการรับฟังความคิดเห็นที่โปร่งใสและมีกระบวนการติดตามประเมินผลการรับฟังความคิดเห็น ที่เป็นระบบ กล่าวคือ หน่ วยงานของรัฐจะต้องสรุปผลการจัดการรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงเหตุผลในการ กระทำหรือไม่ กระทำตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ โดยต้องดำเนินการใน 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ การจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิด เห็นซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาตามหัวข้อหลักที่กำหนดไว้ในแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมาย ประกอบด้วย (1) วิธี การในการรับฟังความคิดเห็น (2) จำนวนครัง้ และระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้ง (3) พื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายใน การรับฟังความคิดเห็น (4) ประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น (5) ข้อคัดค้านหรือความเห็นของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องใน แต่ละประเด็น (6) คำชี้แจงเหตุผลรายประเด็น และ (7) การนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาจัดทำ ร่างกฎหมาย ส่วนที่สอง คือ การเผยแพร่ผลสรุปที่ได้จากการจัดการรับฟังความเห็นทั้งในรูปแบบรายงานสรุปผลการรับฟัง ความคิดเห็นและในรูปแบบที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย พร้อมนี้ หน่วยงานของรัฐจะต้องประเมินผลการรับฟัง ความเห็นนั้นโดยการประเมินผลต้องมีข้อมูลสรุปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ได้แก่ การดำเนินงานรับฟังความเห็นได้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ วิธีการรับฟังความเห็นต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้มีความเหมาะสม และแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่า ระหว่างค่าใช้จ่ายและผลที่ได้รับโดยต้องนำผลการประเมินดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการรับฟังความคิด เห็นฉบับสมบูรณ์ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐจะต้องถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินการและแบ่งปันให้แก่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงเผยแพร่ให้กับสาธารณชนผู้สนใจเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการรับฟังความคิดเห็นในอนาคตด้วย โดยทั้ง OECD สหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกาต่างกำหนดแนวทางเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ WWW.OJA.GO.TH


@weareoja สรางสรรคนวั สรางสรรคนวัตตกรรมยุ กรรมยุตติ​ิธธรรมไทย รรมไทย

26

โดย OECD กำหนดว่าหน่วยงานที่เสนอกฎหมายจะต้องตอบสนองต่อข้อคิดเห็นหรือตอบข้อJANUARY ซักถามต่าง ๆ ทีไ่ ด้รบั ต่อ2017 ผูท้ ี่ แสดงความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อกั ษรและเปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนสหภาพยุโรปกำหนดให้นำเสนอรายงานสรุปความคิด เห็นและข้อเสนอแนะทีไ่ ด้รบั จำแนกตามรูปแบบ/วิธกี ารรับฟังทีใ่ ช้ในกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ และนำเสนอคำอธิบาย เกี่ยวกับการนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาพิจารณา สำหรับประเทศอังกฤษกำหนดให้รัฐบาลต้องสรุปแนวทาง ที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นจนได้ข้อยุติจากทุกฝ่ายก่อนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ และจะต้องเผยแพร่คำตอบที่เกิดจาก คำถามของประชาชนภายใน 12 สัปดาห์นับแต่การรับฟังความคิดเห็นสิ้นสุดลงหรือมีการอธิบายเหตุผลกรณีไม่ สามารถเผย แพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว พร้อมทัง้ ต้องแจ้งเตือนให้ผู้ที่ได้เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิด เห็นได้รับทราบถึงการเผยแพร่รายงานฯ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีการกำหนดให้หน่วยงานจะต้องเผยแพร่ร่ าง กฎหมายฉบับสุดท้ายลงในวารสาร Federal Register ภายในเวลา 30 – 60 วันก่อนทีก่ ฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง โดยจะต้อง แจ้งให้ประชาชนทราบใน 2 ประเด็น ได้แก่ ร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและสรุปประเด็นที่ได้จากการรับฟังความคิด เห็นของประชาชน และคำปรารภที่มีข้อความระบุอย่างชัดเจนว่าหน่วยงานของรัฐได้นำข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลของ ประชาชนมาปรับใช้หรือไม่ อย่างไร และปรากฏอยูใ่ นส่วนใดของร่างกฎหมายนัน้ 7. การมีหน่วยงานกลางกำกับดูแลคุณภาพของการรับฟังความคิดเห็น กล่าวคือ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัด ทำกฎหมายในแต่ละฉบับอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะและความมุ่งหมายของร่างกฎหมายนั้น กระบวนการรับ ฟังความคิดเห็นที่ดีจึงต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาหลายแขนงรวมถึงองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ให้ได้รบั ข้อคิดเห็นทีค่ รอบคลุม ครบถ้วน และสามารถนำข้อคิดเห็นนัน้ มาใช้เพือ่ ปรับปรุงร่างกฎหมายได้จริง ดังนั้น กระบวนการที่เกิด ขึ้นจึงควรผ่านการกำกับดูแลคุณภาพจากหน่วยงานกลางที่มีเกณฑ์การดำเนินการและบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ทำหน้าทีช่ ว่ ยเหลือหน่วยงานของรัฐตัง้ แต่เริม่ ต้นกระบวนการ สอดคล้องกับหลักการของ OECD ซึง่ กำหนดให้มหี น่วยงานกลาง เพือ่ ทำหน้าทีต่ รวจสอบคุณภาพของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทีห่ น่วยงานข้องรัฐผูร้ บั ผิดชอบจัดทำขึน้ ประเทศอังกฤษได้ แต่งตัง้ Consultation Coordinator เพือ่ ทำหน้าทีร่ บั คำวิจารณ์และข้อเสนอแนะต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและนำคำ วิจารณ์และข้อเสนอแนะดังกล่าวไปปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินการจัดกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น หากมีข้อทักท้วงเกี่ยวกับ ปัญหาหรือความไม่ถูกต้องในการดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ คณะ กรรมาธิการร่วมของรัฐสภาอาจพิจารณาจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพิม่ เติมในขัน้ ตอนการพิจารณาร่างกฎหมายก่อนเข้าสู่ การพิจารณาของรัฐสภา (Pre-legislative consultation) ได้ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้มสี ำนักงาน Federal Register ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการจัดการรับฟังความคิดเห็นในเว็บไซต์เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางและ แหล่งข้อมูลสำหรับหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎหมายใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการ พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผลประโยชน์สามารถร้องขอต่อศาลให้ตรวจสอบ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นได้หากเห็นว่ามีการดำเนินการทีไ่ ม่ถกู ต้อง ส่วนสหภาพยุโรปได้กำหนดแนวทางการกำกับดูแลและ ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการโดยคณะกรรมาธิการยุโรปโดยในลักษณะของการให้หน่วยงานของรัฐตอบคำถามก่อนที่จะ ดำเนินการ การวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากต่างประเทศดังที่กล่าวมาข้างต้นสะท้อน ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหัวใจสำคัญของการดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมาย คือ สร้างการมีส่วนร่วม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างแท้จริงมากกว่าการเป็น “พิธีกรรม” ตามระเบียบขั้นตอนของรัฐ การดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้งจึงต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและครอบคลุม และ มีช่องทางให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบจากร่างกฎหมายสามารถเข้าถึงกระบวนการได้ โดยมีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และควรได้รับการสนับสนุนการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายอย่าง เป็นระบบจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลก ระทบทุกฝ่ายว่ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เกิดขึ้นมีความโปร่งใสและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่าง แท้จริง

WWW.OJA.GO.TH


@weareoja สรางสรรคนวั สรางสรรคนวัตตกรรมยุ กรรมยุตติ​ิธธรรมไทย รรมไทย

26

สำนักงานกิจการยุติธรรม JANUARY 2017

เรียบเรียงและพัฒนาจากการศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบ (Model) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมาย ในประเทศไทย ระยะที่ 1 โดยสถาบันพระปกเกล้า และบทความกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมาย : กรณีศึกษาแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทยและกระบวนการปรึกษาหารือ 
 (Public Consultation) ของคณะกรรมการสหภาพยุโรปโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม

WWW.OJA.GO.TH


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.