กล้า
“ผมสังเกตลูกชายผม เวลาดูหนังกอดจูบกัน ลูกก้มหน้า แล้วเหล่มองหาผม ลูกจะไม่กล้าถาม ลูกจึงเหล่มองว่าเรื่องนี้พ่อจะว่ายังไง ส่วนผมก็ไม่กล้าบอกลูก รู้สึกกล้าๆ กลัวๆ เราจะท�ำยังไงกับความกล้าๆ กลัวๆ ของเรา” คุณพ่อ จากจ.สมุทรปราการ
คุยกับลูก วัยรุ่น
“บางทีอยากคุย แต่กลัวเหมือนชี้โพรงให้กระรอก และรู้สึกว่าเด็กสมัยนี้เขาคงรู้พอสมควรมากกว่าเด็กสมัยก่อน ลึกๆ ในใจอยากบอกลูก อายุ 14 ปี...ว่า ยังไม่ถึงเวลา ยังไม่ถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายยังไม่โตเต็มที่ ยังไม่พร้อมที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ ห่วงอนาคต กลัวลูกจะล�ำบาก” คุณแม่ จากจ.สมุทรปราการ
เรื่องเพศ
“เด็กๆ เรียนสรีระเยอะมาก รูจ้ กั การเดินทางของอสุจไิ ปยังรังไข่ รูจ้ กั เรือ่ งของการตกไข่ เด็กอธิบายได้เป็นฉากๆ บอกได้วา่ อสุจเิ ข้าไปผสมกับไข่ได้อย่างไร แต่สงิ่ ทีพ่ ดู กันไม่ได้คอื เรือ่ งอารมณ์ความรูส้ กึ ทีอ่ ยากจะมีเพศสัมพันธ์ กลายเป็นเรือ่ งทีพ่ ดู กันไม่ออก และพูดเรือ่ งนีไ้ ด้ยากมาก อย่างไรก็ตาม พ่อแม่สามารถคุยกับลูก เพือ่ ให้ลกู เข้าใจ ดูแล และจัดการเรือ่ งนีไ้ ด้” แพทย์หญิงวรลักษณา ธีราโมกข์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายคลินิก และจิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์
วิธีการใช้งาน รายละเอียด คณะผู้จัดท�ำ ค�ำน�ำ
ค�ำขอบคุณ
วิธีการใช้งาน ❤ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ เป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบละครสั้น ส�ำหรับพ่อแม่นักเรียน ชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้พ่อแม่ได้เรียนรู้ เกิดแรงจูงใจและมั่นใจในการพูดคุยกับลูกเรื่องเพศ ❤ ละคร (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ มีจ�ำนวน 4 ตอน น�ำเสนอสถานการณ์ที่พบบ่อย ได้แก่ แอบคบเพื่อนต่างเพศ แอบดูคลิปโป๊ แต่งตัวโป๊ และมีเพศสัมพันธ์ ❤ สือ่ เรียนรูช้ ดุ นีไ้ ด้รบั การออกแบบให้ใช้งานได้งา่ ย ไม่ต้องอาศัยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการ ด�ำเนินการ ไม่ต้องมีการอบรมผู้ใช้สื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ท�ำหน้าที่จัดเวทีการเรียนรู้ (วิทยากรกระบวนการ) ควร ศึกษาคู่มือและชมละครแต่ละตอน เลือกละครตอนที่เหมาะกับกลุ่มพ่อแม่ และด�ำเนินการตามขั้นตอนที่แนะน�ำ ❤ ละครแต่ละตอนน�ำเสนอเรื่องราวพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในมุมมองของพ่อแม่ มีช่วงหยุดเพื่อให้ พ่อแม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กลางเรื่องและท้ายเรื่อง ซึ่งเครื่องเล่นจะหยุดโดยอัตโนมัติ และมีข้อความค�ำถาม ปรากฏขึ้น เพื่อให้พ่อแม่มีเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกันตามประเด็นค�ำถามที่ก�ำหนดไว้ ❤ วิทยากรกระบวนการควรจัดเวลาให้พ่อแม่ได้แลกเปลี่ยนกันเองอย่างเพียงพอ เพราะการแลกเปลี่ยน ระหว่างกัน คือส่วนส�ำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ❤ เมือ่ การแลกเปลีย่ นด�ำเนินไปพอสมควร จึงด�ำเนินการต่อโดยคลิกปุม่ “เล่นต่อ” ❤ วิทยากรกระบวนการ อาจช่วยตั้งค�ำถามเพิ่มเติมตามแนวทางที่ระบุไว้ แต่ต้องไม่เน้นการตอบค�ำถาม จนท�ำให้พ่อแม่ขาดการมีส่วนร่วม ไม่ควรบรรยายเนื้อหาเพิ่มเติมจนท�ำให้พ่อแม่เสียโอกาสในการเรียนรู้และ สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน ❤ ก่อนเปิดชมละครทุกตอน มีตัวเลือกในการช่วยเปิดประเด็นการเรียนรู้ ด้วยสื่อ “เตรียมใจ ...คุยกับ ลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ” ซึ่งวิทยากรกระบวนการอาจพิจารณาเลือกเปิดให้พ่อแม่รับชมหรือไม่ก็ได้ ❤ ละครตอนที่ 1 - 3 มีตวั เลือกในการรับชม “หลักการคุยกับลูกวัยรุน่ เรือ่ งเพศ” ในช่วงท้ายหลังจากจบการ เรี ย นรู ้ ป ระจ� ำ ตอน ซึ่ ง จะเปิ ด ให้ พ ่ อ แม่ รั บ ชมหรื อ ไม่ ก็ ไ ด้ ขึ้ น กั บ การพิ จ ารณาของวิ ท ยากรกระบวนการ แต่สำ� หรับละครตอนที่ 4 ก�ำหนดให้การชม “หลักการคุยกับลูกวัยรุน่ เรือ่ งเพศ” เป็นส่วนหนึง่ ของการเรียนรูป้ ระจ�ำตอน ❤ ท้ายคูม่ อื เล่มนีแ ้ นบแผ่นซีดบี รรจุใบความรู้ และใบงานส�ำหรับพ่อแม่ ในรูปแบบ PDF File ขนาด A4 จ�ำนวน 2 หน้า ซึ่งวิทยากรกระบวนการสามารถพิมพ์ (Print) และส�ำเนา (Copy) แจกผู้ปกครองได้ตามความ เหมาะสม
ผังการใช้งานสื่อ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ละครทั้ง 4 ตอน ❉
ตอนที่ 1
เลขหมายที่ท่านเรียก ไม่สามารถ ติดต่อได้ ในขณะนี้ ลูกสาวแอบคบเพื่อนต่างเพศ ❉
ตอนที่ 2
อยากดู… ลูกชายแอบดูคลิปโป๊ ❉
ตอนที่ 3
(หนู) คิดไม่ถึง ลูกสาวแต่งตัวโป๊ ❉
ตอนที่ 4
ลอง ลูกชายมีเพศสัมพันธ์
วิทยากรกระบวนการศึกษาคู่มือการใช้งาน ดูละครทั้ง 4 ตอน เลือกตอนที่เหมาะสม
เปิดละครครึ่งแรก (หยุดอัตโนมัติ)
เลือกเปิด เตรียมใจ... คุยกับลูกวัยรุ่น เรื่องเพศ
พ่อแม่แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นตามค�ำถามกลางเรื่อง เปิดละคร (ต่อ) ครึ่งหลัง พ่อแม่แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นตามค�ำถามท้ายเรื่อง วิทยากรกระบวนการ เลือกตั้งค�ำถามเสริมการเรียนรู้ กรณีเปิดละครตอนที่ 1-3 เลือกเปิดชม “หลักการคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ” แจกเอกสาร ใบความรู้ และใบงานแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก่อนสิ้นสุดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ชื่อสิ่งพิมพ์สื่อประสม จัดท�ำโดย ที่ปรึกษาด้านวิชาการ คณะท�ำงาน ออกแบบรูปเล่ม จ�ำนวนหน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 จ�ำนวนที่พิมพ์ ISBN ผู้จัดพิมพ์ สถานที่พิมพ์ สนับสนุนโดย
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต 70/7 อาคารเอ.ไอ.นนท์ (ห้อง 303) ถนนติวานนท์ ต�ำบลตลาดขวัญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2580-0918 โทรสาร 0-2580-0919 www.jitdee.com แพทย์หญิงวรลักษณา ธีราโมกข์ นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นางสาวสุวรรณี แซ่ลิ้ม นางสาวเอกอนงค์ สีตลาภินันท์ นางสาวภณิดา ชนวิทยาสิทธิกุล นางสาวดัชนี อวมสนอง นางสิมาพร มาแก้ว นายเฉลิมพล พงศ์เจตน์พงศ์ : macworkline@yahoo.com 48 หน้า มิถุนายน 2555 3,000 เล่ม 978-616-11-1194-6 นายเปี่ยมพัฒน์ วงเปี่ยมธรรม : โทร. 08-6342-8244 บริษัท แอลที เพรส จ�ำกัด โทร.0-2434-9833 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ค�ำน�ำ วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการค้นหาเอกลักษณ์ ค้นหาที่ยืนของตนในสังคม พวกเขาต้องตัดสินใจเรื่องส�ำคัญในชีวิต หลายเรื่อง จะเลือกเรียนอะไร จะท�ำงานหาเลี้ยงชีพในอนาคตอย่างไร อยากท�ำอะไรกับชีวิต เป็นวัยของการทดลอง และเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงสิ่งที่อาจเป็นภัยกับชีวิตของเขาเอง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้สารเสพติด และ การแสวงหาประสบการณ์ทางเพศ สมองของวัยรุ่นอยู่ในช่วงเวลาของการตัดแต่งกิ่งก้านเส้นใย ประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้จะส่งผล ต่อโครงสร้างสมองในเวลาต่อมา งานวิจยั ทางสมองพบว่า สมองวัยรุน่ ยังขาดความสามารถในการคาดคะเนปัญหาทีอ่ าจ เกิดขึ้นจากการกระท�ำของตน นอกจากนี้ งานวิจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพพบว่า พฤติกรรมต่างๆ ที่เริ่มต้นในวัยนี้มี แนวโน้มจะคงอยูเ่ มือ่ เขาเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ เช่น การดืม่ สุรา สูบบุหรี่ การเลือกรับประทานอาหาร นิสยั การออกก�ำลังกาย พ่อแม่มักมีเหตุให้กังวลใจเมื่อลูกก้าวเข้าสู่วัยนี้ เพราะเขาจะมีโลกส่วนตัวมากขึ้น พูดคุยกับพ่อแม่น้อยลง ใช้ เ วลาในการติ ด ต่ อ พู ด คุ ย กั บ เพื่ อ นอย่ า งไม่ รู ้ จั ก เบื่ อ อยู ่ ใ นโลกอิ น เตอร์ เ น็ ต นาน จนท� ำ ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก ไม่ใกล้ชิดกันเหมือนเดิม ที่ส�ำคัญ วิธีสอนของพ่อแม่ที่ใช้ได้ผลเมื่อลูกยังเล็ก กลับไม่สามารถน�ำมาใช้ได้เมื่อลูกโต เป็นวัยรุ่นการพูดคุยและ การชี้แนะกับลูกจึงเป็นเรื่องยากขึ้นกว่าเดิม ความกังวลใจของพ่อแม่มักเกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบบ่อยในวัยนี้ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ ความรุนแรง การติดเกมส์ การถูกชักจูงไปในทางเสียหาย ปัญหาเหล่านีย้ งั เป็นปัญหาสังคม ทีท่ กุ ฝ่ายต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข คู่มือ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อช่วยพ่อแม่ให้มีวิธีคุยกับลูกเรื่องเพศได้ดีขึ้น เป็นการช่วยปกป้องลูกรัก โดยความเชื่อว่า พ่อแม่คือผู้ที่จะคุยกับลูกได้ดีที่สุดในเรื่องนี้ ผมขอแสดงความชืน่ ชมคณะท�ำงานและผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องทุกคน ทีท่ มุ่ เทแรงกายแรงใจในการพัฒนาสือ่ เรียนรูช้ ดุ นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สื่อเรียนรู้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพ่อแม่ให้เกิด ความพร้อมในการปกป้องลูกของตนได้ดียิ่งขึ้น นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต
ค�ำขอบคุณ สื่อการเรียนรู้ (กล้า)คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ พัฒนาขึ้นได้โดยการสนับสนุนและความร่วมมือของ หลายฝ่าย กรมสุขภาพจิต สนับสนุนการพัฒนาวิชาการและการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตด้วยกลไกใหม่ โดยการจัดตั้งแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเปิดโอกาสให้คณะท�ำงานได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ และสนับสนุนด้านงบประมาณด�ำเนินการ อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายคลินิก และจิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ ให้การ สนับสนุนวิชาการเพือ่ เพิ่มคุณภาพการผลิตสือ่ ในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการเรียนรูโ้ ลกภายในใจของพ่อแม่ กลุม่ ผูป้ กครองจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมกระบวนการอภิปรายกลุม่ (Focus Group Discussion) ละครทุกตอน ตอนละหลายครั้ง ช่วยให้เห็นแง่มุมส�ำคัญในการพัฒนาสื่อให้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ส�ำหรับพ่อแม่ คุณกัลยกร โอปัน พยาบาลวิชาชีพ ส�ำนักงานสาธารณสุขอ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ช่วยประสานงานเรียนเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมกระบวนการอภิปรายกลุ่ม โรงพยาบาลมนารมย์ เอื้อเฟื้อสถานที่จัดประชุมอภิปรายกลุ่ม
คณะกรรมการก�ำกับทิศทางแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ให้ข้อคิดเห็นและค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ ในการด�ำเนินงาน ประกอบด้วย ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานกรรมการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต รองประธานกรรมการ นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ กรรมการ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการ นพ.อภิชัย มงคล กรรมการ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการ นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการ พระดุษฎี เมธังกุโร กรรมการ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ กรรมการ ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม กรรมการ อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว กรรมการ อ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม กรรมการ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ กรรมการ คณะท�ำงานพัฒนาสื่อการเรียนรู้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ทุกองค์กร มา ณ โอกาสนีเ้ รามีความเชือ่ มัน่ ว่าสือ่ ชุดนีจ้ ะก่อให้เกิดประโยชน์แก่พอ่ แม่และเยาวชน ในการเสริมความสัมพันธ์ อันดีภายในครอบครัว และเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการตั้งครรภ์ในเยาวชนไทย คณะท�ำงานแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต
สารบัญ
18 เตรียมใจ... คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ... 23 หลักการคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ... 26 (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ...
ตอนที่ 1 เลขหมายที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อได้ ในขณะนี้ ... ตอนที่
2 อยากดู ... 34
ตอนที่ 3 (หนู) คิดไม่ถึง ... ตอนที่ 4 ลอง ...
40
37
เอกสารแจกพ่อแม่ ผู้ปกครอง ...
43
31
พูดคุย... รับฟัง...
แม่ เรื่องเพศ... เข้าใจ...
ลูก ครอบครัว
พ่อ
(กล้า)คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ เผชิญหน้าความจริงที่น่ากังวล
การตัง้ ครรภ์ในคูส่ มรสทีม่ คี วามพร้อมเป็นข่าวน่ายินดี น�ำความปลาบปลืม้ ใจมาสูส่ มาชิกในครอบครัว แต่การตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ทีข่ าดความพร้อม น�ำมาซึง่ ปัญหาต่างๆ มากมาย วัยรุน่ ทีต่ งั้ ครรภ์ตอ้ งเผชิญกับปัญหาสุขภาพทางกายและจิตใจ อีกทัง้ ยังต้องสูญเสีย โอกาสในชีวิต ทั้งการศึกษา การงานอาชีพ สังคมเพื่อนฝูง การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นยังน�ำมาซึ่งความทุกข์ใจอย่างยิ่งส�ำหรับพ่อแม่ สังคมทีม่ วี ยั รุน่ ตัง้ ครรภ์จำ� นวนมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพประชากรรุน่ ต่อมา เพราะนอกจากชีวติ ของวัยรุน่ ทีต่ งั้ ครรภ์ จะต้องสะดุดลงแล้ว เด็กๆ ที่เกิดจากวัยรุ่นยังมักมีปัญหาพัฒนาการ การตั้งครรภ์ซึ่งเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติและดูเป็นเรื่อง ส่วนตัว จึงไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว แต่เป็นปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติได้ ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงเป็นอันดับสองของโลก (องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ,2554) หนึ่ ง ในสี่ ข องผู ้ มี อ ายุ ร ะหว่ า ง 15-19 ปี ซึ่ ง มี อ ยู ่ ร าว 5 ล้ า นคน มี พ ฤติ ก รรมเสี่ ย งทางเพศสั ม พั น ธ์ ได้ แ ก่ เริม่ ต้นจากการมีแฟนเร็วเกินไป การเริม่ มีสมั ผัสแตะเนือ้ ต้องตัว กอดจูบ อยูก่ นั ตามล�ำพัง และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มกี ารป้องกันการ ตัง้ ครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นักวิจยั ประเมินว่าในแต่ละปีมวี ยั รุน่ ไทยตัง้ ครรภ์ประมาณ 250,000 คน ครึง่ หนึง่ เลือกท�ำแท้ง เพือ่ ยุตกิ ารตัง้ ครรภ์ ส่วนใหญ่เป็นการท�ำแท้งทีไ่ ม่ปลอดภัย มีอนั ตรายต่อชีวติ อีกครึง่ หนึง่ หรือราว 120,000 คน ตัง้ ครรภ์ตอ่ จนคลอด แต่ มั ก เป็ น การคลอดที่ ป ระสบปั ญ หาต่ า งๆ ตามมา เช่ น คลอดก่ อ นก� ำ หนด ทารกน�้ ำ หนั ก ตั ว น้ อ ย และตายคลอด (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อ้างใน http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/20227) วัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากข้อมูลการส�ำรวจของ หน่วยงานต่างๆ พบว่า อายุของผู้ที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรกมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 - 2552 โดยอายุเฉลี่ย ของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุระหว่าง 15-16 ปี (สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน ส�ำนักอนามัยเจริญพันธุ์ และส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://rh.anamai.moph.go.th/home.html) มีเพียง 1 ใน 3 ที่มีการคุมก�ำเนิดทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นที่ผ่านการท�ำแท้ง พบว่า 1 ใน 4 เป็นการท�ำแท้งซ�้ำ (ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อ้างใน http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/20227) สถานการณ์วัยรุ่นตั้งครรภ์ในสังคมไทยเป็นปัญหาที่หนักหน่วงรุนแรง และต้องการความใส่ใจในการป้องกันและแก้ไข อย่างเป็นระบบจากทุกฝ่าย
18
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
ขนาดของ ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
100% (ช+ญ)
• ช. 2.5 ล้านคน • ญ. 2.5 ล้านคน
25% (ช+ญ) 10% ญ
วัยรุ่น 15-19 ปี 5 ล้านคน วัยรุ่น พฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศสัมพันธ์ 1.25 ล้านคน
วัยรุ่นหญิง
ตั้งครรภ์ 250,000 แสนคน/ปี • คลอด 125,000 คน/ปี • แท้ง 125,000 คน/ปี
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
19
มาตรการ ป้องกันที่ได้ผล การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีสาเหตุอันสลับซับซ้อน เช่น การเข้าถึงสื่อต่างๆ ที่เปลี่ยนทัศนคติของ วัยรุ่นในเรื่องเพศ การมีสิ่งยั่วยุอยู่รอบตัว ครอบครัวมีเวลาให้แก่กันน้อยลง ช่องว่างระหว่าง พ่อแม่ลูก ชุมชนขาดการใส่ใจกัน โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตให้กับเด็กนักเรียน อย่างรอบด้านเพียงพอ จนดูเหมือนว่าปัญหานีย้ ากแก่การแก้ไข การศึกษาจากทัว่ โลกพบว่า มีกจิ กรรม หรือสิ่งที่พ่อแม่และสังคมจะช่วยกันท�ำเพื่อป้องกันปัญหานี้ได้ มาตรการที่มีหลักฐานสนับสนุนว่าได้ผลดี ประกอบด้วย 1. การจัดเพศศึกษาในโรงเรียน ส่งเสริมให้วัยรุ่นชะลอการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และจัด บริการคุมก�ำเนิด รวมถึงการเข้าถึงถุงยางอนามัยส�ำหรับวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว 2. จัดตัง้ ศูนย์พฒั นาเยาวชนและครอบครัวในชุมชน โดยเน้นการให้ความรู้ การพัฒนา เยาวชน และครอบครัว และการเข้าถึงบริการคุมก�ำเนิด 3. การพัฒนาเยาวชน มุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง สร้างความภาคภูมิใจ พัฒนาทักษะชีวิตความเข้มแข็งทางใจ รวมถึงเรื่องการศึกษา และการงานอาชีพ 4. บริการเชิงรุกสูค่ รอบครัว ให้พอ่ แม่มสี ว่ นร่วมในการป้องกันปัญหาในบุตรหลานของตนเอง
20
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
ใจของพ่อแม่ ในสภาพสังคมปัจจุบนั ทีพ่ อ่ แม่ตอ้ งเผชิญกับปัญหาต่างๆ รอบตัว และมีเวลาให้กบั ลูกน้อยลง ขณะเดียวกัน กับที่ลูกเข้าถึงและรับรู้ข่าวสารในโลกอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่จ�ำนวนมากขาดความเชื่อมั่นในการคุยกับ ลูกเรื่องเพศ รู้สึกอาย ลังเล กลัวๆ กล้าๆ ที่จะพูดคุยในเรื่องนี้ พ่อแม่ที่ไม่มีเวลาให้กับลูก ขาดโอกาสท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน พูดคุยกับลูกในเรื่องทั่วไปน้อย ยิ่งไม่รู้จะ คุยกับลูกเรื่องเพศอย่างไร ในส่วนลึกของจิตใจ พ่อแม่สว่ นใหญ่ตระหนักดีวา่ ตนเองควรมีเวลาคุยเล่นกับลูกให้มากยิง่ ขึน้ และควรพูด คุยกับลูกเรื่องเพศ แต่ความลังเลและไม่มั่นใจท�ำให้พ่อแม่ผัดผ่อนการพูดคุย ทั้งที่ความจริงแล้ว พ่อแม่คือผู้ที่จะ สอนเรือ่ งนีใ้ ห้กบั ลูกได้ดที สี่ ดุ เพราะแม้พอ่ แม่อาจจะไม่มคี วามรูท้ างวิชาการในบางแง่มมุ แต่กม็ ปี ระสบการณ์และ ความเข้าใจชีวิตมากกว่าลูก มองอะไรได้รอบด้านมากกว่า ในส่วนของลูกวัยรุ่น แม้จะมีโลกส่วนตัวมากขึ้น พูดคุยเล่นกับพ่อแม่น้อยลง แต่ลูกก็ยังต้องการความรัก ความใส่ใจ และค�ำสอนจากพ่อแม่ เพียงแต่พ่อแม่จะต้องมีวิธีการพูดคุยที่เหมาะสมกับวัย ต่างจากวิธีสอนในวัยที่ ลูกยังเป็นเด็กเล็ก เป็นวิธีที่พ่อแม่ต้องฝึกเปิดใจรับฟัง เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูก ชื่นชมลูกในสิ่งที่ลูกคิด และท�ำได้ดีอยู่แล้ว ให้ข้อคิดในจังหวะที่เหมาะสม เปิดเผยเรื่องราวและประสบการณ์ของตนเองบ้าง ลดการพูด สั่งหรือพูดห้าม คอยเป็นก�ำลังใจเมื่อลูกประสบปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ท�ำได้โดยไม่ต้องมีความรู้ใหม่อะไรเพิ่ม เติม แต่ต้องการความยืดหยุ่นและปรับตัวในส่วนของพ่อแม่ การขาดความรู้ในบางเรื่องของพ่อแม่จึงไม่ใช่ปัญหาที่ท�ำให้พ่อแม่ไม่ได้คุยกับลูก แต่เป็นความไม่มั่นใจ ภายในใจของพ่อแม่ และการไม่ตัดสินใจให้ชัดเจนว่าตนต้องคุยเรื่องนี้กับลูก การเอาชนะความกังวลและลังเลใจ ของพ่อแม่จึงเป็นก้าวส�ำคัญที่จะช่วยให้พ่อแม่เริ่มต้นคุยกับลูกเรื่องเพศ จะเป็นการช่วยปกป้องลูกให้ก้าวพ้น จากปัญหานี้ได้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
21
ร่วมแรง ร่วมใจกัน ปัจจุบัน หน่วยราชการและองค์กรต่างๆ ให้ความส�ำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุน่ กระทรวงสาธารณสุขเร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพือ่ ให้วยั รุน่ มาปรึกษาปัญหาได้งา่ ยขึน้ พัฒนาบริการ คุมก�ำเนิดที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ชุมชนและท้องถิ่นหลายแห่งร่วมกันพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ส�ำหรับเยาวชน เพื่อให้ เยาวชนมีพื้นที่ส�ำหรับการค้นหาตนเอง สถานศึกษาหลายแห่งจัดการศึกษาเรื่องเพศ บทบาทของพ่อแม่ในการคุยกับลูกเรื่องเพศ จะเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ส�ำคัญ ในการร่วมป้องกันและ แก้ไขปัญหานี้ นอกจากนี้ หากวัยรุ่นตั้งครรภ์แล้ว และครอบครัวเลือกที่จะให้ตั้งครรภ์ต่อจนคลอด บริการทางการแพทย์ และสังคมที่ดี จะช่วยให้วัยรุ่นและเด็กที่เกิดมาจากแม่วัยรุ่นมีเส้นทางชีวิตที่ดีต่อไปได้
สือ่ การเรียนรู้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุน่ เรือ่ งเพศ
(กล้า)คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ เป็นสื่อการเรียนรู้ ส�ำหรับพ่อแม่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 ในรูปแบบ ละครสั้น จ�ำนวน 4 ตอน พร้อมคู่มือการใช้งาน น�ำเสนอ สถานการณ์ที่พบบ่อย 4 สถานการณ์ ได้แก่ แอบคบเพื่อน ต่ า งเพศ แอบดู ค ลิ ป โป๊ แต่ ง ตั ว โป๊ มี เ พศสั ม พั น ธ์ เพื่ อ ให้ ผู ้ ป กครองมี พื้ น ที่ เ รี ย นรู ้ ใ นการแปลงความรั ก ความห่วงใยให้เป็นการพูดคุยเพื่อช่วยปกป้องลูก
22
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
เตรียมใจ... คุยกับลูกวัยรุ่น เรื่องเพศ
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
23
เตรียมใจ... คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ เมือ่ ลูกเข้าสูว่ ยั รุน่ พ่อแม่จะสังเกตเห็นการเปลีย่ นแปลงหลายเรือ่ ง ลูกจะมีโลกส่วนตัวมากขึน้ มีความลับ และสิง่ ทีไ่ ม่เปิดเผยกับพ่อแม่ ใช้เวลากับเพือ่ นมากขึน้ ไม่เชือ่ ฟังค�ำสัง่ เหมือนตอนเป็นเด็ก อารมณ์เปลีย่ นแปลงเร็ว บางครั้งหงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะกับการพูดเตือน พูดสอน หรือแม้แต่การสอบถามในเรื่องต่างๆ ของลูก แม้ลูกจะมีโลกส่วนตัวมากขึ้น พูดคุยเล่นกับพ่อแม่น้อยลง แต่ลูกยังคงต้องการความรัก ความใส่ใจ และ ค�ำสอนจากพ่อแม่ เพียงแต่พอ่ แม่จะต้องมีวธิ กี ารพูดคุยทีเ่ หมาะสมกับวัย ซึง่ ต่างจากวิธสี อนในวัยทีล่ กู ยังเป็นเด็กเล็ก ไม่มีอะไรจะส�ำคัญไปกว่าการที่พ่อแม่จะพูดคุยกับลูกในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเปิดเผย เพราะเป็นการสอน ที่เป็นธรรมชาติ คือ สอนโดยไม่ต้องพูดสอน แต่ใช้การพูดคุยกันด้วยความเข้าใจ ในส่วนลึกของจิตใจ พ่อแม่สว่ นใหญ่ตระหนักดีวา่ ตนเองควรมีเวลาคุยเล่นกับลูกให้มากยิง่ ขึน้ และควรพูด คุยกับลูกเรื่องเพศ แต่ความลังเลและไม่มั่นใจท�ำให้พ่อแม่ผัดผ่อนการพูดคุย ทั้งที่ความจริงแล้ว พ่อแม่คือผู้ที่จะ สอนเรื่องนี้ให้กับลูกได้ดีที่สุด เพราะแม้พ่อแม่อาจจะไม่มีความรู้ทางวิชาการในบางแง่มุม แต่มีประสบการณ์และ ความเข้าใจชีวิตมากกว่าลูก มองอะไรได้รอบด้านมากกว่า
24
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
เตรียมใจ... คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
หลักการคุยกับลูกวัยรุน่ ในเรือ่ งต่างๆ ประกอบด้วย
❤ คุยด้วยใจที่เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของลูก ท�ำความเข้าใจลูกด้วยการถามให้ลูกได้พูดอธิบาย ชืน่ ชมลูกในสิง่ ทีล่ กู คิดและท�ำได้ดอี ยูแ่ ล้ว ให้ขอ้ คิดในจังหวะทีเ่ หมาะสม ❤ คุยด้วยความรัก โดยการสัมผัสความรักที่มีอยู่ภายในใจของพ่อแม่ หลีกเลี่ยงการคุยด้วยค� ำพูด วิพากษ์วิจารณ์ ค�ำสั่ง หรือคุยจากความกลัวที่มักกระตุ้นให้พ่อแม่คอยแต่จะสั่งห้าม จนท�ำให้ลูก ยิ่งห่างเหิน พ่อแม่ยังอาจเปิดเผยเรื่องราวและประสบการณ์ของตนเองได้ในโอกาสที่เหมาะสม ❤ คุยด้วยความสัมพันธ์ทดี่ ี ด้วยการให้เวลาและท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเป็นประจ�ำ สร้างสายสัมพันธ์ ให้มนั่ คง คอยเป็นก�ำลังใจเมือ่ ลูกประสบปัญหา การคุยด้วยใจที่เปิดกว้าง ด้วยความรัก และด้วยความสัมพันธ์ที่ดี เป็นสิ่งที่พ่อแม่ท�ำได้โดยไม่ต้อง มีความรูใ้ หม่อะไรเพิม่ เติม เพียงแต่ตอ้ งการความยืดหยุน่ และปรับตัวในส่วนของพ่อแม่ การเอาชนะความกังวลและลังเลใจของพ่อแม่จงึ เป็นก้าวส�ำคัญทีจ่ ะช่วยให้พอ่ แม่เริม่ ต้นคุยกับลูกเรือ่ งเพศ จะเป็นการช่วยปกป้องลูกให้กา้ วพ้นจากปัญหานีไ้ ด้
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
25
หลักการคุยกับ
ลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
หลักการคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
1. ตัดสินใจให้ชัด ว่าท�ำไมเราต้องคุยกับลูกเรื่องเพศ การคุยกันจะให้ประโยชน์อะไร หากไม่คุยจะมีผลตามมาอย่างไร • • • • •
ช่วยลูกเติบโตด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง ในเรื่องเพศ ไม่รับค่านิยมผิดๆ ในเรื่องเพศจากสื่อต่างๆ เป็ น โอกาสในการสร้ า งความใกล้ ชิ ด และ ความเข้าใจกัน ช่วยให้ลูกได้ส�ำรวจความคิดในเรื่องนี้ อย่างรอบด้าน มองเรื่องนี้ด้วยความเข้าใจ ลูกมีวิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ปกป้องตัวเองเป็น
• • •
การไม่คุยกับลูก
ท�ำให้ลูกแสวงหาข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากเพื่อนและ สื่อลามกที่มีอยู่แพร่หลาย ลู ก เสี ย โอกาสในการเรี ย นรู ้ แ ง่ มุ ม ที่ ส� ำ คั ญ ของชีวิตจากพ่อแม่ อาจเกิ ด ปั ญ หารุ น แรงที่ ค าดไม่ ถึ ง ตามมา เช่น ลูกสาวตั้งครรภ์ ลูกชายไปท�ำผู้หญิงท้อง
2. ส�ำรวจใจตัวเอง จัดการกับความลังเล ความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ในใจของพ่อแม่
• • •
28
การคุยกับลูก
บอกกับตัวเองว่า ไม่มีใครจะสอนเรื่องเพศให้กับลูกเรา ได้ดีเท่ากับตัวเราเอง มองอย่างเข้าใจว่า เพศเป็นธรรมชาติด้านหนึ่งของมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องสกปรก ลามก หรือต้อง ปกปิด ทุกคนต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม ยอมรั บ ว่ า ทั ศ นคติ ใ นเรื่ อ งเพศของพ่ อ แม่ แ ละของลู ก อาจแตกต่ า งกั น เพราะการรั บ รู ้ ที่ ต ่ า งกั น พ่อแม่จึงควรพร้อมเรียนรู้ความแตกต่างนี้ ด้วยการรับฟังและไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินความคิดเห็น หรือการกระท�ำของลูก
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
3. เลือกบรรยากาศการพูดคุยทีส่ บายๆ มีความพร้อมทัง้ สองฝ่าย เช่น หลังการรับประทานอาหารเย็น หรือ ช่วงเวลาก่อนเข้านอน 4. เปิดประเด็นการคุยโดยใช้โอกาสจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ขณะอ่านข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ชมข่าว ทางทีวี ดูฉากความสัมพันธ์ชายหญิงในละครหรือภาพยนตร์ที่ดูด้วยกัน ด้วยการตั้งค�ำถามง่ายๆ ว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกเข้าใจว่าอย่างไร อยากถามอะไรหรือไม่ เพื่อนๆ ที่โรงเรียนเขาคุยกันว่าอย่างไร เป็นต้น 5. รับฟังลูกด้วยใจที่เปิดกว้าง สนใจว่าลูกคิดอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไร เขารับรู้เรื่องนี้มาอย่างไร อยากรู้ อะไรเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ลูกได้ซักถาม เพื่อพ่อแม่จะได้อธิบายไขข้อข้องใจ โดยไม่รีบตัดบท ไม่รีบพูดสอน พู ด สั่ ง หรื อ พู ด ห้ า ม เพราะจะเป็ น การปิ ด โอกาสในการเรี ย นรู ้ ว ่ า ลู ก มี ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งนี้ เ พี ย งใด เข้าใจถูกต้องหรือไม่ มีสิ่งใดที่พ่อแม่ควรเพิ่มเติมให้กับลูก 6. ตอบค�ำถามและให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ พ่อแม่อาจเล่าประสบการณ์ ของตนให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกเห็นว่าคุยเรื่องนี้ได้ พ่อแม่เปิดเผย และได้เรียนรู้จากพ่อแม่ 7. ควรวางกฎกติกาของบ้านในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เช่น มีแฟนแล้วให้บอกพ่อแม่ด้วย ไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ ก่อนอายุ ... ปี ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเวลาไปร่วมงานเลี้ยงกับเพื่อน ไม่อยู่กับเพื่อนต่างเพศ สองต่อสอง เป็นต้น
หากพบว่าลูกก�ำลังประสบปัญหาในเรื่องเพศ พ่อแม่ควรตั้งสติ แล้วช่วยคิดหาทางออกร่วมกัน ไม่ควรดุด่าต่อว่า เพราะจะเป็นการผลักไสให้ลูกยิ่งห่างออกไป จนพ่อแม่ไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
29
ละคร 4 ตอน ตอนที่ 1 เลขหมายที่ท่านเรียก ไม่สามารถติดต่อได้ ในขณะนี้ ❉
ลูกสาวแอบคบเพื่อนต่างเพศ
❉
ตอนที่ 2
อยากดู…
ลูกชายแอบดูคลิปโป๊
ตอนที่ 3 (หนู) คิดไม่ถึง ❉
ลูกสาวแต่งตัวโป๊
❉
ตอนที่ 4
ลอง
ลูกชายมีเพศสัมพันธ์
30
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
เรื่องย่อ
ตอนที่ 1
เลขหมายที่ท่านเรียก ไม่สามารถติดต่อได้ ในขณะนี้
แม่รู้ความจริงจากเพื่อนลูกโดยบังเอิญว่า “ตอง” ลูกสาววัย 15 ปี แอบมีแฟนและคบหากันมาได้สองสามเดือนแล้ว โดยปกปิดไม่ให้พ่อแม่รู้ ตองออกไปเที่ยวกับแฟนโดยโกหกแม่ว่าไปท�ำรายงานบ้านเพื่อน แม่โทรตามหาลูกด้วยใจที่ร้อนรุ่ม แต่ติดต่อไม่ได้ ท�ำให้แม่โกรธ น้อยใจ กังวล กลัว คิดจินตนาการไปต่างๆ นานาถึงความสัมพันธ์ของ ลูกสาวกับแฟน หลังออกจากโรงภาพยนตร์ ตองเห็นที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือแสดง จ� ำ นวนสายที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ (Missed Call) จากแม่ นั บ สิ บ ครั้ ง จึ ง รวบรวม ความกล้า โทรกลับไป แล้วพบว่า แม่รู้เรื่องแล้ว ทีบ่ า้ น....แม่รอตองอยูด่ ว้ ยความโกรธ ตองก้าวเข้าบ้านด้วยความกังวล
❤ ❤
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลางเรื่อง ในฐานะพ่อแม่คุณจะท�ำอย่างไรกับลูก อะไรท�ำให้เราเลือกท�ำอย่างนั้น
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท้ายเรื่อง
เกิดอะไรขึ้นใหม่ในใจท่าน (เกิดอะไรขึ้นใหม่ในใจท่าน หมายถึง พ่อแม่ได้เรียนรู้อะไร และจะน�ำไปใช้อย่างไร) ❤
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
31
การแสดงออกของตัวละครตอน “เลขหมายที่ท่านเรียก ไม่สามารถติดต่อได้ ในขณะนี้” ลูก ปิดบังพ่อแม่เรื่องตนมีแฟน โกหกแม่ว่าไปท�ำรายงานบ้านเพื่อน แต่ความจริงไปดูภาพยนตร์กับแฟน
มีความสุขจากการได้ดูภาพยนตร์กับแฟน แต่ตกใจและกังวลใจเมื่อพบว่าแม่โทรมาหลายครั้ง แม่ โทรหาลูกซ�้ำๆ ติดต่อกัน เมื่อรู้ว่าลูกไม่ได้ไปท�ำรายงานบ้านเพื่อน แต่ไปดูภาพยนตร์กับแฟน กระวนกระวายใจ โกรธ ต�ำหนิต่อว่าลูกอย่างรุนแรง พูดบอกลูกว่าห่วงใย และมีใจห่วงใยให้เสมอ ต่อมา รู้สึกสงสัยในการท�ำหน้าที่เป็นแม่ของตนเอง พ่อ มีสติ มองแม่และลูกด้วยความห่วงใย เข้าใจ คิดไม่ถึงว่าลูกจะมีแฟนแล้ว จึงยังไม่ทันพูดคุย ชวนแม่พูดคุยกับลูก วางกฎกติกาในเรื่องนี้ร่วมกัน
ภายในจิตใจของตัวละคร
ลูก รักและเคารพพ่อแม่ แต่อยากมีแฟน ต้องการเรียนรู้เรื่องนี้ ไม่รู้จะบอกพ่อแม่อย่างไร
การปิดบังและโกหกแม่ ท�ำให้รู้สึกกังวลใจ และรู้ว่าตนผิด แต่อยากให้พ่อแม่เข้าใจ ต้องการความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ จากพ่อแม่ แม่ โกรธ กระวนกระวาย ผิดหวัง เสียใจ กังวลถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูก เสียใจ และเสียหน้า ที่ไม่รู้ว่าลูกตนเองมีแฟนแล้ว คาดหวังว่า ลูกจะไม่ปิดบัง ไม่โกหก โดยเฉพาะ ในเรื่องแบบนี้ สงสัยในการท�ำหน้าที่เป็นแม่ของตนเอง ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ท�ำมาถูกต้องหรือไม่ รักและห่วงใยลูกมาก อยากให้ลูกปลอดภัย พ่อ รับรูว้ า่ แม่ทกุ ข์ใจ โกรธ เพราะความกังวล และรับรูว้ า่ ลูกท�ำไปเพราะเป็นส่วนหนึง่ ของธรรมชาติของวัย ตระหนักว่าวิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้ผล ต้องคุยกันอย่างเข้าใจ และตั้งกติกาให้กับลูก คาดหวังว่าตนเองและภรรยาจะแก้ปัญหานี้ได้ รักและห่วงใยลูก อยากให้ลูกปลอดภัย
32
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
เสียงสะท้อนจากพ่อแม่ ผู้ปกครองท่านอื่น
บรรยากาศแบบไหน ที่ลูกจะเข้ามาคุยด้วย - สงบ สบาย อยู่เป็นส่วนตัว เช่น ช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารเย็น หรือ ช่วงเวลาก่อนเข้านอน - พ่อแม่อารมณ์ดี ดูไม่เครียด ❤
พ่อแม่จะท�ำอย่างไรให้ลูกมาพูดคุยมากขึ้น - ให้ความรู้สึกเป็นเพื่อนกับลูก โดยให้เกียรติลูก เป็นฝ่ายรับฟังในสิ่งที่ลูกพูด แสดงความเข้าใจในตัวลูก อาจจะเริ่มต้นด้วยการถามค�ำถามง่ายๆ เช่น มีเรื่องอะไรที่โรงเรียนเล่าให้พ่อแม่ฟังไหม หรืออยากถามอะไรพ่อแม่บ้างเรื่องการคบเพื่อนทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ ❤
จะมีวิธีคุยกับลูกเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศ (แฟน) อย่างไร - วางข้อตกลงการมีแฟนร่วมกับลูก เช่น เริ่มจากให้ลูกเป็นฝ่ายเสนอว่าลูกอยากให้เป็นอย่างไร พ่อแม่ยอมรับได้แค่ไหน ยอมรับอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง และลูกคิดเห็นอย่างไร ❤
วิทยากรกระบวนการ อาจเสริมการเรียนรู้ให้กับพ่อแม่
ด้วยการตั้งค�ำถามให้พ่อแม่หันมามองดูใจตัวเอง ให้ได้สัมผัสกับความรู้สึกภายในใจของตนเอง เช่น รับรู้ถึงความกังวลใจ ความลังเลใจ ความกลัว ความรัก ฯลฯ และชวนกันมองดูใจของลูก ว่าใจลูกเป็นอย่างไร เช่น ถามว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกมองเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร ลูกคาดหวังอะไรจากพ่อแม่หรือไม่ ลูกต้องการอะไร เป็นต้น
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
33
เรื่องย่อ
ตอนที่ 2 อยากดู
แม่ตกใจจนท�ำอะไรไม่ถูกเมื่อพบว่า “อ้น” ลูกชายวัย 13 ปี แอบดูหนังโป๊ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและก�ำลังช่วยตัวเองอยู่ในห้อง แม่จึงเดินเข้าไปปิดคอมพิวเตอร์ อ้นทั้งตกใจและอาย แต่พ่อมองว่า เป็นเรือ่ งธรรมชาติของเด็กผูช้ ายทีก่ ำ� ลังแตกหนุม่ ทีม่ กั สนใจเรือ่ งเพศในรูปแบบ โป๊ เปลือย และปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศด้วยการช่วยตัวเอง แม่เข้าใจว่าลูกก�ำลังอยู่ในช่วงโตเป็นหนุ่ม การช่วยตัวเองบ้างเป็นเรื่อง ทีแ่ ม่ทำ� ใจรับได้ แต่การทีล่ กู เรียนรูเ้ รือ่ งเพศและความเป็นชายผ่านหนังโป๊โดยที่ พ่อแม่ไม่คุยให้ลูกเข้าใจ ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังโป๊ที่ น�ำเสนอการร่วมเพศแบบหมู่ สร้างเรื่องเกินจริง สร้างค่านิยมที่ผิดในเรื่อง ความรุนแรงกับผู้หญิง พ่อเห็นคล้อยตามในมุมมองของแม่ และไปคุยกับอ้นที่นั่งจับเจ่า รู้สึกผิดและกลัวในสิ่งที่ท�ำลงไป อ้นรู้สึกผิดคาด นอกจากพ่อไม่ดุด่าแล้ว พ่อยังพูดคุยให้อ้นเข้าใจ ธรรมชาติของอารมณ์ตัวเอง และรู้วิธีที่จะจัดการกับอารมณ์ทางเพศ พร้อมกับ ตั้งกฎกติกาให้กับลูกในเรื่องนี้
❤
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลางเรื่อง
หากท่านพบว่าลูกแอบดูสื่อโป๊หรือสื่อลามกท่านจะเป็นอย่างไร
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท้ายเรื่อง
ท่านจะน�ำไปใช้ได้อย่างไร (ท่านจะน�ำไปใช้ได้อย่างไร หมายถึง พ่อแม่จะมีแนวทางพูดคุยกับลูกเรือ่ งการดูสอื่ โป๊หรือสือ่ ลามกอย่างไร) ❤
34
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
การแสดงออกของตัวละครตอน “อยากดู..”
ลูก ดูคลิปโป๊ในห้องพร้อมกับช่วยตัวเอง เมื่อแม่มาพบเข้า ลูกมีท่าทีละอาย รู้สึกผิด
ไม่แน่ใจว่าพ่อแม่คิดอย่างไร แม่ เมื่อมาพบลูกดูคลิปโป๊ที่ดูวิตถาร แม่ตกใจ แสดงท่าทีไม่พอใจ พูดอะไรไม่ออก ไปฟ้องพ่อเพื่อให้ พ่อช่วยจัดการ พ่อ เมื่อแม่มาเล่าเรื่องให้ฟัง พ่อพยายามพูดเพื่อให้แม่สบายใจขึ้น เล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองเพื่อ ให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ พ่อยอมรับในความต้องการตามธรรมชาติของลูก ยอมรับเรื่องการช่วยตัวเองว่าเป็นเรื่องธรรมดา พ่อเห็นด้วยกับแม่ที่ไม่ต้องการให้ลูกรับค่านิยมผิดๆ จากการดูคลิปโป๊ พ่อเข้าไปพูดกับลูกด้วยท่าทีที่เข้าใจ ไม่ต�ำหนิต่อว่า อธิบาย ตอบค�ำถามของลูก วางกฎกติกาส�ำหรับลูก
ภายในจิตใจของตัวละคร
ลูก ตกใจ กังวลใจที่แม่มาพบเข้า มองว่าพ่อแม่คงต�ำหนิ มองว่าสิ่งที่ตนท�ำเป็นสิ่งผิดในสายตาพ่อแม่
ต้องการค้นหาและก�ำลังเรียนรู้วิธีการต่างๆ ในการตอบสนองความต้องการทางธรรมชาติ แม่ ตกใจ รังเกียจสิง่ ทีไ่ ด้เห็นในจอคอมพิวเตอร์ของลูก ไม่พอใจการกระท�ำของลูก แต่ทำ� อะไรไม่ถกู กลัวลูกจะรับความเชือ่ และค่านิยมผิดๆ กลัวลูกจะหมกมุน่ เรือ่ งเพศ ท�ำให้เสียการเรียน เสียอนาคต มองคลิปโป๊วา่ เป็นอันตราย เพราะฉายภาพเกินจริง ไม่เหมาะสม และส่งผ่านค่านิยมผิดๆ มาให้กบั ลูก รักและห่วงใยลูกมาก พ่อ ตอนแรกไม่รู้สึกประหลาดใจกับการดูคลิปโป๊และช่วยตัวเอง แต่เริ่มกังวลใจ เมื่อแม่เล่าให้ฟังว่าเป็นคลิปวิตถาร มองการดูคลิปโป๊ ช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่มองคลิปโป๊วิตถารว่าอาจสร้างปัญหาได้จริง เข้าใจลูกและภรรยา คาดหวังว่าตนเองควรท�ำหน้าที่ช่วยพูดคุยกับลูกอย่างเข้าใจ ให้เวลากับลูกให้มากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหา รักและห่วงใยลูก (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
35
วิทยากรกระบวนการ อาจเสริมการเรียนรู้ให้กับพ่อแม่
ด้วยการตัง้ ค�ำถามให้พอ่ แม่หนั มามองดูใจตัวเองให้ได้สมั ผัสกับความรูส้ กึ ภายในใจของตนเอง เช่น รับรู้ถึงความกังวลใจ ความลังเลใจ ความกลัว ความรัก ฯลฯ และชวนกันมองดูใจของลูก ว่าใจลูกเป็นอย่างไร เช่น ถามว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกมองเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไรลูกคาดหวังอะไร จากพ่อแม่หรือไม่ ลูกต้องการอะไร เป็นต้น ส�ำหรับตอน “อยากดู ..” วิทยากรกระบวนการอาจถามค� ำถามเฉพาะจากเรื่องราว ในตอน ได้แก่ 1. คิดอย่างไรกับการที่พ่อเล่าเรื่องของตัวเองตอนเป็นวัยรุ่น เรื่องดูหนังโป๊ ช่วยตัวเอง 2. คิดอย่างไรกับการตั้งกฎกติกาของพ่อ และที่พ่อพูดถึงการทดลองมีเพศสัมพันธ์ว่า “ยิ่งช้า ยิ่งดี หรืออย่างน้อยไม่ต�่ำกว่า 18 ปี หรือจนกว่าลูกจะรับผิดชอบตัวเองได้” (ค�ำว่า “รับผิดชอบตัวเองได้” เป็นค�ำทีพ่ อ่ แม่ลกู ในครอบครัวอาจให้ความหมายกันเอง ตามที่เห็นว่าเหมาะสมภายในครอบครัวนั้น ข้อตกลงที่ดีควรเป็นการเห็นร่วมกัน ระหว่างพ่อแม่ลูก) 3. ให้พ่อแม่ที่เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนกันว่า เขาคิดว่าควรตั้งเกณฑ์อายุในเรื่องนี้ไว้อย่างไร
36
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
เรื่องย่อ
พ่อแม่กังวลใจกับการแต่งกายที่เน้นให้เห็นสัดส่วนและรูปร่างของ “แก้ม” ลูกสาววัย 14 ปี ท�ำให้เกิดการถกเถียงกันในครอบครัว ฝ่ายพ่อแม่ มองว่า “โป๊” แต่ลูกสาวมองว่า “สวย” และเป็น “เรื่องธรรมดา” ของการ แต่งกายในวัยรุ่น เมือ่ พ่อยืน่ ค�ำขาดว่า “ห้ามใส่” แก้มจ�ำต้องยอม แต่ภายในใจไม่เห็นด้วย และไม่ ย อมรั บ การแสดงความห่ ว งใยของพ่ อ แม่ ด ้ ว ยการห้ า มท� ำ ให้ เ กิ ด ความไม่ลงรอยกันระหว่างลูกกับพ่อแม่ บรรยากาศในครอบครัวตึงเครียด แก้มปฏิเสธที่จะไปข้างนอกกับพ่อแม่ และพูดคุยกับพ่อแม่น้อยลง พ่อแม่จึงปรึกษากันว่านอกจากการสอน สั่ง ห้าม พ่อแม่จะเปลี่ยน เป็น การพูดคุย กั บลูก เพื่ อให้ลูก เข้าใจถึงความรัก ความห่วงใยของพ่อแม่ คุยให้ลูกเข้าใจว่าความคิดและจินตนาการของผูช้ ายและผูห้ ญิงนั้นไม่เหมือนกัน สิ่งที่ผู้หญิงเห็นว่าสวย ผู้ชายมองเป็นการกระตุ้นอารมณ์เพศ
ตอนที่ 3
(หนู) คิดไม่ถึง
❤
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลางเรื่อง
สมมติท่านพบว่าลูกสาวแต่งตัวโป๊ ใจท่านจะเป็นอย่างไร
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท้ายเรื่อง
“เกิดอะไรขึ้นใหม่ในใจท่าน” (เกิดอะไรขึ้นใหม่ในใจท่าน หมายถึง พ่อแม่ได้เรียนรู้อะไร และจะน�ำไปใช้อย่างไร) ❤
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
37
การแสดงออกของตัวละครตอน “(หนู) คิดไม่ถึง”
ลูก อยากแต่งตัวเปิดเผยเนื้อตัวให้เหมือนกับเพื่อนๆ มองว่าดูสวย ทันสมัย พ่อ แอบดู Facebook ของลูก แล้วพบภาพลูกแต่งตัวโป๊ในสายตาพ่อ โกรธ ต่อว่า สั่งห้ามด้วยความไม่พอใจ แม่ ลังเลที่จะให้ลูกซื้อชุดที่มองว่าโป๊ แต่ยอมตามอย่างไม่เต็มใจ เห็นด้วยกับพ่อ ที่ไม่ต้องการให้ลูกแต่งตัวเปิดเผยเนื้อตัวออกนอกบ้าน
ภายในจิตใจของตัวละคร
ลูก อยากดูดี และได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ พ่อ โกรธ ไม่พอใจ มองการแต่งตัวของลูกว่าไม่เหมาะสม จึงสั่งห้ามลูกไม่ให้แต่งชุดที่มองว่าโป๊
กังวลใจที่ลูกงอน ไม่ยอมพูดคุยด้วย (หลังจากถูกสั่งห้ามแต่งชุดที่มองว่าโป๊) เครียด (ทั้งตอนเห็นภาพลูกใน Facebook และตอนลูกไม่คุยด้วย) เป็นห่วง กลัวลูกจะมีภัยจากการแต่งตัวโป๊ แต่ก็ไม่สบายใจที่ลูกวางตัวห่างเหิน ไม่ยอมพูดคุยด้วย รักและห่วงใยลูก อยากให้ลูกเติบโตด้วยดี มีชีวิตที่มีความสุข แม่ กังวล กลัวลูกจะมีภัยจากการแต่งตัว เครียด คาดหวังว่าพ่อจะช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน รักและห่วงใยลูก
38
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
วิทยากรกระบวนการ อาจเสริมการเรียนรู้ให้กับพ่อแม่ ด้วยการตั้งค�ำถามให้พ่อแม่หันมามองดูใจตัวเอง ให้ได้สัมผัสกับความรู้สึกภายในใจของตนเอง เช่น รับรู้ถึงความกังวลใจ ความลังเลใจ ความกลัว ความรักฯลฯ และชวนกันมองดูใจของลูก ว่าใจลูกเป็นอย่างไร เช่น ถามว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกมองเรื่องที่เกิดขึ้น อย่างไร ลูกคาดหวังอะไรจากพ่อแม่หรือไม่ ลูกต้องการอะไร เป็นต้น ส�ำหรับตอน “(หนู) คิดไม่ถงึ ” วิทยากรกระบวนการอาจถามค�ำถามเฉพาะจากเรือ่ งราวในตอน ได้แก่ 1. เวลาลูกท�ำสิ่งที่เรามองว่าอาจเป็นอันตราย (เช่น แต่งตัวโป๊ในสายตาเรา) แต่เขามองไม่เห็น ปัญหาและไม่ฟังเรา เราจะจัดการใจตัวเองอย่างไร ให้เรายังสามารถคุยกับลูกได้ โดยไม่ต�ำหนิ ต่อว่าไปเสียก่อน 2. การที่ลูกท�ำสิ่งที่อาจเป็นอันตราย และไม่ฟังเรา ภายในใจของเขาเป็นอย่างไร 3. กรณีที่ลูกไม่เชื่อฟังเรา แม้ว่าเราจะเตือนแล้ว ท่านจะท�ำใจได้หรือไม่ ที่จะยอมปล่อยให้ลูกได้พบ กับปัญหาด้วยตนเอง เพื่อจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือท่านเลือกที่จะ “แตกหัก” กับลูก ด้วยการใช้ค�ำสั่ง หมายเหตุ ค�ำว่า “โป๊” เป็นค�ำที่พ่อแม่ใช้ เมื่อมองว่าแต่งตัวเปิดเผยเนื้อตัวมากเกิน แต่ลูกไม่ใช้คำ� ว่า “โป๊” เพราะเขาไม่คิดว่า “โป๊”
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
39
เรื่องย่อ
เมื่อรู้ว่าพ่อแม่ไปท�ำธุระต่างจังหวัด “นัท” วัย 14 ปี ชวน “กิ่ง” แฟนสาววั ย 14 ปี มาเที่ ย วบ้ า นและคิ ด ลองมี เ พศสั ม พั น ธ์ กั บ กิ่ ง ตาม ค�ำแนะน�ำของเพื่อน โดยเพื่อนแนะน�ำให้นัทใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกัน ผู้หญิงท้อง พ่ อ แม่ ก ลั บ จากธุ ร ะต่ า งจั ง หวั ด ก่ อ นก� ำ หนด และรู ้ จ าก “นุ ่ น ” น้องสาวของนัท ว่านัทพาแฟนสาวมาบ้าน และทั้งคู่อยู่บนห้องสองต่อสอง นานพอสมควรแล้ว พ่อกับแม่รีบขึ้นไปดูและต้องตกตะลึงกับสิ่งที่เห็นอยู่ ตรงหน้า พร้อมกับได้ยินเสียงนัทเรียกแม่และพ่ออย่างตกใจ
ตอนที่ 4 ลอง
ค�ำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท้ายเรื่อง
ในฐานะพ่อแม่ ถ้าคุณเจอเหตุการณ์แบบนี้ คุณจะเป็นอย่างไร (หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ในวีดิทัศน์มีการน�ำเสนอความรู้สึก/ความคิดเห็น จากพ่อแม่รายอื่นเพื่อแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่คนอื่นๆ เป็นอย่างไร) ❉ คุณเคยเป็นแบบนี้หรือไม่ (มีการน�ำเสนอส่วนของการสัมภาษณ์พ่อแม่รายอื่นเพื่อเป็นประเด็นการแลกเปลี่ยน ในค�ำถามถัดไป เช่น ไม่เคยคุยเพราะอาย ไม่รู้จะพูดอย่างไร) ❉ จากตั ว อย่ า งพ่ อ แม่ ที่ รู ้ สึ ก อาย กล้ า ๆ กลั ว ๆ ไม่ รู ้ จ ะคุ ย กั บ ลู ก เรื่ อ งเพศอย่ า งไร (เน้นที่เรื่องอารมณ์ทางเพศ ความต้องการทางเพศ และเพศสัมพันธ์) ❤ ประสบการณ์ของคุณเป็นอย่างไร (วิทยากรกระบวนการอาจจะช่วยเสริมว่า “ประสบการณ์ของคุณเป็นอย่างไร” หมายถึง คุณรู้สึกอย่างไรเวลาที่ต้องคุยกับลูก คุณเลือกคุยเรื่องอะไร ลูกมีท่าทีอย่างไร) ❤
❤
40
วีดิทัศน์น�ำเสนอ “หลักการคุยกับลูก วัยรุ่นเรื่องเพศ”
จาก“หลักการคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ” ในฐานะพ่อแม่ คุณคิดว่า คุณจะน�ำไปปรับใช้อย่างไร
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
การแสดงออกของตัวละครตอน “ลอง”
ลูก ปรึกษาเพื่อนเรื่องความสัมพันธ์กับแฟน ท�ำตามค�ำแนะน�ำของเพื่อน
วางแผนและชักชวนแฟนสาวมาพบที่บ้าน ริเริ่มสัมผัส และมีเพศสัมพันธ์กับแฟนสาว พ่อแม่ ด�ำเนินชีวิตตามปกติ โดยไม่คาดว่าลูกจะมีเพศสัมพันธ์กับแฟนสาว วางกฎเกณฑ์บางอย่างไว้แล้วล่วงหน้า เช่น ไม่ให้อยู่กันสองต่อสองในห้อง (กับเพศตรงข้าม) ตกใจเมื่อพบว่าลูกชายตนเองมีเพศสัมพันธ์กับแฟนในห้องนอน
ภายในจิตใจของตัวละคร
ลูก อยากลองค้นหาประสบการณ์ทางเพศ
มองว่าการมีเพศสัมพันธ์กับแฟน เป็นเรื่องที่ใครๆ เขาก็ท�ำกัน (ตามที่เพื่อนบอก) ต้องการการยอมรับจากเพื่อน ต้องการความรักและการยอมรับจากพ่อแม่ พ่อแม่ มองว่าลูกยังไม่ถึงวัยที่จะมีประสบการณ์ทางเพศ คาดหวังว่าลูกจะปฏิบัติตามค�ำสั่ง (ไม่อยู่กันสองต่อสอง) ตกใจเมื่อพบลูกมีเพศสัมพันธ์ กลัวปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ กลัวลูกเสียอนาคต ในฐานะผู้ใหญ่ เป็นห่วงแฟนสาวของลูกชายตนเองด้วย ไม่ต้องการให้เธอมีปัญหาในชีวิตเช่นกัน รักและห่วงใยลูก ต้องการให้ลูกเติบโตตามวัย ไม่ต้องพบกับปัญหาอุปสรรคใดๆ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
41
วิทยากรกระบวนการ อาจเสริมการเรียนรู้ให้กับพ่อแม่ ด้วยการตั้งค�ำถามให้พ่อแม่หันมามองดูใจตัวเอง ให้ได้สัมผัสกับความรู้สึกภายในใจของตนเอง เช่น รับรู้ถึงความกังวลใจ ความลังเลใจ ความกลัว ความรักฯลฯ และชวนกันมองดูใจของลูก ว่าใจลูกเป็นอย่างไร เช่น ถามว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกมองเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร ลูกคาดหวังอะไรจากพ่อแม่หรือไม่ ลูกต้องการอะไร เป็นต้น ส�ำหรับตอน “ลอง” วิทยากรกระบวนการ ควรให้เวลากับค�ำถามต่างๆ ในแต่ละข้ออย่างรอบด้าน พร้อมกับช่วยพ่อแม่สรุปข้อคิดบทเรียนที่ได้ จากการชมละครตอนนี้ และ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน อาจถามพ่อแม่ที่เข้าร่วมเพิ่มเติมว่า “จากวันนี้เป็นต้นไป คิดว่าจะท�ำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม ในเรื่องการคุยกับลูกบ้าง”
42
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
บรรจุในแผ่นซีดีแนบท้ายเล่ม รูปแบบ PDF File ขนาด A4 จ�ำนวน 2 หน้า สามารถพิมพ์ (Print) และส�ำเนา(Copy) แจกผู้ปกครองได้ตามความเหมาะสม
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
43
หลักการคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
1. ตัดสินใจให้ชัด ว่าท�ำไมเราต้องคุยกับลูกเรื่องเพศ การคุยกันจะให้ประโยชน์อะไร หากไม่คุยจะมีผลตามมาอย่างไร • • • • •
ช่วยลูกเติบโตด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง ในเรื่องเพศ ไม่รับค่านิยมผิดๆ ในเรื่องเพศจากสื่อต่างๆ เป็ น โอกาสในการสร้ า งความใกล้ ชิ ด และ ความเข้าใจกัน ช่วยให้ลูกได้ส�ำรวจความคิดในเรื่องนี้ อย่างรอบด้าน มองเรื่องนี้ด้วยความเข้าใจ ลูกมีวิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ปกป้องตัวเองเป็น
• • •
การไม่คุยกับลูก
ท�ำให้ลูกแสวงหาข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะจากเพื่อนและ สื่อลามกที่มีอยู่แพร่หลาย ลู ก เสี ย โอกาสในการเรี ย นรู ้ แ ง่ มุ ม ที่ ส� ำ คั ญ ของชีวิตจากพ่อแม่ อาจเกิ ด ปั ญ หารุ น แรงที่ ค าดไม่ ถึ ง ตามมา เช่น ลูกสาวตั้งครรภ์ ลูกชายไปท�ำผู้หญิงท้อง
2. ส�ำรวจใจตัวเอง จัดการกับความลังเล ความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ในใจของพ่อแม่
• • •
44
การคุยกับลูก
บอกกับตัวเองว่า ไม่มีใครจะสอนเรื่องเพศให้กับลูกเรา ได้ดีเท่ากับตัวเราเอง มองอย่างเข้าใจว่า เพศเป็นธรรมชาติด้านหนึ่งของมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องสกปรก ลามก หรือต้อง ปกปิด ทุกคนต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม ยอมรั บ ว่ า ทั ศ นคติ ใ นเรื่ อ งเพศของพ่ อ แม่ แ ละของลู ก อาจแตกต่ า งกั น เพราะการรั บ รู ้ ที่ ต ่ า งกั น พ่อแม่จึงควรพร้อมเรียนรู้ความแตกต่างนี้ ด้วยการรับฟังและไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินความคิดเห็น หรือการกระท�ำของลูก
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
3. เลือกบรรยากาศการพูดคุยทีส่ บายๆ มีความพร้อมทัง้ สองฝ่าย เช่น หลังการรับประทานอาหารเย็น หรือ ช่วงเวลาก่อนเข้านอน 4. เปิดประเด็นการคุยโดยใช้โอกาสจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ขณะอ่านข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ชมข่าว ทางทีวี ดูฉากความสัมพันธ์ชายหญิงในละครหรือภาพยนตร์ที่ดูด้วยกัน ด้วยการตั้งค�ำถามง่ายๆ ว่า ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกเข้าใจว่าอย่างไร อยากถามอะไรหรือไม่ เพื่อนๆ ที่โรงเรียนเขาคุยกันว่าอย่างไร เป็นต้น 5. รับฟังลูกด้วยใจที่เปิดกว้าง สนใจว่าลูกคิดอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไร เขารับรู้เรื่องนี้มาอย่างไร อยากรู้ อะไรเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ลูกได้ซักถาม เพื่อพ่อแม่จะได้อธิบายไขข้อข้องใจ โดยไม่รีบตัดบท ไม่รีบพูดสอน พู ด สั่ ง หรื อ พู ด ห้ า ม เพราะจะเป็ น การปิ ด โอกาสในการเรี ย นรู ้ ว ่ า ลู ก มี ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งนี้ เ พี ย งใด เข้าใจถูกต้องหรือไม่ มีสิ่งใดที่พ่อแม่ควรเพิ่มเติมให้กับลูก 6. ตอบค�ำถามและให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ พ่อแม่อาจเล่าประสบการณ์ ของตนให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกเห็นว่าคุยเรื่องนี้ได้ พ่อแม่เปิดเผย และได้เรียนรู้จากพ่อแม่ 7. ควรวางกฎกติกาของบ้านในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เช่น มีแฟนแล้วให้บอกพ่อแม่ด้วย ไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ ก่อนอายุ ... ปี ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเวลาไปร่วมงานเลี้ยงกับเพื่อน ไม่อยู่กับเพื่อนต่างเพศ สองต่อสอง เป็นต้น
หากพบว่าลูกก�ำลังประสบปัญหาในเรื่องเพศ พ่อแม่ควรตั้งสติ แล้วช่วยคิดหาทางออกร่วมกัน ไม่ควรดุด่าต่อว่า เพราะจะเป็นการผลักไสให้ลูกยิ่งห่างออกไป จนพ่อแม่ไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
45
แผนคุยกับลูกเรื่องเพศของคุณ 1. ฉันจะคุย เรื่อง 2. ตัดสินใจให้ชัดว่าท�ำไมเราต้องคุยกับลูกเรื่องเพศ (โปรดเขียนข้อคิดของคุณลงในช่องว่าง)
ประโยชน์จากการคุยกับลูกเรื่องเพศ
3. จัดการกับความลังเล ความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ในใจของพ่อแม่
ถ้าฉันรู้สึกลังเล หรือไม่รู้จะพูดอย่างไร ฉันจะพูดเตือนตัวเองว่า
46
(กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
หากไม่คุย ผลตามมาจะเป็นอย่างไร
4. เลือกบรรยากาศการพูดคุยที่สบายๆ มีความพร้อมทั้งสองฝ่าย
สถานที่ เวลา และการเตรียมบรรยากาศ เพื่อจะเปิดประเด็นคุยกับลูกเรื่องเพศ คือ
5. เปิดประเด็นการคุยโดยใช้โอกาสจากสถานการณ์ต่างๆ ฉันจะเริ่มต้นเปิดประเด็นด้วยค�ำพูดว่า
6. รับฟังลูกด้วยใจทีเ่ ปิดกว้าง สนใจว่าลูกคิดอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไร เขาอยากรูอ้ ะไรเพิม่ เติม ไม่รบี ตัดบท ไม่รบี พูดสอน พูดสั่ง หรือพูดห้าม ฉันจะเตือนตัวเองให้ตั้งใจฟังลูก ท�ำความเข้าใจความคิดของลูก ด้วยการ
7. กฎกติกาที่ฉันเลือกจะใช้คุยกับลูกในเรื่องนี้ คือ
อย่าลืมว่า พ่อแม่ควรตอบค�ำถามและให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เหมาะสมกับวัย (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ
47
แปลงความรัก ความห่วงใย
เป็นเกราะคุ้มภัย ให้ลูกวัยรุ่น