บทบาทและความท้าทาย ของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย อังคณา นีละไพจิตร
aw_thai.indd 1
5/13/10 11:03:37 AM
aw_thai.indd 2
5/13/10 11:03:38 AM
สารบัญ บทนำ สภาพปัญหา ผู้หญิงมุสลิมกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
• กลุ่มผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ • ครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย • ผู้หญิงในครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากกองกำลังไม่ทราบฝ่าย • ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ • ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มของผู้ใช้ความรุนแรง หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านรัฐ - ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มขบวนการต่ • อต้านรัฐ หรือเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านรัฐ - กลุ่มผู้หญิงติดอาวุธฝ่ายรัฐ
สถานะและบทบาทของผู้หญิงมลายูมุสลิมในครอบครัว ปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเผชิญ
• ผู้หญิงมลายูมุสลิมในฐานะมารดา หรือลูกสาว • มุมมองของการใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องของครอบครัวและมรดก • ปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว • การค้ามนุษย์ • ปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว • ปัญหาการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
สรุป ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับผู้เขียน
aw_thai.indd 3
5
7 7
8 10 10 11 12 12 14
14 16
19 20 20 21 22 24
26 27 28
5/13/10 11:03:38 AM
คำนำ
รายงานเรือ่ ง “บทบาทและความท้าทายของผูห้ ญิง มลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทย” เป็นการเสนอรายงานเชิงวิจัยที่ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้นำเสนอครั้งแรกใน เวที Conference on Religious Activism & Women’s Development in Southeast Asia: Highlighting Impediments, Exploring Opportunities ซึ่งจัดโดย Centre for Research on Islamic and Malay Affairs (RIMA) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เพื่อมุ่งเน้นการนำ เสนอบริ บ ทของผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ในจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ ในฐานะซึ่ ง ต้ อ งเผชิ ญ ชี วิ ต ท่ า มกลางปั ญ หา อุปสรรค และความยากลำบากในการนำพาครอบครัวให้ ก้าวต่อไปในวันซึ่งความรุนแรงผลักดันให้เธอต้องออกมา ยืนข้างหน้าในฐานะผู้นำ อั ง คณา นี ล ะไพจิ ต ร เขี ย นรายงานฉบั บ นี้ ด้ ว ย ความตั้งใจสะท้อนภาพปัญหาของผู้หญิงในหลายมิติ ไม่ ว่าจะเป็นผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงโดย เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ จากกองกำลั ง ไม่ ท ราบฝ่ า ย ผู้ ห ญิ ง ใน ครอบครัวผู้ถูกบังคับให้สูญหาย รวมถึงผู้หญิงที่อยู่ใน กลุ่มของผู้ใช้ความรุนแรง นอกเหนือจากนั้นยังฉายภาพ ปั ญ หาที่ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ต้ อ งเผชิ ญ ในฐานะที่ เ ป็ น ลู ก สาว ภรรยา หรื อ มารดา อุ ป สรรคของการเข้ า ถึ ง กลไกความคุ้มครองจากการใช้กฎหมายอิสลาม ปัญหา เศรษฐกิจที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ไปจนถึงการค้ามนุษย์และ ความรุนแรงในครอบครัว
aw_thai.indd 4
ประสบการณ์ 5 ปีเศษของการทำงานด้านสิทธิ มนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ได้พบความ มหัศจรรย์ของความรัก ความเสียสละ การให้อภัย รวม ถึงความอดทน และความหวังในการฟื้นคืนสันติภาพของ ผู้หญิงในท่ามกลางความรุนแรง คณะทำงานฯหวังอย่าง ยิ่ ง ว่ า รายงานชิ้ น เล็ ก ๆ นี้ จะทำหน้ า ที่ เ สมื อ นกรวด ทรายที่ถมทับให้เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ต่อตัวตน และ วิถีชีวิตของผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดปลายด้ามขวาน แห่งนี้ ทั้งนี้ด้วยความเชื่อมั่นว่า ความรักและศรัทธาใน ความดีงามที่มีอยู่ในหัวใจของเราทุกคนจะนำพาความ สงบสันติคืนมา คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ พฤษภาคม 2553
5/13/10 11:03:39 AM
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิมท่ามกลาง ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 1 อังคณา นีละไพจิตร 2
บทนำ
ปั ญ หาความขั ด แย้ ง และความรุ น แรงในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเป็นสิ่งที่รัฐบาล รวมถึง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และพลเมืองไทยทั่วไปมีความ ห่วงใยอย่างมาก หากแต่การกล่าวถึงปัญหา และความ พยายามในการหาหนทางในการแก้ปัญหานั้นยังไม่มีผู้ใด ให้ความสำคัญถึงการเปิดพื้นที่ของการมีส่วนร่วมของ
ผูห้ ญิงมลายูมสุ ลิมในการมีสว่ นร่วมแก้ไขปัญหาของตนเอง ทั้งที่ผู้หญิงเป็นครึ่งหนึ่งของพลเมืองทั้งหมด
ปั จ จุ บั น แม้ ผู้ ห ญิ ง หลายกลุ่ ม ได้ พ ยายามทำงาน เพื่อยกระดับสถานภาพของผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ แต่ เ สี ย งของผู้ ห ญิ ง เหล่ า นั้ น ก็ ไ ม่ ถู ก ทำให้ได้ยินไปถึงบรรดาผู้นำต่างๆ จึงดูเหมือนผู้หญิง ไม่ มี ตั ว ตนอยู่ ใ นสั ง คมในฐานะส่ ว นร่ ว มของการแก้ ไ ข ปัญหา แม้แต่ปญ ั หาของผูห้ ญิงเอง อีกทัง้ บ่อยครัง้ ทีผ่ หู้ ญิง ที่ อ อกมาเรี ย กร้ อ งและปกป้ อ งสิ ท ธิ ข องตนจากการ ตีความศาสนาที่เคร่งครัดของผู้รู้ทางศาสนาบางคนต้อง
1
ส่วนหนึ่งของรายงานฉบับนี้นำเสนอครั้งแรกในเวที Conference on Religious Activism & Women’s Development in Southeast Asia: Highlighting Impediments, Exploring Opportunities , Friday, 20th & Saturday, 21st November 2009. Organised by; Centre for Research on Islamic and Malay Affairs (RIMA) In collaboration with; Konrad Adenauer Stiftung (KAS) and the Malay Studies Department, NUS. Singapore. 2 ประธาน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Working Group on Justice for Peace) มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กร พัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย อังคณา นีละไพจิตร |
aw_thai.indd 5
5/13/10 11:03:39 AM
ถูกคุกคาม และถูกลดทอนความน่าเชือ่ ถือ จนทำให้ผหู้ ญิง
เหล่านั้นต้องกลายเป็น “ผู้หญิงบาป” หรือ “ผู้หญิงไม่ดี” ในการนำเรื่องราวของตนมาบอกเล่าแก่สังคม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีผหู้ ญิง มลายูมุสลิมหลายคนที่มีโอกาสศึกษากฎหมายอิสลลาม (ชารีอะฮฺ) ทั้งในระดับปอเนาะ และระดับมหาวิทยาลัย ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ และถื อ เป็ น ผู้ รู้ ท างศาสนา (A’leemat) แต่กลับไม่เคยพบว่าผู้รู้ศาสนาหญิงเหล่านี้มี การรวมกลุ่ ม กั น ในการตี ค วามศาสนา การให้ ค วามรู้ รวมถึงการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของผู้หญิงมลายูมุสลิม ในสังคมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น สิ่ ง ที่ น่ า ห่ ว งใยว่ า ภายใต้ ร ะบอบ ประชาธิปไตยกลับไม่มีตัวแทนของผู้หญิงมลายูมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ เพื่ อ เสนอแนวทางแก้ ปั ญ หาของตนเอง ทั้ ง ในฝ่ า ย นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ เพื่อมีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายที่สำคัญสำหรับผู้หญิง แม้สภาร่าง รัฐธรรมนูญ ปี 2549 - 2550 จะมีผู้หญิงมุสลิมที่มีโอกาส เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็มิได้เป็นผู้หญิงที่ เป็นตัวแทนของของผูห้ ญิงมลายูมสุ ลิมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ในข้อเสนอต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปกครองแบบ พิเศษ การปรับปรุงกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว และมรดกที่ใช้ในประเทศไทย หรือในข้อเรียกร้องในการ จัดตั้งศาลศาสนา (ศาลชารีอะฮฺ) ล้วนไม่เคยปรากฏภาพ ของผู้หญิงในการมีส่วนร่วม แม้แต่ในการตัดสินข้อพิพาท ในเรื่ อ งครอบครั ว และมรดก ของดะโต๊ ะ ยุ ติ ธ รรมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงโดยตรง นั้น ผู้หญิงซึ่งมีความรู้ทางศาสนา ก็ไม่สามารถที่จะมี ส่วนร่วมแม้เพียงการเสนอคำแนะนำ และข้อเสนอแนะ ในการตัดสินคดีต่างๆ ตามกระบวนการยุติธรรมได้
aw_thai.indd 6
การไม่ปรากฏตัวตนของผู้หญิงมลายูมุสลิมนำมา ซึ่งคำถามว่า ผู้หญิงเหล่านี้พึงพอใจที่จะไม่ต้ อ งการมี ส่วนร่วมใดๆ ในการแก้ไขปัญหาของตนเอง หรือพวก เธอถูกปิดกั้นอย่างจงใจจากบรรดาชนชั้นนำ หรือผู้นำ ศาสนาบางคนที่ตีความศาสนาอย่างเคร่งครัด จนทำให้ เสียงสะท้อน และบทบาทของผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับ และถู ก ทำให้ ไ ม่ น่ า เชื่ อ ถื อ แม้ ผู้ ห ญิ ง ในส่ ว นอื่ น ของ ประเทศไทยจะสามารถมี พื้ น ที่ และมี บ ทบาทสู ง ใน การนำเสนอปัญหาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมี ส่วนร่วม การแก้ไขกฎหมาย และการกำหนดนโยบาย สาธารณะที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อผู้หญิง เด็ก หรือ ครอบครัว แต่ผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับไม่ได้ รับการสนับสนุนจากสังคม หรือรัฐอย่างเต็มที่เท่าที่ควร ทั้งการให้ความรู้เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพ หรือการ เปิดพื้นที่ของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ รายงานฉบับนี้เป็นการเสนอรายงานเชิงวิจัย เพื่อ ต้องการที่จะสะท้อนภาพบทบาท รวมถึงภาระหน้าที่และ สิ่งท้าทายที่ผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเผชิญอยู่จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เขียน เขียน รายงานฉบับนี้โดยปราศจากอคติ และด้วยความเคารพ ในหลักการศาสนาอิสลามที่รับรองสิทธิ เสรีภาพ และให้ ความคุ้มครองผู้หญิงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง และส่วน สำคัญของครอบครัวและสังคม โดยใช้ประสบการณ์ที่มี โอกาสได้ พ บเห็ น และสั ม ผั ส กั บ ชี วิ ต ของผู้ ห ญิ ง มลายู มุสลิมจำนวนมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา 5 ปีเศษที่ผ่านมา ในการมีโอกาสได้ สั ม ผั ส ความทุ ก ข์ ย าก ความกล้ า หาญ ความเสี ย สละ ความรัก ความอดทน และการเผชิญชีวติ อยูก่ บั ความกลัว ความไม่ ป ลอดภั ย ในชี วิ ต ทำให้ ม องเห็ น ว่ า เบื้ อ งหลั ง
ความรุนแรงและความสูญเสียนัน้ ปรากฎผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ โดยตรง คือผู้หญิง ในฐานะที่ยังมีชีวิตอยู่และต้องนำพา ครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิตได้ต่อไป จึงปรากฏภาพ ของผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้อง เข้าๆ ออกๆ ตามค่ายทหาร สถานีตำรวจ หรือศาล
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:40 AM
เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับบุคคลในครอบครัวที่ ไม่ไ ด้ รั บความเป็นธรรม ภาพของผู้หญิงที่ต้องทำงาน หนั ก เพื่ อ ความอยู่ ร อดของครอบครั ว ในสถานการณ์ ที่ ผู้ชายต่างกลัวความไม่ปลอดภัยและไม่กล้าออกนอกบ้าน รวมถึงผู้หญิงที่ถูกกระทำจากความรุนแรงในครอบครัว หรือถูกละทิ้งให้ต้องดูแลครอบครัวตามลำพังในกรณีที่ สามีมีภรรยาหลายคน ผู้หญิงเหล่านี้ล้วนเป็นผู้หญิงพื้น บ้านในสังคมมลายูมุสลิม เป็นผู้หญิงยากจน การศึกษา น้อย ขาดโอกาสและความเท่าเทียมในการมีส่วนร่วม ต่างๆ การแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคง ไม่ ส ามารถกระทำได้อย่างยั่งยืนหากผู้หญิงยังคงทุกข์ ยาก เจ็บปวด ขมขื่น และเรื่องราวของผู้หญิงยังถูกมอง ว่าเป็นเพียงโศกนาฏกรรมส่วนตัว มิใช่ปัญหาที่สังคมต้อง นำมาถกเถียงหรือแก้ไข เพราะหากผู้หญิงซึ่งคือครึ่งหนึ่ง ของกลไกสำคัญในการแก้ปัญหายังต้องเผชิญกับความ ยากจน ขมขื่ น และถู ก ลิ ด รอนสิ ท ธิ อั น ชอบธรรมของ ตนเองแล้วคงเป็นการยากที่ผู้หญิงเหล่านี้จะมีความกล้า หาญ และพร้อมที่จะเผชิญต่อปัญหาและอุปสรรคที่ผ่าน เข้ามาในชีวิต และความหวังที่จะเกิดสันติภาพคงยังห่าง ไกลหากกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา ซึ่งก็คือผู้หญิง ยังคงถูกทำให้อ่อนแอ ไร้สิทธิ และเสียงของเธอยังมิได้ ถูกรับฟังจากผู้คนร่วมสังคม
สภาพปัญหา
สถานการณ์ ค วามไม่ ส งบที่ เ กิ ด ขึ้ น ในจั ง หวั ด ชายแดนใต้ของประเทศไทย ซึ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นตั้ง แต่ปี 2547 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงอย่างต่อเนื่องกับ
ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ
ผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่ สงบ ปั ญ หาความไม่ เ ป็ น ธรรม และความรุ น แรงเชิ ง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงใน ครอบครัว ปัญหายาเสพติด ความไม่เป็นธรรมในการ
กระจายรายได้ ความยากจน ปัญหาความมั่นคงทาง อาหาร หรืออื่นๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ท้าทายต่อบทบาท ของผู้ ห ญิ ง ในครอบครั ว ในฐานะที่ มี ห น้ า ที่ ต้ อ งดู แ ล ครอบครัว และอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยเฉพาะผู้หญิงซึ่งอยู่ ในสถานะของผู้ที่สูญเสียหัวหน้าครอบครัว และจำเป็น ต้ อ งพลิ ก ผั น บทบาทของตั ว เองมารั บ ผิ ด ชอบและทำ หน้าที่ผู้นำครอบครัว นับแต่เหตุการณ์ความไม่สงบเมือ่ วันที่ 28 เมษายน 2547 เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้า สถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ วันที่ 25 ตุลาคมในปีเดียวกัน จนทำให้เกิดการเสียชีวิต ของประชาชนเป็นจำนวนมากถึง 78 คน ในช่วงระยะ เวลา 6 ปีเศษที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องมาตลอดจนปัจจุบัน ในระดับที่มีรุนแรง มากขึ้ น ทั้ ง การลอบวางระเบิ ด การใช้ อ าวุ ธ สงคราม
การบังคับให้บุคคลสูญหาย การลอบยิง ซึ่งเหยื่อมีทั้ง
เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา รวมถึงผู้หญิงและ เด็ก
ผู้หญิงมุสลิมกับสถานการณ์ความรุนแรง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
สถานการณ์ความรุนแรงส่งผลกระทบกับผู้หญิง เป็นอย่างมาก ทั้งการเป็นเหยื่อของความรุนแรง และ การเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ผู้หญิงจำนวนมากต้องพลิก บทบาทของตนเองจากการทำหน้ า ที่ ข องภรรยา หรื อ ลูกสาวมาเป็นผู้นำ และเป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้หญิง เหล่ า นี้ ห ลายคนต้ อ งหั น มาศึ ก ษากฎหมายพิ เ ศษฉบั บ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึก พระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ กฎหมายแพ่ง หรืออาญา ที่บังคับใช้อยู่ทั่วไปทั้งที่พวก เธอมีความรู้น้อย โดยเฉพาะการอ่านและเขียนภาษาไทย พร้อมๆ กับการต้องแบกรับภาระทางเศรษฐกิจในฐานะที่ ต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวทั้งที่พวกเธอไม่มี
อังคณา นีละไพจิตร |
aw_thai.indd 7
5/13/10 11:03:40 AM
โอกาสได้รับการศึกษา และการประกอบอาชีพ โดยส่วน ใหญ่ผู้หญิงมลายูมุสลิมเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนให้ ศึกษาหาความรู้เฉพาะในทางศาสนา เพื่อให้สามารถทำ หน้าที่ภรรยา และบุตรที่ดีได้เท่านั้น รายงานฉบับนี้ได้ แบ่ ง กลุ่ ม ผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากความรุ น แรงในพื้ น ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตามสภาพที่เกิด ขึ้นกับผู้หญิง คือ
กลุ่มผู้หญิงที่ ได้รับผลกระทบ จากความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ผูห้ ญิงกลุม่ นี้ ได้แก่ผหู้ ญิงทีส่ ญ ู เสียหัวหน้าครอบครัว จากจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นในเหตุการณ์วัน ที่ 28 เมษายน 2547 3 กรณีเหตุการณ์ตากใบ 4 กรณีที่มี ประชาชนในพื้นที่ถูกบังคับให้สูญหายเป็นจำนวนมาก กรณีการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐในกรณี ต่ า งๆ รวมถึ ง ครอบครั ว ที่ ส ามี ถู ก จั บ กุ ม ดำเนิ น คดี ใ น ข้ อ หาเกี่ ย วข้ อ งกั บ เหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบ ซึ่ ง สิ่ ง ที่ ครอบครัวเหล่านี้ต้องเผชิญคือการถูกกล่าวหา และอคติ จากเจ้าหน้าที่รัฐรวมถึงสังคมนอกพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ที่มองว่า พวกเขาเป็นครอบครัวของผู้ก่อความ
ไม่สงบ ทำให้ไม่ควรมีสิทธิในการขอรับการช่วยเหลือ เยียวยาใดๆ จากภาครัฐ 5 ยกเว้นครอบครัวของผู้เสีย ชีวิตกรณีตากใบที่รัฐบาลได้จ่ายเงินเยียวยาให้
อย่างไรก็ตามเนื่องจากครอบครัวของชาวมลายู มุสลิมเหล่านี้ยึดถือหลักการศาสนาอิสลามเป็นกฎหมาย จารี ต มี ด ะโต๊ ะ ยุ ติ ธ รรมเป็ น ผู้ ท ำหน้ า ที่ ใ นการวิ นิ จ ฉั ย
ข้อพิพาทในเรื่องของครอบครัวและมรดก แต่เนื่องจาก แม้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะปรับใช้หลักการอิสลาม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขต จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ซึ่ ง ส่ ง ผลให้ ก ารปฏิ บั ติ ใ นครอบครั ว มี ห ลั ก ปฏิ บั ติ ที่ ต่ า ง จากคนไทยในจังหวัดอื่น เช่น การแต่งงาน ที่กฎหมาย ยินยอมให้ผู้ชายมีภรรยาที่ถูกต้องได้ 4 คน หรือหลักการ ในการแบ่งทรัพย์มรดกเป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้จะมี การใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก แต่ใน ทางปฎิบัติกลับไม่สามารถมีสภาพบังคับได้ เช่น หลัก เกณฑ์ในการหย่าซึ่งฝ่ายชายต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรที่ยัง ไม่บรรลุนติ ภิ าวะ หรือเรือ่ งการแบ่งทรัพย์มรดกทีค่ รอบครัว ของสามีมีหน้าที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูภรรยาม่าย ของผู้เสียชีวิต เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแม้การจัดการจะเป็น ไปตามกฎหมายอิสลาม แต่เมื่อไม่มีสภาพบังคับจึงทำให้ ผู้ ห ญิ ง และเด็ ก ต้ อ งเป็ น ผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบในการไม่ มี
ผู้เลี้ยงดู และไม่สามารถหาความป็นธรรมได้ เพราะการ ตัดสินของดะโต๊ะยุติธรรมไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกา
ได้ 6
3
เหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีอาวุธ เป็นมีด หรือไม้ ได้ทำการต่อต้านรัฐบาล โดยบุกเข้าโจมตีสถานที่ราชการเช่นสถานีตำรวจ พร้อมๆ กัน 11 จุดในจังหวัดปัตตานี และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา รวมถึงในมัสยิด กรือเซะ จนทำให้รฐั บาลตัดสินใจยุติสถานการณ์โดยใช้ความรุนแรง ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 108 ศพ 4 เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม โดยประชาชนที่อำเภอตากใบ จังหวัด นราธิวาส ได้ประท้วงการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านในข้อหานำอาวุธไปให้ผู้ก่อความไม่สงบ ในขณะที่
ผู้ต้องหาทั้งหมดอ้างว่าอาวุธทั้งหมดได้ถูกผู้ก่อความไม่สงบปล้นไป เหตุการณ์ครั้งนี้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สั่งให้มีการสลายการ ชุมนุม จนในที่สุดมีผู้เสียชีวตทั้งสิ้น 85 ศพ 5 คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติระบุในรายงานว่า เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 ถูกแยกบัญชีรายชื่อ ต่างหากจากเด็กกำพร้าในเหตุการณ์อื่น และถูกพิจารณาว่าเป็นลูกของผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้ได้ทุนการศึกษาเพียงปีเดียว และไม่ได้ รับค่าครองชีพรายเดือน 6 ประเทศไทยยังมิได้มีการจัดตั้งศาล ชารีอะฮฺ หรือการมีกลไกใดเพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายอิสลามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการหย่า หากสามีไม่ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร ภรรยาก็ไม่สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมจากที่ใดได้
aw_thai.indd 8
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:41 AM
ตัวอย่างกรณีเงินเยียวยาที่รัฐบาลไทยได้ชดเชยให้ แก่ ค รอบครั ว ผู้ เ สี ย ชี วิ ต ในเหตุ ก ารณ์ ต ากใบซึ่ ง ดะโต๊ ะ ยุ ติ ธ รรมได้ ท ำคำวิ นิ จ ฉั ย ว่ า เงิ น เยี ย วยาที่ รั ฐ จ่ า ยให้ แ ก่ ครอบครั ว ผู้ เ สี ย ชี วิ ต จากเหตุ ก ารณ์ ต ากใบ (ประมาณ 300,000 บาทต่ อ คน) เป็ น เงิ น มรดก จึ ง ส่ ง ผลให้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นโดยเฉพาะผู้เป็นภรรยา ได้รับเงินส่วนแบ่งน้อยมาก ประกอบกับหลายครอบครัว มี ห นี้ สิ น ทำให้ ผู้ ห ญิ ง เหล่ า นั้ น ต้ อ งรั บ ภาระหนั ก ในการ เลี้ยงดูครอบครัวซึ่งมีบุตรหลายคน ยังมีกรณีที่ผู้เสียชีวิตเป็นบุตรที่เกิดจากภรรยาคน แรกของสามี ซึ่งปัจจุบันสามีมีภรรยาใหม่และได้อาศัย อยู่กับภรรยาคนที่สอง โดยก่อนเสียชีวิต ผู้ตายเป็นผู้หา เลี้ยงมารดา กรณีนี้เมื่อได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล บิดา เป็นผู้มีสิทธิเต็มในการรับเงินจำนวนนี้ และเนื่องจากมี ภรรยาใหม่จึงมิได้ส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาคนแรก เป็นเหตุ ให้มารดาของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ 7 ภายหลังการเสียชีวิตของบุตรชาย กรณีนี้ ได้มีการนำมาสู่การถกเถียงเพื่อหาข้อยุติ ในการแก้ ไ ขปั ญ หาโดยคณะกรรมาธิ ก ารวิ ส ามั ญ เพื่ อ สอบสวนและศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ สภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ ได้ จั ด การ ประชุมสัมนาคณะผู้รู้ศาสนาอิสลามในประเทศไทยเรื่อง “อิ ส ลามกั บ แนวทางในการสร้ า งความสามั ค คี และ สันติสขุ ” เมื่อวันที่ 25 - 26 มีนาคม 2550 โดยที่ประชุม มีข้อสรุปว่า “เงินที่ได้รับจัดสรรเยียวยาครอบครัวผู้เสีย
ชี วิ ต จากเหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบในจั ง หวั ด ชายแดน
ภาคใต้ ไม่ถือว่าเป็นมรดก” 8 นอกจากนี้ยังมีครอบครัวของผู้ที่ยังถูกควบคุมตัว ในเรือนจำระหว่างการพิจารณาคดีถึง 548 ราย (ข้อมูล ถึงสิ้นเดือน ส.ค. 2552) 9 คนกลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ ได้รบั ความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐ เนือ่ งจากรัฐ และสังคม ไทยส่วนใหญ่มองว่าคนกลุ่มนี้เป็นครอบครัวของผู้ที่ก่อ ความรุนแรง และผู้ต่อต้านรัฐ โดยครอบครัวของผู้ถูก ดำเนินคดีเหล่านี้นอกจากจะขาดผู้นำ และผู้ที่ร่วมทุกข์
7
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งมีการใช้กฎหมายอิสลามแต่เนื่องจากการไม่มีสภาพบังคับ และผู้หญิงไม่สามารถใช้สิทธิ ในการอุทธรณ์ และฎีกาได้ จึงทำให้ผู้หญิงมลายูมุสลิมเหล่านี้ประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตเมื่อขาดผู้เลี้ยงดู 8 ดูรายงานผลการสอบสวนและศึกษา ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษา สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หน้า 64 9 http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4890&Itemid=86
อังคณา นีละไพจิตร |
aw_thai.indd 9
5/13/10 11:03:41 AM
ร่วมสุขในการหาเลี้ยงครอบครัวแล้ว ผู้หญิงที่เป็นภรรยา หรือสมาชิกในครอบครัวยังต้องดิ้นรนเพื่อต่อสู้คดีพิสูจน์ ความบริสุทธิ์ให้กับสามีหรือลูกๆของตน ทำให้คาดว่ามี เยาวชนกว่า 2,000 คนขาดผู้ดูแล 10 มีครอบครัวหนึ่งซึ่งมีพี่น้องท้องเดียวกันถูกจับใน คดีความมั่นคงพร้อมกันในข้อหาร่วมกันเผายางรถยนต์ และพ่ น สี ต ามถนนเพื่ อ สร้ า งสถานการณ์ ทั้ ง สิ้ น 4 คน และเป็นลูกพีล่ กู น้องกันอีก 1 คน ผูถ้ กู ควบคุมตัวทัง้ 5 คน มีลูกๆ รวมกันถึง 19 คน รวมถึงภรรยา 5 คน และ มารดาซึ่งมีอายุมาก ทำให้ผู้หญิงและเด็กกว่า 24 คน ต้องได้รับผลกระทบนี้ไปด้วย 11
ครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย
จากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือคนของรัฐ การขาด ซึ่งพยานหลักฐานทำให้ครอบครัวผู้สูญหายไม่สามารถ เข้าถึงความยุติธรรม การชดเชย หรือการเยียวยาเหมือน เช่นผู้ถูกละเมิดสิทธิในกรณีอื่น ในขณะที่องค์กรพัฒนา เอกชนด้านสิทธิมนุษยชนได้ร้องเรียนกรณีการสูญหาย ของชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปยังคณะ ทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การ สหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearance - UN WGEID) โดย UN WGEID ได้รับกรณีคนหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ประเทศไทยไว้เป็นคดีคนหายของสหประชาชาติแล้วทั้ง สิ้น 18 คดี 12 เพื่อเร่งรัดรัฐบาลไทยในการติดตามหา ตัวผู้สูญหาย และให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัว ในประเทศไทยยั ง ไม่ มี นั ก การศาสนาคนใด ตีความข้อกฎหมายอิสลามในเรื่องของการบังคับสูญหาย ให้ชัดเจน เช่น สิทธิของภรรยาในการจัดการทรัพย์สิน และหนี้ สิ น ของสามี สิ ท ธิ ใ นการทำหน้ า ที่ หั ว หน้ า ครอบครัว ในการดูแลบุตร หรือการประกอบอาชีพ หรือ แม้ แ ต่ สิ ท ธิ ใ นการแต่ ง งานใหม่ เป็ น ต้ น ทำให้ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ที่ หั ว หน้ า ครอบครัวสูญหายต้องเผชิญกับความยากลำบากในการ ดำเนินชีวิต
รั ฐ บาลไทยยั ง ไม่ มี ค วามชั ด เจนในการเยี ย วยา ครอบครัวผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ที่ผ่านมาเมื่อปี 2549 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ แห่ ง ชาติ (กอส) พบมี ร ายงานเกี่ ย วกั บ ผู้ สู ญ หายจาก สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 23 คน และอนุกรรมการพิเศษ ของ คณะกรรมการนโยบาย และอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.) ได้ ใ ห้ ก ารเยี ย วยาแก่ ค รอบครั ว ผู้ สู ญ หายทั้ ง สิ้ น 17 ครอบครัว ภายหลังอนุกรรมการชุดนี้ได้ยุติการปฏิบัติ หน้าที่ในรัฐบาลชุดต่อมา ทำให้การเยียวยาผู้สูญเสียใน ผู้ ห ญิ ง ในครอบครั ว ผู้ ได้ รั บ ผลกระทบจากกอง กลุ่มดังกล่าวขาดความต่อเนื่อง อีกทั้งประเทศไทยยัง กำลังไม่ทราบฝ่าย ไม่มีกฎมายเรื่องการสูญหายของบุคคล ทำให้เป็นการ หรือผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความ ยากที่ ค รอบครั ว ผู้ สู ญ หายจะได้ รั บ การยอมรั บ ตาม ไม่สงบรายวัน ผู้หญิงกลุ่มนี้มีสภาพไม่ต่างจากกลุ่มอื่นๆ กฎหมายว่าเป็นผู้สูญหาย โดยเฉพาะเมื่อการสูญหายเกิด ในการเป็นผู้แบกรับภาระในครอบครัวหลังจากที่สูญเสีย
10
ปัจจุบันในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคดีความมั่นคงอยู่ในชั้นศาลทั้งสิ้น 518 คดี พิพากษาแล้ว 175 คดี จำเลย 284 คน ศาลชั้นต้น ตัดสินลงโทษ 114 คดี จำเลย 184 คน (คิดเป็นร้อยละ 65) ตัดสินยกฟ้อง 61 คดี จำเลย 100 คน (คิดเป็นร้อยละ 35) แต่ในจำนวนนีก้ ็ ยังมีบางส่วนที่ถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์และฎีกา (ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2552) http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4890&Itemid=86 11 เรื่องเดียวกัน อ้างแล้ว 12 อ้างรายงานของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ 10
aw_thai.indd 10
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:42 AM
สามี นอกจากนี้หากเป็นกรณีที่สามีบาดเจ็บ หรือพิการ ทำให้หญิงที่เป็นภรรยาต้องรับภาระครอบครัว แม้ผู้หญิง กลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะสภาพครอบครัวที่มีบุตรหลายคน และผู้หญิงเอง ส่วนใหญ่มีความรู้น้อย ไม่สามารถทำงานที่มีรายได้มาก พอที่ จ ะดู แ ลครอบครั ว ได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ โดยเฉพาะการ ให้การศึกษาแก่บุตร บางครั้งการออกไปทำงานนอกบ้าน ของผู้ ห ญิ ง เองก็ ถู ก วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ และไม่ ไ ด้ รั บ การ ยอมรับจากบรรดาผู้นำศาสนาในท้องถิ่น
ชาย ปัตตานี 951 ยะลา 1103 นราธิวาส 1919 สงขลา 174
ผู้บาดเจ็บ หญิง เด็ก 143 47 314 108 364 94 101 12
รวม 1141 1525 2377 287
ชาย 665 620 994 150
ครอบครัวผู้ ได้รับผลกระทบฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มนี้เป็นผู้ได้รับการ ช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยมากที่สุดในฐานะที่ผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือคนของรัฐ ทั้งในเรื่อง เงินชดเชย การได้รับเกียรติในฐานะผู้เสียสละ หรือการ ได้ รั บ สิ ท ธิ ใ นการศึ ก ษาของบุ ต ร และการให้ สิ ท ธิ แ ก่ ครอบครัว เช่น บุตร หรือภรรยา ในการเข้ารับราชการ โดยปกติชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มักไม่ นิ ย มรั บ ราชการ หรื อ มี ค วามเชื่ อ ว่ า รั ฐ บาลไทยไม่
ผู้เสียชีวิต หญิง เด็ก 49 11 65 17 80 22 16 7
รวม 725 702 1096 173
ผู้ที่คู่สมรสเสียชีวิต พ่อม่าย แม่ม่าย รวม 9 397 406 11 278 289 12 209 221 4 41 45
จำนวนผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ผู้ที่คู่สมรสเสียชีวิต จากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2547 - 2550 รายงานจากศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) Deep South Coodianation Center (DSCC)
อังคณา นีละไพจิตร | 11
aw_thai.indd 11
5/13/10 11:03:42 AM
การชุมนุมประท้วงที่ปอเนาะอิสลาฮุดดีน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา หลังจากเด็กนักเรียนปอเนาะ 2 คนถูกกองกำลังติดอาวุธซึ่ง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550
สนับสนุนให้คนท้องถิ่นได้มีโอกาสเข้ารับราชการ โดย เฉพาะการทำหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคง เช่น การ เป็นทหาร หรือตำรวจเป็นต้น แต่ในปัจจุบันรัฐบาลเปิด โอกาสให้คนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการรับราชการ มากขึ้น ในทางกลับกันฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบก็มองว่าคน กลุ่มนี้เป็นผู้ให้ความร่วมมือกับรัฐ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ หรือข้าราชการซึ่งเป็นชาวมลายูมุสลิมต้องตก เป็นเป้าของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
นี้มักไม่ค่อยมีผู้ใดกล่าวถึง และยังไม่มีรายงานใดที่กล่าว ถึ ง ผู้ ห ญิ ง กลุ่ ม นี้ อ ย่ า งชั ด เจนนั ก ผู้ ห ญิ ง กลุ่ ม นี้ มั ก เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในฐานะของภรรยา หรือบุตร ที่ ต้องเชื่อฟัง พ่อ และสามีหลายครั้งที่ผู้หญิงเหล่านี้ไม่เห็น ด้ ว ยกั บ การกระทำของพ่ อ หรื อ สามี แต่ เ ธอก็ ไ ม่ มี ศักยภาพเพียงพอที่จะหยุดยั้ง หรือแสดงการขัดขืนได้ มี รายงานถึงผู้หญิงที่พ่อ พี่ชาย หรือสามี ต้องหลบหนีเจ้า หน้าที่ โดยทิ้งครอบครัวให้อยู่ตามลำพัง โดยเธอมักถูก เจ้าหน้าที่คอยติดตาม สอบถาม หรือมีมาตราการกดดัน ผู้หญิงที่อยู่ ในกลุ่มของผู้ ใช้ความรุนแรง หรือถูก ต่างๆ เพื่อให้เธอบอกที่อยู่ของสามี บางครั้งที่ผู้หญิง ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านรัฐ เหล่านี้ถูกนำไปควบคุมตัวยังค่ายทหารเพื่อให้เธอบอกที่ • ผู้ ห ญิ ง ที่ อ ยู่ ใ นกลุ่ ม ขบวนการต่ อ ต้ า นรั ฐ อยู่ หรือข้อมูลของคนในครอบครัวซึ่งเจ้าหน้าที่สงสัยว่า หรือเป็นสัญญลักษณ์ของการต่อต้านรัฐ ผู้หญิงกลุ่ม เป็นผู้ก่อความไม่สงบ โดยที่ผู้หญิงบางคนซึ่งมีลูกที่ยัง
12
aw_thai.indd 12
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:43 AM
เล็ก เมื่อถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร พวกเธอจำเป็นต้อง นำลูกเข้าไปในค่ายทหารนั้นๆ ด้วย 13 มีรายงานผู้หญิง บางคนถู ก จั บ กุ ม และควบคุ ม ตั ว เพราะเธอมี ชื่ อ เป็ น เจ้าของรถที่สามีเป็นผู้ใช้ และมีหลักฐานว่ารถดังกล่าว ถูกนำไปก่อเหตุ ทั้งที่พวกเธอขับรถไม่เป็น หรือในบาง ครั้ ง พวกเธอมั ก จะถู ก เจ้ า หน้ า ที่ จั บ กุ ม หลั ง ถู ก กลุ่ ม ขบวนการต่อต้านรัฐบังคับให้เข้าไปดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ 14 นอกจากนี้พบว่าอัตตลักษณ์ผู้หญิงมลายูมุสลิมยัง ถูกนำมาเป็นสัญญลักษณ์ของการประท้วง หรือการต่อ ต้าน และเกี่ยวโยงมาสู่การก่อความไม่สงบ เช่นมักมีข่าว ว่าในการก่อเหตุร้ายเช่นการยิง หรือการลอบวางระเบิด
ผู้ต้องสงสัยแต่งกายแบบผู้หญิงมลายูมุสลิม โดยมีการ ปิดหน้า 15 จะสังเกตุว่าในการชุมนุมประท้วงต่างๆ ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้นับจากการประท้วงในเหตุการณ์ ตากใบที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังจากนั้นพบว่าใน การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมครั้งต่อๆ มา ผู้ ที่ ยื น อยู่ แ ถวหน้ า ในการชุ ม นุ ม ประท้ ว งมั ก เป็ น
ผู้หญิง ซึ่งอาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่าด้วยความเป็น
ผู้หญิงจะทำให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าที่กระทำการรุนแรงใดๆ อย่างไรก็ตามหน่วยงานความมั่นคงมักมีรายงาน ว่าในการชุมนุมประท้วงมักมีผู้ชายปลอมตัวเป็นผู้หญิง เข้ า มาร่ ว มในการชุ ม นุ ม ด้ ว ย จึ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ เ จ้ า หน้ า ที่ และแม้ แ ต่ สื่ อ มั ก เชื่ อ ว่ า ผู้ ห ญิ ง เหล่ า นี้ ถู ก หลอกหรื อ ถู ก บังคับให้ออกมาชุมนุมประท้วง และเป็นเครื่องมือของ
ผู้ ก่ อ ความไม่ ส งบ ซึ่ ง มั ก ปรากฏในรายงานข่ า วว่ า
ภาพผู้หญิงมลายูมุสลิมในการประท้วงปิดถนน
ผู้หญิงเหล่านี้ไม่ใช่คนท้องถิ่น แต่เป็นคนจากหมู่บ้านอื่น ที่เข้ามายุยงปลุกปั่นประชาชน ในขณะที่ผู้หญิงเหล่านี้ กล่าวตรงกันว่า การที่พวกเธอต้องปิดหน้าเป็นเพราะเจ้า หน้าที่มักชอบถ่ายรูป ซึ่งอาจทำให้พวกเธอถูกจับจ้อง จากเจ้าหน้าที่รัฐ และอาจส่งผลให้ครอบครัวของเธอไม่ ปลอดภัย ผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์ผู้หญิงที่อยู่ในครอบครัว ของผู้ก่อเหตุความรุนแรงกลุ่มหนึ่ง พบว่าผู้หญิงเหล่านี้ มักมีความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิต และไม่สามารถ วางแผนอนาคตของตนเองได้ พวกเธอจะถูกกำหนดให้ ต้องแต่งงานกับพวกเดียวกันโดยอาจเป็นภรรยาคนที่ 2 หรื อ 3 ของสามี เพื่ อ มิ ใ ห้ ค วามลั บ รั่ ว ใหล มี ผู้ ห ญิ ง บางคนที่พยายามต่อต้านหรือปฏิเสธ ผลก็คือเธอมักได้ รับความรุนแรงจากบุคคลในครอบครัว โดยเธอถูกสอน ให้เชื่อฟัง พ่อ หรือสามี เพื่อที่เธอจะได้เป็น ผู้หญิงดี
ผูห้ ญิงทีป่ ระเสริฐตามหลักการศาสนา และจารีตประเพณี
13
มีรายงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ว่าเด็กที่ถูกนำตัวไปพร้อมกับแม่เพื่อควบคุมที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี มีอายุน้อยที่สุด เพียง 1 ขวบเศษ( ดูหนังสือคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ถึงผู้บัญชาการกองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ลง วันที่ 19 กรกฎาคม 2552) 14 http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4896&Itemid=47 15 http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=2572&Key=HillightNews (2 กรกฎาคม 2551) อังคณา นีละไพจิตร | 13
aw_thai.indd 13
5/13/10 11:03:44 AM
ผู้ ห ญิ ง ที่ เ ข้ า ไปอยู่ ใ นขบวนการต่ อ ต้ า นรั ฐ ซึ่ ง ใช้ ความรุนแรงนี้ส่วนมากไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้ความ รุนแรง มีหลายคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าพ่อ หรือสามี เข้าร่วมในขบวนการ มักมาทราบเมื่อสามีถูกจับและถูก ดำเนินคดีแล้ว ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับผู้หญิงในขบวน การบางคนที่สามีถูกยิงเสียชีวิต โดยเธอเชื่อว่าผู้ก่อเหตุ เป็ น กองกำลั ง ติ ด อาวุ ธ ที่ มี เ จ้ า หน้ า ที่ รั ฐ หนุ น หลั ง เพื่ อ ต้องการแก้แค้น และนี่เป็นเหตุผลที่เธอเชื่อว่าขบวนการ มีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงตอบโต้เจ้าหน้าที่ รัฐ สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในขบวนการต่อต้านรัฐไทยนั้น ยังไม่ปรากฎรายงานมีกองกำลังผู้หญิงมลายูมุสลิมติด อาวุธเข้าร่วมในขบวนการการต่อสู้ดังกล่าว • กลุ่มผู้หญิงติดอาวุธฝ่ายรัฐ มีผู้หญิงจำนวนหนึ่งซึ่งสูญเสียบุคคลในครอบครัว ผู้หญิงกลุ่มนี้ถูกทำให้รู้สึกว่าเธอจำเป็นต้องออกมาปก ป้องตนเองและครอบครัว และจะไม่ยอมให้เกิดความสูญ เสียอีก เธอจึงมักสมัครเป็นอาสาสมัครทหารพราน ซึ่งรัฐ เองก็ เ ต็ ม ใจสนั บ สนุ น และถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการ เยียวยาครอบครัวผู้สูญเสีย ขณะเดียวกันผู้หญิงกลุ่มนี้ก็ ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วยเหตุผลที่ ว่ า เธอขั ด ขวางขบวนการต่ อ สู้ เ พื่ อ ปั ต ตานี โดยที่ ก ลุ่ ม ขบวนการก่อความไม่สงบมักตีความว่าผู้หญิงกลุ่มนี้เป็น พวกต่อต้านศาสนา มีกรณีการก่อเหตุคนร้ายประกบยิง ทหารพรานหญิงอามียะห์ เจ๊ะฮะ อายุ 23 ปีเสียชีวิต หน้าบ้านต่อหน้าแม่ของเธอที่ตำบลบาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2550 ภายหลังจากที่ เธอกลับมาเยี่ยมบ้านได้เพียง 2 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้เธอถูก ข่มขู่คุกคามมาโดยตลอด 16 ไม่ต่างจากอาสาสมัครทหาร พรานหญิงอามีเนาะ มะ อายุ 26 ปี ลูกจ้างกรมทหาร
16 17
สถานะและบทบาทของผู้หญิงมลายูมุสลิม ในครอบครัว
รายงานฉบั บ นี้ ผู้ เ ขี ย นมุ่ ง เน้ น ในการนำเสนอถึ ง เฉพาะบทบาทของผู้หญิงมลายูมุสลิมในบริบทของผู้หญิง สามัญ ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของผู้หญิงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทย โดยที่ผู้หญิงกลุ่มนี้มักมีฐานะ ยากจน การศึกษาน้อย ต้องทำงานหนัก และเป็นผู้หญิง ที่พบได้ทั่วไปในชนบท ในไร่นา หรือสวนยาง ในขณะที่ ผู้หญิงซึ่งเป็นชนชั้นสูง หรือปานกลาง มักมีการศึกษาดี มีครอบครัวที่มีฐานะดี มีความรู้ศาสนา และมักไม่ตก เป็นเหยื่อของความไม่ชอบธรรมและการถูกลิดรอนสิทธิ ต่างๆ จากการพบปะพูดคุยกับผู้หญิงมลายูมุสลิมจำนวน มากพบว่า ผู้หญิงมุสลิมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการดูแล ครอบครัว ขณะเดียวกันก็มคี วามผูกพันกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนามาก แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ความ รุนแรงขึ้น ประกอบกับการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ ทำให้ โครงสร้างสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เปลี่ยนแปลง ไป พบว่าเมื่อผู้หญิงได้รับผลกระทบจากความไม่ เ ป็ น ธรรมที่เกิดขึ้นกับตนเอง ผู้หญิงมักไม่สามารถปกป้อง สิทธิอนั ชอบธรรมทีส่ อดคล้องกับวิถชี วี ติ และศาสนา ของ ตนเองได้ เช่น การถูกทำร้ายในครอบครัว การถูกสามี ทอดทิ้ง หรือการไม่สามารถปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับ สามีทั้งที่รู้ว่าสามีติดเชื้อ HIV เป็นต้น
http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=2315&Itemid=58 http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?newid=88749 14
aw_thai.indd 14
พราน 43 ที่ ถู ก ยิ ง ได้ รั บ บาดเจ็ บ สาหั ส ที่ บ ริ เ วณหน้ า
บ้านพัก ม.1 ต.ตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี วันที่ 19 สิงหาคม 2551 17
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:44 AM
นอกจากนี้ยังมีกรณีความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ที่ห่างเหินมากขึ้นเนื่องจากโครงสร้างสังคมที่ผลักดันให้ ครอบครั ว ต้ อ งทำมาหากิ น เพื่ อ ความอยู่ ร อด 18 โดย เฉพาะครอบครัวที่ขาดผู้นำเนื่องจากสถานการณ์ความไม่ สงบ ทำให้การดูแลเด็ก ตกเป็นภาระของสถาบันนอก บ้านมากขึ้น เช่น โรงเรียน ปอเนาะ หรือตาดีกา 19 ใน ขณะที่รัฐเองกลับไม่มีนโยบายในการสนับสนุนโรงเรียน สอนศาสนา 20 ทีท่ ำหน้าทีเ่ สมือนสถานรับเลีย้ งเด็กเหล่านี้
ทำให้การดูแลเด็กและเยาวชนไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ ควร จึงพบปัญหาเด็กและเยาวชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดน ภาคใต้อยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้ง ถูกละเลย และปัญหาที่ พบแพร่ ก ระจายทั่ ว ไปก็ คื อ การใช้ ส ารเสพติ ด แม้ จ ะมี โครงการที่ทำงานกับกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชน เพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีเด็กและเยาวชนในพื้นที่ อีกจำนวน มากที่ยังคงขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และการมี คุณภาพชีวิตที่ดี
18
ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าโดยปกติครอบครัวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ่อ แม่ ลูก มักมีโอกาสน้อยในการ ใช้ชีวิตร่วมกัน และมีกิจกรรมร่วมกัน เช่นการรับประทานอาหารร่วมกัน หรืออื่นๆ นอกจากวันสำคัญทางศาสนาที่ทุกคนจะกลับมาอยู่ พร้อมหน้าพร้อมตากัน 19 ตาดีกา เป็นโรงเรียนสอนศาสนา และสอนภาษามลายูที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่เด็กในท้องถิ่น ตาดีกาจะทำการสอนที่ มัสยิด ในวันเสาร์ และอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด บิดา มารดาจึงมักนิยมส่งบุตรหลานมาเรียนที่ตาดีกาซึ่งนอกจากเพื่อต้องการให้เรียนรู้ ภาษามลายูแล้ว ตาดีกายังช่วยดูแลเด็กๆ ในท้องถิ่นเพื่อมิให้ไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น การมั่วสุมเสพยาเสพติดเป็นต้น 20 รัฐมองสถาบันการสอนศาสนาที่ชุมชนตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะสถาบันศึกษาปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม รวมทั้ง
ตาดีกาบางแห่ง ว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน และอุดมการณ์ที่ใช้ความรุนแรง อีกทั้งเยาวชนที่เข้ารับการศึกษาใน สถาบันการศึกษาเหล่านี้ก็ถูกมองว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงทำให้รัฐบาลไทยไม่สนับสนุนการศึกษาในสถาบัน การศึกษาเหล่านี้ หรือหากสนับสนุนก็น้อยมากไม่พอพียงแก่การจัดการศึกษา รายได้ส่วนใหญ่ของโรงเรียนสอนศาสนา เช่น ปอเนาะ และตาดีกาส่วนใหญ่จึงมาจากการรับบริจาค (ดู รายงานผลการสอบสวนและศึกษา สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพือ่ สอบสวน และศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ - อ้างแล้ว) อังคณา นีละไพจิตร | 15
aw_thai.indd 15
5/13/10 11:03:46 AM
สาเหตุ ส ำคั ญ อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ค รอบครั ว ชาว มลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มักไม่นิยมส่งบุตร หลานไปศึ ก ษาต่ อ นอกพื้ น ที่ เ นื่ อ งจากเกรงว่ า จะรั บ วัฒนธรรมต่างถิ่นและหลงลืมวัฒนธรรมมลายูถิ่นของ ตนเอง อั ม พร หมาดเด็ น ผู้ เ ขี ย นหนั ง สื อ Sexual Culture Among Young Migrant Muslims In Bangkok ใน Amana. Vol.I Issue 4, 2007 (สำนัก พิมพ์ AMAN กรุงเทพฯ 2550) กล่าวถึงรายงานวิจัยของ เธอเกี่ ย วกับพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษามุสลิมทั้ง หญิงชายซึ่งจากบ้านเกิดเมืองนอนใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้มาศึกษาต่อในส่วนกลางที่กรุงเทพฯ โดยกำหนด พื้ น ที่ ศึ ก ษารอบๆ มหาวิ ท ยาลั ย รามคำแหง ผลการ ศึกษาที่น่าสนใจพบว่า ค่านิยมและการปฏิบัติในเรื่อง เพศของนักศึกษามุสลิมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างเห็นได้ชัดและโดยมีนัยสำคัญ เธอยกกรณีนักศึกษา หญิ ง คนหนึ่ ง ซึ่ ง สารภาพว่ า เพิ่ ง ทำแท้ ง ครั้ ง ที่ 2 มาได้ หมาดๆ โดยยอมรับว่า เธอมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหนุ่ม เพื่อนนักศึกษาซึ่งอยู่กินฉัน สามี ภรรยา ทั้งๆ ที่มิได้ ผ่านการแต่งงานตามหลักการศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นที่ ทราบกันว่าเสรีภาพทางเพศเช่นนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ในสังคมมุสลิม 21 อย่างไรก็ดีพบความแตกต่างระหว่างผู้หญิงที่มีการ ศึกษาและผู้หญิงที่ไม่ได้รับการศึกษาในครอบครัว ชาว มลายู มุ ส ลิ ม โดยผู้ ห ญิ ง ที่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาและมาจาก ครอบครัวที่มีฐานะดีจะมีโอกาสในการอธิบายถึงความ ต้องการและตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองได้ดี และมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับการศึกษา หรือมีการศึกษา น้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเห็นความสำคัญของฝ่ายชาย และสังคมด้วยว่าได้สนใจถึงเสียงของผู้หญิงสามัญเหล่านี้ หรื อ ไม่ ซึ่ ง เป็ น ที่ น่ า สั ง เกตว่ า แม้ แ ต่ ผู้ ห ญิ ง ที่ ไ ด้ รั บ การ
21 22
ปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเผชิญ
จากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทำให้รัฐบาลเปลี่ยนวิธีการในการ ทำงานใหม่ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปิดล้อมตรวจค้นหมู่บ้าน และควบคุมตัวประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุ ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงหันมาใช้ วิธีการในการส่งหน่วยงานความมั่นคงลงไปปฏิบัติหน้าที่ ในหมู่บ้านซึ่งรัฐเชื่อว่าเป็นหมู่บ้านจัดตั้งของผู้ก่อความไม่ สงบ (หมู่ บ้ า นสี แ ดง) 217 หมู่ บ้ า น ในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งกองกำลังเหล่านี้ประกอบด้วยทหาร ตำรวจ และ อาสาสมัครรักษาดินแดนจำนวน 25 คน เพื่อสถาปนาอำนาจรัฐให้เข้มแข็ง และสร้างจิ ต วิ ท ยา มวลชนให้ประชาชนเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเดียวกัน ก็ทำงานพัฒนาควบคูก่ นั ไปด้วย โดยเน้นการใช้ชวี ติ ร่วมกับ ชาวบ้านในท้องถิ่น ภายใต้โครงการ “หมู่บ้านสันติสุข” 22 เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครเหล่านี้จะเข้าไป อาศัยในหมูบ่ า้ น โดยส่วนมากมักตัง้ ค่ายทหารในโรงเรียน สวนยาง หรือสวนผลไม้ของชาวบ้าน ซึ่งในมุมมองของ ชาวมลายูมุสลิมท้องถิ่นส่วนใหญ่มองว่ารัฐกำลังทำลาย โครงสร้างทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยการส่งเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวมุสลิมไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชุมชน เข้ า ไปพั ก อาศั ย ร่ ว มกั บ ชาวมลายู มุ ส ลิ ม และอาจเป็ น ความพยายามที่จะทำลายความคิด ความเชื่อในค่านิยม ประเพณี หรือศาสนาซึ่งเป็นที่หวงแหนของตน เช่นกรณี ที่ประชาชนชายหญิงจำนวนกว่า 100 คนรวมตัวกันเพื่อ
http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4940&Itemid=86 http://www.bangkokbiznews.com/2009/03/09/news_28343969.php?news_id=28343969 16
aw_thai.indd 16
ศึกษาหรือปัจจัยอื่นๆ การมองเห็นความสำคัญและการ ตระหนักถึงสิทธิของผู้หญิงสามัญ ในพื้นที่ยังมีไม่มาก
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:46 AM
แสดงจุดยืนปฏิเสธการตั้งฐานปฏิบัติการของทหารพราน ในพื้นที่ บ้านลานช้าง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551 ซึ่งสาเหตุที่ชาวบ้านลาน ช้ า งปฏิ เ สธการตั้ ง ฐานปฏิ บั ติ ก ารของทหารพรานใน หมู่บ้าน ก็เพราะชาวบ้านและเด็กๆ ในพื้นที่มีความรู้สึก หวาดกลัว หวาดระแวง และไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่ทหาร พราน หากเข้ามาตั้งฐานจะทำให้วิถีการดำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ ต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยกล่ า วว่ า “ปกติ แ ล้ ว ชาวบ้ า นเกื อ บร้ อ ยละ 80 ประกอบอาชีพทำสวนยาง และจะออกไปกรีดยางก่อน เวลารุ่งเช้า หากมีทหารพรานมาอยู่ในหมู่บ้าน พวกเรา คงไม่กล้าออกไปกรีดยาง และที่สำคัญเคยมีประวัติไม่ดี หลายเหตุการณ์ในหมู่บ้านข้างเคียงจากการกระทำ ของ ทหารพราน โดยเฉพาะเรื่องชู้สาว ชาวบ้านจึงหวั่นว่าจะ เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกหลานของตัวเอง จึงพากันต่อ ต้าน ที่สำคัญหมู่บ้านของเราไม่เคยมีเหตุการณ์ความ รุ น แรงเกิ ดขึ้นมาก่อนเลย จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ทหาร พรานจะเข้ามาตั้งฐานในพื้นที่” 23 คณะทำงานยุ ติ ธ รรมเพื่ อ สั น ติ ภ าพ รายงานถึ ง ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่ประชาชนยอมเปิดเผย
ข้อเท็จจริงอย่างน้อย 3 กรณีในช่วง เดือนเมษายน กันยายน 2552 24 มีเหตุการณ์การข่มขืนผู้หญิงชาวมลายู มุ ส ลิ ม มั ก ปรากฏให้ได้ยินอยู่เสมอ แต่เนื่องจากความ อับอายของผู้เสียหาย และครอบครัว อีกทั้งวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และศาสนาที่มองว่าการถูกล่วงละเมิด ก่อนการสมรสเป็น “บาป” ที่จะติดตัวไปตลอดชีวติ และ วาทกรรมของ “ความเป็นผูห้ ญิงดี ผูห้ ญิงที่ประเสริฐ” ที่ ต้ อ งรั ก ษาความบริ สุ ท ธิ์ ข องตน ทำให้ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่กล้าเปิดเผยความจริง ในสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น และสิ้ น หวั ง ในการหาความเป็ น ธรรม
23 24
เพราะโดยมากเจ้าหน้าที่มักถูกลงโทษเพียงการย้ายออก นอกพืน้ ที่ หรือถูกไล่ออกจากราชการ และจ่ายเงินเยียวยา ให้แก่ผู้เสียหายและครอบครัว โดยที่เจ้าหน้าที่มักอ้างว่า มิใช่การข่มขืน แต่เป็นการสมยอม ซึ่งไม่สามารถเอาผิด ได้ตามกฎหมายอาญาของไทย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้รับรายงาน
ผู้หญิงมลายูมุสลิมจำนวนหนึ่งตั้งครรภ์ ภายหลังการมี เพศสัมพันธ์นอกสมรสกับเจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติหน้าที่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย จนครอบครัว ต้องยินยอมให้แต่งงานกับเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งส่วนใหญ่ ไม่ใช่ชาวมลายูมุสลิม และไม่ใช่คนท้องถิ่น ซึ่งภายหลัง เมื่อเจ้าหน้าที่เหล่านี้หมดภาระกิจในการปฏิบัติหน้าที่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ และย้ายกลับภูมิลำเนาของตน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่มาจากภาคเหนือ และภาคอีสานอัน มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนาที่ ต่างไปจากชาวมลายูมุสลิม ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถปรับ ตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ได้ สุดท้ายจึงมักจบลงที่การ หย่าร้าง โดยผู้หญิงเหล่านี้จำต้องพาลูกของตัวเองกลับ ภูมิลำเนา
http://www.pinonlines.com/news/view.php?newsno=0052820 ดู หนังสือคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ถึงผู้บัญชาการกองกำลังผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2552
อังคณา นีละไพจิตร | 17
aw_thai.indd 17
5/13/10 11:03:47 AM
จากการสั ม ภาษณ์ ก ลุ่ ม ผู้ ห ญิ ง กั บ สั น ติ ภ าพ
(WE PEACE) ซึ่งทำงานด้านผู้หญิงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ข องประเทศไทย พบมี ส ถิ ติ ก ารตั้ ง ครรภ์ น อก สมรสสู ง ขึ้ น ในระยะ 1 - 2 ปี ที่ ผ่ า นมา โดยที่ ผู้ ห ญิ ง
ส่วนใหญ่มีความอับอาย และเกรงกลัวต่อ “บาป” อีกทั้ง วาทกรรมของการเป็น “ผู้หญิงดี ผู้หญิงที่ประเสริฐ” ทำให้ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม เหล่ า นี้ เ ผชิ ญ ต่ อ ความกดดั น อย่างสูง หลายคนตัดสินใจทำแท้งผิดกฎหมาย เนือ่ งจาก ไม่สามารถทนต่อคำครหาของผูค้ น และสังคมรอบข้างได้ อีกทั้งความเชื่อในสังคมมลายูมุสลิมที่ว่าลูกที่เกิดนอก สมรส (ลูกซินา) จะไม่มสี ทิ ธิเท่ากับเด็กทีเ่ กิดในครอบครัว ที่สมรสถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม เช่น เด็กที่เกิดนอก สมรสจะหมดสิทธิในการรับประทานเนื้อกุรบาน 25 ไม่ สามารถรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่นๆ ได้ ไม่มีสิทธิ ในการรับมรดก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงมลายู มุสลิมที่ตั้งครรภ์นอกสมรสมีความรู้สึกอึดอัด และไม่มี ทางออกในการแก้ปัญหา พบในรายที่มิได้ทำแท้ง แต่ ปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป เมื่อคลอดแล้วก็จะนำ บุตรของตนไปทิ้งไว้ตามบ้าน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่ด้าน มนุษยธรรมต่างๆ 26 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส และการข่มขืน เป็นสิ่งซึ่งค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมอีกทั้งหลักการ ศาสนาอิสลามไม่สามารถยอมรับได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จึ ง เป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ที่ ท ำให้ ช าวมลายู มุ ส ลิ ม ในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ไม่ไว้วางใจรัฐ นำมาซึ่งการไม่ร่วมมือ และอาจถึงการต่อต้านในที่สุด และจากสถานการณ์ ข้ า งต้ น ดั ง กล่ า วจะเห็ น ได้ ว่ า ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ที่ ประสบกับการกระทำความรุนแรงทางเพศยังขาด กลไกทีจ่ ะช่วยให้สามารถเข้าถึงความยุตธิ รรม ผูห้ ญิง ยังขาดโอกาสเลือกว่าจะใช้ช่องทางใดแก้ไขปัญหา และยั ง ไม่ รู้ ถึ ง สิ ท ธิ ข องตนเองทางกฎหมาย โดย เฉพาะกรณีการถูกข่มขืน ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับในการ ทีจ่ ะเปิดเผยต่อสังคมมลายูมสุ ลิม ทำให้ผหู้ ญิงกลุม่ นี้ ประสบความยากลำบากในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรม นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องการข่มขืนผู้หญิง โดยเจ้าหน้าทีร่ ฐั ได้เคยเป็นชนวนให้เกิดการประท้วง ยึ ด มั ส ยิ ด กลางจั ง หวั ด ปั ต ตานี ข องนั ก ศึ ก ษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2550 27 หน่ ว ยงานภาครั ฐ จึ ง ควรให้ ค วามสนใจและ รับผิดชอบในการให้ความคุม้ ครองผูห้ ญิง และควรให้ ความสนใจเป็นพิเศษต่อการกระทำของเจ้าหน้าทีร่ ัฐ ในเรื่องความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิงในพื้นที่ โดย ควรมีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด และไม่ เลือกปฏิบัติ 28
25
เนื้อกุรบานเป็นเนื้อที่ถูกเชือดตามหลักศาสนาอิสลาม หลังเสร็จสิ้นการประกอบพิธีฮัจญ์ เพื่อเป็นทาน และแบ่งปันแก่คนทั่วไป มุสลิมบางกลุ่มถือว่าเนื้อนี้จะไม่สามารถมอบให้แก่ผู้ซึ่งมิได้นับถือศาสนาอิสลามเพื่อรับประทานได้ แต่ในทัศนะของผู้รู้ทางศาสนาใน ประเทศไทยบางท่านก็สามารถทำได้ 26 สัมภาษณ์ ประธานกลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ จังหวัดยะลา 27 สำหรับการชุมนุมครั้งล่าสุดนี้ นายตูแวดานียา ตูแวแมแง ประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำในการ ชุมนุม ระบุว่า ต้นเหตุของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มาจากได้รับข้อมูลการสังหารชาวบ้านที่ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน โดยเชื่อว่าหนึ่งในนั้นคือหญิงสาววัย 21 ปี ถูกฆ่าข่มขืน ซึ่งเหตุการณ์นี้กลายเป็นตัวจุดประกายให้เพื่อนๆ นักศึกษามีความรู้สึกว่าอยากจะช่วยชาวบ้านเรียกร้องความเป็นธรรม 28 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ พบว่าผู้หญิงที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐข่มขืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอายุน้อยที่สุดเพียง 15 ปี 18
aw_thai.indd 18
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:47 AM
ผู้หญิงมลายูมุสลิมในฐานะมารดา หรือลูกสาว ภาพของผู้หญิงมลายูมุสลิมในครอบครัวถูกทำให้ นึกถึงบทบาทและหน้าที่ของการดูแลบุคคลในครอบครัว ไม่วา่ จะเป็นสามี หรือบุตร การทำให้สามีมคี วามพึงพอใจ การอบรมสั่งสอนบุตรให้เป็นคนดี หรือแม้แต่การดูแล เอาใจใส่บ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อยจึงถือเป็นหน้าที่ หลั ก ของผู้ ห ญิ ง มุ ส ลิ ม ในครอบครั ว ผู้ ห ญิ ง มุ ส ลิ ม ใน อุ ด มคติ จึ งต้องเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน ให้อภัย ที่ สำคัญต้องมีความอดทน อดกลั้น แต่หากมองถึงสภาพที่ เป็นจริงในปัจจุบนั ภาวะความกดดันต่างๆ ทีเ่ กิดกับผูห้ ญิง ทำให้ ผู้ ห ญิ ง ต้ อ งออกมามี บ ทบาทมากขึ้ น สามารถ สะท้ อ นปั ญ หาของตั ว เองและสั ง คมให้ เ ป็ น ที่ รั บ รู้ ใ น
วงกว้างมากขึ้น แม้การปรากฏตัวของผู้หญิงมลายูมุสลิมเหล่านี้จะ ดูขวางหูขวางตาผู้นำศาสนาหลายคน หากแต่สิ่งที่ผู้หญิง เหล่านี้ได้สะท้อนผ่านสู่สังคมภายนอก ทำให้หลายคน ต้องหยุดคิด และฟังพวกเธอมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ ครอบครัวที่สามีมักมีภรรยาหลายคน และไม่สามารถ ให้การเลี้ยงดูแก่ภรรยาและบุตรทุกคนได้อย่างเท่าเทียม กัน ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากที่มีลูกหลายคนต้องรับภาระ ในการหาเลี้ยงครอบครัวแต่เพียงลำพัง จึงเป็นสาเหตุให้ ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้อย่างเต็มที่ หรือแม้แต่การ หย่าร้างซึ่งในวิถีปฏิบัติสามารถทำได้แค่เพียงการที่สามี เอ่ยปากขอหย่า 3 ครั้ง ก็ถือว่ามีผลในการหย่าขาดตาม กฎหมายที่ปฏิบัติในสังคมมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทย เด็กผู้หญิงมลายูมุสลิมคนหนึ่งเคยพูดในเวทีการ รับฟังปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ โดยที่เธอ เป็นหนึ่งในผู้หญิงเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในเวทีสัมมนาซึ่งส่วน ใหญ่ เ ป็ น ผู้ ช าย เธอได้ พู ด ถึ ง ปั ญ หาของการมี ภ รรยา หลายคนซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน และความยาก ลำบากของผู้หญิงเมื่อขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หลังพูดจบ เธอถูกชายที่นั่งอยู่ที่นั้นกล่าวตำหนิติเตียนอย่างรุนแรงว่า
เธอกำลังปฏิเสธหลักการอิสลาม ซึ่งถือเป็น “บาป” และ จะทำให้ เ ธอต้ อ งตกศาสนา (พ้ น จากสภาพความเป็ น มุสลิม) หลังจากนั้นก็มีผู้ชายหลายคนสนับสนุนความคิด เขา โดยกล่าวว่าปัญหาเช่นนี้เป็นเรื่องภายในของสังคม มุสลิม ไม่สมควรอย่างยิ่งที่เธอจะนำมาเปิดเผยให้ผู้อื่นได้ รับรู้ การที่ผู้หญิงออกมาพูดถึงการทอดทิ้ง ความไม่รับ ผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร หรือแม้แต่การทำร้ายผู้หญิงใน ครอบครัว ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้จึงอาจถูกสังคมกล่าวหาว่า เป็นผู้หญิง “ไม่ดี” ในทัศนะของผู้เคร่งครัดทางศาสนาที่ ไม่ยอมรับการที่ผู้หญิงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ หากแต่คำ วิ พ ากษ์ เ หล่ า นี้ ย่ อ มสะท้ อ น และเป็ น คำถามที่ ถู ก ย้ อ น กลั บ ไปยั ง ผู้ น ำศาสนา นั ก เคลื่ อ นไหวชาย ต่ อ ปั ญ หา ต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งย่อมไม่เป็นการสมควรที่จะให้ผู้หญิง ต้องแบกรับไว้แต่เพียงผู้เดียวเหมือนดังที่ผ่านมาอีกต่อไป
อังคณา นีละไพจิตร | 19
aw_thai.indd 19
5/13/10 11:03:48 AM
การหารือ การสร้างเครือข่ายผูห้ ญิงในการหยิบยกประเด็น ปัญหาต่างๆ ของผู้หญิงเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เนื่องจากสังคมมุสลิมจำเป็นต้องยึดถือและปฏิบัติ แบบการมีส่วนร่วมต่อไป ตามวิถีทางของศาสนาอิสลาม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการดำเนินชีวิต จากข้อมูลของผู้หญิงพบว่าในแง่ของ ปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว จากปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงจำต้องแบกรับในการ กระบวนการตามหลักการศาสนาผู้ชายเป็นผู้ตัดสินคดี แต่ยังไม่มีผู้หญิงเข้าไปทำหน้าที่รับฟังหรือให้คำปรึกษา เลี้ ย งดู ค รอบครั ว ทำให้ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ในจั ง หวั ด หรือข้อเสนอแนะในกรณีต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับผู้หญิง ชายแดนภาคใต้ต้องออกมาหางานทำนอกบ้านมากขึ้น เอง ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งจึงมีข้อเสนอแนะว่า ในกรณีที่เป็น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษาน้อย ผู้หญิงเหล่านี้จึง ข้อขัดแย้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในครอบครัว หรือใน มักต้องทำงานหนัก เพือ่ แลกกับการอยูร่ อดของครอบครัว กรณีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเรื่องครอบครัว และมรดก หรือ ผู้ ห ญิ ง ส่ ว นใหญ่ เ ห็ น ว่ า การทำงานของผู้ ห ญิ ง ในพื้ น ที่
ในกรณีอื่นๆที่กระทบต่อสิทธิของผู้หญิง ควรมีตัวแทน ยังขาดอำนาจต่อรอง แม้งานที่ทำเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ ผู้หญิงเข้าไปร่วมรับฟังและทำข้อเสนอแนะ หรือให้ข้อคิด และเวลาในการทำงาน แต่ค่าแรงที่ได้รับกลับต่ำมาก เห็นในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่เรื่องของยุติธรรม ผู้หญิงมลายูมุสลิมจำนวนหนึ่งซึ่งรวมถึงเด็ก และ ชุมชนจนถึงระดับกระบวนการไต่สวนทางศาลของดะโต๊ะ ผู้สูงอายุ เป็นผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังต้องออกไปทำงาน ยุติธรรม นอกบ้าน เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว ใน จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เข้าร่วมประชุมใน สถานการณ์ความไม่สงบที่ผู้ชายกลัวความไม่ปลอดภัย การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในส่วนของผู้หญิง และไม่นิยมที่จะทำงานนอกบ้าน จึงถือเป็นภาระหน้าที่ ในการประชุม focus group กลุ่มผู้หญิง เพื่อการเขียน ของผู้ ห ญิ ง ซึ่ ง จำต้ อ งเป็ น หลั ก ในการดู แ ลครอบครั ว
รายงานประเทศไทยตาม กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง ผู้หญิงกลุ่มนี้ไม่สามารถเลือกที่จะทำงานที่เหนื่อยน้อย และสิ ท ธิ ท างการเมื อ ง ฉบั บ ที่ 2 ที่ อ ำเภอหาดใหญ่ และได้รับค่าตอบแทนที่ดีได้ เช่น ผู้หญิงมลายูมุสลิมที่ จังหวัดสงขลา เมื่อเดือน กรกฎาคม 2551 ผู้เข้าร่วม ทำงานที่แพปลา ปัตตานี ซึ่งต้องตื่นแต่เช้า ประมาณ
ประชุ ม มี ค วามตระหนั ก ในเรื่ อ งของการให้ ผู้ ห ญิ ง รู้ จั ก ตี 2 เพื่อออกไปทำงานโดยมีรถของเจ้าของกิจการมารับ ตระหนักถึงสิทธิของตนเองที่มีความเหมาะสมกับบริบท เธอต้องนั่งคัดแยกปลาวันละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง เพื่อ ทางวัฒนธรรม ศาสนาและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เพื่อ แลกกั บ ค่ า ตอบแทนเพี ย งเล็ ก น้ อ ย แต่ สิ่ ง ที่ เ ธอเห็ น ว่ า
เป็ น การเปิ ด พื้ น ที่ ใ นการพู ด คุ ย ถึ ง ปั ญ หาของผู้ ห ญิ ง คุ้มกับค่าเหนื่อยคือการที่เจ้าของกิจการยินดีให้พวกเธอ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ผู้ ห ญิ ง ในชุ ม ชน เช่ น ด้ า น นำปลาจำนวนหนึ่งกลับไปประกอบอาหารเลี้ยงครอบครัว เศรษฐกิจ การปฏิบัติตามหลักการศาสนาที่ถูกต้องทั้ง ได้ 29 เด็ ก ผู้ ห ญิ ง เหล่ า นี้ ไ ม่ มี โ อกาสได้ เ รี ย นหนั ง สื อ ภายในครอบครัวและชุมชน มุมมองของศาสนาอิสลาม เนื่องจากเธอมีภาระที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวซึ่งรวมถึง พ่อ ในเรื่องของครอบครัวและมรดก โดยมีการสนับสนุนจาก แม่ และน้องๆ อีกหลายคน เครื อ ข่ า ยของผู้ ห ญิ ง ในพื้ น ที่ เ ข้ า มาร่ ว มกระบวนการ
มุมมองของการใช้กฎหมายอิสลาม ในเรื่องของครอบครัวและมรดก
29
สัมภาษณ์ผู้หญิงที่ทำงานที่แพปลา ปัตตานี 20
aw_thai.indd 20
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:49 AM
รอมือละห์ แซเยะ นักศึกษาจากจังหวัดปัตตานี ได้กล่าวผ่านหนังสือ ฝนกลางไฟ : พลังชีวิต พลังใจ ห้าสิบเสียงผูห้ ญิงจากชายแดนใต้ ว่าเธอมีพนี่ อ้ งสิบคน เธอเป็นคนโตและต้องไปอาศัยอยู่กับลุงและป้าเพื่อแบ่ง เบาภาระของพ่อแม่ แม้ว่าเธอยังเรียน และยังไม่มีงาน ประจำทำแต่เธอต้องรับผิดชอบในการส่งเสียน้องสาวที่ ถั ด จากเธอ “ปิ ด เทอมเห็ น คนอื่ น กลั บ บ้ า น แต่ เ รา
ต้องทำงาน เราโหยหาวันหยุดมาโดยตลอดจนทำงาน เงินเดือนๆ แรกของเราก็ต้องนำมาเลี้ยงน้อง รู้สึกน้อยใจ โดยเฉพาะกับพ่อ ซึ่งเขาเป็นผู้นำครอบครัว ทำไมพ่อไม่ คิดวางแผนชีวิต เกิดลูกมาแล้วดูแลไม่ได้ ทำไมต้องเป็น เรานี่มารับผิดชอบเรื่องนี้แทน” 30 30
การค้ามนุษย์ แม้สังคมมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทยจะมีความเคร่งครัดทางศาสนา และต่อ ต้ า นการมี เ พศสั ม พั น ธ์ โ ดยมิ ไ ด้ แ ต่ ง งาน อย่ า งไรก็ ดี
ผู้เขียนรายงานมีโอกาสเห็นการนำผู้หญิงมลายูมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปค้าประเวณีในประเทศเพื่อน บ้าน โดยได้มีโอกาสสัมภาษณ์เด็กผู้หญิงมลายู มุ ส ลิ ม อายุ 15 และ 16 ปี 2 คนที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัด นราธิวาส โดยเธอทั้งสองคนถูกพ่อแท้ๆ ของเธอ ส่งเธอ ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีนายหน้าซึ่งเป็น คนในท้องถิ่น และมีผู้หญิงมุสลิมจากประเทศเพื่อนบ้าน
ฝนกลางไฟ : พลังชีวิต พลังใจ ห้าสิบเสียงผู้หญิงจากชายแดนใต้ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ สิงหาคม 2552
อังคณา นีละไพจิตร | 21
aw_thai.indd 21
5/13/10 11:03:50 AM
เป็นผู้มารับตัวเธอไป ทั้งนี้พ่อของเธอได้รับค่าตอบแทน เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เธอทั้งสองถูกส่งไปทำงานในสถาน บันเทิง และถูกบังคับให้ขายบริการ ต่อมาทั้งสองคนได้ ติดต่อกลับมาที่บ้านเพื่อขอให้พ่อของเธอช่วยติดต่อนำตัว พวกเธอกลับมาเนื่องจากไม่สามารถทนต่อความกดดัน ต่างๆ ได้
ปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ข้ อ มู ล จากการศึ ก ษาของดร.เมตตา กู นิ ง 31
นักวิชาการจากศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดน ใต้ (ศวชต) ซึ่งทำการสำรวจหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 611 ราย ที่ ม ารั บ บริ ก ารที่ ค ลิ นิ ก ฝากครรภ์ ใ นโรงพยาบาล
ปัตตานี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 21 พฤศจิกายน 2545 ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวที่เกิดกับผู้หญิง ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 51 ของหญิ ง ตั้ ง ครรภ์ ที่ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ถู ก กระทำความ รุนแรงในชีวติ สมรส ทีถ่ กู กระทำทางเพศอย่างเดียว ร้อยละ 5.2 ทางเพศและทางจิ ต ใจ ร้ อ ยละ 20 ทางร่ า งกาย
ร้อยละ 29.6 ซึ่งแบ่งเป็นถูกกระทำทางกายอย่ า งเบา ร้อยละ 17.5 และอย่างรุนแรง ร้อยละ 12.1 ไม่ ต่ า งจากข้ อ มู ล ของกลุ่ ม ผู้ ห ญิ ง กั บ สั น ติ ภ าพ (WE PEACE) ที่ทำงานในการให้คำปรึกษา และดูแล
ผู้ ห ญิ ง ที่ ไ ด้ รั บ ความรุ น แรงในครอบครั ว พบว่ า ในปี พ.ศ.2552 ผู้ ห ญิ ง ส่ ว นใหญ่ ที่ ไ ด้ รั บ ความรุ น แรงใน ครอบครั ว แล้ ว ไม่ ไ ด้ แ จ้ ง ความดำเนิ น คดี เนื่ อ งจากมี ความกลัว เครียด อาย ไม่อยากให้ใครรู้ หรือเมื่อผู้หญิง ไปบอกเล่ า หรื อ ปรึ ก ษาผู้ ที่ เ คารพนั บ ถื อ ก็ จ ะได้ รั บ
คำแนะนำให้อดทน อีกทั้งความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่ประสริฐ จะต้ อ งไม่ น ำเรื่ อ งไม่ ดี ข องสามี ไ ปบอกเล่ า ให้ ผู้ อื่ น ฟั ง ทำให้ ผู้ ห ญิ ง จำยอมต้ อ งทนทุ ก ข์ รายงานของ กลุ่ ม ผู้หญิงเพื่อสันติภาพ พบว่าจากการพูดคุยกับผู้หญิงที่ ถูกทำร้ายจากบุคคลในครอบครัว ผู้หญิงทุกคนบอกว่า มักถูกทุบตี ทำร้ายร่างกาย และหากนำเรื่องไปบอกใคร หรือแจ้งความ สามีก็ทำร้ายซ้ำหนักไปกว่าเดิม บางคน
ขู่ว่าหากไปเล่าให้ใครฟังก็ไม่มีใครเชื่อและถูกมองว่าเป็น ผู้หญิงไม่ดี การที่ผู้หญิงตัดสินใจไปแจ้งความดำเนินคดี จึงทำให้เธออาจถูกกระทำความรุนแรงซ้ำ ทั้งถูกทำร้าย ร่างกาย ทุบตี หรือการคุกคามในรูปแบบอื่นๆ เช่นการ ถูกต่อต้าน หรือประนามจากคนในชุมชน ความกดดัน จากความรุนแรงทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งมีปัญหาทางจิตใจ อย่างรุนแรง และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาเยียวยาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียม
31
อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 22
aw_thai.indd 22
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:51 AM
ตารางสถิติของการให้คำปรึกษา กรณีความรุนแรงต่อผู้หญิง 32 ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2552 - กันยายน 2552 จังหวัด
ความรุนแรงจากสถานการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงจากสถานการณ์อื่นๆ
รวม
1. ยะลา
63
47
31
141
2. ปัตตานี
47
23
16
86
3. นราธิวาส
42
27
24
93
4. สตูล
3
7
16
26
5. สงขลา
29
9
9
47
6. พัทลุง
-
-
3
3
รวมทั้งสิ้น
184
113
99
396
หมายเหตุ จำแนกสถานการณ์ความรุนแรงดังต่อไปนี้ 1. ความรุนแรงจากสถานการณ์ หมายถึง สามีเสียชีวิต ผู้หญิงต้องดูแลลูกคนเดียว ,พึ่งพาตนเองไม่ได้,รัฐไม่ให้การเยียวยา,หวาดกลัว เหตุการณ์จะกลับมาซ้ำ เป็นต้น 2. ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง สามีทำร้ายร่างกายและขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย,สามีไม่เลี้ยงดู,สามีมีเมียน้อย,การขอหย่า เป็นต้น 3. ความรุนแรงจากสถานการณ์อื่นๆ หมายถึง ท้องไม่พึงประสงค์และกลัวที่บ้านรับไม่ได้,ถูกข่มขืนไม่กล้าไปแจ้งความ,ถูกละเมิดโดย คนใกล้ตัว
ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ มู ล จาก จิ ต แพทย์ จ ากศู น ย์ สุขวิทยาจิต เขต 15 ซึ่งพบว่า มีคนไข้ที่เข้ามารักษา ปัญหาสุขภาพจิตเพราะต้องเผชิญกับความรุนแรงทาง เพศในคู่สมรส ความรุนแรงในครอบครัวของชาวมลายูมุสลิมใน จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โ ดยเฉพาะในกลุ่ ม คนซึ่ ง มี ก าร
ศึกษาน้อย ฐานะยากจน เป็นสิ่งซึ่งพบอยู่เสมอ ในทุก ครั้งที่มีการประชุม หรือสัมมนาของผู้หญิง ปัญหานี้มัก จะถูกหยิบยกมาพูดถึง อย่างไรก็ดียังไม่เคยปรากฏการ หาแนวทางในการยุ ติ ปั ญ หาความรุ น แรงในครอบครั ว อย่ า งจริ ง จั ง หลายครั้ ง ที่ ผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ที่ พู ด ถึ ง ปัญหานี้มักถูกมองว่าเป็นพวกไม่ยอมรับและเคารพใน หลักศาสนา 33 อีกทั้งวาทกรรมของการเป็นผู้หญิงดีๆ ที่
32
รายงานเรื่องความรุนแรงของผู้หญิง, กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ แม้กฎหมายอิสลามอนุญาตให้สามีเฆี่ยนตีภรรยาของตนได้เพื่อเป็นการดัดนิสัยโดยต้องไม่ให้เกิดบาดแผล, จะต้องไม่ให้เกิดบาดแผล ลึกถึงเนื้อ จะต้องไม่ให้กระดูกแตกหัก จะต้องไม่ตบตีที่ใบหน้า และบริเวณที่จะเป็นอันตราย ที่อนุญาตให้สามีเฆี่ยนตีภรรยาได้นี้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปได้ว่าความประพฤติของภรรยาจะดีขึ้น และค่อนข้างมั่นใจว่าภรรยาจะกลับมามีพฤติกรรมที่ดีหากสามีรู้ว่าการเฆี่ยน ตีไม่อาจทำให้ความประพฤติของภรรยาดีขึ้นได้ มีแต่จะทำให้กระด้างกระเดื่องมากยิ่งขึ้นก็ไม่ควรเฆี่ยนตี (อัล-กุรอาน : อัลนิซาอฺ : 33) ถ้าความขัดแย้งไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการ 2 คน มาจากญาติของฝ่ายหญิงและชายอย่างละ 1 คน มาทำ หน้าที่ไกล่เกลี่ย หากความผิดเกิดจากสามี ให้ภรรยาตักเตือนสามีถึงสิทธิที่ภรรยาจะได้รับ ให้ภรรยาเตือนสามีให้กลัวการลงโทษที่ละเมิดสิทธิของ ภรรยา ถ้าสามีไม่ยอมปรับปรุงตัวเองให้ดขี นึ้ ให้ภรรยานำเรือ่ งของตนขึน้ สูก่ ารพิจารณาของ “กอดี” เพือ่ ดำเนินการเรียกเอาสิทธิของตน ถ้าสามียังมีพฤติกรรมที่เลวร้ายต่อภรรยาของตน ทำร้าย หรือด่าว่าภรรยาโดยไม่มีเหตุผล ให้ภรรยาร้องต่อ “กอดี” ให้ลงโทษสามี ได้ ดู (อัลฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) อรุณ บุญชม เล่ม 4 หน้า 95-97) 33
อังคณา นีละไพจิตร | 23
aw_thai.indd 23
5/13/10 11:03:51 AM
จะต้ อ งไม่ น ำเรื่ อ งไม่ ดี ข องสามี ม าพู ด ข้ า งนอก ทำให้
ผู้หญิงเหล่านี้ไม่มีพื้นที่เพื่อที่จะบอกเล่าความทุกข์ทรมาน ของเธอต่อสังคม สำหรับผู้หญิงกลุ่มหนึ่งแล้ว บ้านซึ่ง ควรเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง กลับกลายเป็น สถานที่ที่ผู้หญิงต้องทนอยู่กับความหวาดกลัว และความ ไม่ปลอดภัย จารุ ณี เจ๊ ด าโอ๊ ะ กล่ า วถึ ง ชี วิ ต ของเธอผ่ า น หนังสือ ฝนกลางไฟ : พลังชีวิต พลังใจ ห้าสิบเสียง ผู้หญิงจากชายแดนใต้ 34 ว่า “มั น ก็ มี ค วามรุ น แรงเหมื อ นสั ง คมอื่ น นั่ น แหละ เพียงแต่มสุ ลิมเมือ่ แต่งงานแล้ว สามีจะมีสทิ ธิขาดในตัวเรา ช่องทางในการเรียกร้องของผู้หญิงจึงยากกว่าสังคมอื่น” เธอเล่าถึงการปรึกษาหารือกับผู้หญิงหลายๆ คนที่ ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ซึ่งเธอเองและเพื่อนๆ อยากให้มี การปรับปรุงกฎระเบียบบางอย่างให้มีความยุติธรรม โดย ให้สิทธิผู้หญิงเท่าเทียมกับชายมากกว่าที่เป็นอยู่ “แต่ก็อย่างว่า กฎหมายมันเป็นอย่างนี้มาแต่ไหน แต่ไรแล้ว ไม่รจู้ ะเปลีย่ นแปลงแก้ไขอย่างไร เพราะผูห้ ญิง 100 คน จำนวนมากถึง 90 คนไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ ให้ตัวเองได้ มีบ้างที่กล้าลุกขึ้นมาสู้ แต่ก็เป็นส่วนน้อย และมักเป็นผู้หญิงที่ทำงานเลี้ยงตัวเองได้ … สามีมัก ทำร้ายเราต่อหน้าลูก พอลูกเห็นความรุนแรงบ่อยๆ เขา กลายเป็นเด็กไม่ค่อยร่าเริง ไม่มีความสุข” มีงานศึกษาวิจัยด้านการศึกษาปัญหา 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ในแผนงานวิ จั ย ปั ญ หาสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี ได้ ศึ ก ษาปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ส่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรมก้ า วร้ า วของ เยาวชนไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว พบว่ า เยาวชนไทยมุ ส ลิ ม อายุ ต่ า งกั น จะมี พ ฤติ ก รรม ก้าวร้าวแตกต่างกัน โดยกลุ่มอายุมากกว่า 19 ปีขึ้นไป จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวสูงกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่า 18 ปี โดยสาเหตุ ข องความก้ า วร้ า วส่ ว นใหญ่ ม าจากความ รุนแรงในครอบครัว เห็นพ่อแม่ทะเลาะตบตีกัน ความ ห่างไกลจากศาสนา ทั้งการอบรมเลี้ยงดู ระดับความรู้ ด้านศาสนา ระดับการปฏิบัติศาสนกิจ และการเล่นเกม โดยเฉพาะกลุ่มที่เห็นพ่อแม่ทะเลาะตบตีกันเป็นประจำ พบว่า จะมีโอกาสก้าวร้าวสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยเห็นพ่อแม่
ทะเลาะกันประมาณ 1.25 เท่า 35
ปัญหาการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบ และมี ความรุนแรงมากในสังคมมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรค AIDS จาก หลักการอิสลามซึ่งห้ามการผิดประเวณี ทำให้โรคเอดส์ กลายเป็ น โรคที่ ไ ม่ มี ผู้ ใ ดยอมรั บ และกล่ า วถึ ง มากนั ก อย่างไรก็ดีอุบัติการณ์การระบาดของโรคนี้กลับรุนแรง มากขึ้น เนื่องจากการที่สังคมไม่ยอมรับจึงทำให้ผู้ป่วยไม่ กล้าที่จะเปิดเผยตัว ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์ การให้ยาต้านไวรัส และการรักษาที่ถูก ต้ อ งได้ อี ก ทั้ ง ยั ง ทำให้ มี ก ารแพร่ ข ยายของเชื้ อ ไปยั ง บุคคลในครอบครัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ขณะที่ นักการศาสนาในประเทศไทยได้ให้ทัศนะต่อเรื่องนี้ต่าง กัน ว่า
34 อ้างแล้ว 35
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11487, หน้า 5 24
aw_thai.indd 24
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:52 AM
“ไม่ มี มุ ส ลิ ม ที่ จ ะติ ด เอดส์ ถึ ง มี มั น ก็ มี น้ อ ยกว่ า
คนอื่นเขา โรคนี้เราไม่ค่อยเป็นกันหรอก มันเป็นโรคที่ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ลงโทษพวกที่ ส ำส่ อ น พวกลั ก เพศผิ ด มนุษย์” 36 “มุสลิมจะต้องมองปัญหาเอดส์ด้วยท่าทีของผู้ที่ เข้าใจและเห็นใจมากขึ้นกว่าเดิม ถ้ายังมองเอดส์ด้วย ท่ า ที ที่ ป ฏิ เ สธ สั ง คมก็ จ ะขาดองค์ ค วามรู้ ที่ ส ำคั ญ อี ก มากมาย ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้บุตรหลานและคนใน ครอบครัวมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นเอดส์ การดูแล รักษา การเอื้ออาทร การเห็นใจต่อผู้ป่วย การจัดการ เกี่ยวกับศพ การอาบน้ำศพที่ต้องทำให้ปลอดเชื้อ การ จัดการเกี่ยวกับเรื่องราวภายหลังการตายของผู้ป่วย การ ดูแลทายาทของผู้ป่วย ฯลฯ “ 37 ปั จ จุ บั น พบการแพร่ ร ะบาดของเอดส์ ใ นจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจพบ การระบาดของยาเสพติดสูงมากในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป จึงทำให้การระบาดแพร่มายังผู้หญิงมลายูมุสลิมมากขึ้น และขยายวงจากแม่ สู่ ลู ก ในเวลาต่ อ มา พบมุ ส ลิ ม ติ ด
เชื้ อ HIV และเข้ า รั บ การรั ก ษาตั ว ในโรงพยาบาลใน จังหวัดชายแดนภาคใต้เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 20 คนต่อ
โรงพยาบาล ทั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ มักติดจากการสมรสโดยที่ไม่ทราบมาก่อนว่าคู่สมรสของ ตนมีเชื้อ HIV (เอดส์) มาก่อน มีรายงานผู้หญิงหลายคน ที่ เ ป็ น คนเรี ย บร้ อ ย ติ ด เชื้ อ HIV หลั ง แต่ ง งานและ
ตั้งครรภ์ โดยมักทราบเมื่อได้ตรวจเลือดหลังการตั้งครรภ์ หรือมีกรณีผู้นำศาสนาคนหนึ่งรับสตรีหม้ายคนหนึ่งเป็น ภรรยาคนที่สอง โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเธอติดเชื้อ ทำให้ เชื้อได้แพร่ไปถึงภรรยาคนแรกด้วย น.พ.อนันตชัย ไทย
ประทาน แพทย์ ป ระจำโรงพยาบาลศู น ย์ ย ะลาและที่ ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า “ตัวเลข การเข้าถึงยาในจังหวัดยะลา พบคนได้รับยาเอดส์มี 149 คน เป็นมุสลิม 68 คน เป็นชาย 52 คน หญิง 16 คน หรือประมาณ 24% ในจำนวนนี้พบว่ามีเด็กชาย 8 คน และเด็กหญิง 12 คน และยังพบว่ากลุ่มมุสลิมที่ติดเชื้อ 95% มาจากการใช้ยาเสพติด โดยอีก 5% มาจากการ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์” 38
36
http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4071&Itemid=88 http://www.muslimthai.com/main/1428/printable.php?category=20&id=3228 38 http://www.ymat.org/local/index2.php?option=com_content&do_pdf=1&id=64 37
อังคณา นีละไพจิตร | 25
aw_thai.indd 25
5/13/10 11:03:52 AM
ในบริบทของผู้หญิงมลายูมุสลิมที่ต้องเชื่อฟังสามี จึ ง ทำให้ ผู้ ห ญิ ง เหล่ า นี้ ไ ม่ ส ามารถปฏิ เ สธการมี เ พศ สัมพันธ์กับสามีได้ แม้จะทราบว่าสามีติดเชื้อ โดยตัวเธอ เองก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อและการรับเชื้อเพิ่มเช่นกัน โดย มากผู้หญิงมลายูมุสลิมเหล่านี้จะทราบว่าตัวเองติดเชื้อก็ ต่อเมื่อเธอตั้งครรภ์และต้องไปตรวจเลือด และฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาล ในขณะเดียวกันในสังคมมลายูมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยผู้ชายมักนิยม
มีภรรยามากกว่าหนึ่งคน จึงทำให้การแพร่ขยายของโรค เอดส์ในสังคมมุสลิมยากที่จะควบคุมได้ ปัจจุบนั การแพร่ระบาดดังกล่าวขยายวงไปสูผ่ หู้ ญิง และเด็กมากขึ้น โดยไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันตัวเลขของ
ผู้ติดเชื้อที่แน่นอนได้ ทำให้การเข้าถึงการรักษาของผู้ติด เชื้ อ มี จ ำนวนน้ อ ย การรณรงค์ ป้ อ งกั น การติ ด เชื้ อ ยั ง
จำกัดอยู่ในวงแคบ เนื่องจากสังคมมุสลิมยังไม่ยอมรับ
อุบัติการณ์ของโรคนี้ อีกทั้งการมองผู้ติดเชื้อว่าเป็นผู้ที่ถูก พระผู้เป็นเจ้าลงโทษ เป็น “คนบาป” ทำให้สังคมตั้งข้อ รังเกียจ การไม่มองว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ป่วย ซึ่งต้องการ การรักษาพยาบาล ต้องการความเข้าใจ และกำลังใจ จึง เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาด ของโรคนี้ได้ จึงเป็นปัญหาที่ท้าทายบรรดาผู้รู้ และผู้นำ ศาสนาเป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หากสั ง คมมุ ส ลิ ม ยั ง มองปั ญ หา เอดส์ด้วยท่าทีที่ปฏิเสธ และตั้งข้อรังเกียจ สังคมก็จะ ขาดองค์ความรู้ที่สำคัญอีกมากมาย ตั้งแต่การป้องกันไม่ ให้ บุ ต รหลานและคนในครอบครั ว มี พ ฤติ ก รรมที่ เ สี่ ย ง
ต่อการเป็นเอดส์ การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ การจัดการ เกี่ยวกับศพ การอาบน้ำศพที่ต้องทำให้ปลอดเชื้อ หรือ การดูแลเด็กเมื่อพ่อแม่ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นต้น
สรุป
จากสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งใน สั ง คมไทยส่ ว นใหญ่ และสั ง คมมลายู มุ ส ลิ ม ในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ผู้หญิงเองก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของการ เปลี่ยนแปลงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ของผู้หญิงมลายู มุสลิมจึงอยู่ตรงกลางระหว่างสองทางเลือกทั้งฝ่ายรัฐไทย ที่ต้องการให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นทั้งใน เรื่องการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาความไม่สงบ และในฐานะที่ เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการสันติภาพ ในขณะที่อีกฝ่ายคือ ผู้นำศาสนา และขบวนการชาตินิยมมลายู ที่พยายาม ทำให้ผู้หญิงยอมรับและเชื่อมั่นว่า หน้าที่หลักของเธอยัง คงอยู่ในบ้าน เพื่อทำหน้าที่ภรรยา และแม่ที่ดี เพราะ การเคารพและเชื่อฟังสามีเป็นหนทางเดียวที่จะนำพวก เธอสู่ ส วรรค์ ในวั น นี้ ชี วิ ต ของผู้ ห ญิ ง มลายู มุ ส ลิ ม ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งจึงท้าทายต่อทั้งรัฐไทย
ซึ่ ง พยายามจั ด วางให้ เ ธออยู่ ใ นที่ ซึ่ ง รั ฐ เชื่ อ ว่ า เป็ น สิทธิ เสรีภาพ ของพวกเธอ กับการท้าทายต่อนักการศาสนาโดย การตั้ ง คำถามในการตี ค วามศาสนาที่ เ คร่ ง ครั ด และ จำกัดในบทบัญญัติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบสิทธิของผู้หญิง ในฐานะแม่ และภรรยาโดยตรง ที่สำคัญที่สุดคือการ ท้าทายต่อวาทกรรม ของการเป็น “ผู้หญิงที่ดี ผู้หญิงที่ ประเสริฐ” ในทั ศ นะการตี ค วามศาสนาอิ ส ลามอย่ า ง เคร่ ง ครั ด โดยปราศจากการผ่ อ นปรน และเข้ า ใจถึ ง สภาพความเป็นจริงในบริบทของผู้หญิงและผลกระทบ จากสังคมรอบข้างที่เธอกำลังเผชิญอยู่ วันนี้ เธอจึงต้องเลือกระหว่างการเป็นผู้หญิงดี ใน ทัศนะของนักการศาสนา หรือการเป็นผูห้ ญิงหัวดือ้ ผูห้ ญิง บาป แต่สามารถทำหน้าที่ของเธอในการดูแลปกป้ อ ง และนำพาครอบครัวและสังคมของเธอให้ก้าวไปข้างหน้า ได้ในวันที่ผู้ชายส่วนหนึ่งไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเอง ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ดังเช่นที่ปรากฏในปัจจุบัน
26
aw_thai.indd 26
บทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิม ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย 5/13/10 11:03:53 AM
ข้อเสนอแนะ
• รั ฐ สถาบั น ทางศาสนา และผู้ น ำศาสนา ควร ทางสาธารณสุ ข ได้ โ ดยง่ า ย โดยเฉพาะผู้ ห ญิ ง วั ย สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารรวมตั ว กั น ของผู้ รู้ ศ าสนาหญิ ง เจริญพันธุ์ (A’leemat) ในการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการ • ทุกภาคส่วนต้องร่วมสร้างกลไกการให้ความคุ้มครอง ตีความกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับผู้หญิงให้เกิดความ ผู้หญิงให้พ้นจากความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ เข้ า ใจร่ ว มกั น และตระหนั ก ถึ ง สิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ข อง ความรุนแรงในครอบครัว และควรมีสถานทีซ่ งึ่ ผูห้ ญิง ตนเองอย่างถูกต้องตามบริบทของวิถีชีวิตและหลัก จะสามารถพึ่งพิงได้กรณีเกิดปัญหาครอบครัว เช่น การศาสนาอิสลาม การมี บ้ า นพั ก ฉุ ก เฉิ น เพื่ อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่
• ในการตั ด สิ น คดี ค รอบครั ว และมรดก หรื อ การ ผู้หญิง หากเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย รวมถึงการมี
ตี ค วามทางศาสนา ซึ่ ง เกี่ ย วกั บ ผู้ ห ญิ ง ควรให้ มี หน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้หญิงเมื่อเกิด ตัวแทนที่ผู้หญิงให้การยอมรับเข้ามีส่วนร่วม และ ปัญหาครอบครัว สามารถทำข้ อ เสนอแนะยั ง คณะกรรมการ หรื อ • รัฐ สถาบันทางศาสนา และผู้นำศาสนา ควรให้การ ดะโต๊ะยุติธรรมได้ สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ที่ทำงาน • รั ฐ สถาบั น ทางศาสนา และผู้ น ำศาสนา ควร เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง โดยเฉพาะการให้ สนับสนุนให้ผหู้ ญิงเข้าถึงสิทธิในการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ความคุ้มครองแก่ผู้หญิงที่ทำหน้าที่นักปกป้องสิทธิ และการศึกษาต่อเนือ่ งทุกรูปแบบทีเ่ ป็นความต้องการ มนุษยชน ของผู้หญิง รวมถึงให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงบริการ อังคณา นีละไพจิตร | 27 aw_thai.indd 27
5/13/10 11:03:54 AM
เกี่ยวกับผู้เขียน
อังคณา นีละไพจิตร เกิดในครอบครัวคนชั้นกลางที่ ก รุ ง เทพมหานคร จบการศึ ก ษาระดั บ ประถม และ มัธยมศึกษา จากโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ธนบุรี และสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา จากคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยรับราชการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธาน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Working Group on Justice for Peace) ภายใต้มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน อังคณา เคยได้รับรางวัลรางวัลบุคคลเกียรติยศมูลนิธิโกมลคีมทอง, รางวัลดีเด่นผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รางวัลนักต่อสูเ้ พือ่ สิทธิมนุษยชนกวางจู จากมูลนิธิ 18 พฤษภาคม เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้, ได้รับการยกย่องจากสภาสหภาพยุโรป ในฐานะ ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน (Women Human Rights Defender), รับพระราชทานรางวัล “ผู้หญิงอิสระ” จากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธิ นัดดามาตุ ฯลฯ ผลงาน อดี ต สมาชิ ก สภาร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ 2550, กรรมาธิ ก ารยกร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ 2550, กรรมาธิ ก าร
วิสามัญศึกษา สอบสวนปัญหาความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2549 - 2550, ผู้เขียน รายงานประเทศไทยตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปี 2552 สถานการณ์สิทธิมนุษยชน จังหวัดชายแดนภาคใต้, กรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา พ.ศ.2551 - ปัจจุบัน
aw_thai.indd 28
5/13/10 11:03:54 AM