บอกอ ขอคุย
สวั สดีปีใหม่ครั บท่านผู้อ่าน อีกหนึ่งปีผ่านไปหวังว่าปีใหม่นี้ท่านผู้อ่านคงจะมีแต่ความสุข นะครั บ เดื อ นมกราคมคงเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น เปลี่ ย นแปลงของใคร หลายๆคนแต่ยังไม่มีใครรู้ว่าที่ปลายด้ามขวานจะเกิดสันติภาพเมื่อไร หวั ง ว่ า ปี ใ หม่ น้ี จ ะเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการสร้ า งสั น ติ ภ าพในสามจั ง หวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน เที่ยวเทศกาลปีใหม่ระวังอุบัติเหตุบน ท้องถนนด้วยทุกๆเทศกาลที่มีวันหยุดยาวมักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อง ถนนสูงขึ้นทุกปี ปีนี้ตัวเลขอุบัติเหตุจะสูงขึ้นหรือลดลง อยู่ที่พวกเ ราทุกคนหากเราขับรถไม่ประมาท ดื่มไม่ขับ ช่วยลดความสูญได้มาก เพื่อคนที่เรารักและที่รักเรา.
ขอให้ ท่านผู้อ่าน จงโชคดี ขอให้ ท่านผู้อ่าน มีความสุข ขอให้ ท่านผู้อ่าน จงหมดทุกข์ ขอให้ มีความเจริญ ตลอดปี
กองบรรณาธิการ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ สำนักงานปัตตานี เลขที่ 22/186 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี โทร. 073-331-254 2
working grou on justice for peace
กิจกรรม เมื่อวันที่ 23-25 กันยายน 2552 คณะทำงานยุติ ธรรมเพื่อสันติภาพได้จัดให้มีการอบรมอาสา สมัครชุมชนณ.เทพาบีชรีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 3โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารจั ด งานเพื่ อ เป็ น การ เพิ่มศักยภาพการทำงานในพื้นที่ให้แก่อาสาสมั ครของคณะทำงานฯหัวข้อในการจัดงานครั้งนี้ คื อ “ทั ก ษะการเจรจาในสถานการณ์ ค วามขั ด แย้ง” ในครั้งนี้คณะทำงานฯได้รับความร่วมมือ จากองค์กรภาคประชาชนหลายกลุ่ม สละเวลาเพื่อมาแลกเปลี่ยน และให้ข้อคิดเห็นต่อการทำง านของอาสาสมัครของคณะทำงานฯที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันแรกของการจัดงาน คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจาก คุณ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อนิ เตอร์เนชัน่ แนลแห่งประเทศไทย คุณจินตนา แก้วขาว จากกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก และคุณสีละ จะแฮ ประธานสมาคมลาหู่เพื่อการพัฒนา มาบอก เล่าเรื่องราวของการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของแต่ละชุมชน/องค์กร ซึ่งมีความแตกต่าง กันทั้งบริบทและประเด็นของการเรียกร้อง บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยอรรถ รสของการเล่าประสบการณ์ของการต่อสู้ระดับประเทศ เทคนิคในการเจรจาต่อรองการยื่นข้อ เสนอ และให้ข้อมูลต่อภาครัฐถึงผลกระทบของปัญหา ที่กลุ่มของตนประสบอยู่ รวมถึงวิธีการ ใช้กลไกกฎหมายของรัฐในบางส่วนที่ค่อนข้างเอื้อประโยชน์หรือเปิดช่องไว้สำหรับประชา -ชน ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเราไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจาก การใช้ความรุนแรง นอกจากนั้นยังได้ทราบว่าการให้กำลังใจซึ่งกันและกันภายในองค์กรก็มี ความสำคัญไม่ใช่น้อย วงแลกเปลี่ยนนี้จบลงด้วยการให้กำลังใจจาก “นักสู้ต่างถิ่น” ทั้งสาม ท่านที่มองว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้คงมีท่าว่าจะจบยาก และดูเหมือนเป็นปัญหาองค์ รวมที่หลายคนเรียกกันจนชินว่า“ปัญหาเชิงโครงสร้าง”หลังจากจบการสนทนาในวันแรก บรรยากาศในวั น ที่ ส องของการจั ด งานเริ่ ม คึ ก คั ก อี ก ครั้ ง เนื่ อ งจากในวั น แรก อาสาสมัครของคณะทำงานฯ ตื่นตาตื่นใจกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ไม่น้อย โจทย์ของวันที่สองจึง ค่อนข้างเข้มข้น โดยในวันนี้ คณะทำงานฯ ได้รับเกียรติจาก คุณภพธรรม สุนันธรรม เจ้าหน้าที่ จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กมส.) มาให้ความรู้กับอาสาสมัครในหัว ข้อ “การเก็บและบันทึกข้อเท็จจริง ในสถานการณ์ความขัดแย้ง” โดยในขั้นแรกได้จัดให้มีการ บรรยายภาพรวมของรายละเอียดการเก็บข้อมูล โดยคุณภพธรรมได้ถ่ายทอดเทคนิคการเก็บข้อ มูลอย่างรอบด้าน และเน้นข้อมูลที่ละเอียด เป็นจริงตรงไปตรงมา 3
หลังจากนั้นก็ได้จัดให้มีการจำลองสถานการณ์สมมุติ ให้อาสาสมัครที่เข้าอบรมไปเก็บข้อมูล ข้อเท็จจริง โดยทุกคนจะได้โจทย์ว่าให้ไปเก็บข้อมูลเรื่องใดมาจากผู้ได้รับผลกระทบ (ซึ่งแสด งโดยทีมงานของคณะทำงานฯเอง) ท้ายสุดของวันที่สองก็จะเป็นการ นำข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้ เก็บกันมานำเสนอให้กับวิทยากร และเพื่อนๆ เพื่อให้ คุณภพธรรม สุนันธรรม และคุณอังคณา นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มาร่วมกันวิจารณ์การเก็บข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลส่วนที่ ขาดหายไป ให้ข้อมูลที่ได้รับมาจากสถานการณ์จำลอง มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย โดยภาพ รวมแล้วถือว่าอาสาสมัครฯสามารถเก็บข้อมูลในเบื้องต้นได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังคงขาดในเรื่อง ของเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่อาสาสมัครฯต้องเรียนรู้ต่อไป
ศูนย์พิทักษ์สันติ จ.ยะลา ในวันสุดท้ายของงานอบรมซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของงานครั้งนี้คือ ทางคณะทำงานฯ ได้ รับความร่วมมือจากองค์กรฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่เปิดค่ายทหารและตำรวจให้ทางคณะทำ งานฯและอาสาสมัคร ได้มีโอกาศเข้าพบปะ เพื่อรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐในพื้น ที่ ในช่วงเช้าคณะทำงานฯได้เดินทางเพื่อเข้ารับฟังแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ณ. ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี โดยมีท่าน พล.ตประสงค์ กล้าผจญ เลขาธิการศูนย์สันติสุข กอ.รอมน. ภาคสี่ส่วนหน้า และคณะให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปถึง ขอบข่ายการทำงาน ของทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวทาง และตอบข้อสงสัยให้กับอาสาสมัครของ คณะทำงานฯ เช่น มุมมองที่สะท้อนมาจากชาวบ้านในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัต ิ การ แนะนำการทำงานของอาสาสมัครเอง รวมทั้งพยายามทำความเข้าใจบทบาทการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้ ง นี้ เ จ้ า หน้ า ที่ ไ ด้ พ าคณะของเราไปเยี่ ย มสถานที่ ค วบคุ ม ตั ว ผู้ ต้ อ งสงสั ย ที่ศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายอิงคยุทธฯ ซึ่งคณะฯได้มีโอกาสตรวจ 4
สอบดูรายละเอียดต่างๆของเจ้าหน้าที่รวมทั้งได้คำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ต่อข้อสงสัยต่างๆของ อาสาสมัครหลังจากนั้นในช่วงบ่าย คณะทำงานและทีมงานอาสาสมัครฯได้เดินทางไปยัง ศูนย์ บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา โดยมีท่าน พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รองผู้บัญชาการ และคณะให้การต้อนรับ และบรรยายถึง หน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจใน สถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้ ซักถามข้อสงสัยต่างๆซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อย่างดีพร้อมกันนี้ทางคณะทำงานฯ ได้รับเกียรติจาก ท่านพล.ต.ต สมควร คัมภีระ เปิดโอกาศให้อาสาสมัครคณะทำงานฯ เข้าเยี่ยม ชมสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามพรก. ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ หรือ ศูนย์พิทักษ์สันติ ซึ่งทาง ศูนย์บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ บอกว่าเป็นสถานที่ควบ คุมตัวที่ได้มาตรฐานแห่งหนึ่ง และ ได้พาคณะทำงานฯ และอาสาสมัครฯ เดินสำรวจทั้งภายใน และภายนอกของสถานที่ ดั ง กล่ า วอย่ า งละเอี ย ดพร้ อ มเปิ ด ให้ มี ก ารซั ก ถามถึ ง ขั้ น ตอนและ กระบวนการในการควบคุมตัวซึ่งก็มีอาสาสมัครฯ หลายคนตั้งคำถามถึงระเบียบปฏิบัติของผู้ที่ ถูกควบคุมตัว ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไรระหว่างถูกควบคุมตัว รวมถึงประเด็นเรื่องของอาหาร สำหรับผู้ถูกควบคุมว่าถูกต้องตามหลักการศาสนาหรือไม่ ทางคณะทำงานฯ ต้องขอขอบพระ คุณหน่วยงานราชการที่อำนวยความสะดวกในการเข้าเยี่ยมมาไว้ ณ.ที่นี่ด้วย
หากต้ อ งการข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ โครงการอาสาสมั ค รชุ ม ชนของคณะทำงานฯ สามารถติดต่อได้ที่ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ สำนักงานปัตตานี เลขที่ 22/186 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี โทร. 073-331-254 5
ลูกนาย ก.
กองทัพ ประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคง ใน ๔ อำเภอของสงขลา เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ตัดสินได้ยกเลิกพระราชกำหนดบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาคือ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพาและอำเภอสะเดา เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว. แต่ได้ประกาศพระราชบัญญัต ิ ความมั่นคงแทนเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกฏหมายฉบับนี้ได้มีการประกาศใช้มาหลายรอบในเมืองหลวงของประเทศเพื่อป้องกัน เหตุรุนแรงของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งในรอบปีท่ผ่านมากฎหมาย ฉบับนี้ที่เรียกสั้นๆว่า พรบ.ความมั่นคงกลายเป็นอาวุธประจำกายของรองนายกฯด้านความมั่น คง ในการป้องกันการชุมนุมของคนเสื้องแดง ซึ่งได้ประกาศเป็นห่วงเวลาการชุมนุมประท้วง หรือช่วงที่มีการประชุมผู้นำรหว่างประเทศเท่านั้น. ในที่นี้ข้อกล่าวถึงเฉพาะ หมวดที่๒ (ภารกิจรักษาความมั่นคงภายในราชอณาจักร) เท่านั้น ซึ่งเป็นมาตราที่ ๑๕ - ๒๓ มาตรา ๑๕ ในกรณีปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจ หน้ า ที่ ห รื อ ควมรั บ ผิ ด ชอบในการแก้ ไ ขปั ญ หาของหน่ ว ยงานของรั ฐ หลายหน่ ว ย คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอณาจักรนั้น ภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป กรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินแก้ไขได้ตามอำนาจ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ ให้นายกรัฐนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทน ราษ ฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว มาตรา ๑๖ ในการดำเนินการที่ได้รับหมอบหมายตามมาตรา ๑๕ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อ ความมั่นคงภสยในราชอณาจักรตาที่ได้รับหมอบหมายตามมาตราที่ ๑๕ (๒) จัดทำแผนการดำเนินการตาม(๑) เสนอต่อกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ (๓) กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยงข้องให้ดำ เนินการหรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๒) (๔) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอณา จักร หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด 6
ในการจัดทำแผนตาม(๒)ให้ กอ.รมน. ประชุมหารือกับสำนักสภาความมั่นคงแห่ง ชาติและหน่วยของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย และในการนี้ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุในแต่ละสถานการ ณ์ที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้น ในกรณีที่มีคำสั่งตาม (๔)แล้วให้ กอ.รมน. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้น ไปราบงานตัวยังหน่วยงานของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมดัวยเหตุผล และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึง่ ได้รบั คำสัง่ ให้ออกจากพืน้ ทีน่ น้ั ไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐทีต่ นสังกัดโดยเร็ว ในการนี้ ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสังให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามอำนาจหรือหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจหรือหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบ ของหน่วยงานรัฐใดให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในกอ.รมน. เป็นเจ้า พนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนหรือ มีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วย มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบ ต่อความม่ันคงภายในราชอณาจักรให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา ๑๖ ในเขตพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่งให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการ หรื อ หน่ ว ยงานที่ เ รี ย กชื่ ออย่างอื่นเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่ ง อย่ า งใดหรื อ หลายอย่ า งเป็ น การเฉพาะก็ได้ โครงสร้าง อัตรากำลัง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามหรือบังคับ บัญชาศูนย์อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนด โดยระกาศในราชกิจจานุ เบกษาและให้นำความมาตรา ๙ มาบังคับใช้กับศูนย์หรือหน่วยงานตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอน ุโลม โดยให้อำนาจของผูอ้ ำนวยการเป็นอำนาจของผูอ้ ำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงานนัน้ั มาตราที่ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือ บรรเทาเหตุการณ์ภายในื้นที่ตามมาตรา ๑๕ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมน ตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑)ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึง อย่างใด (๒ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัต ิ การ เว้นแต่ได้รับอนุญาติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น 7
(๓)ห้ามออกจานอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด (๔)ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน (๕)ห้ามการใช้เส้นทางคม (๖)ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรื ออุ ป กรณื อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ พื่ อ ป้ อ งกั น อั น ตรายที่ จ ะเกิ ด แก่ ชี วิ ต ร่ า งกายหรื อ ทรั พ ย์ สิ น ของ ประชาชน ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดเกณฑ์ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยก็ ได้ ทั้งนี้ การกำหนดดังกล่าวต้องไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรเหตุ มาตรา๑๙ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าทีต่ ามมาตรา๑๖(๑)ให้ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่และร่วมเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวล ฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๐ ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน.ตามมาตรา ๑๖(๑)ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยค่าเสียหายคามควรแก่กรณีตาม หลักเกณฑ์และเงื่อไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๑ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีให้ กอ.รมน. ดำเนินการตามมาตรา ๑๕ ห ากปรากฏว่าผู้ใดต้องหาว่าได้กระทำผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอณาจักรตาม ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกรณีที่พนักงานส อบสวได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฎว่าผู้นั้นกลับได้กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ ถึงการณ์และการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นได้กลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายใ นราชอณาจักร ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนของผู้ต้องหานั้น พร้อม ทั้งความเห็นของนักงานสอบสวนให้ผู้อำนวยการ ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวน พร้อมความเห็นของผู้อำนวยการให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล หากเห็นสมควรศาล อาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการเพื่อเข้ารับการอบรม ณ.สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่ เกินหกเดือนและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดด้วย การดำเนินการตามวรรคสอง ให้ศาลสั่งได้ต่อเมื่อผู้ต้องหานั้นยินยอมเข้ารับการ อบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคีอาญามาฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นอันระงับไป มาตรา ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ 8
พนักงานเจ้าหน้าที่ตมวรรคหนึ่งผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสีย อวัยวะอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมาย กำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๓ บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตาหมวดนี้ไม่อยู่ในบัง คับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัตราชการปกครอง การดำเนินคดีใดๆอันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหม วดนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตราการหรื อวิธีการชั่วคราวก่อพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิะีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมา ยวิะีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้ อกำหนด ประกาศหรือคำสั่ง หรือการกระทำนั้น าเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงาน หรือแสดงหตุ ผลเพื่อประกอบการพิจารณาส่ังใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย การประกาศใช้กฎหมายฉบับนีอ้ ำนาจหน้าทีใ่ นการตรวจค้น ตรวจยึดหรือควบคุมตัวยัง คงเหมือนกับกฎหมายพรก.ฉุกเฉินและกฎอัยการศึก แต่มขี อ้ แตกต่างทีม่ กี ารเปิดช่องทางให้กบั ผู้ ก่ อ ความไม่ ส งบที่ต้อ งการกลั บ ตั ว กลั บ ใจร่ ว มพั ฒ นาชาติ ไ ทยให้ เ ข้ า กลั บ สู่ สัง คมโดยผ่ า น กระบวนการพิจารณาจากศาลเพื่อส่งตัวให้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในการ แก้ไขปัญหาความไม่สงบด้วยแนวทางสันติิวิธีเพื่อแสดงให้เห็นว่าทางรัฐบาลพร้อมที่จะให้อภัย ให้กับผู้ที่หลงผิดหรือกระทำการใดๆด้วยความรู้เท่าไม่ถึ่งการณ์ แต่การที่ผู้ที่หลงผิดจะยอมมอบตัวนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องให้ความมั่นใจและ ต้องชี้แจงกระบวนการต่างๆรวมถึงระยะเวลาการพิจารณาในการรับมอบตัวให้ชัดเจน มิเช่น นั้นแล้วจะทำให้ผู้ที่หลงผิดไม่มั่นใจในความปลอดภัยและไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการอภัยโทษ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทางเจ้าหน้าที่จะต้องทำการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ญาติๆและประชาชน ในพื้นที่ให้รับทราบข้อกฎหมายเหล่านี้ เพื่อสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในสามจังหวัดชายแดน ภาคด้วยแนวทางการเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง
9
เสวนา สาธารณธะ เสวนาความคิด พื้นที่ของคนธรรมดา
ศุกร์เสวนา
ศุกร์เสวนา ครั้งที่ 3 เรื่อง สัญญาหน้าฝน..นครปัตตานี ณ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ วันที่ 20 พฤศจิกายน 52 คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เปิดประเด็นโดย ผศ.ชิดชนก ราฮิมมูลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต ้ (Deep South watch) อับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุว มุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)
อ.ชิดชนก ในช่วงปี๔๗ ชวลิตได้เสนอนโยบายดอกไม้หลากสี ให้นายกทักษิณแต่ไม่ได้รบั การ ตอบสนองจากรัฐบาล ในปี๔๘ พรรคประชาธิปตั ย์ได้เสนอคำประกาศปัตตานีแก่นายกทักษิณ ตามคำเชิญของนายกทักษิณทีแ่ สดงความเป็นใจกว้างในการแก้ปญ ั หาภาคใต้ จนสนธิบณ ุ ยรัตกลิน่ ได้ทำการปฏิวตั ิ ซึง่ มุง่ เน้นสลายแกนนำตามแผนแยกปลาออกจากน้ำ และมีการลงโทษเจ้าหน้าที่ ทีก่ ระทำผิดอย่างเคร่งครัด มาถึงรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ใช้นโยบายสมานฉันท์ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ได้ให้ความสำคัญกับการเมืองส่วนกลางทำให้เงินลงมาใน พืน้ ทีม่ าก ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมากทีส่ ดุ เกิดการคอรัปชัน่ ทุกรูปแบบ เมือ่ ประชาธิปตั ย์ได้ เป็นรัฐบาลกลับไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้เพราะมีการแบ่งขั้วกันเองภายในพรรคและได้ ให้ความสำคัญกับทหารมากกว่าทำให้การจัดตัง้ สบ.ชต.ต้องเลือนออกไป มูฮำหมัดอายุบ ระบบการกระจายอำนาจที่ผ่านมาเราจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามีปัญหาตรงไหนที่ เราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหากต้องการบริหารแบบใหม่ต้องอธิบายว่าแบบเก่ายังไม่ต้อง สนองท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรมอย่างไร? ความเห็นเหล่นี้เราจะต้องให้ชาวบ้านเป็นคนพูด ดังนั้นเราจะต้องเตรียมงานความรู้ งานความเห็นและงานความพร้อม ในการผลิตชุดความคิด ของคนในพื้นที่ในการตอบคำถามของคนในพื้นที่ ไม่ใช่ความเห็นของคนนอกพื้นที่ นโยบายนี้โดนใจคนมลายูทั้งๆที่เนื้อหาสาระเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ การนำศาสนาอยู ่ 10
เสวนา สาธารณธะ เสวนาความคิด พื้นที่ของคนธรรมดา
ภายใต้โครงสร้างใหม่ พืน้ ทีท่ างศาสนาควรไปเกาะตรงไหน และหากมีโครงสร้างใหม่จะสามรถ ตอบโจทย์ ยุติความรุนแรงได้ไหม? ควรจะมีการศึกษาโมเดลให้ดี ไม่ใช่นำโมเดลแบบสำเร็จรูป ทุกพรรคการเมืองเสนอนโมเดลมาหมด เป็นการนำเสนอแบบระบบคิดจากภาครัฐแต่ไม่ใช่ จากชาวบ้าน รัฐมีแนวคิดแบบจักรวรรดินิยม ในการสร้างระบบการกระจายอำนาจบนพื้นฐาน จากปัญญาไม่ใช่จากความเห็นที่จะอธิบายให้คนภายนอกได้เข้าใจ อับดุลอาซิส หกปีท่ีผ่านรัฐบาลได้ใช้ยาทุกแขนงและเรารู้แล้วว่าการใช้กำลังมันไม่ได้ผลใช้ง บ ประมาณมหาศาลให้เรียนฟรีทง้ั ในประเทศ ต่างประเทศให้อะไรต่อมิอะไร ทหารก็มาทีน่ ม้ี เี บีย้ เสีย่ งภัยข้าราชการก็ได้ ตรงนีค้ อื ปัญหาทีจ่ ะต้องมาคำนวณต้นทุนของรัฐบาลในแง่เศรษฐกิจในแง่ เศรษฐศาสตร์ แต่ในแง่ความมั่นคง ในแง่ความต้องการในแง่ของการกระจายอำนาจ ที่อยากจะ พูดคือความจริงใจของรัฐบาล จากรัฐบาลไทยรักไทยทักษิณชินวัตร มาประชาธิปัติย์ตอนเป็น ฝ่ายค้านท่านอยากจัดตั้งร่างปัตตานี ปฏิญาณปัตตานีสวยงามมาก ตอนนั้นกำลังหาเสียงผม อ่านอยู่ผมยังเก็บไว้อย่างดีอยู่เอามาอ่านทวนอีกครั้งได้ไหมให้รัฐบาลฟังอีกครั้งได้ไหมนี่คุณ สัญญาประคมกับชาวบ้านว่าอย่างนี้ คุณทำกี่ข้อ ผมถามว่าตอนที่ชาวบ้านถูกจับไม่ว่าจะคดี กรือเซะ ตากใบ สส.เหล่านี้เข้ามาดูบ้างไหม ไม่มีครับ นี่พูดจริงๆ นี่พูดฟังธงเลยว่าไม่มีเลยครับ มี เมื่อตอนท่านชวนเรียกสส.ภาคใต้ประชุมกับท่านเจะอามิง โต๊ะตาหยงเป็นกรรมธิการความ มั่นคงภาคใต้ ก็โอเค ในแง่ทางการ เป็นกรรมาธิการภาคใต้ดูแล แต่เพราะว่ากลัวกระแสของ ชวลิตจะฟีเวอร์เกินไปก็เลยมาตั้ง คณะทำงานโดยไม่ใช่จากรัฐบาลแต่เป็นจากในพรรคเอง เพราะว่าถ้ากระแสนีช้ าวบ้านตอบรับ นักวิชาการตอบรับ ประคมตอบรับประชาธิปัตย์จะตกบัน ไดเลย รัฐบาลจะต้องแสดงความกล้าหาญ แค่ชวลิตออกมาพูดคำเดียวนีส่ ุเทพตั้งรับแบบมวย วัดตัง้ รับไม่ถกู เลยนะ ชวลิตยังไม่ขยายความว่าตัง้ นครปัตตานีแบบไหนสุเทพออกมาพูดเลยว่านี่ เพ้อเจ้อ อัลไซเมอร์ ใช่ไหมครับ คือตั้งรับแบบไม่วิชาการอะไรเลย ตรงนี้คือขอบกพร่องของ รัฐบาลแล้วก็การเมืองประเทศไทยเราก็รวู้ า่ ไปยุง่ เสือ้ เหลืองเสือ้ แดง ไปยุ่งกับการเมืองที่กรุงเทพ งบประมาณมหาศาลทุ่มไป กระบวนการยุติธรรมภาคใต้ ตากใบนี่ตายไปเจ็ดแปดสิบไม่มีคุณ ค่า ชีวิตคนหนึ่งตายเหมือนผักปลา เสื้อเหลืองตายสองคนเสื้อแดงตายสองคนที่กรุงเทพ ผบ. ตร ถูกปลด นี้มันอะไรกัน แล้วจะคิดยังไงไม่ให้ชาวบ้านคิดที่ผ่านมาไม่ได้ผลมัน ต้องใช้วิธีใหม่ วิธีใหม่ก็คือตอนนี้ ภาคประชาชนของเรา ๒๔ องค์กร ก็มานั่งคิดว่าเชิญอาจารย์ จากจุฬา ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่ไปดูงานตางประเทศที่ เสียงบประมาณของพวกเราเป็นล้านๆมานั่ง เขียนงานวิชาการส่งให้อ่าน เอาข้อสรุปเหล่านั้นมาดูจากสวีเดน นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ไปดูว่าโมเดลเหลานั้นมาประยุกต์ มาดัดแปลงมาใช้ในบ้านเราได้ไหม 11
เสวนา สาธารณธะ เสวนาความคิด พื้นที่ของคนธรรมดา
ในขณะทีป่ ญ ั หาอีกอย่างทีผ่ มมองหนึง่ คือ การกระจายอำนาจไม่ใช่เฉพาะภาคใต้ทั่ว ประเทศ เขาเรียกว่าการกระจายอำนาจลวง อบต.อบจ นี้อำนาจไม่ Full option ส่งปลัดผู้ว่า มาคุมอีกงบประมาณได้นิดเดียว การกระจายอำนาจคือหัวใจของประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของประเทศไทยนี้เลือกตั้งเสร็จแล้วก็จบ ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งมันมีหลายรูป แบบ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ฉะนั้นในอนาคตจะมีประชุมเกี่ยวกับนครปัตตานี อาเจะห์เขายังไงถึงสำเสร็จ ปัญหาปัจจุบันอยู่ตรงไหน เมื่อเรามองภาพรวมมันมีปัญหาสะสมมาตลอดหลังการปฏิวัติกฎหมายตกอยู่ภายใต้ กฎหมายความมั่นคงๆ ของใคร ความมั่นคงของรัฐบาล ไม่ใช่ความมั่นคงของประชาชน ภาคใต้ เป็นเหยื่อของกฎหมายความมั่นคง หากเราวิเคราะห์ภายใต้ความเป็นธรรม รัฐบาลต้องกล้าหาญ ยอมรั บ เลยในปั จ จุ บั น นอกจากที่ จ ะต้ อ งให้ ป ระชาชนปกครองตนเองภายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ภายหลังชวลิตเสนอแนวคิดนครปัตตานีถูกต่อต้านอย่างหนักภายใต้ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้อย่างไร ประชาธิปไตยในปัจจุบนั เป็นกับดัก เลือกตัง้ ไปแล้วเสร็จและนโยบายก็ติดอยู่กับนโยบายพรรค จริงแล้วมันไม่ใช่ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม โดยการทำประชามติถามความเห็นของ ประชาชนในพื้นที่โดยก่อนที่จะทำประชามติต้องให้ประชาชนมีความรู้ก่อน อ.ชิดชนก ในฐานะนักวิชาการที่ไม่ใช่มลายู ท่านต้องหาผู้นำของท่านที่จะออกมาต่อสู้ ชนชั้น นำของท่านทำไมไม่ออกมาต่อสู้เพื่อชนชาติมลายู ท่านหาเจอหรือยัง? ทำไมชนชั้นนำไม่ทำ งานเพื่อคนมลายู ทำไมท่านยังเลือกผู้นำที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง อีกประการ เสียงของประชาชนอยู่ตรงไหน ตายพอหรือยัง? ถูกจับพอหรือยัง ทำไมประชาชนไม่ออกมาต่อ มาเรียกร้อง การเรียกร้องต้องให้ทุกองค์กรจะต้องแสดงจุดยืนร่วมกัน ทุกเวทีภาคประชาชนจะ ออกมาเรียกร้อง รัฐแต่ทุกคนมีผลประโยชน์เราต้องยอมรับบาดแผลของเราก่อน เราต้องการผู้ นำที่เป็นนักต่อสู่ที่ไม่มีผลประโยชน์จึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้นำมุสลิมมีหลายคนมีบทบาท ในองค์กรของรัฐทำไมไม่คัดค้าน นักศึกษาภาคใต้ที่จบไปแล้ว พลังปัญญาชนเหล่านี้อยู่ที่ไหน ไม่มีรัฐที่ไหนที่จะชนะเสียงของประชาชน การรวมตัวของท่านต้องมียุทธศาสตร์ร่วมในการ เดิน มูฮำหมัดอายุบ : ประเด็นนี้เป็นปกติ เมื่อใดที่ยังมีความอ่อนแอทางความคิด ความรู้ ความพร้อม นี้เป็นการวิพากษ์มลายูนี้ก็ยอมรับ เราต้องวิพากษ์ตัวเราเองด้วย ในรูปแบบการ กระจายอำนาจสู่ประชาชน การปฏิรูป ภาครัฐต้องปฏิรูปควบคู่ไหม อ.ชิดชนก:รัฐต้องปฏิรปู ด้วยแต่มนั ช้า การต่อสูต่ า่ งๆในทัว่ โลกมาจากการต้อสูก้ ว่าจะมี การเปลี่ยนแปลง 12
13
เสวนา สาธารณธะ เสวนาความคิด พื้นที่ของคนธรรมดา
มูฮำหมัดอายุบ: นั้นแสดงว่าภาคประชาชนกับภาครัฐจะต้องเดินควบคู่กัน อ.ชิดชนก: มีองค์กรอิสระ ในพื้นที่เยอะมาก ทำไมไม่ออกมาเดินร่วมกัน มูฮำหมัดอายุบ: ณ.วันนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่นกลุ่มเยียวเริ่มพูดถึงยุทธศาสตร์ ของตังเอง ประเด็นที่สำคัญหากเรายังไม่เข็มแข็งเป็นเรื่องอยากที่จะต่อรองทุกวันนี้องค์กรข้าง นอกอยากจะช่วยให้องค์เราเข็มแข็ง อ.ชิดชนก: ทุกกลุ่มต้องเห็นว่าต้องมีประเด็นร่วมว่านครปัตตานีทุกกลุ่มยอมรับ ถ้า ทุกคนเห็นว่าเป็นประเด็นนำร่องที่จะเดินยุทธศาสตร์ร่วมกัน จะได้มีอะไรมายึดโยงกัน มูฮำหมัดอายุบ: เดียวนี้เริ่มเห็นจาก๒๔ องค์กร แต่หลักของเขาคือการให้ความรู้เพื่อ ไม่เกิดความเข้าใจผิดต่อภาครัฐ ให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจว่าการะจายอำนาจภายใต้รัฐ ไทย สามรถทำได้ อับดุลอาซิส: ที่ อ.มองยอมรับว่าเป็นความจริงเราถามว่าทำไม ๑๐ปีที่ผ่านก็เลือก คนเดิมเป็นผู้นำ(สส.) เราต้องมองที่ระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา มันไม่เปลี่ยนแปลงตรงนี ้ การเขียนรัฐธรรมนูญตรงนี้ถูกล็อคเสป็คมาแล้ว เราถามว่าทำไมไม่มีการรวมกลุ่มในช่วง ๔-๕ ปีที่นี้เกิดภาวะความหวาดกลัว และเดียวนี้คนใต้ก็รับเงินแล้วนะสมัยก่อนนี้คนใต้อุการณ์นี้เข้ม ข้น(ไม่ขายเสียง) นี้คือระบบการปกครองต้องแก้ตรงนี้ แม้แต่โต๊ะครูไม่เห็นด้วยกับการกระจ ายอำนาจเพราะว่าถ้าปกครองกันเองจะเอาเงินมาจากไหนในการบริหารจัดการ การศึกษาในปั จจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนการศึกษาเป็นธุรกิจหมดแล้วมีค่าหัวค่านู้น ค่านี้ และโต๊ะครูต้องเกาะการเมือง .เราพยายามให้ความรู้กับประชาชนเป็นกลุ่มน้อยๆ มูฮำหมัดอายุบ: เราในฐานะปัญญาชนเวลาเรามองการวิพากษ์เราต้องมองทางออก เราต้องหาประเด็น เราจะทำยังไงที่จะหนุนเสริม ให้เข้มแข็งอันนี้เป็นหลัก เราจะหนุนเสริม เราจะรับตัวเองว่าเราอ่อนแอ ไม่ใช่จะมองมองว่ามันไม่มีทางออก ตอนนี้ ๕ ปีมานี้มันน่าเบื่อ ย่ำอยูก่ บั ที ่ มนั ไม่ผา่ นประเด็นทีม่ นั ไม่ผา่ นมีอยูส่ องอย่างหนึง่ คือเราเองอ่อนแอรัฐก็ไม่ยอมเปลี่ยน เมื่อเราอ่อนแอเราก็ต่อรองอะไรไม่ได้เพราะรัฐมันแข็ง อีกอย่างคือในสังคมมุสลิมเองงานวิชา ที่จะตอบโต้เรื่องนี้ยังมีน้อยที่จะบอกว่าควรเป็นอย่างนี้ๆ ผมว่ามีเงือนไขสงครามในพื้นที่อยู ่ สองอย่างถ้าไม่มีการอธิบายให้มันชัดว่ามันจะเป็นเงือนไขไปตลอดอันหนึ่งก็คือการกระจาย อำนาจ ถ้ามันไม่ลงตัวมันจะเกิดปัญหายังนี้ไปตลอด อันที่สอง อันนี้ผมว่าสำคัญใครจะปฏิเสธ ว่าอะไรก็ช่างว่าเงื่อนไขทางศาสนา ก็เป็นประเด็นในพื้นที่ ฉะนั้นจะต้องอธิบายว่าคุณมีสิทธิ จริงๆนะคุณทำได้จริงๆสองอย่างนี้ต้องอาศัยนักการด้านรัฐศาสตร์วิชาการด้านศาสนามาผสม กัน คำถามจากผู้เข้าร่วม: ผมตั้งข้อสังเกตอุดมการณ์ที่แตกต่าง เราจะขับเคลื่อนอย่างไร ให้ มั น เดิ น ในทิ ศ ทางเดี ย วกั น อี ก อย่ า งความเป็ น ในโลกสมั ย ใหม่ ที่ ค นมลายู ต้ อ งการนคร
เสวนา สาธารณธะ เสวนาความคิด พื้นที่ของคนธรรมดา
ปัตตานี คนมลายูยอมรับความเป็นโลกสมัยใหม่ ในการปกครองได้มากน้อยแค่ไหน เช่นเสียง ของคนไทยพุทธเป็นอย่างไร ผมว่าเขาคิดต่าง เมือ่ เป็นนครปัตตานีตอ้ งมีถกู ใช้ กฎหมายซารีอะห์ ผมว่าคนที่ผลักดันเรื่องนี้จะต้องตอบโจทย์เรื่องนี้อย่างไร อับดุลอาซิส: เราก็มกี ารคุยกันนะ พอชวลิต โยนไฟนครปัตตานีคนทั้งประเทศก็รับไม่ ได้ หากใช้กฎหมายซารีอะห์ต้องถูกต่อต้านอย่างหนัก ตรงนี้เตอบโจทย์แล้วว่าการกระจาย อำนาจ กฎหมายอิสลามบังคับใช้มานานแต่มีการใช้เฉพาะกฎหมายครอบครัว ผมว่าคนพุทธ ภายใต้การปกครองของมุสลิมน่าจะเกิดสันติสุข เรามาร่วมมือกันคนพุทธกันคนมุสลิมร่วม สร้างแผ่นดินธรรมเป็นดินทองผมว่าเราน่าจะมีความสุข มูฮำหมัดอายุบ: เวลาเราดูการเมืองการปกครองเราจะต้องดูทั้งระบบดูทั้งโครงสร้างไ ม่ใช่ว่าเราดูคนสองนี้มันไม่ได้เรื่อง อับดุลอาซิส: คือตอนนี้การต่อสู้ยึดโดยขบวนการ ที่ต้องการรัฐอิสลาม ชาวบ้านจริงเ ข้าต้องเพราะชาวบ้านอยู่ระหว่างเขาควายฝั่งหนึ่งเป็นขบวนการอีกฝั่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ดำเนินรายการ:ไม่ใช่ว่าเวทีวันนี้จะเป็นวันที่มีคำตอบแบบเบ็ดเสร็จผมคิดว่าสิ่งที่ สำคัญก็คือ ความอดกลั้นต่อความเห็นต่างของคนที่คิดต่างจากเรา ไม่ใช่ว่าความเห็นของเรา ชนะคนอื่นอย่างเบ็ดเสร็จ สิ่งเหล่านี้เราจะอดกลั้นจะได้ไหม? คำถามสำคัญๆสำหรับข้อสงสัย ต่างๆในการเสวนาครั้งนี้ คำตอบวันนี้ก็ยังไม่เบ็ดเสร็จ ยังไม่สมบูรณ์ แน่นอนก็สงสัยก็ต้อง เกิดขึ้นเรื่อยๆการสลายพรมแดนก็ต้องถูกตั้งคำถามสิ่งที่พูดถึงGlobalizationsต้องถูกตั้งคำถาม เหมือนกัน ผมคิดว่าวันนี้เราก็ได้ร่วมใช้พื้นที่สาธารณะของคนธรรมดาหรือของคนในพื้นที่ใน ทิศทางของการให้สติกับสังคมไทยหรือสังคมมลายูเองต่อเรื่องต่างๆ อย่างไรก็ตามในสังคม สมัยใหม่การมีความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติ ความขัดแย้งในวันนี้เป็นเรื่องปกติ สิ่งที่เราต้องช่วย ยับยั้งคือความรุนแรง ในวันนี้โจทย์ของเราร่วมกันก็คือจะต้องทำอย่างไรเพื่อหาทางออกให้มี ความรุนแรงน้อยลงเท่าที่เราสามารถจะทำได้ อย่างน้อยพื้นที่สาธารณะอย่างนี้ก็สำคัญอย่างยิ่ง ในการจะช่วยกัยขบคิดโจทย์ที่สำคัญของสังคมในวันนี้.... จบ.
14
สัพเพเหระ
ประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย อันตรายของลัทธิชาตินิยมไทย ประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย อันตรายของลัทธิชาตินิยมไทย(กรณีเหตุการณ์รุนแรงที่ปัตตานี) ดร. ธงชัย วินิจจะกุล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา รัฐบาลกล่าวถูกต้องว่าโศกนาฏกรรมที่ปัตตานีมีหลายสาเหตุผลประโยชน์ตามชาย -แดน ยาเสพติด ขบวนการแยกดินแดน เป็นต้น แต่ สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้คลุมเครือตลอด เวลา ทั้งๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ความตึงเครียด ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในดินแดน แถบนั้นมาตลอดร้อยปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์และการ กดขี่ข่มเหงของรัฐไทย ในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย กล่าวอย่างรวบยอด ก็คือ ปัญหาที่แท้จริงมาจากลัทธิชาตินิยมไทยที่มีลักษณะกดขี ่ ข่มเหง แถมยังรักษาอำนาจของตนไว้ด้วยการใช้ความรุนแรง และมาตรการสำคัญของชาติ นิยมชนิดนี้ คือ การปกปิดอำพรางประวัติศาสตร์อัปลักษณ์ของชาติไทยอีกบทหนึ่ง สาธารณ ชนไทยไม่มีทางเข้าใจวิกฤติ ณ ชายแดนใต้สุดของประเทศไทย และปัญหา จะไม่มีทางได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากยั่งยืน หากไม่เริ่มจากการเข้าใจประวัติศาสตร์อัปลักษณ์ บทนี้ และหากไม่ขจัดชาตินิยมที่กดขี่ข่มเหง ลัทธิชาตินิยม ลัทธิ ชาตินิยม กล่าวอย่างกว้างที่สุด คือ การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตน รวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง หากถือมั่นพอใจมากก็อาจกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่น ในตัวกูของกูชนิดหนึ่ง เรียกว่าหลง (ชาติพวก) ตัวเอง หากหลงหนักกว่านั้นก็อาจกลายเป็น ความคลั่งชาติ ความหลงพวกตัวเอง ที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ สถาบันนิยม ซึ่งหากอาการหนัก ก็อาจนำไปสู่การยกพวกตีกันหรือตามล้างแค้นเพื่อพวกพ้องร่วมสถาบันเรามักไม่ค่อยคิดว่า ลัทธิ ชาตินิยม คือ ความหลงประเภทเดียวกันกับสถาบันนิยม เพราะในสังคมไทยมักถือว่าชาติ นิยมเป็นสิ่งดี แม้แต่นักวิชาการโดยทั่วไปยังมักอธิบายว่า “ชาตินิยมมิใช่ความคลั่งชาติ”, “รักชาติไม่เป็นไร อย่าคลั่งชาติแล้วกัน” เอาเข้าจริงความต่างระหว่างความยึดมั่นทั้งหลายนี ้ เป็นปริมาณนิดเดียวเท่านั้น รัก ชาติ หลงชาติ คลั่งชาติจึงอาจเปลี่ยนไปมาฉับพลันแทบไม่ทัน รู้ตัว แถมบ่อยครั้งเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่งเข้าแล้ว ลัทธิ ชาตินิยมไทย คือ ความยึดมั่นถือมั่นหรือหลงความเป็นไทยว่าดีกว่าสูงส่งกว่า ประเสริฐกว่าอัตลักษณ์รวมหมู่อย่ างอื่น ลัทธิชาตินิยมไทยหรือชาติใดก็ตาม จึงเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาที่สังคมหนึ่ง บ่มเพาะปลูกฝังแก่สมาชิก รุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อสร้างพลังทางสังคมของชุมชนนั้น ในแง่นี้ ลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายศาสนา ชาตินิยมจึงมีพลังด้าน บวกสูงมากแบบเดียวกับศาสนา แต่ความหลงหรือคลั่งชาติจึงมีอันตรายมหันต์แบบเดียวกับ 15
ศาสนา นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเรียกลัทธิชาตินิยมว่าเป็น political religion หรือ socralized politics ปัญหามีอยู่ว่าเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า แค่รัก หรือหลง หรือคลั่ง เข้าแล้ว ความเป็นไทย ปัญหาสำคัญกว่า ยากกว่า และก่อให้เกิดความหลงที่อันตรายกว่า ก็คือ ความเป็นไทย (หรือชาติใดๆ ก็ตาม) เป็นจินตภาพที่นิยามไม่ได้ กลับคลุมเครือลื่นไหลไปมาตลอดเวลาชาติ นิยมไทย (และชาติอื่นส่วนข้างมากในโลก) คือ เอาดินแดนเป็นมูลฐานที่สมาชิกยึดมั่นร่วมกัน จากนั้นชาตินิยมไทยยังสร้างองค์ประกอบชนิดอื่นๆ มาช่วยนิยามความเป็นไทยอีก ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษา ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ศาสนา (พุทธ) และชาติพันธุ์ (ไทย) เป็นต้น องค์ประกอบทุกประการที่กล่าวมาดู เหมือนว่าง่ายๆ ชัดเจนดี แต่แท้ที่จริงกลับคลุม เครือลื่นไหลมาตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดลัทธิชาตินิยม ไทยขึ้นมา ดินแดนของประเทศไทยปัจจุบัน หลายแห่งไม่ใช่ของสยามมาก่อน แต่ยึดเอาของคนอื่นเขามา หรือเป็นดินแดนที่หลายฝ่ายอ้าง ซ้อนทับกัน ภาษา ไทยกลางเพิ่งจะกลายเป็นมาตรฐานและกลายเป็นของ“กลาง”สำหรับทั้งชาติ มาไม่เกิน 100 ปี ผู้คนจำนวนมากในดินแดนของไทยไม่ใช้ภาษาไทยกลาง ศาสนาพุทธไม่ใช่เกณฑ์วัดความเป็นไทยที่ดีนักเพราะชาวไทยไม่จำเป็นต้องเป็น พุทธ ชาติพันธุ์ เป็นองค์ประกอบที่ลื่นไหลที่สุด เพราะไม่มีชาติพันธุ์ใดในโลกที่บริสุทธิ์นับ แต่มนุษย์อพยพไปมา คน “ไทย” เป็นตัวอย่างหนึ่งของพันธุ์ผสมหรือพันธุ์ทาง ที่สืบทอดมา จากบรรพบุรุษหลายสายมากมาย ความจงรักภักดีต่อสถาบัน กษัตริย์เป็นความเชื่อ ซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมบังคับกันไม่ได้ ทว่าความแตกต่างคลุมเครือปรากฏตัวไม่ได้ด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย แม้ ปัจจัยนิยามเหล่านี้จะคลุมเครือลื่นไหล แต่กลับทรงอิทธิพลมาก เพราะความเชื่อ ว่าชาติเป็นภววิสัย ดำรงอยู่แน่นอนไม่พึงต้องสงสัย ดังนั้น ยังไงๆ ก็ต้องมีปัจจัยมานิยามการดำ รงอยู่ของชาติจนได้ กลายเป็นว่ายิ่งคลุมเครือยิ่งดี เพราะช่วยให้ผู้คนต่างความคิดต่างยุคสมัย สามารถสร้างนิยามใหม่ให้แก่ความเป็นชาติได้ ก่อให้เกิดพลวัต(Dynamirmของลัทธิชาตินิยม ไทย จินตภาพที่คลุมเครือและลื่นไหลไม่ใช่ความ บกพร่อง แต่กลับเป็นภาวะปกติที่ทำให้ชาติ นิยมไทย (และอื่นๆ) มีพลังต่อสมาชิกของชุมชนชาติที่แตกต่างหลากหลาย รวมถึงเกิดความ หลงและคลั่งได้โดยไม่จำเป็นต้องคิดตรงกันแต่อย่างใด ใน เมื่อปัจจัยทุกอย่างที่ช่วยสร้างจินตภาพความเป็นไทยล้วนแต่คลุมเครือ กระบวน การทางสังคมทีช่ ว่ ยตอกย้ำว่า อะไรคือชาติ อะไรคือไทย จึงไม่ใช่การให้ความหมายตรงไปตรง มาว่า ความเป็นไทยคืออะไร แต่กลับเป็นการนิยามด้านกลับว่าอะไรบ้างอย่างไรบ้างไม่ใช่ความ เป็นไทย (อ่านต่อฉบับหน้า)
16
บันได ๕ ขั้นสูชีวิติใหมที่คาและเปนสุข บันไดขั้นที่ 1 มองตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน ในแต่ละวันให้นึกถึงความดี และความโชคดีของตนเอง เริ่มต้นด้วยการตื่นนอนตอนเช้า ให้ยิ้มกับตัวเอง และนึกว่าโชคดีที่ได้ตื่นขึ้นมาแล้ว ให้นึกถึงความดีของตนเอง ที่เคยทำมาแล้วในอดีต (ที่สามารถนึกได้ง่ายๆ) เช่น เคยทำบุญ เคยช่วยคนที่อ่อนแอกว่า เคยสงเคราะห์สัตว์ ฯลฯ คิดว่าตัวเองดี และมีคณ ุ ค่าทีไ่ ด้เคยทำสิง่ ดีๆ และให้นกึ ซ้ำๆ จะได้เกิดความเชือ่ ตามทีน่ กึ นัน้ คุณก็จะเกิดความอิ่มเอิบใจ และเชื่อว่าตัวเองมีความดี ความเก่ง ตามความเป็นจริงในขณะนั้นด้วย คุณจะเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ และสร้างสิ่งที่ดีๆให้กับชีวิตต่อไปและต้องอวยพรตัวเองเสมอๆอย่าแช่งหรือตำหนิตัวเองและอย่ารอ ให้คนอื่นมาชื่นชมคุณ ซึ่งมักจะไม่ได้ดั่งใจ หรือได้มาก็ไม่สมใจ บันไดขั้นที่ 2 มองคนอื่นดี มองโลกในแง่ดี ขั้นนี้คุณจะต้องมองว่า ทุกๆ คน มีขีดจำกัดของความสามารถ ความดี ความเก่งกันทุกคน ตามความเป็นจริงของเขา ซึ่งไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันเลย ส่วนความไม่ดี หรือไม่เก่งของเขา (ซึ่งมีกันทุกคน) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป ให้มองเฉพาะส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณก็จะเป็นคนที่มองอนาคน และชีวิตดี มีความหวังที่ดีในชีวิตตลอดเวลา สองสิ่งนี้ ถ้าคุณทำเป็นนิสัย คุณจะพบว่า โลกนี้มีสิ่งที่ดีๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ และท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นสุขนิยมทั้ง ชีวิต บันไดขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด คือการอยู่กับปัจจุบัน ทำกิจกรรมในวันนี้และเวลานี้ให้ดีที่สุด ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ทุกข์ร้ อนหรือคาดหวังกับผลลัพธ์ของมันไม่วา่ จะสมใจหรือไม่สมใจก็ตามจงชืน่ ชมในความตัง้ ใจทำเต็มความ สามารถของตนเอง และคิดต่อว่า ในอนาคตจะต้องทำให้ดีกว่านี้ นอกจากนั้น คุณต้องเลิกจดจำ หรือ นึกถึงเรื่องที่ไม่ดีที่เกิดกับคุณในอดีตเพราะการจดจำเรื่องราวที่ไม่ดีในอดีตเท่ากับคุณไปสะกิดแผลใน ใจ และจะทำให้คุณเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ปัจจุบันคุณไม่มีความสุข และกลัวว่าอนาคตจะเกิด สิ่งที่ไม่ดีซ้ำๆ อีก บันไดขั้นที่ 4 มีความหวังและเชื่อว่าอนาคตจะดีเสมอ ความหวัง ความเชื่อ เกิดจากความคิดถึงบ่อยๆ หรือได้ยินบ่อยๆ จงนึกและบอกกับตัวเองเสมอว่า อนาคตจะดีขน้ึ อีกเรือ่ ยๆ จะส่งผลให้เกิดกำลังใจมากขึน้ อยากพบเห็นสิง่ ต่างๆที่จะเข้ามาในชีวิตโดยไม่ กลัว มีอารมณ์ขัน และไม่จริงจังกับชีวิตมากนัก แต่จะมีความหวังที่ดีๆ (Good Hope) อยู่เสมอ แต่อย่ามีความคาดหวัง (Expectation) กับชีวิต เพราะถ้าคาดหวังกับชีวิต เรามักจะกลัว หรือกังวลว่าจะ ไม่ได้ผลลัพธ์ดังความคาดหวัง หรือเมื่อได้มาแล้วก็มักไม่พอใจ จึงอาจทำให้เกิดทุกข์ได้
17
บันได้ขั้นที่ 5 ปรับปรุงตัวเองเสมอ โดยปรับปรุง 4 ส่วนที่มีความสำคัญต่อชีวิต คือ 1. การงาน ให้มีความขยัน อดทน หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ควรทำ จะทำให้มีการลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตได้เรื่อยๆ และปรากฏเป็นผลงานที่ชัดเจน 2.ครอบครัว จะต้องยึดหลักทีเ่ ป็นมงคลต่อกันคือ ไม่อจิ ฉาไม่ระแวง ไม่แข่งขันไม่นอกใจ รู้จักการให้และการอภัย มีน้ำใจ และรู้จักเกรงใจกัน 3. สังคม หมัน่ สร้างมิตรเสมอมีการให้ความสำคัญกัน ให้ความช่วยเหลือซึง่ กันและกันและพูด จากันแบบปิยะวาจา 4.ตนเองต้องมีการพัฒนาตนเองเสมอมีความภูมิใจตนเองตามความเป็นจริงสามารถให้ กำลังใจตัวเองได้ และมีกำลังใจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 68 กุมภาพันธ์ 2549
18
ใต้ฟ้าเดียวกัน
มกราคม ในอดีต 1/1941 – ประเทศไทยเริ่มกำหนดให้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ หลังจากเคยใช้วันที่ 1 เมษายน เป็น วันขึน้ ปีใหม่มาก่อนหน้านี้ 2/พ.ศ.2464 (ค.ศ. 1922) - การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเส้นทางรถไฟสายใต้ติดต่อกับชายแด นมาเลเซียเป็นครั้งแรก จากสถานีบางกอกน้อยไปยังสถานีปาดังเบซาร์ 4/พ.ศ.2547(ค.ศ.2004)-ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยยุคปัจจุบันเริ่มต้นขึ้น เมื่อเกิดคดีปล้นปืนทหาร โดยมีการเผาโรงเรียน 20 แห่งใน จ.นราธิวาสเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ 16 /1948- หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับในข้อหากบฏ 20/พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ผลการประชุมของพรรคนาซี ณ เบอร์ลิน เพื่อหาทางออกปัญหาชาวยิว นำไปสู่ปฏิบัติการการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี (Holocaust) 22/พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - รัฐบาลไทยกำหนดให้ใช้คำว่า “ สวัสดี “ เป็นคำทักทายเมื่อ พบเจอกันหรือลาจาก 26/พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราช ทานชื่อ ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส 27/พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - กองทัพแดงปล่อยตัวนักโทษ 7,500 คน ที่นาซีกักขังไว้ในค่าย กักกันเอาส์ชวิตซ์ (Auschwitz) ประเทศโปแลนด์ 27/พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - นายอดุล ณ สายบุรี ส่งโทรเลขถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ให้ คณะมนตรีความมั่นคงเข้ามาดูแลปัญหาสี่จังหวัดภาคใต้ 27/พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง หลังมีการลงนามในข้อตกลงสันติ ภาพปารีส (Paris Peace Accords) 30/พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - มหาตมะ คานธี ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนจนถึงแก่ความตาย
19
สีสั นของดอกäม้ ที่มีหลากสีสั น ช่างดูงามตา
หลาÂครั ้งเมื่อมองดูดอกäม้สีขาว ที่ดูเรีÂบ æนั ้น áต่ด้วÂความงามที่á½งเร้นอÂู่ÀาÂใน กçเปรีÂบดั งความบริสุทธิì ของความดีความงาม áละความ¶ูกต้องทั ้งหลาÂ ที่จะต้องมีเกิดขÖ้นในáผ่นดิน¶ิ่นเกิดáห่งนี้