Just Peace: August

Page 1


บอกอ ขอคุย

สวัสดีครับ เริม่ ต้นเดือนรอมฏอนกันแล้ว หลายๆท่าน คงจะมีความสุขในการถือศีลอดตัง้ แต่พระอาทิตย์ ขึน้ จนถึงพระอาทิตย์ตก เป็นโอกาสทีด่ ที ท่ี กุ ท่าน จะได้มคี วามเท่าเทียมกันไม่วา่ จะรวย จะจนก็ต้อง อดอาหารเหมือนๆกัน เป็นโอกาสทีค่ นมีกนิ จะได้ รับรูค้ วามสึกถึงความหิวของคนอดยาก เป็นโอกาส ที่มุสลิมจะได้ใคร่ครวญการชีวิตในรอบปีว่าได้ ปฏิบัติหน้าที่ผ้เู ป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าดีเพียง พอหรือไม่ เพื่อนำไปปรับปรุงในเดือนรอมฏอน อันประเสริฐนี้ ช่วงหลังๆนีจ้ ดหมายข่าวถึงมือทุกท่านช้า ลงไปเรื่อยๆนะครับ เหนืองจากทางคณะทำงาน ยุตธิ รรมเพือ่ สันติภาพมีการปรับเปลีย่ นโครงสร้าง องค์กร ทำให้การจัดทำจดหมายข่าวต้องล้าช้า ส่งผลให้จดหมายข่าวจัสพีสต้องปรับระยะเวลา การเผยแผร่โดยจะทำการเผยแพร่ 2 เดือนต่อฉบับ นับจากฉบับนีเ้ ป็นต้นไป จึงขอประกาศมา ณ.ที่นี้ด้วย

ในนี้มีอะไร คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

จัดอบรมรมเรือ่ งมติ 1325 น.3 ศุกร์เสวนา ความเป็นไปได้ในการยกเลิกกฎหมาย ทีจ่ ำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน น.4 รายงานพิเศษ

ทำไมบทบาทของปัญญาชน สาธารณะจึงเสื่อมถอยลง? น.8 สัพเพเหระ

ให้ “จำ” เรื่อง “เสียดินแดน” ให้ “ลืม” เรื่อง “ได้ดินแดน” น.13 ลูกนาย ก.

ความขัดแย้ง ความรุนแรง อัตลักษณ์ วาทกรรม : **ผลงานชิ้นโบแดงที่เกิดจากดินสอ หลากสี** น.15

กองบรรณาธิการ การคณะทำงานยุ คณะทำงานยุติธตรรมเพื ิธรรมเพื่อสั่อนสัตินภติาพ ภาพ กองบรรณาธิ สำนักงานปั กงานปัตตานี ตตานีเลขที เลขที่ 22/186 ่ 22/186ถ.หนองจิ ถ.หนองจิก กต.รูต.รูสะมิ สะมิแลแลอ.เมื อ.เมืององ สำนั จ.ปัตตานี ตตานีโทร. โทร.073-331-254 073-331-254 จ.ปั e-mail:asman@wgjp.org asman@wgjp.org e-mail: website: wgjp.org : wgjp.org website 2


working group on justice for peace

คณะทำงานยุตธิ รรมเพือ่ สันติภาพร่วมกับฟอ-รัม่ เอเชีย จัดอบรมรมเรือ่ งมติ 1325 วันที ่ 20-22 กรกฎาคมทีผ่ า่ นมา คณะทำงานยุ ติ ธ รรมเพื่ อ สั น ติ ภ าพและฟอรั่ ม -เอเชี ย ได้ ร่ ว มจั ด อบรมรมเรื่ อ งมติ 1325 ณ.ฟ้าปรายตะวันรีสอร์ท สงขลา การจัดอบรมครั้งนี้เป็น เนือ้ หาเกีย่ วกับการสร้างความ ตื่ น ตั ว ในประเด็ น ผลกระทบ การขัดแย้งทางอาวุธมีต่อสตรี และเด็กหญิง รวมทั้งการยอม รับบทบาทสำคัญของสตรีใน การแก้ไขภาวะความขัดแย้งและสร้างสันติภาพให้เกิดขึน้ โดยมตินไ้ี ด้เรียกร้องให้ผมู้ บี ทบาท สำคัญในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธ อาทิเช่น สหประชาชาติรฐั ภาคีแห่งสหประชาชาติ คูภ่ าคีแห่งการขัดแย้งทางอาวุธให้กระทำการต่างๆ ภายใต้นโยบายสองประการ ประการแรก คือการให้ความสำคัญกับประเด็นทางเพศ (gender mainstreaming) ประการทีส่ องคือการสร้าง ความสมดุลทางเพศ (gender balance) โดยหลักการคือให้ผหู้ ญิงเข้ามามีสว่ นร่วมในการหาทางออก และฟื้นฟูในกรณีที่มีความขัดแย้งโดยใช้อาวุธ ให้กับกลุ่มผู้หญิงที่ทำงานภาคประชาสังคม คณะทำงานยุตธิ รรมเพือ่ สันติภาพ (WGJP) และสภาเอเชียสำหรับสิทธิมนุษยชนและ การพัฒนา (FORUM-ASIA) เห็นว่ามติ 1325 เป็นมติทม่ี คี วามสำคัญต่อการทำงานของผูห้ ญิงใน สถานการณ์ความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผู้หญิงเป็นผู้ มีสว่ นสำคัญในการขับเคลือ่ นงานในหลายรูปแบบ ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งและเห็นว่า การทำความเข้าใจกับมติ 1325 จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมงานของผู้หญิงใน พืน้ ทีแ่ ห่งนี้ นอกจากนัน้ ผูจ้ ดั ยังได้จดั ให้มกี ารแลกเปลีย่ นประสบการณ์ระหว่างผูห้ ญิงจากต่าง ประเทศที่มีประสบการณ์งานในลักษณะใกล้เคียงกับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ผู้ แทนจากกลุม่ ผูห้ ญิงทีท่ ำงานเรือ่ งมินดาเนา ประเทศฟิลปิ ปินส์ ผูห้ ญิงจากพืน้ ทีร่ ฐั อาเจห์และ -จาร์กาตาร์ อินโดนีเซีย

3


ศุกร์เสวนาครั้งที่ 13 ความเป็นไปได้ในการยกเลิกกฎหมาย ทีจ่ ำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดประเด็นโดย ย่ิงชีพ อัชฌานนท์ และ อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

ระชาชนในรั ฐ ธรรมนู ญ ไม่ ส ามารถใช้ สิทธิยกเลิกกฎหมายเก่าได้แต่ต้องหา กฎหมายใหม่มาแทนที ่ ถ้ากฎหมายเก่าขัดกับหลัก รัฐธรรมนูญ กฎหมายเก่าก็ตอ้ งยกเลิก เราเคย คุยกันในกรุงเทพฯเพือ่ หาทางยกเลิกกฎหมาย สามฉบับอาทิ พระราชกำหนดสถานการณ์ฉกุ เฉิน ,กฎอัยการศึก,พระราชบัญญัติความมั่นคง เพราะเห็นว่ากฎหมายทั้งสามฉบับให้อำนาจ มากในการควบคุมพืน้ ที่ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ เวลาพูดที่กรุงเทพฯหรือมีการจัดเวทีจะออก ทางเชิงวิชาการ ขัดกับรัฐธรรมนูญบ้าง ขัดกับ สิทธิเสรีภาพบ้าง แต่ทจ่ี ริงแล้วคนสามจังหวัด นีแ่ หละทีโ่ ดนผลกระทบจากกฎหมายสามฉบับ

4

ที่ได้รับปัญหาโดยตรงจากกฎหมายที่ใช้อยู่ สามฉบั บ ในสามจงหวั ด ชายแดนภาคใต้ ทาง ilaw ก็เลยเปิดพืน้ ทีร่ ณรงค์ให้มกี ารยกเลิกกฎ หมายสามฉบับ โดยใช้วธิ กี ารเขียนกฎหมายขึน้ มาใหม่ ตัง้ ชือ่ ว่าร่างกฎหมายพระราชบัญญัติยก เลิกกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน กฎหมายนี้สั้นมากมีสามมาตรา มาตราแรกจะพูดเหมือนกฎหมายฉบับอืน่ ๆ แต่ เนือ้ หามีมาตราเดียวที่พูดถึงคือมาตราสาม บอกว่าจะยกเลิกกฎหมายพิเศษ พระราชกำหนด สถานการณ์ฉกุ เฉิน,กฎอัยการศึก,พระราชบัญญัติ ความมั่นคงแห่งชาติ ระชาชนในรัฐธรรมนูญไม่มสี ทิ ธิทจ่ี ะยก เลิกกฎหมายแต่มสี ทิ ธิทจ่ ี ะเสนอกฎหมาย เราต้องเสนออะไรใหม่กฎหมายใหม่เพือ่ จะยก เลิกกฎหมายเก่า ถ้ากฎหมายเก่าขัดต่อหลัก รัฐธรรมนูญเราไม่สามารถเซ็นชื่อเพื่อยกเลิ ก กฎหมายเก่า สมมุตวิ า่ ในประเทศนีถ้ า้ รัฐบาล


เองจะยกเลิกกฎหมายหนึ่งรัฐต้องมีกฎหมาย ใหม่มาแทนที่ เช่น กรณียกเลิก พรบ.ผู้สูงอายุ ต้องมีกฎหมายใหม่มาแทนทีค่ อื พรบ.ว่าด้วย การยกเลิกกฎหมายผู้สูงอายุ ทำไหมเราไม่ใช้ระบบการรณรงค์ให้รฐั บาล ยกเลิกการใช้กฎหมาย ผมคิดว่า ประเด็นการรณรงค์ให้ยกเลิกการ ใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ในทางข้อเท็จจริงเราได้นำเสนอสิ่งที่เกิด ขึ้นกับประชาชนว่า ได้รบั ผลกระทบอะไรบ้าง ส่งผลร้ายกับประชาชนอะไรบ้าง เราก็ได้ทำ ไปแล้วและเราก็ตอ้ งทำต่อไป อันนีเ้ ป็นสิทธิใน ระบบที่เรามีในรัฐธรรมนูญมีการจัดเสวนา บ้าง พูดคุยบ้าง มันยังมีวธิ ใี นระบบทีเ่ ราต้องทำ เราทำแล้วรัฐบาลต้องทำ มันมีหลากหลายวิธใี นการทีจ่ ะทำ เราก็รสู้ กึ ว่า ถ้าทำอะไรให้ได้เราก็จะพยายามทำและค่อน ข้างคาดหวังกับคนเล็กกลุม่ น้อยทีม่ สี ว่ นในเรือ่ งนี้ กับการเซ็นชื่อก็ต้องมีการติดตามจากสื่ อ ว่ า พอเข้าสู่กระบวนการรัฐสภามันจะเกิดการ เปลีย่ นแปลงไหม ถ้ามีการร่วมมือร่วมใจจากคน เป็นจำนวนมากหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ความสนใจก็ถอื ว่าเป็นการตรวจสอบการทำ งานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย วิธกี ารรณรงค์สามารถทำให้ชาวบ้านมีความ ปลอดภั ย มากที่ สุ ด อย่ า งกรณี ท นายความ สมชาย ก็เคยคิดจะมีการล่ารายชื่อประชาชน เหมือนกัน แค่เซ็นชื่อเพื่อให้มีการยกเลิก แต่รู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัย ธีนม้ี นั ค่อนข้างยุง่ ยากนิดหนึง่ แต่มนั ก็เป็น ทางการก็คือว่า มันมีแบบฟอร์มเฉพาะ

วิ

5

เซ็นชื่อเสนอยกเลิกกฎหมายเก่า ด้วยวิธีการ ยกเลิกโดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ให้เราเสนอ แนบสำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนให้มีชื่อ 10,000 ชื่อ คือสิ่งที่เราสน ใจก็ มี ก ารพู ด เรื่ อ งนี้ ไ ม่ เ ยอะและก็ ไ ม่ น้ อ ย เราก็ตดิ ตามไปทุกทีท่ ม่ี คี นพูดเรือ่ งนี ้ แล้วก็เปิด เวปไซต์รณรงค์ทางเวปไซต์ เพือ่ เปิดช่องทาง ในการสื่อสารว่า กฎหมายมีผลกระทบยังไง มีข้อมูลกฎหมายว่ากฎหมายสามฉบับมีข้อดี ข้อเสียยังไง คนทีอ่ ยูภ่ ายใต้การบังคับโดยกฎหมาย สามฉบับถูกกระทำยังไง คิดว่าคนจะต้องมา อ่านเคลือ่ นไหวกันได้ เราทำมาได้ไม่เท่าไหร่ ตอนนี้มีเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในภาคใต้ จึงคิดว่าจะลงพืน้ ทีพ่ ดู คุยกับคนพืน้ ทีส่ กั หน่อย ว่าเรือ่ งนีค้ นในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนภาค ใต้คดิ เห็นกันยังไง ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย พิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การยกเลิกกฎหมายก็เห็นด้วยก็เรียกร้องมา แล้วก็กระบวนการทีจ่ ะขอยกเลิกในส่วนตัวคิด ว่ายาก เวลาเราจะทำกิจกรรมในชุมชนก็ตอ้ ง เตรียมตัวไปเยอะการรวบรวมหลักฐานก็ยาก


บางทีไ่ ม่มสี ำเนาบ้าง ไม่มบี ตั รประชาชนบ้าง ถ้าใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนก็พอไหว รื่องการพลักดันโดยประชาชนเกิดขึ้นเมื่อ 2540 ตอนนัน้ ให้ลา่ รายชือ่ 50,000 ชือ่ แล้ว ก็แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียน บ้าน จนถัดมารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบนั มองว่า การล่าชือ่ 50,000 ชือ่ มันเยอะมาก ล่าไม่ได้สักที่ ไม่ครบสักที ่ เปลีย่ นกฎหมายใหม่เป็นล่าราย ชื่อ10,000 ชื่อ แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มี กฎหมายลูก ทีจ่ ะกำหนดขัน้ ตอน มันมีองค์สอง สามองค์กรทีผ่ ลักดันว่าให้กฎหมายลูกประคับ ประคับประคองรัฐธรรมนูญปี52 เราคาดหวังว่าอีกสักหน่อยคงไม่ตอ้ งใช้สำเนา ทะเบียนบ้านแต่ในวันนี้ต้องใช้อยู่

ขั้

นตอนการล่ า รายชื่ อ ก็ คื อ พอเราได้ 10,000 ชื่อแล้ว หน่วยงานทีอ่ ยูใ่ นรัฐสภา ทีเ่ ป็นหน่วยงานภาคประชาชนเพือ่ รับรายชือ่ ไป พิจารณาตรวจสอบรายชื่อจากนั้นจะส่งชื่อ ไปยังหมู่บ้าน เพื่อสอบถามการยืน่ ยันของผู้ 6

ทีเ่ ซ็นชือ่ เพือ่ ยกเลิกกฎหมายและเพือ่ สอบถาม ผู้ที่เซ็นชื่อว่าใช่ลายมือชื่อของตัวเองจริงหรือ เปล่าถ้าเป็นการปลอมแปลงรายชื่อรัฐสภามี อำนาจในการคัดค้าน เมือ่ ผ่านกระบวนการคัด ค้านแล้ว เรือ่ งก็จะเข้าสูส่ ภาผูแ้ ทนราษฎรแล้ว ก็จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาเป็นกรรมาธิการ พิจารณากฎหมาย กรรมาธิการจะมีองค์ประกอบ จากภาคประชาชน ซึงเป็นผูเ้ สนอชือ่ หนึง่ ใน สาม เวลาทีเ่ ขาผลักดันกฎหมาย ก็ถอื ว่าดีเพราะ มันมีองค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วย แต่ถา้ ส่วนใหญ่ของสังคมมองเห็นร่วมกัน ในการใช้กฎหมายหมายสามฉบับรัฐอาจจะ มีการเปลี่ยนแปลงก็ได้ มาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เราเลือกจะมี หน้าทีย่ กมือแสดงความคิดเห็นว่า จะเอา หรือไม่เอากับกฎหมายทีส่ ง่ พิจารณา แต่กอ่ น ที่จะเอาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยกมือเขา ต้องเอาไปตั้งทีมก่อน เพื่อตรวจสอบเนื้อหา ว่ามีความเห็นกันยังไง ilaw ไม่ได้ทำงานนีเ้ ฉพาะสามจังหวัด ทัว่ ประเทศ


ไทยมีคนหกสิบกว่าล้านคน อาจจะมีตัวแทน จากสามจังหวัดสักห้าร้อยเชื่อว่าจะต้องมีคน กล้า ที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่สามารถสะท้อนให้รฐั รับรูว้ า่ ชาวบ้านไม่เอา กับกฎหมายพิเศษที่ใช้อยู่ในสามจังหวัดชาย แดนภาคใต้ เพื่อให้เขาแสดงสิทธิของตัวเอง ที่จะพูด บางคนไม่กล้าที่จะพูด เราสามารถเล่าตัวอย่างเรื่องอื่นๆ การเซ็น ชื่อสิ่งที่เคยทำมาแล้วงานที่ไม่แรงงานสิ่งแวด ล้อมไม่ได้เล่าถึงกระบวนการทัง้ หมดเราเล่าเรือ่ ง ธรรมดา ประเทศอื่นเขารณรงค์กันอย่างนี้ ตอนนี้เหมือนในกรุงเทพก็มีที่แดงจัดเราไม่ เอากฎหมายทหาร เราไม่ชอบทหาร กรุงเทพฯ มั น เหมื อ นเหลื อ งแดงเป็ น สี ที่ แ บ่ ง กั น แล้ ว

แต่ ใ นสามจั ง หวั ด ก็ ยั ง มี ตั ว เลื อ กอยู่ ว่ า มันเกิดอะไรขึ้น

ม่ว่าสุท้ายคุณจะเซ็นหรือไม่เซ็นชื่อกับ การยกเลิกกฎหมายก็ตาม วัตถุประสงค์ อยู่ท่ีเนื้อหาของมั น คุ ณ เข้ า ใจแค่ ไ หนส่ ง ผล กระทบอย่างไหร่ ประชาชนเห็นด้วยหรอไม่ กับการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชาย แดนภาคใต้

ร่วมเป็นหนึ่งในหมื่นชื่อ ที่เสนอกฎหมายประชาชน ข้อมูลเพิ่มเติม www.ilaw.or.th หรือติดต่อทางอีเมลล์มาที่: wgjp_pn@hotmail.com

7


รายงานพิเศษ

ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะ จึงเสื่อมถอยลง?

เบนแอนเดอร์สัน

นช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเพลิด เพลิ น กั บ การอ่ า นเอกสารวิ ช าการ ประจำปีของมูลนิธิ Nippon Foundation งาน เขี ย นส่ ว นใหญ่ ใ ห้ ค วามรู้ เ ปิ ด หู เ ปิ ด ตา ไม่ใช่แค่ในด้านคุณภาพเท่านัน้ แต่ ยังรวมถึง ความกว้างขวางในการเปรียบเทียบและประตู ทีเ่ ปิดออกสูเ่ ครือข่ายประชาชนมากมายหลาย เครือข่าย ซึ่งใส่ใจเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของ นโยบายรัฐทีม่ มี ากมายเป็นบัญชีหางว่าวกระนั้น ก็ ต ามโดยรวมแล้ ว งานเขี ย นเหล่ า นี้ ส ะกิ ด ความความไม่สบายใจบางอย่างขึ้นมาในใจ ผม คงเป็นเพราะผมเคยใช้เวลาหลายปีใน มหาวิทยาลัยในฐานะนักวิชาการที่เรียกกัน ว่า “นักรัฐศาสตร์” ศวรรษที่ผ่านมา กล่าวคือ ค.ศ. 19982008 (พ.ศ. 2541-2551) เป็นช่วงเวลา ที่เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในหลาย ๆด้าน ไม่เพียงเฉพาะในกลุม่ ประเทศ ทีม่ ลู นิธิ NipponFoundation สนใจศึกษาเท่า นั้น แต่รวมถึงโลกทั้งหมดด้วยทศวรรษนี้ลง เอยด้วยวิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจที่ส่งผล กระทบไปทั่วโลกครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้ง แต่ภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำครัง้ ใหญ่ (The Great Depression) เมื่อทศวรรษ 1930 และเป็น วิกฤตเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ หลังจากวิกฤตการณ์

8

ทางการเงินในภูมิภาค นี้เมื่อค.ศ. 19971998 (พ.ศ. 2540-2541) ล่าวในด้านการเมืองนั้น ทศวรรษนี้เริ่ม ต้ น ด้ ว ยการปะทุ ขึ้ น มาของการเมื อ ง แบบปฏิรูปที่น่าชื่นชม แต่ลงท้ายอย่างน่าผิด หวั ง ด้ ว ยการลงหลั ก ปั ก ฐานของระบอบ คณาธิปไตยในอินโดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ประเทศ ไทยและมาเลเซียในทุกประเทศ ที่กล่าวมานี้ ระดับของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเพิ่ม ขึ้นอย่างรวด เร็ว มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง และการที่รัฐเข้าไปควบคุมสื่อ มวลชนนับวันจะยิ่งหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่สะดุดใจผมเมื่ออ่านเอกสารจำ นวนมากในรายงานประจำปีของมูลนิธิก็ คือ ความปั่นป่วนวุ่นวายทั้งหมดนี้กลับแทบไม่ ปรากฏให้เห็นเลย ลองยกประเทศไทยเป็น ตัวอย่าง ตอนนี้ประเทศไทยกำลังตกอยู่ใน


วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เข้ม ข้นยาวนาน ซึ่งมีสัญญาณส่อเค้าให้เห็นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ศตวรรษใหม่แต่ เอกสารเกีย่ วกับประเทศไทย แทบไม่เอ่ยชื่อของทักษิณชินวัตรปัญหาของ สถาบัน กษัตริย์ หรือปัญหาอันน่าขมขื่นของ การก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมพูดภาษามลายู ในเอกสารเหล่านีไ้ ม่มคี ำเตือนถึงการ เกิดขึ้น ของขบวนการคนเสือ้ แดงทีเ่ ราอ่านเจอทุกวัน ในหน้าหนังสือพิมพ์ เรา สามารถอ่านเอกสาร เกื อ บทั้ ง หมดเกี่ ย วกั บ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ โ ดยไม่ ไ ด้ ความเข้าใจอะไร เลยเกี่ยวกับความหายนะที่ เกิดจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ นางกลอเรียมา คาปากัล อาร์โรโย ฯลฯ ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? ราอาจเริ่มต้นที่ความเสื่อมถอยระยะยาว ของจารีตปัญญาชนสาธารณะ ซึง่ มีผู้ อ่าน หรือผูช้ มคือสาธารณชนทัว่ ไปในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ปัญญาชนสาธารณะทีม่ อี ทิ ธิพล มากที่สุดในฟิลิปปินส์คือเรนาโตคอนสตันติ โน (Renato Constantino) เขาเขียนงานด้าน ประวัติศาสตร์ไว้มากมายโดยมีบุคลิกแบบ ชาติ นิยมฝ่ายซ้ายอย่างชัดเจน และแสดงตัว เป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อสิ่งที่เขา เรียกว่า “จิตใจแบบอาณานิคม” ที่ตกค้างอยู่ในเพื่อน ร่วมชาติเขาไม่ใช่คนเดียวที่มีลักษณะแบบนี้ ยก ตัวอย่างเช่น วิลเลียม เฮนรี สกอตต์ (William Henry Scott )ชาวอเมริกันโปรเตสแตนท์ ก็ เ ขี ย นหนั ง สื อ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลเกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศาสตร์ ยุคต้นของฟิลิปปินส์ และการละเมิด สิทธิ์ชนเผ่ากลุ่มน้อยในเขตกอร์ดีเยราของ

9

เกาะลูซอน ทัง้ สองคนนีไ้ ม่ใช่นกั วิชาการหรือ นักหนังสือพิมพ์อาชีพ ทุก วันนี้ คนที่มีบารมี แบบนี้แทบไม่มีเหลืออีกแล้วไม่มีชาวอินโดนี เซียคนไหนที่ มีผลงานยิง่ ใหญ่เทียบชัน้ ได้กับ ปรามูเดีย อนันตา ตูร์ผู้ล่วงลับ ทั้ง ๆที่ปรามู เดียเรียนไม่จบไฮสกูลด้วยซ้ำ แต่เขาฝากผล งานนวนิยายและเรื่องสั้นอันวิเศษไว้ให้แก่ สาธารณชนถึงแม้ตอ้ งใช้เวลาถึง13 ปีอยู่ในคุก จนถึงบัดนี้ เขาก็ยังไม่มีผู้สืบทอด

นประเทศไทย สุลักษณ์ศิวรักษ์คือนัก วิจารณ์สังคม-การเมืองที่มีอิทธิพลที่สุด ในประเทศมาหลาย ทศวรรษ และโดนข้อหา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายต่อหลาย ครั้ง สุลักษณ์ไม่มี ตำแหน่งทางวิชาการและ ไม่ใช่นักหนังสือพิมพ์ตอนนี้เขาอยู่ในช่วงวัย เจ็ดสิบ ปีและไม่มีผู้สืบทอดที่ชัดเจน มาเลเซียมีคนแบบนี้อยู่คนหนึ่ง ซึ่ง ยังค่อนข้างหนุ่มเป็นนักเสียดสี บรรณาธิการ นักเขียนความเรียงและนักสร้างภาพยนตร์ที่ โดดเด่น เขาชื่ออามี ร์มูฮัมมัด (Amir Muhammad) ก็อีกนั่นแหละ เขาไม่ใช่นักวิชาการ นั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ ห รื อ ข้ า ราชการแต่ เ ขาก็ ค่อนข้างโดดเดี่ยวเช่นกัน เพือ่ น ๆคงสังเกตเห็นแล้วว่า ผมจง ใจเน้นย้ำการขาดหายไปของอาชีพนักวิชาก าร จาก ประเด็นนี้ ผมต้องการชี้ให้เห็นความ เปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งสองประการ ซึ่งทำให้ การดำรงอยู่ของปัญญาชนสาธารณะเป็นไป ได้อย่างยากลำบาก ประการแรกคือ การ สร้าง ค ว า ม เ ป็ น วิ ช า ชี พ ข อ ง ม ห า วิ ท ย า ลั ย


โดยใช้แนวทางตามอย่างอเมริกัน ซึ่งหยิบ ยืม ลอกแบบมาจากเยอรมนีสมัยศตวรรษที่ 19 อี ก ที ห นึ ่ ง การสร้ า งความเป็ น วิ ช าชี พ (professionalisation) นี้เริ่มก่อตัวขึ้นมาจาก การแยกสาขาวิชาอันกลายมาเป็นสถาบันที่ ทรงพลัง กล่าว อีกนัยหนึ่งคือ การแบ่งแยก ความรูแ้ ละการศึกษาออกเป็นส่วนๆ ตามตรรกะ ของการแบ่ ง งานกั น ทำการแบ่งแยกเช่นนี้ กีดกันไม่ให้นักประวัติศาสตร์ สนใจมานุษย วิทยาหรือนักเศรษฐศาสตร์สนใจสังคมวิทยา แต่ มั น มี ค วามหมายอี ก นั ย หนึ่ ง ว่ า ผู้ อ าวุ โ ส ในสาขาวิชาต่างๆ จะมีบทบาทอย่างมากใน การกำหนดชี้ชะตาความสำเร็จทางวิชาการ ของนักวิชาการรุ่น ใหม่ ๆด้วย

นึ่ง การสร้างความเป็นวิชาชีพยังส่งเสริม การพัฒนาศัพท์เทคนิคทีเ่ ข้าใจ กันเฉพาะ ในหมู่นักวิชาการที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน นีห่ มายความว่ามันยิง่ ทำให้นกั วิชาการเขียน 10

ให้นักวิชาการด้วยกันเองอ่าน ตีพิมพ์ใน “วารสารทางวิชาการ” และในสื่อสิ่งพิมพ์ของ มหาวิทยาลัยแนวโน้มเช่นนีท้ ำให้สาธารณชน ทั่ ว ไปถู ก กี ด กั น ออกไปมากขึ้ น เรื่ อ ยๆการ เขียนหนังสือให้คนทั่วไปอ่านมักถูกตีตราว่า ตืน้ เขินและไม่มคี วามเป็น วิทยาศาสตร์ ภาษา ที่สละสลวยได้รับการยกย่องน้อยลงๆ อย่างไรก็ตามอเมริกามีลกั ษณะเฉพาะ ในบางแง่ม ุ ม ประการแรกสุ ด อเมริ ก าไม่ มีมหาวิทยาลัยรัฐในระดับชาติ ซึ่งแตกต่าง จากประเทศอื่ น ๆเกื อ บทุ ก ประเทศทั่ ว โลก มหาวิทยาลัยระดับสุดยอดของอเมริกาเกือบ ทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ประการที่ สอง อเมริกาพัฒนามหาวิทยาลัยขึน้ มาหลาย พันแห่งเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ มหาชน ในยุคสมัยที่ถือกันว่าปริญญาบัตร คือเงื่อนไขในการหา งานรายได้ดี ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิ ท ยาลั ย ประการที่ ส าม ประเทศนีม้ จี ารีต ยาวนานของความรูส้ กึ เป็น ปฏิปักษ์ต่อปัญญาชนมหาวิทยาลัยโดยรวม นัน่ หมายความ ว่า มีอาจารย์มหาวิทยาลัย เพียงส่วนน้อยเท่านัน้ ทีม่ อี ทิ ธิพลเชือ่ มโยงกับ ชน ชั้นนำทางการเมืองหรือสื่อมวลชน ต่ตัวอย่างของอเมริกาก็มีอิทธิพลอย่าง ยิ่งนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา สืบเนื่องจากการครองความเป็นใหญ่ในโลก ระหว่ า งและหลั ง จากสงครามเย็ น เยาวชน หลายหมื่ น คนจากหลายๆส่ ว นของโลกที่ เรียกว่า “โลกเสรี” ได้รับเชิญให้มาศึกษาต่อ ขั้นสูงที่อเมริกาและได้รับทุนอุดหนุนเหลือ เฟือจาก มูลนิธิเอกชนและหน่วยงานรัฐเมื่อ


กลับไปบ้าน คนหนุ่มสาวเหล่านี้มักเจริญรอย ตามตัวอย่างของอาจารย์และสร้างชีวิตมหา วิทยาลัยขึน้ มาตามต้นแบบ โดยมักได้ รับการ สนับสนุนทางการเงินและการเมืองจากอเมริกา เป็นอย่างมากแต่พวกเขาก็ประกอบภารกิจ นี้ได้เพียงบางส่วน อันเนื่องมาจากลักษณะ ของสังคมบ้านเกิดของคน หนุ่มสาวเหล่านี้ กตัวอย่างเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ มหาวิทยาลัยระดับสุดยอดมักเป็น ของรัฐ และคณาจารย์เป็นข้าราชการในแบบ ใดแบบหนึ่ง มีจารีตยาวนานของการเคารพ ผู้มีการศึกษาสูง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากระเบียบ สังคมทั้งในยุคก่อนอาณานิคมและยุคอาณา นิคมความเคารพต่อผู้มีการศึกษาสูงนี้ได้รับ การตอกย้ำจากการมีเส้นสาย เชือ่ มโยงกับรัฐ อย่างเหนียวแน่นอาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถ เข้าถึงชนชั้นนำทางการเมืองและสื่อมวลชน ในลักษณะที่นึกคิดแทบไม่ออกเลยในสหรัฐ อเมริกาในอีกด้าน หนึง่ สถานะทางสังคมของ พวกเขามักสวนทางกับการสนับสนุนทางการ เงินทีพ่ วกเขา ได้รบั ในสหรัฐอเมริกาอาจารย์ มหาวิทยาลัยได้รบั ค่าตอบแทนสูงมากศาสตรา จารย์อาวุโสหลายคน มีรายได้ถึง100,000 ดอลลาร์(3.2ล้านบาทขึ้นไปต่อปี)ตรงกันข้าม ในอุ ษ าคเนย์ นั้ น อาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มี รายได้ต่ำ จึงต้องหาทางออกด้วยการรับงาน โครงการวิจัยของรัฐที่ไร้ประโยชน์ หาลำไพ่ พิ เ ศษด้ ว ยการสอนที่ ม หาวิ ท ยาลั ย อื่ น เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และอาศัย ช่องทาง ต่ า งๆในสื่ อ มวลชนเช่ น เขี ย นบทความใน หนังสือพิมพ์ ทำรายการทีวฯี ลฯ อาจารย์เหล่า

11

นี้จึงมักละเลยหรือไม่สนใจนักศึกษา หรือไม่ ก็ปฏิบัติต่อนักศึกษาแบบราชการนักวิชาการ จำนวนไม่นอ้ ยไม่ยอมสอนหนังสือเลย แต่เลือก ไปกินตำแหน่งในสถาบันวิจัยที่แทบ ไม่มีผล งานใดๆนีค่ อื เหตุผลทีน่ กั ศึกษาเก่งๆ จำนวน มากมักศึกษาหาความรูด้ ว้ ยตัวเองและดูแคลน อาจารย์เพียงในนามเหล่านี้ ายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักวิชาการ หลายคนจึงแสวงหาความสำเร็จด้วย การเข้า ข้างชนชั้นนำทางการเมือง หรือไม่ก็ แข่ ง ขั น แย่ ง ชิ ง ทุ น จากหน่ ว ยงานต่ า งๆ ของประเทศร่ำรวย ซึ่งก็มีวาระแฝงเร้นของ ตนเองแนวโน้มแบบนี้มีข้อเสียในตัว มันเอง ผมจำได้ดถี งึ เจ้าหน้าทีส่ ตรีผขู้ ยันขันแข็งอย่าง ยิ่ง คนหนึ่ง ซึ ่ ง คอย จั ด การการให้ ท ุ นของ มูลนิธิโตโยต้าแก่สถาบันการศึกษาในเอเชีย ตะวันออกเฉียง ใต้ เธอบอกว่าเธอรู้สึกตกใจ จริงๆที่พบว่า นักวิชาการชาวฟิลิปปินส์ที่มา ร่วม การประชุมสัมมนาที่มูลนิธิเป็นผู้สนับ สนุ น ให้ จั ด ขึ้ น พวกเขาไม่ เ พี ย งคาดหวั ง ว่ า มูลนิธิต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด แต่ ถึ ง ขนาดเรี ย กร้ อ งเงิ น สดตอบแทนการมา ร่วมประชุมด้วย เงินตอบแทนมักถูกใช้ไป กับการช้อปปิ้งสินค้าราคาแพง ารหาลำไพ่พิเศษกับสื่อมวลชนก็มีปัญ หาในแบบของมันการออกทีวีได้รับค่า ตอบ แทนดี แต่ไม่ว่าใครก็มักมีเวลาไม่เกิน 5 นาที ซึง่ ไม่เพียงพอทีจ่ ะอธิบายสาระสำคัญ อะไรได้การเขียนคอลัมน์อย่างน้อย ทีส่ ดุ ก็ช่วย กระตุ้นให้นักวิชาการเขียนให้สาธารณชนใน วงกว้างอ่าน แต่นัก วิชาการที่จริงจังย่อมไม่


สามารถเขียนอะไรออกมาได้ทกุ สัปดาห์ โดย ไม่พดู ซ้ำซากวนไปวนมาหรือพูดถึงแต่ตวั เอง แถมยังต้องเชื่อฟังคำชี้นำของบรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์อีกต่างหากนักวิชา การเหล่านี้กลายเป็น ลูกจ้าง ลูกจ้างของรัฐ ของมูลนิธิต่างประเทศหรือไม่ก็เป็นลูกจ้าง ของเจ้า พ่อหนังสือพิมพ์และผู้บริหารสถานี โทรทัศน์ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมพวกเขา จึง มีเวลาน้อยมากที่จะทำงานวิจัยอย่างจริง จังเขียนหนังสือที่มีความสำคัญหรือท้าทาย อะไรบางอย่างอย่างจริงจังมิหนำซ้ำพวกเขา ยังปิดหูปิดตาตัวเองอย่าง ประหลาดด้วย ผมขอยกตั ว อย่างที่น่าสนใจเรื่อง หนึ ่ ง สองสามปี ก ่ อ น ผมไปบรรยายที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำในกรุงเทพฯให้อาจารย์ และนักศึกษาราว 300 คนฟังในระหว่างการ บรรยายนั้น ผมกล่าวยืดยาวพอควรเกี่ยวกับ อัจฉริยะแท้จริง คนแรกทีป่ ระเทศไทยผลิตขึ้น มานั บ ตั ้ ง แต่ ท ศวรรษ 1960 นั ่ น คือ นักสร้างภาพยนตร์ชน้ั ยอดอย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึง่ ได้รบั รางวัลใหญ่ สองรางวัล ทีเ่ มืองคานส์ในช่วงเวลาแค่สามปีอกี ทัง้ ยังได้รับ รางวัลมากมาย ทั่วทั้งโลกภาพยนตร์ด้วยใน ตอนท้ า ยผมถามผู้ ฟั ง ว่ า ใครเคยได้ ยิ น ชือ่ อภิชาติพงศ์ขอให้ยกมือขึน้ มีคนยกมือประมาณ 10 คน เป็นนักศึกษาทัง้ หมดมีกค่ี นทีเ่ คยดูภาพ ยนตร์ของเขา? มีประมาณ 6 คนนักศึกษาทั้ง หมดเช่นกัน

ชั่

วขณะนั้นเองที่ผมตระหนักถึงการปิดหู ปิ ด ตาตั ว เองอย่ า งโง่ เ ขลาของเหล่ า 12

อาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งคงดูแต่หนังฮอลลีวู้ด และความหยิง่ จองหองของพวกเขา ก็ นักสร้าง ภาพยนตร์ไม่มีปริญญามหาวิทยาลัยน่ะสิ! แทบไม่ มี ส ะพานเชื่ อ มระหว่ า งอาจารย์ กั บ นั ก สร้ า งภาพยนตร์ นั ก เขี ย นนวนิ ย ายและ จิตรกรฯลฯ ไม่น่าแปลกใจที่ นักสร้างภาพ ยนตร์และนักเขียนนวนิยายเองก็มีทัศนคติที่ ไม่ค่อยดีนักต่อ อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเพียง นักศึกษาที่ยังไม่มีวิชาชีพเท่านั้นที่เชื่อมโยง ระหว่างโลกทั้งสอง ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นเหตุ ผลบางประการว่ า ทำไมเราจึ ง ไม่ ค่ อ ยพบ ปัญญาชนสาธารณะในมหาวิทยาลัย ถึงแม้มี ข้ อ ยกเว้ น สำคั ญ อยู่ เ สมอก็ ต ามความเป็ น วิชาชีพ สถานะข้าราชการ ความใกล้ชิดกับ ชนชั้นนำทางการเมือง ความไร้ วัฒนธรรม การดูถกู ดูแคลนนักศึกษา ทัง้ หมดนีล้ ว้ นแล้ว แต่เป็นองค์ประกอบที่มี บทบาททั้งสิ้น แต่เราไม่สามารถกล่าวโทษมหาวิทยาลัยโดยไม่ คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของมัน ผมจึงขอกล่าว ถึงความเปลีย่ นแปลงสำคัญประการทีส่ องทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการดำรงอยูข่ องปัญญาชนสาธารณะ ความเปลี่ ย นแปลงนี้ อ าจนิ ย ามได้ ว่ า เป็ น วัฒนธรรมทีเ่ ปลีย่ น ไปของชนชัน้ นำและวิธกี าร ทีพ่ วกเขาใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐ(อ่านต่อ ฉบับหน้า)


สัพเพเหระ

ให้ “จำ” เรื่อง “เสียดินแดน” ให้ “ลืม” เรื่อง “ได้ดินแดน” มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย สอนให้“จำ” ว่า“เสีย”กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 และ 2310 ขณะเดี ย วกั น ก็ ท ำให้ “ ลื ม ”ว่ า “ได้ ” กรุ ง ศรี ย โสธร(นครวั ด ,นครธม,กั ม พู ช า)พ.ศ.1974, “ได้”ปัตตานี พ.ศ. 2329 กับ“ได้”นครเวียงจัน(ลาว) พ.ศ. 2369 เมื่อ“ได้”มาแล้วก็ตีขลุมอย่างที่อาจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล เคยบอกว่า คิดฝันและ จินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ของสยามใน อดีตออกมาในรูปของตัวตน(geo-body) สมัยใหม่ คือเอารายชื่อหัวเมืองและเมือง ขึน้ ของรัฐแบบโบราณถูกแปรออกมาเป็น แผนทีแ่ สดง อาณาเขตของสยามสมัยพ่อ ขุนรามคำแหง,พระนเรศวร,พระเจ้ากรุง ธนบุร,ี และสมัยรัชกาลที่ 1 ความภาคภูมิ ใจในอดีตของชาติจงึ เป็นรูปธรรมมองเห็น ได้ด้วยภูมิศาสตร์ เพ้อฝัน (บทนำเกียรติ ยศในหนั ง สื อ รั ฐ ปั ต ตานี ใ น“ศรี วิ ชั ย ”ฯ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2547) เฉพาะแผนที่แสดงอาณาเขตของสยาม สมัยพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัย ล้วน “ยกเมฆ”ทั้งดุ้น เพราะไม่เคยพบพยาน หลักฐานว่ามีอาณาเขตครอบคลุมตลอด แหลมมลายูกว้างขวางปานนั้น 13


อาจารย์ธงชัยบอกอีกว่า “สิง่ ทีเ่ รียกว่าการเสียดินแดน แท้จริงคือการเสียอำนาจเหนือเขตอิทธิพลรอบนอกๆ ซึง่ แต่ไหน แต่ไรมาก็ไม่ใช่ของสยาม แต่เป็นเขตของเจ้าประเทศราชนั้นๆเอง การเสียดินแดนจึงหมายถึงการหมดสิทธิอ้างอำนาจเหนือดินแดนเหล่านั้นอีกต่อไป” “สยามแพ้ อ้างอำนาจต่อไปไม่ได้ เราจึงเรียกว่าการเสียดินแดน “สยามชนะ ผนวกดินแดนที่เคยคลุมเครือให้กลายเป็นของสยามแต่ผู้เดียว เรากลับเรียกว่า การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองของสยาม ไม่เคยเรียกว่า การได้ดินแดน” แต่วาทกรรม“การเสียดินแดน”นี้ อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บอกไว้ในหนังสือลัทธิชาติ นิยมไทย/สยาม กับกัมพูชาฯ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2552 หน้า 120) ว่าถูกสร้างใหม่ตาม“ลัทธิ ชาตินิยม”สมัยเปลี่ยนชื่อสยาม เป็นประเทศไทย เมื่อหลัง พ.ศ. 2475 เพื่อเบียดผลัก“คณะเจ้า” และ/หรือ “ระบอบเก่า” และ“ผูน้ ำเก่า”(เจ้าและขุนนาง) ให้หลุดออกไปจาก“ศูนย์กลาง”ของอำนาจ กรณีปราสาทพระวิหารที่กำลังคลั่งอยู่นี้ จะ“จัดการ”ใครหรืออะไรดีล่ะ?

14


ลูกนาย ก.

ความขัดแย้ง ความรุนแรง อัตลักษณ์ วาทกรรม : **ผลงานชิ้นโบแดงที่เกิดจากดินสอหลากสี** จีระพงษ์ โพพันธุ์

ที่มา: http://www.kroomornor.ispace.in.th/index.php?name=blog&file=readblog&id=5

15


างกระดาษขาวแผ่นหนึง่ ลงบนโต๊ะหยิบดินสอสีเหลืองสีแดงสีนำ้ เงิน...ดินสอหลากสีมาขีดเขียน แต่งแต้มเติมตัวอักษร ลงเส้น วาดรูปสรรพสิ่ง บรรเลงลงไปในกระดาษแผ่นนั้นตามแต่ ใจจะปรารถนา ตาม แต่อัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล ก่อเกิดงานศิลป์ชิ้นโบแดงขึ้นมา ถ้าเราเปรียบดินสอสีที่แต่งแต้มเติมสีลงไปในกระดาษแผ่นนั้นให้เป็น กรอบแนวคิด หรือ “อัต-ลักษณ์” ของแต่ละบุคคลทีส่ ะท้อนออกมาในรูปแบบต่างๆ กระดาษแผ่นนัน้ เปรียบได้กบั ประเทศไทยที่ ร อการพั ฒ นาขึ้ น โดยการแต่ ง แต้ ม เติ ม สี จ ากกรอบแนวคิ ด หรื อ อั ต ลั ก ษณ์ ทีอ่ าจจะมีทง้ั ความแตกต่าง หรือความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันโดยใช้ “วาทกรรม” ในการสร้าง ความศรัทธาเพือ่ ดึงดูดบุคคลทีม่ อี ตั ลักษณ์เหมือน กันรวมตัวกันขึน้ ซึง่ แน่นอนจะต้องเกิดเป็น กลุ่มต่างๆ เหมือนกับสีที่มีมากมายหลายสี ซึ่งอาจจะทำให้เกิด“ความขัดแย้ง”ที่หลีกเลี้ยงไม่ ได้ และทีส่ ำคัญ อาจจะเกิด “ความรุนแรง” ตามมาก็ได้ ดังนัน้ เราจะมีวธิ จี ดั การกับความขัดแย้งและ ใช้ประโยชน์เพือ่ เป็นแรงผลักให้เกิดการพัฒนาขึน้ โดยไม่กอ่ ให้เกิดความรุนแรงได้อย่างไร นั่นเป็น สิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ และช่วยกันคิดหาทางต่อไป แล้วอะไรละที่เขาเรียกกันว่า อัตลักษณ์ ผู้เขียนขออธิบายสั้นๆ ว่า อัตลักษณ์ เป็นความรู้ สึกนึกคิดทีบ่ คุ คลมีตอ่ ตนเองว่า “ฉันคือใคร” ซึง่ จะเกิดขึน้ จากการปฏิสงั สรรค์ระหว่างตัวเราเอง กับบุคคลอืน่ โดยผ่านการมองตนเองและการทีค่ นอืน่ มองเรา อัตลักษณ์ตอ้ งการความตระหนัก ในตัวเราและพืน้ ฐานของการเลือกบางอย่าง นัน่ คือเราจะต้องแสดงตัวตนหรือยอมรับอย่างตั้ง ใจกับอัตลักษณ์ทเ่ี ราเลือก ความสำคัญของการแสดงตัวตนก็คอื การระบุได้วา่ เรามีอตั ลักษณ์ เหมือนกลุ่มหนึ่งและมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างไร และ “ฉันเป็นใคร” ในสายตาคนอื่น อัตลักษณ์เกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ทั้งระหว่างบุคคลในสังคมและภายในตัวบุคคลเอง ในแต่ละบุคคลอาจมีอตั ลักษณ์ทห่ี ลากหลาย แต่จะมีการเลือกเอาเพียงอัตลักษณ์ใดอัตลักษณ์ หนึ่งที่ตนยอมรับเพื่อนำมาใช้ ภายใต้เงื่อนไขของบริบทในช่วงเวลาและพื้นที่ และอัตลักษณ์น้ี อาจถูกกำหนดได้ทง้ั จากบุคคลเป็นผูก้ ำหนดตนเองหรือถูกกำหนดโดยสังคมก็ได้ การกำหนด อัตลักษณ์น้เี กิดขึ้นบนกระบวนการคิดเกี่ยวกับระบบของความแตกต่างระบบของความหลาก หลาย และการตั้งคำถามว่า “อัตลักษณ์ที่จะสร้างขึ้นนั้นมีความเชื่อมโยงกับสังคมอย่างไร” ดังนัน้ อัตลักษณ์กบั สังคมจึงเป็นเรือ่ งทีแ่ ยกกันไม่ออก เนือ่ งจากการนิยามความเป็นตัวตนของ อัตลักษณ์นั้นต้องมีการอ้างอิงกับสังคม แม้จะเป็นในระดับตัวบุคคลก็ยังต้องมีการนิยามตน เองว่ามีตำแหน่งแห่งที่ หรือมีบทบาทอย่างไรในสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ เมื่อเราได้รู้จักกับ อัตลักษณ์ กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ คน คงมีอตั ลักษณ์ทแ่ี ตกต่างไปจากอัตลักษณ์ของผูเ้ ขียนอยูไ่ ม่นอ้ ย ดังนัน้ ถ้าเราจะสร้างกลุม่ บุคคล ที่มีอัตลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน เราจะใช้เครื่องมืออะไรในการสร้างกลุ่มของเรา? ซึ่งวิธีการก็มี อยู่มากมายแล้วแต่เทคนิควิธีของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แต่วิธีการหนึ่งที่น่าสนใจก็น่า 16


จะเป็นการใช้ “วาทกรรม” าทกรรมเป็นการพยายามเชือ่ มโยงเรือ่ งสำคัญ 3 เรือ่ งเข้าด้วยกันนัน่ คือความรูอ้ ำนาจและความ จริง กล่าวโดยรวมๆ ได้ว่าวาทกรรมเป็นการสร้างความรู้ การผลิตความรู้หรือการนิยาม ความรู้บางอย่างขึ้นมาเพื่อให้มีอำนาจในการกำหนดความจริง ถ้าพูดแบบนีแ้ ล้วอาจจะไม่เข้าใจ ดังนัน้ ผูเ้ ขียนจึงขอยกตัวอย่างประกอบ เพือ่ ให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นสมมติว่าดินสอสีเหลืองมีการรวมตัวกันของบุคคลต่างๆที่มีอัตลักษณ์ที่คล้ายคลึง กัน โดยใช้ข้ออ้างหรือวาทกรรมที่ว่า นายกฯ กำลังจะตั้งตนเป็นใหญ่โดยลบหลู่สถาบันหลัก ของชาติ ซึ่งความจริงแล้วอาจจะเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นวาทกรรมเรื่องนี้จึงเป็น การให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว ถ้าหากเรายอมรับว่าเรื่องที่ดินสอสีเหลืองกล่าวมานั้นเป็นจริง เราก็จะเกิดความรัก ความหวงแหนในสถาบัน และจะเกิดเป็นอำนาจควบคุมตัวเราให้ปฏิบตั ิ ตามแนวทางนั้นๆ ด้วยความเต็มใจ เมือ่ เกิดการรวมตัวขึน้ แล้ว คงจะหลีกเลีย้ งความขัดแย้งไปไม่ได้ ซึง่ ความขัดแย้งย่อมเกิด ขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือการที่ ต้องทำงานเป็นกลุม่ นอกจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลแล้วยังจะมีความขัดแย้งระหว่างกลุม่ ด้วย หากสมาชิกกลุม่ มีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน ความขัดแย้งก็จะเกิดมากขึน้ จึง อาจจะกล่ า วได้ ว่ า เป็ น การยากที่ ค นเราจะทำงานร่ ว มกั น ในหน่ ว ยงานโดยปราศจาก ความขัดแย้ง จนมีคำกล่าวว่า “ความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในชีวิตแต่ปัญหาและความ รุนแรงไม่จำเป็นต้องมี” จากสถานการณ์ปจั จุบนั คิดว่าท่านผูอ้ า่ นคงทราบกันดีวา่ เรากำลังเผชิญกับความขัดแย้งใน ระดับทีร่ นุ แรง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความขัดแย้งในครัง้ นีเ้ ป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ทีเ่ ป็น เรือ่ งของการแย่งชิงอำนาจและการใช้อำนาจ นอกจากนีย้ งั เป็นความขัดแย้งจากผลประโยชน์ ที่มีการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ประกอบกับความขัดแย้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ ทีม่ ผี ทู้ เ่ี กีย่ วข้อง หรือมีสว่ นได้สว่ นเสีย เกีย่ วข้องกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายต่างมีความเป็นห่วงกันว่าจะเป็นการทำให้สังคมไทยแตกแยกอย่างหนัก และจะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด การยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธีจึงเป็นแนวทางที่กล่าวถึง กันเยอะ มือ่ มาถึงตรงนีแ้ ล้ว ท่านผูอ้ า่ นคงมีคำถามตามมาแล้วว่า “อะไรคือสันติวธิ ”ี ซึง่ จากการศึกษาพบว่า สันติวธิ นี น้ั มีอยูส่ องลักษณะคือสันติวธิ ใี นการต่อสูเ้ รียกร้องให้ได้มาในสิง่ ทีต่ อ้ งการและสันติ วิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สันติวธิ ปี ระการแรกคือ สันติวธิ ใี นการต่อสูห้ รือเรียกร้อง แนวทางในการต่อสูน้ เ้ี ป็นแนวทาง ทีถ่ กู นำมาใช้เมือ่ เกิดความไม่พอใจหรือมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผูท้ ม่ี อี ำนาจ มีการดำเนิน

17


การในลักษณะของการประท้วง หรือ การเรียกร้อง หรือการต่อสูโ้ ดยการยืน่ หนังสือขอเข้าพบ หรือการชุมนุมกันเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย หรือแสดงออกถึงความคิดเห็นที่แตก ต่างจากผู้มีอำนาจ โดย สงบ สันติ ไม่มีอาวุธ ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางทีมีต้นแบบจากแนว ทางการต่อสูแ่ บบ “อหิงสา” ของมหาตมคานธี ในการต่อสูเ้ รียกร้องเอกราชของอินเดีย และใน ประเทศไทยจะเห็นตัวอย่างได้จากการชุมนุมประท้วงของกลุม่ พันธมิตรประชาชนเพือ่ ประชาธิปไตย ที่มรการใช้คำนี้เป็นอย่างมาก และสันติวธิ อี กี ประการหนึง่ ก็คอื สันติวธิ ใี นการแก้ปญ ั หาความขัดแย้ง สำหรับแนวทางนีเ้ ป็น แนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาหลักจากที่ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว และพยายาม ทีจ่ ะยุตคิ วามขัดแย้งโดยการใช้แนวทางทีส่ นั ติ ซึง่ แนวทางทีเ่ ด่นชัดทีส่ ดุ ได้แก่ การเจรจาไกล่เกลี่ย กันเองระหว่างคู่พิพาท หรือโดยมีคนกลางซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ช่วยในกระบวนการไกล่เกลี่ย และไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินชีขาดแต่จะเป็นผู้กำกับการเจรจาให้ดำเนินไปได้อันจะนำไปสู่ทาง ออก คือการยุติความขัดแย้งและความรุนแรง

ถ้

าประเทศไทยขาดกลุ่มสีต่างๆ ขาดความคิดที่แตกต่าง และปราศจากความขัดแย้งแล้ว ก็เปรียบได้กับกระดาษธรรมดาๆ แผ่นหนึ่งที่ไม่มีการพัฒนา ไม่มีราคา เพราะขาดการ วาดระบายสีด้วยด้วยดินสอสีต่างๆ การทำความเข้าใจในเรื่องของอัตลักษณ์ วาทกรรม ความขัดแย้งและความรุนแรงเป็นสิ่ง ที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นถ้าแกน นำของแต่ละฝ่ายมองไปยังผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าพวกเราคงผ่านวิกฤตการณ์ตรงนี้ไปได้ ประเทศไทยไม่ได้ขึ้นกับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่บุคคลทุกภาคส่วนต่างหากคือผู้ที่จะนำพาประเทศไทย เดินไปข้างหน้า ประชาธิปไตยนัน้ เสียงส่วนใหญ่กจ็ ริง แต่กม็ อิ าจละเลยสิทธิของเสียงส่วนน้อย ไปได้ ถ้าทุกคนหันหน้าเข้าหากันแล้วทุกอย่างคงจะดีขึ้นเอง

18


เด็กเด็กแห่งปัตตานี

ดูสิ,พริ้มเพราเยาว์วัย งามสดใส อยู่ใต้เงาเมฆเสกมนตร์ ผุกผาด ผุดผ่อง-ท่องถนน สนุกซุกซน ไร้กล ไร้เลห์ลวงตา เช้ากรุ่น หอมกลิ่นบุหงา เสนห์เวลา หลั่งไหลไหวหล้าอ่าอวล วัยเยาว์แห่งรักชักชวน ชื่นเสียงนกสวน เก็บมวลดอกไม้พรายพราว สมมติ สืบเนื่องเรื่องราว ดอกพร่างต่างดาว ก้านดอกหญ้าน้อยร้อยเรียง ในเพลงนกพร่ำสำเนียง ใสใส-แว่วเสียง บอกขายมาลัยละมุน โลกพลัน โอบเอื้อเจือจุน โปรยพรมลมอุ่น มอบดอกไม้หว่านลานดิน ก่อเกิดกระแสแห่งจิน ตนาการริน อาบวิญญานเหล่าเยาว์วัย จับจองใบไม้ปรายใบ แลกค่ามาลัย อิ่มใจ อิ่มฝันตระการ โลกเช้าลึกล้ำฉ่ำหวาน พระเจ้าส่งสาส์น พลิ้วผ่านห้วงใจวัยเยาว์ ผีเสื้อโบกปีกบาง ลมล่องลำเนา พัดเป่าเกสรร่อนราย อำนวยพรเด็กหญิง ชาย จงสุขสบาย อยู่ในมาตุภูมิตำนาน เติบโตงดงามตามกาล ไซตอน ซาตาน อย่าได้กราดเกรี้ยวเคี้ยวกลืน เช้าฉ่ำ แดดทาฟ้าผืน เด็กเด็กเริงรื่น ขณะเงาปืนเคลื่นมา

ประพันธ์โดย: วิสุทธิ์ ขาวเนียม

19


โปสการ์ดรณรงค์ ให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบัน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคนจาการบังคับให้สูญหาย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.