บอกอ ขอคุย
ในนี้มีอะไร สวัสดีครับ ปลายเดือนทีแ่ ล้ว เกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น ภายในค่ายอิงคยุทธฯ เมื่อมีเหตุนายสุไลมาน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ แนซา เสียชีวติ ใิ นสภาพผูกคอตายในห้องควบคุม งานนำเสนอรายงานเรื่อง บทบาทและ ความท้าทายของผู้หญิงมุสลิม ตัว เป็นกรณีแรกที่ผู้ถูกควบคุมตัวฆ่าตัวตาย ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัด นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง รัฐกับกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน แต่ใน ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย น.3 มุมมองของชาวมุสลิมทัว่ ไป ไม่เชือ่ ว่าจะมีการฆ่า ศุกร์เสวนา ตัวตายเพือ่ ปกปิดความลับเพราะว่าอิสลามห้าม ผู้หญิงมุสลิมในบริบทความรุนแรง การฆ่าตัวตายอย่างเด็ดขาดและเชือ่ ว่าผูท้ ฆ่ี า่ ตัว บทสะท้อนความเป็นสมัยใหม่ น.4 ตายจะไม่มสี ทิ ธิขน้ึ สวรรค์ ดังนัน้ เจ้าหน้าทีท่ เ่ี กี่ยว รายงานพิเศษ ข้องจะต้องออกมาชี้แจงข้อสงสัยของสังคมว่า การตายไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ในคืนวันอันมืดมิด น.6 อย่างไรก็ตามผลการชันสูตรของหน่วย สัพเพเหระ งานต่างๆยังไม่เรียบร้อย ดังนัน้ เมือ่ ผลการชัน สูตรศพออกมา หวังว่าจะสามารถตอบข้อสง เมื่อถึงยุคที่ ‘สังคมไทย’ ต้องลิม้ รส สงครามกลางเมือง น.11 สัยของสังคมได้ดว้ ยหลักวิทยาศาสตร์ และเพือ่ ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ตายและเจ้าหน้าที่รัฐ ลูกนาย ก. ศึกษา“ภูมิวัฒนธรรม”เพื่อเข้าถึง และเข้าใจชายแดนใต้ กับบทวิพากษ์ “คนใน”ให้คิดนอกกรอบ น.14
กองบรรณาธิการ การคณะทำงานยุ คณะทำงานยุติธตรรมเพื ิธรรมเพื่อสั่อนสัตินภติาพ ภาพ กองบรรณาธิ สำนักงานปั กงานปัตตานี ตตานีเลขที เลขที่ 22/186 ่ 22/186ถ.หนองจิ ถ.หนองจิก กต.รูต.รูสะมิ สะมิแลแลอ.เมื อ.เมืององ สำนั จ.ปัตตานี ตตานีโทร. โทร.073-331-254 073-331-254 จ.ปั e-mail:asman@wgjp.org asman@wgjp.org e-mail: website: wgjp.org : wgjp.org website ภาพปกโดย:อังคณา นีละไพจิตร
2
working group on justice for peace
ค
ณ ะ ท ำ ง า น ยุ ติ ธ ร ร ม เ พื่ อ สั น ติ ภาพได้มีการจัดงานนำเสนอรายงาน เรือ่ ง“บทบาทและความท้าทายของผูห้ ญิงมุส ลิมท่ามกลางความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแ ดนภาคใต้ของประเทศไทย” ในวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2553 ที่โรงแรมซี.เอส ปัตตานี เพือ่ สะท้อนปัญหาของผูห้ ญิงในหลาย มิติ ไม่วา่ จะเป็นผูห้ ญิงทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจาก ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ จากกองกำลัง ไม่ทราบฝ่ายผูห้ ญิงในครอบครัวผูถ้ กู บังคับให้ สูญหาย รวมถึงผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มของผู้ใช้ ความรุนแรง นอกเหนือจากนัน้ ยังฉายภาพ ปัญหาที่ผู้หญิงมุสลิมต้องเผชิญในฐานะที่ เป็นลูกสาว ภรรยา หรือมารดา อุปสรรคของ การเข้าถึงกลไกความคุม้ ครองจากการใช้กฎ หมายอิ ส ลามปั ญ หาเศรฐกิ จ ที่ ผู้ ห ญิ ง ต้องเผชิญ ไปจนถึงการค้ามนุษย์และความรุน แรงในครอบครัว 3
เรื่องผู้หญิงมุสลิมในบริบทความรุนแรง บทสะท้อนความเป็นสมัยใหม่ เปิดประเด็นโดย ฮาฟิสสา สาและ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
จากที่ได้ทำวิจัยเรื่องบทบาทของผู้ หญิงมุสลิมโดยใช้ประเด็นวิเคราะห์ หลักของ Gender islam คือในเรื่องของบทบาทหน้าที่ ของชายและหญิงตามที่หลักศาสนากำหนด มาซึ่งในมุมมองของคนต่างศาสนิกก็มองว่า ผู้หญิงมุสลิมถูกกดขี่ ผู้หญิงมุสลิมไม่เหมือน คนอื่น แต่ทฤษฏีที่นำมาใช้ในการแยกคือก็ คื อ ความเห็ น ที ่ ม องว่ า ผู ้ ห ญิ ง และผู ้ ช าย จะมีบทบาทและหน้าที่ตามแต่ละเพศที่แตก ต่างกัน จะให้น้ำหนักกับเรื่องนี้เพราะเกี่ยว กับเรื่องผู้หญิงกับภาวะสมัยใหม่น้สี ังคมโดย ทัว่ ไปจะแบ่งผูห้ ญิงมุสลิมเป็น 4 ประเด็น ประเด็ น แรกที่ ม องว่ า หลั ก การ อิสลามกดขีผ่ หู้ ญิงมุสลิม มุมมองทีว่ า่ นีท้ กุ คน ต้ อ งมี สิ ท ธิ เ ท่ า เที ย มกั นเหมือนกันทั้งหมด มองว่าผู้หญิงมุสลิมจะถูกกดขี่ มุมมองที่สอง 4
คือจะมองว่าจริงๆแล้วหลักการอิสลามไม่ได้ กดขี่หลักการต่าง ๆ โดยจริง ๆ แล้วเท่าเทียมกัน แต่ผู้ชายเป็นคนตีความ ที่มีปัญหาคือผู้ชาย เป็นคนตีความ ส่วนกลุ่มที่สามมองว่าผู้ หญิ ง อิ ส ลามทำอะไรก็ ไ ด้ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก กดขี่ ก็ เหมือนคนทั่ว ๆ ไป ส่วนกลุ่มที่สี่จะมองว่าผู้ หญิงและผู้ชายมีบทบาทและหน้าที่ที่ต่างกัน คือเท่าเทียมกันในฐานะเป็นมนุษย์ แต่มีบท บาทและหน้าที่ต่างกันในเรื่องของGender คือเรื่องของเพศสภาพ สถานะของเพศ แต่ ตามความเข้าใจของผู้คนคือบทบาททางเพศ Gender ทั่วไปกับ Gender อิสลามก็มีหลัก คิดไม่ต่างกันคือทั้งผู้หญิงผู้ชายก็มีบทบาท และหน้าที่ของกันและกันคือหลักคิดของแต่ ละเพศ ่ใ นอิ ส ลามระบุ อ อกมาในกุ ร อ่ า น อย่างชัดเจนว่าในสังคมมองเรื่องนี้เป็นยังไง Gender อิสลามมองว่า อิสลามของเพศผูช้ าย และผู้หญิงเป็ นอย่ า งไร บทบาทคื อการ เป็นผูน้ ำครอบครัว ผูห้ ญิงคือการเป็นแม่บา้ น กิ จ การในบ้ า นก็ จ ะไม่ แ ตกต่ า งกั บ Gender ทั่วไป แต่ของอิสลามจะชัดเจนกว่า แต่ในมุมมองจริง ๆ แล้วก็ต้องย้อน ไปดูในตัวบทและหลักการของศาสนาด้วย ว่ามันก็ต้องเชื่อมโยงกับวิถีของอิสลามและ
วิถีของมนุษย์อยู่แล้ว จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ที่ดำเนินไปโดยหลักการของผู้หญิง ก็ได้วาง ไว้แล้วว่าระบบเป็นไปตามหลักการอิสลาม แต่ในความเป็นสมัยใหม่มันก็มีเรื่องของหลัก การชารีอะห์และหลักกฎหมาย เกีย่ วกับความ เห็นของอุลามาอหรือผู้รู้มาอธิบายประกอบ กันด้วย ส่วนการทำงานนอกบ้านนั้นก็เป็น การตีความกันไป อุลามาอทีเ่ ขายึดสายกลาง ก็มีการเปรียบเทียบว่าสามารถทำงานนอก บ้านได้ แต่อาจมีข้อห้ามว่าต้องได้รับความ ยินยอมจากสามี ซึ่งการวางตัวนั่นต้องอยู่ที่ บริบทของครอบครัวในการที่จะกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อพูดถึงผู้หญิง ในอุ ด มคติ ผู้ ช ายส่ ว นใหญ่ จ ะมองเห็ น ถึ ง ผู้ หญิงที่จะมาเป็นคู่ชีวิตมากกว่า เป็นผู้หญิงที่ สามารถดูแลครอบครัวได้ ส่วนการทำงาน นอกบ้านก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่ตามความ เหมาะสมของแต่ละคน แต่ถ้าการจะทำงาน นอกบ้ า นต้ อ งได้ รั บ ความยิ น ยอมจากสามี ถ้าสามีไม่ยินยอมก็ไม่สามารถที่จะออกมา ทำงานได้ แต่หน้าที่ที่บ้านผู้หญิงก็ต้องไม่ ขาดตกบกพร่อง คือการเลี้ยงลูกการทำงาน ในบ้ า นที่ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องภรรยาอยู่ แ ล้ ว แต่ สามีก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อคุณอนุญาตให้เขาทำ งานนอกบ้านแล้วคุณก็ต้องเข้าใจว่างานเขา ไม่เพียบพร้อมหรือว่าอะไร คุณก็ต้องพร้อม ที่จะยอมรับในสิ่งที่ผิดพลาดไปบ้าง อันนั้นก็ ต้ อ งยอมรั บ ในสิ่ ง ที่ ผิ ด พลาดซึ่ ง กั น และกั น แต่ ส ำหรั บ ผู้ ห ญิ ง เช่ น กั น ในขณะที่ ส ามีี อนุญาตให้คุณทำงานนอกบ้าน เราก็ต้องทำ พฤติกรรมให้เหมาะสมกับคนที่มีครอบครัว 5
แล้ว ยกตั ว อย่ า งกรณี ห นึ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน ภาคใต้ ที่ จ ะมองเห็ น ถึ ง บาทของผู้ ห ญิ ง ใน สถานการณ์ความรุนแรงได้มากขึน้ ทีส่ ามีเขา เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบขณะที่มี อายุได้ 24 ปี หลังจากท่ีสามีเขาเสียไปจากที่ เขาเคยอยู่แต่ในบ้าน ดูแลกิจการครอบครัว จนทำให้เขาคิดว่าความคิดเขาโตกว้างขึ้น โดยที ่ ม ี ค นจากข้ า งนอกมามากขึ ้ น มามี กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของตนเองมาก ขึ้น จนคิดว่าตนเองก็พึ่งตนเองได้ เขาบอกว่ าความรุ น แรงทำให้ เ ขาเป็ น ผู้ น ำมากขึ้ น เนื่ อ งจากต้ อ งทำหน้ า ที่ แ ทนสามี ที่ เ สี ย ไป ดูแลลูก ดูแลบ้าน ต้องทำงานทุกอย่าง จากที่ เคยแบมือขอแต่สามีจนมาสู่การพึ่งตนเอง จนคิ ด ว่ า อยากจะลงสมั ค รเป็ น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น เพราะตอนนี้รู้จักคนจากภายนอกมากขึ้น ได้ ทำโครงการเข้าสู่หมู่บ้านซึ่งในช่วงแรกๆนั้น ไ ม่ ค่ อ ย ไ ด้ รั บ ก า ร ย อ ม รั บ เ ท่ า ที่ ค ว ร ชาวบ้านจะพูดว่า พอสามีตายก็ออกข้างนอก บ้านมากขึ้น แต่เพราะการวางตัวดีจนได้รับ การยอมรับ เป็นตัวอย่างที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ ต่อสู้จนเอาชนะความกลัวและมีบทบาททาง สังคมมากขึ้นภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบ ในภาคใต้
“ในคืนวันอันมืดมิด” 6
รายงานพิเศษ
โดย เกษียร เตชะพีระ
“ในคืนวันอันมืดมิด”
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274437899&grpid=&catid=02
แถวรถเกราะขับเคลื่อนเกลื่อนถนนแถวทหารชุ ม พลเดิ น ดาหน้ า กระบอกปื น ยื่ น ยาวจ่อเข้ามาเสียงปืนแตกน้ำตาและความตายตาคู่น้ไี หวหวั่นสั่นสะท้านตาคู่ นั้ น แดง ฉานโฉดกระหายตาคู่นี้ปวดร้าวและเสียดาย ตาคู่นั้นโหดร้ายและเลือดเย็น ปากถูกปิดเอ่ยอ้อนเสียงวอน ขอปากทีส่ ง่ั เมินต่อความทุกข์เข็ญปากถูกปิดทวง ถามตามประเด็นปากที่สั่งกลับเห็นเป็นวุ่นวาย มือหยาบกร้านอานทุกข์จึงลุกสู้ มือกุมปืนยืน่ ขูข่ อ้ กฎหมาย มือหยาบกร้านแค้นข้นจนลืมตาย มือกุมปืนส่องส่ายจะเหนีย่ ว ไก..... ไม่วา่ จะเรียกว่า “กบฏ” “สงครามประชาชน” หรือ “การลุกขึน้ สู”้ ความเป็นจริง พื้นฐานของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ พวกเขายอมตาย แต่ไม่ยอมให้คุณปกครอง ในภาวะเช่นนี้ คุณมีทางเลือกไม่มาก หากไม่ฆ่าพวกเขาให้ตายราบคาบไป ก็ต้องปรับ การปกครองให้รองรับความเรียกร้องต้องการของพวกเขาบ้างตามแต่จะเจรจาต่อรอง กันได้ รุ่นพี่ผู้ผ่านเหตุการณ์ทำนองนี้มาหลายครั้งเคยบอกว่าการเมืองไทยกล่าวให้ ถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องแค่นี้ คือมีคนหมดความกลัว ลุกขึ้นและบอกว่ากูไม่ยอมให้มึง ข่มเหงรังแกอีกต่อไป เอาไงก็เอากันหากผู้ที่ลุกขึ้นมีจำนวนมากพอและเข้มแข็งพอจน งัดกันไม่ลงแล้ว ผู้มีอำนาจก็ค่อยๆ เรียนรู้ที่จะปรับตัว 7
อดีตการฆ่าฟันที่ผ่านพ้น บรรจบผลเป็นการฆ่าฟันใหม่ แผ่นดินเคยฝังกลบศพปู่ใคร ลูกหลานยังคลั่งไคล้ใคร่ฆ่ากัน คนเคยเชือดเลือดเขียนประวัติศาสตร์ พลิกหน้าใหม่ยังวาดด้วยเลือดนั่น บทเรียนที่ใครใครรู้ไม่ทัน ก็คือชีวิตนั้นราคาแพง จากต่อสู้สันติอหิงสา เมื่อแรงมาก็แรงไปไล่ยุทธแย่ง จากเลือกตั้งยุบสภามาเปลี่ยนแปลง กลายเป็นความรุนแรงจลาจล เลือดเข้าตาเร้ารุมจนคลุ้มคลั่ง สิ้นสติยับยั้งยึดเหตุผล ผู้ปกครองท่องคำขวัญนำชน เกียรติแห่งการฆ่าคนก้องกำจาย..... มีการเคลื่อนไหวก่อการร้ายต่อรัฐบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มการชุมนุม ของ นปช.รอบล่าสุดกรณีระเบิดป่วนเมืองและการยิงเอ็ม 79 นับร้อยครั้งนับแต่เดือน กุมภาพันธ์ศกนี้เป็นต้นมาจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายทรัพย์สินเสียหายมากมายทำให้มิอาจ เข้าใจเป็นอื่นไปได้ โดยเฉพาะเมื่อการก่อการร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นควบขนานไปกับการ ชุมนุมของ นปช. ก็ยิ่งทำให้แยกแยะกลุ่มก่อการร้ายออกจากการชุมนุมทางการเมือง โดยสงบยากขึ้น การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง [การใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้ความรุนแรง (violence or threats of violence)+ต่อเป้าหมายพลเรือน (civilian targets)+ซึ่งก่อให้ เกิดความหวาดกลัวสยองขวัญในหมู่สาธารณชนทั่วไป (fear)+เพื่อบรรลุเป้าหมายทาง การเมือง (political ends)] อาจสรุปย่อเพื่อความเข้าใจว่า [T = V+C+F+P] การก่อการร้ายย่อมบ่อนทำลายหลักนิติธรรม (the rule of law) โดยตรง ไม่มี ระบอบเสรีประชาธิปไตยใดดำเนินงานการเมืองภายใต้เงาคุกคามของการก่อการร้าย ได้ นอกจากนี้ มันยังก่อปัญหามากว่าเพื่อต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย รัฐจะสามารถ ผูกมัดจำกัดตัวเองอยู่ภายในกรอบของกฎหมายได้หรือไม่? แน่นอนว่าในทางปฏิบัติ มันเป็นเรื่องยากและมักก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากฝ่าย รัฐผูร้ บั ผิดชอบด้านความมัน่ คงในทำนอง “บ้ามาก็บา้ ไป” อย่างเช่นการอุม้ หาย, ทรมาน และยิงทิ้งผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาลทักษิณ หรือการ ที่รัฐบาลบุชผู้ลูกเปิดไฟเขียวให้ซีไอเอและกองทัพอเมริกันใช้วิธีลักพาตัว, ทรมานและ ลอบสังหารผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายในประเทศต่างๆ เป็นต้น 8
ทว่าในทางกลับกัน หากรัฐปกป้องหลัก นิติธรรมจากการก่อการร้ายด้วยวิธีการ ที่ละเมิดกฎหมายเสียเองเช่นนี้ มันจะมิ เป็นการบ่อนทำลายหลักนิติธรรมอัน เป็นเป้าประสงค์แต่แรกของตนเองลง ไปล่ะหรือ? รัฐจะปกป้องหลักนิติธรรมด้วยการบ่อน ทำลายหลักนิติธรรมได้อย่างไร? หากรัฐต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายโดยกลุ่ม (group terrorism) ด้วยการที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐ [ใช้ความรุนแรงหรือข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง (violence or threats of violence) ต่อพลเรือน (civilian targets) อันก่อให้เกิดความหวาด กลัวทั่วไปในหมู่มวลชน (fear) เพื่อบรรลุเป้าหมายการเมืองไม่ว่าจะเป็นการสลายการ ชุมนุมหรือ “ขอพื้นที่คืน” หรือ “กระชับพื้นที่” (political ends)] ซึ่งก็คือ [V+C+F+P] แล้ว มันจะมิกลายเป็นการก่อการร้ายโดยรัฐ (state terrorism) ไปหรือ? และถ้ากระนั้น รัฐต่างอะไรในทางศีลธรรมจากกลุ่มก่อการร้ายเถื่อนเหล่านั้นเล่า? การลอบสังหารเสธ.แดงและการที่ผ้บู าดเจ็บล้มตายแทบทั้งหมดในปฏิบัติการ กระชับพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ของ ศอฉ. หลายวันที่ผ่านมาล้วนเป็นพลเรือน ทำให้ จำเป็นต้องตั้งคำถามเหล่านี้ อย่าลืมว่าข้อสรุปของการต่อสู้กับการก่อการร้ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม ทั้งประเทศไทยเองในอดีตก็คือไม่สามารถเอาชนะการก่อการร้ายโดยมาตรการความ มั่นคงอย่างเดียวได้ หากต้องใช้มาตรการทางการเมืองเป็นหลักและประกอบด้วย มาตรการความมั่นคงเป็นรอง โดยขจัดเงื่อนไขทางการเมืองของการก่อการร้ายให้ หมดสิ้นไป จนมวลชนที่เป็นฐานรองรับสนับสนุนการก่อการร้ายไม่เห็นประโยชน์หรือ ความจำเป็นของการก่อการร้ายอีก แล้วหันมาเดินหนทางต่อสู้ทางการเมืองแบบสันติ วิธีแทน จากนี้จึงจะสามารถแยกปลา (กลุ่มก่อการร้าย) ออกจากน้ำ (มวลชน) และจัดการกับปลา (ยุติกลุ่มก่อการร้าย) ได้ 9
ผมเห็นว่าปฏิบตั กิ ารกระชับพืน้ ที/่ ขอพืน้ ทีค่ นื ทีร่ าชประสงค์นบั แต่ 13 พฤษภาคม ศกนี้เป็นต้นมาส่งผลตรงกันข้ามกับข้างต้น การส่งทหารติดอาวุธสงครามเบาประจำ กายและรถเกราะไปตั้งด่านประจันหน้ากับผู้ชุมนุมเรือนร้อยเรือนพันที่ส่วนใหญ่อย่าง มากก็มีแค่ก้อนหิน หนังสติ๊ก น็อตเหล็ก ลูกแก้ว ไม้ ยางรถยนต์ ระเบิดเพลิง บั้งไฟ ประทัดยักษ์ รถมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่นั้น ยิ่งแปลกแยกผู้ชุมนุมจากฝ่ายเจ้าหน้าที่และ รัฐบาลมากขึน้ ยิง่ เพิม่ ความเกลียดกลัวหวาดระแวงไม่ไว้ใจกันระหว่างสองฝ่ายมากขึน้ และ ในทางกลับกันก็ยง่ิ ผลักพวกเขาไปแสวงหาความคุม้ กันใต้รม่ กำลังไฟของปืนและระเบิด เอ็ม 79 ในมือกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้น ยิ่งทำให้ผู้ชุมนุมหันไปพึ่งพายกย่องกลุ่มก่อการ ร้ายเป็นอัศวินฮีโร่ผู้ปกป้องคุ้มครองพวกเขาจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ดูจะมุ่งร้ายหมายเอา ชีวิตเขาเหนียวแน่นขึ้นอีก นี่หรือที่รัฐบาลและ ศอฉ.ต้องการ? กัมปนาทเสียงปืนจึงครื้นครั่น คละคลุ้งควันฝุ่นตลบและศพหาม ธารเลือดเฉกเชื้อไฟโชนไหม้ลาม เปลวสงครามแรงลุกทุกแผ่นดิน คนที่ขูดขูดไปใจครึกครื้น คนที่แค้นจับปืนจำโหดหิน คนต่อคนเข่นฆ่าเป็นอาจินต์ ความเป็นคนค่อยสิ้นจากหัวใจ หยาดน้ำตา ทุกหยดถ้วนประมวลมาคงบ่าไหล บนแผ่นดินดาลเดือดด้วยเลือดไฟ ย่อมใจใครใจใครไม่คงทน เกลียดมึงเกลียดมันเกลียดกันเกลื่อน กระหายเลือดเชือดเฉือนกันปี้ป่น กลัวศัตรูกลัวตายและกลัวตน สัตว์หรือคนคนหรือสัตว์อัศจรรย์..... แล้วใครที่สวดอ้อนวอนพระเจ้า ถึงญาติมิตรของเขาด้วยเสียขวัญ ใครท้องกิ่วหิวอดหดหู่ครัน ใครนอนกลัวตัวสั่นสุดข่มตา ใครเฝ้าครุ่นคำนึงถึงลูกผัว ใครร้องไห้เมื่อเสียหัวทหารกล้า ประชาชนประชาชนธรรมดา ผู้ไหล่บ่าแบกหาบบาปสงคราม..... ในหลายปีที่ผ่านมา คนไทยฆ่ากันมากมายเกินไปแล้ว หยุดฆ่าเถอะครับ ก่อนจะไม่มีประเทศไทยเหลือให้ลูกหลานเราได้อยู่กันต่อไป
10
สัพเพเหระ
เมื่อถึงยุคที่ ‘สังคมไทย’ ต้องลิ้มรส สงครามกลางเมือง
สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
เมื่อถึงยุคที่‘สังคมไทย’ ต้องลิ้มรส สงครามกลางเมือง เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2553ที่ ผ่านมาหากมีใครกล่าวว่าประเทศไทยจะ เกิด “สงครามกลางเมือง” เชื่อว่าคงเป็น คำกล่าวที่ใครได้ยินก็ต่างคิดว่าเป็นสิ่งที่ เหลือเชื่อและเป็นไปไม่ได้(พลางนึกในใจ ว่า“สยามเมืองยิ้ม”หรือจะเป็น“สยามเมือง สงคราม”) แต่เหตุการณ์การปะทะเดือด ระหว่างรัฐบาลกับฝ่าย นปช. รวมถึงการ ก่อกวนโดยการเผาบ้านเผาเมืองของกลุ่ม คนที่ ไ ม่ ป ระสงค์ ดี ต่ อ ประเทศล้ ว นเป็ น ภาพสะท้อนที่ทำให้คนไทยจำต้องยอมรับ ว่า ณ.วันนี้ เข้ายุคที่ สังคมไทย ต้องลิ้มรส สงครามกลางเมือง Paul collier และ Ank hoeffler ศาสตราจารย์ ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหา วิทยาลัยออกฟอร์ด ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสงคราม กลางเมืองกล่าวว่า สงครามกลางเมื อ ง(civil war) หมายถึ ง สงครามที่ เ กิ ด ภายในขอบเขต ของประเทศหรือเพียงแห่งเดียว ต่างจาก สงครามปกติ ที่ เ ป็ น สงครามระหว่ า งรั ฐ สงครามกลางเมืองเป็นสงครามทีป่ ระชาชน ในประเทศเดี ย วกั น หยิ บ อาวุ ธ ขึ้ น มา 11
ประหัตประหารกันเอง โดยมีเป้าหมายเพือ่ ชิงอำนาจรัฐหรือขับเคลื่อนนโยบายตามที่ ตัวเองต้องการ ความเสียหายของสงคราม กลางเมืองนั้นมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงทั้ง ในแง่จำนวนผูเ้ สียชีวติ รวมไปถึงความเสีย หายทางเศรษฐกิ จ จำนวนมหาศาล ประเทศที่เกิดสงครามกลางเมืองต้องใช้ เวลายาวนานในการเยียวยากว่าจะกลับ เข้ามาแข่งขันในตลาดโลกได้อีกครั้งหนึ่ง สภาวการณ์ทป่ี ระเทศจะเกิดสงครามกลาง เมืองได้ง่ายที่สุด คือ สภาวะที่ประชาชน ในประเทศแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัด เจน(ไม่ว่าจะเป็นในแง่ชาติพันธุ์ ศาสนา หรืออุดมการณ์) และแต่ละฝ่ายมีขนาดหรือ จำนวนใกล้เคียงกัน สังคมทีม่ ลี กั ษณะเป็น สองขัว้ เช่นนี้ จะมีโอกาสเกิดสงครามกลาง เมืองได้ง่ายกว่าสังคมที่แบ่งออกเป็นขั้ว เล็กๆจำนวนมาก หรือสังคมที่ประชาชน ทั้งประเทศมีชาติพันธุ์เดียวกัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งที่ เป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมืองนัน้ โดย ทั่วไปมักมีหลายสาเหตุประกอบกัน แต่ สาเหตุหลักคือความขัดแย้งทางความคิด วิถีชีวิต ความเชื่อ ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่อง มาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์เช่นเผ่า
ทมิฬ-สิงหล ในศรีลังกาความขัดแย้งทาง ศาสนา เช่นอิสลาม-ฮินดู ในแคว้นแคชเมียร์ ของอินเดียหรือความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองเช่น ประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ในหลายๆ ประเทศช่วงสงครามเย็น ลักษณะ ของสงครามกลางเมืองนั้นจะยืดเยื้อกว่า ความขัดแย้งภายในประเทศรูปแบบอื่นๆ อย่างการเดินขบวนประท้วง หรือการจัด ตั้งขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม จากการศึ ก ษาพบว่ า ระยะเวลา เฉลี่ยของสงครามกลางเมืองก่อนสงคราม โลกครั้งที่สองจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปีครึ่งใน ขณะที่ ส งครามกลางเมื อ งหลั ง สงคราม โลกครั้งที่สองจะรุนแรงและยาวนานขึ้น ถึง 4 ปี โดยเฉลี่ย สงครามกลางเมืองบาง แห่งอาจยาวนานเกิน 20 ปี โดยหยุดต่อ สู้กันเป็นระยะแต่ความขัดแย้งในภาพรวม ยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่นสงครามกลางเมือง ในประเทศแองโกลาซึ่ ง ยาวนานถึ ง 28ปี(1974-2002)หรือสงครามกลางเมือง ในโมซั ม บิ ก มี ร ะยะเวลา 25 ปี( 19772002) เมื่อพิจารณานิยามของPaul collier และ Anke Hoeffler กูรูด้านสงคราม กลางเมืองแล้วก็คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งสงครามกลาง เมือง ซึ่งแม้ในขณะนี้รัฐบาลจะสามารถ ควบคุ ม สถานการณ์ ก ารชุ ม นุ ม ประท้ ว ง ของฝ่าย นปช. และการก่อความไม่สงบ 12
ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่ในความเป็น จริงสภาพของสังคมไทยขณะนี้นั้น ก็ มี สภาพไม่ต่างจากสมรภูมิรบซึ่งการทำ สงครามใต้ดิน สงครามเย็นหรือสงคราม กลางเมือง แต่บทสรุปที่ตามมาก็คงมี สภาพที่ไม่แตกต่างกันก็คือความเสียหาย หายนะของประเทศและสภาพจิ ต ใจที่ บอบช้ำของคนไทย ดังนั้น แนวทางการฟื้นฟูสภาพ จิตใจของคนไทยทุกระดับ เพื่อฟื้นฟูสันติ ภาพให้ เ กิ ด ขึ้ น อี ก ครั้ ง ถื อ เป็ น สิ่ ง สำคั ญ มากกว่าด้วยซ้ำ หรือไม่จริง? แนวทาง การเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งนั้นถือเป็น แค่ ห นึ่ ง ในวิ ธี ที่ ใ ช้ เ พื่ อ ยุ ติ ปั ญ หาเฉพาะ หน้า แต่การแก้ปัญหาระยะยาวแบบยั่ง ยืนนั้น อาจจำเป็นต้องอาศัย 10 แนวทาง ในการสร้างค่านิยมแห่งความสมานฉันท์ และความเท่าเทียม อันเป็นแนวคิดของ Velerie Braithwaite ประกอบด้วยการ สร้างชีวิตที่ดีสำหรับประชาชน หรือปรับ ปรุ ง สวั ส ดิ ก ารให้ แ ก่ ก ลุ่ ม คนที่ ต้ อ งการ ความช่วยเหลือ การกำหนดกฎหมายที่ มาจากประชาชน หรือการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการตัดสินใจต่อสิ่งที่กระทบ ต่อชุมชนหรือบ้านเมือง การสร้างความ ร่วมมือกับนานาชาติโดยทุกชาติทำงาน ร่ ว มกั น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น การสร้ า งความก้ า วหน้ า ทางสั ง คมและ การปฏิรปู ทางสังคมซึง่ เป็นการเปลีย่ นชีวิต
ให้ดขี น้ ึ การสร้างโลกให้มสี นั ติภาพและปราศ จากสงคราม การสร้างโลกแห่งความสวย งาม ทั้งความงามของธรรมชาติและศิลปะ เสี ย งเพลง วรรณกรรม หรื อ แม้ แ ต่ จิตรกรรม การให้ความสำคัญของศักดิ์ศรี ของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน การที่คนใน สังคมได้รับโอกาสที่เท่าเทียม การสร้าง ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ หรือการ ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนและ การอนุรกั ษ์ธรรมชาติสง่ิ แวดล้อม การป้อง กั น การทำลายความงามและทรั พ ยากร ธรรมชาติ ที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ผู้เขียนมิได้มี เจตนาที่จะตอกย้ำ กระหน่ำซ้ำเติม สังคม ไทยที่แสนจะบอบช้ำให้บอบช้ำมากกว่า เดิม มิได้มีเจตนาเพียงว่ากล่าว ติเตียน กล่ า วโทษว่ า รั ฐ บาลหรื อ ฝ่ า ย นปช. ฝ่ายใด ผิด หรือ ถูก แต่การเสนอแนะแนวทางในการ แก้ไขปัญหาดังกล่าวในเชิงทฤษฎี สื่อให้ ผู้ อ่ า นและคนไทยทุ ก ท่ า นยอมรี บ ความ จริง มีสติ รู้จักดำรงชีวิตอยู่อย่างตื่นตัว และระแวดระวัง แต่ไม่ตื่นตระหนก เพราะ คงถึงเวลาที่คนในสังคมไทยจำต้องยอม รับแล้วว่า ความแตกต่างทางความคิดที่ ลุกลามเป็นความแตกแยก ความขัดแย้ง จนทำไปสู่การใช้ความรุนแรงกำลังเป็น วิกฤตปัญหาทางสังคม ที่เป็นแผลกลัด หนอง แผลเรือ้ รัง มะเร็งร้าย ทีบ่ อ่ นทำลาย 13
ประเทศชาติ บ้ า นเมื อ งไปอี ก นานแสน นาน แล้วยิง่ ตราบใดทีค่ นไทยยังใช้อารมณ์ อยู่เหนือเหตุผล ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎ หมาย เชื่อว่าอย่าว่าแต่ชาตินี้เลยชาติ หน้า หรืออีกกี่ชาติ สังคมไทย ก็คงยากที่ จะสงบสุขเฉกเช่นในอดีต สุ ด ท้ า ยหวั ง ว่ า ข้ อ เขี ย นนี้ จ ะทำ ให้ รัฐบาล ฝ่าย นปช. ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาชนมีสติและใช้สติ ตลอดจน ความจริงใจในการแก้ปัญหาแม้แต่ถ้าทุก ฝ่ายมีความจริงใจ ก็เชือ่ ว่าปัญหาทุกอย่าง น่าจะมีทางออก เป็นอีกหนึ่งคนไทยที่เอา ใจช่ ว ยประเทศไทยในยุ ค แห่ ง สงคราม กลางเมือง อย่างจริงใจ ตีพิมพ์คร้ั้งแรกใน:นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2553 หน้า 6
ลูกนาย ก.
ศึกษา“ภูมิวัฒนธรรม”เพื่อเข้าถึงและ เข้าใจชายแดนใต้ กับบทวิพากษ์ “คนใน”ให้คิดนอกกรอบ
ณัฏฐพัชร์ ทัศนรุ่งเรือง / รตินันท์ เหล่าอารักษ์พิบูล จิตต์ปภัสสร์ บัตรประโคน โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
แ
ม้จะกดปุม่ เปิดงานกันหลังเหตุการณ์ รุนแรงทางการเมืองทีก่ รุงเทพฯ จนส่ง ผลให้ ความสนใจของผู้คนทั่วไปต่องาน สัมมนาเรือ่ ง“ภูมวิ ฒ ั นธรรมใน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้” น้อยไปนิด แต่นน่ั ก็ไม่ได้ทำให้ เนือ้ หาและสาระของงานหย่อนรสชาติลง แต่ประการใด งานสัมมนาที่เกี่ยวกับท้องถิ่นชาย แดนภาคใต้ครัง้ นี้ จัดโดยมูลนิธเิ ล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับ สนุนการวิจัย(สกว.) เมื่อวันพุธที่ 26 และ วันพฤหัสบดีท่ ี 27 พ.ค. 2553 ที่ห้องประชุม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวน ดุสิต กรุงเทพฯ ภายในงานมีการเปิดตัวหนังสือ จากงานวิจัยชุด “การศึกษาท้องถิ่นอย่าง มีส่วนร่วม”จำนวน 4 เล่มได้แก่ เล่าขาน ตำนานใต้ , ความทรงจำในอ่ า วปั ต ตานี , ยาลอเป็นยะลา และเรื่องเล่าจากหมู่บ้าน เชิงเขาบูโด กรณีบ้านตะโหนด ศ.ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการ สกว.กล่าวว่า นอกจาก สกว.จะสนับสนุน 14
เรื่องการวิจัยแล้ว ยังมีภารกิจสื่อสารผล งานวิจยั รูปแบบต่างๆ ออกสูส่ งั คม เพือ่ ให้ นำไปต่อยอดจากสิ่งที่ได้ศึกษามา โดย เฉพาะงานจากสามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของ สกว. เพื่อ สร้ า งความรู้ ค วามเข้ า ใจและคลี่ ค ลาย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ “หลายโครงการเราสนับสนุนให้คน ในพืน้ ทีท่ ำวิจยั ด้วยตัวเอง โดยใช้กระบวน การวิจัยเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะท้อน ปัญหาความรูส้ กึ นึกคิด วิธคี ดิ จารีตประเพณี และประวัติศาสตร์ เพื่อให้การแก้ปัญหา ตรงจุดและตรงกับความต้องการของคน ในพื้นที่อย่างแท้จริง” ศ.ดร.สวัสดิ์ กล่าว และว่า “งานวิจัยท้องถิ่นถือเป็นงานวิจัยที่ ชาวบ้านเป็นคนตั้งโจทย์ หาข้อมูลแล้วนำ มาสังเคราะห์ โดยจะมีพี่เลี้ยงเข้าไปช่วย แนะนำ ซึ่งงานวิจัยในลักษณะนี้มีทุกภาค แต่ ยั ง ไม่ ค รอบคลุ ม ทุ ก จั ง หวั ด ทั้ ง ยั ง มี
โครงการวิจัยอื่นๆของสามจังหวัดภาคใต้ หลายโครงการ มีวิธีการทำงานที่ลงไปถึง ระดับชาวบ้าน ซึง่ สกว.ก็ตอ้ งการสือ่ ไปยัง รัฐบาลโดยเฉพาะทหารให้ได้รับรู้สิ่งที่เรา กำลังทำ หวังว่าจะเกิดผลมองเห็นมิติ ปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมที่หลากหลาย” “ร่วมคิด-ร่วมทำ”สร้างความปรองดอง ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพฒ ั น์ประธาน มูลนิธิชุมชนไท กล่าวถึงความแตกต่าง ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณกับงานวิจัย เชิงคุณภาพว่า งานวิจัยเชิงปริมาณจะใช้ แบบสอบถาม ทำออกมาเป็นสถิติ แตก ต่างกับการทำวิจัยแบบที่นักมานุษยวิทยา ทำคือ เข้าไปศึกษาอย่างใกล้ชิดพยายาม เข้าใจคนในท้องถิ่น ซึ่งแบบหลังนี้ทำยาก “งานวิจัยแบบที่ให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัย ร่วมคิด ร่วมทำ เป็นเรื่องน่าสนใจ ผู้ที่มี ความรู้อาจคิดว่าไม่ใช่งานวิจัยมองว่าคน ทำไม่ได้จบปริญญา แต่จริงๆ แล้วก็คอื งาน วิจยั แบบหนึง่ เหมือนกัน ชาวบ้านทีเ่ ป็นนัก วิจัยร่วมรู้ดีกว่าเสียด้วยซ้ำเขารู้จักสภาพ ภู ม ิ ป ระเทศ วั ฒ นธรรม ประเพณี ทำให้งานวิจยั ออกมาดี และยังทำให้รคู้ วาม คิดของชาวบ้านจริงๆ สุดท้ายก็จะส่งเสริม ให้ชาวบ้านเป็นตัวของตัวเองเข้าใจสภาพ ชุมชน คิดแก้ปัญหาและพัฒนาได้ด้วยตัว เอง” ดร.ม.ร.ว.อคิน กล่าวต่อว่า งานวิจัย เชิงคุณภาพจะช่วยสร้างความปรองดอง 15
ให้เกิดขึ้นในประเทศได้ ยิ่งหากรัฐนำไป ใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาจริงๆ โดย เฉพาะปัญหาภาคใต้ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จ ได้ เพราะมาจากความรู้ความเข้าใจของ ชาวบ้านเอง “หากเราทำวิจยั ให้เข้าถึงความรูส้ ึก ของชาวบ้าน ไม่ใช่เอาแต่สถิติ โดยเราต้อง เข้าใจคนว่าคนมีความรู้สึกอย่างไรอะไร ทำให้เกิดความเคียดแค้น ความปวดร้าว ซึ่งหาไม่ได้จากงานวิจัยทางสถิติก็จะมอง เห็นปัญหาทั้งหมด และกำหนดแนวทาง แก้ไขได้อย่างถูกต้อง” “ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มี เรื่องชุมชนศรัทธาคือการปรองดองกันเอง ทำร่วมกับผูน้ ำศาสนาและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหลายหมู่บ้านประสบความ สำเร็จ แต่เสนอรัฐแล้วรัฐกลับไม่เอา เพราะ มีการแย่งชิงงบประมาณระหว่างทหารกับ ตำรวจเงินไม่ถึงท้องถิ่น”ประธานมูลนิธิ ชุมชนไท กล่าว มองแบบ“ภูมิวัฒนธรรม” ด้าน รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอาวุโส กล่าวถึง “การศึกษาท้องถิน่ โดยมุมมองภูมวิ ฒ ั นธรรม” ว่า ที่ผ่านมาเราศึกษาพื้นที่แบบนักภูมิ ศาสตร์ คือใช้มุมมองแบบแผนที่ทั่วไป ทำ ให้เห็นแค่ว่าพื้นที่ตรงไหนมีอะไร โรงงาน
จะตั้งตรงไหนแต่มองไม่เห็นชาวบ้าน แต่ หากเราศึกษาท้องถิ่นโดยมุมมองของภูมิ วัฒนธรรมโดยดึงชาวบ้านเข้ามามีสว่ นร่วม ชาวบ้านจะมองแบบหนอนแลเห็นสภาพ พื้นที่ทั้งหมด “ยกตัวอย่างการวาดแผนที่อ่าวปัตตานี หากวาดโดยชาวบ้าน เขาจะอธิบายราย ละเอียดทำให้คนรุน่ หลังเข้าใจภูมวิ ฒ ั นธรรม ของท้องถิ่นมากขึ้น เขารู้ว่านี่แหลมนก (ด้านหนึ่งของอ่าวปัตตานี) เขาสามารถ อธิบายได้ด้วยว่าทำไมถึงเรียกแหลมนก เพราะเมื่อก่อนมีนกบินมาตามฤดูกาล แต่ วันนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งทำให้ไม่ มีนกแล้ว เป็นต้น” ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ปัญหาท้องถิ่น ขณะที่ ผศ.ดร.สุกรี หะยีสาแม รอง คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี กล่าวถึงปัญหาการรุกล้ำทรัพยากร ส่วนรวมของคน 3 จังหวัดภาคใต้วา่ ทรัพยากร ส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก การครอบครองพื ้ น ที ่ ท ั ้ ง บนดิ น ในน้ ำ และในอากาศ เช่น การแย่งชิงที่ทำกินใน อ่าวปัตตานี มีชาวบ้านกว่า 10,000 ครัวเรือน 40,000 คน ชาวประมงกว่า 2,000 ชีวิต เรือประมงกว่า 2,300 ลำ อยู่ในพื้นที่เพียง 72 ตารางกิโลเมตร มีการจับจองกันเกือบ หมด และเริ่มมีการขายที่ดินในทะเลซึ่งไม่ 16
มีเอกสารอะไรเลยแต่มีนายทุนและชาว บ้านพยายามปิดอ่าวให้ตื้นเขิน “การแก้ความตื้นของอ่าวปัตตานี เป็นเรื่องที่เหนือความสามารถของมนุษย์ มองว่าท้ายที่สุดจะกลายเป็นพื้นดินจาก การทับถมของตะกอน ปัญหาตอนนี้คือ จะทำอย่างไรเพือ่ ยืนหยัดรักษาอ่าวปัตตานี ให้เป็นพื้นที่สาธารณะต่อไปให้ได้เพราะ ถ้ามีโฉนดน้ำเมื่อไหร่ความขัดแย้งจะรุน แรงยิ่งขึ้น” ดร.สุกรี ยังกล่าวถึงการประกาศเขต อุทยานทับที่ทำกินว่าแม้จะมีปัญหานี้ใน หลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ แต่ที่ 3 จังหวัด ภาคใต้มวี ธิ กี ารแก้ปญ ั หาของชาวบ้านทีน่ ่า สนใจ เช่น กรณีเทือกเขาบูโด (พื้นที่หลักๆ ที่มีปัญหาคือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส) หลัง จากประกาศเขตอุทยานฯได้ไม่นานได้เกิด การรวมกลุ่ ม กั น เป็ น เครื อ ข่ า ยชาวบ้ า น มีการเดินสำรวจด้วยจีพเี อสเพือ่ หาตำแหน่ง ใช้ต้นไม้เป็นหลักฐานว่าทำกินกันมานาน ก่อนรัฐจะประกาศเขตอุทยานฯ จนสุดท้าย ทางราชการต้องออกโฉนดให้ อย่าติดกับดัก “คนใน” ผศ.ดร.วัฒนา สุกัณศีล อาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในหัวข้อ “การศึกษาท้องถิ่นสาม จังหวัดชายแดนใต้ในมุมมองนักวิชาการ จากภายนอก” โดยเล่าประสบการณ์ตรง
ของตนเองจากการเข้าไปทำงานในพื้นที่ “เคยเข้าไปศึกษาชุมชนบ้านดาโต๊ะ (อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี) โดยจ้างนักศึกษา มุสลิมที่พูดมลายูได้ให้เขาเป็นคนถามและ ฟังชาวบ้าน จากนัน้ ก็แปลให้เราฟังแต่แทนที่ นักศึกษาจะแปลคำต่อคำ กลายเป็นว่านัก ศึกษาไปสอนชาวบ้านให้ร้วู ่าสิ่งที่ชาวบ้าน พู ด เข้ า ใจและให้ ค วามคิ ด เห็ น นั้ น ไม่ ถู ก ต้อง แล้วพยายามอธิบายว่าสิ่งที่ถูกต้อง คืออะไร เช่น เมือ่ ถามถึงประเพณีวฒ ั นธรรม ซึ่งการปฏิบัติของชาวบ้านไม่ถูกต้องตาม หลักศาสนา นักศึกษาที่เป็นล่ามก็จะสอน ชาวบ้าน ก่อนจะหันกลับมาแปลสรุปสั้นๆ ให้เราฟังในสิ่งที่เป็นความเชื่อของตนเอง พอเราถามว่าทำไมคุยกันยาว แต่แปลสั้น นักศึกษาบอกว่าที่ชาวบ้านพูดไม่ถูกต้อง เขาต้องแก้ไข” จากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้ ผศ.ดร.วัฒนา เห็นว่า ความแตกต่างทาง วั ฒ นธรรมภายในกลุ่ ม มลายู มุ ส ลิ ม เป็ น อุปสรรคที่กางกั้นระหว่าง“คนใน”ด้วยกัน เอง เพราะฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกต้อง มากกว่าอีกฝ่ายหนึง่ และ “คนใน” มีหลาย ระดับซึ่งลักษณะหลายระดับนี้เองทำให้ แนวคิดที่ว่า “คนใน” ย่อมเข้าใจ “คนใน” ด้วยกัน ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ผศ.ดร.วัฒนา ยังตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีงานศึกษาเรื่องมุสลิมโดย “คนนอก” มักจะถูกโต้แย้งจาก “คนใน” ว่าไม่เข้าใจ 17
เข้าไม่ถึง และไม่รู้เรื่องดีเท่ากับคนมุสลิม ด้วยกัน แต่คนที่โต้แย้งก็ไม่ได้ผลิตงาน วิชาการที่ทำความเข้าใจและสร้างความ เข้าใจต่อชุมชนและสังคมของตนเองอย่าง มีพลวัตเพียงพอ ขณะที่งานศึกษาของนัก วิชาการมุสลิมส่วนใหญ่จะค่อนข้างจำกัด อยูแ่ ต่ในกรอบศาสนา ไม่สนใจชุมชนทำให้ ไม่ รู้ ว่ า ชาวบ้ า นชุ ม ชนและสั ง คมนั้ น อยู่ อย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร เปลี่ยน แปลงและปรับตัวอย่างไร นอกจากหัวข้อ จะแคบแล้ว ขนบความคิดบางอย่างมีผล ให้การผลิตงานวิชาการมีจำนวนน้อยมาก นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยัง แสดงความเห็ น ถึ ง หนั ง สื อ จากงานวิ จั ย ชุด “การศึกษาท้องถิน่ อย่างมีสว่ นร่วม” ทั้ง 4เล่มโดยเฉพาะเรือ่ ง“จากยาลอเป็นยะลา” ว่า ได้ฉายภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้ง ด้ า นเศรษฐกิ จ การเมื อ งและสั ง คม วัฒนธรรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เองได้ส่ง ให้ “ภายใน” สังคมปริแตกและขัดแย้งกัน การศึกษาทัง้ หมดนีโ้ ต้แย้งกับชุดคำอธิบาย ที่มองเห็นแต่ “ปัจจัยภายนอก” เท่านั้นที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเปลี่ ย นแปลง“ภาย ใน” สังคมมุสลิม เพราะ “ปัจจัยภายใน” ในแต่ ล ะมิ ติ ข องสั ง คมส่ ง ผลควบคู่ กั บ “ปัจจัยภายนอก” “ทำไมการเปลีย่ นแปลงในสังคมจึง มีทศิ ทางถดถอย ตกต่ำ และอ่อนแอลงมาก ลำพังแต่การอธิบายว่าสาเหตุมาจากปัจจัย
ภายนอกนัน้ คงไม่เพียงพอต่อการทำความ เข้าใจ อาจต้องกลับมาตรวจสอบ และ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ กั น ภายในสั ง คมให้ ม าก ขึ้นหรือไม่” ผศ.ดร.วัฒนา ตั้งคำถาม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกตัวอย่างทิ้งท้ายจากประสบการณ์การ ศึกษาชุมชนประมงพื้นบ้านในพื้นที่ชาย แดนภาคใต้ “เคยไปคุยกับชาวประมงพื้นบ้าน ว่ามีภูมิปัญญาอะไรบ้าง ชาวบ้านตอบว่า ไม่มีภูมิปัญญาอะไรเลย การถามตอบเช่น นี้เป็นวิธีวิจัยที่เรียกว่าสัมภาษณ์เชิงลึก ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญ กับมุมมองของชาวบ้าน เสียงชาวบ้าน และนิยามความหมายรวมถึงคุณค่าอุดม การณ์ทางสังคมถ้าเรายึดเพียงว่าให้ชาว บ้าน ตอบชาวบ้านเท่านัน้ ทีร่ ดู้ คี ำตอบของ การวิจยั นีก้ ค็ งสรุปว่า ชาวบ้านไม่มภี มู ปิ ญ ั ญา อะไรเลยเพราะชาวบ้านตอบอย่างนั้น” “แต่เมือ่ อาศัยวิธวี จิ ยั อืน่ เข้าไปร่วม ศึกษาด้วยเช่นการสังเกตการณ์อย่างมีสว่ น ร่วม ก็จะพบว่าการทำประมงของชาวบ้าน ต้องใช้องค์ความรู้หลายอย่าง เช่น การใช้ เครื่องมือจับปลาและวิธีการที่ใช้เรียกว่า เป็นนวัตกรรมเลยก็ว่าได้ ทำให้เห็นว่า ชาวบ้านมีภมู ปิ ญ ั ญา แต่การทีเ่ ขาทำอยูท่ กุ เมื่อเชื่อวัน มันเป็นสิ่งที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว ก็เลยไม่สนใจและมองข้ามไปคิดว่าไม่มี อะไร ไม่ใช่ภูมิปัญญา” 18
กรณีตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่า “คนนอก” ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ป ระสบการณ์ แ บบเดี ย วกั บ “คนใน” สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นปกติ ไม่มอี ะไร หรือเป็นเรือ่ งทีท่ ำๆ กันมาอย่าง มีระยะห่างเพียงพอต่อการรับรูค้ วามคมชัด ของสิ่งเหล่านั้นต่างไปจากชาวบ้าน ทั้ง หมดจึงขึ้นอยู่กับว่าใช้กรอบการวิเคราะห์ ใดเข้าไปศึกษามากกว่า นับเป็นประเด็น “ท้าทาย” ที่ น่าคิดและสานต่อไม่น้อยทีเดียว! --------------------------
ที่มา: http://www.isranews.org
ความคลุมเครือเจือจาวในข่าวสาร สมองบานบ่าบ้าถ้าหลงใหล ยากแยกแยะแกะประเด็นเห็นข้างใน คนใช่ไกลกวนหมุนให้วุ่นวาย นักสิทธิฯ นิ่งยลเพราะตนต่าง รู้แต่ข้างเลี้ยวลดช่องกฎหมาย ข้าราชการเกียร์ว่างเพราะต่างนาย สื่อทั้งหลายขายสเบียงเพื่อเลี้ยงตัว เป็นผลกรรมทำไว้คนไทยก่อ คนไทยก็รับผลที่ชนหัว ใครมานำทำตามเพราะความกลัว ใครทำชั่วหันหนีเดี๋ยวดีเอง ควันจางจางกางกั้นคั่นเราอยู่ อยากจะรู้ความจริงให้ตรงเผง ต้องยืนหยัดคงมั่นไม่หวั่นเกรง แล้วก้าวไปตามเพลงประชาธิปไตย ทีมา: http://th-polpoet.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0 %B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2
19
โปสการ์ดรณรงค์ ให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบัน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคนจาการบังคับให้สูญหาย