เขาน้อยเทอราพี Kaonoi Theraphy

Page 1

เขาน้เทอราพี อย โมเดลบำ�บัดการศึกษาจากโรงเรียนไซส์จิ๋ว แต่ความคิดใหญ่


การศึกษาไทย กำ�ลังป่วยหนัก

!!

1


คำ�พูดเมื่อหน้าที่แล้ว อ่านแล้วอาจจะดูเหมือนพวกโฆษณา หรือวลีหาเสียงของนักการเมืองแถวนี้ ซึ่ง......ก็เหมือนจริงๆ (อ้าว) แต่ทุกคน ส่วนตัวแล้วพวกเรารู้สึกจริงๆ จากประสบการณ์ที่เคยมี ว่าการศึกษาไทยที่เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ค่อยจะสบายดีสำ�หรับพวกเรา สักเท่าไหร่ การศึกษา ที่ว่านี้ ผมไม่ได้จะมาพูดถึงเรื่องเพื่อนฝูง เรื่อง กุ๊กกิ๊กแฟนคนแรก หรือเรื่องสนุกๆ ในห้องเรียนนะจ้ะ อันนั้นยอมรับ เลยว่าเป็นเรื่องราวที่ีเจ๋ง มีบางคนถึงกับออกมาบอกเลยว่า ที่เขายัง ยอมมาโรงเรียนกันได้อยู่ ก็เพราะอยากเจอเพื่อนนี่แหละ แต่เดี๋ยวก่อนนะ!?....เรามาสถานที่ที่ชื่อว่า “โรงเรียน” ไม่ใช่เหรอ? แล้วทำ�ไมเราถึงไม่ได้อยากมาโรงเรียนเพราะมา “เรียน” ล่ะ?

นั่นไง! ถึงเวลาพาการศึกษาไทยไปตรวจสุขภาพแล้วครับ

2

3


คุณเคยพบเห็นอาการแบบนี้ในโรงเรียนบ้างหรือไม่?

1.) โรคไม่รู้่ว่าอยากทำ�อะไร เพราะถูกปลูกฝังให้มีค่านิยมในการประกอบอาชีพที่มั่นคง โดยไม่ได้รับโอกาสได้ลองสิ่งอื่น “เอ้า! หนูต้องเป็นข้าราชการ หมอ ครู ตำ�รวจ ทหาร พนักงานเงินเดือน นะลูกนะ” ทีนี้ พอเราอยากมั่นคง แต่ไม่ได้รักในวิชาชีพจริงๆ ก็ต้องทำ�เพื่อ สนองความมั่นคงในชีวิตเท่านั้น หรือถ้าเลวร้ายหน่อยก็สนอง ความต้องการของคนอื่น

4

5


>> ครูเข้ามาสอนๆแบบขอไปที นักเรียนหลับกันทั้งห้องก็ไม่ว่า ลอกงานกันมาก็ ไม่เป็นไร สอบตกก็แก้ได้โดยการคัดลายมือ หรือ ทำ�งานให้ครูแลกเกรด ความกระตือรือร้นในการ เรียนไม่เกิด แล้วสุดท้ายนักเรียนก็ไม่ได้อะไรจาก ห้องเรียนเลย

2.) โรคของคุณครู และด้วยอาการจากข้อที่แล้ว ทำ�ให้คุณครูทั้งหลายที่เคยเป็นนักเรียนกันมาก่อน ไม่ได้มีความสนใจที่อยากจะพัฒนาผู้เรียนจริงๆ ซึ่งก็เพราะแบบนั้นแหละ ทำ�ให้ มีอาการป่วยต่างๆตามมาอีกเป็นพรวนเลย

6

>> ครูไม่ฟังความเห็นนักเรียน

>> ครูแนะแนวไม่กว้างขวาง

อาจจะเพราะครูคิดว่าความคิดของคนอายุ น้อยกว่าดูไม่น่าเชื่อถือ หรืออาจมองว่าการ โต้แย้งเป็นความก้าวร้าวบ้าง แล้วทีนี้พอเรา โต้แย้งปั๊บ เราก็จะถูกปฏิบัติตัวแบบไม่เท่า เทียมกับนักเรียนคนอื่นที่ไม่ได้ทำ�อะไร แล้ว เราก็ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นไปตลอดกาล

พอเวลานักเรียนไปปรึกษา ครูไม่ค่อยเสนอ ทางเลือกอื่นให้พวกเรารู้สักเท่าไหร่ จนต้อง เป็นตัวนักเรียนเองที่ขวนขวายช่องทางใน การประกอบอาชีพที่ตนสนใจ ไม่ใช่จากคำ� แนะนำ�ของครูวิชาแนะแนว

7


3.) โรคการเมืองในโรงเรียน ที่ทำ�ให้การบริหารไม่ราบรื่น เช่น >> ไม่ฟังความเห็นของผู้ใช้ระบบ >> ผู้อำ�นวยการเปลี่ยนบ่อย

ชอบฟังความเห็นของคนที่อยู่ตำ�แหน่งสูง มากกว่านักเรียน (เช่น นายทุน) แม้จะมี การแจกแบบสอบถามให้ นั ก เรี ย นกรอก แต่สุดท้ายความเห็นเชิงลบก็จะถูกตัดออก ไม่มีผลต่อการบริหารเหมือนเดิม

การผลั ด เปลี่ ย นผู้ อำ � นวยการบ่ อ ยๆตาม โรงเรียนต่างจังหวัด ทำ�ให้นโยบายต่างๆไม่ ต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงไปตามผู้บริหาร คนใหม่ที่เข้ามา

8

>> งบสำ�หรับโรงเรียนขนาดเล็กไม่เพียงพอ

>> ให้ความสำ�คัญกับฉากหน้ามากกว่าเนื้อใน

เพราะโรงเรียนต่างจังหวัดที่มีนักเรียนน้อย พอคำ�นวณต่อหัวก็เลยได้งบน้อยตามจำ�นวน นักเรียน ทำ�ให้เคลื่อนไหวปรับปรุงได้ยาก ในขณะที่นักเรียนของโรงเรียนในเมืองมีเยอะ มากๆ ก็เลยได้งบเยอะมากๆตามไปด้วย เอาไปทำ�อะไรได้ตั้งหลายอย่าง

ถ้าพูดให้เห็นภาพ ก็เหมือนเวลาคณะกรรมการเข้ามาตรวจโรงเรียน แล้วครูก็สั่งให้เรา ทำ�ตัวเรียบร้อยทั้งวัน เอาใจกรรมการสุดๆ พอทุกอย่างจบ ก็กลับไปทำ�ตัวเอื่อยเฉื่อย เหมือนเดิม (แถมจะบอกว่าพฤติกรรมแบบนี้เนี่ย ได้ถูกฝังเข้าไปอยู่ในตัวผู้ใหญ่หลายคน ที่ทำ�งานอยู่ในสังคมตอนนี้ด้วยนะ น่ากลัวไหมเล่า) 9


จากอาการทั้งหมด วินิจฉัยแล้วพบว่าการศึกษาไทยเป็นโรคร้ายแรง อันมีชื่อว่า....

เราปรารถนาการศึ ก ษาที่ มี นั ก เรี ย นเป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลาง ปรารถนาให้การศึกษาคือสิ่งดีๆที่นักเรียนควรจะได้รับ ให้เขาได้เรียน ได้รู้และเติบโตจากมัน ปรารถนาแนวคิดที่ทำ�เพื่อนักเรียนแบบจริงๆ ไม่ใช่เพื่อ รัฐ ทุน ศาสนา หรือเพื่อการควบคุมนักเรียนให้ทำ�ตาม คำ�สั่งเท่านั้น

การศึกษามีส่วนช่วยสร้างประเทศ แต่ถ้าการศึกษาป่วย ประเทศจะเป็นยังไงล่ะ?

แย่แล้ว รีบรักษาเร็ว!!

“โรคไม่เอานักเรียนเป็นศูนย์กลาง” (ฝากจินตนาการเสียง ผ่าง ผ่าง ผ่าง ด้วยนะ)

10

11


บางคนอาจจะบอกว่าเชื้อมันลุกลามไปทั้งตัว สายเกินกว่า ที่จะรักษาแล้ว หรือไม่เชื่อว่าโรคนี้มันจะสามารถรักษาได้จริงๆหรอก มันยากเกินไปด้วยหลายๆปัจจัย ทั้งตัวบุคลากร วัฒนธรรมประเพณี และการเมืองในประเทศ อะไรๆดูมืดแปดด้านไปหมดเลย แต่แล้ว.......หลังจากการออกเดินทางตามหาความหวังอันยาวนาน ในที่สุดพวกเราก็ค้นพบวิธีรักษาโรคนี้จนได้ จากโรงเรียนต่างจังหวัด แห่งหนึ่ง แถมมีหลักฐานมาให้พิสูจน์กันด้วย ว่าได้ผลแน่นอน และ มีวี่แววจะหายขาดจากโรคที่กล่าวมา

12

13


สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ขอเชิญพบกับสุดยอดโรงเรียนที่รักษาการศึกษาไทยให้อาการดีขึ้นได้

“โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม”

เขาน้อยวิทยาคม เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดตราด ที่มีนักเรียนอยู่กันไม่ถึง 170 คน บรรยากาศร่มเย็น น่าอยู่ น่าเรียน โอเค โอเค คำ�ถามต่อมา : แล้วโรงเรียนนี้มีอะไรต่างจากโรงเรียนอื่นๆล่ะ? จริงอยู่ที่เขาน้อยวิทยานั้นเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีหลักสูตรการ สอนแค่ วิทย์ – คณิต เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ แต่กลับมีกิจกรรมหนึ่ง ที่แตกต่างและน่าสนใจมากๆนั่นก็คือ......

“เขาน้อยวิทยาอนุญาตให้นักเรียน ตั้งบริษัทในโรงเรียนได้!!” หรือถ้าพูดให้ถูกต้องคือ นักเรียนโรงเรียนนี้สามารถตั้งชมรมโดยมี ระบบจัดการแบบบริษัทได้ต่างหาก โดยมีขั้นตอนดังนี้......

14

15


1.) ให้นักเรียนที่มีความสนใจตรงกันอย่างน้อย 3 คน รวบรวมรายชื่อไปแจ้งกับเหล่า สภานักเรียน ที่มีชื่อว่า สภายุวเกษตร (สภานักเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบเรื่องนี้ โดยเฉพาะ) เพื่อขอตั้งบริษัทที่อยากทำ�

16

2.) นักเรียนสามารถหาสมาชิกเข้าเพิ่มเติมได้ เหมือนกับชมรม แต่ต่างกันตรงที่สมาชิก ทุกคนนั้นเกิดจากการซื้อขายหุ้นกันภายในโรงเรียน เช่น ถ้าสนใจลงทุนกับบริษัทที่เปิด ก็ให้ลงทุนไว้ 10 บาท พอจบไตรมาส (ครบ 3 เดือน) ก็จะได้เงินปันผล

17


3.) กิจกรรมชมรมจะเป็นกิจกรรมเชิงธุรกิจเต็มรูปแบบ ที่สามารถติดต่อค้าขายกับ เอกชนภายนอกโรงเรียนได้ มีการเช่าพื้นที่ในโรงเรียนเพื่อวางสินค้า ส่วนรายได้ทั้งหมด ก็เข้ากระเป๋านักเรียนที่เป็นผู้ประกอบการ โดยเสียภาษีค่าพื้นที่ให้กับสภายุวเกษตร เพียงแค่ 3 % เท่านั้น ซึ่งนักเรียนก็พร้อมจ่ายนะ เพราะพวกเขาใช้พื้นที่เหล่านี้ในการ เพาะปลูก หรือวิจัยผลิตภัณฑ์ (เหมือนเช่าตึกเปิดสำ�นักงานแล้วจ่ายค่าส่วนกลาง) โดย ในปัจจุบัน มีอยู่ 7 บริษัทที่เป็นบริษัทใหญ่อยู่ในโรงเรียน และใน 7 บริษัทนี้ก็แตกแยก ย่อยเข้าไปอีกมากมายหลายบริษัท

18

4.) และทุกบริษัทในเขาน้อยวิทยา ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องในเชิงการเกษตร จากแนวคิดที่ว่า การเกษตรเป็นพื้นฐานชีวิตของนักเรียนและของพื้นที่เขาน้อย ฉะนั้น การทำ�ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรให้ขายได้ จึงเป็นสิ่งที่ทำ�ให้การเกษตรไม่ถูกมองว่า เป็นแค่การหาเลี้ยงชีพไปวันๆเท่านั้น แน่นอนว่าก็มีธุรกิจย่อยสำ�หรับคนที่ไม่ได้อยาก ทำ�การเกษตรอยู่ด้วยเหมือนกันนะ เช่น หัตถกรรมทำ�นองการถักกระเป๋าพลาสติก ,อิฐ บล็อก ,ปศุสัตว์ ,วงดนตรี ฯลฯ

19


โครงการเปิดบริษัทในโรงเรียนนี้เกิดจากแนวคิดเจ๋งๆของ นายสมเกียรติ แซ่เต็ง หรือ อาจารย์ตือ รองผู้อำ�นวยการกลุ่มบริหาร วิชาการ (ภายใน) ร่วมกับ นายประธาน ทวีผล ผู้อำ�นวยการใหญ่ คนปัจจุบันของโรงเรียนเขาน้อยวิทยา ที่อยากให้นักเรียนได้ทดลอง เรียนรู้ชีวิตจากสถานการณ์จริง ทั้งเรื่องของการจัดการบริหาร สร้าง ผลผลิต รายได้ ติดต่อค้าขาย และความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยใน ทีแรก มีเพียงบริษัทเดียวที่ถูกจัดตั้งขึ้น คือบริษัทกล้วยไม้ แต่ก็พบ ว่ามันเป็นการปิดกั้นโอกาสนักเรียนคนอื่นที่สนใจขายสินค้าอื่นๆที่ ไม่ใช่กล้วยไม้ ปัจจุบันเลยทำ�ให้มีบริษัทแยกย่อยอิสระมากมาย และ หลากหลายมาก

20

21


ฟังแล้วดูเหมือนการเอาเงินมาล่อนักเรียนเลย แบบนี้มันจะไม่มีปัญหาเหรอ ?

แล้วการที่นักเรียนทำ�ธุรกิจเป็น รับผิดชอบตัวเองได้ เขาน้อยวิทยาเปิดกว้างเรื่องการธุรกิจมาก ถึงกับได้ไปออกงานเทศกาลต่างๆ ในจังหวัดมากมายจนเป็นที่เลื่องชื่อ หรือทางสื่อออนไลน์ ซึ่งไม่เหมือนกับโรงเรียนที่ ไม่อยากให้นักเรียนตั้งชมรมขายของ เพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ และไม่อยากให้โรงเรียน กลายเป็นแหล่งค้าขายเชิงธุรกิจ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วการค้าขายก็เป็นหลักสูตร ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน และที่สำ�คัญคือการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แถมได้เงินค่าขนมด้วย (อันนี้เจ๋งไปเลย) 22

.....มันไม่ดีตรงไหนล่ะ??

23


“แนวคิด มีทักษะชีวิต ทำ�ธุรกิจได้” ของ เขาน้อยวิทยา ทำ�ให้นักเรียน มาโรงเรียน

ธุรกิจของนักเรียนโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม สามารถดึงเหล่านักเรียนที่ไม่ได้ มีความสนใจเรียนวิชาการเข้ามาทำ�กิจกรรมในโรงเรียน มาหารายได้ มาลองทำ�ธุรกิจ โดยเรียนรู้จากการทำ�งานจริงเลย และที่สำ�คัญทุนนิยมก็เป็นสิ่งที่ต้องเจอในงานธุรกิจ เกือบทุกประเภทอยู่แล้ว ดังนั้น ก็ไม่ผิดอะไรที่โรงเรียนจะนำ�สิ่งเหล่านี้มาให้ได้เรียนรู้ อีกทั้งทุนนิยมที่เขาน้อยวิทยาเป็น ก็เป็นทุนนิยมที่สามารถเจรจาต่อรองและตรวจสอบ ได้โดยกลไกต่างๆ ของสังคม เช่น กลไกชุมชน ที่นักเรียนสามารถพูดคุยกับผู้มีอำ�นาจ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงคุณครู) ในการกำ�หนดนโยบายได้โดยตรง แถมผู้กำ�หนดนโยบายเอง ก็มีหน้าที่กับวาระชัดเจน ไม่ถูกแทรกแซงโดยอำ�นาจอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกับระบบทุนนิยม ในบางแห่ง ที่ไม่สามารถเจรจาต่อรองหรือตรวจสอบได้ 24

แถมรายได้จากการทำ�ธุรกิจในโรงเรียน นักเรียนบางคนถึงกับสามารถนำ�ธุรกิจนี้ต่อยอดได้ จนเปลี่ยนสถานะของครอบครัวกันเลยทีเดียว

>> ยกตัวอย่าง แม็กซ์ กล้วยไม้ นักเรียนจากโรงเรียนเขาน้อยวิทยา ที่ทาง บ้านทำ�ธุรกิจไร่สวนยาง ซึ่งรายได้เริ่มไม่ ค่อยจะดี ตัวแม็กซ์เองที่สนใจเรื่องกล้วยไม้ ก็ได้เปิดธุรกิจขายกล้วยไม้ออนไลน์ จนได้ ส่งออกต่างประเทศ (มาเลเซีย) นำ�รายได้ มาหาเลี้ยงครอบครัวตัวเองได้ตั้งแต่ ม.6

ว่าแต่....แล้วอะไรที่ทำ�ให้กล้าพูดว่า โรงเรียนเขาน้อยวิทยาจะสามารถเป็นโรงเรียนที่สร้าง แรงบันดาลใจให้โรงเรียนอื่นๆได้ล่ะ?......ไม่ต้องห่วง เราจะพาไปดูให้รู้กันเลย >>>>>>

(เทียบอาการของการศึกษาไทยที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ได้เลยนะ) 25


วิธีรักษาโรคของเขาน้อยวิทยา!! (คราวนี้จินตนาการเสียง แต่น แตน แต๊นนนนนน!!)

1.) รักษาโรคไม่กล้าทดลอง โรงเรียนเขาน้อยวิทยา เปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอในสิ่งที่อยากเรียน แล้วโรงเรียนจะจัดหามาให้ ดังนั้น ถึงแม้โรงเรียนนี้จะเป็นสายวิทย์ – คณิตล้วน แต่ก็สามารถเรียนภาษาได้อย่างลงลึกและอิสระมากๆ ถ้านักเรียนไปเสนอครูว่าอยากจะเรียน และที่สำ�คัญเขาน้อยวิทยาก็ ปลูกฝังให้นักเรียนมีความเป็นนักทดลอง กล้าที่จะผิดพลาด นักเรียน ของที่นี่จึงได้ลองอะไรใหม่ๆเยอะแยะ บริษัทแปลกๆเปิดเพียงเพราะ อยากลองทำ�แล้วเจ๊งไปก็มี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะสุดท้ายก็จะ เรียนรู้จากความผิดพลาดและเดินหน้าต่อไปได้

26

27


28

2.) รักษาโรคกลัวครู

3.) รักษาโรคไม่ชอบโรงเรียน

คุณครูไม่บงการนักเรียนหรือบังคับให้ทำ�อะไรที่ปิดกั้นทัศนคติ ทำ�หน้าที่เพียงแค่เป็น ที่ปรึกษาเหมือนกับโค้ชเท่านั้น เช่น บริษัทที่นักเรียนเปิด บางครั้งเรื่องที่นักเรียนไม่รู้ ในเชิงการตลาด นักเรียนก็สามารถเข้าไปขอคำ�แนะนำ�จากครูได้ โดย อาจารย์ตือ ผู้เป็นเจ้าของโครงการก็กำ�ชับครูทุกคนไว้เสมออยู่แล้ว

นักเรียนที่นี่ทุกคนมีสิทธิ์เลือกว่าจะเรียนหรือไม่เรียนอะไร ในชั่วโมงกิจกรรมนั้นก็ไม่ จำ�เป็นที่นักเรียนทุกคนจะต้องมาเปิดบริษัท (แต่ส่วนใหญ่ก็มาทำ�กัน เพราะได้เงิน) หากใครอยากจะเรียนอย่างเต็มที่ ก็มีครูมาสอนให้ได้ ใครอยากเล่นกีฬาก็มีครูพละกับ พื้นที่ให้เล่น หรือบางคนออกไปทำ�อย่างอื่นข้างนอกโรงเรียนไปเลยก็มี 29


30

4.) เลิกฝากชีวิตไว้กับการเมืองภายใน

5.) ไม่มีข้ออ้างเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอ

นโยบายต่างๆไม่มีวันหายหรือเปลี่ยนไปตามผู้อำ�นวยการ นั่นก็เพราะเป้าหมายหลัก ของโรงเรียนเขาน้อยวิทยาคมคือ ทุกๆอย่างต้องขับเคลื่อนโดยสภานักเรียนที่มีชื่อว่า “สภายุวเกษตร” (ซึ่งเป็นสภาที่ใหญ่กว่าสภานักเรียนธรรมดา มีหน้าที่จัดการเรื่องทุก อย่างที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและบริษัทต่างๆ) ฉะนั้นถึงจะมีผู้บริหารใหม่ ระบบต่างๆ ก็ยังถูกทำ�โดยนักเรียนได้เสมอ อีกทั้งตัวสภายังสามารถเสนอนโยบายที่ต้องการให้กับ ทางโรงเรียนได้อีกด้วย โดยการประชุมของสภานักเรียน ไม่อนุญาตให้ครูเข้ามามีส่วน เกี่ยวข้อง เว้นแต่ทางสภาจะเชิญมาเองเท่านั้น

เชื่อหรือไม่ว่า 12 ปีที่แล้ว โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคมเต็มไปด้วยดินแดง ไม่มีอาคาร สำ�หรับการเรียนการสอนเหมือนในปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้นักเรียนกลับมีโรงเรียนกล้วยไม้ มีห้องเพาะเห็ด มีแล็บเพาะเชื้อราและอุปกรณ์การช่าง ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้มาจากการ ขอบริจาคผู้ปกครอง หรือบังคับทอดกฐิณ แต่มาจากการเก็บภาษีของชมรมต่างๆ และ มีแผนปฏิบัติการประจำ�ปีที่ชัดเจนตรวจสอบได้ มีการบริหารงบประมาณอย่างเป็น ระบบ พร้อมจัดสรรปันส่วนไว้ตามความจำ�เป็น

31


ตัวอย่าง นักเรียนสุดเจ๋ง เขาน้อยวิทยา

>> แม๊กซ์ กล้วยไม้ นักเรียนผู้หาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ด้วย ธุรกิจกล้วยไม้ออนไลน์ แถมยังเป็นประธาน สภายุวเกษตร ปี 2559 ด้วยนะ สุดเท่ไปเลย

>> นัท (ชาย) หล่อ เท่ เฟิร์น

>> แนน คาร์ทูนนิสต์

แม้จะอ่านเขียนไม่เก่ง แต่นัทก็มีความ เชี่ยวชาญงานเฟิร์น จนทำ�เป็นธุรกิจได้ อย่างภาคภูมิใจ

เด็กสาวศิลปิน ผู้รักการวาดการ์ตูนได้อย่าง ไม่ต้องกังวลใจ เพราะแนนมีธุรกิจเกษตรที่ หาเลี้ยงตัวเองได้สบายๆอยู่แล้ว

>> มะปราง ปากเผ็ด

>> สมายล์ กระต่ายเผ่น

อดีตประธานสภายุวเกษตร ผู้มีฝีปากดีเด็ด อยากเรียนสังคมศาสตร์ เพราะมีความคิด ว่าประเทศไทยยังขาดการเรียนรู้เรื่องสังคม และประวัติศาสตร์อย่างมากมาย (โอ้ว)

เจ้าแห่งตำ�นานกระต่ายเจ๊ง ผู้สร้างบริษัท เพาะกระต่าย แต่สุดท้ายกระต่ายดันหนีเข้า ป่าไปหมดทั้งกรง ปัจจุบันก็ยังคงเปิดบริษัท การเกษตรกับเพื่อนๆอยู่อย่างไม่ย่อท้อ

>> นัท (หญิง) เจ้าแม่เชื้อรา

>> โจ บอนไซ

นักเรียนสาวร่างเล็ก ผู้รอบรู้และรายล้อมไป ด้วยเชื้อราหลากชนิด แลปวิทย์ที่โรงเรียน เป็นเหมือนกับบ้านหลังที่สองของเธอ

หัวหน้าแก๊งบอนไซ ที่มีตั้งแต่ราคาหลายสิบ บาท จนไปถึงราคาหลายพัน

(และอีกมากมายหลายคนที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งสุดยอดไม่แพ้กัน) 32

33


เห็นไหมล่ะ! “โรคทางการศึกษา” จริงๆรักษาได้ ถ้ามีความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการ โดยปรับใช้กับพื้นที่ที่เราอยู่ด้วยต้นทุนที่เรามี เช่น หากพื้นที่ของเรามีการเกษตร เป็นต้นทุนหลักแบบเขาน้อยวิทยา เราก็เอามาทำ�ให้เป็นกิจกรรมเรียนรู้ซะเลยสิ! และ ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาสามารถทำ�ได้จริง ฉะนั้นไม่ต้องห่วงหรอก การศึกษาไทยยังคงมีความหวังอยู่ หากทุกๆฝ่ายตั้งใจที่จะช่วยเหลือและตระหนักได้ ว่าการศึกษานั้นควรมีอยู่เพื่อนั​ักเรียนจริงๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ไกลตัว แต่ เป็นรากฐานสำ�คัญของสังคม ที่ตอนนี้กำ�ลังต้องการการเปลี่ยนแปลง หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้จะทำ�ให้ทุกคนได้เห็นแง่มุมและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการศึกษาในบ้านเรานะ อย่าเพิ่งถอดใจกันล่ะทุกคน!!

34

35


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.