ความสำเร็จบนเส้นทางอาหารปลอดภัย

Page 1



นานาเส้นทางร่วมสร้างอาหารปลอดภัย ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม

ความส�ำเร็จ บนเส้นทางอาหารปลอดภัย

คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร (คปชก.)


ความส�ำเร็จบนเส้นทางอาหารปลอดภัย เรียบเรียงโดย ปนัดดา อุ่นเพ็ง ปิ่นอนงค์ หะกาศ สุนิษา ฝึกฝน ธ�ำรงค์ มั่นคง นิธิวรรณ ฤทธิรงค์ วรัฏฐา ภูผาลี ถอดบทเรียนโดย ผศ.ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา จัดท�ำและเผยแพร่โดย คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร (คปชก.) ดูแลการผลิตโดย เข้าใจพิมพ์


สารบัญ 10

คลีนฟาร์ม ต้นแบบธุรกิจสีเขียว จากความฝันสู่ความส�ำเร็จ เรียบเรียงโดย ปนัดดา อุ่นเพ็ง / ปิ่นอนงค์ หะกาศ 22

กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน�้ำเขียว เรียบเรียงโดย สุนิษา ฝึกฝน 30

ศีรษะอโศก เกษตรอินทรีย์บุญนิยม เรียบเรียงโดย ธ�ำรงค์ มั่นคง 44

โครงการผักประสานใจ ผู้ผลิต เพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เรียบเรียงโดย นิธิวรรณ ฤทธิรงค์ / วรัฏฐา ภูผาลี 52

ถอดบทเรียนกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณี โดย ผศ.ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา


ค�ำน�ำ บทบาทและภารกิจหนึ่งที่ส�ำคัญของ คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพ ชีวติ เกษตรกร (คปชก.) คือสร้างความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้องในเรือ่ งของเกษตรกรในมิตติ า่ งๆ รวมทั้งปั ญ หา อุ ป สรรคและแนวทางการสร้า งระบบเกษตรกรรมที่ ยั่ ง ยื นของประเทศ สนับสนุนทางด้านวิชาการให้แก่เครือข่ายเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ในการขับเคลื่อนขบวนการ ปฏิรปู อย่างมีพลัง การรวบรวมจัดพิมพ์และเผยแพร่ ‘ความส�ำเร็จบนเส้นทางอาหารปลอดภัย’ เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนบทบาทของคปชก.ดังกล่าว ตัวอย่างเส้นทางความส�ำเร็จของกรณีตวั อย่างทัง้ 4 ในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ คลีนฟาร์ม, ชุมชนศีรษะอโศก, โครงการผักประสานใจฯและกลุม่ ส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน�ำ้ เขียว ซึ่ง สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ เปิดหลักคิดการท�ำเกษตรกรรมที่เหนือไปกว่า การท�ำเพือ่ การค้า รวมทัง้ เสนอแนวคิดเพือ่ สร้างเทคนิคใหม่ๆในการผลิตและพัฒนาผลผลิต ภายใต้เงื่อนไขการผลิตอาหารที่ปลอดภัยให้ผู้บริโภคและไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม เนือ้ หาของแต่ละกรณีนำ� เสนออย่างรอบด้านตัง้ แต่เรือ่ งหลักคิด เทคนิค การจัดการ เกษตรกรรมเพือ่ การผลิตอาหารทีป่ ลอดภัย ซึง่ สามารถน�ำมาใช้เป็นบทเรียนแก่ผอู้ า่ นทัว่ ไป ผู้สนใจเกษตรกรรม หรือเครือข่ายเกษตรกรกลุ่มต่างๆที่ต้องการศึกษาแนวทางในการผลิต หรือต้องการปรับเปลีย่ นมาท�ำเกษตรกรรมเพือ่ ผลิตอาหารทีป่ ลอดภัยได้เป็นอย่างดี ส�ำหรับในแง่ผมู้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง หรือเจ้าหน้าทีร่ ฐั บาลซึง่ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบดูแลระบบ ระเบียบ ออกนโยบายหรือโครงการต่างๆในด้านเกษตรกรรมของประเทศ กรณีตวั อย่างเหล่านีไ้ ด้ แสดงให้เห็นทั้งปัญหาและอุปสรรคไปจนถึงความส�ำเร็จในหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูป


บริษัท กลุ่ม ชุมชนและโครงการ โดยสามารถใช้ความส�ำเร็จเหล่านี้เป็นหมุดหมายในการ ก�ำหนดระบบ โครงสร้าง ยุทธศาสตร์และแผนงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับเปลี่ยนชีวิต เกษตรกรและระบบเกษตรกรรมแบบเดิมๆ ซึ่งใช้สารเคมีในขั้นตอนการผลิตจึงได้ผลผลิตที่ เต็มไปสารพิษเป็นอันตรายต่อผูบ้ ริโภคในวงกว้าง ให้กลายเป็นเกษตรกรรมเพือ่ ผลิตอาหาร ที่ปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นไปตามเป้าประสงค์ของการก่อตั้งสมัชชาปฏิรูป คือสร้างความเป็น ธรรมและลดความเหลือ่ มล�ำ้ ของสังคม ขับเคลือ่ นการปฏิรปู ระบบและโครงสร้างในด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ในฐานะคณะกรรมการทีร่ บั ผิดชอบดูแลด้านคุณภาพชีวติ ของเกษตรกร จึงพยายามผลักดัน เพือ่ ให้เกิดการมีสว่ นร่วมของเกษตรกรโดยใช้กลไกต่างๆ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารก�ำหนดยุทธศาสตร์ และประเด็นเพือ่ การปฏิรปู ประเทศไทยเพือ่ คุณภาพชีวติ เกษตรกร และหนึง่ ในกลไกนัน้ ก็คอื การจัดท�ำ แจกจ่าย และเผยแพร่เนื้อหาองค์ความรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปสู่ผู้สนใจรวมทั้งผู้รับ ผิดชอบ สร้างความเข้าใจน�ำไปใช้ปรับเปลี่ยนมุมมองว่าเส้นทางอาหารปลอดภัยนั้นเกิดขึ้น ได้จริง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสู่การปฏิรูประบบเกษตรกรรมในระดับกว้างขึ้นต่อไป นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานคณะกรรมการ เครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร (คปชก.)



คลีนฟาร์ม ต้นแบบธุรกิจสีเขียว จากความฝันสู่ความส�ำเร็จ เรียบเรียงโดย ปนัดดา อุ่นเพ็ง / ปิ่นอนงค์ หะกาศ


ในวัยเด็กทุกคนต่างมีความฝัน ส่วนใหญ่อยากเป็นต�ำรวจ ทหาร ครู แพทย์ วิศวกร นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่นอ้ ยคนทีอ่ ยากเป็นเกษตรกร เพราะเด็กไทยมักถูกพ่อแม่ สัง่ สอนว่า “โตไปให้เป็นใหญ่เป็นโต ให้เป็นเจ้าคนนายคน จะได้ไม่ตอ้ งมาล�ำบากเป็นเกษตรกร เหมือนพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย” แต่คนที่การศึกษาดี ท�ำงานเป็นเจ้าคนนายคนอย่าง ‘วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ’ กลับมี ความใฝ่ฝันตั้งแต่สมัยเรียนว่าอยากเป็นเกษตรกร ในที่สุดจึงก่อตั้งบริษัท คลีนฟาร์ม จ�ำกัด (Clean Farm) ประกอบธุรกิจด้าน การเกษตรปลอดภัยจนประสบผลส�ำเร็จ โดยคิดค้นวิธีการเพาะปลูกที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพส่งถึงมือผู้บริโภคผ่านจุดกระจายสินค้าทั้งในกรุงเทพฯ และอีก 5 จังหวัดใกล้เคียง คือ สระบุรี ลพบุรี อยุธยา นครราชสีมาและนครนายก ได้รับมาตรฐานและ รางวัลมากมายเป็นเครื่องรับประกัน การศึกษาการงานพร้อมและไม่ทิ้งฝัน คุณวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ มีภมู หิ ลังทีน่ า่ สนใจทัง้ ในเรือ่ งการศึกษา และต�ำแหน่งหน้าที่ การงาน เขาจบการศึกษา วท.บ.(เศรษฐศาสตร์เกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปริญญาโทด้านศึกษาศาสตร์เกษตร (Master of Agriculture - Agricultural Education) จาก University of the Philippines, UTCC MINI MBA รุ่นที่ 5 จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 43 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 3 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน และ หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 108 จากสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้เข้ารับราชการการโดยด�ำรงต�ำแหน่งระดับสูง อาทิ รองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา, ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, อธิบดีกรมพลศึกษา นับว่าเป็นบุคคลที่ประสบความ ส�ำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูงคนหนึ่ง แต่ลึกๆตั้งใจว่าเมื่อใดที่เกษียณอายุราชการจะกลับไปท�ำเกษตรตามความฝัน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ 10


ทีส่ งั่ สมมาตลอดช่วงชีวติ สร้างความฝันจนกลายเป็นความจริงและประสบความส�ำเร็จในธุรกิจ สีเขียวหรือธุรกิจการเกษตรที่ครบวงจรในแบบคลีนฟาร์ม สังเกต ตั้งค�ำถามและทดลอง ในสมัยทีเ่ ขามีโอกาสไปท�ำงานทีว่ ทิ ยาลัยประมงทางภาคใต้หลายปีกอ่ น ด้วยนิสยั เป็นคนชอบกินผักจึงเริม่ ต้นจากสังเกตและตัง้ ค�ำถาม เห็นว่าคนปักษ์ใต้มนี สิ ยั ชอบกินผักมาก โดยเฉพาะผักประเภทผักใบแต่ท�ำไมจึงไม่ปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งเป็นค�ำถามที่พยายามหาค�ำ ตอบมาโดยตลอด ในที่สุดก็ทราบค�ำตอบ เพราะสภาพภาคใต้ไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการปลูกผัก เนื่องจากมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีหรือที่เรียกกันว่าฝนแปดแดดสี่ คนใต้จึงไม่ปลูกผักใบไว้กิน เอง ไม่เพียงเท่านัน้ ปัญหาดังกล่าวยังเป็นโจทย์ให้เขาคิดต่อ และพยายามศึกษาเรียนรู้ จากแหล่งข้อมูลต่างๆมาตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี โดยคิดค้นหาวิธกี ารต่างๆ ท�ำการทดลอง ปลูกผักที่ไม่ต้องการฝน ซึ่งได้คิดหาวิธีควบคุมปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การท�ำหลังคา พลาสติกกันฝนเพื่อรักษาใบผักจากน�้ำฝนและปุ๋ยก็ไม่ถูกชะล้างจากฝนเช่นกัน กระทัง่ ปี 2546 - 2548 เขาตัดสินใจลงทุนปรับหน้าดิน ปลูกพืชตระกูลถัว่ และไถ่กลบ บนผืนทีน่ าจ�ำนวน 50 ไร่ ในจังหวัดสระบุรแี ละทดลองปลูกผักในโรงเรือนแต่ไม่สำ� เร็จ เพราะ ดินผืนนัน้ เป็นดินเหนียวท�ำให้นำ�้ ระบายไม่ดจี งึ ไม่เหมาะส�ำหรับปลูกผักอย่างยิง่ แต่ปญ ั หานี้ ไม่ได้หยุดยั้งความตั้งใจของเขา ถ้าดินเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกก็ตอ้ งแก้ไขปัญหาเรือ่ งดินก่อนเป็นอันดับแรก เขาจึงย้ายดินมาอยูบ่ นแคร่และปรับสภาพดินเฉพาะทีจ่ ะปลูกเท่านัน้ เพือ่ ลดต้นทุนการใช้จ่าย และง่ายต่อการดูแล เป็นทีม่ าของหลักการผลิตผักโดยวิธกี ารท�ำโรงเรือนด้วยหลังคาพลาสติก และปลูกผักบนแคร่ของบริษัท คลีนฟาร์ม จ�ำกัด ในปี 2549 การจัดการเป็นระบบแบบคลีนฟาร์ม เขาคิดเสมอว่า “ไม่มีทางจะปลูกผักให้คนล้านคนในพื้นที่ 100 ไร่ได้” แต่ความคิด นัน้ กลับท้าทายเขาไปสูก่ ารคิดค้นหาความรูแ้ ละทดลอง ประยุกต์ความรูเ้ หล่านัน้ ให้เหมาะสม กับพื้นที่และชนิดของผักที่ตนเองปลูก ปัจจุบันคลีนฟาร์มปลูกผักกินใบกว่า 30 ชนิดซึ่งได้ รับมาตรฐาน และปลูกผักหมุนเวียนเช่น บวบ มะระ กะหล�่ำปลีหัวใจ บล็อกโคลี่ กะหล�่ำดอก ถั่วฝักยาวสีแดงและสีเขียว ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 50 ชนิด พื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่ เป็นนา ข้าว 30 ไร่ ปลูกผัก 60 ไร่ พื้นที่บ้านพักและส�ำนักงาน 10 ไร่ โดยคลีนฟาร์มมีการจัดการ อย่างเป็นระบบ ดังนี้ 11


(1) เมล็ดพันธุ์ คลีนฟาร์มสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักและพืชผลจากบริษัทชั้นน�ำ อาทิ เพื่อนเกษตร และเจียไต๋ ส่วนคะน้ายอดและคะน้าเห็ดหอม น�ำเข้าเมล็ดพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ การตัดสินใจเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์แต่ละครั้ง คลีนฟาร์มจะทดลองเมล็ดพันธุ์ ชนิดนั้นๆว่ามีความเหมาะสมกับดิน น�้ำ อากาศ ในฟาร์มหรือไม่ ทั้งนี้ คลีนฟาร์มไม่สามารถ เพาะเมล็ดพันธุ์ผักทุกชนิดเองได้ เพราะบริษัทเมล็ดพันธุ์มีการตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นหมัน มีการใช้สารเคมีเล็กน้อยในการคลุกเมล็ดพันธุ์ (2) วิธีการปลูก ใช้วิธีการเพาะปลูกด้วยดินบนแคร่ในโรงเรือน - การเพาะต้นกล้า ใช้เวลา 20 วันก่อนทีจ่ ะเอามาลงแปลงปลูกทีเ่ ตรียมไว้ หลังจาก นั้น 40-50 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ - โรงเรือนเป็นลักษณะโรงเรือนแบบปิด ใช้พลาสติกหุ้มด้านบน ด้านข้างล้อมด้วย มุง้ กันแมลง มีตาข่ายชนิดตาห่างเพือ่ ระบายอากาศได้ดี ลดอากาศร้อนชืน้ ในโรงเรือนได้จาก การระบายออกด้านบน ด้านนอกโรงเรือนมีการขุดร่องเพือ่ ระบายน�้ำ ป้องกันน�ำ้ เข้าโรงเรือน และด้านหน้าโรงเรือนมีการระบุอกั ษรและเลขทีไ่ ว้ เพือ่ เป็นสัญลักษณ์สอื่ สารกับกลุม่ แรงงาน ต่างด้าว - แคร่ไม้ไผ่และเหล็ก ข้อดีของแคร่แบบไม้ไผ่คอื ต้นทุนน้อยแต่ไม่ทนทาน ใช้ได้ 3 ปี และแคร่เหล็กทนทานกว่า ป้องกันเชื้อราในดินได้ ทนต่อน�้ำท่วมขัง ออกแบบให้มีความสูง ระดับเอวท�ำให้ท�ำงานได้สะดวก ไม่ต้องก้มหรือเงยมากเกินไป เพื่อความสุขในการท�ำงาน อีกทั้งการปลูกบนแคร่ช่วยให้ลมพัดผ่านด้านล่างได้ดีเป็นการลดอุณหภูมิในดิน และช่วยให้ ดินที่ปลูกมีการระบายน�้ำได้ดี ลดการเกิดโรคของพืชที่มาจากดิน - การเตรียมดิน ใช้การดูแลบ�ำรุงดินแบบง่าย โดยใช้วธิ ธี รรมชาติและการใช้ปยุ๋ หมัก โดยให้ดนิ มีแร่ธาตุครบ 3 ตัว คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแทสเซียม (K) ดินที่เตรียม ในแต่ละแปลงสามารถลงผักได้ 5-6 ครัง้ จากนัน้ เจ้าหน้าทีช่ ำ� นาญการด้านดินจะน�ำดินตากทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ น�ำดินกลับไปผสมกับปุ๋ยให้มีแร่ธาตุครบถ้วน แล้วน�ำกลับมาใช้อีก - ปุย๋ ทีใ่ ช้ในการบ�ำรุงดินและพืช ส่วนใหญ่ใช้ปยุ๋ หมักและปุย๋ คอก ทัง้ ชนิดน�ำ้ และอัดเม็ด โดยจะใช้กากน�้ำตาล กาบมะพร้าว ร�ำข้าว เศษผักส่วนล่างทีเ่ หลือในการผลิตปุย๋ หมักในสูตร ของคลีนฟาร์ม แล้วใช้เครื่องจักรขนาดเล็กในการผสมปุ๋ย - ระบบน�ำ้ จะใช้เครือ่ งสูบน�ำ้ เพือ่ ไปเก็บในบ่อเก็บน�ำ้ แล้วปล่อยไปตามโรงเรือน การให้นำ�้ มี 3 ระบบ คือ น�ำ้ หยด พ่นหมอก และสเปรย์ โดยระบบน�ำ้ หยดใช้สำ� หรับพืชต้นเล็ก ส่วนระบบ สเปรย์พ่นข้างและสเปร์ยพ่นหมอกใช้ส�ำหรับพืชที่โตแล้ว ใช้น�้ำเพื่อลดอุณหภูมิ ทั้งนี้ระบบ 12


น�ำ้ หยดยังเป็นระบบเดียวกันกับการให้ปยุ๋ น�ำ้ แก่ผกั และจะตรวจสอบสภาพน�ำ้ ทุกสองเดือน นอกจากนั้นยังเลี้ยงปลาในบ่อเก็บน�้ำเพื่อทดสอบสารเคมีตกค้างในน�้ำอีกด้วย - การให้แสงแดด มีการพรางแสงและลมจนกว่าพืชจะโต 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใช้ ผ้าใบแสลมสีดำ� วางแบบสับหว่างเพือ่ ให้พชื สามารถรับแสงแดดเพียง 50% หากคลุมทัง้ หมด จะต้องใช้น�้ำมากเกินไป - การป้องกันแมลงและโรคระบาด ใช้วธิ สี ร้างก�ำแพงป้องกันลมเพราะบริเวณรอบๆ ฟาร์มรายล้อมไปด้วยแปลงปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีท�ำให้มีแมลงจ�ำนวนมาก นอกจากนั้นก็ ป้องกันแมลงด้วยการปลูกพืชไล่แมลงซึง่ ป้องกันได้ถงึ 80% เช่น ปลูกกล้วยชุมพรเพือ่ บังลม และแมลง ปลูกปาล์มและอินทผลัมพันธุไ์ ม่มลี กู เพือ่ ไล่แมลง ปลูกต้นฝรัง่ กิมจูเพือ่ ดึงดูดเพลีย้ ก�ำลังเริม่ ปลูกมะพร้าวแทนฝรัง่ เพือ่ น�ำมาเพาะเชือ้ ก�ำจัดแมลง และถือเป็นการเพิม่ บรรยากาศ ให้สวนผักได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามจะปล่อยให้หนอนและแมลงในดินเป็นไปตามระบบนิเวศ แต่หากมีมากเกินไปคนงานก็จะเดินเก็บหนอนไปท�ำลายแทนการพ่นสารเคมีก�ำจัด (3) การเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาเก็บเกีย่ วแบ่งเป็น 2 เวลา ได้แก่ ช่วงเช้า เวลา 05.00 น. ถึง 09.00 น. และ ช่วงบ่าย (กรณีที่มีรายการสั่งผักจ�ำนวนมาก) เวลา 16.00 น. ถึง 18.00 น. โดยใช้วิธีการตัด แบบเรียงหน้าและจัดเรียงผักแนวนอนลงในตะกร้าทีเ่ ตรียมไว้ จากนัน้ จึงตกแต่งผักโดยแบ่ง เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างสุดตัดทิง้ เอาไปท�ำปุย๋ และเป็นอาหารปลา (ปลาทับทิม ปลานิล) ส่วนทีส่ อง น�ำมาประกอบอาหารให้พนักงาน จึงได้รบั ประทานผักปลอดภัยและลดรายจ่ายของพนักงาน ไปด้วย และส่วนที่สามเป็นส่วนที่ดีที่สุด ขายให้กับลูกค้า ลูกค้าได้รับผักที่ดีที่สุดไป (4) วิธีเก็บรักษาผลผลิต และบรรจุภัณฑ์ เน้นกระบวนการเพื่อควบคุมความสดใหม่และความสะอาดของสินค้า ซึ่งลักษณะ บรรจุภณ ั ฑ์ทใี่ ช้คอื ถุงพลาสติกนิม่ อย่างดี มีคณ ุ สมบัตริ กั ษาอุณหภูมใิ ช้บรรจุผกั ใบ ส่วนกล่อง พลาสติกจะใช้เฉพาะบรรจุสลัด ทุกถุงเจาะรูให้ผักหายใจเพื่อป้องกันผักเน่า วิธีการบรรจุสินค้า ขั้นที่ 1 น�ำผักที่ตัดแต่งคัดสรรส่วนที่ดีที่สุด ล้างด้วยน�้ำสะอาด อุณหภูมปิ กติหนึง่ ครัง้ ขัน้ ที่ 2 น�ำผักมาแช่นำ�้ อุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียสเวลา 3 นาที ขัน้ ที่ 3 น�ำผักมาผึง่ ให้แห้งบนผืนผ้าใบสะอาด ขัน้ ที่ 4 บรรจุผกั 300 กรัมลงในถุงพลาสติกทีเ่ ตรียมไว้ ขัน้ ที่ 5 น�ำผักทีบ่ รรจุภณ ั ฑ์เรียบร้อยแล้วเข้าห้องเย็นอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส เก็บในกล่องโฟม อีกชัน้ หนึง่ ก่อนจัดจ�ำหน่าย กรรมวิธดี งั กล่าวสามารถเก็บผักให้สดเพือ่ ผูบ้ ริโภคได้นาน 7 วัน (5) การขนส่ง คลีนฟาร์มขนส่งสินค้าไปยังแหล่งจ�ำหน่ายสินค้าจ�ำนวน 49 จุด โดยก่อนส่งจะ ติดบาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบข้อมูลผักที่ส่งกลับมาได้อย่างรวดเร็ว แล้วขนส่งทางบกด้วย 13


รถกระบะบรรทุกห้องเย็น ซึง่ สามารถรักษาความเย็นและป้องกันความเสียหายของสินค้าได้ ขนส่งเวียนไปแต่ละจุดสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง มีการแบ่งโซนขนส่งสองสาย ใช้รถสองคัน บรรจุ ผักประมาณ 800 กิโลกรัมต่อคัน สายหลักคือกรุงเทพฯ (มีรถขนส่งอีกหนึ่งคัน) จะไปส่งผัก เข้าคลังสินค้าซึ่งตั้งอยู่ที่คลองประปา สายที่สองคือสระบุรี ลพบุรี อยุธยาและนครนายก ก�ำลังส�ำคัญคือทรัพยากรบุคคล หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลของคุณวีระศักดิค์ อื เน้นให้คนมีวนิ ยั โดยคลีนฟาร์ม จ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานเป็นช่วงเวลาและจัดสวัสดิการให้แก่พนักงาน การสร้างแรงจูงใจ ให้กับแรงงานด้วยค�ำพูด “ความสุขและอนาคต เริ่มที่นี่ ตรงนี้” รวมถึงใช้วิธีการท้าทายใน การควบคุมแรงงานผ่านค�ำพูด “ไม่พอใจ ออกไปเลย” คลีนฟาร์มว่าจ้างบุคลากรทัง้ หมด 50 คน ฝ่ายผลิต 30 และฝ่ายบรรจุภณ ั ฑ์ รวมกับ ส่วนส�ำนักงาน 20 คน แบ่งหน้าที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส�ำนักงานและบรรจุภัณฑ์ แผนก พืชอายุยืน แผนกพืชอายุสั้น แผนกโรงปุ๋ย การคัดเลือกพนักงานของคลีนฟาร์มนั้น พนักงานส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่เคย ฝึกงานในบริษทั เพราะมีความรูเ้ ฉพาะทาง และจะใช้แรงงานไทยเป็นหลักเพราะมีฐานความรู้ ดีกว่า คือใช้ชาวบ้านหรือลูกจ้างรายวันเพราะชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพหลักคือท�ำนา แรงงาน ต่างด้าวมี 5 คนซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือน นอกจากนี้ คลีนฟาร์มเปิดโอกาสให้นักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนเข้ามาศึกษา ดูงานด้วย ปัจจุบันเป็นชาวพม่า 3 คน มาฝึกงานและศึกษาเรียนรู้ลักษณะของงานฝ่ายผลิต ที่ต้องท�ำรายวัน คือ ปลูกผัก ถอนหญ้า เดินเก็บหนอนมาท�ำลาย คลีนฟาร์มก�ำหนดเวลาเข้างาน 07.30-17.00 น. และมีการจัดสวัสดิการพนักงาน ในทุกระดับ ซึ่งลักษณะสวัสดิการ คือ บ้านพักฟรี ค่าน�้ำค่าไฟฟรี ข้าวฟรี 3 มื้อต่อวัน เลี้ยง ขนมหวาน 3 วันต่อสัปดาห์ ส�ำหรับพนักงานส�ำนักงานอัตราค่าแรงวันละ 267 บาทตาม กฎหมายแรงงานสระบุรหี รือค่าตอบแทนขัน้ ต�ำ่ ตามวุฒกิ ารศึกษา มีประกันสังคม ส่วนอัตรา ค่าจ้างรายวันแก่แรงงานฝ่ายผลิตจ่ายวันละ 200 บาท ไม่รวมเงินค่าจ้างล่วงเวลา ส่วนการจ่ายเงิน ค่าตอบแทน ก�ำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน แต่ถ้าฉุกเฉินก็สามารถเบิกล่วงหน้าก่อนได้ ตามสมควร การตลาดแบบบูรณาการ คุณวีระศักดิไ์ ด้คดิ บูรณาการทางการตลาดของบริษทั อย่างรอบคอบ โดยหลักการคือ ต้องคิดว่าจะขายให้ใคร จะขายทีไ่ หนและการขายเป็นอย่างไร ซึง่ สรุปเป็นวิธกี ารของคลีนฟาร์ม ดังนี้ 14


(1) การเลือกพื้นที่การผลิต ผลิตทีจ่ งั หวัดสระบุรซี งึ่ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จึงเข้าถึงกลุม่ ลูกค้าหรือผูบ้ ริโภคได้งา่ ย (2) เข้าถึงกลุ่มลูกค้า มุง่ เป้าไปทีก่ ลุม่ คนลูกค้าทีร่ กั สุขภาพ มีรายได้สงู หรือรายได้พอสมควร และมีระดับ การศึกษาดี พนักงานการตลาดของคลีนฟาร์มกล่าวไว้ว่า “การเข้าถึงลูกค้าต้องใช้หลักการตลาดในต�ำราบวกกับประสบการณ์ประยุกต์เข้าด้วยกัน เพราะการตลาดผักปลอดสารพิษ ราคาสูง ดังนัน้ จึงต้องเข้าหาตลาดบน ตลาดชุมชนมองข้าม ไปเลย ต้องมองคนมีก�ำลังทรัพย์ คนรักสุขภาพ ชมรมออกก�ำลังกาย ไทเก๊ก ฟิลลิปเวอร์ กลุม่ โรงพยาบาล ฟิตเน็ตไอโซ และตอนนีโ้ รงพยาบาลมีนโยบายลดโรคเบาหวาน ลดโรคอ้วน เวลาไปน�ำเสนอผักก็สามารถเข้าถึงได้” นอกจากนี้ การน�ำเสนอสินค้ากับหน่วยงานต่างๆจะใช้ 2 แนวทางคือ แนวทางแรก คุณวีระศักดิ์จะเข้าไปน�ำเสนอด้วยตนเองแก่หน่วยงานต่างๆ จากนั้นพนักงานการตลาดจะ เข้าไปพบและน�ำเสนอสินค้าอีกครั้ง แนวทางที่สอง เข้าไปน�ำเสนอในนามคลีนฟาร์ม โดยใช้รางวัลและใบรับรอง มาตรฐานต่างๆที่ได้รับไปแสดง เสนอรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์และให้ทดลองชิม (3) การก�ำหนดราคา ระบุชัดเจนในเอกสารใบเสนอราคา ซึ่งราคาค่อนข้างสูง โดยมองว่าราคาสูงนั้นคือ สินค้าดีมีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค มีความคุ้มค่า โดยเลือกใช้สโลแกน ‘ราคาสูง นิดชีวติ ปลอดภัย’ ผักขายในราคาถุงละ 35 บาทราคาเดียวกันทัง้ หมด ผูค้ า้ บางรายรับสินค้า ไปขายอาจจะเพิม่ ราคาขึน้ อีกเล็กน้อย เช่น กลุม่ ผักโครงการหลวงทีฟ่ วิ เจอร์ปาร์ครังสิต คลีนฟาร์ม ไม่มีนโยบายลดราคา เพื่อเป็นมาตรฐานสินค้าและควบคุมราคาไว้ (4) การบรรจุภัณฑ์ มีตราสัญลักษณ์คลีนฟาร์ม มีเครือ่ งหมายรับรองมาตรฐานหรือรางวัลต่างๆชัดเจน นอกจากนัน้ บรรจุภณ ั ฑ์มลี กั ษณะโปร่งใส ลูกค้าสามารถเห็นคุณภาพของผักได้ทุกส่วนและ ไม่ระบุวนั หมดอายุ แต่จะบอกว่าผักรักษาความสดได้ 7 วัน เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้แก่ผบู้ ริโภค ว่าสินค้าจากคลีนฟาร์มมีคุณภาพและสด (5) การจัดจ�ำหน่าย มีศนู ย์จดั จ�ำหน่ายแบบขายตรงให้กบั กลุม่ ลูกค้าตามสถานทีต่ า่ งๆ ได้แก่ โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ ตลาด หน้าสถาบันการศึกษา หมูบ่ า้ นจัดสรรและสถานทีต่ ามแหล่งธุรกิจต่างๆ ปัจจุบันมีทั้งหมด 49 แห่ง โดยอยู่ในกรุงเทพฯ 24 แห่ง และอยู่ใน 5 จังหวัด (สระบุรี ลพบุรี อยุธยา นครราชสีมา นครนายก) อีก 25 แห่ง คลีนฟาร์ม ไม่ใช้สายป่านพ่อค้าคนกลาง แต่ 15


จะใช้กลุม่ ลูกค้าทีร่ บั ไปจ�ำหน่ายต่อให้แก่คนทีร่ จู้ ัก คลีนฟาร์มให้สว่ นแบ่งรายได้ 20% ดังนั้น จะได้ก�ำไรถุงละ 7 บาท แต่ผู้บริโภคยังซื้อได้ในราคาเดียวคือถุงละ 35 บาท (6) เทคนิคการขาย การเข้าถึงลูกค้าโดยเน้นการขายแบบให้ความรูแ้ ละให้คำ� แนะน�ำ เช่น เปิดให้เข้าชมฟาร์ม เพือ่ ศึกษาเรียนรูว้ ธิ กี ารผลิต แนะน�ำว่าผักแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไร น�ำไปท�ำอาหารอะไร ได้บ้าง เน้นคุณภาพสินค้าและความสดของผัก (7) มีสินค้าแปรรูปอื่นๆ ได้แก่ ชุดกล่องสลัด มีน�้ำสลัดให้เลือก 12 สูตร ชุดสุกี้กล่องและอาหารผักชุดพร้อม เครื่องปรุง (8) มีโครงการรีสอร์ทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปลูกบ้านพักท่ามกลางแปลงผัก เป็นโครงการต่อยอดเพือ่ รองรับกลุม่ ลูกค้าทีต่ อ้ งการ ปลูกเพื่อรับประทานเอง สร้างแบรนด์และความไว้วางใจ (1) ตัวบุคคล - เนื่องจากคุณวีระศักดิ์เห็นความล้มเหลวและตัวอย่างดีๆในหลายประเทศ จึงมี ความน่าเชือ่ ถือ และได้รบั การยอมรับจึงพัฒนาตัวเองจนสามารถกลายเป็นพรีเซ็นเตอร์สนิ ค้า ของตนได้ - มีแพทย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ เพือ่ สร้างความน่าเชือ่ ถือแก่ผบู้ ริโภค ให้เกิดความสนใจในเรือ่ งการรักษาสุขภาพ เต็มใจทีจ่ ะ จ่ายแพงเพื่อซื้อสุขภาพที่ดีและหันมาบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น (2) ปากต่อปาก เนื่องจากยังมีกลุ่มคนบางส่วนที่ไม่รู้ว่ามาตรฐาน GAP คืออะไร จึงใช้วิธีการ ประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก จากผูบ้ ริโภคกลุม่ เล็กๆก็สามารถขยายกลุม่ ผูบ้ ริโภคให้ใหญ่ ขึ้นได้ (3) ใช้เทคโนโลยี ในอนาคตจะติดกล้อง CCTV เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถดูกระบวนการผลิตทุกขั้น ตอนได้แบบเรียลไทม์ทางอินเตอร์เน็ต เป็นการยืนยันเรื่องความซื่อสัตย์ของผู้ผลิต (4) เอกสารประชาสัมพันธ์ ประชาสั ม พั น ธ์ แ ละสร้ า งความมั่ น ใจให้ แ ก่ ผู ้ บ ริ โ ภคด้ ว ยการจั ด ท� ำ เอกสาร ประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับข้อมูลวิธกี ารปลูก แผ่นพับใบเสนอราคา โปรชัวร์เชิญชวนเยีย่ มชม 16


ฟาร์ม นามบัตรติดต่อ เป็นต้น (5) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า คลีนฟาร์มได้รบั รางวัลต่างๆเป็นเครือ่ งยืนยัน และสร้างความเชือ่ มัน่ ให้แก่ผบู้ ริโภค ยิ่งขึ้น อาทิ - ผลผลิตจากฟาร์มกว่า 30 ชนิดได้รับมาตรฐาน GAP ปี 2553 - ได้รับรางวัลเกียรติคุณ สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสมระดับประเทศ ประจ�ำปี 2553 จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - ได้รับรางวัล OTOP 5 ดาว ของจังหวัดสระบุรี แง่คิดส�ำหรับเกษตรกรมือใหม่ คุณวีระศักด์ให้แง่คิดแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจสีเขียวไว้ว่า “เราจะเป็นผูบ้ กุ เบิก ผูป้ ระกอบการใหม่ ไม่ใช่แบบก๊อปปี้ คือเราต้องมัน่ ใจและมีแนวคิด ในวิธกี ารผลิต เช่น เรามีเทคโนโลยีอะไรใหม่หรือไม่ หรือเรามีแนวทางการลดต้นทุนอย่างไร จะผลิตอย่างไรให้แตกต่าง เราจึงจะก้าวเข้าสูธ่ รุ กิจในฐานะผูป้ ระกอบการใหม่ได้ ถ้าเราคิดใหม่ไม่ได้ ก็ต้องมาคิดเรื่องเก็บเกี่ยว แปรรูป ขนส่ง จ�ำหน่าย และบรรจุภัณฑ์ เราถึงจะก้าวเข้ามาสู่ ผู้ประกอบการใหม่ได้” ซึ่งหลักคิดส�ำคัญๆสรุปได้ดังนี้ - ตั้งเป้าหมายชีวิตของการเป็นเกษตรกรหรือผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียว - เรียนรู้ประสบการณ์ความส�ำเร็จของผู้มาก่อน - อย่าคิดว่าปัญหาคือปัญหา ให้คิดว่านั่นคือโจทย์ใหม่ที่ต้องแก้และได้สร้างสรรค์ สิ่งแปลกใหม่ ไม่ซ�้ำใคร จะท�ำให้สนุกในการท�ำงาน - ต้องมีความพร้อมเรือ่ งปัจจัยการผลิตได้แก่ ทีด่ นิ เงินทุน เทคโนโลยี แรงงานและ ทีส่ ำ� คัญยิง่ กว่าสิง่ อืน่ ใด คือต้องมีใจรักงานเกษตร และต้องมีความรูแ้ บบสหศาสตร์ โดยเฉพาะ ความรูด้ า้ นวิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เพราะเกษตรกร หรือผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียวสมัยใหม่ควรมีหลักคิดแบบองค์รวม - ศึกษาหาความรูแ้ ละทดลองท�ำ ค้นหาความแตกต่างเพือ่ สร้างเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นจุดขาย โดยอาจจะเริ่มจากก้าวเล็กๆเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต - การจัดการฟาร์มเป็นหัวใจส�ำคัญทีจ่ ะสร้างความเชือ่ มัน่ แก่ผบู้ ริโภค ดังนัน้ ต้องวางแผน การผลิต ท�ำด้วยความใส่ใจ เข้าใจธรรมชาติของพืช ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม ซือ่ สัตย์ และจริงใจต่อผู้บริโภค - ใช้หลักการตลาดแบบง่ายๆ คือ ขายให้ใคร ขายที่ไหนและขายอย่างไร 17


18


อ้างอิง เว็บไซต์ วิกิพีเดีย. คุณวีระศักด์ วงษ์สมบัติ, http://th.wikipedia.org, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555. สัมภาษณ์ คุณวีระศักด์ วงษ์สมบัติ ในวันที่ 9 และ 19 กันยายน 2555 / คุณแอม (ลูกสาวคุณวีระศักดิ)์ , คุณแตง (พนักงาน บริษทั คลีนฟาร์ม), คุณสดใส (พนักงานบริษทั คลีนฟาร์ม) พนักงานแผนกส�ำนักงานและบรรจุภณ ั ฑ์ จ�ำนวน 3 คน ในวันที่ 19 กันยายน 2555 19



กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน�้ำเขียว เรียบเรียงโดย สุนิษา ฝึกฝน


กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษวังน�้ำเขียวก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2541 จากการรวมตัวกันของเกษตรกรในอ�ำเภอวังน�้ำเขียวที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤต ทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 และเล็งเห็นถึงภัยร้ายของสารเคมีที่ตกค้างจากการท�ำเกษตร ซึ่ง มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตนเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่อ�ำเภอวังน�้ำเขียวซึ่งเป็นแหล่งก�ำเนิดต้นน�้ำส�ำคัญสามสาย ได้แก่ ล�ำพระเพลิง ล�ำมูลบนและล�ำเชียงสา จึงเริ่มจากการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่คนละ 2 งานหรือครึ่งไร่ เลิกการใช้ป๋ยุ เคมีและยาฆ่าแมลง น�ำเศษอาหารที่เหลือใช้ในครัวเรือนและ เศษพืชในแปลงเพาะปลูกมาหมักให้ได้จลุ นิ ทรียแ์ ละท�ำปุย๋ หมักชีวภาพ สารสมุนไพรไล่แมลง ใช้แทนสารเคมี รวมกลุม่ กันประกอบอาชีพต่างๆตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนพึง่ ตนเอง ด�ำเนิน กิจกรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จนได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ เมือ่ วันที่ 9 ตุลาคม 2541 ปัจจุบนั มีสมาชิกจ�ำนวน 600 คน และได้จดทะเบียนจัดตัง้ เป็นสหกรณ์การเกษตรชือ่ สหกรณ์กสิกรรมไร้สารพิษในเขตปฏิรปู ทีด่ นิ อ�ำเภอวังน�ำ้ เขียว จ�ำกัด กิจกรรมได้พฒ ั นาและ ประสบความส�ำเร็จในระดับหนึ่ง ผลผลิตผักไร้สารพิษ ได้รับการเสนอให้เข้าอยู่ในโครงการ หนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นถูกรวบรวมลงในหนังสือครบรอบ 20 ปี ส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพือ่ ประสานงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ (กปร.) มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานและชมการสาธิตฝึกอบรมเป็นจ�ำนวนมาก ได้รับการขานชื่อเป็นครั้งแรกว่า ‘ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้าน’ ในบทความหนังสือ มูลนิธิชัยพัฒนา ฉบับเดือนเมษายน 2544 โดยมีกจิ กรรมหลักๆคือการผลิต, การแปรรูป, การตลาด, การฝึกอบรม, การสาธิต และการพัฒนากลุม่ มีเกษตรกรและผูท้ สี่ นใจมาศึกษาดูงานจ�ำนวนเพิม่ ขึน้ ประชาชนจากท้องทีต่ า่ งๆ รวมทัง้ หน่วยงานทัง้ ภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาสนับสนุน ก่อให้เกิดพหุภาคีขนึ้ ภายใต้การด�ำเนินงานของชาวบ้านในชุมชน ตามแนวพระราชด�ำริฯ

22


เปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมาย กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษนั้นถือได้ว่าเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่น�ำเกษตร ไร้สารพิษมาทดแทนเกษตรสมัยใหม่ทใี่ ช้สารเคมีมากมาย โดยค่อยๆปรับเปลีย่ นไปสูว่ งกว้าง ในกระบวนการนี้แกนน�ำมีส่วนส�ำคัญอย่างมากในการคิดริเริ่มสร้างพลังและโน้มน้าวใจให้ เกษตรกรหันมาสนใจการท�ำเกษตรแบบไร้สารพิษ โดย ‘อ�ำนาจ หมายยอดกลาง’ เป็น บุคคลที่คิดริเริ่มให้ชาวบ้านหันมาท�ำเกษตรกรรมแบบไร้สารพิษ คุณอ�ำนาจเป็นนักปฏิบตั ธิ รรมคนหนึง่ ของสันติอโศกจึงท�ำให้หนั มาสนใจด้านสิง่ แวดล้อม มากขึน้ และได้นำ� เอาค�ำสอนของพระโพธิรกั ษ์ทพี่ ดู ถึง 3 อาชีพกูช้ าติ จนได้เปิดร้านอาหารมังสวิรตั ิ ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยน้องสาวและแม่บ้านเป็นคนดูแล “ตอนผมท�ำงานอยูก่ ลางทะเลทรายโดยเฉพาะในลิเบีย ถึงจะแห้งแล้งยังไง เขาก็ยงั มาท�ำแปลงเกษตร กัตดาฟี่ (ผูน้ ำ� ประเทศ) ให้ประโยชน์กบั ประชาชนมาก ใครท�ำการเกษตร เขาจะเจาะน�ำ้ ให้ ไกลขนาดไหนเขาก็ลากสายไฟฟ้าไปให้ ขณะนัน้ คนลิเบียยังมีไม่ถงึ หนึง่ ล้าน ประเทศเขาใหญ่กว่าเราสามเท่า ใครท�ำเกษตรเขาส่งเสริมหมด” “ช่วงนัน้ ผมเองไปท�ำงานต่างประเทศ ท�ำงานเจาะน�ำ้ มัน ท�ำสามเดือนพักเดือนหนึ่ง ผมมีโอกาสเดินทาง บริษทั จ่ายค่าเครือ่ งบินฟรีไปไหนก็ได้บนโลกท�ำให้เราได้เห็นโลกกว้าง เลย รู้ว่า เรื่องอาหารเป็นเรื่องส�ำคัญสูงสุด” “พอเห็นคนเจ็บป่วยกันเยอะ ผมเองก็ศกึ ษาจากหนังสือจากอะไรต่างๆ พอผมลาออก จากงานได้กลับบ้าน ผมก็พยายามไปบอกชาวบ้านให้มาท�ำเกษตรทีไ่ ม่ใช้สารเคมี เพือ่ ให้มผี ัก ป้อนร้านที่ผมท�ำแต่ไม่มีใครท�ำตามกลับหาว่าผมบ้า” จากสิง่ ทีค่ นเห็นว่าบ้าในตอนนัน้ จนบัดนีส้ งิ่ ทีค่ ณ ุ อ�ำนาจท�ำได้รบั การยอมรับจนกระทัง่ ได้ตั้งเป็น ‘ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้าน’ โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่อง มาจากพระราชด�ำริ อ�ำเภอวังน�้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเป้าหมายดังนี้ - เพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกตระหนักถึงภัยร้ายของการใช้สารเคมีและด�ำเนินการ ปลูกผักไร้สารพิษ - เพือ่ ส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุม่ จัดตัง้ องค์กรชุมชนและด�ำเนินกิจกรรมแบบครบวงจร สามารถพึ่งพาตนเองได้ - เพือ่ ส่งเสริมให้สมาชิกน�ำเทคโนโลยีทเี่ หมาะสมจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ มาผสมผสาน ในการด�ำเนินกิจกรรม - เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการป้องกัน อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตน - เพื่อเป็นแหล่งศึกษาให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป 23


- เพื่อแสวงหาเครือข่ายและประสานความร่วมมือในการด�ำเนินกิจกรรม

การผลิต (1) การเตรียมกล้า เพาะกล้าในแปลงเล็กๆก่อน หากกล้าไม่แข็งแรงก็จะตายในแปลง เป็นการลดความเสียหาย จากนัน้ จึงค่อยน�ำลงปลูกในแปลงใหญ่ เมล็ดพันธุผ์ กั สลัดซือ้ จากร้านเมล็ดพันธุเ์ พือ่ นเกษตร ทีข่ ายทัว่ ไป เหตุทไี่ ม่ทำ� เมล็ดพันธุเ์ องเนือ่ งจากต้องใช้เวลาซึง่ จะไม่ทนั ต่อการเพาะปลูกผักเพือ่ ขาย หากท�ำเมล็ดพันธุ์ต้องท�ำขายด้วยจึงจะคุ้ม (2) การเตรียมดิน ยกแปลงขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาว 27-30 เมตร ไถโดยใช้ผาน ใช้โรตารีตีแต่ง ขอบและใช้ปุ๋ยหมักหว่านปุ๋ยรองพื้นประมาณ 30 กิโลกรัมต่อแปลง หว่านคลุมด้วยฟาง มีการพักดินตอนไถหรือใช้วิธีปลูกพืชสลับพื้นที่กัน สังเกตดินแทนการตรวจจาก ห้องทดลอง หากพืชงามถือว่าดินยังใช้ได้ มีแนวป่าเป็นแนวกันชนระหว่างแปลงเคมีและ แปลงอินทรีย์ (3) โรงเรือน ท�ำโรงเรือนแบบเปิดไม่ได้กางมุ้งส�ำหรับปลูกผักสลัด ด้านข้างจะถูกแบ่งเป็นสอง แปลงซ้ายและขวา ตรงกลางใช้ปลูกผักอืน่ แทรก เช่น ถัว่ บวบ ไม้เลือ้ ยปลูกด้านข้าง มะเขือเทศ จะปลูกสลับกับผักอื่นทั่วไป และจะปลูกคะน้าบนแคร่ในอนาคต (4) การจัดการน�้ำ มีการสร้างฝายชะลอน�้ำในร่องเขาภายในไร่ ให้น�้ำภายในไร่โดยใช้คนรดน�้ำ และใช้ สปริงเกอร์ (5) ปุ๋ย ใช้อนิ ทรียว์ ตั ถุและปุย๋ คอก ปุย๋ หมัก โดยหมักด้วยน�ำ้ ชีวภาพใช้วธิ กี ารฉีดพ่นน�ำ้ หมัก ในทุกๆ 7-10 วัน และใช้ขี้หมูที่ผ่านกระบวนการไบโอแก๊สมาใช้เป็นปุ๋ยโดยตรง ซึ่งเชื่อว่า เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดีและไม่ต้องน�ำมาหมัก (5) การแก้ปัญหาศัตรูพืช ในโรงเรือนมีแมลงไม่มาก ในกรณีที่มีหนอนกินใบ นกจะเข้ามากิน และฉีดน�้ำหมัก ชีวภาพต่อเนื่อง 3-7 วัน เพาะปลูกโดยคลุมด้วยฟางจะท�ำให้วัชพืชมีน้อย มีฮอร์โมนที่หมัก จากกากถัว่ เหลืองฉีดพ่นเพือ่ เร่งการเจริญเติบโต โดยมีแนวทางทีจ่ ะลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และมีการแนะน�ำให้เกษตรกรใกล้เคียงหันมาท�ำการเกษตรแบบลด ละ เลิก การใช้สารเคมี มากขึ้นและมีมาตรฐานรับรองผลผลิตของกลุ่ม 24


(5) การเก็บเกี่ยว ผลผลิตส่วนใหญ่มาจากการรวมกลุม่ ของสมาชิก มีการเก็บผลผลิตสัปดาห์ละ 3 ครั้ง คือ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ มีเทคนิคการตัดผักโดยให้สมาชิกตัดผักในตอนเช้ารวมไว้ชงั่ ใส่ลงั ผักไว้ แล้วรถสหกรณ์ไปรับมาอีกที จะใส่ตะกร้าพลาสติก ตัดแล้วล้างน�้ำ ใส่ตะแกรงให้น�้ำสะเด็ด เรียงใส่ได้ตะกร้าละ 5 กิโลกรัมแล้วจะแต่งอีกที ตรวจสอบอีกครั้งก่อนส่งลูกค้า ถ้าจัดแบ่ง บรรจุเป็นก�ำจะส่งเฉพาะร้านค้าที่มีตราสินค้า ถ้าเป็นตะกร้าก็จะส่งร้านค้าอีกประเภท การจัดการ (1) การตลาด สมาชิกต้องมีส่วนร่วมในการก�ำหนดราคาเอง ต้องเจรจากันภายใน 3 คนในทีม มี เหตุผลในการตั้งราคา ตั้งเงื่อนไขร่วมกัน ไม่มีการท�ำสัญญาซื้อขายแต่จะใช้เป็นการร่วมมือ ในการท�ำธุรกิจ (2) ระบบโควต้า เมื่อทราบจ�ำนวนผลผลิตที่ลูกค้าต้องการแล้ว จะมาจัดสรรโควต้าซึ่งก�ำหนดร่วม กันทุกสัปดาห์ นอกจากนั้นยังมีการบริหารการผลิตโดยสร้างกลุ่มให้มากขึ้นและให้โควตา การผลิตมากขึน้ โดยให้เกษตรกรสมาชิก 3 คนดูแลพืน้ 1 ไร่และต้องปลูกผักอย่างน้อย 6 ชนิด เพื่อความหลากหลาย แต่บางครั้งก็ไม่ได้ตามที่ลูกค้าสั่ง มีความคลาดเคลื่อนประมาณ 30% ผักทีข่ ายได้เป็นอันดับหนึง่ คือ ผักตระกูลสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค ผักกินใบ ผักทีข่ าย ได้เป็นอันดับรองลงมาคือ ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศและพืชผักพื้นบ้านต่างๆ (3) การขนส่ง ใช้รถของสหกรณ์ที่ปิดกันลมเพื่อป้องกันผักเสียหาย จะส่งผักตอนกลางคืน ส่งผัก ประมาณตันครึง่ ต่อครัง้ 4 จุดต่อสัปดาห์รวมประมาณ 5 ตัน ส่งท๊อปส์ เลมอนฟาร์มและร้านค้า รายย่อยที่เน้นสินค้าเพื่อสุขภาพในกรุงเทพฯเท่านั้น (4) การควบคุมคุณภาพ ไม่มกี ารปะปนผักจากแหล่งอืน่ มีโรงเรือนเพือ่ คัดบรรจุและตรวจสอบอีกครัง้ เศษผัก หรือขยะจากการคัดแยกบรรจุจะน�ำไปเลี้ยงไก่ เลี้ยงไส้เดือน ให้ปลา หากมีผลผลิตเสียหาย จะแจ้งให้สมาชิกทราบตามชื่อของสมาชิกซึ่งติดบนตะกร้า ในอนาคตจะรักษาคุณภาพผัก โดยท�ำห้องเย็น (5) การแปรรูป มีการท�ำผักกาดดองซึ่งได้รับรองมาตรฐานจากออร์กานิคไทยแลนด์ 25


(6) การฝึกอบรม ภารกิจอย่างหนึ่งที่ส�ำคัญของ ‘ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้าน’ คือการอบรม เกษตรกรพักช�ำระหนี้ของ ธกส. อันเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยเน้นให้สมาชิก ตระหนักถึงภัยร้ายของการใช้สารเคมีและด�ำเนินการปลูกผักไร้สารพิษ ส่งเสริมให้สมาชิก รวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรชุมชนและด�ำเนินกิจกรรมแบบครบวงจร สามารถพึ่งพาตนเองได้ ความต้องการผลผลิตในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้น จึงท�ำให้ต้องเพิ่มการอบรมให้แก่ สมาชิก และหาสมาชิกเข้าร่วมมากขึ้นโดยท�ำเป็นหลักสูตร 3 เดือน ซึ่งในปี 2545 อบรมไป แล้วมากว่า 20 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมกว่า 1,500 คน การฝึกอบรม จะท�ำให้ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาของชาวบ้านแห่งนี้ เป็นศูนย์ที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วม เสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่เกษตรกรและชุมชน ส่งเสริมอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรและ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาให้เกิดเครือข่ายองค์กรชุมชนทีส่ นับสนุนการรวบรวมผลผลิตเพือ่ จ�ำหน่ายผู้บริโภค อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป แนวคิดและแนวทางการพัฒนา หลักการและแนวทางปฏิบัติที่พยายามให้สมาชิกยึดถือ คือ - ผลิตเพื่อกินก่อน เหลือแล้วถึงขาย เน้นการผลิตและขยายการผลิตผักพื้นบ้าน แนวพึ่งตนเองให้ได้ เพราะเรามีจุดแข็งในด้านสภาพอากาศในการผลิต - เน้นการผลิตแบบประณีต คือไม่ใช้พื้นที่ในการผลิตมากนัก - เกษตรกรต้องตระหนักในเรื่องระบบนิเวศ ดังนั้นจึงต้องปลูกป่าตามแนวคิด ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างควบคู่กันไปด้วย มิใช่จะปลูกผักเพียงอย่างเดียว - ต้องรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิตที่มีอยู่ ร่วมกันลงทุนเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อลดต้นทุน การผลิต ตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ - เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดังนั้นจึงต้องเชื่อมร้อยกลุ่มต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อ ท�ำการตลาดและการขนส่งผัก เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงมาก - สนับสนุนคนพืน้ ทีอ่ นื่ เพือ่ ขยายเครือข่าย เครือข่ายจะท�ำให้มอี ำ� นาจต่อรองเพิม่ ขึ้น - เน้นสร้างกลุ่มการผลิตเพิ่มเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อชาว บ้านมีรายได้ประจ�ำก็จะท�ำให้สร้างกลุ่มการผลิตได้ง่าย เงินหมุนเวียนในระบบการผลิตและ ในชุมชนก็เพิ่มตามไปด้วย - การสือ่ สารเป็นหัวใจของการท�ำงาน ดังนัน้ จึงใช้ปา้ ยประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้เป็นไปใน ทิศทางทีต่ อ้ งการ รวมทัง้ เครือ่ งมือสือ่ สารชนิดอืน่ ๆด้วย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ การส่งเสริมแนวทางเหล่านี้จะส�ำเร็จไม่ได้หากไม่มีนโยบายรองรับ ดังนั้นกลุ่มจึง 26


พยายามเสนอรัฐบาลให้มีนโยบายระดับชาติที่เน้นไปทางด้านสังคมสีเขียว สรุป แนวทางการท�ำงานของคุณอ�ำนาจ: ท�ำหน้าทีเ่ ป็นทัง้ วิทยากร ผูผ้ ลิต ผูส้ ง่ เสริมให้มกี ารผลิต พ่อค้า ผูร้ วบรวมผลผลิตจากเกษตรกร ผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง ผูข้ บั เคลือ่ นขบวนการภาคประชาชน ปรัชญา: การท�ำงานให้เห็นเป็นรูปธรรม อุดมการณ์: ให้ความรู้ซึ่งกันและกัน ผลผลิต: ปัจจุบนั สามารถผลิตพืชผักเกษตรอินทรียไ์ ร้สารพิษได้ 300 กิโลกรัมต่อวัน และส่งสินค้าไปขายหลายแห่ง เงือ่ นไขเฉพาะตัวของผูน้ ำ� ขององค์กร (คุณอ�ำนาจ): มีความคิดทีก่ า้ วหน้า แหวกแนว กล้าคิดกล้าท�ำกล้าตัดสินใจ เห็นโลกกว้าง พร้อมเรียนรูโ้ ดยยึดคติ ‘ประกอบส่วน เชือ่ มโยง ถักทอ ต่อยอด’ และเป็นบุคคลทีร่ จู้ กั ผูค้ นหลายวงการ โดยเฉพาะส่วนราชการและนักการเมืองท�ำให้สามารถหา แหล่งทุนและประชาสัมพันธ์กลุ่มองค์กรให้เป็นที่รู้จักได้ง่าย

27



ศีรษะอโศก เกษตรอินทรีย์บุญนิยม เรียบเรียงโดย ธ�ำรงค์ มั่นคง


ชุมชนศีรษะอโศกทีจ่ งั หวัดศรีสะเกษนัน้ มีจดุ เริม่ ต้นทีผ่ นื ดินอันรกร้างว่างเปล่าซึง่ พบเห็นได้ทั่วไป แต่ด้วยการปฏิบัติตามหลักค�ำสอนของพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ผนวก เข้ากับวิถชี วี ติ ความเป็นอยูอ่ ย่างสมถะ พอเพียง พอมี พอกินและแบ่งปัน ก็ทำ� ให้ผนื ดินแห่งนัน้ อุดมสมบูรณ์ จนทุกวันนีม้ เี กษตรกรและคนทัว่ ไปสนใจเข้าไปศึกษาเรียนรูม้ ากถึง 30,000 คนต่อปี ชุมชนศีรษะอโศกไม่เพียงแค่ผลิตสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นต่อการด�ำรงชีวติ เท่านัน้ แต่เป็นชุมชน ทีย่ กระดับจิตใจของคนในชุมชนให้อยูใ่ นศีลธรรม และนีค่ อื เอกลักษณ์ของชุมชนตัวอย่างแห่งนี้ ย้อนรอยความเป็นมา ปี 2530 มีญาติธรรมจากส�ำนักสันติอโศกจากกรุงเทพฯซื้อที่ดินไว้ 28 ไร่ โดยให้ ส่วนกลางของชุมชนศีรษะอโศกไว้ใช้ประโยชน์ ด้วยนโยบายพึง่ ตนเองของชุมชน ชาวศีรษะอโศก จึงใช้ทดี่ นิ ปลูกผักกินเอง และเนือ่ งจากศีรษะอโศกเป็นชุมชนชาวพุทธทีไ่ ม่เบียดเบียนชีวติ สัตว์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ’ ปลูกพืชทุกอย่างโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ เพื่อมีอยู่มีกิน โดยไม่ค�ำนึงถึงการค้าขายแต่อย่างใด ปี 2532 ญาติธรรมได้ลงขันกันซื้อที่ดินที่บ้านซ�ำตาโตง 20 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ท�ำสวน โดยปลูกไม้ผลแบบผสมผสานเพื่อให้มีผลไม้รับประทานตลอดปี ปี 2535 ก่อเกิดวิสาหกิจชุมชนต่างๆขึน้ ดังนี้ (1) โรงสีขา้ วกล้องขนาดเล็ก สีเฉพาะข้าวกล้อง อย่างเดียวเพื่อใช้บริโภคในชุมชน แต่เมื่อมีส่วนเหลือก็ขายในราคาถูก (2) แชมพูสมุนไพร น�้ำยาล้างจาน น�้ำยาซักผ้า (3) เพาะเห็ดในโรงเรียน (4) ร้านค้าชุมชน ปี 2540 ชุมชนศีรษะอโศกเริม่ เข้าสูภ่ าวะการด�ำเนินงานแบบครบวงจร และพึง่ ตนเอง ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ มีผู้มาศึกษาดูงานและขอเข้ารับการอบรมทุกระดับอาชีพเฉลี่ยเดือนละ 1,000 คน ปี 2555 ชุมชนขยายพืน้ ทีไ่ ปมากกว่า 600 ไร่ ใช้สำ� หรับเพาะปลูกข้าว พืชไร่ ไม้ ยืนต้น และสวนสมุนไพร มีทพี่ กั อาศัย พุทธสถาน โรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก เปิดสอนป.1 ถึง ม.6 และโรงเรียนสัมมาอาชีวสิกขาศีรษะอโศกเปิดสอนระดับปวช. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี 30


การเกษตรไร้สารพิษ โรงสีข้าว โรงงานปุ๋ย โรงงานแปรรูป โรงเพาะเห็ด โรงเต้าหู้ ร้านค้า ชุมชน ฯลฯ เป็นชุมชนพึ่งตนเองแบบเบ็ดเสร็จ หลักคิดหลักปฏิบัติ นอกจากชาวอโศกยึดหลักธรรมและปฏิบัติ คือการถือศีล 5 ละอบายมุขอย่าง เคร่งครัดแล้ว ยังมีคณ ุ ธรรมพืน้ ฐานอีก 6 ประการ ต้องท�ำให้เกิดจริงเป็นจริงจนถึงขัน้ เกิดผลดี ต่อผู้ปฏิบัติและผู้อื่น คือ สะอาด คือ ปราศจากอบายมุข อานิสงส์ คือ ไร้โรคกาย จิต ขยัน คือ กระตือรือร้น อานิสงส์ คือ มีกินมีใช้ ประหยัด คือ รู้กิน รู้อยู่ อานิสงส์ คือ เศรษฐกิจมั่นคง ซื่อสัตย์ คือ ไม่คดโกง อานิสงส์ คือ ความเชื่อถือ เสียสละ คือ เห็นแก่ส่วนรวม อานิสงส์ คือ เป็นที่รัก กตัญญู คือ เกื้อกูลผู้มีคุณ อานิสงส์ คือ เป็นมนุษย์สมบูรณ์ ชาวชุมชนศีรษะอโศกได้ขวนขวายท�ำการงานกิจการน้อยใหญ่ตา่ งๆอย่างไม่เห็นแก่ เหน็ดเหนือ่ ย ท�ำทุกอย่างทีช่ มุ ชนต้องกินต้องใช้ เช่น ท�ำนา ท�ำสวน ปลูกผัก ปลูกป่า เพาะเห็ด ท�ำไร่ ท�ำปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ ผลผลิตน�ำมารวมกันเป็นกองกลาง กินใช้ร่วมกัน ทุกคนเหมือน ครอบครัวเดียวกัน จะกินหรือใช้อะไรเน้นทีป่ ระโยชน์สงู ประหยัดสุด ไม่เน้นประโยชน์สว่ นตน แต่เน้นประโยชน์ท่าน จึงมีผลผลิตเหลือกินเหลือใช้ น�ำไปแจกจ่ายเจือจานคนอื่นได้ ถือศีล อย่างเคร่งครัด ซือ่ สัตย์ เสียสละ เอือ้ เฟือ้ แบ่งปัน ยึดมัน่ วัฒนธรรมไทย พึง่ ตนเอง ลดการบริโภค สิ่งที่ไม่จ�ำเป็น อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง โดยให้ความส�ำคัญกับ 3 อาชีพ คือ กสิกรรมธรรมชาติ ไม่ใช้ปยุ๋ เคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้สารเคมีทที่ ำ� ร้ายธรรมชาติ ปุ๋ยสะอาด การท�ำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ขยะวิทยา การแยกขยะ และการจัดระบบขยะให้เกิดคุณค่า แนวคิดและเป้าหมายของกสิกรรมธรรมชาติ เมือ่ พูดถึงเกษตรกรโดยทัว่ ไปจะมองถึงภาพของความยากจน ต้องท�ำงานหนัก ผูม้ หี นีส้ นิ ท่วมตัว ชีวิตค่อนข้างมืดมน ท�ำให้คนไม่อยากเป็นเกษตรกร คนที่มีการศึกษาดี มีปัญญาดี มีความสามารถดีทหี่ นั มาช่วยกันพัฒนาด้านกสิกรรมมีจำ� นวนน้อย ส่วนใหญ่ตา่ งก็มงุ่ หนีงานหนัก ไปสมัครงานสบาย ต้องการรายได้สูงๆคอยกินผลผลิตจากเกษตรกร กระแสการโฆษณาทีก่ ระตุน้ ให้คนมีความต้องการบริโภคสินค้านานาชนิด ท�ำให้คน 31


ลืมนึกถึงความต้องการทีแ่ ท้จริงของชีวติ เกษตรกรทีไ่ ม่รเ้ ู ท่าทันจึงตกเป็นเหยือ่ การเอารัดเอาเปรียบ ได้รับความทุกข์ยาก ที่ดินส�ำหรับท�ำกินตกเป็นของนายทุน การท�ำกสิกรรมที่ขาดความรู้ ท�ำให้ไม่สามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของตน ผลผลิตการเกษตร จึงเต็มไปด้วยสารพิษอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยเนือ้ หาทีแ่ ท้จริง เกษตรกรเป็นผูม้ อี าชีพบุญ เพราะเกษตรกรเป็นผูผ้ ลิตอาหาร ให้คน คนต้องกินอาหารทุกวัน แต่ถา้ อาหารทีผ่ ลิตออกไปเต็มไปด้วยสารพิษถือเป็นการท�ำบาป เป็นการท�ำร้ายผู้บริโภค เกษตรกรมีทางเลือกที่ไม่ต้องท�ำบาปได้ ชาวอโศกก�ำหนดให้กสิกรรมธรรมชาติหรือกสิกรรมไร้สารพิษเป็นบุญญาวุธ หมายเลข 3 เพราะเป็นเรือ่ งหลักของชีวติ และของมนุษยชาติ ซึง่ ต้องเร่งพัฒนาใน 3 ความหมาย คือ (1) คนต้องเอาจริงเอาจัง ต้องมีจริงทัง้ เชิงปริมาณและคุณภาพทีเ่ พียงพอ ต้องท�ำจริง ลงมาคลุกดิน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ถ้าไม่เอาจริงจะไม่ฟื้นจากปัญหาและความทุกข์ยาก (2) ต้องมีผลผลิตของกสิกรรมไร้สารพิษให้ได้จริง ท�ำให้มที งั้ คุณภาพดีและมีปริมาณ มากขึ้นจนท�ำให้ราคาถูกลงได้ (3) การตลาดต้องเชือ่ มโยงเครือข่ายของคนทีท่ ำ� กสิกรรมไร้สารพิษ จะต้องมีทงั้ ผูผ้ ลิต ผู้บริการและผู้บริโภค เป็นวงจรกสิกรรมไร้สารพิษที่ครบสมบูรณ์ ส�ำหรับชาวอโศกเองมีเป้าหมายของการท�ำกสิกรรมธรรมชาติ คือการพึง่ ตนเองของ เกษตรกร เมือ่ เกษตรกรพึง่ ตนเองได้ ย่อมส่งผลให้ชมุ ชนเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจแบบพึง่ ตนเอง จนเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ ด�ำเนินชีวิตตามหลักธรรมของศาสนา เป็นผู้เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เป็น ผูส้ ร้างสรรค์และมีนำ�้ ใจ สังคมย่อมร่มเย็น ประเทศย่อมเป็นไท เป็นประเทศผูใ้ ห้มากกว่าจะเป็น ผู้ขอรับ นอกจากนี้ ชาวชุมชนศีรษะอโศกต้องการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาสุขภาพ จากท�ำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวด้วยสารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฮอร์โมน ฯลฯ เกษตรกรเหล่านี้ได้รับสารเคมีสะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคต่างๆอีกมากมาย มีปญ ั หาต่อเนือ่ งตามมาคือ ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ขาดแรงงาน ฯลฯ รวมทั้งสารเคมีเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง และท�ำลายระบบนิเวศ จนเสียสมดุล กสิกรรมธรรมชาติยดึ หลักการส�ำคัญคือ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เน้นไปทีก่ ารพึง่ ตนเอง สอดคล้องกับวัฒนธรรม ไม่ทำ� ร้ายสิง่ แวดล้อม และใช้ทฤษฎีสามเหลีย่ มทองค�ำ นัน่ คือ ผูผ้ ลิต ผู้บริโภคและผู้จ�ำหน่ายเป็นกลุ่มเดียวกัน ดังค�ำกล่าวที่ว่า “ปลูกในสิ่งที่เรากิน กินในสิ่งที่เราปลูก ปลูกจนเหลือกินจึงจ�ำหน่าย” 32


จุดเริ่มต้นระบบบุญนิยม กสิกรรมธรรมชาติถอื เป็นเรือ่ งยาก แต่หากท�ำสิง่ ทีย่ ากได้จะเป็นกุศลเป็นคุณค่าสูง ชาวศีรษะอโศกไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ใช้พลังของธรรมชาติเองเพื่อสร้างสมดุลใน ธรรมชาติ คือชุมชนพัฒนาจุลนิ ทรียจ์ ากธรรมชาติมาใช้ ท�ำปุย๋ หมักและน�ำ้ หมักจากธรรมชาติ เพื่อใช้เอง และเชื่อว่ากสิกรรมธรรมชาติเป็นสิ่งที่จะกอบกู้มนุษยชาติขึ้นมาได้ เพราะ ไม่ เ ป็ น พิ ษ เป็ น ภั ย ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม นอกจากนั้ น ยั ง ช่ ว ยปรั บ สิ่ ง แวดล้ อ มทุ ก อย่ า งให้ เป็นไปตามวงจรที่ดีขึ้นด้วย ในช่วงเริม่ ต้นของชุมชนศีรษะอโศก คนทีม่ าอยูท่ นี่ จี่ ะกินข้าวเหลือจากก้นบาตรพระ แต่เมื่อคนเริ่มเข้ามาอยู่มากขึ้น ข้าวจากก้นบาตรพระไม่เพียงพอ ชาวชุมชนจึงได้หารือกัน ว่าจะท�ำอย่างไร แล้วก็พบว่าสาเหตุของปัญหาคือ ชุมชนไม่ได้ผลิตอาหารเอง ชาวชุมชนจึง ตกลงกันว่าจะไม่นอนกลางวัน ไม่ซอื้ ผักจากตลาดบริโภค แล้วจึงร่วมกันปลูกพืชทุกอย่างทีก่ นิ ได้ ชาวศีรษะอโศกนัน้ มาจากหลายภาค แต่ละคนก็ตอ้ งการปลูกพืชผลทีม่ ใี นภาคของตน จึงได้ปลูกพืชผลทีม่ ใี นทุกภาคในทีแ่ ปลงเดียวกัน เช่น คนภาคตะวันออกปลูกทุเรียนกับเงาะ ภาคเหนือปลูกลิน้ จีก่ บั ล�ำไย คนอีสานปลูกกล้วยกับมะละกอ คนใต้กป็ ลูกผลไม้ทมี่ ใี นภาคใต้ โดยได้น�ำพืชผลทั้งหมดปลูกรวมกันในพื้นที่ 15 ไร่ ปรากฏว่าหนึง่ ปีผา่ นไป ได้มะละกอกับกล้วยก่อนพืชผลจากภาคอืน่ ๆ ซึง่ มีจำ� นวน มากจนเหลือ และด้วยฐานคิดในระบบธุรกิจแบบ ‘บุญนิยม’ คือยิง่ แจกให้คนอืน่ ยิง่ ได้บญ ุ มาก ดังนั้น จึงน�ำผลผลิตที่ได้ไปแจกคนอื่น เจอใครก็แจกหมดและได้ขนมาแจกถึงกรุงเทพฯที่ สันติอโศกด้วย การผลิต ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของศีรษะอโศกที่เป็นอาหารเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ล้วน ทั้งหมด (1) แนวคิด ชุมชนศีรษะอโศกมีหลักการผลิตเพื่อลดต้นทุน ใช้เทคโนโลยีเรียบง่าย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ในช่วงเริ่มต้นของการผลิต ชาวชุมชนไม่ได้ใช้ตัวเงินเป็นเป้าหมายแต่วางแผน การบริโภค คือ ชุมชนจะบริโภคอะไรก็จะปลูกอย่างนั้น ยกตัวอย่าง เช่น ช่วงแรกชาวชุมชนบริโภค ถัว่ งอก เพียง 3 วันก็ได้ผลแล้ว ช่วงแรกกิน ถั่วงอก ต้มถั่วงอก แกงถั่วงอก ผัดถั่วงอก ฯลฯ มีถั่วงอกเพียงอย่างเดียว ช่วงต่อมาชุมชน ได้เพาะเห็ดฟาง โดยใช้เวลาประมาณ 10 วัน ซึ่งท�ำให้วัตถุดิบมีความหลากหลายขึ้น เช่น ถั่วงอกผัดใส่เห็ดฟาง ต้มถั่วงอกใส่เห็ดฟาง จากนั้นจึงได้ปลูกผักบุ้งต่อไป 33


แผนการเพาะปลูกจะเป็นลักษณะนี้ คือไม่ได้ปลูกเพื่อขาย แต่ต้องการปลูกเพื่อ บริโภคก่อน พอเหลือก็แจกจ่ายเจือจานให้แก่คนอื่นที่ยังขาดแคลนและผู้ที่มาเยี่ยมเยียน ชุมชนด้วย ต่อมาเมือ่ ชุมชนมีคา่ ใช้จา่ ย เช่น ผูเ้ ข้ามาขอรับการศึกษาอบรมทีช่ มุ ชนศีรษะอโศก ชุมชนต้องเสียค่าใช้จา่ ยเลีย้ งดูให้ความสะดวกแก่กบั ผูเ้ ข้าอบรม จึงจ�ำเป็นต้องท�ำแบบธุรกิจ แต่ทั้งนี้ก็เป็น ‘ธุรกิจบุญนิยม’ คือไม่มุ่งหวังผลก�ำไรจากธุรกิจนี้ แต่ให้ชุมชนเพาะปลูกเพื่อมี รายได้เข้าชุมชน และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการ เป็นที่ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้น�ำไป ปฏิบัติ (2) ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ไม้ยืนต้น ไม้ผล ผัก ฯลฯ และสินค้าแปรรูป เช่น แคปซูลสมุนไพร เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ของชุมชนไม่ได้รบั มาตรฐานรับรองจากหน่วยงานใด แต่ผบู้ ริโภคเชือ่ มัน่ ในหลักการ ของชุมชนศีรษะอโศก ซึง่ ยึดมัน่ หลักศีลห้าและหลักความเมตตาต่อสรรพสิง่ จึงเป็นทีร่ บั รอง ความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ กรณีขา้ วของศีรษะอโศก ในช่วงเริม่ ต้นยังไม่มกี ารปลูกข้าว ดังนัน้ ในปีแรกชุมชนจึง วางแผนปลูกข้าวเป็นอันดับแรก เริม่ จากการขอทีน่ าจากพ่อของอาจารย์ขวัญดิน และพาคนใน ชุมชนไปท�ำนาโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ซึง่ ปีนนั้ ชุมชนมีขา้ วเพียงพอบริโภคทัง้ ชุมชน แผนขัน้ ต่อมา คือท�ำโรงสีขา้ วเล็กท�ำเสร็จแล้ว ถ้ามีขา้ วจากการบริโภคเหลือก็ขาย จากนัน้ ชุมชนรับซือ้ ข้าว จากชาวบ้านและท�ำธุรกิจโรงสีข้าว ซึ่งเมื่อก่อนสีข้าวได้ประมาณ 200 กิโลกรัมต่อวัน ตั้งแต่ ปี 2543 ชุมชนสีข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละ 2 ตัน แล้วส่งเข้ากรุงเทพฯและขายคนทั่วไป นอกจากนี้ ชุมชนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น ถัว่ ประเภทต่างๆเพือ่ ใช้ในการเพาะ ปลูกของชุมชนเอง ไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้า ถือเป็นการพึ่งพาตนเอง จัดการตนเอง ในด้านการเพาะปลูกได้ครบวงจร และชุมชนยังมีเมล็ดพันธุเ์ หลือพอจ�ำหน่ายกับเกษตรกรอืน่ ๆ อีกด้วย (3) ปุ๋ยสะอาด ชาวศีรษะอโศกถือว่าการผลิตปุ๋ยธรรมชาติหรือปุ๋ยชีวภาพเป็นหนึ่งในสามของ อาชีพกู้ชาติ คือน�ำเอาวัตถุดิบรอบตัวมาท�ำปุ๋ยบ�ำรุงดิน เก็บกวาดใบไม้เศษหญ้ามากองสุม แล้วให้กระบวนการหมักย่อยของจุลินทรีย์ธรรมชาติซึ่งผ่านการพัฒนาความเข้มข้นมาแล้ว เป็นตัวท�ำปฏิกริ ยิ าย่อยสลายเป็นสารอาหารต่างๆให้กลายเป็นปุย๋ ธรรมชาติ ชุมชนศีรษะอโศก จึงไม่ต้องพึ่งพาตลาดปุ๋ยเคมีนอกชุมชน เป็นปุ๋ยสะอาดเพราะไร้สารพิษและสารเคมี พืชผัก จึงงอกงามและได้ชื่อว่าผักไร้สารพิษด้วย ชุมชนศีรษะอโศกยังผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจ�ำหน่ายกับคนภายนอกด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดและ 34


เป็นวัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย - อินทรีย์วัตถุ ได้แก่ มูลสัตว์ และผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากการเกษตร เช่น กากถั่ว เหลือง กากมันส�ำปะหลัง ประมาณ 60%- 65% - โดโลไมท์ เพื่อเพิ่มสารแมกนีเซียม แคลเซียมส�ำหรับพืช ประมาณ 15% - ฟอสเฟตประมาณ 5% - ซีโอไลท์ เพื่อใช้เป็นตัวดูดจับน�้ำ โปแตส รวมกันประมาณ 5% - ร�ำอ่อน ประมาณ 5% - แกลบด�ำ ประมาณ 5% ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1) หมักอินทรีย์วัตถุ โดยใช้จุลินทรีย์จากน�้ำหมักชีวภาพผสมน�้ำใส่บัวรดน�้ำราด เพื่อเร่งการย่อยสลายประมาณ 20 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมา 2) ปั่นผสมเพื่อปั้นเม็ดปุ๋ย โดยผสมส่วนวัตถุดิบที่ป่นละเอียดทั้งหมดในจานปั่น และฉีดสเปรย์น�้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ส่วนผสมเกาะตัวเป็นเม็ดปุ๋ย 3) เมือ่ ได้เม็ดปุย๋ อินทรียแ์ ล้ว ตากทิง้ ไว้ให้แห้ง จะไม่ใช้วธิ กี ารอบให้แห้งเพราะท�ำให้ จุลนิ ทรียท์ สี่ ำ� คัญต่อการเจริญเติบโตของพืชตาย เมือ่ ปุย๋ แห้งเรียบร้อยแล้วจึงน�ำใส่บรรจุภณ ั ฑ์ เพื่อน�ำไปใช้ในชุมชนหรือเพื่อจ�ำหน่ายต่อไป บรรจุภัณฑ์ที่ใส่กระสอบละ 50 กิโลกรัม ราคาประมาณ 250 บาท ถ้าผู้ซื้อมา ขนขึน้ รถเองจะลดราคากระสอบละ 5 บาท เมือ่ ค�ำนวณต้นทุนทัง้ หมดตกอยูท่ รี่ าคาประมาณ 70-80 บาท ซึ่งราคานี้ไม่รวมค่ามูลสัตว์ โดยก�ำลังการผลิตในช่วงเริ่มแรกประมาณ 10 ตัน ต่อวัน แต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้ 70-80 ตันต่อวัน เครื่องจักรที่ใช้ผลิตปุ๋ยมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดใช้ส�ำหรับครอบครัว ชุมชน และ ใช้สำ� หรับในอุตสาหกรรม (ปุย๋ ขวัญดิน ปุย๋ ดอกล�ำดวน) ส่วนเครือ่ งจักรทีใ่ ช้สำ� หรับครัวเรือน และชุมชนนัน้ ชุมชนศีรษะอโศกสามารถผลิตได้เอง โดยใช้นกั เรียนและศิษย์เก่าจากโรงเรียน สัมมาอาชีวสิกขาศีรษะอโศก และจ�ำหน่ายให้กับชุมชนที่สนใจไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง การแปรรูปอาหารและสมุนไพร (1) แนวคิด การแปรรูปในช่วงแรกนัน้ ไม่ได้คดิ เรือ่ งการค้าขาย แต่คดิ ว่าจะท�ำอย่างไรจึงเก็บอาหาร ไว้รบั ประทานได้นานๆ เมือ่ แปรรูปแล้ว มีคนมาเยีย่ มชมหมูบ่ า้ นต้องการซือ้ ผลิตภัณฑ์ทแี่ ปรรูป ของชุมชน ดังนัน้ ชุมชนจึงได้เริม่ คิดเรือ่ งการจ�ำหน่าย แต่จำ� หน่ายในราคาถูกตามหลักบุญนิยม 35


(2) ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปทีไ่ ด้รบั ความนิยม คือ ผักขม ใบหม่อน ใบมะรุม เพราะสามารถน�ำ มาบดผง อบแห้ง และสามารถผสมเข้าไปในข้าวกล้องงอก โดยจะมีผสู้ นใจเข้ามาซือ้ ทีร่ า้ นค้า ‘หนึง่ น�ำ้ ใจ’ อยูภ่ ายในชุมชนศีรษะอโศก และกระจายสินค้าไปยังเครือข่ายต่างๆ (3) การพัฒนา ชุมชนศีรษะอโศกมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพราะว่าชุมชนสามารถเพาะปลูก สมุนไพรได้มากขึน้ พัฒนาเครือ่ งจักรและระบบต่างๆทีท่ นั สมัย เช่น เครือ่ งตัด เครือ่ งสไลด์ เครือ่ งอบ เครือ่ งบด ฯลฯ เพือ่ รองรับการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพือ่ ช่วยเหลือ ผู้คนที่ก�ำลังมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ให้ได้บริโภคของดี มีคุณภาพ ไร้สารพิษ ดังนั้น ชุมชนจึงได้วางแผนการเพาะปลูก การแปรรูปให้ครบวงจรและเพียงพอต่อความต้องการ การตลาด ชาวอโศกยึดถือหลักการเรือ่ งการลดกิเลส กินน้อยใช้นอ้ ย ขยันท�ำงานให้มาก ทีเ่ หลือ แบ่งปันให้ผอู้ นื่ ‘รายได้’ ในสายตาของชาวอโศกคือบุญทีใ่ ห้กบั คนอืน่ และผูไ้ ด้รบั มีความสุขอิม่ เอิบ ไม่มผี ใู้ ดเสียมีแต่ได้ดว้ ยกัน จะสร้างจะผลิตอะไรออกไปจะต้องท�ำสิง่ ทีเ่ ป็นปัจจัยส�ำคัญของชีวติ ก่อนเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์พงึ เป็นพึงมีเป็นเบือ้ งต้น (1) แนวคิด เรือ่ งการจ�ำหน่ายผลผลิต จะยึดหลักการตลาดระบบบุญนิยม กล่าวคือเป็นระบบการตลาดที่ - เป็นไท คือพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นหนี้ ไม่ได้รอเงินบริจาคเพียงอย่างเดียว - เป็นธรรม คือไม่ได้มองด้านความร�ำ่ รวย ไม่ฉวยโอกาส ขายราคาถูก ซือ่ สัตย์ เสียสละ เอือ้ เฟือ้ แบ่งปัน โดยการก�ำหนดราคาขายมีหลักการ คือขายราคาต�ำ่ กว่าท้องตลาด ขายเท่าทุน ขายต�่ำกว่าทุน (ขาดทุน) และแจกฟรี ซึ่งยิ่งขายของถูกๆ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม - เป็นพลัง คืออิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพและบูรณภาพ (2) การพัฒนาการตลาด เน้นพัฒนาตลาดในท้องถิ่น ส่งเสริมสมาชิกให้ท�ำการตลาดในนามกลุ่ม ค้าขาย แบบแบ่งปันโดยมีนโยบาย ‘ของดี ราคาถูก ซือ่ สัตย์ มีนำ�้ ใจ เงินสด งดเชือ่ ’ ค้าขายในท้องถิน่ เป็นหลัก มีร้านค้าชุมชนหนึ่งน�้ำใจ มีลูกค้าเข้ามาซื้อเอง สินค้าเกษตรทุกอย่างขายดีเพราะ เป็นสินค้าที่ปลอดภัยไร้สารพิษ แต่ถ้าสินค้าล้นเหลือจะส่งให้ส่วนกลางหรือเครือข่ายช่วย จ�ำหน่าย นอกจากนี้ เครือข่ายของชาวอโศกเองได้พัฒนาตลาดในวงกว้างที่ด�ำเนินการโดย บริษัทในเครือข่าย คือ - บริษัท พลังบุญ จ�ำกัด เป็นผู้ด�ำเนินงานด้านการตลาดขายปลีกในประเทศ 36


- บริษัท ขอบคุณ จ�ำกัด เป็นผู้ด�ำเนินงานด้านการตลาดขายส่งในประเทศ - บริษัท ภูมิบุญ จ�ำกัด เป็นผู้ด�ำเนินงานด้านการตลาดต่างประเทศ ชาวอโศกได้จัดตั้งองค์กรกลางชื่อว่า หน่วยตรวจสอบและพัฒนาผลผลิตของชาว อโศก (ต.อ.) เพื่อตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ก่อนส่งออกจ�ำหน่ายตามท้องตลาด (3) ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ระบบบุญนิยม เป็นระบบตลาดทีไ่ ม่ยดึ หลักราคาตามกลไกตลาด แต่จะยึดตามหลักเกณฑ์ของตนเอง ซึ่งมีหลักดังนี้ - เน้นเรือ่ งบุญ เพือ่ รับใช้สงั คมและช่วยเหลือคนอืน่ เช่น “ทีเ่ กษตรกรยากจน ก็เพราะ เกษตรกรมองเรือ่ งเงินตราเป็นหลัก แต่กลุม่ อโศกมองเรือ่ งบุญ ปลูกผักทีใ่ ช้สารเคมีให้คนกิน คนก็เป็นมะเร็งเสียเงินมาก เป็นบาปด้วย” - มีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า - มีแหล่งกระจายผลผลิตทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ทัง้ ในชุมชน ได้แก่ ร้านค้าชุมชน ชือ่ ร้าน ‘หนึง่ น�ำ้ ใจ’ ขายผลผลิต และมีเครือข่ายกระจายสินค้าในชุมชนอโศกอื่นๆ - การให้ความรูก้ บั ผูท้ มี่ าซือ้ ผลิตภัณฑ์ถงึ โทษภัยจากสารเคมี โดยการให้ไปทดลองใช้กอ่ น หากได้ผลก็มาซื้อ หากไม่มีเงินก็เอาของไปใช้ก่อน (เช่น กรณีปุ๋ยอินทรีย์) เมื่อได้ผลผลิต ทางการเกษตรแล้วจึงมาช�ำระเงิน - ในช่วงฤดูกาลผลิตทีต่ รงกับวันส�ำคัญทางศาสนาและวันส�ำคัญอืน่ ๆ จะมีการลดราคา สินค้าเพือ่ จูงใจให้คนท�ำความดีไปควบคูก่ นั ด้วย การจัดการ (1) การรับสมาชิกใหม่ การเข้ามาอยูร่ ว่ มกันในชุมชนศีรษะอโศกนัน้ ประการแรกต้องเป็นคนทีพ่ ร้อมจะสละ ความสุขสบายหรือวัตถุภายนอกทุกประเภท สามารถปฏิบตั ศิ ลี 5 ได้อย่างเคร่งครัด ก่อนขึน้ บัญชี เป็นสมาชิกชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบจะต้องผ่านการทดสอบภาวะความมัน่ คงในธรรม ทดสอบว่า ในระยะยาวจะอยูภ่ ายใต้ระเบียบชุมชนได้หรือไม่ โดยให้ทดลองอยูร่ ว่ มกับคนในชุมชนเบือ้ งต้น 15 วัน หากอยูไ่ ม่ได้ตอ้ งออกไป อยูไ่ ด้ตอ้ งทดสอบต่อให้ครบเดือน จนแน่ใจแล้วว่าภายใน 3 เดือน สามารถปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบชุมชนได้อย่างกลมกลืนไม่แหกกฎ ก็จะยอมรับให้เข้าเป็นหนึง่ ใน สมาชิกชุมชนอย่างสมบูรณ์ (2) ข้อปฏิบัติ เมือ่ เข้าเป็นสมาชิกจะต้องปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของหมูบ่ า้ นพุทธธรรม โดยสมาชิก 37


ต้องถือศีล 5 เป็นอย่างต�ำ่ ละอบายมุข ทานอาหารมังสวิรตั ไิ ม่เกินวันละ 2 มือ้ ห้ามมีเครือ่ งใช้ ไฟฟ้าส่วนตัวในชุมชน เช่น โทรทัศน์ เตารีด วิทยุ ฯลฯ ห้ามเลี้ยงสัตว์หรือน�ำสัตว์เลี้ยงใดๆ เข้ามาในหมู่บ้าน ห้ามท�ำธุรกิจเพื่อส่วนตัวในหมู่บ้าน และห้ามน�ำเดรัจฉานวิชาเข้ามาใน หมูบ่ า้ น เช่น เครือ่ งรางของขลัง หมอดู ฯลฯ ปัจจุบนั ชุมชนศีรษะอโศกมีสมาชิก 85 ครอบครัว ประมาณกว่า 350 คน (3) กระบวนการท�ำงาน ก่อนจะลงมืออะไร จะท�ำการค้นคว้าศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึง้ จากแหล่งความรูท้ หี่ ลากหลาย อาทิ เรียนรูจ้ ากธรรมชาติ เรียนรูจ้ ากตัวอย่างของจริง ข้อมูลจากชาวบ้าน ผูร้ อู้ นื่ ๆ การศึกษา ดูงานนอกสถานที่ อ่านหนังสือ และศึกษาข้อมูลออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต พร้อมที่จะลงทุน หากมีการศึกษาอย่างถีถ่ ว้ นและมีความเชือ่ มัน่ เช่นลงทุนซือ้ เครือ่ งจักรผลิตปุย๋ จากประเทศ จีน ส่วนการด�ำเนินงานจะมีการทดลอง ลองผิดลองถูก สังเกต รวบรวมประสบการณ์ เรียนรูจ้ ากสิง่ ทีท่ ำ� และพัฒนาปรับปรุงเสมออย่างไม่ยอ่ ท้อ มีการใช้เทคโนโลยีและเครือ่ งจักร ทีเ่ หมาะสมในขัน้ ตอนการผลิต รวมทัง้ ใช้วชิ าชีพทีห่ ลากหลายจากชาวศีรษะอโศกทีช่ ว่ ยคิด ช่วยท�ำ โดยยึดหลักการใช้ของให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ‘ไม่มีผลผลิตส่วนใดที่ต้องทิ้ง’ (4) ระบบสาธารณโภคี คือการกินอยูอ่ ย่างเป็นส่วนกลาง รวมกันเป็นหนึง่ เดียว สมาชิกต้องมาฝึก เสียสละ ความเป็นส่วนตัวให้กบั ส่วนกลาง และส่วนกลางจะดูแลความเป็นอยูท่ กุ อย่างตัง้ แต่เกิดจนตาย ภายในชุมชนแห่งนีจ้ งึ มีกองทุนส่วนกลาง มีโรงครัวกลาง ทีด่ นิ ส่วนกลาง กิจกรรมส่วนกลาง เช่น ร้านค้า โรงสี ฯลฯ ทุกคนท�ำงานเสียสละให้ส่วนกลาง ไม่มีสิทธิส่วนตัว ทุกคนเหมือน ครอบครัวเดียวกัน จะกินจะใช้เน้นที่ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม จากระบบจัดการที่มองประโยชน์สังคมเป็นจุดรวม ไม่สะสม มุ่งปฏิบัติตามกรอบ ของศีลธรรม เพียงแค่ 5 ปีเท่านัน้ ชาวชุมชนศีรษะอโศกก็สามารถพึง่ พาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม และเริ่มมีผู้สนใจเข้ามาศึกษาชุมชนแห่งนี้มากมาย ขยายความคิดเพื่อช่วยเหลือ ชุมชนศีรษะอโศกมีการขยายความคิดเรือ่ งเกษตรไร้สารพิษ ด้วยความคิดพื้นฐาน ที่ ค� ำ นึ ง ว่ า ‘อยากจะช่ วยเหลือคน เพราะคนเราทุก วันนี้ เจ็ บ ป่ วยเพราะอาหาร’ โดยมี การด�ำเนินชีวติ ทีย่ ดึ หลักศีลธรรม ความเมตตา ความอดทน กล้าหาญ และมุง่ มัน่ จริงจัง โดย มีวิธีขยายความคิด 2 วิธี คือ 38


(1) การอบรมเกษตรกร ศูนย์ถา่ ยทอดเทคโนโลยีการเกษตร เรือ่ งการผลิตผักปลอดสารพิษ มีการปลูกพืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพรในลักษณะผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตคนไทยให้มี ศีล 5 เป็นอย่างน้อย ลดอบายมุข 6 รูจ้ กั พึง่ ตนเองด้วยกสิกรรมธรรมชาติ มีทงั้ การค่ายอบรม เด็กเล็ก วัยรุน่ และผูใ้ หญ่ทกุ สาขาอาชีพ โดยจัดอบรมปฏิบตั ธิ รรมไปพร้อมกัน ใช้เวลาหลักสูตรละ 5 วันและ 7 วัน มีเนือ้ หาการถ่ายทอดประสบการณ์ดา้ นพัฒนาอาชีพแบบพึง่ ตนเองและเน้น กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ คือไม่ใช่ปยุ๋ เคมี ใช้ปยุ๋ จุลนิ ทรียช์ วี ภาพ และรูจ้ กั แยกขยะมาหมัก เป็นปุย๋ สะอาดโดยไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อมและสุขภาพ โดยมีผเู้ ข้ารับการอบรมประมาณ 30,000 คนต่อปี (2) การให้ความรู้กับผู้ที่มาซื้อผลิตภัณฑ์ ชุมชนศีรษะอโศกให้ความส�ำคัญเรือ่ งความรูด้ า้ นสุขภาพ เพือ่ ต้องการให้เกษตรกร ลดใช้สารเคมีภายในชุมชนศีรษะอโศกเองมีศูนย์ล้างพิษตับ ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้คน ได้ตระหนักถึงอันตรายของการใช้สารเคมีการเกษตร รวมทัง้ ยังให้ความรูด้ า้ นการสร้างอาชีพ ไปพร้อมกัน เช่น ชวนคนซื้อแชมพูมาเรียนรู้การท�ำแชมพูเอง เพื่อสร้างอาชีพของตนเองได้ โดยชาวศีรษะอโศกเองไม่ต้องการผูกขาดการขายผลิตภัณฑ์เพียงผู้เดียว สรุปเกษตรกรรมไร้สารพิษบุญนิยม ชุมชนศีรษะอโศกท�ำเกษตรกรรมไร้สารพิษในมิติที่เป็นองค์รวม (1) ไม่ได้หวังผลผลิตเพียงอย่างเดียว แต่เน้นการพัฒนาจิตใจไปพร้อมกันด้วย โดยเชื่อมโยงจากภายในจิตใจของผู้ท�ำ กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษสู่พืชผักที่เพาะปลูกไปจนถึงผู้บริโภค ในเรื่องของความเมตตา ต่อสรรพสัตว์และสรรพสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นโลก ไม่ทำ� ลายสิง่ มีชวี ติ ไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อมและไม่ทำ� ลาย สุขภาพตัวเองและผู้บริโภค (2) ไม่ได้เน้นการผลิตเพื่อขาย แต่ตอ้ งการพึง่ ตนเองด้านอาหารของชุมชน ชุมชนศีรษะอโศกจึงมีพชื พันธุท์ หี่ ลากหลาย มีผลผลิตหมุนเวียนตลอดทัง้ ปี เน้นการบริโภคภายในชุมชน ถ้าเหลือจึงแจกจ่ายและจ�ำหน่าย ต่อไป (3) มีการจัดการผลิตที่ครบวงจร มีปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์ การแปรรูป และการกระจายสินค้าทั้งในชุมชนและเครือข่าย ถือว่าเป็นการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงและประหยัดสุด 39


(4) ระบบสาธารณโภคี สมาชิกชุมชนเสียสละแรงงาน และใช้ของส่วนกลางร่วมกัน เป็นการลดต้นทุนการผลิต

เกษตรกรรมไร้สารพิษระบบบุญนิยม ถือได้วา่ เป็น ‘การจัดการทรัพยากรส่วนเกิน’ ทีเ่ ป็นผลผลิตจากชุมชน (ด้านวัตถุ) น�ำไปสูก่ ารพัฒนาคุณค่าภายใน เกิดความสุขความอิม่ เอิบ (ด้านจิตใจ) ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่เราและท่านในโลกนี้โดยไม่ต้องรอถึงโลกหน้า

40


อ้างอิง หนังสือ ทีม สมอ.เรียบเรียง. อโศกที่เห็นและเป็นอยู่ 2555. กทม. ธรรมทัศน์สมาคม, 2547. ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. โครงสร้างอ�ำนาจของชุมชน : ศึกษากรณีชมุ ชนชาวอโศก. ปริญญาบริหารศาสตร มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536. จิง้ เซีย่ งฝ่าซือ. ระบบสังคม “บุญนิยม” ในศตวรรษที่ 21 : ทางเลือกที่ 3 ทีด่ กี ว่าทุนนิยมและคอมมิวนิสต์. กทม. บริษัท ฟ้าอภัย จ�ำกัด, 2545. เว็บไซต์ http://www.asoke.info/06Community/Community/seesa.html http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Sanasoke/SA234/S234_119.html http://www.youtube.com/watch?v=AkwDqNsGBJw การสัมมนา “อาหารปลอดสารพิษ - เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ผลิตและผู้บริโภค” วันที่ 9 กันยายน 2555 ณ พิพิธภัณฑ์ การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จัดโดย คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร สมัชชาปฏิรูปแห่ง ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย



โครงการผักประสานใจ ผู้ผลิต เพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เรียบเรียงโดย นิธิวรรณ ฤทธิรงค์ / วรัฏฐา ภูผาลี


ระบบการค้าแบบทุนนิยมได้สง่ ผลกระทบต่อระบบอาหารทัว่ โลก ระบบการค้าขยาย ระยะห่างระหว่างเกษตรกรซึ่งถือเป็นผู้ผลิตอาหารกับผู้บริโภคให้ห่างไกลออกจากกันด้วย พ่อค้าคนกลางหลายต่อหลายชั้น กระทั่งผู้บริโภคไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าที่มาของอาหารซึ่งก�ำลัง รับประทานอยู่นั้นมาจากแหล่งใด ขนส่งอย่างไร มีกระบวนการเพาะปลูกอย่างไร มีการใช้ สารเคมีหรือไม่ ฯลฯ โครงการ ‘ผักประสานใจ ผูผ้ ลิต เพือ่ ผูบ้ ริโภคและสิง่ แวดล้อม’ ถือก�ำเนิดขึน้ โดยใช้ใจ เป็นจุดส�ำคัญในการเชือ่ มผูบ้ ริโภคและผูผ้ ลิตเข้าหากัน ผูบ้ ริโภคไม่ได้เป็นแค่คนทีม่ เี งินหรือมี ก�ำลังซือ้ แล้วใช้จา่ ยเงินเพือ่ ให้ได้พชื ผักทีม่ คี ณ ุ ภาพมา แต่จะเป็นคนทีร่ ว่ มมือและช่วยเหลือเกษตรกร โดยตรง โดยไม่ผา่ นพ่อค้าคนกลาง พร้อมช่วยแบ่งรับภาระความเสีย่ งจากภัยธรรมชาติทที่ ำ� ให้ ผลผลิตเสียหาย ในขณะทีผ่ ผู้ ลิตจะผลิตสินค้าทีม่ คี วามปลอดภัย ท�ำให้ผบู้ ริโภคมีสขุ ภาพทีด่ ใี น ระยะยาว ทั้งสองฝ่ายจะมีส่วนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ อันเนื่องมาจากระบบ การเพาะปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดสารเคมี หรือแม้แต่การผลิตพืชเชิงเดี่ยวที่ ท�ำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม ซึ่งถือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ในอีกทางหนึ่งด้วย ริเริ่มและต่อยอด โครงการผักประสานใจ ผูผ้ ลิต เพือ่ ผูบ้ ริโภคและสิง่ แวดล้อม เริม่ ต้นขึน้ จากการน�ำระบบ ตลาด CSA หรือ Community Supported Agriculture ซึ่งมีที่มาจากการตื่นตัวของผู้บริโภค ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย ในเรื่องของการสนับสนุนเกษตรกรใช้ระบบ เกษตรกรรมอินทรีย์ ซึง่ เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และเป็นผลดีตอ่ ผูบ้ ริโภค มุง่ สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค โดยในแต่ละพืน้ ทีจ่ ะมีชอื่ เรียกแตกต่างกันออกไปขึน้ กับว่าจะเน้น ประเด็นใดเป็นพิเศษ จุดเริม่ ต้นของโครงการผักประสานใจฯ มาจากการทดลองใช้หลักการ CSA ทีฟ่ าร์ม ของตนเองของ ‘ระวีวรรณ ศรีทอง’ ซึ่งเคยท�ำงานเป็นอาสาสมัครในโครงการพัฒนาระบบ CSA ในประเทศไทยของหน่วยอาสาสมัครแคนาดา (CUSO) จากนัน้ จึงชักชวนให้เกษตรกร 44


บ้านห้วยหินด�ำ อ�ำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการ ในระยะเริม่ แรก มีสมาชิกผูบ้ ริโภคจ�ำนวน 10 ราย ซึง่ ได้มาจากวิธกี ารขายตรงให้แก่ทางโรงเรียนและผูบ้ ริโภค ในกรุงเทพฯที่เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว ต่อมาได้ขยับขยายไปท�ำงานกับชุมชนกะเหรี่ยงบ้านป่าคู้ล่าง อ�ำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึง่ คุณระวีวรรณพบว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้มาก เป็นการสนับสนุน ให้เกษตรกรรายย่อยด�ำรงวิถชี วี ติ อยูใ่ นภาคเกษตรกรรมได้อย่างแท้จริง เพราะเคยมีปญ ั หา เรือ่ งสุขภาพเนือ่ งจากใช้สารเคมีทางการเกษตรเกษตรกร ชาวกะเหรีย่ งเหล่านีจ้ งึ ให้ความสนใจ เข้าร่วมโครงการผักประสานใจฯ ในขณะทีเ่ กษตรกรบ้านห้วยหินด�ำขอถอนตัวออกไปส่งผลผลิต ของตนให้แก่บริษทั เอกชนทีม่ าติดต่อโดยตรง ปัจจุบนั สมาชิกโครงการฯจึงเหลือแค่เกษตรกร ชาวกะเหรีย่ งบ้านป่าคูล้ า่ ง จ�ำนวนทัง้ หมด 7 รายเท่านัน้ สมาชิกได้รว่ มกันเรียนรูแ้ นวทางการท�ำงาน และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด การบริหารจัดการ (1) แนวคิด โครงการผักประสานใจฯ มีแนวคิดและหลักการในการบริหารจัดการไม่แตกต่างไปจาก ระบบ CSA ในต่างประเทศ กล่าวคือผูบ้ ริโภคจะเป็นผูล้ งทุนด้วยเงินให้แก่ผผู้ ลิตหรือเกษตรกร ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและปัจจัยการผลิต เสมือนว่าเป็นการให้ทุนเพื่อผลิตวัตถุดิบที่ปลอดภัย และมีคณ ุ ภาพ ส่งกลับมาให้แก่ผบู้ ริโภคโดยตรง การตลาดจึงเป็นของทัง้ ผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภค ซึง่ สามารถร่วมตกลงหาราคาทีย่ ตุ ธิ รรม และเป็นระบบทีท่ ำ� ให้ผบู้ ริโภคเข้าใจเกษตรกร มีสว่ นร่วม ในการยอมรับความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นร่วมกัน เช่น เมือ่ เกษตรกรประสบกับภัยธรรมชาติ อาจเป็นปัญหาทีเ่ กษตรกรต้องพบความเสียหาย จ�ำนวนมาก ผูบ้ ริโภคก็เข้าใจและให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ ผูบ้ ริโภคยังต้องยอมรับข้อจ�ำกัด ว่าประเภทของผลผลิตอาจไม่หลากหลายเท่ากับการไปหาซือ้ ในตลาด เพราะต้องผลิตพืชท้องถิน่ ตามฤดูกาล และขึ้นกับศักยภาพของพื้นที่ (2) ก�ำลังผลิต กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมีสมาชิกทั้งหมด 7 ครอบครัว มีก�ำลังการผลิตอยู่ที่ 300-350 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยเฉลีย่ แล้วจะส่งผักให้กบั เครือข่ายสมาชิกผูบ้ ริโภคทีม่ ที งั้ หมดกว่า 80 ครอบครัว สัปดาห์ละ 3 กิโลกรัม ราคา 250 บาทต่อสัปดาห์ จัดส่งสัปดาห์ละ 2 ครัง้ คือวันพุธ และวันอาทิตย์ ขึน้ อยูก่ บั ความต้องการของผูบ้ ริโภคว่าจะเลือกรับวันใดหรือหากเลือกรับทัง้ สองวัน ก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งในที่นี้แบ่งเป็นค่าผักกิโลกรัมละ 50 บาท ก�ำหนดตามราคาต้นทุน และค่าแรงของเกษตรกรที่ใช้ในการผลิต 45


(3) การขนส่ง ค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการผูบ้ ริโภคจะเป็นฝ่ายร่วมรับผิดชอบ ประกอบด้วยค่าขนส่ง 60 บาทต่อครัง้ และค่าบริหารจัดการ 40 บาทต่อชุด จ�ำนวนเงินดังกล่าวเป็นความตกลงร่วมกัน ของทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ผู้บริโภคจะจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นรายปีหรือรายเดือน แล้วแต่การตกลง (4) การสื่อสาร - มีการจัดท�ำจดหมายข่าวเป็นประจ�ำ เพือ่ เป็นสะพานเชือ่ มต่อระหว่างเกษตรกรผูผ้ ลิต กับสมาชิกที่เป็นผู้บริโภค ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆให้แก่ผู้บริโภคได้รับรู้และเข้าใจ สภาพพื้นที่และสถานภาพของเกษตรกร - ให้ขอ้ มูลด้านการบริโภค แนะน�ำพืชผักทีส่ มาชิกไม่คนุ้ เคยเพือ่ น�ำไปประกอบอาหาร ซึ่งผู้บริโภคต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเป็นอย่างมาก ต้องบริโภคพืชผัก ตามฤดูกาลมากขึ้น ค�ำนึงถึงผลกระทบของการบริโภคของตนที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดปริมาณขยะและพลังงานที่จะส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนด้วย - มีการจัดให้กลุม่ ผูบ้ ริโภคเยีย่ มชมฟาร์มปีละครัง้ ยังท�ำให้ผบู้ ริโภคเข้าถึงและได้เรียนรู้ วิถขี องเกษตรกร มองเห็นระบบการผลิตจึงเกิดความไว้วางใจต่อกัน ถือเป็นการได้ไปตรวจสอบ คุณภาพของผลผลิตด้วยตนเองอีกด้วย องค์ความรู้ในการผลิต เกษตรกรทีผ่ ลิตผักภายใต้ชอื่ โครงการ ‘ผักประสานใจ ผูผ้ ลิต เพือ่ ผูบ้ ริโภคและสิง่ แวดล้อม’ เป็นชาวกะเหรี่ยงที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายอยู่กับการท�ำเกษตรกรรมอยู่แล้ว มีพื้นฐานที่คุ้นเคย กับธรรมชาติ มีวิถีการผลิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ จึงอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิม ที่สั่งสมสืบต่อกันมา นอกจากนั้นได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องระบบนิเวศในโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืช พืน้ บ้านซึง่ มี ‘ประยงค์ ศรีทอง’ สามีของคุณระวีวรรณ เป็นผูด้ �ำเนินงาน ท�ำให้กลุม่ เกษตรกร สามารถบริหารจัดการระบบการผลิตอินทรีย์พึ่งพากลไกธรรมชาติ พึ่งพาปัจจัยการผลิต ภายในท้องถิ่น เช่น ใช้การบ�ำรุงดินด้วยปุ๋ยขี้ไก่อินทรีย์ ใช้ระบบการรดน�้ำด้วยแรงงาน ในครัวเรือน และระบบโน้มถ่วงของโลกจากแหล่งน�้ำธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งน�ำไปสู่การรักษา ระบบนิเวศในที่ดินของตนเองได้

46


จุดแข็งทางการตลาด คุณระวีวรรณกล่าวเอาไว้วา่ “ถึงแม้เกษตรกรจะท�ำการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ และมีมาตรฐานมารับรองผลผลิตของตนก็ตาม เกษตรกรก็ยังเป็นฝ่ายเสียเปรียบผู้ซื้ออยู่ดี เพราะถึงอย่างไรการจ�ำหน่ายยังอยูภ่ ายใต้กลไกการค้าทีต่ อ้ งผ่านคนกลางเป็นหลัก เกษตรกร เป็นผูร้ บั ภาระค่าใช้จา่ ยแต่เพียงผูเ้ ดียว ทัง้ ต้นทุนทีเ่ ป็นปัจจัยการผลิต ต้นทุนเรือ่ งค่าครองชีพ ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป รวมถึงเรื่องของการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้กลับคืนมา อีกด้วย” ดังนัน้ เมือ่ น�ำระบบ CSA เข้ามา จึงท�ำให้เรือ่ งปัญหาเรือ่ งของพ่อค้าคนกลางหมดไป เพราะเกษตรกรเป็นผู้น�ำผลผลิตไปให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง จึงหมดปัญหาที่เคยถูกพ่อค้า คนกลางเอารัดเอาเปรียบ อีกทัง้ ผูบ้ ริโภคจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นรายปี ยังเสมือนเป็นการลงทุน ให้เกษตรกรได้ทำ� การผลิต และเป็นหลักประกันได้วา่ เกษตรกรจะมีรายได้ตลอดปีจากการสนับสนุน ของผู้บริโภค รวมทั้งกระบวนการผลิตที่เป็นเกษตรพื้นบ้าน เป็นวิถีแห่งการพึ่งตนเองหรือ การท�ำเกษตรอินทรีย์ ยังท�ำให้ช่วยรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมให้กลับคืนมาอีกด้วย จุดเด่นของโครงการ (1) เป็นโครงการที่ใช้รูปแบบของระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันระหว่างคน สัตว์และ สิง่ แวดล้อม โดยมุง่ เน้นความสัมพันธ์แบบเคารพและไม่ท�ำลายซึง่ กันและกัน ภายใต้แนวคิด ที่ว่า ‘ผู้ผลิตและผู้บริโภคมาร่วมมือกัน อุ้มชูระบบเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (2) เป็นระบบทีส่ ร้างวิถกี ารผลิตแบบพอเพียง เกษตรกรต้องมีกนิ มีใช้ไปพร้อมกับ การจัดส่งให้สมาชิก มองในเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีทุนในการผลิตที่ได้มาจาก การสนับสนุนของผูบ้ ริโภค มีหลักประกันรายได้ทแี่ น่นอนไม่วา่ กลไกตลาดจะเป็นเช่นไร หรือ เกษตรกรจะต้องเสี่ยงกับภัยธรรมชาติหรือไม่ (3) เป็นระบบที่ใช้ทุนต�่ำและมีความเป็นตัวของตัวเอง แตกต่างจากการท�ำเกษตร สมัยใหม่ซงึ่ มีตน้ ทุนในการผลิตสูง เพราะพึง่ พาปัจจัยภายนอกเป็นหลัก เสีย่ งทัง้ ภัยธรรมชาติ ราคาตลาดทีผ่ กผัน และยังท�ำลายสภาพแวดล้อม ทัง้ ยังแตกต่างจากระบบเกษตรอินทรียข์ อง เกษตรกรรมรายใหญ่ ที่เน้นในเรื่องของธุรกิจเพื่อตอบสนองตามปริมาณความต้องการของ ผู้บริโภคที่รักสุขภาพเป็นหลัก หรือในบางแห่งเกษตรกรยังคงถูกมองเป็นแค่แรงงานรับจ้าง ดังนัน้ ระบบ CSA ของโครงการผักประสานใจฯ จึงเป็นอีกรูปแบบของการสร้างสินค้า เกษตรอินทรียท์ เี่ หมาะสมกับกลุม่ เกษตรกรรายย่อย และไม่ได้มองการท�ำเกษตรอินทรียเ์ ป็นแค่ การผลิต แต่มองเป็นเรื่องของวิถีชีวิต จัดการเป็นระบบอย่างองค์รวมตั้งแต่เรื่องการผลิต 47


การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การตลาดกับผู้บริโภครวมไปถึงการสร้างสมดุลของชีวิตและ สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา เนือ่ งจากเกษตรกรของโครงการผักประสานใจฯ เป็นชาวกะเหรีย่ ง ในช่วงแรกทีเ่ ข้าร่วม โครงการฯ จึงมีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ ดังนี้ (1) ข้อจ�ำกัดทางด้านภาษา เกษตรกรอ่านและเขียนภาษาไทยไม่คอ่ ยได้ จึงเป็นปัญหาในการสือ่ สารกับผูบ้ ริโภค ท�ำให้คณ ุ ระวีวรรณต้องช่วยประสานงานระหว่างผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภคในช่วงแรก แต่เกษตรกร ได้เรียนรูจ้ ากผูป้ ระสานงานโครงการฯ จนสามารถอ่านและเขียนได้ จดบันทึกฐานข้อมูลของผลผลิต ช่วยกันบริหารจัดการ ร่วมประชุม ร่วมตัดสินใจกันเอง และสื่อสารกับผู้บริโภคมากขึ้น (2) ทักษะในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากช่วงแรกเกษตรกรต่างคนต่างเก็บผลผลิตแล้วค่อยน�ำมารวมกัน ท�ำให้ เกษตรกรบางรายไม่เข้าใจเรื่องของการดูแลรักษาผลผลิตที่เก็บมาแล้ว เช่น บางครั้ง ล้างผักไม่สะอาด ท�ำให้ผักเน่าเสียก่อนถึงมือผู้บริโภค เกษตรกรและผู้ประสานงานโครงการ จึงแก้ปัญหาด้วยการรวมกลุ่มกันก่อนวันที่ต้องท�ำการจัดส่งผัก เกษตรกรทุกคนและ คนในครอบครัว ต้องมารวมตัวกันทีศ่ นู ย์รวมในการบริหารจัดการ ซึง่ ต้องมาช่วยกันล้างผัก บรรจุหบี ห่อ ตรวจเช็คชนิดและจ�ำนวนทีจ่ ะน�ำส่งให้ผบู้ ริโภค (3) ระยะทางการขนส่ง เนือ่ งจากพืน้ ทีข่ องเกษตรกรอยูห่ า่ งไกลจากผูบ้ ริโภค และผูบ้ ริโภคก็กระจายกันอยู่ ทั่วกรุงเทพฯ ดังนั้นจึงมีการวางแผนในการจัดส่ง โดยการส่งผักตามจุดหลักๆในกรุงเทพฯ ซึง่ ผูบ้ ริโภคสามารถมารับด้วยตัวเอง หรือหากบ้านของผูบ้ ริโภคอยูใ่ นเส้นทางการจัดส่งก็นำ� ผลผลิตไปยังบ้านของผู้บริโภค หากบ้านของผู้บริโภคไม่ได้เป็นทางผ่านเส้นทางขนส่งแต่ ต้องการให้น�ำไปส่งก็จะจัดส่งให้ แต่มีค่าขนส่งเพิ่มเติม (4) การรับเงินจากผู้บริโภค เนือ่ งจากเกษตรกรอยูไ่ กลจากในตัวเมือง ดังนัน้ ผูบ้ ริโภคจึงต้องส่งเงินไปยังบัญชีที่ ผู้ประสานงานเปิดขึ้นในเมือง และท�ำการเบิกจ่ายเงินให้ จากนั้นจึงน�ำเงินมาแจกจ่ายให้แก่ เกษตรกร ผู้ประสานงานเล็งเห็นว่ากลุ่มควรมีการออมเงินร่วมกัน ดังนั้นจึงขอมติให้มีการ หักรายได้ 10% ทุกเดือน เพื่อเก็บออม ซึ่งเกษตรกรเห็นด้วย ท�ำให้ทุกคนล้วนมีเงินเก็บและ สามารถน�ำไปใช้ปลดหนี้สิ้นได้ 48


โจทย์ท้าทาย (1) เมื่อกลุ่มสมาชิกผู้บริโภคขาดการมีส่วนร่วม ถึงแม้ผบู้ ริโภคของโครงการผักประสานใจฯจะมีเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ แต่ในปัจจุบนั บทบาท ของสมาชิกทีเ่ ป็นผูบ้ ริโภคกลับขาดการมีสว่ นร่วม การรวมกลุม่ กันเพือ่ ท�ำกิจกรรมเป็นไปได้ยาก เนือ่ งจากการกระจายตัวของผูบ้ ริโภคในกรุงเทพฯ และสมาชิกมีความเป็นปัจเจกสูง ทัง้ ทีจ่ ริงแล้ว ในต่างประเทศกลุม่ ผูบ้ ริโภคตืน่ ตัวมากเรือ่ งการบริโภคอาหารปลอดภัย จะเป็นฝ่ายรวมกลุม่ กัน และไปหากลุม่ เกษตรกรเพือ่ ให้ผลิตอาหารปลอดภัย แต่สำ� หรับประเทศไทย เกษตรกรยังคง ต้องเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหากลุ่มผู้บริโภค ถึงแม้ความต้องการของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเป็น เกษตรกรที่เป็นฝ่ายเสนอขายผลผลิต (2) ถ้าหากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น จะมีวิธีการจัดการอย่างไร ก�ำลังการผลิตของเกษตรกรยังไม่สอดคล้องกับความต้องการอาหารปลอดภัยทีเ่ พิม่ ขึน้ ในปัจจุบนั ถึงแม้เกษตรกรขยายก�ำลังการผลิตให้แก่สมาชิกได้เป็น 100 ราย จากเดิม 80 กว่าราย แต่หากความต้องการของผูบ้ ริโภคมีเพิม่ มากขึน้ และมีผสู้ นใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกเกินกว่า 100 ราย อาจเป็นสิง่ ทีก่ ลุม่ เกษตรกรต้องทบทวน เนือ่ งจากระบบ CSA เน้นการผลิตทีเ่ ป็นไปตามก�ำลัง ตามศักยภาพของเกษตรกรและพืน้ ทีท่ มี่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัด อย่างไรก็ตาม ผูบ้ ริโภคจ�ำนวน 100 ราย อาจเพียงพอส�ำหรับกลุม่ เกษตรกรโครงการผักประสานใจฯทีจ่ ะท�ำให้ตนเองด�ำรงชีวติ อยูไ่ ด้ (3) ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างสูง และใช้เวลาในการขนส่งมากขึ้น พืน้ ทีข่ องเกษตรกรกับผูบ้ ริโภคอยูห่ า่ งไกลกัน ผูบ้ ริโภคเองก็อยูก่ นั อย่างกระจัดกระจาย รวม ถึงราคาน�้ำมันที่ผันผวนส่งผลให้บางครั้งเกษตรกรขาดทุนในเรื่องค่าขนส่ง เกษตรกร และผู้บริโภคจึงควรร่วมกันหาทางออกที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย เพื่อที่เกษตรกรจะได้ไม่ ต้องแบกรับการขาดทุนเพียงฝ่ายเดียว (4) หากไม่มีผู้ประสานงานโครงการ เกษตรกรจะท�ำอย่างไร ปัญหาการประสานงานระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคถือเป็นโจทย์ที่ส�ำคัญ เพราะ เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากคุณระวีวรรณมาตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ ถึงแม้วา่ คุณระวีวรรณจะถอนตัวจากการดูแลโครงการมาเป็นเวลา 2 ปีแล้วก็ตาม แต่การติดต่อ กับผูบ้ ริโภคยังคงอาศัยการประสานงานผ่านทางคุณระวีวรรณอยู่ รวมทัง้ การเผยแพร่ขอ้ มูล ของโครงการยังคงเป็นหน้าทีข่ องคุณระวีวรรณ สิง่ นีถ้ อื เป็นเรือ่ งทีเ่ กษตรกรยังด�ำเนินการเองไม่ได้ เกษตรกรยังขาดทักษะที่จะประสานงานไปที่ผู้บริโภคโดยตรง รวมทั้งยังไม่สามารถอธิบาย ข้อมูลไปสู่สาธารณะได้อย่างเช่นที่คุณระวีวรรณท�ำ 49


ความส�ำเร็จที่เป็นรูปธรรม หลังจากด�ำเนินโครงการมาแล้วกว่า 10 ปี พบว่าโครงการผักประสานใจฯช่วยให้ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมีความมัน่ คงมากยิง่ ขึน้ เช่น มีความมัน่ คงทางด้านอาหาร ด้านรายได้ และด้านสวัสดิการชุมชน ส่วนด้านสังคม โครงการผักประสานใจฯได้ช่วยให้ชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้น ช่วยเหลือเกือ้ กูลกันมากขึน้ และมีสว่ นช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนให้มคี วามอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมต่อวิถีชุมชนในระยะยาวต่อไป

50


ถอดบทเรียนกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณี โดย ผศ. ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�ำภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการเลขานุการ คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย


ในฐานะผูด้ แู ลงานวิชาการทีจ่ ดั โดยคปชก. และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลีย่ นความรูข้ อง ผูบ้ นั ทึกและเรียบเรียงกรณีศกึ ษาต่างๆทีน่ ำ� เสนอในหนังสือเล่มนี้ ผมขอถือโอกาสนีข้ อบคุณ นักศึกษาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต และนักวิจยั ของภาควิชาการพัฒนาชุมชนทุกคนทีเ่ สียสละ เวลามาร่วมงาน สรุปประสบการณ์การผลิตอาหารปลอดภัยทั้ง 4 กรณี และขอถือโอกาสนี้ สะท้อนภาพรวมของกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) เจตนารมณ์ของการน�ำเสนอกรณีต่างๆที่ปรากฏนี้ ต้องการเสนอแนวทาง การด�ำเนินกิจการผลิตอาหารปลอดภัยหลากหลายรูปแบบ ทัง้ ในส่วนทีผ่ ลิตโดยใช้เทคโนโลยี ทั น สมั ย มี ก ารลงทุ น และค่ า ตอบแทนสู ง ไปจนถึ ง รู ป แบบการผลิ ต ที่ ใ ช้ ทั้ ง ทุ น เงิ น และ ทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยหรือคนเมืองที่ประสงค์จะ ผลิตอาหารสะอาดปลอดภัยไว้บริโภคเองเท่าที่จ�ำเป็น ไม่เน้นการขายท�ำก�ำไร ไม่ว่าผู้ผลิต อาหารจะมีหลักการ แนวคิดทีย่ ดึ ถือทัง้ ในระบบเสรีนยิ ม (กรณี clean farm และกรณีวงั น�ำ้ เขียว) หรือระบบชุมชนนิยม (ระบบ CSA ทีส่ พุ รรณบุร)ี หรือแม้แต่บญ ุ นิยม (กรณีศรี ษะอโศก) ก็ตาม 2) รูปแบบการผลิตทีด่ ใี นประเทศไทยมิได้มเี ฉพาะ 4 กรณีตวั อย่างทีย่ กมานีเ้ ท่านัน้ แต่ที่หยิบมาเพียงเท่านี้เพราะในช่วงของการด�ำเนินงานจัดเสวนา แกนน�ำในการด�ำเนิน กิจการของ 4 กรณีตัวอย่างมีเงื่อนไขเวลาที่เอื้อและสามารถมาร่วมน�ำเสนอประสบการณ์ได้ ดังนัน้ หากองค์กรหรือบุคคลอืน่ ๆทีส่ นใจจะเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์หรือรูปแบบการท�ำการ เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรปลอดสารพิษ ฯลฯ ก็ยงั สามารถหยิบยกกรณีศกึ ษาอื่นๆ ได้อีกมาก 3) บทเรียนจากกรณีศกึ ษา สามารถสรุปสาระส�ำคัญเพือ่ เปรียบเทียบ ดังตารางต่อไปนี้

52


ตารางเปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณี แบ่งคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะเป็น 10 ด้านดังนี้

1) พื้นที่เพาะปลูก 2) แรงงานและการจัดการ 3) ผลผลิต 4) รูปแบบการผลิต 5) การลงทุน 6) การตลาด 7) คุณสมบัติของผู้ผลิต / ผู้ประกอบการ / ผู้น�ำขบวนการ 8) แหล่งทุน 9) เคล็ดลับการผลิต 10) เคล็ดลับการจัดการกับผลผลิตและการตลาด


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ

กรณีศึกษา

บริษัท คลีนฟาร์ม จ�ำกัด กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ จ.สระบุรี วังน�้ำเขียว จ.นครราชสีมา พื้นที่เพาะปลูก นาข้าว 30 ไร่ แปลงปลูกผัก 60 ไร่ พื้นที่หลายสิบไร่ เพราะประกอบ บ้านพักและส�ำนักงาน 10 ไร่ ด้วยสมาชิกหลายสิบคน แรงงานและ พนักงาน 50 คน แบ่งเป็นแผนก การจัดการ (เหมือนโรงงาน), ให้ค่าตอบแทน ตามกฎหมายและจัดสวัสดิการให้ (อาหาร, ที่พัก, ประกันสังคม)

ผลผลิต

รูปแบบ การผลิต

- ระดมสมาชิกโดยเน้นการปลูกผัก เพื่อสร้างบุญ ยึดหลักพุทธศาสนา - แรงงานการผลิตขึ้นกับครอบครัว แต่มีการจับกลุ่มผลิต กลุ่มละ 3 ครอบครัว ร่วมปลูกผัก 1 ไร่ ปลูกพืช 6 ชนิดขึ้น พบปะ เรียนรู้ กันทุกสัปดาห์ - ตั้งศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ - รายได้ขึ้นกับปริมาณและคุณภาพ ของผลผลิตของแต่ละกลุ่มย่อย - มีการก�ำหนดโควต้าแต่ละกลุ่ม - ผักปลอดสารพิษ - ผักปลอดสารพิษ - ผักพื้นบ้านและผักอื่นๆมากกว่า - ผักกินใบ (ตระกูลผักสลัด) แต่ 30 ชนิด ไม่ถึง 30 ชนิด และเป็นชนิดที่เคย - มีผลผลิตจ�ำหน่ายจ�ำนวนมาก ท�ำส�ำเร็จแล้ว ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างถูกต้อง - ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีการดัดแปลงจักรกลเกษตรให้ แต่ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษ เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น - เน้นการใช้น�้ำหมัก EM สารหมัก จากสมุนไพร ใช้เครื่องจักรทั่วไป

การลงทุน สูง (ทั้งเงิน อุปกรณ์ เครื่องมือ แรงงาน ฯลฯ)

54

การลงทุนค่อนข้างมากแต่อาศัยการ สนับสนุนจากภายนอก


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ

กรณีศึกษา

ชุมชนศีรษะอโศก โครงการผักประสานใจฯ จ.ศรีสะเกษ จ.สุพรรณบุรี พื้นที่เพาะปลูก หลายสิบไร่ ในพื้นที่ของชุมชนเอง พืน้ ทีป่ ระมาณ 20 ไร่ บนพืน้ ทีส่ งู ห่างไกลตัวเมืองและตลาด (กรุงเทพฯ) แรงงานและ - ใช้ระบบการแบ่งงานกันท�ำของ - สมาชิกเป็นชาวกะเหรี่ยงมี 7 การจัดการ ชุมชน (คล้ายระบบคิบุทช์ของ ครอบครัว ต่างคนต่างปลูกแล้วน�ำ อิสราเอล – ผู้เขียน) เอาผลผลิตมารวมกันส่งให้ผู้บริโภค - สมาชิกทุกคนได้รับการดูแล - มีการวางแผนการผลิตร่วมกัน สวัสดิการต่างๆเท่าเทียมกัน และ - รายได้ขึ้นกับปริมาณและประเภท ทุกคนท�ำงานเพื่อสร้าง ‘บุญ’ ให้ ของสินค้าที่ผลิต ตนเองและสร้างสังคมในอุดมคติ - มีการหักเงินรายได้ 10 % เพื่อตั้ง ตามหลักพุทธศาสนา เป็นกองทุนสวัสดิการของสมาชิก

- ผัก ข้าว ผลไม้ และอาหารแปรรูป - ผัก ผลไม้พื้นบ้าน ตามฤดูกาล อินทรีย์ (รวมแล้วประมาณ 40 ชนิดทั้งปี) ปลอดสารเคมี แต่กระจายเกินไป ยังไม่เป็นกลุ่มเพื่อประกอบอาหาร รูปแบบ - ท�ำการเกษตรโดยยึดหลักระบบ - ท�ำการเกษตรเน้นระบบธรรมชาติ การผลิต ธรรมชาติ และใช้แรงงานในครอบครัว - มีการทดลอง พัฒนาปัจจัยการ - ผลผลิตที่ได้ ใช้บริโภคในครัวเรือน ผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตขึ้นไป ด้วย เหลือขาย เรื่อยๆ การลงทุน การลงทุนไม่สูง เพราะเน้นการใช้ ต�่ำ เพราะใช้แรงงานเป็นหลักและยึด ประโยชน์จากธรรมชาติ ยกเว้น กฎธรรมชาติ เช่น ระบบชลประทาน กรณีที่ต้องสร้างโรงงานผลิตสินค้า ธรรมชาติ ขนาดใหญ่ ผลผลิต

55


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ

กรณีศึกษา

บริษัท คลีนฟาร์ม จ�ำกัด จ.สระบุรี การตลาด - ขายตรง, ขายผ่านตัวแทน - ผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ

กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ วังน�้ำเขียว จ.นครราชสีมา - ขายตรง และขายส่งห้างสรรพสินค้า - รับรองมาตรฐานสินค้าด้วยตนเอง

คุณสมบัติของ - มีความรู้สูง (พืช, วิศวกรรม, ผู้ผลิต การจัดการ, ธุรกิจ, สังคม) ผู้ประกอบการ - วิสัยทัศน์กว้างไกล, เห็นตัวอย่าง ผู้น�ำขบวนการ ในหลายประเทศ - มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูง - มีเครือข่ายกว้างขวาง, ร่วมมือกับ คนอื่นๆ - มีความคิดเชิงบวก, มุง่ มัน่ แก้ปญ ั หา - เป็นแบรนด์สินค้าของตนเองได้

- เป็นสมาชิกสันติอโศกและพรรค พลังธรรม เคยท�ำงานเป็น นักเคลื่อนไหวมาก่อน - เคยเป็นช่างท�ำงานในต่างประเทศ ท�ำให้เห็นคุณค่าอาหาร - เป็นคนกล้าพูด กล้าท�ำ อดทน มุง่ มัน่ ขวนขวายหาความรู้ ชอบความ ท้าทาย - เป็นประธานเครือข่ายลูกค้า ธกส. - เริ่มท�ำร้านอาหารมังสวิรัตในเมือง และปลูกผักขายทั้งที่ไม่มีพื้นฐาน มาก่อน - ยึดสโลแกน ‘ประกอบส่วน เชือ่ มโยง ถักทอ ต่อยอด’ - มีเครือข่ายและใช้สอื่ สาธารณะได้ดี ได้รับการสนับสนุนจากรัฐผ่าน โครงการต่างๆ เช่น FTA และอื่นๆ ที่เหลือเกษตรกรลงทุนเอง

แหล่งทุน ใช้ทุนส่วนตัวและสินเชื่อธนาคาร

เคล็ดลับ การผลิต

ไม่ฝืนธรรมชาติแต่ไม่ยอมจ�ำนน เช่น ท�ำหลังคากันฝน, กางมุ้ง, มีระบบระบายอากาศ, ยกพื้น แปลงปลูกผัก, ควบคุมอุณหภูมนิ ำ�้ , 56

- พยายามแก้ไขสถานการณ์การผลิต โดยใช้ทั้งจักรกลเกษตรสมัยใหม่ และภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้าน ไม่ดแู ลถึงขั้น กางมุ้งให้ผัก


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ

กรณีศึกษา

ชุมชนศีรษะอโศก โครงการผักประสานใจฯ จ.ศรีสะเกษ จ.สุพรรณบุรี การตลาด ขายให้เครือข่ายของชุมชนและ - ขายตรงและส่งถึงมือสมาชิก ขายที่แหล่งผลิตส�ำหรับผู้สนใจ สมาชิกจ่ายเงินล่วงหน้า ทั่วไป - มีสมาชิก 80 รายที่กรุงเทพฯ คุณสมบัติของ - แกนน�ำเป็นผู้ที่มียึดมั่นในหลัก - ระบบนี้ต้องอาศัยแกนน�ำและ ผู้ผลิต ศีลธรรม เมตตา อดทนและมุ่งมั่น ผู้ประสานงานที่เสียสละ ซื่อสัตย์ ผู้ประกอบการ ในการท�ำงานมาก มีอุดมการณ์ มีความรู้ความเข้าใจ ผู้น�ำขบวนการ - สนใจใฝ่เรียนรู้ และกล้าทดลอง ในระบบ CSA และมีความสามารถ สิ่งใหม่เพื่อเรียนรู้ ในการจัดการพอควร - ไม่สนใจเรื่องผลประโยชน์ - ไม่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการปฏิบัติ ตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน งานนี้ เพราะรายได้มีไม่มากนัก ชื่อเสียง ต�ำแหน่ง หากต้องมาจ่ายให้ผู้ประสานงานใน - มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จากผลงาน อัตราท้องตลาด สมาชิกผู้ผลิตจะ ทีท่ ำ� ส�ำเร็จมาแล้ว ทัง้ ด้านการดีทอ็ กซ์ ไม่มีรายได้จากการผลิตที่เพียงพอ ร่างกายมนุษย์และด้านอื่นๆ หรือเหมาะสมแต่อย่างใด - มีความสามารถในการสื่อสารและ ใช้สื่อสาธารณะได้ดี แหล่งทุน - ชุมชนเป็นผู้ลงทุน ใช้เงินน้อยกว่า ใช้ทุนส่วนตัว การลงทุนทั่วไป เพราะไม่คิดค่าแรง (แต่อาจมีฐานความสัมพันธ์มาจาก และไม่หวังเงินก�ำไร การท�ำงานองค์การพัฒนาเอกชน - กรณีเงินไม่พอ ขอยืมจากส่วนกลาง มาก่อน) ได้ เคล็ดลับ - ยึดกระบวนการผลิตพืชทางธรรมชาติ - ยึดหลักเกษตรอินทรีย์ ไม่ท�ำลาย การผลิต เน้นการฟื้นฟู รักษาและบ�ำรุง ระบบ ระบบนิเวศในแหล่งผลิตทางการ ธรรมชาติโดยใช้วิชาการแผนใหม่ เกษตร ไปประยุกต์และอธิบาย - ยึดหลักเกษตรผสมผสาน 57


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ

กรณีศึกษา

บริษัท คลีนฟาร์ม จ�ำกัด กลุ่มส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ จ.สระบุรี วังน�้ำเขียว จ.นครราชสีมา เคล็ดลับ ปรับปรุงดิน, จัดระบบการให้น�้ำที่ - พัฒนาระบบให้น�้ำด้วยการขุดสระ การผลิต เหมาะสมกับวัยพืช, ผลิตปัจจัยเอง ขนาดใหญ่ไว้รับน�้ำฝน และ เท่าที่ท�ำได้ แต่หากต้องซื้อก็เลือก ใช้เครื่องสูบน�้ำด้วยน�้ำมัน ที่มีคุณภาพดีๆ (ทั้งในและต่าง - ไม่ได้ทดสอบคุณภาพดินและน�้ำ ประเทศ ปีละกว่า 10 ล้านบาท), ที่ให้กับพืชว่ามีสารเคมีเจือปนมาก ใช้สารเคมีที่จ�ำเป็น และไม่เก็บเกี่ยว เท่าใด ผลผลิตก่อนเวลาที่ก�ำหนด, ติดตาม - ซื้อเมล็ดพันธ์ุจากร้านค้าทั่วไป ปริมาณสารเคมีทุกสองเดือน และ เลี้ยงปลาในบ่อเก็บน�้ำ เคล็ดลับ - เน้นลูกค้าที่มีฐานะดี, มีการศึกษา - เน้นลูกค้าทั่วไปและกลุ่มที่เป็น การจัดการกับ - เน้นคุณภาพสินค้า ราคาคิดตาม ลูกค้าของห้างสรรพสินค้าหลัก ผลผลิต คุณภาพ (ท๊อปส์, เลมอนฟาร์ม, เดอะมอลล์ และ - คัดเกรดผัก ส่งขายเฉพาะที่มี และร้านอาหารสุขภาพ) การตลาด คุณภาพสูง ที่เหลือใช้ท�ำอาหาร - สหกรณ์ขายผักให้ห้างในราคาที่ พนักงานและเลี้ยงสัตว์ ตกลงกัน ส่วนห้างจะไปติดตราอื่น - รักษาคุณภาพผักให้สดเสมอ ก็ได้และก�ำหนดราคาขายใหม่อีก ส่งถึงมือผู้บริโภคให้เร็วและเก็บใน ครั้ง ห้องเย็น - พยายามรักษาคุณภาพผักโดย - มีระบบบาร์โค้ด บรรจุในห้องเย็นและจ้างรถสหกรณ์ - ส่งผักทุกวัน เวียนไปตามพืน้ ทีต่ า่ งๆ ไปส่งตามแหล่งต่างๆในแต่ละวัน สัปดาห์ละครั้ง - บริการถึงบ้าน - มีรถขนส่งเอง - มีการสือ่ สารและให้ความรูผ้ บู้ ริโภค - ไม่มีนโยบายขายลดราคา

58


คุณสมบัติ และ ลักษณะเฉพาะ เคล็ดลับ การผลิต

กรณีศึกษา ชุมชนศีรษะอโศก จ.ศรีสะเกศ - ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีแผนใหม่ ที่ช่วยผ่อนแรง เช่น โรงงานและ เครื่องจักร ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพ - พัฒนาคุณภาพเมล็ดพันธุ์และ ปัจจัยการผลิตต่อเนื่อง

เคล็ดลับ - เน้นขายความรู้มากกว่าสินค้า การจัดการกับ - ให้ไปลองใช้กอ่ น ได้ผลแล้วค่อย ผลผลิต มาซือ้ และ - ไม่มีเงิน เอาของไปใช้ก่อน แล้ว การตลาด เอาผลผลิตมาขาย พร้อมหักช�ำระ หนี้ (ไม่คิดดอกเบี้ยจากสินค้าที่เอา ไปใช้) - ไม่สนใจกลไกและราคาตลาด เน้นการช่วยสังคมและผู้คน - เชื่อมโยงกิจการของกลุ่มเข้ากับ การเผยแพร่ศาสนา เช่น วันส�ำคัญ หรือช่วงส�ำคัญทางศาสนาจะขาย สินค้าราคาถูกทั้ง ลด แลก แจก แถม เป็นพิเศษ

59

โครงการผักประสานใจฯ จ.สุพรรณบุรี - ใช้สมุนไพรไล่แมลง - ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกผสมกับวัชพืช ในแต่ละแปลง - หมุนเวียนสลับเปลี่ยนชนิดพืชไป เรื่อยๆ - กางมุ้งแบบตามมีตามเกิดและใช้ พลาสติกคลุมแปลงในฤดูฝน - เน้นรักษาคุณภาพ ปรับปรุง ขบวนการเก็บและส่งผัก - เก็บผักสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่งให้ผู้ บริโภคในคืนนั้น (ถึงมือเช้าวันรุ่ง ขึ้น) - ผู้บริโภคเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งคิดเพิ่ม จากค่าผักอีก 60 บาทต่อกล่อง ต่อครั้ง ค่าบริหารจัดการเก็บ 40 บาท ต่อครั้ง ค่าผักครั้งละ 150 บาท (ขั้นต�่ำ 3 กิโลกรัม หากเพิ่มปริมาณ คิดกิโลกรัมละ 50 บาท แต่รวมไม่ เกินทัง้ สิน้ 6 กิโลกรัม) มีผลไม้แถมฟรี - บริการจัดส่งกล่องผักเป็นจุด รวม 3 จุด เว้นกรณีที่เส้นทางผ่าน อยู่แล้ว หากให้ส่งถึงที่ต้องตกลงค่า ใช้จ่ายกับคนขับเพิ่มเอง


4) กรณีของโครงการผักประสานใจฯ จะมีรปู แบบการตลาดทีแ่ ตกต่างไปจากกรณี อื่นๆ เพราะอยู่ในรูปการตลาดที่เรียกว่า Community Supported Agriculture (CSA) หมาย ถึง ระบบการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคในเมือง มีฐานะการเงินและสถานภาพอืน่ ๆสูงกว่าจะเสียสละ เพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาสภาพแวดล้อม ของโลกไปด้วย ควบคูก่ บั การได้อาหารทีป่ ลอดภัยมีคณ ุ ภาพสูง เพราะเกษตรกรจะไม่ใช้สารเคมี ใดๆในการผลิต ความช่ ว ยเหลือจากผู้บริโ ภคแสดงออกในรูปการจ่ า ยเงิ นค่ า อาหารล่ วงหน้ า เกษตรกรจึงไม่ตอ้ งหาเงินมาลงทุนเอง และเป็นการประกันทัง้ รายได้และราคาสินค้า รวมถึง การร่วมรับผลเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติดว้ ย เช่น กรณีทเี่ กิดภัยธรรมชาติ ผลผลิตอาจได้ต�่ำกว่า ที่ตกลงกันไว้ ถือว่าช่วยกันเยียวยาและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากความเสียหายด้วยกัน ในทางตรงข้ามหากเกษตรกรได้ผลผลิตอื่นๆมากเป็นพิเศษ ก็จะแถมผลผลิตต่างๆเหล่านั้น ให้แก่ผู้บริโภคโดยไม่ต้องรอให้เรียกร้อง หรือเก็บเงินเพิ่มแต่อย่างใด ระบบ CSA นี้แม้จะดี แต่ก็ยังท�ำได้ในวงจ�ำกัด 5) ผลการด�ำเนินกิจการของกรณีศึกษาทั้ง 4 นี้เป็นที่น่าพอใจ เพราะไม่มีรายใด มีปัญหาด้านการตลาดเลย มีแต่ผลิตสินค้าไม่พอกับความต้องการ 6) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ขั้นสูงอย่างคลีนฟาร์ม หรือแทบไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ดังโครงการผักประสานใจฯ ผู้ประกอบการต่างๆให้ ความเคารพในระบบธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการท�ำลายระบบนิเวศ เพียงแต่ว่าเลือกใช้วิธีการ แก้ปัญหาเรื่อง ดิน น�้ำ เมล็ดพันธุ์ จัดการแมลง ศัตรูพืช ฯลฯ แบบอาศัยธรรมชาติหรือ สิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่เท่านั้น นอกจากนี้ ผูผ้ ลิตทุกรายล้วนเข้าใจธรรมชาติการเจริญเติบโตของพืชทีต่ นเองปลูก เป็นอย่างดี และมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค กล่าวคือไม่ส่งมอบอาหารที่เป็นอันตราย ต่อผูบ้ ริโภค ซึง่ ส�ำนึกดังกล่าวอาจมีทมี่ าต่างกัน คือเกิดจากความเชือ่ เรือ่ งบาป-บุญตามหลัก ศาสนา หรือเรื่องคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีที่อยู่ร่วมกันในสังคม (civic virtue) 7) เมือ่ พิจารณารูปแบบการผลิตอาหารของทัง้ 4 กรณี จะพบว่าผลผลิตทางการเกษตร (อาหารทีด่ ี ปลอดภัย ได้คณ ุ ค่าโภชนาการ) เกิดจากความร่วมมือของคนหลายคนทีม่ คี วามสามารถ แตกต่างกัน อาทิ ความรู้ ความสามารถในด้านวงจรการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด คุณสมบัติ ทางฟิสิกส์ เคมี ชีวภาพของดิน น�้ำ อากาศ แสง ความรู้เรื่องพลังงานและเครื่องมือทุ่นแรง ความรู้เรื่องโลหะศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ความรู้เรื่องการจัดการคน การท�ำงานเป็นทีม อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ การตลาด การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ 60


การเงิน การบัญชี และคุณธรรมของการเป็นผูป้ ระกอบการ หรืออาจขยายไปถึงเรือ่ งการสือ่ สาร การสร้างกระแส การท�ำงานกับสื่อสาธารณะ ฯลฯ ศาสตร์เหล่านี้ (สหวิทยาการ) มีมากเกิน กว่าที่จะเรียนได้หมด ไม่ว่าจะเรียนในมหาวิทยาลัยใดก็ตาม นอกจากนั้นยังต้องรู้จักใช้ใน ลักษณะที่บูรณาการกันด้วย ประเด็นนี้ ผูเ้ ขียนไม่มคี ำ� ตอบแต่มคี ำ� ถามให้ผเู้ กีย่ วข้องพิจารณาว่า “สังคมไทยจะมี กระบวนการส่งผ่านความรูเ้ หล่านีใ้ ห้ถงึ มือเกษตรกรและว่าทีเ่ กษตรกรได้อย่างไร” กระทรวงเดียว คงไม่สามารถจัดการกับเรือ่ งนีไ้ ด้อย่างแน่นอน นักวิชาการทีม่ แี ต่ความรูท้ ไี่ ด้จากตะวันตกก็ ไม่สามารถท�ำงานนี้ได้ตามล�ำพังอีกเช่นกัน 8) ผู้บริโภคสินค้าของกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณียังเป็นคนกลุ่มน้อยของสังคมและมัก จะเป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนดี ค�ำถามที่อยากให้ คนในสังคมช่วยกันตอบว่า “ถึงเวลาหรือยังทีค่ นไทยทุกคนจะมีความมัน่ คงปลอดภัยด้านอาหารและช่วยผลักดัน ให้รัฐบาล กระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องมาจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง” รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ กั จะอ้างภารกิจของตน ว่ามีมากมายและ เป็นเรื่องส�ำคัญเพราะเกี่ยวกับความมั่นคงในชีวิตของคน เพื่อรับงบประมาณจากภาษีอากร ของประชาชนในจ�ำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเจรจาต่อรองได้ การปล่อยปละละเลยเรือ่ งนี้ นอกจากจะท�ำให้ประเทศต้องเสียงบประมาณด้านรักษา พยาบาลจ�ำนวนมากแล้ว ครอบครัวทีม่ ผี ปู้ ว่ ยก็เสียโอกาสท�ำมาหากินขาดรายได้ และหากมอง ในมุมกว้างขึน้ ไป ไทยจะส่งอาหารไปขายต่างประเทศได้อย่างไร หากเขาทราบว่าอาหารจาก ประเทศไทยเต็มไปด้วยสารเคมีเจือปนจนถึงขีดอันตราย นักท่องเทีย่ วต่างประเทศจะยังสนใจ เข้ามาเที่ยวในเมืองไทยอีกหรือไม่ หากอาหารไทยอร่อยแต่มีพิษ สองค�ำถามนีค้ งบ่งบอกถึงหายนะทางเศรษฐกิจทีจ่ ะคืบคลานมาถึง หากคนไทยไม่ สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารได้

61





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.