GEN441 Culture Trip : Kudeejeen

Page 1


เ เ ม ว เ ห มี ย ว


บรรณาธิการ KUDEEJEEN MAGAZINE เหล่าผู้คนในเมืองใหญ่ที่เติบโตมาพร้อมกับความสะดวกสบาย เพียบพร้อมไปในทุกๆด้าน คนเหล่านัน ้ บางกลุ่มก็ลุ่มหลงในโลกของ เทคโนโลยีจนถึงขั้นปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอก ขังตัวเองให้อยู่ในโลก ส่วนตัวมากเกินไป ไม่ออกไปพบปะผู้คนหรือบางกลุ่มก็เลือกพาตัวเองไป พบปะผู้คนในสังคมโดยการไปเดินห้างสรรพสินค้าหรูๆ กินอาหารแพงๆ ใช้ของที่ทันสมัย ลุ่มหลงในวัตถุนิยมมากไปจนลืมมองคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆตัว ใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่สับสนวุ่นวาย โหยหาแต่ความสุขที่ ไม่จีรังโดยหารู้ไม่ว่าในสังคมเมืองนั้นก็มส ี ิ่งที่ล้าค่ามากกว่าสิง่ ที่ทันสมัย เหล่านั้น เพียงแค่หลายๆคนอาจจะลืมหรือมองข้ามมันไป ในช่วงจังหวะการเดินทางของชีวิตหากเราสังเกตสักนิด เราจะค้นพบ บันทึกหน้าส้าคัญทางวัฒนธรรมของบรรพชนที่มอบไว้เป็นมรดกตกทอด มายังลูกหลานในปัจจุบัน ให้เราทุกคนได้เรียนรู้ถึงที่มาแห่งรากเหง้าทางภูมิ ปัญญาทางวัฒนธรรมจากบรรพชน “ชุมชมกุฎีจีน” ก็เป็นหนึ่งสถานที่ ที่ เป็นสถานที่สา้ คัญทางวัฒนธรรมเป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้า เจ้าพระยาที่มีความเป็นมายาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เป็นชุมชนที่ มากไปด้วย ศาสนา และวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกัน ภายในชุมชนได้อย่างสงบสุขและมีความสุข ชุมชนกุฎีจีนนี้ยงั ถูกขนานนาม ว่าเป็นชุมชน 3 ศาสนา 4 วัฒนธรรม เรื่องราวของชุมชนย่านกุฎีจีนนี้จะเป็นเช่นไร ผู้เขียนได้น้าเรื่องราวที่ ส้าคัญและความพิเศษของชุมชนแห่งนี้มาเรียบเรียงและถ่ายทอดเป็น บทความให้อยู่ใน แมกกาซีนเล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ถึง รากเหง้าทางภูมิปญ ั ญาทางวัฒนธรรมจากบรรพชนของเราไปพร้อมๆกับ เรื่องราวดีๆจากชุมชนแห่งนี้ “กุฎีจีน” ทีมงานนักเขียน



CONTENTS HISTORY

2

ARCHITECTURE

28

CULTURE

46

THE SPECIALS

52

EXPLORE

60

MEET THE MASTER

68


1


HISTORY กุฎีจีน คืออะไร อยู่ที่ไหน แล้วมีอะไร หลายคน

เมื่อได้ยินชื่อ “กุฎีจีน” หรือ “กะฎีจีน” ก็เกิด ค้าถามเหล่านี้ขึ้นมา ... แต่หารู้ไม่ว่า ที่แห่งนี้เป็นที่ที่ เติมเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรม ประเพณี วิถชี ีวิตของ ผู้คนและยังเป็นย่านชุมชนที่เก่าแก่ราว 200 ปีมาแล้ว

2


ชุมชนกุฎีจีน ชุมชน “กุฎีจีน” หรือ “กะฎีจีน” เป็นย่าน ชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนที่ อาศัยอยู่ริมแม่น้า เจ้าพระยา ชุมชนกุฎจี ีนมี ประวัติความเป็นมาตั้งแต่ สมัยกรุงธนบุรี และยัง เป็นชุมชนที่มีความ หลากหลายทางเชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และ ศาสนา เนื่องจากเป็น ชุมชนที่ประกอบไปด้วย ผู้คนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่า จะเป็นชาวจีน อินเดีย และ ยุโรป ที่อพยพมาจาก กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัย เริ่มก่อตั้ง “กรุงธนบุร”ี ในปี พ.ศ. 2310

3



วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัด

ขนาดใหญ่ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดอยู่ติดแม่น้าเจ้าพระยาตรงข้ามกับ โรงเรียนราชินีตั้งอยู่เลขที่ 371 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มี ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 33 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา เขตวิสุงคามสีมา หรือบริเวณพระ อุโบสถ ด้านกว้าง 31.75 เมตร ด้านยาว 41.53 เมตร ส่วนบริเวณของวัดโดยรอบ ทิศตะวันออกยาว 262 เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่บ้านราษฎร ทิศ ตะวันตกยาว 266 เมตร มีเขื่อนข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่ ทิศ เหนือยาว 206 เมตร มีเขื่อนหน้าวัดเป็นเขต ติดต่อกับแม่น้าเจ้าพระยา ทิศใต้ยาว 216 เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่ราษฎรและที่ธรณีสงฆ์ของวัด บางส่วน


5


วัดกัลยาณมิตร ได้ท้าการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2368 เป็น ในสมัยรัชกาลที่

3 ถวายเป็นพระอารามหลวงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” ที่หมายถึง มิตรดีหรือเพื่อนดี เพื่อนผูม ้ ี กัลยาณมิตร มาจากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทร์ และ พระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์นี้เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย โดย มีพระราชประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกก้าแพงเมือง อย่างเช่น วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช

ด้าเนินทรงบรรจุพระอุณาโลมพระพุทธไตรรัตนนายก ซึ่งเป็นทองค้า หนัก 40 บาท แต่ปัจจุบันที่ไม่มีแล้วเนื่องจากโดยขโมยไป

นอกจากนั้นยังมี หอมณเฑียรธรรมเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บ

พระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 4 หน้าพระวิหารหลวงยังมีหอระฆังฝีมือช่าง ประเทศญี่ปุ่น ส้าหรับไว้ระฆังยักษ์ มีขนาดใหญ่ที่สด ุ ในประเทศไทย ทางเข้า วัดมีเจดีย์หิน ท้ามาจากเมืองจีน เรียกว่า ถะ เป็นศิลปะจีนที่งดงามมาก

6


ชุมชนย่านนีน้ อกจากชาวจีนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัย

ของทั้งชาวโปรตุเกส ชาวมุสลิม ชาวไทย และยังมีพระภิกษุ จีนพ้านักอยู่ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกย่านนีว้ ่า ชุมชนกะดีจน ี หรือกุฎีจีน ปัจจุบันหลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซ้าปอฮุดกง หรือ ซ้าปอกง ภายในพระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มี จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิต ชาวบ้านชาวเมืองสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่า ทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคม อย่างยิ่งอีกด้วย




โบสถ์ซางตาครู้ส ซางตาครู้สเป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง กางเขนศักสิทธิ์ โบสถ์นี้ถือเป็นวัด คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนบุรี ซึ่งปี 2559 นี้จะมีอายุครบ 100 ปี เป็นวัดหลังที่ 3 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6) โดยครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี คุณพ่อ ยาโกเบ กอรร์ (Jacues Corre) บาทหลวงโปรตุเกสที่ได้ลี้ภัยไปอยู่เขมรได้เดินทาง กลับมายังเมืองบางกอก พระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้พระราชทานที่ดินบริเวณนี้ให้แก่ ชาวโปรตุเกสและผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่อพยพมาจากกรุงศรี อยุธยา โดยตั้งชื่อว่าซางตาครู้ส” (Santa Cruz) ซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกส Santa แปลว่า ศักดิ์สิทธิ์ Cruz = Cross แปลว่า ไม้กางเขน รวมความหมายถึง กางเขนศักดิส ์ ิทธิ์


โดยการเข้ามาของโปรตุเกสท้าให้มีการติดต่อสื่อสารทาง

การค้า เช่น เครื่องเทศ พริกไทยเป็นต้น และสาเหตุที่แท้จริงในการ เข้ามาของโปรตุเกสอย่างแรก คือ การเข้ามารับราชการเป็นทหาร แม่นปืนในประเทศไทย อย่างที่สองคือเข้ามาท้าสัมพันธไมตรีกับ ประเทศไทย อย่างที่สาม คือ เข้ามาท้าสงครามช่วยรบกับพม่าโดย ได้รับการแต่งตั้งเป็น กองทหารอาสาโปรตุเกส และยังท้าให้ โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อสื่อสารกับไทย



เรือนจันทนภาพ เรือนจันทนภาพเป็นเรือนไทยที่มีอายุ เก่าแก่กว่า 120 ปี ในตัวเรือนจันทนภาพ ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆที่แต่ละ ชิ้นส่วนในตัวเรือนต่างก็มีประวัติและมีที่มา ภายในตัวเรือนเป็นทรงวิคตอเรีย ท้าจากไม้ สักทั้งหลังสามารถถอดประกอบได้ และ ประดับตกแต่งเรือนด้วยเอกลักษณ์ของ คาทอลิก ในส่วนของหย่องหน้าต่างในตัว เรือนนั้นมีการแกะสลักเป็นลวดลายพุดตาน เครือเถาที่มีความงดงามและผ้าม่านก็เป็น ลวดลายดอกพุดตานเหมือนกัน ส่วนเสา ของเรือนจันทนภาพทุกต้นเป็นไม้ตะเคียน ทั้งหมด และลายเสาไม้ตะเคียนนั้นก็มีการ แกะสลักติดเสาทั้งหมด ตัวเรือนถูกสร้างมี เพดานสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก


ภายในตัวเรือนมีหน้าต่างอยู่หนึ่งบานที่ท้าการปิดตายไว้เนื่องจากในอดีตมีกบฏ

แมนฮัตตันยิงปืนเข้ามาท้าให้หน้าต่างช้ารุดเสียหาย และกระจกในตัวเรือนก็ยังมีร่องรอย กระสุนที่กบฏแมนฮัตตันใช้ยิงเพื่อจะมาจับตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในอดีตก่อนที่ เรือนจันทนภาพจะมาอยู่ในชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้ ได้มีการรื้อย้ายมาจากเมืองจันทบุรีและมา ปลูกสร้างอยู่ในชุมชนกุฎีจีน โดยคุณพ่อจารุภา จันทนภาพ


ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าแห่งนี้ก็คือ ศาลเจ้าเกียนอันเกง

เป็นศาลเจ้า ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้าเจ้าพระยา ใกล้กับ วัดกัลยาณมิตร มีพระ โพธิสัตว์กวนอิมหรือที่ชาวบ้านเรียก กันทั่วไปว่า เจ้าแม่กวนอิม เป็นองค์พระประธาน จนท้าให้ บางคนเรียกชื่อศาลเจ้าตามองค์พระประธานว่า “ศาล เจ้าแม่กวนอิม”


ในสมัยรัชสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ชาวจีน จาก

มณฑลฮกเกี้ยน ต้าบลเจียงจิว และโจวจิว ซึ่งเป็น บรรพบุรุษของสกุล ตันติเวชกุล และสกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้าทั้งสอง นี้ เห็นว่าช้ารุด ทรุดโทรมก็ไม่คิดที่จะซ่อมแซม แต่ได้ร่วมกันรื้อศาลเจ้าทั้ง สองลง แล้วสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ในที่เดิมเป็น ศาลเดียว จากนัน ้ ได้ อัญเชิญเจ้าแม่กวนอิมมาเป็นองค์ ประธาน และชื่อศาลเจ้าแห่งนี้เป็นชื่อที่ ใช้ติดต่อสืบมา จนปัจจุบันว่า “ศาลเจ้าเกียนอันเกง” ได้อัญเชิญเจ้าแม่ กวนอิมมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ตัง้ แต่นั้น พร้อมกับ ระฆังใบใหญ่ ซึ่งแขวนประจ้าอยู่ จนทุกวันนี้ และจากระฆังใบนี้เองปรากฏอักษรจีน จารึกมี ความว่า เป็นระฆังที่ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันหล่อ ถวายเจ้าแม่ กวนอิมที่แชฮุนเต็ง


วามส้าคัญทางประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าแห่งนี้คือ เดิมที่ตั้งวัดกัลยาณมิตรนี้

เรียกว่า บ้านกุฎีจีน และกุฎีจีน ที่แท้จริงนั้นคือศาลเจ้าเกียนอันเกงนี้เอง ดังปรากฏจาก หลักฐานส้าเนาประกาศพระบรมราชปรารภและพระบรม ราชูทิศของ พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูร สุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ พระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้าทูลละอองพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยฯ ในงานฉลองหอ พระธรรม มณเฑียรเถลิงพระเกียรติความว่า “เดิมทีว่ ัด กัลยาณมิตรนี้ เป็นบ้านกุฎีจีน”

19


“ค้าว่าเกียนอันเกงมีความหมาย ค้าว่า

เกียน จริงๆ แล้วถ้า แปลตรงตัว แปลว่า สร้าง เข้าใจว่า มีความหมายแฝงอยู่ เกียน ก็คือ ฮกเกี้ยน เพราะว่า ศาลเจ้านี้คงทราบแล้วว่าเป็นศาลเจ้าของ ชาวจีนฮกเกี้ยน บรรพบุรุษที่มาอยู่ตรงนี้และสร้าง ศาลเจ้านี้ เป็นชาวจีน ฮกเกี้ยนจาก “เจียงจิว” และ “โจวจิว” มณฑลฮกเกี้ยน อัน แปลว่า เป็นความ สงบสุข ความร่มเย็น ส่วน เกง หรือ เก๋ง ก็คือ ตัว ศาล ตัวอาคาร ก็คือตัวศาลเจ้า ก็เหมือนกับเป็นตัว วัง เพราะฉะนั้น เมื่อรวมกันแล้ว “เกียน อันเกง” หมายถึง สถานที่ที่สร้างความสงบสุข ความ ร่มเย็นให้กับชาวฮกเกี้ยน หรือว่าผู้คนที่เข้ามา กราบไหว้”

20


มัสยิดกูวติลอิสลาม มัสยิดก็เป็นศาสนสถานของศาสนาอิสลาม ชุมชุมนี้เป็นชุมชนที่เก่าแก่ แล้วก็เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมที่ลงตัว ภายในชุมชนเองไม่มีการขัดแย้งกัน มีแต่การช่วยเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชน จึงเรียกชุมชนนี้วา่ ชุมชน 3 ศาสนา 4 วัฒนธรรม ชุมชุนนี้เกิดขึ้นมาเอง โดยการรวมตัวของคนในชุมชนในยุคแรก คือ การรวมตัวของชุมชนต้นรัตนโกสินทร์หลังจากที่อยุธยาเสียกรุง ต่อมากรุง ธนบุรีตั้งเป็นราชธานี ดังนั้นกรุงธนบุรีจึงเป็นหัวเรี่ยวหัวต่อระหว่างการ ผสมผสานอารยธรรมของกรุงศรีอยุธยากับรัตนโกสินทร์ อารยธรรมนี้มา ชัดเจนตอนกรุงรัตนโกสินทร์สถาปนา ชุมชนตรงนี้เรียกว่า “ชุมชนตึกแดง” แต่ ก่อนบริเวณนี้เป็นโกดังเก็บสินค้าซึ่งก่อด้วยอิฐมอญ เป็นของท่านสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ซึ่งคนระแวกนั้นเรียกว่า “องค์ น้อย” ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึง่ คนในระแวกนั้น เรียกว่า “องค์ใหญ่” โดยแบ่งเขตปกครองดังนี้คือ องค์ใหญ่ดูแลทิศตะวันตก ได้แก่ วัดประยูรวงศ์ และองค์น้อยดูแลทิศตะวันออกคุมคลอง เมื่อมาถึงจุดที่ รวบรวมคนนับถือศาสนาอิสลามได้แล้ว ก็คิดที่จะมีมัสยิด เพือ่ สร้างเป็นศาสน สถานเพื่อท้าพิธีทางศาสนา ในโอกาสนัน ้ เององค์น้อยก็อยากมีส่วนร่วมในการ ก่อสร้างมัสยิดเพราะท่านเป็นผู้ปกครองอยู่ในตอนนั้น องค์นอ้ ยได้เล็งเห็นว่าควร จะมีมัสยิดเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา จึงให้สหายคนสนิทคือท่านเสมียนอาลี (ต้นตระกูลนานา) เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเรื่องก่อสร้าง และองค์น้อยเองก็ได้ บริจาคพื้นที่ให้ก่อสร้างมัสยิด ดังนัน ้ มัสยิดจึงถูกก่อสร้างตามที่องค์น้อย ต้องการเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาอิสลาม จึงได้ สร้าง “มัสยิดกูวติลอิสลาม” ขึ้นมา


22



วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร วัดประยูรวงศาวาสวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพาน

พระพุทธยอดฟ้า ฝัง่ ธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สร้างวัด ขึ้นในปี พ.ศ.2371 โดยอุทิศสวนกาแฟสร้างเป็นวัดขึ้น แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานนามว่า วัดประยูรวงศ์ เป็นผู้เริ่มสร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรชายได้สร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 พระเจดีย์องค์ ใหญ่ถูกฟ้าผ่าจนยอดพรเจดีย์หักและไม่ได้รับการบูรณะเป็นเวลานานถึง 47 ปี ต่อมาพระ ปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสรูปที่ 10 ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์องค์เล็กรอบพระ เจดีย์องค์ใหญ่ และซ่อมก้าแพงรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ จากนัน ้ ได้จัดงานฉลองพระเจดีย์และ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานไว้บนพระเจดีย์องค์ใหญ่ในปี พ.ศ. 2450 หลังจากนัน ้ ในปี พ.ศ. 2461 พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท) เจ้าอาวาสวัดรูป ถัดรูปถัดมาจึงได้ดา้ เนินการบูรณะยอดพระเจดีย์ขึ้นดังเดิม



เขามอ สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาพระ

อารามพุทธศักราช 2371 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค ) ด้าริที่จะ สถาปนาวัดถวายเป็นพระอารามหลวง ความ ทราบถึงเบื้องพระบุคคลบาทจึงได้พระราชทาน หยดเทียนขี้ผึ้งอันเกิดจากน้​้าตาเทียนที่ทรงจุด ขณะประทับอยู่ในห้องสรงซึ่งหยดทับถมกันเป็น เวลานานหลายปี ก่อรูปขึ้นมามีลักษณะคล้าย ภูเขา ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์น้า รูปแบบของหยดเทียนขี้ผึ้งนี้ สร้างเป็น “เขามอ” ตั้งอยู่กลางสระน้​้า ก่อขึ้นจากหินเป็นจ้านวนมาก ให้มียอดเขาลดหลัน ่ กันตามล้าดับมีชะง่อนผาอัน สูงชันลักษณะคล้ายคลึงกับหยดน้​้าตาเทียนที่ ได้รับพระราชทาน แวดล้อมด้วยแมกไม้อันร่มรื่น และพันธุ์ไม้หายากนานาพันธุ์ เป็นที่ประดิษฐาน พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ พระวิหารหลวง จ้าลอง สังเวชนียสถานจ้าลอง และศาลาน้อย ใหญ่


ARCHITECTURE


28


วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร “ พระอารามหลวง ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3 นี้ ได้ปรากฏว่าวัดกัลยาณมิตรได้มีการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้ง 3 แบบ ซึ่ง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ของพระอุโบสถ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะทางรูปแบบศิลปกรรม ได้แก่ พระอุโบสถ “ สถาปัตยกรรมแบบ ประเพณีนิยม ” ที่มีแบบแผนทางศิลปะสืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยาต่อมาได้รับ อิทธิพลศิลปะจากจีนเข้ามาผสมผสานสร้างเป็นพระอุโบสถ เรียกว่า “ สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม ” และสุดท้ายคือ พระอุโบสถ “ สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานศิลปะ ระหว่างแบบประเพณีนิยมกับแบบพระราช นิยม ”


“ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีนิยม ” พระอุโบสถที่มีระเบียบแบบแผนทางศิลปะที่สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรี อยุธยา มี แผนผัง อาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีระเบียง ด้านหน้าและด้านหลัง และมีลักษณะส้าคัญคือ หลังคา เป็นแบบเครื่องล้ายอง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสา ย่อมุมไม้สิบสอง บัวหัวเสาเป็นแบบบัวแวง มี คันทวย รับน้​้าหนักชายคา หน้า บัน เป็นเครื่องไม้แกะสลัก เช่น ลายพระนารายณ์ทรงครุฑ

30


“ สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม ” พระอุโบสถได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากแบบประเพณีนิยม และรับ อิทธิพลศิลปะจีนเข้ามาผสมผสาน เป็น “ แบบเก๋งจีน ” มี แผนผัง อาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ระเบียง รอบทั้ง 4 ด้าน และ มีลักษณะส้าคัญคือ หลังคา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ส่วน หน้า บัน เป็นงานก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายอย่าง จีน และมี เสาพาไล ขนาดใหญ่รับน้า้ หนักชายคา ไม่มีคันทวยและบัวหัว เสา

31


“ สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานศิลปะ ระหว่างแบบประเพณีนิยมกับแบบพระราชนิยม ” ลักษณะทางศิลปกรรมโดยรวมเป็นแบบ ประเพณีนิยม คือมีส่วน หลังคา เป็นเครื่องไม้มุง กระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน เป็น เครื่องไม้แกะสลัก ส่วนที่ปรับเปลี่ยนเป็นแบบพระ ราชนิยม คือ การใช้ เสาพาไล สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รับน้​้าหนักชายคา ไม่มีคันทวยและบัวหัวเสา


โบสถ์ซางตาครู้ส วัดซางตาครู้สหลังที่ 3 นี้ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบเรเนซองส์ แบบนีโอ-คลาสสิค เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนโครงสร้างวัดซางตาครู้สเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรปโบราณ คือ ใช้ผนังอาคารเป็นส่วนที่รับน้​้าหนักของหลังคา ใช้เสารับน้า้ หนักของฝ้าและเพดานโดยมีคาน ยึดหัวเสากับผนังไม่ให้หลุดออกจากกัน ฝ้าเพดานเป็นทั้งโครงสร้างและส่วนประดับไปในตัว ท้าให้สวยงาม โดยมีลักษณะเป็นคอนกรีตโค้งตามรูปเพดาน ช่องดาวเพดานหล่อเป็นช่องๆ ติดกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กให้โค้งตามรูป และไม่มีการตอกเสาเข็มแต่ใช้ระบบฐานแผ่

33


ฝ้าและเพดานตกแต่งลวดลาย เลียนแบบดาว ส่วนระเบียง ราวระเบียง หล่อ ด้วยซีเมนต์เป็นซี่ลูกกรงมุมทั้ง4ประดับด้วย หัวเสารูปคบเพลิง ส่วนบนสุดของโดมภายใน โปร่ง ยอดโดมท้าเป็นหอคอยขนาดเล็ก บน ยอดติดรูปไม้กางเขน ส่วนตัวอาคารเป็นทรงสี เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาทรงจั่ว ซุ้มหน้าต่างท้า เป็นซุ้มโค้งตกแต่งด้วยเส้นลวดบัวและลายปูน ปั้นเหนือซุ้มหน้าต่างเจาะช่องกระจกรูปครึ่ง วงกลมกรุกระจกสี เหนือซุ้มหน้าต่างเจาะเป็น กระจกรูปกลมและประดับด้วยกระจกสีต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือน Rose Window และ ประดับด้วยลวดปูนปั้นลายพวงมาลัย ปูพื้น ใหม่ด้วยหินแกรนิต



เรือนจันทนภาพ เรือนไทยเครื่องสับทรงจั่วจอมแหอายุ

กว่า 120 ปี กรอบหน้าบันเป็นลายอาทิตย์ อุทัย ตัวเรือนประกอบฝาถังโดยรอบ หย่อง หน้าต่างแกะสลักเป็ดลวดลายพุดตานเครือ เถาที่มีความงดงาม และประดับตกแต่งเรือน ด้วยเอกลักษณ์ของคาทอลิก ตัวเรือนท้าจาก ไม้สักทั้งหลังยกเว้นเสาที่ท้าจากต้นตะเคียน ตัวเรือนสามารถถอดประกอบได้


ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าเกียนอังเกงเป็นโครงสร้างหลังคาแบบจีนทางตอน

ใต้ ตัวโครงสร้างหลังคาของศาลเจ้ามีการลดหลั่นอย่างเห็นได้ชัดเจน ใช้ระบบเสาและคานรัด ภาษาจีนจะเรียกว่า “ฉวนโตว่ซือ” ระบบนี้เสา จะถูกวางเรียงไปตามทางลึกของอาคาร และระบบของโครงสร้าง หลังคาจะถูกสร้างจากการใช้คานรัดที่วางทะลุสอดผ่านเสาเพื่อเชื่อม เสาทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งคานนี้จะถูกวางเป็นชั้นๆลดหลั่นไปถึงยอด หลังคา โถงปากประตูทางเข้าศาลเจ้า ด้านบนเป็นคานไม้แกะสลัก เป็นเรื่องราวใน เรื่อง สามก๊ก อย่างประณีต ช่องบานหน้าต่างมีทรง กลมแกะสลักไม้ และงานปูนปัน ้ ประดับผนัง ภายในของศาลเจ้า มี การเปิดโถงกลางแจ้งตรงกลางอาคาร เพื่อให้ควันธูปลอยขึ้น ด้านบนอากาศถ่ายเทสะดวก



มัสยิดกูวติลอิสลาม มัสยิดกูวติลอิสลามนี้เป็นการ

สร้างในรูปแบบอนุรักษ์สถาปัตยกรรม อิสลาม-โหยหาอดีตรูปแบบอนุรักษ์ สถาปัตยกรรมอิสลามเป็นรูปแบบมัสยิด ที่สร้างโดยได้รับอิทธิพลจากรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมของอาณาจักรอิสลามใน อดีตอาทิออตโตมันซอฟาวียะฮ์ และโมกุล รูปแบบดังกล่าวถูกน้ามาใช้ในลักษณะ ของการหวนร้าลึกถึงความรุ่งเรืองใน อดีตเป็นพื้นฐาน ในการสร้างมัสยิดมี การให้ความส้าคัญกับรายละเอียดของ องค์ประกอบเชิงกายภาพในอดีตเช่นการ ท้าลวดลายเรขาคณิตบนผนังการ ประดับด้วยอักษรประดิษฐ์รูปทรงของ หลังคาและหออะซานหรือแม้แต่รูปทรง ของทิวเสาโค้งโดยมีการผสมผสานเข้า กับการใช้วัสดุหรือโครงสร้างสมัยใหม่


40


วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย มีหลังคาลด 2 ชั้น ด้านหน้าและด้านหลังมี

ประตูเข้าออกด้านละ 2 ประตู หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พระประธานในพระอุโบสถหล่อใน ปี 2371 อันเป็นปีที่เริ่มสร้างพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะปางมารวิชัย ประกอบด้วยพระพุทธลักษณะอันงดงาม พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูร วงศ์ ให้ช่างชาวไทยเป็นผู้หล่อ ได้ว่าจ้างช่างลงรักปิดทองมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกล่าวกันว่ามี ฝีมือและกรรมวิธีการปิดทองดีเยี่ยม มาปิดทองพระพุทธรูป และถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์ แรกที่น้าช่างฝีมือปิดทองเป็นชาวต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น

พระบรมธาตุเจดีย์เป็นพระเจดีย์ทรงกลม สัณฐานรูปโอคว่้า สูง 60.525 เมตร เส้น

ผ่านศูนย์กลาง 50 เมตร นับได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ และสูงที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ ฐานล่างส่วนนอกมีชอ่ งคูหาล้อมรอบพระเจดีย์ 54 คูหา มีชานเดินได้โดยรอบ ชั้นบนถัดจาก ช่องคูหาขึ้นไปมีพระเจดีย์เล็ก 18 องค์ ล้อมรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่อยู่

41


พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธนาคเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย เป็นวิหาร 5 ห้อง

หลังคาลด 2 ชั้น หน้าบันสลักลวดลายดอกไม้สวยสดงดงามและปิดทองประดับกระจก แพรวพราว มีซุ้มประตู 4 ประตู บานประตูประดับมุก พระวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย มีพระนามว่า พระพุทธนาค เป็นพระพุทธ ลักษณะสมัยสุโขทัย คือ มีพระรัศมีเปลวแต่ไม่มีไรพระสก ชายผ้ารัดประคตเป็นเขี้ยวตะขาบ และประทับนั่งขัดสมาธิราบ



เขามอ เขามอสร้างขึ้น ณ บริเวณด้านทิศ

ตะวันออกเฉียงเหนือของพระอารามมีขนาดยาว 48 เมตร ด้านกว้าง 42 เมตร สูง 30 เมตร โดย ได้แนวคิดมาจาก “หยดเทียนขี้ผึ้ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราช ทา หยดเทียนขี้ผึ้งนีเ้ กิดจากน้​้าตาเทียนที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจุด ขณะเมื่อประทับอยู่ในห้องสรง ภายในพระที่นั่ง จักรพรรดิพิมาน เมือ่ น้​้าตาเทียนหยดทับถมกัน เป็นเวลานานหลายปี จึงก่อรูปขึ้นมีลักษณะ เหมือนภูเขา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูร วงศ์จึงได้น้าเอารูปแบบของหยดเทียนขี้ผึ้งนี้ สร้างเป็นเขามอ ณ พระอารามที่ได้สถาปนาขึ้น ใหม่



CULTURE

ชุมชนกุฎจีน เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายปะปนกันอยู่มากมาย

เนื่องจากว่าผู้คนที่นี่มีวัฒนธรรม และนับถือศาสนาแตกต่างกัน ทั้งพุทธเถรวาท พุทธ มหายาน คริสต์และอิสลาม อีกทั้งผู้คนที่อยู่อาศัยก็มาจากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น ไทย จีน และโปตุเกส แต่ถึงจะมีผู้คนมาจากหลากหลายเชื้อชาติ ผู้คนในชุมชนก็รักใคร่กลม เกลียวอยู่กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมากกว่า 200 ปี โดยความ แตกต่างหลากหลายเหล่านี้ ก็ได้แสดงออกมาให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นในรูปแบบของ สถาปัตยกรรมที่งดงาม ที่เรียงรายตามเส้นทางสายวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ย่านกุฎีจีน”

46


NATIONALITY จีน ขาวจีนเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ที่อพยพมาในยุคแรกของการ

สร้างกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีน มาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือ คลองกุฎีจีนใกล้วัดกัลยาณมิตร โดยชาวจีนได้น้าศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร ที่มีการสืบทอด มาอย่างยาวนานเข้ามาเผยแพร่จนเห็นได้มากในปัจจุบัน

คริสต์ ชาวคริสต์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนกุฎีจีน เป็นชาวคริสต์ที่อพยพมาตาม

บาทหลวง ยาโกเบ กอรร์ (Jacgues corrre) มาจากเขมร และชาวคริสต์เชื้อสายโปรตุเกสที่ อพยพตาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาจากกรุงศรีอยุธยา


ไทย ชาวไทยมีวัฒนธรรมและประเพณีที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยไม่ว่าจะ

เป็น การไหว้ รอยยิ้ม ความมีมิตร ไมตรี และยังมีความโดดเด่นอีกหลายๆด้าน อาทิเช่น ภาษา อาหาร สถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นต้น

มุสลิม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ภายหลังสมเด็จพระเจ้า

ตากสินสถาปนากรุงธนบุรีและบางส่วนอยู่ในธนบุรีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะธนบุรี เป็นเมืองท่าจึงมีพ่อค้ามุสลิมมาอาศัยอยู่มาก ศูนย์กลางของมุสลิมในธนบุรี อยูบ ่ ริเวณ ปากคลองบางกอกใหญ่

48


ศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรพระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระ เจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่มาไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ผู้สืบทอดศาสนาคริสต์ก็คือพระ นักบวชหรือบาทหลวงที่ท้าหน้าที่เผยแพร่และไถ่บาปประจ้าอยู่ที่โบสถ์คริสต์


RELIGIOUS ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดามีพระธรรมที่พระบรม

ศาสดาตรัสรู้ตรัสไว้เป็นหลักค้าสอนส้าคัญ ชาวพุทธได้สร้างวัดและ ศาสนสถานไว้เพื่อ ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่เคารพนับถือและสร้างไว้เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้ที่เคารพนับ ถือมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล

ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่มีพระหรือนักบวช แต่มี “อิหม่าม” ซึ้งท้า

หน้าที่เป็นผู้นา้ ในการนมัสการพระอัลเลาะห์ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่นับถือพระผู้เป็น เจ้าเพียงองค์เดียว นั่นคือ พระอัลเลาะห์ ผู้คนที่นับถืออิสลามจะเรียกว่า “มุสลิม”

50


THE SPECIALS ชิม ชม เที่ยว


สิง่ ที่พิเศษในการท่องเที่ยวเส้นทาง

สายวัฒนธรรมในครั้งนี้ก็มีของขึ้นชื่อของ ชุมชมกุฎีจีนนัน ้ ก็คือ “ขนมกุฎีจีน” ที่มีมา มากกว่า 200 ปีมาแล้ว และก็ยังมีหลายๆ สถานที่และหลายๆสิง่ ที่เป็นสิ่งที่พิเศษใน เส้นทางสายวัฒนธรรมแห่งนี้

52



ขนมฝรั่งกุฎีจีน ขนมฝรั่งกุฎีจีน ขนมขึ้นชื่อย่านกุฎี

จีนที่สืบทอดกันมาหลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน มาเป็นเวลามากกว่า 200 ปี เป็นขนมต้น ต้าหรับจากโปรตุเกส ใครที่ผ่านไปมาเป็น ต้องลองชิมและซื้อกลับไปเป็นของฝากจาก กุฎีจีน เพราะขนมมีรสชาติที่เป็น เอกลักษณ์ คือมีความหอม หวาน กรอบ นอกนุ่มใน ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบตั้งเดิม(ชิ้นเล็ก) ที่ตัวขนม จะไม่มีการโรยหน้าและอีกแบบเป็นชิ้นใหญ่มี การโรยหน้าด้วยลูกเกด ลูกพลับ ชิ้นฟัก และน้​้าตาล ตัวเนื้อขนมจะแห้ง ฟู นุม ่ นวล ผิวด้านหน้าเคี้ยวกรุบๆด้วยเม็ดน้​้าตาล ด้วยความมีเอกลักษณ์ในรสชาติ ขนมกุฎี จีนจึงเป็นขนมที่มือชื่อเสียงและเป็นที่นิยม มายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้ และเป็นสิ่งที่ท้า รายได้ให้คนในชุมชน


พิพิธภัณฑ์พระ พิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร หรือ พรินทรปริยัติธรรมศาลา หอพรินทร

ปริยัติธรรมศาลาเคยเป็นห้องอ่านหนังสือสาหรับประประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น “พิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑคาร” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงศิลปะโบราณสถานวัตถุไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปโบราณ พระเครื่องที่ค้นพบใน กรุในพระบรมมหาเจดีย์ อีกทั้งยังค้นพบพระบรมสารีริกธาตุองค์ดั้งเดิมที่มีทองคาหุ้ม อยู่ที่ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จึงนับได้ว่าพิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑคารแห่งนี้ เป็นสถานที่พิเศษและมีความสาคัญอีกแห่งหนึ่งทีพ ่ ลาดไม่ได้ที่ควรไปเยี่ยมชม ถ้า เดินทางไปที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร




ศาลเจ้าพ่อเสือ หลังจากที่เดินเท้ามาจากศาลเจ้า เกียนอันเกง เพื่อไปดูศาสนสถานที่มัสยิดกูวติล อิสลาม ก็ได้แวะพักที่ศาลเจ้าพ่อเสือ ภายในศาลเจ้าพ่อเสือมีองค์พระและสิ่งศักดิสสิทธิสให้ กราบไหว้บูชา ภายในศาลเจ้ามีมังกร (หลงหรือเล้ง) หมายถึง พลัง อ้านาจ ความยิ่งใหญ่ และถือเป็นสัตว์สาคัญที่สุดของจีน และถ้าสังเกตที่เล็บของมังกรในศาลเจ้าพ่อเสือนั้นมี 4 เล็บ แต่หากเป็นจักรพรรดิ มังกรจะมี 5 เล็บ ขุนนางจะมี 4 เล็บ และสามัญชนจะมี 3 เล็บ เท่านั้น ที่ศาลเจ้ายังมีปืนใหญ่ที่ขุดพบในบริเวณแม่น้าเจ้าพระยาย่านกุฎีจีน



EXPLORE 60


MAP

61


62


เรื่องเล่า ริมฝั่ง ระหว่างทางที่ก้าลังเดินทางไปโบสถ์ซางตาครู้สได้สังเกตเห็น หินขนาดใหญ่ที่วาง

อยู่บนแพและเครื่องจักรมากมาย ซึ่งเขาก้าลังก่อสร้างทางให้กว้างออกไปอีก เพื่อเพิ่ม พื้นที่ในการเดินและใช้ส้าหรับปั่นจักรยานของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชม ชุมชนย่านกุฎีจีน หรือชุมชนละแวกนั้น เพื่อเป็นการท่องเที่ยวชมธรรมชาติริมฝั่งแม่น้า เจ้าพระยาและวัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้

63


ลัด เลาะ ริมฝั่ง

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ที่ผูกพันกับสายน้​้ามายาวนาน “เจ้าพระยา” แม่น้า

สายหลักเส้นนี้ช่วยหล่อเลี้ยงผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้าทั้งทางด้านการอุปโภค-บริโภค ด้าน เกษตรกรรม รวมถึงเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าต่างๆมากมาย ด้วยวิถีชีวิตที่อยู่ริม แม่น้าแห่งนี้ ผู้คนในชุมชนจึงอยู่ท่ามกลางความร่มรื่นของไม้พรรณนานาชนิด ท่ามกลาง ความสงบร่มเย็นของธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เรียกได้ว่าชุมชนกุฎีจีน นอกจากจะมีมรดก ทางวัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์ไว้แล้ว ยังมีความร่มรื่นของธรรมชาติที่อยู่ริมฝั่งแม่น้า เจ้าพระยาแห่งนี้ ที่สร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ ให้คนในชุมชนหรือผู้ที่มาเยี่ยมเยือนได้พบ เห็น และชื่นชมกับความสวยงามนี้ได้

64


เสน่ห์

ชุมชน


สิง่ ที่เห็นได้จากชุมชนนี้อีกอย่างหนึ่งก็

คือ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่อยู่กัน อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือพึ่งพาซึ่งกันและกัน เห็นได้จากสิ่งที่ผน ู้ ้าชุมชนได้เล่าให้พวกเราฟัง ว่า คนในชุมชนนีส ้ ามารถปรึกษาและคุยกันได้ ทุกเรื่อง เวลามีปัญหาหรือทุกข์ใจก็สามารถ น้ามาเล่าเพื่อปรึกษากันและกันได้ รวมไปถึง การสร้างบ้านที่ในชุมชนแห่งนี้มลี ักษณะพิเศษ คือ บ้านทุกบ้านจะมีหลังคาชิดก้าแพงกันเกือบ ทุกหลัง ซึ่งถ้าตามกฎหมายแล้วไม่สามารถ สร้างบ้านแบบนี้ได้ แต่ในชุมชนนี้ผู้คนสามารถ คุยกันและตกลงกันได้จึงไม่มีปัญหาในเรือ่ งการ เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ชุมชนนี้จึงเป็นชุมชนที่ ดีที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

66


67


MEE MAS

HE ER

คุณยาย เอี้ยง หรือ คุณยายปิยวรรณ ทองพิมพ์ มีพนี่ ้องรวมกัน 4 คน ส่วน

ยายเอี้ยงเป็นคนสุดท้อง เดิมภูมิล้าเนายายเอี้ยงเป็นคนจังหวัด ฉะเชิงเทรา ยายเอี้ยงเล่าว่า ยายย้ายเข้ามาอยู่ย่านกุฎีจีน ตั้งแต่ พ.ศ.2509 และคุณยายยังได้เล่าว่า สมัยก่อนพื้นที่ บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของเจ้าพระยามากมาย ลักษณะบ้านเป็นบ้านทรงไทยผสมผสานกับ วัฒนธรรมต่างประเทศ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ส่วนบ้านที่คุณยายอาศัยอยู่ได้ซื้อจากลูกคน สุดท้องของเจ้าพระยาเทพพระหลู สมัยก่อนบริเวณหน้าบ้านของคุณยายเป็นคลองน้​้า ขนาดใหญ่ ต่อมาในสมัยยุคการปกครองของท่านจ้าลอง ศรีเมือง ได้สร้างเขื่อนกั้นคลอง น้​้าท้าให้เรือไม่สามารถแล่นผ่านคลองน้​้าแห่งนี้ได้ ส่งผลกระทบให้ตลาดนกจอก ตลาดนก น้อย ที่เคยมีการค้าขายก็หายไป ทุกวันนี้คลองมีขนาดเล็กลงเนื่องจากมีการสร้างถนนทับ คลอง “ย่านนี้ชื่อย่านกุฏีจีนแต่ไม่ใช่คนจีนนะ” ยายเอี้ยงบอก อีกทั้งบริเวณนี้ยังมี วัด ประยูร วัดกุฎีจีน วัดกุฎีขาว และ วัดกัลยา ที่เราเครารพนับถือ


TRIP : KUDEEJEEN


MEMBER

นายธนศักดิ์ พร้อมสุข

นายพัทธพล ศิลากุล

นายวุฒิชัย สะผาย

นายสรวิชญ บัวสี

นายธนากร เขียวเหลือง

นายณัฐพล พิลึก

56080502422

56080502431

56080502446

56080502455

56080502475

56080502484

ภาควิชาครุศาสตร์โยธา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.