มหัศจรรยแหงใจ
"...จิตใจทีส่ ะอำด ปลอดโปร่งจำกสิง่ รบกวนนีส้ ำ� คัญมำก เพรำะเป็นจิตใจสงบ และ เยือกเย็น ท�ำให้บุคคลมีสติรู้ตัว มีควำมคิดเที่ยงตรงเป็นกลำง มีวิจำรณญำณละเอียด กว้ำงขวำง และถูกต้องตรงจุด ควำมคิดวิจำรณญำณทีเ่ กิดจำกจิตใจทีส่ งบนีม้ ศี กั ยภำพสูง อำจน�ำไปใช้คดิ อ่ำนสร้ำงสรรค์สงิ่ ทีจ่ ะอ�ำนวยประโยชน์สขุ ควำมเจริญก้ำวหน้ำ ตลอดจน ชื่อเสียงเกียรติคุณ อันเป็นสิ่งปรำรถนำของแต่ละคนให้สัมฤทธิ์ผลได้..." พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พิมพเปนธรรมบรรณาการ เนื่องในวันสงกรานต์ และหนังสือที่ระลึกในโครงการมหาชนทูลเกล้า ๘๔ พรรษา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แด...
กำรให้ธรรมะเป็นทำน ชนะกำรให้ทั้งปวง
มหัศจรรยแหงใจ-ทําอยางไรจะหายโกรธ ISBN : 978-974-672-602-3 ออกแบบปกและรูปเลม : ผูชวยศาสตราจารยนําชัย เติมศิริเกียรติ พิมพครั้งที่ ๑ : เมษายน ๒๕๕๔ จํานวน ๑๐,๐๐๐ เลม เนือ่ งในวันสงกรานต์ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๔ และหนังสือทีร่ ะลึกในโครงการมหาชน ทูลเกลา ๘๔ พรรษา ถวายเปนพระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว หนังสือธรรมะที่โครงการฯ ดําเนินการเผยแผ ๑. ชีวิตนี้สําคัญนัก โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ๒. วิธีสรางบุญบารมี โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ๓. คุณบิดา มารดา : สุดพรรณนา มหาศาล โดย พระพรหมคุณาภรณ ๔. ทําอยางไรจะหายโกรธ โดย พระพรหมคุณาภรณ ๕. เลาเรียน - ทํางานกันไปชีวิตไดอะไร โดย พระพรหมคุณาภรณ ๖. ชีวิตที่สรางสรรค สดใส และสุขสันต โดย พระพรหมคุณาภรณ ๗. อภัยทานรักบริสุทธิ์ โดย ปยโสภณ ๘. พลิกชีวิต ดวยพรจากฟา โดย ส.นําบุญ ๙. พุทธตํานานพระเจาเลียบโลก
ขอเชิญรวมพิมพ มหัศจรรยแหงใจ - ทําอยางไรจะหายโกรธ ครั้งที่ ๒ ถวายเปนพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ติดตอไดที่ : ผูชวยศาสตราจารยนําชัย เติมศิริเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ มช. โทร. 053-942130 ตอ 14, 081-5682612 E-mail : termsiri@hotmail.com โดยโอนเขาบัญชี : โครงการหนังสือธรรมะ ธรรมทาน
ธ.ไทยพาณิชย เลขที่ 667-269040-7 สาขา มช.
หนังสือเลมนี้ จัดพิมพดว ยเงินบริจาคของผูม จี ติ ศรัทธา เพือ่ เผยแผเปนธรรมทาน หากทาน ไดรบั หนังสือนีข้ อไดโปรดตัง้ ใจศึกษาใหเกิดประโยชนสงู สุดทัง้ แกตนเองและผูอ นื่ ดวยเทอญ พิมพที่ : โรงพิมพนันทพันธ ๓๓/๔-๕ หมู ๖ ถ.เชียงใหม-หางดง ต.แมเหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม ๕๐๑๐๐ โทร./แฟกซ ๐๕๓-๘๐๔๙๕๖, ๐๕๓-๘๐๔๙๐๘-๙ www.nuntapun.com
อนุโมทนา ในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้ ทาง โครงการหนังสือธรรมะ ธรรมทาน ได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ มหัศจรรย์แห่งใจ ท�ำอย่างไรจะหายโกรธ และ อภัยทาน-รักบริสทุ ธิ์ เพือ่ เผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ มหาชน และจัดท�ำเป็นหนังสือที่ระลึกมอบแด่ผู้บริจาคในโครงการมหาชนทูลเกล้า ๘๔ พรรษา และโครงการถวายค่าน�้ำค่าไฟ ๘๔ พรรษา ๘๔ วัด เพื่อน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนามของคณะกรรมการด� ำ เนิ น โครงการฯ ข้ า พเจ้ า ขอขอบคุ ณ และ ขออนุโมทนาสาธุการกับมหาชนทุกๆ ท่านทีม่ สี ว่ นร่วมสนับสนุนในการเผยแผ่ธรรม อย่างกว้างขวางในครั้งนี้ ตลอดจน ผู้บริจาค และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการด�ำเนิน โครงการฯ ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ ขอกุศลจริยาทีท่ า่ นได้บำ� เพ็ญบารมีในครัง้ นี ้ จงเป็นพละปัจจัย น�ำไปส่งเสริม เกื้อกูลให้ท่านและครอบครัว มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม มีดวงตา เห็นธรรม และเข้าถึงซึ่งมรรค ผล นิพพาน ในอนาคตกาลอันใกล้นี้ด้วยเทอญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์น�ำชัย เติมศิริเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานด�ำเนินโครงการ ฯ
ค ำ ส อ น ข อ ง พ อ
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ควำมเพียร การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างใน วันเดียว ต้องใช้เวลาต้องใช้ความเพียรต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่ส�าคัญ ที่สุดคือความอดทน คือ ไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้น ท�ามันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล คือดูมันครึท�าดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการท�าให้ดี ไม่ครึ ต้องมี ความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง ควำมพอดี ในการสร้างตัวสร้างฐานะนัน้ จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไปด้วย ความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดีไม่ทา� เกินฐานะและก�าลัง หรือท�าด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้วจึงค่อยสร้างค่อย เสริม ความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นล�าดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะ แน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน ควำมรู้ตน เด็กๆ ท�าอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอ จะท�าให้เป็นคนมี ระเบียบ และคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและท�าการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนทีส่ ร้างความส�าเร็จและความเจริญให้แก่ตนเองและ ส่วนรวม ในอนาคตได้อย่างแน่นอน คนเรำจะต้องรับและจะต้องให้ คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและ จะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วย เมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้อง พยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและ ในชาติ ท�าให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วย ที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้
อ่อนโยน แต่ไม่ออ่ นแอ ในวงสังคมนัน้ เล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงาม ส�ำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม พูดจริง ท�ำจริง ผูห้ นักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ท�ำอย่างนัน้ จึงได้รบั ความส�ำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วท�ำ คือ พูดจริง ท�ำจริง จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณ ของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและ ส่วนรวม หนังสือเป็นออมสิน หนังสือเป็นการสะสมความรูแ้ ละทุกสิง่ ทุกอย่าง ทีม่ นุษย์ ได้สร้างมา ท�ำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้ และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะท�ำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้ โดยแท้ ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึง ต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขนึ้ ในตนเอง เพือ่ จักได้เติบโตขึน้ เป็นคนดีมปี ระโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง การเอาชนะใจตน ในการด�ำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระท�ำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิด และความ ประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้า และบากบั่นที่จะกระท�ำสิ่งที่ เราทราบ ว่าเป็นความดีเป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันท�ำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค�้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลง ไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นล�ำดับ
6 มหัศจรรย์แห่งใจ
มหั ศ จรรย แ ห ง ใจ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ในใจของพระองค์ด้วยการก�าหนดสติเฝ้าดูกายดูใจอยู่ ตลอดเวลาโดยอาศัยป่าเป็นส่วนประกอบในการท�าความเพียรเพราะป่านัน้ เงียบสงบ ป่า คือ ป่า ป่าตรัสรู้ไม่ได้ ชาวป่าชาวเขาที่เกิดในป่า อยู่ในป่าจนกระทั่งตายในป่าก็ ไม่เห็นมีใครตรัสรู้ได้ ใจเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตรัสรู้ ธรรมะของพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่อง ของใจเท่านั้น นักปฏิบัติส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ความสงบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน บางครั้งมี โอกาสอยูก่ บั สถานทีส่ งบแล้ว ยังบอกว่าไม่สงบโดยโทษสิง่ ภายนอกว่า เพราะสภาพ แวดล้อมต่างๆ อันเป็นเสียงบ้าง บุคคลบ้าง สิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง คือต้นเหตุของความ ไม่สงบ จิตเกิดการผลักต้านปรากฏการณ์โดยไม่รเู้ ท่าทันจิตปรุงแต่งของตน จึงพยายาม ทีจ่ ะหนีไปให้ไกลจากสิง่ เหล่านัน้ อยากไปอยูใ่ นป่าในเขาทีไ่ กลๆ หรือในถ�า้ ทีเ่ งียบสงบ ซึ่งปราศจากผู้คน และเสียงต่างๆ ที่จะมารบกวนได้พยายามแสวงหาความสงบจาก สิง่ ภายนอกโดยเข้าใจเอาเองว่า ความสงบและไม่สงบนัน้ เกิดจากสิง่ ภายนอกเท่านัน้ ดังนัน้ จึงไม่สามารถพบความสงบทีแ่ ท้จริงได้สกั ที แม้จะพยายามหามานานแสนนาน ก็ยงั หาไม่เจอ นัน่ เพราะยังไม่เข้าใจและยังหาไม่ถกู จุดต่างหาก ขออธิบายว่า หากป่า นอกถ�้านอกจะสงบเงียบสักแค่ไหน แต่ป่าในถ�้าในคือจิตใจของท่าน ยังไม่ยอมเงียบ สงบ ป่านอกถ�้านอกก็หาจะเงียบสงบส�าหรับท่านไม่ เพราะความสงบหรือไม่สงบ ที่แท้จริงนั้น เกิดจากข้างใน คือจิตของท่านต่างหากที่เป็นต้นเหตุ หากจิตภายใน ไม่สงบทุกที่ก็ไม่สงบ หากที่นี่คือใจไม่สงบ จะอยู่ที่ไหนๆ มันก็ไม่สงบ จริงไหม
มหัศจรรย์แห่งใจ
ดังนัน้ ท่านจะต้องท�ำใจด้วยการรู้ แล้วปล่อยไปเท่านัน้ ดังเช่น ธรรมชาติของ น�้ำ คือน�้ำที่ไม่ไหลขังไว้ย่อมเน่าฉันใด จิตที่รู้เรื่องอะไรแล้วไม่ยอมปล่อย ย่อมทุกข์ ฉันนั้น และธรรมแท้นั้นเป็นกลางๆ ใครปล่อยวางได้ก็สบาย เมื่อรู้ความจริงแล้วว่า เหตุเกิดแห่งความสงบ และไม่สงบ นั้นอยู่ที่ใจก็จง แสวงหาป่าใจถ�้ำใจให้พบเถิด ด้วยการมีสติจับรู้อยู่แต่ปัจจุบัน ภายในกายภายในใจ ตนเท่านัน้ ไม่ตอ้ งคิดอยากท�ำสมาธิให้เจริญสติอยูก่ บั ปัจจุบนั ให้ได้ตลอดสายเท่านัน้ ผลนั้นก็จะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาเองในที่สุด เพราะสมาธิคือผลจากการเจริญสติ ต่างหาก จงแสวงหาสติเถิดเพื่อให้เกิดเป็นสมาธิ อันเป็นจิตหนึ่งจริงๆ คือความสงบ ที่แท้จริง จงพยายามท�ำใจให้สงบเหมือนป่า คือท�ำใจให้เป็นป่าใจหรือการท�ำใจให้ เป็นสมาธิ คือจิตสงบนั่นเอง และจะต้องท�ำใจให้สงบได้ในทุกที่ด้วย โดยไม่จ�ำกัด สถานที่ทางภายนอก เมื่อใจเกิดเป็นสมาธิได้แล้วคือพบจิตเงียบได้แล้ว ความเย็น สบายทั้งกายใจย่อมจะปรากฏขึ้นเองภายในนั้นตลอดเวลา เพราะมันเป็นผล ของความเงียบ ดังเช่น นักมวยที่ฝึกซ้อมกระสอบทรายจนช�ำนาญ มันเป็นการชก ฝ่ายเดียวโดยไม่มกี ารต่อสูข้ องฝ่ายตรงข้าม ยังไม่เจอของจริง ผลนัน้ จึงดูเหมือนเป็น ผู้ชนะอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับการนั่งหลับตาท�ำสมาธิ พอจิตสงบก็ลืมทุกข์ไปชั่ว ขณะหนึ่ง มันเป็นการลืมทุกข์หรือศิลาทับหญ้า ยังมิใช่การดับทุกข์ที่แท้จริง เพราะ พอออกจากสมาธิเจอผัสสะ (สิ่งทีี่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็เกิดทุกข์ ได้อีกของจริงต้องดับกันตรงผัสสะข้างนอกทันทีที่กระทบก็จบลงแค่นั้น ทุกข์จะ ไม่สามารถเข้าถึงใจได้เลยจึงจะใช่ ดังนัน้ ผลแท้ๆ จะพิสจู น์ได้ตอ่ เมือ่ เจอผัสสะขณะลืมตา คือการอยูก่ บั ชีวติ จริงๆ หรือการขึ้นชกบนเวทีชีวิตอีกที จะต้องพบคู่ต่อสู้ทั้งนอกใน ในลีลาต่างๆ ที่โต้ตอบ
7
8 มหัศจรรย์แห่งใจ
มาให้ได้ทันจริงๆ การชกในที่นี้มิใช่หมายถึงการต่อสู้ชกตีทางกายภายนอกกับใคร แต่หมายถึงสติปญ ั ญาทีต่ อ่ สูห้ ำ�้ หัน่ กับกิเลส คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ทเี่ กิดขึน้ ภายในจิต ของตนเท่านั้น และสมาธิตัวแท้ๆ คือสมาธิธรรมชาติหรือความปกติของจิต จิตนิ่ง หรือจิตเงียบนั้นจะต้องมีอยู่ภายในจิตตลอดเวลา มีอยู่ในทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตา ลืมตาก็มีอยู่ โดยมิใช่ต้องมานั่งหลับตาท�ำสมาธิขณะที่เจอผัสสะอีก แต่มันกลับเป็น สมาธิตัวตื่นจริงๆ ของธรรมชาติจากภายในที่มาท�ำเรา มารักษาเรา เมื่อก่อนเราท�ำ สมาธิ แต่เดี๋ยวนี้สมาธิกลับมาท�ำเราคือ สมาธินั้นกลับมารักษาเราอยู่ตลอดเวลา พอท�ำถึงจุดนีแ้ ล้ว เราจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องอาศัยสติปญ ั ญานอก คือ พระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เข้าช่วยในการค้นคิดพิจารณาด้วย เพือ่ ให้เกิดปัญญาในการ ปล่อยวางอีกที คือ ปัญญาในปัญญา จนกระทั่งมันเกิดเป็นปัญญาภายในตัวแท้ๆ ที่ ปล่อยวางได้เองโดยอัตโนมัติ ทันทีทรี่ ู้ ทีเ่ จอผัสสะ ก็จบลงตรงนัน้ โดยไม่ตอ้ งกลับมา นั่งท�ำปัญญา คือ การค้นคิดพิจารณาอีกต่อไป จึงจะใช่ของจริง การปฏิบัติธรรม เมื่อจิตเป็นสมาธิได้อย่างมั่นคง เห็นชัดเจนจนมั่นใจในตน จริงๆ แล้ว ควรจะทดสอบตัวเองด้วยการอยู่กับทุกปรากฏการณ์ให้ได้ คือ อยู่กับทุก สถานที่ ทุกบุคคล ทุกผัสสะ ทั้งที่ดีและไม่ดี ชอบและไม่ชอบ หยาบและละเอียด ในบ้าน ในเมือง ในป่า ให้ได้ด้วย หากใช่จริงในทุกที่ จิตก็มิได้หวั่นไหวต่อดีชั่ว ชอบ ไม่ชอบ หยาบหรือละเอียด บ้านหรือป่า มันจะไม่มีทั้งบ้านทั้งป่าเพราะมันรู้ว่าทุกที่ เป็นสักแต่ว่าที่อยู่อาศัยเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรเลยจริงๆ ส่วนทางใจภายในจะไม่เป็นอะไรเลย อยูก่ บั ทุกข์ได้โดยใจไม่ทกุ ข์ ทางกายเป็น ธรรมดาเน้นที่ใจเท่านั้นเป็นส�ำคัญ ข้างนอกเป็นเพียงลีลา ไม่มีอะไร อยู่กับกิเลสได้ โดยใจไม่มีกิเลส เพราะกิเลสคือเหตุแห่งทุกข์นั้น จะไม่สามารถย้อนกลับมาสู่ใจได้ อีกเลย หากเหตุนั้นเคยดับไปแล้ว ด้วยปัญญาเห็นแจ้งในจิตตนจริงๆ ซึ่งตนเท่านั้น
มหัศจรรย์แห่งใจ
ที่จะรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตน อันเรียกว่า ปัจจัตตัง ผู้อื่นไม่มีใครจะรู้ได้ดีเท่าตนรู้ ตนเห็นตน เพราะธรรมแท้ๆ เป็นเรื่องของตนในที่สุด จิตจะมีแต่รู้ที่ปกติ รู้ที่ไม่มี ไม่เป็นอะไร รู้ที่ไม่ทุกข์ รู้ที่อิสระสบาย รู้ที่ไม่ติดไม่ข้อง รู้ปล่อยเท่านั้นเอง สมาธิหรือจิตสงบนั้น สามารถที่จะท�ำได้ ๒ อย่าง คือ ทั้งในอิริยาบถนั่ง และ อิริยาบถเคลื่อนไหวและท�ำได้ในทุกท่า โดยไม่จ�ำกัดท่าใดๆ ด้วยเพราะใช้ใจท�ำ ใช้กายเป็นสถานที่ท�ำ คือใช้ใจจับดูกายเท่านั้น กายจะอยู่ท่าไหนก็ได้ เพียงแต่ให้ พยายามสนใจดูตวั เองว่า ปัจจุบนั นี้ เดีย๋ วนี้ ขณะนี้ กายเรา ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ก�ำหนด ย�้ำความรู้สึกนั้นลงไปอีกที่ว่า ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ข้อส�ำคัญ...ให้ย�้ำความรู้สึกอีกครั้ง ซ�้ำลงไป เรียกว่ารู้ในรู้ หรือสติสัมปชัญญะก็คือตัวนี้แหละ มันจะเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวอย่างไร ก็ให้ก�ำหนดรู้ตามปัจจุบันขณะนั้นอยู่เสมอ คือให้ใจรู้กาย ให้ สังเกตดูว่า ทุกเหตุการณ์ท�ำแล้วผลนั้นจะเป็นอย่างไร สุขหรือทุกข์หรือเฉยๆ มันมี อาการอย่างไรบ้าง ก็ให้รับรู้ดูไว้ ให้ระวัง จิตอกุศล จิตผลักต้าน จิตทุกข์ ตัวนี้จะ เกิดขึ้นด้วยคือหากเขาผิดพลาด ก็อย่าซ�ำ้ เติมเขา รังเกียจเขา ดูถกู เหยียดหยามเขา ความผิดพลาดย่อมมีเป็นธรรมดาแก่ทุกคน สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม หลักที่กล่าวมานี้ คือ แนวการฝึกสมาธิในอิริยาบถเคลื่อนไหว หรือสมาธิใน ชีวิตประจ�ำวัน สมาธิธรรมชาติธรรมดาก็ได้ เรียกว่าอะไรก็ได้ ไม่ส�ำคัญต่อชื่อที่เรียก เพราะไม่ยดึ รูปแบบ ไม่ยดึ สถานที่ ใช้กายตนเองเป็นสถานทีใ่ นการท�ำ ใช้ใจเป็นผูท้ ำ� ท�ำข้างในคือท�ำใจ ปล่อยข้างนอกคือปล่อยกายตามปกติธรรมชาติธรรมดาในชีวิต ประจ�ำวันของตน ในทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหว จะอยู่ ณ สถานที่ใดจะอยู่ใน รูปแบบไหน หมายถึงจะแต่งตัวอย่างไหนก็ไม่ส�ำคัญ ไม่เป็นอุปสรรคของการปฏิบัติ ตามสบาย ส�ำคัญตรงใจเท่านั้น แม้จะท�ำการงานอาชีพอะไร จะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ผู้ใหญ่ คนแก่ หรือเด็ก คนชาติไหน ภาษาไหน หากเข้าใจหลักนี้ก็ท�ำได้หมด
9
10 มหัศจรรย์แห่งใจ
เป็นทางอันอิสระจริงๆ อีกทัง้ ไม่กำ� หนดเวลาใดๆ ด้วย ท�ำเมือ่ ไหร่กใ็ ช่เมือ่ นัน้ ไม่ท�ำก็ไม่ใช่ หมายถึงท�ำได้ทุกอย่างที่จิตอยากท�ำ ไม่จ�ำกัดเวลาใดๆ ทั้งสิ้น ท�ำได้ ทุกเวลาทุกนาทีทุกชั่วโมง แม้ไม่รู้เวลาก็ท�ำได้ อยู่ที่ ท�ำ เท่านั้นแหละ ส่วน....สมาธิในอิรยิ าบถนิง่ หรืออิรยิ าบถเดียว คือการทีเ่ ราอยูใ่ นท่าใดท่าหนึง่ นานๆ จะเป็นนั่ง ยืน นอน ก็ได้ แต่ส่วนมากโดยทั่วไปจะใช้วิธีนั่งเป็นหลักในการ ปฏิบัติ เช่น การนั่งหลับตานิ่งอยู่ในท่าเดียวนานๆ ไม่เคลื่อนไหวไปไหน ดังที่มีชื่อ เรียกกันอยู่ทั่วไปว่า การนั่งสมาธิ ซึ่งจะใช้ความรู้สึกอันเรียกว่า สติหรือใจก็ได้ ตาม แต่จะเรียก เพราะมันจะมารวมรูอ้ ยูท่ ใี่ จอีกทีในทีส่ ดุ มาคอยเฝ้าสังเกตจับดูลมหายใจ ภายในร่างกายของตนว่า ขณะปัจจุบันนี้มันเป็นอย่างไร เข้าหรือออกก็ให้รู้ โดยใช้ วิธีก�ำหนดชื่อย�้ำความรู้สึกเอาไว้ เช่น เข้าก็รู้ ออกก็รู้ หรือเข้าว่า พุท ออกว่า โธ ก็ได้ จึงขอถือโอกาสเปิดทางให้กับทุกๆ คนเลือกเอาเองด้วยการอธิบาย ณ ที่นี้ ด้วย เพือ่ ความเมตตาจากใจจริง ต่อผูใ้ ฝ่ใจในธรรมทุกๆ ท่าน ขอทุกท่านอย่าเพิง่ เชือ่ โปรดน�ำไปพิจารณาให้เห็นจริงเสียก่อนจึงค่อยเชือ่ การได้ยนิ อะไรแล้วเชือ่ ทันทีหรือ ปฏิเสธทันทีนั้นคือจิตที่ไม่เป็นกลาง เป็นจิตยินดียินร้าย จิตดูดรั้งหรือผลักต้านเสีย แล้ว และจิตทีส่ ง่ ออกไปเรือ่ งโน้นเรือ่ งนี้ อันเป็นเรือ่ งในอดีต หรืออนาคตทีย่ งั มาไม่ถงึ จิตจะเกิดความคิดวิตกกังวลจนเป็นทุกข์เสมอ หากจิตนั้นตั้งมั่น รู้อยู่ภายในกายภายในใจอันเป็นปัจจุบันที่รู้จริง แล้ว จิตจะ เกิดความสงบ ปกติ โปร่ง ว่าง เบาสบาย พอก�ำลังสติมันเต็มรอบ มันเกิดปัญญา อันเป็นความรู้แจ้ง คือตื่นและอิสระเบิกบานในสิ่งที่รู้นั้นทันที มันจะเกิดปัญญาแห่ง ธาตุรู้ ทีจ่ ะรูว้ า่ เหตุทกุ ข์แท้ๆ นัน้ เกิดตรงไหน เกิดจากอะไร ท�ำไมมันถึงเกิด แก้อย่างไร ควรจะท�ำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ได้สิ้น มันจะบอกเองหมด จากภายในจิตใจของใคร ของมันอีกที มันจะเป็นทั้งผู้สอนผู้เรียนและผู้ตัดสินต่อผลนั้นทั้งหมด แปลกจริงๆ เรียนเอง สอนเอง รู้เอง มันเป็นการรู้จากภายในสู่ภายนอก เป็นรู้จริง รู้แท้ ที่ได้ พบเห็น ได้สัมผัสถึงจริงๆ ด้วยการกระท�ำของตนเอง ธรรมแท้เป็นเรื่องตัวเอง ต้อง
มหัศจรรย์แห่งใจ
พึ่งตนเองจริงๆ ต่อการดับทุกข์ทางใจ ด้วยปัญญาจากใจภายในของตนเองจริงๆ อันเกิดจากการกระท�ำที่ถึงจุดของมันเท่านั้น จึงจะดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ดับสนิท จริงๆ ไม่มีส่วนเหลือ สรุป....ข้อส�ำคัญ ธรรมที่ดับทุกข์ได้จริงจะต้องออกมาจากภายในจิตใจของ ใครของมัน แล้วมาตรงกับข้อบัญญัติหรือพระธรรม หรือพระไตรปิฎก เท่านั้นจึงจะ ใช่ในที่สุด การฝึกสมาธินั้นควรฝึกให้ได้ในทุกท่าใหม่ๆ จะเอาท่าไหนก่อนก็ได้ตาม ถนัดตามสบาย ไม่มีผิดไม่มีถูกอะไร ถนัดอย่างไหนก็เอาอย่างนั้น ส�ำคัญคือ ดูจิตตน ต่อการกระท�ำนั้นๆ ว่าท�ำอย่างไรจิตสงบเร็ว สงบนานเป็นใช่หมด ให้พยายามท�ำไป เรื่อยๆ จนช�ำนาญ แล้วลองเปลี่ยนไปจับอิริยาบถอื่นดูบ้าง หากเกิดความเบื่อหน่าย หรือเกิดความช�ำนาญแล้ว ลองเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ดูอีกที โดยพยายามให้จิตใจจับ อยูภ่ ายในกายภายในใจ ให้ทนั กับปัจจุบนั ทีเ่ กิดขึน้ เท่านัน้ เอง นีค่ อื มรรค ธรรม หรือ ทางสูค่ วามพ้นทุกข์ทางดับทุกข์จริงๆ จุดเกิดของปัจจุบนั นัน้ ไม่จำ� กัดเฉพาะจุดใดจุด หนึ่งตายตัวมันจะเกิดได้ทุกจุดตั้งแต่หัวถึงเท้า คือเกิดได้ในทุกส่วนของร่างกายเรา และภายในจิตใจของเรานี่แหละ รู้ตรงไหนก็ก�ำหนดรู้ตรงนั้นเท่านั้นเอง ซึ่งมันจะ ไม่ตายตัวเสมอไป หากไม่ออกนอกกายนอกใจตน ไปปรุงเป็นเราเป็นเขาแล้ว เป็นถูกต้องหมด ไม่ต้องลังเลสงสัยอะไร ให้ท�ำเรื่อยๆ อย่าใจร้อน อย่าหวังผล อย่าท้อถอย ท�ำเท่านั้น ก็ถึงเองในที่สุด ไม่มีขอบเขตเวลาในการปฏิบัติ ท�ำก็ถึง ไม่ท�ำก็ไม่ถึง ถึงเมื่อไหร่ก็รู้ เมื่อนั้น ซึ่งตนเองนั่นแหละจะรู้ก่อนใครหมด อดีต....ฉันวิ่งหาความทุกข์ทาง ภายนอก ต่อมาฉันพบความทุกข์ที่แท้จริงนัน้ อยู่ภายในใจฉันเอง เมื่อฉันพบแล้ว ฉันจึงหยุดวิ่งหาอีกต่อไป อยู่อย่างปกติธรรมดานั่นเอง หากบุคคลใดปฏิบัติธรรม แล้ว กลับทุกข์กังวลใจมากกว่าเดิม นั่นแสดงว่าเกิดการเข้าใจผิดในการปฏิบัติธรรม ทีภ่ าษาธรรมเรียกว่า เกิดมิจฉาทิฐิ แล้วนัน่ เอง ขออธิบายว่า การปฏิบตั ธิ รรมนัน้ มิใช่
11
12 มหัศจรรย์แห่งใจ
การปฏิบตั เิ พือ่ ได้อะไร มันเป็นไปเพือ่ ความออกจากทุกข์ใจต่างหาก เป็นเรือ่ งตนเห็น จิตตน ซึ่งภาษาธรรม เรียกว่า ปัจจัตตัง หมายถึง ปฏิบัติไปๆ ตนจะเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง อารมณ์ยินดี ยินร้ายที่เคยมีอยู่ในจิตตนนั้น มันจะค่อยๆ ลด ลงไปๆ ในขณะเดียวกัน ความทุกข์ใจก็จะค่อยๆ น้อยลงๆ ความเป็นอยู่ก็จะง่ายขึ้น ไม่ยึดมั่นเหมือนก่อน หากความโลภ ความโกรธ ความหลง ลดลงมากเท่าไร ทุกข์ก็ จะลดลงมากเท่านั้น หมดเมื่อไรก็หมดทุกข์เมื่อนั้น ธรรมแท้มไี ม่มาก มีทกุ ข์ หรือ ไม่ทกุ ข์ เท่านัน้ หมายถึงใจเป็นส�ำคัญ รู้ (ธรรม) ก็ไม่ทุกข์ ไม่รู้ (ธรรม) ก็ทุกข์ การปฏิบัติธรรม มิใช่เพื่อความได้ความมีหรือความเป็นใดๆ ทั้งสิ้น จุดหมาย แท้เพื่อความไม่ทุกข์ใจอย่างเดียวเท่านั้น ในที่สุดของการปฏิบัติ คือ อยู่กับกิเลสได้โดยใจไม่เป็นทาสของกิเลส อยู่กับทุกข์กาย โดยไม่ทุกข์ใจ อยู่กับงานวุ่นโดยใจไม่วุ่น อยู่กับการรีบด้วยใจสบาย อยู่กับความสมหวังและความผิดหวังได้โดยใจไม่ทุกข์อีกต่อไป อยูก ่ บั โลกได้ดว้ ยใจเป็นธรรม กายส่วนกาย ใจส่วนใจ แต่อาศัยกันอยูเ่ ท่านัน้ เอง อยู่กับหน้าที่โดยไม่ยึดหน้าที่ เพียงแต่จะท�ำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุดเท่าที่ตน จะท�ำได้ในขณะปัจจุบันนั้นเท่านั้นเอง ที่ท�ำไม่ได้ก็ปล่อยไป จิตนั้นพร้อมที่จะท�ำหรือหยุดได้โดยไม่ทุกข์ใจ หมายถึง เมตตาและอุเบกขา เสมอกัน ท�ำก็ได้ หยุดก็ได้ อย่างไรก็ได้ ไม่ทุกข์ใจเท่านั้น อิสระสบายจริงๆ ในจิตตน ผูใ้ ฝ่ใจทัง้ เพศบรรพชิตและฆราวาส ส่วนมากมีศรัทธาในการตัง้ ใจปฏิบตั ธิ รรมกันอยู่ ไม่น้อย และต่างก็มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมกันมากมาย แต่หลักแห่งการ ปฏิบัติจริงๆ นั้น ยังไม่มี ยังจับไม่ได้ ยังไม่เข้าใจ ยังไม่รู้จะเริ่มต้นท�ำกันตรงไหน
มหัศจรรย์แห่งใจ
อย่างไร จึงพยายามทีจ่ ะแสวงหาส�ำนักปฏิบตั ธิ รรม แสวงหาความรูจ้ ากต�ำหรับ ต�ำรา บ้าง แสวงหาในคัมภีร์พระไตรปิฎกบ้าง ด้วยเข้าใจว่าพระธรรมแท้อยู่ ณ ที่นั่นในนั้น ขออธิบายว่า นั่นเป็นธรรมภายนอก เป็นหลักเพื่อให้รู้ให้เข้าใจ ดังเช่น การรู้ และเข้าใจในแผนที่เท่านั้น ยังมิใช่ของจริง หากท่านยังมิได้ลงมือเดินทางด้วยตัวเอง จริงๆ แล้ว แผนที่หรือความรู้นั้นก็ไม่สามารถจะน�ำท่านไปถึงจุดหมายปลายทาง ที่แท้จริงได้ ดังนั้น ธรรมแท้ๆ จะต้องเกิดขึ้นที่ตัวเรา อันเป็นธรรมภายในต่างหาก หมายถึงจะต้องเริ่มต้นเดินทางด้วยตนเองจริงๆ อีกที คือต้องกระท�ำที่ตนเองอีกที นั่นเอง หลักแท้ๆ ของการปฏิบตั ธิ รรม มีจดุ เริม่ ต้นอยูท่ ปี่ จั จุบนั ทุกขณะของปัจจุบนั ที่รู้สึกตัว คือจุดเริ่มต้นทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง เช่น ขณะนี้เราก�ำลังอ่านหนังสืออยู่ รู้และ เข้าใจก็คอื จุดเริม่ ต้นแห่งความเข้าใจ เมือ่ รูแ้ ละเข้าใจแล้ว เราจะต้องมีความตัง้ ใจด้วย คือตัง้ ใจทีจ่ ะปฏิบตั จิ ริงๆ ก็ตอ้ งมีปจั จุบนั แห่งการปฏิบตั อิ กี หมายถึงการกระท�ำ ขอให้ เข้าใจว่า ธรรมแท้ๆ จะต้องมีสติรู้อยู่ภายในกาย ภายในใจตนเท่านั้นจึงจะใช่ และรู้ นัน้ จะต้องเป็นรูข้ องปัจจุบนั ด้วย เช่น ตืน่ เช้าขึน้ มา พอรูส้ กึ ตัวก็ให้เรามีสติ คือมีความ รู้สึกตัว ย�้ำความรู้สึกลงไปอีกที ด้วยการรู้การกระท�ำที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในใจ ตน หรือการตามดูกาย ตามดูใจตน สนใจดูการเคลื่อนไหวของกายว่า ปัจจุบันนั้น กายเกิดอะไรขึ้น มันเป็นอย่างไร สุข หรือทุกข์ มันท�ำอะไรก็ให้ตามดูตามรู้ อาการ อันเป็นการกระท�ำทีเ่ คลือ่ นไหวของมันไปเรือ่ ยๆ เมือ่ ท�ำแล้วภายในจิตใจเกิดอาการ อย่างไร ยินดี ยินร้าย ก็ให้รู้ทันปัจจุบันของอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจตนด้วย ดูใจ และ อารมณ์ของใจ ที่เกิดขึ้นด้วย สติ จึงจะเป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็น หรือพุทโธ ก็คือตัวนี้แหละ พยายามจับปัจจุบนั ทัง้ กายและใจให้ทนั จริงๆ คอยสังเกตดูวา่ เหตุเกิดนัน้ เกิด จากไหน จากกายสู่ใจหรือจากใจสู่กาย มันสัมพันธ์กันอย่างไร ท�ำไมจึงเป็นเช่นนี้ ก็ ให้พยายามเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น และค้นคิดพิจารณาหาสาเหตุอันเป็นจุดเริ่มต้น คือ
13
14 มหัศจรรย์แห่งใจ
เหตุที่แท้จริงของมันให้ได้ เพราะธรรมะเป็นเรื่อง โอปนยิโก คือการรู้ตน เห็นตน ท�ำตน การเฝ้ารูก้ ายรูใ้ จภายในของตนอยูเ่ สมอในทุกอิรยิ าบถ ทุกการกระท�ำ พูดคิด ในขณะปัจจุบันที่ตนรู้ตนอยู่เสมอนั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง หากรูภ้ ายนอกกายนอกใจของตนแล้ว ยังมิใช่ธรรมแท้ๆ นัน่ เป็นธรรมภายนอก อันเป็นธรรมสมมุติอยู่ ธรรมแท้จะต้องอยู่ภายในเท่านั้น คือภายในใจของใครของ มัน หากรูธ้ รรมภายในอันเป็นเหตุแท้ๆ ได้หมดได้จริงเมือ่ ไร ก็สามารถรูธ้ รรมภายนอก อันเป็นผลได้ด้วย เพราะธรรมภายในเป็นเหตุเป็นตัวจริง ส่วนธรรมภายนอกนั้น เปรียบเหมือนเงา การวิง่ ไล่จบั เงาอันเป็นธรรมภายนอก แม้จะวิง่ ไล่จบั สักเท่าไรก็ไม่สามารถจะ จับได้อย่างแน่นอน หากจิตไม่รู้เท่าทัน เกิดหลงยึดก็จะเป็นอุปาทานได้อีกเช่นกัน ดังนัน้ หากจับธรรมภายในอันเป็นตัวจริงได้แล้ว เงาอันเป็นธรรมภายนอก ก็จะรูเ้ อง เพราะมันเป็นผลสะท้อนจากธรรมภายในที่เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง ธรรมภายนอกก็เกิดจากธรรมภายในนี่แหละที่เป็นเหตุ เมื่อรู้ธรรมภายในใจ ตนแล้ว ก็จะรูธ้ รรมภายนอกได้หมดเช่นกันทีเ่ รียกว่าโลกะวิทู (ผูร้ แู้ จ้งโลก) นัน่ แหละ คนส่วนมากมักจะถามว่า การปฏิบตั ธิ รรมนัน้ จะต้องใช้เวลาในการนัง่ หลับตาภาวนา นานสักเท่าไร โดยเข้าใจเอาเองว่า การนั่งหลับตาได้นานๆ คือผลของการปฏิบัติหา ใช่ไม่ การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นเรื่องของจิตใจ มิใช่ว่าจะนั่งนาน หรือไม่นาน นั่นมิใช่ ผลที่จะน�ำมาเป็นเครื่องตัดสินได้ ส�ำคัญอยู่ที่ว่าในการนั่งแต่ละครั้งนั้น จิตตนสงบ ไหม จิตตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันได้จริงไหม ต่างหาก บุคคลใด แม้นั่งได้นิดเดียว หรือนั่งได้นานก็ตาม แต่จิตสงบได้ตลอดสาย นั่นดีมาก
มหัศจรรย์แห่งใจ
บุคคลใด นั่งได้นาน แต่จิตสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง นั่นดีพอใช้ บุคคลใด นั่งได้นานๆ แต่จิตไม่สงบเลย นั่นยังใช้ไม่ได้เลย
การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่เกี่ยวกับกาลเวลา เป็นอกาลิโก เหนือกาลเวลา ไม่มี ก�ำหนดระยะเวลา เหมือนการเรียนของโรงเรียนในทางโลก ซึง่ จะต้องมีกำ� หนดเวลา ว่าเรียนกีป่ จี บ ขออธิบายว่า จุดหมายปลายทางคือระยะทางเดินนัน้ ยาวเท่ากันหมด ทุกคน หมายถึง ให้จิตนั้นออกจากความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ได้ ให้หมดสิ้น ใครพยายามละความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้มากกว่า ได้บอ่ ยกว่า ก็อสิ ระก่อน ใครขยันเดินก็ถึงก่อน ใครเดินบ้างหยุดบ้างก็ถึงช้า ใครไม่เดินก็ไม่ถึง สิทธิ์ใครก็สิทธิ์มันรีบเร่งกันให้ไวไว ใครมีสิทธิ์ได้ขอเพียงให้ดูดี ใครเพียรย่อม ถึงก่อน ใครผัดผ่อนย่อมโศกี เพราะว่าชีวิตนี้มิรู้ที่ตายเมื่อไร การอยู่กับลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญ ได้ นั่นเป็นเรื่องธรรมดา การอยู่กับ ความสิ้นลาภ สิ้นยศ สิ้นเกียรติ สิ้นสรรเสริญ อีกทั้งมีค�ำต�ำหนินินทา ได้อย่างปกติ นั่นคือธรรม หลักของการปฏิบัติธรรมนั้น ให้ท�ำสติ มิใช่ท�ำสมาธิ เพราะสมาธิคือผลที่เกิด จากการท�ำสติแล้วต่างหาก ตัวสตินั่นแหละคือมรรค หรือเหตุที่ควรท�ำ ขอให้เข้าใจ ให้ถกู ต้องด้วยว่า จงท�ำสติ คือมีความรูส้ กึ ตัว สัมปชัญญะ คือรูต้ วั ทัว่ พร้อมอยูภ่ ายใน กายในใจตน ตั้งแต่หัวถึงเท้า หรือรู้กายรู้ใจตนก็ได้ และสติก็ไม่จ�ำกัดสถานที่ตายตัว ว่า จะต้องรู้อยู่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายเท่านั้น สติตัวแท้ๆ จะต้องเป็นสติ ตัว รู้ตื่น คือมันจะวิ่งได้รอบตัว ปัจจุบันเกิดตรงไหน สติรู้ตรงนั้นทันที หากเป็นตัว สติที่สมบูรณ์คือตัวมหาสติ จะเป็นเช่นนี้
15
16 มหัศจรรย์แห่งใจ
มหาสติ จะเกิดขึน้ ได้เฉพาะผูท้ เี่ จริญสติอยูก่ บั ปัจจุบนั ได้ตลอดสายจริง ๆ จน ช�ำนาญแล้วเท่านัน้ และสติทเี่ ป็นปัจจุบนั จริงนัน้ ก็เกิดเร็วมาก จะต้องเป็นสติอตั โนมัติ อันเป็นธรรมชาติของธาตุรู้จริงๆ เท่านั้นที่จะจับได้ ซึ่งผู้ที่ถึงจุดของมันย่อมจะรู้เอง มหาสติเป็นผลของสติ มันมีอยู่ในนั้นพร้อมคืออยู่ในตัวสตินั่นแหละ มรรคแท้ๆ หรือทางพ้นทุกข์ คือตัวสติตัวเดียวเท่านั้นเพราะสติคือแม่ทัพ ใหญ่ในกองทัพธรรม
สติจับรู้อยู่กับปัจจุบัน ผลเป็นสมาธิ สมาธิที่มีสติจับทันปัจจุบันอีก ผลเป็น มหาสติ มหาสติรู้ทันในพระไตรลักษณ์ ผลเป็นปัญญา ปัญญา มีสติรู้อยู่ในนั้น ผล เป็นวิสทุ ธิ หรือ วิมตุ ติ (ความหลุดพ้น) ไม่ตอ้ งสงสัย ให้ทำ� สติรอู้ ยูก่ บั ปัจจุบนั ตัวเดียว เท่านั้น ทางและผลจะมีอยู่ในนั้นทั้งหมด ผู้ฝึกใหม่ๆ ยังไม่มีความช�ำนาญ ควรใช้วิธีฝึกสตินิ่งหรือสติรู้อยู่ในอิริยาบถ เดียวก่อน คือ ก�ำหนดจับอยู่ ณ จุดๆ เดียวจนชัดและช�ำนาญ เพือ่ ให้รจู้ กั หน้าตาของ สติตัวจริงเสียก่อนว่ามันเป็นอย่างไร เช่น การนั่งก�ำหนดลมหายใจ เป็นต้น ก็ให้มีสติ รู้อยู่กับลมเข้าออก เข้ารู้ ออกรู้ ส�ำคัญต้องจับลมได้ชัดทันปัจจุบันจริงๆ รู้อาการ เคลื่อนไหวของลมเสมอ ในการปฏิบัติส�ำคัญตรง ตัวรู้เท่านั้น ต้องชัดทันปัจจุบันจริงๆ จึงจะใช่ มีสติ จับไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละ พอสติเต็มรอบ สมาธิก็จะเกิดเป็นผลขึ้นมาเอง หากไม่ เต็มรอบมันก็ยังไม่เกิด สมาธินั้นเป็นอย่างไร สมาธิคืออาการเบากาย เบาใจ เย็น สบายจิต เงียบสงบ ตั้งมั่นไม่ส่งออก อดีตหรืออนาคต รู้อยู่เฉพาะตน บุคคลใดท�ำถึง ย่อมรู้เองว่ามันเป็นอย่างไร เดินจงกลมก็เช่นกัน จับรู้ตรงเท้ากระทบก็ได้ ตรงเท้าเคลื่อนไหวก็ได้ จับอยู่ แต่ที่เท้าตลอดเวลา มันก�ำลังเคลื่อนไหวอย่างไรก็ให้รู้ ให้รู้เท้าเท่านั้น จนสติรู้เต็ม
มหัศจรรย์แห่งใจ
รอบอยู่กับปัจจุบันที่เกิด สมาธิก็จะเกิดขึ้นที่ใจเอง แล้วขยายออกมาที่กายด้วยใน ที่สุด อิริยาบถยืนก็เช่นกัน รู้สึกตัวว่าก�ำลังยืนอยู่ น้อมความรู้สึกเข้ามาจับดูที่กาย ตน จนเห็นรูปยืนของตนชัดถึงใจจริงๆ ก็ก�ำหนดตามรู้นั้น ประคองตัวรู้นั้นไปเรื่อยๆ ให้นาน ท�ำใจให้สบาย จิตสงบใจตัง้ มัน่ ได้เมือ่ ไรสมาธิกจ็ ะเกิดขึน้ เมือ่ นัน้ ทันที เมือ่ ท�ำ ถึงจุดของมันจริงๆ นั่นแหละ นี่คือ การก�ำหนดสติในอิริยาบถเดียวหรืออิริยาบถนิ่ง (สตินิ่ง) ผูฝ้ กึ ใหม่ควรจะจับสติอย่างใดอย่างหนึง่ ท่าใดท่าหนึง่ ให้ชดั ได้จริงๆ เสียก่อน หากจับได้ชัดเจนจริงๆ จนเกิดความช�ำนาญแล้ว จงปล่อยมันไปรอบตัว รู้ตรงไหนก็ จับตรงนั้นทันที ก�ำหนดรู้แล้วก็ปล่อยไป มันจะวิงไปที่หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ วนเวียนอยู่ภายในกายภายในใจนี้แหละ ไม่มีจุดตายตัว สมาธิตื่นจะต้องเป็นตัว “มหาสติ” เท่านั้นที่จะท�ำได้ ที่จะจับมันได้ไล่มันทัน เพราะมันเป็นสติอัตโนมัติตามธรรมชาติของธาตุรู้แล้วจริงๆ หากจับเป็น สนุกมาก มันมิใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะท�ำได้ หากผู้ใดเพียรจริงท�ำจริงก็จะพบจริง ธรรมะเป็น เรื่องจริง แต่ต้องไปท�ำเอง ธรรมใดก็ไม่ได้ผลเมื่อตนไม่น�ำไปท�ำตน ที่ท�ำแล้วไม่เห็น ผลเพราะยังไม่เข้าใจ ยังมิได้ท�ำจริง หรือท�ำเหตุยังไม่พร้อมผลจึงไม่เกิด เหตุมผี ลถึงมี เหตุไม่มผี ลก็ไม่มเี ท่านัน้ เอง มิใช่ยากและก็มใิ ช่งา่ ย อยูท่ ี่ ... ท�ำ!! เท่านั้นเอง ใครท�ำใครก็รู้ ใครไม่ท�ำมันก็ไม่รู้ อย่าพูดว่ามันยากเกินกว่าที่เราจะท�ำได้ นั่นมันขาดความอดทน (ขันติ) และความเพียรต่างหาก ความเพียรอยู่ที่ไหน ความส�ำเร็จอยู่ที่นั่น จุดหมายแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น เพียงเพื่อฝึกจิตให้รู้เท่าทันสภาพความจริง แท้ของอุปาทาน ในความหลงยึดถือรูปร่างกายและสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ อันเป็นธาตุ ๔ ว่าเป็นตัวเราของเรา ออกให้หมดสิ้นเท่านั้นเอง
17
18 มหัศจรรย์แห่งใจ
มิใช่เพื่อความมีความเป็นใดๆ ทั้งสิ้น ผลคือเพื่อความไม่ทุกข์ทางใจอีกต่อไป เท่านัน้ เอง เพราะการมีตวั เราของเราเกิดขึน้ ในจิตเมือ่ ไร ทุกข์จะเกิดขึน้ เมือ่ นัน้ ทันที เช่น สิง่ ของผูอ้ นื่ หาย ใจเราเฉยๆ แต่พอของเราหาย ใจเราจะเกิดทุกข์ขนึ้ ทันทีจริงไหม เพราะมี “ของเรา” เกิดขึ้นนั่นเอง ดังนัน้ จุดหมายแท้ของการปฏิบตั ธิ รรม เพือ่ ออกจากทุกข์ใจให้หมดสิน้ เท่านัน้ ส่วนทุกข์ทางกายเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารอันไม่เที่ยงนั่นเอง ธรรมแท้ๆ คือความปกติพอดีของใจ ธรรมแท้ๆ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความถูก ผิด ดี ชั่ว ตัว ตน ธรรมแท้ๆ คือความเป็นกลางๆ เท่านั้น ขอให้ท�ำความเข้าใจให้ ถูกต้อง จะได้ไม่หลงยึดถือ หรือผลักต้านวิธีการในการปฏิบัติอยู่อีกต่อไป
ธรรมะจะเน้นลงตรงการกระท�ำคือต้องกระท�ำที่ตนเองอีกทีด้วยจึงจะรู้ผล
เมื่อข้าพเจ้ามั่นใจในปัจจัตตังที่ชัดกับตนเองจริงๆ แล้ว จึงขอยืนยันและ เปิดเผยความจริงของการปฏิบัติ เพื่อเป็นก�ำลังใจแก่ผู้ใฝ่ใจในธรรมทุกๆ ท่านว่า ทางนั้นมีอยู่ โอกาสก็มีอยู่ ส�ำหรับทุกๆ คน แม้ผู้ที่มีภาระหน้าที่ ที่จะต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวก็ดี ผู้ที่มีภาระหน้าที่ รับผิดชอบต่อหน้าทีก่ ารงานต่างๆ ก็ดี อันจะหาเวลาปลีกไปตามวัด หรือไปตามส�ำนัก ปฏิบัติธรรมต่างๆ ก็ดี อันจะหาเวลาปลีกไปตามวัด หรือไปตามส�ำนักปฏิบัติธรรม ต่างๆ ไม่ค่อยได้ ก็อย่าได้คิดน้อยอกน้อยใจเสียอกเสียใจ หรือคิดท้อแท้ใจหมดก�ำลัง ใจว่าเรานี้ช่างเป็นผู้มีบุญน้อย มีวาสนาน้อย ช่างมีเวรมีกรรมมากเสียจริงๆ พอคนอืน่ เขาไปกันได้ เรากลับไปไม่ได้ ชาตินคี้ งไม่มโี อกาสไปได้เช่นคนอืน่ เขา เป็นต้น นั่นคือการเข้าใจผิด อันจะเป็นการปิดทางหรือปิดโอกาสของตัวเองไปโดย ไม่รู้ตัว น่าเสียดายจริงๆ หากจะคิดเช่นนั้น ขออธิบายว่า ธรรมแห่งความหลุดพ้น มิได้อยู่ที่ภายนอก มิได้อยู่ที่นั่นที่นี่หรืออยู่ที่ผู้นั้นผู้นี้ แต่ธรรมแท้แห่งความหลุดพ้น
มหัศจรรย์แห่งใจ
นั้น อยู่ที่ภายในกาย ภายในใจของทุกคนที่ตนเองเห็นตนเองจริงๆ ว่า ขณะนี้จิตตน มีความโลภ ความโกรธ ความหลง มากหรือน้อย หรือไม่มเี ลยในการกระท�ำในแต่ละ ขณะ แล้วผลในแต่ละขณะๆ นัน้ เป็นอย่างไร จะท�ำอย่างไร จึงจะละความโลภ ความ โกรธ ความหลงที่มีอยู่ในจิตตน ที่ตนมี ที่ตนรู้อยู่ให้ออกไปจากใจตนให้หมดสิ้นได้ ต่างหาก ธรรมแท้ปฏิบัติอย่างนี้ ส่วนข้างนอกนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเอง ขอยืนยันว่า โอกาสนั้นมีอยู่ส�ำหรับทุกคน เพียงแต่เราไม่เข้าใจ เราไม่รู้วิธีการ ปฏิบตั แิ ละความเป็นจริงของการปฏิบตั ธิ รรมว่าเป็นอย่างไร วิธนี นั้ มีอยูห่ ากเราเข้าใจ และพยายามฝึกตัวเองอยูเ่ สมอ บังคับตัวเองแต่เนิน่ ๆ การปฏิบตั คิ อื การบังคับตัวเอง ให้ได้ในทุกเรื่องของจิตโลภ โกรธ หลง ที่เรารู้เราเท่านั้นเองพยายามท�ำไปเรื่อยๆ พอเหตุปจั จัยพร้อมทุกอย่างจะเป็นไปเอง โดยวิถแี ห่งธรรมชาติซงึ่ มันมีอยูต่ ลอดเวลา เพราะการปฏิบัติที่แท้จริงนั้น เอากายตนเป็นสถานที่ท�ำ เอาใจตนเป็นผู้ท�ำเท่านั้น ขอให้เข้าใจจริงๆ และท�ำจริงๆ ก็จะเห็นผลจริงๆ เพราะรูแ้ ท้เป็นเรือ่ งรูจ้ ากภายในใจ ดังนั้น ท่านจะต้องเข้าถึงจุดหมายของการปฏิบัติด้วยว่า ปฏิบัติเพื่ออะไร ควรปฏิบตั อิ ย่างไร และผลของการปฏิบตั ธิ รรมนัน้ ให้สงั เกตได้งา่ ยๆ ว่า ขณะปัจจุบนั นี้เรามีความทุกข์ทางใจมากขึ้นกว่าเดิม หรือทุกข์น้อยกว่าเดิม ก็ให้น�ำมาเทียบกับ อดีตของตนดู แท้จริงนัน้ โอกาสมีอยูต่ ลอดเวลา ส�ำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพียงแต่ว่าเราไม่เข้าใจความจริงแท้เท่านั้นเองว่า เราใช้ใจเป็นผู้ท�ำ ใช้ ร่างกายเป็นสถานที่ในการท�ำ ส่วนส�ำนักวัดอาราม ป่า เขา การบวช ฯลฯ นั้นเป็น เพียงส่วนประกอบช่วยในขณะหนึ่งเท่านั้นเอง (ธรรมใดก็ไร้ผล ถ้าตนนั้นไม่ท�ำ) การอยูก่ บั ภาระหน้าทีน่ นั้ เป็นของสดของจริง เราจะต้องพยายามช่วยตัวเอง บังคับตัวเองมากกว่าผูไ้ ม่มภี าระหน้าที่ แต่ธรรมะคือหน้าที่ หากเราฝึกตัวเองไปพร้อม กันกับภาระหน้าที่ได้นั่นเองจึงจะใช่ของจริง ธรรมที่แท้จริงนั้นมิใช่ให้ทิ้งหน้าที่ แต่ ให้ทิ้งความยึดถือในจิตตน ต่อสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไปต่างหาก ให้ทิ้งทุกข์ทางใจต่อ
19
20 มหัศจรรย์แห่งใจ
ความยินดียินร้ายให้หมดสิ้น คืออยู่กับทุกเหตุการณ์ได้โดยไม่ทุกข์ใจเท่านั้น ดังนั้น ทุกคนจึงมีโอกาสท�ำได้หากเข้าใจหลักที่แท้จริงแล้ว การปลีกได้ เป็นแต่เพียงการเก็บตัวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง เพราะในที่สุด ทุกคนก็ต้องมาอยู่กับชีวิตจริงของโลกมาอยู่กับปัญหาต่างๆ ของโลกอีก เพราะคน เรานั้นจะอยู่คนเดียวในโลกก็ไม่ได้ ต้องพบเจอผู้คนอยู่ร�่ำไป หนีไม่พ้น การอยูก่ บั หน้าทีแ่ ม้จะท�ำยากสักหน่อย ก็ยงั ดีกว่าไม่ทำ� เสียเลย เมือ่ รูค้ วามจริง แล้วว่ามีโอกาสท�ำได้เช่นกัน ก็เพียงพยายามฝึกท�ำไปเรือ่ ยๆ เก็บหอมรอมริบไปทีละ เล็กทีละน้อย เหมือนน�ำ้ ฝนทีต่ กลงมาทีละหยดๆ ก็สามารถเต็มโอ่ง เต็มไห ได้ฉนั ใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น การเห็นทุกข์มากๆ จะท�ำให้เราเบือ่ หน่าย และปล่อยวางใจในสิง่ ต่างๆ ทีห่ ลง ยึดได้เร็วขึ้น ท�ำให้พบความอิสระทางใจ แต่อาจจะเสียผลประโยชน์หรือความสุข ทางกายภายนอกไปบ้างเท่านั้น ในทางธรรมบุคคลใดเห็นทุกข์มาก บุคคลนั้น คือ ผูโ้ ชคดีในแดนธรรม ในทางธรรม ทางจิตใจแล้ว ทางเส้นนีจ้ ะขึน้ ต้นด้วยตัวทุกข์กอ่ น เพื่อจะได้เข้าสู่ความพ้นทุกข์ หากเราไม่รู้ทุกข์ เราจะเบื่อทุกข์และจะออกจากทุกข์ ได้อย่างไร เมือ่ บุคคลใดมีความตัง้ ใจในการปฏิบตั จิ ริง เขาย่อมมีโอกาสท�ำได้จริงในทีส่ ดุ โดยพยายามรู้สึกตัวในขณะปัจจุบันอยู่เสมอ ว่ากายเราขณะนี้ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ กาย อยู่ไหนให้ใจอยู่นั่น ใช้ใจเฝ้าสังเกตดูกายในทุกอิริยาบถ ทุกการกระท�ำ พูด คิด ยินดี ยินร้าย ก็ให้รู้เท่าทันปัจจุบันขณะนั้นอยู่เสมอ ท�ำต่อเนื่องเรื่อยๆ เราเรียกการท�ำ เช่นนี้ว่า การฝึกสมาธิลืมตา สมาธิตื่น สมาธิในงาน สมาธิเคลื่อนไหว หรือสมาธิ ธรรมชาติ ก็ได้แล้วแต่ ซึ่งสามารถจะท�ำได้ในคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ท�ำได้ทกุ เวลา ทุกสถานที่ ทุกการกระท�ำทีเ่ ราจะท�ำนัน่ แหละ อยู่ที่ว่าจะท�ำหรือไม่เท่านั้น
มหัศจรรย์แห่งใจ
นี่เป็นเรื่องที่ท้าให้พิสูจน์ได้ แต่ต้องพยายามเพียรท�ำจริงๆ ไม่ท้อถอยหรือ ทิง้ ขว้าง ท�ำไปเรือ่ ยๆ สม�ำ่ เสมอ โดยอย่าหมายมัน่ ยึดถือทีจ่ ะให้ได้ผล อย่าอยากเห็นผล อย่าใจร้อน ท�ำไปเรื่อยๆ จนกว่ามันเต็มรอบเมื่อไร ผลก็จะปรากฏขึ้นให้รู้เองเมื่อนั้น พยายามท�ำให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ด้วยการมีสติเฝ้าดูภายในกาย ภายในใจของ ตนเท่านั้น ว่ามันเป็นอย่างไรในความจริงแท้ที่เป็นสัจธรรมจริงๆ จนกระทั่งเข้าใจ และรู้แจ้งตลอดสาย พร้อมทั้งปล่อยวางทุกข์ได้ในที่สุด เพราะจิตเข้าถึงอริยสัจ ๔ โดยสิ้นเชิงจนหมดทุกข์จริง หมายถึง ตนรู้ตนเองจริงๆ ว่า ไม่ทุกข์ใจอีกต่อไปแล้ว อิสระแล้วในทุกเรื่องทุกผัสสะ จิตสบายจริงๆ ไม่มีหวั่นไหว ยินดี ยินร้าย แต่ยังมีจิต ที่รู้อยู่เห็นอยู่ในทุกสิ่งเหมือนอย่างเดิม รู้แต่ไม่มีผล จิตอิสระ สงบเย็นปกติทุกเวลา สบายจริงๆ ทางภายในจึงจะใช่ ธรรมะแท้ๆ เป็นเรื่องของจิตภายในเท่านั้น ข้างนอกเป็นส่วนประกอบ หาก จิตไม่ทุกข์ ทุกอย่างก็ไม่ทุกข์ ปัญหาข้างในไม่มี ปัญหาข้างนอกก็ไร้ผล นี่แหละ ที่ พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า สุขทุกข์ และความพ้นทุกข์นั้น มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็น ประธาน ทุกอย่างอยู่ที่ใจ สรุปผล หากเหตุปัจจัยเรายังไม่พร้อม ถึงอยากเท่าไรก็ไปไม่ได้ แล้วจะอยาก ไปท�ำไม เพราะอยากมากเท่าใดทุกข์กม็ ากเท่านัน้ เมือ่ ไม่สมหวัง จริงไหม จงยอมรับ สภาพความเป็นจริงของตนเถิด แล้วท�ำใจให้ได้ อย่าคิดเสียใจ น้อยใจจนหมดก�ำลัง ใจอยู่เลย ต้นไม้เมื่อถึงฤดูของมัน มันก็จะออกเอง หากยังไม่ถึงฤดูของมัน แม้จะ ไหว้วอนหรือบังคับสักเท่าไรมันก็หาออกได้ไม่ เช่นกันกับเรา หากเหตุปัจจัยเรายัง ไม่พร้อม ก็ให้ท�ำใจไปก่อน อย่าคิดมาก การคิดมากในเรื่องไร้สาระจะเป็นภัยแก่ใจ ตนเอง ให้ฝกึ ใจอยูก่ บั หน้าที่ ด้วยการมีสติจบั รูอ้ ยูก่ บั ปัจจุบนั ของกายใจในทุกอิรยิ าบถ สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายกลางที่ตรงที่สุด ลัดที่สุด และบริสุทธิ์หมดจดที่สุด ซึง่ บุคคลใดตัง้ ใจปฏิบตั จิ ริงๆ แล้ว ย่อมพ้นจากการเบียดเบียนทัง้ ตนเองและผูอ้ นื่ โดย แน่นอน อันจะมุ่งสู่ มรรคผลนิพพาน คือ ดับทุกข์ได้จริง เฉพาะผู้ท�ำจริงเท่านั้น
21
22 มหัศจรรย์แห่งใจ
สติปัฏฐาน ๔ มีกายและใจเป็นหลัก อันจะเรียกอีกชื่อว่า รูปและนามก็ได้ ซึ่ง ภาษาทางธรรมจะแยกเรียกให้เข้าใจว่า เพราะเหตุ ๔ อย่างนี้แหละที่เป็นตัวเชื่อม ให้เกิดทุกข์ อันมีรูป เวทนา จิต ธรรม รูป ในที่นี้ หมายถึงร่างกายนี้แหละ เวทนา คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกาย จิต คือธาตุรู้ ธรรม ในที่นี้ หมายถึงธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจตน สรุปแล้วสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ ให้คอยเฝ้าสังเกตดูกาย ทุกข์ของกาย และทุกข์ ของใจในตนเองว่ามันเป็นอย่างไร ในความจริงแท้ ปกติธรรมชาติของรูปร่างกาย แท้ๆ นั้น มันจะไม่มีความรู้สึกสุขทุกข์ใดๆ เลย เพราะมันคือธาตุ ๔ อันมี ดิน น�้ำ ลม ไฟ มารวมกันขึ้นเป็นรูปร่างชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น แต่ที่มันเกิดความรู้สึกสุขทุกข์ทาง กายขึ้นได้ เพราะมันมีใจ คือธาตุรู้ มาอาศัยอยู่ในกายเท่านั้นเอง ทุกข์กายและทุกข์ใจเป็นทุกข์คนละอันแต่อาศัยกันอยู่ หากไม่รู้จริงหรือ แยกไม่เป็น ก็จะมองไม่เห็นและจะต้องเป็นทุกข์อยู่ร�่ำไป ทุกข์ทางกาย เป็นทุกข์ที่ ใคร ๆ ก็หนีไม่พ้น ใครก็ตามที่ได้เกิดมาและมีรูปร่างอันเรียกว่า สังขาร แล้วไม่ว่าจะ เป็นคนชาติไหนภาษาไหน จะร�่ำรวยหรือยากจน ผู้ดีหรือไพร่ แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือพระมหากษัตริย์ก็ตาม ตลอดถึงเหล่าสัตว์เดรัจฉานต่างๆ ก็ต้องมีทุกข์ชนิดนี้ เพราะมันเป็นทุกข์ประจ�ำสังขาร คือร่างกาย ได้แก่ ทุกข์ของการเกิด แก่ เจ็บ และ ตายนั่นเอง ทุ ก ข์ ท างกาย (รู ป ) นั้ น เป็ น อย่ า งไร ทุ ก ข์ ข องกายนี้ จ ะดั บ แล้ ว เกิ ด อี ก ดับแล้วเกิดอีก เป็นอยู่เช่นนี้ หนีไม่พ้น ตราบจนร่างกายนี้ตายจากไปเมื่อไร คือ กาย หมดความรู้สึกเมื่อไร ทุกข์ของกาย คือเวทนา ก็จะหมดไปเมื่อนั้น ทุกข์ทางใจนั้น หนีได้พ้น หากท�ำถูกและท�ำถึงจริง จิตใจ นาม หรือธาตุรู้ (คือ อันเดียวกันหมด) นั้นเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่างใดๆ ที่จะหยิบ จับได้ กายใดที่ไม่มีใจหรือธาตุรู้อาศัยอยู่ เช่น ศพต่างๆ เป็นต้น
มหัศจรรย์แห่งใจ
กายนัน้ จะปราศจากความรูส้ กึ นึกคิด ไม่เคลือ่ นไหว ไม่รบั รูเ้ รือ่ งใดๆ ส่วนกาย ใดที่มีใจ คือ ความรู้สึกหรือธาตุรู้มาอาศัยอยู่ในนั้น เช่น คนที่ยังไม่ตาย กายนั้นจะ เคลื่อนไหวได้ รับรู้ นึกคิด และท�ำอะไรๆ ก็ได้ เพราะมันมีใจคือธาตุรู้เป็นผู้สั่งให้ท�ำ และมีกายเป็นผูส้ นอง คือท�ำตาม ใจจึงเป็นนายกายจึงเป็นบ่าว เห็นความจริงแท้ของ มันหรือยังว่า กายส่วนกาย ใจส่วนใจ แต่อาศัยกันอยู่ในการกระท�ำ กายที่ไม่มีใจสั่ง มันก็ท�ำอะไรไม่ได้ เช่น ศพต่างๆ ใจที่ไม่มีกายท�ำ มันก็เป็นได้แค่เพียงความนึกคิด เท่านั้น ส่วนการกระท�ำทางภายนอกก็ไม่มี เช่น คนที่เป็นอัมพาต เป็นต้น เมื่อรู้แล้วว่า กายแท้ๆ นั้นมันไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆ เลย ที่มันเกิดสุข เกิด ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ เกลียด พยาบาท ดีใจ เสียใจ เจ็บปวด ร้อน หนาว อ่อน แข็ง ถูก ผิด ดี ชั่ว รวย จน สูง ต�่ำ ฯลฯ นั้นมันเกิดจากอะไรล่ะ ก็เกิดจากใจ ตัวเดียวนี้แหละใช่ไหม ที่ให้ความหมายเอาเอง หลักของพุทธศาสนาจึงเน้นลงมาที่ ใจ ตัวเดียวเท่านั้น ว่าสุข ทุกข์ และความพ้นทุกข์ มีใจเป็นแดนเกิด มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ทุกอย่างมีผลได้เพราะใจ ดังนั้น ทุกข์และความดับทุกข์ที่แท้จริง นั้น ก็ต้องท�ำที่ใจภายในของตนนี่แหละ เพราะมันเกิดจากใจตนเองเท่านั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสรูท้ ใี่ นใจของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรูว้ า่ เหตุแห่งทุกข์ ทัง้ หมดเกิดจากทีน่ ี่ ตรงนี้ คือเกิดจากใจตนนัน่ เอง พระพุทธองค์ทรงรูเ้ ท่าทันอารมณ์ แห่งความนึกคิดปรุงแต่งที่เป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ยินดียินร้าย สุขทุกข์ได้สิ้น หากที่ นี่คือ ใจ ไม่เกิดทุกข์ ที่นี่ไม่มีทุกข์แล้ว ทุกข์มันจะเกิดตรงไหนได้อีกล่ะ ก็สิ้นทุกข์ เท่านั้นเอง เพราะกายแท้ๆ มันก็ไม่ทุกข์อยู่แล้ว ดังนั้นทุกข์แท้ๆ จึงเกิดจากใจตัว เดียวนี้แหละ ที่ให้ความหมายเอาเอง จริงไหม ปกติกาย ก็มีหน้าที่ของกาย ใจก็มีหน้าที่ของใจ เช่น (ทางกาย) ตาก็มีหน้าที่ดู (ใจ) ธาตุรู้ก็ท�ำหน้าที่เห็นและรู้ว่ามันคืออะไร (ทางกาย) หูท�ำหน้าที่รับเสียง (ใจ) ธาตุรู้ท�ำหน้าที่รู้เสียง (ทางกาย) จมูกท�ำหน้าที่ได้กลิ่น (ใจ) ธาตุรู้ท�ำหน้าที่รู้กลิ่น
23
24 มหัศจรรย์แห่งใจ
(ทางกาย) ลิ้นท�ำหน้าที่รับรส (ใจ) ธาตุรู้ท�ำหน้าที่รู้รส (ทางกาย) ร่างกายท�ำหน้าที่รับรู้ (ใจ) ธาตุรู้ท�ำหน้าที่เป็นผู้รู้ ต่างอันต่างท�ำหน้าที่ รู้ ของใครของมัน ทุกข์ทางกายส่วนกาย คือทุกข์ของ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อเกิดขึ้นใจก็รู้ แต่ไม่ยึดไม่ปรุง คือ ไม่เอามารวมเป็นอัน เดียวกัน ทุกข์ทางใจส่วนใจ คือทุกข์ของความรูส้ กึ ชอบ ไม่ชอบ จิตก็ไม่หลงยึดอารมณ์ ขึ้นมาเป็นตัวเป็นตน จนเกิดการดูดรั้งผลักต้าน ยินดียินร้าย กายก็ปกติ ไม่กระท�ำ ตามอารมณ์ของใจ ไม่ทำ� ตามใจ แยกกันท�ำ ต่างอันต่างรู้ แล้วก็จบลงตรง รู้ นัน่ แหละ แต่อาศัยรู้อยู่ ในเรื่องเดียวกัน ปัญหาต่างๆ จึงไม่เกิดขึ้น หมายถึงตัวเราของเราจะ ไม่เกิด หากมันไม่ท�ำหน้าที่ปนกันคือยึดกัน ขณะใดที่ทุกข์กายและทุกข์ใจมารวมเป็นทุกข์อันเดียวกัน มันจะมีปฏิกิริยา เกิดความรูส้ กึ มีตวั ตน คือมีตวั เราของเราขึน้ มาทันที จนเป็นทุกข์รมุ่ ร้อนไปทัว่ ทัง้ กาย ใจ ตัวตนเกิดขึ้นในจิตเมื่อไร ทุกข์ก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที ผู้ที่จะป้องกันและระวัง รักษามิให้กายและใจท�ำงานปนกันได้ คือสติและสัมปชัญญะเท่านั้น บุคคลใดมีสติ รูก้ ายส่วนกายแล้วปล่อยไป รูใ้ จส่วนใจแล้วปล่อยไปอยูเ่ สมอ บุคคลนัน้ จะไม่มปี ฏิกริ ยิ า ของการมีตัวตน คือมีตัวเราของเราเกิดขึ้นในจิตตน จนเป็นทุกข์รุ่มร้อนได้เลย สติคืออะไร สติในความหมายของธรรม คืออาการรู้สึกตัวขึ้นมา ในขณะ ปัจจุบันนี้ว่าเราก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เราก�ำลังอ่านหนังสือ เราก็ ท�ำความรูส้ กึ ย�ำ้ ลงไปอีกครัง้ ว่า ขณะนีเ้ ราก�ำลังอ่านหนังสืออยู่ รูซ้ อ้ นทับการกระท�ำ นั้นอีกครั้ง มันเป็นอาการ "รู้ในรู้" อีกที ส่วนมากเราจะไม่ค่อยมีความรู้สึกตัวนี้ ท�ำ ก็ทำ� ไปอย่างนัน้ แต่ไม่เห็นตัวเองท�ำ ไม่รวู้ า่ เราก�ำลังท�ำอะไรอยูใ่ นขณะนี้ คือขณะท�ำ อะไรมันก็รู้หน้าที่ที่ท�ำอยู่ แล้วมันก็ท�ำไปตามความสามารถของตน นั่นเป็นอาการรู้ ธรรมดาเท่านั้น แต่เราต้องมีตัว "รู้สึกตัว" เกิดขึ้นซ้อนทับลงไปในการกระท�ำนั้น อีกครัง้ หนึง่ เป็นการย�ำ้ อาการกระท�ำนัน้ อีกที คือรูต้ วั ที่ ๒ จึงจะเรียกว่าเป็น "รูใ้ นรู"้ หรือสติมรรค สติผล สติของการเจริญธรรมคือตัวนี้
มหัศจรรย์แห่งใจ
"รู้ท�ำ" เป็นสติตัวแรก "ขณะท�ำก็รู้" เป็นสติตัวที่ ๒ หรือรู้ในรู้ คือตัวนี้ ต้อง เฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น ตัวรู้นี้ให้บ่อยๆ เท่าที่จะท�ำได้จนเกิดความช�ำนาญ จิตนั้นจะได้ ไม่วิ่งออกไปยึดอดีตหรืออนาคต จิตจะมีงานท�ำอยู่ภายในกายในใจตน มันจะไม่คิด ฟุ้งซ่าน ปรุงไปในเรื่องต่างๆ จนเกิดอุปาทานขึ้นได้ หากมีสติตัวนี้เกิดขึ้นได้นานๆ ตลอดสาย จิตจะสงบเย็นเป็นปกติ กายก็สบาย ใจก็สบาย เบากายเบาใจจริงๆ จิต มันนิ่งเงียบหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด ที่จะท�ำให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นได้ ความสงบนิ่งเงียบอันเกิดจากผลมันนั่นแหละ คือตัวสมาธิแท้ๆ แล้วมันเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติของการเจริญสติต่างหาก สมาธินั้นไม่ต้องไปท�ำมัน เพียงแต่เจริญสติ รู้กายรู้ใจ ให้เท่าทันปัจจุบันของ จิตจริงๆ ที่รู้เท่านั้น ผลนั้นก็จะเกิดเป็นสมาธิตัวแท้ๆ โดยสมบูรณ์ในนั้นเอง มันมี อยู่ในนั้นพร้อม แม้แต่การนั่งหลับตาก�ำหนดลมหายใจ ก็ต้องมีสติตามรู้อยู่กับ ปัจจุบันเช่นกัน สมาธิจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะสติเป็นแม่ทัพใหญ่ในกองทัพธรรม สติ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรม
ระยะที่ ๑ การเจริญสติท�ำได้เมื่อไร การเจริญสติท�ำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ ทุกการกระท�ำ พูด คิด ยกตัวอย่างเช่น การอาบน�ำ ้ ก็ให้รู้ ถูสบูก่ ร็ ู้ ถูตวั ก็รู้ ราดน�ำ้ ก็รู้ เสร็จแล้วก็เช็ดตัวก็รู้ สวมเสือ้ ผ้า ก็รู้ กายสดชื่นเย็นสบายก็รู้ ก�ำลังกินก็รู้ มือจับช้อนก็รู้ ก�ำลังตักอาหารก็รู้ ก�ำลังยก ก็รู้ อ้าปากก็รู้ ส่งเข้าปากก็รู้ ดึงช้อนออกก็รู้ ก�ำลังเคี้ยวก็รู้ รสอย่างไรก็รู้ จิตชอบไม่ ชอบก็รู้ ก�ำหนดไปเรื่อยๆ อย่างนี้แหละ ยิ่งรู้ละเอียดได้เท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น เพราะจิต จะไม่คอ่ ยเผลอง่าย หากมีเวลาให้พยายามท�ำช้าๆ จะเห็นชัดและเห็นธรรมได้ละเอียด ก�ำลังเดินจะไปไหนรู้ เดินเร็ว ช้า หยุด ขึ้น ลง รู้ปวด เมื่อย สบาย รู้ร้อน เย็น เปียก
25
26 มหัศจรรย์แห่งใจ
ขรุขระ รู้อะไร ก็ให้ก�ำหนดรู้ตามนั้น ก�ำลังท�ำงาน หยิบ ยก วาง รับส่ง ก้ม เงย เอื้อม ฯลฯ รู้ ก�ำลังดู เห็นอะไรรู้ จิตเป็นอย่างไรรู้ ยืน เดิน นั่ง นอนก็รู้อย่างนี้แหละ รู้ ปัจจุบนั ขณะหนึง่ ๆ แต่รไู้ ด้ตลอดสายในเรือ่ งนัน้ ๆ นีค่ อื การเจริญสติในชีวติ ประจ�ำวัน การเจริญสติ หากมีเวลาว่าง ควรท�ำช้าๆ ยิ่งช้ายิ่งละเอียด คอยจับอาการ เคลื่อนไหวของร่างกายให้ละเอียดได้เท่าใดยิ่งดีเท่านั้น มันจะเห็นชัดเห็นจริง และ ปัญญาที่เกิดจะรู้เท่าทัน ทั้งคม และปล่อยวางอะไรได้รวดเร็วมาก การเจริญสติ ไม่จ�ำกัดสถานที่ทางภายนอก ท�ำได้ทุกเวลานาที เพราะใช้ความรู้สึกตัวเป็นผู้ท�ำ ใช้รา่ งกายเป็นสถานทีใ่ นการท�ำต่างหาก ท�ำอยูภ่ ายในใจเป็นส่วนส�ำคัญ สิง่ ภายนอก เป็นส่วนประกอบเท่านั้น
ระยะที่ ๒ เมื่อจับสติได้แล้วช�ำนาญแล้ว มีโอกาสควรพิจารณาตามการกระท�ำนั้นๆ อีกครั้งว่า จิตสั่งให้ท�ำอะไรบ้าง ท�ำอย่างไร ถ้าจับเป็นแล้วสนุกมาก ความจริงแท้การปฏิบัติธรรมนั้นถ้าจับดู จับเป็น กลับเป็นเรือ่ งสนุกเสียอีก มิใช่เป็นสิง่ ยากจนท�ำไม่ได้ ดังทีค่ นทัว่ ไปเข้าใจ มิใช่ตอ้ งไป ท�ำเฉพาะที่นั่น ที่นี่ ที่วัดนั้น วัดนี้ ส�ำคัญต้องตั้งใจท�ำจริงๆ ท�ำเสมอๆ ถึงจะได้ผล อย่าท้อถอย การคิดมากไม่เกิดประโยชน์แต่กลับเป็นโทษ คือทุกข์หนักยิ่งกว่าเดิม เสียอีก ต้องเข้าใจตัวนี้อีกที มันเป็นตัวเพิ่มทุกข์ หากไม่รู้เท่าทันมันนั่นเอง ธรรมะแท้ๆ มิใช่การหนีโลก หนีหน้าที่ เพียงแต่ขณะที่ยังท�ำใจไม่ได้ จิตย่อม เป็นทุกข์ ดังนั้น การได้อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่สงบในบางครั้งก็ช่วยได้มาก เมื่ออินทรีย์ คือก�ำลังของเรายังอ่อนอยู่ เท่านั้นเอง เพราะการเจอผัสสะน้อย ทุกข์ก็น้อย แต่ใน ที่สุด เราจะต้องอยู่ได้ในทุกที่ด้วยจิตสงบ ที่สงบจิตก็สงบ ที่ไม่สงบจิตก็ยังสงบ วุ่น นอกไม่วุ่นใน จึงจะใช่ของจริง ดังนั้น ในบางบุคคลที่ไม่มีโอกาสปลีกได้ เราก็อาศัย
มหัศจรรย์แห่งใจ
การท�ำสติรู้อยู่กับงาน อันเป็นสมาธิตื่นตัวไปก่อน ดังที่ได้อธิบายมานั่นแหละ ท�ำไป เรื่อยๆ ก่อน ทางท�ำได้ยังมีอยู่ เมื่อรู้แล้วอย่าได้ท้อแท้ ท้อถอยจนหมดก�ำลังใจอยู่ เลย จงรีบท�ำเถิด แล้วผลก็จะเกิดขึ้นมาให้รู้เอง หากท�ำจริงท�ำถึง
ระยะที่ ๓ น้อมให้เกิดปัญญา ให้เฝ้าดูพระไตรลักษณ์อยู่เสมอ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในทุกเรื่องที่เกิด ในทุกสิง่ ทีร่ เู้ ห็น คอยก�ำหนดดูชา้ ๆ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ เราทุกข์เพราะจิตเป็นทาสอารมณ์ จิตอยูใ่ ต้อารมณ์ หากจิตอยูเ่ หนืออารมณ์ ทุกข์จะไม่สามารถเกิดขึน้ ในจิตได้เลย สมาธิ จริงๆ มิใช่หมายถึงการนั่งหลับตา แต่หมายถึง ความปกติของจิต คือจิตที่ตั้งมั่นอยู่ ในอารมณ์เดียวจริงๆ ไม่มีอดีตและอนาคตเลย มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่รู้อยู่ จิตที่ตั้ง มัน่ อยูก่ บั ปัจจุบนั ตลอดเวลาย่อมจะสงบ ปกติเป็นหนึง่ ความเป็นหนึง่ ของจิตนีแ่ หละ เรียกว่า สมาธิ สมาธิ คือ ความสงบ หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้ายใดๆ ต่อ ทุกผัสสะที่เกิดขึ้น ทั้งลืมตาและหลับตา จิตนั้นจะมีแต่ความปกติ รู้ ตื่น ทั้งกาย ใจ ตลอดเวลา ไม่ได้หมายถึง การนัง่ หลับตา แต่หมายถึง จิตปัจจุบนั หรือจิตหนึง่ เท่านัน้ สมาธิจะเกิดขึ้นได้อย่างไร สมาธิจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจิตนั้นไม่มีเรื่องของอดีต ที่ผ่านมาให้ยึดถือ หมายมั่น และเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึงให้ทุกข์กังวล มีแต่รู้ อยูก่ บั ปัจจุบนั ทีเ่ กิดขึน้ ตลอดเวลาเท่านัน้ แล้วปล่อยไปๆ จงพยายามรูส้ กึ ตัวในขณะ ปัจจุบันนั้นให้ได้ว่า ขณะนี้ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ แตะรู้เบาๆ เท่านั้น แล้วก็ปล่อยไปจับ แต่ตัวปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเร็วมาก ต้องตั้งใจเฝ้าก�ำหนดดูจริงๆ จึงจะ เห็นและจับได้ มันจะเกิดขึ้นทางอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของ ตนตลอดเวลา สุดแท้จะเกิดตรงไหนก่อนเท่านั้น ไม่ตายตัวเสมอไป
27
28 มหัศจรรย์แห่งใจ
ให้พยายามรูส้ กึ ตัวต่อความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั ทัง้ กายใจให้ได้ ให้ทนั ความ รูส้ กึ ตัวอันนีแ้ หละ เรียกว่า สติ ต้องฝึกมากๆ เพราะสติตวั นี้ คือ แม่ทพั ใหญ่ในกองทัพ ธรรม ถ้ามีสติ คือ ความรู้สึกตัวนี้ให้มากๆ สมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเอง เพราะสติตัวนี้จะ เกิดขึน้ ได้แต่ปจั จุบนั เท่านัน้ เมือ่ จิตรูแ้ ต่ปจั จุบนั แน่นอนมันย่อมจะเป็นอารมณ์เดียว คือ สมาธินั่นเอง ดังนั้น ตัวสมาธิแท้ๆ จะเกิดขึ้นแต่ในปัจจุบันเท่านั้น ปัจจุบันจึงเป็นแกนกลางหรือทางสายกลาง สัมมาปฏิปทา หรือมรรคก็ได้ เพราะมันเป็นทางแห่งความหลุดพ้นจริงๆ ถ้าใครท�ำได้จับปัจจุบันให้ได้ตลอดสาย เท่านั้น ศีล คือ ความปกติก็จะอยู่ในนั้น สมาธิ คือ ความสงบก็จะอยู่ในนั้น หากสติ เต็มรอบจริงๆ ปัญญาก็สามารถจะเกิดขึน้ ได้ในขณะนัน้ ด้วย ถ้าท�ำถึงจุดของมันจริงๆ หลักหรือเคล็ดลับมีอยู่แค่นี้แหละ คือ รู้ตัวในขณะปัจจุบันให้ได้ตลอดสาย ทุกการ กระท�ำ พูดคิด มันยากตรงที่ว่า จะสามารถจับปัจจุบัน (คือรู้สึกตัวในขณะปัจจุบัน) ได้แค่ไหนเท่านัน้ เพราะปัจจุบนั นัน้ เกิดเร็วมาก หากไม่ตงั้ ใจจริงๆ แล้วจะไม่สามารถ จับมันได้เลย และส่วนมากมักจะลืมในการก�ำหนดรู้ คือ เผลอนั่นเอง จึงไม่ได้ผลต่อ การปฏิบัติ ทุกขณะปัจจุบัน จะเป็นจุดเริ่มต้นของการ กระท�ำ หากเป็นสิ่งดีก็ท�ำไป อย่า ได้ท้อถอยต่ออุปสรรคต่างๆ อนาคตก็เช่นกัน เราสามารถคิดได้ ตั้งใจไว้ได้ แต่เรา ต้องพร้อมที่จะยอมรับความเป็นจริงในผลของมันด้วยว่ามันจะไม่แน่นอนเสมอไป มันจะไม่สมหวังเสมอไป ยากนักที่หมายมั่นได้ เพราะมันไม่เที่ยง บางครั้งก็ได้ บางครั้งก็ไม่ได้ จงยอมรับความจริงในข้อนี้เสีย แล้วเตรียมจิต เตรียมใจ ไว้ให้พร้อม ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น
วิธีก�ำหนดสติ...ขณะนั่งภาวนา ดูลมหายใจ (อิริยาบถนั่ง) ให้ท�ำตัวให้สบายๆ ด้วยการมีสติ แตะรู้เบาๆ หมายถึง ให้ค่อยๆ นั่งดูลมหายใจก่อน ดูจนเห็นชัดจริง แล้วค่อยๆ ก�ำหนดตามรู้นั้น
มหัศจรรย์แห่งใจ
เข้าก็รู้ ออกก็รู้ อย่าก�ำหนดก่อน ให้เห็นลม รู้ลม ถ้าก�ำหนดก่อน จะเป็นการไปสั่งลม ไปบังคับลม มันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ คือมันผิดปกติแล้วนัน่ เอง ดังนัน้ การปฏิบตั ิ ธรรม ให้เราเป็นเพียงผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็นก็พอ คือค่อยๆ เฝ้าสังเกตดูลมหายใจว่า ขณะนี้ มันเป็นอย่างไร ลมมันก�ำลังเข้าหรือออก เหมือนการแอบดูลมหายใจว่า มันท�ำงาน อย่างไรนัน่ เอง หากจดจ้อง คือตัง้ ใจมากจนเกินไปจนเกิดการเกร็งตัว มันก็จะไม่เห็น และจับไม่ได้ ไม่มีลมให้จับ แท้จริง การก�ำหนดสติ มันเป็นเพียงลักษณะของอาการที่แตะรู้เบาๆ เท่านั้น เอง คือรูป้ ล่อย รูป้ ล่อยสบายๆ เมือ่ เห็นลมชัดจริงๆ แล้ว ก็ให้ก�ำหนดรูต้ ามลมทีเ่ ห็น อยู่ในขณะปัจจุบันนั้น คือเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ลมมันเป็นอย่างไร สั้น ยาว ก็ให้ก�ำหนดรู้ ตามนั้นเท่านั้น พอตัวรู้ชัดอยู่กับปัจจุบันตลอดสาย ไม่วิ่งไปเรื่องอดีตไม่วิ่งไปเรื่อง อนาคตแล้ว ผลก็เกิดเป็น สมาธิ ศีล คือความสะอาด สว่าง สงบ ศีล มิได้อยู่ที่วัด ที่พระ ที่คนนั้น คนนี้ ศีล อยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ รู้ที่ใจ ท�ำที่ใจ หมายถึงใจใครก็ใจมัน ที่ต้องท�ำตนเอง บุคคลใดมีจิตใจสะอาด คือ มีความบริสุทธิ์ใจ จริงใจอยู่เสมอทุกการกระท�ำ พูด คิด บุคคลใดมีจิตใจสว่าง คือ จิตใจมีปัญญา รู้ดี รู้ชั่ว รู้ถึงอกเขาอกเราจริงๆ แล้ว จิตนั้นจะไม่กล้าท�ำความชั่วแม้แต่นิดเดียวเพราะจิตน่ะมีหิริโอตตัปปะ คือความ ละอายและความเกรงกลัวต่อบาปรักษาอยู่ บุคคลใดมีจิตใจสงบ คือ จิตใจมีหิริโอตตัปปะรักษาอยู่แล้ว กาย วาจา ใจ นั้น ก็จะสงบเป็นปกติ จะไม่สามารถท�ำบาปได้เลย หมายถึง เบียดเบียนใครไม่ได้เลย นี่แหละ ศีล ศีล คือ กาย วาจา ใจที่สงบจากบาปนั่นแหละ สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ศีล แท้จริง คือความปกติ ของกาย วาจา ใจนั่นเอง ท่านจึงเปรียบศีลว่า เหมือนกับ ศิลา คือ หนักแน่น มั่นคงไม่หวั่นไหวต่อกิเลสต่างๆ เป็นปกติอยู่ตลอดเวลา
29
30 มหัศจรรย์แห่งใจ
ศีลข้อที่ ๑ ห้ามฆ่าสัตว์ คือการท�ำลายชีวิตเขาให้ตาย ให้ล่วงไป ศีลข้อที่ ๒ ห้ามลักทรัพย์ คือการขโมยเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้อนุญาต ศีลข้อที่ ๓ ห้ามประพฤติผิดในกาม คือห้ามยุ่งเกี่ยวล่วงเกินทางชู้สาวกับ ลูก สามี หรือ ภรรยาที่เขามีเจ้าของ ศีลข้อที่ ๔ ห้ามพูดปด ห้ามโกหก ศีลข้อที่ ๕ ห้ามดื่มน�้ำดอง ของเมา หรือสิ่งเสพติดต่างๆ ในทางธรรม การปฏิบัตินั้นจะเน้นใจบริสุทธิ์เป็นสิ่งส�ำคัญ บุคคลใดมีความ บริสุทธิ์ใจมาก บริสุทธิ์ใจจริงๆ ทุกการกระท�ำ พูด คิด บุคคลนั้นจะเห็นธรรมเร็ว เห็นธรรมก่อน บรรลุธรรมก่อน ทางกาย ให้ท�ำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงๆ ทางวาจา ก็ให้พูดอะไรด้วยความจริงใจ ปรารถนาดี มีเมตตาจริงๆ อันเกิด จากความบริสทุ ธิใ์ จเท่านัน้ ทางใจ ก็ทำ� ด้วยความบริสทุ ธิใ์ จ จริงใจ มีแต่ความเมตตา ปรารถนาดีต่อทุกชีวิต ไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่มีอกุศลจิตเกิดขึ้นแม้แต่นิดเดียว พระพุทธองค์จึงตรัสว่า จิตเดิมแท้ประภัสสร คือ จิตเดิมแท้บริสุทธิ์หากใคร ได้สัมผัสได้ผล มันเป็นจิตที่งามจริงใจ มีแต่ความเมตตาที่บริสุทธิ์ปราศจากความ พยาบาทอาฆาตร้าย มีแต่ให้ และเมตตาปรารถนาดี พร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ แม้ ใครจะคิดร้าย ท�ำร้ายแค่ไหน ก็ไม่มคี วามพยาบาทตอบ กลับมีความสงสารอย่างมาก เสียด้วยซ�้ำ ต่อทุกข์ที่เขาก�ำลังท�ำ ก�ำลังมีอยู่ จิตกลับคิดอยากช่วยให้เขาออกจาก ทุกข์เหล่านั้นอีก แปลกมาก ไม่คิดโต้ตอบท�ำร้าย กลับคิดช่วยอย่างเดียวเท่านั้น เท่าที่จะท�ำได้ หากท�ำไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ ปล่อยผ่านไป เป็นเช่นนี้แหละ พุทธะ แปลว่า "รู"้ ศาสนา แปลว่า "ทางรอด" พุทธศาสนา จึงแปลว่า รูท้ างรอด และรู้แล้วต้องรอดพ้นจากทุกข์ได้จริงๆ ด้วย จึงจะใช่ ส่วน พุทโธ แปลว่า "รู้" แล้ว ก็ ตื่น ในความหมดตัวหมดตน เป็นอิสระและเบิกบาน ไม่มีทุกข์เลยจริงๆ ทางจิตใจ
มหัศจรรย์แห่งใจ
ศีลนั้นควรใช้อย่างไร นักปฏิบัติธรรมส่วนมากรู้ศีล แต่ยังใช้ศีลไม่เป็น ยัง ไม่เข้าใจในจุดหมายของมัน ว่าท�ำเพื่ออะไรในความจริงแท้ จึงหลงติด หลงยึดถือ จนกลายเป็นการแบกศีลไปก็มี ปฏิบัติแล้วกลับติดข้องยึดถือ เกิดตัวเกิดตนมากขึ้น กว่าเดิมอีก จิตยังติดข้องไม่ปกติ นัน่ ยังมิใช่ ยังเป็นการหลงอยู่ ธรรมเป็นเรือ่ งละเอียด ลึกซึง้ มาก ประมาทไม่ได้ ต้องระมัดระวังจริงๆ พระพุทธองค์จงึ ตรัสย�ำ้ ก่อนทีจ่ ะเสด็จ ดับขันธ์ว่า "ท่านทั้งหลาย จงท�ำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" นี่คือ พระวาจาที่ ตรัสสั่งสอนไว้เป็นครั้งสุดท้ายด้วยพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ก่อนจากไป จิตที่ยึดอดีตก็เป็นทุกข์ จิตที่ยึดอนาคตก็เป็นทุกข์ มีแต่จิตที่ด�ำรงรู้เท่าทัน อยู่กับปัจจุบัน ที่เกิดแล้วไม่ยึดเท่านั้น ที่จะไม่ทุกข์ พุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ท้าให้ มาพิสจู น์ได้วา่ ทุกข์ทางใจนัน้ หนีได้พน้ ด้วยการรักษาใจของตนให้บริสทุ ธิผ์ อ่ งใสอยู่ เสมอเท่านั้นเอง ความบริสุทธิ์ผ่องใสของใจนี่แหละ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ หลักของ พุทธศาสนานั้นเน้นถึงเรื่องจิตใจเป็นส�ำคัญ คือความพ้นทุกข์ทางใจในขณะปัจจุบัน นี้แหละ พุทธศาสนา มิใช่การมุง่ เพือ่ เทพ เพือ่ สวรรค์ชนั้ นัน้ ชัน้ นี้ หรืออะไรทัง้ สิน้ มิใช่ เพื่อยึดอดีต เช่น การระลึกชาติได้ หรือหมายมั่นในอนาคต เช่น การท�ำนายดูดวง ชะตาราศี วันหน้า ปีหน้า เดือนหน้า ทีเ่ ป็นอนาคตหรือชาติหน้า เป็นต้น แต่พทุ ธศาสนา เป็นเรื่องของปัจจุบัน ซึ่งสามารถท้าให้มาพิสูจน์ผลได้ทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกเพศวัย ทุกชั้นวรรณะด้วยการท�ำจริงๆ ขณะที่รู้นี่แหละ ท�ำเมื่อไรก็รู้เมื่อนั้น ใครท�ำใครรู้ ซึ่งจะท�ำให้กันมิได้เพราะเป็นของเฉพาะตน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ดี ชั่ว สุข ทุกข์ และความพ้นทุกข์ ย่อมมีใจเป็นแดน เกิด มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ด้วยใจ" ท่านจึงให้โอวาทที่ เป็นหลักให้เข้าใจ ง่ายๆ และสั้นๆ ว่า
31
32 มหัศจรรย์แห่งใจ
๑. ให้ละชั่ว สิ่งไหนที่เป็นความไม่ดี เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งตนเองและผู้อื่น เมื่อรู้แล้วให้เว้นเสีย อย่าท�ำ ๒. ให้ประพฤติดี สิ่งไหนที่เป็นคุณความดี มีประโยชน์เพื่อความสันติสุข ทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว ให้พยายามท�ำอยู่เสมออย่าท้อถอยต่อการท�ำความดี และ การท�ำความดีย่อมมีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา อย่าท้อถอย ๓. เมือ่ ท�ำแล้วให้ปล่อยวางทางใจด้วย คือ ให้พยายามระวังและรักษาใจของ ตน ให้บริสทุ ธิผ์ อ่ งใสอยูเ่ สมอตลอดเวลา อย่าให้ความเศร้าหมองเกิดขึน้ ในจิตใจแม้แต่ นิดเดียว เช่น เมื่อท�ำความดีแล้ว หากถูกชมก็อย่าหลง หากถูกมองเป็นความไม่ดีก็ อย่าได้เสียใจ พยายามรักษาจิตของตนไว้ อย่าให้เกิดทุกข์ อย่าให้เศร้าหมอง เพราะ ดีแท้อยูใ่ นจิตทีไ่ ม่เสียใจต่างหาก ต้องอาศัยความตัง้ ใจในการท�ำ คือ มีการระลึกรูอ้ ยู่ เสมอ คอยระมัดระวังตนเองอยูเ่ สมอ ทุกการกระท�ำพูดคิด ว่าการท�ำอย่างนีแ้ ล้ว ผล ที่ออกมานั้น เป็นอย่างไร เป็นคุณหรือโทษต่อตนเองและผู้อื่น พิจารณาหาเหตุและ ผลของมันว่าเกิดจากอะไร คิดก่อนท�ำ หากเป็นทุกข์โทษ เมือ่ รูแ้ ล้วควรรีบแก้ไขและ ระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก ทบทวน : การเฝ้าดูปัจจุบันของการกระท�ำทั้งกายและใจว่ามันเป็นอย่างไร คือ รู้เฉพาะสิ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น รู้ว่าขณะนี้เราก�ำลังจะท�ำอะไร (รู้ก่อนท�ำ) เช่น รู้ว่า เราก�ำลังจะอ่านหนังสือ และรู้การกระท�ำของตนในขณะที่ก�ำลังท�ำอยู่ด้วยว่า ท�ำอย่างไร รู้ว่าก�ำลังจับหนังสือ ก�ำลังเปิดหนังสือ ก�ำลังอ่านเรื่องอะไรก็รู้ และ ท�ำความเข้าใจไปด้วย จนกระทั่งอ่านเสร็จ ก็รู้ว่าจบแล้ว คือรู้ก่อนท�ำ ขณะท�ำ จนกระทั่งท�ำส�ำเร็จ และจิตที่ยึดอดีตก็เป็นทุกข์ จิตที่ยึดอนาคตก็เป็นทุกข์ มีแต่จิต ที่ด�ำรงรู้เท่าทันอยู่กับปัจจุบันที่เกิด แล้วไม่ยึดเท่านั้นที่จะไม่ทุกข์ ข้อสรุปของการปฏิบัตินั้น เมื่อปฏิบัติไปแล้ว หากย้อนออกมาทบทวนดูทาง ผ่านของตน จะเห็นว่ามันจะมาตรงกับอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ มรรค ๘ จริง มันจะ
มหัศจรรย์แห่งใจ
เป็นไปเองทั้งหมดตามวิถีทางของมันอย่างอัศจรรย์ แม้จะไม่เคยเรียนรู้พระธรรมมา ก่อนก็ตาม แต่ธรรมภายในจะสอนจะพาไปเองโดยไม่รู้ตัว คือจิตสอนจิต ที่เรียกว่า ความรู้สึก ได้แก่ ๑. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ความด�ำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (การพูดที่เป็นไปเพื่อออกจากทุกข์) ๔. สัมมากัมมันตะ(การกระท�ำที่บริสุทธิ์ ทั้ง กาย วาจา ใจ) ๕. สัมมาอาชีวะ (การด�ำรงชีวิตที่สุจริต ไม่เบียดเบียนใครให้เกิดทุกข์) ๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้องด้วยธรรม) ๗. สัมมาสติ (สติที่เป็นธรรม คือ ความรู้ ตื่น และเบิกบานในจิต) ๘. สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นด้วยธรรมตลอดสาย) หากท�ำจนครบองค์ ๘ คือ เต็มรอบจริงแล้ว ตัวปัญญาแท้จะเกิดขึ้นเอง โดยอัตโนมัติ อันจะเรียกชื่อ "วิปัสสนา" การเห็นแจ้ง หรือ จะเรียกว่า "โลกะวิทู" คือ รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งก็ได้ มันจะรู้หมดว่า อะไรจริง อะไรไม่จริง และมันก็ไม่ยึด ทั้งจริงและไม่จริงของอารมณ์โลกด้วย มันอยู่เหนืออารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น อยูก่ บั โลกทีไ่ ม่หลงโลก อยูก่ บั ธรรมทีไ่ ม่หลงธรรม "เหนือโลกเหนือธรรม" รูอ้ ารมณ์ แต่ไม่ยึดอารมณ์ จิตนั้นจึงอิสระสบายจริงๆ และไม่ตกเป็นทาสของอะไรอีกต่อไป อดีตเราใจร้ายมากๆ เลย โดยไม่รสู้ กึ ตัวว่าก�ำลังท�ำร้ายตัวเองอยู่ สนใจแต่กาย มองข้ามจิตใจของตนเอง ศาสน์วิธีการเรียนรู้ ดูใจเป็นศาสน์ใหม่ในโลก ที่ยังไม่มีใคร น�ำมาสอนให้ได้เรียนรู้กัน พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสน์แห่งความรู้นี้ เป็นผู้น�ำมา สอนพวกเราให้ได้เรียนรู้ พอดูใจได้ ดูใจทัน ก็จะเห็นว่า เป็นความมหัศจรรย์แห่งใจ เป็นอย่างมาก
33
34 พลิกชีวิต ด้วยพรจากฟ้า
พลิกชีวิต ด้วยพรจากฟ้า จิ ต สงบ จิ ต ว่ า ง โดย ส.น�ำบุญ จิต คือ นามธรรมอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเรา มีหน้าที่คิดตามสิ่งที่มากระทบ ทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ เมือ่ มีสงิ่ หนึง่ มากระทบ วิญญาณจะรับรู้ จิตก็จะท�ำหน้าที่ คิดตามสิ่งนั้นๆ จิตจะคิดผิดหรือคิดถูก ขึ้นอยู่กับว่า ขณะนั้นจิตถูกปัญญาหรือกิเลส ครอบง�ำ จิตก็จะคิดตามอ�ำนาจของกิเลสหรือปัญญา ด้วยเหตุนี้ จิตจึงไม่มีความสงบ และไม่ว่างเลย ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสสอนให้เราท�ำจิตให้สงบและท�ำจิตใจให้วา่ ง โดยมีอบุ ายหลายอย่างให้เลือกปฏิบตั ิ เพื่อให้ถูกกับจริตของแต่ละบุคคล การฝึกสมาธิ คือ การใช้สติควบคุมจิตให้อยู่ที่เดียวกับบทภาวนาบทใด บทหนึ่งที่ถูกกับจริตของแต่ละบุคคล เมื่อฝึกภาวนาบ่อยๆ จะเห็นว่า จิตจะอยู่กับ บทภาวนานั้นๆ ได้นานๆ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน ที่เรียกว่า “จิตสงบ” เพราะเวลานั้นจิต จะถูกสติควบคุมให้อยู่ที่เดียว กิเลสไม่สามารถปรุงแต่งจิตได้ แต่เมื่อออกจากสมาธิ แล้ว กิเลสทีม่ อี ยูใ่ นจิตก็จะออกมาปรุงแต่งสิง่ ทีม่ ากระทบ ทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ ให้มีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้อีกเหมือนเดิม เพราะว่า การฝึกสมาธิ เป็นการฝึกสติให้ ควบคุมจิต ให้อยูก่ บั บทภาวนาทีเ่ ดียวเท่านัน้ ไม่มกี ารคิดช�ำระกิเลส จึงไม่เกิดปัญญา ฉะนั้นการท�ำสมาธิเพียงอย่างเดียว ท�ำให้จิตสงบเท่านั้น นี้คือ การฝึกจิตให้สงบ จิตว่าง หมายถึง จิตทีถ่ กู ฝึกดีแล้ว เพราะมีสติปญ ั ญาควบคุม เมือ่ จิตสงบแล้ว ปัญญาจะใช้ให้จิตคิดพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน โลกนี้ ให้รู้แจ้ง ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ ที่เรียกว่า “พระธรรม” ดังเช่น ท่านสอนให้เรารู้ว่า เรามีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบง�ำจิตเราอยู่ ผูใ้ ดทีม่ กี เิ ลสทัง้ สามอย่างนีค้ รอบง�ำอยูม่ ากก็จะเป็นทุกข์มาก ผูใ้ ด มีกิเลสครอบง�ำจิตอยู่น้อยก็จะมีความทุกข์น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนวิธี
มหัศจรรย์แห่งใจ
การช�ำระกิเลสให้หมดจากจิตไว้มากมายหลายวิธีด้วยกัน แล้วแต่ผู้ใดจะน�ำบทใด บทหนึ่งที่สมควรกับตนมาพิจารณาและปฏิบัติตาม เมื่อช�ำระกิเลสให้หมดจากจิต แล้ว จิตก็ไม่เป็นทุกข์ จิตจึงว่าง จากความร้อนรนกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน จิตจะมีอารมณ์ที่เป็นอุเบกขา คือ เป็นกลาง ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะจิตไม่มี กิเลสครอบง�ำ นี่คือ ความหมายของค�ำว่า “จิตว่าง” (ว่างจากกิเลส) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า จิตสงบ กับ จิตว่าง แตกต่างกันจริง ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดอยู่มาก ว่าจิตสงบกับจิตว่างนั้นเหมือนกัน ขอให้ท่านลอง พิจารณาดูวา่ จิตของท่านเคยสงบ หรือว่างบ้างหรือยัง ถ้ายัง...ขอให้ทา่ น “ฝึกสมาธิ” เพื่อให้ “จิตสงบ” และ “เจริญวิปัสสนา” คือ การน�ำพระธรรมค�ำสอนของพระผู้ มีพระภาคเจ้ามาพิจารณา ไตร่ตรองให้ “เกิดปัญญา” ที่รู้แจ้งเห็นจริง เพื่อน�ำมา ช�ำระกิเลส ความโลภ ความหลง ให้หมดจากจิตของท่าน และท่านจะรู้ด้วยตัวของ ท่านเองว่า จิตของท่านว่างจากกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ในที่สุดท่านก็จะเห็นจิตสงบและจิตว่าง พ้นจากความทุกข์ มีแต่ความสบาย ตลอดไป แล้วท่านจะรู้ค�ำตอบทุกค�ำตอบที่มีได้ด้วยปัญญาของท่านเอง
ต้องภาวนาดูให้รู้แจ้งด้วยปัญญา ทุกสิ่งทุกอย่างแสดงหลักความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของ รูป นาม กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา ไม่มี อะไรที่จะมั่นคงยั่งยืน ที่ควรลุ่มหลงมัวเมา ต้องภาวนาดูให้รู้แจ้งด้วยปัญญา สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีความไม่เที่ยงอยู่ในธาตุดิน น�้ำ ไฟ ลม ในกาย จิต ความนึกคิด อะไรก็ตาม ก็แสดงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่ในตัว
35
36 คติธรรม
คติธรรม
จิตใจ เมื่อไปยึดอะไร ถืออะไรเข้าไปแล้ว ก็มีแต่ความเร่าร้อน เพราะความยึด มั่นถือมั่นในตัว ในตน ในสัตว์ บุคคล เมื่อจิตใจหลงใหลยึดมั่นถือมั่น ทุกข์ทั้ง หลายแหล่กท็ บั ถมใจ จิตใจก็ลกุ ขึน้ ท�ำความเพียร ภาวนาไม่ได้ เพราะกิเลสกาม วัตถุกาม ทับถมจิตใจของผู้ปฏิบัติ จิตใจก็เมามัวไป มืดไป ไม่แจ่มใสบริสุทธิ์ จึงจ�ำเป็นต้องลุกขึ้นภาวนา ปฏิบัติบูชาอย่าได้มีความท้อแท้ อ่อนแอ ไม่ว่าจะ เป็นวันไหน เวลาใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นเวลารู้เท่ารู้ทัน รู้อยู่รู้แจ้ง รู้ตามความ เป็นจริง อยู่ภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ ไม่ต้องท�ำใจให้เร่าร้อนด้วยกิเลส ตัณหา มานะทิฏฐิ จงระงับดับไปไม่ต่อเติม ส่งเสริม สิ่งใดชั่วอย่าได้คิด อย่าได้พูด อย่า ได้ทำ � สิง่ ใดดีให้เจริญ เรียกว่า เจริญสมถกรรมฐาน วิปสั สนากรรมฐาน ยังจิตใจ ให้สามารถอาจหาญได้ทุกเวลา กิเลสมาร หมายถึง จิตใจที่เรายังเลิกละ ปลดปล่อย กิเลส ราคะ ตัณหาไม่ได้ ราคะ ตัณหา นั่นแหละ คือ ตัวมารที่คอยหลอกลวงในใจนั้น ถ้าผู้ใดใจไม่มั่นคง ก็หลงใหลไปตามการหลวกลวงของมารกิเลส ไม่ยอมละ ไม่ยอมเลิก ไม่ยอม ปล่อยวาง กิเลสก็ติดอยู่ในตัว ติดอยู่ในกาย ในวาจา ในจิตในใจ คือ ใจเราไป ติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจของเรา จิตใจของเราไม่ภาวนาละกิเลส แต่ ภาวนาเอากิเลส กิเลสก็มาอยู่ในกาย ในวาจา ในจิต ในใจของเราเต็มหมด กิเลส กองไหนที่ท�ำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวให้รีบตัดรีบละออกไป เลิกไม่ได้ ละไม่ได้ ก็ให้นกึ ถึงความตาย ใครจะใส่รา้ ยป้ายสี ก็ให้นกึ ว่าเข้าจะต้องตาย เรา คือกายกับจิต ก็ต้องตายจากกันไป จะมาโกรธ มาโลภ มาหลง มายึดหน้าถือ ตา ยึดอะไรต่อมิอะไรไปท�ำไม จงปล่อยวางให้หมดสิ้นไป
มหัศจรรย์แห่งใจ
มาร ใช้คนทุกคน ของทุกชิน้ สัตว์ทกุ ตัว ในการขวางเราไม่ให้ทำ� ความดี เพราะ ฉะนัน้ ..ถ้าเกิดอะไรทีไ่ ม่ดขี นึ้ ท�ำให้เราเสียก�ำลังใจในการปฏิบตั คิ วามดี ให้รวู้ า่ นั่นเป็นการพยายามขัดขวางของเขา แต่ให้ดีใจว่า ถ้าเขาพยายามขวางเรา แสดงว่าเรามีคุณค่าพอที่เขาจะลงมือ ถ้าเรายังห่างเป้าหมาย เขาไม่เสียเวลา มาขวางเราหรอก ถ้าเราไม่มีราคาพอ เขาไม่เสียเวลาลงมือหรอก ฉะนั้น..ยิ่ง โดนหนักๆ ก็ยิ่งน่าปลื้มใจว่า เขาเห็นว่าเราสมควรที่จะลงมือได้ ต้องบอกว่า เขาเป็นสุดยอดแชมป์โลก เขาอาศัยยึดครองจิตใจของมนุษย์มาจนกระทั่งนับ กัปไม่ถว้ น เราทีป่ ฏิบตั ติ ามแบบของพระพุทธเจ้า เหมือนกับบุคคลผูท้ า้ ชิง ต้อง ขึ้นเวทีไปเอาชนะเขา เพื่อที่จะก้าวผ่านให้ได้ ถ้าหากเราไม่มีทางที่จะชนะเขา ได้ เขาไม่มายุ่งกับเราหรอก จะว่าไปแล้ว มารไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นครูที่ดีมากๆ เพียงแต่ว่าครูคนนี้ขยันทดสอบมาก ข้อสอบจะมาทุกเวลาที่เราเผลอ" การภาวนา อย่าเข้าใจว่าเป็นของยาก ไม่วา่ กิจกรรม การงานอะไรอย่างหยาบๆ ก็ดี ถ้าเราไม่ท�ำ ไม่ประกอบก็ยิ่งเป็นอุปสรรค แต่ถ้าเราตั้งใจท�ำจริงๆ แล้วมัน มีทางออก ภาวนาไปรวมจิตใจลงไป จนกระทัง่ จิตใจเชือ่ ตามความเป็นจริง เชือ่ ต่อคุณพระพุทธเจ้าจริงๆ เชื่อต่อคุณพระธรรมจริงๆ เชื่อต่อคุณพระอริยสงฆ์ สาวกจริงๆ แล้ว บุคคลผู้นั้นก็มีทางที่จะได้บรรลุ มรรคผล เห็นแจ้งในธรรม ในปัจจุบันชาตินี้ แท้จริงแล้ว ไม่มใี ครท�ำให้เราทุกข์ ไม่มใี ครท�ำร้ายเราได้หรอก เราเองนัน่ แหละ ที่ประมาท ไม่รู้เท่าทัน จึงหลงกล โลภ โกรธ หลง เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองให้ ได้นะ อย่าหวังพึ่งใครเหมือนในอดีต อย่าประมาทอีกเลย ฝึกเจริญสติให้มาก อยู่กับปัจจุบัน จิตจะได้ตั้งมั่น ปัญญาจักส่องสว่าง มองเห็นโลกตามที่เค้าเป็น โลกเค้าเป็นเช่นนั้นเอง เช่นนี้ จิตของเราย่อมผ่องใส เป็นกลาง รู้ปล่อย รู้วาง ยิ้มกว้างจากภายใน เราไม่ต้องแบกทุกข์อีกแล้ว ไม่มีใครท�ำร้ายใคร ไม่มีใคร ทุกข์อีกต่อไป รวบรวมโดย โครงการหนังสือธรรมะ ธรรมทาน
37
38 มหัศจรรย์แห่งใจ
รายนามผู้สร้างหนังสือธรรมะ มหัศจรรย์แห่งใจ - ทำ�อย่างไรจะหายโกรธ ๑. บริษัท เอ็กแซ็กท์ และ บริษัท ซีเนริโอ จ�ำกัด ๒๐,๐๐๐ บาท ๒. บริษัท ปิโยโภคภัณฑ์ จ�ำกัด ๑๒,๐๐๐ บาท ๓. คุณวุฒิชัย - อรทัย ธีระอัมพรกุล ๖,๐๐๐ บาท ๔. คุณสุรินทร์-คุณกิมลี้-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น�ำชัย เติมศิริเกียรติ ๖,๐๐๐ บาท ๕. รองศาสตราจารย์ ชัยยศ สันติวงษ์ ๖,๐๐๐ บาท ๖. คุณอรรนพ-คุณไพศาล พรหมเศรณี และครอบครัว ๖,๐๐๐ บาท ๗. คุณวิไลวรรณ ปันทะนา ๖,๐๐๐ บาท ๘. พญ.นรีลักขณ์-คุณขวัญชนก-คุณอัญชิษฐา พิทักษ์ด�ำรงวงศ์ ๖,๐๐๐ บาท ๙. คุณนันทวัฒน์-คุณพรทิพย์-ดญ.พรหมพร พันธ์ศรีวนิช ๓,๐๐๐ บาท ๑๐. รองศาสตราจารย์ ชูศรี เที้ยศิริเพชร ๒,๔๐๐ บาท ๑๑. คุณวันเพ็ญ เติมศิริเกียรติ และคุณโสภา สุภาพร ๒,๔๐๐ บาท ๑๒. คุณดวงแก้ว แซ่เจ็ง ๒,๔๐๐ บาท ๑๓. คุณภิญโญ วงค์ดาวและครอบครัว-ครอบครัวปะวันนา ๒,๐๐๐ บาท ๑๔. รองศาสตราจารย์ อรชร-คุณรณฤทธิ์ มณีสงฆ์ ๑,๒๐๐ บาท ๑๕. คุณรัตนา กมลงามพิพัฒน์ ๑,๒๐๐ บาท ๑๖. คุณจินดา-คุณละอองดาว เติมศิริเกียรติ ๑,๒๐๐ บาท ๑๗. ทพญ.นันท์นภัส จองค�ำ ๑,๒๐๐ บาท ๑๘. คุณบุปผา ญาณะตาล ๑,๒๐๐ บาท ๑๙. คุณสมคิด เลิศเกียรติด�ำรงค์ ๑,๒๐๐ บาท ๒๐. คุณภิญญดา-คุณธนศักดิ์-คุณอุษาวรรณ-คุณนันทพัทธ์ โชติวาณิชย์ ๑,๒๐๐ บาท ๒๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุวรรณ นฤนาทวงศ์สกุล ๑,๒๐๐ บาท ๒๒. คุณอุไร เอื้ออารีมิตร ๑,๒๐๐ บาท ๒๓. คุณอ�ำนวย เอื้ออารีมิตร และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๒๔. คุณอ�ำนาจ เอื้ออารีมิตร และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๒๕. คุณอรสา ตั้งสัจจะพจน์ และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๒๖. คุณอรวรรณ จันดาเปรม และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๒๗. คุณอรชร คูณาภินันท์ และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๒๘. คุณสุทัย ชุนศิลปเวช ๑,๒๐๐ บาท ๒๙. คุณวาณี ชุนศิลปเวช ๑,๒๐๐ บาท ๓๐. คุณณิชาภัทร ชุนศิลปเวช ๑,๒๐๐ บาท
มหัศจรรย์แห่งใจ
๓๑. คุณสุวิทย์ ชุนศิลปเวย์ และครอบครัว ๑,๒๐๐ บาท ๓๒. คุณศุภชัย - คุณศรอนงค์ วงศ์รัตนวิจิตร ๑,๒๐๐ บาท ๓๓. คุณปริญญา-คุณจันทิรา ธรรมวัฒนะ ๑,๒๐๐ บาท ๓๔. คุณจันทร์เพ็ญ ตันตราพิมพ์ ๑,๒๐๐ บาท ๓๕. คุณบุญธรรม-ด.ช.ธนกฤต คนทา และคุณพิมพ์นารา จิรภาคย์ธนิกกุล ๑,๒๐๐ บาท ๓๖. คุณธีรวัจน์ กนกอภิวัฒน์-คุณประภา กลิ่นสุวรรณ ๑,๒๐๐ บาท ๓๗. รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยา ก�ำศิริพิมาน ๑,๐๐๐ บาท ๓๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุจรรย์พินธ์ สุวรรณพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท ๓๙. คุณศรีวิไล แซ่เบ๊ ๑,๐๐๐ บาท ๔๐. อาจารย์ ดร.นฤมล กิมภาภรณ์ ๑,๐๐๐ บาท ๔๑. อาจารย์ชานนท์ ชิงชยานุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท รายละ ๙๐๐ คุณธนียา-คุณวาสนา ธีระอัมพรกุล รายละ ๗๘๐ คุณอารี-คุณวิไล อารีเวชศรีมงคล รายละ ๖๐๐ คุณจรัสศรี เลาหวัฒน์, คุณสุระพล-คุณดารณี-คุณกิตติธชั -คุณเมธานันท์ ชุม่ สุขใจ, รศ.อรพิณ สันติธรี ากุล, ดร.ศันสนา สริ ติ าม, อ.เอก บญุ เจือ, คุณมาลิน ี ตนั ติเสนียพ์ งศ์, คุณปิยะรัตน์ คุณชิติพัทธ แซ่ฉิ่ง, คุณกัลยา สิงห์เอี่ยม, คุณอภิญญา ค�ำภักดี, คุณกรรณิกา กุลสะท้าน, คุณสุพิชชา ตุรงควัฒนา, ครอบครัวไทยประดิษฐ์, คุณวรลักษณ์ สุธีรวรรธนา, คุณสังวาลย์ วรรณกุล, ผศ.จิตราภรณ์ พงษ์ไพบูลย์ รายละ ๕๕๕ อ.ดร.อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา และครอบครัว, คุณรัตนา วรัญญูรัตนะ รายละ ๕๐๐ คุณบุญวัฒน์ พลเสน, รศ. ดร.นิตยา เจรียงประเสริฐ, รศ.ดร.รวี ลงกานี, คุณเพ็ญศรี ไชยวรรณ์, คุณจิรภา วรัญญูรัตนะ รายละ ๓๖๐ คุณอนันต์-คุณประคอง-คุณปนัดดา ปัญญาดา รายละ ๓๐๐ คุณนิติวัฒน์ จินดาหลวง, คุณเสรี-คุณบุญเกิด นักขัตร รายละ ๒๔๐ คุณจิรพงษ์-คุณกิตติพร-คุณวริษา วิกะศิลป์, คุณสุวรรณา สุขสมคิด รายละ ๒๒๖ ตาชุ่ม-ยายนิด ค�ำมา รายละ ๒๐๐ คุณวิลาณี พินิจวัฒนพันธุ์, คุณวีระชัย-คุณวัลลภา เตชะวัชรีกุล รายละ ๑๒๐ คุณระเบียบ-คุณศรีมา-คุณแสงอิ่น บุญเป็ง, คุณจุฑามาศ สาลีศรี, คุณเพ็ญนี หงษ์ทอง, คุณนุสสรา- คุณวีรนันท์ อ�ำภาพร, คุณมนัส ธรรมเจริญ, คุณจิตรชญา โสมาบุตร, คุณศุภวิชญ์ ชุนศิลปเวช, คุณจิตติมา ชาลีวรรณ, คุณค�ำ หวาวิสัย, คุณสุวัฒนา แสงทับทิม, คุณอ่อนสา จ�ำปาแดง, คุณนงเยาว์ ชูศรีหะรัญ,คุณพยุงศักดิ์-คุณน�้ำริน ธราพร และคุณดวงพร ป้อมศิลา, คุณบุญช่วย-คุณข�ำ ขอวางกลาง และคุณสุข-คุณไข่ ชาครธรรม และคุณหอม แข็งการ รายละ ๑๐๐ คุณเบญจรัตน์ ธารารักษ์, คุณวีระเวศน์-คุณโยษิตา มณีวรรณ์, คุณเด่น-คุณพิรานันท์ด.ญ.พิมพ์พจี ถาเมือง, ครอบครัวคชเสนี, ครอบครัววินิจฉัยกุล รายละ ๖๐ คุณเยาวลักษณ์ ยานุช, คุณชุติมา เมฆแสน, ดช.ปิติ กมลภักดีกุล, คุณสุระ
39
อนุโมทนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์น�ำชัย เติมศิริเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้แจ้งกุศลฉันทะที่จะจัดพิมพ์หนังสือ ท�ำอย่างไรจะหายโกรธ ของ พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ มหาชนในโอกาสวันส�ำคัญต่างๆ การพิมพ์หนังสือแจกเป็นธรรมทานนั้น นับว่าเป็นการให้อย่างสูงสุด ที่ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ ชนะทานทั้งปวง เป็นการแสดงน�้ำใจ ปรารถนาดีอย่างแท้จริงแก่มหาชน ด้วยการมอบให้ซึ่งแสงสว่างแห่งปัญญาและ ทรัพย์อนั ล�ำ้ ค่าคือธรรม ทีจ่ ะเป็นหลักน�ำประเทศชาติให้พฒ ั นาไปในวิถที างทีถ่ กู ต้อง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขที่แท้และยั่งยืนแก่ชีวิตและสังคม ขออนุโมทนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์น�ำชัย เติมศิริเกียรติ และมหาชน ที่ได้มี บุญเจตนาในการบ�ำเพ็ญธรรมทานแห่งการให้ธรรม ให้ปัญญา แก่มหาชนครั้งนี้ ขอกุศลจริยาทีไ่ ด้รว่ มกันบ�ำเพ็ญแล้ว จงสัมฤทธิผลให้ทา่ นผูบ้ ำ� เพ็ญธรรมทานทุกท่าน เจริญงอกงามด้วยจตุรพิธพรชัยให้มวลมหาชนวัฒนาสถาพร ด้วยพลังแห่งสัมมา ทัศนะและสัมมาปฏิบัติสืบไป วัดญาณเวศกวัน ๔ เมษายน ๒๕๕๔
2
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณ ข้อใหญ่ประการหนึง่ คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รบั การสัง่ สอนให้มเี มตตา กรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยกายวาจา และมีน�้าใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อ ไม่ได้ทา� อะไรอืน่ ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพือ่ นมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทงั้ ปวง ขอให้อยูเ่ ป็นสุข ปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับส�าคัญอย่างหนึ่งคือความโกรธ ความโกรธเป็น ศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้ว ก็ต้องท�าอะไรรุนแรงออกไป ท�าให้เกิดความเสียหาย ถ้าท�าอะไรไม่ได้ก็หงุดหงิด งุ่นง่านทรมานใจตัวเอง ในเวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธ ทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจน ปัญญาไม่รู้จะขับไล่หรือก�าจัดให้หมดไปได้อย่างไร โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการ ต่างๆ ส�าหรับระงับความโกรธ วิธกี ารเหล่านีม้ ปี ระโยชน์ ไม่เฉพาะส�าหรับคนมักโกรธ เท่านั้น แต่เป็นคติแก่ทุกคนช่วยให้เห็นโทษของความโกรธและมั่นในคุณของเมตตา ยิ่งขึ้น จึงขอน�ามาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ เช่น
ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและ ทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามัวมาโกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธ เสีย เป็นการไม่ปฏิบตั ติ ามค�ำสอนของพระองค์ ไม่ทำ� ตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า จงรีบท�ำตัวให้สมกับทีเ่ ป็นศิษย์ของพระองค์ และจงเป็นชาวพุทธทีด่ ี ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มี สติรเู้ ท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยดื ยาวเพิม่ มากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่านั้นเลย ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมาเราไม่โกรธตอบไป อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่าย หนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่า เป็นผู้ท�ำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง๑ เพราะฉะนัน้ เราอย่าท�ำตัวเป็นผูแ้ พ้สงครามเลย จงเป็นผูช้ นะสงคราม และเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก
3
4
ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ ขั้นที่ ò พิจารณาโทษของความโกรธ ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า “คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป็นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธ ไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง พอโกรธเข้าแล้วก็ ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธ ครอบง�า มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นท�ายากก็เหมือนท�าง่าย แต่ ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา” “แรกจะโกรธนัน้ ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อนเหมือนมีควัน ก่อนจะเกิด ไฟ พอความโกรธแสดงเดชท�าให้คนดาลเดือดได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ ไม่มี ถ้อยค�าไม่มีคารวะ ฯลฯ คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญได้ทงั้ นัน้ ลูกทีแ่ ม่เลีย้ งไว้จนได้ลมื ตามองดูโลกนี ้ แต่มกี เิ ลสหนา พอโกรธ ขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ”๒ “กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ วิเคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี”๓ ความโกรธมีโทษ ก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นเี้ ป็นตัวอย่าง แม้เรือ่ งราวในนิทานต่างๆ และ ชีวติ จริงก็มมี ากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าความโกรธมีแต่ทา� ให้เกิดความเสียหายและ ความพินาศไม่มีผลดีอะไรเลย จึงควรฆ่ามันทิ้งเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่น แล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอืน่ แล้ว อาจจะต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ “ฆ่า ความโกรธแล้วนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่โศกเศร้าเลย”๔ พิจารณาโทษของความโกรธท�านองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่ส�าเร็จก็ลองวิธีต่อไปอีก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่วไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้าง ข้อเสียบ้าง มาก บ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบ จะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่นว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระท�ำของคนอื่น ทีท่ ำ� ให้เราโกรธนัน้ ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึง่ หรืออาจเป็นแง่ ที่ไม่ถูกใจเรา เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ท�ำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึง แต่จุดนั้นแง่นั้น ของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆ ของเขา เช่น คนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พดู ไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานท�ำร้ายใคร บางคนแสดงออกทางกายกระโดกกระเดก ไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือ ไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล หรือบางคนปากร้ายแต่ใจดี หรือสัมพันธ์ กับคนอื่นไม่ค่อย ดี แต่เขาก็รักงานตั้งใจท�ำหน้าที่ของเขาดี หรือ คราวนี้เขาท�ำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ดวามดีเก่าๆ เขาก็มี เป็นต้น ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขา เอาขึน้ มาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มคี วามดีอะไรเลยทีจ่ ะให้มองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่ ! น่าสงสาร ต่อไปคนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความประพฤติไม่ดี อย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนีเ้ ป็นต้น พึงระงับความโกรธ เสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก
5
6
ขั้นที่ ô พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรÙ ขั้นที่ ô พิจารณาว่าความโกรธคือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการ ลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรÙ ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศ วอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศ ให้แก่ตัวเองได้ตั้งหลาย อย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องท�าอะไรให้ล�าบากก็ได้ สมใจของเขา เช่น ศัตรูปรารถนาว่า “ขอให้มัน (ศัตรูของเขา) ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู” หรือ “ขอให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์ สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก”๕ เป็นต้น เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะท�าผลร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตาม ปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุน ี้ ศัตรูทฉี่ ลาดจึงมักหาวิธแี กล้งยัว่ ให้ฝา่ ยตรงข้าม โกรธจะได้เผลอสติท�าการผิดพลาดเพลี่ยงพล�้า เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะ ท�าร้ายตนเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ท�าการงานธุระของตนไปได้ ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็นทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเรา ประโยชน์ที่ต้องการก็จะส�าเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า “ถ้าศัตรูท�าทุกข์ให้ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดท�าทุกข์ให้ที่ใจของ ตัวเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย”
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
“ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดงี ามทัง้ หลายทีเ่ จ้าตัง้ ใจรักษา เจ้า กลับไปพะนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า” “เจ้าโกรธว่าคนอื่นท�ำกรรมที่ป่าเถื่อน แล้วใยตัวเจ้าเองจึงมาปรารถนาจะ ท�ำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า” “ถ้าคนอืน่ อยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งท�ำสิง่ ไม่ถกู ใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยท�ำให้ เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า” “แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะท�ำทุกข์ให้เขาได้หรือไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวนี้ เจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าแล้วด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่นแหละ” “หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธ อันไร้ประโยชน์ แล้ว ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสียอีกล่ะ” “ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใด จึงก่อเหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้น เคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปท�ำไม”
จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
“ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรม ทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้” “ศัตรูจะท�ำทุกข์ให้แก่ผู้ใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะท�ำ ทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วท�ำไมจะไปโกรธ เขาเล่า”๖ ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป
7
8
ขั้นที่ õ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ขั้นที่ õ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือ พึงพิจารณาว่า ทัง้ เราและเขาต่างก็มกี รรมเป็นสมบัตขิ องตน ท�ากรรมอะไรไว้ ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะท�าอะไร การกระท�าของเรานัน้ เกิดจากโทสะ ซึง่ เป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ยอ่ มเป็นกรรมชัว่ ซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของ กรรมนั้นต่อไป อนึ่ง เมื่อเราจะท�ากรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะท�าร้ายเขา เราก็ ท�าร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้าง ใส่คนอืน่ ก็ไหม้มอื ของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือกอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ ท�าตัวนั่นแหละให้เหม็นก่อน เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตนเองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้าง ในท�านองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะท�ากรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้อง รับผลกรรมของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้นจะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนเองอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าท�าแต่กรรมที่ดีไปเถิด ถ้าพิจารณาธรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณาขั้นต่อไป
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อน ของพระพุทธเจ้า ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเรานัน้ กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบ�ำเพ็ญบารมีทงั้ หลายมาตลอด เวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยยอมเสียสละแม้แต่ พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการ ต่างๆ ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายาม ปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจติ ประทุษร้าย บางครัง้ พระองค์ชว่ ยเหลือเขา แทนทีเ่ ขาจะ เห็นคุณเขากลับท�ำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงท�ำดีต่อเขาต่อไป พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็น แบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะน�ำมาระลึกตักเตือนสอนใจตน ในเมื่อประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ว่า ที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรง ประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย ในเมือ่ เหตุการณ์ทพี่ ระพุทธเจ้าทรงประสบนัน้ ร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยงั ทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยูไ่ ด้ แล้วเหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้ ศิษย์ อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ด�ำเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ก็น่าจะ ไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นพระศาสดาของตน พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมีเมตตากรุณาของ พระพุทธเจ้า อย่างทีท่ า่ นบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรือ่ ง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจน�ำมาเล่าในที่นี้ได้ จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆ สั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
9
10
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้า มหาสีลวะ ครัง้ นัน้ อ�ามาตย์คนหนึง่ ของพระองค์ ท�าความผิดถูกเนรเทศ และได้เข้าไป รับราชการในพระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล อ�ามาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ เมื่อราชบุรุษจับโจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ ในที่สุดอ�ามาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้า สีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกราน คงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศล ทรงเชื่อ จึงยกกองทัพไปเข้าโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎร เดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับพระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทัง้ เป็นในสุสานถึงแค่พระศอ รอ เวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารอย่างในสมัยนั้น ครัน้ ถึงเวลากลางคืน เมือ่ สุนขั จิง้ จอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะทรงใช้ไหวพริบและ ความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัขจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อ สุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรงท�าให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และท�าให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุย กระจายหลวมออก จนทรง แก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้ ในคืนนั้นเองทรงเล็ดลอด เข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้า โกศลเอง ทรงไว้ชวี ติ พระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกูร้ าชอาณาจักร คืน แล้วให้พระเจ้าโกศลสาบานไม่ท�าร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้ พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม”๗ อีกเรือ่ งหนึง่ พระโพธิสตั ว์อบุ ตั เิ ป็นวานรใหญ่อยูใ่ นป่า ครานัน้ ชายผูห้ นึง่ ตาม หาโคของตนเข้ามาในกลางป่าแล้วพลัดตกลงไปในเหวขึน้ ไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่ว สิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบ พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้น มาจากเหวได้
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไป ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า “ลิงนี้มันก็อาหารของคนเหมือนสัตว์ป่าอื่นๆ นัน่ แหละ อย่ากระนัน้ เลย เราก็หวิ แล้ว ฆ่าลิงตัวนีก้ นิ เสียเถิด กินอิม่ แล้วจะได้ถอื เอา เนื้อมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้” คิดแล้วก็หาก้อนหินใหญ่มาก้อนหนึง่ ยกขึน้ ทุม่ หัวพญาวานร ก้อนหินนัน้ ท�ำให้ พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน�้ำตานอง แล้วพูดกับเขา โดยดี ท�ำนองให้ความคิดว่า ไม่ควรท�ำเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลง หาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บปวดแสนสาหัสยังช่วยโดดไปตามต้นไม้ น�ำทางให้ชายผู้นั้นออกจากป่าไปได้ในที่สุด ็ แม้พิจารณาถึงอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป
11
12
ขั้นที่ ÷ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ ขั้นที่ ÷ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ มีพทุ ธพจน์แห่งหนึง่ ว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดทีก่ า� หนดจุดเริม่ ต้น มิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน มิใช่หาได้ง่าย๙ เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้ บางทีจะเคย เป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา ท่านทีเ่ ป็นมารดานัน้ รักษาบุตรไว้ในท้องถึง ๑๐ เดือน ครัน้ คลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น�้าลาย น�้ามูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูกนอนแนบอกเที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้ ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางล�าบากตรากตร�าเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเล บ้าง ท�างานยากล�าบากอื่นๆ บ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดจะเลี้ยงลูกน้อย ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็นมิตร ซึ่งได้เคย ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะท�าใจร้ายและแค้นเคืองต่อ บุคคลเช่นนั้นไม่เป็นการสมควร ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็อาจพิจารณาตามวิธีในข้อต่อไปอีก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษ ก่อผลร้าย มากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะ ระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทนให้เมตตานั้นแหละช่วยก�ำจัด และ ป้องกันความโกรธไปในตัว ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาชื่อว่าท�ำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เมตตาท�ำให้จิตใจสดชื่น ผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างใน ที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รัก ของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศัสตรา ไม่กล�้ำกราย จิตตั้งมั่นเป็น สมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่ สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก๑๐ ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่จะได้อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น จึงควรพยายามท�ำเมตตาให้เป็นธรรมประจ�ำใจให้จงได้ โดยหมั่นฝึกอบรม ท�ำใจอยู่เสมอๆ ถ้าจิตใจเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัย มักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป
13
14
ขั้นที่ ù พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ ขั้นที่ ù พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ วิธกี ารข้อนี ้ เป็นการปฏิบตั ใิ กล้แนววิปสั สนา หรือเอาความรูท้ างวิปสั สนามาใช้ ประโยชน์ คือ มองดูชวี ติ นี ้ มองดูสตั ว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ทีถ่ กู ทีแ่ ท้ แล้ว ก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทัง้ หลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียก กันไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. นาง ข. เป็นต้น ครั้นจะชี้ชัดลงไปที่ตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น เมือ่ พิจารณาตามความจริงแยกให้เป็นส่วนๆ ได้อย่างนีแ้ ล้ว พึงสอนตัวเองว่า “นี่แน่ะเธอเอย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนััง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน�้า โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือ โกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน” ใน ที่สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเรา ชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติ บัญญัต ิ ความจริงก็มแี ต่ธาตุ หรือขันธ์ หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกัน เข้า แล้วเราก็มาติดสมมตินนั้ ยึดติดถือมัน่ หลงวุน่ วายท�าตัวเป็นหุน่ ถูกชักถูกเชิดกันไป การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียด งุ่นง่านเคืองแค้นกันไปนั้น มองลงไปให้ถึง แก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหาย ตัวไปเอง อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปญ ั ญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยก ธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห็น ความจริงเช่นนั้นก็แก้ความโกรธ ไม่ส�ำเร็จ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พึงด�ำเนินการตามวิธีต่อไป
ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ ขัน้ นีเ้ ป็นวิธกี ารในขัน้ ลงมือท�ำ เอาของของตนให้แก่คนทีเ่ ป็นปรปักษ์ และรับ ของของปรปักษ์มาเพื่อตน หรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะ ให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือ ถ้อยค�ำสุภาพไพเราะ ประกอบเสริมไปด้วย การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีแก้ความโกรธที่ได้ผลชะงัด สามารถระงับเวร ที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ท�ำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุณาที่ แสดงออกในการกระท�ำ
ท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือการให้นั้นว่า
“การให้เป็นเครื่องฝึกคนที่ยังฝึกไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้ส�ำเร็จ ได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาหาด้วยการให้ ฝ่ายผู้ได้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา”
15
16
เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลาย เป็นมิตร ไฟพยาบาทก็กลายเป็นน�้าทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ ที่เร้ารุมใจ ก็กลายเป็นความสดชื่น ผ่องใส เบิกบานใจด้วยความสุข วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จ�าเป็นต้องท�าไป ตามล�าดับ เรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะได้ผลส�าหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้นตกลงว่า วิธีการท่านก็ได้แนะน�าไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปญหา จะพึงน�าไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชนแท้จริงต่อไป* เชิงอรรถ ๑. ดู ส�.ส. ๑๕/๘๗๕/๓๒๕ ๒. องฺ.ลตฺตก. ๒๓/๖๑/๙๘ (แปลตัดเอาความเป็นตอนๆ) ๓. ขุ.ธ. ๒๕/๒๕/๔๒;๒๘/๔๘ ๔. ส�.ส. ๑๕/๑๙๙/๕๗ ๕. เทียบกับค�าสอนไม่ให้โศกเศร้า, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๘/๖๒ ๖. วิสุทธิมัคค์ ๒/๙๗ (ตัดข้อความส�าหรับภิกษุโดยเฉพาะออกแล้ว) ๗. มหาสีลวชาดก, ชา.อ. ๒/๔๑ ๘. ดู มหากปิชาดก, ชา.อ. ๗/๒๗๑ ๙. ส�.นิ. ๑๖/๔๕๑-๕/๒๒๓-๔ ๑๐. องฺ.เอกาทสก. ๒๔/๒๒๒/๓๗๐ (หมายถึงเมตตาเจโตวิมุตติ) ที่มา * เรื่องนี้ เขียนตามแนวคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ภาค ๒ หน้า ๙๓-๑๐๖ แต่แทรกเสริมเติม และตัดต่อเรียบเรียงใหม่ตามที่เห็นสมควร ของเดิมมี ๙ วิธี ในที่นี้ขยายออกเป็น ๑๐ วิธี และเนื้อหาเก่า ท่านมุ่งสอนพระภิกษุผู้บ�าเพ็ญเมตตากรรมฐาน ในที่นี้เขียนปรับความให้ เหมาะแก่คนทั่วไป
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พุทธภาษิตและคติธรรม ความโกรธท�ำใจให้พลุ่งพล่าน พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา ฆ่าความโกรธได้ นอนเป็นสุข คนโกรธแล้ว ย่อมพูดมาก โกรธเขาแล้วไม่เห็นธรรม เกิดโทสะแล้ว ถ้อยค�ำก็หยาบคาย ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนด้อยปัญญา คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์และมีผิวพรรณเศร้าหมอง เมื่อใดความโกรธครอบง�ำคน เมื่อนั้นมีแต่ความมืดมน คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นท�ำยากก็เหมือนท�ำง่าย ภายหลัง พอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก คนโกรธไม่รู้ทันว่า ความโกรธนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง ความโกรธนั้นเป็นของไม่ดี
ผู้ใดยึดเอาความโกรธไว้ก็เหมือนกับหอกที่ปัก เสียบอยู่ในหัวใจของบุคคลนั้นแล ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้ ผู้นั้นชื่อว่าบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่คน ถึง ๒ คน คือ ทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่นนั้น คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรท�ำวันนี้ อะไรควรท�ำพรุ่งนี้ ใคร ตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่งถือดีว่าฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจ ของกาฬกิณี
17